Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

'สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' ขอค่าจ้าง 421 คสช.คืนประชาธิปไตย สังคมไทยเป็นรัฐสวัสดิการ

$
0
0

1 เม.ย. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.) ได้ออกแถลงการณ์ วันกรรมกรสากล โดยเสนอประเด็นต่างๆ ให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนผู้รักประชาธิปไตย  ร่วมกันรณรงค์ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. รัฐบาล คสช.ต้องคืนประชาธิปไตยให้ประชาชนโดยเร็ว 2. สังคมไทยต้องเป็นรัฐสวัสดิการ 3. ค่าจ้างต้องเพียงพอต่อการดำรงชีพและเป็นธรรมคือวันละ 421 บาท

4. รัฐต้องให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และอนุสัญญาฯฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ฉบับที่  135  ว่าด้วยการคุ้มครองและอำนวยความสะดวกแก่ผู้แทนสหภาพแรงงานในการปฏิบัติหน้าที่ และฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองครรภ์มารดา 5. รัฐต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อการพัฒนาสหภาพแรงงาน 6. รัฐต้องจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า และ 7. สตรีมีสิทธิ์ทำแท้งเมื่อไม่พร้อมมีบุตร

สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเรื่องต่างๆเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบทางการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  โดยเร่งด่วนและเป็นการคืนความสุขให้ประชาชนอย่างแท้จริง

แถลงการณ์ของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ  ยังระบุด้วยว่า 1 พ.ค.ของทุกปีเป็นวันกรรมกรสากล หรือ May Day สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ได้เข้าร่วมจัดกิจกรรมวันกรรมกรสากลเหมือนเช่นทุกปี เพื่อร่วมรำลึกถึงวันที่กรรมกรทั่วโลกลุกขึ้นสู้เพื่อชีวิตใหม่ ต่อต้านการบังคับข่มขู่ และการกดขี่ข่มเหงทุกรูปแบบ ให้คนหลุดพ้นจากความหิวโหย ความยากแค้นและไร้ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ถึงแม้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรรมกรและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมได้ต่อสู้มาอย่างต่อเนื่อง แต่หาได้หลุดพ้นจากความหิวโหย การกดขี่ ขูดรีด หรือมีสิทธิเสรีภาพมากกว่าเดิมไม่  อันเนื่องมาจากว่าพวกเรายังไม่สามารถหลุดพ้นจากกรอบความคิดแบบอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะในปัจจุบันการกดขี่ขูดรีดจากระบบทุนต่างๆยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากสถานการณ์ทางการเมืองในอดีตชนชั้นปกครองไทย ได้ใช้กำลังความรุนแรง และปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดเหี้ยมหลายครั้ง เช่น การรัฐประหาร 2490 การรัฐประหาร 2501 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 การรัฐประหาร 2549 การปราบปรามประชาชน เดือนเมษายน 2552 และเมษายน-พฤษภาคม 2553

"ปัจจุบันความขัดแย้งในสังคมไทยเป็นความขัดแย้งทางชนชั้น เนื่องจากกลุ่มทุนอนุรักษ์นิยม ต้องการทำลายขบวนการกรรมกร ขบวนการประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ซึ่งพวกเขาจะใช้กลไกลรัฐทุกอย่างเป็นเครื่องมือกำจัดขบวนการประชาธิปไตยของประชาชนจนนำมาสู่การรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่า  ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้  นับวันความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆจากการทำรัฐประหารของชนชั้นปกครองเมื่อวันที่  22  พฤษภาคม  2557 ทำให้การพัฒนาสร้างสรรค์ประเทศในทางการเมือง เศรษฐกิจ  สังคม  หยุดชะงักและไม่รู้เมื่อไหร่ประเทศจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ตามระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากลนิยมที่ทั่วโลกยอมรับ" แถลงการณ์สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ระบุ

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศักดิ์ศรีของกรรมกรอยู่ตรงไหน

$
0
0
 
วันกรรมกรสากล (May Day) 1 พฤษภาคมปีนี้ ยังคงจัดอยู่ภายใต้การบังคับใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ครอบคลุมทั้งอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ โดยอ้างประโยชน์ในการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกประเทศ อันสะท้อนถึงการมุ่งสร้างความมั่นคงของรัฐ สร้างความสามัคคีปรองดอง ที่เต็มไปด้วยการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐบาลทหาร           
 
สองปีนับตั้งแต่การทำรัฐประหารของ คสช.เพียงพอสำหรับการพิสูจน์ผลงานการบริหารประเทศของรัฐบาลทหารนั่นคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการใช้การกำลังข่มขู่ คุกคาม จับกุมนักกิจกรรมที่ต้านรัฐประหาร ในลักษณะไม่แจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีหมายศาล ไม่ให้สิทธิในการพบญาติ ทนายความ ไม่แจ้งที่จับกุมคุมขัง ไปจนถึงการซ้อมทรมานผู้ต้องหา บังคับให้สารภาพ ด้วยกฎหมายความมั่นคงต่าง ๆ เช่น ก.ม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งยังออกกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะปี 2558 ที่มีเงื่อนไขต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบก่อนชุมนุม และควรชุมนุมหรือปราศรัยในเวลา 18.00 น.ถึง 6.00 น.ของวันรุ่งขึ้น เป็นต้น แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นไม่ใช้บังคับกับการชุมนุมเรียกร้องเรื่องแรงงาน แต่ตัวอย่างที่ปรากฏคือได้มีทหารเข้าไปแทรกแซงการชุมนุมของแรงงานหลายครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2559 สหภาพแรงงานซันโคโกเซ ประเทศไทย จังหวัดระยอง พร้อมสมาชิกประมาณ 500 คน เดินทางมายังกระทรวงแรงงาน เพื่ออาศัยพื้นที่กระทรวงชุมนุมและเจรจากับฝ่ายนายจ้าง เนื่องด้วยสหภาพแรงงานฯ ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับบริษัทฯ และนายจ้างก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องสวนต่อสหภาพแรงงานฯ ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้จนกลายเป็นข้อพิพาทแรงงาน และนายจ้างใช้ยุทธวิธีประกาศปิดงานต่อสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ทั้งหมด 600 คน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค. 2558 แต่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด คือ กระทรวงแรงงานยืนยันที่จะให้ทางฝ่ายลูกจ้างเลิกชุมนุม หากไม่เลิกจะใช้พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะดำเนินคดีกับทุกคน อีกทั้ง ตำรวจยังได้ควบคุมตัวประธานสหภาพแรงงานฯ และรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แต่ปล่อยตัวทั้งสองคนในเวลา 22.30 น. ในวันเดียวกัน พร้อมขอร้องให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับบ้าน โดยได้อำนวยความสะดวกในการจัดรถรับ-ส่ง ถึงที่พักในจังหวัดระยอง และผู้ชุมนุมก็แยกย้ายกันกลับ
 
ล่าสุดกับการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จำนวน 105 หน้า 279 มาตรา เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2559 และจะมีการจัดการลงประชามติตามมา ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ออกหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงความคิดเห็นในการออกเสียงประชามติแล้ว เช่น ห้ามให้มีการชี้นำคนในสังคมให้ออกเสียงไปในทางใดทางหนึ่ง ห้ามปลุกระดมหรือต่อต้าน และที่ผ่านมามีการวิจารณ์ประเด็นสำคัญในร่าง รธน. จนไปสู่การแสดงเจตจำนงค์ของกลุ่มนักกิจกรรมเคลื่อนไหว นักวิชาการ ไม่ยอมรับร่างฯ ดังกล่าว เพราะเป็นร่างที่ไม่เห็นหัวประชาชน ลดทอนอำนาจอธิปไตยที่ควรจะต้องเป็นของประชาชน เช่น ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา องค์กรอิสระที่มาจากการคัดสรร นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
 
สิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้นสะท้อนให้เห็นภาวะของการบริหารประเทศที่รุนแรง/ผิดปกติ นอกจากนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมีนโยบายแช่แข็งค่าจ้างขั้นต่ำในปี 58-59 อีกด้วย โดยเฉพาะกับแรงงานภาคเอกชน ทั้งโจมตีนโยบายประชานิยม พยายามจะลดทอนสวัสดิการนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ที่คุ้มครองแรงงานนอกระบบ ชาวนา ฯลฯ ถึง 48 ล้านคน ให้เป็นนโยบายประชา-รัฐร่วมจ่าย เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน ที่ถูกมองว่าสูงถึงร้อยละ 16-17 ของงบประมาณแผ่นดินในปัจจุบันหรือร้อยละ 4.6 ของ GDP แล้วศักดิ์ศรีของแรงงานจะอยู่ตรงไหน           
 
หากสำรวจสถานการณ์คุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ปัญหาเดิมยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ที่ทำให้เกิดภาระหนี้สิน การตกงาน การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การปิดงาน ทำลายสหภาพแรงงาน ทำลายอำนาจการต่อรองเรื่องการปรับปรุงมาตรฐานการจ้างงานให้ดีขึ้น ซึ่งหน้าที่ของรัฐต้องส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน ที่ได้ระบุไว้ในร่าง รธน. หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ แต่หากพิจารณาความจริงที่เกิดขึ้น แนวโน้มไม่เป็นดั่งที่เขียนไว้ นามธรรมจึงมักขัดแย้งกับรูปธรรมภายใต้รัฐบาลที่ปฏิเสธอำนาจของประชาชนคนชั้นล่าง          
 
จิตวิญญาณของวันกรรมกรสากล คือ การเป็นผู้กำหนดอนาคตด้วยตนเอง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสหภาพแรงงานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา คนงานในเมืองชิคาโกสมัยนั้นออกมารณรงค์กำหนดชั่วโมงทำงานไม่ให้เกินวันละ 8 ชั่วโมงทุกแห่ง และได้กลายเป็นประเด็นร่วมในการเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานทั่วโลก ข้อเรียกร้องนี้ได้ถูกเสนอสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ขององค์กรกรรมกรสากลที่กรุงเจนีวา หรือที่เรียกกันว่า “สากลที่หนึ่ง” ในปี พ.ศ. 2429 พร้อมกับมีการเสนอให้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมในปีพ.ศ. 2429 เป็นวันกรรมกร อีกทั้งเป็นวันแห่งการแสดงออกซึ่งจิตใจสมานฉันท์สากล หรือ International solidarity อันเป็นปฏิบัติการร่วมของชนชั้นแรงงานโดยไม่แบ่งแยก สีผิว ศาสนา ความเชื่อ และพรมแดน
 
สำหรับประเทศไทย ได้มีการริเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันกรรมกรสากลอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2489 โดยการนำของสมาคมสหอาชีวะกรรมกรนครกรุงเทพฯ และสมาคมไตรจักร์ สมาคมของคนถีบสามล้อ ชุมนุม ณ สนามหญ้าสำนักงานสมาคมไตรจักร์ วังสราญรมย์ มีคนงานเข้าร่วมราวสามพันคน ถัดมาในปี 2490 สมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย ที่เพิ่งถือกำเนิดได้ใช้ท้องสนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานวันกรรมกรสากลอย่างยิ่งใหญ่ มีคนงานเข้าร่วมงานกว่าแสนคน โดยได้เรียกร้องให้เอาระบบการทำงานแบบ 888 หรือ "สามแปด" คือ ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาเล่าเรียน 8 ชั่วโมงมาบังคับใช้ ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องสากล และยังเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรงสำหรับการทำงานล่วงเวลา ให้ยอมรับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและรวมกลุ่มจัดตั้งของกรรมกร คนงานต้องมีสิทธินัดหยุดงานเพื่อต่อรองกับนายจ้าง ให้มีการประกันสวัสดิภาพของลูกจ้าง และที่สำคัญคือให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันหยุดงานของกรรมกร
 
ในประวัติศาสตร์ของกรรมกร การมีสิทธิที่จะกำหนดอนาคตของตนเองด้วยการเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมเกิดขึ้นจากการคำนึงถึงศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ ในฐานะคนทำงานสร้างโลก การเป็นเจ้าของประเทศ เป็นผู้เปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งจะต้องได้รับการเคารพจากผู้นำผู้บริหารประเทศ ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมให้มีการศึกษาที่ดี มีงานทำ มีหลักประกันครอบคลุมชีวิตทุกด้านตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ความเป็นจริงที่ผ่านมา แรงงานต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพและความเป็นอยู่ที่ดีด้วยตัวเอง บทบาทของรัฐไม่ได้ตอบสนองสิ่งที่แรงงานต้องการอย่างที่ควรจะเป็น ให้ประโยชน์เพียงเศษเสี้ยว เพราะรัฐเต็มไปด้วยกลุ่มอนุรักษ์อำนาจนิยม และการจะขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปีนี้ ฝ่ายแรงงานด้านคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเองยังต้องยกแม่น้ำทั้งห้ามาสนับสนุน ให้ได้มาเพียงแค่วันละ 360 บาท ในท่าทีที่ประนีประนอมกับรัฐบาลเผด็จการทหาร เช่น การที่รัฐมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ จูงใจนักลงทุน เช่น ลดภาษีเงินได้ให้แก่บริษัท ทำให้บริษัทมีผลกำไรที่สามารถแบกรับต้นทุนแรงงานจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ 360 นี้ได้ แทนที่จะเรียกร้องให้รัฐเก็บภาษีรายได้นิติบุคคล และภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินมาจัดสวัสดิการมาตรฐานเดียวในแบบรัฐสวัสดิการ กลับมองเรื่องค่าจ้างเพียงมิติเดียว ไม่ได้หลุดออกจากกรอบเดิม ไม่ปฏิรูปวิธีคิด ซึ่งในที่สุดจะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของแรงงานทั่วประเทศได้ ไม่สามารถแข่งขันเชิงนโยบายกับพรรคการเมืองกระแสหลักที่ใช้นโยบายประชานิยมได้รับการยอมรับจากคนชั้นกลางระดับล่างจนถึงชนชั้นล่างมากกว่า
 
สิ่งที่ชนชั้นแรงงานควรร่วมกันกู้ศักดิ์ศรีของตัวเองในวันนี้ คือ การต่อสู้ทวงคืนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และพื้นที่ประชาธิปไตย ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐและนายทุนลิดรอนไป ปฏิเสธการใช้กฎหมายความมั่นคง เพราะไม่ใช่ความมั่นคงของประชาชน อนาคตที่ถูกกำหนดในร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช่อนาคตที่เรากำหนดเอง เพราะวิธีคิดของผู้ปกครอง ณ ปัจจุบันไม่ได้มองเราในฐานะเจ้าของอธิปไตย กลับมองเราเป็นแค่ผู้ได้รับการสงเคราะห์ คนจนที่ต้องพิสูจน์ ขึ้นทะเบียน ไม่ใช่ผู้สร้างประเทศ มีแต่เพียงเราที่จะกลับหัวกลับหางวิธีคิดนี้ และเรียกร้องระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว......กรรมกรจงเจริญ!
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟังเสียงแรงงาน ถ้าร่างรัฐธรรมไม่ผ่าน แล้วยังไงต่อ

$
0
0
ประชาไทลงพื้นที่ฟังเสียงแรงงานต่อร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติ หากประชาชนไม่รับร่าง พวกเขาต้องการอะไร


ที่มาภาพ: Joe Shlabotnik (CC BY 2.0)


หลังจากมีการกำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคมนี้ เป็นวันชี้ชะตาร่างรัฐธรรมนูญฉบับของมีชัยว่าจะได้บังคับใช้ในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ ฟากฝ่ายทางการเมืองต่างออกมาแสดงความคิดทั้งคัดค้านและสนับสนุนร่างฉบับอย่างเผ็ดร้อน ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองหรือภาคประชาสังคมต่างๆ

ประชาไทจึงลงพื้นที่เพื่อสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานและผู้ทำงานบริการทั่วๆ ว่าพวกเขาคิดอย่างไร หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน และควรจะมีทางออกอย่างไรให้กับประเทศ

ธนเดช อายุ 44 ปี อาชีพขับรถตุ๊กตุ๊ก
“อยากให้ผ่าน ถ้าไม่ผ่านมันก็วุ่นวายไม่จบ แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอยู่อย่างนี้ แต่ถ้าไม่ผ่านก็อยากให้ประยุทธ์อยู่อย่างนี้ เพราะประยุทธ์อยู่ก็ยังเด็ดขาดดี เพราะถ้าไม่ผ่าน คสช. เขาก็ไม่ยอมลงอีกใช่มั้ย มันก็ต้องคากันอยู่แบบนี้ ยังไงทหารก็ต้องหาทางออกได้อยู่ดี”

ภานุพงษ์ อายุ 32 ปี ผู้พิการทางสายตาอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
“ผมว่าทางกรรมาธิการควรจะต้องกลับไปพิจารณาตัวเอง ควรจะต้องทำใหม่ และมาดูว่าประชาชนจะรับได้ไหม เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยนะ ขนาดผมเองผมก็ไม่เห็นด้วยเพราะมันเอื้อเฟื้อประโยชน์แก่พวกตัวเองเกินไป เท่าที่รู้เขาทำประชามติขึ้นมา ผมว่ามันเอาประโยชน์ให้พวกตัวเองเกินไป ผมคิดว่ามันไม่น่าจะผ่าน เรื่องสิทธิคนพิการที่หายไปก็มีผลมากถ้าในมุมของคนพิการ เพราะแค่มันมี[มาตรา]ตัวใดตัวหนึ่งหายไปแค่ตัวเดียว คนพิการก็เท่ากับเสียสิทธิไปเลย”

สมใจอายุ 55 ปี อาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
“ส่วนตัวไม่ชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพราะให้อำนาจคนบางกลุ่มมากไป อย่างพวก ส.ว. มีการกำหนดอะไร 5 ปีพวกนี้ คิดว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่าน คืออยากจะให้มีการจัดทำร่างใหม่ ถ้าจะเป็นคนกลุ่มใหม่ก็จะดี กลัวกลุ่มเดิมจะร่างออกมาใหม่ มันก็ไม่ผ่าน ให้เราเลือกคนเข้าไปร่างเหมือนแต่ก่อนก็ได้”

สมหมายอายุ 54 ปี พนักงานรักษาความปลอดภัย
“อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านครับ ที่ชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพราะไม่ชอบคอร์รัปชันครับ ร่างรัฐธรรมนูญนี้ถ้าประชามติไม่ผ่านก็ต้องร่างใหม่กันต่อไปครับ แล้วทำประชามติใหม่จนกว่าจะผ่าน อยากให้รัฐบาลนี้เป็นคนร่างเพราะเป็นรัฐบาลที่ทำเพื่อประเทศชาติ”

วุฒิพงษ์ อายุ 50 ปี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
“โดยส่วนตัวผมไม่น่าจะให้ผ่าน แต่เพราะอะไรผมไม่กล้าพูดออกไป พูดออกไปแล้วมันอาจจะเป็นดาบสองคม แต่ผมไม่ชอบคนที่ร่าง มันไม่เป็นประชาธิปไตยตามที่เขากล่าวอ้าง ผมอยากเห็นการเลือกตั้ง”

โรจน์ อายุ 38 ปี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
“มันก็ดีนะ ผมว่าถ้าเขาทำเพื่อชาติมันก็ดี และคิดว่าก็น่าจะผ่าน ถ้าผ่านแล้วก็อยากจะเห็นเศรษฐกิจดีกว่านี้”

ปัญญา อายุ 37 ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
“คิดว่าไม่น่าจะผ่าน เพราะทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เอาด้วย พรรรคเพื่อไทยก็ไม่เอาด้วย หลายเสียงก็ออกมาประท้วง เพราะมันเป็นเผด็จการ แต่จะเป็นอย่างไรต่อไป คงต้องรอดูทางผู้ใหญ่เขาก่อนว่าเขาจะคุยกันยังไง แต่โดยส่วนตัวอยากให้มันดีขึ้น อยากให้มีการเลือกตั้งเหมือนเดิม ไม่อยากให้ทหารมาปกครองประเทศอย่างนี้ อยากให้กลับไปเป็นประชาธิปไตยเหมือนเดิม ตอนนี้พม่าเขาไปไกลกว่าเราแล้ว”

หมู อายุ 37 ขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง
“จริงๆ ไม่ค่อยมีเวลาติดตามข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญกับประชามติมากนัก เพราะต้องทำงานตั้งแต่เช้าจนค่ำ แต่ส่วนตัวผมคงไม่รับ อยากเห็นการเมืองไทยเป็นประชาธิปไตย ไม่เอาเผด็จการ”

ทองร่วงอายุ 41 ช่างทำเฟอร์นิเจอร์
“ถ้าประชามติไม่ผ่านแล้ว คสช. ยังร่างอยู่ก็คงไม่ต่างจากแบบเดิม น่าจะเอาคนจากหลายภาคส่วนมาร่วมร่าง คนกลุ่มเดียวมาร่างรัฐธรรมนูญให้คนทั้งประเทศมันไม่ได้หรอก”

จุก อายุ 52 ปี แม่บ้านในมหาวิทยาลัย 
“อยากให้รัฐธรรมนูญร่างตอนมีประชาธิปไตยแค่นั้นค่ะ บรรยากาศมันก็จะดีขึ้นหน่อยเศรษฐกิจอะไรตอนนี้ก็แย่ไม่มีใครกล้ามาลงทุนกันหรอก กับกลัวว่าจะไม่มีการรักษาพยาบาล 30 บาท”

ปราโมทย์ อายุ 41 ปี คนงานก่อสร้าง
“อยากให้เอารัฐธรรมนูญฉบับสมัยคุณบรรหารมาใช้ ชอบกระบวนการที่เราได้เลือกคนเขาไปร่างแบบนั้นเท่าที่จำได้นะ”

กิตติคุณ อายุ 25 ปี  พนักงานบริษัทตรวจสอบบัญชี
“ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านคิดว่า น่าจะให้โอกาสประชาชนบ้างครับ เลือก ส.ส.ร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) กันไปเลยครับ เพราะร่างกันมาสองฉบับแล้ว”

สร้อยใจอายุ 30 ปี คนทำสวนในหมูบ้านจัดสรร
“ถ้าประชามติไม่ผ่านอยากให้ คสช. หาคนที่เก่งกว่านี้มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ค่ะ เอาคนรุ่นใหม่มาร่าง”
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายสามัคคีเสรีภาพกรรมกรจี้รัฐยุติการคุกคามผู้นำแรงงานและประชาชน

$
0
0
เครือข่ายสามัคคีเสรีภาพกรรมกรออกแถลงการณ์จี้รัฐยุติการคุกคามผู้นำแรงงานและประชาชน สร้างระบบสวัสดิการสังคม มีมาตรการควบคุมราคาสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ลดค่าครองชีพ สร้างหลักประกันในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งการศึกษา สาธารณสุข การบริการสาธารณะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

 
1 พ.ค. 2559 เครือข่ายสามัคคีเสรีภาพกรรมกร (สสก.) ได้ออกแถลงการณ์วันกรรมกรสากล "แรงงานจงสามัคคีกันสร้างเอกภาพ  เพื่อสิทธิแรงงาน เสรีภาพการรวมตัว และประชาธิปไตย" โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
วันกรรมกรสากล (May Day) มีจุดกำเนิดมาจากการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก รวมทั้งกรรมกรชิคาโกสหรัฐอเมริกาที่มีการนัดหยุดงานครั้งใหญ่ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2429 เพื่อเรียกร้องการทำงาน “ระบบสามแปด” ให้มีชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง ซี่งเป็นระบบที่ทำให้นายจ้างเลิกเอารัดเอาเปรียบ และปฏิบัติต่อแรงงานเยี่ยงทาส ในที่สุด วันที่ 1 พฤษภาคม 2433 จึงถูกกำหนดให้เป็นวันรำลึกการต่อสู้ของกรรมกรดังนั้น วันที่ 1 พฤษภาคม จึงมิใช่เพียงวันหยุดประจำปี หรือวันที่รัฐบาลจัดกิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติให้เท่านั้น
 
ภายใต้ยุคทุนนิยมเสรี รัฐบาลทุกยุคสมัยต่างยอมจำนนต่อระบบเสรีนิยมใหม่ ทำให้แรงงานไม่น้อยกว่า 30 ล้านคน ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิแรงงาน ไร้เสรีภาพในการรวมตัว ขาดความมั่นคงจากการจ้างงาน ในขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าโดยสารสาธารณะปรับเพิ่มสูงขึ้นโดยไม่มีการควบคุมในทางกลับกันค่าจ้างแรงงานไม่มีการปรับให้สอดคล้องกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี นโยบายรัฐสวัสดิการที่ไม่เป็นจริงและมีความพยายามจะรื้อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลดการสนับสนุนการศึกษาจาก 15 ปี เหลือเพียง 12 ปี การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ
 
เครือข่ายสามัคคีเสรีภาพกรรมกร (สสก.) อันประกอบไปด้วย สหภาพแรงงาน กลุ่มสหภาพแรงงาน สมาพันธ์แรงงาน สภาองค์กรลูกจ้าง ได้ติดตามสถานการณ์แรงงานไทยมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ สังคม และการปกครอง ตามแนวทางของรัฐบาลพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อการจ้างงานและคุณภาพชีวิตของแรงงาน 
 
ในวาระวันกรรมกรสากล เครือข่าย สสก. จึงมีข้อเรียกร้องในด้านแรงงานดังนี้ 
 
1. รัฐต้องให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิ์ในการรวมตัวกัน และ ILOฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่ง สิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง
 
2. รัฐต้องกำหนดค่าจ้างที่เป็นธรรมในอัตราเท่ากันทั่วประเทศ เพื่อให้ค่าจ้างขั้นต่ำเพียงพอในการดำรงชีพและการดูแลครอบครัว ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
 
3. รัฐต้องบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 กรณีแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรค)ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างประจำโดยเคร่งครัด
 
4. รัฐต้องปฏิรูประบบประกันสังคมพัฒนาระบบสิทธิประโยชน์ ให้กองทุนประกันสังคมเป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของผู้ประกันตนเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด
 
5. รัฐต้องยุติการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในทุกรูปแบบ ยุติแทรกแซงการบริหารงานอย่างไร้ซึ่งธรรมาภิบาลและจัดตั้งกองทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพให้ตอบสนองต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
 
นอกจากนี้ เครือข่าย สสก. มีข้อเรียกร้องในด้านสังคมดังต่อไปนี้
 
1) รัฐต้องยุติการคุกคามผู้นำแรงงานและประชาชน โดยการใช้มาตรา 44และ ยุติการใช้ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558 เป็นเครื่องมือขัดขวางการชุมนุมโดยสงบและการมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตตนเองและชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมทั้งนี้ในส่วนของแรงงานยังเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 อีกด้วย
 
2) รัฐต้องสร้างระบบสวัสดิการสังคม มีมาตรการควบคุมราคาสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ลดค่าครองชีพ สร้างหลักประกันในการเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งการศึกษา สาธารณสุข การบริการสาธารณะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมทางสังคม
 
เครือข่าย สสก.คาดหวังที่จะเห็นความเป็นเอกภาพของขบวนการแรงงานทุกภาคส่วนทั้งแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานภาคเกษตร แรงงานข้ามชาติ พวกเราจะต้องร่วมกันสรรค์สร้างขบวนการแรงงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศร่วมกับเครือข่ายทางสังคมและภาคประชาชนนำมาซึ่งสังคมสันติประชาธรรม และประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย: เหตุใดจึงกลัวการก่อการร้าย

$
0
0

ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ พูดคุยกับ กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช ผู้เขียนหนังสือ THOU SHALL FEAR: เจ้าจงตื่นกลัว การก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ เล่าถึงที่มาของความหวาดกลัวเรื่อง "การก่อการร้าย" ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 18 ที่โลกตะวันตกเริ่มเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยเสรี โดยมนุษย์รู้สึกว่าชีวิตเป็นสิ่งมีค่าสูงสุด ซึ่งความคิดเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในยุคก่อนสมัยใหม่ และเมื่อมนุษย์รู้สึกเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง มนุษย์จึงกลัวการสูญเสียชีวิต ความกลัวตายจึงเป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่สำคัญในโลกสมัยใหม่ โดยกลุ่มก่อการร้ายส่วนใหญ่เข้าใจอย่างมากถึงต้นตอของความกลัวของมนุษย์สมัยใหม่ จึงเป็นที่มาของยุทธวิธีการก่อการร้ายปัจจุบัน

เรื่องราวจะเป็นอย่างไร เมื่อรัฐสมัยใหม่ทำหน้าที่อุปถัมภ์/คุ้มครองความมั่นคงให้ประชากรของรัฐ เลือกที่จะตอบโต้การก่อการร้ายอย่างหนักเพื่อรักษาพันธะสัญญาของตน ทางเลือกของประชาชนในรัฐจะเป็นอย่างไร ต้องตกอยู่ในความหวาดกลัวการก่อการร้าย รวมไปถึงยอมให้รัฐขยายอำนาจมากขึ้นในนามการปราบปรามการก่อการร้ายหรือไม่ ติตดามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai หรือ

https://www.youtube.com/playlist?list=PLyjd9jzMpO2Xby4FyxWMwY8auIFY01eVQ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยิ่งลักษณ์เผยเข้าใจความรู้สึก พล.อ.ประยุทธ์ ยามถูกต่อว่า-แนะนำให้รับฟังคำวิจารณ์

$
0
0

ยิ่งลักษณ์เผยเข้าใจความรู้สึกของ พล.อ.ประยุทธ์ แม้จะต่างที่มา แต่ก็เคยร่วมงานกัน ยามถูกต่อว่าต่างๆ นานา แต่เป็นบุคคลสาธารณะต้องเปิดใจรับฟังทั้งดีและลบ โดยแนะ พล.อ.ประยุทธ์ให้นึกถึงคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ในอดีตเมื่อ 2 ปีก่อนที่เคยให้ข้อคิดว่ายามบ้านเมืองแตกแยก คิดแต่จะเอากฎหมายมาปลดเพราะคนไม่สนองนโยบาย หรือยิ่งใช้กฎหมายบังคับคน ให้ทำงานตามคำสั่ง สถานการณ์จะยิ่งเลวร้าย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมผ่านเฮลิคอปเตอร์ เมื่อเดือนตุลาคม 2554 (ที่มา: มติชนออนไลน์)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554

1 พ.ค. 2559 - ในเฟซบุ๊คของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเวลา 15.00 น. ได้โพสต์ข้อความถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ดังนี้

"วันนี้ขออนุญาตเขียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หน่อยนะคะ เพราะแม้ว่าวันนี้สถานะเราจะต่างกัน แต่เมื่อก่อนเราก็เคยร่วมงานกัน และดิฉันก็เคยอยู่ในสถานะเช่นท่านมาก่อน แม้ว่าที่มาที่ไปของเราจะต่างกัน จึงเข้าใจความรู้สึกของท่านเวลาถูกต่อว่าต่างๆนานา ในฐานะที่เป็นผู้นำถือเป็นบุคคลสาธารณะ ที่ต้องพร้อมเปิดใจรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในด้านดีและด้านลบ ที่มีต่อตัวเอง หรือรัฐบาล

เพราะดิฉันเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ต้องเป็นฝ่ายอดทนมาโดยตลอด ย่อมเข้าใจความรู้สึกท่านดี เพียงแต่ดิฉันไม่สามารถที่จะออก กฎหมายหรือคำสั่งการใดๆให้เป็นกฎหมายได้เช่นท่าน

ซึ่งเมื่อก่อนท่านก็เคยพูดกับดิฉันว่า ยามบ้านเมืองแตกแยก ถ้าคิดแต่เอากฎหมายมาปลดคนนั้นคนนี้ออก เพียงเพราะ ไม่สนองตอบนโยบาย หรือเอากฎหมายมาใช้บังคับคน ให้ทำงานตามคำสั่ง จะยิ่งทำให้สถานการณ์มันแย่และเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ ซึ่งดิฉันก็พูดมาโดยตลอดว่าคนที่มีความคิดเห็นต่าง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้บ้านเมืองแตกแยก แต่จะเป็นการดีที่จะได้ช่วยกันแสดงความคิด ความเห็นในการพัฒนาประเทศมากกว่า

วันนี้ดิฉันจึงอยากจะขอฝากสิ่งที่ท่านเคยพูดไว้ หวังว่าท่านคงจะไม่ลืม และนำไปใช้เช่นเดียวกัน ตามที่เคยบอกกับดิฉันเมื่อสองปีที่แล้วนะคะ" สเตตัสของอดีตนายกรัฐมนตรีระบุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ.ศ.นี้ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท คน 1 คนจะกินอยู่อย่างไรในเมือง

$
0
0

กับประเด็นการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ประยุทธ์บอกจะรับไปพิจารณา ก.แรงงานชี้ขึ้นอยู่กับพิจารณาร่วมไตรภาคี แต่ละจังหวัด และตามมาตรฐานฝีมือ 'กรุงเทพโพลล์-ม.หอการค้า' ชี้ควรขึ้น คสรท. ยังยื่นที่ 360 บาททั่วประเทศ ขณะที่ 'กลุ่มย่านรังสิต-สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' ยังชูที่ 421 บาทต่อวัน ‘จิตรา’ ชี้ค่าจ้างที่เหมาะสมต้องดูแลคนในครอบครัว 3 คน

<--break- />จากรายงานราคาสินค้าขายปลีก (เฉลี่ยตามลักษณะจำเพาะ) ของ กรุงเทพมหานคร เดือน มี.ค.2559 ของกระทรวงพาณิชย์และ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แสดงให้เห็นราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้ 

(ภาพ: วศิน ปฐมหยก ดูภาพขนาดใหญ่)

รายการ

ราคาต่อวัน

ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ข้าวมันไก่ (ธรรมดา) บรรจุกล่อง 1 กล่อง

34.57 บาท (x3 มื้อ = 103.71 บาท)

ส้มเขียวหวาน พันธุ์สวนทั่วไป ขนาดเล็ก(น้ำหนักผลละ 50 - 60 กรัม) 1 กก.

