Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

จดหมายจากผู้อ่าน: ความในใจสุดท้ายจากคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ถึงจตุพร พรหมพันธ์

$
0
0

ฟังจตุพรจัดรายการชูธง และการแถลงข่าวครั้งล่าสุดแล้ว ยังวนเวียนอยู่แต่กับประเด็น

1.ขอให้นิติราษฎร์หยุดการเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้เกิดเงื่อนไขการทำรัฐประหาร

2.ถึงเดินหน้าต่อไป ก็ไม่มีทางสำเร็จได้ เพราะไม่มี ส.ส.หรือ ส.ว.คนไหน จะกล้ายกมือโหวตให้ในสภาแม้แต่คนเดียว ( แม้แต่หัวหมู่ทะลวงฟัน ที่ไม่เคยกลัวสิ่งใดแม้แต่ความตาย )

 

ถ้าหากท่านใดก็แล้วแต่ จะเข้าไปฟังการแถลงข่าว ( อีกครั้ง ) ของท่านตู่ในวันพรุ่งนี้ อยากฝากคำถามไปแถมแทนสักสามสี่ข้อ ( เนื่องจากผมอยู่ต่างประเทศ ไปถามเองไม่ได้ )

1.ที่ท่านตู่มาขอร้องให้นิติราษฎร์หยุดการเคลื่อนไหว เพื่อหยุดเงื่อนไขการปฏวัตินั้น เอ่อ...ท่านตู่ครับ นึกหรือครับ ว่าถ้าไม่มีเรื่องนี้แล้วเขาจะไม่หาเรื่องอื่น มาหาเรื่องปฏิวัติรัฐบาลของท่านได้ โง่หรือซื้อบื้อครับ

2.ที่ท่านตู่บอกว่า ไม่มีใครกล้ายกมือโหวตให้กฏหมายข้อนี้แม้แต่คนเดียว แม้แต่หัวหมู่ทะลวงฟันที่ไม่เคยกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมแบบท่าน แล้วอุดมการณ์ที่ท่านและพรรคพวกพร่ำเพ้อวันละสามเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ให้พวกเราเสื้อแดงต้องออกไปเจ็บไปตายแทนพวกท่าน ที่ว่าจะต่อสู้เพื่อความเสมอภาค ภราดรภาพ และความเท่าเทียมกันของคนไทยทุกคน

และสิ่งที่กลุ่มนิติราษฎร์เคลื่อนไหวทั้งหมด มันตอบโจทย์ได้ทุกข้อสำหรับที่พวกเราเสียเลือดเสียเนื้อต่อสู้กันมา แล้วทำไมท่านไม่ร่วมสู้ไปกับนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะทำที่สุดในตอนนี้ ความห้าว ความกล้า ความบ้าบิ่นไม่กลัวตาย ของจตุพร พรหมพันธ์ คนเดิมมันหายไปไหนหมด  คนเราเมื่อถึงคราวต้องสู้ มันก็ต้องดับเครื่องใส่ ไสช้างชนให้มันรู้ดีรู้ชั่วกันไป

3.แทนที่จะมัวกลัวซ้ายกลัวขวาว่าจะโดนปฏิวัติ ก็ในเมื่อพวกท่านมีอำนาจรัฐอยู่ในมือแล้ว ทำไมถึงไม่หาทางป้องกันหรือหยุดยั้งมันละครับ มัวแต่มาเกรงใจ หรือเกี้ยเซี้ยกับหอกข้างแคร่ ที่คิดจะปฏิวัติท่านอยู่ทำไม ผบ.ทบ.ถ้าไม่เป็นที่น่าไว้ใจก็ย้ายสิครับ นายกฯมีอำนาจย้ายได้นี่ จะรอให้เขาปฏิวัติเสียก่อน แล้วค่อยมาสั่งปลดกลางอากาศ เหมือนตอนทักษิณสั่งปลดสนธิ เกิดเขาตัดสัญญาณโทรทัศน์ได้ ก่อนที่คำสั่งปลดจะสมบูรณ์ ก็จะเสียค่าโง่เหมือนอ้ายแม้วของผมไง จะหกปีอยู่แล้วยังไม่ได้กลับบ้านเลย นี่แหละผลของการไว้ใจศัตรูละ

4.และสุดท้าย หัวหมูทะลวงฟันอย่างท่านตู่ จะออกมาทำหน้าซีด ปากสั่น ละล้าละลังกลัวการปฏิวัติให้เสียภาพลักษณ์ ก็ทำไมไม่ยกมืออธิษฐานให้มันรีบปฏิวัติไว ๆ ทุกอย่างจะได้จบลงไปในคราวเดียว ไม่ต้องเหนื่อยกันหลายครั้ง เหมือนที่ท่านพี่เคยพร่ำบ่น ( สร้างภาพ..หรือเปล่า ) พอท่านตู่ได้เป็น ส.ส.แล้ว ความรู้สึกนึกคิดแบบนั้นอาจจะหายไป แต่พี่น้องเสื้อแดงทุกคนเขาไม่ได้หายตามท่านไปด้วย แต่ยังหนักแน่น และยิ่งเข้มข้น รอให้มันเขี่ยลูก ถ้าเริ่มเขี่ยเมื่อไหร่ รับรองได้บิวตี้ฟูลกันแน่นอน (เลียนสำนวนท่านณัฐวุฒิ ซึ่งก็ไม่รู้ว่า จะยังจำคำพวกนี้ได้หรือเปล่า )

สุดท้ายที่อยากฝากเตือนให้รู้สำนึก ที่ท่านตู่ ท่านเต้น ได้รับความรัก ความศรัทธา และการอุ้มชูจากพี่น้องเสื้อแดง ก็เพราะ ( ที่ปากบอกว่า ) ความใจสู้ ไม่กลัวเกรงต่อสิ่งใด และไม่ละทิ้งมวลชน ไม่เช่นนั้น ท่านก็จะไม่ต่างอะไรกับวีระ หรือวิสา ที่ได้ตายไปจากใจคนเสื้อแดงหมดแล้ว ก็ชวนเขามาสู้ตาย จนเขาทุ่มให้หมดใจ แต่ดันเสือกมาโดดรถหนีตอนเกิดการสู้รบแบบนั้น

และการออกมาลอยแพ (แถมยังแอบกระทืบซ้ำ) คณะนิติราษฎร์นั้น มันคือการทรยศต่ออุดมการณ์ ในการต่อสู้ของพี่น้องเสื้อแดงทั้งหมด เพราะทุกข้อที่อาจารย์นิติราษฎร์คิดและเขียนออกมา มันคือความต้องการ และความในใจของคนเสื้อแดงทั้งนั้น จะพูดว่านิติราษฎร์พูดและเขียนออกมาแทนใจคนเสื้อแดงทั้งหมดก็ว่าได้

อยากจะกลายเป็นคนที่โดนทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะตามรถไฟขบวนก้าวหน้าไม่ทันไปอีกคนหรือไง จริงอยู่ ก่อนเลือกตั้งเราคือคนสำคัญของพวกท่าน แต่พอหลังเลือกตั้ง แม้แต่กฏหมายที่ประชาชนต้องการแก้ที่สุด ท่านยังกล้าประกาศว่าจะคว่ำเสียตั้งแต่ไม่ทันจะเริ่ม มันไม่ทำร้ายจิตใจกันไปหน่อยหรือ

อยากรู้เหมือนกัน ว่าถ้าตอนนี้นิติราษฎร์ถูกบีบให้ต้องตั้งพรรคการเมือง เพื่อขับเคลื่อนข้อเสนอให้กลายเป็นจริง ( เพราะพี่ ส.ส.เพื่อไทยไม่เอาด้วย ) ในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ส.ส.เพื่อไทยที่สุดแสนจะปากดีในวันนี้ ( เช่นเฉลิมและประชา ประสพดี ) จะได้กลับมาเป็นท่าน ส.ส.ที่เคารพสักกี่คน

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วิชาการกับการเมือง

$
0
0

"ผมไม่ได้ห้ามไม่ให้ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือเสรีภาพในทางวิชาการใน มธ แต่ต้องแยกเสรีภาพทั้งสองนี้ออกจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการขยายความขัดแย้ง และนำมาซึ่งความวุ่นวายใน มธ.และประเทศ"

                      (สมคิด เลิศไพฑูรย์, อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
                       ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 31 มกราคม 2555

มติฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่จะไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหวกรณีมาตรา 112 ประกอบกับความเห็นของอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนปัจจุบันดังข้างต้น ทำให้เกิดความสงสัยว่า คณะบุคคลดังกล่าวคงไม่เข้าใจความหมายของคำว่า “วิชาการ” (โดยยังไม่ต้องเอ่ยถึงเสรีภาพ) หรือคำว่า “การเมือง” หรืออาจจะไม่เข้าใจทั้งสองคำ

ความไม่เข้าใจ “วิชาการ” และ “การเมือง” สะท้อนผ่านวิธีคิดที่จะแยกวิชาการออกจากการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่แยกออกจากกันไม่ได้โดยแก่นสาร

ทำไมจึงแยกวิชาการออกจากการเมืองไม่ได้?

ความขัดแย้งกับฉันทามติเป็นแก่นสารสำคัญของ “การเมือง” หมายความว่า ‘การยึดประโยชน์ของกลุ่มหรือของบุคคลยัดเยียดให้ผู้อื่นด้วยกำลังโดยปราศจากความยินยอมใด ๆ ย่อมมิใช่การเมือง และในทางกลับกันสถานการณ์ที่กลุ่มมุ่งหน้าคืบไปสู่เป้าหมายของตนด้วยความเห็นพ้องทั้งมวลย่อมมิใช่กระบวนการทางการเมือง’ (Tansey and Jackson; 2008, p.7)  “การเมือง” จึงเป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งกับความเห็นชอบ

โสเครตีสใช้การตั้งคำถามเป็นแนวทางแสวงหาสัจธรรม เพลโต้ศิษย์โสเครตีสก่อตั้ง the Academy อันมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกสืบต่อแนวทางครูในการทำงาน academic นับจากนั้นโลกก็รุดหน้าทางศิลปวิทยาการในอัตราเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน

การตั้งคำถามและการวิพากษ์วิจารณ์จึงเป็นฐานสำคัญของ “วิชาการ” ซึ่งหมายความว่าองค์ความรู้และตัวบุคคลผู้ผลิตความรู้ย่อมสามารถมีความเห็นแย้งแตกต่างและสามารถยอมรับในเหตุและผลของกันและกันได้ “วิชาการ” จึงงอกงามในพื้นที่ “การเมือง” และยากที่จะเติบโตบนพื้นที่ปลอด “การเมือง” เช่น ในปริมณฑลของศาสนาหรือปริมณฑลของอำนาจที่ยินยอมให้ผลิตสิ่งที่เรียกว่า “ความรู้” ที่สอดคล้องกับความเชื่อ/อำนาจเท่านั้น ความรู้ที่ผลิตโดยสวามิภักดิ์ต่อความเชื่อ/อำนาจ ย่อมขาดคุณสมบัติของความเป็นวิชาการ นักวิชาการผู้พยายามผลิตงาน “วิชาการ” ในสังคมดังกล่าวมักประสบความยากลำบากในชีวิต เช่น โสเครตีสถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยข้อหาทรยศชาติ แม้แต่งานวิชาการทางวิทยาศาสตร์ เช่น งานวิชาการของคอปเปอร์นิคัสที่ต้องตีพิมพ์เมื่อเขาใกล้จะเสียชีวิต การค้นพบว่าดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของระบบสุริยะจักรวาลทำให้กาลิเลโอถูกกักขังในบ้านตนเอง เป็นต้น

ด้วยมิตินี้ ความงอกเงยทางวิชาการแนบแน่นกับการเมืองอย่างยิ่ง การแยกวิชาการออกจากการเมืองจึงเท่ากับการบังคับให้สังคมยอมรับความเชื่อโดยไม่ต้องตั้งคำถามและสยบต่ออำนาจ

นี่ใช่ไหมที่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องการ?

“การเมือง” สำคัญอย่างไรต่อสังคม?

ประโยคที่ฝ่ายรัฐชอบเอ่ยว่า “บัดนี้มาตรการทางการเมืองใช้ไม่ได้ผลแล้ว จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการทางทหาร” ซึ่งหมายถึงการใช้ความรุนแรงนั้น เป็นตัวอย่างสำคัญของ “การเมือง” ในฐานะวิถีทางแห่งสันติในยามที่สังคมกำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้งรุนแรง

ในบริบทของความขัดแย้งรุนแรง เมื่อการเมืองสิ้นสุดความรุนแรงจึงมักเข้ามาแทนที่

ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเมืองจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสังคมมนุษย์ เพราะสังคมมิได้อยู่โดยปราศจากความขัดแย้ง ความขัดแย้งนั้นเป็นส่วนสำคัญของสังคมมนุษย์โดยธรรมชาติ การเมืองมีส่วนช่วยให้ความขัดแย้งไม่แปรไปเป็นความรุนแรง การเมืองมีความหมายมากในฐานะของการเปิดพื้นที่ให้ถกเถียงรับฟังและยอมรับกันและกันได้ ตราบใดที่ยังมีการเมืองความขัดแย้งย่อมมีพื้นที่ดำรงอยู่ในสังคมโดยสันติ ตราบใดที่คู่ขัดแย้งมีพื้นที่ในการสนทนาและสามารถสนทนากันได้ ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ย่อมไม่มีความจำเป็น

เนื่องจากการเมืองคือการมีทั้งความขัดแย้งและฉันทามติ ดังนั้น การปฏิเสธ “การเมือง” คือการยอมรับการดำรงอยู่ของความขัดแย้งหรือความเห็นในทิศทางเดียวกันอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ในแง่นี้ “ความไม่มีการเมือง” ต่างหากที่อันตราย เพราะสามารถทำลายชีวิตและความคิดลงทั้งสองสิ่ง ชุมชนที่ไม่มีการเมือง คือชุมชนที่มนุษย์ถูกกระทำด้วยความรุนแรงจนเหลือทางเลือกเพียงสองทางคือ ความตายกับความเงียบ (เพราะโง่หรือเพราะเชื่อง)

นี่ใช่ไหมที่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต้องการ?

