Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

คำพิพากษาเหมืองทองพิจิตร: ทุนนิยมชนะ

$
0
0

 

สืบเนื่องจากเมื่อ วันที่ 27 มี.ค.55 ที่ผ่านมาตุลาการศาลปกครองจังหวัดพิษณุโลกออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีดำเลขที่ 228/2553 คดีแดงเลขที่ 163/2555 ระหว่าง น.ส.สื่อกัญญา ธีระชาติดำรง ผู้ฟ้องชาวบ้านในตำบลเขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร และจำเลยร่วม 5 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ คณะกรรมการเหมืองแร่ อธิบดีกรมป่าไม้ และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก ซึ่งชาวบ้านฟ้องมาเมื่อปลายปี 2553 โดยมีบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นผู้ร้องสอด

การฟ้องคดีดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรของบริษัทฯผู้ประกอบการเป็นจำนวน 5 แปลงในพื้นที่ภูเขาหม้อแหล่งหาอยู่หากินของชาวบ้านเพราะถือว่าเป็นป่าชุมชน แต่เนื่องจากประทานบัตรที่หน่วยงานรัฐร่วมกันออกให้นั้นชาวบ้านฟ้องว่าอนุญาตออกมาโดยมิชอบ เพิกถอนใบอนุญาตของกรมป่าไม้ที่อนุญาตให้บริษัทฯ เข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อทำเหมืองแร่ทองคำและเหมืองแร่เงิน และเพิกถอนมติสภา อบต.เขาเจ็ดลูก ลงวันที่ 3 มิ.ย.48 อีกทั้งได้มีการยื่นขอคุ้มครองชั่วคราวให้ศาลสั่งระงับการดำเนินการใดๆ ในเขตพื้นที่ประทานบัตรทั้ง 5 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายเป็นการชั่วคราวก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา

กรณีปัญหาเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัทฯดังกล่าวที่ดำเนินการอยู่ในบริเวณใกล้เคียงชุมชน ทำให้ชาวบ้าน ต.เขาเจ็ดลูก ได้รับผลกระทบต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปี ทั้งเสียงดัง มีฝุ่นฟุ้งกระจายจากการระเบิดหินอย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน น้ำดื่มน้ำใช้น้ำใต้ดินไม่สามารถใช้น้ำสาธารณะได้ดังเดิมเพราะมีสารโลหะหนักเจือปน เช่น สารหนู สารปรอท และไซยาไนด์ และชาวบ้านมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง ชาวบ้านพยายามร้องเรียนหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดพิจิตรและส่วนกลางให้เข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหา แต่ก็ไม่สามารถจัดการปัญหาใด ๆ ได้ ชาวบ้านทนไม่ไหวจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลก เมื่อวันที่ 10 พ.ย.53 เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คดีนี้สู้กันในศาลมาปีกว่า ๆ ตุลาการเจ้าของสำนวนจึงได้นัดอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้ถอนประทานบัตรทั้ง 5 แปลง โดยให้การเพิกถอนมีผลในวันที่ผู้ร้องสอดไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเหมืองแร่ทองคำให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ลงวันที่ 29 ธ.ค.52 ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนด 1 ปี หรือเมื่อรายงานนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบ ทั้งนี้นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คำขออื่นให้ยก

ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มี.ค.55 ที่ผ่านมา ศาลปกครองพิษณุโลกได้นัดนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก โดยตุลาการผู้แถลงคดีได้มีความเห็นว่าแปลงประทานบัตรจำนวน 4 แปลง ควรให้บริษัทฯผู้ร้องสอด ไปดำเนินการทำ EHIA ภายใน 1 ปี ให้เรียบร้อยก่อน เพราะถือว่าเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงตามมาตรา 67 กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ถ้าภายใน 1 ปี ถ้าบริษัทผู้ร้องสอดไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จก็ให้เพิกถอนประทานบัตรทั้ง 4 แปลง แต่แปลงบนเขาหม้ออีก 1 แปลงนั้น ไม่ควรเพิกถอนเพราะจะมีผลกระทบกับบริษัทที่ได้ลงทุนทำไปแล้วและไปกระทบกับค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทได้จ่ายให้กับรัฐไปแล้ว

ดูแนวคิดของตุลาการผู้แถลงคดีในศาลนี้ดูสิครับ ว่าแนวคิดนี้ยึดหลักกฎหมายหรือยึดอะไรเป็นหลัก

พิเคราะห์ดูจากคำพิพากษาดังกล่าว ดูเหมือนชาวบ้านจะชนะคดี แต่จริง ๆ แล้วชาวบ้านแพ้คดีต่างหาก เพราะการที่ศาลจะให้เพิกถอนประทานบัตรตามคำขอท้ายฟ้องได้ ก็ต่อเมื่อบริษัทฯดังกล่าวไม่จัดทำรายงาน EHIA ให้แล้วเสร็จและไม่ได้รับความเห็นชอบภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา เพราะวันนี้บริษัทคู่พิพาทยังสามารถเปิดดำเนินกิจการในพื้นที่ได้ต่อไป ยังสามารถสร้างความเดือดร้อนและเสียหายให้กับชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมได้ต่อไป เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และกว่าจะครบกำหนดเวลา 1 ปีบริษัทอาจจะเร่งขุดเจาะทำเหมืองจนหมดพื้นที่ทำเหมืองก่อนแล้วก็ได้ หรือถ้าไม่หมดก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว คำพิพากษาดังกล่าวจะมีประโยชน์อันใดต่อการการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ชาวบ้านดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม ตามที่รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 บัญญัติไว้

คำพิพากษาดังกล่าวหากเทียบเคียงกับคำพิพากษาคดีมาบตาพุด ที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและชาวบ้าน 43 คนฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อปี 2552 แล้วค่อนข้างจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้จะเป็นกรณีที่ใกล้เคียงกันและเป็นข้อกฎหมายเดียวกัน คือการขอให้ศาลบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง โดยทันทีนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับ ซึ่งศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุดก็เห็นพ้องด้วย จึงมีคำสั่งและคำพิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้อง ที่สำคัญคือ การสั่งให้ผู้ประกอบการจัดทำรายงาน EHIA ให้แล้วเสร็จโดยไม่กำหนดระยะเวลาและต้องได้รับความเห็นชอบแล้วเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ในขณะที่คดีเหมืองทองพิจิตร ศาลสั่งให้ผู้ประกอบการจัดทำ EHIA ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่ยังสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ นี่คือความแตกต่างและมุมมองขององค์คณะตุลาการของศาลปกครองกลาง และศาลปกครองพิษณุโลก ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกันแต่ใช้กฎหมายมาตราเดียวกัน

เราคงไม่อาจตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์การใช้ดุลยพินิจขององค์คณะตุลากาแต่ละองค์คณะได้ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของแต่ละองค์คณะ แต่บริบทของสังคมนั้นเราต้องสร้างบรรทัดฐานและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลให้จงได้ เพราะสังคมยังเชื่อมั่นว่าอำนาจตุลาการศาลที่เป็นดุลอำนาจ 1 ใน 3 ของระบบการปกครองของไทย จะยังสามารถฝากผีฝากไข้ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและให้การคุ้มครองวิถีชีวิตและปกปักรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของแผ่นดินได้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผ่านคำพิพากษาได้ แต่หากศาลมองแต่ประโยชน์ของผู้ประกอบการ ทุนนิยม ประโยชน์ทางธุรกิจ ทางเศรษฐกิจ เป็นตัวตั้ง กลัวผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบ ต้องคอยประคบประหงมเอาไว้ ส่วนชาวบ้านตัวน้อย ๆ ที่ไม่มีปากมีเสียง จะตาย เสียหาย หรือฉิบหายอย่างไร ก็ชั่งมัน ความขัดแย้งในสังคมไทยก็ไม่มีวันสิ้นสุดหรือลดลงมาได้

สำหรับคดีเหมืองทองที่พิจิตรนั้น ในความคิดเห็นของชาวบ้าน เห็นว่าควรให้เพิกถอนประทานบัตรและให้ยุติการทำเหมืองในแปลงประทานบัตรทั้งหมดไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว น่าจะถูกต้องกว่า เพื่อหยุดยังผลกระทบที่เกิดกับชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2550

คดีนี้ผู้ฟ้องคดียังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษา และเมื่อศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาออกมาเมื่อใด คงจะได้ใช้เป็นบรรทัดฐานของสังคมไทยได้ว่า ระหว่างสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่มีจำนวนมาก กับผู้ใช้อำนาจทางปกครอง และผู้ประกอบการทุนนิยมอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมข้ามชาติ ศาลปกครองของไทย จะมีจุดยืนหรือสร้างบรรทัดฐานไว้ให้กับสังคมไทยได้อย่างไร และเป็นไปในทิศทางใด...คงไม่นานเกินรอนะครับ


 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"การท่องเที่ยวโดยชุมชน" (Community-Based Tourism): การสร้าง ขยายเศรษฐกิจและวิถีชีวิตท้องถิ่น

$
0
0

“ลำปางหนาวมาก” คำนี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยิน เป็นวลีที่คุณอุดม แต้พานิช พูดล้อเลียนคนที่ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นไปยังรายการๆหนึ่ง แต่พอหลังจากที่การแสดงของคุณอุดมสิ้นสุดลง คำพูดที่ว่า ลำปางหนาวมาก กลับกลายเป็นกระแสนิยมและสร้างจุดขายให้กับการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางได้เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยด้วยกันเอง ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินมาตรการและแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งความเข้มแข็งของปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของไทย เช่น แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเข้าไปสัมผัสกับกิจกรรมเหล่านั้น

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญต่อภาคการท่องเที่ยวมาโดยตลอด โดยเฉพาะภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ที่รัฐบาลกำหนดให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของภาคการขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจ และได้ประกาศให้ปี 2541 -2542 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand) ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้อ้างถึงสถิตินักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางมาประเทศไทยระหว่างปี 2548– 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7.5 % และในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยทั้งสิ้น 19,089,323  คน โดยเพิ่มขึ้น 19.84 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมีมูลค่าเท่ากับ 734,519.46 ล้านบาท เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของคนในชุมชนท้องถิ่นในหลากหลายด้าน เช่น ภาคการบริการโรงแรม มัคคุเทศก์  โฮมสเตย์  ร้านอาหาร ฯลฯ  ซึ่งสร้างรายได้ให้คนหลากหลายกลุ่มตั้งแต่ชาวบ้าน ถึงผู้ประกอบการขนาดใหญ่

การท่องเที่ยวในประเทศไทยก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การท่องเที่ยวแบบแนบชิดธรรมชาติ  การท่องเที่ยวสถานเริงรมย์  ท่องเที่ยวโบราณสถานโบราณวัตถุ ซึ่งการท่องเที่ยวแต่ละชนิดก็มีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน

แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว  ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเป็นเครือข่ายมากขึ้น บ่อยครั้งใช้คำว่า "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" (Community-Based Tourism) หรือ "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" (Ecotourism) หรือ "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์"(Conservation tourism) ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพพจน์ของการท่องเที่ยว

"การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" หรือ "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" จากการให้คำนิยามของสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ให้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยว ชุมชนเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง ส่วน "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" เน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการทำงาน คือ การที่มุ่งพัฒนาให้คนในชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการท่องเที่ยว  และไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ได้เน้นถึงการสร้างศักยภาพของคนในท้องถิ่นให้ใช้ความรู้ของตนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยให้มีความสมดุลกับภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งการเกื้อกูลต่อเศรษฐกิจของชุมชนในอนาคต เพราะการดูแลทรัพยากรเหล่านั้นเป็นหน้าที่ของคนในชุมชนซึ่งเป็นของส่วนรวมไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง

ดังนั้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยคนในชุมชน จึงเป็นการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้มีความหมายมากกว่าการพักผ่อน เป็นการพัฒนาคนในชุมชนให้มีบทบาทที่สำคัญในการอนุรักษ์ความเป็นชุมชน ซึ่งเปรียบเสมือนชุมชนเป็นเหมือนบ้านของตนเองที่คอยต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยความยินดี

ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวได้สร้างรายได้ อาชีพ และการมีส่วนร่วมของคนกลุ่มต่างๆ และเป็นการขยายภาคเศรษฐกิจของไทยให้ขยายตัวมากขึ้น  แต่ผลอีกด้านของการท่องเที่ยวก็ได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทยเช่นเดียวกัน ดังที่เราได้รับรู้รับฟังตามข่าวสารต่างๆ ซึ่งต้องพึงระวังในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ

ถึงกระนั้น "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" (Community-Based Tourism) อาจเป็นการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว สร้างอาชีพให้ชุมชน และในขณะเดียวกันก็เป็นการอนุรักษ์ไปในตัว เพราะ “เขา”(ชาวบ้าน) เหล่านั้นที่เคยเป็นแต่ผู้เฝ้ามองได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการท่องเที่ยวแบบใหม่นี้ ซึ่งเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ  และเป็นพื้นที่ในการแสดงอัตลักษณ์  ตัวตน ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆให้รับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Aof Dent

$
0
0

"อ่านการดีเฟนท์จากผู้สร้างเชคสเปียร์ต้องตายแล้วก็ยืนยันว่ายังไงเราก็ต้องดีเฟนท์ให้หนังมันได้ฉาย .... เพื่อที่เราจะได้เลือกด่ามันด้วยสมองของตัวเอง"

สเตตัสในเฟซบุ๊ก อนุญาตให้ประชาไทเผยแพร่

อุดรูรั่วพลังงานชีวมวล (1) : ตอบโจทย์ปัญหานโยบายพลังงานทางเลือก เพื่อไปต่อ

$
0
0
ความท้าทายในการอยู่ร่วมกันของ “โรงไฟฟ้า” กับ “ชุมชน” จากคำยืนยันของนักวิชาการที่ว่าทรัพยากรชีวมวลไทยศักยภาพสูง แต่ไม่ใช่เรื่องต้องเร่งรีบ สู่ข้อเสนอเพื่อเดินหน้าต่อ ขณะที่นักกฎหมายชี้ช่องสะท้อนปัญหาที่เกิดในพื้นที่ เพื่อการแก้ไขกฎระเบียบ
 
 
 
ต่อคำถามถึงทิศทางพลังงานชีวมวลไทยว่าจะเดินหน้ากันต่อไปอย่างไรดี เมื่อการส่งเสริม “โรงไฟฟ้าชีวมวล” กลายเป็นปัญหาที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่โครงการต้องเผชิญหน้ากับฝุ่นละออง การแย่งชิงน้ำ ความขัดแย้งในชุมชน ความเครียด และความกังวลกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น หากต้องการให้พลังงานทางเลือกกลายเป็นทางรอดได้ ความผิดพลาดที่ต้องเร่งแก้ไขเหล่านี้ควรอยู่ที่นโยบาย กฎหมาย หรือตัวโรงงาน
 
วันที่ 3 เม.ย.55 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดอภิปรายหัวข้อ “อุดรูรั่วพลังงานชีวมวล” ส่วนหนึ่งในการสัมมนา “ผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบายพลังงานชีวมวล” ณ ห้องแคทลียา โรงแรมรามา การ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยมีประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลกว่า 8 จังหวัดทั่วประเทศ อาทิ ร้อยเอ็ด ยะลา สุรินทร์ เชียงราย สระแก้ว ปราจีนบุรี อุบลราชธานี ตาก ร่วมแสดงความเห็น
 
 
ศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยด้านพลังงาน มูลนิธินโยบายสุขภาวะ กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า จากข้อมูลล่าสุดของกระทรวงพลังงาน เมื่อเดือนกันยายน 2554 ระบุตัวเลขโรงไฟฟ้าชีวมวลทั้งที่อยู่ในกระบวนการเริ่มต้นพิจารณา มีการตอบรับจากรัฐแล้ว และมีการลงนามในสัญญาแล้วรวมทั้งหมดจำนวนทั้งสิ้น 306 โครงการทั่วประเทศ โดยเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) คือกำลังการผลิตน้อยกว่า 10 เมกะวัตต์ ซึ่งการก่อสร้างไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) มีถึง 297 โครงการ ซึ่งตรงนี้เป็นโครงการส่วนใหญ่ที่มีปัญหากับชุมชนในขณะนี้
 
ศุภกิจ กล่าวต่อมาถึงข้อเสนออุดรูรั่วพลังงานชีวมวล 3 เรื่อง คือ (1) เรื่องการเลือกที่ตั้งโรงไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันเอกชนเลือกได้ตามที่เห็นเหมาะสม ตรงนี้คิดว่าต้องแก้โดยการมีกรอบแนวทางก่อน คือให้มีผังเมืองบังคับใช้ก่อนตัดสินใจโครงการ โดยโครงการที่จะเข้ามาสร้างในพื้นที่ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดในร่างผังเมือง หากยังไม่มีผังเมืองบังคับใช้ อย่างน้อยก็ให้นำร่างการใช้ประโยชน์ที่ดินมาพิจารณา 
 
(2) เรื่องพื้นที่ที่เหมาะสม ในรายละเอียดต้องกำหนดระยะห่างเป็นข้อกำหนด-กฎระเบียบที่ชัดเจนก่อน เช่น ระยะห่างจากบ้านเรือนประชาชนอย่างน้อยเท่าไหร่ อาจกำหนดตามขนาดของโครงการ ซึ่งปัจจุบันไม่มีตรงนี้จึงพบกรณีที่โครงการอยู่ชิดบ้านชาวบ้าน โดยห่างเพียง 10 เมตร
 
(3) เรื่องการประเมินผลกระทบ ข้อเสนอคือให้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทุกโครงการ และต้องมีการตรวจสอบโดยสาธารณะ ซึ่งการดำเนินการตั้งไว้ 2 ทางเลือก คือ 1.ปรับข้อกำหนดเรื่อง EIA จากตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ในปัจจุบัน ให้เป็น 1 เมกะวัตต์ ขึ้นไปต้องทำ EIA ทุกโครงการ ซึ่งโครงการขนาดเล็กมีความซับซ้อนน้อยก็ใช้เวลาน้อย ควรปรับให้ชัดเพื่อลดผลกระทบต่อสาธารณะ 2.หากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ไม่ปรับเรื่องข้อกำหนด EIA ด้วยเหตุผลว่าตามข้อกำหนดเดิมมีโครงการ 9.9 เมกะวัตต์เกิดขึ้นนับ 100 โครงการแล้ว ก็ให้สังคมกำหนดแนวทางร่วมกัน โดยประชาชน เจ้าของโครงการ หน่วยงานรัฐ มาตกลงกันว่าแนวทางการประเมินผลกระทบสำหรับทุกโครงการควรเป็นอย่างไร ที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับและเดินหน้าไปด้วยกันได้
 
ส่วนช่องทางบังคับใช้ ทั้ง 3 เรื่อง แบ่งเป็น 3 ช่องทาง คือ 1.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ต้องช่วยกันเสนอการปรับปรุงระเบียบการออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน รวมทั้งการหยุดและเพิกถอนใบอนุญาตฯ ให้นำเรืองเหล่านี้เข้าไปด้วยตามอำนาจ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน 2.กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยเสนอการปรับปรุงระเบียบการพิจารณาอนุญาตโรงงาน ซึ่งปัจจุบันข้อกำหนดเรื่องระยะห่างอยู่ภายใต้อำนาจกรมโรงงานอุตสาหกรรม 
 
และ 3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 กำหนดให้โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นกิจการที่อาจเป็นอันตราย แล้วออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการขออนุญาตและติดตามตรวจสอบโครงการได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีองค์กรปกครองท้องถิ่นใดใช้ช่องทางนี้
 

ทรัพยากรพลังงานชีวมวลศักยภาพสูง ความท้าทายเพื่อการอยู่ร่วมกันได้จริง
 
ศุภกิจ กล่าวด้วยว่า ในนโยบายพลังงานโดยรวม เรายังมีศักยภาพพลังงานชีวมวลอีกจำนวนมาก ตรงนี้กระทรวงพลังงานจึงมีการปรับแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ฉบับล่าสุดที่ออกในปี 2554 โดยปรับเพิ่มเป้าหมายจากเดิมใน 15 ปี (2551-2565) 5,600 เมกะวัตต์ เป็น 9,200 เมกะวัตต์ ภายในปี 2564 ซึ่งหากดูในส่วนชีวะมวลจะพบว่าลดลงเล็กน้อยจากเป้าหมาย 3,700 เมกะวัตต์ เหลือ 3,630 เมกะวัตต์
 
 
ยกตัวอย่างมาตรการสำคัญในแผนที่เพิ่งออกมา อาทิ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมผลิตอย่างกว้างขวาง กำหนดมาตรการสนับสนุนสำหรับชุมชนโดยเฉพาะ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมรณรงค์ให้ความรู้ พัฒนาเทคโนโลยี Gasification เพื่อกังหันแก๊ส (Gas Turbine) และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการพลังงานชีวมวล 
 
“เวลาที่เราพูดถึงโรงงานไฟฟ้าชีวมวลระดับชุมชน ชุมชนนึกไม่ออก เพราะว่ามันไม่เกิดสักที มันมีแต่เอกชนพัฒนามา 300 กว่าโครงการแล้ว” ศุภกิจกล่าวถึงสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
 
นักวิจัยมูลนิธินโยบายสุขภาวะ กล่าวต่อมาถึงแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนฯ ซึ่งระบุเรื่องการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมเรียนรู้ โดยเสนอให้ลองตั้งเป้าหมายให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในระดับจังหวัดก่อนที่จะมีความขัดแย้งจากโครงการจะเป็นไปได้หรือไม่ หรือในพื้นที่ที่ไม่ต้องพูดถึงโครงการ ให้ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน หน่วยราชการ และภาควิชาการ มาร่วมกันพิจารณาว่าพลังงานชีวมวลสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งในระดับจังหวัดได้หรือไม่ หรือมีศักยภาพทางพลังงานในด้านต่างๆ อย่างไร แล้วทำเป็นแผนของจังหวัด ก่อนไปพิจารณาว่าจะรับโครงการต่างๆ ที่จะเข้ามาหรือไม่
 


แนะมาตรการหนุน “โรงไฟฟ้าชุมชน” พร้อมย้ำชีวมวลไม่ใช่เรื่องเร่งรีบ 
 
สำหรับข้อเสนอต่อมาตรการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบัน ศุภกิจ กล่าวว่า 1.เรื่องส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ขณะนี้มีให้เพียงไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบเท่านั้น ไม่มีสำหรับไฟฟ้าชุมชน เพราะฉะนั้นจากการที่กระทรวงพลังงานระบุไว้เรื่องการเร่งกำหนดมาตรการสนับสนุนโครงการระดับชุมชนเป็นการเฉพาะจะดำเนินการได้ไหม 2.มาตรการเงินสนับสนุนที่มีการเปลี่ยนแปลงตามการตัดสินใจของรัฐบาล ทำให้เอกชนที่พัฒนาโครงการมีความเสี่ยง ดังนั้นการเปลี่ยนอัตราสนับสนุนควรมีระบบที่ชัดเจน เช่น ตามอัตราการเรียนรู้และการลดลงของต้นทุน เอกชนจะได้คิดถึงโครงการอีกแบบหนึ่งได้
 
