Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

เปิด 63 รายชื่อผู้สมัครชิง 2 เก้าอี้กรรมการสิทธิฯ

$
0
0

จากกรณีเมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา การประชุมสภานิติบัญญํติแห่งชาติ (สนช.) ไม่รับรอง บวร ยสินทร และศุภชัย ถนอมทรัพย์ เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) (อ่านรายละเอียด) ส่งผลให้ คณะกรรมการสิทธิฯ ชุดใหม่ยังขาดอีก 2 คน จากทั้งหมด 7 คน ดังนั้นคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิฯ ได้มีประกาศลงวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา รับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิฯ  จำนวน  2 คน โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่ 26 ส.ค. - 1 ก.ย. 58 ระหว่างเวลา 08.30 – 17.00 น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ ห้องเสวนา  ชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  

โดยล่าสุดวันนี้(1 ก.ย. 58) รายงานจากสนง.คณะกรรมการสิทธิฯ แจ้งว่า มีผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการสิทธิ  จำนวน 63 คน ประกอบด้วย

1. นายยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที 

2. พันเอก ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ

3. นายวีระ สมความคิด     

4. พันตำรวจเอก อำนาจ อันอาตม์งาม           

5. นายอิทธิกร ขำเดช       

6. นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์      

7. นายสุพจน์ เวชมุข        

8. นายธีรพันธ์ นาทีกาญจนลาภ      

9. หม่อมหลวง กรกสิวัฒน์ เกษมศรี 

10. นางเตือนใจ ดีเทศน์    

11. รองศาสตราจารย์ มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ               

12. นายสุวันชัย  แสงสุขเอี่ยม        

13. นายนิกร วีสเพ็ญ        

14. นายคมเทพ ประภายนต์           

15. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ จันทรา เหล่าถาวร           

16. นายอนุวัติ เตียวตระกูล

17. นายชาติชัย  อุดมกิจมงคล           

18.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ยศศักดิ์  โกไศยกานนท์       

19.  นายนิทัศน์ ภู่วัฒนกุล  

20. นายสมภพ ระงับทุกข์  

21.  นายวิชกรพุฒิ  รัตนวิเชียร        

22.  พันตำรวจโทหญิง  ฐิชาลักษณ์  ณรงค์วิทย์          

23.  นายบรรจง  นะแส     

24.  นายไพโรจน์  พลเพชร

25.  พลเอก  ภูดิศ  ทัตติยโชติ        

26. นางสาวอุชษณีย์  ชิดชอบ        

27.  นายกฤษฎา  ให้วัฒนานุกูล

28.  นายสรรพสิทธิ์  คุมพ์ประพันธ์

29.  รองศาสตราจารย์  มยุนา  ศรีสุภนันต์

30.  นายไพฑูรย์  สว่างกมล

31.  นายสามารถ  ภู่ไพบูลย์

32.  นายนคร  ศิลปอาชา

33.  นายธารีพันธ์  ทีปะศิริ

34.  นางชลิดา  ทาเจริญศักดิ์

35.  นางภรณี  ลีนุตพงษ์

36.  นายมโน  เมตตานันโท  เลาหวนิช 

37.  นายพิทยา  จินาวัฒน์

38.  นายชาติชาย  สุทธิกลม

39.  นางสาวเสาวนิตย์  ยโสธร

40.  นางทิพย์พาพร  ตันติสุนทร

41.  นางพะเยาว์  อัคฮาด

42.  นายรังษี  จุ๊ยมณี

43.  นายพิเชียร  อำนาจวรประเสริฐ

44.  นายธวัชชัย  ไทยเขียว

45.  นางสาวปวิมลวรรณ  รัตนศรีโชติช่วง

46.  นายสิระ  เจนจาคะ

47.  นายเฉลิมศักดิ์  จันทรทิม

48.  พลตำรวจโท  ทวีศักดิ์  ตู้จินดา

49.  นายปิยะชาติ  อำนวยเวช

50.  นายสมเกียรติ  รอดเจริญ

51.  นายสุรจิต  ชิรเวทย์

52.  นายบัณฑิต  ตั้งประเสริฐ

53.  นายอัษฎางค์  เชี่ยวธาดา

54.  พันตำรวจเอก  สุเทพ  สัตถาผล

55.  นางพิกุล  พรหมจันทร์

56.  นายเสกสรร  ประเสริฐ

57.  พลโท  วิภพ  กิวานนท์

58.  นายเปรมปรีดา  ปราโมช  ณ อยุธยา

59.  นางสาวศุภมาศ  พยัฆวิเชียร

60.  นายศรีสุวรรณ  จรรยา

61.  พลตรีหญิง  พูลศรี  เปาวรัตน์

62.  นางรัชนี  เกษคุปต์

63.  นางนิภาพร  พุทธพงษ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยกับนักข่าว 'ภูเก็ตหวาน' หลังศาลยกฟ้องคดีทัพเรือฟ้องหมิ่นประมาท-พ.ร.บ.คอมฯ

$
0
0

“จริงๆ แล้ว ‘ภูเก็ตหวาน’ คำว่า หวาน มาจากคำว่า วัน เป็นคำทับศัพท์ เนื่องจากมีเว็บนึงเขาจดทะเบียนแล้ว เราก็เลยใช้คำทับศัพท์ phuketwan ม็อตโต้ของเรา คือ Sweet Phuket Every day  เราไม่ได้เป็นคนภูเก็ต คุณอลัน (มอริสัน บรรณาธิการเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน) ก็ไม่ได้เป็นคนไทยหรือคนภูเก็ต แต่เรามาทำมาหากินในจังหวัดภูเก็ต เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคนภูเก็ต ที่อยากจะพัฒนาภูเก็ตให้มันดีขึ้น ปัญหาต่างๆ ให้ได้รับการแก้ไข เราก็เลยนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา โดยผ่านสื่อในระดับมาตรฐานสากล

“เราไม่ได้อยากนำเสนอข่าวที่เป็นเรื่องการโปรโมท ซึ่งปกติมีอยู่แล้วโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น เช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำจังหวัดภูเก็ต หรือแมกกาซีนต่างๆ ที่เขาก็มีอยู่แล้ว แต่ในทาง ‘ภูเก็ตหวาน’ เราก็อยากนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การคอร์รัปชัน การทุจริต การบุกรุกพื้นที่สาธารณะ การจัดระเบียบชายหาดต่างๆ พวกนี้ เพื่อที่จะช่วยเป็นหูเป็นตาต่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้ช่วยให้แก้ปัญหา” ชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าวภูเก็ตหวาน เล่าถึงที่มาของชื่อ “ภูเก็ตหวาน”

ชื่อของเว็บข่าว “ภูเก็ตหวาน” เป็นที่รู้จักในวงกว้างหลังถูกกองทัพเรือฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการเผยแพร่บทความ ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาตอนหนึ่งจากรายงานรางวัลพูลิตเซอร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อปี 2556 ในบทความดังกล่าวพาดพิงถึงกองทัพเรือของไทยโดยระบุว่ากองทัพเรือมีส่วนได้รับผลประโยชน์จากการค้ามนุษย์และมนุษย์เรือ (Boat People)

1 ก.ย. 2558 ศาลจังหวัดภูเก็ต อ่านคำพิพากษายกฟ้อง คดีที่กองทัพเรือโดยพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ฟ้องอลัน มอริสัน บรรณาธิการเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน ชาวออสเตรีเลีย และ ชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าวภูเก็ตหวาน โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ ไอลอว์ ระบุว่า ประเด็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา คำพิพากษาระบุว่า ข้อความตามฟ้องในคดีนี้เป็นข้อความที่จำเลยนำมาจากสำนักข่าวรอยเตอร์ส ซึ่งเป็นสำนักข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ ได้รับการยอมรับและสามารถตรวจสอบได้ เชื่อว่าผู้สื่อข่าวรอยเตอร์สจะตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นความจริงก่อนเผยแพร่ การที่จำเลยอ้างอิงข้อความมาจากรอยเตอร์ส ไม่ได้เขียนเอง จึงไม่ถือว่าเข้าข่ายการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

ส่วนประเด็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ปรากฏว่าข้อความตามฟ้องที่จำเลยอ้างมาจากรอยเตอร์สเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือเป็นข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหมวดความมั่นคง นอกจากนี้เจตนารมณ์ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ก็ไม่ได้มุ่งเอาผิดกับความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เพราะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 บัญญัติความผิดฐานนี้ไว้แล้ว

ชุติมา เล่าย้อนไปตอนหยิบงานของรอยเตอร์สมาอ้างอิงว่า ตอนนั้น เธอไม่ได้คิดถึงประเด็นเรื่องจะถูกฟ้องเลย 

"ภูเก็ตหวานได้ทำข่าวเกี่ยวกับโรฮิงญามาตั้งแต่ปี 2552 แล้ว และก็ได้มีการรายงานมาอย่างต่อเนื่อง แล้วก็เราเห็นว่าข่าวที่เราได้นำเสนอนี้ เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมไทยควรที่จะรับรู้ และก็เจ้าหน้าที่ก็ควรที่จะเข้าไปตรวจสอบอย่างจริงจัง เราก็เลยนำเสนอข่าวเรื่องนี้" เธอบอกและว่า "เราสนใจมาตั้งแต่ปี 2552 ถือว่าเป็นสื่อแรกของคนไทยที่ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรฮิงญา เนื่องจากว่าเราเห็นแล้วว่า ในประเด็นนี้เป็นปัญหา ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะประเทศไทย แต่มันเป็นปัญหาของอาเซียนด้วย แล้วก็เข้าใจว่าตรงนี้ ปัญหาตรงนี้จะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะว่าตัวเคสโรฮิงญาเองเนี่ย เขาเป็นคนที่ไม่มีสัญชาติ และก็ดูเหมือนว่าทางสหภาพเมียนมาร์เขาก็จะยังไม่ยอมรับคนเหล่านี้เป็นพลเมืองของเขา ซึ่งมันก็สร้าง ปัญหาต่างๆ ให้กับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนเอง"

ชุติมา เล่าว่า ก่อนหน้านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพเรือและสำนักข่าวก็ทำงานร่วมกันด้วยดีมาตลอด เวลากองทัพเรือมีกิจกรรมอะไรต่างๆ ภูเก็ตหวานก็เข้าไปเสนอข่าว รายงานข่าว ประชาสัมพันธ์ให้ตามปกติ ก็เหมือนสำนักงานข่าวทั่วไปที่ทำงานกัน แต่ก่อนจะฟ้องร้องคดีนั้น ทางกองทัพเรือไม่เคยมาคุยด้วยเลย 

"แม้กระทั่งเราจะโทรเข้าไปสัมภาษณ์ กับท่านผู้บัญชาการกองทัพเรือภาค 3 ท่านพลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ท่านก็ไม่ได้รับสาย หรือตอบรับการสัมภาษณ์ใดๆ จนกระทั่งเราทราบข่าวว่าทางกองทัพเรือประสงค์ที่จะดำเนินคดีกับทางภูเก็ตหวาน ในข้อหาหมิ่นประมาท กับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ทำให้กองทัพเรือเสื่อมเสียชื่อเสียง" เธอกล่าวและว่า ทั้งที่ ที่ผ่านมา มีการสัมภาษณ์ข่าว เขียนข่าว รายงานข่าวนี่ล่ะค่ะ อย่างตรงไปตรงมาตลอด ไม่ได้มีการโจมตี วิพากษ์วิจารณ์ หรืออคติ ทำงานร่วมกันโดยดีมาโดยตลอด

"จริงๆ แล้วประเด็นเรื่องโรฮิงญา ครั้งแรกที่เราได้ยินคำว่าโรฮิงญาเนี่ยก็มาจากกองทัพเรือภาคที่ 3 เป็นคนที่ให้สัมภาษณ์ แล้วก็ยังมีข้อเรียกร้องให้กับทาง UN ให้ออก reaction เพื่อที่จะร่วมแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ หรือว่าการอพยพย้ายถิ่นอย่างไม่ปกติของโรฮิงญา เมื่อปี 2552 ด้วยซ้ำไป"

ชุติมา ระบุว่า ตอนที่รู้ว่าโดนฟ้องนั้น รู้สึกผิดหวังกับการแสดงออกในลักษณะที่ทางรัฐใช้กฎหมาย คุกคาม ปิดปาก สิทธิเสรีภาพของผู้สื่อข่าว โดยมองว่ามันเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพของนักสื่อสารมวลชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าวที่เป็นคนไทยเอง หรือว่าผู้สื่อข่าวที่เป็นชาวต่างชาติที่มีการทำงานอยู่ในประเทศไทย ตรงนี้สุดท้ายแล้วการที่ทางรัฐเอากฎหมายมาฟ้องคดีในลักษณะนี้ คนที่เสียผลประโยชน์จริงๆ ก็คือชาวบ้านประชาชนคนทั่วไปที่จะไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงหรือว่าข้อมูลข่าวที่ตรงไปตรงมา หลักการก็คือเพื่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออก ตรงนี้มันเป็นพื้นฐานของประเทศที่มุ่งหวังปกครองในระบอบประชาธิปไตย

การถูกฟ้องร้องจากกองทัพเรือส่งผลให้เกิดความยากลำบากทั้งการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน เธอบอกว่า มันส่งผลถึงความเชื่อถือจากแหล่งข่าวต่อสำนักข่าว

"ในฐานะที่กองทัพเรือเป็นกองทัพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ทุกคนก็เชื่อมั่นในความดี ความมีศักดิ์ศรี ที่ดีของทางกองทัพเรือ ก็อาจจะเป็น message อย่างนึงว่าถ้าคนเหล่านี้ไม่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐจริง เขาก็จะไม่ฟ้องไม่มาดำเนินคดีในลักษณะแบบนี้ ซึ่งมันทำให้เกิดการสร้างความเข้าใจ มโนภาพให้กับสังคมทั่วไปเกิดความเข้าใจผิด ในตรงนี้มันก็ยากที่จะใช้ในการดำเนินชีวิตโดยปกติมีความลำบากมากขึ้นตรงนี้ และก็ในระยะแรกเนี่ยเหมือนกับว่าทำลายขวัญและกำลังใจในการทำงาน ทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว ทำให้เกิดความหวาดกลัวในระยะแรกค่ะ แต่ว่าก็ต้องขอบคุณกำลังใจเพื่อนสื่อทั้งท้องถิ่น ทั้งต่างประเทศ ประชาชนคนทั่วไป ผู้ที่อ่านข่าว องค์กรเอ็นจีโอต่างๆ Human Rights Watch ต่างๆ ที่ได้ให้กำลังใจ และสนับสนุนเรามาโดยตลอด ทำให้เรามีแรงสู้ เหมือนเป็นน้ำที่หล่อเลี้ยงให้เราสู้ได้จนถึงวันนี้" ชุติมาระบุ

ตลอดกระบวนการจนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษานี้ เว็บไซต์ภูเก็ตหวานได้รับการสนับสนุนจากองค์กรสิทธิหลายแห่ง อาทิ สมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ที่ออกแถลงการณ์ประณามการดำเนินคดี  สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลไทยถอนข้อกล่าวหาต่อ 2 ผู้สื่อข่าว ทั้งหมดนี้ ชุติมามองว่า เป็นเพราะต่างชาติให้ความสำคัญสิทธิเสรีภาพของสื่อ ซึ่งในกรณี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเฉพาะสื่อเพียงอย่างเดียว แต่มันส่งผลกระทบถึงประชาชนชาวไทย หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่มีถิ่นพำนักมาหากินอยู่ที่นี่ด้วย ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญมาก แล้วก็ทุกคนมุ่งหวังที่จะเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ การแสดงออกทางด้วยเสรีภาพ ทางด้านความคิดต่างๆ การวิพากษ์วิจารณ์ อย่างตรงไปตรงมา ไร้อคติ และเป็นธรรม ตรงนี้เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ในการที่จะนำพาประเทศ หรือว่าที่เราจะปกครองในระบอบประชาธิปไตยต่อไป หรือที่จะทำให้เกิดการพัฒนาในสิ่งอื่นๆ

ขณะที่ส่วนของประเทศไทยนั้น เธอมองว่า การให้การรณรงค์ หรือการให้ความเห็น หรือความสำคัญตรงนี้ คิดว่ายังมีน้อยมาก แม้กระทั่งสื่อกระแสหลักของไทยเอง ควรที่จะมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในประเด็นนี้ให้มากเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายโดยผิดเจตนารมณ์

"ปัจจุบันนี้ ประเทศไทย คนในสังคมเริ่มใช้ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ แบบหมิ่นประมาทฟ้องควบคู่กันไป เราจะเห็นตามว่าในโพสต์เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ นั่น นู่น นี่ นั่น ไม่พอใจอะไรกันก็ฟ้องด้วยข้อหา หมิ่นประมาท ร่วมกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งมันเป็นการเข้าใจผิด ตรงนี้สื่อกระแสหลักของไทยจะช่วยได้เยอะ เพื่อที่จะลบสิ่งที่ไม่ดีเหล่านี้ให้มันน้อยลงไป สร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่บังคับใช้กฎหมายและประชาชน ไม่ใช่ว่าเอะอะก็จะปรับฟ้อง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ร่วมกับหมิ่นประมาท ซึ่งมันเป็นคดีอาญา ซึ่งมันเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ผิดเจตนารมณ์โดยสิ้นเชิง" ชุติมากล่าว

นอกจากประเด็นเรื่องการใช้กฎหมายให้ถูกเจตนารมณ์ เธอตั้งข้อสังเกตจากคดีนี้ในเรื่องของข้อหาหมิ่นประมาท โดยย้ำว่า จะต้องจับหลักให้ได้ก่อนว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องของสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่เป็นเรื่องของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ได้เป็นการให้ร้าย เธอนำเสนอข่าวเพื่อให้มีการตรวจสอบ รับรู้ รับทราบ ปัญหาร่วมนี้กัน ไม่ใช่เป็นปัญหาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของสังคมร่วมกัน พร้อมทั้งหวังว่า คดีนี้จะเป็นอานิสงส์กับเคสอื่นๆ ด้วย มันก็จะเป็นมาตรฐาน ในการแสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์ วิจารณ์ ในประเด็นต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา

เมื่อถามถึงบทเรียนจากการทำหน้าที่สื่อในครั้งนี้ ชุติมาบอกว่า เพื่อนสื่อท้องถิ่นเองก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป อย่างบางคนก็มองว่า ช่างกล้าที่จะนำเสนอข่าวนี้นะ ช่างกล้าที่จะไปให้ร้าย ท.ร. ซึ่งจริงๆแล้วสื่อหลายคน ในตัวสื่อเองก็ยังไม่เข้าใจในหน้าที่ของสื่อ ตรงนี้เป็นประเด็นที่กังวลมาก

"การทำหน้าที่สื่อคุณไม่จำเป็นว่า คุณกล้า หรือไม่กล้า แต่คุณต้องรู้ว่าหน้าที่ของคุณคืออะไร ถึงแม้ว่าประเด็นนั้นจะมีความล่อแหลม หรืออันตราย คุณก็ต้องมีจรรยาบรรณของคนที่จะคอยให้ข้อมูลข่าวสารที่มันเกิดขึ้นในสังคม ไม่ใช่เรานำเสนอเพราะเรากล้า เพราะเราอยากดัง ต้องนำเสนอเพราะมันเป็นหน้าที่ ถ้าเราเห็นประเด็นเหล่านี้ที่มันเกิดขึ้นในสังคม เราไม่สามารถที่จะเงียบ หรือนิ่งเฉยต่อปัญหาอย่างนี้

"เราเลือกที่จะนำเสนอ เพราะเรามั่นใจว่าหนึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะ และต้องการที่จะให้ปัญหาเหล่านี้ที่จะได้รับการแก้ไข สมมติว่าทางข่าวนี้เสนอไปตั้งแต่ปี 2556 ถ้าเจ้าหน้าที่ลงมือทำการสำรวจ ตรวจสอบอย่างเข้มข้น เชื่อว่าโรงฮิงญาหลายคนรู้ว่า หากอพยพทางเรือหลายคนก็จะไม่จบชีวิตลงที่แคมป์กลางป่า ตามตะเข็บชายแดนมากมายอะไรขนาดนั้น" เธอทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘พิเชษฐ’ อดีตส.ส.ปชป. ไม่รับรธน. คว่ำประชามติ เปรียบนักกีฬามีสิทธิไม่แข่งหากกติกาเถื่อน

$
0
0

2 ก.ย.2558 พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุลอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอดีต ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ภาพข้อความที่ตนเองให้สัมภาษณ์กับสื่อและอธิบายประกอบผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะ โดยระบุดังนี้

(1) ประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญ พร้อมลงมติคว่ำชั้นประชามติ

(2) เปรียบนักกีฬาปฏิเสธกติกาเถื่อน

(3) นักกีฬามีสิทธิไม่ลงแข่งขัน หากกติกาไม่ชอบมาพากล

(4) รัฐธรรมนูญจะสร้างความวุ่นวายเสียหายแก่ระบบการเมืองและประชาธิปไตยในอนาคต

(5) สังคมประชาธิปไตยสากลทั่วโลกกำลังจับตาดูและพร้อมจะต่อต้านรัฐบาลไทยที่มาจากการรัฐประหาร

(6) หากยังดันทุรังอยู่เช่นนี้ ประเทศชาติมีแต่จะยิ่งเสียหาย และทีมเทวดาที่ไหนก็จะมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทยไม่ได้

โดยโพสต์เพิ่มเติมด้วยว่า สปช. ล้มรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ก.ย. นี้ เสียก่อน ดีกว่าต้องเสียค่าทำประชามติหลายพันล้าน และประเทศชาติจะผจญกับวิกฤตครั้งใหม่ที่รุนแรง 

 

 

พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล(๑) ประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญพร้อมลงมติคว่ำชั้นประชามติ(๒) เปรียบนักกีฬาปฏิเสธกติกาเถื่อน๓) นักกี...

