Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

คอป. เสนอ 8 ข้อ แนะตั้งศูนย์เฉพาะกิจเยียวยาผู้รับผลกระทบจากการชุมนุม

$
0
0
       
11 ส.ค.54  ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง (คอป.) จัดเวทีเสวนา เรื่อง “การเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความนรุนแรงตามหลักสากล” เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคนักวิชาการ นักกฎหมาย รวมถึงผู้แทนองค์กรของต่างประเทศ ก่อนนำไปจัดทำรายงาน คอป.ฉบับที่ 2 นำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

นพ.รณชัย คงสกนธ์ ประธานอนุกรรมการการเยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความรุนแรง กล่าวถึงผลการดำเนินงานและทิศทางของ คอป.ว่า ทางคณะทำงานได้ลงสำรวจตามหลักการเยียวยาสากล สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าประชาชนกลุ่มดังกล่าวนั้นยังประสบปัญหาด้านต่างๆ อยู่ แม้ว่าการชุมนุมจะผ่านมานานพอสมควร จากผลสำรวจที่ได้เผยแพร่ที่พบผู้ที่เสียชีวิตจำนวน 92 รายจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.53

นอกจากนั้นแล้วในกลุ่มของผู้ปฏิบัติการ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร พบว่าส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านจิตใจ คือ มีความเครียด ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจ พบว่าบางคนยังฝันถึงภาพในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมือง กลุ่มผู้ค้า ผู้ประกอบการในพื้นที่การชุมนุม ที่เข้ามาขอรับการเยียวยาจากศูนย์ประสานงานเยียวยาฯ ของ คอป.พบว่า มีทั้งหมด 643 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการชดเชย เช่น โรงเรียนในพื้นที่การชุมนุม เช่น โรงเรียนปลูกจิต โรงเรียนวัดปทุมวนาราม โรงเรียนวัดชัยมงคล และโรงเรียนลุมพินี ที่พบว่ามีค่าใช้จ่ายเป็นค่าไฟ และค่าน้ำประปา รวมเป็นเงินกว่า 300,000 บาท ขณะนี้ยังไม่ได้ชำระ และหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือ

สำหรับผู้ที่ร่วมชุมนุมและเกี่ยวข้องที่ถูกคุมขังจำนวน 105 คนนั้น จากการเข้าไปสำรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ก.ค.54 พบว่า ร้อยละ 10 มีอาการเครียดสูงมาก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมี 2 คนที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย
       
นพ.รณชัยกล่าวว่า ทางคณะอนุกรรมการการเยียวยาฯ มีข้อเสนอแนะเบื้องต้น ให้รัฐบาลใหม่ได้เร่งดำเนินการ จำนวน 8 ข้อ ได้แก่
       
1.ต้องเยียวยา ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหยื่อหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบเกิดความเข้มแข็งในการใช้ชีวิต และเพื่อเป็นการยกระดับความสมานฉันท์ปรองดอง

2.รัฐบาลต้องเร่งรัดตั้งองค์กรเฉพาะกิจ เป็นศูนย์กลางด้านงบประมาณพื่อเยียวยาเหยื่อ ให้ต่อเนื่องเป็นระบบ เพราะจากการสำรวจพบว่าครอบครัวผู้ที่ถูกคุมขัง ต้องไปกู้เงินนอกระบบจำนวนมากเพื่อนำมาประกันตัว
       
3.รัฐบาลควรประเมินตัวเลขความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รวมถึงครอบครัว

4.รัฐบาลควรขยายขอบเขตการเยียวยา ฟื้นฟู ไปในทางด้านสังคม เช่น แหล่งที่อยู่, แหล่งการค้า และอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

5.ต้องจัดทำข้อเท็จจริง เผยแพร่ไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ให้อภัย เกิดความเห็นใจ รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงเหตุการณให้กับทุกฝ่าย

6.เร่งช่วยเหลือผู้ที่ถูกคุมขัง ตามแนวทางของกฎหมาย เพราะบางรายมีภาวะของความเครียด ซึมเศร้า และมีแนวโน้มฆ่าตัวตาย

7.รัฐบาลต้องเร่งรัดการประกันสิทธิ์ ผู้ที่ถูกคุมขัง รวมถึงตรวจสอบ จำแนกโทษที่แท้จริง และ 8. ควรประสานความร่วมมือไปยังองค์กร หน่วยงานและทุกภาคส่วน และร่วมกับบูรณาการการทำงานภายใต้องค์กรกลางที่ดูแลข้อพิพาททางการเมือง ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพี่อให้การทำงานเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
       
นายสมชาย หอมละออ กรรมการ คอป.กล่าวว่า ในงานด้านกฎหมาย พบว่าผู้ที่ถูกคุมขังนั้น ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อหาที่เกินเลยจากความเป็นจริง ซึ่งมีมากถึง 53 คน ที่ถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายและวางเพลิง ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษถึงประหารชีวิต ทั้งนี้จากการสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตั้งข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการพบว่าการตั้งข้อหาดังกล่าวนั้นเกิดจากแรงกดดันของผู้บริหารระดับนโยบาย อีกทั้งการจับกุมและตั้งข้อกล่าวหายังเป็นในลักษณะของการเหวี่ยงแห ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ ทั้งนี้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการยังไม่สามารถพิสูจน์พยานหลักฐาน
       
“จากการตรวจสอบพบว่ามูลเหตุสำคัญที่ทำให้ความรุนแรงดำรงอยู่ คือ ความรู้สึกของผู้ที่ชุมนุมที่เห็นว่าตนเองตกเป็นเหยื่อของการกระทำ และกระบวนการยุติธรรมเพียงฝ่ายเดียว ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เชื่อว่ามีส่วนกระทำความผิดทางอาญาไม่มากก็น้อย ยังไม่ได้ถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม”
       
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง (คอป.) กล่าวถึงกรณีนางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ปลดนาธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกจากตำแหน่งว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นปัญหาทางการเมือง ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าการปลดอธิบดีดีเอสไอแล้วจะกลายเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรองดอง ตนกลับมองว่ากระบวรการสร้างความปรองดองไม่เกี่ยวกับนายธาริต ที่เป็นฝ่ายสืบสวนสอบสวน
       
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลแล้วจะช่วยให้งานของ คอป.ง่ายขึ้นหรือไม่ นายคณิตกล่าวว่า การทำงานของ คอป. ไม่เกี่ยวกับว่าพรรคไหนมาเป็นรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาการทำงานของ คอป. สามารถพิสูจน์ให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เห็นแล้วว่า หากให้การร่วมมือกับ คอป. เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้บ้านเมืองมีสติ

ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ได้ประสานการทำงานไปรัฐบาลชุดใหม่แล้วหรือไม่ ประธาน คอป. กล่าวว่าไม่มีความจำเป็น เพราะ คอป.ได้ทำงานเพื่อประชาชน แต่ยอมรับว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุให้ คอป.ต้องรายงานผลดำเนินการทุกๆ 6 เดือน ซึ่งขณะนี้ทางคณะทำงานเร่งทำรายงานฉบับที่ 2 นำเสนอไปยังรัฐบาล โดนตนให้ความมั่นใจว่าจะรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้วในรายงานฉบับที่ 2 จะมีข้อเสนอที่ให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรม
       
ส่วนคดี 13 ศพ ที่ดีเอสไอตีกลับไปให้ สตช.สอบสวนใหม่ เพราะมีพยานบางคนพลิกคำให้การ นายคณิตกล่าวว่า คงมีการพูดในรายงานฉบับที่ 2 ว่าอะไรเป็นอะไร เพราะ คอป.ไม่ใช่กรรมการที่จะสอบสวนตรวจสอบเอาผิดกับใคร

 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฮอร์ นัมฮงเชิญรมต. ต่างประเทศของไทยเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

$
0
0

เว็บไซต์พนมเปญโพสต์ รายงานเมื่อเวลา 15.01 น. วันที่ 11 สิงหาคม ระบุโอกาสแห่งการรื้อฟื้นสัมพันธ์และการทูตระหว่างไทยกับกัมพูชาเปิดกว้างขึ้นอีกครั้งหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาส่งจดหมายเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

โดยพนมเปญโพสต์ระบุว่า เจตจำนงแห่งการร่วมมือกันของสองประเทศนั้นงอกงามขึ้นเมื่อน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำของพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี และวานนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา ฮอร์ นัมฮง ได้ส่งจดหมายเชิญรัฐบาลไทยในการเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

ข้อความตอนหนึ่งของจดหมายเชิญที่ ฮอร์ นัมฮง เขียนถึงส่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยคนใหม่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ระบุว่า “เพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดีของการร่วมมือระหว่างกัน ผมจะยินดียิ่งหากหากท่านรับคำเชิญมาเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการในอนาคตอันใกล้นี้ตามวันที่ท่านสะดวก”

จดหมายดังกล่าวระบุด้วยว่า ฮอร์ นัมฮง คาดหวังว่าไทยและกัมพูชาจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรและฟื้นความร่วมมือที่จะก่อประโยชน์แก่ทั้งสองรัฐบาล

“ผมเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในความพยายามระหว่างผมและ ฯพณฯ ว่าจะสามารถเติมเต็มซึ่งความมุ่งมาดปรารถนาแก่ประชาชนในประเทศของเราทั้งสองในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองกลมกลืนและแบ่งปันความรุ่งเรืองแก่กันและกัน”

หนึ่งวันก่อนหน้านี้ เว็บไซต์บางกอกโพสต์รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภาออกมาคาดการณ์ถึงการพบปะกันระหว่างนายกรัฐมนตรีสองประเทศ โดยระบุว่าการพบปะกันดังกล่าวตะเป็นการปูทางไปสู่การเริ่มประชุมของ คณะกรรมการการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา หรือ GBCอีกครั้ง

โดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาชายแดนนั้นเป็นความสำคัญอันดับต้นๆ โดยอาจจะมีการเดินทางไปยังบริเวณชายแดน จ.ศรีษะเกส และหวังด้วยว่าจะได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาเพื่อขอไฟเขียวให้กับการเข้ามาทำหน้าที่ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา

ในประเด็นดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา พล.อ. เตีย บันห์ กล่าวว่ายังคงเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปที่จะพูดถึงการไฟเขียวให้กับการแก้ปัญหาเส้นเขตแดน อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าจะส่งจะหมายแสดงความยินดีต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยเช่นกัน

สำหรับท่าทีของนายกรัฐมนตรีกัมพูชานั้น ผู้จัดการออนไลน์รายงานระบุ ฮุนเซนกล่าวปาฐกถาในการประสาทปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยทรัพยากรมนุษย์ ในกรุงพนมเปญ

ว่า “วันนี้เป็นโอกาสอันดี ผมขอประกาศเกี่ยวกับยุคใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชา กับรัฐบาลราชอาณาจักรไทย ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปกัมพูชา-ไทย และ คณะกรรมาธิการชายแดนร่วมของสองฝ่ายกำลังจะดำเนินต่อไปเมื่อรัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่ของไทยไปเยือนกัมพูชา ซึ่งคราวนี้จะไม่ต้องมีอินโดนีเซียเข้าร่วมด้วย ฮุนเซน กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ 17 ตร.กม.เขตปลอดทหารชั่วคราวตามแนวชายแดนสองประเทศนั้น ยังจำเป็นจะต้องมี คณะสังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าประจำ เนื่องจากเป็นวาระของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นคำสั่งของศาลระหว่างประเทศ และของอาเซียนเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมมั่นต่อกัน และสันติภาพตามแนวชายแดนให้กลับไปสู่สภาพก่อนวันที่ 15 ก.ค.2551 การเจรจาในทุกระดับจะต้องดำเนินต่อไป

ทั้งนี้ ฮุนเซนกล่าวด้วยว่าความตึงเครียดที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย ได้ลดลงนับตั้งแต่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งแบบท่วมท้นในเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

“ผมคิดว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตเป็นเพียงฝันร้ายในความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชา และไทย และจากนี้เป็นต้นไปความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะดีขึ้น” สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างคำพูดของฮุนเซนในวันเดียวกัน

ผู้นำกัมพูชา กล่าวอีกด้วยว่า จะมองหาทุกวิถีทางที่จะปรับปรุงสถานการณ์พรมแดนและตนเองไม่คิดว่าความขัดแย้งจะเป็นประเด็นความวิตกกังวลในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนอีกต่อไป โดยกัมพูชากำลังจะเข้ารับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มอาเซียนต่อจากอินโดนีเซียในปีหน้านี้.

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาไทบันเทิง: ชวนดู ‘ศึกนันทบุเรง’

$
0
0

เป็นบุญเหลือหลายค่ะ ที่หลิ่มหลีได้มีอภิโอกาสไปดูหนังประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ประชาชนชาวเทยอุดหนุนการถ่ายทำผ่านทางเงินช่วยเหลือจากภาครัฐและภาคเอกชนมากมายและจิตแห่งความภัคดี เพื่อทำภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เป็นเอกศรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่แสดงความมุทิตาจิตต่ออดีตบูรพกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงอโยธยา

นั่นก็คือ เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ซึ่งได้ฉายไปแล้ว สามภาคด้วยกัน ตอนแรกก็เข้าใจว่าจะมีแค่ “ไตรภาค” แต่บังเอิญหลิ่มหลีก็ได้ยลยินมาว่า การถ่ายทำเรื่องนี้ เต็มไปด้วยอัศจรรย์แห่งดวงวิญญาณขององค์มหาราชที่ทำให้ได้พบได้นิมิตว่าการจะทำหนังประวัติศาสตร์ของมหาราชที่ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ เพียงแค่ไตรภาค มิเพียงพอแน่นอน จึงมีอันจำเป็นที่จะต้องขยาย หรือ เพิ่มตอนไปอย่างมิรู้ที่สิ้นสุดได้

จึงมีภาคที่ ๔ ในนามของ ศึกนันทบุเรง ก่อนที่ภาค ยุทธหัตถี อันเป็นภาคที่สำคัญที่สุดจะได้ถ่ายทำ (หมายความว่า ยังไม่ได้ถ่ายทำ)

หลิ่มหลีมีโชคเหลือหลายที่มีโอกาสได้ไปดูเรื่องนี้ในรอบ Press ซึ่งได้พบปะเซเลปดารามากมาย ทั้งที่เล่นในเรื่องนี้ และที่ไม่ได้เล่นในเรื่องนี้ หลายคนก็มาเพราะเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับกองถ่าย หลายคนก็มาเพราะเป็นแฟนหนังเรื่องนี้ อยากจะได้ดูเป็นคนแรกๆ หลายคนมาเพราะไม่อยากจะเสียเงินเพราะเข้าใจว่าภาครัฐอุดหนุนแล้ว ใยตัวข้าจะต้องเสียค่าตั๋วมาดูอีก หลากหลายเหตุผล แต่ในฐานะสื่อคนหนึ่ง หลิ่มหลีก็มาในฐานะผู้ที่จะนำความปลาบปลื้มยินดีกับหนังเรื่องนี้มาแจ้งให้เหล่าผู้ที่พร้อมจะเสียอัฐมากมายเข้าไปชม..

การเดินเรื่องของเรื่องนี้ บอกได้เลยว่า อย่างน้อยก็ยังเป็นเรื่อง การตัดต่ออะไรดีขึ้น ในฐานะหลิ่มหลี ผู้จำความประวัติศาสตร์อะไรสมัยเรียนประถมและมัธยมไม่ได้เลย การได้มานั่งเรียนรู้ความยากลำบากของมหาราชพระองค์นี้ ช่างเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต หลิ่มหลีเป็นแฟนคลับภาพยนตร์นเรศวรก็ว่าได้ ได้ดูแล้ว ภาค ๑ และ ภาค ๒ ซึ่งหลิ่มหลีซื้อของจริง เพราะว่าแผ่นผีไม่มีขาย หล่ิมหลีก็ไปถามว่าทำไมไม่มีขาย เขาบอกว่า ไม่ทำขายเพราะขายไม่ดี อ้าว.... โถ ไม่รู้จักแฟนคลับเลย แต่ภาค ๓ ของแท้แพงมาก และคาดว่าแผ่นผีจะไม่มีขายเช่นสองภาคแรกเช่นกัน หลิ่มหลีก็เลยต้องรอของแท้ลดราคา

เอ๊ะ .... แล้วหลิ่มหลีเป็นแฟนคลับได้ยังไง ...สลิ่มอย่างฉัน พูดอะไรก็ต้องเป็นอย่างนั้นสิ ฉันมีเหตุผลของฉัน ชิชิ อย่ามาถามให้มาก รับรู้เฉยๆก็พอนะจ๊ะ หล่อนๆ ทั้งหลาย เด๋วเอาไปกุดหัวซะนิ

เริ่มต้นของหนัง มีการฉายย้อนหลังเล็กน้อยให้ได้รับรู้ความเป็นมาของพระนเรศ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้เป็นกษัตริย์ นี่ก็เป็นประวัติศาสตร์สำคัญที่หลิ่มหลีไม่รู้ พระองค์ยังเป็นแค่วังหน้า ซึ่งวังหน้าแปลว่าอะไรหลิ่มหลีก็ไม่รู้ น่าจะแปลว่า เวลามีปัญหามีการรบ วังหน้าออกรบก่อนแน่ๆ ส่วนคุณฉัตรชัยที่เล่นเป็นพ่อ ไม่เห็นทำอะไรเลย สงสัยว่าเพราะแก่แล้ว เลยอยู่เฉยๆ ได้แต่บอกลูกน้องเก่าว่า ถ้าไปรบ แพ้ไม่ได้ ... จะมีก็ตักเตือนลูกหน่อยว่าให้เห็นแค่คนแก่คนเฒ่าที่เคยเลี้ยงดูอุ้มชูกันมา แต่ดูเหมือนลูก ซึ่งก็คือพระนเรศ จะไม่ฟังพ่อ เถียงไม่ตกฟาก แต่กลับเชื่อเมีย เมียว่าอะไรก็ว่าตาม

ดูพระนเรศวรมาหลายตอน หลิ่มหลีคิดทะลึ่งในใจที่น่าจะพอให้อภัยกันได้ ก็ตรงที่ เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องของมหาเถรคันฉ่องซะมากกว่า เพราะถ้าไม่ได้พระมอญรูปนี้ พระนเรศวรไม่รอดมาถึงทุกวันนี้ได้แน่ๆ สิ้นพระชนม์ไปเสียแต่เด็กแล้ว ไหนจะเพราะมหาเถรทำให้หนีไปจากหงสาวดีได้ ไหนจะมีนิมิตที่แม่นยำยิ่งนัก ทักท้วงเรื่องโน้นนี้ให้ได้รอดศึกได้ ไหนจะมียารักษาพระนเรศวรให้รอดตายได้ แถมที่หลิ่มหลีรู้ว่า มหาเถรคันฉ่องนี่เป็นพระอาจารย์ของบุเรงนอง แต่ไม่ยักแก่ ดูเหมือนในภาค ๔ จะหน้าตึงขึ้นกว่าภาคก่อนหน้า ในขณะที่วัยรุ่นคนอื่นแก่ลงอย่างเห็นได้ชัด

คือหลิ่มหลีว่า หลิ่มหลีติดตามเรื่องนเรศวรมาตั้งแต่ยังสาวที่พอจะหาทางมีสามีได้จนมาเป็นสาวแก่ที่หาสามีไม่ได้แน่แล้ว รวมๆกันก็จะสิบปีอยู่แล้ว แน่นอนหลิ่มหลีว่าเป็นการถ่ายทำที่ยาวนานมาก เวลาแต่ละฉากที่จะมีคนตาย ดูเหมือนทำหน้าไม่ได้เสียใจที่จะตาย (ดีใจที่ไม่ต้องเล่นต่อหรือยังไงจ๊ะ) ไอ้ที่รอดนี่ทำหน้าเสียใจที่รอด ไม่รู้เพราะถ่ายทำนานจนแก่จนศัลยกรรมจะเอาไม่อยู่หรือเปล่า

แต่มองในแง่สุขภาวะ หลิ่มหลีว่ามันดีมากๆเลย เพราะการถ่ายทำที่เริ่มตั้งแต่นักแสดงทุกคนยังวัยรุ่นจนสูงวัยกันขนาดนี้ก็เหมือนเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ที่ เล่นตั้งแต่เด็กยันโต ดังนั้นหลิ่มหลีว่านักแสดงทุกคนคงดีใจ (หึหึ) ที่จะมีงานทำต่อไปจนแก่แน่ๆ ว่าแต่ได้ค่าตัวหรือยัง เด๋วโดนแฉในพันทิพเหมือนงวดก่อนอีกนา ...