65.00 บาท

น้ำดื่มบริสุทธิ์ \ บรรจุขวดพลาสติกใส 600 ซีซี \ ตราคริสตั ขวดพลาสติกใส ขวดละ

7.50 บาท (x3 มื้อ = 22.50 บาท)

กล้วยบวดชี/ ใส่ถ้วย 1 ถ้วย

12.60 บาท

ค่าเดินทาง(รถเมล์)เฉลี่ย 8 บาท (ไป-กลับ)

16 บาท

ค่าที่พักราคาประหยัด 2,500 บาทต่อเดือน เฉลียวันละ

83.33 บาท

 

รวม 303.14 บาทต่อวัน 

หมายเหตุ : ยังไม่รวมราคาเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เครื่องใช้สอยในครัวเรือน กิจกรรมนันทนาการ ค่าน้ำ-ไฟ ค่าแสวงหาความรู้ หนังสือ หนังสือพิมพ์ ค่าผ่อนชำระหนี้สินดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ

ที่มาข้อมูล : กระทรวงพาณิชย์, รายงานราคาสินค้าขายปลีก (เฉลี่ยตามลักษณะจำเพาะ) ของภาค กรุงเทพมหานคร ปี 2559 เดือน มี.ค. และค่าโดยสารจาก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  

เทียบข้อมูลชุดเดียวกันกับต้นปี 2558 ได้ที่ : ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน จะกินอยู่อย่างไรใน 1 วัน

ประยุทธ์บอกขึ้นค่าแรงจะรับไปพิจารณา

ขณะที่ช่วงเวลาที่ผ่านมามีการนำเสนอตัวเลขการขอปรับขึ้นค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมหลายตัวเลข ซึ่ง ล่าสุด 1 พ.ค.59 สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2559 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขณะมี 30 เรื่องที่รัฐบาลกำลังทำ อาทิ ส่งเสริมให้ทุกคนไทยมีงานทำ มีค่าตอบแทนที่เพียงพอ มีหลักประกันทางสังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดูแลแรงงานทุกระบบ ไม่ว่าแรงงานพิการ แรงงานสูงอายุ แรงงานนอกระบบ แต่ต้องยอมรับว่า ไทยมีปัญหามีแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ซึ่งจะต้องประสานกับกระทรวงศึกษาวางระบบใหม่ เป็นเรื่องยากพอๆ กับการขึ้นค่าแรง แต่จะรับไปพิจารณาทั้งหมด

รมว.แรงงานขอเอาไปศึกษาว่าจะขึ้นเท่าไหร่และเป็นพื้นที่ไหม

เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โพสต์ทูเดย์ รายงานด้วยว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข้อเรียกร้อง  15 ข้อของสภาองค์การลูกจ้างแรงงาน 17 องค์กรที่จะยื่นต่อนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันแรงงาน 1 พ.ค.นี้ ว่า  ส่วนตัวเห็นข้อเรียกร้องทั้ง 15 ข้อแล้วและเห็นผลวิจัยเกี่ยวกับหนี้สินแรงงานซึ่งเผยแพร่ทางสื่อ โดยส่วนของเรียกร้องหลักการขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็อยู่ระหว่างการศึกษาซึ่งต้องพิจารณาอย่างละเอียดว่า จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะให้ปรับในอัตราเท่ากันทั่วประเทศหรือปรับโดยพิจารณาเป็นพื้นที่ 

ก.แรงงานชี้พิจารณาร่วมไตรภาคี แต่ละจังหวัด และตามมาตรฐานฝีมือ

โดย 19 มี.ค. ที่ผ่านมา ธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีว่า การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการพิจารณาร่วมกันทั้งฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง ภาครัฐ ในลักษณะไตรภาคีภายใต้คณะกรรมการค่าจ้าง โดยรับข้อเสนอมาจากอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานซึ่งอนุกรรมการมีองค์ประกอบร่วม 3 ฝ่าย เช่นเดียวกับส่วนกลาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของทุกจังหวัด โดยคณะทำงานฯ ที่แต่งตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการค่าจ้างกลาง ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 3 ประการ คือ 1) สภาพเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่และภาพรวมของประเทศ 2) ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง และ 3) ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง ดังนั้น การพิจารณาอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดจึงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ดี คณะกรรมการค่าจ้างกลางได้ให้ความเห็นชอบอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ครั้งล่าสุดอีก 20 สาขาใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐาน ต่ำที่สุดอยู่ที่ 360 บาท/วัน สูงสุดอยู่ที่ 550 บาท/วัน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

กรุงเทพโพลล์ระบุแรงงานส่วนใหญ่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ด้านกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ผ่าน 3 ปี นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ชีวิตแรงงานวันนี้เป็นอย่างไร” โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,127 คน เมื่อวันที่ 25 - 28  เมษายนที่ผ่านมา พบว่า คำถามความเห็นว่าหลังจากไม่มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเลยเป็นระยะเวลา 3 ปี  ควรมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.3 เห็นว่าควรขึ้น โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 79.6 อยากให้ขึ้นทั่วประเทศ ส่วนร้อยละ 9.7 อยากให้ขึ้นเฉพาะบางพื้นที่ เช่น พื้นที่เศรษฐกิจ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ขณะที่ร้อยละ 10.7 เห็นว่าไม่ควรขึ้นเพราะเศรษฐกิจยังไม่ดี จะทำให้ข้าวของแพงขึ้นค่าครองชีพสูงขึ้น

เมื่อถามต่อว่ากังวลมากน้อยเพียงใดต่อความเสี่ยงที่จะตกงาน หากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่า 300 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.0  กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 33.0 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด สุดท้ายเมื่อถามว่าหลังจากได้รับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิม (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจปี 2556 ร้อยละ 4.6) ขณะที่ร้อยละ 30.6 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น (ลดลงร้อยละ 13.6) ส่วนร้อยละ 18.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0) (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ม.หอการค้า เผยแรงงานแบกหนี้สูงสุดรอบ8ปี ขอ 356.76 บาท 

เช่นเดียวกับศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งมติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมา โดย ธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์ดังกล่าว  แถลงผลสำรวจความคิดเห็น (โพล) สถานภาพแรงงานไทย ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน สำรวจ1,212 ตัวอย่าง วันที่ 18-24 เมษายน 2559 และโพลสถานภาพธุรกิจ วันแรงงานแห่งชาติ สำรวจ 600 ตัวอย่าง วันที่ 18-23 เมษายน 2559 พบว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจของแรงงานไทยปี 2559 แย่สุดในรอบ 8 ปี นับจากปี 2552 เนื่องจากแรงงานมีหนี้สูงสุดในรอบ 8 ปี โดยแรงงาน 95.9% มีภาระหนี้ และมีหนี้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 119,061 บาท เพิ่มจากปี 2552 ที่มีสัดส่วน 48.51% แบ่งเป็น นอกระบบ 60.62% ในระบบ 39.38% สะท้อนแรงงานมีปัญหารายได้ ค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ ทำให้สถานภาพแรงงาน ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีปัญหา แม้จะหารายได้เสริมจากงานหลักแล้วก็ตาม ยังไม่พอใช้จ่าย มีการนำเงินไปหมุนหนี้นอกระบบมากขึ้น ดังนั้นการที่ธนาคารจะทำนาโนไฟแนนซ์ ดึงเจ้าหนี้นอกระบบเข้าสู่ระบบมากขึ้น น่าจะเปิดทางให้กลุ่มแรงงานเข้าถึงการขอเงินกู้ได้มากขึ้น และช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้ดีขึ้นได้

“สถานภาพแรงงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แรงงานจึงขอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 356.76 บาท จากปัจจุบัน 300 บาท ให้ทันตามภาวะค่าครองชีพที่มีการขึ้นตามกลไกตลาด และค่าจ้างที่ไม่ปรับขึ้นมาหลายปี อย่างไรก็ตาม แรงงานยังกังวลเรื่องตกงาน เพราะเห็นนายจ้างมีผลประกอบการไม่ดีนักตามเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้นควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากนี้รายได้ไม่พอใช้จ่าย จะเป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง เศรษฐกิจซึมตัวทุกพื้นที่ ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดีขึ้น"  ธนวรรธน์ กล่าว

คสรท. ยังยื่นที่ 360 บาททั่วประเทศ

ขณะที่ฝั่งแรงงานตัวเลขค่าจ้างขั้นต่ำที่ถูกนำเสนอเพื่อขอปรับขึ้นช่วงหลายปีที่ผ่านมาอยู่ 2 ตัวเลข 360 บาท กับ 421 บาท โดย 360 บาทนั้น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และองค์กรสมาชิก ได้ยื่นข้อเรียกร้องวันกรรมกรสากล ปี 2559 ผ่านศูนย์บริการประชาชน รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพ.) เมื่อวันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา ข้อหนึ่งว่า รัฐจะต้องทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554ที่ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ในปี พ.ศ.2557 และปี พ.ศ. 2558 ซึ่งในปัจจุบันจากผลสำรวจค่าใช้จ่ายของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ แรงงานจะอยู่ได้ต้องมีค่าจ้างวันละ 360 บาท ต้องเท่ากันทั่วประเทศ และรัฐต้องยกเลิกคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด 

สำหรับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หากย้อนไปเมื่อ 7 ต.ค.53 ที่กลุ่มดังกล่าวพร้อมด้วย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้ยื่อข้อเรียกร้องขอขึ้นค่าแรง โดยผู้จัดการออนไลน์ รายงานในครั้งนั้นด้วยว่า สาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 421 บาทต่อวัน หรือ 12,000 บาทต่อเดือน ต่อการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ โดยอ้างถึงความเหมาะสมจากข้อมูลที่สำรวจถึงการสอดคล้องของรายได้และค่าครองชีพของแรงงานทั่วประเทศในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

'กลุ่มย่านรังสิต-สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' ยังชูที่ 421 บาทต่อวัน

ตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำ 421 บาทต่อวันนั้น มีกลุ่มที่ยังใช้ตัวเลขนี้เรียกร้องต่อคือ กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง(กสรก.) และสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.) ซึ่งในปี 2559 กลุ่มนี้ยังชุตัวเลขเดิม โดย ศรีไพร นนทรีย์ ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ เปิดเผยกับประชาไทว่า ที่ยังคงตัวเลขนี้โดยไม่ปรับขึ้นเนื่องจากต้องการให้เห็นผล เพราะหากปรับขึ้นโอกาสที่จะได้อาจยากขึ้น

โดย ศรีไพร ได้เคยให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุของการเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงไว้กับประชาไทเมื่อต้นปี 2558 แล้วว่า เมื่อปี 2553 เคยมีผลการสำรวจดัชนีค่าครองชีพ ในปีนั้นถ้าจะให้ค่าจ้างเพียงพอตัวเลขค่าจ้างต้องเป็น 421 บาท ปัจจุบันแม้ว่าค่าจ้างเป็น 300 บาทจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี เพราะทุกยุคทุกสมัยไม่เคยควบคุมราคาสินค้า จะเห็นได้จาก คนงานต้องการเพิ่มรายได้ด้วยกานทำงานล่วงเวลา และงานเหมากันมากขึ้น  ยิ่งปัจจุบันแม้ว่าน้ำมันลดราคา แต่ไม่มีสินค่าอุปโภค บริโภคตัวใดปรับลด มีแต่เตรียมเพิ่มราคา หรือลดปริมาณลงหลังคาราแก๊ส และก๊าซปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้การปรับเงินเดือนข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นลูกจ้างที่มีฐานเงินเดือนสูงและมั่นคงมากกว่าลูกจ้างในภาคเอกชน จึงส่อให้เห็นว่าฝ่ายปกครองชุดนี้เลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน แสดงถึงความไร้มาตราฐานในการปกครอง

สำหรับค่าแรงขั้นตำที่ควรจะเป็นนั้น ศรีไพร มองว่า ต้องเป็น 460 บาทต่อวัน ณ ปัจจุบัน แต่พวกเราเคลื่อนไหวไว้ที่ตัวเลข 421 บาทต่อวัน ไปแล้ว ก็คงยังยืนยันเคลื่อนไหว 421 บาทต่อวันต่อไป ส่วนตัวเลขอื่นก็จะเก็บไว้เป็นข้อมูล

‘จิตรา’ ชี้ค่าจ้างที่เหมาะสมต้องดูแลคนในครอบครัว 3 คน

จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ได้กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำไว้กับประชาไทตั้งแต่ต้นปี 2559 เช่นกัน โดย จิตรา กล่าวว่า ปัจจุบันการปรับค่าจ้างของคนงานได้รับตามค่าจ้างขั้นต่ำมาโดยตลอด ไม่ว่าจะทำงานมากี่ปี ไม่มีค่าฝีมือ ส่วนใหญ่ในโรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงาน ค่าจ่างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งนายจ้างจ่ายเฉพาะวันทำงานเท่านั้นซึ่งการทำงานปกติเดือนละ 26 วันคนงานจะได้รับค่าจ้างทั้งหมด 7,800 บาทต่อเดือน ซึ่งถัวเฉลี่ยคนงานจะได้เงินวันละ 260 บาทเท่านั้น ในการครองชีพ หักค่าประกันสังคม 5% เป็นเงิน 390 บาท เหลือเงินสุทธิต่อเดือน 7,410 บาท

คนงานส่วนใหญ่เป็นคนย้ายถิ่นแล้วซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประจำเช่นค่าเช่าบ้าน ประมาณเดือนละ 2,000 บาท ค่าอาหารมื้อละ 40 บาท วันละ 120 เดือนละ 3600 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเห็นว่าเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นของคนงานหนึ่งคนใช้เงิน 5,600 บาทที่เหลือ 1,810 บาทซึ่งมีทั้งค่าอื่นๆ อีกจิปาถะที่จำเป็นอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้พูดถึง เงินที่เหลือเท่านี้ทำให้ค่าจ้างวันละ 300 บาทไม่เพียงพอต่อการครองชีพสำหรับคนๆ เดียว ถ้ามีลูก มีพ่อมีแม่ ก็ยิ่งไม่สามารถดูแลได้เลย ต้องหารายได้พิเศษเพิ่มเช่นการทำโอที หรืออาชีพเสริม เงินออมในอนาคตไม่มี บางครอบครัวยังมีหนี้สินจากภาคเกษตรของพ่อแม่

สำหรับค่าแรงที่ควรจะเป็นนั้น จิตรา มองว่า ค่าแรงที่ควรจะเป็นคงหามูลค่าไม่ได้ แต่ค่าจ้างที่เหมาะสม ก็คือสามารถดูแลตัวเองและคนในครอบครัวได้อีก 2 คน เป็น 3 คน จึงเป็นค่าจ้างที่เหมาะสม ค่าเช่าบ้านที่เหมาะสมคือ 10% ของค่าจ้าง ต้องมีเงินเหลือออมประมาณ 20% ของรายได้ และต้องมีการช่วยเหลือเรื่องการเรียนฟรีที่แท้จริงสำหรับเด็ก ค่าจ่างต้องสามารถให้คนสามคนมีอาหารกินแบบมีคุณภาพและกินอิ่ม จึงจะเป็นค่าจ้างที่เหมาะสม การคำนวนค่าจ้างจึงต้องเอาค่าครองชีพและรายได้ที่จำเป็นมาเป็นตัวคำนวนร่วมด้วย

ระบุสวัสดิการอื่นและสิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานสำคัญ

นอกจากนี้ จิตรา ยังกล่าวถึงข้อเสนอเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนงานด้วยว่า ต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อปรับค่าจ้างตามฝีมือแรงงาน และตามอายุการทำงานไม่ใช่จ่ายค่าจ้างตามค่าจ่างขั้นต่ำ ให้สิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานเพื่อให้มีการเจรจาต่อรอง ค่าจ้างสวัสดิการ โบนัส ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างอย่างเต็มที่ รัฐบาลต้องจัดหาที่พักราคาถูกให้กับลูกจ้างย้ายถิ่น หรือสร้างบ้านเพื่อให้คนงานซื้อผ่อนได้

รวมถึง ต้องให้สิทธิในการเลือกตั้งในในเขตพื้นที่สถานประกอบการเพื่อเลือกตั้งตัวแทนในระดับทั้งถิ่นถึงระดับประเทศ เพื่อทำให้คนงานมีตัวแทนของพวกเขาเองในการบริหารประเทศ ต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนในชุมชนหรือในโรงงานฟรี รัฐต้องจัดให้มีการเรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี

“ความมั่นคงในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญ กรณีเลิกจ้างบริษัทปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิต ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามอายุคนงานที่ทำให้เขาสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและให้จัดหางานใหม่ให้ในระหว่างรองานต้องจ่ายเงินช่วยเหลือระหว่างว่างงานที่คนจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งปัจจุบันประกันสังคมจ่ายให้ซึ่งถือว่าน้อยมาก” จิตรา เสนอ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักเศรษฐศาสตร์แนะรัฐจัดตั้งโครงการสินเชื่อเพื่อผู้ใช้แรงงาน

$
0
0
ผศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ชี้หนี้สินของผู้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในระดับสูง รัฐบาลควรใช้ธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารออมสินจัดตั้งโครงการสินเชื่อเพื่อผู้ใช้แรงงานหรือใช้โครงการธนาคารประชาชนซึ่งมีอยู่แล้วลดการกู้หนี้นอกระบบ

 
1 พ.ค. 2559 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้ให้ความเห็นเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติและให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายว่าแม้นเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพและต่ำกว่าเป้าหมาย ก็ไม่ได้มีปัญหาการว่างงานจนน่าวิตก แม้นตัวเลขผู้ขอรับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2559 มีจำนวน 123,087 คน คิดเป็นอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา อัตราการว่างงานโดยรวมเทียบกับกำลังแรงงานเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยและยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 1% ปัญหาขาดแคลนแรงงานเพิ่มสูงขึ้นในบางภาคการผลิตเนื่องจากแรงงานต่างด้าวทะยอยกลับประเทศโดยเฉพาะแรงงานจากพม่าหลังจากพม่าเปิดกว้างทางการเมืองและเศรษฐกิจมากขึ้นทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูง สถานการณ์การเลิกจ้างล่าสุดยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  3 ปี และส่วนใหญ่เมื่อมีการเลิกจ้างแล้ว ผู้ใช้แรงงานสามารถหางานทำได้ในเวลาไม่นานนัก 
 
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพแรงงานให้ดีขึ้นโดยเฉพาะแรงงานวิชาชีพที่มีการเคลื่อนย้ายโดยเสรี แรงงานวิชาชีพไทยแปดสาขาที่มีการเปิดเสรีแข่งขันกับแรงงานในภูมิภาคได้
ยกเว้นสาขาบัญชีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนส่งผลทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01% เกิดผลบวกต่อภาคบริการและอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม ได้รับผลบวกต่อสวัสดิการโดยรวมของสังคม ทำให้ตัวแปรสวัสดิการเพิ่มขึ้น 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (งานวิจัยของ ดนุพล อริยสัจจากร และ สมประวิณ มันประเสริฐ) ข้อตกลงการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพแปดสาขายังไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญนักเนื่องจากในแต่ละวิชาชีพจะเข้าไปทำงานในประเทศอื่นๆยังคงต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและกติกาของสาขาวิชาชีพนั้นๆในแต่ละประเทศยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก ยังต้องมีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพให้เป็นมาตรฐานกลางของอาเซียนมีความเป็นมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะทางด้านภาษายังคงเป็นอุปสรรคของแรงงานไทยในการไปทำงานในประเทศอื่นๆ 
 
จากผลงานวิจัยของสำนักงานสนับสนุนการวิจัย พบอีกว่าผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานมีทักษะระหว่างประเทศของไทย แรงงานมีทักษะของประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะย้ายออกไปทำงานที่สิงคโปร์ (เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.98) และมาเลเซีย (เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.14) และย้ายไปทำงานประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนลดลง ขณะที่ไทยจะเป็นผู้รับแรงงานทักษะเพิ่มขึ้นจากอาเซียนอื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 
 
ดร. อนุสรณ์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์  ม. รังสิต คาดการณ์ว่าหากมีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะต่ำหรือไม่มีทักษะเพิ่มเติมภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเปิดเสรีดังกล่าวจะเป็นผลดีต่อไทยโดยภาพรวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การผลิต การบริการและสวัสดิการสังคมโดยรวม เพราะไทยอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานอยู่และต้องอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านทำงานมากกว่า 3 ล้านคน การเปิดเสรียังลดการใช้อำนาจดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่จึงช่วยลดช่องทางในการทุจริตคอร์รัปชันได้ระดับหนึ่ง  
 
ไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาแรงงานทาสและการละเมิดสิทธิแรงงานซึ่งต้องเร่งแก้ไข ส่วนหนี้สินของผู้ใช้แรงงานปรับตัวสูงสุดในรอบ 8 ปีเป็นผลมาจากรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิตและการก่อหนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว
 
ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิตได้เสนอแนะทางนโยบายเนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า ข้อหนึ่ง ขอให้รัฐบาลปฏิรูประบบกฎหมายแรงงานโดยมีกฎหมายเกี่ยวข้องกับแรงงานโดยตรง 11 ฉบับเพื่อจัดทำเป็นประมวลกฎหมายแรงงานและพระราชบัญญัติการบริหารแรงงานทั้งระบบ โดยยึดหลักการ 6 ประการ คือ หลักเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือหลักสิทธิมนุษยชน หลักความเสมอภาค หลักความเป็นธรรม หลักความมั่นคงในชีวิตของแรงงาน หลักผลิตภาพแรงงานและความสามารถในการแข่งขัน หลักการมีส่วนร่วมผ่านระบบไตรภาคี ข้อสอง ขอให้มีการพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำผ่านระบบไตรภาคี โดยปรับเพิ่มขึ้นไปที่ 340-360 บาท ข้อสาม ขอให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วมกัน ซึ่งทั่วโลกถือเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ข้อสี่ ขอเสนอให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนสถานะของ “สำนักงานประกันสังคม” จากหน่วยราชการ เป็น องค์กรมหาชนที่บริหารงานโดยมืออาชีพและผู้แทนของสมาชิกองทุนประกันสังคม ข้อห้า ขยายสิทธิผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการและรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนได้ รวมทั้งขยายสิทธิไปยังสมาชิกในครอบครัว (แต่ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม) ข้อหกเพื่อลดการบิดเบือนจากการเบิกจ่ายจากกองทุนประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยจากการทำงาน รัฐบาลควรปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนให้สูงกว่ากองทุนประกันสังคม และควรยกสถานะ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน เป็น หน่วยงานระดับกรม โดยรวมเอางานของสำนักปลอดภัยแรงงานเข้ามาอยู่ภายใต้หน่วยงานเดียวกัน ข้อเจ็ด ด้านคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน หรือกองทุนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน ควรให้ระบบคะแนนเสียงถ่วงน้ำหนักในการคัดเลือกตัวแทนนายจ้างและตัวแทนลูกจ้างที่เข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อให้ได้ตัวแทนนายจ้างที่เป็นตัวแทนของนายจ้างส่วนใหญ่ และ ตัวแทนลูกจ้างที่เป็นตัวแทนของลูกจ้างส่วนใหญ่อย่างแท้จริง ข้อแปด ควรส่งเสริมระบบบริการที่เน้นป้องกันโรคและอันตรายจากการทำงาน  จัดสรรงบเพิ่มเติมในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันอันตรายของแรงงาน
 
ข้อเก้า การนำเงินกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนไปใช้ลงทุนในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจใดๆ หรือ โครงการใดๆของรัฐบาล ต้องมีกระบวนการในการตัดสินใจที่โปร่งใสและกรรมการกองทุนประกันสังคมต้องตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ อย่างมืออาชีพบนผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ต้องมีนโยบายและหลักเกณฑ์ต่างๆชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ผันแปรตามผู้มีอำนาจทางการเมืองในแต่ละรัฐบาล ข้อสิบขอให้เร่งรัดในการแก้ไขปัญหาแรงงานทาสและจัดระเบียบการจ้างงานแบบเหมาช่วงให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานสากล
 
ดร. อนุสรณ์ กล่าวถึง หนี้สินของผู้ใช้แรงงานที่มีอยู่ในระดับสูงมากตอนนี้ ว่ารัฐบาลควรใช้ธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารออมสินจัดตั้ง โครงการสินเชื่อเพื่อผู้ใช้แรงงาน หรือใช้โครงการธนาคารประชาชนซึ่งมีอยู่แล้ว ลดการกู้หนี้นอกระบบ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานสามารถกู้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและลงทุนเพื่อประกอบอาชีพเสริมได้ ในภาวะเศรษฐกิจขยายตัวไม่สูงนักและมีการพิจารณาลดการทำงานล่วงเวลาของสถานประกอบการต่าง ๆ ทำให้รายได้ผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยไม่พอกับรายจ่าย รัฐบาลควรจัดให้มีโครงการเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานสามารถประกอบอาชีพเสริมได้ 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จากหุ่นเชิดการเมืองถึงหญิงชั่วขายชาติ: ย้อนรอยวาทกรรมเหยียดเพศที่มีต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

$
0
0

 

บทนำ

มันอาจไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจแต่อย่างใดที่ประวัติศาสตร์มันมักจะซ้ำรอยอยู่เสมอ ยิ่งในบริบทการเมืองไทยแล้ว การที่กงล้อประวัติศาตร์จะหมุนวนซ้ำอยู่กับที่แทนที่จะพุ่งไปข้างหน้า คงไม่ใช่เรื่องที่น่าฉงนต่อผู้ที่ติดตามการเมืองไทยมาอย่างยาวนาน  จุดจบทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีนามสกุลชินวัตรคนแรกของไทยเป็นเช่นไร นายกรัฐมนตรีนามสกุลชินวัตรคนที่สองก็ประสบจุดจบในแบบเดียวกันแทบไม่ผิดเพี้ยน หากชินวัตรคนพี่ประสบโศกนาฏกรรมทางการเมืองอย่างหนักเพราะโดนประท้วงขับไล่โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย  ถูกขับออกจากอำนาจโดยการรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และสุดท้ายโดนอำนาจตุลาการตัดสินว่ามีความผิดในกรณีฉ้อราษฎร์บังหลวง ประวัติศาสตร์การเมือไทยดูเหมือนจะเล่นตลกเป็นแน่แท้ เพราะในเวลาต่อมาชินวัตรคนน้องก็โดนประท้วงขับไล่อย่างหนักไม่แพ้กันจากคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ถูกขับออกจากอำนาจโดยการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และถูกอำนาจตุลาการเล่นงานอย่างหนักในกรณีฉ้อราษฎร์บังหลวงและกรณีการใช้อำนาจในทางมิชอบ อย่างไรก็ตาม แม้ชะตากรรมทางการเมืองของสองพี่น้องตระกูลชินวัตรจะดูคล้ายคลึงกันอย่างเหลือเชื่อ สิ่งหนึ่งที่ทำให้กรณีของชินวัตรคนน้องแตกต่างจากกรณีของชินวัตรคนพี่อย่างเห็นได้ชัดก็คือ เธอมีเรือนร่างเป็นหญิง

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เป็นแค่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย หากแต่เธอยังเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่เธอเป็นน้องสาวของ ทักษิณ ชินวัตร นักการเมืองที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในการเมืองไทยร่วมสมัย ข้อครหาที่เธอได้รับในช่วงที่บริหารงานรัฐบาลในช่วงแรก จึงเป็นการดูถูกดูแคลนว่าเธอเป็นแค่ “หุ่นเชิด” ทางการเมืองของพี่ชายของเธอ ด้วยความที่เป็นได้แค่ “หุ่นเชิด” ของทักษิณ เพศของยิ่งลักษณ์จึงไม่มีความสำคัญมากนักในทางการเมือง เพราะไม่ว่าเธอจะคิดจะทำอะไรในฐานะนายกรัฐมนตรี เธอก็เป็นได้แค่ร่างทรงหรือตัวแทนทางการเมืองให้กับพี่ชายของเธอเท่านั้น ด้วยข้อครหาเช่นนี้เอง “โครงเรื่อง” ในการโจมตีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในช่วงแรกๆจึงเป็นเรื่องที่คาดเดากันได้ไม่ยาก หากรัฐบาลทักษิณโดนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนโยบายประชานิยม ทุนสามานย์ครองเมือง การเป็นเผด็จการรัฐสภา และการมีผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างไร รัฐบาลภายใต้การนำของยิ่งลักษณ์ผู้เป็นได้แค่ร่างทรงของทักษิณ ก็ดูเหมือนจะโดนข้อวิพากษ์วิจารณ์ประเภทเดียวกันไปอย่างนั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อยิ่งลักษณ์สามารถประคับประคองรัฐบาลที่เผชิญอุปสรรคนานับประการไปได้สักระยะหนึ่ง ข้อครหาที่เธอได้รับจากฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล หาได้เป็นเพียงแค่เรื่องนโยบายการบริหารงานรัฐบาลของเธอที่เอาแต่จะตามรอยแนวทางที่พี่ชายของเธอได้วางเอาไว้ หากแต่มีการเอาเรื่องเพศของเธอเข้ามาเป็นประเด็นสำคัญในการลดความชอบธรรมของเธอในการปกครองประเทศอีกด้วย ในมุมมองของฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ เธอหาได้เป็นหุ่นเชิดทางการเมืองที่ไร้เพศอีกต่อไป หากแต่เป็น “หญิงชั่ว” “กระหรี่” หรือ “อีโง่” ที่ไม่สมควรเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศด้วยประการทั้งปวง

ในวาระที่จุดจบทางการเมืองของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในฐานะนายกรัฐมนตรีพลเรือนของไทย กำลังจะหมุนเวียนมาบรรจบครบรอบสองปีในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้ ผู้เขียนอยากจะพาผู้อ่านทุกๆท่าน ย้อนรอยกลับไปดูพัฒนาการในทางประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัยว่า วาทกรรมเหยียดเพศหญิงที่มีต่อยิ่งลักษณ์ มีที่มาที่ไปอย่างไร? ทำไมเพศสภาพของยิ่งลักษณ์ถึงได้กลายมาเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในการลดความชอบธรรมของเธอในฐานะผู้นำทางการเมือง? ตัวแสดงทางการเมืองไหนบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการผลิตวาทกรรมที่ว่านี้? หลังจากย้อนรอยให้เห็นถึงกรณีการสร้างวาทกรรมเหยียดเพศหญิงที่มีต่อยิ่งลักษณ์ ผู้เขียนจะปิดท้ายในบทสรุปของบทความด้วยการชี้ให้เห็นถึงบทเรียนที่เราได้จากกรณีของยิ่งลักษณ์ และกรณีดังกล่าวนี้ได้ทิ้งคำถามอะไรให้พวกเราทุกคนต้องถกเถียงและแสวงหาคำตอบร่วมกันในสังคมต่อไป

 

ที่มาภาพ:Casey Hynes, “Sexism in Thailand and the Campaign against Yingluck Shinawatra,
” Chaing Rai Times, April 3, 2014,  ( Accessed July 18, 2015).


