Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

สภาพัฒน์เผยคนไทยว่างงานเพิ่ม ทะลุกว่า 4.11 แสน

$
0
0

ที่มาภาพ เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

29 ส.ค. 2559 ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ภาวะสังคมไทยไตรมาส 2/2559 มีการจ้างงานทั้งสิ้น 37,393,472 คน ลดลง 0.9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจ้างงานภาคเกษตร ลดลง 6.2% แม้ภัยแล้งสิ้นสุดลงแล้วแต่สถานการณ์ภัยแล้งที่สะสมมาตั้งแต่ฤดูกาลเพาะปลูกปี 2557 ทำให้กิจกรรมทางการเกษตรลดลงต่อเนื่อง ส่วนการจ้างงานภาคนอกเกษตร เพิ่มขึ้น 1.4% สอดคล้องกับการจ้างงานสาขาก่อสร้างเพิ่มขึ้น 5.4% การขนส่งเพิ่มขึ้น 1.4% โรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้น 4% และการค้าปลีก 1.4% ยกเว้นสาขาอุตสาหกรรม ลดลง 1.7% ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 เนื่องจากภาคการส่งออกคงมีแนวโน้มติดลบ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถแบกภาระต้นทุน หันใช้วิธีลดแรงงานและใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานคน

ปรเมธี กล่าวว่า ส่วนการว่างงานไตรมาส 2/2559 มีทั้งสิ้น 411,124 คน ซึ่งคิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.08% เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 0.88% โดยผู้ที่เคยทำงานมาก่อนว่างงานเพิ่มขึ้น 31.3% สอดคล้องกับข้อมูลผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้น 8.9% เป็นกรณีเลิกจ้างเพิ่มขึ้น 34.8% และลาออก เพิ่มขึ้น 3.4% ขณะที่ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนเพิ่มขึ้น 13.7% เพราะเป็นช่วงผู้จบใหม่เริ่มเข้าตลาดแรงงาน จำแนกเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 47% จบระดับอุดมศึกษามีอัตราว่างงานเพิ่มขึ้น 7% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ด้านรายได้ของแรงงาน พบว่า ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนที่ยังไม่รวมค่าล่วงเวลา และผลตอบแทนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 1.3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุจากรายได้ของแรงงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 1.4% แต่รายได้ของแรงงานภาคเกษตรยังลดลง 2.7%
 
“แม้ทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น แต่การผลิตเพื่อการส่งออกยังคงลดลง ทำให้ผู้ประกอบการใช้วิธีเลิกจ้าง ซึ่งบางส่วนหันไปทำงานภาคบริการมากขึ้น จึงทำให้ตัวเลขการว่างงานไม่อยู่ในอัตราสูงมากนัก” ปรเมธี กล่าว
 
ปรเมธีกล่าวว่า ส่วนหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1/2559 มีมูลค่า 11,077,755 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7%  แต่มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2556 ที่หนี้ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 11.5% ปี 2557 เพิ่มขึ้น 6.6% และปี 2558 เพิ่มขึ้น 5.2% โดยหนี้ครัวเรือนไตรมาส1/2559 สัดส่วน 81.1% ต่อจีดีพี ลดลงจากปี 2558 ที่ 81.5% ต่อจีดีพี สะท้อนจากยอดคงค้างสินเชื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวในอัตราลดลงเหลือ 5.7% ในไตรมาส 1/2559 และ 6% ในไตรมาส 2/2559 ส่วนหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอลรวม) ไตรมาส 2/2559 มีมูลค่า 98,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% คิดเป็นสัดส่วน 26.3% ของเอ็นพีแอลรวม ทั้งนี้การผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อส่วนบุคคล ในไตรมาส2/2559 มีมูลค่า 10,527 ล้านบาท ลดลง 33.1% ส่วนการผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือนขึ้นไปของสินเชื่อบัตรเครดิตไตรมาส 2/2559 มีมูลค่า 9,885 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลงที่ระดับ 3%
 
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยมติ กสท.สั่งพักรายการวอยซ์ทีวี 'เวคอัพนิวส์' 7 วัน

$
0
0

สุภิญญาเผยมติที่ประชุม กสท. 3:1 สั่งพักรายการ "เวคอัพนิวส์" ของวอยซ์ทีวี 7 วัน ตามเงื่อนไข MoU ด้านวอยซ์ทีวีแถลงรับมติ กสท. ผู้ดำเนินรายการแจงรายการไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ตั้งข้อสังเกตมีทหารที่ประชุมอนุเนื้อหา ขณะใน change.org มีผู้ล่าชื่อเรียกร้องให้ กสท.หยุดแทรกแซงการนำเสนอเนื้อหาของวอยซ์ทีวี

29 ส.ค. 2559 ความคืบหน้ากรณีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ กสทช. เสนอให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศ Wake Up News เป็นเวลา 7 วัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) โดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ หนึ่งในผู้ดำเนินรายการ Wake Up News เล่าผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า สาเหตุของวาระพิจารณาดังกล่าวมาจากการอ่านข่าวสี่ชิ้น ชิ้นแรกคือโพสต์เฟซบุ๊กของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กรณี ไผ่ ดาวดิน, ชิ้นที่สองคือคำสัมภาษณ์เรื่องระเบิดใต้ของ ผศ.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี, ชิ้นที่สามคืออ่านพาดหัว Bangkok Post/ Nation 15-17 สิงหาคม และชิ้นที่สี่คือรายงานเรื่องวันชัยและไพบูลย์พูดเรื่องนายกฯ คนนอกอย่างไร โดยศิโรตม์เองมองว่า Wake Up News ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย และรายการได้นำเสนอความเห็นของรัฐบาลและรัฐมนตรีประกอบทุกข่าวโดยให้สัดส่วนมากกว่าอย่างเคร่งครัด และไม่ได้นำเสนอเนื้อหาด้านเดียวอย่างที่ กสท.บางรายเข้าใจ พร้อมเล่าด้วยว่า ในการไปชี้แจงกับกับคณะอนุกรรมการครั้งล่าสุด เป็นครั้งแรกที่มีทหารนั่งหัวโต๊ะ โดยประธานที่ประชุมแจ้งว่าเป็นรองหัวหน้าคณะทำงานสื่อของ คสช.

ล่าสุด สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในกรรมการ กสท. และ กรรมการ กสทช. เล่าถึงมติที่ประชุม กสท. ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า มติ กสท.วันนี้ 3:1 ฝ่ายข้างมากเห็นชอบตามความเห็นอนุกรรมการด้านเนื้อหาที่สั่งให้พักรายการ Wake Up News 7 วัน ส่วนตนเองนั้นเห็นต่าง

"บทลงโทษแบบนี้ ไม่เคยมีมาก่อนกับช่องไหน เป็นครั้งแรกที่ กสท.สั่งพักรายการ 7 วัน ตามเงื่อนไข MoU กับ @Voice_TV แต่ก็ต่างจากคราว PeaceTV" สุภิญญา ระบุ

โดยสุภิญญาระบุว่า สาเหตุที่ตนเองเห็นต่างเพราะ 1.สำนักงาน กสทช.ไม่ได้เสนอคำชี้แจงฉบับเต็มของช่องให้ กสท.พิจารณาด้วย 2. ความสับสนเรื่องฐานกฎหมายกับบทลงโทษ 3.เนื้อหาไม่แรงขนาดนั้น

"จุดอ่อนรายการ WakeUpNews คือการเล่าข่าวที่ใส่ความเห็นส่วนตัวในข่าว จนดูเลือกข้างชัด แต่ยังไม่ขัดความมั่นคงของรัฐหรือศีลธรรมอันดี" สุภิญญากล่าวและว่า ในขณะที่ กสท.เสียงข้างมากอาจมองว่าการเล่าข่าวดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของรัฐหรือศีลธรรมอันดีตาม MoU จุดนี้ที่เราเห็นต่างกัน

"ความคิดเห็นที่รัฐอาจไม่ชอบ ไม่ได้หมายความต้องเป็นความคิดเห็นที่ผิดกฎหมายเสมอไป กสทช.ต้องใช้ดุลยพินิจว่าเนื้อหาใดขัดต่อกฎหมาย เป็นบรรทัดฐาน" สุภิญญากล่าว พร้อมชี้ว่า จากนี้ก็อยู่ที่ท่าทีของช่องว่าจะอย่างไรต่อไป จะยอมพักรายการหรือใช้สิทธิฟ้องศาลปกครอง ทั้งนี้ แม้คำสั่ง มาตรา 44 จะป้องกันไม่ให้ กสท.เสียงข้างมากถูกฟ้องอาญาและแพ่ง แต่ช่องที่ได้รับผลกระทบยังสามารถฟ้องคำสั่ง กสท.ไปที่ศาลปกครองได้ตามสิทธิ

ด้าน วอยซ์ ทีวี ออกแถลงการณ์ ยอมรับมติ กสท. ปรับปรุงรายการ Wake Up News เป็นเวลา 7 วัน 

"ตามที่ กสทช.มีการพิจารณาให้ปรับปรุงรายการ Wake Up News เป็นเวลา 7 วันดังที่ทราบเป็นข่าวไปแล้วนั้น บริษัทฯขอเรียนว่า บริษัทฯให้ความสำคัญเรื่องการกำกับดูแลกิจการสื่อโดย กสทช. รวมทั้งการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นต่างๆ เพื่อปรับปรุงรายการให้สอดคล้องกับสถานการณ์เสมอมา

"อย่างไรก็ตาม การให้ปรับผังและปรับปรุงรายการ Wake Up News 7 วัน ล่าสุดในครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นในบรรยากาศของการหารือเพื่อเป็นตามคำแนะนำและดุลพินิจของ กสทช. บนพื้นฐานการใช้อำนาจที่ กสทช.เชื่อว่ามีอำนาจกระทำได้ ทั้งนี้แม้บริษัทฯอาจมีความเห็นหลายประเด็นที่ต่างกันกับ กสทช. แต่ยังมีจุดร่วมคือยืนยันบนหลักการที่ว่า บริษัทฯมีสิทธิและเสรีภาพที่จะนำเสนอข่าวสารและการวิเคราะห์ข่าวอย่างมืออาชีพและเป็นกลาง สร้างสรรค์ต่อไป

"บริษัทฯ ยินดีรับฟังความเห็นที่แตกต่าง น้อมรับคำติชมที่เป็นธรรมจากทุกภาคสังคม และยืนยันที่จะยึดมั่นในหลักการของการเป็นสื่อสารมวลชนที่ดี รักษาจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด พร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนอย่างมืออาชีพต่อไป" วอยซ์ทีวี ระบุ

วันเดียวกัน มีการล่ารายชื่อผ่าน change.org เรียกร้องให้ กสท.หยุดแทรกแซงการนำเสนอเนื้อหาของวอยซ์ทีวี โดยณรรธราวุธ เมืองสุข

แคมเปญระบุว่า "การกระทำของ กสท. เข้าข่ายการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างรุนแรง เพราะเนื้อหาที่นำเสนอ เป็นไปตามข้อเท็จจริงและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ กับความมั่นคง เป็นเพียงความเห็นของคนๆ หนึ่งเท่านั้น ซึ่งหาก กสท.ยังกระทำเช่นนี้ ย่อมเป็นมาตรฐานว่า ต่อไปสื่อมวลชนไทยจะต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมชี้นำของ กสท.ทั้งหมด การนำเสนอข้อเท็จจริง และความเห็น ย่อมไม่อาจเป็นไปอย่างอิสระ เที่ยงตรง และมุ่งต่อประโยชน์ของประชาชน แต่ต้องเกิดจากการอนุญาตโดย กสท.เท่านั้น

"จึงขอเรียกร้องให้ กสท.ยุติการแทรกแซง Voice TV อย่างไม่เป็นธรรมและไร้เหตุผล การมุ่งแทรกแซงการนำเสนอเนื้อหารายการของ Voice TV ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ใดๆ และไม่สร้างสรรค์อย่างยิ่ง และอาจทำให้องค์กรอย่าง กสท.หรือ กสทช.ขาดความเชื่อถือจากประชาชนในระยะยาว" 

 

 

Wake Up News ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย และการรายงานข่าวจากทุกฝ่ายไม่ควรถูกกล่าวหาว่าผิดจริยธรรม
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

ทวิตเตอร์ของ กสท.สุภิญญา เปิดเผยว่าวันนี้มีวาระพักรายการ Wake Up News 7 วัน โดยอ้างว่าขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.และกฎหมาย กสทช. ข้อหานี้หมายความว่ารายการนี้จะถูกลงโทษเพราะมีเนื้อหาทำลายศีลธรรมของสังคม ต่อต้านเจ้าหน้าที่ หมิ่นประมาท ทำให้ประชาชนหวาดกลัว ฯลฯ จึงขอให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงว่าเราไม่ได้นำเสนอเนิอหาที่ี่ขัดศีลธรรม ให้ข้อมูลด้านเดียว หรือผิดจริยธรรมสื่ออย่างแน่นอน

คณะอนุกรรมการเนื้อหาเชิญรายการไปชี้แจงในวันจันทร์ที่ 22 หัวข้อที่คณะอนุกรรมการให้ชี้แจงมีสามเรื่อง เรื่องแรกคือข่าว "ไผ่ ดาวดิน" เรื่องที่สองคือข่าวระเบิดเจ็ดจังหวัดภาคใต้ และเรื่องที่สามคือข่าว สนช.ผลักดันให้ ส.ว.มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ

แม้เราจะถูก “เชิญ” ไปชี้แจงในคณะอนุกรรมการระดับทุกสองสัปดาห์ แต่การประชุมวันนั้นเป็นครั้งแรกที่มีทหารนั่งหัวโต๊ะ ประธานที่ประชุมแจ้งว่าเป็นรองหัวหน้าคณะทำงานสื่อของ คสช.

สำหรับท่านที่ไม่มีเวลา สรุปสั้นๆ ว่ารายการ Wake Up News ข้อหารุนแรงถึงขั้นเตรียมพักรายการเจ็ดวันจากการอ่านข่าวสี่ชิ้นครับ ชิ้นแรกคือโพสต์เฟซบุ๊กของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กรณี ไผ่ ดาวดิน, ชิ้นที่สองคือคำสัมภาษณ์เรื่องระเบิดใต้ของ ผ.ศ.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี, ชิ้นที่สามคืออ่านพาดหัว Bangkok Post/ Nation 15-17 สิงหาคม และชิ้นที่สี่คือรายงานเรื่องคุณวันชัยและไพบูลย์พูดเรื่องนายกคนนอกอย่างไร

เนื้อหาในรายการส่วนที่ กสท.กำลังพิจารณาล้วนเป็นเนื้อหาที่ปรากฏในสื่ออื่นมาแล้ว เมื่อการเผยแพร่เนื้อหาเดียวกันเกิดไปแล้วในสื่ออื่น และไม่มีเจ้าหน้าที่บอกว่าเนื้อหาดังกล่าวกระทบความมั่นคง การที่ Wake Up News โดนกล่าวหาว่าก่อความไม่สงบ ทำลายศีลธรรม ขัดขวางฝ่ายบ้านเมือง ฯลฯ เข้าข่ายเป็นเรื่องผิดปกติพอสมควร

อนึ่ง เนื่องจากการประชุมมักดำเนินไปในรูปแบบที่คณะอนุเสนอเนื้อหาส่วนที่มองว่ามีปัญหาเข้าที่ประชุม แต่คณะกรรมการชุดใหญ่พึงตรวจสอบเนื้อหารายการทั้งหมดที่ออกอากาศในแต่ละวันด้วย ไม่อย่างนั้นก็อาจถูกชี้นำโดยหลักฐานที่นำเสนอเฉพาะส่วนจนเห็นตามว่ารายการให้ข้อมูลด้านเดียวครับ เพราะรายการนำเสนอความเห็นของรัฐบาลและรัฐมนตรีประกอบทุกข่าวโดยให้สัดส่วนมากกว่าอย่างเคร่งครัด และไม่ได้นำเสนอเนื้อหาด้านเดียวอย่างที่ กสท.บางท่านเข้าใจแน่นอน

กรณีข่าวไผ่ดาวดิน

สถานการณ์ขณะนั้นคือมีการอดอาหารในเรือนจำ สื่อรายงานเรืองนี้อย่างกว้างขวาง เนื้อหาในรายการเรื่องนี้มีสามส่วน ส่วนแรกคือเสียงของพลเอกประวิตรในฐานะรองนายกที่บอกว่าไผ่ถูกจับเพราะทำผิดกฎหมาย ส่วนที่สองคือเสียงของพลเอกไพบูลย์ที่บอกว่าไผ่ไม่ได้อดอาหารจริงเพราะกินขนม และส่วนที่สามคือโพสท์เฟซบุ๊คของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ว่าไม่ควรมีใครติดคุกเพราะความเห็นต่าง

ส่วนที่คณะอนุซักถามรายการคือส่วนของข้อความวรรณสิงห์ คณะอนุบอกว่าข้อความวรรณสิงห์ทำให้คนเห็นใจนักศึกษามากเกินไป ทำให้คนมองว่า คสช.ใจดำ รวมทั้งระบุว่ารายการไม่ให้ความเป็นธรรมเพราะไม่ยอมบอกว่าไผ่ดาวดินทำอะไรผิด รวมทั้งไม่ได้อดอาหารจริงๆ

รูปแบบในการประชุมคือนำเสนอคลิปช่วงอ่านข้อความวรรณสิงห์เข้าที่ประชุม แต่ไม่ได้เสนอช่วงที่รายการปล่อยเสียงรองนายกรัฐมนตรีและพลเอกไพบูลย์ประกบ ทำให้ข้อมูลที่เข้าที่ประชุมมีแต่การอ่านโพสท์วรรณสิงห์ และนำไปสู่การสรุปต่อว่ารายการให้ข้อมูลด้านเดียว ทั้งที่เนื้อหาที่พลเอกประวิตรและพลเอกไพบูลย์นั้นได้นำเสนอไปในช่วงก่อนแล้ว

คำถามคือตรงไหนในโพสท์วรรณสิงห์ที่ทำลายศีลธรรมและขัดขวางบ้านเมือง?

กรณีข่าวระเบิดเจ็ดจังหวัดภาคใต้

ประเด็นที่สังคมสนใจคือใครเป็นมือระเบิด รัฐบาลให้ข่าววันเสาร์-จันทร์ ว่าเป็นกลุ่มการเมือง แต่สื่อและนักวิชาการเริ่มบอกว่าน่าจะเป็นกลุ่ม BRN รวมทั้งหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ก็เชื่อมโยงกับกลุ่มชายแดนใต้มากขึ้นเรื่อยๆ ทิศทางข่าวในสื่อแทบทุกที่จึงเป็นเรื่องใครวางระเบิดเหมือนกัน

ส่วนที่คณะอนุซักถามคือคำสัมภาษณ์ ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ อาจารย์ด้านอาชญวิทยา ม.รังสิต ซึ่งตอนหนึ่งระบุว่าผู้ก่อเหตุน่าจะเป็น BRN และระบุว่ารัฐบาลให้ข่าวว่าระเบิดเกิดจากกลุ่มการเมืองเร็วเกินไป , คำสัมภาษณ์ของ ผ.ศ.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ซึ่งระบุว่าดูจากหลักฐานและพฤติกรรมแวดล้อมแล้วระเบิดไม่น่าจะเกิดจากกลุ่มเสื้อแดง และข่าวจากหน้า ๑ Bangkok Post และ Nation วันที่ 15-18 สิงหาคม ที่บอกว่าระเบิดเกิดจากกลุ่มก่อความไม่สงบชายแดน

คำวิจารณ์ที่คณะอนุมีต่อรายการคือการแสดงความเห็นเรื่องระเบิดเชื่อมโยงกับชายแดนใต้ แต่รายการได้แจ้งคณะอนุว่าเราอ่านข่าวตามที่สื่อรายงาน โดยได้นำหนังสือพิมพ์ในช่วงดังกล่าวแสดงต่อที่ประชุม ส่วนความเห็นของ ผ.ศ.ศรีสมภพ ก็ถูกนำเสนอเพราะเป็นนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องภาคใต้ต่อเนื่องที่สุดในประเทศไทย

ขอย้ำว่าการเรียกรายการเข้าชี้แจงคือวันที่ ๒๒ ซึ่งพล.อ.ประวิตร รองนายกและรัฐมนตรีกลาโหมยอมรับว่าระเบิดไม่เกี่ยวกับกลุ่มเสื้อแดงไปแล้ว, เจ้าหน้าที่เริ่มออกหมายจับนายอาหะมะจากตากใบ , หน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ยอมรับหมดว่าระเบิดเกิดจากกลุ่มชายแดน และตอนนี้ไม่มีใครพูดว่าเหตุระเบิดมาจากกลุ่มการเมืองอีกเลย

คำถามคือทำไมการอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เผยแพร่อย่างเปิดเผยถึงถูกกล่าวหาว่าผิดศีลธรรมและขัดขวางเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ในเมื่อ ณ ตอนนี้ รัฐมนตรีก็ระบุว่าข่าวที่สื่อรายงานมีมูลความจริง?

กรณีส.ว.เสนอชื่อนายกคนนอก

สถานการณ์ขณะนั้นคือสนช.ผลักดันให้กรรมการร่างแก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสมาชิกเสนอชื่อนายก (Nominate) ได้ รวมทั้งคุณไพบูลย์ นิติตะวัน ประกาศตั้งพรรคชูพลเอกประยุทธ์เป็นนายก ส่วนคณะอนุวิจารณ์ว่าช่องรายงานข่าวความเห็นของคุณวันชัย สอนศิริ/ คุณไพบูลย์ และคนอื่นๆ เรื่องวุฒิสภาเสนอชื่อนายกจนทำให้เกิดความสับสน บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย

อย่างไรก็ดี ข่าวเรื่องวุฒิสมาชิกเสนอชื่อนายกได้หรือไม่ปรากฏในสื่อทุกแหล่ง และยังคงเป็นประเด็นจนปัจจุบัน คำถามคือทำไมการเสนอข่าวที่คุณวันชัยและคุณไพบูลย์เป็นคนพูดเองวาจะเสนอ ให้วุฒิสภาเลือกนายกได้ถึงกลายเป็นเรื่องทำลายศีลธรรมและขัดขวางบ้านเมือง?

ทุกคนทราบว่าการทำงานสื่อภายใต้สถานการณ์นี้ไม่ปกติ แต่กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย และการกล่าวหาว่าใครผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินไปโดยหลักฐานและกระบวนการที่ปกติ ข้อกล่าวหาและกระบวนการพิจารณาความผิด Wake Up News มีแนวโน้มจะทำโดยไม่เป็นตามนี้ อย่างน้อยที่สุดก็คืออาจไม่มีการนำเสนอเนื้อหารายการทั้งหมดให้คณะกรรมการ กสท.พิจารณาอย่างสมบูรณ์ ผลก็คือคณะกรรมการอาจเข้าใจว่ารายการนำเสนอข้อมูลของภาครัฐอย่างไม่ครบถ้วนและเข้าข่ายให้ข้อมูลด้านเดียว ท้ั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จตุพร แนะประยุทธ์ตั้ง 'พรรคคืนความสุข' เดินหน้าไปได้บนเส้นทางความสง่างาม

$
0
0

29 ส.ค. 2559 จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่ควรไปลอกเลียนแบบที่มาอำนาจภายหลังการเลือกตั้งตามเปรมโมเดล เพราะชีวิตคนเกิดมาไม่เหมือนกัน วิถีชีวิตมีความแตกต่างกัน จึงลอกเลียนแบบกันได้ยาก

โดย จตุพร กล่าวว่า การกล่าวอ้างถึง “เปรมโมเดล” ซึ่งเป็นที่มาอำนาจของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรีและรัฐบุรุษ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองให้เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้ง ดังนั้น กองเชียร์ของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงต้องการนำมาเป็นแบบอย่างตั้ง “ประยุทธ์โมเดล” โดยหวังจะเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนนอกที่จะเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้งอย่างเร็วปลายปี 2560 ส่วนฝ่ายเชียร์ พล.อ.ประยุทธ์ ท้าให้พรรคการเมืองประกาศไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกในช่วงหาเสียงเลือกตั้งจะไม่ได้รับเลือกตั้ง อีกทั้งมีสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนหนึ่งเห็นว่า พรรคการเมืองอย่าท้าให้มาก เดี๋ยวจะสู้ไม่ได้ เพราะเพื่อนของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มาหารือเกี่ยวกับการตั้งพรรคการเมืองแล้ว

จตุพร กล่าวว่า ข้อเสนอตั้งพรรคการเมืองนั้น ช่วงเวลาที่ผ่านมา ฝ่ายสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ได้เคลื่อนไหวติดต่อกับอดีต ส.ส. เป็นกลุ่มๆ เป็นระยะอยู่แล้ว เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่ออกมาในรูปแบบตั้งเป็นพรรคการเมืองขึ้นมาให้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อมีการโหนกระแสประชามติจำนวน 16 ล้านเสียง จึงควรให้ พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งพรรคการเมืองจะให้ชื่อพรรคคืนความสุข ก็ได้ และ สปท. ที่หาเสียงให้ พล.อ. ประยุทธ์ ถ้าแน่จริงให้ตั้งพรรคเลย บ้านเมืองจะได้เดินหน้าไปได้บนเส้นทางความสง่างาม

"ไปลอกเลียนแบบ พล.อ.เปรม ได้อย่างไง โตกันขนาดนี้แล้วควรเป็นตัวของตัวเองได้แล้ว อย่าเห็นช้างขี้ แล้วขี้ตามช้าง เพราะ พล.อ.เปรมไม่ได้เคยเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร หลังจาก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ แกนนำคณะปฏิวัติ 20 ตุลาคม 2520 ลาออกจากนายกรัฐมนตรีคนนอกกลางสภา พล.อ.เปรม ก็ไปพบหัวหน้าพรรคการเมืองให้การสนับสนุน แล้วบ้านเมืองก็เดินไปได้ต่อเนื่องถึง 8 ปี ถึงมีการยุบสภา 2 รอบก็ตาม" จตุพร กล่าว

จตุพร กล่าวว่า กรณี พล.อ.ประยุทธ์ แล้วมีวิถีชีวิตส่วนตัวและทางการเมืองที่แตกต่างจากพล.อ.เปรม สิ้นเชิง เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีจากการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อต้องการอยู่ในอำนาจต่อได้อ้างกลไกประชาธิปไตยที่มีความสง่างาม แต่คงเป็นความสง่างามตามกฎกติกาที่เขียนกันขึ้นมา ต้องการให้วุฒิสภา (ส.ว.) โหวตให้ตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก

สิ่งที่พรรคการเมืองกลัวนอกจากปืนแล้ว ก็เป็นองค์อิสระ พรรคการเมืองมาจากการเลือกตั้ง ไม่มีภูมิต้านทานอะไรเลย จึงไม่มีความสุขเท่าพวกไปปล้นคนอื่น แล้วมาให้ทหารคุ้มครองการปล้น ดังนั้น รัฐบาลภายใต้ทหารหรืการคุ้มครองของทหาร พล.อ.ประยุทธ์จะมีภาระหนัก เพราะต้องแบกพวกทุจริตที่ได้รับการคุ้มครองเอาไว้ด้วย

จตุพร กล่าว;jk ตนไม่มีปัญหาส่วนตัวกับพล.อ.ประยุทธ์ ไม่เคยคิดแย่งอำนาจ แต่ต้องการให้ประเทศเดินไปข้างหน้าได้ แล้วไม่คิดหรือว่า ต่างประเทศจะไม่รู้ถึงที่มาของอำนาจ เมื่อนานาชาติมาจากการเลือกตั้งหมด หากได้ร่วมประชุมกัน จะไม่รู้ถึงความแตกต่างหรือ ถ้าตั้งพรรคการเมืองแล้ว พล.อ.ประยุทธ์ จะได้กี่เสียงก็ตาม เมื่อไปรวบรวม ส.ส.ให้ได้จำนวนหนึ่ง ที่เหลือจะมาเอง สิ่งนี้คือ ความสง่างาม ไปที่ไหนก็สง่างาม และเป็นประโยชน์กับประเทศ

“พล.อ.เปรม อยู่ไนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนนอกนานถึง 8 ปี เพราะไม่มีกองเชียร์แบบที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีอยู่ สิ่งสำคัญ พล.อ.เปรม ไม่ได้เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร แล้วขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ไปอวยพรวันเกิดพล.อ.เปรม ฝ่ายเชียร์จึงเห็นเข้าตาทันที แต่ลืมนึกว่า ชีวิตใครก็ของใคร ไม่อาจลอกเลียนแบบกันได้ และถ้าอ้างประชาชนนิยมถึง 16 ล้านเสียงแล้ว เมื่อลงเลือกตั้งจะเป็นผู้ชนะแน่ๆ เพราะเสียง 16 ล้านเสียง เท่ากับได้จำนวน ส.ส.ไม่น้อยกว่า 200 คนแล้ว ไปทีไหนก็มีคนยอมรับ ถ้าต้องการอำนาจ แต่ไม่ลงเลือกตั้งแล้ว คงเป็นได้เพียงความสง่างามเทียม และแบบปลอมๆ เท่านั้น แต่ความสง่างามจริงๆต้องมาจากประชาชน” จตุพร กล่าว

จตุพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เคยบอกช่วงที่ยึดอำนาจว่า เข้ามาไม่นาน แต่ถึงขณะนี้ก็นานแล้ว และยังติดใจการมีอำนาจอีก ซึงไม่มีปัญญาเลย ถ้าลงเลือกตั้งจะไม่มีใครมาต่อต้าน เมื่อแต่งตั้ง ส.ว. ถึง 250 คน เอาไว้ในมือแล้ว หาจาก ส.ส. อีกพียง 126 คน ก็เกินครึ่งได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอกแล้ว ที่เหลือก็ง่ายขึ้นที่จะหา ส.ส.มาตั้งเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก แต่พรรคการเมืองต้องหาถึง 376 คน เพื่อผ่านเกณฑ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งยากมาก

จตุพร กล่าวว่า ไม่ได้กลัวว่า พรรคการเมืองใดจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ ตั้งพรรคการเมือง ขอให้เอาจริง อย่าช้า ประกาศตัวตั้งพรรคการเมืองให้เป็นทางเลือกของประชาชนเสียเลย พรรคการเมืองไม่กลัว พล.อ.ประยุทธ์ ลงเลือกตั้ง ดังนั้น กองเชียร์ควรให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นตัวของตัวเอง อย่าลอกเลียนแบบเปรมโมเดล แต่ควรให้ตั้งพรรคลงหาเสียงจากประชาชนจะสง่างามกว่า

