Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

TDRI เผยอนาคตรัฐสวัสดิการ ปชช.หนุน"การศึกษา" มาอันดับ1 ถ้ารัฐทำได้ไม่ทุจริต ยินดีจ่าย VAT10%

$
0
0

TDRI เผยผล “ประชาเสวนา” 14 จังหวัด มองอนาคต 10 ปี สวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ จัดอันดับสวัสดิการ 6 ข้อ การศึกษามาวิน ตามด้วยการรักษาพยาบาล ชี้ถ้ารัฐทำได้จริงไม่มีปัญหาทุจริต ยินดีจ่ายภาษีเพิ่ม

<!--break-->

 
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาท่ามกลางสถานการณ์ความไม่ปกติของสังคมไทย ก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายทำเรื่องปรองดองและเน้นสวัสดิการสังคมเป็นวาระแห่งชาติ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้ร่วมกับภาคีหลายองค์กรดำเนินกระบวนการที่เรียกว่า “ประชาเสวนา” โดยสุ่มตัวแทนประชาชนคนธรรมดามาพูดคุยกันเรื่องสวัสดิการสังคมของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า และเชื่อว่าการมีสวัสดิการที่เหมาะสมจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้งในสังคมได้
 
“รัฐสวัสดิการ ถ้าทำได้จริง ก็ยินดีจ่ายภาษีเพิ่ม” นี่คือเสียงสะท้อนจากตัวแทนประชาชนในวงประชาเสวนาทั้ง 14 จังหวัด ประกอบด้วย ภาคเหนือ น่าน ลำพูน กำแพงเพชร ภาคกลาง ปทุมธานี สระบุรี ระยอง กาญจนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุรินทร์ ขอนแก่น หนองคาย เลย ภาคใต้ ชุมพร กระบี่ สงขลา โดยมีการจัดลำดับความสำคัญสวัสดิการ 6 ประเภทที่ควรทำคือ การศึกษา การรักษาพยาบาล การพัฒนาทักษะแรงงาน สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ สวัสดิการสำหรับผู้ว่างงาน และสวัสดิการสำหรับผู้ด้อยโอกาส พร้อมเหตุผลประกอบ ผู้รับผิดชอบ และเงินที่ใช้ เป็นแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมอย่างครบวงจรในสายตาประชาชน 
 

น.ส.สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 โจทย์ใหญ่ คือ อยากรู้ว่าสวัสดิการสังคมในอีก 10 ปีข้างหน้าของคนไทยควรเป็นอย่างไร โดยใช้เครื่องมือของกระบวนการประชาเสวนา ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเคยใช้ในการทำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ หัวใจสำคัญของกระบวนการประชาเสวนา ประการแรกคือ การสุ่มหากลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากรจังหวัดละ 50 คน กระจายตามโครงสร้างประชากรจริงทั้งในด้าน อายุ เพศ การศึกษา และอาชีพ ซึ่งพบว่าผู้เข้าร่วมเสวนาเป็นตัวแทน “ชาวบ้านธรรมดา” จากหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในจังหวัดเดียวกันแต่ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน 
 
ประการที่สอง เป็นข้อแตกต่างของกระบวนการประชาเสวนาเมื่อเปรียบเทียบกับการสอบถามทัศนคติหรือการทำโพลทั่วไปคือ ต้องมีการให้ข้อมูลพื้นฐานที่ “ไม่มีอคติลำเอียง” ก่อนการเสวนา เช่น ในการเสวนาครั้งนี้ได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์สวัสดิการที่คนไทยได้รับในปัจจุบัน และตัวอย่างการจัดสวัสดิการในประเทศต่างๆ โดยเลือกมา 3 แบบ คือ การจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย สวัสดิการที่จัดให้เฉพาะกลุ่มคนจน เช่นในสหรัฐอเมริกา และการจัดสวัสดิการให้ตามกลุ่มอาชีพ เช่น ประเทศเยอรมัน นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอทั้งข้อดีและข้อด้อยของระบบสวัสดิการดังกล่าวโดยให้น้ำหนักเท่าๆ กัน 
 
เมื่อตัวแทนประชาชนได้รับข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเสวนาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการให้ตัวแทนประชาชนได้ใช้เวลาคิดไตร่ตรองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเสวนากลุ่มย่อย กลุ่มละ 10-12 คน โดยมีวิทยากรกระบวนการช่วยดำเนินการให้ตัวแทนประชาชนเกิดการแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยอย่างเท่าเทียมกัน เริ่มจากให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเลือกว่าอยากจะพูดคุยสวัสดิการประเภทไหนก่อน โดยมีโจทย์ของการพูดคุยในแต่ละสวัสดิการคือ ทำไมต้องการสวัสดิการนั้น ใครเป็นคนทำ ทำอย่างไร ใช้เงินจากไหน เมื่อจบการเสวนาในกลุ่มย่อยแล้ว ทุกกลุ่มก็จะนำข้อสรุปมาเรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง 
 
ผลจากกระบวนการเสวนานี้ พบว่า ตัวแทนประชาชนให้ความสำคัญกับการจัดสวัสดิการด้านการศึกษาให้ประชาชนทุกคนมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยให้เหตุผลว่าการศึกษาเป็นพื้นฐานของชีวิต และจะนำมาซึ่งโอกาสในด้านต่างๆ ที่จะทำให้มีชีวิตที่ดี ทั้งงาน สุขภาพ และมีเงินออมดูแลตัวเองเมื่อสูงวัยไม่ต้องพึ่งคนอื่นมากนัก ดังนั้น ถ้าการศึกษาดีก็จะมีผลต่อสวัสดิการอื่นๆ 
 
“สิ่งที่น่าประทับใจคือ ชาวบ้านเลือกการศึกษามาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะเห็นความสำคัญของการศึกษาว่าจะทำให้หลุดพ้นความยากจนได้ สมัยนี้ถ้าไม่จบปริญญาตรีก็หางานลำบาก หรือถ้าได้งานก็ไม่ดีเป็นลูกจ้างรายวัน สวัสดิการไม่ดี ฯลฯ นี่คือสิ่งที่ชาวบ้านเขาเห็นและเป็นสิ่งที่เขาเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน และยังมองว่าเรื่องการศึกษาไม่ได้แค่เรื่องงบประมาณที่จัดให้ครอบคลุมทุกปี แต่เป็นเรื่องคุณภาพมาตรฐานของการศึกษาด้วยที่ต้องเท่ากัน ด้วยจึงแก้ปัญหาได้”
 
ทั้งนี้ ตัวแทนประชาชนได้สะท้อนความต้องการโดยปรับปรุงจากปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ อยากให้รัฐเข้ามาดูแลให้ทุกคนมีการศึกษาพื้นฐานตั้งแต่ระดับอนุบาล – ม.6 สวัสดิการการศึกษาต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายหลักในการศึกษา เช่น ค่าเทอม ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ โดยผู้ปกครองออกเองบางส่วน ส่วนการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ยังมีความเห็นแตกต่างทั้งที่คิดว่าควรเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า กับกลุ่มที่เห็นว่าควรให้เฉพาะกลุ่มยากจนแต่เรียนดี อาจให้เฉพาะสาขาที่ขาดแคลน เช่น แพทย์ พยาบาล ฯลฯ เพื่อไม่ให้เด็กจบปริญญาตรีมาแล้วตกงาน เป็นปัญหาว่างงาน
 
 
อันดับ 2 คือ การรักษาพยาบาล เป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญของชีวิตเช่นเดียวกับการศึกษา รัฐควรเน้นเรื่องคุณภาพการรักษาพยาบาล ให้มีมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ดีและเพียงพอ พัฒนาแพทย์แผนไทยให้ความรู้แก่ชุมชนเพื่อที่ประชาชนจะดูแลกันเองได้ในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เช่น การออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้เป็นความร่วมมือกันของคนในชุมชนที่หลายอย่างประชาชนทำและดูแลกันเองได้ โดยไม่ต้องใช้เงินมาก
 
สำหรับสวัสดิการเรื่องอื่นๆ ซึ่งตัวแทนประชาชนให้ความสำคัญรองลงมาตามลำดับคือ การพัฒนาทักษะแรงงาน สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ว่างงาน และผู้ด้อยโอกาส สาเหตุที่สวัสดิการเหล่านี้ถูกจัดลำดับรองลงมาเพราะตัวแทนประชาชนเห็นว่า หากรัฐบริหารจัดการสวัสดิการเรื่องการศึกษาและการรักษาพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ทำให้มีปัญหาด้านอื่นๆ น้อยลง และไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปแก้ไข โดยอันดับ 3 การพัฒนาทักษะแรงงาน เป็นสวัสดิการที่จัดให้คนวัยทำงาน ควรเป็นสวัสดิการถ้วนหน้า ปรับปรุงการจัดฝึกพัฒนาฝีมืออาชีพต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ การฝึกอาชีพบางอย่างอาจต้องทำเรื่องของการหาตลาดให้ด้วย เช่น การแปรรูปอาหารต่างๆ 
 
อันดับ 4 สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ควรปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในอีก 10 ปีข้างหน้า และควรมีมาตรการเสริมโดยส่งเสริมการออมในวัยทำงานให้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมความอบอุ่นของครอบครัว ความกตัญญู การดูแลกันในชุมชน โดยมีศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ให้คนว่างงานในหมู่บ้านมาอบรมการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งก็เท่ากับแก้ปัญหาการว่างงานไปด้วย เป็นต้น อันดับ 5 สวัสดิการสำหรับผู้ว่างงาน ควรมีการจัดระบบให้คนที่อยู่นอกระบบประกันสังคมมีโอกาสเข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้น โดยรัฐเข้ามาร่วมสมทบจ่ายให้เช่นเดียวกับแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม ส่วนอันดับสุดท้าย สวัสดิการสังคมสำหรับผู้ด้อยโอกาส เช่น ผู้พิการ ซึ่งเชื่อว่ามีจำนวนไม่มากและหากทำสวัสดิการข้างต้นได้ดี ครอบครัวร่วมกับชุมชน ก็สามารถช่วยเหลือ ดูแลคนพิการเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ควรมีการดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น กลุ่มพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว ก็ควรมีการจัดศูนย์รับเลี้ยงเด็กในชุมชน เพื่อช่วยให้พ่อแม่สามารถออกไปทำงานเลี้ยงดูครอบครัวได้
 
น.ส.สุวรรณา กล่าวต่ออีกว่า เมื่อถามว่าสวัสดิการเหล่านี้ใครจะเป็นคนทำ และใช้เงินจากไหน ตัวแทนประชาชนที่ร่วมเสวนาเสนอว่า งานบางส่วนที่มาจากนโยบายส่วนกลาง รัฐบาลกลางก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่น ในเรื่องหลักสูตรการศึกษา การรักษาพยาบาล แต่คนลงมือปฏิบัติอยากให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีความใกล้ชิดประชาชนและเข้าใจความต้องการของท้องถิ่นดีกว่ารัฐบาลกลาง เงินที่ใช้ในการจัดสวัสดิการก็มาจากภาษี และมีหลายอย่างที่ให้ชุมชนจัดการได้เอง เช่น การทำศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ศูนย์เลี้ยงเด็ก ฯลฯ เป็นเรื่องของคนในชุมชนดูแลกัน นอกจากงประมาณที่เก็บจากภาษีแล้ว ก็ควรจะมีการออมในชุมชน และงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาสมทบในการจัดสวัสดิการด้วย 
 
นอกจากนี้ ในการเสวนายังเปิดให้ตัวแทนประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 10% เพื่อนำภาษีที่เก็บได้เพิ่มขึ้นมาจัดสวัสดิการทั้ง 6 ประเภท ตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าหากรัฐสามารถจัดสวัสดิการทั้ง 6 ประเภทได้อย่างมีคุณภาพตามที่ประชาชนต้องการจริง พวกเขายินดีจ่ายภาษีเพิ่ม แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือ มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการรั่วไหลของงบประมาณหรือทุจริตคอรัปชั่น แต่ตัวแทนประชาชนบางส่วนก็เห็นว่าควรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% เฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เหล้า บุหรี่ และภาษีคนรวย (ที่ดิน มรดก) อีกส่วนหนึ่งเสนอว่า หากรัฐสามารถจัดการจัดเก็บภาษีให้ครบทุกคน จัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพและไม่รั่วไหล ก็น่าจะมีเงินพอจะมาทำสวัสดิการเหล่านี้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บภาษีเพิ่ม เป็นต้น
 
น.ส.สุวรรณา กล่าวว่า กระบวนการประชาเสวนาที่ให้ข้อมูลและเปิดให้ประชาชนได้มีเวลาไตร่ตรองในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม ซึ่งมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเขาเอง ช่วยให้รัฐได้รับทราบข้อมูลความต้องการที่แท้จริงจากประชาชนเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม และเห็นถึงความยินดีร่วมมือหรือแม้แต่การจ่ายภาษีเพิ่ม หากสวัสดิการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จริง โดยผลที่ได้จากการประชาเสวนาดังกล่าวจะถูกส่งต่อให้ภาครัฐเพื่อใช้พิจารณาประกอบการจัดทำแผนการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคประชาชนตามที่รัฐบาลได้มีการกำหนดให้สังคมสวัสดิการเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการกำหนดเป้าหมายให้ภายในปี 2560 จะให้ประชาชนได้รับสวัสดิการถ้วนหน้าต่อไป
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หมอต้าน “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย” แต่งดำทั่วประเทศ ฝ่ายหนุนจุดเทียนแจงข้อดี

$
0
0

หมอทั่วประเทศแต่งดำประท้วง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย จี้รัฐบาลถอนร่างออกจากสภา นัดชุมนุมใหญ่ที่กระทรวง กดดัน รมว.สธ. ส่วน NGO ยื่นแพทยสภาหยุดสร้างความสับสน เดินหน้าหนุนรัฐบาล 

<!--break-->

 
หนังสือพิมพ์ข่าวสด รายงานว่า เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 29 ก.ค. พล.ต.ท.น.พ.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย แถลงข่าวจุดยืนของแพทยสมาคมต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ห้องประชุมแพทยสมาคมว่า ขณะนี้มีความขัดแย้งกันระหว่างประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ซึ่งประเด็นต่างๆ หลายประเด็นไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ทำให้ผลประโยชน์ไม่เกิดแก่ประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งอาจเกิดผลกระทบกับการบริการสาธารณสุขของบุคลากรทางการแพทย์
 
พล.ต.ท.น.พ.จงเจตน์ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการบริหารแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ประชุมร่วมกันและมีมติว่า รัฐบาลควรถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาก่อนชั่วคราว เพื่อพิจารณารายละเอียดให้เหมาะสมและลดความขัดแย้งในสังคม โดยตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย คือ1.บุคลากรทางการแพทย์ 2.ภาคประชาชน และ3.ตัวแทนภาครัฐ ร่วมกันพิจารณาและแก้ไขในประเด็นที่มีความขัดแย้ง เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
 
“หากร่างฉบับดังกล่าวผ่านเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ก็จะถกเถียงในประเด็นต่างๆ ลำบาก และไม่ครอบคลุมประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งหากถอนร่างออกมาแล้วก็เสนอกลับเข้าไปใหม่ได้ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างไร” พล.ต.ท.น.พ.จงเจตน์กล่าว
 
รศ.น.พ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ เลขาธิการแพทยสมาคม กล่าวว่า หากพิจารณาจากหลักการและเหตุผลจะเห็นได้ว่าร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นสิ่งที่ดี แต่หากดูลึกลงไปในรายละเอียดเนื้อหาบางประเด็นของร่างพ.ร.บ.ยังกำกวมและวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างกว้างๆ ยังไม่เจาะลึกลงไปในรายละเอียด รวมทั้งยังต้องออกกฎหมายลูกออกมาเพื่อรองรับให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้จุดประสงค์ของร่างพ.ร.บ.ก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการสาธารณสุข ซึ่งขัดกับเนื้อหาบางประเด็นที่ว่าหากจ่ายเงินทดแทนแก่ผู้เสียหายไปแล้ว หากผู้เสียหายประสงค์จะฟ้องร้องต่อแพทย์ก็สามารถกระทำได้ ซึ่งตรงนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันมาก
 
วันเดียวกันที่แพทยสภา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชมรมเพื่อนโรคไต มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิสุขภาพไทยสมาคมผู้บริโภคสงขลา สมาคมผู้บริโภคขอนแก่น และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน ประมาณ 30 คนเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงแพทยสภา พร้อมกับนำเทียนพรรษาขนาดใหญ่ 2 เล่มมาจุดบริเวณหน้าป้ายแพทยสภา เพื่อเรียกร้องและผลักดันร่าง พ.ร.บ.ผู้เสียหายทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยมี น.พ.อำนาจ กุสลานันท์ อุปนายกแพทยสภา เป็นตัวแทนรับหนังสือ
 
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวว่า ข้อมูลที่แพทยสภานำเสนอออกมาขณะนี้เป็นการให้ข้อมูลด้านเดียว เป็นข้อมูลที่มีอคติให้ร้ายร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ให้การรักษากับผู้ป่วย จึงต้องเดินทางมาเพื่อเตือนสติแพทยสภาให้อยู่ในศีลธรรม เลิกให้ข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ทั้งที่แพทยสภามีตัวแทนอยู่ในการร่วมร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมาตลอด แต่กลับบอกว่าเป็นร่างที่เกิดจากเอ็นจีโอ และผู้หญิงสติไม่ดีที่กดดันรัฐบาล ซึ่งมาตราสำคัญของพ.ร.บ. คือ มาตรา6 ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้น และมาตรา 45 เรื่องฟ้องในคดีอาญา ล้วนเป็นประเด็นที่แพทยสภาและภาคประชาชนร่วมกันทำงานทั้งสิ้น ซึ่งกว่าจะเป็นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้มาจากความเห็นของหลายฝ่ายและได้ลงความเห็นร่วมกันไว้แล้ว
 
“การนำเทียนมาจุด เพราะเห็นว่าขณะนี้แพทยสภากำลังมืดบอด อยากขอให้แพทยสภาหยุดให้ข้อมูลให้ร้ายภาคประชาชน และทำให้เกิดความร้าวฉานมากไปกว่านี้ วันนี้สังคมต้องการข้อเท็จจริงมากกว่าสิ่งใด ถือเป็นเรื่องเศร้าของภาคประชาชนอย่างยิ่งที่ถูกมองว่ากฎหมายฉบับนี้จะนำไปสู่ความไม่เข้าใจ ทั้งที่ทำงานมาเป็นเวลาหลายปี และผ่านความเห็นจากฝ่ายต่างๆ มาแล้ว” นายนิมิตร์กล่าว
 
ขณะที่ น.พ.อำนาจกล่าวว่า แพทยสภามีเจตนารมณ์ที่จะดูแลประชาชน และเพื่อนร่วมวิชาชีพแพทย์ ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งแพทยสภาหารือร่วมกันและมีมติว่า 1.แพทยสภาได้พิจารณาเนื้อหาของร่างพ.ร.บ. พบว่าสาระสำคัญไม่สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลที่กล่าวไว้ หากประกาศบังคับใช้จะไม่สามารถลดความขัดแย้งในระบบบริการสาธารณสุขได้จริง แม้ว่าแพทยสภาจะเห็นด้วยในเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.นี้ 2.หน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียของร่างพ.ร.บ.ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบรายละเอียด และมีส่วนร่วม 3.เนื้อหาของพ.ร.บ.จะมีผลกระทบรุนแรงต่อเนื่องต่อระบบการเงินการคลัง และบริการสาธารณสุขของประเทศ
 
4.แพทยสภาเสนอให้ขยายการเยียวยาความเสียหายทางการแพทย์ให้ครอบคลุมประชากรทั้งประเทศ ผ่านระบบประกันสุขภาพที่มีอยู่แล้ว 5.ควรถอนร่าง พ.ร.บ.นี้มาทบทวนให้รอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงทั้งนี้ ในการประชุมร่วมกันระหว่างภาคประชาชน และแพทย์ในสัปดาห์หน้า แพทยสภาจะนำเสนอประเด็นเหล่านี้นำเสนอด้วย
 
“การถอนร่างพ.ร.บ.ออกมาทบทวนไม่ได้หมายความว่าแพทยสภาอยากให้ล้ม พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ควรนำมาพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยมีบุคคลฝ่ายต่างๆ มาวิพากษ์วิจารณ์ แก้ไข และส่งกลับเข้ากระบวนการพิจารณาของสภาใหม่หากปล่อยให้พิจารณาในสภาเลยอาจทำให้เสียเวลาและล่าช้า ซึ่งประเด็นที่แพทยสภาเห็นว่าต้องปรับเปลี่ยน เช่น สัดส่วนของคณะกรรมการที่ควรมีตัวแทนจากสภาวิชาชีพ ในสัดส่วนเท่าๆ กัน เพราะการจะพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการรักษาหรือไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญลงความเห็น นอกจากนี้การที่ไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ต้องมีหลักเกณฑ์ที่ละเอียดกว่านี้ รวมถึงที่มาของกองทุน และการจ่ายเงินชดเชย จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน" น.พ.อำนาจกล่าว
 
วันเดียวกัน พ.ญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย และที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์ร.พ.ศูนย์ และร.พ.ทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวว่าวันนี้มีแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศจากร.พ.ในสังกัด รพศ./รพท.กว่า 10 แห่งทั่วประเทศ ร่วมแต่งชุดดำ แล้วยืนไว้อาลัยหน้าเสาธง ร.พ.อาทิ จ.บุรีรัมย์ ชลบุรี ราชบุรีสุรินทร์ เชียงใหม่ อย่างไรก็ตามวันที่ 30 ก.ค.นี้เวลา 07.00 น.กลุ่มแพทย์จากทุกจังหวัดจะรวมตัวกันแต่งชุดดำเดินทางมากระทรวงสาธารณสุขเพื่อไว้อาลัยแก่ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน
 
พ.ญ.วารุณี จินารัตน์ ผอ.ร.พ.ราชวิถี กล่าวว่า วันที่ 30 ก.ค.กลุ่มแพทย์ของร.พ.จะเข้าร่วมประท้วงกับ รพศ./รพท.แน่นอน และจะเริ่มแต่งดำปฏิบัติงานตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะได้ความชัดเจนของร่างกฎหมายนี้ ส่วนความห่วงใยจากคนไข้ที่ว่าหากแพทย์เข้าร่วมประท้วงจะไม่มีแพทย์รักษา ขอยืนยันว่าจะมีแพทย์เข้าร่วมเพียงบางส่วนขึ้นกับความสมัครใจ
 
ขณะที่น.พ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ร.พ.พระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี กล่าวว่า วันนี้มีแพทย์และบุคลากรแต่งดำประท้วงประมาณ100 คนที่หน้าเสาธงร.พ. ยอมรับว่ามีจำนวนไม่มากอย่างที่คิด เนื่องจากหลายคนติดภารกิจและบางคนมีความคิดเห็นเปลี่ยนแปลงไป
 
ด้าน ศ.น.พ.สมศักดิ์ โล่เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า สภาวิชาชีพทั้ง 6 ประกอบด้วยแพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัดและสภาเภสัชกรรม ได้หารือเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขมีความเห็นคัดค้านร่างพ.ร.บ.ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของครม. อย่างไรก็ตามวันที่ 2 ส.ค.นี้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข เชิญผู้แทนสภาวิชาชีพทั้ง 6 เข้าหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้
 
ต่อมาเวลา 15.00 น.เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์และเครือข่ายผู้บริโภค ประมาณ 30 คน เข้าพบ น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง น.พ.ไพจิตร์กล่าวสรุปว่าเท่าที่รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย ต่างเห็นด้วยใน2 หลักการว่า ประชาชนที่ได้รับความเสียหายต้องได้รับการดูแล และบุคลากรแพทย์ พยาบาลจะต้องทำงานด้วยความสบายใจ ไม่กังวลเรื่องฟ้องร้อง หรือภาระที่จะเกิดขึ้นภายหลังการรักษา เมื่อเห็นชอบร่วมกันในหลักการแล้วก็ต้องหาวิธีทำให้เกิดหลักการทั้ง 2 เรื่องต่อไปโดยจะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้หารือ พูดคุยกันเพื่อทำความเข้าใจและหาจุดยืนร่วมกัน
 
ส่วนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวหากไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นก็กระทำได้ แต่ขอให้พิจารณาตามความเหมาะสมทั้งนี้ มอบหมายปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานไกล่เกลี่ยสร้างความสมานฉันท์ในกลุ่มแพทย์ พยาบาลที่คัดค้าน และภาคประชาชนที่สนับสนุน ส่วนการขยายมาตรา 41 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพในการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ ให้ครอบคลุมสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการนั้น ขอปฏิเสธตอบคำถามเรื่องนี้เนื่องจากต้องการให้บรรยากาศเป็นไปด้วยดี
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ กลุ่มแพทย์ และบุคลากรด้านสาธารณสุข ของ ร.พ.หลายแห่งทั่วประเทศ อาทิ ร.พ.ศูนย์อุดรธานี ร.พ.หนองคายร.พ.ศูนย์ยะลา ร.พ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก ร.พ.พิจิตร ร.พ.ราชบุรี ร.พ.สตูล เป็นต้น พร้อมใจกันแต่งชุดดำทำงาน จากนั้น เวลาประมาณ 12.00 น.ที่หน้าเสาธงทุก ร.พ.มีการอ่านแถลง การณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางสาธารณสุข โดยเรียกร้องให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ออกจากสภาผู้แทนฯ แล้วตั้งกรรมการจากทุกฝ่ายมาหาข้อสรุปอีกครั้ง มิฉะนั้นจะมีการเคลื่อนไหวคัดค้านต่อต้านต่อไป
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานหญิงกัมพูชาถูกตำรวจไล่ทุบ หลังประท้วงขอเพิ่มค่าแรง

$
0
0

คนงานหญิงโรงงานสิ่งทอในกัมพูชากว่า 3,000 คน ปะทะกับตำรวจ 100 กว่านาย ที่เข้าสลายการชุมนุม หลังคนงานออกมาประท้วงเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม และปกป้องสมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกพักงาน ซึ่งผลจากการปะทะทำให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 9 คน
<!--break-->

 

ตำรวจกัมพูชาขอคืนพื้นที่ถนนและกระชับพื้นที่ให้คนงานกลับเข้าไปทำงานในโรงงาน 
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 53 ที่ผ่านมาสื่อต่างประเทศได้รายงานว่าคนงานหญิงโรงงานเสื้อผ้าและสิ่งทอในกัมพูชากว่า 3,000 คน ปะทะกับตำรวจ 100 กว่านาย ที่เข้าสลายการชุมนุม หลังคนงานออกมาประท้วงเรียกร้องค่าแรงเพิ่ม และปกป้องสมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกพักงาน ซึ่งผลจากการปะทะทำให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 9 คน
การปะทะกันเกิดหลังคนงานหญิงของโรงงาน Perusahaan Chan Choo Sing Sdn Bhd หรือ PCCS ที่มีเจ้าของสัญชาติมาเลเซีย ได้รวมตัวประท้วงเพื่อเรียกร้องค่าแรงเพิ่มจากเดือนละ 60 ดอลลาร์ ให้ขยับขึ้นเป็น 75 ดอลลาร์ รวมถึงประท้วงที่นายจ้างได้ทำการพักงานผู้นำสหภาพแรงงานของพวกเธอ
สหภาพแรงงานเสรีแห่งกัมพูชา (FTUWKC) เปิดเผยว่าตำรวจได้ผลักดันให้ผู้ประท้วงกลับเข้าทำงานตามคำสั่งศาลที่ให้เคลียร์พื้นที่ผลักดันผู้ชุมนุมออกจากท้องถนนและให้กลับเข้าทำงานในโรงงาน โดยผู้บาดเจ็บทั้ง 9 เป็นหญิงทั้งหมด
ทั้งนี้โรงงาน PCCS เป็นโรงงานที่รับจ้างผลิตให้กับแบรนด์ดังอาทิเช่น Adidas, The Gap, Old Navy, Carter's, Puma, Champion, Cross Creek และ Nike เป็นต้น

 
ข้อมูลเกี่ยวกับภาคสิ่งทอกัมพูชา
 
ข้อมูลจาก economywatch.com ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอนำรายได้เข้ากัมพูชามากเป็นอันดับ 3 รองจากภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว เมื่อปี 2008 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอของกัมพูชาอยู่ที่ 2.92 พันล้านดอลลาร์ และปี 2009 มีมูลค่าการส่งออก 2.3 พันล้านดอลลาร์ โดยตลาดใหญ่สุดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
 
สำหรับปี 2010 นี้ จากข้อมูลของกระทรวงพานิชย์กัมพูชาระบุว่าในช่วงไตรมาสแรกการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอมีอัตราโตเพิ่มขึ้น 7.24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2009 ที่ผ่านมา แต่การขยายตัวดังกล่าวยังต่ำกว่าระดับที่เคยส่งออกได้ในไตรมาสแรกปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก
 
โดยกัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ารวม 671 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก มูลค่า 626 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกปี 2009 โดยการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐเพิ่มขึ้น 4.13% จากมูลค่า 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปเป็น 411 ล้านดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 7.32% และตลาดต่างประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้น 20.12%
 
แต่ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบก็มีมูลค่าสูงเช่นกัน โดยในปี 2009 กัมพูชานำเข้าวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอคิดเป็นมูลค่า 1,507 ล้านดอลลาร์ แสดงให้เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอของกัมพูชาอาศัยจุดเด่นคือค่าแรงที่ถูก
 
ปัจจุบันคาดการณ์ว่าแรงงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมนี้อยู่นี้ระหว่าง 330,000 - 360,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิง โดยในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008-2009 โรงงานกว่า 30 แห่งต้องปิดตัวลงไป และมีการเลิกจ้างคนงานมากกว่า 30,000 คนในช่วงนั้น
 
จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอกัมพูชาพบว่าในปี 2008 เจ้าของโรงงานในอุตสาหกรรมนี้เป็นชาวต่างชาติ (62%) โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากจีน, ฮ่องกง และไต้หวัน
 
เนื่องจากการได้รับค่าแรงต่ำและส่วนใหญ่เป็นกิจการของชาวต่างชาติ ในภาคอุตสาหกรรมนี้คนงานจึงมีการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานไว้เพื่อเป็นพลังต่อรอง โดยในภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสิ่งทอนี้มีสหภาพแรงงานถึง 273 สหภาพเลยทีเดียว
 
 
 
