Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 57985 articles
Browse latest View live

รัฐบาลอังกฤษยันไม่ฉีดน้ำสลายจลาจล ไม่พึ่งกำลังจากกองทัพ

0
0

นายกอังกฤษหารือแนวทางรับมือจลาจล เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนเป็น 13,000 นาย โฆษกกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ยืนยันว่าจะไม่ใช้การฉีดน้ำสลายการก่อจลาจลและจะไม่มีการนำกองทัพเข้ามาร่วมสลายกลุ่มผู้ก่อจลาจล

ตำรวจนครบาลลอนดอน (London’s Metropolitan Police) เร่งเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่อารักขาความปลอดภัยตามท้องถนนเป็น 13,000 นาย หลังเหตุการณ์ความไม่สงบลุกลามไปรอบกรุงลอนดอนและกระจายไปเมืองใหญ่หลายแห่ง

วันอังคารที่ 9 สิงหาคมนับเป็นวันที่ 4 ที่ผู้ก่อความไม่สงบเข้าปล้นและเผาทำลายห้างสรรพสินค้าใหญ่หลายแห่ง ร้านรวง อาคารที่พักอาศัยและทรัพย์สินทั้งของส่วนราชการและประชาชน คือรถโดยสารประจำทาง รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจและรถยนต์ส่วนบุคคลในบริเวณเกิดเหตุ ผู้ที่ถูกจับกุมในเหตุก่อจลาจลทั้งในลอนดอนและเมืองอื่นขณะนี้มีจำนวนรวมกันมากกว่า 500 ราย

ทางรัฐยังถกเถียงกันว่าควรใช้มาตรการอะไรเพื่อปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ สำนักข่าว Express รายงานว่าโฆษกกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ยืนยันว่าจะไม่ใช้การฉีดน้ำสลายการก่อจลาจลและจะไม่มีการนำกองทัพเข้ามาร่วมสลายกลุ่มผู้ก่อจลาจลด้วย โดยทางโฆษกกล่าวว่าการฉีดน้ำไม่ใช่มาตรการยุติจลาจลที่กระทรวงมหาดไทยจะใช้กับกลุ่มผู้ชุมนุมบนแผ่นดินสหราชอาณาจักร

นายกรัฐมนตรีของอังกฤษนายเดวิด คาเมรอน (David) จากพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) จัดการประชุมหารือวิกฤตการณ์ (crisis talks) กับนายกเทศมนตรีลอนดอนนายบอริส จอห์นสัน (Boris Johnson) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนางเทเรซา เมย์ (Theresa May) และตำรวจนครบาลลอนดอนถึงมาตรการจัดการเหตุจลาจลที่เริ่มขึ้นตั้งแต่คืนวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอังกฤษเรียกผู้ก่อเหตุไม่สงบว่าอาชญากร เนื่องมาจากการเข้าปล้นห้างสรรพสินค้าและร้านค้าของประชาชน พร้อมยืนยันว่าการจลาจลจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2012

สำนักข่าวอัลจาซีรา (Al Jazeera) ภาคภาษาอังกฤษ รายงานว่ารองนายกรัฐมนตรีอังกฤษนายนิค เคลก (Nick Clegg) จากพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ให้สัมภาษณ์หลังจากไปเยือนท็อตแนม (Tottenham) ซึ่งเป็นจุดแรกที่เกิดเหตุจลาจลขึ้น  โดยเขากล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการฉกฉวยโอกาสเพื่อขโมยข้าวของและการใช้ความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุจำเป็นแต่ประการใด และเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้

เคลกยังแสดงจุดยืนว่ารัฐบาลอยู่เคียงข้างประชาชนที่อาศัยในชุมชนที่เกิดจลาจลและประนามการปล้นและการใช้ความรุนแรงในเหตุก่อความไม่สงบ

ขณะเดียวกัน ผู้นำฝ่ายค้านนายเอ็ด มิลิแบน (Ed Miliband) จากพรรคแรงงาน (Labour Party) ก็ได้ทวิตข้อความลงทวิตเตอร์ของเขาเองว่า ภาพที่เขาได้เห็นในลอนดอนและเบอร์มิ่งแฮมทำให้เขาตกใจมาก และเรียกร้องให้มีการเพิ่มกำลังตำรวจเพื่อยุติการจลาจลเพื่อที่ชุมชนเหล่านี้จะได้เดินหน้าต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม แกนนำเคลื่อนไหวภาคประชาชนและนักการเมืองฝ่ายค้านบางส่วนมีความเห็นร่วมกันว่าสาเหตุการใช้ความรุนแรงในครั้งนี้เกิดจากมาตรการตัดงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลอนุรักษ์นิยมผลักให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและคนว่างงานเข้าร่วมปล้นร้านค้าและทำลายทรัพย์สิน

ข้อเสนอนี้ถูกโต้แย้งโดยนักการเมืองอนุรักษ์นิยมว่ามาตรการดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะทำให้คนกลายเป็นโจรได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการฉวยโอกาสขโมยสิ่งของมีค่า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้าในขณะที่เกิดเหตุไม่สงบขึ้นทั่วกรุงลอนดอน

นายเดวิด คาเมรอนยังยืนยันว่าจะไม่มีการชะลอการตัดงบประมาณของภาครัฐ โดยการตัดงบนี้กระทำขึ้นภายหลังจากพรรคอนุรักษ์นิยมเข้ามาเป็นรัฐบาลแทนพรรคแรงงานของนายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) มีจุดประสงค์เพื่อลดงบประมาณขาดดุลที่รัฐบาลใช้จ่ายในการสร้างสวัสดิการและสาธารณูปโภค

โดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมอ้างว่างบประมาณขาดดุล(รายรับของภาครัฐไม่เพียงพอกับรายจ่าย)ทำให้รัฐบาลมีภาระในการหางบมาสนับสนุนการดำเนินนโยบาย ซึ่งมักมาในรูปการขึ้นภาษี

ทั้งนี้ สาเหตุของการจลาจลยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นประเด็นเรื่องการเหยียดผิวระหว่างคนผิวขาวและผิวสี ข้อขัดแย้งระหว่างตำรวจและกลุ่มวัยรุ่นหรือเป็นการกระทำของโจรฉวยโอกาส แต่เหตุจลาจลเกิดขึ้นภายหลังนายมาร์ค ดักเกน ชายผิวดำถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสียชีวิตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาอังกฤษเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจในลอนดอนเป็น 13,000 นาย โฆษกกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ยืนยันว่าจะไม่ใช้การฉีดน้ำสลายการก่อจลาจลและจะไม่มีการนำกองทัพเข้ามาร่วมสลายกลุ่มผู้ก่อจลาจลด้วย

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โปรดเกล้าฯ 'ครม.ยิ่งลักษณ์'

0
0

9 ส.ค. 54 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้ว นั้น
 
บัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
 
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรองนายกรัฐมนตรี 
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เป็นรองนายกรัฐมนตรี 
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
นายชุมพล ศิลปอาชา เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 
นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง 
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พล.ต.ท. ชัจน์ กุลดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นายภูมิ สาระผล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยการกระทรวงมหาดไทย
นายฐานิสร์ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
นางสุกุมล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
นายปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
นางบุญรื่น ศรีธเรศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 
นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายวิทยา บุรณศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 
ประกาศ ณ วันที่ 9 ส.ค. พุทธศักราช 2554
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชำนาญ จันทร์เรือง: วิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯ

0
0

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาได้มีการจัดเวทีวิชาการเล็กๆขึ้นมา ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่มีผลตอบรับกลับมาเป็นวงกว้างเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นประชาชนชาวเชียงใหม่เองหรือประชาชาวจังหวัดอื่นซึ่งล้วนแล้วแต่เห็นด้วยในความคิดเช่นว่านี้ แต่จากภาคราชการมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พวกที่เห็นด้วยก็บอกว่าถึงเวลาแล้ว โลกเราต้องก้าวไปข้างหน้าเหมือนนานาอารยประเทศเขา ส่วนพวกที่ไม่เห็นด้วยก็อ้างว่าจะนำมาซึ่งการแตกความสามัคคี

การจัดเวทีในวันนั้นประเด็นสำคัญอยู่ที่การนำเสนอร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯที่ยกร่างโดยผมในฐานะประธานเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ซึ่งมีหลักการใหญ่ คือการยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคแล้วให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้มีการวิจารณ์ร่างโดยนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีต คปร.และอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ไชยยันต์ รัชชกุล จากมหาวิทยาลัยพายัพ ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้เข้าร่วมเวทีอีกหลายคน

การจัดเวทีครั้งนี้จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับโครงการบูรณาการเชียงใหม่จัดการตนเอง ซึ่งผลสรุปที่ได้จากการเปิดเวทีในครั้งนั้นสรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ได้รับรองสิทธิ์การยกฐานะของพื้นที่ที่มีความพร้อมในการดูแลปกครองตนเองให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่และรับรองการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ในบทบัญญัติดังกล่าวตามมาตรา 281-284

 “ภายใต้บังคับมาตรา 1 รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการสาธารณะ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ ย่อมมีสิทธิ์จัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองว่าการยกระดับจังหวัดให้เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่ เป็นเรื่องที่ทำได้ มิใช่การแบ่งแยกการปกครองแต่อย่างใด

การจัดรูปแบบการปกครองของเชียงใหม่มหานครฯตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะทำให้ราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดเชียงใหม่หมดไป ซึ่งก็หมายความว่าจะไม่มีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดไปจากส่วนกลางอีกต่อไป แต่อาจจะแปรสภาพเป็นผู้ตรวจการฯอย่างเช่นประเทศฝรั่งเศส เพราะอย่างไรเสียส่วนกลางก็ต้องมีผู้คอยประสาน (หากจะมี) อำนาจหน้าที่เดิมที่เคยเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดและอำนาจหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นตาม พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯก็จะเป็นของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ก็ได้ (ถ้าหวงชื่อนี้นัก) แต่ในชั้นยกร่างนี้ยังคงชื่อเดิมนี้ไว้อยู่

ในส่วนของการปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีการจัดรูปแบบเป็นสองระดับซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพมหานครซึ่งมีระดับเดียวคือระดับจังหวัดเท่านั้น แต่ร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานครฯ จัดรูปแบบเป็นสองระดับ คือ ระดับบนเป็นระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน วาระ 4 ปี เป็นหัวหน้า ส่วนระดับล่างมีเทศบาลโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้าเหมือนกัน ไม่ต้องแยกเป็น เทศบาลหรือ อบต.ให้ยุ่งยากเหมือนในปัจจุบันที่ในตำบลเดียวกันเช่น ต.ช้างเผือก มีตั้ง 2 นายก คือนายกเทศมนตรีและนายก อบต.การมีทั้งจังหวัดและเทศบาลนี้ไม่ได้หมายความว่าจังหวัดจะเป็นผู้บังคับบัญชาของเทศบาลนะครับ ต่างฝ่ายต่างมีความเป็นอิสระในรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นเป็นของตัวเอง เพียงแต่แบ่งหน้าที่กันทำให้ชัดเจนว่าใครทำอะไร

ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ.ก็หมดไป กลายเป็นจังหวัดที่เป็นส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ยังคงอยู่ดัง เช่น กทม.แต่ไม่ได้เป็นราชการส่วนภูมิภาคแล้ว บทบาทก็จะเนั้นไปในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในฐานะผู้ช่วยเจ้าพนักงาน

ประเด็นสำคัญที่สอบถามกันมากก็คือ แล้วข้าราชการส่วนภูมิภาคจะไปไหน คำตอบก็คือ ก็ยังคงอยู่แต่เปลี่ยนสังกัดจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม มาสังกัดท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง (ซึ่งดึเสียอีกจะได้ไม่ถูกกลั่นแกล้งโยกย้ายออกนอกพื้นที่) ซึ่งก็รวมข้าราชหารส่วนกลาง ซึ่งในปัจจุบันทำตัวเป็นผู้ที่ผู้ว่าฯแตะต้องไม่ได้ก็ต้องมาฝากการดูแลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง (ซึ่งก็หมายความไมได้ห้ามส่วนกลางที่จะมาตั้งสำนักงานในจังหวัด แต่หน่วยงานนั้นควรจะเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ การวิจัย ฯลฯ แต่ต้องฝากการกำกับดูแลกับผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ดี)

การปฏิรูปโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นระดับจังหวัดเชียงใหม่ให้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินนโยบาย เพื่อดูแล ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม การสร้างมาตรการคุ้มครองสิทธิ์ สวัสดิการของบุคคล และชุมชน มีทิศทาง นโยบายที่กำหนดได้เองระดับจังหวัด มีหน่วยงานระดับจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่หลัก โดยการยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้บุคลากร การบริหารจัดการและงบประมาณ ย้ายจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น มีการบริหารเหมือนการย่อขนาดกระทรวงต่างๆ ให้มาอยู่ในจังหวัด ครอบคลุมในเรื่องเหล่านี้

ความปลอดภัย หน่วยงานตำรวจเป็นหน่วยงานระดับจังหวัด มีหน้าที่การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน อำนาจการแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน การเรียน การสอบ การฝึกฝน ทักษะ เป็นภาระหน้าที่ของจังหวัด และมีกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยประชาชน นอกจากนั้ก็มีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ/การศึกษา มีหน่วยงานระดับจังหวัดรับผิดชอบการดำเนินงานด้านการศึกษา ครอบคลุม 4 เรื่อง คือ การจัดการบุคลาการขึ้นตรงต่อเชียงใหม่ การบริหารจัดการ งานวิชาการ และงบประมาณ

การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล / การคมนาคม การพัฒนาระบบขนส่ง และการคมนาคม ระดับชุมชน จังหวัด มีวิศวกรรมจราจร /การท่องเที่ยว /สวัสดิการ การพัฒนาระบบสวัสดิการ ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ตั้งแต่เกิดจนตาย และสร้างความมั่นคงในชีวิต/การจัดผังเมือง จังหวัดมีอำนาจในการกำหนดขอบเขต การใช้ประโยชน์ แบ่งโซนผังเมือง การสร้างสิ่งก่อสร้าง ควบคุมอาคาร/การพาณิชย์ของเชียงใหม่มหานคร ฯลฯ

โดยจะไม่ดำเนินการใน 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร การต่างประเทศ เงินตรา และศาล ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจของส่วนกลาง

ในส่วนของการที่มาของรายได้นั้นมาจากการจัดเก็บภาษีอากรจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น สรรพากร สรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ มิใช่ภาษึท้องถิ่นจิ๊บจ๊อยเช่นในปัจจุบัน เมื่อเก็บได้แล้วก็นำส่งส่วนกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วเก็บไว้บริหารจัดการในพื้นที่ 70 เปอร์เซ็นต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้ง ”ลูกขุนพลเมือง (Civil Juries)” ขึ้นมาทำหน้าที่ถ่วงดุล ส่วนวิธีการที่ได้มาและอำนาจหน้าที่จะมีมากน้อยแค่ไหนเพียงใดเป็นที่จะต้องถกแถลงกันต่อไป

รายละเอียดคงต้องถกกันอีกมาก แต่อย่างน้อยก็เป็นก้าวย่างที่เล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ เพราะจุดมุ่งหมายของการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็คือการเสนอร่างโดยภาคประชาชนในปี 2555 ที่จะถึงนี้

โลกพัฒนาไปมากแล้ว ผู้ที่ติดยึดกับอดีตโดยไม่ลืมหูลืมตา จะถูกกระแสของพัฒนาการกวาดตกเวทีที่ตนเองยึดว่าเป็นของตัวไปอย่างช่วยไม่ได้

 

-------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: ว่าด้วย ครม.ยิ่งลักษณ์: 5.5 เต็มสิบ เสียของ!

0
0

 

5.5 หรือ 5.1 ก็ได้ ขอให้เกิน 5 หมายความว่าไม่ถึงกับยี้ แต่แย่!

พูดอย่างให้ความเป็นธรรมหน่อย คะแนนสูงสุดจริงๆ ที่ผมเตรียมไว้คือ 7 เพราะเรารู้กันอยู่ว่าในระบบพรรคการเมือง โควตายังมีความสำคัญ แต่ถ้าจัดคนให้ตรงกับความสามารถบ้าง ผสมโควตาบ้าง ก็ยังพร้อมจะให้ 7

แต่พอเห็นรายชื่อที่ผิดฝาผิดตัวไปหมด ผมก็ได้แต่ส่ายหัว สงสารธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล กับกิตติรัตน์ ณ ระนอง ทั้งสองคนคงไม่เห็นชื่อ ครม.อีก 32 คนก่อนตกปากรับคำมาเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ

นั่นคือชื่อบวกที่มีอยู่ไม่กี่คน ส่วนที่พอไปวัดไปวาได้ ก็เช่น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม พิชัย นริพทะพันธ์ รมว.พลังงาน โอเค เพราะทำงานให้พรรคมาตลอด อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที โอเค เพราะมีผลงานเมื่อครั้งเป็นฝ่ายค้าน

แต่ที่ผิดฝาผิดตัวก็เช่น ปลอดประสพ สุรัสวดี ซึ่งควรเป็น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลับไปเป็น รมว.วิทยาศาสตร์ โดยปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข มาจากไหนไม่ทราบ มาเสียบแทน (ว่ากันว่าเป็นโควตาของยุทธ ตู้เย็น)

วิทยา บูรณศิริ อดีตประธานวิป ทำงานหนักให้พรรค ควรได้เป็นรัฐมนตรี แต่หาที่ให้ลงไม่ได้รึไง ถึงส่งไปกระทรวงสาธารณสุข (มืออย่างวิทยาเนี่ยนะ จะไปลองของกับพวกหมอพันธมิตรและสานุศิษย์หมอประเวศ เตรียมเก็บศพได้เลย)

วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ก็เป็นอีกคนที่ทำงานให้พรรคมาตลอด สมควรได้เป็นรัฐมนตรี ตามที่ตกลงกันก่อนเลือกตั้งจะให้เป็น รมว.เกษตร ซึ่งยังนับว่าเหมาะสม แต่พอยกกระทรวงเกษตรฯ ให้พรรคชาติไทยไป หาที่ลงไม่ได้ พ่อเลี้ยงวรวัจน์ก็กลายเป็นครูวรวัจน์หน้าตาเฉย ทั้งที่บุคลิกไม่ให้เลย (บุคลิกเอาไว้ไล่จับนักเรียนตีกัน) ทั้งที่พรรคมีคนเหมาะสมอยู่แล้วคือ อ.ภาวิช ทองโรจน์

รายที่ผิดฝามากที่สุดเหมือนเอาฝาขนมถ้วยมาใส่ขนมครก คือสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ยินชื่อแล้วแทบหงายหลัง จะเอาสุรพงษ์ไปรบกับใคร ถามว่าสุรพงษ์ควรได้เป็นรัฐมนตรีไหม จากบทบาทที่ผ่านมา ก็ควรได้เป็น แต่ไม่ใช่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีความสำคัญอย่างที่สุด ในแง่ของการสานต่อภาพลักษณ์รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ที่นานาประเทศกำลังอ้าแขนรับ เปิดแนวรบทางสากลกลับมาโอบล้อมฝ่ายอำมาตย์ ปิดโอกาสรัฐประหารในอนาคต

รัฐมนตรีต่างประเทศควรเป็นนักการทูต หรือมีบุคลิกของนักการทูต เป็นที่ยอมรับของข้าราชการ และมีเกียรติประวัติเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ มองยังไงสุรพงษ์ก็ไม่มีลิ้นการทูต ไม่มีบุคลิกสุขุมนุ่มลึก (หรือนุ่มตื้นซักนิดก็ยังดี) และไม่ทะเลาะกับข้าราชการก็บุญโขแล้ว

