Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

292 นักวิชาการจี้ปล่อยตัว น.ศ.-เรียกร้องหยุดคุกคามรณรงค์ประชามติ รธน.

$
0
0

28 มิ.ย. 2559 นักวิชาการ 292 คนในนามเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ออกแถลงการณ์ เรื่อง ปล่อยตัวนักศึกษาและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี โดยมีการแถลงข่าวหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เรียกร้องรัฐไทยปล่อยตัว 7 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่ถูกจับกุมคุมขัง หลังจากออกมารณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ ยุติการขัดขวางคุกคามจับกุมผู้ที่รณรงค์ประชามติและแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลประกาศสัญญาประชาคมว่าจะให้การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม เป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม


แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
เรื่อง ปล่อยตัวนักศึกษาและให้มีการรณรงค์การออกเสียงประชามติอย่างเสรี


เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 นักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานจำนวนหนึ่งได้จัดกิจกรรมในย่านนิคมอุตสาหกรรมบางพลีเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและรณรงค์ให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจขัดขวางจับกุมและถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ท้ายสุดนักศึกษา 7 คนได้ถูกศาลทหารปฏิเสธคำร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราวและถูกคุมขัง ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและเป็นการขัดขวางการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในหมู่ประชาชนเพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม การรณรงค์ประชามติของนักศึกษาและประชาชนดังกล่าวเป็นไปอย่างสงบ สันติ เปิดเผย มิได้ขัดต่อกฎหมายหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลใด แต่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักในสิทธิของตนและได้รับข้อมูลรอบด้านเพื่อตัดสินใจกำหนดอนาคตของตน

ยิ่งกว่านี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มีเนื้อหาที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 61 ที่คุกคามการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตของประชาชน การอ้างพระราชบัญญัติฉบับนี้มาจับกุมดำเนินคดีผู้ที่รณรงค์ประชามติจึงไม่มีความชอบธรรม

การออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมจะมีความชอบธรรมเป็นที่ยอมรับนั้นต้องเกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศที่มีเสรีภาพ มิใช่การกดขี่บังคับและสร้างความหวาดกลัวดังเช่นที่เป็นอยู่ การณ์กลับเป็นว่าการรณรงค์ประชามติที่รัฐดำเนินอยู่มีลักษณะด้านเดียวคือ เน้นแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ แต่ห้ามและดำเนินคดีผู้เสนอข้อมูลอีกด้าน ดังกรณีนักศึกษาและกรรมการสหภาพแรงงานที่เสนอความเห็นต่างกลับถูกขัดขวางจับกุมคุมขัง ในขณะที่นักกิจกรรมและนักการเมืองที่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญกลับแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐทั่วประเทศยังได้ถูกระดมออกไปพบประชาชนเพื่อชี้แจงแต่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญเพียงด้านเดียว ทั้งหมดนี้จะทำให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปอย่างเสรี ขาดความชอบธรรม และไม่เป็นที่ยอมรับ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองพร้อมกับผู้มีรายชื่อแนบท้ายจึงมีข้อเรียกร้องต่อ คสช. ดังนี้
1. ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 7 คนที่ทำการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

2. ยุติการขัดขวาง คุกคาม จับกุมผู้ที่รณรงค์ประชามติและแสดงความคิดเห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างสงบ สันติ เปิดเผย พร้อมทั้งให้มีการเสนอความเห็นรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในช่องทางต่างๆ ได้อย่างเสรี

3. ประกาศสัญญาประชาคมว่าจะให้การออกเสียงประชามติวันที่ 7 สิงหาคมเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อสะท้อนความเรียกร้องต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเปิดให้การรณรงค์ประชามติเป็นไปอย่างรอบด้าน ให้ทุกฝ่ายสามารถเสนอข้อมูลทั้งข้อดีและจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่ถูกขัดขวางจากเจ้าหน้าที่รัฐ

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
28 มิถุนายน 2559


รายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์
1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช นักวิชาการอิสระ
4. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
5. กฤติธี ศรีเกตุ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
6. กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ
7. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. กษมาพร แสงสุระธรรม นักวิชาการอิสระ
9. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. กิตติ วิสารกาญจน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
11. กิตติกาญจน์ หาญกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
12. กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ นักวิชาการอิสระ
13. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
14. กุลลดา เกษบุญชู มี้ด นักวิชาการอิสระ
15. กุศล พยัคฆ์สัก นักวิชาการอิสระ
16. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
19. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษา The University of Manchester
20. เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
22. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร
23. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
24. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25. เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการอิสระ
26. เครือมาศ บำรุงสุข นักวิชาการอิสระ
27. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
28. จอน อึ๊งภากรณ์
29. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
30. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31. จักรกฤษ กมุทมาศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33. จุฑามณี สามัคคีนิชย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
34. จันทนี เจริญศรี สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. เจษฎา บัวบาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
36. เฉลิมชัย ทองสุข กลุ่มผู้ประกอบกิจการสังคมเพื่อประชาธิปไตย
37. ชล บุนนาค คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
39. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
40. ชวาลิน เศวตนันทน์ Macquarie University, Australia
41. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
42. ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. ชนัญญ์ เมฆหมอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
44. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
45. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการอิสระ
46. ชานันท์ ยอดหงษ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
47. ชไมพร รุ่งฤกษ์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
49. ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
50. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
51. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
52. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
53. ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
54. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
55. ญดา สว่างแผ้ว นักวิชาการอิสระ
56. ญาณาธิป เตชะวิเศษ นักวิชาการอิสระ
57. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
58. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
59. ณภัค เสรีรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
60. ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
61. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
62. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
63. ณัฐดนัย นาจันทร์ นิสิตปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
65. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
67. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
68. เดือนฉาย อรุณกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
69. ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง นักวิชาการอิสระ
70. ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
71. ทวีศักดิ์ เผือกสม ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
72. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
73. ทับทิม ทับทิม นักวิชาการอิสระ
74. ทัศนัย เศรษฐเสรี คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
75. ธนพงษ์ หมื่นแสน นักกิจกรรมทางสังคม
76. ธนพร ศรียากูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
77. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
78. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล Graduate School of Asia-Pacific Studies, Waseda University
79. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
80. ธนาคม วงษ์บุญธรรม นักวิจัย
81. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
82. ธนิศร์ บุญสม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
83. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
84. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. ธัชธรรม ศิลป์สุพรรณ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
86. ธัญญธร สายปัญญา รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
87. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
88. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
89. ธีระ สุธีวรางกูร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
90. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
91. นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92. นนท์ นุชหมอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
93. นภนต์ ภุมมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
94. นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
96. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
97. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
98. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
100. นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
101. นิติ ภวัครพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
102. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ
103. บดินทร์ สายแสง สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
104. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
105. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
106. บารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน
107. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
108. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
109. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
110. บุปผาทิพย์ แช่มนิล นักกิจกรรมเยาวชน เขาชะเมา
111. เบญจมาศ บุญฤทธิ์
112. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
113. ปฐม ตาคะนานันท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
114. ประกาศ สว่างโชติ ข้าราชการเกษียณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
115. ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
116. ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
117. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
118. ประภากร ลิพเพิร์ท นักวิชาการอิสระ
119. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
120. ประภาส ปิ่นตบแต่ง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
121. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
122. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
123. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
124. ปัทมวรรณ จิมากร ซิลลิ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
125. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
126. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
127. ปิยรัฐ จงเทพ สมาคมเพื่อเพื่อน
128. ปีติกาญจน์ ประกาศสัจธรรม อดีตอาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร
129. ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
130. พกุล แองเกอร์ นักวิชาการอิสระ
131. พงศ์สุดา กาศยปนันท์ ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา
132. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
133. พงศ์เทพ แก้วเสถียร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
134. พรณี เจริญสมจิตร์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
135. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
136. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
137. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
138. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
139. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
140. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
141. พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
142. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
143. พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
144. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
145. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักวิชาการอิสระ
146. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
147. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
148. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน
149. ภัทรภร ภู่ทอง มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
150. ภัทรนันท์ ทักขนนท์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
151. ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
152. มณีรัตน์ มิตรปราสาท นักวิชาการอิสระ
153. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
154. มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
155. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
156. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
157. ยศ สันตสมบัติ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
158. ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
159. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
161. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
162. รชฏ นุเสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
163. รอมฎอน ปันจอร์ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
164. รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
165. รัตนา โตสกุล นักวิชาการ
166. รามิล กาญจันดา คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
167. ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน
168. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
169. วรยุทธ ศรีวรกุล นักวิชาการอิสระ
170. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
171. วรวิทย์ เจริญเลิศ นักวิชาการอิสระ
172. วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
173. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
174. วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
175. วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
176. วาสนา ละอองปลิว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. วิเชียร อันประเสริฐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
178. วิจักขณ์ พานิช นักวิชาการอิสระ
179. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
180. วิภา ดาวมณี นักวิชาการอิสระ
181. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
182. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ
183. วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
184. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
185. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
186. วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอาคันตุกะ, SOAS, University of London
187. วีระชัย พุทธวงศ์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
188. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
189. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
190. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
191. ศรันย์ สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
192. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
193. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา
194. ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
195. ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
196. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
197. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
198. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
199. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
200. สมเกียรติ วันทะนะ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
201. สมชาย ปรีชาศิลปกุล นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
202. สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
203. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
204. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
205. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
206. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
207. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
208. สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
209. สาวตรี สุขศรี นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
210. สาวิตร ประเสริฐพันธุ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
211. สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
212. สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
213. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ TCIJ
214. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
215. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
216. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
217. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี นักวิจัยอิสระ
218. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ โรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
219. สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
220. สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
221. สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
222. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
223. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
224. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
225. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
226. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
227. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
229. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
230. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
231. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
232. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
233. อดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ
234. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
235. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
236. อภิญญา เวชยชัย คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
237. อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๊วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
238. อภิชาต สถิตนิรามัย เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
239. อภิชาติ จันทร์แดง สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
240. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
241. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
242. อรภัคค รัฐผาไท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
243. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
244. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
245. อรศรี งามวิทยาพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
246. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
247. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
248. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
249. อัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
250. อัฏฐพร ฤทธิชาติ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
251. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
252. อัมพร หมาดเด็น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
253. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
254. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
255. อาชัญ นักสอน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
256. อาทิตย์ ศรีจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
257. อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล อาจารย์พิเศษ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
258. อิมรอน ซาเหาะ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้
259. อิสราภรณ์ พิศสะอาด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
260. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
261. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
262. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ
263. เอกชัย ไชยนุวัติ นักวิชาการกฎหมาย
264. เอกชัย หงส์กังวาน สมาคมเพื่อเพื่อน
265. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
266. เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
267. Aim Sinpeng, Department of Government and International Relations, University of Sydney
268. Alessandra Mezzadri, Department of Development Studies, SOAS, University of London
269. Andrea Molnar, Department of Anthropology, Northern Illinois University
270. Andrew Newsham, Centre for Development, Environment and Policy, SOAS, University of London
271. Angela Chiu, Department of the History of Art and Archaeology, SOAS, University of London
272. Brett Farmer, Honorary Research Fellow, University of Melbourne
273. Charles Keyes, Professor Emeritus, University of Washington
274. Clare Farne Robinson, Scholars at Risk
275. Jesse Levine, Scholars at Risk
276. John Faulkner SOAS, University of London
277. Kalpalata Dutta, PhD candidate, Institute of Human Rights and Peace Studies, Mahidol University
278. Lars Peter Laamann, History Department, SOAS, University of London
279. Nadje Al-Ali, Center for Gender Studies, SOAS, University of London
280. Michael Montesano, Institute of Southeast Asian Studies, Singapore
281. Michelle Tan, Faculty of Political Science, Thammasat University
282. Mulaika Hijjas, SOAS, University of London
283. Owen Miller, Department of Japan and Korea, SOAS, University of London
284. Peter Vandergeest, Department of Geography, York University
285. Philip Hirsch, University of Sydney
286. Rachel Harrison, Department of the Languages and Cultures of South East Asia, SOAS
287. Rahul Rao, Department of Politics and International Studies, SOAS, University of London
288. Tyrell Haberkorn, Political and Social Change, Australian National University
289. Wolfram Schaffar, Institut fur Internationale Entwicklung, Universitat Wien
290. Yorgos Dedae, SOAS, University of London
291. สุพัตรา บุญปัจญโรจน์
292.ณรุจน์ วศินชัยมงคล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มนักกิจกรรมรามฯ จี้ มหา'ลัย-องค์การน.ศ. ปกป้อง น.ศ.รามที่ถูกจับกรณีรณรงค์ประชามติ

$
0
0

28 มิ.ย. 2559 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เวลา 09.10 น. กลุ่มภาคีนักศึกษา นักกิจกรรมเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ ม.รามคำแหงและองค์การนักศึกษา ม.รามคำแหง แสดงบทบาทปกป้องนักศึกษา

แถลงการณ์ระบุว่า จากกรณีที่มีการจับกุมนักศึกษาและประชาชน ที่ออกไปรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด จนนำไปสู่การคุมขังนักศึกษา 7 คนที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยแจ้งข้อกล่าวหาตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558 พ.ร.บ.ประชามติและประกาศ คมช.ที่ 25/2549 มีข้อมูลว่า นักศึกษา 5 ใน 7 นั้นเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งถูกคุมขังมากว่า 5 วันแล้ว มีเพื่อน นักกิจกรรมและนักวิชาการมหาวิทยาลัยต่างๆ ไปเยี่ยมให้กำลังใจจำนวนมาก ขณะที่ยังไม่เห็นบทบาทของ ม.รามคำแหงและองค์การนักศึกษา ม.รามคำแหง

ทางกลุ่มจึงเรียกร้องให้ ม.รามคำแหงและองค์การนักศึกษา ม.รามฯ ออกมาแถลงแสดงบทบาทปกป้องนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่นที่อาจารย์และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นปฏิบัติ รวมถึงเรียกร้องต่อองค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย ให้เปิดพื้นที่การรณรงค์และการแสดงออกเกี่ยวกับกระบวนการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยสามารถให้ทั้งฝ่ายที่เห็นต่างสามารถรณรงค์ได้เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ของประชาชน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปล่อยลูกโป่งหน้าเรือนจำ-ย้ำรณรงค์ไม่ผิด-ปล่อยเพื่อนมาดูบอลยูโรโดยเร็ว

$
0
0

ประชาธิปไตยใหม่ปล่อยลูกโป่งหน้าเรือนจำ ย้ำจุดยืนรณรงค์ทำได้ไม่ผิดกฎหมาย ให้กำลังใจเพื่อนที่ถูกจับกุมเพราะรณรงค์ประชามติ แมน ปกรณ์ ขอให้เพื่อนได้รับอิสรภาพออกมาดูบอลยูโรด้วยกัน

คลิปช่วงปล่อยลูกโป่งรณรงค์ทำได้ไม่ผิดกฎหมาย ให้กำลังใจเพื่อนผู้ถูกจับกุม

28 มิ.ย 2559 เวลา 12.00 น. ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ได้จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ โดยการเดินถือลูกโป่ง "รณรงค์ไม่ผิด" เข้าเรือนจำทีละ 1 คน เพื่อเป็นการแสดงออกถึงจุดยืนว่ารณรงค์ทำได้ไม่ผิดกฎหมาย และเป็นการให้กำลังใจเพื่อนๆทั้ง 7 คน ที่ถูกจับกุมคุมขังหลังจากออกมารณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในผู้จัดกิจกรรมปล่อยลูกโป่งและกล่าวให้กำลังใจผู้ถูกควบคุมตัวว่าออกมาดูบอลยูโรด้วยกันโดยเร็ว

ทั้งนี้เมื่อเข้ามาภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ขอให้นำลูกโป่งออกไปปล่อยด้านนอกเรือนจำ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าวันนี้ไม่ได้มีการเข้ามาห้ามปล่อยลูกโป่งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่อย่างใด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศิษย์เก่ารามฯ เรียกร้องปล่อย 7 น.ศ.-หยุดใช้กม.ประชามติ เปิดแสดงความเห็นร่าง รธน.

$
0
0

28 มิ.ย. 2559 ศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง ออกแถลงการณ์กรณีมีการจับกุมนักศึกษาที่จัดกิจกรรมรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 7 คน เรียกร้องหยุดใช้ พ.ร.บ.ประชามติ เปิดให้มีการแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ และหยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง รวมถึงให้ปล่อยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่มีเงื่อนไข 

รายละเอียดมีดังนี้

 

จากกรณีที่มีการจับกุมนักศึกษา ที่จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธินอกเขตจังหวัด และแจกเอกสารแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงข้อดี ข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิตัวเองเพื่อกำหนดอนาคตประเทศ

แต่เจ้าหน้าที่รัฐ ได้อ้างคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เข้าดำเนินคดี จับกุมคุมขังกลุ่มนักศึกษาดังกล่าว และส่งดำเนินคดีในศาลทหาร จนถูกจองจำขาดอิสรภาพ

การดำเนินกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิในกระบวนการประชามติ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ถือว่าเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมือง และประชาชนต้องได้รับรู้ข้อมูลที่รอบด้านเพียงพอ ต่อการตัดสินใจในครั้งนี้

การใช้อำนาจรัฐเข้าจับกุม โดยขาดการไตร่ตรองของเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายประชามติ ยังคงมีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย อยู่ระหว่างการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการจะระบุว่า ใครทำผิดกฎหมายประชามติ ต้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้วินิจฉัย แต่ครั้งนี้กลับไม่ได้มี กกต.เข้าร่วมในการสอบสวน แต่เจ้าหน้าที่ก็ได้แจ้งข้อกล่าวหากับนักศึกษา

ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3 ก็เห็นได้ว่า เป็นคำสั่งที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งในบรรยากาศที่อยู่ในช่วงก่อนทำประชามติ ควรที่จะเปิดให้ประชาชนได้แสดงออกอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นประโยชน์อันสูงสุด

พวกเราในนามศิษย์เก่า และอดีตนักกิจกรรมมหาวิทยาลัยรามคำแหง เห็นว่าการดำเนินคดีกับนักศึกษา ยังขาดการไตร่ตรอง จึงมีข้อเรียกร้องดังนี้

1.หยุดการใช้กฎหมายประชามติ เพื่อดำเนินการจับกุม กับบุคคลทุกคน และเปิดให้มีการแสดงออกต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่

2.หยุดใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. เพื่อดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง และให้เจ้าหน้าที่รัฐทบทวนบทบาทการทำงานในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนให้หยุดใช้ความรุนแรงในการเข้าจับกุม

3.ให้ปล่อยกลุ่มนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยไม่มีเงื่อนไข เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลต่อการทำประชามติ ที่สามารถทำได้ตามหลักสากล

เชื่อมั่นศรัทธาพลังคนรุ่นใหม่

บารมี ชัยรัตน์
วิสา คัญทัพ
วัฒน์ วรรยางกูล
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน
เจณจิณณ์ เอมะ
ประกาศ เรืองดิษฐ์
ศรีสุวรรณ จรรยา
พีร ศรีเมือง
เอกชัย พรพรรณประภา
รัตนา ศิลปประสม
นราภรณ์ ดำอำไพ
ตรีชฎา ศรีธาดา
บุญเลิศ มโนสุจริตชน อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วีรพงษ์ คำเนตร อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธเนศ ศรีวิรัญ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ทวีศักดิ์ เห็นครบ อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
สรสิช ฟักแฟง อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
พิศาล บุพศิริ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
จักรพล บูรพา อดีตสมาชิกชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม
ราชันย์ กัลยาฤทธิ์
กนกวรรณ พุ่มอยู่
ศัลธณี เกิดชนะ
วีรชัย เฟ้นดี้ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
กานญานุช เขื่อนทา
ปิยนัฐ เสมารัมย์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
รัตนาภรณ์ ไชยพงษ์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
คุณภัทร คะชะนา
จริยาภรณ์ ภูเดช อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
วลี นาคสุวรรณ
ธนู แนบเนียร
วีรนันท์ ฮวนศรี อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง
อัครพงศ์ พรหมมา อดีตรองประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
รณชัย ชัยนิวัฒนา
พรพนา ก๊วยเจริญ
ณฤตณ ฉอ้อนศรี
ชูศักดิ์ เจริญหงษ์ทอง
สิรินาฏ ศิริสุนทร
ทวิภัทร บุณฑริกสวัสดิ์
ธนู จำปาทอง
ร่วมพงษ์ ซ่อนกลิ่น
วินัด เพ็งแจ่ม
สิริธร ไพรลุณ อดีตประธานชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ชาญชัย ษมาชัยเรืองฤทธิ์ อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาชาวเขา
สาธิต กลิ่นเทศ
รัฐประชา พุฒนวล อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ธนวินท์ เตชินท์ธนนันท์ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
พจมาลย์ วงษ์พันธุ์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ณิฐฐา หนูสม อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ฌัชเมษ อมรพุทธิกุล
อดิราช ท้วมละมูล
ธนพล ใคร่ครวญ
ธัญญาวัส ประจันต์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ไพรัตน์ ทองใสย์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนาราม-อีสาน
ราตรี สุริเตอร์ อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นัทธวัฒน์ ทับทิมทอง อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สรณ ขจรเดชกุล อดีตสมาชิกชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อภิสิทธิ์ เหล่าลุมพุก อดีตประธานชมรมค่ายอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สุทธิพงษ์ พูนกล้า อดีตสมาชิกชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
พงษ์สัญ สะโรชะมาศ
มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ
ธนพล สว่างแสง
อรุณี สะโรชะมาศ
พระวิศรุต ชุตินธโร อดีตประธานชมรมศึกษาปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิเคราะห์การเมืองหลังเลือกตั้ง คะแนนเสียงสะท้อนการแบ่งฝ่ายในสเปน

$
0
0

สเปนยังคงมีโอกาสประสบปัญหาความยุ่งยากในการจัดตั้งรัฐบาลแม้ว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งหลังคราวที่แล้วตกลงกันไม่ได้ นักวิจัยในสเปนเขียนถึงบรรยากาศทางการเมือง การหาเสียงของพรรคฝ่ายซ้าย และลักษณะการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของแต่ละพรรคการเมืองที่ต่างก็มีอะไรบางอย่างไม่กินเส้นกัน

28 มิ.ย. 2559 ชาร์ลส์ แกสปาโรวิค นักวิจัยด้านประสาทวิทยาที่อาศัยอยู่ในสเปน เขียนบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหลังจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในสเปนที่ยังคงสภาพการณ์แบบเดิมคือพรรครัฐบาลสายอนุรักษ์นิยมอย่างพรรคประชาชนหรือพีพี (PP) สามารถชนะคะแนนได้แต่ไม่มี ส.ส. ในสภามากพอจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากในสภา

เหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ยังเคยเกิดขึ้นช่วงเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว จากการที่ปรากฏการณ์ที่พรรคการเมืองดั้งเดิม 2 พรรค คือพรรคพีพีและพรรคสังคมนิยมพีเอสโออี (PSOE) ต่างก็สูญเสียความนิยมอย่างหนัก เนื่องจากพรรคการเมืองใหม่ๆ ทั้งฝ่ายซ้ายอย่างโปเดมอส และฝ่ายขวาอย่างซิวดาดานอสแย่งคะแนนเสียงไป

แกสปาโรวิค ระบุถึงการขับเคี่ยวกันทางการเมืองในช่วงเหตุการณ์หลังการเลือกตั้งช่วงเดือน ธ.ค. 2558 ว่ามีการสาดโคลนและสาดสโลแกนใส่กัน พวกพรรคชั้นนำทั้งหลายมีการเจรจากับพรรคอื่นเพื่อตั้งเป็นพรรคแนวร่วมอยู่หลายหน ในขณะที่พวกเขาใช้รัฐสภาที่ยังไม่สามารถใช้การได้เป็นเวทีกล่าวหากันถึงข้อผิดพลาดของแต่ละฝ่าย มีการอภิปรายกันอย่างเผ็ดร้อนนำเสนอผ่านทางโทรทัศน์ทำให้มีการแบ่งขั้วมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ผู้ชมเลิกให้ความสนใจและในที่สุดสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลีเปที่ 6 แห่งสเปนผู้ทำหน้าที่เสมือนกรรมการในระบอบการเมืองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของสเปนก็ทรงประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ซึ่งก็คือการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ที่ผ่านมา

แกสปาโรวิค ประเมินในเรื่องผลคะแนนเสียงว่า ขณะที่ฝ่ายขวาเสรีนิยมใหม่อย่างซิวดาดานอสสูญเสียคะแนนนิยมให้กับพรรคพีพีซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่กว่า ขณะที่ในฝ่ายซ้าย พรรคเก่าอย่างพีเอสโออีก็สูญเสียคะแนนเสียงให้กับแนวร่วมฝ่ายซ้าย ซึ่งนำโดยพรรคฝ่ายซ้ายอย่างโปเดมอส แต่ผลโดยรวมออกมาก็คล้ายกับช่วงเดือน ธ.ค.