ที่มา:
Cambodian riot police clash with strikers (Tim Johnston, ft.com, 27-7-2553)
http://www.ft.com/cms/s/0/e903b470-99c3-11df-a0a5-00144feab49a.html
Striking female workers paid just £1 a day at factory which makes clothes for Gap and Adidas are beaten by riot police (Daily Mail, 27-7-2010)
http://www.dailymail.co.uk/news/worldnews/article-1298020/Cambodian-garment-workers-injured-clash-riot-police-Gap-Adidas-factory.html
http://www.economywatch.com/world_economy/cambodia/ (เข้าดูเมื่อ 28-7-2010)
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยอุทยานเรียกเก็บ 17 ล้าน ชาวบ้านโดนคดีทำโลกร้อน “ธีรยุทธ”จวกสูตรคำนวณ“ตั้งใจโง่”รังแกคนจน

$
0
0

คทป.จัดสัมมนาวิชาการ “การคิดค่าเสียหายคดีความโลกร้อน: นัยทางวิชาการและกระบวนการยุติธรรม” เผยผลวิจัยยัน วิถีการอยู่กับป่าไม่ได้ทำให้เกิดความเสื่อมเสียกับทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำโลกร้อน นักวิชาการเศรษฐศาสตร์จี้ยกเลิกสูตรคำนวณค่าเสียหาย

<!--break-->

 
วานนี้ (29 ก.ค.35) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) จัดสัมมนาวิชาการ “การคิดค่าเสียหายคดีความโลกร้อน: นัยทางวิชาการและกระบวนการยุติธรรม” ที่ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์ เพื่อระดมความเห็นต่อสถานการณ์การฟ้องคดีข้อหาทำให้โลกร้อน และทำความเข้าใจต่อสาธารณะถึงวิถีการผลิตและการใช้ทรัพยากรที่ยังยืนของชุมชน พร้อมนำเสนอแนวทางเพื่อการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร อย่างยั่งยืน และบรรเทาภาวะโลกร้อน
 
 
“ธีรยุทธ” จวก “อุทยาน” คิดค่าเสียหายโลกร้อน “ตั้งใจโง่” รังแกชาวบ้าน
 
ธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงวิธีคำนวณค่าเสียหาคดีความโลกร้อนว่า การคิดคำนวณไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานคิดแบบวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังสะท้อนถึงปัญหารากเง้าของสังคมไทย ที่มองปัญหาที่ปลายเหตุ แต่มองข้ามรากเง้าต้นตอของปัญหา ซึ่งโดยภาพรวมแล้วมองว่าชาวบ้านและคนจนได้เป็นเหยื่อความรู้ความคิดที่ไม่ถูกต้องแบบโมเดิร์นไนเซชั่น อันเป็นกระบวนการทำให้ทันสมัยโดยอำนาจทุนนิยมตะวันตกเอามาใช้เพื่อเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีดจากประเทศยากจน ในขณะที่รัฐเองก็ตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาด้วยเช่นเดียวกัน 
 
กระบวนการคิดแบบโมเดิร์นไนเซชั่นนี้ เป็นรากเง้าที่สร้างปัญหาทำให้เกิดข้อถกเถียง ไม่เพียงแต่กรณีที่ดิน-ป่าไม้ ยังรวมถึง ปัญหาสลัม แรงงาน ผู้อพยพ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ อำนาจไม่ได้กระจายเต็มที่ ไม่ได้สมดุล หากการพัฒนาไม่อยู่ในทิศทางที่ถูกต้องปัญหาก็จะสืบเนื่องต่อไป ตรงนี้นำมาสู่การปฏิรูปประเทศที่ต้องมองมาจากฐานความรู้ ฐานคิดที่ตั้งอยู่บนความยุติธรรม มีความเข้าใจปัญหาร่วมกัน ถัดไปเราต้องทำความเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน เพื่อที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในสังคมด้วย
 
ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ฯ กล่าวต่อมาถึงความยุติธรรมว่า พิจารณาได้หลายแง่มุม สำคัญคือต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งเชิง ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่จริงเข้าด้วยกัน ในเชิงประวัติศาสตร์พิจารณาปัญหาโลกร้อนที่ผ่านมาใครเป็นตัวการ จากการตามข่าว จีนมีวิธีคิดที่มองเชิงประวัติศาสตร์ว่า ปัญหาโลกร้อนนั้นเกิดจากการพัฒนาของประเทศตะวันตกที่มีมาหลายร้อยปี จีนจึงไม่ยอมรับกติกาสากลที่เสนอแนวทางต่อสภาวะปัจจุบัน เพราะยังต้องการพัฒนาประเทศ และคิดว่าประเทศพัฒนาแล้วควรเป็นผู้รับผิดชอบก่อน ในส่วนของประเทศไทยหากพิจารณาใครก่อให้เกิดปัญหาต้องรับผิดชอบ ทั้งโรงงาน และคนเมืองต่างก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับปัญหาโลกร้อน
 
ธีรยุทธ กล่าวด้วยว่า กระบวนการคิดคำนวณความเสียหายของสภาพแวดล้อม ที่ครอบคลุมแค่เรื่องดิน น้ำ ต้นไม้ โดยเฉพาะอากาศที่ร้อนขึ้นนั้น มีความซับซ่อน จะมาใช้วิธีคิดคำนวณง่ายๆ อย่างที่ทำอยู่ในวันนี้ไม่ได้ ต้องทำงานการบ้านให้มากกว่านี้ ซึ่งมีกรอบวิธีคิดเยอะมากที่จะคิดค่าเสียหายในรูปแบบต่างๆ และทำได้ทั้งที่เอื้อและไม่เอื้อต่อชาวบ้าน เอื้อและไม่เอื้อต่อความเข้าใจกัน ทั้งนี้ นักวิชาการในด้านนี้และชาวบ้านน่ามีการช่วยกันคิดเรื่องหลักเกณฑ์ใหม่ และวิธีการแก้ปัญหาทำได้อย่างไร
 
“เป็นวิธีคิดแบบตั้งใจโง่ คนที่มีเหตุ มีผล มีวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์จะไม่กล้าคิด” ธีรยุทธแสดงความเห็นต่อการคิดค่าเสียหายกับชาวบ้าน
 
ผู้อำนวยการสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์ฯ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวตามจริงไม่สนับสนุนการรุกทำลายป่า แต่กระบวนการที่จะแก้ปัญหาควรดูวิธีการ อย่างไรก็ตามศาลน่าจะมีส่วนในการช่วยเหลือ ร่วมทั้งการปรับกระบวนการคิดใหม่ เพราะกระบวนการพัฒนาที่รัฐเป็นฝั่งผิดพลาดตั้งแต่ต้นและส่งผลกระทบให้เกิดกับชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นต้นตอของปัญหา หากมองเห็นก็จะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อชาวบ้านได้
 
 
 
เกณฑ์คำนวณค่าเสียหายของป่าต้นน้ำตามหลักการแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของกรมอุทยานฯ
 
1. การทำให้สูญหายของธาตุอาหาร คิดค่าเสียหาย 4,064 บาทต่อไร่ต่อปี
2. ทำให้ดินไม่ดูดซับน้ำฝน 600 บาทต่อไร่ต่อปี
3. ทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่ โดยการแผดเผาของดวงอาทิตย์ 52,800 บาทต่อไร่ต่อปี
4. ทำให้ดินสูญหาย 1,800 บาทต่อไร่ต่อปี
5. ทำให้อากาศร้อนมากขึ้น 45,453.45 บาทต่อไร่ต่อปี
6. ทำให้ฝนตกน้อยลง คิดค่าเสียหาย 5,400 บาทต่อไร่ต่อปี
7. มูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าสามชนิด คือ
7.1 การทำลายป่าดงดิบค่าเสียหายจำนวน 61,263.36 บาท
7.2 การทำลายป่าเบญจพรรณ ค่าเสียหายจำนวน 42,577.75 บาท
7.3 การทำลายป่าเต็งรัง ค่าเสียหายจำนวน 18,634.19 บาท
    
เมื่อนำค่าเฉลี่ยของมูลค่าความเสียหายทางตรงจากป่าสามชนิด(ตามข้อ7.1-7.3)ซึ่งมีค่าเท่ากับ 40,825.10 บาทต่อไร่ต่อปี มารวมกับมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม(ข้อ1-6) จำนวน 110,117.60 บาทต่อไร่ต่อปี รวมมูลค่าทั้งหมดเท่ากับ 150,942.70 บาท แต่เพื่อความสะดวกกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชคิดค่าเสียหายจำนวน 150,000 บาทต่อไร่ต่อปี

 
 
เผยมีชาวบ้าน ถูกฟ้อง 131 คดี กว่า 500 ราย
 
อารีวรรณ คูสันเทียะ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลคดีความที่มีการรวบรวมล่าสุดในปี 2553 โดยทีมทนายความของเครือข่ายฯ พบว่ามีสมาชิกที่ถูกดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาข้อหาบุกรุก ทั้งหมด 131 คดี จำนวน 500 ราย จากทั่วประเทศ ดำเนินคดีความทางแพ่ง ข้อหาทำให้โลกร้อน จำนวนทั้งสิ้น 30 ราย มูลค่าความเสียหายที่ทางกรมอุทยานเรียกเก็บจากชาวบ้านโดยรวมกว่า 17,559,434 บาท ทั้งนี้ ชาวบ้านถูกฟ้องร้องคดีอาญาในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าของรัฐ ทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามาแล้วทั้งสิ้น ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีความทางแพ่ง 
 
ส่วนรายละเอียด ขณะนี้มีเกษตรกรอยู่ระหว่างการบังคับคดี 1 ราย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ชำระค่าเสียหาย 1 ราย และวันที่ 3-6 สิงหาคมนี้ จะเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลอีก 16 ราย
 
อารีวรรณ กล่าวต่อมาถึงงานวิจัยวิถีชุมชนทองถิ่น ผู้สร้างภาวะโลกเย็นว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลผลการศึกษาไปใช้อธิบาย ต่อสู้ทางคดีความในชั้นศาล และสร้างความเข้าใจต่อสังคมถึงวิถีการดำเนินชีวิต วิถีการผลิต และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนของชุมชนที่สัมพันธ์กับเรื่องภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพทางนิเวศ โดยได้ ลงสำรวจในภาคเหนือ ที่ชุมชนห้วยหินลาด อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ในภาคอีสาน ที่ชุมชนห้วยกลทา-ห้วยระหงส์ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และภาคใต้ ที่ชุมชนทับเขือ-ปลักหมู อ.นาโยง และชุมชนบ้านตระ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 
 
แสดงศักยภาพการกักเก็บคาร์บอน 
 
 
 
 
พบว่าวิถีการผลิตต่อการกับเก็บและปลดปล่อยคาร์บอน ที่ชุมชนห้วยหินลาด ป่าชุมชนมีปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.4 ล้านตันต่อปี ขณะที่มีสูญเสียจากพื้นที่ไร่หมุนเวียนและนาข้าว 548 ตันต่อปี สัดส่วนการดูดซับ:การสูญเสียคือร้อยละ 99.92:0.08 ในชุมชนห้วยกลทา ป่าชุมชน (ป่าเต็งรัง) และสวนมะขามมีปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์รวม 2,356 ตันต่อปี ขณะที่มีการสูญเสียในไร่ข้าวโพด 3.69 ตันต่อไร่ต่อปี ชุมชนมีสัดส่วนการดูดซับ:การสูญเสียร้อยละ 99.43:0.57 ส่วนที่ชุมชนทับเขือ-ปลักหมู ป่าชุมชนมีปริมาณการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 11,373.89 ตันต่อปี ขณะที่มีการสูญเสียจากยางพารา 1,201.76 ตันต่อปี สัดส่วนการดูดซับ:การสูญเสียคือร้อยละ 72:28 
 
ส่วนวิถีการผลิตที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะเรื่องอุณหภูมินั้น มีการศึกษาโดยวีการติดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ในระดับความสูงต่างๆ ตั้งแต่ผิวดิน ไปจนถังเหนือผิวดิน 1.5 เมตร ในพื้นที่เพาะปลูกรูปแบบต่างๆ เทียบกับพื้นที่ป่า พบว่าโดยสรุป อุณหภูมิในพื้นที่เพาะปลูกไม่ได้สูงกว่าป่าธรรมชาติเสมอไป บางกรณีทำให้อากาศเย็นมากกว่า เช่น กรณีสวนมะขามเมื่อเทียบกับป่าเต็งรัง และแม้จะมีช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงกว่า แต่ก็สั้นเป็นเพียงช่วงสั้นๆ 4-6 ชม.เท่านั้น ในขณะที่ช่วงกลางคืนอุณหภูมิกลับต่ำกว่า ทั้งนี้ เหนือผิวดิน 50 ซม.ขึ้นไปอุณหภูมิแทบไม่ต่างป่าธรรมชาติ
 
“วิถีการอยู่กับป่าไม่ได้ทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือเสียหายกับทรัพยากรธรรมชาติ และไม่ได้ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน” ผู้ทำการศึกษากล่าวถึงข้อสรุปที่ได้รับและเสริมว่า
 
“ชุมชนเกษตร ดำรงวิถีเพื่อความอยู่รอด ไม่ให้ทำเกษตร ไม่ให้ทำมาหากินกันป่าจะให้พวกเขาไปทำอะไร การศึกษานี้เพื่อตอบคำถามว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ อย่างร่มเย็นและถาวร”
 
 
อัด "สูตรค่าเสียหายโลกร้อน" ใช้เศรษฐศาสตร์ที่ไร้เศรษฐธรรม เสนอกรมอุทยานฯ ยกเลิก
 
เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่าการจัดทำแบบจำลองการคิดมูลค่าความเสียหายของกรมอุทยานฯ เป็นการใช้เศรษฐศาสตร์ที่ไร้เศรษฐธรรมคือ มีการคิดค่าเสียหายแบบเลือกปฏิบัติกับเกษตรกรรายย่อยไม่ได้คิดกับทุกคนในเขตเมือง หรืออุตสาหกรรมที่ก็มีส่วนในการก่อปัญหา และตามแบบจำลองเป็นการคิดค่าเสียหายแบบแยกส่วนไม่ดูวิถีชีวิต เช่น พื้นที่บ้านห้วยกลฑา ชาวบ้านดูแลป่ากว่า 1,500 ไร่ แต่ถูกจับเพราะปลูกข้าวโพด 9 ไร่ เป็นต้น อีกทั้งไม่ได้ตั้งอยู่บนการสำรวจในพื้นที่จริง จึงเสนอให้กรมอุทยานฯ ต้องยกเลิกแบบจำลองนี้
 
ด้าน ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเก็บข้อมูลกล่าวว่า จากการได้ลงพื้นที่ร่วมกับชาวบ้าน พบว่าสิ่งที่ช่วยในการอนุรักษ์ คือการที่ชาวบ้านรักษาพื้นที่ป่าโดยมีการใช้ทั้งความเชื่อและองค์ความรู้ท้องถิ่น มีป่าริมน้ำเป็นทีเป็นเส้นทางเชื่อมของสัตว์ป่าเดินทางระหว่างอุทยานกับป่าชุมชน อีกทั้งช่วยป้องกันการชะล้างดินริมฝั่งและเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ด้วยการปลูกพืชผสมผสาน มีวิถีการเกษตรที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ เช่น ตัดพืชคลุมดินก่อนฤดูแล้ง ทำสวนยางพารา 4 ชั้นอายุ และการเปลี่ยนยางใหม่โดยขวางแนวลาดชันที่ป้องกันการชะล้างหน้าดิน รวมทั้งมีการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชดั่งเดิม
 
ส่วน ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงเรื่องสิทธิชุมชนซึ่งระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญว่า เป็นสิทธิโดยทั่วไปของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของชุมชนท้องถิ่นดั่งเดิม ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์และเหตุผลทางกฎหมาย ซึ่งจะเอาการพัฒนามากดทับสิทธิชุมชนไม่ได้ อย่างไรก็ตามการได้มาซึ่งสิทธิชุมชุน มีองค์ประกอบ 4 ข้อคือ 1.ชุมชนต้องพร้อมแสดงออกว่าเป็นผู้มีสิทธิชุมชน ให้ปรากฏ 2.แสดงตนว่ามีความสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เพียงพอคือสูงกว่ากรมป่าไม้ สูงกว่าจึงควรเป็นผู้ดูแลยิ่งกว่า 3.สามารถระบุบ่งได้ว่าเกี่ยววิถีชีวิตและจัดการทรัพยากรอย่างไร 4.พร้อมทำข้อตกลงกับองค์กรที่เกี่ยวข้องหรือรัฐ ในการจัดการพื้นที่ ด้วยการระบุวิธีและกระบวนการอันเป็นส่วนหนึ่งของจารีต ประเพณีวัฒนธรรม อันเป็นการใช้สิทธิเพื่อการดำรงอยู่ด้วยความสมดุลและยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
 
“สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิทธิทำกิน ไม่ใช่สิทธิทำทุน” ดร.กิตติศักดิ์กล่าว
 
ขณะที่ แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความอิสระ กล่าวถึงเกณฑ์คำนวณค่าเสียหาย 7 ข้อว่า ไม่สามารถอธิบายเป็นเหตุเป็นผลเชื่อมโยงได้ เพียงแต่อ้างการเข้าไปทำกินในป่าสงวนว่า ย่อมมีการตัดต้นไม้ เมื่อมีการตัดต้นไม้ย่อมทำให้อากาศร้อนขึ้น แต่ไม่มีกระบวนการพิสูจน์ มีแต่สูตรคำนวณทั่วๆ ไป อีกทั้งยังนำข้ออ้างใช่สิ่งที่ไม่เป็นทรัพย์ที่คำนวณได้มาตีขลุมเป็นทรัพย์สินของรัฐเพื่อมาใช้เรียกค่าเสียหาย เช่น อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
 
นอกจากนั้น นายแสงชัย ยังกล่าวแสดงความห่วงใยถึงข้อตกลงระหว่างประเทศในการซึ้อขายคาร์บอน ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการเลี่ยงความรับผิดชอบจากอุตสาหกรรมโดยโยนความรับผิดชอบสู่ภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้ หากการทำกินมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนตัวคิดว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ขณะเดี่ยวกัน อุตสาหกรรมกลับพยายามสร้างภาพให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดและได้รับการสนับสนุนของรัฐ โดย คาร์บอนเครดิต และฉลากคาร์บอน ไม่อยากเห็นคดีเหล่านี้มาเป็นตัวผลักดันชาวบ้าน แต่ต้นตอที่แท้จริงกลับหาไม่เจอ
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ระเบิดซอยรางน้ำ สาหัส 1 ราย

$
0
0

<!--break-->

30 ก.ค. 2553 - เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น รายงานว่ามีเหตุระเบิดเกิดขึ้นที่บริเวณข้างธนาคารกสิกรไทย ใน ซ.รางน้ำ ใกล้กับ ห้างสรรพสินค้าคิงส์พาวเวอร์ โดยมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพ นำส่งรพ.ใกล้เคียงแล้ว ตรวจสอบที่เกิดเหตุพบ มีรถตู้จอดอยู่บริเวณด้านหน้าที่ 1 คัน และมีรถชาเล้ง หรือรถรับซื้อของเก่า จอดอยู่ใกล้กับที่เกิดเหตุด้วย โดยสภาพรถยังอยู่ในสภาพปกติ

ทั้งนี้ พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พร้อมด้วย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. และ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น. 1 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร รถฮัมวี่ ประมาณ 2-3 คัน เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้ว ด้าน ร.ต.ต. นิติ นิรุตติวัฑน์ พนักงานสอบสวน สบ.1 สน.พญาไท เปิดเผยว่า หลังได้รับเจ้งเหตุดังกล่าว จึงเดินทางเข้าตรวจสอบ พบเหตุระเบิดเกิดขึ้น บริเวณหน้าบ้านเลขที่ 27/15 ตรงข้ามกับ คิงพาวเวอร์ ซ.รางน้ำ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ที่เกิดเหตุพบชายอายุประมาณ 30-40 ปี สวมเสื้อยืดสีกรมท่า สวมเสื้อคลุมอีกชั้นหนึ่ง ใส่กางเกงเล สีชมพูออกแดง นอนหงายครวญครางอยู่ด้านหน้าบ้าน นอกจากนี้ยังมีรถตู้ สีขาว ยี่ห้อโตโยต้า หมายเลขทะเบียน ฮต 7693 กทม. ซึ่งเป็นรถตู้วิ่งวินระหว่างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ลพบุรี จอดอยู่ใกล้กัน อีกทั้งยังพบรถซาเล้งจอดอยู่ด้วย เบื้องต้นทราบว่า เป็นของชายที่ได้รับบาดเจ็บที่มีอาชีพเก็บของเก่า โดยขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่กล้าเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เพราะเกรงว่าจะเกิดเหตุระเบิดซ้ำซ้อน

ระหว่างนั้น คนเจ็บได้พยายามลุกขึ้นใน สภาพศีรษะเต็มไปเลือด ที่ใบหน้าที่เลือดออก แขนขาได้รับบาดเจ็บ
ประมาณ 20 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจ และกู้ภัยจึงเข้าไปอุ้มและช่วยเหลือชายคนดังกล่าว นำตัวส่งรพ.ราชวิถี อย่างเร่งด่วน
โดยอาการล่าสุดยังไม่ได้สติแพทย์อยู่ระหว่างการช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตาม จากการสอบสวนเบื้องต้น เหตุคนร้ายลอบนำระเบิดชนิดขว้างไปซุกไว้ในถังขยะในซอยรางน้ำ ตรงข้าม หน้าห้างสรรพสินค้าคิงเพาเวอร์ เมื่อช่วงกลางดึกที่ผ่าน จนเป็นเหตุให้ คนเก็บขยะที่อยู่ระหว่างการรื้อค้นขยะดังกล่าว ถูกแรงระเบิดอัด เข้าตามร่างกายจนได้รับบาดเจ็บอาการสาหัสนั้น ล่าสุด หลังพลตำรวจโทสัญฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้ว ได้เน้นย่ำให้เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสอบสวน เร่งตรวจสอบกล้องวงปิดในที่เกิดเหตุเพื่อติดตาหาเบาะแสของคนร้ายที่ก่อเหตุ ดังกล่าวแล้ว

ด้าน พลตำรวจตรีวิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เปิดเผยว่า จากการสอบสวน พบเป็นระเบิดชนิดขว้างจากจีน ซึ่งคนร้ายนำ มาถอดสลักออก แล้วใช้ยางรัดที่กระเดื่อง ก่อนนำน้ำมันมาราด เพื่อหน่วง เวลาในการระเบิด แล้วจึงมาวางไว้ในถุงดำ ก่อนที่จะมีผู้เคราะห์ร้ายมาเจอแล้ว ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้ประสานขอภาพจากกล้องวงจรปิดจากคิงพาวเวอร์ เพื่อนำมาตรวจสอบหาบุคคลต้องสงสัยแล้ว ส่วนผู้ก่อเหตุจะเป็นใครนั้น ยังไม่สามารถระบุได้

เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานอ้างถึงพยานในที่เกิดเหตุคือ นายสำรวย ทบภักดิ์ อายุ 37 ปี โชเฟอร์แท็กซี่ อยู่บ้านเลชที่ 25 หมู่ 7 ต.เขวไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม กล่าวว่า ก่อนเกิดเหตุตนจอดรถห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 200 เมตร จากนั้นได้เห็นประกายไฟที่ต้นไม้ พร้อมกับเสียงดังไปทั่วบริเวณ จากนั้นเห็นรถแท็กซี่ สีเขียว-เหลือง ซึ่งตอนเกิดเหตุจอดอยู่ด้านหลังรถซาเล้ง ได้ขับรถออกจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว น่าจะเป็นเพราะความตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

"ตอนเกิดเหตุผมตกใจมาก ในชีวิตไม่เคยเห็นระเบิดที่น่ากลัวขนาดนี้ มองไปเห็นแสงไฟ และเกิดเสียงดังมาก จากนั้นก็เกิดกลุ่มควันคละคลุ้งไปทั่วบริเวณ น่ากลัวมากที่สุด แต่ก็พอตั้งสติได้รีบโทรศัพท์แจ้งตำรวจ 191 ทันที" นายสำรวยกล่าว

 

โรงพยาบาลเผยเหยื่ออาจสูญเสียดวงตา
มติชนออนไลน์ยังได้รายงานอีกวา เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 30 กรกฎาคม พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 เดินทางเข้าเยี่ยมอาการผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดในกองขยะหน้าบ้านเลข ที่ 27 และ27/15 ภายในซอยรางน้ำ ฝั่งตรงข้ามคิงพาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กทม. ที่ห้องผู้ป่วยหนัก ตึกศัลยกรรมประสาท เตียง 6 โรงพยาบาลราชวิถี

พล.ต.ต.วิชัยกล่าวว่า  จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเบื้องต้นได้ให้ กก.สส.บก.น.1 และฝ่ายสืบสวน สน.พญาไท เร่งตรวจสอบหาญาติของผู้บาดเจ็บ ซึ่งเบื้องต้นพบว่าเป็นชาย อายุประมาณ 30 ปีเท่านั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานตามตัวว่าเป็นผู้ใด  โดยได้ให้ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดในจุดใกล้เคียงและร้านค้าต่างๆที่มี ประมาณ 9 จุดแล้ว โดยขณะนี้ยังไม่เห็นภาพที่คนร้ายนำระเบิดมาวางไว้ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะนำรายงานไปถึง ศปก.ตร.  และพล.ต.อ.ธานี สมบูรณ์ทรัพย์ รองเลขาธิการนากยกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ต่อไป

ด้านพญ.วารุณี จินารัตน์ ผอ.โรงพยาบาลราชวิถี เปิดเผยว่า  สำหรับผู้บาดเจ็บขณะนี้มีสะเก็ตระเบิดฝังอยู่ทั้งลำตัวและใบหน้า อาจต้องทำการผ่าตัดตาขางซ้ายอีกครั้ง และเสี่ยงที่จะสูญเสียตาข้างซ้ายไป ซึ่งอาการยังสาหัสมาก กระดูกขาขวาแตก และมีแผลเพราะถูกสะเก็ตระเบิดจำนวนมาก
 

เทพเทือกบอกป้องกันสถานการณ์ไม่ทัน ปัญหามาจากการข่าวแย่
สุเทพ เทือกสุบรรณบอกว่า ในที่ประชุม ศอฉ. เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา  ตนได้มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เป็นหลักในการจัดกำลังและสนธิกำลังจากฝ่ายต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ของ กทม. อาสาสมัคร และหากจำเป็นก็ขอกำลังสารวัตรทหารจาก 3 เหล่าทัพเข้ามาช่วยเสริม พร้อมกันนี้  ศอฉ.มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหมไปดูแลหน่วยข่าวทั้งหมด ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะเริ่มประชุมวันที่ 30 กรกฎาคมคมเพื่อวางแนวทางในการกำกับดูแล

“ที่ผ่านมาการข่าวยังไม่ค่อยทันเหตุการณ์ การแก้ไขปัญหาให้ได้ข่าวที่ทันต่อการแก้ไขสถานการณ์และป้องกันสถานการณ์ได้ ก็อยู่ที่ผลการกำกับดูแลของ รมว.กลาโหม ที่จะรายงานให้รับฟังเป็นระยะๆ และทุกฝ่ายต้องประสานกันได้ ต้องไม่มีกรณีต่างคนต่างทำ ซึ่งเรามีหน่วยข่าวหลายหน่วยที่มีหน้าที่ดูแลแล้วแต่กรณี แต่ในสถานการณ์อย่างนี้ต้องรวมกำลังกันป้องกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย”  นายสุเทพ กล่าว

 

ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, มติชนออนไลน์

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สุรยุทธ์" ขึ้นเหนือมอบนโยบาย "ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย" ให้เทิดทูนปกป้องสถาบัน

$
0
0

พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เดินสายขึ้นเหนือ มอบนโยบายให้กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยให้ร่วมกัน เทิดทูนและปกป้องสถาบัน ส่วนปัญหาความขัดแย้งทางความคิดในแต่ละพื้นที่นั้น ยอมรับ ว่ายังมีอยู่แต่คิดว่าแต่ละชุมชนจะสามารถจัดการได้โดยยึดหลักความสามัคคี
<!--break-->

30 ก.ค. 53 - พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนา ราษฎรชาวไทยภูเขาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมพบปะ พูดคุยกับตัวแทนกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อรับทราบ ปัญหา โดยส่วนใหญ่ต้องการให้ช่วยพัฒนาอาชีพและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ได้มอบนโยบายให้กลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยให้ร่วมกัน เทิดทูนและปกป้องสถาบัน ส่วนปัญหาความขัดแย้งทางความคิดในแต่ละพื้นที่นั้น ยอมรับ ว่ายังมีอยู่แต่คิดว่าแต่ละชุมชนจะสามารถจัดการได้โดยยึดหลักความสามัคคี ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือ ขอให้มีการช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และ การคมนาคมในพื้นที่ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังเสนอให้มีการ พัฒนาพื้นที่ที่เคยเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในอดีต ให้เป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ด้วย

ที่มาข่าว:

องคมนตรีเยี่ยมชาวเขาในภาคเหนือ (สทท.11 เชียงใหม่, 30-7-2553)
http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=100730163909

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โวยรัฐสกัดกั้นสื่อเห็นต่าง บุกจับ 12 วิทยุชุมชนเมืองคอน

$
0
0

เผย ตร.-กทช.บุกปิดวิทยุชุมชนกว่า 12 แห่งในนครศรีธรรมราช อ้างขัด พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม-พ.ร.บ.ประกอบกิจการการจายเสียงฯ จี้รัฐหยุดปิดกั้นสื่อ แสวงกติกาการใช้สื่อที่ทุกฝ่ายยอมรับ เพื่อรักษาพื้นที่ความเห็นต่าง ลดทอนความขัดแย้งและความเกลียดชัง

<!--break-->

เครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชน ออกแถลงการณ์ระบุ วานนี้ (29 ก.ค. 53) เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปรามและเจ้าหน้าที่สำนักงาน กทช.นำกำลังเข้าปิดสถานีและจับกุมแกนนำในสถานีวิทยุชุมชน 12 แห่ง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยอ้างว่าขัดต่อ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551

โดยเครือข่ายฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินการปิดกั้นสื่อ และยกเลิกคำสั่งสั่งปิดเว็บไซต์ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้น และเปิดให้ทุกฝ่ายได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมถึงระงับยับยั้งการใช้สื่อในเครือข่ายของรัฐเป็นเครื่องมือยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง สร้างการดูหมิ่นเหยียดหยาม เกลียดชังกัน และร่วมกันแสวงหาหลักเกณฑ์กติกาการใช้สื่อที่ทุกฝ่ายยอมรับ เพื่อรักษาพื้นที่ความคิดเห็นที่แตกต่าง ลดทอนความขัดแย้งและความเกลียดชัง

ด้านโครงการเฝ้าระวังการแทรกแซงวิทยุชุมชน (Community Radio Watch) โดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ (คปส.) รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.-7 ก.ค. 53 มีสถานีวิทยุชุมชนถูกปิดไปแล้ว 26 แห่งในพื้นที่ 9 จังหวัด ยุติการออกอากาศ 6 แห่ง ปรากฎรายชื่อในข่ายที่มีความผิด (แบล็กลิสต์) 84 แห่ง ในพื้นที่ 12 จังหวัด มีหัวหน้าสถานี กรรมการ และผู้จัดรายการ ถูกตั้งข้อหาและดำเนินคดี 35 ราย