เส้นทางสู่การเป็น “หญิงชั่ว”: ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง

ปรากฏการณ์ “ยิ่งลักษณ์ฟีเวอร์” ในปี พ.ศ. 2554 สร้างผลกระทบที่สำคัญยิ่งต่อโฉมหน้าการเมืองไทยในขณะนั้นเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะนำพรรคเพื่อไทยกวาดที่นั่งในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในปีนั้นอย่างถล่มทลายและนำไปสู่การผลัดเปลี่ยนรัฐบาลจากที่เคยอยู่ภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ หากปรากฏการณ์ดังกล่าวยังส่งผลให้เธอก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกและคนเดียวของไทยตราบจนถึงปัจจุบัน กระนั้นก็ตาม แม้ว่าเธอจะได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แถมตัวยิ่งลักษณ์เองก็เชื่อว่าความเป็นผู้หญิงคือจุดแข็งทางการเมืองของตน[1]และเธอคือตัวแทนสตรีในการเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง[2]เธอกลับไม่ได้การยอมรับเท่าที่ควรจากนักวิชาการหรือกลุ่มนักเคลื่อนไหวสตรีนิยม[3]ความเย็นชาที่ยิ่งลักษณ์ได้รับจากกลุ่มคนดังกล่าว เป็นเรื่องที่พอจะเข้าใจได้ไม่ยาก กล่าวคือ ในมุมมองของคนกลุ่มนี้ ยิ่งลักษณ์ไม่ได้เป็นตัวแทนของพลังสตรีในการเข้าไปปักธงสร้างฐานที่มั่นในปริมณฑลทางการเมืองไทยซึ่งถูกผู้ชายครอบงำมาอย่างยาวนาน ในทางตรงกันข้าม เหตุผลง่ายๆที่ทำให้ยิ่งลักษณ์ผู้ซึ่งไร้ประสบการณ์ทางการเมืองอย่างสิ้นเชิงก่อนลงสนามเลือกตั้งแต่กลับได้ขึ้นมาครองอำนาจในฐานะผู้นำประเทศก็คือ เธอเป็นน้องสาวแท้ๆของ ทักษิณ ชินวัตร

แม้จะถูกปลดลงจากอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 และใช้ชีวิตส่วนใหญ่หลังจากนั้นอยู่นอกประเทศไทยในฐานะผู้ต้องหาทางการเมืองที่รัฐบาลไทยต้องการตัว ทักษิณ คือหนึ่งในตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในการเมืองไทยร่วมสมัย และเป็นที่คาดเดาได้ไม่ยากว่าหลังชัยชนะของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ทักษิณจะมีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดการบริหารงานรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้สโลแกนที่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” การถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ยังไม่เริ่มบริหารงานว่าเป็นได้เพียงรัฐบาลหุ่นเชิดของพี่ชายเธอเอง ทำให้ยิ่งลักษณ์ต้องออกมาแก้ต่างอยู่บ่อยๆว่า เธอเองก็มีอิสระทางการเมืองเป็นของตนเองและมีอำนาจในการตัดสินใจในฐานะผู้นำของประเทศ[4]อย่างไรก็ตาม ทักษิณเองไม่ได้ทำให้คำแก้ต่างของน้องสาวตัวเองฟังขึ้นแต่อย่างใด เมื่อตัวเขาเองได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า

“บางคนบอกว่า [ยิ่งลักษณ์] เป็นนอมินีของผม มันไม่จริงแต่อย่างใด แต่อาจจะพอบอกได้ว่าเธอคือ โคลนของผม สิ่งที่สำคัญอีกประการคือยิ่งลักษณ์เป็นน้องสาวของผมและเธอสามารถตัดสินใจให้ผมได้ เธอสามารถตอบ ‘เยส’ หรือ ‘โน’ ในนามของผมได้ ”[5]

แม้ว่าจะถูกตีตราว่าเป็นได้แต่ “หุ่นเชิด” ทางการเมืองจากฝ่ายที่ตั้งแง่กับเธอ หรือถูกขนานนามจากพี่ชายตนเองว่าเป็น “โคลน” ของตน เป็นที่น่าสนใจว่า ยิ่งลักษณ์ในช่วงแรกๆของการเป็นนายกรัฐมนตรียังไม่ได้ถูกโจมตีด้วยวาทกรรมที่ว่าด้วยเรื่องเพศของเธอมากนัก อันที่จริงแล้ว ด้วยความที่เธอถูกตราหน้าว่าเป็นได้แค่ “หุ่นเชิด” หรือ “โคลน” ทางการเมือง ยิ่งลักษณ์ในช่วงแรกดูเหมือนจะอยู่ในสภาวะไร้เพศในปริมณฑลทางการเมืองไทย เพราะไม่ว่าเธอจะคิดหรือทำอะไร ฝ่ายที่ตั้งแง่กับเธอย่อมมองว่า เธอล้วนทำไปตามคำสั่งของทักษิณ หรือถ้ายิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองจะมีเพศเป็นของตนขึ้นมาจริงๆ เธอก็ควรจะเป็น “หุ่นเชิด” หรือ “โคลน” ที่เป็นเพศชายด้วยซ้ำไป เนื่องจากมีการชักใยหรือถูก “โคลน” ออกมาจากพี่ชายเธอเอง ดังนั้น ในช่วงแรกๆของการบริหารงานประเทศของยิ่งลักษณ์ ไม่ว่านโยบายของรัฐบาลเธอจะมีปัญหามากน้อยแค่ไหน ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ถูกนำไปโยงกับเพศของเธอแต่อย่างใด หากแต่ถูกนำไปโยงกับปัญหาของการที่รัฐบาลของเธอเอาแต่ปฏิบัติตามแนวทางนโยบายที่ทักษิณคิดและมอบหมายมาจากต่างแดน

ด้วยความที่ยิ่งลักษณ์เป็นคนที่ไร้ประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน นั่นก็ย่อมทำให้ฝ่ายที่ตั้งแง่กับเธอหลงคิดไปได้ว่า เธอคงจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปได้ไม่นานเท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ปรากฏกลับกลายเป็นว่า ยิ่งลักษณ์และคณะรัฐมนตรีของเธอค่อยๆประคับประคองตัวเองผ่านอุปสรรคปัญหาต่างๆไปได้เรื่อยๆ แม้กระแส “ฟีเวอร์” ในตัวเธออาจลดลงไปในหมู่คนกรุง แต่สำหรับคนรากหญ้าในต่างจังหวัดที่เป็นฐานเสียงสำคัญของพี่ชายของเธอ ยิ่งลักษณ์ยังคงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี การค่อยๆสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการรักษาฐานเสียงสนับสนุนดังกล่าวนี้เองที่ทำให้กลุ่มคนที่อาจแค่ตั้งแง่กับเธอในตอนแรก เริ่มก่อตัวกลายเป็นกลุ่มต่อต้าน ด้วยเพราะหวาดระแวงว่า เธอจะครองอำนาจไปอีกนานและก่อปัญหาต่อประเทศชาติเหมือนกับที่พี่ชายของเธอได้กระทำไว้ เพราะเหตุนี้เอง เราจึงจะค่อยๆเห็นปรากฏการณ์ที่ยิ่งลักษณ์ในฐานะหุ่นเชิดที่ไร้เพศ เริ่มที่จะถูกยัดเยียดเพศสภาพเข้าสู่ร่างกายทางการเมืองของเธอ และเพศสภาวะของเธอที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นในปริมณฑลทางการเมืองนี้เองที่จะกลายมาเป็นเป้าโจมตีทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในที่สุด

เค้าลางของการนำเอาเรื่องเพศมาเป็นประเด็นใหญ่ในการลดทอนความชอบธรรมของยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้นำประเทศได้เริ่มก่อตัวหลังจากที่เธอเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและบริหารประเทศไปได้ไม่นานนัก วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 เอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจการเงินผู้ซึ่งเคยต่อต้านรัฐบาลทักษิณมาก่อน ได้โพสต์ข้อความลงใน Facebook ของตนเอง ว่า

“ไม่อยากจะกล่าวคำแบบนี้ เพราะดูเหมือนจะดูถูกสตรี...แต่ในความเป็นจริงนั้น...สาวเหนือที่ไร้การศึกษาหรือขี้เกียจ   และด้อยปัญญา จะมาทำงานสบายที่หญิงปกติไม่ทำกัน...หลักๆคือขายบริการ ฉะนั้นสาวเหนือที่ไร้สติปัญญาและโง่              เขลาขนาดหนักแต่หน้าด้านมารับตำแหน่ง ก็ควรจะรู้นะว่าอาชีพอะไรเหมาะแก่คุณ?”[6]

ข้อความดังกล่าวได้สร้างกระแสในทางลบเป็นอย่างมากในพื้นที่สาธารณะ เพราะมันไม่เพียงแต่ผลิตซ้ำอคติเดิมๆในสังคมไทยที่ว่า ผู้หญิงจากภาคเหนือมักจะไม่มีความรู้ ขี้เกียจ มักเข้าไปในเมืองกรุงและทำงานได้แค่อาชีพเดียว นั่นคือ อาชีพโสเภณี หากแต่มันยังเป็นการตีวัวกระทบคราดไปยังตัวยิ่งลักษณ์เองซึ่งมีพื้นเพมากจากภาคเหนืออีกด้วย แม้ว่าเอกยุทธจะโดนประณามอย่างหนักจากกลุ่มสตรีในภาคเหนือในเวลาต่อมา[7]วาทกรรมที่ว่ายิ่งลักษณ์ในฐานะผู้หญิงชาวเหนือย่อมถือเป็นคนโง่และเหมาะกับการทำอาชีพโสเภณีมากกว่าเป็นนายกรัฐมนตรีกลับกลายเป็นการปูทางให้กับคนที่ตั้งแง่กับเธอได้เอาเป็นแบบอย่างและผลิตซ้ำวาทกรรมคล้ายๆกันในเวลาต่อมา

หนึ่งปีต่อมา วันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ได้เดินทางเยือนประเทศไทยและได้ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย ณ ทำเนียบรัฐบาล แม้ภาพของการที่ผู้นำทั้งสองประเทศร่วมรับประทานอาหารด้วยอากัปกริยายิ้มแย้มจะสื่อให้เห็นถึงมิตรภาพที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ สื่อบางสำนักและสังคมออนไลน์กลับโจมตีว่า ท่าทางยิ้มแย้มและมีไมตรีจิตรของยิ่งลักษณ์ที่มีต่อโอบามา ส่อให้เห็นถึงการการประพฤติตัวไม่เหมาะสมของนายกรัฐมนตรีหญิงของไทย เพราะมันดูเป็นการ  “เล่นหูเล่นตา” “ให้ท่า” หรือ “อ่อยเหยื่อ” ผู้นำสหรัฐฯ[8]บ้างก็ไปไกลถึงขนาดตีความไปว่า ยิ่งลักษณ์ กำลังจะกลายเป็นมือที่สามที่ทำให้ชีวิตสมรสระหว่างโอบามาและสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯขาดสะบั้นลง[9]

วาทกรรมที่ว่ายิ่งลักษณ์มักปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมในฐานะผู้นำประเทศได้รับการผลิตซ้ำในระดับที่รุนแรงขึ้นไปอีกในเวลาต่อมา เมื่อเธอได้ไปเข้าร่วมประชุม The Ministerial Conference of the Community of Democracies ณ ประเทศมองโกเลีย ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 โดยในการประชุมครั้งนี้เองที่ยิ่งลักษณ์ได้กล่าวสุนธรพจน์อันมีเนื้อหาสำคัญอธิบายถึงปัญหาของการที่ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้สุนธรพจน์ดังกล่าวจะไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ปัญหาการเมืองไทยอย่างรุนแรงและถึงราก แต่มันกลับสร้างความโกรธเคืองเป็นอย่างมากให้กับ สมชัย กตัญญุตานันท์ นักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองชื่อดังเจ้าของนามปากกา “ชัย ราชวัตร” โดยตัวเขาเองได้โพสต์รูปภาพยิ่งลักษณ์ที่งานประชุม ณ ประเทศมองโกเลีย พร้อมกับโพสต์ข้อความต่อท้ายรูปดังกล่าวใน Facebook ของเขาเองว่า “โปรดเข้าใจ กระหรี่ไม่ใช่คนชั่ว กระหรี่แค่ขายตัว แต่หญิงชั่วเร่ขายชาติ”[10]แม้ข้อความดังกล่าวจะทำให้ผู้สนับสนุนของยิ่งลักษณ์ทำการประท้วงหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดของสมชาย[11]วาทกรรมที่ว่ายิ่งลักษณ์เป็น “หญิงชั่วเร่ขายชาติ” ที่สมชัยสร้างขึ้นได้กลับกลายเป็นที่นิยมในหมู่ฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ เพิ่มเติมขึ้นมาจากวาทกรรม “สาวเหนือโง่และขายตัว” ที่เอกยุทธได้สร้างกระแสมาก่อนหน้านี้

นอกจากนั้น ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนี้เอง สื่อมวลชนดูจะประหลาดใจไม่น้อยที่วาทกรรมดูถูกผู้หญิงที่ถูกเอามาใช้บ่อยขึ้นๆกับยิ่งลักษณ์ ได้หลุดออกมาจากนักการเมืองร่วมอาชีพเดียวกันอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านในขณะนั้น โดยในวันที่ 7 กันยายน 2556 อภิสิทธิ์ได้ขึ้นเวทีปราศรัยกล่าววิพากษ์วิจารณ์ความไร้ศักยภาพของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในการแก้ปัญหาวิกฤติของชาติ หลังจากนั้นเขาจึงพุ่งความสนใจไปที่โครงการล่าสุดของรัฐบาลที่ยิ่งลักษณ์เพิ่งไปเป็นประธานเปิดงาน นั่นก็คือโครงการที่ชื่อ  “Smart Lady Thailand” ซึ่งเป็นโครงการแข่งขันประกวดหาผู้หญิงที่มีความสามารถเป็นผู้นำ โดยอภิสิทธิ์ซึ่งดูจะข้องใจเป็นอย่างมากเมื่อได้ยินชื่อโครงการนี้ ได้กล่าวไว้ว่า

 “ได้ยินข่าวว่า [ยิ่งลักษณ์] ไปทำโครงการ Smart Lady...แปลว่าอะไร? ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจทั้งหมดหรอกครับ เหมือนกับว่าจะประกวดใช่ไหม หา Smart Lady...แปลว่าอะไร Smart Lady? ผมก็ถามอภิมงคล [โสณกุล][12]...แปลว่าผู้หญิงฉลาด ผมก็ถามว่า อ้าว ถ้าทำโครงการนี้ ทำไมต้องทำ? ทำไมต้องหาผู้หญิงฉลาด? ทำไมต้องประกวดแข่งขันผู้หญิงฉลาด? เพราะเขาบอกว่า ถ้าแข่งขันหา อีโง่ ไม่มีใครไปแข่งได้ ”[13]

แม้ว่าอภิสิทธิ์เองจะไม่ได้กล่าวออกมาอย่างชัดเจนว่า ใครคือ “อีโง่” ที่เขาหมายถึงในการปราศรัยครั้งนั้น สื่อมวลชนไทยในขณะนั้นต่างก็ลงความเห็นตรงกันว่า ยิ่งลักษณ์คือคนที่อภิสิทธิ์ต้องการจะสื่อถึง นั่นก็เพราะคำว่า “อีโง่” เป็นหนึ่งในคำที่ฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ใช้อยู่บ่อยๆในการกล่าวหาในเชิงดูถูกถึงความไร้ความรู้สามารถของเธอในการบริหารประเทศ ด้วยเหตุที่การปราศรัยดังกล่าวของอภิสิทธิ์ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากทางสาธารณะว่าไม่เหมาะสม เขาจึงออกมาแก้ตัวในเวลาต่อมาว่า ที่ตัวเขาเองใช้คำว่า “อีโง่” ในการปราศรัยครั้งนั้น ก็เป็นเพราะคำดังกล่าวเป็นคำที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไทย เพราะมีการ “กู้เกิ้ล”  ค้นหากันบ่อยมาก[14]อีกไม่กี่วันต่อมา อภิสิทธิ์ได้มีโอกาสกล่าวปราศรัยในที่สาธารณะอีกครั้งในวันที่ 15 กันยายน 2556 ในโอกาสนี้เอง เขาได้แสดงความขุ่นข้องหมองใจที่การใช้คำว่า “อีโง่” ของเขากลายมาเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองอย่างไม่จำเป็น โดยอภิสิทธิ์ได้กล่าวว่า

“คือถ้าคำว่า อีโง่ เป็นถ้อยคำซึ่งไม่เหมาะสมที่จะให้พูด ว่าผมอย่างนี้ ผมน้อมรับและผมก็รู้แล้วว่า ต่อไปนี้ พจนานุกรมเล่มจะเล็กลงๆๆ เพราะหลายคำจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็น อีโง่ ไม่ว่าจะเป็น แรด หรือไม่ว่าจะเป็น กระหรี่...ถ้าผมไปเรียกใครอย่างนั้นสิครับ ผมทำไม่ถูก แต่ผมไม่ได้เรียก...คุณ [สื่อมวลชน] ก็จะยัดเยียดให้ผมเรียก แล้วเสร็จแล้ว สส.ผู้หญิงของผมก็ถามคุณว่า คุณคิดว่าเป็นใคร? คุณก็ยืนยันอยู่นั่นแหละว่าต้องเป็นคนนั้น [ยิ่งลักษณ์] เพราะฉะนั้นก็ไปว่ากันเองเถอะครับ...ผมก็ยืนยันว่า ไม่มีหรอกครับพวกผมที่จะไปดูหมิ่นสตรีและผมอยากจะเตือนด้วยว่า สิ่งที่พยายามจะมาเล่นงานผมนั่นแหละกำลังไปตอกย้ำสภาพปัญหาสตรีในสังคม เพราะพยายามไปสร้างกระแสว่า ถ้าเป็นผู้หญิงตรวจสอบไม่ได้ แตะต้องไม่ได้...นี่เป็นการทำลายสถานภาพสตรี ซึ่งวันนี้ต้องลุกขึ้นมาบอกว่า เท่าเทียมกับผู้ชายทุกอย่าง”[15]

อภิสิทธิ์ดูจะกล่าวได้ถูกต้องเป็นอย่างยิ่งว่า ตัวยิ่งลักษณ์เองนั้นไม่ควรจะมีเอกสิทธิ์ใดๆที่มาจากสถานภาพความเป็นผู้หญิงเป็นเกราะป้องกันตัวจากการตรวจสอบของฝ่ายค้านและภาคประชาชน ยิ่งการที่พรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของเธอพยายายามผลักดัน “พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “พรบ. เหมาเข่ง”ในปลายปี 2556 ซึ่งถูกโจมตีอย่างหนักจากสาธารณชนว่า มุ่งผลที่จะเอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้กับพี่ชายของเธอเอง มันก็สมควรอย่างยิ่งที่เธอจะถูกตรวจสอบตามกระบวนการกติกาทางการเมืองไม่ว่าเธอจะมีเพศอะไร อย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามกับที่อภิสิทธิ์ได้ออกตัวไว้ วาทกรรมดูถูกเพศหญิงกลับถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องในการโจมตียิ่งลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ผู้เป็นคนใกล้ชิดกับอภิสิทธิ์เอง ประสบความสำเร็จในการจุดกระแสต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในหมู่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) โดยบนเวทีการประท้วง “ปิดกรุงเทพฯ” ของกลุ่ม กปปส.นี้เองที่ “ด้านมืด” ของการใช้เพศของยิ่งลักษณ์เป็นหัวใจในการโจมตีขับไล่เธอออกจากตำแหน่งทางการเมือง ได้เผยโฉมหน้าออกมาสู่สาธารณะอย่างแจ่มแจ้ง

22 ธันวาคม 2556 จักษ์ พันธ์ชูเพชร อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวที กปปส. และเมื่อเขาได้เริ่มพูดถึงประเด็นที่ว่ายิ่งลักษณ์มักจะพยายามเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับผู้ชุมนุม กปปส. จักษ์ได้กล่าวในลักษณะทีเล่นทีจริงว่า

“วันนี้เห็นบอกว่า ดร.เสรี [วงษ์มณฑา][16]และพี่ปอง [อัญชะลี ไพรีรัก][17]ไปที่บ้านนายกฯ ผมบอกตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว ถ้า ไปไล่น่ะ พี่ปองกับอาจารย์เสรีไปได้ แต่ถ้าไปล่อนะ ผมๆ...ก็ส่งคนไปไล่มันก็ไม่อยู่บ้านสิ ถ้าส่งคนไปล่อ อย่างผมนี้สิ มันถึงออกมานะครับ...รอบหน้าจัดเฉพาะหนุ่มๆหน้าตาดีๆ ส่งไปล่อให้ดีๆ แล้วได้ตัวครับ เชื่อเถอะครับ มั่นใจครับ...และมั่นใจว่าผมน่าจะติดหนึ่งในห้าสิบ [หนุ่ม] เข้าไปบ้างนะ ผมว่า...ขอไปล่อเพื่อชาติหน่อยเถอะ จะได้รู้ว่าเอาอยู่หรือเอาไม่อยู่”[18]

เนื่องจาก เสรี วงษ์มณฑาเป็นผู้ที่ประกาศตัวในที่สาธารณะว่าเป็นพวกรักร่วมเพศ[19]ส่วนอัญชะลี ไพรีรักก็เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเธอเป็นผู้หญิง จักษ์เหมือนจะบอกเป็นนัยว่า ไม่ว่าจะพวกรักร่วมเพศหรือผู้หญิงก็ล้วนแต่ล้มเหลวในการเอาตัวยิ่งลักษณ์ออกมาจากที่พักเพื่อเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุม ดังนั้นหนทางเดียวที่จะเอาตัวยิ่งลักษณ์ออกมาให้ได้นั่นก็คือ ต้องให้ตัวเขาเองที่เป็นผู้ชายไป “ล่อ” เธอ และเนื่องจากคำว่า “ล่อ” นั้น เป็นคำที่มีความหมายสองแง่สองง่าม กล่าวคือ ในแง่หนึ่งมันอาจหมายถึงการ ยั่ว หรือ ลวง แต่ในอีกแง่หนึ่ง มันก็อาจหมายถึง การร่วมเพศ จักษ์จึงดูเหมือนจะบอกเป็นนัยกับผู้ชุมนุมกปปส.ที่โห่ร้องชอบอกชอบใจกับคำปราศรัยของเขาว่า มันต้องใช้ผู้ชายอย่างเขาและหนุ่มๆอีกหลายสิบคน บุกเข้าไปกระทำชำเรากับยิ่งลักษณ์ที่บ้านของเธอเท่านั้น เธอถึงจะถูกกำราบและยอมออกมาเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมในที่สุด

คำปราศรัยของจักษ์ที่มีเนื้อหาดูถูกดูแคลนผู้หญิงดูจะกลายเป็นคำพูดที่ฟังดูสุภาพไปเสียด้วยซ้ำ เมื่อมันถูกนำมาเปรียบเทียกับคำปราศรัยที่ฉาวโฉ่เป็นอย่างยิ่งของ ประเสริฐ วศินานุกร นายแพทย์อาวุโสจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ซึ่งขึ้นเวที กปปส.พร้อมเพื่อนร่วมวิชาชีพในวันที่ 13 มกราคม 2557 และทำการปลุกระดมขับไล่ยิ่งลักษณ์ให้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีแม้ว่าเธอจะยุบสภาและประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไปแล้วก็ตาม โดยประเสริฐได้กล่าวบนเวที กปปส.ว่า

 “ผมเองที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็อยากจะแสดงความขอบคุณพี่น้องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมาเรียกร้อง  ให้ประเทศเราคืนจากตระกูลสามานย์นะครับ...ผมอยากจะขอเรียกร้องคุณยิ่งลักษณ์ มีสามประเด็นเท่านั้นเอง ในอันแรกสุด...คุณยิ่งลักษณ์อยากเป็นวีรสตรีใช่ไหมครับ...ถ้าคุณยิ่งลักษณ์ทำได้โดยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนไทยทั้งประเทศอาจจะทำเหรียญยิ่งลักษณ์แก้ผ้าให้ก็ได้...ประเด็นที่สอง ถ้ายิ่งลักษณ์มีน้องนะครับโปรดฟังให้ดี ผมจะส่งเกวียนมารับที่กรุงเทพฯไปคลอดที่หาดใหญ่ครับ แถมทำรีแพร์ชนิดที่สามีคนต่อไปต้องยกนิ้วให้ พูดแล้วคุณอัญชะลี  [ไพรีรัก] ยังเสียวเลยนะครับ...ประการที่สาม ยังไม่สายเกินไปที่คุณยิ่งลักษณ์จะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพราะยังไม่แก่เกินไปที่จะเป็นนางแบบปฏิทิน เพราะว่าประจำเดือนยังไม่หมดนะครับ... ประการที่สี่ ประการสุดท้าย หวังว่าภรรยาของผมกลับบ้านไปนอนแล้ว ถ้าไม่มีใครต้องการยิ่งลักษณ์จริงๆ ผมยินดีเป็นข้ารับใช้ ยินดีรับใช้ ซื้อและเปลี่ยนโกเตกซ์[20]ให้ตลอดไป”[21]

คำปราศรัยดังกล่าวของประเสริฐสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการขั้นสูงสุดของฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ในการนำเอายิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองไปหลอมรวมกับยิ่งลักษณ์ในฐานะที่เธอมีเรือนร่างตามธรรมชาติเป็นผู้หญิง โดยในมุมมองของประเสริฐแล้ว ไม่ว่าจะเป็นร่างที่เปลือยเปล่าของยิ่งลักษณ์ ความสามารถในการตั้งครรภ์ของเธอ การหลั่งประจำเดือนของเธอ หรือสภาพช่องคลอดของเธอ ล้วนเป็นเรื่องที่แยกไม่ออกจากการตัดสินใจทางการเมือง ผลงานทางการเมือง และมรดกทางการเมืองของยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด คำปราศรัยของประเสริฐถูกประณามเป็นอย่างมากจากสาธารณชนในเวลาต่อมา และมันดูเหมือนจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวสตรีนิยมละทิ้งความเย็นชาที่มีต่อยิ่งลักษณ์และออกมาวิพากษ์วิจารณ์การใช้วาทกรรมเหยียดเพศหญิงบนเวที กปปส.ในที่สุด[22]

กระนั้นก็ตาม แม้จะได้รับเสียงก่นด่าจากสังคมในเรื่องของการไม่ให้เกียรติผู้หญิง การปราศรัยบนเวที กปปส.ยังดำเนินต่อไปในช่วงต้นปี 2557 โดยมีเรื่องเพศของยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในการขับไล่เธอออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำของกปปส.ได้ขึ้นเวทีปราศรัยโจมตียิ่งลักษณ์ และหลังจากที่ประณามว่าเธอมีส่วนสำคัญที่ทำให้สมาชิกกปปส.บางคนต้องตายในช่วงเวลาการชุมนุมที่ผ่านมา สุเทพได้กล่าวว่า

“คุณทำให้ครอบครัวผู้บริสุทธ์เหล่านี้ที่เขาสู้เพื่อชาติเพื่อแผ่นดินต้องเดือดร้อน ลูกเขาต้องเป็นกำพร้า พวกผมต้องเรี่ยไรเงิน เพื่อตั้งกองทุนเพื่อให้ลูกเขาได้เรียนหนังสือ วันข้างหน้าลูกคุณ [ยิ่งลักษณ์] เป็นกำพร้าบ้างแล้วมันจะสาปแช่งคุณ คุณต้องเจอแน่ๆ คุณเนี่ย ถ้าไม่ตรอมใจตายเพราะคำสาปแช่งของมวลมหาประชาชน คุณก็ต้องติดคุก ไอ้น้องไปป์ [ศุภเสกข์ อมรฉัตร][23]ลูกคุณนะไม่มีคนเลี้ยงแน่นอน เผลอๆพ่อมันก็เกี่ยง ไม่กล้าเลี้ยง เพราะไม่รู้ลูกพ่อคนไหน คุณเข้าใจมั้ย”[24]

คำปราศรัยดังกล่าวของสุเทพสะท้อนจินตนาการของฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของเธอได้เป็นอย่างดี แม้ว่ายิ่งลักษณ์จะแต่งงานและอยู่กินกับสามีของเธอมาเป็นเวลานานกว่าสองทศวรรษ[25]เธอกลับถูกมองว่าเป็นผู้หญิงร่านสวาท โดยในมุมมองของสุเทพนั้น หากยิ่งลักษณ์ต้องจบชีวิตลงในเวลาอันใกล้หรือต้องติดคุกติดตาราง มันจะต้องเกิดข้อพิพาทขึ้นมาเป็นแน่ว่าใครคือบิดาที่แท้จริงของลูกชายของเธอ เนื่องจากสุเทพคิดว่ายิ่งลักษณ์เป็นผู้หญิงร่านสวาทและนอนกับผู้ชายไปทั่ว แม้คำปราศรัยของสุเทพถูกประณามจากนักวิชาการ สื่อ และฝ่ายที่สนับสนุนยิ่งลักษณ์ในเวลาต่อมา การประณามดังกล่าวกลับมุ่งเน้นไปที่การที่สุเทพเอาลูกชายของยิ่งลักษณ์ซึ่งยังเป็นเด็กและไร้เดียงสาเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง[26]ในทางตรงกันข้าม ไม่มีฝ่ายใดออกมาประณามแต่อย่างใดว่าคำปราศรัยดังกล่าวตกอยู่ใต้วาทกรรมยอดนิยมที่ว่า สตรีคือเพศที่ไม่สามารถควบคุมความต้องการและพฤติกรรมทางเพศของตนได้

ยุทธการ “ปิดกรุงเทพฯ” และขัดขวางการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ของผู้ชุมนุม กปปส. อาจทำให้การกลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศของยิ่งลักษณ์ดูจะไม่ใช่เรื่องทำได้ง่ายๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะฐานเสียงที่ยังเหนียวแน่นของเธอในหมู่คนจำนวนมากในประเทศ จึงทำให้หลายฝ่ายลงความเห็นตรงกันว่า ต่อให้เธอต้องลงสนามเลือกตั้งอีกกี่ครั้งในช่วงนั้น เธอย่อมมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกสมัย ดังนั้น ไพ่ใบสุดท้ายที่เหลืออยู่ของฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ในการที่จะกำราบเธอและยุติบทบาททางการเมืองของเธออย่างได้สมบูรณ์ ก็คือการส่งกลุ่มผู้ชายหลายๆคนไปปฏิบัติภารกิจ “ล่อเพื่อชาติ”

วันที่ 25 มีนาคม 2557 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งถูกคาดหมายกันว่าจะส่งให้ยิ่งลักษณ์ได้กลับขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิมยังมีมติเอกฉันท์ให้ยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ สภาพโซซัดโซเซของยิ่งลักษณ์จากการถูกอำนาจตุลาการเล่นงาน เปิดโอกาสให้กลุ่มกปปส.ที่อ่อนแรงลงไปพอสมควรในช่วงสองสามเดือนหลัง ได้จัดระดมพลังชุมนุมขับไล่ยิ่งลักษณ์และประกาศ “การต่อสู้ครั้งสุดท้าย”ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2557 อย่างไรก็ตาม กปปส. ต้องจำรอจนถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 กว่าเป้าหมายในการขับไล่ยิ่งลักษณ์จะบรรลุผล เมื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจนำกลุ่มนายทหารในนามคณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) ยึดอำนาจจากรัฐบาลและยุติการครองอำนาจของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยของเธออย่างสิ้นเชิง  แม้ว่ากลุ่มผู้สนับสนุนยิ่งลักษณ์จะมีความหวังอยู่ลึกๆว่า เธอจะนำพรรคเพื่อไทยกลับมาชนะเลือกตั้งในวันข้างหน้าหากคสช.คืนอำนาจให้ประชาชนและจัดให้มีการเลือกตั้ง ความหวังดังกล่าวก็ดูท่าจะมลายสิ้น เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งเป็นผลผลิตของคณะรัฐประหาร ได้ลงมติในวันที่ 23 มกราคม 2558 ให้ถอดถอนยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งฐานละเลยต่อหน้าที่ในกรณีจำนำข้าว  ส่งผลให้เธอถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีในทันที นอกจากนี้ องค์กรอิสระต่างๆที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารก็ต่างเตรียมการตัดสินลงโทษยิ่งลักษณ์ในกรณีใช้อำนาจในทางมิชอบและฉ้อราษฎร์บังหลวงในอีกหลายๆคดีตามมาอีกนับไม่ถ้วน ด้วยสภาวะที่ยิ่งลักษณ์โดนเล่นงานอย่างหนักทั้งการถูกถอดถอนจากตำแหน่งทางการเมืองและการถูกห้ามเล่นการเมืองเป็นเวลานานหลายปี ทำให้ยากที่จะปฏิเสธได้ว่า หนทางที่เธอจะกลับเข้ามาเป็นผู้นำทางการเมืองไทยในเวลาอันใกล้ดูเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ ในแง่นี้ภารกิจ “ล่อเพื่อชาติ” ของกลุ่มต่อต้านยิ่งลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นกปปส. คสช. ศาล องค์กรอิสระ และสนช. ดูจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการกำราบเธอได้อย่างอยู่หมัดในที่สุด

 


ที่มาภาพ: Casey Hynes, “Sexism in Thailand and the Campaign against Yingluck Shinawatra, 
” Chaing Rai Times, April 3, 2014,  ( Accessed July 18, 2015)
.

บทสรุป

ยิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองนั้นไม่ได้มีเพศหญิงมาตั้งแต่แรก หากแต่เธอได้ถูกยัดเยียดให้มีเพศหญิงติดตัวในเวลาต่อมา กล่าวคือ ในตอนแรกที่ยิ่งลักษณ์แจ้งเกิดในเวทีการเมืองระดับประเทศ เธอดูจะเป็นได้อย่างดีก็แค่ตัวแสดงทางการเมืองที่ไร้เพศ เพราะไม่ว่าเธอจะบริหารพรรคการเมืองของเธอ คุมเสียงในสภาฯ หรือบริหารรัฐบาลได้ดีหรือแย่แค่ไหน เธอก็มักจะถูกตราหน้าว่าเป็นแค่ “หุ่นเชิด” ทางการเมืองของพี่ชายเธอเอง ในแง่นี้ “หุ่นเชิด” ตัวนี้ยังไม่มีมดลูก หรือ รังไข่ เอาไว้ตอบสนองความต้องการของผู้ชายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ยิ่งเธอดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปนานเท่าไร ยิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองก็ยิ่งถูกยัดเยียดสภาวะการเป็นเพศหญิงให้กับเธอมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น แทนที่ยิ่งลักษณ์จะได้รับการต้อนรับและชื่นชมในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย เธอกลับถูกมองจากฝ่ายต่อต้านว่าเป็นคนที่แปลกแยกไปจากธรรมเนียมปฏิบัติในการเมืองไทยที่มักจะสงวนตำแหน่งทางการเมืองสำคัญๆไว้ให้กับผู้ชายเท่านั้น และจำกัดบทบาทของสตรีให้เป็นเพียงแค่เมียและแม่ภายในบ้าน ในแง่นี้ แทนที่ยิ่งลักษณ์จะเป็นตัวแสดงทางการเมืองหนึ่งเดียวที่ไม่มีใครเหมือน (the One) เธอกลับเป็นได้แค่คนนอกหรือตัวประหลาด (the Other) ที่เผลอหลุดเข้ามาในปริมณฑลทางการเมืองที่ผู้ชายไทยถือสัมปทานผูกขาดครอบครองมาโดยตลอด         

ในสายตาของกลุ่มผู้ต่อต้านยิ่งลักษณ์แล้ว  เธอคือตัวอันตรายและมีศักยภาพที่จะบ่อนทำลายระเบียบและความสงบเรียบร้อยของการเมืองไทยในแบบเก่าที่ดำรงอยู่มายาวนาน เนื่องจากเธอคือสตรีเพศที่เข้ามาถืออำนาจรัฐและยากเกินกว่าที่จะคาดเดาได้ว่าเธอจะมาไม้ไหน ด้วยทัศนคติแบบนี้เอง ยิ่งลักษณ์จึงถูกมองว่าเป็นสตรีเพศที่แสนจะอันตรายและจำต้องถูกล่อ ลวง เอาชนะ และปราบให้อยู่หมัด ดังนั้น การทำการประท้วงขับไล่เธอ การดำเนินคดีทางการเมืองกับเธอ การตัดสินให้เธอพ้นจากตำแหน่งทางการเมือง รวมไปถึงการทำรัฐประหารเพื่อโค่นอำนาจทางการเมืองของเธอที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้สะท้อนให้เห็นความหวาดระแวงและความหวาดกลัวที่ฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์มีต่อตัวเธอในฐานะผู้นำทางการเมืองที่มีพลังของสตรีเพศอันแสนจะอันตรายต่อระบอบการปกครองแบบชายเป็นใหญ่ในไทย อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์จะประสบความสำเร็จในการกำราบเธอ แต่พวกเขาก็เลือกที่จะไม่กำจัดเธอให้สิ้นซากในทางการเมือง หากแต่ปล่อยให้เธอหายใจรวยรินแบบจวนอยู่จวนตายเพื่อประโยชน์ในวันข้างหน้า ดังที่คำปราศรัยของผู้ประท้วงบนเวทีกปปส.ได้บอกเป็นนัยล่วงหน้าเอาไว้ หลังจากยิ่งลักษณ์ในฐานะผู้นำประเทศถูก “ล่อ” จากผู้ถือครองอำนาจในการเมืองไทยที่เป็นผู้ชายอย่างหนำใจ ร่างกายเธอจำเป็นต้องถูกทำความสะอาด ซ่อมแซม หรือ “รีแพร์” ให้ดี โดยเธอนั้นต้องถูกเปลื้องผ้าให้เปลือยเปล่า อวัยวะเพศของเธอจำต้องถูกซ่อมทำให้แน่นกระชับอีกครั้ง ส่วนเลือดที่ไหลออกมาจากปากมดลูกของเธอก็จำต้องถูกซับด้วย “โกเต็กซ์” โดยกระบวนเยียวยาทั้งหมดทั้งมวลนี้ หาได้ทำไปเพื่อส่งเสริมให้ยิ่งลักษณ์ฟื้นคืนชีพทางการเมืองและกลับมากุมชัยชนะทางการเมืองได้อย่างแข็งแกร่งอีกครั้งแต่อย่างใด หากแต่มันเป็นการเก็บรักษาเธอเอาไว้สนองตัณหาราคะของฝ่ายต่อต้านยิ่งลักษณ์ ที่ทั้งตื่นเต้นและสะใจ ในการที่จะได้กระทำชำเราทางการเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับยิ่งลักษณ์รวมไปถึงกลุ่มผู้สนับสนุนของเธอที่ถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อระเบียบและความมั่นคงของการเมืองไทย

คำถามสำคัญที่เราอาจจำต้องถกเถียงกันให้มากขึ้น จากกรณีการสร้างวาทกรรมเหยียดเพศหญิงที่มีต่อ ยิ่งลักษณ์ ตามที่บทความนี้นำเสนอก็คือ ถ้ายิ่งลักษณ์ในฐานะตัวแสดงทางการเมืองถูกต่อต้านอย่างหนัก เนื่องจากเธอเป็นบุคคลที่เป็นอื่นและแปลกแยก (the Other) ในปริมณฑลการเมืองไทย ใครหรือสถาบันการเมืองใดที่ได้รับการเชิดชูให้เป็นที่หนึ่ง (the One) สมบูรณ์เพียบพร้อมในทุกๆเรื่อง และมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้พัฒนาก้าวหน้า? ถ้ายิ่งลักษณ์ในฐานะผู้นำของประเทศถูกมองว่าเป็นสตรีเพศที่แสนจะอันตรายและจำต้องถูกล่อลวง กระทำชำเรา และปราบปราบให้อยู่หมัดในทางการเมือง ใครหรือสถาบันการเมืองใดกันที่มีความหวาดระแวงหรือกลัวเป็นอันมากว่า ยิ่งลักษณ์จะมาสร้างอันตรายให้กับตน? ใครหรือสถาบันการเมืองใดกันที่พร้อมจะทำลายเธอในทุกวิถีทางเพื่อรักษาระบอบชายเป็นใหญ่ หรือระบอบปิตาธิปไตยที่ยังฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยตราบจนถึงปัจจุบัน? คำถามสำคัญเหล่านี้ยังไม่ได้รับการถกเถียงมากเท่าที่ควร แม้จุดจบของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงหนึ่งเดียวของไทย จะผ่านพ้นมาเป็นเวลาสองปีแล้วก็ตาม

 

 

เชิงอรรถ

 [1] คริส เบเกอร์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องไทยศึกษา ได้วิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่ ยิ่งลักษณ์ ได้นำความเป็นหญิงเข้ามาเป็นจุดขายและจุดแข็งในสนามเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ไว้อย่างน่าสนใจใน Chris Baker, “Yingluck on the streets,” New Mandala, 26 May 2011, http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2011/05/26/yingluck-on-the-streets/ (accessed July 1, 2015).

