Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

ประวิตรยันที่รัฐประหารได้เพราะปชช.เอาด้วย ย้ำไม่อยากยึดอำนาจใครอยากมาแทนก็มา

$
0
0

พล.อ.ประวิตร ระบุแนวคิดสร้างปรองดอง ให้นักการเมืองร่วมพูดคุย อยู่กันอย่างสันติ ยืนยันทหารเป็นตัวกลาง ไม่อยากปฏิวัติ อภิสิทธิ์ เผย ปชป.พร้อมร่วมมือปรองดอง

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ที่มาภาพ แฟ้มภาพเว็บไซต์ทำเนียบฯ)

19 ม.ค. 2560 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงแนวคิดการเชิญนักการเมืองมาปรึกษาหารือและมาลงสัตยาบันร่วมกันเพื่อสร้างความปรองดองและยุติความขัดแย้ง ว่า เพราะอยากให้พรรคการเมืองอยู่กันอย่างสันติ

ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยระบุว่า อยากให้ทหารลงนามเอ็มโอยูด้วยว่าจะไม่รัฐประหารอีก พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทหารมีความเป็นกลาง ไม่มีความขัดแย้ง เช่นในสมัยของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ทำรัฐประหาร ไม่ได้อยู่ในความขัดแย้ง แต่อยากให้บ้านเมืองสงบ ไม่มีใครอยากจะปฏิวัติ
 
“ไม่ต้องไปเซ็นหรอก นอกจากบ้านเมืองไปไม่ได้แล้วและเกิดความขัดแย้งเท่านั้น ทหารจึงจะทำ พรรคเพื่อไทยคงคิดไปเองว่าทหารจะออกมาปฏิวัติ ผมอายุ 70 กว่าแล้ว อยู่มาตั้งแต่เด็ก ยืนยันได้ว่าไม่มีใครอยากปฏิวัติ คือถ้าจะปฏิวัติแล้วไม่มีประชาชนเอาด้วยก็ไม่มีทางทำได้เลย แต่ครั้งนี้ประชาชนเห็นชอบว่าเราจะเข้ามาทำให้เกิดความสงบ และเชื่อว่าทหารส่วนใหญ่คิดแบบนี้ ไม่มีใครที่อยากจะมายึดอำนาจ มามีอำนาจ ไม่เห็นมีอะไรดีเลย ใครอยากมาแทนผมก็มาเลยผมไม่ว่า” พล.อ.ประวิตร กล่าว
 
ส่วนคำถามจะให้ความั่นใจกับนักการเมืองที่จะมาคุยอย่างไร พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย แต่จะทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นจากพรรคการเมือง เพื่อทำข้อตกลงร่วมกัน ไม่มีระเบียบทางกฏหมายบังคับการคุย ถ้าคุยแล้วจะต้องออกมาเป็นระเบียบกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ค่อยว่ากัน อะไรที่ต้องใช้กฎหมายต้องไปดูและต้องใช้ตามนั้น
 
“หรืออาจจะออกเป็นมาตรา 44 ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ ไม่ใช่ทหารอยากทำอะไรก็ทำ ไม่มีบทลงโทษใด ๆ เพราะเราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ บทลงโทษมีอยู่แล้วในกฎหมายทั่วไป และไม่ห่วงหากพรรคการเมืองกลับคำ เพราะทุกฝ่ายรับรู้กันอยู่แล้วในข้อตกลงที่คุยกันร่วมกัน” พล.อ.ประวิตร กล่าว
 
ส่วนกรณีที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูนิธิมวลมหาประชาชน ระบุว่าจะไม่ลงนามสัตยาบันร่วมด้วย พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นเรื่องของอนาคต ต้องไปคุยกันเรื่องข้อตกลงก่อน ส่วนจะลงนามหรือไม่ลงนามเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เกิดความปรองดองและเราจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มองว่ามีความชัดเจนแล้ว
 

อภิสิทธิ์ เผย ปชป.พร้อมร่วมมือปรองดอง

ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลตั้งคณะทำงานมาดูเรื่องปรองดอง ว่า การที่จะให้คณะกรรมการชุดนี้เดินสายพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่าย ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ยินดีที่จะให้ข้อมูลและถือว่าการใช้วิธีการแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ความปรองดองเดินหน้าไปได้ แต่สิ่งสำคัญจะต้องพูดคุยให้ครอบคลุมทุกฝ่าย รวมทั้งภาคสังคมและประชาชน อย่ายึดติดแค่พรรคการเมือง โดยต้องสรุปบทเรียนให้ถูกว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นล่าสุดไม่ได้เกิดจากพรรคการเมือง แต่เกิดจากความพยายามผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ เพราะหากตั้งโจทย์ผิด ก็ไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งคลี่คลายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรยึดติดกับการให้พรรคการเมืองมาลงนามสัตยาบัน เพราะพรรคการเมืองไม่สามารถตอบแทนประชาชนทุกคนได้ แต่อยากให้รัฐบาลและทุกฝ่ายย้อนกลับไปดูว่าที่มีปัญหาขัดแย้งกันไม่ได้เกิดจากผลการเลือกตั้ง
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ที่มาภาพ เพจ Abhisit Vejjajiva)
 
“ผมไม่ทราบว่าเนื้อหาสาระที่อยากให้ตกลงทำสัตยาบันกันเป็นอย่างไร แต่อยากย้ำว่าเรื่องของการลงนามในเอกสาร ไม่ได้เป็นหลักประกัน เพราะคนที่ไปลงนามกล้ายืนยันหรือไม่ว่าประชาชนจะเห็นด้วยเหมือนกับตัวเอง เพราะแม้กระทั่งพรรคการเมืองก็พูดไม่ได้ ผมจึงอยากให้นำเรื่องความขัดแย้งมาพูดกันแบบเปิดใจ และที่เคยขอความเห็นฝ่ายต่าง ๆ มา ก็ควรนำมาสรุป ซึ่งผมก็พร้อมที่จะให้ข้อมูล และอยากให้ความขัดแย้งมันจบเร็ว ๆ เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี แต่อย่าเอามาผูกติดกับการเลือกตั้ง ถ้าหวังว่าพรรคการเมืองอยากเลือกตั้ง แล้วให้มาตกลงกัน ถ้าไม่ตกลงแล้วจะไม่มีเลือกตั้ง ผมว่ามันก็ไม่จบ ควรว่ากันด้วยเหตุด้วยผล และผมว่าอย่าจับกันเป็นคู่ขัดแย้ง แต่ผมว่าทุกคนที่มีบทบาทในสังคมควรไปรับฟังความเห็นจากเขา” อภิสิทธิ์ กล่าว
 
อภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า อยากให้คนที่ทำงานด้านความปรองดองคำนึงถึงเนื้อหาสาระและให้นำสิ่งที่คณะทำงานชุดเก่า ๆ เคยศึกษาและสรุปออกมา นำมาประกอบการทำงานสร้างความปรองดอง และสิ่งสำคัญขอยืนยันว่าการทำผิดกฎหมายหรือการใช้ความรุนแรงจะต้องมีความรับผิดชอบ โดยควรปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมเดินหน้าทำงาน หากจะยกเว้น ก็ควรนิรโทษให้เฉพาะกรณีของประชาชนที่มาชุมนุมแล้วทำผิดกฎหมายพิเศษและทำผิดเพียงเล็กน้อย ซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีก็พูดมาตลอดว่าต้องรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย จึงอยากให้ยึดหลักการในส่วนนี้ และอยากให้มองไปข้างหน้าว่าขณะนี้โลกเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมการปลุกระดมและสร้างความขัดแย้ง โดยผ่านวิทยุชุมชน แต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตและมีสังคมออนไลน์ที่จะต้องเข้าไปดูแลเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มเติม
 
ที่มา สำนักข่าวไทย 1, 2
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

$
0
0
"ถ้าจะปฏิวัติแล้วไม่มีประชาชนเอาด้วยก็ไม่มีทางทำได้เลย แต่ครั้งนี้ประชาชนเห็นชอบว่าเราจะเข้ามาทำให้เกิดความสงบ และเชื่อว่าทหารส่วนใหญ่คิดแบบนี้"
 
รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, 19 ม.ค. 60

รบ.ขออังกฤษหนุนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย

$
0
0

เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำไทย เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รัฐบาลไทยขอให้หนุนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย

19 ม.ค. 2560 เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. ไบรอัน จอห์น เดวิดสัน เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พล.ท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือดังนี้

นายกรัฐมนตรีแสดงความยินดีที่ได้พบกับ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร เป็นโอกาสอันดีที่จะเดินหน้าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศต่อไปในอนาคต และแสดงความขอบคุณที่สหราชอาณาจักรแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งนี้ออท. สหราชอาณาจักร ย้ำความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร และมีความสัมพันธ์อันดีในทุกระดับตั้งแต่ราชวงศ์ ไปจนถึงประชาชน การรับตำแหน่งครั้งนี้มุ่งหวังที่จะกระชับความสัมพันธ์และแสวงหาโอกาสความร่วมมือใหม่ๆ ระหว่างกัน
 
ด้านสถานการณ์ทางเมือง นายกรัฐมนตรีทราบว่าสหราชอาณาจักรมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ทางการเมืองไทย อย่างไรก็ดีไทยกำลังเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อยากให้สหราชอาณาจักรสนับสนุนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยด้วย ซึ่งเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร แสดงความเข้าใจถึงสถานการณ์ทางการเมืองไทย โดยเห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการเดินหน้าตาม Roadmap เพื่อปฏิรูปด้านต่างๆ และวางรากฐานไปสู่การมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
 
นายกรัฐมนตรียินดีที่ทราบว่านายอะล็อก ชาร์มา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ สหราชอาณาจักร จะเดินทางเยือนไทยสัปดาห์หน้า (26-28 มกราคม 2560) และหวังจะได้ต้อนรับนายชาร์มาอีกครั้งในการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหราชอาณาจักรครั้งที่ 3 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศของไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปีนี้ เพื่อหารือถึงประเด็นความร่วมมือที่หลากหลายทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ความมั่นคง เป็นต้น
 
ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อความสำเร็จในการจัดการประชุมสภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (TUBLC) ครั้งแรก กลไกดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนที่มีมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆ ร่วมกัน ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีหวังว่าจะเห็นการขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม จึงขอฝากออท. สหราชอาณาจักรในการร่วมมือกันเพื่อให้เกิดผลโดยเร็ว
 
ในด้านเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีย้ำความสัมพันธ์ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านหลัง Brexit ทั้งนี้ออท. สหราชอาณาจักร ยินดีสนับสนุนให้นักธุรกิจสหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้นตามนโยบาย New S-curve และ Thailand 4.0 ในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ นวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล การบริหารทางการเงิน พลังงานแบบยั่งยืนและสาธารณสุข
 
ในด้านการศึกษานายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณที่ สหราชอาณาจักรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษากับไทยเป็นอันดับต้นๆ โดยไทยประสงค์จะเห็นโรงเรียนและมหาวิทยาลัยของสหราชอาณาจักรเข้ามาเปิดกิจการในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งออท.สหราชอาณาจักรเห็นว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ และยินดีที่สหราชอาณาจักรจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมด้านภาษาอังกฤษ รวมถึงการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งจะช่วยสนับสนุนโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ของไทยด้วย
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความยุติธรรมไร้ความหมาย บทกวีจากกรงขังโดย ไผ่ ดาวดิน

$
0
0



เมื่อความยุติธรรม ไร้ความหมาย 

นี่คือความท้าทาย ของสังคม 

ชีวิตคนไม่ใช่ของเล่น 

ใช่จะข่มจะเหง กันอยู่ได้

เป็นแบบนี้ไม่มีหรอก ประชาธิปไตย

เอาแต่ใจ คืนความสุขแต่ปาก อ้างทำดี

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์ ชี้ 75.2% หนุนพรรคการเมือง-คู่ขัดแย้งให้สัจจะวาจาสร้างความปรองดอง

$
0
0

กลุ่มประชากรตัวอย่าง 47.2 % เชื่อมั่นค่อนข้างมาก หากลงนามข้อตกลง แล้วจะสร้างความปรองดอง 72.1% มอง ม.44 ยังจำเป็นอยู่ในการสร้างความสามัคคีปรองดอง 57.9% อยากให้ปฏิรูปให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้ง 

20 ม.ค. 2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ทางออกของความปรองดองในสังคมไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,216 คน พบว่า  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.2 เห็นด้วยว่าควรให้พรรคการเมืองและคู่ขัดแย้งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาหารือทางออกโดยทำสัจจะวาจาร่วมกัน และให้ลงนามข้อตกลง (MOU) เป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม เพื่อสร้างความปรองดองให้แก่สังคม โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า  ประเทศจะเดินหน้าพัฒนาได้เร็วขึ้น (ร้อยละ 59.1) รองลงมาคือ จะได้เดินหน้าสู่การเลือกตั้งได้เร็วยิ่งขึ้น (ร้อยละ 47.1) และจะได้มีหลักฐานชัดเจน ไม่มีใครกล้าละเมิดข้อตกลง (ร้อยละ 43.0) ขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่า ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ยังไงก็กลับมาขัดแย้งอยู่ดี และร้อยละ 4.3 ไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามต่อว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าการสร้างความปรองดองโดยการทำ MOU ในข้างต้นจะช่วยทำให้สังคมเลิกขัดแย้ง แบ่งฝักฝ่ายได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.2 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 43.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 9.0 ไม่แน่ใจ
 
ส่วนข้อคำถามที่ว่า ม.44 ยังจำเป็นหรือไม่กับสังคมไทย หากรัฐบาลต้องการสร้างความสามัคคีปรองดอง ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.1 เห็นว่าจำเป็นอยู่ ขณะที่ร้อยละ 19.8 เห็นว่าไม่จำเป็นแล้ว ที่เหลือร้อยละ 8.1 ไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการรีเซ็ตนักการเมืองในปัจจุบัน ให้เว้นวรรคการเมือง 1 สมัย เพื่อให้ผ่านข้อครหาที่เป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง และให้นักการเมืองรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน หากยังไม่สามารถสร้างความปรองดองได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.2 ระบุว่า “เห็นด้วย” ขณะที่ร้อยละ 21.9 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย” และร้อยละ 10.9 ยังไม่แน่ใจ
 
สุดท้ายเมื่อถามว่าควรปฏิรูปสร้างความปรองดองให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้งหรือเดินหน้าเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 อยากให้ปฏิรูปให้แล้วเสร็จก่อนมีการเลือกตั้ง ส่วนร้อยละ 35.9 อยากให้มีการเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้ และเดินหน้าปฏิรูปต่อไปพร้อมๆ กัน ที่เหลือร้อยละ 6.2 ยังไม่แน่ใจ
 
รายละเอียดการสำรวจ : 
 
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1)เพื่อสะท้อนความเห็นถึงแนวทางการปฏิรูปสร้างความปรองดอง ในสังคมไทย
2)เพื่อสะท้อนความเห็นว่าควรปฏิรูปสร้างความปรองดองให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้งหรือเดินหน้าเลือกตั้งเลยตามโรดแมปที่วางไว้
 
ประชากรที่สนใจศึกษา  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
      
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล  :  17 – 18 มกราคม 2560
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลายบริษัทในญี่ปุ่นเริ่มให้คนทำงาน 4 วัน หยุดงาน 3 วันต่อสัปดาห์

$
0
0

กระทรวงแรงงานญี่ปุ่นเผยว่าบริษัทร้อยละ 8 เริ่มให้มีวันหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน หลายบริษัทใช้วิธีโปะชั่วโมงทำงาน บางแห่งก็ลดชั่วโมงทำงาน นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนหลายบริษัทเล็งให้แรงงานฝึกฝนทักษะ หรือมีเวลากลับไปดูแลเด็กและผู้สูงอายุ

ย่านชิบูยาในกรุงโตเกียว ภาพถ่ายปี 2015 (ที่มา: แฟ้มภาพ/IQRemix/Wikipedia)

20 ม.ค. 2560 นิเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่าสถานที่ทำงานของญี่ปุ่นโดยทั่วไปเริ่มมีการให้หยุดงานสัปดาห์ละ 3 วันกันมากขึ้น หลังจากที่กลุ่มคนทำงานเรียกร้องให้มีความสมดุลระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องให้มีการปฏิรูปแรงงาน

กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นสำรวจในปี 2558 พบว่ามีบริษัทร้อยละ 8 ของทั้งหมดที่อนุญาตให้มีวันหยุด 3 วันหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า 10 ปีที่แล้ว นิคเคอิระบุว่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ให้หยุด 2 วันเป็นต้นไปเพื่อให้คนมีเวลาเลี้ยงดูลูกหรือคนชราในบ้านมากขึ้นซึ่งจะเป็นการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในด้านนี้

หนึ่งในบริษัทใหญ่ที่เริ่มให้มีการหยุดงานเพิ่มขึ้นคือ เคเอฟซี โฮลด์ดิง เจแปน โดยในปีงบประมาณที่ 2559 เคเอฟซีญี่ปุ่นปรับลดเวลางานของลูกจ้างลงเหลือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และให้พนักงานเลือกได้ว่าจะหยุดงานวันใดบ้างเป็นเวลา 3 วันในแต่ละสัปดาห์ โดยที่ทางบริษัทหวังว่าจะทำให้พนักงานยังคงอยู่ทำงานให้บริษัทต่อไป

อีกบริษัทหนึ่งคือฟาสต์ รีเทลลิง ซึ่งรู้จักกันดีในฐานะเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า Uniqlo ก็มีโครงการให้หยุดสัปดาห์ละ 3 วันเช่นกัน ในขณะที่บริษัทยะฮู เจแปน ก็วางเป้าหมายจะให้พนักงานสามารถหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ได้ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ไม่เพียงแค่ในใจกลางเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ธุรกิจบางส่วนที่อยู่นอกเมืองใหญ่อย่างเช่น สถานปฏิบัติการพยาบาลของอุจิยามะโฮลด์ดิงในจังหวัดฟุกุโอกะก็ขยายโครงการหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ตามสถานพยาบาลต่างๆ ของพวกเขารวม 81 แห่ง ให้กับคนงานมากกว่า 2,000 คนในช่วงปลายปีงบประมาณ 2559 แต่ของอุจิยามะจะยังคงนโยบายชั่วโมงทำงาน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่าเดิม นั้นหมายความว่าจะมีการทำงาน 10 ชั่วโมง ใน 4 วัน แทนแบบเดิมคือ 8 ชั่วโมง ใน 5 วัน

นิเคอิระบุว่าญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคส่วนการดูแลผู้สูงอายุ จึงมีการพยายามปรับสภาพการทำงานโดยหวังว่าการวางกะทำงานแบบใหม่จะดึงดูดคนสมัครงานมากขึ้นและทำให้คนทำงานเดิมยังคงทำงานกับพวกเขาต่อไป

อีกภาคส่วนหนึ่งคือผู้ผลิตเครื่องมือชื่อบริษัทซาตาเคะ ที่เป็นบริษัทจากฮิโรชิมา จะเริ่มให้พนักงาน 1,200 คนมีวันหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ เริ่มจากตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปีนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีแผนการระยะยาวจะลดชั่วโมงทำงานลงเหลือร้อยละ 20 เหลือแค่ทำงาน 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ภายในปี 2561 ด้วยวิธีการตัดการประชุมและงานเอกสารที่ไม่จำเป็นซึ่งถือเป็นความไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งการลดชั่วโมงทำงานนี้บริษัทซาตาเคะหวังว่าจะส่งเสริมให้คนมีเวลาฝึกทักษะเพิ่มเติมเช่นการไปเรียนภาษาเพิ่มได้ด้วย

เท็ตสุ วาชิทานิ ศาตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชูโอกล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีแต่บริษัทใหญ่ๆ เท่านั้นที่ให้มีวันหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีบริษัทที่อยู่นอกเมืองใหม่ใช้ระบบหยุด 3 วันต่อสัปดาห์เพิ่มมากขึ้น โดยถ้าหากทำควบคู่ไปกับการจำกัดให้การไปเพิ่มเวลาทำงานต่อวันน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็จะอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้นด้วย

เรียบเรียงจาก

Japan Inc. moving toward 4-day work week, Nikkei Asian Review, 19-01-2017  http://asia.nikkei.com/Business/Trends/Japan-Inc.-moving-toward-4-day-work-week

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิฯ สรุปความคืบหน้า 21 คดีละเมิดสิทธิฯ จากใช้อำนาจทหาร เดือน ธ.ค.

$
0
0

เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่รายงานความคืบหน้าในคดีละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้อำนาจทหาร ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 และหมายนัดคดีในเดือนมกราคม 2560 

ความคืบหน้าคดีประจำเดือนธันวาคม 2559 จำนวน 21 คดี 

 

ลำดับ

ชื่อ

ความสำคัญคดี

หมายเลขคดี

ข้อหา

นัดหมาย

1

คดีโพสท์ สิทธิ

(นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์)

1พ.ค.2559 กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ได้นัดจัดกิจกรรมโพสต์ สิทธิ ที่สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี เพื่อรณรงค์เรื่องเสรีภาพการแสดงออก กิจกรรมนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ความสะอาด 2 คนคือ ได้แก่ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์และนางสาวฐิตารีย์ อุทยานนุกูลศิริกุล (คดีนี้แยกฟ้องเป็นคนละคดี)

หมายเลขคดีที่นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ เป็นจำเลย ได้แก่ คดีหมายเลขดำที่ 1619/2559ศาลแขวงพระนครใต้

 

พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ,32 (1) ,54 และมาตรา 56

ศาลพิพากษาปรับจำเลยจำนวน 1000 บาท

2

นายธเนตร อนันตวงษ์

(คำร้องขอปล่อยจากควบคุมตัวมิชอบ)

ธเนตร อนันตวงษ์ ถูกเจ้าหน้าที่รัฐบุกควบคุมตัว ขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสิรินธร โดยเจ้าหน้าที่ไม่แจ้งข้อกล่าวหา และหมายจับ ไม่แจ้งสิทธิให้ทราบตามกฎหมาย แล้วนำตัวไป มทบ.11และควบคุมตัวนายธเนตรฯไว้เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

หมายเลขดำที่ ษ.99/2558

หมายเลขแดงที่ ษ.99/2558 ศาลอาญา

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90

นัดฟังคำสั่งศาลฏีกาในวันที่ 13 ม.ค. 2560 เวลา 09.30 น.

3

คดีสมบัติ บุญงามอนงค์

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ถูกคณะรัฐประหารดำเนินคดียุยงปลุกปั่นจากการโพสต์เฟซบุ๊กนัดจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารของคสช.

คดีหมายเลขดำที่ 24 ก./2557

ศาลทหารกรุงเทพ

ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 116 และพรบ.คอมพิวเตอร์

นัดสืบพยานในวันที่ 17 ม.ค. 2560 

4

คดีนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ

(ขัดขืนคำสั่ง)

ทนายความในคดี 14นักศึกษาประชาธิปไตยใหม่ ถูกตำรวจแจ้งความดำเนินคดี จากเหตุที่ทนายความทำหน้าที่รักษาสิทธิของลูกความ โดยไม่อนุญาตให้ตำรวจค้นรถเพื่อจยึดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้น

อยู่ระหว่างพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม

ประมวลกฏหมายกฏหมายอาญา มาตรา 142 และ 368

นัดส่งตัวให้พนักงานอัยการ

วันที่ 17 ม.ค. 2560 เวลา 09.30 น. สำนักงานอัยการศาลแขวง 3 (ดุสิต)

5

คดี 8แอดมินเพจเรารักประยุทธ

(คำร้องขอปล่อยตัวจากการควบคุมตัวมิชอบ)

ทหารเข้าควบคุมตัวทั้ง8 คนไปควบคุมไว้ที่ มทบ.11 โดยไม่มีหมายจับ และไม่ให้ผู้ถูกจับกุมแจ้งให้ญาติหรือทนายทราบว่าตนถูกจับกุม

หมายเลขดำที่ ษ.34/2559

หมายเลขแดงที่ ษ.34/2559
ศาลอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90

นัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ในวันที่ 18 ม.ค. 2560 เวลา 10.00 น.