 

 

แถลงการณ์ประณามรัฐบาลปิดวิทยุชุมชนที่นครศรีธรรมราช

หลังการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 รัฐบาลได้อาศัยอำนาจของกฎหมายปิดกั้นช่องทางการสื่อสารของประชาชน ทั้งเว็บไซต์ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ตลอดจนปิดสถานีวิทยุชุมชนที่เสนอเนื้อหาตรงข้ามกับรัฐบาล ล่าสุด เมื่อวานนี้ (29 ก.ค. 53) เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปราม เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) กว่า 50 นาย ได้บุกจับวิทยุชุมชนและเคบิลทีวีชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชกว่า 12 สถานี โดยตั้งข้อหากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม 2498 โดยตั้งข้อหาความผิด 3 ประการ คือ การประกอบกิจการวิทยุชุมชนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, การใช้เครื่องส่งโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และการใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้รับใบอนุญาต หนึ่งในนั้นมีผู้สื่อข่าวอาวุโส ของนครศรีธรรมราช เช่น สุรโรจน์ นวลมังสอ จากนครโพสต์ สมพร รักหวาน จากสถานี CSTV เคเบิลท้องถิ่น

เครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชน เห็นว่ามาตรการดังกล่าวของรัฐบาลเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน ซึ่งการจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำได้ก็เฉพาะในภาวะสงครามและเพื่อความมั่นคงของรัฐเท่านั้น การที่รัฐบาลปิดกั้นสื่อในทุกระดับและทุกช่องทางเพียงหวังจะลดทอนเสียงของกลุ่มผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล จะเป็นชนวนเหตุทำให้สถานการณ์ยิ่งลุกลามและขยายตัวไปสู่ความรุนแรงได้ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง การเปิดให้สื่อของรัฐและสื่อเอกชนที่เห็นด้วยกับรัฐบาลทำหน้าที่แต่เพียงฝ่ายเดียวจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน รัฐบาลจึงควรเปิดให้ทุกฝ่ายมีสิทธิในการสื่อสารอย่างเท่าเทียมกันเพื่อสร้างสมดุลของข่าวสาร และไม่สนับสนุนการใช้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง หรือสร้างการดูหมิ่นเหยียดหยาม เกลียดชังฝ่ายตรงข้ามกับตัวเอง เครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชน จึงขอเสนอความเห็นต่อรัฐบาล ดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลยุติการดำเนินการปิดกั้นสื่อ และยกเลิกคำสั่งสั่งปิดเว็บไซต์ สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม และวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้น และเปิดให้ทุกฝ่ายได้สื่อสารและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ตั้ง

2. ขอให้รัฐบาลระงับยับยั้งการใช้สื่อในเครือข่ายของรัฐเป็นเครื่องมือยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง สร้างการดูหมิ่นเหยียดหยาม เกลียดชังกัน และร่วมกันแสวงหาหลักเกณฑ์กติกาการใช้สื่อที่ทุกฝ่ายยอมรับ เพื่อรักษาพื้นที่ความคิดเห็นที่แตกต่าง ลดทอนความขัดแย้งและความเกลียดชัง

3. วิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันที่นำมาซึ่งความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไทย ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐในการปฏิรูปสื่อ ส่งผลให้สังคมไทยขาดกลไกที่เป็นอิสระกำกับดูแลสื่อวิทยุและโทรทัศน์เป็นเวลายาวนาน และรัฐมีการเลือกปฏิบัติหนุนสื่อที่เชียร์แต่ทำลายล้างสื่อที่คิดแตกต่าง ซึ่งมีแต่จะส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทยโดยรวม

30 กรกฎาคม 2553
เครือข่ายอาสาสมัครนักสื่อสารชุมชน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านพนมสารคาม-สนามชัยเขต ชุมนุมปิดถนนต่อเนื่องร้องโรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่

$
0
0

นักข่าวพลเมืองรายงานจากริมถนนสาย 304 เส้นเลี่ยงเมืองพนมสารคาม ระบุชาวบ้านแปดริ้วยังคงชุมนุมคัดค้าน โรงไฟฟ้าถ่านหินตำบลเขาหินซ้อนเป็นวันที่ 2 ที่ โดยยังไม่มีหน่วยงานในจังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล หรือมารับข้อเรียกร้องของชาวบ้าน

<!--break-->

30 ก.ค. 2553 นักข่าวพลเมืองรายงานจากริมถนนสาย 304 เส้นเลี่ยงเมืองพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ระบุชาวบ้านแปดริ้วยังคงชุมนุมคัดค้าน โรงไฟฟ้าถ่านหินตำบลเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม ของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด กำลังการผลิต 600 เมกกะวัตต์ ให้ออกจากพื้นที่ ซึ่งเป็นการชุมนุมในวันที่ 2 โดยยังไม่มีหน่วยงานในจังหวัดหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล หรือมารับข้อเรียกร้องของชาวบ้าน

ตัวแทนชาวบ้านนายวิบูลย์ ชัยภูมิ และนายโสฬส ศรีมงคล ผู้ปราศรัยบนเวที ได้เรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรามารับข้อร้องเรียนของชาวบ้าน โดยย้ำว่าต้องให้โรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่

ฝั่งผู้สนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าก็ได้มีการตั้งเต้นท์สนับสนุนหน้าโครงการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าคือ นิคม 304 อินดัสทรี 2 เช่นเดียวกัน โดยมีเลขานายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาหินซ้อน นายพรชัย โง้วเจริญ เป็นแกนนำในการชุมนุม ซึ่งเหตุผลที่มาสนับสนุนโรงไฟฟ้าคือ

1. ชาวบ้านในพื้นที่จะมีงานทำจากการสร้างโรงไฟฟ้า
2. โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 150 เมกะวัตต์ เดินเครื่องมาประมาณ 13 ปี ที่ ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ อ.ปราจีนบุรี ไม่มีผลกระทบและยังไม่มีใครเสียชีวิต  และอยากให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ เพราะไม่มีผลกระทบใดๆ และหากเกิดผลกระทบจริงจะทำการปิดโรงไฟฟ้าเอง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เพื่อไทยจัดเสวนาเรื่องเศรษฐกิจแถมพ่วงการเมืองที่ลำพูน

$
0
0

เสื้อแดงแห่ฟังพรรคเพื่อไทยเสวนาเรื่องหนี้สินที่ลำพูน "สุชาติ ธาดาธำรงเวทย์" จวกรัฐบาลสร้างหนี้พุ่ง 50% ของจีดีพีแถมมีโครงการทุจริต "สุนัย จุลพงศธร" จวกเรื่องตั้ง พล.ร.7 เชียงใหม่ และ พล.ม.2 อีสาน พร้อมไล่ไปตั้งที่ภาคใต้ เตือนฝ่ายอุ้มอภิสิทธิ์ ถ้าไม่เลิกอุ้มโครงสร้างสังคมพัง

<!--break-->

วันนี้ (30 ก.ค.) ที่ตลาดนัดจตุจักร อ.เมือง จ.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ได้จัดเสวนาทางการเมืองเรื่อง "ปัญหาหนี้สินของรัฐและหนี้สินของประชาชน" มีนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช ทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ร่วมเสวนา โดยมีกลุ่มเสื้อแดง จ.ลำพูน และพื้นที่ใกล้เคียงร่วมฟังราว 1 พันคน

โดยนายสุรพงษ์ กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงหนี้ของภาครัฐที่มีผลกระทบกับประชาชน และให้ประชาชนรับทราบข้อมูลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เตรียมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ในช่วงเสวนา นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช กล่าวว่า รัฐบาลในอดีตมีหนี้ 3.4 ล้านล้านบาท เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาเป็นรัฐบาลได้ขอกู้อีก 8 แสนล้านบาท เอามาใช้ในโครงการไทยเข้มแข็งและชุมชนพอเพียง ทำให้ประเทศต้องเป็นหนี้ 4.2 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 50 ของจีดีพี เท่ากับเมื่อคำนวนกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ จะทำให้คนไทยต้องเป็นหนี้คนละ 7 หมื่นบาท

นายสุชาติกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้รัฐบาลยังมีปัญหาทุจริต ไม่ว่าจะเป็นโครงการถนนปลอดฝุ่น และโครงการชุมชนเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล จะออกนโยบายใครเป็นหนี้เกิน 5 แสนบาท รัฐบาลจะรับผิดชอบจ่ายดอกเบี้ยให้ 5 ปี และสานต่อนโยบายปราบปรามยาเสพติด และนโยบายหวยบนดิน พร้อมกล่าวโจมตีรัฐบาล ที่ใช้มาตรการขอคืนพื้นที่และกระชับวงล้อม ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก แต่กลับอ้างความสมานฉันท์ ทั้งที่เป็นต้นเหตุของการสูญเสีย

ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ กล่าวว่า เมื่อมีหนี้สาธารณะสูงขึ้น รัฐบาลจะเก็บภาษีเพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะลดสวัสดิการต่างๆ เช่น งบประมาณด้านสาธารณสุข และส่งผลกระทบต่อรัฐบาลใหม่ที่มาบริหารประเทศ ไม่สามารถกู้เงินได้อีก ขณะที่นโยบายรัฐสวัสดิการ รัฐบาลจะต้องวางโครงสร้าง 14 -15 ปี ถึงจะสามารถทำได้ ดังนั้น ต้องทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อเสียภาษีเพิ่ม ซึ่งประชาชนต้องยอมจ่ายภาษีเอง

ขณะที่นายสุรพงษ์ กล่าวว่าสมัยที่นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถึงยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้สร้างหนี้สินให้กับประเทศและประชาชน ฐบาลชุดนี้ไม่สามารถบริหารประเทศให้ลุล่วงไปได้ ส่วนการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในเชียงใหม่ ทำให้รายได้ลดลง เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของจังหวัดมาจากการท่องเที่ยว รวมถึงการที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณของภาคเหนือไปให้ จ.บุรีรัมย์ แทนนั้น นับว่าเป็นเรื่องไม่เป็นธรรม

ส่วนนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังเป็นนายกฯ ต่อไป ความร้อนจะเผาโครงสร้างสังคมพัง ทางออกของประเทศ คือ ฝ่ายที่อุ้มนายอภิสิทธิ์ต้องเอานายอภิสิทธิ์ออกไปเพื่อลดอุณภูมิความขัดแย้งลง แต่ถ้าฝ่ายอุ้มอภิสิทธิ์ยังโง่ ก็อุ้มต่อไป ไม่เกินปลายปีนี้โครงสร้างพังแน่นอน เพราะหมอดูทายถูก

นายสุนัยกล่าวด้วยว่า ใครที่มีอำนาจในบ้านเมืองต้องลดอุณหภูมิ แต่กลับมาตั้งกองพลทหารราบที่ 7 ที่ จ.เชียงใหม่ และกองพลทหารม้าที่ 2 ในภาคอีสาน ตนไม่ได้บอกว่าตั้งมาปราบปรามคนเสื้อแดง แต่ที่ภาคเหนือและภาคอีสานมีคนเสื้อแดงเต็มไปหมด ทำไมไม่ตั้งสองกองพลนี้ที่ภาคใต้บ้าง ทั้งที่ภาคใต้มีสงคราม ผมยังมีเรื่องราวอีกมาก ใครอยากรู้ให้ไปที่บ้านผมจะเล่าเรื่องลึกๆ ให้ฟัง เล่าตรงนี้มันยาก ถ้าคนที่อุ้มอภิสิทธิ์ยังเอาไว้อยู่ อุณหภูมิบ้านเมืองมันจะร้อน วันนี้ ความรับผิดชอบอยู่ในมือคุณ บ้านเมืองนี้จะพังหรือไม่อยู่ที่ว่าคุณยังอุ้มอภิสิทธิ์หรือไม่
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานพินิจฯ เล็งส่ง นร.ม.5 เชียงราย ตรวจสุขภาพจิต

$
0
0

นักเรียน ม.5 ที่ร่วมกิจกรรมชูป้ายค้าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่เชียงราย ไปรายงานตัว สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางวันนี้ เผยมีการถามฐานะทางบ้าน ถามว่าสูบบุหรี่-กินเหล้า-เที่ยวกลางคืนหรือไม่ พร้อมแนะให้รับสารภาพเพื่อให้ศาลเมตตา ขณะที่เจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ เตรียมนัดอีกจันทร์นี้เพื่อตรวจสุขภาพจิต

<!--break-->

ตามที่เมื่อวันที่ 16 ก.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มนักเรียนนักศึกษา 5 คน ใน จ.เชียงราย ได้รวมตัวทำกิจกรรมชูป้ายให้มีการยกเลิกการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ที่บริเวณหน้าทางเข้าศาลากลาง จ.เชียงราย ที่หอนาฬิกา และที่หน้าตลาดสดเทศบาล 1 เทศบาลนครเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย และต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.เมือง จ.เชียงราย ได้ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ ชุมนุมหรือมั่วสุมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยง ให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ประกาศกำหนด ร่วมกันเสนอข่าว ทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งพิมพ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชน เกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จนเป็นกรณีครึกโครมนั้น

ล่าสุดวันนี้ (30 ก.ค.) ซึ่งเป็นวันที่ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง จ.เชียงราย นัดหมายให้นักเรียนชั้น ม.5 อายุ 16 ปีคนหนึ่งที่ร่วมกิจกรรมไปรายงานตัวนั้น ล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 19.20 น. สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมวอยซ์ทีวี ได้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ "คุณมด" นักเรียนชั้น ม.5 รายดังกล่าว ซึ่งในวันนี้ไปไปรายงานตัวที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง จ.เชียงราย

"คุณมด" กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ในการรายงานตัว ซึ่งเป็นการรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่สถานพินิจ มีการสอบถามเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวทางบ้าน พ่อแม่ทำงานได้เงินเท่าไหร่ ตนเคยถูกจับคดีอาญาหรือไม่ กินเหล้าหรือไม่ สูบบุหรี่หรือไม่ (มีพฤติกรรม)แต่งรถหรือเปล่า ฐานะทางบ้านเป็นอย่างไร มีเพื่อนสนิทเยอะหรือไม่ เที่ยวกลางคืนหรือเปล่า มีการถามถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อ 16 ก.ค. และเจ้าหน้าที่สถานพินิจแนะนำให้รับสารภาพเพื่อให้ศาลเมตตา

โดย "คุณมด" ตอบคำถาม ผู้สื่อข่าววอยซ์ทีวีที่ถามว่า ได้ทำให้ประชาชนหวาดกลัว ตามความผิดฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่ โดย "คุณมด" ปฏิเสธ และบอกว่าประชาชนไม่หวาดกลัว ยิ้มแย้มแจ่มใส นักเรียน ม.5 รายนี้ยังระบุว่าในระหว่างการรายงานตัวเจ้าหน้าที่สถานพินิจใช้วาจาสุภาพ และในวันจันทร์ที่ 2 ส.ค. นี้ มีการนัดหมายตนไปที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง จ.เชียงรายอีก เพื่อไปตรวจสุขภาพจิต

นักเรียน ม.5 ผู้นี้ยังยืนกับผู้สื่อข่าวอีกว่าจะทำกิจกรรมต่อไป ในเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วย
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เมื่อวงร็อคเชื้อสายอิหร่านแปลงเพลง Pink Floyd ประท้วงรัฐบาล

$
0
0

วง Blurred Vision จากสองพี่น้องชาวอิหร่านพลัดถิ่น แปลงเพลง Another brick in the wall (Part 2) ของวงดนตรีระดับโลก Pink Floyd เพื่อประท้วงรัฐบาลอิหร่านที่เคยปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่ผ่านมา

<!--break-->

แปลจาก
'Ayatollah, leave those kids alone' – Pink Floyd get an Iranian twist
By Jerome Taylor
9 July 2010
The Independent

(หมายเหตุ : ผู้แปลแก้ไขข้อมูลบางส่วนของบทความต้นฉบับให้มีความแม่นตรงมากขึ้น เช่นเพลง Another brick in the wall วงอิหร่านดัดแปลงเฉพาะ part 2 เท่านั้น)

หญิงสาวในผ้าคลุมหน้าสีแดงพุ่งผ่านประตูเข้ามาในห้องมืด เธอถูกตามล่าโดยครูสอนศาสนาที่กำลังฉุนเฉียว เธอนำโทรศัพท์มือถือออกมา พยายามกดเรียกร้องความช่วยเหลือ แต่ก็ไม่มีสัญญาณ

ฉากที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ฟังดูเหมือนคลิปวิดิโอลับที่นักกิจกรรมหนุ่มสาวลักลอบเผยแพรไปภายนอกอิหร่าน ซึ่งพวกเขาคงเข้าร่วมการประท้วงรัฐบาลของประชาชนหลายแสนคนตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่แล้ว (2009) ที่ถือเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีการปฏิวัติอิหร่าน

แต่ทว่าฉากนี้เป็นฉากเปิดของวิดิโอเพลงของวงร็อคอิหร่าน ที่นำเพลง "Another Brick in the wall (Part 2)" ของวง Pink Floyd มาขับร้องใหม่ จนกลายเป็นเพลงประจำของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน ซึ่งแต่เดิมเองเพลง Another Brick in the Wall (Part 2) ของ Pink Floyd ก็เป็นเพลงที่มีเนื้อหาประท้วงระบอบการศึกษาแบบอำนาจนิยม

วงดังกล่าวคือ Blurred Vision เป็นวงร็อคเรียบ ๆ ของสองพี่น้องชาวอิหร่านที่ครอบครัวอพยพออกจากประเทศไปอาศัยอยู่ที่โตรอนโตในช่วงราว 30 ปีก่อน และพวกเขานำเพลงสุดคลาสสิคสมัยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มาดัดแปลงใหม่ สมาชิกวงให้ชื่อว่าเซปป์ และ โซห์ พวกเขาไม่ให้ชื่อจริงเพื่อปกป้องญาติส่วนหนึ่งของพวกเขาที่ยังอยู่ในอิหร่าน สองพี่น้องถ่ายทำวิดิโอเพลงโดยไม่มีทุนรอนใด ๆ แต่ก็ได้รับความช่วยเหลือจากบาบัก ปายามี คนทำภาพยนตร์ชาวอิหร่านที่ตอนนี้อาศัยอยู่ในออสเตรีย และเทอร์รี่ บราวน์ โปรดิวเซอร์เพลงร็อคที่มีชื่อเสียงจากแคนาดา

วิดิโอเพลงชุดนี้มีการตัดต่อภาพเข้ากับการประท้วงปีที่ผ่านมา (2009) จนกลายเป็นกระบอกเสียงสะท้อนความรู้สึกไม่พอใจของหนุ่มสาวชาวอิหร่านและมีท่อนสำคัญที่แปลงเนื้อเดิมจากฉบับ Pink Floyd เป็น "Hey Ayatollah, leave those kids alone!" (เฮ้ อยาตอลเลาะห์ ปล่อยเด็กพวกนั้นไป!)

 

มีการเผยแพร่วิดิโอเพลงใน Youtube และมีผู้เข้าชมแล้ว 100,000 ฮิต พวกเขาได้ไปแสดงในเทศกาลภาพยนตร์ที่จัตุรัสโซโหของอังกฤษ ในคาเฟ่ใจกลางกรุงลอนดอนสองพี่น้องอธิบายว่าเพลงของพวกเขาเป็นการนำเสนอเรื่องราวของหนุ่มสาวชาวอิหร่านในประเทศที่ดนตรีร็อคถูกแบน "พวกเราได้รับข้อความจากชาวอิหร่านจำนวนมากบอกว่าพวกเขาใช้เพลงนี้ช่วยส่งเสียงเรียกร้องในการประท้วงของพวกเขา" โซห์สมาชิกวงคนพี่อายุ 35 ปีกล่าว

เซปป์ สมาชิกคนน้องอายุ 28 ปีเสริมว่า "ข้อความนี้ได้มาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วตอนที่โซห์แปลข้อความนี้น้ำตาเขาก็ไหล มันเป็นข้อความจากแฟนเพลงในอิหร่าน แล้วเขาก็พูดซ้ำ ๆ ว่า 'รักษาเสียงของเราให้มีชีวิตชีวาเข้าไว้ หากไม่ทำก็จะไม่มีใครฟังเรา"

"ในตอนแรกเราก็กังวลว่าจะมีคนโกรธไหม" เซปป์กล่าวถึงการนำเพลงของ Pink Floyd มาร้องใหม่ "ถ้าเป็นผม ผมก็คงโกรธที่มีใครพยายามจะมาเทียบชั้นกับ Pink Floyd แต่เนื้อเพลงก็เข้ากับเรื่องราวในอิหร่านได้เป็นอย่างดี"

ทั้งสองคนเริ่มอัดเพลงและส่งไปให้โรเจอร์ วอเตอร์ส "พวกเราไม่อยากทำมันออกมาโดยไม่ได้รับการยอมรับจากเขา แล้วก็อีเมลล์ตอบกลับมาว่า 'จากนี้ไป เพลงในเวอร์ชั่นนี้เป็นของพวกเธอ'"

ทางวงมีความหวังว่าเพลงนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประท้วงชาวอิหร่าน เหมือนเช่นที่ครั้งหนึ่งนักกิจกรรมต่อต้านการเหยียดสีผิวในแอฟริกาใต้เคยนำเพลงนี้ไปใช้ประท้วงต่อต้านการเหยียดผิวในโรงเรียน

โซห์หวังว่าการปราบปรามผู้ชุมนุมเมื่อปีที่แล้วจะช่วยให้ภาพลักษณ์ของอิหร่านเปลี่ยนไปจากสายตาของชาวตะวันตก จากที่เห็นว่าอิหร่านเป็นรัฐอิสลามที่ต้องการอาวุธนิวเคลียร์เป็นประเทศที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับที่เคยเกิดในแอฟริกาใต้ "มองเผิน ๆ แล้วเหมือนว่าผู้ประท้วงจะถูกบดขยี้ แต่ตอนนี้พวกเขาได้เปิดประตูไปสู่หนทางที่อาจหลีกเลี่ยงแล้ว" เขากล่าว "ผมว่าความคิดเห็นของชาวตะวันตกกำลังเปลี่ยนแปลง พอถึงเวลาประชาชนจะเป็นปากเสียงให้กับชาวอิหร่าน มันจะช่วยทำให้โลกตะวันตกกับโลกตะวันออกมีช่องว่างน้อยลงบ้าง หวังว่าเพลงนี้จะมีส่วนช่วยบ้างสักเล็กน้อยก็ยังดี"
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม้หนึ่ง ก.กุนที: ทรรศนะศึกษา

$
0
0

<!--break-->

จากหมู่บ้าน ขึ้นลงสู่ อีกหมู่บ้าน
ผ่านชนเผ่า กลางพนา ป่าน้ำฝน
ฝ่าคืนวัน มุ่งมหานครคน
เห็นวงล้อ เคลื่อนสังคม พลวัต

ทัศนา เกิด ดับ อยู่ ของภูเขา
ดินหินเก่า ประกอบเถื่อน ดงสงัด
หยิ่ง ในความสมบูรณ์ และอัตคัด
ผยองเถอะ ! สาธารณะรัฐราษฎร !!

ทาบประทับ รอยเท้าไป บนปุยเมฆ
กลับเป็นเด็ก นักเรียนน้อย หาครูสอน
ตรึก..อัตวิสัย ของคนจร
ค่ำนอนไหน ? พญาไฟ นกแดงเพลิง

แสงเดือนผ่อง ส่องเห็นรอยเท้าผู้เฒ่า
สายฟ้าวาว วับจรัส แรงอีเกิ้ง
กรีดอาดูร หรือปลอบโยน กล่อมบันเทิง
โศก หรือ เริงรื่นสำนึกหาญคะนอง

ผู้คนเลือกการกระทำ ที่ต่างแตก
จำแนกตามภาระ ที่ตกต้อง
ส่วนใหญ่อยู่ สู้ต่อ ในครรลอง
อีกส่วนอุดข้อบกพร่อง เสริมแนวทาง

เข้าพรรษา พร้อมพายุ ดุลำเค็ญ
เดือนยังเพ็ญ สวยเย็น เห็นกระจ่าง
ถึงคืนแรม ที่เงาโลก ทับอำพราง
ดาวจะพร่าง พราวชัด ขึ้นชี้นำ !!!
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาสนาของคำผกา: ตอนที่ 2: โลกย์ของธรรมะบ้านๆ

$
0
0

วิจักขณ์ พานิช สัมภาษณ์คำ ผกา ตอนที่ 2 ว่าด้วยพุทธแบบบ้านๆ อัีนปลอดพ้นจากอารมณ์ดรามา และการเผชิญทุกข์แบบไม่ต้องอาศัยวัด

<!--break-->

วิจักขณ์: คุณแขกโตมาในสิ่งแวดล้อมแบบไหน

คำ ผกา: เกิดที่นี่ โตที่นี่เลย [บ้านสันคะยอม สันทราย เชียงใหม่]

วิจักขณ์: แล้วจริงเหรอที่บอกว่า ไม่เข้าใจเลยว่าโลกจิตวิญญาณ โลกศาสนา ที่มันศักดิ์สิทธิ์สูงส่งเป็นยังไง

คำ ผกา: อือ เข้าใจไม่ได้จริงๆ

วิจักขณ์: แล้วสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้จากการเติบโตแบบนี้ มันมีอะไรที่พอจะเรียกว่าเป็นคุณค่าทางจิตวิญญาณหรือศาสนาได้บ้างมั๊ย

คำ ผกา: คือ แขกก็นับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่เกิด ก็ไปวัดเหมือนชาวบ้านทั่วไป ทำบุญตักบาตรตามปกติ แต่ทีนี้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับพระแบบบ้านๆเนี่ย มันไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์สูงส่งอะไรมากมาย มันใกล้กันมาก (เน้นเสียง) เจ้าอาวาสก็คือว่า ถึงเวลาที่จะขึ้นเทศน์ สวดอะไรก็สวดไป แต่พอหมดหน้าที่ตรงนั้น ท่านก็จะมาเดินคุย เดินเม้าท์ นินทาชาวบ้าน อะไรเงี้ยะ (หัวเราะ) สำหรับแขกมันไม่ใช่อะไรที่อยู่พ้นไปจากโลกมนุษย์น่ะ และตัวเองก็มองว่า จริงๆแล้วหน้าที่ของวัดและพระตามหมู่บ้านต่างๆ มันก็คล้ายๆตัวกลางของชาวบ้าน ที่เอาไว้ต่อรองกับอำนาจรัฐ ไว้คุยกับนายอำเภอ เพราะว่าถ้าให้เจ้าอาวาสคุยก็มีน้ำหนักกว่าชาวบ้านคุยเอง หรือในกรณีถ้ามีความขัดแย้งอะไรกัน นอกนั้นก็เอาไว้ประกอบพิธีกรรม งานศพ งานอะไร เอาไว้ mobilize เงินทุนในหมู่บ้าน จะทำอะไร จะมีกิจกรรมอะไร เอาไว้สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร ก็มีแค่นั้นแหละ แล้วก็เอาไว้เป็นตัวกลาง เพราะพุทธที่บ้านก็เป็นกึ่งๆพุทธ กึ่งๆผีอยู่แล้ว ก็เป็นตัวกลางสำหรับอุทิศส่วนกุศลให้คนที่ล่วงลับไปแล้ว

แขกไม่เคยสัมผัสพุทธที่มันเป็นปรัชญา สำหรับแขกพุทธก็บ้านๆแบบนี้ พระก็รู้ชีวิตส่วนตัวเรา เราก็จะรู้ชีวิตส่วนตัวพระ มันก็ไม่ค่อยจะมีอะไรที่เป็นความลับ แล้วก็ไม่มีวินัยอะไรเคร่งครัด อย่างหมู่บ้านนี้ สมัยแขกเด็กๆ ก็จะมีเวรส่งข้าวเย็นให้วัด บ่ายๆก็จะไปถามว่าวันนี้อยากกินอะไร เออ แล้ววันนึงแขกก็ไปเจอ อ้าว พระไม่กินข้าวเย็นหรอกเหรอ นี่เพิ่งมารู้ตอนโต (หัวเราะ) ตกใจ อ้าวจริงเหรอ แล้วก็ไม่มี ที่ขนาดจะไม่จับ ไม่โดนกันนี่ก็ไม่มีนะ คือโดนตัวกันก็ไม่ได้คิดว่าเป็น big deal โอเคถ้าไม่โดนได้ก็ดี แต่ถ้ามันจะต้องไปโดนกันบ้างก็ไม่เป็นไร

วิจักขณ์: แล้วเคยได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องจิตใจ มีการอบรมสั่งสอนหลักธรรมอะไรทำนองนี้บ้างมั๊ย หรือว่าไม่ได้สนใจเลย

คำ ผกา: ไม่ได้สนใจเลย ไม่ได้สนใจว่าพระจะต้องมีหน้าที่สอนให้เราเป็นคนดี เพราะหลักการความดี มันก็ง่ายๆอย่างที่พระเทศน์ ก็คือ ศีล 5 แล้วศีล 5 ก็ไม่ได้มีการตีความอะไรเพิ่มไปมากกว่านั้น ก็ไม่ได้มีการตั้งคำถามอะไรกัน เช่นว่า ตบยุงบาปมั๊ย เอ๊ะเราฆ่าหมูแล้วเอาไปทำบุญอันไหนจะได้บุญ อันไหนจะได้บาป คนก็ไม่ค่อยตั้งคำถามกันนะ เหมือนพุทธมันเป็นกลไกนึงของชีวิตที่มันเป็นวิถีปฏิบัติ แล้วชาวบ้านก็ไม่ค่อยพูดคำว่านิพพาน หรือว่าหลุดพ้น

วิจักขณ์: แล้วอย่างนี้เวลาที่มีคนในหมู่บ้านมีความทุกข์ มีใครตาย มีการพลัดพรากสูญเสียอะไรอย่างนี้ล่ะ

คำ ผกา: เอ้อ..อันเนี้ยะ (เสียงสูง) อันนี้แหละ น่าสนใจ คือแขกไม่เคยเห็นคนมีความทุกข์ (เน้นเสียง)

วิจักขณ์: โห จริงเหรอ!!

