Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

จม.ถึงหอศิลป์กวางจูฉบับที่ 2 ขอให้ติดตั้งจดหมายประท้วงคู่ผลงานศิลปะยุค กปปส.

$
0
0

กรณีหอศิลป์กวางจู แสดงผลงานศิลปะยุค กปปส. ในงานรำลึก 36 ปีสลายการชุมนุมกวางจูปี 1980 ล่าสุดบุคคลหลายวงการยื่นจดหมายเปิดผนึก กวป. ฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ ชี้แจงบริบทการเมืองไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปิน Art Lane และ กปปส. และเรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธี คุณาวิชยานนท์ ที่หอศิลป์กวางจู

ด้านอำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane นึกว่าเป็นการกดดันให้ถอดงานแสดง จึงทำจดหมายเข้าชื่อกันเพื่อสนับสนุนสุธี ยืนยันว่าสุธีไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานของสุธีไม่เคยมีความบกพร่อง เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด  'Thai Uprising' ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)

 

24 พ.ค. 2559 กรณีที่สุธี คุณาวิชยานนท์ อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำผลงานศิลปะไปแสดงที่หอศิลปะเมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการซึ่งมีผลงานของศิลปิน 5 ประเทศ มีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีเป็นศิลปะในช่วงการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556-2557 ซึ่งต่อต้านการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ และปูทางไปสู่การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 และต่อมามีบุคคลหลายวงการในประเทศไทยลงลายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกในนาม "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" หรือ กวป. ทักท้วงลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขานั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค. สุธี ได้เขียนจดหมายชี้แจงไปถึงภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าวชี้แจงว่าเขาและคนไทยหลายล้านคนใช้สิทธิทางประชาธิปไตยด้วยการประท้วงบนท้องถนน ต่อต้านการใช้อำนาจบิดเบือนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งทำให้เกิดรัฐประหารขึ้น กิจกรรมและความเชื่อของเขามีความเที่ยงตรง เทียบเท่ากับความทะเยอทะยานของผู้คนที่เข้าร่วมในการลุกฮือจลาจลกวางจู เมื่อปี 1980 ย้ำคนใส่ร้ายเป็นพวกยิ่งลักษณ์ เป็นกลุ่มคนที่ต้องรับผิดชอบต่อการเกิดรัฐทหารปัจจุบัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

หอจดหมายเหตุ 518 ที่เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ เป็นสถานที่จัดแสดงข้อมูล ภาพ และวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดแสดงข้อมูลการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ของเอเชียด้วย (คลิกเพื่อชมภาพหอจดหมายเหตุ 518)

 

กวป. ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 เรียกร้องพิมพ์จดหมายประท้วงติดคู่ผลงานของสุธี

ล่าสุด "กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" ได้ออกจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 ถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีใต้ โดยชี้แจงบริบททางการเมืองในประเทศไทย ความร่วมมือระหว่างศิลปินที่จัดกิจกรรมอาร์ตเลนและ กปปส. นอกจากนี้เรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจู กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ยังเรียกร้องพิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู และให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดยหอศิลปะวัฒนธรรมเมืองกวางจู รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 "เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้" โดยจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 รายละเอียดอยู่ที่ท้ายข่าว

 

หัวหน้ากลุ่ม Art Lane ล่าชื่อหนุนสุธี ยันไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร ผลงานไม่เคยบกพร่อง

อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้ากลุ่ม Art Lane (คนที่ 3 จากซ้าย) ร่วมแถลงข่าวจัดงาน Art lane #9 อิน แปซิฟิก ซิตี้ คลับ เมื่อ 29 เมษายน 2559 โดยเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อประมูลผลงานของศิลปิน Art Lane ระหว่างวันที่ 12-17 พฤษภาคม เพื่อหารายได้ก่อสร้างอาคารเรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ (ที่มา: แฟ้มภาพ/มติชนออนไลน์)

 

อนึ่ง มติชนออนไลน์รายงานเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ว่า เฟซบุ๊กของ ชลิต นาคพะวัน อาชีพศิลปิน และนิติกร กรัยวิเชียร อาชีพช่างภาพ ได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งซึ่งลงชื่อว่าเป็นของ อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ หัวหน้าศิลปินกลุ่ม Art Lane และยังมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผู้ร่วมกันลงชื่อท้ายจดหมายดังกล่าวเพื่อยืนยันว่าประวัติการทำงานของสุธีนั้น "ไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้" โดยจดหมายเปิดผนึกที่ลงชื่อโดยอำมฤทธิ์ อยู่ที่ท้ายข่าว

มติชนออนไลน์ ระบุว่า มีผู้ร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมากในหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย ศิลปิน นางแบบ ผู้กำกับการแสดง ช่างภาพ บรรณาธิการนิตยสาร และผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น รศ.ดร.สุภาวี ศิรินคราภรณ์ อาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร, รศ.สิทธิพร ภิรมย์รื่น อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร, ลูกปลิว จันทร์พุดซา อาจารย์คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร, อัญชลี ไพรีรักษ์ สื่อมวลชน, เบญญา นันทขว้าง เจ้าของธุรกิจส่วนตัว ,ทราย-วรรณพร ฉิมบรรจง ศิลปินและอดีตนักแสดง จี๊ด-สิกขา ฐิตาระดิษฐ์ (แสงทอง เกตุอู่ทอง) นางแบบชื่อดัง รวมถึงนนทรีย์ นิมิบุตร อาชีพผู้กำกับภาพยนตร์

 

อ้างมีการกดดันให้ถอดงานสุธี - ขณะที่ข้อเรียกร้อง กวป. แค่ขอให้หอศิลป์กวางจูนำเสนอเสียงที่แตกต่าง

ทั้งนี้ในจดหมายของกลุ่ม Art Lane ยังระบุว่ากลุ่ม กวป. "พยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง" อย่างไรก็ตามเมื่อตรวจสอบจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ทั้ง ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ไม่มีข้อเรียกร้องให้ถอดงานของสุธีออกจากการแสดงแต่อย่างใด โดยในจดหมาย กวป. ฉบับที่ 1 เป็นการระบุข้อเรียกร้องว่าเป็นการถามภัณฑารักษ์ของนิทรรศการและคณะกรรมการ "ถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการ" และย้ำว่า "เชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู"

ส่วนจดหมายเปิดผนึกของ กวป. ฉบับที่ 2 เรียกร้องให้พิมพ์จดหมายเปิดผนึกของ กวป. ติดตั้งคู่กับผลงานแสดงของสุธีที่หอศิลปะเมืองกวางจู เรียกร้องต่อภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของหอศิลปะเมืองกวางจูกล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำผลงานของสุธีมาจัดแสดง และเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธี และผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์ โดยให้หอศิลปะเมืองกวางจูรวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพื่อให้คนรุ่นหลังเป็นผู้ตัดสินการกระทำของทุกฝ่าย

อนึ่งก่อนหน้านี้ มานิต ศรีวานิชภูมิ และวสันต์ สิทธิเขตต์ ทำหนังสือถึงภัณฑารักษ์ที่กวางจู เพื่อสนับสนุนการแสดงงาน 'สุธี คุณาวิชยานนท์' ว่าเหมาะสม-สะท้อนภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยโดยศิลปินไทย พร้อมเรียกร้องภัณฑารักษ์ให้มีสติและอดทนต่อการ "ใส่ร้ายป้ายสี" "ทำลายเกียรติยศและชื่อเสียง" ของสุธี "ผู้ต่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาโดยตลอด" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

000

จดหมายเปิดผนึกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ฉบับที่ 2

เรียนคุณลิม จองยัง ภัณฑารักษ์ และผู้อำนวยการหอศิลปะเมืองกวางจู
สำเนาเรียน มูลนิธิ May 18 Memorial Foundation

พวกเราขอขอบคุณที่ท่านสนองตอบต่อจดหมายเปิดผนึกอย่างรวดเร็ว จดหมายตอบของคุณแสดงให้เห็นความตั้งใจจริงที่จะสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างประชาชนไทยและพลเมืองชาวกวางจูตลอดจนประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย พวกเราหวังว่าจดหมายตอบโต้ของพวกเราจะทำให้เกิดความสนใจจากสาธารณชนอันเกิดจากกรณีการเข้าร่วมแสดงงานของศิลปินสุธี คุณาวิชยานนท์ ณ หอศิลปะเมืองกวางจู (Gwangju Museum of Art: GMA) เพื่อจะเรียนรู้ถึงความทุกข์ยากของประชาชนระหว่างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าพวกเรายืนอยู่ได้ด้วยมรดกความเสียสละของพวกเขาเหล่านั้น

พวกเราได้สื่อสารไปยังเพื่อนสมาชิกกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) เกี่ยวกับจดหมายตอบของคุณ และในนามของ กวป. พวกเรามีข้อเรียกร้องดังนี้

1. เพื่อทำความเข้าใจในบริบทงานของสุธี พวกเราเรียกร้องให้หอศิลปเมืองกวางจูติดตั้งจดหมายเปิดผนึกของเราคู่ไปกับผลงานของสุธี พวกเรายืนยันหลักการที่ว่าเราเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกของศิลปิน แต่จากพฤติการณ์การเข้าร่วมกับกลุ่ม Art Lane (อาร์ตเลน) ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”  ( กปปส.) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการล้มล้างประชาธิปไตยไทย  หอศิลปเมืองกวางจูควรจะเผยแพร่ข้อมูลและเสียงที่แตกต่างออกจากผลงานของสุธี

2.  พวกเราใคร่ขออธิบายภูมิหลังการร่วมมือระหว่าง อาร์ตเลนและกปปส. และการใช้ความรุนแรงและทำลายล้างประชาธิปไตยในประเทศไทย

ตามข้อเท็จจริงที่ว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่งในเดือนพฤศจิกายน 2556 ทำให้ประชาชนไม่พอใจอย่างยิ่งและออกมาต่อต้านทั้งฝ่าย กปสส. และ นปช. บางส่วน และประชาชนทั่วไปที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดต่างพากันออกมาเรียกร้อง ประท้วงรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ยุบสภาในวันที่ 10 ธันวาคม 2556 เป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนเพื่อจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 นั่นถือเป็นแนวทางอารยะและสันติสุขในการแก้ปัญหาประเทศ หากแต่เป็นประเด็นสำคัญที่สุธีและผู้สนับสนุนของเขาไม่เคยกล่าวถึงเลย

แทนที่จะยอมรับการยุบสภาและเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอันเป็นวิถีประชาธิปไตย บรรดา กปปส. และผู้สนับสนุนต่างปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีรัฐบาลพระราชทานซึ่งเป็นการการะทำที่ผิดรัฐธรรมนูญ ไม่เพียงแต่เท่านั้น ฝ่าย กปปส. ยังเร่งเร้าให้ผู้สนับสนุนออกมาปิดถนน ปิดสถานที่ราชการ และปิดหน่วยเลือกตั้งในทุกวิธีการที่ทำได้ ในนามการรณรงค์ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” ซึ่งปรากฏชัดในผลงานของสุธีและผู้สนับสนุนของเขา

ผลของการกระทำดังกล่าวจึงเกิดความรุนแรงบนท้องถนนในหลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร ภายใต้คำขวัญ ‘Shut Down Bangkok’ ทำให้ฝ่าย กปปส. เป็นผู้ได้เปรียบ และเป็นการรุกฝ่ายรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ตลอดจนผู้สนับสนุนให้เหลือพื้นที่ไม่มากนัก

นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ชี้ว่า ขบวนการ กปปส. เป็นเครือข่ายที่กระทำการร่วมกันและผลักดันให้เกิดวิกฤตจนเปิดทางให้ทหารและกองทัพเข้าแทรกแซง ซึ่งพวกเราสามารถเสนอผลงานวิชาการจำนวนมากในภาษาอังกฤษที่สนับสนุนข้อสรุปนี้  เพื่อให้สาธารณชนได้เข้าใจบริบทและสถานการณ์ทางการเมืองไทยที่ซับซ้อนดียิ่งขึ้น

ความรุนแรงบนท้องถนนที่สำคัญที่สุดกรณีหนึ่งก็คือกรณีการปะทะกันหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเกิดกรณีฝ่าย กปปส. กล่าวหาว่า ผู้ชุมนุม นปช. กรีดทำลายสัญลักษณ์พ่อขุนรามคำแหงและเป็นการกระทำที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ฝ่าย กปปส. เรียกร้องระดมคนให้มาปะทะกับฝ่าย นปช. ที่มาชุมนุม ณ รัชมังคลากีฬาสถานใกล้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง แม้จะอยู่ห่างไกลจากเวทีของฝ่าย กปปส. แต่พวกเขาก็ระดมคนมาปะทะจนเกิดผู้เสียชีวิต 5 ราย  ในจำนวนนี้เป็น นปช. 3 ราย เป็นฝ่าย กปปส. หนึ่งราย และมีผู้ติดในซากรถที่ถูกเผาหนึ่งราย มีผู้บาดเจ็บกว่า 68 ราย

กรณีการปะทะหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงอย่างต่อเนื่องบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครนับแต่กรณีสลายการชุมนุมเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

นับจากกรณีปะทะที่ถนนรามคำแหงมีผู้เสียชีวิตกว่า 25 ราย ในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เสียชีวิต 3 นายจากความพยายามล้มการเลือกตั้งของฝ่าย กปปส. มีผู้บาดเจ็บรวมกันกว่า 782 ราย ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่ตั้งต้นจากฝ่ายนิยมความรุนแรงของ กปปส.

3. พวกเราเรียกร้องให้ภัณฑารักษ์และกรรมการบริหารของ GMA ได้กล่าวขอโทษต่อความไม่เข้าใจในเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยจนนำไปสู่การเชื้อเชิญสุธี คุณาวิชานนท์เข้าร่วมการรำลึกการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเมืองกวางจู โดยกระทำเป็นภาษาเกาหลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

4. พวกเราเรียกร้องให้จัดพิมพ์จดหมายเปิดผนึก จดหมายโต้ตอบ ทั้งฝ่าย กวป. สุธีและผู้สนับสนุน ตลอดจนจดหมายของภัณฑารักษ์โดย GMA รวบรวมไว้ในหอจดหมายเหตุ 518 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และคนรุ่นหลังจะเป็นผู้ตัดสินการกระทำของเราในวันนี้

ด้วยความสมานฉันท์
กลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)

ผู้ลงชื่อท้ายจดหมาย กวป. ฉบับที่ 2

1. Abhichon Rattanabhayon  Media studio 2. Akara Pacchakkhaphati  Film maker 3. Angkrit Ajchariyasophon  Artist/ gallerist 4. Anocha Suwichakornpong  Film maker 5. Anurak Tanyapalit Freelance 6. Anusorn Tipayanon   Writer 7. Apichatpong Weerasethakul     Film maker 8. Aranya SiriphonFaculty of Social Sciences, Chiang Mai University 9. Ariya Pacharawan Graphic designer 10. Ariya Theprangsimankul Theatre facilitator

11. Arjin ThongyuukongThammasat University 12. ArjinJonathan Arjinkit     Artist/ lecturer, Rajanagarindra Rajabhat University 13. Arnont Nongyao   Artist 14. Arthit MulsarnFreelance 15. Arthit Suriyawongkul Activist 16. Artit Srijan Lecturer, Phranakorn Rajabhat University 17. Asira Panaram Content Editor 18. Athapol Anunthavorasakul  Lecturer, Chulalongkorn University 19. Atikom Mukdaprakorn   Artist/ cultural activist 20. Attaphol Sudawannasuk Artist

21. Ben Busarakamwong   Cultural activist 22. Benjamas Boonyarit Student, activist 23. Benjamas Winitchakul Architect 24. Bordin TheparatFilm critic 25. Cattleya Paosrijaroen   Film maker 26. Chai Siris    Film maker 27. Chaiwat WiansantiaArtist 28. Chaiyan Rajchagool Scholar in residence, Faculty of Political and Social Sciences, University of Phayao 29. Chakkrit Chimnok   Artist 30. Chaloemkiat SaeyongFilm maker

31. Chanan YodhongPhD Candidate, Thammasat      University 32. Chanin sriyoyod Lecturer, Arts and design, Chaiyaphum Rajabhat University 33. Chayanin TiangpitayagornFilm critic 34. Chettapat Kueankaeo   Theater director 35. Chiranuch Premchaiporn   Journalist, director of Prachatai 36. Chontida Auikool    Thammasat University 37. Chotchuang MeepomLecture  38. Chulayarnnon Siriphol Artist/ film maker 39. Chuwat Rerksirisuk Editor in Chief of Prachatai  40. Chuveath DethdittharakInstitute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University

41. Danaya Chulphuthiphong  Photographer/ film maker 42. Ded Chongmankong   Photographer 43. Dollapak SuwanpanyaActivist 44. Dontree Siribunjongsak  Musician 45. Duangrit Bunnag Architect 46. Duangrurthai Asanachatang   Editor 47. Ekanop SuwannakosumGraphic designer/ lecturer, Chiang Mai University 48. Ekkalak NabthuesukLecturer 49. Farida Jiraphan   Performance artist 50. Foyfon Chaimongkol PhD Candidate, Burapha University

51. Gandhi Wasuvitchayagit  Writer 52. Ina PhuyuthanonLecturer, Faculty of Fine arts, Srinakharinwiriot university 53. Inthira Vittayasomboon   Cultural activist 54. Janit Feangfu    Lecturer, Chiang Mai University 55. Jarunun Phantachat Theatre director 56. Jirasak Monkiatkul   Interior designer 57. Jirat Prasertsup   Cultural activist  58. Jirat Ratthawongjirakul Gallerist 59. Judha Suwanmongkol Independent art writer/ researcher 60. Kahat Sujipisut    Artist

61. Kasem Phenpinant Department of Philosophy, Chulalongkorn University  62. Kampanart Sangsorn Illustrator 63. Kampol ChampapanHistorian 64. Kanteera Sanguantung 65. Karnt Thassanaphak Poet / documentary photographer 66. Kasem PhenpinantLecturer, Department of Philosophy, Chulalongkorn University 67. Kasiti Sangkul Film director 68. Kavintron Sangsakron   Performance artist 69. Keawalee Warutkomain  Art director 70. Kengkij KitirianglarpLecturer, Chiang Mai University

71. Kessarin Tiawsakul 72. Kittima Chareeprasit   Curator 73. Komluck Chaiya Lecturer,Phranakhorn Si Ayutthaya, Rajabhat University 74. Komtham Domrongchareon Lecturer, Silpakorn University 75. Kongkrit Traiyawong   Lecturer, Walailak University 76. Korada Srithongkird  77. Kornkrit Jianpinidnan   Artist 78. Kornrapin Mesiyahdol Lecturer, Chiang Mai University 79. Kriangkrai Patomnetikul Graphic designer 80. Krit Lualamai     Writer

81. Krittawit RimthepartipWriter 82. Ladapha Sophonkunkit  Performance artist 83. Ladda Kongdach   Performance artist 84. Lakkana Punwichai   Writer  85. Latthapon Korkiatarkul   Artist 86. Lyla Phimanrat    Gallerist 87. Makha Sanewong Na Ayutthaya Artist 88. Mit Jai Inn   Artist 89. Miti Ruangkritya   Artist 90. Mo Jirachaisakul   Artist

91. Montri Toemsombat   Artist 92. Nakin Poonsri Gardener 93. Namfon Udomlertlak   Film maker 94. Narawan Pathomvat    Researcher 95. Nataya U-Kong           Lecturer, Silpakorn University  96. Nawapooh Sae-tang   Critic 97. Nithinand Yorsaengrat   Journalist 98. Nok Paksanavin   Writer 99. Nontawat NumbenchapolFilm maker 100. Nopawat Likitwong   Sound artist/ sound engineer

101. Noraset Vaisayakul   Artist 102. Nut SawasdeeArtist 103. O Techadilok   Graphic designer 104. Orapakk Ruttphatai  PhD Candidate, Social Science, Chiang Mai University 105. Orawan Arunrak   Artist 106. Ornanong Thaisriwong Performance artist 107. Pakavadi VeerapasapongTranslator, writer 108. Pandit ChanrochanakitLecturer, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University 109. Panithita Kiatsupimon Graphic designer 110. Panu Boonpipattanapong  Writer

111. Panu Trivej Lecturer, Kasetsart University 112. Paphonsak La-or   Artist 113. Parinot Kunakornwong   Artist 114. Pasakorn Intoo-Marn   Performance artist/ lecturer, Mahidol University 115. Patara PadungsuntararukThaksin University, Songkhla 116. Pathompon Tesprateep  Artist 117. Pattaranan TakkanonLecturer, Faculty of Architecture, Kasetsart University 118. Pavinee Samakkabutr   Performance artist 119. Pawaluk Suraswadi   Performance artist 120. Pawin Ramingwong   Artist/ lecturer, Phayao University

121. Penwadee Nophaket Manont Indendent curator/ cultural worker  122. Phonchai Iamnuy Graphic designer 123. Phu Kra-dart Writer 124. Pichaiwat Saengprapan  Artist/ lecturer, Srinakarinwirot University 125. Pimsiri Petchnamrob    Activist 126. Pinkaew Laungaramsri,Lecturer, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 127. Pisit Darnwirunhawanit Freelance 128. Pisitakun Kuantalaeng  Artist 129. Pitch PongsawatLecturer, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University 130. Piyarat Piyapongwiwat   Artist

131. Pongjit  Saphakhun   Performance artist 132. Potjawan Panjinda   Gallerist 133. Prach PanchakunathornPhD candidate, Department of Philosophy, University of Toronto 134. Prakiat Khunpol Poet/ writer 135. Prapat Jiwanrangsan   Artist 136. Pratompong Namjaidee  Artist 137. Puangthong PawakapanFaculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 138. Ratapong Pinyosophon Playwright 139. Ratchapoom BoonbunchachokeFilm maker 140. Rattanai Bampenyou Music teacher/ historian

141. Rittipong Mahapetch Activist 142. Rodjaraeg Wattanapanit  Cultural activist 143. Ruangsak Anuwatwimon  Artist 144. Sakkarin suttisarn/AssistantLecturer, Faculty of Finearts,   Chiangmai University  145. Santiphap inkong-ngamFilm maker/ lecturer, Chiang Mai University 146. Saran SamantaratLecturer, Department of Landscape, Faculty of Architecture Kasetsart University 147. Sathit Sattarasart Artist 148. Sawit Prasertphan   Artist/ lecturer, Chiang Mai University 149. Sina Wittayawiroj   Artist 150. Sirawish BoonsriArt Teacher

151. Sirichoke Lertyaso  Photographer/ writer 152. Siripoj Laomanacharoen  Writer  153. Somchai Saejiu Creative director 154. Sompoch AungArtist 155.Sompong LeerasiriArtist 156. Songkran SomchandraLecturer, Chiangmai Rajabhat University 157. Sorayut  Aiemueayut  Lecturer, Chiang Mai University 158. Suchada Suwannasorn Film producer 159. Suchart Swasdsri    Writer  160. Sukanya Seskhuntod   Cultural activist

161. Supachai AreerungruangLecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 162. Sutthirat Supaparinya   Artist 163. Tada Hengsapkul   Artist 164. Takerng PattanopasArtist 165. Tanaphon Inthong Artist 166. Tanate Makkasakul  Designer 167. Tanyanun Aoiaree Graphic designer 168.Techit Jiropaskosol Designer/ lecturer 169. Teeramon Buangam 170. Teerapon Anmai Lecturer/ writer

171. Teerapong Suthiwarapirak  Writer 172. Teerawat Mulvilai   Performance artist 173. Tepwuit BuatoomArtist 174. Thanapas DejpawuttikulDoctoral Researcher, Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University 175. Thanapol Virulhakul Choreographer 176. Thanavi Chotpradit Lecturer, Silpakorn University 177. Thanet AwsinsiriArtist/ lecturer 178. Thanom Chapakdee  Lecturer, Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University 179. Tharit Tothong    Critic 180. Thasnai Sethaseree   Artist/ lecturer, Chiang Mai University

181. Thatchatham SilsupanComposer/ lecturer, Chiang Mai University 182. Thawiphat Praengoen   Artist/ cultural activist 183. Thida Plitpholkarnpim Film distributor/ Writer 184. Thitibodee Rungteerawattananon   Artist 185. Torwong Salwala Media Content Creator 186. Tossapon TassanakunlapanLecturer, Faculty of Law, Chiang Mai University 187. Uthis Haemamool   Writer 188. Uthit Attimana    Artist/ lecturer, Chiang Mai University 189. Verita SriratanaLecturer, Faculty of Arts, Chulalongkorn University 190. Vichapon Diloksambandh  Performance artist

191. Viengrat NethipoFaculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University  192. Vipash Purichanont PhD candidate, Department of Visual Cultures, Goldsmiths, University of London 193. Vorakorn Ruetaivanichkul  Film maker 194. Wachara Kanha Film maker 195. Warasinee ChansawangGallerist 196. Wasu wanrayangkoon  Performance artist 197. Wattakorn Kawinkham Artist 198. Weroon Wuthirithakul   Cultural activist 199. Wichanon Somumjarn   Film maker 200. Wichaya Artamat Theatre director

201. Wirapa Angkoontassaniyarat Editor 202. Wiwat Lertwiwatwongsa  Film critic 203. Worathep AkkabootaraIndependent curator/ writer 204. Yingsiwat Yamolyong   Film maker 205. Yingyod YenarkarnArtist 206. Yukti MukdawijitraLecturer, Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University 207. Yuthchack DamsuwanCreative director 208, Yutthana Darakron   Cultural activist 209. Yutthana MeesongCreative director

000

จดหมายเปิดผนึกของหัวหน้ากลุ่ม Art Lane

"ตามที่ได้มีกลุ่มนักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.) ทำจดหมายเปิดผนึก ลงนามโดยบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ รวม 118 ชื่อ ส่งถึงภัณฑารักษ์ชาวเกาหลีของพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ให้ทบทวนการนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ออกแสดงในนิทรรศการ The Truth_to Turn It Over