6

นายอมรโชติซิงห์ (สงวนนามสกุล)

นายอมรโชติซิงห์ถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดตามมาตรา 112 จากกการใช้เสื้อผ้าสีชมพู่เดินห้าง สรรพสินค้าแห่งหนึ่งในช่วงภายหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 9

คดีอยู่ในระหว่างสอบสวน

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นัดฟังคำสั่งอัยการในวันที่ 18 ม.ค. 2560

7

คดีจัดกิจกรรมพูดเพื่อเสรีภาพ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

31 ก.ค. 2559 นักศึกษาได้จัดกิจกรรม “พูดเพื่อเสรีภาพ; รัฐธรรมนูญของคนอีสาน” ที่ม.ขอนแก่น เพื่อวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังตำรวจออกหมายเรียกรับทราบข้อหา 11 คน โดยมี 2 คนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์การจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเท่านั้น

 อยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น

ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558  ข้อ 12  ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป

นัดฟังคำสั่งพนักงานสอบสวนและส่งตัวอัยการ วันที่ 19 ม.ค. 2560 เวลา 10.00 น. สภ.เมืองขอนแก่น

8

คดีประชามติ ภูเขียว

ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง สนธิกำลังเข้าจับกุม 2 นักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) อีสาน ได้แก่ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน และนายวศิน  พรหมณี หลังทั้งสองคนทำกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารโหวตโนของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่บริเวณตลาดสดเทศบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในวันที่ 6 ส.ค. 2559 ก่อนมีการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง

คดีหมายเลจดำที่ 1370/2559

ศาลจังหวัดภูเขียว

พ.ร.บ.ิว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61(1) วรรคสอง วรรคสาม

นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 20 ม.ค. 2560 เวลา 09.00 น.

9

นายจือเซง  แซ่โค้วหรือสมอล บัณฑิต อานียา

นายจือเซง แซ่โค้ว หรือสมอล บัณฑิต อานียา เป็นนักเขียนอิสระถูกดำเนินคดีข้อ ป.อาญา มาตรา 112 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้มาก่อน โดยคดีเดิมศาลฎีกามีคำพิพากษารอลงอาญา เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ป่วยจิตเวช คดีนี้จำเลยได้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมพรรคการเมือง ในลักษณะเป็นการตั้งคำถามต่อสภาพสังคมไทยเท่านั้น

คดีหมายเลขดำที่ 45 ก./2558

ศาลทหารกรุงเทพ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นัดสืบพยานในวันที่ 20 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

10

คดีรินดา (สงวนนามสกุล)

จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมฯ แต่เนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการโพสต์เฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่นประมาท พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยา ทั้งนี้ศาลทหารเห็นว่าเป็นคดีหมิ่นประมาทจึงจำหน่ายคดีออกจากศาล แต่ปอท.ทำความเห็นสั่งฟ้องถึงอัยการศาลอาญาในข้อหาเดิม จากนั้นอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหาตาม ม.14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2550

อยู่ในระหว่างดำเนินการรอฟังคำสั่งอัยการจึงยังไม่มีหมายเลขคดี

นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ม.14พ.ร.บ.คอมฯ 2550

นัดพร้อมในวันที่ 23 ม.ค. 2560 เวลา 13.30 น.

11

คดี มาตรา 112 หมิ่นสมเด็จพระเทพฯ (กำแพงเพชร)

มีการใช้ป.อาญา ม.112มาใช้กล่าวหาจำเลยว่าได้ร่วมกันกระทำความผิดโดยหมิ่นประมาทสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งกฎหมายไม่ครอบคลุมถึง

คดีดำหมายเลขที่1330/2559

ศาลจังหวัดกำแพงเพชร

ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112

นัดพิจารณาคดีในวันที่ 23 และวันที่ 26 ม.ค. 2560 เวลา 09.30 น.

12

คดีนักศึกษาฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่ที่สลายการชุมนุมที่หอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 22 พ.ค. 2558

22 พฤษภาคม 2559 นักศึกษาและนักกิจกรรมได้ทำกิจกรรมรำลึกรัฐประหาร 1 ปี บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ แต่ทหารและตำรวจได้สลายการชุมนุมและจับกุมนักศึกษาและมีการดำเนินคดี 9 คน

คดีหมายเลขดำที่ พ.992/2559

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้

ละเมิดเรียกค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน ตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

นัดชี้สองสถาน วันที่ 24 ม.ค. 2560 เวลา 09.00 น.

13

 

นายบุรินทร์ (สงวนนามสกุล)

 

นายบุรินถูกกล่าวหาว่าแชทกับน.พัฒนรี แม่ของนายสิรวิชญ์โดยมีเนื้อหาที่เข้าข่ายผิด ม.112

ศาลทหาร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นัดสอบคำให้การในวันที่ 24 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

14

นายธเนตร อนันตวงษ์

(คดีตรวจสอบทุจริตอุทยานราชภักดิ์)

ประชาชนและนักศึกษาจัดกิจกรรมอย่างสงบและสันติ โดยการนั่งรถไฟไปตรวจสอบการทุจริตอุทยานราชภักดิ์ แต่ถูกทหารจับกุมและแจ้งความดำเนินคดี ต่อมามีการยื่นฟ้องนางสาวชนกนันท์ รวมทรัพย์ภายหลังจากการยื่นฟ้องนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ กับพวก

คดีหมายเลขดำที่ 256/2559

ศาลทหารกรุงเทพ

ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12  ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป

นัดสอบคำให้การในวันที่ 25 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

15

คดีป่าไม้ ผลกระทบจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนครพนม

คดีนี้จำเลยทั้ง 22 คนมีทีดินทำกินอยู่ในเขตที่คสช.ประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 17/2557

ต่อมาจำเลยทั้ง 22 คนถูกเจ้าหน้าที่ทหารอาศัยอำนาจตามกฎอัยการเข้าจับกุมและนำตัวไปแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาทำลายป่าไม้ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484

คดีหมายเลขดำที่ 3737/2557

ศาลจังหวัดนครพนม

พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54 (30)

นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 26  ม.ค. 2560

16

นายเจริญ (สงวนนามสกุล)

คดีนี้หลักฐานที่นำมาเอาผิดจำเลยโดยหลักก็มีเพียงคำซัดทอดของผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งเท่านั้น ไม่มีประจักษ์พยานที่ชัดเจนแต่อย่างใด และเจ้าหน้าที่รัฐยังพยายามสอบถามจำเลยเพื่อเชื่อมโยงไปถึงขบวนการความรุนแรงทางการเมืองใต้ดินอีกด้วย รวมไปถึงยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยถูกซ้อมทรมานด้วย

คดีหมายเลขดำที่ 20 ก./2559

ศาลทหารกรุงเทพ

ร่วมกันมีอาวุธระเบิด

นัดสืบพยานในวันที่ 27 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

17

คดีนักศึกษาดาวดิน จัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร

นักศึกษาดาวดินถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58  จากการจัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปี รัฐประหารที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 แต่คดีนี้ไม่มีความคืบหน้าใดๆ

จนกระทั่งนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ถูกจับกุมในคดีอันดับที่ 9 และได้ประกันตัวในวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ตำรวจจากสภ.เมืองขอนแก่น ได้อายัดตัวและนำตัวส่งให้อัยการทหารยื่นฟ้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 23ตอนกลางคืน

คดีหมายเลขดำที่ 61/2559

ศาลมณฑลทหารบกที่ 23

ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

นัดตรวจพยานหลักฐาน วันที่ 30 ม.ค. 2559 เวลา 8.30 น.

18

คดีนางแจ่ม  (นามสมมุติ)

เป็นกรณีโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับข่าวการทุจริตคอรัปชั่นการสร้างอุทยานราชภักดิ์ฯ  โดยพาดพิงถึงบุคคลในรัฐบาล

อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการศาลจังหวัดพระโขนง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ

นัดฟังคำสั่งอัยการ วันที่ 30 ม.ค. 2560 สำนักอัยการศาลจังหวัดพระโขนง

นัดคดีประจำเดือนมกราคม 2560 จำนวน 18 คดี

ลำดับ

ชื่อ

ความสำคัญคดี

หมายเลขคดี

ข้อหา

นัดหมาย

1

คดีโพสท์ สิทธิ

(นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์)

1พ.ค.2559 กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ได้นัดจัดกิจกรรมโพสต์ สิทธิ ที่สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี เพื่อรณรงค์เรื่องเสรีภาพการแสดงออก กิจกรรมนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ความสะอาด 2 คนคือ ได้แก่ นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์และนางสาวฐิตารีย์ อุทยานนุกูลศิริกุล (คดีนี้แยกฟ้องเป็นคนละคดี)

หมายเลขคดีที่นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ เป็นจำเลย ได้แก่ คดีหมายเลขดำที่ 1619/2559ศาลแขวงพระนครใต้

 

พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ,32 (1) ,54 และมาตรา 56

ศาลพิพากษาปรับจำเลยจำนวน 1000 บาท

2

นายธเนตร อนันตวงษ์

(คำร้องขอปล่อยจากควบคุมตัวมิชอบ)

ธเนตร อนันตวงษ์ ถูกเจ้าหน้าที่รัฐบุกควบคุมตัว ขณะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสิรินธร โดยเจ้าหน้าที่ไม่แจ้งข้อกล่าวหา และหมายจับ ไม่แจ้งสิทธิให้ทราบตามกฎหมาย แล้วนำตัวไป มทบ.11และควบคุมตัวนายธเนตรฯไว้เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

หมายเลขดำที่ ษ.99/2558

หมายเลขแดงที่ ษ.99/2558 ศาลอาญา

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90

นัดฟังคำสั่งศาลฏีกาในวันที่ 13 ม.ค. 2560 เวลา 09.30 น.

3

คดีสมบัติ บุญงามอนงค์

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ถูกคณะรัฐประหารดำเนินคดียุยงปลุกปั่นจากการโพสต์เฟซบุ๊กนัดจัดกิจกรรมต่อต้านรัฐประหารของคสช.

คดีหมายเลขดำที่ 24 ก./2557

ศาลทหารกรุงเทพ

ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 116 และพรบ.คอมพิวเตอร์

นัดสืบพยานในวันที่ 17 ม.ค. 2560 

4

คดีนางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ

(ขัดขืนคำสั่ง)

ทนายความในคดี 14นักศึกษาประชาธิปไตยใหม่ ถูกตำรวจแจ้งความดำเนินคดี จากเหตุที่ทนายความทำหน้าที่รักษาสิทธิของลูกความ โดยไม่อนุญาตให้ตำรวจค้นรถเพื่อจยึดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาโดยไม่มีหมายค้น

อยู่ระหว่างพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม

ประมวลกฏหมายกฏหมายอาญา มาตรา 142 และ 368

นัดส่งตัวให้พนักงานอัยการ

วันที่ 17 ม.ค. 2560 เวลา 09.30 น. สำนักงานอัยการศาลแขวง 3 (ดุสิต)

5

คดี 8แอดมินเพจเรารักประยุทธ

(คำร้องขอปล่อยตัวจากการควบคุมตัวมิชอบ)

ทหารเข้าควบคุมตัวทั้ง8 คนไปควบคุมไว้ที่ มทบ.11 โดยไม่มีหมายจับ และไม่ให้ผู้ถูกจับกุมแจ้งให้ญาติหรือทนายทราบว่าตนถูกจับกุม

หมายเลขดำที่ ษ.34/2559

หมายเลขแดงที่ ษ.34/2559
ศาลอาญา

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90

นัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ในวันที่ 18 ม.ค. 2560 เวลา 10.00 น.

6

นายอมรโชติซิงห์ (สงวนนามสกุล)

นายอมรโชติซิงห์ถูกแจ้งความดำเนินคดีในความผิดตามมาตรา 112 จากกการใช้เสื้อผ้าสีชมพู่เดินห้าง สรรพสินค้าแห่งหนึ่งในช่วงภายหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 9

คดีอยู่ในระหว่างสอบสวน

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นัดฟังคำสั่งอัยการในวันที่ 18 ม.ค. 2560

7

คดีจัดกิจกรรมพูดเพื่อเสรีภาพ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

31 ก.ค. 2559 นักศึกษาได้จัดกิจกรรม “พูดเพื่อเสรีภาพ; รัฐธรรมนูญของคนอีสาน” ที่ม.ขอนแก่น เพื่อวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ ภายหลังตำรวจออกหมายเรียกรับทราบข้อหา 11 คน โดยมี 2 คนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์การจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเท่านั้น

 อยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองขอนแก่น

ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558  ข้อ 12  ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป

นัดฟังคำสั่งพนักงานสอบสวนและส่งตัวอัยการ วันที่ 19 ม.ค. 2560 เวลา 10.00 น. สภ.เมืองขอนแก่น

8

คดีประชามติ ภูเขียว

ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง สนธิกำลังเข้าจับกุม 2 นักกิจกรรมขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) อีสาน ได้แก่ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน และนายวศิน  พรหมณี หลังทั้งสองคนทำกิจกรรมแจกเอกสารรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและเอกสารโหวตโนของขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่บริเวณตลาดสดเทศบาลภูเขียว จ.ชัยภูมิ ในวันที่ 6 ส.ค. 2559 ก่อนมีการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง

คดีหมายเลจดำที่ 1370/2559

ศาลจังหวัดภูเขียว

พ.ร.บ.ิว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 มาตรา 61(1) วรรคสอง วรรคสาม

นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 20 ม.ค. 2560 เวลา 09.00 น.

9

นายจือเซง  แซ่โค้วหรือสมอล บัณฑิต อานียา

นายจือเซง แซ่โค้ว หรือสมอล บัณฑิต อานียา เป็นนักเขียนอิสระถูกดำเนินคดีข้อ ป.อาญา มาตรา 112 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้มาก่อน โดยคดีเดิมศาลฎีกามีคำพิพากษารอลงอาญา เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ป่วยจิตเวช คดีนี้จำเลยได้แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมพรรคการเมือง ในลักษณะเป็นการตั้งคำถามต่อสภาพสังคมไทยเท่านั้น

คดีหมายเลขดำที่ 45 ก./2558

ศาลทหารกรุงเทพ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นัดสืบพยานในวันที่ 20 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

10

คดีรินดา (สงวนนามสกุล)

จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมฯ แต่เนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการโพสต์เฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่นประมาท พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยา ทั้งนี้ศาลทหารเห็นว่าเป็นคดีหมิ่นประมาทจึงจำหน่ายคดีออกจากศาล แต่ปอท.ทำความเห็นสั่งฟ้องถึงอัยการศาลอาญาในข้อหาเดิม จากนั้นอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหาตาม ม.14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ 2550

อยู่ในระหว่างดำเนินการรอฟังคำสั่งอัยการจึงยังไม่มีหมายเลขคดี

นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ ม.14พ.ร.บ.คอมฯ 2550

นัดพร้อมในวันที่ 23 ม.ค. 2560 เวลา 13.30 น.

11

คดี มาตรา 112 หมิ่นสมเด็จพระเทพฯ (กำแพงเพชร)

มีการใช้ป.อาญา ม.112มาใช้กล่าวหาจำเลยว่าได้ร่วมกันกระทำความผิดโดยหมิ่นประมาทสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งกฎหมายไม่ครอบคลุมถึง

คดีดำหมายเลขที่1330/2559

ศาลจังหวัดกำแพงเพชร

ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112

นัดพิจารณาคดีในวันที่ 23 และวันที่ 26 ม.ค. 2560 เวลา 09.30 น.

12

คดีนักศึกษาฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่ที่สลายการชุมนุมที่หอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 22 พ.ค. 2558

22 พฤษภาคม 2559 นักศึกษาและนักกิจกรรมได้ทำกิจกรรมรำลึกรัฐประหาร 1 ปี บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ กรุงเทพฯ แต่ทหารและตำรวจได้สลายการชุมนุมและจับกุมนักศึกษาและมีการดำเนินคดี 9 คน

คดีหมายเลขดำที่ พ.992/2559

ศาลแพ่งกรุงเทพใต้

ละเมิดเรียกค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน ตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

นัดชี้สองสถาน วันที่ 24 ม.ค. 2560 เวลา 09.00 น.

13

 

นายบุรินทร์ (สงวนนามสกุล)

 

นายบุรินถูกกล่าวหาว่าแชทกับน.พัฒนรี แม่ของนายสิรวิชญ์โดยมีเนื้อหาที่เข้าข่ายผิด ม.112

ศาลทหาร

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

นัดสอบคำให้การในวันที่ 24 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

14

นายธเนตร อนันตวงษ์

(คดีตรวจสอบทุจริตอุทยานราชภักดิ์)

ประชาชนและนักศึกษาจัดกิจกรรมอย่างสงบและสันติ โดยการนั่งรถไฟไปตรวจสอบการทุจริตอุทยานราชภักดิ์ แต่ถูกทหารจับกุมและแจ้งความดำเนินคดี ต่อมามีการยื่นฟ้องนางสาวชนกนันท์ รวมทรัพย์ภายหลังจากการยื่นฟ้องนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ กับพวก

คดีหมายเลขดำที่ 256/2559

ศาลทหารกรุงเทพ

ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12  ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป

นัดสอบคำให้การในวันที่ 25 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

15

คดีป่าไม้ ผลกระทบจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดนครพนม

คดีนี้จำเลยทั้ง 22 คนมีทีดินทำกินอยู่ในเขตที่คสช.ประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 17/2557

ต่อมาจำเลยทั้ง 22 คนถูกเจ้าหน้าที่ทหารอาศัยอำนาจตามกฎอัยการเข้าจับกุมและนำตัวไปแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาทำลายป่าไม้ตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484

คดีหมายเลขดำที่ 3737/2557

ศาลจังหวัดนครพนม

พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 54 (30)

นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 26  ม.ค. 2560

16

นายเจริญ (สงวนนามสกุล)

คดีนี้หลักฐานที่นำมาเอาผิดจำเลยโดยหลักก็มีเพียงคำซัดทอดของผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งเท่านั้น ไม่มีประจักษ์พยานที่ชัดเจนแต่อย่างใด และเจ้าหน้าที่รัฐยังพยายามสอบถามจำเลยเพื่อเชื่อมโยงไปถึงขบวนการความรุนแรงทางการเมืองใต้ดินอีกด้วย รวมไปถึงยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยถูกซ้อมทรมานด้วย

คดีหมายเลขดำที่ 20 ก./2559

ศาลทหารกรุงเทพ

ร่วมกันมีอาวุธระเบิด

นัดสืบพยานในวันที่ 27 ม.ค. 2560 เวลา 08.30 น.

17

คดีนักศึกษาดาวดิน จัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร

นักศึกษาดาวดินถูกจับกุมและดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58  จากการจัดกิจกรรมครบรอบ 1 ปี รัฐประหารที่จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 แต่คดีนี้ไม่มีความคืบหน้าใดๆ

จนกระทั่งนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ถูกจับกุมในคดีอันดับที่ 9 และได้ประกันตัวในวันที่ 19 สิงหาคม 2559 ตำรวจจากสภ.เมืองขอนแก่น ได้อายัดตัวและนำตัวส่งให้อัยการทหารยื่นฟ้องต่อศาลมณฑลทหารบกที่ 23ตอนกลางคืน

คดีหมายเลขดำที่ 61/2559

ศาลมณฑลทหารบกที่ 23

ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/58 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

นัดตรวจพยานหลักฐาน วันที่ 30 ม.ค. 2559 เวลา 8.30 น.

18

คดีนางแจ่ม  (นามสมมุติ)

เป็นกรณีโพสต์บนเฟซบุ๊กส่วนตัวเกี่ยวกับข่าวการทุจริตคอรัปชั่นการสร้างอุทยานราชภักดิ์ฯ  โดยพาดพิงถึงบุคคลในรัฐบาล

อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการศาลจังหวัดพระโขนง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และพรบ.คอมพิวเตอร์ฯ

นัดฟังคำสั่งอัยการ วันที่ 30 ม.ค. 2560 สำนักอัยการศาลจังหวัดพระโขนง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บิดา 'ไผ่ ดาวดิน' แถลงหลังศาลฝากขังบุตรผัด 5 “เรากำลังสู้กับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ”

$
0
0

ศาลสั่งพิจารณาลับ ฝากขังผัด 5 คดีแชร์บทความบีบีซีไทย 'ไผ่ ดาวดิน' จำเลยแถลงค้านการพิจารณาลับ แต่ไม่เป็นผล จึงขอให้ทนายของตัวเองออกจากห้องพิจารณา ด้าน 'พ่อไผ่' แถลงไม่ได้สู้เรื่องการประกันตัวอีกต่อไปแล้ว แต่ต้องสู้กับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ

ส่วนหนึ่งของผู้ที่มาเยี่ยม 'ไผ่ ดาวดิน' และรอฟังผลการพิจารณาคำร้องขอฝากขังผัดที่ 5 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น (จากซ้ายไปขวา) เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล, ปิยบุตร แสงกนกกุล, สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และ วิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของไผ่ ดาวดิน 

20 ม.ค. 2560 เวลาประมาณ 13.15 น. ที่ศาลจังหวัดขอนแก่น ภายหลังจากที่ศาลได้พิจารณาคำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ซึ่งขอให้ศาลฝากขัง จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน นักศึกษา นักกิจกรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งถูกจับกุมคุมขัง และถูกเพิกถอนสัญญาการประกันตัว จากฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ BBC Thai

โดยในวันนี้พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาฝากขังต่อไปเป็นผัดที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. – 1 ก.พ. 2560 โดยศาลได้สั่งให้การพิจารณาในวันนี้เป็นการพิจารณาลับและอนุญาติให้เพียงทนายความ และบิดา มารดา เท่านั้นที่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้

ด้านทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้แถลงข่าวหลังจากศาลมีคำสั่งอนุญาตฝากขังผัด 5 โดยกฤษฎางค์นุตจรัส ทนายความได้แถลงว่า วันนี้ศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดไต่สวนคำร้องของพนักงานสอบสวนว่าจะฝากขังไผ่ต่อในผัดที่ 5 หรือไม่ โดยวันนี้ได้มีญาติพี่น้องเพื่อนฝูง ได้มาร่วมให้กำลังใจกับไผ่ ดาวดิน และคาดหวังว่าจะได้เข้าร่วมฟังการไต่สวนคำร้องในวันนี้ แต่ศาลได้สั่งให้การพิจารณาไต่สวนคำร้องขอฝากขังไผ่วันนี้เป็นการพิจารณาในทางลับ และขอให้ผู้ร่วมเข้าฟังที่ไม่มีส่วนเกียวข้องกับจำเลยให้ออกจากห้องพิจารณาคดี

กฤษฏางค์ กล่าวด้วยว่า ไผ่ ได้แถลงโต้แย้งคำสั่งพิจารณาลับของศาล เนื่องจากเห็นว่า การพิจารณาคดีในชั้นนี้ เป็นเพียงการพิจารณาว่า ตำรวจควรจะขออำนาจศาลเพื่อฝากขังเขาต่อไปอีก 12 วันหรือไม่ เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอผัดฟ้องมาตลอด ตามคำร้องก็ระบุไว้ด้วยว่า สวบสวนเสร็จแล้ว และกำลังเสนอให้คณะทำงานของพนักงานสอบสวนว่าจะส่งฟ้องหรือไม่ ซึ่งไผ่เห็นว่าการพิจารณาตรงนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในคดี แต่ศาลให้เหตุผลว่าต้องพิจารณาคดีในทางลับ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ซึ่งทางทนายความได้คัดค้านแล้วว่า การพิจารณาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการพิจารณาที่เนื้อหาของคดี เป็นเพียงการพิจารณาว่าควรจะฝากขังไผ่ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ซึ่งควรจะมีการเปิดให้ไต่สวนโดยเปิดเผย เพราะเราถือหลักตามประมวลกฎหมายการพิจารณาคดีอาญา การไต่สวน หรือการพิจารณาคดีอาญาจะต้องมีการพิจารณาโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน เพราะนี่คือหลักการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน

กฤษฏางค์ กล่าวต่อว่า หลังจากทนายความ และผู้ต้องหาได้คัดค้านการพิจารณาคดีในทางลับ ศาลได้เข้าไปประชุมกับองค์คณะ แล้วออกมายืนยันคำสั่งเดิมว่าให้การพิจารณาคดีเป็นไปในทางลับ และเชิญให้พูดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกไปจากห้องพิจารณา แต่ไผ่ ได้แถลงต่อศาลในทันทีว่า หากศาลยืนยันเช่นนั้น เขาก็ไม่ประสงค์ที่จะให้มีทนายความในห้องพิจารณา เพราะในเมื่อมีหรือไม่มีก็ตาม เขาก็ไม่สามารถที่จะขอให้เปิดพิจารณาคดีโดยเปิดเผยได้ ไผ่จึงขอให้ทนายความทั้งหมดของตัวเอง ออกจากห้องพิจารณาคดี โดยมีเพียงไผ่ กับวิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดา เท่านั้นที่อยู่ในห้องพิจารณาคดี และสุดท้ายศาลได้สั่งให้ขังไผ่ เป็นผัดที่ 5 ทั้งหมด 12 วัน