Posted by พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล on 1 กันยายน 2015

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์สิทธิLGBTไทยกับคำพิพากษาศาลสูงสหรัฐฯ

$
0
0

 

คำพิพากษาศาลสูงสุดแห่งสหรัฐ หมายเลข 14-556, 14-571 และ 14-574[1]สร้างปรากฏการณ์การถกเถียงเรื่องสิทธิการสมรสอย่างกว้างขวาง และสัมพันธ์กับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของบุคคลเพศหลากหลายไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในประเทศไทยที่มีการหยิบประเด็นเรื่องความคืบหน้าในการเสนอร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. …[2]ขึ้นมาอภิปรายร่วมกับความคืบหน้าในสังคมสหรัฐอเมริกัน

สาระสำคัญของคำพิพากษาแห่งศาลสูงในกรณีนี้ เป็นการวินิจฉัยเพื่อรับรองสิทธิในการสมรสและสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวสำหรับบุคคลทุกคน ซึ่งกลับแนวคำพิพากษาของศาลสูงในหลายมลรัฐ เช่น มลรัฐฮาวาย ที่เคยมีคำพิพากษายืนยันการยกเลิกผลการบังคับใช้รัฐบัญญัติปกป้องการสมรส (Defense of Marriage Act ; DOMA) ซึ่งกำหนดนิยามการสมรสเพื่อประโยชน์ของกฎหมายสหพันธรัฐว่า การสมรสเป็นการสมาคมตามกฎหมายระหว่างชายคนหนึ่งและหญิงคนหนึ่งในฐานะสามีและภริยาเท่านั้น[3] ให้สิ้นผล ด้วยเหตุผลที่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเหยียดหยามการสมรสของบุคคลเพศหลากหลาย คำพิพากษาของศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกา จึงรับรองการรับรองการสมรสของบุคคลโดยผลของคำสั่งศาลและผลของกฎหมายซึ่งมีฐานอำนาจจากองค์กรนิติบัญญัติ

การสมรสในมโนทัศน์ของสหรัฐอเมริกา คือการเชิดชูคุณค่าของสถาบันครอบครัวและรับรองสิทธิตามกฎหมายที่คู่สมรสพึงได้จากการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น อันประกอบด้วย คุ้มครองสิทธิการสมรสสำหรับบุคคลทุกคนซึ่งนำไปสู่สิทธิในทางกฎหมายที่สืบต่อมาในหลายประการ ทั้งความรับผิดชอบที่รัฐต้องมีต่อบุคคลที่มาจากการสมรส การเก็บภาษี การสืบมรดกและสิทธิในการทรัพย์สิน กฎเกณฑ์การสืบสิทธิข้ามมลรัฐ เอกสิทธิ์ของคู่สมรสในกฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน การเข้าถึงในโรงพยาบาล อำนาจหน้าที่การตัดสินใจในทางการแพทย์ สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิประโยชน์ของผู้ยังมีชีวิต สูจิบัตรและมรณบัตร กฎเกณฑ์ว่าด้วยจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ข้อจำกัดการสนับสนุนทางการเงินแก่การรณรงค์หาเสียง ผลประโยชน์จากเงินทดแทนของคนงาน การประกันสุขภาพ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเลี้ยงดู การอุปการะและการเยี่ยมเยียนบุตร ตามระบบกฎหมายสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำพิพากษาแห่งศาลสูงสหรัฐฉบับนี้ ได้ตีความขยายการสมรสให้เป็นการสมาคมสำหรับบุคคลทุกคน

ในระบบกฎหมายไทย สิทธิในการสมรสและสิทธิการก่อตั้งครอบครัว บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว[4]กำหนดหลักการสำคัญให้การสมรสที่สมบูรณ์ซึ่งรัฐรับรองจะมีขึ้นได้เมื่อเป็นการสมรสของชายและหญิงตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น คู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงจะได้รับรองสิทธิประการต่างๆ ตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติอื่นที่กำหนดสิทธิของคู่สมรสไว้ และแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[5]มาตรา 30[6]ได้บัญญัติหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งเพศ[7] ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[8]ได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้เช่นเดียวกัน[9]แต่บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดรับกับหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งเพศ ตามรัฐธรรมนูญ  เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555[10] เกิดกรณีนายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ปฏิเสธการรับจดทะเบียนสมรสต่อคู่รักเพศเดียวกันโดยออกหนังสือปฏิเสธการรับจดทะเบียนนั้น ซึ่งแสดงเหตุผลในการปฏิเสธว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดรับรองการสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน จึงไม่อาจรับจดทะเบียนสมรสให้ได้ เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการรับรองสิทธิของบุคคลเพศหลากหลาย โดยเฉพาะในสิทธิการสมรสและสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว ภาคประชาสังคมในประเทศไทยหลายองค์กรที่ปฏิบัติการในประเด็นสิทธิของบุคคลเพศหลากหลาย จึงมีความพยายามนำกรณีดังกล่าวผลักดันให้ฝ่ายนิติบัญญัติริเริ่มการพิจารณาเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ตลอดจนเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้เกิดการรับรองสิทธิของบุคคลเพศหลากหลายขึ้น  คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศขึ้น และมีการประชุมคณะทำงานฯดังกล่าวเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 และมีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. … เพื่อการรับฟังความเห็นขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว  ทั้งนี้ ยังมีภาคประชาสังคมซึ่งปฏิบัติการประเด็นสิทธิของบุคคลเพศหลากหลายบางส่วนไม่เห็นด้วยต่อหลักการและร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มูลนิธิเพื่อสิทธิความเป็นธรรมทางเพศและเครือข่ายจึงนำเสนองานวิจัยบุคคลเพศหลากในระบบกฎหมาย[11]ซึ่งเสนอหลักการและแนวคิดเพื่อการยกร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. …(ฉบับภาคประชาชน) ด้วยฐานสิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ผ่านสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการยกร่างกฎหมายโดยผู้มีสิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ในช่วงเดือนมกราคม 2557

แม้ในระบบกฎหมายไทยจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในการพัฒนาหลักการและแนวคิดเพื่อรับรองสิทธิของบุคคลเพศหลากหลายที่ยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานขั้นต่ำด้านสิทธิมนุษยชนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการผลักดันของภาคประชาชนไปยังหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะองค์กรผู้ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ แต่ยังคงไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร อันเป็นผลกระทบจากปัจจัยสำคัญสามประการ ได้แก่ 1) แนวความคิดเรื่องเพศแบบ  ทวิลักษณ์ในสังคมไทยโดยเฉพาะในสถาบันหลักของชาติที่ยังคงกำหนดให้เรื่องเพศให้เป็นไปตามเพศโดยกำเนิด 2) หลักการสิทธิมนุษยชนสากลที่ให้ความสำคัญต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีของมนุษยชนยังไม่ได้รับการสถาปนาเป็นแนวความคิดหลักของสถาบันหลักขององค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐในสังคมไทย และ 3) สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ที่มีการรัฐประการอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนากฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนในมิติของการตรากฎหมายที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สิทธิการสมรสและสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวในระบบกฎหมายไทย นำมาสู่สิทธิประการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลโดยตรง แม้ในข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ สังคมไทยมีบุคคลเพศหลากหลายใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน แต่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐ ซึ่งเป็นอุปสรรคโดยตรงในการเข้าถึงสิทธิประการต่างๆ ที่กฎหมายรับรอง ซึ่งแม้ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้งฉบับ พุทธศักราช 2540 และ พุทธศักราช 2550 จะรับรองสิทธิของบุคคลเพศหลากหลาย แต่กฎหมายลำดับรอง อันได้แก่พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีสภาพบังคับเทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ และระเบียบยังไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวที่บัญญัติไว้ในกฎหมายระดับรัฐธรรมนูญ นำมาสู่อุปสรรคต่อบุคคลเพศหลากหลายในการดำเนินชีวิตหลายประการไม่เฉพาะแต่การไม่ได้รับการรับรองสิทธิการสมรสและสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเท่านั้น แต่ยังมีข้อจำกัดและสภาพปัญหา ซึ่งเป็นผลที่ระบบกฎหมายไทยยังคงอยู่ในกรอบความคิดจำแนกเพศแบบทวิลักษณ์

การรับรองการสมรสในฐานะสิทธิสำหรับบุคคลทุกคนเป็นไปตามกระแสแห่งโลกในศตวรรษนี้ จากปรากฏการณ์ที่จำนวนรัฐที่รับรองสิทธิดังกล่าวมีจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ ประกอบด้วยบรรยากาศแห่งความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อสิทธิดังกล่าว ไปนำไปสู่การขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมเพื่อสร้างความเท่าเทียมของบุคคลทุกคนที่เกิดขึ้นเป็นขบวนการทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยที่สังคมเริ่มตั้งคำถามถึงความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย ผ่านองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการว่าจะตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อประเด็นนี้อย่างไร

 

 

อ้างอิง

[1] ผู้เขียนอ้างอิงจากคำแปล Obergefell v. Hodges ภาษาไทย ซึ่งแปลโดยนายภควัต เหมรัชตานันท์ นักกฎหมายกฤษฎีกาปฏิบัติการ สำนักกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

[2] ร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. …. ที่มีการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงนั้น มีทั้งร่างซึ่งเสนอโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และร่างฉบับภาคประชาชนซึ่งอยู่ในระหว่างการยกร่าง โดยการสนับสนุนตามกฎหมาย

[3] โปรดดู, คำแปล Obergefell v. Hodges ภาษาไทย หน้า 7

[4] ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ครอบครัว เป็นไปตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2519

[5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 และสิ้นผลลงด้วยการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

[6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอภาคในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

[7] …อนุสัญญาระหว่างประเทศ

[8] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 และสิ้นผลลงด้วยการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557

[9] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอภาคในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการสภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

[10] โปรดดู เอกสารออนไลน์ที่ http://www.thairath.co.th/content/282377 ข้อมูลปรากฏเมื่อวัน 25 สิงหาคม 2558

[11] สมชาย ปรีชาศิลปะกุล, บุคคลเพศหลากหลายในระบบกฎหมาย (Sexual Diversity in the Legal System) กรุงเทพฯ, กรกฎาคม 2556

 

 

จากบทความเดิมชื่อ มองสถานการณ์ของสิทธิการสมรสของบุคคลเพศหลากหลายในสังคมไทย ผ่านคำพิพากษาศาลสูงแห่งสหรัฐอเมริกาในคดี Obergefell v. Hodges

เผยแพร่ครั้งแรกใน:เว็บคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รับน้องสร้างเสียว(ไม่ใช่เพจ) แชร์ว่อนคลิปเต้น ‘กล้วยทับ’ ส่องคอมเม้นต์วิจารณ์-คำชี้แจง

$
0
0

2 ก.ย. 2558 เวลา 2.40 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘รับน้องสร้างสรรค์’ โพสต์วิดีโอคลิปการเต้น ‘กล้วยทับ’ ที่มีลักษณะการท่าคล้ายการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมระบุว่าเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

 

 
กล้วยทับ Ver.ฟินนนน

กล้วยทับ กล้วยทับ กล้วยทับ กล้วยทับอะ-หร๊อยยย อะ-หร่อยยยยยยย#งานเด้า #เด้าหมู่ #แซ่บลืม #รับน้องฟิล์ม #ตุ๊ดสวนนัน#ยนน #รับน้องสร้างสรรค์ #ไหมละมึงง

Posted by รับน้องสร้างสรรค์ on 1 กันยายน 2015

โดยมีผู้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ รวมทั้งฝั่งที่ชี้แจงว่าบุคคลในคลิปที่ดูคล้ายผู้หญิงนั้นไม่ใช่ผู้หญิงแต่เป็น ‘ตุ๊ด’ อย่างไรก็ตามก็ตามมีผู้แสดงความเห็น(Laning Uma)ว่าต่อให้เป็นตุ๊ดก็ไม่เหมาะสมอยู่ดี

ขณะที่บางความเห็น อย่าง ‘Sharis M Bk’ กล่าวว่า แม้จะชื่นชอบกิจกรรมรับน้อง แต่ก็ได้รับไม่ได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น

สมภพ บัวแตงตั้งคำถามท้ายคลิปดังกล่าวด้วยว่า 1.เป็นสาวประเภท2 แล้วทำอะไรก้อได้ ไม่น่าเกลียดหรอ  2.มหาวิทยาลัยทราบหรือไม่ ว่ามีการรับน้องด้วยท่าเต้นแบบนี้ และ 3. การเต้นแบบนี้มันสร้างสรรค์ยังไง ทำให้การเรียนดีขึ้นได้อย่างไร เป็นต้น  

อย่างไรก็ตามมีผู้เข้าไปโพสต์ตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพจ ‘มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา’ โดย Nisachon Nakaโพสต์เมื่อเวลา 7.28 น.ที่ผ่านมา ว่า ตอนนี้มีการเผยแพร่คลิปรับน้องของมหาวิทยาลัยทั่วโซเชียลและเป็นการกระทำที่เสื่อมเสียชื่อเสียงมหาวิทยาลัยมาก รบกวนตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่มีคำชี้แจงออกมา

ขณะที่เฟซบุ๊กแฟนเพจดังอย่าง ‘Drama-addict’ ได้นำคำชี้แจงจากนักศึกษามหาวิทยาลัยดังกล่าวใช้ชื่อว่า ‘Pajaree Sinthunawa’ โดยระบุว่าเป็นตัวแทนคนทำกิจกรรมรับน้องภาคปกติเข้าไปตอบในกลุ่ม ‘ตราด’ มาเผยแพร่ ซึ่งนักศึกษาคนดังกล่าวระบุว่า คนที่ปรากฏในคลิปเป็นตุ๊ด ยืนยันว่าหากเป็นผู้หญิงกับผู้ชายจะไม่ให้เล่นกันแบบนี้อยู่แล้ว รวมทั้งชี้แจงด้วยว่าทางคนจัดกิจกรรมเองก็รู้สึกผิด คนอื่นมองคือไม่เหมาะสม และขอโทษแทนที่ทำให้เกิดภาพแบบนี้ พร้อมยืนยันด้วยว่าต่อไปจะพยายามไม่ให้มีแบบนี้เกิดขึ้นอีก ขอโทษแทนภาคพิเศษ จากคนทำรับน้องตัวแทนภาคปกติ

 

 

ความเห็นจากนักศึกษา ม สวนสุนันทา คนนึงhttps://www.facebook.com/groups/MuangTrat/permalink/788667884565190/

Posted by Drama-addict on 1 กันยายน 2015

นอกจากนี้เพจ ‘ANTI SOTUS’ โพสต์วิจารณ์คลิปที่เกิดขึ้นด้วยว่า “สันทนาการ เพลงกล้วยทับ เต้นแบบนี้กันทั้งนั้นแทบทุกมหาลัยที่ใช้เพลงนี้อาจแปลกไปตรงที่ลามกมากหรือน้อย การรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์จึงไม่ใช่แค่การรับน้องรุนแรงอย่างเดียง หลายต่อหลายครั้งสันทนาการก็ซ่อนความเป็นอำนาจนิยม รวมถึงการล้างสมองและวิธีการที่ไร้สติปัญญาแบบนี้”

ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเวลา 14.48 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘SunandhaPost’ เผยแพร่แถลงการณ์อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รศ.ดร.ฤๅเดช เกิดวิชัย กรณีการเผยแพร่คลิปภาพกิจกรรมนักศึกษาไม่เหมาะสม โดยแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และระบุด้วยว่ามหาวิทยาลัยได้ทำการสอบสวนและหาข้อเท็จจริงพร้อมเพิ่มมาตรการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าวอีก

 

 

แถลงการณ์อธิการบดีฯ กรณีการเผยแพร่คลิปภาพกิจกรรมนักศึกษาไม่เหมาะสม

Posted by SunandhaPost on 2 กันยายน 2015

 

นอกจากนี้วิดีโอคลิปในเพจรับน้องสร้างสรรค์และตัวเพจขณะนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้ อย่างไรก็ตามคลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ต่อไปในวงกว้าง มีเพจอย่าง คลิปดังเฟสบุ๊ค ที่ยังสามารถเข้าถึงได้อยู่ขณะนี้

 

 

สิ่งที่เกิดกับประเทศไทย รับน้องสร้างสรรค์ ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ----------------------------------------------------เครดิต@#นี้หรอว่าที่บัณฑิต กีฬา คาสิโน เกมส์ ไก่ชน http://goo.gl/evFGk9 สมัครง่ายๆ เงินน้อยเงินมากก้เล่นได้ไม่มีขั้นต่ำในการฝากการันตีความมันส์ สนุกทั้งวันทั้งคืนเล่นได้ถอนเลย แถมฟรี...โบนัสทุกยอดฝากสูงสุด30%.. มั่นคงฝาก-ถอน ปลอดภัยบริการ24ชม. Line ID:SBOCEO099-146-1800,099-146-1900

Posted by คลิปดังเฟสบุ๊ค on 1 กันยายน 2015

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.เที่ยงคืน แถลง 'รัฐธรรมนูญต้องอยู่ในกำมือของประชาชน'

$
0
0

2 ก.ย. 2558 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์ เรื่อง รัฐธรรมนูญต้องอยู่ในกำมือของประชาชน เรียกร้องให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องร่วมกันผลักดันให้รัฐธรรมนูญกลับมาอยู่ในกำมือของประชาชน และเพื่อร่วมกันแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตัดสินใจร่วมกันว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ด้วยความเชื่อมั่นว่าการแก้ไขปัญหาและความยุ่งยากในสังคมไทยนั้นจะสามารถผ่านพ้นไปได้ก็ด้วยการยอมรับอำนาจและสิทธิของประชาชนอย่างเท่าเทียมในการร่วมกันกำหนดชะตากรรมของสังคมไทย มิใช่ปล่อยให้กลุ่มบุคคลบางกลุ่มซึ่งไม่เห็นความสำคัญของความเสมอภาค เสรีภาพ และการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคมไทยตามอำเภอใจ

       


แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง รัฐธรรมนูญต้องอยู่ในกำมือของประชาชน


เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติในวันที่ 6 กันยายนนี้ มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยอย่างยิ่ง นับเป็นความพยายามในการสถาปนาระบอบการเมืองที่ปฏิเสธอำนาจทางการเมืองของประชาชนอย่างน่าเศร้าใจ

ในเชิงโครงสร้างของสถาบันการเมือง จะพบว่าได้มีการลดทอนอำนาจของสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มบุคคลที่ไม่ได้มีความยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใด รวมทั้งการสถาปนาอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญขององค์กรเหล่านั้น ซึ่งปรากฏให้เห็นทั้งในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ เช่น การกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดอง การกำหนดให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการสรรหามีจำนวนมากกว่าการเลือกตั้ง การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการอนุมัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สะท้อนสภาพที่สถาบันการเมืองต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกลุ่มคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้ รวมถึงการลงมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นก็เป็นเพียงความเห็นของคนกลุ่มเล็กๆ ที่มิใช่ตัวแทนอันชอบธรรมของประชาชนเช่นเดียวกัน

หากพิจารณาว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎกติกาสำหรับการดำรงอยู่ร่วมกันของสมาชิกทั้งหมดในสังคม มิใช่เป็นเพียงกติกาในหมู่คณะรัฐประหาร กลุ่มผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือบรรดาผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในสภาปฏิรูปแห่งชาติเท่านั้น และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญก็จะมีผลบังคับเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับทุกคน ดังนั้น จึงย่อมเป็นสิทธิและความชอบธรรมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ของประชาชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญในทุกขั้นตอน

ด้วยหลักการดังกล่าวข้างต้นนี้ การรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงควรเป็นอำนาจและดุลพินิจของประชาชนอย่างแท้จริงในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวหรือไม่

อนึ่ง ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองไทยที่ประชาชนทุกกลุ่มต้องการมีอำนาจต่อรองและมีส่วนร่วมทางการเมืองตลอดจนมีอำนาจในการจัดการและเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับตัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มอบอำนาจระดับสูงแก่คนจำนวนน้อยเช่นนี้ย่อมเป็นการกีดกันคนส่วนใหญ่ออกไปจากพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งย่อมจะนำไปสู่ความตึงเครียดและความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ต้องร่วมกันผลักดันให้รัฐธรรมนูญกลับมาอยู่ในกำมือของประชาชน และเพื่อร่วมกันแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตัดสินใจร่วมกันว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ด้วยความเชื่อมั่นว่าการแก้ไขปัญหาและความยุ่งยากในสังคมไทยนั้นจะสามารถผ่านพ้นไปได้ก็ด้วยการยอมรับอำนาจและสิทธิของประชาชนอย่างเท่าเทียมในการร่วมกันกำหนดชะตากรรมของสังคมไทย มิใช่ปล่อยให้กลุ่มบุคคลบางกลุ่มซึ่งไม่เห็นความสำคัญของความเสมอภาค เสรีภาพ และการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นผู้กำหนดทิศทางของสังคมไทยตามอำเภอใจ
      
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน   
2 กันยายน 2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 ส.ค.-2 ก.ย. 2558

$
0
0
นิคมแหลมฉบังยอมรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์บางรายเริ่มปรับลดคนงานในบางไลน์ผลิต-ลดโอที
 
นายปรีชา จรเณร ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมในชลบุรีขณะนี้ยังดำเนินไปตามปกติ ไม่มีกระแสข่าวการปิดโรงงาน ทั้งที่ตั้งอยู่ในเขตนิคม และใกล้เคียง จะมีเพียงการลดเวลาโอทีตามทิศทางเศรษฐกิจ และคำสั่งซื้อรถยนต์ทั้งใน และต่างประเทศที่ลดน้อยลง
       
โดยในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง พบว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ไม่พบการปิดตัวของโรงงานอุตสาหกรรม แต่มีเพียงการปรับตัวทางธุรกิจตามข้อมูลพื้นฐาน และการปรับกระบวนการผลิตเพื่อสร้างผลตอบแทนในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่
       
“จากการที่ได้สัมผัสกับผู้ประกอบการในหลายภาคส่วน รวมทั้งชิ้นส่วนรถยนต์ และยานยนต์ พบว่า ครึ่งหลังของปี 2558 การประกอบธุรกิจน่าจะมีการปรับตัวค่อนข้างสูง โดยหลายโรงงานคาดว่าน่าจะมีการปรับลดจำนวนพนักงานในบางไลน์ผลิตที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะพนักงานไม่ประจำ ซึ่งก็เป็นไปตามปกติของการจ้างงานในพื้นที่ รวมทั้งชิ้นส่วนยานยนต์ ที่เมื่อถึงจุดหนึ่งเมื่อมีการเร่งกำลังการผลิตก็ต้องเพิ่มจำนวนคน แต่เมื่อถึงช่วงลดการผลิตก็ต้องลดจำนวนคน”
       
ขณะที่ค่าจ้างแรงงานภาคอุตสาหกรรมในนิคมยังคงเกินค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด จึงไม่น่าเป็นห่วง แม้ขณะนี้พนักงานในบางโรงงานอาจมีจำนวนโอทีลดลงก็ตาม ส่วนเรื่องการประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์ก็เข้าไปอธิบายให้พนักงานเข้าใจ ซึ่งคาดว่าในปีนี้ไม่น่าจะมีการประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแต่อย่างใด
       
นายชนินทร์ ขาวจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 4 (บีโอไอแหลมฉบัง) ที่ได้ให้ข้อมูลการลงทุนในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (1 มกราคม-31กรกฎาคม) ของภาคตะวันออกว่า มีโครงการได้รับอนุมัติการส่งเสริม 547 โครงการ มูลค่าการลงทุน 204,905 ล้านบาท จ้างงาน 44,804 คน โดยจังหวัดที่มีโครงการได้รับอนุมัติมากเป็นอันดับ 1 คือ ระยอง รองลงมา คือ ชลบุรี
       
“ช่วงไตรมาส 2 เรามีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในระดับที่ดีพอสมควร แม้จะลดลงจากไตรมาสแรกในแง่ของจำนวนโครงการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการลงทุนจะตกลง แต่เป็นเพียงตัวเลขที่ตกค้างจากปีที่แล้วเท่านั้น ส่วนแนวโน้มการปิดตัวของโรงงาน และการเลิกจ้างก็คงมีบ้าง แต่ในความเป็นจริง คือ ประเทศไทยยังมีปัญหาแรงงานที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น เมื่อมีการปิดโรงงานที่โคราช เราจึงได้เห็นว่ามีโรงงานอื่นมาตั้งโต๊ะรับสมัครแทน และเราก็ไม่ควรมองประเทศไทยในแง่ลบ เพราะความจริงของภาคอุตสาหกรรมก็เป็นเช่นนี้”
       
หากย้อนไปเมื่อสมัย 10-20 ปีก่อน ประเทศไทยมีโรงงานผลิตรองเท้าทุกยี่ห้อ มีโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากมาย แต่ในวันนี้แทบไม่มีให้เห็นก็เพราะโรงงานเหล่านั้นใช้แรงงานจำนวนมาก และต้นทุนส่วนใหญ่อยู่ที่แรงงาน ดังนั้น เมื่อค่าแรงแพง ผู้ผลิตก็ต้องหาพื้นที่การลงทุนที่มีต้นทุนถูกกว่าแทน
       
อย่างไรก็ดี ทีมข่าวได้สอบถามไปยังผู้ประกอบการในพื้นที่ก็ได้รับข้อมูลในทิศทางเดียวกันว่า การปิดโรงงาน และการปรับลดคนงานขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง รวมทั้งฉะเชิงเทรา จะยังไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะความแข็งแกร่งจากปัจจัยหนุนต่างๆ ทั้งสภาพถนน ท่าเรือ อยู่ไม่ไกลสนามบิน ยังทำให้นักลงทุนต่างชาติเห็นความสำคัญ และความสะดวกในการขนส่ง และการเดินทาง ขณะที่แรงงานฝีมือในพื้นที่ที่ยังขาดแคลน ทำให้เมื่อมีการย้ายออกจากโรงงานหนึ่งก็จะถูกว่าจ้างจากอีกโรงงานหนึ่งในทันที 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27/8/2558)
 