คำ ผกา: (หัวเราะ) เออ นึกออกมั๊ย

วิจักขณ์: นี่มันเทวดานี่ (หัวเราะ)

คำ ผกา: ไม่ช่ายยยย (เสียงสูง) (หัวเราะ) คือมันมีการสูญเสียนะ มันมีความเครียด แต่แขกไม่เคยเห็นความทุกข์แบบคนในเมืองน่ะ คือ อย่างงานศพมันก็จะเป็นความโศกเศร้าแบบดราม่ากันคืนเดียว สมมติว่าวันนี้มีคนตาย ก็จะร้องห่มร้องไห้กัน พอร้องไห้เสร็จก็จะเป็นเรื่องพิธีกรรม ทุกคนก็จะลืมความทุกข์ แล้วไป concentrate เรื่องว่าเราจะเอาอาหารอะไรมารับแขก ใครจะมาตั้งวงไฮโลกี่วง เราจะเอาดนตรีอะไรมาเล่น จะเอาปี่พาทย์หรือวงดนตรีสมัยใหม่ จะนิมนต์พระที่ไหน มีพระที่เทศน์ตลกที่สุด ฮาที่สุด ที่ไหนบ้าง แล้วมีเงินจะจ่ายค่าตัวพระมั๊ย พระเทศน์เก่งๆก็จะค่าตัวแพงหน่อย คือมันก็จะกลายเป็นเรื่องกิจกรรมทั้งหมด แล้วทุกคนก็ไม่ได้เศร้าอะไรกันนาน

แขกมองว่านี่คือโลกธรรมะของชาวบ้าน วิธีคิดแบบนี้มันไม่ค่อย dramatize อารมณ์ คือมันเศร้าแล้วมันก็จบ ไม่ได้เก็บเอามาไว้ระลึกถึง มันไม่มีอนุสาวรีย์แบบคนในเมือง ไม่มีครบรอบวันแต่งงาน ครบรอบวันเจอกัน ไอ้เรื่องแบบนั้นมันทำให้คนเศร้าเนอะ แต่ชาวบ้านเค้าไม่มีวิธีการรำลึกถึงอดีตแบบนั้น เค้าไม่มีวัตถุที่แสดงถึงความทรงจำ เค้าจะไม่มีว่า เห็นอันนี้แล้วคิดถึงแม่ที่จากไป แขกไม่เคยรับรู้เรื่องพวกนี้มาก่อนตลอดชีวิตแขก จนเมื่อไปเจอเพื่อนที่โตมากับครอบครัวที่อยู่ในเมือง แขกก็มารู้จักเรื่องฉลองวันเกิด เรื่องอะไร ซึ่งมารู้จักเอาทีหลังมากเลย มันมีด้วยเหรอ คนเราต้องมีครบรอบวันโน่นนี่นั่น ไม่รู้ สำหรับแขกพอมันไม่มีวันพวกนั้นมันก็เลยไม่จำ พอไม่จำมันก็ไม่ค่อยมีความโศกเศร้าฟูมฟาย แล้วการไปพึ่งศาสนาในมิตินั้นมันก็เลยไม่ค่อยมี เหมือนทุกอย่างมันดูแลของมันไปเองได้

วิจักขณ์: แล้วอกหักล่ะมีมั๊ย?

คำ ผกา: ไม่เคยเห็นคนอกหักเลยนะ (เสียงสูง) ผิดหวังในความรักมันต้องมีอยู่แล้วล่ะ แต่แขกไม่เคยเห็นคนแสดงอาการอกหัก ก็อาจจะมีนะ มีสั้นๆ ขำๆ แต่ไม่เคยเห็นใครอกหักแบบเยอะๆ นานๆ แล้วก็เห็นว่าเป็นบาดแผลในชีวิต อย่างเมื่อไม่นานมานี้ ลุงแขกเสีย ลุงอายุหกสิบกว่า ป้าก็เพิ่งห้าสิบกว่า ก็คือยังไม่แก่มาก แล้ววิธีของทางบ้าน ถ้ามีใครซักคนตาย สิ่งแรกที่เราจะทำก็คือ ไปหาพวกนั่งทางใน เพื่อที่จะถามว่าตอนนี้เค้าอยู่ที่ไหน อยู่ดีมั๊ย ได้กินอะไร แล้วก็อยากให้เราทำอะไรให้มั๊ย ก็คือทุกคนก็รู้ว่ามันโกหก แต่ก็จะไป ไปให้มันสบายใจ ก็ถามโน่นถามนี่ แต่คำถามสุดท้ายที่พวกแม่ๆป้าๆถาม “เออ แล้วตกลงจะให้เอาผัวใหม่รึเปล่า” (หัวเราะ) คือตายไปวันเดียวเองน่ะ มันคิดเรื่องมีผัวใหม่แล้ว แขกก็คิดไม่ได้สำหรับคนชั้นกลางนะ เพราะผัวตายก็ต้องเศร้าไปสามปี เข้าวัด นั่งสมาธิ อะไรงี้ แต่นี่เค้าคิดไปข้างหน้าแล้วว่า เออถ้ามีผัวใหม่เธอจะโอเคมั๊ย ก็ถามผ่านร่างทรงน่ะ

วิจักขณ์: ดูเหมือนมันจะมีความเบาสบายอยู่ในท่าทีของชาวบ้านกับเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว

คำ ผกา: แต่แขกคิดว่านี่แหละ คือ การปล่อยวาง ง่ายๆ แต่คนเค้าไม่ได้พูดว่าปล่อยวาง ไม่ได้เรียกว่าอนิจจัง แต่แขกคิดเค้าอยู่กับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าคนในเมือง คือเค้าอยู่โดยที่เค้าไม่ต้องพูด แขกจึงบอกว่ามันมีการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน กิจกรรมในชีวิตที่มันขัดเกลา คนที่มีวิถีปฏิบัติในชีวิตต่างกันก็ได้รับการขัดเกลาความคิดหรือจิตใจไม่เหมือนกัน อย่างชาวบ้าน แขกคิดว่าเขาอยู่กับความไม่เที่ยงอยู่แล้ว อยู่กับความไม่แน่นอนของชีวิตอยู่แล้ว ทั้งเรื่องภัยธรรมชาติ เรื่องการทำนาก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ หรือถ้าเค้าค้าขายอะไรเล็กๆน้อยๆ เค้าก็ไม่ได้มี insurance อะไรที่จะมารับประกันว่า กิจการเล็กๆของเค้าจะไม่เจ๊งไปในวันใดวันนึง โรคภัยไข้เจ็บ แล้วนึกถึงว่าในสังคมหมู่บ้านสมัยก่อนไม่ได้มีหมอ ซึ่งคนตายเมื่อไหร่ก็ได้ เค้าอยู่กับความไม่แน่นอนมาตลอดชีวิตน่ะ เค้าก็รับมือกับความเปลี่ยนแปลง แล้วเค้าถึงไม่ได้มีความทุกข์แบบที่เรารู้จัก แต่ไม่ได้แปลว่าเค้าไม่ได้มีปัญหาในชีวิต หรือไม่มีความผิดหวัง ไม่มีความล้มเหลวนะ เพียงแต่เค้าไม่ได้มองความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ต้องกอดเอาไว้

วิจักขณ์: เหมือนกับว่าต้องกอดความทุกข์ไว้ จึงจะรู้สึกได้ถึงตัวตน พอมีตัวตนก็ต้องมีธรรมะ พอมีธรรมะก็ต้องประสบความสำเร็จทางธรรมะอีกที กลายเป็นว่ากอดโน่นกอดนี่มั่วไปหมด ปล่อยอะไรไม่ได้ซักอย่าง เพราะกลัวความเบาของชีวิต

คำ ผกา: ช่ายย...ต้องรู้สึกถึงการมีอยู่ของตัวเอง เพราะฉันทุกข์ ฉันจึงมีอยู่ (หัวเราะ)

วิจักขณ์: แล้วโตมาแบบนี้ วันนึงไปเจอเพื่อนที่มาจากโลกอีกแบบนึง แล้วก็เริ่มซึมซับโลกแบบคนเมือง มีการศึกษา มีเพื่อน มีวันเกิด มีแฟน มีวันครบรอบการเจอกัน มีอกหัก แล้วก็ต้องมีดราม่าบ้างอะไรบ้างใช่มั๊ย

คำ ผกา: โอ๊ย มีสิ อกหักก็อย่างดราม่าเลย ตอนนั้นวัยรุ่นนี่ (หัวเราะ)

วิจักขณ์: อ้าว แล้วไง กับสิ่งที่โตมา พุทธแบบบ้านๆ มันยังใช้ได้เหรอ

คำ ผกา: พอเราเป็นสักพักนึง เราก็จะเกิดภาพเปรียบเทียบไง ทำไมเมื่อก่อนไม่เป็นวะ (หัวเราะ) แล้วมันก็ตั้งคำถามมากขึ้น แล้วก็เริ่ม...

วิจักขณ์: หันมาสนใจธรรมะรึเปล่า (หัวเราะ)

คำ ผกา: (ตอบเร็ว) ไม่เลย (หัวเราะ) เออ แต่อันนี้ไม่เคยเลย ไม่ว่าจะทุกข์แค่ไหน มันไม่เคยคิดจะเข้าวัดเลย (หัวเราะ)

วิจักขณ์: (หัวเราะ) เออ แล้วที่นี้ทำไง

คำ ผกา: ก็เผชิญไป หาเหตุหาผล อย่างสมมติว่าอกหัก ตอนเด็กๆนะก็คิดว่า อุ๊ย...อย่างนี้ มีคนใหม่ก็น่าจะหาย เออ...มันก็หายจริงๆ แล้วพอมันหลายครั้ง เราก็สั่งสมทักษะในการรับมือกับมัน (หัวเราะ) เราก็โตขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น เห็นชีวิตคนอื่นมากขึ้น ก็แค่นั้นเองน่ะ ก็ไม่เห็นต้องไปวัด

เออ...ทำไมนะ (หัวเราะ) แขกนี่ไม่เอาเลยนะ แม้จะมีความทุกข์แค่ไหน ก็ไม่เคยคิดว่าจะเข้าวัด

วิจักขณ์: ขอเลือกที่จะใช้แบบของตัวเองดีกว่า?

คำ ผกา: (นิ่งนึก) ไม่ใช่ใช้แบบของตัวเองนะ เอาอย่างงี้ดีกว่า ยิ่งเราแก่ตัวลงเรื่อยๆ แขกกลับมองว่า ปัญหาหรือความทุกข์มันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มันไม่ใช่อะไรที่เราจะต้องวิ่งหนี ถ้าไม่มีสิผิดปกติ ช่วงไหนมีความสุขมากๆ ก็จะรู้สึกแปลกๆ เป็นสัญญาณอะไรที่ไม่ดีรึเปล่า (หัวเราะ)

มีปัญหา มีความทุกข์อะไร ก็แก้ปัญหาไปตามเนื้อผ้า แก้ได้ก็ได้ แก้ไม่ได้ก็แล้วไป มันก็อยู่นอกเหนือการจัดการของเราแล้วล่ะ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ทำได้แค่แก้ไปเท่าที่เราเห็น เท่าที่เราทำได้

วิจักขณ์: แล้วมีมั๊ยที่แบบ โอ๊ยยย... แก้ไม่ได้ ใครก็ได้มาช่วยฉันที

คำ ผกา: ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ไม่ได้ก็ปล่อยไป ไม่ได้ก็ไปทำอย่างอื่น แล้วเราก็ต้องรู้ว่า เราไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล เราก็นิดเดียวบนโลกใบนี้ เราทำผิดพลาดไปแค่นี้ โลกก็ไม่ได้ถล่มทลาย...

สัมภาษณ์เมื่อ 21 กรกฎาคม 2553
ภาพจาก นิตยสารสารคดี
____________________________

บ้านตีโลปะ
www.tilopahouse.com

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พี่สาวช่างภาพอิตาเลียน ยังคงเรียกร้องรัฐบาลไทยเคลียร์สาเหตุการตาย 19 พ.ค.

$
0
0

เอลิซาเบตตา โปเลนจิ พี่สาวของช่างภาพชาวอิตาเลียนซึ่งถูกยิงตายในวันที่ 19 พ.ค. 2553 เรียกร้องอีกครั้งให้รัฐบาลไทยเดินหน้าสอบสวนหาเหตุการตายของน้องชาย พร้อมเดินหน้าหาพยานหลักฐานจากกล้องวีดีโอของน้องชายต่อไป ด้านตัวแทน CPJ ระบุ ผู้ใช้อาวุธทั้งสองฝ่ายลอยนวลไม่ต้องรับผิด

<!--break-->

30 ก.ค. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย พี่สาวของช่างภาพชาวอิตาเลียนซึ่งถูกยิงตายในเหตุการณ์พฤษภาเลือด 19 พ.ค. 2553 เรียกร้องอีกครั้งให้รัฐบาลไทยสอบสวนหาเหตุการตายของน้องชาย พร้อมเดินหน้าหาพยานหลักฐานจากกล้องวีดีโอของน้องชายต่อไป

น.ส.เอลิซาเบตตา โปเลนจิ พี่สาวของนายฟาบิโอ โปเลนจิ ระบุว่า การที่กล้องของน้องชายหายไปนั้น ทำให้เกิดข้อกังขา และเธอยังพยายามติดตามหากล้องตัวที่นายฟาบิโอใช้งานในวันที่ถูกสังหารด้วยกระสุน ขณะที่มีการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากจะเป็นกุญแจสำคัญในการบ่งชี้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนที่นายฟาบิโอจะถูกยิงเสียชีวิตได้

น.ส.เอลิซาเบตตาระบุด้วยว่า หลังจากที่น้องชายเสียชีวิตลงก็ต้องการทราบความคืบหน้าของการสืบสวนสอบสวนจึงเดินทางกลับมายังประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อรับฟังข้อสรุปและผลการสืบสวนสอบสวน แต่เธอรู้สึกว่าสองเดือนที่ผ่านมานั้นดูเหมือนจะเร็วเกินไปที่เธอจะได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มเติมจากรัฐบาลไทย

ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รายงานว่าน.ส.เอลิซาเบตตา ได้เข้าพบ พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสืบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตอิตาลี/ปทท. และผู้แทนกรมยุโรป เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2553 เพื่อขอทราบผลการติดตามคดีดังกล่าวโดยเฉพาะขอรับเอกสารผลการชันสูตรศพในขั้นสุดท้าย ซึ่งทาง DSI แจ้งว่า ได้รับสำนวนคดีจาก สน.ลุมพินีและผลการชันสูตรจาก สน.ปทุมวันแล้ว ขณะนี้ได้เรียกพยานในที่เกิดเหตุมาสอบปากคำแล้ว โดยได้เล่าให้ น.ส. เอลิซาเบตตา ทราบถึงเวลาที่นาย ฟาบิโอเสียชีวิตและจุดที่เกิดเหตุ ตลอดจนขั้นตอนต่อไปที่ทาง DSI จะสอบปากคำนายแพทย์ที่ชันสูตรศพและผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธเพื่อระบุว่าบาดแผล ที่เกิดขึ้นเกิดจากกระสุนหรือเป็นสะเก็ดระเบิดประเภทใด ก่อนที่จะสรุปผลและชี้แจงให้ญาติผู้เสียชีวิตทราบอย่างเป็นทางการในเวลาภาย ใน 3 สัปดาห์ สำหรับการดำเนินการสืบสวนพยานต่างๆ และสรุปคดีนั้น ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด ขณะเดียวกัน น.ส. เอลิซาเบตตา ชี้แจงว่า ตามรายงานที่สรุปถึงเวลาและสถานที่เกิดเหตุที่เจ้าหน้าที่ระบุนั้นคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง พร้อมทั้งได้มอบหลักฐานจากภาพคลิปวิดิโอที่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ถ่ายไว้ขณะ ที่นายฟาบิโอเสียชีวิตและนำไปลงในเว็บไซต์ยูทูปว์ เพื่อประกอบการสืบสวน พร้อมทั้งย้ำว่า ตนต้องการให้ติดตามตัวชายไทยในภาพที่เห็นหน้าอย่างชัดเจนซึ่งเป็นผู้ที่เอา กล้องถ่ายภาพของนายฟาบิโอ ไปทันทีที่เห็นว่าถูกยิงล้มลงก่อนที่จะช่วยลากร่างของนายไปกับช่างภาพอื่นๆ เพื่อส่งโรงพยาบาล ซึ่งทางเจ้าหน้าที่รับว่าอาจจะใช้วิธีการประกาศตามหาหรือมอบรางวัลแก่ผู้ที่ แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งรับปากว่าจะติดต่อกับน.ส.อิซซาเบตตาเป็นระยะเพื่อรายงานผลการสืบสวน

ด้านชอว์น คริสปิน จากคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists หรือ CPJ) วิพากษ์ว่า กรณีการเสียชีวิตของนายฮิโระ มูราโมโตะ ผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่น และนายฟาบิโอ โปเลนจินั้น จบลงที่การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในเชิงการเมือง แต่ไม่มีการสืบสวนสอบสวนที่จะนำคดีไปสู่กระบวนการยุติธรรม ทั้งเรียกร้องให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

ชอว์น คริสปินระบุด้วยว่า ถึงขณะนี้ แม้ว่าฝ่ายคนเสื้อแดงจะปฏิเสธว่าดำเนินการชุมนุมโดยไม่มีอาวุธและสันติวิธี แต่จากรายงานพิเศษที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าวจัดทำขึ้นโดยรวบรวมสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่บาดเจ็บและอยู่ในเหตุการณ์วันสลายการชุมนุม ก็มีหลักฐานแน่ชัดแล้วว่ากองกำลังของทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายรัฐบาลฝ่ายผู้ประท้วงนั้นต่างมีอาวุธหนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้ใช้อาวุธทั้งสองฝ่ายไม่มีใครต้องรับผิด

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธงชัย วินิจจะกูล : 'สนทนาท่ามกลางภาวะฝุ่นตลบ’

$
0
0

<!--break-->

เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2553 ที่ห้องประชุม ศ.ดร.มล.ตุ้ย ชุมสาย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนาหัวข้อ ‘สนทนากลางฝุ่นตลบหลังเดือนพฤษภา: ประเด็นและคำถามจากเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต’ มี ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน สหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากร ‘ประชาไท’ นำเสนอรายละเอียดของการอภิปราย ซึ่งมีดังต่อไปนี้

 

ธงชัย วินิจจะกูล เมื่อ 28 ก.ค.
ระหว่างงานเสวนา ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

  บรรยากาศวงเสวนา ‘สนทนากลางฝุ่นตลบหลังเดือนพฤษภา: ประเด็นและคำถามจากเหตุการณ์พฤษภาอำมหิต’ ซึ่งมีธงชัย เป็นผู้อภิปราย เมื่อ 28 ก.ค. ที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

0 0 0

เรื่องที่ผมจะพูดนั้น เริ่มมาจาก บก.หนังสือ ‘อ่าน’ ซึ่งหลายคนคงรู้จักใช่ไหมครับ ได้ขอให้ผมช่วยเขียน จนหมดเวลาแล้วเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผมสารภาพว่าเขียนไม่ออก คิดว่านี่เป็นอารมณ์ความรู้สึกเหมือนหลายๆ คนที่เขียนไม่ออก ไม่ใช่เพราะไม่มีอะไรจะพูด แต่เพราะมีเยอะเกินไป มันมีเยอะเกินไปจนไม่สามารถประมวลสิ่งที่มีอยู่ เรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือไม่ออก มันสับสนปนเป ฉะนั้นตอนที่ผมรับทาง มช. ว่าจะคุย ผมก็คิดในใจว่า มาคุยในเรื่องที่เขียนไม่ออกนี่แหละ โดยที่ไม่ต้องคาดหวังด้วยซ้ำว่าจะฟังรู้เรื่องมากน้อยแค่ไหน คือเป็นทั้งการลองความคิดของตัวเอง ซึ่งก็ลองนึกถึงหนังสือ ‘อ่าน’ ก็แล้วกันนะครับ ผมเชื่อว่าสำหรับหลายคน จะรู้สึกอ่านไม่รู้เรื่อง นั่นคือประเภทงานที่ผมจะพูดต่อ

เพราะฉะนั้น มันมีเรื่องหลายเรื่องในหัวที่ควรจะคุยกัน แต่ขอไม่คุย ถ้าหากว่าจะคุยกัน ตอนมีเวลาหลังจากนี้ค่อยว่ากัน เช่น เหตุที่มาของปัญหา มีคนเขียน มีคนพูดถึงเยอะแยะแล้ว พูดกันอีกก็ได้ แต่ผมไม่ได้เตรียมเรื่องนี้ เหตุที่มาของปัญหา มองในเชิงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงชนบทไทย ความเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ช่องทางทางการเมือง แล้วเมื่อเขามีส่วนร่วมทางการเมืองแบบหนึ่งด้วยการการเลือกตั้ง ทำอีท่าไหนจึงเกิดความขัดแย้งกับชนชั้นนำของไทยได้ เราจะได้ยินประเด็นนี้บ่อยใช่ไหมครับ นี่เป็นอีกอันหนึ่งซึ่งคุยก็ได้ แต่ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ที่ผมเตรียมไว้

ประเด็นต่อไปที่คิดว่าคุยได้ แต่ผมไม่ได้เตรียม ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หลังจากนี้มีประเด็นอะไรบ้างที่น่าคิด นี่ก็อีกเหมือนกันที่แต่ละเรื่องเราคุยได้เป็นชั่วโมง ผมเชื่อว่าอย่างนั้น แต่อย่างที่บอก ผมเชื่อว่าหลายท่านในที่นี้ ทั้งรู้มากกว่า และคุยได้ดีกว่า เพราะฉะนั้น ถ้าหลังจากนี้แล้วจะเสนอออกมาเพื่อจะคุยก็ได้  แต่หนึ่ง ผมไม่ได้เตรียม สอง ผมไม่คิดว่ารู้เรื่องพวกนี้ดี ก็จะเป็นการคุยในเรื่องที่ผมไม่ได้เตรียมมา

เอาแค่สองประเด็นนี้ คุณก็เห็นแล้วว่า เรื่องมันเยอะขนาดไหน ที่จะต้องคิดและเรียบเรียงออกมา แต่เรื่องที่ผมเตรียมมาและอยากคุย คือเรื่องที่เป็นทั้งประสบการณ์และความสนใจที่ผมทำมาหลายปี หลายคนอาจจะพอรู้ ซึ่งก็คือประเด็นที่ว่า เราจะอยู่อย่างไรและจะจัดการอย่างไรกับประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย นี่คือเรื่องที่ผมเตรียมมา

หลายคนคงพอนึกออกนะครับว่า ผม ทั้งในแง่ประสบการณ์ ในแง่ที่คิดกันมาสามสิบกว่าปีของชีวิต และเขียนมาบ้างก็คือ เราจะ Deal (จัดการ) อย่างไรกับประวัติศาสตร์ 6 ตุลา วันนี้ผมไม่ได้มาพูดเรื่อง 6 ตุลา แต่ก็อยู่ในประเด็นนะ ผมเรียกว่ามันเป็น ‘ประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย’ ทั้งในความหมายที่ว่ามันเป็น Tragedy (โศกนาฏกรรม) ที่เกิดขึ้น ทั้งในแง่ที่เป็นความทรงจำ หรือเป็นความร้าวลึกของพฤติกรรมทางประวัติศาสตร์ที่มีปัญหากับสังคมไทย และสังคมไทยพยายามจัดการกับมัน ทั้งสำเร็จ และไม่สำเร็จ ไม่ในแง่ต่างๆ กัน ผมพยายามเอาบทเรียน ประสบการณ์ที่เคยคิดกับเรื่องนี้ มาคิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาที่ผ่านมา ซึ่งยังสดๆ อยู่ ต่างกับที่ผมคิดกับเรื่อง 6 ตุลา ที่ผมเริ่มลงมือคิดลงมือเขียน หลังจากมันผ่านมาแล้วประมาณ 20 ปี และคิดกับมันมา 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผมจะพูดเรื่องนี้

 

“ภาวะฝุ่นตลบ ก็คือ ภาวะหลังเหตุการณ์ซึ่งมันซับซ้อน
และที่สำคัญมากมันเป็น ‘โศกนาฏกรรม’ คือ Tragedy
ที่เมื่อมันเสร็จสิ้นลงไป ก็เป็นปกติเลยไม่ว่าสังคมไหนหรือที่ไหน
ที่จะเต็มไปด้วยเรื่องราว คำอธิบาย
เต็มไปด้วย Fact หรือข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ไม่ลงตัว”

 

นิยาม ‘ภาวะฝุ่นตลบ’
เวลาตั้งหัวข้อ ผมจึงตั้งว่า ‘สนทนาท่ามกลางภาวะฝุ่นตลบ’ ผมจะเริ่มเลยว่า ‘ฝุ่นตลบ’ แปลว่าอะไร จากนั้นผมมีอยู่ 4-5 ประเด็นใหญ่ๆ ว่า เราจะอยู่และเราจะดีลอย่างไร คือจะจัดการอย่างไรกับสภาวะฝุ่นตลบ และคงอีกไม่นานจะเริ่มลงตัว ซึ่งจะลงตัวในแบบที่หลายคนคงไม่อยากจะให้มันลงอย่างนั้น และเราจะสู้กับมันอย่างไร

พูดกันอย่างเปิดเผยไม่ต้องปิดบังกัน หรือพูดง่ายๆ ว่า ใครในที่นี้ถ้าเกลียดเสื้อแดงหนักหนา คุณก็จะเจอว่า ‘ภาวะฝุ่นตลบ’ ที่มันจะลงตัวในอีกไม่นานนี้ จะเป็นภาวะที่คนเกลียดเสื้อแดงอาจจะพอใจ แต่สำหรับคนอย่างผม สำหรับคนอีกหลายๆ คนในที่นี้ ซึ่งอาจไม่ได้เชียร์เสื้อแดงนักหนา แต่มีความเห็นอกเห็นใจอยู่ ก็จะรู้ว่า เป็นภาวะที่เริ่มลงตัวแบบที่ไม่น่าพอใจ และบทเรียนจากกรณี 6 ตุลาก็คือ เรื่องแบบนี้เราสู้กันมาเป็นสิบๆ ปี และไม่รับประกันนะว่าจะชนะ อย่างน้อยที่สุดก็คือคนรุ่นผม เอาเป็นว่า ผมและเพื่อนหลายๆ คน เราอยู่กับมันมา 30 ปีแล้ว มันไม่ง่าย และเผลอๆ เราก็อยู่กับมันตลอดจนเกษียณ จนตาย และที่แน่ๆ คือเราตายไปแล้ว สังคมไทยก็ยังอยู่กับมันแบบนั้น

4-5 ประเด็นที่จะพูดถึงก็คือว่า ‘สังคมไทยจัดการกับเรื่องโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นแบบไหน’ สังคมไทยมีวิธี มีค่านิยม มีรากฐานทางภูมิปัญญาที่จัดการกับเรื่องโศกนาฏกรรมอย่างที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง และเราก็ดูกันว่า อะไรที่น่าพิสมัยหรือไม่น่าพิสมัย อะไรที่เราพอจะสู้ อะไรที่พอจัดการกับมันได้ ให้ดีที่สุดเท่าที่คนที่ตกเป็นเหยื่อ คนที่เป็นฝ่ายถูกกระทำในเหตุการณ์ที่ผ่านมา พอจะ...อย่าเรียกว่าพึงพอใจเลย เรียกว่า อยู่กับมันได้ และจะสู้กับมันอย่างไร นี่คือประเด็นที่ผมจะคุย หวังว่าจะใช้เวลาไม่มากจนเกินไป และหลังจากนั้นจะคุยกันต่อเรื่องนี้หรือจะเปลี่ยนประเด็นเป็นเรื่องอื่นก็ตามใจ

‘ภาวะฝุ่นตลบ’ ก็คือ ภาวะหลังเหตุการณ์ซึ่งมันซับซ้อน และที่สำคัญมากมันเป็น ‘โศกนาฏกรรม’ คือ Tragedy ที่เมื่อมันเสร็จสิ้นลงไป ก็เป็นปกติเลยไม่ว่าสังคมไหนหรือที่ไหน ที่จะเต็มไปด้วยเรื่องราว คำอธิบาย เต็มไปด้วย Fact หรือข้อเท็จจริงจำนวนมากที่ไม่ลงตัว ฝุ่นตลบของผมหมายความแบบนี้

ยกตัวอย่างในกรณีปัจจุบัน ในกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นนี้ เราได้ยินเรื่องมากมาย ซึ่งตอบไม่ได้ หรือไม่มีทางกระจ่างได้ง่ายๆ และคนส่วนใหญ่โดยปกติในสังคมจะคาดหวังว่า จะทำความกระจ่างให้ได้ในสักวัน แต่บทเรียนจากเหตุการณ์จำนวนมากในโลก รวมถึงในเมืองไทยเอง ให้อีก 50 ปี หลายเรื่องก็ไม่กระจ่าง คนที่เรียนประวัติศาสตร์จะรู้ว่า ผ่านไปอีกหลายสิบปี เป็นร้อยปี ความรู้ประวัติศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่เป็นนักสืบและจะจัดการ Fact อย่างลงตัว ไม่มีหรอกครับ ความรู้หลายอย่างจะไม่ลงตัวไปอีกนาน ภาวะไม่ลงตัวเหล่านั้นสำหรับคนบางคนเขาพอใจที่ไม่ให้ลงตัวอย่างนั้น สำหรับหลายคนจะอึดอัด แล้วแต่ว่าคุณเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ถูกกระทำในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ในกรณีปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ผมเชื่อว่า ความพยายามอธิบายเรื่องคนเสื้อดำ และความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อดำกับแกนนำ กับทหาร กับกองทัพ ผมเชื่อว่าเถียงไปอีกนาน เผลอๆ ก็สรุปไม่ได้

‘สรุปไม่ได้’ นี่ ผมไม่ได้หมายถึงคณะกรรมการของรัฐบาลสรุปไม่ได้นะครับ เขาสรุปได้อยู่แล้วล่ะ แต่เขาสรุปอย่างที่เขาสรุป ไม่ได้แปลว่าสังคมจะต้องสรุปอย่างเดียวกัน ผมพูดในแง่นี้

เช่น เรื่องการใช้อาวุธ กระทั่งยกตัวอย่างย้อนกลับไป 6 ตุลา แม้เรื่องการแสดงละคร ปัจจุบันคนจำนวนมากก็ยังเชื่ออยู่ใช่ไหมครับว่า รูปภาพการแสดงละครตอน 6 ตุลา เป็นการแต่งรูป เรียนด้วยความซื่อสัตย์ ในฐานะที่ทำวิจัย รูปนั้นเผลอๆ ไม่ได้แต่งฮะ ผมคิดว่าไม่ได้แต่ง เป็นความบังเอิญ ซึ่งไม่รู้จะว่าอย่างไร แต่พอพูดแบบนี้หลายคนอาจไม่เชื่อ ถ้าอย่างนั้น ผมบอกว่าแต่งก็ได้ ซึ่งก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยในสังคมที่ไม่เชื่อ