3.ปัจจุบันส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าขึ้นกับวันที่ยื่นใบสมัคร แทนที่จะกำหนดจากวันที่เริ่มผลิตไฟฟ้า เมื่อประกอบกับข้อ 2 ส่วนหนึ่งจึงกลายเป็นกรอบที่ทำให้เอกชนที่สนใจทำพลังงานชีวมวล เร่งพัฒนาโครงการไปก่อน โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน แทนที่จะมีความคิดไปพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับชุมชนโดยใช้่เวลาอีก 5 ปี ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงหลายเรื่อง ดังนั้นจึงมีการปรับให้กำหนดจากวันที่เริ่มผลิตไฟฟ้า
 
“เรามีเวลา เราไม่ได้เร่ง เรื่องไฟฟ้าประเทศยังไม่ได้ขาด เรามีเวลาที่จะพัฒนา จะอุดรูรั่ว จะหาทางออกร่วมกันว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง อันนี้เป็นข้อเท็จจริงจากข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าความต้องการไฟฟ้าสูงสุดที่เกิดขึ้นจริงมันต่ำกว่าที่พยากรณ์และเตรียมการไว้ในแผน ปีทีแล้วก็ต่ำไป 668 เมกะวัตต์ เพราะฉะนั้นเรายังคงมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองเหลืออยู่ เราไม่ได้ต้องเร่งโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นมา” 
 
 

ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ภาพสะท้อนปัญหากระบวนการบังคับใช้กฎหมาย
 
ด้านสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ นักกฎหมายโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม สรุปปัญหาของโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ปรากฏในปัจจุบันจากมุมมองด้านกฎหมายว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนโรงไฟฟ้าเริ่มดำเนินการ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในหลายพื้นที่ในเรื่องการมองความเหมาะสมของพื้นที่ที่ต่างกัน โดยชาวบ้านมองว่าที่ริมน้ำเหมาะสมกับการเกษตร แต่เอกชนมองว่าเหมาะทำอุตสาหกรรม ในขณะที่หน่วยงานรัฐเห็นพ้องตามเอกชนทำให้ออกใบอนุญาตได้ เพราะคนกลางที่มีหน้าที่ชี้ขาดคือหน่วยงานรัฐ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามข้อกำหนดเรื่องพื้นที่ที่เหมาะสมนี้ตามกฎหมายแล้วมีเพื่อคุ้มครองเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ต้องการระบุว่ามีความเหมาะสมกับทางเศรษฐกิจหรือการขนส่ง 
 
สำหรับการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีปัญหา เพราะในหลายพื้นที่แม้มีการเปิดรับฟังความเห็น และชาวบ้านมีความเห็นคัดค้านโครงการ แต่หน่วยงานของรัฐก็ยังสรุปความเห็นว่าเหมาะสมแก่การสร้างอยู่ดี โดยให้ความเห็นว่าข้อทักท้วงของคนในพื้นที่แก้ไขได้ ทำให้เดินหน้าต่อในการให้ใบอนุญาต ทั้งที่หากพิจารณาว่าเหตุผลของคนในพื้นที่รับฟังได้ก็สามารถให้ระงับการก่อสร้างในพื้นที่ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
 
ส่วนที่ 2. ปัญหาเมื่อโรงไฟฟ้าเปิดดำเนินการแล้ว ที่พบมากคือการไม่ดำเนินการตามสัญญาประชาคมหรือสิ่งที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับชุมชน เมื่อโครงการเดินหน้าจึงก่อให้เกิดผลกระทบขึ้น ตรงนี้ส่วนตัวเห็นว่าเป็นหน้าที่หลักของหน่วยงานรัฐที่เป็นผู้ให้ใบอนุญาตและกำหนดให้มีมาตรการลดผลกระทบต้องตรวจสอบ ควบคุม เพื่อให้เกิดผลบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเมื่อมีการร้องเรียนของประชาชน กรณีที่หน่วยงานรัฐจะเข้ามาแก้ไขมีน้อย และส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่มีผลกระทบชัดเจน ตรงนี้คือปัญหาเรื่องการบังคับใช้
 
ชาวบ้านถ่ายรูปหมู่หน้าศาลปกครอง ในวันที่ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว หยุดโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลเชียงราย
อ่านเนื้อหา: http://prachatai.com/journal/2011/09/36799

 

ชี้ช่องสะท้อนจากปัญหาที่เกิดในพื้นที่ สู่การแก้ไขกฎระเบียบ
 
“ผมคิดว่ากฎหมายสมควรจะเป็นจำเลย เพราะถ้าเราดู ที่เราต่อสู้ในกติกาที่มันเป็นอยู่ กติกาที่ไม่เป็นธรรมต่อสู้อย่างไรชาวบ้านก็ต้องแพ้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่พูดเรื่องกฎหมายไม่ได้” สงกรานต์ กล่าวและว่าที่ผ่านมาอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐคือกฎหมาย ดังนั้นเพื่อปลดล็อคจึงต้องแก้กฎหมาย
 
นักกฎหมายโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า หากมองปัญหาจริงๆ จากมุมมองของกฎหมาย อันดับแรก เขาคิดว่ากฎเกณฑ์กฎระเบียบของหน่วยงานรัฐที่บังคับใช้อยู่ปัจจุบันมีปัญหา ซึ่งควรต้องแก้ไข เช่น กฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ทำหรือไม่ทำ EIA การที่ไม่มีข้อกำหนดระยะห่างโครงการกับชุมชน และการเปิดช่องให้มีการพิจารณาโดยใช้ดุลยพินิจของผู้อนุมัติอนุญาตที่กว้าง ส่วนการแก้ปัญหาโดยการแก้กฎหมายนั้นทำได้ และกฎหมายเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าชีวมวลแก้ได้ง่าย เพราะเป็นกฎหมายในระดับรองคือเป็นกฎกระทรวงซึ่งในระดับคณะรัฐมนตรีออกกฎหมายได้ ไม่จำเป็นต้องผ่านสภา 
 
นอกจากนี้ โดยส่วนตัวเขามีข้อเสนอต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มีการจัดทำข้อเสนอเพื่อแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าวให้มีความชัดเจน โดยสะท้อนจากปัญหาที่เกิดจากโรงไฟฟ้าหลายๆ แห่ง ในหลายๆ พื้นที่ ว่าจะต้องมีการแก้ไขเรื่องดังกล่าว แล้วก็ทำการติดตาม หากคำตอบไม่มีเหตุผลเพียงพอก็อาจต้องใช้มาตรการทางสังคมกดดันเพิ่มเติม เพราะหลายพื้นที่เห็นตรงกันว่ากฎเกณฑ์มีปัญหา ก็ต้องแก้
 
ส่วนการแก้ปัญหาในระดับการบังคับใช้ สงกรานต์ กล่าวว่าในหลายพื้นที่มีการฟ้องคดีไปที่ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง และคาดว่าคดีส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการพิจารณา อีกส่วนหนึ่งศาลได้ยกฟ้องไปแล้ว พร้อมยกตัวอย่างกรณีโรงไฟฟ้าชีวมวลเชียงราย ที่ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งตรงนี้จำเป็นมาก เพราะการพิจารณาคดีของศาลใช้เวลา 5 ปี ในระยะเวลานี้โรงไฟฟ้าสามารถดำเนินได้จนกระทั่งปล่อยมลพิษออกมา หากมาตรการคุ้มครองชั่วคราวไม่ถูกบังคับใช้ ผลของคดีจะไม่มีประโยชน์เลย
 
ทั้งนี้ จากตัวอย่างดังกล่าว พบว่าชาวบ้านจะต้องมีพันธมิตรและมีการเก็บข้อมูลผลกระทบอย่างจริงจัง โดยขอความร่วมมือจากนักวิชาการในการศึกษาว่าพื้นที่ไม่เหมาะกับการสร้างโรงไฟฟ้าโดยอ้างอิงหลักการทางวิชาการ ซึ่งตรงนี้จะเป็นน้ำหนักในการชี้ให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมต่อศาลได้
 
 
 “สุรินทร์” บทเรียนความเจ็บปวดจากทางเลือกชีวมวล 
 
“เราพูดถึงกลไกลการพัฒนาที่สะอาด เราพูดถึงการขายคาร์บอนเครดิต เราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แล้วเราก็พูดถึงพลังงานชีวมวลเป็นพลังงานทางเลือก แต่โจทย์ที่สำคัญก็คือว่า เราพูดมิตินี้ต้องพูดว่ามันต้องสร้างความเป็นธรรมให้คนในชุมชนด้วย มันถึงจะครบสมบูรณ์” วิจิตรา ชูสกุล เครือข่ายพลังงานยั่งยืน จ.สุรินทร์ กล่าว
 
วิจิตรา กล่าวว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผู้ประกอบการได้ประโยชน์ เพราะได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิต แต่ประชาชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้ากลับเป็นคนที่ได้รับผลกระทบได้ ดังนั้น เมื่อสิ่งที่พูดถึงไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือเรื่องพลังงานทางเลือก หากเป็นสิ่งที่ได้เลือกแล้วก็ควรสร้างความเป็นธรรมให้คนที่อยู่โดยรอบด้วย
 
ในส่วนการต่อสู้เรื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดสุรินทร์ วิจิตรา กล่าวว่า อาจไม่ค่อยเห็นภาพการต่อสู้ ซึ่งอาจจะด้วยว่ากระบวนการที่ผ่านมาเบื้องต้นเครือข่ายทำงานเรื่องพลังงานชุมชน และมิติช่วงที่ผ่านมาก็สนับสนุนเรื่องพลังงานชีวมวล เพราะถือว่าเป็นทรัพยากรในท้องถิ่น 
 
“ณ บัดนี้เรารู้สึกเศร้าใจมาก เศร้าใจมากกับทางเลือกที่เราคิดว่าเป็นทางเลือกที่ดีแล้ว เพราะกระบวนการจัดการที่เกิดขึ้นเราไม่ได้มองคนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า”  เครือข่ายพลังงานยั่งยืน จ.สุรินทร์ กล่าว
 
 
ร้องชุมชนลุกขึ้นส่งเสียง “ชีวมวล 10 โรง” เกินกำลังที่การผลิตจะรับได้
 
วิจิตรา ให้ข้อมูลว่า จ.สุรินทร์ ขณะนี้มีโรงไฟฟ้าชีวมวล 2 โรง โดย 1 โรงขายคาร์บอนเครดิตด้วย แต่จากการเก็บข้อมูลของชุมชนก็พบว่ามีผลกระทบต่อชาวบ้านที่อยู่โดยรอบทั้ง 2 โรง และยังจะมีตามมาอีก 8 โรง รวมกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด 124.90 เมกะวัตต์ ซึ่งก็มีการเก็บข้อมูลต่อมาว่าผลผลิตชีวมวลในจังหวัดมีเพียงพอหรือไม่ พบว่าพื้นที่ผลิตใน จ.สุรินทร์ ราว 1.3 ล้านไร่ ได้แกลบไม่เพียงพอ แต่ในปัจจุบันโรงไฟฟ้าชีวมวลมีการใช้ไม้สับจากโรงงาน และเง้ามันสำปะหลังมาผสม โดยการเลือกใช้พิจารณาจากต้นทุน
 
“ทุกอย่างที่ใช้มาจากต้นทุน เมื่อไหร่ที่อะไรที่เป็นต้นทุนที่ถูก อันนั้นคือสิ่งที่จะต้องเลือกใช้เป็นอันดับแรก เพราะฉะนั้นอนาคตข้างหน้าเราไม่รู้ว่าอะไรจะถูกกว่าชีวมวล ซึ่งอาจมาเป็นส่วนหนึ่งในการผสมได้” วิจิตรากล่าว
 
โรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
ที่มาภาพ: http://www.mcgreenpower.com
 
ตัวแทนเครือข่ายพลังงานยั่งยืน จ.สุรินทร์กล่าวด้วยว่า กระบวนการเลือกก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่หนึ่งๆ นอกจากเรื่องผังเมือง และเรื่องที่ตั้งแล้ว ทรัพยากรชีวมวลในท้องถิ่นนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นแกลบ มัน อ้อย ใน จ.สุรินทร์ ทั้งหมดผลิตไฟได้ราว 100 เมกะวัตต์ ไม่เพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าทั้ง 10 โรง ซึ่งการคำนวณตรงนี้ยังไม่ได้หักปริมาณชีวมวลที่อาจต้องเอาไปใช้ในเรื่องอื่นๆ เช่น ทำปุ๋ย ใช้ไม้ในการก่อสร้าง เผาอิฐ รองพื้นเลี้ยงไก่ ฯลฯ 
 
อย่างไรก็ตามหากรวมผลผลิตจากโรงงานไม้สับซึ่งนำเข้าไม้จากนอกพื้นที่ และโรงสีขนาดใหญ่ที่รับซื้อข้าวจากนอกจังหวัด จะมีวัตถุดิบมากพอที่จะใช้ผลิตไฟฟ้าได้ แต่ก็ต้องคำนึงถึงการดำเนินกิจการเหล่านี้ด้วยว่าอาจส่งผลกระทบต่อประชาชน เช่นกรณีของโรงสีที่สีข้าวทั้งวันทั้งคืนเพื่อส่งออกที่ส่งผลกระทบเรื่องฝุ่นในชุมชน ซึ่งก็ควรมีมาตรการดูแลด้วย
 
“ณ วันนี้ ถ้าสุรินทร์จะมีโรงไฟฟ้าชีวมวล 10 โรง พี่น้องสุรินทร์คิดว่าน่าจะต้องลุกมาประท้วงแล้วว่า นี่มันไม่ได้แล้ว มันเกินกำลังที่การผลิตของเราจะรับได้แล้ว อันนี้ยังไม่มองถึงผลกระทบ” วิจิตรากล่าวและว่าในเรื่องผลกระทบนั้น โรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นมองข้ามความเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ มองข้ามสิทธิของชุมชนที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าเขาจะดำรงชีวิตอย่างไร ดังนั้นมาตรการต่างๆ ที่ออกมาจึงเป็นมาตรการเพื่อให้โครงการเดินหน้าได้
 
วิจิตรา กล่าวถึงกระบวนการทำ  EIA ด้วยว่า มีปัญหาทั้งในเรื่องที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการและจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการจัดทำ และเรื่องการมีส่วนร่วม เพราะประชาชนกลายเป็นเพียงผู้ตอบคำถาม แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งควรต้องมีการแก้ไขต่อไป อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาชาวบ้านมีการทำรายงานประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือใช้สิทธิของชุมชน และพบว่าผลกระทบนั้นเกิดขึ้นจริง
 
“เวลาเราพูดรับฟังความคิดเห็น บางทีไปไม่ถึงมิติของการตัดสินใจ ถ้าเราจะพูดถึงอนาคตด้วย เราจะต้องมีองค์ประกอบของข้อมูลที่ทำให้ประชาชนตัดสินใจได้ แต่ช่วงที่ผ่านมามันเร็วมาก ข้อมูลปุ๊บๆ เอกสารหนึ่งฉบับ ฟังหนึ่งเวทีแล้วก็มาบอกว่าได้รับฟังความคิดเห็นแล้ว แต่ว่ากระบวนการตัดสินใจที่ประชาชนรู้สึกว่า ฉันได้ตัดสินใจว่ามันเหมาะ มันสมแล้ว มันยังขาดกระบวนการตรงนี้ไป” วิจิตรากล่าวถึงโจทย์ที่สำคัญ พร้อมเสริมว่า เมื่อประชาชนตัดสินใจว่าไม่เอาก็ควรเคารพสิทธิของชุมชน
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พลังงานผวาไฟฟ้าขาด เร่งเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชน 6 พันเมกะวัตต์

$
0
0

กระทรวงพลังงาน เตรียมเปิดประมูล "ไอพีพี" รอบใหม่ 6,000 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติ คาดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2564 ทดแทนลดโรงไฟฟ้าถ่านหินจากแผนเดิม 50% ชะลอนิวเคลียร์ 6 ปี

 
เว็บไซต์ suthichaiyoon.com รายงานว่า นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 จะมีการเปิดประมูลให้เอกชนผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเป็นเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแผนพีดีพี ฉบับปรับปรุงใหม่ จะนำเข้าคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาในเร็วนี้
 
อย่างไรก็ตาม การกำหนดสัดส่วนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโดยเพิ่มพลังอื่นมากขึ้นนั้น เขากล่าวว่ายังเห็นว่ามีความสำคัญ เพราะปัจจุบัน ไทยผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติกว่า 70% ขณะที่ถ่านหินมีการพัฒนาเทคโนโลยีช่วยควบคุมการปล่อยมลภาวะไปได้มาก ดังนั้นจึงเห็นว่าจำเป็นต้องผลักดันให้มีการใช้ถ่านหินในโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
 
“ตอนนี้มีบางพื้นที่ ก็สนับสนุนให้พัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะมีความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีที่ช่วยลดมลภาวะ อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับจดหมายจากกำนันผู้ใหญ่บ้าน พร้อมรายชื่อชาวบ้าน ใน จ.กระบี่ หลายสิบคน ที่ต้องการให้พัฒนาโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้ากระบี่ที่ใช้น้ำมันเตาในปัจจุบัน และเป็นโรงไฟฟ้าที่ปลดระวางแล้ว ซึ่งเห็นว่าเมื่อมีคนในพื้นที่สนับสนุนอย่างนี้ จึงต้องเร่งสร้างระบบจัดสรรผลประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างชัดเจน เพื่อนำรายได้จากการขายไฟฟ้ามาพัฒนาชุมชน และต่อไปเมื่อชุมชนมีเงินมากขึ้น ก็จะเปิดโอกาสให้เข้ามาถือหุ้นในโรงไฟฟ้าได้เลย เพื่อทำให้ชุมชนเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าอย่างแท้จริง ซึ่งกระบี่และพื้นที่อื่นๆ จะต้องใช้โมเดลนี้ทั้งหมดในอนาคต ส่วนนิวเคลียร์นั้น คาดว่าคงจะต้องอาศัยเวลาในการทำความเข้าใจไปก่อน”
 
 
เผยเปิดประมูล 6 พันเมกะวัตต์
 
แหล่งข่าว จาก กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับแผนพีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 จะมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือ ไอพีพี ประมาณ 5,000 - 6,000 เมกะวัตต์ เพื่อให้เข้าระบบในปี 2564 เป็นโรงไฟฟ้าก๊าซฯ กระจายตามพื้นที่แนวท่อส่งก๊าซฯ ที่กำลังขยายโครงข่ายไปทั่วประเทศ
 
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้น เพื่อมาแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ปรับลดลง และนิวเคลียร์ที่เลื่อนเขาระบบออกไป 6 ปี ในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กำหนดในแผนพีดีพี ปรับปรุงครั้งที่ 3 ปรับลดลงกว่า 50% เหลือ 5 โรง รวมประมาณ 5,000 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทยอยเข้าระบบในปี 2562 เป็นต้นไปจนถึงสิ้นสุดแผนในปี 2573
 
 
ชี้ภาคใต้จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม
 
สำหรับสิ่ง ที่หลายฝ่ายเป็นห่วงในเวลานี้ คือ โรงไฟฟ้าในภาคใต้ที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เติบโตใกล้เคียงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการขยายตัวของการท่องเที่ยว และภาคธุรกิจที่มาพร้อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือเฉลี่ยโตปีละประมาณ 5 % หรือมีความต้องการ 2,000 เมกะวัตต์ โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 2,000 เมกะวัตต์เช่นเดียวกัน
 
ขณะนี้ โรงไฟฟ้าที่ป้อนในพื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งพลังงานหลักมาจากโรงไฟฟ้าจะนะ ขนาด 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าขนอม กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังน้ำรวมอีก 500 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันต้องดึงไฟฟ้าจากภาคกลางและตะวันออกมาช่วยเสริม ขณะเดียวกันโรงไฟฟ้าขนอมจะต้องปลดจากระบบในปี 2559
 
ดังนั้น กำลังผลิตไฟฟ้าในภาคใต้จำเป็นต้องขยายเพิ่ม โดยใช้พื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่ที่ปลดระวางแล้ว ซึ่งล่าสุดโรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้น้ำมันเตา จากก่อนหน้านี้ใช้ลิกไนต์ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ขนาด 800 เมกะวัตต์ที่นี่ และใช้ลิกไนต์จากเดิมมีกำลังผลิต 300 เมกะวัตต์
 
ส่วนโรง ไฟฟ้าขนอม ของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต 800 เมกะวัตต์ ที่ต้องปลดออกจากระบบในปี 2559 ล่าสุดกระทรวงพลังงานจะให้ใช้พื้นที่เดิมพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่ เนื่องจากเป็นพื้นที่รองรับก๊าซฯ จากอ่าวไทยอยู่แล้ว และมีระบบสายส่งรองรับ ประกอบกับเป็นโรงไฟฟ้าที่จะสามารถผลิตรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้ได้ เร็วที่สุด
 
อย่างไรก็ ตาม โรงไฟฟ้าเหล่านี้เข้ามาแทนที่กำลังผลิตเดิมเท่านั้น ไม่ได้รองรับการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในภาคใต้ ดังนั้นยังจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มในภาคใต้อยู่ต่อไป ซึ่งในพื้นที่นี้ ตามแผนให้ กฟผ.พัฒนาเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่หากทำไม่ได้ตามแผน ก็ต้องปรับให้สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่เดินเครื่องด้วยดีเซลหรือน้ำมันเตาแทน ส่วนต้นทุนที่สูงขึ้นจะเป็นต้นทุนรวมของระบบ
 
 
ราชบุรีโฮลดิ้งพร้อมร่วมประมูล
 
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าหากกระทรวงพลังงานเปิดประมูลไอพีพีรอบใหม่ ทางบริษัทก็มีความพร้อมในการเข้าประมูลประมาณ 800 เมกะวัตต์ เนื่องจากที่ตั้งโรงไฟฟ้าราชบุรีในปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 2,015 ไร่ หรือกว่า 50% ที่ยังไม่ได้ใช้งาน ขณะเดียวกันมีความพร้อมในเรื่องสายส่งและมีความได้เปรียบ เนื่องจากโรงไฟฟ้าราชบุรีมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบข้างอยู่แล้ว
 
"การสร้างโรงไฟฟ้าในปัจจุบันเป็นเรื่องยาก และใช้เวลามากขึ้น ซึ่งหากเปิดประกาศในวันนี้ กว่าขั้นตอนจะแล้วเสร็จต้องใช้เวลากว่า 2 ปี หรือรวม 10 ปีกว่าจะผลิตได้เชิงพาณิชย์"
 
เขากล่าวว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเห็นว่าภาครัฐจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้ารองรับ ความต้องการในอนาคต ซึ่งมองว่าการสร้างในพื้นที่เดิมจะได้เปรียบมากกว่าหาพื้นที่ใหม่ ส่วนเรื่องมวลชนนั้นจะต้องพยายามเข้าหาชุมชนและพูดคุยเพื่อให้ทราบว่าชุมชน มีความกังวลในเรื่องใดบ้าง เพื่อหาแนวทางลงตัวของทั้งสองฝ่าย โดยโรงไฟฟ้าราชบุรีมีความพร้อมมากทั้งฐานะการเงินที่ดี สามารถกู้ได้ 2 หมื่นล้านบาท
 