หนุนแม่วัยทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
 
"ภาคีร่วมใจ ช่วยแม่ไทย ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือBreastfeeding and Work-Lets make it work"  เป็นคำขวัญที่ถูกนำมาใช้ในสัปดาห์นมแม่โลก ปี 2515 ที่อยู่ระหว่าง วันที่ 1-7 สิงหาคมของทุกปี ซึ่งปีนี้  ในประเทศไทยได้รับความร่วมมือจาก กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน มูลนิธินมแม่แห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เรียกร้องให้ให้ทุกฝ่ายสนับสนุนให้ผู้หญิงวัยทำงาน ทั้งในระบบและนอกระบบสามารถทำงานไปควบคู่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ พร้อมทั้งส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดพื้นที่สำหรับบีบเก็บน้ำนมแม่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อเด็ก แม่ และสถานประกอบการเอง
 
พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิชเลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย อธิบายถึงการเจริญเติบโตของเด็กว่า เด็กคนหนึ่งจะเจริญเติบโตได้ดี นอกจากพันธุกรรมที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 50%แล้ว อีก 50% เป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นได้เอง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ 1.โภชนาการ 2.การเลี้ยงดู และ 3.สภาพแวดล้อม ซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หมายถึงการให้นมแม่ควบคู่กับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกที่จะช่วยการกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
 
เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย แนะนำด้วยว่าควรให้ลูกดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน พร้อมกับเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับอาหารตามวัย ต่อเนื่องไปจนถึง 2 ปี หรือมากกว่านั้น เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีและเหมาะสม สำหรับเด็กมากที่สุด อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งของแม่และเด็ก เพราะเด็กที่กินนมแม่จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย ช่วยสร้างพัฒนาการของสมองและเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดเชื้อต่างๆ โรคภูมิแพ้รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยของทั้งแม่และลูกจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease : NCDs) เช่นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ โรคความดันโลหิตสูงและโรคมะเร็ง เป็นต้น
 
"การมีมุมนมแม่ไว้ให้บริการในสถานประกอบการจะทำให้แม่มีความสะดวกสบายมากขึ้นในการใช้สถานที่บีบน้ำนมให้ลูก เพื่อให้ลูกได้ดื่มนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะถึงแม้แม่จะอยู่ที่ทำงานแต่ก็ยังสามารถบีบเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกดื่มที่บ้านได้ ซึ่งน้ำนมจะถูกสร้างในทุกๆ 3 ชั่วโมงถ้าไม่บีบน้ำนมอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้น้ำนมของแม่แห้งได้ ซึ่งเมื่อแม่สามารถให้นมลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ เด็กก็จะได้รับภูมิคุ้มกันจากโรคภัยต่างๆ ลดอัตราการเจ็บป่วย ทำให้แม่ไม่ต้องหยุดงานดูแลลูกขณะเจ็บป่วยสถานประกอบการเองก็จะได้รับประโยชน์จากส่วนนี้ด้วย" พญ.ยุพยงแนะนำเพิ่มเติม
 
ด้าน ดร.วิภาวี ศรีเพียร ผอ.กองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ข้อมูลว่าสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสอดคล้องกับสิทธิหญิงตั้งครรภ์ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 บางส่วนดังนี้  ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่งไม่เกิน90วัน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเต็มเป็นเวลา 45 วัน ส่วนค่าจ้างอีก 45 วันที่เหลือนั้น หญิงตั้งครรภ์สามารถไปขอประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม ในกรณีที่ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ นายจ้างหรือสถานประกอบการไม่สามารถเลิกจ้างระหว่างตั้งครรภ์ได้ นอกจากนั้นหญิงตั้งครรภ์ยังสามารถเปลี่ยนตำแหน่งงานได้หากเห็นว่าหน้าที่รับผิดชอบส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของแม่และเด็กเอง
 
"กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ส่งเสริมให้แม่วัยทำงานได้ตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พร้อมทั้งสนับสนุนให้แม่ใช้สิทธิการลาคลอดของตนเองให้เต็มที่ เพื่อจะได้มีเวลาให้ดูแลลูกอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีการจัดมุมนมแม่ในสถานประกอบการ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2549 ปัจจุบันมีสถานประกอบการให้ความร่วมมือ กว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ และใน พ.ศ.2558 นี้ ได้พยายามกระตุ้นให้มีการจัดตั้งมุมนมแม่กว่า 100 แห่ง ในสถานประกอบการ พร้อมทั้งให้ความรู้แก่นายจ้างถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย" ดร.วิภาวี กล่าวทิ้งท้าย
 
(บ้านเมือง, 27/8/2558)
 
กยศ.ประสาน ศธ.หักเงินเดือนคนค้างหนี้
 
(27 ส.ค.) ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ กยศ.มีโครงการรณรงค์ชำระหนี้เงินกู้ กยศ.นั้น ที่ผ่านมา กยศ.ได้พยายามติดตามทวงหนี้ผู้ค้างชำระมาโดยตลอด และขอความร่วมมือจากองค์กรนายจ้างเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินของผู้กู้ยืมเงิน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และแสดงถึงการเป็นองค์กรนายจ้างที่ดีที่เห็นถึงความสำคัญของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งที่ผ่านมา กยศ.ได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร บริษัท บาธรูมดีไซน์ จำกัด ในการหักเงินเดือนข้าราชการ พนักงานที่เป็นหนี้ค้างชำระกองทุน กยศ.แล้ว และเมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้หารือร่วมกับ รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอความร่วมมือในการหักเงินเดือนบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ที่ค้างชำระเงินกู้ กยศ. และ เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)ด้วยเช่นกัน ซึ่งรศ.นพ.กำจรได้เห็นด้วยในหลักการแล้ว “นอกจากนี้ กยศ.ยังมีแผนจะขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการหักเงินเดือนผู้ที่ค้างชำระเงินกู้ กยศ.เพิ่มขึ้นด้วย โดยกำลังประสานไปยังหน่วยงาน องค์กรนายจ้างต่าง ๆ อยู่ และหากหน่วยงานใดสนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายส่งเสริมความรับผิดชอบทางการเงินและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อลดการค้างชำระหนี้กองทุน กยศ.สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายเครือข่ายสัมพันธ์ กยศ.โทร.0-2610-4862”ดร.ฑิตติมากล่าว ด้าน รศ.นพ.กำจร กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับหลักการของ กยศ.ในการติดตามหนี้ และอยากเห็นคน ศธ.เป็นต้นแบบของสังคมที่กู้ยืมเงินมาแล้วเมื่อถึงกำหนดคืนก็ไปชำระคืน อย่างไรก็ตามการหักหนี้คนใน ศธ.ที่ค้างหนี้กองทุน กยศ.นั้น ไม่เป็นการบังคับ ให้ขึ้นกับความสมัครใจ แต่เท่าที่ดูเบื้องต้นคน ศธ.ที่ค้างชำระหนี้ กยศ.และกรอ.มีจำนวนไม่มากนัก โดยมีจำนวนผู้กู้ยืมเงิน กยศ.และ กรอ. ทั้งสิ้น 62,744 คน แยกเป็นกู้ยืม กยศ. 59,868 คน ไม่ค้างชำระ 40,431 คน ค้างชำระ 19,437 คน และ ผู้กู้ กรอ. 2,876 คน ไม่ค้างชำระ1,932 คน และค้างชำระ 944 คน
 
(เดลินิวส์, 27/8/2558)
 
เผย 3 เดือนที่ผ่านมาแรงงานโคราชขึ้นทะเบียนว่างงานแล้วกว่า 5,700 ราย
 
นายพงศวัฒน์ เพชรวิเชียร จัดหางานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยยอดผู้ขึ้นทะเบียนว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง และลาออกจากงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมามีแล้ว 5,700 คน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกติของช่วงนี้ที่มีการลาออกเลิกจ้าง
 
“ผู้มาขึ้นทะเบียนคนว่างงานส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานที่มาจากสถานประกอบการขนาดเล็ก และจะเป็นพนักงานทั่วไปหรือพนักงานในฝ่ายการผลิต ในส่วนของผู้ที่ลาออกจากงานนั้นเป็นผลมาจากนายจ้างปรับลดค่าล่วงเวลาพิเศษหรือโอที จึงลาออกไปสมัครงานที่ใหม่”
 
(โลกวันนี้, 29/8/2558)
 
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. ยังติดลบ 5.3% 
 
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนก.ค. ติดลบ 5.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มติดลบลดลงกว่าช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาที่ดัชนีผลผลิตอุตฯ ติดลบประมาณ 7-8% เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ มีการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น 9.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่นเดียวกับอุตฯอาหารที่การผลิตภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.7% 
 
“เชื่อว่าแนวนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจที่เน้นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งกลุ่มเอสเอ็มอีเป็นหลัก จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวมีรายได้และการบริโภคมากขึ้น จะส่งผลต่อเนื่องให้เศรษฐกิจในประเทศดีขึ้นได้ รวมทั้งนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลเชิงบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงต่อไป” 
 
สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนก.ค. ติดลบ 2.8% ซึ่งเป็นอัตราที่ลดลง ตามการส่งออกสินค้าสำคัญอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ภาพรวม 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค. 58 ) การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมติดลบ 2.9% สอดคล้องการภาพรวมการส่งออกของประเทศในช่วง 7 เดือนที่ติดลบ 4.7%ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนก.ค.อยู่ที่ 58.74 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการใช้อัตราการผลิตอยู่ที่ 60.07 
 
อย่างไรก็ตามขณะนี้คงไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกได้มากนัก จะเห็นได้ว่า บางประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบายโดยให้ความสำคัญเศรษฐกิจในประเทศมากกว่าการส่งออก สะท้อนให้เห็นว่า เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันคงเป็นเรื่องยากที่จะใช้การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นในประเทศมากขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นๆที่จะเห็นผลในปีนี้
 
(กรุงเทพธุรกิจ, 29/8/2558)
 
บอร์ด สปส.เห็นชอบให้ตัดยอดหนี้สูญนายจ้างค้างจ่ายเงินสมทบ 13 ล้านบาท
 
ปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม นายนคร ศิลปอาชา บอกว่า ที่ประชุมบอร์ดสปส.เห็นชอบตามที่สำนักเงินสมทบเสนอขอตัดยอดหนี้สูญของนายจ้างที่ค้างจ่ายเงินสมทบ เนื่องจากประสบปัญหาธุรกิจต้องปิดกิจการ เป็นวงเงินทั้งหมดกว่า 13 ล้านบาทซึ่งกรรมการสปส. บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า สำนักเงินสมทบควรติดตามนายจ้างให้ถึงที่สุด เพื่อจะได้รู้ว่ามีทรัพย์สินใดของนายจ้างที่สามารถยึดมาขายทอดตลาด และนำมาจ่ายเงินสมทบที่ค้างไว้ได้หรือไม่ ซึ่งไม่ควรที่จะตัดให้เป็นหนี้สูญได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สปส.จะหารือกระทรวงการคลัง หากเห็นชอบจะตัดยอดหนี้สูญในที่สุดนอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดสปส.ยังเห็นชอบแนวทางการลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศ ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.)ถือครองเพียงรายเดียวจากเดิมลงทุนได้เพียงเฉพาะตราสารหนี้ต่างประเทศ ก็ให้นำเงินไปลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศได้ด้วย โดยกำหนดให้แต่ละกองทุนรวมนำเงินกองทุนที่เกิดจากดอกผลไปลงทุนได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของดอกผลทั้งหมดในกองทุน อีกทั้งยังให้ป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน โดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวงเงินที่ไม่สูงกว่าจำนวนเงินของดอกผลในแต่ละกองทุนที่นำไปลงทุน
 
(เนชั่น, 30/8/2558)
 
ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ แล้วกว่า 2 แสนราย คิดเป็นเงินออมกว่า 190 ล้านบาท
 
นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. กล่าวถึงการเปิดให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ 7 วันแรก ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้สมัครเป็นสมาชิกแล้ว 205,132 ราย คิดเป็นเงินออม 191 ล้านบาท และยังคงเป้าสิ้นปีนี้(58) จะมีผู้สมัครเป็นสมาชิก 6 แสนราย แม้การดำเนินงานยังพบอุปสรรคบ้าง เช่น การทำข้อมูลผู้สมัครล่าช้า / ผู้สนใจสมัครมีอายุเกิน 60 ปี ส่วนกรณีผู้ทำประกันตนของสำนักงานประกันสังคม ต้องการโอนเป็นสมาชิกองทุนฯ ยังติดข้อกฎหมาย นอกจากนี้ ทางกองทุนฯ จะเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกฯ มากขึ้น เพราะเป็นกองทุนฯ ที่รัฐตั้งขึ้นดูแลประชาชนโดยตรง
 
สำหรับประชาชนที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ได้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ทั้งนี้ ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี ใช้บัตรประชาชนใบเดียวก็สามารถสมัครได้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนการออมแห่งชาติ 02 278-1815 หรือ www.nsf.or.th
 
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 30/8/2558)
 
คปค.จี้ผลักดัน ก.ม.ปฏิรูปประกันสังคมเป็นอิสระ 
 
เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่กระทรวงแรงงาน เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) จัดเสวนา สมัชชาปฏิรูปประกันสังคม 2558 “ 25 ปี ประกันสังคมต้องเป็นอิสระ”  โดยนายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเปิดเสวนาตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาประกันสังคมได้มีการปรับปรุงกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเพิ่มการตรวจสอบที่มาของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ที่จะต้องมีการยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะที่ผ่านมาการตั้งบอร์ดประกันสังคมมักจะมีการนำพรรคพวกของตัวเองเข้าไปบริหาร ฉะนั้นบอร์ดประกันสังคมต้องมีความชัดเจน สามารถตรวจสอบได้และโปร่งใส อย่างไรก็ตามถ้าให้เป็นองค์กรที่อิสระเลยก็ต้องมาดูว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ รวมทั้งหลักประกันจะสามารถดำเนินงานที่ดีกว่าปัจจุบันได้อย่างไร ทั้งนี้จะต้องมีการมาหารือกันอีกครั้งหนึ่งว่าสิ่งไหนดีกว่ากัน เพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนเป็นสำคัญ ด้านนายมนัส โกศล ประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) กล่าวว่า กองทุนประกันสังคมปัจจุบันมีเงินทุนอยู่ประมาณ 1.37 ล้านล้านบาท แต่ปัญหายังติดที่ระบบราชการจึงทำให้กองทุนไม่โตเท่าที่ควร ผู้ประกันตนยังขาดโอกาสที่จะได้รับสิทธิประโยชน์หรือผลประโยชน์เท่าที่ควร เพราะฉะนั้นการปฏิรูปต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ  คปค.จึงมีข้อเสนอนโยบายเพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนประกันสังคมมีความเป็นอิสระ ดังนี้ 1.เร่งปฏิรูปประกันสังคมให้มีความอิสระ 2.เร่งตราพระราชบัญญัติประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระภายใต้การกำกับของรัฐ นอกจากนี้ขอให้การดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อเรียกร้องของ คปค. ให้เสร็จสิ้นภายในรัฐบาลชุดนี้
 
(เดลินิวส์, 31/8/2558)
 
เผยโรงงานซัมซุงที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีนโยบายเลิกจ้างพนักงานแล้ว
 
ประชาชาติธุรกิจรายงานว่า สถานการณ์ล่าสุด โรงงานซัมซุงที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา มีนโยบายเลิกจ้างเช่นเดียวกัน แหล่งข่าวจากบริษัท ซัมซุง อิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อกลางเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ปลดพนักงานประมาณ 300 คน โดยมีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เพื่อลดต้นทุนดำเนินงานเนื่องจากสินค้าหลัก ๆ ที่ผลิต อาทิ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์หรือจูนเนอร์สำหรับทีวีมี กำไรน้อยมาก ที่ผ่านมาซัมซุงได้ย้ายโรงงานประกอบทีวีจากศรีราชาไป ประเทศเวียดนามแล้ว เนื่องจากชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์รับส่งสัญญาณ บลูทูท ไวไฟสำหรับโทรศัพท์มือถือ ซัมซุงมีโรงงานอยู่ในเวียดนามอยู่แล้ว การย้ายฐานการผลิตจากไทยไปรวมกันที่เวียดนามเป็นการบริหารจัดการซัพพลายเชน โดยตรง ประเด็นสำคัญยังรวมถึงค่าจ้างแรงงานในเวียดนามก็ถูกกว่าไทย
 
"ตอนนี้ที่โรงงานยังเหลือพนักงาน 500 คน อยู่ระหว่างเตรียมการ และท้ายที่สุดก็คงจะปิดโรงงานในไทยย้ายไปเวียดนามทั้งหมด" แหล่งข่าวกล่าว
 
(ประชาชาติธุรกิจ, 31/8/2558)
 
จ่อคลอด กม. คุม “บริษัท-โรงเรียน” ห้ามไล่ผู้ป่วยเอดส์ออก
 
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การตีตราผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ยังคงเป็นปัญหา ที่ผ่านมา พบว่า บางบริษัทไล่พนักงานออก เมื่อพบภายหลังว่ามีเลือดบวก หรือติดเชื้อเอชไอวี หรือโรงเรียนบางแห่งไม่ให้เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีเรียนต่อ ซึ่งทางเครือข่ายคุ้มครองสิทธิ หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ คร. จะพยายามเข้าไปหารือเพื่อขอให้อย่าดำเนินการเช่นนี้แต่ก็ไม่เป็นผล เพราะไม่มีอำนาจหรือกฎหมายมาบังคับ ซึ่งในการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ที่มี นายจอน อึ๊งภากรณ์ เป็นประธานก็มีการหารือถึงแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีกฎหมายมาบังคับเรื่องนี้ ซึ่งจะต้องมีการหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่อาจต้องใช้เวลา เพราะมีกระบวนการสื่อสารกันก่อนผลักดันเป็นกฎหมาย และเมื่อเป็นกฎหมายแล้วก็จะมีบทลงโทษด้วย เช่น หากไม่ยอมให้นักเรียนที่มีเลือดบวกเรียน ก็จะมีกฎหมายลงโทษในลักษณะปรับ
       
นพ.โสภณ กล่าวว่า การออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังต้องมีการหารือหลาย ๆ ฝ่าย เบื้องต้นทราบว่า ภาคประชาชนจะมีการไปหารือกัน แต่ระหว่างนี้ทาง คร. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หากประชาชนมีปัญหาถูกไล่ออกจากงานหรืจากที่เรียนเพราะผลเลือดเป็นบวก หรือถูกตีตราจากสังคมใด ๆ ก็ตาม สามารถร้องทุกข์ได้ที่สายด่วน คร.
       
น.ส.จารุณี ศิริพันธุ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ กล่าวว่า เบื้องต้นทางมูลนิธิจะมีการหารือเรื่องนี้ในวันที่ 4 กันยายน ก่อนจะหารือร่วมกับที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองด้านเอดส์ ในวันที่ 11 กันยายน ต่อไป
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 31/8/2558)
 
“พยาบาลวิชาชีพภาคอีสาน” เรียกร้องความเท่าเทียม จ่อฟ้อง รพ.ให้เงินเดือนไม่ถึง 1.5 หมื่น
 
เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ASTV ผู้จัดการ ได้รับรายงานมาว่า สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปภัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดประชุมสามัญและประชุมวิชาการประจำปี 2558 เรื่อง “การขับเคลื่อนวิชาชีพในยุคเศรษฐกิจอาเซียนด้วยการจัดการดูแลเชิงบูรณาการ” มี “พยาบาลวิชาชีพ” จากทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมประชุมจำนวนมาก
       
ต่อมามีการเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกจาก “พยาบาลวิชาชีพ” ท่านหนึ่งเขียนร้องเรียนผ่านไปยัง สำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า เป็น “พยาบาลวิชาชีพ” โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า ตัวเองทำงานเป็นพยาบาลมา 3 ปี ได้เงินเดือน 13,700 บาท ในจดหมายเล่าว่า มีความคับข้องใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมในวิชาชีพนี้ จึงอยากได้รับความเป็นธรรม
       
จดหมายจาก พยาบาลวิชาชีพ ฉบับนี้ ตั้งคำถามว่า เหตุใดพยาบาลวิชาชีพที่จบระดับปริญญาตรี ไม่ได้รับค่าตอบแทนเงินเดือน 15000 บาท เช่นดังสายอาชีพอื่น ๆ
       
“ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข แต่เหตุใดท่านแค่ชื่อแต่ทุกอย่างเหมือนเดิม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ, พยาบาลทำงานเป็นกะ (เวร) อดหลับอดนอน ค่าตอบแทนส่วนนี้น้อยมาก, พยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่ ได้แค่ ซี 7 ไม่สามารถทำ ซี 8 ได้ ยุติธรรม หรือ? นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการบรรจุ ที่ต้องการสอบบรรจุเหมือนกับสายอาชีพอื่น”
       
โดยในการประชุมสามัญและประชุมวิชาการประจำปี 2558 ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งนั้นมีการเล่าถึงปัญหาด้านต่าง ๆ ในวิชาชีพ และแนวทางการขับเคลื่อนหลังจากนี้
       
จากข้อเสนอพบว่า ปัญหาใหญ่ ๆ ที่พยาบาลกำลังประสบอยู่ในขณะนี้มี 3 ประเด็น คือ
       
ประเด็น 1. ความไม่เท่าเทียมในการจ้างงาน เพราะเงินเดือนขั้นต่ำของผู้จบปริญญาตรี คือ 15,000 บาท แต่พบว่ามีโรงพยาบาลหลายแห่งที่จ้างพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว โดยให้เงินเดือนเริ่มต้นที่ 12,000 - 13,000 บาท แล้วมีเงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุข (พ.ต.ส.) ให้อีก 1,500 - 2,000 บาท เงินค่าหอพักอีกประมาณ 1,500 บาท รวมแล้วเป็นเงินประมาณ 15,000 บาท ซึ่งเป็นความไม่เท่าเทียม เพราะเงิน พ.ต.ส. และค่าหอพักไม่ควรนำมานับรวมอยู่ในเงินเดือน
       
ประเด็นที่ 2 เรื่องเงินเดือนตันอยู่แค่ซี 7 พยาบาลบางคนอยู่ซี 7 มาเป็นสิบปี แต่เงินเดือนก็ตันอยู่แค่นั้น ไม่สามารถเลื่อนไหลได้ ทั้ง ๆ ที่เงินเดือนและตำแหน่งควรขยับเพิ่มขึ้นตามภาระงานและผลงาน
       
ประเด็นที่ 3 เรื่องสวัสดิการ เพราะการทำงานของพยาบาลมีความเสี่ยง แต่ไม่มีสวัสดิการรองรับ ตัวอย่างเช่น การส่งต่อผู้ป่วย หากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการส่งตัวจนเกิดการบาดเจ็บ พิการหรือเสียชีวิต ก็ไม่มีสวัสดิการรองรับ
       
“เราก็อยากให้สังคมได้ยินว่ามันมีความเหลื่อมล้ำมาก พยาบาลเหมือนทำงานราคาถูก อย่างเรื่องเงินเดือนไม่ถึง 15,000 ก็มีคุยกันว่า จะลองฟ้องสักโรงพยาบาลดูไหมว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร กระทรวงสาธารณสุขจะว่าอย่างไร หรือเรื่องการบรรจุเป็นข้าราชการ หลายคนก็บอกว่าถ้ายังไม่บรรจุจะแต่งชุดขาวไปชุมนุมที่ทำเนียบหรือลานพระรูปฯ เลยไหม เป็นต้น แต่ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ และส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับการไปชุมนุม เพราะสามารถแสดงออกอย่างอื่นได้หลายทาง เช่น ติดโบว์ดำ ขึ้นแผ่นป้ายแสดงจุดยืน หรือรวมตัวที่โรงพยาบาลโดยไม่ต้องไปที่ทำเนียบก็ได้ เป็นต้น”
       
เรื่องของรายได้และการบริหารงาน ในวงการพยาบาลวิชาชีพกลับมีปัญหาในอีกแง่มุมหนึ่งที่อาจจะส่อไปทางทุจริต โดยเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้ร้องเรียนมายัง “ASTV ผู้จัดการ” ในส่วนของประเด็น “เงินประจำตำแหน่งของพยาบาลวิชาชีพ” ในโรงพยาบาลรัฐ สังกัดกรมการแพทย์ แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ซึ่งพบว่า มีการเบิกโดยไม่โปร่งใสส่อไปทางทางทุจริต
       
