Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างไม่เป็นธรรม รับนโยบายปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

$
0
0

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ย้ำต้องเท่ากันทั่วประเทศ พร้อมเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม 9 จุดทั่วประเทศ

 

กรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 อันส่งผลให้มีการเลื่อนการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม บังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2555 ส่วนในจังหวัดที่เหลือ 70 จังหวัด ให้บังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2556 ทั้งนี้ ให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัดไว้ที่วันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2558

(1 เม.ย.55) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) แถลงข่าวที่พิพิธภัณธ์แรงงานไทย ถึงจุดยืนต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ระบุสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยดำเนินนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้กับผู้ใช้แรงงานกว่า 38 ล้านคน รวมถึงสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมในมาตรฐานค่าจ้างขั้นต่ำ ตามหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ

"คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มีจุดยืนสนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ หากนโยบายดังกล่าวจะเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดระบบค่าแรงที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมโอกาสมีงานทำที่มีคุณค่า (Decent Work) ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ที่ดำเนินการให้มีการส่งเสริมในทุกรัฐบาล องค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง ที่เป็นสมาชิกในการเสริมสร้างคุณค่าในแต่ละประเทศ"

อย่างไรก็ตาม คสรท.แสดงความเห็นคัดค้านมาตรการคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557 และ 2558 เนื่องจากสภาวการณ์ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สาธารณูปโภคและพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานของแรงงาน

ทั้งนี้ เนื่องจากมองว่าผู้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากยังไม่มั่นใจว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นได้จริง และอาจมีการละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย คสรท. จึงได้ประสานความร่วมมือองค์กรแรงงานเพื่อให้เปิด “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม” เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยจัดตั้งศูนย์ 9 ศูนย์ ได้แก่

1) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02 2513170

2) ศูนย์แรงงาน กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ย่านนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทราโทรศัพท์ 038 842921 ผู้ประสานงาน นายราเล่ อยู่เป็นสุข 084 5408778

3) กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เลขที่ 32 หมู่ 1 ถ. สุดบรรทัด ต. ตาลเดี่ยว อ. แก่งคอย จ. สระบุรี โทรศัพท์ 036 245441 ผู้ประสานงาน นายบุญสม ทาวิจิตร 0817590827

4) กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก เลขที่ 120/46 หมู่ 3 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 038 337523 ผู้ประสานงาน นายสมพร ขวัญเนตร 0837695687

5) สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย - TEAM เลขที่ 1/446 หมู่ที่ 14 ซอยบางแสน 2 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02 7078072 ผู้ประสานงาน นายยงยุทธ เม่นตะเภา 0818282538

6) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เลขที่ 50/32 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทรศัพท์ 02 8125277 ผู้ประสานงาน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย 0811787489

7) สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต เลขที่ 12/133 หมู่ 3 ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ผู้ประสานงาน นายวิจิตร ดาสันทัด 0815351764

8) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เลขที่ 44 ซอยวิภาวดีรังสิต 11 นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02 5378973 ผู้ประสานงาน นายสาวิทย์ แก้วหวาน 0863361110

9) สหพันธ์แรงงานธนาคารสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 2252166 ผู้ประสานงาน นายศักดิ์สิทธิ์ อุดมศิลป์ (เลขาธิการ) 0896977826

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หวั่นรัฐฯ เล่นเกมการเมือง จี้พิสูจน์เดินหน้า “โฉนดชุมชน” ไม่ใช่แค่ลมปาก

$
0
0

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร้องรัฐบาลหยุดใช้ประชาชนเป็นหมากทางการเมือง จวก 7 เดือนการทำงานตามนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดิน-ทรัพยากรธรรมชาติฯ ไม่คืบ จี้เร่งพิสูจน์ผลงาน

 
ภาพ: ความเสียหายของต้นยางในพื้นที่ นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ซึ่งถูกตัดฟันโดยเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา  
 
วันนี้ (1 เม.ย.55) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 “รัฐบาลต้องหยุดใช้ประชาชนเป็นหมากทางการเมือง เร่งพิสูจน์ต่อสังคมว่านโยบายที่ดินไม่ใช่เพียงลมปาก” ตั้งข้อสังเกตรัฐบาลกำลังใช้เกษตรกรรายย่อยและปัญหาที่ดินทำกินเป็นหมากในเกมการเมืองระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
 
แถลงการณ์ระบุว่า หลังรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 ส.ค.54 ทั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นต่อภาคประชาชนผ่านสื่อมวลชนว่าจะสานต่อนโยบายโฉนดชุมชนโดยตั้งเป้าหมายจัดการพื้นที่ในรูปแบบโฉนดชุมชนให้ได้ 2 ล้านไร่ ภายใน 3 ปี แต่ในช่วง 7 เดือนของการทำงานที่ผ่านมา กลับไม่มีรูปธรรมในทางปฏิบัติ
 
อีกทั้ง การแถลงของ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีถึงคำพูดที่นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า “กรณีโฉนดชุมชนมีการดำเนินการผิดพลาด โดยพบว่ามีการนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยน เอาไปทำโครงการขนาดใหญ่ ที่พบมากแถบจังหวัดภาคใต้ ที่มีการเอาไปทำสวนยาง” เมื่อวันที่ 20 มี.ค.55 ส่งผลให้ข้าราชการ โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่เชื่อมั่นในแนวทางและนโยบายโฉนดชุมชน
 
กรณีดังกล่าวนำไปสู่ การตัดฟันสวนยางของชาวบ้านจำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 8 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และการจับกุมชาวบ้านในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ม.2 ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 2 ราย ในขณะที่นำหมากแห้งออกไปจำหน่าย รวมถึงการเตรียมการสนธิกำลังรื้อถอนสวนยางและสวนปาล์มในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านหลังมุข ม.6 ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
 
ทั้งที่พื้นที่โฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู และบ้านตระได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองพื้นที่จากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) แล้ว ในขณะที่บ้านหลังมุขกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบพื้นที่ของสำนักงานโฉนดชุมชน โดยอัยการสูงสุดและกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ชะลอการดำเนินคดีในพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชน และคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน เพื่อผลักดันและสนับสนุนการดำเนินงานโฉนดชุมชน
 
“รัฐบาลมีความเชื่อมาตลอดว่านโยบายโฉนดชุมชนเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ โดยลืมว่าแท้ที่จริงแล้วนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายของภาคประชาชน ซึ่งได้นำเสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรค รวมทั้งพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ.2550 จึงน่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันอาจจะปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ข่มขู่คุกคามรื้อถอนอาสินในพื้นที่โฉนดชุมชนทั่วประเทศ เพียงเพื่อผลทางการเมืองที่ว่าการรับรองพื้นที่โฉนดชุมชนของรัฐบาลชุดที่แล้วเป็นการกระทำที่ผิดพลาด และส่งเสริมให้คนบุกรุกป่ามากขึ้น” แถลงการณ์ระบุ
 
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรเดินหน้าต่อไปได้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ระบุข้อเรียกร้องว่า 1.รัฐบาลต้องสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน นายกรัฐมนตรีควรมอบหมายนโยบายที่ชัดเจนเรื่องโฉนดชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำหนังสือเวียนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางโฉนดชุมชน ซึ่งจะต้องมีการคุ้มครองพื้นที่และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ทั้งในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงอื่นๆ
2. ภาคประชาชนจะร่วมกันตรวจสอบอย่างเข้มแข็ง ว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติตามนโยบายที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ 5.4 ที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และสังคมไทยหรือไม่
 
ทั้งนี้ นโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการระบุไว้ในข้อ 5.4 ว่า “สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างยั่งยืนโดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย...ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน”
 
 
 
 
แถลงการณ์ฉบับที่ 1 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด
รัฐบาลต้องหยุดใช้ประชาชนเป็นหมากทางการเมือง
เร่งพิสูจน์ต่อสังคมว่านโยบายที่ดินไม่ใช่เพียงลมปาก
 
นับเป็นเรื่องน่ายินดี เมื่อรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 โดยมีการระบุไว้ในข้อ 5.4 ว่า “สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างยั่งยืนโดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย...ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน” หลังจากนั้นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ให้คำมั่นต่อภาคประชาชนผ่านสื่อมวลชนอย่างน้อย 2 ครั้ง ว่าจะสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรตามรัฐธรรมนูญ โดยตั้งเป้าหมายจัดการพื้นที่ในรูปแบบโฉนดชุมชนให้ได้ 2 ล้านไร่ ภายใน 3 ปี

แต่เมื่อพิจารณาถึงรูปธรรมในทางปฏิบัติของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา พบว่าไม่ได้มีแนวปฏิบัติในการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติดังที่ได้แถลงไว้แต่อย่างใด มิหนำซ้ำยังมีท่าทีไม่ปรองดองกับคนจนและเกษตรกรรายย่อย โดยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่านายกรัฐมนตรีได้กล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า “กรณีโฉนดชุมชนมีการดำเนินการผิดพลาด โดยพบว่ามีการนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยน เอาไปทำโครงการขนาดใหญ่ ที่พบมากแถบจังหวัดภาคใต้ ที่มีการเอาไปทำสวนยาง” 

ส่งผลให้ข้าราชการ โดยเฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่เชื่อมั่นในแนวทางและนโยบายโฉนดชุมชน นำไปสู่การตัดฟันสวนยางของชาวบ้านจำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 8 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และจับกุมชาวบ้าน ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านตระ ม.2 ต.ปะเหลียน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 2 ราย ในขณะที่นำหมากแห้งออกไปจำหน่าย รวมถึงการเตรียมการสนธิกำลังรื้อถอนสวนยางและสวนปาล์มในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านหลังมุข ม.6 ต.ช้างแรก อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งๆ ที่พื้นที่โฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู และบ้านตระได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองพื้นที่จากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) แล้วว่ามีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐได้ ในขณะที่บ้านหลังมุข กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบพื้นที่ของสำนักงานโฉนดชุมชน นอกจากนั้น อัยการสูงสุดและกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ชะลอการดำเนินคดีในพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชน และคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน เพื่อผลักดันและสนับสนุนการดำเนินงานโฉนดชุมชน

นอกจากนี้ มีข้อสังเกตว่ารัฐบาลกำลังใช้เกษตรกรรายย่อย และปัญหาที่ดินทำกินเป็นหมากในเกมการเมืองระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน รัฐบาลมีความเชื่อมาตลอดว่านโยบายโฉนดชุมชนเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ โดยลืมว่าแท้ที่จริงแล้วนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายของภาคประชาชน ซึ่งได้นำเสนอต่อพรรคการเมืองทุกพรรค รวมทั้งพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ.2550 จึงน่าเป็นห่วงว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันอาจจะปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ข่มขู่คุกคามรื้อถอนอาสินในพื้นที่โฉนดชุมชนทั่วประเทศ เพียงเพื่อผลทางการเมืองที่ว่าการรับรองพื้นที่โฉนดชุมชนของรัฐบาลชุดที่แล้วเป็นการกระทำที่ผิดพลาด และส่งเสริมให้คนบุกรุกป่ามากขึ้น

เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรเดินหน้าต่อไปได้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ขอยืนยันว่า 

1. รัฐบาลต้องสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ปฏิบัติงานไปในแนวทางเดียวกัน นายกรัฐมนตรีควรมอบหมายนโยบายที่ชัดเจนเรื่องโฉนดชุมชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำหนังสือเวียนถึงส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางโฉนดชุมชน ซึ่งจะต้องมีการคุ้มครองพื้นที่และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ทั้งในส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงอื่นๆ 

2. ภาคประชาชนจะร่วมกันตรวจสอบอย่างเข้มแข็ง ว่ารัฐบาลได้ปฏิบัติตามนโยบายที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ 5.4 ที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และสังคมไทยหรือไม่


ด้วยความเชื่อมั่นในพลังประชาชน
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด 
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย
วันที่ 1 เมษายน 2555
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สำรวจพบ 60 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง วางแผนลงคะแนนให้ NLD

$
0
0
 
สำนักข่าวมิซซิม่าได้ออกสำรวจประชาชนกว่า 362 คน โดยพบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจะไปลงคะแนนเสียงให้กับพรรคเอ็นแอลดี ขณะที่กลุ่มที่จะออกไปใช้สิทธิ์มากที่สุดคือกลุ่มคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 18 – 24 ปี คิดเป็น 90.5 เปอร์เซ็นต์
 
ทั้งนี้จากการสำรวจประชาชนอายุตั้งแต่ 18 – 60 ปีขึ้นไปพบว่า ส่วนใหญ่ทราบถึงขั้นตอนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความตื่นตัวต่อการเลือกตั้งครั้งนี้และเตรียมตัวไปลงคะแนนเสียงมากถึงร้อยละ 85 โดยกลุ่มที่คาดว่าจะไปเลือกตั้งมากที่สุดคือคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 18 – 24 ปี คิดเป็น 90.5เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ตามมาด้วยกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 25 – 39 ปี และวัย 40 – 60 ปี ขณะที่ 78 เปอร์เซ็นต์ตอบว่าทราบนโยบายของผู้สมัครของพวกเขา ขณะที่ 26 เปอร์เซ็นต์ตอบว่าไม่ทราบ
 
ขณะที่พรรคอันดับ 1 ที่ประชาชนเตรียมโหวตให้คือพรรคเอ็นแอลดี คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาคือพรรค USDP (The Union Solidarity and Development Party) ของรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 32 ขณะที่ร้อยละ 6 จะโหวตให้พรรค NUP (National Unity Party) และอีก 2 เปอร์เซ็นต์ไม่ออกความเห็น
 
ขณะที่ร้อยละ 45 เปอร์เซ็นต์ที่ตัดสินใจที่จะเลือกพรรคการเมืองนั้นๆ เผยว่าดูจากนโยบายและตัวผู้สมัคร ขณะที่ ร้อยละ 23 ดูจากการจัดกิจกรรมของของพรรคการเมือง ร้อยละ 19 อ้างว่าดูจากคุณสมบัติและความสามารถของผู้ลงสมัคร ส่วนอีก 13 เปอร์เซ็นต์ไม่ขอออกความเห็น
 
อีกด้านหนึ่ง ร้อยละ 42 เชื่อว่า ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าในหลายปีมานี้โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว ร้อยละ 31 ตอบว่าไม่ขอออกความเห็น ขณะที่ร้อยละ 14 ตอบว่าไม่ และอีกร้อยละ 13 ตอบว่าไม่ทราบ
 
แปลและเรียบเรียงจาก Mizzima 31 มีนาคม 55
 
 
ซูจีเผย การเลือกตั้งซ่อมไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม
 
นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีเปิดแถลงข่าวในวันนี้ (29 มี.ค.55) ที่บ้านพักในกรุงย่างกุ้งก่อนที่จะมีการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 1 เมษายนนี้ โดยระบุว่า การเลือกตั้งที่จะมาถึงไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากพบความไม่ชอบมาพากลในระหว่างการเตรียมการเลือกตั้งและการลงพื้นที่หาเสียง อย่างไรก็ตามระบุ ทางพรรคจะเดินหน้าต่อ เนื่องจากเป็นความต้องการของประชาชน
 
ทั้งนี้ นางซูจีกล่าวว่ายังไม่อาจกล่าวว่าการเลือกตั้งที่จะถึงนั้นเป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง หากพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในพม่าช่วง1-2 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากพบความไม่ปกติเกิดขึ้นและยากเกินกว่าที่จะยอมรับได้ในการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
 
นางซูจีเปิดเผยว่า ทางลูกพรรคของเธอนั้นถูกคุกคามและถูกโจมตีระหว่างลงพื้นที่หาเสียง นอกจากนี้ยังร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรมของรัฐบาลพม่าเช่น ในเขตเลือกตั้งกอว์มู ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นางซูจีรับสมัครเลือกตั้งนั้นพบมีรายชื่อของผู้ที่เสียชีวิตแล้วหลายร้อยคนอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่ชาวบ้านราว 1,300 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งและยังมีชีวิตอยู่กลับถูกตัดรายชื่อจากผู้ที่สิทธิ์ลงคะแนน
 
 
ผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งต่างชาติเดินทางถึงพม่าแล้ว
 
คณะผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งชาวต่างชาติและนักข่าวสื่อมวลชนราว 100 คน ได้เดินทางถึงพม่าแล้ว เพื่อเข้าสังเกตการณ์เลือกตั้งซ่อมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 1 เมษายนที่จะถึงนี้ ขณะที่พบมีชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากเดินทางถึงสนามบินนานาชาติในกรุงย่างกุ้งในหลายวันมานี้ โดยคาดว่า มีชาวต่างชาติและสื่อมวลชนรวมถึงนักการทูตราว 159 คนได้รับเชิญให้เข้าสังเกตการณ์ในครั้งนี้
 
ทั้งนี้สื่อท้องถิ่นพม่ารายงานว่า ผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศจะต้องติดบัตรพิเศษในระหว่างสังเกตการณ์เลือกตั้ง โดยบัตรดังกล่าวยังถูกมอบให้แก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ทางการพม่าประกาศว่า จะยกเลิกการรับรองตัวแทนสื่อมวลชนต่างประเทศได้ทุกเมื่อหากไม่ทำตามข้อปฏิบัติ
 
มีรายงานว่า สื่อมวลชนต่างชาติสามารถถ่ายภาพและวิดีโอได้ในระยะไกลๆและเข้าสังเกตการณ์การนับคะแนนได้ แต่ไม่อนุญาตให้เข้าไปในคูหาเลือกตั้ง อีกด้านหนึ่ง องค์กรอิสระคะฉิ่น (The Kachin Independent Organization -KIO) ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าจะไม่เข้าไปวุ่นวายการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ พร้อมทั้งยินดีจะร่วมมือกับพรรคเอ็นแอลดีเพื่อรับรองความปลอดภัยในการจัดการเลือกตั้งในรัฐคะฉิ่น
 
ขณะที่สัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการเลือกตั้งพม่าได้ออกมาประกาศเลื่อนการจัดการเลือกตั้งใน 3 เขตรัฐคะฉิ่น โดยอ้างถึงว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีความปลอดภัย ด้านโฆษกของพรรคเอ็นแอลดีแสดงความเสียใจ เนื่องจากทั้งสามพื้นที่ดังกล่าวเป็นฐานเสียงใหญ่ของพรรคเอ็นแอลดี และไม่เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยแต่อย่างใด
 
แปลและเรียบเรียงจาก Irrawaddy 29 มีนาคม 55
 
 
แปลและเรียบเรียงโดย: สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน" อ่านข่าวและบท ความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊ค http://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์ http://twitter.com/salweenpost 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เจ็บป่วยฉุกเฉิน 1 เม.ย.55 ก้าวแรกสู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว

$
0
0
 
วันที่ 1 เมษายน 2555 รัฐบาลกำลังจะเริ่มต้นการโครงการ “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ทำให้ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพใดๆ สามารถเข้าถึงการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างเท่าเทียมกัน เรื่องนี้นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งในระบบสุขภาพของประเทศไทย หลังจากการมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เมื่อ 10 ปีก่อน และถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของการไปสู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว ที่ทำให้คนไทยที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลแตกต่างกันได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียม บทความนี้จะนำเสนอรายละเอียดของเรื่องนี้ ใน 4 ประเด็นดังนี้
 
ประการที่ 1 ความเหลื่อมล้ำในระบบเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ละกองทุนมีการบริหารจัดการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่แตกต่างกัน จึงความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล โดยมีรายละเอียดที่แตกต่างกันดังนี้
 
ตารางที่ 1 ความแตกต่างด้านการแพทย์ฉุกเฉินของ 3 ระบบ ก่อน 1 เมษายน 2555
 
ระบบ

สวัสดิการข้าราชการ

ประกันสังคม

บัตรทอง

จำนวนผู้มีสิทธิ (ล้านคน)

4.9

9.9

47.7

ค่าใช้จ่าย/คน/ปี (บาท)

12,600

2,050

2,546

ที่มาของงบประมาณ

รัฐบาล

ผู้ประกันตน นายจ้าง รัฐบาล

รัฐบาล

การเกิดสิทธิ

ทันทีที่เป็นข้าราชการ

ต้องจ่ายสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ใน 15 เดือน

ทันทีที่ลงทะเบียน

การสิ้นสุดของสิทธิ

ไม่ได้เป็นข้าราชการ

ขาดส่งเงินสมทบ > 3 เดือน

ได้สิทธิอื่น

เงื่อนไข

ไม่จำกัด

จำกัด 72 ชั่วโมง จากนั้นส่งกลับร.พ.ต้นสังกัด

ไม่จำกัด

หน่วยบริการ

ร.พ.รัฐทั่วประเทศ เท่านั้น

ทั้งรัฐและเอกชนไม่จำกัด

ทั้งรัฐและเอกชนในเครือข่าย

การสำรองจ่าย
(ร.พ.ในเครือข่าย)

ไม่ต้อง

สำรองจ่ายก่อน

ไม่ต้อง

การสำรองจ่าย
(ร.พ.นอกเครือข่าย)

สำรองจ่ายก่อน

สำรองจ่ายก่อน

ไม่ต้อง

ตัวอย่างอัตราจ่ายร.พ.นอกเครือข่าย
 

-ค่ายาและค่ารักษาพยาบาลครึ่งหนึ่ง แต่ไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน
-ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 600 บาท
-ผู้ป่วยนอก ไม่เกิน 1,000 บาท
-ผู้ป่วยในปกติ ไม่เกิน วันละ 2,000 บาท
-ผู้ป่วยใน ICU ไม่เกิน วันละ 4,500 บาท
-ผ่าตัดใหญ่ ไม่เกินครั้งละ 8,000-16,000 บาท
-ค่าห้อง ค่าอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท
หมายเหตุ อัตราสำหรับจ่ายร.พ.เอกชน

-ผู้ป่วยนอก ไม่เกิน 700 บาท
-ผู้ป่วยใน ไม่เกิน 4,500 บาท
-ผ่าตัดใหญ่ < 2 ชม. ไม่เกิน 8,000 บาท
-ผ่าตัดใหญ่ > 2 ชม., ICU ไม่เกิน 14,000 บาท
 
ประการที่ 2 ดีขึ้นและเท่าเทียม จากระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว หลังจากที่รัฐบาลประกาศนโยบายนี้แล้ว ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินทุกคน จะได้รับการดูแลดีขึ้นทุกสิทธิ อย่างเท่าเทียม โดยสามารถไปรับบริการที่ใดก็ได้ ไม่ว่าของรัฐบาลหรือเอกชน โดยไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน อีกทั้งเมื่อเลย 72 ชั่วโมงก็ไม่ต้องส่งตัวกลับโรงพยาบาลต้นสังกัด โดย สปสช.จะเป็นผู้ตามจ่ายให้กับโรงพยาบาลก่อน ในอัตราผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม RW = 10,500 บาท
 
จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคนได้รับสิทธิการรักษาที่ดีขึ้นกว่าเดิม แม้แต่ข้าราชการซึ่งเดิมไม่สามารถไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนได้ ต่อไปก็จะสามารถไปรับบริการได้ ส่วนผู้ประกันตน ต่อไปนี้ก็ไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน และไม่ต้องถูกส่งตัวกลับโรงพยาบาลต้นสังกัดหากรับการรักษาเกิน 72 ชั่วโมง เป็นต้น
 
ประการที่ 3 ยังไม่ทั่วถึงทุกคน จากนโยบายที่บอกว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” แต่วันนี้ยังมีอีกหลายกลุ่มที่นโยบายนี้ยังไม่ครอบคลุม ได้แก่ บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิกว่า 450,000 คน ที่ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข, พนักงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ข้าราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และครูเอกชน เป็นต้น จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องนำกลุ่มคนที่เหลือเหล่านี้เข้าสู่นโยบายดังกล่าว ไม่เช่นนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าโครงการนี้ทั่วถึงทุกคน
 
และยังมีคำถามที่สำคัญต่อไปอีกว่า เมื่อเราเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asian Economics Community) ในปี 2558 กลุ่มแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่จ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอย่างถูกต้องตามระบบประกันสังคม ควรจะเข้าสู่ระบบนี้เช่นกันหรือไม่
 
ประการที่ 4 สิ่งท้าทายต่อไป ยังมีหลายประเด็นที่ควรปรับปรุงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มประสิทธิภาพ พร้อมๆกับคุณภาพ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เป็นการใช้เตียงที่มีเหลือในภาคเอกชนให้เป็นประโยชน์ และลดภาระของภาครัฐ ได้แก่ 1) ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียวสำหรับ มะเร็ง เอดส์ ไต หัวใจ หลอดเลือด โรคค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ ที่มีระบบบริหารจัดการเฉพาะ และยาราคาแพง
 
2) การเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ในภาครัฐ และจำนวนเตียง (supply side) ให้เพียงพอกับปริมาณคนไข้ที่เข้าถึงบริการมากขึ้น เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้พัฒนาด้านหลักประกันสุขภาพ (demand side) ให้คนไข้สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น แต่ทว่ายังไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการเพิ่มกำลังคนและจำนวนเตียงในโรงพยาบาลให้เพียงพอแต่อย่างใด ลำพังทำแต่ด้านหลักประกันสุขภาพให้ดีก็ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ เพราะอัตรากำลังและจำนวนเตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ
 
และ 3) รัฐบาลต้องไม่ลืมคือ ผู้ประกันตนอีก 10 ล้าน ที่ยังเป็นคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบค่ารักษาพยาบาล ในเมื่อทุกอย่างเหมือนกัน มาตรฐานเดียวกัน ทำไมยังเป็นคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่าย
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พีอาร์ 6 เดือนรัฐบาลอย่างไรให้ได้มูลค่าเพิ่ม

$
0
0

ไพศาล อินทสิงห์ กับข้อเสนอต่อการประชาสัมพันธ์ผลงานในรอบ 6 เดือนของรัฐบาล ความสำเร็จของนโยบายต้องให้ประชาชนเป็นผู้บอก ให้ใช้การสื่อสาร 2 ทางในบรรยากาศที่สร้างสรรค์ ใกล้ชิดเป็นกันเอง

 
ขึ้นชื่อว่า เป็นรัฐบาลไม่ว่าใคร ย่อมต้องการมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์
 
จะเป็นที่ประจักษ์ได้ต้องประชาสัมพันธ์ (PR)
 
PR จึงสำคัญสำหรับนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในฐานะผู้กำหนดนโยบายประเทศ อันเป็นต้นทาง ผลงาน คือปลายทาง
 
ลำพังนโยบาย ยังเป็นนามธรรม เป็นแนวทางกว้างๆ ให้รู้ว่า รัฐบาลทำอะไร ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ไม่มีใครรู้ เพราะยังไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ
 
ต่อเมื่อนโยบายนั้นสิ้นสุดลง หรือหลังจากดำเนินนโยบายมาครบระยะเวลาหนึ่ง จะเป็น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น ถึงจะรู้ว่า ประสบความสำเร็จก้าวหน้าอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคตรงไหน มีจุดอ่อนอะไร จะปรับแก้อย่างไร
 
เชื่อว่า ครม.พยายามทำดีที่สุด ต้องการบรรลุเป้าหมายที่คาดหวังไว้ให้มากที่สุด หรือไม่ก็ใกล้เคียง
 
ผลงานที่ทำได้จริงเท่าไร นั่นคือ รูปธรรม
 
จากวันนั้น ถึงวันนี้ รัฐบาลครบ 6 เดือน ทั้งขับ ทั้งเคลื่อนนโยบายด้านต่างๆ กระทั่งออกมาเป็นผลงาน ไม่น้อย ดังที่ได้รับรู้ทางสื่อมวลชนเป็นระยะๆ ต่อเนื่องเรื่อยมา
 