โดยมีเนื้อหาชี้นำและปลุกปั่นว่าเป็นศิลปินที่สนับสนุนเผด็จการทหารให้ออกมายึดอำนาจ ประชาธิปไตยไปจากประชาชน คนไทย และพยายามกดดันให้ภัณฑารักษ์ ชาวเกาหลี ถอดงานออกจากการแสดง ที่ เมืองกวางจู ประเทศเกาหลีใต้

เราขอยืนยันว่าจากประวัติการทำงานของ รศ. สุธี นั้นไม่มีแนวทางและแนวความคิดในการสนับสนุนเผด็จการทหารแต่อย่างใด รวมทั้งในประวัติการแสดงงานศิลปะของ รศ.สุธี ไม่เคยมีความบกพร่อง รวมทั้งมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้

จึงใคร่ขอความยุติธรรมให้กับศิลปินชาวไทย โดยร่วมกันลงชื่อสนับสนุน รศ.สุธี ในการแสดงผลงานที่กวางจู และคัดค้านการกระทำที่ขัดต่อความเป็นจริงในครั้งนี้

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา

อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ
หัวหน้ากลุ่ม Art Lane"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรวิชาชีพสื่อหารือกรณีถ่ายทอดสด 'ยิงตัวตาย' ยันทำตามหลักรายงานข่าว

$
0
0
องค์กรวิชาชีพสื่อ ประชุมร่วมตัวแทนกอง บ.ก.-สื่อทีวี หารือกรณีถ่ายทอดสดอาจารย์มหาวิทยาลัยยิงตัวตาย ชี้รายงานด้วยความระมัดระวังแล้ว แต่ก็มีข้อผิดพลาดจากสถานการณ์ที่แปรผัน-เหนือการควบคุม ทำให้เผยแพร่ภาพไม่เหมาะสมบางช่วง ยันทำหน้าที่ตามหลักการรายงานข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ-มีคุณค่าข่าว ด้าน ไทยพีบีเอส แจงการรายงานสด ยันรายงานในกรอบจริยธรรม-กฎหมาย เนชั่นทีวีแจง ทีวี 4 ช่องคุยคณะอนุ กสทช. รับหลุดภาพสุ่มเสี่ยง พร้อมหาทางป้องกันในอนาคต

24 พ.ค. 2559 สืบเนื่องจากการถ่ายทอดสดและเสนอข่าวเหตุการณ์ล้อมจับผู้ต้องหาในคดีฆาตกรรมเมื่อ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊กของสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยรายงานว่า วันนี้ (24 พ.ค.2559) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้เชิญตัวแทนบรรณาธิการและตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ร่วมประชุมหารือถึงเสียงสะท้อนและการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมต่อการทำหน้าที่และบทบาทของสื่อในกรณีดังกล่าว

โดยที่ประชุมยอมรับว่าถึงแม้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ที่รายงานข่าวและถ่ายทอดสดเหตุการณ์อย่างต่อเนื่องได้พยายามทำหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพในการรายงานเหตุการณ์ด้วยความระมัดระวังแล้วก็ตาม แต่ก็มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ที่แปรผันและอยู่เหนือการควบคุมตลอดเวลาและทำให้เผยแพร่ภาพบางช่วงที่ไม่เหมาะสมและสร้างความตื่นตระหนก จนทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจากสังคม

ที่ประชุมยอมรับว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนครั้งสำคัญของสื่อมวลชน แต่ทั้งนี้ก็ยืนยันว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการทำหน้าที่ตามหลักการการรายงานข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและมีความสำคัญในเชิงคุณค่าข่าว เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากกรณีฆาตกรรมที่สะเทือนความรู้สึกของคนในสังคมก่อนหน้านี้

ที่ประชุมเห็นร่วมกันที่จะยกกรณีดังกล่าวขึ้นมาถอดบทเรียนและหารือร่วมกัน เพื่อสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ โดยคำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคล ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่สร้างความตื่นตระหนกและความหวาดกลัวเกิดขึ้นในสังคม

ในเบื้องต้นที่ประชุมเห็นชอบที่นำแนวปฏิบัติจริยธรรมการรายงานข่าวที่ 5 องค์กรสื่อได้ร่างขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการรายงานที่ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตกเป็นข่าว เป็นแนวทางในการปฏิบัติ นอกจากนั้นในแต่ละกองบรรณาธิการของสถานีโทรทัศน์จะกลับไปทบทวนกระบวนการทำงานในกรณีที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การยกระดับการทำหน้าที่ตามมาตรฐานจริยธรรมสื่อมวลชนต่อไป พร้อมๆ กับที่จะหารือกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อหาแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำหน้าที่สื่อมวลชน

ที่ประชุม ระบุว่า ขอแสดงความขอบคุณต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อบทบาทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งถือว่าเป็นกระจกสะท้อนการทำงานของสื่อมวลชนให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และสร้างความตระหนักให้กับสื่อมวลชนในการรายงานเหตุการณ์ โดยเฉพาะการเสนอภาพข่าวที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงและการเลียนแบบ

ที่ประชุมตัวแทนกองบรรณาธิการและตัวแทนของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มีความเชื่อมั่นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีส่วนสำคัญที่ทำให้สื่อมวลชนได้ทบทวนบทบาทตนเองเพื่อนำไปสู่การทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของสังคมต่อไป

 


ไทยพีบีเอส แจงการรายงานสด ยันรายงานในกรอบจริยธรรม-กฎหมาย

วันเดียวกัน องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) เผยแพร่คำชี้แจงการรายงานสดเหตุการณ์ดังกล่าว ระบุว่า สืบเนื่องจากการรายงานข่าวเหตุการณ์ดังกล่าวทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 19 พฤษภาคม ซึ่งมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของไทยพีบีเอสว่าไม่เหมาะสมและอาจขัดต่อพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ (ส.ส.ท.) 

ส.ส.ท.ขอชี้แจงการทำหน้าที่ในวันดังกล่าวดังนี้
1. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เริ่มรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงทันข่าว เวลา 15.00 น. ใช้เวลา 4.10 นาที หลังจากนั้นได้ตัดเข้ารายงานข่าวด่วนอีก 2 ครั้ง ช่วงเวลา 15.36 น. ใช้เวลา 6 นาที และช่วงเวลา 15.45 น.ใช้เวลา 8 นาที

2. ต่อมาสำนักข่าวได้ประเมินสถานการณ์ว่า มีความพยายามจะจับกุมตัวผู้ต้องหาเพื่อยุติเหตุการณ์โดยเร็ว สำนักข่าวจึงได้ขออนุมัติรองผู้อำนวยการส.ส.ท. เพื่อถ่ายทอดสด โดยที่รองผู้อำนวยการส.ส.ท. ได้กำชับให้ระมัดระวังการนำเสนอไม่ให้มีภาพความรุนแรง เช่น ภาพผู้ต้องหาถือปืน รวมทั้งให้หลีกเลี่ยงการรายงานภาพผู้ต้องหา

การรายงานสดช่วงนี้ เริ่มเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น.ใช้เวลาประมาณ 1.02 ชั่วโมง และมีการรายงานทาง Facebook Live ในช่วงเวลาเดียวกันใช้เวลาประมาณ 51 นาที

การรายงานสดเหตุการณ์นี้ตัดสินใจบนเหตุผลว่า เป็นการติดตามจับกุมผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์ที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ โดยที่ผู้ปฏิบัติงานได้ถูกกำชับให้ระมัดระวังมิให้เผยแพร่ภาพความรุนแรงและละเมิดสิทธิผู้ต้องหา และไม่ได้มีเจตนาต้องการถ่ายทอดเหตุการณ์ผู้ต้องหาพยายามฆ่าตัวตายแต่อย่างใด ตรงกันข้ามในระหว่างการรายงานสดได้มีการสัมภาษณ์นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน จิตแพทย์เพื่อหาทางออกเหตุการณ์นี้อย่างสันติวิธี

อย่างไรก็ตามเมื่อเหตุการณ์มีแนวโน้มยืดเยื้อ อาจเกิดเหตุรุนแรงที่ไม่คาดคิด รองผู้อำนวยการส.ส.ท.ก็ได้สั่งการให้ยุติการถ่ายทอดสดเมื่อเวลาประมาณ 17.02 น.

คณะผู้บริหารส.ส.ท.มีความตระหนักและน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ และขออภัยต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจต่อสาธารณะ

บทเรียนอันมีค่าจากกรณีนี้ นอกจากจากการขออภัยต่อสาธารณะแล้ว ฝ่ายบริหารได้เน้นย้ำในแนวทางการรายงานข่าวเหตุการณ์รุนแรงหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรง ให้มีความระมัดระวังอยู่ในกรอบจริยธรรมและกฏหมาย รวมทั้งจะเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษหากจำเป็นต้องมีการรายงานข่าวเหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลาที่มีการออกอากาศรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ส.ส.ท. ขอยืนยันว่า จะยึดมั่นในหลักจริยธรรมของสื่อสาธารณะ และพร้อมจะเป็นกลไกหนึ่งของความร่วมมือพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสื่อในสังคมต่อไป อีกทั้งจะมีการประชุมถอดบทเรียนการรายงานข่าวเหตุการณ์นี้ เพื่อให้การทำงานมีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น

 

เนชั่นทีวีแจง ทีวี 4 ช่องคุยคณะอนุ กสทช. รับหลุดภาพสุ่มเสี่ยง พร้อมหาทางป้องกันในอนาคต
ด้านเนชั่นทีวี โดย วีระศักดิ์ พงศ์อักษร บรรณาธิการบริหาร เนชั่นทีวี เขียนถึงผู้ชมเนชั่นทีวี โดยระบุว่า วานนี้ เวลา 14.30 น. เนชั่นทีวี และสื่อทีวีอีก 3 ช่อง ได้แก่ ไทยรัฐ-สปริงนิวส์ -ทีเอ็นเอ็น24 เข้าชี้แจงกับ คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช. กรณี Breaking News เกาะติดสถานการณ์และถ่ายทอดสด อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผู้ต้องหาฆ่า 2 อาจารย์เอาปืนจ่อหัวตัวเองและฆ่าตัวตายในที่สุด

วีระศักดิ์ ระบุว่า คณะอนุกรรมการฯ เปิดโอกาส ให้แต่ละช่องชี้แจง โดยประเด็นหลักที่กรรมการหลายท่านติดใจ คือ 1.ข่าวนี้มีประโยชน์ต่อสาธารณชนมากน้อยแค่ไหน เพราะกรรมการหลายท่านมองเป็นเรื่องส่วนตัวของอาจารย์ มากกว่าที่จะเป็นประโยชน์โดยรวม 2.ทำไมต้องถ่ายทอดสด กินระยะเวลายาวนาน 4-5 ชั่วโมง แค่ Breaking News สั้นๆ ก็พอ 3.กดดันอาจารย์ จนต้องฆ่าตัวตายหรือไม่

วีระศักดิ์ ระบุว่า บรรยากาศการพูดคุยหารือ ทั้ง 4 ช่อง "ยอมรับความผิด" ว่าระหว่างที่ถ่ายทอดยาวนาน มีหลายครั้งที่ภาพสุ่มเสี่ยง ที่จะละเมิดและไม่เหมาะสม น้อมรับที่จะหาช่องทางป้องกันในอนาคต แม้ว่าจะใช้วิธีเบลอภาพ/บิดบังภาพที่ไม่เหมาะสม/ภาพระยะไกล เป็นต้น

วีระศักดิ์ ระบุด้วยว่า ทั้งนี้ ประธานในที่ประชุม พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ จะรวบรวมคำถามของกรรมการแต่ละท่าน ซึ่งประมาณ 10-15 คำถาม จัดส่งมายังทั้ง 4 ช่อง เพื่อให้ตอบกลับมาอย่างเป็นทางการ เพื่อประกอบพิจารณาว่า มีความเหมาะสมในการถ่ายทอดมากน้อยแค่ไหน รวมถึงขอข้อเสนอแนะจากทั้ง 4 ช่องและอีกหลายช่องที่จะเชิญมาชี้หลังจากนี้ ว่ามีข้อเสนอแนวทาง หรือวางกติการ่วมกันอย่างไร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทนายคดีเกาะเต่ายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาประหารชีวิต

$
0
0

อุทธรณ์คำพิพากษาประหารชีวิตคดีฆ่า-ข่มขืนนักท่องเที่ยวอังกฤษที่เกาะเต่า ค้านประเด็นความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานดีเอ็นเอ ชี้การดำเนินคดีกับจำเลยก่อนฟ้องคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำรับสารภาพที่โจทก์อ้างต่อศาลในชั้นสอบสวนถูกทำขึ้นโดยไม่สมัครใจ ฯลฯ

23 พ.ค. 2559 สืบเนื่องจากคดีที่ศาลจังหวัดเกาะสมุยพิพากษาลงโทษประหารชีวิตแรงงานข้ามชาติพม่าสองคน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 ในข้อหาข่มขืนและฆ่านักท่องเที่ยวหญิง และฆ่านักท่องเที่ยวชายชาวอังกฤษทั้งสองคนที่เกาะเต่า เมื่อกันยายน 2557

วันนี้ คณะทนายความอาสาจากสภาทนายความ ซึ่งรับทำหน้าที่ทนายความจำเลย ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลจังหวัดเกาะสมุย เมื่อเวลา 09.00 น.

โดยมีมารดาของจำเลยทั้งสอง นางเมย เตียน และนางพิว ฉ่วย นุ มารดาของนายซอลิน และนายไว เพียว ที่เดินทางมาจากรัฐยะไข่ อยู่ร่วมขณะทำการยื่นอุทธรณ์ด้วย และหลังจากนั้นจะไปเยี่ยมบุตรชายที่เรือนจำบางขวาง ที่จังหวัดนนทบุรี

ในแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชน ระบุว่า การจัดเตรียมอุทธรณ์จำนวน 198 หน้า ใช้เวลาดำเนินการกว่า 5 เดือน อย่างต่อเนื่องโดยคณะทนายความ สภาทนายความ นักแปลชาวพม่า ออสเตรเลีย และอังกฤษ พร้อมทั้งผู้ช่วยเหลือและที่ปรึกษา เพื่อให้ได้เนื้อหาในการอุทธรณ์สมบูรณ์ที่สุดในการแสวงหาการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและมีความมั่นใจว่า จำเลยทั้งสองจะได้รับการปกป้องสิทธิอย่างเพียงพอ

สำหรับคำฟ้องอุทธรณ์กล่าวถึงหลักการพื้นฐานของทนายความฝ่ายจำเลย ที่ได้เสนอไประหว่างการสืบพยาน 13 ปากในศาล เพื่อเป็นกรอบว่า พยานหลักฐานฝ่ายจำเลยนั้น มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และขอให้ศาลอาญาภาค 8 มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลจะพิจารณาคำอุทธรณ์ของจำเลยและเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายควบคู่กันไป

การอุทธรณ์กว่าครึ่งเป็นการคัดค้านประเด็นหลักการเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานดีเอ็นเอ ที่ศาลจังหวัดเกาะสมุยตัดสินว่า ดีเอ็นเอจากสถานที่เกิดเหตุ/ฆาตกรรมตรงกับจำเลยทั้งสองโดยสิ้นสงสัย ‘ตามหลักสากล’ ฝ่ายจำเลยยืนยันว่าหลักฐาน รวมทั้งที่อ้างว่ามาจากก้นบุหรี่ น้ำอสุจิ และน้ำลาย ไม่สามารถเชื่อถือรับฟังและไม่ควรนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา เนื่องจากการเก็บทดสอบ วิเคราะห์ และ/หรือรายงาน ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ISO17025 และ ILAC G19 ตัวอย่างดีเอ็นเอที่ศาลรับฟังและใช้ในการพิพากษามีข้อบกพร่อง ทั้งที่ศาลยอมรับว่า อาจจะเกิดการปนเปื้อนของดีเอ็นเอ การทดสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ ไม่มีการส่งการทดสอบให้ศาล คงมีแต่เพียงการสืบพยานด้วยวาจา ซึ่งเป็นพยานบอกเล่า รวมทั้ง พยานหลักฐานก้นบุหรี่ และศาลได้ใช้พยานหลักฐานเหล่านี้ยืนยันและรับฟังว่า การสอบสวน และข้อมูลดีเอ็นเอของจำเลยทั้งสองกับที่พบในหญิงผู้ตาย ตรงกัน การอุทธรณ์จะมีการนำเสนอว่า ไม่ควรพิจารณาพยานหลักฐานว่าจำเลยได้ข่มขืนผู้ตายอย่างรุนแรงและฆ่าผู้ตายฝ่ายหญิง หรือฆ่าผู้ตายฝ่ายชาย และมิใช่ความน่าเชื่อถือโดยสิ้นสงสัย

นอกจากนั้น ยังได้อุทธรณ์อีกว่า ศาลจังหวัดเกาะสมุยอาจพิพากษาไปโดยไม่ได้รับฟังข้อโต้แย้งของฝ่ายจำเลย ดังนี้:

1. การดำเนินคดีกับจำเลยก่อนฟ้องคดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกระบวนการสอบสวนหลังการจับกุมและแจ้งข้อหาไม่ถูกต้อง มีการสอบสวนในฐานะพยาน แต่กลับมีคำรับสารภาพคดีฆ่าและข่มขืนกระทำชำเราในคำให้การนั้น โดยไม่มีทนายความหรือบุคคลที่จำเลยไว้ใจร่วมอยู่ในการสอบสวนด้วย และไม่มีการแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาหรือการอธิบายลักษณะของข้อหาอันเป็นเหตุในการจับกุมให้ผู้ต้องหาฟัง อีกทั้ง ไม่มีการจัดล่ามแปลภาษาและทนายความของผู้ต้องหาเพื่อปกป้องสิทธิทางกฎหมายให้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยระบุถึงการนำตัวอย่างดีเอ็นเอไปโดยไม่สมัครใจ จึงเสนอว่า พยานหลักฐานในชั้นนี้ ศาลไม่ควรรับฟัง

2. คำรับสารภาพที่โจทก์อ้างต่อศาลในชั้นสอบสวน ถูกทำขึ้นโดยไม่สมัครใจ เพราะเหตุที่จำเลยถูกทรมานและข่มขู่จนทำให้เกิดความเกรงกลัวว่าจะมีอันตรายต่อชีวิตและความปลอดภัย โดยมักมีแรงงานข้ามชาติบนเกาะเต่ารายงานว่า ถูกกระทำทารุณอยู่เสมอ คำสารภาพที่เป็นลายลักษณ์อักษร แม้มีการลงชื่อไว้ ก็ไม่อาจรับฟังได้ รวมทั้ง เอกสารอื่นๆ ที่ถูกบังคับให้ลงชื่อ โดยไม่ทราบถึงผลที่เกิดขึ้น คำสารภาพหรือการจำลองเหตุการณ์ที่ได้มีการบันทึกวิดีโอส่งศาลในคดีนี้ จึงมีขึ้นโดยจำเลยไม่สมัครใจ กระทำไปเพราะถูกข่มขู่ว่า จะมีการใช้ความรุนแรง แล้วจึงเสนอว่า พยานหลักฐานเหล่านี้ ศาลไม่ควรรับฟังและเป็นพยานหลักฐานที่ไม่อาจรับฟังได้

3. จำเลยไม่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่ใช้ก่อเหตุฆาตกรรม (จอบ) เพราะไม่ปรากฏดีเอ็นเอของจำเลยที่จอบ แต่ปรากฏข้อมูลดีเอ็นเอของบุคคลอื่นแทน

4. หลักฐานดีเอ็นเอที่อ้างว่า เชื่อมโยงจำเลย พยานวัตถุหรือหลักฐานแวดล้อมทั้งหมดที่สามารถจะยืนยันความผิดจำเลย ขาดความน่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังได้ เพราะกระบวนการจัดเก็บ การทดสอบ หรือการวิเคราะห์ตามหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ เช่น มาตรฐาน ISO17025 ทำให้หลักฐานนี้ไม่อาจนำมายืนยันความผิดจำเลยโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่า กระทำการข่มขืนชำเราผู้ตายเพศหญิง หรือฆ่าผู้ตายเพศหญิงและเพศชายได้ ซึ่งรวมทั้ง หลักฐานทางวัตถุที่จะเชื่อมโยงจำเลยเข้ากับสถานที่เกิดเหตุ เช่น ก้นบุหรี่ การลักโทรศัพท์มือถือและแว่นกันแดดของผู้ตายเพศชาย รวมถึง “ชายที่กำลังวิ่ง” ที่ถูกจับภาพได้ในกล้องวงจรปิด

5. สำนวนของโจทก์ขาดหลักฐานชิ้นสำคัญที่จำเป็นในการพิสูจน์ความผิดของจำเลย ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายสถานที่เกิดเหตุ รายงานการชันสูตรพลิกศพ และขั้นตอนกระบวนการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในความควบคุม และบันทึกห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ดีเอ็นเออย่างละเอียด นอกจากนี้ เสื้อผ้าและผิวตามร่างกายของผู้ตายเพศหญิงซึ่งคาดว่า จะมีร่องรอยดีเอ็นเอที่สำคัญของผู้กระทำผิด ยังคงไม่ถูกตรวจสอบหรืออาจมีการตรวจสอบ แต่กลับไม่นำมารวมอยู่ในสำนวนคดีของโจทก์หรืออ้างในบัญชีระบุพยาน ซึ่งดูน่าสงสัย ภาพที่ตัดจากกล้องวงจรปิดที่โจทก์นำเสนอ ไม่สมบูรณ์และไม่มีการเสนอหลักฐานรอยพิมพ์ลายนิ้วมือหรือรอยเท้า แต่อย่างใด

บทสรุปในตอนท้ายของคำอุทธรณ์ จำเลยยืนยันโดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองเสีย ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์ทั้งหมด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกษียร เตชะพีระ

$
0
0

"ในที่สุดมันคงต้องถอยกลับไปสู่จุดที่ว่า อะไรคือข้อตกลงขั้นต่ำสุดที่ทุกฝ่ายพอจะยอมรับได้ แล้วเริ่มสร้างจากอันนั้น อำนาจนำสร้างได้ ใช้เวลานานหน่อย แต่ต้องเริ่มจากข้อตกลงขั้นต่ำสุดที่ทุกฝ่ายพอจะยอมรับได้ ในความรู้สึกของผม ซึ่งพูดไปบางกลุ่มเขาก็ไม่พอใจเท่าไร นั่นคือ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข...อันนี้มันต่ำสุดที่ทุกฝ่ายพอจะเห็นพ้องต้องกันได้ และการตีความมันมีชีวิตของมันเอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในพ.ศ.นี้และในอีก 10 ปีข้างหน้า ความหมายก็อาจไม่เหมือนกัน"

ใน เราจะไปทางไหน#6: เกษียร เตชะพีระ ‘Deep state ปะทะ Deep society’ สู้อย่างไรในศึกยาว

“เรียกรายงานตัวอีกครั้งก็ยังจะอารยะขัดขืน” คำเบิกความ 'รุ่งศิลา' กวีหลังกรงขัง

$
0
0


ปรับปรุงจากภาพต้นฉบับของ iLaw

ที่มาคดีของกวีต้านรัฐประหารผู้เชี่ยวชาญการทหาร

สิรภพ หรือนามปากกา ‘รุ่งศิลา’ เป็นนักเขียน กวี หนุ่มใหญ่วัย 53 ปี ไว้ผมยาว รูปร่างสูงใหญ่ ดวงตาแข็งกร้าวแต่พูดจาสุภาพ มีเหตุมีผล

รุ่งศิลาเป็นเจ้าของบล็อก  Rungsira ลักษณะเด่นของบล็อกเขาคือ บทวิเคราะห์การเมืองปัจจุบัน โยงไปถึงประวัติศาสตร์การเมือง ที่โดดเด่นอีกอย่างคือบทวิเคราะห์ด้านการทหาร กองกำลังต่างๆ อาวุธยุทโธปกรณ์นานา การอ้างอิงบางส่วนมาจากวิกิพีเดีย ขณะที่อีกหลายส่วนก็ต้องอาศัยวิจารณญาณผู้อ่าน และแน่นอนบทความจำนวนมากนั้นมุ่งเน้นการต่อต้านการรัฐประหาร

หลังการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 รายชื่อของเขาปรากฏออกทีวีในประกาศเรียกรายงานตัวกับคสช. ในวันที่ 1 มิ.ย. และสั่งให้รายงานตัววันที่ 3 มิ.ย. แต่เขาไม่ไปรายงานตัว

ในคืนวันที่ 25 มิถุนายน 2557 เวลา 22.30 น. เขาถูกจู่โจมควบคุมตัวโดยทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ชุดเคลื่อนที่เร็ว ใส่เครื่องแบบครึ่งท่อน ในมือถืออาวุธสงคราม ขับรถปาดหน้ารถยนต์ปิกอัพที่เขาใช้เดินทางในคืนวันฝนตก เขาว่า “ราวกับฉากในหนัง” เหตุเกิดก่อนถึงแยกเข้าตัวเมืองกาฬสินธุ์ผ่านทางมุ่งหน้าไปยังจังหวัดอุบลราชธานี เขาบอกว่าเขาไปที่นั่นเพื่อรอเวลาติดต่อขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองจาก UNHCR องค์กรข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ

คำถามสำคัญของเขา คือ คสช.ทำไมจึงมีชื่อนามสกุลจริงของเขา เพราะโดยปกติเขาใช้นามปากกาในการเขียนงานลงบล็อก ไม่เคยร่วมชุมนุมหรือสมาคมกับใคร และมีเพื่อนสนิทเพียง 2 คนเท่านั้นที่ทราบว่านามแฝง “รุ่งศิลา” ตัวจริงคือใคร

หลังการควบคุมตัวในค่ายทหาร 7 วันเขาถูกส่งตัวต่อให้ตำรวจกองปราบและแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ไม่มารายงานตัวและต่อมามีข้อหาตามมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ด้วยอีกคดีจากผลงาน 3 ชิ้นในบล็อกของเขา เขาถูกคุมขังในเรือนจำจนปัจจุบันเกือบ 2 ปีเต็ม ขาดอีก 1 เดือน