 

ที่มาเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Jatuporn Prompan - จตุพร พรหมพันธุ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บอร์ดบีโอไอไฟเขียวเมดิคัล ฮับ ยกเว้นภาษีนิติบุคคล5 ปี

$
0
0
บอร์ดบีโอไอเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรยกเว้นภาษีเงินได้ 5 -8 ปีพร้อมออกมาตรการส่งเสริมเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” พัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมพื้นที่จ.ชายแดนภาคใต้

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

29 ส.ค. 2559 เมื่อเวลา 13.30 น.  ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่ 3/2559 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลการประชุมเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลได้สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

พล.อ.ประยุทธ์  ได้เปิดเผยภายหลังการประชุมฯ ว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหารือในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนและรับทราบรายงานภาวะการส่งเสริมการลงทุน โดยมีการเปรียบเทียบการขอรับส่งเสริมการลงทุนรายไตรมาสของปี 2559 กับปี 2558 ซึ่งการลงทุนไม่ใช่ลงทุนทุก 3 เดือนแล้วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะต้องพิจารณาและดูถึงจังหวะการลงทุนของประเทศต่างๆ ในต่างประเทศประกอบด้วยว่ามีนโยบายและทิศทางการลงทุนหรือภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนความมีเสถียรภาพทางด้านการเงินเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมของประเทศรองรับกับสถานการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ สิ่งที่ได้เน้นย้ำและให้แนวทางกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือต้องพิจารณาทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ และการลงทุนของภาคธุรกิจและเอกชนในประเทศไทย รวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ โดยต้องประสานทั้ง 3 ส่วนเชื่อมโยงกันซึ่งจะสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในสังคมได้ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลต้องการสนับสนุนส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอกโดยไม่ให้ส่งผลกระทบหรือขัดแย้งกับภายในพื้นที่ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดคือความมีเสถียรภาพทั้งทางด้านการเมืองและความมั่นคง อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้เศรษฐกิจระดับฐานรากหรือระดับรากแก้วมีเงินเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจทางด้านการค้า การลงทุน การส่งออก-นำเข้า และภาคอุตสาหกรรม ฯลฯ ต้องดำเนินการให้เกิดความเชื่อมโยงกันทั้งระบบเพื่อที่จะขยายเชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศ CLMV และต่างประเทศอื่น ๆ ต่อไป

ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวระบุว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น ตรงนี้ต้องพิจารณาถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของต่างประเทศอื่น ๆ ประกอบด้วยซึ่งขณะนี้ก็ยังประสบภาวะเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศไทย ทั้งนี้รัฐบาลชุดปัจจุบันตระหนักเรื่องดังกล่าวจึงได้เตรียมการและความพร้อมในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนในด้านต่าง ๆ รองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามการเข้ามาทำงานของรัฐบาลไม่ใช่เป็นการดำเนินการแล้วจะได้เงินทันทีหรือเกิดผลภายในระยะเวลาอันสั้น เพราะที่ผ่านมาโครงสร้างยังไม่พร้อม ไม่มีแผนงานและมาตรการรองรับ แต่รัฐบาลก็ได้มีการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในหลายเรื่องโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรบางพื้นที่ เช่น การทำเกษตรแปลงใหญ่ การปรับเปลี่ยนการปลูกพืชบางส่วนให้เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งสามารถทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

พร้อมกันนี้ หิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอได้กล่าวถึงผลการประชุมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบนโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ เมดิคัล ฮับ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยจะให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแก่กิจการผลิตยา และกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร รวมทั้งจะสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพของคนในประเทศ ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงยาและเครื่องมือแพทย์ และลดการขาดดุลการค้าจากการนำเข้ายาและเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ

ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายดังกล่าว จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่โครงการลงทุนในกลุ่มกิจการผลิตยา และกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยกิจการผลิตยาในปัจจุบันไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ก็จะเปลี่ยนเป็นให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี และหากโครงการใดยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในปี 2560 จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี เพื่อช่วยลดภาระผู้ผลิตยาที่จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการปรับปรุงโรงงานผลิตให้ได้มาตรฐาน GMP ตามแนวทาง PIC/S

ส่วนกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ ซึ่งปัจจุบันให้การส่งเสริมอยู่แล้ว แต่เพื่อสนับสนุนให้กิจการเอสเอ็มอีไทยสามารถลงทุนผลิตเครื่องมือแพทย์ได้ จึงเห็นชอบให้เพิ่มประเภทกิจการผลิตเครื่องมือแพทย์ในมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีไทย (มาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะช่วยให้กิจการเอสเอ็มอีที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นอีก 2 ปี จากเกณฑ์ปกติ เช่น กิจการเครื่องมือแพทย์ที่ได้ยกเว้นภาษี 5 ปี ก็จะได้ยกเว้น 7 ปี เป็นต้น

สำหรับการส่งเสริมกิจการสถานพยาบาล จำเป็นจะต้องรอรายละเอียดของธรรมนูญว่าด้วยเรื่องระบบสุขภาพแห่งชาติ และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นบีโอไอจะดำเนินการจัดทำแนวทางการส่งเสริมการลงทุนในกิจการสถานพยาบาลเพื่อนำเสนอบอร์ดพิจารณาต่อไป

อีกทั้ง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการจัดทำโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ใน 3 พื้นที่ได้แก่ 1.อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา “เกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน” (Agricultural Industry City) 2. อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน (Sustainable Development City) และ 3. อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ (International Border City) โดยให้เพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับโครงการลงทุนใหม่ใน 3 พื้นที่ดังกล่าว ให้สูงกว่าสิทธิประโยชน์ของมาตรการส่งเสริมการลงทุนใน 4 จังหวัดภาคใต้ และ 4 อำเภอ ของสงขลา ได้แก่ หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และ ค่าประปา 2 เท่า เป็นเวลา 20 ปี (เพิ่มจาก 15 ปีเป็น 20 ปี) ลดหย่อนอากรขาเข้า 90% สำหรับวัตถุดิบนำเข้ามาผลิต เพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นเวลา 10 ปี (เพิ่มจาก 5 เป็น 10) ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก เป็นระยะเวลา 10 ปี (เพิ่มจาก 5 เป็น 10)

นอกจากนี้ยังให้เพิ่มประเภทกิจการที่ยกเลิกการส่งเสริมไปแล้ว แต่เปิดให้การส่งเสริมใหม่เฉพาะในพื้นที่ 3 อำเภอ ประกอบด้วย 1 กิจการผลิตอาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ 2 กิจการผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค (ยกเว้นการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิกส์และการผลิตกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง) 3กิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกาย เช่น สบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน (ยกเว้นเครื่องสำอาง) 4 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับสินค้าอุปโภค เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก 5 กิจการผลิตสิ่งของจากเยื่อหรือกระดาษ เช่น กล่องกระดาษ 6 กิจการพัฒนาอาคารสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และ/หรือ คลังสินค้า

พร้อมทั้ง ที่ประชุมได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 34 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 266,387.7  ล้านบาท ประกอบด้วย 1) กลุ่มเกษตร เงินลงทุนรวม 30, 478.6 ล้านบาท ใช้วัตถุดิบในประเทศปีละประมาณ 45,053 ล้านบาท 2) กลุ่มแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน 3) อุตสาหกรรมเบา 4) กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง เงินลงทุนรวม 6,566.1  ล้านบาท  ใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณ 32,909.4  ล้านบาทต่อปี 5)กลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ เงินลงทุนรวม 82,728.6  ล้านบาท  ใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณ 77,662.5 ล้านบาทต่อปี 6) กลุ่มกิจการบริการและสาธารณูปโภค เงินลงทุนรวม  134,787.32   ล้านบาท

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายกสโมฯ ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬา ชี้แจงภาพรับน้องว่านิสิตปี 1 หลับเพราะอ่อนเพลีย

$
0
0

หลังเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เขียนวิจารณ์การรับน้องของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และมีการล่าชื่อใน change.org ให้ทบทวนการจัดห้องเชียร์ ให้ผู้บริหารตรวจสอบ ล่าสุดนายกสโมสรนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ชี้แจงว่านิสิตปี 1 ในภาพอดนอนเพราะทำการบ้าน เมื่อรับน้องแล้วมีอาการผิดปกติ จึงนำมานั่งพัก ด้วยความอ่อนเพลียจึงหลับไป หลังจากนั้นพาส่งโรงพยาบาล ยืนยันรับน้องไม่ใช้ความรุนแรง พร้อมเชิญชวนผู้สนใจมาสังเกตการณ์

30 ส.ค. 2559 ตามที่ก่อนหน้านี้เมื่อ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งสเตตัสถึงรุ่นพี่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่รับน้องวิธีรุนแรงว่า

"เลิกการกระทำ วิธีการกดดันรุ่นน้องและเพื่อนๆ เถอะนะครับ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผมเคยโพสเป็นนัยถึงพวกคุณ อันนี้ผมขอพูดชื่อตรงๆไปเลย พอเถอะครับ ทั้งจากรุ่นพี่เองที่เก่งกล้าสามารถ ปรารถนาจะสร้างสามัคคีให้น้องโดยไปพังเผามาสคอตที่รุ่นน้องทำ พอเพื่อนเข้าห้องเชียร์ไม่ครบก็เอาหัวออกเอาแขนออก มันไม่ได้สร้างสามัคคีเลยแต่เกลียดชังกัน รุ่นน้องอีกคนก็ไปด่าเพื่อนที่ไม่มา คนที่มาก็ถูกว้ากใส่ ถูกลงโทษ เด็กคณะศิลปกรรมที่ทนไม่ได้ บ่น ร้องไห้

ข่าวหลุดมาถึงผม พวกคุณก็รุมยำหาตัวพวกเขาให้ได้  ด่ากันมั่วในไลน์ราวกับเป็นอาชญากร รุ่นน้องเองก็น่าจะรู้ตัวเองเป็นมนุษย์เท่ารุ่นพี่ อยู่ในโรงเรียนถูกครูอบรมไม่พอหรือยังไง ต้องมาถูก อบรมอีก แล้วตัวเองผิดอะไรที่จะมีความคิดและไม่ชอบการว้าก? รุ่นพี่ก็น่าจะฉลาด วิธีการเก่าทำมาทุกปีนี้เชื่อและไม่ดูบริบทยุคสมัย มันคือไม่ได้คิดไม่ไตร่ตรอง

ผมไม่ท้าให้เด็กสินกำมาตอบหรอกครับ พวกเขาไม่กล้า ไม่ได้ยกตัวเองแต่รุ่นพี่พวกเขาอายุอาจจะน้อยกว่าพวกเขาด้วยซ้ำบางคน กระซิบกันในไลน์พวกเขาว่า ถ้ามาตอบผมจะทำให้เรื่องที่เขาทำมันแดง เขาใช้คำว่า discuss option นี่รุ่นพี่บอกรุ่นน้องนะว่าถ้าเกิดการเถียง แพ้แน่ดังนั้นอย่าเถียง รุ่นน้องก็ไม่ฉงนใจว่าถ้าสิ่งที่ตัวเองทำตามๆ มามันดีจริงทำไมกลัวให้คนอื่นรับรู้ ผมขอย้ำอีกทีพอเถอะเพื่อนๆๆ และรุ่นพี่ศิลปกรรม แหกจากระบบล้าหลังหยามหมิ่นกันเถอะครับ"

ขณะเดียวกันในโลกออนไลน์ มีการเผยแพร่ภาพที่ระบุว่าเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการส่งโรงพยาบาลด้วย

ภาพที่ใช้ในแคมเปญล่าชื่อ change.org ระบุว่าเป็นภาพจากการประชุมเชียร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมามีการชี้แจงของนายกสโมสรนักศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ว่านิสิตในภาพอ่อนเพลียจากการอดนอน เพราะทำการบ้านและหน้าที่อื่นๆ เมื่อรุ่นพี่เห็นว่ามีอาการผิดปกติจึงให้พัก และเรียกรถพยาบาล

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 28 ส.ค. ข่าวสดรายงานด้วยว่า มีการสร้างแคมเปญล่าชื่อใน change.org เรียกร้องให้มีการตรวจสอบกิจกรรมห้องเชียร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และชี้แจงต่อสาธารณะชน ผ่านเว็บไซต์ change.org

โดยแคมเปญล่าชื่อดังกล่าว ได้เขียนแถลงการณ์ถึงอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง

"จากกลุ่มนิสิตจุฬาฯ ผู้สังเกตการณ์ เนื่องจากขณะนี้ได้มีกระแสข่าวกิจกรรมห้องเชียร์ของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีนิสิตคณะนั้นได้ถูกหามเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากการเข้าประชุมเชียร์อย่างหนัก ถึงขั้นไม่ได้หลับไม่ได้นอน และทั้งนี้ได้มีการกดดันและบังคับทางอ้อมกับนิสิตชั้นปีที่ 1 โดยได้มีการสร้างความเกลียดชังและความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในกิจกรรม

พวกเราทั้งหมดรู้กันอยู่ว่ากิจกรรมห้องเชียร์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นแต่ละครที่รุ่นพี่ได้มีการวางแผนไว้กันเป็นอย่างดี ซึ่งทุกคนต่างก็รับรู้ว่าเป็นการแสดงบทบาทสมมติเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัตินั้น กิจกรรมนี้กลับได้ส่งผลเสียต่อจิตใจและร่างกายของนิสิตชั้นปีที่ 1 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้จัดกิจกรรมได้มองข้าม หรือให้ความสำคัญน้อย และภาพลักษณ์ของกิจกรรมนี้ ดังที่ได้ปรากฎมาในที่สาธารณะ ได้ส่งผลเสียถึงชื่อเสียงของคณะศิลปกรรมศาสตร์ และเสื่อมเสียไปถึงชื่อเสียงของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย

ดังนั้น ทางเราจึงขอให้มีการทบทวนการจัดกิจกรรมห้องเชียร์นี้ เพื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของกิจกรรม และผลกระทบที่จะตามมาจากกิจกรรมนี้ โดยขอให้ทางอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง เข้ามาตรวจสอบและชี้แจงต่อสาธารณะชน ลงชื่อ กลุ่มนิสิตจุฬาฯ ผู้สังเกตการณ์"

ล่าสุดในเพจของสโมสรนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2559 มีการเผยแพร่ "บันทึกข้อความ" ลงชื่อระบุว่าเป็นบันทึกข้อความของ "นายพุฒิพงศ์ ธนาคมตระกูล นายกสโมสรนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ส่วนงาน" หัวจดหมายระบุว่า "สโมสรนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หมายเลขโทรศัพท์...) ที่ สคป. 08/2559 วันที่ 29 สิงหาคม 2559 เรื่อง ชี้แจงข้อเท็จจริง มีเนื้อหาว่า

"เนื่องจากวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2559 เวลา 12.30 น. ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมทางคณะ (สันทนาการและเชียร์) มีนิสิตชั้นปีที่ 1 ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลจุฬาฯ เนื่องจากนิสิตมีอาการอ่อนเพลียจึงทำให้เกิดเหตุการณ์นิสิตถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลดังรูปที่ถูกเผยแพร่ในสื่อต่างๆ

ทางสโมสรนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้มีการพูดคุยกับ นายตรีทเศศ เทพยสุวรรณ (นิสิตในรูปดังกล่าว) นายตรีทเศศ กล่าวว่า "เนื่องจากผมอยากทำการบ้านให้เสร็จก่อนเวลา และผมก็มีงานนอกรับจ้าง บวกกับ ฟุตXฟุต (ป้ายประวัติส่วนตัว) ของเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม เพราะผมอยากให้พี่ๆ ได้รู้จักกับเพื่อนๆ กลุ่มนี้ด้วย ผมเลยอดนอนทำงานให้เสร็จ และมาเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความอ่อนเพลียจากการอดนอน เพราะผมคิดว่าไหว" แต่ขณะทำกิจกรรม รุ่นพี่พบเห็นน้องมีอาการผิดปกติ จึงนำตัวออกมานั่งพัก และด้วยความอ่อนเพลียของน้อง น้องจึงหลับไป ด้วยความเป็นห่วงอาจารย์ที่ยืนดูอาการของน้อง จึงโทรเรียกรถพยาบาลให้ เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของตัวนิสิต

สโมสรกิจกรรมนิสิตของคณะขอยืนยันได้ว่าทางคณะไม่เคยใช้ความรุนแรงและกดดัน กิจกรรมการเชียร์อยู่ภายใต้การดูแลของรุ่นพี่และอาจารย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งมีการปรับแนวทางโดยใช้หลักการอย่างมีมนุษยธรรม เคารพในสิทธิที่เท่าเทียมกัน การเข้าร่วมกิจกรรมของน้องเป็นการเข้าร่วมตามความสมัครใจ ทางสโมสรนิสิตจึงขอแจ้งข้อเท็จจริงมาเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน อีกทั้งยังขอให้ยุติการกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงโดยขาดความรับผิดชอบซึ่งบิดเบือนไปจากความเป็นจริง อันจะทำให้เกิดความเสียหายต่อคณะฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางสโมสรนิสิตจึงขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจในกิจกรรมของคณะเข้าสังเกตการณ์เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างวัฒนธรรมของกิจกรรมการรับน้องที่สร้างสรรค์และจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณค่าของประเทศให้มีความรักในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และขนบประเพณีอันดีงามที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยที่เราควรสงวนและดูแลยิ่งชีวิต และขอขอบคุณคำติชมทุกคำเพื่อที่ทางสโมสรนิสิต จะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมของนิสิตต่อไป

ทั้งนี้ทางสโมสรนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จึงขอชี้แจงมา ณ ที่นี้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน"

ทั้งนี้ เนติวิทย์ ได้ตอบหลังมีคำแถลงของนายกสโมสรคณะศิลปกรรมศาสตร์ว่า

"ล่าสุด นายกสโมสรนิสิตคณะศิลปกรรม จุฬาฯ  ออกแถลงการณ์แก้ข่าวว่ากิจกรรมห้องเชียร์-รับน้อง ไม่รุนแรง ไม่ละเมิดมนุษยธรรม ไม่กดดัน เขาเขียนอย่างนี้เลย ภายใต้การดูแลของอาจารย์และรุ่นพี่อย่างใกล้ชิดด้วย เอาเถอะครับ สาธารณชนผู้นิยมในความจริง ก็ลองดูว่าจะเชื่อใคร หลักฐานไลน์ผมเอามาลงเป็นสิบ ไม่ได้มาจากนิสิตคนเดียวแต่เป็นสิบ กรณีนิสิตกดดันกันนีจริงไหม  คนที่เข้าโรงพยาบาลก็ถูกเอาไปอ้างว่าคนที่ไม่เข้าทำให้ เพื่อนเจ็บป่วย คนที่เข้าโรงพยาบาลก็เขียนเองว่า ห้องเชียร์จะไม่โหดถ้าทุกคนเข้าหมด ที่ผ่านมาคือทุกคนเข้าไม่หมด เลยโหดใช่ไหม มันย้อนแย้งกับแถลงการณ์แล้ว มีคนไม่เข้าห้องเชียร์เขาส่งใบลา ก็ไม่รับ นี่เหรอไม่บังคับ ไม่กดขี่ ทรงผมก็มีการห้ามไว้อิสระ แล้วมาสคอตที่เอาหัวออก กระทืบแล้วเขียนคำว่า 'ห่วย' ล่ะ เงิน เกือบ 5 หมื่นจะใช้คืนรุ่นน้องไหม อ้างเล่นละคอนก็พอใช่ไหม ไอ้ที่ทำมาคือ น้องเปนตุ๊กตาให้ปู้ยี่ปู้ยำเหรอ ที่มาสันโต้กับรัดสาดพี่ว้ากน้องล่ะ เห็นชัดๆ ถ้านายกสโมฯ สินกำ แน่จริงตอบที่ผมถามด้วย แล้ว อ. ที่กำกับใกล้ชิดใคร มาตอบด้วยนะครับ คุณปล่อยให้มันเกิดแบบนี้ได้ยังไง ถ้าคุณมีตัวตนอยู่จริง สาธารณชนไม่โง่นะ นิสิตจุฬาฯ ไม่โง่นะ"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: วิธีการแบบพุทธะไม่มีในพุทธไทย

$
0
0


 

สิ่งที่เรียกว่า “วิธีการแบบพุทธะ” ที่จะพูดถึงต่อไปนี้คือสิ่งที่ผม “ตีความ” จากการอ่านพระไตรปิฎก ไม่ได้แปลว่าผมค้นพบวิธีการหรือคำสอน “ที่แท้จริง” ของพุทธะ เพราะผมก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกที่ผ่านการสรุปรวบรวมในรูปของการ “สังคายนา” มาแล้วหลายครั้งในเวลาที่ยาวนานนั้น อะไรคือ “ที่แท้จริง” ของพุทธะกันแน่

ผมคิดว่าในพระไตรปิฎก มีสิ่งที่เราเข้าใจได้ 2 ส่วนหลักๆ คือ “เนื้อหาคำสอน” หรือที่เรียกรวมๆ ว่า “ธรรมวินัย” กับ “วิธีการ” ที่พุทธะใช้ในการเสนอคำสอน ซึ่งผมขอเรียกว่า “วิธีการแบบพุทธะ”

ถ้าพูดอย่างเป็นวิชาการหน่อยก็ต้องอ้างอิงว่า อ.สมภาร พรมทา ก็เขียนไว้ในหนังสือ “ชีวิตที่ดี” สรุปความว่า ในประเพณีปรัชญาตะวันตกนั้นเขาเน้น “วิธีการทางปรัชญา” คือวิธีการตั้งคำถาม วิพากษ์ความคิดและข้อโต้แย้งต่างๆ (arguments) ที่มีอยู่ก่อน แล้วเสนอข้อโต้แย้งของตัวเองเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปใหม่ หรือนำไปสู่การเสนอความคิดใหม่ของตัวเองที่เชื่อว่ามีเหตุผลหนักแน่นกว่า (จากนั้นก็จะมีคนอื่นๆ ที่ใช้วิธีแบบเดียวกันมาตั้งคำถามต่อข้อสรุปหรือความคิดใหม่นั้น แล้วก็เกิดข้อสรุปหรือการเสนอความคิดใหม่ๆ มุมองใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ พัฒนาการปรัชญาตะวันตกก็เป็นไปในลักษณะนี้)

อันที่จริงวิธีการเช่นนี้ก็ใช้ในศาสตร์อื่นๆด้วย แต่มันเป็นวิธีที่เชื่อกันว่าเริ่มใช้กันเป็นล่ำเป็นสันจากยุคกำเนิดปรัชญาและใช้กันมาถึงปัจจุบัน ดูเหมือนว่าปรัชญาโบราณ เช่นปรัชญากรีกจะให้ทั้งวิธีการและเนื้อหาด้วย แต่ปรัชญาสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่มักเน้นที่วิธีการ แทบจะไม่เสนอเนื้อหาใหม่ๆ (แต่อาจจะมองว่าพบเนื้อหาได้จากวิธีการที่เขาเสนอก็คงได้) แล้ว อ.สมภารก็บอกว่า ในพุทธปรัชญานั้นพุทธะให้ทั้งวิธีการและเนื้อหาเอาไว้อย่างละเอียด

ขณะที่ อ.เขมานันทะ ก็เคยให้สัมภาษณ์วิจักขณ์ พานิชว่า “ธรรมะไม่ใช่ตัวสัจธรรม แต่เป็นเพียงอุบายวิธี” เพราะตัวสัจธรรมเป็นเรื่องที่แต่ละคนจะพบได้จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง หลังจากผ่านการเรียนรู้โดยอุบายวิธีที่เหมาะสม

หากมองจากประวัติศาสตร์พุทธศาสนา จะเห็นว่านิกายมหายาน (รวมเซน วัชรยาน) เน้นวิธีการมากกว่าเนื้อหาคำสอน ฉะนั้นเขาจึงสามารถพัฒนาวิธีการที่หลากหลายในการเรียนรู้ธรรม และปรับให้เข้ากับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องได้ดีกว่า พร้อมกับยังคงรักษาเนื้อหาสำคัญของคำสอนเช่นเรื่อง “โพธิจิต” เอาไว้

ส่วนเถรวาทเน้นการรักษาคำสอน ไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการนัก เราจึงมักพบว่าพระและชาวพุทธเถรวาทพยายามเสนอหลักธรรมหรือคำสอนที่ตัวเองเชื่อว่าเป็น “สัจธรรม” ที่เป็นอกาลิโกสำหรับตอบปัญหาชีวิต สังคม เศรษฐกิจ การเมืองแทบทุกเรื่อง

แต่เมื่ออ่านพระไตรปิฎก เราจะพบว่าวิธีการแบบพุทธะเกิดจาการแลกเปลี่ยน ต่อรองกับความคิด ความเชื่ออื่นๆ ภายในบริบทของสังคมและวัฒนธรรมในสมัยพุทธกาล

จะว่าไปก็เริ่มตั้งแต่การต่อรองระหว่างพ่อกับสิทธัตถะ แต่สุดท้ายสิทธัตถะก็เลือกที่จะเดินตามทางของตัวเองมากกว่าที่จะเดินตามทางที่พ่อขีดเส้นให้เดิน การเลือกเส้นทางของสมณะก็คือเลือกที่จะเดินเข้าสู่การเรียนรู้ร่วมกันกับคนอีกจำนวนมากที่เดินตามวิถีทางในการแสวงหาทางพ้นทุกข์ตามความเชื่อทางศาสนาในเวลานั้น เมื่อเรียนรู้จากอาจารย์แล้วพบว่ายังไม่ถึงจุดหมาย ก็เดินต่อด้วยการทดลองปฏิบัติตามลัทธิความเชื่อต่างๆในเวลานั้น จนสุดท้ายจึงพบทางของตัวเอง

บุคลิกภาพของสิทธัตถะช่วงใช้ชีวิตแสวงหา เป็นบุคลิกภาพที่เปิดกว้างต่อการเรียนรู้ กล้าใช้ชีวิตลองผิดลองถูก มีความเป็นตัวของตัวเอง จนในที่สุดก็เลือกที่จะจุดประทีปทางปัญญาเป็นแสงสว่างนำทาง มากกว่าที่จะเดินตามแสงสว่างของคนอื่น

ที่น่าสนใจคือเมื่อพบคำตอบที่ต้องการแล้ว หรือรู้แจ้งเป็นพุทธะแล้ว แทนที่จะใช้ชีวิตเป็นสมณะประเภทอยู่ป่าต่อไป ก็กลับเข้ามาใช้ชีวิตสนทนากับผู้คนในสังคม พุทธะและสังฆะที่ท่านก่อตั้งขึ้นในเวลาต่อมา จึงไม่ใช่สมณะประเภทที่ตัดขาดจากสังคม ปลีกตัวอยู่ในป่าลึกอย่างสมณะประเภทฤาษีชีไพร อารามของสังฆะหากไม่อยู่ในเมือง ก็อยู่ชายป่าไม่ไกลจากเมืองและละแวกบ้าน

วิธีการแบบพุทธะในการเสนอสิ่งที่ท่านค้นพบแก่สังคมเวลานั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับวิธีการทางปรัชญาคือการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ความคิดความเชื่อที่มีอยู่เดิมแล้วจึงเสนอความคิดใหม่ที่เชื่อว่ามีเหตุผลมากกว่าเดิม เห็นได้ตั้งแต่เทศนาครั้งแรกก็วิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อเดิมอย่างถึงราก

ที่น่าสนใจคือในการเสนอ “ธรรม” หรือแนวทางเกี่ยวกับการมีชีวิตที่ดีและการมีสังคมคมการเมืองที่ดี พุทธะใช้วิธีตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ความคิดความเชื่อและอำนาจของชนชั้นนำในเวลานั้น เช่นที่วิพากษ์อภิปรัชญาและระเบียบทางสังคมการเมืองตามระบบวรรณะแบบพราหมณ์ในอัคคัญญสูตร และวิพากษ์การใช้อำนาจเผด็จการตามอำเภอใจของผู้ปกครองในจักกวัตติสูตร เป็นต้น

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ในทัศนะแบบพุทธศาสนาไทย ธรรมวินัยดูเหมือนจะเป็น “กฎสัมบูรณ์” แต่เราลืมไปว่ากฎสัมบูรณ์ย่อมมาจาก “อำนาจสัมบูรณ์” ในทางศาสนาอำนาจสัมบูรณ์คืออำนาจของพระเจ้า ฉะนั้นในทัศนะของพราหมณ์ระบบวรรณะจึงเป็นกฎสัมบูรณ์ เพราะเป็นกฎที่ให้มาหรือลิขิตไว้ล่วงหน้าโดยพระเจ้า(พระพรหม) แต่พุทธะไม่มีอำนาจสัมบูรณ์ใดๆเลย อีกทั้งธรรมวินัยก็ไม่ได้ถูกพุทธะกำหนดให้มาล่วงหน้า

ธรรมส่วนที่เป็นความจริงตามกฎธรรมชาติเป็นสิ่งที่พุทธะค้นพบแล้วนำมาบอกแก่คนอื่น ธรรมส่วนที่เป็นแนวทางดำเนินชีวิตที่ดีและการมีสังคมการเมืองที่ดี ส่วนหนึ่งเกิดจากการประยุกต์ความจริงที่พุทธะค้นพบ อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พุทธะ “แบ่งปัน” ความคิด ความเชื่อ แนวปฏิบัติที่ดีต่างๆที่แลกเปลี่ยนกันอยู่ในสังคมเวลานั้น

วิธีการบัญญัติวินัยสงฆ์ของพุทธะนับว่าน่าสนใจ กล่าวคือ ไม่มีวินัยสงฆ์ที่พุทธะบัญญัติเอาไว้ล่วงหน้าตามความต้องการของท่านเอง แต่วินัยสงฆ์ทั้งหมดบัญญัติขึ้นจากการฟัง “เสียง” จากสังคมและจากสังฆะ