ปัญหาว่าเกิดอะไรขึ้นในการยิงกันบริเวณใต้สะพานบนถนนพหลโยธิน (หมายเหตุ – กรณีที่มีการถกเถียงกันว่า ทหารถูกยิงหรือยิงกันเอง เมื่อ 28 เม.ย. 2553 ที่ถนนพหลโยธิน ใต้ทางด่วนดอนเมืองโทลลเวย์ บริเวฯอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดอนเมือง) ฟังดูก็ง่ายดีนะ ยิงกันเอง จบ หลายคนคงเชื่ออย่างนั้น ผมก็เชื่ออย่างนั้น ผมว่ารัฐบาลก็มีสิทธิ ทำให้ออกมาแล้วเรื่องอาจไม่เป็นแบบนั้น

ตกลงการยิงคนตรงวัดปทุมวนารามฯ แนวราบหรือแนวบน ยิงจากที่สูงหรือที่ราบ ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องพวกนี้จะสรุปได้ สำหรับคนในภาวะที่แตกเป็นขั้ว ต้องบอกว่าต่างฝ่ายต่างสรุปได้ทั้งนั้น นี่พยายามพูดอย่างไม่ใช่เพื่อความเป็นกลางนะ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมคือ ‘ภาวะฝุ่นตลบ’ คือภาวะที่มีเรื่องราวจำนวนมากที่สังคมตกลงไม่ได้หรอก

และความคิดที่ว่า เออ!น่า นักประวัติศาสตร์เอย กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเอย สืบสวนไปแล้วจะเจอ fact จำนวนหนึ่งซึ่งสามารถ Conclusive (เป็นข้อสรุป) ผมก็ว่าไม่ได้

หรืออีกเรื่องก็ได้ที่กำลังฮิตกันอยู่ ผมฟังบ้างไม่ฟังบ้าง ... ตกลงคุณจะด่าแกนนำดีไหม เขาตัดสินใจถูกและผิด เพราะอะไรบ้าง เงื่อนไขอะไรบ้าง ความพลาดอยู่ตรงไหน บางคนก็รู้ดีว่า แหมมันต้องเป็นอย่างนี้แต่ต้น บ้างก็ไม่รู้ว่ามันจะมีการพลิกผันอย่างนู้นอย่างนี้ก็ว่าไป ผมคิดว่าเรื่องพวกนี้เผลอๆ สรุปไม่ได้

ผมพูดอีกครั้งนะครับว่า สรุปไม่ได้นี่ไม่ได้หมายถึงความเชื่อของแต่ละคน แต่ละคนอาจสรุปได้ก็ได้ แต่ผมหมายถึงว่า โดยรวมๆ ของสังคมสรุปได้ไหม ผมว่ายาก ต่อให้คณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาสรุป คนจำนวนไม่น้อยก็จะยังไม่เชื่อ ผมก็ไม่เชื่อ

แล้วจะอยู่อย่างไรกับเหตุการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรมที่สรุปไม่ได้ หมายความว่า สังคมนั้นจะไม่ยอมสรุป ไม่สร้าง Value (การประเมินคุณค่า) ไม่สร้างบทเรียน ไม่สร้างอะไรเลยหรือ ตรงข้ามฮะ ทุกสังคม ทั้งๆ ที่ Fact เหล่านั้นสรุปไม่ได้ แต่ก็สรุปบทเรียนกันเป็นประจำ

เราชอบบอกว่าเราไม่สรุปบทเรียนในอดีต ไม่จริงนะครับ เราสรุปกันมากเหลือเกิน คือต่างคนต่างสรุป เราสรุปเข้าข้างตนเอง สรุปเข้าข้างคนมีอำนาจ สรุปเข้าข้างปัจจัยจำนวนหนึ่งที่ทำให้ดูเหมือนสรุปได้ เพราะว่ามนุษย์เราทนไม่ได้หรอกครับที่เรื่องที่ร้ายแรงขนาดนั้นจะไม่ลงตัว

มนุษย์เรามีสภาวะอย่างหนึ่งก็คือ ต้องการพยายามเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทั้งที่ความเป็นจริงหลายเรื่องไม่ค่อยเป็นเหตุเป็นผลเท่าไหร่ และทั้งๆ ที่ Fact จำนวนมหาศาลไม่ลงตัว เพราะคนเราอึดอัด

พวกเราแต่ละคนลองนึกถึงเหตุการณ์ที่ถือว่าร้าย หรือถือว่าเศร้าสำหรับชีวิตเรา เราทนได้ไหมที่จะอยู่กับมันโดยที่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นแน่ๆ ตกลงไม่รู้ใครถูกใครผิด เราทนไม่ไหวหรอก สุดท้ายต่างคนต่างสรุปไปตามที่ตัวเองต้องการ ผมไม่ได้บอกว่า ทุกคนผิดหมดด้วยนะ แต่ผมกำลังอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม

เอาใหม่นะครับ แทนที่จะบอกว่า Fact ต่างๆ ที่ไม่ลงตัว สังคมสรุปไม่ได้ใช่ไหม ไม่จริง สังคมสรุปอยู่เป็นประจำ แต่กลับไม่ได้แปลว่าเพราะข้อเท็จจริงต่างๆ ลงตัว แต่สรุปด้วยอำนาจ สรุปด้วยอำนาจของคณะกรรมการ สรุปด้วยอำนาจของรัฐบาล สรุปด้วยอำนาจของประวัติศาสตร์ สรุปด้วยอำนาจของนักเขียนหนังสือ สรุปด้วยสื่อมวลชน สรุปด้วยอำนาจสารพัดชนิดเพื่อจะได้ลงตัวตามแต่มุมมองของคนเหล่านั้น ทั้งที่ข้อเท็จจริงจากเรื่องนี้อาจไม่ได้เป็นไปตามนั้น แต่สังคมจะต้องพยายามทำให้มันลงตัว

ตกลงใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ผมว่าสุดท้ายหาไม่เจอ ทั้งที่มันหาได้ ตกลงใครเผาบิ๊กซีตั้งกี่ชั่วโมงหลังจากสลายการชุมนุมไปแล้ว คนสลายไปเรียบร้อย ทำไมบิ๊กซีเพิ่งโดนเผา ภาวะฝุ่นตลบคือภาวะนี้ และภาวะฝุ่นที่จะหายตลบ คือภาวะที่ผมเพิ่งบอกไป คือสุดท้ายจะมีการสรุป ไม่ใช่เพราะได้ข้อเท็จจริงที่ลงตัว แต่เพราะคนเราทนไม่ได้ที่จะอยู่อย่างอึดอัดโดยที่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น มันก็ต้องสรุปสักอย่าง จึงใช้ปัจจัยที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงของตัวเหตุการณ์มาช่วยสรุป ส่วนใหญ่คือการใช้อำนาจสื่อ ใช้อำนาจรัฐ ใช้อำนาจนักวิชาการ ใช้อำนาจอะไรก็แล้วแต่ที่ช่วยทำให้มันลงตัว ทั้งที่พอเราใช้ปัจจัยเหล่านั้นมาก็จะเท่ากับว่าคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปเหล่านั้นก็อยู่อย่างอึดๆ อัดๆ ไปอีกนานในชีวิต

เพื่อนฝูงผมหลายคนจากรุ่น 6 ตุลา ถามว่ามีข้อสรุปอะไร สุดท้ายก็ยังอึดอัด เพราะไม่มีอะไรเท่าไหร่ ตอน 20 ปี 6 ตุลา เราจัดนิทรรศการว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อตอนตี 5 ของวันนั้น เราตัดสินใจ112  ซึ่งเท่ากับคนที่ไปดูนิทรรศการ ไม่เห็นทุกอย่างที่เราต้องการจะพูด เท่ากับการจัดนิทรรศการ 20 ปี 6 ตุลา เราพูดไม่หมด เพราะขืนพูดหมดก็ (หยุดพูด) เอาเป็นว่าพูดไม่หมดก็ต้องอยู่ไป ต้องพูดไม่ออก

‘ภาวะที่ฝุ่นตลบแล้วไม่ลงตัว’ จะเกิดเรื่องต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน ซึ่งหลายประเด็นที่ผมจะพูดในวันนี้ ผมบอกก่อนเลยว่า ถ้านักศึกษาหรือเพื่อนอาจารย์ที่อยู่ในทีนี้ อยากจะลองคิดนะ ผมเจอว่า การใช้เหตุใช้ผลล้วนๆ หลายอย่างใช้ได้แค่ขั้นหนึ่ง หมายถึงการพยายามเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ใช้เหตุ ใช้ผล เถียงด้วยเหตุด้วยผลทั้งหลาย เถียงกันได้แค่ขั้นหนึ่ง สุดท้ายผมใช้วรรณคดี ใช้วรรณกรรม อ่านหนังสือ อ่านเรื่องนั้นเรื่องนี้แล้วพยายามนึก ใช้จินตนาการว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะว่างานเขียน หรืองานที่ช่วยให้เราคิดในเชิงที่เข้าใจโศกนาฏกรรมที่ดี ไม่ใช่งานทางสังคมศาสตร์ ไม่ใช่รัฐศาสตร์ บางครั้งเท่านั้นที่เป็นประวัติศาสตร์ งานที่ช่วยให้เราจัดการกับโศกนาฏกรรมได้ดี คือพวกหนัง หมายถึงช่วยให้เรารู้จักคิด

‘โศกนาฏกรรม’ ที่ผมใช้หลายครั้งหมายถึงอะไร ผมใช้คำ ‘โศกนาฏกรรม’ ในความหมายของพวกวรรณคดี ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องว่ามีคนตายกี่คน มีความทุกข์ยากขนาดไหน นั่นเป็น ‘โศกนาฏกรรม’ ในความเข้าใจทั่วไป ซึ่งไม่ผิด ซึ่งผมก็ใช้ในความหมายนั้นด้วย แต่ ‘โศกนาฏกรรม’ ในความหมายของวรรณคดีกว้างกว่านั้น คือวรรณคดีประเภทหนึ่งเป็น ‘โศกนาฏกรรม’ หรือ ‘Tragedy’ ในความหมายว่า ภาวะที่มนุษย์นี้ ไม่ว่าคุณทำอะไรก็มีคนสูญเสีย ไม่ว่าคุณตัดสินใจอย่างไรก็มีคนเจ็บตัว ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นมันก็มีด้านเสียซึ่ง Costly ซึ่งราคาแพง ไม่ว่าแพ้หรือชนะก็หัวเราะไม่ออก ภาวะโศกนาฏกรรมทางวรรณคดีหรือภาวะที่มนุษย์เจอ Dilemma เจอภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ต้องตัดสิน ต้องทำอะไรบางอย่าง แต่ไม่ว่าทำอะไรลงไป มันไม่มีแต่ด้านดี ผมถึงบอกว่า ผมใช้วรรณคดีเพื่อคิดถึงเรื่องพวกนี้ เพราะวรรณคดีช่วยให้เราคิดเรื่องพวกนี้ อาจจะดีกว่าตำราสังคมศาสตร์ใดๆ ทั้งสิ้น

 

 เขาจะกำหนดการเขียนประวัติศาสตร์หรือการเล่าเรื่อง
รือพูดในภาษาผมตั้งแต่ต้นคือว่า
ฝ่ายที่มีอำนาจจะเป็นผู้กำหนดให้ฝุ่นหายตลบแบบใด
อาจไม่ง่ายแบบ 6 ตุลาก็ได้...
แน่นอนมันขึ้นอยู่กับเราด้วย

 

ฝุ่นหายตลบโดยรัฐ
ฝุ่นจะหายตลบได้อย่างไรบ้าง หนึ่ง เรามักกล่าวกันว่า ‘ผู้ชนะเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์’ มันไม่ง่ายแค่นั้นหรอกครับ ไม่จริง หรือจริงเป็นเพียงบางส่วน นั่นเป็นความเข้าใจง่ายๆ คนชนะเขียนประวัติศาสตร์ บ่อยครั้งเป็นแบบนั้น บ่อยครั้งไม่ใช่ หมายความว่าคนแพ้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยหรือ คนแพ้ก็ไม่ค่อยได้เขียนหรอกครับ สังคมที่คลี่คลายไปเขียนประวัติศาสตร์ ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์ระยะสั้น เช่นที่รัฐบาลเขียนอยู่ตอนนี้ ศอฉ. เขียนอยู่ตอนนี้ เวลาผ่านล่วงเลยไป ความทรงจำที่จะมีต่อเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนไป ตามเกณฑ์คุณค่า ตามบรรทัดฐานของสังคมที่เปลี่ยนไป

ยกตัวอย่างกลับไปที่ 6 ตุลา เพราะเกิดนานแล้ว หลัง 6 ตุลาใหม่ๆ การประชุมอย่างนี้จัดไม่ได้ รายละเอียดมันมีเยอะ เพราะว่าความขัดแย้งตอนนั้นเป็นความขัดแย้งในเมือง เป็นความขัดแย้งที่เกิดในหมู่ปัญญาชน ในมหาวิทยาลัยจึงเป็นเป้าหมาย จัดไม่ได้ จะคุยกันต้องลงใต้ดิน แต่ตอนนี้ไม่ใช่เพราะว่าการปราบปรามครั้งที่ผ่านมาเบากว่า 6 ตุลา แต่เพราะว่า แนวหน้าของการปะทะไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นตอนนี้ คนที่คุยไม่ได้ หมายถึงคนที่อยู่ตามรอบๆ เชียงใหม่ ไม่ใช่ในมหาวิทยาลัย

ผมไม่ได้บอกว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ หรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นครั้งนี้เบากว่า 6 ตุลา เพียงแต่มันเกิดคนละที่ แนวหน้าของความขัดแย้งไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัย เราจึงยังคุยในมหาวิทยาลัยได้ แต่คนที่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ และเสี่ยงต่อการถูกจับอยู่รอบๆ เชียงใหม่ อยู่ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี หรืออีกหลายๆ แห่ง คนเหล่านั้นยังหลบๆ ซ่อนๆ เพราะถูกตามล่าตามจับ อย่างพวกเราอาจจะโดนก็ได้นะ เดี๋ยวอาจจะโผล่มา แต่เราพอจะรู้ว่า เราจัดคุยแบบนี้ได้

กลับไปที่เหตุการณ์ 6 ตุลา หลังจากนั้น 2-3 เดือน บรรดาคนที่เห็นอกเห็นใจฝ่ายนักศึกษาที่ถูกปราบปรามคุยอย่างนี้ไม่ได้นะ ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ต้องเข้าป่า ประมาณ 3 เดือน คนที่มีส่วนในการฆ่ายังร่าเริง ยังแสดงความดีอกดีใจจากการที่รักษาประเทศชาติไว้ได้สำเร็จด้วยการฆ่าคอมมิวนิสต์ ถึงประมาณธันวาคมหรืออาจจะเลยเถิดอะไรนิดหน่อย เช็คในหนังสือพิมพ์ได้เลย มีปัจจัยหลายอย่างที่จะไม่กล่าวในที่นี้ว่า ความร่าเริงจากการปราบปรามได้สำเร็จจึงได้ปรับไป เอาเป็นว่ารวมๆ ก็คือทุกอย่างปรับตัว มันเปลี่ยนตลอดเวลา รวมทั้งอารมณ์ของคนหลัง 6 ตุลาก็เริ่มเปลี่ยน รวมทั้งความล้มเหลวของรัฐบาลธานินทร์ (กรัยวิเชียร) คนเริ่มวิจารณ์รัฐบาลธานินทร์มากขึ้น การพูดเรื่อง 6 ตุลาก็เป็นไปได้มากขึ้น รวมทั้งข่าวสารรูปภาพจากต่างประเทศเริ่มไหลกลับเข้ามา ตอนนั้นไม่มีรูปเยอะอย่างยุคนี้ ยุคนี้รูปเยอะมาก ตอนนั้นไม่มีอะไรเลย กว่ารูปจะกลับเข้ามาได้ใช้เวลา 3 เดือน รูปแรกที่ออกสู่สาธารณะในไทย เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาแล้ว 6 เดือน ออกปุ๊บหนังสือเล่มนั้นถูกปิดทันที แต่ทุกอย่างเปลี่ยน

ในประเด็นนี้ ไม่ต้องการจะบอกว่า ผู้ชนะไม่ใช่คนเขียนประวัติศาสตร์เสมอไป ผู้ชนะเป็นเพียงแค่คนมีอำนาจ และมีอิทธิพล ที่พยายามเขียนประวัติศาสตร์แบบที่เขาต้องการ แต่เขาไม่ได้กุมอำนาจไปตลอดหรอก

พูดอย่างนี้ จะบอกว่าเป็นวิธีการเอาใจพวกเราใช่ไหม ใช่ เพราะมันเป็น Fact ก็คือไม่มีทางที่เขาจะกุมการเขียนประวัติศาสตร์ได้ตลอดไป ทุกอย่างเปลี่ยน ทำไมเมื่อ 20 ปี หลัง 6 ตุลา สามารถจัดงานรำลึกได้ เพราะกระแสเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะอีกหลายเรื่องมันเปลี่ยนไปแล้ว เราจึงสามารถพูดได้ว่า อย่ามาทำร้ายคนเพราะเพียงแค่คิดต่างนะ ลองไปพูดแบบนี้เมื่อเดือนตุลาคม ถึงธันวาคมปี 2519 สิ พูดไม่ได้

ใครที่ชอบหาว่าหมกมุ่นกับ 6 ตุลา ถ้าผมหมกมุ่น ผมไปนั่งคุยกับกระทิงแดงไม่ได้หรอก งานวิจัยก็ต้องคุยกับพวกเขา เราพอทำใจแล้วจึงกลับไปคุย เราจะรู้ว่าพวกเขาก็เปลี่ยนความคิด ไม่ได้เปลี่ยนกลับมากลายเป็นเห็นใจนักศึกษานะ ไม่มีทาง เขายังเชื่อว่าเขาทำถูก แต่คำอธิบายของเขาเปลี่ยนไป เจอคนที่ทำงานกับ พล.ต.จำลอง (ศรีเมือง) ทำงานกับสายข่าว ทบ. ความคิดเปลี่ยนไปมหาศาล เขาไปเรียนหนังสือเพิ่ม เขาอยู่กับมหาวิทยาลัย เขาเรียนปริญญาโท เขาอธิบายใหม่ เขาไม่ยอมรับว่าเขาผิด แต่เขาอธิบายความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อครั้ง 6 ตุลา เปลี่ยนไปจากเดิม

เหตุการณ์เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้ชนะจะไม่ใช่คนเขียนประวัติศาสตร์ตลอดไป เขาอาจจะเขียนได้อีกสักไม่กี่เดือน และในภาวะปัจจุบัน ผมยังไม่กล้าทาย ผมยังไม่กล้าวิเคราะห์ อาจจะสั้นกว่าสามเดือนก็ได้ หรืออาจจะยาวกว่าสามเดือน หรือระยะเวลาอาจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ แต่กลายเป็นว่า เขาจะกำหนดการเขียนประวัติศาสตร์หรือการเล่าเรื่อง หรือพูดในภาษาผมตั้งแต่ต้นคือว่า ฝ่ายที่มีอำนาจจะเป็นผู้กำหนดให้ฝุ่นหายตลบแบบใด อาจไม่ง่ายแบบ 6 ตุลาก็ได้...แน่นอนมันขึ้นอยู่กับเราด้วย

ยิ่งพูดก็เหมือนประกาศข้างชัดเจน (หัวเราะ) แน่นอนมันขึ้นอยู่กับเราด้วย หรือขึ้นอยู่กับคนอื่นด้วยว่า จะมีปากมีเสียงทำให้ฝุ่นมันยังตลบนานขึ้นอีก เพราะไม่ยอมให้อำนาจของรัฐกำหนดเรื่อง หรือกลับพอจะมีอำนาจจนทำให้การใช้อำนาจรัฐเพื่อกำหนดเรื่องได้ง่ายๆ มันเป็นไปไม่ได้

ขอหมายเหตุไว้นิดหนึ่งว่า ทำไมผมถึงมาคุยเรื่อง Memory (ความทรงจำ) หลายคนอาจบอกว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะกำลังจะรบจะรากันอยู่แล้ว อันนี้ก็ขออภัยนะครับ เผอิญสำหรับผมเรื่องนี้สำคัญ และสำคัญยาวด้วย ถ้าพูดกันในแง่เพียงแค่ว่า คนตายเขาจะได้รับการแก้แค้นไหม สำหรับผมการแก้แค้นยาวนะครับ มันไม่ได้สั้นๆ ตายแล้วเรียกคืนไม่ได้ แต่ในเวลาอนาคต เขาตายแบบไหน แล้วสังคมจะจดจำเขาแบบไหน อันนั้นต่างหากสำคัญ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แล้วการจดจำ และ Story ที่เกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นมันไปคู่กับการเปลี่ยนแปลงสังคม ไปคู่กันแปลว่า มันมีผลต่อการเปลี่ยนสังคม และการเปลี่ยนสังคมมีผลต่อ Story ที่จดจำ มันไปด้วยกัน

หรือพูดอีกอย่างก็ได้ ฟังดูแล้วอาจจะเว่อไปหน่อยนะ แล้วอาจจะไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร คุณก็ค่อยๆ คิด มันเป็น ‘แนวรบ’ หนึ่ง ผมถึงบอกว่า ถ้าวันนี้คุยเรื่องสถานการณ์ก็ได้ แต่ขอหลังจากนั้น วันนี้ผมขอคุยถึงแนวรบที่ปกติคนไม่คิดกัน ก็คือแนวรบอันนี้

นั่นคือข้อที่หนึ่งว่า สังคมไทยใช้อำนาจแน่ แต่อำนาจในการกำหนดเรื่องให้ฝุ่นหายตลบไม่ได้อยู่กับคนที่ มีอำนาจฝ่ายเดียวอยู่ตลอดไป เพราะอำนาจไม่อยู่ในมือใครเป็นเวลานาน และสังคมเปลี่ยน

ผมอยากจะเชื่อว่า พูดภาษาวิทยาศาสตร์สักนิดหนึ่งว่า Rate (อัตรา) ในการเปลี่ยน ที่จะมีผลต่อความทรงจำเหตุการณ์เดือนพฤษภาที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าจะใช้เวลาสั้นกว่า 6 ตุลาเยอะ แต่มันขึ้นอยู่กับคนที่ไม่เห็นด้วยกับฝุ่นหายตลบในแบบรัฐบาล ขึ้นอยู่กับเรื่องนั้นด้วย

 

"1984 คือสังคมที่อยู่ด้วยความกลัว
ไอ้คนที่ยังไม่โดนก็ต้องระวัง เพราะอยู่ด้วยความกลัว
ไอ้คนที่โดนแล้ว สักวันหนึ่งก็จะถูก break down
ในแง่ Spirit ไม่ใช่ในแง่ physical ไม่ใช่กายภาพ
แต่เป็นข้างใน ที่ทำให้ต้องยอมสยบ"

 

ฝุ่นหายตลบแบบ ‘1984’
อันที่สอง อำนาจในการทำให้ฝุ่นหายตลบคืออะไร อันนี้ผมเรียนรู้จากหนังสือฝรั่งเรื่อง ‘1984’ ของจอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้ ผมไม่นึกถึงนะครับว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ

1984 เป็นเรื่องที่ว่าด้วยสังคมเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ เวลาเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จใน 1984 นั้น มันไม่ใช่เพียงแค่การเอาปืนหรือการใช้ตำรวจไปจับ อันนั้นมันเถื่อนไปหน่อย ในความเป็นจริงสังคมต่างๆ เกิดขึ้นแบบนั้นหลายแห่ง และมันไม่ใช่เป็นเผด็จการแบบใน 1984 เป๊ะๆ หรอก เพราะนั่นคือในนิยาย

แต่สิ่งที่ 1984 ต้องการจะเน้น เน้นจนอาจจะเว่อ หรือไม่มีในความเป็นจริง แต่เน้นเพื่อให้เราคิด ก็คือการใช้อำนาจกำราบปราบปราม ไม่ใช่เพียงแค่จับคนขังเข้าคุก อันนั่นคือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่ 1984 คิดแบบข้ามตรงนั้นไป แล้วกลับสนใจการใช้อำนาจบังคับบงการความจำและความรู้ของคน

ผมไม่รู้ว่าควรจะดีใจไหมว่าสังคมไทย มันไม่ได้เป็นขนาด 1984 ของจอร์จ ออร์เวลล์ เพราะว่ามันยากที่สังคมไหนจะเป็นขนาดนั้น แต่ผมกลับคิดว่ามันน่าเสียใจ น่าห่วง ผมไม่เคยนึกว่าสังคมไทยจะมีส่วนหลายๆ อย่างที่ทำให้ผมคิดถึง 1984 แล้วผมคิดว่า ทุกวันนี้มันเป็นแล้ว สำหรับคนที่เป็นนักข่าว ใส่ไปเลยก็ได้ว่า ‘ธงชัยบอกว่า สังคมไทยทำอย่างกับตัวเองเป็น 1984’ … ใช่! 

ถ้าเราไม่คิดว่ามันจะเหมือนกันเป๊ะ เพราะไม่มีทางเหมือนกันเป๊ะ เพราะนั่นคือนิยาย ซึ่งไม่เหมือนกันตั้งหลายอย่าง รวมทั้งการจับคนเข้าคุก และใช้อาวุธที่ยังมีอยู่ ซึ่งใน 1984 เขาไม่ใช้วิธีเถื่อนๆ แบบนั้นแล้ว  ความเป็นจริงเถื่อนกว่า

ประเด็นใหญ่ที่หนังสือเล่มนี้พยายามจะบอก ก็คือการควบคุมบงการความคิด เรื่องง่ายๆ ที่เราเห็นอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์เนี่ย ฟังดูมันก็น่าเกลียดพอแล้ว ในความเป็นจริงมันลึกซึ้งกว่านั้น เช่น การไล่ล่าแม่มดอย่างที่มติชนเขาลง การลงโทษเด็กนักเรียนที่เชียงราย หรือการลงโทษคนที่เล่นในรายการอะไรนะ (นิ่งนึก)  ‘มาร์คเด็ก’ น่ะครับ (หมายเหตุ - หมายถึง วิทวัส ท้าวคำลือ หรือ มาร์ค V11 หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันในรายการประกวดร้องเพลง True Academy Fantasia Season 7) พวกนั้นคือวิธีจัดการกับ ‘Thoughtcrime’ นี่เป็นศัพท์ของ 1984 ‘อาชญากรรมทางความคิด’

สิ่งที่ผมบอกว่ามันเหลือเชื่อคือ สังคมไทยที่ผ่านมาปีสองปีก่อน บางคนอาจจะเคยได้ยินข่าว คือผมพยายาม Campaign (รณรงค์) เรื่องยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะกฎหมายหมิ่นฯนี้ เป็นเรื่องที่แย่ที่สุดเรื่องหนึ่งของ Thoughtcrime ตอนนี้มันยิ่งกว่านั้นแล้วล่ะ มันไม่ใช่แค่กฎหมายหมิ่นแล้ว นี่คือประเด็นที่สองที่อยากจะพูด

การจัดการกับความรู้ความทรงจำที่ตัวเองไม่เห็นด้วยในฐานะที่มันเป็น Thoughtcrime สังคมในโลกนี้ ในประเทศที่ศิวิไลซ์ มีระดับความเจริญอย่างเมืองไทย ไม่มีที่ไหนเขาดีลกับ Thoughtcrime อย่างนี้หรอก ถ้าคุณยังคิดถึงเกาหลีเหนือ ถึงอะไรก็ว่าไป แต่ในประเทศขนาดเมืองไทย เขาไม่จัดการกับ Thoughtcrime แบบนี้ แต่เมืองไทยทำ

มีหลายอย่างใน 1984 ที่ทำให้เราเรียนรู้จากการจัดการกับ Thoughtcrime ที่เรานึกไม่ถึง แล้วเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มีศัพท์คำหนึ่งของออร์เวลล์ในเล่มนี้ คือเขาเรียก ‘Doublespeak’ ผมไม่ทราบว่าฉบับแปลของคุณรัศมี (เผ่าเหลืองทอง) แปลว่าอะไร

Doublespeak ถ้าแปลเป็นไทยที่ใกล้เคียง ก็ต้องบอกว่าเป็น ‘ลิ้นสองแฉก’ ก็ยังไม่เชิงนะ แต่ทำนองนั้น หรือ ‘ปากว่าตาขยิบ’ ทำนองนั้น ‘พูดอย่างใจอย่าง’ ทำนองนั้น แต่ Doublespeak ความหมายที่มันโหดร้ายกว่านั้นก็คือว่า ในการพูดซึ่งดูเหมือนจะตีความได้อย่างเดียว มันตีความได้ตรงข้ามกัน แล้วไอ้คนพูดไม่ใช่แกล้งนะ พูดง่ายๆ ว่าไม่ใช่อภิสิทธิ์พูดว่า “ผมต้องปรองดอง” แล้วข้างหลังทำอย่างนี้ (ทำนิ้วไขว้ไว้ข้างหลัง) คือตัวเองไม่ซื่อสัตย์ ไม่จริงใจ แอบทำอย่างนี้ไว้ แต่กลายเป็นว่า ผมคิดว่าเขาไม่ได้ทำอย่างนี้เลย เขาเชื่อสิ่งที่เขาพูด เขาเชื่ออย่างนั้นจริงๆ แต่สิ่งที่อยู่ในหัวเขา มันแปลตรงข้ามกับที่มันควรจะเป็น

Doublespeak เป็นอย่างนั้น ในหนังสือนั้นมีหลายอย่างที่เป็น Doublespeak คือว่าพูดออกมาแล้ว เราอ่านดูด้วยภาษาธรรมดา มันควรแปลว่าอย่างนี้ แต่ในหนังสือสามารถอธิบายให้กลายเป็นอีกอย่างได้ สังคมไทยเต็มไปด้วย Doublespeak ปรองดองก็เป็น Doublespeak ไม่กี่วันก่อนผมดูทีวี อภิสิทธิ์พูดถึงเรื่องปฏิรูปการศึกษา ต้องการให้เด็กนักเรียน เรียนแล้วรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ มีความคิดเป็นตัวของตัวเอง คิดว่าเขาทำอย่างนี้ไว้ข้างหลังไหม (ทำนิ้วไขว้ไว้ข้างหลัง) ไม่จริงใจ ผมว่าไม่นะ เขาไม่ได้ทำ แต่เพราะสำหรับเขา คำว่ารู้จักวิพากษ์วิจารณ์กับเป็นตัวของตัวเองเนี่ย มันแปลคนละอย่างกับที่เราคิดกัน

เอาเข้าจริง กลุ่มที่ทำ Doublespeak แบบที่ทำมานานแล้ว แล้วเหลือเชื่อนะว่า Doublespeak ได้นาน ความหมายที่ควรจะง่ายๆ ชัดๆ ตรงๆ กลับกลายเป็นความหมายที่ตรงกันข้ามอย่างเหลือเชื่อ คือกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พันธมิตรฯนี่สร้าง Doublespeak มาหลายปีแล้ว คุณคิดว่าอภิสิทธิ์ต่างจากพันธมิตรฯมากอย่างที่คิดหรือ ไม่ใช่เรื่องการเมืองนะ ผมว่าเรื่องนี้ (ชี้ที่หัว) ผมว่าความคิดเขาเผลอๆ ไม่ต่างกัน นี่ไม่ได้พูดอย่างดูถูก หรือไม่ได้พูดเรื่องการเมืองนะ