 
โกลว์กรุ๊ปชี้เปิดประมูลสัญญาต้องชัด
 
นายณัฐพรรษ ตันบุญเอก ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและนักลงทุนสัมพันธ์ โกลว์กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลไอพีพีครั้งนี้อย่างแน่นอน โดยในการประมูล 2 รอบที่ผ่านมา บริษัทชนะการประมูลโรงไฟฟ้าก๊าซและถ่านหิน 2 สัญญา ขนาดกำลังผลิต 713 เมกะวัตต์ ที่ อ.บ่อวิน จ.ชลบุรี และที่มาบตาพุด 660 เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเร็วนี้
 
ไอพีพี ถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัท สร้างรายได้ 1 ใน 3 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งการประมูลรอบนี้ มองว่าภาครัฐน่าจะกระจายเชื้อเพลิงที่หลากหลาย ทั้งก๊าซและถ่านหิน เนื่องจากถ่านหินต้นทุนต่ำและมีสำรองถ่านหินทั่วโลกกว่า 100 ปี
 
ขณะที่ก๊าซธรรมชาติมีข้อจำกัด โดยปัจจุบันไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขณะที่การผลิตไฟฟ้าก็ต้องพึ่งพาก๊าซถึง 70% ดังนั้น เพื่อความมั่นคงในระยะยาว การประมูลในรอบนี้ควรจะกระจายเชื้อเพลิง
 
"หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ที่สมควรได้รับ การพิจารณา ควรดูประวัติและผลงานที่ผ่านมาด้วยว่าสามารถดูแลพื้นที่ ดูแลชุมชนหรืออยู่ร่วมกับชุมชนอย่างไร และเกิดการต่อต้านจากชุมชนหรือไม่ โดยส่วนตัวแล้วมองว่ากรอบสัญญาไอพีพี ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) และผู้ผลิตถือว่ามีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นที่ยอมรับ ไม่เช่นนั้นคงไม่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมประมูลหลายราย"
 
เขากล่าวว่า ประเด็นอยู่ที่มีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้การประมูลไม่สามารถเดินหน้าได้ และต้องเจรจาเป็นรายกรณี ซึ่งยังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้น รัฐต้องยึดตามกรอบสัญญาให้ชัดเจน กรณีเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงสัญญาได้ ควรมีหลักเกณฑ์อย่างไร แต่หากมีการต่อต้านจากมวลชนหรือความเสี่ยงใดๆ ให้รัฐเป็นผู้ออก
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แรงงานลำพูนร้อง – พนักงานเก่ายังไม่ได้ขึ้นค่าแรง หลังประกาศค่าจ้างใหม่มีผลบังคับ

$
0
0

เผยหลายโรงงานที่ลำพูนเลี่ยงปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่วันละ 236 บาท โดยใช้อัตราใหม่เฉพาะพนักงานอายุงานน้อย ส่วนพนักงานเก่ามีการปรับเล็กน้อย หรือไม่ปรับเลย โดยบางโรงงานที่ลำพูน คนงานร้องเรียนผู้บริหารเพื่อขอปรับค่าจ้าง ขณะที่บางโรงงานเตรียมเลิกจ้างแกนนำคนงานที่ร้องเรียนเรื่องค่าจ้าง

(6 เม.ย. 55) ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างออกประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 54 มีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนำร่อง 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร และปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของ จ.ลำพูน คณะกรรมการค่าจ้างได้ประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จากเดิมวันละ 169 บาท ในปี 2554 ได้ปรับเป็น 236 บาทนั้น

ล่าสุดผู้ใช้แรงงานใน จ.ลำพูน รายหนึ่งร้องเรียนมาทางผู้สื่อข่าวว่า โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ใช้วิธีเลี่ยงปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงาน โดยใช้วิธีปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 236 บาทเฉพาะพนักงานที่อายุงานน้อยซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึง 236 บาท ส่วนพนักงานเดิมที่ได้รับค่าจ้างถึง 236 บาทต่อวันแล้ว โรงงานจะใช้วิธีปรับให้เล็กน้อยซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างปรับขึ้นมา หรือหลายโรงงานก็ไม่ยอมปรับเลย

ทั้งนี้มีการชุมนุมและเจรจากับผู้บริหารเพื่อให้ปรับอัตราค่าจ้างให้สอดคล้องกับประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในหลายโรงงาน เช่น โรงงานผลิตคาร์บูเรเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งภายในนิคมอุตสาหกรรม ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน มีการเจรจาระหว่างตัวแทนพนักงานและผู้บริหารในช่วงหลังเลิกงานติดต่อกันหลายคืน เพื่อต่อรองเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงานเก่า โดยมีพนักงานหลายร้อยคนชุมนุมรอผลการเจรจาภายนอกโรงงาน

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่บริษัท เอส ยู เอส (ไทยแลนด์) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์โลหะเพื่อการส่งออก มีแผนเลิกจ้างพนักงานซึ่งเป็นแกนนำทีร้องเรียนเรื่องการปรับค่าจ้างด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เศรษฐศาสตร์ สถาบันฯ กฎหมาย ในห้วงเวลาแห่งการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ

$
0
0

 

ในศาสตร์สาขาต่างๆ มักมีกลุ่มคนที่ศึกษาบางเรื่องบางราวเป็นการเฉพาะเจาะจงลงไป, เศรษฐศาสตร์ก็เช่นกัน, นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้พยายามศึกษาสิ่งที่เรียกว่า “สถาบัน” ทว่า, สถาบันคืออะไรกันแน่ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์? Douglass Cecil North ผู้บุกเบิกสาขานี้อธิบาย “สถาบัน” ว่าคือระบบกติกาที่มีผลกำหนดซึ่งพฤติกรรมของคนในสังคม (rule of game) โดยยึดเอาว่าคนในสังคมเหล่านั้นยังมีความเป็นเหตุเป็นผลทางเศรษฐศาสตร์ (homo-economicus)

ยกตัวอย่างเช่น “สถาบันวัฒนธรรมประเพณี” ถ้าเราลองพิจารณาสังคมชายเป็นใหญ่จะพบว่าเพศมีส่วนอย่างมากต่อการกำหนดการกระจายตัวของทรัพยากร หรือหากมองเรื่องศาสนาก็จะพบว่าแต่ละศาสนามีรากฐานความเชื่อต่อสิ่งแวดล้อม-ป่าไม้ แตกต่างกัน ดังนั้นอัตราการทำลายป่าในแต่ละศาสนาน่าจะแตกต่างกันด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสถาบันรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สถาบันความเชื่อ, สถาบันทางประวัติศาสตร์ แต่สถาบันหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษได้แก่ “สถาบันกฎหมาย”

กฎหมายเป็นกติกาที่กำหนดความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางสังคมอย่างชัดเจน กฎหมายบ่งชี้ว่าเราสามารถทำอะไรได้และไม่ได้ กฎหมายชี้ให้เห็นถึงโทษและประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายจึงมีสถานะเป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญตามนิยามของสถาบันทางเศรษฐศาสตร์อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจในการวิเคราะห์ตัวกฎหมายได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างเจาะจงจนเกิดเป็นสาขาเฉพาะขึ้นมาเรียกว่า เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกฎหมาย (Economics of law)

การวิเคราะห์กฎหมายในแบบฉบับของนักเศรษฐศาสตร์นั้นมุ่งศึกษาในหลายมิติด้วยกันเช่น การศึกษาเพื่อระบุถึงคุณลักษณะของกฎหมายในอุดมคติ, การออกแบบระบบยุติธรรม (legal process analysis) การวิเคราะห์สัญญา (economic theory of contract) เป็นต้น ทว่าบทความนี้จะหยิบยกกฎมายที่สำคัญที่สุดมาวิเคราะห์นั่นคือ “กฎหมายรัฐธรรมนูญ”

กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจอย่างมากก็เพราะรัฐธรรมนูญถือเป็น “อภิสถาบัน (meta-institution)” ซึ่งสถาบัน (กฎหมาย) ทั้งปวงจะขัดแย้งไปจากตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้ งานชิ้นสำคัญที่สุดในภาษาไทยที่นำแนวคิดเศรษฐศาสตร์สถาบัน / เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกฎหมาย มาวิเคราะห์รัฐธรรมนูญได้แก่งานของ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2547) เรื่อง เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ: บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540

เนื้อหาของงานวิจัยเรื่องเศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญของ อ.รังสรรค์ นั้นค่อนข้างกว้างขวาง มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย จึงขอยกมาเพียงบางส่วนที่คิดว่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน นั่นคือสถานการณ์ที่มีข้อเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ. หัวข้อที่น่าสนใจก็คือ รัฐธรรมนูญในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ควรเป็นอย่างไร?

ในมุมของนักกฎหมายอย่าง หยุด แสงอุทัย แล้วรัฐธรรมนูญควรมีคุณสมบัติหลักสำคัญ 3 ประการคือ (1) คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน (2) ระบุถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจและส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอกฎหมาย และ (3) รัฐธรรมนูญควรเป็นลายลักษณ์อักษร ทว่า สำหรับนักเศรษฐศาสตร์แล้ว รัฐธรรมนูญควรมีคุณสมบัติเพิ่มเติมไปจากนี้อีกอย่างน้อย 3 ประการด้วยกันคือ (1) หลักสวัสดิการสังคมสูงสุด (social welfare maximization) (2) หลักการพัฒนาแบบพาเรโต (Pareto improvement) และ (3) รัฐธรรมนูญต้องเป็นสถาบันกำกับดูแลตลาดการเมืองให้ได้ดี

ผู้เขียนจะขอขยายความคุณสมบัติของรัฐธรรมนูญในอุดมคติทั้งสามประการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มเติมดังนี้ ในส่วนของการพาสังคมไปสู่สวัสดิการสังคมสูงสุดนั้น ก็มีความหมายตรงตัวคือ รัฐธรรมนูญจะต้องทำให้สังคมมีความผาสุกบริบูรณ์ ทว่าปัญหาสำคัญของการกล่าวถึงความผาสุกของสังคมโดยรวมจากตัวรัฐธรรมนูญนั้นก็คือ แล้วความสุขของปัจเจกบุคคล ของคนเล็กคนน้อยในสังคมควรได้รับผลกระทบอย่างไรจากรัฐธรรมนูญ?

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า รัฐธรรมนูญที่ดีควรที่จะไม่ทำให้ปัจเจกบุคคลแย่ลงจากการมีรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ อย่างน้อยที่สุดทุกคนจะต้องมีความสุขเท่าเดิมเมื่อเทียบกับก่อนการมีรัฐธรรมนูญ (หรือก่อนแก้รัฐธรรมนูญ) แต่ยินยอมให้บุคคลอื่นดีขึ้นได้ สถานการณ์เช่นว่านี้นักเศรษฐศาสตร์จะเรียกว่า “การพัฒนาแบบพาเรโต (pareto improvement)” โดยนิยามแล้ว คนจำนวนมากมักคิดว่า นักเศรษฐศาสตร์ไม่ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรม หรือความเท่าเทียมกัน เพราะนิยามการพัฒนาแบบพาเรโต ชี้ว่าหากทุกคนในสังคมมีความสุขคงที่ แต่มีคนเพียง 1 คนดีขึ้นอย่างมากก็นับว่าเป็นการพัฒนาของรัฐธรรมนูญเช่นกัน

การกล่าวเช่นนี้ถูกเพียงครึ่งเดียว เนื่องจากธรรมชาติของคนเราให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันทางสังคมอยู่แล้ว (เวลาเห็นใครเอาเปรียบคนอื่นเรามักรู้สึกทุกข์ – inequity aversion) ดังนั้นหากมีคนๆ เดียวเท่านั้นในสังคมที่ได้รับประโยชน์จากตัวรัฐธรรมนูญ คนที่เหลือย่อมต้องรู้สึกทุกข์ร้อนและทำให้สวัสดิการสังคม (ความผาสุกส่วนรวมของสังคม) ลดลง สถานการณ์ที่มีคนเพียงคนเดียวดีขึ้นจากการมีรัฐธรรมนูญ (หรือแก้รัฐธรรมนูญ) จึงไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาแบบพาเรโต และรัฐธรรมนูญแบบดังกล่าวย่อมไม่ใช่รัฐธรรมนูญในอุดมคติทางเศรษฐศาสตร์

การระบุให้รัฐธรรมนูญมีพัฒนาการแบบพาเรโตนั้นยังสอดคล้องกับนิยามของ หยุด แสงอุทัย ในข้อหนึ่งด้วย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยนั้นเสียงส่วนใหญ่มักมีพลังในการกำหนดทิศทางของสังคม หลักการคุ้มครองซึ่งสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลช่วยเน้นย้ำว่า การนำสังคมของเสียงข้างมากมีขอบเขตที่จำกัดในตัวมันเอง คือเสียงข้างมากดังกล่าวจะนำสังคมไปไหนก็ได้ตราบใดที่มันยังไม่ไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเสียงข้างน้อย

คุณสมบัติที่สามของรัฐธรรมนูญในอุดมคติคือ การที่รัฐธรรมนูญสามารถกำกับให้ระบบการเมืองมีลักษณะที่ดี ประเด็นนี้มีความลึกในตัวเองอย่างมากว่า ระบบการเมืองที่มีลักษณะที่ดีในทางเศรษฐศาสตร์หมายความว่าอย่างไร? สำหรับ อ.รังสรรค์ ระบบการเมืองที่ดีจะต้องส่งเสริมให้ “ตลาดการเมือง (political marketplace)” มีสภาพแข่งขันที่ดี แต่ก่อนที่จะนำผู้อ่านทุกท่านไปทำความเข้าใจสภาพแข่งขันที่ดี อาจจะต้องให้เวลาเล็กน้อยกับการอธิบายถึงตลาดการเมืองของ อ.รังสรรค์ เพิ่มเติม

ตลาดการเมืองหมายถึง พื้นที่ซึ่งพรรคการเมืองผลิตนักการเมืองและนโยบายทางการเมือง มาเร่ขายให้แก่ประชาชนได้เลือก และประชาชนเป็นผู้ซื้อนโยบายทางการเมืองหรือนักการเมืองเหล่านั้นด้วยคะแนนเสียงทางการเมืองที่ตนเองมีอยู่ นัยนี้พรรคการเมืองจึงเสมือนผู้ผลิต (production unit/producer) และประชาชนเป็นผู้ซื้อ (consumer) ในตลาดการเมือง

ตลาดการเมืองก็ไม่ต่างอะไรจากตลาดสินค้าทั่วไปซึ่งการแข่งขันมักดีต่อผู้บริโภคเช่น การมีสินค้าที่มากขึ้นย่อมทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลาย สนองตอบความต้องการได้มาก ความผาสุกโดยรวมของสังคมจึงสูงขึ้น, นอกจากนี้การแข่งขันยังส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มคุณภาพ การสร้างนวัตกรรมแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับการผูกขาดที่มักไม่มีการปรับตัวในเชิงคุณภาพและขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ มาเสนอแก่ผู้บริโภค กล่าวในกรณีของตลาดการเมืองการแข่งขันทำให้พรรคการเมืองและนโยบายทางการเมืองมีความหลากหลาย คุณภาพ และนวัตกรรมที่ดีขึ้นกว่าการผูกขาดโดยพรรคการเมืองพรรคเดียวหรือเพียงสองพรรคใหญ่เท่านั้น

รัฐธรรมนูญที่ดีจึงต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นรูปธรรมในทางการเมือง เช่น ต้องไม่เพิ่มอุปสรรคในการเข้าสู่การเมือง (barrier to entry reduction) มาตรการที่รัฐธรรมนูญเข้ามากีดขวางไม่ให้คนเข้าสู่การเมืองก็เช่น การระบุให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องจบปริญญา, การกำหนดสมาชิกขั้นต่ำของพรรคการเมืองในระดับสูง, การกำหนดอายุ-เพศ สำหรับตำแหน่งทางการเมือง, นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการมุ่งส่งเสริมพรรคการเมืองขนาดใหญ่และลดโอกาสเติบโตของพรรคการเมืองขนาดเล็ก เป็นต้น [1]

นอกจากนี้, ตลาดการเมืองที่แข่งขันกันได้ดี ยังต้องการระบบข่าวสารที่ดีด้วย เพราะระบบข่าวสารที่ดีจะทำให้การแข่งขันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข่าวสารยังช่วยทำให้ผู้ผลิตมีความรับผิดต่อผู้บริโภค หรือในกรณีตลาดการเมือง ข่าวสารที่ดีจะทำให้นักการเมือง/พรรคการเมืองมีความรับผิดต่อประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงมากยิ่งขึ้น เช่น นโยบายทางการเมืองซึ่งได้เคยหาเสียงเอาไว้ได้ทำไปมากน้อยเพียงใด การทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติของ ส.ส. แต่ละท่านมีความขยันขันแข็งมีประสิทธิภาพเพียงใด สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมคุณภาพของตลาดการเมืองให้ดีขึ้นทั้งสิ้น

แต่รัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายที่จะกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้ในรายละเอียดของตัวรัฐธรรมนูญอย่างเจาะจง รัฐธรรมนูญอาจจะกล่าวถึงหลักการสำคัญที่ทำให้นำไปสู่การออกพระราชบัญญัติที่มีผลส่งเสริมประเด็นเหล่านี้ หรือเลือกที่จะให้รายละเอียดเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ปัญหาคือเป็นการยากอย่างยิ่งที่จะถกเถียงกันว่าประเด็นใดสำคัญกว่าประเด็นใด รัฐธรรมนูญระยะหลังในหลายประเทศจึงมีขนาดที่ยาวมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ในแง่นี้ ขนาดของรัฐธรรมนูญที่ยาวมากยิ่งขึ้นอาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นรัฐธรรมนูญในอุดมคติได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องจากรายละเอียดที่มากยิ่งขึ้นและเจาะจงยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่ให้คุณให้โทษต่อปัจเจกบุคคลต่างๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย และเมื่อมีการให้โทษต่อปัจเจกบุคลบางคน (ขัดขวางหลักการพัฒนาแบบพาเรโต) กลุ่มคนที่เสียประโยชน์ก็จะต่อต้านตัวรัฐธรรมนูญ อันจะทำให้รัฐธรรมนูญมีลักษณะที่เปราะบางมากยิ่งขึ้นจากความขัดแย้งดังกล่าว (น่าสนใจศึกษาอย่างยิ่งว่า ความยาวของรัฐธรรมนูญกับอายุขัยดูจะมีความสัมพันธ์ผกผันกันจริงหรือไม่)

แม้รัฐธรรมนูญในอุดมคติจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะหากยึดเอานิยามทางเศรษฐศาสตร์อย่างเคร่งครัดการที่รัฐธรรมนูญจะให้ความผาสุกสูงสุดแก่ประชาชนได้อย่างเป็นพาเรโต รัฐธรรมนูญดังกล่าวจะต้องได้รับการลงคะแนนเสียงรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ (การให้คำรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์สะท้อนว่าไม่มีใครรู้สึกแย่ลงจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเลย) กล่าวเช่นนี้หมายความว่า รัฐธรรมนูญในอุดมคติเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลยใช่หรือไม่ คำตอบคือไม่ถูกต้องเสียทีเดียวที่จะกล่าวเช่นนั้น เพราะในบางสถานการณ์ รัฐธรรมนูญในอุดมคติ (ได้รับเสียงเอกฉันท์) เกิดขึ้นได้จริง

สถานการณ์ที่รัฐธรรมนูญเอกฉันท์เกิดขึ้นมักเป็นสถานการณ์แบบอนาธิปัตย์ ซึ่งสัญญาสังคม (social contract) ถูกทำลาย ไม่มีกติกาหลักอย่างรัฐธรรมนูญเอาไว้กำกับความสัมพันธ์ทางสังคมอีก เกิดความขัดแย้งภายในรัฐ (intrastate conflict) หรือสงครามกลางเมือง (civil war) กรณีเช่นนี้ รัฐธรรมนูญมักมีคุณสมบัติเป็นรัฐธรรมนูญในอุดมคติ เพราะโดยเปรียบเทียบกับสถานการณ์ทางสังคมในจังหวะเวลานั้น การมีรัฐธรรมนูญ มีอภิสถาบันที่จะเข้ามากำกับสังคมให้ดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น (แม้จะมีความไม่เป็นธรรมเสียบ้าง) ก็ยังดีกว่าสถานการณ์อนาธิปัตย์ซึ่งชีวิตประชาชนอยู่ในความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวง

ในทางกลับกัน, รัฐธรรมนูญจะเป็นรัฐธรรมนูญแบบอุดมคติในสถานการณ์ปรกตินั้นยากมาก การแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระปรกติจึงยากที่จะได้ข้อยุติโดยง่าย ในวาระที่สังคมไทยเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (นอกวาระวิกฤติ?) การแสวงหาข้อยุติที่ต้องตรงกัน และได้รัฐธรรมนูญในอุดมคตินั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก

บทความนี้ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์มากนักในทางปฏิบัติ ที่จะทำให้การแสวงหารัฐธรรมนูญในอุดมคติดำเนินไปได้ดียิ่งขึ้น เพราะเป็นเพียงการย่อยภูมิปัญญาอันมหาศาลของงาน รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2547) ทั้งสามเล่มมาไว้บางส่วนเท่านั้น ผู้เขียนหวังเพียงว่าบทความนี้จะนำท่านผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับศาสตร์อีกสาขาหนึ่งที่น่าสนใจ และคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยในอนาคตสำหรับคนที่จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (อย่างน้อยก็ในแง่ของการจุดประกายให้เกิดการค้นคว้าเพิ่มเติมในต้นฉบับ) รวมถึงผู้ที่สนใจติดตามสถานการณ์ เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

 

 


 

[1] หากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมถึงอุปสรรคหลักๆ เหล่านี้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ดู รังสรรค์ (2547)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ASEAN Weekly : เลือกตั้งพม่า และเจาะลึกกรุงเนปิดอว์

$
0
0

อาเซียน วีคลี่ย์ สัปดาห์นี้มีเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่องที่ต้องพูดถึง คือ การเลือกตั้งซ่อมในพม่า และการประชุมอาเซียนภาคประชาชนที่กัมพูชา การเลือกตั้งซ่อมของพม่าเมื่อวันที่ 1 เม.ย.มีแนวโน้มว่าพรรคเอ็นแอลดีที่นำโดยนางอองซาน ซูจีจะกวาดที่นั่งไปได้ทั้งหมด จำนวน สส.40 กว่าเสียงจะส่งผลต่ออนาคตทางการเมืองของนางซูจีและพรรคเอ็นแอลดีอย่างไร และมาดูความวุ่นวายในการประชุมอาเซียนภาคประชาชน ที่พนมเปญปลายเดือน มี.ค. เมื่อรัฐบาลกัมพูชาและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างจัดเวทีประชุมคู่ขนานกัน เพื่อจัดทำข้อเสนอต่อผู้นำอาเซียนในการประชุมอาเซียนซัมมิท จึงมีคำถามใหญ่ว่าการประชุมของใครคือการประชุมที่เป็นของภาคประชาชนอาเซียนกันแน่