“ในวันที่ 5 เมษายน นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล จะมีการเปิดตัวคณะกรรมการโฆษกกระทรวง โดยจะให้โฆษกทุกกระทรวง รวบรวมผลงานของแต่ละกระทรวงในรอบ 6 เดือนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มานำเสนอต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการ” (อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, มติชน 31 มีค.55)
 
เป็นอีกจังหวะก้าว ที่จะใช้โอกาสนี้บอกกล่าว ประชาสัมพันธ์ รายงานความก้าวหน้าให้ประชาชนทราบ
 
เชื่อว่า คณะกรรมการโฆษกกระทรวง ทำการบ้านอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานออกมาดี PR โดดเด่น เป็นที่สนใจของสื่อและประชาชน
 
หวังตอกย้ำผลงานโดยสรุปภาพรวมอีกครั้ง เน้นข่าวสารเข้าถึงประชาชน กลุ่มเป้าหมายต่างๆ มากที่สุดอีกรอบ
 
PR 6 เดือน จึงเหมาะสม และน่าสนใจยิ่ง แต่จะ PR อย่างไรให้ได้มูลค่าเพิ่ม ก็น่าสนใจไม่น้อย เป็นประเด็นที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ
 
แนวทางหนึ่ง ควรประชาสัมพันธ์ที่ฉีกแนวใหม่ๆ มิเพียงแค่ให้รับรู้ แต่ยังสร้างความรู้สึก “ประทับใจคนดู” ด้วย ซึ่งอาจอยู่ในแผนของโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเตรียมการไว้หมดแล้ว ก็ได้
 
หากมีอยู่แล้ว ก็ถือเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมอง ผู้อ่านอาจเห็นด้วย เห็นแย้ง หรือเห็นเพิ่มจากผู้เขียน ซึ่งมองว่า ในการทำประชาสัมพันธ์นั้น ควรต้องสะท้อน 3 คำ คือ เจ๋ง-ฉีกแนว-ไม่ซ้ำใคร
 
มิเช่นนั้นอาจส่งผลให้การแถลงผลงานรัฐบาลโดยโฆษกกระทรวงดูราบเรียบ ธรรมดาไป ขาดพลัง ขาดความพลิ้วไหว ก็จะไม่โดนใจ ไม่กระตุกกระตุ้นความสนใจของประชาชน ซึ่งน่าเสียดายโอกาส
 
อย่าว่าแต่ประชาชน แม้แต่สื่อเอง ก็อาจไม่รู้สึกสนใจ ผู้เขียนมองว่า ยิ่งเป็นหน่วยงานระดับรัฐบาล ยิ่งต้องให้ข่าวสารขจรขจาย เข้าถึง กว้างไกล
 
ยิ่งแถลง 6 เดือนเป็นแพ็กเกจทุกกระทรวงเช่นนี้ ยิ่งต้องหวังผลให้คนจำได้ สังคมชื่นชม กล่าวขานถึง เป็นการประกาศแสนยานุภาพทางการประชาสัมพันธ์
 
เป็นไปได้หรือไม่ว่า ช่วงหนึ่งของกิจกรรมวันนั้น จับมือกับสื่อทีวีทุกช่อง ให้สื่อไปอยู่ในสถานที่จริง ในจุดที่นโยบายไปทำสำเร็จและมีความโดดเด่น เลือกผลงานที่เน้นๆ เนื้อๆ สัก 2-3 โครงการ/ภาค ชูเป็นจุดแข็งเพื่อสร้างจุดขาย
 
ยิงสัญญาณสดจากจุดนั้น จากทุกภาคทั่วไทย เข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาล และตัดออกอากาศนำเสนอสู่สาธารณะ สังคม สดจากพื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบลหมู่บ้าน เพิ่มการสัมภาษณ์ชาวบ้าน เกษตรกร ฯลฯ
 
นอกจากสร้างการมีส่วนร่วมแล้ว การจะบอกว่า ความสำเร็จของนโยบายแค่ไหน ต้องให้ประชาชน สังคมเป็นผู้บอก จริงอย่างไรก็จริงอย่างนั้น เป็นกลวิธีหรือเสน่ห์อย่างหนึ่ง ถ้าผลงานทำได้สำเร็จจริง ก็ไม่ต้องกังวลอะไร ทั้งรัฐบาล และประชาชน ต่างมีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งสู่คุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
 
ซึ่งวันนั้น อาจทำเป็นรายการถ่ายทอดสด มีพิธีกรที่จะต้องเชื่อมโยง และดำเนินรายการ คอยจัดคิวสัญญาณสดจากพื้นที่
 
ขณะที่อีกช่วงจัดให้มีการโทรศัพท์เข้ามาในรายการ แสดงความคิดเห็น หรือสอบถามในเรื่องต่างๆ ที่เป็นนโยบายของรัฐบาลได้ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี เป็นผู้ตอบ
 
สร้างการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนในบรรยากาศที่สร้างสรรค์ ใกล้ชิดเป็นกันเอง
 
เป็นไปได้หรือไม่ การประชาสัมพันธ์ในยุคใหม่ อาจเลือกใช้สื่อสมัยใหม่ อย่างอินเทอร์เน็ตอีกทางหนึ่งด้วย
 
เป็นภาคภาษาอังกฤษ เพราะวันนี้ภารกิจรัฐบาลยุคใหม่ เชื่อมโยงกับโลกมากขึ้นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ฯลฯ
 
และนับวันจะโยงมากขึ้น ต้องให้ต่างประเทศรู้ว่า รัฐบาลกำลังทำอะไรบ้าง อย่างไร เป็นผลดีต่อการทำงานร่วมมือกัน และสร้างความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ประเทศไทย
 
กลุ่มเป้าหมายอยู่ไหน เรา (ข่าวสารรัฐบาล) ไปถึงนั่น
 
ที่เขียนมานี้ ก็ขออนุญาตนำมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้กัน เป็นบางมุม บางส่วนบางเสี้ยว หากทำได้ หรือหากมีในแผนแล้ว ก็น่าจะเป็นมูลค่าเพิ่มให้การประชาสัมพันธ์รัฐบาลไม่มากก็น้อย
 
จะเป็นมูลค่าเพิ่มอย่างไร ขึ้นกับการออกแบบกิจกรรม PR ในวันนั้น
 
เหนืออื่นใด อยู่ที่ประชาชนจะเป็นผู้ให้คะแนนผลงานรัฐบาล
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เอ็นแอลดีอ้าง "ซูจี" คะแนนนำ - คนแห่ฉลองแม้ กกต.ยังไม่ประกาศผล

$
0
0

กกต.พม่ายังไม่ประกาศผลนับคะแนน ขณะที่พรรคเอ็นแอลดีอ้างผลไม่เป็นทางการ "ออง ซาน ซูจี" คะแนนนำร้อยละ 65 แต่ยังนับไม่เสร็จ ขณะที่เอ็นแอลดีคาดชนะแน่นอนแล้ว 12 เขตเลือกตั้ง ส่วนที่เนปิดอว์คะแนนนำ 3 เขตจาก 4 เขต

ผู้สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดี รวมตัวกันที่หน้าที่ทำการพรรคในกรุงย่างกุ้ง เพื่อลุ้นผลนับคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัครจากพรรคมีคะแนนนำหลายเขต รวมทั้งนางออง ซาน ซูจี โดยแหล่งข่าวในพรรคอ้างว่ามีการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว 12 เขต จากที่แข่งกันทั้งหมด 45 เขต และพรรคชนะทุกที่นั่ง อย่างไรก็ตาม กกต.พม่ายังไม่มีการประกาศผลการนับคะแนนทั้งแบบไม่เป็นทางการ และแบบเป็นทางการ (ที่มาของภาพ: เฟซบุค Eleven Media Group)

 

นับคะแนนยังไม่เสร็จ เอ็นแอลดีระบุ "ซูจี" มีคะแนนนำ คนแห่ฉลอง

สำนักข่าวอิระวดี รายงานกลางดึกวันนี้ (1 เม.ย.) ว่า ผลการนับคะแนนเบื้องต้นหลังปิดหีบเลือกตั้งขณะนี้ ในเขตกอว์มู ที่นางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่้อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ตอนนี้นางออง ซาน ซูจีมีคะแนนนำอยู่ที่ร้อยละ 65 จากคะแนนที่นับไปแล้ว 82 หน่วยเลือกตั้ง จากทั้งหมด 129 หน่วยเลือกตั้ง

โดยที่ทำการพรรคเอ็นแอลดี มีการแสดงผลการนับคะแนนเบื้องต้นผ่านสกอร์บอร์ดด้วย และแหล่งข่าวในพรรคเอ็นแอลดีอ้างว่าเจ้าหน้าที่นับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว 12 เขต จากที่แข่งกันทั้งหมด 45 เขต โดยพรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งทั้ง 12 เขต

ทั้งนี้มีผู้สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดี มาชุมนุมกัน ณ ที่ทำการพรรคหลายพันคน และมีการร้องรำทำเพลงเฉลิมฉลองด้วย อย่างไรก็ตามผลการนับคะแนนขณะนี้ยังถือเป็นตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ และนับตั้งแต่ปิดหีบเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งพม่ายังไม่ได้ประกาศผลการเลือกตั้งใดๆ

 

เอ็นแอลดีคะแนนนำ 3 เขตในเนปิดอว์ แกนนำกลุ่มฮิปฮอป "Generation Wave" มีคะแนนนำ

ขณะที่ผลการเลือกตั้งที่เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า สำนักข่าวอิระวดี อ้างรายงานของสื่อมวลชนท้องถิ่น ที่ระบุผลการเลือกตั้งว่า คาดว่าพรรคเอ็นแอลดีจะชนะการเลือกตั้ง 3 เขต ได้แก่ โปบปาติริ ที่พรรคเอ็นแอลดีส่งนายซะยาดอว์ หรือ สล่าดอว์ ผู้นำกลุ่มเยาวชนฮิปฮอป "Generation Wave" ลงสมัคร เขตดากินาติริ ที่ส่งนายหน่าย งัน ลิน อดีตติวเตอร์นักเรียนมัธยมในย่างกุ้งลงสมัคร และคาดว่าเขตซาบูติริ นายซันดา มิน ก็มีแนวโน้มที่จะชนะการเลือกตั้ง

ขณะที่เขตการเลือกตั้ง อุตะระติริ ขณะนี้กำลังนับคะแนนอยู่ และนายหล้า เต็ง ส่วย ผู้สมัคร ส.ส. พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา หรือ ยูเอสดีพี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล กำลังมีคะแนนนำคู่แข่งจากพรรคเอ็นแอลดี

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

NLD Supporters Celebrate Election Victory, COLIN HINSHELWOOD / The Irrawaddy, April 1, 2012,

NLD Says Suu Kyi Leads in Polls, The Irrawaddy, April 1, 2012

NLD Claims 3 Seats in Naypyidaw, By DAVID PAQUETTE / THE IRRAWADDY, April 1, 2012

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มาร์คเตรียมตั้งกระทู้สดบึ้มใต้ - มท.1 เผยนายกฯ บินลงใต้ถกเหตุระเบิด

$
0
0

"ยิ่งลักษณ์" รู้กลุ่มก่อเหตุคาร์บอมบ์ 2 จังหวัด เร่งล่ามือระเบิด ส่ง "ยงยุทธ-สันติ" เยียวยา ด้าน มาร์คเตรียมตั้งกระทู้สดบึ้มใต้ เผยห่วงรุนแรงเหมือนยุคทักษิณ ส่วนฮิวแมนไรทส์ฯ ชี้ผู้ก่อเหตุคาร์บอมบ์หวังผลความสูญเสียครั้งใหญ่

 
มาร์คเตรียมตั้งกระทู้สดบึ้มใต้-ห่วงรุนแรงเหมือนยุคทักษิณ
 
เนชั่นทันข่าว: 1 เม.ย.2555 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังจากลงพื้นที่เยี่ยมชาวบ้านและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์คาร์บอมบ์ที่ จ.ยะลา และหาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก ตนและคณะได้ลงพื้นที่เพื่อแสดงความเสียใจและให้กำลังใจ รวมทั้งจะช่วยติดตามในประเด็นที่ประชาชนมีความห่วงใย
 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า มีปัญหาในเรื่องระดับนโยบายที่ควรจะต้องทบทวนสถานการณ์ว่า เหตุที่รุนแรงขึ้นเพราะอะไร อย่างไร ส่วนจะเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลส่ง พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขา ศอบต.ไปเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็นหรือไม่นั้นคงยังสรุปไม่ได้ แต่ต้องตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายหรือมีการเคลื่อนไหวอะไรหรือไม่ ทั้งนี้ตนเห็นว่านโยบายที่ดำเนินการโดย สมช.มีความต่อเนื่อง แต่ยังมีปัญหาระดับนโยบายคือฝ่ายการเมือง และมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปฏิบัติ อาจทำให้เกิดความสับสนได้ จึงอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบหรือรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเอาใจใส่ติดตามประเด็นในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
 
"ผมเตือนอยู่เสมอว่ามันมีสัญญาณของความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมีความไม่มั่นใจในเรื่องความต่อเนื่องของนโยบายบางด้าน อยากให้ทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง รัฐบาลต้องพิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้นในแง่การเคลื่อนไหวของผู้ที่เกี่ยวข้อง และอยากให้รัฐบาลใช้ความระมัดระวังในการพูดเกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงมากกว่านี้ เช่นกรณีที่มีความผิดพลาดในการยิงชาวบ้านแต่มีการใช้คำพูดแบบไม่ระมัดระวังก็ทำให้เกิดปัญหาตามมาเพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
 
เมื่อถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า ทราบตัวผู้ก่อเหตุแล้วว่าเป็นกลุ่มไม่ใหญ่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยิ่งน่ากลัวเพราะถ้ากลุ่มเล็กทำได้ขนาดนี้แล้วกลุ่มใหญ่จะทำได้ขนาดไหน ซึ่งตนย้ำว่านายกรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องติดตามอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งนี้ในสัปดาห์นี้จะได้ตั้งกระทู้สดถามรัฐบาลในสภาด้วย โดยตนมีความเป็นห่วงว่าความรุนแรงจะย้อนรอยกลับไปเหมือนในยุคที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลต้องมีความชัดเจนให้ผู้ปฏิบัติทำงานได้อย่างมีเอกภาพ
 
 
"ยิ่งลักษณ์" เผยรู้กลุ่มก่อเหตุคาร์บอมบ์ 2 จว. เร่งล่ามือระเบิด ส่ง "ยงยุทธ-สันติ" เยียวยา
 
มติชนออนไลน์: เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 1 เมษายน ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคาร์บอมบ์ในพื้นที่ จ.ยะลา จ.ปัตตานี และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า มีความคืบหน้าบ้างแล้ว คือพอจะรู้กลุ่มที่ก่อเหตุแล้ว แต่ขณะนี้ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกับเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองทำงาน ซึ่งในช่วงบ่ายวันนี้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีจะเรียกประชุมสำนักข่าวกรองมาดูข้อมูลทั้งหมด ในเบื้องต้นเราได้มีการสั่งการให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. ลงพื้นที่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ไปดูที่เกิดเหตุทั้งหมดทุกจุดและจะทำงานร่วมกับ ผวจ. และวันนี้ช่วงบ่าย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.หมาดไทย และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะลงพื้นที่ไปเยียวยาช่วยเหลือผู้ป่วยและเสียชีวิต
 
“ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งญาติผู้เสียชีวิตด้วย และสิ่งที่เราดำเนินการเพิ่มเติมคือได้มีการสั่งการทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ในการเพิ่มกำลังดูแลพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะเพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนและบูรณาการกับกำลังของกองทัพ ซึ่งมีรอง ผบ.ทบ.ที่จะลงไปในพื้นที่เพื่อช่วยกันบูรณาการร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ทั้งการสืบหาข้อเท็จจริงและตัวผู้ร้ายหรือผู้ประสงค์ไม่ดีที่ก่อเหตุ รวมถึงวางแผนในการป้องกัน” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
 
เมื่อถามว่า เบื้องต้นมีการประเมินสถานการณ์หรือไม่ว่าที่มีเหตุรุนแรงถี่ขึ้นเพราะอะไร น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เราพอทราบคร่าวๆ ขณะนี้ขออนุญาตยังไม่เปิดเผยข้อมูล ขอให้ทางคณะทำงานได้ทำงาน ก่อน แต่พอทราบกลุ่มก่อเหตุด้วยคงต้องลงไปทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้ตัวมา
 
เมื่อถามว่า เหตุที่เกิดเกี่ยวกับขบวนการต่างชาติหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ยังไปไม่ถึงตรงระดับนั้น
 
เมื่อถามว่า เป็นการตอบโต้การทำงานของฝ่ายเจ้าหน้าที่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขออนุญาตยังไม่ให้ข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะได้ทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น
 
เมื่อถามว่า นายกฯ คิดว่าจะมีเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นระลอกสอง-สามตามมาอีกหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เป็นกลุ่มที่ใหญ่มาก วันนี้เราคงต้องทำทั้งสองอย่าง คือสืบหาสาเหตุที่แน่นอนและหาตัวผู้ก่อเหตุไม่สงบ และเรื่องความป้องกันในพื้นที่ได้รับความปลอดภัยจะเสริมกำลังในส่วนของ สตช.และหน่วยอื่นลงไปเพิ่มด้วย และบูรณาการกับกองทัพด้วย
 
เมื่อถามย้ำว่า กลุ่มที่ก่อเหตุเป็นเจ้าประจำหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ไม่พูดดีกว่าเพราะเจ้าหน้าที่จะทำงานลำบากขอให้ได้ตัวก่อนดีกว่าอันนี้จะ เป็นประโยชน์มากกว่า
 
เมื่อถามว่า นายกฯ จะหาโอกาสเดินทางลงพื้นที่ไปเยี่ยมให้กำลังเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า อยากไปแต่ที่ไม่ได้ตัดสินใจไปเพราะวันนี้กำลังเจ้าหน้าที่เรามีจำกัดจริงๆ เพราะต้องกระจายไปหลายจังหวัด ถ้าตนลงไปส่วนหนึ่งต้องแบ่งส่วนหนึ่งไปดูแลความปลอดภัย แล้วเราจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานลำบากขึ้น คิดว่าเราอยู่บัญชาการประสานงานตรงนี้ดีกว่า แต่เบื้องต้นการเยียวยาได้ติดตามตลอด ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลบางส่วนได้กลับบ้านแล้ว เรื่องแพทย์ฉุกเฉินที่เราทำงานอยู่เราเริ่มทำงานแล้วได้สั่งการทางกระทรวงสาธารณสุขได้ทำงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 มี.ค.แล้ว
 
 
มท.1 ระบุ นายกฯ บินลงใต้ถกเหตุระเบิด
เนชั่นทันข่าว: เมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (1เม.ย.2555) นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์เหตุลอบวางระเบิดโรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พร้อมกับเปิดเผยว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ อ.หาดใหญ่ จะต้องมีการบูรณการระหว่าง 3 หน่วยงานคือ หน่วยงานด้านความมั่นคง, ตำรวจ, ศอ.บต.ซึ่งเป็นกำลังหลักในการกำหนดมาตรการต่างๆ ร่วมกัน ขณะที่ความช่วยเหลือและฟื้นฟู พื้นที่ที่ถูกลอบวางระเบิดทั้งในพื้นที่ จ.ยะลา และ อ.หาดใหญ่นั้น ทางกระทรวงมหาดไทย จะร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าไปช่วยเหลือเยียวยา
 
อย่างไรก็ตาม การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ เพื่อประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่น่าเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัย เพราะมีการจัดกำลังเจ้าหน้าที่คอยดูแลอยู่แล้ว
 
 
ฮิวแมนไรทส์ฯ ชี้ผู้ก่อเหตุคาร์บอมบ์หวังผลความสูญเสียครั้งใหญ่
เนชั่นทันข่าว: นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรทส์วอทช์ ประเมินการก่อเหตุลอบวางระเบิดในรถยนต์ 3 จุด คือ ที่ห้างสรรพสินค้าลีการ์เด้นส์ จ.สงขลา รวมถึง จ.ยะลา และปัตตานี ว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุพุ่งเป้าไปที่การทำร้ายพลเรือน โดยเฉพาะ 2 จุดที่หาดใหญ่ และยะลา โดยหวังผลให้เกิดความสูญเสียขนาดใหญ่ ซึ่งพิจารณาจากช่วงเวลาและสถานที่ก่อเหตุ

ทั้งนี้ ประเมินว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุต้องการตอบโต้ปฏิบัติการของภาครัฐที่ประสบความสำเร็จในยุทธวิธีเข้าหาประชาชน การก่อเหตุเพื่อเป็นการแสดงศักยภาพให้เห็นว่ากลุ่มยังสามารถควบคุมพื้นที่ได้ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ทุกครั้งที่ภาครัฐมีการผลักดันกระบวนการเจรจายุติความรุนแรงขัดแย้งในพื้นที่ กลุ่มเหล่านี้ก็จะตอบโต้กลับ จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ต้องยกระดับการเฝ้าระวัง ควบคู่ไปกับการผลักดันการเจรจา

ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรทส์วอทช์ ยังวิเคราะห์ด้วยว่า เหตุลอบวางระเบิดครั้งนี้ นอกจากจะหวังผลเชิงสัญลักษณ์แล้ว ยังต้องการทำลายความเชื่อมั่น ความเข้มแข็งของรัฐ และเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วย

 
 
แม่ทัพภาค 4 ตรวจที่เกิดเหตุบึ้ม รร.ลีการ์เด้นส์
 
เนชั่นทันข่าว: เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 1 เม.ย.2555 พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาค 4 เดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุและรับทราบสถานการณ์กรณีเหตุระเบิดโรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พร้อมกับเผยว่า ทุกฝ่ายจะต้องหามาตรการป้องกันอุดช่องโหว่เพื่อไม่ให้ก่อเหตุซ้ำ หากจำเป็นต้องหาเครื่องมือมาเพิ่มเติมเชื่อว่ารัฐบาลก็น่าจะสนับสนุนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ขณะนี้จำเป็นที่จะต้องเร่งฟื้นฟูเมืองให้กลับมามีสภาพเดิมโดยเร็วสุดโดยเฉพาะสภาพจิตใจของชาวหาดใหญ่รวมถึงในพื้นที่จ.ยะลา ซึ่งมีสภาพไม่แตกต่างกัน ส่วนระเบิดที่คนร้ายใช้นั้นทางเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานว่าเป็นระเบิดชนิดใดและจุดชนวนด้วยอะไร
 
ทางด้าน นายวันชัย ลีละศิธร เจ้าของโรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่า เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้เนื่องจากต้องรอให้เจ้าหน้าที่เคลียร์พื้นที่เสร็จเรียบร้อยก่อน แต่ยืนยันว่าในโซนที่เกิดระเบิดไม่มีการใช้ถังแก๊สตามที่มีข่าวปรากฏออกมาแต่อย่างใด ทั้งห้องครัวร้านอาหารต่างๆ ล้วนใช้ระบบไฟฟ้าทั้งสิ้น และเจ้าหน้าที่เทศบาลก็ทราบดีเพราะเป็นข้อห้ามในเรื่องของการออกใบอนุญาต เพราะถังแก๊สต้องอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทนำมาวางไว้ชั้นใต้ดินไม่ได้ ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนพร้อมที่จะลุกขึ้นสู้ต่อไปและเร่งปรับปรุงให้กลับมาเปิดบริการโดยเร็วที่สุดหลังสถานการณ์คลี่คลาย
 
อย่างไรก็ตามล่าสุดในวันนี้ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ได้นำประกาศมาติดห้ามใช้อาคารโรงแรมลีการ์เด้นส์พลาซ่าชั่วคราวจนกว่าการเคลียร์พื้นที่จะแล้วเสร็จและทางวิศวกรจะเข้าตรวจสอบโครงสร้างอาคารที่ถูกไฟไหม้ให้เพื่อยืนยันถึงความปลอดภัย
 
 
เผยระเบิด รร.กลางเมืองหาดใหญ่ “คาร์บอมบ์” ติดตั้งในฮอนด้าแจ๊ซ ตาย 5 ไอซียู 28
 
มติชนออนไลน์: จากเหตุการณ์ระเบิดที่หาดใหญ่ เมื่อเวลา 21.30 น.วันที่ 31 มี.ค. พล.ต.อ.เพียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงตรวจพื้นที่เพื่อดูสภาพความเสียหายของสถานที่เกิดเหตุ เกิดเหตุระเบิดห้างสรรพสินค้าลีการ์เดนส์พลาซ่า ระบุเป็นคาร์บอมที่บรรจุในถังแก๊สเช่นเดียวกับเหตุระเบิดที่ จ.ยะลา และสถานการณ์เชื่อมโยงกัน สั่งคุมเข้มพื้นที่หาดใหญ่ทุกตารางนิ้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่พอทราบกลุ่มที่ก่อเหตุแล้ว ซึ่งในส่วนของเหตุระเบิดหาดใหญ่มีความเสียหายมาก จากวันนี้จนไปถึงเทศกาลสงกรานต์ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายจะต้องตั้งด่านตรวจให้ถี่ขึ้นเพื่อป้องกันเหตุร้าย และเหตุระเบิดหาดใหญ่จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว
 
นายกฤษฎา บุญราช ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา เปิดเผยว่าผู้บาดเจ็บขณะนี้อยู่ที่ 354 คน ที่เข้ารักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 144 คน อาการน่าเป็นห่วงอยู่ในห้องไอซียู 28 คน และเสียชีวิต 5 คน เป็นชาย 4 คน หญิง 1 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียรวมอยู่ด้วย 1 คน  ส่วนการช่วยเหลือทางจังหวัดจะมอบเงินในกรณีผู้เสียชีวิต หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะจ่ายค่าเยียวยาให้ 50,000 บาท สมาชิกครอบครัว 25,000 บาท
 
ส่วนผู้บาดเจ็บหากรักษาตัวเกิน 1 เดือน จะจ่ายค่าเยี่ยวเบื้องต้นเดือน 3,000 บาท และจะเสนอไปยัง ศอ.บต.เพื่อให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นกรณีพิเศษและ ในวันที่ 1 เม.ย. ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวทุกหน่วย จะตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบโดยจะเปิดศูนย์รับแจ้งผู้สูญหายรวมทั้งทรัพย์สิน
 
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังจากที่หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด ได้เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุพบว่าอยู่บริเวณลานจอดรถชั้นบี 3 ซึ่งเป็นชั้นใต้ดิน พบรถที่ประกอบเป็นคาร์บอมบ์เป็นรถยนต์ฮอนด้าแจ๊ซ ยังไม่ทราบหมายเลขทะเบียน ใช้ระเบิดแสวงเครื่องบรรจุในถังแก๊สน้ำหนัก 15 กก.แรงระเบิดทำให้รถขาดสองท่อนและ พื้นลานจอดรถเป็นหลุมลึกประมาณ 50 ซม.รัศมีเท่ากับตัวรถ แต่ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถตรวจในรายละเอียดได้เพราะ ยังมีกลุ่มควันและไอความร้อนอยู่ ขณะที่บริเวณจุดเกิดเหตุมีรถยนต์ที่ถูกไฟไหม้และถูกสะเก็ดระเบิดพังเสียหายกว่า 100 คัน
 