ถึงแม้ว่าผลโพลล์ก่อนหน้านี้จะระบุว่าพรรคฝ่ายซ้ายและพรรคสายเขียวมีโอกาสที่จะทำคะแนนแซงหน้าพรรคพีเอสโออีขึ้นมาเป็นอันดับสองแต่ผลจริงๆ ออกมาไม่เป็นเช่นนั้น พรรคพีพียังคงได้ที่หนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เสียงข้างมากในสภา พรรคพีเอสโออียังคงตามมาเป็นอันดับสอง และพรรคโปเดมอสได้อันดับที่สามโดยได้ที่นั่งในสภามากกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย โดยได้เท่ากับจำนวนเดิมบวกกับจำนวนที่นั่งของพรรคไอยูในช่วงเดือน ธ.ค. 2558 โดยที่ในตอนนั้นยังไม่ได้รวมกันเป็นพรรคแนวร่วม

ผลที่ออกมาเช่นนี้ทำให้การตั้งพรรคแนวร่วมรัฐบาลมีความยุ่งยากไม่แพ้การเลือกตั้งครั้งที่แล้วแต่ก่อนหน้านี้พรรคใหญ่ทั้ง 4 พรรคก็ให้คำมั่นว่าจะตั้งพรรคร่วมรัฐบาลให้ได้โดยไม่ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกแม้ว่าจะมีความไม่พอใจต่อกันก็ตาม อย่างไรก็ตามเหล่าผู้นำพรรคโปเดมอสเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชนว่าพวกเขายอมรับว่าผิดหวังต่อผลที่ออกมาและมองในแง่ร้ายว่าคงไม่ได้พรรคร่วมรัฐบาลสายหัวก้าวหน้า

แกสปาโรวิค ระบุว่าถ้าหากพรรคการเมืองทำตามสัญญาที่ให้ไว้จริง จะมีเพียงสองหนทางเท่านั้นคือการรวมพรรคพีพีกับพรรคพีเอสโออี หรืออีกหนทางหนึ่งคือพรรคพีเอสโออี-ยูนิดอส โปเดมอส-ซิวดาดานอส อย่างไรก็ตามกลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้ายได้รวมเอาพรรคสนับสนุนแบ่งแยกดินแดนคาตาลุนญาซึ่งพรรคพีเอสโออีรับไม่ได้ แม้ว่าพรรคเหล่านั้นอาจจะไม่เข้าร่วมและไม่ลงคะแนนในสภาก็ตาม ทำให้เหลือแต่โปเดมอสที่ไม่ได้มีแนวร่วมแต่พวกเขาก็คงจะยอมรับพรรคซิวดาดานอสได้ยาก

แกสปาโรวิค ชี้ถึงปัญหาของโปเดมอสเองว่าพวกเขาไม่ยอมร่วมมือกับฝ่ายขวาในแง่ใดเลย เว้นแต่อาจจะได้แรงจูงใจในเชิงได้เข้าร่วมรัฐบาลระดับบนพวกเขาแสดงออกว่าอยากให้มีการเลือกตั้งใหม่มากกว่าเพื่อที่จะโค่นล้มพรรคพีเอสโออีเพื่อสถาปนามาตรฐานใหม่ของพรรคฝ่ายซ้าย

พรรคอย่างพีพีก็มีเรื่องอื้อฉาวหลายเรื่องรวมถึงเรื่องที่ถูกแฉจากเอกสารปานามาทำให้รัฐมนตรีรายหนึ่งถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง การถูกเปิดโปงเรื่องบทสนทนาการสมคบคิดของรัฐมนตรีในเรื่องที่จะพยายามขุดคุ้ยอดีตของผู้นำฝ่ายเรียกร้องเอกราชของคาตาลุนญาและผู้นำชุมชนปกครองตัวเองจากพรรคพีเอสโออีเพื่อทำลายชื่อเสียงของพวกเขาในเรื่องนี้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องอัตราการว่างงานสูงมากรองจากประเทศที่ถูกอียูโบยตีอย่างกรีซ และมีทีท่าว่าถ้าหากพรรคพีพีชนะการเลือกตั้งครั้งนี้อาจจะมีการใช้มาตรการลดงบประมาณสวัสดิการประชาชนหนักขึ้นหลังจากที่จดหมายการติดต่อกันระหว่างประธานาธิบดีมาริอาโน ราฮอย กับประธานสหภาพยุโรป ฌอง คล็อด จังซ์เคอร์ รั่วไหลออกมาเผยให้เห็นว่าราฮอยไม่คิดจะยับยั้งการตัดงบประมาณตามที่สัญญาไว้ในการหาเสียง

แต่ดูเหมือนว่าฐานเสียงของพรรคพีพีจะไม่ฟังซึ่งแกสปาโรวิคมองว่าผู้สนับสนุนพรรคบางคนคงคิดว่าอยากจะได้ฟังคำโกหกที่ฟังแล้วสบายใจหรือบางคนก็บอกว่าพรรคอื่นๆ ก็จะทำแบบเดียวกันอยู่ดี

แกสปาโรวิคตั้งข้อสังเกตอีกว่าผู้นำพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ค่อยพยายามรักษาภาพลักษณ์ที่ดีเท่าไหร่ในระหว่างการเลือกตั้งสองครั้ง มีผลโพลล์ระบุว่าคนส่วนใหญ่มองว่า ผู้ลงสมัคร ส.ส.เหล่านี้ไม่จริงใจหรือไม่ยืดหยุ่น พรรคพีเอสโออีเองก็เคยมีประวัติไม่ดีในการเป็นผู้เริ่มตัดงบประมาณหลังจากปี 2551 ตามคำสั่งของอียู ขณะที่พรรคโปเดมอสที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อ 2557 ในนามของการต่อต้านระบบชนชั้นแบบเก่าก็ต้องรับศึกสองด้าน จากที่มีฝ่ายซ้ายบางส่วนกล่าวหาว่าพวกเขาจะสถาปนา "ระบบชนชั้นแบบใหม่" จากการที่หัวหน้าพรรคอย่างปาโบล อิกเลเซียส ดำเนินการภายในพรรคโดยอาศัยอำนาจของตัวเอง นอกจากนี้ทั้งฝ่ายขวาและนักสังคมนิยมยังแปะป้ายให้โปเดมอสเป็นพรรคสายปฏิวัติโบลิวาร์ จากที่หัวหน้าพรรคเคยติดต่อปรึกษาหารือกับรัฐบาลของฮูโก ชาเวซ ในเวเนซุเอลาช่วงก่อนการตั้งพรรค นอกจากนี้พวกเขายังร่วมกับพรรคไอยูซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีพื้นเพมาจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่ถูกยุบ

แต่แกสปาโรวิคก็เล่าว่า มานาโล วิลลาร์ เลขาธิการพรรคไอยูเคยบอกกับเขาในการหาเสียงว่าพวกเขาไม่ได้จะเรียกร้องให้ปฏิวัติทุนนิยมหรืออะไรแบบนั้น ในความเป็นจริงแล้วพรรคแนวร่วมยูนิดอส โปเดมอส อ้างถึงบารัก โอบามา มากกว่าคาร์ล มาร์กซ์ ในเรื่องแผนการเศรษฐกิจเสียด้วยซ้ำ

โดยแผนการของพวกเขาคือกระตุ้นการใช้จ่ายแต่การเป็นสมาชิกภาพอียูทำให้พวกเขาไม่สามารถพิมพ์เงินและขายพันธบัตรเองได้แบบสหรัฐฯ พวกเขาจึงบอกอย่างตรงไปตรงมาว่าจะหาเงินจากการขึ้นภาษี ต่างจากพรรคอื่นๆ ที่จะพยายามไม่พูดถึงเรื่องนี้ โปเดมอสบอกว่าจะขึ้นภาษีในคนระดับสูง และภาษีรายได้จากการลงทุน โดยมีข้องดเว้นภาษีน้อยลง โดยจะนำไปใช้ในเรื่องการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ธุรกิจสตาร์ทอัพทั้งระดับเล็กและใหญ่ ใช้กับการวิจัยวิทยาศาสตร์ การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และมาตรการช่วยเหลือในระยะยาวแก่คนที่ไม่มีงานทำและคนที่จนมากๆ ซึ่งจะเป็นการใช้เงินให้หมุนกลับไปยังเศรษฐกิจท้องถิ่น

วิลลาร์บอกว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และพวกเขาจะต้องทำงานร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ในประเทศ พรรคโปเดมอสเน้นเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่มีความเป็นธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแรงงาน

แน่นอนว่าสถานการณ์ต่างๆ ในยุโรปทั้งวิกฤตเศรษฐกิจกรีซและการลงประชามติออกจากอียูของอังกฤษชวนให้มองโลกในแง่ร้าย แต่แกสปาโรวิคก็ระบุว่าคำกล่าวปราศรัยของหัวหน้าพรรคโปเดมอสมีทั้งการมองโลกในแง่ดีและความคิดปฏิบัตินิยมไปพร้อมๆ กัน อิกเลเซียสบอกว่าพรรคของพวกเขาต้องมองผลการเลือกตั้งอย่างพิจารณาจริงจังและสื่อสารแนวคิดของพวกเขาออกไปได้ดีกว่านี้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักในความคิดของแกสปาโรวิค พวกเขาต้องทำให้ประชาชนที่กำลังมองโลกในแง่ร้ายมองไปข้างหน้าให้เห็นอนาคตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีการกำกับชี้นำของอียูหรือสถาบันทางการเงินอย่างสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ พวกเขาต้องยกเลิกกฎหมายแรงงานเดิมที่ทำให้แรงงานเสี่ยงต่อการถูกกดขี่และตกเป็นเหยื่อของตลาดการเงินระดับโลกได้

พรรคโปเดมอสต้องพยายามเปลี่ยนใจชาวสเปนส่วนใหญ่ให้ได้ว่าการลงทุนพลังงานหมุนเวียน การวิจัย และการศึกษาที่สร้างงานดีๆ ให้กับแรงงาน ซึ่งหมายถึงงานที่ไม่ทำให้พวกเขาเป็นแค่สินค้าที่ใช้แล้วทิ้งแต่เป็นผู้มีส่วนร่วมในประชาธิปไตยที่โปร่งใสและอุดมสมบูรณ์

มานาโล วิลลาร์ กล่าวต่อแกสปาโรวิคโดยอ้างจากคำคมของนักเขียนโปรตุเกส โฮเซ ซารามาโก ที่เขาเขียนถึงอารมณ์ชนะ-พ่ายแพ้ ของการต่อสู้ฝ่ายก้าวหน้าว่า "ความพ่ายแพ้มีแง่บวกของมันอยู่คือมันไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย และชัยชนะก็มีแง่ลบของมันอยู่คือมันไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกัน"

 

เรียบเรียงจาก

No Change in Spain: New Vote Reflects a Still Divided Electorate, Charles Gasparovic, Common Dreams, 26-06-2016
http://www.commondreams.org/views/2016/06/26/no-change-spain-new-vote-reflects-still-divided-electorate

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอง หน.ประชาธิปัตย์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญมีชัย-เขียนเพราะกลัวเพื่อไทยตั้งรัฐบาล

$
0
0

เวทีสาธารณะเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ตำหนิร่าง รธน. แบบกลัวเสียงข้างมาก กลัวเพื่อไทยเป็นรัฐบาล รับไม่ได้ให้ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี ด้านสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ระบุ รธน. ออกแบบสวนทางสากล มุ่งให้รัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุม ทำอะไรไม่ได้มากเพราะออกแบบไว้หมดแล้ว ส่วน ปกรณ์ อารีกุล ชี้ห้ามรณรงค์ก่อนประชามติเท่ากับปิดกั้นตัดขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วน 'ไผ่ ดาวดิน' ถูกตำรวจยึดลูกโป่งหน้าเรือนจำ

เมื่อวานนี้ (27 มิ.ย. 59) ที่ห้องประชุม 109 อาคารปัญญาพิพัฒน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีการจัดเวทีถกแถลงสาธารณะ "ร่างรัฐธรรมนูญกำกับรัฐบาลไว้อย่างไร" 

 

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ฟันธงร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้เพราะกลัวเพื่อไทยเป็นรัฐบาล

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยความกลัวเสียงข้างมาก เนื่องจากมีความพยายามจัดวางโครงสร้างในรัฐธรรมนูญเพื่อกำกับควบคุมรัฐบาล และประกอบกับคำถามพวงประชามติที่มีเจตนาให้ ส.ว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง มีส่วนร่วมในการเลือกคนที่จะมาเป็นรัฐบาล

"ในระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่เราปกครองด้วยเสียงข้างมาก แต่ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ร่างมาด้วยความกลัวเสียงข้างมาก พูดง่ายๆ คือกลัวพรรคเพือไทยจะเป็นรัฐบาล เขาคิดว่าถ้าเพือไทยกลับมาจะทำอย่างไร เพื่อจะควบคุมเสียงข้างมาก เขามีเจตนาชัดเจนในคำถามพวง ที่เสนอให้ ส.ว. เข้ามามีส่วนในการเลือกคนที่จะมาเป็นรัฐบาล ผมสนับสนุนทุกพรรคที่ได้เสียงข้างมากเป็นรัฐบาล แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการที่ให้ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี ผมรับเรื่องนี้ไม่ได้" นิพิฏฐ์ กล่าว

 

สุดารัตน์ ชี้ร่างรัฐธรรมนูญแบบนี้ - รัฐบาลทำอะไรไม่ได้มากนัก เพราะออกแบบไว้หมด

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวด้วยว่า "ต้องยอมรับว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่แตกต่างจากร่างรัฐธรรมนูญที่เคยเกิดขึ้น เพราะต่างจากหลักรัฐธรรมนูญที่เป็นสากล โดยมีเป้าหมายในการจัดการกับนักการเมืองอย่างชัดเจน อาจจะมองได้ว่าเป็นการควบคุมนักการเมือง แต่กลับเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด ดิฉันไม่ได้ห่วงว่าพรรคไหนจะได้ที่นั่งมาก น้อย แต่เป็นห่วงว่าประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร"

สุดารัตน์ ระบุด้วยว่า ด้วยโครงสร้างอำนาจการเมืองที่ออกแบบไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้ประเทศไทยมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยภายใต้การควบคุม รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งจะไม่ต่างจากเป็ดง่อย เพราะไม่สามารถทำอะไรได้มาก เนื่องจากมีการออกแบบการทำงานของรัฐบาลไว้แล้วทั้งหมดผ่านยุทธศาสตร์ 20 ปี ทั้งยังมีกลไกต่างๆ เข้ามาควบคุม เช่น ส.ว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้มีที่มาที่ยึดโยงกับประชาชน

"อีก 20 ปีข้างหน้าเราอาจจะไม่ต้องเสี่ยงกับการรัฐประหารอีกครั้ง เพราะถูกอย่างถูกรับรองไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ" สุดารัตน์ กล่าว

นอกจากนี้ ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM ได้เข้าร่วมเสวนาด้วย โดยแสดงความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการกำกับและควบคุมการทำงานของรัฐบาล โดยไม่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของประชาชน และไม่เข้าใจความคิดของคนรุ่นใหม่ เมื่อมองการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในช่วงหลัง โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในขบวนการประชาธิปไตยใหม่

กลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ได้ยึดติดอยู่กับพรรคการเมือง นักศึกษานักกิจกรรมที่อยู่ในขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ได้ทำงาน ไม่ได้ของการตรวจสอบ และเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นพรรคใด แต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือการปิดกั้นโอกาส และตัดขาดการมีส่วนร่วม ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยประชาชน เพราะกลไกอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชนค่อยตรวจสอบอย่างแน่นหนา ซึ่งนั้นอาจไม่ต้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน

ปกรณ์ กล่าวด้วยว่า แม้กระทั่งการรณรงค์เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติในตอนนี้ ผู้มีอำนาจยังได้อ้างว่าเป็นการฝ่าผืนคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และที่สุดแล้วทำให้มีเพื่อนในขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ติดคุกทั้งหมด 7 คน

"ทั้ง 7 คนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 5 คน นักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์ 1 คน และนักศึกษาปริญญาโทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 คน คำถามที่เราต้องถามคือ ขณะที่สังคม และสื่อมวลชนหลายสำนักกำลังทำข่าว การลงประชามติที่ประเทศอังกฤษ แต่ประเทศไทยเด็ก 7 คนแค่แจกความเห็นแย้งกลับติดคุก ผมออกจากบ้านเมื่อเช้ายังคิดว่านี้เป็นความฝันอยู่เลย" แมน ปกรณ์ กล่าว

ปกรณ์ได้แจกเอกสารความเห็นร่างรัฐธรรมนูญให้กับผู้เข้าร่วมเวทีถกแถลงทุกคน โดยระบุด้วยว่า ครั้งนี้ตัวเขาเองมาแจกคนเดียว เจ้าหน้าที่รัฐจะมาอ้างว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองไม่ได้ ส่วนเรื่องผิด พ.ร.บ.ประชามติหรือไม่ เป็นเรื่องที่ กกต. ต้องตีความ

 

ไผ่ ดาวดิน ถูกตำรวจสกัดห้ามปล่อยลูกโป่งหน้าเรือนจำ

มีรายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 12.15 น. ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ขณะที่ ไผ่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ กำลังเดินเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เพื่อเข้าเยี่ยมเพื่อนทั้ง 7 คนที่ถูกคุมขังหลังจากแจกเอกสารรณรงค์โหวตโน ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ จาก สน.ประชาชื่น 2 นาย เข้ามาพยายามแย่งลูกโป่ง "รณรงค์ ไม่ผิด" 7 ใบ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับ จัดกิจกรรมปล่อยลูกโป่งหน้าเรือนจำในช่วงบ่ายวันนี้

จตุภัทร์ ได้ให้ข้อมูลว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบที่ได้เข้ามาล็อกแขนทั้งสองข้าง และพยายามแย่งลูกโป่งไป จนทำลูกโป่งหลุดมือ และลอยขึ้นฟ้าไป โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้เหตุผลว่า ห้ามไม่ให้มีการแสดงสัญลักษณ์ต่างๆ หน้าเรือนจำ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบไม่ได้ควบคุมตัว จตุภัทร์ แต่อย่างใด

 

ประชาธิปไตยใหม่รณรงค์ต่อเนื่องช่วงเย็นที่แยกคอกวัว รำลึกวันกำเนิดรัฐธรรมนูญ 27 มิถุนายน

นอกจากนี้เมื่อเวลา 18.00 น. ที่ อนุสรณ์ 14 ตุลา แยกคอกวัว ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้จัดงาน ดนตรี กวี เรื่องเล่า "2 ร่าง 2 ปี เอา D ไม่ได้" รำลึก 27 มิถุนายน วันกำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรก โดยในเวทีมีกำหนดการกิจกรรมมากมาย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอาทิ วงสามัญชน วงกำปั้น สุชาติ สวัสดิ์ศรี สมบัติ บุญงามอนงค์ บุญเลิศ วิเศษปรีชา บทกวีจาก และตัวแทนสหภาพแรงงานที่ถูกควบคุมตัว

ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ได้ระบุว่า การจัดกิจกรรมนี้ถูกวางไว้ก่อนหน้าที่เพื่อนทั้ง 7 คนจะถูกคุมขัง โดยกลุ่มเพื่อนที่ยังอยู่ข้างนอกได้ถามเพื่อนที่ถูกจับกุมว่า จะให้มีการจัดกิจกรรมต่อไปหรือไม่ ซึ่งคำตอบได้ปรากฏให้เห็นแล้ว โดยในกิจกรรม จุตภัทร์ หรือ ไผ่ ดาวดิน มาบอกเล่าเหตุการณ์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่ามีประชาชนเข้ากิจกรรมครั้งนี้ราว 100 คน และมีเจ้าหน้าที่ยูเอ็นมาสังเกตุการณ์ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนาสวัสดิการถ้วนหน้า: ศิโรตม์ชี้ สวัสดิการถ้วนหน้าต้องมากับประชาธิปไตย

$
0
0

ศิโรตม์ชี้สวัสดิการถ้วนหน้าต้องมากับประชาธิปไตย กรรณิการ์ยันสิทธิรักษาพยาบาลต้องไม่ถูกลด ด้านสฤณีชี้อย่าเหมารวมประชานิยมว่าไม่ดี และหลังเสวนาเครือข่ายฯแถลงการณ์เผยการลงทะเบียนคนจนเป็นการยกเลิกสวัสดิการถ้วนหน้า

27 มิ.ย. 2559 เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการขับเคลื่อนระบบบำนาญแห่งชาติ จัดงานชมภาพยนตร์ Where to Invade Next บุกให้แหลก แหกตาดูโลก ของไมเคิล มัวร์ และงานเสวนาเรื่อง “สวัสดิการถ้วนหน้าเป็นภาระของรัฐจริงหรือ” ที่โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ อาจารย์พิเศษ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน นักแปลด้านเศรษฐศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท

ในงานเสวนา ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กล่าวว่าภาพยนตร์ Where to Invade Next เป็นหนังที่ทำขึ้นมาเพื่อการขับเคลื่อนสังคม ซึ่งพูดในหลายประเด็น เช่น สหภาพแรงงาน โอกาสในการทำงานที่เท่าเทียมระหว่างชายหญิง และรัฐสวัสดิการ เป็นต้น ซึ่งหลังจากศิโรตม์ดูหนังเรื่องนี้ ก็ได้กลับมามองสังคมไทยที่มีหลายประเด็นคล้ายกับในหนัง

ศิโรตม์ กล่าวว่าหัวใจของสวัสดิการคือการจัดสรรเงินจากรัฐให้ประชาชน ซึ่งพื้นฐานในการเรียกร้องสวัสดิการต้องมีประชาธิปไตย ต้องให้ประชาชนมีเงื่อนไขมาต่อรองได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตยก็ไม่มีทางเรียกร้องได้เพราะประชาชนไม่มีอำนาจต่อรอง ดังนั้นเรื่องสวัสดิการจะเลี่ยงเรื่องการเมืองไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของการจะเอาเงินรัฐมาอย่างไร ทำให้รัฐบาลจ่ายเงินให้กับส่วนอื่นน้อยลงอย่างไร