มหาวิทยาลัยกับการเมืองสัมพันธ์กันอย่างไร?

การเมืองเป็นเรื่องของเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์ สังคมการเมืองดำรงอยู่เพื่อช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพของตน หากมหาวิทยาลัยใดถูกตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลื้องพันธนาการและเปิดทางเสรีภาพแก่บุคคล มหาวิทยาลัยนั้นย่อมไม่ปฏิเสธ “การเมือง”  ในฐานะที่เป็นวิถีทางแสวงหาคำตอบต่อเป้าหมายสูงสุดในชีวิตของมนุษย์

หากเปรียบความรู้คือแสงไฟ มหาวิทยาลัยย่อมเป็นสรรพแสง นอกจากผลิตวิชาหาเลี้ยงชีพ ดวงประทีปสุดท้ายในรั้วโดมเกิดขึ้นเมื่อใด?

ธรรมศาสตร์กำลังย่ำสนธยา ตามแสงไต้ไว้สักดวงดีไหมครับ

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขอ (คืน) พื้นที่บ้าง

$
0
0

 

เมื่อกล่าวถึงการมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน หากเป็นการร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเฉพาะเจาะจงแล้วก็คงไม่ยากที่จะทำให้งานนั้นมีความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากแม้นว่างานทุกสิ่งอย่างเป็นการกระทำที่ง่ายแบบเดียวกันทั้งหมด ก็คงทำให้สังคมนั้นมีลักษณะเป็นเส้นตรงขนานกับพื้นราบเป็นแน่ และนำไปสู่ความไม่ขัดแย้งซึ่งเป็นอุดมคติของผู้ในสังคมที่คาดหวังกันอยู่แล้ว

หากกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ยาวนาน การมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในสังคมเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เพราะเมื่อเป็นเช่นนั้นทุกคนก็จะมุ่งไปสู่การแสวงหาจุดมุ่งหมายปลายทางของตัวเอง และพร้อมที่จะทำลายผู้ที่อยู่รอบข้างเพื่อตัวเองจะได้เป็นผู้ชนะ

เช่นเดียวกันกับ “ประชาธิปไตย” ในความรู้สึกนึกคิดของชาวตะวันตกในศตวรรษที่ 13 ประชาธิปไตย ก็ถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่งเพราะในที่สุดแล้วผู้ที่มีอำนาจซึ่งมาจากข้างมากของผู้คนในสังคมอาจนำไปสู่การกดขี่ ข่มขู่ เสียงข้างน้อยและท้ายที่สุดก็มักจะจ้องทำลายร้างผู้ที่เห็นต่าง จึงเป็นบ่อเกิดของ ทรราช นั่นเอง

ดังนั้นจากสองกรณีที่กล่าวมาทั้งหมด สะท้อนถึงมุมมองความคิดเกี่ยวกับการรวมหมู่ โดยการรวมหมู่คนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ผลสะท้อนที่ออกมาอาจกล่าวได้ว่ามักจะเต็มไปด้วยความรุนแรงและขัดแย้งกันอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาก็คือ ความสงบสุขในชีวิตนั่นเอง เพราะในที่สุดแล้วมนุษย์ทุกคนก็รักตัวกลัวตายมากที่สุด

เมื่อมนุษย์มีความต้องการความสงบสุข จึงต้องมอบความคาดหวังนี้ไปสู่ “รัฐ” เพื่อให้ทำหน้าที่รักษาชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง แต่ก็ย้อนกลับมาสู่อดีตอีกครั้งเมื่ออำนาจรัฐถูกสร้างจากเสียงข้างมาก ก็น่ากลัวอีกว่าจะเกิด ทรราช แบบเดิมๆออกมาอีกได้

ที่กล่าวข้างต้นก็ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและบ่อเกิดของความขัดแย้งในสังคมที่ก่อกำเนิดจากการมีจุดมุ่งหมายเดียวกันของผู้คน ในสังคมทั่วไปมักจะมีแบบแผนซึ่งในที่นี้อาจจะมาจากวัฒนธรรม ประเพณี หรือแม้แต่การโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งเมื่อเกิดการผลิตซ้ำบ่อยๆก็อาจก่อรูปก่อร่างหรือทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรม ประเพณีของสังคมก็เป็นได้ จากนั้นผู้คนก็มักจะยึดหลักปฏิบัตินั้น (ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริงหรือวาทกรรมก็ได้) ปัญหามันอยู่ที่ว่า หากว่าประเพณีและวัฒนธรรมนั้นปฏิบัติกันต่อมาแล้วเกิดเป็นบรรทัดฐานของสังคม หากมีคนจำนวนหนึ่งแสดงความไม่เห็นด้วยแล้วจะต้องทำอย่างไร

โดยในที่นี้ “ปริมณฑลสาธารณะ” (Public Sphere) มีความสำคัญและเป็นที่กล่าวถึงเป็นอย่างมากในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน การให้พื้นที่แก่เขาเหล่านั้นหากมองกันในด้านเสรีภาพเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นแล้วก็มองได้ว่าเป็นการเสริมกันกับระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นหลักการพื้นที่ฐานที่สำคัญเลยก็ว่าได้ หากมองอีกแง่ การเปิดพื้นที่สาธารณะก็เป็นตัวการสำคัญที่ลดความขัดแย้งในสังคม ดังเช่น หากเราไม่มีพื้นที่ให้พวกเขาเหล่านั้น เป็นการผลักดันให้เขาเหล่านั้นไปสู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า เมื่อเปิดเผยบนดินไม่ได้ก็คงต้องเป็นวิธีการใต้ดิน ดังเช่นการต่อต้านที่ใช้กำลังในลักษณะสงครามกองโจร ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าความขัดแย้งอาจจะยิ่งดำดิ่งฝังลึกลงสู่สังคมก็เป็นได้

หลายครั้งสังคมมักแก้ปัญหาด้วยอารมณ์และไม่ได้ยึดหลักของเสรีภาพมากนัก การผลักดันและกดดันคนเหล่านั้นให้คิดเช่นเดียวกันหากไม่ทำเช่นนั้นแล้วคุณก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในสังคม สิ่งนี้สะท้อนชัดเจนถึงการไม่คำนึงถึงเสรีภาพส่วนบุคคลที่พึงมีในฐานะมนุษย์ ทั้งที่จากในอดีตที่ผ่านมา การต่อสู้เพื่อให้ได้เสรีภาพมานั้นมีความสำคัญกว่าจะได้มาต้องแลกกับอะไรต่อมิอะไรมากมาย ก็เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่มิได้นำมาใช้

อีกเรื่องหนึ่ง การมองข้ามหลักที่สำคัญอีกหลักหนึ่งของประชาธิปไตย นั่นก็คือ “ความทนกันได้” (Tolerance) ความทนกันได้ที่เป็นตัวผนึกสังคมที่มีความขัดแย้งกัน สังคมเราอาจลืมเรื่องนี้ไปสนิท ช่วงเวลาหลังๆมานี้เรามิได้ใช้หลักการนี้มากนัก หากแต่เปิดหน้าชกกันอย่างชัดเจนหรือในช่วงเวลาหนึ่งสองฝ่ายก็พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงต่อกันทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ดังเช่นปรากฏการณ์ที่ชายแดนของประเทศ (ในที่นี้ไม่ได้บอกว่าใครผิดถูกอย่างไร แต่จะสะท้อนถึงความรุนแรงที่สองฝ่ายกระทำเท่านั้น)

การเปิดพื้นที่ให้มีการโต้เถียงกันด้วยหลักการและเหตุผล จึงมีส่วนสำคัญที่จะทำให้เรื่องบางเรื่องเกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองและเข้าใจกันและกันมากขึ้น บางครั้งการคิดอยู่เพียงฝ่ายเดียวก็อาจทำให้ขาดความรอบด้านของข้อมูล หากแม้นว่าเริ่มแรกอาจจะแข็งกร้าวแต่ในบ้างครั้งเมื่อได้รับข้อมูลอีกด้านหนึ่งก็อาจจะทำให้เริ่มอ่อนลงและนำไปสู่การแสวงหาจุดร่วมกันก็เป็นได้ ดังเช่นหลักการของ "ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

แล้วในสังคมนี้ล่ะ เราได้เลือกแบบแผนหรือวิธีการใดที่ทำให้สังคมที่เป็นหนึ่งเดียวกันแบบหลอกๆผ่านพ้นความต่างนี้ไปได้อย่างไร เราเลือกรับฟังความคิดเห็นเหล่านี้หรือไม่ มีวิธีการต่างๆมากมายที่ผ่านการคิด ผ่านมุมมองที่ทางประวัติศาสตร์ ประสบการณ์ หรืออื่นๆอีกมาก เหตุใดสิ่งที่เลือกกลับกลายเป็นแบบแผนเดิมโดยผ่านการข่มขู่ กดดัน ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงหรือบางทีบางคนอาจจะตีความว่าสิ่งเหล่านี้ก็เท่ากับเกิดความรุนแรงขึ้นแล้ว ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นก็น่าเสียดายที่เมื่อมีความคิดที่ดี วิธีการให้เลือกใช้ แต่กลับไม่ได้นำมาใช้ ก็คงไม่ต่างอะไรกับคนที่มีทองคำในมือแล้วไม่รูว่าเป็นทองคำ สุดท้ายค่าของมันก็เป็นแค่ก้อนหินธรรมดาเท่านั้น

หากแต่เราอ้างเสมอว่า เราอยู่ในสังคมที่เป็นเสรีให้เสรีภาพกับทุกคนโดยเสมอภาค แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า เสรีภาพที่ให้นี้เป็นเสรีภาพที่อยู่ในกรอบ แล้วเสรีภาพที่อยู่ในกรอบนี้จัดเป็นเสรีภาพจริงๆ หรือไม่  สิ่งที่ควรมองมากที่สุดก็คือ มองทุกเรื่องแบบสองด้านเสมอ คงยากที่ทุกคนทุกฝ่ายจะเห็นเช่นเดียวกัน ขอให้เปิดกว้าง ใจกว้าง รับความจริง และขอพื้นที่ให้กับเขาเช่นเดียวกับที่คุณเองมีและใช้พื้นที่อยู่ขณะนี้เช่นเดียวกัน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผู้บริหารยันมธ.ยัง "มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว"

$
0
0

ผู้บริหารมธ.ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ ชี้แจงเหตุผลการสั่งห้ามใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเคลื่อนเรื่องม. 112 ยัน ธรรมศาสตร์ยังมีเสรีภาพทุกตารางนี้ว และแสดงออกทางการเมืองอย่างอื่นได้ แต่ขอห้ามเรื่องม. 112 ไว้เพราะกลัวสร้างความแตกแยกในสังคม  

วันที่ 1 ก.พ. 55 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่แถลงการณ์อย่างเป็นทางการ  ต่อเรื่องมติการไม่อนุญาตให้กลุ่มบุคคลเข้ามาใช้สถานที่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่าไม่ต้องการให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สนับสนุนการเคลื่อนไหวที่สร้างความแตกแยก และย้ำว่า มติดังกล่าวมิได้เป็นไปเพื่อการจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางวิชาการ เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังสนับสนุนการแสดงออกทางการเมืองเรื่องอื่นๆ แต่เรื่องมาตรา 112 จำเป็นต้องห้ามเพราะอาจเป็นการขยายความขัดแย้ง 

ในวันเดียวกัน ผู้บริหารคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ได้เผยแพร่แถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์  www.jc.tu.ac.th เรื่อง จุดยืนในการใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการแสดงออกทางความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายมาตรา 112 โดยย้ำว่า จะปฏิบัติตามคำสั่งมหาวิทยาลัยที่ห้ามกลุ่มบุคคลใช้พื้นที่เพื่อเคลื่อนไหวกรณีม.112 พร้อมสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกเชิงวิชาการ ตราบใดที่ไม่รุนแรงและละเมิดสิทธิ  

ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวออกมาภายหลังจากการประกาศของสมคิด เลิศไพฑูรย์เมื่อวันที่ 30 มกราคมว่า ที่ประชุมกรรมการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีมติห้ามกลุ่มบุคคลใช้พื้นที่ในมหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหวเกี่ยวกับ ม.112 และเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่ม "วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์" ซึ่งเป็นกลุ่มศิษย์เก่าคณะวารสารฯ มธ. ได้ประกาศว่าจะชุมนุมต่อต้านกลุ่มนิติราษฎร์ที่หน้าคณะวารสารศาสตร์ มธ. ท่าพระจันทร์ในวันที่ 2 ก.พ. นี้ เวลา 14.00 ด้วย

0000

ประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เรื่อง การไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวชี้นำมวลชน

ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒

--------------------------

ตามที่ได้มีคณะบุคคลขออนุญาตใช้ห้องประชุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัด

กิจกรรมทางการเมืองเคลื่อนไหวมวลชนหลายครั้งต่อเนื่องกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องให้

สาธารณชนเห็นชอบ และร่วมกันเข้าชื่อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒

ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อนุมัติให้ใช้สถานที่มาโดยตลอด

ทำให้ในปัจจุบันได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและในหมู่ประชาชน

ทั่วไปว่า การจัดกิจกรรมของคณะบุคคลในลักษณะดังกล่าวเป็นการเปิดช่องให้มีการแสดงความ

คิดเห็นที่เป็นการล่วงละเมิดให้ร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จนทำให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างรุนแรง

ในระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้สร้างความ

แตกแยกในหมู่ประชาชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังที่ปรากฏชัดเจนในรายงานข่าวของสื่อต่าง ๆ อยู่

ในขณะนี้

 

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ก.บ.ม.) ในการประชุม

ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕ ได้พิจารณาสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงดังกล่าวแล้ว

มีความเห็นร่วมกันว่า การอนุญาตให้มีการใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถานที่ราชการ เพื่อ

จัดกิจกรรมทางการเมืองเคลื่อนไหวชี้นำมวลชนในประเด็นที่ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์บทบาทและ

พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ไปในทางที่เสียหายนั้น อาจทำให้สาธารณชนเกิดความ

เข้าใจผิดว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการจัดให้มีการเคลื่อนไหว

เช่นนั้นขึ้น หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าว และโดยที่การจัด