 
แม่ทัพภาคที่ 4 หารือ นำ “มาตรการพื้นที่ปลอดภัย” กลับมาใช้
 
เมื่อวันที่ 31 มี.ค.55 เวลา 19.30 น.ณ บริเวณถนนสายรวมมิตร เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 เดินทางมาตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พร้อมพูดคุยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุระเบิด นอกจากนั้นยังได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่ร่วมกับพล.ต.ประตินันท์ สายหัสดี ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา, นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลาและ พ.อ.ธนุตม์ พิศาลสิทธิวัฒน์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 เกี่ยวกับการนำมาตรการพื้นที่ปลอดภัยหรือ SAFETY ZONE กลับมาใช้ในพื้นที่นี้อีกครั้ง หลังถูกยกเลิกไปในช่วงที่ผ่านมา
 
พลโท อุดมชัย  ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้ ตนเชื่อว่าฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงพยายามที่จะก่อเหตุในพื้นที่เมืองให้ได้ เพราะที่ผ่านมาฝ่ายเจ้าหน้าที่ได้เปิดแผนปฏิบัติการ เพื่อที่จะจำกัดความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนพวกนี้มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง รวมทั้งมีการจับกุมระดับแกนนำได้หลายคน จึงมีความพยายามตอบโต้ สำหรับกลุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุในครั้งนี้พอที่จะทราบแล้วว่าเป็นกลุ่มใด ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการแจ้งเตือนกันแล้วตั้งแต่รถที่หายไป ให้พยายามตรวจสอบค้นหา แต่ก็คงจะสามารถหลุดรอดในบางจุดเข้ามาได้
 
แม่ทัพภาคที่ 4 ยังกล่าวอีกว่า ในส่วนมาตรการ SAFETY ZONE มองว่าคงจะต้องกลับมาทบทวน จะต้องขอความร่วมมือจากประชาชน เพราะเมื่อมี SAFETY ZONE โซนก็มีความปลอดภัย หากพี่น้องประชาชนยังมองว่า SAFETY ZONE ทำให้เสียประโยชน์ ในอนาคตก็อาจจะเจอเหตุการณ์เหล่านี้อีกได้ ซึ่งจะต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน
 
ส่วนการเยียวยาก็ทราบว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะลงพื้นที่เพื่อดูแลอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม ตนเองอยากจะบอกกับพี่น้องประชาชนว่า กลุ่มคนที่ก่อเหตุในครั้งนี้เป็นกลุ่มที่ไร้ซึ่งมนุษยธรรม กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ถึงเวลาแล้วที่องค์กรภาคเอกชนต่างๆ ที่ตรวจสอบความเป็นธรรม ตรวจสอบหลักสิทธิ ให้ออกมาเคลื่อนไหวบ้าง หากยังปล่อยให้กลุ่มเหล่านี้ก่อเหตุโดยไม่มีการประณาม ก็อยากให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ถกการศึกษาทางเลือก เสนอยกเลิกเอเน็ต-โอเน็ต-เอ็นทรานซ์ ตัวชี้วัดไร้มาตรฐาน

$
0
0

เผยตัวเลข “โรงเรียนทางเลือก” กว่า 209 แห่ง“ชัชวาลย์” เสนอยกเลิกตัวชี้วัดการสอบ “เอเน็ต-โอเน็ต-เอ็นทรานซ์” ชี้การศึกษาทางเลือกจะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ตาม รธน. พร้อมพัฒนากฎหมายลูก

 
 
ระบบการศึกษาปัจจุบันถูกตั้งคำถามว่าจะนำไปสู่การพัฒนาของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพได้จริงหรือ!  จนก่อให้เกิด “การศึกษาทางเลือก” ขึ้นมาในหลากหลายรูปแบบ ในเวทีเสวนาวิชาการ “พลังพลเมืองปฏิรูปการศึกษา” งานสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 30 มี.ค.-1 เม.ย.55 ณ ไบเทคบางนาได้มีการหยิบยกแนวคิดและการจัดการศึกษาของกลุ่มพลังพลเมืองไว้อย่างน่าสนใจ
 
จากการรวบรวมการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย ของสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (Choice to learn) พบว่าปัจจุบันมีโรงเรียนทางเลือกกว่า 209 แห่ง ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และแบ่งตามภูมิภาค คือ ภาคเหนือ จำนวน 58 แห่ง ภาคกลาง 50 แห่ง ภาคอีสาน จำนวน 51 แห่ง และภาคใต้จำนวน 50 แห่ง โดยมีการจัดแบ่งการศึกษาทางเลือกออกเป็น 7 ฐานการเรียนรู้แตกต่างกันไป คือ 1)การศึกษาทางเลือกที่จัดโดยครอบครัว 2)การศึกษาทางเลือกที่อิงระบบรัฐ 3)การศึกษาทางเลือกสายครูภูมิปัญญา 4)การศึกษาทางเลือกศาสนาและวิถีปฏิบัติธรรม  5)การศึกษาทางเลือกที่เป็นสถาบันนอกระบบรัฐ 6)การศึกษาทางเลือกของการเรียนรู้ 7)การศึกษาทางเลือกผ่านสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งแม้กระบวนการจะแตกต่างกัน แต่เป้าหมายที่ได้มุ่งสู่ทิศทางเดียวกัน คือการพัฒนามนุษย์ทั้งกาย จิตใจ สู่การเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
 
รัชนี ธงไชย ครูใหญ่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ที่อดีตเคยเป็นครูสอนในระบบมากว่า 11 ปี กล่าวว่า โรงเรียนในหมู่บ้านเด็กจะเน้นการมองหาความสุขของการศึกษา ซึ่งการลุกขึ้นมาจัดการการศึกษา ก็เพราะเราคำนึงถึงสิทธิในการมีส่วนร่วม เพราะการศึกษาจะปล่อยให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้กำหนดคงเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะในไทยที่มีความหลายหลายทางวัฒนธรรม คนจึงต้องการการศึกษาที่เหมาะกับผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนก็ควรจะมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดด้วย ดังนั้นจึงต้องมาดูระบบการศึกษาในจินตนาการใหม่ ทั้งที่อยู่ในโรงเรียนและนอกในโรงเรียน ซึ่งเป้าประสงค์ท้ายสุดก็คือต้องมีความเป็นพลเมืองจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
 
ขณะที่ นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก กล่าวว่าที่ผ่านมาเกิดวิกฤติการศึกษาในระบบของการเรียนในห้อง ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการท่องจำ ทำให้เด็ก และเยาวชนไม่เกิดทักษะประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบัน จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้น เนื่องจากเห็นว่าวิกฤตินี้กำลังขยาย และหากผลผลิตเป็นเช่นนี้ ก็จะนำไปสู่ความอ่อนแอ มีปัญหา และคงสามารถเดาอนาคตในสังคมได้เลยว่าจะเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจะยอมให้อนาคตอ่อนแอโดยไม่แก้ไขไม่ได้ พวกเราจึงต้องลุกขึ้นมาจัดการการศึกษา และรวมตัวเป็นสภาการศึกษาทางเลือก
 
นายชัชวาลย์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมามีการทำวิจัยเรื่องปัญหาอุปสรรคของการศึกษาทางเลือก และข้อเสนอ ซึ่งหวังว่าจะนำไปสู่การวิจัยเรื่องหลักสูตรและการเทียบโอนของการศึกษาทางเลือก โดนปัจจุบันระบบการศึกษาไทยต้องเผชิญกับกำแพง 3 ชั้น ผี 3 ตัว ซึ่งกำแพง 3 ชั้น ก็คือปัญหากฎหมาย กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ ส่วนผี 3 ตัว ก็คือ การสอบเอเน็ต โอเน็ต เอ็นทรานซ์ ที่ไร้มาตรฐานทำให้การประเมินผลสอบที่ผ่านมาตกกันทั้งประเทศ จึงไม่น่าจะนำมาเป็นตัวชี้วัดได้
 
ดังนั้นสภาการศึกษาทางเลือก จึงต้องเร่งดำเนินการใน 3 เรื่องสำคัญ ดังนี้ 1.พัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเท่าทัน มีจิตสาธารณะให้เป็นที่ประจักษ์ 2.สื่อสารกับสังคมให้กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ  และ 3.การขับเคลื่อนนโยบาย 3 ข้อ คือ 1)ผลักดันให้เกิดการปรับหลักสูตรแกนกลางสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมาจัดการเรียนของชุมชนและองค์กรเอกชน  2)รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ระบุว่าการศึกษาทางเลือกจะต้องได้รับการคุ้มครองจากรัฐ 3)การพัฒนากฎหมายลูก
 
ด้านนายชาตรี เนาวธีรนนท์ นายกสมาคมบ้านเรียนไทย และในฐานะพ่อที่จัดการศึกษาให้ลูกตัวเอง มาจนอายุ 13 ปี กล่าวว่า การจัดการศึกษาโดยโฮมสคูลเป็นการไม่สนใจกฎเหล็กที่ สพฐ.วางไว้ว่าต้องเข้าระบบ เพราะตลอดระยะเวลาลูกก็มีความสุขกับการเรียนแบบโฮมสคูล พ่อ แม่ก็มีความสุข เพราะหากไปโรงเรียนก็ไม่รู้จะต้องเจอกับอะไร หรือต้องกลับมาพร้อมกับคำด่าทอหรือไม่
 
“นี่เป็นความรู้สึกของพ่ออีกคนหนึ่งที่มีต่อระบบการศึกษาไทย อย่างไรก็ตามยืนยันว่าประชาชนสามารถจัดการศึกษาด้วยตัวเองได้อย่างมีคุณภาพ แม้วันนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับหรือให้อำนาจ แต่เห็นว่าการเข้าระบบคงไม่มีอะไรดีกว่าการไม่เข้าระบบ” นายชาตรีกล่าว
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คืนใส ใจเย็น

$
0
0

สำหรับประชาชนทั่วไป การเลือกตั้งซ่อมครั้งนี้ เนื่องจากมีการเลือกตั้งเขาก็เข้าร่วมแค่นั้น แต่ส่วนใหญ่เขาก็รู้ดีว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของเขาจะดีขึ้น มันขึ้นอยู่กับว่ามีการสู้รบหรือไม่ ถ้าไม่มีการสู้รบ การกดขี่ข่มเหง ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไป ถ้าอย่างนั้นการทำมาหากินจะดีขึ้น

บก.สำนักข่าวฉานให้สัมภาษณ์ประชาไท, 31 มี.ค. 55

อนุสรณ์ อุณโณ: ปลดปล่อยนักโทษการเมือง ปลดปล่อยประเทศไทย

$
0
0

 

ปัจจุบันยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักกฎหมายว่า “นักโทษการเมือง” คือใคร และหากว่ากันตามหลักกฎหมายประเทศไทยมีนักโทษการเมืองหรือไม่ นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวในเชิงหลักการว่า “ความผิดทางการเมืองไม่ได้ถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับใด นั่นหมายความว่าผู้กระทำผิดทางการเมืองเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางกฎหมาย” แต่กระนั้นก็เห็นว่าในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่านักโทษการเมืองกันอย่างแพร่หลายและมีบุคคลที่ถูกเรียกว่านักโทษการเมืองอยู่จริง

ในทำนองเดียวกัน อาจารย์คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. กล่าวว่า “ในประเทศไทยไม่มีนักโทษการเมือง มีแต่ผู้กระทำผิดอันสืบเนื่องมาจากการต่อสู้ทางการเมือง” พูดอีกอย่างหนึ่ง นักกฎหมายที่สังกัดสถาบันเหล่านี้เห็นว่าโดยหลักกฎหมายไม่มีนักโทษการเมือง แต่ในทางปฏิบัติมีนักโทษที่เป็นผลพวงมาจากปัญหาทางการเมือง

อย่างไรก็ดี นักกฎหมายจากพรรคประชาธิปัตย์อย่างนายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค ปฏิเสธการดำรงอยู่ของนักโทษการเมืองอย่างสิ้นเชิง เขากล่าวว่า “นักโทษการเมืองหรือนักโทษคดีการเมืองหมายถึงผู้ที่ถูกฝ่ายที่มีอำนาจบริหารจับตัวหรือควบคุมตัวไว้เนื่องจากการปฏิวัติรัฐประหาร หรือเพราะความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน โดยผู้นั้นมิได้กระทำความผิดในทางอาญาใดๆ นักโทษหรือบุคคลประเภทนี้กรมราชทัณฑ์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะควบคุมตัว และผู้ต้องหาหรือนักโทษทุกคนในเรือนจำล้วนมีคำพิพากษาให้จำคุกหรือคุมขัง หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม สรุปคือปัจจุบันเราไม่มีนักโทษการเมือง”

ทว่าในอีกด้าน นักวิชาการด้านนิติศาสตร์อย่างอาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปะกุล เสนอว่าประเทศไทยมีนักโทษทางการเมืองจำนวนมากมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เขากล่าวว่า “นักโทษการเมืองหมายถึงการกระทำบางอย่างซึ่งถูกกำหนดวามผิด โดยมีเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องที่มีเหตุผลทางการเมืองอย่างชัดเจน เช่น การเคลื่อนไหว การรณรงค์ การแสดงความคิดทางการเมือง สังคมไทยจึงมีนักโทษการเมืองเยอะมาก”

ในทำนองเดียวกัน สราวุฒิ ปทุมราช นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า “การจับคนที่วันที่ 19 หลังการสลายการชุมนุมไม่ควรถูกจับ เพราะเขาเป็นนักโทษการเมือง การมาร่วมชุมนุมไม่ใช่ความผิดทางอาญา แต่เป็นความผิดทางการเมือง ต้องถือว่า นปช. ทุกคนเป็นนักโทษการเมือง เพราะจุดมุ่งหมายคือการเรียกร้องประชาธิปไตย” เหล่านี้เป็นต้น 

ผมยกข้อคิดเห็นที่ต่างกันของผู้เชี่ยวชาญและบุคคลในแวดวงกฎหมายขึ้นมาไม่ใช่เพราะต้องการหาข้อยุติในที่นี้ว่านักโทษการเมืองหมายถึงบุคคลประเภทใด หากแต่ต้องการจะขยายขอบเขตการอภิปรายปัญหานักโทษการเมืองให้กว้างกว่าตัวบทกฎหมาย เพราะในความเห็นของผมนักโทษการเมืองไม่ใช่บุคคลหรือประเภทตามกฎหมาย แต่เป็นบุคคลหรือประเภททางการเมือง ที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขทางการเมืองจำเพาะชุดหนึ่ง เป็นเงื่อนไขทางการเมืองที่ว่าด้วยความขัดแย้งระหว่างรัฐกับพลเมืองที่เห็นต่างหรือกระด้างกระเดื่อง และรัฐก็ได้อาศัยมาตรการต่างๆ ในการกำราบพลเมืองที่ไม่เชื่องเหล่านี้ ทั้งในรูปของการใช้กำลังสังหาร การไล่ล่า การข่มขู่คุกคาม และการจับกุมคุมขัง ซึ่งหากเสียชีวิต พลเมืองเหล่านี้ถูกเรียกอย่างหนึ่ง หากถูกไล่ล่าหรือข่มขู่คุกคามก็ถูกเรียกอย่างหนึ่ง แต่หากถูกจับกุมคุมขังและดำเนินคดี พลเมืองที่เห็นต่างและกระด้างกระเดื่องเหล่านี้ก็สามารถถูกเรียกว่า “นักโทษการเมือง” ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง “นักโทษการเมือง” คือบุคคลหรือประเภททางการเมืองประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในบริบทที่รัฐก่ออาชญากรรมกับพลเมืองที่ไม่เชื่อฟังตน ในทำนองเดียวกับที่รัฐสังหาร ไล่ล่า และข่มขู่คุกคามพลเมืองที่กระด้างกระเดื่องคนอื่นๆ ในบริบทเดียวกัน การรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมืองจึงจำเป็นต้องเข้าใจนัยของ “นักโทษการเมือง” ในลักษณะดังกล่าวนี้เป็นเบื้องต้น  

เพราะเหตุที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งกับรัฐหรือกับผู้อยู่ในอำนาจรัฐ บุคคลที่ถูกเรียกว่า “นักโทษการเมือง” จึงเปลี่ยนแปลงตามสมัยที่ผู้อยู่ในอำนาจรัฐเปลี่ยนไป ในอดีตบุคคลที่ได้ชื่อว่า “นักโทษการเมือง” ได้แก่ “กบฏ” หรือบุคคลที่ต้องการโค่นล้มผู้อยู่ในอำนาจรัฐ เช่น “กบฏบวรเดช” พ.ศ. 2476 และ “กบฏ พ.ศ. 2481” โดย “กบฏบวรเดช” ถูกกักขังในเรือนจำที่เกาะตะรุเตาก่อนที่ต่อมาจะถูกย้ายมากักขังในเรือนจำที่เกาะเต่า และได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487 ร่วมกับนักโทษคดี “กบฏ พ.ศ. 2481” เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ จากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ในสมัยต่อมา “นักโทษการเมือง” มักเป็นนักคิด นักเขียน ปัญญาชน ซึ่งถูกจับกุมคุมขังด้วยข้อหาการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ดังกรณี จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งถูกคุมขังที่เรือนจำลาดยาวในปี พ.ศ. 2501 ในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์และสมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ แต่ด้วยความที่เป็น “นักโทษการเมือง” เขาจึงได้รับการปฏิบัติต่างจากนักโทษทั่วไป ซึ่งเปิดโอกาสให้เขาสามารถศึกษาค้นคว้าและผลิตงานเขียนออกมาจำนวนมาก เขาถูกปล่อยตัวในปลายปี พ.ศ. 2507 เพราะศาลกลาโหมยกฟ้อง   

ขณะที่ต่อมาบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังและมีสถานะเป็น “นักโทษการเมือง” คือนักศึกษา เช่น หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นักศึกษาจำนวนหนึ่งถูกจับกุมตัวและนำขึ้นศาลทหารในข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พวกเขาถูกควบคุมตัวในระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา 3 ปี ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวเพราะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยในระหว่างถูกจับกุมคุมขังนักศึกษาเหล่านี้มีสถานะเป็น “นักโทษการเมือง” ขณะที่หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 มีการจับกุมคุมขังผู้ชุมนุมเป็นเวลา 3 วัน ก่อนจะปล่อยโดยไม่ได้แจ้งข้อหาหรือดำเนินคดีใดๆ และเหตุดังนั้นจึงไม่ได้มีสถานะเป็น “นักโทษการเมือง” คำว่า “นักโทษการเมือง” จึงดูเหมือนจะเลือนหายหรือกลายเป็นประวัติศาสตร์สำหรับการเมืองไทยสมัยปัจจุบัน     

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2540 เป็นต้นมามีบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังเพราะการกระทำผิดอันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งหรือ “การต่อสู้ทางการเมือง” จำนวนมาก สามารถจำแนกได้ 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกคือผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังจากเหตุการณ์เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 โดยในกรุงเทพฯ ผู้ถูกคุมขังส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งพกพาอาวุธในที่สาธารณะ ส่วนในจังหวัดทางภาคอีสาน เช่น มุกดาหาร มหาสารคาม อุบลฯ อุดรฯ ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุก ทำลาย และวางเพลิงสถานที่และทรัพย์สินราชการ โดยหลังจากการปราบปรามใหม่ๆ มีผู้ต้องขังในคดีเหล่านี้จำนวนมาก ต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้รับการประกันตัวบ้างและได้รับโทษครบกำหนดบ้าง ปัจจุบันเหลืออยู่ในเรือนจำ 50 คน (เป็นคดีในภาคอีสาน 35 คน และคดีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 5 คน โดย 3 คนคดีอยู่ในศาลชั้นต้น 37 คนคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์และฎีกา มี 10 คนที่คดีสิ้นสุด) โดย 39 คน (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเรือนจำภาคอีสาน) ถูกย้ายมาอยู่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ตามข้อเสนอของ คอป. 

ส่วนผู้ถูกจับกุมคุมขังอีกกลุ่มมีความความผิดเกี่ยวเนื่องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา โดยทวีจำนวนสูงสุดในปี 2553 จำนวน 478 คดี ก่อนจะลดลงเหลือ 97 คดีในปีที่ผ่านมา ปัจจุบันยังไม่สามารถรวบรวมจำนวนผู้ถูกคุมขังด้วยข้อหามาตรา 112 ทั่วประเทศได้ว่ามีจำนวนเท่าใด แต่เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่รวบรวมไว้มีจำนวน 12 คน (โดย 10 คนคดีสิ้นสุด ส่วนอีก 2 คนอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี) ซึ่งนักโทษและผู้ต้องหาคดีนี้ส่วนใหญ่ถูกขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยบุคคลที่สาธารณะค่อนข้างคุ้นเคย เช่น “ดา ตอปิโด” สมยศ พฤกษาเกษมสุข สุรชัย แซ่ด่าน “อากง” และ “โจ กอร์ดอน” เป็นต้น  

ทั้งนี้ ถึงแม้ผู้ต้องหาและนักโทษทั้งสองกลุ่มจะกระทำผิดอันสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งหรือ “การต่อสู้ทางการเมือง” แต่ก็ไม่ได้ถูกเรียกว่านักโทษการเมืองเหมือนเช่นนักศึกษา ปัญญาชน ผู้นำกรรมกร ฯลฯ ในช่วงก่อนหน้า (อาจารย์คณิตให้สัมภาษณ์ว่าปัจจุบันประเทศไทยไม่มีนักโทษการเมืองแล้ว ซึ่งก็หมายว่าเมื่อก่อนเคยมี ซึ่งก็น่าจะหมายถึงนักศึกษาและปัญญาชนที่ว่านี้) ขณะที่ผู้ต้องหาและนักโทษทั้งสองนี้กลุ่มประสบความยากลำบากในเรือนจำค่อนข้างมาก เช่น ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมจำนวนมากมีอาการทางประสาท บางรายเคยขอพบจิตแพทย์แต่ไม่ได้รับอนุญาต หลายรายมีโรคประจำตัวและอาการเจ็บป่วยต่างๆ แต่ไม่ได้รับการดูแลรักษาเท่าที่ควร รวมทั้งต้องใช้ชีวิตในเรือนจำอย่างเข้มงวดกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นด้วยเหตุผลนี้ที่แม้จะไม่เรียกผู้ต้องขังเหล่านี้ว่านักโทษการเมือง คอป. จึงมีข้อเสนอให้ย้ายผู้ต้องขังเหล่านี้ไปที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่ ซึ่งแม้จะช่วยให้ผู้ต้องขังมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุดหรือตามที่ควรจะเป็น 

นอกจากนี้ ผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับมาตรา 112 ไม่ได้รับสิทธิในการย้ายสถานที่คุมขังไปยังเรือนจำชั่วคราวหลักสี่เหมือนผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับการชุมนุม แม้จะเป็นความผิดในบริบทเดียวกันและมีอาการเจ็บป่วยอย่างมากก็ตาม เช่น ดา ตอปิโด ถูกให้ “นั่งเดี่ยว” ในฐานะ “พิธีรับน้อง” เป็นเวลา 3 เดือน จากปกติ 1 เดือน ต่อมาเรือนจำได้ออกระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังซึ่งส่งผลให้บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ญาติประสบความยากลำบากในการเข้าเยี่ยมเธอยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แม้เธอมีอาการขากรรไกรอักเสบรุนแรง แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อออกมารับการรักษาอย่างมีคุณภาพ ศาลปฏิเสธคำขอปล่อยตัวเธอชั่วคราวด้วยเหตุผลว่าความเจ็บปวดดังกล่าวไม่ถึงกับทำให้เธอใช้ชีวิตปกติไม่ได้ หรือกรณีอากงซึ่งมีอาการมะเร็งในช่องปาก แต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมจนทำให้อาการลุกลาม และศาลก็ไม่ให้ประกันตัวด้วยเหตุผลว่าเป็นคดีสะเทือนขวัญ ประการสำคัญ รายงานข้อเสนอสร้างความปรองดองในชาติของสถาบันพระปกเกล้าที่ 1 ใน 4 ข้อคือการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทุกประเภท แต่ให้ยกเว้นกรณีความผิดที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าไม่รวมผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับมาตรา 112 เหล่านี้แต่อย่างใด เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น    

จะตอบคำถามนี้ได้ต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนักโทษการเมืองกับอำนาจในการลงทัณฑ์ 

นักโทษการเมืองต่างจากนักโทษทั่วไปในแง่ที่นักโทษการเมืองไม่ได้กระทำผิดอย่างไม่ตั้งใจ ไม่ใช่พวกประเภทหากเลือกได้ก็ไม่อยากทำผิด รวมทั้งไม่ได้เป็นพวกว่านอนสอนง่ายที่เอื้อต่อการเสริมทักษะการประกอบอาชีพต่างๆ ให้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักโทษการเมืองไม่ได้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจำพวกปล้นชิงวิ่งราวลักเล็กขโมยน้อยที่การปล่อยพวกเขาออกไปจะเป็นการขยายพื้นที่แห่งการควบคุมตรวจตราออกไปนอกคุกผ่านการควบคุมพฤติกรรมพวกเขาอย่างใกล้ชิด การ “ทำผิดกฎหมาย” ของนักโทษการเมืองไม่ได้หนุนเสริมให้อำนาจที่อยู่เบื้องหลังการลงทัณฑ์มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นเหมือนอย่างเช่นในคดีอาชญากรรมทั่วไป (เช่น อาชญากรรมในซอยส่งผลให้ต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดและการลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้มงวดยิ่งขึ้น เป็นต้น) หากแต่เป็นการท้าทายอำนาจที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย การปล่อยพวกเขาออกจากคุกจึงเท่ากับเป็นการขยายพื้นที่ของการต่อต้านอำนาจครอบงำออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นักโทษการเมืองจะได้รับการปล่อยตัวก็ต่อเมื่อพวกเขาไม่เป็นอันตรายกับระเบียบอำนาจหลักแล้ว หรือไม่ระเบียบอำนาจหลักได้เปลี่ยนไปจึงไม่เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้ต้องต่อต้านอีก

จุดตัดจึงอยู่ที่ระเบียบอำนาจหลักในสังคมเป็นสำคัญ

“กบฏบวรเดช”
ได้รับการปล่อยตัวเพราะมีการเปลี่ยนขั้วอำนาจใหม่และผู้ที่อยู่ในอำนาจก็ไม่เห็นว่าบุคคลเหล่านี้เป็นอันตรายต่อพวกเขา นักศึกษาและปัญญาชนได้รับการนิรโทษกรรมส่วนหนึ่งเพราะเงื่อนไขที่จะทำให้บุคคลเหล่านี้เป็นอันตรายต่อระเบียบอำนาจหลักหดแคบลง แต่ปัญหาก็คือว่าสังคมการเมืองไทยปัจจุบันอยู่ในเงื่อนไขเหล่านี้หรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่

ปัจจุบันมีผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับการชุมนุมจำนวน 40 คนจาก 50 คนที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี แต่ไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว โดยศาลให้เหตุผลว่าเพราะเป็นคดีร้ายแรง อัตราโทษค่อนข้างสูง และเกรงจะหลบหนี ขณะที่คดี 112 ที่ผ่านมามีคนได้รับการประกันตัวเพียงไม่กี่คน หากไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคมก็เป็นนักการเมือง ผู้ต้องหาในคดีนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลอ้างว่าเพราะเป็นความผิดร้ายแรงที่กระทบกระเทือนจิตใจคนส่วนใหญ่ในสังคมและเกรงผู้ต้องหาจะหลบหนี ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ชี้ให้เห็นว่าระเบียบอำนาจหลักในสังคมไทยยังไม่เปลี่ยน และผู้อยู่ในอำนาจก็ตระหนักว่าเงื่อนไขที่ท้าทายพวกเขายังดำรงอยู่และไม่มีท่าจะอ่อนแรงลง จึงส่งผลให้ผู้ต้องหาและนักโทษกรณีมาตรา 112 ยังสามารถเป็นอันตรายต่อพวกเขาได้ไม่รู้จบสิ้น ผู้ต้องหาเหล่านี้จึงไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว หรือแม้กระทั่งไม่ได้รับสิทธิในการนิรโทษกรรมในคดีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองในข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า คำถามก็คือว่าเราจะเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองอย่างไรในบริบทการเมืองอย่างนี้ 