กฤษฏางค์ กล่าวต่อไปว่า การที่ไผ่ ขอให้ทนายความออกจากห้องพิจารณาคดีเป็นเพราะเขาเห็นว่า การพิจารณาคดีในวันนี้ไม่ได้เป็นตามหลักการการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยตามที่เขาได้เรียนมา และเขาเองก็ไม่ยอมรับกระบวนการพิจารณาไต่สวนคำร้องขอฝากขังในวันนี้ จากนั้นก็มีเจ้าหน้าที่มาถามว่าทนายความจะเซ็นชื่อในเอกสารกระบวนการพิจารณาคดีในวันนี้หรือไม่ เราบอกว่า คงไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ เพราะเราไม่ได้อยู่ในกระบวนการพิจารณา เราไม่ทราบว่าไต่สวนอะไรไปบ้าง

“คุณไผ่ เขาก็บอกว่า เขาแทบไม่มีสิทธิเสรีภาพในการต่อสู้คดีอะไรอีกต่อไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ให้ทำไปเถอะ” กฤษฏางค์ กล่าว

ด้าน วิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาของไผ่ ดาวดิน ระบุว่า ไผ่ได้กล่าวกับตนเองว่า การพิจารณาคดี ไต่สวนคำร้องของฝากขังของศาลในวันนี้ไม่เป็นธรรมสำหรับเขา เพราะเขาต้องการให้สาธารณชนได้เห็นว่ากระบวนของศาลเป็นอย่างไร แต่ศาลก็ระบุว่า ศาลได้ให้ความเป็นธรรมกับผู้ต้องหาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องให้สาธารณชนเข้าฟังการพิจารณาคดี เพราะสามารถไปอ่านจากคำสั่งของศาลภายหลังได้ ด้านไผ่ก็ได้แถลงต่อศาลว่า สิ่งที่ผ่านมานั้นทั้งในรายงาน หรือคำสั่งของศาลไม่สามารถที่ที่จะเห็นกระบวนการพิจารณา และอากัปกิริยาของศาล ของพนักงานสอบสวน เช่นเวลาเบิกความพนักงานสอบสวนตอบคำถามอย่างติดๆ ขัดๆ หรือกรณีตัวอย่างคือกระบวนการพิจารณาฝากขังที่ศาลไปทำกับเขาในผัดที่ 3 ตัวไผ่เองยังไม่รู้เลยว่าศาลได้พิจารณาฝากขัง แต่กลับมีการยืนยันจากศาลว่าได้มีการแจ้งกับไผ่ และไผ่ได้เซ็นชื่อว่าไม่คัดค้านการฝากขัง

“เขา (หมายถึงไผ่) เห็นกระบวนการอย่างนี้มาตลอด เขาเลยต้องการให้คนอื่นเข้ามาช่วยกันดู ว่าจริงๆและกระบวนการพิจารณาเป็นอย่างไร ไม่ใช่เห็นเพียงแต่คำสั่ง ศาลก็ไม่ยอม ไผ่จึงไม่ต้องการทนายอีกต่อ เพราะเขาเห็นว่าไม่มีประโยชน์แล้ว ในเมื่อเริ่มต้นหรือที่ผ่านมาทั้งหมดไม่มีอะไรที่จะเป็นหลักประกันในกระบวนการยุติธรรม สำหรับเขาเลย ฉะนั้นการมีทนายหรือไม่มีทนายความก็ไม่มีความหมาย” วิบูลย์ผู้เป็นบิดากล่าว และยังกล่าวต่อว่า วันนี้ไผ่ ได้ทำหน้าที่ทุกอย่างเอง ทั้งการซักค้าน และการแถลงต่อศาล ในกระบวนการไต่สวนคำร้องของฝากขังของศาล

“วันนี้เขารู้ว่าสู้แล้วก็จะแพ้ แต่เขาทำ ซักค้านพนักงานสอบสวน ถามอะไรก็ตอบไม่ได้ พูดโยงนู่นโยงนี่ แล้วบางประโยคที่ไผ่ถามพนักงานสอบสวนใช้เวลากว่า 5 นาทีถึงจะตอบ ไผ่ก็บอกให้ศาลบันทึกไว้ด้วยว่าก่อนจะตอบคำถามใช้เวลานาน”

วิบูลย์ กล่าวต่อว่า ในกระบวนการพิจารณาฝากขัง ศาลได้ระบุว่า เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่สามารถขออำนาจฝากขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ทางไผ่ก็แถลงต่อศาลว่าตนเข้าใจข้อกฎหมายดี แต่การพิจารณาของศาลก็ควรที่จะคำนึงถือสิทธิของผู้ต้องหาด้วย หากไม่คำนึงถึงหลักการในข้อนี้ ศาลก็ไม่ควรที่จะนำตัวจำเลยมา และควรแก้กฎหมายเสียใหม่ว่าไม่ ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหา ให้เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนเพียงอย่างเดียว และสุดท้ายศาลก็ได้มีคำสั่งอนุญาตฝากขังในผัดที่ 5 ออกมา

วิบูลย์แถลงต่อว่า เรื่องการประกันตัวไผ่นั้น ต้องมาดูกันต้องว่าจะทำอย่างไรกับสถานการณ์กระบวนการยุติธรรมในปัจจุบัน แต่สิ่งที่รู้สึกว่าจะต้องต่อสู้กันต่อไปในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องการเรียกร้องสิทธิประกันตัว ไม่ใช่เรื่องการคัดค้านการฝากขัง แต่มองว่าเรากำลังต่อสู้กับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ

“เราก็ต้องมาคิดกันว่า ถ้าปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับไผ่ เป็นอย่างนี้ต่อไปสังคมจะเป็นอย่างไร เรื่องนี้ต้องกลับมาคิดกันต่อ แต่ตอนนี้ยืนยันได้เลยว่า เราไม่ได้สู้เรื่องการประกัน ไม่ได้สู้เรื่องคัดค้านการฝากขัง ไม่ได้สู้เรื่องว่าเรียนจบหรือไม่จบ แต่เรากำลังต่อสู้เรื่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศชาติ” วิบูลย์กล่าว 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เพื่อไทย' ชี้ปรองดองคืออยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้หลักนิติธรรม

$
0
0
ประวิตรยันที่ทหารจะนั่งเต็ม กก.ปรองดอง เพราะเป็นกลางไม่ขัดแย้งใคร หน.กก.ปรองดอง เผยคุย 3 เดือนก่อนทำ MOU ด้าน ยิ่งลักษณ์ ยินดี พร้อมชี้ควรยึดหลักความเป็นกลางความเป็นธรรม ภูมิธรรม มองไม่ใช่เรื่องของนักการเมืองแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ขณะที่ ปธ.สนช.เห็นด้วยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ที่มาภาพ แฟ้มภาพเว็บไซต์ทำเนียบฯ)

20 ม.ค. 2560 ความคือบหน้าเรื่องแนวคิดการเชิญนักการเมืองมาปรึกษาหารือและมาลงสัตยาบันร่วมกันเพื่อสร้างความปรองดองและยุติความขัดแย้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การสร้างบรรยากาศความปรองดองเป็นไปในเชิงบวก ทุกคนต้องการให้เกิดความปรองดองเพื่อให้ประเทศชาติสงบสุข ให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ ประชาชนสามารถทำมาหากินได้อย่างปกติสุข เบื้องต้นตนยังไม่ได้ติดต่อกับกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองใดๆ ตนไม่ดิวกับใครอยู่แล้ว และต้องรอรายชื่อคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดองออกมาก่อน โดยจะให้ทุกกลุ่มการเมือง พรรคการเมือง ได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเข้ามา เพื่อให้คณะกรรมการได้พิจารณาในภาพรวมทั้งหมด

ที่ทหารจะนั่งเต็ม กก.ปรองดอง เพราะเป็นกลางไม่ขัดแย้งใคร

พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ในสัปดาห์หน้ารายชื่อของคณะกรรมการจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดเผยได้ โดยคณะกรรมการนี้จะดูว่าต้องเชิญกลุ่มการเมือง พรรคการเมืองใดบ้าง โดยจะพยายามให้ทุกกลุ่มเข้ามาพูดคุยหารือ เริ่มจากพรรคการเมืองก่อน ยืนยันว่าการที่คณะกรรมการมีแค่คนในกองทัพไม่ใช่ปัญหา เพราะกองทัพเป็นกลาง ทหารไม่มีความขัดแย้งกับใคร และคณะกรรมการก็ไม่ใช่เด็กๆ ล้วนแต่เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งนั้น
 
"ไม่เป็นไรหรอก ก็เป็นกลาง ไม่เห็นเป็นไรเลย ก็ผมบอกแล้วไงทหารเราไม่มีความขัดแย้งกับใคร และพวกที่เข้าไปนั่งก็ไม่ได้เป็นพวกเด็กๆ นะ เป็นระดับผู้ใหญ่ๆ ทั้งนั้นในกองทัพนะครับ ท่านรู้นะครับว่าท่านควรจะทำอย่างไร" พล.อ.ประวิตร กล่าวกรณีที่คณะกรรมการปรองดองจะมีทหารเข้าไปอยู่จำนวนมาก
 
ต่อกรณีคำถามว่าหากพรรคการเมืองจะขอเปิดประชุมเพื่อขอมติพรรคในเรื่องดังกล่าวจะอนุญาตหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่เห็นจำเป็นต้องประชุม ตนไม่ได้ต้องการการตัดสินใจในภาพรวมของพรรค เพียงแต่ต้องการการแสดงความคิดเห็นว่า จะทำอย่างไรให้เกิดความสงบขึ้นหลังจากมีการเลือกตั้ง ป้องกันการประท้วง การออกมาตีกัน ไม่ได้ขอมติพรรค ใครอยากเสนออะไรก็สามารถเสนอได้ ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นมติพรรค โดยเบื้องต้นได้มีการวางกรอบในการพูดคุยหารือและคำถามต่างๆ ที่เตรียมไว้สำหรับทุกฝ่ายอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านการเมือง ยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูป เป็นต้น
 
“เราจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการที่จะรับฟังข้อคิดเห็นทั้งหมด ไม่ใช่ว่ากระบวนการเสร็จสิ้นภายใน 3 เดือน จากนั้นนำความคิดเห็นต่างๆ มาเผยแพร่ และเข้าสู่กระบวนการต่อไป” พล.อ.ประวิตรกล่าว

หน.กก.ปรองดอง เผยคุย 3 เดือนก่อนทำ MOU

ด้าน พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม ในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการอำนวยการการปรองดอง กล่าวว่า กระบวนการรับฟังความคิดเห็นฝ่ายต่างๆ ทั้งพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง จะใช้เวลา 3 เดือน โดยจะสรุปข้อเสนอทั้งหมดทำเป็นข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งยังไม่สามารถระบุกรอบเวลาที่ชัดเจนได้ ต้องรอดูข้อมูลที่จะได้รับก่อน ยืนยันการดำเนินการครั้งนี้ไม่ใช่การซื้อเวลา ไม่มีมวยล้มต้มคนดูอย่างแน่นอน

ยิ่งลักษณ์ ยินดี พร้อมชี้ควรยึดหลักความเป็นกลางความเป็นธรรม

ขณะที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่ คสช.และรัฐบาลออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า ส่วนตัวยินดีให้การสนับสนุน ถ้าทุกอย่างเป็นประโยชน์กับประเทศ แต่ควรยึดหลักความเป็นกลางความเป็นธรรม และขอให้เป็นไปตามกฎหมาย  แต่ต้องแน่ใจว่าจะเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หวังว่ากลไกทางภาครัฐและฝ่ายทหารจะเป็นผู้ประสานงานที่ดี   ถ้าเป็นไปได้อยากให้เชิญผู้ที่มีความเป็นกลางโดยเฉพาะนักวิชาการ หรือผู้ที่สังคมให้การยอมรับเข้ามาแลกเปลี่ยนให้ความรู้ และเป็นคณะกรรมการ  เชื่อว่าหากคณะกรรมการ ป.ย.ป.จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศคงไม่มีผู้ใดปฏิเสธ  เพราะทุกคนต้องคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาจะต้องทราบถึงนิยามคำว่าปรองดองก่อน ทุกคนต้องยอมรับและได้รับความเป็นกลางไม่มีการเลือกปฎิบัติ เมื่อได้รับนิยามแล้วจึงจะพิจารณาที่กลไกปฎิบัติต่อไป
ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่ยไทย

ภูมิธรรม มองไม่ใช่เรื่องของนักการเมืองแต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง

ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่ยไทย กล่าวว่า ตามที่ คสช. และรัฐบาลได้ออกคำสั่งเพื่อให้มีการดำเนินการเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ การปฏิรูปและการสร้างความปรองดองโดยจะจัดให้มีคณะกรรมการรับผิดชอบขับเคลื่อนในด้านต่างๆและเรียกร้องให้นักการเมืองร่วมมือกันสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคม การแก้ไขปัญหานี้ให้ประสบความสำเร็จ คงไม่ใช่ให้พรรคการเมืองมาพบกันและจัดทำเอ็มโอยูเท่านั้น เพราะปัญหาความไม่ปรองดอง ไม่ใช่เกิดจากเฉพาะพรรคการเมืองแต่ฝ่ายเดียว แต่เกี่ยวพันกับคนหลายกลุ่ม หลายฝ่าย หลายองค์กร เกี่ยวพันกับปัญหาประเทศเชิงโครงสร้างในหลาย ๆ ส่วน รวมถึงผู้มีอำนาจในปัจจุบันก็เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น

เพื่อไทยชี้คือการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติภายใต้หลักนิติธรรม

ภูมิธรรม กล่าวว่า  ปัจจัยที่จะทำให้ความปรองดองเกิดขึ้น เป็นผลสำเร็จ ความหมายที่แต่ละฝ่ายยึดถือและเข้าใจในเรื่องความปรองดองนั้นต้องตรงกัน จึงจะสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาได้ สำหรับพรรคเพื่อไทย เข้าใจว่าการปรองดองหมายถึง การอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติภายใต้หลักนิติธรรม บนพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้นการจะสร้างความปรองดองได้ คือ การอำนวยให้เกิดความยุติธรรม และการยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่แต่ละฝ่ายมี  ซึ่งพรรคเพื่อไทยมอบให้ โภคิน พลกุล ชัยเกษม นิติสิริ ชูศักดิ์ ศิรินิล จาตุรนต์ ฉายแสง พงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นผู้ดำเนินการติดตามเรื่องนี้และรายงานให้ที่ประชุมรับทราบ

ปธ.สนช.เห็นด้วยรัฐบาลเป็นเจ้าภาพ

พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เปิดเผยผลการหารือร่วมกับ สุวิทย์ เมษิณทรีย์ เลขานุการคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า เป็นขั้นตอนก่อนที่จะตั้งคณะทำงาน 4 คณะ ตามอำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีเร่งรัดให้รีบดำเนินการ ให้เห็นผลผลเป็นรูปธรรมซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยที่จะให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการหาข้อยุติ
 
พรเพชร กล่าวว่า ตนอยู่ร่วมทั้ง3 คณะ และมีรองประธานสนช. ร่วมคณะด้วยเพื่อเป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งแต่ละภาคส่วนจะไปดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบ โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) จะทำงานด้านปฏิรูปเป็นหลัก และเสนอแผนเข้ามา ให้สนช. เห็นชอบออกเป็นกฎหมาย ซึ่งยืนยันว่า จะสามารถคาดหวังได้ในเรื่องของการปฏิรูป ส่วนด้านยุทธศาสตร์ชาติ สนช. มีส่วนเกี่ยวข้องมากในส่วนของการออกกฎหมาย ขณะที่เรื่องความปรองดอง กฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้องน้อย เพราะกฎหมายบังคับเรื่องความปรองดองไม่ได้ จึงต้องรอฟังข้อเสนออีกครั้งว่าแต่ละฝ่ายต้องการอย่างไร  ตนยังนึกไม่ออกว่าจะออกมาเป็นรูปแบบใด
 

ที่มา : สำนักข่าวไทย, มติชนออนไลน์ ผู้จัดการออนไลน์และโพสต์ทูเดย์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนพิการยื่นฟ้อง กทม.ชดเชยค่าเสียหาย หลังสร้างลิฟต์ BTSไม่เสร็จ-เลยกำหนดกว่า 1 ปี

$
0
0

เครือข่ายคนพิการยื่นฟ้องบีทีเอส ชดเชยค่าเสียหายรายวัน หลังเกินกำหนดเวลากว่า 1 ปี ที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนพิการ ปัจจุบันพบคืบหน้าน้อย- ยังไร้วี่แววเสร็จ

20 ม.ค.2560 เครือข่ายคนพิการหลายกลุ่มเดินทางเข้ายื่นหนังสือและอ่านแถลงการณ์ ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เพื่อฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากกรุงเทพมหานคร กรณี ไม่ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2558 ที่ระบุว่า กทม.และบีทีเอสจะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ทั้ง 23 สถานีให้แล้วเสร็จใน 1 ปี นับตั้งแต่มีการพิพากษา จนปัจจุบันผ่านมากว่า 2 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ประกอบไปด้วยคนพิการกว่า 100 คนและสื่อมวลชนจำนวนมาก

การเดินทางไปศาลแพ่งในครั้งนี้ แบ่งเป็นการเดินทาง 5 ทีม จากรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ เพชรบุรี ห้วยขวาง ศูนย์วัฒนธรรมและพระราม 9 โดยมีจุดหมายปลายทางที่สถานีลาดพร้าว และเดินเท้าต่อไปยังศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก


ระหว่างทางจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว-ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก

สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ซึ่งนั่งวีลแชร์และถือว่าเป็นคนพิการตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นโจทย์ยื่นฟ้องร้องค่าเสียหายจาก กทม. เนื่องจากไม่ก่อสร้างลิฟต์บีทีเอส เป็นผลให้คนพิการถูกลิดรอนสิทธิที่พึงมี โดยคิดค่าปรับวันละ 1,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 ม.ค.2559 - ปัจจุบัน รวมเป็นเงิน 361,000 บาท ต่อโจทก์ 1คน

สนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความกล่าวว่า วันนี้ดำเนินการยื่นข้อเรียกร้องและรอให้ศาลมีคำสั่งพิจารณา โดยประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลักคือ คำฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย คำร้องเพื่อขอดำเนินคดีแบบกลุ่มหรือคลาสแอคชัน (Class Action) เป็นวิธีการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกล่าวคือผู้ฟ้องไม่ต้องฟ้องทั้ง 100 คน แต่ยื่นฟ้องไปเพียงคนเดียวก่อน หากศาลรับฟ้องแล้วจึงร่วมเป็นโจทก์ต่อไปเพราะมูลความแห่งคดีนั้นเหมือนกันและยื่นงดเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตามการบังคับใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ ข้อ 17 วรรค 2 ที่ระบุให้คนพิการที่โดนละเมิดสิทธิมีสิทธิฟ้องร้องได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ทั้งนี้ ศาลแพ่งได้รับพิจารณาเป็นคดีดำ พ.246/2560 และได้นัดไต่สวนการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลวันเดียวกับนัดสืบพยานในวันที่ 30 มี.ค.ที่จะถึง เวลา 09.00 น. ณ ห้อง 310 ชั้น 3 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ปีที่แล้ว บีทีเอสได้เปิดให้คนพิการทดลองใช้ลิฟต์ 5 สถานีแรก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้แก่ สถานีราชดำริ สนามกีฬาแห่งชาติ ทองหล่อ เอกมัย และพร้อมพงษ์ (อ่านที่นี่) ซึ่งแม้จะมีปัญหา เช่น ตะแกรงระบายน้ำ สนิม เสียงเตือน ฯลฯ อยู่บ้าง แต่ก็สามารถใช้งานได้ อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบัน ทั้ง 5 สถานีดังกล่าวก็ยังไม่เปิดให้บริการจนกว่าจะมีการส่งมอบงานลิฟต์จากทุกสถานี

แม้ว่าประภาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผนงาน สำนักการจราจรและขนส่งจะเน้นย้ำในการประชุมหลายครั้งก่อนหน้านี้ว่า จะผลักดันให้การก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จและเปิดใช้ภายใน ก.ย. 2559 ตามที่อมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม.ได้รับปากขอยืดเวลาจากต้นปี 2559 (อ่านที่นี่ ) อีกทั้งเคยกล่าวอย่างชัดเจนถึงการดำเนินการเพื่อปรับเงินรายวันบริษัทเสรีการโยธา ผู้รับเหมา แต่กลับไม่คืบหน้าเท่าที่ควร


ธีรยุทธ สุคนธวิท (ซ้าย)

ด้านธีรยุทธ สุคนธวิท ประธานเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A: Transport for All) เผยว่า ตอนนี้การสร้างลิฟต์ยังเห็นเพียงแค่โครงร่าง โดยปีที่แล้วหลังครบกำหนดเวลา เครือข่ายฯ ได้สอบถามไปยัง กทม.ซึ่งเคยประกาศว่า ขอยืดเวลาเป็นภายในเดือน ก.ย.2559 (อ่านที่นี่) แต่ก็ไม่มีความคืบหน้ามากนัก อีกทั้ง กทม.ก็ไม่เร่งดำเนินการ วันนี้จึงรวมตัวมาทวงถามอีกครั้ง และเน้นย้ำว่า ต้องการสื่อสารกับผู้บริหาร กทม.ว่า ลิฟต์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่เพียงคนพิการที่ใช้วีลแชร์จะได้ประโยชน์ แต่คนที่ต้องใช้รถเข็น คนท้อง คนแก่ แม่ลูกอ่อน หรือแม้แต่คนทั่วไปก็จะได้ใช้เช่นกัน จึงอยากให้ กทม.เร่งแก้ปัญหาดังกล่าว

ชยธร ชนะโชคชัยกุล ผู้เข้าร่วมซึ่งพิการจากอุบัติเหตุทางรถยนต์กล่าวว่า แม้ปัจจุบันเขาจะไม่ได้ใช้บริการรถไฟฟ้ามากนัก แต่หากมีโอกาสต้องใช้ในอนาคตก็มองว่า เขาควรมีสิทธิที่จะใช้ได้ จึงหวังว่า หลังจากการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะกระตือรือร้น และทำงานไวขึ้นโดยไม่มีข้ออ้าง

เช่นเดียวกับ Jerome Thibaut นักกีฬารถแข่งนั่งวีลแชร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งอยู่เมืองไทยมากว่า 10 ปี กล่าวว่า เขาเข้าร่วมเนื่องจากเห็นว่า การรวมกลุ่มของคนพิการนั้นสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยต้องเริ่มจากการมอบสิทธิให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แม้นี่จะเป็นครั้งแรกที่เขาได้ใช้บริการรถไฟฟ้าเพราะปกติอาศัยอยู่ที่หัวหิน แต่สิทธิของเขาที่จะใช้งานก็ยังมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม

“80% ของรถไฟในประเทศฝรั่งเศส คนพิการสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย และหากมีที่ไหนที่ไม่สะดวก คนก็จะออกมาต่อสู้เรียกร้อง เพื่อให้ทุกคนสามารถใช้บริการได้อย่างเท่าเทียมกัน” เขากล่าว

ขวัญฤทัย สว่างศรี กรรมการมูลนิธิพัฒนาศักยภาพคนพิการกล่าวว่า เมื่อปี 2552 ตนเป็นทีมร่วมฟ้องลิฟต์บีทีเอส ตอนนี้จึงมาติดตามเพราะเห็นว่าปัจจุบันยังไม่คืบหน้า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งในด้านกฎหมายและคำให้สัญญา

“แม้จะไม่ได้ใช้บ่อยเท่าที่ควร แต่ก็มีโอกาสได้ใช้อยู่ แต่เพราะทุกสถานีไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนั้นเวลาเราจะใช้งานก็ต้องวางแผน เลยทำให้ความสะดวกสบายที่เราควรได้รับ หายไป เราก็เลยเลือกเปลี่ยนวิธีในการเดินทาง ถ้าทุกสถานีสามารถจัดสิ่งอำนวยความสะดวกได้ เราก็ไปได้” เธอกล่าว

ด้านมานิตย์ อินทรพิมพ์ ประธานคณะติดตามระบบราง เครือข่าย T4A กล่าวว่า ตนร่วมทำงานกับ กทม. เพื่อติดตามการสร้างลิฟต์ดังกล่าวเป็นปีที่ 2 แล้ว และเห็นว่าผู้รับเหมาไม่กระตุ้นให้เกิดการทำงานเท่าที่ควร จึงทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นที่พอใจ และเป็นที่มาของวันนี้