กิจกรรมที่มีเนื้อหากระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชน อาจนำ

มาซึ่งความขัดแย้งในระหว่างกลุ่มบุคคลที่แสดงตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนถึงขั้นมีการใช้ความรุนแรง

ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย จนมหาวิทยาลัยไม่อาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของ

มหาวิทยาลัยได้ ที่ประชุม ก.บ.ม. จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถือ

ปฏิบัติว่า จะไม่อนุญาตให้คณะบุคคลใดใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวชี้นำ

มวลชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการเสนอให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒

เช่นที่ผ่านมาอีก

 

อนึ่ง มหาวิทยาลัยขอยืนยันว่า มติ ก.บ.ม. ข้างต้น ไม่ใช่การจำกัดเสรีภาพของอาจารย์

เจ้าหน้าที่ หรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือบุคคลใด ในอันที่จะใช้เสรีภาพในการแสดง

ความคิดเห็น หรือใช้เสรีภาพในทางวิชาการ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของแต่ละบุคคล มหาวิทยาลัย

มิได้ห้ามการใช้เสรีภาพทั้งสองประการของบุคคลใด ไม่ว่าจะเป็นการคิด การเขียน เพื่อแสดงออก

ซึ่งความคิดเห็นต่อสาธารณะผ่านสื่อ หรือผ่านวิธีการอื่นใด อันเป็นสิ่งที่แต่ละบุคคลจะกระทำได้

ภายใต้ความรับผิดชอบตามกฎหมายในการใช้เสรีภาพของตนเอง มติดังกล่าวจึงเป็นเพียงการไม่

สนับสนุนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เสี่ยงต่อการขยายความขัดแย้งในหมู่ประชาชน

และนำมาซึ่งความเสียหายต่อมหาวิทยาลัยและกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของชาติบ้านเมือง

โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เท่านั้น

ส่วนการดำเนินการใช้สิทธิและเสรีภาพในประเด็นอื่น ๆ ไม่เว้นแม้จะเป็นประเด็นทางการเมือง

มหาวิทยาลัยก็ยังคงสนับสนุนให้ดำเนินการได้ อันสอดคล้องกับปรัชญาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย

และสอดคล้องกับหลักการที่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว

 

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

0000



แถลงการณ์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการนำเสนอความเห็นทางวิชาการของกลุ่มนิติราษฎร์เพื่อแก้ไขกฎหมายมาตรา 112 ให้สังคมทั่วไปได้แสดงความคิดเห็น พบว่าจากข้อเสนอดังกล่าวได้มีกลุ่มประชาชนในแวดวงต่างๆ ที่มีความ เห็นสนับสนุนและคัดค้านข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

 

ในการนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันกับสาธารณชน ผู้บริหารคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ขอชี้แจงถึงจุดยืนในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

ประการที่หนึ่ง เรื่องการใช้พื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นเรื่องกฎหมายมาตรา 112 ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ผู้บริหารคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะปฏิบัติตามมติจากที่ประชุมคณะ กรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555 ในการไม่อนุญาตให้บุคคล/กลุ่มบุคคลต่างๆใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเพื่อเคลื่อนไหวในกรณีที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายในมหาวิทยาลัย จนอาจดูแลความปลอดภัยของบุคคลและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่ได้ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ราชการ อีกทั้งการอนุญาตต่อไปอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นการดำเนินการของมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น

 

ประการที่สอง จุดยืนเรื่องการแสดงออกทางความคิดเห็นคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการ ตราบใดที่ความคิดเห็นนั้นๆเป็นการแลกเปลี่ยนในเชิงสร้างสรรค์  ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่ใช้ความรุนแรง อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อหลักการของสังคมประชาธิปไตย

 

ผู้บริหารคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ขอแสดงจุดยืนทั้ง 2 ประการข้างต้น และขอทำความเข้าใจว่า คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนและคัดค้านการแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวที่ปรากฏในสื่อต่างๆ

 

ทั้งนี้คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มุ่งให้เกิดสังคมที่มีความเข้าใจ ใช้ตรรกะและเหตุผลในการแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่การสื่อสารที่สมานฉันท์ในระยะยาว

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Rachel Harrison

$
0
0

เป็นการแสดงให้เพื่อนชาวไทยที่กำลังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายนี้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้โดดเดี่ยว และเรื่องนี้จะถูกติดตามอย่างใกล้ชิดจากประชาคมนานาชาติ

1 ก.พ. 55, นักวิชาการ นักเขียน และนักกิจกรรมทางสังคมนานาชาติกว่า 200 คน ลงชื่อหนุนแก้ ม.112

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ศาสตร์ก็ขาดจากธรรม"

$
0
0

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ศาสตร์ก็ขาดจากธรรม"

"อ.วีระ" แนะคนโทรเข้ารายการ-ให้ค้นคว้าข้อมูลก่อนด่า "นิติราษฎร์"

$
0
0

เมื่อ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ในรายการ "คุยได้คุยดี Talk News & Music" ทางคลื่น 96.5 MHz อสมท. ดำเนินรายการโดยนายวีระ ธีระภัทรานนท์ หรือ "อาจารย์วีระ" ช่วงหนึ่งได้มีผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความเห็นในเชิงตำหนิและระบุว่าต้องการจะทำร้ายกลุ่มนิติราษฎร์

ทำให้นายวีระรีบตัดบท และถามผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาว่ารู้จักกลุ่มนิติราษฎร์หรือไม่ว่าสมาชิกประกอบด้วยใคร และถามด้วยว่ารู้ข้อความในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือไม่ และยังแนะนำให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลจะได้มีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึก ก่อนวางสาย โดยท้ายรายการนายวีระระบุด้วยว่าการเคลื่อนไหวแก้ไขมาตรา 112 อยู่ในประมวลกฎหมายอาญาไม่ใช่รัฐธรรมนูญ และประมวลกฎหมายอาญามาตราดังกล่าวเคยมีการแก้ไขมาแล้วในปี 2519

สำหรับรายละเอียดการสนทนาระหว่างนายวีระกับผู้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้

ที่มา: MrDejavu750/Youtube

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"กนก รัตน์วงศ์สกุล" ถอนตัวร่วมยื่นหนังสือค้านนิติราษฎร์

$
0
0

เผยได้รับคำเตือนจากผู้ใหญ่ พร้อมระบุไม่อยากเป็นสายล่อฟ้า และโพสต์ยกย่องผู้ที่จะไปยื่นหนังสือวันนี้ว่าได้แสดงออกถึงเสรีภาพการแสดงความเห็นอย่างแท้จริง ที่มิใช่ใช้เสรีภาพแสดงความเห็น ภายใต้เสรีภาพทางวิชาการ แล้วลากต่อด้วยการรณรงค์เพื่อหวังผลทางการเมือง

จากกรณีที่กลุ่ม "วารสารฯ ต้านนิติราษฎร์" เตรียมประกาศเจตนารมณ์ที่หน้าคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 14.00 น. วันที่ 2 ก.พ. และจะเดินขบวนแสดงพลังเพื่อประกาศเจตนารมณ์ไม่เห็นด้วยกับคณะนิติราษฎร์ที่ลานปรีดีฯ หลังจากนั้นจะยื่นหนังสือต่ออธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ตึกโดม และปิดท้ายด้วยการร้องเพลงถวายพระพรฯ หันหน้าไปยังฝั่ง รพ.ศิริราช นั้น

ส่วนกรณีที่นายกนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกรข่าวและในฐานะศิษย์เก่าคณะวารสารฯมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเดิมมีชื่อจะเข้าร่วมยื่นหนังสือต่ออธิการบดี มธ. เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฏร์นั้น ล่าสุด วอยซ์ทีวี รายงานว่านายกนกได้ตัดสินใจที่จะไม่ไปร่วม เนื่องจากได้รับคำเตือนจาก "ผู้ใหญ่" และเหตุผลสำคัญคือไม่อยากนำตัวเองเป็นสายล่อฟ้า อย่างไรก็ตามถึงแม้ตนจะไม่ได้เข้าร่วมแต่ไม่ได้ส่งผลอะไร เพราะได้มีการประชุมไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนการยื่นหนังสือจะมีบุคคลท่านอื่นไปยื่นต่ออธิบดี มธ.แทน

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เคยส่งจดหมายเปิดผนึกชี้แจงสื่อมวลชน โดยระบุเช่นกันว่าถูกขอร้องโดย "ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ" ในการลงนามสนับสนุน การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ขณะเดียวกัน นายกนก ยังได้โพสต์แสดงความเห็นในเฟซบุคด้วยว่า "ผมขอคารวะทุกๆ ท่านที่ไปร่วมแสดงออกกับ ชาวคณะ "วารสารฯต้านนิติราษฎร์" ไม่ว่าท่านจะมาจากคณะอื่น สถาบันอื่น หรือเป็นพลเมืองธรรมดา ท่านได้แสดงออกถึงเสรีภาพการแสดงความเห็นอย่างแท้จริง ที่มิใช่..ใช้เสรีภาพแสดงความเห็น ภายใต้เสรีภาพทางวิชาการ แล้วลากต่อด้วยการรณรงค์เพื่อหวังผลทางการเมือง ผมถือว่าทุกท่านที่ไปร่วมยื่นหนังสือวันนี้เป็นผู้กล้าตัวจริง ตัวผมเองที่ไม่ได้ไป..เทียบไม่ได้กับทุกท่าน ส่วนท่านที่ไม่ได้ไปแต่เป็นแนวร่วมที่เพจนี้ หรือที่ไหนก็ตาม ผมขอกด Like ให้ที่ใจเลยครับ ..ขอตั้งใจไหว้งามๆ..แล้วก้มหัวให้ _/|\_"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายนศ.ใต้ชุมนุมประณามเหตุยิงชาวบ้าน 4 ศพ

$
0
0

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 55 ราว 14.00 น. ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษา ประกอบด้วยเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.) สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ได้ชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อประณามการกระทำของทหารพรานในกรณีเหตุการณ์ยิงชาวบ้านเสียชีวิต 4 ราย

DSC_0086

DSC_0092



แถลงการณ์ประณาม

 

กรณีทหารพรานยิงรถกระบะชาวบ้านด้วยอาวุธสงครามขณะเดินทางไปประกอบพิธีละหมาดศพ

จากเหตุการณ์ที่ทหารพรานยิงรถกระบะชาวบ้านด้วยอาวุธสงครามจนเป็นรูพรุน ขณะเดินทางไปประกอบพิธีละหมาดศพ เมื่อกลางดึกวันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2555 ที่ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 4 ราย คือ

1.นายสาหะ สาแม อายุ 67 ปี

2.นายอิสมัน ดือราแม อายุ 55 ปี

3.นายรอปา บือราเฮง อายุ 18 ปี

4.นายหามะ สะนิ         อายุ 56 ปี

 

นอกจากนั้น ยังพบผู้ได้บาดเจ็บ 4 ราย คือ

1.นายมะแอ ดอเลาะ    อายุ 74 ปี

2.นายซอบรี บือราเฮง อายุ 20 ปี

3.นายมะลูดิง แวกาจิ    อายุ 15 ปี

4.นายยา ดือราแม       อายุ 58 ปี

ส่วนอีกรายที่อยู่ในเหตุการณ์แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ คือ นายอับดุลเลาะ (สงวนนามสกุล) อายุ 15 ปี

 

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทางเจ้าหน้าที่รายงานว่าได้มีการโจมตีฐานปฏิบัติการทหารพรานที่ 4302 ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านน้ำดำ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก และทางเจ้าหน้าที่ได้ออกไปสกัดกั้นผู้ก่อเหตุดังกล่าว จากนั้นได้เจอกับรถยนต์ของชาวบ้านที่กำลังเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อ้างว่ามีเสียงปืนปริศนาดังขึ้นมาจากข้างรถก่อน จึงได้ทำการระดมยิงด้วยอาวุธสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว อย่างไรก็ตามจากข้ออ้างของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวยังไม่ได้มีรายงานความสูญเสียจากฝ่ายของเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด หากเกิดการปะทะจริง ถึงแม้จะเป็นไปตามข้อมูลที่ทางเจ้าหน้าที่ให้นั้น ก็ยังเป็นการกระทำที่เกินเหตุและไร้ความปรานีหากจะตอบโต้เสียงปืนปริศนาด้วยการระดมยิงรถยนต์ของชาวบ้านในลักษณะดังกล่าว ยิ่งไปกว่านี้จากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ก็ได้มีการเคลื่อนไหวของนายทหารระดับสูงหรือแม้กระทั่งจากฝ่ายรัฐบาลที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ นานาเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้น แต่ก็น่าแปลกใจยิ่งขึ้นเมื่อปรากฎว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ใช่แค่ไม่ช่วยคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น แต่กลับตอกย้ำที่บาดแผลของชาวบ้านที่สูญเสียโดยการใส่ร้ายอย่างไม่มีวุฒิภาวะว่าชาวบ้านกลุ่มนั้นคือโจรและเหตุผลที่ชาวบ้านให้ว่ากำลังเดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาก็เป็นแค่ข้ออ้าง”.... นี่ยังไม่นับว่าการเกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวถือเป็นครั้งที่สองแล้วที่เกิดขึ้นในพื้นที่เดียวกัน จากครั้งแรกที่ผู้สูญเสียเป็นวัยรุ่นสองคน ซึ่งก็ยังไม่ได้รับการแยแสและใยดีจากหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่อย่างใด มาวันนี้พื้นที่เดิม และหน่วยงานเดิมก็ก่อเรื่องขึ้นมาอีก...       

 

ดังนั้นทางเครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) และองค์กรภาคีจึงขอประนามการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ทหารพราน ที่ไม่รอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุและไร้ความปรานี ตลอดจนเรียกร้องในนายทหารชั้นผู้ใหญ่รวมถึงฝ่ายการเมืองให้มีการเรียนรู้มากกว่านี้ในการออกมาเคลื่อนใหว อย่างน้อยให้มันเกิดประโยชน์กับประชาชนที่สูญเสียบ้าง ไม่ใช่คิดแต่จะปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญพื้นที่ และหน่วยงานเดียวกันนี้...เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้วครับท่าน

         

ด้วยจิตรักสันติ

เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.)