เมื่อฟังเสียงวิจารณ์จากสังคมที่รับพฤติกรรมของพระภิกษุไม่ได้ในเรื่องอะไร และเสียงสะท้อนจากสังฆะต้องการอะไร พุทธะได้นำเสียวิจารณ์หรือเสียงสะท้อนนั้นๆ เข้าสู่ที่ประชุมของสังฆะ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนแล้วจึงบัญญัติวินัยขึ้น เมื่อบัญญัติวินัยสงฆ์ขึ้น พุทธะก็ปล่อยให้เป็นอำนาจของสังฆะในการกำกับดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามวินัยบัญญัตินั้นๆตลอดไป โดยพุทธะไม่มีอำนาจไปก้าวก่ายแทรกแซงอำนาจของสังฆะตามธรรมวินัยได้เลย

ฉะนั้น พุทธะจึงไม่ใช่ผู้มีอำนาจเผด็จการ แต่มีชีวิตอยู่ท่ากลาง “การต่อรอง” เมื่อเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งถูกทอดทิ้งให้นอนป่วยหนักอยู่เพียงลำพัง เพื่อที่จะแนะนำให้สมาชิกของสังฆะไม่ทอดทิ้งเพื่อน พุทธะได้ลงมือดูแลไข้ของพระรูปนั้นด้วยตัวท่านเอง ในการต่อรองกับกลุ่มคนหรืออำนาจอื่นๆ พุทธะก็ทำสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง เช่นบางครั้งก็เข้าไปเจรจาต่อรองให้ญาติของท่านทั้งสองตระกูลไม่ทำสงครามแย่งน้ำกันทำนาได้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถต่อรองห้ามทัพที่จะยกไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตระกูลของท่านได้ บางครั้งเมื่อพระภิกษุทะเลาะกันแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า หรือแยกออกไปตั้งกลุ่มใหม่ พุทธะก็ต่อรองไม่สำเร็จ บางเรื่องก็ปล่อยให้สังคมเข้ามาจัดการกับปัญหาความแตกแยกในวงการสงฆ์

การใช้ชีวิตของพุทธะในชุมชนสังฆะ จึงไม่ใช่การมีชีวิตอยู่ท่ามกลาง “ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี” หากต้องคอยแก้ปัญหามากมาย ทั้งปัญหาความประพฤติของภิกษุรายบุคคล การทะเลาะวิวาท ความขัดแย้งและอื่นๆ 

ตัวอย่างการต่อรองที่น่าสนใจคือ “การต่อรองกรณีบวชภิกษุณี” เริ่มจากนางปชาบดีสร้างความกดดันต่อพุทธะด้วยการแต่งชุดนักบวชพร้อมกับสตรีชาวศากยะจำนวนหนึ่งมาขออนุญาตบวชภิกษุณีกับพุทธะ แต่ท่านไม่อนุญาต จึงต้องอาศัยพระอานนท์ช่วยเจรจา

น่าสนใจว่าพระอานนท์ใช้วิธีเจรจาหว่านล้อมเพื่อให้พุทธะยอมอนุญาต เช่น ถามว่าถ้าสตรีบวชจะบรรลุธรรมได้เหมือนบุรุษหรือไม่ เมื่อพุทธะตอบว่าได้ ก็ยกเรื่องบุญคุณที่นางปชาบดีเคยเลี้ยงดูพุทธะในวัยเด็ก สุดท้ายพุทธะก็ยอมรับเหตุผลของฝ่ายที่เข้ามาต่อรอง จึงอนุญาตให้บวชภิกษุณี แต่เป็นการอนุญาตที่มีลักษณะต่อรองกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมสมัยนั้น จึงเป็นการอนุญาตให้บวชภายใต้เงื่อนไข “ครุธรรม” ที่กำหนดให้ภิกษุณีมีสถานะทางสังคมต่ำกว่าพระภิกษุเหมือนที่เพศหญิงมีสถานะด้อยกว่าเพศชายในสังคมสมัยนั้น

มีการตีความกันว่า เหตุผลที่พุทธะอนุญาตการบวชภิกษุณีคือเหตุผลเรื่อง “บุญคุณ” ซึ่งก็จริงส่วนหนึ่ง แต่ผมคิดว่านี่เป็นเหตุผลรอง เหตุผลหลักน่าจะเป็นประเด็นว่า “ถ้าสตรีบวชแล้วบรรลุธรรมได้เหมือนบุรุษ” เพราะการบรรลุธรรมคือเป้าหมายสูงสุดของการบวช ถ้าตรีบวชแล้วไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของการบวชได้ ต่อให้นางปชาบดีมีบุญคุณมากขนาดไหน พุทธะก็คงไม่อนุญาตให้บวชแน่นอน อีกทั้งพุทธะให้ความสำคัญแก่สังฆะมาก จะอนุญาตให้บวชภิกษุณีซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ในเวลานั้นด้วย “เหตุผลส่วนตัว” ได้อย่างไร

เมื่ออ่านพระไตรปิฎก จะเห็น “วิธีการแบบพุทธะ” ชัดเจนว่า พุทธะใช้วิธีตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ความคิดและอำนาจของชนชั้นปกครอง เพื่อเสนอความคิดใหม่ แต่ในการใช้ชีวิตร่วมกับสังฆะและการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม พุทธะใช้วิธีการรับฟังเสียงจากสังคมและสังฆะ ซึ่งเป็นการรับฟังเสียงบนพื้นฐานของการต่อรองอย่างกัลยาณมิตรที่ใช้ปัญญาและกรุณาต่อกันและกัน มากกว่าจะเป็นการต่อรองระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้ด้อยอำนาจ หรือระว่างผู้ที่สูงกว่า ต่ำกว่าในทางชนชั้น

แต่น่าเสียดายที่วิธีการแบบพุทธะไม่มีในพุทธไทย เพราะพุทธไทยไม่ต่างจากระบบราชการภายใต้รัฐราชการไทยที่รวมศูนย์อำนาจ ไม่มีวัฒนธรรมส่งเสริมความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ไม่เปิดกว้างต่อเสรีภาพและไม่สนใจการสร้างพื้นที่ต่อรองที่เท่าเทียม   

0000

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

40 ปี 6 ตุลา 2519: เราไม่ลืม... แต่...เขาลืม

$
0
0


หลายสิ่งอย่างในโลกอาจมีการถูกแบ่งให้อยู่ตรงข้ามกัน เช่น รักกับเกลียดชัง ธรรมะกับอธรรม ขาวกับดำ กระทั่งความทรงจำกับการลืมเลือน และการอยู่ตรงข้ามกันนั้น มักก่อให้เกิดความเป็นกลุ่มเดียวกันคือ  “พวกเรา” และสร้างความเป็นอื่นให้คนนอกกลุ่มกลายเป็น “พวกเขา” โดยปริยาย

เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้นก่อนผู้เขียนเกิดหนึ่งปี จึงไม่ได้อยู่ร่วมสมัยในเหตุการณ์ครั้งนั้น

การรับรู้เรื่องราวจึงต้องอาศัยการอ่านจากหนังสือนอกห้องเรียน เพราะมันไม่มีบรรจุไว้ในตำราของนักเรียน หากโตขึ้นมาและได้รับรู้เรื่องราว เหตุการณ์ก็คงต้องเข้ามหาวิทยาลัยที่สั่งสอนอบรมความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดังนั้น ความทรงจำในเหตุการณ์ดังกล่าวจึงถูกจำกัดเฉพาะกลุ่มคน บางกลุ่ม บางพวกที่หากไม่สนใจศึกษาจริงๆ ก็อาจจะไม่เคยรู้เลยว่า วันนั้นเกิดเหตุการณ์เลวร้ายทางประวัติศาสตร์สังคม การเมืองไทยอย่างไรบ้าง และความทรงจำในเหตุการณ์ดังกล่าวจะมีขึ้นในกลุ่มคนที่ถูกกระทำความรุนแรงจากเหตุการณ์ในวันนั้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม โดยตรงคือผู้เข้าร่วมในเหตุการณ์ เป็นนักศึกษา ประชาชนที่ถูกล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันนั้นและยังมีชีวิตอยู่จนถึงวันนี้ โดยอ้อมคือเป็นเพื่อน เป็นญาติพี่น้องของกลุ่มคนที่ถูกรัฐกระทำความรุนแรงในวันนั้นจนเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ ทุพพลภาพในปัจจุบันทั้งทางกายและใจ

กลุ่มคนเหล่านี้ในทัศนะของผู้เขียนคือผู้ที่เป็น “พวกเรา” ที่ไม่ลืมเหตุการณ์ที่รัฐกระทำความรุนแรงต่อประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่าง “พวกเรา” จึงไม่ได้มีเฉพาะผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์โดยตรง แต่ยังหมายรวมถึงกลุ่มคนที่สนใจศึกษาความเป็นมา เป็นไปของเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อเป็นบทเรียนไม่ให้เกิดความเลวร้ายเช่นนี้อีกในปัจจุบัน รวมถึงผู้ที่มีจิตใจรักความเป็นธรรม ไม่ชอบการใช้ความรุนแรงตัดสินแก้ไขปัญหาในสังคม

“พวกเรา” ที่ไม่เคยลืม เหตุการณ์ความรุนแรงในวันนั้น จึงตรงกันข้ามกับ “พวกเขา” ซึ่งก็คือ ผู้กระทำความรุนแรงในวันนั้น และกระทั่งผู้ที่สืบทอดอำนาจในยุคต่อ ๆ มา ซึ่งคือผู้ที่พยายามจะลืมและแทบจะไม่เคยจริงจังชำระเหตุการณ์ในวันนั้น และบันทึกลงในแบบเรียนประวัติศาสตร์

เหตุการณ์ผ่านมาถึง 40 ปี ในปีพ.ศ. 2559 หลายสิ่ง หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ถูกบันทึกเพียงในเว็บไซต์ ในหนังสือของกลุ่มคนบางกลุ่มที่เป็นนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์หัวก้าวหน้า ที่อุทิศตนขยายพื้นที่ความทรงจำให้เกิดขึ้น แก่ “พวกเรา” มากขึ้น ทว่ากลไกของ “พวกเขา” ที่พยายามจะลืมเหตุการณ์ดังกล่าว ยังคงเข้มแข็งไม่เคยมีการบันทึกไว้ในตำราเรียนเล่มใด ก็ยังคงเป็นแบบนั้นมาจนทุกวันนี้

ความเป็นเราและเขาที่กล่าวไปทั้งหมด ไม่ได้มีเจตนาจะสร้างความแตกแยกระหว่างคนสองกลุ่มในสังคมไทย เพียงแค่ชี้ให้เห็นว่า “พวกเรา” ที่ยังคงจดจำเหตุการณ์ในวันนั้น กระทำไปเพื่อไม่อยากให้เกิดรอยด่างซ้ำซากของสังคม หรือบาดแผลของสังคม และทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่ออยากให้ “พวกเขา” เห็นถึงคุณค่าของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สังคม เพื่อที่ “พวกเขา” จะได้ไม่กระทำความรุนแรงต่อประชาชนของ “พวกเขา” อีก ... ทว่า... ยากเย็นเสียเหลือเกิน เพราะวงล้อประวัติศาสตร์หมุนมาสี่สิบปี ระหว่างทาง เรายังพบเจอทั้งพฤษภา 35 พฤษภา 53 ซึ่งทำให้ต้องเสียเลือดเนื้อ ชีวิตของประชาชนอยู่เช่นเคย

0000
     
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้เรียกร้องมาเลเซีย ยกเลิกข้อหาปลุกระดมมวลชนต่อผู้เห็นต่าง

$
0
0

ตัวแทนแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย รวมตัวที่หน้าสถานทูตมาเลเซีย ยื่นจดหมายเรียกร้องทางการมาเลเซียยกเลิกกฎหมายปลุกระดมมวลชนและกฎหมายอื่นๆ ที่ถูกใช้เพื่อปิดปากผู้เห็นต่าง ชี้ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ

 

30 ส.ค. 2559 เวลา 09.30 น. ตัวแทนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รวมตัวที่หน้าสถานทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย ถ.สาทรใต้ กรุงเทพ เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องทางการมาเลเซียยกเลิกกฎหมายปลุกระดมมวลชนและกฎหมายอื่นๆ ที่ถูกใช้เพื่อปิดปากผู้ที่มีความคิดเห็นต่าง ชี้เป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบของประชาชน

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตัวแทนมอบจดหมายเปิดเผยว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีความกังวลต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนมาเลเซียที่กำลังตกอยู่ในอันตราย ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีนักกิจกรรมจากภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม และคนที่ออกมาพูดต่อต้านรัฐบาลถูกตั้งข้อหาจากกฎหมายปลุกระดมมวลชน ตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่กดขี่เสรีภาพของกลุ่มผู้เห็นต่าง

ล่าสุดทางการมาเลเซียตัดสินลงโทษจำคุกนายโมฮัมเหม็ด ฟากรูลราซี โมฮัมเหม็ด มอกตา รองหัวหน้าพรรคกรรมกรมาเลเซีย (Parti Amanah Negara Youth) เป็นเวลา 8 เดือนด้วยข้อหาปลุกระดมมวลชน โดยแอมเนสตี้เรียกร้องให้ทางการมาเลเซียยกเลิกคำตัดสินดังกล่าว และระบุว่าการตัดสินจำคุกนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลครั้งนี้เป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก พร้อมเรียกร้องยกเลิกคำตัดสินและเลิกใช้กฎหมายดังกล่าว

“พ.ร.บ.ปลุกระดมมวลชนของมาเลเซียถือเป็นกฎหมายที่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างชัดเจนและถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับปิดปากคนเห็นต่าง กฎหมายนี้ไม่ควรมีอยู่ในสังคมสมัยใหม่ที่เคารพสิทธิมนุษยชน และควรถูกยกเลิกทันที ดังนั้น แอมเนสตี้จึงเรียกร้องทางการมาเลเซียยกเลิกข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ปลุกระดมมวลชนต่อประชาชนที่ถูกพิจารณาคดีจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างสงบ และยกเลิกกฎหมายปลุกระดมมวลชนและกฎหมายอื่นๆ ที่กดขี่เสรีภาพในการแสดงออก ตลอดจนปฏิบัติตามมาตรฐานและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ปิยนุชกล่าว

ทั้งนี้ หากประชาชนถูกตั้งข้อหาที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ปลุกระดมมวลชนและกฎหมายการสื่อสารและมัลติมีเดียจะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 ริงกิต (ประมาณ 45,000 บาท) หรือจำคุกสูงสุด 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้กระทำความผิดครั้งแรก และไม่เกิน 5 ปีสำหรับผู้กระทำความผิดซ้ำ

ด้านสถานทูตมาเลเซียได้ส่ง Ms.Leowania Leow Sui Yin เลขานุการโท (Second Secretary) สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทยออกมารับจดหมาย พร้อมกล่าวขอบคุณที่แสดงออกอย่างสงบ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ยื่นค้านคำขอสิทธิบัตรยาไวรัสตับซีเม็ดละ 30,000

$
0
0

30 ส.ค. 2559  เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย รายงานว่า เมื่อเวลา 9.30 น. ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทยและมูลนิธิเข้าถึงเอดส์เข้ายื่นคำคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรของยาโซฟอสบูเวียร์ ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ที่มีราคาแพงกว่า 2.5 ล้านบาทต่อการรักษาหนึ่งคนในสหรัฐฯ โดยหวังพึ่งกฎหมายสิทธิบัตรปลดล็อคการผูกขาดตลาด เปิดโอกาสให้องค์การเภสัชกรรมและบริษัทยาชื่อสามัญรายอื่นสามารถผลิตยาและขายได้ในราคาที่เป็นธรรม และมียาดังกล่าวอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศ

ตัวแทนของทั้งสององค์กรได้ใช้มาตรการคัดค้านก่อนได้รับสิทธิบัตร ตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ. สิทธิบัตร ขอใช้สิทธิคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตรยาโซฟอสบูเวียร์ เลขที่ 0801001634 ที่ยื่นขอรับสิทธิบัตรในไทยโดยบริษัทยาสัญชาติอเมริกัน ที่ใช้ชื่อว่ากลิลีด ฟาร์มาสเซ็ท แอลแอลซี หรือกิลิแอด ทั้งนี้ ทั้งสององค์กรได้ยื่นเอกสารคำคัดค้านและหลักฐานจำนวนมากกว่า 1,000 หน้าต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้สำนักสิทธิบัตรพิจารณา โดยหวังว่าทางสำนักฯจะไม่รับพิจารณาคำขอฯ ดังกล่าว

นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า “ยาตัวนี้ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตรเพราะไม่มีความใหม่และไม่มีนวัตกรรมที่สูงขึ้น  เรามีหลักฐานที่พบในต่างประเทศ 13 ชิ้นที่ชี้แจงได้ว่า โครงสร้างทางเคมีของยาและขั้นตอนการประดิษฐ์หรือการสังเคราะห์ยานี้ขึ้นมา ถูกค้นพบและทำในต่างประเทศมานานแล้ว และเป็นที่รู้กันทั่วไปในหมู่วิชาชีพเภสัชกรรมว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในการประดิษฐ์หรือผลิตยาตัวนี้เป็นความรู้ทั่วไปที่เภสัชกรรู้อยู่แล้วและได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนหน้านี้”

อนันต์ เมืองมูลไชย ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย ผู้ร่วมฟ้องคัดค้าน กล่าวเสริมว่า “เรายังพบความไม่โปร่งใสของการขอรับสิทธิบัตรในครั้งนี้ เพราะบริษัทที่มาขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยในวันที่ 28 มีนาคม 2551 นั้น ยังไม่ได้รับการโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ ซึ่งพบว่ามีการโอนสิทธิกันในภายหลังคือวันที่ 25 เมษายน 2551 จึงขัดต่อมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ดังนั้นในวันที่ 28 มีนาคม 2551 นั้น บริษัทกิลีแอด ย่อมไม่มีสิทธิในการดำเนินการใดๆ เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว”

เฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์เพื่อการเข้าถึงยา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า “ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวที่มีการยื่นคัดค้าน ยังมีการคัดค้านในจีนและรัสเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศก็ปฏิเสธไม่ให้สิทธิบัตรกับยาตัวนี้ไปแล้ว  ในขณะที่ยุโรป อินเดีย ยูเครน บราซิล และอาร์เจนตินา ก็มีผู้คัดค้านและอยู่ในกระบวนการพิจารณา ในขณะที่ยาโซฟอสบูเวียร์เป็นยาสำคัญที่จะใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีให้หายขาดได้โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกข์กับผลข้างเคียงของยา แต่ยาตัวนี้ยังไม่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพของไทย เพราะมีราคาแพงมาก”

“ปัจจุบัน เท่าที่เราค้นพบมีคำขอฯ ยาโซฟอสบูเวียร์ถึง 13 ฉบับ ผู้ยื่นฯ ละทิ้งคำขอไป 1 ฉบับ ยังไม่ประกาศโฆษณา 6 ฉบับ และประกาศโฆษณาแล้ว 6 ฉบับ ส่วนคำขอฯ ที่เราคัดค้านนั้นเป็น 1 ใน 6 ที่ประกาศโฆษณาแล้ว ซึ่งเราสามารถคัดค้านได้ทันภายใน 90 วันหลังประกาศโฆษณา ซึ่งนับว่าโชคดีมากที่พบคำขอนี้ เพราะระบบในปัจจุบันของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังมีช่องว่าง ทั้งกำหนดเวลาคัดค้านที่มีจำกัดมาก ในขณะที่ระบบการค้นคำขอยังมีปัญหา” เฉลิมศักดิ์ กล่าวและว่า “หากคัดค้านคำขอฯ นี้สำเร็จ จะช่วยให้องค์การเภสัชกรรมและบริษัทยาอื่นพอมีช่องทางที่จะผลิตยาตัวเดียวกันและขายในราคาที่ถูกกว่าเป็น 100 เท่าได้ อย่างที่อินเดียผลิตและขายยานี้ได้ในราคาเพียงเม็ดละร้อยกว่าบาท ในขณะที่อเมริกาขายอยู่ที่เม็ดละ 30,000 บาท”

นิมิตร์ยังกล่าวอีกว่า “การคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตรที่อยู่ในมาตรา 31 ของพ.ร.บ.สิทธิบัตรมีความสำคัญ ที่ช่วยทำให้ระบบตรวจสอบสิทธิบัตรมีคุณภาพ แต่ที่ผ่านมามักคัดค้านไม่ทันเพราะเวลาจำกัดมากเพียง 90 วัน และต้องใช้การประมวลข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้การคัดค้านครบถ้วนสมบูรณ์  แต่เรากลับได้ระยะเวลาเท่ากับเวลาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรในการตอบโต้เอกสารแต่ละครั้ง ซึ่งหากมีการแก้ไขกฎหมายควรขยายเวลาคัดค้านจาก 90 วัน เป็น 1 ปี เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ สามารถร่วมให้ข้อมูลกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มากขึ้น”

อนึ่ง ตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ.สิทธิบัตร เมื่อทั้งสององค์กรยื่นคำคัดค้านแล้ว สำนักสิทธิบัตรจะรับเรื่องและแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรทราบว่ามีผู้คัดค้าน และผู้ขอรับสิทธิบัตรจะมีเวลา 90 วันที่จะโต้แย้งคำคัดค้าน เมื่อสำนักสิทธิบัตรได้รับเอกสารทั้งหมดจากทั้งสองฝ่ายแล้ว จึงจะเริ่มกระบวนการพิจารณาและตัดสินว่าจะปฏิเสธคำขอรับสิทธิบัตรตามที่มีผู้คัดค้านหรือไม่

 

 


       มาตรา 31 เมื่อได้ประกาศโฆษณาตามมาตรา 28 แล้ว บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรหรือเห็นว่าคำขอรับสิทธิบัตรใดไม่ชอบด้วยมาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 หรือมาตรา 14 จะยื่นคำคัดค้านต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ แต่ต้องยื่นภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศโฆษณาตามมาตรา 28

        เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำคัดค้านตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งสำเนาคำคัดค้านไปยังผู้ขอรับสิทธิบัตร ให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรยื่นคำโต้แย้งภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรได้รับสำเนาคำคัดค้าน ถ้าผู้ขอรับสิทธิบัตรไม่ยื่นคำโต้แย้ง ให้ถือว่าละทิ้งคำขอรับสิทธิบัตร

        คำคัดค้านและคำโต้แย้งให้ยื่นพร้อมทั้งแสดงหลักฐาน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชี้แนวโน้มแรงงานข้ามชาติ เป็นเจ้าของธุรกิจค้าขายรายย่อยเพิ่มขึ้น

$
0
0

30 ส.ค. 2550 ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้ร่วมกับบริษัทศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ จำกัด สำรวจการประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 4 พ.ค. - 22 มิ.ย. 2559 ในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร เชียงใหม่ นครราชสีมา หนองคาย ชลบุรีและสงขลา พบว่า แรงงานต่างด้าวเป็นเจ้าของร้านในห้างสรรพสินค้า 6.9% ของจำนวนผู้ค้าทั้งหมด เป็นเจ้าของแผงในตลาดนัด 1.8% เป็นเจ้าของแผงในตลาดสด 20.9% และเป็นเจ้าของร้านในตลาดชุมชน 9.7% ซึ่งต่างด้าวที่เป็นเจ้าของร้านหรือแผงค้ามีสัญชาติพม่า 44.5% กัมพูชา 21.4% ลาว 19.8% เวียดนาม 4.4% จีน 1.6% ชนกลุ่มน้อย 5.5% และอื่นๆ 2.7%

ในการสำรวจพบอีกว่า ผู้ค้าคนไทยและต่างด้าวขาดการรับรู้ด้านกฎหมาย โดยผู้ค้าชาวไทยประมาณ 3 ใน 4 รับรู้ว่ามีคนต่างด้าวมาประกอบอาชีพค้าขาย แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งที่ทราบว่าอาชีพค้าขายของแรงงานต่างด้าวเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

ขณะที่ผู้ค้าต่างด้าวที่รู้ว่าผิดกฎหมายเพียง 1 ใน 4 โดยผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่เป็นเจ้าของเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบเฉพาะผู้ค้ารายย่อยที่เป็นต่างด้าว พบว่า มีสถานภาพเป็นเจ้าของ 42.9% เป็นลูกจ้าง 45.8% และค้าขายให้กับครอบครัวหรือญาติ 11.3% สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะจ้างแรงงานต่างด้าวจดทะเบียนเป็นกรรมกร แต่ทางปฏิบัตินายจ้างต้องการแรงงานมาทำงานที่หลากหลาย รวมถึงการช่วยขายของหน้าร้าน และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นเจ้าของเอง

นอกจากนี้ พบว่า ผู้ค้าต่างด้าวที่เป็นเจ้าของที่เข้ามาประกอบอาชีพค้าขายเลย มีสัดส่วน 41.3% อาจเพราะแรงงานต่างด้าวมีเพื่อน ญาติ เครือข่ายทำให้มีช่องทางค้าขาย ขณะที่ 1ใน3 ของผู้ค้าต่างด้าว เป็นเจ้าของร้านหลังเข้ามาแล้ว 2-3 ปี ชี้ให้เห็นว่า แรงงานต่างด้าวปรับเปลี่ยนการทำงานจากเดิมเข้ามาเป็นแรงงาน ปรับเป็นผู้ประกอบค้าขายเพิ่มขึ้น แม้มีการจับกุมแต่กว่าครึ่งก็จะกลับมาค้าขายใหม่อีก ด้านรายได้ พบว่า ผู้ค้าต่างด้าว 47.4% มีเงินเก็บและไม่มีหนี้สิน และ กว่า 80% ส่งเงินกลับประเทศเดือนละครั้ง โดยครั้งละ 1,001-5,000 บาท คิดเป็น 52% และส่งเงินกลับครั้งละ 5,001-10,000 บาท คิดเป็น 35.1% ทั้งนี้ การเข้าสู่อาชีพค้าขายรายย่อยของคนต่างด้าว มีทั้งเข้าเมืองมาใช้แรงงานถูกต้องตามกฎหมาย แต่เปลี่ยนมาค้าขายรายย่อย หรือ การตั้งใจเข้ามาแบบผิดกฎหมาย เช่น ถือวีซ่านักท่องเที่ยว เป็นแรงงานเถื่อน เป็นต้น

รายละเอียดการประกอบอาชีพของแรงงานต่างด้าว 

สศช. ร่วมกับบริษัทศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจจํากัด (SAB) ดําเนินโครงการสํารวจการประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยของแรงงานต่างด้าว โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 4 พ.ค.-22 มิ.ย. 2559 ในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร เชียงใหม่ นครราชสีมา หนองคาย ชลบุรี และสงขลา โดยผลสํารวจ พบว่า แรงงานต่างด้าวมีการค้าขายในทุกระดับ 
 
ผลการแจงนับร้านค้าคนต่างด้าวในสถานที่ 4 ประเภท คือ ศูนย์สรรพสินค้า ตลาดนัด ตลาดสด และตลาดชุมชน 5 แห่ง ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล พบ ร้านค้าที่เปิดขายทั้งสิ้น 10,453 ร้าน/แผง อยู่ในศูนย์สรรพสินค้า 1,480 ร้าน ตลาดนัด 8,497 ร้าน/แผง ตลาดสด 321 ร้าน/แผงและตลาดชุมชน 155 ร้าน/แผง พบร้านค้าที่มีคนต่างด้าวเป็นเจ้าของ 102 ร้าน (%6.9) 149 ร้าน/แผง (1.8%) 67 ร้าน/แผง ( 20.9%) และ15 ร้าน/แผง ( 9.7%) ตามลําดับ โดยเฉพาะในตลาดสดและตลาดชุมชนที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูงเนื่องจากความยากง่ายในการเข้าถึงสถานที่ และแม้ว่าจะเป็นการสุ่มเฉพาะจุดแต่ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้ามาค้าขายในทุกระดับ 
 
-ผู้ค้าคนไทยและต่างด้าวขาดการรับรู้ด้านกฎหมาย ผลการสัมภาษณ์ผู้ค้ารายย่อยไทย 432 รายและผู้ค้าต่างด้าว 424 ราย พบว่า ผู้ค้าชาวไทยประมาณ 3 ใน 4 รับรู้ว่ามีคนต่างด้าว ประกอบอาชีพค้าขาย แต่มีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งที่ทราบว่าการประกอบอาชีพค้าขายของแรงงานต่างด้าวเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ขณะที่ผู้ค้าต่างด้าวที่รู้มีเพียง 1 ใน 4 โดยผู้ที่รู้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่เป็นเจ้าของ 
 
-ผู้ค้าต่างด้าวส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานตอนต้น โดยร้อยละ 80.9 มีอายุ 20-39 ปี ซึ่งอยู่เป็นวัยเริ่มต้นมีครอบครัวและบุตร ส่วนใหญ่เป็นสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว 45.3% 23.9% และ 17.5% ตามลําดับ ผู้ค้าต่างด้าวส่วนใหญ่มีเอกสารแสดงตัว ได้แก่ พาสปอร์ต 58.0% บัตรสีชมพู 35.6% โดยเป็นผู้ไม่มีใบอนุญาตทํางาน (มีทร. 38/1) หรือไม่มีบัตรเพียง 1.2% ซึ่งเป็นผลจากการดําเนินงานของรัฐทั้งในเรื่องของการผ่อนผันและปรับสถานะผู้จดทะเบียนให้เป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ระยะเวลาอยู่ในประเทศไทย 1-5 ปี 63% และ 6-10 ปี จำนวน 25.7% 
 
-ลักษณะที่ขายส่วนใหญ่เป็นแผงและรถเข็น โดย 40% เป็นเจ้าของเอง ลักษณะที่ขายเป็นแผงและรถเข็น 74% เป็นบูธ/บล็อกในห้าง และอาคารพาณิชย์ 24.6%
 
ขณะที่สถานภาพของผู้ค้ารายย่อยต่างด้าว พบว่า เป็นลูกจ้าง 45.8% เป็นเจ้าของ 42.9% และค้าขายให้ครอบครัว/ญาติ 11.3% สะท้อนให้เห็นว่าแม้จะจ้างแรงงานต่างด้าวจดทะเบียนเป็นกรรมกรแต่ในทางปฏิบัตินายจ้างต้องการแรงงานมาทํางานที่หลากหลายรวมถึงการช่วยขายของหน้าร้าน และมีจํานวนไม่น้อยที่เป็นเจ้าของเอง 
 