พูดอย่างให้ความเป็นธรรมหน่อย คือการตั้งรัฐบาลที่ต้องรอ กกต.เล่นว่าวอยู่ 1 เดือนเต็ม ทำให้สื่อไม่มีงานทำ พากันออกโผออกโพลล์แทงเต็งแทงโต๊ดกันดาษดื่น จริงมั่งเท็จมั่ง แต่มีชื่อคนนั้นคนนี้ให้ประชาชนคาดหวัง ว่า ครม.ยิ่งลักษณ์จะมีภาพลักษณ์ที่สวยหรู เช่นรัฐมนตรีต่างประเทศจะเป็นคนนอก เป็นทูตคนนั้นคนนี้ พอออกมาจริงๆ ก็ทำให้ประชาชนร้องยี้ มากกว่าเลือกตั้งปุ๊บตั้งรัฐบาลปั๊บ

แต่ถึงอย่างนั้น ถ้าจัดสรรให้เหมาะ มันก็ยังดูดีกว่านี้ คือยังไงๆ ประชาชนก็ไม่ได้หวังสูงเลิศลอย เราพอยอมรับกันได้หรอกน่า กับชื่ออย่างสุรวิทย์ คนสมบูรณ์, ภูมิ สาระผล, กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์, บุญรื่น ศรีธเรศ, สุรพงษ์ อึ้งอำพรวิไล, ชูชาติ หาญสวัสด์, ฐานิสร์ เทียนทอง, พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ, นาย ก. นาย ข. จอห์น โด ฯลฯ ที่มาเป็นรัฐมนตรีช่วย

แต่ตำแหน่งหลัก อย่างน้อยก็จัดให้เหมาะสมบ้างสิครับ ไม่ใช่เอาเผดิมชัย สะสมทรัพย์ ไปดูแลนโยบายหลัก ค่าแรง 300 บาท ทั้งที่พรรคมีตัวบุคคลเหมาะสมอยู่แล้วคือจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตปลัดกระทรวง

แม้มีเสียงนินทาว่า จารุพงศ์ก็มีเส้น เป็นสายตรงพจมาน แต่ถ้าจัดคนให้เหมาะสมกับงาน ไม่ว่ามาจากระบบโควตาหรือเส้นสายใคร ก็ยังพอรับได้ เหมือนวิกรม คุ้มไพโรจน์ แม้ได้ชื่อว่าใกล้ชิดทักษิณ แต่อดีตทูตลอนดอนก็ยังเหมาะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศมากกว่าจอมลุยอย่างสุรพงษ์

กระทรวงกลาโหม เป็นอีกกระทรวงที่สำคัญที่สุด เพราะต้องคุมทหารให้อยู่ รัฐมนตรีต้องมีบารมี พร้อมกับมีหัวคิดเรื่องปฏิรูปกองทัพ หรือถ้าไม่มีบารมี ก็ต้องมีจุดยืนที่เข้มแข็ง ในการต่อสู้กับ “อำมาตย์” แม้ไม่ถึงขั้นหักด้ามพร้าด้วยเข่า

ถามว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา มีคุณสมบัติอะไรบ้าง ไม่มีเลย เคยเป็น รมช.กลาโหมมาแล้วก็เป็นประเภทความชั่วไม่มีความดีไม่ปรากฏ ซึ่งก็เหมือนชีวิตราชการของ พล.อ.ยุทธศักดิ์นั่นเอง ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นน้องชายเสธแอ๊ว พล.อ.ยุทธศักดิ์ก็เป็นเหมือนพลเอกธรรมดาที่มีอยู่ทั่วไปแทบทุกซอยในกรุงเทพฯ

ที่ ตท.10 ติงว่าไม่มีความสามารถด้านความมั่นคง วิสัยทัศน์ไม่ดีพอ และไม่เคยช่วยเหลืองานพรรค เป็นความจริงทุกอย่าง สมัยเป็นฝ่ายค้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์เข้าพรรคไม่กี่ครั้ง และเข้าทางประตูหลัง แต่พอมีชื่อเป็นแคนดิเดทรัฐมนตรี ก็โผล่มาเข้าประตูหน้าเพื่อให้นักข่าวสัมภาษณ์

เทียบกับชื่ออื่นๆ ที่มีโผมาก่อนหน้านี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์อยู่ที่โหล่ แม้แต่นายทหาร ตท.10 อย่าง พล.อ.อ.สุเมธ โพธิ์มณี ยังเหมาะสมกว่า

แต่แน่นอนว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับทักษิณ (เสธแอ๊วก็มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับทักษิณ) สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ก็เป็นญาติทักษิณ หลายคนใน ครม.เช่น พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก, พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต ล้วนเป็นสายตรงทักษิณ อีกหลายคนเป็นคนในสายพจมาน หรือเจ๊แดง เช่น สันติ พร้อมพัฒน์ (ลดชั้นจากคมนาคมไปพัฒนาสังคม)

ภาพรวมของ ครม.แม้จะบอกว่าส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานให้พรรค เป็น ส.ส.ที่ไม่ทิ้งพรรค แต่ที่ซ้อนกันอยู่ในนั้นคือ เป็นคนที่ทักษิณไว้วางใจเป็นส่วนตัว กับเป็นตัวแทนระบบโควตา ซึ่งทั้งสองส่วนเข้ามากลบภาพแรก สิ่งที่ขาดหายไปคือคนทำงานให้พรรคที่ไม่ได้เป็นผู้ใกล้ชิดทักษิณ ไม่ได้บินไปหา “นายใหญ่” ถึงดูไบบ่อยๆ ซึ่งพรรคการเมืองก็ไม่ต่างจากบริษัทหรือราชการ คนที่ใกล้ชิดนายไม่ใช่คนทำงานเสมอไป มีหลายคนที่เขาทำงานจริงโดยไม่สอพลอเสนอหน้า

เสื้อแดงผิดตรงไหน

อีกส่วนสำคัญที่ขาดหายไปคือความเชื่อมโยงกับฐานมวลชนของตัวเอง นั่นคือคนเสื้อแดง

ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้บอกว่าต้องตั้งณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรี แต่ถ้าแกนนำ นปช.คนไหนมีความสามารถมีความเหมาะสมทำไมจะตั้งให้ดำรงตำแหน่งไม่ได้ ถ้าหาคนที่เหมาะกว่าได้จะไม่ว่าเลย แต่กลับไปเอาสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ มาแทนณัฐวุฒิ

หรืออย่างที่พวกหมอพยาบาลออกมาต่อต้านพ่อไอ้ปื๊ดไม่ให้เป็น รมว.สาธารณสุข ถามว่าใครในพรรคเพื่อไทยที่เหมาะจะเป็น รมว.สาธารณสุขที่สุด หมอเหวงไงครับ อย่างน้อยหมอเหวงกับพวกหมอชนบท และสานุศิษย์ทั้งหลายของหมอประเวศ ก็พูดภาษาเดียวกัน ร่วมมือกันได้เมื่อเป็นการทำงานเพื่อประชาชน และรู้ทันกัน ดักคอกันได้ ในทางการเมือง

แต่แน่นอน หมอเหวงเพิ่งเป็น ส.ส.สมัยแรก จะข้ามรุ่นไปเป็นรัฐมนตรีก็กระไรอยู่

คนที่ใกล้ชิดผูกพันกับมวลชนเสื้อแดง ที่เหมาะจะเป็นรัฐมนตรีมากที่สุด คือ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เพราะเป็นคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับทำงานให้พรรคอย่างเข้มแข็ง

อันที่จริง พ.อ.อภิวันท์เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นประธานรัฐสภา เพราะการทำหน้าที่รองประธานตลอดสมัยที่ผ่านมา เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย พ.อ.อภิวันท์เป็นเสื้อแดง แต่นั่งบัลลังก์แล้วทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง ไม่ไว้หน้าใคร แม้แต่ ส.ส.เพื่อไทยด้วยกันก็ยังโวย แต่แน่นอน พอเป็นแคนดิเดท ฝ่ายตรงข้ามอย่าง ปชป.หรือพวกสลิ่ม ก็ออกมาดิสเครดิต พ.อ.อภิวันท์ด้วยข้อหา “เสื้อแดง” “โรมานอฟ” เพื่อทำลายตัวบุคคลที่เหมาะสมที่สุด

ถ้าวัดกันด้วยความเข้มแข็ง มั่นคง มีบุคลิกผู้นำ พ.อ.อภิวันท์เหนือกว่า “ขุนค้อน” ทุกเม็ด แต่ถ้าวัดกันด้วยระบบโควตา (และจำนวนเที่ยวบินไปดูไบ) “ขุนค้อน” ย่อมเหนือกว่า ผมเข้าใจว่า พ.อ.อภิวันท์ไม่อยากเป็นประธานสภาด้วยนั่นแหละ อยากเป็นรัฐมนตรีมากกว่า จึงถอนตัว แต่ท้ายที่สุด ไม่ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีที่เหมาะสม พ.อ.อภิวันท์ก็ถอนตัวอีก

อันที่จริง เสธเปียน่ะเป็น รมว.กลาโหมได้สบายๆ นะครับ เพราะเป็นนายร้อย จปร.เหรียญทอง ซึ่งมีแค่ 2 คนในประวัติศาสตร์ จปร.อีกคนคือ พล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมยิ่งลักษณ์-ทักษิณต้องแคร์กระแสไม่เอาเสื้อแดงเป็นรัฐมนตรี ซึ่งจุดมาจากพวกสลิ่ม และกระพือต่อโดยพวก ส.ส.เพื่อไทยเองที่กลัวแกนนำ นปช.แย่งโควตา ที่พูดอย่างนี้ผมไม่ได้ต่อสู้เพื่อณัฐวุฒิ และไม่ได้บอกว่าณัฐวุฒิคือตัวแทนของมวลชนเสื้อแดงทั้งประเทศ แต่อย่างน้อย ถ้ามีชื่อณัฐวุฒิใน ครม.ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่ารัฐบาลยังแคร์มวลชนเสื้อแดง ผู้ถือโควตาใหญ่ที่สุดในพรรคเพื่อไทย

พอโผชัดเจนตอนเย็น บังเอิญผมเปิดวิทยุเจอรายการพชรกับวิสุทธิ์ 96.5 วิสุทธิ์ถามว่า อย่าง พล.ต.ท.ชัจจ์ ไม่ใช่เสื้อแดงหรือ พชรบอกว่า “เสื้อดำมากกว่า” แล้วก็ฮากลิ้งทั้งคนพูดคนฟัง

นั่นคือการเลือกแบบทักษิณ

ซึ่งเมื่อมองภาพรวมทั้งหมด ผมชักจะเชื่อว่า ทักษิณไม่อยากกลับบ้าน เพราะรายชื่อ ครม.อย่างนี้ ทำให้กระแสตอบรับที่มีต่อนายกฯหญิง เปลี่ยนจากลำไม้ไผ่เป็นบ้องกัญชา ลดอายุรัฐบาลตัวเองลง สมมติวางแผนยุบสภาใน 2 ปี ก็อาจเหลือปีครึ่ง หรือเผลอๆ ฉิบหายก่อนหน้านั้น

ชัยชนะถล่มทลายที่ได้มาด้วยพลังประชาธิปไตยของประชาชน ด้วยกระแสที่อยากเห็นประเทศกลับเข้าสู่ภาวะประชาธิปไตยปกติ กลายเป็น “เสียของ” ด้วยระบบโควตาที่ต้องแบ่งสันปันเก้าอี้ให้กลุ่มก๊วน และการปูนบำเหน็จให้เฉพาะคนไว้วางใจใกล้ชิด

ผลที่เกิดขึ้นคือรัฐบาลจะทำงานด้วยความยากลำบาก เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายที่หาเสียงไว้ เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปกองทัพ ปฏิรูปศาลและกระบวนการยุติธรรม เพื่อลดอำนาจฝ่ายอำมาตย์ (มิพักต้องพูดถึงการนิรโทษกรรมที่ยิ่งไกลออกไปอีก ไม่ต้องกลับเมืองไทยแล้วมั้งชาตินี้)

ตรงกันข้าม นี่คือการเปิดจุดอ่อนช่องโหว่ให้ฝ่ายอำมาตย์และสมุนสลิ่มเริ่มตีโต้ เตะสกัด ขัดขา ซึ่งถ้ารัฐบาลล้มเพราะกลไกตุลาการภิวัตน์หาเรื่องถอดถอน ยุบพรรค ก็ยังกลับมาได้ แต่ถ้าล้มเพราะความไร้ประสิทธิภาพหรือความฉ้อฉลของนักการเมืองพรรคเพื่อไทยเอง ก็อาจแพ้ทั้งกระดาน

ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ ก้าวพลาดไปหนึ่งก้าวแล้ว จากที่ตั้งท่าสวยหรู ก้าวต่อไปต้องดูว่าจะกล้าปฏิรูปประชาธิปไตยแค่ไหน เพียงไร เพราะนักการเมืองพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจนักหรอก อยู่ที่กระแสมวลชนเท่านั้นว่าจะผลักดันได้เพียงไร

นี่เป็นภาระหนักของนักประชาธิปไตยและมวลชนเสื้อแดงที่ยกระดับคุณภาพแล้ว เพราะต้องสนับสนุนและต้องต่อสู้เรียกร้อง วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไปพร้อมๆ กัน แต่เราเชื่อมั่นในมวลชน ไม่ใช่เชื่อมั่นนักการเมือง พลังมวลชนจะไม่ถอยกลับ เหมือนอย่างกระแสต้าน ม.112 ที่เข้มแข็งและกว้างขวางขึ้นทุกวัน โดยไม่แยแสว่ายิ่งลักษณ์พูดอย่างไรหลังรับพระบรมราชโองการ

 

ใบตองแห้ง
10 ส.ค.54
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลพระโขนงเลื่อน พิพากษาคดี “ผู้หญิงยิง ฮ.” เป็น 25 ส.ค.

0
0

10 ส.ค.54 รายงานข่าวแจ้งว่า ศาลจังหวัดพระโขนงนัดพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4 สำนักงานอัยการสูงสุด ฟ้องนางนฤมล วรุณรุ่งโรจน์ หรือจ๋า พร้อมกับพวกอีก 2 ในข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนที่ไม่ได้รับใบอนุญาต

ศาลแจ้งว่าจะเลื่อนการพิพากษาไปเป็นวันที่ 25 ส.ค.54 เวลา 10.00 น. เนื่องจากคดีนี้ศาลได้ส่งร่างคำพิพากษาพร้อมสำนวนไปยังสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 พิจารณา แต่ยังไม่ได้รับร่างคำพิพากษาและสำนวนคดีนี้กลับคืนมา จึงไม่อาจอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้สนใจติดตามคดีดังกล่าวจำนวนมาก ประมาณ 50 คน จนแน่นห้องพิจารณาคดี เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข้อมูลคดีนี้จนเรียกกันติดปากว่า “คดีผู้หญิงยิง ฮ.” วันที่ 10 เม.ย.53 และเมื่อเร็วๆ นี้ นางธิดา ฐาถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช.ได้เข้าเยี่ยมจำเลยและนำข้อมูลออกมาเผยแพร่

ทั้งนี้ จำเลยทั้ง 3 คน ได้แก่ นางนฤมล วรุณรุ่งโรจน์ หรือจ๋า วัย 50 ปีอาชีพค้าขาย พร้อมกับพวกอีก 2 คนเป็นจำเลยคือ สุรชัย นิลโสภา อายุ 33 ปี อาชีพขับแท็กซี่ และ ชาตรี ศรีจินดา อายุ 28 ปี อาชีพทำสวน ทั้งหมดถูกจับกุมที่บ้านพักในวันที่ 3 พ.ค.53 และไม่ได้ประกันตัว ในข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบ อนุญาตให้ได้ และร่วมกันมีวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครองโดยผิด กฎหมาย และร่วมกันมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบ ครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ปลอมเอกสารราชการ และใช้เอกสารราชการปลอม

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อย่างไรจึงเรียกว่าความเป็นธรรมและเท่าเทียม

0
0

ในขณะที่ทุกคนกำลังตกอยู่ในกระแส “ยิ่งลักษณ์ฟีเวอร์” ตอนนี้มีประเด็นร้อนมากมายไปหมดเมื่อการเมืองถูกเปลี่ยนขั้ว โดยเฉพาะประเด็นที่มีการถกเถียงและกำลังเป็นประเด็นร้อนไม่แพ้กันคือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยได้ประกาศต่อสื่อมวลชลและพี่น้องกรรมกรทั้งประเทศว่า ค่าจ้างขั้นต่ำต้อง ๓๐๐ บาท และจบปริญญาตรีต้องได้ค่าจ้างไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท หลายคนเริ่มเอาไปวิพากษ์วิจารณ์กันเสียยกใหญ่ว่ามันจะเป็นไปได้ไหมในความเป็นจริง และสภาพเศรษฐกิจในอนาคตจะเป็นอย่าง รวมกระทั่งนักกิจกรรมแรงงานฝ่ายขวาที่เคยต่อต้านทุนนิยมเสรีใหม่แต่รับใช้ทุนนิยมเก่า ก็ยังกระโดดออกมาทวงถามสัญญาจากพรรคเพื่อไทยได้อย่างไม่อาย  ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการแต่รัฐมนตรีหลายตำแหน่งก็พอที่จะทราบได้ล่วงหน้าโดยการคาดการจากนักวิชาการและวิชาเกินทั่วไป

ในช่วงขณะที่กำลังเกิดการเปลี่ยนผ่านอำนาจ ถ้าหลายคนนึกย้อนกลับไปวิเคราะห์ให้ดี หลายคนคงจะได้เห็นทั้งรอยยิ้ม(ของฆาตกร)และเสียงหัวเราะของผู้กุมอำนาจ แต่วันนี้ได้ประกาศให้เห็นชัดแล้วว่า “ประชาชนคนรากหญ้าหรือกรรมกรและชาวนาต้องสามารถกำหนดอนาคตตนเองได้” มันจะเป็นเพียงคำขวัญที่คอยปลอบประโลมนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ถูกเขียนไว้แต่เพียงในหนังสือเท่านั้น หรือมันจะเป็นจริงได้ในทางปฏิบัติหรือไม่นั้นทุกคนต้องร่วมกันตรวจสอบ และที่สำคัญขบวนการแรงงานว่าจะเดินก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงหรือไม่นั้นยังเป็นคำถามที่ยากแก่การพิสูจน์ กรรมกรทุกคนจะมานั่งรอให้ “เวลา” เป็นเครื่องพิสูจน์อีกต่อไปไม่ได้แล้ว วันนี้ถึงเวลาแล้วที่พวกเราชนชั้นกรรมาชีพทั้งหลายต้องลุกออกมาปกป้องสิทธิ์ ถามหาความยุติธรรมให้กับเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกลับมาให้ได้

คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นตัวอย่างหนึ่งของกรรมกรที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่องวันนี้เขายังไม่ได้รับสิทธิ์ขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ วันนี้เขาเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดแต่เขากลับไม่มีโอกาสแม้แต่จะออกมาต่อสู้เพื่อแก้ข้อกล่าวหาด้วยตนเองได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะเรียกประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างไร การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นหลักการสำคัญที่ต้องยึดถือคือ “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม” มีอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนของซากเดนจากทุนนิยมเก่า เรามักจะได้ยินคำพังเพยไทยค่อนข้างบ่อยว่า “เสร็จนาฆ่าโคถึกเสร็จศึกฆ่าขุนพล”

