Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อันพังเพยไทยแท้แต่นานมา..."

$
0
0

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อันพังเพยไทยแท้แต่นานมา..."


กะเหรี่ยง KNU-รัฐบาลพม่าเห็นชอบแผน 13 ข้อเพื่อสร้างสันติภาพ

$
0
0

คณะเจรจาจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เดินทางไปยังเมืองผาอัน-ย่างกุ้ง เพื่อหารือเรื่องการหยุดยิง ก่อนได้ข้อตกลงร่วม 13 ข้อ เพื่อวางกรอบการสร้างสันติภาพ รวมทั้งหลักปฏิบัติเพื่อรับรองความปลอดภัยพลเรือน วางแผนตั้งถิ่นฐานให้แก่ผู้ลี้ภัย การกำจัดทุ่นระเบิด และปล่อยนักโทษการเมืองชาวกะเหรี่ยงด้วย ขณะที่ล่าสุดวันนี้เลขาธิการ KNU และคณะเดินทางไปเนปิดอว์เพื่อหารือกับประธานาธิบดีพม่าด้วย 

 สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง-รัฐบาลพม่า บรรลุข้อตกลงร่วม 13 ข้อ เพื่อวางกรอบสร้างสันติภาพ

เว็บไซต์ Karennews รายงานวันนี้ (7 เม.ย.) ว่าคณะเจรจาจากสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union - KNU) และรัฐบาลพม่าสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน 13 ข้อ เพื่อสร้างกรอบการเจรจาหยุดยิงระหว่างสองฝ่าย ภายหลังจากที่มี "การเจรจาสันติภาพ" เมื่อวานนี้ (6 เม.ย.) ที่โรงแรมเซโดนา ในย่างกุ้ง โดยคณะสังเกตการณ์จากต่างประเทศ และผู้นำชาวกะเหรี่ยงต่างๆ ได้รับอนุญาตให้เฝ้าสังเกตการณ์เจรจาดังกล่าว

ทั้งนี้ภายหลังจากการเจรจา 1 วัน ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะรับหลักการที่จะทำให้เกิด "ผลในทางปฏิบัติที่มีความก้าวหน้า" และจะทำงานร่วมกันเพื่อเกิดการหยุดยิงทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ของกลุ่มชนชาติต่างๆ

ข้อตกลงร่วมกันทั้ง 13 ข้อดังกล่าว มาจากความเห็นชอบจากทั้ง 2 ฝ่าย มีการอ่านและนำเสนอต่อหน้าสักขีพยานและสื่อมวลชนที่มาติดตามทำข่าว

ทั้งนี้ KNU และรัฐบาลพม่ากล่าวว่าทั้งสองฝ่ายได้สนทนากัน เห็นชอบร่วมกัน และได้เตรียม "หลักปฏิบัติสำหรับการหยุดยิง" เพื่อการันตีความปลอดภัยของประชาชน

 

เตรียมตั้งคณะสังเกตการณ์หยุดยิงจากทั้งสองฝ่าย และวางแผนพัฒนาร่วมกัน

ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบที่จะมีคณะกรรมการสร้างสันติภาพในระดับเมือง อำเภอ และตำบล โดยทั้งสองฝ่ายตัดสินใจที่จะมี "คณะสังเกตการณ์หยุดยิง" ระดับท้องถิ่น ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบให้ "คณะสังเกตการณ์นานาชาติ" เข้ามาหลังจากที่กระบวนการหยุดยิงมีความคิบหน้าด้วย

นอกจากนี้ หนึ่งใน 13 ข้อตกลงร่วมกันของทั้งสองฝ่ายยังรวมไปถึงแผนการตั้งถิ่นฐานใหม่สำหรับผู้ลี้ภัยภายในประเทศ การกำจัดทุ่นระเบิด การตั้งถิ่นฐานใหม่สำหรับผู้ลี้ภัย การมอบสัญชาติ การทำให้นิติรัฐมีผลในทางปฏิบัติ และการทำงานร่วมกันเพื่อ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" สิทธิในที่ดินทำกิน การร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่น เพื่อสร้างเสริมสันติภาพ และปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวกะเหรี่ยง

สำหรับคณะเจรจาของฝ่ายสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU 13 คน นำโดยเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงนาง นอว์ ซิปโปร่า เส่ง ส่วนคณะเจรจาของฝ่ายรัฐบาลพม่า 12 คน นำโดยรัฐมนตรีกิจการรถไฟ นายอ่อง มิน

ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 4 - 11 เมษายน นี้ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU มีกำหนดการหารือกับรัฐบาลพม่าเรื่องการสร้างสันติภาพ โดยตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย. มีการหารือกับตัวแทนรัฐบาลพม่าที่เมืองผาอัน รัฐกะเหรี่ยง ในเรื่องหลักปฏิบัติของกองทัพทั้งสองฝ่าย การสังเกตการณ์การหยุดยิง การตั้งสำนักงานประสานงาน นอกจากนี้ในวันที่ 5 เม.ย. สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคมในรัฐกะเหรี่ยงที่เมืองผาอัน ก่อนออกเดินทางไปยังนครย่างกุ้งเพื่อหารือเรื่องการสร้างสันติภาพกับตัวแทนรัฐบาลพม่าในระดับสหภาพเมื่อ 6 เม.ย. ดังกล่าว

นอว์ ซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) (หันหน้า คนที่สองจากซ้าย) หารือกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ที่กรุงเนปิดอว์ วันนี้ (7 เม.ย.) ที่มา: Voice Weekly/facebook.com

 

เลขาธิการ KNU หารือประธานาธิบดี "เต็ง เส่ง"