ผลงาน 3 ชิ้นที่ถูกฟ้อง คือ

1.บทกลอนเสียดสีการเมือง โพสต์ในเว็บบอร์ดประชาไท เมื่อ 4 พ.ย.2552

2.ภาพการ์ตูนแนวเสียดสี พร้อมข้อความประกอบเป็นเนื้อเพลง “เป็นเทวดาแล้วใยต้องมาเดินดิน.....” โพสต์ในเฟซบุ๊กชื่อ Rungsira เมื่อ 15 ธ.ค.2556

3.ข้อความและภาพการ์ตูนล้อเลียนในบล็อกรุ่งศิลา หัวข้อ “เชื้อไขรากเหง้า ‘กบฏบวรเดช’ ที่ยังไม่ตายของเหล่าทาสที่ปล่อยไม่ไป’ เมื่อ 22 ม.ค.2557

บ่ายแก่วันก่อนเขาถูกจับกุม 1 วัน ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบราว 30 นายบุกค้นสำนักงานรับเหมาก่อสร้างของเขาที่จังหวัดสงขลา นำโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ของทั้งบ้านไปพร้อมทั้งนำตัวลูกสาว 2 คน ลูกชาย 1 คน และหลานอายุ 10 เดือนไปทำการสอบสวนในค่ายทหารในเมืองสงขลา จนกระทั่งเที่ยงคืนกว่าทั้งหมดจึงได้รับการปล่อยตัว

“ตอนนั้นตกใจมากเหมือนกันแต่ทำไรไม่ได้ ก็เลยพยายามควบคุมสติไว้ ในใจก็คิดว่าเรื่องมันร้ายแรงขนาดนั้นเลยหรอ เหมือนกับเราไปฆ่าคนตาย เหมือนคดีร้ายแรงมากแบบยาเสพติดหรืออาชญากรรม มันเรื่องใหญ่จริงๆ” พลอยลูกสาวคนกลางกล่าว

“ตอนช่วงแรกก็ทำใจลำบากเหมือนกันเพราะครอบครัวเราไม่เคยเจอเรื่องอะไรร้ายแรงขนาดนี้ ถึงพ่อกับลูกจะนานๆ ทีเจอกัน แต่ว่าเราก็ผูกพันกันมากอยู่แล้ว เจอเรื่องอะไรแบบนี้ก็ยากจะรับได้ แล้วยิ่งรู้ว่าพ่อเราไม่ได้เป็นคนไม่ดีถึงขนาดที่ต้องถูกคุมขังในคุก ยิ่งแย่มากค่ะ แต่พอเริ่มผ่านมานานที่พ่ออยู่ในนั้น เราก็ไม่ได้ถึงกับปลง แต่เราก็ต้องทำใจไว้แล้วประมาณนึง ไม่ว่ายังไงก็จะไม่ทิ้งเค้าแน่นอนไม่ว่าเค้าต้องอยู่ในนั้นนานแค่ไหน พลอยจะคอยดูแลพ่อไปจนกว่าเค้าจะได้ออกมามีอิสระอีกครั้งนึง” พลอยกล่าว

ปัจจุบันเขามีเพียงลูกสาวที่ผลัดกันไปเยี่ยมที่เรือนจำราวเดือนละ 1 ครั้ง

เส้นทางยาวนานของการต่อสู้คดี และ ห้องที่ปิดลับ

เรื่องราวของเขาซ่อนตัวอยู่เงียบๆ หลังลูกกรงเรือนจำมา 2 ปีแล้ว ก่อนหน้านี้เราเคยมีโอกาสพูดคุยกับเขาระหว่างถูกควบคุมตัวถึงเหตุผลที่ไม่ยอมรายงานตัว เขาบอกว่า

“มันรู้สึกยอมรับไม่ได้กับการออกมายึดอำนาจทำรัฐประหารตั้งแต่ปี 2549 รับไม่ได้จริงๆ กับความอยุติธรรมที่คนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งกระทำต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ รวมถึงการเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าคนชาติเดียวกันตายนับร้อยศพ บาดเจ็บเป็นพันคน กลางเมืองหลวงของประเทศ โดยกองทหารเดิมๆ อย่างซ้ำซากมากกว่าครึ่งศตวรรษ”

“เป็นความซ้ำซาก ย้อนแย้งและล้าหลัง ผมคิดว่าประเทศนี้มีอาการเจ็บป่วยอย่างหนักหนาเหลือเกิน”

เขาปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดและยืนยันจะต่อสู้คดี ครอบครัวของเขายื่นประกันอย่างน้อย 3 ครั้งและศาลไม่อนุญาตทุกครั้ง

ยิ่งไปกว่านั้นเขายังเป็นผู้ต้องขังหนึ่งเดียวที่ร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพวกในความผิดม. 113 เป็นกบฏล้มล้างการปกครองด้วย คดีนี้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ต่างก็มีคำสั่ง "ไม่รับฟ้อง" 

คดี 112 นั้นเริ่มสืบพยานปากแรกไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2559 ที่ผ่านมานี้เอง โดยศาลทหารสั่งพิจารณาคดีลับทำให้ไม่มีใครสามารถเข้ารับฟังและสังเกตการณ์คดีนี้ได้

คดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช. เริ่มการสืบพยานครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 22 ม.ค.2558 อานนท์ ทนายจำเลยระบุว่า พยานโจทก์มี 4-5 ปากโดยส่วนใหญ่เพื่อมายืนยันว่าสิรภพไม่ได้มารายงานตัวจริง ขณะที่ประเด็นคำถามที่จำเลยสงสัย ไม่ว่า คสช.ทราบชื่อนามสกุลจริงเขาได้อย่างไร ชุดปฏิบัติการที่บุกจับกุมเขาบนถนนขณะกำลังเดินทางได้อย่างไร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีการสืบข้อเท็จจริงกันในคดี 112 ซึ่งพิจารณาคดีแบบปิดลับ

“เรียกรายงานตัวอีกครั้งก็จะอารยะขัดขืน”

23 พ.ค.2559 ถึงคราวที่จำเลยในคดีนี้จะขึ้นให้การในคดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. หลังถูกขังในเรือนจำเป็นเวลา 1 ปี 11 เดือน สิรภพหรือรุ่งศิลา ถูกเบิกตัวมาจาก แดน 6 เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มายังศาลทหาร เขาถูกใส่ตรวน (กุญแจมือ) ที่ข้อเท้า ขึ้นให้การในชุดนักโทษ เสียงดังฟังชัด ตลอด 2 ชั่วโมง โดยผู้พิพากษาไม่อนุญาตให้ใครจดบันทึก

เขาให้การว่ามีภูมิลำเนาอยู่นนทบุรี จบเอกวารสารศาสตร์ แต่ทำอาชีพออกแบบสถาปัตย์และรับเหมาก่อสร้าง ขณะถูกจับกุมมีโปรเจ็คท์ใหญ่อยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีลูกน้องราว 50 ชีวิต ทหารตำรวจบุกค้นบ้านและคุมตัวลูกๆ ไปสอบในค่ายทหารก่อนปล่อย เขาเองถูกควบคุมตัวที่เขตจังหวัดกาฬสินธ์ ขณะนั่งแท็กซี่จะเดินทางไปยังจังหวัดอุบลราชธานี เขาถูกทหารคุมตัวรวม 7 วัน พร้อมคนขับรถและคนนำทางอีก 1 คน ซึ่งเขาไม่รู้จักมาก่อน ถูกนำตัวไปไว้ที่ค่ายทหารในขอนแก่น มีการสอบสวนเบื้องต้น จากนั้นมีหน่วยการข่าวของส่วนกลางบินไปสอบสวนเขาด้วยตัวเอง ก่อนนำตัวขึ้นรถตู้มาส่งตัวให้กับทหารที่สโมสรกองทัพบกในกรุงเทพฯ  การสอบสวนในกรุงเทพฯ รอบแรก มีประธานเป็นตำรวจยศ พล.ต.ต. ในปอท. นอกจากนั้นมีเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบ ไม่ว่า ดีเอสไอ อัยการสูงสุด เจ้าหน้าที่การข่าวกองทัพภาคที่1 ฝ่ายกฎหมายของ คสช. ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ฝ่ายข่าวของกอ.รมน. รวมแล้วประมาณ 30 คน ทำการสอบสวน 3 ชั่วโมงกว่า

สิรภพให้การกับพวกเขาว่า เป็นนักเขียน เขียนบทกวีการเมือง บทวิเคราะห์การเมืองและการทหารมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต คำถามของผู้สอบเน้นข้อข้องใจในบทความเกี่ยวกับการต่อต้านการัฐประหาร กลยุทธ์ทางทหาร และแนวคิดทางการเมือง

“จากการพูดคุยแลกเปลี่ยน มีเจ้าหน้าที่บางหน่วยแจ้งว่าได้ติดตามบทความข้าพเจ้ามาตั้งแต่ 2552” สิรภพเบิกความต่อศาล

เขาบอกว่าหลังจากนั้นยังมีดีเอสไอ มาทำการสอบสวนเพิ่มเติม จากนั้นก็มีฝ่ายข่าวของกองทัพและคสช.มาพูดคุย ก่อนที่คืนสุดท้ายจะเป็นการสอบสวนใหญ่ ราว 50 คน โดยประธานเป็น พล.อ.คนหนึ่งที่อยู่ในคสช.ที่มาสอบด้วยตัวเอง ประธานได้กล่าวกับเขาว่า ติดตามบทความของเขามาตลอดและมีหลายชิ้นที่ได้นำเข้าไปหารือในวอลล์รูมกองทัพเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่สงบหลายครั้งไม่ว่าจะเกิดจากฝ่ายใดสีใด

จากนั้นเขาก็ถูกส่งตัวให้ตำรวจกองบังคับการปราบปราม

นอกจากนั้นในการให้การต่อศาลนี้เขายังมีโอกาสได้อธิบายถึงเหตุผลที่เขาไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารว่า เขาต่อต้านการรัฐประหารมานานแล้ว เป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี 2549 ผ่านการเขียนบล็อก เพราะเห็นว่าข้ออ้างต่างๆ เรื่องคอร์รัปชันหรือการหมิ่นเบื้องสูง ล้วนเป็นข้ออ้างยอดฮิตทุกครั้งในการรัฐประหารเพื่อทำลายการปกครองของรัฐบาลที่มาจากประชาชน เขาเห็นว่า หากมีปัญหาไม่ว่าปัญหาใดๆ ก็ควรแก้ไขปัญหาภายใต้กติกาประชาธิปไตย และให้ประชาชนเป็นคนตัดสินผ่านการเลือกตั้ง

และดังนั้น เมื่อเขาแสดงจุดยืนมาเนิ่นนาน เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งเขาจึงไม่ให้ความร่วมมือใดๆ กับคณะรัฐประหาร เขากล่าวเบิกความด้วยเสียงดังฟังชัด ศาลนัดสืบพยานนัดต่อไปในวันที่ 7 ก.ค.2559

“ข้าพเจ้าต่อต้านการรัฐประหารในทางความคิดด้วยความสันติมาตลอด ในเมื่อเกิดการรัฐประหาร ณ เวลานั้น ข้าพเจ้าจึงแสดงกระทำอารยะขัดขืน ไม่ยอมรับอำนาจของกลุ่มบุคคลที่ใช้กำลังอาวุธเข้ามายึดล้มล้างการปกครองของรัฐบาลที่มาจากประชาชน เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

“ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า คณะรัฐประหาร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คณะกบฏ จะรักษาอำนาจอยู่ได้นาน จึงเลือกที่จะปกป้องสิทธิและเสรีภาพ และรัฐธรรมนูญ โดยสันติอหิงสา โดยไม่ใช้ความรุนแรงด้วยการไม่ให้ความร่วมมือใดๆ กับคณะกบฏดังกล่าว”

เขายังตอบทนายถามด้วยว่าหากมีการรัฐประหารเกิดขึ้นอีกและมีคำสั่งเรียกเขาไปรายงานตัวอีก เขาจะไปหรือไม่

“หากมีรัฐประหารอีกและมีคำสั่งเรียกรายงานตัวอีกครั้ง ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันว่าจะไม่ไป”

ที่น่าสนใจคือ วันเดียวกันกับที่เขาขึ้นเบิกความในคดีฝ่าฝืนคำสั่งคสช.ฯ ศาลฏีกาก็มีคำสั่งรับคดีที่เขาและคนอื่นๆ ในกลุ่มพลเมืองโต้กลับฟ้องคสช.ในมาตรา 113 ไว้พิจารณา พอดิบพอดี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประยุทธ์ ถามให้เรียนฟรีถึงมหา'ลัย จะเอางบจากที่ไหน

$
0
0

รมว.ไอซีทีนำคณะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการนานาชาติ "ดิจิทัลไทยแลนด์ 2016" 24 พ.ค. 59 (ที่มาภาพ เว็บทำเนียบฯ)

24 พ.ค. 2559 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนการประชุม ครม. อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำนักศึกษาที่ได้รับรางวัลจากผลการประกวดเอเชียสตาร์ ประจำปี 2558 เข้าพบ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน และต้องการให้เกิดความคิดที่ครบวงจรตั้งแต่กระบวนการผลิต การขาย และเจาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการแยกตลาดซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งต้องสร้างความเชื่อมโยงกับภาคเอกชนในการส่งออกและค้าขาย โดยต้องมองโลกให้กว้างขึ้นจะรู้ว่าเรามีโอกาสอีกมาก ดังนั้น ควรทำอย่างไรในเกิดการออกแบบให้เป็นสินค้าแบรนด์เนม สร้างมูลค้าเพิ่มให้กับสินค้า และฝากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพาณิชย์บูรณาการร่วมกัน ต้องมีความคิดในการปฏิรูป ซึ่งบางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าการปฏิรูปคืออะไร นั่นคือการต่อยอดความคิดอย่างต่อเนื่อง หากรู้จักการปฏิรูปตนเอง ประเทศ และชีวิตจะดี ขึ้นประเทศจะมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยคิดการจากทำวิจัยนำไปสู่การปฏิบัติ และเราต้องปฏิรูปคนและแนวคิดเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ทั้งนี้ ตัวแทนนักศึกษาได้มอบกระเป๋าตุ๊กตาหน้าเหมือน พล.อ.ประยุทธ์ โดยนายกฯ กล่าวติดตลกว่า ขอให้ทำแค่ตัวนี้ตัวเดียว เพราะหากทำหลายตัวเดี๋ยวจะขายไม่ออก
       
จากนั้น อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้นำนายกฯเยี่ยมชมนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงานสัมมนาและแสดงนิทรรศการนานาชาติ “ดิจิทัลไทยแลนด์ 2016” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26-28 พฤษภาคมนี้ โดยได้มีการนำเสนอหุ่นยนต์รดน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบในแปลงพืชของเกษตรกรที่ร่วมโครงการ ซึ่งนายกฯได้ทดสอบบังคับหุ่นยนต์ให้เคลื่อนไหวฉีดน้ำในทิศทางต่างๆ พร้อมทั้งแนะนำให้มีการปรับปรุงให้เหมาะสมตามการใช้งานของแต่ละพื้นที่ จากนั้นนายกฯ ได้ทดลองสวมแว่นตา Visionear ซึ่งเป็นแว่นสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยเมื่อสวมใส่แล้วจะสามารถอ่านสินค้าได้จากบาร์โค้ด พร้อมกล่าวอธิบายด้วยว่าเป็นแว่นตาบาร์โค้ดเครื่องแรกของโลกที่เป็นการวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บกพร่องทางสายตา
       
ต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้ทดสอบมือหุ่นยนต์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง นายกฯ กล่าวว่า เครื่องมือนี้จะช่วยคนพิการที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือไม่มีนิ้วมือ เหมือนกับไอรอนแมน ทั้งนี้นายกฯ ทดลองให้มือหุ่นยนต์ทำท่าชูนิ้ว โดยนายกฯกล่าวกับตัวแทนนักศึกษาแบบติดตลกว่า ลองให้ชูสองนิ้ว แต่ห้ามชูสามนิ้ว ถ้าจะชูให้ชูแบบนี้ พร้อมทำสัญลักษณ์ไอเลิฟยู พร้อมกันนี้นายกฯ ได้ชมศูนย์บูทนิทรรศการทีวีดีดี เพื่อเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งแผ่นป้ายที่นำมาโปรโมตสะกดคำว่า “เศษฐกิจ” แต่ตก “ร” ไป 1 ตัว
       
โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้นำปากกามาเขียนเติม “ร” ให้ถูกต้อง พร้อมกล่าวถึงเรื่องการศึกษาว่าจะต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้งระบบการศึกษาในและนอกระบบ รวมถึงการศึกษานอกโรงเรียนต้องมีการพัฒนาโดยรัฐบาลจะดูแลในทุกส่วน สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดกรอบกว้างๆเรื่องการศึกษา ส่วนจะจัดให้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับงบประมาณ กรณีที่มีการเรียกร้องให้จัดการศึกษาฟรี จนถึงชั้นอุดมศึกษานั้น ถามว่าจะเอางบประมาณมากจากที่ใด ขณะเดียวกัน ในส่วนของเกษตรกรหากฝนยังไม่ตก การปลูกข้าวนาปีนาปรัง ขออย่าเพิ่งเริ่มตอนนี้ จะให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้มแข็ง 

พล.อ.ดาว์พงษ์ ชี้มหาวิทยาลัยมีอิสระมากเกินไปแล้ว

ขณะที่วานี้ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ  รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย(ทปสท.) เรียกร้องให้หน่วยงานที่ดูแลสถาบันอุดมศึกษา และ ศธ.ดูแลเรื่องระบบธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยพร้อมทั้ง สอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริงต่อ กรณีที่อาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)พระนคร ก่อเหตุยิงประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย และ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเสียชีวิต  ก่อนผู้ก่อเหตุซึ่งเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรดังกล่าวจะยิงตัวตาย ว่า ตนพูดมาหลายครั้ง แล้วว่าปัญหาของอุดมศึกษานั้น เป็นความหนักใจของตน เพราะมหาวิทยาลัยมีอิสระ มีกฎหมายเป็นของตนเอง  ศธ.ไม่สามารถเข้าไปควบคุมอะไรได้มากนัก แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้น แน่นอน ว่า ศธ.หนีไม่พ้นความรับผิดชอบ ซึ่งตนเคยบอกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ว่า ก่อนที่มหาวิทยาลัยจะเสนอร่างพ.ร.บ.ของตนเอง สกอ.ควรกลั่นกรองกฎหมายและเพิ่มบทบาทที่จะเข้าไปกำกับดูแล ไม่ใช่ปล่อยโดยไม่ทำอะไรเลย จนมาถึงทุกวันนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ ให้อิสระจนหลายครั้งก็เกิดปัญหาลุกลาม

ต่อข้อถามถึง กรณี มรภ.พระนคร เกิดจากความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ในการบริหารจัดการหลักสูตร และ สกอ.ไม่สามารถเข้าไปดูแลค่าเล่าเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาได้ จะมีการทบทวนหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขัดแย้งเกี่ยวผลประโยชน์ในการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า  ยอมรับว่า ที่ผ่านมา เราให้อิสระกันมาก และขณะนี้ตนก็ยังไม่กล้าลงลึกในรายละเอียด เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีกฎหมายเป็นของตนเอง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดเป็นเรื่องที่น่าตกใจ จากนี้ไปผู้บริหารของ มรภ.พระนคร คงจะต้องลงไปดูแลบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยทั้งคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ให้ใกล้ชิดมากขึ้น  ตนขอฝากถึงครูอาจารย์ด้วยว่า ทุกคนโตแล้ว มีวุฒิภาวะ ดังนั้นต้องรู้ว่า ตัวเองอยู่ในสถานะใด ควรต้องทำตัวอย่างไร เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เด็ก และเยาวชน
 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์เดลินิวส์และผู้จัดการออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.ไฟเขียวร่างกม.ป้องกันทรมาน-อุ้มหาย สรรเสริญโวหลายคนคงไม่คิดว่ารบ.ทหารกล้าผ่าน

$
0
0
 
24 พ.ค. 2559 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. … ตามที่กระทรวงยุติธรรม เสนอ เพื่อความสอดคล้องกับอนุสัญญา 2 ฉบับ โดย พ.ร.บ.ดังกล่าว มีใจความสำคัญคือ กำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดในการทรมานผู้ถูกจับกุม หรือการอุ้มให้สูญหาย ไม่ว่าจะโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่ แต่หากได้รับความยินยอมจากเจ้าหน้าที่รัฐ จึงถือว่าการกระทำนั้นผิดกฎหมาย 
 
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวอีกว่า กฎหมายนี้ครอบคลุมไปถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน สงคราม สถานการณ์ความไม่มั่นคง ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างเพื่อกระทำความผิดได้ และหากพบว่ามีการกระทำความผิดอายุความจะอยู่ที่ 20 ปี นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยมีรมว.ยุติธรรมเป็นประธาน ทั้งยังกำหนดมิให้หน่วยงานของรัฐ ส่งตัวบุคคลหนึ่งบุคคลใดออกไปนอกราชอาณาจักร หากเชื่อว่าจะก่อให้เกิดการทรมาน หรือถูกบังคับให้สูญหาย
 
“หลายคนคิดว่ารัฐบาลที่มาจากทหาร จะกล้าออกกฎหมายแบบนี้หรือ ดังนั้นวันนี้จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า แม้เราเป็นรัฐบาลที่มาในช่วงจำเป็น เฉพาะกิจ แต่เราก็ออกกฎหมายเพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจว่าสิ่งที่รัฐบาลทำ เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามหลักสากล ไม่ได้มีการริดรอนสิทธิประการใด ยืนยันคสช.ไม่เคยทรมานใคร ไม่เคยอุ้มใครให้หายไป การไปเชิญพูดคุยทำความเข้าใจ ก็มีการแจ้งก่อน” พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
 
ที่มา เดลินิวส์และ Now26
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร (3)

$
0
0



ไม่ว่าเราจะก้าวเดินต่อไปอย่างรัฐประชาธิปไตยหรือไม่ การสร้างรัฐไทยให้เป็นรัฐสมัยใหม่ที่เข้มแข็งมีความสำคัญที่สุด ถึงอย่างไรรัฐ patrimonial ที่เรารู้จักคุ้นเคย ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ต่อไปแล้ว ไม่ว่าจะมองจากแง่ของความขัดแย้งรุนแรงที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า หรือมองจากก้าวต่อไปของการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้คนไทยส่วนใหญ่สามารถดำรงชีวิตได้ไม่ขัดสน มีกำลังที่จะเก็บเกี่ยวผลดีของอารยธรรมยุคใหม่ได้ทั่วหน้ากัน

คุณลักษณะของรัฐสมัยใหม่ที่เข้มแข็งก็คือเป้าหมายของความพยายามนี้ ได้แก่รัฐต้องมีประสิทธิภาพ รัฐดำรงอยู่ในหลักนิติธรรม ถือกฎหมายเป็นใหญ่เหนือบุคคล และผู้ถืออำนาจรัฐหรือใช้อำนาจรัฐต้องรับผิดเชิงประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะของรัฐสมัยใหม่นั้น แตกต่างเป็นตรงกันข้ามกับรัฐ patrimonial โดยตรง ความมีประสิทธิภาพของรัฐเกิดขึ้นได้จากการมีเครื่องมือที่ดี และเครื่องมือที่ดีนั้นปฏิบัติงานและบริหาร โดยยึดความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งเป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ความเป็นพรรคพวกหรือความจงรักภักดีต่อหัวหน้า ปฏิบัติงานไปโดยไม่ต้องลูบหน้าปะจมูก

ในรัฐ patrimonial กฏหมายใช้บังคับคนส่วนใหญ่ที่ไร้อำนาจ แต่ยกเว้นหรือถูกตีความให้เอื้อประโยชน์ของคนกลุ่มน้อยที่เป็นสมัครพรรคพวกของผู้ถือครองรัฐ แต่ในรัฐสมัยใหม่ กฏหมายใช้บังคับทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน ไม่มีการใช้กฎหมาย หรือคำตัดสินขององค์กรอิสระอย่างสองมาตรฐาน ประสิทธิภาพของรัฐยิ่งทำให้การหลบเลี่ยงกฏหมายเป็นไปได้ยาก ส่วนการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นไปแทบไม่ได้ เพราะบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมต้องรับผิดในเชิงประชาธิปไตย เช่นถูกตรวจสอบหรือประณามจนไม่อาจอยู่ในตำแหน่งนั้นต่อไปได้

ความรับผิด (accountability) เป็นเงื่อนไขสำคัญของผู้ดำรงตำแหน่งสาธารณะทั้งหลาย แต่ไม่ใช่รับผิดต่อเจ้านายเท่านั้น เพราะในระบอบ patrimonialism คนทำงานสาธารณะก็ต้องรับผิดต่อเจ้านายเหมือนกัน เนื่องจากทำงานนั้นตามคำสั่งหรือตามความเห็นชอบของเจ้านาย เมื่อทำผิด ก็แล้วแต่เจ้านายจะกรุณา ซึ่งอาจมีได้ตั้งแต่ปลดออกไปจนถึงตำหนิแต่ให้ทำงานต่อ หรือแม้แต่ตกรางวัล เพราะรัฐเป็นสมบัติส่วนตัวของท่าน ความรับผิดจึงต้องเป็นความรับผิดในเชิงประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารัฐนั้นต้องอยู่ในระบอบประชาธิปไตย อาจเป็นรัฐเผด็จการก็ได้ แต่ความรับผิดของตำแหน่งสาธารณะต้องมีต่อประชาชน