หนังเรื่องนี้สนุกมากค่ะ และยาวนานมาก ยาวนานทั้งระยะเวลาในภาค และจำนวนภาคที่ไม่มีที่ยุติแน่นอนว่าจะเป็นไปถึงไหน หลิ่มหลีแนะนำให้พกหมอนหนุนคอไปด้วยค่ะ มีบางฉากที่หลิ่มหลีอินไปกันหนังชนิดที่กัดฟันกรอดๆ มือไม้จิกเข่าไว้แน่นด้วยความอิจฉา ก็คงจะเป็นฉากเลิฟซีนระหว่างพี่ทิ้งกับเลอขิ่น ซึ่งหลิ่มหลีรับไม่ได้ สาบแช่งเลอขิ่นให้ตายตั้งแต่ภาค ๒ จน ภาค ๔ เลอขิ่นก็ยังไม่ตาย แถมมีเลิฟซีนที่หลิ่มหลีแน่ใจว่า พกพาเด็กวัยรุ่นไปดูแล้ว เสียผู้เสียคนแน่ๆ แต่เรื่องนี้ได้ เรต “ส” ที่แปลว่า สงสารคนดู เอ้ยไม่ใช่ ส่งเสริมให้ดูนะคะ ถ้ายังไงก็ไปอุดหนุนกันหน่อย

หนังเรื่องนี้บอกอะไรหลายอย่างให้หลิ่มหลีได้เห็น เช่น ผู้นำต้องมีลูกน้องที่เก่งจริงๆ ผู้นำไม่ต้องเก่งก็ได้ แค่มีความเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนก็พอ อีกอย่างหนังเรื่องนี้หลิ่มหลียังไม่เห็นการแสดงออกของพระอัจฉริยภาพขององค์มหาราชอะไรเลย ไอ่ทิ้งเก่งกว่าอีก แม่ทัพก็เก่ง ส่วนเหนือหัวบ้าบิ่นอย่างเดียว ทำการสิ่งใดไม่ได้คิดถึงคนโดยรวมเลย ซึ่ง..หลิ่มหลีว่ามันไม่ถูก ดูสิ เดือดร้อนกันไปหมด แต่ก็ได้อรรถรสของหนังดีค่ะ คนอะไรจะเก่งไปซะหมดก็ไม่ได้ มันต้องมีพลาดมีพลั้งกันบ้าง บอกให้รู้ถึงความละเอียดอ่อนของผู้สร้างที่อยากให้เห็นว่าองค์มหาราชก็แค่คนไม่ใช่เทพเทวดา ที่บ้าบิ่นได้ โง่ได้ คิดสั้นๆได้ มันต้องมีสักคนสิที่เตือนเราได้ ฮั่นแน่...ก็มณีจันทร์เมียรักนั่นไง

ฉากการรบ หลิ่มหลีไม่เข้าใจ ว่าผู้สร้างเห็นพม่าดีกว่าเราได้ยังไงกัน หลิ่มหลีละคับแค้นใจ หนังเรื่องนี้ตั้งใจจะให้เรารักชาติและองค์มหาราช แต่เวลาเปิดตัวแม่ทัพฝ่ายพม่า ซึ่งก็เป็นคนแก่ที่หลิ่มหลีก็ไม่ได้รู้จัก เท่ก็ไม่เท่ อะไรก็ไม่รู้ แต่แหม๋ เปิดตัวมาที เท่ระเบิด ส่วนฝ่ายสยามประเทศ ทำไมมันยืนรอเขาออกจากประตูกำแพงได้ไร้ทิศไร้ทาง ไร้มาดไร้การจัดทัพให้เป็นระเบียบได้ตรงข้ามกับพม่าขนาดนี้ เห็นแล้วก็ งง ว่า แน่ใจนะว่าไอ้อดีตที่ผ่านมานั้น เรารบพม่าชนะเนี่ย ไม่ใช่เพราะรบอู้ไปเรื่อยแล้วรอน้ำหลากน้ำท่วมจากตอนเหนืออย่างเดียว

(ว่าแต่สมัยก่อนมีเขื่อนทางเหนือไหมคะ ที่เวลาจะให้ตอนใต้น้ำท่วม ก็ปล่อยน้ำจากเขื่อนมาฆ่าล้างศัตรูของแผ่นดินได้หง่ะค่ะ หลิ่มหลีก็ไม่รู้ว่าไอ้เขื่อนนี่เขาสร้างกันไว้แต่ชาติปางไหน)

(แล้วสมัยก่อนมันมีคำว่า สยามประเทศแล้วหรอคะ หลิ่มหลีงง ไม่ใช่กรุงโยนี เอ้ย โยเดียรบกับกรุงหงสาวดีหรอคะ เป็นพม่ากับสยามหรอคะ อันนี้หลิ่มหลีก็ไม่รู้อีกเหมือนกัน เรียนมาน้อย คืนแผ่นดินไปเยอะ)

มีหลายฉากที่หลิ่มหลีต้องเอาผ้าพันคอ (โรงหนังหนาวค่ะ) มาซับน้ำตา หลิ่มหลีไม่เล่าหรอกว่าฉากไหน เด๋วจะเท่ากับเป็นการสปอยหนัง ให้กับคนที่ยังอยากดูมาก (เสียงจากข้างหลังตะโกนถามหลิ่มหลีว่า “ยังมีคนอยากดูอีกหรอ” หลิ่มหลีด่ากลับไปแล้วค่ะ “ไอ่พวกไม่รักชาติ” หุหุ)

หลิ่มหลีแน่ใจว่าหนังเรื่องนี้ น่าจะชื่อว่า ศึกนันทบุเรง ๑ เนื่องจากเรื่องนี้จบลงเพียงแค่ พระนเรศ เอาชนะแม่ทัพคนหนึ่งขององค์นันทบุเรงได้ โดยที่นันทบุเรงนำศึกมา แต่ยังไม่ได้ทรงออกรบเองเลย ฝ่าพระบาทยังไม่ได้เหยียบโยเดียนครเลย แล้วยังมีแม่ทัพเหลืออีกหลายนายที่ต้องมาออกรบก่อนเจ้านาย ท่าทางว่า เฉพาะตอนศึกนันทบุเรง ก็น่าจะมี ซับเซตของภาคอีกประมาณ ๖ ภาคด้วยกันได้

นับๆดูก็น่าจะประมาณนี้

ภาค ๑ ตัวประกันหงสา
ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ
ภาค ๓ ยุทธนาวี
ภาค ๔.๑ ศึกนันทบุเรง แม่ทัพรองบ๊วยฝ่ายซ้าย
ภาค ๔.๒ ศึกนันทบุเรง แม่ทัพรองบ๊วยฝ่ายขวา
ภาค ๔.๓ ศึกนันทบุเรง แม่ทัพใหญ่
ภาค ๔.๔ ศึกนันทบุเรง แม่ทัพหลานนันทบุเรง
ภาค ๔.๕ ศึกนันทบุเรง แม่ทัพลูกนันทบุเรง
ภาค ๔.๖ ศึกนันทบุเรง เจอนันทบุเรงเองเลย
ภาค ๕.๑ ยุทธหัตถึ
ฯลฯ

แล้วก็ค่อยมีภาคต่อๆไปอีกค่ะ เพื่อความสมบูรณ์แห่งภาพยนตร์มหากาพย์แห่งสยามประเทศอันเป็นการเฉลิมศรีใหักับอดีตบูรพมหาราชของสยามชน

(อีข้างหลังตะโกนมาว่า พี่หลิ่มหลีจะให้เขาทำหนังภาคเยอะๆแข่งกะบ้านผีปอบหรอว่ะ)

อีบ้า... บ้านผีปอบนั่นนะ มหากาพย์หนังไพร่นะมึง เอาสองเรื่องนี้มาเทียบกันได้อย่างไร

บ้านผีปอบเสียหายหมด

หึหึ

ปล.. หนังเรื่องนี้ นมตู้มๆของน้องๆนักแสดงตัวประกอบ ขโมยซีนนักแสดงนำแต่ละท่านได้ดีมากในระดับที่หลิ่มหลียกนิ้วให้ค่ะ ยกเว้น น้องแอ๊ฟกับน้องทราย .. ช่วยไปตบนมหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คาเมรอนประกาศโต้กลับจลาจลในอังกฤษ หลังมีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย

$
0
0

10 ส.ค. 2011 - สำนัก ดิ อินดิเพนเดนท์ ของอังกฤษรายงานว่า นายกรัฐมนตรี เดวิด คาเมรอน จากพรรคอนุรักษ์นิยมของอังกฤษประกาศว่าตำรวจจะ "โต้ตอบกลับ" กลุ่มคนที่ออกปล้นทำลายข้าวของในการจลาจลที่ลุกลามไปทั่วประเทศ โดยคาเมรอนบอกว่าเจ้าหน้าที่จะทำการรวบรวมยุทโธปกรณ์และประกาศใช้ปืนน้ำภายใน 24 ชม. 

นายกฯ อังกฤษประกาศการโต้กลับหลังจากที่ได้ประชุมหารือกับหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินคอบร้าของรัฐบาลอังกฤษ โดยกลุ่มผู้ก่อจลาจลเคลื่อนจากลอนดอนไปยังแมนเชสเตอร์ เบอร์มิ่งแฮม และน็อตติงแฮม ในชั่วข้ามคืน การจลาจลเป็นเหตุให้มีประชาชนผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย ร้านค้ามากมายถูกปล้นชิงหรือถูกเผาทำลาย
 
โดยคาเมรอนประกาศว่า "พวกเราต้องการตอบโต้กลับ กำลังดำเนินการเพื่อการตอบโต้กลับอยู่"
 
"พวกเราได้เห็นด้านที่เลวร้ายที่สุดของอังกฤษไปแล้ว แต่ผมก็ยังเชื่อว่าพวกเรายังคงได้เห็นด้านดีๆ ของอังกฤษอยู่บ้าง มีประชาชนกว่าล้านคนเข้าลงทะเบียนในเฟสบุ๊คเพื่อสนับสนุนการทำงานของตำรวจ มาร่วมกันในการเก็บกวาดทำความสะอาด"
 
คาเมรอนบอกอีกว่า ทางตำรวจกำลังเตรียมยุทโธปกรณ์และเครื่องป้องกันเพื่อใช้ยุทธวิธีจัดการกับกลุ่มก่อจลาจลอย่างถูกต้องตามกฏหมาย มีการอนุญาตให้ตำรวจใช้ไม้กระบองแล้วและทางหน่วยคอบร้าก็เห็นว่าควรเตรียมปืนน้ำไว้ตลอด 24 ชั่วโมงแม้อาจไม่จำเป็นต้องใช้มันก็ตาม
 
ขณะเดียวกันนายกเทศมนตรีของลอนดอน บอริส จอห์นสัน พรรคอนุรักษ์นิยมก็ขอร้องให้คิดใหม่กับการตัดงบประมาณตำรวจลงร้อยละ 20 ซึ่งคาเมรอนก้โต้กลับว่าเจ้าหน้าที่ต่างก็มีทรัพยากรเพียงพอแล้ว โดยบอกว่า "พวกเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มักอยากได้เงินเพิ่ม ผมไม่ว่าเขาหรอก" คาเมรอนบอกอีกว่ามีการเพิ่มกำลังตำรวจในลอนดอนจาก 3,000 เป็น 16,000 นายแล้ว
 
ในกรณีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์จลาจล คาเมรอนก็ได้ออกมาแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียทั้งสามคนที่ถูกสังหารจากการพยายามปกป้องร้านค้าของตนจากกลุ่มก่อจลาจลในเบอร์มิงแฮม
 
ทาริก บิดาของฮารูน จาฮาน เหยื่อของการจลาจลวัย 21 ปีกล่าวว่า พวกเขาขอร้องให้กลุ่มวัยรุ่นทุกคนอยู่ในความสงบเพื่อให้ชุมชนของพวกเรากลับมาสามัคคีกัน นี่ไม่ใช่ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ครอบครัวของเขาได้รับข้อความแสดงความเห็นใจจากทุกส่วนในสังคม โดยบิดาของผู้ตายเรียกร้องให้หยุดใช้ความรุนแรงเพื่อแสดงความเคารพต่อความทรงจำที่มีต่อลูกชายพวกเขา และให้ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ออกมาให้ข้อมูลกับตำรวจ
 
"ผมสูญเสียลูกชาย ทั้งคนผิวดำ คนผิวขาว ชาวเอเชีย พวกเราอยู่ร่วมกันในชุมชน ทำไมพวกเราถึงต้องมาฆ่าฟันกันเอง ทำไมต้องทำเช่นนี้ ก้าวออกมาสิถ้าคุณอยากสูญเสียลูกของคุณ หรือไม่เช่นนั้นก็สงบสติอารมณ์แล้วกลับบ้านไปเสีย ได้โปรดเถิด" บิดาของจาฮานกล่าว
 
มีผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่าชายผู้เสียชีวิตทั้ง 3 คนถูกรถพุ่งเข้าชนขณะพยายามปกป้องร้านค้าของพวกเขา โดยนอกจากฮารูนแล้ว ชายผู้เสียชีวิตอีก 2 รายคือ ชาฮัด อาลี อายุ 30 ปี และอับดุล มูซาวีร์ อายุ 31 ปี ตำรวจท้องที่ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยคดีสังหารบุคคลทั้ง 3 ไว้ได้แล้ว
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานพิเศษ: “รัฐกับการรับมือเหตุลักพาตัวเด็ก”

$
0
0

3 สิงหาคม 2554 เด็กหญิงศิรินทิพย์ สำอาง หรือน้องพอมแพม อายุ 3 ขวบ ถูกหญิงลึกลับ ลักพาตัวไปจากบริเวณห้องเช่าย่านเคหะบางพลี  จนถึงวันนี้ล่วงเลยมาแล้ว 1 สัปดาห์เต็มยังไม่สามารถติดตามตัวน้องพอมแพม กลับคืนสู่อ้อมอกของผู้เป็นแม่ได้  

จากสถิติของศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา มีเด็กถูกลักพาตัวไปไม่น้อยกว่า 50 ราย   โดยในจำนวนนี้มีเด็กอีกประมาณ 20 รายที่ยังตามตัวไม่พบ   และดูเหมือนว่าการติดตามหาเด็กที่ถูกลักพาตัว  จะกลายเป็นเรื่องห่างไกลจากบทบาทของผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายออกไปทุกที  มูลนิธิกระจกเงา ในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเรื่องการรับแจ้งเหตุและติดตามคนหายมาเกือบ 10 ปี ขอสะท้อนและวิพากษ์กระบวนการของรัฐกับการรับมือเหตุลักพาตัวเด็กอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแปลง อันอาจนำมาสู่แนวทางที่ควรจะเป็นในอนาคต