ประการแรก ผมคิดว่ามีความจำเป็นต้องมีมาตรการเฉพาะหน้าหรือว่าระยะสั้นในการนำผู้ต้องหาหรือนักโทษการเมืองเหล่านี้ออกมาจากเรือนจำโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นด้วยการประกันตัว การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข หรือว่าการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ทว่ามาตรการเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมจะต้องไม่กลายเป็นเครื่องมือให้ผู้ก่ออาชญากรรมในนามของรัฐใช้ในการไม่ต้องรับผิด เพราะประวัติศาสตร์การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่ผ่านมา เช่น กรณีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และกรณีเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ชี้ให้เห็นว่าการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมไม่ได้ช่วยปกป้องพลเมืองที่บริสุทธิ์เท่าๆ กับช่วยให้ผู้ก่ออาชญากรรมในนามของรัฐไม่ต้องรับผิด ซึ่งสาเหตุที่ผู้ก่ออาชญากรรมในนามของรัฐสามารถกระทำการดังกล่าวได้ก็เพราะว่าพวกเขายังคงอยู่ในอำนาจ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมกรณีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ออกโดยรัฐบาลเผด็จการ ส่วนพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมกรณีเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ก็ออกโดยรัฐบาลพลเอกสุจินดา จึงเป็นการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของผู้ก่ออาชญากรรมในนามของรัฐทั้งสิ้น

คำถามก็คือว่าปัจจุบันเรามีรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่ออาชญากรรมในนามของรัฐ เราจะทำอย่างไรจึงจะไม่ให้ประวัติศาสตร์การออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมซ้ำรอย จะทำอย่างไรการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมจึงจะเป็นการช่วยเหลือพลเมืองที่บริสุทธิ์ แทนที่จะกลายเป็นเครื่องมือของรัฐอำมหิตในการล้างผิดให้กับตนเองพร้อมกับโยนความผิดไปให้พลเมือง การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าข้อเท็จจริงคืออะไรและนำผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้เสียก่อน ส่วนจะให้อภัยแค่ไหนอย่างไรเป็นอีกเรื่อง  

ประการที่สอง นอกเหนือจากการปล่อยนักโทษการเมือง ผมคิดสิ่งที่เราต้องคิดต่อก็คือว่าจะทำอย่างไรจึงจะไม่มีบุคคลที่เรียกว่านักโทษการเมืองเกิดขึ้นในสังคมไทยอีก เพราะถ้าหากนักโทษการเมืองเป็นผลพวงของอาชญากรรมที่รัฐกระทำกับพลเมืองที่เห็นต่าง คำถามก็คือว่าความเห็นต่างยังดำรงอยู่หรือไม่ คำตอบก็คือยังมีอยู่ เพราะว่าสาเหตุของความเห็นต่างไม่ได้หายไปไหน ยังคงดำรงอยู่อย่างหนาแน่น เห็นได้จากการปฏิเสธการให้ประกันตัวผู้ต้องหาคดี 112 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการปฏิเสธที่จะนิรโทษกรรมผู้ต้องหาและนักโทษคดี 112 ในข้อเสนอปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ทั้งที่เป็นคดีเหล่านี้เป็นคดีการเมืองโดยตรง และผู้ต้องหาหรือว่านักโทษในคดีนี้ก็มีนัยของนักโทษการเมืองตรงกว่ากรณีของการชุมนุมบางคนเสียอีก

ฉะนั้น วิธีการป้องกันไม่ให้มีนักโทษการเมืองเกิดขึ้นในสังคมไทยอีกก็คือการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมไทยใหม่ ให้มีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้เจรจาต่อรองกันอย่างเสมอหน้า ไม่ใช่ว่าปิดปาก ปิดหู ปิดตาอีกฝ่ายอย่างเช่นที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้  

ประการที่สาม ถึงแม้จะสามารถขจัดเงื่อนไขข้างต้นไปได้ แต่ก็ยังมีเงื่อนไขอื่นๆ อีกที่สามารถทำให้พลเมืองเห็นต่างหรือว่ากระด้างกระเดื่องต่อรัฐได้ โจทย์ที่สังคมไทยต้องคิดร่วมกันต่อไปข้างหน้าก็คือว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้รัฐไม่สามารถใช้ความรุนแรงกับพลเมืองของตนได้ในบริบทความขัดแย้งเหล่านี้ นอกเหนือจากการออกกฎหมายที่ระบุโทษไว้อย่างชัดเจนแล้ว จะต้องออกแบบสังคมและการเมืองไทยอย่างไรจึงจะทำให้รัฐไทยไม่กล้าก่ออาชญากรรมกับพลเมืองของตน ซึ่งสิ่งนี้จะไม่ช่วยเฉพาะความขัดแย้งทางการเมืองระดับชาติที่มักกระจุกที่กรุงเทพฯ เท่านั้น หากแต่หมายรวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมามีหลายเหตุการณ์ที่เป็นการที่รัฐก่ออาชญากรรมกับคนในพื้นที่และก็มักพ้นผิดภายใต้กฎหมายพิเศษฉบับต่างๆ สภาพการณ์ดังกล่าวนี้จะต้องหมดไปจากประเทศไทยเสียที 

หากกล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว การรณรงค์ปล่อยนักโทษการเมืองจึงแยกไม่ออกจากการรณรงค์ปลดปล่อยประเทศไทยจากการผูกขาดและครอบงำของชนชั้นปกครองเพียงหยิบมือที่มักอาศัยกฎหมายและกลไกรัฐขจัดศัตรูหรือผู้เห็นต่างทางการเมืองอย่างอำมหิตมานานเกินไปแล้ว       

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชายชุดซูเปอร์ฮีโร่ในอังกฤษ ประกาศลงสมัครนายกเทศมนตรี

$
0
0

'ไนท์ วอร์ริเออร์' หรือ 'อัศวินนักรบ' ชายอายุ 20 ที่แต่งตัวเป็นซูเปอร์ฮีโร่ ประกาศลงสมัครนายกเทศมนตรีเมืองซัลฟอร์ด ประกาศเป้าหมายปราบปรามอาชญากรรมตามท้องถนน และทำให้คนในชุมชนร่วมมือกัน

 

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. สำนักข่าวเดอะ ซัน ของอังกฤษ รายงานว่า ชายอายุ 20 ปีที่เรียกว่าเองว่าเป็นซูเปอร์ฮีโร่ชื่อ 'ไนท์ วอร์ริเออร์' หรือ 'อัศวินนักรบ' อยากลงสมัครเลือกตั้งนายกเทศมนตรี

ชื่อจริงของไนท์ วอริเออร์ คือโรเจอร์ เฮย์เฮิร์ส เขาต้องการลงสมัครเลือกตั้งในเมืองซัลฟอร์ด และประกาศว่าจะขจัดอาชญากรรมบนท้องถนนให้หมดสิ้นไป
 
เมื่อปีที่แล้ว (2011) โรเจอร์ผู้มีอาชีพเป็นคนดูแลสวน ออกลาดตระเวนไปรอบๆ บ้านของเขาในเขตชุมชนสวินตัน เทศมณฑลเกรตเตอร์ แมนเชสเตอร์ จนกระทั่งเขาได้เข้าไปห้ามการต่อสู้และเผชิญหน้ากลุ่มคนที่มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
 
โรเจอร์ แต่งกายด้วยชุดใยสังเคราะห์ไลคราสีน้ำเงินและดำ ที่แม่เขาซื้อมาจากบริษัทของสหรัฐฯ เป็นเงิน 200 ปอนด์ (ราว 9,900 บาท)
 
โรเจอร์กล่าว่วา "ผมต้องการขจัดอาชญากรรมให้พ้นไปจากท้องถนน และทำให้ชุมชนหันมาร่วมมือกัน เพราะมันจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปเมื่อทุกๆ คนร่วมมือร่วมใจกัน"
 
เขาบอกอีกว่า เขาอยากให้มีศูนย์เยาวชนเพิ่มมากขึ้น และมีตำรวจตรวจตราตามท้องถนนมากขึ้นด้วย
 
โรเจอร์ประกาศรับสมัครผู้ร่วมงานบนเว็บไซต์สภาสามัญชน (House of Commons) โดยงานของผู้ช่วยโรเจอร์จะเป็นงานด้านการทำการรณรงค์หาเสียงและ "งานด้านการเมืองทั้งหลาย" ไม่ใช่งานต่อสู้กับอาชญากรรมแต่อย่างใด
 
ชายผู้ให้ฉายาตัวเองว่าอัศวินนักรบผู้นี้ อาศัยอยู่กับแม่ของเขาชื่อเจนนิเฟอร์วัย 61 ปี เขากล่าวเสริมด้วยว่า "สิ่งที่ผมต้องการทำคือพยายามทำให้ผู้คนมีไมตรีจิตต่อกัน"
 
ผู้อาศัยในเมืองซัลฟอร์ดมีกำหนดเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในวันที่ 3 พ.ค. ที่จะถึงนี้
 
 
 
ที่มา
Crusader hero Knight Warrior (aka Roger): I’ll be super as mayor, The Sun, 02-04-2012
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เตรียมแจง พรบ.ยา ฉบับประชาชน เหตุบริษัทยาผวา

$
0
0

นักวิชาการด้านยา พร้อมชี้แจงประโยชน์ของร่าง พรบ.ยา ฉบับประชาชน ต่อ กมธ.สาธารณสุขพฤหัสนี้ เผย บริษัทไม่ยอมเปิดเผยโครงสร้างราคายา ผวาถูกบังคับให้แฉมูลค่าการส่งเสริมการขายยา

2 เม.ย. 55 ตามที่มีรายงานข่าวมาเป็นระยะว่า อุตสาหกรรมยาข้ามชาติพยายามเข้าไปล็อบบี้ในหลายส่วนของรัฐสภาเพื่อขัดขวางร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน) ไม่ให้ผ่านกระบวนการพิจารณาของสภาฯ นั้น ล่าสุดในวันพฤหัสบดีที่ 5 เม.ย.นี้ เวลา 9.30 น. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาฯจะได้เรียกผู้เกี่ยวข้องไปให้ความเห็น โดยเน้นประเด็นความไม่พอใจที่ทางสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) หยิบยกขึ้นมา คือการควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการขายยา และการกำหนดหลักเกณฑ์ให้บริษัทยาต้องแจ้งข้อมูลโครงสร้างราคายา ที่มีสาระปรากฏอยู่ในร่าง พ.ร.บ.ยาของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และของภาคประชาชน

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ในวันพฤหัสนี้พร้อมที่จะไปชี้แจงต่อ กมธ.สาธารณสุขในฐานะผู้เสนอกฎหมาย เพราะ พ.ร.บ.ยาฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน พ.ศ.2510 เป็นกฎหมายสาธารณสุขฉบับหนึ่งที่มีการใช้มาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี มีการแก้ไขปรับปรุงเพียงเล็กๆน้อยๆ 4 ครั้งเท่านั้น ทำให้บทบัญญัติหลายส่วนไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านยา การพัฒนาของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การกำหนดมาตรฐานสากล การขยายตัวทางการค้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยา  อันจะส่งผลให้การคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภคไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 

“กพย. ได้ทำงานร่วมกับนักวิชาการ นักวิชาชีพ เครือข่ายผู้ป่วย และเครือข่ายผู้บริโภคปรับปรุงกฎหมายให้ทันสถานการณ์ สอดคล้องกับสากล ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะคุ้มครองผู้บริโภค หากมีประเด็นไหนที่ฝ่ายใดรู้สึกไม่เข้าใจหรือมีข้อวิพากษ์ก็ควรหารือเพื่อนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันตามกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งการที่ กมธ.สาธารณสุขเชิญทุกฝ่ายเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นโอกาสที่ได้อธิบายให้เข้าใจ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างราคายา ซึ่งเดิมการขึ้นทะเบียนตำรับยาไม่ต้องมีการคำนวณแยกต้นทุนราคายา แต่ในร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ระบุว่า ให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ซื้อเพื่อจำหน่าย หรือผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ต้องแสดงราคายา วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบต้นทุนและกำไรของยาชนิดนั้นๆ เพราะที่ผ่านมามีการอ้างว่าต้นทุนราคายาสูงเนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการวิจัยสูง แต่ความจริงแล้วยาบางประเภทต้นทุนอยู่ที่ค่าโฆษณาและค่าการส่งเสริมการขายยาเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประเด็นการควบคุมการส่งเสริมการขายยานี้ก็เป็นที่ปฏิบัติในระดับสากล เนื่องจากพบว่าบริษัทยามีการใช้งบประมาณในการส่งเสริมการขายยารูปแบบต่าง ๆ  ใช้งบจำนวนหนึ่ง สำหรับการปฏิสัมพันธ์กับแพทย์ ดังนั้น บริษัทยาจำเป็นต้องแจกแจงรายละเอียดว่าใช้เงินกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแพทย์อย่างไร เพื่ออะไร เช่น การให้ของขวัญ พาท่องเที่ยวต่างประเทศ เชิญประชุมวิชาการ เป็นต้น เพราะสุดท้ายภาระตกที่งบประมาณของประเทศและประชาชนที่อาจจะถูกจูงใจให้ใช้ยาเกินจำเป็น”

ทางด้านนางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์กล่าวว่า “ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับประชาชนนั้น ได้มีการทำงานวิชาการและรับฟังความคิดเห็นมาอย่างถ้วนถี่ สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติด้านยา และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ตามที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ประกาศ เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมาว่า หลังจากทำเรื่อง เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวแล้ว จะลดการใช้ยาฟุ่มเฟือย เพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็น

“เราทราบดีว่า ตอนนี้บริษัทยาพยายามรุกอย่างหนักเพื่อคัดค้านเรื่องนี้ทั้งในทางลับและทางแจ้ง แต่ประชาชนก็เฝ้าระวังเรื่องนี้อย่างแข็งขันเช่นกัน เพราะนี่เป็นเรื่องชีวิต ความเป็นความตาย ร่าง พ.ร.บ.นี้มีประโยชน์เพื่อทำให้มีการเปิดเผยโครงสร้างราคายาอย่างแท้จริง และไปขจัดการส่งเสริมการขายยาที่ขาดคุณธรรมที่อุตสาหกรรมยาจำนวนหนึ่งปฏิบัติอย่างชาชิน เราขอชื่นชมกมธ.สาธารณสุขที่เปิดรับฟังความเห็นเรื่องนี้อย่างเปิดเผย แม้ว่าก่อนหน้านี้จะถูกล็อบบี้ในทางลับให้ขัดขวาง พรบ.นี้หลายครั้งแล้วก็ตาม ซึ่งเราอยากให้กำลังใจ กมธ.สาธารณสุขของทั้งสองสภาให้ปลอดอิทธิพลบริษัทยาและ เป็นที่พึ่งของประชาชน

ทั้งนี้ เจตนารมณ์ ของ ร่าง พรบ.ยา ฉบับประชาชน ที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1) คุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับ เท่าทันกับปัญหาและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ และ 2) ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามปกติและในภาวะคับขันเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคง ด้านยาและสุขภาพ 

ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ประชาชน จะได้รับจาก ร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. ...ฉบับประชาชน ได้แก่ 1) การมีกลไกที่จะทำให้ราคายาเป็นธรรมต่อประชาชน  ป้องกันการค้ากำไรเกินควร 2) กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะรู้ชื่อสามัญทางยา ของยาที่ตนเองใช้ 3) คุ้มครองประชาชนให้ได้รับบริการด้านยาจากเภสัชกรอย่างแท้จริง ไม่ให้ผู้ไม่รู้มาสร้างความเสี่ยงกับประชาชนอีกต่อไป 4) กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายจากการใช้ยาโดยรวดเร็ว 5) มีกลไกจัดหายาจำเป็น เช่น  ยากำพร้า ที่ไม่มีเอกชนสนใจทำการตลาด รวมทั้งการจัดหายาในภาวะวิกฤต ภัยพิบัติ 6) ปรับปรุงระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยาของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง 7) มีกลไกในการกำกับดูแลการส่งเสริมการขายยาและการโฆษณาที่เหมาะสม 8) การใช้มาตรการทางปกครอง เป็นเครื่องมือใหม่ที่จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเหมาะสมกับสภาวะการณ์ที่หลากหลาย

 



 

ข้อมูลเพื่อการสร้างความเข้าใจในการสนับสนุน
ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน)
ปรับปรุงครั้งที่ 1 วันที่ 8 มีนาคม 2554

 

ปัจจุบันมีการเสนอ ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... อยู่ 2 ฉบับ คือ

1.1 ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน) ปรับปรุงครั้งที่ 1 วันที่ 8 มีนาคม 2554 ซึ่งร่วมจัดทำโดย มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.) มูลนิธิเภสัชชนบท (มภช.) กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) หน่วยปฏิบัติการวัจัยเภสัชศาสตร์สังคม จุฬาฯ (วจภส.) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาฯ (คคส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ชมรมเภสัชชนบท แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา จุฬาฯ (กพย.) และมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส.) ได้ยื่น 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมายฉบับนี้ต่อรัฐสภาแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อ

 1.2 ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับ กระทรวงสาธารณสุข) ซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 10) และส่งกลับไปยังกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ พ.ศ.2552 แล้ว แต่ยังไม่มีการส่งให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณา

ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับประชาชน)

การยกร่าง พรบ.ยา ฉบับประชาชน มีที่มาจากการศึกษาวิจัยทางด้านวิชาการ การรวบรวมปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาของประเทศไทย ประเทศต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น ตลอดจนการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในสภาวะแวดล้อมการเปิดตลาดเสรีทางการค้าทั้งในระบบพหุภาคีและทวิภาคี ระบบกฎหมายด้านยาและกลไกการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของประเทศต่างๆ รวมทั้งคิดค้น สังเคราะห์กลยุทธ์ วิธีการ เครื่องมือใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย โดยนักวิชาการหลายสาขาทั้งด้านเภสัชศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในองค์ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับชาติ ระดับนานาชาติ ความเห็นจากกลุ่มผู้ป่วย ความเห็นจากภาคประชาสังคม โดยเจตนารมณ์ของ ร่าง พรบ ยา ฉบับประชาชน สำคัญ ๒ ประการ คือ

๑. คุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับ เท่าทันกับปัญหาและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

๒. ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมยาภายในประเทศให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามปกติและในภาวะคับขันเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านยาและสุขภาพ

จาก เจตนารมณ์ข้างต้น ร่าง พรบ ยา ฉบับประชาชน ได้มีบทบัญญัติใหม่ๆ ที่แตกต่างจาก พรบ.ยา พ.ศ.๒๕๑๐ ซึ่งใช้มานานกว่า ๔๐ ปีอย่างสิ้นเชิง โดยบทบัญญัติใหม่จะสามารถทำให้เจตนารมณ์เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีที่มาจาก ๓ แนวทางหลัก ได้แก่ งานศึกษาวิจัยของต่างประเทศและการศึกษาวิจัยของประเทศไทย ชุดความรู้ ประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งทำงานในระดับนานา ชาติ ระดับชาติและระดับท้องถิ่น การวิเคราะห์ผลกระทบต่อประชาชนไทยจากการเปิดตลาดการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลง ทั้งระดับทวิภาคีและพหุพาคี โดยมีศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมมือพัฒนาร่างกฎหมายยา ฉบับประชาชน ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจสาระของกฎหมายว่า ประชาชนจะได้อะไรจากร่าง พรบ. ยา ฉบับประชาชน จึงขอกล่าวโดยย่อ ทั้งประโยชน์โดยตรงและทางอ้อม ดังนี้

๑. ราคายาเป็นธรรมต่อประชาชนป้องกันการค้ากำไรเกินควร

ตัวอย่างจริงที่เคยเกิดขึ้นแล้ว คือ ยาต้านไวรัสเอดส์ เคยกำหนดราคาขายกว่า ๒๐,๐๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน ต่อมาองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตออกจำหน่าย กำหนดราคาเพียง ๑,๒๐๐ บาท ต่อคนต่อเดือน ราคาแตกต่างกันกว่า ๑๕ เท่า ในช่วงเวลาที่องค์การเภสัชกรรมยังไม่ได้ผลิตยาดังกล่าวออกมาจำหน่าย ผู้ป่วยเอดส์จำนวนมากไม่สามารถซื้อยาราคาแพงมารักษาตนเองได้ เราจึงเห็นปรากฏการณ์ ตายเป็นใบไม้ร่วงเพราะหมดหนทางเข้าถึงยา เนื่องจากปล่อยให้มีการกำหนดราคาของ สินค้าคุณธรรมซึ่งเป็นรปัจจัยสี่ของมนุษชาติได้ตามอำเภอใจจนเกิดผลกระทบต่อชีวิตประชาชน

๒. สิทธิของประชาชนที่จะรู้ชื่อยาสามัญที่ตนเองใช้

การปกปิดชื่อยาที่ประชาชนต้องบริโภค มักมีข้ออ้างว่า หากประชาชนรู้ชื่อยาแล้ว จะไปซื้อหามารับประทานเอง ไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ แท้จริงแล้ว คำกล่าวอ้างมีเบื้ยงหลัง คือ ต้องการผูกมัดให้ผู้ป่วยต้องมารับการรักษากับตนเอง และสามารถกำหนดราคายาที่จะเก็บจากผู้ป่วยได้โดยอิสระ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นยาชื่อสามัญอะไร สิทธิของประชาชนที่จะรู้ชื่อยาสามัญที่ตนเองใช้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน แม้แต่ประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ก็มีสิทธิที่จะรู้ว่าตนเองต้องรับประทานยาอะไร เพราะหากมีการแพ้ยา ก็สามารถแจ้งชื่อยาที่ตนใช้หรือนำซองยาที่มีชื่อยาสามัญ ให้สถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ได้รักษาอย่างถูกต้องทันการณ์ได้

๓. ประชาชนได้รับบริการด้านยาจากผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

ในมาตรฐานทัดเทียมกับประชาชนของประเทศที่มีระบบบริการด้านเภสัชกรรมได้พัฒนาแล้ว โดยการปรับเปลี่ยนจาก ร้านขายยาเป็น สถานบริการเภสัชกรรม ซึ่งเป็นสถานที่ให้บริการประชาชนด้านยาโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านเภสัชกรรม ที่จะวิเคราะห์ความจำเป็นในการใช้ยาของประชาชน หรือผู้รับบริการ การคัดเลือกยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยหรือผู้รับบริการตามหลักวิชาการ การวิเคราะห์ใบสั่งยาเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิผลในการบำบัด รักษา การส่งมอบยาในภาชนะที่เหมาะสมพร้อมฉลากที่ครบถ้วน คำแนะนำในการใช้ยาที่จำเป็นถูกต้องและครบถ้วน คำเตือนอันตรายจากการใช้ยาเฉพาะราย รวมถึง การให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค เช่น เป็นสถานที่ประชาชนสามารถปรึกษาการอดบุหรี่ การอดเหล้า การควบคุมนํ้าหนัก การออกกำลังกาย โภชนาการที่เหมาะสมกับวัย เช่น เด็กอ่อน เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ การนวดตนเอง การกดจุดเพื่อบรรเทาอาการ สมุนไพรประจำบ้าน การจัดการลดความเครียด การให้คำแนะนำเรื่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา เป็นต้น ทั้งนี้ สถานบริการเภสัชกรรมต้องดำเนิการตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานทางวิชาการ เรียกว่ามาตรฐาน การบริการเภสัชกรรมที่ดี

ประชาชนสามารถไปพบเภสัชกรในสถานบริการเภสัชกรรม ในเรื่องส่งเสริมสุขภาพ ขอคำปรึกษา คำแนะนำด้านสุขภาพ มิใช่เพียงเพราะต้องการซื้อยามาบริโภคอีกต่อไป และในกรณีที่ต้องได้รับยา ก็จะได้รับตามความจำเป็น และเภสัชกรต้องจัดการตามหลักวิชาการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค

๔. สิทธิของประชาชนที่จะได้รับการชดเชยความสียหายจากการใช้ยาโดยรวดเร็ว

การแพ้ยาถึงขั้นเสียชีวิต หรือพิการ เช่น ผิวหนังลอกทั้งตัวเหมือนไฟลวก หรือตาบอด หรือเจ็บป่วยรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาตัว มีทั้งที่เป็นข่าวและไม่ปรากฏเป็นข่าว ผู้เคราะห์ร้ายจากการใช้ยา มักจะไม่สามารถเรียกร้องให้ใครมาชดเชยความเสียหายได้ เพราะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้ละเมิดทำให้ตนเองเสียหาย ซึ่งเกินกว่าความสามารถของประชนชนผู้ใช้ยาโดยทั่วไป ดังนั้นในร่าง กฎหมายยา ฉบับประชาชน ถือว่า ประชาชนคนไทย ต้องได้รับการดูแล เยียวยา บรรเทาความเสียหาย เมื่อได้รับเคราะห์กรรมจากการใช้ยา แม้จะไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้ใดก็ตาม โดยใช้กลไกการพิจารณาเป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งจะมีความรวดเร็ว เป็นธรรมกับทุกฝ่าย

๕. ยาจำเป็นเฉพาะกรณี

ยากำพร้าซึ่งจำเป็นต่อผู้ป่วย ในภาวะคับขัน มีวิกฤตภัยพิบัติ เช่น โรคระบาดรุนแรงและจะทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีโอกาสจะเสียชีวิต พิการรุนแรงได้ หรือมีโรคที่เกิดกับประชาชนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ทำให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใดประสงค์จะผลิต หรือนำเข้ายาจำเป็น เพราะไม่สามารถทำกำไรได้ตามความต้องการของภาคธุรกิจ จึงต้องมีกลไกทำให้ ประเทศต้องไม่ขาดแคลนยาจำเป็นเหล่านั้น มีปริมาณเพียงพอต่อความจำเป็นในการใช้ของประชาชน และมีวิธีการทำให้ประชาชนเข้าถึงยาได้อย่างรวดเร็ว

๖. ปรับปรุงระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยาของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง

โดยมีบทบัญญัติที่ทำให้ประเทศไทย ต้องไม่มี ตำรับยาที่ไม่มีประสิทธิผลในการรักษา ไม่มีตำรับยามากมายหลายหมื่นตำรับ ดังเช่นปัจจุบันนี้ ต้องไม่มีตำรับยาที่ไม่มีประโยชน์ต่อการสาธารณสุขของประเทศไทย ต้องไม่มีตำรับยาที่โครงสร้างราคายาที่ไม่สมเหตุผล ไม่คุ้มค่า หรือขายในราคาไม่ยุติธรรม และที่สำคัญคือ กฎหมายบังคับให้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเรื่องการขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องรับผิดชอบการทบทวนทะเบียนตำรับยา โดยมีระบบการทะเบียนการทบทวนตำรับยาประจำปีเพื่อให้ประชาชนมั่นใจทั้งในประสิทธิผลของยาและความปลอดภัยในทุกทะเบียนตำรับยา