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า ในขณะที่งบประมาณประเทศเพิ่มปีละ 5-10 เปอร์เซ็นต์ งบกลาโหมกลับเพิ่มปีละ 15 เปอร์เซ็นต์ อย่างเช่น งบของปี 60 ที่เพิ่งจะผ่านสภานิติบัญญัติที่ไม่มีตัวแทนประชาชน พบว่างบของกระทรวงกลาโหมเพิ่มอย่างมาก ซึ่งสัดส่วนของงบกลาโหมแต่ละปีนั้น เพิ่มเร็วกว่าสัดส่วนงบประมาณประเทศเสียอีก หรืออย่างในปี 2550 งบประมาณประเทศเพิ่มขึ้นแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ แต่งบของกลาโหมเพิ่มถึง 34 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาหลังปี 2549 งบประมาณของประเทศเพิ่มขึ้นประมาณร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่งบกลาโหมเพิ่มขึ้นไปถึง 150 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งศิโรตม์มองว่าส่วนต่าง 50 เปอร์เซ็นต์ จะนำมาช่วยเหลือประชาชนได้มหาศาล

"ในที่สุดเรื่องพวกนี้มันพัวพันกับเรื่องการเมืองเรื่องประชาธิปไตย แยกกันไม่ได้เลย คุณปล่อยให้กองทัพมีเงินเพิ่มขึ้นปีละสองหมื่นล้าน สองหมื่นล้านทำอะไรได้บ้าง ผมไม่รู้นะ แต่ผมเชื่อว่าทำอะไรให้ประชาชนมีชีวิตดีขึ้นได้มากกว่าที่ผ่านมาเยอะ ซึ่งเราไม่ได้ทำ"

ศิโรตม์ยังกล่าวอีกว่า สังคมต้องออกจากสภาวะที่ไม่มีประชาธิปไตย สภาวะที่ใครก็ไม่รู้ ที่อาจไม่มีความรู้เรื่องนโยบายสาธารณะและไม่ได้ฟังเสียงประชาชนมากำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เพราะหากยิ่งปล่อยให้มีสภาวะแบบนี้ต่อไป ประชาชนก็จะยิ่งเสียผลประโยชน์

"เราไม่ควรจะอยู่ในประเทศที่สวัสดิการซึ่งเป็นของประชาชน อยู่ดีๆ ถูกตัดโดยใครก็ไม่รู้ที่ประชาชนไม่ได้เลือกเข้ามา" ศิโรตม์กล่าว


ด้าน กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวว่า ความสำเร็จหลายๆ อย่างของเรื่องรัฐสวัสดิการ มีพื้นฐานมาจากการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่จะรักษาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าไว้ได้อย่างไร ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำหรือการแบ่งชนชั้น เพราะถ้ามีการแบ่งว่าระบบหลักประกันสุขภาพให้เฉพาะคนยากไร้เท่านั้น คนจำนวนหนึ่งที่ไม่ยากไร้ก็จะไม่พัฒนาระบบ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องของคนจน แต่ที่เราต้องช่วยกันรักษาระบบไว้ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร จะป่วยเป็นโรคอะไร หากเป็นโรคร้ายแรงและโดนค่ารักษาเป็นล้านก็ลำบาก ฉะนั้นการรักษาระบบไว้ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน

กรรณิการ์ ยืนยันว่าการจัดสวัสดิการไม่ใช่การไปขอเอาเงินจากรัฐ เพราะความจริงประชาชนเป็นคนจ่ายภาษี และไม่ต้องมาอ้างเรื่องภาษีเงินได้ เพราะทุกคนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มและมันก็เป็นภาษีรายได้ที่ใหญ่ที่สุด ฉะนั้นต้องมาดูว่าควรจะจัดแบ่งกันอย่างไร และจัดอันดับว่าสิ่งใดที่เป็นเรื่องสำคัญและมีคุณค่าของประเทศนี้

กรรณิการ์ ยังกล่าวถึงปัญหาของการจัดการงบหลักประกันสุขภาพที่ถูกกดไว้ไม่ให้เพิ่มมาตลอด 3 ปี และในปีนี้ถึงแม้ได้เพิ่มงบ แต่ก็ได้เพิ่มเพียง 1.6 เปอร์เซ็นต์ ทั้งที่ควรจะเพิ่ม 2-3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่งบกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างมหาศาล  

สุดท้าย กรรณิการ์ยืนยันว่าเราต้องช่วยกันยันไม่ให้สิทธิที่ควรจะได้รับในการรักษาพยาบาลถูกลดให้แย่ไปกว่านี้ เพราะตอนนี้รัฐมีแนวโน้มทำให้แย่ อย่างเช่น มีแนวคิดให้ร่วมจ่าย ซึ่งเธอยืนยันว่าสามารถร่วมจ่ายได้แต่ต้องร่วมจ่ายในภาษี ไม่ใช่จ่ายหน้าจุดบริการ เพราะจะเกิดการแบ่งชนชั้นเวลาไปเข้ารับการรักษา และภาษีที่ร่วมจ่ายไปนั้นต้องนำไปใช้กับประกันสุขภาพจริงๆ ไม่ใช่นำไปซื้อเรือดำน้ำ หรือ GT200

อีกทั้งต้องยันเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพราะรัฐเพิ่งออกมาบอกว่าจะให้เหลือแค่ผู้สูงอายุที่ยากไร้เท่านั้น ดังนั้นกรรณิการ์มองว่าหากรัฐทำประเด็นนี้สำเร็จ ประเด็นเรื่องสุขภาพที่เหลือจะถูกลดตามไปเป็นลำดับ

สฤณี อาชวานันทกุล กล่าวว่า สวัสดิการมี 3 ประเภท หนึ่งคือการคุ้มครอง เป็นการสร้างสังคมพื้นฐาน เช่น สวัสดิการสุขภาพ สองคือ เรื่องการช่วยคนรองรับความเสี่ยง เช่น เงินออม และสามคือการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เอาเงินจากคนรวยมาแบ่งให้คนจน

ปัญหาของสังคมไทยตอนนี้คือ สังคมไทยยังแยกไม่ออกระหว่าง การคิดเรื่องรัฐสวัสดิการ และวิธีจัดการ โดยตนมองว่าต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ควรจะมีสวัสดิการให้แก่ประชาชนไหม อย่างไร และค่อยมาคิดว่าจะใช้วิธีการอย่างไร แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สังคมไทยยังต้องมาถกเถียงกันว่าควรมีรัฐสวัสดิการหรือไม่ ทั้งที่ในต่างประเทศเขาก้าวหน้าไปไกลกว่านั้นแล้ว อย่างสวิตเซอร์แลนด์ก็มีประชามติเรื่องเงินเดือนให้เปล่า อีกทั้งงานทางเศรษฐศาสตร์ก็บ่งชี้ว่าประเทศจะพัฒนาได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพการศึกษา และสุขภาพของประชากร

สฤณี ยังกล่าวอีกว่า หากตกลงได้แล้วว่าควรจะมีสวัสดิการ รูปแบบการจัดการมี 3 แบบในยุโรป แบบแรกคือรัฐจัดการให้ทั้งหมด แบบที่สองคือประชาชนมีการร่วมจ่ายบ้าง และแบบที่สามคือสวัสดิการน้อยหรือการจะได้รับสวัสดิการต้องผ่านคุณสมบัติบางประการ

สำหรับในไทยก็มักจะมีคำถามว่ารัฐจะมีเงินจ่ายไหม สฤณีมองว่าการจัดสวัสดิการไม่ใช่ภาระมากมายทางการคลัง และประเทศไม่ได้มีปัญหาเรื่องการเงินขนาดนั้น แต่เราควรต้องปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการเงิน โดยได้ยกตัวอย่างระบบที่นักเศรษฐศาสตร์ชอบ โดยการนำรัฐสวัสดิการไปอิงกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หากเศรษฐกิจประเทศโต มีเงินเยอะก็จะจัดการได้เยอะ ถ้าเศรษฐกิจประเทศตกต่ำ รัฐก็จ่ายน้อย ซึ่งเป็นระบบแบบอัตโนมัติ 

อย่างไรก็ตาม สฤณีกล่าวว่า หากจะมีการจัดการ ก็มีข้อควรพิจารณา 3 ประการ หนึ่งคือ ประสิทธิภาพของรัฐในการจัดการว่าจะจัดการอย่างไรในระบบคอร์รัปชันของไทย และจะจัดการให้คนเสียภาษีได้จริงหรือไม่ สองคือแรงจูงใจของเอกชน โดยรัฐจะมีพลังกำกับเอกชนให้ร่วมจ่ายได้หรือไม่ และสามคือ ผลกระทบอื่นๆ ที่อาจจะเกิด

สุดท้าย สฤณี ได้ฝากถึงประชาชนว่า ถ้าเห็นว่าสิทธิบางอย่างหายไปจากร่างรัฐธรรมนูญ ก็ไปแสดงออกโดยการลงประชามติไม่รับร่าง อีกทั้งยังกล่าวในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ว่าต้องพยายามอธิบายความเชื่อมโยงให้ประชาชนเห็นว่า สวัสดิการถ้วนหน้า การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 3 สิ่งนี้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อประชาชนจะได้เข้าใจว่าสวัสดิการไม่ได้เป็นภาระของรัฐ อีกทั้งยังต้องอธิบายถึงที่มาที่ไปของสวัสดิการเหล่านี้ ว่าไม่ใช่นโยบายประชานิยมที่ไม่ดี

"ก็ต้องมีการทำงานอีกเยอะเหมือนกันในการอธิบาย เรื่องของที่มาที่ไปของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แล้วก็รวมถึงสิทธิการศึกษาฟรี รวมถึงเบี้ยผู้สูงอายุ จริงๆ ทั้งหมดนี้มีที่มาที่ไปทั้งนั้น และมันก็มาจากหลายรัฐบาลด้วยนะ คือทุกรัฐบาลเขาก็มีส่วนในการผลักดัน แล้วก็ส่วนหนึ่งก็คือด้วยเสียงของประชาชนที่อยากให้มันมี แต่ก็น่าเสียดายที่พอมันเกิดความขัดแย้งทางการเมืองมากๆ เราก็ปล่อยให้การต่อต้านประชานิยม มากลบเรื่องพวกนี้ไปเลยกลายเป็นว่าถูกตีขลุมเหมารวมทั้งหมดนี้กลายเป็นประชานิยมที่แย่"


แถลง ‘ลงทะเบียนคนจน’ เท่ากับ ‘ยกเลิกสวัสดิการถ้วนหน้า’

หลังจบงานเสวนา ตัวแทนจากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการแถลงข่าวแสดงความเห็นต่อนโยบายลงทะเบียนคนจนของรัฐบาล คสช. โดยอำไพร รมยะปาน กล่าวว่า การลงทะเบียนคนจนของภาครัฐจะส่งผลให้รัฐยกเลิกการจัดสวัสดิการแบบถ้วนหน้า เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งนับว่าเป็นการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติต่อคนจน ทั้งที่สิทธิในการได้รับสวัสดิการพื้นฐานเป็นสิทธิของทุกคน

ด้าน ชุลีพร ด้วงจิม กล่าวว่า ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Where to Invade Next ทำให้สะท้อนใจกับผู้นำประเทศไทยที่มุ่งแต่จะจำกัดงบประมาณด้านสวัสดิการประชาชน ขณะที่ในประเทศต่างๆ กลับมีสวัสดิการที่ดี เช่น การเรียนฟรีถึงปริญญาตรี สวัสดิการสุขภาพ และสวัสดิการเด็กและผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้นรัฐอย่าถามว่าทำไมประเทศอื่นถึงทำได้ แต่ควรถามว่าทำไมเราไม่ทำให้ได้บ้าง

ส่วน อรกัลยา พุ่มพึ่ง ทวงถามถึงผู้นำประเทศและข้าราชการว่าต้องการให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี หรือต้องการเพียงสงเคราะห์คนจน อีกทั้งยังอ้างแต่เพียงงบประมาณไม่พอ ทั้งที่เอาเงินไปลงทุนกับสิ่งที่ไม่คุ้มค่า อย่าง รถไฟความเร็วสูงไปโคราช เธอตั้งคำถามว่าทำไมไม่ดูในต่างประเทศว่าเขาจัดการอย่างไร พร้อมชี้ว่าหากประเทศไทยมีการบริหารงบประมาณอย่างเห็นคุณค่าชีวิตมนุษย์ ลดการลงทุนทางวัตถุที่ไม่จำเป็น และมีการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งได้จริง การจัดการสวัสดิการถ้วนหน้าย่อมทำได้แน่นอน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักสังเกตการณ์ประชามติแนะ กกต.-กสม. ปรับทัศนคติ คสช. ย้ำหัวใจต้องแฟร์และฟรี

$
0
0

ที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch ระบุหัวใจของการเลือกตั้งและประชามติคือเสรีภาพในการแสดงความคิดและการสื่อสารต่อสาธารณะ แนะเทียบมาตรฐานอังกฤษดีกว่าเทียบกับพม่า ชี้แม้จะสายไปการสร้างความชอบธรรมกับประชามติ แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไร

<--break- />

พงษ์ศักดิ์ จันทร์อ่อน ที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch 

จากเมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 มีนักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) นักกิจกรรม รามคำแหง และกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ รวม 13 คน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจควบคุมตัวตั้งแต่วันนี้ที่หน้านิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากไปแจกแผ่นพับและเอกสารให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ (อ่านข่าวที่นี่)  ต่อมาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยในจำนวนนั้นมีผู้ขอประกันตัว 6 ราย ที่เหลืออีก 7 รายยืนยันว่าไม่ได้ทำสิ่งใดผิดจึงไม่ขอประกันตัว ทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่นำตัวมาศาลทหารเพื่อขออนุญาตฝากขัง โดยที่ 6 ราย ขอประกันตัวและได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพและ ทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อกลางดึกคืน 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่ 7 รายที่ไม่ยื่นประกันตัวนั้นถูกฝากขังที่เรือนจำดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) รวมทั้งก่อนหน้านั้นมีการควบคุมและดำเนินคดีกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)ทั้งส่วนกลางและต่างจังหวัดจากความพยายามเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ นั้น

ประชาไท ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พงษ์ศักดิ์ จันทร์อ่อน ที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch และผู้ประสานงานโครงการประจำประเทศไทย ของมูลนิธิเครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้ง(ANFREL) ซึ่งมีประสบการณ์เป็นผู้สังเกตการณ์นานาชาติ (International Observer) 15 ปี ในการสังเกตการณ์เลือกตั้งและประชามติทั้งในทวีปเอเชียและต่างทวีปกว่า 20 ประเทศ ถึงกรณีดังกล่าว

เสรีภาพในการแสดงความคิดและการสื่อสารต่อสาธารณะคือหัวใจ

โดย พงษ์ศักดิ์ กล่าวถึงการปราบปรามและดำเนินคดีกับผู้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับประชามติว่า ดูแล้วก็คือมันไม่ควรจะเป็นอย่างนี้ ถ้าพูดหลักการที่เป็นหัวใจหลักๆ เลยแล้วก็ของการลงประชามติหรือว่าการเลือกตั้งผมชอบใช้คำว่าเสรีภาพทางความคิดและจิตวิญญาณ แต่จริงๆ มันคือเสรีภาพในการแสดงความคิด และการสื่อสารต่อสาธารณะ แต่ว่าพี่ต้องบอกว่าดูอย่างอังกฤษ ใครเขาจะแสดงความคิดเห็นอะไรก็เป็นสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก (freedom of expression) ที่เป็นหัวใจหลักของการเลือกตั้งและประชามติ เพราะฉะนั้นที่รัฐบาลไทยไปบอกกับต่างประเทศทั่วโลกว่าเราจะเดินไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ว่ากระบวนการจะพาเดินไปมันผิด มันแสดงให้เห็นถึงการขัดแย้งในสิ่งที่พูด การปิดศูนย์ปราบโกงมันจะทำให้การประชามติไม่เป็นธรรม คือคนก็ตั้งคำถามอยู่แล้วใช่ไหม เพราะว่าจากเหตุการณ์ จากข่าวอะไร คิดว่ามันมีการตั้งคำถามจากสังคมมากมายเลย ก็คงจะเข้าใจประเด็นนี้ พอมันเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ มันตอกย้ำถึงปัญญาแล้วก็ความไม่จริงใจหรือการไปปิดพื้นที่ให้เขาแสดงนี่มีปัญหามากยิ่งขึ้น

ต่อกรณีมาตรการควบคุมเมื่อเทียบกับประเทศพม่าที่มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น ที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch กล่าวว่า เขาก็มี ตนถึงไม่อยากให้ไปมองพม่า เพราะต้องเข้าใจว่า ถ้าเราเป็นประเทศไทย คุณบอกชาวโลกว่ามีกระบวนการอย่างนี้ เราจะเป็นประเทศไทยประชาธิปไตย 99% จะเอาตัวอย่างพม่าที่แบบเป็นเผด็จการทหารที่ไม่ยอมให้ใครพูดว่าประชาธิปไตย ไม่ยอมให้ครูพูดคำว่าการเลือกตั้ง สิทธิมนุษยชน คุณจะไปคิดแบบนั้นใช่ไหม หมายถึงว่าตนถามกลับเลย ว่าคุณจะเอาแบบนั้นเลยใช่ไหม

“มันไม่มีหรอกเผด็จการอะไรที่มันสร้างกระบวนการประชาธิปไตยมันไม่มีหรอกที่จะบอกว่าโดยตัวของมันเอง อย่างเช่นบอกว่าห้ามแสดงความคิดหรือห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ประชามติมันเป็นการเมืองด้วยตัวเองมันเอง คือทุกเรื่องมันเกี่ยวข้องกับการเมืองหมด แล้วจะห้ามโน้นห้ามนี่อะไร คุณห้ามความคิดและจิตวิญญาณคนมันไม่ได้หรอก อะไรอย่างนี้นะ ผมจึงบอกอย่าไปเทียบกับพม่า” พงษ์ศักดิ์ กล่าว

เสนอเทียบกับอังกฤษ ดีกว่าเทียบกับพม่า

พงษ์ศักดิ์ เสนอว่า เทียบกับอังกฤษ ประเทศที่พัฒนาดีกว่า คุณไม่เทียบกับใกล้ๆ เรา ฟิลิปปินส์เขามีการเปลี่ยนแปลง คือมี สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก (freedom of expression) ต้องเข้าใจว่าโดยหลักการแล้วมันผิดนะกระทำอย่างนี้ไม่ต้องเปรียบเทียบกับพม่าแล้ว เปรียบเทียบที่เราเคยมีมีประชามติกันครั้งที่แล้วนี่มันก็แย่กว่าเดิมอีก นี่มันจะถอยหลังไปทุกที จริงอยู่ที่บอกว่าบางคนบอกว่าโอเค ก็ยอมแล้วก็เป็นไปได้ละว่าจะปิดศูนย์ปราบโกงประชามติเพราะเดี๋ยวมันจะวุ่นวายมันจะขัดแย้งเกิดความรุนแรง แต่ถามหน่อยว่าตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สันติ พื้นที่ขัดแย้ง พื้นที่สีแดง สีอะไรก็แล้วแต่ที่เขากังวล ที่ใครเขามีอิทธิพลอะไรก็แล้วแต่เขาส่งทหารไปคุมทุกที่แล้วใช่ไหม

“ถ้าสมมุติว่าคิดว่าจะมีการปลุกระดม การอะไรที่มันเป็นปัญหา เชื่อว่าทหารเขาจ้องไว้แล้วว่าแก้ตัวอย่างนั้นหรือจะอ้างอย่างนั้นผมคิดว่ามันเกินไปหน่อย ถ้ามันจะเกิดผมว่ามันจะเกิดแล้วแหละ ไม่มีใครกล้าที่จะเอาตัวเองไปแลกกับกระสุนปืนของทหารหรืออะไรที่แบบว่ามันไม่คุ้ม แล้วผมคิดว่าคือเขาคุมอยู่นะ” พงษ์ศักดิ์ กล่าว

เสนอ กกต.-กสม. ปรับทัศนคติ คสช.

“เสนอว่า กกต. กับ กสม. ไปปรับทัศนคติ คสช. เพื่อขอให้เปิดพื้นที่เพราะเชื่อว่า 2 องค์กรนี้มีมุมมองเรื่องสิทธิ หากปล่อยไว้มันจะขัดแย้งและจะทำให้การลงประชามติครั้งนี้ไม่ชอบธรรม มันจะเป็นที่ครหากับชาวโลก ...อย่างน้อยที่สุดเขาต้องไปคุย เพื่อให้ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ไม่ได้กลายเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนน่วม” พงษ์ศักดิ์ กล่าว พร้อมตั้งคำถามด้วยว่า ถ้าไม่แคร์จะไปพูดกับยูเอ็นทำไม เพราะจริงๆ เราไปลงนามอะไรกับเขาไว้เยอะ โลกมันอยู่ด้วยกัน เราอยู่ในสังคมโลกและเป็นส่วนหนึ่ง

กรณีผลกระทบต่อการยอมรับและความชอบธรรมจากสังคมและสากล พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า คนที่ทำงานเรื่องการเลือกตั้ง ประชาธิปไตย เคยเห็นการเลือกตั้งมาหลายที่ เห็นว่าสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกมันเป็นหัวใจ วันก่อนไปร่วมกับ กกต. ที่เขาไปแถลงข่าวและให้ข้อมูลกับต่างประเทศไม่ว่าจะสถานทูตหรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่จัดที่ศูนย์ราชการตนเข้าร่วมฟัง ซึ่ง กกต. ที่ระบุชัดเจนว่าผู้ใส่เสื้อไม่ผิด โพสต์ในเฟซบุ๊กไม่ผิด รณรงค์แบบของตนเองไม่ผิดก็คือทำได้ แต่ว่าถ้า คสช. บอกว่าผิดเขาก็ทำอะไรไม่ได้ เขาก็ไม่มีอำนาจไปแย้ง คสช. เพราะ คสช. ก็อยู่เหนืออีกทีหนึ่ง

พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ใน กกต. มีศักดิ์ศรี ไม่อยากที่จะเป็นเครื่องมือใคร อยู่ข้างสิ่งที่เสรีและเป็นธรรม อยากจะเป็นกลางในความคิดจิตสำนึกของเขา แต่ว่าเอาง่ายๆ คือภาพที่มันออกมาหรือสิ่งที่มันออกมามันเกิดคำถามจากสังคมหลายเรื่องใช่ไหม ตนคิดว่าในฐานะที่ กกต. เป็นคนจัด เขาบอกว่า พ.ร.บ.ประชามติ เขาเป็นคนจัดการเป็นคนทำและเขาก็คิดว่าทำอย่างนี้มันไม่ผิดแต่ว่าถ้าคนเห็นว่าผิดเนี่ยไม่ใช่เขา ตนเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดกกต. ก็มีจิตสำนึกเรื่องนี้ อยากเสนอที่จะให้ กกต. ที่เป็นคนจัดการมีความสำคัญมาก หรือคนที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชน ตอนนี้อย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ลองทำงานร่วมกัน ตนเสนอว่า กกต. กับ กสม. ไปคุยกับ คสช. ได้ไหม หรือไปให้เข้าใจถ้าคุณไม่มีตรงนี้ซึ่งเป็นหัวใจหลักมันไม่ชอบธรรม มันจะเป็นปัญหา มันจะเป็นการตอกย้ำว่ามันไม่เป็นจริง อันนี้คนทำงานหรือองค์สิทธิกลายเป็นตัวตลก กลายเป็นเหยื่อ อันนี้มองเชิงบวก แล้วตนเชื่อว่าเขาก็อยากจะเป็นอย่างนั้น ทำไมไห้ 2 องค์กรนี้เป็นหลักเพราะมันเกี่ยวกับกับสิทธิเสรีภาพโดยตรง กกต. เขาเป็นคนจัดแล้วก็เห็นด้วยเรื่องสิทธิเสรีภาพ