ปัญหาเรื่องดุลพินิจ-หายไม่ถึง 24 ชั่วโมง

            นาทีแรกที่ครอบครัวเด็กหาย สงสัยว่าลูกจะถูกลักพาตัว นอกจากการออกติดตามด้วยตัวเองตามสถานที่ต่างๆ แล้ว  ทุกครอบครัวยังนึกถึงตำรวจเป็นหน่วยงานแรกๆ ในการทเข้าไปขอความช่วยเหลือ ด้วยหวังว่าวิชาชีพตำรวจที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายจะออกสืบสวนติดตามเด็กหายได้ตามกระบวนการที่มีอย่างฉับไวและมีประสิทธิภาพ  แต่ในความเป็นจริงแล้ว เหตุลักพาตัวเด็ก มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเย็นหรือเวลาค่ำ ดังนั้น กว่าครอบครัวเด็กจะออกติดตามหาด้วยตัวเอง จนแน่ใจว่าไม่พบตัวลูกแน่นอนแล้วถึงจะไปแจ้งความที่สถานีตำรวจเป็นลำดับต่อไป เวลาก็อาจจะล่วงเลยไปถึงช่วงดึกดื่นแล้ว ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าในช่วงเวลากลางคืน บนสถานีตำรวจจะมีเจ้าหน้าที่อยู่เวรเพียงไม่กี่คน ที่สำคัญเกือบทุกครอบครัว มักพบประสบการณ์ในการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจแบบเดียวกันว่า  “หายไม่ถึง 24 ชั่วโมง ยังแจ้งความไม่ได้”  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กรอบระยะเวลาในการรับแจ้งความคนหาย ไม่มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจน การอ้างว่าต้องหายออกจากบ้านไปครบ  24 ชั่วโมงก่อน ถึงจะแจ้งความคนหายได้ จึงเป็นเพียงการใช้ดุลพินิจเท่านั้น  ซึ่งเป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งว่า กรณีเด็กเล็กซึ่งไม่มีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง  และหายตัวไปในลักษณะเข้าข่ายถูกลักพาตัว เหตุใดตำรวจในหลายกรณีจึงใช้ดุลพินิจว่าเด็กจะต้องหายไปครบ 24 ชั่วโมงก่อน จึงจะรับแจ้งความ  ซึ่งหากมองอย่างตรงไปตรงมา ไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ว่า ทำไมสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็กที่น่าจะถูกลักพาตัว จึงไม่ได้รับการคุ้มครองโดยเร็วที่สุด   ทั้งนี้ ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญซึ่งอยู่ในวงการบังคับใช้กฎหมายท่านหนึ่ง ได้เคยให้ความเห็นว่า การใช้ดุลพินิจปฏิเสธการรับแจ้งความในลักษณะนี้  ในวงการผู้บังคับใช้กฎหมาย เรียกว่า “เป่าคดี”  คือ ปิดเรื่องตั้งแต่ยังไม่ได้รับเรื่อง หรือผลักเรื่องให้ออกจากช่วงเวลาเวรประจำวันของตัวเองไปเสียก่อน  ปัญหาเรื่องกรอบเวลาในการรับแจ้งความคนหาย จึงไม่ควรถูกยึดติดอย่างเคร่งครัดในกรณีเด็กเล็กหาย หรือเป็นกรณีที่น่าจะเข้าข่ายถูกลักพาตัว  ต้องไม่มีกรอบเวลามาเป็นเงื่อนไข และต้องดำเนินการในลักษณะที่เรียกว่า “ทำทันที”

ปัญหาเรื่องความชัดเจน-การประสานในหน่วยงาน

          หน่วยงานที่ครอบครัวจะเข้าไปขอความช่วยเหลือเป็นอันดับต้นๆ  คือ หน่วยงานตำรวจ  ปัญหาแรกในการติดต่อขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานนี้ก็คือ ประชาชนผู้เดือดร้อน ไม่อาจจำแนกได้ว่าตำรวจแต่ละคนทำหน้าที่ด้านใดบ้าง เมื่อครอบครัวเด็กประสบเหตุสำคัญเช่นนี้  จึงมักจะไปแจ้งความตามตู้ยามตำรวจ หรือหน่วยบริการย่อย ใกล้บ้านก่อน ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยลดขั้นตอนการประสานงานให้เร็วที่สุด และตำรวจไม่ว่าใครก็ตามที่รับเรื่อง ก็น่าจะช่วยประสานงานให้ตำรวจที่เกี่ยวเข้ามาดำเนินการต่อได้   ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว  การไปแจ้งความตามตู้ยาม หรือหน่วยบริการย่อย มักจะไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมายเพราะไม่มีพนักงานสอบสวน และตำรวจที่ทำหน้าที่ในส่วนนั้น ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจเท่าที่ควร  ไม่มีการประสานงานตำรวจที่เกี่ยวข้องให้ ไม่มีแม้กระทั่งการแนะนำขั้นตอนการแจ้งความที่ถูกต้องให้กับครอบครัว  หลายครอบครัวจึงเข้าใจไปเองว่า การแจ้งความกับตำรวจที่ตู้ยาม ตำรวจได้รับเรื่องและช่วยดำเนินการแล้ว ซึ่งตามจริงแล้ว เรื่องที่แจ้ง อาจไม่ได้ถูกดำเนินการใดๆ เลย

            นอกจากนี้ แม้ว่าหลายครอบครัวจะได้เดินทางไปแจ้งความคนหาย กับพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจโดยตรงก็ตาม  พบว่า หลายกรณี ตำรวจเพียงดำเนินการลงบันทึกประจำวันไว้เท่านั้น  ไม่ได้มีกระบวนการอื่นๆ เพื่อการติดตามหาตัวเด็กที่ถูกลักพาตัว  ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่ว่า ฝ่ายสอบสวนกับฝ่ายสืบสวนของหลายสถานีตำรวจทำงานแบบไม่ประสานงานกัน  จะเห็นได้จาก การที่พนักงานสอบสวน เมื่อรับแจ้งความเสร็จ  จะให้ครอบครัวคนหาย ไปหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนเอง และครอบครัวคนหาย ก็ต้องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำอีกรอบ ตอบคำถามเดิมๆ อีกรอบ  ทั้งๆ ที่น่าจะมีการประสานข้อมูลกัน เพราะได้สอบถามหรือสอบปากคำไปแล้ว  นอกจากนี้ในหลายกรณีผู้รับแจ้งเหตุ ก็มิได้ช่วยครอบครัวเด็ก ดำเนินการใดๆ เลย    จนกระทั่งต้องมีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวในวงกว้าง ถึงจะได้เริ่มให้ความสนใจในการติดตามหา  รัฐจึงเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่ได้รับเรื่อง แต่กลับกลายเป็นหน่วยงานท้ายๆ ที่ขยับตัวในการดำเนินการอย่างช้าๆ

ปัญหาเรื่องความเชี่ยวชาญ-ขาดการทำงานด้วยองค์ความรู้

            เรามักจะได้ยินรัฐมนตรี หรือ นายตำรวจระดับสูงให้สัมภาษณ์ว่า การลักพาตัวเด็ก อาจเกิดขึ้นโดยแก๊งค์รถตู้ จับเด็กไปตัดแขนตัดขา เพื่อขอทานหรือค้าอวัยวะ ซึ่งโดยข้อเท็จจริง เด็กที่หายออกจากบ้านที่เข้าข่ายถูกลักพาตัวมากกว่า 50 รายที่เกิดขึ้น  ไม่มีรายใดถูกลักพาตัวไปโดยแก๊งค์รถตู้สักรายเดียว  การสร้างความเชื่อลักษณะนี้ต่อสังคม โดยใช้วาทกรรม “แก๊งรถตู้”  นับว่าเป็นการสื่อสารต่อสังคมที่ขาดความรับผิดชอบและเป็นผลให้การสืบสวนติดตามเด็กถูกลักพาตัว มักพุ่งเป้าไปผิดทางด้วยความเชื่อและข้อมูลผิดๆ  

            โครงสร้างของหน่วยงานรัฐ ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ไม่มีหน่วยงานที่ทำงานด้านการติดตามคนหายเป็นการเฉพาะ จึงไม่มีผู้เชี่ยวชาญและไม่มีการถอดบทเรียนความรู้ในแต่ละคดีที่เคยเกิดขึ้น ว่าแนวโน้มการลักพาตัวเด็กในประเทศไทยเป็นลักษณะอย่างไร   การทำงานสืบสวนติดตามเด็กถูกลักพาตัว จึงออกในแนวลักษณะแบบมวยวัด คือ ไม่มีข้อมูล ไม่มีการวิเคราะห์กลุ่มผู้กระทำผิด  ไม่มีสถิติเปรียบเทียบ  และที่สำคัญไม่มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบในการติดตามเด็กถูกลักพาตัว   สถานการณ์ในตอนนี้ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย จึงกลายเป็น  ผู้เดินตามหลังสื่อมวลชนเมื่อมีการนำเสนอข่าวผ่านสาธารณะโดยตลอด

            แบบแผนในการติดตามเด็กถูกลักพาตัว เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  เพราะจะทำให้ทราบว่า จะต้องดำเนินการขั้นตอนใดก่อนหลัง   การลักพาตัวหลายกรณี ผู้รับแจ้งเหตุ ไม่เคยลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุ หรือ สอบปากคำพยานแวดล้อม ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการติดตามตัวเด็ก  การประสานหน่วยงานใกล้เคียงก็เป็นในลักษณะมือสมัครเล่น เช่น การส่งภาพถ่ายเด็กถูกลักพาตัวไปยังพื้นที่ต่างๆ ผ่านระบบโทรสาร ซึ่งแน่นอนว่า การส่งภาพถ่ายเด็กจากโทรสารซึ่งปลายทางจะได้ภาพถ่ายอันดำมืดจนแทบมองไม่เห็นภาพเด็กหาย จะนำไปเปรียบเทียบกับตัวเด็กที่ต้องสงสัยว่าจะถูกลักพาตัวมาได้อย่างไร  กระบวนการแบบมือสมัครเล่นในลักษณะนี้   จึงอาจถูกมองว่า ทำเพื่อแค่ได้ทำเท่านั้น แต่ไม่เล็งถึงประสิทธิภาพและผลลัทธ์ของการกระทำที่จะเกิดขึ้น    การขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับคดีการลักพาตัวเด็ก ทำให้ตำรวจมักสืบสวนไปผิดทางแบบสะเปะสะปะ   เนื่องจากแผนประทุษกรรมเดิมของคดีที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย มักอยู่ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งหากได้มีการถอดบทเรียนความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะทำให้แนวทางการสืบสวนชัดเจนขึ้น และคัดกรองเบาะแสที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพ  เนื่องจากในหลายกรณี เมื่อสื่อมวลชนนำภาพเด็กถูกลักพาตัวไปเผยแพร่ จะมีผู้แจ้งเบาะแสเข้ามาเป็นจำนวนมาก  และหลายเบาะแสอาจไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง ซึ่งหากมีองค์ความรู้ในคดีลักษณะนี้ จะทำให้สามารถจำแนกเบาะแสเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งไปตรวจสอบเบาะแสที่น่าจะตรงเป้า มากกว่าการเหวี่ยงแห่ไปตรวจสอบทุกเบาะแส ซึ่งทำให้เสียงบประมาณ และสูญเสียกำลังใจไปมาก หากไปตรวจสอบแล้วไม่พบ

            การที่หน่วยงานรัฐ ไม่มีหน่วยงานเฉพาะในการทำงานเรื่องคนหาย ส่วนหนึ่งมองได้ว่า รัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวนี้เท่าที่ควร  ทั้งๆ ที่เป็นปัญหาซึ่งมีสถิติตัวเลขอย่างชัดเจนว่า มีแนวโน้มคนหายออกจากบ้านเพิ่มสูงขึ้นทุกปี  การไม่มีความเชี่ยวชาญหรือหน่วยงานเฉพาะทางในการดูแลปัญหา จะทำให้รัฐเดินตามหลังปัญหา ไม่เท่าทันต่อการจัดการปัญหา อย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้

ปัญหาเรื่องหน้าที่-ความรับผิดชอบ-จิตวิญญาณ

          เป็นที่ทราบกันโดนถ้วนหน้าว่า  เมื่อใดก็ตาม ที่ประเด็นทางสังคมถูกหยิบยกนำเสนอผ่านการรายงานของสื่อมวลชน  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ตามกฎหมายถึงจะดำเนินการอย่างเต็มที่  กระนั้นก็ตามเมื่อกระแสสังคมเงียบลง  หน่วยงานที่มีหน้าที่ตามกฎหมายก็มักจะถอนตัวไปตามธรรมชาติ หรือลาจากการดำเนินการไปเสียดื้อๆ แม้ว่าจะยังแก้ไขปัญหาเหล่านั้นไม่แล้วเสร็จก็ตาม ตลอดจนการโยกย้ายเปลี่ยนตัวผู้รับผิดชอบคดี ก็มีผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหา  ปัญหาเรื่องการติดตามเด็กถูกลักพาตัวก็เช่นเดียวกัน  ปัญหานี้ไม่ใช่เกิดเฉพาะตัวเด็กที่หายเท่านั้น แต่ปัญหาจะส่งผลต่อครอบครัวและชุมชนของเด็กด้วย   พ่อแม่ของเด็กที่ถูกลักพาตัวส่วนใหญ่ เป็นผู้มีฐานะยากจน การตะเวนออกติดตามหาเด็กในสถานที่ต่างๆ จึงไม่สามารถทำได้ในวงกว้างนักเพราะไม่มีทุนทรัพย์ เกือบทุกครอบครัวไม่มีกำลังใจในการไปทำงาน เพราะมุ่งที่จะติดตามหาเด็กที่ถูกลักพาตัวให้เจอก่อน ซึ่งเป็นผลให้ครอบครัวขาดรายได้ในการเลี้ยงชีพไปด้วย  กระบวนการช่วยเหลือโดยหน่วยงานรัฐ  จึงต้องมองให้เห็นมิติเหล่านี้ของผู้ประสบเหตุ และเข้าให้การช่วยเหลือจุนเจือในสัดส่วนที่พอจะช่วยได้  ในกรณีน้องพอมแพมอายุ 3 ขวบที่ถูกลักพาตัวไปกว่าหนึ่งสัปดาห์ในจังหวัดสมุทรปราการ จนถึงป่านนี้ ก็ยังไม่มีหน่วยงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เข้าไปดูแลเยียวยาแต่อย่างใด   แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อปัญหา และความเอาใจใส่  ถึงแม้ว่าครอบครัวของเด็กจะไม่ได้ไปแจ้งหน่วยงานเหล่านี้ก็ตาม   เพราะในเป็นความจริงแล้ว ครอบครัวเด็ก ไม่มีความสามารถในการติดต่อหรือทำความรู้จัก เพื่อแจ้งเหตุได้กับทุกหน่วยงานได้ทราบ  ดังนั้น เมื่อปัญหาถูกสื่อสารผ่านสาธารณะแล้ว  เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งควรจะทราบว่าตัวเองมีหน้าที่อะไร ควรจะได้เคลื่อนตัวออกจากหน่วยงาน เพื่อเยียวยาผู้ประสบเหตุอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที

            ธรรมชาติของคดีลักพาตัวเด็กจำนวนมาก เมื่อสิ้นเบาะแสการสืบค้นแล้ว และยังไม่พบตัวเด็กที่หาย  คดีจะถูกทิ้งไว้ และขาดความต่อเนื่องในการติดตามหาไปเอง  เพราะไม่มีเจ้าภาพในการทำให้เรื่องนี้เป็นวาระของพื้นที่หรือของจังหวัดในการติดตามอย่างต่อเนื่อง   เจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยงานเคยกล่าวถึง การติดตามตัวเด็กถูกลักพาตัว ซึ่งล่วงเลยระยะเวลาการเกิดเหตุมานานแล้วในทำนองว่า “ควรให้เป็นหน้าที่ของตำรวจในการติดตาม ไม่ควรเข้าไปยุ่งให้เปลืองตัว” 
            ซึ่งวิธีคิดในการลักษณะแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงสภาพการขาดจิตวิญญาณในการทำงานอย่างรุนแรง และแสดงถึงวุฒิภาวะในการแก้ไขปัญหาในฐานะผู้มีหน้าที่ตามกฎหมาย

 

บทส่งท้าย

          ดูเหมือนว่ากระบวนการของรัฐในการรับมือเหตุลักพาตัวเด็กในประเทศไทย จะยังเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากความสำเร็จพอสมควร   ส่วนหนึ่งต้องแก้ที่คน  ส่วนหนึ่งต้องมีวิสัยทัศน์ในการลงทุนขยายหน่วยงานเฉพาะทางเพื่อรองรับการจัดการปัญหาในอนาคต  เร่งพัฒนาความเป็นมือสมัครเล่น ให้มีเกิดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจนกลายเป็นมืออาชีพ   เชื่อแน่ว่าประชาชนทุกคน ยังให้กำลังใจและพร้อมสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานรับใช้สังคมเสมอ  แค่มองมุมกลับอย่างง่ายๆ หากเด็กที่ถูกลักพาตัวเป็นลูกของท่านบ้าง  ท่านจะทำอย่างไร – โปรดช่วยเหลือเด็กคนอื่นที่หายไป เสมือนหนึ่งเช่นเดียวกับวิธีการที่จะใช้ในการติดตามลูกของท่าน.