คนเราความคิดต่างกันใช่ไหมครับ อภิสิทธิ์เขาเรียน Oxford มา แปลว่าเขาต้องคิดไม่เหมือนคนนั้นคนนี้ คุณสังเกตดูนะครับ ผมคิดว่าอภิสิทธิ์คิดลงล็อกกับพันธมิตรฯ เกือบทุกเรื่อง การเมืองต่างหากล่ะที่อาจจะทำให้เขาต่าง ก็คือผลประโยชน์เขาอยู่ข้างประชาธิปัตย์ ขณะที่พันธมิตรฯ อาจจะบอกว่าไม่ได้อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในแง่การคิดการเข้าใจสังคม ว่าอะไรเป็นอย่างไร ควรจะเล่นงานเรื่องเขาพระวิหารไหม ปรองดองยังไง ผมคิดว่าเขาคิดเผลอๆ ต่างจากพันธมิตรฯน้อยกว่าที่คุณคิด เพียงแต่เขาไม่ได้อยู่กับพันธมิตรฯเท่านั้นเอง ตรงข้ามกับที่คิดว่า เขาคิดต่างกัน แต่การเมืองใกล้กัน ผมกลับคิดว่า เขาคิดคล้ายกัน แต่การเมืองเขา ผลประโยชน์หลักอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีข้อต่างอยู่

1984 สอนให้เรารู้ว่าสังคม และรัฐ คือสังคมด้วยนะไม่ใช่รัฐอย่างเดียว ซึ่งจะเป็นประเด็นที่ผมจะพูดถึงต่อไป ได้จัดการกับ Thoughtcrime อย่างไร หรือการจัดการ Doublespeak เอย และการจัดการอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมาก ก็คือว่า…คุณอ่านคำสัมภาษณ์ของคุณสุวิชา ท่าค้อ หลังจากออกจากคุกไหมครับ ได้อ่านไหมครับ ได้อ่านคำสัมภาษณ์ของคุณบุญยืน ประเสริฐยิ่งไหมครับ ทั้งสองเรื่องลง ‘ประชาไท’ หลังจากที่เขาสองคนโดนข้อหาหมิ่นฯ ติดคุกอยู่คนละปีโดยประมาณ แล้วก็ออกมาใช่ไหมครับ ออกมาให้สัมภาษณ์ ผมขอเล่าความรู้สึกที่ผมมีแล้วกัน เป็นความรู้สึกที่ผมมีต่อคำสัมภาษณ์ทั้งสองนะครับ ในภาษาวิชาการซึ่งเป็นการตีความโดยผม ผมไม่รับประกันว่าคุณสุวิชา กับคุณบุญยืนคิดอย่างนี้จริงไหม แล้วในทางวิชาการผมก็ไม่แคร์ด้วยว่าจริงๆ คิดอะไร เอาเป็นว่า เมื่อผมอ่านแล้วผมคิดอะไรอยู่ เกิดอะไรขึ้นในความคิดผม

ผมคิดถึงประมาณ 10 หน้าสุดท้ายของ 1984  ในเรื่อง 1984 คือรัฐควบคุม Thoughtcrime อย่างที่บอก สุดท้ายมันเกิดกบฏขึ้นสองคน ผู้ชายชื่อวินสตัน ผู้หญิงชื่อจูเลีย สิ่งที่เขากบฏ เขาไม่ได้มารวมตัวเป็นขบวนการเสื้อแดง ชุมนุม เดินขบวน ไม่ๆๆ ใน 1984 กบฏที่ผมคิดถึง เบากว่านั้น แล้วหนักที่สุดด้วย คือเบากว่าขบวนการเสื้อแดง และหนักยิ่งกว่า ก็คือเป็นการกบฏลงไปถึงระดับ individual คือในตัวตนของเขา จูเลียกับวินสตันนั้น รับไม่ได้ อึดอัดทนไม่ไหว และการแสดงออกของเขา according ตามหนังสือ ก็คือ เขาละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคมโอเชียเนีย (Oceonia) ที่มี Big Brother หรือพี่เบิ้มคอยคุมอยู่ ด้วยการแอบมีเซ็กซ์กัน ซึ่งสังคมนั้นยอมไม่ได้ เซ็กซ์มีได้เฉพาะที่อนุญาต แต่สองคนนี้แอบมีเซ็กซ์กัน

Big Brother นอกจากจะใช้ไม้ นอกจากจะใช้ก้อนอิฐ ที่คอยควบคุมแล้ว ก็ใช้ดอกไม้ด้วย คือใช้ด้านที่ soft ลงมาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งชื่อนายโอไบรอัน มาเลียบๆ เคียงๆ มาตีสนิท มาทำตัวเป็นเข้าอกเข้าใจจูเลียกับวินสตัน สุดท้าย คนนั้นแหละคือ Big Brother เอง คือพูดง่ายๆ เป็นตัวสุดยอดของความเป็นจอมเผด็จการโหดร้าย จูเลียกับวินสตันก็ติดกับ ถูกจับไปทรมาน ถูกจับไปไหนก็แล้วแต่ 10 หน้าสุดท้ายเนี่ย สุดท้ายจูเลียกับวินสตัน Break down เข้าใจใช่ไหมครับ ก็คือทนไม่ไหว ยอมแพ้

การยอมแพ้ของจูเลียกับวินสตันคืออย่างไร คุณลองไปอ่านดูนะ เขาเขียนไว้นิดเดียว ประโยคเดียว แต่อ่านแล้ว ไม่รู้นะ ผมอ่านแล้วผมวูบเลย คือวินสตันขายจูเลีย จูเลียขายวินสตัน ต่างคนต่างโทษอีกคนหนึ่ง แล้ว Big Brother ทันทีที่คุณขายอีกข้างหนึ่งปุ๊บ Big Brother ปล่อยทันที นึกภาพออกไหมครับ การทรมาน ทรมานให้ตายยังไง ไม่เท่ากับการที่ Spirit (จิตวิญญาณ) คุณหมด Spirit หมดในหนังสือเล่มนี้ก็คือคุณขายเพื่อน พอคุณขายเพื่อนปุ๊บ คุณหมดความเคารพตัวเองทันที คุณไม่เหลืออะไรเลย คุณกลับเป็นประชากรของโอเชียเนีย ของรัฐนั้นที่สงบเสงี่ยมเจียมตัว ย้ำอีกครั้งนะครับ ทันทีที่ขาย ทั้งคู่ถูกปล่อยตัว

ผมไม่ได้บอกว่าคุณสุวิชา คุณบุญยืนเป็นอย่างนี้นะ ไม่เลย ไม่มีเซ้นส์นี้เลย แต่เซ้นส์ที่ผมได้ คือเวลาเราอ่าน เราเกลียดจูเลียที่ขายวินสตัน เกลียดวินสตันที่ขายจูเลียไหม เราเกลียดไม่ลง ผมไม่ได้บอกคุณสุวิชาหรือคุณบุญยืนคิดอย่างไร ผมไม่รู้จริงๆ แต่อ่านแล้วผมนึกถึง 10 หน้าสุดท้ายของหนังสือ ก็คือว่า จะให้คนมันทนอยู่ยังไงนะ ไม่ว่าเขาตัดสินใจ เขาทำอะไรก็แล้วแต่ เช่น คุณบุญยืนใส่เสื้อสีชมพูออกมาสัมภาษณ์เนี่ย ผมโกรธไม่ลง แต่ฉากนี้มันโหดร้ายซะยิ่งกว่าเอาเขาเข้าคุกนะ อาจจะไม่ยิ่งกว่า แต่มันโหดร้ายไม่น้อยแหละ ทันทีที่คุณขายเพื่อน ก็คือขายวิญญาณตัวเองด้วย หมดความเคารพตัวเอง รัฐนั้นรู้แต่ว่าไม่ต้องห่วงหมอนี่อีกต่อไปแล้ว...This is ‘1984’

ผมคิดว่า รัฐกำลังชำระสะสางฝุ่นที่ตลบอยู่ให้ลงตัว ด้วยการทำให้ไอ้พวกคิดแบบหัวหมอ กระเหี้ยนกระหือรือ หรือคิดต่างทั้งหลายนั้น ถึงจุดหนึ่งต้องระวัง ต้องเกรง อยู่ด้วยความกลัว 1984 คือสังคมที่อยู่ด้วยความกลัว ไอ้คนที่ยังไม่โดนก็ต้องระวัง เพราะอยู่ด้วยความกลัว ไอ้คนที่โดนแล้ว สักวันหนึ่งก็จะถูก break down ในแง่ Spirit ไม่ใช่ในแง่ physical ไม่ใช่กายภาพ แต่เป็นข้างใน ที่ทำให้ต้องยอมสยบ แล้วสำหรับ 1984 การทำลาย Spirit สำคัญกว่าการทรมานทาง Physical

รัฐไทยอาจจะไม่ทำถึงขนาดนั้น แต่ที่เล่าให้ฟังก็คือว่า ลองนึกสิครับ เขาไล่จับ ไล่ขู่ อาจารย์สุธาชัย (ยิ้มประเสริฐ) ก็ปล่อย คนนั้นก็ปล่อย ผมเชื่อว่าอีกหลายคนก็ปล่อย ไม่ใช่เพราะเขากรุณา แต่เขาต้องการรับประกันว่า แค่ไหนที่ Break down ถึงจุดที่ว่าคนนี้ เป็นอันตรายน้อยลง ต้องระวัง และถึงจุดที่คนนี้ต้องระวัง ต้องกลัว

ผมขออนุญาตไม่ชายตาไปหาเพื่อนผมคนหนึ่งในที่นี้ ที่เรารู้กันอยู่ว่า เพื่อนอีกคนหนึ่งของเราเนี่ย ถูกจับคดีหมิ่นฯ ถูกปล่อยออกมา ทุกวันนี้ต้องพยายามไม่ทำอะไร ความคิดเขาไม่เปลี่ยน ไม่เหมือน 1984 ไม่แยกกันอย่างนั้น แต่สุดท้ายเขาต้องอยู่อีกแบบ แทนที่จะอยู่ได้อย่างเป็นมนุษย์ปกติ ซึ่งมีความเคารพ มีศักดิ์ศรีในตัวเอง อยู่ไม่ได้ individuality คือปัจเจกภาพของเขาต้องลดทอน ต้องยอมตาม ต้อง Compromise ไม่งั้นอยู่ในสังคมนี้ไม่ได้ สังคมกำลังทำอย่างนั้นกับคนจำนวนมาก

ตอนสุดท้ายของสุดท้ายเลยใน 1984 จูเลียกับวินสตันเดินมาจ๊ะเอ๋กัน พยายามจะไม่เจอกัน ไม่อะไรกันแล้วนะ เพราะกลัว แต่ยังมาจ๊ะเอ๋กัน ตรงนั้นจะเป็นที่ยืนยันเปิดเผยกันว่า ต่างคนต่างขายกันและกัน แต่มันมีแว้บหนึ่ง หนังสือมันก็ทะลึ่งนะครับ แว้บหนึ่งที่ลึกๆ แล้ววินสตันยังหวนอาวรณ์ ยังหวนหาการมีเซ็กซ์กับจูเลียอยู่ ก็คือวินสตันไม่ได้เปลี่ยนนะ หรือเปลี่ยนแต่อาจจะไม่ได้มากถึงขนาดที่ Big Brother จะต้อง Clean หมด แต่แค่นั้นพอ แค่นั้นพอแล้วที่เขาจะได้ปล่อยตัว เพราะหมดพิษสงแล้ว

 

"ถ้าโลกวันข้างหน้าเปลี่ยนความคิด
หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนเองนั่นแหละจะเป็นสิ่งแรกๆ เลย
ที่จะออกมาบอกว่า เห็นใจคนที่เดือนร้อนจาก 6 ตุลา"

 

ฝุ่นหายตลบโดย ‘สื่อมวลชน’
การจัดการความทรงจำอย่างที่สาม ผู้แสดงนำคือสื่อมวลชน อันนี้ยกตัวอย่างนิยายไทย ไม่ต้องไปฝรั่ง

มีใครอ่าน ‘คำพิพากษา’ คนที่ไม่ได้อ่านลองไปอ่านของชาติ กอบจิตติ การจัดการความทรงจำแบบที่สามนี้ คือการจัดการแบบคำพิพากษา มันจัดการแบบที่หนังสือบอก

นายฟัก เขาตั้งชื่อดีมาก โดยผมไม่รู้ว่ากำลังเล่นกับภาษาอยู่ ถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับแม่เลี้ยงตัวเอง ทั้งเรื่อง คนเขียนทำให้เราต้องเลือกข้างว่า จะเชื่อฟักว่าเขาไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ก็ชักไม่แน่ใจ แต่ตามเรื่องอันนี้เป็น Scandal เป็น Crime เป็นสิ่งที่น่าเกลียดที่สุดอันหนึ่ง แล้วสังคมตัดสินทันที จนฟักอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ไม่ว่า Fact จะคืออะไร

ใครคือกระบวนการทางสังคมที่มีอำนาจทำให้สังคมตัดสินอย่างนั้น สำหรับสื่อมวลชน Fact คืออะไรเรื่องหนึ่ง แต่เขาพิพากษาได้ แล้วถ้าโลกวันข้างหน้าเปลี่ยนความคิด หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนเองนั่นแหละจะเป็นสิ่งแรกๆ เลยที่จะออกมาบอกว่า เห็นใจคนที่เดือนร้อนจาก 6 ตุลา แล้วไอ้เมื่อ 3 เดือนก่อน ในตอนที่ปราบนั้น พวกคุณทำอะไร ช่วงที่สถาปนาว่า นักศึกษาธรรมศาสตร์เลวระยำโหดเหี้ยมเป็นปีศาจอย่างไร ก็คือ สื่อมวลชน ไอ้พวกเราก็เป็นปัจเจกชนที่อำนาจไม่พอ อยากจะให้คนคิดกับ 6 ตุลาใหม่ เราก็ต้องเขียนไปลงหนังสือพิมพ์อยู่ดี ก็ต้องพึ่งสื่อมวลชนอยู่ดี สื่อมวลชนลงให้เราก็ดีใจ นักข่าวมาทำข่าวเราก็ชอบ แต่สุดท้ายพวกนี้นี่แหละที่บอกว่า สังคมไทยโหดเหี้ยมมากนะที่ทำกับนักศึกษาแบบนั้น ใครพูดล่ะ

วิธีจัดการกับความรู้และโศกนาฏกรรมอย่างที่สามนี่ สั้นๆ แค่นี้ สื่อมวลชนทำตัวเหมือนอย่างครูใหญ่ หรือสังคมในหมู่บ้านของหนังสือเรื่อง ‘คำพิพากษา’

 

"การพยายามแสดงความกล้าหาญทางศีลธรรมไม่ใช่เรื่องผิด
คนเราต้องมีเรื่องนี้อยู่
แต่เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ที่คุณทำให้การจัดการเรื่องนี้
เป็นเรื่องทางศีลธรรม
ที่ไม่เกี่ยวกับ Social-relation
ที่ไม่เกี่ยวกับกลไกทางสังคมเลย
มันจะเกิดภาวะที่ สังคมไทยบอกว่า
จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่”

 

ฝุ่นหายตลบด้วย ‘ศีลธรรม’
อันที่สี่ ไม่ใช่วรรณคดีแต่ผ่านหนังสือเหมือนกัน ใครเคยเห็น ‘หนังสือ ฅ.คน ฉบับพิเศษ’ บ้างไหม ... พาดหัวว่าอะไรที่หน้าปก ‘ก้าวข้ามความเกลียดชัง’ หนังสือเล่มนั้น ค่อนเล่มจะเป็นรูปภาพ เนื้อหาสาระที่เป็นตัวหนังสือมีแค่ 2 อย่างเท่านั้น คือสัมภาษณ์อาจารย์เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และสัมภาษณ์พระไพศาล วิสาโล พาดหัวก็ ‘ก้าวข้ามความโกรธเกลียด’ ทำนองนี้ แต่มี ‘ชิงชัง’ ไหม ไม่แน่ใจ

ผมฝากให้คุณไปทำการบ้าน แต่เขาบอกขายหมดแล้ว ลองไปหาดู แล้วไปดูคำสัมภาษณ์ของคนสองคนนี้ แล้วนับดูว่า มีคำว่า ‘ความยุติธรรม’ กี่ที่

ประเด็นคืออะไร ‘โศกนาฏกรรม’ ที่เกิดขึ้นหลายครั้งในสังคมไทย หลายครั้งทำโดยชนชั้นปกครองและคนมีอำนาจ แล้วคนมีอำนาจเองนั่นแหละที่มาพูดเรื่องปรองดอง

ในสมัย 6 ตุลา หลังจากนั้นหลายปีเหมือนกันเขาใช้คำว่า ‘สมานฉันท์’ เขานิรโทษกรรมพวกผมหลายปีหลังจากนั้น เหตุที่นิรโทษกรรมก็เพื่อ ‘ความสมานฉันท์’ พอมหาวิทยาลัยหลายแห่งจะจัดงานต้อนรับคนที่ออกจากคุก เขาก็มีคำสั่งออกมาว่า อย่าต้อนรับ เพราะมันจะยิ่งจุดความขัดแย้งกัน สมานฉันท์กันดีกว่า หลายที่ก็ต้องเลิก ตอนที่ชักชวนเอาผู้พัฒนาชาติไทยกลับมาส่วนใหญ่ก็พูดเรื่องนี้ ใช้คำประมาณนี้ เพื่อกลับมาคืนดีกัน สมานฉันท์กัน หยุดการชุมนุม หยุดการต้อนรับ หยุดการพูด แล้ว 6 ตุลาถูกเบรกเป็นเวลานานหลายปีโดยมหาวิทยาลัยต่างๆ ด้วยข้ออ้างนี้ ที่เราจะได้ยินบ่อยคือ "อย่าไปฟื้นฝอยหาตะเข็บ"

ประเด็นคือ สิ่งที่เรียกว่า ความสมานฉันท์ ปรองดอง อะไรทำนองนี้ทั้งหมดในสังคมไทย‘ไ ม่ ผู ก ติ ด กั บ ค ว า ม ยุ ติ ธ ร ร ม’ (เน้นเสียง)

ผมอยากจะออกจาก ฅ.คน ไปหาหนังเรื่อง ‘Invictus’ ขอยกตัวอย่างฉากเดียวที่บอกถึงธีมในหนังเรื่องนี้ รู้ใช่ไหมว่า สังคมแอฟริกาใต้เต็มไปด้วยการเหยียดผิว หลังจากยกเลิกการเหยียดผิวได้โดยผู้นำของฝ่ายคนผิวดำที่เป็นคนติดคุก เนลสัน แมนเดลล่า (Nelson Mandela) ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

Invictus เป็นเรื่องตอนที่แมนเดลล่าเป็นประธานาธิบดี และต้องการใช้ทีมรักบี้ซึ่งมีรากผูกติดกับคนผิวขาวให้เป็นพาหะในการสร้างความสมานฉันท์ของคนต่างสี ฉากตอนช่วงต้นๆ ผ่านไปสัก 10 กว่านาที คนผิวดำประชุมกันว่า จะแอนตี้ทีม Springboks ของพวกผิวขาว แมนเดลล่าก็ค้าน และต้องต้อนรับทีมนี้ในฐานะที่จะเป็นจุดเชื่อมคนหลากสีผิวเข้าด้วยกัน เหตุผลของแมนเดลล่าคือ “ต้องก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง” คุณนึกให้ดีนะ เวลามีคนมาบอกว่า ให้ก้าวข้ามความโกรธ เกลียด ชิงชัง อย่าเพิ่งนึกถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม นึกถึงมันอย่างเป็นคอนเซ็ปท์เพียวๆ การก้าวข้ามความโกรธ เกลียด ชิงชัง มันดีใช่ไหม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Invictus แมนเดลล่า ซึ่งต้องถือว่าเป็นผู้นำของผู้ที่เป็นเหยื่อ ผู้นำคนผิวดำ เป็นฝ่ายออกมาต่อสู้กับพลพรรคของตัวเองว่า อย่าจมอยู่ในความโกรธ เกลียด ชิงชัง เราต้องก้าวข้ามตรงนั้นไปให้ได้ สังคมมันจึงจะกลับสู่สภาวะที่อยู่กันได้และเป็นปกติ แต่นี่แมนเดลล่าพูดกับคนผิวดำ พลพรรคของเขาเอง แน่นอน คนของเขาไม่เห็นด้วยเยอะแยะ แต่อย่างน้อยมันก็พอฟังขึ้น มันทำให้เราเกิดโจทย์ว่าจะแอนตี้ Springboks แอนตี้คนผิวขาวต่อไปดี หรือจะก้าวข้ามไป เป็น Agenda (วาระ) ที่ต้องคิดต้องเถียงกัน

การปรองดอง ‘Forgiveness’ ซึ่งเป็นคำที่แมนเดลล่าใช้ ถ้าฝั่งตรงข้ามมาบอก forgive มันฟังไม่ได้ แต่ถ้าแมนเดลล่า ซึ่งเขาติดคุกมา 20 กว่าปี บอกว่า forgive เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เราก็ต้องฟัง

ผมสมมติว่า ลองนึกภาพคนที่พูด แทนที่จะเป็นแมนเดลาพูดกับคนผิวดำด้วยกัน นึกภาพเป็น เฟเดอริค ดับเบิลยู เดอเคิล์ก (Frederik Willem de Klerk)คือผู้นำคนขาวคนสุดท้ายที่ก่อเรื่องไม่รู้กี่รายการในการเหยียดผิว แล้วมาพูดกับคนผิวดำว่า เราต้องก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง มันต่างกันใช่ไหม ต่างกันลิบลับทันที แม้จะเป็นพูดคำเดียวกันนี้ นัยยะทั้งหมดมันคนละเรื่อง ตรงกันข้ามกันเลย อันหนึ่งจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ มันคือความสง่างาม ขณะที่อีกอันหนึ่งคือความน่าขยะแขยง

ทีนี้มาลองนึกถึงสังคมไทย ใครพูดเรื่องปรองดอง เดอเคิล์ก ... เดอะมาร์ค แล้วที่น่าเศร้าคือ คนตั้งเยอะตั้งแยะในสังคมไทยรับความน่าขยะแขยงนี้ได้ คนที่ลงมือ ไม่ว่าจะความจำเป็น ถูกบีบแค่ไหนก็แล้วแต่ ให้คนอื่นเขามาพูดเรื่องปรองดอง คุณอย่าพูด ทันทีที่คนลงมือสั่งเองเป็นคนพูด ไม่รู้นะ สำหรับผมมันน่าขยะแขยง คุณไม่มีสิทธิ์พูด คุณเอาคนกลางๆ ซึ่งไม่รู้ว่ามีเหลืออยู่ไหม เอามาพูดก็ว่าไป แต่คุณไม่มีสิทธิ์พูด

ประเด็นที่สี่ที่จะพูดคือ คำว่าปรองดองในสังคมไทย มันทำงานแบบไทยๆ หนึ่ง คือ ไม่ผูกติดกับเรื่องความยุติธรรม สอง ใครๆ ก็พูดได้

เรื่องนี้เป็นลักษณะของสังคมไทย เป็นมานานแล้ว แล้วในนิตยสารของ ฅ.คน ในคำสัมภาษณ์ของเสกสรรค์ ซึ่งในช่วงหลังมีความสามารถเรื่องพุทธศาสนามากขึ้นเยอะ ไม่ได้ประชด พูดแบบแฟร์ๆ กับของพระไพศาลก็เป็นพระอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องการบอกคือ อะไรคือ Forgiveness ในสายตาของสองคนนี้ ไม่ใช่ Forgiveness ในความหมายเดียวกับอีกหลายๆ แห่งในสังคมอื่น ผมจะไม่วิจารณ์ว่าดีหรือไม่ดี แต่จะบอกว่าต่างกัน ซึ่ง forgiveness ในสายตาของสองท่านนี้ มันเป็น Forgiveness ในระดับ Individual แต่ไม่ใช่ Forgiveness ในเชิง Social-relation เป็นระดับจิตใจแต่ละคน แต่ไม่ใช่การปรองดองในระดับความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมที่ให้อภัยกันและกัน

ยกตัวอย่างเทียบไปนอกเรื่องนิดหนึ่ง สังคมไทยมีคนจนเยอะแยะ พูดกันมานานแล้ว คุณคิดว่าต่างกันไหม ที่คนระดับผู้บริหารเห็นคนจนแล้วบอกว่า “จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่” (ผู้ฟังหัวเราะ) กับบอกว่า “จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ แต่เราจะมี Public policy เหล่านี้ออกมา” ต่างกันใช่ไหม และสังคมไทยมักจะเป็นแบบแรก

พูดง่ายๆ ว่า การพยายาม Encourage (แสดงความกล้าหาญ) กันทางศีลธรรมไม่ใช่เรื่องผิด ทุกๆ คนต้องมี จะพุทธหรือศาสนาอะไรก็แล้วแต่ หรือไม่เชื่อศาสนาอะไรเลยก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีศีลธรรม คนเราต้องมีเรื่องนี้อยู่ แต่เมื่อไหร่ก็แล้วแต่ที่คุณทำให้การจัดการเรื่องนี้เป็นเรื่องทางศีลธรรม ที่ไม่เกี่ยวกับ Social-relation ที่ไม่เกี่ยวกับกลไกทางสังคมเลย มันจะเกิดภาวะที่ สังคมไทยบอกว่า “จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่” ไม่มี Public Policy ที่เกี่ยวข้อง จบ ‘ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง’ กับ ‘ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง แล้วมีกระบวนการที่ให้เกิด ‘Social-Justice’ มันต่างกันนะ

ผมไม่ได้บอกนะว่า การ ‘ก้ามข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง’ เป็นเรื่องเลว...เป็นเรื่องดี แต่เมื่อไหร่พูดโดยไม่มีกลไกที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างคน มันฟังแล้วเหมือนกับบอกว่า “จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่” ก็จบแค่นั้น ใช่ไหมครับ ผมไม่ได้เรียกร้องว่า ห้ามพูดเรื่องพวกนี้ แต่คิดดูนิดหนึ่งหากการพูดเรื่องพวกนี้โดยที่ไม่มีมิติกลไกทางสังคมจัดการปัญหานี้

แล้วสิ่งที่ควรต้องทำก็ง่ายนิดเดียว จัดการให้มีกลไกจัดการเรื่องความยุติธรรมเสีย เวลาผมอ่านคำสัมภาษณ์ของทั้ง 2 ท่าน ผมถึงรู้สึกอย่างนี้ และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ผมทำเรื่อง 6 ตุลา ผมเจออย่างนี้ ผมไปนั่งสัมภาษณ์พระไพศาล ท่านไม่ผิดเลยที่ท่านพูดเรื่องศัตรูสำคัญของ 6 ตุลาคือ Evil (ปีศาจ) ในตัวคน แต่ถ้าท่านพูดแค่นี้ว่า Evil ในตัวคนแล้ว Full stop ก็เกิดภาวะอย่างที่เห็น มันไม่มีการจัดการเรื่องความยุติธรรม

ถ้าสักแต่ว่า ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชังแล้ว Forgive ซะ โดยคนพูดเป็นคนผิวดำ โดยคนพูดเป็น Victim เป็นคนที่ได้รับผลกระทบ มันเป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้าพูดโดยคนที่มีอำนาจแล้วใช้กำลังก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

คำว่า Forgiveness ปรองดอง ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชังในสังคมไทยเป็นแบบที่ไม่ผูกกับ Social-mechanism เรื่อง Justice หรือเรื่องอะไรทั้งนั้น และเป็นมานานแล้วด้วย

ผมไม่กล้าสรุปนะว่านี่เป็นพุทธศาสนา ผมไม่กล้า ผมความรู้ไม่พอ ผมบอกได้ว่านี่เป็นแบบไทยๆ ที่เป็นมา ส่วนจะเป็นพุทธศาสนาทุกที่ไหม ผมไม่กล้า ผมบอกได้แต่เพียงว่า ที่เราบอกไม่กล้านี่ ไม่ใช่เพื่อจะบอกว่าพุทธไม่เป็นแบบนี้หรอก ... คุณสังเกตดูดีๆ ในกัมพูชาและในศรีลังกา มีอาการคล้ายๆ กัน หวังว่าคนในที่นี้คงไม่มาหาว่าผมลบหลู่พุทธศาสนานะ ผมกำลังพูดถึงภูมิปัญญา พูดถึงความรับรู้ในสังคม เรื่องนี้เป็นเรื่องต้องคิด เราไม่พูดถึงปรองดอง โกรธเกลียด Forgiveness ทั้งหลายโดยผูกพันกับกลไกเพื่อจะแก้ปัญหาทางสังคม มันก็มีค่าเท่ากับ “ความยากจนก็ทนๆ ไปเถิด” โดยไม่ผูกกับกลไกทางนโยบายสาธารณะที่จะแก้ปัญหาความยากจน ทำนองเดียวกัน

สี่อันนี้นึกออกไหมครับ ผมไล่ไปเรื่อยๆ ว่า ฝุ่นจะหายตลบด้วยวิธีการเหล่านี้ ผมไม่บอกว่าทางออกคืออะไร เพราะผมก็คิดไม่ออกเหมือนกัน แต่อย่างน้อยคือบอกทางพวกเรา หรือชวนชี้ให้พวกเราคิดว่า เราจะสู้กับการใช้อำนาจสถาปนาให้ความรับรู้กับเหตุการณ์ที่ผ่านไปหรือทำให้ฝุ่นหายตลบ แบบใช้อำนาจ แบบ 1984 เราต้องสู้กับเรื่องแบบนี้ หรืออย่างน้อยๆ เช่น Determined ทำใจให้ดีนะ อย่ายอมให้เขา Breakdown ง่ายๆ แต่ถ้าเขา Breakdown ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องประณามกัน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ

หรือคิดให้ดีเรื่องการก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง เวลาเจอเรื่องพวกนี้ บางคนปฏิเสธง่ายเกินไป ผมคิดว่าไม่ใช่ว่าจะบอกทันทีว่าที่พูดแบบนั้นผิดหมด บ่อยครั้งมันไม่ได้ผิด แต่เวลาเราบอกว่ามันไม่ได้ผิด แล้วมันผิดตรงไหน ผมพยายามจะลองเสนอว่า นี่ไงผิดตรงที่มันไม่ผูกกับกลไกทางสังคมเพื่อจัดการเรื่องความยุติธรรม ดังนั้นเท่ากับบอกทางออกด้วยว่า ถ้าหากคุณคิดจะปรองดองจริง กรุณาทำนะ แล้วถ้าจะทำสิ่งนั้น คนที่มีส่วนในการทำ ในการลงมือ ทำไม่ได้ คุณต้องให้ Victim เป็นคนทำ