-ส่วนใหญ่ผู้ค้าต่างด้าวไม่เคยประกอบอาชีพอื่นมาก่อน 60.8% โดยกลุ่มที่เป็นเจ้าของมีสัดส่วนเคยประกอบอาชีพอื่นสูงกว่า สําหรับคนต่างด้าวที่เป็นเจ้าของพบกว่าครึ่งมีอายุระหว่าง 30-39 ปี ส่วนใหญ่มีสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว แต่คนสัญชาติเวียดนามและจีนมีสัดส่วนเป็นเจ้าของกิจการสูงกว่า
 
ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ค้าต่างด้าวที่เป็นเจ้าของค้าขายหลังจากเข้ามาแล้ว 2-3 ปีชี้ให้เห็นพลวัตของการปรับเปลี่ยนการทํางานของแรงงานต่างด้าวซึ่งจากเดิมเข้ามาเป็นแรงงานมาสู่การเป็นผู้ประกอบอาชีพค้าขายเพิ่มขึ้น 
 
-แม้จะมีการจับกุมแต่กว่าครึ่งกลับมาค้าขายใหม่ ด้านการตรวจสอบจับกุม ผลสํารวจพบว่าผู้ค้าชาวไทย 43.1% เคยพบเห็นการตรวจสอบ จับกุมแรงงานต่างด้าวที่ประกอบอาชีพค้าขายของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ผู้เคยพบเห็นการจับกุมเห็นว่าหลังการจับกุมมีการกลับมาขายใหม่ถึง 63.4% 
 
-มีผู้ได้รับสวัสดิการทางสังคมเพียง 1 ใน 5 ผู้ค้ารายย่อยต่างด้าว 19.3% ได้รับสวัสดิการสังคม โดยสวัสดิการที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นการรักษาพยาบาล รองลงมาเป็นการศึกษาของบุตรผู้ค้าต่างด้าว 
 
-ส่วนใหญ่มีเงินเก็บและส่งเงินกลับ ผลประกอบการผู้ค้าต่างด้าว 47.4% มีเงินเก็บและไม่มีหนี้สิน และกว่า80% มีการส่งเงินกลับประเทศ โดยกลุ่มนี้ 32.1% ไม่มีเวลาส่งกลับที่แน่นอน ขณะที่ 25.9% ส่งเงินกลับเดือนละครั้ง จํานวนเงินส่งกลับแต่ละครั้ง 52.0% ส่งกลับ 1,001-5,000 บาท และ 35.1% อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัวทีม Buku FC ใส่ฮิญาบ เล่น ฟุตบอล ใน 3 จว.ชายแดนใต้

$
0
0
เปิดตัวทีมฟุตบอล บูคู เอฟ ซี ‘ฟุตบอลเพื่อสันติภาพและความเท่าเทียม’ เน้นส่งเสริมให้ผู้หญิงได้ออกกำลังและแสดงออก ทีมประกอบด้วยหญิงมุสลิม ผู้ชาย และผู้มีความหลากหลายทางเพศ

 

ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คนท้องถิ่นเรียกตามชื่อเดิมว่า ‘ปาตานี’ นอกจากปัญหาความรุนแรงความขัดแย้งที่คร่าชีวิตของผู้คนไปกว่า 6,500 คนในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาแล้ว พื้นที่แห่งนี้ก็มักไม่ได้ถูกนึกถึงในแง่มุมอื่นสักเท่าไร งบประมาณจากทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างทุ่มลงไปเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้เป็นหลัก ผ่านสิ่งที่เรียกว่า กระบวนการสันติภาพ

อย่างไรก็ตาม อันธิฌา แสงชัย และ ดาราณี ทองศิริ เจ้าของร้านหนังสือบูคู ปัตตานี และนักกิจกรรมเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ มองเห็นว่า ปาตานียังมีประเด็นปัญหาที่ควรได้รับการพูดถึงอีก เช่น ประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งพวกเธอมองว่า ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศควรมีสิทธิมีเสียงในกระบวนการสันติภาพ เพื่อได้ร่วมกำหนดชะตากรรมของปาตานีด้วยเช่นกัน

กิจกรรมหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของบูคู เพื่อกระตุ้นความกล้าแสดงออกของผู้หญิง คือการเล่นฟุตบอล โดยอันธิฌาและดาราณีได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลที่เปิดกว้างสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเน้นที่ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศเป็นพิเศษ ทีมฟุตบอลนี้มีชื่อว่า บูคู เอฟซี (Buku FC) 

สมาชิกทีมบูคูถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึกในวันแรกของการเตะ ภาพโดย ฟาฎีลาห์ หะมิดง

“ฟุตบอลถูกมองว่าเป็นกีฬาของผู้ชายและพื้นที่ของผู้ชาย ผู้หญิงมักไปสนามฟุตบอลโดยมีบทบาทเพียงแค่ไปดู ไปเชียร์ผู้ชายแข่งบอล ทั้งที่จริงๆ แล้ว ลูกบอลกลมๆ ใครก็เตะได้ ไม่ได้เป็นของเพศไหน การที่เราตั้งทีมชวนผู้หญิงมาเตะบอลก็เป็นสิ่งที่เราอยากสื่อไปยังสังคมปาตานีว่า ผู้หญิงก็ทำสิ่งที่ผู้ชายทำได้” อันธิฌากล่าวกับประชาไท “สิ่งที่อยากสื่อลึกๆ ก็คือการบอกผู้หญิงที่มาเตะบอลกับเราว่า การทำบางสิ่งที่เขาเคยคิดว่าเขาทำไม่ได้นั้น จริงๆ เขาทำได้ เช่น การกล้าแสดงออก การเป็นผู้นำ ผู้หญิงก็ทำได้ เราเชื่อว่าการเตะบอลง่ายๆ นี้จะเชื่อมโยงไปยังการเรียนรู้เรื่องอื่นของเขา”

อันธิฌากล่าวว่า แม้ทีมอาจเน้นไปที่ผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ แต่ทุกคนสามารถมาเป็นสมาชิกได้ โดยไม่จำกัดเพศ อายุ ศาสนา ความเชื่อ และอุดมการณ์ทางการเมือง แต่ขอให้เป็นคนที่มี ‘Gender Lens’ หรือมีความเข้าใจเรื่องเพศวิถี

“เราตั้งใจให้สนามบอลเป็นแบบจำลองของสังคม ที่ไม่ว่าเพศใดๆ ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม และเคารพในร่างกายและพื้นที่ของกันและกัน ถ้าเราเชื่อมั่นว่าสังคมกว้างๆ ข้างนอกทำได้ พื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ ของสนามบอลก็ควรทำได้ เราก็อยากให้เห็นว่า ไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง คนที่มีความหลากหลายทางเพศ และหลากหลายทักษะ จะสามารถเล่นเกมเดียวกันได้ กติกาเดียวกันได้ คนตัวใหญ่กว่าไม่ไปผลักคนที่เล็กกว่า”

วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เป็นนัดเปิดสนามของทีมบูคู เอฟซี ซึ่งมีสโลแกนว่า ทีมฟุตบอลเพื่อสันติภาพและความเท่าเทียม ที่สนามฟุตบอลวิคทรี่ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมีผู้เข้าร่วม 20 คน เป็นหญิง 17 คน ชาย 3 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) ทุกคนดูค่อนข้างตื่นเต้น โดยเฉพาะผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เพิ่งเคยเล่นฟุตบอลเป็นครั้งแรก และยังเป็นการเล่นฟุตบอลในสนามหญ้าเทียมที่มีความเป็นกิจลักษณะเช่นนี้

 

ใส่ฮิญาบเล่นฟุตบอล มันไปกันได้

ซาวานี มามะ และ แวอัสมีร์ ซาวานี นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มอ. ปัตตานี บอกว่า เธออยากให้สังคมเห็นว่า กีฬาฟุตบอล ผู้หญิงก็เล่นได้ ใส่ฮิญาบก็เล่นได้ ภาพโดย ฟาฎีลาห์ หะมิดง

“คนมักมองว่าฟุตบอลเป็นกีฬาของผู้ชาย ผู้หญิงก็คิดว่าไม่เหมาะสมที่จะเล่นและไม่กล้าเล่น ในพื้นที่สามจังหวัดเขาก็มองว่าผู้หญิงไม่เหมาะจะเล่นฟุตบอล เพราะเป็นกีฬาที่ใช้ขาเตะ แต่ในปัจจุบันโลกมันเปลี่ยนไป สังคมสามจังหวัดก็ต้องก้าวให้ทัน” แวอัสมีร์ แวมะนอ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี บอกกับประชาไท

แม้แวอัสมีร์จะเล่นกีฬาอยู่บ้าง โดยเธอเป็นนักกีฬาฟุตซอลของ มอ.ปัตตานี แต่เธอก็ยังรู้สึกเกร็งอยู่ที่จะออกมาเล่นกีฬาในพื้นที่นอกมหาวิทยาลัยอย่างสนามฟุตบอลวิคทรี่ ซึ่งสนามข้างๆ เป็นสนามที่ผู้เล่นเป็นชายล้วน “ถ้าไปเล่นนอกมหาวิทยาลัย เราจะถูกมองแปลก ว่า เออ ผู้หญิงมุสลิมมาเตะบอล คนในสามจังหวัดเขาจะมองเรื่องสรีระ เขาจะรู้สึกว่ามันไม่สมควร เพราะว่าเวลาเราวิ่ง สรีระเราก็จะเขย่า” เธอกล่าว

ส่วน ซาวานี มามะ นักศึกษารัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี ชั้นปี 3 กล่าวว่า เธอมีความกังวลในแง่สรีระว่า จะถูกมองว่าไม่เหมาะสมเมื่อต้องวิ่งเตะฟุตบอล แต่เธอก็แก้ปัญหาด้วยการใส่เสื้อหลวมๆ สองชั้นและใส่ฮิญาบปกคลุมหน้าอก “เราก็กังวลบ้าง เวลาเราวิ่ง หน้าอกเรากระเพื่อมอะไรแบบนี้ แต่เราก็ใส่เสื้อหลวม ใส่ฮิญาบ แล้วเตะบอลเราก็ทาปากมาเตะบอล ให้เห็นว่ามันไปด้วยกันได้”

ทั้งสองคนเห็นตรงกันว่า การลุกขึ้นมาเล่นฟุตบอลเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการแสดงออกของพวกเธอ และเป็นการบอกกับสังคมว่า ผู้หญิงก็เล่นกีฬาที่ผู้ชายเล่นได้

อัสรี สะมะแอ เจ้าหน้าที่มูลนิธิโอโซนเป็น 1 ใน 3 ชายหนุ่มที่ร่วมทีมบูคูในวันแรก เขาได้รับหน้าที่นำวอร์มอัพในวันนั้นด้วย เขากล่าวว่า ที่มาร่วมทีมบูคูเพราะอยากทำความเข้าใจผู้มีความหลากหลายทางเพศให้มากขึ้น

อันธิฌากล่าวว่า เพื่อให้นักบอลหญิงในทีมมีความสะดวกใจในการเล่น ในตอนเริ่มแรก สมาชิกผู้ชายคงยังไม่ได้ร่วมเล่นกับผู้หญิง แต่ซ้อมร่วมกันได้ ได้ทำหน้าที่นำการซ้อมและวอร์มอัพหรือเป็นผู้รักษาประตู เป็นต้น เมื่อสมาชิกทุกคนเข้าใจกฎกติกาเป็นอย่างดี มีความเคารพซึ่งกันและกัน เข้าใจถึงความแตกต่างของร่างกายและสรีระ ก็อาจเปิดให้เล่นร่วมกันในอนาคต 

 

ผู้หญิงสามจังหวัด ขาดพื้นที่ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพ 

 วอร์มร่างกายก่อนเล่น ภาพโดย ฟาฎีลาห์ หะมิดง

อันธิฌา กล่าวว่า ผู้หญิงในสามจังหวัดไม่ค่อยมีโอกาสได้ออกกำลังกาย ส่วนหนึ่งเพราะบทบาททางเพศและภาระหน้าที่ที่ต้องดูแลบ้าน ดูแลสามี และเลี้ยงลูก หรือถ้าเป็นวัยรุ่นผู้หญิงก็ต้องช่วยแม่ทำงานบ้านและไม่ได้รับการยอมรับเท่าวัยรุ่นผู้ชายในการออกกำลังกายในที่สาธารณะ “แม้ผู้หญิงจะทำงานหนัก ใช้แรงเยอะ แต่ก็ไม่ใช่การออกกำลังกาย เพราะเวลาทำงานเราอาจมีความตึงเครียด แต่เมื่อออกกำลังกาย เราได้คลายเครียดด้วย”

นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่มักต้องทำในที่สาธารณะทำให้ต้องใส่กางเกง มีการยืดแข้งยืดขา ในพื้นที่ซึ่งใช้ร่วมกับผู้ชายมักทำให้ผู้หญิงไม่กล้าที่จะออกกำลังกาย แต่วัยรุ่นผู้ชายกลับไม่มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ อันธิฌากล่าวว่า ตามสวนสาธารณะหรือสนามกีฬา มักถูกยึดโดยผู้ชายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

เธอเห็นว่าควรมีการสนับสนุนให้มีพื้นที่ออกกำลังกายสำหรับผู้หญิงมากขึ้น เช่น สระว่ายน้ำสำหรับผู้หญิง ก็น่าจะทำให้ผู้หญิงมีความสบายใจที่จะออกกำลังกายมากขึ้น

ทีมบูคูยังเปิดรับสมัครสมาชิกอยู่เรื่อยๆ โดยจะมีการนัดซ้อมทุกวันเสาร์ และในอนาคตจะมีโค้ชที่มีประสบการณ์ทำทีมฟุตบอลหญิงมาก่อนมาฝึกซ้อมให้ และภายในหนึ่งถึงสองปีข้างหน้าก็อาจพาทีมไปแข่ง อันธิฌากล่าว 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ชะตากรรม ร่าง กม.ต้านการอุ้มหาย ในมือ ‘ทหาร’

$
0
0

คนไทยถูกอุ้มหาย 101 รายนับจากปี 34 ดันร่างกฎหมายต้านการอุ้มหาย เอาผิด จนท.รัฐ และผู้บังคับบัญชาหากรู้เห็น ห้ามฟ้องหมิ่นฯ ผู้ร้อง และทุกนาทีต้องถูกนับ นักวิชาการหวั่น กม.ถูกตีตกหรือบิดเบือน ชี้ ม.44 เท่านั้นที่ยกเว้น กม.ต้านการอุ้มหายได้ เพราะมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ

“ตั้งแต่ไปแจ้งความที่ สภ.แก่งกระจาน วันแรก ช่วงเช้าเขาไม่รับแจ้งความ เขาบอกว่าเป็นคนที่ถูกจับ ไม่ใช่คนหายตัว จะมาแจ้งความได้ยังไง ช่วงบ่ายก็ไปอีกรอบหนึ่ง เจ้าหน้าที่บอกว่าเขาประสานงานกับหัวหน้าอุทยานแล้ว แล้วบอกว่าเขาจับไปจริง แล้วเขาก็ปล่อยไปเย็นวันนั้นแล้ว เขาไม่ได้ทำอะไร ก็เลยตอบกับเขาว่า เขาปล่อยตัวยังไง หนูเป็นภรรยาเขา ทำไมไม่เห็นเขากลับมาหาครอบครัว เขาก็ตอบกลับมาว่านั่นคือสิ่งสำคัญที่หนูต้องออกไปตามหา ไปเก็บข้อมูลมา ให้มาแจ้งความ เจ้าหน้าที่ตำรวจถึงจะออกสืบภายหลังน่ะค่ะ อันที่จริงแล้วอยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยติดตามคดีให้กระจ่าง ให้มาไวๆ หน่อยค่ะ” พิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่-พอละจี รักจงเจริญ ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 กล่าว

“ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเมื่อต้นปี 2559 คดีทนายสมชาย นีละไพจิตร ระบุว่าผู้เสียหายในคดีอุ้มหาย หมายถึงคนที่ถูกเอาตัวไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ศาลฎีกากำลังบอกว่า ใครก็ตามต่อไปนี้ถูกลักพาตัวไป ต้องคนคนนั้นเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มาร้องทุกข์ ที่มาฟ้องดำเนินคดีได้ สามี ภรรยา ลูก ญาติใกล้ชิด ไม่สามารถเป็นผู้เสียหายตามความหมายของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาปัจจุบันได้ ศาลฎีกาตีความตามตัวอักษรเป๊ะ ซึ่งผมว่ามันเกิดผลประหลาดอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่รัฐก็ไม่ปล่อยผู้ที่ถูกเอาตัวไป เพราะปล่อยออกมาก็ไปร้องทุกข์ ถูกดำเนินคดี ถ้าอุ้มแล้วหายไป แม้จะมีการอุ้ม เห็นกันกลางตลาด ก็ไม่มีใครดำเนินคดีได้ เพราะผู้เสียหายไม่ปรากฏ ด้วยการตีความที่จำกัดมากๆ แบบนี้ของศาลฎีกา” ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กล่าว

สองข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของการบังคับสูญหายหรือ ‘อุ้มหาย’ ทั้งในเชิงข้อกฎหมาย กลไกการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และแนวคิดของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม และเนื่องด้วยวันที่ 30 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of the Disappeared) เพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายประเทศ และส่งผลให้มีผู้สูญหายและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงสอดคล้องกันพอดีหากจะทำความเข้าใจร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ.... ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกา ซึ่งเป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการสร้างกลไกรับมือกับการอุ้มหาย ซึ่งมักเกิดจากน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ

แต่ด้วยเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายที่จะกล่าวต่อไป ก็น่าเป็นห่วงว่ากฎหมายฉบับนี้จะถูกตีตกหรือผ่านการพิจารณาโดยไม่ถูกบิดเบือนได้หรือไม่ เมื่อดูบริบทการเมืองไทยปัจจุบันว่าใครคือผู้ครองอำนาจ

กม.ต้านอุ้มหาย กำหนดความผิด จนท.รัฐ โดยตรง-ผู้บังคับบัญชาโดนด้วย

ปกป้อง อธิบายว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้นำมาจากอนุสัญญาระหว่างประเทศ 2 ฉบับคืออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย โดยเนื้อหาสาระทั้งหมดในกฎหมายเป็นพันธกรณีตามอนุสัญญาที่ใส่เข้ามา สาระสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าวคือ

1.กฎหมายได้กำหนดนิยามการทรมานและการอุ้มหายไว้ตามพันธกรณีของอนุสัญญา เนื่องจากไทยไม่เคยมีกฎหมายลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำการทรมานและอุ้มหายประชาชนมาก่อน ที่ผ่านมามีแต่กฎหมายเทียบเคียงกัน เช่น ข้อหาทำร้ายร่างกาย ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษเบาและไม่สมเจตนาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงสูงสุดที่ทั่วโลกยอมรับว่ารัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจอ้างสถานการณ์ใดๆ เพื่อจะบังคับคนให้ทรมานหรือสูญหายได้ จึงจำเป็นต้องมีฐานความผิดเฉพาะและต้องลงโทษอย่างหนัก

2.กฎหมายกำหนดนิยามผู้เสียหายให้กว้างขวางขึ้น หมายถึงบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการทรมานหรือการอุ้มหาย และให้รวมถึงบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภรรยาของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะการตีความกฎหมายตามตัวอักษรแบบไม่ยืดหยุ่นของศาลฎีกาก่อให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวข้างต้น โดยผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ ติดตามผู้ที่ถูกเอาตัวไป และมีสิทธิรับการเยียวยาตามกฎหมายฉบับนี้

3.กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงต้องรับผิดทางอาญา หากรู้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาของตนซ้อมทรมานหรือบังคับบุคคลให้สูญหายและไม่ยับยั้ง

4.การคุมขังในที่ลับหรือที่ไม่เปิดเผยจะกระทำไม่ได้ ต้องคุมขังในสถานที่ที่ญาติพี่น้องรู้ สามารถเข้าเยี่ยมและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของผู้ถูกนำตัวไปได้ ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ยอมเปิดเผยหรือปกปิด ญาติพี่น้องของผู้ถูกคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่สามารถร้องต่อศาลให้สั่งเปิดเผยข้อมูลได้

5.ร่างกฎหมายให้คณะกรรมการตามกฎหมายฉบับนี้มีอำนาจค่อนข้างมากในการสืบสวนสอบสวนคดีซ้อมทรมานและอุ้มหาย คุ้มครองพยาน และช่วยเหลือเยียวยาญาติพี่น้อง

6.ที่ผ่านมานักสิทธิมนุษยชนหรือญาติเหยื่อที่ร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐมักถูกฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาท ร่างกฎหมายนี้จึงกำหนดให้การร้องเรียนทั้งหลายในคดีการซ้อมทรมานและบังคับสูญหายให้ได้รับความคุ้มครอง ไม่อาจถูกฟ้องแพ่ง-อาญาในคดีอื่นใด เพราะถือว่าการร้องเรียนในลักษณะนี้เป็นไปเพื่อสิทธิสาธารณะ ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และเจ้าหน้าที่รัฐควรสู้ในคดีการซ้อมทรมานและบังคับสูญหาย ไม่ใช่คดีหมิ่นประมาท

101 ราย คนไทยที่ถูกอุ้มหาย

บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สถานการณ์การอุ้มหายในระดับภูมิภาคเอเชีย ตัวเลขจากคณะทำงานเรื่องคนหายของสหประชาชาติ พบว่า มีบุคคลถูกบังคับให้สูญหายในฟิลิปปินส์ 625 ราย ไทย 81 ราย อินโดนีเซีย 163 ราย กัมพูชา 1 ราย ลาว 2 ราย พม่า 2 ราย ติมอร์ตะวันออก 428 ราย เนปาล 459 ราย ภูฏาน 5 ราย อินเดีย 354 ราย ปากีสถาน 151 ราย จีน 37 ราย เกาหลีเหนือ 20 ราย บังกลาเทศ 135 ราย และศรีลังกา 5,731 ราย โดยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนานมาแล้วและสะสมตัวเลขมากขึ้นเรื่อยๆ

“ยูเอ็นเน้นคำว่าทุกนาทีจะถูกนับ คือแต่ละนาทีที่ผ่านไปของการควบคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ให้ญาติทราบจะถือว่าเป็นการบังคับสูญหาย การคุมตัวประชาชนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งและไม่มีผู้ใดทราบว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะแค่วันเดียว ก็ถือเป็นการบังคับสูญหายตามอนุสัญญาฯ ของยูเอ็น”

“ส่วนในไทยที่อนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนรวบรวมตั้งแต่ปี 2534 เริ่มต้นที่คดีของคุณทนง โพธิ์อ่าน อดีตประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทยที่สูญหายไปหลังเหตุการณ์ รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ) เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 ไล่มาถึงกรณีบิลลี่ รวม 79 กรณี 100 ราย แต่ถ้ารวมกรณีลุงเด่น คำแหล้ จะเป็น 80 กรณี เท่ากับ 101 ราย ซึ่งแทบไม่รู้ชะตากรรมเลยว่าผู้สูญหายเป็นอย่างไร แม้กระทั่งกรณีที่มีความชัดเจนอย่างกรณีคุณสมชาย นีละไพจิตร ก็ยังไม่สามารถเอาผิดทางอาญา เป็นสิ่งสะท้อนความจริงจังและจริงใจของรัฐว่าดำเนินการอย่างไรกับกรณีเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2534 ถึงปัจจุบัน”

ทุกนาทีต้องถูกนับ

อย่างไรก็ตาม กรณีการบังคับบุคคลให้สูญหายหรืออุ้มหายนั้น สังคมไทยหรือแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐเองก็ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าหมายถึงการพาตัวไป สังหาร และทำลายศพ ซึ่งอังคณา นีละไพจิตร กล่วว่า ในปีนี้ แถลงการณ์ยูเอ็นเนื่องในวันที่ระลึกเหยื่อการถูกบังคับให้สูญหาย เน้นย้ำว่าการบังคับสูญหายไม่ใช่เฉพาะกรณีอุ้มฆ่าหรือทำลายศพ แต่ยังหมายถึงการทำให้สูญหายในระยะสั้นหรือชั่วคราว รวมกรณีที่นำตัวไปควบคุมโดยปกปิดสถานที่ด้วย

“ยูเอ็นเน้นคำว่าทุกนาทีจะถูกนับ คือแต่ละนาทีที่ผ่านไปของการควบคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ให้ญาติทราบจะถือว่าเป็นการบังคับสูญหาย การคุมตัวประชาชนไปยังสถานที่ใดสถานที่หนึ่งและไม่มีผู้ใดทราบว่าอยู่ที่ไหน ถึงแม้จะแค่วันเดียว ก็ถือเป็นการบังคับสูญหายตามอนุสัญญาฯ ของยูเอ็น”

ซึ่งสอดคล้องกับสาระของร่างกฎหมายฉบับนี้ อังคณา ยังกล่าวอีกว่า กรณีบังคับบุคคลสูญหายจะสิ้นสุดต่อเมื่อทราบที่อยู่และชะตากรรมของผู้สูญหาย กรณีการควบคุมตัวโดยปกปิดสถานที่หรือการอุ้มฆ่า จะถือว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นบุคคลสูญหายจนกว่าจะรู้ว่าผู้นั้นอยู่ที่ไหนและอยู่ในสภาพใด เมื่อถึงตอนนั้นอายุความจึงจะเริ่มนับ แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปี 70 ปีแล้วก็ตาม

อุ้มหายเป็นความผิดต่อเนื่อง เอาผิด จนท.รัฐ ได้

คำถามสำคัญคือหากกฎหมายฉบับนี้ผ่าน จะสามารถบังคับใช้กับกรณีการบังคับสูญหายที่เกิดขึ้นก่อนที่กฎหมายจะประกาศใช้ได้หรือไม่

ปกป้อง อธิบายว่า กฎหมายอาญาจะลงโทษคนย้อนหลังไม่ได้ เป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่สูงเท่าๆ กับการคุ้มครองการทรมานและอุ้มหาย จึงไม่อาจย้อนหลังไปลงโทษการกระทำก่อนที่กฎหมายจะบังคับ

“แต่ลักษณะของการอุ้มหายเป็นความผิดที่มีลักษณะต่อเนื่อง หมายถึงตราบใดก็ตาม ที่เจ้าหน้าที่รัฐที่นำตัวไป ยังไม่ได้ปล่อยตัว ยังไม่เปิดเผยสถานที่ ทุกวินาทียังมีความผิดอยู่ ดังนั้น แม้เจ้าหน้าที่รัฐจะได้นำตัวไปเมื่อ 10 ปีก่อนหรือ 5 ปีก่อน และยังไม่เปิดเผยว่าอยู่ที่ไหน ยังไม่ได้ปล่อยตัวออกมา กฎหมายออกวันนี้ วันนี้เจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นก็ยังมีความผิดอยู่ ไม่ใช่ลักษณะกฎหมายเอาผิดย้อนหลังเพราะมันเป็นลักษณะความผิดต่อเนื่องของการอุ้มหาย”

ปกป้องให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประชาไทต่อคำถามที่ว่า แล้วในกรณีการอุ้มหายมีอาจเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้รับเงินเยียวยา 7.5 ล้านบาทไปแล้ว จะยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายนี้ได้หรือไม่

“ถ้าตราบใดที่ยังไม่เปิดเผยขึ้นมาก็ยังถือเป็นความผิดตลอดเวลา การดำเนินคดีตามคดีนี้เพื่อเอาผิดยังมีอยู่ เพราะความผิดฐานอุ้มหายเป็นความผิดต่อเนื่อง ถ้าคุณเอาตัวเขาไป ยังไม่เปิดเผยว่าเขาอยู่ที่ไหนก็ยังเป็นความผิดอยู่ตลอดเวลา”

หวั่น กม.ถูกตีตกหรือบิดเบือน

เมื่อดูจากเนื้อหาสาระของกฎหมายและสถานการณ์การอุ้มหายในประเทศ คนที่ติดตามสถานการณ์ร่างกฎหมายฉบับนี้จะสามารถผ่านออกมาได้หรือไม่ หรือจะผ่านออกมาโดยไม่ถูกบิดเบือนหลักการหรือไม่ ซึ่งมีสัญญาณเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่การร่างกฎหมายจนถึงตอนนี้

อย่างเช่นตัวคณะกรรมการตามกฎหมาย ปกป้องซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่างเปิดเผยว่า ระหว่างการร่างนั้นเขาได้กำหนดให้คณะกรรมการมีตัวแทนทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชน โดยให้มีตัวแทนญาติผู้เสียหาย 2 คน ซึ่งจะถือเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือเหยื่อและญาติผู้เสียหายในอนาคต รวมทั้งสะท้อนประเด็นความเสียหายที่เคยได้รับให้กรรมการคนอื่นได้ทราบ แต่เนื้อหาส่วนนี้ถูกตัดออก ปกป้องเสริมด้วยว่า

“เราต้องรักษาอำนาจการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการไว้ เพราะถ้าคนที่อุ้มหายกับคนสอบสวนอยู่หน่วยงานเดียวกัน โอกาสที่คดีจะเดินไปอย่างปกติมีน้อย เพราะมีความพยายามจะทำให้คณะกรรมการมีอำนาจเพียงการกำหนดนโยบาย ส่วนหน้าที่แอ็คทีฟพยายามจะให้ไปเป็นเรื่องของหน่วยงานรัฐปกติ ซึ่งผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะเรื่องนี้ต้องการความเป็นกลาง คนที่ถูกกล่าวหาเรื่องนี้คือเจ้าหน้าที่รัฐและบางกรณีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ถ้าให้องค์กรปกติที่มีอยู่ทำ ผมเกรงว่าจะมีใบสั่ง”

เช่นเดียวกับบุญแทนที่กล่าวว่า

“ผมระแคะระคายว่า ในที่ประชุมของกฤษฎีกามีการถกร่างกฎหมายนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 34 ที่จะให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นสำนักงานธุรการของคณะกรรมการ แต่มีข้อถกเถียงว่าไม่ควรเป็นกรมคุ้มครองสิทธิฯ น่าจะเป็นดีเอสไอหรือแม้กระทั่ง สตช. (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญ คณะกรรมการต้องมีความเป็นอิสระ แต่หน่วยงานด้านธุรการก็มีความสำคัญในการทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ถ้าสำนักงานด้านธุรการอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรที่อาจเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการร้องเรียน อาจทำให้การตรวจสอบบิดเบี้ยวไปได้”