“หลังจากศาลปกครองสูงสุดสั่งได้ 1 ปี แต่ไม่คืบหน้า คนพิการก็เริ่มโวย รองผู้ว่าฯ ก็ออกมาขอโทษ เราก็ต้องคณะทำงานติดตามการทำงานของ กทม.ซึ่ง กทม.ก็ให้การร่วมมือที่ดี แต่ก็ยังไม่ได้ตามเป้า เราต้องเน้นย้ำว่าเรื่องพวกนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำขึ้นเฉพาะเพื่อคนพิการ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของสิทธิ การเข้าถึงของทุกคน” เขากล่าว

 

แถลงการณ์

20 มกราคม 2560

เรื่อง ปฏิบัติการ "นั่งรถไฟฟ้า ไปฟ้อง กทม.ที่ศาลแพ่ง รัชดา"

ตั้งแต่ปี 2538 ตามที่มีโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดขึ้นเพื่อมาแก้ปัญหาเรื่องการเดินทางในกรุงเทพฯ และให้เอื้อประโยชน์ในการเดินทางแก่คนทั้งมวลรวมถึงคนพิการทุกประเภทอีกด้วย แต่ทั้งนี้การก่อสร้างสถานีไม่ได้ติดตั้งลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับคนพิการ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียม กลุ่มคนพิการจึงเริ่มเรียกร้องให้ กทม.และบริษัทผู้ได้รับสัมปทาน ให้ดำเนินการก่อสร้างเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Accessibility) อย่างเท่าเทียม แต่ทั้งสองหน่วยงานต่างบ่ายเบี่ยง และเพิกเฉยปฏิเสธความรับผิดชอบ กลุ่มคนพิการจึงยื่นฟ้อง กทม.และพวกในปี 2550 การดำเนินการผ่านไปสองปี วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2552 ศาลมีคำสั่งยกฟ้อง ด้วยเหตุผลว่า ตอนนั้นกฏหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดในเรื่องอาคารสถานที่ และยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ต่อมากลุ่มผู้พิการยื่นอุทธรณ์คำตัดสินต่อศาลปกครองสูงสุด 21 มกราคม พ.ศ. 2558 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กลับคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง สั่งให้ กทม.จัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการรวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอสให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 ปีหลังจากมีคำพิพากษา แต่สุดท้าย แม้จะครบกำหนด 1 ปี ก็ยังไม่มีการดำเนินการตามสั่งศาลได้ และยังต่อรองว่าจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2559

จากการติดตามอย่างใกล้ชิดของคณะทำงาน จนถึงบัดนี้ กทม.ก็ไม่ได้เร่งดำเนินการให้มีการติดตั้งลิฟต์ทั้ง 23 สถานีได้ตามที่ศาลกำหนด กทม.ขาดความรับผิดชอบและทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไร้วี่แววว่าการดำเนินงานจะเป็นไปตามที่สัญญา กลุ่มคนพิการในนามของภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้ (T4A)จึงเห็นสมควรให้มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ฐานละเมิดสิทธิคนพิการถูกลิดรอนและมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 1,000 บาท นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด (21 มกราคม 2559)

อนึ่ง การฟ้องนี้เป็นการฟ้องแบบกลุ่มโดยบุคคลเนื่องจากคดีนี้เป็นการละเมิดที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณะในวงกว้าง หากศาลสั่งให้ กทม. ชดใช้ค่าเสียหาย คนพิการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถยื่นขอรับค่าเสียหายได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุนทรพจน์ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ในพิธีรับตำแหน่ง ปธน. สหรัฐฯ

$
0
0
อ่านคำแปลสุนทรพจน์ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ในพิธีปฏิญาณตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 

 
21 ม.ค. 2560 พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) มีขึ้นที่อาคารรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน ดีซี เมื่อช่วงเที่ยงวานนี้ (20 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น หรือราวเที่ยงคืนตามเวลาในไทย โดยมีบรรดาอดีตผู้นำ สมาชิกสภา และแขกเหรื่อจำนวนมากเข้าร่วมพิธี รวมทั้งนายบารัค โอบามา ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่ง และนางฮิลลารี คลินตัน ที่พ่ายการเลือกตั้งให้แก่นายทรัมป์ ขณะที่บริเวณเนชั่นแนล มอลล์ มีประชาชนหลายแสนคนไปยืนเฝ้าชมพิธี
 
โดย เว็บไซต์ VOA ภาคภาษาไทยเผยแพร่คำแปลสุนทรพจน์ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในพิธีปฏิญาณตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไว้ดังนี้
 

"เรา ประชาชนชาวอเมริกัน กำลังร่วมกันในความพยายามที่ยิ่งใหญ่ของชาติ ในอันที่จะสร้างประเทศอีกครั้งและนำอนาคตที่ดีมาสู่ประชาชนทั้งมวล

เราจะร่วมกันกำหนดเส้นทางของอเมริกาด้วยกันและของโลก ในอีกหลายๆ ปีต่อจากนี้ เราจะเจอกับสิ่งท้าทายและเผชิญกับความยากลำบาก แต่เราจะทำงานนี้สำเร็จให้ได้

ในทุกสี่ปี เรารวมมาอยู่กันที่แห่งนี้ เพื่อดำเนินการส่งผ่านอำนาจอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยความสงบ พวกเราซาบซึ้งต่อความช่วยเหลือที่สง่างามของประธานาธิบดีโอบามา และสตรีหมายเลขหนึ่งมิเชล โอบามา ทั้งคู่ยอดเยี่ยมมาก และผมขอขอบคุณมา ณ ที่นี้"

"งานวันนี้มีความหมายพิเศษ เพราะวันนี้ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากรัฐบาลหนึ่งไปสู่รัฐบาลหนึ่งเพราะเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากกรุงวอชิงตันไปยังพวกท่านทุกคน ซึ่งก็คือประชาชนสหรัฐฯ"

"เป็นเวลายาวนานเกินไปที่คนกลุ่มเล็กๆ ที่เมืองหลวงของประเทศที่ได้ประโยชน์จากรัฐบาล ขณะที่ประชาชนโดยรวมแบกรับภาระไว้

กรุงวอชิงตันรุ่งเรืองแต่ประชาชนไม่ได้รับความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น นักการเมืองรุ่งเรือง แต่โอกาสการจ้างงานหายไปและโรงงานปิดตัวลง

กลุ่มอำนาจเก่าปกป้องผลประโยชน์ตนเอง แต่ไม่ใช่ผลประโยชน์ของประชาชน ชัยชนะของกลุ่มอำนาจเก่าไม่ใช่ชัยชนะของพวกท่าน

กลุ่มอำนาจฉลองชัยชนะของพวกเขา แต่ไม่มีอะไรที่ครอบครัวที่กำลังลำบากทั่วประเทศได้เฉลิมฉลองด้วย

การเปลี่ยนแปลงนั้นกำลังเกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เวลานี้ เพราะเวลานี้เป็นเวลาของพวกท่าน

เวลานี้เป็นเวลาของทุกคนที่มา ณ ที่แห่งนี้ ในวันนี้ และทุกคนกำลังเห็นประจักษ์อยู่ทั่วประเทศ วันนี้เป็นวันของพวกท่าน การเฉลิมฉลองนี้เป็นงานของท่าน และที่นี่คือสหรัฐอเมริกา ประเทศของท่าน"

"สิ่งสำคัญที่สุดที่จริงแล้วไม่ใช่ว่าพรรคใดได้ครองรัฐบาล แต่เป็นเรื่องที่ว่าประชาชนได้ควบคุมรัฐบาลนั้นหรือไม่"

"วันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2017 จะถูกจดจำให้เป็นวันที่ประชาชนเป็นผู้ปกครองประเทศแห่งนี้อีกครั้ง ชายและหญิงที่เคยถูกลืมจะไม่ถูกลืมอีกต่อไป

ทุกคนกำลังได้ยินเสียงของท่านในตอนนี้ ท่านทั้งหลายจำนวนหลายสิบล้านคนที่ร่วมกันในการเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์นี้ การเคลื่อนไหวลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดในโลก

ศูนย์กลางของความเคลื่อนไหวนี้คือความตั้งใจที่แน่วแน่อย่างยิ่งที่ว่าชาติมีอยู่ได้ก็เพื่อทำงานให้กับระชาชน

ชาวอเมริกันต้องการมีโรงเรียนที่ดี อยู่ในชุมชนที่ปลอดภัยต่อครอบครัว มีงานดีๆ ทำ สิ่งเหล่าที่เป็นข้อเรียกร้องที่สมเหตุสมผล จากประชาชนที่มีความชอบธรรมและสาธารณะชนที่มีความชอบธรรม

อย่างไรก็ตามประชาชนจำนวนมากเกินไปกำลังอยู่ในความจริงที่แตกต่าง"

"แม่และเด็กยังติดอยู่กับความยากจนในเขตเมืองชั้นใน สนิมยังเกาะอยู่ที่เครื่องจักรโรงงาน โรงงานซึ่งหยุดการผลิตเกิดขึ้นทั่วไปราวกับหลักหินที่หลุมฝังศพที่เห็นเกลื่อนกลาด"

"ระบบการศึกษามีเงินมากมายแต่กลับทิ้งให้เด็กๆ ขาดความรู้ทุกด้าน และอาชญากรรมและแก๊งค์ และยาเสพติด ยังคงเกิดขึ้นและทำลายชีวิตมากมายเกินไป และขโมยศักยภาพของประเทศที่มี

ความสูญเสียนี้จะต้องยุติลง ณ บัดนี้ ในตอนนี้

เราเป็นหนึ่งเดียวกันในประเทศนี้ ความเจ็บปวดของพวกเขาเป็นความเจ็บปวดของเรา ความฝันของเขาเป็นความฝันของเรา ความสำเร็จของเขาเป็นความสำเร็จของเรา

เรามีหัวใจดวงเดียวกัน มีบ้านหลังเดียวกัน และมีโชคชะตาที่ยิ่งใหญ่ร่วมกัน คำปฏิญาณตนนี้ของข้าพเจ้าเป็นคำปฎิญาณตนร่วมกันของชาวอเมริกันทั้งมวล

เป็นเวลายาวนานหลายสิบปีแล้วที่ เราสร้างความมั่งคั่งให้กับอุตสาหกรรมต่างประเทศ แต่อุตสาหกรรมอเมริกันเสียเปรียบ

เราช่วยสนับสนุนกองกำลังทหารต่างประเทศ ขณะที่เราปล่อยให้กองกำลังทหารของเราถูกลดอำนาจลงอย่างน่าเศร้ายิ่ง"

"เราไปช่วยประเทศอื่นปกป้องเขตแดนแต่เราปฏิเสธที่จะปกป้องเขตแดนตนเอง"

"เราใช้เงินนับล้านล้านดอลลาร์ในต่างประเทศ ขณะที่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเรากำลังอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่และถดถอย

เราช่วยให้ประเทศอื่นร่ำรวย ขณะที่ความร่ำรวย ความแข็งแกร่ง และความเชื่อมั่นในประเทศเราเหือดหายไป

โรงงานทีละแห่งปิดตัวลง และงานตามโรงงานถูกส่งไปให้ต่างประเทศทำ โดยไม่มีการคำนึงถึงคนงานอเมริกันนับล้านๆ คนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง"

"ความมั่งคั่งของชนชั้นกลางถูกขโมยไปจากครอบครัวอเมริกัน และถูกกระจายไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก"

"เรามารวมตัวอยู่ที่นี้ด้วยกัน และกำลังประกาศร่วมกันให้ได้ยินไปทั่วทุกเมือง ทุกเมืองหลวงของโลก และทุกศูนย์อำนาจ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป มุมมองใหม่จะเป็นแนวทางการปกครองประเทศ

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะมีเพียงแค่อเมริกาเท่านั้นที่เป็นที่หนึ่ง และผละประโยชน์ของอเมริกาจะมาก่อน

ทุกการตัดสินใจด้านการค้า ด้านคนต่างด้าว ด้านการต่างประเทศ จะถูกตัดสินเพื่อผลประโยชน์ของแรงงานอเมริกันและครอบครัวชาวอเมริกัน

เราจะปกป้องเขตแดนของเรา จากการสร้างความเสียหายโดยต่างประเทศ ที่ผลิตสินค้าของเรา ขโมยผลประโยชน์ไปจากบริษัทอเมริกัน และทำลายการจ้างงานในสหรัฐฯ

การปกป้องคุ้มครองจะนำไปสู่ความรุ่งเรืองและความแข็งแกร่ง

ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อท่านด้วยทุกลมหายใจและเลือดเนื้อที่มี และข้าพเจ้าจะไม่มีวันทำให้ท่านผิดหวัง"

"อเมริกาจะเป็นผู้ชนะอีกครั้งและจะชนะอย่างที่ไม่เคยชนะมาก่อน"

"เราจะนำงานกลับมา เราจะนำความปลอดภัยด้านเขตแดนกลับมา เราจะนำความมั่งคั่งกลับมา เราจะนำความฝันกลับมา

เราจะสร้างถนนใหม่ ทางหลวงใหม่ รวมทั้งสะพาน สนามบิน อุโมงค์ และทางรถไฟทั่วประเทศ

เราจะทำให้ประชาชนของเราออกจากการรับสวัสดิการสังคมและกลับมาทำงานเพื่อสร้างชาติด้วยแรงงานอเมริกัน"

"เราจะทำตามกฎง่ายๆ สองข้อ คือ ซื้อของอเมริกัน และจ้างคนอเมริกัน"

"เราจะย้ำถึงความแข็งแกร่งในความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่ และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในโลกศิวิไลซ์ เพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายโดยกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ซึ่งเราจะกำจัดออกไปจากโลกนี้

พื้นฐานการเมืองที่หนักแน่นของสหรัฐฯ คือการจงรักภักดีอย่างที่สุดต่อประเทศสหรัฐอเมริกา และด้วยความจงรักภักดีนี้ต่อประเทศ เราจะพบความภักดีในตัวบุคคล

เมื่อเราเปิดใจให้กับความรักชาติ จะไม่มีโอกาสเกิดความมีอคติต่อกัน

คัมภีร์ไบเบิ้ลบอกเราถึงความดีงามที่จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อประชาชนของพระเจ้าอยู่ร่วมกันเพื่อเป็นหนึ่งเดียวกัน

เราต้องพูดอย่างที่ใจคิดอย่างเปิดเผย ถกเถียงในความคิดที่แตกต่างอย่างซื่อสัตย์ แต่มุ่งหน้าเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"

"เมื่ออเมริกาเป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่มีอะไรหยุดเราได้"

"มันไม่ควรมีความกลัวเกิดขึ้น เราได้รับการปกป้องอยู่แล้วและเราจะได้รับการปกป้องต่อไป เราจะได้รับการปกป้องจากชายและหญิงที่ดีเยี่ยมในกองทัพและผู้รักษากฎหมาย และที่สำคัญที่สุดเราจะได้รับการปกป้องจากพระเจ้า

ในที่สุดแล้วเราจะคิดทำสิ่งใหญ่ๆ และจะฝันที่จะทำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก

ในอเมริกา เราเข้าใจว่าชาติจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อชาติเดินหน้าฝ่าฟันต่อไป เราจะไม่ยอมรับอีกต่อไปกับนักการเมืองที่ดีแต่พูดแต่ไม่ทำอะไร และบ่นตลอดเวลาแต่ไม่เคยทำอะไรเพื่อแก้ไขสิ่งต่างๆ

เวลาแห่งการพูดที่ไม่มีผลจบลงแล้ว สิ่งที่มาถึงคือชั่วโมงแห่งการทำงานจริง

อย่าปล่อยให้ใครมาบอกคุณว่า สิ่งที่ต้องการทำไม่สามารถทำได้ ไม่มีสิ่งท้าทายใดจะเทียบได้กับหัวใจ การต่อสู้และจิตใจของความเป็นอเมริกา

เราจะไม่มีวันล้มเหลว ประเทศของเราจะเติบโตและรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง

เรากำลังยืนอยู่ที่การเกิดใหม่แห่งสหัสวรรษ พร้อมที่จะไขความลับแห่งจักรวาล ทำให้โลกเป็นอิสระจากโรคภัย และใช้พลังงาน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสำหรับวันพรุ่งนี้

ความภาคภูมิใจในชาติจะทำให้เราฮึกเหิม ทำให้เราเห็นภาพที่สูงขึ้นและสมานความแตกแยกในชาติ"

"บัดนี้เป็นเวลาที่ควรจดจำถึงความรู้เก่าๆ จากทหารว่า ไม่ว่าสีผิวจะเป็นสีดำ น้ำตาล หรือขาว เลือดของเราจะเป็นสีแดงแห่งความรักชาติเหมือนกันหมด"

"เรามีความเสรีภาพที่สดใส และเราเคารพธงชาติสหรัฐฯ ที่ยิงใหญ่ธงเดียวกัน

และไม่ว่าเด็กจะเกิดที่เขตเมืองอย่างเช่นที่ดีทร้อยท์ หรือที่ราบแห่งเนบราสก้า เด็กเหล่านี้มองเห็นฟ้าเดียวกัน พวกเขามีใจจดจ่อต่อฝันเดียวกัน และเป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานชีวิตมาให้เช่นเดียวกันทุกคน

ดังนั้นสำหรับชาวอเมริกันทุกคนในทุกเมือง ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ใหญ่หรือเล็ก ไม่ว่าจะมาจากถิ่นที่สูง หรือเขตมหาสมุทรใด จะได้ยินคำประกาศนี้ ท่านจะไม่ถูกหมางเมินอีกต่อไป

เสียงของท่าน ความหวังของท่าน และความใฝ่ฝันของท่าน คือคำจำกัดความของจุดหมายปลายทางของอเมริกา

ความกล้าหาญ ความดีงามและความรักจะเป็นเครื่องนำทางเรา"

"เราจะทำให้อเมริกาแข็งแกร่งอีกครั้ง เราจะทำให้คนอเมริกันภูมิใจในอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เราจะทำให้อเมริกาปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง เราจะทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง"

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ประยุทธ์' ระบุรัฐไม่ปิดกั้นคนอยากดังผ่านโซเชียลมีเดีย

$
0
0
'ประยุทธ' แจงรัฐบาลไม่ปิดกั้นคนอยากดังผ่านโซเชียลมีเดียตราบที่ไม่ทำผิดกฎหมาย-ศีลธรรมอันดี พร้อมชี้ปัญหาใหญ่ของประเทศ ต้องเปิดกว้างรับฟัง

 
21 ม.ค. 2560 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และกัวหน้าคณะรักษาควสมสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แนะนำการใช้สื่ออโซเซียลของคนไทยในเวลานี้ ว่าในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทกับชีวิต และอารมณ์ของคนในสังคม ส่งผลให้คนไทยนิยมความหวือหวา ชอบความสะใจ ชอบตามกระแส อยากเด่นอยากดัง อยากได้เร็วๆ หรือมีความอดทนน้อย อาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา และเข้าใจได้ หากสิ่งที่ทำหรือแสดงออกไป เป็นเพราะต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น 
 
“ รัฐบาลเองไม่ได้ปิดกั้น แต่ก็พร้อมที่จะส่งเสริม ตราบเท่าที่การกระทำเหล่านั้น ไม่ละเมิดกฎหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี แต่หากเป็นต้นเหตุของปัญหา กระทบต่อผู้คนในสังคมและส่วนรวมแล้ว รัฐบาลก็จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมาย ด้วยความเป็นธรรม และไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ บางปัญหาที่ง่าย ก็อาจจะแก้ไขได้โดยเร็ว บางปัญหาที่สลับซับซ้อน เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน หลายกฎหมาย ก็ต้องมีการบูรณาการ ” นายกฯ กล่าว
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ของประเทศในปัจจุบัน ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็น อย่างเปิดกว้างและเป็นธรรม รัฐบาลและ คสช. เต็มใจที่จะเป็น สะพาน เชื่อมโยงความเห็นจากทุกฝ่าย ประสานความหวังให้เป็นหนึ่งเดียว และเป็น ตัวกลางในการผนึก พลังประชารัฐ เพื่อทำความต้องการของเรา ให้เป็นความจริง เพราะหากมีความต้องการ แต่อ้างว่าทำไม่ได้ แล้วไม่เริ่มลงมือทำ ก็ไม่เกิดประโยชน์ และตนก็เชื่อว่า ไม่มีอะไร ที่เป็นไปไม่ได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

7 จังหวัดภาคใต้รับฝนตกหนักอีก 22-25 ม.ค.นี้

$
0
0
ปภ.เผยน้ำท่วมภาคใต้ตั้งแต่ ธ.ค. 2559 ประชาชนได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด รวม 122 อำเภอ 755 ตำบล 5,812 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 563,616 ครัวเรือน 1,725,714 คน ผู้เสียชีวิต 80 ราย วันที่ 22-25 ม.ค. ฝนตกหนักอีก 7 จังหวัด

 
 
ที่มาภาพ: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
 
21 ม.ค. 2560 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ระบุว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงปัจจุบัน ได้รับผลกระทบ 12 จังหวัด รวม 122 อำเภอ 755 ตำบล 5,812 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 563,616 ครัวเรือน 1,725,714 คน ผู้เสียชีวิต 80 ราย ผู้สูญหาย 4 ราย ถนน 4,314 จุด คอสะพาน 348 แห่ง ท่อระบายน้ำ 243 แห่ง ฝาย 126 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง สถานที่ราชการเสียหาย 25 แห่ง  โรงเรียน 2,336 แห่ง โดยล่าสุดสถานการณ์คลี่คลายอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 5 จังหวัด ได้แก่ ระนอง นราธิวาส ปัตตานี กระบี่ และตรัง และยังมี 7 จังหวัดที่ยังมีน้ำท่วมบางพื้นที่  ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง ยะลา ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสงขลา รวม 27 อำเภอ 133 ตำบล 861 หมู่บ้าน
 
“จากการติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทย วันนี้ (21ม.ค.) จะมีฝนหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จากความกดอากาศสูงกำลังค่อนข่างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนวันที่ 22-25 มกราคม 2560 จะมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส” อธิบดีปภ. กล่าว
 
นายฉัตรชัย กล่าวว่า ปภ.ได้เตรียมพร้อมรับมือฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำจุดเสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที
 
หลายจังหวัดภาคใต้น้ำยังท่วมหนัก
 
 
 
 
ที่มาภาพ: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
 
วันเดียวกันนี้ (21 ม.ค.) สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่าฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องตลอด 4 วันที่ผ่านมา ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโก-ลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง1.55 เมตร ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโก-ลก 9 ชุมชน จำนวน 800 ครัวเรือน รวม 2,553 คน ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น และจนถึงขณะนี้เจ้าหน้าที่กองสวัสดิการสังคมเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ยังคงออกประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยอพยพไปอยู่ที่ศูนย์อพยพผู้ประสบอุทกภัยโรงเรียนเทศบาล 4 และโรงเรียนเทศบาล 1 แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ยอมอพยพออกมาจากบ้าน ทำให้มีเพียง 7 ครัวเรือนรวม 24 คนเท่านั้นที่อพยพออกไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย
 
ด้านนายเฉลิมชัย ตรีนรินทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนราธิวาส กล่าวว่า ปริมาณน้ำในแม่น้ำโก-ลกในห้วงนี้จะเพิ่มสูงขึ้นชั่วโมงละ 2 เซนติเมตร และคาดว่าจะมีระดับสูงสุดที่ประมาณ 1.80 เมตรแล้วจะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณฝนจะลดลงแม้จะมีฝนตกต่อเนื่องต่อไปจนถึงวันที่ 25 มกราคมนี้ สำหรับการระบายน้ำออกจากพื้นที่ยังใช้การระบายน้ำทางธรรมชาติที่น้ำในแม่น้ำโก-ลกจะไหลลงสู่ที่ต่ำในพื้นที่อำเภอตากใบแล้วไหลลงสู่ทะเล แต่จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการในส่วนของประตูระบายน้ำในพื้นที่เพื่อป้องกันน้ำทะเลที่หนุนสูงไหลเข้ามาสมทบ
 
ที่จังหวัดสงขลา หลังจากที่เกิดฝนตกต่อเนื่องกันระยะนี้ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมซ้ำเป็นรอบที่ 4 เช่นที่บ้านแลแบง หมู่ที่ 1 ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย น้ำป่าจากเทือกเขาสันกาลาคีรีได้ไหลลงมาเข้าท่วมตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ (21 ม.ค. 60) และได้มีการอพยพชาวบ้านออกจากหมู่บ้านแล้ว 36 ครัวเรือน จำนวน 202 คน ไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพชั่วคราวภายในศาลาประชาคมอำเภอสะบ้าย้อย
นอกจากนี้ น้ำยังได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ภายในเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อยบางส่วน โดยเฉพาะเส้นทางสายสะบ้าย้อย-บ้านโหนด น้ำท่วมสูงประมาณ 50 เมตร และสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงเนื่องจากยังมีน้ำหนุนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
เช่นเดียวกับในพื้นที่ 4 อำเภอริมทะเลสาบสงขลา ขณะนี้ บางพื้นที่เริ่มถูกน้ำจากทะเลสาบสงขลาหนุนเข้าท่วมซ้ำอีกครั้ง เช่นในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ หลายชุมชนระดับน้ำสูงขึ้น และอยู่ในภาวะเฝ้าระวัง
 