ขณะที่ล่าสุดวันนี้ (7 เม.ย.) มีรายงานว่านางนอว์ ซิปโปร่า เส่ง เลขาธิการ KNU และคณะประมาณ 6 คน ได้เดินทางโดย "เที่ยวบินพิเศษ" จากนครย่างกุ้งไปยังกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า เพื่อหารือกับนายเต็งเส่ง ประธานาธิบดีพม่าเป็นเวลา 90 นาที ทั้งนี้รายละเอียดของการหารือยังไม่มีการเปิดเผย อย่างไรก็ตามสื่อพม่าหลายฉบับได้เผยแพร่ภาพถ่ายเลขาธิการ KNU หารือกับนายเต็ง เส่ง

ขณะที่เว็บไซต์ของบางกอกโพสต์ รายงานวันนี้ อ้างอิงคำพูดของประธานาธิบดีพม่า ผ่านการให้ข่าวของ "แหล่งข่าว" ที่เป็นเจ้าหน้าที่พม่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการหารือดังกล่าว โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวว่า ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้กลุ่มการเมืองทุกกลุ่มได้มีตัวแทนทางการเมือง "อาวุธที่ถือในมือของพวกเขา ไม่ควรนำมาใช้สู้กันและกัน แต่ควรใช้เพื่อปกป้องประเทศ" แหล่งข่าวอ้างคำพูดของนายเต็ง เส่ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีการยืนยันถ้อยแถลงดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1 - 7 เม.ย. 2555

$
0
0

คสรท.ย้ำจุดยืนนโยบายค่าจ้าง 300 บาท ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างไม่เป็นธรรม 

กรุงเทพฯ 1 เม.ย. - คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ย้ำจุดยืนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ  แต่ค้านมาตรการคงค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557-58 เหตุค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน ทั่วประเทศ 9 แห่ง

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงจุดยืนสนับสนุนนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ว่าหากนโยบายดังกล่าวจะเป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดระบบค่าแรงที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ทำให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเรียกร้องค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมโอกาสมีงานทำที่มี คุณค่า (Decent Work) ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ที่ดำเนินการให้มีการส่งเสริมในทุกรัฐบาล องค์กรนายจ้าง และองค์กรลูกจ้าง ที่เป็นสมาชิกในการเสริมสร้างคุณค่าในแต่ละประเทศ
   
ทั้งนี้ คสรท. มีจุดยืนต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท ดังนี้ 1.ขอสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทยดำเนินนโยบาย ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้กับผู้ใช้แรงงานกว่า 38 ล้านคน 2. ขอสนับสนุนและเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมในมาตรฐานค่าจ้างขั้นต่ำ ตามหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  และ 3.ขอคัดค้านมาตรการคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2557 และ 2558 เนื่องจากสภาวการณ์ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค สาธารณูปโภคและพลังงาน ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่เป็นค่าใช้จ่ายพื้นฐานของแรงงาน
   
อย่างไรก็ตาม จากนโยบายดังกล่าว ผู้ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากยังไม่มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นได้จริง และอาจมีการละเมิดสิทธิแรงงาน ไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย คสรท.จึงได้ประสานความร่วมมือองค์กรแรงงานเพื่อให้เปิด “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม” เพื่อรับแจ้งการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยจัดตั้งศูนย์ 9 ศูนย์ ได้แก่ 1) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02 2513170 2) ศูนย์แรงงาน กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ย่านนิคมอุตสาหกรรมเวลโกร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทราโทรศัพท์ 038 842921 ผู้ประสานงาน นายราเล่ อยู่เป็นสุข 084 5408778

3) กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง เลขที่ 32 หมู่ 1 ถ.สุดบรรทัด ต. ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โทรศัพท์ 036 245441 ผู้ประสานงาน นายบุญสม ทาวิจิตร 0817590827 ,4) กลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก เลขที่ 120/46 หมู่ 3 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 038 337523 ผู้ประสานงาน นายสมพร ขวัญเนตร 0837695687 ,5) สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย - TEAM เลขที่ 1/446 หมู่ที่ 14 ซอยบางแสน 2 ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02 7078072 ผู้ประสานงาน นายยงยุทธ เม่นตะเภา 0818282538 ,6) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เลขที่ 50/32 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 โทรศัพท์ 02 8125277 ผู้ประสานงาน นางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย 0811787489
   
7) สหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต เลขที่ 12/133 หมู่ 3 ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 ผู้ประสานงาน นายวิจิตร ดาสันทัด 0815351764 , 8) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เลขที่ 44 ซอยวิภาวดีรังสิต 11 นิคมรถไฟ กม.11 เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02 5378973 ผู้ประสานงาน นายสาวิทย์ แก้วหวาน 0863361110 และ 9) สหพันธ์แรงงานธนาคารสหภาพแรงงานธนาคารกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02 2252166 ผู้ประสานงาน นายศักดิ์สิทธิ์ อุดมศิลป์ (เลขาธิการ) 0896977826

(สำนักข่าวไทย, 1-4-2555)

 
พนง.40 มหา′ลัยร้องรัฐบาลไม่ได้รับความเป็นธรรม คุณภาพชีวิตตกต่ำ ขอสิทธิเท่า "ข้าราชการ"

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา จัดเสวนาเรื่อง "เหลียวหลัง แลหน้า 13 ปี พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไทย" โดยมีนายภาวิช ทองโรจน์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะและบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ น.ท. สุมิตร สุวรรณ อาจารย์ประจำคณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตกำแพงแสน ในฐานะผู้แทนเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา โดยมีพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 300 คน จาก 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าร่วม