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนเชียงดาวโวยเมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (ตอน 3)

$
0
0

 

แผนที่แสดงลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน

 

 

ฝายชลประทานโป่งอาง ที่ชาวบ้านใช้กันอยู่

 

เรียนรู้ที่มาของโครงการ
จากข้อมูลของกรมชลประทาน ระบุถึงความเป็นมาของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอบนน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เขื่อนกั้นน้ำปิงที่โป่งอาง นี้ว่า ‘ลุ่มน้ำปิง’ เป็นลุ่มน้ำที่มีความสำคัญตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 3,896 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ 

สภาพภูมิประเทศตอนบนของลุ่มน้ำเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ต้นกำเนิดของแม่น้ำปิง เกิดจากทิวเขาผีปันน้ำในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลผ่านหุบเขาลงมาสู่ที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดลำพูน จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงทางทิศใต้ผ่านอำเภอฮอด ก่อนจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล

ส่วนแม่น้ำปิงตอนล่างใต้เขื่อนภูมิพลจะไหลผ่านที่ราบมาถึงบริเวณที่แม่น้ำวังไหลมาบรรจบ แล้วไหลผ่านที่ราบกว้างใหญ่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ก่อนจะไปรวมกับแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

ลำน้ำสาขาที่สำคัญของแม่น้ำปิง ได้แก่ น้ำแม่งัดมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแดนลาวทางตอนเหนือของลุ่มน้ำไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงทางฝั่งซ้าย,น้ำแม่แตงไหลจากเทือกเขาแดนลาวลงมาบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งขวา,แม่น้ำกวงไหลมาบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งซ้ายที่จังหวัดลำพูน, แม่น้ำลี้ไหลจากอำเภอลี้ขึ้นไปทางทิศเหนือบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งซ้ายที่อำเภอจอมทอง,น้ำแม่แจ่มไหลจากเทือกเขาถนนธงชัยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลุ่มน้ำลงมาบรรจบแม่น้ำปิงทางฝั่งขวาที่อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลกรมชลประทาน ระบุต่อว่า ปัจจุบันได้เกิดสภาพความเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน โดยพื้นที่บริเวณป่าต้นน้ำถูกบุกรุกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ปิง เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน ในอดีตลุ่มน้ำปิงเคยประสบปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชนหลายครั้ง เช่น ปี พ.ศ.2538 ในปี พ.ศ.2545 ได้เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปิง เป็นเหตุให้เกิดปริมาณน้ำหลากในแม่น้ำปิงลำนน้ำสาขาไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเชียงดาวและไหลลงมาท่วมพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ และพื้นที่การเกษตรเป็นบริเวณกว้าง

และในปี พ.ศ.2548 ได้เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักทางตอนบนของลุ่มน้ำปิง และได้เกิดอุทกภัยในบริเวณภาคเหนือ โดยเฉพาะเกิดน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่หลายระลอก ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สินของทางราชการ ภาคเอกชน และราษฎร สร้างความเสียหายต่อสภาพเศรษฐกิจ โดยเฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

จากปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน กรมชลประทานจึงเห็นสมควรให้มีการดำเนินงาน การศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำในลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน และการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในการบรรเทาปัญหาน้ำในเขตลุ่มน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ย้ำวัตถุประสงค์ของการศึกษา แก้ปัญหาน้ำท่วม-ขาดแคลนน้ำ
จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ การกำหนดทางเลือกของแผนการพัฒนาแหล่งน้ำที่ให้ประสิทธิผลที่ดีในการแก้ไข บรรเทาปัญหาอุทกภัยของลุ่มน้ำปิงตอนบนและในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร การอุปโภคบริโภคการรักษาระบบนิเวศน์ท้ายน้ำ โดยต้องคำนึงถึงการป้องกันบรรเทาอุทกภัยของพื้นที่ชุมชน และพื้นที่การเกษตรสองฝั่งลำน้ำแม่ปิง ผลกระทบต่อปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง

จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) และแผนการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Mitigation Plan; EIMP)ตามแนวทางของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)

ส่งเสริมให้ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการศึกษาพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งอาจดำเนินการในรูปของคณะทำงานหรือคณะอาสาผู้วิจัยท้องถิ่น

ดำเนินงานประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจัดทำเป็นแผนงานที่ชัดเจน เพื่อแสดงให้เห็นว่ากรมชลประทานมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาด้านการบรรเทาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ให้แก่ราษฎรอย่างโปร่งใส และสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมของสาธารณชนอย่างจริงจัง โดยให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พุทธศักราช 2548 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550

เผยเน้นแนวทางการศึกษาครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและเศรษฐศาสตร์
แนวทางการศึกษาโครงการอย่างน้อยให้เป็นไปตามมาตรการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 มิถุนายน 2552 และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ปี 2551 ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจะต้องครอบคลุมประเด็นและเนื้อหาเหล่านี้ คือ

ศึกษาบริบทชุมชนในพื้นที่และวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายจัดทำมวลชนสัมพันธ์สร้างความคุ้นเคยและเครือข่าย เพื่อกำหนดรูปแบบการศึกษาอย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ โดยถือเป็นกิจกรรมหลักเพื่อให้สามารถดำเนินการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง

ให้จัดทำแผนงานของการดำเนินการประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มอนุรักษ์ และหน่วยงานราชการในการศึกษาพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น มุ่งให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสาเหตุ ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจให้กับประชาชนในเรื่องประโยชน์ของโครงการ รวมถึงเทคนิคและสื่อที่ใช้ดำเนินการ อาทิ ประชุม การผลิตสื่อต่างๆ เอกสาร วีดิทัศน์ จดหมายข่าว รวมทั้ง ข่าว บทความ สารคดี เพื่อเผยแพร่ทางสื่อมวลชน (หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์) เป็นต้น โดยดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พุทธศักราช 2548 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และสุดท้ายให้มีการประเมินผลความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะหรือทุกครั้งที่มีกิจกรรม

ศึกษาทบทวนแผนงานพัฒนาลุ่มน้ำข้างเคียงที่เกี่ยวข้องกับลุ่มน้ำปิงตอนบน รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำที่ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อยู่แล้ว โดยให้ความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการบรรเทาอุทกภัย

สำรวจ ศึกษาและวางแผนทางเลือกของการพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีแนวโน้มที่เหมาะสมในการสนองตอบต่อการบรรเทาอุทกภัยและความต้องการใช้น้ำ วิเคราะห์ความพอเพียงของแหล่งน้ำต้นทุน วิเคราะห์รายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง ชนิด ขนาด และระดับของอาคาร องค์ประกอบที่มีความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม ด้านค่าลงทุน/ความคุ้มทุน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านอื่นๆ

ศึกษาวิเคราะห์ ประสิทธิผลของโครงการในการบรรเทาอุทกภัยทั้งด้านระยะเวลาและระดับน้ำท่วม รวมถึงประสิทธิผลในการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในรูปตัวเงิน (Intangible Benefits Assessment)

กำหนดเกณฑ์การออกแบบ (Design Criteria) และออกแบบเบื้องต้นโครงการซึ่งอย่างน้อยต้องครอบคลุมหัวงาน ระบบชลประทานและระบายน้ำ

ในการศึกษาความเหมาะสมจะต้องมีการใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ด้านแหล่งน้ำให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยแบบจำลองทั้งหมดจะต้องสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมีการจัดระบบฐานข้อมูลที่ดี เพื่อนำผลมาใช้ประกอบในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้กำหนดกฎเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำอย่างสอดคล้องกับระบบโทรมาตรที่มีการศึกษาในลุ่มน้ำปิง อนึ่ง หากมีการพัฒนาแบบจำลองขึ้นใช้ในการศึกษา แบบจำลองจะต้องเป็นลิขสิทธิ์ของกรมชลประทานเพื่อเผยแพร่ใช้งานต่อไป

ศึกษาและจัดทำคู่มือการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในสภาวะปริมาณน้ำต่างๆ

ศึกษาและจัดทำคู่มือการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในสภาวะปริมาณน้ำต่างๆ

ศึกษาด้านเศรษฐกิจ สังคม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม (Social and Economic Base Data) ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลระดับโครงการ จังหวัดและประเทศไทยในภาพรวม วิเคราะห์ข้อมูลเจาะลึกในพื้นที่รับผลกระทบ พื้นที่ชลประทาน พื้นที่รับประโยชน์และพื้นที่อื่นๆ (ถ้ามี) วิเคราะห์ถึงสถานะของครัวเรือน การใช้แรงงาน การกระจายรายได้ และผลที่สังคมได้รับจากการพัฒนาโครงการ หลักการกระจายผลประโยชน์สู่สังคม รวมทั้งผลกระทบต่อทัศนคติหรือค่านิยมของประชาชนต่อโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ วิเคราะห์หลักการกระจายผลประโยชน์สู่สังคมและผลที่สังคมได้รับจากโครงการซึ่งต้องมีตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ ที่สมเหตุสมผล

ด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐศาสตร์/เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยครอบคลุมถึงค่าลงทุนหรือต้นทุนโครงการและผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม (Direct and indirect) ทั้งกรณี Tangible และ Intangible วิเคราะห์ Farm Model การคืนทุน การเสนออัตราที่เหมาะสมและอื่นๆ และความอ่อนไหวกรณีต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงินและผลตอบแทนทางสังคมที่สามารถชี้แจงหรือให้คำตอบที่ชัดเจนแก่สังคมได้

จัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และพจนานุกรมข้อมูลของโครงการ เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกและสามารถใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่กรมชลประทานได้พัฒนาไว้แล้ว

จัดทำการศึกษาลักษณะและความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบไฟฟ้าพลังน้ำ โดยกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำ ที่ปรึกษาต้องวิเคราะห์ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ของโครงการพร้อมทั้งเสนอแนวทางตามหลักเกณฑ์ กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ในเอกสารประกอบโครงการ ยังได้ระบุไว้ในตอนท้ายด้วยว่า- -จัดทำแผนงานแสดงกิจกรรมหลัก กิจกรรมรอง ความเชื่อมโยงของกิจกรรมและภาระงานของบุคลากรหลัก ระยะเวลาดำเนินงานที่ชัดเจน และแผนงานดังกล่าวจะต้องระบุถึงจุดวิกฤตของกิจกรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะงานด้านการมีส่วนร่วม) รวมทั้งจุดวัดผลสำเร็จของงานในแต่ละช่วงอย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อใช้ในกรณีการรายงานผลงาน และการปรับปรุงแผนการดำเนินงานหรือยุติการศึกษาโครงการหากไม่สามารถเข้าดำเนินการสำรวจในพื้นที่ได้

ตัวแทนชาวบ้านเชียงดาว เสนอความเห็นให้ทบทวนโครงการ
ปรุงปรุงแก้ไขฝายยางเชียงดาว-ฝายชลประทานบ้านโป่งอาง
จากรายงานสรุปผลการประชุมปฐมนิเทศและการรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping)  การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มกราคมพ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 

โดยในเอกสารได้สรุปไว้ว่า จากการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการจากช่องทางรับฟังความคิดเห็นหลังจากการประชุมอีก 15 วัน แต่ไม่มีผู้แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนั้นสามารถสรุปประเด็นจากการประชุมได้ดังนี้                                                                 

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจำนวนมากทั้งจากการอภิปรายในช่วงการประชุมและตอบแบบสอบถาม โดยประเด็นหลักที่มีผู้แสดงความคิดเห็นและเสนอแนะมี ดังนี้

-ขอให้ปรับปรุงฝายยางเชียงดาวให้ใช้ประโยชน์ได้เสียก่อน
ฝายยางเชียงดาว หมายถึง ฝายลูกยางกั้นแม่น้ำปิง ที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พ.พ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมดำเนินการสร้างฝายลูกยางกั้นลำน้ำปิง บริเวณบ้านม่วงฆ้อง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2542 โดยใช้งบประมาณจำนวน 311.89 ล้านบาท การดำเนินการดังกล่าวเป็นการสร้างเพื่อทดแทนฝายดั้งเดิมของชุมชนเพราะมีสภาพทรุดโทรมและต้องซ่อมแซมทุกปี

ปัจจุบันบริษัทรับเหมาดำเนินการเสร็จแล้ว และจะมีการส่งมอบให้กับกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานในวันที่ 31 พ.ค.2546 แต่เมื่อกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเริ่มทดลองกักเก็บน้ำ แต่เนื่องจากจากฝายที่สร้างเสร็จมีขนาดใหญ่กว่าฝายดั้งเดิมมาก โดยมีความกว้างถึง 72 เมตร ความสูงของสันเขื่อนประมาณ 3 เมตร ทำให้ระดับน้ำที่กักเก็บเริ่มท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านเป็นพื้นที่นับสิบไร่ 

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ได้จี้ให้ทางกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานแสดงความรับผิดชอบ แต่ทางรัฐก็ไม่ได้ใส่ใจ ไม่สนใจเสียงเรียกร้องชาวบ้านแต่อย่างใด

ว่ากันว่า ทุกวันนี้ ฝายยางเชียงดาว ไม่ได้ก่อประโยชน์อันใดแก่ชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่ใดๆ เลย ในขณะที่ต้องสูญเสียงบประมาณไปมากถึง 311.89 ล้านบาท จนชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเชียงดาวเรียกฝายยางนี้ เป็นอนุสาวรีย์อัปยศแสดงความล้มเหลวของโครงการรัฐอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย

และชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเชียงดาว ยังได้เสนอความเห็นอีกว่า ขอให้ซ่อมแซมฝายในพื้นที่บ้านโป่งอางให้ใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้าวอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนกั้นแม่น้ำปิง เพราะว่า ทุกวันนี้ ภายในพื้นที่หมู่บ้านโป่งอาง หมู่ที่ 5 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ นั้นมีฝายชลประทานอยู่แล้ว ซึ่งยังคงใช้การได้ เพียงแต่แก้ไขปัญหาการตกตระกอนหน้าดิน มีการขุดลอก ก็สามารถกักเก็บน้ำและใช้ในการเกษตรได้ตามปกติ

-ควรกระจายงบประมาณของโครงการขนาดใหญ่นำมาพัฒนาโครงการขนาดเล็กให้ทั่วทุกพื้นที่
-การดำเนินการพัฒนาโครงการควรคำนึงถึงประโยชน์ของชุมชนให้มากที่สุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด
-ควรจัดอบรมเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชน
-ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาทุกด้านของโครงการ ฯลฯ

ซึ่งทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า- -ข้อเสนอและการแสดงความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นนั้น กลับเงียบหาย ไม่มีการตอบสนอง

แต่กรมชลประทาน และทีมงานศึกษาชุดดังกล่าว ยังคงจะดำเนินการเดินหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน หรือเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบนที่อำเภอเชียงดาว ต่อไป

 

ข้อมูลประกอบ
โครงการอ่างเก็บน้ำแม่น้ำปิงตอนบน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่,สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน 
ฝายยางกั้นน้ำปิงกักน้ำแล้วชาวบ้านโวยน้ำท่วมพื้นที่ทำกิน
http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n_30052003_01

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนเชียงดาวโวยเมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (ตอน 1)
http://www.prachatai.com/journal/2011/07/36153
คนเชียงดาวโวย เมื่อรัฐผุดโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปิงตอนบน (2)
http://prachatai.com/journal/2011/07/36193

\

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฮอร์ นัม ฮง

$
0
0

ผมเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ในความพยายามระหว่างผมและ ฯพณฯ ว่าจะสามารถเติมเต็มซึ่งความมุ่งมาดปรารถนาแก่ประชาชนในประเทศของเราทั้งสองในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองกลมกลืนและแบ่งปันความรุ่งเรืองแก่กันและกัน

ฮอร์ นัม ฮง เชิญรมต. ต่างประเทศของไทยเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ

“เครือข่ายลุ่มน้ำยม” เสนอแนวทาง “ยิ่งลักษณ์” แก้ไขน้ำท่วมโดยไม่ต้องสร้าง “เขื่อนแก่งเสือเต้น”

$
0
0

12 ส.ค. 54 - เครือข่ายลุ่มน้ำยมออกจดหมายเปิดผนึกถึง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี เสนอแนวทางแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

 



 

จดหมายเปิดผนึก

ถึง

ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

 

วันที่ 12 สิงหาคม 2554

เรื่อง      แนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

เรียน      ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

จากสถานการณ์ น้ำท่วมลุ่มน้ำยมที่ผ่านมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้มีการเสนอให้มีการทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ ของประเทศไทย ให้มีการบูรณาการแผนอย่างเป็นระบบ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวนโยบายที่สำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งอย่างเป็นระบบ อีกทั้ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียังได้เสนอให้มีการปรับแก้ระเบียบราชการในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ซึ่งจะทำให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชนอย่างเร่งด่วนและทันต่อสถานการณ์

เครือข่ายลุ่มน้ำยม ได้ศึกษาและติดตามสถานการณ์สภาพปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ของลุ่มน้ำยมมาอย่างต่อเนื่อง เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะได้มีการทบทวนแผนการจัดการน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เพื่อให้เกิดแผนการพัฒนาลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ และเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งเน้นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หัวใจสำคัญของแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ ต้องเน้นการพัฒนาที่มาจากชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา การวางแผนการพัฒนาลุ่มน้ำจึงต้องมีมิติแบบองค์รวมไม่มองน้ำแยกส่วนจากทรัพยากรในลุ่มน้ำ  ทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ จึงควรขับเคลื่อนไปด้วยกันในการจัดทำแผนพัฒนาลุ่มน้ำ อาทิ การจัดการที่ดิน การเกษตรบนที่สูง การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดโฉดชุมชน การจัดการน้ำชุมชน การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การอนุรักษ์ป่าชุมชน การส่งเสริมและสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีในการอนุรักษ์ป่าของพีน้องชนเผ่า ฯลฯ ล้วนเป็นมิติที่ต้องคำนึงถึงเป็นสำคัญ

เครือข่ายลุ่มน้ำยม ขอเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยย่อ ดังนี้

1.การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การฟื้นฟูป่าไม้ การอนุรักษ์ป่า การปลูกป่าเสริม การปกป้อง พิทักษ์ รักษา และการจัดการป่า โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม นับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะฟื้นฟูเสถียรภาพของระบบนิเวศน์ ให้กลับคืนมาสู่สมดุล อย่างยั่งยืน โดยเน้นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้เป็นวาระแห่งชาติ

2.การผลักดันแนวคิดการจัดการน้ำชุมชน ให้เป็นแผนแม่บทในการจัดการน้ำแห่งชาติ โดยใช้แนวทางทางภูมินิเวศวิทยา การจัดการน้ำแบบใหม่ และการพัฒนาที่ยั่งยืน มองภาพรวมการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยมีชุมชนเป็นแกนหลักในการพัฒนาแผนการจัดการน้ำของแต่ละชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการวางแผนและสนับสนุนงบประมาณในการผลักดันแผนการจัดการน้ำชุมชนให้เป็นรูปธรรม

3.แผนการกักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา กรณีของลุ่มน้ำยม มีลำน้ำสาขาถึง 77 สาขา ซึ่งสามารถผลักดันให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดกลางประมาณ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยใช้งบประมาณอ่างละไม่เกิน 200-300 ล้านบาท รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยม สามารถดำเนินการได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น

4.แผนการกักเก็บน้ำ หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งกักเก็บน้ำ ในกรณีของลุ่มน้ำยม มีอยู่ 96 ตำบล ใช้งบประมาณไม้เกินแหล่งละ 5-10 ล้านบาท ซึ่งแผนงานเหล่านี้จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนไม่มากนัก แต่จะมีประโยชน์ต่อชาวบ้านและชุมชนโดยตรงในแต่ละพื้นที่

5.การขุดลอกตะกอนแม่น้ำ อันจะสามารถฟื้นฟูแม่น้ำให้กลับมาทำหน้าที่แม่น้ำตามธรรมชาติได้ การทำทางเบี่ยงน้ำเพื่อระบายออกนอกเขตชุมชน การสร้างเครือข่ายทางน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังนอกเขตชุมชน เป็นต้น