[2] ตัวอย่างเช่น การที่ยิ่งลักษณ์ขอคะแนนเสียงจากผู้ลงคะแนนเสียงสตรีเพื่อส่งให้ตนได้ขึ้นเป็นผู้นำหญิงคนแรกของไทย โปรดดู “ปู ขอคะแนนสตรี ช่วยส่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย,” ไทยรัฐออนไลน์, 8 มิถุนายน 2554, http://www.thairath.co.th/content/177441 (สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558) หรือกรณีที่ยิ่งลักษณ์เชื่อว่าเธอมี “สัมผัสสตรี” (woman’s touch) ในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ โปรดดู “PM offers woman’s touch on maritime row,” The Nation, 28 September 2012, http://www.nationmultimedia.com/national/PM-offers-womans-touch-in-maritime-row-30191297.html (accessed July 1, 2015).

[3] “เอเอฟพี ชี้ชัยชนะ ‘ยิ่งลักษณ์’ ไม่ใช่ยุคทองสตรี อาจารย์ม.ช. เห็นต่างชี้ ‘เฟมินิสต์’ ไม่เข้าใจหญิงชนบท,” มติชนออนไลน์, 8 กรกฎาคม 2554, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310110336&grpid&catid=80& subcatid=8000 (สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558).

[4] Andrew Higgins, “Thaksin Shinawatra’s sister is front-runner to become Thai leader,” The Washington Post, June 13, 2011.

[5]“Yingluck takes centre stage: Thaksin proudly claims his sister ‘his clone,’” Bangkok Post, May 17, 2011.

[6]“เอกยุทธ อัญชันบุตร โพสต์ด่าสาวเหนือกระทบยิ่งลักษณ์,” ประชาไท, 3 พฤศจิกายน 2554, http://www.prachatai .com /journal/2011/11/37719 (สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558).

[7]“เอกยุทธ อัญชันบุตรโพสต์ข้อความกระทบผู้หญิงเหนือ ‘แม่ญิงลานนา’ ต้าน ‘คำ ผกา’ บอกเป็น hate speech,” มติชนออนไลน์, 3 พฤศจิกายน 2554, http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320244730&grpid=01&catid =01 (สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2558).

[8]“ภาพลักษณ์ผู้นำไทยหมอง-เรื่องชู้สาววาบหวามบทบังสาระ!!!” ASTVผู้จัดการออนไลน์, http://www.manager.co.th/ Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000142460 (สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2558).

[9]“งามหน้า! สื่อมะกันชี้ ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ มีเอี่ยวทำ ‘มิเชล’ เตรียมฟ้องหย่า ‘โอบามา’,ASTVผู้จัดการออนไลน์, 27 พฤศจิกายน 2557, http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000059140 (สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2558).

[10] “เสียงจากนักวิชาการชั้นนำ กรณี ชัย ราชวัตร หมิ่น นายกฯ ยิ่งลักษณ์- กระหรี่เร่ขายตัว หญิงชั่วขายชาติ!” ข่าวสด ออนไลน์, 2 พฤษภาคม 2556, http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk56UTNNRGt4TVE9PQ== (สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2558).

[11]“เสื้อแดงบุกไทยรัฐ ประท้วง ‘ชัย ราชวัตร’ โพสต์หมิ่นยิ่งลักษณ์,” ประชาไท, 3 พฤษภาคม 2556, http://www.prachatai.com/journal/2013/05/46558 (สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2558).

[12]อภิมงคล โสณกุล อดีตสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครและรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์

[13]“อภิสิทธิ์ด่านายกยิ่งลักษณ์...อีโง่,” YouTube, 9 กันยายน 2556, https://www.youtube.com/watch?v=LZcD0QNN-E4  (สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2558).

[14] “มาร์คอ้างพูด อีโง่ ตามเว็บไซต์กูเกิ้ล ไม่ทราบใครร้อนตัว,” ข่าวสดออนไลน์,  9 กันยายน 2556, http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09EY3dPRGMzTlE9PQ== (สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2558).

[15]“อภิสิทธิ์บอกไม่ได้เรียกใครอีโง่ หวั่นพูดคำ แรด กะหรี่ไม่ได้” YouTube, 15 กันยายน 2556, https://www.youtube .com/watch?v=2NMq5Dt4yQw (สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558).

[16]เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2549 และต่อมาได้เข้าร่วมการชุมนุมของกปปส.ช่วง ปี พศ. 2556-2557

[17] อัญชะลี ไพรีรัก สื่อมวลชนอิสระ มีบทบาทสำคัญในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2549 และปี พ.ศ. 2551  ต่อมาได้เข้าร่วมชุมนุมและเป็นพิธีกรประจำเวทีกปปส. ช่วงปี พศ. 2556-2557

[18] “จักษ์ พันธ์ชูเพชร 22-12-2013 ล่อเพื่อชาติ,” YouTube, 9 มกราคม 2557, https://www.youtube.com/watch?v=7NCF jfbkKaM&spfreload=10 (สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558).

[19]“ เปิดม่านชีวิตเกย์ เสรี วงษ์มณฑา,” ASTVผู้จัดการออนไลน์, 25 ตุลาคม 2549, http://www.manager.co.th/Daily /ViewNews.aspx?NewsID=9490000132506 (สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558).

[20] โกเตกซ์ (Kotex) คือยี่ห้อผ้าอนามัยที่ผลิตโดยบริษัท Kimberly-Clark Corporation ด้วยความนิยมที่มีต่อยี่ห้อดังกล่าวในสังคมไทยในช่วงแรกที่เข้ามาตีตลาด ได้ทำให้คำว่า “โกเตกซ์” กลายเป็นคำเรียกในชีวิตประจำวันของคนไทย หมายถึงผ้าอนามัยโดยทั่วไป

[21] “จวก อ. หมอสงขลานครินทร์ พูดหยาบคาย พาดพิงนายกปู เวทีกปปส.,” YouTube, 15 มกราคม 2557, https://www. youtube.com/watch?v=eRV9tB56MME&spfreload=10 (สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558).

[22] “เครือข่ายผู้หญิงฯ ประณาม-โวยหยุดปราศรัยเหยียดเพศ,” ประชาไท, 16 มกราคม 2557, http://www.prachatai.com /journal/2014/01/51194 (สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558).

[23]ศุภเสกข์ อมรฉัตร มีชื่อเล่นว่า “ไปป์” เป็นบุตรชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสามีของเธอ อนุสรณ์ อมรฉัตร

[24]“สุเทพ ปราศรัย น้องไปป์จะกำพร้า ไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อเด็ก,” YouTube, 21 กุมภาพันธ์ 2557, https://www.youtube. com/watch?v=Pab7_D_EHxw (สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558).

[25]ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ อนุสรณ์ อมรฉัตร ทำการสมรสกันในปี พ.ศ. 2538

 [26]“ ‘เดียร์’ ชกข้ามรุ่นอัด ‘สุเทพ’ ไม่เป็นสุภาพบุรุษ,” คมชัดลึกออนไลน์, 21 กุมภาพันธ์ 2557 http://www. komchadluek.net/detail/20140221/179477.html (สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558).

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปล่อยผู้ทำกิจกรรม 'โพสต์-สิทธิ' แล้ว-ตร.ใช้ พ.ร.บ.ความสะอาด เอาผิด

$
0
0

1 พ.ค. 2559 กรณีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ นัดทำกิจกรรม "โพสต์-สิทธิ" บริเวณสกายวอล์ก สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่องนนทรี เพื่อสื่อสารว่า ประชาชนต้องมีสิทธิเสรีในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ในเวลา 16.00 น. วันนี้ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเวลา 16.00 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนพร้อมกระบอง กระจายตัวอยู่ไม่ต่ำกว่า 60 นาย และมีการนำแผงเหล็กมากั้นปิดทางเข้าบริเวณลานสกายวอล์ก

ต่อมา เวลา 16.15 น. สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ นิว หนึ่งในสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เดินทางมาถึง โดยตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามว่า มาแล้วโดนจับทุกครั้งไม่กลัวหรือ ว่าไม่เคยกลัวเลย

16.25 น. เจ้าหน้าที่ ตร. ระบุจะเชิญตัวสิรวิชญ์ไป สน. ทุ่งมหาเฆม โดยให้เหตุผลว่า กีดขวางการเดินทางของประชาชน ด้านสิรวิชญ์บอกว่า ตนแค่มายืนเฉยๆ ยังไม่ทันได้ทำอะไรเลย พร้อมยืนยันว่าจะไม่ไป

ต่อมา เขาโปรยโพสต์อิทและบอกว่า ประชาชนอยากเขียนอะไรเขียนไปเลย ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจดันไปตามทางเดิน และถูกนำตัวไปพร้อม ฐิตารีย์ อุทยานุกูลศิริกุล (ตามภาพ-สวมหมวก) ไป สน.ทุ่งมหาเมฆ ในเวลา 16.40 น. โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า หญิงคนดังกล่าวจะต้องเสียค่าปรับเนื่องจากทำที่สาธารณะสกปรก จากการแปะโพสต์อิทที่เสา ทางเดิน


ประชาชนนำโพสต์อิทไปติดตามเสา เขียนข้อความ อาทิ
"ปล่อยเพื่อนเรา" "คนเท่ากันอย่ารังแกกัน" "ขอแค่ความยุติธรรมให้เราได้มั้ย"


หญิงที่ถูกนำตัวไป สน.




 

ขณะที่ประชาชนที่ยังอยู่ยังคงเขียนโพสต์อิทต่อไป แต่ไม่สามารถแปะเสาได้ แมน ปกรณ์จึงแปะที่ตัวแทน



ราว 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่า หากแปะโพสต์อิทในที่สาธารณะ อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่ประชาชนยืนยันว่าจะแปะต่อไป และจะเก็บให้สะอาดเอง



17.15 น. บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน และกรรมการองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ปรากฏตัว พร้อมยืนอ่านหนังสือ "เหยื่ออธรรม" ภาคที่ 1 ฟองตีน





17.30 น. ที่สกายวอล์ก ช่องนนทรี ไม่มีกิจกรรมแล้วและมีการเก็บโพสต์อิทหมดแล้ว ขณะที่มวลชนและตำรวจยังไม่กลับ ทั้งนี้ มี จนท.จากยูเอ็นมาสังเกตการณ์ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หญิงคนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า "อาม่า" ออกมาพูดถึงกรณีนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คดีส่องโกงราชภักดิ์ ซึ่งถูกตรวจช่องคลอดในเรือนจำ ทั้งที่ได้ประกันแล้ว ว่าเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้

"ฉันออกมาวันนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นสิทธิผู้หญิง เมื่อวานนอนฟังข่าว เห็นว่าเขาพาน้องผู้หญิงที่เรียนธรรมศาสตร์เข้าเรือนจำไป แล้วเจ้าหน้าที่ไปตรวจช่องคลอดเขา ทั้งที่เขาประกันตัวแล้ว ยังทำอย่างนั้น วันนี้มันยังเป็นมากขนาดนี้ ถ้าต่อไปมันจะมากขนาดไหน"

"ฉันไม่ได้รู้จักน้องคนนั้น แต่ฉันมีลูกมีหลาน อย่าว่าแต่ฉันเลย แม่ค้าก๋วยเตี๋ยว ใครต่อใครถ้ารู้เรื่องก็ยอมไม่ได้" เธอกล่าว

 

17.50 น. อานนท์ นำภา หนึ่งในสมาชิกกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ปรากฏตัวที่สกายวอล์ก ช่องนนทรี เตรียมเดินไปบริเวณลานกว้าง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกั้นไว้ไม่ให้เข้า จากนั้นได้ถามต่อว่า "พี่พาน้องผม จ่านิว ไปไว้ไหนแล้ว" เมื่อทราบคำตอบ อานนท์ได้ประกาศเชิญชวน ประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมให้ไปร่วมให้กำลังใจผู้ที่ถูกเชิญไป สน. ทุ่งมหาเฆม ทั้งนี้ยังมีประชาชนบางส่วนอยู่ที่ สกายวอล์กช่องนนทรี


ประชาชนราว 80 คนมารอหน้า สน.

19.00 น.  เบื้องต้น เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสอบ สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (นิว) กับฐิตารีย์ อุทยานุกูลศิริกุล ในความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ

ขณะที่ ปกรณ์ อารีกุล และแชมป์ 1984 โดนเชิญตัวไปคุยด้วย

"ตอนแรก ผมจะกลับบ้านแล้ว แต่เปลี่ยนใจแวะมา สน. ตำรวจเขาก็เรียกผมไป บอกว่าผมไปแปะกระดาษ แต่รูปที่เขามีเป็นรูปที่ผมกำลังแกะกระดาษโพสต์อิท คุยกันรู้เรื่องแล้ว เขาก็ไม่ได้แจ้งข้อหาอะไร" ปกรณ์กล่าว

ส่วนแชมป์ 1984 ระบุว่า "ผมโดนเพราะถือป้าย แต่เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหา ต้องดูก่อนว่า ป้ายนั้นผิดหรือเปล่า"

22.28 น. ปล่อยตัวแล้ว 2 คนถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด โดย สิรวิชญ์ โดนเพราะว่า โยนโพสต์อิท ให้ประชาชนเอาไปเขียน ส่วน ฐิตารีย์ โดน เพราะเขียนโพสต์อิทไปแปะ ทั้งนี้ ทั้งคู่ไม่รับข้อกล่าวหา ขอสู้คดีในชั้นศาล ส่วนคนที่เหลือไม่ถูกดำเนินคดี เป็นการเรียกมาพูดคุยเท่านั้น

ทั้งนี้ สิรวิชญ์ ระบุด้วยว่า หากพรุ่งนี้ใครว่างขอให้ไปเยี่ยมและให้กำลังใจเพื่อนที่ เรือนจำกรุงเทพ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ยังจะดำเนินกิจกรรมต่อไปหรือไม่ เขาตอบว่า กฎอัยการศึกที่เคยประกาศใช้ยังหยุดเราไม่ได้เลย นับประสาอะไรกับ พ.ร.บ.ความสะอาด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: วิเคราะห์ ‘ผัง (การเมือง?)’ บทละครที่ไม่ต้องถามหาความจริง

$
0
0

จากกรณีที่ทหารบุกเข้าควบคุมตัวพลเรือนทั้งในกรุงเทพฯ และที่ขอนแก่นเมื่อวันที่ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา และมีการแถลงข่าวพร้อมแจ้งข้อหาว่านำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และสร้างความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา โดยมีการนำผังมาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลและการกระทำต่างๆ

ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางเจ้าหน้าที่รัฐใช้ ‘ผัง’ เพื่อทำให้ประชาชน ‘เห็น’ เรื่องราวและตัวละครในการกระทำผิด ซึ่งช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าใจและเชื่อมโยงเหตุการณ์ได้โดยไม่ต้องเสียเวลามากนัก แต่ผังเหล่านี้ไม่ใช่แค่ชุดของถ้อยคำ รูปภาพ และลูกศร มันยังมีบางสิ่งซุกซ่อนเพื่อก่อรูปความคิดความเชื่อทางการเมืองของคนที่ ‘เห็น’ ผัง
หากไล่ดูเหตุการณ์ทางการเมืองและคดีความสำคัญๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2553 ภาครัฐผลิตผังสำคัญๆ ออกมาอย่างน้อย 7 ผัง


ผังล้มเจ้า 26 เมษายน 2553
ในช่วงการชุมนุมใหญ่ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช. วันที่ 26 เม.ย. 2553 ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ได้จัดแถลงข่าว โดย พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด (ยศในขณะนั้น) โฆษกกองทัพบก ซึ่งในเวลานั้นเป็นโฆษก ศอฉ. ได้แจกแผนผังแก่ผู้สื่อข่าว โดยต่อมาถูกเรียกว่า ‘ผังล้มเจ้า’ ในผังมีการเขียนรายชื่อนักการเมือง แกนนำคนเสื้อแดง บุคคลในวงการต่างๆ และโยงใยว่ามีความสัมพันธ์กันในรูปแบบใด และเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไร

ต่อมามีบุคคลที่ถูกพาดพิง เช่น สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ได้ฟ้องหมิ่นประมาท อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกในเวลานั้น จากนั้น วันที่ 22 มี.ค. 2554 ศาลได้นัดพร้อมเพื่อประนอมข้อพิพาท โดย พ.อ.สรรเสริญ ให้การต่อศาลว่าเอกสารที่นำไปแจกมิได้หมายความว่าผู้ที่มีชื่อในเอกสารเป็นผู้เกี่ยวข้องในฐานะอยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ ซึ่งให้สังคมพิจารณาและวินิจฉัยเอาเอง โดยต่อมาหลังฟังคำชี้แจงสุธาชัยได้ถอนฟ้องคดีดังกล่าว
 


ผังขอนแก่นโมเดล 23 พฤษภาคม 2557
หลังจากการรัฐประหารได้ 1 วัน เจ้าหน้าที่ทหารเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหาจำนวน 22 คน ถัดจากนั้นอีก 4 วันก็มีการเข้าควบคุมตัวผู้ต้องหาเพิ่มอีก 2 คน และขยายผลจับกุมเพิ่มอีก 2 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน ซึ่งผู้ต้องหาทั้งหมดมีอายุอยู่ในช่วง 55-70 ปี และเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน เจ้าหน้าที่รัฐเรียกผู้ต้องหากลุ่มนี้ว่า ขอนแก่นโมเดล โดยเชื่อว่าพวกเขาตระเตรียมการโดยสะสมกำลังพล อาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามแผนการสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนและเพื่อก่อการร้าย โดยอัยการยื่นฟ้อง 9 ข้อหากับผู้ต้องหาทุกคน ซึ่งมีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต ผังนี้ยังเชื่อมโยงไปยังผังต่อไปคือ


ผังป่วน‘ปั่นเพื่อพ่อ’ 26 พฤศจิกายน 2558
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ตำรวจนำตัวผู้ต้องหา 2 รายคือ จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ และณัฐพล ณ วรรณ์เล มาแถลงข่าวการจับกุม และแสดงแผนผัง ‘กลุ่มผู้ต้องหาร่วมกันหมิ่นสถาบัน’ พร้อมระบุว่าทั้ง 2 คน รวมทั้งพวกที่ออกหมายจับและติดตามจับกุมตัวอยู่อีก 7 คน ร่วมกันส่งข้อความผ่านโซเชียลมีเดียในลักษณะหมิ่นสถาบันฯ และมีการวางแผนจะก่อเหตุร้าย สร้างความวุ่นวายในช่วงเทศกาลสำคัญคืองานขี่จักรยานปั่นเพื่อพ่อ โดยผู้ต้องหา 4 คนจากจำนวน 9 คน มีชื่ออยู่แล้วในผัง ‘ขอนแก่นโมเดล’ ปี 2557 ทั้งนี้ พบว่าธนกฤต ทองเงินเพิ่ม 1 ใน 9 ผู้ต้องหา ถูกจับกุมในเดือนพฤษภาคม 2557 จากกรณีขอนแก่นโมเดล เมื่อถูกประกันตัวก็ถูกอายัดตัวและกักขังต่อในคดีที่อดีตภรรยาแจ้งความข้อหาปลอมแปลงเอกสาร โดยในขณะที่มีการแถลงข่าว ธนกฤตยังคงอยู่ในเรือนจำจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพัวพันกับคดีร้ายแรงนี้
 

ผังเครือข่ายพงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ 25 พ.ย. 2557
พนักงานสอบสวนชุดเฉพาะกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้ขออนุมัติศาลอาญาเมื่อ 22 พ.ย. 2557 ขอหมายจับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผบช.ก. และเครือข่าย โดย พล.ต.พงศ์พัฒน์ ถูกดำเนินคดีในข้อหาเกี่ยวกับความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย, ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับสินบนโดยแอบอ้างสถาบันเบื้องสูง, ความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน และความผิดฐานรับของโจร จนศาลอาญาได้ตัดสินจำคุกรวม 36 ปี 3 เดือน และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถอดออกจากยศตำรวจและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นตรา ต่อมาในวันที่ 25 พ.ย. 2557 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก สตช. ได้แถลงข่าวกรณีการจับกุม พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ และพวก โดยได้เปิดวีดิทัศน์แสดงภาพระหว่างค้นบ้าน พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ แสดงภาพทรัพย์สินที่ตรวจยึดและเปิดเผยแผนผังโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเรียกว่า ‘เครือข่ายกระทำความผิดของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์’

 


ผังเครือข่ายบรรพต 2 กุมภาพันธ์ 2558
วันที่ 2 ก.พ. 2558 พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษก สตช. ในเวลานั้น แถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหา 6 คนทั้งหมดถูกกล่าวหาว่าทำผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยการเผยแพร่คลิปและข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพบนเฟซบุ๊ก โดย พล.ต.ท.ประวุฒิ กล่าวว่า ทั้งหกเป็นสมาชิกของ ‘เครือข่ายบรรพต’ ซึ่งหมายถึงหัสดิน อุไรไพรวรรณ ผู้ใช้นามแฝง ‘บรรพต’ จัดรายการออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต โดยต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายหัสดินได้ในวันที่ 9 ก.พ. 2558 หลังการจับกุมมีการแถลงข่าวและเผยแพร่แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของเครือข่าย


ผังกรณีระเบิดศาลอาญา 17 มีนาคม 2558
จากเหตุการณ์ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 7 มี.ค. 2558 ที่มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนได้ปาระเบิดเข้าไปภายในศาลอาญารัชดา จนนำไปสู่การจับผู้ต้องหาเกือบ 20 คน โดยหนึ่งในนั้นมีณัฐฏธิดา มีวังปลา พยานปากสำคัญในคดี 6 ศพวัดปทุมฯ รวมอยู่ด้วย ซึ่งคดีตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้า
 


ผังกรณีหมอหยอง 28 กันยายน 2558
เกิดเหตุการณ์จับกุมหมอหยองหรือสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หมอดูชื่อดัง ในคดี 112 แอบอ้างเบื้องสูงเพื่อหาผลประโยชน์ โดยการกินส่วนต่างจากการทำเข็มกลัดในงาน Bike for Mom และ Bike for Dad  ทางเจ้าหน้าที่รัฐทำผังออกมาชุดหนึ่งเพื่อแสดงความเกี่ยวโยงระหว่างหมอหยองและบุคคลต่างๆ ซึ่งคดีดังกล่าวจบลงเมื่อสุริยันเสียชีวิตภายในเรือนจำพิเศษภายใน มทบ.11 จากเหตุติดเชื้อในกระแสเลือด
 


ผังเครือข่ายกลุ่มผู้ต้องหากระทำผิดต่อความมั่นคงตาม ม.116 27 เมษายน 2559
และผังล่าสุดคือผังเครือข่ายกลุ่มผู้ต้องหากระทำผิดต่อความมั่นคง ตาม ม.116 ที่เพิ่งถูกจับกุมไปเมื่อวันที่ 27 เม.ย.
ผังคือละครที่สร้างความคิดทางการเมือง โดยไม่ตั้งคำถาม

เมื่อมองผังเหล่านี้ผ่านแว่นของการละคร พบแง่มุมที่น่าสนใจว่า การสร้างผังแต่ละครั้งออกมาให้ประชาชนดู อาจเป็นการใช้องค์ประกอบของละครเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างความรู้สึกและก่อรูปความคิด โดยภาสกร อินทุมาร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า เวลาวิเคราะห์บทละครจะมอง 3 องค์ประกอบคือ ธีมหรือแก่นของเรื่อง, พล็อต และคาแรกเตอร์หรือตัวละคร ซึ่งผังเหล่านี้ก็ใช้โครงสร้างทางการละครไม่ต่างกัน

โดยแก่นของละครคือสิ่งที่สื่อว่าละครเรื่องนี้ต้องการบอกอะไรแก่ผู้ดู พล็อตคือชุดของเหตุการณ์ย่อยๆ ต่างๆ ที่นำมาจัดวางด้วยวิธีการหลากหลายแบบเพื่อจะให้ธีมมีความชัดเจน ให้สิ่งที่ต้องการจะพูดปรากฏเด่นชัด เมื่อดูละครจนจบเรื่อง เพื่อคนดูจะเข้าใจแก่นของเรื่อง และในชุดของเหตุการณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นพล็อตก็มีการกระทำต่างๆ และมีตัวละครซึ่งเป็นผู้กระทำ

“เราก็จะเห็นว่า ในผังจะมีชุดเหตุการณ์ มีตัวละครหรือบุคคล และมีเหตุการณ์ที่ตัวละครนั้นกระทำ และการกระทำของแต่ละตัวละครนั้นจะถูกจัดวาง ร้อยเรียงเป็นพล็อต เป็นโครงเรื่องว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้คือการล้มนั่น ล้มนี่”

ภาสกรอธิบายเพิ่มเติมว่า โครงสร้างแบบนี้มีในวรรณกรรมเช่นกัน แต่สิ่งที่ละครต่างกับวรรณกรรมก็คือละครทำให้เห็นเป็นภาพปรากฏหรือ Visualization ของความคิด แนวคิดบางอย่าง ซึ่งในกรณีของผังคือการเอามาทำให้เห็น มีหน้ามีตา มีชื่อแบบนี้ๆ มีพล็อตแบบนี้

“ผังคือการ Visualization ไม่ใช่แค่พูดลอยๆ ว่าคนนั้นคนนี้จะล้มนั่นล้มนี่ เพราะการเห็นมันส่งผลมากกว่า เหมือนยืนยันว่ามีการกระทำนี้จริง นี่คือการใช้โครงสร้างแบบละครประกอบสร้างตัวบทขึ้นมา เพื่อจะบอกว่ามีคนกลุ่มนี้ ทำสิ่งนี้ เพื่อการนี้ และมีจริงๆ ผมเอาให้คุณเห็นเลย”

ประเด็นสำคัญคือละครทำให้เกิดความรู้สึกร่วม เช่น แม่ค้าที่เกลียดตัวอิจฉาในละครโทรทัศน์ ซึ่งแม่ค้าก็รู้อยู่ว่าไม่ใช่เรื่องจริง แต่ก็มีความรู้สึกร่วมไปด้วย ดังนั้น การกระทำแบบนี้จึงไม่ได้อยากให้คนไตร่ตรองว่าจริงหรือไม่จริง แต่อยากให้คนรู้สึกว่าคนคนนี้ไม่ดี ซึ่งกรณีผังล้มเจ้าจะค่อนข้างชัดเจน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ผังล้มคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาจยังไม่ได้พาไปสู่ความรู้สึกขนาดนั้น แต่การใช้วิธีการนี้ก็เพื่อให้เกิดความรู้สึก ให้เชื่อ โดยไม่ต้องตั้งคำถามว่าจริงหรือไม่จริง เพราะเมื่อผู้คนรู้สึกหรืออินแล้ว ก็จะลืมตั้งคำถามว่ามันเป็นความจริงหรือไม่

“เป้าหมายก็คือความคิดทางการเมือง เพื่อให้คนรู้สึกและนำไปสู่ความเชื่อว่ามีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งกำลังกระทำการนี้อยู่ ดังนั้นจึงใช้องค์ประกอบทางตัวละครมาสร้างตัวบท ผังนี่คือละครเรื่องหนึ่งที่เชฟความคิดทางการเมือง แต่ไม่นำไปสู่การตั้งคำถามว่าจริงหรือไม่จริง”

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วันแรงงาน 2559 เรียกร้อง 'ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ-ให้ คสช.คืนประชาธิปไตย'

$
0
0
วันแรงงานแห่งชาติ 'คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย-สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์' เรียกร้องรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาท 'สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ' เรียกร้อง คสช. คืนประชาธิปไตยให้ประชาชนโดยเร็ว ส่วน 'สภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ' เสนอ 15 ข้อ ด้านนายกย้ำ ก.แรงงาน รับข้อเรียกร้องต้องพิจารณาศึกษาก่อนนำไปดำเนินการ

 
1 พ.ค. 2559 เว็บไซต์ TNNรายงานว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และเครือข่ายแรงงานทั่วประเทศ รวมตัวกันบริเวณหน้ารัฐสภาเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา เพื่อเคลื่อนไหวเรียกร้องรัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็น 360 บาท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานไทย เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ
 
นางวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เปิดเผยว่าข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ ยังเป็นข้อเรียกร้องเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาล เพราะมองว่าที่ผ่านมาร่างกฎหมายต่างๆของผู้ใช้แรงงานถูกมองข้ามจนไม่นำเข้าสู่การพิจารณาของสภา จึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนไหวและประกาศเจตนารมณ์เพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลจำนวน 6 ข้อ คือ การเรียกร้องให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการวมตัวและเจรจาต่อรอง เรียกร้องให้ยกเลิกการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบและผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยการพัฒนารัฐวิสาหกิจ ที่ได้ยื่นต่อรัฐบาล เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา เรียกร้องการกำหนดค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ360บาทเท่ากันทั้งประเทศ เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหา และวางมาตรการอย่างเข้มข้นต่อการละเมิดสิทธิแรงงานปฏิรูปประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และ ให้จัดตั้งธนาคารแรงงาน ให้เป็นของผู้ใช้แรงงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม สำหรับข้อเรียกร้องที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 เนื่องจากจะเป็นส่วนช่วยให้คนงานเข้าถึงสิทธิและสามารถป้องกันไม่ให้คนงานถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมและปรับโครงสร้างค่าจ้างทุกปี โดยคำนึงถึงค่าครองชีพ ทักษะฝีมือ ให้อยู่วันละ 360 บาท เพื่อเป็นของขวัญให้กับแรงงานแนวทางการเคลื่อนไหวในวันนี้ กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้เคลื่อนขบวนออกจากหน้ารัฐสภา มายังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประกาศเจตนารมณ์ข้อเรียกร้องดังกล่าว หากยังไม่ได้รับการแก้ไข จะยื่นข้อเรียกร้องเหล่านี้ในทุกปีและเปิดเผยต่อสาธารณะชนให้ได้รับทราบปัญหาของผู้ใช้แรงงานด้วย
 
เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่าสภาองค์การลูกจ้างสภาลูกจ้างแห่งชาติ (สสช.) ในฐานะประธานจัดงานวันแรงงานชาติปี 2559 ได้ยื่นข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติต่อนายกฯจำนวน 15 ข้อ ได้แก่ 1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 2.ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเท่ากันทั่วประเทศและควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค 3.ให้รัฐบาลปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองทุนเงินทดแทนโดยแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้ใช้ได้ทุกโรงพยาบาล ประกาศให้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ขาดจากการเป็นผู้ประกันตนเข้ามาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ใหม่ ตามระยะเวลาที่ สปส.กำหนด และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนมาตรา 40 ยกระดับการจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินตามความเป็นจริง รวมถึงเพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้จากอุบัติเหตุการทำงานจากเดิมร้อยละ 60 เพิ่มเป็นร้อยละ 100 ของค่าจ้าง 
 
4.ให้รัฐบาลเร่งนำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ… และร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.... ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่สภานิติบัญญัติ (สนช.) 5.ให้รัฐบาลตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย 6.ให้รัฐบาลยกเว้นเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่นๆ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของลูกจ้าง 7.ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) การจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามบทบัญญัติว่าด้วยกองทุนเงินสงเคราะห์ในหมวด 13 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 8.ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุติการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน 9.ให้รัฐบาลยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน 
 
10.ให้รัฐบาลจัดสรรงบสนับสนุนพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 11.ให้รัฐบาลบังคับให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 กรณีแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรกต์) ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างประจำโดยเคร่งครัด 12.ให้กระทรวงแรงงานเร่งปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ รวมทั้งจัดตั้งกรมคุ้มครองส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ 13.ให้กระทรวงแรงงานจัดงบสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปฐมวัยที่ดูแลลูกหลานของผู้ใช้แรงงานที่จัดตั้งขึ้นมาแล้วอย่างต่อเนื่อง 14.รัฐบาลต้องจัดให้มีระบบบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ครอบคลุมประชากรทุกคนและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือสัดส่วนรายได้เฉลี่ยของประเทศไทย และ 15.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานชาติปี 2559 
 
 
 
ขบวนของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (ที่มาภาพ: Podjana Walai)
 
ส่วนการเดินขบวนของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีการเรียกร้องให้รัฐบาล คสช.ต้องคืนประชาธิปไตยให้ประชาชนโดยเร็ว และให้ปล่อยนักโทษการเมือง รวมทั้งข้อเสนออื่น ๆ (อ่านเพิ่มเติม: 'สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' ขอค่าจ้าง 421 คสช.คืนประชาธิปไตย สังคมไทยเป็นรัฐสวัสดิการ)
 

นายกย้ำ ก.แรงงาน รับ 15 ข้อเรียกร้องต้องพิจารณาศึกษานำไปดำเนินการทั้งหมด

 
 