ส่วนสภาพน้ำท่วมในพื้นที่เขตอำเภอเมืองยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากที่ตำบลสะเตงนอก ซอยปะจูรง ซอย 6 ผังเมือง 4 ชุมชนหลังวัดตรีมิตร ยังคงมีน้ำท่วมขัง เนื่องจากปริมาณน้ำที่สะสมจากฝนตกหนัก และคูระบายน้ำออกไม่ทัน อยู่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยลดลงจากเมื่อวานนี้ ส่วนที่ชุมชนวิฑูรอุทิศ 10 เทศบาลนครยะลา ได้เร่งนำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำออกจากถนนที่มีน้ำท่วมขัง จนลดลงเกือบเป็นปกติ ขณะที่ ถนนเส้นทางไปยังชุมชนบ้านเปาะยานิ ยังคงมีน้ำท่วมขังสูง เจ้าหน้าที่ได้ปิดกั้นเส้นทางไม่ให้รถสัญจรไป-มา เนื่องจากพื้นที่บ้านเปาะยานิ เป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ประกอบกับเป็นพื้นที่รับน้ำจากบึงแบเมาะ ซึ่งมีปริมาณน้ำล้นตลิ่งเนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้ยังมีน้ำท่วมขังสูงกว่า 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่รอบเขตเมืองยะลา ซึ่งติดริมแม่น้ำปัตตานี น้ำยังคงล้นเอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน
 
ขณะที่ นายกาส เส็นโต๊ะเย็บ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ได้รายงานสถานการณ์หลังฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดยะลา ว่าในส่วนของพื้นที่อำเภอเมืองยะลา มีพื้นที่ประสบอุทกภัย จำนวน 5 ตำบล 30 หมู่บ้าน ประชาชนเดือดร้อน 720 ครัวเรือน 2,882 คน อพยพ 32 ครัวเรือน 150 คน ถนน 3 สาย (สามารถสัญจรได้) สะพาน 1 แห่ง ฝาย 1 แห่ง พื้นที่การเกษตร 566 ไร่ บ่อปลา 2 บ่อ ประกอบด้วย ตำบลพร่อน หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 จำนวน 290 ครัวเรือน 1,450 คน ตำบลสะเตงนอก หมู่ที่ 1 , 3 , 4 , 6 , 7 , 9 , 10 , 12 , 13 จำนวน 44 ครัวเรือน 176 คน ตำบลลำใหม่ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 จำนวน 106 ครัวเรือน 304 คน ตำบลยุโป หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 จำนวน 280 ครัวเรือน 952 คน ตำบลท่าสาป หมู่ที่ 3 (น้ำกัดเซาะแนวริมเขื่อนแม่น้ำปัตตานี) โดยขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนแล้ว
 
ส่วนแนวโน้มสถานการณ์มีฝนตกต่อเนื่อง มีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มพื้นที่ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา ระดับน้ำในแม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี เริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ใกล้แม่น้ำ และคาดว่าจะขยายวงกว้างในพื้นที่ใกล้เคียง มีการแจ้งเตือนเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
 
ขณะเดียวกันทางชลประทานยะลา ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังเขื่อนเก็บน้ำชลประทานปัตตานี ให้แจ้งเตือนประชาชนท้ายเขื่อน อำเภอเมือง อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ เตรียมขนย้ายสิ่งของไว้ในที่สูง เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำปัตตานี ที่ไหลมาจากอำเภอบันนังสตา อำเภอกรงปินัง และอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา มีมวลน้ำปริมาณมากจากปริมาณฝนตกสะสม จึงอาจจะทำให้มวลน้ำดังกล่าวไหลไปสมทบกับปริมาณน้ำในเขื่อนปัตตานี และจะไหลลงสู่ปลายน้ำที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสูงในพื้นที่ริมแม่น้ำปัตตานี จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากสื่อและการแจ้งเตือนจากทางจังหวัดในทุกระยะ
 
ขณะที่ เขื่อนบางลางจังหวัดยะลา ยังคงสามารถรับน้ำได้อีกถึง 600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนบางลางแต่อย่างใด
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลปกครองรับฟ้อง 'ยิ่งลักษณ์' ฟ้อง 'ประยุทธ์' กรณีให้ชดใช้คดีจำนำข้าว

$
0
0
ศาลปกครองรับฟ้องคดีที่ 'น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้อง 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' นายกรัฐมนตรีกับพวกรวม 4 คน กรณีขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ 1351/2559 ที่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคดีโครงการรับจำนำข้าว นัดไต่สวน 26 ม.ค.นี้

 
เว็บไซต์แนวหน้ารายงานเมือวันที่ 20 ม.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่าศาลปกครองกลางได้นัดไต่สวนคดีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 4 คน กรณีขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ 1351/2559 ลงวันที่ 13 ต.ค. 59 ที่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเหตุขณะดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ราชการตามอำนาจหน้าที่จนทำให้กระทรวงการคลังได้รับความเสียหาย ในวันที่ 26 ม.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
 
โดยคดีดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้วพร้อมกับมีคำสั่งตั้งองค์คณะพิเศษที่มีอธิบดีศาลปกครองกลางทำหน้าที่หัวหน้าองค์คณะและมีตุลาการประกอบเป็นองค์คณะเพิ่มจากปกติที่มี 4 คน เป็น 7 คน เป็นองค์คณะพิจารณาดดี ซึ่งการเรียกไต่สวนในวันที่ 26 ม.ค.นี้เพื่อที่ศาลจะนำข้อมูลจากคู่กรณีไปพิจารณาว่าจะกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาคือระงับคำสั่งที่1351/2559 ลงวันที่ 13 ต.ค. 2559 ที่ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมูลค่า 35,717 ล้านบาท ดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นขอหรือไม่
 
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พานิชย์ และนายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พานิชย์ ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงพานิชย์ที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณี ทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐจำนวน 1.7 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้านตามลำดับ ไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้วและได้ตั้งองค์คณะพิเศษในการพิจารณาคดีพร้อมเรียกไต่สวนเพื่อพิจารณาว่าจะมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาคือระงับคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้ก่อนตามที่นายบุญทรง และนายภูมิ ร้องขอหรือไม่ไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2559 แต่จนขณะนี้ศาลยังไม่มีคำสั่งใด ๆ ออกมา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งจับนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นตัวประกัน ล่าสุดทยอยปล่อยตัวแล้ว

$
0
0

21 ม.ค. 2560 เว็บไซต์ Nation TVรายงานว่าจากกรณีชาวกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่ง ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ทางด้าน จ.กาญจนบุรี ได้จับนักท่องเที่ยวชาวไทยเกือบ 40 คน ในขณะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวเป็นตัวประกัน เพื่อเรียกร้องให้ทางการไทย ปล่อยตัวผู้ต้องหาชาวกะเหรี่ยง ที่ถูกจับในคดีค้ามนุษย์ในประเทศไทย ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น  
 
เกี่ยวกับเรื่องนี้ พล.ต.ต.คำรณ บุญเลิศ ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี เปิดเผยว่า ภายหลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ทหาร รวมถึงเจ้าหน้าที่คณะกรรมการชายแดนไทย-พม่า ได้เข้าไปเจรจากับชาวกะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าวแล้ว ซึ่งล่าสุดสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว โดยทางกลุ่มกะเหรี่ยงได้ทยอยปล่อยตัวคนไทยทั้งหมดแล้ว ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตรวจสอบอยู่ว่า กลุ่มคนไทยทั้งหมดที่ถูกจับตัวไป เข้าไปทำอะไรในพื้นที่ดังกล่าว 
 
“คนไทยทั้งหมดที่ถูกจับเป็นตัวประกันนั้น ถูกจับในพื้นที่พม่า ติดกับ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ซึ่งหลังจากมีการเจรจาโดยคณะกรรมการชายแดน ทางกลุ่มกะเหรี่ยงได้ยอมปล่อยตัวคนไทยแล้ว ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบด้วยว่า คนไทยทั้งหมดเข้าไปทำอะไรในพื้นที่ดังกล่าว” ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี ระบุ 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดร่างกฎหมายจดทะเบียนสื่อ เผย 5 วิธีรัฐแทรกแซงการกำกับดูแลกันเอง

$
0
0

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เปิดร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ชี้หัวใจสำคัญของร่าง คือการกำหนดให้อาชีพสื่อเป็นอาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียน และตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อกำกับดูแลสื่อไม่จำกัดประเภท ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือสื่อออฟไลน์ เผย 5 วิธีรัฐแทรกแซงการกำกับดูแลกันเอง

<--break- />เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2560 ที่ผ่านมา เว็บไซต์โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้เปิดเผย ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... รวมทั้งวิเคราะห์ร่างกฎหมายนี้ โดยระบุว่าสื่อมวลชนในยุคข้อมูลข่าวสารเป็นจำเลยของปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย ข้อเสนอจาก สปท. รอบนี้ขอให้จัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ สื่อทุกแห่งต้องจดทะเบียน กำหนดมาตรฐานกลางเรื่องจริยธรรมของสื่อมวลชนใช้กับสื่อทุกแห่ง และให้มีกลไกร้องเรียนลงโทษ

ยิ่งโลกข้อมูลข่าวสารวิ่งหมุนไปอย่างรวดเร็วเท่าใด รัฐก็ยิ่งวิ่งไล่กวดเพื่อหาวิธีกำกับควบคุมการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและการทำงานของสื่อ ดังเช่นที่รัฐบาลไทยภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำลังพุ่งเป้าไปที่ปัญหามาตรฐานจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน โดยหวังจะหาวิธีกำกับดูแลสื่อทั้ง “ในระบบ” และ “นอกระบบ” 
 
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการยกร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 และสั่งให้คณะกรรมการสามฝ่าย คือ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ไปพิจารณาร่างพ.ร.บ.ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการปฏิรูปประเทศ 
 
หัวใจสำคัญของร่าง คือการกำหนดให้อาชีพสื่อเป็นอาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียน และตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อกำกับดูแลสื่อไม่จำกัดประเภท ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์หรือสื่อออฟไลน์ สาระสำคัญ มีดังนี้ 
 
1. ให้งานสื่อสารมวลชนเป็นกิจการที่ต้องจดทะเบียนและมีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ร่างกฎหมายนี้วางระบบให้สื่อหนึ่งๆ ต้องขึ้นทะเบียนกับ “องค์การวิชาชีพสื่อมวลชน” ซึ่งคือกลุ่มองค์กรวิชาชีพสื่อต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนจะออกใบรับรองสำหรับประกอบกิจการให้ จากนั้น องค์กรสื่อก็จะสามารถออกบัตรประจำตัวให้แก่นักข่าวหรือผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนได้ ตัวอย่างเช่น 
 
      
สื่อมวลชน องค์การวิชาชีพสื่อมวลชน
หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ แนวหน้า 
ข่าวสด เดอะเนชั่น บางกอกโพสต์ ฯลฯ
ขึ้นทะเบียนกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย หรือ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ช่องเจ็ด ช่องสาม เวิร์คพอยท์ทีวี
ช่อง ONEช่อง PPTVฯลฯ 
ขึ้นทะเบียนกับสมาพันธุ์วิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ประชาไท ไทยพับลิกา TCIJ
เดอะแมทเทอร์ โมเมนตัม ไอลอว์
ขึ้นทะเบียนกับสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์
 
 
เมื่อมีองค์การวิชาชีพสื่อรับรองและให้ใบอนุญาตประกอบกิจการแล้ว สำนักข่าวเหล่านั้นก็สามารถออกบัตรประจำตัวให้นักข่าวได้
 
ตาม ร่างฉบับที่เผยแพร่เมื่อ 13 มกราคม 2560 ซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนการของคณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านสื่อสิ่งพิมพ์ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ยังไม่ชัดเจนว่าสื่อกลุ่มไหนบ้างที่เข้าข่ายตามกฎหมายนี้? แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายเขียนไว้เพื่อหวังกำกับดูแลสื่อออนไลน์ โดยกำหนดนิยามคำว่าสื่อมวลชนให้ครอบคลุมถึงสื่อทุกประเภท รวมไปถึง "สื่อมวลชนที่อยู่นอกระบบ"  
 
นอกจากนี้ ธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นต่อสนช.ว่า ควรมีระบบการกำกับดูแลร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยให้อำนาจลงโทษสื่อมวลชนเป็นอำนาจของรัฐ และสร้างแรงจูงใจให้สื่อมวลชนเข้าระบบหรือสังกัดองค์กร เช่น ให้ทุนสนับสนุน ทุนวิจัย และศึกษาดูงาน  
 
 
2. ให้ตั้ง "สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ" มาคุมสื่อ
กฎหมายนี้จะตั้งองค์กรใหม่ที่ชื่อว่า "สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ" มีอำนาจเหนือการกำกับดูแลกันเองตามที่องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนพยายามดำเนินการอยู่  
 
สภาวิชาชีพฯ ทำหน้าที่รับจดทะเบียนสมาชิก เพิกถอนใบรับรองสมาชิก ตรวจสอบและเฝ้าระวังการกระทำอันไม่เหมาะสมของสื่อมวลชน และจัดทำ "มาตรฐานทางจริยธรรม" ของคนทำงานสื่อ รับเรื่องร้องเรียนเมื่อองค์กรสื่อฝ่าฝืนจริยธรรม และเมื่อสื่อถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ คณะกรรมการฯ มาจากองค์ประกอบดังนี้
 
• คนทำงานสื่อ จำแนกประเภทตามช่องทางสื่อและตามหมวดของเนื้อหา ได้แก่ ด้านวิทยุกระจายเสียง ด้านวิทยุโทรทัศน์ ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ด้านสื่อออนไลน์ ด้านโฆษณา ด้านข่าว ด้านบันเทิง ด้านอื่นๆ และตัวแทนภูมิภาค รวมแปดคน 
• ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์  สื่อสารมวลชน สองคน ด้านกฎหมายมหาชนหนึ่งคน ด้านสังคมสองคน และด้านอื่นๆ หนึ่งคน
• ผู้แทนผู้บริโภค หนึ่งคน
 
กรรมการจะมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาซึ่งมาจากองค์การวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ นายกสมาคมสมาพันธ์วิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ และผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
 
3. กำหนดมาตรฐานกลางว่าด้วยจริยธรรมสื่อมวลชน (มาตรา 37)
องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนต้องกำกับให้องค์กรสื่อในสังกัดตัวเองปฏิบัติตาม "มาตรฐานกลาง" ของเนื้อหาและข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมี 6 ข้อ คือ
1) ต้องถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
2) ต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่น คำนึงถึงสิทธิบุคคล ไม่ซ้ำเติมผู้ประสบเคราะห์กรรม หลีกเลี่ยงการสร้างความเกลียดชังหรือใช้ความรุนแรง
3) ต้องเป็นไปโดยอิสระ ไม่อยู่ใต้อาณัติของบุคคลหรือองค์กรใดในทางที่มิชอบ
4) ต้องไม่รับผลประโยชน์ใดๆ อย่างมิชอบ
5) ต้องมีผู้รับผิดชอบและประกาศแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่การนำเสนอผิดพลาดหรือสร้างผลกระทบ 
6) ต้องเป็นไปตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ขัดต่อศีลธรรมของสังคม ไม่ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ และคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
 
4. การรับเรื่องร้องเรียน
สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติจะรับเรื่องราวร้องเรียนทั้งในกรณีที่สื่อมวลชนถูกละเมิดเสรีภาพ และกรณีที่ประชาชนถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ โดยมีลำดับขั้นของการร้องเรียนไว้ว่า 

ขั้นที่หนึ่ง เมื่อคนทำสื่อถูกร้องเรียน องค์กรต้นสังกัดพิจารณาเรื่องเสียก่อน 
ขั้นที่สอง เมื่อองค์กรสื่อเป็นผู้ถูกร้องเรียน ให้องค์การวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นผู้พิจารณา
ขั้นที่สาม หากสื่อที่ถูกร้องเรียนไม่ได้เป็นสมาชิกของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ให้คณะกรรมการจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเป็นผู้สอบสวนเรื่องนั้น (มาตรา 67)
 
นอกจากนี้ หากองค์กรสื่อหรือองค์การวิชาชีพสื่อมวลชนเพิกเฉย ก็ให้คณะกรรมการจริยธรรมสื่อมวลชนของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติเป็นผู้สอบสวนเรื่องนั้น 
 
สำหรับเรื่องบทลงโทษนั้น ตามร่างของสปท. กำหนดโทษทางปกครอง เป็นโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท ส่วนในกรณีที่สื่อถูกวินิจฉัยว่าฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จะถูกลงโทษโดยการเพิกถอนบัตรประจำตัวผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน หรือเพิกถอนใบรับรองสมาชิกขององค์กรนั้นๆ ขณะที่ในที่ประชุมของสนช.เห็นว่า สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติควรทำหน้าที่เพียงวินิจฉัยเรื่องร้องเรียน โดยปล่อยให้การลงโทษเป็นหน้าที่หน่วยงานอื่นของรัฐ 
 
5. งบประมาณของสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ 
สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มีรายได้สองทาง คือ มาจากเงินร้อยละ 5 ที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน และอีกส่วนหนึ่ง เจียดมาจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ม.ค. 2560

$
0
0
 
ธุรกิจเรือประมงไทยส่ออาการหนัก ขาดแรงงานจอดตายเพียบ-ราคาปลาพุ่ง 6 เท่าตัว
 
เรือประมงไทยอาการหนัก แรงงานขาดแคลนต้องจอดเรือกันเพียบ ทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทย และภาคตะวันออก เหตุโทษรุนแรงปรับถึงหัวละ 4 แสนบาท ออกเรือมีจำนวนแรงงานน้อยกว่าที่แจ้งล่วงหน้ายังถูกดำเนินคดีฟ้องศาล ขณะที่ ครม.เลื่อนการออกหนังสือ Seabook ให้แรงงานต่างด้าวจาก ม.ค.ไปกลาง มี.ค.นี้มีสิทธิ์ไม่ทันอีก
 
รายงานข่าวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าจากการที่กรมประมงได้มีหนังสือถึงสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการให้เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป และขนาด 10 ตันกรอสขึ้นไป ที่ใช้เครื่องมืออวนลาก อวนล้อมจับ อวนครอบปลากะตัก และมีแรงงานบนเรือเป็นคนต่างด้าว ต้องไปยื่นขอมีหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ภายหลังประกาศมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนมกราคมนี้ ทางสมาคมได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกชาวประมงในหลายจังหวัด เกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนที่มีความล่าช้าและมีขีดจำกัด ซึ่งชาวประมงเกรงว่าแรงงานต่างด้าวจะได้รับหนังสือคนประจำเรือ(Seabook) ไม่ทันตามระยะเวลาตามที่กรมประมงกำหนด เนื่องจากจะเริ่มดำเนินการบังคับใช้ตามกฎหมายแล้วนั้นทางสมาคมจึงได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอขยายระยะเวลาการมีหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวออกไปอีก
 
รายงานข่าวกล่าวว่า ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ตามที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
 
โดยสาระสำคัญของร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ขยายเวลาในการกำหนดให้คนประจำเรือที่ทำงานอยู่ในเรือประมง ซึ่งเป็นคนต่างด้าว และยังไม่มีหนังสือคนประจำเรือ ต้องมีหนังสือคนประจำเรือ จากเดิมที่ต้องดำเนินการภายใน 120 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับภายในวันที่ 12 มกราคม 2560 ออกไปเป็นวันที่ 15 มีนาคม 2560
 
นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากกรณีที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา ให้ขยายระยะเวลาในการกำหนดให้คนประจำเรือที่ทำงานอยู่ในเรือประมงซึ่งเป็นคนต่างด้าว และยังไม่มีหนังสือ
 
คนประจำเรือให้มีหนังสือคนประจำเรือ (Seaman Book) จากเดิมที่ต้องมีการดำเนินการภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่มีผลใช้บังคับ (ภายใน 12 มกราคม 2560) เลื่อนออกไปเป็น 15 มีนาคม 2560 นั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการได้เข้ายื่นหนังสือมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯถึงปัญหาในการจดทะเบียน โดยอุปสรรคหลักคือเรื่องของภาษาในการสื่อสาร ขาดแคลนล่าม จึงทำให้ล่าช้า ทั้งนี้เร็ว ๆ นี้ตามกำหนดการเดิมในเดือนมกราคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กรมประมง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเดินทางไปยังกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม เพื่อหารือและรายงานความก้าวหน้าผลการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU) ซึ่งจะมีประเด็นความคืบหน้าผลการบังคับคดีเรือประมงผิดกฎหมาย ศูนย์ PIPO การควบคุมจำนวนเรือขนถ่ายเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นระบบใหม่ กรมประมงมีการสั่งเครื่องมืออุปกรณ์มาทำงานเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ทำให้ระบบและเจ้าหน้าที่ยังไม่พร้อม สามารถออกหนังสือ Seabook ให้แรงงานต่างด้าวได้เฉลี่ยวันละ 40-50 คน วันที่ 12 มกราคมนี้ไม่ทันอย่างแน่นอน และคาดว่าวันที่ 15 มีนาคมศกนี้ก็คงไม่เรียบร้อยเช่นกัน
 
สถานการณ์ของเรือประมงไทยขณะนี้อาการหนักมาก ต้องมีเอกสารไว้ยื่นกับหลายหน่วยงาน ทั้งกรมประมง กรมเจ้าท่ากรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศูนย์ตรวจสอบเรือเข้า-ออก (PIPO) และทหารเรือ กอปรกับไม่มีแรงงานใหม่ลงเรือ ทำให้เรือประมงต้องจอดตายนับร้อยลำที่ อ.กันตัง จ.ตรัง และอีกจำนวนมากที่สงขลา ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และภาคตะวันออก เพราะหากถูกจับเรื่องแรงงานผิดกฎหมายจะถูกปรับถึงรายละ 4 แสนบาท ล่าสุด เรืออวนล้อมปลากะตัก นำแรงงานผิดกฎหมาย 14 คนจับปลาถูกจับที่ภาคตะวันออกรวมแล้วถูกปรับคิดเป็นเงินกว่า 5.6 ล้านบาทหรือหากแจ้งล่วงหน้าต่อ PIPO ว่าจะมีแรงงานบนเรือประมงออกจับปลา 15 คน เมื่อออกไปจับจริงแรงงานบนเรือเหลือ 12 คน เพราะแรงงานมีการโยกย้ายบ่อยมาก ก็จะจับดำเนินคดีส่งฟ้องศาล ทำให้เรือประมงสุดจะอดกลั้นในปัญหาที่ถาโถมเข้ามาจำนวนมาก ในขณะที่การจ่ายค่าชดเชยการซื้อเรือคืนของภาครัฐก็ค่อนข้างช้า
 
ส่วนราคาสินค้าประมงก็ขยับขึ้นสูงมาก ปลาทูจากที่เคยซื้อตัวละ 5 บาท ก่อนแก้ IUU ขณะนี้ตัวละ 20-30 บาทแล้วแต่ขนาดปลาสด จากเดิม กก.ละ 60-70 บาท ก็ขยับเป็น กก.ละ 150 บาท เพราะเรือประมงไม่ออกทะเลจำนวนมาก ทำให้ห้องเย็นและโรงงานแปรรูปส่งออกในไทยต้องนำเข้าสัตว์น้ำจากมาเลเซียและอินเดียแทน
 
 
กสร.แนะนายจ้างตั้ง "สหกรณ์ออมทรัพย์" ช่วยลูกจ้างออม ป้องกันกู้หนี้นอกระบบ
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายและกู้เงินนอกระบบ มีหนี้สินจนส่งผลกระทบต่อการงาน ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จากปัญหาดังกล่าว พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้ กสร.เร่งดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ที่เพียงพอต่อรายจ่าย กสร.จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยนำมาเป็นหลักในการส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดสวัสดิการด้านเศรษฐกิจให้กับผู้ใช้แรงงาน ผ่านโครงการส่งเสริมให้จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงาน ในการสร้างเสริมวินัยในการใช้จ่าย รู้จักพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันด้วยการออม ในกรณีที่มีความขัดสนเรื่องค่าใช้จ่ายลูกจ้างก็สามารถจะกู้ยืมเงินผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันและเสียดอกเบี้ยในอัตราถูก ซึ่งจะเป็นหนทางในการป้องกันปัญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบของลูกจ้าง
 