ขณะนี้ได้มี “โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ในกรุงเทพฯแห่งหนึ่ง” มีการเบิกเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหลายคน อย่างไม่เหมาะสม “ส่อไม่เหมาะสม” และอาจจะสร้างความเสียหายในด้านงบประมาณ ให้กับรัฐและหน่วยงานต้นสังกัดได้
       
ผู้ร้องเรียนอ้างคำสั่งจากกรมการแพทย์ที่ 866/2547 ระบุว่า กรมการแพทย์ได้มีการแต่งตั้งบุคคลท่านหนึ่ง ในตำแหน่ง “พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. ด้านการพยาบาล” ให้ปฏิบัติราชการในฐานะ “หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผลของโรงพยาบาล” แต่บุคคลผู้นี้ยังคงได้สิทธิรับเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการ ในฐานะพยาบาลวิชาชีพเรื่อยมาหลายปี (3,500บาทต่อเดือน) ทั้งที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ “พยาบาลวิชาชีพ” เลยในปัจจุบัน มากว่า 7 ปี ถือว่า เป็นการกระทำผิดโดยสำเร็จหรือไม่
       
มีการตั้งข้อสังเกตและมีคำถามไปยังอธิบดีกรมการแพทย์ ผอ.สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ว่า สามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากกรมการแพทย์ มีหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติราชการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎระเบียบวินัยทางราชการในส่วนของกรมการแพทย์ เพราะตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2551 วรรค 2
       
ระบุว่า “ข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งผู้ใด หากได้รับคำสั่ง ให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นและมิได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งตั้งแต่วันที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ เว้นแต่ในกรณีที่ ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ หรือประเภททั่วไปและได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่มีลักษณะ เป็นงานวิชาชีพหรืองานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเหมือนหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่เดิม ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดิมของตำแหน่งต่อไป”
       
ผู้ร้องเรียนระบุว่า ต่อมายังพบว่า มีความพยายามกระทำผิด จากคำสั่งการแต่งตั้งบุคลากรของโรงพยาบาลแห่งนี้ ที่40(3)/2551 โดยให้ “พยาบาลวิชาชีพ” อีกหลายคนเข้ามาปฏิบัติราชการใน “ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์” ที่สังกัดรอง ผอ. กลุ่มภารกิจอำนวยการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในด้าน “วิชาชีพพยาบาล” เลย เพราะงานฝ่ายนี้ส่วนใหญ่เน้นไปในด้านงานประสานสิทธิผู้ป่วยประกันสังคม งานตรวจสอบและติดตามหนี้ หรืองานด้านสังคมสงเคราะห์ที่มีเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ประจำอยู่ ดังนั้น บุคคลเหล่านี้ ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการ เช่นกัน แต่บุคคลเหล่านี้ก็ยังได้รับเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการ (3,500 บาทต่อเดือน) เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้วหรือไม่
       
“อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโรงพยาบาลแห่งนี้ใหม่ จะเห็นได้จาก บันทึกข้อความที่ สธ 0314/70 ลงวันที่ 14 มกราคม 2558 ของกรมการแพทย์ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล เรื่องการปรับโครงสร้างการแบ่งงานภายในหน่วยงานกรมการแพทย์ พบว่า โรงพยาบาลแห่งนี้มีการเพิ่ม “กลุ่มภารกิจด้านการพัฒนาระบบสุขภาพ” ขึ้นมาใหม่ “มีคำสั่ง สธ 0303.21/1117 ลงวันที่ 12 มิ.ย. 58 ให้ปรับย้ายงานในกรอบภารกิจของเวชกรรมการสังคมเดิม ให้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของรองผอ.ด้านการพยาบาล กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ”
       
“เนื่องจากก่อนหน้านั้นไม่มีหน่วยงานนี้ในโรงพยาบาล เพราะหากมีผลบังคับใช้ พยาบาลวิชาชีพ เหล่านี้ก็จะไม่มีความผิด ถือว่าเป็นการล้างความผิดให้กันเอง แม้จะกระทำผิดสำเร็จแล้วหรือไม่”
       
ผู้ร้องเรียนระบุว่า ได้มีการทำหนังสือสอบถามเรื่องการติดตามตรวจสอบและดำเนินการกรณี “หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผลของโรงพยาบาล” เบิกเงินประจำตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ โดยไม่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาล ไปยังหลายหน่วยงาน เช่น สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ หรือ ฝ่ายสวัสดิการสังคมและประกันสุขภาพ รวมทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งนี้หลายครั้ง แต่กลับมีการตอบมาไม่ชัดเจน และมีการทำหนังสือสอบถามไปหน่วยงานต้นสังกัดคือ กรมการแพทย์ ตอบโต้กันไปมาไม่มีข้อยุติ
       
“เช่น เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 58 ผู้ร้องเรียน ได้ทำหนังสือสอบถามไปยัง ผอ.สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ และมีหนังสือที่ สธ 0319/5038 ลงวันที่ 14 พ.ค. 58 ชี้แจงผลการดำเนินการ เฉพาะเรื่องการเบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่งวิชาชีพพยาบาล ระบุว่า ในระบบการคลังภายในโรงพยาบาลแห่งนี้ ในเรื่องการเบิกจ่ายนั้นจะต้องดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบและยังมีหน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล เช่น กลุ่มงานตรวจสอบภายใน รวมถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินดำเนินการตรวจสอบ โดยเรื่องนี้มิใช่หน้าที่ของสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ ทั้งนี้ ได้ประสานงานด้วยวาจากับ ผอ.โรงพยาบาลแห่งนี้ ให้ดำเนินการตรวจสอบ หากไม่ถูกต้องให้ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป”
       
จากนั้นวันที่ 23 มิ.ย. 58 ผู้ร้องเรียน ได้สอบถามไปยัง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งนี้ในฐานะรอง ผอ.ด้านอำนวยการ ว่า บุคคลผู้นี้มีสิทธิ์ได้รับเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการ หรือไม่ แต่โรงพยาบาลก็ยังไม่มีคำตอบให้
       
อย่างไรก็ตามกว่า 3 เดือน ที่ผู้ร้องเรียนส่งหนังสือไปถามกลับยังไม่มีคำตอบ โดยวันที่ 3 ส.ค. 58 ได้ส่งหนังสือย้ำคถามเดิมสอบถามไปยัง ผอ.โรงพยาบาลอีกครั้ง โดยอ้างหนังสือของ ผอ.สำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ที่ระบุว่า “เรื่องนี้มิใช่หน้าที่ของสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคล กรมการแพทย์ และประสานทางวาจากับ ผอ.ดรงพยาบาลแล้ว” เนื่องจากพบว่า หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผลของโรงพยาบาล ยังคงได้รับเงินประจำตำแหน่งของ“พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการอยู่ และไมได้ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลแต่อย่างใด
       
ประกอบกับ เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 58 สำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ ได้มีหนังสือที่ สธ 0326/41 เรื่อง”ขอกำชับผู้บริหารทุกระดับของกรมการแพทย์ปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะในสถานปัจจุบันเพื่อประโยชน์ของกรมการแพทย์และราชการแผ่นดิน โดยอ้างประกาศ คสช. ที่ 69/2557 เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ปัญหาประพฤติมิชอบติดประกาศ โดยเฉพาะข้อ 4. กรณีหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย ให้ถือเป็นความผิดทางวินัยหรือความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี
       
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีคำสั่ง คสช. ฉบับดังกล่าวเผยแพร่ไป ได้มีหนังสือ สธ 0307/7534 ลงวันที่ 11 ส.ค. 58 จาก ผอ.โรงพยาบาล มายัง ผอ.สำนักบริหารทรัพยากร กรมการแพทย์ เพื่อขอความอนุเคราะห์พิจารณาข้อเท็จจริงกรณีการเบิกเงินประจำตำแหน่ง มีใจความตอนหนึ่งว่า “บุคคลผู้นี้เบื้องต้นมีสิทธิ์รับเงินประจำตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2541 และได้รับการแต่งตั้งจากกรมการแพทย์ ให้เป็น “หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผลของโรงพยาบาล” เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2547 จนถึงปัจจุบันและยังคงรับเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการ (3,500 บาท) อยู่ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 วรรค 2
       
“แต่เนื่องจากกรณีนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ ซึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะทางมาพิจารณาให้ข้อคิดเห็น จึงขิให้ ผอ.สำนักบริหารทรัพยากร กรมการแพทย์ พิจารณาข้อเท็จจริง ว่า บุคคลผู้นี้ยังมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวหรือไม่ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติต่อไป พร้อมแนบเอกสารคำสั่งที่ 866/2547 เรื่องแต่งตั้งของกรมการแพทย์ เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 47 มาด้วย”
       
ต่อมาอีก 8 วัน นอกจากนั้น ผอ.โรงพยาบาล ยังทำหนังสือที่ 0307/7722 ลงวันที่ 18 ส.ค. แจ้งว่า บุคคลผู้นี้มีสิทธิรับเงินประจำตำแหน่งของ “พยาบาลวิชาชีพ” ชำนาญการ (3,500 บาท) อยู่ ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 วรรค 2
 
“อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาล ได้พิจารณาปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาด้านระเบียบ ซึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะทาง โรงพยาบาลจึงได้หารือไปทางสำนักบริหารทรัพยากร กรมการแพทย์ เพื่อจะได้ยึดถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อน หากโรงพยาบาลได้รับแจ้งจากสำนักบริหารทรัพยากร กรมการแพทย์ จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง”
       
ล่าสุด มีหนังสือที่ สธ 0319/9089 ลงวันที่ 19 ส.ค. 58 เรื่องขอชี้แจงเพิ่มเติมกรณีการเบิกเงินประจำตำแหน่ง จากรักษาการ ผอ.สำนักบริหารทรัพยากร กรมการแพทย์ ถึง ผอ.โรงพยาบาล ระบุว่า กลุ่มงานกฎหมาย วินัย และพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรมการแพทย์ พิจารณาแล้วเห็นว่า หากพิจารณากรณีนี้ ย่อมจะเป็นเรื่องที่อาจกระทบกระเทือนถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลได้โดยตรง ลำพังเพียงเอกสารคำสั่งแต่งตั้ง ยังมิอาจพอเพียงที่จะพิจารณาข้อเท็จจริงได้ทั้งหมด จึงขอให้ทางโรงพยาบาลชี้แจงข้อมูล
       
ประกอบด้วย 1. บุคคลผู้นี้ขณะดำรงตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. (ก่อนรับคำสั่งแต่งตั้งจากกรมการแพทย์ให้ปฏิบัติหน้าที่“หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล”อยู่ในสังกัดกลุ่มงาน/กลุ่มภารกิจใด และได้มอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่หลักของตำแหน่งดังกล่าวอย่างไร 2. ภายหลังที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรมการแพทย์ ให้ปฏิบัติราชการในฐานะ “หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล” แล้ว ยังคงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ตามข้อ 1. อยู่อีกหรือไม่/อย่างไร และ 3. ตำแหน่ง “หัวหน้าฝ่ายแผนงานและประเมินผล” ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ปัจจุบันมีลักษณะอย่างไร”
       
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณา ตามระเบียบ
 
แม้ผู้ร้องเรียน จะตั้งข้อสังเกตว่า แม้ทางกลุ่มงานกฎหมาย วินัย และพิทักษ์ระบบคุณธรรม กรมการแพทย์ จะรับเรื่องไว้พิจารณา แต่การดำเนินการต่าง ๆ นี้ เชื่อว่า กระทำผิดโดยสำเร็จแล้ว รวมถึงมีความพยายามที่จะช่วยบุคคล และคณะ ที่ร่วมกระทำผิดในเรื่องนี้ โดยผู้ร้องเรียนยัง ได้ยื่นเรื่องส่วนหนึ่งให้กับ ป.ป.ช. เพื่อขอสอบสวนผู้บริหารโรงพยาบาลแห่งนี้แล้ว
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 31/8/2558)
       
ก.แรงงาน พร้อมผลักดันอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือเพิ่มอีก 20 อาชีพ
 
างเพชรรัตน์ สินอวย ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานเปิดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็น (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 20 สาขาอาชีพ ณ โรงแรมอีสติน มักกะสัน กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “โครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็น (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 20 สาขาอาชีพ” จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน พร้อมทั้งนำผลที่ได้จากการสัมมนาฯ ไปปรับปรุง (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 20 สาขาอาชีพ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการค่าจ้างเพื่อประกาศใช้ต่อไป ซึ่งการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเป็นกลไกลหนึ่งที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศต่างๆทั่วโลก ขณะนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้เร่งดำเนินการในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้พร้อมในการแข่งขัน โดยสถานประกอบการสามารถผลักดัน สนับสนุนให้ลูกจ้างเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน
 
"อัตราค่าจ้างที่กำหนดต้องเป็นค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับการทำงานในตำแหน่งหรือการใช้ความรู้ความสามารถทักษะฝีมือในระดับนั้นจริง จึงจะเกิดประโยชน์และเป็นธรรมทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง" นางเพชรรัตน์กล่าว
 
ด้าน นายสิงหเดช ชูอำนาจ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ค่าจ้างเริ่มต้นสำหรับมาตรฐานฝีมือแต่ละสาขาอาชีพเป็นแรงจูงใจให้แรงงานมีความต้องการที่จะฝึกฝนเพื่อให้ตนเองผ่านการทดสอบซึ่งต้องมีฝีมือทักษะ จรรยาบรรณ รักในอาชีพนั้นๆ และเป็นการพัฒนาฝีมือตนเองเพื่อให้ค่าจ้างที่สูงขึ้นตามความสามารถ และเป็นผลดีต่อสถานประกอบการที่สามารถยกระดับสินค้าของตนจากการมีแรงงานที่ได้มาตรฐานในการผลิต
 
ทั้งนี้5 กลุ่มอุตสาหกรรม 20 สาขาอาชีพที่กระทรวงแรงงานเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากเดิมที่ประกาศไปแล้ว 35 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1)กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 สาขาอาชีพ คือพนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง พนักงานประกอบมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และช่างเทคนิคระบบรักษาความปลอดภัย2)กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ จำนวน 4 สาขาอาชีพ คือช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ช่างเชื่อมมิก-แม็ก สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และช่างเทคนิคเครื่องกลึงอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 3)กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 4 สาขาอาชีพ คือช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ช่างเทคนิคพ่นซีลเลอร์ตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย)และช่างเทคนิคเชื่อมสปอตตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 4)กลุ่มอุตสาหกรรมอัญมนี จำนวน 4 สาขาอาชีพ คือช่างเจียระไนพลอย ช่างหล่อเครื่องประดับ ช่างตกแต่งเครื่องประดับ และช่างฝังอัญมณีเครื่องประดับ และ 5)กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ จำนวน 4 สาขาอาชีพ คือผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า และนักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน
 
(ประชาติธุรกิจ, 1/9/2558)
 
ชาวบ้านรอบโรงงานพลาสติกไฟไหม้ โอดสำลักควันพิษทั้งวัน
 
(1 ก.ย.) ร.ต.ท.เปรม สิทธิอุดม พนักงานสอบสวน สภ.บ้านโพธิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าในคดีเหตุเพลิงไหม้โรงงานรีไซเคิลพลาสติกของบริษัท พี.วี.เจ.พลาสติก จำกัด ตั้งอยู่ริมถนนสาย 3304 ดอนสีนนท์-แปลงยาว เลขที่ 10 ม.5 ต.แหลมประดู่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อช่วงเช้ามืดของเมื่อคืนวานนี้ว่า ขณะนี้ได้มีบุตรชายของ นางแสงตะวัน ชูแจ่ม เจ้าของโรงงาน ทราบเพียงชื่อเล่นว่า “โอ” ได้เข้ามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว
       
นายโอ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้เป็นมารดาได้มีอาการป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล หลังจากทราบว่า เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานตั้งแต่เมื่อช่วงสายของเมื่อวานนี้ จึงทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อกับทางนางแสงตะวัน ได้ทางโทรศัพท์
       
สำหรับวันนี้มีเจ้าหน้าที่จากกองวิทยาการพิสูจน์หลักฐาน ภ.จว.ฉะเชิงเทรา จะเข้ามาทำการตรวจสอบในที่เกิดเหตุอีกครั้ง ส่วนในทางคดีนั้นยังไม่มีความคืบหน้ามาก เพราะต้องรอผลจากการพิสูจน์หาหลักฐานในที่เกิดเหตุก่อน
       
ขณะเดียวกัน นางทองปลิว หิ้งทอง อายุ 68 ปี อยู่บ้านเลขที่ 3/1 ม.5 ต.แหลมประดู่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ทางใต้ของทิศทางลมขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ และเป็นจุดที่ทางเจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม จากจังหวัดชลบุรี ได้เข้ามาทำการติดตั้งเครื่องตรวจวัดค่าของมลพิษในอากาศ อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 1 กม.
       
“หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้ามืดของเมื่อวานที่ผ่านมา ตน และคนในครอบครัว เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรง ที่รับแบบเต็มๆ ทั้งกลิ่นเหม็นไหม้ของควันไฟจนแสบคอ แสบจมูก วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ซึ่งปกติตนก็เคยป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจมาก่อนอยู่แล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะหนีไปทางไหน ทั้งถูกควันพิษเข้าตาจนแสบมีน้ำตาไหลนองตลอดทั้งวัน และรู้สึกระคายเคืองต่อผิวหนัง คันไปจนทั่วทั้งตัว” นางทองปลิว กล่าว
       
นางทองปลิว กล่าวต่อไปว่า ตนต้องการให้ทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบเข้ามาดูแล หรือให้ผู้นำชุมชนดำเนินการอะไรสักอย่างหนึ่งต่อโรงงานแห่งนี้ เพราะเคยเกิดเหตุเพลิงไหม้แบบนี้บ่อยครั้งมาก 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์ , 1/9/2558)
 
สปส.แก้ "กม.ประกันสังคม" แยก "ผู้ประกันตนต่างด้าว"
 
นายโกวิท สัจจวิเศษ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สปส.อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อปรับปรุงระบบประกันสังคมสำหรับแรงงาน ต่างด้าว ซึ่งเบื้องต้นศึกษาใน 2 แนวทาง คือ 1.ให้นายจ้างที่เป็นผู้จ้างแรงงานต่างด้าว ซื้อประกันชีวิตให้ลูกจ้างแทนการเข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองใน 3-4 กรณี 2.การจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ. ...สำหรับแรงงานต่างด้าวขึ้นมาโดยเฉพาะ
 
"สปส.ศึกษาตัวอย่างจากประเทศต่างๆ พบว่าในหลายประเทศมีการแยกกฎหมายประกันสังคมของพลเมืองในประเทศกับแรงงาน ต่างด้าวที่เข้ามาทำงานออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ เนื่องจากแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานเพียงไม่กี่ปีก็ต้องเดินทางกลับประเทศ ต้นทาง และยังพบว่า ในประเทศต่างๆ ที่มีกฎหมายประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าว รัฐบาลไม่ต้องร่วมจ่ายเงินสมทบ มีเพียงฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเท่านั้นที่จ่ายเงินสมทบ โดยไม่ได้ให้สิทธิประโยชน์ในกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และว่างงาน เนื่องจากมองว่าเป็นการเดินทางมาทำงานในระยะเวลาหนึ่ง" นายโกวิทกล่าว และว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป จะต้องมีการหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเครือข่ายผู้ที่ทำงานกับแรงงานต่างด้าว เนื่องจากมีข้อเรียกร้องขอมีส่วนร่วมจัดทำร่างกฎหมาย เพื่อให้การจัดทำร่างกฎหมายเป็นไปอย่างเหมาะสมและรอบด้าน แต่คาดว่าภายในปลายปีนี้จะแล้วเสร็จ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามนโยบายการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวและตามกฎหมายการทำงานของแรงงาน ต่างด้าวนั้น นายจ้างที่มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ มีหนังสือเดินทาง และได้รับใบอนุญาตทำงาน จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2558 เมื่อลูกจ้างแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและนำส่งเงินสมทบจะ ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี เท่าคนไทย ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน โดยปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบประกันสังคมแล้วประมาณ 400,000 คน จากยอดจดทะเบียน 1.6 ล้านคน และมีการใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรปีละกว่า 100 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละกว่า 10 ล้านบาท โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรสาคร และ จ.ระนอง ทั้งนี้ สปส.คาดการณ์ว่าจะต้องจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ สปส.มีแนวคิดที่จะจัดทำร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ
 
(ประชาชาติธุรกิจ, 2/9/2558)
 
สำนักสถิติเปิดตัวเลขว่างงานเดือน ส.ค.58 พบเด็กจบใหม่ว่างงานมากสุด เพิ่มขึ้นจากปีช่วงเดียวกันก่อน 46,000 คน
 
รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า ได้สำรวจอัตราการว่างงานของคนไทยเดือน ส.ค.58 พบว่า จากจำนวนผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 38.94 ล้านคน มีผู้ว่างงานมากถึง 377,999 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเมื่อพิจารราถึงระดับการศึกษาของผู้ว่างาน ส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานในระดับอุดมศึกษาถึง 157,000 คน เพิ่มขึ้น 46,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 89,000 คน ระดับมัธยมปลาย 74,000 คน ระดับประถมศึกษา 44,000 คน และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 13,000 คน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาออกเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวน ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 37,000 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน กรุงเทพฯ เพิ่มขึ้น 27,000 คน ภาคกลางเพิ่มขึ้น 21,000 คน และภาคใต้เพิ่มขึ้น 9,000 คน ขณะที่ภาคเหนือมีผู้ว่างงานลดลง 4,000 คน และเมื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดว่าภาคใดมีคนว่างงานมากที่สุดในเดอนส.ค. พบว่า ภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุด คือ 1.3% รองลงมาคือกรุงเทพฯ 1.1% ภาคกลาง 1% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.9% และ ภาคเหนือ 0.7% ตามลำดับ ส่วนภาพรวมของการทำงานของคนไทย พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปมี 55.29 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน 38.94 ล้านคน หรือคิดเป็น 70.4% เป็นผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน 16.35 ล้านคน หรือคิดเป็น 29.6%สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน แยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้มีงานทำ 38.49 ล้านคน หรือคิดเป็น 98.8% ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน ,ผู้ว่างงาน ซึ่งเป็นผู้ไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงาน 377,000 คน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1%ผู้ที่รอฤดูกาล ซึ่งผู้ที่ไม่ได้ทำงาน และไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดูกาลต่อไป มีจำนวน 71,000 คน คิดเป็น 0.2% อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงลักษณะการทำงาน พบว่า จากผู้มีงานทำ 38.49 ล้านคน เป็นผู้ทำงานภาคเกษตรกรรม 13.51 ล้านคน คิดเป็น 35.1% ของผู้มีงานทำ และทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 24.98 ล้านคน คิดเป็น 64.9% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า ในภาคเกษตรกรรมผู้ทำงานลดลง 130,000 คน จาก 13.64 ล้านคน เป็น 13.51 ล้านคน ขณะที่นอกภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้ทำงานเพิ่มขึ้น 250,000 คน จาก 24.73 ล้านคน เป็น 24.98 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นการเพิ่มขึ้นในสาขากิจกรรมอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด 90,000 คน ขณะที่สาขากิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ เช่น กิจกรรมบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพร่างกาย การดูแลสัตว์เลี้ยง การบริการซักรีดและซักแห้ง 80,000 คน สาขาการก่อสร้าง 60,000 คน สาขาการผลิต สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และสาขา การศึกษาเพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 40,000 คน และสาขาการบริหารราชการ การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 20,000 คน ส่วนสาขาที่ลดลงมากที่สุดคือสาขาการขายส่งการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และรถจักรยานยนต์ 190,000 คน และสาขากิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 80,000 คน สำหรับสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขา ที่พักแรมและบริการด้านอาหารไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และที่เหลือกระจายอยู่ในสาขาอื่น ๆ“
 
(เดลินิวส์, 2/9/2558)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘สปช.นิรันดร์’ หวั่นรธน.ไม่ผ่านประชามติ เสนอใช้เสียงข้างมากของ ‘ผู้มาใช้สิทธิ’ แทน ‘ผู้มีสิทธิ’

$
0
0

2 ก.ย. 2558 บุญเลิศ คชายุทธเดช และ นิมิต สิทธิไตรย์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ร่วมกันแถลงข่าวประกาศจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 กันยายน 2558 นี้ ว่า แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีเนื้อหาที่ดีอยู่มากแต่ก็มีส่วนน้อยที่บกพร่อง ซึ่งบางภาคส่วนยังไม่ยอมรับ รวมไปถึงหากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักการและเนื้อหาสาระในร่างรัฐธรรมนูญ เกรงว่าผลการลงมติที่ออกมาอาจสร้างความไม่ปรองดองรอบใหม่ขึ้นได้ และหากผ่านการลงมติจาก สปช. แล้วนำไปสู่การทำประชามติและไปบังคับใช้อาจสร้างปัญหาได้ ทำให้กระทบต่อร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและต่อประเทศ ดังนั้นจึงขอให้มีการทบทวนให้รอบคอบ และปรับแก้ให้สมบูรณ์จนเป็นที่ยอมรับเกิดความสบายใจและมั่นใจของทุกฝ่าย ซึ่งมองว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า

นิรันดร์ พันทรกิจ สมาชิก สปช. แถลงเรียกร้องไปยังสมาชิก สปช. ให้ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพราะมองว่าหากลงมติรับร่างจนเข้าสู่กระบวนการทำประชามติแล้ว จะทำให้สูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการดำเนินการ แต่ร่างรัฐธรรมนูญจะยังไม่สามารถผ่านความเห็นชอบจากประชาชนได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติต้องผ่านเสียงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งหากนับแล้วคือต้องมากกว่า 23.5 ล้านคน จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดประมาณ 47 ล้านคน ทั้งนี้ ตนดูจากสถิติการทำประชามติครั้งที่ผ่านมาพบว่ามีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเพียง 25 ล้านคน และผ่านความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งเป็นจำนวน 14 ล้านคน เท่านั้น จึงนับว่ายังห่างจากคะแนนเสียงที่จะให้ทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านประชามติอยู่มาก ประกอบกับครั้งนี้มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่แสดงความไม่เห็นด้วย จึงอาจเป็นปัจจัยเสริมในการให้ผู้มีสิทธิออกเสียงโหวตไม่ผ่านประชามติมากขึ้นกว่าเดิม

นิรันดร์ กล่าวต่อไปว่า ขอเสนอแนะให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แก้ไขรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) พ.ศ.2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 37 วรรค 7 โดยเปลี่ยนจากเดิมที่กำหนดให้การผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้เป็นการผ่านประชามติด้วยเสียงข้างมากของผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้มีความเป็นไปได้ ในการผ่านร่างรัฐธรรมนูญ

 

เรียบเรียงจาก : สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา 1และ 2

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สะพัด! กต. ยกเลิกพาสปอร์ต 'จาตุรนต์ ฉายแสง' หลังวิจารณ์ คสช.