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2559 ณ ปะรำพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ 1 พฤษภาคม 2559 (ที่มาภาพ: thaigov.go.th)
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2559 ณ บริเวณท้องสนามหลวง โดยมี พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงาน ทั้งนี้ในช่วงเช้าที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้เป็นประธานในการประกอบพิธีสงฆ์เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นได้เคลื่อนริ้วขบวนเทิดพระเกียรติฯ นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ผู้บริหาร ข้าราชการกระทรวงแรงงาน และผู้ใช้แรงงานไปตามถนนราชดำเนินสู่ท้องสนามหลวง สำหรับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติในปีนี้มี 15 ข้อ อาทิ ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 เร่งปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม ดำเนินการนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเข้าสู่ สนช. ตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างฯ ยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนฯ ตราพระราชกฤษฎีกา การจัดเก็บเงินสะสม และเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างฯ สนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจฯ ยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นหน่วยงานระดับกรม สนับสนุนมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย บังคับให้สถานประกอบการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 11/1 อย่างเคร่งครัด จัดตั้งกรมคุ้มครองฯ แรงงานนอกระบบ จัดสรรงบประมาณดูผล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของแรงงาน จัดระบบบำนาญพื้นฐาน และแต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2559 เป็นต้น
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวคำปราศรัยในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติว่า พร้อมรับหนังสือ ข้อเรียกร้องจากสภาองค์การลูกจ้าง รวม 17 องค์กร ที่ยื่นข้อเสนอ รวม 15 ข้อ เพื่อการพัฒนาแรงงานไทยสู่อาเซียนและสากล โดยยอมรับว่าต้องเร่งปรับสถานการณ์แรงงานให้สอดคล้องสถานการณ์บ้านเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงสอดคล้องนโยบายรัฐบาล ยืนยัน รัฐบาลเร่งดำเนินงานให้เร็วโดยวางระยะ 5 ปี เพื่อเข้าสู่แผนพัฒนาของสภาพัฒน์ฯ ในระยะ 12 ปี และ 20 ปีข้างหน้า ดังนั้น เพื่อนำประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ทุกฝ่ายต้องร่วมกัน และเตรียมความพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะการมองตลาดแรงงานว่าต้องการแรงด้านใด เพราะประเทศรอบบ้านมีการพัฒนาต่อเนื่อง จึงต้องเร่งเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงาน แต่ต้องอยู่บนหลักพอเพียง ขณะเดียวกัน ต้องหยุดทะเลาะ ประเทศถึงจะเดินหน้าไปได้
 
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวก่อนเคลื่อนริ้วขบวนเทิดพระเกียรติฯ ว่า “รูปแบบการจัดงานวันแรงงาน ปี 2559 มีการพัฒนามากกว่าปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งมีสภาองค์การลูกจ้างเป็นประธานการจัดงาน โดยมีการจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น การบริจาคโลหิต และกิจกรรมเทิดพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี เป็นต้น ซึ่งพี่น้องผู้ใช้แรงงานได้ร่วมมือกันในการจัดงานครั้งนี้ให้มีความยิ่งใหญ่ ทางรัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญในวันแรงงานแห่งชาติเพราะผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาเป็นเวลานาน และผมได้รับหนังสือ ข้อเรียกร้องจากสภาองค์การลูกจ้าง รวม 17 องค์กร ที่ยื่นข้อเสนอ รวม 15 ข้อ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้กระทรวงแรงงานรับไว้พิจารณาเพื่อที่จะนำไปศึกษาและดำเนินการให้ได้ทั้งหมด โดยข้อเรียกร้องในปีที่ผ่านมากระทรวงแรงงาน ได้ดำเนินการลุล่วงไปแล้วในหลายเรื่อง ข้อเรียกร้องบางข้อมีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนราชการอื่นด้วย เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาเราก็ต้องใช้ดุลพินิจ ความละเอียดรอบคอบ”
 
พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงานในพิธีเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 2559 ว่า “จากนโยบายของรัฐบาลที่ห่วงใยและให้ความสำคัญกับผู้ใช้แรงงานหรือคนทำงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ โดยได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทำงาน ในห้วงระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน ได้บริหารและจัดการภารกิจด้านแรงงานที่สำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการสร้างงานสร้างอาชีพ ได้พัฒนาศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center) ให้ไปสู่การเป็น “Smart Job Smart Worker” โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการจัดหางาน ที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถและศักยภาพร่างกาย ตลอดนดำเนินการเพื่อให้ปลอดจากการจ้างงานแรงงานผิดกฎหมายและการหลอกลวงคนไปทำงานต่างประเทศ 2) ด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนายกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ให้มีศักยภาพและทักษะฝีมือที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน พัฒนาทักษะทางด้านภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม รวมทั้งจัดมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อให้คนทำงานได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นตามศักยภาพ 3) ด้านการคุ้มครองแรงงาน ได้ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การคุ้มครองสิทธิแรงงาน ส่งเสริมให้มีระบบสวัสดิการและระบบแรงงานสัมพันธ์ ในรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง รวมถึงการขับเคลื่อนมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงาน 4) ด้านการสร้างหลักประกันทางสังคม ได้ขยายความคุ้มครองไปยังแรงงานนอกระบบและลูกจ้างชั่วคราวของทางส่วนราชการ ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ กรณีคลอดบุตร กรณีว่างงาน กรณีเสียชีวิต และกรณีเงินสมทบบุตร รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราค่ารักษาพยาบาล และสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่ายล่วงหน้าในกรณีที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน
 
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามข้อเรียกร้องของพี่น้องแรงงานในปีที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องของการรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 ซึ่งปัจจุบันได้มีการรับฟังความคิดเห็นถึงผลกระทบ ข้อดี ข้อเสีย และจะนำเข้าที่ประชุม เพื่อพิจารณาสาระสำคัญ ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เรื่องการปฏิรูประบบประกันสังคม ได้จัดทำแผนปฏิรูปและพัฒนาประสิทธิภาพงานประกันสังคม โดยมีการกำหนด Road Map ขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลา เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ในแต่ละขั้นตอน เรื่องการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการ ได้ดำเนินการศึกษาการจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ได้ปรับปรุงโครงสร้างการทำงานโดยจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนข้อเรียกร้องอื่นๆ ได้แจ้งให้คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ทราบถึงความคืบหน้าแล้ว”
 
ภายหลังปราศัยบนเวทีเสร็จแล้วนายกรัฐมนตรี ได้เดินเยี่ยมชมกิจกรรมภายในงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2559 ที่กระทรวงแรงงาน ได้จัดกิจกรรมมากมาย ทั้งการให้ความรู้ด้านกฎหมายแรงงาน การปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาแรงงานสาขาอาชีพต่าง ๆ สาธิตประกอบอาชีพอิสระ นัดพบแรงงาน การบริจาคโลหิต ตอบปัญหาชิงรางวัล บริการทันตกรรม บริการตัดผมฟรี รวมถึงให้ความรู้ด้านประกันสังคมอีกด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: กระดูกสันหลัง..กรู

$
0
0


๐ ฝันกรูตะกายฝัน__สูสิฟั่นละเลงเลือน
ซ้ำซ้ำแหละย้ำเสมือน__ล้างสมองจะต้องจำ

๐ สูงสุดที่สุดฟ้า__พสุธาธุลีต่ำ
เบื้องฟ้ากำหนดนำ__ผู้ต้อยเตี้ยก็เกลี่ยตีน-(เขา)

๐ เขาคืบคือเขาใหญ่__แพรกรากไพร่รึป่ายปีน
ทุรเทวา,ศีล-__ธรรมมิช่วยก็ม้วยมรณ์

๐ วังวนยังเวียนวก__โงผงกก็กดไว้
กรรมมากำชีพใคร__แค่ชนชั้น กรรม-มา-ชน

๐ หักแอกที่แบกบ่า__ทุกข์ถั่งข้ามามากล้น
กรูแกร่งกูคือคน__สันหลังชาติผงาดยืน

๐ กระดูกกูผุเกลี้ยง__กาย,ฝืน
ใจข่มทนหยัดยืน__อย่าล้ม
รอวันกระดูกขืน__กรูแกร่ง
ประกาศกู บ่ ก้ม__กราบใต้ตีนสู ฯ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อมธ. ออกแถลงการณ์ขอ คสช. หยุดปิดกั้นความเห็นต่าง

$
0
0

องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแถลงการณ์ 'สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศและกระบวนการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ' ระบุไม่ต้องการเห็นการควบคุมคนที่เห็นต่าง ชี้ คสช. ควรเข้าใจและยอมรับถึงทัศนคติที่แตกต่างหลากหลายของคนในสังคม อันจะเป็นผลให้กระบวนการประชามติร่างรัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตย

 
1 พ.ค. 2559 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรื่อง 'สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศและกระบวนการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ' โดยระบุว่าสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา  ได้มีการจับกุมคุมขังบุคคลต่าง ๆ ในประเด็นเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมีการบังคับใช้บทบัญญัติกฎหมายจำนวนมาก อันเป็นผลให้เกิดการควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในกระบวนการทำประชามติ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม
 
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวดังต่อไปนี้
 
1. การจับกุมบุคคลไปคุมขังโดยมิได้เปิดเผยข้อมูล โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 (ฉบับชั่วคราว) มาตรา 44 มิได้เป็นไปตามหลักนิติธรรม และไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในประเทศได้ มีแต่จะทำให้เกิดความเกลียดชังที่ร้าวลึกจนยากที่จะแก้ไข รัฐบาลควรรับฟังเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชน หากเชื่อว่าเราทุกคนคือเจ้าของประเทศร่วมกัน การปิดกั้นความเห็นต่างจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ
 
2. การตีความพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำประชามติ ฉบับปี พ.ศ. 2559 เป็นไปในทางที่ให้เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อกลุ่มบุคคลที่แสดงความคิดเห็นคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2559 ไม่ก่อให้เกิดบรรยากาศของความเป็นประชาธิปไตยในกระบวนการออกเสียง ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวควรเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนควรได้รับฟังข้อมูลทั้งสองด้านอย่างเต็มที่ เพื่อใช้ดุลพินิจพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญอย่างรอบด้าน เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ถูกประกาศใช้ย่อมส่งผลต่อประชาชนทุกคน
 
3. ความไม่ชัดเจนในแนวทาง หากผลประชามติออกมาในทางไม่รับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เปรียบเสมือนการให้ประชาชนออกไปลงคะแนน แต่ไม่รู้ว่าการลงคะแนนนั้น จะพาอนาคตของพวกเขาไปในทางไหน รู้เพียงแต่ว่าหากลงคะแนนรับ ก็จะได้รับรัฐธรรมนูญดังกล่าว แต่ไม่อาจทราบได้เลยว่าหากไม่รับผลจะออกมาในทิศทางใด ความไม่ชัดเจนในประเด็นนี้จะก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติในระยะยาว
 
4. จากกรณี นางสาวกรกนก คำตา นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ต้องหาในคดี "นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์" ถูกคุกคามและละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรือนจำ โดยการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวแล้วไม่มีการแจ้งหรือระงับเหตุการณ์ใด ๆ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะตัวแทนของนักศึกษาขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและดำเนินการกับกรณีนี้ เพื่อไม่ให้มีเหยื่อจากความไม่เป็นธรรมรูปแบบนี้เกิดขึ้นอีก
 
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความคิดเห็นและข้อเสนอแนะข้างต้น จะได้รับการรับฟังและนำไปปรับปรุงแก้ไข องค์การนักศึกษาฯ ไม่ต้องการเห็นการควบคุมคนที่เห็นต่าง โดยการนำเข้าสู่กระบวนการปรับทัศนคติ แต่ต้องการเห็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้าใจและยอมรับถึงทัศนคติที่แตกต่างหลากหลายของคนในสังคม อันจะเป็นผลให้กระบวนการประชามติร่างรัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยและยังประโยชน์ถึงประชาชนชาวไทยทุกคนต่อไป
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เข้าใจความปลอดภัยในการสื่อสารผ่านเน็ต

$
0
0


ไม่กี่วันก่อนเดินทาง มีคนโทรมาปรึกษา ว่าโทรศัพท์ของเขามันทำงานแปลกๆ มีใครมาทำอะไรกับโทรศัพท์เขาไหม เขาห่วงเรื่องความปลอดภัย คุยไปสักพัก เขาบอกว่าอธิบายเป็นคำพูดแล้วเราไม่เข้าใจ เดี๋ยวจะส่งภาพหน้าจอมาให้ทาง MMS ให้เรากดดูให้หน่อย

แน่นอนว่าไม่กดดูครับ

เขาโทรมาหาอีกที ถามว่าดูให้ยัง เราตอบไปว่า เครื่องเราดู MMS ไม่ได้ มีอะไรก็เมลมาละกัน แล้วเขาก็เงียบไป ไม่ได้โทรมาอีก

ทำไมถึงไม่กดดู?

จริงๆ ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร แค่รู้สึกว่าไม่ควรจะกดดูอะไรแปลกๆ จากคนที่เราไม่มั่นใจ

จนมานึกได้วันนี้ ว่า ดีแล้วที่ไม่ได้กดดู
 
MMS เป็นช่องทางหนึ่งในการโจมตีโทรศัพท์ Android การโจมตีทางนี้เป็นที่รู้จักกันเนื่องจากบั๊กที่ชื่อว่า Stagefright ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปีที่แล้ว (2015) แต่จริงๆ มันมีรูนี้มานานมากแล้วโดยไม่มีใครรู้
 
การโจมตีในบางกรณีต้องให้ผู้ใช้กดดูข้อความ แต่บางครั้งก็ไม่จำเป็น แค่รับ MMS ก็โดนแล้ว Zimperium ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของผู้ผลิตโทรศัพท์ที่แลกเปลี่ยนเรื่องความปลอดภัย ประมาณการว่า 50% ของโทรศัพท์ที่มีรูรั่วนี้ สามารถถูกโจมตีได้โดยผู้ใช้ไม่ต้องกดดูข้อความ https://blog.zimperium.com/how-to-p...

ดูวิธีการปิดรับ MMS https://www.blognone.com/node/70782

นอกจากช่องทาง MMS แล้ว การโจมตีผ่านรูรั่ว Stagefright ยังทำได้ผ่านการส่งไฟล์ mp4 ที่ถูกแก้ไขให้ไปกระตุ้นรูรั่ว (ดูคลิป 2 อันตามลิงก์) https://thehackernews.com/2015/07/h...

เมื่อถูกโจมตีในกรณีของ Stagefright ผู้โจมตีสามารถส่งคำสั่งต่างๆ มารันบนเครื่องที่ถูกโจมตีได้จากระยะไกล ซึ่งก็รวมไปถึงการดูข้อมูลต่างๆ ได้ด้วย (อันนี้จะขึ้นกับว่า แอปแต่ละแอปเก็บข้อมูลในเครื่องยังไงด้วย แต่รวมๆ ก็คือ มันไม่ปลอดภัยแล้ว)

 

แล้วยังไง?

ตอนนี้มีคนเป็นห่วงกันเยอะว่า การใช้โซเชียลมีเดียไม่ปลอดภัยแล้วใช่ไหม คุยกันสองคนก็มีคนที่สามรู้ได้ แถมกฎหมายก็กำลังจะแก้ให้โทษหนักขึ้นอีก ฯลฯ

เรามาทำความเข้าใจกับการสื่อสารในระบบเครือข่ายก่อน

คร่าวๆ คือ ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เราแบ่งเป็นสองแบบ

1.ข้อมูลระหว่างพัก (data at rest)

2.ข้อมูลระหว่างเดินทาง (data in transit)

(บางคนแยก data at rest ย่อยออกเป็นอีกสองส่วน คือข้อมูลส่วนที่อยู่ในอุปกรณ์จัดเก็บรอเอามาประมวลผล กับข้อมูลส่วนที่ถูกดึงขึ้นมาประมวลผลอยู่ในหน่วยความจำหรือซีพียู แต่เราเอาแค่นี้พอ)

จะเข้าถึงข้อมูลก็ต้องเข้าถึงข้อมูลไม่แบบ (1) ก็ (2) นี่แหละ

สมมติว่าเราแชตกันผ่านแอปหรือเมลหรือเว็บอะไรสักอย่าง ผังแบบง่ายที่สุดมันจะเป็นแบบนี้

 

// รูปที่ 1 //

[ A ]<===>[ P ]<===>[ B ]


ข้อมูลที่อยู่ในกล่อง [ X ] คือข้อมูลระหว่างพัก (data at rest) คือข้อมูลมันอยู่นิ่งๆ ในอุปกรณ์หรือเซิร์ฟเวอร์ รอส่งต่อ ([ A ] และ [ B ] คืออุปกรณ์ปลายทาง ส่วน [ P ] คือผู้ให้บริการหรือตัวกลางในการสื่อสาร)

ส่วนข้อมูลใน === คือข้อมูลระหว่างเดินทาง (data in transit) ข้อมูลที่อยู่ในท่อ ในสายเคเบิล ในคลื่นไวไฟ คือข้อมูลมันกำลังวิ่งอยู่

สมมติ A จะสวัสดีโย่ B

ข้อมูล (โย่) จะมีที่อยู่ในแต่ละช่วงเวลาของการเดินทางทำนองนี้


// รูปที่ 2 //

[A(โย่)]<======>[P    ]<======>[B    ]

[A    ]<=(โย่)=>[P    ]<======>[B    ]

[A    ]<======>[P(โย่)]<======>[B    ]

[A    ]<======>[P    ]<=(โย่)=>[B    ]

[A    ]<======>[P    ]<======>[B(โย่)]

 

(ในความเป็นจริง ข้อมูลมันไม่ได้ “เคลื่อนที่” แบบนี้ในรูปที่ 2 นี้ซะทีเดียวกัน จริงๆ ข้อมูลมันถูก “ทำสำเนา” ต่อๆ กันไป คือ (โย่) มันจะไปอยู่ในทุกที่แหละ ถึง B ได้รับแล้ว แต่ก็จะยังอยู่ในเครื่องของ A และของผู้ให้บริการ และอาจจะยังตกค้างอยู่ในท่อชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เพื่อความสะดวกในการอธิบาย ติ๊ต่างว่าข้อมูลมัน “เคลื่อนที่” ละกันนะ)

การดักรับข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล

การ “ดักฟัง” หรือการ “ดักรับข้อมูล” คือการดักข้อมูลที่อยู่ระหว่างเดินทางซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการได้มาซึ่งข้อมูล
 
การเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารของเป้าหมายด้วยการดักรับข้อมูลนี้ ทำได้สะดวกมากในอินเทอร์เน็ต (และระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ทั่วไป) เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตในระดับพื้นฐานนั้นไม่ได้ถูกออกแบบให้เข้ารหัสข้อมูลตั้งแต่แรก อีเมลและหน้าเว็บ ถูกส่งระหว่างเซิร์ฟเวอร์กันเองและระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ของเรา แบบที่ใครๆ ที่อยู่ระหว่างทางก็หยิบอ่านได้

ถ้าอินเทอร์เน็ตคือระบบไปรษณีย์ การสื่อสารทั่วไปก็คือการคุยกันด้วยไปรษณียบัตร ข้อความทุกอย่างเขียนอยู่บนบัตรหนึ่งใบที่ไม่มีอะไรปกปิด ทั้งชื่อที่อยู่ผู้ส่งและผู้รับ และเนื้อความ -- “คนกลาง” (intermediaries) ทุกคน (บุรุษไปรษณีย์ พนักงานที่ทำการ ที่ศูนย์คัดแยก คนที่บ้าน คนงานที่บ้าน กว่าจะถึงมือคนรับ) อ่านและแก้ไขได้ข้อความเหล่านี้ได้หมด โดยผู้ส่งและผู้รับไม่รู้ตัว
 
แต่พอคนต้องการให้การสื่อสารมันปลอดภัยขึ้น ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การซื้อขายสินค้า หรือติดต่อธุรกิจ เรื่องส่วนตัว ก็มีการพัฒนาให้การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมันปลอดภัยขึ้น ด้วยการเข้ารหัสการสื่อสาร
 
ตัวอย่างการเข้ารหัสการสื่อสารที่นิยมสำหรับอินเทอร์เน็ต เช่นโปรโตคอล Secure Sockets Layer (SSL) (ล้าสมัยแล้ว) และ Transport Layer Security (TLS)ซึ่งใช้กับทั้งการรับส่งข้อมูลหน้าเว็บและอีเมล
 
เว็บไซต์ที่รับส่งข้อมูลระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์กับอุปกรณ์ปลายทางที่ใช้โปรโตคอล SSL หรือ TLS จะสังเกตได้จากที่ตอนนั้น url นั้นจะเป็น https:// (ถ้าเป็น http:// ที่ไม่มี s จะเป็นการส่งข้อมูลปกติ ไม่มีการเข้ารหัส)
 
การเข้ารหัสการสื่อสาร อย่าง HTTPS ทำให้การดักรับข้อมูลระหว่างเดินทางนั้นได้ประโยชน์น้อยลง คือยังดักรับได้เหมือนเดิม แต่ข้อมูลที่ได้ไปมันอ่านไม่ออก (ติดตั้งปลั๊กอิน HTTPS Everywhere https://www.eff.org/https-everywher...เพื่อช่วยให้เราเข้าเว็บไซต์ด้วย https ถ้าเว็บไซต์นั้นมีช่องทางนี้ ไม่ต้องพิมพ์ระบุเอง)


// รูปที่ 3 //

[A(โย่)]<======>[P    ]<======>[B    ]

[A    ]<=($&)=>[P    ]<======>[B    ]

[A    ]<======>[P(โย่)]<======>[B    ]

[A    ]<======>[P    ]<=(^#)=>[B    ]

[A    ]<======>[P    ]<======>[B(โย่)]

 

จะเห็นว่า การดูข้อมูลในท่อ === นั้น ทำได้ยากขึ้น (ต้องไปหาวิธีถอดรหัส เสียเวลา) แต่การดูข้อมูลในเครื่อง [ X ] นั้นยังทำได้
 
พอเป็นแบบนี้ คนที่อยากเห็นข้อมูล ก็เลยเปลี่ยนเป้า จากการดูข้อมูลในท่อมาดูข้อมูลในเครื่องแทน เพราะยังไงก่อนส่งและหลังรับ ข้อมูลมันก็จะถูกถอดรหัสอยู่ดี
 
โปรดสังเกตว่า คำว่า “ส่ง” และ “รับ” ในที่นี้ หมายถึงการรับและส่งทุกๆ ครั้ง ตลอดเส้นทางการเดินทางของข้อมูล ไม่ใช่แค่การส่งออกจาก A และการรับที่ B แต่ยังรวมถึงการรับและส่งต่อโดยตัวกลางอย่างผู้ให้บริการด้วย (เช่น จาก A ไปผู้ให้บริการ, จากผู้ให้บริการไป B, หรือระหว่างผู้ให้บริการระดับต่างๆ)
 
เราจะเห็นว่า ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ ก็จะมีข้อมูลที่ไม่ถูกเข้ารหัสเก็บอยู่เช่นกัน
 
ดังนั้นคนที่อยากดูข้อมูล ถ้าดูข้อมูลในท่อ === ไม่ได้ ก็ยังมีจุดให้ดูข้อมูลได้อีกอย่างน้อย 3 ที่คือ [ เครื่องผู้ส่ง ], [ เครื่องผู้ให้บริการ ], และ [ เครื่องผู้รับ ]
 
เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลที่เครื่องผู้ให้บริการเป็นวิธีที่ง่ายและคุ้มค่า ถ้าเลือกได้ คนก็มักจะใช้วิธีนี้ก่อน (ไม่ว่าจะทำตามกระบวนการกฎหมายหรือไม่ก็ตาม)
 
วิธีหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูลในเครื่องผู้ให้บริการ ก็คือการร้องขอไปที่ผู้ให้บริการโดยตรงเลย ซึ่งในบางประเทศ ก็อาจจะต้องมีขั้นตอนเช่น การแสดงคำสั่งศาล หมายค้น อะไรทำนองนี้ แต่บางครั้งผู้ให้บริการก็อาจจะเป็นคนแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเอง ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องที่เขาคิดว่าร้ายแรง อันนี้แล้วแต่ประเทศ แล้วแต่ผู้ให้บริการ
 
หรือบางครั้งก็อาจมีกรณีแบบ ตัวบริษัทไม่ได้รู้เห็น แต่พนักงานเอาข้อมูลออกมา (ทั้งๆ ที่ขัดนโยบายบริษัท)
 
อีกวิธีหนึ่งคือการเจาะเข้าไปที่เครื่องผู้ให้บริการเลย แบบนี้ข้อมูลก็หลุดรั่วได้เช่นกัน -- พวกผู้ให้บริการมักเป็นเป้าหมายใหญ่ในการโจมตีอยู่แล้ว เพราะถ้าสำเร็จมันก็คุ้ม ข้อมูลคนเป็นล้าน (แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ก็มีคนมีทรัพยากรในการป้องกันตัวเองมากกว่าองค์กรเล็กๆ)
 
ทั้งหลายทั้งปวง พอเป็นแบบนี้ คนก็เห็นว่า ก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี ถ้าจะเข้ารหัสเฉพาะต่อรับส่งข้อมูล ควรจะเข้ารหัสตัวข้อมูลเองด้วย เพื่อที่ว่าตัวกลางที่เราฝากข้อมูลไปกับเขา จะได้อ่านไม่ได้
 

// รูปที่ 4 //

[A(โย่)>(#$)]<======>[P    ]<======>[B         ]

[A         ]<=(#$)=>[P    ]<======>[B         ]

[A         ]<======>[P(#$)]<======>[B         ]

[A         ]<======>[P    ]<=(#$)=>[B         ]

[A         ]<======>[P    ]<======>[B(#$)>(โย่)]


จะเห็นว่าการเข้ารหัสแบบนี้ คือการเข้ารหัสข้อมูลอยู่ในเครื่องต้นทางเลย และจะไปถูกเปิดอ่านได้อีกทีที่ปลายทางเท่านั้น

เราเรียกการเข้ารหัสแบบตั้งแต่ต้นอย่างนี้ ว่า end-to-end encryption หมายถึงว่า จะมีเฉพาะปลายทางสุดสาย (end) ทั้งสองของการสื่อสารเท่านั้นที่เห็นข้อความต้นฉบับ คนที่อยู่ตรงกลางที่เหลือจะเห็นเฉพาะข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว

ในทางปฏิบัติ การสื่อสารอาจมีการเข้ารหัสหลายรอบที่ระดับต่างๆ กัน


// รูปที่ 5 //

[A(โย่)>(#$)]<======>[P    ]<======>[B         ]

[A         ]<=(%*)=>[P    ]<======>[B         ]

[A         ]<======>[P(#$)]<======>[B         ]

[A         ]<======>[P    ]<=(^&)=>[B         ]

[A         ]<======>[P    ]<======>[B(#$)>(โย่)]
 

ในรูปที่ 5 จะเห็นว่าเป็นการเอารูปที่ 3 และรูปที่ 4 มารวมกัน มีการเข้ารหัสทั้งที่ข้อมูลระหว่างพัก (ในเครื่อง) และเข้ารหัสซ้ำอีกทีที่ข้อมูลระหว่างเดินทาง (ในท่อ)

ตัวอย่างของการรับส่งข้อมูลอย่างในรูปที่ 5 คือการเข้ารหัสข้อความในอีเมลด้วย PGP ก่อน -- จาก (โย่) ไปเป็น (#$) -- จากนั้นจึงส่งข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วไปยังเซิร์ฟเวอร์อีเมล ผ่านโปรโตคอล TLS เพื่อปกปิดรหัสผ่านอีเมลของเรา เซิร์ฟเวอร์อีเมลจะเก็บข้อมูลเอาไว้โดยที่ไม่เห็นข้อความต้นฉบับ จากนั้นก็จะส่งต่อไปยังผู้รับ แล้วผู้รับก็จะถอดรหัสที่ปลายทางอีกที
 

(คำถามคือ ทำไมต้องทำซ้ำแบบนี้ด้วย คำตอบคือ ข้อมูลในการสื่อสารทั้งหมด ไม่ได้มีเฉพาะข้อมูลที่เราจะส่งจริงๆ แต่อาจมีข้อมูลอื่นด้วย เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ในกรณีการส่งอีเมล เราอาจจะเข้ารหัสข้อความที่เราต้องการส่งแล้ว แต่ถ้าไม่เข้ารหัสช่องทางการสื่อสาร คนที่ดักรับข้อมูลแม้จะอ่านข้อความเราไม่ได้ แต่จะเห็นรหัสผ่านของเราได้ -- ในปี 2014 พบว่า ISP บางเจ้าในเมืองไทย มีการปฏิเสธการเชื่อมต่อแบบเข้ารหัสกับเซิร์ฟเวอร์อีเมล https://www.eff.org/deeplinks/2014/11/starttls-downgrade-attacks )
 
บริการแชตรุ่นหลังๆ อย่าง Signal, WhatsApp (เวอร์ชั่นใหม่-และต้องเป็นเวอร์ชั่นใหม่ทั้งสองข้างของการสื่อสาร) และ Telegramก็จะใช้การเข้ารหัสแบบ end-to-end คือเข้ารหัสมาตั้งแต่ปลายทางของอุปกรณ์รับส่งเลย ไม่ใช่เข้ารหัสเฉพาะตรงท่อ (Facebook เข้ารหัสเฉพาะตรงท่อ, ส่วน LINE โดยปกติจะเข้ารหัสเฉพาะตรงท่อเช่นกัน เว้นว่าจะเลือก hidden chatจึงจะเป็นการเข้ารหัสที่ข้อความตั้งแต่ต้นทาง มีให้ใช้ตั้งแต่ LINE รุ่น 4.5)

พอเป็นแบบนี้ การขอข้อมูลการผู้ให้บริการ ก็จะได้ประโยชน์น้อยลงไปอีก เพราะต่อให้ผู้ให้บริการให้ข้อมูล แต่ข้อมูลที่ผู้บริการมีและให้มา ก็เป็นข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสอยู่ อ่านไม่ได้ (หรือได้แต่ต้องใช้เวลาในการถอดรหัสนาน จนข้อมูลที่ได้มาไม่เป็นประโยชน์แล้ว)
 
เมื่อข้อมูลระหว่างเดินทางในท่อ === ก็ถูกเข้ารหัส ข้อมูลระหว่างพักในเซิร์ฟเวอร์ [ ผู้ให้บริการ ] ก็ถูกเข้ารหัส จุดที่จะยังดูข้อมูลได้ ก็เหลือที่เครื่องปลายทางทั้งสองของการสื่อสาร นั่นคือเครื่อง [ A ] และเครื่อง [ B ]
 
นี่น่าจะสาเหตุหนึ่งที่ว่าทำไมตอนหลังๆ การโจมตีที่อุปกรณ์มือถือจึงมีเยอะขึ้น เพราะมันเป็นเป้าหมายที่จัดการได้ง่ายกว่า คือไปดูข้อมูลระหว่างพักที่ปลายทั้งสองข้างของการสื่อสาร เพราะต่อให้มีการเข้ารหัสก่อนส่งหรือระหว่างส่ง ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะที่อุปกรณ์ต้นทางและปลายทาง ยังไงก็ต้องมีการถอดรหัส
 
วิธีหนึ่งที่จะเข้าไปดูข้อมูลในอุปกรณ์เหล่านั้นได้ คือหาทางนำซอฟต์แวร์พวกมัลแวร์ (malware) หรือ สปายแวร์ (spyware) ไปแอบติดตั้งลงในเครื่องเป้าหมาย (ด้วยการล่อให้เป้าหมายคลิกลิงก์หรือรับ MMS อย่างที่พูดถึงไปตอนต้น)
 
ซอฟต์แวร์ Remote Control System (RCS): Galileo ของบริษัท Hacking Team ก็เป็นซอฟต์แวร์อันหนึ่งที่เจาะจงโจมตีอุปกรณ์ที่ปลายทั้งสองข้างของการสื่อสาร https://youtu.be/8GhEvuU8LjU
 
จากอีเมลภายในของบริษัท Hacking Team “ลูกค้า” จากประเทศไทย มีความสนใจถึงการดูข้อมูลใน iPhone ที่ไม่ได้เจลเบรก การดูข้อมูล Line, WhatsApp, WeChat, และ Instagram https://wikileaks.org/hackingteam/e...

มีเอกสารยืนยันหน่วยงานรัฐในประเทศไทยหลายแห่งสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จาก Hacking Team แล้ว http://thaipublica.org/2015/07/hack...https://thainetizen.org/docs/right-... (หน้า 11 ย่อหน้าหมายเลข 40 และ 42 ) https://citizenlab.org/2014/02/mapp...

กลับมาที่บั๊กในโทรศัพท์

บั๊ก Stagefright นี้พบใน Android รุ่นตั้งแต่ 2.2 เรื่อยมาจนถึงรุ่น 5.1 (โทรศัพท์ Android ส่วนใหญ่ในตลาด ตอนนี้เป็นรุ่น 4.x)

เช็คว่าโทรศัพท์ของเราได้มีรูรั่วนี้หรือไม่ ด้วยแอป Stagefright Detector จาก Zimperium INC.
https://play.google.com/store/apps/...

ถ้าเจอแล้วไงต่อ?

ถ้าที่ผ่านมาไม่เคยอัปโอเอสเลย ก็ลองอัปดูครับ สำหรับ Android ให้ไปที่ Settings -> About Phone/Tablet -> System updates (อุปกรณ์แต่ละรุ่นอาจต่างกันนิดหน่อย) 

แต่ถ้าไม่มีให้อัป ก็ทำใจครับ แต่อ่านต่อหน่อยนึง

แล้วถ้าไม่เจอล่ะ?