วันนี้ คุณสาวิทย์ แก้วหวาน ผู้นำแรงงานที่ทำงานรับใช้มวลชลและเพื่อนพี่น้องกรรมกรรัฐวิสาหกิจมายาวนาน เพื่อให้ทุกคนได้กินอิ่มนอนอุ่นอยู่อย่างสุขสบายได้รับสวัสดิการที่สวยหรูกว่าลูกจ้างเอกชนมากมาย กลับถูกศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างได้ เหตุเพียงเพราะเขาหวังเพื่อที่ต้องการจะให้ประชาชนคนไทยได้มีความปลอดภัยในการใช้บริการของรัฐ ด้วยความเคารพมิได้มีเจตนาที่จะละเมิดอำนาจศาล แต่วันนี้กระบวนการยุติธรรมของเรากำลังเกิดอะไรขึ้น แล้วเราจะบอกกับสังคมโลกได้อย่างไรว่าประเทศของเราใช้หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ยึด “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม” ในการบริหารประเทศ ถึงเวลาหรือยังครับพี่น้องกรรมกรทั้งหลายที่เราจะต้องลุกออกมาเรียกร้องสิทธิความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติให้กับเขาเหล่านี้ อย่าปล่อยให้เขาต้องต่อสู้แต่โดยลำพัง ขณะที่เขาอยู่บนหอคอยทุกคนต่างห้อมล้อมแซ่ซ้องสรรเสริญ แต่เมื่อความทุกข์ยากมาเยือนความเป็นเพื่อนก็เลือนหาย พวกเรากรรมกรทั้งหลายจะเป็นคนเช่นนั้นหรือ

หลักนิติรัฐ (Legal State) คือ หลักปกครองด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ปกครองตามอำเภอใจเป็นระบบที่สร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นหลักในการป้องกันและเยียวยาการใช้อำนาจรัฐตามอำเภอใจของฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

หลักนิติรัฐมีสาระสำคัญอยู่ 2 ประการ

1.    การใช้อำนาจรัฐทุกชนิดต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมาย

2.    มุ่งที่การใช้อำนาจรัฐทุกประเภท

หลักนิติธรรม (Rule of Law) คือ การปกครองที่ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย หรือการแสวงหาความยุติธรรมซึ่งเป็นเหตุเป็นผลกันตามธรรมชาติหรือเป็นความยุติธรรมตามธรรมชาติอันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือตัวอักษรของตัวบทกฎหมายนั้นเอง

หลักนิติธรรมมุ่งเน้นที่

1.    การตีความเพื่อใช้กฎหมายต้องเป็นธรรม

2.    มุ่งเน้นที่ความยุติธรรมที่อยู่เหนือกฎหมายลายลักษณ์อักษร

กว่าสองปีที่ผ่านมาประชาชนคนไทยเกิดความสงสัยกับการทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมาว่าท่านได้ทำอะไรไปบ้างในห้วงเวลากว่าสองปีที่อยู่ในอำนาจ “ถ้าท่านจับโจรยังไม่ได้ท่านก็อย่าคิดที่จะเป็นโจรเสียเอง” จากเหตุการณ์ เมษายนถึงพฤษภาคม ๒๕๕๒ มีคนถูกยิงตายกลางเมืองหลวงของประเทศ ๙๑ ศพ หาคนทำผิดมาลงโทษไม่ได้ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ ตากใบ กรือแซะ หรือเหตุการณ์วางระเบิดรายวันที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ ในแต่ละปีพี่น้องร่วมชะตากรรมเดียวกันของเรากว่าพันชีวิตต้องมาตายโดยที่เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาทำผิดอะไร ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข วันนี้มติมหาชนได้ให้โอกาสพรรคเพื่อไทยได้เข้ามาแก้ไขปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบ ทุกคนมีความหวังและอยากเห็นสิ่งที่ท่านพูดไว้เป็นความจริง

นอดีตผมเคยเข้าร่วมขับไล่นายทุนสามานย์ และเช่นเดียวกันผมก็เคยได้เข้าเป็นแนวร่วมต่อต้านเผด็จการฯ และรวมถึงต่อต้านอำนาจนอกระบบทุกรูปแบบเพราะสิ่งที่ผมอยากเห็นและอยากให้เป็นคือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยที่รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศต้องมาตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย คือ การเลือกตั้งโดยประชาชน และเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อประชาชน ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วันนี้ประชาชนจำนวนมากกำลังเฝ้ามองนักการเมืองไทยว่าคุณจะเล่นบทไหนต่อไป วาทกรรมทางการ “สองมาตรฐานหรือตุลาการวิ...วัฒน์” จะยังคงอยู่ในสังคมไทยอีกต่อไปหรือไม่ เป็นสิ่งที่ท้าทาย “นายกรัฐมนตรีหญิงอย่างคุณยิ่งลักษณ์” เป็นอย่างมาก

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

0
0

ปูขอขอบคุณทุกกำลังใจและการสนั​บสนุนค่ะ ปูจะทำหน้าที่ที่พี่น้องประชาชน​มอบความไว้วางใจให้อย่างดีที่สุ​ด จะทำงานให้ประเทศชาติและพี่น้อง​ประชาชนอย่างเต็มที่ สุดความสามารถ และปูคนนี้จะยังเป็น ปู ยิ่งลักษณ์ คนเดิมของพี่น้องประชาชนและเพื่​อน ๆ ใน facebook ค่ะ :)

โพสต์ขอบคุณเพื่อนๆ ในเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra - 8 ส.ค. 2554

เตรียมยื่นหนังสือทูตญี่ปุ่น กรณี บ.อาซาฮี โกเซ ฟ้องบลอกเกอร์เรียกค่าเสียหาย 3.2 ล้านดอลลาร์

0
0

นักสิทธิมนุษยชนเตรียมยื่นหนังสือหน้าสถานฑูตญี่ปุ่น 17 ส.ค. นี้ กรณี 'ชาร์ลส เฮคเตอร์' บลอกเกอร์-นักกิจกรรมถูกฟ้องร้องจากบริษัทญี่ปุ่นชดใช้ 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังเปิดเผยการละเมิดสิทธิแรงงานพม่า

10 ส.ค. 54 - นักกิจกรรมเตรียมยื่นหนังสือหน้าสถานฑูตญี่ปุ่น เพื่อแสดงพลังและความห่วงใยต่อกรณีที่บริษัทอาซาฮี โกเซ (Asahi Kosei Company) ฟ้อง 'ชาร์ลส เฮคเตอร์' (Charles Hector Fernandez) นักกิจกรรม ทนายความ บล็อกเกอร์และนักปกป้องสิทธิมนุ​ษยชน ในคดีหมิ่นประมาทและเรียกค่าเสียห​ายเป็นเงิน 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้เป็นเพราะว่าได้เปิดเผยต่อสาธารณชนต่อกรณีที่คนงานพม่า 31 คน ที่ทำงานในโรงงานของอาซาฮี โกเซ ร้องทุกข์เกี่ยวกับการละเมิดสิท​ธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน เพื่อให้รัฐบาลญี่ปุ่นไม่นิ่งเ​ฉยและดำเนินการในการปกป้องสิท​ธิมนุษยชน ในฐานะที่รัฐบาลญี่ปุ่นก็เป็นสมาชิ​กขององค์การเพื่อความร่วมมือทาง​เศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)  ซึ่งการที่รัฐบาลมิได้ดำเนินการใดๆ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจะถูกมองได้ว่​าเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้​บริษัทญี่ปุ่นโจมตีนักปกป้องสิท​ธิมนุษยชน

ดังนั้นนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย จึงเรียนมายังพี่น้องพื่​อแสดงพลังแห่งการคุ้มครองสิทธิม​นุษยชน ในวันที่ 17 สิงหาคม เวลา 10.00 น ที่ด้านหน้าสถานฑูตญี่ปุ่น เลขที่ 177 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลอุทธรณ์พิพากษาจำคุก แนวร่วมเสื้อแดง 1 ปี 6 เดือน ปรับ 12,000

0
0
 
 
10 ส.ค.54 เวลา 9.30 น. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.3456 /2553 ระหว่างพนักงานอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายโชคอำนวย สุรการ เป็นจำเลย โดยศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาว่า ไม่มีเหตุอันควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
 
คดีนี้ พนักอัยการฟ้องจำเลยอันเนื่องมาจากการจับกุมจำเลยเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มนปช.เมื่อเดือน มี.ค.-พ.ค.2553 ในหลายข้อหา โดยกล่าวหาว่า เมื่อวันที่ 17 พ.ค.53 จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ วิ่งเข้าไปเส้นทางถนนพญาไท บริเวณปากซอยพญานาค หน้าโรงแรมเอเชีย ซึ่งส้นทางนี้ มีประกาศห้ามใช้เป็นเส้นทางคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และจำเลย มีอาวุธปืนพกรูปร่าง คล้ายปากกาขนาด .38 หนึ่งกระบอก และมีเครื่องกระสุนปืนรีวอลเลอร์ ขนาด.38 หนึ่งนัด ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน และ จำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือ โดยไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
 
โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้น จำเลยได้รับสารภาพตามข้อกล่าวหาทั้งสิ้น และศาลอาญาได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยรวมจำคุก 3 ปี และปรับ 24,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์การพิจารณา คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 12,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้กักขังแทน
 
ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ กรณีเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.53 ( ศปช.) ระบุว่า นายโชคอำนวย สุรการ เป็นผู้เข้าร่วมในการชุมนุมของนปช. มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2552 รวมถึงการชุมนุมเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเขาถูกจับที่บริเวณ หน้าโรงแรมเอเชีย ปากซอยพญานาค ถนนพญาไทขณะเดินทางออกจากแยกราชประสงค์ เมือวันที่ 17 พ.ค.2553 และ ถูกควบคุมตัวมาโดยตลอดตั้งแต่วันถูกจับและปัจจุบันนี้ถูกขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และนอกจากถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีนี้แล้ว เขายังถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 5802/2553 ที่ศาลจังหวัดพระโขนง ในข้อหาร่วมกันมีระเบิดขว้างชนิดสังหารแบบ 88 บ.67 (เอ็ม 67)จำนวน 1 ลูก และลูกระเบิดขว้างชนิดสังหาร แบบ เค 75 จำนวน 1 ลูก โดยพยานของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จับกุมจำเลยอ้างว่า จากการสืบสวนได้ข้อมูลว่านายโชคอำนวย เป็นคนไกล้ชิดกับเสธ.แดงหรือพล.ต.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล แต่คดีที่ศาลจังหวัดพระโขนง ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยได้วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีข้อน่าสงสัยหลายประการ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ประมวลการเดินทาง “ชาวบ้านคอนสาร” นำข้อเสนอจากอีสานถึงรัฐสภา

0
0
 
ก่อนตบเท้าเข้าร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนทั่วประเทศกว่า 1,000 คน จากทั้งภาคเหนือ กลาง ใต้ อีสาน ที่หน้ารัฐสภา เพื่อยื่นเสนอ “นโยบายภาคประชาชน” ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ให้บรรจุนโยบายดังกล่าวลงในนโยบายของรัฐบาล เมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา
 
 
หนึ่งวันก่อนหน้านั้น ชาวบ้านจาก ต.ทุ่งลุยลาย ต.ห้วยยาง และต.ดงกลาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ในฐานะผู้ได้รับผลกระทบจากการประกาศเขตป่าอนุรักษ์ เขตป่าสงวน และที่สาธารณะทับซ้อนบนพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย ที่สาธารณประโยชน์ และที่ป่าชุมชนของชาวบ้าน ได้ออกเดินทางมารวมตัวกัน ที่บ้านบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระตั้งแต่ช่วงเช้า เพื่อทำพิธีขอพรศาลเจ้าหลวงปู่แก้ว
 
“ศาลเจ้าปู่แก้วนี้ เมื่อแรกเข้ามายังไม่มีการตั้งชื่อ กระทั่งมีผู้หลับฝันว่าเจ้าที่บริเวณดังกล่าวมาบอกให้ตั้งชื่อหมู่บ้าน จึงได้มีการประชุมเสนอตั้งชื่อเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของผู้อยู่อาศัย ชาวบ้านจึงลงมติร่วมกันว่าเจ้าที่ที่ดูแลปกปักรักษาบริเวณนี้ชื่อว่า “แก้ว” ประกอบกับพื้นที่ใกล้ที่อาศัยมีบ่อน้ำ จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านบ่อแก้ว” พ่อปุ่น พงษ์สุวรรณ์ ชาวบ้านบ่อแก้ว บอกกล่าวถึงที่มา
 
 
พ่อเฒ่า วัย 75 ปี เล่าถึงประวัตชุมชนว่า องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) เข้ามาปลูกป่ายูคาลิปตัสในพื้นที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้านนับแต่ปี พ.ศ.2521 ด้วยปัญหาและผลกระทบจากความไม่เป็นธรรมที่ต้องถูกไล่ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาปัญหาความเดือดร้อนเรื่อยมา กระทั่งกลางเดือนกรกฎาคม 2552 ชาวบ้านจึงได้เข้ายึดพื้นที่ทำกินเดิม และพยายามบริหารจัดการกลุ่มองค์กรในพื้นที่เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้
 
พ่อปุ่นกล่าวด้วยว่า การที่ชาวคอนสารในหลายๆ ตำบลที่ประสบซะตากรรมเดียวกัน พร้อมใจรวมตัวบ้านบ่อแก้ว เพราะถือว่าชุมชนบ้านนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ และแบบอย่างการต่อสู้เพื่อสิทธิที่ดินทำกิน จากกรณีการประกาศเขตสวนป่าคอนสาร
 
หลังร่วมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่ชุมชน สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 “สานต่อภารกิจประชาชน ปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม” ก่อนเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าไปรวมตัวกับเครือข่ายในภาคอีสานทั้งหมด ที่บริเวณริมเขื่อนลำตะคลอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
 
 
ระหว่างการเดินทาง ขบวนชาวบ้านทำการรณรงค์ แจกแฉลงการณ์ให้ประชาชนใน อ.คอนสารได้รับทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเคลื่อนขบวนและชี้แจงถึงปัญหาที่พวกเขาต้องประสบ และเข้ายื่นหนังสือถึง นายเจริญ จรรย์โกมล สส.ชัยภูมิ (เขต อ.คอนสาร) และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 โดยมี นางเรวดี จรรย์โกมล เป็นผู้รับแทน จากนั้นร่วมเดินไปทำพิธีสักการะขอพรหลวงปู่หมื่น (หลวงพิชิตสงคราม) เจ้าเมืองคอนสารองค์แรก (พ.ศ.2337) ก่อนมุ่งสู่ อ.เมืองชุมแพ จ.ขอนแก่น เพื่อยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผ่านนายสมศั​กดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีเจ้าหน้าที่สำนักงานพรรคเพื่อไทย เขตชุมแพ เป็นผู้รับหนังสือแทน
 
 
“ครั้งนี้พวกเราหวังอย่างยิ่งว่า นายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะสานต่อแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชนให้เป็นนโยบายของรัฐบาล และจัดตั้งกลไกการแก้ไขปัญหาร่วมระหว่างหน่วยงานรัฐกับภาคประชาชนให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรม เราเรียกร้องให้สานต่อแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยประชาชน พร้อมกันนี้อยากวอนให้ มีคำสั่งให้ทางเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเกี่ยวข้อง ยุติการจับกุม ข่มขู่ คุกคาม และดำเนินคดีชาวบ้านในพื้นที่และสมาชิกเครือข่ายฯ ด้วย” ไสว จุลละนันท์ ชาวบ้าน ม.1 ต.ทุ่งลุยลาย กล่าว
 
ตามเส้นทางชุมแพ - ชัยภูมิ ที่ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ตัวแทนชาวบ้านกรณีปัญหาที่สาธารณะประโยชน์ทุ่งซำเสี้ยวเดินทางมารอรับชาวคอนสาร ก่อนร่วมกันเดินทางไปสักการะเจ้าพ่อพระยาแลบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ เพื่อขอพรเป็นสิริมงคล และเคลื่อนไปสมทบกับเครือข่ายสายอีสานซึ่งนัดหมายรวมพลกันบริเวณเขื่อนลำตะคลอง
 
 
นายวิชัย สมบุญเพ็ง ประธานชุมชนทุ่งซำเสี้ยว บ้านดอนมะคั่ง ม.12 ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เล่าถึงปัญหาในพื้นที่ว่า กรณีที่สาธารณะทุ่งซำเสี้ยวมีปัญหาการประกาศเขตที่สาธารณะประโยชน์ทับที่ทำกินชาวบ้าน ตั้งแต่เมื่อปี 2528 แล้วไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ ซึ่งขัดกับสิทธิในที่ดินทำกินที่ชาวบ้านอยู่กันมาตั้งแต่ปี 2475 และได้มีการการประกาศเป็นที่สาธารณะให้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีหนังสือจากอธิบดีกรมที่ดินว่าพื้นที่สาธารณะที่ประกาศเมื่อปี 28 นั้นทับที่ทำกินของชาวบ้านจริง จากการตรวจสอบรังวัด และมีคำสั่งให้ยกเลิกพื้นที่สาธารณะนั้นให้ชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยตามเดิม แต่ในพื้นที่ไม่ปฏิบัติตาม เขาและชาวบ้านจึงร่วมกันเข้ายึดพื้นที่กลับคืนมาดังเดิมเมื่อปี 2538 จนถึงปัจจุบัน
 
“ปัญหาของชุมชนเราสรุปตรงกันแล้วว่าชุมชนต้องลุกขึ้นมาสู้และแก้ไขร่วมกันเอง” ปธ.ทุ่งซำเสี้ยว กล่าว
ที่จุดนัดหมายบริเวณเขื่อนลำตะคลอง เวลา 18.00 น. ขบวนรถยนต์ของเครือข่ายภาคประชาชนในภาคอีสานที่มารวมตัวกัน อาทิ เครือข่ายเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) สมัชชาคนจนกรณีกลุ่มผู้เดือดร้อนจากเขื่อนปากมูล กลุ่มผู้เดือดร้อนจากสวนป่าพิบูลมังสาหารฯ ฯลฯ ได้เคลื่อนพลเดินทางไปยัง อ.หนองแซง วัดหนองหลัว ต.หนองกบ จ.สระบุรี
 
ระยะเวลากว่า 4 ชั่วโมง ขบวนชาวบ้านจึงเดินทางถึงที่หมาย และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวบ้านสระบุรี ซึ่งต่อสู้คัดค้านโรงไฟฟ้าหนองแซง หลังการรับประทานอาหารร่วมกัน มีการจัดเวทีสนทนายามค่ำ เกี่ยวกับนโยบายภาคประชาชนสู่นโยบายรัฐบาลในหัวข้อ “กระบวนการยุติธรรม กระบวนการที่ต้องปฏิรูปเร่งด่วน”
 
ปิดท้ายกิจกรรมของวัน ด้วยการอ่านแฉลงการณ์ จากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ก่อนแยกย้ายพักผ่อน เตรียมการสำหรับภารกิจสำคัญในวันพรุ่งนี้
 