$
0
0

2 ก.ย. 2558 กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานอ้างแหล่งข่าวกระทรวงการต่างประเทศว่า กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำเนินการยกเลิกหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตแบบบุคคลทั่วไป (เล่มสีแดง) ของนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีต รมว.ศึกษาธิการ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ส่งหนังสือเพื่อยื่นคำร้องขอให้กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินงานยกเลิกพาสปอร์ต เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

โดยแหล่งข่าวระบุว่า ขณะนี้มีผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในหนังสือระบุถึงสาเหตุการยกเลิกพาสปอร์ตของนายจาตุรนต์ ในเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่นายจาตุรนต์ เป็นผู้ต้องหาคดีขัดคำสั่งคสช.ที่ไม่เข้ารายงานตัว ในการกระทำการยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบ หรือละเมิดกฎหมายแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 กรณีการร่วมปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ

นอกจากนี้ แหล่งข่าวระบุด้วยว่า กระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถยกเลิกพาสปอร์ตได้เอง นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สตช. อสส. ศาล จะทำเรื่องส่งมายังกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548

ประชาไท สอบถามไปยังผู้ใกล้ชิดของจาตุรนต์ ได้คำตอบว่า ได้ทราบข่าวนี้จากแหล่งข่าวในกระทรวงการต่างประเทศเช่นกัน แต่ยังไม่มีหนังสือหรือการแจ้งข่าวอย่างเป็นทางการจากกรมกงสุลแต่อย่างใด

หมวด 7

การปฏิเสธหรือยับยั้งคำขอหนังสือเดินทาง

ข้อ 21 พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอ หรือแก้ไขหนังสือเดินทางในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อผู้ร้องมีหนังสือเดินทางประเภทเดียวกันที่ยังคงมีอายุใช้ได้อยู่ เว้นแต่จะได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด

(2) เมื่อได้รับแจ้งว่าผู้ร้องเป็นผู้ซึ่งกำลังรับโทษในคดีอาญา หรืออยู่ระหว่างการปล่อยตัวชั่วคราว หรือเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ได้มีการออกหมายจับไว้แล้ว ซึ่งศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจเห็นว่าไม่ควรจะออกหนังสือเดินทางให้

(3) เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายอื่นสั่งห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

(4) เมื่อผู้ร้องกระทำผิดกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติทางราชการ ซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือปิดบังความจริงอันเป็นสาระสำคัญ หรือแสดงเอกสารหลักฐานอันเป็นเท็จในการขอหนังสือเดินทาง หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากเดินทางออกนอกราชอาณาจักร จะเป็นภัยต่อสวัสดิภาพของผู้เดินทางเอง หรือจะกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงปลอดภัย หรือชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทย

ข้อ 22 พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธหรือยับยั้งการขอและออกหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ร้องซึ่งหนังสือเดินทางเดิมสูญหายเกินกว่า 2 ครั้งในรอบ 1 ปี นับจากวันขอครั้งแรก จนกว่าบุคคลผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการสูญหายโดยสุจริต

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาก 37 ถึง 58 : 21 ปี บนเส้นทางการผลักดัน สนง.ประกันสังคมเป็นอิสระจากระบบราชการ

$
0
0

"สิ่งที่ยังเป็นห่วงในกองทุนประกันสังคมคือ กองทุนในปัจจุบันเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การบริหารงานในระบบราชการก็จะไม่คล่องตัว ไม่สามารถลงทุนหรือตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการขาดความคล่องตัวอาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนในอนาคต เพราะจะส่งผลให้ผลตอบแทนลดลงเรื่อยๆ ซึ่งการปรับโครงสร้างการลงทุนให้เป็นอิสระ เป็นสิ่งที่ผมผลักดันมากว่า 10 ปีแล้ว

โดยอยากให้หน่วยงานลงทุนของ สปส. มีความเป็นอิสระ วางระเบียบในลักษณะเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่สามารถวางกรอบอัตรากำลังได้เอง มีผู้เชี่ยวชาญในการลงทุนเฉพาะด้านคอยดูแลการลงทุนในส่วนต่างๆ ทั้งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสามารถกำหนดค่าตอบแทนบุคลากร จัดซื้อจัดจ้างได้เองทั้งหมด โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับของ สปส. ซึ่งมองว่าควรจะดำเนินการในรัฐบาลนี้เพราะไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์จากคะแนนเสียงของผู้ประกันตน"

นี้คือข่าวเล็กๆ ข่าวหนึ่งที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์มติชนเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ภายหลังจากที่นายวิน พรหมแพทย์ หัวหน้ากลุ่มงานลงทุน สำนักบริหารการลงทุน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ซึ่งรับราชการมาตั้งแต่ปี 2545 ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป โดยระบุเหตุผลว่า การบริหารงานภายใต้ระบบราชการในปัจจุบัน ทำให้การลงทุนของกองทุนประกันสังคมขาดความคล่องตัว และสามารถนำไปสู่ผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนในอนาคตได้อย่างมาก

แม้ว่าอีกเพียง 2 เดือนข้างหน้านี้ คือ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ที่ พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ โดยสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การขยายความคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกจ้างให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมมากขึ้น, การเพิ่มประโยชน์ทดแทนและลดหรือยกเลิกเงื่อนไขที่เป็นการจำกัดสิทธิแก่ผู้ประกันตน รวมถึงการปรับปรุงในเรื่องของการบริหารงานของคณะกรรมการต่างๆ ทั้งองค์ประกอบ คุณสมบัติ ที่มา จำนวน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ขาดหายไปจากกฎหมายฉบับใหม่นี้ คือ ความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคมในการบริหารงาน เพราะปัญหาสำคัญของกองทุนประกันสังคม คือ การบริหารจัดการโดยภาคราชการที่ยังขาดการมีส่วนร่วมจากผู้ประกันตน ไม่มีการกระจายอำนาจตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ยังขาดความเป็นมืออาชีพ รวมถึงไม่มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเป็นหลักประกันการบริหารงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะสามารถถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองได้อยู่ตลอดเวลา

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 อย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้ได้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมมีการบริหารงานอย่างเป็นอิสระจากระบบราชการตลอดมา

(1)

จุดเริ่มแรกของความคิด : มติคณะรัฐมนตรี 16 พฤษภาคม 2538 คัดเลือกสำนักงานประกันสังคมเป็นกรมต้นแบบ[1]

จุดเริ่มต้นครั้งแรกของความพยายามในการผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมมีการบริหารงานอย่างเป็นอิสระจากระบบราชการ เกิดขึ้นจากภาครัฐโดยตรง กล่าวคือ จากเอกสารสรุปเรื่องการพัฒนาระบบประกันสังคมในประเทศไทยตามข้อเสนอของ IMF เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2537 จัดทำโดยกองวิชาการและแผนงาน สำนักงานประกันสังคม ได้เสนอการจัดองค์กรบริหารในระยะยาวของ สปส. ว่าควรจัดตั้งเป็นหน่วยงานอิสระของรัฐขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาเป็นผู้ตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยตรง มีงบประมาณของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่และจัดหาวัสดุ  ครุภัณฑ์ให้เพียงพอที่จะบริหารงานได้ทันสมัย เนื่องจากปริมาณงานในหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นตลอดเวลา 

ความพยายามดังกล่าวนำมาสู่การมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 เรื่องการส่งเสริมประสิทธิภาพในส่วนราชการ  คือ ปรับบทบาท ภารกิจ และขนาดขององค์กรภาครัฐให้เหมาะสม ตลอดจนยกขีดความสามารถในการทำงานให้สูงขึ้น โดยนำระบบ Thailand International Public Sector Standard Management System and outcomes (P.S.O.) เข้ามาใช้ในหน่วยราชการ เพื่อให้เป็นองค์กรทันสมัย ให้สามารถวัดผลงานได้ทุกระดับ ทั้งระดับองค์กรและระดับตัวบุคคล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ได้คัดเลือกสำนักงานประกันสังคมเป็นกรมต้นแบบในเรื่องนี้

ในปี พ.ศ.2539 สำนักงานประกันสังคมจึงได้ว่าจ้างบริษัทแอนเดอร์เซ่น คอนซัลติ้ง จำกัด (Andersen Consulting Ltd.) เข้ามาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของสำนักงานประกันสังคมเป็น 7 หน่วยงาน และหน่วยงานด้านการลงทุนเป็น 1 ใน 7 หน่วยงานที่ถูกปรับและยกบทบาทขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า หน่วยงานบริหารเงินทุนและผลประโยชน์ (Fund management Agency) ซึ่งเสนอให้เป็นองค์กรภาคราชการประเภทใหม่ อาจเป็นหน่วยราชการพลเรือนหรือไม่ก็ได้ แต่ให้มีอิสระในการดำเนินงาน มีความคล่องตัว และมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมตามตลาด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ของภารกิจได้

ทั้งนี้ในช่วงเวลานั้นการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของบริษัทที่ปรึกษาด้านการปรับปรุงองค์กรยังไม่สามารถบรรลุผลได้ในทันที เนื่องจากต้องศึกษาผลดี ผลเสีย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง มีเพียงเฉพาะหน่วยงานด้านการลงทุนนั้น ได้มีการจัดทำเป็นโครงการนำร่องแยกมาต่างหาก

โดยมีคำสั่งสำนักงานประกันสังคมให้แยกฝ่ายบริหารเงินกองทุนออกจากกองการเงินและบัญชีกองทุน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2542 ตั้งเป็นกองภายใน ใช้ชื่อว่าสำนักบริหารการลงทุน มีฐานะเทียบเท่ากอง ขึ้นตรงต่อเลขาธิการหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมาย โดยมีภารกิจเกี่ยวกับการนำเงินกองทุนประกันสังคมไปลงทุน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของกองทุน และให้เตรียมการศึกษา เพื่อปรับโครงสร้างการจัดการให้เหมาะสมต่อไป

เหตุผลสำคัญที่ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กร เนื่องจากในช่วงนั้นมีการขยายความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เป็นต้นมา ทำให้เงินสบทบจากนายจ้างและลูกจ้างที่สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นและสูงขึ้นเรื่องๆทุกปี ซึ่งหากพัฒนาหน่วยงานไม่ถูกต้อง วางโครงสร้างการบริหารงานจัดการไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อความอยู่รอดของกองทุนประกันสังคมในอนาคตได้ อีกทั้งภาระที่มากขึ้นทำให้สำนักงานประกันสังคมจำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการที่สะดวกรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น ถ้าหากยังบริหารงานภายในระบบราชการก็จะถูกแทรกแซงจากภาคการเมือง ไม่มีอิสระในการบริหารงาน

(2)

พระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. 2542 และโครงการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน[2]

ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. 2542 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2542 รวมถึงก่อนหน้านั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เห็นชอบในหลักการที่จะให้จัดกลุ่มภารกิจของรัฐ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ (1) ภารกิจของส่วนราชการ (2) ภารกิจของรัฐวิสาหกิจ (3) ภารกิจที่ควรมอบให้เอกชนดำเนินการ (4) ภารกิจที่ควรเป็นองค์การมหาชน (5) ภารกิจที่ควรมอบให้ท้องถิ่นดำเนินการ และ (6) ภารกิจที่ควรมอบให้องค์กรประชาชนดำเนินการ

โดยสำนักงานประกันสังคมซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีมีแนวนโยบายให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนสถานะเป็นองค์การมหาชน ทำให้ทางสำนักงานประกันสังคมจึงได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยเรื่องโครงการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน ในช่วงระหว่างปี 2544-2546 งบดำเนินการวิจัยจำนวน 2,560,500 บาท

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมในรูปแบบองค์การมหาชนที่มีกฎหมายรองรับการปฏิบัติงานเฉพาะ มีกรอบภารกิจสนองตอบความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน และประชาชนได้อย่างชัดเจน มีโครงสร้างอัตรากำลังที่เหมาะสมกับลักษณะงานก่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในการจัดตั้ง ซึ่งผลการศึกษาวิจัยนี้เมื่อเสร็จสิ้นสำนักงานประกันสังคมสามารถนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

คณะวิจัยได้มีการศึกษาใน 10 ประเด็นหลัก ได้แก่

1.      ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม

2.      การศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนหน่วยงานให้เป็นองค์การของรัฐในรูปแบบองค์การมหาชน

3.      การจัดโครงสร้างองค์กรของสำนักงานประกันสังคม

4.      การกำหนดระบบการบริหารงานบุคคล

5.      ระบบบัญชี การเงิน และการประเมินทรัพย์สิน

6.      ระบบงบประมาณและกระบวนการทางงบประมาณ

7.      ระบบการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล

8.      ผลการสำรวจความสมัครใจเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร และขั้นตอนการเตรียมการ

9.      ร่างกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมในรูปแบบขององค์การมหาชน

10.    ปัจจัยความสำเร็จของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมที่สอดคล้องกับการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน

โดยในภาพรวมของผลการศึกษา คณะวิจัยได้เสนอให้ (1) แยกสำนักงานประกันสังคมออกเป็นองค์การมหาชนทั้งหมด (2) แยกเฉพาะสำนักบริหารการลงทุน (สบร.) ออกมาเป็นหน่วยงานพิเศษเพื่อให้บริหารงานคล่องตัว โดยให้จัดโครงสร้างแบบแผนกงาน (Divisionalized Form) สำนักงานใหญ่รับผิดชอบด้านนโยบาย วิสัยทัศน์ และทิศทางองค์กรในภาพรวม และให้งานลงทุนยกฐานะเป็นฝ่ายการลงทุน มีรองผู้อำนวยการทำหน้าที่เป็นรองฝ่ายการลงทุน เพื่อกำกับควบคุมงานด้านการลงทุน ที่ต้องดูแลกองทุนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดตลอดเวลา และที่ผ่านมาก็ยังไม่มีส่วนราชการใดมีการจัดการในลักษณะนี้

(3)

รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลลานนท์ กับการสนับสนุนสำนักงานประกันสังคมเป็น "องค์การมหาชน"[3]

อย่างไรก็ตามแม้มีผลการศึกษาที่ชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2546 ในเรื่องการปรับเปลี่ยนเป็นองค์การมหาชนแล้ว แต่กลับพบว่า การพิจารณาเพื่อปรับบทบาทและโครงสร้างของสำนักงานประกันสังคมออกไปสู่การเป็นองค์การมหาชนมีความล่าช้าอย่างมาก เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ทำให้การปรับสำนักงานประกันสังคมไปสู่การเป็นองค์การมหาชนจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายหลายประเด็น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ การแก้ไขเพิ่มเติมปรับปรุงพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และการยกร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานประกันสังคม (องค์การมหาชน) ขึ้นใหม่ รวมถึงการแก้ไขกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนและแก้ไขกฎหมาย มีกระบวนการที่ซับซ้อน และกระทบกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย บางเรื่องจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์เพื่อให้เป็นที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนัก อีกทั้งการออกเป็นองค์การมหาชนต้องตอบคำถามผู้ใช้บริการ คือ นายจ้าง และผู้ประกันด้วยว่า พวกเขาเหล่านั้นจะได้รับผลดีอย่างไร เป็นต้น[4]

ภายหลังจากที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ขึ้นมาบริหารประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 มีความพยายามของหลายภาคส่วนในการผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน เนื่องจากกระแสเรียกร้องส่วนใหญ่ในช่วงเวลานั้น เห็นว่าแทนที่กรรมการบริหารกองทุนประกันสังคมเสียงข้างมาก ควรเป็นตัวแทนจากฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง เพราะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ภาครัฐหรือส่วนราชการซึ่งออกเงินสมทบน้อยกว่า ควรเป็นเสียงข้างน้อย แต่รูปแบบกลับตาลปัตร และผู้มีอำนาจเต็ม คือ รัฐมนตรี ประเด็นเหล่านี้จึงนำมาสู่การทบทวนว่า สำนักงานประกันสังคมควรปรับบทบาทภารกิจของหน่วยงาน และโครงสร้างใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันในรูปขององค์การมหาชนได้แล้ว

ตัวอย่างเช่น วันที่ 15 มิถุนายน 2550 สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จัดเวทีสาธารณะเรื่อง "ผ่าโครงสร้างประกันสังคม: สู่ประโยชน์ลูกจ้าง" โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย อาทิ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย , นายสุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม , รศ.นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ

ทั้งนี้นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้แสดงความคิดเห็นเรื่อง การผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์การมหาชน ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและเหมาะสมอย่างยิ่ง ทั้งนี้หากทุกฝ่ายเห็นพ้องให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 และมีการยกร่าง พ.ร.บ.องค์การมหาชนขึ้นมารองรับ ควรรีบส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อไป

พบว่าในช่วงเวลานั้นได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 อนุมัติหลักการตามที่กระทรวงแรงงานเสนอร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ทั้งนี้มีสาระสำคัญหนึ่งในร่างกฎหมายดังกล่าว คือ ให้กองทุนประกันสังคมสามารถบริหารจัดการรายได้ของกองทุนได้โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ได้มีการพิจารณาแต่อย่างใด

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช ขึ้นมาบริหารประเทศ เป็นครั้งแรกที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้มีข้อเรียกร้องเรื่อง การผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมมีการบริหารงานเป็นอิสระจากระบบราชการ เนื่องในวันกรรมกรสากลปี 2551 โดยในข้อที่ 4 ระบุว่า “ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานสำนักงานประกันสังคมมีความโปร่งใส มีส่วนร่วมของผู้ประกันตน”และหลังจากนั้นข้อเรียกร้องประเด็นความเป็นอิสระของการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคมก็ปรากฏในข้อเรียกร้องทุกปี รวมถึงมีการขับเคลื่อนประเด็นนี้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการตรวจสอบการทุจิตคอร์รัปชั่นต่างๆของสำนักงานประกันสังคมมาจนปัจจุบัน

(4)

รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลในการผลักดันให้สำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ

พลันที่คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 เห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ.... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

จากมติ ครม. ดังกล่าวจึงได้นำมาสู่การปรึกษาหารือระหว่างแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ -สสส.) และองค์กรเครือข่ายแรงงานต่างๆ ทั้งคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานและนักกฎหมาย ซึ่งพบว่าในร่างพ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลดังกล่าวนั้นยังขาดสาระสำคัญอีกหลายประการที่จะคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน

สถานการณ์ดังกล่าวทางแผนงานฯจึงได้สนับสนุนกระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..)พ.ศ. .... (ฉบับบูรณาการแรงงาน) ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 หมวดหลัก ได้แก่ หมวดการบริหารจัดการ หมวดสิทธิประโยชน์ และหมวดการบริหารจัดการกองทุน โดยพิจารณาถึงความครอบคลุม ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมถึงมุ่งหลักประกันระยะยาวและประสิทธิภาพในการให้บริการ ตลอดจนการมุ่งเน้นให้สำนักงานประกันสังคมมีการบริหารงานที่มีความเป็นอิสระ โปร่งใสและตรวจสอบได้โดยมีคณะกรรมการรองรับและผู้ประกันตนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ บริหารงานโดยมืออาชีพ

ทั้งนี้เมื่อยกร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับบูรณาการแรงงานเรียบร้อยแล้ว มีการขับเคลื่อนและผลักดันผ่านวิธีการและช่องทางต่างๆนานา ที่สำคัญ เช่น

24 พฤศจิกายน 2553 นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย และคณะ นำรายชื่อผู้ใช้แรงงานรวม 14,500 ชื่อเสนอร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับบูรณาการแรงงานต่อประธานรัฐสภา สื่อมวลชน เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ประโคมข่าวหน้า 1 ว่า “เมื่อพลังแรงงาน พลังผู้ประกันตน ถึงเวลาเปลี่ยนสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระได้แล้ว”

13 มกราคม 2554 แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วมกับองค์กรแรงงานทั้งในระบบ นอกระบบ ข้ามชาติ ประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย  เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญา สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย มูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน มูลนิธิร่วมมิตรไทย-พม่า มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ  ชมรมเครือข่ายผู้ประกันตน  เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และเครือข่ายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติภาคประชาชน จัดสมัชชาแรงงาน: ปฏิรูปประกันสังคม ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ มุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้มีการปฏิรูปประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้

ในวันนั้นอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศบนเวทีชัดเจนว่า

“รัฐบาลได้ตระหนักมาโดยตลอดว่า การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน คือ การมีความมั่นคงในอาชีพและรายได้ และการมีระบบประกันสังคมที่มั่นคง มีการบริหารจัดการที่คล่องตัว มีประสิทธิภาพ  มีความเป็นอิสระ  พี่น้องผู้ใช้แรงงานและผู้ประกันตนซึ่งเป็นเจ้าของกองทุนร่วมกับรัฐบาลและนายจ้างมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ตรวจสอบและเข้าถึงง่าย  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ประกาศเมื่อเข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ ผมเชื่อมั่นว่า การมีส่วนร่วมของพี่น้องผู้ใช้แรงงานและภาคประชาสังคมในวันนี้จะเป็นพลังนำไปสู่ “การปฏิรูปประกันสังคมเพื่อความถ้วนหน้า อิสระ และ โปร่งใส”