การปรองดองและการสถาปนา Justice อย่างที่ดีที่สุด ต้องให้ Victim เป็นคนทำ แล้ว Victim กรุณา Sophisticate กรุณามีความ Fair และเถียงกันเองว่าไม่ได้มาด้วยการแก้แค้นนะ การแก้ปัญหาไม่ใช่ว่า กูมีอำนาจแล้วกูแก้แค้นมึงพรุ่งนี้ ไม่จบนะ ถึงตรงนี้ Victim ด้วยกันจะพูดเรื่อง ก้าวข้ามความโกรธเกลียดชิงชัง พูดเรื่อง Forgiveness อะไรพวกนี้ แต่ไม่ใช่คนที่ลงมือฆ่ามาพูด

6 ตุลานี่กล้าไหม ปล่อยให้ Victim ตั้งกรรมการ พฤษภาที่ผ่านมากล้าไหมให้ Victim ตั้งกรรมการ แล้วปล่อยให้คนที่เห็นอกเห็นใจเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำทั้งหลาย ทะเลาะกันว่า ควรจะเล่นงานแก้แค้นแค่ไหน ผมอยากจะมั่นใจว่า คนอย่างพวกเราไม่ใช่คนที่จะสักแต่ว่าแก้แค้นเพื่อให้ความรุนแรงส่งต่อหรือ feed ความรุนแรงไปไม่รู้จบ

 

"ในแนวรบอันหนึ่งคือเรื่องความทรงจำ
ในแนวรบเรื่องเกี่ยวกับเราจะเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นยังไง
มันเริ่มแล้ว ไม่ใช่ต้องรอให้ผ่านไป 10–20 ปี
อย่ารอนานกว่า 6 ตุลา มันเริ่มแล้ว
แล้วเราทุกคนมีส่วนได้ มีส่วนร่วม"

 

ฝุ่นหายตลบโดย ‘นักวิชาการ’
ประเด็นที่ห้า ฝุ่นหายตลบแบบสุดท้าย คือแบบนักวิชาการ มาหมดแล้วนะรัฐบาล สื่อมวลชน สุดท้ายคือนักวิชาการ คุณเห็นการถกเถียงว่า การด่าแกนนำว่าผิดไม่ผิดแค่ไหนไหมครับ ผมจะไม่ Join นะว่าตกลงผมคิดว่าไง ผมไม่ร่วม แต่ผมให้ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง มันเป็นเหตุเป็นผลเป็นบ้าเลย หมายความว่าไง การอภิปรายว่าใครถูกและผิด สรรหาเหตุผลต่างๆ มาหมด ผมถามหน่อยนะครับว่า การสู้กับความอยุติธรรมถึงขนาดเอาชีวิตเข้าแลกนี้ มันเป็นเหตุเป็นผลไหม

เอาใหม่นะครับ คราวนี้ผมไม่รู้ว่าผมใช้คำถูกไหม พอดีผมอาจจะคิดเป็นภาษาอังกฤษเกินไปหน่อย ก็คือว่าการที่ยอมตายในการสู้กับความอยุติธรรม การที่ยอมตายเพื่อความยุติธรรม มัน Rational ไหม สมเหตุสมผล ในที่นี้คือ มนุษย์ปกติ เขาไม่ทำกันหรอก ไม่สมเหตุสมผล ไม่ได้แปลว่าเป็นบ้า หรือไม่ได้แปลว่าปัญญาอ่อน หรือไม่ได้แปลว่าโง่เง่าอย่างที่ชอบด่ากัน แต่มันดูไม่สมเหตุผลในความหมายว่า อย่างเช่น เพื่อนผมบอกว่า รังแกกูมาก กูไม่ว่านะ รังแกลูกกูเมื่อไหร่กูสู้ สมเหตุสมผลไหม ผมว่าสมเหตุสมผลนะ แต่พอสมเหตุสมผลนี้ไม่เห็นจะเป็นเหตุเป็นผลตรงไหน คือถ้าแกล้งลูกกูกูสู้

การทำร้ายกัน การทำให้เกิดความอยุติธรรมอย่างหนักจนคนทนไม่ไหวแล้วจะสู้ ถึงขั้นยอมตายได้ มันไม่ปกตินะ เพราะปกติเรารักชีวิต แต่ผมถามว่ามนุษย์เป็นอย่างนี้มากี่ร้อยกี่ล้านคนแล้วในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เยอะมาก มนุษย์เป็นล้านยังไม่สมเหตุสมผลเลย ก็เผอิญ ผมคิดว่านักวิชาการหาความสมเหตุสมผลจนสุดโต่ง มนุษย์ปกติเนี่ย สมเหตุสมผลถึงขีดหนึ่งแค่นั้นแหละครับ เลยไปจากนั้นไม่ใช่เรื่องความสมเหตุสมผล เลยไปกว่านั้นเป็นเรื่องใจ สัญชาติญาณ Reaction หลายอย่างไม่สมเหตุสมผลเลย

และในความไม่สมเหตุสมผล ขอย้ำว่าไม่ได้แปลว่าไร้เหตุผลนะ ไม่ได้แปลว่าเลวด้วย ไม่ได้แปลว่าผิดด้วย แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่ามันถูก และผมไม่กล้าบอกว่ามันควรจะทำ แต่มนุษย์เป็นอย่างนี้ การถกเถียงของนักวิชาการมักจะหาเหตุผล ทั้งที่มนุษย์ปกตินั้นถึงจุดหนึ่งมันไม่เป็นเหตุเป็นผลหรอก และความไม่เป็นเหตุเป็นผลนี้ไม่ใช่เรื่องความเลวร้ายที่ต้องประณามกัน ไม่ใช่ทุกครั้งนะ บ่อยครั้งไม่ใช่เป็นเรื่องความเลวร้ายที่ต้องประณามกัน บ่อยครั้งเป็นเรื่องเห็นอกเห็นใจกันได้ บ่อยครั้งเป็นเรื่องที่แสนจะเป็นมนุษย์ (ลากเสียง) ก็คือถ้าไม่เป็นอย่างนั้น อาจมีเหตุมีผลนะ แต่ไม่ใช่เป็นคนเท่าไหร่ เพราะคนปกติถึงจุดหนึ่ง จะมีการตัดสินใจด้วยสัญชาตญาณ ด้วยการหาความเสี่ยง

เคยได้ยินคำกล่าวไหมว่า คนที่หิว อดอยากเจียนตายยังไง ยากนะที่เขาจะยอมไปเสี่ยงชีวิตด้วย มีคนที่ต่อสู้กับความหิว แต่ไม่ง่ายนะ คนจะหาวิธีอื่น คนไม่เอาชีวิตเข้าแลกง่ายๆ หรอก แต่กลายเป็นว่า ความอยุติธรรมนั้น คนเอาชีวิตเข้าแลกมาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว ถามว่าความยุติธรรมคืออะไร กินได้ไหม จับต้องได้ไหม ทำให้ร่างกายเราอุ่นขึ้นไหม ทำให้เรามีที่พักอาศัย ทำให้เรารักษาโรคได้ไหม ในตัวมันเองไม่ได้สักอย่างเดียว แต่มนุษย์มีความตระหนักรู้ว่า ความอยุติธรรมหมายถึง Social-relation ที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ปกติ และถ้าเกิดความอยุติธรรมที่ดีกรีที่มันแรงจนชีวิตเราอยู่ปกติไม่ได้ มนุษย์จึงรู้ว่าเขายินดีที่จะตายเพื่อความยุติธรรม เพื่อสู้กับความยุติธรรม ถามว่าความสมเหตุสมผลในความหมายที่ว่า ต้องมีเหตุมีผลไปหมด ถึงตรงนั้นมันไม่ Apply แล้ว

ผมไม่กล้าบอกว่าแกนนำถูกหมด ผมไม่รู้พอ ผมบอกได้เลยว่า คนตั้งเยอะที่บอกว่ากูจะสู้จนตายเนี่ย มันเป็นความไม่สมเหตุสมผลที่แสนจะสมเหตุสมผล และผมอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลทางวิชาการด้วย บอกได้เลยว่า ก็คนตัดสินใจอย่างนั้นน่ะ แล้วเรื่องพวกนี้ผมคิดว่าทุกคนเคยอ่านมา ทุกคนเคยดูหนังมา เคยฟังเพลงมา มีเรื่องตั้งเยอะที่เราอธิบายเรื่องที่ว่าคนตั้งเท่าไหร่ตายด้วยความรัก มัน Idiot จะตายไป คนเรายินดีเสี่ยง คนเรายินดีเอาตัวเข้าแลก คนเรายินดีทำหลายๆ อย่างที่ดูเหมือนไม่คุ้มเลย เพราะสิ่งที่เขาทำไม่ใช่เรื่องคุ้มหรือไม่คุ้ม และถึงบอกว่าคุ้มหรือไม่คุ้มก็ไม่รู้จะวัดตรงไหนด้วย และการวัดของคนเรื่องคุ้มหรือไม่คุ้มก็ไม่เหมือนกัน

ผมไม่กล้าบอกด้วยซ้ำว่า การตัดสินใจเหล่านั้นแปลว่าถูก ผมไม่กล้าพูด ผมว่ามันตัดสินลำบากมากที่จะบอกว่าพวกเขาทำอย่างนั้นมันไม่เป็นเหตุเป็นผล ทำไมไม่คิดขนาดนั้นขนาดนี้ โห ถ้าคนเราเป็นขนาดนั้นได้ ผมก็จะบอกว่า ถ้าคนเราเป็นอย่างนั้นได้ก็ดี แล้วผมหยุด เพราะว่าถ้าคนเราเป็น Rational ไปหมด ไม่เกิดการปฏิวัติที่ไหนเลยสักแห่งเดียว ปฏิวัติฝรั่งเศสก็ไม่เกิด คุณว่าผู้นำปฏิวัติฝรั่งเศสพาคนไปตายไหม อื้อเลย ตายอื้อเลย ผู้นำปฏิวัติรัสเซีย จีน พาคนไปตายเยอะแยะเลย ปฏิวัติฝรั่งเศสทำให้เกิดเสรีภาพแล้วยกย่องทำไม ประเทศฝรั่งเศสยกย่องวันที่ 14 กรกฎา ยกย่องทำไม พาคนไปตายเยอะแยะ ผมคิดว่าในภาวะหนึ่งการตัดสินใจบางอย่างมันแสนจะไม่สมเหตุสมผล และมันก่อผล ก่อผลหมายถึงลบก็ได้ บวกก็ได้นะ และผลนั้นมันมหาศาล

ผมไม่กล้าบอกว่า ภาวะในการตัดสินใจที่จะเอาชีวิตเข้าแลกนี้ถูก ผมพูดไม่ได้ และผมคิดว่าบ่อยครั้งก็ผิดด้วย แต่ผมไม่กล้าบอกว่าการตัดสินใจที่คนยอมเอาชีวิตเข้าแลกเป็นเรื่องผิดอีกเหมือนกัน จะบอกว่าผม Sit on the fence (แทงกั๊ก) ก็ได้ เพราะถึงที่สุดนั่นคือการตัดสินใจของแต่ละคน ที่ผมดูถูกเขาไม่ลง บอกได้เลยว่า ถ้าผมไม่กล้าตัดสินใจเอาตัวเข้าแลก ผมก็กรุณาหุบปากซะ

ประเด็นนี้ก็คือ นักวิชาการพยายามทำให้ฝุ่นหายตลบด้วยเหตุด้วยผล ทั้งที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อพฤษภาที่ผ่านมาหลายเรื่องมันไม่ใช่เรื่องของเหตุของผล ไม่ใช่ในความหมายลบนะ มันเป็นเรื่องที่ Beyond (นอกเหนือจาก) เรื่องเหตุและผลที่จะต้องมานั่งอธิบายกัน มันเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่านั่นคือการตัดสินใจของมนุษย์ นั่นคือโศกนาฏกรรม พฤษภาที่ผ่านมา 6 ตุลา และอีกหลายกรณี มันคือโศกนาฏกรรมในความหมายนี้ จะเห็นว่าไม่ว่าตัดสินใจอย่างไร มันก็มีความเสี่ยง แม้ว่าตัดสินใจแล้วออกมาชนะ ออกมามีผลดีมหาศาล ก็มีผลเสียพ่วงมาด้วยเยอะแยะ

มนุษย์อยู่ในจุดที่เป็นโศกนาฏกรรมจึงเป็น ‘Dilemma’ ที่ต้องตัดสินใจ ถ้าตัดสินใจเลิกสลายก่อนแล้วทำต่อไปยาวๆ ผมเห็นด้วยกับเวอร์ชั่นนั้นนะฮะ โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยว่าเขาจะชุมนุมต่อ แต่พอเขาชุมนุมต่อแล้วมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผมสารภาพว่า ผมด่าเขาไม่ลง ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องโศกนาฏกรรมที่ได้ตัดสินใจ แล้วการตัดสินใจครั้งนี้มันแพ้ มันเสียหายหนัก

เพียงแต่ผมอยากจะถามว่า คุณคิดว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสนี้ Assumption (สมมติฐาน) ของมันก็คือว่า ‘เข้าใจสถานการณ์ที่ดี ประเมินสถานการณ์ถูกต้อง จะนำไปสู่ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ถูกต้องและได้รับชัยชนะ’ โอ้โฮ มนุษย์ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ชนะมาไม่รู้ต่อกี่ครั้ง ใช่ไหมฮะ มันไม่มีน่ะ

ในภาษาวิชาการคือ Pre-condition 3 ชั้น‘เข้าใจสถานการณ์ ประเมินถูกต้อง จึงนำไปสู่การปฏิวัติที่ถูกต้อง และจะนำไปสู่ชัยชนะ’ คุณต้องการ 3 ชั้นที่ลงล็อกกันพอดี ชีวิตมนุษย์จริงๆ มันไม่ง่ายขนาดนั้น

พวกเราในห้องนี้ตัดสินใจเรื่องใหญ่เรื่องเล็กผิดกันมาไม่รู้กี่ครั้ง ใช่ไหมฮะ เราตัดสินใจผิดมากี่ครั้งแล้วในชีวิตเราเอง เพียงแต่ว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ใหญ่นัก ผมตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตผิดมาแล้วในเรื่องที่ใหญ่ หลายคนในที่นี้อาจยังไม่เคยแต่เอาเป็นว่าในเรื่องเล็กๆ ที่เราตัดสินใจผิดอยู่ที่วัน เราจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขาเพื่อมา มช. ดีเนี่ย เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาไปผิดที่เจอรถติดงานโอท็อป ถามว่า ได้มาจากการประมวลข้อมูลว่าชัดเจนแล้วเลี้ยวถูก เปล่า เราตัดสินใจ เป็นการยกตัวอย่างเรื่องเล็กๆ และเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าคุณคิดถึงเรื่องที่ไม่เล็ก และไม่ตลกนั้น มันเป็นโศกนาฏกรรม

บ่อยครั้งฐานข้อมูลในการประเมินมันคือชุดเดียวกัน บ่อยครั้งคนๆ เดียวกันประเมินข้อมูลเหมือนกัน คนๆ เดียวกัน ยังไม่สามารถบอกได้เลยว่าผมตัดสินใจอย่างนี้แน่ ผมไม่ตัดสินใจแบบนั้นแน่ มีกี่ครั้งที่ประมวลข้อมูลแล้ว ประเมินแล้ว แล้วเราลังเลว่า “เอายังไงดีวะ” มีอยู่แทบทุกวัน เพราะเมื่อประมวลข้อมูล ประมวลสถานการณ์แล้ว มันยังไม่ได้นำไปสู่คำตอบว่าเราควรตัดสินใจอย่างไร เรายังลังเลอยู่ดีว่าจะเอาไงดี แล้วในชีวิตมีกี่ครั้งที่บอกว่า “เอางี้ละวะ เป็นไงเป็นกัน” บ่อยจะตายไป

แล้วในโศกนาฏกรรมแทบทุกครั้ง มันจะอยู่ในภาวะที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะ ‘รู้แล้วประเมินอย่างถูกต้อง จึงนำกำหนดยุทธศาสตร์ยุทธวิธีที่ถูกต้อง แล้วได้ชัยชนะ’ ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่เป็นโศกนาฏกรรม ถ้าเป็นแบบนั้นเขาเรียก เล่นขายของ

นักวิชาการจะทำให้ฝุ่นหายตลบ ด้วยการทำให้ทุกอย่างหรือหลายอย่างจนเกินไปเป็นเหตุเป็นผล ตรงนี้ผมพูดเหมือนกับแย้ง ผมบอกเพียงแต่ว่า เมื่อเหตุการณ์พฤษภาที่ผ่านมา ถึงจุดหนึ่ง ผมต้องหยุดคิดในความหมายของการหยุดคิดเชิงเหตุผล แล้วพยายามที่จะนำมาสู่การคุยในวันนี้ โดยอ่านนิยาย นึกถึงนิยายเรื่องที่เคยอ่าน นึกถึง Tragedy ที่เคยอ่าน พยายามทำความเข้าใจว่า คนเราอยู่ในภาวะอย่างไร นึกถึงตัวเองเมื่อ 6 ตุลา ว่าเราอยู่ในภาวะอย่างไร แล้วจะรู้ว่ามันยากลำบากเพียงไหนที่จะต้องตัดสินใจแล้วออกหัวหรือออกก้อย

ผมไม่ได้ปฏิเสธ หรือต้องการให้พวกเราปฏิเสธการใช้เหตุใช้ผล ผมบอกแต่เพียงว่า ไม่ใช่นะ ไม่ได้นะ การมีความรู้ การมีเหตุผล เป็นเรื่องจำเป็นมาก แต่มี Limit มันมี Limit เกินไปจากนั้นมันไม่ใช่เรื่องของเหตุผล แล้วเมื่อเราตัดสินใจได้ก็ดีไป เมื่อเราตัดสินใจไม่ได้ หรือเมื่อเราตัดสินใจต่างจากคนอื่น ไม่ว่าจะลงบางซื่อหรือลงหัวลำโพง มันมีโศกนาฏกรรมทั้งนั้นที่เราเห็นอกเห็นใจคนที่ตัดสินใจต่างจากเราได้

ทั้งหมดที่พูดมานี้เพื่อจะบอกว่าในแนวรบอันหนึ่งคือเรื่องความทรงจำ ในแนวรบเรื่องเกี่ยวกับเราจะเข้าใจเรื่องที่เกิดขึ้นยังไง มันเริ่มแล้ว ไม่ใช่ต้องรอให้ผ่านไป 10–20 ปี อย่ารอนานกว่า 6 ตุลา มันเริ่มแล้ว แล้วเราทุกคนมีส่วนได้ มีส่วนร่วม ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษเลย เพียงแต่อยากให้รู้ว่าสิ่งที่หลายๆ คนทำอยู่มันมีผล มันมี Effect ต่อเรื่องเกี่ยวกับว่าเราจะรับรู้เหตุการณ์พฤษภาคมที่ผ่านมาอย่างไรด้วย มันมีผล

และการรับรู้เหตุการณ์พฤษภาที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอนาคต มีผล เชื่อผมสิ

ถ้าเมื่อไหร่ถูก Breakdown อย่างวินสตัน จูเลีย ในเรื่อง ‘1984’ สยบต่อคำพิพากษาอย่างนายฟัก ใน ‘คำพิพากษา’ ถูกทำลายและทำร้ายด้วยอำนาจรัฐอย่างที่เขากำลังทำอยู่ทุกวันนี้ และไม่สามารถคิดอย่างซับซ้อน ติดกับอยู่กับความเป็นเหตุเป็นผลโดยไม่ตระหนักว่ามันมี Limit

ความเข้าใจเหตุการณ์พฤษภาที่ผ่านมาจะเป็นแบบหนึ่ง เช่น อันนี้ยกตัวอย่างนะ เพราะผมไม่รู้จริงๆ ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร เช่น ทำให้พลังการเถียงคณะกรรมการอะไรก็แล้วแต่ที่เขาตั้งขึ้นมา มันไม่คม มันไม่ดีพอ หรือทำให้เขา Dominated เกินไป ในขณะที่เราอาจมีวิธีอื่น เราอาจมีความรู้แบบอื่น เราอาจจะสามารถเถียงแบบอื่นได้

ความรับรู้กับเหตุการณ์พฤษภาที่ผ่านมามีผลมาก อาจจะไม่โดยตรง แต่มีผลมากต่อการที่รัฐบาลจะมีอำนาจทำอะไรตามใจชอบหรือไม่ในอีกปีสองปีข้างหน้า เขาจะเลือกตั้งแล้วจะชนะไหม เขาเลือกตั้งแล้วจะชนะแค่ไหน ชนะแบบไหน หรือเลยไปจากการเลือกตั้ง ถ้าเหตุการณ์สำคัญของสังคมไทยที่ทุกคนเล็งอยู่ เล็งนี้แปลว่าไม่รู้จะชอบหรือไม่ชอบก็แล้วแต่ได้เกิดขึ้น ความรับรู้ในเหตุการณ์พฤษภาที่ผ่านมามีผลอย่างมาก

อย่ายึดถือประเมินตัวเองสูงว่า ทำอะไรก็ได้ตามใจ เช่น ชุมนุมอีก ผมว่าหลายคนคงนัดกับเพื่อนฝูง และผมฝากไว้ ในขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกตัวเอง แม้กระทั่งจูเลีย-วินสตัน การที่นายวินสตันยังเก็บเรื่องมีเซ็กส์กับจูเลียไว้ในใจ enjoy กับการที่มีเซ็กส์กับจูเลียเนี่ย มันกบฏมากนะ ลึกๆ เขาคิด จิตใจเขาไม่รับ Big Brother เขาไม่รับ เขาอาจยอมสยบ แต่ไม่รับ รอวันที่จะโผล่ ถ้าพูดอย่าง 1984 นะ

เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่พยายามคิดพยายามพูด คือไม่ใช่แค่มีจิตใจอย่างชาวพุทธอย่างอาจารย์เสกสรรค์ หรือพระไพศาลพูด เพราะการคิดเรื่องพวกนี้มันนำไปสู่ Social–reaction นำไปสู่โครงการทางสังคมได้

ผมไม่ได้อยากบอกว่าเรื่องความทรงจำเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าเรื่องประเมินสถานการณ์ ผมเพียงแต่อยากบอกว่า ผมอยากคุยเรื่องนี้ เพราะผมเตรียมมาคุยเรื่องนี้

และขอทิ้งท้ายว่านี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่อยากให้ตระหนักหรือเรียนรู้เท่าทัน ไม่ใช่รู้เท่าทันทักษิณนะ แต่รู้เท่าทันว่าสังคมนี้ทำงานเหมือน ‘1984’ ทำงานเหมือน ‘คำพิพากษา’ ทำงานเหมือนชาวพุทธแบบแล้วแต่จะเรียก ทำงานแบบที่นักวิชาการทำซึ่งมี Limit แต่กลับไม่รู้ Limit ตัวเอง หรือเราไม่รู้ Limit ของการให้เหตุผลแบบนักวิชาการ รู้ตัวเรื่องเหล่านี้เสียครับ แล้วจะเท่าทันสังคมนี้

 

 

หมายเหตุ : สัญลักษณ์การเน้นทั้งหมด เป็นการพิจารณาโดยกองบรรณาธิการ
(โปรดติดตาม บทตามและการสนทนา หลังการอภิปราย เร็วๆ นี้)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สิทธิในการฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์

$
0
0

<!--break-->

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีประเด็นข่าวเกี่ยวกับการออกมาเรียกร้องให้มี การออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้เสียหายจากการให้บริการทางการแพทย์ และมีการออกมาประท้วงต่อต้านจากกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์มีการแต่งดำเผา ดอกไม้จันทน์ ฯลฯ

ถามว่าร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้เสียหายจากการให้บริการทางการ แพทย์ทั้ง 6 ฉบับ จะส่งผลเสียหรือส่งผลดีต่อประชาชน ประเด็นนี้ก็คงไปถกเถียงกันได้ต่อไป แต่ประเด็นที่ถูกหยิบยกหรือนำมาเป็น “ข้ออ้าง” หนึ่งในการต่อต้านของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์คือ ประเด็นในเรื่องของสิทธิในการฟ้องคดีทั้งในส่วนของคดีอาญา และคดีแพ่ง(ทั้งนี้ไม่รวมแนวความคิดเห็นแบบสุดโต่งของคุณหมอบางกลุ่มบางคน ที่ออกมาเขียนบทความต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าว ถึงขนาดที่ผู้เขียนในฐานะประชาชนคนหนึ่งได้อ่านแล้วมีความผิดหวังอย่างมาก ไม่นึกว่าความคิดแบบเด็กๆ ยืนยันกระต่ายขาเดียว และประชดประชันแบบสุดโต่งจะเป็นความคิดของคนที่ร่ำเรียนมาห้าหกปี)

ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของสิทธิในการฟ้องคดีของผู้เสียหายที่เกิด จากการให้บริการทางการแพทย์และไม่เกิดความสับสน จึงจำเป็นที่จะต้องขอเรียนต่อเพื่อนประชาชนให้ทราบถึงสิทธิตามกฎหมาย ปัจจุบันที่ใช้บังคับอยู่ตามลำดับดังนี้

1. หากท่านเห็นว่าท่านได้รับความเสียหายจากการให้บริการทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ จักษุแพทย์ โรงพยาบาล ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการทางการแพทย์ที่ภาครัฐหรือภาค เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ

ท่านในฐานะผู้เสียหาย มีสิทธิที่จะดำเนินการฟ้องร้องให้มีการรับ ผิดได้ตามฐานของกฎหมายที่มีอยู่ทั้งในส่วนของ คดีแพ่งในส่วนของเรื่องละเมิดตามมาตรา 420 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และคดีอาญาตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา(ซึ่งมีบทกำหนดฐานความผิดไว้หลายมาตรา โดยเฉพาะในลักษณะ 10 ของประมวลกฎหมายอาญา ที่กำหนดฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเอาไว้ในมาตรา 288 – 309)

ดังนั้น หากท่านได้รับความเสียหายจากการให้บริการทางการแพทย์ ท่านสามารถดำเนินการฟ้องร้องได้ตามสิทธิของท่านไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการเรียก ร้องในกฎหมายแพ่ง และกฎหมายอาญาได้ ทั้งนี้สิทธิในการฟ้องร้องดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรดาร่างกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่เป็นประเด็นในหน้าหนังสือพิมพ์แต่ประการใด

ทั้งนี้ หากความเสียหายเกิดขึ้นจากบริการทางการแพทย์หรือโรงพยาบาลของรัฐ ในการฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทนนั้น จะมีความพิเศษตรงที่ท่านจะฟ้องหมอ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ โดยตรงไม่ได้ ท่านจะต้องฟ้องนิติบุคคลหรือหน่วยงานที่บุคคลนั้นๆ สังกัดอยู่ ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ปี 2539 (ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีทางแพ่งของท่านเปลี่ยนแลงไปแต่ประการใด นั่นคือยังฟ้องได้อยู่แต่ต้องฟ้องให้ถูกคนเท่านั้นเอง)

ดังนั้นสรุปได้ว่า ถ้าท่านได้รับความเสียหายจากการให้บริการทางการแพทย์ ท่านสามารถดำเนินคดีฟ้องร้องเอาผิดต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นคนกระทำความ ผิดนั้นได้ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา การที่จะมีกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายฯ หรือไม่นั้น ไม่ได้ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาของท่านเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการ ใด

2. ในส่วนของประเด็นความโต้แย้งไม่พึงใจของพวกคุณหมอ ทั้งหลายที่ออกมาคัดค้านต่อต้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่า

2.1 กฎหมายที่จะออกมาจะทำให้คนฟ้องบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่จริงประการใด เพราะไม่ว่าจะมีกฎหมายนี้หรือไม่ ประชาชนผู้รับบริการก็สามารถฟ้องได้อยู่แล้วตามกฎหมายปัจจุบันที่มีอยู่ตาม ที่กล่าวไว้ใน ข้อ 1. ซึ่งหากจะพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าการฟ้องบุคคลากรทางการแพทย์จะเพิ่มขึ้น หรือลดลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านตัวบทกฎหมายแต่ประการใด หากขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิในการฟ้องคดีของผู้ได้รับ ความเสียหายมากกว่า

2.2 กฎหมายที่จะออกมากำหนดภาระให้บุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น
ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีการอ้างถึงความสัมพันธ์อันดีของคนไข้กับ บุคลากรทางการแพทย์ ฯลฯ แต่เหตุผลสำคัญอันหนี่งที่ไม่ค่อยหยิบยกมาอ้างเท่าไหร่นัก ทั้งๆที่เป็นเหตุผลสำคัญอันหนึ่งในการคัดค้านคือการกำหนดให้มีการส่งเงิน เข้ากองทุน พูดง่ายๆ ตามประสาชาวบ้านคือ “หมอไม่อยากจ่ายเงินเข้ากองทุน” นั่นเอง และหมอบางคนก็อาจคิดต่อไปว่า ถ้าจ่ายเงินเข้ากองทุนแล้ว ทำไมหมอจะต้องโดนฟ้องในดคีแพ่งคดีอาญาอีกล่ะ ก็จ่ายเงินไปแล้วจะเอาอะไรอีก แม้ว่าบางคนจะออกมาพูดว่าเรื่องเงินไม่เกี่ยวหรอกเพราะถ้าทำงานให้รัฐก็ไม่ ได้เสียเองอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าส่วนใหญ่บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายก็จะมีไปเปิดคลี นิก ร้านขายยา ฯลฯ ส่วนตัวอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนนี้จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนต่างหากเพราะถือเป็นสถานพยาบาลที่มี หน้าที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนนั่นเอง

การต่อต้านของหมอจะไม่มีเกิดขึ้นเลยถ้ามีกฎหมายที่เขียนว่า “หากผู้เสียหายได้รับเงินตามกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายฯ แล้ว ผู้เสียหายไม่สามารถไปดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดต่อหมอได้อีกทั้งในคดีแพ่งและ คดีอาญา” ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยเพราะสิทธิในการฟ้องร้องเป็นสิทธิ ที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไม่มีกฎหมายไหนที่จะมาตัดสิทธิดังกล่าวได้