ช่วงที่ 2 มาทำความรู้จัก “กรุงเนปิดอว์” เมืองหลวงใหม่ของพม่าแบบเจาะลึกทุกแง่มุม มาฟังการวิเคราะห์ถึงสาเหตุการย้ายเมืองหลวงของผู้นำพม่า ว่ามาจากความงมงายในไสยศาสตร์ หรือเพราะมีการวางยุทธศาสตร์ไว้เป็นอย่างดี มาฟังการวิเคราะห์ถึงที่สถานตั้งในมิติทางการทหารที่ปลอดภัยจากการถูกปิดล้อมจากทางทะเลและทางบก ในมิติของการปกครองเป็นที่ที่เหมาะกับการเป็นศูนย์กลางควบคุมชาติพันธุ์ในรัฐต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ การวางโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองบนท้องถนนของประชาชน และความยิ่งใหญ่อลังการของเมืองหลวงใหม่แห่งนี้ รวมไปถึงเรื่องลับลวงพรางอีกหลายประการ

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บ่อนคาสิโนเมืองลา-ส่อเค้าซบเซา เหตุจีนตัดสัญญานพนันออนไลน์

$
0
0

บ่อนคาสิโน "บ้านเสี้ยว" เขตครอบครองกองกำลังเมืองลา NDAA ส่อเค้าซบเซาอีกครั้ง หลังทางการจีนตัดสัญญานโทรศัพท์ทำระบบออนไลน์ติดขัด หวังกีดกันนักพนันจากจีนแอบข้ามเข้าไปเล่น

แหล่งข่าวชายแดนพม่า (รัฐฉาน) – จีน รายงานว่า ตั้งแต่ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา บ่อนคาสิโนบ้านเสี้ยว ในตำบลเมืองม้า เขตครอบครองกองกำลังเมืองลา NDAA รัฐฉานภาคตะวันออก ตรงข้ามเขตปกครองสิบสองปันนาของจีน ไม่สามารถเปิดเล่นการพนันผ่านระบบออนไลน์เช่นที่ผ่านมา เหตุเนื่องจากถูกทางการจีนตัดสัญญาณโทรศัพท์ที่ครอบคลุมพื้นที่

แหล่งข่าวเผยว่า เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้ ทางการจีนได้มีคำสั่งเรียกกลับนักพนันชาวจีนที่ข้ามชายแดนเข้าไปเล่นที่บ่อนคาสิโนดังกล่าว ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของรัฐแอบเข้าไปเล่นด้วย แต่นักพนันเหล่านั้นไม่ยอมกลับ ทางการจีนจึงใช้มาตรการตัดสัญญานโทรศัพท์เพื่อหยุดพฤติกรรมของนักพนัน

"หลังถูกตัดสัญญานโทรศัพท์ บ่อนคาสิโนซึ่งมีมากกว่า 10 แห่ง ที่บ้านเสี้ยว ไม่สามารถเล่นการพนันผ่านระบบออนไลน์ได้ โดยเล่นได้เพียงการพนันบนโต๊ะปกติเท่านั้น ทำให้จำนวนนักพนันที่เข้าไปเล่นบ่อนลดน้อยลง" แหล่งข่าวเผย

แหล่งข่าวคนเดิมเผยอีกว่า การตัดสัญญานโทรศัพท์ของจีนที่ครอบคลุมถึงพื้นที่ตั้งบ่อนคาสิโนนี้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่เมืองลา ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ กองกำลังเมืองลา NDAA อยู่ติดกับชายแดนจีน ยังสามารถใช้สัญญานโทรศัพท์ได้อยู่ 

ทั้งนี้ บ่อนคาสิโนในเขตพื้นที่ควบคุมกองกำลังเมืองลา NDAA เคยถูกทางการจีนกดดันให้ปิดแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2548 ซึ่งขณะนั้นบ่อนตั้งอยู่ในเมืองลา ติดชายแดนจีน เหตุเนื่องจากมีข้าราชการจีนแอบเข้าไปเล่นทำให้เงินหลวงสูญเสียไปจำนวนมาก ต่อมาเมืองลาได้ย้ายบ่อนไปตั้งที่บ้านเสี้ยว เมืองม้า ห่างจากเมืองลาประมาณ 16 กม.

อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2551 บ่อนคาสิโนที่ตั้งขึ้นใหม่ถูกทางการจีนกดดันอีกครั้ง โดยทางการจีนได้เข้มงวดประชาชนและข้าราชการที่ข้ามไปยังฝั่งเมืองลา ส่งผลให้บ่อนคาสิโนบ้านเสี้ยวเกิดการซบเซา และธุรกิจในเมืองลา เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และผับหลายแห่งถูกปิดกิจการไปพักหนึ่ง

สำหรับเมืองลา เป็นเขตปกครองพิเศษที่ 4 กองกำลังเมืองลา หรือ กองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย (NDAA - National Democratic Alliance Army) ภายใต้การนำของเจ้าจายลืน เป็นกองกำลังหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่า โดยเมืองลา ถูกนักท่องเที่วยขนานนามว่า เป็นลาสเวกัสแห่งรัฐฉาน เปิดเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นแหล่งรวมของอบายมุข เป็นสถานที่อีกแห่งที่นักท่องเที่ยวและนักพนันทั้งชาวไทยและจีนต่างมุ่งหวังอยากเข้าไปสัมผัส


ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/

 

 

 


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทีดีอาร์ไอประเมินขึ้นค่าจ้าง 300 บาท กระทบดี-ร้าย ใครโดนก่อน

$
0
0

6 เม.ย. 55 - ในที่สุดนโยบายประชานิยมปรับขึ้นค่าจ้างขึ้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา  พร้อมเสียงสะท้อนมุมมองต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและลบ เช่น ลูกจ้างในระบบที่ยังมีงานทำอยู่พอใจได้ค่าจ้างขั้นต่ำตามที่ขอ ส่วนผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง (ที่มีลูกจ้างระหว่าง 10-99 คน) ได้รับผลกระทบมากที่สุดต้องปรับตัว”ลดคน” หรือบางส่วนอาจรับไม่ไหวจนปิดกิจการ  การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องดี แต่การปรับอย่างฉับพลันและก้าวกระโดด หากไม่มีมาตรการรองรับที่ดีพอ ผลกระทบอาจรุนแรงเกินคาด  โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานอายุน้อย (ไม่เกิน 25 ปี) ทักษะต่ำ เสี่ยงตกงานหรือถูกผลักไปทำงานในภาคที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีโอกาสได้รับค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำ และไม่ได้รับสวัสดิการและความคุ้มครองตามกฎหมาย   

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ ทำการศึกษาผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อยกว่า 300 บาทต่อวัน  โดยระบุว่า  การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำยังจำเป็นต้องมีในบริบทของประเทศไทย และควรทำเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างระดับล่างที่มีอำนาจต่อรองน้อยให้มีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   จากข้อมูลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยเฉลี่ยทั่วประเทศในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปี 2529 ถึง 2553 (รูปที่ 1) เห็นได้ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แท้จริง (ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ) ลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540  โดยปรกติอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยนั้นจะกำหนดโดยคณะกรรมการค่าจ้างภายใต้ระบบไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายนายจ้าง และตัวแทนจากภาครัฐ ดังนั้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจึงสะท้อนถึงความไม่มีอำนาจในการต่อรองของฝ่ายลูกจ้าง

รูปที่ 1: อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั่วประเทศ – (ค่าเงินบาทปี 2552)
 
 

 

 จากการศึกษาด้วยแบบจำลองทางเศรษฐมิติโดยใช้ข้อมูลค่าจ้างในอดีต พบว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของรายได้แรงงานได้มากพอสมควร  รูปที่ 2 แสดงประมาณการผลกระทบของการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อค่าจ้างแรงงานนอกภาคการเกษตรที่เปอร์เซ็นต์ไทล์ต่างๆของค่าจ้าง โดยพบผลกระทบสูงที่สุดที่เปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 15  กล่าวคือ การขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 1% จะทำให้ค่าจ้างของแรงงานกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 0.87%  และยังพบอีกว่าผลกระทบในทางบวกต่อค่าจ้างจะมีขึ้นไปถึงประมาณเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 60-65 (ซึ่งได้รับค่าจ้างประมาณ 407 บาทต่อวันก่อนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ) แต่ขนาดของผลกระทบต่อกลุ่มที่ได้รับค่าจ้างในระดับสูงขึ้นไปจะมีลดหลั่นลงไปตามที่แสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2: ประมาณการผลกระทบของการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 1%
ต่อค่าจ้างแรงงานนอกภาคการเกษตร

 


 

จากการวิเคราะห์ด้านบน จะเห็นได้ว่าการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นประโยชน์กับแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ต่ำและมีอำนาจต่อรองน้อย  อย่างไรก็ตามผลดีนี้ส่วนมากจะตกอยู่กับแรงงานที่ยังมีงานทำในภาคการผลิตที่เป็นทางการ  ดังนั้นการวิเคราะห์ผลดีผลเสียของนโยบายจึงจะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อการจ้างงาน และการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิตที่เป็นทางการ(ในระบบ) และที่ไม่เป็นทางการ(นอกระบบ)

งานวิจัยในส่วนนี้เลือกศึกษาเฉพาะกลุ่มแรงงานทักษะต่ำที่มีการศึกษาในระดับมัธยมปลายหรือต่ำกว่าเท่านั้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยจะแบ่งประเภทการทำงานออกเป็น 6 กลุ่มได้แก่ 1) ทำงานในฐานะช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง 2) ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้าง 3) ทำงานในกิจการเอกชนขนาดต่ำกว่า 10 คน 4) ทำงานในกิจการเอกชนขนาด10-99 คน 5) ทำงานในกิจการเอกชนขนาด100 คนขึ้นไป และ 6) ทำงานภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ

ผลการศึกษาพบว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการจ้างงานโดยรวมสำหรับแรงงานทักษะต่ำที่มีอายุระหว่าง 15-65 ปี  แต่สิ่งนี้เป็นเพียงภาพลวงตา เพราะเมื่อพิจารณาการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิตจะพบว่าสัดส่วนการจ้างงานในกิจการเอกชนที่มีคนงาน 10-99 คน (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ลดลงอย่างมากและมีนัยสำคัญ  แรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะหลุดออกไปอยู่นอกภาคการผลิตที่เป็นทางการ กล่าวคือ เข้าไปทำงานในฐานะช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และในกิจการเอกชนขนาดต่ำกว่า 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร และไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลค่าจ้างได้

การเคลื่อนย้ายที่น่าวิตกอยู่ในกลุ่มแรงงานวัยหนุ่มสาว (อายุ 15-24 ปี) ทักษะต่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของสถานประกอบการเอสเอ็มอี และกิจการขนาดใหญ่มากที่สุด โดยผลการศึกษาชี้ว่าเมื่อตกงาน แรงงานส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้จะเคลื่อนย้ายไปเป็นแรงงานธุรกิจครัวเรือนที่ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือเป็นการว่างงานแฝงนั่นเอง  การศึกษาประมาณการว่าหากค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 40% สัดส่วนการจ้างงานของแรงงานกลุ่มนี้จะลดลงจาก 81% เหลือ 70% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างมากและมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้จะกลายเป็นผู้ว่างงาน และส่วนที่เหลือจะออกไปจากตลาดแรงงาน

ดร.ดิลกะ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้แม้เป็นไปภายใต้นโยบายประชานิยมของรัฐบาลตามที่หาเสียงไว้ และก็ดูเป็นธรรมกับลูกจ้างระดับหนึ่ง(ได้ตามที่ขอ)  แต่การขึ้นค่าจ้างมากๆแบบฉับพลัน  มีโอกาสเกิดผลเสีย โดยเฉพาะผู้ประกอบการหรือภาคธุรกิจที่ไม่แข็งแรงพอซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเอสเอ็มอี  จึงควรมีมาตรการรองรับเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัว เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสามารถเป็นแหล่งรองรับแรงงานในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบไม่ต้องถูกเลิกจ้าง หรือถูกผลักไปสู่สภาพการทำงานที่แย่ลง  สวนทางกับความพยายามในอดีตซึ่งสามารถทำให้แรงงานเข้ามาทำงานในระบบได้รับการคุ้มครองดูแลตามกฎหมายมากขึ้น แต่ตอนนี้หากไม่เตรียมการรองรับที่ดีผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้แรงงานระดับล่างอายุน้อยทักษะต่ำกลับไปอยู่นอกระบบเป็นจำนวนมาก เพิ่มสัดส่วนแรงงานที่ได้ค่าจ้างต่ำกว่าขั้นต่ำและกฎหมายคุ้มครองไปไม่ถึงอย่างน่าเสียดาย

ในบริบทไทยยังจำเป็นต้องมีค่าจ้างขั้นต่ำ แต่การปรับขึ้นอย่างฉับพลันโดยไร้มาตรการรองรับที่ดีจะทำให้เกิดผลกระทบ จึงควรพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อไม่ให้กลายเป็นการ “ซ้ำเติมแรงงาน” โดยเจตนาดี.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แอมเนสตี้ เสนออภัยโทษควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย

$
0
0
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 55 ที่ผ่านมาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ "ประเทศไทย: การเสนออภัยโทษควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย" โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ..
 
ประเทศไทย: การเสนออภัยโทษควรสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศของไทย
 
การเสนออภัยโทษความผิดที่กระทำขึ้นนับแต่เกิดวิกฤตการเมืองอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันของไทย ต้องไม่กลายเป็นการส่งเสริมการลอยนวลพ้นผิดของผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
 
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างปรองดองแห่งชาติของรัฐสภาไทยได้จัดการอภิปรายสามวันเกี่ยวกับรายงานซึ่งเสนอให้อภัยโทษต่อผู้นำและผู้สนับสนุนขบวนการทางการเมืองทั้งหลาย นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ความมั่นคง โดยให้ย้อนหลังไปอย่างน้อยจนถึงช่วงทำรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549
 
รายงานซึ่งจัดเตรียมโดยสถาบันพระปกเกล้ามีข้อเสนอว่าการให้อภัยโทษควรไม่ครอบคลุมถึงความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
 
“การอภัยโทษต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงเป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้ตามกฎบัตรสากล” เบนจามิน ซาวัคกี (Benjamin Zawacki) นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
 
“รัฐบาลไทยควรดำเนินการสอบสวนตามข้อกล่าวหาการละเมิดทั้งปวง โดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทางการเมืองของบุคคลที่เกี่ยวข้อง และควรมีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้ที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนรับผิดชอบต่อความผิดทางอาญา”
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังแสดงข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้กฎหมายอภัยโทษที่เสนอกับกรณีนักโทษด้านมโนธรรมสำนึก
 
นับแต่เกิดวิกฤตการเมืองเมื่อปี 2548 ในประเทศไทยมีนักโทษด้านมโนธรรมสำนึกหลายคนที่ถูกตั้งข้อหาตามกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา) และ/หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกใช้เป็นพื้นฐานนำไปสู่การตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
 
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”  
 
กฎหมายทั้งสองฉบับทำให้ประเทศไทยละเมิดต่อพันธกรณีด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก
 
“ควรมีการถอนข้อกล่าวหาทั้งปวงต่อผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทั้งสองฉบับ เพียงเพราะการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ” เบนจามิน ซาวัคกีกล่าว “ผู้ที่ถูกคุมขังเหล่านี้ซึ่งถือเป็นนักโทษด้านมโนธรรมสำนึกเช่นเดียวกับที่อื่น ๆ ควรได้รับการปล่อยตัวทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังคงกระตุ้นให้ทางการไทยพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงออก หรือไม่เช่นนั้นก็ให้ยกเลิกกฎหมายไป
 
ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้รัฐต้องสอบสวนและฟ้องร้องดำเนินคดีเมื่อมีข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดและเพื่อปกป้องเสรีภาพในการแสดงออก
 
จากข้อมูลในรายงานความคืบหน้าครั้งที่ 3 (มีนาคม 2555) ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ระบุว่า การสอบสวนของเจ้าพนักงานผู้บังคับใช้กฎหมายทั้ง 261 คดีที่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่าง ๆ 650 คน อยู่ระหว่างการดำเนินการหรือสำเร็จลุล่วงแล้ว ส่งผลให้มีการจับกุม 290 ครั้ง และมีการสันนิษฐานว่าอย่างน้อยใน 16 คดีซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ที่ถูกสังหารในช่วงที่เกิดความรุนแรง 93 คน การเสียชีวิตเหล่านั้นเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของกองกำลังของรัฐบาล
 
รายงานยังเน้นย้ำข้อเสนอแนะของคอป.ให้มีการแก้ไขเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  
 
“ในประเทศไทย ต้องยึดการรับผิดเป็นหลักเหนือกว่าการให้อภัยโทษ ภายหลังเกิดความรุนแรงขึ้น และควรมีการปล่อยตัวนักโทษด้านมโนธรรมสำนึกทุกคน” เบนจามิน ซาวัคกีกล่าว 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โฮยาขอเลื่อนเจรจาไปเป็นวันที่ 10 เม.ย. 55 นี้

$
0
0

6 เม.ย. 55 - สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีหนังสือเชิญประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ ไปร่วมประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการแรงงาน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2555 ที่ผ่านมาได้และได้ข้อสรุปให้มีการเจรจารับลูกจ้างที่มีความประสงค์จะกลับเข้าทำงานภายในหนึ่งเดือน และทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ลำพูน ได้นัดให้มีการเจรจากันเมื่อวาน (5 เม.ย. 55)

ล่าสุดทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ลำพูนได้แจ้งว่าทางบริษัทโฮยาได้ขอเลื่อนการเจรจาไปเป็นวันที่ 10 เม.ย. 55 นี้ 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บทวิเคราะห์ธรรมกาย กฎหมายหมิ่นศาสนา และอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ซ้อนรัฐ

$
0
0

หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม "ก้าวข้ามธุดงค์ธรรมชัย 2555 บทวิเคราะห์ธรรมกาย กฎหมายหมิ่นศาสนาและอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ซ้อนรัฐ"

 

อาจนับได้ว่า ประเด็นร้อนที่ถูกจุดขึ้นมาช่วงเมษานี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของความวาบหวิวของชุดว่ายน้ำในแฟชั่นประจำซัมเมอร์ แต่เป็นเรื่องที่อยู่แทบสุดขั้วตรงข้ามกัน นั่นก็คือ “ธุดงค์ธรรมชัย” ประเด็นนี้เกิดขึ้นจากแคมเปญของวัดธรรมกาย เพื่ออัญเชิญรูปหล่อทองคำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จากวัดธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี นำไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 2 – 6 เมษายน 2555[1] การยาตราครั้งนี้ได้แหวกเส้นทางสัญจรหลักใจกลางกรุงเทพฯ โดยผ่านถนนเส้นสำคัญดังนี้

ย่านปริมณฑล ปทุมธานี : ถนนคลองหลวง จากวัดธรรมกาย, ถนนพหลโยธิน, ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต, เซียร์ รังสิต,

ย่านกรุงเทพฯชั้นนอก : โรงเรียนนายเรืออากาศ, วงเวียนบางเขน, กองพลทหารราบที่ 11, เซ็นทรัลลาดพร้าว, จตุจักร, สะพานควาย, อนุสาวรีย์ชัยฯ

ย่านกรุงเทพฯชั้นใน : ถนนพญาไท, ถนนศรีอยุธยา, ถนนราชปรารภ, ถนนราชดำริ, เซ็นทรัลเวิลด์, ถนนพระราม 1, สยามพารากอน, มาบุญครอง, ถนนบรรทัดทอง, ถนนพระราม 4, ถนนมิตรภาพ ไทย – จีน, วัดไตรมิตร, ถนนเยาวราช, ถนนจักรวรรดิ, ถนนมหาไชย, ถนนเจริญกรุง, ถนนตรีเพชร

ย่านฝั่งธนบุรี : ถนนประชาธิปก, ถนนวงเวียนเล็ก, วงเวียนใหญ่, ถนนอินทรพิทักษ์, ถนนเทิดไท, ตลาดพลู, ถนนรัชมงคประสาธน์

ธุดงค์ธรรมชัย ณ ถนนเยาวราช ใจกลางย่านเศรษฐกิจคนจีน 5 เมษายน 2555

เข้าใจว่าสิ่งที่ทำให้คนกรุงเดือดร้อนจนต้องออกปากเหน็บแนมจิกกัด หรือกระทั่งผรุสวาทผ่านสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค ก็คือ กิจกรรมครั้งนี้ทำให้ทางสัญจรเส้นหลักของกรุงเทพฯ ถูกบีบลงทำให้กรุงเทพฯ แทบจะเป็นอัมพาต ผสมกับก่อนหน้านี้ในแคมเปญตักบาตรพระ 1 ล้านรูปตามจุดสำคัญต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงชื่อเสียงในทางไม่ค่อยดีของวันนี้ ทำให้ผลงานชิ้นนี้ของวัดธรรมกายตกเป็นเป้าโจมตีของสังคมอย่างหนัก

กรณีวัดธรรมกาย ถ้าจะถกเถียงไปให้ถึงที่สุดแล้ว ผู้เขียนมีคำถามว่า เราระแวง และหวาดกลัวกับเรื่องใดที่สุด สำหรับผู้เขียนแล้ว การโรยกลีบกุหลาบ, ทุนนิยมในศาสนา, ความโอเว่อร์เริดหรูอลังการในพิธีกรรม, การมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณ, การอธิบายกรรมแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน สวรรค์-นรก, การเลือกใช้พุทธศิลป์แบบใหม่ (ที่ถูกถากถางว่าเป็นมนุษย์ต่างดาวบ้าง จานบินบ้าง) แม้กระทั่งหลักคำสอนที่ไม่เป็นไปตาม "สำนักมาตรฐาน" ก็ยังไม่ใช่ "ประเด็น" ที่น่าขบคิดนัก เพราะไม่ใช่เพียงวัดธรรมกายเท่านั้นที่มีปัญหากับประเด็นเหล่านี้

 

มหาวิหารแห่งการบริโภค การบริโภคเพื่อเข้าสู่พื้นที่ในอุดมคติ

เอาเข้าจริงแล้ววัดธรรมกายเป็นเพียงตัวแทนหนึ่งของการบริโภคสมัยใหม่ทางด้านจิตวิญญาณ หรือใครจะเถียงว่า วัดพุทธทั่วๆไปในไทย ตำหนักเจ้าพ่อ ลัทธิเจ้าแม่ต่างๆ ไม่ได้ประยุกต์พิธีกรรม เพื่อการบริโภคทางจิตวิญญาณ  เพียงแต่ว่า ที่ทำๆกันอยู่นั้น แต่ละเจ้าสามารถทำให้มันมี หรือไม่มีประสิทธิภาพได้มากกว่ากันเท่านั้น