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สนน.จชต.)

สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.)

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วีระ ธีระภัทรานนท์

$
0
0

"คุณอยากรู้ คุณก็ไปหาความรู้สิครับ คุณจะมานั่งคิดเอาเองทำไม ถ้าคุณไม่แสวงหาข้อเท็จจริง แล้วคุณจะมีพื้นฐานในการแสดงความรู้สึกหรือ เดี๋ยวคุณฟันคอผิดคนนะ"

"อ.วีระ" แนะคนโทรเข้ารายการ-ให้ค้นคว้าข้อมูลก่อนด่า "นิติราษฎร์", 2 ก.พ. 2555

"เฉลิม"ไล่นักวิชาการต่างชาติ 224 คนหนุนแก้ม.112 ให้ไปแก้ที่ประเทศตัวเอง

$
0
0

 2 ก.พ. 55 - สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจรายงานว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการนานาชาติได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า ตนและพรรคเพื่อไทยยังยืนยันในจุดยืนเดิมคือไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขมาตราดังกล่าว ใครเห็นด้วยก็ให้ไปแก้ที่ประเทศของตัวเอง ทั้งนี้ การที่นักวิชาการต่างประเทศแสดงความเห็นนั้นถือเป็นเรื่องส่วนตัว และใครจะว่าอะไรนั้นก็คงไม่สามารถไปห้ามได้

ส่วนกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า มีกลุ่มคนจ้องล้มรัฐบาลโดยหยิบยกประเด็นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้นั้น ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า การติดตามทางลับนั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ยอมรับว่ามีการมอบหมายให้ตนเองดูในเรื่องดังกล่าว ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ยังไม่พัฒนา อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่นั้นประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขมาตราดังกล่าว

สำหรับกรณีที่มีการนำคลิปเก่าซึ่งนายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่มนปช.ได้สนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 นั้น ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า ตนไม่ขอแสดงความเห็นข้ามฟาก เดี๋ยวจะทะเลาะกัน แต่เรื่องนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย รวมทั้งตนนั้นได้พูดชัดเจนแล้วว่า จะไม่มีการแก้ไขมาตรา 112

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แฟนบอลจลาจลเดือดตาย 74 ย้อนสำรวจพบวัฒนธรรมแฟนบอลอียิปต์รุนแรงบ่อยครั้ง

$
0
0

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 74 คน และบาดเจ็บร่วม 1,000 คน ในเหตุการณ์ที่แฟนฟุตบอลก่อจลาจลและปะทะกันหลังการแข่งขันระหว่างทีมอัล-มาสรี กับ อัล-อาห์ลี นักการเมืองโยงอาจเป็นฝีมือ “ขั้วอำนาจเก่า” อยู่เบื้องหลัง พบวัฒนธรรมแฟนบอลอียิปต์รุนแรงบ่อยครั้ง

 

 ที่มาภาพ: Telegraph.co.uk

 



 

 

2 ก.พ. 55 – สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 74 คน และบาดเจ็บร่วมพันคน ในเหตุการณ์ที่แฟนฟุตบอลก่อจลาจลและปะทะกันหลังการแข่งขันระหว่างทีมอัล-มาสรี (Al-Masry) กับ อัล-อาห์ลี (Al-Ahly)

โดยแฟนบอลได้กรูลงไปในสนามแข่งขันที่เมืองพอร์ต ซาอิด (Port Said) เมืองท่าติดชายทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (1 ก.พ.) หลังจาก อัล-มาสรี เอาชนะทีมเยือนอย่าง อัล-อาห์ลี ไปด้วยสกอร์ 3-1 ทั้งนี้อัล-อาห์ลี ทีมจากเมืองหลวงอย่างกรุงไคโร (Cairo) เป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับความนิยมสูงสุดของอียิปต์ โดยในรายงานข่าวระบุว่าแฟนบอลทั้งสองฝ่ายได้ปะทะกัน และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากขาดอากาศหายใจ-มีบาดแผลที่ศีรษะ ขณะที่ตำรวจปราบจลาจลไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้

โยงเบื้องหลังอาจเป็น “ขั้วอำนาจเก่า” - ระดมทหารเข้าสู่ท่าเรือพอร์ท ซาอิด ป้องกันเหตุบานปลาย

ด้านอาเมียร์ ฮัมซาวีย์ (Amr Hamzawy) ส.ส. พรรคเสรีนิยม ได้เรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, รัฐบาล และหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของสนามพอร์ต ซาอิด มีการสอบสวนในเรื่องนี้ว่าอาจจะมีลับลมคมใน เพราะว่าในวันนี้ (2 ก.พ.) จะเป็นวันครบรอบหนึ่งปีที่มีการประท้วงโดยกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค (Hosni Mubarak) ที่ได้รวมตัวกันออกมาปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านบริเวณจัตุรัสทาห์รีร์ (Tahrir Square) กลางกรุงไคโร เพื่อพยายามต่อชีวิตทางการเมืองของมูบารัคในช่วงวิกฤตเมื่อปีที่แล้ว

ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่าอียิปต์ได้ระดมทหารเข้าสู่เมืองพอร์ท ซาอิด ในวันนี้ (2 ก.พ.) ทันที โดยนายพลโมฮัมเหม็ด ฮุสเซน ทันทาวี (Mohamed Hussein Tantawi) ประธานสภากลาโหมของอียิปต์ ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐบาลทหารอียิปต์ในปัจจุบัน เปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ในอียิปต์ในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่ากำลังมีการสืบสวนหาตัวผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการก่อความรุนแรงในครั้งนี้ โดยเหยื่อในเหตุการณ์นี้ทั้งหมดจะได้รับการเยียวยาชดเชย

ต่อมาทันทาวีได้ให้การต้อนรับนักเตะทีมอัล-อาห์ลี สู่กรุงไคโรแล้ว และกล่าวว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ พร้อมกับประกาศให้มีการไว้อาลัยทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ส่วนบรรยากาศหลังโศกนาฏกรรม ประชาชนในเมืองพอร์ต ซาอิดและในอีกหลายแห่งยังคงประณามเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น และมีการประท้วงการทำงานของตำรวจซึ่งพวกเขามองว่าล้มเหลวในการควบคุมฝูงชน

วัฒนธรรมแฟนบอลกับการเมืองในอียิปต์

อียิปต์เป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมการเชียร์กีฬาฟุตบอลรุนแรงและเข้มข้นแห่งหนึ่ง กลุ่มแฟนบอลฮาร์ดคอร์ที่เรียกว่า “อุลตร้าส์” (ULtras) ที่เป็นวัฒนธรรมการรวมตัวเพื่อเชียร์ฟุตบอลที่มีแพร่หลายทั่วโลกและแตกต่างกันไปแล้วแต่วัฒนธรรมถิ่นนั้น ก็แพร่ขยายมาถึงอียิปต์ โดยกลุ่มแฟนบอลของทีมอัล-อาห์ลี นั้นมีฉายาว่า “อุลตร้าส์-อาห์ลาวี” (Ultras Ahlawy) ที่มีบทบาทสำคัญในการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในยุคของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 แฟนบอลอียิปต์และอัลจีเรียปะทะกันในเกมคัดเลือกบอลโลกปี 2010 โดยทางการอัลจีเรีย เปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 คน และบาดเจ็บอีก 312 คน จากอุบัติเหตุตามท้องถนน ระหว่างการฉลองชัยชนะ หลังจากนักฟุตบอลทีมชาติอัลจีเรียชนะอียิปต์ 1-0 และผ่านเข้ารอบไปได้

หลังความพ่ายแพ้กลุ่มแฟนบอลเลือดร้อนชาวอียิปต์ที่ก่อเหตุประท้วงบริเวณสถานทูตอัลจีเรียในกรุงไคโรทันที กลุ่มผู้ประท้วงได้เผาทำลายธงชาติอัลจีเรีย พร้อมกับทำลายรถยนต์และร้านค้าที่อยู่โดยรอบสถานทูตอัลจีเรีย นอกจากนั้นยังได้เข้ายึดรถยนต์ของตำรวจ และขว้างระเบิดมือเข้าใส่ตำรวจที่ปฏิบัติภารกิจป้องกันสถานทูต จนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วง 

ต่อมาทั้งสองฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าอีกฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้จุดชนวน ความรุนแรงนี้ได้เลยเถิดไปจนรัฐบาลอียิปต์สั่งถอนทูตออกจากอัลจีเรียในที่สุด

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011  ทีมฟุตบอลสหรัฐอเมริกา ยกเลิกแมตช์กระชับมิตรกับอียิปต์ ที่กรุงไคโร โดยสหพันธ์ฟุตบอลสหรัฐอเมริกาให้เหตุผลว่าเป็นเพราะมีสถานการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นภายในประเทศอียิปต์ จากเหตุการณ์ที่ประชาชนก่อจลาจลรวมตัวประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีมูบารัค

เดือนเมษายน ค.ศ. 2011 ในเกมการแข่งขันชิงแชมป์สโมสรทวีปแอฟริการอบ 32 ทีมสุดท้าย เลกที่ 2 ระหว่างทีมซามาเล็ค (Zamalek) จากอียิปต์ กับ คลับ แอฟริเคน (Club Africain) จากตูนีเซีย ซึ่งในเกมนี้ซามาเล็ค ขึ้นนำทีมจากตูนีเซีย 2-1 แต่ผลประตูรวมยังคงตามหลังอยู่ 4-5 โดยระหว่างการแข่งขันผู้ตัดสินชาวอัลจีเรียไม่ได้ตัดสินให้ลูกยิงของซามาเล็ค เป็นประตูที่ 3 ในเกมนี้ โดยตัดสินให้เป็นลูกล้ำหน้า สร้างความไม่พอใจให้กับแฟนบอลของสโมสรเป็นอย่างมาก จนในช่วงต่อเวลาแฟนบอลของซามาเล็คหลายร้อยคนได้บุกเข้ามาในสนาม (แฟนบอลฮาร์ดคอร์ของซามาเล็คมีฉายาว่า กลุ่มอุลตร้าส์ ไวท์ ไนท์: Ultras White Knights)

เดือนกันยายน ค.ศ.2011 กลุ่มแฟนบอลของทีมอัล-อาห์ลี ได้ปะทะกับตำรวจปราบจลาจลซึ่งดูแลความปลอดภัย หลังจากที่บรรดาแฟนบอลได้ตะโกนด่าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจและนายฮาบิบ เอล-แอดลี (Habib el-Adly) อดีตรัฐมนตรีมหาดไทยในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลรายการอียิปต์คัพ ระหว่างอัล-อาห์ลี กับ คิมา อัสวาน (Kima Aswan)

โดยครั้งนั้นกระทรวงมหาดไทยของอียิปต์กล่าวในแถลงการณ์ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกยั่วยุจากแฟนบอล ซึ่งด่าทอเจ้าหน้าที่ตำรวจและทำลายเก้าอี้ของสนามกีฬา พร้อมทั้งโยนระเบิดเพลิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำให้ต้องใช้กำลังเข้าปราบปรามเพื่อระงับเหตุรุนแรงดังกล่าว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คุยจัดหนักแบบรายเดือน โดยนักข่าวอาวุโส ใน "CORE Respondence"

$
0
0

เตรียมพบรายการใหม่ของ prachatai.com

คุยจัดหนักแบบรายเดือน โดยนักข่าวอาวุโส ใน "CORE Respondence"

ประเดิมจอ กับ ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ตั้งคำถามหนักๆ กับ โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความกลุ่มคนเสื้อแดง

พบกัน 6 ก.พ.2555 นี้

CORE respondence

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ดีเอสไอเตรียมเรียกพันเอกผู้กล่าวหาบุคคลในแผนผังล้มเจ้าให้การเพิ่ม

$
0
0
ดีเอสไอจะเริ่มทยอยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคําเพิ่มเติม รายแรก "พ.อ.วิจารณ์ จดแตง" ทหารสังกัด กอ.รมน. เพราะเป็นผู้กล่าวหาบุคคลทั้ง 39 รายในแผนผัง
 
2 ก.พ. 55 - เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ หรือคดีล้มเจ้าตามแผนผังของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับอัยการคดีพิเศษว่า ที่ประชุมมีมติให้ดีเอสไอทำหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องในการจัดทําแผนผังล้มเจ้า มาให้ปากคํากับพนักงานสอบสวน เพื่อให้ชี้แจงรายละเอียดกลุ่มบุคคลทั้ง 39 รายในแผนผัง ว่าแต่ละรายมีพฤติกรรมกระทําผิดอย่างไร สถานที่ใด เพราะขณะนี้มีแต่รายชื่อ แต่ไม่มีรายละเอียด จึงไม่สามารถดําเนินการต่อได้ 
 
รองอธิบดีดีเอสไอกล่าวต่อว่า ดีเอสไอจะเริ่มทยอยส่งหนังสือเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ปากคําเพิ่มเติม โดยรายแรกคือ พ.อ.วิจารณ์ จดแตง ทหารสังกัดกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เพราะเป็นผู้กล่าวหาบุคคลทั้ง 39 รายในแผนผัง โดยนัดมาพบวันที่ 14 ก.พ. จากนั้นจะเชิญพ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก และอดีตโฆษกศอฉ.เป็นรายต่อไป ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีตผอ.ศอฉ.นั้น คงไม่เรียกในช่วงนี้ เพราะต้องดูคําให้การของพ.อ.วิจารณ์ และพ.อ.สรรเสริญ ก่อนว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ หรือพาดพิงถึงใครหรือไม่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กลุ่มภราดรภาพมุสลิมปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงทหารในอียิปต์

$
0
0

 ขณะที่กลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลทหารในอียิปต์กำลังเดินขบวนไปยังอาคารรัฐสภา กลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนพรรคเสียงข้างมากในสภาฯ ก็มาขวางทาง จนเกิดการปะทะกันมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 71 ราย

31 ม.ค. 2012 - สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลทหารกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมที่เป็นกลุ่มสนับสนุนพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภาอียิปต์ขณะนี้

การปะทะกันดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารหลายร้อยคนเดินขบวนไปยังอาคารรัฐสภา แต่ก็ถูกกลุ่มภราดรภาพมุสลิมมาขวางทางไม่ให้เข้าถึงอาคาร ซึ่งทางรัฐมนตรีผู้ช่วยกระทรวงสาะารณสุขเปิดเผยว่ามีประชาชนบาดเจ็บจากเหตุการณ์ปะทะดังกล่าว 71 ราย

"พวกเรามาที่นี่เพื่อเป็นโล่มนุษย์ เพราะหากผู้ประท้วงไปไกลกว่านี้ พวกเขาจะปะทะกับตำรวจ พวกเขาอยากบุกเข้าไปในรัฐสภา คุณจะให้เราทำอย่างไรล่ะ" ฮัมดี อับเดลซาหมัด หนึ่งในสมาชิกภราดรภาพมุสลิมกล่าว

กลุ่มประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารได้ตะโกนคำขวัญต่อว่าสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (SCAF) ซึ่งขึ้นมามีอำนาจหลังจากที่อดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ถูกโค่นล้มโดยประชาชนเมื่อปีที่แล้ว (2011

กลุ่มนักกิจกรรมได้บอกให้ผู้ชุมนุมเดินขบวนจากจัตุรัสทาห์เรีย สัญลักษณ์ของการลุกฮือโดยชาวอียิปต์ ไปยังอาคารรัฐสภาเพื่อกดดันให้ส.ส. ใหม่ที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งปฏิบัติตามเป้าหมายของการปฏิวัติ

ผู้ประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลทหารสละอำนาจ หยุดการดำเนินคดีพลเรือนโดยใช้ศาลทหาร เปลี่ยนโครงสร้างกระทรวงมหาดไทย และให้คำมั่นเรื่องเสรีภาพแบะความยุติธรรมในสังคม

ผู้ประท้วงบอกว่ามีแต่สภาที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนหลังการปฏิวัติเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกรักษาการประธานาธิบดีขึ้นมาทำงานแทนก่อนที่จะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือไม่เช่นนั้นก็ควรกดดันให้มีการเลือกตั้งก่อนหน้าโดยที่ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบได้

"พวกเราต้องการจากท่านจอมพล (จอมพล ฮุสเซน ทันทาวี หัวหน้าสภาทหาร) เท่านี้แหละ" ผู้ประท้วงคนหนึ่งกล่าว "เขาควรจะส่งผ่านอำนาจต่อเพื่อที่พวกเราจะได้เป็นประเทศอารยะ"

 

กลุ่มอิสลามถูกกล่าวหาว่าสมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลทหาร

กลุ่มศาสนาอิสลามและผู้ประท้วงฝ่ายฆราวาสต่างก็ยืนประท้วงเคียงข้างกันเวลาที่มีการประท้วงที่จัตุรัสทาห์เรียในช่วงต้นปี 2011 ที่ผ่านมา จนกระทั่งการประท้วงเป็นเวลา 18 วัน สามารถโค่นล้มมูบารัคได้ในที่สุ

ความตึงเครียดระหว่างสองกลุ่มนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่การเลือกตั้ง ส.ส. ทำให้พรรค Freedom and Justice ของที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้คะแนนเสียงข้างมาก และตอนนี้ก็คุมเก้าอี้ในสภาอยู่ร้อยละ 47

กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายฆราวาสกล่าวหาว่าฝ่ายอิสลามสมรู้ร่วมคิดกับผู้นำทหารเพื่อคงอำนาจใหม่ที่ตนได้รับไว้

"บาดี คุณกำลังฉวยโอกาสขายการปฏิวัติของพวกเรา" กลุ่มผู้ประท้วงตะโกน พวกเขาหมายถึง โมฮัมเม็ด บาดี แกนนำกลุ่มเคลื่อนไหวของอิสลาม

"กลุ่มเยาวชนของภราดรภาพมุสลิมปิดกั้นถนนทางไปสภาทุกทาง เพื่อกันฝ่ายผู้ประท้วงต่อต้านทหาร ... มีอยู่จำนวนมากที่ยืนเรียงต่อแถวกันราวทหารอาสาสมัคร" ผู้ประท้วงต่อต้านทหารรายหนึ่งกล่าว ซึ่งมีการวางกำลังตำรวจปราบจลาจลอยู่รอบอาคารรัฐสภาในช่วงที่มีการประชุมสภาในวันนี้ด้วย

ซึ่งไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นผู้ประท้วงก็พากันเลิกล้มความตั้งใจที่จะไปถึงรัฐสภา และเคลื่อนขบวนไปยังสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลในเขตมาสปีโรแทน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แพทย์สหรัฐฯ เสนอน้ำตาลควรถูกปฏิบัติอย่างสารพิษ

$
0
0

แพทย์จากสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์ UCSF เสนอว่าควรมีการจำกัดการบริโภคน้ำตาลเทียบเท่ากับแอลกอฮอล์และยาสูบ และมีการเก็บภาษีการบริโภคเพิ่ม ด้านนักเศรษฐศาสตร์ค้านไม่คิดว่าได้ผล หากจะเก็บควรเก็บภาษีตัวสารให้ความหวานแทน

1 ก.พ. 2012 - คอลัมนิสต์ คริสโตเฟอร์ วานเจก จากเว็บไซต์ Livescience นำเสนอความเห็นจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซาน ฟรานซิสโก (UCSF) ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ซึ่งเปิดเผยว่าน้ำตาลเป็นพิษต่อร่างกายของมนุษย์ และควรมีการควบคุมจากรัฐบาลประเทศต่างๆ อย่างเข้มงวดเท่าแอลกอฮอล์

นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวยังได้เสนอให้มีการควบคุมเช่นการเก็บภาษีอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพิ่ม งดไม่ให้จำหน่ายในหรือใกล้เคียงบริเวณโรงเรียน และมีการกำหนดอายุผู้ซื้อ โดยกลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้ได้อ้างงานวิจัยและสถิติหลายชิ้นว่าน้ำตาลซูโครส หรือน้ำตาลที่มีส่วนผสมของน้ำตาลกลูโคสกับฟรุคโตสเช่นในน้ำเชื่อมข้าวโพดและในน้ำตาลที่ใช้ทั่วไปในครัวเรือน เป็นอันตรายเทียบเท่ายาสูบและแอลกอฮอล์

ผู้เขียนรายงานลงในวารสาร Nature ยังได้ระบุถึงปัญหาสุขภาพในสหรัฐฯ ว่ามีสองในสามของประชากรน้ำหนักเกินมาตรฐาน ครึ่งหนึ่งเป็นโรคอ้วน ร้อยละ 75 ของเงินประกันสุขภาพถูกใช้ไปกับการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบอาหาร และในทุกวันนี้มีการนำน้ำตาลเจือปนมาเป็นส่วนผสมในอาหารอย่างโซดาหรือซุป ทำให้ชาวอเมริกันบริโภคแคลอรี่จากน้ำตาลเจือปนมากกว่า 600 แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำตาล 40 ช้อน

นักวิจัยหลายคนถึงขั้นมองว่าน้ำตาลเป็นสารเคมีเป็นพิษ หมายความว่าขณะที่น้ำตาลกลูโคสจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (complex carbohydrates) เช่นในธัญพืช เป็นน้ำตาลที่ปลอดภัยสำหรับการเผาผลาญอาหารโดยเซลล์ผ่านไปทั่วร่างกาย แต่น้ำตาลฟรุกโตสเป็นสารน้ำตาลที่มีการเผาผลาญโดยตับ ปัญหาจึงเกิดจากที่ว่าน้ำตาลมีส่วนทำให้เกิดโรคตับ และอาจทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมาด้วย

แม้ว่านักวิจัยจะได้ทดลองพบว่าน้ำตาลเจือปนทำให้เกิดความเสียหายโดนตรงในตับของหนูทดลอง แต่นักวิจัยอีกบางส่วนก็ยังไม่แน่ใจว่าน้ำตาลจะส่งร้ายต่อร่างกายคนเราจริงหรือไม่ ถ้าได้รับในปริมาณที่เท่ากัน

ลุสติก แพทย์จากสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ซาน ฟรานซิสโก (UCSF) เปรียบเทียบน้ำตาลเจือปนกับใบยาสูบ และแอลกอฮอล์ ในแง่ที่ว่ามันสามารถเสพย์ติด, เป็นพิษต่อร่างการ และส่งผลด้านลบต่อสังคม ทำให้ลุสติกเรียกร้องให้มีการเก็บภาษีการบริโภคจากสินค้าที่มีน้ำตาลเจือปน

นอกจากนี้ลุสติกยังได้มีข้อเสนอในเชิงถอนรากถอนโคน เช่น การสั่งห้ามขายเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 17 ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมที่มีน้ำตาลบริเวณรอบโรงเรียน และในย่านคนรายได้ต่ำที่มักจะมีปัญหาโรคอ้วน

อย่างไรก็ตามมีนักเศรษฐศาสตร์โต้แย้งว่าการใช้วิธีเก็บภาษีการบริโภคเช่นภาษีโซดาที่มีการเสนอใช้ในหลายรัฐในสหรัฐฯ อาจไม่ได้ผลมากนักในแง่การควบคุมการบริโภคน้ำตาล กลุ่มนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐไอโอวานำโดย จอห์น เบกิน เสนอให้มีการเก็บภาษีตัวสารให้ความหวานในระดับการผลิต ไม่ใช่ในระดับผลิตภัณฑ์สำเร็จที่มีน้ำตาล

คริสโตเฟอร์ วานเจก เขียนในคอลัมน์ว่าข้อเสนอนี้มีการนำเสนอเมื่อปีที่ผ่านมา (2011) ในวารสารนโยบายเศรษฐศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตลดจำนวนการใช้น้ำตาลในผลิตภัณฑ์ลง เช่นที่มีการใช้น้ำเชื่อมข้าวโพดเป็นจำนวนมากในอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากมันราคาถูกและใช้ทดแทนส่วนผสมคุณภาพสูงกว่าได้

อย่างไรก็ตามมีนักวิจัยบางส่วนที่แย้งว่า สิ่งที่ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคภัยเรื้อรังไม่ได้มาจากน้ำตาล แต่มาจากไขมันอิ่มตัว หรือบ้างก็ว่ามาจากกระบวนการผลิตอาหารที่ใช้คาร์โบไฮเดรตง่ายๆ มาผ่านการผลิตซับซ้อน บ้างก็ว่าเป็นแค่เรื่องการขาดการออกกำลังกาย

 

ที่มา

Sugar Should Be Regulated As Toxin, Researchers Say, Livescience, 01-02-2012
http://www.livescience.com/18244-sugar-toxic-regulations.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คัดค้านการสร้างเขื่อนกั้นน้ำถาวรป้องกันน้ำท่วม

$
0
0

ตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ทำการสนับสนุนให้ธนาคารออมสิน เป็นผู้ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสุด 0.01 % เป็นเวลากว่า 10 ปีวงเงินกว่า 15,000 ล้านบาทให้กับผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมทั้งหลายในพื้นที่ที่อยู่ในแนวเส้นทางน้ำผ่านหรือ Floodways กู้ไปดำเนินการก่อสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวรขึ้น (Levees and Floodwalls) ล้อมรอบนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ถูกน้ำท่วมหรือมีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า มาร่วมกันวางแผนให้คำปรึกษาในการสร้างเขื่อนตามนิคมฯต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน อีกทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ก็ให้การสนับสนุนอย่างต็มที่โดยอ้างว่าได้มีการประชุมร่วมกันกับรองนายกรัฐมนตรี และได้ข้อสรุปว่ารัฐบาลจะมีการตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือนิคมอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ตั้งแต่การปล่อยกู้ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับสูบน้ำ และการกู้เพื่อสร้างผนังกั้นน้ำถาวร ดังตัวอย่างโมเดลของเนเธอร์แลนด์ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แต่สามารถอยู่ได้ ซึ่งสภาอุตสาหกรรมเห็นชอบด้วยเต็มที่  ความดังทราบแล้วนั้น

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ขอคัดค้านนโยบายและการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้เพราะข้อเสนอของรัฐบาลและเอกชนดังกล่าว ไม่เคยมีใครหรือหน่วยงานใดเลยที่จะออกมาพูดถึงผลลบหรือผลกระทบอย่างรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวรดังกล่าว หรือแม้แต่ข้อเสนอแนะทางออกหรือลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนั้น ๆ ว่าจะลดผลกระทบที่จะต้องเกิดขึ้นกับพวกเขามากขึ้นอย่างไร ก็ไม่มีหน่วยงานใดสนใจ ทุกคนทุกหน่วยงานมุ่งแต่จะเอาอกเอาใจผู้ประกอบการนักลงทุน ดุจดังพระเจ้าที่จะต้องกราบคลานเอื้อประโยชน์ให้ทุกอย่างตามที่เรียกร้อง โดยชุมชนชาวบ้านรอบนิคมอุตสาหกรรมจะฉิบหายอย่างไร ชั่งหัวมัน

การสร้างเขื่อนหรือพนังกั้นน้ำถาวรอาจทำให้ระดับน้ำท่วมสูงขึ้นในชุมชนรอบข้าง และสร้างความเสียหายให้พื้นที่หลายแห่งโดยรอบที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งรัฐบาลและผู้ประกอบการไม่เคยที่จะไปทำความเข้าใจและหาทางวางแผนไม่ให้ผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน หรือไม่มีการกำหนดมาตรการชดเชย เยียวยาที่เหมาะสม เสียก่อนที่จะวางแผนหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว หรือไม่มีมาตรการการแก้ไขปัญหาน้ำหลากอย่างเบ็ดเสร็จแล้วเสียก่อน นอกจากนั้นยังไม่มีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการจำกัดขอบเขตการไหลของน้ำยังทำให้ลักษณะการไหลของน้ำหลากเกิดการเปลี่ยนแปลง  เช่น ระดับน้ำสูงขึ้น ความเร็วและอัตราการไหลเพิ่มขึ้น ความรุนแรงของคลื่นเปลี่ยนแปลงและเวลาเดินทางของน้ำเพิ่มขึ้น รวมทั้งส่งผลด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์  รวมทั้งลักษณะภูมิประเทศเดิมที่มีอยู่ ปัญหาเหล่านี้ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐบาล ไม่ได้คิดหาคำตอบก่อนที่จะสนับสนุนการสร้างเขื่อนกั้นน้ำหรือผนังกั้นน้ำถาวรเลย