6.การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สามารถทำได้โดย ขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับหนองบึง  การยกถนนให้สูงขึ้น หรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด การแนะนำให้เกษตรกรการปลูกพืชอายุสั้น พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม การหยุดยั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ขวางทางน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ ยังสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ทางตอนล่างลงมาตลอดจนถึงกรุงเทพได้ เนื่องจากที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเป็นที่พักน้ำ ที่สามารถพักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ซึ่งมากกว่าความจุของเขื่อนแก่งเสือเต้นเสียอีก)

7.การจัดการทางด้านความต้องการ ในปัจจุบันลุ่มแม่น้ำยมมีระบบชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย 64% การจัดการด้วย DSM โดยการซ่อมบำรุงระบบชลประทานที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำจะสามารถทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานถ้าใช้ระบบ DSM จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน

8.การพัฒนาระบบประปา การขาดแคลนน้ำในเมืองใหญ่ ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ความต้องการน้ำมีสูง ไม่ได้เกิดจาก การขาดน้ำดิบเท่านั้น แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาของการประปาภูมิภาคไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น เมืองสุโขทัยขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง เพราะระบบการผลิตน้ำประปามีความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง การขยายระบบการผลิตน้ำประปาจะสามารถช่วยในการขาดแคลนน้ำอุปโภค–บริโภค ในเมืองใหญ่ได้อย่างไรก็ตามการรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้งก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น

9.การสนับสนุนให้เกิดการฝายต้นน้ำ ฝายทดน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ บ่อ หรือ สระน้ำในไร่นา รวมทั้งระบบเหมืองฝายที่เป็นภูมิปัญญาของชาบ้านในแต่ละท้องถิ่น จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน และชุมชน อย่างเป็นจริง มากกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น

จากประสบการณ์กว่า 40 ปี ที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เราเห็นว่า แม้จะมีเขื่อนขนาดใหญ่แล้ว อาทิ ลุ่มน้ำปิง มีเขื่อนภูมิพล ลุ่มน้ำวัง มีเขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา ลุ่มน้ำน่าน มีเขื่อนสิริกิตต์ แต่ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง กลับทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ดังน้ำข้ออ้างที่ว่าหากมีเขื่อนขนาดใหญ่ในลุ่มน้ำยม อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน หรือ เขื่อนยมล่าง แล้ว จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่จริง ในทางกลับกัน เขื่อนขนาดใหญ่ดังกล่าว จะนำไปสู่การทำลายป่าสักทองธรรมชาติผืนสุดท้ายของประเทศไทย กว่า 24,000 ไร่ และป่าเบญจพรรณอีกกว่า 36,000 ไร่ รวมพื้นที่ป่าที่จะศูนย์เสียไปกว่า 60,000 ไร่ จึงเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งในการผลักดันเขื่อนขนาดใหญ่ในแม่น้ำยม และลุ่มน้ำยม อีกทั้งยังมีผลการศึกษา การวิจัยของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ออกมา ก็มีความชัดเจนแล้วว่าไม่สมควรสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อาทิ

1.จากการศึกษาของกรมทรัพยากรธรณี ได้ชี้ชักว่า บริเวณที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ตั้งอยู่แนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก คือ รอยเลื่อนแพร่ ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการเสี่ยงอย่างมากที่จะสร้างเขื่อนใกล้กับรอยเลื่อนของเปลือกโลก เสมือนหนึ่งเป็นการวางระเบิดบนหลังคาบ้านของตัวเอง สันเขื่อนที่สูงจากท้องน้ำถึง 72 เมตร หากมีการแตกหรือพังทลายลงมาจะมีคลื่นยักษ์ยิ่งกว่า สึนามิหลายเท่า

2.จากการศึกษาของ องค์การอาหารและการเกษตรโลก (FAO.) ด้วยเหตุผลเรื่องการป้องกันน้ำท่วม กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้น สามารถ เยียวยาปัญหาน้ำท่วมได้ เพียง 8 เปอร์เซ็นต์

3.จากการศึกษาของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย (TDRI.) ด้วยเหตุผลทาง เศรษฐศาสตร์ ได้ข้อสรุปว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นไม่คุ้มทุน

4.จากการศึกษาของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ด้วยเหตุผลทางนิเวศวิทยา ที่มีข้อสรุปว่าหากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะกระทบต่อระบบนิเวศน์ของอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นอย่างมาก หากเก็บผืนป่าที่จะถูกน้ำท่วมไว้จะมีมูลค่าต่อระบบนิเวศน์ และชุมชนอย่างมาก

5.จากการศึกษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลทางด้าน ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่มีข้อสรุปว่า พื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นทั้งอุทยานแห่งชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งป่าสักทองธรรมชาติ ผืนเดียวที่เหลืออยู่ ดังนั้น ควรเก็บรักษาไว้ เพื่ออนาคตของประชาชนไทย และมวลมนุษยชาติ

6.จากการศึกษาของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ด้วยเหตุผลในการจัดการน้ำ ยังมีทางออก และทางเลือกอื่น ๆ อีกหลายวิธีการ ที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

7.จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอ 19 แผนงานการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม ได้อย่างเป็นระบบทั้งลุ่มน้ำยม โดยไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

ดังนั้น เครือข่ายลุ่มน้ำยม จึงขอให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ยุติการสนับสนุนเขื่อนขนาดใหญ่อย่างเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ที่กั้นแม่น้ำยม และหันมาใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน และผลักดันการจัดการน้ำชุมชนให้เป็นแผนแม่บทในการจัดการน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำสืบต่อไป

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

เครือข่ายลุ่มน้ำยม

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้อาศัยบ้านเอื้ออาทรรังสิตประท้วงเก็บค่าส่วนกลาง

$
0
0

ผู้อาศัยบ้านเอื้ออาทรรังสิต จ.ปทุมธานี กว่า 300 คน ประท้วง เก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้า จี้บังคับให้ผู้เช่าอยู่อาศัยจะต้องติดตั้งจานดาวเทียมจากบริษัททรูเท่านั้น ห้ามติดตั้งจานดำเด็ดขาด

12 ส.ค. 54 -  สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงานว่าได้มีชาวบ้านเอื้ออาทร รังสิต ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ได้รวมตัวกันที่หน้าสำนักงานของหมู่บ้านเอื้ออาทรรังสิต คลองหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่เช่าอยู่อาศัยมาตั้งแต่เปิดโครงการได้หมดสัญญาลง และทางโครงการได้เรียกเก็บค่าส่วนในการต่อสัญญาเช่าห้องในพื้นที่ขนาด 24 ตร.ม. เรียกเก็บห้องละ 192 บาท และจะต้องจ่ายล่วงหน้า 3 เดือน เป็นเงิน 576 บาท และห้องแบบ 33 ตร.ม.เรียกเก็บห้องละ 250 บาท จ่ายล่วงหน้า 3 เดือน 750 บาท นอกจากนี้ยังต้องจ่ายค่าประกันอัคคีภัยห้องชุดแบบ 24 ตร.ม. 103 บาทต่อ 6 เดือน และห้องชุดแบบ 33 ตร.ม. 140 บาทต่อ 6 เดือน นอกจากนี้ ยังบังคับให้ผู้เช่าอยู่อาศัยจะต้องติดตั้งจานดาวเทียมจากบริษัททรูเท่านั้น ห้ามติดตั้งจานดำเด็ดขาด

ซึ่งทางผู้เช่าห้องชุดต่างๆ จะต้องชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้กับสำนักงานเคหะชุมชนรังสิต ภายในวันที่ 10 ส.ค. 54 และหากครบกำหนดแล้วยังไม่ดำเนินการชำระค่าใช้จ่าย ทางสำนักงานจะต้องดำเนินการบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายตามเงื่อนไขสัญญาต่อไป ส่วนชาวบ้านที่ได้รวมตัวกันประท้วงในครั้งนี้ ต่างไม่พอใจผู้บริหารของการเคหะฯ ทำให้การเจราจายังไม่เป็นที่ตกลงกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พุทธศาสนากับวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์

$
0
0

เพื่อนทางเฟซบุ๊คของผมคนหนึ่งระบายความในใจว่า บังเอิญเขาไปโต้แย้งกับพระรูปหนึ่งซึ่งอยู่ในวงการกิจกรรมทางสังคมด้วยกัน เพราะนึกว่าท่านจะใจกว้างแต่ที่ไหนได้กลับโดนท่านกล่าวหาว่า “กำเริบเสิบสาน” ซึ่งคำว่า “กำเริบเสิบสาน” มันมีความหมายขัดแย้งกับความเท่าเทียมในความเป็นคนอย่างที่ไม่อาจยอมรับได้

ผมเองพอจะเข้าใจความรู้สึก “รับไม่ได้” ของเพื่อนคนดังกล่าว และเข้าใจดีว่าการที่เรานั่งถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของกันและกันบนพื้นฐานความเท่าเทียมในความเป็นคนไม่ได้กับพระสงฆ์นั้น เป็นเรื่องปกติในสังคมไทย หากจะมีพระบางรูปที่เปิดใจรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาได้ นั่งถกเถียงกับเราได้อย่างไม่ถือสูง-ต่ำ ต้องถือว่าเป็นกรณีพิเศษมากๆ

ที่เป็นเช่นนี้ ผมคิดว่ามีสาเหตุหลักๆ อย่างน้อย 3 ประการ คือ

ประการแรก สถานะของพระสงฆ์ไทยนั้นมีลักษณะเป็นชนชั้นในสองความหมาย คือ

1) เป็นสถานะที่เชื่อกันว่าสูงกว่าฆราวาสในทางธรรม เช่น ที่เรามักได้ยินกันอยู่เสมอว่า โยมมีศีลแค่ 5 ข้อ พระมี 227 ข้อ (รักษาได้ครบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง) ฉะนั้น พระสงฆ์จึงอยู่ในฐานะที่เราต้องเคารพกราบไหว้ เชื่อฟังคำสั่งสอน และกตัญญูรู้คุณท่าน

เดิมทีสถานะเช่นนี้อาจมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่มาก เนื่องจากแหล่งการศึกษาของประชาชนมีเพียงวังกับวัด พระสงฆ์มีบทบาทเป็นครูบาอาจารย์ที่สอนทั้งความรู้ทางธรรมทางโลกปะปนกันไป แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปมากแล้ว สถานะเหนือกว่าของพระสงฆ์ การเรียกร้องการยอมรับนับถือจากสังคมโดยที่พระสงฆ์สูญเสียบทบาทของความเป็นครูบาอาจารย์แบบดั้งเดิมไปแล้วนั้น จึงอาจถูกตั้งคำถามจากผู้คนบางส่วนได้

2) พระสงฆ์ถูกสถาปนาให้มีสมณศักดิ์ หรือมีศักดินาพระ ฉะนั้น เมื่อมีสถานะที่เชื่อว่าเหนือกว่าในทางธรรมบวกกับวัฒนธรรม “ยศช้างขุนนางพระ” ยิ่งทำให้พระสงฆ์รู้สึกว่าตนเองสูงส่งกว่า หรืออยู่เหนือกว่าฆราวาสทั่วไปมากยิ่งขึ้น

มันจึงเป็นเรื่องปกติที่ใครก็ตามเพียงแค่เปลี่ยนสถานะจากฆราวาสเป็นพระภิกษุได้ไม่นาน ก็รู้สึกได้ทันทีว่าตนมีสถานะสูงกว่าฆราวาส มักมีแนวโน้มที่จะไม่ฟังความคิดเห็นจากฆราวาส โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วยแล้ว ยิ่งคิดว่าตนเองรู้ดีกว่า เมื่อเทศนาหรือแสดงทัศนะทางศาสนา หรือทัศนะทางสังคมการเมืองที่อ้างอิงจุดยืนของพุทธศาสนาก็มักคิดว่า ตนเองกำลังประกาศ “สัจธรรม” ที่ใครๆ จะโต้แย้งไม่ได้ (คนโต้แย้งไม่รู้จริง มีอคติ กระทั่งเป็นมิจฉาทิฐิ)

ประการที่สอง มีบางคน (วิจักขณ์ พานิช) เคยตั้งข้อสังเกตว่า มันอาจผิดตั้งแต่แรกที่เราไปใช้คำ “ราชาศัพท์” กับพระพุทธเจ้า เพราะที่จริงแล้วไม่สมควรทำเช่นนั้นโดยประการทั้งปวง เนื่องจาก 1) เจ้าชายสิทธัตถะสละสถานะชนชั้นกษัตริย์เป็นคนธรรมดาตั้งแต่ออกบวชแล้ว 2) เมื่อตรัสรู้แล้วยิ่งไม่ยึดติดในสิ่งใดๆ เลย ยิ่งไม่ควรจะใช้คำราชาศัพท์ที่เป็นการยกสถานะของพุทธะให้สูงเหนือมนุษย์เลย ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธะกับเราควรเป็นความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคในความเป็นคน

แต่วัฒนธรรมการใช้ราชาศัพท์กับพุทธะ และใช้ราชาศัพท์กับพระสงฆ์เป็นวัฒนธรรมที่ยกให้พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์อยู่เหนือหลักความเสมอภาคในความเป็นคน ซึ่งขัดแย้งกับเรื่องของการละอัตตาหรือตัวกูของกู เพราะวัฒนธรรมเช่นนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มอัตตาหรือตัวกูของกูให้ใหญ่เกินปกติ ทำให้ “พระกับเจ้า” อยู่ในประเภทเดียวกันอย่างที่เรียกว่า “พระสงฆ์องค์เจ้า” ฉะนั้น พระกับเจ้าก็เลยแตะไม่ได้

วัฒนธรรมเช่นนี้อาจเข้มข้นมากเป็นพิเศษในพุทธเถรวาทแบบไทย ส่วนพระสงฆ์มหายานนั้นเขาไหว้ หรือทำความเคารพฆราวาสได้ และดูเหมือนจะอ่อนน้อมมากๆ ด้วย

ที่ว่ามานี้ไม่ใช่ต้องการเรียกร้องให้พระไทยทำแบบพระมหายาน แต่ต้องการชี้ให้เห็นความซับซ้อนของปัญหาว่า ทำไมพระไทยจึงไม่มีวัฒนธรรมเปิดใจรับการวิพากษ์วิจารณ์ หรือร่วมถกเถียงเหตุผลกับฆราวาสบนจุดยืนความเสมอภาคในความเป็นคน

ประการที่สาม ชาวพุทธไทยมักมองการวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ อย่างที่อ้างกันว่าต้องดูจิตตัวเองเท่านั้น อย่าไปวิจารณ์คนอื่น วิจารณ์สังคม ศาสนาพุทธเป็นเรื่องของการปฏิบัติไม่ใช่เรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์

ความเข้าใจดังกล่าวนี้ถือว่าคลาดเคลื่อนอย่างถึงราก เพราะพุทธศาสนาอุบัติขึ้นภายใต้วัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมอินเดียโบราณที่มีการะปทะทางความคิดความเชื่อของลัทธิปรัชญาและศาสนาต่างๆ มากมาย การเผยแผ่พุทธธรรมตั้งแต่ปฐมเทศนาพระพุทธเจ้าก็วิจารณ์ลัทธิกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยคแล้ว (วิจารณ์แบบไม่มีชิ้นดีเลย) เมื่อสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็วิจารณ์และปฏิเสธความเชื่อเรื่องพระพรหมสร้างโลก สอนอนัตตาก็วิจารณ์ความเชื่อเรื่องอัตตา และยังวิจารณ์ระบบชนชั้น วิจารณ์การนับถือต้นไม้ภูเขาเป็นของศักดิ์สิทธิ์ วิจารณ์พิธีล้างบาปในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ พิธีบูชายัญญ์ เป็นต้น

ในเรื่องทางจิตใจพระพุทธเจ้าก็ไม่สอนให้ทำสมาธิให้จิตนิ่งสงบแบบทื่อๆ แต่ให้สงบเพียงเพื่อใช้ “วิปัสสนา” คือ การวิจารณ์กิเลส วิจารณ์เล่ห์กลต่างๆ ของอัตตาตนเองเพื่อเกิดปัญญารู้เท่าทัน และไม่ถูกทำให้เป็นทุกข์ทางจิตใจ

หลักกาลามสูตรนั้นชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าต้องการให้เราใช้เสรีภาพทางปัญญาอย่างถึงที่สุด และพระองค์ยังเคยเตือนชาวพุทธว่า หากใครมาติเตียนพระรัตนตรัยก็อย่าโกรธ แต่พึงมีสติชี้แจงไปตามความเป็นจริง

ฉะนั้น พุทธแบบดั้งเดิมเกิดขึ้นท่ามกลางวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ และมีวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ของตนเองตามหลักกาลามสูตร และหลักการไม่ควรโกรธคนวิพากษ์วิจารณ์อย่างชัดแจ้ง

แต่ที่พระสงฆ์และสังคมพุทธบ้านเราปัจจุบันแปลกแยกจากวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะพุทธเถรวาทแบบไทยถูกพัฒนามาภายใต้วัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย “ภิกษุ” ซึ่งแปลว่า “ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร” หรือแปลว่า “ผู้ขอ” ที่มีชีวิตอยู่เนื่องด้วยการอาศัยปัจจัยดำรงชีพจากผู้อื่น ถูกยกสถานะให้เป็นอีกชนชั้นหนึ่ง อยู่ในประเภทเดียวหรือเป็นพวกเดียวกับเจ้า เป็น “พระสงฆ์องค์เจ้า” จึงสำคัญตัวเองว่า ใครๆ จะแตะต้องไม่ได้

ทว่าเมื่อโลกเปลี่ยนไป วัฒนธรรมชนชั้นแบบ “ยศช้างขุนนางพระ” ย่อมจะถูกท้าทายอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คำถามจึงอยู่ที่ว่าชาวพุทธและพระสงฆ์ที่ยืนยันว่าศาสนาพุทธเป็น “ศาสนาแห่งเหตุผล” จะเผชิญกับการท้าทายอย่างสร้างสรรค์ได้แค่ไหน อย่างไร

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“จุติ” ทิ้งทวนจี้ "อนุดิษฐ์" ปราบเว็บหมิ่นสถาบัน

$
0
0

 