ความขัดแย้งระหว่างรัฐสมัยใหม่และรัฐ patrimonial ทำให้รัฐ patrimonial ไม่มีทางก้าวหน้าในโลกปัจจุบันได้ ในประเทศไทย เราชอบพูดกันว่า ประชาธิปไตยเป็นไปได้สำหรับรัฐหรือสังคมที่มั่งคั่งเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ประชาธิปไตยเป็นไปได้เฉพาะในรัฐสมัยใหม่เท่านั้นต่างหาก ไม่ว่าจะมีฐานะเศรษฐกิจมั่งคั่งหรือไม่ก็ตาม เช่นคอสตาริก้า ซึ่งไม่ได้มั่งคั่งแต่อย่างไร แต่มีประชาธิป¬ไตยที่ค่อนข้างมั่นคง ส่วนใหญ่ของรัฐที่ประสบความล้มเหลวในการพัฒนาการเมืองของตนไปสุ่ประชาธิปไตย คือรัฐ patrimonial

ปัญหาที่แท้จริงของไทยก็คือ เราติดตังอยู่ในรัฐ patrimonial อย่างดิ้นไม่หลุด นานวันเข้า ลักษณะ patrimonialism ของรัฐนำเรามาสู่ความขัดแย้งอย่างไม่มีทางออก และนำเรามาสู่กับดักทางเศรษฐกิจที่ทำให้พัฒนาต่อไปไม่ได้ ขอยกตัวอย่างให้เห็นได้ง่ายๆดังนี้ เช่นรัฐ patrimonial ไม่มีวันจะเปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน เพราะเท่ากับทำลายช่องทางที่จะสืบทอดอภิสิทธิ์จากรุ่นสู่รุ่นของอภิชน ด้วยเหตุดังนั้น เราจึงมีฝีมือแรงงานไม่พอที่จะก้าวในบันไดการผลิตระดับสูงขึ้นไปได้

ด้วยเหตุดังนั้น รัฐบาลที่อ้างว่าต้องการเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศชาติในช่วงนี้ ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหารต้องทำ ก็คือนำประเทศไทยเข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่โดยเร็ว ที่อ้างกันว่า รัฐบาลเผด็จการอาจแก้ปัญหาได้รวดเร็วและบรรลุผลได้มากกว่า อาจจะจริงก็ได้ แต่นับจากหลัง 2490 เป็นต้นมา ไทยยังไม่เคยมีรัฐบาลเผด็จการที่ต้องการสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นเลย ทั้งหมดร่วมมือกับผู้นำรัฐ patrimonialเพื่อช่วยรักษาลักษณะ patrimonialism ของรัฐเอาไว้ หรือในกรณีหลังๆ กลับเป็นเครื่องมือของผู้นำรัฐ patrimonial ในการเหนี่ยวรั้งมิให้รัฐไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่เอาเลย

และเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่รัฐสมัยใหม่ สิ่งที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สามอย่างเป็นอย่างน้อยก็คือ

1. ต้องยอมรับ และผลักดันให้คนไทยยอมรับว่า รัฐไทยเป็นสมบัติร่วมกันของประชาชนไทยทุกคน เรื่องนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับประชาธิปไตย แม้ว่าหลักการ”พลเมือง”หรือผู้ถือครองรัฐร่วมกันนั้นเกิดขึ้นในการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่หลักการนี้เป็นที่ยอมรับทั่วไป ไม่ว่าในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์รูปแบบอื่นๆ

อันที่จริงอำนาจเผด็จการมีมากขึ้นและมั่นคงขึ้นเมื่อยอมรับว่า รัฐเป็นสมบัติร่วมกันของประชาชนทุกคน ฮิตเลอร์ไม่เคยปฏิเสธมรดกชิ้นนี้ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยไกเซอร์เฟรดเดอริควิลเลียมที่ 1 และ 2 คนเยอรมันจำนวนมากซึ่งไม่ได้เป็นนาซี เข้าร่วมสงครามที่เขาอาจไม่เห็นด้วยเลย ก็เพราะเขาคิดว่าเขาต้องปกป้องชาติซึ่งเป็นสมบัติร่วมกันของเขา เช่นเดียวกับชาวรัสเซียภายใต้พระเจ้าซาร์และสตาลิน

เผด็จการที่ยึดอำนาจเพื่อรักษาชาติไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของบุคคลเป็นเรื่องตลกในพ.ศ.นี้ และไม่มีทางทำอะไรได้สำเร็จ ดังนั้นต้องยอมรับหลักการพื้นฐานของรัฐสมัยใหม่ข้อนี้ และทำให้กลายเป็นหลักการสากลของคนในชาติ

เพราะชาติเป็นสมบัติร่วมกัน หน่วยงานของรัฐจึงถูกประชาชนตรวจสอบได้ โวยวายได้ ทำให้บุคคลสาธารณะต้องรับผิดเชิงประชาธิปไตย ซึ่งไม่ได้หมายถึงประชาธิปไตย แต่หมายถึงรับผิดต่อประชาชนเจ้าของรัฐ แม้แต่ผู้ที่ร่วมอยู่ในคณะยึดอำนาจ ก็อาจจำเป็นต้องตัดทิ้ง เพื่อรักษาคณะไว้ให้อยู่ต่อไป เผด็จการที่รับผิดเชิงประชาธิปไตยจึงมีได้ และที่จริงมีหลายคณะมาแล้วในโลก ในทางตรงกันข้าม ผู้นำในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ยอมรับผิดเชิงประชาธิปไตยก็มีเหมือนกัน ไม่ว่าผู้นำในระบอบใดที่ไม่ยอมรับผิดเชิงประชาธิปไตย ก็คือผู้นำที่ประสบความล้มเหลวในการนำประเทศไปสู่รัฐสมัยใหม่

2. สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือปฏิรูประบบราชการไทย (พลเรือน, กองทัพ, ตุลาการ) โดยยึดแนวของรัฐสมัยใหม่ นั่นคือทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถปกครองกันในระบบนิติรัฐได้จริง และทุกฝ่ายต้องรับผิดในเชิงประชาธิปไตย หากรัฐไทยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในระบอบเผด็จการหรือประชาธิปไตย รัฐก็จะสามารถนำการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ขั้นตอนที่สูงขึ้นได้ แม้ยังมีความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ในประเทศอยู่มาก แต่ก็ไม่ถึงขั้นที่จะแก้ไขโดยสงบไม่ได้สักวันหนึ่งข้างหน้า

3. ต้องสร้างดุลยภาพที่เหมาะระหว่างอำนาจส่วนกลางและท้องถิ่น รัฐสมัยใหม่ไม่ต้องรวมศูนย์ แตกต่างจากรัฐ patrimonialที่กลัวการแยกประเทศ จึงต้องพยายามรวมศูนย์ การกระจายอำนาจอาจกระทำตามหลักเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ได้ หากทำภายใต้หลักเผด็จการ การกระจายอำนาจคือการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหาร เพราะส่วนกลางอยู่ไกลเกินกว่าจะกำกับรายละเอียดได้ เช่นจัดให้การศึกษาในระดับพื้นฐานอยู่ในความควบคุมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรอบที่ส่วนกลางวางไว้ให้ทั้งโดยกฏหมายและโดยการเกลี้ยกล่อม (เป็นอำนาจที่มีประสิทธิภาพสูงมาก แต่มักถูกรัฐบาลไทยลืมเสมอ)

หากทำภายใต้หลักประชาธิปไตย ก็มองการกระจายอำนาจเป็นสิทธิของพลเมือง ที่จะจัดการชีวิตของเขาเองเป็นส่วนใหญ่ เหลือที่ต้องจัดการร่วมกับคนอื่นในชาติน้อยลง

ไม่ว่าจะมองจากหลักประสิทธิภาพหรือหลักสิทธิ ล้วนทำให้การบริหารงานสาธารณะมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอบสนองต่อประชาชนเจ้าของชาติดีขึ้นทั้งนั้น ซึ่งนั่นก็คือส่วนหนึ่งที่สำคัญของการก้าวเข้าสู่รัฐสมัยใหม่

หากทำได้ตามนี้ รัฐไทยก็จะหยุดความเป็นบุคโขโลคณะหรือเล่นพรรคเล่นพวกน้อยลง รัฐสามารถกระจายทรัพยากรกลับสู่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับการให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากภายในหรือภายนอก หรือภัยคุกคามทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างที่รัฐสมัยใหม่อื่นๆ อาจทำได้

หากรัฐไทยกลายเป็นรัฐสมัยใหม่ที่แท้จริง การพัฒนาประชาธิปไตยก็เป็นเรื่องง่าย เพราะสิทธิประชาธิปไตยที่ได้มาจะไม่นำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง จนรัฐต้องถอยกลับไปเป็นรัฐ patrimonial อีก

ในขณะเดียวกัน อาศัยความมีประสิทธิภาพของรัฐ การพัฒนาเศรษฐกิจก็อาจทำอย่างได้ผลมากขึ้น ยิ่งภายในรัฐสมัยใหม่ การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ของนายทุนเพียงบางกลุ่มทำได้ยากขึ้น เพราะรัฐต้องมีเหตุผลที่จะอธิบายให้ประชาชนเชื่อว่า เหตุใดคนส่วนใหญ่จึงไม่ได้ผลประโยชน์จากการพัฒนาบ้าง นายทุนเองก็ต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม และต้องรับผิดในเชิงประชาธิปไตย

ตลอดบทความนี้ ผมพยายามจะพูดถึงรัฐสมัยใหม่(ที่เข้มแข็ง) โดยไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยหรือเผด็จการ เพราะรัฐสมัยใหม่อาจเป็นประชาธิปไตยก็ได้ เป็นเผด็จการก็ได้ แต่รัฐ patrimonial ไม่มีทางเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ และไม่มีอนาคตในโลกปัจจุบันเสียแล้ว

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องผลักดันให้รัฐไทยก้าวไปเป็นรัฐสมัยใหม่เสียที แม้แต่ภายใต้เผด็จการทหาร (ซึ่งต้องให้ความหวังว่าจะทำและมีสมรรถนะจะทำได้ แต่หากไม่นับจอมพลป.พิบูลสงครามแล้ว เราไม่เคยมีเผด็จการทหารที่มีความคิดจะสร้างรัฐสมัยใหม่ขึ้นเลย) แต่ในโลกปัจจุบัน ประชาธิปไตยกำลังขยายตัว เราจึงน่าจะทำไปพร้อมกัน คือเปลี่ยนประเทศไทยเป็นรัฐสมัยใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย

ความเป็นรัฐสมัยใหม่กับความเป็นประชาธิปไตยไม่ใช่เงื่อนไขของกันและกัน ไม่จำเป็นว่ารัฐสมัยใหม่ต้องเป็นประชาธิปไตยเสมอไป และไม่จำเป็นว่ารัฐประชาธิปไตยต้องเป็นรัฐสมัยใหม่เสมอไป ฉะนั้นการทำสองอย่างไปพร้อมกันจึงไม่ผิดปรกติ และยังเหมาะกับสภาวการณ์ของโลกปัจจุบันด้วย อาจขจัดอุปสรรคในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้หลายเรื่อง

เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว นอกจากต้องทำสามอย่างข้างต้นเพื่อนำรัฐไทยเข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ (ยอมรับความเท่าเทียมของพลเมือง, ปฏิรูประบบราชการ, กระจายอำนาจ) แล้ว ยังควรใช้กระบวนการประชาธิปไตยเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเปลี่ยนผ่าน เพราะประชาธิปไตยจะเป็นจุดยืนในการเผชิญหน้ากับกลุ่มคณาธิปไตยในระบบ patrimonialism ได้แข็งแรงกว่า ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในตอนนี้ก็คือ

1. กลับสู่การเลือกตั้งที่ให้อำนาจประชาชนในการตั้งและตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยเร็ว

2. ลดบทบาทของกองทัพลงให้เหลือเพียงการป้องกันภัยคุกคามจากภายนอกเท่านั้น สิ่งที่กองทัพได้ทำในการรัฐประหารครั้งนี้จะเป็นเหตุผลซึ่งเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่า เราจำเป็นต้องมีกองทัพที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนเสียที

3. เพิ่มศักยภาพของรัฐสภาในการตรวจสอบ ไม่เฉพาะแต่ด้านงบประมาณเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงประสิทธิภาพและความโปร่งใสของระบบราชการ (พลเรือน, กองทัพ, ตุลาการ) ด้วย อาจมีคณะกรรมการของผู้ทรงคุณวุฒิที่สภาตั้งขึ้น และต้องรับผิดชอบต่อสภาทำหน้าที่นี้แทน โดยเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร

4. ไม่มีองค์กรสาธารณะใดๆ ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน นับตั้งแต่วุฒิสภาและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย แต่ในขณะเดียวกัน องค์กรอิสระก็ไม่ใช่พรรคพวกของฝ่ายบริหารหรือตัวแทนประชาชน จะต้องคิดจัดการอย่างไรให้องค์กรอิสระประกอบด้วยผู้มีคุณวุฒิอันเหมาะสม แต่ก็ไม่ลอยขาดออกไปจากการตรวจสอบถ่วงดุลขององค์กรประชาชน

ผมทราบดีว่า ข้อเสนอทั้งหมดเหล่านี้ เมื่อมองจากสถานการณ์ปัจจุบัน เหมือนเป็นการฝันเฟื่องที่ไม่อิงกับความเป็นจริงเลย ผมไม่ทราบหรอกว่า คนไทยจะผ่านช่วงนี้ไปได้อย่างไร แต่ผมคิดว่าเมื่อผ่านไปแล้ว เราควรมีเป้าหมายว่าจะเดินต่อไปอย่างไร อย่างน้อยเราไม่ควรผลักดันประชาธิปไตยภายใต้รัฐ patrimonial อีก เพราะมันไม่มีวันทำได้สำเร็จ การเปลี่ยนผ่านที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของไทยเวลานี้คือ เราต้องเข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่เสียที

 


เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนรายวัน 23 พฤษภาคม 2559
หมายเหตุ: เพิ่มเติมเนื้อหาที่ประชาไทโดยผู้เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2559

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พระบรมราชานุญาตถอดยศ 'พ.ต.ปฏิภาณ' ข้าราชการในพระองค์ เหตุกระทําผิดวินัย

$
0
0

24 พ.ค. 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศทหาร  พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ โดย มี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอด พ.ต. ปฏิภาณ เกษมสุวรรณ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ สังกัดกองกิจการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งได้ถูกปลดออกจากราชการ ออกจากยศทหาร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เนื่องจากกระทําผิดวินัยทหารประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงขัดคําสั่งผู้บังคับบัญชา ประพฤติตนไม่เหมาะสม ผิดราชสวัสดิ์และขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสํานัก ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติยศทหาร พุทธศักราช 2479 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยศทหาร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ประกอบ ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยผู้ซึ่งไม่สมควรจะดํารงอยู่ในยศทหารและบรรดาศักดิ์ พ.ศ. 2507 ขhอ 2

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พลเมืองสงขลา' ชี้ทหารล้ำเส้น เหตุเตือนนักวิชาการ ม.อ.ค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

$
0
0

เครือข่ายพลเมืองสงขลาชี้กรณีทหารส่งหนังสือความร่วมมือปมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาถึงนักวิชาการ ถือเป็นการทำเกินหน้าที่ ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน สิทธิในการแสดงความเห็น และเสรีภาพเชิงวิชาการ ‘สมพร’ ย้ำทำหน้าที่ในฐานะนักวิชาการไม่ใช้ชี้ทางให้โรงไฟฟ้า

24 พ.ค.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23 พ.ค.59) เวลา 22.20 น. สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Somporn Chuai-Aree' ว่า

“ผมเพิ่งได้รับหนังสือสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จากเพื่อนร่วมงานดังภาพแนบครับ... ในฐานะที่ถ้าท่านเป็นนักวิชาการเช่นผม ท่านควรจะทำเช่นไรครับ? เหตุผลที่ว่าทำไมผมออกมาตั้งคำถามกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ผมตั้งคำถามเพื่ออะไร? ผมได้ตอบตอนไปดูงานที่ญี่ปุ่นไปแล้วส่วนหนึ่ง ม.อ.น่าจะเปิดเวทีดีเบตเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินกันสักยกก็คงจะดีนะครับ อาจจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมครับ”

ทหารส่งหนังสือขอความร่วมมือนักวิชาการ ม.อ. ‘อย่าค้านโรงไฟฟ้าเทพา’

สำหรับหนังสือที่สมพรได้โพสต์ภาพในเฟซบุ๊ก นั้นเป็น สำเนาหนังสือของทางราชที่ กห. 0484.63/113 จากมณฑลทหารบกที่ 42 (มทบ.42) ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ลงวันที่ 21 เม.ย. 2559 เรื่อง ขอความร่วมมือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เรียน อธิการบดี ม.อ.หาดใหญ่ ลงนามโดย พล.ต.วิรัชช์ กมลศิลป์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42

มีเนื้อหาว่า ตามที่มีกลุ่มมวลชนมีการเคลื่อนไหวและต่อต้าน กรณีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาในพื้นที่ จ.สงขลา โดยมีกลุ่มแกนนำในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนักวิชาการ และกลุ่มประชาสังคม หรืออาจมีบุคลากรในหน่วยงานของท่านบางคนไม่เข้าใจการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อาจหันไปให้การสนับสนุนให้ความร่วมมือ 

“มณฑลทหารบกที่ 42 จึงขอความร่วมมือจากท่านทำความเข้าใจกับบุคลากร เพื่อให้ทราบถึงวิธีการดำเนินงานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา” ข้อความในหนังสือระบุ 

ในตอนท้ายของสำเนาหนังสือ  เขียนลายมือระบุสำเนาแจ้งไปยังคณะบดีคณะวิศวะฯ และคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีการระบุชื่อ ‘ดร.สมพร’ นอกจากนี้ยังมีการนัดประชุมหารือกับอาจารย์และบุคลากรที่เดินทางไปดูงานที่ญี่ปุ่นกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในวันที่ 25 พ.ค. 2559 นี้ด้วย

‘สมพร’ ย้ำทำหน้าที่ในฐานะนักวิชาการไม่ใช้ชี้ทางให้โรงไฟฟ้า

วันนี้(24 พ.ค.2559)  เวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้สัมภาษณ์ความเห็น สมพร กล่าวว่า พอทราบมาก่อนหน้านี้ว่ามีการรวบรายชื่อกลุ่มคนที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพามีทั้งภาคประชาชน ข้าราชการ นักวิชาการ ซึ่งก็คาดว่าอาจจะต้องมีรายชื่อตนเป็นหนึ่งในนั้นด้วยและอาจมีการติดต่อจากทางทหาร ในการส่งหนังสือในครั้งนี้ยังไม่แน่ใจเจตนาที่ชัดเจน อาจจะถือโอกาสนี้เป็นเรื่องดีที่เป็นทหารจะเป็นตัวกลางร่วมกันกับทางมหาลัยวิทยาลัย ม.อ. เพื่อจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและถกเถียงร่วมกันระหว่างฝ่ายเห็นด้วยและเห็นต่าง

ส่วนเรื่องการนัดประชุมหารือกับอาจารย์และบุคลากรที่เดินทางไปดูงานที่ญี่ปุ่นกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในวันที่ 25 พ.ค. 2559 สมพร กล่าวว่า ไม่สามารถไปได้เนื่องจากติดงานประชุมวิชาการที่กรุงเทพมหานคร  แต่ได้แจ้งทางเจ้าหน้าที่ให้ชี้แจงให้แก่ อธิการบดี ม.อ.หาดใหญ่ เรียบร้อยแล้ว

สมพร กล่าวต่อว่า ในฐานะนักวิชาการ อยากสร้างความรู้ความเข้าจากการค้นคว้าวิจัยมาหาคำตอบร่วมกัน เป้าหมายของเราคือต้องสร้างกรอบเชิงวิชาการ แต่เราไม่ได้สร้างคำตอบให้แก่การสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราไม่ได้คัดค้านอย่างไร้สาระแต่เป็นการตั้งคำถามและสร้างข้อกังวลต่อผลกระทบนั้น การแลกเปลี่ยนพูดคุยถามมาตอบไปเป็นเสน่ห์ บางประเทศที่เขาจะทำโครงการที่จะสร้างผลกระทบในพื้นที่ต้องใช้เวลาถกเถียงกัน 3-5 ปี เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่สามารถแก้ไขได้ง่าย ยกตัวอย่างกรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถฟื้นฟูปัญหาสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จ และสถานการณ์การผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ตอนนี้ก็รองรับในพื้นที่เพียงพอ จึงไม่จำเป็นเร่งด่วนในการรีบดำเนินการ

เครือข่ายฯสงขลาวอนทหารยุติการสนับสนุนโรงไฟฟ้าเทพา

วันเดียวกันนี้(24 พ.ค.59) เครือข่ายพลเมืองสงขลา ได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึก ลงวันที่ 24 พ.ค. 2559 แสดงความคิดเห็นต่อหนังสือราชการถึงอธิการบดี ม.อ.หาดใหญ่ “ขอความร่วมมือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา” ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 เป็นการกระทำเกินหน้าที่ ละเมิดสิทธิ และเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น และเสรีภาพเชิงวิชาการ โดยเสนอแนะให้ทหารยุติบทบาทการสนับสนุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทพาและเป็นคนกลางสร้างความเข้าใจ

เนื้อหาจดหมายยกประเด็นเรื่องปัญหามลพิษที่มากับโรงไฟฟ้าถ่านหิน กรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ และมีข้อเสนอในการจัดการพลังงานใหม่ทั้งระบบ ที่ต้องการหารือร่วมกันทั้งประชาชนและนักวิชาการในการตั้งข้อสังเกต ในการศึกษาวิจัยเพื่อหาทางออกร่วมกัน

จดหมายระบุข้อคิดเห็นต่อหนังสือว่า “หนังสือฉบับดังกล่าวแสดงนัยยะแฝงถึงการสกัดกั้นการแสดงออกทางความคิดของกลุ่มคนที่เห็นต่าง ซึ่งบทบาทเหล่านี้ ไม่ควรเป็นบทบาทของทหารในยุคปฏิรูป ซึ่งแนวทางการปฏิรูปพลังงานไทยไม่ใช่แนวทางการใช้พลังงานถ่านหินอย่างแน่นอน”

โดยตอนท้ายของจดหมายระบุว่า ขอให้ทหารยุติบทบาทการสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และขอคืนหนังสือฉบับดังกล่าว เปลี่ยนบทบาทมาเป็นคนกลางจัดเวทีนำข้อมูลของทั้งสองสามฝ่ายที่มีความคิด และข้อมูลต่างกันมาเปิดให้ประชาชน สาธารณะชนเพื่อเป็นการปฏิรูปอย่างแท้จริง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเริ่มต้นฤดูฝน-จะสิ้นฤดูฝนกลางตุลาคม

$
0
0

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเข้าสู่ฤดูฝนเมื่อ 18 พ.ค. 59 หลังจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดความชื้นจากทะเลอันดามันเข้าปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ส่วนลมระดับบนเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องเกือบทั่วไป โดยจะมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของฤดูและสิ้นสุดฤดูฝนกลางตุลาคม

ภาพจากดาวเทียม Himawari IR เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 17.45 น. UTC หรือเวลา 00.45 น. วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ตามเวลาประเทศไทย จะเห็นว่ากลุ่มเมฆได้ปกคลุมบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภาคพื้นทวีปและพื้นที่ทางทะเล (ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา)

25 พ.ค. 2559 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่อง การเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 มีรายละเอียดดังนี้

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
เรื่อง การเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2559

ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพาความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทย และอ่าวไทยต่อเนื่อง ส่วนลมระดับบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกพัดปกคลุม ประกอบกับประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องเกือบทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นฤดูการกระจายของฝนจะไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีฝนเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของฤดู และจะสิ้นสุดฤดูฝนประมาณกลางเดือนตุลาคม แต่ในภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะยังคงมีฝนตกต่อไปอีกถึงเดือนพฤษภาคม จึงขอประกาศให้ประชาชนได้ทราบทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

000

สำหรับพยากรณ์อากาศตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 23.00 น. เป็นต้นไป จนถึง 23.00 น. วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ลักษณะอากาศทั่วไปบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลได้ ในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทย มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2559 นี้

สำหรับลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง

ภาคเหนือมีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลางมีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกมีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่อบราซิลปูด บทสนทนาลับผู้สมคบคิด 'รัฐประหาร' โค่นล้มประธานาธิบดีเลือกตั้ง

$
0
0

หนังสือพิมพ์โฟลยา เดอ เซา เปาโล ซึ่งเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ชื่อดังในบราซิลเผยแพร่เอกสารลับที่รั่วไหลระบุว่าการถอดถอนประธานาธิบดีดิลมา รุสเซฟฟ์ นั้นมีการสมคบคิดกันในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล กองทัพ และผู้บริหารวิสาหกิจน้ำมัน เพื่อตัดตอนการสืบสวนสอบสวนกรณีอื้อฉาวการทุจริตคอร์รัปชันไม่ให้สาวไปถึงตัวพวกเขา ทางสื่อตะวันตกชวนให้เรียกการถอดถอนในครั้งนี้ว่าเป็น 'การรัฐประหาร'

24 พ.ค. 2559 เอกสารลับดังกล่าวคือสำเนาบทสนทนาทางโทรศัพท์ความยาว 75 นาที ระหว่างโรเมโร ชูกา ผู้ที่ในตอนนั้นเป็นวุฒิสมาชิกและหลังการถอดถอนรุสเซฟฟ์ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีด้านการวางแผน กับ เซอร์จิโอ มาชาโด อดีต ส.ว. ผู้ที่ในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน 'ทรานส์เปโตร'

บทสนทนาระหว่างทั้ง 2 คนเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน มี.ค. ก่อนหน้าการลงมติถอดถอนรุสเซฟฟ์ ในบทสนทนาเผยให้เห็นว่าทั้งสองคนวางแผนให้มีการถอดถอนรุสเซฟฟ์ซึ่งสำหรับพวกเขาแล้วเป็น "หนทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้การสืบสวนสอบสวนกรณีการทุจริตจบลง" นอกจากนี้ยังมีการสมรู้ร่วมคิดกับสถาบันที่มีอำนาจที่สุดในบราซิลอย่างกองทัพและศาลสูงสุดด้วย