ที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch กล่าวต่อว่า การจะจัดการเลือกตั้งหรืออะไรก็ตาม กกต. ที่เป็นคนจัดต้องสร้างบรรยากาศใช่ไหม ต้อง free and fair (เสรีและเป็นธรรม), participatory (การมีส่วนร่วม) , freedom of expression (สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก) ที่เป็นหัวใจหลักอันนี้สำคัญที่สุดเลย จากที่ไปมาเกือบ 20 ประเทศ ตนรู้สึกว่าแม้การเมืองไทยมันซับซ้อน แต่ก็เข้าใจว่าอย่างน้อยที่สุด ที่คุณจริงใจที่จะทำให้มันถูกต้อง มันต้องเป็นไปทั้กระบวนการแล้วมันถึงจะเป็นประชาธิปไตยจริง ถ้าคุณจำกัดอย่างโน้น อย่างนี้แล้วมันไม่เป็นธรรม มันไม่เป็นจริง มันขัดแย้งกับที่คูนออกมาพูดว่า ตอนแรกที่คุณบอกว่าอนุญาตให้ตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติได้ พอทีนี้คุณบอกว่าไม่ได้ ปิดเลย มันขัดแย้งกับสิ่งที่คุณออกมาพูดคนมันตอกย้ำ ไม่จริงใจอะไรอย่างนี้แล้วเราก็ไปบอกกับชาวโลกเขาใช่ไหมว่าประชาธิปไตย 99 % มันไม่ใช่ มันไม่ใช่เรื่องโจ๊ก และจะไปเห็นว่าเป็นเรื่องโจ๊กได้ยังไงมันต้องแสดงความจริงใจมันต้องมีศักดิ์ศรี ตนพูดถึงเรื่องศักดิ์ศรีด้วยคุณจะเล่นตลกอะไรกับชาวโลกด้วยมันไม่ได้

ยกอังกฤษจัดการเป็นรายกรณี ไม่ใช่กวาดทั้งหมด

ต่อกรณีที่ คสช. อาจจะกังวลเรื่องความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ดูที่อังกฤษเป็นตัวอย่าง เขาก็มีเหตุการณ์ พอเขาเปิดให้ฟรีใช่ไหม แล้วมีการทำร้ายร่างกาย มีการฆ่ากันเกิดขึ้น แต่เขาดูเป็นกรณีๆ ไง และเข้าไปจัดการ โดยไม่ได้ไปกวาดทั้งหมดหรือไปเหมารวมทั้งหมด มันไม่ใช่ ในกรณีของเราก็เหมือนกัน การที่คุณจะไปจำกัดอะไรที่จะทำให้สถานการณ์มันแย่ไปกว่าเดิมไม่มีใครเขาทำกัน ยกเว้นแต่ไม่คิดจะเป็นประชาธิปไตยอย่างที่พูด

ที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch กล่าวว่า ในประเทศที่มีสงครามมีอะไรเขายังจัดการเลือกตั้งได้ อย่างอัฟกานิสถานที่ไปสังเกตุการณ์มา 10 ครั้งแล้ว วิธีจัดการมันมีเขาจัดการกันได้ แล้วทางรัฐบาลได้จับตาและวางกระบวนการเพื่อที่จะเฝ้าระวังการปลุกปั่นปลุกระดมที่จะออกมาก่อความไม่สงบ เชื่อว่าเขาพร้อมหมดแล้ว ไม่เช่นนั้นเขาคุมไม่ได้หรอกสถานการณ์ถึงขนาดนี้ จึงเรียกร้องว่าควรที่จะเปิดเถอะเพื่อที่จะให้การลงประชามติครั้งนี้มันชอบธรรมกับตัวเอง ผู้คนของเราเอง กับการพัฒนาประชาธิปไตยที่บอกว่าเป็น 99.99% เพื่อศักดิ์ศรีของเราเอง ศักดิ์ศรีของความเป็นคน ความเป็นคนไทยทุกคน

ชี้แม้จะสายไปการสร้างความชอบธรรม แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไร

ต่อคำถามว่าเหลือเวลาอีกเดือนกว่าก่อนถึง 7 ส.ค.59 ขณะที่ยังมีปรากฏการณ์จับกุมละเมิดสิทธิฯ และยังมี ม.61 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ประชามติฯ อยู่นั้น ยังถือว่ามีโอกาสหรือเวลาเพียงพอที่จะทำให้ประชามติครั้งนี้มันมีความชอบธรรมหรือไม่ พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับตนว่ามันช้าไปไหม ตนมองว่า จริง เรื่องช้าไป แต่มันก็ยังดีกว่าที่จะไม่ทำอะไร เมื่อเราเห็นว่ามันเป็นปัญหาแล้ว เราก็ต้องปรับต้องทำในสิ่งที่มันถูกต้อง คือมันต้องทำต่อไป ทุกอย่างเป็นการเรียนรู้เป็นการต่อสู้ที่ต้องทำต่อไป แม้ว่าจะผ่านไม่ผ่านอย่างไร เชื่อว่ามีกระบวนการต่อไป ภาคประชาชนก็มีกระบวนการตรวจสอบต้องมีการรณรงค์ สมมุติรัฐธรรมนูญไม่ผ่านผมก็เรียกร้องให้เอารัฐธรรมนูญปี 40 กลับมา เพราะมันไม่ได้เป็นปัญหา ปัญหามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ ปัญหาอยู่ที่คนใช้และกลไก สมมุติคุณบอกว่ากลไกมีปัญหาคุณก็แก้ที่กลไก ปรับปรุง ปรับอะไรอย่างไร

พงษ์ศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ข้ออ้างที่จะปิดประเทศหรือจะปฏิรูปอะไรก็แล้วแต่หรือจะปฏิวัติรัฐประหารอะไรก็แล้วแต่ ด้วยเหตุผล 3 อย่าง 1. คอร์รัปชั่น 2. ซื้อสิทธิขายเสียง 3. เรื่องประชานิยม ข้ออ้างเหล่านี้ก็ยังมีการทำอยู่ มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่านโยบายหลายอย่างก็เป็นประชานิยม จึงมองได้ว่าข้ออ้างเหล่านั้นไม่ได้ถูกแก้ไขหรือว่าทำอะไร แต่ยอมให้มันมีขึ้นอีก เพราะฉะนั้นมันไม่ได้มีปัญหาที่ตัวมันเองแล้ว

แนะนำเครือข่าย We Watch

สำหรับกิจกรรมของ เครือข่าย We Watch นั้น พงษ์ศักดิ์ แนะนำว่า เป็นเครือข่ายเยาวชน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ ที่สนใจเรื่องประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง ก่อตั้งเมื่อปี 2556 โดยมีกิจกรรมสังเกตการณ์เลือกตั้งเมื่อ 2 ก.พ.  2557  โดยครั้งนี้ตั้งใจจะสังเกตการณ์ลงประชามติ โดยพยายามติดต่อ กกต. เพื่อขอบัตรผู้สังเกตการณ์ ซึ่งไปพบมาแล้ว 3 ครั้ง โดยเขายังไม่ให้คำตอบว่าจะได้หรือไม่ได้

ส่วนมากสมาชิกในเครือข่าย We Watch จะเป็นนักศึกษา นักกิจกรรม จากทั้งมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มเยาวชนตามจังหวัดและชุมชน ซึ่งครั้งนี้ เครือข่าย We Watch ไม่มีงบประมาณ เพราะไม่ได้รับการสนับสนุน แต่จะทำด้วยใจ เพราะถือเป็นการเรียนรู้ฝึกฝน โดยจากนี้จะมีการทำอบรมออนไลน์ แต่ทุกคนที่ร่วมอบรมต้องเซ็นใน code of conduct เพื่อหวังสร้างกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยผ่านการมีส่วนร่วม

“การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกจิตสำนึกเรื่องประชาธิปไตย มีงานวิจัยที่ทำวิจัยกับครูทั่วประเทศที่บอกว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง ซึ่งผิด ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้ง แต่เป็นการมีส่วนร่วม ตรวจสอบ เพราะว่าประชาธิปไตยโดยตัวมันเอง มันไม่เชื่อว่าใครดีใครเลวไง ใครดีใครชั่วไม่สนใจ แต่ถ้าคุณมาอยู่ในระบบ ต้องมีการตรวจสอบ และตรวจสอบทุกคนโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน นี่คือหัวใจ ซึ่ง เครือข่าย We Watch ถือตรงนี้ มาเป็นหลักการ” พงษ์ศักดิ์ กล่าว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

6 องค์กรสิทธิเรียกร้องหยุดปิดกั้นเสรีภาพแสดงออก-ชุมนุม ปล่อย 7 น.ศ.

$
0
0


แฟ้มภาพ 23 มิ.ย. 2559
 

28 มิ.ย. 2559 องค์กรสิทธิมนุษยชน 6 แห่ง ประกอบด้วย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.), สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw), ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และ มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณีการทำกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนโดยทันที ยุติการดำเนินคดีกับนักศึกษา นักกิจกรรมและประชาชนทั้งหมดที่เคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญโดยสงบ รวมถึงยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไร้การตรวจสอบ โดยเฉพาะคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558

รายละเอียดมีดังนี้

 

แถลงการณ์
ให้ยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตัวโดยทันที

สืบเนื่องจากกรณีที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำการจับกุมควบคุมตัวนักกิจกรรมรวม 13 คน ที่จัดกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกพื้นที่ ที่ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 23 มิถุนายน 2559 พร้อมทั้งแจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวน 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้นักศึกษา 7 ใน 13 ราย ยังถูกควบคุมตัวภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

อีกทั้ง ในช่วงสายของวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนักศึกษาและนักกิจกรรมอีก 7 คนที่จัดกิจกรรม "ปัดฝุ่นประชาธิปไตย" ณ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ (หลักสี่) เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาทั้ง 7 คนในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และขอยืนยันหลักการสิทธิเสรีภาพที่รัฐต้องให้การเคารพและคุ้มครอง ดังต่อไปนี้

1. เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ซึ่งเป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย [1]และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม โดยกติกาฯดังกล่าวได้ประกันสิทธิของบุคคลทุกคนที่จะถือเอาความคิดเห็นใดๆโดยปราศจากการแทรกแซง และบุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบ [2]เพราะถือว่า สิทธิเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ [3]และถือเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชน อันจะนำไปสู่การมีข้อเสนอที่มีความเหมาะสมในประเด็นต่างๆที่กระทบต่อประชาชนและเป็นที่ยอมรับของประชาชน

ที่ผ่านมารัฐไทยมีการละเมิดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนอยู่อย่างต่อเนื่องผ่านการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน โดยเฉพาะการใช้ข้อกล่าวหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 โดยอ้างความไม่ปกติของสถานการณ์บ้านเมืองหรือความมั่งคงของรัฐ ทั้งที่การแสดงออกของบุคคลในหลายกรณี รวมถึงกรณีการจับกุมควบคุมตัวกลุ่มรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญ และการแสดงออกเพื่อระลึกถึงคณะราษฏรดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสงบและยังห่างไกลจากการกระทบต่อความมั่นคงของชาติดังที่เจ้าหน้าที่มักกล่าวอ้าง ดังนั้น การตั้งข้อกล่าวหาทางอาญาเพื่อจำกัดหรือปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกในกรณีดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสงดออก ผ่านการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในทางที่มิชอบและเป็นไปโดยอำเภอใจ

2. สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมือง เป็นสิทธิที่รับรองไว้ทั้งในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการมีส่วนร่วมในเรื่องรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกติกาสูงสุดในการปกครองประเทศและเป็นกติกาที่กำหนดเรื่องทางการเมือง ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงหลักประกันสิทธิต่างๆของประชาชน ประชาชนจะต้องสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดเจตจำนงของตนเองได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การกีดกันหรือไม่ยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และกว้างขว้าง ดังจะเห็นได้จากการออกมาข่มขู่ประชาชนอยู่เสมอและมีการจับกุมและตั้งข้อกล่าวหาแก่ประชาชนที่รณรงค์ในทางที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผ่านกฎหมายที่หลากหลาย ทั้งคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 3/2558 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 รวมทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61 กรณีเช่นนี้ถือเป็นการขัดขวางไม่ให้ประชาชนสามารถแสดงเจตจำนงของตนได้อย่างเสรี

3. สิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรม (Rights to Fair Trial) เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง[4]และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[5] โดยสิทธิประการดังกล่าวกำหนดห้ามมิให้จับกุมหรือควบคุมบุคคลโดยอำเภอใจเว้นแต่โดยเหตุและเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย[6] โดยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้การจับโดยทั่วไปต้องมีหมายจับที่ออกโดยศาลและมีเหตุแห่งการออกหมายจับ[7] การจับกุมควบคุมตัวบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการมีส่วนร่วมกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองและการแสดงออกโดยสันติวิธีซึ่งเป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่ถูกรับรองไว้ด้วยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง จึงไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และยิ่งเป็นการจับกุมโดยไม่มีหมายหรือคำสั่งของศาลแล้ว การจับกุมควบคุมตัวบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและอำเภอใจ ไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่เป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

สิทธิในการเข้าถึงศาลที่เป็นอิสระ เป็นกลาง และมีอำนาจและตั้งขึ้นตามกฎหมาย[8] เป็นหลักประกันสิทธิบุคคลที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรมที่กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยศาลปกติ[9] โดยการพิจารณาคดีโดยศาลทหารนั้น จะจำกัดเฉพาะความผิดที่เกี่ยวข้องกับทหาร และศาลทหารจะไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีของพลเรือน เว้นแต่เมื่อไม่มีศาลพลเรือนอยู่หรือศาลพลเรือนตามปกติไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคดีได้[10]ดังนั้น การกำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีที่พลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และพยายามตั้งข้อกล่าวหาที่สามารถนำพลเรือนขึ้นสู่ศาลทหาร ซึ่งมีปัญหาเรื่องความเป็นอิสระและเป็นกลาง ทั้งที่ศาลพลเรือนยังมีอยู่และยังทำหน้าที่ของตนได้นั้น ย่อมเป็นการละเมิดต่อหลักสิทธิที่จะได้รับการดำเนินคดีที่เป็นธรรมดังกล่าว

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามที่ปรากฏรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจ ตลอดจนศาลทหารและองคาพยพต่างๆที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้โดยทันที
1. ปล่อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัวจากกรณีการทำกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนโดยทันที
2. ยุติการดำเนินคดีกับนักศึกษา นักกิจกรรมและประชาชนทั้งหมดที่เคลื่อนไหวรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญโดยสงบ และใช้เสรีภาพในการแสดงออกและชุมนุมโดยสงบในประเด็นอื่นๆ
3. ยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการจำกัดหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของประชาชนพร้อมทั้งต้องเปิดพื้นที่ในการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น ทั้งในทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญ การกำหนดนโยบายสาธารณะ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
4. คสช. ต้องทบทวนเพื่อยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและไร้การตรวจสอบ โดยเฉพาะคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558
5. ต้องยกเลิกการนำกระบวนการยุติธรรมทหารมาใช้กับพลเรือน และกลับไปใช้กระบวนการยุติธรรมปกติโดยทันที

ด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

 

[1]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4

[2] International Covenant on Civil and Political Rights article 19 (1) (2)

[3] Human Rights Committee, International Covenant on Civil and Political Rights, General Comment No.34, 12 September 2011, para.2

[4]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 6– 9

[5]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 4

[6]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 9

[7]ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66

[8]โปรดดู กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง  ข้อ 14 (1)

[9]หลักการพื้นฐานสหประชาชาติว่าด้วยความเป็นอิสระของศาล ค.ศ. 1985 ข้อ 5

[10]หลักการที่ 5 ของ International Standard Principles Governing the Administration of Justice Through Military Tribunals, United Nations Economic and Social Council
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สธ.เสนอดูแลสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน นร.ไร้สัญชาติ-คนดั้งเดิม

$
0
0

เผย รมว.สาธารณสุขทำหนังสือเสนอ ครม.ขอเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดูแล ด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในกลุ่มเด็กนักเรียนที่ไร้สัญชาติและไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และกลุ่มคนดั้งเดิมที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร

28 มิ.ย. 2559 สุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อการจัดบริการขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้แก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากเดิมคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2553 ในการจัดตั้ง “กองทุนให้สิทธิ  (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข สำหรับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ” โดยให้กับกลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวรและกลุ่มที่คณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร และกลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการการแก้ปัญหา ซึ่งโดยมากเป็นชนกลุ่มน้อยที่เกิดในประเทศไทย หรืออาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเนิ่นนานแล้ว กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีทั้ง 552,493 คน ใช้งบประมาณ พ.ศ. 2559

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า นอกจากกลุ่มดังกล่าว ยังมีตกหล่นอยู่อีกบางส่วน  จำได้เสนอเพิ่มเติมเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 20 เมษายน 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแต่ขอให้กลับไปจัดทำจำนวนตัวเลขและตรวจสอบบุคคลให้ชัดเจน กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ จนได้จำนวนกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเด็กนักเรียนที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร จำนวน 67,433 คน และกลุ่มคนดั้งเดิมที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร จำนวน 40,229 คน รวมทั้งสิ้น 107,662 คน โดยเรื่องอยู่ระหว่างนำเข้าพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะขออนุมัติงบประมาณ ประจำปี 2560 จำนวน 250 ล้านบาท

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลแรงงานจำหน่ายคดีอดีต พนง.มศว.ฟ้องมหาลัยละเมิดสัญญาจ้าง

$
0
0

ศาลแรงงานจำหน่ายคดีอดีต พนง.มศว.ฟ้อง มศว.ละเมิดสัญญาจ้าง-ให้ยื่นคำร้องศาลปกครองใน 60 วัน ด้านอดีต พนง.มศว. ชี้สัญญาจ้างไม่เป็นธรรม หวังให้ศาลพิจารณาสาเหตุที่ไม่ได้ต่อสัญญา

27 มิ.ย. 2559 เวลาประมาณ 9.45 น. ที่ศาลแรงงานกลาง กรุงเทพ มีการนัดฟังคำวินิจฉัย คดีแดงที่ 3454/2558 ที่นิษา ชาวน้ำ อดีตพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) เป็นโจทก์ฟ้อง มศว. กรณีไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้างงาน

คำวินิจฉัยศาลแรงงานระบุให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ทั้งนี้ ให้โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองภายใน 60 วัน

ก่อนหน้านี้ นิษาเป็นพนักงาน มศว. ราว 18 ปี โดยตำแหน่งล่าสุด คือ หัวหน้างานบริหารและธุรการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เธอบอกว่าถูกยกเลิกสัญญาว่าจ้างงานเมื่อเมษายน 2556 และได้ยื่นฟ้องกรณีดังกล่าวต่อศาลแรงงานในปี 2557 เพราะหากเป็นไปตามข้อบังคับ มศว. ว่าด้วยพนักงานเดิม เธอจะต้องได้รับการต่อสัญญาว่าจ้างงานเมื่อครบ 5 ปีและได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ แต่หลังจากเปลี่ยนคณะผู้บริหาร มีการแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว ทำให้เธอไม่ได้รับการต่อสัญญาว่าจ้างงาน โดย มศว. ให้เหตุผลเพียงว่าหมดสัญญาว่าจ้างงานอีกทั้งไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ก่อนหน้านี้ผลการไกล่เกลี่ยจากศาลแรงงาน ระบุให้ มศว.จ่ายชดเชยแก่นิษาเป็นเงินเดือน จำนวน 10 เดือน แต่เธอและ มศว.ปฏิเสธ เพราะเธอต้องการให้ศาลแรงงานพิจารณาถึงเรื่องสัญญาจ้างงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ขณะที่ มศว.ยื่นคำร้องให้ศาลแรงงานพิจารณาว่าคดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองหรือไม่

สำหรับคำตัดสินของศาลแรงงานที่ออกมานั้นนิษาบอกว่า ไม่เป็นที่พอใจ เพราะการดำเนินคดีในศาลปกครองค่อนข้างล่าช้า อย่างไรก็ตามจะปรึกษากับทนายความส่วนตัวว่าจะต่อสู้คดีต่อไปอย่างไร

นิษาบอกถึงเหตุผลที่อยากต่อสู้คดีต่อในศาลปกครอง เพราะต้องการให้ศาลปกครองพิจารณาถึงสาเหตุที่ตนถูกยกเลิกสัญญาจ้างงานว่าเป็นธรรมแล้วหรือไม่

ทั้งนี้ นิษา บอกด้วยว่า ต่อกรณีการถูกยกเลิกสัญญาว่าจ้างงาน มศว. ให้เหตุผลเพียงว่าหมดสัญญาและไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้านั้น สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในระบบการจ้างงาน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สหพันธ์แรงงานสิ่งทอ' ร้อง คสช. ยุติดำเนินดคี 13 รณรงค์ประชามติ

$
0
0

ภาพขณะจับกุม 13 นักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ และกลุ่มสหภาพแรงงานฯ ที่หน้านิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ  เย็นวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา

 

28 มิ.ย. 2559 สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย (TWFT) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ขอเรียกร้องให้รัฐบาล คสช. ยกเลิกการดำเนินคดีกับนักสหภาพแรงงานหญิง 3 คน และนักศึกษา และปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกคุมขังในเรือนจำ

โดยแถลงการณ์ระบุว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2559 ได้มีการจับกุมแรงงานหญิง 3 คน คือ กรชนก ธนะคุณ กรรมการฝ่ายวิชาการ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ เตือนใจ แวงคา และปีใหม่ รัฐวงษา สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย และนักศึกษาอีก 10 คน ในการทำกิจกรรมรณรงค์แจกเอกสารและแผ่นพับให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีการลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค. 2559  ได้มีการตั้งข้อกล่าวหาว่า ฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 72/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ซึ่งห้ามไม่ให้มั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประชามติ พ.ศ.2559 นั้น

การลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค.นี้ คือการถามความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ จะรับหรือไม่รับประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการตัดสินใจ ไม่ควรใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพระราชบัญญัติประชามติดำเนินคดีกับคนที่มีความคิดเห็นต่าง อันขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากล คุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์คือความเป็นอิสระและการมีศักดิ์ศรี คุณค่าของประชาธิปไตยคือ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาคและภราดรภาพ

สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ในฐานะสมาชิกของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ยังเป็นสมาชิกของสมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (CILT) ที่มีสมาชิกหลายแสนคนทั่วประเทศ และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานสากล (IndustriAll Global Union) มีสมาชิกกว่า 50 ล้านคนทั่วโลกจาก 143 ประเทศ

สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการดำเนินคดีกับนักสหภาพแรงงานหญิง 3 คน และนักศึกษา พร้อมกับปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกคุมขังในเรือนจำให้เป็นอิสระ เพื่อความปรองดองของคนในชาติ และสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ  เชื่อมั่นว่า รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ บนพื้นฐานหลักการสิทธิมนุษยชนสากล

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

NDM ถือลูกโป่งยื่นหนังสือกกต. ขอคำยืนยันรณรงค์ไม่ผิด-จี้อย่าเป็นกระบอกเสียงรัฐบาล

$
0
0

28 มิ.ย. 2559 เวลา15.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ หรือ NDM เข้ายื่นหนังสือให้ กกต. เพื่อขอให้ยืนยันว่าการแจกเอกสารอธิบายความเห็นที่แตกต่างจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ตามหลักประชามติในสากลโลก และขอเรียกร้องให้กกต.ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดออกเสียงประชามติอย่างเป็นกลาง ไม่ใช่ทำตัวกระบอกเสียงของรัฐบาลหรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายอำนวย น้อยโสภา รอง ผอ.สำนักเลขาธิการ กกต. ได้มาเป็นผู้รับยื่นหนังสือพร้อมกล่าวว่าจะนำเรื่องเรียนคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อไป โดยกระบวนการจะมีการตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาข้อเรียกร้อง และจะรีบตอบกลับให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ได้ยื่นหนังสือ พร้อมทั้งเอกสารเนียบประกอบด้วย 1.เอกสารความเห็นแย้ง 2.เอกสาร 7 เหตุผลไม่รีบร่างรัฐธรรมนูญ 3.สติ๊กโหวตโน และ4.ลูกโป่งรณรงค์ไม่ผิด