นายสุมเธ กล่าวว่า กสร.มีกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานวงเงิน 260 ล้านบาท ไว้ให้บริการแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการกู้ยืมเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นายจ้างเจ้าของสถานประกอบการที่สนใจสอบถามได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน กสร. หรือโทร.สายด่วน 1546 อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างให้ความสำคัญกับการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการแล้ว ลูกจ้างเองก็ต้องให้ความสำคัญและตั้งใจที่จะแก้ปัญหาหนี้สินของตนเอง พร้อมน้อมนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฎิบัติใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดเป็นนิสัยจนสามารถปลดหนี้และมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้นตามศาสตร์พระราชา
 
 
ประกันสังคมเตือนนายจ้างแจ้งเข้า-ออกลูกจ้างตรงเวลาที่กำหนด
 
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดแพร่ แจ้งเตือนให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างทุกครั้ง ที่ลูกจ้างมีการเข้าทำงานภายใน 30 วัน และแจ้งออกจากงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยส่งข้อมูลผ่าน www.sso.go.th เพื่อความสะดวก รวดเร็วแก่นายจ้าง
 
นางนาฏน้อย เอิบสุขสิริ ประกันสังคมจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมพบว่ามีสถานประกอบการหลายแห่งรับลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนเข้าทำงาน หรือมีผู้ประกันตนออกจากงานไปแล้ว แต่ไม่ได้เนินการแจ้งขึ้นทะเบียนหรือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคมภายในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ฐานข้อมูลผู้ประกันตนซึ่งเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือได้รับประโยชน์ทดแทนล่าช้า หรือเป็นเหตุให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนเกินสิทธิของผู้ประกันตน
 
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดอันเป็นการคุ้มครองสิทธิให้แก่ผู้ประกันตนและไม่ให้เกิดความผิดพลาดการจ่ายเงินกองทุนประกันสังคม กรณีการรับลูกจ้างเข้าทำงาน ขอให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน ส่วนกรณีลูกจ้างออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากพบว่านายจ้างรายใดมีเจตนาแจ้งเข้าออกล่าช้า จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 
ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว นายจ้างสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียนโดยทำรายการผ่านทาง www.sso.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประสังคมจังหวัดแพร่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5452 2231-2 ต่อ 117-119 หรือ โทรสายด่วนประกันสังคม 1506
 
 
ก.แรงงาน ไฟเขียว 90 ล้าน จ้างงานเร่งด่วนออก กม.จ่ายเงินทดแทนเยียวยาลูกจ้างภายหลังน้ำลด
 
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน แถลงว่าที่ประชุมกระทรวงเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของกระทรวงแรงงานในการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ทุกหน่วยงานระดมสรรพกำลังในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน 12 จังหวัดภาคใต้ โดย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามสถานการณ์และให้สำรวจข้อมูลสถานประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งพบว่า มีสถานประกอบกิจการในพื้นที่ 12 จังหวัด 42,330 แห่ง ลูกจ้าง 1,094,360 คน สถานประกอบการได้รับผลกระทบ 8,753 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 127,018 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ม.ค.60)
 
นายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยภายหลังน้ำลด ประกอบด้วย 1) บริการการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ รถจักรยานยนต์ เครื่องมือทางการเกษตร โดยทีมช่าง จะให้บริการซ่อมฟรีที่สถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละจังหวัด 2) การฝึกอบรมให้กับลูกจ้าง ประชาชนเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า และปรับปรุงสภาพแวดล้อมบ้านเรือนของตนเองได้ อาทิ การก่ออิฐ ฉาบปูน การปูกระเบื้อง โดยเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-5 วัน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับเบี้ยเลี้ยงวันละ 100 บาท 3) การจ้างงานเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูบ้านเรือนหรือชุมชนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชุมชนภายหลังน้ำลด ซึ่งดำเนินการตามความต้องการของชุมชน โดยมีค่าตอบแทนให้คนละ 150 บาท สำหรับการทำงาน 4 ชั่วโมง ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้แล้วรวม 90 ล้านบาท
 
มาตรการที่ 4) คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 60 ให้นายจ้างจ่ายสมทบ 3% และลูกจ้างจ่ายสมทบ 3 % จากเดิม 5 % เป็นเวลา 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.60) ส่วนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งออกจากงานไปแล้ว แต่ยังอยู่ในระบบประกันสังคมจะจัดเก็บเงินสมทบในอัตราเดือนละ 288 บาท นอกจากนี้ ยังขยายเวลาการจ่ายเงินสมทบโดยไม่เสียค่าปรับ ในกรณีที่ไม่สามารถนำส่งได้ทันกำหนด รวมทั้งการจ่ายเงินทดแทนการว่างงานให้กับผู้ประกันตน เตรียมออกกฎหระทรวง ให้สามารถจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย จนต้องหยุดกิจการชั่วคราว จะจ่ายเงินให้ลูกจ้างในอัตราร้อยละ 50 บาทไม่เกิน 180 วัน โดยจ่ายให้ตามจริงกับวันที่สถานประกอบการหยุดงาน ขณะนี้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล
 
รมว.แรงงานได้ลงนามในกฎกระทรวงแล้ว อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 5) การให้กู้เงินฟื้นฟู สถานประกอบการกู้เพื่อฟื้นฟูความปลอดภัยวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี 6) ตรวจสอบความปลอดภัยในสถานประกอบการ เพื่อแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขถูกต้องและปลอดภัยก่อนเริ่มใช้งาน 7) มาตรการสำรวจผลกระทบ ความต้องการประกอบอาชีพ โดยมีรถโมบายยูนิตไปสำรวจในพื้นที่ประสบภัย เพื่อจัดอบรมฝึกอาชีพอิสระระยะสั้นให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเองได้
 
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ลูกจ้าง ประชาชนทั่วไป สามารถขอรับบริการความช่วยเหลือ โดยสามารถติดต่อหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 สายด่วนประกันสังคม 1506 และสายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 1546
 
 
กลุ่มแรงงานพม่าร้องเรียนจัดหางานเชียงใหม่ โวยถูกนายหน้าหลอกเงิน-วอนช่วย
 
(16 ม.ค. 60) ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มแรงงานสัญชาติพม่า 18 คน นำโดยนางมิ้น (ไม่มีนามสกุล) รวมตัวเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนและขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ถูกนายศรีวรรณ (ไม่มีนามสกุล) สัญชาติพม่า ที่เป็นอ้างตัวว่าเป็นนายหน้าจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่ง หลอกให้จ่ายเงินคนละ 16,000 บาท เพื่อให้ได้สถานะการนำเข้าแรงงานด่างด้าวตามเอ็มโอยู แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามนั้น อยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยตรวจสอบและดำเนินการลงโทษ พร้อมกับเรียกเงินคืนให้กับแรงงานที่ถูกหลอก โดยมีนายจักรี หุ่นโพธิ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือดังกล่าว
 
ทั้งนี้ นายสายทิพย์ อาวัน เจ้าหน้าที่มูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา เปิดเผยว่า การยื่นหนังสือในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มนางมิ้นพร้อมด้วยแรงงานสัญชาติพม่าอีก 17 คน เป็นชาวพม่าที่ได้ถือบัตรสีชมพูที่ทางรัฐบาลผ่อนผันให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรไทย บางคนถือบัตรพาสปอร์ตสีม่วง มีวีซ่า หากออกนอกประเทศไทยโดยไม่มีการแสตมป์อย่างถูกต้องจะไม่สามารถกลับเข้าประเทศไทยได้อีก
 
ดังนั้น จึงอยากที่จะทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกต้องในระยะยาว ซึ่งนายศรีวรรณได้อ้างตัวว่าเป็นนายหน้าจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งว่าสามารถดำเนินการในการนำเข้าแรงงานอย่างถูกกฎหมาย และจะต่ออายุทุก 4 ปีได้ ดังนั้นจึงได้ติดต่อว่าจ้างนายศรีวรรณให้ดำเนินการประสานงานเพื่อให้กลุ่มของนางมิ้นได้สถานะการนำเข้าแรงงานด่างด้าวตามเอ็มโอยู โดยทางบริษัทได้คิดค่าดำเนินการคนละ 16,000 บาท ทางกลุ่มของนางมิ้นจึงได้ตัดสินใจจ่ายให้นายศรีวรรณเพื่อต้องการที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 
ทั้งนี้ หลังจากที่ชำระเงินเสร็จสิ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 60 นายศรีวรรณได้นำแรงงานทั้งหมดเดินทางไปทำหนังสือเดินทางที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ส่วนนางมิ้นได้เดินทางกลับมาทำงานยังจังหวัดเชียงใหม่
 
จากนั้นภายหลังนางมิ้นได้รับแจ้งจากกลุ่มเพื่อนแรงงานว่าได้มีแรงงานสัญชาติพม่าอีก 12 คนซึ่งได้ประสานงานกับนายศรีวรรณ เพื่อดำเนินการให้ได้สถานะแรงงานนำเข้าตามเอ็มโอยู โดยได้จ่ายเงินจำนวนเดียวกัน และนายศรีวรรณได้พาไปทำหนังสือเดินทางที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า แต่ถูกนายศรีวรรณปล่อยทิ้งไว้ในย่างกุ้งโดยไม่มีเงินเหลือติดตัว จึงได้พยายามติดต่อบริษัทดังกล่าวเพื่อจะสอบถามถึงเหตุการณ์ดังกล่าว และจะสอบถามความคืบหน้าของการขอวีซ่าและใบอนุญาต แต่ไม่สามารถติดต่อได้และได้พยายามติดต่อนายศรีวรรณก็ไม่สามารถติดต่อได้เช่นกัน จึงเชื่อว่าน่าจะถูกหลอก และได้ติดต่อประสานให้ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาช่วยเหลือดังกล่าว
 
ด้านนายจักรี หุ่นโพธิ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เบื้องต้นทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะรับหนังสือดังกล่าวและจะได้มีการสอบถามข้อมูลจากผู้เสียหายเพิ่มเติม รวมถึงตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชัดเพื่อที่จะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 
สำหรับสถานะการนำเข้าแรงงานด่างด้าวตามเอ็มโอยู เกิดจากการที่รัฐบาลไทยและพม่าได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู เรื่องความร่วมมือในการจ้างงานแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่เดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ทำการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเพื่อที่จะทำให้พวกเขาได้มีสถานะเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นกรอบการดำเนินการที่ จะทำให้แรงงานด่างด้าว สามารถเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 
 
กนร.เห็นชอบให้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำที่จะหมดอายุ
 
นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า วันนี้ (๑๖ มกราคม ๒๕๖๐) ได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ศ. นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ อาคารกระทรวงแรงงาน นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาปัญหาการตรวจสัญชาติของแรงงานในกิจการประมงทะเลที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ และแรงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำที่ใบอนุญาตทำงาน จะหมดอายุในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการอนุญาต ให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลและแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำที่เป็นแรงงานคนเดิมออกไปอีกถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจสัญชาติของประเทศต้นทาง ทั้งนี้ ให้รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุ ไม่เกิน ๑๘ ปี กรณีเกิน ๑๘ ปี อนุญาตให้ทำงานได้ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้แรงงานที่อายุเกิน 55 ปีทำงาน โดยให้ดำเนินการ ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน หรือดำเนินการในลักษณะศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดย ๒๒ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารจัดการตามความเหมาะสม สำหรับกรุงเทพมหานครให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบริหารจัดการ ทั้งนี้ ให้เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และสิ้นสุดการดำเนินการในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และให้ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เท่ากัน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสัญชาติให้แล้วเสร็จ สำหรับแรงงานที่ผ่านการตรวจสัญชาติให้ขอรับการตรวจลงตรา (Visa) และขออนุญาตทำงานโดยเร็ว
 
กรณีแรงงานประมงทะเลที่ไม่สามารถเข้าฝั่งได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวดังกล่าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ๒๒ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลภายในกำหนดก่อน และเมื่อแรงงานต่างด้าวเดินทางเข้าฝั่งเมื่อใดให้ไปตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ รายงานตัว และขออนุญาตทำงานภายใน ๓๐ วัน สำหรับแรงงานในกลุ่มประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งใบอนุญาตทำงานหมดอายุก่อนวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยน/เพิ่มการทำงานในตำแหน่ง ช่างเครื่องยนต์ในเรือประมงทะเล และตำแหน่งผู้ประสานงานด้านภาษากัมพูชา ลาว เมียนมา อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและอนุญาตให้ทำงานได้ต่อไปจนถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยให้ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อ ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ จัดทำทะเบียนประวัติ และขออนุญาตทำงานเช่นเดียวกับแรงงานในกลุ่มประมงทะเล และแรงงานในกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ
 
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้สั่งการเพิ่มเติม ดังนี้
 
1.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามแนวทางที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 
2.การขยายระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักรและการทำงานของแรงงานในกิจการประมงทะเล และแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ เป็นการดำเนินการกับแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่เคยทำงานในประเทศไทยให้ทำงานต่อไปได้ ไม่ใช่การเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรายใหม่ ขอให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมดำเนินคดีกับนายจ้าง ผู้นำพาแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงานอย่างเคร่งครัด
 
3.ขอให้ประชาสัมพันธ์ สร้างความรับรู้ให้นายจ้างที่มีความต้องการแรงงานให้นำเข้าแรงงานย่างถูกกฎหมายตาม MOU ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดการควบคุมตรวจสอบ ห้องกันการหลอกลวงจากสาย นายหน้า และกำหนดอัตราค่าบริการจากบริษัทนำเข้าแรงงานอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
 
นอกจากนั้น ให้มีการจัดให้แรงงานต่างด้าวมีที่พักที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันและแก้ไขการถูกกล่าวหาว่ามีการละเลยต่อแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและอาจสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการค้ามนุษย์
 
 
จ๊อบส์ ดีบี ชี้ธุรกิจผลิตอาหารสุขภาพ บริการการแพทย์ สื่อดิจิทัล ท่องเที่ยว ต้องการแรงงานสูง
 
บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ระบุว่า ในปีนี้ธุรกิจผลิตอาหารสุขภาพ บริการการแพทย์ สื่อดิจิทัล และท่องเที่ยว ยังต้องการแรงงานสูง ยกเว้นสิ่งพิมพ์ น.ส.นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปีนี้คาดมี 4 กลุ่มธุรกิจซึ่งมีแนวโน้มต้องการแรงงานเข้าสู่ตลาดมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ การให้บริการทางการแพทย์ ธุรกิจเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มที่แนวโน้มความต้องการแรงงานไม่สดใส คือ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ และตัวแทนรับจองตั๋วโดยสารหรือทัวร์
 
สำหรับธุรกิจผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ ต้องการแรงงานมากเพราะกระแสรักษาสุขภาพมาแรง คนคำนึงถึงการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจนี้โตได้ดี ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริม ส่วนธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ ต้องการแรงงานสูงเนื่องจากโรคภัยต่างๆ ทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน และยังมีโรคภัยที่เกิดจากพฤติกรรม การใช้ชีวิตของคนบางกลุ่มสมัยนี้ เช่น ออฟฟิศซินโดรม โรคเครียด กรดไหลย้อน อีกทั้งการใช้บริการการแพทย์เพื่อการป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และเพื่อความสวยงามก็ได้รับความนิยมต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการศัลยกรรมความงาม
 
ด้านธุรกิจเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล ต้องการแรงงานมากเพราะการรับข้อมูลและข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัลนิยมแพร่หลาย ตามการเติบโตของเทคโนโลยีและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตสื่อแบบดั้งเดิม ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวก้าวมาผลิตสื่อดิจิทัลมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค และให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินต่อได้ ส่วนธุรกิจท่องเที่ยว ต้องการแรงงานมากเพราะเป็นธุรกิจมีแนวโน้มเติบโตดี จากการสนับสนุนของรัฐบาล ทั้งด้านคนไทยเที่ยวไทย และต่างชาติเที่ยวไทย
 
นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการคมนาคมสะดวกขึ้น มีสายการบินต้นทุนต่ำเกิดมาก ทำให้คนไทยนิยมเที่ยวในวันหยุดมากขึ้น ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และบริการทัวร์เติบโตตาม ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่แนวโน้มความต้องการแรงงานลดลง เช่น สิ่งพิมพ์ เพราะอินเทอร์เน็ตเติบโต และการใช้สมาร์ทโฟนรับสื่อ บริโภคข่าวสารในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่วนตัวแทนรับจองตั๋วโดยสารหรือทัวร์ ต้องการแรงงานลดลง เนื่องจากธุรกิจนี้ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยบริการออนไลน์
 
 
ก.แรงงานจัดทำแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพเตรียมแรงงานพร้อมสู่ตลาด
 
อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เผยถึงการที่กรมการจัดหางานได้จัดทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ IQ และ EQ เพื่อประมวลผลและศักยภาพของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน ผ่านระบบออนไลน์ รองรับการเตรียมความพร้อมของตลาดแรงงาน พบมีผู้ใช้บริการวัดบุคลิกภาพเพื่อเลือกการศึกษาต่อและอาชีพมากกว่า 4 แสนคน จากผู้ใช้บริการมากกว่า 1 ล้านคน
 
นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ให้เตรียมความพร้อมแก่กำลังแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้เปิดให้บริการระบบบริการด้านการส่งเสริมการมีงานทำ (VGNEW e-Services) ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยบันทึกการวางแผนอาชีพ และบริการทดสอบต่างๆ ได้แก่ การวัดบุคลิกภาพเพื่อการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพ การทดสอบ IQ และ EQ เพื่อตอบรับนโยบายของรัฐบาล
 
ทั้งนี้ จากเดิมที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีการแนะแนวการศึกษาและอาชีพก่อนสำเร็จการศึกษาตามกระบวนการแนะแนวกับทุกคนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) ครั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเตรียมความพร้อมรองรับตลาดแรงงาน
 
ทางกระทรวงแรงงานจึงได้จัดทำแบบทดสอบศักยภาพครบทุกขั้นตอนตั้งแต่ทดสอบไปจนถึงประมวล โดยให้บริการผ่านทางเว็บไซต์เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อย่างนักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน และยังเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ที่นำไปใช้ได้ง่ายขึ้น
 
อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวต่อว่า ระบบบริการด้านการส่งเสริมการมีงานทำจะช่วยให้ผู้ผ่านการทดสอบได้ทราบถึงบุคลิกภาพ และความถนัดของตนเอง โดยสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพในอนาคต ช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำอย่างมีความสุขและยั่งยืน รวมทั้งลดอัตราการว่างงานในอนาคต
 
โดยบริการดังกล่าวได้มีการเปิดใช้ระบบเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558-31 ธันวาคม 2559 และมีผู้ใช้บริการ 1,429,584 คน เป็นผู้ใช้บริการแบบวัดบุคลิกภาพเพื่อการศึกษาและเลือกอาชีพ 467,618 คน โดยแบ่งเป็นชาย 163,756 คน หญิง 303,834 คน จังหวัดและหน่วยงานที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขอนแก่น กองส่งเสริมการมีงานทำ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
 
นอกจากนี้ ปัจจุบันกรมการจัดหางานยังได้เพิ่มแบบสำรวจเพื่อนำข้อมูลของผู้ผ่านการทดสอบในระดับ ม.3 และ ม.6 มาวิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาต่อและการเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนด้านกำลังแรงงานต่อไป
 
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการระบบทดสอบสามารถทดสอบได้ทางเว็บไซต์ www.doe.go.th/VGNEWe-Services ระบบบริการด้านการส่งเสริมการมีงานทำ ของกรมการจัดหางาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
 
 
กรมจัดหางานพักชำระหนี้ 6 เดือนลูกหนี้เงินกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้าน
 
นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ประสบอุทกภัยใน 12 จังหวัดภาคใต้ คือ พัทลุง นราธิวาส ยะลา สงขลา ปัตตานี ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง กระบี่ และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจากข้อมูลของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่ามีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจำนวน 8,753 แห่ง และลูกจ้างได้รับผลกระทบจำนวน 127,018 คน โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช ซึ่งมีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นจำนวน 4,419 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวน 52,319 คน รองลงมาคือจังหวัดชุมพร มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นจำนวน 2,678 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวน 31,597 คน
 
ดังนั้นจากผลกระทบดังกล่าว พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานหามาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบอุกทกภัยเป็นการเร่งด่วน ซึ่งในส่วนของกรมการจัดหางานได้มีมาตรการพักชำระหนี้แก่ลูกหนี้เงินกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นระยะเวลา 6 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยในระหว่างการพักชำระหนี้ ซึ่งจากเดิมคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี โดยเบื้องต้นพบว่าผู้ประสบภัยในภาคใต้ส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านโดยมีกลุ่มผู้รับงานไปที่บ้านประสบปัญหา จำนวน 23 กลุ่ม
 
อนึ่ง กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 มีผลการดำเนินการปล่อยกู้ไปแล้ว จำนวน 303 กลุ่ม เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 27,261,000 บาท และในปี 2560 กองทุนฯได้ประมาณการปล่อยกู้ไว้จำนวน 50 กลุ่ม เป็นวงเงินที่สามารถปล่อยกู้ได้รวม 5,000,000 บาท ทั้งนี้ อาจมีการขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
 
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ผู้ประสบภัยที่ว่างงานและต้องการรับงานไปทำที่บ้านสามารถติดต่อและลงทะเบียนหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือโทรสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 สำหรับลูกจ้างที่ประสบภัยสอบถามข้อมูลการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายได้ที่ สายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
 
 
เด็กรุ่นใหม่ชอบฟรีแลนซ์! ซิสโก้ห่วงคนไอทีขาดตลาด หนุนสถานศึกษาปั้นแรงงาน
 
นางสาวแซนดี้ วอลช์ ผู้อำนวยการด้านการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม ซิสโก้ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า นอกจากการขยายธุรกิจและรายได้ ซิสโก้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1.การเร่งสร้างแรงงานคน 2.การพัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรม 3.การช่วยเหลือสังคม ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคลากรด้านไอทีของประเทศไทย และเสริมสร้างศักยภาพแก่บุคลากรได้
 
ในระยะเวลากว่า 18 ปีที่ผ่านมา ซิสโก้มีความร่วมมือกับพันธมิตรสถาบันการศึกษาในไทยกว่า 56 แห่ง ในโครงการซิสโก้ เน็ตเวิร์กกิ้ง อะคาเดมี่ เพื่ออบรมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสำหรับเตรียมความพร้อมสู่การเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมไอที&nbsp; ซึ่งสามารถผลิตบุคลากรไปแล้วกว่า 41,000 คน ควบคู่กับการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐอีกด้วย"
 
ทั้งนี้ ซิสโก้ยังได้เพิ่มเติมหลักสูตรในโครงการต่างๆ เพื่อเสริมศักยภาพบุคลากรในสายไอทีให้รองรับเทรนด์การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมถึงหลักสูตรอื่นๆ ให้มีความหลากหลาย อาทิ หลักสูตรลีนุกซ์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ IoT (Internet of Things) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนบุคลากรในสายงานไอทีอีก 30,000 คน ภายใน 5 ปีจากนี้
 
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆ ในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนที่มีการปรับใช้หลักสูตรใหม่เกี่ยวกับ IoT โดยปัจจุบันมีนักศึกษาราว 120 คน ที่จบหลักสูตรความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ IoT ขณะเดียวกันซิสโก้ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดหลักสูตรด้าน IoT ในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้
 
อย่างไรก็ตาม ซิสโก้วางแผนขยายหลักสูตรในการอบรมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สายอาชีพด้านไอทีมากกว่าการขยายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา เนื่องจากต้องการให้หลักสูตรต่างๆ มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ก็มีการสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนบุคลากรผู้หญิงในอุตสาหกรรมไอทีให้มากขึ้นด้วย
 
"ความร่วมมือระหว่างซิสโก้และสถานศึกษานั้นยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาบุคลากรด้านไอที บริษัทอยากให้ภาครัฐ สถานศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ให้ความสนใจและร่วมกันสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง อาทิ สนับสนุนการลงทุน เพิ่มความเข้มข้นในหลักสูตรด้านไอที เป็นต้น เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีต่อทุกสายอาชีพ"
 
นายพิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ในปี 2559 งานด้านไอทีถือเป็นอาชีพที่มีการจ้างงานสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากงานขายและบัญชี โดยสายงานด้านวิศวกรซอฟต์แวร์และด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลถือเป็นสายงานที่มีความต้องการจ้างงานมากที่สุด แต่ปัจจุบันประเทศไทยกลับอยู่ในภาวะขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีและทักษะด้านดิจิตอล
 