ก่อนหน้านี้เดวิด มิแรนดา นักกิจกรรมชาวบราซิลผู้ก่อตั้งองค์กรคุ้มครองผู้เปิดโปงชื่อองค์กร 'สโนว์เดนเทรียตตี' เคยตั้งข้อสงสัยว่าการถอดถอนรุสเซฟฟ์อาจจะมีแรงจูงใจดำมืดอยู่เบื้องหลัง ซึ่งเอกสารที่ถูกเปิดโปงล่าสุดถือเป็นหลักฐานอย่างดีที่พิสูจน์ว่าการถอดถอนประธานาธิบดีในครั้งนี้เป็นการกระทำที่ "ทำลายประชาธิปไตย"

ไม่เพียงแค่นั้นเอกสารที่ถูกเปิดโปงยังแสดงให้เห็นว่าแผนการที่ชูกาเรียกว่า "ข้อตกลงแห่งชาติ" (A National Pact) ในการร่วมมือกันถอดถอนรุสเซฟฟ์นั้นเป็นไปเพื่อหยุดยั้งไม่ให้มีการสืบสวนการทุจริตที่ผู้นำเหล่านี้มีส่วนพัวพันด้วย โดยชูกากล่าวชัดเจนว่าการถอดถอนประธานาธิบดีเป็นหนทางเดียวที่จะ "หยุดยั้งการกดดันจากสื่อและภาคส่วนอื่นๆ ให้มีการสืบสวนสอบสวนกรณีทุจริต 'คาร์วอช' (Car Wash) ต่อไป"

สำหรับการทุจริตคาร์วอชเป็นกรณีการฟอกเงินที่มีการสืบสวนสาวไปจนถึงการทุจริตคอร์รัปชันในรัฐวิสาหกิจพลังงานเปโตรบราสที่ผู้บริหารถูกกล่าวหาว่ารับสินบนเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทก่อสร้างในราคาที่สูงขึ้น โดยที่มีผู้บริหารหลายคนและนักการเมืองหลายพรรคในบราซิลถูกสืบสวนและส่วนหนึ่งก็ถูกจับกุมจากการมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคาร์วอช แต่การถอดถอนรุสเซฟฟ์ก็เป็นไปเพื่อยับยั้งการสืบสวนกรณีคาร์วอชซึ่งไม่ได้ถือเป็นการสนับสนุนการเอาผิดต่อผู้ทุจริตและไม่ได้หยุดยั้งการทุจริตคอร์รัปชันเลย

สื่อดิอินเตอร์เซฟต์ระบุต่อไปว่ากลุ่มผู้ที่ลงมติถอดถอนประธานาธิบดีบราซิลนั้นไม่ได้ต้องการรัฐบาลที่ใสสะอาดเลย พวกเขาเป็นพวกฝ่ายขวาคณาธิปไตยที่มีวาระเอื้อผลประโยชน์แต่กับตัวเอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เคยขึ้นสู่อำนาจด้วยวิถีทางประชาธิปไตยและไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนชาวบราซิล

การเปิดโปงในครั้งนี้ยังกลายเป็นตัวชี้วัดสำหรับสื่อต่างๆ ว่าควรจะเรียกการถอดถอนรุสเซฟฟ์ว่าเป็น "การรัฐประหาร" เช่นที่ฝ่ายสนับสนุนรุสเซฟฟ์เรียกมาตลอดหรือไม่ โดยในสำเนาบทสนทนามีส่วนหนึ่งที่ชูกากล่าวอ้างว่ากองทัพของบราซิลก็สนับสนุนแผนการในครั้งนี้ เขาอ้างว่าได้พูดคุยกับนายพล ผู้บัญชาการทหาร ซึ่งบอกว่าจะรับรองการถอดถอนในครั้งนี้ นอกจากนี้กองทัพยังคอยจับตามองขบวนการคนงานไร้ที่ดิน (MST) ที่ให้การสนับสนุนนโยบายปฏิรูปที่ดินและการลดความเลื่อมล้ำโดยพรรคแรงงานบราซิลและเป็นกลุ่มที่ออกมาประท้วงการถอดถอนรุสเซฟฟ์ด้วย

นอกจากกองทัพแล้วผู้พิพากษาหลายคนจากศาลสูงสุดของบราซิลมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยโดยศาลสุงสุดของบราซิลถูกใช้อ้างความชอบธรรมว่าการถอดถอนรุสเซฟฟ์ไม่เป็น "การรัฐประหาร" ชูกาบอกว่ามีผู้พิพากษาอยู่ไม่กี่คนเท่านั้นที่เขาไม่สามารถเข้าถึงได้

ชูกากล่าวยืนยันว่าสำเนาบทสนทนาดังกล่าวเป็นของจริงแต่ก็บอกว่าเขาต้องแสดงความคิดเห็นนี้โดยที่ไม่ได้อยู่ในบริบทเรื่องของการถูกเปิดโปง

คอมมอนดรีมส์ระบุว่ามีกลุ่มผู้ประท้วงยังคงปักหลักอยู่หน้าบ้านพักของรักษาการประธานาธิบดีเทเมร์หลังจากที่มีการประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (22 พ.ค.) จัดโดยกลุ่มขบวนการฝ่ายซ้าย เฟรนเต โปโว เซม เมโด ที่มีผู้ชุมนุมหลายพันคน ทั้งนี้การประกาศปิดกระทรวงวัฒนธรรมจากรัฐบาลรักษาการยังทำให้ศิลปินและผู้ไม่พอใจในเรื่องนี้พากันยึดครองอาคารที่ทำการต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อเป็นการประท้วงจนทำให้เทเมร์ต้องยกเลิกการสั่งปิด

ดิอินเตอร์เซฟต์ยังเรียกร้องให้สื่อต่างๆ เรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบราซิลว่าเป็น "การรัฐประหาร" จากที่เอกสารรั่วไหลฉบับนี้แสดงให้เห็นว่ามีการพยายามขอให้สถาบันทางการเมืองต่างๆ ร่วมมือในการยึดอำนาจผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งโดยทำไปเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง


เรียบเรียงจาก

Call It a 'Coup': Leaked Transcripts Detail How Elite Orchestrated Overthrow in Brazil, Common Dreams, 23-05-2016
http://www.commondreams.org/news/2016/05/23/call-it-coup-leaked-transcripts-detail-how-elite-orchestrated-overthrow-brazil

New Political Earthquake in Brazil: Is It Now Time for Media Outlets to Call This a “Coup”?, The Intercept, 23-05-2016
https://theintercept.com/2016/05/23/new-political-earthquake-in-brazil-is-it-now-time-for-media-outlets-to-call-this-a-coup/


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
https://en.wikipedia.org/wiki/Operation_Car_Wash

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่อญี่ปุ่นเสนอข่าวไทยหลังรัฐประหาร 2 ปี เกิดเหตุลิดรอนสิทธิประชาชนมากขึ้น

$
0
0

นักข่าวอะซาฮีชิมบุนเขียนถึงเรื่อง 2 ปีหลังการรัฐประหาร เผด็จการทหารใช้อำนาจข่มขู่ปราบปรามประชาชนหนักขึ้นโดยเพาะช่วงใกล้ลงประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ที่ถือเป็นการลงประชามติในสภาพที่ไม่เป็นธรรม ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของชนชั้นนำที่จะขจัดอิทธิพลของทักษิณและบีบเค้นกลุ่มเสื้อแดงเพื่อรักษาอภิสิทธิ์ของตนเองไว้

นักข่าวหนังสือพิมพ์อะซาฮีชิมบุน เขียนถึงเรื่องครบรอบ 2 ปีการรัฐประหารครั้งล่าสุดในไทยลงบนเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์เมื่อวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าหลังจากที่มีการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ช่วงสองปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้กองทัพทำการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหนักขึ้นเพื่อจำกัดฝ่ายที่ต่อต้านพวกเขา

ในข่าวของอะซาฮีชิมบุนระบุถึงเหตุการณืช่วงเปิดเทอมใหม่ของนักเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ในขณะที่นักเรียนกำลังเข้าพิธีปฐมนิเทศในโรงเรียนก็มีทหารสองนายในชุดเครื่องแบบแอบเข้าไปในอาคารแล้วก็ถ่ายรูปด้วยสมาร์ทโฟนก่อนจะออกไป

สื่อญี่ปุ่นรายงานว่าในภาคอีสานเป็นพื้นที่การเกษตรที่ผู้คนยังคงยากจนและเป็นภูมิภาคสำคัญของกลุ่มคนเสื้อแดง แล้วก็เล่าถึง สุทิน คลังแสง เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งนี้และเคยเป็นอดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย เขาถูกกล่าวหาจากรัฐบาลเผด็จการทหารอยู่เสมอนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อสองปีที่แล้ว เขาเคยถูกจับเข้าค่ายทหารเพื่อ "ปรับทัศนคติ" เป็นเวลา 4 ครั้ง มีทหารคอยไปเยี่ยมเขาที่บ้านแทบทุกอาทิตย์ ไม่ว่าสุทินจะเดินทางภายในจังหวัดหรือไปในส่วนอื่นของประเทศทหารก็จะรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน สุทินให้สัมภาษณ์ว่าในช่วงที่ใกล้มีการลงประชามติรัฐธรรมนูญใหม่เผด็จการทหารก็ลิดรอนเสรีภาพของพวกเขาหนักขึ้น โดยมีการเรียกคนที่ถูกมองว่าน่าจะเข้าข้างกลุ่มเสื้อแดงให้ลงนามว่าจะไม่ขัดขวางกระบวนการประชามติ

ในข่าวของอะซาฮียังระบุถึงกรณีหมู่บ้านบัวบานที่มีรถฮัมวีของทหารติดอาวุธเต็มรูปแบบเคลื่อนพลไปตามหมู่บ้านทุกวันอาทิตย์เป็นเวลา 2 ปีแล้ว ชาวบ้านอายุ 62 ปี กล่าวให้สัมภาษณ์ว่าทหารพวกนี้กำลังข่มขู่พวกเขาว่ากำลังจับตาดูพวกเขาอยู่ตลอดเวลา

สื่อญี่ปุ่นยังระบุถึงเรื่องการที่ทักษิณได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากคนไทยในชนบทที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายของเขา แต่กลุ่มชนชั้นนำอย่างกองทัพ อำมาตย์ และชนชั้นสูงในเมืองมองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายต่ออภิสิทธิ์ที่พวกเขามี ทำให้มีการรัฐประหารโค่นล้มทักษิณ แต่พรรคฝ่ายทักษิณก้ยังคงชนะการเลือกตั้งได้เสมอมาการรัฐประหารในปี 2557 จึงเป็นความพยายามครั้งสุดท้ายอย่างเด็ดขาดในการขจัดความเป็นทักษิณออกไปจากประเทศ

เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีตส.ส. และผู้ช่วยศาตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นกล่าวว่าเผด็จการทหารพยายามกดดันแกนนำเสื้อแดงในท้องถิ่นหนักขึ้นเพราะกลัวว่าแกนนำเหล่านี้จะขับเคลื่อนกลุ่มคนรากหญ้าได้ ทั้งการสั่งห้ามกิจกรรม การสั่งปิดวิทยุชุมชน ปิดสำนักงานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) สาขาขอนแก่น สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่แย่ลงในไทยต่างทำให้สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ต่างก็แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในไทยมากขึ้นไปด้วย

ผู้สื่อข่าวยังเขียนถึงการที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการพยายามทำให้อิทธิพลของทักษิณและเสื้อแดงอ่อนแอลงในขณะที่พยายามรักษาอภิสิทธิ์และอำนาจตามจารีตของชนชั้นนำไว้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ถุกวิจารณ์ว่ามีลักษณะไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะลดอำนาจของ ส.ส.และคณะรัฐมนตรี เหลืออยู่แค่เล็กน้อยแต่ให้อำนาจกับกลุ่มองค์กรแต่งตั้งอย่างศาลรัฐธรรมนูญมาก ให้อำนาจทหารในการแต่งตั้ง ส.ว. ในช่วง 5 ปีหลังจากการเลือกตั้ง ทำให้กองทัพมีอำนาจทางอ้อมในการแทรกแซงรัฐบาลใหม่ รวมถึงมีการออกพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพื่อห้ามรณรงค์สนับสนุนหรือต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ถึงแม้รัฐบาลเผด็จการทหารจะเชื่อว่าถ้าสามารถทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์สงบลงแล้วจะสามารถทำให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่นี้ผ่านประชามติ แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมกล่าวต่ออะซาฮีซิมบุนว่า "ยังคงประชาชนก็อยากจะเลือกตั้ง ถ้าให้เลือกระหว่างเนื้อหาแบบในรัฐธรรมนูญกับการที่รัฐบาลเผด็จการทหารจะคงอยู่ต่อไปพวกเขาคงเลือกอย่างแรก"

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวระบุว่าในสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ผู้มีสิทธิลงประชามติรับรู้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ยากและไม่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างฯ เมื่อการลงประชามติในครั้งนี้ไม่ได้เป็นอิสระและมีความยุติธรรมมันก็อาจจะทำให้ผลลัพธ์ขาดความชอบธรรมได้

ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกปกิเสธมันจะกลายเป็นการทำลายความมั่นใจในตัวเองของ คสช. อย่างหนัก ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการวางขั้นตอนกระบวนการว่าจะทำอย่างไรต่อไปถ้าหากร่างถูกปฏิเสธ ก็มีความเป็นไปได้ที่การเลือกตั้งจะล่าช้าออกไปอีก ถึงแม้ว่าภาคธุรกิจที่สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการชุดนี้จะสนับสนุนเพราะอ้างว่ามีบรรยากาศที่สงบขึ้นกว่าช่วงความวุ่นวายทางการเมือง แต่มาตรการที่ คสช. นำมาใช้ในนามของความมั่นคงและความปรองดองนั้นก็มีแต่การนำมาใช้กับฝ่ายสนับสนุนทักษิณเพียงอย่างเดียว ในสองปีที่ผ่านมาความแตกแยกในสังคมและการเผชิญหน้าทางการเมืองมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น

 

เรียบเรียงจาก

Two years after, heavier hand on liberties, The Asahi Shimbun, 20-05-201 http://www.asahi.com/articles/DA3S12366334.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนาคตวิทยากับการเมืองไทย หรือ สวัสดีท่านโนบิตะ, เรามาจากโลกอนาคต

$
0
0



สวัสดี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีโนบิตะ, เราชื่อโดราเอมอน เรามาจากโลกอนาคต เราดีใจมากที่รู้จักนาย ท่านนายกรัฐมนตรีโนบิตะ จอ.โอชา หากท่านโนบิตะประสงค์ให้ประชาชนดาวอังคารอยู่อย่างมีความสุขตลอดไป เราอยากให้ท่านโนบิตะลองคิดไปถึงอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า แล้วค่อย ๆ นึกย้อนหลังกลับมาทีละนิดจนถึงเวลาที่เป็นปัจจุบันว่าควรจะเกิดอะไร ควรจะทำอะไร อนาคตที่มีความสุขในอีก 20 ปีข้างหน้าจึงจะเป็นจริง

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลยนะโนบิตะ ถ้านายอยากให้การไปตั้งถิ่นฐานยังดาวอังคารราบรื่น มีความสุข ในเวลานั้นนายจะต้องมีความใฝ่รู้ช่างสังเกต ตลอดจนมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีทุกชนิดและเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นได้อย่างชาญฉลาด ในเวลานั้นท่านโนบิตะคงมิได้ห้อยพระเครื่องเป็นพวงมาเป็นเวลานานแล้ว ในฐานะพุุทธศาสนิกผู้ล้ำสมัยเป็นไปได้ว่าอย่างมากนายก็คงห้อยแฟลชไดรฟ์เก๋ ๆ ที่ออกแบบเป็นตัวอักษรคำว่าสติ เพราะนายได้เข้าใจแล้วว่า สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง--ทั้งนี้สมมติว่าสมัยนั้นยังใช้แฟลชไดรฟ์อยู่นะ ส่วนนายจะให้ทีมงานที่ออกแบบสติกเกอร์ไลน์ค่านิยม 12 ประการเป็นคนออกแบบแฟลชไดรฟ์นี้ให้หรือไม่ เราไม่ขอทำนาย

ขยับใกล้ปัจจุบันเข้ามาอีกหน่อย ก่อนที่นายจะไปถึงจุดที่เข้าใจพุทธธรรมมากขึ้นจนเข้าใจแล้วว่าสติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ก่อนที่นายจะรู้ว่าพก "หลวงพ่อสติ" องค์เดียวก็เพียงพอแก่การบริหารดาวอังคารแล้ว ก่อนจะไปถึงจุดนั้น นายได้ปรับปรุงการห้อยพระเครื่องให้กะทัดรัด เหลือห้อยแค่เพียง 5 องค์

แม้นายจะเข้าใจแล้วว่าพระเบญจภาคีที่นิยม ๆ กันอยู่ในหมู่นักเลงพระเครื่องนั้นเป็น "ไสยศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง" โดยบรรดาเซียนพระ ไม่เก่าไปกว่าปีพ.ศ. 2456

(พระสมเด็จวัดระฆัง "องค์ประธานแห่งพระเบญจภาคี" เป็น "ซิกเนเจอร์ โปรดักส์" ของสมเด็จโต พระรอด จ.ลำพูน พบครั้งแรกประมาณต้นรัชกาลที่ 5 พระนางพญา จ.พิษณุโลก ขุดพบสมัยรัชกาลที่ 5 พระผงสุพรรณ จ.สุพรรณบุรี ขุดพบปีพ.ศ.2456 พระซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร พบราวปีพ.ศ.2392 concept พระเบญจภาคี จึงเป็นความคิดใหม่ ที่เพิ่งสร้างขึ้นภายหลังจากที่มีการสร้าง/ค้นพบพระเครื่องแต่ละองค์ครบทุกองค์แล้ว)

แต่ท่านโนบิตะก็เห็นประเด็นว่าการ "จัดทัพ" พระเครื่องให้กระชับ ย่อมเป็นการฉลาดกว่าการห้อยพระเป็นพวง เพราะนั่นย่อมหมายถึงประสิทธิภาพในการจัดการ ไม่ต้องอาศัยพระเครื่องเป็นกองร้อย ก็สามารถทำให้ท่านโน ฯ อุ่นใจได้

เช่นเดียวกับที่ในเวลานั้นนายค้นพบแล้วว่าการมีนายพลจำนวนมากอยู่ในกองทัพสะท้อนถึงการมีกองทัพที่อุ้ยอ้าย ขาดประสิทธิภาพ ในเวลานั้นนายได้ปฏิรูปลดขนาดกองทัพลดจำนวนนายพลลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกันไปด้วย

ขยับใกล้ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ก่อนที่นายจะห้อยพระเพียง 5 องค์ นายได้เริ่มเข้าใจแล้วว่า การห้อยพระเป็นพวง มีอะไรก็ใส่ ๆ เข้ามานั้น อาจเทียบได้กับช่วงเวลาที่ต้องสู้รบเยี่ยงกองโจร ที่มีแต่ความประหวั่นพรั่นพรึง ขาดขวัญ ขาดกำลังใจ ห้อยพระมาก ๆ เข้าไว้ก่อนเป็นดี

ท่านโน ฯ เริ่มเห็นแล้วว่า ต้อง "จัดทัพ" พระเครื่องให้มีโครงสร้าง ต้องมีการตรวจสอบหน้าที่คุณสมบัติพระเครื่องแต่ละองค์ แล้วคัดสรรค์เฉพาะองค์ที่มีฟังก์ชั่นไม่ซ้ำกัน มารวมกันเป็นทีม กระนั้นนายก็ยังลังเล เลือกองค์นี้ เสียดายองค์นั้น สุดท้ายก็ยังห้อยเป็นพวงอยู่ดี

แต่อย่างน้อยก็ลดองค์ที่ซ้ำซ้อนลงได้บ้าง

ในเวลานั้นท่านโน ฯ ได้ปรับปรุงกองทัพ โดยตำแหน่งไหนที่ซ้ำซ้อน หรือไม่มีการหน้าที่ชัดเจน ก็ได้ปรับลดลงบ้างเช่นกัน

สาเหตุที่ท่านโน ฯ เริ่มคิดถึงโครงสร้าง/การหน้าที่ของพระเครื่องแต่ละองค์ ก็เพราะก่อนหน้านั้น ท่านโน ฯ ได้มีโอกาสอ่านและทำความเข้าใจความหมายของคาถาชินบัญชร มิใช่สักแต่ว่าสวด ๆ ท่อง ๆ หวังแต่ความศักดิ์สิทธิ์ของคาถา โดยไม่มีความรู้เลยว่าคาถาชินบัญชรกล่าวถึงอะไร

"...สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก"

"พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ..."

"พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย"

"พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ"

"พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบีื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง"

สรุปเทียบความง่าย ๆ ในกรณีพระเครื่องก็คือ การห้อยพระเครื่องก็เพื่อเป็นอนุสติน้อมนำเอาคุณสมบัติเด่น ๆ ของพระองค์นั้น ๆ แต่ละองค์มาไว้กับตัวเรา องค์ใดเด่นในหน้าที่ในกิจใด ก็น้อมใจให้ตนปฏิบัติกิจนั้น ๆ โดยมีพระหรือธรรมะองค์นั้น ๆ เป็นแบบอย่าง ห้อมล้อมตนเองไว้ด้วยธรรมะ/ด้วยคุณสมบัติที่พระเครื่ององค์นั้น ๆ มี ที่พระเครื่ององค์ต่าง ๆ จะสามารถคุ้มครองเราได้ ก็ด้วยการที่เราปฏิบัติตามธรรมะที่ประจำอยู่กับพระเครื่ององค์นั้น ๆ มิใช่อยู่ที่เครื่องที่วัตถุที่นำมาสร้างขึ้นเป็นองค์พระ

เป็นอันว่าการจะไปตั้งถิ่นฐานยังดาวอังคารได้สำเร็จ จุดเริ่มต้นจุดหนึ่งในบรรดาจุดเริ่มต้นหลาย ๆ จุด ก็คือการที่โนบิตะได้เริ่มอ่านและเข้าใจความหมายบางประการของการห้อยพระเครื่อง จากคาถาชินบัญชรนี้เอง

หากท่านโนบิตะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางความคิด และดังนั้นจึงยังคงห้อยพระเครื่องเป็นพวงอยู่ เกรงว่าอนาคตของท่านโน ฯ อย่างมากคงไปได้ไกลเพียงการเป็นจิ๊กโก๋คุมปากอุโมงค์หรือปากปล่องทางเข้าออกชุมชนแออัดบนดาวอังคารเท่านั้น

0000

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือเรื่องการส่งเสริมการปลูกหมามุ่ย ท่านโนบิตะย่อมรู้ดีว่า หากเริ่มต้นด้วยวัฒนธรรมแบบไทย ๆ หากส่งเสริมให้มีการปลูกอะไร โดยไม่มีแผนงานเตรียมเอาไว้ก่อน สุดท้ายพืชเกษตรชนิดนั้น ๆ ก็จะหมดอนาคต ประเดี๋ยวก็จะปลูกตาม ๆ กันทั้งแผ่นดิน จนแทบจะไม่มีราคา

เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ นายจึงเริ่มจากการใช้แนวคิดอนาคตวิทยาอีกเช่นกัน กล่าวคือในอนาคตที่หมามุ่ยได้เป็นสินค้าเกษตร/สมุนไพรชั้นนำของประเทศนั้น สิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก็คือ ชุมชนไทยบนดาวอังคารได้มีการเปิดรับแนวทางการแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง (เช่นเดียวกับที่การแพทย์แผนจีนได้รับการยอมรับอย่างทัดเทียมกับการแพทย์ตะวันตก) จน แม้แต่ในแผนกการแพทย์ฉุกเฉินก็ยังมีการพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นจากการประยุกต์ความรู้สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยเข้ากับความรู้เรื่องพลังบำบัดที่เกิดจากความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ ความรู้ในทางชีวฟิสิกส์ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากสภาพไร้ความโน้มถ่วง ในการเยียวยาความเจ็บป่วยฉุกเฉิน

ในท่ามกลางความงอกงามของการแพทย์ทางเลือกต่าง ๆ เท่านั้น ที่หมามุ่ยจะเป็นสินค้าเด่นของชุมชนไทยบนดาวอังคารได้

ก่อนที่จะไปถึงจุดที่การแพทย์ทางเลือกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางนั้น แน่นอนว่าสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ก็คือการยอมรับและส่งเสริมความหลากหลายทางความคิด ถ้าในจิตใต้สำนึกส่วนลึกของท่านนายกรัฐมนตรีโนบิตะนิยมประเทศถั่งเช่า ท่านก็ต้องระลึกถึงคำพูดของ "บิ๊กเติ้ง" ที่ว่า "แมวสีอะไรก็จับหนูได้" ไม่ว่า "บิ๊กเติ้ง" จะให้ความหมายคำพูดนี้ว่าอย่างไรก็ตาม ท่านโนบิตะต้องคิดต่อไปว่า การจะไปถึงจุดที่แมวสีอะไรก็จับหนูได้นี้ แมวทุกตัวทุกสีต้องได้รับการบำรุงเลี้ยงให้เติบโตทัดเทียมกัน ความคิดต่าง ๆ จึงจะงอกงามได้

เมื่อนึกย้อนกลับไปก็เป็นอันว่า จุดเริ่มต้นของความสำเร็จของการส่งเสริมการปลูกหมามุ่ยนั้น กลับเป็นการส่งเสริม ยอมรับ และเคารพความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับหมามุ่ยเลย

0000

เพื่อมิให้เรื่องยืดเยื้อจนเกินไป ตัวอย่างสุดท้าย แต่มิใช่สำคัญน้อยที่สุด คงเป็นเรื่องความสมัครสมานของคนในชาติ โดยมีสถาบันกษัตริย์ที่เป็นกลาง เป็นที่รักของคนทั้งชาติ