ก็รอดตัวไปสำหรับบั๊กตัวนี้ แต่ก็อาจจะมีบั๊กตัวอื่นรออยู่

บั๊กของอุปกรณ์ (ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์) นั้นถูกค้นพบใหม่เรื่อยๆ และก็มีคนที่ไม่ได้ปราถนาดีกับเราพยายามจะหาประโยชน์จากรูรั่วตรงนี้เสมอ ต่อให้รอดคราวนี้ คราวหน้าก็อาจจะไม่รอด

เนื่องจากคนทั่วไปอย่างเราๆ ไปแก้ไขปรับปรุงโอเอสเองไม่ได้ ต้องรอผู้ผลิตอย่างเดียว คำแนะนำสำหรับการเลือกซื้อโทรศัพท์ก็คือ เลือกยี่ห้อและรุ่นที่เขาจะอัปเดตให้บ่อยๆ ทันเหตุการณ์ ทันกับการค้นพบรูรั่วใหม่ๆ

ซึ่งก็มีอยู่สองทางเลือกหลักตอนนี้ คือถ้าไม่ตระกูล iOS จากแอปเปิล ก็ตระกูล Nexus จากกูเกิล ส่วน Android อื่นๆ นี่แล้วแต่บุญแต่กรรม อย่างซัมซุงและโซนี่นั้นเลือกอัปเดตให้กับไม่กี่รุ่น แล้วก็ช้ามากกว่าจะอัป

อีกทางเลือกสำหรับโทรศัพท์ Android รุ่นที่ถูกทอดทิ้งก็คือ ไปใช้โอเอส Android รุ่นโม ที่ชื่อว่า CyanogenMod ซึ่งถ้าเทียบกับผู้ผลิตหลายๆ เจ้า โดยเฉพาะกับรุ่นที่ตกรุ่น ก็อัปเดตสม่ำเสมอกว่าแน่ๆ (CyanogenMod รุ่นตั้งแต่ 12.1 เป็นต้นไป แก้ไขบั๊ก Stagefright แล้ว)

สรุป

การรักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์นั้น มีหลายส่วน ทั้งที่ตัวอุปกรณ์เอง สภาพแวดล้อมที่ใช้งาน และที่พฤติกรรมการใช้

ในส่วนของอุปกรณ์

  • อัปเดตโอเอสและซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย เพื่อลดโอกาสโดนโจมตีจากรูรั่วพวกนี้
  • กรณีโทรศัพท์ที่ใช้มันไม่ยอมให้อัปเดตหรือกว่าจะอัปก็ช้ามาก ถ้าจำเป็นและพอจะทำได้ ก็ลองพิจารณาหาโทรศัพท์ใหม่
สำหรับสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน
  • เครื่องไหนที่เราไม่ไว้ใจ อย่าไปใช้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อดใจไปใช้เครื่องตัวเองดีกว่า
    • ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ใช้เฉพาะงานที่ต้องการ อย่าเผลอบันทึกรหัสผ่านลงเครื่อง เสร็จแล้ว ล็อกเอาต์ทุกอย่าง และอย่าลืมลบประวัติการเข้าใช้ทุกอย่าง
      • สำหรับเว็บเบราว์เซอร์ ถ้าทำได้ ให้ใช้งานในโหมด Private Browsing (สำหรับ Chrome เรียกว่า Incognito, สำหรับ Internet Explorer/Edge เรียกว่า InPrivate Browsing) เพราะจะไม่บันทึกข้อมูลลงเครื่อง
      • การลบประวัติการใช้ในเว็บเบราว์เซอร์: บน Windows กดปุ่ม Ctrl+Shift+Delete, บน OS X กดปุ่ม Command+Shift+Delete, ใน Safari เลือกเมนู History -> Clear History, สำหรับ Chrome บน Android เลือก Settings -> Privacy -> Clear browsing data
    • และกลับกัน อย่าให้คนที่เราไม่ไว้ใจ ใช้เครื่องของเรา ทางที่ดีควรสร้างบัญชีต่างหากให้เขา (บัญชี Guest) และจริงๆ เราสามารถปฏิเสธได้ ว่าไม่สะดวก
  • ศึกษาเลือกแอปและบริการที่ปลอดภัยและเหมาะกับการใช้งาน เช่น ไม่ขอ Permission เกินจำเป็น มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี สำหรับแอปส่งข้อความอาจดูได้จาก Secure Messaging Scorecard https://www.eff.org/secure-messagin...
  • ในแง่การได้รับการคุ้มครองทางเทคนิค ดูประวัติของบริษัทว่า กรณีเกิดข้อมูลรั่วหรือแอปมีปัญหา บริษัทจัดการรับมือยังไงบ้าง
  • ในแง่การได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย การเลือกแอปหรือบริการอาจต้องดูด้วยว่า บริษัทผู้ให้บริการมีสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาที่จะรับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอยู่ที่ประเทศไหนเป็นหลัก และพอถูกขอข้อมูลหรือขอความร่วมมือ บริษัทจัดการยังไง เช่นดูจาก “transparency report” ของบริษัทต่างๆ EFF สรุปของบริษัทผู้ให้บริการใหญ่ๆ มาให้ดูที่ https://www.eff.org/who-has-your-ba...
  • Facebook Government Requests Report https://govtrequests.facebook.com/
  • Twitter Transparency Report https://transparency.twitter.com/
  • Microsoft Transparency Hub https://www.microsoft.com/about/csr...
  • Google Transparency Report https://www.google.com/transparency...
  • ถ้าจำเป็น การใช้ VPN และ Torก็ควรพิจารณาศึกษาเอาไว้ อย่างเฟซบุ๊กนี่สามารถเข้าถึงผ่าน Tor ด้วย “hidden service”ได้ด้วยที่ https://facebookcorewwwi.onion/
ในส่วนของพฤติกรรมการใช้
  • อย่างที่บอก ส่วนใหญ่ความผิดพลาดเกิดจากมนุษย์ทั้งนั้น เช่น ปกป้องกันตัวเองทางเทคนิคอย่างดี แต่ดันโพสต์ข้อมูลส่วนตัวลงเฟซบุ๊กเอง หรือเผลอให้ทวิตเตอร์มันเช็กอิน หรืออัปโหลดภาพที่มีตำแหน่ง GPS ฝังอยู่ในภาพ (EXIF)
  • ไม่คลิกลิงก์ที่มีที่มาแปลกๆ (ส่งจากคนไม่รู้จัก, ส่งจากคนรู้จัก แต่ด้วยคำเชิญชวนแหม่งๆ, url เป็น url ที่เราไม่แน่ใจว่ามาจากไหน หรือจะพาไปไหน เช่นพวก shorten url)
  • ไม่เล่นไฟล์มีเดียแปลกๆ (ไม่ว่าจะส่งมาทางใดก็ตาม MMS, Line ฯลฯ)
  • เพื่อลดความเสี่ยงจากมิจฉาชีพ เบอร์โทรศัพท์ของเราก็ควรจะมีคนรู้เฉพาะเท่าที่จำเป็น หรือถ้าทำได้ ก็แยกเบอร์ส่วนตัวกับเบอร์งานออกจากกัน ไม่ใช้ปนกัน เพื่อลดความเสียหาย (sandboxing)
  • ตั้งรหัสล็อกเครื่องเสมอ
  • ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่ควรจะให้เครื่องมันจำรหัสผ่านอีเมลหรือโซเชียลมีเดียของเรา (มันสะดวกในการใช้ก็จริง แต่ก็ทำให้คนที่ unlock เครื่องเราได้ เข้าถึงข้อมูลการสื่อสารของเราได้ อันนี้ก็ต้องชั่งน้ำหนักเอาเอง)
  • เปิดใช้การยืนยันตัวตน 2 ชั้น (2-step authentication) ถ้าทำได้ (Facebook, Gmail, Microsoft Account พวกนี้มีให้ใช้หมด / ลองค้นเน็ตคำว่า “2 step authen ชื่อบริการที่เราใช้”) -- ดูเหตุผลว่าทำไม
    • การใช้ 2-step authen จะช่วยลดปัญหาการถูกขโมยรหัสผ่านจาก keylogger ได้ด้วย (เพราะรหัสอีกชุดนั้น ต่อให้ถูกบันทึก ก็ถูกใช้ได้แค่ครั้งเดียว) -- แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหาการถูกขโมยทางการพิมพ์อื่นๆ
      • keylogger คือเครื่องบันทึกการพิมพ์บนคีย์บอร์ด ซึ่งจะขโมยรหัสผ่านและข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ของเราได้
      • เวลาพูดถึง keylogger อย่าคิดว่ามันจะมีเฉพาะฮาร์ดแวร์มาเสียบที่เครื่องเรา หรือต้องเป็นมัลแวร์ที่แอบมาติดเครื่องเรา พวกซอฟต์แวร์ keyboard บน Android และ iOS นี่ก็เป็น keylogger เหมือนกัน เวลาใช้ต้องมั่นใจว่ามันมาจากผู้ผลิตที่เราไว้ใจได้จริงๆ
  • ไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำกัน โดยเฉพาะกับบัญชีหลักๆ แต่ละอันไม่ควรซ้ำกันเลย และไม่ควรเอารหัสผ่านของบัญชีหลักไปตั้งเป็นรหัสผ่านของบัญชีอื่น เหตุผลคือถ้ามีคนรู้รหัสผ่านหนึ่งของเรา (เช่นมีบริการหนึ่งที่เราเคยไปใช้ ระบบรักษาความปลอดภัยไม่ดี ทำรหัสผ่านเราหลุด) เขาสามารถเอารหัสเดียวกันนี้ไปลองเข้าบริการอื่นๆ ของเราได้
  • หมั่นสังเกตคำเตือนจากเว็บเบราวเซอร์และโอเอส เช่น ดูรูปกุญแจสีเขียว/สีแดงที่ช่อง url เพื่ออ่านคำเตือนเรื่องใบรับรองการเข้ารหัสของเว็บไซต์ (SSL/TLS encryption certificate) ว่าเป็นของจริงหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าเรากำลังสื่อสารกับเว็บไซต์ที่เรากำลังคิดว่าสื่อสารอยู่ด้วยจริงๆ
  • การสื่อสารแบบเข้ารหัสนั้น การันตีเฉพาะว่าระหว่างทางข้อมูลจะอ่านไม่ได้ แต่ไม่ได้การันตีว่าที่ปลายทางที่ข้อมูลจะถูกถอดรหัสนั้น จะเป็นคนที่เราคิดว่าเป็น (เราอาจจะคุยกับคนแอบอ้างอยู่)
  • จึงมีการคิดค้นระบบออกใบรับรองขึ้นมา เพื่อรับรองว่าเซิร์ฟเวอร์ที่เราติดต่อด้วยนั้น เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่อ้างจริงๆ ใบรับรองนี้เรียกกันว่า “SSL certificate” หรือ “encryption certificate”
  • คำสั่งกระทรวงไอซีที ที่ 163/2557ที่ตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ มาประสานงานกับผู้ให้บริการเน็ตและ Internet Gateway และทดสอบ “ระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ที่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล” มีจุดมุ่งหมายในการจะเจาะการเข้ารหัสการสื่อสารด้วย SSL/TLS นี้ ซึ่งคาดกันว่าวิธีหนึ่งที่จะทำได้ คือด้วยการปลอมใบรับรอง เพื่อดูข้อมูลในแบบที่เรียกว่า “Man in the Middle Attack” หรือการปลอมตัวมาเนียนอยู่ตรงกลางของการสื่อสาร
  • คือแทนที่ สมมติ เราจะคุยกับเฟซบุ๊กตรงๆ ก็อาจมีเซิร์ฟเวอร์ของไอซีทีมาคั่นกลาง แล้วทำให้เราเข้าใจว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ของเฟซบุ๊ก (ด้วยความร่วมมือของ ISP) เราก็ส่งข้อมูลให้เซิร์ฟเวอร์นี้โดยไม่รู้ตัว เซิร์ฟเวอร์นี้ก็ส่งต่อข้อมูลให้เฟซบุ๊ก เพื่อให้เราไม่สังเกต ใช้งานได้ปกติ [A]<=========>[Facebook]<=>[B] [A]<=>[MICT]<=>[Facebook]<=>[B] แม้การสื่อสารระหว่างเรา [A] กับเซิร์ฟเวอร์ [MICT] จะเข้ารหัสก็จริง แต่ปลายทางที่จะถูกถอดรรัสมันก็คือเซิร์ฟเวอร์ [MICT] ด้วย ไม่ใช่ที่ [Facebook] แบบนี้ก็ไม่ปลอดภัยเช่นกัน วิธีนี้ทำไม่ได้ง่ายๆ และถ้าทำขึ้นมาก็จะมีจุดพอสังเกตได้ เพียงแต่ผู้ใช้ทั่วไปอาจจะไม่ค่อยสังเกต และการออกแบบแอปในมือถือก็ทำให้สังเกตได้ยากขึ้นด้วย
  • ระลึกว่า การสื่อสารนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำกันสองฝั่ง ข้อมูลที่เครื่องของเราไม่ได้มีเฉพาะข้อมูลของตัวเรา แต่มีข้อมูลจากคนที่เราสนทนาเก็บอยู่ด้วย (และกลับกัน) ดังนั้นถ้าเราทำตัวไม่ปลอดภัย เพื่อนๆ เราทั้งหมดที่เราเคยคุยด้วยก็จะไม่ปลอดภัยตามไปด้วย
  • การสื่อสารที่ปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทุกจุดในการสื่อสารนั้นปลอดภัย ตั้งแต่ต้นทางตลอดถึงปลายทาง ถ้าเราไม่แน่ใจว่าผู้ใช้ที่ปลายทางจะเคร่งครัดกับความปลอดภัยในระดับเดียวกับตัวเรา ก็ให้ระมัดระวังมากขึ้นในการส่งข้อมูล
จบที่ว่า ในทางปฏิบัตินั้น ไม่มีระบบสารสนเทศอะไรปลอดภัย 100% ไปตลอดกาล ความผิดพลาดมาจากมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งคนออกแบบระบบและคนใช้ระบบ แต่เราสามารถมีระบบสารสนเทศที่ “ปลอดภัยเพียงพอ” ได้ (เช่น รหัส OTP ที่เราใช้กับการซื้อของออนไลน์ อาจจะใช้เวลาแค่ 2 นาทีในการถอดรหัสแบบดื้อๆ หรือที่เรียกว่า brute force คือเดาไปเรื่อยๆ จนถูก แต่ถ้าระบบมันตั้งให้รหัสหมดอายุหลังจาก 30 วินาที แบบนี้ก็คือปลอดภัยพอแล้ว)
 
อย่ากลัวจนไม่ได้ทำงานทำการ อะไรพอทำได้ก็ทำไป ถ้าเราชั่งน้ำหนักดีแล้ว สำคัญคือการประเมินความเสี่ยงนั้นอยู่บนข้อมูลที่ตัวเราพอจะเชื่อถือได้ครับ (และความเสี่ยงของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วย)
 
/* ถ้ามีอะไรผิดพลาด หรือเขียนแล้วน่าจะชวนเข้าใจผิดได้ รบกวนแจ้งในคอมเมนต์ได้เลยครับ และถ้าคิดว่าพอมีประโยชน์ ก็ขอให้ช่วยแชร์หน่อยครับ */
 
 
ฝากลิงก์ไว้หน่อย

 

ที่มา:  เฟซบุ๊ก Art Suriyawongkul

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อำนาจนำใหม่ของกองทัพไทย

$
0
0

                                                                              

       
จากบทสัมภาษณ์ของประจักษ์ ก้องกีรติ ในประชาไท เกี่ยวกับ กองทัพไทย(คสช./ผู้เขียน) ที่พยายามสถาปนาระเบียบการเมืองใหม่ (new political order) (รัฐธรรมนูญ/ผู้เขียน) เพื่อนำไปสู่การสถาปนา “อำนาจนำใหม่” ของกองทัพ (hegemonic ruler) (ประจักษ์ ก้องกีรติ,2559) และยังกล่าวด้วยความกังวลว่า ประเทศไทยคงอยู่ภายใต้ระเบียบการเมืองใหม่ และอำนาจนำใหม่นี้อีกนาน ทำให้ผู้เขียนอยากหันกลับไปมองการเปลี่ยนแปลงระเบียบการเมืองตลอดจนผู้ครองอำนาจนำในอดีตของไทยเพื่อนำกลับมาสังเกตปรากฏการณ์ทางการเมืองไทยปัจจุบันร่วมกัน
       
การเปลี่ยนแปลงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรัฐสยามจากรัฐจารีตเป็นรัฐสมัยใหม่(รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงระเบียบทางการเมืองใหม่ และส่งผลให้รัชกาลที่  5 ทรงครองอำนาจนำสยาม  ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจเป็นองค์รัฐฏาธิปัตย์โดยสมบูรณ์ ส่วนกระบวนการเปลี่ยนแปลงระเบียบทางการเมืองใหม่นี้ประสบความสำเร็จลงได้โดยไตรภาคีอำนาจขณะนั้น คือกลุ่มพลังสังคมภายใน ได้แก่กษัตริย์ (รัชกาลที่ 5) และ ขุนนาง(บุนนาค) และพลังภายนอกคือทุนนิยมโลกอังกฤษ (ศักดิภัท เชาวน์ลักษณ์สกุล,การสร้างรัฐ – ชาติสยามกับการควบรวมนครรัฐในล้านนา สมัยรัชกาลที่ 5,2557) ซึ่งกุลลดา เกษบุญชู  มี๊ด ได้สรุปเรื่องวิวัฒนาการรัฐไว้อย่างน่าฟังว่า “พลังที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการรัฐจากรัฐจารีตหรือรัฐโบราณมาเป็นรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งในยุโรปและสยามคือพลังของระบบเศรษฐกิจโลกหรือระบบทุนนิยมโลก ซึ่งก่อให้เกิดเศรษฐกิจเงินตราและการเกิดเมืองขึ้นมาคู่ขนานกับระบบฟิวดัล และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมา นั่นคือการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางหรือกระฎุมพี รวมทั้งการเกิดขึ้นของสถาบันทางการเมืองใหม่ๆ เพื่อมารองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อันเป็นฐานรองรับสำคัญให้กับสถาบันกษัตริย์ในการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในกรณีของสยามคือทุนนิยมอังกฤษ ที่สยามได้เชื่อมต่อกับทุนนิยมโลกอังกฤษไว้ตั้งแต่สนธิสัญญาเบาริ่ง และมีบทบาทในกระบวนการสร้างรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสยาม (Kullada Kesboonchoo Mead, The Rise and Decline of Thai Absolutism,2004)
        
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ของคณะราษฎร์ ก็คงหลีกหนีไม่พ้นไตรภาคีอำนาจ พลังทางสังคม กลุ่มต่างๆอันได้แก่ สถาบันกษัตริย์ ขุนนาง ข้าราชการ ชนชั้นกลาง ซึ่งแต่เดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาได้เป็นพันธมิตรทางการเมืองที่สำคัญ ต่อมาพลังทางสังคมเดิมเหล่านี้ ซึ่งเคยเป็นพันธมิตรที่สำคัญของกษัตริย์ แต่ต่อมาได้เป็นพลังสำคัญในการต่อต้านและล้มสถาบันกษัตริย์ในการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ. 2475 อันเนื่องจากความขัดแย้งเชิงโครงสร้างภายในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และข้าราชการซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นกลางใหม่ อันเป็นผลผลิตของระบบการศึกษาสมัยใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 ทรงสร้างขึ้นมาคานอำนาจกับขุนนางสมัยนั้นและให้เป็นปัญญาชนจัดตั้งอันเป็นฐานรองรับสถาบันกษัตริย์ และกลับกลายเป็นพลังสำคัญที่โค่นล้มรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลง (จิตติภัทร พูนขำ,วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค.2556),2556,หน้า 48) ส่วนพลังภายนอกหรือระบบทุนนิยมโลกขณะนั้นก็อยู่ภายใต้กระแสความคิดเสรีประชาธิปไตย ดังนั้นภาคีอำนาจที่สำคัญขณะนั้นก็คือพลังอำนาจภายนอกหรือระบบโครงสร้างอำนาจโลกนั่นเอง
          
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยสู่ยุคพ่อขุนอุปถัมภ์ สมัยจอมพลสฤษดิ์ ถนอม ขณะนั้นศูนย์กลางอำนาจโลกหรือทุนนิยมโลกได้เปลี่ยนมือเป็นสหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าเป็นพลังภายนอกหรือภาคีอำนาจที่สำคัญของไทยขณะนั้น และมีส่วนสำคัญในการผลักดันพลังภายในคือทหาร เทคโนแครต และสถาบันกษัตริย์กลายเป็นพันธมิตรที่สำคัญซึ่งกันและกัน จนสามารถ ครองอำนาจนำทางการเมืองไทยได้สำเร็จ สหรัฐอเมริกาได้ใช้วาทกรรม”การพัฒนา” (กุลลดา เกษบุญชู มี๊ด,การเมืองไทยยุคสฤษดิ์ ถนอม ภายใต้โครงสร้างอำนาจโลก,2550)  และสนับสนุนทุนอุตสาหกรรมกับอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย  ถือได้ว่าสหรัฐอเมริกาทุนนิยมโลกขณะนั้น ได้ให้การสนับสนุนทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแก่ไทย และได้มีส่วนเข้ามาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยมาโดยตลอดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
           
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไทยสมัย 14 ตุลาคม 2516 จากการที่พลังภายนอกหรือทุนนิยมโลกสหรัฐอเมริกาได้มีบทบาทต่อการเมืองไทยมาโดยตลอดสิ่งหนึ่งที่ให้กับสังคมไทยคืออุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตย สิ่งนี้แหละที่ทำให้เกิดพลังสังคมใหม่ขึ้นคือ พลังของนิสิตนักศึกษาหรือพลังประชาธิปไตย ในยุคนั้นจึงเป็นการขัดแย้งระหว่างพลังภายในระหว่างทหารที่ครองอำนาจนำ กับพลังนิสิตนักศึกษาหรือพลังประชาธิปไตยบวกกับพลังอนุรักษ์  โดยการเห็นชอบสนับสนุนจากพลังภายนอกคือทุนนิยมโลกสหรัฐ และต่อมาพลังภายนอก และพลังภายในทหารและกลุ่มอนุรักษ์ได้โค่นล้มพลังนิสิตนักศึกษาอีกครั้งในเหตุการณ์  6 ตุลาคม 2519
           
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยยุคทักษิณ ก็ยังหนีไม่พ้นพลังภายในคือกลุ่มทหาร และชนชั้นกลาง กลุ่มพลังอนุรักษ์ และเชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากพลังภายนอกหรือทุนนิยมโลกสหรัฐอเมริกา แต่ในครั้งนี้ถึงแม้ฝ่ายทักษิณจะพ่ายแพ้ในพื้นที่สังคมการเมือง(Political Society) แต่ในพื้นที่ประชาสังคม(Civil Society) ก็ยังครอบครองพื้นที่ได้ ดังนั้นเมื่อมีการจัดระเบียบการเมืองใหม่หรือรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และเมื่อมีจัดการเลือกตั้งอีกครั้งพรรคพลังประชาชน อันเป็นพรรคกลายพันธุ์จากพรรคไทยรักไทยก็ยังชนะการเลือกตั้ง และถึงแม้ว่าฝ่ายพลังอนุรักษ์และกลุ่มทหาร จะใช้วิธีการตุลาการภิวัฒน์และสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ ขึ้นมาได้ แต่เมื่อมีการเลือกตั้งอีกครั้งพรรคเพื่อไทย พรรคที่กลายร่างจากพรรคพลังประชาชน ก็ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย อันเป็นการพิสูจน์ได้ดีว่าพรรคเชื้อสายของทักษิณ ก็ยังสามารถครอบครองพื้นที่ประชาสังคมไทยได้ จนสามารถชนะการเลือกตั้งเข้าครอบครองพื้นที่สังคมการเมือง อันหมายถึงครอบครองรัฐได้อีกครั้ง กลุ่มพลังอนุรักษ์ ตุลาการ ทหาร ได้ใช้ปัญญาชนจัดตั้งคือกลุ่ม กปปส.ออกมาคัดค้านรัฐบาลเพื่อไทย เพื่อครอบงำพื้นที่ประชาสังคม แต่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ทำการยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ เพราะเชื่อมั่นในการครองงำพื้นที่ประชาสังคม  แต่กลุ่มพลังอนุรักษ์ได้ใช้กำลังทหาร(คสช.)ทำการรัฐประหารยึดพื้นที่สังคมการเมืองเสียก่อน อันเป็นที่มาของรัฐบาลทหารประยุทธ์ จันทร์โอชาและขณะนี้ได้พยายามสร้างระเบียบการเมืองใหม่หรือรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมา และกำลังจะสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐธรรมนูญนี้ผ่านการประชามติ เพื่อนำไปสู่การสร้างรัฐบาลใหม่ที่ประจักษ์ ก้องกีรติเรียกว่า “อำนาจนำใหม่ของกองทัพไทย” และกังวลว่าคนไทยอาจจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจนำนี้อีกนาน
          
จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ผ่านมาข้างต้น ไตรภาคีอำนาจที่สำคัญ พลังภายใน ต่างๆ กลุ่มอนุรักษ์ กลุ่มทหาร กลุ่มชนชั้นนำ กลุ่มชนชั้นกลาง กลุ่มพลังประชาชนต่างๆ และพลังภายนอก อันหมายถึงผู้นำทุนนิยมโลก อันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ในอดีตยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือรัฐบาลทหารจอมพลสฤษดิ์ ถนอม หรือแม้แต่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบของพลเอกเปรม จะสามารถครองอำนาจนำได้อย่างยาวนาน ก็มักจะได้รับการสนับสนุนจากพลังภายนอกคือทุนนิยมโลก  แต่รัฐบาลทหารปัจจุบันดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากพลังภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทุนนิยมโลกอย่างสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้พลังภายในในส่วนของพลังประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ประชาสังคม ในขณะปัจจุบันก็ไม่น่าเชื่อว่ารัฐบาลทหารจะสามารถยึดครองได้ แม้ว่าขณะนี้จะยึดครองพื้นที่สังคมการเมืองอยู่ หากจะนำโมเดลของรัฐบาลทหารของพม่าในอดีตมาเป็นตัวแบบว่า รัฐบาลทหารของเขายังสามารถยึดครองอำนาจนำได้อย่างยาวนาน ต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลทหารพม่าแต่เดิมดำเนินการภายใต้ระบบสังคมนิยม และมีพลังภายนอกที่สนับสนุนก็คือผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ทั้งโซเวียตและจีนสนับสนุนอยู่  แต่ปัจจุบันโลกคอมมิวนิสต์เกือบจะล่มสลายแล้ว ถึงแม้จีนจะยังยืนหยัดระบบคอมมิวนิสต์อยู่ แต่ก็เปิดรับระบบทุนนิยมเป็นประเทศสองระบบและกลายเป็นรัฐตลาด ดังนั้นพลังภายนอกที่สำคัญของไทยก็ยังเป็นผู้นำทุนนิยมโลกสหรัฐอเมริกาอยู่เช่นเดิม หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ถึงแม้จะจัดระเบียบทางการเมืองใหม่หรือรัฐธรรมนูญใหม่ จะผ่านประชามติ หรือไม่ผ่านประชามติหรือไม่มีการประชามติ แต่จะพยายามนำรัฐธรรมนูญใหม่ มาบังคับใช้เป็นระเบียบการเมืองใหม่ โดยวางเป้าหมายสำหรับอำนาจนำใหม่ของกองทัพไทย หรือ คสช. สำหรับผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งต่อการครองอำนาจนำอย่างยาวนานของกองทัพ เพราะรัฐบาลใหม่ภายใต้ระเบียบการเมืองใหม่ จะต้องเผชิญกับปัญญาชนจัดตั้ง ที่จะพยายามเข้ามายึดพื้นที่ประชาสังคม อุดมการณ์ อันเป็น War of Movement  เพื่อต้องการครองอำนาจนำ(Hegemony) อันจะนำไปสู่ War of Position เพื่อเข้ายึดพื้นที่สังคมการเมืองเพื่อใช้กลไกอำนาจนำในที่สุด และที่สำคัญปัญญาชนจัดตั้งดังกล่าวจะได้รับการสนับสนุนจากพลังภายนอก ซึ่งขณะปัจจุบันก็เริ่มจะพอมองเห็นถึงแรงกดดันจากภายนอกทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และหากอำนาจนำใหม่จากกองทัพเป็นจริง เชื่อว่ากลุ่มพลังภายในโดยเฉพาะกลุ่มทุนนิยมภายใน กลุ่มชนชั้นกลางและชนชั้นนำก็จะต้องได้รับผลกระทบจากแรงบีบจากพลังภายนอกหรือทุนนิยมโลก อำนาจนำใหม่จากกองทัพก็ยากที่จะดำรงอยู่อย่างยาวนานตามที่ฝัน เพราะการแย่งชิงพื้นที่ประชาสังคมอันเป็นพื้นที่สังคมอุดมการณ์นั้นจะต้องเกิดจากการยินยอมพร้อมใจมิใช่ความกลัว.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดโปงกลโกง 6 วิธีการเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊กคนอื่น-การป้องกัน

$
0
0

คุณเคยกังวลว่าจะถูกแฮกเฟซบุ๊กหรือไม่ กลัวว่าจู่ๆ ก็มีคนเข้าเฟซบุ๊กคุณเพื่อทำสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ หรือมีมิจฉาชีพผู้ไม่หวังดีล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวของคุณด้วยการเข้ามาส่องบทสนทนาหรือเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณ เราขอเสนอการเปิดโปงกลโกงนัก 'แฮก' เฟซบุ๊ก ที่หลายวิธีในนี้ดูแล้วไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย เพื่อที่ท่านจะได้ป้องกันตัวได้และไม่หละหลวมให้ถูกล้วงรหัสได้ง่าย

2 พ.ค. 2559 เว็บไซต์ข่าวสารเรื่องความปลอดภัยด้านไอที Hacker9 ระบุถึง 6 วิธีที่ทำให้คนถูกแฮกเข้าบัญชีเฟซบุ๊กของตัวเองได้ ถึงแม้ว่าเฟซบุ๊กจะเป็นเว็บไซต์ที่มีการดูแลความปลอดภัยค่อนข้างดี เป็นเรื่องยากที่จะใช้วิธีเจาะระบบความปลอดภัยของเว็บนี้ แต่ก็ยังมีวิธีการบางวิธีที่ทำให้เข้าถึงบัญชีของผู้อื่นได้โดยง่าย Hacker 9 ระบุว่า ส่วนมากแล้วเหตุที่ทำให้ผู้คนถูกแฮกเฟซบุ๊กมักจะมาจากความผิดพลาดของพวกเขาเอง โดยการแนะนำเหล่านี้เป็นไปเพื่อการเตือนภัยและแนะนำให้ป้องกันเท่านั้น ไม่ได้ต้องการให้นำไปกระทำต่อผู้อื่นแต่อย่างใด


1. การใช้โปรแกรมจดจำการกดปุ่มคีย์บอร์ด ที่เรียกว่า 'คีย์ล็อกเกอร์' (Keylogger)

Hacker9 ระบุว่าวิธีการใช้โปรแกรมจดจำการกดปุ่มคีย์บอร์ดเป็นวิธีการที่ง่ายและได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการแฮกรหัสผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งมาทั้งในรูปแบบซอฟต์แวร์ (software) และฮาร์ดแวร์ (hardware) ในสำนักงานหลายแห่งนำคีย์ล็อกเกอร์มาใช้เพื่อจับตามองการทำงานของลูกจ้าง แต่คีย์ล็อกเกอร์ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์ในการบันทึกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้ใช้ได้ด้วย

คีย์ล็อกเกอร์แบบซอฟต์แวร์เป็นโปรแกรมบันทึกการกดแป้นคีย์บอร์ดทุกๆ ตัวอักษรหลังจากที่มีการลงโปรแกรมในเครื่องเป้าหมายไปแล้ว แน่นอนว่ารวมถึงการพิมพ์ชื่อและการพิมพ์รหัสผ่านด้วยซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะทำงานแบบซ่อนตัวอยู่ในเครื่องและไม่ทำให้สามารถมองเห็นได้ โดยคนที่จะใช้โปรแกรมคีย์ล็อกเกอร์เช่นนี้แค่มีทักษะความรู้คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานก็ใช้ได้แล้ว

คีย์ล็อกเกอร์อีกแบบหนึ่งคือแบบฮาร์ดแวร์ มีแบบ PS2 ซึ่งจะเป็นตัวท่อต่อระหว่างปลั๊กกับคีย์บอร์ด กับอีกแบบหนึ่งคือ USB ที่จะเป็นแท่งต่อช่อง USB สามารถจับการทำงานของผู้ใช้ได้ทั้งหมด ซึ่งต้องอาศัยการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องการสอดแนม


2. การหลอกลวง (Phishing) ด้วยการสร้างเพจปลอมเพื่อล่อให้ล็อกอินเข้าเฟซบุ๊ก

การหลอกลวงหรือล่อลวงให้ใส่ชื่อและรหัสในล็อกอินปลอมเช่นนี้เป็นวิธีที่มีใช้มานานและเมื่อคุณพลาดไปแล้วครั้งเดียวบัญชีเฟซบุ๊กของคุณจะตกเป็นเป้าการเข้าถึงทันที จริงๆ แล้วมีวิธีการล่อลวงทางอินเทอร์เน็ตหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากที่สุดคือการหลอกเอารหัสผ่านด้วยการสร้างหน้าเว็บปลอมที่ล่อให้คนล็อกอินด้วยเฟซบุ๊กและมักจะมีการส่งเว็บเหล่านี้ให้เหยื่อผ่านทางอีเมลโดยสร้างให้ดูคล้ายการล็อกอินเข้าสู่เฟซบุ๊กแบบปกติมาก แต่ทว่าแทนที่จะทำให้เราล็อกอินเข้าสู่เฟซบุ๊ก มันจะเอาข้อมูลชื่อและรหัสผ่านที่เรากรอกลงไป

ฉะนั้นจึงควรระวังเมื่อมีคนส่งข้อความแปลกๆ ล่อลวงให้เราล็อกอินเข้าไป ถึงแม้ว่าคนส่วนมากจะสามารถจับได้ว่ามันเป็นหน้าล็อกอินของปลอม แต่ก็มักจะสามารถหลอกผู้ใช้เฟซบุ๊กผ่านโทรศัพท์มือถือได้โดยง่ายเพราะไม่ค่อยมีคนเช็คว่า URL หรือชื่อแหล่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตเป็นของเฟซบุ๊กจริงหรือไม่


3. ใช้โทรศัพท์มือถือของเหยื่อในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรหัสผ่าน

วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องรู้รหัสผ่านดั้งเดิมของเหยื่อเลยแม้แต่น้อย เพียงแค่มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงโทรศัพท์มือถือของเหยื่อได้ โดยใช้วิธีการกดแจ้งว่าลืมรหัสผ่าน (forgot my password page) แล้วก็ระบุเบอร์โทรศัพท์ของเหยื่อลงไปจากเลือกให้ส่ง SMS เข้ามือถือของเหยื่อเพื่อเข้าสู่กระบวนการขอคืนบัญชี
หมายความว่า ถ้าบุคคล A มีมือถือของบุคคล B อยู่ในมือ เขาสามารถแกล้งแจ้งว่าลืมรหัสผ่านในเฟซบุ๊กเพื่อให้เฟซบุ๊กส่ง SMS เข้ามือถือของ B ก็จะทำให้ A ซึ่งถือโทรศัพท์ของ B อยู่สามารถเข้าถึงเฟซบุ๊กของ B ได้ทั้งที่ไม่รู้รหัสดั้งเดิมเลย ดังนั้นผู้ใช้จึงควรพยายามหาวิธีป้องกันการเข้าถึงโทรศัพท์ได้โดยง่ายด้วยการตั้งค่ารหัสการใช้โทรศัพท์หรือวิธีการอื่นๆ