๗. การส่งเสริมการขายยาและการโฆษณา

กิจกรรมการส่งเสริมการขายและการโฆษณา ในทางธุรกิจถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจขยายตัวและเติบโต เพราะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าของประชาชนให้มากขึ้น แต่ ยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่สมควรส่งเสริมให้เกิดการบริโภคโดยไม่จำเป็น ดังนั้น เพื่อให้เกิดการใช้ยาที่เหมาะสมของประชาชน ตลอดจนสำนึกของผู้มีสิทธิสั่งใช้ยา จึงต้องมีบทบัญญัติที่จะกำกับดูแลการส่งเสริมการขายยาและการโฆษณาที่เหมาะสม ไม่ให้ส่งเสริมการบริโภคยาโดยไม่จำเป็น และประการสำคัญ การส่งเสริมการขายยาและการโฆษณา เป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบธุรกิจจะผลักให้เป็นภาระของผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ราคาสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น

๘. การใช้มาตรการทางปกครอง

มาตรการทางปกครอง เป็นเครื่องมือใหม่ที่จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเหมาะสมกับสภาวะการณ์ที่หลากหลาย เช่น การภาคทัณฑ์ การตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน การปรับทางปกครอง การจำกัดการประกอบการ เพิ่มเติมจากกฎหมายเดิมที่มีการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ

ที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงประโยชน์บางส่วนที่ประชาชนจะได้รับจาก ร่าง พระราชบัญญัติยา ฉบับประชาชน ซึ่งขอนำเสนอให้เข้าใจโดยง่าย จากร่างกฎหมาย ฉบับเต็มกว่า ๑๒๐ มาตรา ได้จากเว็บไซต์แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ที่ www.thaihealthconsumer.org และเว็บไซต์ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนระบบยา (กพย.) ที่ www.thaidrugwatch.org

ดาวน์โหลดร่าง พรบ. ยาฉบับประชาชน (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 วันที่ 8 มีนาคม 2554)

http://www.thaidrugwatch.org/download/draft_revise_1_drug_act_8-03-54.pdf 

0 0 0

ความเข้าใจผิดในสาระสำคัญบางเรื่อง

ในช่วงนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ให้คัดค้าน ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... โดยไม่ระบุว่าเป็นฉบับใด ในเรื่องนิยามของ ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยาและ ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งพบใน ร่าง พระราชบัญญัติยา พ.ศ.... (ฉบับ กระทรวงสาธารณสุข) มาตรา ๔ ดังนี้

ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา หมายความว่า ยาที่ห้ามจ่ายโดยไม่มีใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทย และผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นตามทีกำหนดโดยพระราชกฤษฏีกาซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

ยาที่ต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ยาที่ไม่ใช่ยาที่ต้องจ่ายตามใบสั่งยา และต้องจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นตามทีกำหนดโดยพระราชกฤษฏีกาซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ

มสพ. คคส. กพย. และคณะ จึงเห็นควรชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

 

 

 

AttachmentSize
ร่าง พระราชบัญญัตยา พ.ศ...(ฉบับประชาชน) ปรับปรุงครั้งที่ 1 วันที่ 8 มีนาคม 2554.pdf653.25 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทนายเผย ‘อากง’ ถอนอุทธรณ์ เตรียมขอพระราชทานอภัยโทษ

$
0
0

 

2 เม.ย.2555 นายอานนท์ นำภา ทนายความของนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ อากง ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ที่ถูกพิพากษาจำคุก 20 ปี ให้ข้อมูลว่า ในพรุ่งนี้ (3 เม.ย.) จะดำเนินการยื่นถอนอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว เนื่องจากเจ้าตัวต้องการจะขอพระราชทานอภัยโทษ ประกอบกับอายุมากและเป็นโรคประจำตัว

อานนท์ กล่าวอีกว่า ส่วนคดีของนายธันย์ฐวุฒฺ (สงวนนามสกุล) ผู้ออกแบบเว็บไซต์ นปช.ยูเอสเอ และเป็นผู้ต้องขังคดีหมิ่นอีกคนนั้นก็มีความประสงค์ที่จะขอถอนอุทธรณ์ด้วยเช่นเดียวกันเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ต้องการทราบผลคำสั่งขอประกันตัวในชั้นศาลฎีกาเสียก่อน ซึ่งทนายได้ยื่นเรื่องไปกว่าเดือนแล้ว และกำลังดำเนินการติดตาม

ทั้งนี้ นายอำพลถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.53 และถูกคุมขังสองเดือนก่อนศาลจะอนุญาตให้ประกันตัว แต่หลังนายอำพลไปรายงานตัวเพื่อรับทราบคำสั่งฟ้องของอัยการเมื่อวันที่ 18 ม.ค.54 ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัวอีกจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการยื่นขอประกันตัวอีกหลายครั้ง ด้วยเหตุที่ว่าเกรงจำเลยจะหลบหนี ส่วนการพิพากษานั้นในวันที่ 23 พ.ย.54 ศาลได้ตัดสินจำคุกนายอำพล 20 ปี จากการส่งข้อความสั้น (SMS) เข้าข่ายหมิ่นสถาบันไปยังเลขานุการส่วนตัวในอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงกลางปี 2553 ซึ่งมีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงและนายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนนายธันย์ฐวุฒินั้นถูกจับกุมและคุมขังตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.53 และศาลตัดสินจำคุก 13 ปี ยื่นประกันตัวแล้วหลายครั้งแต่ศาลไม่อนุญาต

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์

$
0
0

ที่ต้องขอพระราชทานอภัยโทษ ไม่ใช่เพราะอากง "แพ้" ต่อความผิดที่ถูกคนกล่าวหา แต่จริงๆ แล้ว "แพ้" ต่อความอยุติธรรมในสังคมไทย

2 เม.ย. 2555

คะแนนเลือกตั้งซ่อมรัฐฉานล่าสุด เอ็นแอลดี-เสือเผือกแบ่งกันนำพรรคละเขต

$
0
0

สำนักข่าวฉานรายงานผลคะแนนเลือกตั้งซ่อมรัฐฉาน โดยที่เขตล่าเสี้ยว พรรค NLD คะแนนสูสีกับพรรค SNDP ของไทใหญ่ แต่พรรคไทใหญ่ยังคงมีคะแนนนำ ส่วนที่กะลอ พรรค NLD คะแนนทิ้งห่างพรรครัฐบาล USDP แต่ยังคงรอผลคะแนนจากอีกหลายหน่วยเลือกตั้ง

 สำนักข่าวฉาน (SHAN) ซึ่งได้ติดตามการเลือกซ่อมในรัฐฉาน เมื่อ 1 เม.ย. ซึ่งมีการเลือกตั้ง 2 เขต จาก 45 เขตทั่วพม่านั้นล่าสุดเมื่อเช้าวันนี้ (2 เม.ย.) สำนักข่าวฉานได้รายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีรายละเอียดดังนี้ 

โดยเขตพื้นที่รัฐฉานภาคเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองล่าเสี้ยว ครอบคลุมพื้นที่ 5 เมือง ประกอบด้วย เมืองล่าเสี้ยว เมืองแสนหวี เมืองสี่ป้อ เมืองไหย๋ และเมืองต้างยาน เขตนี้มีการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาชนชาติแทนที่นั่งของ ดร.จายหมอกคำ ที่ถูกแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 2

โดยการเลือกตั้งรอบนี้เป็นพื้นที่แย่งชิงของผู้สมัคร 5 พรรค ได้แก่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy - NLD)  พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติไทใหญ่ (Shan Nationalities Democratic Party - SNDP)  หรือพรรคเสือเผือก พรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Party หรือ USDP)  หรือพรรคจ้านไข่เย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ] พรรคพัฒนาชนชาติลาหู่ (Lahu National Development Party - LNDP) และพรรคโกก้างเพื่อประชาธิปไตยและเอกภาพ (Kokang Democracy and Unity Party - KDUP) 

โดยผลการนับคะแนนเขตรัฐฉานภาคเหนือโดยรวม พรรค SNDP ไทใหญ่มีคะแนนนำอยู่อันดับหนึ่ง โดยที่เมืองล่าเสี้ยว มีหน่วยเลือกตั้ง 62 หน่วย นับคะแนนแล้วพรรค NLD ได้ 20,535 คะแนน พรรค SNDP ได้ 10,148 คะแนน พรรค USDP ของรัฐบาลได้ 7,834 คะแนน พรรค KDUP ได้ 5,488 คะแนน และพรรค LNDP ได้ 938 คะแนน

ที่เมืองไหย๋ มีหน่วยเลือกตั้ง 45 หน่วย พรรค SNDP ได้ 9,050 คะแนน พรรค NLD ได้ 2,971 คะแนน และพรรค USDP ได้ 2,731 คะแนน อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า การคะแนนโดยรวมจากหน่วยเลือกตั้งอื่นๆ ทั้งในเมืองต้างยาน เมืองสี่ป้อ และเมืองไหย๋ พรรค SNDP ไทใหญ่ ยังคงนำพรรค NLD ซูจี อยู่

ส่วนผลการเลือกตั้งซ่อมเขตพื้นที่รัฐฉานภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกะลอ เขตเลือกตั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ 3 เมือง ได้แก่เมืองกะลอ เมืองอ่องปาน และเมืองไฮโห มีผู้สมัคร 5 พรรคลงแข่ง ได้แก่พรรค NLD พรรค SNDP พรรค USDP พรรคองค์กรแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Organization Party - PNO) และพรรคเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Party) ซึ่งเป็นพรรคของฝ่ายสนับสนุนนายพลเนวิน 

สำหรับผลการนับแคคที่เมืองกะลอ พรรค NLD กวาดคะแนนท่วมท้น โดยที่เมืองกะลอ ซึ่งมีหน่วยเลือกตั้งทั้งหมด 131 หน่วย พรรค NLD ได้ 43,943 คะแนน พรรค USDP ได้ 17,905 คะแนน พรรค PNO ได้ 10,258 คะแนน พรรค NUP ได้ 1,711 คะแนน ขณะที่พรรค SNDP ได้ 607 คะแนน

 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดโฉมหน้า 2 ผู้ต้องสงสัยขับคาร์บอมบ์ถล่มลีการ์เด้นส์

$
0
0

เผยเครือข่ายคนร้ายโยงใยครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตรวจสอบพบคาร์บอมบ์ 3 คัน มีประวัติออกปฏิบัติการโชกโชน แม่ทัพ 4 แฉคนร้ายกะถล่มหลายจุด แต่ทำได้จริงแค่ 3 แห่ง 

 

 

โฉมหน้าผู้ต้องสงสัย มือคาร์บอมบ์ ลี การ์เดนส์ หาดใหญ่ ที่กล้องวงจรปิดภายในชั้นใต้ดินของโรงแรมบันทึกภาพไว้ได้

 

เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. วันที่ 2 เมษายน 2555 ที่หน้าเฟซบุ๊ก Charoon Thongnual มีการนำภาพจากกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่แสดงภาพภายในชั้นจอดรถยนต์ใต้ดินโรงแรม ลี การ์เดนส์ พลาซ่า ก่อนเกิดเหตุคาร์บอมบ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ออกมาเผยแพร่ โดยมีคำบรรยายกำกับว่า .. เผยโฉมหน้าผู้ต้องสงสัย มือคาร์บอมบ์ ลี การ์เดนส์ หาดใหญ่ กล้องวงจรปิดภายในชั้นใต้ดินของโรงแรมสามารถบันทึกภาพไว้ได้ ขณะที่เดินขึ้นจากลานจอดรถบริเวณชั้นบี 4 ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่เกิดระเบิด และเดินย้อนออกจากห้างบริเวณทางลงลานจอดรถ โดยชายทั้ง 2 คนสูงประมาณ 170 เซนติเมตร สวมกางเกงยีนส์ เสื้อแจ๊คเก็ตสีดำ สวมหมวกแก๊ปอำพรางใบหน้า รองเท้าผ้าใบ เดินออกจากลานจอดรถ เวลาประมาณ 10.13 น. ของวันเกิดเหตุ

พ.ต.อ.กฤษฎา แก้วจันดี ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทราบเส้นทางที่กลุ่มคนร้ายนำรถยนต์คันก่อเหตุเข้ามาก่อเหตุกลางเมืองยะลาแล้ว และพอจะทราบกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องบ้างแล้ว สำหรับรถยนต์คันที่ก่อเหตุตรวจสอบพบว่า เป็นรถยนต์กระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นไทเกอร์ สีขาว หมายเลขทะเบียน บง 3171 ยะลา ของบริษัท ยะลาไพบูรย์กิจ จำกัด ที่ถูกคนร้าย 2 คน ใช้อาวุธปืนจี้ชิงไป จากหน้าบ้านเลขที่ 691 ถนนสิโรรส อำเภอเมืองยะลา เมื่อวันที่ 20 มีนาค 2555 จากนั้นคนร้ายได้นำไปประกอบเป็นระเบิด นำมาก่อเหตุคาร์บอมบ์จุดที่ 2 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555

พ.ต.อ.กฤษฎา เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับระเบิดคาร์บอมบ์จุดแรก เป็นรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุ รุ่นโกลด์ซีรีส์ คาดว่าเป็นคันเดียวกับที่คนร้ายใช้ก่อเหตุบุกยิงฐานปฏิบัติการกองอาสารักษาดินแดนตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ก่อนหน้านี้ ทางหน่วยข่าวความมั่นคงได้แจ้งเตือนทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ให้ตรวจสอบเพ่งเล็งรถยนต์ทั้ง 2 คันอย่างละเอียดแล้ว

เผยสายสัมพันธ์กลุ่มคนร้าย

รายงานข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้แจ้งว่า กลุ่มคนร้ายที่ก่อเหตุในจังหวัดยะลา และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นคนร้ายกลุ่มเดิมที่เคยสลายกลุ่มไปแล้ว แต่กลับมารวมตัวกันได้อีกครั้ง สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้ง 3 จังหวัด และติดต่อประสานการปฏิบัติงานร่วมกันได้

ส่วนกลุ่มที่ปฏิบัติการลอบวางระเบิดคาร์บอมบ์ในจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 จากหลักฐานพบว่า เป็นกลุ่มนายสาหูดิน โต๊ะเจ๊ะมะ แกนนำก่อเหตุรุนแรงระดับสั่งการ นายซัยฟุลลอฮ หรือซัยฟุลดิน ซาฟรุ ผู้ต้องหาคดีความมั่นคง สำหรับนายซัยฟุลดินเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกับนายไฟศอล หะยีสะมะแอ ผู้ต้องหาคดีลอบวางระเบิดสนามบินหาดใหญ่

นอกจากนี้ ยังมีทีมจากอำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีนายอับดุลเลาะ ปูลา ผู้ต้องหาคดีลอบวางระเบิด นายมะซอเร ดือราแม ผู้ต้องหาลอบวางระเบิดในจังหวัดปัตตานี เพื่อนนายอับดุลเลาะ ปูลา ผู้ต้องสงสัยทั้งหมดสามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยจัดประชุมวางแผนกันที่บ้านไบท์ ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 สัปดาห์ กรณีเหตุที่ศูนย์การค้า ลี การ์เดนส์ พลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การข่าวระบุเป็นฝีมือนายมะซอเร ดือราแม ที่ผลิตระเบิดขับรถยนต์คันดังกล่าวไปจอดที่ศูนย์การค้า ลี การ์เดนส์ด้วยตัวเอง

แม่ทัพ 4 ยันตอบโต้ปราบยาเสพติด–น้ำมันเถื่อน

พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาค 4 เปิดเผยว่า ในแต่ละจุดที่เกิดเหตุ ผู้ก่อเหตุจัดกลุ่มคนลงทำงาน 5–6 คน แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าเหตุการณ์ทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากยังมีประเด็นภัยแทรกซ้อน ถ้าเร่งสรุปอาจทำให้ประเด็นเบี่ยงเบนได้ ทั้งนี้ฐานข่าวระบุว่า มีการวางแผนก่อเหตุหลายจุดพร้อมกัน แต่จากการควบคุมพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ ทำให้คนร้ายก่อเหตุได้เพียง 2 – 3 จุดเท่านั้น เชื่อว่าคนร้ายหวังตอบโต้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปเข้มงวดปราบปรามยาเสพติดและจับกุมน้ำมันเถื่อน ซึ่งเป็นท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มก่อความไม่สงบ รวมทั้งต้องการแสดงศักยภาพ ความมีตัวตน และต้องการควบคุมมวลชนไม่ให้เอาใจออกห่าง โดยไม่สนใจว่าเป็นการทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ถือเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง

รัฐบาลมาเลย์เตือนอย่ามาภาคใต้

ดาโต๊ะ ซรี อานิฟาห์ บิน ฮัจญี อามาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซีย ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ว่า ชาวมาเลเซียทุกคนควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังภาคใต้ของไทย หากไม่มีธุระ การประชุม หรือการหารือข้อตกลงใดๆ ที่สำคัญจริงๆ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

ทั้งนี้ เหตุระเบิดที่โรงแรมลีการ์เด้นพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ มีผู้เสียชีวิตเป็นชาวมาเลเซีย 1 ราย ผู้บาดเจ็บเป็นชาวมาเลเซีย 27 ราย

 

0 0 0

แถลงการณ์มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ประณามผู้ก่อเหตุระเบิดสร้างความเสียหายต่อชีวิตผู้บริสุทธิ์และทรัพย์สินเสียหาย โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ไม่นำพาแนวทางสันติ เรียกร้องทุกฝ่ายร่วมประณาม แสดงจุดยืนต่อต้านความรุนแรงในทุกรูปแบบ

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555 ได้เกิดเหตุการณ์การก่อเหตุความรุนแรงขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายแห่ง สร้างความเสียหายต่อชีวิตผู้บริสุทธิ์และทรัพย์สินเสียหายมากมายใหญ่หลวง ที่จังหวัดยะลาเกิดเหตุ ระเบิดด้วยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ประกอบถังแก๊สจำนวนสามครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 78 ราย ในย่านธุรกิจร้านค้าของอำเภอเมือง จังหวัดยะลา รวมทั้งเหตุระเบิดห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง

หาดใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บกว่า 100 ราย

ผู้เสียชีวิตและผู้เสียหายทั้งหมด เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธใดใด การกระทำดังกล่าวสมควรถูกประณาม และขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันแสดงจุดยืนต่อต้าน การใช้ความรุนแรงของผู้ก่อเหตุที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงเหตุระเบิดที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี เป็นเหตุให้รองผู้กำกับการสถานีตำรวจแม่ลานบาดเจ็บ

เหตุการณ์ภายในวันเดียวสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินอีกมากมาย ทั้งไม่มีผู้ใดแสดงความรับผิดชอบ และเหตุแห่งการก่อเหตุในครั้งนี้ ซึ่งอาจมีเป้าประสงค์เพื่อ ประโยชน์ทางการเมือง แต่กลับเป็นการทำลายระบบเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน และนักท่องเที่ยวต่อประเทศไทยอย่างไร้คุณธรรม

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอประณามผู้ใช้ความรุนแรงการก่อเหตุร้ายโหดร้าย มุ่งประสงค์ต่อผู้บริสุทธิ์ และสร้างความเสียหายต่อสาธารณะ และขอให้ผู้ก่อเหตุร้ายยุติการสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างผิดกฎหมาย การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมที่สร้างความหวาดกลัว และความไม่ปลอดภัยต่อสาธารณะชน การใช้ความรุนแรงที่มุ่งเน้นสร้างความวุ่นวาย และไม่แสดงจุดยืนการก่อเหตุและการเรียกร้องทางการเมืองแต่ประการใด

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บและผู้ได้รับความเสียหายจากความรุนแรงดังกล่าวทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้บริสุทธิ์ และขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือต่อผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็วและเหมาะสม อันเป็นการเยียวยาความเสียหาย และความรู้สึกทางจิตใจของผู้ประสบเหตุดังกล่าว

นอกจากนี้ รัฐยังมีภาระหน้าที่ในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการความปลอดภัยใหม่ มาตรฐานสร้างความ

น่าเชื่อถือต่อสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธที่เกิดขึ้น ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ มีแนวโน้มในการใช้วัตถุระเบิด หรือการใช้ถังบรรจุก๊าซที่ทำให้ระเบิดอานุภาพรุนแรง ทั้งนี้ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ มีความอดทนอดกลั้น ต่อการยั่วยุและสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ และปฏิบัติหน้าที่สืบสวนสอบสวนนำคนผิดมาลงโทษตามกฎหมาย เคารพต่อหลักการของกฎหมายสิทธิมนุษยชน และการใช้เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายแสดงจุดยืนต่อต้านความรุนแรงในทุกรูปแบบ ร่วมมือกันสร้างมาตรการเพื่อให้ยุติวงจรรุนแรง ซึ่งหมายถึงการเปิดพื้นที่เพื่อการเจรจายุติการใช้ความรุนแรง การเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยรับฟังแนวทางทางการเมืองแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจากผู้ที่เห็นต่าง เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้ประชาชนให้ได้ในที่สุด

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รอบโลกแรงงานประจำเดือนมีนาคม 2555

$
0
0

 3 โรงงานแบรนด์กีฬาดังกดขี่แรงงานบังกลาเทศ

 
5 มี.ค. 55 - หนังสือพิมพ์ ดิ ออบเซิร์ฟเวอร์ในอังกฤษ รายงานว่า แรงงานบังกลาเทศที่โรงงานผลิตเสื้อผ้ากีฬาให้แก่ยี่ห้อพูม่า ไนกี้ และอาดิดาส ซึ่งทั้งหมดเป็นสปอนเซอร์กีฬาโอลิมปิกลอนดอนที่จะเปิดฉาก 27 กรกฎาคม ถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย ทั้งถูกทุบตี ด่าทอและคุกคามทางเพศ
 
ดิ ออบเซิร์ฟเวอร์ ร่วมกับองค์กรการกุศล "วอร์ ออน วอนท์" ออกรายงานเชิงสืบสวนระบุว่า แรงงานสองในสามที่ถูกสัมภาษณ์ ที่โรงงานผลิตสินค้าให้พูม่าแห่งหนึ่ง อ้างว่าเคยถูกซ้อม ตบตีและทึ้งผม ด้านแรงงานหญิงจำนวนมากที่โรงงานผลิตสินค้าให้แก่อาดิดาส อ้างว่าพวกเธอถูกบังคับให้ถอด "ดุพัตตา" หรือผ้าคลุมที่ใช้ปกปิดช่วงหน้าอก และแรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าให้แก่สามยี่ห้อดัง ต้องทำงานยาวนานชั่วโมงโดยได้รับค่าแรงต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
อาดิดาส เป็นผู้สนับสนุนชุดกีฬาโอลิมปิกให้แก่ทีมชาติอังกฤษที่ออกแบบโดยสเตลลา แมคคาร์ตนีย์ ส่วนไนกี้ เป็นสปอนเซอร์ให้แก่ทีมชาติสหรัฐ จีน เยอรมนี และรัสเซีย ขณะที่พูม่าเป็นสปอนเซอร์ให้แก่เจ้าลมกรดจาเมกา ยูเซน โบลต์ และทีมชาติจากหลายประเทศ
 
นายเกรก มัตทิตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายขององค์กร วอร์ ออน วอนท์ กล่าวว่า หากบริษัททั้งหลายต้องการได้รับประโยชน์จากการเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนทีมนักกีฬาและโอลิมปิก จะต้องรับประกันว่า แรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
 
ชิลีเดินขบวนวันสตรีสากล จบ “เดือด” ผู้ชุมนุมปะทะตำรวจวุ่น
 
8 มี.ค. 55  - การเดินขบวนรถรงค์สิทธิสตรีในกรุงซันติอาโก เมืองหลวงชิลี เนื่องในวันสตรีสากล ลงเอยด้วยเหตุชุลมุน เมื่อผู้ประท้วงปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล กระทั่งมีการทุบกระจกร้านค้า และวางเพลิงเผาเฟอร์นิเจอร์
นักเคลื่อนไหวชาวชิลีมากกว่า 10,000 คน ร่วมเดินขบวนไปตามท้องถนนในย่านธุรกิจของกรุงซันติอาโก โดยเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคมของสตรี    
 
กลุ่มผู้เข้าร่วมครั้งนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มสหภาพแรงงาน และนักสิทธิสตรี ซึ่งมีการเสนอข้อเรียกร้องให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการเมือง และยึดเก้าอี้ ส.ส. ในรัฐสภาให้มากยิ่งขึ้น   
   
เหตุการณ์เป็นไปด้วยความสงบจนกระทั่งมีกลุ่มผู้ประท้วงพยายามเคลื่อนย้ายรั้วกั้นที่ตั้งอยู่รอบทำเนียบประธานาธิบดี จึงเริ่มมีการปะทะกับตำรวจ
 
ทางการยิงแก๊สน้ำตาและปืนแรงดันน้ำใส่มวลชน ในขณะที่ผู้ประท้วงบางรายเข้าทุบกระจกร้านค้า และจุดไฟเผาเฟอร์นิเจอร์
 
ทั้งนี้ ผู้ประท้วงยังระบุว่า สถาบันด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมในชิลี ล้วนสนับสนุนให้ผู้ชายเป็นใหญ่ และส่งเสริมความไม่เท่าเทียมทางเพศ
 
กฎหมายแรงงานใหม่ในพม่าที่ให้สิทธิ์พนักงานก่อตั้งสหภาพแรงงาน และจัดการนัดหยุดงาน มีผลบังคับใช้แล้ว
 
11 มี.ค. 55 - หนังสือพิมพ์ นิวไลต์-ออฟ เมียนมาร์ ของรัฐของพม่า รายงานเมื่อวานนี้ว่า กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคบใช้เมื่อวันศุกร์ และว่ากระทรวงแรงงานของพม่า จะควบคุมดูแลการนำกฎหมายฉบับนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ
 
ประธานาธิบดีเต็งเส่งแห่งพม่า ลงนามรับรองกฎหมายฉบับนี้ เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ในฐานะส่วนหนึ่งของการปฏิรูปต่างๆ หลังช่วงหลายทศวรรษของการกดขี่
 
กฎหมายฉบับนี้จะอนุญาตให้พนักงานก่อตั้งสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกอย่างน้อย 30 คน และจัดการนัดหยุดงาน หากพวกเขาแจ้งล่วงหน้า 14 วัน และให้รายละเอียดต่างๆ อย่างการนัดหยุดงานจะดำเนินไปกี่วัน จะมีพนักงานกี่คนเข้าร่วม และจะนัดหยุดงานในลักษณะใด
 
นายจ้างที่ไล่พนักงานออกฐานนัดหยุดงาน หรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน จะต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี และปรับอีก 1 แสนจ๊าต หรือ 125 ดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 3,820 บาท
 
ส่วนพนักงานที่จัดการนัดหยุดงานโดยผิดกฎหมายต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี และปรับอีก 3 แสนจ๊าต หรือ 38 ดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 1,161 บาท
 
สเปน..เดินขบวนประท้วงการปฏิรูปแรงงาน
 
12 มี.ค. 55 - ชาวสเปนหลายพันคนเดินขบวนผ่านท้องถนนใจกลางกรุงมาดริด เพื่อประท้วงการปฏิรูปด้านแรงงานใหม่ที่เข้มงวด และการปรับลดการใช้จ่าย
 
การเดินขบวนเป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมของพลังมวลชน ตามเมืองต่างๆ 60 เมืองทั่วประเทศสเปนเมื่อวานนี้ ตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานที่สำคัญต่างๆของประเทศ เพื่อประท้วงการปฏิรูปและมาตรการคว่ำบาตรต่างๆที่เพิ่งผ่านการอนุมัติ
การปฏิรูปซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบของรัฐบาลเมื่อเดือนที่แล้ว และได้รับการยืนยันจากรัฐสภาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา จะปรับลดค่าใช้จ่ายในการปลดพนักงานออก และผ่อนคลายเงื่อนไขที่พนักงานจะถูกปลดออก
 
แบรนด์ดังเรียกร้องกัมพูชาหาตัวคนผิดเหตุยิงแรงงาน
 
12 มี.ค. 55 - บริษัทสินค้าชื่อดังจากต่างชาติแสดงความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.พ. เมื่อมือปืนคนหนึ่งยิงปืนใส่กลุ่มแรงงานหลายพันคนที่กำลังชุมนุมประท้วงเรียกร้องสภาพการทำงานที่ดีขึ้นตามโรงงานต่างๆ ในจ.สวายเรียง
 
ขณะเดียวกัน นายจุก บันดิธ ผู้ว่าการเมืองบาเว็ต ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐระบุว่าเป็นผู้ต้องสงสัย ได้ถูกย้ายออกจากตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ก่อน แต่ยังไม่ถูกจับกุมตัวและไม่ทราบที่อยู่ที่แน่ชัดในตอนนี้ 
  
"ระหว่างเกิดเหตุจลาจล แรงงานหญิง 3 คนของบริษัท Kaoway Sports ที่ผลิตสินค้าให้กับพูม่า ถูกยิงและได้รับบาดเจ็บ" บริษัทสินค้าแบรนด์ดัง ที่รวมทั้ง บริษัท American Eagle Outfitters บริษัท The Jones Group และบริษัท Columbia Sportswear ได้ร่วมลงนามระบุในเอกสารฉบับหนึ่งที่ส่งไปยังกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา เมื่อวันที่ 9 มี.ค. และเนื้อความในเอกสารยังได้เรียกร้องให้ทางรัฐบาลกัมพูชาดำเนินการสืบสวนอย่างเต็มรูปแบบ และจับกุมตัวผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่ทำให้แรงงานได้รับบาดเจ็บ
 
หลังจากปัญหาถูกปิดเงียบในช่วงแรก จนกระทั่งสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลระบุว่านายจุก บันดิธ จะถูกนำตัวเข้าสอบปากคำเกี่ยวกับเหตุการณ์ยิงกลุ่มผู้ประท้วง
 
"ศาลออกหมายเรียกนายจุกให้เข้าให้การในวันที่ 16 มี.ค.นี้" อัยการศาลจ.สวายเรียง กล่าว
 
ทั้งนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นแหล่งรายได้หลักจากต่างชาติของประเทศและมีการจ้างงานแรงงานมากกว่า 300,000 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นแรงงานหญิง และความตึงเครียดระหว่างพนักงานและเจ้าของกิจการเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553 เมื่อแรงงานหลายหมื่นคนผละงานประท้วงจนกระทั่งรัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนและจัดการเจรจาหารือกับบริษัทผู้ผลิต.
 