วัดธรรมกายถือว่าเป็นชุมชนทางศาสนาที่ใหญ่โต และไม่ใช่ชุมชนของนักบวช พื้นที่อันมหาศาลรองรับการใช้งานของมวลชนที่เป็นฆราวาสอย่างเต็มที่[2] เทียบจากสิ่งก่อสร้างอย่าง สภาธรรมกายสากล (ปี 2539) ที่อ้างว่ารองรับคนได้ถึง 300,000 คน (มีชั้นใต้ดินเพื่อรองรับการจอดรถด้วย), มหาธรรมกายเจดีย์ (เริ่มสร้างปี 2538) ที่ประกอบด้วย “องค์พระธรรมกาย” ประจำตัวแต่ละคนจำนวน 1 ล้านองค์ มีที่นั่งรองรับสงฆ์ 10,000 รูป และลานธรรมต่อเนื่องจากเจดีย์รองรับคนได้ 400,000 คน และล่าสุดคือ มหารัตนวิหารคด (ปี 2547) ที่จุคนได้ 600,000 คน ดังนั้นเฉพาะบริเวณเจดีย์และมหารัตนวิหารคด รองรับคนได้ประมาณ 1 ล้านคน[3]  ทั้งนี้ยิ่งสื่อให้เห็นชัดว่า สิ่งก่อสร้างดังกล่าวล้วนรองรับการดำรงอยู่ของตัวตนของมวลชนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในทางกายภาพ หรือในทางจิตวิญญาณ

การบริโภคทางจิตวิญญาณของวัดธรรมกาย มีการจัดการ มีการเซ็ตติ้ง มีโปรแกรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อทำให้มวลชนได้สร้างความผูกพันอยู่กับวัด โดยมีเมนูที่หลากหลาย และไม่ได้บังคับกะเกณฑ์ให้ใครต้องบรรลุอะไร แต่จะมีแรงจูงใจตามลำดับขั้น แกนกลางของวัดผูกอยู่กับ 3 ประเด็นสำคัญ นั่นคือ พระพุทธเจ้า, วิชชาธรรมกาย (ที่เชื่อกันว่า ได้หายไปจากไตรปิฎก หลวงพ่อสด วัดปากน้ำเป็นผู้ค้นพบและได้ถ่ายทอดมาจนเป็นต้นกำเนิดของวัดธรรมกาย) และปูชนียบุคคล ได้แก่ หลวงพ่อสด จันทสโร, ยายจันทร์ ขนนกยูง, พระไชยบูลย์ ธัมมชโย

โครงการใหญ่น้อยจำนวนมากที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างถาวรวัตถุ, โครงการกิจกรรมรณรงค์ที่เจาะเป้าหมายทุกกลุ่มตั้งแต่เด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย และคนทั่วไปในระดับมวลชน เช่น โครงการเด็กดี V-Star (เริ่ม 2553), โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน 1 ล้านคน (2554), โครงการอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย (2555) ฯลฯ ล่าสุดคือ การตักบาตรพระ 1 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ซึ่งมิได้เป็นการกระจุกตัวอยู่ที่วัดเท่านั้น แต่ยังได้กระจายตัวออกไปทั่วประเทศตามหน่วยกัลยาณมิตรที่กระจายอยู่

นอกจากมิติการบริโภคแล้ว เราจะเห็นได้ว่า นี่คือการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนกลุ่มใหญ่ได้มามีกิจกรรมและพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน เป็นชุมชนในจินตนาการหนึ่งที่สงบสุข ร่มเย็น และเป็นที่พึ่งทางใจ

ชุมชนในจินตนาการของชาววัดธรรมกาย พื้นที่มหารัตนวิหารคด
และมหาธรรมกายเจดีย์ว่ากันว่ารองรับได้ถึง 1 ล้านคน

 

ธุดงค์ธรรมชัย

อันที่จริงโครงการดังกล่าว เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554[4] ชื่อเต็มๆตอนนั้นก็คือ “โครงการธุดงค์ธรรมชัย สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย” โดยวัตถุประสงค์ครั้งนั้นผูกโยงอยู่กับภัยน้ำท่วมด้วย นั่นคือ “เพื่อฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัย และสร้างสิริมงคลให้แผ่นดิน” โดยพื้นที่ก็คือ เขตพื้นที่ประสบอุทกภัย 6 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา, สุพรรณบุรี, นครปฐม, ปทุมธานี, นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร รวมระยะทาง 356.6 กิโลเมตร ภายใต้ไอเดียว่า

“มหาอุทกภัย พ.ศ.2554 นี้ได้ทำความเสียหายเดือนร้อนกับพี่น้องชาวไทยอย่างมาก เพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย ให้หมดไป คณะพระธุดงค์ธรรมชัย ซึ่งล้วนเป็นพระนักปฏิบัติธรรม จึงได้ตั้งใจเดินธุดงค์ธรรมชัยตามแบบอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อฟื้นฟูจิตใจชาวไทยที่ประสบภัยน้ำท่วมและเป็นการสร้างสิริมงคลให้แผ่นดินไทย”

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนโครงการให้เชื่อมโยงกับบริบทและสถานการณ์สังคมการเมืองที่เปลี่ยนไป เมื่อเวลาผ่านสู่เดือนมกราคม 2555 ธุดงค์ธรรมชัย ก็ปรับตัวและแทรกความหมายใหม่ในโครงการเดิม โดยปรับเปลี่ยนเป็น โครงการเดินธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ 6 จังหวัด – 365 กิโลเมตร รับปี พ.ศ.2555 “ปัดเป่าผองภัย – สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน” ซึ่งเริ่มออกเดินธุดงค์จากวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 2 มกราคม[5]

การอ้างถึง มหาปูชะนียาจารย์นี้ ก็เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาธรรมแด่หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และ 6 จังหวัดที่ว่า ก็คือ สถานที่สำคัญในชีวิตของหลวงปู่ได้แก่ สถานที่เกิด ณ สุพรรณบุรี , วัดสองพี่น้อง สุพรรณบุรี ที่บวช, วัดโบสถ์บน บางคูเวียง นนทบุรี ที่บรรลุธรรม, วัดบางปลา นครปฐม ที่แสดงธรรมครั้งแรก (และยังแวะไปรวมตัวกันที่พุทธมณฑลอีกด้วย แต่ไม่นับว่าอยู่ในอนุสรณ์สถาน), วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ณ วัดแห่งนี้ คือ สถานที่อ้างว่าได้ทำวิชชาปราบมารจนกระทั่งมรณภาพ และอนุสรณ์สถานแห่งสุดท้ายคือ วัดธรรมกาย ในฐานะเป็นสถานที่สืบสาน “มโนปณิธาน” [6] หรืออาจกล่าวได้ว่า นั่นคือ สังเวชนียสถานทั้ง 6 ของมหาปูชนียาจารย์นั่นเอง

นั่นคือ ธุดงค์เฟสแรก ที่เกิดขึ้นอย่างเงียบๆ ไม่กระทบต่อชีวิตประจำวันของชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ แต่ใน เฟสที่สอง หลังจากกรุยเส้นทางทั้ง 6 แล้ว ธุดงค์ธรรมชัย ได้มุ่งเป้าไปที่การอัญเชิญ “รูปหล่อทองคำ” ของหลวงปู่สดจากวัดธรรมกายไปยังวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ในวันที่ 2-6 เมษายน 2555

ทั้งที่ความยิ่งใหญ่และสลับซับซ้อนของโครงการนี้เป็นเพียงหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจคท์ที่วัดธรรมกายเคยผ่านมา เพียงแต่งานนี้วัดธรรมกายได้ “บุกเข้ามา” ในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมือง อาการเจาะทะลวงเข้ามาเช่นนี้ทำให้ผู้เขียนกระหวัดถึงคราวที่เหล่าเสื้อแดงระดมพลมหาศาล “เข้ากรุง” ในช่วงปี 2553 และเจาะลึกเข้าไปถึงที่ใจกลางเมืองได้เช่นเดียวกัน และผลก็เป็นอย่างที่ทราบกันดีนั้นเองว่า ท่าทีรังเกียจและปฏิเสธเสื้อแดงของคนกรุงเทพฯชั้นใน ไปกันได้ดีกับคำสั่งฆ่าและความตายของคนแปลกหน้าต่อพวกเขา ขณะที่ธุดงค์ธรรมชัยของวัดธรรมกายเป็นที่ล้อเลียน ก่นด่า และสาปแช่งของผู้ต่อต้านอย่างแจ่มชัด

ธุดงค์ธรรมชัย เพื่อขับเน้นมหาปูชะนียาจารย์ หลวงปู่สด จันทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ

 

ตัวตนวัดธรรมกาย กับ ตัวตนทางอุดมการณ์การเมือง

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า "ความหมั่นไส้" วัดธรรมกาย มีที่มาจากชนชั้นกลางในกรุงฯ ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่า มาจาก ผู้ที่มีสังกัดในสายปฏิบัติธรรมที่หลากหลาย ได้แก่ เหล่าชาวพุทธลูกศิษย์พระป่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระในสายธรรมยุติฯ (ซึ่งในวงการก็รู้กันดีว่า เหล่าธรรมยุติฯ ดูถูกวัตรปฏิบัติของพระมหานิกาย ยังไม่นับว่ามีความคิดที่แบ่งชนชั้นกัน โดยธรรมยุติฯ ได้ยกตนเหนือว่าเหนือกว่า มหานิกายอยู่เนืองๆ) หรือว่าจะเป็น ลูกศิษย์พระ "ดี" อย่าง พุทธทาส, พระพรหมคุณาภรณ์ ที่ได้ทำการตีตราบาปธรรมกายว่า ละเมิดคำสอนว่าด้วย อัตตา-อนัตตา อันถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ในอีกด้านก็คือ เหล่าลูกศิษย์พระ "เคร่ง" อย่างสายสันติอโศก ดังนั้นชาววัดธรรมกายจึงเป็น “คนนอก” ในสายตาของคนเหล่านี้

ไม่เพียงเท่านั้น ฝ่ายตรงข้ามวัดธรรมกายอีกกลุ่มใหญ่ ยังอาจเป็นพวกที่ไม่สังกัดนับถือกลุ่มพระที่กล่าวถึงข้างต้นด้วย เหตุเนื่องจากความรังเกียจ และความโกรธแค้นต่อทักษิณ ชินวัตร หลายคนคงพอทราบแล้วว่า ทักษิณแสดงออกต่อที่สาธารณะด้วยการปรากฏกายในวัดนี้เมื่อ 19 พฤษภาคม 2551 และยังไปปรากฏตัวในวัดธรรมกาย สาขาต่างประเทศอีก จึงทำให้ภาพวัดธรรมกายกับทักษิณ ชินวัตร ซ้อนทับกันอย่างติดแน่น

ชาววัดธรรมกาย จึงกลายเป็น "คนชายขอบส่วนมาก" ในสังคมชาวพุทธไทย อาจกล่าวได้ด้วยซ้ำว่า มีชะตากรรมคล้ายกับชาวเสื้อแดงอีกด้วย นั่นคือ พวกเขาไม่กล้าแสดงตัวในที่สาธารณะอย่างประเจิดประเจ้อ เนื่องจากภาพลักษณ์ "ความเป็นธรรมกาย" ที่ถูกประณาม และถูกดูถูกดูแคลนเสมอมาว่า เป็นพวกโง่งมงายในลัทธิ พวกไม่รู้จักพุทธศาสนา ฯลฯ

ทักษิณ ชินวัตร ไปร่วมงานวันวิสาขบูชา ที่ วัดธรรมกาย วันที่ 19 พฤษภาคม 2551

 

วัดธรรมกายในฐานะ วัดที่ถูกตั้งคำถาม ถูกล้อเลียนมากที่สุด

ตามปกติแล้วในสังคมไทยและสื่อมวลชนมักจะประณาม พระสงฆ์ที่ผิดวินัยเป็นตัวบุคคลไป ไม่กล้าที่จะแตะต้องสถาบันมากนัก โดยเฉพาะหลังกรณีพระดังอย่าง สมีเจี๊ยบ (2532) พระนิกร (2533) พระยันตระ (2537) ภาวนาพุทโธ (2538) พระอิสระมุนี (2544) ที่เป็นอดีตพระดัง คนขึ้นคนศรัทธามากมาย ส่วนใหญ่พระเหล่านี้เสียท่าเพราะเรื่องเฉพาะบุคคลอย่างเรื่องกามารมณ์

แต่กรณีสันติอโศก และวัดธรรมกายนั้นต่างออกไป เพราะนั่นคือ ความขัดแย้งและลักลั่นในเชิงสถาบันที่พ้นไปจากการละเมิดวินัยล้วนๆ สันติอโศกแม้จะถูกพิพากษาว่าผิดในฐานอวดธรรมที่ตนไม่มี กลับมีท่าทีที่แข็งกร้าวกับอำนาจรัฐ และมหาเถรสมาคม จนถึงกับแยกตัวออกจากคณะสงฆ์ไทย ถึงวันนี้ก็พิสูจน์ตนว่า อยู่รอดมาเป็นพลังทางการเมืองขั้วหนึ่งด้วยซ้ำ แต่วัดธรรมกายต่างออกไป สถาบันนี้เลือกที่จะประนีประนอมกับรัฐ และก้มหน้าก้มตาทำงาน แม้จะมีความขัดแย้งหลายประเด็นกับสื่อมวลชนที่ถูกจับผิดเรื่องพระวินัยของเจ้าอาวาส และกลุ่มนักวิชาการด้านศาสนาในหัวใจคำสอนเรื่องอัตตา-อนัตตา ขณะที่การเติบโตของวัดพร้อมไปกับจำนวนเงินมหาศาลที่สะพัดอยู่ และยังก่อให้เกิดกิจกรรมศาสนาแบบใหม่และแหวกแนวจากขนบเดิม สิ่งที่ไม่ลงรอยกับของเดิม ทำให้กลายเป็นที่กังขาและในเวลาต่อมาวัดแห่งนี้ได้ถูกเพ่งเล็ง จนกลายเป็นว่า วัดนี้มีลักษณะที่แปลกแยก บ้าๆบอๆ และถูกหัวเราะเยาะ

แน่นอนว่า ความเป็นสถาบันของวัดธรรมกายที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากการผลิตความหมายใหม่ๆขึ้นเพื่ออธิบายและสร้างตัวตนขึ้นมา ซึ่งชุดความหมายนี้ได้สื่อสารและสร้างชุดความสัมพันธ์ของวัดกับทั้งเหล่าลูกศิษย์ และกับสังคมภายนอก ในด้านหนึ่ง “ความเป็นวัดธรรมกาย” ถูกจดจำและเล่าซ้ำในความแปลกแยกจากสังคมไปในเวลาเดียวกัน

เรื่องเล่าที่เป็นที่ร่ำลือกันทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านธรรมกาย นั่นคือ ว่าด้วย “ยายจันทร์ ปัดระเบิด” ในหนังสือ กล่าวไว้ว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งให้ยายจันทร์ ขนนกยูง ปัดระเบิดนิวเคลียร์ ถึงขนาดเล่าลือกันว่า มีคนเห็นร่างแม่ชีลอยอยู่เหนือสะพานพุทธฯ[7] อันที่จริงเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์นั้นก็มีเล่ากันอยู่ในวัดและศาสนสถานจำนวนมาก แต่ที่น่าสังเกตคือว่า ไฉนวัดธรรมกายถึงถูกจับผิดและล้อเลียนอยู่ร่ำไป

            ในฐานะของภาษาและชุดคำแบบใหม่ หากเทียบกับ สันติอโศกแล้ว ทั้งคู่ถือได้ว่าประดิษฐ์รูปคำใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในด้านหนึ่งสันติอโศกมุ่งเน้นภาษาเรียบง่ายและพุ่งเป้าไปที่การลด ละ เลิกในเชิงวัตถุ ที่ให้ความรู้สึกเคร่งครัดในการใช้ชีวิต เราจะได้ยินคำว่า “บุญนิยม” เป็นคำเด่นที่สุดที่เป็นคำเพื่อใช้เป็นคู่ตรงข้ามกับ “ทุนนิยม” แต่ที่เป็นที่สังเกตที่สุดก็คือ การเปลี่ยนชื่อของสมาชิก เช่น สมณะ ขยะขยัน สรณีโย, สมณะ ชนะผี ชิตมาโร, สมณะ ซาบซึ้ง สิริเตโช, นายตายแน่ มุ่งมาจน, นางจนแน่ มุ่งมาตาย ฯลฯ ขณะที่วัดธรรมกายได้ประดิษฐ์คำที่ให้ความหมายถึง การให้ความหวัง ความรุ่งเรือง โชคลาภ กระทั่งชีวิตเหนือโลกแฟนตาซี โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตัวตน การให้ความหมายดังกล่าว ได้แก่ พระรุ่นดูดทรัพย์, อนุบาลฝันในฝันวิทยา, กฐินบรมจักรพรรดิ, ต้นบุญต้นแบบ, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เฟสสอง ฯลฯ

นอกจากนั้น ยังมีการพยายามสร้างคำอธิบายระบบผลกรรมขึ้นใหม่ แน่นอนว่ายังอยู่ในกรอบทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว โดยเฉพาะการทำดีที่เน้นเป็นพิเศษถึง อานิสงส์ของ ทาน ศีล ภาวนา นอกจากการนั่งสมาธิแบบวิชชาธรรมกายอันที่เป็นที่รู้จักกันดีแล้ว การถวายทานมหาศาลที่ให้อานิสงส์ใหญ่หลวงก็เป็นการถูกนำมาเน้นย้ำ ซึ่งอานิสงส์นี้ได้เชื่อมความสัมพันธ์ไปยังรูปแบบสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นด้วย

รายการโทรทัศน์ “อนุบาลฝันในฝันวิทยา” ที่ทำการเล่าโดยเจ้าอาวาส
มีการให้ความหมายกรรมแบบใหม่ที่เชื่อมโยงอานิสงส์จากการทำบุญกับวัด

มหาธรรมกายเจดีย์ขนาดมโหฬารที่มีความต้องการที่จะสร้างให้มีอายุถึง 1 พันปี เป็นรูปแบบที่ปรับมาจาก สถูปสาญจี อันนับเป็นเจดีย์แห่งแรกในพุทธศาสนา โดยเฉพาะในรูปทรงครึ่งวงกลม สถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่นี้ได้มีการลดทอนรายละเอียด จนเหลือฟอร์มกึ่งบริสุทธิ์นั่นคือ ทรงกลมและกรวยฐานแผ่ที่ผนึกเป็นหนึ่งเดียวกัน ฟอร์มที่เรียบง่ายและใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้ ไม่ค่อยปรากฏมาก่อนในสถาปัตยกรรมไทยแบบจารีต ทั้งยังมีลักษณะคล้ายยานอวกาศ ความแปลกแยกดังกล่าวจึงถูกเรียกอย่างล้อเลียนว่า “จานบิน” (สำหรับท่านที่เข้าวัดป่าสายธรรมยุติฯ ท่านจะเห็นฟอร์มของสถาปัตยกรรมที่แปลกและแหวกแนวไม่แพ้กัน แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้คงไม่ได้อยู่ที่ว่าฟอร์มแปลกประหลาดแค่ไหน แต่อาจอยู่ที่ว่า ใครเป็นคนสร้างมากกว่า)

องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่างๆ ที่เข้าใจว่าวัดต้องการเสริมสร้างความยิ่งใหญ่ให้สมกับพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แบบใหม่ แต่การนำ “ศิลปะไทย” ที่ถูกรับใช้ด้วยลายกนก อาจไม่ใช่ไวยากรณ์ของศิลปะที่จะรับใช้สังคมใหม่นี้อีกต่อไป เราจึงเห็นรูปลักษณ์ของศิลปะแปลกตา เช่น การออกแบบธงทิวที่หลายคนนำไปเปรียบเปรยกับอินทรีเหล็กและตราสวัสดิกะของนาซีเยอรมัน, การตกแต่งประดับประดาเยี่ยงพระนางคลีโอพัตราในขบวนแห่ผ้ากฐิน ที่ฮือฮาก็คือ แคตาล็อก “มนต์เสน่ห์แห่งสวรรค์” ที่นำเสนอภาพความมั่งคั่งของคนบนสวรรค์ ที่แต่งกายด้วยเครื่องประดับนานา อันเนื่องมาจากผลบุญที่เคยสั่งสมไว้ ไม่ว่าจะเป็น “สร้อยเส้นบะหมี่ทองคำตะเกียบฝังเพชร” เกิดจากบุญที่เคยทำทานด้วยบะหมี่, “สร้อยส้มตำปู ส้มตำไทย” แน่นอนว่าเกิดจากการถวายส้มตำ, แหวนไก่ผงาด จากการถวายไก่ย่าง เป็นต้น

สร้อยส้มตำปู ส้มตำไทย เกิดจากบุญถวายส้มตำ การแปรความหมายใหม่ของอานิสงส์ในการทำบุญ

ที่ย้อนแย้งและตลกร้าย ก็คือ การที่ โน้ต อุดม แต้พานิช ศิลปินตลก ถูกขุดขึ้นมาประจานในนามสาวกของธรรมกายที่ร่วมโปรยกุหลาบในงานธุดงค์นี้ด้วย[8] โน้ต เป็นศิลปินตลกที่มีชื่อเสียงในการนำเรื่องราวต่างๆในชีวิตประจำวันมาล้อเลียน เสียดสี เรียกเสียงหัวเราะ หลายมุกของเขาเป็นเสียงหัวเราะที่กระชากมาจากการยั่วล้อความเป็น “คนนอก” ในสังคม แต่คราวนี้โน้ต กลายเป็น “คนนอก” ที่ถูกพิพากษานั้นเสียเอง

สำหรับผู้เขียนเอง ในขณะที่วัดธรรมกายถูกตั้งข้อสงสัย ถูกตรวจสอบ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักโดยสังคมกระแสหลัก แต่ยังมีวัดและสถาบันสงฆ์อีกจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่มืด ไร้การสอดส่อง ไร้การตรวจสอบในระดับที่หนักหน่วงเท่ากัน ไม่เพียงเท่านั้น การโจมตีเป็นการเลือกโจมตีที่ “ตัวบุคคล” หรือ “ฝักฝ่าย” มากกว่าจะลงไปที่หลักการ ที่ต้องประยุกต์ใช้ได้กับทุกฟากฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพระสายวัดป่า หรือพระที่ “ดูน่าเชื่อถือ” รูปอื่นๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า ขณะที่เราวิจารณ์ธรรมกายได้อย่างเต็มปากเต็มคำ แต่เราต้องหุบปากเมื่อเจอพระบางรูป วัดบางแห่ง หรือกระทั่งเป็นเดือดเป็นแค้นเมื่อมีคนเห็นต่างมาวิจารณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเรา

โน้ต อุดม แต้พานิช โดนจัดหนักผ่านเฟซบุ๊ค

 

 