สิ่งเดียวที่ยกเว้น กม.ต้านการอุ้มหายได้ คือ ม.44

ผู้สื่อข่าวประชาไทถามว่า หากร่างกฎหมายนี้ถูกใช้จะสามารถถูกยกเว้นด้วยกฎหมายอื่นๆ หรือไม่ เช่น กฎอัยการศึกหรือ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ปกป้องอธิบายว่า ร่างกฎหมายนี้เป็นพระราชบัญญัติซึ่งมีศักดิ์เท่ากับพระราชบัญญัติอื่นๆ และไม่ได้ทำให้การใช้อำนาจตามกฎหมายอื่นหายไป แต่เป็นการวางแนวทางปฏิบัติ เช่น ถ้ากฎหมายยาเสพติดอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐควบคุมตัวบุคคลได้ 3 วันโดยไม่ต้องตั้งข้อหา เจ้าหน้าที่รัฐยังสามารถทำได้ แต่จะต้องแจ้งให้ญาติพี่น้องของผู้ถูกควบคุมตัวทราบว่าถูกคุมตัวอยู่ที่ใด

ปกป้องกล่าวว่าหนทางเดียวที่จะยกเว้นกฎหมายนี้ได้ในบริบทปัจจุบันคือมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557

ตัดกลับมาในสถานการณ์ร้อนอย่างความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะทหารถูกสังคมตั้งคำถามว่ามีส่วนในการซ้อมทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือไม่นั้น และเมื่อดูบริบททางการเมืองไทยว่าผู้ถือครองอำนาจเป็นใคร บุคคลที่จะยกมือให้กฎหมายผ่านหรือไม่ผ่านถูกเลือกโดยใคร ก็ชวนคิดว่า ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ.... จะสามารถผ่านออกมาได้หรือไม่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 24-30 ส.ค. 2559

$
0
0

กระทรวงแรงงานจ่อชงเพิ่มสิทธิลูกจ้างรัฐวิสาหกิจฯ
 
นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลมีความห่วงใยพนักงานรัฐวิสาหกิจในช่วงระหว่างที่จะมีการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ 12 แห่ง ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น จึงจะปรับปรุงสิทธิ ด้านสวัสดิการของพนักงานให้สูงขึ้นเป็นการทดแทนไปก่อน โดยคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้มีการประชุมหารือเตรียมเสนอปรับหลักเกณฑ์การจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ให้กับลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจโดยให้มีหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเช่นเดียวกับข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดนิยามคำว่า “การรักษาพยาบาล” “ค่ารักษาพยาบาล” ตลอดจนปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อการตรวจสุขภาพ การเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคให้สอดคล้องและเป็นไปเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ที่เป็นของข้าราชการ
 
นอกจากปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้ว ยังได้เพิ่มเติมนิยามและหลักเกณฑ์การจ่ายกรณีป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ให้สามารถรับบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ใดก็ได้ รวมทั้งสถานพยาบาลเอกชนนอกระบบของตน โดยไม่ต้องสำรองค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตามนโยบายรัฐบาล รวมถึงการขยายสิทธิและอัตราการจ่ายค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ให้จนถึงระดับปริญญาตรี เช่นเดียวกับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรข้าราชการด้วย
 
 
สหภาพฯ ทีโอทียื่นข้อเสนอยินดีรับใช้ต่อนายกฯ 8 ข้อ
 
เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2559 เวลาประมาณ 10.30 น. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดย นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี ประธานสหภาพฯ และนายอนุชิต ธูปเหลือง รองประธานสหภาพฯ พร้อมด้วยตัวแทนพนักงานทีโอที เดินทางมาที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นหนังสือข้อเสนอแก้ปัญหาทีโอทีให้เป็นรัฐวิสาหกิจที่ยั่งยืน ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 8 ข้อ โดยระบุว่า หลังจากที่เว็บไซต์ manager.co.th ได้เขียนบทวิเคราะห์ เรื่อง หมดเวลาเผาหลอก ได้เวลาเผาจริง ทีโอที เมื่อวันที่ 18 ส.ค.2559 โดยมีใจความเกี่ยวกับโครงการอินเทอร์เน็ตหมู่บ้านว่าอาจจะไม่ใช่ทีโอทีที่ได้ทำโครงการดังกล่าวนั้น ทำให้พนักงานมีความกังวลใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นจึงขอเสนอศักยภาพที่ทีโอทีมีต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
 
นายอนุชิต กล่าวว่า ข้อเสนอ 8 ข้อ ประกอบด้วย 1.ขอให้ทีโอที ทำโครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านจำนวน 40,000 หมู่บ้าน 2.มอบนโยบายให้ทีโอทีสร้างโครงข่ายที่มุ่งเน้นคุณภาพบริการ รวมทั้ง คุณค่าในเรื่องความปลอดภัยของโครงข่ายและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการเพื่อรองรับบริการ อี-เซอร์วิส ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น 3.มอบนโยบายให้ทีโอที ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ เพื่อสร้างบริการ อี-เซอร์วิส ต่างๆ ที่จะผลักดันให้เกิด อี-โซไซตี้ อย่างรวดเร็ว เช่น โครงการ CCTV โดยเฉพาะเพื่อความมั่นคง ในพื้นที่สำคัญ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
4.มอบนโยบายให้ทีโอที เป็นผู้ให้บริการสื่อสารข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐด้วยอุปกรณ์ โครงข่ายสื่อสารของทีโอที เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารภาครัฐ รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดที่จะนำบริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง เข้ามาใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ 5.ขอให้สถาบันวิชาการทีโอที เป็นหน่วยงานอบรมด้านไอซีทีให้แก่ภาครัฐ 6.ขอให้ทีโอที ตั้งบริษัทลูกเพื่อทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เพื่อขายสินค้าโอทอป และสินค้าเอสเอ็มอีที่รัฐบาลสนับสนุน 7.ขอให้เร่งรัดคณะกรรมการทีโอที ในการลงนามเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนำทรัพย์สินอุปกรณ์โครงข่ายที่รับมอบจากสัญญาสัมปทานเอไอเอสหลังจากสิ้นสุดลงมาใช้ ประโยชน์หารายได้ รวมทั้งพันธมิตรที่จะเข้าร่วมให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ของทีโอที ซึ่งปัจจุบันมีความล่าช้าในการดำเนินการ และ 8.ขอให้เร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการทีโอที ในการแก้ปัญหาข้อพิพาทต่างๆ ที่บริษัทเอกชนร่วมการงานกับทีโอที ในอดีตฟ้องร้องทีโอที
 
นายอนุชิต กล่าวต่อว่า การยื่นหนังสือดังกล่าวมีสัญญาณในการตอบรับที่ดี และเรื่องดังกล่าวนายกรัฐมนตรี รับทราบ และพร้อมที่จะให้ทีโอทีมีส่วนร่วมกับคณะที่ทีมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ฝากข้อความจาก นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีไอซีที มาถึงตนเองว่า “ขอบคุณกับสหภาพ ในนาม นรม.ครับเพื่ออนาคตที่ดีกว่าต้องคิดใหม่ ดีกว่าล้มเหลว รัฐบาลก็ล้มตามไปด้วยหากต้องอุดหนุนตลอดไป ทำตัวเองให้เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนองค์กร ตัวเองให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของแสวงหาความร่วมมือกันทั้งใน นอกองค์กร”
 
ด้าน นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพฯ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในวันที่ 24 ส.ค. กสท ยังคงเชิญชวนพนักงาน กสท และทีโอที มาร่วมฟังเสวนา “ผ่าแผนโทรคมของชาติ CAT-TOT วิกฤติ หรือ โอกาส?...ประเทศไทย” จัดโดยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) โดยวิทยากร ได้แก่ นายอนุภาพ ถิรลาภ นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมวุฒิสภา/นายกสภาทนายความ น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.และอดีต สปช.ด้านพลังงาน พร้อมผู้แทนกระทรวงการคลัง เวลา 08.30 น. เป็นต้นไปที่ CAT Convention Hall
 
 
ประกันสังคมลุยเพิ่มสิทธิ ‘คนพิการ’ ยังแทงกั๊กโอนย้ายซบ สปสช.
 
นายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงสิทธิประโยชน์เรื่องการรักษาพยาบาลให้กับคนพิการ โดยได้มอบหมายให้กองที่รับผิดชอบไปพิจารณาเทียบเคียงดูว่าสิทธิประโยชน์ใดที่คนพิการในระบบประกันสังคมได้รับน้อยกว่าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้กับผู้ที่ใช้สิทธิบัตรทอง เมื่อทราบแล้วก็ให้เร่งแก้ไขปรับปรุงโดยเร็ว
 
"ระบบประกันสังคมมีการผูกผู้ประกันตนไว้กับโรงพยาบาลที่ลงทะเบียน ซึ่งเราก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ด้วย" นายโกวิท กล่าว
 
นายโกวิท กล่าวอีกว่า ระหว่างที่คณะกรรมการแพทย์หารือกันว่าจะปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ส่วนใดให้เทียบเท่าระบบบัตรทองนั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่าในช่วงรอยต่อนี้จะดูแลคนพิการให้ได้รับบริการที่สะดวกสบายอย่างไร
 
สำหรับแนวคิดเรื่องการโอนคนพิการจากระบบประกันสังคมไปให้ สปสช.เป็นผู้ดูแลนั้น ส่วนตัวมองว่ายังเป็นแนวคิดที่ต้องพิจารณาในหลายด้านและมีผลกระทบเกี่ยวโยงกับหลายหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น เมื่อ สปส.โอนคนพิการไปก็ต้องให้เม็ดเงินแก่ สปสช.ด้วย คำถามคือเงินส่วนนี้ใครจะเป็นผู้จ่าย
 
"ถามว่าจะเอาเงินจากไหน รัฐบาลหรือสำนักงานประกันสังคม นี่ยังไม่นับสิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ซ้อนทับกันอยู่มากกว่าแค่เรื่องสิทธิรักษาพยาบาล ที่สุดแล้วต้องกลับมาดูว่าข้อเสนอดังกล่าวมันทำได้จริงหรือไม่ หลายคนมองว่าเป็นเรื่องง่ายแค่โอนย้ายไปก็จบ แต่ในรายละเอียดยังมีอีกมาก"นายโกวิท กล่าว
 
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานแก่คนพิการกำลังทำให้คนพิการได้รับความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ โดยคนพิการที่สมัครเข้าทำงานและมีนายจ้างจะต้องเปลี่ยนสิทธิประกันสุขภาพจากเดิมที่ใช้ระบบบัตรทองเป็นประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด
 
ทั้งนี้ ระบบบัตรทองให้สิทธิคนพิการรักษาฟรีในสถานพยาบาลใดก็ได้ ขณะที่ระบบประกันสังคมคนพิการจะต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิ และสามารถเข้ารับการรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลต้นสังกัดที่ลงทะเบียนประกันตนเอาไว้เท่านั้น
 
สำหรับทางแก้ไข นพ.ยศ เสนอว่า ให้โอนคนพิการจากระบบประกันสังคมมาสู่ระบบบัตรทอง ซึ่งชัดเจนว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
 
 
อนุ กก.ค่าจ้างชงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 13 จังหวัด ตั้งแต่ 4-60 บาท
 
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) เปิดเผยถึงความคืบการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำปี 2560 ว่า หลังจากที่มอบหมายให้ทางคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างจังหวัด ไปสำรวจข้อมูลในแต่ละพื้นที่ก่อนรวบรวมมาเสนอยังกระทรวงแรงงานใน 3 ประเด็น อาทิ สภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพของแรงงาน และความสามารถในการจ่ายของนายจ้างในพื้นที่ เพื่อให้ทางคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองวิเคราะห์ นำไปเข้าสูตรคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์ว่าควรปรับขึ้นค่าจ้างหรือไม่ และในอัตราเท่าใดที่จะเหมาะสม ให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อที่จะให้เลขานุการคณะกรรมการค่าจ้าง นำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดค่าจ้าง ที่จะประชุมในวันที่ 15 ก.ย.นี้
 
ม.ล.ปุณฑริก เปิดเผยอีกว่า จากข้อมูลผลสรุปของอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัดที่ส่งมา พบว่า มีจังหวัดที่ขอขึ้นค่าจ้าง 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบูรณ์ สกลนคร พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี กระบี่ ภูเก็ต นราธิวาส และสระบุรี ซึ่งมีการเสนอขอปรับใน 2 อัตรา คือ ฝ่ายนายจ้างเสนอเพิ่ม 15 บาท ฝ่ายลูกจ้างเสนอเพิ่ม 60 บาท ขณะที่มีอีก 2 จังหวัด ที่ทางคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ในการปรับขึ้นค่าจ้าง โดยฝ่ายลูกจ้างขอปรับ แต่นายจ้างไม่ขอปรับ คือ จังหวัดปทุมธานี ขอเพิ่มที่ 20 บาท และสมุทรสาคร 60 บาท
 
"ภาพรวมการขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 4 - 60 บาท ใน 13 จังหวัด ส่วนอีก 64จังหวัดที่เหลือไม่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รวมถึงกรุงเทพฯด้วย"ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
 
 
กรมการจัดหางานออกพระราชกำหนดนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศเผยนายจ้างต้องวางหลักประกันไม่น้อยกว่า 5 ล้าน
 
เมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2559 นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2559 ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศอย่างเหมาะสม และป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งเสริมสร้างการให้ความคุ้มครองผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ได้รับความเป็นธรรมตามแนวทาง กฎเกณฑ์ และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในนานาประเทศ มีสาระสำคัญกำหนดให้มีการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศได้ 2 กรณี คือ 1. นายจ้างเป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงานด้วยตนเอง ซึ่งจะต้องมีการวางเงินประกันกับทางราชการตามอัตราที่กำหนด
 
2. ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชกำหนดนี้เป็นผู้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ซึ่งจะต้องมีการวางเงินประกันการประกอบธุรกิจเป็นเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท โดยกระบวนการขั้นตอนการนำคนต่างด้าวมาทำงานต้องเป็นไปตามที่ทางราชการกำหนด
 
นายอารักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้พระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศฉบับนี้ กำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบกิจการเรียกค่าตอบแทน ซึ่งเป็นค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากนายจ้างเท่านั้น ซึ่งในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการกระทำผิดสัญญาในการนำเข้าคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ สามารถหักเงินจากหลักประกันที่ผู้ประกอบกิจการวางไว้กับอธิบดีกรมการจัดหางานคืนนายจ้างได้
 
นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและนายจ้าง เป็นผู้รับผิดชอบคนต่างด้าวที่นำเข้ามาทำงานในประเทศร่วมกัน โดยมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนด้วย ซึ่งมาตรการดังกล่าว จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนต่างด้าว นายจ้าง รวมทั้งจัดระเบียบผู้ประกอบกิจการในประเทศไทยอีกด้วย อีกทั้งยังเปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าแรงงานต่างด้าว สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้อีกเป็นเวลา 60 วัน
 
 
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเร่งจัดทำแผนจัดส่งพ่อครัวแม่ครัว ไปทำงานต่างประเทศนัดหารือสัปดาห์หน้า เดินหน้าจัดอบรมให้ได้ 500 คน
 
นายกรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานบอกว่า กพร.ได้รับการสนับสนุนงบจากรัฐบาลในการดำเนินโครงการครัวไทยสู่ครัวโลกประมาณ 2 ล้านบาท โดยจะอบรมพ่อครัวแม่ครัวไทยในจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเช่น กทม. พิษณุโลก เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี ให้ได้ 500 คน โดย พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงานได้มอบนโยบายให้จัดทำแผนฝึกอบรมเพื่อจัดส่งพ่อครัวแม่ครัวไทยไปทำงานต่างประเทศ เช่น เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ซึ่งกกจ. จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือในสัปดาห์หน้าเพื่อจัดทำแผนเพื่อเสนอของบต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)
 
 
เตือนคนไทยทำงานเกาหลีระวังถูกหลอกผ่านโซเชียล
 
กรณีนักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาเปิดเผยผลการศึกษาข้อมูลแรงงานไทยในเกาหลีใต้ โดยระบุว่า ในปี 2558 มีแรงงานไทยไปทำงานถูกกฎหมาย 19,336 คน เป็นการจัดส่งโดยรัฐ 7,100 คน และมีบางส่วนลักลอบเดินทางจากการชักชวนผ่านเฟซบุ๊กไปทำงานนวดแผนโบราณ อ้างว่ามีรายได้เดือนละเป็นแสนบาท แต่กลับถูกหลอกลอยแพ แถมยังถูกนายจ้างบังคับค้าประเวณี
 
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนไม่รู้ว่านักวิจัยคนนี้เคยศึกษาข้อมูลของกระทรวงแรงงานบ้างหรือไม่ ว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรไปบ้าง กกจ.ประกาศเตือนมาตลอด อย่าหลงเชื่อการชักชวนไปทำงานนวดในเกาหลีใต้ เพราะการจัดส่งไปทำงานโดยรัฐผ่านระบบอีเอสพี จะมีการจัดสอบคัดเลือก และนายจ้างเกาหลีจะเป็นคนจ้างงานเอง และไม่มีการจ้างงานนวดแผนโบราณ หรือนวดน้ำมัน ตามที่มีการชักชวนผ่านทางโลกโซเชียลฯ อาทิ เฟซบุ๊ก หรือไลน์ ที่มีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันการเดินทางเข้าประเทศเกาหลีไม่ต้องใช้วีซ่า ซึ่งผลจากการลักลอบไปทำงานคนกลุ่มนี้ ก็ทำให้ด่านตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีต้องเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจคนไทย อีกทั้งคนไทยบางส่วนยังถูกส่งตัวกลับ ห้ามเข้าประเทศเกาหลี
 
นายอารักษ์กล่าวว่า คนไทยนิยมเดินทางไปทำงานในเกาหลีใต้ เพราะเป็นการจัดส่งโดยรัฐมีค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยไปทำงานด้านอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ปศุสัตว์ ก่อสร้าง การประมงและการบริการ มีรายได้ดี เฉลี่ยเดือนละประมาณ 40,000 บาท ส่วนใหญ่แรงงานจะเป็นผู้ชาย ทุกครั้งที่มีการประกาศเปิดรับสมัครมีคนสนใจเป็นจำนวนมากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีคนงานเดินทางไปกว่า 4,000 คน
 
ปัจจุบันการหลอกลวงไปทำงานโดยนายหน้าหรือบริษัทจัดหางานจึงไม่มี แต่ที่บอกว่าถูกหลอกไปทำงานนั้น เป็นลักษณะการสมัครใจเดินทางไปเองในรูปแบบนักท่องเที่ยว แล้วไปโดดทัวร์ทำงานตามคำชักชวน เมื่อไม่เป็นไปตามทั้งคาดหวัง ก็บอกว่าถูกหลอกโดยเฉพาะอาชีพนวด คนที่จะเดินทางไปทำงาน ต้องรู้ลักษณะงานแล้วว่าต้องเจออะไร เพราะส่วนใหญ่มีแฝงค้าบริการทางเพศ จึงขอเตือนคนหางานอย่าหลงเชื่อคำชักชวน ถ้าไม่อยากตกเป็นเหยื่อ
 
"สำหรับแรงงานที่เดินทางไปเกาหลีอย่างถูกต้องผ่านการจัดส่งโดยรัฐตามที่ได้รับอนุญาต ก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ก่อนไปมีการฝึกอบรมสอบภาษาเกาหลี มีสัญญาจ้างอย่างถูกต้อง และในเกาหลีมีสำนักงานแรงงานไทยคอยให้การดูแลอยู่แล้ว" อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจการรับสมัครงานในประเทศเกาหลีใต้ ผ่านทางโซเชียล มีเดีย อาทิ เฟซบุ๊กหรือไลน์ พบว่ามีอยู่จำนวนมาก โดยระบุต้องการพนักงานนวดหญิงสาวรูปร่างหน้าตาดี อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป มีมนุษยสัมพันธ์ มีประสบการณ์นวดไม่ต่ำกว่า 3 เดือน สามารถนวดไทย นวดน้ำมัน สื่อสารภาษาอังกฤษได้พอสม ควร
 
นอกจากส่งไปเกาหลีใต้ ยังมีประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ดูไบ ซึ่งล้วนโฆษณาชวนเชื่อว่ามีรายได้ดี โดยงานนวดในเกาหลีใต้จะมีรายได้เดือนละ 70,000-100,000 บาท ค่าทิปต่างหาก มีสวัสดิการที่พัก อาหาร ส่วนคนที่สนใจแต่ไม่มีประสบการณ์นวด มีจัดสอนนวดให้ก่อนเดินทาง เพราะไปถึงแล้วต้องไม่มีปัญหาในการรับลูกค้า โดยมีการยืนยันด้วยว่าไม่มีการแฝงค้ากาม และให้คนสนใจส่งรูปพร้อมประวัติ ไปให้พิจารณาทางอีเมลและไลน์ส่วนตัว จากนั้นให้รอการตอบกลับ ซึ่งมีหญิงสาวให้ความสนใจสอบถามเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงสูงที่หากคนหางานไปทำงานในลักษณะนี้จะถูกหลอกลวง.
 
 
7 องค์กรผนึกกำลังส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในที่ทำงาน
 
วันที่ 26 สิงหาคม 2559 ที่ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการระหว่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สภาการพยาบาล องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีสวัสดิการมุมนมแม่ และมีนโยบายที่อนุญาตให้พนักงานหญิงมีเวลาพักเพื่อบีบเก็บน้ำนมได้ ซึ่งเป็นสวัสดิการสำคัญที่จะช่วยให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง
 
ศาสตราจารย์ คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล กล่าวว่า จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2555 พบว่ามารดาไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ปรากฏเพียงร้อยละ 12.3 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญอันหนึ่งมาจากที่มารดาไทยต้องทำงานนอกบ้าน ในขณะที่สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานไม่เอื้อต่อการบีบเก็บน้ำนม ดังนั้น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จึงริเริ่มทำงานร่วมกันเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการกิจการ ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน สามารถผลักดันให้เกิด มุมนมแม่ในสถานประกอบการกิจการจำนวน 1,026 แห่ง มีต้นแบบมุมนมแม่ จำนวน 47 แห่งใน 17 จังหวัด และมีศูนย์เรียนรู้จำนวน 5 แห่งใน 3 จังหวัดที่สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานและทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานประกอบกิจการใหม่ๆ ที่สนใจดำเนินการในเรื่องนี้ จากการเก็บข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในบริษัทที่เข้าร่วมโครงการสร้างงานดี ชีวีมีสุข ด้วยนมแม่ จำนวน 17 แห่ง พนักงานให้ข้อมูล 885 คน พบว่ามีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนถึงร้อยละ 27.9 ในปี 2559”
 
นางพรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า “การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการถือเป็นความท้าทายเพราะประเทศไทยมีสถานประกอบกิจการถึง 400,000 แห่ง จึงต้องอาศัยความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อให้ผู้หญิงวัยทำงานมีโอกาสได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้น การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จัดได้ว่าเป็นการรวมพลังของทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนกลไกการสนับสนุน และส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้หญิงวัยทำงาน และคุณภาพชีวิตของเด็กแรกเกิด อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศอย่างยั่งยืนและเกิดเป็นรูปธรรมในระยะยาว”
 
แพทย์หญิงศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ทั้ง 7 องค์กร ที่มาร่วมลงนามความร่วมมือในวันนี้ ต่างเล็งเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาเด็กซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ แต่ละองค์กรจะให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และดำเนินการเช่น สภาการพยาบาลจะช่วยพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพในสถานประกอบกิจการ และ สสส. จะช่วยประสานกับองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐเอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่”
 
“นมแม่เป็นอาหารชั้นยอดที่มีคุณค่ามากที่สุดต่อการพัฒนาทางร่างกายและสมองของทารก โดยที่ไม่มีอาหารอื่นใดจะเทียบเคียงได้” นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าว “ดังนั้น เพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ แม่ที่ต้องไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นที่โรงงานหรือสำนักงาน ต้องมีเวลาและมีมุมนมแม่ที่ทำให้พวกเธอสามารถมาบีบเก็บน้ำนมในระหว่างวันได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องของทุกภาคส่วนของสังคมที่จะต้องมาร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนให้แม่ที่ต้องไปทำงานสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้ เพื่อสร้างอนาคตที่ดีที่สุดให้แก่เด็กๆ ของเรา ครอบครัวของเรา และประเทศของเรา”
 
ในงานนี้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เปิดตัวแอพลิเคชั่น “มุมแม่”หรือ MoomMae เพื่อบริการเนื้อหาความรู้นมแม่ ข้อมูลคลินิกนมแม่ในโรงพยาบาลและสถานที่ตั้งของมุมนมแม่ด้วย
 
 
ก.แรงงานจับมือ ILO สัมมนาปฏิรูปยกระดับระบบบำนาญ
 
หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานเปิดการสัมมนาว่าด้วย "ทางเลือกสำหรับการปฏิรูปและยกระดับระบบบำนาญของประเทศไทย" (Options for Reform and Improvement of Thailand's Pension System) ซึ่งมี นายเมาริซิโอ้ บุซซี่ (Mr.Maurizio Bussi) ผู้อำนวยการองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสปป.ลาว (ILO) ร่วมเป็นประธาน กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีก 20-25 ปีข้างหน้า เนื่องจากคนไทย โดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้อัตราส่วนของ ผู้สูงอายุต่อวัยแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวง แรงงานจึงได้เตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุ อาทิ การปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน การแก้ไขกฎหมายกำหนดอายุเกษียณ การพิจารณาอัตราค่าจ้างสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการทำงาน ทั้งงานพาร์ทไทม์ และงานรายชั่วโมง การปฏิรูปกฎหมายประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีงานหรือทำกิจกรรมที่เหมาะสม รวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุด้วย
 
ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญในการเสริมสร้างหลักประกันบำนาญเพื่อผู้สูงอายุ ให้ครอบคลุมประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานประกันสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนั้น องค์กรระหว่างประเทศยังได้เข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน โดยเฉพาะในด้านความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
 
"เป็นโอกาสดีที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านความคุ้มครองทางสังคมมาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์บำนาญในประเทศไทย ทั้งประเด็นความเพียงพอ ของเงินบำนาญ ความเหมาะสมของระดับการ ออมเงินบำนาญ แนวทางการออมเงินแบบ Defined Benefit และ Defined Contribution ผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และความมั่นคงของคนไทย"
 
 
แรงงานตัดเย็บบุรีรัมย์ร้อง! นายจ้างประกาศย้าย รง.ด่วน หวังลอยแพเลี่ยงจ่ายชดเชย
 
(25 ส.ค.) ตัวแทนแรงงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า บริษัท ฟาร์อีสท์ปั่นทออุตสาหกรรม จำกัด การ์เมนท์ 6 ตั้งอยู่เลขที่ 391 หมู่ที่ 1 บ.พุทไธสง ต.พุทไธสง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ร่วม 100 คน จากทั้งหมดกว่า 250 คนได้เดินทางเข้ามาร้องขอความช่วยเหลือที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากทางบริษัทฯ ได้ติดประกาศจะย้ายสถานประกอบกิจการไปยังกรุงเทพมหานครแบบกะทันหันในวันที่ 1 ต.ค.นี้ อยู่ห่างไกลจากภูมิลำเนาของแรงงานซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ รวมทั้งจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตด้วยจึงไม่สามารถย้ายตามไปทำงานกับทางบริษัทได้
 
อีกทั้งการติดประกาศย้ายสถานประกอบกิจการของทางบริษัทฯ ในครั้งนี้ไม่ได้มีมาตรการรองรับดูแลหรือเยียวยาแรงงานแต่อย่างใด ทำให้แรงงานกลัวจะถูกลอยแพและไม่ได้เงินชดเชยตามสิทธิ เชื่อว่าการประกาศย้ายสถานประกอบกิจการในครั้งนี้เป็นการเลี่ยงกฎหมายหรือปัดความรับผิดชอบ เพราะหากประกาศเลิกจ้างทางบริษัทจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างตามอายุงานให้แก่แรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน จึงเลี่ยงเป็นการประกาศย้ายสถานประกอบกิจการแทน
 
นางบุปผา แซ่ลิ้ม อายุ 48 ปี บอกว่า ทำงานกับบริษัท ฟาร์อีสท์ฯ มาตั้งแต่ปี 2547 ที่ผ่านมาได้ย้ายตามบริษัทมา 4 ครั้งแล้ว แต่ก็ย้ายอยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ไม่ได้ออกต่างจังหวัด แต่ครั้งนี้ทางบริษัทประกาศจะย้ายไปไกลจากภูมิลำเนาทำให้ไม่สามารถย้ายตามไปได้เพราะจะเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน อีกทั้งมองว่าการประกาศย้ายสถานประกอบกิจการในครั้งนี้นายจ้างต้องการปัดความรับผิดชอบจะไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้แก่แรงงานตามสิทธิ จึงได้มาร้องขอความช่วยเหลือ
 
เช่นเดียวกับนางประนอม กมลรัมย์ อายุ 43 ปี มองว่าการประกาศย้ายสถานประกอบกิจการเป็นการกดดันแรงงานทางอ้อม เพราะหากใครไม่สมัครใจตามไปทำงานถือว่ายอมหยุดทำงานเอง โดยที่นายจ้างไม่ต้องรับผิดชอบอะไร จึงอยากให้ทางบริษัทเห็นใจหากจะย้ายสถานประกอบการก็ขอให้จ่ายเงินชดเชยให้แก่แรงงานช่วงที่ว่างงานด้วยเพราะยังไม่รู้ว่าอีกนานแค่ไหนจึงจะได้งานทำ
 
ด้านนายประภาส ศิลปรัศมี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้ประสานหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้งแรงงานจังหวัด จัดหางาน ประกันสังคม และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน มาร่วมชี้แจงถึงสิทธิให้แรงงานได้รับทราบ พร้อมหาแนวทางช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการย้ายสถานประกอบกิจการของทางนายจ้าง ให้ได้รับสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ทั้งเรื่องสวัสดิการที่ควรจะได้รับ รวมถึงการจัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ การฝึกฝีมือให้แก่แรงงานตามความถนัด เป็นการบูรณาการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานอย่างเต็มที่
 