ชาวสวิสหยั่งเสียง "ไม่เอาวันหยุดเพิ่ม" หลังผลลงประชามติเห็นด้วยถึง 66.5%
 
12 มี.ค. 55 - ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ปฏิเสธข้อเสนอจากทางการในการมีวันหยุดประจำปีเพิ่ม หลังผลการลงประชามติปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ขอมีวันหยุดเพิ่ม
 
โดยแผนดังกล่าว เสนอให้ผู้ใช้แรงงานทั่วไปสามารถหยุดได้ถึง 6 สัปดาห์ต่อปีจากเดิม 4 สัปดาห์  ขณะที่ภาคธุรกิจออกมาเตือนว่า หากเกิดขึ้นจริงจะส่งผลต่อภาคธุรกิจอย่างใหญ่หลวง  ทั้งนี้ผลการลงประชามติพบว่า ผู้ออกเสียงร้อยละ 66.5 ปฏิเสธแผนดังกล่าว ขณะที่ร้อยละ 33.5 ยอมรับแผนดังกล่าว โดยทำเนียบรัฐบาลที่กรุงเบิร์น เผยว่า มีประชาชนออกมาใช้สิทธิที่ร้อยละ 45
 
นอกจากนั้น ทางการเมืองเจนีวา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ ได้จัดให้มีการลงประชามติ เพื่ออนุมัติให้มีการควบคุมการชุมนุมประท้วงอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น  โดยกฎใหม่จะยินยอมให้มีการปรับผู้กระทำผิดสูงถึง 100,000 ฟรังค์ หากไม่ขอยื่อเรื่องเพื่อจัดการประท้วงล่วงหน้าหรือพบว่ามีการกระทำผิดกฎใดๆ  โดยมีผู้ลงคะแนนเสียงเห็นด้วยถึงร้อยละ 55
 
ด้านสมาคมนายจ้างสวิส (เอสบีเอ) ออกมาแสดงความยินดีต่อผลดังกล่าว โดยระบุว่า ผู้ลงคะแนนเริ่มตระหนักแล้ววว่า บางเรื่องที่ดูเหมือนจะดีในตอนแรก แต่เมื่อมองอย่างใกล้ชิด กลับมีข้อเสียจำนวนมาก ทั้งนี้ หากแผนดังกล่าวได้รับการตอบรับ ฝ่ายนายจ้างจากภาคธุรกิจกว่า 300,000 แห่งทั่วประเทศ จะต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มอีกราว 6,000 ล้านฟรังค์สวิส (ปะมาณ 198,000 ล้านบาท)
 
สวิตเซอร์แลนด์มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสมาพันธรัฐ ฉะนั้นแต่ละรัฐจะมีรัฐธรรมนูญ กฎ และกติกาเป็นของตนเอง ถ้าเป็นเรื่องของชุมชนก็จะมีการทำประชามติเฉพาะในเมืองหรือในรัฐนั้นๆ ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประชาชนทั้งประเทศ ก็จะทำประชามติร่วมกัน ด้วยระบบสหพันธรัฐทำให้เปิดโอกาสให้ทำประชามติได้บ่อยครั้ง แยกย่อยออกไป ดังนั้น การลงประชามติถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยของสวิตเซอร์แลนด์
 
โดยชาวสวิสจะมีส่วนในการร่วมลงประชามติหากว่ารัฐบาลต้องการแก้หรือเปลี่ยนแปลงกฎหมาย งบประมาณ หรือประเด็นอื่นๆ หากว่ามีประชาชนมากกว่า 100,000 คนร่วมลงชื่อ หากเห็นว่าเรื่องดังกล่าวควรมีการพิจารณา
 
"ดิสนีย์" เล็งจ้าง "ทหารผ่านศึก" กว่า 1,000 คนเข้าทำงาน
 
14 มี.ค. 55 - ดิสนีย์เปิดเผยเรื่องดังกล่าวในงานประชุมประจำปีผู้ถือหุ้น ที่เมืองแคนซัส ซิตี้  ซึ่งมีการเปิดตัวโครงการ "ฮีโรส์ เวิร์ค เฮียร์" (Heroes Work Here) และจะลงทุนในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือเอ็นจีโอ เพื่อจัดการฝึกอบรมและบริการด้านต่างๆให้กับเหล่าทหารผ่านศึก
 
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่ทหารผ่านศึกจำนวนหนึ่งที่ไปประจำอยู่ในต่างแดน กำลังจะเดินทางกลับสหรัฐฯ และกลับมาใช้ชีวิตแบบพลเรือน หลังจากสหรัฐ ลดบทบาททางทหารในอัฟกานิสถาน
 
ดิสนีย์เผยว่า  จะจ้างทหารผ่านศึกของกองทัพสหรัฐฯ อย่างน้อย 1,000 คน เข้าร่วมงานในอีก 3 ปีข้างหน้า นายโรเบิร์ต ไอเกอร์ ประธานดิสนีย์ กล่าวว่า จะมีทหารสหรัฐฯทั้งหญิงและชาย ที่เคยเสียสละตนเองให้ประเทศชาติ ที่กำลังจะกลับมาใช้ชีวิตแบบพลเรือน นี่จึงทำให้ดิสนีย์ต้องออกมาสนับสนุนให้พวกเขาได้มีงานทำต่อไป ซึ่งรวมไปถึงการสนับสนุนครอบครัวของทหารเหล่านั้น
 
ดิสนีย์  ระบุด้วยว่า การสนับสนุนครั้งนี้ ถือเป็นดัชนีชี้วัดว่า ชาวโลกจะเคารพและจริงใจกับเหล่าทหารมากน้อยแค่ไหน จากการที่พวกเขาเสียสละเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด
 
การจ้างงานครั้งนี้ จะครอบคลุมหลายบริษัทในเครือของวอลท์ ดิสนีย์ ที่รวมถึง สถานีโทรทัศน์กีฬาอีเอสพีเอ็น, ช่องดิสนีย์-เอบีซี เทเลวิชัน กรุ๊ป, ดิสนีย์ คอนซูเมอร์ โปรดักส์, เดอะ วอลท์ ดิสนีย์ สตูดิโอส์ และดิสนีย์ พาร์ค แอนด์ รีสอร์ท
 
กระทรวงแรงงานสิงคโปร์เผยอัตราว่างงานปี 2554 ต่ำสุดในรอบ 14 ปี
 
15 มี.ค. 55 - กระทรวงแรงงานสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราว่างงานของสิงคโปร์ดีขึ้น โดยในเดือนม.ค. อัตราว่างงานในภาพรวมลดลงเหลือ 2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดรอบ 14 ปี ขณะที่ตลาดแรงงานตึงตัว ส่วนอัตราว่างงานของประชากรสิงค์โปรอยู่ที่ 3% ในเดือนเดียวกัน
 
สำหรับการจ้างงานในไตรมาส 4 ของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็น 37,600 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับ 31,900 ตำแหน่งในไตรมาสก่อน ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการจ้างงานในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง โดยอัตราการจ้างงานตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 3.9% เป็น 122,600 ตำแหน่ง
 
กระทรวงแรงงานเปิดเผยว่า การจ้างงานท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 1.9% ในปี 2554 ต่ำกว่าตัวเลขในปี 2553 ซึ่งขยายตัว 2.9% เนื่องมาจากการเติบโตที่ชะลอตัวลงของจำนวนประชากรสิงค์โปร์ และประชากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีงานทำแล้ว
 
การจ้างงานชาวต่างชาติที่อยู่ในสิงค์โปร์เพิ่มขึ้น 7.6% ในปี 2554 เมื่อเทียบกับจำนวนที่เพิ่มขึ้น 5.7% ในปี 2553 ซึ่งตอบรับกับความต้องการแรงงานที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ในเดือนธ.ค. มีชาวต่างชาติที่ถูกจ้างงาน 1.2 ล้านคน คิดเป็น 32.8% ของการจ้างงานทั้งหมด
 
ด้านความสามารถในการผลิตของภาคแรงงานในไตรมาส 4 ลดลง 0.4% หลังจากปรับตัวสูงขึ้น 2% ในไตรมาส 3 และตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ความสามารถในการผลิตของภาคแรงงานสูงขึ้น 1% หลังเคยปรับตัวสูงมากถึง 11% ในปี 2553
ทั้งนี้ ความสามารถในการผลิตของภาคแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้นปานกลางเป็นผลจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ชะลอตัวลง ขณะที่มีการสร้างงานอย่างแข็งแกร่ง สำนักข่าวซินหัวรายงาน
 
สหภาพแรงงานในโปรตุเกสเริ่มผละงานประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาล
 
22 มี.ค. 55 - สหภาพแรงงานในโปรตุเกสทั้งภาคการขนส่ง และรักษาความสะอาดตาม ท้องถนน ร่วมผละงานประท้วงครั้งใหญ่ในรอบ 4 เดือน เพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดและนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยการผละงานประท้วงจะมีขึ้นเป็นเวลา 24 ชั่วโมงในวันนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการขนส่ง คาดว่าจะมีการผละประท้วงในกรุงลิสบอน และในอีกหลายเมืองใหญ่ด้วย.
 
ตำรวจกับผู้ประท้วงปะทะกันในโปรตุเกส
 
23 มี.ค. 55 - ตำรวจและผู้ประท้วงชาวโปรตุเกส ได้ปะทะกันอันเนื่องมาจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลและการปฏิรูปด้านแรงงาน โดยเป็นพวกที่แตกกลุ่มออกจากคนที่ไปเข้าร่วมการชุมนุมที่กรุงลิสบอน และมีผู้สื่อข่าว 2 คน จากสำนักข่าว 2 แห่ง ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงทำร้าย เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาด้วย
 
สื่อออนไลน์ส เช่น จอร์นัล เด โนติเซียส ได้เผยแพร่ภาพที่แสดงให้เห็นว่า ผู้สื่อข่าวหญิงชาวโปรตุเกส ที่ทำงานให้กับสำนักข่าว AFP ถูกเจ้าหน้าที่ตีด้วยกระบอง ส่วนสำนักข่าวลูซ่า ของทางการโปรตุเกส ได้ประท้วงที่ตำรวจเอากระบองตีช่างภาพในสังกัดคนหนึ่ง หลังจากเขานอนลงกับพื้นและบอกว่าเป็นผู้สื่อข่าว ซึ่งต่อมาเขาได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาที่จะดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
 
ด้านโฆษกหญิงของกรมตำรวจ เปิดเผยว่า ได้มีการปะทะกันไม่รุนแรงนัก ระหว่างตำรวจกับช่างภาพและผู้ประท้วงที่ต่างก็ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย และผู้ประท้วงที่ปะทะกับตำรวจอยู่ระหว่างถูกควบคุมตัว
 
มีประชาชนหลายหมื่นคน ได้ออกไปประท้วงต่อต้านนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาล เมื่อวันพฤหัสบดี แต่ได้มีกลุ่มที่แตกออกไปเป็นกลุ่มย่อย ๆ ปะทะกับตำรวจที่กรุงลิสบอนและปอร์โต บางคนขว้างปาสิ่งของเข้าใส่ตำรวจ และขว้างไข่ใส่ธนาคารในกรุงลิสบอนด้วย
 
ผู้นำของสหภาพการค้า CGTP ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ระบุว่า การประท้วงต่อต้านรัฐบาล ถูกจัดขึ้นที่ 35 เมืองใหญ่ และผลกระทบจากการประท้วงครั้งนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับภาคการขนส่ง การให้บริการรถไฟใต้ดินในกรุงลิสบอนถูกปิด ส่วนการให้บริหารรถไฟใต้ดินในเมืองปอร์โตและเรือโดยสารข้ามแม่น้ำทากัส ในกรุงลิสบอน เกือบจะเป็นอัมพาต
 
การให้บริการรถไฟและรถประจำทาง ถูกรบกวนอย่างหนัก สนามบินยังคงให้บริการ แต่มีการจราจรติดขัดในกรุงลิสบอน และอีกหลายเมือง ถนนหลายสายเต็มไปด้วยขยะการให้บริการไปรษณีย์หยุดชะงัก แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาล โรงเรียนและระบบยุติธรรม
 
ภายใต้แผนการปฏิรูปของรัฐบาล จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะจะทำให้ผู้ว่าจ้างสามารถจ้างหรือปลดพนักงานได้ง่ายขึ้น รวมทั้งตัดวันพักร้อนของลูกจ้างของรัฐและรายจ่ายต่าง ๆ ของรัฐบาล
 
นายกรัฐมนตรีเปรโด ปาสซอส โคเอลโฮ กำลังพยายามจะทำให้ได้ตามเงื่อนไขที่สหภาพยุโรป หรือ อียู และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF กำหนดไว้ หลังจากยอมอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่โปรตุเกส จำนวน 78,000 ล้านยูโร หรือกว่า 3 ล้านล้านบาท ขณะที่รัฐบาลโปรตุเกส คาดว่า ตัวเลขการว่างงานในปัจจุบันที่อยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหดไปอยู่แค่ 3.3 เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้
 
ค่าแรงงานในจีนที่สูงขึ้นกำลังเป็นปัญหาของบริษัทอเมริกัน
 
24 มี.ค. 55 - สหรัฐซึ่งเคยร้องเรียนเรื่องค่าแรงงานถูกในจีนกระทบต่อการผลิตในประเทศมาหลายทศวรรษ ขณะนี้กำลังประสบปัญหาผลกระทบจากค่าแรงงานในจีนปรับสูงขึ้น
 
บริษัทอเมริกันพากันย้ายฐานการผลิตไปจีนเพื่อหาประโยชน์จากแรงงานราคาถูกทำให้บริษัทมีกำไรจำนวนมาก แต่ขณะนี้มีสัญญาณแล้วว่าสิ่งเหล่านี้กำลังจะหมดไป ไนกี้ ผู้ผลิตรองเท้ากีฬายักษ์ใหญ่ของสหรัฐแจ้งเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ไตรมาสนี้มีกำไรมากกว่าไตรมาสก่อน แต่ราคาหุ้นของบริษัทเมื่อวันศุกร์กลับลดลง นักลงทุนลดมูลค่าบริษัทลง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31,000 ล้านบาท) เพราะกำไรเบื้องต้นของบริษัทลดลง เนื่องจากค่าจ้างแรงงานในจีนสูงขึ้นและต้นทุนวัสดุแพงขึ้น
 
นักวิเคราะห์ของบริษัทการลงทุนเตือนว่า ค่าจ้างในจีนมีแต่จะปรับขึ้นไปเรื่อย ๆ นับจากนี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่และปัญหาในระยะยาว ค่าแรงในเขตอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อปีก่อน และร้อยละ 11 ในปีก่อนหน้านั้น ล่าสุดทางการนครเซี่ยงไฮ้ประกาศจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกร้อยละ 13 เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานและแรงงานก่อเหตุประท้วง
นักวิเคราะห์ชี้ว่า บริษัทอเมริกันที่ลงทุนในจีนเหลือทางเลือกไม่กี่อย่างคือ ยอมรับผลกำไรที่ลดลง ผลักภาระไปให้ผู้บริโภค หรือหาทางลดต้นทุนค่าแรง หลายบริษัทเริ่มมองหาแหล่งผลิตเสริมเช่น ภาคตะวันตกของจีน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียเพื่อกระจายฐานการผลิต โดยไม่ละทิ้งตลาดจีนที่มีกำลังการซื้อสูง.
 
รัฐบาลอิตาลีอนุมัติมาตรการปฏิรูปแรงงาน มุ่งหนุนศก.-ตลาดแรงงานฟื้นตัว
 
24 มี.ค. 55 - รัฐบาลอิตาลีอนุมัติมาตรการปฏิรูปแรงงานแล้วในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย และจะยื่นต่อรัฐสภาเพื่อลงมติในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังตกอยู่ในภาวะชงักงัน ให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นและเพื่อลดอัตราว่างงาน
 
ภายใต้มาตรการปฏิรูปแรงงานฉบับใหม่นี้ รัฐบาลอิตาลีจะสนับสนุนให้บริษัทเอกชนลงทุนในด้านการฝึกฝนบุคลากร และมีคำสั่งให้บริษัทเอกชนทำสัญญาจ้างงานระยะยาวสำหรับพนักงาน ขณะเดียวกันก็จะใช้บทลงโทษบริษัทที่พยายามจะทำสัญญาจ้างงานในระยะสั้น
 
นายเอลซา ฟอร์เนโร รมว.แรงงานอิตาลีเชื่อมั่นว่า มาตรการปฏิรูปแรงงานจะสามารถสร้างงานให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน อันเป็นผลมาจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ
 
การอนุมัติมาตรการปฏิรูปแรงงานของอิตาลีมีขึ้นไม่นานหลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวลงราว 0.3% ในปี 2555 ตรงข้ามกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 0.5% เนื่องจากเศรษฐกิจอิตาลีและสเปนมีแนวโน้มหดตัวลง 1.3% และ 1% ตามลำดับ
 
เฟซบุ๊คเตือนนายจ้างห้ามขอพาสเวิร์ดผู้สมัครงาน
 
24 มี.ค. 55 - เอริน เอแกน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและความเป็นส่วนตัวของเฟซบุ๊ค บริษัทเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม ได้ออกมาเตือนบรรดานายจ้าง มิให้ขอพาสเวิร์ดเข้าดูบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊คของผู้สมัครงาน หรือพนักงานในองค์กร เนื่องจากถือเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวทั้งของผู้ใช้และเพื่อนผู้ใช้บัญชีนั้น พร้อมขู่จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ละเมิดนโยบายห้ามแชร์พาสเวิร์ด ที่บริษัทยึดมั่นมานาน
 
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ผู้สมัครงานจำนวนหนึ่งได้รับการร้องขอให้เปิดเผยพาสเวิร์ดบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊คในระหว่างสัมภาษณ์งาน เพื่อให้ว่าที่นายจ้าง ได้เข้าไปตรวจสอบปูมหลังของพวกเขาได้
 
เอแกน กล่าวเตือนว่า นายจ้างอาจถูกกล่าวหาได้ว่าเลือกปฏิบัติ หากพิสูจน์ได้ว่านายจ้างตัดสินใจไม่จ้างงาน หลังเห็นข้อมูลส่วนตัวจากเฟซบุ๊คผู้สมัคร เช่น รสนิยมทางเพศ หรือการเป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
 
"ในฐานะผู้ใช้ คุณไม่ควรจำยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการสื่อสาร เพียงเพื่อจะได้งาน และในฐานะเพื่อนของผู้ใช้คนนั้น ก็ไม่ควรจะต้องมากังวลว่า ข้อมูลส่วนตัวและการสื่อสาร จะถูกนำไปเปิดเผยแก่คนที่คุณไม่รู่จักและไม่ประสงค์จะแบ่งปัน เพียงเพราะผู้ใช้คนนั้นอยากได้งาน"หัวหน้าฝ่ายนโยบายของเฟซบุ๊คกล่าว
 
ทั้งนี้ การห้ามแชร์พาสเวิร์ด เป็นหลักการพื้นฐานของหลักปฏิบัติในโลกออนไลน์ ซึ่งนอกจากความวิตกด้านการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวแล้ว ยังถือเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้วย
 
ด้านแอนดรูว์ นอยส์ โฆษกของเฟซบุ๊ค กล่าวว่า การที่นายจ้างขอพาสเวิร์ดจากผู้สมัครงาน ไม่ใช่เรื่องถูกต้องอย่างแน่นอน แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีแผนจะดำเนินการทางกฎหมายกับนายจ้างคนใด แต่บริษัทกำลังหารือกับผู้กำหนดนนโยบายและผู้ถือหุ้น เพื่อช่วยปรับปรุงคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ให้รัดกุมมากขึ้น
 
ฝรั่งเศสเผยยอดว่างงานสูงสุดรอบกว่า 12 ปี
 
27 มี.ค. 55 - จำนวนคนว่างงานในฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันในเดือนก.พ.สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2542 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความพยายามของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีในการลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัย ที่ 2 ในการเลือกตั้ง 2 รอบในเดือนเม.ย.และพ.ค.
 
ทั้งนี้ ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานฝรั่งเศสบ่งชี้ว่า จำนวนคนหางานที่ขึ้นทะเบียนในฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 6,200 รายในเดือนก.พ. สู่ 2.868 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเทียบรายเดือน และ 6.2% เมื่อเทียบรายปี
 
ข้อมูลของกระทรวงแรงงานฝรั่งเศส เป็นตัวบ่งชี้การจ้างงานในประเทศที่มีการรายงานบ่อยที่สุด แม้ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) หรือแสดงอัตราการว่างงานของจำนวนผู้หางานทำเมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานทั้งหมด
 
พนง.สนามบินเยอรมนีประท้วง ยกเลิกกว่า 400 เที่ยวบิน
 
27 มี.ค. 55 - สายการบินลุฟธันซ่า แห่งชาติเยอรมนี ต้องทำการยกเลิกเที่ยวบินกว่า 400 เที่ยวในวันนี้ จากเดิมกว่า 1800 เที่ยว ขณะที่สายการบินแอร์ เบอร์ลิน ต้องยกเลิกเที่ยวบิน ไปเกือบ10 เที่ยว หลังจากพนักงานภาคพื้นดินในสนามบินแฟรงเฟริ์ต และอีกหลายสนามบินในเมืองใหญ่ทั่วเยอรมนี เช่น มิวนิค ดุสเซนดอฟ โคโลญจน์ เบอร์ลิน สตุตการ์ต พร้อมใจกันผละงานประท้วง ส่งผลให้ผู้เดินสารตกค้างจำนวนมาก
 
การนัดผละงานประท้วงมีขึ้นจากการที่พนักงานภาคพื้นดินที่อยู่ในกลุ่มของสหภาพแรงงาน Verdi ไม่พอใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทน ในการทำงาน โดยพวกเขาต้องการเรียกร้องให้สหภาพขึ้นค่าจ้างให้พนักงาน 3.3 % ภายใน 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งการเจรจารอบใหม่ระหว่างพนักงานและผู้บริหาร มีกำหนดในวันพุธและพฤหัสบดีนี้
 
ก่อนหน้านี้ การผละงานประท้วงเรียกร้องค่าจ้างการตอบแทนที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินหลายร้อยเที่ยว คิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายล้านยูโร
 
เลขาธิการ OECD ชื่นชมอิตาลีคืบหน้าปฏิรูปตลาดแรงงาน
 
28 มี.ค. 55 - นายอังเกล กูร์เรีย เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) แสดงความยินดีกับรัฐบาลอิตาลีในการริเริ่มการประชุมรัฐสภาเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการปฏิรูปตลาดแรงงาน
 
นายกูร์เรียกล่าวในรายงานว่า "โครงการปฏิรูปตลาดชุดใหม่นี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้รัฐบาลจัดการปัญหาหลักในตลาดแรงงานอิตาลี พร้อมกันนี้นายกูร์เรียยังเน้นย้ำว่า การปฏิรูปตลาดแรงงานดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมแผนงานอื่น ๆ เช่น การปรับระบบเงินบำนาญ และการปฏิรูปให้เกิดการแข่งขัน
 
นอกจากนี้เลขาธิการ OECD ยังเสริมด้วยว่าการปฏิรูปนี้ "จะช่วยกระตุ้นการสร้างงานในประเทศอิตาลี ลดอัตราการว่างงาน และเสริมสร้างการเติบโตเศรษฐกิจในระยะยาว"
 
เมื่อสัปดาห์ก่อน รัฐบาลอิตาลีให้ความเห็นชอบโครงการปฏิรูปตลาดชุดใหม่ที่ประเทศตั้งตารอมานาน และจะนำโครงการดังกล่าวส่งต่อให้รัฐสภาพิจารณา ทั้งนี้การปฏิรูปตลาดแรงงานเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับการปกป้องตำแหน่งงานมาเป็นการปกป้องตลาดแรงงาน และพาดพิงปัญหาภายในตลาดแรงงานอิตาลีที่มีมานานแล้ว ซึ่งรวมถึงปัญหาอัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานหญิงที่ต่ำและปัญหาการว่างงานที่เกิดขึ้นมายาวนาน สำนักข่าวซินหัวรายงาน
 
ลาวขีดเส้นตาย 31 มี.ค. แรงงานต่างชาตินับหมื่นขึ้นทะเบียน
 
28 มี.ค. 55 - ทางการลาวได้กำหนดเส้นตายให้แรงงานต่างชาตินับหมื่นๆ คนที่ทำงานในลาวอย่างผิดกฎหมายได้ไปขึ้นทะเบียนกับกรมแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมภายในวันที่ 31 มี.ค.ศกนี้ มิเช่นนั้นจะถูกลงโทษตามกฎหมาย
 
ในขณะที่มีชาวลาวกว่า 200,000 คน ไปขายแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ก็ยังมีชาวต่างชาติอีกกว่า 20,000 คน ทำงานอย่างผิดกฎหมายในลาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพนักงานลูกจ้างของบริษัทธุรกิจหรือในสถานประกอบการต่างๆ
จนถึงปีที่แล้วมีชาวต่างชาติทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตไปขึ้นทะเบียนเพียง 4,351 คนเท่านั้น สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานอ้างการเปิดเผยของนายคำขัน พินสะหวัน อธิบดีกรมแรงงาน
 
สถานประกอบการใดที่ไม่นำแรงงานต่างชาติไปขึ้นทะเบียนตามวันที่กำหนด "จะต้องโทษปรับหรือโทษสถานอื่นๆ ตามข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 136 และ ประกาศของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมฉบับที่ 5418" นายคำขันกล่าว
 
สื่อทางการรายงานก่อนหน้านี้ว่าชาวต่างชาติที่ทำงานในลาวอย่างผิดกฎหมายมากที่สุดเป็นชาวจีน ชาวเวียดนาม ชาวไทย ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีพลเมืองของประเทศอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งจากมาเลเซีย พม่าและบังกลาเทศ ด้วย
ปัจจุบันลาวมีแรงงานในวัยทำงานอายุระหว่าง 16-65 ปี จำนวน 3.7 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดประมาณ 6 ล้าน แรงงานส่วนใหญ่คือ 76.6% อยู่ในภาคการเกษตรและป่าไม้ 15.6% ในภาคบริการ มีเพียง 7.8% ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่ลาวตั้งเป้าเปลี่ยนเศรษฐกิจที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลักให้ประเทศอุตสาหกรรมผลิตสินค้าส่งออก
คิดเป็นจำนวนตัวเลข ปัจจุบันมีแรงงานกว่า 300,000 คน ทำงานในภาคธุรกิจแขนงต่างๆ และ เกือบ 167,100 คนทำงานในภาครัฐบาล นายคำหล่า ลอลอนสี ประธานศูนย์กลางสหพันธ์กรรมบาลลาวเปิดเผยบตัวเลขเหล่านี้ ระหว่างการประชุมใหญ่ผู้แทนทั่วประเทศในเดือน ก.ย.2554
 
กฎหมายของลาวสงวนตำแหน่งงานเกือบทุกประเภทให้แก่ประชาชนลาว แต่อนุญาตให้ธุรกิจแขนงต่างๆ สามารถนำเข้าแรงงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือ ตำแหน่งที่ขาดแคลนได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากทางการ.
 