ทั้งนี้ รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกำลังแก้ปัญหาโดยมีมุมมองเพียงด้านเดียวในการบริหารจัดการในการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอนาคต ขาดบริบทของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อย่างจงใจ ดูเหมือนจะเป็นการท้าทายกฎหมายแม่บทของชาติ นั่นคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 30 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 66 และมาตรา 67 อย่างเจตนา

ปัญหาน้ำท่วมใน 7 นิคมอุตสาหกรรมของภาคกลาง เป็นที่น่าเห็นใจผู้ประกอบการทั้งเจ้าของนิคมฯ และผู้ประกอบการโรงงานในนิคมต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะต่างได้รับความเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วมดังกล่าวกันอย่างทั่วหน้า แต่ทว่าต้องไม่ลืมว่าผู้ประกอบการเหล่านั้นยินยอมถือความเสี่ยงกันเองทั้งสิ้น เพราะรู้ทั้งรู้ว่าพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นพื้นที่ลุ่มภาคกลางที่น้ำสามารถท่วมถึง และบางแห่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวทางน้ำไหลผ่านหรือ Floodways ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพเป็นมาแต่ครั้งโบราณกาล

ผู้ประกอบการและโรงงานต่าง ๆ เหล่านั้นยอมถือความเสี่ยง เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนทางธุรกิจที่มากกว่าพื้นที่อื่น ทั้งเรื่องราคาที่ดินที่ถูกกว่า มีระบบโลจิสติกส์ที่ดีกว่า ประหยัดการลงทุนมากกว่า โดยไม่สนใจเลยว่าจะต้องเสี่ยงกับการถูกน้ำท่วมอย่างแน่นอน แต่เมื่อยามเกิดปัญหาขึ้นกลับหนีเอาตัวรอด โดยการสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวรขึ้น ในลักษณะ “เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบชุมชน”

การออกมาขับเคลื่อนหรือดำเนินการสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวร เพื่อหวังปกป้องตนเอง หรืนิคมอุตสาหกรรมของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของชุมชนรอบข้างเลย จึงเป็นแนวคิดที่ผิดพลาด แม้นิคมอุตสาหกรรม หรือโรงงานจะถูกป้องกันอย่างแน่นหนาไม่ให้น้ำท่วมในอนาคต แต่หากโรงงานผลิตสินค้าออกมาได้ จะขนส่งออกไปอย่างไร รวมทั้งการขนส่งวัตถุดิบเข้า-ออกโรงงานจะทำอย่างไร รวมทั้งคนงานทั้งหลายที่มักมีบ้านพักอาศัยอยู่ในชุมชนรอบโรงงาน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมสูงรอบนิคมฯหรือโรงงาน จะสัญจรเดินทางเข้า-ออกโรงงานได้อย่างไร ปัญหาเหล่านี้เหมือนลิงแก้แห อย่างคิดแต่จะได้ เอาเปรียบสังคมฝ่ายเดียวเท่านั้นเป็นพอก็ได้แล้ว

การสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวรนั้น จะเกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงตามมามากมาย ทั้งผลกระทบจากการก่อสร้าง ผลกระทบจากการเบี่ยงเบนลำน้ำจากเส้นทางเดิม จะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น  ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง เกิดความเสียหายมากเมื่อน้ำล้นสันเขื่อนหรือกำแพงกั้นน้ำ ชาวบ้านหรือชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณเหนือและหรือโดยรอบเขื่อนอาจไม่ปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาอีกมากมายเหลือคณานับ

สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนจึงขอประกาศคัดค้านแนวคิด นโยบายและแผนการดำเนินการดังกล่าวของรัฐบาล โดยกระทรงการคลัง ธนาคารออมสิน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งและนิคมอื่น ๆ อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุผลทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายข้างต้น หากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดจะปกป้องนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวกันจริง เพื่อหวังเรียกความเชื่อมั่นการลงทุนแล้วละก็ มีทางเดียวเท่านั้นที่จะเป็นทางออกที่มีลักษณะ win-win คือ รัฐบาลต้องมีแผนหรือมาตรการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมเสียก่อนแล้วเท่านั้น โดยนำมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง ก่อนที่จะอนุมัติแผนงานหรือเงินทุนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไปดำเนินการก่อสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวร

แต่หากรัฐบาล กยน.และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังดื้อดึงหรือไม่สนใจคำทักท้วงนี้ ยังคงเดินหน้าสนับสนุนการสร้างเขื่อนหรือผนังกั้นน้ำถาวรต่อไป สมาคมฯและชาวบ้าน ชาวชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว คงไม่สามารถคงไม่สามารถหาทางออกอื่นใดได้ นอกจากการพึ่งอำนาจศาล ในการหาข้อยุติในการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลและเอกชนได้เท่านั้น

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานอยุธยา-คนงาน NEC ร้อง ก.แรงงาน แก้ปัญหาเลิกจ้างหลังน้ำลด

$
0
0

คนงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจากย่านนิคมฯ ในอยุธยาเกือบ 10 บริษัท สมทบกับคนงาน NEC จากนิคมฯ นวนคร ปทุมธานี ร้องกระทรวงแรงงาน ขอความช่วยเหลือถูกเลิกจ้าง-ไม่ได้ค่าชดเชย

เว็บไซต์วอยซ์เลเบอร์รายงานว่า วันนี้ (2ก.พ.55) คนงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมา จากย่านนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกือบ 10 บริษัท เดินทางมาร่วมสมทบกับคนงาน NEC จากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี เพื่อเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานเข้ามาช่วยเหลือให้ได้รับความเป็นธรรม โดยมีนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน มารับฟังปัญหา

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า การที่คนงานซึ่งได้รับผลกระทบต้องเดินทางมาถึงกระทรวงแรงงานในวันนี้เป็นเพราะว่าไม่สามารถหาความชัดเจนให้กับชีวิตตนเองได้ทั้งในระดับโรงงานและจังหวัด ปัญหาผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วมครั้งนี้ คนงานยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างจริงจัง และยังไม่เห็นมาตรการความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับปัญหาผลกระทบต่อชีวิตของคนงาน

นายชาลีกล่าวว่า เดือนนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการส่งเสียงเรียกร้องถึงความเป็นธรรม ซึ่งคงจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นในการจัดการน้ำของรัฐ เช่น กรณีของคนงาน NEC การย้ายฐานผลิตไปที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโก จังหวัดฉะเชิงเทรา และมีการเลิกจ้างคนงานเกือบ 3,000 คน ยังมีอีกหลายโรงงานที่กำลังศึกษาหาวิธีการที่จะเลิกจ้าง ซึ่งมีข่าวลือว่านายจ้างบางคนหาที่ปรึกษาเรื่องการเลิกจ้างอย่างไรไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และบางส่วนก็หลีกการเป็นข่าวใช้การเลิกจ้างแบบทยอยให้ออก

สิ่งที่น่าห่วงคือ คนงานที่ไม่มีสหภาพแรงงาน และไม่รู้สิทธิทางกฎหมายแรงงานกลุ่มนี้จะถูกละเมิด ถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับค่าชดเชย หรือให้เขียนใบลาออกเพื่อไปใช้ประกันสังคมกรณีว่างงาน ตรงนี้ทำให้คนงานต้องจำทนรับเงินทดแทนเพียงร้อยละ 30 เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งอาจดีกว่ารอโรงงานเปิด เพราะนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ กระทรวงแรงงานต้องทำงานเชิงรุก ต้องเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ ขอเจรจากับนายจ้างเพื่อดูทิศทางเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิคนงาน ตอนนี้มีนายจ้างที่ใช้วิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้ ให้คนงานทำงานแล้วจ่ายค่าจ้างเพียงร้อยละ 75 แม้ว่าจะเป็นการสมยอมระหว่างคนงานกันนายจ้าง แต่ผิดกฎหมาย รัฐต้องเข้าไปดู และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนซึ่งในขณะนี้ยังไม่มั่นใจเรื่องระบบการจัดการน้ำ มากกว่าการให้เงิน ลดภาษี หรือทำเป็นไม่เห็นการละเมิดสิทธิเอาเปรียบคนงาน

นายชาลีกล่าวเสริมว่า กระทรวงแรงงานควรดูแลคนงานมากกว่านี้ ให้สมกับชื่อของกระทรวง และขอให้ให้เกียรติคนงานด้วย เพราะคนงานก็มีศักดิ์ศรี อย่าใช้ท่าทีที่คุกคามเหยียดหยามกัน เพราะหากคนงานไม่เดือดร้อนคงไม่มาร้องให้ช่วย เพราะบางกรณีคนงานไม่ได้รับค่าจ้างมานานหลายเดือน เพราะคนงานมีเพียงค่าจ้างไว้ยังชีพเท่านั้น วันนี้จึงเดือดร้อนกันทั่วหน้า

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัญหาของคนงานที่มาร้องทุกข์ครั้งนี้ ได้มีการเขียน คร. 7 และอยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่สวัสดิการจังหวัด ซึ่งยังมีการให้ความช่วยเหลือในระดับพื้นที่ คิดว่า น่าจะให้ทางจังหวัดได้แก้ไขปัญหาก่อน เพราะการเดินทางมีค่าใช้จ่าย วันนี้ก็ต้องมอบหมายให้ทางจังหวัดกลับไปเร่งรัดในการแก้ไขปัญหา หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง และไม่มอบงานให้ทำ ถือว่าไม่มีการจ้างงานเท่ากับเลิกจ้าง อันนี้ก็ดำเนินการให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ส่วนการไม่จ่ายค่าจ้างในช่วงน้ำท่วมต้องรีบตรวจสอบ เพื่อให้นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างตามกฎหมาย

นายจำลอง ชะบำรุง ผู้ประสานงานศูนย์ช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดพระนครศรีอยุธยากล่าวว่า ปัญหาที่ศูนย์ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์จากคนงานส่วนใหญ่คือการถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชย ปัญหาที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่มีการเปิดทำงานให้คนงานรอไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้ทำงาน ทำให้เกิดความกดดันต่อคนงานบางคนต้องลาออกจากงานเพื่อหางานใหม่ทำ เพราะความไม่ชัดเจนของนายจ้าง อีกปัญหาคือการที่นายจ้างสั่งให้คนงานย้ายไปทำงานที่ห่างไกลในเครือบริษัทเดียวกัน ทำให้คนงานไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้ และเมื่อประสานงานทางบริษัทก็ไม่ได้รับคำตอบว่าจะแก้ปัญหาคนงานอย่างไร มารู้อีกทีก็ถูกนายจ้างแจ้งประกันสังคมว่า คนงานลาออกจากงานทำให้คนงานต้องเสียสิทธิกรณีว่างงานแทนที่จะได้รับสิทธิประกันสังคมกรณีถูกเลิกจ้าง เพราะคนงานไม่ได้ลาออกเอง

การที่พาคนงานมาร้องทุกข์ที่กระทรวงแรงงานวันนี้ เพื่อให้กระทรวงแรงงานแก้ไขปัญหาคนงาน เพราะการร้องเรียนกรอก คร.7 บางกรณีนานมากหากต้องเข้าสู่กระบวนการทางศาลแรงงาน คนงานจะเอาเงินที่ไหนมาสู้ เพราะไม่ได้รับค่าจ้างมานานแล้ว จะกินยังไม่มี ถามว่า คนงานอยากมาไหม คงไม่อยากมาหากมีการแก้ไขปัญหาเสียแต่ต้นทาง อยากเสนอให้รัฐแก้ปัญหาเชิงนโยบายที่เป็นระบบ ที่ทำให้คนงานสามารถอยู่ได้ เพื่อรอการฟื้นฟูโรงงาน เพราะไม่อยากให้คนงานต้องออกมาเรียกร้องกันทีละคนสองคน หากมีการแก้ไขปัญหาจริงเราคงไม่ต้องเหนื่อยเดินทางมากระทรวงแรงงาน

นายสมพร พวงจันทร์ ประธานสหภาพแรงงานเซไดคาเซ ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัทเซไดคาเซ ประเทศไทยมีคนงานทั้งหมด 130 คน มีนายจ้างเป็นชาวญี่ปุ่น และได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเดือนตุลาคม 2554 ปัจจุบันผ่านมากว่า 3 เดือนคนงานยังไม่ได้รับค่าจ้าง เมื่อมีการเจรจา นายจ้างบอกให้คนงานรอไปก่อน โดยไม่มีกำหนด เพราะนายจ้างต้องกู้เงินธนาคาร นายจ้างบอกเพียงว่า ไม่ปิดกิจการจะเปิดทำงานต่อ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเปิดเมื่อไร คนงานต้องการความชัดเจน หากเลิกจ้างให้จ่ายค่าชดเชยมา ตอนนี้ไม่มีเงินใช้กันแล้ว เพราะคนงานก็กระทบกับปัญหาน้ำท่วมบ้านเหมือนกัน หากเลิกจ้างแน่นอนคนงานจะได้เงินทดแทนจากประกันสังคมร้อยละ 50 อย่างน้อย 6 เดือน

ตอนนี้บริษัทมีการย้ายเครื่องจักรออกจากโรงงาน ทำให้ยิ่งไม่มั่นใจต่ออนาคต ขณะนี้คนงานก็กระจายตัวกันหางานรับจ้างรายวันทำ รับจ้างล้างโรงงาน ก่อสร้าง ซึ่งรายได้ก็ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายในครอบครัวเพราะภาระมีมาก บางคนตกงานทั้งครอบครัว และปัญหาของคนงานเซไดคาเซนั้นได้มีการร้องทุกข์กันมานานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