26 มีนาคม 2554 สมัชชาปฏิรูปประเทศไทยครั้งที่ 1 ได้มีมติที่ 4 เรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม โดยให้ปรับปรุงที่มาและอำนาจคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อเป็นหลักประกันอย่างชัดเจน ในการได้มาซึ่งกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และให้มีคณะกรรมการลงทุนผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

นอกจากการขับเคลื่อนของเครือข่ายแรงงานแล้ว พบว่า ในเดือนมิถุนายน 2554 นพ.สมเกียรติ
ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม ก็ได้มีการจัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม (องค์การมหาชน) เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนสถานะของ สปส.จากที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานรัฐไปเป็นองค์การมหาชน อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ โดยจะเสนอต่อรัฐบาลชุดหน้าเพื่อพิจารณานำเข้าสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่

เช่นเดียวกับที่นายอารักษ์ พรหมณี ได้เขียนบทความเรื่อง “องค์การมหาชน” ความท้าทายการเปลี่ยนแปลงประกันสังคม เมื่อธันวาคม 2553 เผยแพร่ต่อสื่อมวลชน โดยเห็นว่าสำนักงานประกันสังคมควรมีอิสระในการบริหารงานในรูปแบบองค์การมหาชน เพื่อให้สามารถกำหนดวิธีการบริหารและดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มความคล่องตัว สามารถบริหารงานให้มีความเหมาะสมต่อสภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและทันท่วงที อีกทั้งยังลดปัญหาการแทรกแซงทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตามก็มีคำถามสำคัญเช่นเดียวกันว่า บุคลากรทุกระดับในสำนักงานประกันสังคมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด และมีกลยุทธ์เชิงรุก ตั้งรับ หรือปรับตัวอย่างไรกับนโยบายที่มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์สวัสดิการ ความก้าวหน้า ความมั่นคงในสถานภาพความเป็นข้าราชการของตนเองครั้งนี้

ปี 2554 เป็นปีแรกที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ที่ได้รับงบสนับสนุนจากกระทรวงแรงงาน มีข้อเรียกร้องเรื่องการให้รัฐบาลปฏิรูประบบประกันสังคม อาทิ ยกระดับให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นองค์กรอิสระ โดยถูกระบุอยู่ในข้อ 4 ของข้อเรียกร้อง อย่างไรก็ตามในปี 2555 ไม่มีข้อเรียกร้องเรื่องนี้ มาปรากฏอีกครั้งในปี 2556-2558

(5)

รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา กับความเห็นพ้องร่วมในเป้าหมายปลายทางของเครือข่ายแรงงาน และท่าทีของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

แม้มีเสียงเรียกร้องมานานเป็นนับสิบปี ให้เปลี่ยนสถานะสำนักงานประกันสังคมไม่ให้เป็นส่วนราชการ แต่ให้เป็นองค์กรมหาชน รวมทั้งปรับโครงสร้างคณะกรรมการประกันสังคมให้ลูกจ้างผู้ประกันตนมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่กลับไม่เคยได้รับความสนใจจากรัฐบาลสมัยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแม้แต่น้อย จนถึงขนาดที่ว่าสภาผู้แทนราษฎรในช่วงนั้นมีการไม่รับร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับที่เสนอโดยผู้ใช้แรงงาน

ภายหลังจากที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นมาบริหารประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 มีความเห็นพ้องของเครือข่ายต่างๆในเรื่องนี้ โดยเฉพาะความเห็นร่วมเดียวกันว่า สำนักงานประกันสังคมมีหน้าที่ในการบริหารกองทุนประกันสังคม ซึ่งเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่และมีผู้มีส่วนได้เสียในประเทศเป็นจำนวนมาก การบริหารงานกองทุนประกันสังคมจึงควรให้ผู้ประกันตนและผู้จ้างงาน ซึ่งเป็นเจ้าของกองทุนที่แท้จริงสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและกำหนดนโยบายตามหลักการมีส่วนร่วม

อีกทั้งการกำหนดให้สำนักงานประกันสังคมไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการ จะช่วยให้เกิดการตรวจสอบการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม อันจะส่งผลให้การดำเนินการและการบริหารงานของสำนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนช่วยให้ผู้ทำงานทุกภาคส่วนได้รับสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงหลักประกันสังคมได้อย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น

การขับเคลื่อนที่ชัดเจน ได้แก่

“เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) 14 องค์กร” นำโดยนายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย มีการผลักดันอย่างต่อเนื่องเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อคุ้มครองคนทำงานที่มีรายได้ทุกคน ป้องกัน หรือลดการทุจริตที่อาจเกิดจากการบริหารจัดการกองทุนที่ขาดการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิที่ควรพึงได้รับจากการร่วมจ่ายในระบบสวัสดิการต่างๆ และลดภาระการเงินการคลังที่รัฐจะต้องแบกรับในอนาคตจากการที่ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ล่าสุดคือเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558 มีการจัดงานงานสมัชชา 25 ปีประกันสังคมต้องเป็นอิสระ ณ กระทรวงแรงงาน

โดยยึดหลักการปฏิรูป 4 ข้อ ได้แก่ 1. หลักความครอบคลุม ผู้ทำงานทุกคนทุกอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จะต้องได้รับประโยชน์ทดแทนเหมือนกัน แต่ไม่จำเป็นต้องได้เท่ากันหรือแบบเดียวกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายเงินสมทบ 2. หลักความเป็นอิสระในการบริหารจัดการแบบกระจายอำนาจและยึดหลักธรรมาภิบาล โดยต้องบูรณาการเพื่อประสานสิทธิประโยชน์และการบริหารจัดการที่เชื่อมโยงร่วมกับสวัสดิการอื่นๆ เช่น ระบบสุขภาพ ระบบประกันชราภาพ 3. หลักการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนทุกระบบ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนทุกระดับ เช่น มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมโดยตรง มีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนกรรมการประกันสังคม รวมทั้งมีระบบตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส 4. หลักยืดหยุ่นเป็นธรรม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสามารถออกแบบและปรับปรุงให้เหมาะสม เช่น การจ่ายเงินสมทบที่สัมพันธ์กับฐานรายได้ การปรับปรุงเกณฑ์ เงื่อนไขอัตราเงินสมทบและการบริการ ระยะเวลาได้รับสิทธิประโยชน์เร็วขึ้น

หรือในกรณีของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ที่มีการทำงานร่วมกับเครือข่าย คปค. 14 องค์กร โดยศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 โดยเสนอให้มีการปฏิรูปสถานะและโครงสร้างการบริหารงานของสำนักงานประกันสังคม ให้มีความเป็นอิสระโดยไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการ

ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 สำนักงานประกันสังคมได้มีการจัดงานสานเสวนา “25 ปี ประกันสังคม พร้อมเปลี่ยนแปลงสู่ทศวรรษหน้า ปฏิรูปกันอย่างไร จึงโดนใจผู้ประกันตน” พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวปาฐกถาตอนหนึ่งระบุว่า

“สำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะต้องมีการปฏิรูปใน 4 ประเด็นด้วยกัน หนึ่ง ต้องเปิดเผยข้อมูลการทำงานต่อสาธารณชนในทุกเรื่อง สอง ตรวจสอบได้จากองค์กรเอกชนที่เชี่ยวชาญ มั่นคง ยั่งยืน พึ่งพิงได้ และเพิ่มสิทธิให้กับผู้ประกันตน เนื่องจากผู้ประกันตนต้องการรับบริการที่ดี สาม ต้องมีการสำรวจความพึงพอใจจากผู้ประตนอย่างสม่ำเสมอ เพราะเงินกองทุนเป็นของผู้ประกันตนและผู้ประกอบการ และสี่ ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานไปสู่ความเป็นอิสระในอนาคต”

โดยสรุปจากที่กล่าวมาทั้งหมด จึงเห็นได้ชัดเจนว่ามีความพยายามทั้งภาครัฐโดยตรงผ่านการมีนโยบายบริหารประเทศและความชัดเจนของรัฐบาลแต่ละยุคสมัย รวมถึงในภาคผู้ประกันตนที่มาจากเครือข่ายแรงงานองค์กรต่างๆ ต่อการเห็นร่วมในการปรับเปลี่ยนให้สำนักงานประกันสังคมมีการบริหารงานเป็นองค์กรอิสระจากส่วนราชการ ในที่นี้คือ องค์การมหาชน

อย่างไรก็ตามความท้าทายในอนาคต คือ ความเป็นอิสระในการบริหารงานต้องมาพร้อมกับการสร้างระบบธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในกองทุนประกันสังคมด้วยเช่นเดียวกัน ธรรมาภิบาลเป็นหลักการบริหารหรือการปกครองที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการคิดและการบริหารจัดการในทุกระดับ ตั้งแต่ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันจัดการ ร่วมกันรับผิดชอบ และร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นผลมาจากระบบราชการที่แข็งตัวเกินไป ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในกองทุนประกันสังคมอย่างทันท่วงที




[1]เรียบเรียงจาก อนุโพธ บุนนาค. แนวความคิดการปรับหน่วยงานด้านการลงทุนของกองทุนประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน เอกสารขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน , 2546 (เอกสารอัดสำเนา)

[2]เรียบเรียงจาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน จัดทำโดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอต่อสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน, 2546.

[3]สรุปข้อมูลจากเวทีสาธารณะเรื่อง "ผ่าโครงสร้างประกันสังคม : สู่ประโยชน์ลูกจ้าง" วันที่ 15 มิถุนายน 2550 จัดโดยสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน

[4]อนุโพธ บุนนาค. แนวความคิดการปรับหน่วยงานด้านการลงทุนของกองทุนประกันสังคมเป็นองค์การมหาชน เอกสารขอประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน , 2546 (เอกสารอัดสำเนา)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกายืนยกคำร้องคดีขอให้ปล่อยตัว ‘บิลลี่’

$
0
0

ศาลฎีกาพิพากษายืน ยกคำร้องคดีขอให้ปล่อยตัวบิลลี่ วินิจฉัยกระบวนการพิจารณาชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานรับฟังไม่ได้ คดีไม่มีมูล ทนายเชื่อไม่กระทบคดีอาญากรณีการหายตัวไปของบิลลี่

2 ก.ย. 2558 ที่ศาลจังหวัดเพชรบุรี มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีการขอให้ปล่อยตัว พอละจี รักจงเจริญ หรือ ‘บิลลี่’ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย ที่ถูกควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกคำร้องของผู้ร้อง

วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ว่า ศาลพิจารณาในสองประเด็นคือ หนึ่ง ศาลวินิจฉัยว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 หลังรับคำร้องแล้ว ศาลต้องพิจารณาคำร้องผู้ร้องก่อนว่ามีมูลหรือไม่ กรณีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ชี้ แต่เรียกสอบพยานคือ ชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชาเลย กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สอง เมื่อพยานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถรับฟังได้ ศาลฎีกาจึงพิจารณาเฉพาะคำให้การของพยานคือ ภรรยา ผู้ใหญ่บ้านและนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่ภรรยาซึ่งเป็นผู้ร้องและผู้ใหญ่บ้าน เป็นเพียงพยานบอกเล่า ไม่เห็นเหตุการณ์จริง จึงรับฟังไม่ได้ ส่วน นพ.นิรันดร์ เป็นพยานแวดล้อมเท่านั้น ยังไม่สามารถรับฟังได้ คดีจึงไม่มีมูล ให้ยกคำร้อง

วราภรณ์กล่าวว่า คำพิพากษายกคำร้องนี้จะไม่กระทบต่อคดีอาญาที่อยู่ระหว่างสอบสวนการหายตัวไปของบิลลี่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะศาลวินิจฉัยเฉพาะกรณีที่มีการร้องว่ามีการควบคุมตัวโดยไม่ชอบประเด็นเดียว

วราภรณ์ แสดงความเห็นว่า หากกระบวนการร้องตามมาตรา 90 บังคับได้ และการวินิจฉัยเป็นบวก จะเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการบังคับให้บุคคลสูญหายได้ เพราะขณะนี้ ยังไม่มีทางออกอื่น เนื่องจากไทยยังไม่มีกฎหมายความผิดฐานบังคับให้บุคคลสูญหาย การร้องตามมาตรา 90 จะเป็นช่องทางหาข้อเท็จจริงและป้องกันการคุมตัวโดยไม่ชอบได้

วราภรณ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ น.ส. พิณนภา หรือ มึนอ พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่ ได้ยื่นคำร้องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้รับคดีของบิลลี่ไว้ดำเนินการสืบสวนสอบสวน ซึ่งอยู่ระหว่างรอคำตอบว่า ดีเอสไอจะรับพิจารณาคดีหรือไม่

เธอระบุว่า หากดีเอสไอรับดำเนินคดีจะเป็นผลดีต่อการสืบสวน เนื่องจากมีอำนาจมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปกติ โดยคดีนี้ผู้เกี่ยวข้องในคดีเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อาจทำอะไรไม่ค่อยได้และพยานมีความหวาดกลัว

ข้อมูลจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ระบุว่า เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 58 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกคำร้อง ในคดีหมายเลขดำที่ พิเศษ 1/2557 ที่นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัว บิลลี่ จากการควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 32 มีใจความว่า จากการไต่สวนพยานทั้งปาก ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และเจ้าหน้าที่อุทยาน 4 คน รวมถึงนักศึกษาฝึกงาน 2 คน ให้การสอดคล้องกันว่าได้มีการปล่อยตัว บิลลี่ ไปแล้ว แม้คำเบิกความจะมีข้อแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียงรายละเอียดหาใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นพิรุธไม่  พยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบยังรับฟังไม่ได้ว่ามีการคุมขังนายบิลลี่ไว้โดยไม่ขอบด้วยกฎหมาย คำร้องขอผู้ร้องจึงไม่มีมูล ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ซึ่ง พิณนภา ผู้ร้อง ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าว จึงได้ยื่นฎีกาในประเด็นดังต่อไปนี้

1. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฯ มีความขัดแย้งกับ บิลลี่ ในกรณีการเผาทำลาย ไล่รื้อ บ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จึงอาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ฯ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดำเนินคดี และนำไปสู่การควบคุมตัวนายบิลลี่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  อันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของ บิลลี่

2. การพิสูจน์ว่า บิลลี่ ได้รับการปล่อยตัวไปแล้วหรือไม่นั้น โดยหลักการรับฟังพยานหลักฐาน ภาระการพิสูจน์เป็นของฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการควบคุมตัว ไม่ใช่ภาระการพิสูจน์ของญาติผู้ถูกควบคุมตัว และตุลาการจะต้องทำหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานให้ถึงที่สุดว่า บิลลี่ ได้รับการปล่อยตัวไปแล้วจริง เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานบันทึกการจับ บันทึกของกลาง และบันทึกการปล่อยตัว จึงไม่อาจเชื่อได้ว่า บิลลี่ ได้รับการปล่อยตัวไปแล้ว  และเชื่อได้ว่า บิลลี่ ยังคงอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ฯ

3. พยานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับฟังล้วนแล้วแต่อยู่ใต้บังคับบัญชาและการดูแลของ ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ซึ่งเบิกความขัดแย้งกับคำให้การในชั้นสอบสวนในประเด็นการปล่อยตัวนายบิลลี่อันเป็นข้อสำคัญในคดี  โดยพนักงานสอบสวนได้พบพยานหลักฐานใหม่ที่ยืนยันว่า นายบิลลี่ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว จึงขอให้ศาลฎีกาไต่สวนพยานเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมีสาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของศาลฎีกาได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศูนย์ทนายสิทธิชี้ ร่างรธน.ไม่ชอบธรรม ไม่เชื่อมโยงปชช.-ประชามติ ขัดหลักลงคะแนนเสรี

$
0
0

2 ก.ย. 2558 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ทำความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตอนที่ 1 เรื่องที่มาและขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุการยกร่างรัฐธรรมนูญและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลโดยตรงจากการรัฐประหารในทางกฎหมายถือว่าการกระทำรัฐประหารเป็นความผิดตามกฎหมาย และเป็นการใช้กำลังเข้าถือครองอำนาจรัฐโดยวิถีทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยและในขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรม เนื่องจากองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่าง ไม่มีองค์กรใดที่มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน รวมถึงขั้นตอนการนำลงประชามติยังขัดกับหลักการลงคะแนนเสียงโดยเสรี" 

อ่านรายละเอียดที่ด้านล่าง 

 

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 

ที่มาเว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน 

 

เกริ่นนำ

ปัจจุบันความเคลื่อนไหวของร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรดำเนินถึงขั้นตอนที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญรายมาตราทั้งฉบับเสร็จสิ้นแล้วและนำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ เพื่อให้พิจารณาเสนอแนะหรือให้ความเห็นและขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญต่อไป  ณ ช่วงเวลานี้เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญได้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก  โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีความเห็นต่อความไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตยและความบกพร่องทางเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ 4 ประการ ดังนี้

ประการที่ 1  ที่มาและขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนคือฐานความชอบธรรมของการใช้อำนาจรัฐและเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญที่จะถูกร่างและประกาศใช้เป็นกฎเกณฑ์พื้นฐานในการปกครองประเทศจะต้องได้รับการเห็นชอบจากประชาชนและองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐปกครองหรือทำการยกร่างรัฐธรรมนูญจะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจรัฐไม่ว่าทางตรง คือได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน หรือทางอ้อม คือได้รับการแต่งตั้งจากตัวแทนของประชาชน แต่ปรากฏว่าที่มาและขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 มีปัญหาเรื่องความไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตย ใน 3 ส่วน ได้แก่  

1.1 ที่มาของร่างรัฐธรรมนูญเป็นผลโดยตรงมาจากการรัฐประหาร
การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเป็นผลโดยตรงมาจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557โดยคณะข้าราชการทหารและตำรวจนามว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รวมถึงคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนสิ้นสุดลง  ในทางกฎหมายถือว่าการกระทำรัฐประหารเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 และถือว่าเป็นการใช้กำลังเข้าถือครองอำนาจรัฐโดยวิถีทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย   โดยภายหลังการรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ก่อตั้งสถาบันการเมืองขึ้นมา 5 สถาบันการเมือง ประกอบด้วยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  ทำหน้าที่ร่วมมือกันปฏิรูปประเทศไทยและทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป ซึ่งคือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

1.2 องค์กรที่ยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน
ขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย บรรดาองค์กรที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบสภาหรือคณะกรรมาธิการก็ตาม ต้องมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนผ่านการได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงหรือได้การแต่งตั้งจากผู้แทนของประชาชน  แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้ออกแบบขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยมีองค์กรที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ดังนี้ ได้แก่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) คณะรัฐมนตรีและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  ซึ่งทั้ง 5 องค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาจัดทำรัฐธรรมนูญมีปัญหาความไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตย เพราะไม่มีองค์กรใดมีจุดเชื่อมโยงกลับไปหาประชาชน เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นองค์กรที่ถือกำเนิดมาโดยการรัฐประหาร รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรีและสภาปฏิรูปแห่งชาติต่างก็เป็นองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  เช่นเดียวกันกับที่มาคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน ก็มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ

1.3 ขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนคือผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ดังนั้นการกระบวนการยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ในทางกฎหมายต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนโดยตรงผ่านประชามติหรือได้รับความยินยอมจากผู้แทนของประชาชน เช่น รัฐสภาแต่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1คณะรักษาความสงบแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 32 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

ขั้นตอนที่ 2สภาปฏิรูปแห่งชาติแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แก่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 120 วันหลังจากได้รับความเห็นและข้อเสนอแนะ ตามมาตรา 34 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

ขั้นตอนที่ 3คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ รวมถึงยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช2557

ขั้นตอนที่ 4เมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นตามข้อเสนอและคำขอ  ให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญให้สภาปฏิรูปแห่งชาติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ก่อนจะนำไปให้ประชาชนลงประชามติและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 37 ตามรัฐธรรมนูญ(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

ในแง่ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยของขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ย่อมพิจารณาได้ว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญถึงแม้ในทางรูปแบบจะกำหนดขั้นตอนให้ประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจรัฐมีส่วนในการลงประชามติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้ขั้นตอนการยกร่างและประกาศใช้พอมีความชอบธรรมขึ้นมา

แต่หากพิจารณาในทางเนื้อหาจะพบว่าการลงประชามติดังกล่าวมิใช่การลงประชามติในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากขาดหลักการลงประชามติโดยเสรีเพราะเป็นการลงประชามติภายใต้เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้มีบทบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจน ไม่มีระบบที่สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและมีประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหลายฉบับที่มีเนื้อหาขัดขวางไม่ให้การใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดและเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลและทางเลือกของประชาชนสามารถกระทำได้ที่ยังบังคับใช้ในบ้านเมืองอยู่ [1]

รวมทั้งบุคคลในองค์กรของรัฐอย่าง นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าไม่อนุญาตให้มีการรณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูญจากฝ่ายการเมือง [2]และกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ได้ระบุว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่อย่างใด [3]

ภายใต้บรรยากาศเช่นนี้จึงไม่เอื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวและการรณรงค์เพื่อแสดงความคิดเกี่ยวกับทางเลือกที่หลากหลายในการลงประชามติให้กับประชาชนได้และทำให้การตัดสินใจลงประชามติของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจึงอยู่ภายใต้ข้อมูลและอิทธิพลจากรัฐเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น

ดังนั้น การลงประชามติเช่นนี้จึงเป็นแต่เพียงขั้นตอนที่รัฐบังคับให้ประชาชนมาเป็นฐานในการสร้างความชอบธรรมให้กับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเท่านั้น โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นขั้นตอนที่ประชาชนได้แสดงเจตจำนงที่แท้จริงของตนเองแต่อย่างใดด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงส่งผลให้ขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

โดยสรุปในประการแรก

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลโดยตรงจากการรัฐประหารในทางกฎหมายถือว่าการกระทำรัฐประหารเป็นความผิดตามกฎหมาย และเป็นการใช้กำลังเข้าถือครองอำนาจรัฐโดยวิถีทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยและในขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรม เนื่องจากองค์กรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการยกร่าง ไม่มีองค์กรใดที่มีจุดเชื่อมโยงกับประชาชน รวมถึงขั้นตอนการนำลงประชามติยังขัดกับหลักการลงคะแนนเสียงโดยเสรี


ติดตาม “ตอนที่ 2 ความบกพร่องทางเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ” พรุ่งนี้ 20.15 น. ที่ https://tlhr2014.wordpress.com




[1] ประกาศคณะรักษษความสงบแห่งชาติ  ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ,ประกาศห้ามประชาชนจัดกิจกรรมที่มีลักษณะต่อต้านปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ,ประกาศสอดส่องและควบคุมการใช้โซเชียวมีเดียของประชาชน ,ประกาศห้ามประชาชนที่เข้ารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเคลื่อนไหวทางการเมือง ,ประกาศควบคุมการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อสารมวลชน ,ประกาศพรรคการเมืองเคลื่อนไหวหรือดำเนินการใดๆทางการเมือง ,ประกาศให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจพิเศษเพื่อระงับและป้องกันการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ และประกาศให้คดีฝ่าฝืนประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐให้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร เป็นต้น
[2] ที่มา : https://www.facebook.com/253729448003304/photos/a.717002238342687.1073741826.253729448003304/900401030002806/
[3] ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1434090305
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ลงโทษ ‘รองฯมือตบ’ ตัดเงินเดือน5% 1เดือน

$
0
0

จากกรณีกระแสวิดีโอคลิปเหตุการณ์ที่รองผู้อำนายการโรงเรียนเสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ตบและกล่าวขอดูอวัยวะเพศเด็กนักเรียนชาย ชั้น ม. 5 ซึ่งแกนนำนักเรียนชุมนุมประท้วงกรณีมาตรการที่ผู้บริหารโรงเรียนเรียกเก็บเงินเพิ่มในค่าบำรุงการศึกษาพิเศษต่างๆ เช่น ค่า SMS เพื่อแจ้งข่าวผู้ปกครอง เมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น (อ่านรายละเอียด) ส่งผลให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว และจะสรุปผลการสอบสวนให้เสร็จภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ พร้อมมีคำสั่งย้าย ไอสูรย์ปิยธร จุฑาธรรม รองผู้อำนวยการโรงเรียน คนดังกล่าวไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 เป็นการชั่วคราว จนกว่าผลการสอบสวนเสร็จสิ้น (อ่านรายละเอียด)