แมน ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ชี้แจงว่าให้ กกต. ทราบด้วยว่า เพื่อนตนเองทั้ง 7 คนต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเพียงเพราะไปแจกเอกสารรณรงค์เรื่องประชามติ และถูกแจ้งข้อกล่าวหาฐานขัดคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 และความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ซึ่งมาตราดังกล่าวกำลังอยู่ในการพิจารณาขอศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะมีการลงมติในวันที่ 29 มิ.ย. นี้ว่ามาตราดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยถ้าศาลลงมติว่ามาตราดังกล่าวขัดกับรัฐธรรมนูญ นั่นหมายความว่า เพื่อนของตนทั้ง 7 คน ต้องติดคุกฟรีโดยไม่สามารถเรียกร้องความเป็นธรรมได้จากใคร

เรียน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ด้วยสถานการณ์ในประเทศไทยใน ที่ใกล้จะถึงวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เข้ามาทุกขณะ ได้ปรากฏเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กระทำการคุกคามประชาชนผู้รณรงค์คัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ โดยการเข้าจับกุมและแจ้งข้อหาแก่ผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด ในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ณ ตลาดเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 13 คน และการจับกุมและพยายามแจ้งข้อหาแก่ผู้จัดกิจกรรมทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ วงเวียนหลักสี เขตบางเขน กรุงเทพฯ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. เจ้าหน้าที่ใช้กำลังไม่เหมาะสมในการเข้าจับกุม โดยใช้ความรุนแรง เช่นการบีบคอและอุ้มตัวผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะที่เกินกว่าเหตุ

2.เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเป็นจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 แก่ผู้จัดและผู้เข้าร่วมในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ทั้ง 13 คน ทั้งที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 แล้ว ในทางปฏิบัติผู้รณรงค์จึงยังคงไม่มีหลักประกันเสรีภาพในการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพราะแม้ว่าการรณรงค์จะไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 แต่ผู้รณรงค์ก็อาจถูกแจ้งข้อหาตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ได้อยู่ดี

3. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61(1) วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี ปรับสูงสุดถึง 2 แสนบาทแก่ผู้จัดกิจกรรมในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ทั้ง 13 คนโดยปราศจากอำนาจ เนื่องจากในมาตรา 5 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดให้ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. นี้

4. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามแจ้งข้อหาก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61(1) วรรคสอง และวรรคสามแก่นางสาวชนกนันท์ รวมทรัพย์ หนึ่งในผู้จัดกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 จากการที่ตรวจค้นรถยนต์ของนางสาวชนกนันท์แล้วพบว่ามีเอกสารรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญอยู่ ทั้งที่ไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดที่ชี้ว่านางสาวชนกนันท์จะนำเอกสารเหล่านั้นออกมาแจกในกิจกรรมที่จัดขึ้น

5. จากข้อเท็จจริงแล้ว นายรักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ หนึ่งใน 13 ผู้ที่ถูกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 มีฐานะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์กิจกรรมเท่านั้น มิได้ร่วมแจกเอกสาร ปราศรัย หรือแสดงสัญลักษณ์รณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญใดๆ เลย แต่กลับถูกจับกุมตัวและแจ้งข้อหาเช่นเดียวกันกับคนอื่นๆ

6. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อหาไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือตามประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ที่ 25/2549 แก่ผู้จัดกิจกรรมในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ที่ไม่ยอมยื่นขอประกันตัว จำนวน 7 คนอีกด้วย

7. ในท้ายสุด ศาลทหารมีคำสั่งให้ฝากขังผู้จัดและผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 ผลัดแรกเป็นเวลา 12 วัน ที่เรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพฯ โดยมีผู้ยื่นขอประกันตัว 6 คน และผู้ไม่ยื่นขอประกันตัว 7 คน และมีคำสั่งยกคำร้องขอฝากขังผู้จัดกิจกรรมในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ทั้ง 7 คน

ขบวนการประชาธิปไตยใหม่มีความเห็นว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ทั้งโดยการใช้กำลังและการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งยังมีการนำคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 มาใช้กับการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และการแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 โดยปราศจากอำนาจ ซึ่งการจับกุมและแจ้งข้อหาแก่ผู้รณรงค์อย่างไม่เป็นธรรมนี้อาจส่งผลให้การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้

ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จึงขอเรียกร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญดังนี้

1. การรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ การแจกเอกสารอธิบายความเห็นที่แตกต่างจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่พึงทำได้ตามหลักการลงประชามติในสากลโลก ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จึงขอยืนยันกับ กกต. ว่าจะยังคงรณรงค์ต่อไป และขอเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์เสรีภาพในการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญของขบวนการประชาธิปไตยใหม่และประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วย

2. ขอเรียกร้องให้ กกต. ปฏิบัติหน้าที่จัดการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นกลาง ไม่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลหรือคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ

ขบวนการประชาธิปไตยใหม่เชื่อมั่นว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางและเปิดกว้างในเสรีภาพของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะสามารถทำให้การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นที่ยอมรับและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริงได้

ขอแสดงความนับถือ

ขบวนการประชาธิปไตยใหม่

28 มิถุนายน 2559

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 22-28 มิ.ย. 2559

$
0
0
 
เผยผลวิจัยพบปริญญาไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของแรงงานรุ่นใหม่
 
น.ส.อกิโกะ ซากาโมโตะ ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะและการจ้างงานจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ระบุว่า แรงงานที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดแรงงานในอาเซียนกลับมีทักษะไม่ต่างจากแรงงานที่กำลังเกษียณ และพบว่าในยุคการทำงานที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง กลุ่มแรงงานผู้หญิงและกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากไม่มีการพัฒนาทักษะ นอกจากนี้จากการสำรวจแรงงานรุ่นใหม่ (อายุ 18-24 ปี) ของไทยมีความสนใจงานด้านข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการการเงิน และด้านศิลปะบันเทิง โจทย์สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้สอดรับกับทักษะที่ตลาดโลกต้องการ ซึ่งในปัจจุบันผู้ประกอบการมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง แต่ทักษะของบัณฑิตและผู้จบการศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียนโดยเฉพาะประเทศไทยและประเทศกัมพูชากลับสวนทาง
 
มล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุถึงตัวเลขล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากรวัยแรงงานตั้งแต่อายุ 15-59 ปี จำนวนทั้งสิ้น 39 ล้านคน แต่มีแรงงานเพียง 11 ล้านคนที่เป็นแรงงานในระบบ หากสามารถดึงแรงงานนอกระบบที่เหลือคืนสู่ระบบก็จะสร้างรายได้เพิ่มให้ประเทศ ฉะนั้นการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน จำเป็นต้องมองภาพทั้งสองด้านคือภาพแรงงานในระบบและนอกระบบไปพร้อมกัน และเชื่อมต่อกับภาพรวมด้านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและการผลิตบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อหาแนวทางที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางไป
 
นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการสสค. กล่าวว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบแนวโน้มของแรงงานรุ่นใหม่ที่เข้าสู่การทำงานกับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมมีจำนวนสูงขึ้น จึงต้องหาวิธีการให้โรงเรียนผลิตบุคลากรที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน และนำไปสู่การพัฒนาฝีมือแรงงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะแรงงานคือ ทุน สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย หากประเทศไทยสามารถสังเคราะห์ยุทธศาสตร์ในการทำงานในตลาด SMEs
 
นายแอนเดรียส ชไลเชอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและทักษะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ (โออีซีดี) กล่าวว่าจากผลการสำรวจทักษะผู้ใหญ่ (Survey on Adults Skills) อายุ 16-59 ปี ในกลุ่มประเทศสมาชิกจำนวน 24 ประเทศ พบว่าประเทศไทย นอกจากทักษะของบุคลากรที่จบมาไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ภาคการผลิตของประเทศส่วนใหญ่ยังผลิตสินค้าราคาถูก ใช้แรงงานฝีมือไม่สูง และค่าจ้างถูก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารกทางการแข่งขันของไทย เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐภาคเอกชน และประชาชน ต้องคิดและหาทางออกร่วมกันเพื่อช่วยให้หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง
 
นายไมค์ วาย เค กู อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติผิงตุง ไต้หวัน กล่าวว่า แรงงานไทยและประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมระดับความสามารถด้านการผลิตและการบริหารจัดการโดยการใช้เกษตรกรรมฐานความรู้ และมีทักษะด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีได้เช่นเดียวกับไต้หวัน เมื่อ 60 ปีที่แล้วไต้หวันเคยเป็นประเทศที่มีภาคเกษตรขนาดใหญ่ซึ่งไม่แตกต่างจากประเทศไทย แต่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เน้นอุตสาหกรรมไฮเทค ส่งผลให้ภาคเกษตรปรับตัวอย่างมากโดยเปลี่ยนจากการทำเกษตรที่มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นเรื่องอาหารปลอดภัย คุณภาพทางโภชนาการ การผลิตที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาชนบท และการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยถึงแม้ว่า จีดีพีภาคเกษตรจะลดลงจาก 30 % ในปี 2493 เป็น 2 % ในปี 2558 และจำนวนเกษตรกรลดลงจาก 50% ในปี 2493 เหลือ6-10% ในปี 2558 แต่ก็ทำให้เกษตรกรจำนวนดังกล่าวมีรายได้สูงขึ้นมาก เพราะใช้ ICT, GIS, GPS, เทคโนโลยีชีวภาพ เข้ามาช่วยในงานเกษตรกรรม
 
นายเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่าผลงานวิจัยเพื่อศึกษาตลาดแรงงานและผู้ประกอบการภาคธุรกิจเอสเอ็มอีนำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัด (เชียงใหม่ ตราด และภูเก็ต) พบว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยให้ความสำคัญกับวุฒิของลูกจ้างเรียงตามลำดับคือ ทักษะทางอาชีพ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ความซื่อสัตย์ และวุฒิการศึกษา อย่างไรก็ตามพบว่าบ้านเรายังมีช่องว่างทางทักษะของแรงงานที่สูงมาก และเมื่อมองไปยังตลาดเอสเอ็มอี แม้ว่าจะมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจภาพรวมของไทย ยังพบด้วยว่า 35% ของเอสเอ็มอีไทยจะไปไม่รอดภายในสามปี เพราะผู้ประกอบการไม่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจ และในกลุ่มของเอสเอ็มอีที่อยู่รอด 65% จะมีเพียงแค่ 7-8% เท่านั้นที่โตขึ้น แต่ที่เหลืออาจต้องใช้ไม่น้อยกว่า 7-8 ปี ที่จะเติบโตและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สัดส่วนที่โตขึ้นน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียถึงสามเท่า
 
 
ก.แรงงาน-พม.-สสส.ร่วมมือผลักดันจ้างแรงงานคนพิการ ดึง ขรก. เอกชน ช่วยให้มีอาชีพ
 
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่ากระทรวงแรงงานพร้อมสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานคนพิการเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานที่ดีขึ้น พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจในการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงาน ตามมาตรา 33 สถานประกอบการสามารถจ้างงานคนพิการเข้าทำงานได้ หรือจ้างงานให้คนพิการทำงานในชุมชน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ถือเป็นการจ้างงานตามกฎหมายแรงงาน และมาตรา 35 สถานประกอบการ รวมถึงหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ สามารถส่งเสริมให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้รับสัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จ้างเหมาบริการหรือจำหน่ายสินค้า ฝึกงาน ปรับสภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ จัดบริการล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใด ซึ่งมุ่งเน้นให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการมีอาชีพ และเพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายไม่เกิดความยุ่งยาก จึงได้มอบนโยบายการปฏิบัติงานให้สำนักงานจัดหางานเขตและจัดหางานจังหวัดแล้ว และพร้อมเดินหน้าเริ่มในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเป้าหมายจ้างงานคนพิการ 10,000 ตำแหน่ง ภายในปี 2559-2560 นี้
 
ด้านนายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า ทางพม.จะเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามกฎหมาย และใช้ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพและศูนย์พัฒนาอาชีพสำหรับคนพิการทั่วประเทศก่อนไปทำงานในสถานประกอบการ, หน่วยงานของรัฐ หรือการทำงานในชุมชน โดยจะเร่งรัดการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน จากข้อมูลในปี 2559 พบว่า คนพิการวัยแรงงานมี 748,941 คน แบ่งเป็นสัดส่วนคนพิการที่ประกอบอาชีพแล้ว 213,896 คน คิดเป็นร้อยละ 28.56 คนพิการที่สามารถประกอบอาชีพได้ที่ยังไม่ได้ทำงานมี 397,800 คน คิดเป็นร้อยละ 53.11 ของคนพิการวัยแรงงานทั้งหมด
 
ส่วนคนพิการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้เนื่องจากพิการมาก/ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้มี 137,245 คน คิดเป็นร้อยละ 18.33 ซึ่งตามกฎหมาย ได้กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปต้องรับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างต่อคนพิการ คือ 100 : 1 ทำให้จำนวนคนพิการที่สถานประกอบการต้องจ้างมีจำนวน 55,283 ตำแหน่ง ในขณะที่สถานประกอบการสามารถจ้างงานคนพิการได้เพียง 34,383 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 48 เท่านั้น
 
ขณะที่นายสุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า สสส.โดยแผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะได้สนับสนุนแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแบบครบวงจร : สุขภาวะจากการทำงาน ภายใต้มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้รับการจ้างงาน และการประกอบอาชีพให้มีรายได้ สามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระและพึ่งพาตนเองได้ โดย สสส.สนับสนุนโครงการนำร่องการจ้างงานคนพิการจากปี 2558 มีบริษัทที่นำร่อง20 บริษัท เกิดการจ้างงานคนพิการจำนวน 229 คน ในปี 2559 ถือว่าประสบผลสำเร็จ รวม 2 ปี มีสถานประกอบการเข้าร่วมทั้งสิ้น 89 บริษัท ได้ขยายโอกาสการจ้างงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการเพิ่มเป็นจำนวน 1,277 คนซึ่งกระจายการปฏิบัติงานอยู่ทุกภาคของประเทศ และพร้อมร่วมสนับสนุนและบูรณาการงานด้านคนพิการในมิติอื่นๆ ที่ สสส.ดำเนินการอยู่เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุผลสอดรับกับเป้าของกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายจ้างงานคนพิการร่วมกัน 10,000 ตำแหน่ง ในปีนี้
 
นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนา ตัวแทนเครือข่ายคนพิการกล่าวว่า มูลนิธิ มีองค์กรด้านการส่งเสริมอาชีพคนพิการหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมกันทำงานตามประกาศความร่วมมือนี้ ซึ่งล้วนมีประสบการณ์และเครือข่ายในการทำงานกว้างขวางทั่วประเทศ โดยทำหน้าที่เป็นคนกลางในการรับสมัครคนพิการที่ต้องการมีงานทำผ่าน “โทรศัพท์สายด่วนคนพิการหมายเลข 1479” ให้บริการช่วงเวลา 08.00-20.00 น. ทุกวันยกเว้นวันหยุดราชการ มีการคัดกรองและส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำตามศักยภาพและความสนใจของคนพิการ พร้อมติดตามประเมินผลเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติอย่างถูกต้องเป็นธรรม พัฒนาและค้นหาแนวทางในการทำให้คนพิการมีอาชีพที่มั่นคงกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายระยะยาว คือ ทำให้คนพิการกว่า 3 แสนคนตามสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีศักยภาพมีงานทำ
 
 
เหมืองทองอัครา ส่งหนังสือถึงพนักงาน เตรียมเลิกจ้างจำนวนมาก หลังใบประกอบโลหกรรมสิ้นสุดสิ้นปีนี้
 
23 มิ.ย.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรี รายใหญ่ของประเทศไทย ใน จ.พิจิตร,เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ได้ทำหนังสือ ลงนามโดย นายเกรก ฟาวลิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2559 แจ้งถึงพนักงานบริษัทโดยระบุเนื้อหาเกี่ยวกับการปิดเหมืองแร่ชาตรีและการเลิกจ้างพนักงาน ตามรายละเอียดในหนังสือ ให้เหตุผลถึงการต้องหยุดประกอบโลหกรรมในสิ้นปีนี้ ทำให้ บริษัท มีความจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตและเลิกจ้างพนักงานฝ่ายเหมืองแร่ จำนวนมากในช่วงเดือน ต.ค.2559 ส่วนพนักงานฝ่ายผลิตจะทำงานกันต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้
 
สำหรับการบอกเลิกจ้างงาน บริษัท จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน และผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะชดเชยให้ ตามกฏหมายแรงงาน
ไทยพีบีเอส สอบถาม หนึ่งในผู้บริหารบริษัท ยอมรับว่า เป็นเอกสารแจ้งพนักงานอัคราฯจริงแต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดต่างๆ ได้ แต่ยืนยันว่า พร้อมรับผิดชอบพนักงานที่จะถูกเลิกจ้างจำนวนมากอย่างเต็มที่และเป็นไปตามกฏหมาย
 
 
ค่าจ้างวันละ 4,000 บาท! แรงงานบุรีรัมย์แห่สมัครไปเก็บผลไม้ต่างประเทศรายได้งาม
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านและเกษตรกร จากหลายอำเภอจังหวัดบุรีรัมย์ อาทิ อ.หนองกี่ หนองหงส์ และ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ ร่วม 100 คน แห่มากรอบใบสมัครและทำเรื่องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด เพื่อเดินทางไปทำงานรับจ้างเก็บผลไม้ยังต่างประเทศ คือ ประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ อย่างคึกคัก เพราะมีรายได้ดีเฉลี่ยวันละ 3,000-4,000 บาทแล้ว แต่ใครจะเก็บผลไม้ได้มากน้อยโดยมีระยะเวลาทำงานเพียงประมาณ 2 เดือนเศษเท่านั้นก็เดินทางกลับเพราะสิ้นสุดฤดูกาลเก็บผลไม้
 
โดยเฉลี่ยแต่ละคนจะมีรายได้จากการไปรับจ้างเก็บผลไม้ยังต่างประเทศถึง 100,000 บาท เป็นรายได้ที่ค่อนข้างสูง และใน 1 ปีจะมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้ชาวบ้านและเกษตรกรในหลายพื้นที่สนใจแห่มาสมัครอย่างคึกคัก บางคนเคยเดินทางไปแล้วถึง 6 ปีซ้อน แต่แรงงานบางรายเพิ่งสมัครเดินทางไปเป็นครั้งแรก
 
นายอนันต์ กลั่นขยัน จัดหางานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า สาเหตุที่มีแรงงานสนใจมาสมัครเพื่อเดินทางไปรับจ้างเก็บผลไม้ที่ประเทศฟินแลนด์ และสวีเดนนั้นเพราะมีรายได้ที่จูงใจ โดยหากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วจะมีเงินเหลือกลับบ้านถึง 100,000 บาท ประกอบกับมีระยะเวลาทำงานสั้นเพียง 2 เดือนเศษเท่านั้น
 
อย่างไรก็ตาม ได้แจ้งเตือนกลุ่มแรงงานที่สนใจจะสมัครเดินทางไปรับจ้างเก็บผลไม้ยังต่างประเทศควรจะมาติดต่อประสานงานหรือทำเรื่องที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มแก๊งมิจฉาชีพฉวยโอกาสเข้ามาหลอกลวงเรียกรับเงินหรือผลประโยชน์จากแรงงานดังกล่าวด้วย หากพบผู้ที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการต่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวทันทีทั้งป้องกันการตกเป็นเหยื่อสูญเสียทรัพย์สินด้วย
 
 
ไทย-เมียนมา MOU เน้นความร่วมมือแก้ปัญหาด้านแรงงานตามหลักสากล
 
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นาง ออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามความตกลงด้านแรงงาน 2 ฉบับ ระหว่าง พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ นาย เต็ง ส่วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมืองและประชากร เมียนมา โดยฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะยอมรับในหลักการของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน เพิ่มพูนความสัมพันธ์ ประโยชน์ระหว่างกันในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงสนับสนุน พัฒนาความร่วมมือในด้านแรงงาน พร้อมมุ่งมั่นร่วมกันในการส่งเสริมนโยบายการปฏิบัติด้านแรงงานที่ดี เพื่อปรับปรุงศักยภาพและความสามารถของทั้งสองประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดส่งและรับแรงงานระหว่างกัน ให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเพื่อป้องกันการจ้างงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์เพื่อการจ้างงาน พร้อมร่วมมือกันเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับทักษะฝีมือของกำลังคน และเพิ่มผลิตภาพแรงงานด้วย
 
นอกจากนี้ จะทำงานเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ การเจรจาต่อรองร่วม การร้องทุกข์และการบังคับใช้กฎหมาย การระงับข้อพิพาทแรงงาน การประกันสังคม และการคุ้มครองแรงงาน การฟื้นฟูสมรรถภาพ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การทำงานในเรือเดินทะเล การประกันการว่างงาน การบริหารจัดการแรงงานต่างชาติ และการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน รวมทั้งการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้เชี่ยวชาญ
 
สำหรับฉบับที่สองเป็นบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน วัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและขยายความร่วมมือระหว่างกันในการจัดทำกรอบการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการจ้างแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการตามกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการจ้างงาน มีกระบวนการส่งกลับแรงงานที่ครบกำหนดระยะเวลาการจ้างงานตามเงื่อนไขให้กลับประเทศต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศภาคี โดยบันทึกฯ นี้ จะครอบคลุมทั้งกระบวนการส่งและรับ การคุ้มครอง สัญญาจ้าง การรับรองเอกสาร การอบรมและการให้ความรู้แรงงานก่อนการเดินทาง การตรวจลงตรา อนุญาตทำงาน บริการสุขภาพ การส่งกลับประเทศต้นทาง การระงับข้อพิพาท หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการข้ามแดนผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์เพื่อการจ้างงาน และการจ้างแรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในกระบวนการส่งและรับจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ มีระบบการลงทะเบียนคนงานเพื่อไปทำงานต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการสรรหาและการตรวจร่างกาย และจะได้รับการเสนอสัญญาจ้างก่อนการเดินทาง มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่าย ขั้นตอน และระยะเวลา ในการคุ้มครองแรงงานคนงานเมียนมาจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันกับแรงงานไทย บนหลักพื้นฐานของการไม่เลือกปฏิบัติ ได้รับสิทธิและประโยชน์ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง กฎหมายแรงงานและระเบียบอื่นๆ ที่บังคับใช้ในประเทศไทย ประการสำคัญ เมียนมาจะต้องจัดให้มีการอบรมก่อนการเดินทางให้กับคนงาน โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของการจ้างงานและมีการประกันสุขภาพตามที่กำหนด และหากมีข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อันเนื่องมาจากการจ้างงานจะได้รับการระงับตามกฎหมายและระเบียบของประเทศไทย สำหรับสัญญาจ้างและเอกสารอื่น ๆ จะต้องจัดทำเป็นภาษาไทย ภาษาเมียนมา และภาษาอังกฤษ และรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย
 
ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้มีระยะเวลา 5 ปี ในส่วนของบันทึกข้อตกลงการจ้างงานฯ จะมีระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจากการลงนามในครั้งนี้ นอกจากแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกันแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือและการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานให้เป็นไปตามหลักสากล และมีความรับผิดชอบร่วมกัน พร้อมๆ กับการเดินไปด้วยกันอย่างมั่นคง เพื่อความผาสุกและความมั่งคั่งของประชาชนทั้งสองประเทศ
 