นางสาวอลงกรณ์ ดีถี กรรมการสหภาพแรงงานเอ็นอีซี กล่าวว่า พวกเขาเป็นคนงานบริษัท เอ็นอีซี โทคิน อิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร  จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีคนงาน 3,100 คน ได้เดินทางมาร้องที่กระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 เนื่องจากผลพวงอุทกภัยน้ำท่วมโรงงาน ทำให้มีการได้ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งทางบริษัทได้มีการย้ายคนงานไปทำงานจำนวน 200 คน ส่วนที่เหลือจำนวน 2,900 คนนายจ้างได้ประกาศเลิกจ้างเมื่อวานนี้ (1กุมภาพันธ์ 2555) ให้มีผลในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 โดยนายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่มีเช่นวันพักร้อนที่ยังไม่ลา

การที่ต้องออกมาเรียกร้อง เพราะว่า นายจ้างไม่ให้ความชัดเจนต่อการเลิกจ้าง คนงานได้มีการเลื่อนไหวทวงถาม และเคยมาที่กระทรวงแรงงานแล้วครั้งหนึ่งเพื่อให้เรียกนายจ้างมาชี้แจงว่าจะเลิกคนงาน จ่ายค่าชดเชยอย่างไร ซึ่งคนงานเพิ่งจะได้รับ SMS แจ้งจากนายจ้างเมื่อวานนี้ว่าจะเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมาย การที่คนงานทำงานมานานนับ 10- 20 ปี อายุก็มาก คือโดยรวมอายุประมาณ 30-50 ปี คนงานต้องการความมั่นคงในการทำงาน ตกงานตอนนี้จะหางานที่ไหนทำ ช่วงที่ทำงานทุกคนก็ทุ่มเทการทำงานให้อย่างเต็มที่ คนงานทุกคนยังรักบริษัทและอยากทำงาน หากบริษัทต้องการให้ช่วยกันฟื้นฟูทุกคนก็ยินดีช่วย แต่วันนี้นายจ้างบอกเลิกจ้าง คนงานก็ต้องการค่าเสียโอกาส ทางสหภาพแรงงานได้เจรจาพูดคุยกับนายจ้างเพื่อให้เห็นใจคนงานด้วย แม้ว่านายจ้างยืนยันการเลิกจ้างด้วยการส่ง SMS ว่ายินดีพร้อมค่าชดเชยตามกฎหมาย รวมค่าอายุงาน 1 เดือน ค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน เงินพิเศษ 1 เดือน ค่าจ้างเดือนนี้ 1 เดือน เพิ่มเงินให้อีก 5,000 บาท ซึ่งวันนี้นัดเจรจากันอีกครั้ง เพราะคนงานต้องการการยืนยันจากนายจ้าง ผลการเจรจาสรุปว่า นายจ้างเลิกจ้างทั้งหมด และจ่ายค่าชดเชยตามที่ได้มีการส่งข้อความแจ้งมา

นอกจากนี้ ยังมีคนงานบริษัทอัลตัน พรีซีซัน จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ทำการผลิตชิ้นส่วนอีเลคทรอนิคส์ ได้รวมกันประมาณ 100 คน เดินทางมาที่กระทรวงแรงงานด้วย เนื่องจากหลังน้ำลดทางบริษัทได้มีการควบรวมกิจการโดยบริษัทอิงเท็ค พรีชั่น (ประเทสไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมโรจนะเข้ามาพร้อมกับมีการเลิกจ้างคนงานมีผลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 355 คน เหลือคนงานบริษัทอัลตันทำงานอยู่อีก 271 คน ทำให้คนงานส่วนหนึ่งไม่พอใจจึงได้ออกมาเรียกร้องให้นายจ้างบริษัทอิงเท็คชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ช่วยเจรจากับทางนายจ้างกรณีที่บริษัทมีการควบรวม และเลิกจ้างคนงานบางส่วน


 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ข้อคิดเห็นต่อแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงของ กสทช.

$
0
0

กสทช. กำลังจัดทำร่างแผนการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2555-2559 โดยมีเป้าหมายตามตารางประกอบ การจัดทำแผนดังกล่าวนับเป็นพัฒนาการด้านบวกที่สำคัญ เนื่องจากทำให้ กสทช. ทราบค่าใช้จ่ายในการให้บริการอย่างทั่วถึง และสามารถจัดลำดับความสำคัญของโครงการต่างๆ ได้  จากเดิมที่มีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนนัก   

นอกจากนี้ กสทช. ยังเปลี่ยนมาใช้กลไกของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการ และน่าจะช่วยลดต้นทุนการจัดให้มีบริการได้ จากการใช้วิธีประมูลแข่งขันมาคัดเลือกผู้ให้บริการอย่างทั่วถึง          

ตามแผนใหม่นี้  ค่าธรรมเนียมที่ กสทช. จะจัดเก็บเข้าสู่กองทุนฯ จะอยู่ที่ร้อยละ 4 ของรายได้ในการให้บริการของผู้รับใบอนุญาตทั้งที่มีและไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากเดิมที่เก็บในอัตราเดียวกันจากเฉพาะผู้รับใบอนุญาตที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเท่านั้น    

 

เป้าหมายในการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานอย่างทั่วถึงประจำปี 2555-2559

  



        
        - 99% ของพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์ส่วนบุคคลได้  
        - มีโทรศัพท์สาธารณะ 1 เลขหมายต่อหมู่บ้านเล็กและห่างไกลในพื้นที่ที่เหลือ 1%
     - มีบริการอินเทอร์เน็ตชุมชน โรงเรียนและสถานีอนามัย ความเร็ว 2 Mbps ในพื้นที่ชนบท 20% ของประเทศ
      - มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2-10 Mbps และ WiFi ครอบคลุมโรงเรียน สถานีอนามัย อบต. และพื้นที่ไม่น้อยกว่า 80% ของประเทศ 
       - มีบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับชุมชนรายได้น้อยในเขตเมือง สถานสงเคราะห์คนชรา และโรงเรียนสอนคนพิการ 500 แห่งทั่วประเทศ
        - มีระบบการสื่อสารเฉพาะทางของคนพิการทางตาและการได้ยิน ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน  
        - ส่งเสริมและพัฒนาเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตที่เป็นประโยชน์ 
     - ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านโทรคมนาคม อาทิ การพัฒนาทักษะและฝีมือแก่แรงงาน การสนับสนุนทุนการศึกษา ตลอดจนฝึกอบรมประชาชนไม่น้อยกว่า 5 แสนคน

 

 

โดยรวมแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า แผนดังกล่าวมีพัฒนาการในด้านดีหลายประการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าการดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะทำให้เกิดต้นทุนในการให้บริการอย่างทั่วถึงในระดับสูงกว่าที่ควรจะเป็นด้วยเหตุผลหลายประการ  

 

ประการที่หนึ่ง  แม้แผนดังกล่าวมีแนวคิดในการแบ่งพื้นที่ซึ่งยังไม่มีบริการโทรคมนาคมออกเป็น พื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง (true access gap) ซึ่งต้องการการอุดหนุนจากกองทุนฯ และพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์แต่ยังขาดบริการอยู่ (efficiency gap) ซึ่งการแข่งขันในตลาดจะทำให้เกิดบริการก็ตาม  ในทางปฏิบัติ กสทช. ก็ยังมิได้แบ่งพื้นที่ของประเทศไทยออกมาตามแนวคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ต้องใช้เงินกองทุนฯ ไปอุดหนุนบางพื้นที่โดยไม่จำเป็น 

ประการที่สอง ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อแรก แผนดังกล่าวมุ่งใช้เงินจากกองทุนฯ เป็นหลักในการทำให้เกิดบริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ได้ใช้มาตรการอื่นเท่าที่ควร โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการจากการออกใบอนุญาตใหม่ๆ และการกำกับดูแลที่ดี

ประการที่สาม แผนดังกล่าวกำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้อย่างตายตัว เช่น  กำหนดว่าต้องมีบริการ WiFi  ครอบคลุมพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประเทศ   ทำให้ขาดทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีอื่นเช่น WiMax หรือดาวเทียมบรอดแบนด์ ซึ่งอาจมีต้นทุนต่ำกว่าในบางพื้นที่  

ข้อเท็จจริงที่ชี้ว่า การให้บริการอย่างทั่วถึงตามแผนดังกล่าวน่าจะมีต้นทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ การที่ กสทช. จะเก็บค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนฯ ที่อัตราร้อยละ 4 ของรายได้ของผู้รับใบอนุญาต ซึ่งสูงกว่าอัตราที่จัดเก็บอยู่ในต่างประเทศ  เช่น ชิลี เปรู และแอฟริกาใต้ ต่างเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 1 ของรายได้ของผู้ประกอบการ   และไม่พบว่ามีประเทศใดที่เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวถึงร้อยละ 2.5 เลย ยกเว้นอินเดีย (ดูภาพประกอบ) ค่าธรรมเนียมในระดับสูงของไทยจะเป็นต้นทุนที่ผู้บริโภคทุกคนมีภาระต้องแบกรับ  

จากการเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอเสนอแนะให้ กสทช. พิจารณาสั่งการให้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการดังต่อไปนี้ 

1. จัดทำการประมาณการความแพร่หลายของบริการโทรคมนาคมพื้นฐานในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มโดยธรรมชาติอย่างไร และจะมีความแพร่หลายเพิ่มขึ้นอย่างไรหากมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้และกำกับดูแลให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างเต็มที่  

2. ระบุพื้นที่ซึ่งไม่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงจากประมาณการข้างต้น ซึ่งจะทำให้ทราบพื้นที่ซึ่งควรได้รับการอุดหนุนอย่างแท้จริง

3. เปิดกว้างให้ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายในการแข่งขันกันให้บริการอย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องระบุเทคโนโลยีอย่างตายตัว เช่น ไม่ควรระบุว่า ต้องเป็น WiFi เท่านั้น  

4. ตัดโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการอย่างทั่วถึงออกเช่น การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน และทุนการศึกษา เนื่องจากการใช้จ่ายในลักษณะดังกล่าวน่าจะขัดกับบทบัญญัติตามกฎหมาย   ทั้งนี้ หากต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ก็ควรจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ขาดทักษะการใช้บริการโทรคมนาคมเท่านั้น    

5. ควบคุมการใช้จ่ายของ กสทช. และสำนักงาน กสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น กำหนดอัตราเงินเดือน หรือสวัสดิการต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และป้องกันการรั่วไหลต่างๆ ในการจัดซื้อจัดจ้าง  ทั้งนี้เนื่องจากรายได้ของสำนักงาน กสทช. เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ข้างต้นแล้ว  จะมีส่วนที่ถูกนำส่งเป็นรายได้ของกองทุนฯ ด้วย   นอกจากนี้ การกำหนดเงินเดือนของ กสทช. ในระดับที่สูงมากโดยการแปลงโบนัสเป็นเงินเดือน น่าจะขัดกับเจตนารมย์ของกฎหมาย และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อความน่าเชื่อถือในการทำงานเพื่อสาธารณะของ กสทช. เอง 

6. ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมกองทุนฯ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล เช่น ไม่ควรเกินร้อยละ 2.5  เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้บริโภคมาก  โดยรายได้ดังกล่าวของกองทุนฯ น่าจะเพียงพอต่อการให้บริการอย่างทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคิดถึงฐานรายได้ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการขยายฐานของผู้จ่ายค่าธรรมเนียมไปยังผู้รับใบอนุญาตทุกประเภทแล้ว  

 

ภาพเปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการอย่างทั่วถึงของประเทศต่างๆ 

         ที่มา: เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะของ สำนักงาน กสทช.

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เผยนาทีต่อนาที ‘ถล่มยิง 4 ศพ’ ทหารพรานแฉโดนก่อน 7 ครั้ง

$
0
0

ชาวบ้านปัตตานีถูกถล่มยิง 4 ศพ ยันมือยิงยู่บนสะพานลอยข้ามทางแยกถนน 4 เลน ยะลา–หาดใหญ่ หยุดรถให้ทหารพรานตรวจ สิ้นเสียงตะโกนภาษาไทย ถล่มยิงไม่ยั้ง เผยก่อนหน้านี้ ฐานทหารพรานถูกยิงมาแล้ว 7 ครั้ง

 

จุดเกิดเหตุ – แผนที่แสดงฐานทหารพราน ทพ.4302 บ้านน้ำดำ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ถูกคนร้ายยิงระเบิด M79 จำนวน 3 ลูก (จุดเกิดเหตุที่ 1 ) เวลาประมาณ 20.00 น. วันที่ 29 มกราคม 2555 คาดว่าจุดยิงอยู่บริเวณสามแยกบ้านฮูแตบองอ หมู่ที่ 6 ตำบลปุโละปุโย ที่ผ่านมาเคยถูกยิงถล่มมาแล้ว 7 ครั้ง ส่วนจุดเกิดเหตุที่ 2 บริเวณชาวบ้านถูกยิงตาย 4 ศพ บาดเจ็บ 5 คน โดยอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุที่ 1 ประมาณ 2 กิโลเมตร


จุดถล่มทหารพราน – เจ้าหน้าที่ทหารพรานตรวจสอบบริเวณระเบิด M79 จำนวน 3 ลูกถูกยิงตกห่างจากเรือนนอนภายในฐานทหารพราน ทพ.4302 บ้านน้ำดำ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ประมาณ 3 เมตร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555


จุดยิงชาวบ้าน – จุดเกิดเหตุชาวบ้านถูกยิงตาย 4 ศพ บาดเจ็บ 5 คน ซึ่งเป็นทางลาดขึ้นไปยังทางหลวงสาย 43 บ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

 

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ฐานทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำ หมู่ที่ 2 ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก ทหารพรานจากหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 22 (ฉก.ทพ.22) อำเภอหนองจิก ได้เข้าไปตรวจสอบจุดที่ระเบิด M79 ถูกยิงตกภายในฐานทหารพรานที่ 4302 พบว่า มี 3 จุด 2 จุดแรกอยู่บริเวณขอบสระน้ำ มีร่องรอยการเกลี่ยดินกลบรอยระเบิด พบว่าระเบิดทำงานลูกเดียว ลูกที่ปักอยู่ในดินถูกเก็บกู้ไปแล้ว ส่วนอีกลูกตกลงไปในสระจมอยู่ในน้ำ ห่างจากสองจุดแรกประมาณ 4 เมตร ห่างจากเรือนนอนประมาณ 3 เมตร ยังรอหน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดมาเก็บกู้ไป