พุทธเถรวาทกับการครองครองปริมณฑลรัฐ

สิ่งที่ต้องใช้ความคิดมากไปกว่าการด่าทอ และเสียดสีธรรมกาย ก็คือ การทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันของ สังคมการเมือง การใช้อำนาจในยุคที่หายใจเข้าออกเป็นคำว่าศีลธรรมอันเป็นพลังอนุรักษ์นิยมที่ขยายตัวอย่างสูงหลังรัฐประหาร 2549  สถาบันอนุรักษ์นิยม และสถาบันพุทธศาสนา พยายามสถาปนาอำนาจเหนือรัฐ โดยอาศัยสถานภาพของตนที่ดู "ไม่เป็นการเมือง" เข้ามายุ่งในพื้นที่ทางโลกย์มีหลายระดับ

ตั้งแต่การสั่งสอนทางศีลธรรมง่ายๆ ก้าวล่วงไปถึงการเบลอบุหรี่ เหล้า เบียร์ออกไปจากทีวี อาการคลั่งดังกล่าวได้ขยับระดับไปเป็นเรื่องชวนหัวร่อของคนทั่วโลก เมื่อทีวีตัดสินใจเบลอหัวนมชิซูกะ (หัวนมเด็กหญิงพอเข้าใจได้) และหัวนมซุนหงอฮัง (เด็กผู้ชายนี่นะ!) แต่นั่นก็ยังไม่ชวนขมวดคิ้วเท่ากับ การล่วงล้ำอาณาบริเวณทางโลกย์ในนามพระสงฆ์ เราอาจพอจะจำกันได้ถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเพื่อไทยกับลูกศิษย์ หลวงตามหาบัว แห่งวัดป่าบ้านตาด ข้อถกเถียงคือ ฝ่ายลูกศิษย์ไม่ยอมให้รัฐนำทองที่หลวงตาบริจาคเป็นเงินทุนสำรองของประเทศไปใช้ประโยชน์ ตามที่ตัวเองเชื่อกันว่ารัฐบาลคิดไม่ซื่อกับเงินก้อนนี้แน่ๆ ดังนั้น จึงกลายเป็นว่า การบริจาคเงินให้เข้าไปอยู่ในอำนาจของรัฐในนามของกลุ่มก้อนทางศีลธรรม ในที่สุดก็ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในนามของรัฐบาลที่เป็นตัวแทนอำนาจอธิปไตยหนึ่งของประชาชน[9] ยกเว้นเสียแต่ว่า รัฐบาลนั้น หรือคนเอาเงินไปใช้ “น่าเชื่อถือ” มากพอในสายตาของผู้ให้บริจาค

หลวงตามหาบัวกำลังทำพิธีเพื่อส่งทองคำเข้าคลังหลวง
จาก "โครงการช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"

 

แม้จะเป็นพระรูปใดก็แล้วแต่ พวกเขาได้มีบทบาทครอบงำรัฐทางโลกย์มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งด้วยตัวของพวกเขาเอง และผ่านปากฆราวาสที่อวดอ้างศีลธรรมความดีงาม ไม่ว่าจะเป็น นักการเมือง, กองเซ็นเซอร์, ข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม, ข้าราชการเกษียณอายุ ฯลฯ

แต่สิ่งที่น่าหวาดหวั่นสำหรับผู้เขียนที่สุดก็คือ การผนึกแนบเป็นส่วนหนึ่งของรัฐผ่านกลไกทางกฎหมาย สิ่งที่ยังหลอกหลอนผู้เขียนอยู่ก็คือ แคมเปญรณรงค์ผลักดันให้ประเทศไทยบรรจุข้อความว่า “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”  ยัดลงในรัฐธรรมนูญ สิ่งเหล่านั้นจะนำไปสู่การเข้าไปสู่สถานะของรัฐที่มียุ่งยากซับซ้อนไปอีกในความเป็นรัฐทางโลก หรือรัฐทางศาสนา ที่จะท้อนออกทาง ด้วยมาตรฐานทางศาสนาและศีลธรรม แน่นอนว่ามันจะพร้อมกับการกำกับทางกฎหมายเป็นแน่

 

ยกแรกของสงครามศีลธรรม เบียร์ช้างถึงกับม้วนเสื่อ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ถึงความเป็น “การเมือง” ในนามของเหล่านักศีลธรรมที่พยายามทำให้รัฐไทยกลายเป็นรัฐทางศาสนาและศีลธรรม เนื่องจากพวกเขาไม่เชื่อมั่นในศักยภาพมนุษย์ ไม่เชื่อในอิสรภาพและเสรีภาพ แต่จงรักภักดีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และจดจ่อเพ่งโทษกับความโง่เขลาและความผิดบาปของมนุษย์

ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงมีหน้าที่ที่จะอุดรอยรั่วอันชั่วร้ายให้มนุษย์โลกปลอดพ้นจากอบายมุข แคมเปญสำคัญที่ถือเป็นกรณีตัวอย่างก็คือ  การรณรงค์ต่อต้าน และคัดค้านการที่บริษัทไทยเบฟเวอเรจ (เบียร์ช้าง) จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2551 การเคลื่อนไหวคราวนั้นทำให้เราเห็นถึงความร่วมมือกันหลวมๆ ของกลุ่มลุ่มหลงศีลธรรมดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น มวลชนจากวัดธรรมกาย, สันติอโศก,  จำลอง ศรีเมือง, พระพยอม กัลยาโณ และองค์กรกว่า  264 องค์กร พลังดังกล่าวสร้างแรงกดดันมหาศาลให้กับตลาดหลักทรัพย์และรัฐบาล จนสามารถล้มช้างได้ สาระสำคัญของการต้านไทยเบฟเวอเรจ คงอยู่ที่ความหวาดระแวงอย่างประสาทว่า สังคมจะล่มสลาย หากปล่อยให้ทุนนิยมสามานย์เหล่านี้เติบโต เด็กจะถูกเบียดบี้ด้วยอบายมุขที่กำลังจะตามมา และสังคมไทยก็คงล่มสลาย สังเกตได้จากคำกล่าวนี้

“ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นธุรกิจที่ทำร้ายผู้คน ทำลายสังคม ไม่ควรสนับสนุนอยู่แล้ว ที่สำคัญตลาดหลักทรัพย์ ถือเป็นองค์กรแถวหน้าของประเทศในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมาเสียหายด้วยธุรกิจบาป เพราะมันคงไม่ต่างอะไรกับการจับมือกันทำลายสังคม ทำร้ายลูกหลานไทย อย่างเลือดเย็น” 

“เครือข่ายฯ เตรียมที่จะยื่นหนังสือคัดค้านการขอจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ของธุรกิจเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ทุกชนิด และ การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์   ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน รวมไปถึงหน้าที่ทำการบริษัทไทยเบฟด้วย โดยเราจะผนึกกำลังกับองค์กรศาสนา องค์กรครอบครัว เด็กและเยาวชนทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันเคลื่อนไหวใหญ่ ในทุกรูปแบบ เพื่อหยุดยั้งขบวนการบาปเหล่านี้ให้ถึงที่สุด ลองคิดดูว่าหากน้ำเมาเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ ต่อไป ธุรกิจหวย ซ่อง บ่อน ก็คงตามมา” [10]

 

ม็อบศีลธรรมต้านเบียร์ช้าง

 

กฎหมายหมิ่นศาสนา ร่างโดย สนช. 2550 โทษร้ายแรงกว่า มาตรา 112

การก้าวเข้ามามีอำนาจทางโลกย์นั้นของฝ่ายลุ่มหลงศีลธรรม อาจกล่าวได้ว่าไม่สามารถทำได้ถนัด หากไม่มีกฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญ การใช้กฎหมายควบคุมประชาชน เป็นกลไกของรัฐที่ถูกนำมาใช้ในทุกยุคสมัย เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาศาสนาในสังคมไทยไม่ได้ใช้กาต่อรองอำนาจผ่านช่องทางนี้มากนัก ที่น่าตระหนกอย่างยิ่งก็คือ แรงปฏิกิริยาจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่มุ่งจะ “รักษา” พุทธศาสนาอย่างมืดบอด นั่นก็คือการปิดปาก การห้ามวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยตัวบทกฎหมาย สิ่งนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ..  ที่เสนอโดย เสนอโดย ปรีชา โรจนเสน ยศพลเอก สมาชิก สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม และคณะ รวม 180 คน เมื่อปี 2550[11] กฎหมายนี้ได้บรรจุมาตราที่น่าขนลุกขนพอง อันสะกดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอยู่หมัด นั่นก็คือ

มาตรา 9 การจาบจ้วง ละเมิด ลอกเลียน บิดเบือน หรือการกระทำอื่นใดให้พระศาสดา ศาสนธรรม ศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง หรือวิปริตผิดเพี้ยน จะกระทำมิได้

มาตรา 21 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับพระศาสดาและศาสนธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

มาตรา 22 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท

ผู้ใดร่วมประเวณีไม่ว่าทางใดและวิธีการใดกับพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ตลอดจนผู้ชักจูง จัดหา หรือจ้างวาน ให้มีการร่วมประเวณีดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท

 

มาตรา 9 เป็นการวางความผิดไว้อย่างกว้างขวาง และสามารถตีความเข้ารกเข้าพงได้ง่าย นั่นหมายความว่า

บทลงโทษยังถือว่า มากกว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เสียด้วยซ้ำ ทุกวันนี้แค่ปัญหาจากกฎหมายมาตรา 112 เองยังให้โทษและส่งผลต่อการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างลึกซึ้งแล้ว กฎหมายฉบับนี้ยิ่งจะปิดพื้นที่การถกเถียงให้น้อยลงไปอีก

หากกฎหมายนี้เกิดขึ้นจริง ก็อาจนับได้ว่าเป็นหายนะของเสรีภาพของการแสดงออกทางความคิดเห็นในวงการศาสนา ที่น่าตกใจก็คือ แม้ร่างจะถูกเสนอตั้งแต่ปี 2550 แต่ปัจจุบันมันยังอยู่ในกระบวนการ ไม่หายไปไหน

ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการพิจารณากฎหมาย จากข่าววันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555 มีสาระว่า  ประกอบ จิรกิติ ประธานคณะอนุกรรมาธิการร่างพ.ร.บ.อุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา ได้ส่งร่างพ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักพุทธฯ แสดงข้อคิดเห็นกลับมา เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายในการบรรจุในวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป [12]

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้?

 

วัดธรรมกาย กับหัวใจในการครองพื้นที่รัฐ

วัดธรรมกายขณะนี้มีเครือข่ายที่กว้างขวาง มีการจัดการและเทคโนโลยีที่แน่นปึ้ก ทั้งยังมีเส้นสายทั้งฝ่ายพระ เถรสมาคม ฝ่ายพระสงฆ์หัวเมือง และฝ่ายโลกย์อย่างพรรคการเมือง นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง รวมไปถึงนายทุนใหญ่ระดับมหาเศรษฐีติดอันดับของประเทศ ความเหนียวแน่นและแข็งแกร่งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเลยว่า หากปล่อยให้ศาสนาผนึกเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐแล้ว ไม่สิ หากปล่อยให้ศาสนามีบทบาทในการควบคุมรัฐแล้ว

สิ่งที่พระและนักศีลธรรมมืออาชีพทั้งหลายจะทำคืออะไร?

อะไรคือสิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากนี้?

นั่นอาจเป็นเรื่องที่ไกลตัวไปหากเราจะขบคิดกันในตอนนี้ แต่ลองจินตนาการในเวลาอันใกล้นี้ดูเถิดว่า หากร่างกฎหมายหมิ่นศาสนาฯ ถูกผลักดันจนผ่านรัฐสภาและประกาศใช้แล้ว อิสรภาพในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อทางพุทธ ดังที่เราเคยกระทำกับวัดบางวัด พระบางรูป อาจถูกปิดประตูตาย หรือไม่เราก็ต้องมุดลงไปอยู่ใต้ดินเพื่อเลี่ยงกฎหมายหมิ่น และทำการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันศาสนาอย่างลับๆ หรือมิเช่นนั้นเราอาจต้องเฉดหัวตัวเองออกไปต่างประเทศเพื่อใช้สิทธิความเป็นมนุษย์กันตามอัตภาพ

พวกเราพร้อมหรือยังกับสังคมอุดมศีลธรรมเช่นนั้น?

 

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมงาน
ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 22,600 รูป ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี
18 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ บริเวณ เซ็นทรัลเวิลด์ ประตูน้ำ พารากอน
ร่วมจัดโดย
สำนักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพฯ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ยพสล.) วัดพระธรรมกาย มูลนิธรรมกาย
และองค์กรภาคีเครือข่ายกว่า 40 องค์กร

 
 


เชิงอรรถ

[1] มูลนิธิธรรมกาย. "ชี้แจงกรณี เดินธุดงค์ธรรมชัย อัญเชิญรูปหล่อทองคำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)". Dhammakaya.net (3 เมษายน 2555)
[2] อ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัยชิ้นเยี่ยมนี้ แม้จะเขียนขึ้นมากว่าทศวรรษแล้วแต่ก็ยังมีแง่มุมน่าสนใจอยู่ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. ศาสนทัศน์ของชุมชนเมืองสมัยใหม่ : ศึกษากรณีวัดพระธรรมกาย (เชียงใหม่ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), 2540?
[4] มูลนิธิธรรมกาย. "โครงการธุดงค์ธรรมชัย สืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทย".Dhammakaya.net (19 ธันวาคม 2554)
[5] DMC TV. "ธุดงค์ธรรมชัย “อนุสรณ์สถาน มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี” ". Dhammakaya.net
(11 มกราคม 2555)
[6] มูลนิธิธรรมกาย. "ธุดงค์ธรรมชัยสถาปนาเส้นทางพระผู้ปราบมาร". Dhammakaya.net (6 กุมภาพันธ์  2555)
[7] ประภาศรี บุญสุข, ผู้เรียบเรียง. คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย, (มปท : ฟองทองเอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด) พิมพ์ครั้งที่2), 2544, น.55-56
[8] ข่าวสด. "เน็ตรุมถล่ม"โน้ส อุดม"ร่วมธุดงค์ธรรมชัย-ธรรมกายยันงานมงคลตามรอยพระพุทธเจ้า". ข่าวสด (6 เมษายน 2555)
[9] ดูข่าว ASTVผู้จัดการออนไลน์. "“ศิษยานุศิษย์หลวงตาบัว” บุกสภา ค้านรัฐปล้นคลังหลวง". ผู้จัดการออนไลน์ (9 มกราคม 2555)
[10] ประชาชาติธุรกิจ. "เครือข่ายป้องกันภัยแอลกอฮอล์ ออกแถลงการณ์ต้าน"เบียร์ช้าง"เข้าตลาดหุ้น". http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=6421 (23 ตุลาคม 2551)
[11] "คอลัมน์ สดจากหน้าพระ" ใน ข่าวสดรายวัน (28 ตุลาคม 2550) : 30 อ้างถึงใน ธรรมจักร. "เปิดร่างพระราชบัญญัติ อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา" http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14008 (29 ตุลาคม 2550)
[12] ข่าวสด. "แจงร่างพ.ร.บ.อุปถัมภ์พุทธ รอกฤษฎีกาพิจารณา". ข่าวสด (23 กุมภาพันธ์ 55)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อุดรูรั่วพลังงานชีวมวล (2) : ช่องโหวผังประเทศถึงผังจังหวัด ปัญหา “โรงไฟฟ้า” ใน “พื้นที่สีเขียว”

$
0
0

เมื่อ “โรงงานไฟฟ้า” บนพื้นทีสีเขียว คือช่องโหว่ของผังเมืองที่ไม่มีการเตรียมการเชิงรุก แล้วเราจะเดินหน้าแก้ปัญหากันอย่างไร ขณะทีผู้ประกอบการยอมรับการจัดการผลกระทบอยู่ที่ความใส่ใจ แต่กติกาของรัฐก็มีส่วน

 
 
ถกปัญหานโยบาย “ชีวมวล” ในฐานะทางเลือกพลังงานของประเทศที่ศักยภาพ แต่กลับต้องเผชิญหน้ากับการคัดค้านของชุมชน ไม่ต่างกับโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือก๊าซ โดยไม่เกี่ยวกับขนาดใหญ่-เล็ก และด้วยเหตุผลซึ่งไม่ใช่เพียงเพราะขึ้นชื่อว่า “โรงไฟฟ้า” จึงเป็นสิ่งที่ชุมชนไม่ต้องการ
 
“ทำไมต้องเป็นที่นี้” เป็นอีกปมคำถามหนึ่งของชุมชนในพื้นที่โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลมีต่อผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้การใช้วัตถุดิบในสังคมกสิกรรมทำให้เหมาเอาได้ว่า “พื้นที่เกษตร” ควรต้องเป็นเป้าหมายที่ตั้ง “โรงไฟฟ้าชีวมวล” ที่เหมาะสมที่สุด แต่ปรากฏการณ์ที่โรงไฟฟ้าชีวมวลผุดขึ้นในแทบทุกพื้นที่ พร้อมๆ กับการคัดค้านที่ขยายตัวตามมา นั่นคือภาพสะท้อนความจริงที่ผิดพลาดบางอย่าง 
 
ดังนั้น เมื่อผังเมืองซึ่งเรื่องของการจัดการพื้นที่สำหรับอนาคต และ “พลังงานชีวมวล” ก็เป็นอีกหนึ่งในพลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต จึงเป็นที่คาดหวังกันว่า “ผังเมือง” จะมีส่วนเป็นเงื่อนไขในการอนุมัติอนุญาตโครงการจากเรื่องการจัดการพื้นที่
 
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามของนักวิชาการด้านผังเมืองว่า “โรงไฟฟ้าชีวมวล อยู่ที่ไหนในผังเมือง” กลับพบประเด็นที่ซ้อนทับขึ้นมาถึงช่องโหว “ผังเมือง” ในปัจจุบันที่มีอยู่มากมาย จนอาจกลายเป็นเครื่องมือตอบย้ำซ้ำเติมปัญหา 
 
 
 
ผังเมือง รูรั่วใหญ่การพัฒนาพื้นที่
 
ภารนี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระ เครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อสังคม นำเสนอแผนที่โรงไฟฟ้าชีวมวลในผังเมือง ซึ่งพบว่ามีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่กำลังจะเกิดขึ้นอยู่เต็มพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ผังประเทศไทยที่มีเป้าหมายการพัฒนาไว้ถึงปี พ.ศ.2600 ซึ่งมีการกำหนดลักษณะพื้นที่หลากหลายประเภท กลับขาดเรื่องพื้นที่ที่จะรองรับการพัฒนาพลังงานในอนาคต 
 
ขณะที่ ทางเลือกของพลังงานประเทศไทยจะมุ่งไปสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางด้านพลังงาน และนิวเคลียร์จะเป็นทางเลือกใหม่ ซึ่งเป็นการมองโดยเอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง แต่ไม่ได้มองเรื่องการอยู่ร่วมกันของโรงไฟฟ้าชีวมวลกับชุมชน ตรงนี้กลายเป็นช่องว่างขนาดใหญ่
 
“โรงไฟฟ้าชีวมวลที่กระจายอยู่ในชุมชน เกิดขึ้นบนช่องโหว่ที่ผังเมืองไม่มีการเตรียมการเชิงรุกเอาไว้” ภารนีกล่าว  
 
ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าชีวมวลจัดเป็นกิจกรรมอุตสาหกรรมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า สามารถจัดอยู่ในพื้นที่สีม่วงได้ แต่ในผังเมืองรวมจังหวัดที่ประกาศบังคับใช้แล้วและอีกหลายผังที่รอประกาศใช้บังคับกลับพบว่ามีการเปิดช่องที่มากไปกว่านั้น
 
ภารนี กล่าวว่า การกำหนดโซนพลังงานในระดับนโยบายของประเทศที่ขาดไปตรงนี้ ต้องมีการคิดและกำหนดร่วมกัน โดยอ้างอิงฐานข้อมูล เช่น วัตถุดิบพลังงานชีวมวลในแต่ละพื้นที่มีอยู่จำนวนเท่าไหร่ นำมาคำนวณคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะปัจจัยนำเข้าชีวมวล การตัดสินใจของนักลงทุน และการกำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลว่าควรอยู่ในโซนไหนของประเทศและมีความพร้อมหรือไม่ จากนั้นระบบการขนส่งและการช่วยเหลือก็จะเข้าไป
 
นักวิชาการจากเครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อสังคม กล่าวต่อมาถึงผังเมืองรวมจังหวัด ซึ่งในหลายจังหวัดเริ่มมีการประกาศบังคับใช้ตามกฎหมายว่า มีหลายพื้นที่ได้ระบุว่าพื้นที่ตรงไหนให้ทำโรงไฟฟ้าได้ และพื้นที่ตรงไหนไม่ให้ทำ โดยเป็นการระบุไว้หลวมๆ เช่น พื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นสีเขียวให้ทำโรงไฟฟ้าได้ แต่ไม่ได้กำหนดเรื่องระยะห่างกับชุมชนไว้ อย่างไรก็ตามการกำหนดหลวมๆ ตรงนี้ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับเรื่องสีในผังเมืองว่าแต่ละสีหมายถึงอะไร และแต่ละสีมีข้อกำหนดการใช้พื้นที่อย่างไร
 
 
ยกตัวอย่าง ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีและจังหวัดเชียงราย ระบุพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม พื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่ชุมชน ห้ามไม่ให้มีกิจการโรงไฟฟ้า แต่ที่ผ่านมามีการอาศัยช่องว่างที่ยังไม่มีการประกาศผังเมืองเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ตรงนี้เป็นช่องว่างที่ต้องเร่งแก้ปัญหา 
 
ภารนี ยังได้ยกตัวอย่างถึงปัญหาพื้นที่สีเดียวกันแต่แผนของแต่ละจังหวัดกลับมีมาตรฐานในการใช้พื้นที่แตกต่างกัน โดยในส่วนผังเมืองรวมจังหวัดร้อยเอ็ดไม่ให้มีโรงไฟฟ้าในที่ชุมชน แต่ในพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมมีได้ ขณะที่ผังเมืองรวมจังหวัดสุรินทร์ซึ่งอยู่ติดกันห้ามไม่ให้มีโรงไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว แต่จังหวัดชุมพรแย่กว่าจังหวัดอื่นเพราะผังเมืองให้มีโรงไฟฟ้าได้ทั้งในพื้นที่ชุมชน พื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
 
 
“การกำหนดพื้นที่สีเขียวของผังเมืองนี่แหละ ที่มันควรจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ทำให้โรงไฟฟ้าหรือคนที่อนุญาต ไม่ว่าจะเป็นกรมโรงงานหรือว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดูว่าจะทำได้หรือไม่ได้ แต่เพราะว่าไปกำหนดสีเขียวที่ต่างกัน กลายเป็นมาตรฐานที่มันเลือกปฏิบัติ” นักวิชาการจากเครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อสังคมกล่าว
 