 
คกก.ฯ ต่างด้าว วางกรอบผู้ประสานงานภาษา ปลดล็อคคนพื้นที่สูงทำงานได้ทุกประเภท
 
คณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว มีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดเงื่อนไขให้ อัตราส่วนภาครัฐ รัฐวิสาหกิจจ้างแรงงานต่างด้าวเป็นผู้ประสานงานด้านภาษา เมียนมา ลาว กัมพูชาตามความจำเป็นเหมาะสม ให้เอกชนที่มีลูกจ้าง 100 คน จ้างได้ไม่เกิน 1 คน พร้อมปลดล็อคบุคคลไร้สัญชาติไทย พื้นที่สูงได้ทำงานทุกประเภท เตรียมออกร่างประกาศสำนักนายกฯ เข้า ครม.พิจารณา
 
หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมีกรมการจัดหางาน ในฐานะฝ่ายเลขาฯ ได้เสนอเรื่องการกำหนดงานตำแหน่งผู้ประสานงานด้านภาษาเมียนมา ลาว และกัมพูชา ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 สามารถทำได้ ซึ่งลักษณะงานจะให้ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานได้เข้าใจตรงกันในการร่วมมือปฏิบัติงานและเพื่อให้การดำเนินงานมีความสะดวกราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพไม่เกิดความขัดแย้ง ทั้งนี้ได้กำหนดให้มีเงื่อนไขอัตราส่วนการจ้างคนต่างด้าวสามารถทำงานกับนายจ้างสำหรับภาคเอกชน 100 คน ต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวไม่เกิน 1 คน ส่วนภาคราชการและรัฐวิสาหกิจให้พิจารณาจ้างตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยกรมการจัดหางานจะจัดหลักสูตรอบรมเรื่องการทำหน้าที่ในการเป็นผู้ประสานงานด้านภาษา โดยจะรับสมัครผู้ประสานงานด้านภาษาที่เป็นคนไทยก่อนหากไม่มีคนไทยทำจะให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันตามมติ ครม. (กลุ่มบัตรชมพู) และแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยตามระบบ MOU ได้ทำงานตำแหน่งดังกล่าว ส่วนอัตราค่าจ้างนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
 
นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาการกำหนดงานให้บุคคลพื้นที่สูงที่ยังไม่มีสัญชาติไทยสามารถทำงานได้ทุกประเภทงาน ซึ่งแต่เดิมทำได้เพียง 27 อาชีพ ตามประกาศเรื่องการกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 เนื่องจากปัจจุบันบุตรหลานของบุคคลพื้นที่สูงหรือบุคคลไร้สัญชาติในไทยได้สำเร็จการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันบุคคลเหล่านี้มีข้อจำกัดในด้านเงื่อนไขของกฎหมายดังกล่าว โดยในเบื้องต้นคนกลุ่มดังกล่าวได้รับเพียงสิทธิในด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาลเท่านั้น และยังไม่สามารถเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ได้ ทั้งนี้ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการเพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้ซึ่งมีในประเทศไทยกว่า 5.6 แสนคนได้ทำงานตามความรู้ความสามารถ นอกจากนี้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม 2,000 บาท แต่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยื่นคำร้อง 100 บาท
 
ทั้งนี้หลังจากที่ประชุมเห็นชอบแล้วขั้นตอนต่อไปกรมการจัดหางาน จะนำร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้ง ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบและเสนอกฤษฎีกาพิจารณาในขั้นตอนต่อไป
 
ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 24/6/2559
 
กต.-รง.ปฏิเสธข่าวลือโลกโซเชียล5ข้อเรียกร้องเรื่องแรงงาน ย้ำหารือไทย-พม่าสร้างสรรค์ ยึดหลักสากลและรับผิดชอบร่วมกัน
 
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน และนายเสข วรรณเมธี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาปฏิเสธรายงานข่าวที่มีการเผยแพร่ในโลกโซเชียลมีเดียกล่าวเกี่ยวกับข้อเรียกร้องขององค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีนโอ)และข้อเรียกร้องของกลุ่มแรงงาน 5 ข้อโดยอ้างว่าเป็นข้อเรียกร้องของทางการพม่า โดยยืนยันว่าข้อเรียกร้องต่างๆ ที่ปรากฏเป็นข่าวนั้นไม่ใช่ข้อเรียกร้องของทางการพม่าแต่อย่างใด
 
โฆษกของทั้งสองกระทรวงระบุว่า ระหว่างการเดินทางเยือนไทยของนาง ออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศพม่า ตามคำเชิญของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 23 – 25 มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันอย่างสร้างสรรค์ซึ่งทำให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและมีความสำคัญต่อประชาชนทั้งสองประเทศในแนวทาง”จะก้าวหน้าไปด้วยกัน” โดยเฉพาะด้านแรงงาน ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ โดยฉบับแรกเป็นบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน จุดเน้นคือทั้งสองฝ่ายยอมรับหลักการของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกันให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล เพื่อป้องกันการจ้างงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ และร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ ขณะที่ความตกลงฉบับที่สองเป็นบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน เพื่อป้องกันและปราบปรามการข้ามแดนผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์เพื่อการจ้างงานโดยครอบคลุมทั้งกระบวนการส่งและรับ การคุ้มครอง สัญญาจ้าง การรับรองเอกสาร การอบรมและการให้ความรู้แรงงานก่อนการเดินทาง การตรวจลงตรา อนุญาตทำงาน บริการสุขภาพ การส่งกลับประเทศต้นทาง การระงับข้อพิพาท หน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง ที่สำคัญพม่าจะต้องจัดให้มีการอบรมก่อนการเดินทางให้กับคนงาน โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายด้วย
 
“การลงนามในเอกสารทั้งสองฉบับนอกจากแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกันแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่่จะทำให้ความร่วมมือและการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานให้เป็นไปตามหลักสากล และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยทั้งสองประเทศพร้อมจะเดินไปด้วยกันอย่างมั่นคง เพื่อความผาสุกและความมั่งคั่งของประชาชนทั้งสองประเทศ”ข้อชี้แจงของโฆษกสองกระทรวงระบุ
 
นายเสขกล่าวเพิ่มเติมว่า การหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและนาง ออง ซาน ซูจี มีประเด็นหลัก 3 ด้าน คือ การคุ้มครองแรงงานพม่าในประเทศไทย ซึ่งไทยได้ให้การดูแลสิทธิแรงงานตามกฎหมาย มีระบบการร้องทุกข์ออนไลน์ผ่านสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1694 มีล่ามภาษาพม่าคอยให้บริการ ทั้งจัดให้มีการเปิดศูนย์แรกรับและส่งกลับที่ อ.แม่สอด จ.ตาก รวมทั้งริเริ่มจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือในจังหวัดที่มีแรงงานพม่าจำนวนมาก ขณะที่พม่าจะดูแลนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในพม่าอย่างดีด้วย ด้านที่ 2 คือความร่วมมือด้านการพัฒนา เน้นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พัฒนาไปพร้อมกันและก้าวหน้าไปด้วยกัน ทั้งยังเห็นพ้องให้เพิ่มเที่ยวบินของสายการบินของไทยที่เดินทางไปยังพม่า ด้านที่ 3 เป็นประเด็นเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องเพิ่มความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีกับประเทศที่สาม เช่น ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ตลอดจนร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคภายใต้กรอบอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
 
นายเสขกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีย้ำว่าการพูดคุยระหว่างการเยือนไทยของ นางออง ซาน ซูจี ในครั้งนี้ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์เพื่อความผาสุก และความกินดีอยู่ดีของประชาชนทั้งสองประเทศ ส่วนกระแสข้อเรียกร้องของเอ็นจีโอ และข้อเรียกร้องอื่นๆ เป็นเพียงข้อเรียกร้องที่เสนอผ่านทางสื่อและไม่ได้เป็นข้อเรียกร้องของทางการพม่าแต่อย่างใด
 
 
ลูกจ้าง สนง.ปราบปรามทุจริตกว่า100 เคว้ง หลังปลดแอกจากกระทรวงยุติธรรม
 
ความคืบหน้าของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) ภายหลังจากริเริ่มผลักดันตนเองให้พ้นจากกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กลายเป็นส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยเสนอร่างกฎหมาย ป.ป.ท. และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นชอบ และประกาศเป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปลายเดือนเมษายน 2559 และมีผลบังคับใช้แล้ว
 
รายงานข่าวจากสำนักงาน ป.ป.ท. ระบุว่า หลังการปฏิรูปองค์กรตามกฎหมายดังกล่าว ได้เกิดปัญหาการบริหารบุคคล ในส่วนของการจ้างลูกจ้างชั่วคราวทั่วประเทศกว่าร้อยคนกลายเป็นผู้ที่มีสภาพการจ้างงานที่ไม่แน่นอน จากเดิมที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว โดยอาศัยเงินเดือนจากเงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลางของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นเงินนอกงบประมาณมาโดยตลอด เมื่อสำนักงาน ป.ป.ท.แยกตัวออกจากกระทรวงยุติธรรม ทำให้ต้นสังกัดเดิมยุติการจ่ายเงินเดือน รวมทั้งหยุดการเบิกจ่ายเงินโครงการบางโครงการที่ได้เคยอนุมัติให้แก่สำนักงาน ป.ป.ท. ที่จะเบิกจ่ายจากแหล่งเงินดังกล่าวในงวดต่อไป โดยมีผลตั้งแต่กฎหมายแยกตัวของ ป.ป.ท. มีผลบังคับใช้
 
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ท.ได้พยายามเจรจาต่อรองกับทางกระทรวงยุติธรรมหลายครั้ง ให้จ่ายเงินเดือนจากดอกเบี้ยเงินกลางแก่ลูกจ้างไปอีกระยะหนึ่งอย่างน้อยจนถึงสิ้นปีงบประมาณ แต่ไม่เป็นผล เพราะกระทรวงยุติธรรมเห็นว่า ไม่มีระเบียบรองรับให้จ่ายเงินได้อีกต่อไป
 
ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้ลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมด สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างชั่วคราวโดยรับเงินเดือนจากดอกเบี้ยเงินกลางโดยอัตโนมัติ และแปรสภาพเป็นแรงงานจ้างเหมารายวัน มีรายงานว่า ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สำนักงาน ป.ป.ท.จ่ายเงินเดือนลูกจ้างงวดเดือนพฤษภาคมล่าช้าไปนานนับสัปดาห์ เพราะอยู่ระหว่างการหาแหล่งเงินมาจ่ายให้ ส่งผลให้ลูกจ้างบางส่วนระบายความคับข้องใจต่อคณะกรรมการ ป.ป.ท. และผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ถึงปัญหาการปรับเปลี่ยนองค์กรโดยขาดการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า และคณะกรรมการ ป.ป.ท. จึงได้เรียกผู้บริหารของสำนักงานไปตำหนิ ส่งผลให้นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท.กล่าวในที่ประชุมผู้บริหารของสำนักงานแสดงความไม่พอใจการกระทำของลูกจ้างหลายรายว่า เป็นการขยายผลเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่
 
รายงานระบุว่า สำนักงาน ป.ป.ท. กำลังเร่งหาแหล่งเงินเป็นคราวๆ เพื่อจ่ายค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างเหล่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้ตั้งงบประมาณแผ่นดินรองรับไว้แต่เนิ่นๆ รวมทั้งไม่ได้ทำคำของบประมาณ ปี 2560 สำหรับลูกจ้างเอาไว้ จึงต้องใช้วิธีการปรับแผนหรือแปลงงบของสำนักงานจากรายการอื่นมาใช้จ่ายไปก่อน แต่วิธีนี้จะมีระยะเวลาในการดำเนินการ เพราะต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณด้วย ยิ่งทำให้ลูกจ้างเกิดความสับสนในสภาพการจ้างของตนเอง เนื่องจากต้องเซ็นสัญญารับจ้างรายวันเป็นแต่ละเดือนไป และต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมด้วยตนเอง แทนการหักเงินนำส่งผ่านหน่วยงานซึ่งเคยทำมาแต่เดิม บางรายที่ไม่สามารถยอมรับสภาพได้ ก็เลือกการลาออก หรือไปหาสมัครงานใหม่ และบางรายเตรียมเดินทางไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานไว้ด้วย
 
จากข้อมูลล่าสุดรายงานประจำปี 2557 สำนักงาน ป.ป.ท. ระบุว่า อัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราว (ตำแหน่งที่มีคนครอง) มีจำนวน 154 อัตราทั้งในส่วนกลางและเขตพื้นที่ทั่วประเทศ
 
 
ก.กิจการผู้สูงอายุ พม. ยันตายจ่ายจริง 2 พันแต่ต้องจน
 
จากกรณีที่มีการแชร์ภาพข้อมูลคนไทยควรรู้ หลังจากเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพคนละ 2,000 บาท โดยข้อมูลภายในเอกสารดังกล่าวระบุ กำหนดให้ผู้สูงอายุที่ถึงแก่กรรมมีอายุ 60 ปี บริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย ได้รับการสงเคราะห์ในการจัดทำศพผู้สูงอายุตามประเพณี รายละ 2,000 บาท โดยสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินได้ที่อบต. ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เสียชีวิต โดยทางอบต.จะส่งคำร้องไปยังสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) เมื่ออบต.ได้รับเงินจากทาง พมจ.แล้วจะติดต่อกลับไปยังผู้เขียนคำร้องนั้น
 
เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. นายอนุสันต์ เทียนทอง อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ให้สัมภาษณ์กับ“เดลินิวส์ออนไลน์”ว่า การจัดการเงินค่าทำศพตามประเพณีผู้สูงอายุ ทางกรมกิจการผู้สูงอายุเป็นผู้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยจะโอนเงินให้ที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด(พมจ.) จากนั้น พมจ.จะประสานกับทางอำเภอ ที่ดูแลในส่วนของ อบต.เทศบาล เพื่อให้เงินกับผู้ที่เสียชีวิต
 
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่าย กระทรวง พม.กำหนดไว้ว่า 1.มีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2.มีสัญชาติไทย 3.ผู้สูงอายุอยู่ในครอบครัวที่ยากจนตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หรือ กรุงเทพมหานคร หรือ เมืองพัทยา 4.ไม่มีญาติ หรือ มีญาติแต่ฐานะยากจนไม่สามารถจัดการศพตามประเพณีได้
 
ผู้สูงอายุยากจนและไม่ได้รับการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย หรือ กรุงเทพมหานคร หรือ เมืองพัทยา ให้นายกเทศมนตรี หรือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือ ประธานชุมชน หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขต หรือ นายอำเภอ หรือ นายกเมืองพัทยา เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง
 
การยื่นคำขอเพื่อขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณีรายนั้นยื่นคำขอในท้องที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือ ภูมิลำเนาที่ถึงแก่ความตาย ในขณะที่ถึงแก่ความตายดังนี้ 1.ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่สำนักงานเขต สังกัดกรุงเทพมหานคร 2.ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด หรือ ที่ว่าการอำเภอ หรือ เมืองพัทยา หรือ เทศบาล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล
 
ผู้ที่ยื่นขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพต้องยื่นคำขอภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตรพร้อมเอกสาร ดังนี้ 1.ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุพร้อมสำเนาจำนวนหนึ่งฉบับ 2.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอพร้อมสำเนาจำนวนหนึ่งฉบับ 3.หนังสือรับรองว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการศพตามประเพณี ซึ่งรับรองโดยนายอำเภอ หรือ ผู้อำนวยการสำนักงานเขต หรือ พมจ. หรือนายกเมืองพัทยา หรือนายกเทศมนตรี หรือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือกำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชน โดยผู้ยื่นคำขอและผู้รับรองต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน
 
“การจ่ายเงินค่าทำศพ ไม่ได้ให้กับบุคคลทั่ว ๆ ไป แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีฐานะยากจนจริง ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่ จปฐ.กำหนดไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย มีรายได้ครัวเรือนต่ำว่าปีละ 3 หมื่นบาทต่อปี ที่ผ่านมา พม.ดำเนินการแก้ไขระเบียบเพื่อให้การช่วยเหลือเฉพาะผู้สูงอายุยากจนที่เสียชีวิตในปี 2557 มีผลบังคับใช้ 17 ต.ค.57 โดยมีการคาดประมาณประชากรสูงอายุยากจนที่จะเสียชีวิตในปี 2559 ทั้งหมด 55,018 คน การสนับสนุนค่าจัดการศพผู้สูงอายุยากจนที่คาดว่าจะเสียชีวิตรายละ 2,000 เป็นเงินทั้งหมด 110,036,000 บาท แต่พม.ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2559 จำนวน 46,000,000 บาท เพื่อให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุ จำนวน 23,000 คน ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนผู้สูงอายุยากจนที่คาดว่าจะเสียชีวิต” นายอนุสันต์ กล่าว
 
 
'สหภาพทีโอที' จี้บอร์ดเร่งเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ
 
ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทีโอที นัดพิเศษเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 ได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงมติเดิมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2559 ที่อนุมัติให้ทีโอทีลงนามในสัญญาทดสอบฯกับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค ในการ ให้บริการ 3จี 2100 โดยบอร์ดทีโอทีขอให้ฝ่าย บริหารระงับการลงนามในข้อตกลงไว้ก่อน และ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อนว่าการดำเนินการเข้าข่ายการดึงเอกชนร่วมดำเนินธุรกิจตามนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) หรือไม่
 
"ไม่เข้าใจว่าทำไมบอร์ดทีโอทียังไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายบริหาร ทีโอทีได้เคยสอบถามไปยังกระทรวงการคลังและสำนักงาน กสทช.แล้ว หากทีโอทีจะลงนามร่วมกับพันธมิตรธุรกิจเช่นเดียวกับที่บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) ทำกับกลุ่มทรูมูฟจะทำได้หรือไม่ ซึ่ง กสทช.ก็มีหนังสือตอบกลับว่าทำได้" แหล่งข่าว กล่าว
 
ทั้งนี้สหภาพรัฐวิสาหกิจทีโอทีเตรียมเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและบอร์ด ทีโอที เร่งดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งหาพันธมิตรธุรกิจโดยเร็ว เพราะเป็นเรื่องที่ยืดเยื้อมากว่า 2 ปีแล้ว นับตั้งแต่ ทีโอทีได้ดำเนินการสรรหาพันธมิตรธุรกิจเมื่อ กลางปี 2556 ทำทีโอทีสูญเสียโอกาสในการแข่งขันและผลประโยชน์นับหมื่นล้านบาท โดยเฉพาะผลประโยชน์ที่องค์กรควรจะได้รับจากการให้เอไอเอสเช่าคลื่นความถี่ 2100 MHz ปีละ 3,900 ล้านบาท และโครงข่ายโทรคมนาคม 2จี อีกปีละกว่า 3,600 ล้านบาท ไม่รวมผลประโยชน์อื่นๆ
 
อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของทีโอทีที่ขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปี ล่าสุดมี กระแสว่าอาจจะต้องมีการลดจำนวนพนักงาน กว่า 1,000 คน ในสิ้นปี 2559 เนื่องจากไม่สามารถฟื้นฟูองค์กรตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้
 
แหล่งข่าว กล่าวว่า แม้ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) ประกาศจะใช้ม.44 เพื่อเร่งรัดให้ 7 รัฐวิสาหกิจที่อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ ให้ เร่งรัดแก้ไขปัญหาขาดทุนขององค์กรโดยเร็ว และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ใช้ผลงานแก้ไขปัญหาองค์กรเป็นตัวชี้วัดการทำงาน (KPI) ของทั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจและฝ่ายบริหาร รวมถึง กระทรวงต้นสังกัด แต่ก็ดูเหมือนจะมีเพียงบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินการ ฟื้นฟูองค์กรได้ตามเป้าของซูเปอร์บอร์ด
 
"ล่าสุด รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพิ่งเรียกบอร์ดทีโอทีและ CAT ไปให้นโยบายให้เร่งรัดปรับโครงสร้างองค์กรและจัดทัพธุรกิจใหม่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพลิกฟื้นองค์กรเพื่อให้มีรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องรอดูว่าหลังจากนี้ฝ่ายบริหารของทีโอทีจะดำเนินการได้เป็น รูปธรรมขนาดไหน" แหล่งข่าว กล่าว
 
 
'ซูจี' MOU แรงงานหนุนภาพลักษณ์ไทยดี
 
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ในโอกาสการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ของนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐแห่งสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา ในฐานะแขกของรัฐบาล ลงนามบันทึกความตกลง 3 ฉบับ ประกอบด้วย บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเมียนมา และบันทึกความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนนั้น ทำให้ทั้ง 2 ประเทศ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและทำให้ภาพลักษณ์ของประะเทศไทยเรื่องการบริหารจัดการแรงงานดีขึ้น ปราศจากการค้ามนุษย์ พร้อมย้ำว่า สถานการณ์แรงงานในประเทศขณะนี้ ไม่พบสัญญาณการว่างงานขนาดใหญ่ ซึ่งขณะนี้มีตำแหน่งว่างงานอยู่ประมาณ 40,000 กว่าตำแหน่ง ในวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. - ปวส. ส่วนผู้ที่จบปริญญาตรีบางส่วน ก็หันมาประกอบอาชีพอิสระ หรือ ค้าขายสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น
 
 
กอศ.อนุมัติเพิ่มหลักสูตร ป.ตรีปี 2559 เน้นสอนเฉพาะด้านตอบโจทย์ตลาดแรงงาน
 
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 23 แห่ง แบ่งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง มีสถานศึกษาในสังกัด 161 แห่ง และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร 4 แห่ง มีสถานศึกษาในสังกัด อีก 41 แห่ง รวม 202 แห่ง เพื่อจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 นั้น ในแต่ละปีทางสถาบัน ที่มีความพร้อมจะเสนอหลักสูตรให้สภาสถาบันแต่ละแห่งเห็นชอบเสนอคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (บอร์ด กอศ.) พิจารณาอนุมัติ ซึ่งในปีการศึกษา 2556 บอร์ด กอศ. ได้อนุมัติไป 43 หลักสูตรใน 16 สาขาวิชาของ 9 สถาบัน และผ่านการรับรองคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) แล้ว มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสิ้น 608 คน
 
ปีการศึกษา 2557 อนุมัติเพิ่มเติม 80 หลักสูตรใน 14 สาขาวิชาของ 18 สถาบัน และผ่านการรับรองคุณวุฒิ จาก ก.พ. โดยผู้สำเร็จการศึกษา 1,512 คน ปีการศึกษา 2558 อนุมัติอีก 76 หลักสูตรใน 19 สาขาวิชาของ 18 สถาบัน ปัจจุบันมีนักศึกษาอยู่ 2,567 คน และอยู่ในระหว่างการพิจารณารับรองหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก่อนส่งให้ก.ค.ศ. และก.พ. รับรองวุฒิต่อไป และปีการศึกษา 2559 บอร์ด กอศ. ได้อนุมัติเพิ่มเติม 68 หลักสูตรใน 17 สาขาวิชาของ 18 สถาบัน ไปตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยหลังจากนี้ จะส่งให้สกอ. รับรอง ส่งต่อให้ก.ค.ศ. และก.พ.ดำเนินการต่อไปตามลำดับ
 
"ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 เป็นต้นมา มีสถานศึกษาทั้ง 202 แห่งจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีหลักสูตรป.ตรีฯ แล้วทั้งสิ้น 25 สาขาวิชา สำหรับหลักสูตรดังกล่าวจะใช้หลักสูตรที่พัฒนาร่วมกับสถานประกอบการสอนเด็ก เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ดังนั้นบางสาขาวิชาที่มีชื่อเหมือนกัน แต่เปิดสอนต่างสถาบัน ผู้สำเร็จการศึกษาย่อมมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่แตกต่างกัน ตามลักษณะของความต้องการกำลังคนในพื้นที่นั้นๆ" นายชัยพฤกษ์กล่าว
 
ที่มา: ข่าวสด ฉบับวันที่ 28 มิ.ย. 2559 (กรอบบ่าย)
 