 
8 ส.ค.54
เช้ามืด ขบวนที่รวมตัวจากสระบุรี เคลื่อนจากหนองแซง เข้าไปสมทบกับเครือข่ายภาคประชาชนที่เดินทางมาจากทั่วประเทศ กว่า 145 องค์กร ราว 1,000 คน ที่มารวมตัวกันที่บริเวณหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นได้เคลื่อนขบวนไปยังอาคารรัฐสภา เพื่อยื่นนโยบายภาคประชาชนให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี หวังให้มีการแก้ไขปัญหาของแต่ละเครือข่ายเดินหน้าต่อไปอย่างเป็นรูปธรรม
 
ประมาณ 12.30 น.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และ นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เป็นตัวแทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ เดินทางมาพบปะพูดคุยกับชาวบ้าน พร้อมรับหนังสือข้อเสนอฯ ดังกล่าว จากนั้นตัวแทนชาวบ้าน 15 คนเข้าไปเจรจา ยังตึกรัฐสภา โดยใช้เวลาพูดคุยกว่าหนึ่งชั่วโมง
 
ตัวแทนต่างแจงว่า รัฐบาลหนังสือเพื่อไปพิจารณาอีกครั้ง โดย หลังประชุมนโยบายของรัฐบาลจะแจ้งให้ทราบต่อไป จากนั้นเวลาประมาณ 17.00 น.ตัวแทนจากเครือข่ายฯ ต่างๆ จึงเดินทางกลับ พร้อมระบุว่าจะกลับมาทวงถามแนวทางการแก้ไขต่อไป
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยพลเรือนในรัฐฉานอยู่ในภาวะวิกฤตรุนแรง-หลังทหารพม่าเปิดฉากโจมตีต่อเนื่องนับตั้งแต่มีนาคม

0
0

นักสิทธิมนุษยชนเผย ประชาชนกว่า 3 หมื่นในรัฐฉาน ซึ่งต้องอพยพจากการโจมตีของทหารพม่า กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างรุนแรง ประชาชนที่หลบซ่อนตามป่าเขาเริ่มขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ยา และที่พักอาศัย และเริ่มมีผู้เสียชีวิตจากอาการท้องร่วงและมาลาเรีย

แผนที่แสดงปฏิบัติการทางทหารของกองทัพพม่า ในพื้นที่รัฐฉาน ระหว่างวันที่ 2 ก.ค. ถึง 4 ส.ค. 54 สีแดงคือพื้นที่ซึ่งมีการปะทะทางทหาร สีม่วงคือพื้นที่ซึ่งมีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารพม่า (ที่มาของภาพ: มูลนิธิสิทธิมนุษยชนรัฐฉาน - SHRF)

แผนที่แสดงพื้นที่ซึ่งมีผู้ลี้ภัย หลังปฏิบัติการทางทหารของกอง ทัพพม่า ในพื้นที่รัฐฉาน ระหว่างวันที่ 13 มี.ค. ถึง 10 ส.ค. 54 โดยที่อำเภอเกซี มีผู้อพยพออกจากหมู่บ้านของตัวเองขณะนี้มากกว่า 1 หมื่นคนแล้ว (ที่มาของภาพ: มูลนิธิสิทธิมนุษยชนรัฐฉาน - SHRF)

 

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในรัฐฉาน เผยแพร่รายงานเมื่อวานนี้ (10 ส.ค.) เปิดเผยตัวเลขจำนวนพลเรือนที่ต้องอพยพหนีจากการกระทำที่โหดร้ายของกองทัพรัฐบาลทหารพม่าซึ่งได้เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 กว่าคน ในช่วงระหว่างที่กองทัพรัฐบาลทหารพม่าโจมตีต่อกองทัพรัฐฉานภาคเหนือที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้พลเรือนในภาคเหนือของรัฐฉานต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างแสนสาหัส

ในรายงานระบุว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคม กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้เคลื่อนพลทหารกว่า 4,000 นายจาก 42 กองพัน รวมทั้งใช้เครื่องบินรบเข้าโจมตี เพื่อที่จะยึดกองบัญชาการรัฐฉานภาคเหนือ ที่อยู่บ้านไฮ อำเภอเกซี โดยเพิ่มกองกำลังทหารล้อมรอบหลายๆหมู่บ้าน กองทัพทหารพม่าได้กระทำทารุณกรรมอย่างกว้างขวางต่อประชาชน รวมทั้งฆ่า ข่มขืนและทำร้ายทุกรูปแบบ ในเดือนที่ผ่านมานี้ มีชายชาวบ้านคนหนึ่งถูกฆ่าโดยญาติรับศพที่ถูกตัดแขนและขาอย่างละข้าง

ชาวบ้านประมาณ 31,700 คน จาก 9 อำเภอได้หนีจากการประหัตประหารตั้งแต่มีการโจมตีจากกองทัพทหารพม่าในวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าได้ละเมิดข้อตกลงการหยุดยิงที่ได้ทำไว้กว่า 22 ปีกับ กองทัพรัฐฉาน (เหนือ) ชาวบ้านบางส่วนได้หลบหนีไปในตัวเมืองอำเภอที่ใกล้เคียง บางส่วนหลบหนีไปยังเขตพื้นที่ควบคุมของกองทัพสหรัฐว้า หรือตามแนวชายแดนประเทศจีน บ้างหลบหนีไปยังชายแดนประเทศไทย แต่ส่วนมากได้หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาใกล้หมู่บ้านของตัวเอง

พลเรือนที่หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาได้ประสบกับการขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ยาและไม่มีทีพักอาศัยที่ปลอดภัย ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากยิ่งขึ้น ในเดือนที่ผ่านมา เฉพาะในบริเวณบ้านไฮ ชาวบ้านที่ไร้ที่อยู่อาศัยจำนวน 24 คน เสียชีวิตจากอาการท้องร่วงและไข้มาลาเรีย โดยส่วนใหญ่เด็กและคนชรา

การช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศไปไม่ถึงชุมชนเหล่านี้ และหน่วยงานบรรเทาทุกข์ที่ให้ความช่วยเหลือนานาชาติที่ทำงานอย่างเป็นทางการในประเทศพม่า ถูกปฎิเสธจากทหารพม่าไม่ให้เข้าไปยังพื้นที่มีการสู้รบ

องค์กรชุมชนไทใหญ่เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติและหน่วยงานบรรเทาทุกข์ความช่วยเหลือนานาชาติ   ให้การสนับสนุนทีมงานที่ทำงานสงเคราะห์เพื่อบรรเทาทุกข์ผู้อพยพเหล่านี้

“เนื่องจากการที่รัฐบาลทหารพม่าควบคุมองค์กรต่างๆในประเทศพม่าอย่างเข้มงวด เพราะฉะนั้นการช่วยเหลือข้ามพรมแดนเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้” นางแสงมล ผู้ประสารงานเครือข่ายปฎิบัติงานผู้หญิงไทใหญ่กล่าว “เราเรียกร้องให้รัฐบาล และองค์กรนานาชาติ ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านจากสถานการณ์วิกฤตินี้ ก่อนที่จะมีการสูญเสียชีวิตไปมากกว่านี้”

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แม้ว่ากองทัพรัฐบาลทหารพม่าจะถอนกองกำลังที่เคยเพิ่มเข้าไปใน บ้านไฮ หลังจากมีการสูญเสียกับทางฝ่ายทหารพม่าจากการสู้รบอย่างหนักตลอดเวลาห้าเดือนที่ผ่านมา แต่กองทัพรัฐบาลทหารพม่ายังคงล้อมรอบกองทัพรัฐฉาน (SSA) เหนือ อย่างเข้มงวดและการสู้รบยังคงดำเนินต่อไปในอนาคต และในช่วงอาทิตย์นี้ กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้ส่งรถบรรทุกที่เต็มไปด้วยพลทหารกว่า 40 คันเพื่อเป็นการเพิ่มกำลังพล จากเมืองล่าเสี้ยว และสี่ป้อ

 

หมายเหตุ: สรุปรายละเอียดสถานการณ์การสู้รบ และการละเมิดสิทธิมนุษย์ พร้อมแผนที่จากเดือนทีผ่านมาและวิดีโอเกี่ยวกับการผู้ลี้ภัยพลัดถิ่นภายในภาคเหนือของรัฐฉาน สามารถรับชมได้ที่  www.shanhumanrights.org, www.shanwomen.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กองทัพพม่าส่งเครื่องบินรบข่มขวัญ "SSA เหนือ" อีกรอบ

0
0

กองทัพพม่าส่งเครื่องบินรบ 4 ลำข่มขวัญกองกำลังไทใหญ่ SSA/SSPP อีกช่วงกลางดึก ทำชาวบ้านแตกตื่นวิ่งเข้าหลุมหลบภัยจ้าละหวั่นเหตุหวั่นถูกทิ้งระเบิดใส่ ขณะที่ทหารสองฝ่ายยังรบกันต่อเนื่องในหลายพื้นที่ 

มีรายงานว่า เมื่อเวลา 01.00 น. วันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีเครื่องบินรบของกองทัพพม่าไม่ทราบชนิด จำนวน 4 ลำ ไปบินวนเหนือพื้นที่เคลื่อนไหวกองทัพรัฐฉาน SSA/SSPP หรือ กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" เหนือพื้นที่ตำบลบ้านว้า ตำบลบ้านเหมือด ตำบลบ้านวาบ เขตเมืองเกซี เสียงของเครื่องบินดังกึกก้องทำให้ชาวบ้านซึ่งกำลังนอนหลับต่างแตกตื่นพากันวิ่งลงจากบ้านหลบเข้าหลุมหลบภัยอย่างจ้าละหวั่น เหตุเนื่องจากหวั่นถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดใส่

แหล่งข่าวเผยว่า เครื่องบินทั้ง 4 ลำ บินมาจากทางทิศใต้ซึ่งบินไม่สูงมากนัก เครื่องบินมีลักษณะคล้ายชนิดเดียวกันกับที่เคยไปบินวนเหนือพื้นที่เมืองเกซี เมืองไหย๋ และเมืองสี่ป้อ เมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเครื่องบินทั้ง 4 ลำ ไม่ได้มีการทิ้งระเบิดหรือโจมตีใส่ที่ฐานกองกำลังไทใหญ่ SSA/SSPP ที่อยู่ในพื้นที่แต่อย่างใด

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้ส่งเครื่องบินรบชนิด MIG-29 จำนวน 2 ลำ จากฐานทัพเมืองน้ำจ๋าง รัฐฉานภาคใต้ ไปบินวนเวียนเหนือพื้นที่เมืองเกซี เมืองไหย๋ และเมืองสี่ป้อ ในรัฐฉานภาคเหนือแล้วครั้งหนึ่ง โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP และเป็นพื้นที่ที่กำลังมีการสู้รบกันอย่างหนักระหว่างทหารทั้งสองฝ่าย แต่ไม่มีการโจมตีใดๆ

เจ้าหน้าที่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่กองทัพพม่าส่งเครื่องบินรบไปบินเหนือพื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" นับตั้งแต่เกิดการสู้รบทหารพม่าและกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ทั้งนี้ เชื่อว่ากองทัพพม่าต้องการข่มขวัญกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP และเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารของตนที่ปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่

ขณะเดียวกันมีรายงานจากแหล่งข่าวกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP แจ้งว่า เช้าวันนี้ (10 ส.ค.) ทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP กองพันที่ 1 สังกัดกองพลน้อยที่ 72 ได้บุกโจมตีฐานทหารพม่าบริเวณโขไม้แดง อยู่ระหว่างบ้านหนองซอม – บ้านเพิง เขตเมืองเกซี ส่งผลให้ทหารมพม่าเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 6 นาย และเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา ทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP สังกัดกองพันที่ 24 และ 801 กองพลน้อยที่ 72 ซุ่มโจมตีทหารพม่า ที่กองมูดอยซาง และบริเวณทางแยกไปบ้านฮายปลา เขตเมืองสู้ ทหารพม่าเสียชีวิต 8 นาย บาดเจ็บถูกนำส่งโรงพยาบาลอีก 12 นาย

กองทัพรัฐบาลพม่าได้เปิดฉากโจมตีกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA/SSPP (Shan State Army / Shan State Progressive Party) อดีตกองกำลังหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าที่ปฏิเสธจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF มาตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2554 จนถึงขณะนี้การสู้รบของทั้งสองฝ่ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ขณะที่มีผู้พยพหนีภัยสู้รบออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แถลงการณ์เสรีเกษตรศาสตร์เรียกร้องมหาลัยปกป้องเสรีภาพในการความคิดเห็นของนิสิต

0
0

นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ประชาชน ร่วมลงชื่อเรียกร้องมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องปกป้องเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนิสิตและประชาชน ชี้มาตรา 112 ยังมีปัญหาและขาดความชั​ดเจนทั้งในส่วนของโครงสร้าง​บทบัญญัติิ อัตราโทษ วิธีการฟ้องร้องดำเนินคดี รวมไปถึงการพิจารณาการให้ปร​ะกันตัว

แถลงการณ์กลุ่มเสรีเกษตรศาส​ตร์

เรื่อง การคัดค้านการจับกุมนายนรเว​ศย์ เศรษฐิวงศ์ ด้วยมาตรา 112 
วันที่ 9 สิงหาคม 2554

เนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวัน​ที่ 5 สิงหาคม 2554 นายนรเวศย์ เศรษฐิวงศ์ บัณฑิตมหาวิทยาลัย 
เกษตรศาสตร์ ได้ถูกจับกุมในความผิดฐานหม​ิ่นประมาทตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งนายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิ​ตและพัฒนากายภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็นผู้ยื่นฟ้องคดีโดยอ้​างว่า ถูกกดดันจากสภามหาวิทยาลัยเ​กษตรศาสตร์และทำเพื่อรักษาช​ื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยเกษต​รศาสตร์ เนื่องจากกลัวการร้องเรียนจ​ากสังคม ซึ่งข้ออ้างดังกล่าว ไม่สามารถเป็นที่ยอมรับได้ ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นสถ​าบันการศึกษาระดับสูงที่มีห​น้าที่ผลิตและสร้างสรรค์องค​์ความรู้แก่สังคม ในสถานการณ์ที่สังคมไทยในหล​ายส่วนกำลังตั้งคำถามเกี่ยว​กับความเป็นไปของสังคมการเม​ืองไทย มหาวิทยาลัยจึงสมควรที่จะทำ​หน้าที่สำคัญเยี่ยงมหาวิทยา​ลัยชั้นนำก็คือ การเป็นพื้นที่สำหรับการแลก​เปลี่ยนถกเถียงอย่างสร้างสร​รค์และเป็นกลาง ไม่ใช่การข่มขู่กดปราบการแส​ดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลา​กหลายในทางการเมืองโดยสุจริ​ตจากข้อเท็จจริงและเหตุผล โดยเฉพาะเสรีภาพในทางวิชากา​รของทั้งบุคลากรและนิสิตนัก​ศึกษา
ปัจจุบันตัวกฎหมายมาตรา 112 กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงค​วามบกพร่องในหลายด้านของข้อ​กฎหมายนี้ เช่น อัตราโทษที่สูงเกินสมควรกว่​าเหตุ (โทษจำคุก3-15ปี) ความชัดเจนในการตีความ การบังคับใช้ การที่ทุกคนสามารถแจ้งความด​ำเนินคดีกับบุคคลใดก็ได้ โดยที่ตนมิได้เป็นผู้เสียหา​ย ซึ่งนำไปสู่การใช้เป็นเครื่​องมือในการกลั่งแกล้งบุคคลอ​ื่นได้ กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์จึงออก​แถลงการณ์ฉบับนี้ เพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อมห​าวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนี้

1.ขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลั​ยเกษตรศาสตร์เคารพและปกป้อง​สิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ที่จะแสดงความคิดเห็นทางการ​เมืองที่หลากหลายของทั้งนิส​ิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัย​ โดยไม่นำกฎหมายหรือข้อบังคั​บที่ยังเป็นที่ถกเถียงหรือข​ัดกับหลักการประชาธิปไตยมาใ​ช้ในการจำกัดสิทธิเสรีภาพดั​งกล่าว 

2.ขอให้มหาวิทยาลัยตรวจสอบแ​ละพิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนท​ี่จะดำเนินการทางกฎหมายใดๆต​่อนิสิตและบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีกฎห​มายมาตรา 112 ตามประมวลกฎหายอาญา ซึ่งยังมีปัญหาและขาดความชั​ดเจนทั้งในส่วนของโครงสร้าง​บทบัญญัติิ อัตราโทษ วิธีการฟ้องร้องดำเนินคดี รวมไปถึงการพิจารณาการให้ปร​ะกันตัว 

จึงขอเชิญชวนนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ผู้รักในเสรีภาพทุกท่านร่วม​ลงชื่อแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับ​นี้ ในการร่วมรณรงค์ครั้งนี้ด้ว​ย