ภารนี ยกตัวอย่างของผังเมืองรวมจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีการเขียนว่า หมายเลข 88 โรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ให้ทำได้ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมว่า ตรงนี้เป็นช่องโหว่เพราะไม่มีการระบุประเภทที่ชัดเจนทำให้เข้าใจได้ว่าตั้งแต่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไปจนถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าชีวมวล สามารถดำเนินการได้ ทั้งที่ใช้วัตถุดิบ มีเทคโนโลยี และมีผลกระทบต่างกันแต่กลับถูกจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ตรงนี้ต้องปรุง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ
 
นักวิชาการจากเครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อสังคม ยังเสนอต่อมาถึงการป้องกันการอาศัยช่องว่างที่ผังเมืองยังไม่ประกาศใช้หรืออยู่ในระหว่างหมดอายุ ขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าก่อน โดยนำเอกสารผังเมืองที่มีการระบุว่าทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้มาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเตรียมไว้เป็นแนวทางควบคุม การอนุญาตก่อสร้างอาคาร
การถมดิน และการคุ้มครองที่สาธารณะ 
 
อีกทั้ง ผังเมืองที่รอประกาศ ตามกฎหมายผังเมืองกรมโยธาหรือเจ้าพนักงานการโยธาในระดับจังหวัดสามารถออกหลักเกณฑ์ควบคุมได้ แต่ที่ผ่านมาไม่ยอมออกโดยอ้างเหตุผลว่าลิดรอนสิทธิผู้ประกอบการ ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยการผลักดันและการพูดคุยระหว่างชาวบ้านและหน่วยงานรัฐ
 
อย่างไรก็ตาม หากผังเมืองระบุให้ทำโรงไฟฟ้าได้ ในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ก็สามารถไปดูในเกณฑ์มาตรฐานการวางผังเมืองในระดับ อบต. ที่มีเกณฑ์อาทิ “ที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นน้อย (เช่นชุมชนเกษตร) ไม่อนุญาตให้มีโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทอยู่ติดกับพื้นที่ในระยะ 1.5-3 กิโลเมตร” เป็นแนวทางพิจารณาอนุญาตได้ 
 
นอกจากนั้น การแก้ผังเมืองที่ระบุให้ทำโรงไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสามารถทำได้ หรือในกรณีที่กิจการเกิดขึ้นแล้วแต่ก่อให้เกิดผลกระทบชุมชนสามารถร้องระงับการใช้ประโยชนที่ดินได้ แม้การต่อสู้ต้องใช้เวลา
 
“การต่อสู้มันใช้เวลาทั้งนั้น ไม่ว่าการต่อสู้ในเรื่องข้อมูล หรือการต่อสู้ในเรื่องม็อบ แต่การต่อสู้ในเรื่องข้อมูล หนังสือคำร้อง ข้อมูล ข้อเท็จจริงของท่านจะขึ้นไปอยู่บนโต๊ะของคณะกรรมการระดับชาติที่เขาจะตัดสินใจ และการตัดสินใจในเรื่องนี้มันก็มีหลายๆ พื้นที่ที่ต้องตัดสินใจว่ามันมีผลกระทบ มันก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์บางอย่างที่รอบคอบขึ้น” ภารนี กล่าว พร้อมย้ำว่าสิทธิและข้อมูลที่ชุมชนมีควรเอามาใช้ร่วมกันอุดรูรั่วของปัญหาผังเมือง 
 
 
ผู้ประกอบการรับปัญหาอยู่ที่ความเอาใจใส่ แต่กติกาของรัฐก็มีส่วน
 
ด้าน นที สิทธิประศาสตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที.ไบโอพาวเวอร์ จำกัด ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก (SPP) กำลังผลิตติดตั้ง 22 เมกะวัตต์ ที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ในพื้นที่ จ.พิจิตร กล่าวว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวเดินเครื่องมากว่า 7 ปี โดยยอมลงทุนใช้เทคโนโลยีที่มีมาตรฐานดีจากสหรัฐอเมริกาในการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั้งลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) และวางแผนใช้กลไกตลาดเรื่องการลดภาวะโลกร้อน ด้วยการขายคาร์บอนเครดิตเป็นรายได้ตอบแทนการลงทุนกับเทคโนโลยีราคาแพง 
 
“ผมไม่ได้โทษเอกชนทั้งหมดทีเดียว ผมว่าปัญหามันแก้ได้ คือ กติกาของรัฐเองนั่นแหละ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที.ไบโอพาวเวอร์ จำกัด กล่าว
 
 
นที กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเขาเคยเข้าร่วมเวทีกับหน่วยงานรัฐหลายเวที และให้ข้อเสนอเรื่องค่าไฟฟ้าและ Adder ว่า ควรนำเรื่องประสิทธิภาพและคุณภาพมาพิจารณาด้วย เพราะการพัฒนาโครงการที่ผ่านมาเรารู้ว่าการที่เราเลือกลงทุนสูงเพราะเหตุผลอะไร แต่โครงการอื่นอาจไม่ได้มองในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก เพราะมีความยุ่งยากในเรื่องเอกสาร ในขณะเดียวกันเมื่อไม่มีใครมากำหนดประสิทธิภาพและคุณภาพผู้ประกอบการบางรายจึงเลือกดำเนินโครงการโดยใช้ต้นทุนราคาถูกซึ่งไม่มีคุณภาพเพื่อหวังส่วนต่างกำไร และสุดท้ายกลายเป็นการสร้างปัญหา
 
ในเรื่องข้อเสนอให้โครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ต้องทำ EIA นั้น นที กล่าวว่าเห็นด้วย แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงที่ว่า EIA แทบไม่มีความหมาย ไม่น่าเชื่อถือ แต่ส่วนตัวคิดว่าตรงนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่น่าจะมาช่วยกันพัฒนาทำให้เป็นที่เชื่อถือให้ได้ และอย่างน้อยก็มีกฎเกณฑ์ที่จะมาควบคุมบ้าง
 
“ปัญหาหลักสำคัญที่สุด หัวใจของการทำโรงไฟฟ้าบ้านเรา ก็คือเรืองของการเลือกพื้นที่ อย่างที่อาจารย์ศุภกิจเสนอผมเห็นด้วย 100 เปอร์เซ็นต์ เราภาคเอกชนเอง เราก็เสนอรัฐแบบนี้นะครับว่า รัฐบาลครับอย่าปล่อยให้พวกผม เอกชนต้องเดินเข้าไปในพื้นที่ ไปเลือกซื้อ แล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกับชาวบ้าน เพราะมันเป็นปัญหาที่แก้กันไม่ออก” นทีกล่าว
 
นที ให้ข้อเสนอเรื่องการเลือกพื้นที่ก่อสร้างโครงการว่า ภาครัฐควรรับภาระในการเตรียมพื้นที่ กำหนดกรอบให้ชัดเจน จากนั้นหากจะมีโครงการลงไปควรมีกลไกลเข้าไปพูดคุยกับเจ้าของพื้นที่ถึงตัวโครงการและผลได้ผลเสียพูดคุยอย่างเป็นระบบ เมื่อมีการลงเสียงประชาพิจารณ์ หากชุมชนยอมให้มีการก่อสร้างโครงการในพื้นที่ จึงเปิดให้เอกชนเข้ามาโดยจ่ายเงินค่าดำเนินการต่างๆ ก่อนหน้านี้ของรัฐ และเมื่อเข้าไปก่อสร้างในพื้นที่ได้ สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการต้องจริงใจและโปร่งใสในการดำเนินโครงการด้วย
 
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที.ไบโอพาวเวอร์ จำกัด กล่าวด้วยว่า โครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทก็ถูกต่อต้านในช่วงแรก เพราะกลัวว่าจะมีการก่อสร้างปิดกั้นทางน้ำ กลัวจะมีการนำถ่านหินมาใช้เพราะอยู่ใกล้ทางรถไฟ แต่ 7 ปีที่ผ่านมาก็เป็นประจักษ์ว่าไม่มีปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้น 
 
ทั้งนี้จากการสรุปบทเรียนการยอมรับที่เกิดขึ้น เป็นเพราะทางบริษัทยอมทำสัญญาประชาคมกับชุมชนที่ระบุถึงการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อป้องกันผลกระทบ ซึ่งหากไม่ทำตามสัญญาก็จะปิดโรงไฟฟ้า 
 
อีกทั้งมีการตั้งคณะกรรมการกองทุนพัฒนาชุมชน ให้กับชุมชนที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ และมีการตั้งกองทุนประกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเปิดให้มีการเยียวยาในทันทีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยเหตุจากโรงไฟฟ้า โดยไม่ต้องรอกลไกของกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่ให้มีคณะกรรมการร่วมเป็นผู้พิจารณา อย่างไรก็ตามที่ผ่านมายังไม่มีความเสียหายที่ต้องใช้เงินจากกองทุนนี้ แต่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นบ้างที่ผ่านมา เป็นเสียงบ่นจากชุมชนในเรื่องปัญหาฝุ่นละอองแกลบจากการขนส่ง แต่ยังอยู่ในระดับที่จัดการได้    
 
 
ตัวแทนจากพื้นที่โรงไฟฟ้าเชียงรายชี้อุดรูรั่วคือ หยุดโรงไฟฟ้า! หยุดเดินหน้าอุตสาหกรรม!
 
ขณะที่ อุบลรัตน์ ปิยะโกศล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย กล่าวถึงกระบวนการที่เป็นปัญหาในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังแกลบในพื้นที่ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการไม่มีการชี้แจงข้อมูลอย่างโปร่งใส ไม่มีการเปิดรับฟังความเห็น แต่ อบต.ในขณะนั้นกลับนำเอารายชื่อชาวบ้านที่เข้าร่วมประชุมประจำเดือนไปใช้อ้างเป็นรายชื่อผู้สนับสนุนโครงการ จนกระทั่งมีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำให้ชาวบ้านต้องยื่นเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง โดยล่าสุดศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้บริษัทเอกชนหยุดการดำเนินการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าชีวมวลหรือเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
 
อุบลรัตน์กล่าวด้วยว่า การอุดรูรั่วปัญหาที่เกิดขึ้น คือต้องหยุด แล้วกลับไปศึกษาก่อนว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลดีจริงหรือไม่ แล้วที่ประชาชนพยายามร้องทุกข์ที่ผ่านมานั้นเป็นเพราะได้รับผลกระทบจริงหรือไม่ อย่างไร เอาไปพิจารณา อีกทั้งอยากขอร้องให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศที่มีมากเกินพอแล้วให้หยุดขยาย หยุดเพื่อพิจารณาว่าไฟฟ้าในประเทศเราจำเป็นต้องเพิ่มการผลิตจริงหรือไม่
 
 
 
นักวิชาการแนะแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ต้องคืนอำนาจตัดสินใจให้ประชาชน
 
ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า โดยส่วนตัวเขาเห็นด้วยกับแนวคิดชีวมวล แต่จากการศึกษาพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีที่ไม่มีคุณภาพและการจัดการที่แย่ ทั้งการดูแลเรื่องเชื่อเพลิง กระบวนการเผา และการควบคุมมลพิษ 
 
อีกทั้ง EIA ที่ตั้งหลักเกณฑ์เรื่อง 10 เมกะวัตต์ โดยไม่มีหลักการเหตุผลมารองรับ กรณีที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 9.9 เมกะวัตต์ จากการศึกษาก็พบว่ามีชาวบ้านเดือดร้อนมากมาย และแนวโน้มจริงๆ อาจเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม เพราะโรงไฟฟ้าขนาดยิ่งเล็ก แนวโน้มก็จะลงทุนต่ำเพราะลงทุนสูงไม่ได้และจะใช้เทคโนโลยีที่ต่ำ ระบบจัดการมลพิษก็จะต่ำ เพราะฉะนั้นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะสร้างมลพิษมากกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
 
ทั้งนี้ HIA EIA ทั้งหลายเป็นแค่เครื่องมือ ไม่ได้มีความศักดิ์สิทธิ์ ศึกษาไปก็เท่านั้น สุดท้ายมันขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการกลไกการให้อำนาจกับใครมากกว่า ถ้าวันนี้ EIA ผ่าน โรงไฟฟ้าตั้ง เมื่อไหร่โรงไฟฟ้าสร้างผลกระทบทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน แล้วชาวบ้านบอกไม่เอา โรงไฟฟ้าก็อยู่ไม่ได้ อย่างนั้นต่างหากถึงจะยั่งยืน 
 
ชัชวาลย์ กล่าวด้วยว่า เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ชาวบ้านน่าจะสู้ คือการสู้ให้ประชาชนเป็นคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเกินเลย จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นกรณีเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดเลย ซึ่งชาวบ้านที่มีที่ดินที่แร่มีค่ากลายเป็นคนที่โชคร้าย ทำให้เห็นว่าระบบคิดของข้าราชการที่ออกไปทางเผด็จการ ทางสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเดิมๆ โดยคิดว่าสมบัติทั้งหลายเป็นของตัวเอง จะตัดสินใจเอาไปจัดการอย่างไรก็ได้ ไม่เหลียวแลประชาชน แนวคิดนี้ต้องเปลี่ยน 
 
“สิ่งที่พวกเราน่าจะไปเรียกร้องและต่อสู้ได้ ถ้าไปพบนายกก็ไปขอท่านข้อเดียวพอว่า ขออำนาจในการตัดสินใจมาอยู่ที่ประชาชนได้ไหม ถ้าอย่างนี้ปุ๊บทุกอย่างจบ เกมมันจะเปลี่ยนเลยนะ ต่อไปผู้ประกอบการต้องมาง้อประชาชน ต้องมาอ้อนวอน มาดูแล มาเอาใจประชาชน เมื่อนั้นประชาชนก็จะเป็นใหญ่ ปัญหาทุกอย่างคุยกันได้หมด รายละเอียดทั้งหลาย ทั้งหมดทุกเรื่องมานั่งคุยกันได้หมด แก้ได้ด้วยเทคโนโลยี ด้วยความรู้ มันไม่ใช่เรื่องยาก แต่เบื้องต้นต้องเริ่มให้ถูกก่อนว่า ใครควรจะตัดสินใจ” ชัชวาลย์เสนอ
 
“จุดยืน ประเด็นที่ต้องต่อสู้มากๆ และเป็นการสู้ที่มันจะได้ผลก็คือสู้ว่า ประชาชนต้องเป็นผู้มีสิทธิในการตัดสินใจ ถ้าประชาชนบอกไม่เอา โรงไฟฟ้าต้องจบ ทุกโรงงาน ทุกประเภทอุตสาหกรรม” ชัชวาลย์กล่าวย้ำทิ้งท้าย
 
 
เหล่านี้คือความเห็นจากการอภิปรายหัวข้อ “อุดรูรั่วพลังงานชีวมวล” ในการสัมมนา เรื่อง “ผลกระทบต่อสุขภาพจากนโยบายพลังงานชีวมวล” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เครือข่ายพลังงานยั่งยืน จ.สุรินทร์ เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อสังคม มูลนิธินโยบายสุขภาพภาวะ (มนส.) และโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมกันจัดขึ้น เมื่อวันที่ วันที่ 3 เม.ย.55 เพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหา
 
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม คือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล หน่วยงานรัฐทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ รวมทั้งผู้ประกอบการ 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วัดพระธรรมกายขอความเป็นธรรม กรณีนำคณะธุดงค์ใน กทม.

$
0
0
วัดธรรมกายวอนเห็นใจธุดงค์เมืองกรุง เทียบการชุมนุมปิดถนน เผาสถานที่ต่างๆ การก่อเหตุรุนแรงในกรุงเทพฯ หนักกว่านี้มีมาแล้ว
 
6 เม.ย. 55 - เนชั่นทันข่าวรายงานว่าพระในคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์วัดพระธรรมกาย เปิดเผยว่า การนำคณะสงฆ์ออกธุดงค์ รวม 1,500 รูป จากวัดพระธรรมกาย มายังวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยใช้เวลาในการเดินทางรวม 5 วัน สิ้นสุดภารกิจในเที่ยงวันนี้ (6 เม.ย. 55) โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในประเด็นที่สร้างปัญหาให้กับกรจราจร ในส่วนของคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์อยากเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากทุกฝ่ายด้วย อยากให้พิจารณาว่านี่คือกิจกรรมของพระพุทธศาสนา และก่อนที่จะจัดคณะออกเดินธุดงค์นั้น ทางวัดก็มีการประสานงานไปยังหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้อำนวยความสะดวกในกิจกรรม รวมไปถึงตำรวจนครบาลที่เข้ามาดูแล เพื่อให้เกิดปัญหากับการจราจรน้อยที่สุด
 
"หากจะตำหนิในสิ่งที่พระทำ อยากให้เปิดใจให้กว้าง ว่าการชุมนุมปิดถนน เผาสถานที่ต่างๆ การก่อเหตุรุนแรงในกรุงเทพฯ ที่หนักกว่านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ซึ่งความเดือดร้อนก็แตกต่างกันไป บางคนที่ตำหนิสงฆ์กับการเดินธุดงค์ อยากถามย้อนกลับไปว่า ตื่นเช้าเท่ากับที่พระออกมาทำวัตรหรือไม่ เคยออกมาเห็นถึงความปลาบปลื้มใจของคนที่เป็นพ่อ เป็น แม่ เห็นลูกอยู่ในร่มกาสาวพัตร์ หรือไม่ อาตมาเห็นผู้ที่น้ำตาไหลออกมา เพราะความปลาบปลื้มที่เห็นลูกออกธุดงค์ มีเป็นจำนวนมาก อยากให้คนที่วิจารณ์มองในมุมนี้ด้วย จราจรในกรุงเทพฯ ไม่มีพระธุดงค์ก็ติดอยู่แล้ว"
 
ส่วนที่ปรากฏภาพอุดม แต้พานิช นักพูดปรากฏในภาพกิจกรรมของวัดพระธรรมกาย ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเรื่องนี้มาจากความศรัทธาส่วนบุคคล ทั้งนี้อุดม เคยมาบวชที่วัดพระธรรมกาย และคาดว่า เส้นทางของอุดม ที่ผูกพันกับวัดยาวนานมากกว่า 10 ปี ไม่ใช่ความศรัทธา ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาอันสั้นพระรูปนี้กล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: ภาคประชาชนโวย ก.ทรัพย์ฯ ออก กม.ควบคุมน้ำบาดาล

$
0
0
เลขา กป.อพช อีสาน ระบุชาวบ้านผู้ใช้น้ำบาดาลรายย่อยจะได้รับผลกระทบจากประกาศกระทรวงฉบับนี้ ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชาวบ้านชี้เอื้อประโยชน์นายทุน
 
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2554 เรื่องกำหนดเขตน้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป โดยที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 7 จังหวัด บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา
 
ในประกาศของกระทรวงทรัพย์ฯ ได้กำหนดให้น้ำใต้ดินทุกจังหวัดที่อยู่ลึกจากผิวดินเกินกว่า 15 เมตรเป็น น้ำบาดาล โดยผู้ที่ใช้หรือประกอบการกิจการน้ำบาดาลที่มีการขุดเจาะใช้และประกอบกิจการไปก่อนหน้าที่จะมีประกาศกระทรวงฉบับนี้ จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่เพื่อขอใช้และประกอบกิจการน้ำบาดาล โดยต้องยื่นเรื่องขอภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศบังคับใช้ รวมไปถึงผู้ใช้น้ำและผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะขุดเจาะน้ำบาดาลจะต้องมีการยื่นเรื่องขออนุญาตใช้น้ำบาดาลด้วยเช่นกัน
 
โดยเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 55 เวลา 13.00 น. นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช) เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ประกาศฉบับนี้จะเป็นปัญหาและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำบาดาลรายย่อยอย่างแน่นอน เมื่อรัฐเข้ามาบริหารจัดการน้ำบาดาลด้วยตัวเองอย่างเบ็ดเสร็จประชาชนเกษตรกรจะเข้าถึงการใช้น้ำได้ยากขึ้น
 
“ชาวบ้านผู้ใช้น้ำบาดาลรายย่อยจะได้รับผลกระทบจากประกาศกระทรวงฉบับนี้ เพราะการรวมศูนย์การจัดการทุกอย่างที่ภาครัฐ โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 ให้สิทธิบุคคลและชุมชนมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ” นายสุวิทย์ กล่าว
 
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การกำหนดให้ทุกจังหวัด ที่มีน้ำใต้ดินอยู่ลึกจากผิวดินเกินกว่า 15 เมตร เป็นน้ำบาดาล ทำให้มาตรฐานการขุดเจาะเหมือนกันหมด ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้วระบบนิเวศแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน บางที่ดินอ่อน บางที่ดินแข็ง ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการพังลงของหน้าดินได้
 
ด้านนายบุญจันทร์ คำเบ้าเมือง เกษตรกรผู้ใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี และมีอาชีพรับเหมาขุดเจาะน้ำบาดาลขนาดเล็ก (ท่อ 6 หุน) ความลึกไม่เกิน 30 เมตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านใช้น้ำบาดาล โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากใคร เพราะน้ำบาดาลเป็นของคนในชุมชน และคนในชุมชนก็ช่วยกันจัดการ ดูแลเป็นอย่างดี
 
“หากหน่วยงานรัฐเข้ามาจัดการน้ำเอง และชาวบ้านต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งการขออนุญาตใช้น้ำ และเสียค่าบำรุงต่าง ๆ จะส่งผลให้ชาวบ้านเข้าถึงน้ำยากขึ้น และระบบบ่อน้ำบาดาลขนาดเล็กของชุมชนหายไป เพราะชาวบ้านผู้ใช้น้ำบาดาลรายย่อยไม่มีทุนทรัพย์มมาก และเป็นโอกาสสำหรับนายทุนผู้ขายน้ำ” นายบุญจันทร์กล่าว.
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยอดพล เทพสิทธา: การปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเปรียบเทียบไทย-ฝรั่งเศส 3: ความโปร่งใสในการจัดการงบประมาณและการมีส่วนร่วมในกิจการด้านการคลัง

$
0
0

หลักสำคัญของการกระจายอำนาจประการหนึ่งคือหลักว่าด้วยความเป็นอิสระในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลักเรื่องความเป็นอิสระนี้เองที่ถือเป็นการถ่ายโอนอำนาจของส่วนกลางมาให้แก่องคกรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการกำหนดนโยบายของแต่ละท้องถิ่นการจัดหาบุคคลากรและรวมถึงความเป็นอิสระในด้านการใช้จ่ายเงิน

ในส่วนของงบประมานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะมีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกันคือเงินอุดหนุนจากรัฐรายได้จากการเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ต่างๆและจากการกู้ยืมเงินจากแหล่งทุนอื่นๆ

สถานะทางการคลังของประเทศถือได้ว่าเป็นความลึกลับอย่างหนึ่งของแต่ละรัฐเนื่องจากข้อมูลด้านงบประมานนั้นเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐอย่างไรก็ตาม การจัดการด้านการคลังนั้นต้งมีความโปร่งใสเนื่องจากงบประมานส่วนหนึ่งนั้นมาจากการเก็บภาษีจากประชาชน ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความโปร่งใสในการจัดการด้านการใช้จ่ายต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นเดียวการกับหลักในการเข้าถึงข้อมูลของฝ่ายปกครอง ฝ่ายปกครองมีพันธะที่จะต้องเปิดเผยรายงานด้านการคลังของท้องถิ่นต่อประชาชนซึ่งเป็นไปตามรัฐบัญญัติลงวันที่ 6กุมภาพันธ์ 1992 ที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลด้านการคลัง