รบ. "ฮ่องกง" ชนะอุทธรณ์ แม่บ้านต่างด้าวชวดสิทธิ์พำนักถาวร
 
29 มี.ค. 55 - บีบีซี รายงานว่า รัฐบาล ฮ่องกง ชนะอุทธรณ์ ขอยกเลิกคำตัดสินของศาลซึ่งระบุว่าแม่บ้านต่างด้าวมีสิทธิ์พำนักอยู่ในฮ่องกงได้อย่างถาวร
 
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาลสูงฮ่องกงกล่าวว่า การปฏิเสธไม่ให้แม่บ้านต่างชาติมีสิทธิ์พำนักในฮ่องกงขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกฎหมายฮ่องกงระบุว่า ชาวต่างชาติมีสิทธิ์พำนักได้อย่างถาวรหากอยู่ในฮ่องกงครบ 7 ปี
รัฐบาลฮ่องกงยื่นอุทธรณ์ตอบโต้ เนื่องจากเกรงว่าแม่บ้านต่างชาติกว่า 100,000 คนจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวความเคลื่อนไหวดังกล่าวสืบเนื่องมาจากคดีของ เอบานเคลีน บาเนา บาเยโคส์ แม่บ้านชาวฟิลิปปินส์
 
ศาลอุทธรณ์กล่าวในคำพิพากษาว่า การตัดสินใจมอบสถานะผู้พำนักถาวรให้แก่ชาวต่างชาติขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาล
ด้าน มาร์ค ดาลีย์ ทนายของบาเยโคส์ กล่าวว่า เขาอาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของฮ่องกงต่อไป
 
สเปนเดินเครื่องผละงานประท้วง ค้านแผนปฏิรูปแรงงาน-มาตรการรัดเข็มขัด
 
29 มี.ค. 55  - แรงงานสเปนเริ่มผละงานประท้วงใหญ่เป็นเวลา 24 ชั่วโมง วันนี้ (29 มี.ค.) เพื่อคัดค้านกฎหมายฉบับใหม่ที่ช่วยให้สถานประกอบการเลิกจ้างแรงงานได้ง่ายขึ้น ในช่วงที่อัตราการว่างงานสูง และมาตรการรัดเข็มขัดมีผลบังคับใช้
วันนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการประท้วงใหญ่ต่อต้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี มาริอาโน ราฮอย เพียง 3 เดือน หลังจากราฮอยได้รับเลือกตั้งด้วยคำมั่นสัญญาที่จะแก้ปัญหาอัตราว่างงานที่สูงเฉียด 23 เปอร์เซ็นต์ และคืนเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจสเปน
 
ตั้งแต่ช่วงเช้า ตำรวจสเปนจับกุมผู้ประท้วงไปแล้ว 58 ราย และยังเกิดเหตุปะทะประปราย มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อยจำนวนหนึ่ง กระทรวงมหาดไทยสเปนเปิดเผย
 
สหภาพแรงงาน อูเคเต (UGT) และเซเซโอโอ (CCOO) ต่างเรียกร้องการประท้วงทั่วประเทศใน 100 เมือง และประณามกฎหมายปฏิรูปแรงงานที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ซึ่งช่วยให้สถานประกอบการจ่ายเงินชดเชยสำหรับการปลดพนักงานน้อยลง และสามารถลดค่าแรงได้สะดวกขึ้น
 
รัฐบาลอนุรักษนิยมของพรรคป๊อบปูลาร์ ปาร์ตี้ อธิบายว่า กฎหมายฉบับใหม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแก้ปัญหาอัตราการว่างงาน 22.85 เปอร์เซ็นต์ ของสเปน ซึ่งมีการประเมินว่าอาจถึง 24.3 เปอร์เซ็นต์ ภายในปีนี้
 
อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ชุมนุมอาจมีไม่มากนัก เนื่องจากรัฐบาลมีข้อตกลงกับสหภาพแรงงานว่า ระหว่างการผละงานประท้วง รถบริการสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 3 ต้องให้บริการตามปกติ และอีกสาเหตุหนึ่ง ผู้คนอาจลังเลที่จะผละงาน เพราะจะทำให้สูญเสียค่าแรงสำหรับวันนี้ไป
 
ในวันศุกร์ (30) รัฐบาลสเปนมีกำหนดอนุมัติงบประมาณประจำปี 2012 พร้อมทั้งมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ที่จะช่วยลดการขาดดุลให้เหลือ 5.3 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่แล้วซึ่งสูงถึง 8.51 เปอร์เซ็นต์ แม้ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดมูลค่า 8,900 ล้านยูโร และขึ้นภาษีที่จะหารายได้เข้ารัฐอีก 6,300 ล้านยูโร ไปแล้วก็ตาม
 
"แอปเปิล-ฟ็อกซ์คอนน์" พบ"ละเมิดสิทธิแรงงาน"จริง ยืดอกรับเตรียมรื้อระบบครั้งใหญ่
 
29 มี.ค. 55 - ผู้ตรวจสอบความเป็นธรรมด้านแรงงานของแอปเปิล ออกรายงานสภาพการทำงานของโรงงานฟ็อกซ์คอนน์ ในจีนละเมิดสิทธิแรงงานอย่างร้ายแรงหลายประการ ขณะที่แอปเปิลให้คำมั่นจัดการปัญหาต่างๆโดยเร็ว
 
ขณะที่แอปเปิลเปิดเผยวานนี้ (29 มี.ค.) ว่า  ยินดีทำงานร่วมกับฟ็อกซ์คอนน์ ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของแอปเปิล อาทิ ไอโฟนและไอแพด เพื่อจัดการปัญหาค่าจ้างและปัญหาการละเมิดสภาพการทำงานที่โรงงานหลายแห่งในจีน  โดยฟ็อกซ์คอนน์เตรียมประกาศการจ้างงานเพิ่มอีกหลายหมื่นตำแหน่ง เพื่อลดการทำงานล่วงเวลา และเพื่อปรับปรุงข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการทำงาน  รวมถึงปรับปรุงสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย และเรื่องอื่นๆ
 
ผู้ตรวจสอบของสมาคมเพื่อความเป็นธรรมด้านแรงงาน (เอฟแอลเอ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ตรวจสอบการทำงานของบริษัทของสหรัฐฯในต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เผยแพร่รายงานที่มีเนื้อหาเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ เกี่ยวกับสภาพการทำงานภายในโรงงานของบริษัทฟ็อกซ์คอนน์  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของแอปเปิล อิงค์ ยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมไอทีของสหรัฐฯ
 
ทั้งนี้ รายงานหลายสิบหน้ากระดาษ ที่ทำการศึกษาโรงงาน 3 แห่งของฟ็อกซ์คอนน์ รวมถึงเจ้าหน้าที่และพนักงานรวม 35,000 คน บ่งชี้ว่า ฟ็อกซ์คอนน์ ละเมิดสิทธิด้านแรงงานที่สำคัญหลายประการ รวมทั้งการทำงานล่วงเวลาที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้ ค้างค่าแรง และเงินเดือน ไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน
 
รายงานของเอฟแอลเอ ซึ่งเป็นกลุ่มเฝ้าระวังที่แอปเปิล จ้างมาตรวจสอบบัญชีและตรวจสอบซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี ระบุว่า พนักงานมากกว่าร้อยละ 60  ได้รับค่าแรงไม่เพียงพอกับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน รายได้เฉลี่ยแต่ละเดือน ตามโรงงานเหล่านี้ อยู่ที่ 2,257 หยวน ในเมืองเฉิงตู หรือประมาณ 10,000 บาท จนถึง 2,872 หยวน หรือประมาณ 13,000 บาท ในเมืองกวนหลัน อีกทั้งในช่วงที่มียอดการผลิตสูงสุด พนักงานยังต้องทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยเฉลี่ย
 
คณะตรวจสอบของเอฟแอลเอ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านแรงงาน ได้เดินทางไปยังประเทศจีน เมื่อเดือนที่แล้ว โดยไปที่โรงงานของฟ็อกซ์คอนน์ ในเมืองเสิ่นเจิ้น หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฟ็อกซ์คอนน์ ซิตี้ เพื่อตรวจสอบตามความสมัครใจของแอปเปิล และออกรายงานในขั้นแรกครอบคลุมโรงงาน 3 แห่ง คือ กวนหลัน หลงฮัว และเฉิงตู
 
เอฟแอลเอ ได้สอบถามความเห็นพนักงาน 35,000 คน ของโรงงานดังกล่าว เกี่ยวกับสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ ที่รวมทั้งค่าชดเชยและค่าแรง รวมถึงการไปตรวจสอบบริเวณโรงงาน หอพัก และสถานที่อื่นๆด้วย
 
ด้านฟ็อกซ์คอนน์ ยินยอมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และพร้อมจะแก้ไขความผิดด้านการละเมิดสิทธิด้านแรงงาน โดยหนึ่งในความเคลื่อนไหวที่สำคัญคือ จะปฏิบัติตามกฎหมายด้านแรงงานอย่างเต็มที่เกี่ยวกับชั่วโมงการทำงานของโรงงานในจีน ให้เหลือเพียง 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งรวมการทำงานล่วงเวลาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม  2013  ที่จะทำให้ฟ็อกซ์คอนน์ ต้องจ้างแรงงานเพิ่มเป็นพิเศษอีกหลายหมื่นคน เพื่อมาผ่อนภาระให้กับพนักงานที่ทำงานหนักอยู่ในปัจจุบัน
 
(ที่มาเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ประชาไท, สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, สำนักข่าวอินโฟร์เควสท์)
 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรียนรู้ ‘ฮอด’ ชุมชนเก่าแก่ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 5 )

$
0
0

 

“ชาวบ้านเมื่อก่อนนั้นไม่ใครกล้าขัดขว้างรัฐ เพราะอยู่กับความกลัว
ไม่เหมือนสมัยนี้ ต้องมีการทำประชาวิจารณ์ ว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นดีหรือไม่ดี เมื่อก่อนนั้นไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องผลเหล่านี้ว่าดีหรือไม่ดี
และชาวบ้านเองก็ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรเลย”

 

 

เรียนรู้ ทบทวนอดีต สิทธิในการดำรงอยู่อยู่ที่ไหน?
มีการวิเคราะห์กันว่า นับจากที่มีการสร้างเขื่อนภูมิพล จนเริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา ได้สร้างความภาคภูมิใจแก่คนไทยทั้งประเทศ เนื่องจากลักษณะของเขื่อนเป็นเขื่อนคอนกรีตโค้งเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเอเชียอาคเนย์ และยังถือว่าเป็นเขื่อนอันดับ 8 ของโลกอีกด้วย โดยทุกคนรับรู้กันดีจากการประชาสัมพันธ์ของรัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.รวมทั้งสื่อมวลชนทั่วไปว่า เขื่อนภูมิพลได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศอย่างมากมายมหาศาล โดยทาง กฟผ.ได้ติดตั้งกระแสไฟฟ้า ทำให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพลมีกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 779.2 เมกกะวัตต์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 นอกจากนั้นยังสามารถให้ประโยชน์ในด้านชลประทานแก่พื้นที่ถึง 10 ล้านไร่ต่อปี

โดยอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนจุน้ำได้มากถึง 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร เนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ความยาวของลำน้ำจากเขื่อนถึงอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นระยะทาง 207 กิโลเมตร

นอกจากประโยชน์ทางด้านพลังงานไฟฟ้าและชลประทานแล้ว เขื่อนภูมิพลยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย

แน่นอน ในสายตาของ กฟผ.หรือภาครัฐ ภาพลักษณ์ของ ‘เขื่อน’ จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ทางการพัฒนา ถึงขนาดมีกล่าวกันไว้ว่าเขื่อน คือยาวิเศษขนานเดียวสำหรับการแก้ปัญหา น้ำท่วม ภัยแล้ง และการขาดแคลนพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ที่ทำการศึกษาผลกระทบเรื่องเขื่อน รวมไปถึงชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่นทางตอนเหนือของเขื่อน ได้ออกมาพูดและเรียกร้องอยู่อย่างต่อเนื่องว่า เขื่อนก็มีผลกระทบมหาศาลเช่นกัน      และมีผู้ศึกษาเรื่องนี้ ได้จำแนก ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ ผลกระทบทางด้านภูมิประเทศและผลกระทบทางด้านภูมิสังคม

โดยทางด้านภูมิประเทศ ในเชิงบวก นักสร้างเขื่อนก็จะมองและเชื่อว่าเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง มีการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามที่จำเป็น เป็นตัวที่คอยกันน้ำไม่ให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และยังสามารถกันตลิ่งไม่ให้พังจากการกัดเซาะของน้ำ

แต่ในขณะเดียวกัน เขื่อนก็มีผลในด้านลบเช่นเดียวกัน นั่นคือ เป็นการตัดไม้ทำลายป่าเพราะการสร้างเขื่อนต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เป็นอย่างมาก และเนื่องจากเขื่อนเป็นการสิ่งก่อสร้างขวางลำน้ำ ทำให้น้ำที่ไหลมาสะสมในพื้นที่เหนือเขื่อน จนเป็นผลให้ที่ดินบริเวณเหนือเขื่อนถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งที่ดินเหล่านั้นส่วนมากเป็นป่า ธรรมชาติและแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งถือได้ว่าเป็นที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นการที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะทำให้สูญเสียทรัพยากรดินตามไปด้วย

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่ท้ายเขื่อนพบว่า แร่ธาตุที่รักษาสมดุลของ ระบบนิเวศ ไม่สามารถมาสู่พื้นที่ท้ายน้ำได้ เนื่องจากถูกกักโดยเขื่อนส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนขาดความอุดมสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน

ยังมีการศึกษาพบว่า มีการสูญเสียสัตว์ป่าในการสร้างเขื่อนในตอนเริ่มต้นจำนวนมากอีกด้วย

เมื่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่สูง เช่น ภูเขาจะกลายเป็นเกาะ แก่ง ซึ่งการดำรงชีวิตของสัตว์ป่ามักเคยชินกับพื้นที่เดิม และเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อย หากหนีไม่ทันก็จะล้มตาย หากหนีทันก็จะถูกล้อมรอบในพื้นที่จำกัด และเมื่อพื้นที่ถูกตัดขาดออกจากกัน ทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์ข้ามฝูงได้ และการผสมพันธุ์ในฝูงเดียวกันทำให้ รุ่นต่อไปมีลักษณะด้อยและอ่อนแอ

ซึ่งนั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในแหล่งน้ำ   เนื่องจากในระบบนิเวศเดิม พันธุ์ปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ จะเป็นปลาที่ดำรงชีพในแหล่งน้ำไหล แต่เมื่อสร้างเขื่อนแล้วเสร็จนั้นปลาที่ชอบระบบนิเวศอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่ง สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ปลาที่ชอบระบบนิเวศที่มีน้ำไหลก็จะลดปริมาณทำให้ระบบนิเวศในแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งปลาบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำนั้นเลยก็ได้

เมื่อมองด้านภูมิสังคม นักสร้างเขื่อน ก็จะบอกว่า เขื่อนสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุหลักเลยก็ว่าได้ และผลที่เกิดตามมาก็คือ สามารถเป็นแหล่งท่องเทียว พักผ่อนหย่อนใจได้ และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพใหม่กับราษฎร เช่น ประมง การเกษตร ตัวอย่างจากเขื่อนภูมิพล ว่ากันว่า ราษฎรในพื้นที่สามารถมีอาชีพ เสริมด้านการประมงได้ เป็นอย่างดี ในรอบ 36ปีที่ผ่านมา ราษฎรในท้องถิ่น สามารถจับปลาได้ทั้งสิ้น 25 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 160 ล้านบาท อีกทั้งมีการพูดถึงกันบ่อยว่า เขื่อนภูมิพลยังช่วยทำให้ระบบการชลประทานดีขึ้นโดยสามารถปล่อยน้ำไปช่วยราษฎรในพื้นที่จังหวัดตาก กำแพงเพชร และบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งสองข้างทาง รวมเนื้อที่ประมาณ 7.5 ล้านไร่ ให้มีการชลประทานที่ดี สามารถเพิ่มผลผลิตได้

แต่เมื่อมองให้ลึกและกว้าง ทำให้เรามองเห็นปัญหาที่มาจากเขื่อน ว่าส่งผลกระทบในด้านลบเช่นเดียวกัน นั่นคือ เขื่อนส่วนมากจะสร้างขึ้นระหว่างหุบเขาตรงที่ลำน้ำไหลผ่าน เขื่อนเหล่านี้มีขนาดใหญ่โตมาก สันเขื่อนอาจสูงถึงสามร้อยกว่าเมตร ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นกำแพงยักษ์กั้นลำน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำค่อยๆ เอ่อท่วมบริเวณหน้าเขื่อน ซึ่งกว่าที่น้ำจะเต็มเขื่อนอาจใช้เวลานานกว่า 3-4 ปีขึ้นไป และเมื่อน้ำเต็มเขื่อนบริเวณหน้าเขื่อนก็จะกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ทำให้น้ำในเขื่อนท่วมพื้นที่ริมน้ำข้างเคียงเป็นบริเวณกว้าง

แน่นอนว่า ในขณะที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นปริมาณมากมายมหาศาล แต่เนื่องจากเขื่อนมีขนาดใหญ่ระดับน้ำเหนือเขื่อนที่ขึ้นสูงทำให้ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกิน ถูกน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องอพยพ สูญเสียที่ดินทำกิน พื้นที่ป่าไม้ และสูญเสียอาชีพที่พึ่งพิงกับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งอาชีพประมงและการพึ่งพาอาศัยทรัพยากรจากป่า การเก็บหาของป่า ซึ่งเป็นฐานเศรษฐกิจของชาวบ้านและชุมชน ซุปเปอร์มาเก็ตของคนจนถูกทำลายไปจากการสร้างเขื่อน ฐานทรัพยากรของชาวบ้านและชุมชยถูกทำลายไป

ถึงแม้จะมีการช่วยเหลือจากรัฐบาลโดยการจัดหาที่อยู่ และที่ทำกินให้ใหม่ โดยมากเป็นการย้ายถิ่นฐาน ไปในบริเวณที่ใกล้กับชุมชนอื่น ก็ทำให้เกิดความรู้สึก แปลกแยก ออกจากสังคมใหม่ และพื้นที่ทำกิน ที่ได้รับมาใหม่อาจ ไม่เหมาะสมต่อการทำกินประเภทเดิม เช่น สภาพที่ดิน แหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้ สภาพวัฒนธรรม ดั้งเดิมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

ซึ่งถ้านับมูลค่าของความสูญเสีย ไม่ว่าเรื่องของลักษณะภูมิประเทศ ภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนนั้น ถือว่ามีมูลค่ามากมายมหาศาลจนประเมินค่าไม่ได้

นั่นจึงไม่แปลกใจเลยว่า เมื่อต้นปี พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา เหตุใดถึงมีข่าวออกมาว่า ชาวบ้านรวมกลุ่มประท้วงเขื่อนภูมิพล เรียกร้องค่าชดเชยน้ำท่วมให้เห็นอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ชาวบ้านฮอด ได้รวมตัวกับชาวบ้านจากอำเภอดอยเต่า ซึ่งประกอบด้วยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายก อบต. รวมทั้งเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบใน อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จำนวนนับ 1,000 คน เดินทางด้วยรถยนต์เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องค่าชดเชยน้ำท่วม ต่อผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ว่าน้ำในเขื่อนภูมิพลเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนชาวบ้านหลายร้อยครัวเรือน และพื้นที่การเกษตรเสียหายหนัก ซึ่งได้เรียกร้องขอให้เขื่อนภูมิพล ต้องจ่ายตามความเสียหายพืชไร่ต่อต้น ไม่ใช่ต่อไร่

นายทนงศักดิ์ วีระ ประธานกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการกักเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลได้กล่าวว่า หลังจากเกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา มาทำให้สวนลำไย มะม่วง ไร่ข้าวโพด นาข้าว และพื้นที่การเกษตร ใน อ.ดอยเต่า และ อ.ฮอด ซึ่งถูกน้ำที่ล้นจากการกักเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลเข้าท่วมจนได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง นอกจากนี้ บ้านเรือนประชาชนใน ต.ท่าเดื่อ และ ต.บ้านตาล หลายร้อยครัวเรือน ยังถูกน้ำท่วมอีกด้วย

นอกจากนี้ น้ำในทะเลสาบดอยเต่าที่อยู่เหนือเขื่อนภูมิพล มีปริมาณสูงสุดในรอบ 5 ปี ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายมาก ทางผู้ได้รับผลกระทบ จึงเรียกร้องให้ทางเขื่อนภูมิพลและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ชดเชยค่าเสียหายให้ชาวบ้านตามความเป็นจริง โดยขอให้ทางเขื่อนภูมิพลและ กฟผ. จ่ายเงินให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับการจ่ายในปี พ.ศ. 2545 และ 2549 ซึ่งจ่ายเป็นค่าเสียหายพืชสวนต่อต้น ไม่ใช่จ่ายตามมติ ครม.เมื่อเดือน ส.ค.2554 ที่ผ่านมา ที่ให้จ่ายเป็นไร่ เนื่องจากน้ำท่วมดอยเต่าและฮอด นั้นเป็นผลมาจากการกักเก็บน้ำของเขื่อนภูมิพลไม่ใช่จากภัยพิบัติเหมือนที่อื่น

“แต่ผลที่ได้ออกมา คือ มีการบอกว่าจะช่วยเหลือและออกมาสำรวจเรื่องของความเสียหายอยู่  แต่เขาจะมีการชดเชย จ่ายเป็นไร่ โดยการอิงมติคณะรัฐมนตรี ที่เกิดความเสียหาย แต่ชาวบ้านก็ตอบไปอีกว่า  สาเหตุน้ำท่วมนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องของภัยพิบัติ แต่เป็นการท่วม เพราะว่า การกักเก็บน้ำของเขื่อนเกินพิกัด  เกินค่าความสูงของระดับน้ำ” นายจงกล โนจา รองนายก อบต.ฮอด ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านตำบลฮอด บอกเล่าให้ฟัง

ทั้งนี้ นายจงกล โนจา ได้สรุปประเด็นไว้ว่า ความเสียหายจะมีอยู่ 2 ประเด็น คือ หนึ่ง เป็นเรื่องเขื่อนมีการกักเก็บน้ำปริมาณที่มาก ทำให้เกิดปริมาณน้ำที่เอ่อล้นท่วมขึ้นมา นั้นมีระยะเวลาของน้ำท่วมที่ยาวนาน และสอง เป็นเรื่องของความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ในเรื่องของฟ้าฝน ที่ทำให้เกิดน้ำไหลหลากมาก น้ำล้นตลิ่งมาก

ชาวบ้านฮอดถกประเด็นปัญหาที่เกิดจากเขื่อน
พร้อมเรียกร้องหาทางออกร่วมกัน 
ปัจจุบัน ชาวบ้านฮอดเริ่มถกประเด็นปัญหาที่เกิดจากเขื่อนกันมากขึ้น เพื่อหาข้อสรุปข้อเรียกร้องในการแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกัน แน่นอน ว่านอกจากปัญหาน้ำท่วมแล้ว ยังมีอีกหลายๆ ปัญหาที่ทับซ้อนรอการแก้ไขอยู่

ปัญหาเรื่องที่ดิน  พื้นที่ทำการเกษตร และการส่งเสริมอาชีพ เป็นปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

นายจงกล  โนจา รองนายก อบต.ฮอด บอกว่า ยังมีปัญหาที่ต้องการเรียกร้องและฝากไปยังองค์กรหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือแก้ไข ก็คือ ปัญหาเรื่องของการถือครองที่ดิน  พื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งเรื่องของการถือครองที่ดินแบบยั่งยืนนั้นยังไม่มีเลย

“นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องของความไม่มั่นคงในอาชีพ ในส่วนของชาวบ้านเอง เริ่มยากจนมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 เพราะสาเหตุเกิดจากน้ำท่วมลำไย ลำไยตาย ชาวบ้านต้องลงทุนในการเริ่มต้นปลูกลำไยใหม่ 5 ปี กว่าจะได้ผลผลิต พอเก็บได้ 2-3 ปี จนถึงช่วงของปีพ.ศ. 2549 น้ำท่วมอีก ไม้ก็ตายอีก ชาวบ้านก็เกิดความยากจน หมดเนื้อหมดตัว เพราะน้ำท่วมต้นลำไย ที่ต้องลงทุนในการเริ่มปลูกกันใหม่ แต่พอจะได้เริ่มผลผลิต น้ำก็เกิดท่วมซ้ำ เงินที่ลงทุนที่ผ่านมาก็สูญหมด”

อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านเองก็พยายามหันมาทบทวนบทบาทของตนเอง หันไปมองวิถีชีวิตในอดีตที่หายไป เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญกันอยู่

“ในเรื่องของระบบเหมืองฝาย  จากเดิมนั้น มีการเอาน้ำจากที่สูงลงมาที่ต่ำ  โดยนำเอาน้ำมาจากลำห้วย  แต่ช่วงหลังชาวบ้านก็มองความเหมาะสม  ประกอบกับชาวบ้านเองก็อาจจะมักง่ายก็ได้ขอสูบพลังไฟฟ้าจากกรมชลประทานมา ก็เลยทำให้ลืมฮีตฮอยอันเก่า เหมืองเก่าเดิมก็ไม่ใช้ เพราะว่าสูบพลังไฟฟ้าง่ายกว่า  ถ้าจะมาขุดลอก ลางขี้เหมืองก็ใช้ระยะทาง 12 กิโลเมตร ของเส้นทางที่เอาน้ำเหมืองมาใช้ อีกส่วนหนึ่ง ก็คือ ช่วงที่สูบพลังไฟฟ้าเข้ามา  รัฐก็จ่ายให้ 75%  ชาวบ้านสมทบ 25%  ชาวบ้านเลยถือว่าได้จ่ายน้อย”

ในขณะที่หลายคน บอกว่า ในสมัยก่อน มีต้นน้ำ มีป่าไม้มาก แต่เดี๋ยวนี้ป่าไม้เริ่มหมด ธรรมชาติก็เริ่มแห้งแล้ง

“สมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนน้ำในเส้นห้วยแม่ฮอด มีน้ำไหลตลอดทั้งปี  แต่ตอนหลังก็มีการเข้ามาของพี่น้องม้ง ที่เข้ามาทำมาหากินในพื้นที่ต้นน้ำ น้ำก็เลยไม่ไหล  เมื่อก่อนนั้น น้ำจากต้นน้ำมีการไหลตลอดทั้งปี และมีการทำเหมืองฝายธรรมชาติ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้ เพราะว่าน้ำไม่เพียงพอ เพราะว่าทรัพยากรธรรมชาติเริ่มหมด”

เช่นเดียวกับ นายจงกล โนจา บอกว่า เพราะถ้ามองถึงความรู้สึกของตัวเอง และมองย้อนหลัง  มองไปข้างหน้า  ณ วันนี้ ชาวบ้านเองแทบจะพึ่งตนเองไม่ได้เลย  รอพึ่งพาจากภาครัฐ รอให้มาช่วยอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม ในวงแลกเปลี่ยนของชาวบ้าน มีเรื่องหนึ่ง ที่ชาวบ้านกำลังให้ความสำคัญและให้ความสนใจในขณะนี้ นั่นคือทำอย่างไรถึงจะเรียกร้องสิทธิทำกินนั้นคืนกลับมา โดยเฉพาะการเรียกร้องค่าชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากเขื่อน

แน่นอน ย่อมมีคำถามจากสังคมทั่วไปไปต่างๆ นานาว่า ทำไมถึงมาพูดถึงผลกระทบจากเขื่อนภูมิพลในช่วงนี้ ทำไมถึงออกมาเรียกร้องสิทธิในห้วงเวลานี้ ทั้งๆ ที่เขาสร้างเขื่อนกันมานานกว่า 50มาแล้ว?!