ผู้ร่วมลงรายชื่อ

1. ภัควดี วีระภาสพงษ์
2. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง
6. พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
7. Tyrell Haberkorn, มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเ​ลีย
8. กฤษฎา บัวรังษี คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
9. ประกีรติ สัตสุต ประชาชนทั่วไป ขอลงชื่อ
10. ชานันท์ ยอดหงษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
11. วีรนันท์ ฮวดศรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
12 ภรณ์ทิพย์ มั่นคง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
13 ธิติ มีแต้ม
14 ณัชชา ตินตานนท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
15 ศศพล บำรุงชีพ ผู้เสียภาษี
16 วุฒิชัย ฤกษ์สมบูรณ์ดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์
17 สมชาย แซ่จิว สามัญชน
18 นิพาดา ทองคำแท้ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19 กิรพัฒน์ เขียนทองกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
20 ศิริภาส ยมจินดา ประชาชน
21 อิสรา ยมจินดา ประชาชน
22 อารยา สุวรรณคำ ประชาชน
23 วิษณุ อาณารัตน์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24 สุริยะ ครุฑพันธุ์ นักเขียน
25 ธนพล พงศ์อธิโมกข์ ประชาชน
26 อาทิตย์ ศิวะหรรษาพันธ์ ประชาชนชาวไทย
27 ปุณณวิชญ์ เทศนา ราษฎร
28 พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ขอร่วมลงชื่อครับ
29 อิทธฎา รัฐธะป์
30 พัชรี แซ่เอี้ยว
31 วีรเกียรติ ศุกรกฤติ จิตรกร
32 ศรัณย์ วงศ์ขจิตร
33 นุจรินทร์ อินธิยะ นศ.คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
34 เชฏฐพงศ์ จงภัทรนิชพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35 กานต์ ทัศนภักดิ์
36 นภัทร สาเศียร
37 อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตน​ักศึกษาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2552-2553
38 ณัฐพล พึ่งธรรม
39 ตรีวิทย์ บุญกวีศิลป์ ชาวบ้าน
40 ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
41 สุรศักดิ์ นัยสุดใจ
42 จิฬาชัย พิทยานนท์
43 ธีระพล คุ้มทรัพย์
44 วัชรพล พุทธรักษา นักศึกษาปริญญาเอก The University of York, UK
45 นฆ ปักษนาวิน
46 จีรนุช เปรมชัยพร
47 ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย
48 นางสาวสหัทยา สุวรรณรัตน์ ศิษย์เก่าคณะอุตสาหกรรมเกษต​ร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
49 ภานุวัฒน์ แง่พรม นศ ครุศาสตร์ ราชภัฏสกลนคร
50 บัณฑิต เทียนรัตน์ ประชาชนไทย
51 หทัยกานต์ สังขชาติ
52 ภูมิสิทธิ์ วงศ์ทวีศักดิ์ ประวัติศาสตร์เกษตรศาสตร์
53 นายสิทธารถ ศรีโคตร นิสิตเก่าคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
54 ราชา พุฒนวล ครอบครัวนักกิจกรรมภาคใต้
55 ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ 
56 ธัญญธร สายปัญญา
57 พิมระวี เสียงหวาน ค่ะ
58 นนทรัตน์ สุวรรณพงศ์ 
59 วรุตม์ พงศ์พิพัฒน์
60 วศิน เกียรติปริทัศนฺ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
61 คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง
62 นริณีย์ รุทธนานุรักษ์ 
63 กิ่งฟ้า เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา - ราษฎร.
64 รอมแพง อริยมาศ นักเขียน/ ผู้สื่อข่าวอิสระ
65 เอกรินทร์ ต่วนศิริ
66 ปรีชาพล ชูชัยมงคล กลุ่มแนวร่วมนักเรียนนิสิตน​ักศึกษาเสรีชนล้านนา(กนสล).
67 กิตติพล เอี่ยมกมล
68 ฉวีวรรณ มงคลดาว ประชาชนคนไทย
69 เพียงคำ ประดับความ
70 คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรี​อยุธยา
71 อภิชน รัตนาภายน ศิษย์เก่าเกษตร
72 วัฒนา สุขวัจน์ (รุ่งโรจน์ "อริน" วรรณศูทร) นักเขียนอิสระ
73 เบญจมาศ บุญฤทธิ์ ค่ะ
74 เมธา เชื้อนาคา รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75 ชาญณรงค์ บุญหนุน ลงชื่อด้วยคนครับ
75 ศรัณยู เดชทิม ร่วมด้วย
76 ยุทธพงษ์ พงษ์วัน นศ.คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
77 อภิรดา มีเดช ประชาชน
78 นายธนพงษ์ หมื่นแสน นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
79 อัจฉริยา เนตรเชย ม.นเรศวร
80 นาย ประภัสชัย กองศักดิ์ กลุ่มอิสระเถียงนาประชาคม นักศึกษารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต​ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
81 ศรีสมร กิจภู่สวัสดิ์ KU ๔๒, เป็นครู และเขียนหนังสือ
82 เมย์ สิทธิธัญญาการ พนักงานบริษัท ร่วมลงชื่อด้วยค่ะ
83 นักรบ สกุลราษฏร์ขอสนุบสนุน ทุกๆการกระทำที่จะได้มาซึ่ง​อิสรภาพของน้อง นรเวศย์ เศรษฐิวงศ์ และคนไทยทุกๆในกรณี 112 ครับ ^^"
84 โชคชัย หลาบหนองแสง KU61 วิทยาศาสตร์ รังสีประยุกต์และไอโซโทป ขอคว่ำบาตรมาตรา 112 และเป็นกำลังใจสำหรับการต่อ​สู้
85 นายวรรณเกียรติ ชูสุวรรณ RU 40
86 วาทินี ณัมคนิสรณ์ ธุรกิจส่วนตัว ขอร่วมลงชื่อด้วยค่ะ
87 วรวุฒิ สัจจะปรเมษฐ หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรา​ยละเอียดของแถลงการณ์นี้ภาย​หลัง จะขอหยุดเกี่ยวข้องด้วย
88 ไชยรัตน์ ชินบุตรนักศึกษาปี4คณะรัฐศา​สตร์ ม รามคำแหง

89 นายเทิดพันธุ์ พวงเพ็ชร อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหา​สารคาม ปัจจุบันประชาชนเต็มขั้น
90 นายสถาปนิก วรสุเมธากุล นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่4
100 สุนิสา อิทธิชัยโย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
101 วิวัฒน์ รักแต่งาม
102 ชาญชัย เมธาลักษณ์ นักบัญชี KU42
103 นางสาวศศิวิมล รัตนวงษ์ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่4
104 นายพิเศษ นภาชัยเทพ
105 เบญจพล โชคพงษ์อุดมชัย ค้าขาย
106 ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่/นักกิจกรรมด้านสิ​ทธิความหลากหลายทางเพศ
107 อาทิตย์ ศรีจันทร์
108 หลวย มาคา

109 ประสิทธิ์ชัย มากพิณ กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา
110 ศิริลักษณ์ กำแทง KU 66 คณะวิทยาศสาตร์
111 รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์

113 พรภิรมณ์ เชียงกูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
114 ปิยพัฒน์ จันทพันธ์
115 สิตาภัค แก้วสิงห์
116 นาย เสฏ รุจิรงค์นางกูล นักธุรกิจ
117 ปชาบดี พุุ่มพวง
118 โอภาส ธัญญาวัฒน์ ku46
119 อรุณี พูลสวัสดิ์
120 นายประมวล ดวงนิล องค์อิสระเีถียงนาประชาคม ชาวนา
121 สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์
122 นติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักเรียนผู้รักประชาธิปไตย
123 สามารถ ศรีวัฒน์ ประชาชน
124 กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช ... ไพร่โดยกฏหมายบังคับ
125 เจดีย์ ดวงมาลัย
126 วสุรัตน์ ว่องไวกลยุทธ์ นิสิตประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
127 ทูนธรรม เหรียญทอง บัณฑิตคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
128 นาย ศุภกร สกุลนุ่ม นิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
129 วีรชัย เฟ้นดี้
130 phiyapa sirivedin
131 เมธาวี ไกรเกียรติสกุล :)
132 ณัฐพล อิ้งทม นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์​ มหาวิทยาลัยมหิดล
133 สุพจน์ เสงี่ยมกลาง คนคนหนึ่ง
134 ดวงใจ พวงแก้ว **--- ผลผลิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า​เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
135 ก้าวหน้า เสาวกุล ประชาชน
136 นายอัฐพล หมอช้าง ประชาชนประเทศไทย
137 ปกรณ์ พรชีวางกูร >> คนธรรมดา
138 ธนพร กฤชไมตรี นิสิตเก่าคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอร่วมลงชื่อคัดค้าน
139 รุ้งระวี ศรีสุข ประชาชนไทย
140 จินตนา ประหยัดทรัพย์ ธุรกิจส่วนตัว
141 ณภพร วงศ์ประัทุม unemployed
142 นายสุรชัย เพชรแสงโรจน์
143 ชญานี ขุนกัน
144 นายปัฐนกวินท์ ชูชื่น
145 ชมพูนุท เฉลียวบุญ
146 นิติพงศ์ สำราญคง
147 ชลิตา บัณฑุวงศ์
148 ทา เด
149 ซีตีคอรีเย๊าะ อูเซ็ง
150 นาย ธนากร ปัสนานนท์ (นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศา​สตร์)
151 อรอนงค์ ผิวขำ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศ​าสตร์
152 อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทย​า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
153 วีกิจ วิตตานนท์ นักดนตรีรับจ้าง
154 สมศักดิ์ จันทร์เรือง
155 ไตรรงค์ สินสืบผล
156 นายชนายุส การะเกษ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำ​บลดู่
157 วัชรินทร์ มีอิ่ม ครับ กิจการส่วนตัว...
158 นางสาวหัสยา ขอสุข กิจการส่วนตัวค่ะ
159 สันติ บุญปั้ว กิจการส่วนตัวครับ
160 ธรัญญา สัตตบุศย์ ประชาชนค่ะ
161 ทินกร ธัญญะ เป็นนักศึกษา คับ
162 WASAN NGAHATTEE DoubleA1991.CO.LTD
163 วรรณพร เนียมกล่ำ ประชาชน
164 อังกุศ รุ่งแสงจันทร์ นักเขียนอิสระ
165 ธีรศักดิ์ เจริญศิลป์ มัคุุเทศก์อิสระ
166 สุภิญญา เปรมพูลสวัสดิ์ นิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศ​าสตร์
167 สุพัตรา วัฒนวาทิน นิสิตป.โท เกษตรศาสตร์
168 kanongsak dayai : designer
169 วิภาวดี พันธุ์ยางน้อย สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังค​ม จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย
170 จักรพงศ์ โคตรทองหลาง นิติศาสตร์ รามคำแหง
171 ปิรัญญา ยังกองแก้ว ภาคประชาชน
172 วีรภัทร คันธะ นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
173 ชุมพล นนทาโซะ ธุรกิจส่วนตัว
174 วิวัฒน์ เหมวราพรชัย นิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
175 อลิสา แซ่ฟ่ง
176 ธนพล ฟักสุมณฑา
177 สยาม ธีรวุฒิ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
178 เนตรดาว เถาถวิล
179 ธนศักดิ์ สายจำปา
180 กมลรัตน์ เพ็ชรขาวเขียว
181 นันท์นภัส บัวพุฒ
182 ศักดิ์สิทธิ์ กัลยาณมิตร
183 นาย สุพจน์ ทิมจรัส นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาส​ตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
184 ณพัทธ์ นรังศิยา ประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
185 ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง
186 ณัฐเมธี สัยเวช
187 เสริม เจียมรัมย์
188 สันติ เล็กสกุล
189 ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
190 อดิศร เกิดมงคล
191 กุลวัฒน์ กาญจนสุนทรี
192 ศุภกานต์ กิ่งก้าน องค์กรอิสระเถียงนาประชาคม
193 พรพิศ ผักไหม ค่ะ
194 ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และ​การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
195 ส.ศรีศรูทรพรรณ
196 น้ำเพชร เชื้อชม นักออกแบบและเขียนบท
197 ณิชยา วัฒนกำธรกุล แพทย์ โรงพยาบาลสงขลาคนรินทร์
198 เงาดาว สุขศรีดากุล
199 หทัยชนก ศรีสุราช นศ.คณะศิลปศาสตร์ แขนงวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร​าช
200 ไมเคิ้ล เลียไฮ – มนุษย์
201 อภิรัฐ เจะเหล่า
202 ทิวา นินทะสิงห์ นิสิตสาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
203 ชนัตพร มณีเครือ นิติศาสตร์ รามฯ
204 ธนุต มโนรัตน์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
205 บารมี ชัยรัตน์
206 ภัทรพร มหาดำรงค์กุล
207 อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ นิติศาสตร์ รามคำแหง
208 กิตติ วิสารกาญจน นศ.ป.โท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
209 ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล
210 ปาหนัน หมุดแหล๊ะ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร
211 ธันยา แก้วสุวรรณ์ นิติศาสตร์ รามคำแหง
212 ปัณณวิชญ์ นรากุลพิพัฒน์ ธุรกิจส่วนตัว
213 ภากร สุดาทิพย์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
214 อรรพล ทุมสวัสดิ์ นศ.มหาวิทยาลัยรังสิตครับ
215 เดชาธร บำรุงเมือง ปี 4 นิเทศศาสตร์ ม.บูรพา
216 รวีสิริอิสสระนันท์ บรรณาธิการ
217 ผ่องศรี สุทนต์ แม่บ้าน
218 สุนันทา ล้อจินดา
219 ภมร ภูผิวผา ประชาชน
220 จิตร โพธิ์แก้ว
221 นายวชิรพันธุ์ ทรรพสุทธิเกษตรกร
222 ลือชา กิจบำรุง
223 พงศ์ธัช งิ้วทอง
224 ศิรดา วรสาร
225 นายนวภู แซ่ตั้ง นักศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
226 ขนิษฐา พุ่มสุวรรณ นักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
227 สุขุม ชีวาเกียรติยิ่งยง พลเมือง
228 วรพล มาสแสงสว่าง
229 สมาน บุนมี
230 พฤกษ์ พุทธยศ / ครู
231 ปรียารัตน์ รามจันทร์ นิสิตประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
232 ปราศรัย เจตสันติ์
233 วัชรัสม์ บัวชุ่ม/ธุรกิจร้านอาหาร
234 อัจฉรา รักยุติธรรม
235 นาย บดินทร์รัตน์ จันทน์ขาว นักศึกษาคณะพาณิชยศาสตร์และ​การบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
236 สุภาวดี กลั่นความดี
237 นายอธิพันธ์ สิมมาคำ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
238 นายภานุ เที่ยงธรรม ธุรกิจส่วนตัว
239 กิตติภณ เหล่าดิ้ม
240 สาคร เนียวจ้า
241 นางชาลินี วรรณพักตร์ ค่ะ..ยินดีเข้าร่วมอย่างยิ่​ง
242 อัศวโกวิทย์ พงศ์พิมล นิสิตค๊ณะครุศาสตร์ จุฬา
243 ชุติพงศ์ แสนสิงห์ ประชาชนผู้มีสิทธิตามรัฐธรร​มนูญ
244 ภัทธา สังขาระ (หนู)
245 วัฒนา สังขาระ (แม่)
246 สมศักดิ์ สังขาระ (พ่อ)
247 วรพิพัฒน์ ลามพัด นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ​ฝ่ายมัธยม
248 ธัญสก พันสิทธิวรกุล
249 จิรพรรณ สิงห์โตทอง / ธุรกิจส่วนตัว อดีตนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศ​าสตร์
250 อารีรัช จันทรวงศ์สาลี นักศึกษา
251 ทศพล เลิศบรรจงมนุษยศาสตร์ สื่อสารมวลชน รามคำแหง

252 ไพศาล ธนบุญสมบัติ ช่างซ่อมทีวี
253 ชัยพัฒน์. ถนอมกลางประชาชน
254 วรชัย อดีตนักศึกษาราชมงคลธัญญบุร​ี
255 นายสหณัฐ มณีกุล อาชีพ วิศวกรไฟฟ้า
256 ธีรพงษ์ กันทำ นิสิตวิทยาลัยการเมืองการปก​ครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
257 วีระศักดิ์ นาคมงคลกิจ 
258 นาย นุกูล หู้เต็ม 
259 นาง วันเพ็ญ หู้เต็ม
260 นางสาว ฐปนกุล หู้เต็ม 
261 นายสหัสพนต์ แก่นจันทร์
262 วรพจน์ อินยาศรี /วิศวกรเครื่องกล
263 อนุชา วรรณาสุนทรไชย
264 จตุชัย แซ่ซือ
265 สาวิตรี แสงแปลง
266 นภัส ตันพานิช มธก.
267 นายธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์
268 จินตนา ฉ่ำชื่น /เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบา​ยและแผน /ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตร​ศาสตร์
269 ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย
270 ชญานิน เตียงพิทยากร
271 พลภัทร จิตติวุฒิการ
272 ปัทมา สุทธิภิบาล
273 ปาวลี ไกรเกียรติสกุล
274 ดวงทิพย์ ฆารฤทธิ์
275 พรพิมพ์ แซ่ลิ้ม นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแห​ง
276 อภิชาติ อินสอน ดีเจอ้วน
277 อธิป ศุภฤกษ์ชัย
278 อรรณพ อ่องเอิบ
279 มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม
280 สุกัญญา ใสงาม
281 ศิริวัฒน์ แสนเสริม
282 ณัฐพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ นิติศาสตร์ รามคำแหง
283 วิลาสินี สุวรรณสัมฤทธิ์
284 เพ็ญพรรณ กรกีรติการ ม.นเรศวร
285 นายชาติตระการ นิลหัต มัคคุเทศก์อิสระ
286 เกียรติศักดิ์ ประทานัง (นักเขียน)
287 นายสังคม ศรีมหันต์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