12 ส.ค. 54 - นายจุติ ไกรฤกษ์ ว่าที่รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงการติดตามการทำงานของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคนใหม่ว่า ส่วนตัว เชื่อว่า น.อ.อนุดิษฐ์ จะทำหน้าที่ได้ดี เพราะมีพื้นฐานการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่ยังเป็นห่วงในประเด็นการปราบปรามเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อความหมิ่นสถาบัน ซึ่งหวังว่า น.อ.อนุดิษฐ์ ที่เป็นทหารมาก่อน และเคยสาบานตนในการปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จะติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ นายจุติ ยังกล่าวต่ออีกด้วยว่า เรื่องดังกล่าวนั้น น.อ.อนุดิษฐ์ อาจจะทำหน้าที่ได้ดีกว่าตน เพราะเป็นผู้ที่รู้ตื้นลึกหนาบางดี ส่วนนโยบายพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G นั้น ตนไม่หนักใจว่า จะได้รับผลกระทบเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล เพราะทุกอย่างเป็นสมบัติของประชาชน เชื่อว่าคนที่เข้ามาดูแลก็มีความตั้งใจทำให้สมบัติของประชาชนเพิ่มพูนมากขึ้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แม่กู..แม่ประชาชน

$
0
0

 
แม่กูเป็นชาวนาอยู่ในป่าอยู่ในไร่

เหงื่อหยาดท่วมกายกลางแดดกล้า

อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้หมดราคา

เป็นคนป่าคนดอยต้อยติดดิน

แม่กูเป็นคนจนยิ่งกว่าจน

ก้มหน้ายอมทนเหนื่อยหนักหนา

โดนประณามหยามเหยียดเจ็บอุรา

ไม่เป็นไรแม่บอกว่าเรามันจน

ยังจำได้ห้วงร้ายในคืนฝน

หนาวเหลือทนแม่กอดอย่าหวั่นไหว

ฝนตกมาคงหยุดไม่เป็นไร

ในอ้อมกอดอุ่นไอแม่ดูแล

ยังจำได้ในยามหิวมันแสบใส้

แม่มองลูกน้ำตาไหลเศร้าหนักหนา

อดทนไว้เป็นลูกแม่อย่าคณา

จงยึดมั่นศรัทธาเหนืออื่นใด

แม่บอกว่าคนแบบเรามีอีกมาก

อยู่เหมือนคนตายซากในยุคสมัย

รัฐชั่วศักดินามันกดไว้

เป็นวัวควายให้มันได้ไล่ตี

ต่อจากนี้ให้เจ้าจงจำไว้

ไม่มีใครยิ่งใหญ่เป็นคนกล้า

เลือดของประชาชนสำคัญกว่า

จำไว้หนาลูกยาประชาชน
                                                        
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เลขา ครป. จี้ "ยิ่งลักษณ์" มีจริยธรรมตามระเบียบสำนักนายกฯ ยุคพรรคพลังประชาชน

$
0
0

12 ส.ค. 54 - สุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) เผยแพร่บทความ "อำนาจของนายกรัฐมนตรีกับจริยธรรมของนักการเมือง" จี้นายกต้องมีจริยธรรมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551

อำนาจของนายกรัฐมนตรีกับจริยธรรมของนักการเมือง

สุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

๑.คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีหมายแดงที่ อม. ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๑ ระหว่างอัยการสูงสุด เป็นโจทก์ฟ้องพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรเป็นจำเลยที่ ๑. คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ ๒. ได้วินิจฉัยอำนาจของนายกรัฐมนตรีไว้อย่างชัดเจนว่า

“นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมีอำนาจกำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจสั่งการให้ส่วนราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการที่มีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่นชี้แจงแสดงความเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรีก็ได้ มีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวงทบวงกรมและส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย ส่วนการจัดระเบียบราชการในกระทรวงต่างๆ มาตรา ๒๐ แห่งพระราชาบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา หรือที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรืออนุมัติ แต่มีข้อจำกัดว่าอำนาจดังกล่าวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา ๑๑ กล่าวคือ ต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งหรือลดทอนอำนาจที่มีอยู่ของนายกรัฐมนตรี....”

กรณีคดีซื้อขายที่ดินรัชดาดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่า พ.ต.ท.ทักษิณฯ มีความผิด ให้ลงโทษจำคุก ๒ ปี

๒.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยตามคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)และคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว. สรรหา และคณะ ๒๙ คน ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดการเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีกรณีไปจัดรายการ "ชิมไปบ่นไป" และรายการ "ยกโขยง ๖ โมงเช้า" ก็วินิจฉัยว่า นายสมัคร มีความผิดจริง ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

๓.มติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๒ กรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีขณะนั้นกับพวก รู้เห็นเป็นใจสั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อาวุธปราบปรามประชาชนที่กำลังชุมนุมโดยสงบ ในบริเวณหน้ารัฐสภา บริเวณถนนพิชัย บริเวณถนนสุโขทัย และบริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ทำให้ประชาชนได้รับอันตรายแก่กาย และจิตใจ ประมาณ 400 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส 6 คน และถึงแก่ความตาย 2 คน เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ นั้น

กรณีการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ดังกล่าว ปปช. ก็ได้มีมติชี้มูลว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกับพวก มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

อำนาจของนายกรัฐมนตรีที่ผู้เขียนอ้างถึงข้างต้นนั้น ก็เพื่อยืนยันว่าในการบริหาราชการแผ่นดินนายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะสั่งการหรือยับยั้งการสั่งการข้าราชการได้ทุกตำแหน่ง ทุกกระทรวง กรม กอง

อำนาจของนายกรัฐมนตรี จึงเป็นดาบสองคมที่ให้คุณและให้โทษแก่ผู้นำประเทศ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีที่ไม่ดี ที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลในธรรม ที่ไม่ปกป้องประโยชน์ของประเทศ ที่ไม่ใยดีต่อความเดือดร้อนทุกข์ยากหรือความเป็นตายของประชาชน ในที่สุดนายกรัฐมนตรีเช่นนั้นก็จะถูกพิพากษาลงโทษ

กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาลงโทษจำคุก ๒ ปี ก็เพราะใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแสวงหาประโยชน์เพื่อตนและครอบครัว

กรณีนายสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่ามีความผิดจริง ขาดคุณสมบัติ ต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็เพราะใช้อำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี เพื่อไปแสวงหาประโยชน์แห่งตน

การเข้ามาดำรงตำแหน่งทางเมืองของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามว่าจะใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม ปกป้องประเทศชาติประชาชน หรือแก้ผิดให้เป็นถูกเพื่อพี่น้องบริวารว่านเครือหรือไม่

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ จะต้องสรุปบทเรียนให้ได้ว่าจะปฏิบัติหน้าที่บริหาราชการแผ่นดินอย่างไร เป็นตัวของตัวเองทำหน้าที่เพื่อชาติหรือเป็นร่างทรงของพี่ชายไปในทางที่ไม่ชอบเมื่อไหร่ บทเรียนที่ผ่านมาย่อมปรากฎชัดเจนแล้วว่าจุดจบเป็นอย่างไร

จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ซึ่งได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2551 ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการการเมือง เช่น 

- ต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และเป็นแบบอย่างที่ดีในการเคารพและรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

-  ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ

-  ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

-  ต้องปฏิบัติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม คุณธรรมและศีลธรรมทั้งโดยส่วนตัวและโดยหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ทั้งต้องวางตนให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน

-  ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่นไม่แสดงกิริยาหรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ อาฆาตมาดร้าย หรือใส่ร้ายหรือเสียดสีบุคคลใด

-  ต้องรักษาความลับของราชการ เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

-  พึงพบปะเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เอาใจใส่ทุกข์สุขและรับฟังเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนและรีบหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ

-  ต้องไม่ใช้หรือบิดเบือนข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น

-  ต้องรักษาทรัพย์สินของราชการและใช้ทรัพย์สินของราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้นๆ เท่านั้น

-  ต้องแสดงความรับผิดชอบตามควรแก่กรณีเมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เป็นต้น

นี่ไม่ใช่เรื่อง "สองมาตรฐาน" หรือ "การกลั่นแกล้งทางเมือง"  แต่เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด คนทั้งสังคมเห็นร่วมกันและนักการเมืองเองก็ยอมรับและออกในสมัยที่พรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาล

จึงเป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนชาวไทยที่จะต้องติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป. 

ที่มาข่าว:

https://www.facebook.com/notes/คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย-ครป/อำนาจของนายกรัฐมนตรีกับจริยธรรมของนักการเมือง/219373294776995
  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตำรวจนครบาลแจกสติกเตอร์ปกป้องสถาบัน 100,000 ใบ

$
0
0

จัดพิมพ์สติกเกอร์  "ปกป้องสถาบัน" ส่วนแบบที่ 2 ระบุคำว่า "เทิดทูนสถาบัน" สีชมพูกับสีเหลือง 100,000 ใบ แจกจ่ายให้กับหน่วยงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำไปติดรถยนต์ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 54 ที่ผ่านมาสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นรายงานว่าพล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 7 (ผบก.น.7) เป็นประธานในการแจกจ่ายสติกเกอร์ "ปกป้องสถาบัน เทิดทูนสถานบัน" ณ กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 ถนนบรมราชชนนี โดยมี รองผู้บังคับการและผู้ใต้ผู้บังคับบัญชา ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึกในการปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้กับข้าราชการตำรวจในสังกัด จึงได้จัดทำสติกเกอร์ จำนวน 2 แบบ มีขนาดยาว 27 ซ.ม. กว้าง 7 ซ.ม.จัดพิมพ์ระบุข้อความคำว่า "ปกป้องสถาบัน" ส่วนแบบที่ 2 ระบุคำว่า "เทิดทูนสถาบัน" จัดทำมาจำนวนทั้งหมด 2 สี คือ สีชมพูกับสีเหลือง โดยจัดพิมพ์ออกมาทั้งหมด 100,000 ใบ เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานของกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำไปติดรถยนต์ที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ อย่างไรก็ตาม สำหรับประชาชนท่านใด ที่สนใจต้องการรับสติกเกอร์ ก็สามารถติดต่อขอรับได้ที่ สถานีตำรวจนครบาล ใกล้เคียง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สหรัฐฯ ดันเน็ตบรอดแบนด์เพื่อครอบครัวรายได้น้อย

$
0
0

บริษัทคอมคาสต์เปิดตัว “Internet Essentials” โครงการอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ราคาถูกสำหรับครอบครัวรายได้น้อย พร้อมอบรมการใช้สื่อดิจิทัลฟรี

โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการทำตามเงื่อนไขที่คณะกรรมาธิการกิจการโทรคมนาคมของรัฐบาลกลางสหรัฐ หรือ เอฟซีซี (FCC) ระบุว่า หลังควบรวมกิจการกับเอ็นบีซียูนิเวอร์แซลแล้ว คอมคาสต์จะต้องให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกครัวเรือน โดยเว็บไซต์ HotHardware ระบุว่าโครงการนี้แทบจะเหมือนกับโครงการ “Naked DSL” ของเอทีแอนด์ที ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เอฟซีซีระบุว่าเอทีแอนด์ทีจะต้องทำเช่นกัน หลังการควบรวมกิจการกับเบลล์เซาธ์

โครงการ Internet Essentials คิดราคาอินเทอร์เน็ต 10 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ไม่มีค่าแรกเข้า ไม่เสียค่าอุปกรณ์ และจะไม่มีการขึ้นราคา โดยเปิดบริการในทุกที่ที่คอมคาสต์ให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์

นอกจากนี้โครงการจะอบรมอินเทอร์เน็ตให้ฟรี ทั้งทางออนไลน์ ทางเอกสารคู่มือ และอบรมแบบตัวเป็นๆ และยังเสนอขายเครื่องคอมพิวเตอร์ในราคาถูกที่ 150 เหรียญสหรัฐพร้อมซอฟต์แวร์เพิ่มความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ของโครงการดังกล่าวมีทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาสเปน เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชากรได้ทั่วถึงขึ้น

เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการจะยึดตามเกณฑ์ของโครงการอาหารกลางวัน (National School Lunch Program) ถ้าครอบครัวไหนมีเด็กที่อยู่ในโครงการอาหารกลางวัน และไม่เคยค้างชำระบริการของคอมคาสต์ ก็มีสิทธิจะเข้าร่วมโครงการได้ โดยจะเปิดรับลงทะเบียนไปจนถึงปีการศึกษา 2013-14 และสามารถใช้บริการไปได้ตราบเท่าที่เด็กคนดังกล่าวยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น

สหรัฐอเมริกากำลังพยายามผลักดันอย่างหนักให้ประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น รัฐบาลท้องถิ่นและนักการศึกษาต่างก็ต้องการให้ทุกครัวเรือนที่มีนักเรียนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

ผลการสำรวจของศูนย์วิจัยพิวพบว่าเกือบ 70% ของชาวอเมริกันเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จากบ้านได้ แต่มีเพียง 45% ของครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือนเท่านั้นที่เข้าถึงบริการดังกล่าว คณะกรรมาธิการกิจการโทรคมนาคมหวังว่าโครงการในลักษณะนี้จะช่วยให้ประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัล

 


เรียบเรียงจาก Comcast’s Internet Essentials offers $10 internet access to low-income families, Engadget, 6 ส.ค. 2554; และ Comcast Launching $9.95 ‘Internet Essentials’ Broadband for Low-Income Families, HotHardware, 6 ส.ค. 2554. ผ่าน Slashdot


ภาพประกอบหน้าแรกโดย
sean dreilinger สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน ผ่าน My Computer Law

 



“My Computer Law” เป็นโครงการเพื่อการเสนอร่างกฎหมายคอมพิวเตอร์จากภาคประชาชน โดยประกอบไปด้วยกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและกฎหมายคอมพิวเตอร์, การรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหมู่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, การร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับประชาชน, การเสนอกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่สภา, และการผลักดันร่างดังกล่าวในสภา

เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://mycomputerlaw.in.th/2011/08/comcast-internet-for-low-income/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิวยอร์กไทมส์: เมื่อยุโรปสวนกูเกิลเรื่องความเป็นส่วนตัวบนเว็บ

$
0
0

ประชาชนในสเปน 90 รายเรียกร้องให้ลบข้อมูลของพวกเขาออกจากเว็บ หนึ่งในนั้นเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งพบว่าที่อยู่ของเธอสามารถพบได้ง่ายๆ ผ่านกูเกิล ขณะที่อีกรายซึ่งกำลังเข้าสู่วัยกลางคน รู้สึกว่ามันไม่เป็นธรรมที่การกดแป้นพิมพ์ไม่กี่ตัวก็สามารถขุดคุ้ยเรื่องที่เธอเคยถูกจับกุมสมัยเรียนได้

เสียงของพวกเขาอาจไม่ได้รับความสนใจนักในสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งบริษัทกูเกิลตั้งอยู่ แต่สำหรับในยุโรปแล้ว แนวคิดที่ว่าปัจเจกบุคคลควรมี "สิทธิที่จะถูกลืม" ในเว็บ เป็นแนวคิดที่ยึดถือโดยทั่วไป

รัฐบาลสเปนกำลังต่อสู้เรื่องนี้ โดยสั่งให้กูเกิลหยุดการเก็บข้อมูลของพลเมือง 90 คนซึ่งยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อหน่วยงานคุ้มครองข้อมูล คดีนี้กำลังอยู่ในชั้นศาลและถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากทั่วทั้งยุโรป ว่ามันจะส่งผลอย่างไรต่ออำนาจการควบคุมที่พลเมืองจะมีเหนือข้อมูลที่พวกเขาโพสต์ หรือข้อมูลที่คนอื่นโพสต์เกี่ยวกับพวกเขาบนเว็บ

ไม่ว่าผลของคดีดังกล่าวจะออกมาเป็นอย่างไร ก็มีการคาดการณ์ว่าสหภาพยุโรปจะพิจารณาข้อบังคับใหม่ว่าด้วย "สิทธิที่จะถูกลืม" ในฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ประมาณตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป) วิเวียน เรดดิง กรรมการฝ่ายยุติธรรมของคณะกรรมาธิการยุโรป ได้เสนอรายละเอียดที่เธอคิด แต่ย้ำว่าเธอตัดสินใจแล้วว่าจะมอบอำนาจมากขึ้นให้แก่กลุ่มจับตาเรื่องความเป็นส่วนตัว

"ฉันไม่สามารถยอมรับแนวคิดที่ว่า ปัจเจกบุคคลไม่มีสิทธิจะตัดสินใจใดๆ กับข้อมูลของพวกเขาอีก ทันทีที่มันถูกปล่อยเข้าสู่โลกไซเบอร์แล้ว" เธอกล่าวเมื่อเดือนที่ผ่านมา เธอยังระบุด้วยว่าเธอได้ยินข้อโต้แย้งว่าการควบคุมที่มากขึ้นนั้นเป็นไปไม่ได้ และยุโรปควรจะยุติเรื่องนี้ได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม เรดดิงกล่าวว่า "ฉันไม่เห็นด้วย"

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ยุโรปและสหรัฐอเมริกาเห็นต่างกันอย่างมาก

"สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ การปะทะระหว่างสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติก" ฟรานซ์ เวอร์โร ซึ่งเกิดและโตในสวิตเซอร์แลนด์ และปัจจุบันเป็นนักวิชาการด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ในสหรัฐอเมริการะบุว่า "สองวัฒนธรรมนี้ไปกันคนละทาง เมื่อพูดถึงเรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัว"

เวอร์โรยกตัวอย่างว่า ในสหรัฐฯ ศาลมักลงความเห็นอย่างสม่ำเสมอว่า สิทธิในการตีพิมพ์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตของใครสักคนนั้น อยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัว ขณะที่ชาวยุโรปมองต่างออกไป "ในยุโรป คุณไม่มีสิทธิพูดถึงใครอย่างไรก็ได้ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องจริงก็ตาม"

เวอร์โรกล่าวว่า ยุโรปเห็นความจำเป็นในการสร้างสมดุลระหว่าง เสรีภาพในการพูดและสิทธิในการรับรู้ กับ สิทธิของบุคคลในความเป็นส่วนตัวและเกียรติยศชื่อเสียง ซึ่งแนวคิดนี้มีอยู่ทั่วไปในกฎหมายของยุโรป ทัศนะเช่นนี้ของยุโรปเกิดขึ้นจากการที่ข้อมูลถูกรวบรวมและใช้ทำร้ายปัจเจกบุคคล ภายใต้ผู้นำเผด็จการอย่างฟรังโกและฮิตเลอร์และภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ หน่วยงานรัฐบาลรวบรวมแฟ้มข้อมูลของพลเมืองเป็นกิจวัตรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุม คดีความในศาลเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ผุดขึ้นทั่วทั้งยุโรป