เป้าหมายในอนาคตของเราคงเป็นว่า คนทุกเฉดสีมีความรักเคารพในกันและกัน แม้จะมีความแตกต่างในเพศสภาพ วัย หรือความคิดทางการเมือง ในเวลานั้น เพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ธงชาติอาจมีแถบสีหลากหลายจนเป็นสีรุ้งไปแล้วก็ได้ อย่าลืมว่าในเวลานั้นไทยสยามมิได้อยู่เพียงตามลุ่มน้ำเจ้าพระยา หรือลุ่มน้ำอื่นใดในภูมิภาคต่าง ๆ เท่านั้น หากแต่ไทยสยามได้ไปตั้งถิ่นฐานและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนานาชาติบนดาวอังคารแล้ว

ก่อนที่จะไปถึงจุดที่เรามีความสมัครสมานจนมีความยอมรับอย่างทัดเทียมแม้ในเพศสภาพที่แตกต่างกัน สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก่อนคงจะเป็นเรื่องของการปรองดองกันได้ในระหว่างฝ่าย "เหลือง" กับฝ่าย "แดง" สภาพปรองดองนี้จะเกิดได้อย่างไรคงยังเป็นปริศนาอยู่ในเวลานี้ แต่เมื่อปรองดองกันได้สำเร็จ ธงชาติอาจสะท้อนความสามารถดำรงอยู่ร่วมกันของฝ่าย "เหลือง" และฝ่าย "แดง" ด้วยการเพิ่มสีเหลืองเข้ามาเป็นอีกสีหนึ่งของธงชาติ สะท้อนแนวคิดว่า แม้แตกต่างทางความคิด ทุกสีทุกชีวิตก็เป็นไทยด้วยกัน

ความสมัครสมานของคนในชาติ อาจจะเกิดจากความรักใคร่กลมเกลียวกันขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน เพราะมีการระงับการฟ้องร้องกันด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 และมีการปล่อยผู้ต้องหา, ผู้ถูกจับกุมคุมขังในคดีนี้ทุกราย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ก็เช่นเดียวกับที่ในยามที่ญาติอันเป็นที่รักของเราป่วยไข้ ผู้คนก็มักจะหาโอกาสปล่อยวัวปล่อยควาย ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่ญาติที่เจ็บป่วยนั้น เพื่อให้บุญกุศลนั้นช่วยรักษาญาติอันเป็นที่รักได้หายป่วยไข้โดยพลัน ในกรณีของพระประมุขของประเทศ ไม่มีอะไรจะดีงามไปกว่าการที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพทำบุญด้วยการระงับการใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลโดยพลัน

แต่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีเหตุบางอย่างเกิดขึ้นก่อน และดูเหมือนว่าสังคมไทยได้ขาดหายสิ่งนี้ไป ซึ่งก็คงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการขาดหายไปของพระเถระผู้ใหญ่ ที่มีความกล้าหาญพอที่จะเข้าไปเตือนสติท่านนายกรัฐมนตรีโนบิตะ ให้ตระหนักว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงเป็นเป็นเพียงพุทธมามกะ หากแต่ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ก็แหละความเป็นพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมทรงประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นธรรมประจำใจ พระองค์ทรงประกอบด้วยความเมตตาในพระราชหฤทัยอย่างไม่มีประมาณ ปรารถนาก็แต่จะช่วยให้เวไนยสัตว์พ้นทุกข์

การบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 จึงเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับพระมหากษัตริย์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ปรารถนาพุทธภูมิ

ในแง่นี้ การที่ประชาชนก็ดี ข้าราชการทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ก็ดี พยายามฟ้องร้องบังคับคดีเอากับบุคคลต่าง ๆ ด้วยกฎหมายอาญามาตรานี้ จึงรังแต่จะทำให้พระบรมเดชานุภาพอันเกิดแต่ความรักในพสกนิกรต้องมัวหมองไป

0000

ท่านนายกรัฐมนตรีโนบิตะที่รัก แทนที่ท่านจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยความกลัว จนต้องอาศัยพระเครื่องเป็นสรณะ ถือเอาไสยศาสตร์และโหราศาสตร์เป็นที่พึ่ง บางทีการเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ ก้าวข้ามความกลัวมาสู่ความรักในเพื่อนพ้องพี่น้องชาวไทยด้วยกัน ก้าวข้ามการจ่อมจมอยู่กับการใช้ศาสตร์และความเชื่อเก่า ๆ ที่อาจไม่สอดคล้องกับยุคสมัย เปิดกว้างให้ที่ทางแก่ศาสตร์ใหม่อย่างอนาคตวิทยา บางที ท่านอาจจะพบว่าการลงจากหลังเสือเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายบนดาวอังคารอย่างมีความสุข มิใช่เรื่องยากเลย


ด้วยรัก จากใจ

โดราจัง.

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอกชัย หงส์กังวาน : จากอดีตนักโทษคดีหมิ่นสถาบัน สู่งานช่วยเหลือนักโทษความมั่นคง

$
0
0

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.ที่ผ่านมา บีบีซีไทย - BBC Thaiรายงานเรื่องราวของ เอกชัย หงส์กังวาน ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการจำหน่ายวีซีดีสารคดีเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทย ซึ่งจัดทำเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์แห่งชาติออสเตรเลีย (ABC) และเอกสารวิกิลีกส์

เอกชัย ต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน เขาเดินเข้าสู่เรือนจำก่อนที่ประเทศไทยจะมีการรัฐประหาร และกลับออกมาเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นแล้ว โดยพ้นโทษเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2558

สภาพชีวิตในที่คุมขังทำให้เขาตั้งใจว่าเมื่อได้รับอิสระจะช่วยเหลือนักโทษคดีความมั่นคงต่อไป โดยให้เหตุผลว่าในสายตาของเขา บุคคลเหล่านี้จำนวนไม่น้อยถูกจองจำเพราะใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่ต่างกับตัวของเขาเองที่ยังยืนยันว่าสิ่งที่ทำไม่น่าจะเป็นความผิด 

หลังจากมีการปรึกษาหารือกับเครือข่ายนักกิจกรรมซึ่งเขาเพิ่งได้รู้จักสนิทสนมมากขึ้นหลังต้องโทษจำคุก สมาคมเพื่อเพื่อน หรือ For Friends Association ก็ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยจดทะเบียนตามกฎหมาย และกำหนดวัตถุประสงค์ว่า จะดำเนินการช่วยเหลือผู้ต้องขังด้วยการระดมทุนสาธารณะ (crowd funding) เพื่อดูแลเรื่องพื้นฐาน เช่น เครื่องอุปโภคบริโภคและการดูแลด้านสุขภาพ 

ข้อสังเกตของเอกชัยขณะที่ถูกจองจำคือ นักโทษคดีความมั่นคงหลั่งไหลเข้าสู่เรือนจำเยอะขึ้นมาก ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่สอดคล้องกับสถิติจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน ที่เก็บข้อมูลเท่าที่สามารถเข้าถึงได้พบว่า นับจากการรัฐประหารในวันที่ 22 พ.ค. 2557 ถึงวันที่ 21 พ.ค. 2559 มีคนถูกเรียกไปรายงานตัวหรือเยี่ยมบ้าน อย่างน้อย 992 คน, มีคนถูกจับกุมในยุคคสช.อย่างน้อย 527 คน, มีคนถูกตั้งข้อหามาตรา112 อย่างน้อย 67 คน, มีคนถูกตั้งข้อหามาตรา 116 อย่างน้อย 47 คน และพลเรือนขึ้นศาลทหารอย่างน้อย 167 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ติชมด้วยความสุจริต อุทธรณ์ยืนยกฟ้องชวนนท์ หมิ่นฯยิ่งลักษณ์ ปมโฟร์ซีซั่น

$
0
0

25 พ.ค.2559 สำนักข่าวไทยและเดลินิวส์รายงานตรงกันว่า ที่ห้องพิจารณา 805 ศาลอาญา ถ. รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลได้อ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อายุ 40  ปี อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา

จากกรณี เมื่อระหว่างวันที่ 19 -21 ก.พ.2555 จำเลยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน หลายแขนง หลายครั้ง ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ ทำนองว่า ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ในขณะนั้น โจทก์ร่วม ไม่เข้าประชุมสภา แต่เอาเวลาไปทำธุรกิจส่วนตัว หารือกับกลุ่มคนย่อย พูดเรื่องสำคัญของประเทศ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น  ซึ่งล้วนเป็นเท็จ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างยิ่งจึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย จำเลยให้การปฏิเสธ

คดีนี้ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยด้วย

อย่างไรก็ตามศาลอุทธรณ์ ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า การแถลงข่าวของจำเลยไม่ได้ ยืนยันข้อเท็จจริงว่า  โจทก์ร่วมนำความลับทางราชการไปเปิดเผยแต่อย่างใด  และการแถลงข่าวของจำเลยถือเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ และติชมด้วยความสุจริต จึงไม่เป็นความผิดตามฟ้องโจทก์  ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์โจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 พ.ค. 2559

$
0
0
ก.แรงงาน เตรียมแผนรองรับ หลัง ขสมก.ปรับโครงสร้างองค์กรเล็งลดพนักงาน 4 พันคน/เอ็นจีโอจี้ รบ.เกลี่ยงบรายหัวรักษาพยาบาล ขรก.เท่าเทียมประชาชน/5 หน่วยงาน ภาครัฐ-เอกชนร่วมเปิดศูนย์แรงงานประมงแห่งแรกของไทย/"กรมสรรพากร" พร้อมลดหย่อนภาษีให้บริษัทเอกชนรับคนเกษียณเข้าทำงาน/เตือนคนที่จะไปทำงานสิงคโปร์ต้องทำสัญญาการจ้างงานกับนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร

 
กฏหมายใหม่ คุมเข้มปั๊มน้ำมันส่งพนักงานอบรมความปลอดภัยภายใน 2 ปี
 
นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคุณสมบัติและการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ 29 พ.ค.นี้ โดยบังคับให้สถานประกอบการปั๊มน้ำมัน ปั๊มก๊าซหุงต้ม (LPG) ปั๊มก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) คลังก๊าซ คลังน้ำมัน รถขนส่งน้ำมันและก๊าซ และร้านค้าจำหน่ายLPG จะต้องมีพนักงานคนไทยอย่างน้อย 1 คนที่ได้รับใบอนุญาตเป็นพนักงานปฏิบัติงานประจำในสถานประกอบดังกล่าว
 
ซึ่งการขอรับใบอนุญาตนี้ จะต้องเข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมฯกำหนด โดยกรมฯจะให้เวลาสถานประกอบการดังกล่าวเป็นเวลา 2 ปี หรือให้เสร็จภายในเดือน 29 พ.ค. 2561 และหากพ้นกำหนดดังกล่าวสถานประกอบการใดไม่มีพนักงานที่ได้รับใบอนุญาต ทางกรมฯจะไม่พิจารณาต่อใบอนุญาตสถานประกอบการให้ รวมทั้งยังมีโทษตามกฎหมายมาตรา 66 จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับเงินไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
“ที่ผ่านมาจะพบว่า พนักงานปั๊มน้ำมันบางแห่งละเลยมาตรฐานความปลอดภัย บ้างก็ใช้โทรศัพท์มือถือ บ้างก็ปล่อยให้มีการเติมน้ำมันได้โดยลูกค้าไม่ดับเครื่องยนต์ หรือแม้กระทั่งมีการสูบบุรหรี่ใกล้จุดเติมน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นอันตรายต่อตัวพนักงานและลูกค้าที่มาใช้บริการ ซึ่งการฝึกอบรมให้ใบอนุญาตนี้จะกำหนดสิ่งที่ไม่ควรทำในการให้บริการลูกค้า เช่น ต่อไปจะเติมน้ำมันได้จะต้องดับเครื่องก่อนเท่านั้น หรือให้ลงจากรถในระหว่างการเติมน้ำมัน เป็นต้น หากไม่ปฏิบัติตามก็ไม่สามารถให้บริการเติมน้ำมันให้ได้ แต่หากพนักงานละเลยก็จะมีความผิดที่ตัวพนักงานเป็นหลัก ในส่วนของลูกค้าแม้จะไม่มีความผิดแต่ก็อยากจะขอความร่วมมือให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยด้วย”นายวิฑูรย์ กล่าว
 
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า หากกฎหมายใหม่ดังกล่าวออกแล้ว คาดว่ามีสถานประกอบการต่างๆ ประมาณ 38,000-39,000 แห่งจะต้องส่งพนักงานเข้าร่วมอบรมเพื่อรับใบอนุญาต โดยคาดว่าจะมีพนักงานที่มาอบรมทั้งสิ้น 1 แสนคน ส่วนสถานฝึกอบรมนั้น แต่เดิมมี 7 แห่ง แต่เมื่อกฎหมายใหม่ออกมา สถานฝึกอบรมจะต้องมาขอใบอนุญาตใหม่หมด ซึ่งสถานอบรมนั้นเป็นได้ทั้งนิติบุคคล ผู้ค้ามาตรา7 สถานศึกษา แต่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ของกรมฯ เท่านั้น
 
นายสุรพงษ์ พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเทคนิคพลังงาน กรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมทุกประเภทกิจการน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเดิมกฎหมายยังครอบคลุมเพียงธุรกิจก๊าซปิโตรเลียม และก๊าซธรมชาติบางส่วนเท่านั้น ส่วนที่เพิ่มเติมในกฎหมายฉบับนี้คือ ธุรกิจน้ำมัน และธุรกิจก๊าซ NGV โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายประกอบด้วย ผู้ฝึกอบรม วิทยากร และผู้ปฏิบัติงาน โดยผู้ฝึกอบรมและวิทยากรต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนด และต้องได้รับใบรับรองจากกรมฯ ส่วนผู้ปฎิบัติงานต้องผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นตามประเภทของกิจการที่ระบุไว้รวม 23 กิจการ ซึ่งจำนวนสถานประกอบการทั่วประเทศต้องมีผู้ปฏิบัติงานรวมกว่า 38,000 แห่ง โดยคาดว่าจะมีผู้ปฏิบัติงานที่ต้องเข้าอบรมกว่า 1 แสนคน
 
 
คนงาน-ชาวบ้านจี้นายกฯ ทบทวนปิดเหมืองทองคำ
 
วันที่ 19 พฤษภาคม ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดพิจิตร พนักงานบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน) และประชาชนจาก 29 หมู่บ้านที่อยู่รอบเหมืองแร่ทองคำของบริษัทอัคราฯ กว่า 1,500 คน รวมตัวจัดเวทีเพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ทบทวนการสั่งปิดกิจการเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีกำหนดที่จะปิดในสิ้นปี 2559 นี้ โดยมีการตั้งเวทีพร้อมติดตั้งเครื่องขยายเสียงพร้อมป้ายข้อความต่างๆ ที่แสดงออกถึงผลกระทบและผลเสียของการปิดกิจการเหมืองทองคำ
 
พร้อมกับมีการขึ้นแสดงความคิดเห็นของประชาชน พนักงานถึงผลกระทบหากมีกิจการเหมืองทองคำ ระบบเศรษฐกิจรอบเหมือง มีการชี้แจงผลการตรวจสุขภาพ พร้อมกับแสดงผลงานรางวัลต่างๆที่ได้รับจากองค์กรต่างๆเพื่อยืนยันถึงการดำเนินกิจการของเหมืองแร่ทองคำว่าเป็นไปโดยถูกต้อง ท่ามกลางการรักษาความสงบโดยเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกว่า 100 นาย 
 
หลังการรวมตัวกันแสดงความคิดเห็นประชาชนจาก 6 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มชุมชน 29 แห่ง รอบเหมืองทองคำ กลุ่มคู่ค้ากับบริษัทอัคราฯ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มพนักงานบริษัทอัคราฯ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโอ-ท็อป ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนการปิดเหมืองทองคำเนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงกับทั้ง 6 กลุ่ม โดยมีนายพิษณุ เสนาวิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นตัวแทนรับหนังสือ และดำเนินการส่งต่อถึงนายกรัฐมนตรีภายในวันนี้ หลังการยื่นหนังสือและมีการรับเรื่องเพื่อส่งต่อยังนายกรัฐมนตรี ตามวัตถุประสงค์ผู้ร่วมชุมนุมต่างแยกย้ายโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง
 
นางกุลจิรา เพ็ชรภักดี อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 197/1 หมู่ 8 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีอาชีพค้าขาย กล่าวว่า วันนี้เดินทางมาขอความเมตตาจากนายกรัฐมนตรีให้ทบทวนการปิดเหมืองทอง เนื่องจากหากมีการการปิดเหมืองทองจะได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากตนเองและพ่อค้า แม่ค้าอีกกว่า 300 ราย มีอาชีพหลักคือการจำหน่ายสินค้ามีกลุ่มผู้บริโภคหลักคือพนักงานเหมืองทอง และครอบครัว หากเหมืองปิดตัวลงก็จะได้รับผลกระทบโดยตรงไม่สามารถค้าขายได้ จึงขอวอนให้ผู้เกี่ยวข้องทบทวนการปิดเหมืองทองกอีกครั้ง
 
นายคมสัน ขวัญแก้ว อายุ 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 3 ตำบลเขาทราย อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร หัวหน้าอาวุโสห้องหลอมทองคำ กล่าวว่า ตนทำงานมา 15 ปี ยังมีสุขภาพแข็งแรง ตนมองว่าเหมืองทองคำสร้างสิ่งดีทั้งความเจริญด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา หากเหมืองปิดตัวลงก็จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก ทั้งเศรษฐกิจโดยรอบเหมือง และที่สำคัญคือการว่างงานของพนักงานเหมืองที่มีกว่า 1,000 คน ที่ต้องตกงานซึ่งก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับพนักงานและครอบครัว
 
ส่วนตนแม้ว่าจะได้รับผลกระทบไม่มากเนื่องจากมีเงินทุนรำรองที่สะสมของบริษัท เพราะทำงานมาเป็นเวลานาน แต่ก็จะตกเป็นผู้ว่างงาน เนื่องจากอายุมากคงไม่มีใครรับทำงาน ส่วนแผนรองรับขณะนี้ยังไม่มีการเตรียมการรับมือว่าหากเหมืองปิดจริงจะทำอย่างไร อีกทั้งตอนนี้ก็อายุมากแล้ว จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องทบทวนการปิดเหมืองทองอีกครั้ง มาวันนี้เพื่อขอให้รัฐบาลมีการทบทวนการปิดเหมืองทองคำ
 
สำหรับการติดตามแก้ปัญหากรณีเหมืองทองคำของจังหวัดพิจิตรในขณะนี้ มีการดำเนินการระยะเร่งด่วนคือการดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่รอบเหมืองทอง โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งของประชาชน โดยมีการดำเนินการกำชับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อป้องกันการกระทบกระทั่งของประชาชน 2 ฝ่าย เพื่อป้องกันปัญหาของความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบกับประชาชนที่อยู่โดยรอบเหมืองทอง
 
 
บอร์ดค่าจ้างเลื่อนพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างไปอีก 2 เดือน พร้อมขอความร่วมมือกระทรวงพาณิชย์ออกบูทจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด ช่วงที่ค่าครองชีพสูง
 
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ว่า ที่ประชุมมีมติเลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2559 ออกไปอีก 2 เดือน และให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดกลับไปสำรวจตัวเลขสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่ โดยให้เร่งสำรวจและเสนอกลับมายังบอร์ดค่าจ้างภายในเดือนกรกฎาคม เพื่อให้ได้ข้อมูลค่าครองชีพล่าสุด
 
ทั้งนี้จากข้อมูลตัวเลขที่มีการเสนอมาก่อนหน้านี้นั้น เป็นตัวเลขปี 2558 ซึ่งเป็นตัวเลขเก่าและจากการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ พบว่ายังไม่เอื้อให้ปรับขึ้นค่าจ้างทั้งประเทศ แม้จะมี 6 จังหวัดที่เสนอขอปรับค่าจ้างมาก่อนหน้านี้ คือสระบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ภูเก็ต อยุธยาและฉะเชิงเทรา จึงต้องมีการสำรวจใหม่อีกครั้ง
 
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า มติดังกล่าวตัวแทนทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเห็นด้วย โดยนายจ้างระบุว่าขณะนี้ตัวเลขการส่งออกที่แท้จริงยังคงติดลบ และยังไม่มีความสามารถในการจ่ายค่าจ้างเพิ่ม ส่วนฝ่ายลูกจ้างนั้น ก็ขอ ให้ทบทวนการพิจารณาอีกครั้ง โดยในระหว่างนี้กระทรวงแรงงานจะขอความร่วมมือจากกระทรวงพาณิชย์ ให้ออกบูทจำหน่ายสินค้าราคาประหยัดเพื่อเป็นการช่วยเหลือแรงงานในช่วงที่ค่าครองชีพสูงขึ้น
 
 
เตือนคนที่จะไปทำงานสิงคโปร์ต้องทำสัญญาการจ้างงานกับนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
 
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้รับแจ้งจากสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ว่า มีแรงงานไทยที่ทำงานในสถานบันเทิงประเทศสิงคโปร์ ตำแหน่งนักร้องและนักดนตรีร้องทุกข์จากการถูกนายจ้างค้างชำระค่าจ้าง และจ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากไม่ได้ทำสัญญาการจ้างงานกับนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร และปัญหาการไม่มีงานทำ เนื่องจากเดินทางเข้าประเทศสิงคโปร์ในฐานะนักท่องเที่ยว
 
ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้แรงงานไทยเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ รวมทั้งเสี่ยงจากการเดินทางไปแล้วไม่มีงานทำ กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ย้ำเตือนคนหางานที่ประสงค์จะไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ ต้องไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยควรที่จะมีนายจ้างและได้รับใบอนุญาตการทำงานก่อนที่จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ ต้องมีการทำสัญญาการจ้างงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และศึกษารายละเอียดสัญญาการจ้างงานให้ชัดเจน เรียนรู้สภาพสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ ค่าครองชีพ และวัฒนธรรมของประเทศสิงคโปร์ด้วย โดยสามารถศึกษาวิธีการเดินทางไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ด้วยตนเอง อย่างถูกต้องได้ที่เว็บไซต์ http://www.mol.go.th/anonymouse/foreignlabour/39818 หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ หรือ สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
 
 
รมว.แรงงาน ย้ำส่งเสริมการมีงานทำของแรงงานนอกระบบในเวทีอาเซียน
 
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวในโอกาสเป็นประธานพบปะสื่อมวลชน พูดคุยถึงผลการเดินทางไปเยือนประเทศกลุ่ม CLMV เพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์ร่วมกันว่า หลายประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านแรงงานในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากแรงงานนอกระบบเข้ามาอยู่ในแรงงานในระบบโดยมุ่งสู่แรงงานที่มีคุณค่า (Decent Work) ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งแรงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบจากกำลังแรงงานที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นแรงงานในระบบประกันสังคมราว 10 ล้านคนเศษที่เหลือประมาณ 20 ล้านคนเศษเป็นแรงงานนอกระบบ
 
ทั้งนี้ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะเน้น การส่งเสริมการมีงานทำให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่การทำงานในระบบ โดยให้ความสำคัญในการดำเนินการปรับรูปแบบการทำงานนอกระบบซึ่งมีคณะกรรมการระดับชาติ โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการในการดำเนินนโยบายการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ และมีคณะอนุกรรมการโดยปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานฯ เพื่อประสานงานด้านแผนยุทธศาสตร์ และยังมีคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายและดำเนินการ
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการภายใต้ "หลักการ 3 โอกาส" ประกอบด้วย โอกาสในการเริ่มต้น เน้นส่งเสริมให้มีทุนในการประกอบอาชีพ อาทิกองทุนรับงานไปทำที่บ้าน พร้อมกับการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อจะได้มีอาชีพ อาทิ การประกอบอาหาร การนวดสปา การขายของทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น และส่วนที่สองคือโอกาสในการพัฒนา ได้มีการกำหนดมาตรวิชาชีพให้ได้รับการรับรองคุณวุฒิเพื่อนำไปประกอบอาชีพ และสุดท้ายคือโอกาสในการได้รับการคุ้มครองโดย การขยายความคุ้มครองไปสู่แรงงานนอกระบบ ซึ่งแนวคิดทั้งสามโอกาสนี้ เป็นแนวทางแบบองค์รวม ที่เน้นย้ำการจัดสรรแหล่งเงินทุนควบคู่การพัฒนาทักษะฝีมือและฝึกอบรม รวมทั้งการคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนการพัฒนาด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานให้แรงงานนอกระบบใด้มีชีวิตที่ดีขึ้น มีความปลอดภัยและมีงานทำอย่างยั่งยืน
 
 
กอช.เตือนคนแก่สมัครก่อน 25 กันยายนนี้
 
นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เปิดเผยถึงการเร่งรัดรับสมัครผู้สูงอายุเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ซึ่งจากหลักเกณฑ์ของกฎหมายตามพระราชบัญญัติการให้สิทธิแก่ผู้สมัครสมาชิก กอช. เป็นบางกรณี ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป สามารถออมได้ 10 ปีเต็มนับจากอายุตัวในวันที่สมัครสมาชิก ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีแล้วด้วยที่ได้รับสิทธิตามกฎหมายนี้โดยไม่จำกัดอายุ โดยจะหมดเขตรับสมัครตามเงื่อนไขนี้ ในวันที่ 25 กันยายน 2559
 
"เนื่องจากกฎหมายให้สิทธินี้เป็นระยะเวลา 1 ปีนับจากวันที่พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ ดังนั้น ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะสามารถสมัครเป็นสมาชิกกองทุนได้ภายในวันที่ 25 กันยายนนี้เท่านั้น ซึ่งจะครบ 1 ปีนับจากวันที่ประกาศกฎหมายฉบับนี้ ส่วนผู้ที่มีอายุ 50-60 ปี ถ้าสมัครสมาชิกก่อนวันที่ 25 กันยายนก็จะยังได้รับสิทธิออม 10 ปีนับจากอายุตัวในวันที่สมัคร แต่ถ้าเลยวันที่ 25 กันยายนไปแล้วก็สามารถสมัครสมาชิกได้ แต่จะออมได้ถึงอายุ 60 เท่านั้น"
 