288 วสมน ชอินทรวงศ์
289 บดินทร์ เทพรัตน์
290 วรกร ฤทัยวาณิชกุล
291 เกรียงไกร ไตรรัตน์วรพงศ์ / สถาปนิก
292 ประดิษฐ์ ลีลานิมิต
293 จิราพร นนท์สระเกษ
294 สุภิตา เจริญวัฒนมงคล กรุงเทพมหานคร
295 ปิยนุช ธรรมจริยวัธน์
296 Nattaya Songnabg
297 ปิยนุช ธรรมจริยวัธน์
298 สุทธิดา มนทิรารักษ์
299 สุภารัตน์ พระโนเรศ นักศึกษาปริญญาโท
300 ธณัฐพล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
300 จอมพล ดาวสุโข โครงการเอเชียตะวันออกเฉียง​ใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
301 นางลลิตา มณีกุล
302 พีระวัจน์ เดือนฉาย
303 สัณห์ชัย โชติรสเศรณี
304 ฐิติมา เชิดในเมือง
305 พุฒิภูมิ ผ่องใส ป.ตรี เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
306 สวรรยา ทนทอง...เชียงราย
307 ชาลิสา จุลศร เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี /ธุรกิจส่วนตัว
308 อินทวงศ์ อุทัยพัฒน์
309. เอกราช มอญวัฒ
310. วรงค์ หลูไพบูลย์ รับจ้างทำเว็บ
311. ชุตินาถ ชุนวิมลศิริ แพทย์
312. วีร์ ศานติ // วิศวกร
313. ศานติพจน์ เกตตะรังศรี คณะอักษรศาสตร์ เอเชียศึกษา ม.ศิลปากร
314. อธิคม จีระไพโรจน์กุล
315. จักรพรรดิ์ วงศ์สุข // ธุรกิจส่วนตัว – คนทำหนัง
316. นพเก้า คงสุวรรณ //อาชีพ นักประชาธิปไตยไม่ใช่นักฉวย​โอกาสทางการเมือง
317. ต่อศักดิ์ สุขศรี รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
318. นพพิสิทธิ์ จารุเบ็ญจลักษณ์ 
319. รัชพล ประจักษ์วงศ์
320. พรรณวดี ทันสูข 
321. พนาลัย สุขศรี ....นักศึกษา//พนง.บริษัทเอ​กชน
322. อัจจีมา เบ็ญตานุช
323. รศ. ดร. ไชยันต์ รัชชกูล
สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
324. นายสถาบัน วงศ์หน่อ
325. วรัญญา เกื้อนุ่น
326. เกริกศักดิ์ อัศวดารากร
327. สุริยัน จันทไหว
328. เทวฤทธิ์ มณีฉาย สมาชิกกลุ่มประกายไฟ
329. อภิรักษ์ วรรณสาธพ – ประชาชนคนไทย
330. พัชร์อริญ ตั้งรัตนาพิบูล
331. ลำพูน หออากาศ
332. นายอนันต์ ชาซิโย
333. ธีรมล บัวงาม
334. ฐิติมา เกตุรามฤทธิ์
335. ออมสิน บุญเลิศ
336. นินนาท ธนวิชญกุล
337. บันทัด ดอนตาล
338. สายชล ปัญญชิต
339. ธัญญา ทุมวารีย์
340. สมภพ แจ่มจันทร์ นักจิตวิทยา
341. จักรกฤษณ์ ทิมไสว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
342. ศลิษา อุสาหะ
343. วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง
344. ภัทราวุธ ห้วยหงษ์ทอง
345. มานิตย์ บูชาชนก กรมศิลปากร
346. ศราวุฒิ เพียรธัญกรณ์ วิศวกรโยธา พระจอมเกล้าธนบุรี
347. นายนพรุจ หิญชีระนันทน์ (แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า นักเขียนอิสระ)
348. อรรณพ ยศโสภณ (Numthang.org)
349. สรยุทธ มังกรพลอย
350. เอกพล เธียรถาวร
351. จิรศักดิ์ ธนกาญจน์กุล
352. วุฒิกร แสงรุ่งเรือง
353. ขจรศักดิ์ สิริพัฒนกรชัย
354. เถกิง พัฒโนภาษ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
355. นายอดิเีรก พรมเสน 
นศ.คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ม.ธรรมศาสตร์
356. ภูวิน บุณยะเวชชีวิน University of Hull
357. ทวีศักดิ์ เกิดโภคา รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
358. อัญชลี อนันตวัฒน์
359. เสาวนีย์ อเลกซานเดอร์
360. ชื่นขวัญ บุญทวี
361. รอมฎอน ปันจอร์ รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
362. นิศารัตน์ ฉายมงคลชัย / พนักงานบริษัท
363. เทพฤทธิ์ ภาษี
364. เลอสรร วรรณทอง / พนักงานบริษัท
365. นายชาย วีระสุนทรเดช
366. ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์
367. ฝ้ายคำ หาญณรงค์ - ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศ​าสตร์ รุ่น 58 ผู้สูญเสียความเคารพในวุฒิภ​าวะของผู้บริหาร/สภามหาลัยฯ​(ทั้งหมด) อย่างสิ้นเชิง
368. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล
369. ปุรินทร์ นาคสิงห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
370. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
371. Tukta Tanasom / พนักงานบริษัท
372. ชนะไพรี ภูมี
373. ศิริวัฒน์ โปษะยานนท์ ศิษย์เก่า ม.เกษตร
374. สมภพ นิลกำแหง
375. พนิดา เสียงเลิศ แม่โจ้
376. จิตรกร หน่อแก้ว
377. อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ กลุ่มเสรีนนทรี
378. ธนรรถวร จตุรงควาณิช ศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
379. ไกรศร เรืองกูล พลเมืองเลอะเทอะครับ
380. นาวัฟ มะมิง / นักเขียนอิสระ
381. ปาณิสรา เทียนอ่อน--ป.โท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
382. Miqdad Wongsena-aree
383. วรวัฒน์ อาซิส 
384. ภาส พัฒนกำจร
385. เพ็ญพิสุทธิ์ ถุงทรัพย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต
386. ก่อเก้า ดอนไพร ม.เกษมบัณฑิต
387. กอบชัย กอบสุข ราษฏรเต็มกลั้น
388. ศิริรัตน์ ใจบุญ / ธุรกิจส่วนตัว
389. ภูริพัศ เมธธนากุล เกษตรศาสตร์
390. สมโชค กิตติสัทโธ
391. วรุตม์ เวฬุวรรณ อดีตนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศ​าสตร์ (มหาลัยสลิ่ม)
392. Chamaiporn Chatchvasvimol 
393. ปกรวิช จำนงทอง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
394. ปฐมพร ศรีมันตะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
395. สมศักดิ์ อัศวลาภสกุล
396. นายธนากรณ์ ถาทะนะ นศ. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
397. วรรษชล ศิริจันทนันท์
398. กิตติกานต์ ปาณธูป รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
399. ธนิสสร มณีรักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
400. นายเดชาวัต ขจรเนติยุทธ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำเเหง
401. เมทินีย์ ภัสสราอุดมศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
402. ชิษณุ สุจริตจันทร์ ประชาชนคนธรรมดา
403. นาย สมพร แซ่ล้ม
404. ตุลย์ จิรโชคโสภณ (M.A. II) Department of History, University of Pune, India
405. วรมัน วัฒนสิงห์ (ประชาชนอิสระ ..ตัวคนเดียว)
406. รักนิรันดร์ วรรณวีรพงษ์ รัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
407. ธวัชชัย ศรีฟ้าเลื่อน ประชาชนคนธรรมดา
408. เชือง คาร์เตอร์ Northern Beaches College - Northern Sydney Institute - TAFE NSW
409. นายซันไชน์ ไชยสมบูรณ์ California. U.S.A
410. สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (อดีตนิสิต มนุษยศาสตร์ เกษตรฯ)
411. เตือนสิริ ศรีนอก
412. อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา
413. ไตรรงค์ สินสืบผล
444. กฤตธี ระลึกฤาเดชกานต์ 
445. ทัศนภักดิ์ ช่างภาพ/ศิลปิน
446. นภัทร สาเศียร นิสิตปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
447. จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์
448. ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่/นักกิจกรรมสิทธิค​วามหลากหลายทางเพศ
449. จินตนา ทาคาซินา ประชาชนคนธรรมดา
450. วิภา ดาวมณี ธรรมศาสตร์
451. ภิญญพันธู์ พจนะลาวัณย์
452. สงกรานต์ คำคม นักศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาส​ตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
453. จิตราภา กันทะลอม พลเมือง เชียงใหม่
454. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์
455. อ้อมขวัญ ศรีบุญเรือง พลเมือง
456. อมรรัตน์ ตีรณวัฒนากูล บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
457. อดิศัย กาเหย็ม สงขลา
458. ธีรวรรณ บุญญวรรณ ลูกจ้างภาษีประชาชน
459. นายสายฝน ตรีณาวงษ์ จากพระนครศรีอยุธยา
460. สุมานะ อินทร์จันทร์ พนักงานบริษัท..
461. นิรมล ยุวนบุณย์
462. ณฐาวีร์ สุขเกษม ประชาชนของแผ่นดินไทย ผู้รักประชาธิปไตย ไม่เอาเผด็จการทุกรูปแบบค่ะ
463. ผการัตน์ ฉสกุลปัญโญ ประชาชนคนธรรมดาเจ้าค่ะ
464. แก้วตา เพชรรัตน์ นักกิจกรรม และภาพิตร เพชรรัตน์ สื่อมวลชน ค่ะ
465. Anon Chawalawan MA University for Peace
466. วันดี ธรรมจารี ลูกจ้างภาษีประชาชน
467. กิตติธัช เจริญศักดิ์ 
468. วนัสนันท์ สะสม
469. ปิยบุตร บุรีคำ
470. มาลัย รัตนาเจริญ
471. ธรธวัช ตุ้ยเขียว
472. นายนพพร นามเชียงใต้ครับ
473. ณฐาวีร์ สุขเกษม ประชาชนของแผ่นดินไทย ผู้รักประชาธิปไตย ไม่เอาเผด็จการทุกรูปแบบค่ะ
474. พัชรา เหล่าพูลทรัพย์ ร่วมด้วยอีกคนค่ะ
475. ภาวิณี เนตัตน์
476. สุรพงศ์ จินตนาภรณ์
477. จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัม​พ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประ​เทศไทย
478. วิภา มัจฉาชาติ กลุ่มคนงานTry Arm 
479. จิตตินันท์ สุขโน ประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อ​ินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศ​ไทย
480. มาณีวรรณ คุณพาณิชย์โชติ 
481. สุมิตร ชลสวัสดิ์
482. ชิดชนก นิ่มนคร
483. นายทศพล ศรีนุช
484. มธุรา ประยงค์ แม่บ้านตัวจริง
485. พรเทพ แนวสูง
486. นิษฐา อยู่พร้อม
487. ปภัสสร ผลโพธิ์ นักศีกษาปริญญาโทนิเทศศาสตร​์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิร​าช 
488. ยุทธพงศ์ ขันประกอบ
489. วิทยา พันธ์พานิชย์
490. มนัส ทองชื่น คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

491. สรณ ขจรเดชกุล
492. ขวัญตา มันตะเภา
493. อัญญกาญ จีระอัญการ
494. ขวัญจิตร ทองสิทธิ์ ประชาชนเต็มขั้นร่วมต้าน112
495. อรณิศา ข่าทิพย์พาที
496. ขจรพฏ โสภณสกุลแ้ก้ว นักศึกษาป.โทร่วมสถาบันที่ท​นไม่ได้ต่อเหตุการณ์นี้
497. อริยา พชรวรรณ
498. ทินารมภ์ ปุณณภค 
499. พัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
500. สุดที่รัก ใกล้ชิด 
501. นางสาวยุภาวดี ฑีฆะ
502. จิรัตน์ เขียวชอุ่ม ร่วมคัดค้านด้วยคนครับ
503. วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ 
504. abdullah yuhannan mee2
505. สลาวอย ซีเซ็กฉ่าย
506. อำนาจ เสริมพงศ์สุวัฒน์
507. สมชาติ กลิ่นกลั่น
508. กฤษณา มานะกิจ
509. น.ส. นพเก้า ทิวารี
510. บุญญฤทธิ์ ราชเนตร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศ​าสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
511. อภิชา ยอดจิตร
512. จิราภรณ์ หิรัญบูรณะ
513. พจมาน วงษ์พันธ์ ม.รามคำแหง
514. นภัส รุจิพรรณ 
515. สุรพศ ทวีศักดิ์
516. วีรวุธ พรชัยสิทธิ์ ม.บูรพา
517. วันวิสาข์ บุญนพวรรณ
518. ปริวัตร พรหมเวชยานนท์ ม.รังสิต
519. คมสัน พรมรินทร์ 
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์
520. นายรัฐศักดิ์ อนันตริยะ สำนักกฎหมายรฐธรรม
521. ปิดาโรจน์ ศักดาภิสัมพันธ์ ม.หอการค้า
522. นายฐิติพันธ์ ฉันทะรังสิพล
523. นายอัครวิช เงินกร
524. รังสรรค์ โยธาประเสริฐ คนไท
525. นายชาคริต คำพิลานนท์ ร่วมลงรายชื่อคัดค้านการจับ​กุมนายนรเวศย์ เศรษฐิวงศ์ ด้วยมาตรา 112
526. นายภูมิทรัพย์ รัตนาประภาพันธุ์ KU66
527. นายวิทิต กาพย์ไกรแก้ว
528. นางสาวปริณดา เมืองงาม ราษฎรเ็ต็มขั้น
529. เฟย์ อัศเวศน์
530. ทรงพล โคตรโสภา
531. นายสาธิต พุ่มเกิด
532. อาภรณ์ สีมาโรจน์
533. ภานุวัฒน์ ลึกซึ้ง คัดค้านกฎหมาย ม.112 ครับท่านประธาน
534. ชัชวนันท์ สันธิเดช KU56
535. อันธิฌา ทัศคร ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสต​ร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
536. ศรัณย์ ฉุยฉาย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
537. ธนินฉัตร เฉลิมพร รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
538. Rossarin Kaewpangmark
539. สุนิดา อ่อนดีสวัสดิ์
540. น.ส.ณัชชๅ เพ็ชรดี
541. สุจิตรา อุ่นเอมใจ
542. อิสรพงษ์ ศรเสนา
543. กำพล วงศ์กุหมัด – ช่างไม้
544. พงษ์นริศ เดชเฟื่อง ช่างภาพข่าว ช่อง 9 อสมท
545. นายทรงธรรม ชูเงิน นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย
546. นาวิกมูน เอกไชยกุล/ธุรกิจส่วนตัว
547. พงศธร ศรเพชรนรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี​ ม.ธรรมศาสตร์ รหัส 41 
548. นายณัชพล ชูตลาด /มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภาควิชาการจัดการการท่องเที​่ยว
549. นาย สานนท์ ศุระศรางค์ ประชาชนทั่วไป
550. นายนิวัตชัย ขยายแย้ม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
551. วีระพันธุ์ ตรีรัตน์พันธุ์
552. จิรัฐติกาล ไชยา นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาส​ตร์
553. รุจ ธนรักษ์
554. นายปรมินทร์ สนุกพงศธร นิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ
555. ว่าที่ ร.ต.ภาสพันธ์ ปานสีดา
556. ยุพรัตน์ โซ่มงคล
557. Sean Boonpracong, citizen
558. Sinanad Oldenburg ,, Citizen
559. สุจิตรา ชัชวัสวิมล
560. จิตรชนก คงจรัสพัฒน์ พนักงานบริษัทเอกชน
561. สุประวีณ์ รชตพิสิษฐ์ (ประชาชน)
562. นิพนธ์ วงค์มหาศิริกุล
563. ธนาวุธ ศรีสุข
564. วิศรุต ชัยเลิศฤทธิ์ มก.
565. มนศักดิ์ คล่องชัยนันต์
566. ธนพงศ์ จิตต์สง่า ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
567. มานะ สุขจันทร์ ราษฎร
568. ธัญญกาญจน์ อารีรักษ์ ธุรกิจส่วนตัว
569. เขมทัศน์ ปาลเปรม ราษฎรไทย
570. ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ ประชาชนธรรมดา
571. จักราวุธ ปินะเก

 

(พิมพ์ชื่อ นามสกุล ตามด้วยองกรณ์ สังกัด หรืออาชีพ ปิดลงรายชื่อวันที่11/8/54 เวลา 0.00น.)

ที่มา: ร่วมลงรายชื่อคัดค้านการจับกุมนายนรเวศย์ เศรษฐิวงศ์ ด้วยมาตรา 112
          http://www.facebook.com/event.php?eid=144266165656981

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "112"

0
0

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "112"

Ted Vallance : จลาจลข้ามยุคสมัยในอังกฤษ

0
0

9 ส.ค. 2011 - ดร.เท็ด วาลานซ์ ผู้บรรยายจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยโรแฮมตัน และผู้เขียนหนังสือเรื่อง "A Radical History of Britain" ได้แสดงความเห็นผ่านบทความ "ลอนดอนเนอร์ จลาจลข้ามยุคสมัย" ซึ่งเห็นว่า แม้ว่าอังกฤษจะมีเรื่องการลุกฮือของประชาชนอยู่ในประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน แต่การจลาจลที่เกิดขึ้นในอังกฤษช่วงที่ผ่านมายังขาดสำนึกทางการเมืองและทางจริยธรรมที่ชัดเจน โดยเนื้อหาของบทความมีดังนี้

0 0 0

ย้อนไปในช่วงฤดูร้อนของปี 2010 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ จอร์จ ออสบอร์น ประกาศตัดค่าใช้จ่ายการบริหารของภาครัฐ ผู้สื่อข่าวจำนวนมากสงสัยว่าเหตุใดอังกฤษถึงต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาคยุโรปที่เฉื่อยชาต่อมาตรการตัดงบประมาณเช่นนี้ หรือนี้จะเป็นตัวอย่างของชาวอังกฤษผู้ "หน้าตาย" ผู้ไม่นิยมออกอาการ และไม่นิยมอารยะขัดขืน?
 
คำถามเหล่านั้นกลายเป็นเรื่องตลกไปเลยในตอนนี้ ขณะที่การประท้วงอย่างสงบโดยสมาพันธ์สหภาพแรงงานในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมากลายเป็นเหตุรุนแรงเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมปะทะกับตำรวจที่จัตุรัสทราฟัลการ์
 
การฉกชิงและทำลายข้าวของเกิดขึ้นทั่วลอนดอน รวมถึงเมืองอื่นๆ ในอังกฤษ เป็นการประกาศให้เห็นถึงความไม่พอใจของประชาชนได้อย่างน่าสะพรึง แต่ในครั้งนี้ต่างจากการประท้วงโดยมวลชนกลุ่มใหญ่หรือการจลาจลในหมู่นักเรียนนักศึกษาซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ การก่อความวุ่นวายในช่วงสองสามวันที่ผ่านมามีแบบอย่างให้เห็นน้อยมากในอังกฤษ และในความจริงแล้ว เหตุจลาจลในครั้งนี้ก็ขาดบริบท (ทางสังคม, ประวัติศาสตร์ หรืออื่นๆ) ทำให้พวกเขายิ่งดูน่ากลัว
 
กบฏไร้ข้อเรียกร้อง?
การลุกฮือก่อจลาจลโดยประชาชนนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกในอังกฤษ หลายพื้นที่ในอังกฤษมีการปล้นชิงทำลายข้าวของเช่น ในท็อกเท็ธของลิเวอร์พูล และบริซตันของเซาธ์ ลอนดอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์การก่อจลาจล เรื่องความตายของมาร์ค ดักแกน ที่เป็นชนวนให้เกิดการจลาจลในทอตเทนแฮมนั้น ดูเป็นไปในทางเดียวกับเหตุการณ์เมื่อปี 1985 ที่ความตายของซินเธีย จาร์เร็ท เป็นชนวนให้เกิดการจลาจลบอร์ดวอเตอร์ฟาร์มในเขตปกครองตนเองฮาร์ลิงจี
 
แต่ในกรณีของการจลาจลบอร์ดวอเตอร์ฟาร์มและเหตุที่เกิดขึ้นในบริซตันและทอซเทธเมื่อปี 1981 การจลาจลทั้งสองเหตุการณ์นี้เน้นย้ำให้เห็นถึงการใช้กำลังของตำรวจและการเหยียดสีผิวอย่างชัดเจน ข้อกล่าวหาในเรื่องนี้ส่วนหนึ่งมีข้อมูลสนับสนุนจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่เช่น รายงานของสการ์แมนในปี 1981 ขณะที่รายงานของแม็กเฟอสันในปี 1999 ซึ่งเป็นการรายงานต่อสำนักงานตำรวจของอังกฤษในคดีฆาตกรรมสตีเฟน ลอว์เรนซ์ มีการตั้งข้อหาอย่างชัดเจนว่าเป็นการ "เหยียดเชื้อชาติโดยสถาบันของรัฐ" นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางด้านการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่อังกฤษ จากการถกเถียงหารือกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับชุมชนในช่วงการจลาจลที่ทอตเทนแฮม แฮกนีย์ และบริกซ์ตัน ส่วนใหญ่เห็นว่ามีพัฒนาการมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
 
ไม่ว่าชาวอังกฤษบางคนจะมีมุมมองด้านลบต่อสำนักตำรวจขนาดไหนก็ตาม สิ่งที่โดดเด่นในเหตุการณ์คราวนี้คือความคิดเห็นของนักวิจารณ์ที่มองว่าความตายของ มาร์ก ดันแกน ถูกนำมาอ้างมากกว่าเป็นการแก้ตัวให้กับกลุ่มที่ออกมาทำลายข้าวของในช่วงสุดสัปดาห์นี้
 
แน่นอนว่าการทำลายข้าวของเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงอย่างรุนแรงของอังกฤษตั้งแต่ในอดีตมาแล้ว การประท้วงเพื่อสิทธิในการลงคะแนนของสตรี (Suffragettes) ก็รู้จักกันในแง่ที่มีการทำลายชุดแต่งกายของเหล่าสุภาพบุรุษเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ของการกดขี่แบบปิตาธิปไตย ในช่วงที่ผ่านมาเปล่าผู้ประท้วงต่อต้านทุนนิยมก็พุ่งเป้าหมายไปที่แบรนด์ดังๆ ของโลกอย่างแม็กโดนัล์และสตาร์บักส์
 
แต่การก่อเหตุวุ่นวายของเหล่าวัยรุ่นในช่วงเดือนสิงหาคมนี้มีทั้งการทำลายข้าวของทั้งร้านแฟรนไชล์และร้านที่เป็นธุรกิจอิสระโดยไม่แยกแยะ สิ่งที่พอจะจำแนกได้คือมูลค่าของสินค้าที่อยู่ในร้าน ซึ่งมักเป็นสินค้ายอดนิยมของวัยรุ่นในเมือง ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าผ้าใบใหม่แกะกล่อง สมาร์ทโฟน เสื้อผ้า ซึ่งทุกอย่างนี้ถูกปล้นออกมาหมด ถ้าหากพวกเขาจะมีอุดมการณ์ ก็คงเป็นแนวคิดในแบบเด็กอนุบาลที่เรียกได้ว่า "ฉันเป็นคนเจอ ฉะนั้นฉันถึงเป็นเจ้าของ" (Finders Keepers)
 