ทหารพรานนายหนึ่งระบุว่า แนววิถีการยิงลูกระเบิด M79 มาจากทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บริเวณสามแยกบ้านฮูแตบองอ หมู่ที่ 6 ตำบลปุโละปุโย อยู่ห่างออกไปประมาณ 200 เมตร แนวการยิงตรงกับที่ตั้งเรือนนอนภายในฐานทหารพรานที่ 4302 แต่ลูกระเบิดตกก่อนถึงเรือนนอน

ที่ผ่านมา ฐานทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำ ถูกคนร้ายถล่มยิงถล่มมาแล้ว 7 ครั้ง ทหารพรานประจำฐานนี้ จึงต้องระมัดระวังและตื่นตัวตลอดเวลา

ต่อมา เวลา 14.30 น. วันเดียวกัน ที่ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี นายยา ดือราแม คนขับรถที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ทหารพรานจากฐานทหารพรานที่ 4302 ตั้งด่านสกัดที่บ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ตำบลลิปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2555 พร้อมด้วยญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บรวม 9 คน ได้เดินทางเข้าร้องเรียนต่อศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี เพื่อขอความเป็นธรรมกรณีถูกทหารพรานยิงเสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บ 5 ราย

เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดปัตตานี ได้สอบถามข้อมูลเบื้องต้น และได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนยุติธรรมและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นายยา เปิดเผยว่า จุดเกิดเหตุเป็นทางเบี่ยงสะพานลอยขึ้นทางหลวงสาย 43 ซึ่งเป็นถนนสี่เลน ขณะเกิดเหตุถูกยิงรถยนต์เครื่องดับ จึงทำให้รถไหลถอยหลัง คนขับไม่ได้ถอยรถหนีตามที่เจ้าหน้าที่เข้าใจ (อ่านรายละเอียดขณะเกิดเหตุในล้อมกรอบ) สำหรับหมู่บ้านตันหยงบูโละห์ไม่เคยเกิดเหตุร้าย ยกเว้นบนถนนใหญ่ คนในหมู่บ้านไม่เคยถูกดำเนินคดี มีเพียงเด็กถูกนำตัวไปซักถามแล้วปล่อยตัวไม่ถูกดำเนินคดีแค่คนเดียว

นายแวโซะ แวนาแว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลลิปะสาโง อำเภอหนองจิก เปิดเผยว่า กลุ่มชาวบ้านตันหยงบูโละห์ ตำบลตำบลลิปุโละปุโย ที่ประสบเหตุ ต้องการเดินทางไปละหมาดศพนางมือแย สาและ แม่ของตน ที่เสียชีวิตเมื่อเวลา 16.20 น. วันที่ 29 มกราคม 2555 มีกำหนดละหมาดศพเวลา 21.00 น. ในวันดังกล่าว ที่บาลาเซาะห์หรือศาลาละหมาดบ้านทุ่งโพธิ์ โดยเชิญชาวบ้านกลุ่มดังกล่าว และคนอื่นๆ มาละหมาดประมาณ 500 คน

วันเดียวกัน มูลนิธิศูนย์ทนายมุสลิม ได้ออกแถลงการณ์มีเนื้อหาว่า มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมในฐานะองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ขอแสดงความเสียใจต่อญาติของผู้เสียชีวิต และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว และขอประณามผู้ที่กระทำจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปรากฏว่า ข้อมูลในพื้นที่จากการสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้อยู่ที่ร่วมในเหตุการณ์ แตกต่างกับที่ทางโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้แถลงต่อสื่อมวลชน มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จึงขอเรียกร้องให้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบ พิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน เพราะยังมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์รอดชีวิตเหลืออยู่ แต่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง จึงรู้สึกหวาดกลัวกับเหตุการณ์ และเกรงเกิดความไม่ปลอดภัยกับตัวเอง บุคคลเหล่านั้นล้วนเป็นบุคคลที่มีอายุ และเป็นผู้บริสุทธิ์

การที่หน่วยงานของรัฐรีบออกมาแถลง โดยสรุปข้อมูลจากการรับฟังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติฝ่ายเดียว ย่อมไม่เป็นธรรมต่อครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ บุคคลเหล่านั้นล้วนเป็นคนในพื้นที่ ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดระแวงเจ้าหน้าที่ในพื้นที่

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจึงขอเรียกร้องผู้มีอำนาจหน้าที่ ผู้บังคับบัญชา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาการกระทำของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวว่า มีความเหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อย่างไร

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเหตุการณ์แรก แต่ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ อีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทำนองนี้อีก ทุกเหตุการณ์ล้วนแต่เป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างของเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่ เมื่อเป็นดังนี้ความสงบในพื้นที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ได้สอบปากคำพยานแล้ว 3 ปาก และจะสืบพยานเพิ่มเติมอีก ทั้งผู้ได้รับบาดเจ็บและเจ้าหน้าที่ทหารพราน ส่วนรถยนต์คันเกิดเหตุชุดพิสูจน์หลักฐานได้เข้าไปตรวจร่องรอยของรูกระสุน และปลอกกระสุนปืน นำไปตรวจสอบที่ตำรวจพิสูจน์หลักฐาน จังหวัดยะลา เพื่อเปรียบเทียบว่าเป็นปืนชนิดเดียวกับปืนอาก้า และปืนพกขนาด .45 มิลลิเมตร ที่พบภายในรถยนต์ของชาวบ้านที่ถูกยิงหรือไม่

พล.ต.ต.พิเชษฐ์ เปิดเผยว่า คดีนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีย้ำให้ตรวจอย่างละเอียดว่า เป็นปืนชนิดไหน มาจากที่ใด ใครเป็นผู้ใช้ รอยนิ้วมือเป็นของใคร เพราะเป็นหลักฐานสำคัญ ตนในฐานะหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวนจะดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ใครผิดก็ว่าไปตามผิด

“คดีคนร้ายยิงถล่มฐานทหารพราน และคดีคนร้ายกราดยิงบ้านชาวบ้าน และคดีคนร้ายยิงทหารพรานตายภายในฐาน จะต้องตรวจสอบให้ชัดเจน เพราะบางคดีอาจจะเป็นการสร้างสถานการณ์ตอบโต้ หรือฉวยโอกาสก่อเหตุ ผมได้กำชับให้กำลังทุกฝ่ายเตรียมพร้อมตลอดเวลา เพราะเชื่อว่าฝ่ายตรงข้ามน่าจะออกมาก่อเหตุในอำเภอหนองจิก และอำเภอใกล้เคียง เพื่อหวังที่ดึงมวลชนอีก” พล.ต.ต.พิเชษฐ์ กล่าว

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวถึงเหตุการณ์ต่อที่ประชุมประจำเดือนหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดปัตตานี มีข้าราชการฝ่ายปครอง ตำรวจ ทหารเข้าร่วมกว่า 200 คนว่า เบื้องต้นได้มอบเงินให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตรายละ 100,000 บาท ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 1 ราย 1 หมื่นบาท ส่วนผู้บาดเจ็บนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลปัตตานี 3 ราย รายละ 3 หมื่นบาท

นายธีระ แจ้งต่อไปว่า ก่อนหน้านี้ได้ขอให้ทางแม่ทัพภาคที่ 4 ย้ายทหารพรานชุดเกิดเหตุออกนอกพื้นที่ ให้ชุดอื่นมาอยู่ดูแลความปลอดภัยพื้นที่แทน เพื่อให้ชาวบ้านสบายใจกับเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมา 1 ชุด นอกเหนือจากฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจแล้ว จะมีคนกลางคือ อัยการ และตัวแทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตรวจสอบหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ดังกล่าว ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วและเป็นธรรม

“ผมขอให้ทุกคนปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส เป็นที่พึ่งของประชาชน และต้องให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเสียหายอย่างเป็นธรรม ขอเน้นย้ำไม่ให้เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรง ทุกอย่างต้องโปร่งใส ซื่อสัตย์ ต้องตอบคำถามประชาชนได้ทุกเรื่อง ขอให้เป็นบทเรียนในการทำงานในพื้นที่ที่มีเงื่อนไข และมีความแตกต่างในชีวิตความเป็นอยู่ของคนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายไปมากกว่าเดิม” นายธีระ กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อเวลา 07.45 น. วันเดียวกัน ขณะที่อาสาสมัครทหารพรานทะนง สินธู อายุ 48 ปี สังกัดกรมทหารพรานที่ 43 อยู่บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากส่งลูกที่โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เพื่อกลับไปเข้าเวรที่กรมทหารพรานที่ 43 ในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี มาตามถนนสายหนองจิก–โคกโพธิ์ เมื่อมาถึงหมู่ที่ 2 บ้านชะเมา ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ มีคนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิงจนเสียชีวิต

หลังจากเกิดเหตุ พ.ต.อ.ระพีพงษ์ สุขไพบูลย์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้นำกำลังไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพบศพอาสาสมัครทหารพรานทะนง สินธู ตกอยู่ข้างทาง สภาพศพอยู่ในเครื่องแบบทหารพรานสีดำครึ่งท่อน มีบาดแผลถูกยิงด้วยอาวุธปืนพกสั้น .38 มิลลิเมตรเข้าลำตัว 4 นัด ใกล้กันพบรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้า สีแดงของผู้ตายตกอยู่ในคูน้ำ

พนักงานสอบสวนเชื่อว่า คนร้ายได้ติดตามความเคลื่อนไหวของอาสาสมัครทหารพรานทะนงมาตลอด จนทราบว่าผู้ตายขับรถไปส่งลูกทุกวัน เมื่อสบโอกาสจึงก่อเหตุตอบโต้กรณีทหารพรานยิงชาวบ้านอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีเสียชีวิต 4 ศพ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2555

……………………………………




 

ยา ดือราแม

‘ผมเห็นคนยิง’

นายยา ดือราแม คอเต็บมัสยิดบ้านตันหยงบูโละห์ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ผู้ขับรถนำชาวบ้านออกเดินทางไปละหมาดศพ และถูกกระหน่ำยิงจนมีผู้เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 5 คน เมื่อคืนวันที่ 29 มกราคม 2555 ได้เล่าเหตุการณ์ช่วงเกิดเหตุขณะชะลอรถให้ทหารพรานจากฐาน 4302 ตรวจ

………………………….......

“เกือบสองทุ่ม ชาวบ้านได้ยินเสียงคล้ายระเบิดดังขึ้นหนึ่งครั้ง เสียงดังมาก ตามด้วยเสียงปืนดังขึ้นอีกหนึ่งชุด แต่ไม่รู้ว่าเป็นเหตุการณ์อะไร

หลังจากละหมาดอีชาเสร็จ ผมชวนชาวบ้านไปละหมาดศพที่บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลลิปะสาโง อำเภอหนองจิก โดยเลี่ยงไปใช้เส้นทางถนนสี่เลน ถึงแม้จะไกลกว่าเส้นทางผ่านหน้าฐานทหารพราน 4302 เพราะไม่แน่ใจว่าเสียงระเบิดที่เราได้ยินก่อนหน้านี้ เกิดขึ้นที่ไหน เกิดที่ฐานทหารพราน 4302 หรือไม่เราก็ไม่รู้ 

ผมขับรถไปถึงแยกถนนสี่เลน พอเลี้ยวรถเข้าทางลูกรังที่ลาดขึ้นบนถนนใหญ่ แสงไฟจากรถส่องเห็นทหารบางคนยืน บางคนนอนหมอบ ผมเลยชะลอรถ หันไปบอกคนบนรถที่มากับผมว่า อย่าตกใจ อย่าวิ่งหนี

พอผมชะลอรถกำลังจะดับเครื่องยนต์ ก็ได้ยินเสียงตะโกนเป็นภาษาไทย แต่ผมฟังภาษาไทยไม่ออก เลยไม่รู้หมายความว่าอะไร ผมได้ยินแต่เสียงไม่เห็นคนตะโกน พอสิ้นเสียงตะโกนเสียงปืนดังขึ้นทันที ตอนนั้นผมดับเครื่องยนต์พอดี รถจึงไหลลงข้างทาง เจ้าหน้าที่เข้าใจว่า ผมถอยรถหนี แต่ไม่ใช่ รถไหลลงข้างทางเพราะผมดับเครื่องยนต์ ผมไม่ได้คิดจะหนีอย่างเจ้าหน้าที่เข้าใจ

ผมเห็นไฟจากปากกระบอกปืน บนสะพานข้ามแยกถนนสี่เลนกับบนถนน ผมเห็นว่ายิงจากตรงไหน เห็นคนยิงด้วย แต่ไม่รู้ว่าเป็นใคร

ยิงชุดแรกไม่โดนใคร พอหมดเสียงปืนชุดแรกเด็กที่มากับผม นั่งตรงกระบะท้ายรถ กระโดดลงจากรถวิ่งหนี เลยถูกไล่ยิง เสียงปืนชุดที่สองก็ดังขึ้น คราวนี้กระสุนโดนคนที่นั่งอยู่ข้างผมที่เป็นคนขับ ตอนแรกผมคิดจะหนีเหมือนกัน แต่คนในรถร้องกล่าวถึงพระเจ้าตลอด และสอนคำกล่าวปฏิญาณไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮให้คนที่ถูกยิง ผมก็เลยไม่หนี และคิดว่าน่าจะหยุดยิงกันแล้ว แต่กลับมีเสียงปืนดังขึ้นอีกชุด ตอนนี้ผมอยู่ไม่ได้แล้ว ตัดสินใจลงจากรถ วิ่งหนีกลับบ้าน ตอนวิ่งหนีผมถูกยิงเฉี่ยวหัวไหล่ซ้าย 

ตอนนั้นมีเด็กคนหนึ่ง วิ่งตามผมไปหลบอยู่ในบ้านญาติ ส่วนผมหนีเข้าบ้าน กลัวมากกว่าจะได้ไปโรงพยาบาลก็ 4 ทุ่มกว่า

ผมไม่รู้ว่าจุดเกิดเหตุเกิดอะไรขึ้นบ้าง ผมเล่าได้แค่นี้แหละ”

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images