น.ท.สุมิตรกล่าวว่า เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เกิดจากการรวมตัวของพนักงานมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับความไม่เป็นธรรมจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับผ่านทาง เฟซบุ๊ก และได้เริ่มเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์และการดูแล ที่ดีขึ้น โดยปัจจุบันมีพนักงานมหาวิทยาลัยประมาณ 40,000-50,000 คน อยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีพนักงานประมาณ 60% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) แต่สถานะดังกล่าวถูกผูกมัดด้วยสัญญาจ้าง ทำให้อาจารย์เกิดความกังวลว่า อาจจะถูกประเมินไม่ต่อสัญญาจ้างด้วยระบบที่ไม่เป็นธรรม

"ปัญหาดังกล่าวทำให้บุคลากรขาดกำลังใจ รวมถึงไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการตามหลักที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ไว้ ที่สำคัญคือ การไม่ได้รับค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2542 ที่กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้ 1.7 และ 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุที่เป็นอัตราปัจจุบัน และนโยบายที่รัฐบาลขึ้นเงินเดือน 5% ให้ข้าราชการ กลับไม่ครอบคลุมถึงข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยที่ทำงานมานานและอัตรา เงินเดือนเกินอัตราบรรจุแรกเข้า ขณะที่บางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้ปรับเงินเดือนให้พนักงานมหาวิทยาลัย" น.ท.สุมิตรกล่าว

น.ท.สุมิตรกล่าวต่อว่า เมื่อเร็วๆ นี้เครือข่ายได้ยื่นหนังสือถึงนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยว ข้องตั้งแต่ระดับรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สกอ. ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้ามาดูแลพนักงานมหาวิทยาลัย โดยกำหนดกลไกการประเมินที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงในประสิทธิภาพการทำงาน ยกเลิกระบบประกันสังคม โดยจัดทำสวัสดิการเอง กำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าระบบราชการเดิม และเสนอให้แก้กฎหมาย คือ พ.ร.บ.ระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มาเป็น พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนและพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... เพื่อให้พนักงานมหาวิทยาลัยได้รับสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ

"หากเราปล่อยให้สภาพพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นเช่นนี้ จะส่งผลกระทบอย่างมากกับคุณภาพนักศึกษา และคุณภาพการศึกษาในระยะยาว เพราะเมื่ออาจารย์ยังไม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ก็ไม่มีกำลังใจที่จะสอน และบางคนต้องไปทำอาชีพเสริม เช่น ขายประกัน ขายของนอกเวลางาน แทนที่จะใช้เวลาพัฒนางานสอน หรือบางคนลาออกไปสอบเป็นครูประถม เพราะมีสถานะเป็นข้าราชการและได้รับสวัสดิการดีกว่า" น.ท.สุมิตรกล่าว

ด้านนายภาวิชกล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพนักงานมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับผู้บริหารและสภา มหาวิทยาลัยว่าจะแก้ไขอย่างไร ทั้งนี้ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยต้องพยายามสะท้อนปัญหาเพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจ แต่ถ้าผู้บริหารยังไม่เข้าใจ แนวทางการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาก็เป็นแนวทางที่น่าจะสามารถ ดำเนินการได้

ขณะที่นายขจรกล่าวว่า ยอมรับว่า สกอ.ไม่ได้เข้าไปดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์ให้พนักงานมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมาได้กระจายอำนาจให้มหาวิทยาลัยต่างๆ บริหารจัดการตัวเองได้ เท่าที่ดูมีหลายแห่งสามารถนำงบประมาณที่ได้รับไปดูแลพนักงานได้อย่างดี ขณะที่อีกหลายแห่งไม่สามารถทำได้ ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการดูดคนเก่ง คนดี เข้าไปเป็นอาจารย์ หากมหาวิทยาลัยใดไม่สามารถดูแลสิทธิประโยชน์ให้กับพนักงานได้ ก็จะไม่มีคนเก่งคนดีมาทำงาน

(มติชน, 1-4-2555)

 
ก.แรงงาน เร่งช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ประสบเหตุคาร์บอมบ์ในภาคใต้

นางสาวส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผล กระทบจากเหตุคาร์บอมบ์ที่บริเวณโรงแรม ลี การ์เดนส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อเวลา 13.00 น.วันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยสำนักงานประกันสังคม ได้รายงานยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มีผู้บาดเจ็บ จำนวน 27 คน และผู้ประกันตนมาตรา 39 เสียชีวิต จำนวน 1 คน ส่วนการให้ความช่วยเหลือนั้น ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกชี้แจงและแจ้งสิทธิ ณ จุดเกิดเหตุร่วมกับจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งได้ประสานญาติผู้ประกันตนที่เสียชีวิต เพื่อมอบค่าทำศพ เป็นเงินจำนวน 40,000 บาท ในวันนี้ (2 เม.ย.55) โดยมี นายสุรพล พนัสอำพล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ นางสุพัชรี มีครุฑ ผู้ตรวจราชการสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้แทนกระทรวงแรงงาน นอกจากนี้ในวันนี้ยังมีกำหนดเยี่ยมผู้ประกันตนที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ต่างๆ ด้วย

รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า สำหรับเหตุการณ์ระเบิดบริเวณถนนร่วมมิตร ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ในวันเดียวกัน เวลาประมาณ 12.00 น. เป็นเหตุให้มีลูกจ้าง และผู้ประกันตนเสียชีวิต 6 คน และบาดเจ็บ 17 คน ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลาได้เร่งเข้าช่วยเหลือ เพื่อประสานโรงพยาบาลจังหวัดยะลาเพื่อดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 2-4-2555)