“ก็คนเฒ่าสมัยก่อนนั้นกลัว ใครมาบอกก็เชื่อก็ไปกัน  คนที่มีเงินก็มาซื้อเอาไร่เอานาเราไปเสีย  แต่เราก็ได้มาก็กินก็จ่ายกันไปอย่างนั้น ถ้าเป็นรุ่นเดี๋ยวนี้ ก็อาจจะไม่ได้สร้างเขื่อน จะมีการเดินขบวนประท้วง แต่รุ่นนั้นคนเฒ่าสมัยก่อนนั้นเกิดความกลัว  แต่รัฐบาลก็มาพูดว่าเราจะได้มีแสงสว่าง  คนเฒ่าเมื่อก่อนก็เลยยอมเซ็น ลงชื่อ ลงนาม  ก็เลยเกิดการสร้างเขื่อนภูมิพล” ตัวแทนชาวบ้านบอกเล่าให้ฟัง

“ชาวบ้านเมื่อก่อนนั้นไม่ใครกล้าขัดขว้างรัฐ เพราะอยู่กับความกลัว ไม่เหมือนในยุคประชาธิปไตย  เหมือนสมัยนี้ ต้องมีการทำประชาวิจารณ์ ว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้นดีหรือไม่ดี  เมื่อก่อนนั้นไม่ได้มีการพูดถึงเรื่องผลเหล่านี้ว่าดีหรือไม่ดี และชาวบ้านเองก็ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรเลย”

“ดูตัวอย่างจากกรณีแก่งเสือเต้น ที่มีการคิดจะสร้างกันหลายยุคหลายสมัย หลายรัฐบาล ก็ไม่สามารถที่จะสร้างได้ เพราะว่าชาวบ้านมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น  มีการทำประชาวิจารณ์ในท้องถิ่น แต่สมัยนั้นไม่มีการทำเรื่องของการประชาคมประชาวิจารณ์อะไรเลย  เพราะว่าในสมัยก่อน รัฐบาลอยากจะทำอะไรก็ทำไป ชาวบ้านไม่มีสิทธิที่จะโต้”

“ที่ผ่านมา ชุมชนเรามีการถูกเลี้ยงมาอย่างดี เขาไม่อยากให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยการจัดสิ่งต่างๆเข้ามาให้ แทนที่ชาวบ้านจะมีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น ก็แตกกันอีก  นี่คือ ความฉลาดของหน่วยงานรัฐที่ไม่อยากพูด...”

นั่นเป็นเสียงของชาวบ้านจากฮอด ที่ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

ใช่ ในห้วงเวลานี้ ชาวบ้านจากหลายๆ พื้นที่เริ่มรวมตัวกัน เพื่อหาทางเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้โดยเฉพาะสิทธิในที่ดินที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินดั้งเดิม อันเป็นผืนดินถิ่นเกิดมาตั้งแต่ยุคโบราณ ยุคบรรพบุรุษของพวกเขานั้นกลับคืนมา

“ใช่ แต่ถ้าเราจะฟื้นขึ้นอีกครั้ง จะให้เวนคืนที่ดินนี้ เพราะฉะนั้น พวกเราต้องพร้อม เหมือนจะเข้าป่าล่าเสือ ก็ต้องดันลูกกระสุนให้เต็มแรง พร้อมทั้งความรู้ของคนเราต้องพร้อม ก็คงจะทำได้ เพราะฉะนั้น เราต้องเตรียมลูกปืนให้เต็ม เตรียมคนให้พร้อม”

นั่นเป็นวงสนทนาแลกเปลี่ยนของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ในวงสนทนาเริ่มมีการระดมความเห็นกันหลายด้านเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ ไม่ว่าเรื่องการค้นหารากเหง้า ประวัติศาสตร์ชุมชน การดำรงชีวิต กฎหมายรัฐธรรมนูญ ข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิและให้องค์กรที่เกี่ยวข้องและสร้างผลกระทบต่อชุมชนให้รับผิดชอบในปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน



ที่มาข้อมูล :

บันทึกเวทีเสริมความมั่นใจทางกฎหมายข้อบัญญัติท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร,21 ธันวาคม 2554 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลฮอด อำเภอฮอด  จังหวัดเชียงใหม่

ผลกระทบจากการสร้างเขื่อน http://benchapon.blogspot.com/

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง: 

เรียนรู้ ‘ฮอด’ ชุมชนเก่าแก่ใกล้ล่มสลาย? บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 1)

เรียนรู้ ‘ฮอด’ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 2)

เรียนรู้ ‘ฮอด’ ชุมชนเก่าแก่ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 3)

เรียนรู้ ‘ฮอด’ ชุมชนเก่าแก่ บทเรียนก่อนและหลังกำเนิดเขื่อนภูมิพล (ตอน 4)

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดแผนใต้ ‘ศูนย์กลางน้ำมัน-ปิโตรเคมี’ ทางเลือกผุดโรงกลั่น‘นคร-ปัตตานี’

$
0
0

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ห้องประชุมอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยวิจัยพลังงานหมุนเวียน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นศูนย์ประสานงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา และองค์กรเครือข่าย จัดเสวนา “ปัญหาพลังงาน...ทำไมจึงกลายเป็นปัญหาของท้องถิ่น” โดยมีผู้เข้าร่วมจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร และตรัง ประมาณ 300 คน

ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายในหัวข้อ “เส้นทางจากโลกถึงท้องถิ่น: ความซับซ้อนและความไม่เป็นธรรมในธุรกิจพลังงาน” นำเสนอว่า รายงานฉบับสมบูรณ์ ธันวาคม 2553  “แนวทางการพัฒนาภาคใต้โดยใช้ผลิตผลในพื้นที่เสริมสร้างอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นตัวนำร่อง” ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุถึงแนวทางการพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2553-2575 โดยเปรียบเทียบประมาณการการระบายมลสารจากการพัฒนาโครงการ SSB และแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 ที่มาบตาพุด การพัฒนาทรัพยากรการเกษตร: เชื่อมโยงปาล์มนํ้ามันกับอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ทรัพยากรสินแร่ : ปิโตรเคมีจากก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ

รายงานการศึกษาฉบับดังกล่าวระบุถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมต่อเนื่องผนวกกับการพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันในภาคใต้ จะเป็นหัวหอกสำคัญในการพัฒนาทั้งภาคใต้และประเทศไทยโดยรวม โรงกลั่นน้ำมันในภาคใต้จะช่วยปูทางและส่งเสริมการพัฒนาภาคใต้ให้เป็นศูนย์กลางการค้านํ้ามันและปิ โตรเคมี (Oil & petrochemicals hub) รวมทั้งช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกมาก ทั้งนี้โรงกลั่นน้ำมันในภาคใต้จะทำให้มีความต้องการใช้ Land Bridge ซึ่งจะเป็นเส้นทางการขนส่งน้ำมันโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

โรงกลั่นน้ำมันที่จะพัฒนาในภาคใต้จะเรียกว่า โรงกลั่นนํ้ามัน SSB (Southern Seaboard Refinery) ตามรายงานฉบับสมบูรณ์ ธันวาคม พ.ศ. 2551โครงการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้พิจารณาพื้นที่ทางเลือกและศักยภาพของพื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมที่ครอบคลุมทั้งด้านการยอมรับของท้องถิ่น ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และด้านวิศวกรรมและต้นทุนการพัฒนา ซึ่งมี 2 พื้นที่ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 บริเวณบ้านคอเขา ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดพื้นที่โครงการ 11,500 ไร่ ทางเลือกที่ 2 บริเวณบ้านคลองดินถึงบ้านปากน้ำปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดพื้นที่โครงการ 12,600 ไร่ โดยมีพื้นที่น่าสนใจคือ ทุ่งนเรนทร์ ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

สำหรับการลงทุนโรงกลั่นน้ำมัน SSB ซึ่งจะเริ่มดำเนินการผลิตในปีพ.ศ. 2561 ที่กำลังการผลิต 950 kBD ต้องการเงินลงทุนประมาณ 518,500 ล้านบาท จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยปีละประมาณ 873,000 ล้านบาท คิดเป็นกำไรพื้นฐานปีละประมาณ 94,000 ล้านบาท ซึ่งต้องนำเข้าน้ำมันดิบประมาณปีละ 779,000 ล้านบาท และมีผลตอบแทนการลงทุนเบื้องต้น (Return on investment, ROI) เฉลี่ยที่ 16-20% หรือเท่ากับ Gross refining margins (GRMs) ที่ 9.50-11.50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ราคาน้ำมันDubai ที่ 75 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จม.จากคุก: เรื่องของผู้ก่อการร้ายหมายเลข1 คดี M79 เชียงใหม่-กรุงเทพฯ

$
0
0

หมายเหตุ - จดหมายจากผู้ต้องหาคดียิง M79 หลายจุดในจังหวัดเชียงใหม่-กรุงเทพฯ ระหว่างและหลังสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 โดยถูกจับกุมตัวในวันที่ 21 พ.ย.53 และนำมาแถลงข่าวในวันที่ 23 พ.ย.53 เขาถูกคุมขังตั้งแต่นั้น โดยตระเวนไปขึ้นศาลหลายจังหวัด จากการสอบถามผู้ต้องขังเขาระบุว่าในวันจับกุมเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบญาติและทนาย หากจะติดต่อต้องรับสารภาพ จึงยอมรับสารภาพในชั้นสอบสวน ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยในเว็บไซต์ศาลอาญาระบุความผิดในข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนฯ

 

หน้าแรกจดหมายของวัลลภ
 

ตัวผมเกิดและเติบโตขึ้นมาจากครอบครัวชาวนาครอบครัวหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือ ในครอบครัวของผมเรามีกันทั้งหมด 5 คน คือ พ่อ แม่ และลูกๆ ทั้ง 3 ตัวผมเป็นลูกคนสุดท้ายของครอบครัวนี้ ชีวิตของทุกๆ คนในครอบตัวต้องต่อสู้และดิ้นรนหนีความยากจนของครับครัว ตัวผมเองก็ได้รับรู้ถึงความลำบากของทุกคนในครอบครัวมาโดยตลอด พวกเราทั้ง 5คนจึงได้แต่หวังว่าซักวันหนึ่งเราต้องมีนายกรัฐมนตรี หรือพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่หันมาสนใจและห่วงใยชาวนาและคนจนอย่างจริงๆ บ้าง จนผมได้ศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัด เพื่อลดภาระของครอบครัว ผมจึงตัดสินใจเข้าสมัครเป็นทหารด้วยวัยเพียง 18 ปีเพื่อที่จะปกป้องประเทศและประชาชนจากอริราชศัตรู เพราะผมเชื่อว่าทหารไทยคือหทารของประชาชน และในช่วงที่ผมปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่อยู่นั้น ประเทศไทยได้มีการหาเสียงเพื่อเลือกตั้ง โดยผมได้ให้ความสนใจพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ชื่อพรรค “ไทยรักไทย” พรรคนี้ได้เสนอนโยบายพรรคหลายอย่าง ทั้งกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท, บัตรประกันสุขภาพ (บัตร30บาท), ปลดหนี้ IMF, สินค้า OTOP กับโครงการ 4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง และอื่นๆ อีกหลายโครงการ ซึ่งแต่ละโครงการพรรคนี้ไม่น่าจะทำได้ เพราะที่ผ่านมา ผมเคยเห็นและเคยได้ยินแต่รัฐบาลที่มีแต่ลมปาก พูดได้แต่ทำไม่ได้ แต่ผมก็ได้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย

หลังการเลือกตั้งผ่านไป พรรคไทยรักไทยก็ชนะการเลือกตั้ง โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้นำรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทยได้พิสูจน์ให้ผมได้เห็นว่า เขาสามรถทำได้จริงตามนโยบายที่เขาเคยให้ไว้กับประชาชน นโยบายของเขาจับต้องได้และสัมผัสได้จริงๆ  เขาได้พัฒนา ชาวไร่ ชาวนาและคนยากจนให้มีอาชีพ และโอกาสเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ในสังคม ส่วนครอบครัว พี่ชายคนโตได้มีกิจการเป็นของตนเอง ส่วนพี่ชายคนกลางของผมได้เรียนจบวิศวกรรมตามที่เขาหวังไว้ ซึ่งทำให้ผมเชื่อมันและศรัทธาในพรรคไทยรักไทยมากขึ้น ผมจึงมั่นใจว่าพรรคไทยรักไทยสามารถนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นจากคำว่า ประเทศกำลังพัฒนา และพาไปให้เท่าเทียมประเทศอื่นซักที ผมจึงสนับสนุนพรรคไทยรักไทยเรื่อยมา

และเมื่อผมปลดประจำการมา ผมก็ได้กลับมาทำงานที่บ้าน มาหาเงินและใช้ความสุขกับครอบครัว พรรคไทยรักไทยทำให้ครอบครัวผมที่เคยยากจนกลับมามีทุกอย่างเหมือนครอบครัวอื่น ทำให้ผมเชื่อว่า “นี่แหละคือการเลือกตั้งของประชาชนที่เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ประชาขนได้เลือกนายกรัฐมนตรีและพรรคการเมืองที่สนใจและดูแลจริงๆ” ผมจึงภาวนาให้พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลนานๆ และแล้วสิ่งที่ผมกลัวมากที่สุดก็เกิดขึ้น 19 กันยายน 2549 คณะ คมช.ได้ทำการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในเมืองไทย หลังจากการรัฐประหารในเมืองไทยได้ห่างหายไปถึง 14 ปี (พ.ศ.2535-2549) ซึ่งเป็นการกระทำของทหารที่อ้างว่า “ทหารคือข้าของประชาชน” แต่สิ่งที่เขาทำ เขาได้ทำลายรัฐบาลที่ประชาชนรักที่สุด เขาได้ทำลายประเทศ ฉีกรัฐธรรมนูญ ทำลายประชาธิปไตย ผมซึ่งเคยเป็นทหารจึงไม่พอใจกับการรัฐประหารครั้งนั้น ผมจึงเริ่มติดตามการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร ในปี 2551 เพื่อหาข้อมูลทุกอย่างจนทำให้ผมได้รู้ความจริง ว่ากลุ่มพันธมิตรหลอกประชาชน เพียงแค่หวังประโยชน์ของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงประชาชนที่พวกเขาจ้างมาว่าจะได้รับความเดือดร้อนขนาดไหนกับการชุมนุมในครั้งนี้ ผมจึงมั่นใจในพรรคไทยรักไทยมากขึ้น (ช่วงนั้นคือพรรคพลังประชาชน) ผมจึงตัดสินใจเดินหน้าเข้าสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างเต็มตัวในต้นปี 2552 ผมจึงได้ขยายกลุ่มและใช้ความรู้ของผมที่ผมรวบรวมมาสร้างกลุ่มขึ้น โดยการเปิดโทรทัศน์ช่องเสื้อแดงและเข้าร่วมชุมนุมตามจังหวัดต่างๆ และได้สมัครเป็นการ์ดของจังหวัด ติดตามการปราศรัยของคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, คุณจตุพร พรหมพันธ์, พลตรีขัตติยะ สวัสดิผล, อาจารย์สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และคุณกัญญาภัคร มณีจักร มาโดยตลอดจน

ถึงช่วงที่เกิดเหตุการณ์เมษาเลือดในช่วงเดือนเมษายน 2552 ผมได้ติตามข่าวสารและเก็บภาพเพื่อมาวิเคราะห์เรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับอาวุธของทหารที่ใช้ยิ่งประชาชน ผมจึงทราบว่า “ทหารยิงประชาชน” จริงๆ โดยการใช้กระสุนจริง ยิงประชาชนไม่ได้ใช้กระสุนปลอมเหมือนที่รัฐบาลประชาธิปัตย์หรือทหารอ้างต่อสื่อ ผมและกลุ่มจึงไม่พอใจ จึงได้เริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยการเข้าร่วมชุมนุมในทุกๆ ที่เพื่อคอยดูแลความปลอดภัยของพี่น้องคนเสื้อแดง และในวันที่ 11 มีนาคม 2553 พี่น้องคนเสื้อแดงทั้งประเทศได้พิสูจน์ให้ผมเห็นถึงความรัก ความสามัคคี และพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอีกครั้ง ทุกคนมาจากทุกพื้นที่ในประเทศไทยเพื่ออกมาต่อสู้กับรัฐบาลโจรและอำนาจเถื่อน ที่มาปล้นรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยของเราไป คนพวกนี้ต้องการเพียงอำนาจ เงิน และการเอื้อประโยชน์ให้พวกเดียวกัน ตัวผมไม่เคยเสียใจกับสิ่งที่ผมทิ้งมา ทั้งงาน บ้าน และครอบครัวที่แสนอบอุ่น เมื่อผมได้เห็นพี่น้องคนเสื้อแดงออกมาสู้กันมากมายเช่นนี้ ถึงแม้การต่อสู้ของพวกเราและ นปช.จะจบลงแบบไม่สวย แต่เราก็ไม่แพ้และจะไม่มีวันแพ้ ถึงแม้ว่าพวกเราจะมีประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญจอมปลอมมาถึง 80 ปี (พ.ศ.2475-2555) แต่ผมก็เชื่อว่าทุกคนยังพร้อมจะสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยแบบเต็มใบและเพื่อประเทศที่เป็นของประชาชนอีกครั้ง

หลังจากการสลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ผมต้องหาเงินมาเพื่อทดแทนในส่วนที่ครอบครัวสูญเสียไป ผมจึงเปิดร้านขายเสื้อผ้าในกรุงเทพฯ เพื่อเก็บเงินไว้ต้อนรับการเกิดมาของลูกสาวคนที่  ผมต้องหาเงินมาเพื่อทดแทนในส่วนที่ครอบครัวสูญเสียไป ผมจึงเปิดร้านขายเสื้อผ้าในกรุงเทพฯ เพื่อเก็บเงินไว้ต้อนรับการเกิดมาของลูกสาวคนที่ 3 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2553 โดยผมตั้งใจว่าจะเก็บเงินไว้ให้พวกเขาจำนวนหนึ่ง เพื่อที่ผมจะได้เข้าร่วมการต่อสู้อีกครั้ง แต่แล้วผมก็ต้องหมดอิสรภาพลงในวันที่ทุกคนกำลังมีความสุขกับประเพณีลอยกระทงในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ผมถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในขณะเติมน้ำมันเพื่อกลับบ้านในเขตท้องที่สายไหม กรุงเทพมหานคร ในข้อหาก่อการร้ายที่ DSI ตั้งให้และข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ผมถูกส่งตัวไปดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่นั้นมา ผมอยากรู้ว่าทำไมหรือ คนที่เขาออกมาชุมนุมเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยเพื่อทวงอำนาจคืนสู่ประชาชน ทำไมต้องเอาอาวุธออกมาไล่ยิง ไล่ฆ่าพวกเขาด้วย นี่หรือทหารของประชาชน ทำไมต้องยัดข้อหาให้พวกเขาทั้งๆ ที่ไม่มีความผิด และจะกลั่นแกล้งผมไปถึงไหน

ปัจจุบันผมต้องย้ายเรือนจำมาทั้งหมด 8 เรือนจำแล้ว และกำลังจะย้ายไปเรือนจำที่ 9 ผมไม่ได้เจอครอบครัวมานานมากแล้ว จะมีก็แต่พี่น้องคนเสื้อแดงเท่านั้นที่คอยเยี่ยม คอยห่วง ภรรยาของผมที่ผมทั้งรักและห่วงก็มาจากผมไปเพียงแค่คำว่า “ไม่อยากเป็นเมียผู้ก่อการร้าย” คนเสื้อแดงและพวกผมผิดหรือเพียงแค่ต้องการประชาธิปไตย กลับต้องกลายเป็นกบฏ เป็นผู้ก่อการร้ายกันทุกคน ปัจจุบันลูกสาวคนโตผม 10 ขวบแล้ว คนกลาง 7 ขวบ คนสุดท้อง 2 ขวบแล้ว ผมเชื่อว่าทุกๆ คนคิดถึงผม ซึ่งก็ไม่ต่างจากที่ผมคิดถึงเขา เมื่อไหร่ที่ลูกคนเล็กพูดได้ เขาคงจะถามคุณย่าของเขาว่า “พ่อหนูไปหน พ่อหนูคือผู้ก่อการร้ายจริงหรือ” แต่อย่างน้อย สวรรค์ก็มีตา เราได้พรรคเพื่อไทยของเรากลับมาอีกครั้ง เขาต้องกลับมาเพื่อสานต่อทุกคำสัญญาที่เขาให้กับประชาชนไว้ และเมื่อนั้นผมเชื่อว่า “ฟ้าหลังฝนย่อมสดใสกว่าเสมอ”

มีคนถามผมว่า ผมท้อไหม ถอดใจไหม ผมตอบได้เลยว่า “ไม่” ผมพร้อมที่จะสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ไปพร้อมทุกคนเสมอ ถึงอนาคตข้างหน้า ผมจะต้องสูญเสียอะไรไปมากกว่านี้ก็ตาม ผมไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง และก็เชื่อว่าทุกๆ คนก็ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเหมือนกัน แต่พวกเราทุกคนทำเพื่อลูกหลานของเรา เพื่อประเทศของเรา เพื่อทุกคนที่เรารัก ต่อให้การต่อสู้ครั้งหน้าผมต้องบาดเจ็บล้มตาย ผมก็ยอม ผมไม่อยากให้การหลอกลวงจอมปลอมทั้งหมดต้องตกไปเป็นภาระของรุ่นลูกรุ่นหลานของพวกเรา ผมขอให้สัญญา “ตราบใดถ้าคนเสื้อแดงทุกคนยังพร้อมที่จะต่อสู้ร่วมกันเช่นนี้ เราจะไม่มีคำว่าแพ้อย่างแน่นอน”

(ข้อความถึงลูก) นานแล้วนะที่เราจากกันมา พ่อไม่ได้ทิ้งทุกๆ คนไปไหน พ่อไม่ได้อยากเป็นวีรบุรุษ พ่อไม่ได้ต้องการการยกย่อง พ่อไม่ได้ต้องการเหรียญกล้าหาญใดๆ แค่ซักวันหนึ่ง เมื่อพวกหนูโตขึ้น หนูจะเข้าใจว่าสิ่งที่พ่อทำมันยิ่งใหญ่แค่ไหน หนูจะรู้ว่าเพราะอะไรพวกพ่อต้องออกมาต่อสู้เพื่อปกป้องประเทศนี้ พวกหนูทั้ง 3 คน อย่าได้น้อยใจหรือเสียใจที่ไม่ได้เติบโตมาใสอ้อมกอดพ่อ พ่อเชื่อว่าการจากกันครั้งนี้ใช่จากกันชั่วนิรันดร์ แต่เป็นเพียงแค่การจากเพียงชั่วครู่เท่านั้น พ่ออยากให้หนูรู้ว่าครั้งหนึ่งพ่อก็เคยรู้สึกเหมือนหนู พ่อทนกับการดูถูกเหยียดหยามมามาก เพื่อการนี้พ่อึงต้องดิ้นรนเพื่อหลีกหนีความจน พ่อต้องการคนที่เขาพัฒนาคนจน ทำเพื่อประชาชนได้จริงๆ ของเพียงลูกๆ ของพ่อเป็นคนดี ตั้งใจเรียน เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง หนูอย่าได้ดูถูกคนที่เขาด้อยกว่า ให้หนูมองทุกๆ คนว่าเท่าเทียมกับเรา หนูจะได้ไม่รู้สึกเด่นหรือด้อยกว่าคนอื่นเขา พ่อเชื่อว่าอีกไม่นาน พ่อคงได้กลับไปอยู่กับลูกๆ ขอให้หนูหลับฝันดี แล้วซักวันพ่อจะกลับคุ้มครองลูกๆ เอง

สุดท้ายนี้ ผมอยากขอบคุณพี่น้องเสื้อแดงทุกคนที่คอยติดตามถามไถ่ ทุกข์- สุข อย่างไร คอยให้กำลังใจในช่วงที่ต้องขึ้นศาลฯ ทั้งๆ ที่รู้ว่าการเดินทางในแต่ละครั้งนั้นก็ลำบากแสนลำบาก แต่ทุกคนก็ไป ขอบคุณทุกกำลังใจ ขอบคุณพี่ๆ คดี 112 ทั้งพี่สมยศ, พี่สุรภักดิ์, อาจารย์สุรชัยที่คอยให้คำปรึกษาและดีกับผมเสมอมา ทำให้ผมอดทนมาได้ถึงวันนี้ ผมจะอดทนต่อไป เพื่อจะได้ไปต่อสู้ร่วมกับทุกๆ คนอีกครั้ง

 

ผมศรัทธาในการต่อสู้ของทุกๆ คน

วัลลภ พิธีพรม

16 มีนาคม 2555

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images