 
รมว.แรงงานลงภูเก็ตย้ำใช้กฎหมายเข้มคุมแรงงานเถื่อนยันต้องมีนายจ้างเท่านั้น
 
(26 ส.ค.) ที่ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะผู้บริหาร เดินทางมาตรวจราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อประชุมติดตามผลการดำเนินงานด้านแรงงาน ตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมรับฟังประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากนักธุรกิจ นักลงทุนในพื้นที่ จ.ภูเก็ต อาทิ ประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานหอการค้า สมาคมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมมัคคุเทศก์ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง อาสาสมัครแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในนโยบายด้านแรงงานของรัฐบาล โดยเฉพาะการดำเนินงานของกระทรวงแรงงานในปัจจุบัน ได้มีการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งสอดคล้องต่อยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลอื่นๆ เพื่อเป็นการวางรากฐานการดำเนินงานด้านแรงงานที่มีความยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไป
 
นายธีรพล ขุนเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ในวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รวมทั้งผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน มาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งมาสร้างการรับรู้ถึงนโยบายของรัฐบาล ในงานของกระทรวงแรงงานด้วย ที่สำคัญมารับทราบปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะต่างๆ จากภาคเอกชน ซึ่งในวันนี้ทางภาคเอกชนได้เสนอแนะในหลายประการซึ่งเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยากจะให้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครอบคลุมทุกสาขา ซึ่งเรื่องนี้เป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอยู่แล้ว ซึ่งจะไม่ยึดโยงกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แต่จะเน้นในอัตราตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมา สามารถที่จะกำหนดมาตรฐานอัตราฝีมือแรงงานไปแล้ว 55 สาขา และอยู่ระหว่างขยายเพิ่มในปีนี้อีก 12 สาขา ใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม และในปี 60 จะเพิ่มเติมอีก 16 สาขา ในอีก 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ก็จะให้ครอบคลุมในทุกสาขาตามที่ภาคเอกชนต้องการ ทำให้มีค่าตอบแทนที่สูงขึ้นตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ขั้นต่ำที่สุดคือ 360 บาทต่อวัน สูงที่สุดคือ 880 บาทต่อวัน
 
ที่สำคัญอย่างยิ่ง จังหวัดภูเก็ต ถือว่าเป็นแลนมาร์กในด้านการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้นการเตรียมความพร้อมของกำลังแรงงานเกี่ยวกับด้านนี้ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดี เพื่อที่จะให้มีศักยภาพเทียบเท่าระดับโลก เพราะว่าสามารถที่จะสร้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่จังหวัดภูเก็ตและประเทศเป็นจำนวนมาก อีกส่วนหนึ่งที่จังหวัดภูเก็ตได้รับตามนโยบายของรัฐบาลคือเป็นซูเปอร์เซ็นเตอร์ด้านดิจิตอล ทางกระทรวงแรงงานเองก็มีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สอดรับต่อทางรัฐบาลมอบหมายให้เป็นซูเปอร์เซ็นเตอร์ด้านดิจิตอล
 
ส่วนเรื่องการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีการดำเนินการจัดระเบียบการทำงานให้เป็นระบบบูรณาการเชื่อมโยงกันและกันในทุกฝ่าย ทั้งนี้ เพื่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมด้วย ส่วนเรื่องการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวซึ่งไม่มีขยายเวลาแล้วนั้น นโยบายต่อไปคือ การใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มข้น ประเด็นที่สอง เร่งรัดและอำนวยความสะดวกในการนำเข้ามาแบบเอ็มโอยู เพื่อที่จะได้มีการตรวจสัญชาติตั้งแต่ประเทศต้นทาง และสามารถทำงานเข้าสู่ระบบการดูแลที่ แรงงานต่างด้าวสามารถทำงานได้อย่างสบายใจ ประเทศต้นทางก็มีความสุขด้วยที่เห็นคนของเขามาทำงานในประเทศไทย และทำงานอย่างมีความสุข ขอย้ำว่า ถ้ามาทำงานในไทยต้องมีนายจ้างเท่านั้น และทำงานในกิจการที่ไดรับอนุญาตเป็นกรรมกร และผู้รับใช้ในบ้าน จะไปหาบเร่แผงลอยไม่ได้ เพราะถ้าทางเจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นก็มีการจับกุม และดำเนินคดีอย่างเข้มข้นด้วย และวันนี้ทางสมาคมมัคคุเทศก์ได้ขอบคุณรัฐมนตรีฯ ด้วยที่ได้ช่วยแก้ปัญหาไกด์เถื่อนที่เข้ามาแย่งอาชีพคนไทย ในส่วนแรงงานต่างด้าวก็เช่นกัน
 
 
เครือข่ายผู้ประกันตนยื่นร้องปลัดแรงงาน ทำฟัน 900 บาท ไม่ได้ตามจริง
 
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 25 สิงหาคม เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน (คปค.) เครือข่าย ฟ.ฟัน สร้างสุข กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ พร้อมด้วยองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ ฯลฯ ซึ่งนำโดย นายมนัส โกศล ประธาน คปค. ทพญ.มาลี วันทนาศิริ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญโรงพยาบาลลำลูกกา และผู้ประสานงานเครือข่าย ฟ.ฟันสร้างสุข และ ทพ.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล อุปนายกทันตแพทยสภา คนที่ 2 เดินทางเข้าพบ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการประกันสังคม เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ปัญหาอุปสรรคจากการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน
 
นายมนัสกล่าวว่า หลังจากมีการเรียกร้องความจำเป็นในการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้ประกันตน จนคณะกรรมการการแพทย์ได้มีมติเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ในการรักษาทางทันตกรรมของผู้ประกันตน โดยให้สามารถเบิกค่าบริการได้ตามความจำเป็นวงเงิน 900 บาทต่อปีไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ปรากฏมีผู้ประกันตนร้องเรียนเข้ามาจำนวนมากว่า การเพิ่มค่าบริการ 900 บาทแต่กลับมีการกำหนดอัตราค่าบริการส่วนที่เบิกได้เป็นรายบริการตามบัญชีแนบท้าย ซึ่งอิงจากสถาบันทันตกรรม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่งผลให้ผู้ประกันตนถูกลิดรอนสิทธิลงกว่าเดิม เพราะเป็นการจำกัดสิทธิการเบิกค่าบริการ ทำให้เบิกได้น้อยกว่าระบบเดิมที่ไม่มีการกำหนดเพดานอัตราค่าบริการเลย
 
"การกำหนดเงื่อนไขอัตราค่าบริการ อย่างขูดหินปูนทั้งปากกำหนดไม่ให้เกิน 400 บาท แต่ความเป็นจริงในคลินิกเอกชนคิดประมาณ 500-600 บาท กลายเป็นว่าผู้ประกันตนต้องจ่ายเพิ่มเองอีก 100-200 บาท และหากผู้ประกันตนคนนั้นไม่ใช้สิทธิทำฟันอื่นๆ จนครบปี ก็เท่ากับว่าเสียสิทธิที่จะได้รับค่าบริการจนครบอัตรากำหนดไปฟรีๆ นอกจากจะไปผ่าฟันคุดจำนวน 900 บาท จึงจะคุ้ม ถามว่าใครจะผ่าฟันคุดบ้าง แบบนี้แสดงให้เห็นว่า สปส.ออกสิทธิมา แต่มีประกาศแนบท้ายพ่วงยิ่งเป็นการลิดรอนสิทธิ ทำให้สิทธิลดน้อยลงกว่าเดิมเสียอีก จึงขอเรียกร้องให้มีการยกเลิกประกาศแนบท้ายนี้เสีย และหากจะกำหนดอัตราค่าบริการก็ควรอย่างต่ำ 600 บาท ให้ไม่น้อยกว่าของเดิมที่ได้รับ" นายมนัสกล่าว
 
ทพ.ธงชัย กล่าวว่า การออกเงื่อนไขเช่นนี้ เป็นการบีบบังคับให้ผู้ประกันตนต้องเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลภาครัฐ เนื่องจากอัตราราคาที่กำหนดเป็นของภาครัฐมากกว่า ขณะที่ภาคเอกชนราคาสูงกว่ามาก ทำให้ผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการต้องจ่ายเพิ่มทุกรายการ ทั้งอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ซึ่งส่วนใหญ่รับบริการดังกล่าว และส่วนใหญ่ร้อยละ 77.8 เข้ารับบริการที่คลินิกเอกชน ดังนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ก่อนอื่นจึงขอให้ปลดล็อกปัญหาตรงนี้ก่อน คือ ยกเลิกอัตราค่าบริการแนบท้ายเสีย ให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทันตกรรม 900 บาทต่อปีแบบไม่มีเงื่อนไข ส่วนหากจะมีการสำรวจการรับบริการ ราคาที่เหมาะสมก็ขอให้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาเรื่องนี้ 1 ชุด โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วม
 
ด้าน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โดยหลักการของการเพิ่มค่ารักษาพยาบาล 900 บาทต่อปีนั้นก็เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์สูงสุด แต่เมื่อมีข้อท้วงติงเกี่ยวกับประกาศแทบท้าย และส่งผลต่อผู้ประกันตน ก็จะนำเรื่องนี้ให้แก่คณะกรรมการการแพทย์ ที่มี นพ.ชาตรี บานชื่น เป็นประธานฯ พิจารณา โดยอาจต้องมีการเรียกประชุมด่วน เนื่องจากส่งผลต่อผู้ประกันตน คาดว่าจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขใหม่ แต่ไม่มีการลดอัตราค่าบริการ 900 บาทลง ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการอาจใช้เวลาไม่นานนัก เบื้องต้นน่าจะประมาณ 2 เดือน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์แนบท้ายประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่ เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วย 1.ขูดหินปูนทั้งปาก อัตราค่าบริการ (เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน) 400 บาท 2.อุดฟันด้วยวัสดุอะมอลทัม (Amalgam) 1 ด้าน 300 บาท อุด 2 ด้าน 450 บาท 3.อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน 1 ด้าน กรณีฟันหน้า 350 บาท กรณีฟันหลัง 400 บาท อุด 2 ด้าน กรณีฟันหน้า 400 บาท กรณีฟันหลัง 500 บาท 4.ถอนฟันแท้ 250 บาท ถอนฟันที่ยาก 450 บาท และ 5.ผ่าฟันคุด 900 บาท
 
 
สศช.ระบุแรงงาน "เมียนมา-กัมพูชา-ลาว" ผันตัวเป็นผู้ค้ารายย่อยเพิ่มถึง 45 %
 
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยในไตรมาส 2 พบว่าคนไทยมีความสุขมากขึ้น แต่ต้องเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายที่มีแนวโนมเพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานและรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
 
(29 ส.ค.) นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงรายงานสภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2559 พบว่าการจ้างงานและรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ โดยปี 2559 มีผู้มีงานทำจำนวน 37,393,472 คน และมีผู้ว่างงานจำนวน 41,1124 คน ขณะที่แรงงานภาคเอกชนได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3
 
นอกจากนี้ยังพบว่า แรงงานข้ามชาติเปลี่ยนอาชีพจากการเป็นลูกจ้าง มาเป็นผู้ค้าขายรายย่อยมากขึ้น ซึ่งเป็นอาชีพสงวนของคนไทย โดยชาวเมียนมา หันมาค้าขายมากที่สุด ร้อยละ 45.3 รองลงมาคือ ชาวกัมพูชา ร้อยละ 23.9 และสุดท้ายคือ ลาว ร้อยละ 17.5
 
ขณะที่รายงานงานจากสหประชาชาติ พบว่า ประเทศไทยมีดัชนีความสุขอยู่อันดับที่ 33 ของโลก ซึ่งถือว่าคนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับปี 2558 แต่ผลสำรวจด้านสุขภาพจิตพบว่าลดลง โดยในปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 31.44 ลดลงจากปี 2557 ที่ร้อยละ 0.04
 
แต่สิ่งที่สำคัญพบว่า คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นจาก 6.07 คนต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2557 เป็น 6.31 คนต่อประชากร 100,000 คนในปี 2558 โดยช่วงอายุที่มักจะมีการฆ่าตัวตายมากสุดคือ 30-39 ปี
 
 
สภาพัฒน์ห่วงคนไทยยังเตะฝุ่นกว่า 4.1แสนคน
 
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2559 ว่า ในไตรมาสที่ 2 ยังคงมีคนว่างงานมากถึง 411,124 คน คิดเป็นอัตราว่างงานเท่ากับ 1.08% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 0.88% สอดคล้องกับอัตราการจ้างงานในภาพรวมที่ลดลง 0.9% โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ลดลงมากถึง 6.2% เช่นเดียวกับการจ้างงานสาขาอุตสาหกรรมที่ยังลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ 1.7% มีสาเหตุหลักมาจากสภาพเศรษฐกิจ เพราะแม้ว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวในอัตราเร่ง 3.5% แต่การผลิตเพื่อการส่งออกยังคงลดลง จนทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรับภาระต้นทุนได้ จึงหันมาใช้วิธีปรับลดแรงงานลงเพื่อแก้ปัญหาแทน
 
อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ดังกล่าวน่าจะปรับตัวดีขึ้นเป็นไปตามประมาณการเดิมที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 4 การส่งออกจะกลับมาเป็นบวกได้อีกครั้ง จึงน่าจะส่งผลให้สถานการณ์การจ้างงานกลับมาปรับตัวดีขึ้น โดยตัวเลขมูลค่าการส่งออกทั้งปี 2559 สศช.ยังมองว่า จะลดลง 1.9% ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากทั้งปี 58 ที่ลดลงถึง 5.6%
 
ทั้งนี้สิ่งที่ต้องติดตามต่อในช่วงครึ่งปีหลัง ต้องพิจารณาการจ้างงานและรายได้แรงงานภาคเกษตร จากเดิมที่ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่สะสมมาตั้งแต่ฤดูกาลเพาะปลูกปี 2557 ทำให้กิจกรรมทางการเกษตรลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 แต่อย่างไรก็ดีปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือนก.ค.-ต.ค.นี้ จะทำให้มีน้ำเพียงพอกับการเพาะปลูก หากมีการวางแผนการกักเก็บน้ำไว้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังการจ้างงานภาคเกษตรจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
 
สำหรับการจ้างงานในสาขาอุตสาหกรรม โดยหลังจากผู้ประกอบการหันมาใช้วิธีปรับลดแรงงานลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ซึ่งนอกจากมีแนวโน้มเลิกจ้างแรงงานในกิจการโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นด้วย ขณะที่การบังคับใช้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ฉบับที่ 5 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยได้กำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้นอีก 20 สาขาอาชีพใน 5 อุตสาหกรรม จากเดิมที่กำหนดไว้ 35 สาขาอาชีพ ซึ่งมีค่าจ้างสูงสุดถึงวันละ 550 บาท จะเป็นแรงจูงใจให้แรงงานพัฒนาศักยภาพให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น
 
นส่วนของสถานการณ์การทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันพบว่า มีแรงงานต่างไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านเปลี่ยนการการเป็นลูกจ้างในงานอันตราย สกปรกและยาก มาเป็นผู้ค้าขายรายย่อยมากขึ้น ซึ่งว่าผิดกฎหมาย โดยคนต่างด้าวที่เข้ามาถูกกฎหมายและไปประกอบอาชีพค้าขาย มีเหตุผลหลักคือมีรายได้ดีกว่าการเป็นลูกจ้าง ซึ่งเป็นงานไม่ต่อเนื่องและถูกเอาเปรียบ ส่วนที่เข้ามาแบบผิดกฎหมายเพราะไม่สามารถทำงานได้จึงเข้าสู่การค้าขายรายย่อย โดยแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ค้าขายรายย่อยมีมากถึง 40% ที่เป็นเจ้าของกิจการทั้งที่เป็นเจ้าของเอง จ้างคนไทยให้เป็นนายจ้าง และรับช่วงจากผู้ออกทุนโดยตกลงแบ่งผลประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมา 44.5% รองลงมาคือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน ชนกลุ่มน้อย และอื่นๆ
 
ผลกระทบต่อผู้ค้ารายย่อยของไทยนั้น จากการสำรวจผู้ค้าคนไทยเห็นว่าการเข้ามาค้าขายของคนต่างด้าวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยผลดีคือส่งเสริมให้ตลาดมีความคึกคัก ดึงดูดคนต่างด้าวอื่นๆมาซื้อสินค้า และทำให้มีสินค้าหลากหลาย ส่วนผลเสียคือ การแย่งอาชีพคนไทย โดยมักขายสินค้าประเภทเดียวกัน คือ ผักสดและผลไม้,อาหารสำเร็จรูป,เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและไข่ และเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่เห็นว่าทำให้รายได้จากการขายสินค้าของคนไทยลดลง มีการขายตัดราคาโดยใช้ของคุณภาพต่ำ, แย่งชิงสินค้าและวัตถุดิบทำให้ราคาแพงขึ้น รวมทั้งมีการตั้งกลุ่มอิทธิพล ฯลฯ
 
 
แรงงานไทย ร้องผู้ตรวจฯ สอบเจ้าหน้าที่แรงงาน หลังปล่อยลูกจ้างไทยในไต้หวัน ถูกนายจ้างกระทำอนาจาร ชี้ สายด่วน 1955 ช่วยเหลือไม่ได้
 
ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมด้วยนาง ก. (นามสมมุติ) แรงงานผู้เสียหายจากการเดินทางไปทำงานที่ประเทศไต้หวัน เข้ายื่นร้องขอให้ผู้ตรวจการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ซึ่งได้ยื่นหนังสือผ่านนายทิฆัมพร ยะลา เจ้าหน้าที่สอบสวนผู้ชำนาญการ
 
นายสงกานต์ กล่าวว่า ตนได้รับการร้องเรียนขอความช่วยเหลือผ่านทางเฟซบุ๊ค จากนางประนอม ว่าถูกลูกนายจ้างลวนลามกระทำอนาจาร และได้ร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่กรมแรงงาน ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1955 ซึ่งเป็นหมายเลขที่เจ้าหน้าที่ได้แจกให้กับแรงงานไทยที่ไปทำงานที่ไต้หวันและไทเปทุกคน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือ แต่เมื่อโทรไปแจ้ง และร้องขอกลับประเทศ เจ้าหน้าที่กลับบอกให้รอดำเนินคดี เพราะหากกลับมาก่อนจะไม่มีพยานผู้เสียหายและไม่สามารถดำเนินคดีได้ แต่เมื่อรอไประยะหนึ่งและเมื่อโทรไปติดตามถูกเจ้าหน้าที่อ้างว่า ไม่สามารถฟ้องดำเนินคดีได้ และระบุว่าหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวไม่มีอำนาจในการแจ้งความ เป็นเพียงหมายเลยที่ใช้ประสานเรื่องเงินเดือน และไม่ใช่หมายเลขของกระทรวงแรงงาน จึงตั้งข้อสังเกตว่าหากไม่ใช่ ทำไมจึงมีการแจกเป็นสมุดและมีหมายเลข 1955 ดังกล่าวให้กับแรงงานทุกคน และเมื่อค้นหาในเว็บไซด์พบว่ามีการเผยแพร่หมายเลขดังกล่าวเป็นการทั่วไป
 
นายสงกานต์ กล่าวว่า จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน สืบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ เพราะไม่ใช่กรณีนี้กรณีเดียว แต่มีแรงงานคนอื่นในไต้หวันได้รับผลกระทบ เพราะเชื่อว่าเป็นขบวนการสกัดไม่ให้เอาผิดนายจ้าง เพราะถ้านายจ้างถูกดำเนินคดีเอเยนต์ก็ไม่สามารถที่จะส่งแรงงานไทยไปได้ ทำให้เสียประโยชน์ เพราะเอเยนต์จะทำสัญญาหักเงินแรงงานต่อปี การที่เจ้าหน้าที่หมายเลข 1955 ไม่ดำเนินคดีลูกชายนายจ้าง และถ่วงให้รอ โดยไม่ดำเนินคดีอาญาใดๆ ก่อนพยายามปล่อยตัวกลับ
 
ด้าน นาง ก. กล่าวว่า ได้โทรไปในเบอร์ดังกล่าวแล้วเจ้าหน้าที่บอกว่าจะให้ความช่วยเหลือ และให้อยู่รอ เพราะถ้าไม่อยู่จะไม่มีผลในการดำเนินคดี แต่เมื่อติดต่อกลับไป กลับบอกว่าไม่ได้รับเรื่อง และไม่มีหน้าที่รับเรื่องดังกล่าว หากไม่ช่วยทำไมไม่พูดตามตรง
 
"แรงงานไทยทุกคนไม่ได้รับความเป็นธรรมเลย หากร้องอะไร ก็จะร่วมกับนายจ้าส่งแรงงานคนนั้นกลับไทย เอเยนต์ไม่ดูแล ไม่ช่วยเหลือ แต่กลับช่วยนายจ้าง ทั้งที่เราหาเงินให้ใช้ หักเงินเราไปทุกเดือน เอาเงินไปทำไม” นายประนอม กล่าวทั้งน้ำตา
 
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือร้องเรียนยังระบุว่า เจ้าหน้าที่แรงงานไทย ที่เกี่ยวข้องมีอักษรย่อ “จ” และ “ธ” และเมื่อนางสงกานต์เข้าไปช่วยเหลือนาง ก. กลับถูกข่มขู่ด้วย
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

น่าประหลาดใจ ก.ค.ส่งออกติดลบ 4.43% ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหด 5.1%

$
0
0

30 ส.ค. 2559 นพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และ วัลลภ วิตนากร รองประธานฯ ร่วมกันแถลงข่าว โดยระบุว่าจากตัวเลขการส่งออกเดือน ก.ค. ที่ส่งออกติดลบร้อยละ 4.43 มูลค่าเพียง 17,415 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ เพราะปกติการส่งออกไตรมาส 3 จะเป็นบวกมาโดยตลอด และหากหักเรื่องการส่งออกทองคำที่ 841 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว การส่งออกจะติดลบถึงร้อยละ 8.3 และทั้ง 7 เดือนแรกแม้ตัวเลขกระทรวงพาณิชย์ที่ติดลบแล้วร้อยละ 2 มีมูลค่า 122,553 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหักเรื่องการส่งออกทองคำและอาวุธซ้อมรบกับญี่ปุ่นแล้วการส่งออกจะติดลบถึงร้อยละ 5.5

ทั้งนี้  การส่งออกที่ติดลบปีนี้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ปราบเซียน และสภาฯ ประเมินว่าปีนี้การส่งออกจะติดลบเป็นปีที่  4 โดยทั้งปีจะติดลบร้อยละ 2 ซึ่งหากเป็นการติดลบระดับนี้ การส่งออกในช่วง 5 เดือนที่เหลือจะต้องส่งออกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 17,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากส่งออกต่ำกว่านี้ก็มีโอกาสจะติดลบมากกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลเรื่องการระบาดของไวรัสซิก้าให้เข้มงวดขึ้น เพราะไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อให้ระวัง ส่งผลให้การส่งออกสินค้าต้องมีการตรวจสอบฆ่าเชื้อตู้คอนเทนเนอร์สินค้า ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นหลายพันบาท

วัลลภ กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์เงินบาทผันผวนตามตลาดโลก โดยเงินบาทไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-26 สิงหาคม  2559 แข็งค่าถึงร้อยละ 4.41 ขณะที่คู่แข่ง เช่น เวียดนาม ค่าเงินอ่อนค่า ร้อยละ 0.04 จีน อ่อนค่าร้อยละ 1.27 ดังนั้น หากไม่มีการดูแลค่าเงินที่เหมาะสมจะกระทบหนัก เพราะเห็นชัดว่าเงินบาทที่แข็งค่ามาจากการเก็งกำไรในตลาดหุ้นเป็นหลัก มาจากการเก็งกระแสว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยเมื่อใด โดยแนวโน้มกระแสเงินไหลออกจะเกิดขึ้นภายในปีนี้แน่นอน ทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถตั้งราคารับออร์เดอร์ได้ชัดเจน หากเงินบาทแข็งค่าอีก คู่ค้าก็จะไปสั่งจากคู่แข่งแทนกระทบต่อการส่งออกมากขึ้น  สภาฯ จึงขอเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินมาตรการ เพื่อพยุงให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ก.ค.หดตัวร้อยละ 5.1

วีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)  ภาพรวมของเดือนกรกฎาคม 2559 หดตัวร้อยละ 5.1 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ หดตัว อาทิ รถยนต์ เครื่องยนต์ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางรถยนต์ อย่างไรก็ตาม มีอุตสาหกรรมปรับตัวสวนกระแส  โดยมีการผลิตอาหารสำเร็จรูปและเกษตรแปรรูป เช่น  เนื้อไก่แช่แข็ง และการแปรรูปผลไม้ ปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณการผลิต ภายหลังภัยแล้งที่เริ่มคลี่คลาย นอกจากนี้ แรงส่งจากการลงทุนภาครัฐ การเดินหน้าโครงการบ้านประชารัฐที่เริ่มขึ้น ธุรกิจที่อยู่อาศัยขยายตัว ส่งผลให้คอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.27

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมสำคัญที่มีการคาดการณ์ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไตรมาส 3/2559  คือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.88  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่ง  เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต ตู้เย็น ตามลำดับ

 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: แกะรอย 'ตู้บริจาคเงินวัด' จากศรัทธาสู่ผลประโยชน์ที่ไม่ต้องตรวจสอบ?

$
0
0

สำรวจ‘ตู้บริจาคเงินวัด’ พบยังขาดกลไกตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ขาดธรรมาภิบาล โดยเฉพาะประเด็นความโปร่งใสทางการเงินในพระพุทธศาสนา มีช่องโหว่ขนาดใหญ่และมีความเป็นไปได้ที่เงินบริจาคจะรั่วไหลไปยังกลุ่มผลประโยชน์ที่หากินกับศรัทธาของชาวพุทธ ถูกใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค และโครงสร้างการจัดการเงินที่ไม่รัดกุม ยังเอื้อให้พระสงฆ์ต้องผิดพระวินัยร้ายแรงโดยไม่จำเป็น

วัดแห่งนี้ไม่เคยร้างคนทำบุญ เมื่อเข้ามาในเขตวัด พวกเขาถอดรองเท้าเข้าวิหาร หยอดเงินใส่ตู้บริจาคแลกกับธูป เทียน และทองคำเปลวสำหรับปิดไหว้พระพุทธรูปและรูปจำลองอดีตเจ้าอาวาส เข้าโบสถ์กราบพระประธานองค์โต บางคนยืมหนังสือสวดมนต์ไปท่องบ่น บ้างตรงไปยังศาลาถวายสังฆทานแด่พระภิกษุ เติมน้ำมันมะพร้าวสร้างแสงสว่างให้ชีวิตแด่พระพุทธรูปปางประจำวันเกิด ฯลฯ

ทุกกิจกรรมย่อมมีตู้บริจาคตั้งอยู่ใกล้เคียง รองรับศรัทธาที่เป็นตัวเงินจากสาธุชนที่มาเยี่ยมเยือน

เช่นเดียวกับวัดอีกหลายแห่ง วัดนี้มีตู้บริจาคเงินมากมายหลายขนาด มีรูปแบบและวัสดุหลากหลาย จะมีใครบ้างรู้ว่า หลังเวลาวัดปิดทำการ เงินในตู้บริจาคจะถูกจัดการอย่างไร เงินที่พวกเขายกมือขึ้นพนมจบคำอธิษฐาน จะเดินทางไปที่ใดบ้าง

หยอดเงินใส่ตู้บริจาค : สังฆทานและช่องทางผลประโยชน์

พระวิชิต ธัมมชิโต ผู้เขียนหนังสือรณรงค์การทำบุญถูกวิธีเรื่อง “สังฆทานเจือจานสังคม” “ใส่บาตรให้ได้บุญ” และ “ส่องพระ ส่องตน ก้าวพ้นวิกฤตร่วมกัน” ให้สัมภาษณ์ชี้แจงผู้เขียน เรื่องการทำบุญผ่านการหย่อนเงินใส่ตู้บริจาคว่า การใส่เงินในตู้บริจาคของวัด ถือว่าเป็นการทำบุญในหมวดทาน โดยถือเป็นสังฆทาน หรือทานที่ให้แก่หมู่สงฆ์โดยไม่มุ่งหมายให้เป็นการเฉพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งให้อานิสงส์มากกว่าการให้อย่างเจาะจงพระรูปนั้นรูปนี้ การทำบุญรูปแบบดังกล่าวจึงถือเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

แต่ผลจากการบำรุงจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นกับว่า ผู้บริหารเงินในตู้บริจาค นำเงินไปทำอะไร

ตู้บริจาคนับเป็นช่องทางรายได้ทางหนึ่งของวัดสำหรับการบำรุงอาคารสถานที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมแซม ดูแลอาคารสถานที่ในวัด บ้างเป็นไปเพื่อสวัสดิการการศึกษาของภิกษุ สามเณร และแม่ชี บ้างเป็นอาหารและค่ารักษาพยาบาลสุนัขจรจัด นอกจากนี้วัดยังอาจจัดสรรเงินดังกล่าวตามรายจ่ายที่จำเป็น ตามแต่เจ้าอาวาสเห็นสมควร

เป็นที่รู้กันว่า เงินที่ชาวพุทธหย่อนใส่ตู้บริจาคนับเป็นเงินให้เปล่า วัดไม่จำเป็นต้องออกใบอนุโมทนาบัตรให้ผู้บริจาค การบริหารเงินจากตู้จึงสามารถทำได้อย่างยืดหยุ่น นอกจากนี้ การบริจาคผ่านช่องทางนี้ยังสะดวกรวดเร็ว ทั้งยังไม่ต้องมีพิธีกรรมมากนัก เงินจากตู้บริจาคสร้างรายได้แก่วัดอย่างต่อเนื่องและเป็นกอบเป็นกำ พระวิชิตกล่าวว่า  วัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ เพียงเงินจากตู้บริจาคก็สามารถจ่ายครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือน อาทิ ค่าน้ำค่าไฟได้ทั้งหมด และมีสัดส่วนถึงหนึ่งในสามของรายรับทั้งหมดของวัด