ปรับหลักสูตรอาชีพอันตรายสาธารณะ ชงปลดล็อก พรบ.แรงงาน
 
นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงแรงงานจะทยอยออกประกาศสาขาอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ เช่น ช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร ช่างเชื่อม และ ช่างยนต์นั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้นำมาตรฐานฝีมือแรงงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มาปรับใช้กับหลักสูตรอาชีวศึกษาทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยคาดว่าหลังจากดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ แล้วเสร็จจะประกาศใช้หลักสูตรใหม่ได้ภายในปีการศึกษา 2560 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ เนื่องจาก สอศ.กำหนดให้มีการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพนักเรียน นักศึกษาที่เรียนปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ดังนั้น สอศ.จะเสนอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานขอให้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานไปในคราวเดียวกัน เพื่อช่วยให้นักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาได้รับใบรับรอง 2 ใบ คือใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพ และใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน อันเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้เรียนด้วย
 
นอกจากนี้จะเสนอกรมพัฒนาฝีมือแรงงานขอผ่อนผันหรือปรับแก้พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานพื้นฐาน ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ โดยขอให้ผู้เรียนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีสามารถเข้ารับการทดสอบได้ โดยเบื้องต้นมีนักเรียนระดับ ปวช.ปี 3 อายุต่ำกว่า 18 ปี ประมาณ 88,162 คน หรือคิดเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียน ปวช.3 ทั้งประเทศประมาณ 1.4 แสนคน เนื่องจากหากเด็กกลุ่มนี้เรียนจบแล้วแต่ไม่เข้ารับการทดสอบ ก็ไม่สามารถประกอบอาชีพที่กระทรวงแรงงานประกาศว่าอาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะได้ พร้อมกันนี้จะเสนอขอให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานยกเว้นค่าฝึกอบรมภาคปฏิบัติและ ค่าทดสอบให้แก่ผู้เรียน รวมถึงจัดตั้งงบประมาณสนับสนุนค่าวัสดุประกอบการทดสอบ และค่าสาธารณูปโภคให้แก่ศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานที่อยู่ในสถานศึกษาสังกัด สอศ.ด้วย
 
 
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ILO จัดสัมมนาเตรียมรับแรงงานเวียดนามทะลักเข้าไทย
 
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2559 ที่โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด การสัมมนาเพื่อส่งเสริมกระบวนการจัดหางานและจ้างงานที่เป็นธรรม ในการนำเข้าแรงงานเวียดนามเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย ซึ่งจัดโดย สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (ECOT ) ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
 
นายแม๊กซ์ ทูนอน (Max Tunon) ผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า การนำเข้าแรงงานข้ามชาตินายจ้างควรจะดูแลในเรื่องนำเข้าแรงงาน การย้ายถิ่นของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งทั้ง 4 สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ปัญหาที่พบตอนนี้ คือ ไม่ทราบความต้องการแรงงานว่ามีมากน้อยเท่าไร แต่ละสาขามีความต้องการเป็นอย่างไร ซึ่งจำนวนของแรงงานเป็นตัวหลักสำคัญในการนำไปพัฒนานโยบายการนำเข้าแรงงานที่ถูกต้องของแต่ละภาคส่วน
 
ผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าวอีกว่า การลงนามข้อตกลงเพื่อทำกรอบในการนำเข้าแรงงาน ทำให้เกิดการหารือระหว่างคนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐ ซึ่ง ILO เห็นว่าการที่ ECOT (สภาองค์การนายจ้าง) ซึ่งเป็นตัวแทนฝั่งนายจ้างเป็นตัวแปรที่สำคัญในการหารือ และวางกรอบที่กว้างขึ้น เพื่อเป็นตัวให้ข้อมูลและนำไปสู่ภาคปฏิบัติในที่สุด
 
"การหารือทำให้มีการคุยกันทุกฝ่าย ให้เรารู้ถึงความต้องการของแรงงานว่าต้องการเข้ามาแบบไหน จะมาภายใต้ MOU หรือแบบถือบัตรสีชมพู รวมถึงการลักลอบเข้ามา ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบถึงปัจจัยว่า อะไรที่ทำให้แรงงานตัดสินใจเข้ามาทำงานในช่องทางเหล่านั้น" ผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ กล่าว
 
นายแม๊กซ์ กล่าว การทำค่าใช้จ่ายเป็นศูนย์ (ZERO FEE) สำหรับแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ซึ่งภายใต้อนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ก็มีกว่า 32 ประเทศ ที่ได้ลงสัตยาบรรณในเรื่องนี้ เช่น ยูเออี ซาอุฯ และอีกหลายๆ ประเทศ ที่ได้รับหลักการไปแล้ว ซึ่งเรื่องค่าใช้จ่ายเป็นศูนย์ได้หรือไม่นั้น ภาคเอกชนก็ต้องเคลื่อนตัวด้วย โดยภาครัฐต้องมีส่วนเข้ามาสนับสนุนเพื่อไม่เป็นภาระของแรงงาน ซึ่งในภูมิภาคนี้ประทศไทยน่าจะเป็นตัวนำร่องในการทำให้เกิดค่าใช้จ่ายของแรงงานเป็นศูนย์ได้ โดยผลักภาระไปไว้ที่นายจ้าง เพราะนายจ้างเป็นผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเห็นได้จากภาคอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมอีเลกทรอนิกส์ โดยหากอุตสากรรมภาคเหล่านี้ทำได้ แรงงานก็จะไปสู่ตลาดอุตสาหกรรมนี้โดยอัตโนมัติ
 
ด้าน ดร.อารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า การนำเข้าแรงงานภายใต้บันทึกความเข้าใจทวิภาคี MOU ระหว่างไทยกับเวียดนาม ว่าหาก MOU นำไปสู่ภาคปฏิบัติแล้วจะทำให้เราทราบภึงความต้องการทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อทำให้ปัญหาการลักลอบเข้ามาทำงานลดลง ซึ่งกรณีที่ทำกับเวียดนามนั้น จะเป็นตัวอย่างในการนำร่องการนำเข้าแรงงานอย่างถูกต้องตามหลักสากล โดยภาคการก่อสร้างในบ้านเราทุกวันนี้ เวียดนามไม่ได้อยู่ในระบบการก่อสร้าง เพราะบ้านเขาก็มีความต้องการเช่นกัน โดยภาคก่อสร้างเป็นแรงงานระดับล่าง แต่หากเป็นแรงงานฝีมือ อัตราค่าจ้างก็จะผันตามระดับฝีมือ ที่ผ่านมา แรงงานเวียดนามไม่ได้สนใจในการทำงานภาคก่อสร้างนี้ในบ้านเรา เพราะอุตสาหกรรมก่อสร้างบ้านเขาก็มีความต้องการไม่น้อย และค่าจ้างของเขาก็อยู่ในอัตราที่สูง รายละเอียดตรงนี้เขาต้องการความชัดเจนตรงค่าแรงงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาฝีมือ โดยความต้องการของไทยในขณะนี้เรามีความต้องการในการก่อสร้างในระบบราง และโครงการก่อสร้างในต่างประเทศ ตรงนี้นายจ้างฝั่งเวียดนามก็จะนำข้อมูลกับไปหารือกับแรงงานฝั่งเขา การที่เราจะนำร่องการจัดส่งแรงงานตามเอ็มโอยูนี้เราต้องมีความชัดเจนในเรื่องสัญญาจ้าง และค่าบริการต่างๆ
 
"ในภาคการก่อสร้างที่ผ่านมาเราเปิดให้ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว ไม่มีแรงงานชาวเวียดนามมาลงทะเบียนเลย ความมุ่งหวังของเราก็คือหากเวียดนามเข้ามาก็จะอยู่ในภาคของการประมง ซึ่งการว่าจ้างที่จะให้เกิดความเป็นธรรมก็จะต้องฝึกอบรมก่อนเข้ามาทำงาน และมีตัวแทนที่ชัดเจนทั้งสองฝ่าย ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปตามกรอบ ภายในกรกฎาคมนี้ จะมีการพูดคุยกันอีกครั้ง และในต้นเดือนกันยายน แรงงานชุดแรกก็น่าจะเดินทางเข้ามาทำงานได้" อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว
 
ขณะที่ นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าการสัมมนาในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริม และสร้างความเข้าใจต่อกระบวนการจัดหางาน และจ้างงานแรงงานเวียดนามที่เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยตาม MOU ที่ประเทศไทยและเวียดนามได้ลงนามร่วมกันไปแล้ว โดยการสัมมนาจะระบุถึงกลไกการติดตามและส่งต่อ กรณีการจัดหางานที่ไม่เป็นธรรม และการละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการด้านแรงงานให้ถูกต้อง ได้มาตรฐาน ขจัดปัญหาหลอกลวง และการเอารัดเอาเปรียบเพื่อประโยชน์ของแรงงานต่างด้าว และนายจ้าง ผู้ประกอบการ รวมทั้งเป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
 
นายสุเมธ กล่าวอีกว่า แรงงานต่างด้าวเป็นต้นทุนที่สำคัญในระบบการผลิต แรงงานที่มีคุณภาพย่อมส่งเสริมให้การผลิตได้คุณภาพ มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ การที่จะได้มาซึ่งแรงงานต่างด้าวที่มีคุณภาพนั้น ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งกระบวนการนำเข้าที่ถูกต้องตามกฎหมายสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน สิทธิ และสวัสดิการที่มีความเหมาะสม และเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการเข้าถึงบริการของรัฐ เร่งสร้างโอกาส อาชีพ และรายได้ที่มั่นคงแก่ผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งหมายรวมถึงแรงงานข้ามชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ อันนำมาสู่นโยบายของกระทรวงแรงงานในการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ
 
นายสุเมธ ยังกล่าวอีกว่า การคุ้มครองแรงงานต่างด้าวทั้งระบบนั้น ต้องมุ่งเน้นทั้งการบริหารจัดการ การกำหนดมาตรฐาน การจ้างการป้องกันการลักลอบการทำงาน การบังคับใช้กฎหมาย การปรับระบบฐานข้อมูลการประชาสัมพันธ์ และสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อให้แรงงานต่างด้าวทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับนายจ้างและแรงงาน ให้เข้าถึงการบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง เน้นการดำเนินการที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อเป้าหมายที่จะนำแรงงานกลุ่มนี้ไปสู่แรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริง ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งการสัมมนาจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการจัดหางาน และจ้างงานแรงงานเวียดนามเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทย และจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้กระบวนการจ้างแรงงานเวียดนามเข้ามาทำงานในประเทศไทยประสบความสำเร็จ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งระบบเศรษฐกิจ
 
ด้านนายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ECOT ในฐานะสมาชิกองค์การนายจ้างระหว่างประเทศ และตัวแทนภาคีฝ่ายนายจ้างของประเทศไทย ที่ทำงานร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกในเรื่องนโยบายของรัฐบาลที่ได้ทำ MOU ร่วมกับรัฐบาลประเทศเวียดนาม เพื่อนำเข้าแรงงานในสาขาก่อสร้างและประมง ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก ECOT เล็งเห็นว่า MOU ที่เพิ่งเริ่มนำสู่การปฏิบัตินี้อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองปัญหาการขาดแคลนแรงงานของภาคธุรกิจได้ ECOT จึงได้ขอรับการสนับสนุนจาก ILO และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เพื่อจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของภาคีฝ่ายนายจ้างครั้งนี้
 
"เราได้เชิญตัวแทนภาคธุรกิจ ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO และ IOM มาร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ MOU นี้สามารถตอบสนองความต้องการของนายจ้างได้ โดยข้อสรุปที่ได้จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จะได้นำเสนอกระทรวงแรงงาน เพื่อหาแนวทางไปสู่การปฏิบัติจริงในอนาคตอันใกล้นี้" ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าว
 
ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า การสัมมนาในวันนี้จะไปสู่การพูดคุยถึงความต้องการที่แท้จริงของทั้งนายจ้างและลูกจ้าง แต่ทั้งนี้ก็ต้องนำข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบทั้งหมดขึ้นมาหารือกัน โดยเฉพาะความต้องการของแรงงานชาวเวียดนาม ที่ต้องการเข้ามาทำงานอย่างถูกต้องในภาคอื่นๆ ที่ไม่ใช่กฎหมายของไทยเปิดช่องไว้ โดยเราเปิดช่องไว้เพียงอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และประมง แต่ในข้อเท็จจริง แรงงานชาวเวียดนามมาฝังตัวอยู่ในภาคบริการของประเทศเราจำนวนมาก ถ้าเราเอามาทำให้ถูกต้อง ก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งแรงงานเองก็ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ผู้ประกอบการเองก็มีความชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไร เราต้องยอมรับว่าแรงงานเวียดนามนั้น เป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีทักษะ เพราะเวียดนามเองมีการพัฒนาส่งเสริมทั้งทักษะและการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่เปิดโรงงานอยู่ที่เวียดนามเองเขาพอใจในการทำงานของคนเวียดนาม และเมื่อเขาเปิดโรงงานที่เมืองไทยเขาก็อยากได้แรงงานจากเวียดนาม แต่กฎหมายยังไม่เปิดช่อง ซึ่งเราก็จะนำข้อหารือในวันนี้ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนไปนำเสนอภาครัฐ
 
 
“เครือเซ็นทารา” จัดตั้งโครงการ “จ้างแรงงานวัยเกษียณ”
 
รายงานข่าวจากกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา เปิดเผยว่า โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมในเครือกว่า 70 แห่งทั้งในไทยและต่างประเทศ พร้อมตอบสนองนโนบายรัฐ แสดงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนมติกระทรวงการคลังในการจัดตั้งโครงการใหม่ในการออกมาตรการลดหย่อนภาษีแก่บริษัทผู้ว่าจ้างแรงงานสูงวัย ซึ่งรัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงพิจารณา และพยายามวางแผนให้ประเทศไทยกลายเป็น "สังคมผู้สูงวัย" ในอนาคตอันใกล้
 
ทั้งนี้ เซ็นทาราเป็นองค์กรลำดับต้นๆ ของประเทศไทยที่ให้ความสนับสนุนความพยายามในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โดยได้กำหนดนโยบายต่างๆ ทางด้านทรัพยากรบุคคลที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลที่ร่วมงานกับบริษัทมาเป็นระยะเวลานานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงพนักงานที่มีแนวโน้มกลับเข้ามาร่วมงานกับบริษัทใหม่ ตลอดจนบุคลากรที่มีอายุเกิน 50 ปี และพนักงานหญิงที่กลับมาทำงานหลังจากการเลี้ยงดูบุตร และพนักงานที่ลาออกไปดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุแบบเต็มเวลาให้มากที่สุด
 
โดยในปัจจุบัน เซ็นทารากำลังเริ่มนำนโยบายเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น การใช้กลยุทธ์การแชร์งาน และการสับเปลี่ยนโยกย้ายกำลังคนมาใช้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ลูกจ้าง 2 คนกำลังจะเกษียณอายุจากการทำงานเต็มเวลา พวกเขาอาจสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทมาแชร์ความรับผิดชอบในงานนั้นๆ ร่วมกันได้ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังจะออกมาตรการพิเศษต่างๆขึ้นมาเพื่อจูงใจให้บุคลากรเก่าๆ หรือพนักงานที่มีประสบการณ์ที่ได้เกษียณอายุจากทางเซ็นทารา หรือจากบริษัทอื่นๆ มาก่อนหน้านี้ เข้ามาร่วมงานกับทางบริษัทฯ ด้วย
 
นายธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กล่าวเสริมว่า พนักงานที่เคยทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกัน หรือทำงานในตำแหน่งคล้ายๆ กันมาเป็นเวลานาน มักจะมีความรู้ความชำนาญในงานของตนเป็นอย่างมาก ซึ่งประสบการณ์เหล่านั้นนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด และเชื่อว่าบุคลากรที่มีอายุงานมากๆ เปรียบเสมือนกับทรัพยากรอันทรงคุณค่าที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาทดแทนได้ สำหรับตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสร่วมอยู่ในทีมจะแสดงให้เห็นถึงความเหนือชั้นในการให้บริการ ซึ่งจะทำให้บริษัทเติบโตอย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
 
ปัจจุบันทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานสูงวัยที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเรื่องของประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน และเมื่ออายุโดยเฉลี่ยของประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น การรักษาพนักงานที่มีทักษะความสามารถให้ยังอยู่กับองค์กรนานกว่าอายุเกษียณจึงกลายเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะจะช่วยในการรักษามาตรฐานการให้บริการให้คงอยู่ในระดับสูง และมีพนักงานมาทำงานเต็มจำนวน
 
 
ครม.เห็นชอบ-อนุมัติ MOU ด้าน “แรงงานไทย-ลาว”
 
ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (28 มิ.ย.) มีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงแรงงาน เสนอ ดังนี้ 1.เห็นชอบต่อ (ร่าง) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2.อนุมัติให้พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามในเอกสารดังกล่าว
 
3.มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม ให้พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้ลงนามในเอกสารดังกล่าว 4.หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้รง.ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
 
สำหรับสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับความร่วมมือด้านแรงงานร่วมกัน โดยมีกรอบความร่วมมือ ได้แก่ (1) ความร่วมมือทางวิชาการ (2) ความร่วมมือด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน (3) ความมือด้านการจ้างแรงงาน (4) ความร่วมมือด้านการคุ้มครองแรงงาน และ (5) ความร่วมมือด้านการประกันสังคม และเพื่อเป็นการดำเนินงานและติดตามการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ จะมีการจัดประชุมร่วมสองฝ่าย ทั้งระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่
 
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันในการพัฒนาและขยายความร่วมมือด้านแรงงานให้ครอบคลุมในหลายมิติดังกล่าวข้างต้น และเป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวปฏิบัติร่วมกัน ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเป็นการสร้างพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศของภูมิภาค จะนำไปสู่การกำหนดทิศทางนโยบายด้านแรงงานระหว่างประเทศร่วมกันในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาคต่อไปในอนาคต
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หยุด 'แก้ทอมซ่อมดี้' กฤตยาชี้เพศเป็นสิทธิส่วนบุคคล คนอื่นไม่มีสิทธิไปซ่อม

$
0
0

กฤตยาชี้วาทกรรมแก้ทอมซ่อมดี้สะท้อนวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ด้านอาทิตยามองเป็นการควบคุมพฤติกรรมโดยใช้อวัยวะเพศชาย ส่วนทิพย์อัปสรเผยความรุนแรงทางเพศต่อทอมดี้พบในทุกจังหวัด สาเหตุหนึ่งเกิดจากครอบครัวไม่เข้าใจ คิดว่าจะทำให้กลับมาชอบผู้ชายได้ ด้านคาณัสนันท์ชี้สังคมต้องสร้างความเข้าใจว่าเพศไม่ใช่เรื่องตายตัว

29 มิ.ย. 2559 วานนี้ (28 มิ.ย.) เวลา 13.00 น. สมาคมเพศวิถี ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย 53 องค์กร ได้จัดงานเสวนาสาธารณะ “แก้ทอม ซ่อมดี้ เป็นความรุนแรง #เลิกเหอะ” ที่ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) วิทยาเขตท่าพระจันทร์ ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย กฤตยา อาชวนิจกุล นักวิชาการจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, สุพีชา เบาทิพย์ จากกลุ่มทำทาง เพื่อสิทธิการเข้าถึงการทำแท้งอย่างปลอดภัย, อาทิตยา อาษา นักศึกษาปริญญาโท สาขาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา มธ. ผู้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง วาทกรรมแก้ทอมซ่อมดี้ในสื่อออนไลน์, คาณัสนันท์ ดอกพุฒ นักกิจกรรมทรานส์แมนจากกลุ่ม FTM BANGKOK และทิพย์อัปสร ศศิตระกูล จากสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ดำเนินรายการโดย วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้จัดการแผนงานสุขภาวะผู้หญิง และความเป็นธรรมทางเพศ


จากซ้ายไปขวา กฤตยา อาชวนิจกุล, สุพีชา เบาทิพย์, อาทิตยา อาษา, คาณัสนันท์ ดอกพุฒ, ทิพย์อัปสร ศศิตระกูล และ วราภรณ์ แช่มสนิท ผู้ดำเนินรายการ

กฤตยา อาชวนิจกุล กล่าวว่า ความรุนแรงต่อผู้หญิงมี 3 ชุด ได้แก่ ความรุนแรงต่อผู้หญิงทางวัฒนธรรม ความรุนแรงต่อผู้หญิงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงต่อผู้หญิงทางตรง โดยวาทกรรมแก้ทอม ซ่อมดี้ ถือเป็นความรุนแรงผ่านวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ที่คอยกำกับว่าผู้หญิงควรทำหรือไม่ทำอะไร และหากผู้หญิงไม่เป็นไปตามแบบแผนนั้น ก็จะถูกหมั่นไส้และจะต้องโดนแก้ไขโดยอวัยวะเพศชาย อย่างที่คนมักจะพูดกันว่า “ต้องโดนของจริงถึงจะหาย” หรือ การเรียกอวัยวะเพศชายว่า “เจ้าโลก” ก็เป็นความเชื่อเชิงวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาทางภาษา

กฤตยา ยังกล่าวว่าสาเหตุของการกระทำความรุนแรงทางเพศต่อทอม เกิดขึ้นจากอคติและความเกลียดชัง ซึ่งแตกต่างจากสาเหตุความรุนแรงทางเพศที่เกิดกับผู้หญิง โดยอ้างอิงสถิติจากสหรัฐอเมริกาว่ากลุ่ม LGBT มีโอกาสที่จะถูกทำร้ายมากกว่าคนกลุ่มอื่นถึงสองเท่า โดยในเกือบทุกรัฐของอเมริกาก็จะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับ Hate Crime เพื่อป้องกันอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังอีกด้วย

ด้านอาทิตยา อาษา กล่าวว่าจากงานวิทยานิพนธ์ของตนพบว่าวาทกรรมแก้ทอม ซ่อมดี้ เป็นวาทกรรมที่มองว่าทอมหรือดี้เป็นของเสียต้องได้รับการแก้ไข อีกทั้งยังไว้ใช้กำกับบุคคลที่มีเพศสรีระเป็นผู้หญิง ไม่ให้มีพฤติกรรมที่เกินกว่าผู้หญิง หรือไม่เหมาะสมกับความเป็นหญิง เช่น ทอมหรือดี้ ที่มีเพศสภาวะและเพศวิถีที่ออกนอกลู่นอกทางจากความเป็นหญิง โดยวิธีการควบคุมก็คือการสร้างความหวาดกลัวในเรื่องเพศด้วยการใช้อวัยวะเพศชายมาเป็นแกนหลักในการควบคุม

“แก้ทอมซ่อมดี้มันแปลว่า ทอมกับดี้เป็นของเสีย ที่สามารถซ่อมหรือว่าแก้ไขให้เป็นปกติได้ โดยการแก้ไขนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดต้องชี้ให้เห็นถึงรสชาติของความเป็นชาย เพราะที่มีคนบอกว่าทอมเป็นคนซิง ซิงในที่นี้หมายถึงอาจจะยังไม่เคยมีเพศวิถีแบบชายหญิง คนเลยคิดว่าต้องลองก่อน ต้องรู้รสของความเป็นชายก่อน แล้วก็อยากจะกลับเป็นผู้หญิงเหมือนเดิม” อาทิตยากล่าว  

อาทิตยายกตัวอย่างคอลัมน์จากนิตยสารฉบับหนึ่งที่นำเสนอเรื่องทอมกลับใจ โดยการกลับใจนั้นเกิดจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากผู้ชายตอนเมา จนสุดท้ายทอมก็แต่งงานกับผู้ชายคนนั้น  ซึ่งคอลัมน์นี้ชี้ให้เห็นว่าในสังคมเอง ก็ยังมีวิธีคิดที่ยอมรับในความรุนแรงทางเพศโดยการนำเสนอผ่านสื่อ