ล่าสุดวันนี้(2 ก.ย.58) เดลินิวส์รายงานความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยโดยมี รณชัย สุขสมบูรณ์ รองผอ.สพม.เขต 31 เป็นประธาน ได้สรุปบทลงโทษทางวินัย เสนอต่อ ดร.ชูเกียรติ วิเศษเสนา ผอ.สพม.เขต 31 ลงนามอนุมัติหนังสือคำสั่งบทลงโทษเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคณะกรรมการได้สั่งให้มีบทลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง ให้ตัดเงินเดือน 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 1 เดือน มีผลในเดือน ก.ย.นี้ทันที โดยให้เหตุผลว่า ทำไปด้วยสำนึกความเป็นครู และยอมรับผิดทุกรณี ส่วนนักเรียนคู่กรณีไม่ติดใจเอาผิด และปัญหาภายในโรงเรียนคลี่คลายลงแล้ว

ด้าน ไอสูรย์ปิยธร ได้เดินทางไปที่ สพม.31 เพื่อเซ็นหนังสือรับทราบบทลงโทษทางวินัยอย่างเป็นทางการ โดยระบุว่า ตนยอมรับบทลงโทษ สถานะของตนก็ยังเป็นครู ที่ต้องทำหน้าที่อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ ให้เป็นคนดีมีความรู้ต่อไป ขอให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นอุทาหรณ์ สำหรับนักเรียนและครู ทั้งนี้ยืนยันว่าจะไม่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก เพราะส่งผลเสียต่อจรรยาบรรณวิชาชีพครู ตนพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมตนเอง ที่ได้ทำผิดพลาดไป กับนักเรียน ม.5 ที่มีปัญหากันก็เคลียร์กันจบเรียบร้อย ยังเป็นครูเป็นลูกศิษย์กันเหมือนเดิม หลังจากที่ย้ายไปโรงเรียนใหม่ เด็กนักเรียนและคณะครูก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘สมคิด’ สั่งพาณิชย์จัดทัพใหม่เดินหน้า 4 นโยบายเศรษฐกิจหลัก

$
0
0

2 ก.ย. 2558 สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ แถลงภายหลังประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพาณิชย์ พร้อมทั้งหารือร่วมภาคเอกชน ว่า นายกรัฐมนตรีกำชับ 4 ประเด็น คือ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะราคาอาหารและของใช้จำเป็น โดยกำชับให้มีการจัดทีมลงพื้นที่ร่วมกับพาณิชย์จังหวัดและเอกชน มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง หากพบการฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภคให้ดำเนินการทันที พร้อมทั้งจัดทำตลาดกลางสินค้าทุกภูมิภาคและตลาดกลางย่อยแต่ละภูมิภาค เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่จำเป็นให้ทั่วถึงพื้นที่มากขึ้น โดยเน้นเฉพาะสินค้าจำเป็นเพื่อไม่ให้เป็นการแข่งขันกับภาคเอกชนและให้ดูแลราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา และปาล์ม โดยร่วมกับเอกชนประคองราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนการส่งออก เน้นเจาะตลาดเชิงลึกที่มีศักยภาพร่วมกับเอกชนและให้ทำงานร่วมกับกระทรวงต่างประเทศในการออกไปเจรจาการค้าและให้เอกชนจับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคเข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา โดยรัฐจะต้องเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เอกชนสามารถทำการค้าระหว่างประเทศคล่องตัวมากขึ้น ผลักดันการค้าภาคบริการ รวมทั้งการผลักดันและประชาสัมพันธ์การทำตลาดอี-คอมเมิร์ซร่วมกับภาคเอกชน และการส่งเสริมตลาดในประเทศ โดยร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการเปิดตลาดในแหล่งท่องเที่ยว สนับสนุนผู้ประกอบการผลิตสินค้าใหม่ ๆ โดยต้องเร่งส่งเสริมสนับสนุนการเสริมสร้างภาคธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะรับหน้าที่ไปปรับแนวทางส่งเสริมอย่างเต็มที่ แม้จะมีปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะเป็นปัญหามาก แต่เชื่อว่าหากสามารถสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศได้ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมาดีได้เช่นกัน และอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อภาคการส่งออกภาครัฐพร้อมที่จะแก้ไขและอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนไทยอย่างเต็มที่

โดย อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าหลังจากรับมอบนโยบายวันนี้จะเร่งหารือกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ในการกำหนดแผนปฏิบัติการ เพื่อให้เห็นผลภายใน 3 เดือน

กกร.เสนอ 8 มาตรการกระตุ้น ระยะสั้น-กลาง

บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันหรือ กกร. เชื่อว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นและสร้างความเชื่อมั่นกลับคืนมาและช่วยให้เศรษฐกิจสามารถหมุนต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเห็นผลเร็วมาก และช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ดี คาดว่า จะเห็นผลได้ภายใน 3 เดือนหลังการขับเคลื่อนมาตรการ ซี่งกกร.มองผลการขับเคลื่อนว่า ควรนำไปสู่ภาคชุมชนและนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม กกร.เตรียม ข้อเสนอมาตรการทางเศรษฐกิจ ระยะสั้น 4 มาตรการ ประกอบด้วย การเพิ่มศักยภาพ ให้กับ SME ได้แก่

1.ปรับลดอัตราภาษีเงินได้ให้ SME เพื่อจูงใจให้เข้าสู่ระบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ SME ของภาครัฐ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน โดยมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ ดำเนินการลดอัตราภาษีเงินได้ สนับสนุนให้มีการใช้Software ทางบัญชีที่ได้มาตรฐาน และการฝึกอบรม SME จัดทำบัญชี

2.การผลักดันการค้าชายแดน โดยกำหนดเป้าหมายการค้าชายแดนที่ 2 ล้านล้านบาท ภายในระยะเวลา 2ปี (ปี 2560)  จากปัจจุบันมูลค่าการค้าชายแดนที่ 1.4 ล้านล้านบาท พร้อมกับขยายบทบาทหน้าที่ของพาณิชย์จังหวัด เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนเข้าสู่ตลาดเป้าหมายและครอบคลุมการค้าข้ามแดนให้ถึงเมืองหลักของประเทศเพื่อนบ้าน และควรจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า / SME Outlet ในพื้นที่ชายแดนที่มีศักยภาพ

3.การส่งเสริมการส่งออกและพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ โดยเร่งรัดการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาการส่งออก ให้มีการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม นอกจากนี้กกร.ยังเสนอ ให้ตั้ง “ทีมเศรษฐกิจ” ของจังหวัด โดยมีผู้แทนภาคเอกชน3 สถาบัน(กกร.)เพื่อดูแลเรื่องเศรษฐกิจโดยเฉพาะ เนื่องจากจุดแข็งของแต่ละจังหวัดแตกต่างกัน และยังสามารถประสานงานกับส่วนกลางได้อย่างใกล้ชิด

4.การสร้างกำลังซื้อภายในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร โดยเร่งรัดการระบาย Stock ข้าว  อย่างน้อยร้อยละ 50 เพื่อจะได้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ

ส่วนข้อเสนอมาตรการทางเศรษฐกิจ ระยะกลาง (6-12 เดือน) เสนอ 4 มาตรการ ประกอบด้วย

1.การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์การเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการสนับสนุนเกษตรกร ทั้งด้านการผลิตและการตลาด

2.การปรับวิธีการสรรหาผู้แทนการค้าไทย โดยให้ กกร. ร่วมในการจัดสรรหา เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประเทศในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี

3.สนับสนุนโครงการ Product Champion เพื่อยกระดับธุรกิจ SME ให้มีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน  และเติบโตเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ได้ และ

4. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการภาครัฐ  โดยการสร้างกลไกในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยเน้นเรื่อง Ease of Doing Business / การเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ โดย กกร. ยินดีจะเข้าไปร่วมหารือเพื่อการปรับปรุงกระบวนขับเคลื่อนการทำงานที่สำคัญ ต่อเนื่องจากการบังคับใช้  พ.ร.บ. อำนวยความสะดวกภาครัฐ ที่ได้ออกมาแล้ว

บัณฑูร ล่ำซำ เชื่ออัดฉีดเงินถึงตำบล ช่วยกระตุ้นการบริโภคได้

ขณะที่ บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เห็นด้วยกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.3 แสนล้านบาท ของรัฐบาล โดยเฉพาะเงินกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยาแรงที่สุดและสามารถอัดฉีดถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด เพราะในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันต้องมีเงินหัวเชื้อเพื่อกระตุ้นให้ผู้มีรายได้น้อยมีเงินใช้จ่าย กระตุ้นการค้าขายให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยผ่านทางธนาคารของรัฐซึ่งสามารถรับความเสี่ยงได้สูง

อย่างไรก็ตามรัฐบาลต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบอย่างรัดกุม เพื่อให้เกิดผลกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมั่นใจว่ามาตรการนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รัฐบาลรับภาระแทนประชาชนไว้ทั้งหมดเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยอยู่ได้

“มาตรการนี้ถือเป็นยาแรงที่สุดเพราะฉีดเงินได้ถึงที่ ลงถึงผู้มีรายได้น้อย ในระดับตำบล ซึ่งก็หวังว่าจะสามารถกระตุ้นได้ระดับหนึ่ง หากการใช้เงินไม่ผิดประเภท”  บัณฑูร กล่าว

 

ที่มา สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘เพื่อไทย’ เสนอ สปช. ลงมติไม่ให้ความเห็นชอบร่าง รธน. ยับยั้งวิกฤต

$
0
0

2 ก.ย.2558 แกนนำพรรคเพื่อไทย นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย และนายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานติดตามการร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมอ่านแถลงการณ์พร้อมทั้งแสดงจุดยืนของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 6 ก.ย.นี้

โดยแถลงการณ์ ระบุว่า ตามที่พรรคเพื่อไทยได้เสนอความคิดเห็นของสมาชิกและวิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นฉบับกดหัวประชาชน เนื่องจากเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มิได้ให้ความเคารพในอำนาจของประชาชน อำนาจที่แท้จริงกลับตกอยู่กับองค์กรและกลุ่มบุคคลที่ได้สร้างกลไกเพื่อมุ่งสืบทอดอำนาจและไร้การตรวจสอบ ประชาชนขาดสิทธิและโอกาส เป็นการทำลายหลักการอันดีงามที่ประเทศเคยยึดถือและตกผลึกทางความคิดโดยการยอมรับจากประชาชนแล้ว หากผลของร่างรัฐธรรมนูญจะทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพ บริหารประเทศไม่ได้ เศรษฐกิจของประเทศจะยิ่งตกต่ำ และจะนำพาประเทศไปสู่ความขัดแย้งในทุกระดับ ยากที่จะกลับคืนสู่สันติสุขได้ เป็นที่น่าห่วงใยว่าประเทศชาติจะตกอยู่ในวงจรอุบาทว์อย่างไม่สิ้นสุด

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เผยแพร่สู่สาธารณชน มีการวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความเห็นโดยสุจริต ทั้งจากพรรคการเมือง นักวิชาการ สถาบันการศึกษา ประชาชนและสื่อมวลชนโดยทั่วไป ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้นอกจากจะไม่มีความเป็นประชาธิปไตยแล้ว ยังมีเนื้อหาที่นำพาประเทศถอยหลังไปจากเดิมจนเป็นการย้อนยุค มีลักษณะเป็นการสืบทอดอำนาจ สร้างรัฐซ้อนรัฐ อำนาจของประชาชนถูกเหยียบย่ำ จึงเป็นที่คาดหมายได้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ แม้จะผ่านความเห็นชอบของ สปช. ก็มีแนวโน้มที่จะไม่ผ่านประชามติจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจต้องสูญเปล่าทั้งในแง่ของกระบวนการยกร่างและงบประมาณแผ่นดินที่ต้องนำมาใช้ถึงกว่า 3,000 ล้านบาทในการยกร่างและจัดทำประชามติ พรรคเพื่อไทยจึงขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันไตร่ตรอง คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และหาทางแก้ไข โดยมีข้อเสนอดังต่อไปนี้

1)  สปช. ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในวันที่ 6 กันยายน 2558 ควรแสดงความรับผิดชอบและแสดงบทบาทในวาระสำคัญด้วยวิจารณญาณที่ปรารถนาจะเห็นประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง และเพื่อระงับยับยั้งมิให้ประเทศก้าวไปสู่วิกฤต โดยการลงมติไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสีย ซึ่งจะส่งผลให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่หลายๆ ฝ่ายสามารถที่จะยอมรับได้

2)  หากกรณีมิได้เป็นไปตามข้อ 1 โดย สปช.ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าปัญหารัฐธรรมนูญที่พยายามจะยัดเยียดให้ประชาชนโดยขาดการมีส่วนร่วมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะร่วมคิดหรือร่วมร่าง จะเป็นต้นเหตุของการนำชาติเข้าสู่ภาวะแห่งความขัดแย้ง นำชาติดำดิ่งสู่วงจรอุบาทว์  รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจะส่งผลต่อความเชื่อถือของประเทศในสังคมโลก ในที่สุดจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศ

สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า  พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า ตามที่พรรคเพื่อไทยได้เสนอความคิดเห็นของสมาชิกและวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญว่าเป็นฉบับกดหัวประชาชน เนื่องจากเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มิได้ให้ความเคารพในอำนาจของประชาชน อำนาจที่แท้จริงกลับตกอยู่กับองค์กรและกลุ่มบุคคลที่ได้สร้างกลไกเพื่อมุ่งสืบทอดอำนาจ และไร้การตรวจสอบ ประชาชนขาดสิทธิและโอกาส เป็นการทำลายหลักการอันดีงามที่ประเทศเคยยึดถือและตกผลึกทางความคิดโดยการยอมรับจากประชาชนแล้ว

เมื่อถามว่า การแถลงข่าวครั้งนี้ได้ขออนุญาต คสช.หรือไม่ สามารถ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เราเพียงต้องการแสดงจุดยืนท่าทีของพรรคต่อร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อถามถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ แถลงสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่ นายสามารถ กล่าวว่า เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็น ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะแสดงออก

เมื่อถามถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่าควรมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ถือเป็นการส่งสัญญาณต่อ สปช.ในการพิจารณารับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายสามารถ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะคนไทยคนหนึ่งสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ถือเป็นความเห็นส่วนตัว เพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อพูดแล้วอาจชี้นำได้ ก็เหมือนกับที่พรรคเพื่อไทยมีจุดยืน และยืนหยัดว่าเราไม่เป็นเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า สปช.จะใช้วิจารณญาณในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าผ่านแล้วอะไรจะเกิดขึ้น แต่เสียงที่ก้ำกึ่งของ สปช.แสดงให้เห็นว่า สปช.เริ่มคิดได้แล้ว

เมื่อถามว่าจะมีการจับมือกับพรรคประชาธิปัตย์ที่มีท่าทีคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายสามารถ กล่าวว่า ต่างคนต่างไป เพราะแต่ละพรรคต่างมีมวลชนและสมาชิกของตนเอง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.ขอผู้ประกอบการโรงแรม-ที่พักหากชาวต่างชาติเข้า ให้แจ้งตม.-สน.พื้นที่ 24 ชม.

$
0
0

2 ก.ย.2558 พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาควาสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจว่า ศูนย์ติดตามสถานการณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยระบุว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือการทำงานของเจ้าหน้าที่ จึงขอความร่วมมือให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าบ้านและผู้ประกอบการโรงแรม ห้องพัก หอพักต่างๆ ที่มีคนต่างชาติเข้าพักอาศัย กรุณาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในพื้นที่ ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่คนต่างชาติเข้ามาพักอาศัย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พุทธศักราช 2522 และเป็นการสร้างหลักประกันและส่งเสริมความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่ง

พ.อ.วินธัย ได้สรุปผลการประชุมพิจารณามอบเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมให้กับญาติผู้เสียชีวิต โดยมี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติให้ใช้เงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อจ่ายให้กับญาติผู้เสียชีวิตชาวไทย ซึ่งจะทำให้ได้รับเงินช่วยเหลือในจำนวนเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ในส่วนของกรุงเทพมหานครกำลังดำเนินการให้การช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยใช้เงินจากโครงการ “รวมกันเราทำได้” หรือ “Together We Can” จ่ายให้กับญาติผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง

‘ประยุทธ์’ กำชับตม.ต้องเชื่อมโยงข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลทั่วประเทศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พร้อมคณะ เดินทางมายังศูนย์แสดงสินค้าและศูนย์ประชุมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลนครแม่สอด จากนั้นได้เยี่ยมชมนิทรรศการสินค้าโอทอป 9 อำเภอของจังหวัดตาก รวมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการในส่วนสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) พร้อมกล่าวว่า อยากให้เร่งติดตั้งเครื่องตรวจพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลจากกายภาพ โดยการสแกนใบหน้า ซึ่งจะทำให้ตรวจสอบบุคคลที่ผ่านเข้า-ออกชายแดนได้รวดเร็วและแม่นยำสูง ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้สั่งซื้อและรอการติดตั้ง โดยจะติดตั้งทุกด่านทั่วประเทศและมีความเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังสนใจซักถามถึงพาสปอร์ตใหม่ว่าทาง ตม. ได้พัฒนาระบบการตรวจสอบไปตามเทคโนโลยีใหม่แล้วหรือไม่ และขอให้พัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคัดกรองผู้ที่ผ่านเข้า-ออก โดยเฉพาะคนต่างด้าว

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TQF: มคอ. อำนาจนิยมของ สกอ.กับวิกฤตอุดมศึกษาไทย

$
0
0

 

การคัดค้าน TQF  ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยไทย นับได้ว่าเป็นมหากาพย์ที่ยาวนานที่สุดอันหนึ่งของประวัติศาสตร์อุดมศึกษาไทยที่ดำเนินมานานกว่ากึ่งทศวรรษ และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ  การถกเรื่อง TQF เริ่มต้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในปี 2552 เมื่อครั้งนโยบายดังกล่าวเริ่มประกาศเป็นครั้งแรก  ในครั้งนั้น นายแพทย์วิจารณ์ พานิช กรรมการ กกอ. และนายแพทย์กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ สกอ. ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย

ในปีถัดมา ได้มีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องในหมู่นักวิชาการอีกหลายระลอก ทั้งใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามลำดับ (โปรดดู รายงาน: สำรวจกระแสค้าน'TQF' ยกเครื่องใหญ่อุดมศึกษารับเปิดเสรี) แม้ในท่ามกลางคำถามและข้อท้วงติงจากคณาจารย์จำนวนมาก สกอ.ก็ยังคงยืนกรานที่จะไม่มีการทบทวนการประกาศใช้ TQF แต่อย่างใด  กระแสการคัดค้าน TQF จึงได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง จนนำไปสู่การออกแถลงการณ์คัดค้าน TQF อย่างเป็นทางการของคณาจารย์กว่า 700 รายชื่อทั่วประเทศ (โปรดดู ข้อเสนอของคณาจารย์ทั่วประเทศต่อแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย)  และยื่นจดหมายดังกล่าวต่อ นายวรวัจน์   เอื้ออภิญญกุล รมว.กระทรวงศึกษาธิการขณะนั้น ในปี 2554ที่อิมแพค เมืองทองธานี (โปรดดู "วรวัจน์" รับข้อเสนคณาจารย์ยกเลิกทีคิวเอฟ มอบ สกอ.หาแนวทางแก้ปัญหา ) โดยมีเลขาธิการและรองเลขาธิการสกอ. ร่วมอยู่ด้วย

ในการถกกันถึงปัญหา TQF ขณะนั้น รมว.วรวัจน์ เห็นด้วยว่าควรมีการปรับปรุง  TQF โดยเสนอให้เน้นแต่เพียงการวัดคุณภาพของนักศึกษาที่จบมา มากกว่าที่จะมุ่งควบคุมกำกับการทำงานภายใน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยต่างก็มีระบบประกันคุณภาพกันอยู่แล้ว และรองเลขาธิการสกอ.ขณะนั้น ก็เห็นด้วยว่า ระบบการกรอกฟอร์มรายวิชาของมคอ. 3-7 ควรมีการทบทวนและยกเลิก คงไว้แต่มคอ. 2 สำหรับการควบคุมกำกับหลักสูตรเท่านั้น (ทั้งนี้  สกอ.เดินหน้าบังคับใช้ TQF ทั่วประเทศ ทั้งที่มคอ. 1 หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิในระดับสาขาวิชา ยังมิได้เสร็จสิ้นแต่อย่างใด)

สามปีผ่านไป ไม่เพียงแต่จะไม่มีการทบทวน TQF แต่ประดิษฐกรรม สกอ.ที่นำไปสู่การบังคับกรอกฟอร์มมหาศาล กลับเดินหน้าอย่างบ้าระห่ำ ติดตามมาด้วยอุตสาหกรรมการประเมินผล ซึ่งได้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง สร้างความวุ่นวายปั่นป่วนไปทั่ววงการอุดมศึกษาไทย

TQF เป็นสิ่งที่นักครุศาสตร์ไทยไปลอกเลียนแบบมาจาก Australian Qualifcation Framework (AQF) ของออสเตรเลีย โมเดล AQF ของออสเตรเลีย เป็นผลผลิตของกระแสการแพร่ระบาดของกรอบคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ (National Qualification Framework--NQF) ที่เริ่มต้นในทศวรรษที่ 1990 ในอังกฤษ สก๊อตแลนด์ ก่อนจะขยายตัวไปในประเทศต่างๆทั่วโลก กว่า 120 ประเทศ ปัจจุบัน มีประเทศจำนวนหนึ่งที่ไม่ใช้ NQF ในการสร้างกรอบคุณวุฒิมาตรฐานทางการศึกษา และหนึ่งในนั้นคือ สหรัฐอเมริกา

ในโลกตะวันตก การเกิดขึ้นของ NQF ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาที่สร้างผลสะเทือนอย่างกว้างขวางในหลายประการด้วยกัน ประการแรก NQF ได้เปิดโอกาสให้ตลาดเสรีนิยมใหม่เข้ามาควบคุมกำกับระบบการศึกษาอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการแทนที่ระบบการสร้างและประเมินความรู้ที่เคยมีอยู่อย่างหลากหลายและแตกต่างกันไปของแต่ละสถาบันการศึกษาและสาขาวิชา ให้เข้าสู่แบบแผนที่เหมือนกัน ด้วยมาตรฐานเดียวที่หดแคบลง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานเท่านั้น

ประการที่สอง  การเกิดขึ้นของ NQF ยังได้ก่อให้เกิดการดึงอำนาจ และเสรีภาพในการสร้างและพัฒนาความรู้ จากมือของผู้สอนและมหาวิทยาลัย ไปอยู่ในมือของเทคโนแครตการศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัย ผู้นำเสนอระบบการประสิทธิ์ประสาทความรู้ประเภทใหม่ ที่สามารถชั่งตวงวัดและประเมินผลได้ จะสอนอย่างไร และอะไรคือสิ่งที่ควรถูกเรียนรู้ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้สอนอีกต่อไป  หากแต่ได้กลายเป็นปริมณฑลที่ถูกควบคุมกำกับโดยนักประเมินและนักการศึกษาภายนอก