4. ขโมยประวัติการเข้าเว็บหรือ 'คุกกี้' (cookies) ของผู้ใช้

'คุกกี้' เป็นข้อมูลหรือลายลักษณ์ที่เว็บไซต์ส่งให้กับเว็บเบราเซอร์หรือโปรแกรมที่เราใช้เข้าเว็บต่างๆ จากนั้นเบราเซอร์ของเราก็จะบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไว้แล้วจะส่งให้กับเว็บไซต์ต่างๆ เวลาที่เราเข้าเว็บเหล่านั้นอีก คุกกี้เหล่านี้มีไว้ใช้รับรองที่มาและระบุตัวตนของผู้ใช้และปรับเว็บตามความชอบของผู้ใช้งาน ถึงแม้ว่าคุกกี้จะไม่ใช่ซอฟต์แวร์จึงไม่สามารถติดไวรัสได้ แต่พวกที่ใช้คีย์ล็อกเกอร์ก็สามารถใช้ติดตามกิจกรรมการเข้าเว็บต่างๆ ของผู้ใช้งานได้

นอกจากนี้ยังอาจจะถูกแฮกเกอร์ขโมยคุกกี้ไปเพื่อเข้าถึงบัญชีเว็บของผู้ใช้ได้ด้วย ซึ่งหมายความว่าถ้าผู้ใช้เว็บเลือกให้มีการล็อกอินเฟซบุ๊กค้างไว้ในเว็บแม้จะมีการปิดเว็บหรือปิดเครื่องไปแล้วแฮกเกอร์จะสามารถขโมยคุกกี้จากเบราเซอร์ผู้ใช้นั้นได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากมีการใช้เฟซบุ๊กแบบเข้ารหัสการส่งข้อมูล คือมี https (แสดงถึงการเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยหรือ secure connection) นำหน้าแทน http ก็จะสามารถป้องกันวิธีการขโมยคุกกี้ได้


5. การให้โปรแกรมเข้าเว็บจดจำรหัสผ่านเราไว้

ในเวลาที่เราใส่รหัสผ่านเข้าสู่บัญชีใดๆ ก็ตาม เว็บเบราเซอร์หรือโปรแกรมเข้าเว็บบางตัวเช่น Chrome หรือ Firefox มักจะถามว่าจะให้พวกมันช่วยจดจำรหัสผ่านให้หรือไม่ วิธีนี้อาจจะสะดวกแต่ไม่ปลอดภัยเพราะทำให้คนที่เข้าถึงเครื่องเราเข้าถึงรหัสผ่านได้ง่ายมากด้วยการเข้าไปในตัวเลือกระบบความปลอดภัยของเบราเซอร์ซึ่งจะเผยแพร่รหัสผ่านที่เราสั่งให้พวกมันจดจำไว้ทันที


6. วิธีการผ่านคำถามคุ้มกันความปลอดภัย (Security Question) ของเฟซบุ๊ก

ในหลายเว็บที่มีการล็อกอินมักจะมีการให้ตั้งคำถามคุ้มกันความปลอดภัยเอาไว้สำหรับเวลา "ลืมรหัสผ่าน" แล้วสามารถขอรหัสผ่านหรือขอเข้าถึงบัญชีได้ ในส่วนของเฟซบุ๊กนั้น เมื่อผู้ที่ต้องการเข้าบัญชีเราอ้างว่า "ลืมรหัสผ่าน" แล้วเลือกใส่อีเมลลงไป (ซึ่งอาจจะเป็นอีเมลที่เขามีอยู่แล้วหรืออีเมลสร้างใหม่) เฟซบุ๊กก็จะส่งคำถามคุ้มกันความปลอดภัยไปให้อีเมลนั้น แต่ว่าขั้นตอนนี้ของเฟซบุ๊กมีความหละหลวมและมีความเสี่ยงสูงมาก คือการที่หลังจากคุณตอบคำถามผิด 3 ครั้งมันก็จะไม่สนใจคำถามนี้อีกต่อไปแล้วหันไปใช้วิธีการอื่นแทนคือการให้คุณเข้าถึงบัญชีของตัวเองจากความช่วยเหลือของเพื่อน 3 คน จากนั้นก็จะส่ง "รหัสความปลอดภัย" (security code) ไปให้อีเมลเพื่อนทั้ง 3 คน

ส่วนที่เหลือคือการโทรศัพท์ไปถามรหัสความปลอดภัยที่เพื่อนเหล่านั้นได้รับ เมื่อใส่รหัสความปลอดภัยทั้ง 3 แล้วจะสามารถเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่านของบัญชีที่ถูกอ้างว่า "ลืมรหัสผ่าน" ได้ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรหัสผ่านด้วยวิธีนี้ก็จะมีการแจ้งเตือนส่งไปยังอีเมลของคุณรวมถึงชื่อเพื่อน 3 คนที่ให้การรับรองรหัสความปลอดภัยด้วย แต่หลังจากนั้นเฟซบุ๊กคุณจะถูกล็อกไม่ให้การเข้าใช้ 24 ชม. ทำให้ช่วงเวลา 24 ชม.นี้เป็นช่วงที่คุณต้องทำอะไรสักอย่างกับบัญชีตัวเอง

Hacker 9 แนะนำว่าไม่ควรจะตั้งคำถามคุ้มกันความปลอดภัยกับเว็บเฟซบุ๊ก เพราะจะกลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าวหลังจากนั้นเลือกตัวเลือกที่เข้าเฟซบุ๊กในแบบเชื่อมต่อด้วยความปลอดภัย (https) เลือกให้มีการส่งอีเมลแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการเข้าถึงเฟซบุ๊กของคุณจากเครื่องอื่นหรือจากเบราเซอร์อื่น รวมถึงมีระบบล็อกอินสองชั้น (login approvals) เมื่อมีการพยายามเข้าถึงจากเครื่องอื่นหรือเบราเซอร์อื่นซึ่งจะเป็นการส่งรหัสยืนยันอีกขั้นตอนหนึ่งไปให้ในโทรศัพท์มือถือจึงต้องมีการป้องกันโทรศัพท์มือถือด้วยเผื่อเกิดกรณีข้อ 3

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำการป้องกันอื่นๆ เช่น ไม่รับเพื่อนที่ไม่รู้จัก หรือในกรณีที่ต้องไปพักร้อนไม่ควรบอกผ่านสเตตัสว่าคุณจะไปพักร้อนเพราะจะเป็นเป้าหมายให้ผู้ไม่หวังดีพยายามเข้าถึงบัญชีเฟซบุ๊กคุณได้ อีกทั้งยังควรเช็คอีเมลอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งเพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับเฟซบุ๊กคุณหรือไม่

Hacker9 ยังเตือนอีกว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่มีซอฟต์แวร์ใดที่สามารถแฮกเข้าไปในเฟซบุ๊กได้จริงและมักจะมีแค่การอ้างเพื่อหลอกลวงเท่านั้นนอกจากนี้ยังควรระวังการใช้อีเมลที่มีชื่อน่าสนใจ เช่น password.recovery@facebook.com มาใช้หลอกลวงต้มตุ๋น วิธีการที่ได้มาซึ่งรหัสผ่านของผู้ใช้ในตอนนี้มักจะมาจากแค่การล่อหลอกหรือต้มตุ๋นให้ได้มาซึ่งรหัสผ่านด้วยวิธีต่างๆ เท่านั้น

 

เรียบเรียงจาก

How Facebook hacking is Carried out? – 6 ways (methods) you can get hacked, Hacker 9, 18-02-2016
http://www.hacker9.com/how-facebook-hacking-carried-out-password-methods.html

Facebook’s Security Question vulnerability – Bypassing Security Question!, Hacker 9, 18-02-2016
http://www.hacker9.com/facebooks-security-question-vulnerability-bypassing-security-question.html

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์: วัฒนา เมืองสุข “ผมไม่กลัวพวกคุณ”

$
0
0

วัฒนา เมืองสุข เป็นอดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาแล้ว 3 กระทรวงทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงพาณิชย์ และเขายังเกี่ยวดองกับตระกูลธุรกิจยักษ์ของไทยหรือที่สื่อมักเรียกเขาว่า ‘เขยซีพี’ โดยบุคลิก พูดกันว่าเขาเป็นคนโผงผาง ตรงไปตรงมา และไม่ค่อยจะเกรงกลัวใคร มีฐานเสียงชนิดเสริมใยเหล็กในพื้นที่แถบปราจีนบุรี ซึ่งนั่นทำให้เขามีความสนิทสนมกับสายบูรพาพยัคฆ์

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของเขานับจากการรัฐประหาร 2557 ทำให้เขาทุกควบคุมตัวถึง 4 รอบและถูกดำเนินคดี ก็แน่นอน เลี่ยงไม่ได้ที่วัฒนาจะถูกตั้งคำถามจากฝ่ายตรงข้ามและชื่นชมจากฝ่ายที่เห็นด้วย

ประชาไทมีโอกาสสนทนายาวๆ กับวัฒนา เมืองสุข หลังจากเขาได้รับการปล่อยตัวไม่นาน เริ่มต้นการพูดคุยตั้งแต่สถานการณ์การถูกควบคุมตัวทั้ง 4 รอบ จุดประสงค์ของสิ่งที่เขาทำ จนถึงความเคลื่อนไหวของพรรคเพื่อไทย และการเมืองไทยหลังจากนี้ เขายืนยันว่าบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะประชาธิปไตยเมื่อใด เขาจะฟ้องคดีกับผู้ที่ทำรัฐประหารครั้งที่ 13 ไม่ว่าจะกับศาลภายในหรือนอกประเทศ


ประชาไท: คุณถูกทหารควบคุมตัว 4 รอบแล้ว ช่วงชีวิต บรรยากาศ ตอนที่ถูกคุมตัวและถูกกักอยู่ในค่ายทหารเป็นอย่างไรบ้าง
วัฒนา: บรรยากาศของประเทศวันนี้ไม่ดีอยู่แล้ว มันไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีอิสระ ไม่มีเสรีภาพ แล้วยิ่งมาเจอบรรยากาศที่คุณถูกกดดันด้วยกองกำลัง ผมใช้คำว่า “กองกำลัง” เพราะว่าทุกครั้งที่เขาจะมาเอาตัวคุณ เขาใช้กำลังทหารมา มันก็เป็นบรรยากาศที่...ผมว่าทุกคนคงเข้าใจ ในสภาพที่คุณไม่สามารถจะอาศัยกฎหมายบ้านเมืองได้ เพราะมันไม่มี เนื่องจากกฎหมายเขาเขียนเอง มันก็เป็นบรรยากาศแบบนั้นแหละ ไม่รู้จะบรรยายยังไง

ผมเห็นว่าการไปเอาตัวผมมามันไม่ถูกต้อง เพราะการที่ผมแสดงความคิดความเห็นเป็นสิทธิของผม ผมก็เลยประท้วงโดยการอดอาหารในครั้งล่าสุด สี่ครั้งที่ผมถูกเรียก ครั้งแรกผมถูกโทรศัพท์เรียกให้ไปกองทัพภาคที่หนึ่ง ผมก็ไป ก็ไปคุยกันได้สักสองสามชั่วโมง เขาก็ให้ผมกลับ

ครั้งที่สองคือครั้งที่ผมวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของพลเอกประวิตร (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี) ซึ่งผมเห็นว่าการที่เขาไปตอบถึงอดีตนายกรัฐมนตรีแบบนั้นมันเป็นการไม่ให้เกียรติผู้หญิง ผมก็ถูกทหารมาล้อมบ้าน แล้วก็พาตัวผมไปที่ มทบ.11 เอาตัวผมไปจากบ้านประมาณ 10 นาฬิกา ปล่อยผมประมาณสี่ทุ่ม แล้วก็เอามาแจ้งความในข้อหาโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จ ก็มีกองกำลังมาล้อมบ้านผมอย่างที่เป็นข่าว ครั้งนี้ก็ไม่ได้คุยอะไรกัน ก็เป็นปกติเวลาที่ไปส่วนใหญ่ก็จะพูดทำนองว่าไม่อยากให้เสนอความเห็น อยากให้ให้โอกาสเขาทำงาน อยากให้เงียบ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องปรับทัศนคติอะไรอย่างที่พยายามพูดให้ดูดีหรอก เอาไปก็คือใช้วิธีขอให้คุณเงียบ ขอให้คุณให้โอกาสเขาทำงาน

ครั้งที่สาม ผมโดนเนื่องจากผมเขียนบทความสนับสนุนวรชัย เหมะ ที่บอกว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ประยุทธ์ต้องลาออก ซึ่งประยุทธ์ก็โกรธวรชัย แล้วให้ทหารมาเอาตัววรชัยไป ผมก็แสดงความเห็นว่าสิ่งที่วรชัยพูดน่ะถูกแล้ว เพราะคุณประยุทธ์เป็นนักการเมือง วิธีการแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองคือการลาออกหรือยุบสภา แต่คุณยึดอำนาจมา คุณจึงไม่มีสภาให้ยุบ มันก็เหลือวิธีเดียวคือลาออก ซึ่งเป็นวิธีแบบอารยะ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ก็เลยใช้คนมาควบคุมตัวผม คราวนี้มาตอนเย็น พอดีผมไม่อยู่บ้าน ผมก็เลยบอกว่าวันรุ่งขึ้นผมจะไปเจอเขาที่ มทบ.11 ผมก็ไป คราวนี้ผมควบคุมตัวผมสามวัน ก็เอาไว้ในห้องเฉยๆ ถึงเวลาก็มาถามว่าจะกินอะไรมั้ย ก็ไม่ได้คุยอะไรกัน แต่ผมรู้ว่าที่ผมโดนเพราะผมไปสนับสนุนสิ่งที่วรชัยพูด ไม่ถูกใจท่านผู้นำ ครบสามวันก็ปล่อยตัวผมกลับ

ครั้งสุดท้ายคือที่ผมโพสต์ข้อความแสดงความเห็นว่าผมไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ผมแสดงความเห็นตอนเช้า ช่วงบ่ายเขาก็ส่งทหารมาวันที่ 13 เมษายน แต่บังเอิญผมไปต่างจังหวัดและนัดเขาว่าเดี๋ยวจะมาเจอกัน ตอนแรกนัดว่าวันที่ 14 พอดีไม่สะดวก เลยเลื่อนเป็นวันที่ 18 ตามที่เป็นข่าว วันที่ 14 เขาก็ส่งทหารมาที่หน้าบ้าน แต่ไม่เจอตัวผม จนกระทั่งวันที่ 18 จะไปรับตัวผมที่หน้าบ้าน ผมก็บอกพวกเขาว่าถ้าจะมาเอาตัวผมไป คุณก็ต้องแจ้งข้อหาผม เพราะว่าอยู่ดีๆ คุณจะมาเอาตัวผมไปไหนมาไหน มันต้องมีเหตุ ซึ่งคำสั่งที่ให้อำนาจคุณ ที่คุณอ้างว่าเป็นกฎหมายคือคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ที่ออกแทนกฎอัยการศึกว่า จะมีความผิดอยู่ 4 ฐานที่ให้อำนาจนายทหารยศร้อยตรีขึ้นไป มีอำนาจที่จะจับกุมและควบคุมตัวคุณไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน หนึ่งคือความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สองคือความผิดต่อความมั่นคง สามคือความผิดเกี่ยวอาวุธปืน สี่คือความผิดฐานขัดคำสั่ง คสช. เพราะฉะนั้นคุณต้องบอกว่าผมทำผิดอะไรกับการที่ผมไปโพสต์ข้อความ ไม่อย่างนั้นอยู่ดีๆ คุณจะมาเอาตัวผมไป ผมไม่ไป

นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วันที่ 18 เขาก็เลยไม่กล้ามา ท้ายสุดเขาก็เลยให้ผมไปรายงานตัวที่ มทบ.11 แทนโดยใช้คำสั่ง คสช. ผมก็ต้องไป เพราะถ้าผมไม่ไปก็ขัดคำสั่งอีก ก็ไปรายงานตัว ไปถึง 11 นาฬิกา ผมก็บอกพวกเขาว่าผมมารายงานตัวนะ เมื่อเสร็จสิ้นการรายงานตัวต้องให้ผมกลับบ้าน ถ้าคุณมาควบคุมตัวผมไว้ ผมถือว่าใช้อำนาจในการกักขังหน่วงเหนี่ยวผม ซึ่งคุณไม่มีอำนาจ 15 นาฬิกา ผมให้เวลาแค่นั้น ถ้าไม่ให้ผมออกมา ผมดำเนินคดีทุกคนแน่นอน

พอเข้าไปรายงานตัวเสร็จ ผมจะขอกลับ เขาบอกเขาต้องควบคุมตัวผมไว้ ตอนนั้นใกล้ๆ เที่ยง และถามผมว่าจะกินอะไร ผมบอกว่าผมประกาศอดอาหารจนกว่าจะได้อิสรภาพ ตอนนั้น 12 นาฬิกาของวันที่ 18 ผมก็เริ่มอดอาหารตั้งแต่วันนั้นมา เขาก็เอาไปไว้ที่ห้องเดิมที่ มทบ.11

จนกระทั่งเวลาประมาณสี่โมงครึ่งก็มีทหารพระธรรมนูญมาพบผม เดิมอ้างว่าผมทำผิดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 13/2559 ที่มีความผิดหลายๆ ฐานน่ะ ค้าผู้หญิงอะไรเยอะแยะไปหมด ต่อมาก็บอกว่าผมขัดคำสั่ง คสช. ที่ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งผมก็บอกว่าไม่ใช่ เพราะความผิดฐานเคลื่อนไหวทางการเมืองมันเป็นการแสดงออกทางกายภาพ แต่สิ่งที่ผมทำเป็นการแสดงความคิดเห็น ซึ่งรัฐธรรมนูญคุ้มครอง เขาก็บอกว่าแสดงความคิดเห็นก็คือการเคลื่อนไหวทางการเมือง เขาก็มีความจำเป็นต้องควบคุมตัวผมไว้ แล้วเดี๋ยวเขาจะไปแจ้งความ เมื่อเขาพร้อมจะแจ้งความเมื่อไหร่ เขาจะพาตัวผมมาที่ตำรวจและส่งศาล เพราะฉะนั้น สรุปแล้วการควบคุมตัวผมครั้งสุดท้ายก็ไม่ได้ควบคุมตัวผมเพื่อสอบถามข้อมูล ข้อเท็จจริงอะไรหรอก เก็บไว้รอความพร้อมว่าเขาไปแจ้งความตำรวจได้เมื่อไหร่ เขาก็ค่อยเอาตัวผมไปส่งตำรวจแล้วก็ส่งศาล

วันที่ 18 ช่วงเย็นนั่นแหละ ผมเข้าใจว่าเขาถูกกดดันมาก เขาก็เลยส่งตัวผมไปที่กองพลทหารราบที่ 9 กาญจนบุรี มีรถมารับผมไป ก็ออกจาก มทบ.11 เกือบๆ 17 นาฬิกา ผมก็ถูกนำตัวขึ้นรถตู้ แล้วก็มีรถปิดหัวปิดท้ายไปที่จังหวัดกาญจนบุรี เดิมผมคิดว่าจะเป็นกองพลทหารราบที่ 9 ก็ขับเลยไป เอาตัวผมไปไว้ที่ศูนย์เกษตรกรรมอะไรสักอย่าง ซึ่งเป็นของพล 9 ที่อำเภอไทรโยค เอาไปเก็บไว้ที่นั่นสามคืนสามวัน ผมก็อดอาหาร

ระหว่างนั้นเขาก็ต้องเอาหมอมาดูแลผมตลอดเวลา เช้า กลางวัน เย็น ผมต้องอยู่กับหมอ วัดความดัน เพราะเขากลัวผมตาย กลัวผมเป็นอะไร เพราะถ้าผมเป็นอะไรไปเขาก็ต้องรับผิดชอบผม ต้องเข้าใจว่าหน่วยปลายทาง ไม่ว่าจะเป็น มทบ.11 ก็ดีหรือว่าพล 9 เขาไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร เขามีหน้าที่ดูแลผม คุมตัวผม ถ้าเป็นอะไรไป เวรก็ต้องตกกับเขา หมอที่ดูแลผมก็มาขอร้องว่าอยากให้ผมได้ดื่มน้ำหวานหรืออะไรก็ได้ เขากลัวน้ำตาลในเลือดผมต่ำ แล้วจะเป็นลม เพราะผมเริ่มอดอาหารมาตั้งแต่วันที่ 18 วันที่ 19 หรือวันที่ 20 เขาก็มาขอร้องผมว่าควรจะกินน้ำหวาน เป็นรุ่นน้องที่โรงเรียนด้วย เขาบอกว่าเอาอย่างนี้แล้วกัน ถ้าน้ำหวานผมไม่อยากกินก็ขอให้ผมกินน้ำมะพร้าว ก็เอาน้ำมะพร้าวมาให้ผมวันละ 2 ลูก กินไป 4 ลูก

อยู่จนถึงวันที่ 21 ตอนเช้า ประมาณตี 5 เขาก็มาปลุกผมว่า เขาได้รับคำสั่งให้พาผมไปส่งตัวที่ มทบ.11 ก็ออกจากกาญจนบุรีตี 5 มาถึง มทบ.11 ประมาณเก้าโมง เขาก็ให้ผมรอพนักงานสอบสวนจากกองปราบ กลางวันก็ขอให้ผมทานข้าวเพราะถือว่าปล่อยผมแล้ว ผมก็ทานข้าวตอนกลางวันที่ มทบ.11 เป็นอันจบกระบวนการอดอาหาร ประมาณ 14 นาฬิกาเขาก็พาผมออกจากห้องประชุมไปพบพนักงานสอบสวนจากกองปราบ ซึ่งเขาพามาที่นั่น ทำการแจ้งข้อหาอะไรต่างๆ ว่าผมขัดคำสั่ง คสช. มีการเคลื่อนไหวต่างๆ พอเสร็จกระบวนการที่พนักงานสอบสวนพิมพ์มือ ทำอะไรเสร็จ เขาก็ส่งตัวผมมาที่ศาลทหารกรุงเทพ เพราะความผิดฐานขัดคำสั่ง คสช. ต้องขึ้นศาลทหาร มาที่ศาลทหารก็มีการยื่นขอประกันตัว แล้วส่งตัวผมไปที่เรือนจำ ประมาณ 19 นาฬิกาก็ได้รับอิสรภาพ

ไม่มีเรื่องการปรับทัศนคติใดๆ ทั้งสิ้น?
ไม่มีครับไม่มี จริงๆ แล้วคำสั่ง คสช. เขาไม่ได้ให้อำนาจเอาใครไปปรับทัศนคติ ไม่มี อำนาจเขียนไว้ว่า เจ้าพนักงานตั้งแต่ร้อยตรีขึ้นไปมีอำนาจควบคุมตัวบุคคลไว้เพื่อสอบถามข้อมูลเท่าที่จำเป็น สิ่งที่เขาต้องทำคือถามคุณ ไม่ใช่มาพูดกรอกหูคุณ มาปรับทัศนคติคุณ เขาไม่ได้ให้อำนาจ ตีความกันผิดเอง
 


21 เม.ย.2559


การที่คุณไปออกคำสั่งห้ามคนพูด คำสั่งนั้นมันใช้บังคับไม่ได้ เพราะอะไร มันไปขัดกับรัฐธรรมนูญที่คุณเขียนเองและยังไปขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอีก



เหตุผลที่คุณทำสิ่งเหล่านี้
วัฒนา: มันเป็นเสรีภาพของผมในการแสดงความคิดเห็น เป็นเสรีภาพของคน ต้องเข้าใจกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ ทุกประเทศมีกฎหมายภายในของตนเองและมีกฎหมายระหว่างประเทศที่เขาต้องผูกพัน ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศที่ทั่วโลกต้องผูกพันคือกฎเกณฑ์ของสหประชาชาติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นคน ถ้าการปกครองของคุณมีการไปละเมิดสิทธิของความเป็นคน ที่เขาเรียกว่าสิทธิมนุษยชน เขาถือว่านี่ไม่ใช่เรื่องของคุณแล้ว มันเป็นเรื่องของมนุษยชาติ ถ้าคุณไปกระทำการใดๆ ก็แล้วแต่ที่เป็นความผิดต่อมนุษยชาติ มันเป็นความผิดต่อสากล ทุกประเทศในโลกจะเข้ามายุ่งกับคุณได้ว่าคุณทำแบบนี้ไม่ได้ และถ้ามันเลยเถิดขนาดเป็นอาชญากรรม คุณก็ต้องขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ดังนั้น คุณก็ต้องไปดูกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมีอะไรบ้าง

อย่างแรกคือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทุกประเทศในโลก ถ้าใครเป็นสมาชิกต้องรับเอาตรงนี้ไปปฏิบัติ ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์รวม ประเทศไทยก็ยอมรับตรงนี้มาตั้งแต่ 2491 แล้ว เราจึงมีพันธะต้องปฏิบัติตาม ยังมี ICCPR (กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง) สิ่งที่ผมทำคืออะไร สิ่งที่ผมทำมันอยู่ในข้อ 19 ของปฏิญญาสากลฯ ซึ่งเขียนว่า สิทธิในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก เป็นสิทธิที่คุณจะไปจำกัดห้ามไม่ได้ กฎเกณฑ์นี้จึงถูกนำไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญของแทบทุกประเทศ รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับต้องใส่สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เพื่อล้อข้อความเหล่านี้มาและยอมรับมัน

รัฐธรรมนูญของ คสช. เองก็เขียนไว้ในมาตรา 4 ว่าสิทธิทั้งหลายที่ชนชาวไทยเคยมีภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แปลว่าอะไร สิทธิที่คนไทยเคยมีตามประเพณีการปกครองมีอะไรบ้าง สิทธิในการพูด การแสดงความคิดเห็นต้องมี รัฐธรรมนูญทุกฉบับคุ้มครองมา มันเป็นสิทธิที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นคน คุณไปละเมิดไม่ได้ เขาเรียกสิทธิของความเป็นคน สิทธิมนุษยชน ใครก็แล้วแต่ที่ล่วงละเมิดต่อสิทธิดังกล่าวคือการก่ออาชญากรรมที่ละเมิดต่อความเป็นคนที่เขาเรียกว่า Crime Against Humanity เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้ามีการกระทำแบบนี้นานาชาติจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับคุณ เพราะคุณเป็นสมาชิกของประชาคมโลก คุณมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับของประชาคมโลก ถ้าคุณไม่อยากทำตามก็ลาออกจากยูเอ็นไป

ผมก็แสดงความเห็นผมตามรัฐธรรมนูญ ก็ทำไมไม่เขียนว่าประเทศไทยเป็นเผด็จการ ห้ามแสดงความเห็น ก็เขียนไว้ดิ คุณไปดูรัฐธรรมนูญชั่วคราวของ คสช. สิ มาตรา 2 ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมก็มีสิทธิจะแสดงความเห็น แต่ถ้าคุณเขียนว่าประเทศไทยเป็นเผด็จการ ห้ามแสดงความเห็น ผมก็ทำไม่ได้ ทำไปคุณก็ใช้อำนาจที่เหนือกว่ากับผม เพราะฉะนั้นทุกอย่างที่ผมทำ มันก็คือการแสดงความเห็น ซึ่งมันเป็นสิทธิของผมที่ผมพึงกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญของคุณเองและตามพันธกรณีที่คุณผูกพันไว้

เขาให้มีเสรีภาพในการแสดงออก ถ้าการใช้เสรีภาพของคุณมันล่วงเลยจุดที่พอเหมาะพอสม มันไปละเมิด มันก็มีกฎหมายภายในอยู่แล้ว ก็มีข้อหาหมิ่นประมาทที่จัดการผมได้อยู่แล้ว คุณไม่ต้องมาห้ามผม หรือผมไปพูดอะไรที่กระทบความมั่นคงภายในหรือยุยงปลุกปั่น มันก็มีกฎหมายภายในอยู่แล้ว ดังนั้น การที่คุณไปออกคำสั่งห้ามคนพูด คำสั่งนั้นมันใช้บังคับไม่ได้ เพราะอะไร มันไปขัดกับรัฐธรรมนูญที่คุณเขียนเองและยังไปขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศอีก

นั่นคือสาเหตุว่าทำไมเคสของผม ประชาคมโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง ปกติเขาเกี่ยวข้องไม่ได้ แต่เพราะผมแสดงความเห็น แล้วคุณมาจับผม คุณกำลังละเมิดต่อความเป็นคนของผม คุณกำลังกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ประชาคมโลกเขาเข้ามา หนังสือของข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เขาพูดเรื่องผม การจับผมไปควบคุม ผิดกฎบัตรสหประชาชาติ อีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับผมคือข้อ 9 เขาเขียนว่าคุณจะจับกุมคนไปคุมขังตามอำเภอใจไม่ได้ คุณทำกับผม ก็คือคุณกำลังละเมิดความเป็นคนผม รวมถึงข้อ 5 เขาห้ามทำอะไรที่ทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นคนลด คุณอ้างเอาผมไปปรับทัศนคติให้คิดเหมือนคุณ ไม่ได้ นี่มันกำลังลดความเป็นคน ผมมีสิทธิจะคิดไม่เหมือนคุณ จะบังคับให้ผมนิยมชมชอบ คสช. ได้ยังไง ไม่เคย ผมไม่คิดจะชอบ และไม่มีทางจะชอบ

ผมประกาศแล้วว่า ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อไหร่ ผมเอาคุณเมื่อนั้น

จะฟ้อง คสช.?
ผมเอาแน่ อะไรก็แล้วแต่ ผมใช้สิทธิของผม ผมประกาศต่อสาธารณะ ไม่ได้มาพูดลับหลัง ผมไม่กลัวพวกคุณอยู่แล้ว

แต่ในรัฐธรรมนูญเขียนนิรโทษกรรม คสช. ไว้
ผมทำไม่ได้ในวันนี้ ในประเทศนี้ ผมต้องไปขึ้นศาลโลกหรือที่ไหน ผมก็จะเอาคุณ ก็อย่าออกไปนอกประเทศแล้วกัน

การที่คุณออกมาเคลื่อนไหวทำนองนี้มันมีราคาที่ต้องจ่ายอะไรบ้าง
ก็ผมสูญเสียเสรีภาพ อิสรภาพมาหลายทีแล้วไง ก็ไม่แปลก ทุกการต่อสู้มันก็ต้อง... ฝรั่งใช้คำว่าไม่มีอาหารฟรี ธรรมดา คุณขึ้นไปชกมวย ไม่มีใครให้คุณชกฝ่ายเดียว เขาก็ต้องสู้คุณ แพ้ชนะต้องแลกกับความเจ็บตัวทั้งนั้น วันนี้ก็เหมือนกัน การต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพในโลก มีที่ไหนที่เขาเอาดอกกุหลาบโรยให้คุณเดิน ไม่มี ผมไม่ให้ใครมาจำกัดเสรีภาพผมอยู่แล้ว ผมสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพของผม แล้วถ้าผมได้เสรีภาพ คนไทยทุกคนก็ได้ หลักการมันก็แค่นั้นเอง

บางคนมองแง่ลบ บางสื่อ เป็นเรื่องการเมือง สร้างคะแนนนิยม เป็นเรื่องเอาใจคุณทักษิณ?
พูดเรื่องการเมือง สิ่งที่ผมทำก็การเมืองแน่นอน ผมกำลังสู้กับนักการเมือง ไม่ใช่เรื่องการเมืองแล้วเรื่องอะไรล่ะ สิทธิที่ผมกำลังพูดถึง มันถูกบัญญัติไว้ในกฎเกณฑ์ของสหประชาชาติ มันก็คือเรื่องการเมือง คนที่บอกว่าผมเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็ถูกแล้ว ทำไมผมต้องไปปฏิเสธ ก็มันใช่ ถ้าคุณบอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมืองแล้วจะเป็นเรื่องอะไร ผมไม่ได้สู้กับเมียผม เรื่องสิทธิที่จะกลับบ้านดึก นั่นมันเรื่องการบ้าน

แล้วเรื่องท่านทักษิณ ต้องมองทีละมิติก่อน...ความจริงเรื่องนี้ผมไม่ค่อยอยากพูด มันเป็นเรื่องส่วนตัว ผมอยากใช้คำพูดของอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ คือจะเป็นภูเขาทองอย่ากลัวสุนัขปัสสาวะรด บางทีคุณไปใส่ใจกับคำพูดของคน มันไม่เกิดประโยชน์ ผมไม่อยากไปแก้ตัวให้คนเหล่านี้ฟัง ถ้าคนเหล่านี้คิดได้แค่นี้ ผมถือว่าเป็นอย่างที่พระพุทธเจ้าบอก เป็นบัวใต้ตม เสียเวลาอธิบาย แต่ถ้าจะพูดกับประชาชนทั่วไปที่ถือว่าอยู่ในบัวสามเหล่าได้เห็น มันดูไม่ยากกับสิ่งที่ผมทำ

ประเด็นที่ว่าผมทำเพื่อเงิน เพื่อทองหรือเปล่า คุณก็ต้องรู้แบคกราวน์ผมว่าผมมาจากไหน เป็นใคร จะคิดว่าผมทำเพื่อเงินก็ไม่ได้แปลก แต่ถ้ารู้ว่าผมมีที่มาที่ไปยังไง คนที่เขาเข้าใจ เขาก็ไม่คิด อันที่สอง ผมทำเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศ ผมมีชื่อของผมมาตั้งนานแล้ว ผมเป็นรัฐมนตรีมาตั้งแต่ปี 2545 ผมเป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ที่เด็กที่สุดในอาเซียน คุณคิดว่าผมไม่มีชื่อเสียง ต้องมานั่งสร้างชื่อเสียงเหรอ หลายคนบอกว่าผมกลัวชาวบ้านจะจำไม่ได้ ชาวบ้านรู้จักผมยิ่งกว่ารู้จักคุณอีก บางคนเพิ่งมาโผล่เอาวันนี้ มันไม่ใช่เรื่องของการทำเพื่อเงิน เพื่อชื่อเสียง เพื่อตำแหน่ง ทุกครั้งที่มีการก่อตั้งรัฐบาล ผมก็มีตำแหน่งสำคัญมาตลอด ได้มาด้วยความสามารถของผม ถ้าพูดถึง Rank ในพรรค คุณว่าผมอยู่เบอร์อะไรล่ะ ผมก็อยู่แถวหน้ามาตลอด สมัยท่านนายกฯ ทักษิณที่ซูเปอร์วีไอพีทั้งนั้นที่อยู่ในพรรค คุณรู้มั้ยปาร์ตี้ลิสต์ของผมเบอร์อะไร เบอร์ 11 ผมจึงไม่มีความจำเป็นต้องไปนั่งอธิบาย เพราะถ้าใครก็แล้วแต่ที่เรื่องแค่นี้ไม่เข้าใจ แล้วต้องไปอธิบาย ก็เหมือนไปพูดให้คนมีอคติฟัง ไม่เกิดประโยชน์ ความจริงผมไม่ต้องมานั่งดิ้นรน ผมมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ผมแต่งงานอยู่ในตระกูลไหนทุกคนก็รู้อยู่ การที่ผมมาดิ้นรนแบบนี้มันทำความเดือดร้อนให้คนรอบตัวด้วยซ้ำ