ด้านทิพย์อัปสร ศศิตระกูล กล่าวว่าจากประสบการณ์ที่เคยลงไปทำกิจกรรมของสมาคมฟ้าสีรุ้งจะเจอปัญหาความรุนแรงทางเพศที่เกิดกับทอมและดี้ในทุกจังหวัด โดยยกตัวอย่างกรณีของดี้ชาวภูเก็ตที่ถูกอาล่วงละเมิดทางเพศตลอดหลายปี เพราะคิดว่าการล่วงละเมิดทางเพศจะทำให้กลับมาชอบผู้ชายได้ หรือ กรณีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทอม 3 คน ถูกรุมโทรมและทอมหนึ่งในนั้นถูกฆ่าโดยทหาร ด้วยเหตุผลว่าไม่พอใจที่ไปยุ่งกับผู้หญิงของเขา หรือในกรณีที่คู่รักทอมดี้สองคู่ถูกเรียกไปโดยบุคคลที่อ้างว่ามาจากสาธารณสุขให้ไปเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และเมื่อไปตามที่เรียกก็ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น

ด้านวราภรณ์ แช่มสนิท กล่าวว่าสังคมอาจจะเห็นว่า “แก้ทอม ซ่อมดี้” เป็นเพียงคำพูดที่พูดกันโดยไม่คิดอะไร แต่ความจริงแล้วมันเป็นวาทกรรมที่มีผลในเชิงพฤติกรรมและมีผลกับชีวิตของคน ซึ่งก่อให้เกิดความรุนแรงและความทุกข์แก่ผู้ประสบเหตุ

ส่วน คาณัสนันท์ ดอกพุฒ กล่าวว่า ประเด็นความรุนแรงทางเพศเกิดจากสังคมไม่มีความเข้าใจ และไม่เคยมีการสอนเรื่องเพศให้ชัดเจน คนในสังคมจึงเข้าใจไปว่าชายต้องคู่กับหญิงเท่านั้น หรือหากเป็นทรานส์แมนแล้วจะชอบผู้ชายไม่ได้ แต่ความจริงแล้วเพศเป็นเรื่องที่ลื่นไหล ไม่ตายตัว ดังนั้นสังคมต้องสอนเรื่องเพศให้ถูกต้อง เพื่อสร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้อง

สุพีชา เบาทิพย์ ยืนยันว่าความเป็นทอมไม่สามารถซ่อมได้ โดยยกประสบการณ์จากตนเองที่เคยมีแฟนเป็นผู้ชายมาก่อน แต่สุดท้ายก็กลับมาเป็นทอม และยังกล่าวอีกว่าความเป็นผู้หญิงผู้ชายสมัยนี้ไม่สามารถกำหนดได้ คนสามารถเปลี่ยนเป็นเพศอะไรก็ได้ตามที่ตนเองต้องการ เพราะฉะนั้นเพศจึงเป็นเรื่องของการนิยามตนเอง ดังนั้นจึงอย่าตีกรอบกดทับว่าทอมคือผู้หญิง และต้องมีความเป็นแม่

ก่อนจบงานเสวนา กฤตยา กล่าวว่าสังคมต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศให้มากขึ้น และต้องสร้างกระบวนการทางกฎหมายที่เข้มแข็ง เพื่อให้คนที่กระทำความรุนแรงทางเพศได้รับการลงโทษ ต้องมีสถิติที่ชัดเจนเพื่อการศึกษา และสุดท้ายคือต้องตระหนักว่าเพศเป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่บุคคลอื่นไม่มีสิทธิเข้าไปซ่อม หรือแทรกแซง

“ไม่ว่าใครก็ตามไม่มีสิทธิจะไปซ่อมใคร วัฒนธรรมที่ซ่อมมันคือวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่แน่นอน เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมที่คิดว่าจะซ่อม จะไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงคนอื่น มันเป็นวัฒนธรรมที่เราต้องไม่ยอมรับ คนทุกคนไม่ว่ามีเพศสภาวะแบบไหน ไม่ว่าจะตั้งแต่เกิดหรือมาเลือกเพศทีหลังเองเป็นสิทธิส่วนบุคคล เราต้องเคารพ ไม่มีสิทธิไปแทรกแซงเขา” กฤตยากล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ค่าซื้อความรู้! วิษณุ เผยปี48-52 ไทยซื้อเครื่องแนว GT200 รวม 1,400 เครื่อง 1,200 ล้าน

$
0
0

29 มิ.ย.2559 จากกรณีเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลประเทศอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินมูลค่ากว่า 7.9 ล้านปอนด์ (ราว 395 ล้านบาท) จาก เจมส์ แมคคอร์มิค ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม เพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของแมคคอร์มิคและพรรคพวกซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ดังกล่าว (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม) จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์พร้อมทั้งแสวงหาผู้รับผิดชอบกรณี GT200 ในประเทศไทยจำนวนมาก

โดยวานนี้  สำนักข่าวไทย รายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงกรณีที่ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาสอบถามกรณีเครื่องตรวจวัตถุระเบิด หรือ GT200 วานนี้ ว่า ในวันนี้จะยังไม่นำเข้าที่ประชุม ครม. เพราะยังไม่ได้ข้อสรุป และยังไม่เห็นคำพิพากษาของศาลอังกฤษ ส่วนที่มีกะแสข่าวว่าไทยอาจจะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้นั้น  วิษณุ ได้ตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่า ต้องรอดูอีกครั้ง

ล่าสุดวันนี้ สำนักข่าว INNรายงานด้วยว่า วิษณุ กล่าวถึงการฟ้องคดีและเรียกค่าเสียหายจากการจัดซื้อเครื่อง GT200 ว่า ข้อสรุปจากการประชุมหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องนั้น ไทยได้มีการจัดซื้อเครื่องมือรูปแบบดังกล่าวในปี 2548-2552 ใน 3 รุ่น คือเครื่องจีที 200 เอดีอี 651 และ อัลฟ่า 6 เป็น 3 ยี่ห้อ จาก 5 บริษัท ที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งส่วนราชการที่จัดซื้อมีทั้งหมด 17 แห่ง โดยกรมสรรพาวุธทหารบกจัดซื้อมากที่สุด รวมจำนวน 1,400 เครื่อง มูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างการรอขอคัดลอกคำฟ้องและคำตัดสินของศาลอังกฤษ ที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาและแพ่ง ซึ่งไทยได้พยายามขอเป็นผู้เสียหายด้วย และอังกฤษได้ติดต่อมาขอข้อมูลจากฝ่ายไทยแล้ว ซึ่งตามกฎหมายไทย คดีนี้มีโทษถึงขั้นประหารชีวิต ทำให้ทางอัยการอังกฤษไม่ได้นำไทยร่วมในคดีด้วย เพราะมีโทษสูง ขณะเดียวกัน เมื่อได้คำสั่งฟ้องและคำตัดสินของศาลอังกฤษแล้ว จะต้องพิจารณาว่า เป็นการฟ้องรวมที่ผู้เสียหายสามารถเรียกค่าเสียหายได้เลยหรือไม่ และรายละเอียดของเครื่องทั้ง 3 ชนิด เป็นแบบเดียวกันหรือไม่ เกี่ยวข้องกับคดีในไทยหรือไม่ หรือต้องตั้งต้นฟ้องใหม่ ก่อนจะดำเนินการต่อได้ 

ทั้งนี้ คดีดังกล่าว กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ได้รับคดีเป็นพิเศษ ตั้งแต่ปี 2555 และสอบสวนแล้วเสร็จกว่า 10 คดี และส่งอัยการครบถ้วนแล้ว แต่อัยการยังไม่สั่งฟ้อง เนื่องจากอยากให้ดีเอสไอสอบต่อในบางประเด็นก่อน ซึ่งอัยการเห็นว่าควรแยกคดีแพ่งฟ้องก่อน และฟ้องไปแล้ว 1 คดี ที่ได้คำตัดสินแล้ว ให้รัฐเป็นฝ่ายชนะโดยสัญญาเป็นโมฆะ และต่องส่งคืนเงิน 9 ล้านบาท แต่มีแนวโน้มว่าผู้เสียหายไม่สามารถจ่ายเงินคืนได้

โดยเมื่อกลางสัมปดาห์ที่แล้ว ต่อคำถามว่าเรื่องนี้จะเรียกเป็นค่าโง่ได้หรือไม่นั้น วิษณุ เคยตอบไว้ว่า คงต้องแล้วแต่สื่อ แต่มันไม่ดีเพราะทำให้เกิดความรู้สึกว่าอะไรที่ควักเงินซื้อดูจะเรียกเป็นค่าโง่ทั้งหมดได้อย่างไร ถ้าเรียกได้ก็เป็นค่าฉลาด ที่สำคัญถือเป็นค่าซื้อความรู้ แต่แพงไปหน่อย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พูดไม่ได้ให้ตุ๊กตาพูดแทน น.ศ.มธ.จัดกิจกรรมเรียกร้องสิทธิแสดงความเห็นประชามติ รธน.

$
0
0

29 มิ.ย. 2559 เวลาประมาณ 13.00 น. ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) จัดกิจกรรม Free Dolls For FREEDOM ให้ตุ๊กตาพูดแทนเรา โดยระบุว่าต้องการสื่อให้สาธารณะเห็นว่าการทำประชามติ รับ/ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนญที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น รัฐบาล คสช. ไม่อนุญาตให้รณรงค์และอภิปรายได้อย่างเสรี มีการคุกคาม จับกุมคุมขังผู้รณรงค์ ซึ่งถือว่าไม่ใช่การทำประชามติที่แท้จริง พร้อมเชิญชวนให้นักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยการนำตุ๊กตา ของเล่น หุ่นจำลอง หรือสิ่งของอื่นๆ มาใช้เป็นสื่อในการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ติดป้ายข้อความ แล้วโพสต์ลงในเฟซบุ๊กพร้อมติดแฮชแท็ก ‪#‎FreeDollsForFREEDOM‬ เพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความไม่ยอมจำนนต่อกระบวนการประชามติที่ไม่เป็นธรรมในครั้งนี้

หนึ่งในสมาชิกกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นไปเพื่อต้องการแสดงออกต่อความไม่เป็นธรรมในการจับกุมคุมขังเพื่อนนักศึกษาทั้ง 7 คน ที่ถูกควบคุมตัวหลังจากออกไปแจกเอกสารความเห็นแย้งกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยการจัดงานครั้งนี้ต้องการยืนยันว่าการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติควรเป็นไปอย่างเสรี พร้อมทั้งเชิญชวนให้คนที่มองเห็นถึงความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นร่วมแสดงออกโดยการถ่ายรูปตุ๊กตา และแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ ความคิดเห็นเหล่านี้ไม่ควรถูกปิดกั้น

ต่อมา เวลา 14.30 น. ปกรณ์ อารีกุล หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ร่วมแจมงาน โดยระบุว่า ตุ๊กตาที่นำมาวันนี้ชื่อ มู่มี่ เป็นตุ๊กตาที่แฟนซื้อให้ และเคยพาตุ๊กตาตัวนี้ไปรณรงค์แล้วหลายครั้งล่าสุดเป็นการเดินขบวนกับขบวนการอีสานใหม่ และตอนนี้ได้พามู้มี้มารณรงค์เรื่องการลงเสียงประชามติ

"ประเทศเรามาไกลมาก คนเรามีความคิดมีความคิดเห็นไม่สามารถออกมาแสดงความเห็นได้อย่างปลอดภัย ต้องเอาตุ๊กตามาวางไว้ให้มันพูดแทนเรา ตุ๊กตามันดูน่ารักนะ แต่มันมีความเศร้าอยู่ในนั้น" ปกรณ์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูนิเซฟเผย ภายในปี 73 จะมีเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ 69 ล้านตายจากโรคที่ป้องกันได้

$
0
0

29 มิ.ย.2559 รายงานข่าวแจ้งว่า รายงานสภาวะเด็กโลกของยูนิเซฟเปิดเผย 28 มิ.ย.59 ว่า ภายในปี พ.ศ. 2573 จะมีเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบ 69 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ และเด็ก 167 ล้านคนจะมีชีวิตอยู่กับความยากจน ในขณะที่สตรีกว่า 750 ล้านคนจะต้องแต่งงานในวัยเด็ก หากทั่วโลกไม่เน้นให้ความช่วยเหลือเด็กกลุ่มที่เปราะบางและขาดโอกาสที่สุด 

“การไม่ให้โอกาสที่เท่าเทียมในชีวิตแก่เด็กจำนวนหลายร้อยล้านคน ไม่เพียงแต่จะทำให้อนาคตของพวกเขามืดมนเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้วงจรเลวร้ายดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นภัยต่อของสังคมโดยรวมในอนาคต” แอนโทนี่ เลค ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การยูนิเซฟ กล่าว พร้อมระบุว่า “เรามีสิทธิ์เลือกว่าจะแก้ปัญหาและช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ตั้งแต่ตอนนี้ หรือจะปล่อยให้โลกยิ่งเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำและความแตกแยกต่อไป”

รายงานสภาวะเด็กโลกซึ่งเป็นรายงานประจำปีฉบับสำคัญของยูนิเซฟ ระบุว่า แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการช่วยชีวิตเด็ก หรือการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนหนังสือ การแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบทั่วโลกลดลงกว่าครึ่งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา เด็กทั้งชายและหญิงได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาในอัตราส่วนเท่ากันใน 129 ประเทศ และจำนวนประชากรยากจนที่สุดทั่วโลกลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับทศวรรษที่ 1990 แต่ความก้าวหน้าเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

รายงานชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น โดยพบว่า เด็กยากจนที่สุดยังคงมีโอกาสเสียชีวิตก่อนอายุครบห้าขวบและมีโอกาสเป็นโรคขาดสารอาหารเรื้อรังมากกว่าเด็กกลุ่มฐานะดีที่สุดถึง 2 เท่า ในขณะที่เด็ก ๆ ในทวีปเอเชียใต้และในแถบแอฟริกาใต้ซาฮาร่า (sub-Saharan Africa) ที่แม่ไม่ได้รับการศึกษา มีโอกาสเสียชีวิตก่อนอายุครบห้าขวบมากกว่าแม่ที่ได้รับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาถึง 3 เท่า และเด็กหญิงจากครอบครัวยากจนที่สุดมีโอกาสแต่งงานตั้งแต่เด็กมากกว่าเด็กหญิงจากครอบครัวฐานะดีถึง 2 เท่า

รายงานชี้ว่า แถบแอฟริกาใต้ซาฮาร่าเป็นภูมิภาคที่น่าเป็นห่วงที่สุด โดยมีเด็กอย่างน้อย 247 ล้านคน หรือ 2 ใน 3 อาศัยอยู่กับความยากจนในหลายมิติ และไม่ได้รับสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตรอดและพัฒนา นอกจากนี้ ประชากรอายุ 20-24 ปีเกือบร้อยละ 60  มาจากครอบครัวที่ยากจนที่สุดและได้ไปโรงเรียนไม่ถึง 4 ปี จากแนวโน้มในปัจจุบัน รายงานคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573:

·       จากจำนวนเด็ก 69 ล้านคนที่เสียชีวิตก่อนอายุครบห้าขวบจากโรคที่ป้องกัน เกือบครึ่งจะอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ซาฮาร่า

·       จากเด็กวัยประถมศึกษา 60 ล้านคนที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน กว่าครึ่งหนึ่งจะอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ซาฮาร่า

·       ร้อยละ 90 ของเด็กที่ยากจนที่สุด จะอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ซาฮาร่า

 

นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา มีจำนวนเด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เด็กจำนวนมากที่ได้ไปโรงเรียนกลับไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย ปัจจุบันมีเด็กประมาณ 124 ล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น และเด็กเกือบ 2 ใน 5 คน ที่เรียนจบชั้นประถมศึกษายังคงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดเลขง่าย ๆ ไม่เป็น 

รายงานชี้ให้เห็นการแก้ปัญหา โดยระบุว่าการลงทุนกับเด็กกลุ่มที่ขาดโอกาสและเปราะบางที่สุดจะให้ผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตัวอย่างเช่น การให้เงินสนับสนุนโดยตรงสามารถช่วยให้เด็กได้ไปโรงเรียนนานขึ้นและได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉลี่ยแล้ว ทุกๆ  1 ปีที่เด็กได้เรียนหนังสือนานขึ้น จะช่วยเพิ่มรายได้ตอนโตประมาณร้อยละ 10  และลดอัตราความยากจนของประเทศร้อยละ 9  

รายงานระบุต่อไปว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้และแก้ไขได้โดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การจัดทำข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเด็กกลุ่มที่ขาดโอกาสและเปราะบางที่สุด การร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน การใช้เทคโนโลยีและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการกับปัญหาเดิมๆ ตลอดจนการเน้นให้ความช่วยเหลือกับเด็กที่ขาดโอกาสที่สุด และการเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน

ดาวน์โหลดรายงานในรูปแบบ PDF และ multimedia ได้ที่: http://weshare.unicef.org/Package/2AMZIFFS4KH

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติเอกฉันท์ ศาล รธน. ชี้ ม.61 วรรค2 กม.ประชามติ ไม่ขัด รธน.

$
0
0

29 มิ.ย.2559 รายงานข่าวจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ม.61 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 ม.4 จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญดังกล่าว

สำนักข่าวไทย รายงานด้วยว่า พิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557  ว่า ตัว พ.ร.บ.ประชามติ ออกมาเพื่อการดำเนินการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย คุ้มครองการแสดงความคิดเห็นประชาชนให้เป็นไปโดยอิสระ และรัฐธรรมนูญในอดีตก็มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี

ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าในกฎหมายอาญาทั่วไปไม่มีการกำหนดถ้อยคำ “ปลุกระดม ก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย” ว่าอย่างไรที่ถือเป็นความผิด พิมล กล่าวว่า เรื่องนี้ตุลาการได้มีการอภิปรายกัน เชื่อว่าจะมีการเขียนเหตุผลให้ชัดเจนไว้ในคำวินิจฉัย ซึ่งในส่วนของคำวินิจฉัยกลาง คาดว่าจะมีการเผยแพร่ได้ในสัปดาห์หน้า จากนั้นจะมีคำวินิจฉัยส่วนตนตามมา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวบ้านเวียงแก่นร้อง กสม.สอบข้อเท็จจริงกรณีลาวสร้างเขื่อนใหม่ หวั่นกระทบทำกิน

$
0
0

เผยลาวสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแห่งใหม่เฉียดแดนไทย ชาวบ้านเวียงแก่นหวั่นผลกระทบอื้อ ยื่นหนังสือกสม.สอบข้อเท็จจริง ได้ข่าว บ.เอกชนเริ่มลงมือก่อสร้างแล้ว

29 มิ.ย. 2559 ทองสุข อินทะวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านห้วยลึก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ตนและชาวบ้านริมแม่น้ำโขงได้ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนางเตือนใจ ดีเทศน์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอให้ตรวจสอบโครงการเขื่อนปากแบง บนแม่น้ำโขง ซึ่งแม้อยู่ในประเทศลาว แต่ใกล้ชายแดนไทยมาก

ทองสุขกล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลลาวอนุญาตให้บริษัทเอกชนเตรียมการก่อสร้างเขื่อนแห่งที่ 3 บนแม่น้ำโขง คือโครงการเขื่อนปากแบง ซึ่งตั้งอยู่บนแม่น้ำโขง ในแขวงอุดมไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ห่างจากชายแดนไทย ที่แก่งผาได บ้านห้วยลึก ประมาณ 80 กิโลเมตรตามลำน้ำ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปากแบง 14 กิโลเมตร

ทองสุขกล่าวว่า ชาวบ้านห้วยลึก มีความกังวลอย่างยิ่งว่าโครงการเขื่อนปากแบง อาจทำให้น้ำท่วมที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน กระทบการหาปลา รายได้ และความมั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ส่งผลกระทบโดยตรงมาถึงชุมชนที่พึ่งพาทรัพยากรแม่น้ำโขงใน อ.เวียงแก่น และอ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยเฉพาะที่บ้านห้วยลึก หมู่บ้านตามลำน้ำสาขา รวมถึงหมู่บ้านอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงในประเทศไทย

ทองสุข ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่ชาวบ้านกังวลมากที่สุด คือการใช้งานของเขื่อนทางตอนบนในจีน ซึ่งบ้านของเราจะอยู่ตรงกลางระหว่างเขื่อนจีนและเขื่อนปากแบง หากเขื่อนจีนระบายน้ำลงมา เป็นปริมาณมาก และลงมาเจอกับเขื่อนปากแบง เกิดคำถามว่าจะมีการป้องกันปัญหาให้แก่ชุมชนที่ตั้งอยู่ตรงกลางอย่างไร

คำผาย บุญมี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านห้วยลึก กล่าวว่าตนเองก็หาปลาในแม่น้ำโขงทุกเช้า ส่วนใหญ่ชาวบ้านหาปลาด้วยการใช้ไหลมอง นอกจากนั้นก็ใส่ไซ วางเบ็ด ช่วงนี้มีการไหลมองกันมาก แต่ปีนี้ปริมาณปลาที่จับได้น้อยมาก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ปลาเขียม” คือแทบจะไม่มีแล้ว

“เมื่อวานผมไปหาปลาตั้งแต่สายจนค่ำ ได้มา 2 ตัว กิโลเดียว เมื่อเช้าออกไปตีห้า ขึ้นมาแปดโมง ไม่ได้เลย ออกไปหาปลาต้องจ่ายแน่ๆ คือน้ำมันสองลิตร เกือบร้อยบาท หากได้ปลาแค่กิโลเดียวนี่ไม่คุ้มเลย ชาวบ้านห้วยลึกครึ่งหมู่บ้าน มีเรือ 40-50 ลำ ต่างมีอาชีพหาปลา ปลาเขียมแต่ราคาดี ชาวบ้านก็ยังอยากหา ปลาหนัง ขายราคากิโลละ 350 บาท ปลาเพี้ย ปลาเกล็ด กิโลละ 200 แต่หากเขื่อนบางแบงสร้างกั้นน้ำโขง น้ำนิ่งไม่ไหลตามธรรมชาติ หมดแน่ๆ การหาปลาของคนเวียงแก่น” ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กล่าว

จีรศักดิ์ อินทะยศ ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า จากหัวงานเขื่อนปากแบงมาถึงชายแดนไทย ระยะทางไม่ถึง 80 กิโลเมตร มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมน้ำประมาณ 30 แห่ง ทั้งนี้ มีความกังวลกันว่า หากเขื่อนกักเก็บในระดับปกติ น้ำจะท่วมถึงปากทา (ปากแม่น้ำทาบรรจบแม่น้ำโขง)

“แต่ที่กลัวมากที่สุดคือ หากจีนปล่อยน้ำลงมาจากเขื่อน เชียงของเราอยู่ตรงกลาง คงลำบากแน่ๆ และได้รับข้อมูลว่าขณะนี้บริษัทได้เริ่มการก่อสร้างแล้ว แต่ยังไม่แจ้งอย่างเป็นทางการเท่านั้น” ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าว 

อนึ่ง โครงการเขื่อนปากแบง (Pak Beng Dam) มีกำลังผลิตติดตั้ง 912 เมกะวัตต์ ได้รับสัญญาในการพัฒนาโครงการโดยบริษัทต้าถัง (Datang)  ของจีน และอาจรับซื้อไฟฟ้าโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เช่นเดียวกันกับกรณีเขื่อนไซยะบุรี โครงการเขื่อนปากแบงอาจเป็นโครงการเขื่อนแห่งที่ 3 ที่สร้างบนแม่น้ำโขงตอนนล่างในลาว และตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 ที่ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ลงนามร่วมกัน ลาวต้องแจ้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) และนำโครงการเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า ตามระเบียบปฏิบัติ PNPCA

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images