 
กสร.เชื่อ รัฐบาลมีมาตรการดูแลกลุ่มเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขั้นค่าจ้าง

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังและน่าเป็นห่วง แต่เชื่อว่ารัฐบาลจะมีมาตรการดูแลเพื่อไม่ให้สถานการณ์รุนแรง ขณะเดียวกัน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มเอสเอ็มอีสะท้อนปัญหาและสิ่งที่ต้องการให้ช่วยเหลือ โดยในเบื้องต้นอาจจะมีมาตรการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาช่วยในระยะแรก เพื่อปรับปรุงสถานประกอบการ เพราะจากการรับฟังปัญหาส่วนใหญ่กลุ่มเอสเอ็มอีต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ สิ่งที่เพิ่มขึ้นจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งขณะนี้ก็ได้ส่งพนักงานตรวจแรงงานลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ อย่างต่อเนื่อง เพราะช่วงนี้นายจ้างอาจตัดสินใจปลดคนงานที่ทำงานต่ำกว่ามาตรฐานที่ต้องการ และหันไปพัฒนาคนงานที่เหลือโดยไม่รับคนงานเพิ่ม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ดังนั้นช่วงนี้ผู้ใช้แรงงานต้องเร่งพัฒนาตนเอง ทำงานได้ปริมาณที่มากขึ้นและมีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่เข้าข่ายถูกเลิกจ้าง

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 2-4-2555)

 
จบปริญญาว่างงานมากที่สุด 9.8 หมื่นคน

ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรประจำเดือนมกราคม 2555 พบว่ามีจำนวนผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.28 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมที่จะทำงาน 38.62 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีงานทำ 37.92 ล้านคน ผู้ว่างงาน 3.15 แสนคน และผู้ที่รอฤดูกาล 3.78 แสนคน ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานหรือผู้ที่ไม่พร้อมทำงาน 15.66 ล้านคน ได้แก่ แม่บ้าน นักเรียน คนชรา เป็นต้น
 
จำนวนผู้มีงาน 37.92 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรม 13.39 ล้านคน และนอกภาคเกษตรกรรม 24.53 ล้านคน
 
สำหรับจำนวนของผู้ที่ว่างงานในเดือนมกราคม 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 3.15 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.9 หมื่นคน(จาก 3.74 แสนคน เป็น 3.15 แสนคน) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.43 แสนคน (จาก 1.72 แสนคน เป็น 3.15 แสนคน)
 
ส่วนการว่างงานตามกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มวัยเยาวชนหรือผู้มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการว่างงานร้อยละ 2.9 ซึ่งปกติในกลุ่มนี้อัตราการว่างงานจะสูง ส่วนกลุ่มวัยผู้ใหญ่ (อายุ 25 ปีขึ้นไป) มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.5 เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 กลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 3.8 เป็นร้อยละ 2.9 เมื่อเปรียบเทียบกันเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมากลุ่มวัยเยาวชนมีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 2.9
 
สำหรับระดับการศึกษาที่สำเร็จของผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2555 พบว่า ผู้ว่างงานที่มีการศึกษาในระดับอุดมศึกษามีจำนวนมากที่สุด 9.8 หมื่นคน(ร้อนละ 1.4) รองลงมาเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 8.3 หมื่นคน(ร้อยละ 1.5) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6.5 หมื่นคน(ร้อยละ 1.0) ระดับประถมศึกษา 4.8 หมื่นคน (ร้อยละ 0.6) และผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.1 หมื่นคน (ร้อยละ0.2) เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2554 พบว่า จำนวนผู้ว่างงานลดลงในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด 4.2 หมื่นคน รองลงมาคือผู้ที่ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 2.6 หมื่นคน ระดับประถมศึกษา 1.5 หมื่นคน และจำนวนผู้ว่างงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับอุดมศึกษา 1.3 หมื่นคน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1.1 หมื่นคน ตามลำดับ
 
หากพิจารณาอัตราการว่างงานเป็นรายภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานสูงที่สุดคือร้อยละ 1.1 รองลงมาเป็นภาคกลางมีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 กรุงเทพมหานครร้อยละ 0.7 ภาคเหนือร้อยละ 0.6 และภาคใต้ร้อยละ 0.5

(มติชน, 2-4-2555)

 
หลังปรับค่าจ้าง 300 บาท ลูกจ้างในภูเก็ตวอนรัฐควบคุมราคาสินค้า

ตามที่จังหวัดภูเก็ต ได้เป็นหนึ่งใน 7 จังหวัดนำร่องการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท  พร้อมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร เริ่มในเดือนเมษายนนี้ จากการสำรวจสถานประกอบการในจังหวัดภูเก็ต  พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ขอให้ภาครัฐช่วยดูแลในเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น และออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าที่อาจปรับสูงขึ้นตามมาจากการประกาศใช้ค่าแรง ขั้นต่ำ

อย่างไรก็ตามมีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้แรงงานบางกลุ่ม ที่ยังกังวล เพราะหากคำนวณรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือน ยังน้อยกว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากค่าครองชีพ  ส่งผลให้พวกเขาไม่มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในอนาคต

ด้านนายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า พื้นที่จังหวัดภูเก็ต โชคดีที่สถานประกอบการส่วนใหญ่เป็นโรงแรมและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ การท่องเที่ยว ซึ่งมีประมาณ 8 พันแห่งที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างไว้ และสถานประกอบการเหล่านี้ จ่ายเงินค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่าอาจะมีปัญหาในเรื่องของการจ่ายเงินค่าจ้างขั้นต่ำเกิด ขึ้นบ้าง ซึ่งจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบในกรณีที่มีปัญหาการร้องเรียนเข้ามา

สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต ได้ขอความร่วมมือนายจ้างได้ปฏิบัติตามกฎหมาย จ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่ว่าลูกจ้างมีเชื้อชาติ สัญชาติใด  หากไม่ดำเนินการมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

(phuketindex.com, 2-4-2555)

 
รมว.แรงงานให้ สปส.ขยายวงเงินกู้เพิ่มขึ้นแก่เอสเอ็มอี

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ต่อจากนี้จะขอความร่วมมือทุกหน่วยงานของกระทรวงแรงงาน เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งทำความเข้าใจกับนายจ้างและลูกจ้างในเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง รวมถึงสำนักงานประกันสังคม (สปส.) หากพบว่ามีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้รับผลกระทบจำนวนมาก ทาง สปส.จะต้องเพิ่มวงเงินปล่อยกู้ให้แก่สถานประกอบการมากขึ้นกว่าวงเงินใน ปัจจุบันที่เตรียมไว้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

ส่วนกรณีที่ นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เป็นห่วงว่าจะมีแรงงานได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทโดยคาดว่าจะถูกเลิกจ้างประมาณ 5 หมื่นคนและขอให้กระทรวงแรงงานให้เงินช่วยเหลือแรงงานผู้ที่ถูกเลิกจ้างเป็น ค่าครองชีพชั่วคราวในลักษณะเช็คช่วยชาติรายละ 2 พันบาท และหางานใหม่ให้ทำ นั้น คสรท.มีสิทธิที่จะเสนอได้ แต่มองว่าปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์ในกรณีว่างงานอยู่แล้ว โดยแรงงานที่ถูกเลิกจ้างและยังไม่มีงานทำจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งรวมแล้วเป็นเงินมากกว่า 2 พันบาท

ส่วนกรณีที่แรงงานตกงาน นั้น เรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วงเพราะปัจจุบันไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน และขณะนี้มีอัตราตำแหน่งงานว่างกว่า 1.3 แสนอัตรา ซึ่งได้สั่งการให้กรมการจัดหางาน (กกจ.) จัดงานนัดพบแรงงานในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้แรงงานที่ถูกเลิกจ้างได้มีงานทำโดยเร็ว และให้ กพร.จัดอบรมทักษะฝีมือให้แก่แรงงานก่อนเข้าทำงานสถานประกอบการแห่งใหม่

(กรุงเทพธุรกิจ, 2-4-2555)

 
เปิดศูนย์และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ให้บริการประชาชน ช่วงสงกรานต์

นายประพันธ์ มนทการติวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เตรียมตั้งจุดบริการตรวจสภาพ ซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ รถจักรยานยนต์ ให้กับประชาชน รองรับการเดินทางกลับภูมิลำเนาของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงก่อนเทศกาล ระหว่างวันที่ 1 – 10 เมษายน 2555 รับบริการ ณ ที่ตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดทั่ว ประเทศ และช่วงระหว่างเทศกาล ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2555 ตั้งจุดบริการบนถนนสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งในจุดต่างๆ จะมีการรับบริการตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ บริการจุดพักรถ บริการเครื่องดื่ม ผ้าเย็น และนวดแผนไทย เพื่อลดอุบัติเหตุและผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าจากการขับรถเป็นเวลานาน ขณะเดียวกันยังเป็นการรณรงค์การลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ให้ประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน ซึ่งตามจุดบริการต่างๆ จะมีการแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจสภาพรถและการแก้ปัญหาของรถเบื้องต้น ด้วย

ทั้งนี้สถิติการเกิดอุบัติเหตุช่วงวันหยุดสงกรานต์ปี 2554 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เกิดอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2554 รวม 3,215 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 271 คน และผู้บาดเจ็บรวม 3,476 คน

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 3-4-2555)

 
เตือน 'นายจ้าง' บังคับสวัสดิการรวม 300

 3 เม.ย.55 นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ออกมาระบุว่าได้รับร้องเรียนจาก แรงงานผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรมโดยถูกนายจ้างข่ม ขู่ไล่ออกและบังคับให้เซ็นยินยอมรับค่าจ้างตามที่บริษัทกำหนดโดยนำสวัสดิการ ค่าจ้างต่างๆมารวมกับค่าจ้างเพื่อให้ได้วันละ 300 บาท ว่า อยากให้ คสรท.เร่งส่งข้อมูลในเรื่องนี้มายังกสร.หรือตัวแรงงานที่เป็นผู้ร้องเรียนใน กรณีข้างต้นเข้ามาร้องเรียนที่กสร.ก็ได้เพื่อที่ตนจะได้สั่งให้พนักงานตรวจ แรงงานใช้อำนาจตามกฎหมายออกหนังสือเตือนนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายโดยการ ปรับขึ้นค่าจ้างตามอัตราใหม่

ทั้งนี้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวของนายจ้างเป็นการจงใจที่จะไม่ปรับขึ้นค่าจ้างตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยจะให้เวลา 30 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม จะเอาผิดตามกฎหมายโดยมีโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่นายจ้างบังคับเซ็นยินยอม ทางกสร.ไม่มีอำนาจไปเอาผิดได้เพราะเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หากมีการฟ้องร้องกันก็ต้องมีการพิสูจน์กันต่อไป

นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่นายจ้างนำเอาสวัสดิการเช่น ค่าครองชีพ ค่าเซอร์วิสชาร์จไปรวมกับค่าจ้างเพื่อให้ได้วันละ 300 บาท ตามหลักกฎหมายแล้วนายจ้างไม่สามารถนำสวัสดิการต่างๆไปรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ได้เพราะเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยกเว้นกรณีนาย จ้างกับลูกจ้างจะทำความตกลงกันและทั้งสองฝ่ายยินยอม ซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง

อย่างไรก็ตาม จะต้องดูว่าสวัสดิการที่จะไปรวมเป็นค่าจ้างนั้นนายจ้างมีเจตนาในการ จ่ายอย่างไรและมีการจ่ายกันในลักษณะใด หากเป็นการให้ค่าตอบแทนเช่น ค่าครองชีพ ค่าเซอร์วิสชาร์จ ซึ่งมีการจ่ายเป็นประจำทุกเดือน ก็สามารถนำมารวมเป็นค่าจ้างได้ และจะต้องนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณเวลาปรับเงินเดือน จ่ายโบนัสและโอทีด้วย แต่ถ้าเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจในการทำงานโดยจ่ายเป็นครั้งคราวก็ไม่สามรถนำมา รวมเป็นค่าจ้าง

อธิบดี กสร.กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทยเปิดเผยถึงผลสำรวจผลกระทบธุรกิจเอสเอ็มอีที่ได้ รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทโดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุดเป็นธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจดูแลรักษาความปลอดภัย(ยาม) พนักงานโรงแรม ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างนั้น โดยส่วนใหญ่แม่บ้านและยามมีสถานภาพเป็นลูกจ้างของบริษัทรักษาความปลอดภัย บริษัทรับจ้างทำความสะอาด ซึ่งจะต้องได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างอีก 40% หากอยู่ใน 7 จังหวัดเช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ก็จะต้องได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทเช่นกัน

อีกทั้ง บริษัทรักษาความปลอดภัย และบริษัทรับจ้างทำความสะอาด จะไปรับเหมางานจากสถานประกอบการต่างๆและจัดส่งแม่บ้านและยามที่อยู่ในสังกัด เข้าไปทำงานในสถานประกอบการต่างๆ หากเลิกจ้างแม่บ้าน ยาม ทางบริษัทรักษาความปลอดภัย และบริษัทรับจ้างทำความสะอาด ก็จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยและเงินสิทธิประโยชน์อื่นๆตามที่กฎหมายคุ้ม ครองแรงงานกำหนดไว้

“ผมไม่เชื่อว่าแม่บ้านและยาม จะถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก เพราะงานเหล่านี้เป็นงานเฉพาะ ถ้าไม่จ้างแม่บ้าน ยามแล้วใครจะมาทำหน้าที่ดูแลและทำความสะอาดสถานประกอบการต่างๆ” นายอาทิตย์ กล่าว

(คม ชัด ลึก, 3-4-2555)

 
เตือนนายจ้างจ่ายค่าจ้างอัตราใหม่ให้ลูกจ้าง มิเช่นนั้นต้องจ่ายย้อนหลัง

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานแรงงานจังหวัดทั่วประเทศ จัดตั้งศูนย์โปร่งใสกระทรวงแรงงานในทุกจังหวัด เพิ่มเติมจากส่วนกลางที่กระทรวงแรงงาน เนื่องจากมองว่าประชาชนและผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบ และเดือดร้อนเรื่องต่างๆ มีอยู่ทั่วประเทศ โดยให้จัดตั้งที่สำนักงานแรงงานจังหวัด เพื่อให้เกิดความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากการปรับค่าจ้าง ขั้นต่ำประจำปี 2555 และส่งมายังส่วนกลาง ขณะเดียวกันยังทำหน้าที่รับเรื่องร้องทุกจากปัญหาการหลอกลวงแรงงานไทยไปต่าง ประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างอัตราใหม่ ที่ปรับเพิ่มร้อยละ 40 ทั่วประเทศ หากตรวจพบว่าไม่ปฏิบัติตาม ก็จะออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามทันที แต่หากยังฝ่าฝืนก็จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างย้อนหลังตั้งแต่วันที่เริ่มบังคับใช้ให้กับผู้ ใช้แรงงาน

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า มีแนวคิดที่จะเพิ่มผลิตภาพเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์คุณภาพของเครื่องจักรในประเภทอุตสาหกรรมให้สามารถใช้ งานได้เต็มประสิทธิภาพ คล้ายแนวคิดการประหยัดไฟเบอร์ 5 โดยที่รัฐบาลจะสนับสนุนการหาผู้มาตรวจสอบและกำหนดเกณฑ์ควบคุม

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-4-2555)

 
คาดจะส่งแรงงานไทยกลุ่มแรกไปทำงานที่ประเทศอิสราเอลได้ในเดือนนี้

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอลว่า ขณะนี้ให้กรมการจัดหางานประสานไปยังองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้าย ถิ่นฐาน หรือ ไอโอเอ็ม จัดส่งรายชื่อเพิ่มเติมสำหรับแรงงานไทยชุดแรกที่จะไปอิสราเอล โดยการจัดส่งแบบรัฐต่อรัฐ จากจำนวนเดิมที่ได้รับโควตา 200 คน จะขอเพิ่มเป็น 400-500 คน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 10 วัน จึงจะได้รับการยืนยันจากไอโอเอ็มในเรื่องจำนวนแรงงานไทยที่จะไปอิสราเอลแน่ นอน คาดว่าจะสามารถส่งแรงงานไทยล็อตแรกได้ในช่วงเดือนเมษายนนี้ ส่วนกรณีที่มีการแอบอ้างชื่อมูลนิธิชัยพัฒนาในการหลอกลวงแรงงานไทยไปทำงาน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามตัวผู้แอบอ้าง ซึ่งกองปราบปรามเป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ได้มอบนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางานติดตามเรื่องนี้แล้ว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้ที่เป็นห่วงคือ การส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศสวีเดน ในการนำคนงานไปเก็บผลไม้ป่า จึงได้สั่งให้กรมการจัดหางานสรุปรายละเอียดว่าแรงงานไทยที่เดินทางไป จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ไปด้วยวิธีใด เนื่องจากขณะนี้กำลังตรวจสอบการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในทุกประเทศ เพราะไม่ต้องการให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นกรณีที่มีปัญหาการเรียกเก็บค่า บริการ (ค่าหัวคิว) แรงงานไทยที่ไปทำงานอิสราเอล  