การเปลี่ยนแปลงประการสำคัญที่เกิดจากน้ำมือของ NQF คือ การเปลี่ยนระบบความรู้ (Body of knowledge)  และลดทอนสถานะความเป็นปรัชญาประวัติศาสตร์ของระบบความรู้ให้เหลือเพียงสิ่งที่เรียกว่า “ผลลัพธ์ในการเรียนรู้” (Learning outcome-based qualification framework หรือ Competency-based framework)  การเน้นเพียงที่ “ผลลัพธ์”และความสามารถของความรู้ ได้ยังผลให้ปรัชญาความรู้อันสลับซับซ้อนถูกบังคับให้ถูกตีค่าประหนึ่งว่าเป็นเพียงข้อมูล (Facts) ที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น ที่สามารถนำมาแยกเป็นส่วนๆ สำหรับการวัดและประเมินค่าให้เห็นประโยชน์ของการใช้งานในตลาดแรงงานได้อย่างเชิงประจักษ์ ปัญหาสำคัญที่ตามมาคือ ภายใต้กรอบความรู้ชนิดดังกล่าว ที่ทางของจินตนาการ แรงบันดาลใจ เสรีภาพในการคิดเชิงสร้างสรรค์ อันเป็นจากการเรียนรู้นอกกรอบคิดของความรู้ที่ถูกตีค่าเท่ากับข้อมูล ไม่อาจมีที่ทางหรือถูกนับเข้าเป็นความรู้ได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถูกนำประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกรณีของไทย การทำลายระบบความรู้ ยังเกิดขึ้นจากการอุตริกำหนดค่าผลการเรียนรู้ที่ควรที่จะเปิดกว้างและยืดหยุ่น ให้หดแคบลงไปอีกด้วยการสร้างความหมายที่เฉพาะเจาะจงขึ้นเป็นมาตรฐานสากลทั่วไป  ทั้งนี้ในขณะที่ในต่างประเทศได้วางกรอบคิดว่าด้วยผลการเรียนรู้  เอาไว้ภายใต้ สามมิติกว้างๆ คือ ความรู้ (Knowledge) ความสามารถ (Competency) และทักษะ (Skill)  นักครุศาสตร์ไทยกลับเพิ่มความหมายเฉพาะแบบไทยๆของผลการเรียนรู้และขยายออกเป็นถึง 5  มิติด้วยกันคือ คุณธรรม จริยธรรม  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ  ความรู้ ทักษะทางปัญญา และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในกรอบคิดที่ไม่เหมือนใครในโลกนี้ ความรู้ ได้ถูกแปลงให้เป็นทักษะเชิงประจักษ์ที่ไม่เหลือที่ทางให้ตีความ ในขณะที่ มหาวิทยาลัยถูกเปลี่ยนจากแหล่งสร้างสรรค์ปัญญาและความคิด ให้กลายเป็นโรงงานผลิตสินค้าแรงงานที่มีทักษะเฉพาะอย่างสมบูรณ์

ประการที่สาม  การรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษาไปอยู่ในมือของรัฐ ด้วยการใช้ระบบการประเมินผลการเรียนรู้แบบมาตรฐานเดียว (Unified system)  เข้าควบคุม กำกับสถาบันการศึกษา   และใช้มาตรการดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญในการบังคับควบคุมมหาวิทยาลัย ผ่านอำนาจในการอนุมัติหรือไม่รับรองหลักสูตร  การรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษาโดยรัฐผ่านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา มีระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ในโลกตะวันตกมีแนวโน้มที่จะเปิดให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจรัฐด้วยสถาบันวิชาการต่างๆมากกว่าประเทศกำลังพัฒนา (Allais 2014) ในกรณีของไทย การรวมศูนย์อำนาจดังกล่าวเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จ และเกิดขึ้นอย่างสวนทางกับนโยบายการผลักดันให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบของรัฐโดยสิ้นเชิง  ทั้งนี้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยถูกบีบให้ต้องพึ่งพาตนเองทางด้านการเงินอย่างเป็นอิสระจากรัฐ แต่ในแง่วิชาการและการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยกลับถูกทำให้เป็น “ราชการ”มากยิ่งขึ้น ผ่านการควบคุมกำกับที่เข้มงวดและรวมศูนย์ของระบบประกันคุณภาพชนิดต่างๆ   ทิศทางที่ย้อนแย้งภายใต้การปกครองของสกอ.ดังกล่าวได้สร้างทั้งภาระทางเศรษฐกิจและภาระงานให้กับมหาวิทยาลัยอย่างท่วมท้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ที่สำคัญ การประกาศใช้ TQF ของสกอ.ที่มีผลบังคับใช้กับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ และสร้างผลกระทบมหาศาล กลับดำเนินไปอย่างปราศจากการมีส่วนร่วมของชุมชนวิชาการตั้งแต่เริ่มแรก  คำถามสำคัญคือ เหตุใดจึงเป็นโมเดล NQF แบบออสเตรเลีย?  และการลอกเลียนแบบโมเดลแบบออสเตรเลีย โดยเพิ่ม “ความเป็นไทย” เข้าไปอย่างพละการนี้ ได้มีการศึกษาถึงผลดี ผลเสียของโมเดลดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ก่อนนำเอานโยบายดังกล่าวมาประกาศใช้ทั่วประเทศ ?

งานศึกษาในต่างประเทศจำนวนไม่น้อย เห็นพ้องต้องกันว่า นับตั้งแต่การนำเอา NQF มาใช้ในประเทศต่างๆ ยังไม่เคยมีงานศึกษาชิ้นใดที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า NQF ได้ช่วยพัฒนาระบบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษาให้ดีขึ้น (Allais 2014, Coles, Keevy, Bateman and Keating 2014)  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนที่นำเข้าตัวแบบของ NQF ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาของตนในระดับโลก

ในการศึกษาผลกระทบของ NQF ใน 16 ประเทศทั่วโลก Allais ได้ชี้ให้เห็นว่า ในทางปฏิบัติแล้ว NQF ไม่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างที่อวดอ้างเสมอไป แต่กลับสร้างปัญหาต่างๆขึ้นมา   Allais ได้ตั้งข้อสังเกตต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนเมื่อนำ NQF มาใช้ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ คือ 1) ความสำเร็จเพียงประการเดียวที่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้สร้างเอาไว้คือ แบบฟอร์มกระดาษที่บันทึกคุณวุฒิต่างๆจำนวนมาก ที่ไม่เคยถูกนำมาใช้หรือถูกอ่าน แม้ว่าในหลายประเทศ ตัวแทนของธุรกิจ อุตสาหกรรม จะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญในการพัฒนากรอบคุณวุฒิดังกล่าวก็ตามที

2) ไม่มีหลักฐานใดๆที่แสดงให้เห็นว่ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิได้นำไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะของสถาบันการศึกษาต่างๆให้ดีขึ้น  และไม่มีหลักฐานใดๆที่ชี้ว่าการควบคุมกำกับโดยรัฐผ่านระบบการประกันคุณภาพได้นำไปสู่การปรับปรุงทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณของการศึกษาที่ดีขึ้น ในบางประเทศเช่น อัฟริกาใต้ NQF กลับทำให้คุณภาพของการศึกษาแย่ลง  ทั้งนี้โศกนาฏกรรมของ NQF ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะสถาบันการศึกษามีทรัพยากรที่จำกัด หากแต่เพราะทรัพยากรอันจำกัดที่มีอยู่ แทนที่จะถูกนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษา กลับถูกนำมาพล่าผลาญอย่างเปล่าประโยชน์ด้วยการทำงานเพื่อตอบสนองต่อระบบการประเมินที่สิ้นเปลืองและไร้ประโยชน์

และ  3) ข้ออ้างของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่เน้นการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้  ว่าจะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของแรงงานและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตลาดแรงงานและการศึกษา กลับไม่เคยเกิดขึ้นจริง ในทางตรงข้าม งานศึกษากลับพบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับอ่อนแอลงภายใต้ NQF ทั้งนี้เนื่องเพราะในขณะที่ตลาดแรงงานและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจต่างๆเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อุดมศึกษาภายใต้กรอบมาตรฐานดังกล่าวกลับถูกบังคับให้มีมาตรฐานเดียว แข็งตัวและไม่ยืดหยุ่น จึงยากต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอกได้ (Allais 2014)

สิ่งที่น่าสนใจคือ ปัญหาเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในไทยเช่นเดียวกัน และเป็นที่ตระหนักดีในหมู่ผู้บริหารของ สกอ. แต่นักเทคโนแครตการศึกษาเหล่านั้น กลับเลือกที่จะยึดกุมเครื่องมือที่ไร้คุณภาพและเต็มไปด้วยปัญหาเพียงเพื่อธำรงค์รักษาอำนาจของตนเหนือสถาบันการศึกษาต่างๆ  

ในยุโรป หลายประเทศที่บังคับใช้ NQF ได้สนับสนุนให้สมาคมวิชาการและวิชาชีพ ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนากรอบแนวคิดเชิงคุณวุฒิที่สอดคล้องกับสาขาวิชาการ/วิชาชีพของตน เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับความหลากหลายและแตกต่างทางวิชาการและเป็นการสร้างเสริมบทบาทของสถาบันวิชาการที่มิใช่รัฐในการควบคุมกำกับคุณภาพทางวิชาการของสาขาวิชาการของตน ในสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ยอมรับกรอบแนวทางแบบ NQF สมาคมวิชาการและสมาคมวิชาชีพ เป็นชุมชนวิชาการที่สำคัญในการทำหน้าที่ยกระดับและพัฒนาคุณภาพวิชาการในสาขาต่างๆ 

ในกรณีของไทย ทิศทางกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม  เพราะไม่เพียงความแตกต่างและหลากหลายทางวิชาการจะถูกทำลายและแทนที่ด้วยกรอบคิดอันคับแคบของนักการศึกษาไม่กี่คนแล้ว รัฐกลับไม่เคยสนับสนุนบทบาทของสมาคมวิชาการ/วิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพของอุดมศึกษาแต่อย่างใด  อุดมศึกษาไทยได้กลายเป็นหนูทดลองของระบบรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษาที่ถอยหลังและไร้ประสิทธิภาพ  ระบบการประกันคุณภาพ การประเมินผลการเรียนรู้ของระบอบ TQF  ไม่เพียงแต่เป็นฝันร้ายประเภทใหม่ของนักวิชาการในยุคนี้ หากแต่ยังเป็นชนวนของวิกฤตอุดมศึกษาไทยที่ยากเกินกว่าจะเยียวยาอีกด้วย


เอกสารอ้างอิง

Allais, Stephanie (2014). Selling Out Education: National Qualifications Frameworks 
and the Neglect of Knowledge, Rotterdam/Boston/Taipei: Sense Publishers.
Bjornavold, J., & Coles, M. (2008). “Governing education and training; the case of
qualifications frameworks”. European Journal of Vocational Training, 42–43,
203–235.
Brown, A. (2011). “Lessons from policy failure: The demise of a national Qualifications Framework based solely on learning outcomes in England”. Journal of Contemporary Educational Studies, 5, 36.
Coles, M., Keevy, J., Bateman, A., and Keating, J. (2014)  “Flying Blind: Policy rationales for National Qualifications Frameworks and how they tend to evolve”. International Journal of Continuing Education and Lifelong Learning, 7(1), 17-46.
Cosser, M. (2001). “The implementation of the National Qualifications Framework and the transformation of education and training in South Africa: A critique”. In A. Kraak, & M. Young (Eds.), Education in retrospect: Policy and implementation since 1990 (pp. 153–167). Pretoria, RZA: Human Sciences Research Council.
Higgs, P., & Keevy, J. (2009). “The reliability of evidence contained in the National Qualifications Framework Impact Study: A critical reflection”. Perspectives in Education, 25(4), 1–12.
Lester, S. (2011). “The UK Qualifications and Credit Framework: A critique”. Journal of Vocational Education and Training, 63(2), 205–216.
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“เอาคืนบ้าง” ประยุทธ์ขู่ฟ้องคอลัมนิสต์ ‘ลม เปลี่ยนทิศ’ หากยังไม่หยุดเขียนโจมตี

$
0
0

2 ก.ย.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างที่เป็นเป็นประธานประชุมติดตามผลการดำเนินงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวถึง คอลัมน์ “หมายเหตุประเทศไทย” โดย ลม เปลี่ยนทิศ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่เขียนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่า ได้พูดคุยหลายครั้งแล้ว มีการรับปาก แต่ยังคงเขียนโจมตีอยู่ ถ้ายังไม่หยุดก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปฟ้องร้องเพื่อเป็นการเอาคืนบ้าง ให้เป็นแบบอย่างว่าการใช้สื่อสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนเป็นอย่างไร

“รัฐบาลพยายามทำงานเต็มที่ แต่ยังมีสื่อบางฉบับ อย่างคอลัมน์ลมเปลี่ยนทิศ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามรัฐบาล เขียนวิพากษ์วิจารณ์โจมตีรัฐบาล ทั้งที่เรียกมาตักเตือนหลายครั้งแล้ว ซึ่งทุกครั้งก็รับปากจะไม่ทำอีก แต่ยังคงเขียนโจมตีอยู่ ถ้ายังไม่หยุด ก็จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปฟ้องร้อง เพื่อเป็นการเอาคืนบ้าง ให้เป็นแบบอย่างว่า การใช้สื่อสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนเป็นอย่างไร” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์, สำนักข่าวไทยและกรุงเทพธุรกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวสืบสวนอาเซอร์ไบจานประกาศ 'สู้' กับความฉ้อฉลต่อไปแม้ถูกศาลสั่งจำคุก

$
0
0

นักข่าวสืบสวนมือรางวัลในอาเซอร์ไบจาน คาดีจา อิสมายิลโลวา ถูกสั่งจำคุกในหลายข้อหาที่ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นเพื่อใส่ร้ายเธอ แต่เธอก็ออกแถลงการณ์ต่อศาลที่มีทั้งการวิพากษ์วิจารณ์คดีนี้ การประกาศเจตนารมณ์ว่าการเปิดโปงความฉ้อฉลของคนระดับสูงในประเทศของเธอจะยังคงดำเนินต่อไปแม้อยู่ในคุก

คาดีจา อิสมายิลโลวา นักข่าวชาวอาเซอร์ไบจาน (ที่มา: ฮิวแมนไรท์วอทซ์)

3 ก.ย. 2558 - คาดีจา อิสมายิลโลวา นักข่าวสืบสวนสอบสวนชาวอาเซอร์ไบจานเผยแถลงการณ์ต่อศาลหลังจากถูกพิพากษาจำคุกว่าการลงโทษในครั้งนี้ไม่ทำให้เธอสูญเสียความตั้งใจและงานของเธอจะดำเนินต่อไป นักข่าวมือรางวัลผู้นี้ถูกลงโทษจำคุก 7 ปีครึ่งในข้อหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนส่วนมากมองว่าเป็นการสร้างเรื่องเท็จเพื่อใส่ความเธอเนื่องจากอัสมายิลโลวาทำข่าวสืบสวนเจาะลึกถึงการทุจริตของผู้นำประเทศ

อิสมายิลโลวาเขียนแถลงการณ์ฉบับเต็มเกี่ยวกับคดีนี้ไว้ซึ่งมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์เรดิโอฟรียุโรป เธอมีแผนการอ่านแถลงการณ์ดังกล่าวนี้ในศาลแต่ก็ถูกศาลห้ามไว้กลางคัน แถลงการณ์ของเธอระบุว่า "แม้ฉันจะอยู่ในคุก แต่งานของฉันก็ยังจะดำเนินต่อไป"

อิสมายิลโลวาเป็นนักข่าวที่ทำงานให้กับเรดิโอฟรียุโรป งานข่าวสืบสวนสอบสวนของเธอที่ได้รับรางวัลเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตในวงการผลิตน้ำมันของอาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลในระดับนานาชาติอีกหลายรางวัล อิสมายิลโลวายังคงทำงานข่าวสืบสวนสอบสวนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวพันถึงการทุจริตของประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน ทำให้มีคนเชื่อว่าเธอถูกดำเนินคดีเพราะผู้ฟ้องร้องเธอมีแรงจูงใจทางการเมือง

นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนประณามการตัดสินของศาลว่าเป็นการดำเนินคดีที่ไม่เป็นธรรมโดยมาจากข้อกล่าวหาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นเท็จ เดนิส คริโวชีฟ จากองค์กรแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่ารัฐบาลอาเซอร์ไบจานมีการปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนักกิจกรรมทางการเมือง นักข่าว นักสิทธิมนุษยชน หรือใครก็ตามที่กล้าวิจารณ์รัฐบาลต่อหน้าสาธารณะ

แถลงการณ์ของอิสมายิลโลวามีการวิจารณ์ประธานาธิบดีอิลฮัม อะลีเยฟ ผู้นำอาเซอร์ไบจานว่าเป็น "เครื่องจักรแห่งการกดขี่" อีกทั้งยังมีการประณามการทุจริตของผู้นำในเรื่องสัญญากับบรรษัทต่างชาติ การเลี่ยงภาษี และการนำเงินที่ยักยอกไปฝากไว้ในต่างประเทศ อิสมายิลโลวายังประกาศในแถลงการณ์อีกว่าเธอขอให้นักข่าวและประชาชนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในระดับสูงต่อไป

อิสมายิลโลวาเปิดเผยอีกว่าในคดีของเธอนั้นพยานฝ่ายโจทย์ที่ให้การในชั้นศาลถูกเหมือนจะให้การเพราะถูกข่มขู่หรือมีการบังคับให้พยานอ่านคำให้การซึ่งพวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนอีกทั้งยังมีพยานรายหนึ่งที่รับสินบน เธอระบุด้วยว่าจะใช้โอกาสที่เธอถูกลงโทษในนี้เพื่อเปิดโปงการใช้อำนาจในทางที่ผิดในเรือนจำ

สำนักข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่าอิสมายิลโลวาถูกจับกุมเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว เธอเป็นหนึ่งในกลุ่มนักข่าว นักกิจกรรม และผู้วิจารณ์รัฐบาลที่ถูกรัฐบาลใช้อำนาจปราบปราม หลังจากที่เธอถูกจับเธอก็ถูกกุมขังในช่วงก่อนการพิจารณาคดี รัฐบาลสหรัฐฯ และรัฐบาลชาติตะวันตกต่างเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเธอ รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์คดีนี้จากคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว (CPJ)

เดอะการ์เดียนรายงานอีกว่ามีตัวแทนจากสถานทูตบางส่วนเท่านั้นทีสามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีของอิสมายิลโลวาได้ ขณะที่นักข่าวอิสระและนักกิจกรรมต่างถูกห้ามไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาคดีนี้

 

เรียบเรียงจาก

Azerbaijan journalist Khadija Ismayilova vows to continue fight from prison, The Guardian, 01-09-2015 http://www.theguardian.com/world/2015/sep/01/azerbaijan-khadija-ismayilova-verdict

Baku Court Cuts Off Ismayilova's Fiery Final Statement; Verdict Delayed, Radio Free Europe, 02-09-2015 http://www.rferl.org/content/azerbaijan-ismayilova-statement-halted-verdict-delayed/27218157.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนุ่มดัตช์ชนะรางวัลออกแบบเพื่อชุมชน-จากเครื่องมือดักขยะพลาสติกในทะเล

$
0
0

หนุ่มนักออกแบบชาวดัตช์คว้ารางวัลงานออกแบบที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นประจำปี 2558 ในสาขางานออกแบบเพื่อชุมชนจากผลงานเครื่องกำจัดขยะพลาสติกในทะเล โดยที่มีเป้าหมายทดลองเครื่องดังกล่าวภายในปีหน้าท่ามกลางข้อกังขาจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาทางทะเลที่มองว่าปัญหาขยะพลาสติกซับซ้อนเกินกว่าจะแก้ไขได้ด้วยเครื่องนี้

เครื่องมือทำความสะอาดมหาสมุทร ผลงานของโบยาน สแลต (ที่มา: deignboom.com)

 

2 ก.ย. 2558 - โบยาน สแลต วัยรุ่นชาวดัตช์อายุ 20 ปี ชนะรางวัล 'อินเด็กซ์ : อวอร์ด' ประจำปี 2558 ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับงานออกแบบที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น จากผลงานเครื่องมือทำความสะอาดมหาสมุทร (Ocean cleanup array) ในสาขางานออกแบบเพื่อชุมชน

ในขณะที่มหาสมุทรกำลังประสบปัญหามีขยะชิ้นส่วนพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ราว 8 ล้านตันต่อปี เครื่องมือทำความสะอาดมหาสมุทรของสแลตก็เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่สามารถทำความสะอาดทะเลให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อนจำพวกพลาสติกโดยอาศัยวิธีการหมุนเวียนกระแสน้ำตามธรรมชาติ

โดยแทนที่จะใช้เรือออกไปตามกำจัดขยะ สแลตใช้วิธีวางเครื่องมือแนวดักจับรูปตัววีไปตามกระแสคลื่นของทะเลเมื่อคลื่นน้ำเคลื่อนผ่านแนวดักจับดังกล่าวจะมีการดักเอาเศษพลาสติกเอาไว้ได้เพื่อส่งมันไปสู่ที่เก็บกักและนำไปกำจัดในภายหลัง ในขณะเดียวกันเครื่องมือนี้จะส่งผลต่อกระแสน้ำในระดับตื้นๆ เท่านั้น กระแสน้ำในระดับลึกลงไปจะไหลผ่านเป็นปกติทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล

นอกจากนี้เครื่องมือทำความสะอาดมหาสมุทรของสแลตกมีระบบที่สามารถปฏิบัติการได้ด้วยตัวเองโดยการอาศัยพลังงานจากแสงอาทิตย์และกระแสคลื่น เครื่องมือแต่ละชิ้นยังมีขนาดใหญ่ครอบคลุมหลายล้านตารางกิโลเมตร

รางวัล 'อินเด็กซ์ : อวอร์ด' ซึ่งเป็นรางวัลจากองค์กรไม่แสวงหากำไรสัญชาติเดนมาร์กระบุว่าที่พวกเขาให้รางวัลแก่ผลงานของสแลตเนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นผลงานออกแบบที่พูดถึงปัญหาที่สำคัญมากของโลก โดยไม่เพียงแค่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมหรือความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อเรื่องการพัฒนาสุขภาวะของมนุษย์โดยการลดสารปนเปื้อนจากพลาสติกด้วย

โดยการประกาศรางวัลดังกล่าวนี้ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากผลงานของสแลตแล้วยังมีผลงานที่ได้รับรางวัลในสาขาอื่นๆ เช่น แอพพลิเคชั่นสอนภาษาชื่อ 'ดูโอลิงโก' (Duolingo) ซึ่งได้รางวัลในสาขาการเรียนรู้และการเล่น เครื่องมือทำน้ำสะอาดด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ชื่อ 'เดโซเลเนเตอร์' (Desolenator) ซึ่งชนะรางวัลขวัญใจมหาชน

 

การวิจารณ์จากนักวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตามเครื่องมือดังกล่าวนี้ยังไม่ถูกนำมาใช้จริง สแลตวางแผนจะให้มีการทดลองใช้กับมหาสมุทรแถบคาบสมุทรเกาหลีภายในปี 2559 แต่กลุ่มประชาคมนักวิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ยังคงกังขาว่าเครื่องมือนี้จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ รวมถึงยังคงกังวลในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เคธ อัลเลน ผู้อำนวยการด้านการศึกษามหาสมุทรจากสถาบันวิจัยมหาสมุทรอัลกาลิตากล่าวว่า ความพยายามกำจัดพลาสติกออกจากท้องทะเลเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากจนเป็นการยากที่เครื่องมือประกอบสร้างโดยมนุษย์จะนำมาใช้ได้สำเร็จ เธอเปรียบเทียบว่าความพยายามของสแลตเปรียบเสมือน "การนำเลื่อยไฟฟ้าไปผ่าตัดเนื้องอก"

อัลเลนคิดว่าเครื่องมือของสแลตจะไม่สามารถดักจับพลาสติกขนาดเล็กมาก (microplastics) ได้และอาจจะไม่สามารถรับมือกับขยะชิ้นใหญ่อย่างทุ่นจับปลาได้ด้วย อีกทั้งยังอาจจะเป็นไปได้ที่เครื่องมือของเขาจะมีสิ่งมีชีวิตอย่างเพรียงทะเลมาติดเว้นแต่จะมีการทางเคลือบเครื่องมือด้วยสิ่งที่กำจัดสารอินทรีย์

 

เรียบเรียงจาก

INDEX: award 2015 winners revealed, Designboom, 27-08-2015 http://www.designboom.com/design/index-award-2015-winners-08-27-2015/

A Dutch Student’s Giant Ocean Cleanup Machine Is Going Into Production, Takepart, 09-06-2015 http://www.takepart.com/article/2015/06/09/pacific-garbage-patch-could-meet-its-match-2016

ข้อมูลการประกวด INDEX: AWARD 2015 http://designtoimprovelife.dk/category/award2015/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images