ถ้าหากนี่เป็นแค่การฉกชิงวิ่งราวทั่วไป ทั่วทั้งประเทศคงไม่รู้สึกระคนตื่นตระหนกกันเช่นนี้ แต่พวกกลุ่มนักฉกชิงก็ออกพล่านไปทั่วอังกฤษ มีนักวิเคราะห์พยายามชี้ให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของการเคลื่อนไหวนี้ว่าเกือบจะเหมือนปรากฏการณ์ "ดอกไม้บานในอาหรับ" ที่มีการใช้โซเชียลมีเดียในการเชื่อมต่อสื่อสารกัน แต่แม้ว่ากลุ่มแก๊งค์เหล่านี้จะเคลื่อนไหวโดยส่งข้อความผ่านแบล็กเบอร์รี่แมซเซนเจอร์ (BBM) ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารเครือข่ายทางสังคมที่ปิดมาก การเปรียบเทียบกรณีอังกฤษกับอาหรับนั้นดูเหมือนเป็นการลดทอนคุณค่าของการเคลื่อนไหวในอาหรับมากกว่าจะช่วยให้อะไรดีขึ้น ผู้คนเหล่านี้ไม่ใช่นักรณรงค์ผู้กล้าหาญ และสถานีรถรางรีฟส์คอร์เนอร์ในครอยเดนก็คงไม่ใช่จัตุรัสทาห์เรีย [1] สำหรับชาวอังกฤษแน่ พวกวัยรุ่นที่ฉวยเครื่องกีฬาจากร้านค้าทั่วอังกฤษไปจนเกลี้ยงก็เทียบไม่ได้สักนิดกับกบฏของอังกฤษในยุคก่อน พวกเขาไม่มีแถลงการณ์หรือประกาศเจตนารมณ์ใดๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือพวกเขาไม่มีข้อเรียกร้องใดๆ ให้รัฐบาลอังกฤษได้บรรลุเพื่อทำให้เหตุการณ์สงบ แต่กระนั้นก็ตาม แม้กลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้ดูไม่มีวาระทางการเมืองใดๆ แต่พวกเขาก็เป็นอันตรายต่อรัฐบาลอังกฤษ
 
ใครปกครอง?
ในช่วงสงครามกลางเมืองของอังกฤษในปี 1642-1646 ความรุนแรงของฝูงชนมีบทบาทสำคัญในการทำให้พระเจ้าชาร์ลที่ 1 หนีออกจากเมืองหลวง มีเหตุการณ์ในแบบเดียวกันเกิดขึ้นช่วง "การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์" (Glorious Revolution) ในปี 1688 เมื่อผู้ประท้วงทำให้พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ต้องหนีไป 
 
จากประวัติศาสตร์ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าความวุ่นวายที่เกิดจากประชาชนจะเป็นการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างมาก ในเดือนกุมภาพันธ์ 1974 เมื่อมีการประท้วงหยุดงานของสหภาพคนงานเหมืองแร่ของอังกฤษ นายกรัฐมนตรีเอ็ดเวิร์ด ฮีธ จากพรรคอนุรักษ์นิยมผู้ที่อ่อนแรงลงก็จัดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สโลแกน "ใครกันที่ปกครองอังกฤษ?" ใครก็ตามที่ปกครองอังกฤษอยู่คนผู้นั้นมิใช่เอ็ดเวิร์ด ฮีธ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งช่วยกันก่อตั้งรัฐสภาอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1929 และระบอบอุตสาหกรรมก็ลุกลามไปทั่วประเทศในอีกทศวรรษถัดมา เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นายกฯ จากพรรคแรงงาน เจมส์ คาลลากันพ่ายการเลือกตั้งไปในปี 1979
 
11 ปีต่อมา การลุกฮือของประชาชนทำให้นายกรัฐมนตรีต้องสละเก้าอี้อีกครั้ง เมื่อมีเหตุการณ์ประท้วงต่อต้านการคิดภาษีระบบใหม่ที่เรียกว่า "คอมมิวนิตี้ชาร์จ" ของรัฐบาลมาร์กาเร็ต แทชเชอร์ ในช่วงเดือน มี.ค. 1990 ซึ่งในตอนแรกเริ่มต้นจากการชุมนุมอย่างสงบแต่ต่อมาก็กลายเป็นการจลาจลในจัตุรัสทราฟัลการ์ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ้บนับร้อยและมีผู้ถูกจับกุม 339 ราย แม้ว่าความรุนแรงจะถูกประณามทั้งจากรัฐบาลและจากนักกิจกรรม แต่การต่อต้านระบบภาษีใหม่ก็มีส่วนสำคัญในการทำให้รัฐบาลของมาร์กาเร็ต แทชเชอร์อ่อนแรงและทำให้มีการยกเลิกระบบภาษีนี้ในที่สุด "หญิงเหล็ก" ของอังกฤษผู้ที่ไม่เคยยอมอ่อนข้อปรับเปลี่ยนนโยบายก็จำต้องยอม "ยูเทิร์น" อย่างเสียหน้า
 
นายกฯ คนปัจจุบัน เดวิด คาเมรอน ก็ต้องกลับประเทศเร็วกว่ากำหนดหลังไปพักร้อนช่วงวันหยุดที่เมืองทัสคานี เพื่อควบคุมสถานการณ์ที่เริ่มวิกฤติมากขึ้นเรื่อยๆ คาเมรอนเข้าใจดีว่าหากตอบโต้เหตุการณ์นี้ด้วยความอ่อนข้อเกินไปอาจทำให้เขาต้องออกถูกเด้งจากเก้าอี้เช่นเดียวกับนายกฯ รายอื่นๆ ในที่สุด ความยากอยู่ตรงที่ เหตุการณ์ในอดีตชี้ให้เห็นว่าการตอบโต้อย่างหนักหน่วงรุนแรงก็นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เป็นหายนะเช่นกัน
 
จาก "โอบอุ้ม" เป็น "จับแขวน"
ประชาชนทั่วไปรู้สึกไม่พอใจกับการได้เห็นภาพการปล้นชิงทำลายข้าวของและการใช้ความรุนแรงในช่วงวันที่ 6-8 ที่ผ่านมา และเรียกร้องให้ตำรวจของอังกฤษใช้ยุทธวิธีที่เข้มงวดกว่านี้ โดยการใช้ปืนน้ำและไม้กระบอง รวมถึงต้องการให้กองทัพเข้าแทรกแซงสถานการณ์
 
ก่อนหน้านี้ในปี 2006 คาเมรอนพยายามให้เหล่าผู้สนับสนุนของเขาทำตัวเป็นผู้ "โอบอุ้มชาวเสื้อคลุมหัว" [2] ซึ่งเป็นการปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้กับพรรคอนุรักษ์นิยมให้ดูเป็น "นักอนุรักษ์นิยมผู้แสนดี" แต่ตอนนี้ภาพของวัยรุ่นในชุดคลุมที่ออกปล้นอย่างดุร้ายในจอโทรทัศน์ ทำให้สิ่งที่คาเมรอนเคยพูดไว้ดูไม่จืด อย่างไรก็ตามจนบัดนี้คาเมรอนก็ยังไม่ยอมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด แต่ใช้วิธีการเทกำลังเจ้าหน้าที่ลงตามท้องถนนของลอนดอนเพื่อยับยั้งเหตุจลาจล
 
ประวัติศาสตร์สอนว่านี้เป็นการตอบโต้ที่ดูมีเหตุผล เว้นแต่ว่ากองกำลังเจ้าหน้าที่ของอังกฤษจะทำเกินเลยไปจนถึงจุดที่เกินกว่าฉันทามติของนานาชาติจะยอมรับได้ และทำให้เกิดผลกระทบต่อนโยบายตัดงบของรัฐบาล และประวัติศาสตร์ของการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงเพื่อปราบปรามการก่อจลาจลของประชาชนนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าพิสมัยเลย
 
ก่อนหน้าศตวรรษที่ 19 ที่มีการจัดตั้งหน่วยงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจในท้องที่ กองทัพเป็นอาวุธอย่างเดียวที่รัฐบาลอังกฤษใช้ในการปราบปรามผู้ต่อต้าน ครั้งสุดท้ายที่อังกฤษเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบข้ามวันข้ามตืนจนเทียบได้กับเหตุการณ์ครั้งนี้ คือกลุ่มกบฏกอร์ดอนเมื่อวันที่ 2-9 มิ.ย. 1780 พระเจ้าจอร์จที่ 3 ตัดสินใจใช้กองทัพที่แม้จะปราบปรามเหตุไม่สงบได้ แต่ก็ทำให้ประชาชนต้องล้มตายไปมากกว่า 200 ราย
 
การใช้กองทัพปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในเซนส์ปีเตอร์สฟิลด์ แมนเชสเตอร์เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 1819 ก็นำมาซึ่ง "เหตุปะทะปีเตอร์ลู" ที่มีประชาชน 15 รายเสียชีวิตและอีกหลายร้อยรายได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์ที่ใกล้เข้ามาหน่อยแต่ก็น่าขมขื่นไม่แพ้กัน คือการส่งกองทัพเข้าไปในไอร์แลนด์เหนือที่ยิ่งเป้นการย้ำเตือนว่า ยังไงทหารก็ไม่ใช่ตำรวจ และการมีอยู่ของทหารก็ยิ่งเป็นชนวนให้เกิดการปะทุมากกว่าเป็นการช่วยบรรเทาความตึงเครียด
 
การฟื้นคืนยุทธวิธีอย่างการใช้กฏหมายค้นตัวผู้ต้องสงสัย (sus laws) ที่ให้อำนาจการค้นแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็มีการลือกันว่าเป็นชนวนให้เกิดความรุนแรงในแฮกนีย์ และมีความเป็นไปได้ว่าการใช้ปืนน้ำและกระสุนยางก็อาจก่อให้เกิดเหตุแบบเดียวกันโดยเฉพาะจะทำให้มีคนได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ แต่หากว่าเราควรหักห้ามไม่ให้ใช้วิธีการปราบที่รุนแรงกับกลุ่มก่อจลาจลเช่นนี้แล้ว คำถามคือเราควรจะใช้วิธีการใดแทน ไม่ใช่คำตอบที่ง่ายดายเลย
 
นักวิจารณ์ฝ่ายเสรีนิยมมักจะเสนอว่า มาตรการลดงบประมาณของรัฐบาลเป็นเหตุทำให้เกิดความวุ่นวายในครั้งนี้ แต่ถ้าจะให้อธิบายจริงก็ถือว่าถูกแค่ส่วนเดียว ผู้คนเพิ่งได้รับรู้ถึงผลกระทบของนโยบายตัดงบเมื่อไม่นานมานี้เอง การตัดงบมากกว่านี้อาจจะยิ่งทำให้เกิดการจลาจลบานปลายขึ้นไปอีก แต่ความจริงที่ไม่น่าพิสมัยเท่าไหร่คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันมานี้เป็นผลผลิตมานานนับทศวรรษ ไม่ใช่เพียงแค่หลายเดือนที่ผ่านมา นั่นคือช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมที่ถ่างกว้างขึ้น อาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายทศวรรษในการกล่าวถึงความไม่เท่าเทียมที่ว่านี้
 
อย่างไรก็ตามประเทศอังกฤษก็ต้องหาทางแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมในเมือง มิเช่นนั้นแล้วอังกฤษอาจต้องพบกับภัยทางสังคมที่ไม่อาจหยุดยั้งได้ เพราะการจลาจลในครั้งนี้ ไม่เหมือนการก่อกบฏในอดีต พวกเขาไม่มีสำนึกทางการเมืองหรือสำนึกด้านจริยธรรม พวกเขามีแต่ความปรารถนาที่จะดื่มกินและทำลายล้าง
 

เชิงอรรถ
[1] จัตุรัสทาห์เรีย เป็นแหล่งชุมนุมสำคัญของชาวอิยิปต์ที่ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลเมื่อกลางปี 2011 นี้
[2] Hug a Hoodie - ในวัฒนธรรมอังกฤษคนที่ใส่เสื้อคลุมหัวหรือ Hood นั้นดูไม่น่าไว้วางใจและต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากร ขณะเดียวกันก็เป็นที่นิยมของเด็กวัยรุ่นชนชั้นล่าง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮิปฮอปของสหรัฐฯ โดยคาเมรอนกล่าวไว้ว่า "วัยรุ่นที่สวมเสื้อคลุมหัวนั้นเขาสวมในเชิงปกป้องตัวเองมากกว่าจะมีเจตนาทำร้ายคนอื่น" (อ้างจาก http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/politics/5166498.stm)
 
 
ที่มา
Londoners: Rioting through the ages, Ted Vallance, Aljazeera, 09-08-2011 
http://english.aljazeera.net/indepth/opinion/2011/08/2011891626155535.html
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จำคุก 2 ปี เหยื่อซ้อมทรมานกรณีปล้นปืน ในคดีตำรวจฟ้องกลับแจ้งความเท็จ

0
0

10 สิงหาคม 2554 ศาลอาญา ได้อ่านคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2161/2552 กรณี พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายซูดีรือมัน มาเละ ข้อหา แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษและต่อคณะกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือปปช. โดยศาลพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์ที่ได้นำสืบเรื่องสถานที่เกิดเหตุมีพยานหลักฐานเป็นบัตรโดยสารการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อื่นที่มิใช่สถานที่เกิดเหตุ ประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ปปช.ว่าจำเลยมาให้ถ้อยคำแก่ปปช.จริงและจากการตรวจสอบของปปช.พบว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอแสดงว่ามีการซ้อมทรมานตามที่มีการร้องเรียน แม้จำเลยจะได้นำพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษมาเบิกความว่า จำเลยไม่ได้พูดถึงโจทก์ในคำให้การ แต่เมื่อมีการชี้ภาพบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทำร้ายจำเลย จำเลยก็มิได้นำภาพที่จะต้องพิสูจน์ว่ามิได้ชี้ภาพโจทก์มาเสนอต่อศาล พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักมาหักล้างพยานของโจทก์ จึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ 174 วรรค 2และ 187 (2) ลงโทษจำคุก 2 ปี

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เห็นว่า การร้องเรียนให้มีการตรวจสอบการกระทำความผิดกรณีการซ้อมทรมานตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญามาตั้งแต่ปี 2550 ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 62 ผู้ร้องเรียนโดยสุจริตควรได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้เสียหายที่ได้ร้องเรียนโดยสุจริต มีความกล้าเผชิญในการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อนำผู้กระทำผิดโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐมาลงโทษอันเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดวัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวล แต่หากรัฐไม่สามารถคุ้มครองเหยื่อของการซ้อมทรมานได้ การบังคับใช้อนุสัญญาฯและรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงและทำให้การซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทย ดังกรณีของนาย ซูดีรือมัน มาเละ ซึ่งได้ร้องเรียนกรณีการตกเป็นเหยื่อของการซ้อมทรมาน ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวเนื่องจากต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายกองพันทหารพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี 2547 และต่อมานายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความของนายซูดีรือมัน ซึ่งได้ออกมาเรียกร้องถึงความเป็นธรรมแก่ลูกความของตนได้ถูกบังคับให้สูญหายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในปีเดียวกัน ปัจจุบันนายซูดีรือมัน ยังอยู่ในการคุ้มครองพยานของกรมสอบสวนคดีพิเศษในฐานะพยานในคดีที่ตนถูกซ้อมทรมาน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: ป่านี้ชี้ชัดรัฐครอง

0
0

ป่านี้ชี้ชัดรัฐครอง
ประชา แม่จัน

 
หักล้างถางพงไพรป่า
ชั่วนาตาปีนานแสน
ทำนาทำกินดินแดน
ถิ่นแคว้นแดนนี้เราจอง
 
ปู่ย่าตายายฟูมฟัก
ลงหลักปักฐานเจ้าของ
อิ่มบ้างอดบ้างครรลอง
พี่น้องพ้องกันนานมา
 
วันหนึ่งซึ่งหลวงทวงถาม
อ้างนามตามกฎสรรหา
มิสนคนอยู่คู่นา
ตีตรามาให้หลวงครอง
 
กฎบัตรกฎหมายว่าไว้
ป่าไม้ไพรพงทั้งผอง
มอบไว้ให้รัฐจับจอง
ปกป้องครองไว้ในนาม
 
ใครอยู่คู่ดินถิ่นฐาน
แสนนานปานใดไม่ถาม
ออกไปไกลแคว้นเขตคาม
ยอมตามยอมด้นโดยดี
 
อย่าขัดขืนกล้าท้าทาย
อย่าหมายมุ่งรักศักดิ์ศรี
กลไกเกื้อรัฐยังมี
ป่านี้ชี้ชัดรัฐครอง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ภาคประชาสังคมไทย เตรียมนำเสนอสถานการณ์สิทธิในประเทศต่อ ‘ยูเอ็น’

0
0

เครือข่ายภาคประชาสังคม เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยต้องนำเสนอต่อสหประชาชาติ พร้อมเรียกร้องให้รบ. เปิดเผยข้อเท็จจริงกรณีการสลายการชุมนุม ’53 พร้อมคืนความยุติธรรมให้ผู้สูญเสีย ด้านนักวิชาการเสนอรบ.ไทยปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก

ในวันที่ 5 ตุลาคมที่จะถึงนี้ จะถึงคราวประเทศไทยรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผ่านกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) หรือการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกๆ สี่ปี กระบวนการดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบสถานการณ์สิทธิฯ ในประเทศต่างๆ ผ่าน “กระบวนการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์” (Constructive Dialogue) ซึ่งต่างจากการใช้อำนาจบังคับ หรือประณามในที่ประชุมดังเช่นในคณะมนตรีความความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยกระบวนการดังกล่าว จะเป็นไปเพื่อสร้างบทสนทนากับรัฐบาลร่วมกับหลายภาคส่วน และใช้อำนาจจูงใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศแทน

ศาสตราจารย์วิฑิต มันตาภรณ์ ในฐานะผู้แทนพิเศษแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กล่าวถึงกระบวนการยูพีอาร์ว่า นี่เป็นครั้งแรกของกระบวนการทางด้านสิทธิมนุษยชน ที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งสามฝ่าย คือจากทางรัฐบาล ภาคประชาสังคม- คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และจากทางสหประชาชาติ ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลที่มีความสมดุลมากพอสมควร และเป็นกระบวนการเดียวในสหประชาชาติที่มีลักษณะเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าวถือว่าเป็นการประเมินแบบมิตรภาพ และทางสภาฯ ไม่มีอำนาจสั่งการฟ้องร้องได้

การนำเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อสหประชาชาติในครั้งนี้ ถูกจัดทำขึ้นมาเป็นรายงานขนาด 20 หน้า โดยประกอบไปด้วยรายงานของรัฐบาล ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศ ส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ-ภาคประชาสังคม และส่วนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยรายงานฉบับดังกล่าว นำเสนอสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศในด้านต่างๆ เช่น เสรีภาพในการแสดงออก สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระบวนการยุติธรรม และกลไกสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ เป็นต้น

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มูลนิธิศักยภาพชุมชน ในฐานะเลขาธิการการจัดทำรายงาน จึงได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประเทศไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเครือข่ายภาคประชาสังคมและมูลนิธิศักยภาพชุมชน ณ โรงแรมสยามซิตี้ พร้อมทั้งมีนักวิชาการ และตัวแทนจากองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ ร่วมแถลงข้อเสนอแนะทางด้านสิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาลใหม่ ในหลายๆ ข้อเสนอแนะนี้ รวมถึง การให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงในกรณีการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 พร้อมคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ การปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการให้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญาป้องกันการบังคับคนให้สูญหาย และทำให้การบังคับคนสูญหายเป็นอาชญากรรม

องค์กรสิทธิย้ำ ต้องคืนความเป็นธรรม กรณีการสลายการชุมนุม ‘53
ขวัญระวี วังอุดม ตัวแทนจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 (ศปช.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงโดยการใช้กองกำลังทหารของรัฐเมื่อปีที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 93 คน จนบัดนี้ รัฐบาลยังคงไม่สามารถค้นหาความจริงและคืนความยุติธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ ขวัญระวีมองว่า เป็นเพราะคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. ที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ อย่างเต็มที่ และไม่มีอำนาจที่แท้จริงในเรียกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุม นอกจากนี้ คอป. ยังมุ่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระยะยาว มากกว่าการหาตัวผู้กระทำผิดมารับผิดชอบ