ทั้งๆ ที่หากพิจารณาถึงเนื้อหาของร่างกฎหมายต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การฟ้องคดีอาญานั้นโดยเฉพาะในร่างฯ ที่เสนอโดยผู้เสียหายนั้น บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับประโยชน์ในการที่จะมีกฎหมายดังกล่าว เพราะ ร่างพ.ร.บ.ฯ ได้กำหนดระบุถึงการพิจารณาการกำหนดโทษโดยศาล โดยในมาตรา 45 กำหนดให้ศาลในคดีอาญาฐานกระทำการโดยประมาทที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการ สาธารณสุข หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ให้ศาลนำข้อเท็จจริงต่างๆของจำเลยเกี่ยวกับประวัติ พฤติการณ์แห่งคดี มาตรฐานวิชาชีพ การบรรเทาผลร้ายแห่งคดี การรู้สำนึกในความผิด การที่ได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ การชดใช้เยียวยาความเสียหาย และการที่ผู้เสียหายไม่ติดใจให้จำเลยได้ รับโทษ ตลอดจนเหตุผลอื่นอันสมควร มาพิจารณา ประกอบด้วยในการนี้ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใด หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ นอกจากนั้นในมาตรา 46 ได้กำหนดโทษของการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการอุทธรณ์ หรือคณะอนุกรรมการ ตามมาตรา 18 ซึ่งการฝ่าฝืนดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประเด็นสำคัญที่คุณหมอจะต้องทำความเข้าใจคือหากผู้เสียหายเห็นว่าคุณหมอ ทำผิดกฎหมายอาญา ผู้เสียหายก็ย่อมใช้สิทธิในการฟ้องให้รับผิดทางอาญาได้อยู่แล้วตามประมวล กฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และหากพิจารณาเนื้อหาของร่างพ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทมาตราไหนเลยที่กล่าวถึงสิทธิในการฟ้องศาล อาญาโดยอาศัยบทบัญญัติตามร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ จะมีก็เพียงแต่บทบัญญัติมาตรา 45 ที่กำหนดบังคับให้ศาลกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดี อาญาฐานกระทำโดยประมาทที่เกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุข(ซึ่งเป็น สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายอาญาได้อยู่แล้วตามที่ได้ ชี้แจงไว้ใน ข้อ 1.) และหากศาลเห็นว่าจำเลย(คุณหมอทั้งหลาย/บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหลายที่โดน ฟ้องคดีอาญา)กระทำผิด และในการกำหนดโทษในส่วนของการกำหนดโทษ ร่างพ.ร.บ.ฯ นี้ได้กำหนดให้ศาลคำนึงถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 45 เพื่อที่จะนำมาเป็นเหตุลดโทษเพื่อที่จะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย(ประมวลกฎหมาย อาญา)กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้

หากอ่านมาตรานี้แล้วเห็นว่ามาตราดังกล่าวเป็นโทษต่อจำเลย(คุณหมอทั้ง หลาย)แล้วนั้นก็ไม่อาจหาคำอธิบายใดๆ มาเพิ่มเติมได้แต่ประการใด เพราะมาตราดังกล่าวเป็นคุณอย่างยิ่งต่อคุณหมอทั้งหลาย เช่น คุณหมอ ก. ถูกฟ้องคดีอาญาฐานกระทำโดยประมาทอันเป็นเหตุทำให้ผุ้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท(มาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญา) ด้วยผลของมาตรา 45 ของร่างพ.ร.บ.ฯ นี้แล้วนั้น ศาลมีทางเลือกสองทางคือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด(ในกรณีของมาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญานี้โดยตัวของมาตราดังกล่าวกำหนดแต่โทษขั้นสูงเอาไว้เท่า นั้น นั่นหมายความว่าศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษได้ไม่เกินจำนวนโทษสูงสุดที่กำหนด ไว้ได้อยู่แล้ว) และอีกทางเลือกหนึ่งคือศาลจะไม่ลงโทษเลยก็ได้นั่นคือศาลสามารถตัดสินแต่ไม่ กำหนดโทษไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือโทษปรับแต่อย่างใดนั่นเอง

บทบัญญัติในร่างพ.ร.บ.ฯ ที่กล่าวถึงโทษทางอาญาเอาไว้อีกมาตราหนึ่งคือในมาตรา 46 ซึ่งเป็นกรณีของการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการในเรื่องของการ ให้แสดงเอกสารพยานหลักฐานหรือการให้ถ้อยคำตามมาตรา 18 นั่นเอง ซึ่งก็มีความเห็นบางความเห็นที่เห็นว่าคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมีอำนาจ ถึงขนาดสั่งให้คนที่ฝ่าฝืนคำสั่งเข้าคุกได้เอง ซึ่งกรณีนี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะหากมีการฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตราดังกล่าวจริง คณะกรรมการจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อดำเนินคดีต่อผู้ที่ฝ่าฝืนต่อไป คณะกรรมการไม่ใช่ศาลที่จะสั่งขังได้ทันทีแต่ประการใด

ดังนั้น เพื่อนประชาชนทั้งหลาย อย่าได้สับสนและตระหนกถึงท่าทีของบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกมาแต่งดำประท้วง ขัดค้านกฎหมายดังกล่าว ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในสังคมประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตามหากท่านในฐานะผู้ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ ทางการแพทย์ ท่านสามารถใช้สิทธิในการฟ้องร้องได้ทั้งในส่วนของคดีแพ่งและคดีอาญา ตามกฎหมายปัจจุบันที่ใช้บังคับอยู่ การที่จะมีกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายฯ ออกมาหรือไม่นั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อ “สิทธิ” ในการฟ้องร้องดังกล่าวของท่านแต่ประการใด

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แม่ทัพ 4 ตั้งกรรมการอิสระสอบสุไลมานตายในค่ายทหาร

$
0
0

แม่ทัพ 4 ตั้งกรรมการอิสระสอบสุไลมาน แนซา ตายในค่ายอิงคยุทธบริหาร ประชุม 3 ครั้ง ยังสรุปไม่ได้ผู้คอตายหรือถูกทำให้ตาย ตั้งประเด็นสอบภาวะกดดันก่อนตาย พบพิรุธสวมหมวกปิดรอยช้ำตอนญาติมาเยี่ยม
<!--break-->

 


แวดือราแม มะมิงจิ ประธาณคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี

นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธาณคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบการเสียชีวิตของนายสุไลมาน แนซา ผู้ถูกควบคมตัวที่เสียชีวิตในค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.) ภาค 4 เปิดเผยว่า คณะกรรมการจะนัดประชุมครั้งที่ 4 ในเวลา 13.00 น. วันที่ 1 สิงหาคม 2553 ที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

นายแวดือราแม เปิดเผยต่อว่า จากการประชุมไป 3 ครั้งที่ผ่านมา ยังไม่สามารถสรุปได้ว่านายสุไลมานผูกคอตายเองในห้องควบคุมตัวที่พบศพหรือถูกทำให้ตายโดยผู้อื่น เนื่องจากยังต้องรอแพทย์นิติเวชมาให้ข้อมูลยืนยันอีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 4 ที่จะมีขึ้นนี้

นายแวดือราแม เปิดเผยอีกว่า อย่างไรก็ตามจากการประชุมที่ผ่านมา คณะกรรมการได้ตั้งประเด็นของการตายของนายสุไลมานไว้ 3 - 4 ประเด็น ได้แก่ ความกดดันของนายสุไลมานก่อนเสียชีวิต ซึ่งจากการสัมภาษณ์ญาติของนายสุไลมานที่ได้เข้าไปเยี่ยมนายสุไลมานก่อนตาย 2 วัน พบว่านายสุไลมานมีอาการอ่อนเพลีย ทั้งนี้ก่อนพบศพนายสุไลมานเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2553 นายสุไลมานถูกควบคุมตัวมาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2553

นายแวดือราแม เปิดเผยต่อว่า ประเด็นต่อมา คือสภาพการตาย เนื่องจากพบว่านายสุไลมานคอหักและมีรอยช้ำตามตัวหลายจุดว่า เกิดจากอะไร ได้แก่ บริเวณคอ ต้นขา บริเวณลูกอัณฑะและทวารหนักมีเลือดไหลซึมออกมาไม่หยุด เป็นต้น ซึ่งต้องรอผลการวินิจฉัยของแพทย์นิติเวช แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและตำรวจยืนยันว่าสภาพศพปกติ และเป็นการฆ่าตัวตาย

นายแวดือราแม เปิดเผยด้วยว่า ที่ผ่านมา คณะกรรมการได้เชิญหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลแล้ว รวมทั้งได้ตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด ในการตรวจสอบในเรื่องนี้ โดยชุดแรกทำหน้าที่ลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ โดยการสัมภาษณ์พ่อแม่และผู้ที่เกี่ยวข้อง ชุดที่สองทำหน้าที่เก็บข้อมูลในศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์(ศสฉ.) ภายในค่ายอิงคยุทธบริหาร ซึ่งคณะอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ได้รายงานผลการเก็บข้อมูลมาแล้ว

นายแวดือราแม เปิดเผยเสริมว่า สำหรับคณะกรรมการชุดนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากการยื่นคำร้องของกลุ่มนักศึกษาไปยังแม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 โดยเชิญตนมาเป็นประธาน จากนั้นได้เชิญตัวแทนหน่วยงานต่างๆมาเป็นกรรมการทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชน โดยมีกรอบเวลาในการทำงาน 1 เดือน แต่อาจต้องขยายเวลาเพิ่ม

นายแวดือราแม กล่าวว่า ตนเองก็ไม่เชื่อว่านายสุไลมานจะผูกคอตายเองเช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป เนื่องจากศาสนาอิสลามสอนว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นบาป และตนเองก็อยากรู้เช่นกันว่า เหตุใดนายสุไลมายถึงไปตายในค่ายทหาร ซึ่งกรณีนี้ทางพล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ให้อิสระเต็มที่ในการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดนี้

ส่วนในรายงานการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 ที่โรงแรมซีเอส อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ระบุถึงการให้ข้อมูลของนายรุสดี ตาเยะ ประธานชมรมอิหม่ามจังหวัดปัตตานีว่า ก่อนนายสุไลมานเสียชีวิต 2 วัน ครอบครัวของนายสุไลมานไปเยี่ยมที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร พบว่า นายสุไลมานได้สวมหมวกออกมาพบ ซึ่งผิดวิสัยเนื่องจากทุกครั้งที่มาเยี่ยมนายสุไลมานไม่เคยสวมหมวก

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: เครือข่ายชุมชนชายฝั่งภูเก็ตยื่นหนังสือถึงนายกแก้ปัญหาบุกรุกป่าชายเลน

$
0
0

ตัวแทนชาวบ้านกู้กู ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต และเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้แก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าชายเลนบ้านกู้กู

<!--break-->

 

 
 
31ก.ค.53 - เวลา. 09.30 น. ตัวแทนชาวบ้านกู้กู ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต และเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่ง จ.ภูเก็ต ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่หน้าห้องรับรองพิเศษท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
 
โดยทางชาวบ้านมีข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาการบุกรุกป่าชายเลนบ้านกู้กู ซึ่งเป็นของอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ทางนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า กรณีนี้ได้มอบหมายให้นายสาทิต วงศ์หนองเตยได้แก้ไขไปแล้ว ซึ่งชาวบ้านได้เรียนกับทางนายกฯว่าเรื่องนี้ชุดของนายสาทิต ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ทั้งที่หน่วยงานต่างๆออกมายืนยันว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าชายเลนจริงไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ใดๆได้ แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์แต่อย่างใด
 
นอกจากนี้ ตัวแทนชาวบ้านยังได้เรียนไปว่า ปัญหาการบุกรุกป่าไม้ ที่จังหวัดพังงาได้มีการใช้อำนาจอิทธิพลของเจ้าหน้าที่รัฐไปในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น กรณีผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเกาะยาว ที่เป็นญาติกับกลุ่มทุนที่ฟ้องร้องดำเนินคดีชาวบ้านที่ออกมาปกป้องทรัพยากร นอกจากนี้ยังมีอัยการคดีพิเศษคนจังหวัดพังงาที่คอยวิ่งเต้นเพื่อล้มคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษฟ้องร้องนายทุนที่ครอบครองพื้นที่ป่าโดยมิชอบ
 
ด้านเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่งจ.ภูเก็ต ได้ยื่นหนังสือให้รัฐบาลมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการในการควบคุมและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ กรณีปัญหาการมีสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัยบนภูเขา และเอาโทษทางวินัยต่อข้าราชการที่เกี่ยวข้องที่ปล่อยปละละเลยการปฏิบัติหน้าที่และไม่บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นธรรม
 
ส่วนชุมชนมอแกนบ้านแหลมหลา – บ้านเหนือ (หินลูกเดียว) – ท่าฉัตรไชย ได้ยื่นหนังสือให้รัฐบาลสั่งการให้กรมธนารักษ์เพิกถอนที่ดินราชพัสดุทับพื้นที่สุสาน (ที่ฝังศพ) ชาวมอแกน หมู่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 29-3-54 ไร่ และให้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ป่าช้าตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตรงกับความเห็นของผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
 
กรณีปัญหาทั้งหมด ทางนายกรัฐมนตรี ได้รับเรื่องไว้และจะสั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
 
 

 
ที่01/2553                                                                          เครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต
                                                                                        42 หมู่ 2 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง
    จังหวัดภูเก็ต 83110
 
วันที่ 30 กรกฎาคม 2553
 
เรื่อง      ขอให้กำกับและแก้ไขปัญหาการมีสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัยบนภูเขา
 
เรียน      ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ( ผ่านนายเรวัติ อารีรอบ )
 
            ด้วยพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่ที่มีการส่งเสริมจากภาครัฐตามนโยบายการท่องเที่ยวระดับโลก โดยใช้ต้นทุนทางธรรมชาติทั้งบนภูเขาและในทะเล เป็นจุดขายสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก แต่ปัจจุบัน การดำเนินการตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐนั้น ได้ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทางสภาพระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ
            การดำเนินการตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐที่ผ่านมา ขาดมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดการบังคับใช้กฎหมาย เช่น ประกาศเขตคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศผังเมือง กฎหมายป่าไม้ – ที่ดิน สาธารณะที่เกี่ยวข้อง   การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การเลือกปฏิบัติทำให้เกิดสองมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทำให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่าไม้ เกิดการชะล้างของหน้าดิน การพังทลายของหน้าดิน จนเป็นเหตุทำให้เกิดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดการขาดแคลนแหล่งน้ำดิบเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค เป็นต้น หากรัฐบาลไม่รีบเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนจะทำให้สภาพปัญหายิ่งทวีความรุนแรงยากที่จะแก้ไขได้
            ดังนั้น   เครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต จึงขอให้รัฐบาลมีมาตรการเร่งด่วนในการกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการมีสิ่งปลูกสร้างที่พักอาศัยบนภูเขา และเอาโทษทางวินัยต่อข้าราชการที่เกี่ยวข้องที่ปล่อยปละละเลยการปฏิบัติหน้าที่และไม่บังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นธรรม 
 
            จึงเรียนมาเพื่อเร่งแก้ไขปัญหา
 
ขอแสดงความนับถือ
 
 
 
 
ตัวแทนเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต
 
 
 
 
 
 

 
ที่02/2553                                                                                  ศูนย์ประชาคมแหลมหลา
31/13 หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง 
จังหวัดภูเก็ต 83110
 
วันที่ 30 กรกฎาคม 2553
 
เรื่อง      ขอให้สั่งการให้กรมธนารักษ์เพิกถอนที่ดินราชพัสดุทับพื้นที่สุสาน ( ที่ฝังศพ ) มอแกน
หมู่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
 
เรียน      ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ( ผ่านนายเรวัติ อารีรอบ )
 
สิ่งที่ส่งมาด้วย      1. สำเนาหนังสือจังหวัดภูเก็ต ที่ กค 0307.65/4615 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2553 
                            จำนวน 1 ฉบับ
                        2. สำเนาระเบียบวาระการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว สมัยสามัญ
    สมัยที่ 2/2553 วันที่ 12 พฤษภาคม 2553 จำนวน 1 ฉบับ
                        3. แผนที่แสดงที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ภก.153 ( บางส่วน ) ตำบลไม้ขาว
    อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 ฉบับ
 
ด้วยชุมชนมอแกนบ้านแหลมหลา – บ้านเหนือ ( หินลูกเดียว ) – ท่าฉัตรไชย หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ( มอแกน ) อาศัยในบริเวณแถบนี้มาเป็นเวลานานกว่า 200 ปี มีวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติ หาอยู่หากินตามพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณดังกล่าว มีสุสาน ( ที่ฝังศพ ) อยู่บริเวณใกล้ชุมชน ที่อาศัยอดีตเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่มีเจ้าของ ต่อมารัฐประกาศเป็นที่ราชพัสดุดูแลรับผิดชอบโดยกรมธนารักษ์ และอนุญาตการใช้ที่ดินราชพัสดุ เนื้อที่ 185-2-13 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์ในราชการเป็นที่ตั้งที่ทำการกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ( แห่งใหม่ ) เมื่อกองบัญชาการตำรวจภาค 8 เข้าไปดำเนินการในพื้นที่จัดทำรั้วซีเมนต์ทับที่เขตสุสาน ( ที่ฝังศพ ) ที่ประกอบพิธีบรรพบุรุษของชาวมอแกน ส่งผลกระทบต่อชุมชนมอแกนในเรื่องเขตสุสาน ( ที่ฝังศพ ) ในอดีต ซึ่งเคยตกลงกับทางกรมธนารักษ์ อำเภอถลาง ไว้เรียบร้อยแล้ว ( ที่ราชพัสดุแปลงภก. 153 สุสานชาวไทยใหม่ ) 
ดังนั้นชาวมอแกนบ้านแหลมหลา – บ้านเหนือ ( หินลูกเดียว ) – ท่าฉัตรไชย จึงขอให้รัฐบาลสั่งการให้กรมธนารักษ์เพิกถอนที่ดินราชพัสดุทับพื้นที่สุสาน ( ที่ฝังศพ ) ชาวมอแกน หมู่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 29-3-54 ไร่ และให้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ป่าช้าตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยตามหนังสือที่เสนอโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เลขที่ กค 0307.65/4615 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2553
 
            จึงเรียนมาเพื่อสั่งการโดยเร่งด่วน
ขอแสดงความนับถือ
 
 
ตัวแทนชุมชนมอแกนบ้านแหลมหลา – บ้านเหนือ ( หินลูกเดียว ) – ท่าฉัตรไชย 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ในหลวงรับสั่งให้แก้ปัญหานํ้าแบบบูรณาการ รัฐบาลผุดโครงการ 1 จังหวัด 1 แหล่งนํ้า

$
0
0

<!--break-->

 

เมื่อเวลา 18.10 น. วันที่ 30 ก.ค.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินออก ณ  ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสุเมธ ตันติเวชกุล ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร นำคณะผู้บริหารสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม 12 คน เฝ้าฯกราบบังคมทูลรายงานสรุปสถานการณ์น้ำประเทศไทยปี พ.ศ. 2552 และเดือน ม.ค.-มิ.ย. ปี พ.ศ. 2553 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การคาดการณ์สภาพอากาศประเทศไทย ปีพ.ศ. 2553 การปรับปรุงสถานีโทรมาตร ตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติและระบบโทรมาตร เพื่อสนับสนุนการจัดการปัญหาภัยแล้ง และผลการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ครั้งที่ 3 กับรับพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันฯ
   
ในการนี้ รายงานสรุปสถานการณ์น้ำในประเทศไทยนั้น รวมรวบข้อมูลโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและหน่วย งานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 และระบบดังกล่าวสามารถ  ใช้งานได้จริงในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันได้ขยายผลการดำเนินงานเพิ่มเติม โดยการ  พัฒนาระบบคลังข้อมูล สภาพอากาศประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ของประเทศ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่    จำเป็นในการนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการ ในปีที่ผ่านมานั้นพบว่า มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,403 มิลลิเมตร ซึ่ง  ขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 2 ในช่วงเดือน   ม.ค.-ส.ค. พ.ศ. 2552 มีปริมาณน้ำฝนมาก และต่ำลงในช่วงปลายปี เนื่องจากอิทธิพลของเอลนินโญ่ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรม    ชาติอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดภัยแล้ง น้ำท่วม และรูปแบบของฝน และอุณหภูมิที่มีการผันแปรในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก อีกทั้ง  ฝนที่ตกหนักจากพายุเพียงหนึ่งครั้ง ถูกพายุไต้ฝุ่นกฤษณา เป็นเหตุให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 311 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่วนในปีนี้ นับตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึงเดือน มิ.ย. พ.ศ. 2553   พบว่ามีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 381 มิลลิเมตร  ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 22 เนื่องจาก อิทธิพลของเอลนินโญ่ต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา
   
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงพสกนิกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนเหลือน้อย ซึ่งได้พระราชทานฝนหลวงพิเศษ เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว โดยการติดตั้งสถานีโทรมาตร ตรวจวัดสภาพอากาศ  ปริมาณน้ำฝน และวัดระดับน้ำเสริมระบบโทรมาตรเดิมบริเวณเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก และเขื่อน ป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี รวมทั้งพัฒนาระบบรายงานสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงพระราชทานใน 4 เขื่อนดังกล่าว และต่อเชื่อมข้อมูลในระบบโทรมาตรเดิม ในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น
   
โดยแสดงผลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถืออีกทางหนึ่งด้วย ด้วยสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่พบว่าเกิดปรากฏการณ์เอลนินโญ่และลานิน ญ่าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิน้ำในมหา สมุทรแปซิฟิกผิดปกติไปจากค่าเฉลี่ย คือ หากอุณหภูมิในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณ    ใกล้ประเทศฟิลิปปินส์สูงกว่าปกติก็จะเป็นปรากฏการณ์ลานินญ่า ประเทศไทยก็จะมีฝนตกหนัก ในทางตรงกันข้าม หากอุณหภูมิบริเวณนั้นต่ำกว่าปกติ ก็จะเป็นปรากฏการณ์เอลนินโญ่ ประเทศไทยก็จะมีฝนน้อย
   
สำหรับการปรับปรุงสถานีโทรมาตร ตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติได้ดำเนินการ  ปรับปรุงแล้ว 439 สถานีทั่วประเทศ ใน  จำนวนนี้มีสถานีโทรมาตรในพื้นที่ จ.นราธิวาส   จ.ปัตตานี และจ.ยะลา 31 สถานี แล้วยังติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดความเร็วลม 110 ชุด ในสถานีโทรมาตรดังกล่าว เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผลจัดทำแผนที่ลมติดตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อไป ส่วนผลการประกวดการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริครั้งที่ 3 ซึ่งมีชุมชนทั่วประเทศร่วมกันประกวดได้พบ 6 แบบอย่างความสำเร็จของชุมชนที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริไปประยุกต์ใช้จนเกิดผลสำเร็จ ได้แก่ การจัดผังน้ำ และระบบส่งน้ำชุมชน การจัดทำฝายชะลอน้ำรูปแบบต่าง ๆ การรักษาแหล่งน้ำด้วยการทำการเกษตรอินทรีย์ การจัดการน้ำของชุมชนบริเวณป่าต้นน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก การรักษาป่าต้นน้ำด้วยภูมิปัญญาและประเพณีตามวิถีชุมชน รวมทั้งการจัดการป่าต้นน้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด           

ทางด้านนายเฉลิมเกีรยติ แสนวิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเรื่องการบริหารจัดการน้ำโดยทรงมีพระราชประสงค์ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำทั้งประเทศ ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเตรียมวางแผนร่วมกันรับมือปัญหาน้ำที่จะขาดแคลนมากขึ้น โดยให้มุ่งเน้นการบริหารน้ำและบริหารแหล่งน้ำที่มีอยู่ให้มีการจัดการที่ร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะขณะนี้น้ำสำรองของประเทศมีอย่างจำกัด หากทุกหน่วยงานไม่มองภาพรวมว่าจะประหยัดน้ำกันอย่างไร ในอนาคตจะเกิดปัญหาหนักมากขึ้น ทั้งน้ำที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และน้ำเพื่อการเกษตร ต้องมองหาจุดที่จะใช้ประโยชน์ร่วมกันโดยไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่งมากไป นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเรื่องการสร้างประตูกันลำน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ได้ทั้งหน้าแล้งและระบายออกแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ปล่อยน้ำทิ้งออกทะเลหรือลงสู่แม่น้ำโขงโดยสูญเปล่า รวมทั้งการสร้างแหล่งน้ำชุมชน ฝายชะลอน้ำให้เกิดความชุ่มชื้นและให้สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น
   
นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารระดับสูงว่า กระทรวงเกษตรฯเตรียมทำโครงการหนึ่งแหล่งน้ำหนึ่งจังหวัด เพื่อให้การจัดหาแหล่งน้ำเป็นไปอย่างทั่วถึงและตรงตามความต้องการของชุมชนทั้งประเทศ โดยได้สั่งการให้   เกษตรและสหกรณ์จังหวัดไปทำงานบูรณาการ  กับหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ทั้งหมดในแต่ละจังหวัดเพื่อร่วมกันจัดหาพื้นที่สร้างแหล่งน้ำในแต่ละจังหวัด ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรระดับจังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัดทำแผนเบื้องต้นในการปฏิบัติการตามโครงการดังกล่าวกลับมาที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงฯภายในวันที่ 20 ส.ค. โดยวางเป้าให้โครงการดังกล่าวสามารถเริ่มขับเคลื่อนได้ภายในงบประมาณปี 2554 นี้ หรืออย่างช้าต้นปี 2554 จะต้องมีการเริ่มโครงการได้ทันที โดยจะนำร่อง 2 เขต 9 จังหวัดที่มีความพร้อม ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และตราด ซึ่งการจัดหาแหล่งน้ำในจังหวัดเหล่านี้อาจจะไม่ใหญ่มาก แต่เน้นในเรื่องการขยายระบบการกระจายน้ำในพื้นที่ชลประทานอย่างมีประสิทธิภาพและใช้น้ำได้เต็มศักยภาพ 
   
รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวนา สามารถเริ่มปลูกข้าวนาปีได้แล้ว เนื่องจากสถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลายในบางพื้นที่เพราะมีฝนตกลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางมีฝนตกหนักมากกว่าในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รวมทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศเริ่มมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำเข้า  มาจากพายุโกนเซิน อีก 400 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อดูจากการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศนานาชาติเชื่อว่าปรากฏการณ์ลานินญ่า จะส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น ในหลายพื้นที่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม และฝนตกมากกว่าค่าปกติ ทำให้มั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนมากและสามารถส่งน้ำสนับสนุนการทำนาได้ในทุกพื้นที่

ที่มาข่าว:

รับสั่งให้แก้ปัญหานํ้าแบบบูรณาการ รัฐบาลผุดโครงการ 1 จังหวัด 1 แหล่งนํ้า (เดลินิวส์, 30-7-2553)
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=562&contentID=82003

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สธ. เตรียมแจง "มาร์ค" ยันชดเชยชาวบ้านหนองปลาไหล 5 ล้านไม่ได้

$
0
0

สธ. เตรียมแจง "มาร์ค" ยันชดเชยชาวบ้านหนองปลาไหลกรณีพิษจากบ่อขยะ 5 ล้านบาทไม่ได้ เนื่องจากไม่มีหลักฐานชี้ชัดได้ว่าเกิดการเจ็บป่วยของชาวบ้านตามที่ร้องเรียน  และการเบิกจ่ายเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ส่วนตัวถือว่าผิดระเบียบ
<!--break-->

สธ.เตรียมหอบเอกสารชี้แจงนายกฯ ยันไม่สามารถจ่ายชดเชย 5 ล้านบาท ให้ห้องแล็ปเอกชนที่ตรวจสุขภาพชาวบ้านใกล้บ่อขยะสระบุรีได้ หลังพบว่าไม่ปรากฏข้อมูลชี้ชัดว่าชาวบ้านป่วยจริง อีกทั้งผลสรุปของกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันว่าบ่อขยะไม่ได้ปล่อยมลพิษในพื้นที่

ความคืบหน้ากรณีชาวบ้าน ต.หนองปลาไหล  อ.เมือง จ.สระบุรี  เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้เร่งแก้ไขปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นจากการฝังกลบกากขยะอุตสาหกรรมของบริษัทเบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน)  ล่าสุด  มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเอกสาร หลักฐาน เข้าชี้แจงต่อนายกรัฐมนตรี  โดยเฉพาะกลุ่มผู้ร้องได้ขอให้มีการอนุมัติเงินกับ  2  บริษัทเอกชน  ที่เข้ามาดำเนินการตรวจสุขภาพของชาวบ้านในพื้นที่เป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท  และการชดใช้หนี้สินให้แก่บุคคลภายนอกที่กู้ยืมมา 2.45   ล้านบาท  รวมเป็นเงินกว่า 5 ล้านบาท  แต่ได้รับการปฏิเสธจากกระทรวงสาธารณสุข  เนื่องจากการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักและระเบียบกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเงินที่กู้ยืมจากบุคคลภายนอก ที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ในการใช้เงิน แม้ว่าจะอ้างว่าเป็นการนำไปใช้ในการรักษาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ก็ตาม  

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  เปิดเผยว่า   คณะกรรมการฯ ได้ทำรายงานความเห็นต่อเลขาธิการนายกฯ ว่า  ไม่สามารถอนุมัติจ่ายเงินได้  เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่สามารถชี้ชัดได้ว่าเกิดการเจ็บป่วยของชาวบ้านตามที่มีการร้องเรียน  อีกทั้งการขอเบิกจ่ายเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ส่วนตัวนั้น ถือว่าผิดหลักและระเบียบ  โดยยืนยันว่า  การพิจารณาของคณะกรรมการฯ เป็นไปอย่างถี่ถ้วนและรอบคอบ  ซึ่งสอดคล้องกับผลสรุปจากการประชุมของกรมอนามัย  ซึ่งที่ประชุมไม่แน่ใจในผลตรวจสุขภาพของประชาชนว่าเกิดจากบ่อขยะ  เพราะจากการตรวจสอบพบว่า  ข้อมูลมีความคลุมเครือ  โดยกลุ่มประชากรตัวอย่างไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจนว่าเป็นบุคคลใด อาศัยอยู่ในพื้นที่จริงหรือไม่  หรือแม้กระทั่งผลการตรวจวัดสาร  VOCs ในบริเวณพื้นที่ใกล้บ่อขยะ ที่กรมควบคุมมลพิษยืนยันว่า ไม่เกินค่าเฝ้าระวังในบรรยากาศทั่วไป

ด้านนายธีรพล  สังสกฤษ ทนายความบริษัท BWG เปิดเผยว่า  กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ มากมาย  เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ  อาทิ  กองทุนสิ่งแวดล้อม  งบประมาณไทยเข้มแข็ง  โดยที่ผ่านมา 3 กระทรวงหลัก ประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข  ต่างยืนยันว่าไม่พบว่ามีการปล่อยมลพิษตามที่ร้องเรียนแต่อย่างใด  อีกทั้งศาลปกครองและศาลอาญา ก็มีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิเคราะห์แล้วว่าบริษัทได้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ที่มาข่าว:

สธ.เตรียมแจงมาร์คชดเชยชาวบ้านบ่อขยะสระบุรีไม่ได้‏ (คมชัดลึก, 29-7-2553)
http://www.komchadluek.net/detail/20100729/68181/%E0%B8%AA%E0%B8%98.%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E2%80%8F.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images