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-4-2555)

 
บอร์ดค่าจ้างเตรียมขยับขึ้นค่าจ้างให้นักเรียน-นักศึกษาทำงานนอกเวลา

ก.แรงงาน 4 เม.ย.- บอร์ดค่าจ้างเตรียมขยับขึ้นค่าจ้างให้นักเรียน-นักศึกษาทำงานนอกเวลา  ชี้ค่าจ้างปัจจุบันไม่สอดคล้องค่าครองชีพ เผย ก.คลัง เตรียมเสนอมาตรการช่วยเอสเอ็มอีภายใน เม.ย.นี้ พร้อมตั้งศูนย์ร้องเรียนค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ
 
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างกลางว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาทบทวนอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงของนักเรียน นักศึกษาที่ทำงานนอกเวลา เนื่องจากเห็นว่าอัตราค่าจ้างในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ  รวมถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นอีกร้อยละ 40 ทั่วประเทศ ไปเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมได้มอบให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างกลาง หาตัวเลขอัตราค่าจ้างและชั่วโมงการทำงานของนักเรียน นักศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันอัตราค่าจ้างทำงานของนักเรียน นักศึกษาอยู่ที่ชั่วโมงละ 30 บาท และกฎหมายกำหนดให้ทำงานไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมง โดยให้เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการค้าจ้างกลางโดยเร็วที่สุด  แต่คาดว่าอาจจะประกาศใช้ไม่ทันในช่วงปิดเทอมนี้
 
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวัน ละ 300 บาท  จากติดตามผลกระทบในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ยังไม่พบสัญญาณความผิดปกติ ทั้งในส่วนของค่าครองชีพ หรืออัตราเงินเฟ้อ ส่วนการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี ที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะได้รับผลกระทบมากนั้น ผู้แทนกระทรวงการคลังได้ชี้แจงว่า เตรียมนำมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดภาษีส่วนต่างของต้นทุนค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นอัตรา 1.5 เท่า ของส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น การเปิดโอกาสให้ปรับปรุงเครื่องจักรด้วยการปล่อยสินเชื่อการซื้อเครื่องจักร ใหม่  และสามารถหักภาษีได้ 100%  จะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน เม.ย.นี้

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการบังคับใช้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำว่า จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่สามารถผ่อนผันได้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ ได้  หากฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกกระทรวงแรงงานอยู่ในช่วงของการตักเตือน หากฝ่าฝืนจะลงโทษอย่างเด็ดขาด  ขณะที่ล่าสุดกระทรวงแรงงานได้ขยาย “ศูนย์โปร่งใสกระทรวงแรงงาน” เพื่อรับเรื่องร้องเรียนปัญหาและผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท จากทั้งลูกจ้างและนายจ้าง  รวมทั้งกรณีเรียกเก็บค่าหัวการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยศูนย์นี้จะตั้งอยู่ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด

(สำนักข่าวไทย, 4-4-2555)

 
'ลูกจ้างไปรษณีย์' อีสานขอค่าแรง 300 บาท

เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 4 เมษายน   ที่หน้าสำนักงานไปษณีย์เขต 4 ขอนแก่น ถ.ศูนย์ราชการ เขตเทศบาลนครขอนแก่น ลูกจ้างประจำ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด หรือลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)เขต 4 ขอนแก่น ประมาณ 500 คน จาก 470 ตำบลใน 8 จังหวัดภาคอีสาน ได้รวมตัวกันประท้วงขอปรับขึ้นค่าตอบแทนเงินเดือนในการทำงาน 300 บาท ต่อวัน หรือค่าจ้างอย่างน้อย 9,000 บาท ต่อเดือน

หลังจากตลอดการทำงานเกือบ 30 ปี ที่ผ่านมา ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ที่ได้รับค่าจ้างต่อเดือนไม่ถึง 6,000 บาท และไม่มีค่าคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน พร้อมทั้งสวัสดิการอื่นใด ตามกฎหมายแรงงานที่รุบุไว้ ทำให้ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ได้รับความเดือดร้อนจากค่าจ้างและสถานภาพ จึงพากันรวมตัวประท้วงขอขึ้นค่าแรง พร้อมกับยื่นข้อเรียกร้องผ่าน ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ส่งถึงผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ให้ดำเนินการตามที่เรียกร้อง
 
นายพัฒนพงษ์ นวมศรี รองเรขาธิการสหพันธ์ไปรษณีย์อนุญาตแห่งประเทศไทย แกนนำลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ประท้วงขอขึ้นค่าแรง กล่าวว่า ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศเกือบ 4,000 คน กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ถูกมองข้ามในเรื่องการจ้างงานหรือค่าตอบแทนต่อเดือนมาโดยตลอด ทั้งที่การทำงานของลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ในขณะนี้ก็มีสภาพการทำงานเหมือนกับพนักงานทั่วไป