ตู้บริจาค ความหลากหลายของการออกแบบ

ผู้เขียนได้สำรวจตู้รับเงินบริจาคในวัดชื่อดังหลายแห่ง เช่น วัดระฆังโฆษิตาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร  วัดยานนาวา วัดช่องลม พบว่าปัจจุบัน ตู้บริจาคมีการออกแบบที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งวัสดุ รูปทรง และข้อความเชิญชวนบริจาค ดังนี้

รูปแบบตู้บริจาค

ตัวอย่างตู้บริจาค

ข้อความที่เขียนชี้แจงรายละเอียดตู้บริจาค

จัดการตู้บริจาคอย่างไร จึงไม่ผิดพระวินัย

ตู้บริจาคหลากประเภทดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า วัดออกแบบวิธีเรี่ยไรเงินจากชาวพุทธที่เข้ามาในวัดผ่านการตั้งตู้บริจาค รายการที่เขียนหน้าตู้บริจาคสะท้อนรายการกิจกรรมที่เป็นรายจ่ายของวัด แม้ไม่มีการระบุไว้ในพระวินัย ว่าพระสงฆ์ควร-ไม่ควรเขียนข้อความอย่างไรในตู้เงินบริจาค (ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการประดิษฐ์ตู้บริจาค) พระวิชิตได้ให้แนวทางวินิจฉัยเกี่ยวกับการเขียนข้อความตู้บริจาคไว้ดังนี้

“การเขียนข้อความที่ระบุวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะเจาะจง อาจจัดได้ว่ามีลักษณะเป็นการเรี่ยไรของพระ ซึ่งมีความหมิ่นเหม่ในทางพระวินัยว่า พระไม่ควรขอปัจจัยจากคนที่ไม่ใช่ญาติ จึงไม่ควรระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่าขอเงินไปเพื่อการใดการหนึ่งเป็นการเฉพาะ”

"อย่างไรก็ตาม การเขียนข้อความบนตู้บริจาคเป็นเรื่องที่พูดยาก ต้องดูรายละเอียดการบริหารจัดการ การเขียนระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่าวัดจะนำเงินไปทำอะไร และวัดสามารถจัดสรรให้เป็นไปตามนั้น ด้านหนึ่งก็ยุติธรรมกับโยมที่มอบเงินบริจาคให้”

“ในทางตรงข้าม หากโยมหย่อนเงินใส่ตู้บริจาคที่ไม่ได้เขียนข้อความกำกับไว้เป็นการเฉพาะ เช่น “บริจาค” หรือ “ชำระหนี้สงฆ์” อาจกล่าวได้ว่า ผู้บริจาคได้มอบอำนาจให้เจ้าอาวาสบริหารจัดการเงินดังกล่าวเพื่อการบำรุงวัด บำรุงพระศาสนาโดยปริยาย”

อย่างไรก็ตาม ข้อที่น่าสังเกตคือ วัดบางแห่ง โดยเฉพาะวัดเล็กๆ แม้เขียนวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนที่หน้าตู้บริจาค แต่เมื่อเปิดตู้นำเงินออกมา ก็จะรวมเงินไว้เป็นกองเดียวและไม่แยกบัญชีที่มาของรายรับ เหตุที่จัดการรวมเงินไว้เป็นกองเดียว ก็เนื่องจากความสะดวกในการจัดการเงินบริจาค ทั้งนี้ วัดอาจมีเงินบางส่วน หรือที่ต้องจัดการแยกบัญชี หรือแยกกองบริหาร เช่น  ตู้บริจาคจากองค์กรภายนอก หรือกองทุนที่ตั้งใจจะแยกบัญชีบริหาร เช่น กองทุนเพื่อการศึกษาพระอภิธรรม ซึ่งเจ้าอาวาสตกลงแยกบัญชีไว้เฉพาะ

พระวิชิตตั้งข้อสังเกตว่า การบริหารในลักษณะแยกกองเงินดังกล่าว น่าจะมีสัดส่วนน้อยสำหรับวัดขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่วัดขนาดใหญ่อาจมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบกว่า

นอกจากนี้ พระวิชิตยังกล่าวว่า หากพระสงฆ์ที่จัดการเงินมีเจตนาบริสุทธิ์ แม้ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเงินจำนวนมาก แต่หากมีศีล ก็คงสามารถจัดการได้เหมือน “สิ่งของธรรมดาทั่วไปที่ต้องจัดการให้เข้าระบบ” แต่หากพระมีความโลภ และไม่มีระบบตรวจสอบที่รัดกุมและโปร่งใส ก็ง่ายที่จะเกิดการยักยอก ซึ่งเป็นอาบัติแรง หากเกินจำนวนประมาณสองหมื่นบาทก็ต้องอาบัติปาราชิก (หมดจากสภาพความเป็นพระ)

เปิดตู้บริจาค : อิสระจากการตรวจสอบ

จากงานวิจัยเรื่อง ‘การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย’ ของ ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดเผยว่า โดยทั่วไป วัดในประเทศไทยบริหารเงินในตู้บริจาคอย่างขาดความโปร่งใสและมีส่วนร่วม ข้อมูลในรายงานชิ้นดังกล่าวพบว่า จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างวัดไทย 407 แห่ง มีวัดเพียง 4 แห่งเท่านั้น ที่เปิดตู้บริจาคทุกวัน และมีกรรมการตรวจนับเงินแล้วส่งเจ้าอาวาส

ผู้เขียนได้เดินทางไปยังวัดที่ระบุไว้ข้างต้น พบว่า ความถี่และวิธีการเปิดตู้บริจาคของแต่ละวัดมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับการตัดสินใจของเจ้าอาวาส เช่น เจ้าอาวาสอาจมอบหมายให้พระที่ไว้วางใจได้เป็นผู้รับผิดชอบในการเปิดนับเงินและลงบัญชีรายรับ อาจรวบรวมเป็นรายวัน หรือรายเดือน หรือตามความจำเป็นของพระที่ได้รับมอบหมาย

มีเพียง 4 คน หรือร้อยละ 0.9 ของกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการบริหารวัดจำนวนเท่านั้น ที่ระบุว่าเปิดตู้บริจาคเงินวัดทุกวัน มีกรรมการตรวจนับแล้วส่งเจ้าอาวาส (ณดา จันทร์สม, 2555, หน้า 77)

พระรูปที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเงิน อาจนับเงินจากตู้บริจาคด้วยตัวเองเอง หรือมีพยานที่เป็นฆราวาสช่วยนับ หรือให้ไวยาวัจกรช่วยนับ หรือมีคณะกรรมการนับเงินจากตู้บริจาคช่วยนับก็ได้

สาเหตุที่วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินในตู้มีความแตกต่าง เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานใดกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเงินในตู้บริจาคอย่างชัดเจน ดังนั้นเงินจากตู้บริจาคจึงนับรวมหรือไม่ถูกนับรวมในบัญชีรายรับของวัดก็ได้ นอกจากนี้ยังไม่มีระเบียบหรือข้อบังคับให้วัดต้องเปิดเผยรายรับจากตู้บริจาคให้รับรู้เป็นที่สาธารณะอีกด้วย การบริหารเงินจากตู้บริจาคเป็นอิสระในการตัดสินใจของเจ้าอาวาสเป็นสำคัญ โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบทั้งในทางกฎหมาย ทั้งที่วัดมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนกับรัฐ และเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร

คำถามคือ ในขณะที่องค์กรสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ต้องได้รับตรวจสอบ ต้องแสดงบัญชีรายรับ-รายจ่าย ต้องเสียภาษีประจำปี แต่ทำไม วัดจึงได้รับการยกเว้นกระบวนการตรวจสอบดังกล่าว ทั้งที่เป็นองค์กรประเภทเดียวกัน

ขาดความโปร่งใส  ช่องโหว่ของการจัดการตู้รับเงินบริจาค

ผศ.ดร. ณดา ยังให้แง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดการเงินในตู้บริจาคและการบริหารเงินโดยรวมของวัด โดยมีข้อสังเกตว่า การบริหารเงินของวัดไม่ครบองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล โดยตอนหนึ่งของรายงาน คณะวิจัยได้นำองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล 8 ประการ ได้แก่ หลักความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักนิติธรรม หลักการสนองรับ หลักความเสมอภาค หลักคุณธรรม และหลักความคุ้มค่า มาเปรียบเทียบความสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินของวัดเท่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เช่น พ.ร.บ.คณะสงฆ์ กฎกระทรวง ระเบียบกรมการศาสนา ระเบียบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รวมถึงกฎ และมติจากมหาเถรสมาคมฉบับต่างๆ

ความสอดคล้องของการกากับดูแลการบริหารจัดการทางการเงินของวัดในประเทศไทยตามหลักธรรมาภิบาล (ณดา จันทร์สม, 2555)

ผลจากการเปรียบเทียบตามรายงาน พบว่า หลักความโปร่งใส เป็นหลักธรรมาภิบาลที่ถูกละเลยในระบบการบริหารเงินของวัดโดยภาพรวม เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่มีกฎระเบียบใดๆ บังคับให้วัดต้องจัดการเงินโดยอิงกับหลักความโปร่งใส รูปธรรมที่ปรากฏคือ  วัดหลายแห่งไม่มีรายงานทางการเงิน หรือแม้จะมีรายงานการเงินก็ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยให้สาธารณชนหรือหน่วยงานใดตรวจสอบ นอกจากนี้ยังไม่พบว่า วัดจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบบัญชีหรือยอดเงินบริจาคจากหน่วยงานใด นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของวัดยังอยู่ในวงจำกัด

ทั้งนี้ ยังมีประเด็นเชิงวัฒนธรรมประการหนึ่งที่ทำให้ผู้บริจาคไม่เรียกร้องความโปร่งใสจากวัด กล่าวคือ ชาวพุทธจำนวนมากเชื่อว่า การให้ที่บริสุทธิ์จะต้องไม่อาลัยหรือติดตามผลของการให้ การติดตามหรือตรวจสอบเงินจากการทำทานอาจทำให้อานิสงส์นั้นเสื่อมลงไป

พระวิชิตกล่าวว่า โยมบางคนถึงขั้นตำหนิผู้บริจาคที่ต้องการใบอนุโทนาบัตร (สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้) ว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำเสียด้วยซ้ำ เพราะเป็นการให้ที่เจือปนด้วยจิตคิดจะเอา นอกจากนี้ ชาวพุทธจำนวนมากไม่ประสงค์ที่จะรับรู้เรื่องการบริหารเงินของวัด เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์และความขัดแย้ง

ด้วยเหตุนี้ ผศ.ดร.ณดา จึงให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความโปร่งใสแก่ระบบการเงินของวัด โดยขอให้มหาเถรสมาคม หรือสำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เครือข่ายและองค์กรฝ่ายฆราวาส  ร่วมกันสร้างหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินของวัดเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เช่น 1. กำหนดให้วัดต้องแสดงรายงานทางการเงินให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตรวจสอบทางบัญชีทุกปี  2. มหาเถรสมาคมหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรเสนอรายงานข้อมูลทางการเงินของวัดโดยภาพรวมอย่างเป็นระบบ 3. มหาเถรสมาคมควรออกกฎเกี่ยวกับการได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหารเงินวัด คณะกรรมการดังกล่าวควรมีสมาชิกที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับวัด ควรกำหนดแนวทางการได้มาซึ่งผู้บริหารจัดการการเงินวัดอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมถึงการส่งเสริมความรู้และทักษะแก่ไวยาวัจกรณ์ (ผู้จัดการเงินของวัด) อย่างสม่ำเสมอ และ 4. ประชาชนในชุมชนควรเสนอตัวเข้าไปมีส่วนร่วมกับวัด เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารการเงินวัดให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล

ตู้เงินบริจาค นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการสละทรัพย์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เงินในระบบตู้บริจาคดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อย สามารถสร้างประโยชน์แก่พระศาสนาและชุมชนได้มาก

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนพบว่า สังคมไทยยังไม่มีกลไกตรวจสอบเงินดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ดังนั้น ธรรมาภิบาลโดยเฉพาะประเด็นความโปร่งใสทางการเงินในพระพุทธศาสนาจึงยังมีช่องโหว่ขนาดใหญ่ มีความเป็นไปได้ที่เงินบริจาคจำนวนมากจะรั่วไหลไปยังกลุ่มผลประโยชน์ที่หากินกับศรัทธาของชาวพุทธ เป็นไปได้ที่เงินบริจาคดังกล่าวจะถูกใช้โดยไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค โครงสร้างการจัดการเงินที่ไม่รัดกุมยังเอื้อให้พระสงฆ์ต้องผิดพระวินัยร้ายแรงโดยไม่จำเป็น

และทำให้ประชาชนพากันเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างน่าเสียดาย

 

อ่าน 'จับตา': “จำนวนวัดในประเทศไทย"
http://www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=6381

 

 

_____

อ้างอิง

ณดา จันทร์สม. “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย: ความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล.” NIDA Development Journal: วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 54, no. 1 (April 21, 2014): 107–42. doi:10.14456/ndj.2014.11.

ณดา จันทร์สม. รายงานฉบับสมบูรณ์ การบริหารเงินของวัดในประเทศไทย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555.

เจาะเงินฝากวัด3แสนล้าน-เจ้าอาวาสคุม ทำบัญชีไม่เป็นระบบ-ขาดธรรมาภิบาล. (ม.ป.ป.). สืบค้น 24 มิถุนายน 2016, จาก http://www.tcijthai.com/tcijthainews/view.php?ids=4732



 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แซะนโยบายรถคันแรก ประยุทธ์ ชี้แก้ปัญหารถติดต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชน

$
0
0

ที่มาภาพ เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

30 ส.ค. 2559 เมื่อเวลา 14.00 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า ในต่างประเทศแก้ไขปัญหาการจราจรด้วยการจัดวงจรการเดินรถใหม่ และกำหนดหมายเลขทะเบียนเลขคู่ และเลขคี่ในการวิ่งบนถนน ซึ่งประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ จึงทำให้การแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครไม่สามารถทำได้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาตลอด แต่เนื่องจากการจราจรในกรุงเทพมหานครมีความแออัดมากขึ้นทุกวัน จนกลายเป็นปัญหาความเจริญเติบโตที่ไม่มีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ๆ และเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนยอมรับถึงกฎ กติกาใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมกับวางพื้นฐานการพัฒนาผังเมืองใหม่ และแก้ไขปัญหาระบบขนส่งมวลชนต่อไป

"เมืองนอกจะซื้อรถต้องมีที่จอดรถ เมืองเราได้ไหมล่ะ ได้ไหมตอบสิ ทุกคนอยากซื้อรถหมดล่ะ อยากมีรถ จำเป็นไม่ใช่ไม่จำเป็น แต่เขาเชื่อในกฏหมายไง ดูประเทศที่เจริญๆ แล้วสิ ซื้อรถต้องหาที่จอดรถให้ได้ก่อน ไอ้นี่ไม่มีเดี๋ยวก็จอดข้างถนนเอา บางคนขับรถยังไม่เป็นเลย ซื้อรถแล้ว นโยบายรถคันแรกไง โน้นย้อนกลับไปดูโน้นถึงจะแก้ได้ ถ้าทุกคนไม่รู้ปัญหาก็แก้ไม่ได้หรอก เพราะจะให้รัฐบาลออกกฏหมายบังคับใช้ก็โดนด่าทั้งวัน  ตำรวจก็โดนรัฐบาลก็โดน แต่อะไรที่มันเป็นต้องทำผมก็ต้องทำแค่นั้นเอง เพราะผมไม่ใช่มาจากการเลือกตั้ง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ผมกลัวแล้วครับ" หมอเปรมศักดิ์ ก้มตัวไหว้สื่อ ขณะเข้าร้องผู้ว่าฯ

$
0
0
30 ส.ค. 2559 เนชั่นทีวีรายงานว่า นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ หรือหมอเปรมศักดิ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านไผ่ ได้เข้ายื่นหนังสือกับ กำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ระหว่างนั้นนักข่าวขอสัมภาษณ์ นพ.เปรมศักดิ์ เจ้าตัวกลับนั่งย่อเข่าลงและยกมือไหว้นักข่าว พร้อมบอกว่า "ผมกลัวแล้วครับบบบบ" ท่ามกลางสายตาตื่นตะลึงของนักข่าวที่อยู่ในห้อง และ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ยืนดูอยู่ด้วย หลังถูกหัวหน้า คสช.ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 สั่งพักงานชั่วคราว จากกรณีถูกตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรม
 
ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มีคำสั่งแต่งตั้งให้ จิระบูรณ์ ปัญญารัตนวงศ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบ้านไผ่ คนที่ 1 เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนนายแพทย์เปรมศักดิ์ เพื่อให้งานพัฒนาเทศบาลฯ ต่างๆ สามารถเดินหน้าต่อไปได้
 
 
ที่มาภาพประกอบจากเนชั่นทีวี
 
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

20 ปีรัฐแก้ปัญหายาเสพติดล้มเหลว ปรับแก้ กม. ให้รัฐควบคุมการเข้าถึงแอมเฟตามีน

$
0
0

เลขาฯ ศาลยุติธรรมกล่าวในการประชุมเชิงนโยบายเพื่อควบคุม (เมท) แอมเฟตามีนว่า 20 ปีที่เปลี่ยนยาม้าเป็นยาบ้าเป็นโศกนาฏกรรมรุนแรงที่สุดในการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ต้องหาคดียาเสพติดบางรายโทษเท่ากับฆ่า/ข่มขืน ขณะที่ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข สนช. ชูข้อเสนอผลักดันแอมเฟตามีนให้รัฐควบคุมและใช้ฟรีเพื่อไม่ให้ธุรกิจนี้อยู่ในพื้นที่มืด มองผู้เสพอย่างเข้าใจไม่ใช่อาชญากร

ที่มาของภาพประกอบ: วิกิพีเดีย

30 สิงหาคม 2559 เวลา 9.00 น. ที่ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ ฟอร์จูน จัดเสวนา 'ความเป็นไปได้ต่อบูรณาการควบคุม (เมท) แอมเฟตามีนอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมยุติธรรมตามร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด' ร่วมจัดโดยสำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (IDPC) ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

วิทยา สุริยวงศ์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า 20 ปีที่ผ่านมากับการแก้ไขยาเสพติดยังคงเป็นปัญหา สะท้อนได้จากผู้ต้องขังในเรือนจำร้อยละ 70 เป็นผู้ต้องขังในคดียาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เสพและผู้ค้ารายย่อยมีแค่ มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ค้ารายใหญ่ สิ่งนี้สะท้อนว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ

ด้าน อธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวว่า คดีความผิดเกี่ยวกับแอมเฟตามีนหรือยาบ้า เป็นโศกนาฏกรรมรุนแรงที่สุดในการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2539 ที่เปลี่ยนแอมเฟตามีนจากยาเสพติดประเภทที่ 2 ที่สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ภายใต้การควบคุมของแพทย์และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเป็นยาเสพติดประเภท 1 คือยาเสพติดให้โทษ ทำให้ผู้ที่เสพยาแอมเฟตามีนต้องได้รับโทษสูง ซึ่งผู้เสพยาเสพติดมีโทษเทียบเท่ากับคดีฆ่าคนตายหรือคดีข่มขืน ผลที่เกิดตามมาคือคดีเหล่านี้เข้าสู่ศาลเป็นจำนวนมาก

จากตัวเลขปี 2554 มีจำนวนคดียาเสพติดถึง 235,000 กว่าคดี และปี 2555 เพิ่มเป็น 282,000 กว่าคดีที่ขึ้นสู่ศาล มีหลายคดีที่ทำให้ผู้พิพากษาลำบากใจในการตัดสินที่ต้องสั่งประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตในคดีที่มียาบ้าในครอบครองเกิน 15 เม็ด แต่ศาลดูแล้วว่าไม่ใช่เป็นกลุ่มผู้ค้า เป็นเพียงผู้เสพยาหรือบางกรณีถูกยัดยายัดข้อหา แต่โทษกลับเทียบเท่าคดีฆ่าคนตาย คดีข่มขืน ศาลจึงเป็นปลายทางของปัญหา การหวังพึ่งศาลอย่างเดียวทำได้ยากเพราะต้องตัดสินตามสำนวนคดี ดังนั้น ควรไปกำหนดที่นโยบายที่ถูกต้อง 20 ปีที่ผ่านมานั้นเห็นว่าควรแก้ไขและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านยาเสพติดให้เหมาะสม

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ในประเทศไทยองค์ความรู้เรื่องปัญหายาเสพติดมีเพียงพอ แต่ความรู้เหล่านี้ไม่ได้ถูกผลักดันไปสู่นโยบายอย่างแท้จริง การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา 20 ปี เกิดความล้มเหลวที่เห็นได้ชัดเจนจากนโยบายอาญา ปี 2539 มีการเปลี่ยนคำจากยาม้าเป็นยาบ้า และกลายเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 ซึ่งโทษหนักขึ้นมาก การจำหน่าย, จ่ายแจก, ให้ มีโทษจำคุก 5 ปีจนถึงประหารชีวิต ผลของการใช้กฎหมายฉบับนี้ทำให้ยาบ้ามีราคาแพงขึ้นแต่ในทางกลับกันการค้ายาบ้าไม่ได้มีจำนวนลดน้อยลงและยังเสริมให้ธุรกิจประเภทนี้มีรายได้สูง จูงใจให้คนเข้าสู่วงจร ส่วนในเรื่องของผู้ถูกจับติดคุกหรือรับโทษส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้เสพหรือผู้ค้ารายย่อยเป็นส่วนมาก นักโทษคดียาเสพติดเหล่านี้ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำมากกว่าการบำบัดฟื้นฟู ต้องปะปนรวมอยู่กับนักโทษคดีรุนแรง สูญเสียอนาคตทำให้เมื่อออกจากเรือนจำ พวกเขาเหล่านี้กลับเข้าสู่สังคมได้ยากทำให้ต้องกลับไปสู่วงจรเดิม

นพ.เจตน์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติดต้องเปลี่ยนยาบ้าให้กลับไปเป็นยาเสพติดประเภท 2 และรัฐควรเข้าไปจัดการยาประเภทนี้ให้มีการใช้ฟรีในด้านการบำบัดรักษา แต่มีกลไกควบคุมที่รัดกุม สิ่งนี้จะทำลายกลไกตลาดยาเสพติดได้และผู้ที่จำเป็นต้องใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างมีระบบและมีความรู้ในการใช้ยาเสพติดให้ถูกวิธี ยกตัวอย่างการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ดีในประเทศโปรตุเกสที่มีแนวคิดเรื่อง DRUG COURTที่ผู้พิพากษาคดียาเสพติดจะแยกออกมาโดยมีทั้งหมด 3 องค์ในการพิจารณา ได้แก่ 1.ประธานที่มีความรู้เรื่องยาเสพติด 2.ฝ่ายการแพทย์ 3.ฝ่ายกฎหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเข้าใจผู้ใช้ยาเสพติดว่าไม่ใช่อาชญากร ต้องจำแนกประเภทให้ชัดเจนระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพ ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ต้องหาคดียาเสพติดหลายคนที่ควรไปบำบัดมากกว่าส่งเข้าเรือนจำที่มีสภาพโหดร้ายและแออัด และงบประมาณของรัฐก็ต้องใช้มาก แต่ไม่ช่วยลดปัญหายาเสพติด

นเรศ สงเคราะห์สุข นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติดจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีคิดหรือกระบวนทัศน์การมองยาเสพติดใหม่ ยาบางประเภทเมื่อถูกระบุเป็นยาเสพติดก็กลายเป็นสิ่งเลวร้ายทั้งที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ถ้าหากมีการให้การศึกษาและการควบคุมการใช้อย่างถูกวิธี คนเสพยาจึงไม่ใช่อาชญากร แต่เป็นเพียงผู้ป่วยที่สามารถเยียวยาได้และควรได้รับการรักษามากกว่าลงโทษจับกุม แต่อุปสรรคของการแก้ไขปัญหายาเสพติดอาจไม่ใช่แค่ยาบ้าหรือแอมเฟตามีน รวมถึงกัญาชา กระท่อม และอื่นๆ ควรทำให้ถูกกฎหมายและรัฐเข้ามาจัดการควบคุมให้ประชาชนได้ใช้อย่างเป็นธรรมและเกิดประโยชน์

เมื่อพูดอย่างนี้ต้องมีกระแสต้านแน่นอน แต่วิธีการแก้ปัญหาที่ผ่านมาคือการจับปรับขังหรือการใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหากลับสร้างปัญหาให้เพิ่มมากขึ้นและกระจายวงกว้าง จึงต้องเริ่มแก้ไขจากการที่รัฐต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ในสังคม ต้องฟังให้มาก สอนสั่งให้น้อยลง เพื่อเข้าใจรากปัญหาโดยเลิกใช้ความรุนแรงและเข้าใจผู้ที่ใช้ยาเสพติด ต้องเปิดวงถกเถียงและฟังความเห็นที่แตกต่าง ทำให้มีพื้นที่พูดคุย ต้องมองยาเสพติดไม่ใช่ปัญหามิติอาชญากรรมอย่างเดียว แต่ต้องมองเรื่องสุขภาพด้วย

นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การผลักดันแอมเฟตามีนให้รัฐควบคุมและใช้ฟรี ไม่ได้หมายถึงการให้ใช้ได้ตามอำเภอใจ ไม่ได้ตั้งใจให้ใช้ยาฟรี ไม่มีควบคุม แต่ต้องการให้ยาถูกและใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพและรัฐเป็นผู้ควบคุม ไม่ใช่ตลาดมืดหรือกลุ่มผู้ค้าคุมตลาด เพราะยาแอมเฟตามีนมีประโยชน์ถ้าใช้ถูกต้องตามหลักการแพทย์ เราควรทำให้ยาประเภทนี้ราคาต่ำ ให้คนสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างโรคอื่นๆ ตามปกติ มีกลไกการใช้ยาที่รัดกุมทำให้เกิดความไว้วางใจในคุณภาพยา สิ่งนี้จะทำให้ผู้เสพที่ป่วยไม่เข้าสู่วงจรยาเสพติดที่ราคาสูงและการค้ายาเสพติดหรือใช้ยาอย่างผิดวิธี ส่วนคนงานที่ใช้เพื่อบำรุงกำลังหรือกลุ่มที่สังสรรค์ก็ต้องมีการใช้อีกแบบหนึ่ง ต้องแบ่งประเภทคนใช้ยาให้ชัดเจน ไม่เหมารวมปะปนกับผู้ผลิตและผู้ค้า

ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา กล่าวว่า กรณีผลพวงจากนโยบายปราบยาเสพติดยกระดับยาบ้าเท่ากับเฮโรอีน เชื่อว่านโยบายดังกล่าวเป็นผลพวงจากการหาเสียงทางการเมืองและยาเสพติดถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งหากพิจารณาเรื่องนี้จะเห็นว่าผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับคนที่เกี่ยวข้องในความเป็นจริงไม่ใช่แค่ผู้ค้า มีเจ้าหน้าที่รัฐและกลุ่มอื่นๆ เกิดขึ้นในทุกระดับ เมื่อยาเสพติดนำไปสู่เรื่องการสร้างผลงาน ถ้าเจ้าหน้าที่จับยาเสพติดรายใหญ่ได้ เอาป้ายแขวนคอผู้ต้องหาออกและแถลงข่าว ถูกปลูกฝั่งในสื่อเพื่อให้เกิดการขยายผล มันยิ่งตอกย้ำความเชื่อในสังคมว่ายาบ้าเป็นสิ่งเลวร้าย

ประสงค์ กล่าวต่อว่า การจะแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติด ก่อนอื่นต้องทำงานแยกกลุ่มผลประโยชน์ให้ชัดเจน ความจริงแล้วเรือนจำก็เป็นแหล่งค้ายาเสพติด มีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ทุจริต คนที่ได้ประโยชน์จากการปราบปราม ยกตัวอย่าง พ.ร.บ.ศุลกากร เรื่องให้รางวัลนำจับ สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจให้เกิดการบิดเบือนและให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจมหาศาลเพราะผลประโยชน์จากรายได้มีจำนวนมาก ดังนั้น การจะให้ยาบ้าหรือแอมเฟตามีนถูกกฎหมายจะต้องมีคนต้านจำนวนมากอย่างแน่นอนเพราะขัดผลประโยชน์ แค่เรื่องรางวัลนำจับก็หมดงบประมาณถึง 400 ล้านกว่าบาท ถ้ายกเลิกรางวัลนำจับและเปลี่ยนเป็นกองทุนช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่รัฐน่าจะลดการทุจริตได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยชีวิตคนทำงานผลิตชิ้นส่วนแอปเปิลในจีน ‘ทำงานหนัก-สภาพความเป็นอยู่ย่ำแย่’

$
0
0

องค์กรสิทธิแรงงานจีนเผยพบคนทำงานในโรงงานของบริษัท ‘เพกาตรอน’ ที่ผลิตชิ้นส่วนป้อนให้ ‘แอปเปิล’ ยังทำงานหนัก-ได้รับค่าตอบแทนน้อย-สภาพความเป็นอยู่ยังย่ำแย่

‘ไอโฟน’ ผลิตภัณฑ์ที่พลิกโฉมหน้าของโลกโดยบริษัทแอปเปิล ยังถูกขุดคุ้ยเรื่องที่มาของชิ้นส่วน จากโรงงานรับจ้างผลิตในจีนว่ายังคงมีการจ้างงานที่ไม่ได้มาตรฐาน-กดขี่แรงงานอยู่ (ที่มาภาพประกอบ: flickr.com/20262161@N00/by-nc-nd/2.0/)

30 ส.ค. 25 บริษัท แอปเปิล อิงค์ (Apple) ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนชื่อดังอย่างไอโฟน (iPhone) พึ่งแถลงไปเมื่อเดือน ก.ค. 2559 ที่ผ่านมาว่าสามารถจำหน่ายไอโฟนได้ถึง 1 พันล้านเครื่องแล้ว โดยทิม คุก (Tim Cook) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของแอปเปิล ประกาศว่า "ไอโฟนกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่พลิกโฉมหน้าของโลก สำคัญที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์"