ประเทศไทยอยู่ในช่วงก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาแล้วเป็นเวลากว่า 10 ปี และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุมากถึง 14 ล้านคน รัฐจะมีภาระทางการเงินการคลังเพิ่มมากขึ้นในการดูแลประชากรสูงวัยในทุกด้าน ดังนั้นจำเป็นต้องส่งเสริมผลักดันให้มีการออมเพื่อชีวิตยามเกษียณของตนเองกอช.คือ ส่วนหนึ่งของระบบบำนาญของประเทศไทย ที่ประชากรกลุ่มที่เป็นแรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีนายจ้างกว่า 25 ล้านคนทั่วประเทศจะได้มีโอกาสรับบำนาญเพื่อเลี้ยงชีพ ตัวเองเมื่อต้องเกษียณอายุและไม่มีรายได้แล้ว
 
ผู้สนใจโทร.0-2017-0789 กด 0 วันจันทร์ศุกร์ 08.30-17.30 น. และที่ www.nsf.or.th และ facebook/กองทุนการออมแห่งชาติ หรือติดต่อที่หน่วยรับสมัครสมาชิก ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ
 
 
"กรมสรรพากร" พร้อมลดหย่อนภาษีให้บริษัทเอกชนรับคนเกษียณเข้าทำงาน
 
นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากกระทรวงการคลังมีนโยบายดูแลสังคมผู้สูงอายุผ่านมาตรการต่างๆ ในส่วนของกรมสรรพากรพร้อมดูแลผู้สูงอายุตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ด้วยการเปิดทางให้องค์กรที่จ้างผู้สูงอายุนำค่าใช้จ่ายสำหรับจ้างผู้สูงอายุเข้าทำงานหลังเกษียณอายุทำงาน 60 ปี มาหักลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมยกร่างกฎหมาย เพื่อเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือสังคม เพราะคนอายุ 60 ปี ในปัจจุบันยังแข็งแรง และทำประโยชน์ช่วยเหลือสังคมได้อีกมาก แทนที่จะปล่อยให้ออกไปรับเบี้ยงชราอย่างเดียว เมื่อนำกลับมาใช้งานจะเป็นโยชน์ต่อองค์กร ในช่วง 10-15 ปี ข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวนมาก คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
 
นอกจากนี้ กรมสรรพากรเตรียมแยกกลุ่มธุรกิจ ออกเป็น 10-12 กลุ่ม เพื่อสะดวกในการแยกประเภทการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล เบื้องต้นนำร่องจัดกลุ่ม 5 กลุ่ม โดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย และสภาวิชาชีพทางบัญชี เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการบริการ เพื่อต้องการปรับเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี เช่น กลุ่มผลิตสินค้า มีรายจ่ายบางรายการไม่มีหลักฐานใบเสร็จ ต้องให้คำแนะนำต้องลงบัญชีอย่างไร การกู้เงินจากสถาบันเงินในนามส่วนตัว แต่ได้นำเงินมาใช้ในธุรกิจของบริษัท
 
จึงต้องแนะนำให้ลงบัญชีอย่างถูกต้อง กรมสรรพากร เตรียมนำมาใช้กับกลุ่มผู้ประกอบการร้านทองในวันที่ 22 พ.ค.นี้ แต่การนำร่อง 5 กลุ่ม จะเร่ิมในเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องจากในเดือนพฤษภาคมปีนี้ เป็นปีที่ผู้สอบบัญชีต้องใช้เวลาเปลี่ยนผ่านระบบมาใช้ระบบบัญชีเดียวตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งทรัพย์สินเป็นสินค้าไม่เคยลงบัญชีต้องนำมาลงให้หมด ทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือบัญชีธนาคารนำมารวมทั้งหมด เมื่อแนวโน้มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลถูกลงเรื่อย และหากลงบัญชีอย่างถูกต้อง ทำตรงไปตรงมาจะประหยัดภาษีมากว่าในปัจจุบัน
 
 
ส.อ.ท. มองอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม มีทิศทางฟื้นตัว คาด ปี 59 โต 1% มูลค่า 7,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
 
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่าภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2559 เริ่มมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะเติบโตประมาณร้อยละ 1 มีมูลค่าอยู่ที่ 7,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะการส่งออกวัตถุดิบสิ่งทอที่มีสัญญาณบวก หลังจากติดลบมากว่า 12 เดือน ซึ่งได้รับอานิสงส์จากความต้องการของกลุ่มตลาดอาเซียน ทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอในปีนี้จะเติบโตประมาณร้อยละ 1 มีมูลค่าประมาณ 4,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะฟื้นตัวขึ้นมาติดลบน้อยลงที่ร้อยละ 1 - 2 มีมูลค่าประมาณ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกของนักลงทุนไทยที่ขยายฐานการผลิตไปในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV และอินโดนีเซีย ซึ่งที่จะมีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดหลัก ในอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป ประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ ปัญหาเรื่องแรงงาน เนื่องจากอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ทำให้ขาดแรงงานที่มีฝืมือ รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจระดับล่าง แต่ทั้งนี้ประเมินว่าภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2560 จะเติบโตและมีทิศทางที่ดีขึ้น
 
นอกจากนี้ นายวัลลภ กล่าวว่า สำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ที่ฟื้นตัว มาจากการภาคบริการที่เติบโตขึ้น โดยเฉพาะสินค้า บริการ โรงแรม และการท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยยังต้องขับเคลื่อนด้วยภาคการผลิต การลงทุน โดยเฉพาะสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ
 
 
5 หน่วยงาน ภาครัฐ-เอกชนร่วมเปิดศูนย์แรงงานประมงแห่งแรกของไทย
 
5 หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมมือจัดตั้งศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา นับเป็นศูนย์แห่งแรกในประเทศไทย เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมายเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน คาดดูแลกลุ่มเป้าหมายแรงงานต่างด้าวในจังหวัดสงขลาและพื้นที่ใกล้เคียงกว่า 25,000 คน
 
ศูนย์ดังกล่าวก่อตั้งภายใต้บันทึกข้อตกลง (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือ ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา ซึ่งมีหน่วยงานร่วมก่อตั้ง ประกอบด้วย องค์การสะพานปลา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย, ศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา (บ้านสุขสันต์) และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ
 
ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานผิดกฎหมายในอุตสาหกรรมประมงทุกรูปแบบอย่างจริงจังและปราบปรามอย่างเคร่งครัด โดยความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่าง ซีพีเอฟ ขณะเดียวกันการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวตามหลักมนุษยธรรมและมาตรฐานสากลถือเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายและแรงงานผิดกฎหมายที่ต้องการความช่วยเหลือให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
 
สำหรับศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลามีวัตถุประสงค์หลัก 5 ประการ คือ 1. การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวและสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการให้บริการ คุ้มครอง ป้องกัน ผู้ที่เสี่ยงหรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ 2. ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ ในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น 3. เป็นศูนย์การเรียนเด็กต่างด้าว แรงงานต่างด้าวและครอบครัวได้เรียนรู้ อบรม และส่งเสริมอาชีพ 4. เป็นศูนย์ให้การดูแล พยาบาล คัดกรองโรคเบื้องต้นและประกอบศาสนกิจแก่กลุ่มแรงงานประมงต่อเนื่องและครอบครัวของแรงงานต่างด้าว 5. เป็นศูนย์ประสานงานรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมของแรงงาน
 
นายสุชาติ จันทลักขณา ผู้จัดการศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลาและผู้จัดการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเลสงขลา กล่าวว่า ศูนย์นี้จะสามารถช่วยพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนนโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ ในระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่นให้มีประสิทธิผล ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับความเป็นอยู่และสร้างอาชีพให้กับกลุ่มแรงงานประมงและประมงต่อเนื่อง ทั้งสัญชาติ ไทย กัมพูชา พม่า และลาว ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา และอำเภอใกล้เคียง รวมไปถึงกลุ่มเสี่ยงที่จะเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ กลุ่มเด็กต่างด้าวและครอบครัวสัญชาติ กัมพูชา พม่า และลาว บริเวณท่าเทียบเรือประมงสงขลาและบริเวณใกล้เคียงกว่า 25,000 คน
 
“ศูนย์สวัสดิภาพและธรรมาภิบาลแรงงานประมงสงขลา จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานภาคประมงที่ถูกกฎหมายและครอบครัว รวมไปถึงแรงงานผิดกฎหมายที่เดินเข้ามาขอความช่วยเหลือจากเรา ซึ่งศูนย์จะให้คำแนะนำ ความรู้ด้านการคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนการสนับสนุนให้สามารถประกอบอาชีพโดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามสมควรตามหลักมนุษยธรรม และไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์การต่อต้านการค้ามนุษย์” นายสุชาติ กล่าว
 
ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เริ่มโครงการ ถึง สิ้นสุดโครงการ เป็นเวลา5 ปี (2558-2563) โดยคณะกรรมการศูนย์ฯจะพิจารณาและประเมินผลการดำเนินงานแต่ละโครงการปีต่อปี และมีกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ 5 กลุ่ม ครอบคลุมจำนวนแรงงานและกลุ่มเสี่ยงกว่า 25,000 คน ประกอบด้วยกลุ่มลูกเรือประมง และแรงงานประมงต่อเนื่องจำนวน 3,565 คน, กลุ่มแรงงานที่เสี่ยงต่อการเข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์จำนวน 20,000 คน, กลุ่มเด็กต่างด้าวอายุ 4–15 ปี จำนวน 50 คน, กลุ่มแรงงานสตรีจำนวน 1,200 คน และกลุ่มครอบครัวเด็กต่างด้าวจำนวน 320 คน อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จของโครงการนี้จะเป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินงานไปยังท่าเรืออื่นๆในประเทศไทย
 
ศูนย์นี้มีการจัดสรรพื้นที่เป็น 4 ส่วน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ คือ ห้องเรียนสำหรับเด็กต่างด้าว,ห้องละหมาด, ห้องพยาบาล, ห้องอเนกประสงค์ซึ่งรวมถึงศูนย์ติดต่อประสานงาน ห้องประชุมและห้องสมุด
 
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาแรงงานซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ ดังนั้นจึงเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ตามคำแนะนำและความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งในภาครัฐและเอกชนจะเป็นก้าวแรกอันสำคัญต่อการเริ่มต้นในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด โดยการสร้างการตระหนักรู้และการแก้ไขให้เกิดความถูกต้องบนความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงหลักพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในระดับสากล อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานประมงที่ดียิ่งขึ้น และยังให้ความสำคัญลงไปถึงครอบครัวแรงงานประมง โดย ซีพีเอฟ มีส่วนสนับสนุนงบประมาณในระยะเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์ ซึ่งในอนาคตหากการดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จะมีการหารือเพื่อให้เกิดแนวทางการสนับสนุนจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น
 
 
เอ็นจีโอจี้ รบ.เกลี่ยงบรายหัวรักษาพยาบาล ขรก.เท่าเทียมประชาชน
 
จากกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ เห็นควรงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2560 จำนวน 167,214,587,300 บาท หรือ 1.67 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2559 กว่า 2 พันล้านบาท แบ่งออกเป็น 1.งบประมาณกองทุนบัตรทอง 165,773,014,400 บาท สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองกว่า 48 ล้านคน คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัวคนละ 3,109.87 บาท จะกระจายให้แก่โรงพยาบาลตามสิทธิในสังกัด สธ.เกือบ 14,000 แห่ง และ 2.งบบริหารจัดการในสำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ 1,647,397,000 บาท
 
นางสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า งบประมาณดังกล่าวไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่มองว่าเป็นการเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ใช้งบประมาณส่งเสริมสุขภาพประชาชนอย่างประหยัด ไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี นายกฯควรมองในเรื่องความสำคัญของสุขภาพประชาชน การจัดงบประมาณให้ดูแลสุขภาพประชาชนนั้นถือเป็นเรื่องคุ้มค่าเพราะหาก ประชาชนมีสุขภาพดี คนในสังคมก็จะมีคุณภาพ ส่วนกรณีมีข้อเสนอให้นำงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของ สปสช.ไปให้ สสส.บริหารจัดการเลย เนื่องจากภาระงานตรงตามหน้าที่นั้น องค์กรทั้งสองเป็นคนละส่วนงานกัน สสส.ไม่ใช่องค์กรภาครัฐ มีหน้าที่สนับสนุนส่งเสริมสุขภาพในภาคประชาชน ในเอกชน สปสช.มีหน้าที่รักษาพยายาล ดูแลสุขภาพของประชาชน มีหน่วยบริการรักษาโรค มองว่าไม่ต้องนำงบประมาณมารวมกัน แต่ควรจะวางวิสัยทัศน์ในการทำงานร่วมกัน
 
"ควรเพิ่มงบประมาณด้านนี้ให้มากกว่านี้ หากจะเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มสักเพียงร้อยละ 1 ก็เก็บเงินเพิ่มได้อีกประมาณแสนล้านบาท ประชาชนจะยินดีให้ขึ้น หากทราบว่าเงินส่วนนั้นจะนำไปสร้างประโยชน์ให้ประชาชน" นางสุรีรัตน์กล่าว และว่า ควรมีคณะกรรมการกลางมาดูแลการทำงานของหน่วยงานทำหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชน ทั้งสามองค์กรคือ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สสส.และ สปสช. อาจเป็นรองนายกฯ เป็นประธาน และให้พิจารณาการทำงานให้ครบวงจร ไม่ใช่ดูแลเฉพาะเรื่องงบประมาณเพียงอย่างเดียว
 
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และอดีตกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า นายกฯ ระบุให้ สสส.และ สปสช.ประหยัดการใช้งบประมาณด้านการส่งเสริมสุขภาพนั้น มองว่าควรจะมองภาพรวมการดำเนินงานของแต่ละกองทุนด้วยว่าเป็นอย่างไรบ้าง หากจะดูงบประมาณก็จะต้องดูทุกกองทุน นายกฯ ควรต้องดูว่าจะเกลี่ยงบประมาณทั้ง 3 กองทุนด้านสุขภาพ คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการ ให้มีความเท่าเทียมกันได้อย่างไร แม้กระทั่งงบประมาณรายหัวของราชการก็อยู่ที่ 12,000 บาท ขณะที่ประชาชนอยู่ที่ 3,000 บาท มีความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งงบประมาณรายหัวนั้นไม่เคยได้ตามความเป็นจริงที่คำนวณและขอไป ส่วนการเสนอให้นำงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของ สปสช. ไปให้ สสส.บริหารจัดการเลย เนื่องจากภาระงานตรงตามหน้าที่นั้น ทั้งสององค์กรมีหน้าที่ต่างกัน คือ สปสช. มีหน้าที่ส่งเสริมป้องกันสุขภาพของบุคคลเป็นรายบุคคลโดยตรง เช่น การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคให้แต่ละบุคคล เป็นต้น ส่วน สสส.เป็นการส่งเสริมสุขภาพในภาพรวม เช่น การรณรงค์ให้ขับขี่ปลอดภัย เป็นต้น จึงไม่สามารถเอารวมกันได้
 
แหล่งข่าวแวดวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จริงๆ แล้วงบประมาณที่ได้รับแม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากเดิมที สปสช.เสนอของบประมาณ 1.73 แสนล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงบริการมากขึ้นถึงร้อยละ 99.92 ขณะที่งบประมาณได้กระจายให้โรงพยาบาลตามสิทธิทั้งสิ้น 13,929 แห่ง การเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพถือว่าจำเป็นมาก เพราะจากข้อมูลปี 2558 มีการใช้บริการผู้ป่วยนอกถึง 159 ล้านครั้ง การใช้บริการผู้ป่วยในจำนวน 5.7 ล้านครั้ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ได้รับยาต้านไวรัสสะสมถึง 258,039 ราย มีการใช้บริการบำบัดทดแทนไตถึง 40,429 ราย การใช้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงจำนวน 3,606,930 ราย
 
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากมองผิวเผินเหมือน สปสช.จะได้รับงบเพิ่มมาบริหารกองทุนบัตรทองประมาณ 2.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.6 แต่จริงๆ แล้ว ได้รับเงินเพิ่มขึ้นจากกองทุนเพียง 456.74 ล้านบาท หรือเพิ่มเพียงร้อยละ 0.37 เท่านั้น ส่วนที่ถูกตัดออกไปนั้นเป็นเงินเดือนของบุคลากรสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอีก 2,164.09 ล้านบาท หลายคนไม่เข้าใจจุดนี้ แต่คนในวงการสุขภาพทราบดี
 
เพราะจริงๆ แล้วงบประมาณด้านสุขภาพถูกจำกัดต่างหาก เนื่องจากหลังจาก สปสช.เสนอของบประมาณหลักประกันสุขภาพไปนั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือด่วนที่สุดที่ นร 0506/12601 ลงวันที่ 7 เมษายน 2559 ระบุว่านายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สปสช.ไปทบทวนการพิจารณางบประมาณร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงบประมาณ
"นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้หารือเรื่อง 1.บูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยกำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณว่าต้องไม่ซ้ำซ้อนกันและให้ใช้จ่ายงบ อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 2.ให้เพิ่มกรอบวงเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพได้ไม่เกินร้อยละ 2 และ 3.ให้ปรับลดงบประมาณสำหรับบริหารจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เนื่องจากที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ16 จากทั้งหมดจึงทำให้มีการปรับลดงบบัตรทองลง ดังนั้นที่เพิ่มขึ้นจึงเหมือนแทบไม่ได้เพิ่มเลย" แหล่งข่าวกล่าว และว่า ส่วนเรื่องการใช้งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคอาจซ้ำซ้อนกับ สสส.นั้น จริงๆ แล้วหากพิจารณาจะพบว่ากรณีนี้น่าจะไปจำกัดการใช้งบประมาณของ สสส.มากกว่าโดยเฉพาะการสนับสนุนโครงการอาจจะซ้ำกับทาง สปสช. ตรงนี้มีคณะทำงานพิจารณาอยู่ ประกอบกับงบสร้างเสริมสุขภาพของ สปสช.จะเน้นเรื่องโครงการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง โครงการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ที่ผ่านมา สสส.ไม่ได้มุ่งเน้นมาก ตรงนี้ก็มองว่าอาจให้ สสส.มาร่วมและใช้งบของ สสส.ด้วยหรือไม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างแผนการทำงานร่วมระหว่าง สสส.และ สปสช.ให้ร่วมกันบูรณาการการทำงานอย่างแท้จริง
 
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ตัวแทนประชาคมสาธารณสุข และแพทย์โรงพยาบาลสุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องการแก้ปัญหาการใช้งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระหว่าง สปสช. และ สสส. อาจมีความซ้ำซ้อนนั้น ตนมองว่างบประมาณ สปสช.ได้รับเป็นหมื่นล้านบาทสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ครอบคลุมประชาชนกว่า 60 ล้านคน ไม่เพียงแต่สิทธิบัตรทอง แต่รวมทุกสิทธิ ทั้งประกันสังคมและสิทธิสวัสดิการข้าราชการ เป็นไปได้หรือไม่ให้ สสส.เป็นผู้ดูแล และนำงบก้อนนี้มาใช้ในการบริการให้ผู้ป่วยจะดีกว่า เพราะ สสส.ก็มีงบประมาณกว่า 4 พันล้านบาทอยู่แล้ว และทำหน้าที่นี้โดยตรง จะได้ตรงกับภารกิจของตัวเอง
 
 
ก.แรงงาน เตรียมแผนรองรับ หลัง ขสมก.ปรับโครงสร้างองค์กรเล็งลดพนักงาน 4 พันคน
 
รายงานข่าว ระบุว่า ในวันที่ 30 พ.ค. นี้ทางคณะกรรมการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูฉบับที่ปรับปรุงแล้ว ก่อนจะเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ในเร็วๆนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูของ ขสมก.
 
ขณะที่ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงานรองรับกรณีที่ ขสมก. ประกาศแผนการฟื้นฟูองค์กร และเตรียมแผนรองรับการใช้ระบบตั๋วร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะอื่นๆ ภายในปี 61 ซึ่งจะมีการลดพนักงานเก็บค่าโดยสาร จำนวน 3,000 คน และพนักงานด้านอื่นอีกประมาณ 1,000 คน
 
ทั้งนี้กระทรวงฯได้บูรณาการงานกับหน่วยงานในสังกัดทุกพื้นที่ ทั้งในเรื่องการหาตำแหน่งงานว่างรองรับ, การฝึกอาชีพเพื่อปรับเปลี่ยนงานหรือทำอาชีพอิสระ รวมทั้งการดูแลเรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ และค่าชดเชย
 
 
กมธ.ปฏิรูปด้านสังคมสัมมนาปัญหาแรงงาน
 
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” ที่อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีหลักการและเหตุผล เนื่องด้วยสังคมไทยเผชิญกับสภาวะการขยายตัวของจำนวนแรงงานมากขึ้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2558 พบว่า ประเทศไทยมีจำนวนแรงงานรวมทั้งสิ้น 38.4 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในระบบ 16.3 ล้านคน และแรงงานนอกระบบ 22.1 ล้านคน ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แรงงานมีปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน การเข้าไม่ถึงสิทธิคุ้มครองต่าง ๆ และปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งสภาพการจ้างงานเป็นผลจากนโยบายการพัฒนาประเทศที่ยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้แรงงานที่ทำงานอยู่ในภาคการเกษตรในชนบทอพยพเข้ามาทำงานในเมืองมาก
 
ขึ้น ขณะเดียวกัน การจ้างงานในอุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะแรงงานข้ามชาติ พบว่า มีการละเมิดสิทธิแรงงานจำนวนไม่น้อย ทำให้ประเทศไทยถูกจับตาจากนานาชาติ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ถูกเพ่งเล็ง และการคว่ำบาตรทางการค้า
 
โดยศาสตราจารย์สุภางค์ ดร.จันทวานิช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่น สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมอภิปรายในงานสัมมนาเรื่อง “สถานการณ์แรงงานไทยในสายตาประชาคมโลก” ว่า สภาพแรงงานบังคับตามตัวชี้วัดของ ILO พบว่า การละเมิดอันเนื่องมาจากความเปราะบาง โดยไม่มีเอกสารถึงร้อย 55.3 นายจ้างไม่พาไปจดทะเบียน ร้อยละ 16.8 การหลอกลวงเกี่ยวกับลักษณะงานที่จะต้องทำร้อยละ 4.9 ส่วนร้อยละ 3.8 ใช้ความรุนแรงต่อร่างกายที่มีการทุบตีขณะอยู่ในเรือ
 
นอกจากนี้ ยังมีตัวชี้วัดจากการข่มขู่ การค้างจ่ายค่าจ้าง แรงงานขัดหนี้ด้วยการทำงานเพื่อใช้หนี้จากเงินที่รับล่วงหน้า ถูกขาย หรือส่งต่อให้เรือลำอื่นโดยไม่เต็มใจ รวมถึงสภาพการทำงานและสภาพการดำรงชีพที่น้ำดื่ม อาหารไม่เพียงพอ การได้รับอุบัติเหตุบาดเจ็บในเรือ ดังนั้น จึงขอเสนอแนะให้คุ้มครองแรงงานประมงไม่ให้เป็นแรงงานบังคับ ต้องแทรงแซงและจับกุมขบวนการนายหน้า การให้แรงงานร้องเรียนได้ขณะอยู่ในเรือ การให้เรือทุกลำเป็นสมาชิกสมาคมประมงนอกน่านน้ำ และสมาคมประมงแห่งประเทศไทย การกวดขันไม่ให้มีแรงงานเด็ก และตรวจแรงงานประมงโดยกระทรวงแรงงาน
 
 
รมว.แรงงาน สั่งตรวจเข้มแรงงานต่างด้าวขายสินค้าบริเวณทางเท้า
 
นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีมีแรงงานต่างด้าว ขายสินค้าบริเวณทางเท้าทั้งยังจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานด้วยนั้น ได้สั่งการให้กรมการจัดหางาน ดำเนินการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) รวมทั้งเวียดนาม ทั่วประเทศ ให้ทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยกิจการที่ได้รับอนุญาตมีเฉพาะงานกรรมกรและผู้รับใช้ในบ้าน และประการสำคัญต้องมีนายจ้างด้วย ซึ่งแรงงานต่างด้าวไม่สามารถที่จะไปประกอบอาชีพอิสระในลักษณะขายสินค้าหาบเร่ แผงลอย บริเวณทางเท้าได้ ดังนั้นหากใครพบเห็นแรงงานต่างด้าวที่ประกอบอาชีพในลักษณะดังกล่าวขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางาน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง หรือโทรแจ้งสายด่วน 1694 เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้การจัดระบบแรงงานต่างด้าวเป็นระเบียบและไม่มีผลกระทบต่อประชาชน ทั้งในแง่ของการทำงานและความปลอดภัยในการบริโภคสินค้า
 
นายธีรพลกล่าวต่อไปว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้กำชับเพิ่มเติมให้กรมการจัดหางานกำหนดเขตพื้นที่ปลอดการใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และหากพบว่าพื้นที่ใดมีการใช้แรงงานผิดกฎหมายอยู่ จะถือเป็นตัวชี้วัดและประเมินผลการทำงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานในแต่ละจังหวัดด้วย สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่2,000 - 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากแรงงานต่างด้าวยินยอมเดินทางกลับประเทศภายใน30วันพนักงานสอบสวนก็จะเปรียบเทียบปรับและดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวนั้นเดินทางกลับออกนอกราชอาณาจักรต่อไป
 