1. ความจำเป็นในการมีจุดเชื่อมโยงด้านการคลังระหว่างพลเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พลเมืองทุกคนที่มีรายได้ตามเกณฑ์ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้แก่องค์กรปปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนี้เพื่อนำเงินภาษีเหล่านั้นไปใช้ในกิจการสาธณะของท้องถิ่นเช่นการสร้างสวนสาธารณะการสร้างสนามกีฬาเป็นต้นเหตุที่ต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างพลเมืองผู้เสียภาษีดังกล่าวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นเพราะการเสียภาษีนั้นเป็นภาระของพลเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการชี้แจงการนำเงินเหล่านั้นไปจัดสรรกิจกรรมต่างๆและเพื่อเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเสียภาษี ซึ่งในการเสียภาษีนี้เองสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบของสองส่วนด้วยกันคือส่วนของพลเมืองและผู้แทนของท้องถิ่นในส่วนพลเมืองนั้นวัตถุประสงค์ในการเสียภาษีคือต้องการได้รับการบริการที่ดีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนของผู้แทนท้องถิ่นนั้นก็มีหน้าที่ในการตรากฎเกณฑ์ต่างๆเพื่อนำเงินภาษีไปใช้ในกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้อการของประชาชนในพื้นที่ของตนเอง

เงื่อนไขสองประการเกี่ยวกับความเชื่อมโยงด้านการคลังระหว่างพลเมืองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการแรกคือผู้เสียภาษีจะต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมจะต้องเสียภาษีให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เลื่อนไขประการที่สองคือผู้เสียภาษีนั้นมีหน้าที่ในการรับผิดชอบต่อกิจกรรมสาธารณะ

ในประเทศฝรั่งเศสแบ่งผู้เสียภาษีออกเป็นสามจำพวกด้วยกันได้แก่ประเภทแรกผู้เสียภาษีที่มีอัตราการจ่ายภาษีท้องถิ่นน้อยลงประเภทที่สองคือผู้เสียภาษีให้ท้องถิ่นอื่นแต่ต้องเฉลี่ยรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นนั้นมาให้แก่อีกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนึงเช่นในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มั่งคั่งกว่าอาจต้องเฉลี่ยรายได้จากการจัดเก็บภาษีมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อยกว่าและประเภทสุดท้ายได้แก่ผู้ที่เสียภาษีให้แก่รัฐและรัฐได้เฉลี่ยรายไดมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. ความถูกต้องตรงกันของงบประมานและรายระเอียดในการใช้จ่าย

รัฐกฤษฎีกาลงวันที่27 มีนาคม 1993 ได้กำหนดสิทธิและกฎเกณฑ์ต่างๆในการที่จะให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการรับรู้ถึงข้อมูลและสถานะทางการเงินของเทศบาล จังหวัดและภาคได้นอกจากนั้นยังรวมไปถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างเทศบาลและสหการที่เป็นการร่วมมือระหว่างเทศบาลเป็นต้นอย่างไรก็ตามสำหรับเทศบาลที่มีประชากรต่ำกว่า3500คนนั้นไม่ผูกพันตามัฐกฤษฎีกานี้ ในส่วนของเทศบาลที่อยู่ห่างไกลนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างวุ่นวายในการจัดทำรายงานการใช้จ่ายของเมศบาล ดังนั้นรัฐกฤษฎีการฉบับบนี้จึงได้กำหนดลักษณะของรายงานการใช้จ่ายไว้ตามขนาดของเทศบาลดังต่อไปนี้ เทศบาลที่มีประชากรตั้งแต่3500-9999คน รายงานการใช้จ่ายทำเพียงแค่รายละเอียดการใช้จ่ายแบบคร่าวๆส่วนเทศบาลที่มีประชากรตั้งแต่10000คนขึ้นไปจะต้องทำรายงานการใช้จ่ายไว้โดยละเอียด

นอกจากนั้นรัฐบัญญัติลงวันที่ 12 เมษายน 2000 ที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใสด้านการคลัง ยังกำหนดให้องค์กรของฝ่ายปกครองทุกองค์กรมีหน้าที่ในการเผยแพร่รายงานการใช้จ่ายของตนเองอีกด้วย

3. ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง

ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆในการจัดทำกิจกรรมเหล่านั้น ในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายว่าด้วยระเบียบพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง(code des marché publics)จะทำการจัดหาโดยวิธีอื่นไม่ได้

ในทุกๆปีจะมีการใช้เงินประมาน108พันล้านยูโรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งของเงินจำนวนนี้เป็นการใช้จ่ายผ่านช่องทางประมวลกฎหมายว่าด้วยระเบียบพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้าง เมื่อเงินในการจัดทำกิจกรรมของท้องถิ่นดังกล่าวส่วนหนึ่งนั้นมาจากเงินภาษีของประชาชนดังนั้นจึงมีความชอบธรรมที่ประชาชนจะได้รับข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นลักษณะการดำเนินงาน รายรับจากการดำเนินการและยังรวมไปถึงวิธีในการดำเนินการอีกด้วย

ประมวลกฎหมายว่าด้วยระเบียบพัสดุและการจัดซื้อจัดจ้างได้กำหนดหลักเกณ์ที่เกี่ยวข้องกับความโปร่งใสในการจัดซื้อ โดยวิธีการปิดประกาศความเห็นของคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและจะต้องลงรายละเอียดถึงสาเหตุหรือมูลเหตุจูงใจในการจัดซื้อหรือจัดหาอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นอย่างชัดแจ้งซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อหรือจัดหาพัสดุภัณฑ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นรัฐบัญัติลงวันที่ 17 กรกฎาคม1978 ได้กำหนดเงื่อนไขต่างในการขอเข้าถึงหรือขอดูเอกสารต่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองและสาธารณะชน พลเมืองแต่ละคนมีสิทธิในการเข้าดูเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องับการจัดซื้อจัดจ้างได้โดยอาจกระทำได้ในรูปแบบของการจัดตั้งองค์ที่ปรึกษาซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

แม้ว่าพลเมืองจะมีสิทธิในการเข้าถึงเอกสารของการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆอย่างไรก็ตามยังมีข้อยกเว้นบางประการในการเข้าถึงเอกสารคือ กรณีที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าระหว่างบริษัทเอกชนด้วยกันซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร(CADA)ได้ทำความเห็นไว้ว่าหากข้อมูลที่ขอเข้าถึงนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความลับทางการค้าหรือกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์

กล่าวโดยสรุปคือความโปร่งใสในทางการคลังนั้นสอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนคือ เป็นภาระผูกพันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อพลเมืองในการเปิดเผยรายงานการใช้จ่ายตางๆที่ได้ใช้ไปในการทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นและยังรวมไปถึงการที่พลเมืองสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อุทยานฯ เมิน "โฉนดชุมชน" บุกรื้อสะพานทางเข้าพื้นที่บ้านหาดสูง-ขู่ใครขวางเจอยิง

$
0
0

หัวหน้าหน่วยอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้พร้อมอาวุธปืน SK และปืน M16 เข้ารื้อถอนสะพานเข้าพื้นที่โฉดชุมชนบ้านหาดสูง ชาวบ้านเผยร้องขอทั้งน้ำตา แต่เจ้าหน้าที่อ้างทำตามคำสั่ง พร้อมขู่ถ้าขัดขวางจะถูกยิง

 
 
เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. วันที่ 6 เม.ย.55 นายเกรียงศักดิ์ ดีกล่อม หัวหน้าหน่วยปากแจ่ม อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ 30 คน และตำรวจตระเวนชายแดน 5 คน พร้อมด้วยเครื่องเลื่อย 2 เครื่อง และอาวุธปืน SK และปืน M16 เข้าไปรื้อถอนสะพานเข้าพื้นที่จัดทำโฉดชุมชนบ้านหาดสูง ม.5 ต.เขาปูน อ.ห้วยยอด และ ม.7 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง จำนวน 2 สะพาน ขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 13 เมตร
 
นางกิจวรรณ สังข์ช่วย ชาวบ้านหาดสูง สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า บ้านหาดสูงก่อตั้งชุมชนมาก่อน พ.ศ.2500 หลังจากนั้น มีการสัมปทานป่าไม้ในปี พ.ศ.2503 และการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ทับซ้อนพื้นที่ชุมชนในปี พ.ศ.2525 ชาวบ้านทำสวนยางมานานแล้ว ไม่ได้บุกรุกป่า ต่อมาประมาณต้นปี 2555 ได้ยื่นเรื่องขอจัดทำโฉนดชุมชนไปยังสำนักงานโฉนดชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่
 
 
นางกิจวรรณ กล่าวต่อไปว่า ประมาณเดือนธันวาคม 2555 หัวหน้าอุทยานฯ ได้มีคำสั่งรื้อถอนสะพานบ้านหาดสูง ทางองค์กรชุมชนบ้านหาดสูง และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้รายงานต่อสำนักงานโฉนดชุมชน ต่อมาสำนักงานโฉนดชุมชนได้มีหนังสือถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ชะลอการรื้อถอนสะพานดังกล่าว และตรวจสอบข้อเท็จจริงตามอำนาจหน้าที่ และตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ.2553
 
“แต่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ก็มาตัดฟันสะพานไม้เข้าบ้านหาดสูง 2 สะพาน มีอาวุธปืนสงครามมาด้วย ตอนจะรื้อถอนสะพานแรก ฉันอยู่ในเหตุการณ์กับลูกสาว 2 คน ได้ขอร้องทั้งน้ำตาให้เขาหยุดรื้อสะพาน เพราะเราต้องเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน และยื่นหนังสือสำนักนายกฯ ให้ชะลอการรื้อถอนสะพานให้เจ้าหน้าที่ดู เขาบอกว่าต้องทำตามคำสั่งของหัวหน้าอุทยานฯ พูดจาดูหมิ่น และขู่ว่าถ้าขัดขวางจะถูกยิง แล้ว ตชด.ก็เข้ามามัดตัวฉัน แล้วก็ตัดฟันสะพานแรก หลังจากนั้น ก็มีพี่น้องมาสมทบเพิ่ม ขอร้องให้เขาอย่าตัดฟันสะพานที่ 2 แต่เขาก็ไม่ฟัง ขู่ว่าถ้ามาขัดขวางจะยิง และแจ้งความจับเรา” นางกิจวรรณกล่าว
 
นายสมนึก พุฒนวล กรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) กล่าวว่า บ้านหาดสูงเป็นหมู่บ้านดั้งเดิม และอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำโฉนดชุมชน การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขต เข้ามาทำลายทรัพย์สินส่วนรวม และข่มขู่คุกคามชาวบ้านด้วยวาจา และอาวุธปืน แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานป่าไม้ไม่ได้ปฏิบัติตามบันทึกความร่วมมือที่ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นๆ จัดทำร่วมกับสำนักงานโฉนดชุมชน
 
มิหนำซ้ำอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังแถลงว่าจะตัดฟันสวนยางในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคใต้ เนื้อที่หลายแสนไร่ และมีการปฏิบัติโดยไม่แยกแยะว่าเป็นที่ดินทำกินดั้งเดิมหรือไม่
 
“น่าสังเกตว่าภาครัฐไม่ได้ปรองดองกับประชาชน น่าเป็นห่วงว่าจะเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับประชาชนให้ลุกลามกันไปเป็นเรื่องใหญ่” นายสมนึก กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ วันที่ 30 มี.ค.55 นายสมชัย แสงแก้ว หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ จำนวน 50 นาย เข้าไปตัดฟันสวนยางของชาวบ้านจำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 8 ไร่ ในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 3 เม.ย.55 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ได้ไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าฯ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พรรครัฐบาลพม่าโวย “เอ็นแอลดี” ทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

$
0
0

ประธานสาขาภาคย่างกุ้ง พรรคสหสามัคคีและการพัฒนาหรือ "USDP" เตรียมร้องเรียนว่าพรรค “NLD” ของนางออง ซาน ซูจีทำผิดกฎหมายเลือกตั้งกว่า 100 กรณี แถมมาโบกธงเย้ยหน้าที่ทำการพรรคชี้เป็นการ “ท้าทาย” พร้อมถามถ้ามีสมาชิกพรรค USDP เกิดทนไม่ไหวแล้วเข้าไปทำร้าย ควรจะประณามใคร

เมื่อวานนี้ (6 เม.ย.) นายอ่อง เถ่ง ลิน (Aung Thein Lin) ประธานสาขาระดับภาคย่างกุ้ง ของพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งอนุญาตให้เฉพาะสื่อมวลชนพม่าเข้าฟัง โดยนายอ่อง เถ่ง ลิน ระบุว่าจะร้องเรียนว่าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ละเมิดกฎหมายเลือกตั้งในหลายพื้นที่ในย่างกุ้ง ระหว่างที่มีการหาเสียงและในวันลงคะแนน

“คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ระดับอำเภอ) มีหน้าที่สืบสวนเรื่องดังกล่าวว่าข้อกล่าวหานี้ถูกหรือผิด” เขากล่าว

เขากล่าวว่าพรรค USDP ได้ร้องเรียนการละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง 2 กรณีที่อำเภอกอว์มู และอีก 1 กรณีที่อำเภอมิงกะลา ตอง ยุ้นต์ และอีก 120 กรณีที่อำเภอตะโกง เซกัน และอีก 3 กรณีในภาคย่างกุ้งซึ่งไม่สามารถระบุสถานที่ได้ อย่างไรก็ตามไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของข้อกล่าวหาดังกล่าว

จากที่ก่อนหน้านี้ มีข้อกล่าวหาว่า มีการป้ายขี้ผึ้งบริเวณช่องทำเครื่องหมายลงคะแนนให้พรรค NLD เพื่อไม่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ NLD นั้น นายอ่อง เถ่ง ลิน กล่าวว่าไม่มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นในการเลือกตั้งปี 2553 และเขาต้องการให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสอบสวนเรื่องนี้เช่นกัน

“ประชาชนกล่าวว่า พวกเขาโกรธมากหลังจากที่พรรคต้องแพ้ เพราะคำกล่าวหาเหล่านี้เรายิ่งโกรธเป็นสองเท่า” อ่อง เถ่ง ลินกล่าว

ก่อนหน้านี้ ผู้สมัคร ส.ส.พรรค USDP นพ.ซอ มิน ซึ่งแพ้การเลือกตั้งให้กับนางออง ซาน ซูจี ที่เขตกอว์มูกล่าวระหว่างการแถลงข่าวว่า แม้ว่าออง ซาน ซูจี และเจ้าหน้าที่พรรค NLD จะบอกแก้สมาชิกพรรคว่าให้ควบคุมการเฉลิมฉลองและการแสดงอการตื่นเต้น เพื่อที่จะไม่ทำให้บุคคลอื่นและองค์กรอื่นรู้สึกไม่พอใจ อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรค NLD จำนวนมากไม่ได้ทำเช่นนั้น

“พวกเขาโบกธงนกยูง (ธงของพรรค NLD) อยู่หน้าที่ทำการพรรคของพวกเรา นี่แปลว่าพวกเขากำลังท้าทายพวกเรา และในเวลานั้น ถ้าเกิดมีคนในพรรคของเราสักคนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้ แล้วไปทำลายพวกเขา คุณคิดว่าใครสมควรถูกประณาม?” นพ.ซอ มิน กล่าว

โดยนายอ่อง เถ่ง ลิน กล่าว่า พฤติกรรมของสมาชิกพรรค NLD ในหลายพื้นที่ได้ สร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกพรร ค USDP

เขากล่าวด้วยว่า พรรค USDP จะทบทวนจุดแข็งและจุดอ่อนของพรรคที่เกิดขึ้นในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งซ่อมนี้ และจะเดินหน้าทำงานในพื้นที่ต่อไป ทั้งการก่อสร้างถนน การปรับปรุงระบบแจกจ่ายน้ำ การตรวจสุขภาพ การศึกษา งานด้านสังคม และโครงการทางเศรษฐกิจ


ที่มา: แปลจากสำนักข่าว Mizzima, 6 เม.ย. 55

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ซีเรียยิ่งปะทุหนัก หลังยูเอ็นเสนอแผนสันติภาพ

$
0
0
หลังจากที่ยูเอ็นเสนอแผนการสันติภาพ 6 ประเด็น และแผนระงับการใช้กำลังกับทุกฝ่ายในวันที่ 10-12 เม.ย. ที่จะถึงนี้ ก็มีรายงานว่าความรุนแรงตามเมืองต่างๆ ยิ่งปะทุหนักขึ้น มีผู้อพยพล้นทะลักเข้าประเทศตุรกี
 
7 เม.ย. 55 - บังคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวประณามการใช้กำลังปราบปรามประชาชนครั้งล่าสุดของรัฐบาลซีเรีย หลังจากที่สหประชาชาติเสนอแผนการสันติภาพ 6 ประเด็น และแผนการระงับจากใช้กำลังจากทุกฝ่ายภายในวันที่ 10-12 เม.ย. ที่จะถึงนี้ ซึ่งทางรัฐบาลซีเรียก็ตกลงยอมรับข้อเสนอดังกล่าวแล้ว
 
บังคีมูน กล่าวว่า กำหนดการหยุดยิงในวันที่ 10 เม.ย. นั้นไม่ใช่สิ่งที่กองทัพฝ่ายประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด จะใช้อ้างเพื่อทำการสังหารประชาชนต่อไปได้
 
นักกิจกรรมบอกว่ามีประชาชนอย่างน้อย 100 คนถูกสังหารในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เมื่อกองทัพเพิ่มความรุนแรงในการปราบปรามมากขึ้น 
 
โดยก่อนหน้านี้ ประเทศตุรกีก็ได้ขอความช่วยจากสหประชาชาติจากการที่มีผู้อพยพจากซีเรียล้นทะลักเข้ามาในประเทศ อาห์เม็ด ดาวูโตกลู รมต.ต่างประเทศของตุรกีกล่าวว่า ปริมาณของผู้อพยพเพิ่มสูงขึ้นสองเท่าหลังจากที่อัสซาดยอมรับข้อเสนอที่สหประชาชาติกับองค์กรสันนิบาตชาติอาหรับเป็นผู้ร่างขึ้นมา
 
รมต.ต่างประเทศตุรกีกล่าวว่า มีชาวซีเรียมากกว่า 2,800 คนข้ามเขตแดนมายังตุรกีในช่วง 36 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยในตอนนี้มีผู้อพยพจากซีเรียรวมกว่า 24,000 คนแล้ว มีผู้อพยพหลายคนบอกเล่าถึงการโจมตีด้วยอาวุธหนักของรัฐบาล
 
แผนการสันติภาพ 6 ประเด็น ที่มีโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการยูเอ็นเป็นผู้แทนในการเจรจา มีการเสนอให้ยุติการใช้ความรุนแรงจากกองกำลังของทุกฝ่ายในวันที่ 10 เม.ย. และให้มีการหยุดยิงโดยสิ้นเชิงในวันที่ 12 เม.ย.
 
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย ประเทศสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางต่างกังขาว่าซีเรียจะยอมปฏิบัติตามข้อตกลงจริงหรือไม่
 
จากแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมา บังคีมุน บอกว่า การโจมตีประชาชนครั้งล่าสุดของรัฐบาลซีเรีย ถือเป็นการละเมิดข้อเรียกร้องของสหประชาชาติที่เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดปฏิบัติการทางมหาร
 
แถลงการณ์ระบุว่า บังคีมูน แสดงความเสียใจต่อการที่รัฐบาลซีเรีบใช้กำลังโจมตีประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมถึงเด็กและผู้หญิง แม้ว่ารัฐบาลซีเรียจะมีฉันทามติในการหยุดใช้อาวุธหนักโจมตีใส่เขตชุมชนก็ตาม
 
ผู้สื่อข่าว BBC รายงานว่า แม้จะใกล้เวลากำหนดการระงับความรุนแรงในวันที่ 10 เม.ย. แล้ว แต่ในเมืองฮอมและเขตอื่นๆ อีกบางเขต ดูจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น แทนที่ความรุนแรงจะลดลง
 
นักกิจกรรมกล่าวหาว่ารัฐบาลพยายามจะใช้กำลังปราบปรามประชาชนให้ราบคาบไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แต่ทางฝ่ายรัฐบาลบอกว่ากลุ่มกองกำลังกบฏได้ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์หลังจากที่มีการถอนกำลังกองทัพออกจากเมืองแล้ว
 
ทีมเจรจาของสหประชาชาติยังคงอยู่ในกรุงดามาสกัสของซีเรียเพื่อหารือเรื่องความเป็นไปได้ใยการที่จะให้คณะตรวจสอบของยูเอ็นเข้ามาตรวจสอบเรื่องการหยุดยิง โดยโคฟี่ อันนัน บอกว่าหากการเจรจาสำเร็จ ทางยูเอ็นจะส่งคณะตรวจสอบมายังซีเรีย 200-250 คน
 
ทางยูเอ็นเปิดเผยว่ามีคนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ประท้วงยาวนานของซีเรียแล้วกว่า 9,000 คน
 

 

ภาคผนวก
แผนการสันติภาพ 6 ประเด็น ของอันนัน

1.) ควรมีกระบวนการนำโดยซีเรีย ในการระบุถึงความคาดหวังและความกังวลของประชาชน
2.) การหยุดรบจากกองกำลังของทุกฝ่ายเพื่อปกป้องประชาชน โดยมีการดูแลจากยูเอ็นในเรื่องนี้
3.) ให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้ และให้มีการหยุดเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม 2 ชั่วโมงต่อวัน
4.) ทางรัฐบาลต้องระบุถึงปริมาณและระยะเวลาการปล่อยตัวคนที่ถูกจับกุมอย่างไม่มีสาเหตุ
5.) ทางรัฐบาลต้องให้เสรีภาพในการเดินทางของนักข่าวทั่วประเทศ
6.) ทางรัฐบาลต้องเคารพเสรีภาพในการรวมตัวและสิทธิในการชุมนุมอย่างสันติ


กำหนดการหยุดยิง
- ในวันที่ 10 เม.ย. รัฐบาลซีเรียต้องถอนกำลังทัพและอาวุธหนักเช่นรถถัง ออกจากเมือง หมู่บ้าน และย่านชุมชน
- หลังจากนั้น 48 ชั่วโมงต้องมีการหยุดยิง โดยตั้งอยู่บนฐานที่ให้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลต้องปฏิบัติตามการนำของรัฐบาล
- ในเวลา 6.00 น. ของวันที่ 12 เม.ย. ต้องไม่มีความรุนแรงทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะจากฝ่ายใดก็ตาม
- ขั้นตอนต่อจากนั้น ทุกฝ่ายจะมีการเจรจาหารือเพื่อหาข้อยุติทางการเมือง

 

 
 
 
ที่มา:
 
Syria crisis: UN chief Ban Ki-moon condemns attacks, 07-04-2012, BBC
http://www.bbc.co.uk/news/world-middle-east-17642576
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images