ครอบครัวคุณว่าอย่างไรกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคุณ
ต้องแยกกันระหว่างผมกับครอบครัว การเคลื่อนไหว การต่อสู้ของผม มันเป็นเรื่องทางการเมือง ผมเป็นนักการเมือง มันมีเรื่องเดียวคือผมเป็นนักการเมือง วันนี้การเมืองมีปัญหา ถ้าผมไม่ต่อสู้ทางการเมือง แล้วผมจะเรียกตัวเองว่านักการเมืองได้ยังไง เอาอย่างนี้ก่อน ประเด็นแรก

ประเด็นที่สอง ผมเป็นนักการเมืองที่หน้าไม่หนา ผมเป็นคนมีความอาย ถ้าผมไม่ต่อสู้ เมื่อถึงเวลาบ้านเมืองปกติ ผมลงไปหาเสียง ชาวบ้านถามผม ผมจะตอบเขาว่ายังไง เฮ้ย เวลานั้นคุณหายไปไหน ทำไมไม่สู้เพื่อประชาชน ผมอายเขา อันนี้เรื่องใหญ่สำหรับผม คือเวลาที่คุณจะทำอะไรสักอย่าง มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่าความชอบธรรม มันจะปกป้องคุณทุกอย่าง อำนาจถ้าไม่มีความชอบธรรม คุณก็หมด ผมลงไปหาเสียง ถึงเวลาไปหาเสียง ถึงเวลาชาวบ้านถาม วันนั้นที่เขายึดอำนาจ เขาต่อสู้กันเรื่องสิทธิเสรีภาพ คุณไปอยู่ไหน แล้วคุณจะให้ผมตอบชาวบ้านยังไง วันนี้ผมไม่อายใคร ผมบอกผมสู้ให้แล้ว ถึงมันจะไม่ได้อย่างที่ผมสู้ แต่ผมก็สู้เต็มความสามารถของผมแล้ว โดนหิ้วไปขังไม่รู้ตั้งกี่ที เหลืออย่างเดียวคือเขาไม่ให้ผมไปยิงเป้า ผมไม่อายประชาชน

ถามว่าทำเพราะอะไร แค่นี้ หนึ่ง เป็นนักการเมือง สอง วันนี้การเมืองมีปัญหา ผมก็ต้องต่อสู้ทางการเมือง สาม สิทธิเสรีภาพถูกละเมิด ก็ต้องต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ คุณจำกัดสิทธิเสรีภาพผม ผมจะนั่งงอมืองอเท้าได้ยังไง ผมก็สู้กับคุณ
ลูกเมียผมเข้าใจ บ้านผมมีนิสัยคล้ายๆ กันคือดื้อ ถ้ามั่นใจว่าสิ่งที่ตนเองทำถูกต้องแล้วล่ะก็ ไม่สนใจ ไม่ว่าผม ลูกผม คิดเหมือนกันหมด ก็ทรงเดียวกัน เป็นทรงที่ไม่กลัวคนเหมือนกัน

ตอนที่ลูกสาวคุณต้องออกมาเคลื่อนไหว ออกมายื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้ทหารปล่อยตัวคุณ…
เป็นห่วง แต่คุณต้องให้เขาทำ คุณต้องคิดถึงเขาด้วย วันแรกที่ทหารมาล้อมบ้านผม ผมอยู่บ้านกับแม่บ้านสองคน ถ้าไม่ได้ลูกผม ผมคงลำบาก เพราะลูกผมมาช่วยผมตั้งแต่ส่งรูปทหารมาล้อมบ้าน ซึ่งทำให้โลกรู้ ถ้าสื่อมวลชนไม่มา ผมอาจจะถูกนำตัวไปไหนก็ไม่รู้ เอาไปเงียบๆ แบบที่คนอื่นโดนหิ้วไป 7 วัน แต่พอสังคมรู้ สื่อมวลชนรู้ โลกรู้ เขาทำผมไม่ถนัด

ครั้งแรกผมโทรบอกลูกผมว่าไม่ต้องเข้าบ้าน อย่าเข้ามา ลูกผมไปออกกำลัง ผมกลัวลูกกลับมาเจอ เดี๋ยวเขาตกใจ แล้วเดี๋ยวเกิดเขาเปิดบ้านเข้ามาจะเป็นช่องทางให้ทหารบุกเข้ามาในบ้านผม ผมบอกไม่ต้องมา แต่ลูกผมขอมาอยู่กับผม คุณต้องมองในมุมกลับว่าเขาเป็นลูก แล้วเขาขอทำหน้าที่ของเขา ถ้าคุณไม่ให้เขาทำ เกิดผมเป็นอะไร เขาจะรู้สึกผิดทั้งชีวิตนะ เขาโตแล้ว เขาอายุ 18 แล้ว เหมือนผมรักใครสักคน แล้วเขาอยู่ในอันตราย ผมขอไปช่วย แล้วเขาไม่ให้ไป ผมไม่ยอมนะ มันเป็นเรื่องที่ผมต้องไปช่วยเขา ถ้าผมไม่ทำผมจะรู้สึกผิดทั้งชีวิต คุณต้องคิดกลับในมุมของลูกว่าทำไมผมยอม เพราะเมื่อเขาแสดงเจตนาว่าเขาจะมาอยู่กับผม ผมไม่ให้เขาทำหน้าที่ลูกได้ยังไง

ครั้งที่สองที่ผมถูกควบคุมตัวที่ มทบ.11 เขาก็ไปเรียกร้องให้ผม ไปตามผม เพราะผมถูกเอาตัวไป ผมมียา มีทุกอย่างที่ผมต้องกิน เขาก็แค่ทำหน้าที่ลูก เขาไปตามหาพ่อเขาน่ะ รวมถึงครั้งที่สาม ผมถูกควบคุมตัวไปไว้ไหนไม่รู้ คุณเป็นลูกคุณจะไปตามมั้ย สิ่งที่เขาทำไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ถ้าไม่ไปตาม ไม่ไปสู้ให้พ่อเขาสิ คนต้องมองเขาว่าคิดยังไงหรือพ่อแม่อบรมยังไง มันเป็นความผูกพัน

แล้วที่เขาไปตามผม มันไม่ใช่เรื่องการเมือง มันเป็นเรื่องของพ่อเขา ส่วนหนังสือหนังหาที่เตรียมไว้ให้เขาคือหนังสือที่ผมทำไว้ ผมมีเวลา ทหารจะมาเอาตัวผมวันที่ 14 ผมขอเวลาเป็นวันที่ 18 ผมมีเวลาตั้งสี่ห้าวัน ผมทำทุกอย่างไว้ให้ว่า โอเค วันนี้เขากำลังละเมิดความเป็นคนของพ่อ ซึ่งมันไปละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความเป็นคน เพราะฉะนั้นวันนี้ไปตามหาพ่อที่ที่เขาควบคุมตัวพ่อก่อน ไปคุยกันดีๆ ก่อน ถ้าเขาไม่ปล่อยพ่อ ก็ไปเรียกพรรคพวกมาช่วย ลูกไปขอเขาก่อน เขาไม่ปล่อยตอนนี้ล่ะ เราก็ต้องไปหาเพื่อน วันแรก ลูกผมไปเรียกร้องให้ทหารปล่อยผม เมื่อไม่ปล่อย เขาก็ไปยูเอ็น ไปอียู ไปสหรัฐฯ ว่ากันไม่ได้ ก็เขาบอกคุณแล้ว ทำไมคุณไม่ปล่อย ถ้าคุณปล่อย เขาก็ไม่ต้องไปที่นั่น

ถ้าผมเป็นรัฐบาล ผมทำอะไรผิดพลาด ผมแสดงความรับผิดชอบได้สองอย่าง ลาออกกับยุบสภา เขาก็ยุบสภารับผิดชอบแล้ว คุณจะเอาอะไรอีกล่ะ แต่คุณไม่ให้เขาไปเลือกตั้ง คุณกำลังหาเรื่อง คุณเอาตรงนี้เป็นเงื่อนไขไปสู่การยึดอำนาจ ตรงนี้คือคำตอบว่ามันไม่ใช่เรื่องรัฐบาลผิดพลาด


ถ้าเป็นคนทั่วไปผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นอีกอย่าง แต่กับคุณ ทหารจับปล่อยๆ
มันไม่ได้มีของดีฮะ สิ่งที่ผมมี ใจ คุณเข้าใจคำว่า ใจ มั้ย ง่ายๆ คุณไม่กลัวเขา สุดท้าย เขาก็จะกลัวคุณ เหมือนเรากับเมีย เมียไม่กลัวเรา เราก็เลยต้องกลัวเมีย เมียตัวเล็กกว่าเราหรือเปล่า แล้วทำไมเราไม่กล้ากับเขาล่ะ ก็เพราะเขาไม่กลัวเรา ก็เหมือนกัน ใจมนุษย์สำคัญที่สุด หนึ่ง ใจ เราสู้ด้วยใจของเราที่ไม่กลัว ผมพูดได้ ผมไม่เคยแสดงความขลาดกลัวกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สอง เราสู้ด้วยปัญญา เราไม่ได้สู้ด้วยกำลัง ผมไม่เคยใช้กำลังกับคนพวกนี้ ผมสู้เขาไม่ได้ ผมไม่มีปืนเหมือนเขา แต่ผมมีใจที่เหนือเขา อาจจะบอกผมมีปัญญาที่เหนือพวกเขาแล้วกัน

ทำยังไง เมื่อทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องที่ประชาคมโลกต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ผมเป็นเคสแรกที่ประชาคมโลกทุกคนเข้ามา มันก็อยู่ที่คุณทำให้มันเข้ากับข้อกฎหมายระหว่างประเทศ ถ้ามันไม่เข้ากับกฎหมายระหว่างประเทศ เขาก็ไม่มีบันไดจะเดินเข้ามา ทำไมเรื่องผม ข้าหลวงใหญ่ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเข้ามา องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเข้ามา ทำไมสหรัฐฯ อียู แคนาดา ออสเตรเลีย สวิตฯ เข้ามาอยู่ข้างผม เขามาได้เพราะสิ่งที่ คสช. ทำกับผมมันเข้าเงื่อนไขที่เขาจะเดินเข้ามาได้ ตรงนี้ถึงบอกว่าผมสู้ด้วยปัญญา

มีการตั้งข้อสังเกตว่า เพราะฐานเสียงคุณอยู่ปราจีน ซึ่งก็เป็นถิ่นบูรพาพยัคฆ์ และคุณก็ผูกพันกับบูรพาพยัคฆ์ ยังมีความสนิทสนมกันอยู่ จึงยังมีความเกรงอกเกรงใจกัน
ไม่มี ผมสนิทสนมกันมาก่อน ถูกต้อง ไม่ปฏิเสธ แต่วันนี้มันเป็นเรื่องของบ้านเมือง เขาทำหน้าที่เขา ผมทำหน้าที่ผม คุณคิดว่าเขาออมมือให้ผมเหรอ ส่งกำลังมาทีอย่างกับมาจับบิน ลาเดน ผมเป็นคนแรกที่ถูกจับแบบนี้ เต็มที่ก็โทรศัพท์ไปหา เชิญตัวมา ของผมคุณเห็นมั้ย อย่างกับยุทธการอะไรสักอย่าง เอาเป็นว่าสำหรับผม คสช. เขามองผมว่าเป็นภัยคุกคามหมายเลข 1 ของเขาแล้วกัน ผมว่าเคสผมเป็นเคสที่ตึงมือเขาที่สุด

คุณออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้ในฐานะตัวบุคคลหรือพรรค
พรรค ผมเป็นสมาชิกของพรรค มันหนีคำนี้ไม่ได้หรอกครับ ถึงแม้จะเป็นตัวบุคคล แต่ผมเป็นนักการเมือง นักการเมืองสังกัดอะไรล่ะ วันนี้ผมเป็นนักการเมือง ผมเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เมื่อมันเป็นเรื่องการเมือง มันก็ผูกพันกลับไปที่พรรค เพราะผมจะทำอะไรที่ฝืนมติพรรคไม่ได้ เช่น พรรคมีมติไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญนี้ ผมจะไปแสดงว่ารับไม่ได้ คุณเห็นมั้ย สิ่งที่ผมเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็น ไม่ได้อยู่ตรงข้ามกับพรรค

แต่ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยน้อยกว่าที่คนเสื้อแดงหรือฐานเสียงคาดหวัง
ผมก็ไม่ได้ทำให้ถูกใจใครคนใดคนหนึ่ง ผมไม่ใช่เสื้อแดงนะฮะ ผมไม่เคยขึ้นเวทีเสื้อแดง ผมเป็นนายวัฒนา ผมเป็นนักการเมือง สิ่งที่ผมเคลื่อนไหวและต่อสู้ ผมต่อสู้เพื่อการเมืองในระบอบรัฐสภา ผมไม่เคยขอให้ประชาชนออกมา ผมต่อสู้ตามสิทธิว่าผมต้องการรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตย การเคลื่อนไหวของผมอาจจะไปถูกใจคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ผมไม่ได้ทำเพื่อให้ถูกใจคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผมคือตัวผม ผมเห็นว่าวันนี้ผมต้องมีเสรีภาพ คนไทยต้องมีเสรีภาพ และผมจะไปสู้เพื่อตัวผมคนเดียว คนอื่นไม่ต้อง เพราะเวลาให้ต้องให้เหมือนกันหมด ได้เหมือนกันหมด และในเวลาใดเวลาหนึ่ง เรามีคนร้อยคน แต่อาจมีคนเดียวออกไปสู้ มันไม่ได้แปลว่าคน 99 คนไม่คิดจะสู้ อาจยังไม่พร้อมหรือว่าใจ เข้าใจคำว่าใจมั้ย บังเอิญผมอาจจะเป็นคนบ้าไม่กลัวคน หรือคนอื่นอาจจะมีความกังวล ก็ไม่แปลก ในสถานการณ์ที่อาวุธมันจี้หัว

มองในฐานะสมาชิกพรรคหรือในฐานะประชาชนก็ตามแต่ คุณคิดว่าพรรคเพื่อไทยควรมีแอคชั่นมากกว่านี้หรือเปล่า
ในนามของพรรคการเมือง จะทำอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย คุณจะบอกว่าวันนี้พามวลสมาชิกไปรบกับทหารเลยไม่ได้ แล้วคุณต้องฟังมวลสมาชิกส่วนใหญ่ด้วย คุณจะทำในนามพรรคต้องมีความเห็นของสมาชิกรองรับ สมมติสมาชิกยังไม่เห็นพ้องหรือยังไม่เห็นด้วยว่าเป็นเวลาที่สมควรที่จะทำ พรรคก็ขยับไปมากกว่านั้นไม่ได้ แต่การที่พรรคได้ทำให้ผม ไม่ว่าจะเป็นการแถลงการณ์หรือเรียกร้องให้ปล่อยผม เขาก็ทำหน้าที่ของเขาแล้ว ผมก็พอใจแล้ว

ถอยกลับไปช่วงก่อนรัฐประหาร คุณคิดว่ารัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ก้าวพลาดในทางการเมืองอะไรไปหรือเปล่า เช่น นิรโทษกรรมเหมาเข่ง
คืออย่างนี้ รัฐบาลเพื่อไทยอาจจะทำอะไรผิดพลาดบ้าง แต่การรัฐประหารไม่ได้เกิดจากความผิดพลาด มันเกิดจากการหาเรื่อง การที่รัฐบาลผิดพลาดเขาก็รับผิดชอบด้วยการยุบสภาแล้ว ถูกมั้ย นี่คือประเพณีทั่วโลก ถ้าผมเป็นรัฐบาล ผมทำอะไรผิดพลาด ผมแสดงความรับผิดชอบได้สองอย่าง ลาออกกับยุบสภา เขาก็ยุบสภารับผิดชอบแล้ว คุณจะเอาอะไรอีกล่ะ แต่คุณไม่ให้เขาไปเลือกตั้ง คุณกำลังหาเรื่อง คุณเอาตรงนี้เป็นเงื่อนไขไปสู่การยึดอำนาจ ตรงนี้คือคำตอบว่ามันไม่ใช่เรื่องรัฐบาลผิดพลาด เพราะฉะนั้นพรรคเพื่อไทยทำผิดทำถูก ไม่รู้ แต่สิ่งที่พรรคเพื่อไทยทำ ทำในระบอบรัฐสภาที่มีฝ่ายค้าน มีการตรวจสอบ ไม่ได้แอบทำเหมือน คสช. ทำ สอง เมื่อสิ่งนั้นเห็นว่าผิด สังคมอาจจะไม่ยอมรับ และเป็นสังคมของคนส่วนน้อยด้วย เพราะคนที่มาเรียกร้องเป็นคนส่วนน้อยนะ เป็นฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้ง ท่านนายกฯ ก็ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการยุบสภาแล้ว แล้วคุณคิดว่าผมต้องทำอะไรอีกในทางการเมือง มันต้องจบไม่ใช่เหรอ แล้วมันไม่จบเพราะอะไร ดังนั้น การถูกยึดอำนาจ มันไม่ใช่เรื่องของพรรคเพื่อไทยทำผิด มันเป็นเรื่องที่พวกคุณอยากจะทำอยู่แล้ว และนี่เป็นหนึ่งในข้ออ้าง
 

สิ่งที่เรากำลังคิดจะทำต่อไปคือการปฏิรูปพรรคเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพรรคมากขึ้น ให้เหมือนเป็นบริษัทมหาชนที่ผู้ถือหุ้นมีความหลากหลาย ไม่อยู่ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง


พรรคเพื่อไทยเป็นพรรคใหญ่ที่สุดตอนนี้...
และก็เป็นพรรคเดียวที่ต่อสู้กับเผด็จการในวันนี้


แล้วก็คาดว่าก็คงจะได้รับเลือกเข้ามาไม่น้อยในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นมาตลอดว่า พรรคเพื่อไทยยังคงผูกติดกับคุณทักษิณ ในอนาคตจะพัฒนาพรรคเพื่อไทยให้เป็นสถาบันที่ไม่ผูกติดกับบุคคลได้อย่างไร
เราได้คุยกันนะครับ คุณต้องแยกเรื่องนี้ออกเป็นสองเรื่องก่อน คุณทักษิณก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง เหมือนผมชอบรีพับลิกัน ไม่ชอบเดโมแครต คุณมองว่าผมผิดมั้ย แล้วทำไมคุณทักษิณจะชอบพรรคเพื่อไทยไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องแปลก การที่ทักษิณจะชอบพรรคเพื่อไทยกับพรรคเพื่อไทยจะเป็นสถาบันหรือไม่ มันคนละเรื่องกันนะ สอง พรรคเพื่อไทยถูกมองว่าไม่เป็นสถาบันเพราะอะไร อย่างแรกเพราะไปอิงอยู่กับคุณทักษิณมากเกินไปหรือเปล่า ก็บอกว่าไม่ วันนี้ผมออกมาเคลื่อนไหวก็ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณทักษิณ

ในวันที่ท่านเป็นหัวหน้าพรรค เราก็ต้องอิงท่าน เราไม่ฟังหัวหน้าพรรคแล้วเราจะไปฟังแมวฟังอะไรที่ไหน สอง พรรคการเมืองมันมีเรื่องของความนิยม ทำไมเดโมแครตต้องเอาคลินตันออกมาหาเสียง ไม่เห็นแปลกเลย รีพับลิกันเอาจอร์จ บุช ออกมาช่วย ยังไม่เห็นแปลก แล้วทำไมคุณทักษิณที่เป็นที่นิยม เราจะไปอ้างท่านซึ่งเป็นคนที่ประชาชนรักไม่ได้ แต่บ้านเรามีมิจฉาทิฐิ มีอคติ ก็ในเมื่อคุณทักษิณเป็นที่รักของคน ผมเป็นพรรคการเมืองต้องการได้รับความนิยม การที่ผมไปพูดถึงคุณทักษิณหรือเอาคุณทักษิณมา มันไม่เห็นแปลกเลย การขายสินค้ายังเอาดาราที่ได้รับความนิยมมาเป็นพรีเซ็นเตอร์เลย เขาก็ทำกันทั้งโลก ทำไมถึงมาแปลกในเมืองไทย ก็ลองวันใดวันหนึ่งคุณทักษิณไม่ได้รับความนิยมขึ้นมา เราไปพิงได้ยังไง ผมก็ต้องกระโดดหนี ในมุมของพรรค ถูกหรือเปล่า

พรรคเพื่อไทยจะเป็นสถาบันการเมืองมั้ย เป็นแน่นอน มันเป็นพรรคการเมืองที่เป็นพรรคเบอร์หนึ่งเบอร์สองของประเทศ มันไม่เป็นสถาบันไม่ได้หรอก ถูกมั้ยฮะ การเป็นสถาบันคืออะไร มันก็ต้องมีการปฏิรูป เรามีการคิดกัน การเป็นสถาบันกับการที่เรายังอิงคุณทักษิณ คนละเรื่องนะ แต่ไม่ใช่เพียงการพิงแล้วเราจะได้รับความนิยม พรรคการเมืองยังมีคำว่านโยบาย ต้องถูกใจประชาชน มันมีหลายปัจจัย พรรคเพื่อไทยเป็นสถาบันอยู่แล้ววันนี้ การที่พรรคออกมาต่อสู้กับเผด็จการ คุณว่ามันไม่มีจุดยืนเหรอ มันเป็นสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสถาบันเดียวในประเทศไทยในวันนี้ พรรคอื่นไม่เห็นออกมาสู้ล่ะ มีพรรคการเมืองไหนออกมาสู้กับเผด็จการบ้าง เหลือพรรคเพื่อไทยพรรคเดียว แล้วคุณว่าพรรคเพื่อไทยไม่เป็นสถาบันเหรอ เป็นสถาบันเป็นแบบไหนต้องยอมเผด็จการแบบทุกพรรคยอมเหรอ พรรคเพื่อไทยเป็นสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตยพรรคเดียวในวันนี้ ถ้าความเป็นสถาบันคือต้องไปก้มหัวให้เผด็จการ ผมไม่ขอเป็น

สอง สิ่งที่เรากำลังคิดจะทำต่อไปคือการปฏิรูปพรรคเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของพรรคมากขึ้น ให้เหมือนเป็นบริษัทมหาชนที่ผู้ถือหุ้นมีความหลากหลาย ไม่อยู่ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง แน่นอน คนอาจจะมองว่าพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคของตระกูลชินวัตรหรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ พวกผมออกมาเคลื่อนไหวชินวัตรมาห้ามอะไรพวกผมได้ล่ะวันนี้ แต่พรรคเพื่อไทยต้องพุ่งไปตรงนั้น เรามีความคิดเรื่องการปฏิรูปพรรคอยู่แล้ว เพียงแต่วันนี้ยังทำไม่ได้ ไปเรียกประชุมก็ติดคุกกันหมดสิ

การปฏิรูปมันไปได้ทั้งนั้น อะไรที่ทำแล้วประชาชนเกิดความนิยม เราต้องทำ เราจะรู้ว่าผู้สมัครของเรา ประชาชนรัก ประชาชนนิยมแค่ไหน เราก็ต้องให้เขาเลือก ไม่ใช่เราเลือกไป ถึงเวลาเขายี้ มันเปลืองค่าใช้จ่ายพรรคด้วย ถ้าเราทำไพรมารี่โหวต เรารู้เลยว่านี่คือคนที่ประชาชนเอา ส่งไปเลือกตั้งก็ชนะ การทำไพรมารี่โหวตเป็นเรื่องที่ดีกับพรรค แล้วทำไมจะไม่ทำ แต่ตอนนี้มันค่อยๆ ไป ทำอะไรมากเดี๋ยวสีเขียวก็บุกพรรคคุณ

คุณวิเคราะห์การเมืองหลังจากนี้อย่างไร
ในมุมการเมือง ประชาชนอดทนกับ คสช. มานานแล้ว ใช้คำนี้ก่อน แม้แต่พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามา บริหารมาสองปีก็หืดแล้วนะ มันคือครึ่งชีวิตทางการเมือง เพราะฉะนั้นจากนี้ไป คสช. จะอยู่ได้ไม่ได้ มันอยู่ที่ความดีที่เขาทำ ถ้าเขาทำความดีคนก็ทนได้ แต่สองปีนี่ ประชาชนเอือมแล้ว ถามผม ผมก็รู้สึกแบบที่ผมพูด เอือม เพราะฉะนั้นวันที่ 7 สิงหาคมที่จะลงประชามติ เท่ากับเขาอยู่มา 2 ปีกว่านะจาก 22 พฤษภาคม 2557 ประชามติผ่าน ไม่ผ่าน มันมีผลมาก ถ้าผ่าน การเมืองก็ไปแบบที่เขาออกแบบ แต่ถ้าไม่ผ่าน เขาจะทำแบบที่เขาอยากจะทำ ไปตั้งนั่นตั้งนี่ กูจะอยู่ของกูแบบนี้ ผมไม่เชื่อว่ามันจะง่ายแบบนั้น ทนมาขนาดนี้แล้ว ถึงเวลามันปึงขึ้นมา จะมาทำแบบเดิม คุณยอมเหรอ

เกรงกันว่าจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคต
มันขึ้นอยู่กับ คสช. เองว่าเขาตระหนักขนาดไหน ผมเชื่อว่าเขาก็รู้ ถ้าคุณต้มน้ำโดยไม่มีรูออก ถึงเวลามันเดือด แรงดันก็ทำให้หม้อระเบิด ก็ต้องถามว่าคุณเปิดรูออกอะไรไว้บ้าง การเมืองก็แค่นั้น มันไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินคิด
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘PEN’ รณรงค์ปล่อย ‘สมยศ’ ในวันครบรอบ 5 ปีการจองจำ

$
0
0

สมาคมนักเขียนสากลเรียกร้อง 1.ปล่อย สมยศ โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากการเป็นบก.ที่แสดงออกอย่างสันติ 2.ให้สมยศอ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์ในเรือนจำ 3.ให้เรือนจำดูแลสุขภาพ 4.รัฐควรรีบแก้ไขมาตรา 112

วันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบ 5 ปีการคุมขัง การเสียอิสรภาพของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในวาระนี้สมาคมนักเขียนสากล หรือ PEN International เรียกร้องให้ปล่อยสมยศโดยทันที การรณรงศ์ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ PEN ติดตามและทำการรณรงศ์เพื่อสนับสนุนและต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในกรณีนักเขียนหลายร้อยคนทั่วโลกถูกจองจำ ถูกคุกคาม ถูกข่มเหง ถูกทำร้าย ถูกผลักออกจากประเทศบ้านเกิด และถูกสังหาร เนื่องจากการเขียนหรือการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติในรูปแบบอื่นๆ

สมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิกรรมกร และบรรณาธิการของนิตยสาร Voice of Taksin ถูกจับวันที่ 30 เมษายน 2554 และถูกตั้งข้อหาการละเมิดมาตรา 112 ในฐานะเป็นบรรณาธิการที่แพร่บทความ 2 ชิ้นที่เข้าข่ายการหมิ่น ในวันที่ 23 มกราคม 2556 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิด สั่งจำคุก 10 ปี (และอีก 1 ปี จากคดีเก่า) ในวันที่ 10 กันยายน 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ตอนนี้รอผลการตัดสินโดยศาลฎีกา ตลอดช่วงการต่อสู้คดีถึงปัจจุบันนี้ สมยศขอประกันตัวทั้งหมด 16 ครั้ง แต่ศาลกลับปฏิเสธทุกครั้ง แม้ว่าเป็นสิทธิพื้นฐานของจำเลยในการต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรม


ในครั้งนี้ PEN ยังมีข้อเรียกร้อง 4 ข้อสำหรับกรณีนี้ ประกอบด้วย

1. ปล่อย สมยศ พฤกษาเกษมสุข โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข เนื่องจากการเป็นบรรณาธิการและเป็นการแสดงออกโดยสันติ ตามที่ได้รับการรับรองไว้ในมาตรา 19 ของ ICCPR ที่ประเทศไทยเป็นภาคีรัฐ

2. เรียกร้องขอให้สมยศได้เข้าถึงและอ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์โดยไม่มีขอจำกัด

3. ย้ำถึงการกังวลต่อความปลอดภัยของสมยศ และขอให้รัฐให้การดูแลสุขภาพตอนอยู่ในเรือนจำ

4. ย้ำถึงการกังวลอย่างสูงต่อการขยายการใช้มาตรา 112 ออกไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้การแสดงออกอย่างสันติกลายเป็นอาชญากรรม และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยรีบแก้ไขมาตรา 112 เพื่อทำให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบของรัฐที่จะต้องปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี


PEN ขอให้ผู้ที่ห่วงใยในเสรีภาพในการแสดงออกได้ร่วมการรณรงศ์ครั้งนี้โดย 1. เขียนจดหมายเรียกร้องถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะทหารคสช. ในปัจจุบัน รวมถึงเขียนถึงผู้บังคับบัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ให้รัฐบาลและเรือนจำดำเนินการตามข้อเรียกร้องใน 4 ประเด็นข้างต้น 2. เขียนจดหมายและโปสต์การ์ดทักท้ายและให้กำลังใจถึงสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่อยู่ในเรือนจำ 3. เขียนบทความและจัดกิกรรมตามประเทศต่างๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกเกี่ยวกับสถานการณ์การจำกัดสิทธิเสรีภาพในประเทศไทย


ดูข้อมูลเพิ่มเติมและหาทางร่วมในการรณรงศ์ที่นี่: Thailand: Five Years On, Free Editor Somyot Prueksakasemsuk


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: เปิดปมดัน 'โรงไฟฟ้าถ่านหินปะนาเระ' อ้างมั่นคง-ทำเลดี-ที่เอกชน-คนค้านน้อย

$
0
0
รายงานจาก TCIJ ระบุ กมธ.พลังงาน สนช. เสนอสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ใช้งบ 7 หมื่นล้านบาท  อ้างเพื่อสำรอง หากโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพาเดินหน้าต่อไม่ได้  เกิดคำถามเอาถ่านหินทำไม ? ทั้งที่จังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่ที่รัฐออกนโยบายสนับสนุนโรงไฟฟ้าทดแทนมากที่สุด ภาพรวมพบศักยภาพพลังงานทดแทนภาคใต้มีสูง แต่รัฐบาล คสช. กลับเดินหน้าโครงการด้วยกรอบคิด กฟผ.

 
2 พ.ค. 2559 เว็บไซต์ TCIJรายงานว่าเป็นเรื่องที่เรียกเสียงคัดค้านทันที  เมื่อคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  เสนอให้รัฐบาลสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ณ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี โดยข้อเสนอนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม สนช.ไปแล้วเมื่อปลายเดือน มี.ค. 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช. ให้เหตุผลว่าปัจจุบันภาคใต้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าประมาณ 3,122 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นกำลังการผลิตที่พึ่งพาได้เพียง 2,473 เมกะวัตต์ รับจากภาคกลางประมาณ 600 เมกะวัตต์ และรับซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียอีก 300 เมกะวัตต์ รวมเป็นกำลังการผลิตที่สามารถพึ่งพาได้ทั้งหมด 3,373 เมกะวัตต์ ขณะที่ความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้จากข้อมูลเมื่อเดือน เม.ย. 2558 อยู่ที่ 2,500 เมกะวัตต์ และข้อมูลพยากรณ์ในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 3,218 เมกะวัตต์ ดังนั้นการพัฒนาโครงการไฟฟ้าเพื่อให้สามารถเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 เป็นสิ่งที่ควรรีบพิจารณาและดำเนินการเร่งด่วน เพื่อป้องกันการขาดแคลนพลังงาน
 
 
ภูมิประเทศ ของ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ติดทะเล 2 ด้าน ทั้งทิศเหนือและทิศตะวันออก (ที่มาภาพ: Google Map)
 

ปะนาเระ เหนือกว่าที่อื่น

 
แต่จากสถานการณ์การชุมนุมคัดค้านต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่ายหินเทพา ที่อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุตามแผน PDP 2015 ได้นั้น ศอ.บต. จึงเตรียมการศึกษาศักยภาพเบื้องต้น สำหรับการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เพื่อเป็นแบบแผนทดแทนเพิ่มเติมกรณีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และโรงไฟฟ้าถ่ายหินเทพาไม่สามารถพัฒนาได้ตามกำหนด เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งสร้างอาชีพและรายได้แก่ชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นสามารถสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ที่ดีต่อการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดต้นแบบสำหรับการเรียนรู้และการยอมรับในพื้นที่อื่น ๆ อีกทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้แผนในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ จ.ปัตตานี นี้ยังคงปฎิบัติตามเกณฑ์ของแผน PDP 2015 ในส่วนของ 1,000 เมกะวัตต์ ที่ยังไม่ได้กำหนดพื้นที่เพื่อการผลิตในปี 2577  โดยรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการโรงไฟฟ้าปะนาเระนั้น  เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ขนาดกำลังติดตั้ง 1,000 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินซับบิทูมินัส หรือ บิทูมินัส นำเข้าจากต่างประเทศ ต้นทุนโครงการประมาณ 70,000 ล้านบาท ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าประมาณ 2.67 บาทต่อหน่วย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบสถานที่ตั้งและท่าเทียบเรือระหว่าง โรงไฟฟ้ากระบี่-เทพา และปะนาเระ พบว่าท่าเทียบเรือที่ยื่นลงไปในทะเลให้ได้ร่องน้ำลึก 6-7 ม. ใช้เรือบรรทุกได้ 13,000 ตันได้นั้น โรงไฟฟ้ากระบี่มีระยะทางที่ 6.7 กม. โรงไฟฟ้าเทพามีระยะทางที่ 3.00 กม. และโรงไฟฟ้าปะนาเระมีระยะทางที่ 3.58 กม. ส่วนระยะทางท่าเทียบเรือที่ยื่นลงไปในทะเลให้ได้ร่องน้ำลึก 16 ม. ที่ใช้เรือบรรทุกได้ 80,000-100,000 ตัน นั้น โรงไฟฟ้ากระบี่ไม่มีท่าเทียบเรือดังกล่าว โรงไฟฟ้าเทพามีระยะทางที่ 15 กม. และโรงไฟฟ้าปะนาเระมีระยะทางที่ 4.96 กม. ซึ่งเมื่อสรุปด้านความสิ้นเปลืองในการขนส่งถ่านหินนั้นพบว่า โรงไฟฟ้ากระบี่มีความสิ้นเปลืองมากที่สุด ตามมาด้วยโรงไฟฟ้าเทพา และโรงไฟฟ้าปะนาเระมีความสิ้นเปลืองน้อยที่สุด
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images