ตัวอย่างเช่น ในเยอรมนี วูลฟ์กัง แวเล และ มันเฟรด เลาเบอร์ ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักจากการสังหารนักแสดงชาวเยอรมันคนหนึ่งในปี 1990 ได้ฟ้องสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียให้ลบเนื้อหาที่เกี่ยวกับพวกเขาออกไป ทั้งนี้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของเยอรมนีนั้นอนุญาตให้ปิดปังรูปพรรณของผู้ก่ออาชญากรรมในรายงานข่าวทันทีที่มีการชดใช้ความผิดแล้ว ทนายความของมือสังหารทั้งสองกล่าวว่า อาชญากรก็มีสิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังเช่นกัน

กูเกิลเองก็ถูกฟ้องร้องในหลายประเทศ รวมถึงในเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก เหตุจากการเก็บภาพบนท้องถนนในบริการกูเกิลสทรีตวิว ศาลเยอรมนีตัดสินว่าบริการนี้ของกูเกิลไม่ผิดกฎหมาย แต่กูเกิลก็เปิดให้ปัจเจกบุคคลและองค์กรธุรกิจเลือกที่จะไม่ถูกเก็บข้อมูลได้ โดยมี 250,000 รายเลือกทำเช่นนั้น

ขณะที่ประเด็นเดียวกันนี้ ไม่มีการถอนข้อมูลใดๆ ในสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิถ่ายภาพอะไรก็ตามที่ตาเปล่ามองเห็นได้จากถนน

กูเกิลปฏิเสธที่จะพูดถึงคดีในสเปน แต่ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า การเรียกร้องให้ระบบเสิร์ชเอนจินมองข้ามข้อมูลบางอย่าง "อาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันจากความกลัวและกระทบต่อการแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่ได้ปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชน" ในบล็อกของ ปีเตอร์ ฟลีเชอร์ ที่ปรึกษาด้านความเป็นส่วนตัวนานาชาติของกูเกิล เขาพูดถึงประเด็นดังกล่าวภายใต้พาดหัว "ความคิดที่คลุมเครือเกี่ยวกับสิทธิในการถูกลืม" (“Foggy thinking about the Right to Oblivion”) โดยย้ำว่าเขาพูดในนามส่วนตัว ไม่ใช่ในนามกูเกิล อย่างไรก็ตาม เขาทิ้งประเด็นสงสัยไว้ว่า เขามองว่าความพยายามของยุโรปในการสร้างสิทธิความเป็นส่วนตัวชนิดใหม่ โดยให้คำจำกัดความที่ไม่รัดกุมและเป็นไปในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง จะก่อให้เกิดคำถามทางกฎหมายและทางเทคนิคที่ซับซ้อน

ที่จริงแล้ว วลี "สิทธิที่จะถูกลืม" ถูกใช้กับประเด็นต่างๆ มากมาย ตั้งแต่คดีในสเปนดังกล่าว ไปจนถึงพฤติกรรมของบริษัทที่ทำเงินจากข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งรวบรวมได้จากเว็บ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยุโรปบางรายรู้สึกว่ามันจำเป็นจะต้องมีกฎกติกาใหม่ขึ้นอยู่ดี

เวอร์โรกล่าวว่า ชาวยุโรปจำนวนมาก รวมถึงตัวเขาเอง รู้สึกไม่สบายใจที่ข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขาถูกพบโดยเสิร์ชเอนจินและถูกใช้เพื่อการค้า เมื่อมีโฆษณาผุดขึ้นบนจอคอมพิวเตอร์ของเขา เขาพบว่าโฆษณาเหล่านั้นเชื่อมโยงกับเรื่องที่เขาสนใจอยู่อย่างชัดเจน เขาพบว่ามันให้ความรู้สึกแบบออร์เวลเลียน (สภาวะสังคมแบบในนิยาย 1984 ของจอร์จ ออร์เวล ซึ่งทุกกิจกรรมของพลเมืองถูกสอดส่องโดยรัฐ - ประชาไท)

ผลสำรวจโดยสหภาพยุโรปเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ชาวยุโรปส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเวอร์โร โดยสามในสี่กังวลว่าบริษัทอินเทอร์เน็ตจะใช้ข้อมูลของพวกเขาอย่างไรและต้องการสิทธิที่จะลบข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อใดก็ได้ และร้อยละ 90 เรียกร้องให้สหภาพยุโรปดำเนินการกับสิทธิที่จะถูกลืม

หน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของสเปน ซึ่งตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 90 เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล เชื่อว่าเสิร์ชเอนจินได้เปลี่ยนกระบวนการที่ข้อมูลจำนวนมากเคยจบวงจรชีวิตของมันลงด้วยการถูกลืม ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ฮาซู รูบิ รองผู้อำนวยการของหน่วยงานดังกล่าว ยกตัวอย่างราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเคยเผยแพร่ทุกวันทำการ โดยเอกสารดังกล่าวรวมถึงการประกาศล้มละลาย การอภัยโทษ และรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานของรัฐ เอกสารประมาณ 220 หน้าจะไปกองอยู่ที่ชั้นหลังห้องให้ฝุ่นจับ ข้อมูลจะยังอยู่ที่นั่น แต่เข้าถึงได้ไม่ง่ายนัก

แต่เมื่อสองปีที่แล้ว สิ่งพิมพ์อายุ 350 ปีเหล่านี้ถูกนำขึ้นออนไลน์ ทำให้ข้อมูลที่น่าอับอายมีโอกาสถูกพบได้ง่ายขึ้น ไม่ว่ามันจะเก่าเพียงใด

รูบีกล่าวว่า เขาสงสัยว่าจะมีใครหรือที่ต้องการให้ข้อมูลดังกล่าวหลอกหลอนพลเมืองไปตลอดกาล "กฎหมายกำหนดให้เราต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงในราชกิจจานุเบกษา แต่ผมเชื่อว่าหากกฎหมายถูกเขียนในตอนนี้ ผู้ร่างกฎหมายอาจจะบอกว่า โอเค ตีพิมพ์มันได้ แต่มันไม่ควรจะถูกเข้าถึงได้โดยเสิร์ชเอนจิน"

เฟอร์นานโด เปเรซ ผู้พิมพ์สิ่งพิมพ์ของรัฐบาลกล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวนั้นเคยมีขึ้นเพื่อความโปร่งใส ตัวอย่างเช่น การเปิดเผยรายชื่อของผู้ที่ได้รับทุนการศึกษา จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐเอาเงินไปให้ลูกหลานของตัวเองได้ยากขึ้น แต่เขาก็คิดว่า ข้อมูลบางอย่างนั้นมีวงจรชีวิต และจะมีคุณค่าแค่เฉพาะช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า กูเกิลและเสิร์ชเอนจินอื่นๆ มองว่าคดีบางส่วนเป็นการทำลายหลักกฎหมายที่ลงหลักปักฐานแล้วว่า เสิร์ชเอนจินไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ต่อข้อมูลที่พวกเขารวบรวมมาจากเว็บ และหวังว่าศาลสเปนจะเห็นด้วย บริษัทเหล่านี้เชื่อว่าหากมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัว ผู้ฟ้องร้องควรจะฟ้องผู้ที่โพสต์เรื่องนั้นๆ บนเว็บ

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางรายในยุโรปเชื่อว่า เสิร์ชเอนจินควรจะถูกควบคุม "พวกเขาบอกว่าพวกเขาไม่ได้ตีพิมพ์ ดังนั้น คุณควรจะไปจัดการปัญหาที่อื่น" ฮาเวียร์ เดอ ลา คูเอวา ทนายผู้เชี่ยวชาญเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและเทคโนโลยีจากมาดริดกล่าว "แต่พวกเขาก็เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลออกไป ถ้าไม่มีพวกเขา ก็ไม่มีใครเจอข้อมูลเหล่านี้"



แปลจาก On Its Own, Europe Backs Web Privacy Fights, Suzanne Daley, The New York Times, August 9, 2011
http://www.nytimes.com/2011/08/10/world/europe/10spain.html


ภาพประกอบโดย
JustDerek สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัมภาษณ์ประวิตร โรจนพฤกษ์: ตลกร้าย (2) กรณีประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ คนเสื้อแดง และเด็กม.เกษตร

$
0
0

บทสัมภาษณ์ที่พาดพิงผู้คนมากมายหลายชื่อ สอบทานความเป็นประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง กรณีระหว่างประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์และมติชนที่ยังคงค้างคาใจใครหลายคน โดยเฉพาะในเรื่องความโปร่งใสต่อกรณีดังกล่าว และข้อเสนอต่อท่าทีของคนเสื้อแดงที่ควรมีต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

สืบเนื่องจากบทความ ตลกร้าย กรณี “ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์” ถูก มติชน “เชิญออก” โดยประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น ที่วิพากษ์วิจารณ์กรณีการลาออกของประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ หลังจากเป็นผู้สื่อข่าวที่มติชนกว่า 27 ปี ทำให้เกิดปฏิกิริยาทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอแนะในบทความ บ้างก็กล่าวว่า การที่ประสงค์ถูก “เชิญออก” เป็นเรื่องที่สมควรแล้ว หากแต่ประวิตรยังยืนยัน ต้องปกป้องแม้คนที่เห็นต่างจากเรา เพราะ “ความเห็นต่างทางการเมือง เป็นรากฐานที่สำคัญของประชาธิปไตยและเสรีภาพ” 

0000

จากกรณีระหว่างมติชนและคุณประสงค์ที่ยังคงไม่มีความชัดเจน คิดว่าคนในสังคมต้องมองเรื่องนี้อย่างไร
คือมันมีสองสามประเด็นที่สำคัญต้องตระหนัก อันแรกคือ มติชน ในฐานะที่เป็นองค์กรสื่อที่มีคุณภาพ อันนี้ไม่ได้พูดอย่างดัดจริต ผมคิดว่ามติชนมีคุณภาพอยู่ระดับหนึ่ง ควรจะทำตัวให้โปร่งใส ชี้แจงเรื่องนี้ ในเมื่อเรื่องนี้กลายเป็นข้อครหา เนื่องจากคุณประสงค์ไปทวีตเรื่องนี้ทำให้สามารถตีความ หรือทำให้เข้าใจได้ว่าคุณประสงค์ถูกจัดการเพียงเพราะมีจุดยืนทางการเมืองที่ต่าง

ต้องกลับไปดูทวีตของคุณประสงค์ที่อ้างว่า ทางบรรณาธิการมติชนบอกว่าไม่ต้องเขียนอีกแล้ว และแม้แต่การสัมภาษณ์ซึ่งปรากฎในหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ซึ่งผมไม่ได้เป็นผู้สัมภาษณ์ ปรากฎในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา คุณประสงค์ยังพูดอย่างแทงกั๊ก บอกว่าแกจะชี้แจงเรื่องนี้หลังจากวันที่ 15 สิงหา เพราะว่ายังเป็นลูกจ้างจนถึงวันที่ 15 การพูดเช่นนี้ เท่ากับเป็นการ”แทงกั๊ก” หรือทำให้สาธาธารณะตีความได้อีกว่าถูกมติชนจัดการอย่างไม่เป็นธรรม เพียงเพราะความต่างทางจุดยืนทางการเมือง เพราะถ้าเกิดมติชนไม่ได้ทำอะไรผิดจรรยาบรรณสื่อต่อคุณประสงค์ คุณประสงค์น่าจะพูดให้ชัดเจนตั้งแต่วันนี้ได้แล้วว่ามันไม่มีอะไร มันเป็นการออกจากงานธรรมดา เพราะฉะนั้น ผมก็ต้องฟังหูไว้หู

ผมได้คุยกับคนอย่างธนาพล อิ๋วสกุล บ.ก. ฟ้าเดียวกัน อ้างว่า คุณประสงค์ฉวยโอกาสปั่นตัวเอง ปั่นกระแสความนิยมตนเองตอนที่รัฐบาลเพื่อไทยกำลังขึ้น โดยการสร้างสถานการณ์ว่าตัวเองถูกบีบออก เพื่อให้สังคมเข้าใจผิด ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงผมต้องถือว่าเป็นหน้าที่ของมติชนที่จะต้องออกมาชี้แจงว่าอะไรเป็นอะไร

ผมจะไปคาดหวังต่อคุณประสงค์ซึ่งเป็นปัจเจกชนเทียบเท่ามติชนได้อย่างไร แน่นอนผมก็อยากจะให้ทั้งสองฝ่ายออกมาชี้แจง แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่ชี้แจง ผู้ที่ควรถูกตำหนิมากที่สุด น่าจะเป็นมติชน เพราะมติชนเป็นองค์กร ที่ควรจะมีความโปร่งใส ส่วนคุณประสงค์นั่นเป็นปัจเจกชน มีดีมีชั่วเราไม่รู้

สิ่งที่คุณธนาพลพูดทำให้ผมนึกถึงเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ คือเรื่อง Privilege of information หรือ “ข้อมูลวงใน” “คนใน” หรือ “ข้อมูลพิเศษ” ผมคิดว่าถ้าเรามาอ้างอย่างนั้นโดยที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน กล่าวหาคุณประสงค์ ผมคิดว่ามันไม่แฟร์ มันก็ไม่ต่างจากที่เวลามีใครซักคนอกมาปกป้องสถาบัน บอกโอ๊ย คุณไม่ต้องไปวิจาณ์หรอกเพราะผมรู้ว่าข้างในดีอย่างนู้นอย่างนี้ แล้วก็ไม่จบ เพราะไม่มีหลักฐาน เพราะฉะนั้นถ้าเราจะวิพากษ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะต้องวิพากษ์ไปตามเนื้อผ้า

อีกเรื่องหนึ่งที่ผิดหวังคือคนเสื้อแดงจำนวนมากที่ยังหลงผิดโดยใช้ตรรกะที่ว่า ในเมื่อคุณประสงค์ยืนอยู่ข้างเผด็จการ ในมุมมองของคนเสื้อแดง จึงสมควรแล้วที่จะถูกมติชนไล่ออก ถ้าคิดเช่นนี้ มันไม่ได้นำมาซึ่งสังคมที่ดี มันไม่ได้ทำให้สังคมเป็นประชาธิปไตยได้ เพราะเมื่อไหร่ที่เสื้อเหลืองขึ้นมามีอำนาจ เขาก็จะจัดการกับพวกคุณเหมือนกันโดยอ้างว่า เพราะพวกคุณก็เผด็จการเหมือนกัน อยู่กับทักษิณ เขาก็จะกล่าวหาเช่นนั้น และก็จะไม่ออกยินดียินร้ายกับการปิดสื่อเสื้อแดง หรืออาจจะเห็นด้วย หรือสนับสนุนกับการปิดสื่อเสื้อแดง และถ้าเป็นเช่นนี้ ผมต้องถามว่าถ้าอย่างนั้นแล้วคุณจะต่างจากเสื้อเหลืองอย่างไร เพราะคุณก็ใช้ตรรกะฟาสซิสต์เหมือนคนเสื้อเหลืองหรือเปล่า ที่ว่า ถ้าอยู่ฝ่ายตรงข้าม ตนก็จะไม่สนใจ จะปกป้องเฉพาะฝ่ายตัวเอง

ผมคิดว่าต้องมีการทบทวนมาก โดยเฉพาะคนที่เป็นปัญญาชนอย่างวิภา ดาวมณี เข้าไปโพสต์ในเฟซบุ้กบอกว่า การจัดการให้คุณประสงค์ออกจากงานเป็นเรื่องปรกติของบริษัท ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือมันมีสองเรื่อง คือหนึ่ง ก็มีรุ่นน้องที่ชื่ออดิศร เกิดมงคล ออกมาโต้อาจารย์วิภา บอกว่า ถ้าอาจารย์พูดอย่างนี้แล้วอาจารย์จะออกมาพูดเรื่องสหภาพ สิทธิแรงงาน สิทธิลูกจ้างได้อย่างไร นั่นแปลว่าลูกจ้างจะทำอะไรก็ได้อย่างนั้นหรือ และอย่างมีพวกที่อ้างต่อว่า นายจ้างทำอะไรก็ได้ เพราะนี่เป็นบริษัทเอกชน ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องที่เราควรเรียกร้องต่อบริษัทสื่อหรือ Corporate Media ให้ทำตัวดีกว่าบริษัททั่วไป ดีกว่าโรงงานผลิตรองเท้า โรงงานนรก หรือร้านโชว์ห่วยที่บริหารโดยครอบครัว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะต้องออกมาเรียกร้อง มิใช่บอกว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นก็โอเค ก็เหมือนบริษัททั่วไป มันไม่ใช่ ผมคิดว่า มันเป็นหน้าที่ของสื่อ แม้กระทั่งบริษัทสื่อ มากกว่าบริษัทขายน้ำอัดลม บริษัทผลิตรองเท้าหรือร้านโชวห่วยที่มีการบริหารอย่างเป็นเผด็จการอย่างชัดเจน

ทำไมเราควรจะต้องปกป้องคนที่คิดเห็นต่างทางการเมือง ทั้งๆที่เขาอาจจะไม่ได้เป็นประชาธิปไตยมากนัก และหากไม่ทำเช่นนั้นแล้ว คิดว่าอนาคตสังคมไทยจะเป็นอย่างไร

เพราะความเห็นต่างทางการเมือง เป็นรากฐานที่สำคัญที่เป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพ มิเช่นนั้น ใครมีอำนาจก็จะขึ้นไปกำหนดเสียงที่เห็นต่างให้ถูกทำลายไป สังคมเช่นนั้น ไม่มีทางเป็นประชาธิปไตยได้ อย่างมากก็เป็นสังคมธรรมาธิปไตย แต่ปัญหาคือ ใครเป็นคนที่จะบอกว่า อะไรคือสิ่งที่ดี อะไรที่ควรจะเซ็นเซอร์หรือไม่เซ็นเซอร์ สุดท้ายเราแทบจะหลีกเลี่ยงเส้นทางที่จะนำเราไปสู่ระบบฟาสซิสต์ไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นการที่คุณออกมาดีเฟนด์คุณประสงค์ ไม่ใช่เพราะคุณเห็นด้วยกับคุณประสงค์ หรือเห็นด้วยกับจุดยืนทางการเมืองของคุณประสงค์ แต่เพราะคุณเห็นด้วยว่า สังคมควรจะมีพื้นที่ที่เคารพความเห็นต่าง โดยเฉพาะความเห็นต่างทางการเมือง