"คนรุ่นใหม่มีค่านิยมประกอบอาชีพอิสระ ทำให้มีการเลือกเรียนในสายไอทีน้อยลง ประกอบกับหลักสูตรด้านไอทีในสถาบันการศึกษาหลายๆ แห่งยังไม่ได้มาตรฐาน โดยผลการสำรวจจาก TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย) ระบุว่าไทยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพไม่ได้เกิน 2,000 คนต่อปี ซึ่งอาจทำให้ทั่วโลกเกิดภาวะขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีราว 2 ล้านตำแหน่ง ภายในปี 2566 ตามที่ IDC คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าความร่วมมือระหว่างสถาบันฯ กับซิสโก้ จะสามารถเพิ่มโอกาสเข้าสู่สายอาชีพในอุตสาหกรรมไอทีแก่นักศึกษาที่ผ่านโครงการและหลักสูตรดังกล่าวได้เป็นอย่างดี"
 
 
ส.อ.ท.-นิด้าโพล เผยผล CEO Survey มองแนวโน้มศก.-ทิศทางภาคอุตฯ ปี 60 ยังทรงตัว ชี้เอกชนยังขาดความเชื่อมั่น
 
นายกำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2560 จากผู้บริหารระดับสูง (CEO Survey) ส่วนใหญ่ 48.98% ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ยังอยู่ในภาวะทรงตัว รองลงมา 34.69% เชื่อว่ามีแนวโน้มขยายตัว ส่วนที่เหลืออีก 16.33% เชื่อว่าหดตัว
 
ในจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่เชื่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะขยายตัวนั้น ส่วนใหญ่ 70.59% ระบุว่าจะขยายตัว 1-5% ตามด้วย 5.88% ระบุว่าจะขยายตัว 6-10%, 5.88% ระบุว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และอีก 17.65% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงที่เชื่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะหดตัวนั้น ส่วนใหญ่ 37.50% ระบุว่าจะหดตัว 1-10% ตามด้วย 25.00% ระบุว่าจะหดตัว 11-20%, 12.50% ระบุว่าจะหดตัวมากกว่า 20% ขึ้นไป และอีก 25.00% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
 
ขณะที่การคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมในปี 2560 นั้น ส่วนใหญ่ 46.94% คาดว่าจะทรงตัว รองลงมา 30.61% คาดว่าจะขยายตัว ส่วนที่เหลืออีก 22.45% คาดว่าหดตัว
 
ในจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่คาดการณ์แนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมในปี 2560 จะขยายตัวนั้น ส่วนใหญ่ 66.67% ระบุว่าจะขยายตัว 1-5% ตามด้วย 13.33% ระบุว่าจะขยายตัว 6-10%, 13.33% ระบุว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และอีก 6.67% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงที่เชื่อของภาคอุตสาหกรรมในปี 2560 จะหดตัวนั้น ส่วนใหญ่ 45.45% ระบุว่าจะหดตัว 1-10% ตามด้วย 27.28% ระบุว่าจะหดตัว 11-20%, 9.09% ระบุว่าจะหดตัวมากกว่า 20% ขึ้นไป และอีก 18.18% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
 
สำหรับปัจจัยบวกที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2560 นั้น ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 57.14% ระบุว่าเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รองลงมา 51.02% ระบุว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ตามด้วย 38.78% ระบุว่าเป็นภาคการท่องเที่ยว, 30.61% ระบุว่าเป็นนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, 26.53% ระบุว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมือง, 20.41% ระบุว่าเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กำลังซื้อในประเทศดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และ 12.24% ระบุอื่นๆ ได้แก่ ภาคการส่งออกขยายตัว การลงทุนด้านภาคการเกษตร ราคาพืชผลทางการเกษตร และค่าแรงสูงขึ้น
 
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความกังวลในการดำเนินกิจการในปี 2560 ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 42.86% ระบุว่าเป็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รองลงมา 40.82% ระบุว่าเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความผัวผวนของตลาดเงินจากความไม่แน่นอนของนโยบายสหรัฐฯ และกระบวนการในการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร รวมถึงกำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามด้วย 34.69% ระบุว่าเป็นความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร, 32.65% ระบุว่าเป็นการขาดแคลนแรงงานฝีมือ, 30.61% ระบุว่าเป็นปัญหาสภาพคล่องของกิจการ, 24.49% ระบุว่าเป็นการขาดเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนานวัตกรรม, 22.45% ระบุว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมือง และ 18.37% ระบุอื่นๆ ได้แก่ นโยบายของภาครัฐ ปัจจัยการนำเข้าและส่งออก ต้นทุนการผลิต ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท และการก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0
 
โดยผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 91.84% ระบุว่ามีการวางแผนและมีแนวทางรับมือ ส่วนที่เหลือ 8.16% ระบุว่ายังไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนมากนักจากช่วงครึ่งหลังของปี 2559 และในจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่ระบุว่ามีการวางแผนและมีแนวทางรับมือนั้นส่วนใหญ่ 44.44% ระบุว่ามีการวางแผนปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต รองลงมา 37.78% ระบุว่ามีการพัฒนาศักยภาพแรงงาน ตามด้วย 28.89% ระบุว่ามีการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ, 26.67% ระบุว่าชะลอการลงทุน, 24.44% ระบุว่ามีการเจาะตลาด Niche Market, 20.00% ระบุว่ามีการเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา, 15.56% ระบุว่าเป็นการขยายการลงทุน, 11.11% ระบุว่ามีการขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ, 6.67% ระบุว่ามีการลดการจ้างงาน, 2.22% ระบุว่าเพิ่มการจ้างงาน และ 15.56% ระบุอื่นๆ ได้แก่ การปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจโลก การลดต้นทุนการผลิต การหาหุ้นส่วนเพิ่มเติม
 
สาเหตุการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ขยายตัวได้มากเท่าที่ควรนั้น ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 64.58% ระบุว่าขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ รองลงมา 45.83% ระบุว่าขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ตามด้วย 39.58% ระบุว่าภาคการส่งออกหดตัวต่อเนื่อง, 29.17% ระบุว่าสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน นโยบายกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุนยังไม่เอื้ออำนวยเพียงพอ, 22.92% ระบุว่าภาคเอกชนยังมีกำลังการผลิตเพลือค่อนข้างมาก และ 18.75% ระบุอื่นๆ ได้แก่ กำลังซื้อในประเทศ สถาบันการเงินไม่ตอบสนองเรื่องการลงทุนของเอกชน, สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ
 
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้การลงทุนภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1.รัฐบาลควรพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และก้าวเข้าสู่ Industries 4.0 2.หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจากภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ความยืดหยุ่นของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาสำหรับผู้ประกอบการ 3.รัฐบาลควรเร่งพัฒนาวางระบบโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม
 
สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2560 ผู้บริหารส่วนใหญ่ 71.43% ระบุว่า ภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ รองลงมา 48.98% ระบุว่า ภาครัฐควรเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ตามด้วย 40.82% ระบุว่า ภาครัฐควรสนับสนุนการขยายตลาดเข้าสู่หัวเมืองรองในกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อขยายฐานลูกค้าและกระจายสินค้าให้มากขึ้น, 32.65% ระบุว่า ภาครัฐควรเร่งเจรจาการค้ากับประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อขยายตลาด ลดอุปสรรคทางการค้าและมาตรการกีดกันสินค้าที่มิใช่ภาษี และเพิ่มช่องทางการส่งออก, 30.61% ระบุว่า ภาครัฐควรพัฒนาการค้าและการขนส่งชายแดนและผ่านแดนเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าตามแนวชายแดน และ 24.49% ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางตลาดใหม่ๆ, การคงอัตราค่าแรงขั้นต่ำ, การปรับปรุงกฎหมายที่ซ้ำซ้อน, การสนับสนุนนโยบายจากภาครัฐ, การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและภาคเอกชน, และการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs
 
ด้านความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลก ภายหลังจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คนที่ 45 ของสหรัฐฯ พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ 40.82% ระบุว่าจะทรงตัว รองลงมา 22.45% ระบุว่าจะขยายตัว 26.53% ระบุว่าจะหดตัว ส่วนที่เหลืออีก 10.20% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่าทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวนั้น 45.45% ระบุว่าจะขยายตัว 1-5%, 9.09% ระบุว่า ขยายตัว 6-10%, 18.18% ระบุว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และ 27.28% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจว่าจะขยายตัวเท่าใด ส่วนผู้ที่ระบุว่าทิศทางภาวะเศรษฐกิจโลกจะหดตัวนั้น 30.77% ระบุว่า หดตัว 1-10%, 23.08% ระบุว่าจะหดตัว 11-20% และ 46.15% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจว่าจะหดตัวเท่าใด
 
สำหรับความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทย พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 63.04% ระบุว่า เป็นนโยบายการกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้านำเข้าจากจีน และเม็กซิโก ที่จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและปริมาณการค้าโลก รองลงมา 50.00% ระบุว่า เป็นการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนเป็นร้อยละ 45 และดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับไปผลิตในสหรัฐฯ เพื่อสร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ ให้เพิ่มขึ้น จะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย, 34.78% ระบุว่า เป็นการสนับสนุนกฎหมายเพื่อลดการจ้างงานแรงงานผิดกฎหมาย และผลักดันแรงงานผิดกฎหมายกว่า 11 ล้านคน ออกนอกประเทศ หากนโยบายดังกล่าวมีการนำมาใช้จริงอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวได้ ขณะที่ 2.17% ระบุว่า ไม่มีความกังวลต่อนโยบายใดๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์
 
ด้านผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยจากนโยบายเรื่องการค้าที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะกีดกันการค้าจากจีน พบว่า 48.98% ระบุว่า ส่งผลปานกลาง, 22.45% ระบุว่า ส่งผลมาก, 18.37% ระบุว่า ส่งผลน้อย, 4.08% ระบุว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากที่สุด, 4.08% ระบุว่า ส่งผลน้อยที่สุด และ 2.04% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
 
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2560 ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการต้องเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ของโลก โดยเฉพาะ Thailand 4.0 ที่จะทำให้ผู้ประกอบการตื่นตัวมากขึ้น 2.ส่งเสริมการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน 3.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น รวมทั้งมีมาตรการที่เกี่ยวกับการลดภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุนให้กับภาคเอกชน 4.เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในปี 2560 รวมทั้ง การเบิกจ่ายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจระดับจังหวัดวงเงิน 1 แสนล้านบาท ตามนโยบายประชารัฐสร้างไทยของภาครัฐ และ 5.ต้องการให้วิเคราะห์และหาทางแก้ไขอุปสรรคที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การออกสิทธิบัตร อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล การควบคุมคุณภาพสินค้านำเข้า การส่งเสริมอุตสาหกรรม Automation
 
"ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนมุมมองของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง 2 ครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดหวังว่าผลสำรวจนี้จะถูกนำไปใช้เทียบเคียงกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ถ้าทุกอย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกันก็จะเป็นการคอนเฟิร์มว่าทุกคนมีความมั่นใจมากขึ้น"
 
นายกำพล กล่าวว่า นิด้าโพลจะพยายามทำผลสำรวจความคิดเห็นให้หลากหลายมากขึ้นจากเดิมที่เน้นสำรวจความคิดเห็นด้านการเมือง ซึ่งความร่วมมือกับ ส.อ.ท.ในครั้งนี้จะมีระยะเวลา 3 ปี โดยหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่จะสะท้อนความต้องการของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ภาครัฐสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้
 
"เรายังพร้อมจะร่วมมือกับส.อ.ท.ทำการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นที่เป็นผลกระทบต่างๆ เช่น ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่มีต่อเศรษฐกิจ รวมถึงในอนาคตอาจจะมีการสำรวจความคิดเห็นเป็นภาคอุตสาหกรรมด้วย"
 
 
ประกันสังคม แจงผู้ป่วยมะเร็งฯรับการรักษาแล้ว รพ.เดิมช่วยเหลือทั้งหมด
 
เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 60 นางลักขณา บุญสนอง รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ดังนี้
 
1. ผู้ประกันตนชื่อ นายนพพร บุญสุข อายุ 55 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ด้วย Case CA Head of pancreas C liver metastasis แต่โรงพยาบาลศิครินทร์ ไม่สามารถรักษาได้ จึงส่งผู้ประกันตนไปรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติทั้งหมด 12 ครั้ง โดยให้คีโม 12 เข็ม (วันที่ 30 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2559)
 
2. เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2559 โรงพยาบาลศิครินทร์ได้ให้การรักษาผู้ประกันตน เนื่องจากมีความพร้อมในการรักษา โดยให้คีโมเข็มที่ 13 แต่ผู้ประกันตนมีอาการทรุด มีโรคแทรกซ้อน เป็นลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ปวดท้อง
 
3. เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 เวลา 16.00 น. ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาด้วยอาการปวดท้องรุนแรง ท้องเสีย พบแพทย์อายุรกรรม แจ้งว่าอาการปกติ กลับบ้านได้ และให้กลับมาพบแพทย์เฉพาะทางอีกครั้งในวันที่ 11 มกราคม 2560 บุตรสาวจึงขอประวัติการรักษาของผู้ประกันตน เพื่อจะไปรักษาที่สถาบันมะเร็ง แต่โรงพยาบาลศิครินทร์ไม่ดำเนินการให้ ซึ่งแพทย์ได้ตรวจเลือด อุจจาระ และเอกซเรย์ปอด ผลปรากฏว่าเกล็ดเลือดปกติ อุจจาระไม่พบการติดเชื้อ ไม่มีไข้สูงหรืออาการอ่อนเพลีย ไม่มีอาการเกี่ยวกับฐานของโรคมะเร็ง จึงไม่ได้ให้แอดมิท
 
4. บุตรสาวผู้ประกันตนแจ้งว่า ได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลศิครินทร์ ว่าผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลฯ ได้ โดยจะดูแลเป็นอย่างดี และได้ออกหนังสือส่งตัวให้ผู้ประกันตนไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2560 และหากผู้ประกันตนไปรักษาที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลศิครินทร์ จะไม่รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติไม่เข้าร่วมโครงการ ในปี 2560
 
5. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมประสานโรงพยาบาลศิครินทร์ ได้รับแจ้งว่า ผู้ประกันตนจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยโรงพยาบาลศิครินทร์ รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลให้ทั้งหมด
 
 
รมว.แรงงาน ไม่ปลื้มพิสูจน์ 3 สัญชาติ 1.3 ล้านคนล่าช้า จี้กกจ.เร่งแก้ไข หวั่นต้องนำเข้าแรงงานทดแทน
 
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าในการประชุมกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2560 พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามผลการดำเนินงานของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวมทั้ง เรื่องบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ได้กำหนดกรอบระยะเวลาของกระบวนการต่างๆ กับประเทศต้นทาง ไว้ร่วมกัน เพื่อให้การเดินทางเข้ามาทำงานของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
 
"ซึ่งพบว่า กระบวนการตรวจสัญชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการของประเทศต้นทางที่ตรวจพิสูจน์สัญชาติแรงงานของตน มีความล่าช้ามาตั้งแต่ ปี 2557 จึงรู้สึกไม่พอใจต่อการดำเนินการในส่วนนี้และให้กรมการจัดหางานเร่งรัดประสานการตรวจพิสูจน์สัญชาติกับประเทศเพื่อนบ้านโดยด่วน หากพ้นระยะเวลาผ่อนผันให้ทำงานแล้วยังไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จจะต้องนำแรงงานจากแหล่งอื่นเข้ามาทดแทน"โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าว
 
โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ แรงงานที่จะต้องเข้ารับการตรวจสัญชาติ มีอยู่ประมาณ 1.3 ล้านคน ได้แก่ แรงงานที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 29 กรกฎาคม 2559 จำนวน 1.2 ล้านคน ซึ่งระยะเวลาการผ่อนผันจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2561 และแรงงานในกิจการประมงทะเลแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำอีกประมาณ 1 แสนคน ซึ่งระยะเวลาการผ่อนผันจะสิ้นสุดในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ 
 
1. เมียนมา ทางการเมียนมาแจ้งว่าจะเข้ามาตรวจสัญชาติโดยออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity)ให้กับแรงงานที่ไปตรวจสัญชาติทุกคน ซึ่งจะตั้งศูนย์ตรวจสัญชาติในอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร 2 แห่ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 1 แห่ง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จังหวัดละ1 แห่ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity)จำนวน 400 บาท ซึ่งจะได้รับเอกสารรับรองบุคคลภายใน 1 วัน และสามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ที่Counter Serviceคิดค่าบริการ 10 บาท ทั้งนี้ กำหนดวันเริ่มดำเนินการเมื่อมีความชัดเจนจากทางการเมียนมาเมื่อใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป
 
2.กัมพูชา ทางการกัมพูชาเข้ามามอบหนังสือเดินทาง (Passport)หรือเอกสารเดินทางคนงานกัมพูชา (Travel Document)ให้กับแรงงานที่ตรวจสัญชาติไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับหนังสือเดินทางหรือเอกสารใดๆ โดยแรงงานจะต้องเข้าตรวจสอบรายชื่อในเว็บไซด์ และส่งข้อมูลให้ทางการกัมพูชาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – mail)หรือทางไปรษณีย์ไปยังสถานทูตกัมพูชา หลังจากนั้นทางการกัมพูชาจะแจ้งวัน เวลา ให้มารับหนังสือเดินทางภายใน 14 วันทำการ ค่าธรรมเนียม 950 บาท ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 สำหรับการตรวจสัญชาติจะเริ่มดำเนินการเมื่อมอบหนังสือเดินทางฯ ให้กับแรงงานจำนวนหนึ่งแล้ว
 
3. ลาว อยู่ระหว่างประสานการดำเนินการ อนึ่ง หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1694
 
 
กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของ สพฐ. ในเดือนมกราคม 2560 จำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 15,619 ล้านบาท
 
นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำจากกรมบัญชีกลางเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เริ่มเดือนมกราคม 2560 เป็นเดือนแรก จำนวน 420,125 ราย รวมเป็นเงินกว่า 15,619 ล้านบาท
 
ทั้งนี้โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 โดยเริ่มจากส่วนราชการที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการก่อน จนถึงปัจจุบันมีส่วนราชการเข้าร่วมแล้ว 224 ส่วนราชการ ซึ่ง สพฐ. เป็นหน่วยงานสุดท้ายที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้ นอกจากนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 ให้ส่วนราชการผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน (เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ) ดังนั้น ในกรณีนี้จึงดำเนินการหักภาษีไว้ เช่นเดียวกับส่วนราชการอื่นที่เข้าร่วมโครงการมาก่อนหน้านี้
 
โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ ที่ดำเนินการในส่วนของ สพฐ.จะทำให้บุคลากรของ สพฐ. ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตรงตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนดทุกเดือน ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ลดค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารขอเบิก และการโอนเงินและทำให้มีฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐเต็มรูปแบบเพื่อใช้ในการบริหารบุคลากรและงบประมาณได้
 
สำหรับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนราชการแต่ละแห่งจะจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้ข้าราชการ ลูกจ้าง ผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญโดยตรง นอกจากนี้กรมบัญชีกลางได้เพิ่มช่องทางการให้บริการของผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ โดยสามารถเข้าไปที่ www.cgd.go.th ในหัวข้อบำเหน็จบำนาญ/บำเหน็จค้ำประกัน ซึ่งผู้รับบำนาญที่ยังไม่เคยลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเงินด้วยตนเองผ่านระบบ E-Filing สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป และพิมพ์หนังสือรับรองดังกล่าว ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป
 
"กรมบัญชีกลาง ในฐานะหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินและของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปอย่างถูกต้อง มีวินัย คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยความสำเร็จของโครงการนี้ เกิดจากรัฐบาลและกระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะผลักดันการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เงินสดตามโครงการ National e-Payment เพื่อลดการใช้ธนบัตรและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ด้วยการใช้ระบบ e-Payment เพื่อเป็นกลไกสำคัญของการทำธุรกรรมทางการเงินในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากเลขาธิการ สพฐ." นางสาวอรนุช กล่าว
 
 
ปลัดสธ. ลงนามประกาศกระทรวงฯจ่ายค่าตอบแทนสหวิชาชีพ 10 สาขา กลุ่ม ‘รพช.-รพ.สต.’
 
เมื่อวันที่ 19 มกราคม นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 17มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ตนได้ลงนามในหนังสือถึงอธิบดีกรมทุกกรม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ตรวจราชการ สธ. สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้ช่วยผู้ตรวจฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผอ.รพ.ทุกระดับ และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดสธ. รวมทั้งนิติกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ทุกแห่ง ให้รับทราบถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องรายชื่อสาขาวิชาชีพและรายชื่อสายงานที่สามารถรับค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ โดยเพิ่มสายงานสหสาขาวิชาชีพ อย่างกลุ่มนักวิชาการสาธารณสุข เพิ่มเติมล่าสุดรวมเป็น10 สาขา เพื่อให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติงานมากขึ้น
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประกาศดังกล่าวได้กำหนดรายชื่อสาขาวิชาชีพที่สามารถเบิกค่าตอบแทนในอัตราสหวิชาชีพ ประกอบด้วย 10 สาขา คือ 1.นักกายภาพบำบัด 2.นักเทคนิคการแพทย์ 3.แพทย์แผนไทย 4.นักวิชาการสาธารณสุข 5.นักกิจกรรมบำบัด 6.นักรังสีการแพทย์ 7.นักจิตวิทยาคลินิก 8.นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย 9.นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก และ10. นักกายอุปกรณ์ โดยประกาศดังกล่าวได้เพิ่มสหวิชาชีพขึ้นมาใหม่อีก 3 สาขา คือ นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย และนักกายอุปกรณ์
 
อนึ่ง สำหรับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ11 และ 12) ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประเด็น คือ 1.ใช้หลักเกณฑ์พื้นที่ 6 ระดับ เหมือนกันทุกวิชาชีพ 2.ใช้หลักเกณฑ์อายุราชการ 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ปีที่ 1-3 ปีที่ 4-10 ปีที่ 11 ขึ้นไป เหมือนกันทุกวิชาชีพ 3.เพิ่มกลุ่มสายงานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและคุ้มครองผู้บริโภค 4.ช่องว่างค่าตอบแทนระหว่างวิชาชีพลดลง
 
โดยสหสาขาวิชาชีพ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้ ในพื้นที่ชุมชนเมือง หากทำงานปีที่1-ปีที่ 3 ได้ 2,000 บาทต่อเดือน หากทำงานปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,600 บาท ทำงานปีที่ 11 ขึ้นไป ได้2,800 บาท แต่หากทำงานพื้นที่ปกติซึ่งแบ่งเป็นพื้นที่ 2.3 ภาระงานปานกลาง ปีที่ 1-ปีที่ 3 ได้2,000 บาท ปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,600 บาท และปีที่ 11 ขึ้นไป ได้ 2,800 บาท พื้นที่ 2.2 ภาระงานมาก ปีที่ 1-ปีที่ 3 ได้ 2,200 บาท ปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,800 บาท ปีที่ 11 ขึ้นไป ได้ 3,000 บาท พื้นที่ระดับ 2.1 ภาระงานหนักมาก ปีที่ 1-ปีที่ 3 ได้ 2,200 บาท ปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,800 บาท ปีที่ 11 ขึ้นไปได้ 3,000 บาท ส่วนพื้นที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดาร กรณีทุรกันดารมาก อยู่ตามเกาะ หรืออยู่ตามชายแดน หากทำงานปีที่ 11 ขึ้นไป ได้ 4,500 บาท เป็นต้น
 
 
สมาคมธนาคารไทยจับมือ “กาชาด – มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม” ครั้งแรก! จ้างงาน-สร้างอาชีพคนพิการครั้งใหญ่ 900 อัตรา 76 จังหวัดทั่วประเทศ
 
สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือ สภากาชาดไทยและมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมตั้ง "โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" ประเดิมจ้างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการครั้งแรก และครั้งใหญ่ 900 อัตรา กระจาย 76 จังหวัดทั่วประเทศ มุ่งส่งเสริม-พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้ทำงานเหมาะสม ใกล้บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
 
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า "โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมธนาคารไทย สภากาชาดไทย และมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมครั้งแรกซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากภาครัฐทั้งกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้มีงานทำ และได้ทำงานในชุมชนที่อาศัยอยู่ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
 