 
กรมจัดหางานเผยไต้หวันครองแชมป์แรงงานไทยเดินทางไปทำงานมากสุด
 
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากสถิติคนงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยผ่านด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิประจำเดือน เมษายน 2559 พบว่ามีคนหางานไทยไปทำงานใน ต่างประเทศรวมทั้งสิ้นจำนวน 8,061 คน โดยนิยมเดินทาง ไปทำงานที่ไต้หวันมากที่สุด จำนวน 2,778 คน รองลงมาคือ เกาหลีใต้ จำนวน 1,298 คน ญี่ปุ่น จำนวน 643 คน อิสราเอล จำนวน 558 คน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จำนวน 453 คน ตามลำดับ และประเทศที่คนหางานมีพฤติกรรมจะลักลอบไปทำงานมากที่สุดคือ เกาหลีใต้และบาห์เรน ซึ่งการไปทำงานต่างประเทศควรไปอย่างถูกวิธีและถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมี 5 วิธี คือ บริษัทจัดหางานจัดส่ง กรมการจัดหางานจัดส่ง เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงานและนายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศ
 
กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ให้คน หางานไทยที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศได้ทราบ หากต้องการ ไปทำงานต่างประเทศ สามารถขอคำปรึกษาแนะนำหรือตรวจสอบข้อมูลกับกรมการจัดหางานก่อนตัดสินใจไปทำงานได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนัก จัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 สำนักงานบริหารแรงงานไทย ไปต่างประเทศ โทร. 02-2459435 หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่รอไกล่เกลี่ย-ศาลตัดสินจำคุก 1 ปี 7 จำเลยคดีที่ดินบ้านแพะใต้ จ.ลำพูน

$
0
0

คดีที่เอกชนฟ้องสุแก้ว ฟุงฟู และชาวบ้านรวม 7 ราย ว่าบุกรุกที่ดินบ้านแพะใต้ จ.ลำพูน ซึ่งเดิมเป็นที่ดินหน้าหมู่ในชุมชนแล้วถูกเอกชนนำไปออกเอกสารสิทธิ์ และที่ดินอยู่ระหว่างไกล่เกลี่ยเพื่อเข้าโครงการนำร่องธนาคารที่ดินตามนโยบายรัฐบาลนั้น ล่าสุดศาลฎีกาอ่านคำตัดสิน โดยยืนตามศาลอุทธรณ์ จำคุก 7 จำเลยเป็นเวลา 1 ปี ไม่รอลงอาญา

สุแก้ว ฟุงฟู (คนกลางนั่งแถวหน้า) (ที่มาของภาพประกอบ: Landjustice5thai/มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ)

25 พ.ค. 2559 ที่ศาลจังหวัดลำพูน มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่บริษัทอินทนนท์การเกษตร โดยนพรัตน์ แซ่เตี๋ยว และยุทธนา แซ่เตี๋ยว เป็นโจทก์ฟ้องคดีชาวบ้านแพะใต้จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1.สุแก้ว ฟุงฟู 2.พิภพ หารุคำจา 3.สองเมือง โปยาพันธ์ 4. วัลลภ ยาวิระ 5.วัลลภ ไววา 6.คำ ซางเลง 7.บัวไร ซางเลง ส่วนจำเลยอีก 3 รายเสียชีวิตไปแล้ว โดยมีการฟ้องในข้อหาร่วมกันบุกรุกยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของของผู้อื่น ซึ่งมีการฟ้องร้องดำเนินคดีครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2540

โดยก่อนหน้านี้เมื่อ 29 ธ.ค. 2558 ศาลเลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา จนกว่าจะมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกันตามการเสนอของฝ่ายจำเลย เนื่องจากกำลังมีการแก้ไขปัญหาโดยสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (บจธ.) (อ่านข่าวก่อนหน้านี้) 

อย่างไรก็ตามกระบวนการจัดซื้อที่ดินให้ชาวบ้านตามแนวทางของธนาคารที่ดินยังมีความล่าช้า และยังไม่มีการจัดซื้อที่ดินให้ชาวบ้าน และในวันนี้ ศาลจังหวัดลำพูนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา โดยพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ตัดสินให้จำเลยทั้ง 7 ราย ที่ยังมีชีวิตอยู่ ตัดสินจำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา

อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26-27 พ.ย. 2558 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน หรือ บจธ. นำโดย สถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ ผู้อำนวยการ บจธ. พร้อมกับที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน เดินทางเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง สำรวจสภาพพื้นที่ และลักษณะทั่วไปของชุมชนตามโครงการนำร่องธนาคารที่ดินพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน ในการลงพื้นที่ครั้งนี้สถิตย์พงษ์ ได้รับทราบปัญหาที่ดินและอีกปัญหาสำคัญคือเรื่องคดีความ

โดยผู้อำนวยการ บจธ. ได้ชี้แจงต่อชาวบ้านที่มาร่วมฟังเรื่องแนวทางการดำเนินการโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6-8 เดือนหากได้รับการอนุมัติให้ใช้งบประมาณจาก ครม. และเรื่องคดีความทางสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พร้อมให้ความร่วมมือในการแถลงต่อศาล ให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน โดยขอความเมตตาต่อศาลในการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปก่อน

สำหรับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2549 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 10  จึงพิพากษายกฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาและศาลอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2554 พิพากษาแก้เป็นว่า  จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 กับจำเลยที่ 9 และที่ 10  มีความผิดตามมาตรา 356(3) ประกอบมาตรา 362 จำคุกคนละ 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 กับจำเลยที่ 9 และที่ 10 และต่อมาศาลฎีกาก็มีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ดังกล่าว

 

ความเป็นมาของปัญที่ดินที่ทำกินกรณีชาวบ้านแพะใต้ (ที่มา: สำนักข่าวประชาธรรม)

ในกรณีของชาวบ้านกลุ่มปัญหาที่ดิน จ.ลำพูน ปัญหาที่ดินบ้านแพะใต้ อ.เวียงหนองล่อง นับเป็นหมู่บ้านแรกๆ ที่ริเริ่มเข้าปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนด้วยแนวคิดที่ว่าที่ดินแปลงเหล่านั้น เป็นที่ดินสาธารณะ และชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการ ทำการเพาะปลูกได้ แต่ทว่าเมื่อลงมือปฏิรูปที่ดินกลับมีนายทุนมาแสดงความเป็นเจ้าของ กรณีที่เกิดขึ้นชุมชนบ้านแพะใต้จึงร่วมกันตรวจสอบการถือครองที่ดินเหล่านั้น ของนายทุนและพบว่า กระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินเหล่านั้นมิชอบด้วยกฎหมาย

กล่าวคือ ตั้งแต่ปี 2533 กลุ่มนายทุนจาก จ.เชียงใหม่ ได้เข้ามากว้านซื้อที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวตามโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดิน โดยการเดินสำรวจ ทั้งนี้บริษัทอินทนนท์การเกษตรซื้อที่ดิน สค. 1 และ นส.3 จากชาวบ้านบางส่วนประมาณไม่กี่สิบไร่ แต่ฉวยโอกาสนำไปออกโฉนดที่ดินครอบคลุมพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของบ้านแพะใต้ ทั้งหมดกว่า 600 ไร่ โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีส่วนรู้เห็นการซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าว

หลังจากนั้น บริษัทนำพื้นที่ทั้งหมดไปจัดสรรเป็นรีสอร์ท สวนเกษตรขนาดใหญ่เพื่อแบ่งแปลงขาย และยังมีการมอบที่ดินที่กว้านซื้อนี้ให้ก่อตั้งศูนย์ราชการคือ อ.เวียงหนองล่องเพื่อกระตุ้นการซื้อที่ดินในแปลงจัดสรรของบริษัท นอกจากนี้บริษัทอินทนนท์การเกษตรยังนำโฉนดที่ดินเข้าจำนองกับบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ และธนาคารกรุงไทยมูลค่าอย่างน้อย 40 ล้านบาท จนเมื่อเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะวิกฤต ที่ดินดังกล่าวก็ถูกปล่อยทิ้งรกร้างว่างเปล่า

ดังนั้นปี 2540 ชาวบ้านแพะใต้จำนวน 99 ครอบครัวจึงเข้าไปปฏิรูปที่ดินในบริเวณดังกล่าว โดยเฉพาะในพื้นที่บริษัทปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ทำประโยชน์ เนื่องจากที่ดินไม่เพียงพอ หลายครอบครัวยากจน และไม่มีที่ดินทำกิน และจากการเข้าทำการปฏิรูปที่ดินครั้งนั้นจึงนำไปสู่การค้นพบกระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ลำดับเหตุการณ์ ในการเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อรัฐบาล

1.) เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2554 คณะรัฐมนตรีประชุมเห็นชอบให้มีการดำเนินงานโครงการนำร่องแก้ไขปัญหาที่ดินของเกษตรกรรายย่อยไทยเข้มแข็ง ภายใต้นโยบายกองทุนธนาคารที่ดิน และต่อมาคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2554 ได้พิจารณากรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวในกรอบวงเงิน 167 ล้านบาท โดยดำเนินการในพื้นที่ 5 หมู่บ้าน ได้แก่

1.1) บ้านไร่ดง หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

1.2) บ้านแม่อาว หมู่ที่ 3 ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

1.3) บ้านแพะใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

1.4) บ้านท่ากอม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองปลาสวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

1.5) บ้านโป่ง หมู่ที่ 2 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ต่อมา ปี พ.ศ. 2554  ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 128 ตอนที่ 33 ก ลงวันที่ 3 พ.ค 2554

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมาจะเห็นได้ชัดว่ามีการพยายามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด มีคำสั่งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่สาธารณะประโยชน์และที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้าง ที่ 3/2556 เรื่องการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีปัญหาที่สาธารณะประโยชน์ทับซ้อนที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎร และการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินโดยมิชอบของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 9 คณะ ในส่วนจังหวัดลำพูนอยู่ในคณะทำงานลำดับที่ 1.5 โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธาน ได้มีการประชุมและมีการเจรจาตกลงซื้อที่ดินกับกลุ่มเอกชนผู้ถือครองเอกสาร สิทธิ์ ในพื้นที่บ้านไร่ดง หมู่ที่ 3 ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จำหวัดลำพูน (ปัจจุบันแยกหมู่บ้านเป็นบ้านใหม่ป่าฝาง หมู่ที่ 15 ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน) ใช้งบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน น.ส.3 ก. จำนวน 10 แปลง ราคา 3,800,000 บาท คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 8 มี.ค 2554 รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้างและเหมืองแร่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายถาวร เสนเนียม) เป็นประธานในคณะอนุกรรมการ ได้เสนอให้มีการจัดซื้อที่ดิน เพื่อดำเนินการเป็นพื้นที่นำร่องในรูปแบบของธนาคารที่ดิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการ โดยให้การสนับสนุนงบประมาณ เป็นเงินจำนวน 167,960,000 บาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 อนุมัติงบประมาณรายจ่าย งบกลางรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ "โครงการนำร่องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยไทยเข้มแข็งภายใต้ นโยบายกองทุนธนาคารที่ดิน แต่เนื่องจากในขณะนั้นสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินยังไม่มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้

ต่อมาเมื่อ วันที่ 21 พ.ค. 2556 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษารับทราบและเห็นชอบในหลักการการแก้ไข้ปัญหาของ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม กรณีการดำเนินการโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน ในพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เร่งดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย โดยประสานรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินการกับสำนักงบประมาณแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

จนถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดจัดตั้งธนาคารที่ดิน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร, ผู้อำนวยการสถาบัน และบรรจุพนักงานเพื่อดำเนินงานเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 โดยมี สถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.)

เมื่อวันที่ 26-27 พ.ย. 2558 ทางสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน นำโดย สถิตย์พงษ์ สุดชูเกียรติ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) พร้อมกับที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน เดินทางเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง สำรวจสภาพพื้นที่ และลักษณะทั่วไปของชุมชนตามโครงการนำร่องธนาคารที่ดินพื้นที่นำร่อง 5 ชุมชน ในการลงพื้นที่ครั้งนี้สถิตย์พงษ์ ได้รับทราบปัญหาที่ดินและอีกปัญหาสำคัญคือเรื่องคดีความ โดยสถิตย์พงษ์ ได้ชี้แจงต่อชาวบ้านที่มาร่วมฟังเรื่องแนวทางการดำเนินการโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน จะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6-8 เดือนหากได้รับการอนุมัติให้ใช้งบประมาณจาก ครม. และเรื่องคดีความทางสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พร้อมให้ความร่วมมือในการแถลงต่อศาล ให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ทั้งนี้ขอความเมตตาต่อศาลในการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไปก่อน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

YPD บุกกองทัพบก จี้ชี้แจ้งปมทหารส่งจม.เตือนนักวิชาการค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

$
0
0

ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย ร้องกองทัพบก ชี้แจงปมทหารส่งจม.เตือนนักวิชาการค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ระบุเป็นการคุมคามนักวิชาการ ชวนสังคมจับตาเหตุสุ่มเสี่ยงต่อการไร้ธรรมภิบาลของการบริหารราชการแผ่นดิน

ที่มาภาพ เพจ Banrasdr Photo 

25 พ.ค. 2559 เมื่อเวลา 13.00 น. ที่ผ่านมา ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (Young People for Social-Democracy Movement, Thailand (YPD.) ได้เดินทางมายื่นแถลงการณ์ คัดค้านการคุมคามนักวิชาการและต่อต้านความไร้ธรรมาภิบาลทั้งทางสิ่งแวดล้อมและการบริหารราชการแผ่นดิน จากกรณี  พล.ต.วิรัชช์ กมลศิลป์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ได้ออกหนังสือที่ส่งถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อขอความร่วมมือในการทำความเข้าใจกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่เคลื่อนไหวและต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

โดย YPD ได้ เรียกร้องให้สังคมไทยติดตามและตรวจสอบเรื่องดังกล่าวในฐานะที่การกระทำของข้าราชการทหารข้างต้นสุ่มเสี่ยงต่อการไร้ธรรมภิบาลของการบริหารราชการแผ่นดินกล่าวคือ 1. การใช้บันทึกข้อความขอความร่วมมือข้ามหน่วยราชการในประเด็นที่ไม่ใช้หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตนเอง 2. เป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งเมื่อดูสายการบังคับบัญชาและความทับซ้อนของผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวเพราะเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยที่ผู้ทำหนังสือขอความร่วมมือในพื้นที่คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาและกำลังพลของกองทัพบก ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบกปัจจุบัน มีตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการบริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยถึง 2 ตำแหน่ง คือ รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก 

"ขอเรียกร้องให้กองทัพบกชี้แจ้งประชาชนในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งควรหยุดการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ ละเมิดสิทธิชุมชนของชาวบ้านทุกกรณี" แถลงการณ์ YPD ระบุ
 
โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ดังนี้ : 
 

แถลงการณ์ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย (Young People for Social-Democracy Movement, Thailand (YPD.) คัดค้านการคุมคามนักวิชาการและต่อต้านความไร้ธรรมาภิบาลทั้งทางสิ่งแวดล้อมและการบริหารราชการแผ่นดิน 

“กรณีผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ทำหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คุกคามอิสรภาพทางวิชาการและคุกคามสิทธิชุนชนของชาวบ้านในพื้นที่”

ตามหนังสือ กห 0484.63/1113 ลงวันที่ 21 เมษายน 2559 พล.ต.วิรัชช์ กมลศิลป์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ได้ออกหนังสือที่ส่งถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อขอความร่วมมือในการทำความเข้าใจกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่เคลื่อนไหวและต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพานั้น

ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตยมีความเห็นคัดค้านต่อการกระทำดังกล่าว เนื่องจากการทำงานของนักวิชาการนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ นักวิชาการควรมีอิสระในการดำเนินการศึกษาผลกระทบ ให้เกิดความตระหนังถึงปัญหาที่จะตามมาของโครงการที่มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่ไหนก็ตามทั่วประเทศไทย 

ตามหลักการของการมีธรรมภิบาลทางสิ่งแวดล้อมที่จะต้องที่เอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม การคานอำนาจ และการตรวจสอบจากภาคประชาชนอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้นหากไร้ซึ่งเสรีภาพทางวิชาการก็ไร้ซึ่งการมีส่วนร่วม นำไปสู่การขาดธรรมภิบาลทางสิ่งแวดล้อมในที่สุด

ประเด็นสำคัญต่อมา ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย ขอเรียกร้องให้สังคมไทยติดตามและตรวจสอบเรื่องดังกล่าวในฐานะที่การกระทำของข้าราชการทหารข้างต้นสุ่มเสี่ยงต่อการไร้ธรรมภิบาลของการบริหารราชการแผ่นดินกล่าวคือ 

1. การใช้บันทึกข้อความขอความร่วมมือข้ามหน่วยราชการในประเด็นที่ไม่ใช้หน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานตนเอง

2. เป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งเมื่อดูสายการบังคับบัญชาและความทับซ้อนของผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวเพราะเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โดยที่ผู้ทำหนังสือขอความร่วมมือในพื้นที่คือ ผู้ใต้บังคับบัญชาและกำลังพลของกองทัพบก 

ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของกองทัพบกปัจจุบัน มีตำแหน่งอยู่ในคณะกรรมการบริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยถึง 2 ตำแหน่ง คือ รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก 

ด้วยเหตุผลเช่นนี้ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตยจึงขอเรียกร้องให้สังคมไทยเฝ้าจับตาการกระทำการกระทำดังกล่าว และขอเรียกร้องให้กองทัพบกชี้แจ้งประชาชนในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งควรหยุดการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดเสรีภาพทางวิชาการ ละเมิดสิทธิชุมชนของชาวบ้านทุกกรณี
 

เพื่อประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและประชาธิปไตยทางการเมือง 
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อสังคมนิยมประชาธิปไตย(YPD.)
25 พฤษภาคม 2559

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: ทำไมต้องยกเลิกโทษประหารชีวิต

$
0
0



ทุกครั้งที่มีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น เช่น การทำร้ายชายพิการจนเสียชีวิต หรือการฆ่าข่มขืน ฯลฯ ก็จะมีการปลุกกระแสสังคมให้มีการลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิดอยู่เสมอ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นลงโทษที่สาสมกับการกระทำความผิดนั้นและเชื่อว่าหากมีการลงโทษประหารชีวิตแล้วจะไม่มีการกระทำความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีก ทั้งๆที่มีงานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตนั้นไม่มีความเชื่อมโยงใดๆกับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอาชญากรรมเลย

จากรายงานฉบับล่าสุดของ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตทั่วโลกในปี 2558 ชี้ว่าตัวเลขการประหารชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ สถิติสูงสุดในรอบกว่า 25 ปี นอกจากจีนที่ไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการแล้วสามประเทศที่ประหารชีวิตมากที่สุดคือ อิหร่าน ปากีสถาน และซาอุดิอาระเบีย แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างกำลังหันหลังให้กับโทษประหารชีวิต ปัจจุบันมี 140 ประเทศหรือมากกว่า 2 ใน 3 ของ ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติแล้ว โดยที่ 102 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทุกประเภท

สำหรับประชาคมอาเซียนซึ่งประกอบด้วย 10 ประเทศนั้น กัมพูชาและฟิลิปปินส์ ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดทางอาญาทุกประเภท ส่วนลาว พม่า และบรูไน ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ (การที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิต แต่ได้ระงับการประหารชีวิตเป็นระยะเวลา 10 ปีติดต่อกัน) ส่วนประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนามยังคงมีและใช้โทษประหารชีวิตอยู่

ประเทศไทย เมื่อปีที่แล้วมีการตัดสินลงโทษประหารชีวิตอย่างน้อย 7 คน ปัจจุบันข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2559 มีนักโทษประหาร 420 คน ชาย 368 คน หญิง 52 คน เป็นคดียาเสพติด 195 ราย คดีทั่วไป 225 ราย โดยที่ประเทศไทยมีการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2552 ก้าวเข้าสู่ปีที่เจ็ดที่ไม่มีการประหารชีวิต ซึ่งหากไม่มีการประหารชีวิต 10 ปีติดต่อกัน ทางองค์การสหประชาชาติจะถือว่าเป็นประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติทันที ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่ดีด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับประเทศไทยอีกก้าวหนึ่ง


เหตุผลในการยกเลิกโทษประหารชีวิต

1) การประหารชีวิตเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์คือสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งมนุษย์ทุกคนพึงได้รับสิทธินี้เสมอกันโดยไม่คำนึงถึงสถานภาพ ชาติพันธุ์ ศาสนา หรือชาติกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นคนดี หรือคนไม่ดี เป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้

2) การประหารชีวิตทุกวิธีก่อให้เกิดความทรมานต่อนักโทษอย่างแสนสาหัส แม้แต่การฉีดยาพิษเข้าสู่ร่างกายก็ตาม

3) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาย่อมมีความเสี่ยงที่จะตัดสินผิดพลาด ไม่มีระบบใดที่จะสามารถตัดสินได้อย่างเป็นธรรม สม่ำเสมอ และโดยไม่มีข้อบกพร่อง ที่สำคัญคือการประหารชีวิตที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถเรียกชีวิตกลับคืนมาได้ แม้ในภายหลังจะมีการสอบสวนว่าผู้ที่ถูกประหารชีวิตนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ก็ตาม

4) นักโทษที่ถูกประหารชีวิตส่วนใหญ่ คือ คนยากจน คนด้อยโอกาสซึ่งไม่สามารถว่าจ้างทนายความที่มีความสามารถเพื่อให้ความรู้และแก้ต่างให้กับตนเองได้ จากงานวิจัยเกี่ยวกับนักโทษประหารชีวิตที่ทำโดย สุมณทิพย์ จิตสว่าง ระบุว่า สถานภาพของนักโทษประหารชีวิตในประเทศไทยเป็นบุคคลที่มีฐานะทางสังคมไม่สูงนัก  ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถม  มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท การตกเป็นนักโทษประหารชีวิตเนื่องจากสภาพแวดล้มที่กดดันหล่อหลอมให้ก่ออาชญากรรม เช่น การคบเพื่อน การเรียนรู้ทางสังคม มีการควบคุมตัวเองต่ำ รวมทั้งการไม่เกรงกลัวโทษประหารชีวิตในขณะกระทำความผิด กล่าวคือ โทษประหารชีวิตไม่สามารถยับยั้งให้พวกเขาก่ออาชญากรรม แต่พวกเขาจะกลัวโทษที่จะได้รับหลังจากกระทำความผิดแล้ว

5) การประหารชีวิตไม่ได้ยับยั้งอาชญากรรมรุนแรง หรือทำให้สังคมปลอดภัยขึ้น แต่ยังส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อสังคม การที่รัฐอนุญาตให้มีการประหารบุคคลแสดงถึงการสนับสนุนต่อการใช้กำลังและการส่งเสริมวงจรการใช้ความรุนแรง บัน คี มุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ  กล่าวว่า “ไม่เคยมีใครพิสูจน์ได้เลยว่าโทษประหารชีวิตช่วยยับยั้งอาชญากรรมได้” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบ 2 ประเทศ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ทั้งจำนวนประชากร การศึกษา ภาวะเศรษฐกิจ คือ สิงคโปร์ ที่ยังมีโทษประหารชีวิต ลงโทษย่างรุนแรง และฮ่องกง ที่ไม่มีโทษประหารชีวิตแล้ว สถิติการก่ออาชญากรรมแทบไม่ต่างกันเลย ถ้าโทษประหารชีวิตสามารถยับยั้งอาชญากรรมได้จริง ตัวเลขการก่ออาชญากรรมของสิงคโปร์จะต้องน้อยกว่าฮ่องกงใช่หรือไม่


แล้วจะทำอย่างไรกับผู้กระทำความผิด

เราควรมีทัศนคติใหม่ต่อผู้ที่กระทำความผิด ไม่ควรคิดว่าพวกเขาเป็นผู้ร้ายที่สมควรได้รับการลงโทษอย่างสาสม แต่ควรคิดว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของผลผลิตทางสังคมเหมือนเช่นเรา และการลงโทษนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อการแก้แค้นทดแทนแต่ต้องเป็นไปเพื่อการแก้ไขเยียวยา เพราะการที่พวกเขากระทำความผิดย่อมหมายถึงบางสิ่งบางอย่างในสังคมของเราทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป สิ่งที่เราควรที่จะคิดกระทำไม่ใช่การกำจัดพวกเขาให้ออกไปจากสังคม แต่เราควรที่จะคิดหาต้นตอของปัญหา ฟันเฟืองที่ทำงานผิดพลาดเพื่อหาวิธีการแก้ไข

แน่นอนว่าสิ่งที่บุคคลเหล่านั้นกระทำถือว่าเป็นความผิด สิ่งที่รัฐจะต้องกระทำอย่างเร่งด่วนคือ การนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกระบวนการยุติธรรมจะต้องโปร่งใส รวดเร็ว แม่นยำและเท่าเทียมกัน จะต้องไม่มีการปล่อยคนผิดลอยนวล ยิ่งกระบวนการยุติธรรมเป็นธรรมและรวดเร็วเท่าไรยิ่งถือได้ว่าเป็นการเยียวยาเหยื่อหรือผู้เสียหายได้มากเท่านั้น

ส่วนการเรียกร้องให้มีการประหารชีวิตบุคคลที่มีพฤติกรรมเลวร้ายเหล่านั้น ขณะเรื่องราวที่ยกตัวอย่างมาในตอนต้นกระแสเริ่มซาลง อยากให้ทุกคนกลับมาใช้สติและเหตุผลในพิจารณาเรื่องนี้ให้มากขึ้นอีกครั้ง แน่นอนทุกคนโกรธและเกลียด บางคนอาจจะขยะแขยงในสิ่งที่คนเหล่านั้นกระทำต่อเหยื่อหรือผู้เสียหาย

เมื่อเราโกรธและเกลียดในสิ่งที่พวกเขากระทำ เราก็ไม่ควรทำแบบเดียวกับที่พวกเขาทำ เพราะไม่เช่นนั้นเราก็คงไม่ต่างไปจากพวกเขา คือ “การเป็นอาชญากร” ดีๆ นี่เอง  เพียงแต่เราไม่ได้ลงมือฆ่าคนด้วยตนเอง  แต่มอบหมายหน้าที่นั้นให้กับเพชฌฆาตเป็นผู้ทำหน้าที่ “ฆ่า”แทนเราเท่านั้นเอง

 


หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันพุธที่ 25 พ.ค.59
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images