แต่กระนั้นผลิตภัณฑ์ที่พลิกโฉมหน้าของโลกชิ้นนี้ในด้านหนึ่งกลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย โดยเฉพาะประเด็นสิทธิแรงงานในโรงงานรับจ้างผลิตของแอปเปิลที่ประเทศจีน ซึ่งก่อนหน้านี้หลายปีแอปเปิลได้ว่าจ้างให้ ‘ฟ็อกซ์คอนน์’ (Foxconn) บริษัทสัญชาติไต้หวันที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในโลกที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศจีนผลิตให้เป็นหลัก ซึ่งฟ็อกซ์คอนน์เริ่มถูกจับตามองเป็นครั้งแรกในปี 2553 หลังเกิดเหตุคนงาน 14 คน ฆ่าตัวตายในโรงงานของฟอกซ์คอนน์ โดยคนงานเหล่านั้นต้องทำงานติดต่อกันยาวนานหลายชั่วโมง สภาพการทำงานย่ำแย่ รวมทั้งได้ค่าตอบแทนในการทำงานต่ำ

ต่อมาแอปเปิลได้เปลี่ยนผู้รับจ้างผลิตหลักมาเป็นบริษัทสัญชาติไต้หวันอีกแห่งอย่าง ‘เพกาตรอน’ (Pegatron) ซึ่งก็มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศจีนเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังพบข่าวคราวเรื่องการจ้างงานอย่างไม่เป็นธรรมในสายการผลิตของแอปเปิลอยู่เสมอ

องค์กรสิทธิแรงงานเผยยังพบคนทำงานผลิตชิ้นส่วนให้แอปเปิลยังทำงานหนัก-สภาพความเป็นอยู่ยังย่ำแย่

เมื่อปลายเดือน ส.ค. 2559 ที่ผ่านมาไชนา เลเบอร์ วอตซ์ (China Labor Watch)องค์กรที่จับตาการละเมิดสิทธิแรงงานในจีน ได้เผยแพร่รายงาน Apple making big profits but Chinese workers’ wage on the slideโดยในรายงานระบุว่าเพกาตรอน ยังคงมีการจ้างงานหนัก รวมทั้งพนักงานก็มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ไม่ดีมากขึ้นนัก

งานศึกษาของไชนา เลเบอร์ วอตซ์ ระบุว่าได้รวบรวมสลิปเงินเดือนของพนักงานฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุงจากพนักงานโรงงานในเซี่ยงไฮ้ของเพกาตรอนกว่า 2,000 ฉบับ แม้พนักงานทุกคนจะมีค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายของจีน เป็นเงินประมาณ 304 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนก่อนเดือน เม.ย. 2559 ก่อนจะเพิ่มเป็น 330 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน ในรายงานระบุว่าค่าแรงในระดับนี้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพในเขตเซี่ยงไฮ้ ทำให้พนักงานต้องทำงานล่วงเวลา (OT) เพิ่มมากขึ้น

จากการตรวจสอบเมื่อเดือน ก.พ. 2559 โดยไชนา เลเบอร์ วอตซ์ พบว่าร้อยละ 71.1 ของพนักงานในฝ่ายผลิตทำงานล่วงเวลากว่า 60 ชั่วโมงต่อเดือน ร้อยละ 64 ทำงานล่วงเวลามากกว่า 90 ชั่วโมงต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดหลักการจ้างงานที่ดีของแอปเปิ้ล (Apple's Guidelines) และยังผิดกฎหมายแรงงานของจีนด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่รัฐบาลท้องถิ่นของเซี่ยงไฮ้ได้ทยอยประกาศค่าแรงขั้นต่ำจาก304 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาเป็น 330 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น บริษัทเอกชนหลายแห่งได้ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เพกาตรอนกลับลดรายจ่ายด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการลดโบนัส การหยุดจ่ายเงินสมทบประกันสังคม เป็นต้น ซึ่งเมื่อมาพิจารณา "ค่าแรงที่แท้จริง" (เงินเดือน+ค่าทำงานล่วงเวลา+สวัสดิการอื่น ๆ ที่เป็นตัวเงิน) ของพนักงานเพกาตรอน กลับลดลงถึง 110 ดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว

เปรียบเทียบค่าแรงพนักงานเพกาตรอนและค่าแรงเฉลี่ยในเซี่ยงไฮ้ (ที่มาภาพ: ไชนา เลเบอร์ วอตซ์)

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับพนักงานของบริษัทอื่น ๆ ในเขตเซี่ยงไฮ้พบว่าพนักงานของเพกาตรอนได้รับค่าตอบแทนจากการน้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัดโดยในปี 2558 พนักงานของเพกาตรอนที่ทำงานล่วงเวลา 80 ชั่วโมงต่อเดือนจะมีรายได้รวม 672 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่พนักงานที่ทำงานล่วงเวลา 20  ชั่วโมงต่อเดือนจะมีรายได้รวมเพียง 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับค่าจ้างเฉลี่ยของพนักงานที่ทำงานในเขตเซี่ยงไฮ้ที่ 895 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนนั้น ถือว่าเป็นค่าตอบแทนที่น้อยมาก ส่วนในปี 2559 พนักงานของเพกาตรอนที่ทำงานล่วงเวลา 80 ชั่วโมงต่อเดือนมีรายได้ลดลงเหลือ 628 ดอลลาร์สหรัฐฯ และพนักงานที่ทำงานล่วงเวลา 20  ชั่วโมงต่อเดือนจะมีรายได้รวมเพียง 407 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ด้านสภาพความเป็นอยู่หลังการทำงาน พบว่าหอพักของพนักงานก็ไม่ได้มาตรฐาน แออัด คับแคบ และสกปรกอีกด้วย

สภาพหอพักของพนักงานเพกาตรอน ในเซี่ยงไฮ้ (ที่มาภาพ: ไชนา เลเบอร์ วอตซ์)

อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อปี 2558 ไชนา เลเบอร์ วอตซ์ ก็เคยออกมาเปิดเผยครั้งหนึ่งแล้วว่า แม้เพกาตรอนจะมีการลดเวลาทำงานของพนักงานในบริษัทฯ และโรงงานต่าง ๆ ในเครือเพกาตรอนลงจาก 63 ชั่วโมง เหลือ 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ยังถือว่าเป็นการทำงานที่นานกว่ากฎหมายอนุญาต รวมทั้งพนักงานไม่ได้รับค่าล่วงเวลาตามมาตรฐาน ขณะที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะโรงงานหลายแห่งมีสารหนูและปรอทปริมาณมากปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม, พนักงานไม่ได้รับอุปกรณ์ป้องกันเพียงพอกับจำนวนคน, สภาพความเป็นอยู่ในหอพักพนักงานทั้งแออัดและสกปรก ทั้งยังไม่มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิ สวัสดิการ และมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยใด ๆ ให้แก่พนักงาน

ส่วนเมื่อปี 2557 สำนักข่าวบีบีซี (BBC) รายงานว่าเพกาตรอนไม่มีมาตรฐานชั่วโมงทำงาน บัตรประจำตัว หอพัก การประชุมงาน และการใช้แรงงานที่เป็นเยาวชน พนักงานงานต้องเข้ากะนาน 16 ชั่วโมง บางคนต้องทำงานติดต่อกัน 18 วันเลยทีเดียว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ฤดูสังหาร' นิตยสารไทม์รายงานความโหดร้ายนโยบายยาเสพติดของ 'ดูเตอร์เต'

$
0
0

นิตยสารไทม์รายงานสภาพที่โหดร้ายภายใต้นโยบาย "สงครามยาเสพติด" ของประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต ชี้หลังจากมีการดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดด้วยวิธีรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ สิ่งที่เป็นอันตรายต่อฟิลิปปินส์ไม่ใช่ยาเสพติด แต่เป็นตัวประธานาธิบดีเอง

นิตยสารไทม์เล่าถึงกรณีของเรสติตุโต คาสโตร ชายอายุ 46 ปี ผู้เป็นพ่อของลูก 4 คน เขาไม่ได้เป็นเจ้าพ่อค้ายาหรือคนเสนอขายยาเสพติด ไม่แม้แต่กระทั่งจะซื้อยาบ้าที่เรียกกันในหมู่คนแถบนั้นว่า "ชาบู" เพื่อเอามาใช้ด้วยตัวเองเลย ไม่นับว่าเขาจนเสียยิ่งกว่าจะซื้อยาชาบูในราคา 31 ดอลลาร์ต่อกรัม (ราว 1,000 บาทต่อกรัม) เขาเคยแค่ช่วยรับฝากเพื่อนซื้อแลกกับการได้ส่วนแบ่งยาเล็กน้อย คาสโตรคิดที่จะเลิกยาก่อนที่ตัวเองจะติดเพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบต่ออาชีพและครอบครัวเขา

แต่ในคืนหนึ่งเขาก็ถูกยิงที่ศีรษะ คาสโตรเป็นหนึ่งในเหยื่อรายแรกๆ ของนโยบายปราบปรามยาเสพติดที่โหดเหี้ยมของดูเตอร์เตที่มีผู้ถูกสังหารเป็นชาวฟิลิปปินส์เกือบ 2,000 รายแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับชาวฟิลิปปินส์เพราะดูเตอร์เตแสดงท่าทีส่งเสริมการใช้ความรุนแรงให้เห็นอย่างชัดเจนใน "สงครามยาเสพติด" ของเขา

เรื่องนี้ไม่เพียงแค่เกิดขึ้นในฟิลิปปินส์เท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นในที่อื่นๆ ด้วยจากข้อมูลขององค์กรเอ็นจีโอด้านนโยบายยาเสพติดระดับสากลเมื่อปี 2558 ระบุว่า ประเทศจีน, มาเลเซีย, เวียดนาม, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, อิหร่าน, ซาอุดิอาระเบีย และไทย ต่างก็มีการสังหารผู้ค้ายาเสพติดมาก่อน ในไทยเคยมีสงครามยาเสพติดในสมัยอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 13,000 ราย และมีผู้ยอมมอบตัวกับตำรวจมากกว่า 36,000 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1,200 ราย ในช่วงเดือนแรก ซึ่งไทม์ระบุว่าดูคล้ายกับกรณีของฟิลิปปินส์


อาชญากรรมในฟิลิปปินส์สูงจริงหรือ?

ไทม์ตั้งคำถามว่าอาชญากรรมในฟิลิปปินส์มีความร้ายแรงขนาดไหน ถึงขั้นที่คนเลือกดูเตอร์เตเพื่อให้เขาใช้อำนาจแบบเด็ดขาด ถึงขั้นต้องฆ่าแกงกัน ในทางสถิติจากตัวเลขของสำนักงานสำรวจด้านยาเสพติดและอาชญากรรมของสหประชาชาติ (UNODC) ตั้งแต่ปี 2546-2557 แล้ว ฟิลิปปินส์ก็ไม่ได้มีอาชญากรรมมากไปกว่าหลายประเทศ เช่นสถิติอาชญากรรมการทำร้ายร่างกายในปี 2557 มีเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ 232,685 กรณี จากประชากร 98 ล้านคน เทียบกับสหราชอาณาจักร 375,000 กรณีจากประชากร 64 ล้านคน อาชญากรรมการข่มขืนในฟิลิปปินส์ปี 2557 ก็มีน้อยกว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ในแง่การเป็นเจ้าของอาวุธปืน วิทยาลัยด้านสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ก็สำรวจพบว่าฟิลิปปินส์จัดอยู่ในอันดับที่ 105 จาก 179 อันดับในด้านอัตราการครอบครองอาวุธปืนเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ซึ่งต่ำกว่าฟินแลนด์ แคนาดา และออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์ก็เคยถูกจัดอยู่ในประเทศที่มีอัตราการฆาตกรรมโดยเจตนาสูงพอสมควรแต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นสูงมากเป็นพิเศษ จากข้อมูลของธนาคารโลกในปี 2556 ระบุว่าฟิลิปปินส์มีอัตราการฆาตกรรมโดยเจตนาอยู่ที่ 9 หน่วยต่อประชากร 100,000 คน เทียบเท่ากับรัสเซีย แต่ก็ยังน้อยกว่าประเทศแถบละตินอเมริกาอย่างโคลอมเบีย (32 หน่วย) เอลซัลวาดอร์ (40 หน่วย) ฮอนดูรัส (84 หน่วย) หลายเท่าตัว ถึงแม้ว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติของฟิลิปปินส์จะระบุว่าเมืองในฟิลิปปินส์อย่างมะนิลาและดาเวาจะติดอันดับ 15 เมืองที่มีเหตุฆาตกรรมสูงสุดในปี 2553-2558 เฉลี่ย 1,202 ต่อปี แต่ในจำนวนนี้ก็รวมถึงคนจำนวนมากที่เสียชีวิตไปแล้วในช่วง 7 สัปดาห์แรกของนโยบายสงครามยาเสพติดของดูเตอร์เต

ในแง่ยาเสพติด UNODC ระบุว่าฟิลิปปินส์มีอัตราการใช้สารแอมเฟตามีนในระดับสูง แม้ว่ายังน้อยกว่าออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์มีการเสพฝิ่นน้อยมากอยู่ที่ 0.05 เทียบกับสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.41 ระดับการเสพโคเคนของฟิลิปปินส์ก็น้อยพอๆ กันคือ 0.03 นิตยสารไทม์ระบุว่าสถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าชาวฟิลิปปินส์ไม่ใช่คนที่เสื่อมทราม แต่เป็นประเทศที่ดูมีสติ เคารพกฎหมาย และยำเกรงต่อพระเจ้า คนฟิลิปปินส์ร้อยละ 37 เข้าโบสถ์ทุกสัปดาห์

ไทม์มองว่าการที่ดูเตอร์เตสามารถเรียกการสนับสนุนจากผู้คนได้มาจากการที่เขาอ้างว่ายาเสพติดเป็นเรื่องเร่งด่วนที่กำลังเป็นภัยต่อประเทศชาติและสิ่งที่จะช่วยให้ชาติพ้นภัยคืออำนาจนิยมแบบเด็ดขาดแบบเก่า เลยลา เดอ ลิมา วุฒิสมาชิกของฟิลิปปินส์กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อไทม์ว่าฟิลิปปินส์กำลังถลำลงสู่ระบอบทรราช ลิมาพูดถึงการสังหารที่เกิดขึ้นในประเทศของเขาว่าไม่ว่ามันจะมาจากคำสั่งของรัฐหรือไม่ก็ตามอย่างน้อยมันก็เป็นการสังหารที่มีรัฐเป็นผู้สร้างแรงจูงใจ


เมินเสียงนักสิทธิมนุษยชน

ริชาร์ด จาวาด เฮย์ดาเรียน ศาตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเดอ ลา ซาล ในกรุงมะนิลากล่าวว่า ตามความคิดเห็นของชาวฟิลิปปินส์แล้ว เรื่องกฎหมายและความสงบเรียบร้อยเป็นประเด็นใหญ่และรัฐบาลชุดก่อนๆ ไม่ได้มีประสิทธิภาพในการจัดการเรื่องนี้มากเท่าที่ควร ในขณะที่ดูเตอร์เตมีทุนทางการเมืองในการจัดการเรื่องนี้

ไทม์ระบุว่าดูเตอร์เตตัดงบประมาณด้านที่สำคัญต่างๆ อย่างสาธารณสุข การเกษตร แรงงาน การจ้างงาน และกิจการต่างประเทศลง ในขณะที่เพิ่มงบจำนวนมากให้กับหน่วยงานตำรวจและทหาร รวมถึงเพิ่มงบประมาณให้สำนักงานประธานาธิบดีมากขึ้น 10 เท่า และเพิ่มงบประมาณ "การนำเสนอภาพลักษณ์และความบันเทิง" 150 ล้านดอลลาร์

เดอ ลิมา ส.ส. อายุ 56 ปี ผู้เป็นคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมของวุฒิสภาเรียกร้องให้มีการสืบสวนกรณีการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายหลังจากที่ดูเตอร์เตเข้าสู่ตำแหน่งได้ 2 สัปดาห์ แต่เธอก็ถูกผู้สนับสนุนดูเตอร์เตวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักผ่านทางโซเชียลมีเดีย เธอถูกกล่าวหาว่าคอยปกป้องพวกกลุ่มค้ายา ดูเตอร์เตก็โต้ตอบเธอด้วยข้อกล่าวหาแบบทำลายชื่อเสียงด้วยการอ้างเรื่องส่วนตัว เช่นกล่าวหาว่าเธอหลับนอนกับคนขับรถของเธอที่คอยเก็บส่วยแทนเธอ วุฒิสมาชิกหลายคนก็ไม่เห็นด้วยกับเธอและอ้างว่าการสืบสวนในเรื่องนี้ยังเร็วเกินไป แต่ เดอ ลิมา ก็โต้แย้งว่า จะต้องรอให้ตายเป็นหมื่นเป็นแสนคนหรือถึงจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง

กลุ่มที่เห็นด้วยกับเดอ ลิมา คือกลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ในเดือน มิ.ย. ตัวแทนสหประชาชาติ 2 คน กล่าวหาดูเตอร์เตว่ายุยงให้เกิดความรุนแรงซึ่งไม่ใช่ต่อคนค้ายาและอาชญากรเท่านั้นแต่ยังทำให้เกิดความรุนแรงต่อนักข่าวด้วย ดูเตอร์เตด่าโต้ตอบยูเอ็นกลับไป และเมื่อไม่นานมานี้ก็ขู่ว่าจะถอดประเทศตัวเองออกจากการเป็นสมาชิกภาพของยูเอ็น ถึงแม้วาจะมีโครงการหลายโครงการจากหน่วยงานของยูเอ็นในฟิลิปปินส์ ดูเตอร์เตยังขู่ว่าจะประกาศกฎอัยการศึกด้วย

องค์กรอย่างฮิวแมนไรท์วอทช์และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ก็ประกาศต่อต้านการสังหารในฟิลิปปินส์และเรียกร้องให้ดูเตอร์เตเปลี่ยนวาทศิลป์และนโยบายของเขา แต่ดูเตอร์เตก็ตอบปัดเช่นเคยว่าเขาไม่สนใจสิทธิมนุษยชน


คนจนระทมจากนโยบายป่าเถื่อน

ไทม์ระบุว่าสงครามต่อต้านยาเสพติดนั้นส่งผลกระทบมากที่สุดต่อกลุ่มคนจนในระดับหมู่บ้านของฟิลิปปินส์ ในย่านเสื่อมโทรมที่มีเด็กเท้าเปล่าวิ่งเล่นกันข้างท่อระบายน้ำที่ไม่มีฝาปิดนั้นจะมีคนใช้ยาบ้าแบบฟิลิปปินส์ที่เรียกว่าชาบูอยู่มากเพื่อหลบหนีจากโลกความจริงและด้วยสาเหตุด้านการเงิน บางคนยอมค้ายาเพื่อแลกกับเงินมาจุนเจือครอบครัว

ลักษณะการสังหารผู้คนก็เป็นไปอย่างป่าเถื่อน เช่นกรณีของชายพ่อลูก 4 ที่ชื่อ ริคกี อลาบอน ถูกคนซ้อนมอเตอร์ไซค์กราดยิงใส่จนตัวเขามีกระสุน 11 นัด พี่น้องของเขาบอกว่าอลาบอนเพิ่งจะวางมือเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน พวกเขายังไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมใดๆ ได้เพราะพวกเขายากจน ญาติพี่น้องของอลาบอนจึงได้แต่แสดงความคับแค้นประณามดูเตอร์เตว่าเทียบเท่ากับเผด็จการอย่างฮิตเลอร์หรือกัดดาฟี

หญิงวัยรุ่นชื่อเจนนีที่อยู่ทางใต้ของกรุงมะนิลาเปิดเผยว่าเธอเคยเห็นกลุ่มคน 50 คนล้อมสังหารเพื่อนบ้านของเธอ เธอบอกว่ามันเหมือนการลงโทษประหารโดยที่ไม่มีกระบวนการทางกฎหมาย ดูเตอร์เตให้อำนาจตำรวจจะทำอะไรก็ได้ มีคนที่ถูกฆ่าทั้งที่ยังไม่ได้ต่อสู้โต้ตอบอะไร แต่ตำรวจฟิลิปปินส์ก็อ้างว่าได้รับการสนับสนุนจากผู้นำและสังหารเพื่อป้องกันตัว

โรนัลด์ เดลา โรซา อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์ก็มีความจงรักภักดีต่อประธานาธิบดีมาก เขาเคยแสดงออกสนับสนุนดูเตอร์เตมาตั้งแต่ก่อนหน้าการเลือกตั้ง เดลา โรซา ยังอ้างว่าเจ้าหน้าที่ของเขาทำตามกฎหมายโดยไม่ได้ใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้ว่าดูเตอร์เตผู้ที่เขาใกล้ชิดด้วยจะเป็นคนที่ไม่เห็นหลักกฎหมายอยู่ในสายตา


อ้างความชอบธรรมใช้กำจัดศัตรู

เมื่อต้นเดือน ส.ค. ดูเตอร์เตยังประกาศสดทางโทรทัศน์ถึงรายชื่อผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่รัฐ และตำรวจ ที่เขาอ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ายา เขาสั่งปลดตำรวจที่มีส่วนเกี่ยวข้องทันที ให้นักการเมืองที่ถูกกล่าวหาถูกยกเลิกการรักษาความปลอดภัยจากรัฐบาลและต้องไปรายงานตัวต่อศาลสูงสุดภายใน 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการอ้างอิงถึงหลักฐานใดๆ ในการประกาศดังกล่าว

โฮเซ ลูอิซ มาร์ติน แกสกง ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของฟิลิปปินส์กล่าวว่า เขากำลังพยายามทำความเข้าใจถึงวิธีการประณามทำให้เสียชื่อเสียงในแบบของดูเตอร์เตว่าทำไปเพื่ออะไร แกสกงเข้าใจอย่างหนึ่งว่าดูเตอร์เตรู้สึกโมโหต่ออาชญากรรมจึงสวมหน้ากากแสดงออกแทนคนทุกคนที่เป็นเหยื่อของอาชญากรรม แต่ปัญหาของการประณามชื่อคนออกสื่อเสี่ยงต่อการที่พวกเขาจะถูกใช้ความรุนแรงแบบศาลเตี้ย

นอกจากนี้การประกาศรายชื่อผ่านโทรทัศน์ของดูเตอร์เตยังมีความผิดพลาด หัวหน้าผู้พิพากษา มาเรีย ลัวร์เดส เซเรโน ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงดูเตอร์เตว่าผู้พิพากษาทั้ง 7 คนที่ดูเตอร์เตกล่าวหามีอยู่ 4 คนเท่านั้นที่ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่ มีคนหนึ่งถูกไล่ออกไปแล้วตั้งแต่ปี 2550 อีกคนหนึ่งเสียชีวิตไป 8 ปีแล้ว

หนึ่งในผู้ที่ถูกประกาศออกหน้าจอโทรทัศน์คือไมเคิล รามา อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเซบู เขารู้สึกเศร้าและประหลาดใจมากที่มีชื่อเขาอยู่ด้วยแม้ว่าในช่วงที่เขาทำงานจนถึงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาเขาจะต่อต้านยาเสพติดมาตลอด รามาสงสัยว่าที่เขาถูกรวมอยู่ในรายชื่อด้วยน่าจะเป็นเพราะเขาเคยขัดแย้งทางการเมืองกับ โทมาส ออสเมนา อดีตนายกเทศมนตรีและนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันของเซบู แม้รามาจะดูนิ่งๆ แต่เขาบอกว่าเขาเป็นห่วงความปลอดภัยของครอบครัวมาก


ประวัติศาสตร์การสังหารนอกกฎหมาย

บาทหลวงในเซบูกล่าวถึงบรรยากาศความหวาดกลัวจากนโยบายนี้ว่า ทุกวันนี้ผู้คนต่างก็หวาดกลัวใครก็ตามที่ขี่มอเตอร์ไซค์สวมหมวกกันน็อก เขาตั้งคำถามว่าทำไมไม่ใช้วิธีจับกุม ทำไมถึงใช้วิธีสังหารที่ไม่มีกระบวนการยุติธรรม

กระนั้น ไทม์ก็ระบุว่าการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายไม่ใช่เรื่องใหม่ในฟิลิปปินส์ อัลเฟรด แมคคอย ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของฟิลิปปินส์กล่าวว่าในช่วงยุคเผด็จการเฟอร์ดินาน มาร์กอส ช่วงปี 2508-2529 มีผู้คนถูกสังหารราว 3,257 คน มีคนถูกจับขังราว 70,000 คน ดูเตอร์เตเองก็แสดงออกถึงความชื่นชมมาร์กอสอย่างเปิดเผย แม้แต่กระทั่งหลังยุคมาร์กอส ฟิลิปปินส์ก็ยังคงมีการสังหารนอกกฎหมายเกิดขึ้นโดยเฉพาะในทางตอนใต้ที่มีกลุ่มกบฏอยู่

แกสกงบอกว่าการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายเป็นสิ่งที่ตกค้างมาจากยุคสมัยเผด็จการ แต่สิ่งที่ต่างออกไปคือยุคก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการสนับสนุนเชิงนโยบายให้มีการกระทำป่าเถื่อนเช่นนี้

ข้อมูลจากตำรวจฟิลิปปินส์ระบุว่ามีผู้คนจำนวนมากที่กลัวจะถูกสังหารจึงยอมมอบตัว แต่โจเซฟ ฟรังโก ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟิลิปปินส์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยางในสิงคโปร์ให้สัมภาษณ์ต่อไทม์ว่าคำว่า "ยอมมอบตัว" ดูจะเป็นแค่คำที่ใช้บิดเบือนความเข้าใจผู้รับสาร (loaded term) โดยที่จริงๆ แล้วตำรวจเป็นฝ่ายเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องสงสัยว่าใช้ยาหรือค้ายา แล้วส่งไปตามชุมชนต่างๆ ผู้นำชุมชนก็ถูกกดดันให้สนับสนุนการปราบปรามและหารายชื่อเพิ่มโดยมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงน้อยมาก ทำให้คนสามารถกลั่นแกล้งผู้ที่เป็นศัตรูกับตัวเองด้วยการใส่รายชื่อฝ่ายตรงข้ามลงไปได้ คนที่ถูกใส่รายชื่อลงไปมีทางเลือกสามทางเท่านั้น หนึ่งคือรอถูกสังหาร สองคือรอถูกตำรวจจับกุมด้วยความรุนแรง หรือสามคือไปรายงานตัวกับทางการ คนที่รายงานตัวจะต้องลงนามรายชื่อว่าจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีกไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษ


ปัญหาคนล้นคุกและการค้ายาที่ยังเกิดขึ้นอยู่ดี

ในแง่ของการบำบัดฟื้นฟู ฟิลิปปินส์มีสถานบำบัดยาเสพติดของเอกชนอยู่แต่ส่วนมากแล้วจะเต็มหมด และในบางแห่งก็มีราคาค่าธรรมเนียมต่อเดือนแพงกว่าที่ชาวฟิลิปปินส์ทั่วไปจะจ่ายได้แต่ก็มีคนที่สามารถจ่ายได้ไปอออยู่หน้าสถานบำบัดจำนวนมากหลังจากที่ดูเตอร์เตชนะการเลือกตั้ง ส่วนคนที่ยอมมอบตัวต่อทางการแต่ไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมได้ก็มักจะถูกส่งไปให้โครงการบำบัดฟื้นฟูของชุมชนที่มีการฝึกวิชาชีพอย่างการทำผมหรือการทำสบู่และถูกตรวจสอบสัปดาห์ละครั้ง คนที่ไม่ยอมเข้าร่วมโครงการจะถูกตามล่าและอาจจะถูกจัดการด้วยวิธีอื่น

นอกจากสถานบำบัดฟื้นฟูแล้ว ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในฟิลิปปินส์อาจจะถูกส่งเข้าคุกซึ่งเป็นนรกสำหรับชาวฟิลิปปินส์จากจำนวนผู้ต้องขังที่แออัดกันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหานี้เกิดมาตั้งแต่ก่อนยุคดูเตอร์เตแล้ว และโดยเฉลี่ยแล้วเรือนจำในฟิลิปปินส์รับนักโทษเกิดขีดจำกัดราวร้อยละ 158

ทั้งนี้ไทม์ยังรายงานว่าในเรือนจำความปลอดภัยสูงสุดอย่างเรือนจำนิว บิลิบิด ไม่เพียงมีนักโทษล้นคุกแต่ยังเป็นแหล่งค้ายาร้อยละ 75 ของการค้ายาทั้งหมดในประเทศด้วยและดูเตอร์เตก็รู้เรื่องนี้ แต่คนค้ายารายย่อยและผู้เสพนอกเรือนจำแห่งนี้ก็ยังคงถูกสังหารต่อไป

คลาก โจนส์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียผู้ศึกษาเรื่องระบบเรือนจำฟิลิปปินส์และการค้ายาภายในเรือนจำกล่าวว่า ระบบเรือนจำของฟิลิปปินส์อยู่ในสภาพย่ำแย่อยู่แล้วและอาจจะกำลังถึงจุดวิกฤต โจนส์บอกว่าเขาไม่อยากเห็นเรือนจำฟิลิปปินส์กลายเป็นแบบเม็กซิโกหรือแอฟริกาใต้ที่มีเจ้าพ่อค้ายารายใหญ่ครอบงำเรือนจำอยู่

แต่ปัญหานอกเรือนจำก็ไม่แพ้ในเรือนจำ จากที่หลายคนต้องเสี่ยงชีวิตภายใต้นโยบายปราบปรามด้วยความรุนแรง อัลเบิร์ต กอนซาเลส เล่าถึงตอนที่เพื่อนของเขา โอเมง มาริอาโน ที่เป็นพ่อลูกสองถูกคนในชุดลายพรางสวมหน้ากากปกคลุมใบหน้าบุกเข้ามายิงเสียชีวิต กอนซาเลสประกาศว่าเขาไม่กลัวประธานาธิบดีและจะเป็นพยานให้การในเรื่องที่เพื่อนของเขาถูกสังหาร

"เขา (ดูเตอร์เต) ควรให้โอกาสคนได้กลับตัว พวกเขาเป็นคน ไม่ใช่สัตว์" กอนซาเลสกล่าว

 

เรียบเรียงจาก

The Killing Time: Inside Philippine President Rodrigo Duterte’s War on Drugs, Time, 25-08-2016
http://time.com/4462352/rodrigo-duterte-drug-war-drugs-philippines-killing/

ข้อมูล Intentional homicides (per 100,000 people), World Bank
http://data.worldbank.org/indicator/VC.IHR.PSRC.P5

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images