"สมาชิกของสมาคมธนาคารไทยซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 14 สถาบัน ส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม มาตรา 34 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ด้วยการส่งเงินสมทบกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นจำนวน 109;500 บาท/คน/ปี เนื่องจากติดข้อจำกัดที่ไม่สามารถจ้างงานคนพิการในอัตราร้อยละ 1 ของจำนวนพนักงานขององค์กร ตามข้อกำหนดในมาตรา 33 ได้ ด้วยสาเหตุบางประการ เช่น จัดหาคนพิการในพื้นที่มาทำงานตรงตามพื้นที่นั้นๆ ไม่ได้ และบางครั้งตำแหน่งงานไม่เหมาะกับคุณสมบัติของคนพิการ ส่งผลให้ยอดสะสมในกองทุนฯ เพิ่มขึ้นทุกปี ทางสมาคมฯ จึงมองหาความเป็นไปได้ที่จะนำเงินซึ่งใช้สมทบทุกๆ ปี มาสร้างประโยชน์ให้กับคนพิการโดยตรง ด้วยการสร้างโอกาส งานและอาชีพ ที่เหมาะสมกับความสามารถ ซึ่งมาตรา 35 เปิดโอกาสให้มีการจัดจ้างเหมางานให้คนพิการไปทำงานในสถานประกอบการอื่นได้โดยรวมถึงองค์กร สาธารณกุศลเพื่อสังคม ประกอบกับสมาคมฯ ได้พันธมิตรอย่างสภากาชาดไทยกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมเข้าร่วมแสดงความจำนงครั้งนี้อย่างลงตัว ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 14 สถาบันภายใต้สมาคมธนาคารไทยลงมติเป็นทิศทางเดียวกันที่จะสนับสนุนการจ้างงานและสร้างอาชีพแก่คนพิการประมาณ 900 คน เพื่อให้คนพิการได้ทำงานตรงตามความถนัด และสามารถเลี้ยงดูตนเองได้และยังสามารถทำงานในหน่วยงานที่สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติอีกทางหนึ่งด้วย" นายปรีดีกล่าว
 
ด้าน คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิก สภากาชาดไทย กล่าวว่า สภากาชาดไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ โดยมุ่งหวังว่าการเปิดโอกาสให้คนพิการเข้ามาทำงานกับสภากาชาดไทยซึ่งเป็นองค์กรที่มีเกียรติ มีชื่อเสียง และเป็นองค์กรที่ทำคุณประโยชน์เพื่อสังคม จะเสริมสร้างความภูมิใจ และการมีส่วนร่วมในสังคมให้กับคนพิการ โดยจำนวนคนพิการที่สภากาชาดไทยจะรับเข้าทำงานตามโครงการนี้มีทั้งสิ้น 676 คน (จากจำนวนประมาณ 900 คน) โดยจะเข้าไปช่วยทำงานในสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัด 76 แห่งในทุกจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภออีก 240 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ของสภากาชาดไทยซึ่งจัดสรรไปตามภูมิลำเนาของผู้พิการ
 
นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย กล่าวว่า การทำประโยชน์เพื่อคนพิการถือเป็นพันธกิจของสภากาชาดไทยประการหนึ่ง โดยในส่วนของการทำงานกับโครงการฯ สภากาชาดไทยได้ร่วมศึกษาและออกแบบโครงการจ้างเหมางานคนพิการกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ตลอดจนกำหนดคุณสมบัติ เสาะหา และคัดเลือกคนพิการที่เหมาะสม จัดสรรตำแหน่งงาน รวมถึงจัดหาวิทยากรและการอบรมที่จำเป็นให้ด้วย อาทิ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ และเสริมสร้างทัศนคติเพื่อให้การทำงานในสำนักงานของคนพิการเป็นไปอย่างราบรื่น
 
นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ในส่วนของคนพิการที่ไม่ได้ทำงานกับสภากาชาดไทย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้ประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ในเครือข่าย อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังมีการส่งเสริมอาชีพอิสระด้วย นับเป็นขวัญและกำลังใจสำคัญที่ทำให้คนพิการรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ทำงาน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ อีกทั้งยังคงได้รับการพัฒนาทักษะด้านอาชีพเพื่อตรงตามความต้องการในสายอาชีพนั้นๆ ต่อไปด้วย
 
"โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นับเป็นปรากฏการณ์การจ้างงานคนพิการจากกลุ่มธุรกิจเดียว ที่มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมานับแต่พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้และยังเป็นการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย และหน่วยงานกาชาดทั่วโลกที่มีจำนวนมากที่สุดในครั้งเดียวด้วย นอกจากนี้รูปแบบความร่วมมือดังกล่าวยังเป็นการสร้างตัวอย่างความร่วมมือในการจ้างเหมางานคนพิการตามมาตรา 35 ที่ภาคธุรกิจและหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบได้ ซึ่งตอนนี้การส่งเสริมคนพิการให้มีอาชีพ มีงานทำได้ถูกยกระดับไปเป็นเป้าหมายของคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม ส่งผลให้มีการขยายเวลาดำเนินงานตามมาตรา 35 ไปจนถึง 31 มี.ค. 2560 นับเป็นข่าวดีที่หน่วยงานเอกชนต่างๆ ที่ยังส่งเงินเข้ากองทุน ได้มีทางเลือกในการจ้างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการ โดยหน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม" นายอภิชาติ กล่าว
 
 
สวทน. ดันโครงการโรงเรียนในโรงงาน บุกเหนือและอีสาน ปั้นเด็กเก่งป้อน หลังพบภาคอุตสาหกรรม – บริษัทยักษ์ใหญ่ขอรับส่งเสริมลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจกว่า 20,000 ล้านบาท
 
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า สวทน. เป็นหน่วยงานที่ริเริ่มโครงการบูรณาการการเรียนกับการทำงาน “วิล” (Work-integrated Learning :WiL) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษา ซึ่ง สวทน. ได้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา รับสมัครนักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญ จากโรงเรียนในชนบทมาเข้าโครงการ ซึ่งเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากจะได้เรียนจนสำเร็จวุฒิการศึกษาเหมือนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วไปแล้ว ระหว่างที่เรียนยังจะได้รับประสบการณ์จริง จากการทำงานในสายการผลิตของภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ มีการนำเอาความรู้จากงานที่ทำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และยังได้รับค่าแรงเป็นรายได้ระหว่างเรียนอีกด้วย
 
เลขาธิการฯ สวทน. กล่าวต่อว่า โครงการวิลจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 แล้ว โดยในปีนี้มีบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้ง บริษัทโซนี่ ที่ต้องการกำลังคนที่มีความรู้ด้านอิเล็คทรอนิกส์ บริษัทมิชลิน และบริษัทกู๊ดเยียร์ ผู้ผลิตยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่ต้องการกำลังคนทางด้านเทคนิคและเทคโนโลยี รวมถึงบริษัทชินเอทสึ บริษัทผู้ผลิตซิลิโคนชั้นนำจากญี่ปุ่น ก็มาเข้าร่วมโครงการกับเราด้วย ทั้งนี้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการวิล จะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์จากนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบคลัสเตอร์ ในการขอรับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษี ซึ่งเป็นคลัสเตอร์สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยในปีนี้ บริษัทมิชลิน, กู๊ดเยียร์ และ บริษัทชินเอทสึ ได้เข้าร่วมขอรับสิทธิ์ดังกล่าวกับทาง สวทน. ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน มากถึง 20,986 ล้านบาท
 
สำหรับปีนี้โครงการวิล ได้เปิดรับสมัครเด็กที่ต้องการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยเริ่มจากภาคเหนือ แล้วขยายมายังภาคอีสาน ซึ่งทาง สวทน. และภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการได้ลงพื้นที่ ร่วมกันเฟ้นหาเด็กซึ่งมีความรู้ความสามารถ เหมาะที่จะเข้าร่วมโครงการ ผ่านการสอบข้อเขียน การสอบปฏิบัติและการสอบสัมภาษณ์ โดยมีเป้าหมายว่าในปี 2560 นี้ จะมีเด็กเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นประมาณ 300 คน
 
ทั้งนี้พบว่าปัจจุบัน ความต้องการกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยมีสูงมาก แต่เด็กที่เรียนจบและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องดังกล่าว ยังมีไม่เพียงพอที่จะป้อนสู่สายการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โครงการนี้จึงเข้ามาตอบโจทย์ ในเรื่องการพัฒนากำลังคน ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยให้เด็กในชนบทซึ่งเรียนดีแต่ยากจน ได้มีโอกาสเรียนและทำงานไปด้วยในเวลาเดียวกัน ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็ได้กำลังคนที่เชี่ยวชาญและทำงานได้จริง อีกทั้งยังขอรับสิทธิประโยชน์ จากนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบคลัสเตอร์ได้อีกด้วย ดร.กิติพงค์ กล่าวทิ้งท้าย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ทรัมป์' ทำอะไรไปแล้วบ้าง หลังเข้าสาบานตนเป็นผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่

$
0
0
บีบีซีไทย ประมวลการเริ่มงานของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' หลังสาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อคืน 20 ม.ค. ที่ผ่านมา 

 
21 ม.ค. 2560 บีบีซีไทยรายงานว่าหลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 45 สาบานตนเข้ารับตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อคืนนี้ (20 ม.ค.) มีการเริ่มงานในฐานะประธานาธิบดีคนใหม่ในทันที โดยเขาลงนามในรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่เสนอส่งไปยังวุฒิสภา และลงนามในคำประกาศให้มี "วันแห่งความรักชาติ" ซึ่งกำหนดให้เป็นวันหยุดของทั้งประเทศโดยจะมีขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าวันดังกล่าวจะมีขึ้นเมื่อใด
 
นายทรัมป์ยังลงนามในคำสั่งแรกในฐานะผู้นำฝ่ายบริหาร สั่งการให้องค์กรต่าง ๆ ของรัฐบาลกลาง ลดและผ่อนปรนภาระในการกำกับควบคุมการดำเนินการตามกฎหมายประกันสุขภาพของอดีตประธานาธิบดีโอบามา หรือที่เรียกกันว่าโอบามาแคร์ ในระหว่างที่รัฐสภากำลังพิจารณาหาทางยุบเลิกกฎหมายดังกล่าว และเปลี่ยนมาใช้กฎหมายฉบับใหม่
 
นอกจากนี้ นายทรัมป์ยังลงนามใช้ข้อยกเว้นทางกฎหมาย เพื่อเปิดทางให้พลเอก เจมส์ แมตทิส ฉายา "หมาบ้า" อดีตผู้บัญชาการนาวิกโยธินสหรัฐฯซึ่งเกษียณอายุแล้ว เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ได้ โดยก่อนหน้านี้วุฒิสภาได้ลงคะแนนเสียงเห็นชอบอย่างท่วมท้นให้พลเอกจอห์น เคลลี่ เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิในรัฐบาลของทรัมป์แล้วเช่นกัน
 
อย่างไรก็ตาม นายทรัมป์ระบุว่าจะเริ่มงานในตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ โดยขณะนี้เว็บไซต์ของทำเนียบประธานาธิบดีสหรัฐฯได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยลบนโยบายในการทำงานของนายโอบามาออก และบรรจุประเด็นสำคัญในการทำงานของนายทรัมป์ลงไปแทน 6 เรื่อง คือนโยบายด้านพลังงาน การต่างประเทศ การจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การทหาร การบังคับใช้กฎหมาย และข้อตกลงทางการค้า ซึ่งมีผู้วิจารณ์ว่ายังขาดนโยบายในเรื่องสิทธิพลเมือง การประกันสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก
 
ก่อนหน้านี้ในระหว่างการทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของนายทรัมป์ ได้มีกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านนายทรัมป์ก่อเหตุวุ่นวายขึ้นหลายแห่งทั้งในกรุงวอชิงตันและที่เมืองอื่น ๆ ทั่วสหรัฐ โดยมีการทุบทำลายร้านค้าและจุดไฟเผารถยนต์ อย่างไรก็ตาม นายทรัมป์ได้กล่าวในสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งว่า จะทำให้ประเทศเป็นหนึ่งเดียว และการเข่นฆ่านองเลือดของอเมริกาจะต้องยุติลงที่นี่ เดี๋ยวนี้ ซึ่งเป็นการกล่าวเช่นนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์การสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความสุข การศึกษา และมหาชน

$
0
0


จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill, 1806-73) 

การปฏิรูปการศึกษากับความสุขของมหาชนไม่ใช่ประเด็นใหม่แต่อย่างใด จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill, 1806-73) นักปรัชญา นักทฤษฎีรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเมือง และเรียกร้องสิทธิสตรีเป็นคนแรกๆ วิเคราะห์ประเด็นนี้ มิลล์เป็นนักปรัชญาที่ได้รับการยกย่องสูงมาก มีความใกล้ชิดกับเจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham, 1748-1832) ผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดประโยชน์นิยม (Utilitarianism) เขาได้รับการศึกษาอย่างดีตั้งแต่เด็ก ช่วงชีวิตหนึ่งต้องเผชิญภาวะจิตหดหู่ ผลงานชิ้นสำคัญคือ ว่าด้วยเสรีภาพ (On Liberty) และ ประโยชน์นิยม (Utilitarianism)

ในทางญาณวิทยา มิลล์เป็นนักประสบการณ์นิยม ซึ่งถือว่าสิ่งที่จริงต้องพิสูจน์ได้ในเชิงประจักษ์ เขาไปไกลถึงขั้นว่าแม้แต่ตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์ก็เกิดจากการอนุมานจากประสบการณ์ ผลงานที่ชื่อระบบตรรกวิทยา (System of Logic) ของเขาก็ส่งอิทธิพลอย่างสูงในการศึกษาตรรกวิทยา แม้ว่าในช่วงหลังนักตรรกวิทยาหลายคนจะไม่เห็นด้วยก็ตาม อาทิ เฟรเกอ ฮุสเซิร์ล และนักคิดสายนีโอคานเทียน (Neo-Kantian)

มิลล์เสนอหลักประโยชน์นิยมที่ถือว่าสิ่งที่มนุษย์ปรารถนาคือสิ่งที่คนทั่วไปปรารถนากันจริงๆ ไม่ใช่ชีวิตที่ดีที่เป็นสากลและเป็นนามธรรม และความสุขบางอย่างสูงส่งกว่าความสุขบางอย่าง มิลล์ยกตัวอย่างความสุขของหมูย่อมไม่เท่ากับความสุขของคน หลักประโยชน์นิยมถือว่าความสุขจำนวนมากที่สุดสำหรับคนจำนวนมากที่สุด นอกจากนี้ มิลล์ยังเสนอหลักการแห่งเสรีภาพที่ถือว่าปัจเจกบุคคลมีเสรีภาพ ไม่ควรตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคนอื่นหรือสังคมอย่างเซื่องๆ หลักการสองอย่างนี้ปรากฏในแนวคิดทางการศึกษาของเขาด้วย

David E. Cooper เห็นว่า แนวคิดทางการศึกษาของมิลล์อาจจะแบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านแรกเรียกว่าปรัชญาการศึกษา มิลล์เห็นว่าเด็กมีความเห็นแก่ตัว หมายถึงมีความปรารถนาต่อสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวแบบผู้ใหญ่ที่คำนึงคำนวณประโยชน์ระยะยาว การศึกษาต้องมีหน้าที่ขัดเกลาให้เด็กคำนึงถึงความสุขของส่วนรวมด้วย มิลล์เห็นว่าจะต้องใช้การศึกษาและทัศนคติซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคลิกลักษณะของมนุษย์ เพื่อสร้างจิตใจของปัจเจกบุคคลเพื่อผสานระหว่างความสุขส่วนตัวกับสิ่งที่ดีสำหรับส่วนรวม อีกด้านหนึ่ง มิลล์ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดการศึกษา หรือการปฏิรูปการศึกษา มิลล์เห็นว่ารัฐต้องจัดหาการศึกษาที่ดีให้แก่เยาวชน มิเช่นนั้นจะถือเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม (moral crime) มิลล์ไปไกลถึงขั้นเสนอว่าควรให้สิทธิทางการศึกษาแก่สตรีจนถึงระดับมหาวิทยาลัยด้วย หากพิจารณาถึงเงื่อนไขในยุคสมัยของเขา นับว่าข้อเสนอนี้ล้ำหน้าอย่างมาก

ยิ่งกว่านั้น ประเด็นที่ยังเป็นข้อพิพาทกัน และไม่อาจหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้อย่างเช่นเรื่องศาสนาก็ไม่ควรมีการสอน เพราะจะเป็นการจำกัดความคิดเห็น เขากล่าวถึงขั้นว่า “ความพยายามทั้งหลายทั้งปวงของรัฐที่มีอคติเอนเอียงเกี่ยวกับข้อสรุปของพลเมืองที่มีต่อเรื่องที่ยังเป็นข้อพิพาทกันอยู่นั้น ถือว่าเป็นความชั่วร้าย” (On Liberty, p. 241.) อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของมิลล์ที่ดูจะค่อนไปทางอนุรักษนิยมก็มีอยู่ นั่นคือ เขาเสนอให้เด็กต้องเรียนภาษากรีกและละตินเพื่อพัฒนาสติปัญญา โดยสรุป มิลล์ถือว่ารัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาให้ประชาชน แต่ไม่ควรเข้ามากำกับการศึกษา เพื่อป้องกันการลำเอียงเข้าข้างทัศนะแบบใดแบบหนึ่ง

มิลล์เห็นว่าถึงที่สุดแล้วอุปสรรคสำคัญที่จะกีดกั้นไม่ให้เข้าถึงความสุขของคนทุกคนได้ก็คือระบบการศึกษาที่แย่และการจัดการสังคมที่เลว สิ่งที่น่าสังเกตคือมิลล์ไม่ได้พูดถึงหลักการมีชีวิตที่ดีสากลที่นามธรรม แต่หันมาพิจารณาความต้องการของคนจริงๆในการหาความสุข เลี่ยงความทุกข์

การจัดการศึกษาที่ดีคือการสอนให้เด็กเข้าใจความต้องการของตน และคำนึงถึงประโยชน์สุขของส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ประกันเสรีภาพของปัจเจกบุคคลด้วย แม้แต่ในเรื่องความเห็น

ย่อมไม่ใช่การชูศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือแนวคิดแบบใดแบบหนึ่งที่ยังเป็นข้อพิพาทกันอีก มาเป็นกรอบปฏิรูปการศึกษาเป็นแน่แท้

 


หมายเหตุ:อ่านเพิ่มเติมที่

Utilitarianism, On Liberty ed. By M. Warnock, London: Collins, 1962.

Fifty Major Thinkers on Education: From Confucius to Dewey, ed. By Joy A Palmer et al. London and New York: Routledge, 2001.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรื่องราวจากห้องพิจารณาคดี "ไผ่ ดาวดิน"

$
0
0

เมื่อวานนี้ (20 มค. 60) ผมกับเพื่อนทนายความไปที่ศาลจังหวัดขอนแก่นเพื่อว่าความให้กับ "ไผ่ ดาวดิน"

ไผ่ถูกกล่าวหาจากทหารว่า เขากระทำผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา กรณีนำบทความของบีบีซีไทยไปแสดงในเฟสบุ๊คของตัวเอง

เมื่อวานเป็นวันที่ศาลนัดไต่สวนคำร้องของตำรวจที่ขอขังไผ่ไว้ในคุกอีก 12 วัน หลังจากที่ขังมาแล้วตั้งแต่ 22 ธค. ปีที่แล้ว

เมื่อวานนี้มีประชาชนผู้สนใจเข้าฟังการพิจารณาคดีจนเต็มห้องพิจารณาคดีที่ 2 มีทั้งอาจารย์ นักศึกษา เพื่อนฝูง และญาติมิตรของไผ่จำนวนมาก

เมื่อถึงเวลาผู้พิพากษาสาวท่านหนึ่งได้ขึ้นบัลลังก์พร้อมกับประกาศว่าจะพิจารณาคดีนี้แบบลับ ๆ ไม่เปิดเผย และจะห้ามมิให้คนอื่น ๆ เข้าฟังนอกจากไผ่ พ่อแม่ไผ่ และทนายความ

ทุกคนในห้องพิจารณา (นอกจากผู้พิพากษาสาวท่านนั้น) ต่างตกตะลึง งุนงง และไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไม่ให้ประชาชนฟังการพิจารณาคดีนี้ (ว่ะ) หลังจากหายตกตะลึงแล้วผมและเพื่อนทนายความช่วยกันแถลงกับผู้พิพากษาท่านนั้นว่า วันนี้เป็นแค่การไต่สวนตำรวจว่าทำไมต้องขังไผ่ไว้อีก 12 วัน มีเหตุผลอย่างไร เพราะถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไผ่ไว้ ไผ่ก็จะได้ออกมาเรียนหนังสือตามปรกติ

นอกจากผมแล้ว ไผ่กับพ่อของไผ่ต่างลุกขึ้นชี้แจงแถลงว่า เขายอมรับการพิจารณาคดีในอำนาจของศาลแต่ต้องพิจารณาคดีโดยเปิดเผยต่อสาธารณชนเท่านั้น

ไผ่ถามถึงเหตุผลว่า ทำไมศาลจึงต้องสั่งให้พิจารณาคดีลับ ไม่ยอมให้ประชาชนเพื่อนฝูงและญาติมิตรของเขาเข้าฟังด้วย มันขัดต่อหลักกฎหมายมิใช่หรือ

เท่าที่ผมได้ยินการตอบโต้ระหว่างไผ่กับผู้พิพากษาสาวท่านนั้น ผมเองรับว่าไม่ได้ยินเหตุผลอะไรจากผู้พิพากษานอกจากระบุว่า คดีนี้เป็นคดีความมั่นคง

สุดท้ายหลังจากไปปรึกษาหารือ (กับใครก็ไม่รู้) ท่านผู้พิพากษาได้กลับมาและแจ้งยืนยันว่า ท่านตกลงยืนยันให้การพิจารณาคดีนี้เป็นการพิจารณาคดีลับ ขอให้ประชาชนญาติมิตรเพื่อนฝูงของไผ่ออกไปจากห้องพิจารณา ให้เหลือแต่ไผ่ พ่อ และทนายความ

ผมจำได้ว่า ทันทีที่ผู้พิพากษาสั่งเสร็จ ผมสบตากับไผ่สาบานได้ว่าผมเห็นแววตาที่ยิ้มเย้ยหยัน ผมยอมรับว่าในเวลานั้นผมละอายใจต่อไผ่และอับอายความเป็นจริงที่ผมมีส่วนยืนอยู่ในห้องพิจารณาคดีนี้

ผมจำได้ว่า ไผ่ยืนขึ้นและกล่าวกับผู้พิพากษาอย่างที่ผมเห็นว่า ทรนงองอาจอย่างยิ่งที่สุด ไผ่พูดด้วยเสียงราบเรียบอย่างอารมณ์ดีชนิดที่เป็นนิสัยของเขาว่า เมื่อท่านไม่ให้คนอื่นฟังการพิจารณาคดีนี้เขาก็ไม่ประสงค์ให้ทนายของเขาอยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วย เขาเชิญให้ทนายออกไปเขาจะว่าความต่อสู้เองเพราะเขาไม่เคยได้รับสิทธิอะไรอยู่แล้ว จึงขอสละสิทธิที่จะมีทนายความในวันนี้ด้วย

ผมมองไผ่และผู้พิพากษาที่สบตากันอยู่ ในวินาทีนั้นผมเห็นชัดว่า ใครเป็นผู้ต้องหาใครเป็นผู้พิพากษากันแน่

คนอื่น ๆ และทนายความของไผ่เดินออกจากห้องพิจารณาคดี ก่อนออกจากห้อง ผมกอดไผ่และบอกขอโทษเขา และเราทิ้งไผ่กับพ่อให้ต่อสู้เพื่อความถูกต้องด้วยตัวเองในห้องพิจารณาคดีที่ 2 ของศาลจังหวัดขอนแก่นตามลำพัง ผมไม่ทราบว่าหลังจากนั้นในห้องพิจารณาคดีเกิดอะไรขึ้น

น้องทนายที่ไปด้วย ถามผมว่าผมขอโทษไผ่ทำไม ตอบตรง ๆ ผมก็ไม่รู้ว่าผมขอโทษไผ่ทำไม แต่ผมบอกน้องทนายที่ถามผมว่าพี่ขอโทษไผ่แทนกระบวนการยุติธรรมว่ะ

หลังการต่อสู้อย่างเดียวดายในห้องพิจารณาคดี

ไผ่ถูกสั่งขังต่อไปอีก 12 วัน



หมายเหตุ:เผยแพร่ครั้งแรกใน Facebook Krisadang-Pawadee Nutcharus

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images