ขอเพิ่มเรื่องความน่าอายของคุณประสงค์ที่มีแทงกั๊กอย่างนี้ เป็นการปฏิบัติตนที่ไม่สมควรอย่างยิ่งของผู้สื่อข่าวอาวุโสและผู้ที่เคยเป็นนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย การที่ปล่อยให้สังคมถกเถียงกันต่อโดยที่ทำให้สังคมแทงกั๊กเช่นนี้ ในขณะที่ตัวเองทำมาหากิน ทำอาชีพที่ไปตรวจสอบคนอื่น อ้างว่าไปทำให้สังคมโปร่งใส มาวันนี้คุณประสงค์ก็ไม่ยอมไปแตะเรื่องนี้เลย นั่งทวีตเรื่องอื่น ทำตัวไม่ต่างจากกรมประชาสัมพันธ์ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าละอายอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ การที่หนังสือพิมพ์เอเสทีวีของผู้จัดการได้ปฏิบัติตัวอย่างน่าละอายที่นำรูปของเด็กม.เกษตรที่พึ่งจบใหม่ ที่ถูกจับเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ไปลงประจานโดยใช้ชื่อเต็มและนามสกุล ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าจะนำไปสู่การล่าแม่มด การโทรไปขู่ญาติพี่น้อง ครอบครัวของผู้นั้นอีก ในขณะเดียวกัน ผมก็ทราบมาว่า คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งก็ต้องการรูปภาพ ที่อยู่ และโทรศัพท์ของตัวรองอธิการบดี ผู้ฟ้องตัวเด็กม.เกษตรผู้นั้นเช่นเดียวกัน

คำถามก็คือว่า จริงๆแล้วคนสองกลุ่มนี้ คิดต่างกันจริงหรือ ผมคิดว่าไม่ต่าง ทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะใช้วิธีการที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยในการทำลายฝ่ายตรงข้าม เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงยิ่ง

ผมยังอยากจะเห็นคนอย่างบ.ก. ลายจุด คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ ออกมาแสดงความเห็น ถ้าคนอย่างบ.ก.ลายจุดไม่ออกมาทัก ติง แสดงจุดยืนให้ชัดเจน ผมคิดว่าขบวนการเสื้อแดงจะไถลตกเหว และไม่สามารถจะเป็นขบวนการที่ต่อสู้ให้เกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงในสังคมไทยได้ และที่น่าสนใจคือ เท่าที่ผมทราบคือ บ.ก. ลายจุดก็ยังคงเงียบกับเรื่องนี้ ผมคิดว่าอาจจะถึงจุดที่เขาต้องถามตัวเองเหมือนกันว่า จะเลือกผู้ที่ชื่นชอบและเป็นกองเชียร์สนับสนุน และพูดทุกอย่างที่พวกเขาแฮปปี้ หรือกล้าพอที่จะพูดอะไรบางอย่างที่ฟังแล้วอาจจะไม่เข้าหูพวกเขา แต่ต้องจำเป็น เพื่อที่ว่าสังคมนี้จะได้มุ่งไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยกว่านี้อย่างแท้จริง มันเป็นคำตอบที่เลือกยาก เพราะว่าคุณคงจะเอาทั้งสองอย่างไม่ได้ แต่จุดหนึ่งถ้าคุณเงียบ ก็เท่ากับว่าคุณยอมรับการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

แต่ก็ยังเห็นว่าคนเสื้อแดงก็ยังสามารถมีโอกาสถกเถียง เรียนรู้และพัฒนาต่อไปได้ โดยเฉพาะในเชิงหลักการมากกว่านี้ในอนาคต?

ถูกต้อง ประเด็นของผมตอนนี้คือ ผมไม่เห็นด้วยกับใครตอนนี้ที่จะมาอ้างว่า เห็นไหม คนเสื้อแดงเขาก็ไม่เห็นด้วยหรอกในการที่จะเคารพความต่าง หรือการออกมายืนยันต่อสู้เพื่อความเห็นต่างของคนอื่น ถ้าไม่ใช่พวกตัวเอง เพราะฉะนั้น คนเหล่านี้ก็ควรจะปิดปาก และไม่ควรมีสิทธิทางการเมือง ผมเห็นต่างกับความเห็นเช่นนี้ ซึ่งอาจเป็นความคิดเห็นของชนชั้นอำมาตย์จำนวนหนึ่ง ที่บอกว่าพวกเสื้อแดง นี่ไงเห็นไหม เอาเข้าจริงก็ไม่เข้าใจประชาธิปไตย ไม่เข้าใจความคิดที่เห็นต่างของคนส่วนน้อย ผมคิดว่า มันยังด่วนเกินไปที่จะสรุปเช่นนั้น เสียงของคนเสื้อแดงซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนยากคนจนเนี่ย เพิ่งมีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ มองเห็นผิดบ้างถูกบ้างก็ว่ากันไป แต่ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นหรือข้อเสนอของใครก็ตามที่จะบอกว่า เช่นนั้นเราควรจะปิดปากไม่ให้สิทธิคนเสื้อแดงหรือคนยากคนจนมีสิทธิเสียง เพราะดูแล้วเขาอาจจะไร้วุฒิภาวะ

ผมคิดว่า คนส่วนใหญ่ในสังคมคงต้องเรียนรู้กันไป เรียนรู้กับคนส่วนน้อยในสังคมด้วย ถกเถียงกันไป มีวิวาทะ มี Dialogue (บทสนทนา) เพราะเราเห็นแล้วว่า แม้คนชั้นกลางส่วนใหญ่ ก็ได้กระทำการตัดสินใจผิดซ้ำซากโดยการสนับสนุนการทำรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาตลอดระยะเวลากว่า 60-70 ปี กับสิ่งที่เรียกว่าระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นหากคนชั้นกลาง ป่านนี้ยังไม่ตื่น หรือคนจำนวนมากในคนชั้นกลางยังไม่ตื่น ผมคิดว่าก็ควรจะให้โอกาสคนส่วนใหญ่ให้ลองผิดลองถูกเช่นเดียวกัน แต่ผมขอร้องว่าคนเสื้อแดงที่ก้าวหน้าและผมก็ทราบดีว่ามีจำนวนหนึ่ง ควรจะต้องออกมามีความกล้าที่จะพูด ไม่ว่าคุณจะใช้ไม้แข็งหรือไม้อ่อน หรือวิธีการเจรจาแบบประนีประนอมหรืออะไรก็ตามแต่ แต่ออกมาเตือนสติได้แล้ว ไม่งั้นผมคิดว่าหลงทางแน่

ผมคิดว่าเหตุการณ์สามสี่วันที่ผ่านมา เหตุการณ์เรื่องปฏิกิริยาต่อคุณประสงค์ หรือเหตุการณ์ที่มีการพยายามขอรูปถ่าย ข้อมูลส่วนตัวของรองอธิการบดีที่ฟ้องร้องเด็กที่เพิ่งจบจากม.เกษตรนั้น ผมคิดว่าเป็นปรากฎการณ์ที่น่าเป็นห่วงว่า เอาเข้าจริง คนเหล่านี้พร้อมที่จะเป๋ไปอยู่ในวัฒนธรรมที่ต่อต้านประชาธิปไตย และถ้าพวกคุณไม่ทำตอนนี้ พวกคนเสื้อแดงที่มีจิตใจที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และมองเห็นปัญหาที่แท้จริง ไม่พยายามท้วงติง หรือดึง ออกมาพูดคุยกับคนเสื้อแดงด้วยกันในตอนนี้ ผมเกรงว่า ไปอีกหกเดือนหรือหนึ่งปีมันจะสายเกินไป

เราต้องตระหนักว่า เพียงเพราะเราอยู่กับฝ่ายตรงข้ามกับเผด็จการกลุ่มหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า เราเป็นฝ่ายประชาธิปไตยไปโดยปริยาย เพราะเผด็จการน่าจะมีมากกว่าหนึ่งกลุ่มหรือหนึ่งแบบในสังคมไทย กรุณาอย่าเข้าใจผิด

สรุปง่ายๆว่า การตรวจสอบตนเอง เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรควรมีใช่ไหม

สังคมที่มันไม่โปร่งใส ตรวจสอบกันไม่ได้ มันเป็นประชาธิปไตยได้หรือเปล่า สังคมที่คุณไม่มีพื้นที่สำหรับความเห็นต่าง มันเป็นสังคมประชาธิปไตยหรือ มันไม่ใช่ ผมอยากให้เรามองข้ามความขัดแย้งระยะสั้น ใครจะขัดแย้งอะไรหรือกับใคร และคนเสื้อแดง โดยเฉพาะเสื้อแดงที่ต้องการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งมีอยู่จริงแต่ผมไม่รู้ว่ามีจำนวนมากหรือน้อยแค่ไหน ซึ่งตอนนี้ก็เงียบไปเพราะไม่อยากจะไปตีรวนหรือเปล่า เขาต้องออกมา เขาต้องมองข้ามช็อตไปให้ได้ว่าสิ่งที่เขาอยากมองเห็น มันไม่ใช่เอารัฐบาลที่ดีที่ตัวเองชอบเข้าไปมีอำนาจเท่านั้น แค่นั้นมันไม่พอ เราต้องสร้างวัฒนธรรม อย่างอเมริกาที่เขาไม่มีรัฐประหารเป็นเพราะทหารก็รู้ว่าถ้าทำไปประชาชนเขาก็ไม่ยอมรับ เขาก็อยู่ไม่ได้ เมืองไทย ตราบใดที่ไม่มีวัฒนธรรมที่ยอมรับความเห็นต่าง วัฒนธรรมที่ไม่ยอมรับรัฐประหาร การรัฐประหารก็ยังเกิด ความเห็นต่างก็มีลำบาก

ผมคิดว่าสำคัญมาก ไม่ว่าจะเสื้อสีอะไร ถ้าอ้างว่าตนเองอยากเห็นสังคมเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เราต้องมาจัดการปูพื้นฐานสังคมประชาธิปไตยให้ได้ก่อน และพื้นฐานหนึ่งของสังคมประชาธิปไตยที่สำคัญคือ ความเห็นต่าง การเคารพความเห็นต่าง อันที่สองคือ ทำให้สื่อโปร่งใสและมีความรับผิดชอบกว่าทุกวันนี้ ไม่ใช่บอกว่า อ้างว่า ในเมื่อมติชนไม่เคยอธิบายอะไรที่ผ่านมาในอดีตก็ควรต้องปล่อยไปเป็นอย่างนี้หรือ อันนี้ถกเถียงกับคุณธนาพล (อิ๋วสกุล) เขาบอก มติชนก็เป็นอย่างนี้แหละ ไม่เคยอธิบาย ผมก็เลยว่า อ้าวแล้วอย่างนี้เมื่อไหร่จะเปลี่ยน มันสมควรจะเปลี่ยนไหม ถ้าอย่างนั้นคนอื่นก็จะมาอ้างว่า อ้าว ก็ความสัมพันธ์ระหว่างไพร่กับอำมาตย์ก็เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วมิใช่หรือ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องเปลี่ยนสิ ผมว่านั่นไม่ใช่ข้ออ้าง ปัญหาคือว่าเราอยากเห็นสังคมเป็นแบบไหน และอย่าไปหลงติดว่าใครสู้ตรงไหน ถ้าใครก็ตามเปลี่ยนจุดยืน และไม่ได้ยืนอยู่กับประชาธิปไตยอย่างชัดเจนแล้ว ผมคิดว่า คนที่สนับสนุนคนนั้นก็ต้องพร้อมที่จะเดินออกมา หรืออย่างน้อยก็ต้องตักเตือนกันก่อน พยายามอย่างเต็มที่เสียก่อนเพื่อจะดึงเขาไปในทิศทางที่จะรังสรรค์ให้สังคมเปิด เป็นสังคมที่เป็นประชาธิปไตย สังคมที่มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ทุกองค์กร

ถ้าหากคนเสื้อแดงมีสำนึกทางการเมือง มีความตระหนักรู้ด้านความโปร่งใส แต่รัฐบาลใหม่นี้ยังคงเหมือนเดิม ไม่ต่างจากยุคก่อนหน้า อย่างนี้จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ก็มีหลายวิธี อาจจะต้องไปคุย ล็อบบี้กันก่อน หรืออะไร แต่เอาเข้าจริง คุณต้องออกมาแสดงจุดยืนถ้ามันชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลใหม่มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับความโปร่งใสหรือการตรวจสอบ คุณต้องแยกให้ออกระหว่างหลักการ กับความชอบระหว่างตัวบุคคล หรือพรรค ในที่สุด คุณอาจจะต้องเลือกด้วยซ้ำไป ถ้าพรรคที่คุณชื่นชอบอาจจะไม่ได้ยืนหยัดกับหลักการที่คุณคิดว่าเขาสนับสนุน หรืออ้างว่าสนับสนุน ถึงจุดหนึ่ง ถ้าคุณต้องเลือกระหว่างพรรคเพื่อไทย, หรือเสื้อแดงกับประชาธิปไตย หรือพรรคเพื่อไทยกับประชาธิปไตยคุณจะเลือกอะไรถ้ามาถึงจุดนั้น ซึ่งตอนนี้มันอาจจะยังไม่ชัดเจน แต่ถ้ามาถึงจุดนั้นแล้วคุณจะเลือกอะไร ผมคิดว่าเป็นคำถามที่ท้ายที่สุดแล้วมันอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้

แต่ก็อาจจะมีคำถามที่ว่า คนชั้นกลางก็พูดเรื่องหลักการ คำใหญ่คำโตได้ แต่ชาวบ้านก็ยังคงสนใจเรื่องนโยบายปากท้อง และชื่นชอบในนโยบายเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยอยู่ มากกว่าสนใจเรื่องความโปร่งใส คิดว่าอย่างไร

ไม่มีปัญหา คือมันไม่ใช่เรื่องที่เราต้องทำเรื่องหนึ่งและไม่ทำอีกเรื่องหนึ่ง คือใครมีศักยภาพและสนใจทำเรื่องอะไรก็ทำไปพร้อมกัน คือผมเห็นด้วยกับการให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสวัสดิการดีกว่าที่เป็นอยู่ มีการศึกษาที่เท่าเทียม มีโอกาสเข้าสู่การศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกว่าที่เป็นอยู่ มีโอกาสเข้าต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียมกันมากกว่านี้ มันใมใช่การถกเถียงว่า ต้องเลือกก.ไก่ แล้วไม่เอาข.ไข่ ผมว่าไม่ใช่ มันเป็นเป็นเรื่องที่สามารถทำไปพร้อมกันหลายเรื่องได้ แต่ผมคิดว่ามันเป็นบางอย่างที่มันเป็นพื้นที่รากฐานที่สำคัญ ถ้าไม่จัดการรักษาไว้ หรือสร้างให้มันเกิด สังคมมันก็จะเป๋ เราคงไม่อยากเห็นสังคมเป็นอย่างสิงคโปร์ที่ผู้คนก็มีกินในระดับหนึ่งแต่ไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อถูกคุม ไม่มีความเห็นต่าง ความเห็นต่างถูกกดทับ ผมคิดว่า สังคมอย่างประเทศสิงคโปร์ก็คงไม่ใช่สังคมอุดมคติ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘โอบามา’ ยินดี ‘ยิ่งลักษณ์’ เป็นนายกฯ หญิงคนใหม่

$
0
0

บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ส่งข้อความแสดงความยินดีถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หวังกระชับความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และทำงานร่วมกันในภายภาคหน้าเพื่อประชาธิปไตยของโลกเสรี

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เผยแพร่ข้อความแสดงความยินดีจากบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยสารดังกล่าวระบุว่า ประธานาธิบดีโอบามาขอแสดงความยินดีของตนและประชาชนสหรัฐฯ ถึงยิ่งลักษณ์ ในการได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย

ประธานาธิบดีโอบามายังกล่าวว่า เขามั่นใจว่าสายใยอันมั่นคงระหว่างสองประเทศจะแน่นแฟ้นขึ้นในภายภาคหน้า และยินดีที่จะสานสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศอันเป็นประชาธิปไตยและเสรี บนพื้นฐานของคุณค่าและความเคารพที่มีร่วมกัน

ประธานาธิบดีสหรัฐระบุว่า ให้ความสำคัญกับมิตรภาพและความเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยอย่างมาก และหวังว่าจะได้ร่วมมือกันทำงานเพื่อโลกที่สงบสุข รุ่งเรือง และเสรีต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รมต. ไอซีที ประกาศเข้มบังคับใช้กฎหมายหมิ่นและ พ.ร.บ.คอมพ์อย่างเด็ดขาด

$
0
0

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมต. ไอซีทีคนใหม่ ประกาศจะบังคับใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ให้เข้มงวดมากขึ้น, ส่งสัญญาณไฟเขียว 3G

เว็บไซต์มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คนใหม่ กล่าวถึงแนวทางในการทำงานว่า นับจากนี้ไป จะมีการกำชับให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ในทุกระดับ มีการเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ. คอมพ์ฯ) และการหมิ่นสถาบันผ่านเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

พร้อมกันนี้ รมว.ไอซีที ยังกล่าวถึงกรณี 3G ว่า กระทรวงจะเข้าไปดูแลตรวจสอบอีกครั้ง ว่าที่ผ่านมา มีกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่ รวมถึงดูว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงด้วยหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน หลังจากมีการอภิปราย และมีประชาชน เข้ามาตรวจสอบ และหากถูกต้อง เป็นสิ่งที่ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่มีการทุจริต คอร์รัปชั่น ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไปยับยั้งโครงการดังกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

$
0
0

นับจากนี้ไป จะมีการกำชับให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงในทุกระดับ มีการเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการหมิ่นสถาบันผ่านเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

รมต. ไอซีที ประกาศเข้มบังคับใช้กฎหมายหมิ่นและ พ.ร.บ.คอมพ์อย่างเด็ดขาด
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images