“ทางศปช. มีเรียกร้องไปยังรัฐและยูเอ็นผ่านกลไกยูพีอาร์ คือ ให้รัฐบาลเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม และถึงแม้มีการพูดคุยกันว่า จะมีปฏิรูปคอป. แต่การหาข้อเท็จจริง และคืนความยุติธรรมนั้นไม่สามารถประนีประนอมได้ นอกจากนี้รัฐบาลต้องให้ค่าชดเชยที่เป็นธรรมแก่ผู้เสียชีวิตและครอบครัว ให้สิทธิในการประกันตัวกับผู้ต้องขัง ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ เนื่องจากในหลายกรณีมีการตั้งประกันสูงเกินไป ทำให้ไม่สามารถประกันตัวได้ และต้องไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ใคร เพราะเป็นการส่งเสริม Impunity (การงดเว้นโทษ) และทำให้คนทำผิดลอยนวล” ขวัญระวีกล่าว

นอกจากนี้ เธอเสริมด้วยว่า รัฐบาลต้องยินยอมให้ผู้ตรวจการณ์พิเศษแห่งสหประชาติ (UN Special Rapporteur) ในด้านต่างๆ เข้ามาทำการตรวจสอบในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ตรวจการพิเศษทางด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม ได้ร้องขอรัฐบาลไทยเพื่อเข้ามาตรวจสอบสถานการณ์ภายในประเทศตั้งแต่ปี 2548 และ 2551 แล้วตามลำดับ แต่เอกสารทบทวนสถานการณ์สิทธิฯ ของสหประชาชาติระบุว่า จนปัจจุบันยังไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทยแต่อย่างใด

ต่อประเด็นดังกล่าว ทางรัฐบาลไทยได้ชี้แจงในรายงานว่า “ขณะนี้ การสอบสวนกรณีความรุนแรงเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ.2553 กำลังดำเนินอยู่เพื่อตัวนำผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดี โดยกระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปตามกฎหมาย ในขณะที่ผู้ได้รับผลกระทบจากการประท้วงดังกล่าวได้รับการเยียวยาแล้ว” ในขณะที่รายงานของกสม. แสดงความกังวลเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่มีการปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐานต่อผู้ชุมนุมที่ถูกจับ โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์การชุมนุม ที่มีการจับกุมด้วยข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง และการไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหา

นักวิชาการเสนอ รัฐบาลไทยควรปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ

ด้านดร. เดวิด เสตร็กฟัสส์ นักวิชาการอิสระ ผู้เขียนหนังสื่อ Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-Majesté ซึ่งเกี่ยวกับการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสังคมไทย ชี้ว่า การใช้กฏหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ โดยในระหว่างปีพ.ศ. 2532-2548 มีการฟ้องคดีหมิ่นฯ โดยเฉลี่ยปีละ 5-6 คดี แต่หลังจากช่วงก่อนการรัฐประหารปี 2549 จำนวนคดีหมิ่นฯ ที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลมีจำนวน 33 คดี และในปี 2550, 2551 และ 2553 เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 126, 77 และ 478 คดีตามลำดับ และจากสถิติพบว่า อัตราที่อัยการตัดสินว่าผิดจริง มีสูงถึง 94% เนื่องจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่รับสารภาพ เพื่อหวังโทษที่ลดลงครึ่งหนึ่ง และขออภัยโทษในภายหลัง

ทั้งนี้ เดวิด เสตร็กฟัสส์ อ้างถึงข้อเสนอแนะการปฏิรูปกฎหมายอาญามาตรา 112 ของกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นกลุ่มอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ว่า ควรให้มีการลดโทษสูงสุดของกฎหมายดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้อยู่ที่ 15 ปี และลดโทษขั้นต่ำสุดซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3 ปี นอกจากนี้ ยังเสนอให้จำกัดผู้ฟ้อง เพื่อไม่ให้มีการนำกฎหมายนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยยกตัวอย่างประเทศนอร์เวย์ ที่การดำเนินคดีสามารถทำได้ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น หรือในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่การดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยินยอมจากกระทรวงการยุติธรรม ซึ่งช่วยป้องกันการดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นฯ อย่างไม่เลือกหน้า

“ในกรณีประเทศไทย อาจจะให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินคดีในฐานะผู้เสียหาย และเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้หรือไม่ เพียงแค่นี้ การใช้กฎหมายนี้ในทางละเมิดก็จะลดลง และช่วยปรับปรุงสถานะสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างมาก” เดวิดกล่าว

ในขณะที่รายงานสถานการณ์สิทธิฯ ที่จัดทำโดยรัฐบาลไทย กล่าวถึงประเด็นเสรีภาพในการแสดงออกว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตยของไทย ซึ่งได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญภายใต้มาตรา 45, 46, 47 ซึ่งประกันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ และการโฆษณา” และระบุว่า “ประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงานสื่อต่างประเทศ องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศหลายองค์กร ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงบรรยากาศที่เอื้อต่อการรายงานข่าว และการรับ-ส่งข้อมูลอย่างอิสระ นอกจากนี้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ยังสะท้อนให้เห็นผ่านการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนและสถานีโทรทัศน์เคเบิลทั่วประเทศ ในขณะที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่”

ทาง รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล อาจารย์สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ เห็นว่า รายงานของรัฐบาลไทย ที่ระบุว่า “ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพและความหลากหลาย” เป็นเรื่องที่น่าขบขันและไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่นเดียวกับเดวิด เสตร็กฟัสส์ ที่มองว่า ข้อมูลของรัฐบาลไทยในรายงานสิทธิฯ ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงมากนัก

“รายงานสิทธิของรัฐบาลไทย ดูเหมือนว่าตามตัวอักษรแล้ว เหมือนจะมีกฎหมายต่างๆ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง หากเราดูองค์กรที่จัดลำดับเรื่องเสรีภาพสื่อในโลก เช่น Reporters without Borders จะเห็นว่า ในปี 2547 รัฐบาลไทยอยู่ที่ลำดับ 59 จากทั้งหมด 103 ประเทศ แต่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 153 จากทั้งหมด 178 ประเทศซึ่งจัดเป็น 16% ที่มีเสรีภาพสื่อต่ำที่สุด” เดวิดตั้งข้อสังเกต

ต่อประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รายงานของรัฐบาลไทยชี้แจงว่า “ประเทศไทยพยายามดำเนินการเพื่อให้เกิดดุลยภาพในการปกป้องสถาบันซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักที่ค้ำจุนความมั่นคงของประเทศ กับการคุ้มครองสิทธิในการแสดงออกของบุคคล” และระบุว่า ได้มีการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน เพื่อให้คำแนะนำแก่ตำรวจอัยการเกี่ยวกับการสั่งฟ้องคดีหมิ่นฯ และพรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยหวังว่าจะสามารถปรับปรุงการใช้กฎหมายและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังระบุว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อยู่ในระหว่างการทบทวนกฎหมายดังกล่าว เพื่อจัดทำรายงานเสนอแนะต่อรัฐบาล

การบังคับคนให้สูญหาย ต้องเป็นอาชญากรรม
 ประทับจิตร นีละไพจิตร เจ้าหน้าที่วิจัยด้านการบังคับคนให้สูญหาย (Enforced Disappearance) มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพกล่าวว่า ขณะนี้ จำนวนคนที่ถูกบังคับให้สูญหายในประเทศไทย ยังไม่มีการเปิดเผยที่ชัดเจน แต่จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า สามารถรวบรวมกรณีดังกล่าวได้อย่างน้อย 90 กรณี ในระหว่างปี 2534-2554 ประทับจิตรชี้ว่า แนวโน้มการบังคับคนให้สูญหาย คงจะยังมีต่อไปตราบใดที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงดำรงอยู่ เนื่องจากในอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยมีใครที่ได้รับผิดจากการกระทำที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ลงนามในอนุสัญญาฯ ป้องกันคนหาย พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศ ให้การทำให้คนหายเป็นอาชญากรรม และเปิดเผยข้อเท็จจริงในกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ทางด้านอรชพร นิมิตกุลพล กล่าวถึงสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะกรณีการใช้ทหารเด็ก และการใช้กฎหมายพิเศษที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชน โดยจากการวิจัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ เปิดเผยว่า ในระหว่างปี 2548- 2552 มีเด็กและเยาวชนทั้งหมด 151 คน ถูกคุมขังภายใต้กฎหมายพิเศษ เช่น พรก. ฉุกเฉิน และ กฎอัยการศึก โดยเยาวชนเหล่านี้ถูกควบคุมตัวในคุก และหน่วยเฉพาะกิจของทหารในพื้นที่
นอกจากนี้ ยังพบว่าราว 65% ของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18% ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้าน (ชรบ.) ซึ่งเป็นกลุ่มพลเรือนที่ติดอาวุธ โดยเยาวชนกลุ่มนี้ บ้างก็ได้รับการฝึกอาวุธ บ้างก็เข้าไปอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ อรชพรกล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าไปพูดคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ ก็มีการตอบรับที่ดีจากทางการด้านความมั่นคงในพื้นที่ ในการระมัดระวังไม่ให้เยาวชนไปเกี่ยวข้องกับชรบ. และหวังว่าสถานการณ์สิทธิฯ ในจังหวัดชายแดนใต้น่าจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม เธอมองว่า ภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ดังกล่าว ไม่น่าจะแตกต่างไปจากเดิมมากนัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ขึ้นอยู่กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เป็นหลัก และหากผู้บัญชาการกองทัพบก หรือแม่ทัพภาคที่สี่ไม่ถูกเปลี่ยน ก็คงไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ชัดเจน

ต่อประเด็นปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางกลุ่มภาคประชาสังคมมีเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย เช่น ให้ยกเลิกพรก. ฉุกเฉิน เนื่องจากมองว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน และให้รัฐบาลออกกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน เป็นต้น

ทั้งนี้ กลไกยูพีอาร์ จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จัดเวลาให้ประเทศไทยรวมสามชั่วโมง ในการนำเสนอรายงาน โดยมีผู้แทนจากรัฐบาลไทยเป็นผู้นำเสนอ และเปิดโอกาสให้ผู้แทนจากสหประชาชาติ และจากประเทศต่างๆ ซักถามถึงสถานการณ์สิทธิในประเทศไทย ผู้ที่สนใจ สามารถติดตามการถ่ายทอดสดผ่านทาง webcast ของสหประชาชาติได้ที่เว็บไซต์ของ UNHCR

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นายกฯอังกฤษเผยเตรียมฉีดน้ำสงบจลาจล

0
0

นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน (David Cameron) จากพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservatives) เตรียมเผยมาตรการจัดการกับผู้ก่อความสงบที่เข้าปล้นร้านค้า เผาทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกายประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่คืนวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม

หลังจากกระทรวงมหาดไทย (Home Office) ของอังกฤษแถลงเมื่อวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่าจะไม่มีการฉีดน้ำเพื่อยุติการจลาจล

ล่าสุดนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน (David Cameron) จากพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservatives) เตรียมเผยมาตรการจัดการกับผู้ก่อความสงบที่เข้าปล้นร้านค้า เผาทำลายทรัพย์สิน ทำร้ายร่างกายประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่คืนวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม

การประชุมสภาวาระฉุกเฉินมีกำหนดในช่วงเช้าของวันพฤหัสบีดีที่ 11 สิงหาคม นายเดวิด คาเมรอนเตรียมนั่งประธานคณะกรรมการฉุกเฉินเร่งหารือและแถลงมาตรการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย รวมไปถึงการจ่ายค่าชดเชยให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากจลาจล

เหตุจลาจลทวีความรุนแรงขึ้นและลามจากกรุงลอนดอนไปยังเมืองใหญ่หลายแห่ง โดยเฉพาะในเมืองเบอร์มิงแฮม (Birmingham) ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 รายจากการพยายามปกป้องทรัพย์สินและถูกรถชนของกลุ่มผู้ก่อจลาจลพุ่งชน รายชื่อผู้เสียชีวิตได้แก่ นายฮารูน จาฮัน (Haroon Jahan) วัย 21 ปี นายชาห์ซัด อาลี (Shahzad Ali) วัย 30 ปีและนายอับดุล มุซาวีร์ (Abdul Musavir) วัย 31 ปี นายทาริค จาฮัน (Tariq Jahan) บิดาของนายฮารูนกล่าวว่านี่ไม่ใช่ประเด็นเรื่องเชื้อชาติเพราะเขาได้รับข้อความแสดงความเสียใจจากหลากหลายกลุ่มเชื้อชาติ

เวลา 11.15 ของวันพุธที่ 10 สิงหาคมตามเวลาท้องถิ่น นายเดวิด คาเมรอนได้แถลงว่า จะไม่ปล่อยให้วัฒนธรรมแห่งความกลัวเกิดขึ้นบนท้องถนน (‘We will not allow a culture of fear to exist on our streets.’) พร้อมทั้งเตรียมใช้การฉีดน้ำยุติเหตุการณ์สงบ โดยจะมีการประกาศล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ตำรวจนครบาล (Metropolitan Police) เผยว่าได้จับกุมผู้ก่อความไม่สงบในลอนดอนแล้วอย่างน้อย 800 ราย ในจำนวนนี้ 279 รายถูกตั้งข้อหาแล้ว

มีรายงานว่าผู้ก่อจลาจลประกอบไปด้วยนักเรียนนักศึกษา ลูกของนักธุรกิจ และเด็กชายวัยเพียง 11 ปี ขณะที่ผู้นำคณะรัฐมนตรีสก๊อตแลนด์นายอเล็กซ์ ซาลมอน (Alex Salmond) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 250 นายลงมาช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในเขต Midlands และทางตอนเหนือของเขตการปกครองอังกฤษ (England)

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจการก่อเหตุจลาจลลุกขึ้นมาจับด้ามไม้กวาดถูพื้นแสดงพลังต่อต้านการก่อความไม่สงบและทำความสะอาดพื้นที่ในบริเวณแคลปเพิม จังชั่น (Clapham Junction) และแฮคนีย์ (Hackney) กิจกรรมดังกล่าวถูกจัดขึ้นโดยแดน ทอมป์สัน (Dan Thompson) และโซฟี คอลลาร์ด (Sophie Collard) ผ่านทางทวิตเตอร์ ในชื่อว่า #riotcleanup  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกิดเหตุจลาจลในเรือน จ. จำนราธิวาส ดับแล้ว 1

0
0

โพสต์ทูเดย์รายสถานการณ์ล่าสุด นักโทษเรือนจำนราธิวาสกว่า 1,000 คนก่อจราจลหลังเจ้าหน้าที่เข้าค้นยาเสพติดส่งผลเสียชีวิต 1 ราย-บาดเจ็บสาหัส 3

เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ รายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 11 ส.ค.เจ้าหน้าที่เรือนจำจ.นราธิวาส สนธิกำลังเจ้าหน้าที่จาก เขต 9 กว่า 70 นาย เข้าจู่โจมตรวจค้นยาเสพติดนักโทษชาย ภายในเรือนจำจังหวัดนราธิวาส โดยกระจายกำลังกันค้นล็อกเกอร์ อาคารเรือนนอนชาย พบโทรศัพท์มือถือกว่า 100 เครื่อง ซุกซ่อนอยู่ในเรือนนอน และอาวุธประเภท เหล็กแหลม และยาเสพติดจำนวนมาก ทำให้นักโทษภายในเรือนจำ กว่า 1,000 คน ไม่พอใจ และตะโกนโห่ร้องขับไล่เจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ยังได้ปาสิ่งของใส่ จนเกิดการจลาจลกันขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่ ได้รับบาดเจ็บและยังติดอยู่ภายในเรือนนอน ทำให้ นายสุพจน์ สุวรรณทิพย์ ผู้บัญชาการเรือนจำ จ.นราธิวาส ได้ประสานขอกำลังเสริมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง กว่า 300 นาย เข้าช่วยเหลือ พร้อมทั้งขอเจรจากับนักโทษ แต่นักโทษไม่ยอมฟัง โดยได้รวมตัวกันทุบฝาผนังกำแพงเรือนนอนชายที่ 1 ได้สำเร็จเจ้าหน้าที่ จึงได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าระงับเหตุ แต่จนถึงขณะนี้ เจ้าหน้าที่ ยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ล่าสุดสุดมีนักโทษได้เสียชีวิต 1 รายและได้รับบาดเจ็บสาหัสอีก 3 ราย

นายสุพจน์ สุวรรณทิพย์ ผู้บัญชาการเรือนจำกลาง จ.นราธิราช กล่าวว่า ได้ประสานขอกำลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง เข้าล้อมรอบกำแพงเรือนจำ เพื่อควบคุมสถานการณ์ โดยภายในเรือนจำ ผู้ต้องขังพยายามใช้ฆ้อนทุบอาคารเรือนนอนที่ 1 จนพังเสียหาย ซึ่งอาคารเรือนนอนที่ 1 มีความสูง 1.30 เมตร พังเสียหาย จากนั้นผู้ต้องขังพยายามที่จะกรูกันออกมา เจ้าหน้าที่จึงใช้แก๊สน้ำตาสกัด ทำให้ผู้ต้องขังวิ่งหลบหนีเข้าไปซ้อนตัวในอาคาร รวมทั้งรถกระเช้าเพื่อนำเจ้าหน้าที่พร้อมปืนยิงกระสุนยางเข้าสลายการจลาจลภายในเรือนจำขณะนี้

นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยกรณีที่มีนักโทษกว่าพันคน ได้ก่อเหตุจลาจลขึ้นที่เรือนจำกลางจังหวัดนราธิวาส ในวันนี้นั้น ได้สั่งการกับทางเรือนจำมาตลอด และยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ของเรือนจำ และกำลังตำรวจที่ส่งไปตรวจค้นยาเสพติดตามนโยบาย สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว ทราบเพียงว่า มีความไม่พอใจเกิดขึ้นจริง และโห่ไล่เจ้าหน้าที่ แต่ยังไม่รับรายงานว่า มีการทำลายข้าวของ หรือ ทุบกำแพงเรือนนอน และจับเจ้าหน้าที่เป็นตัวประกันแต่อย่างใด ซึ่งหากมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป

ด้าน พ.ต.อ.นันทเดช ย้อยนวล รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.นราธิวาส กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จัดเตรียมกำลังเตรียมพร้อม ไว้ที่หน้าเรือนจำ ซึ่งเบื้องต้น ยังไม่เข้าปฏิบัติการใดๆ เนื่องจากจะทำหน้าที่เป็นกำลังเสริม ในกรณีที่ทางเรือนจำร้องขอ ส่วนขณะนี้ เท่าที่ได้รับรายงานนั้น สถานการณ์อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์แล้ว โดยสามารถคุมให้นักโทษอยู่ในพื้นที่จำกัดได้ ส่วนเจ้าหน้าที่ ที่อาจถูกกักขัง หรือติดอยู่ภายในนั้น ยังไม่มีรายงานดังกล่าว

นอกจากนี้ทางเรือนจำจังหวัดนราธิวาสไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปโดยรอบแต่อย่างใด พร้อมทั้งนำป้ายประกาศติดงดเยี่ยมตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 14 ส.ค.นี้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 57985 articles
Browse latest View live