อีกทั้งที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ การทำงานของลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ก็หนักกว่า แต่ไม่มีค่าคุ้มครองจากกฎหมายแรงงาน และสวัสดิการอื่นใด ตามกฎหมายแรงงานที่รุบุไว้ ขณะนี้ลูกจ้างไปรษณีย์ (ปณอ.)ได้รับงินเดือนแต่ละคนไม่ถึง 6,000 บาท เนื่องจากแต่ละคนจะมีระดับชั้รนไม่เหมือนกัน ระดับ 1 ได้รับเงินเดือน 4,720 บาท ระดับ 2 ได้ 5,030 บาท ระดับ 3 ได้ 5,340 บาท ระดับ 4 ได้ 5,560 บาท และระดับ 5 ได้ 5,850 บาท ต่อเดือน น้ำมันรถจักรยานยนต์คนละ 20 ลิตร เท่านี้ไม่พอใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัว

และเมื่อรายรับที่ได้มากับการทำงานของลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) เพียงเท่านี้ ไม่พอกับรายจ่ายที่จะเลี้ยงครอบครัวให้ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ให้อยู่รอดได้ในสภาวะปัจจุบัน ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) ทุกคนจึงมีมติที่จะร้องขอ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ปรับเพิ่มค่าตอบแทนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาวะความเป็นจริงที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน แต่การร้องรอที่ผ่านมาก็ไม่เป็นผล จึงรวมตังประท้วงขอคำตอบในการเพิ่มเงินเดือนเป็นรายละ 9,000 บาท  "นายพัฒนพงษ์ กล่าว"

ขณะที่ นายประสิทธิ์ ทวีผล ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ที่มารับข้อเรียกร้องกับ ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.) กล่าวกับผู้ประท้วงว่า ใน บริษัท ไปรษณีย์ไทย ก็มีการพูดคุยกันในระดับผู้บริหารมาโดยตลอดว่า  จะมีการปรับค่าตอบแทนให้กับพนักงานและลูกจ้างไปรษณีย์ทุกคนในส่วนของค่า บำเหน็จ ตามที่มีคำสั่งออกมา แต่อาจจะไม่เป็นไปตามต้องการคือวันละ 300 บาท ตามที่เรียกร้อง แต่ว่าจริงๆแล้วเราต้องไปดูข้อกำหนดของทางราชการ ของทางรัฐบาลว่า ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 นั้น ไม่ได้บังคับในทุกพื้นที่ของประเทศ อันนี้ก็ต้องไปดูค่าแรงขั้นต่ำประกอบด้วย
           
"และในส่วนนี้หนังสือที่รับไว้จากลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาตได้ยื่นมา ก็จะรับไว้และจะรีบส่งให้ทางผู้บริหาร แล้วจะให้คำตอบภายในวันที่ 30 เมษายน นี้ ถึงจะแจ้งให้ทราบได้ ส่วนที่จะให้ทางไปรษณีย์ให้คำตอบวันนี้เลย ข้อสรุปอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ เพราะทางผู้บริหารก็ต้องไปประชุมคณะกรรมการ ที่จะต้องพูดคุยกันไปรษณีย์เขต 4 ตัดสินใจอะไรไม่ได้ แต่ยืนยันไปรษณีย์ไทยไม่ได้ทอดทิ้ง ซึ่งท่านก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของพวกเราที่ให้บริการกับพี่น้อง ประชาชนทั่วประเทศ"นายประสิทธิ์ กล่าว
          
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ที่มารับข้อเรียกร้องกับ ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ได้ชี้แจงไปว่าไม่สามารถตัดสินใจตามข้อเรียงร้องได้ ทำให้ลูกจ้างไปรษณีย์อนุญาต (ปณอ.)ที่ประท้วงไม่พอใจโห่ร้องและจะปักหลักประท้วงอยู่ที่ไปรษณีเขต 4 เพื่อกดดันให้ผู้บริหาร บริษัทไปรษณีย์ไทย รับข้อเรียกร้องให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะทำทุกงวิถีทางเพื่อกดดันให้ได้รับค่าตอบแทน ทำให้ผู้จัดการฝ่ายไปรษณีย์เขต 4 ต้องแรกตัวแทนลุกท้างที่ประท้วงไปเจรจากันเพื่อหาทางออก แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป

(คมชัดลึก, 4-4-2555)

 
เผยสอบหลอกแรงงานไทยไปอิสราเอล มีหลักฐานจำนวนมากต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริง การเรียกเก็บค่าบริการ(ค่าหัวคิว) ในการจัดส่งแรงงานไทยไปอิสราเอล ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มีนายโชคชัย ศรีทอง เป็นประธานคณะกรรมการ ซึ่งเอกสารหลักฐานที่ได้รับจากแรงงานไทยในอิสราเอลและญาติของแรงงานไทยที่ อยู่ในประเทศ มีจำนวนมากประมาณ 20-30 ชิ้นต่อแรงงานไทย 1 คน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารระยะหนึ่ง ส่วนนายสุทธิ สุโกศล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ตรวจราชการกรม ขณะนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 4-4-2555)

 
บริษัทรับเหมาทำความสะอาดให้หน่วยราชการ ต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้

ปลัดกระทรวงแรงงาน ชี้แจงกรณีแม่บ้าน บริษัทรับเหมาทำความสะอาดให้หน่วยราชการ ต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้ หากฝ่าฝืนต้องถูกดำเนินคดี

นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีแม่บ้านประจำกระทรวงแรงงานร้องเรียนไม่ได้รับการปรับขึ้นค่า จ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ว่า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แรงงานที่เป็นลูกจ้างเอกชน จะต้องได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราใหม่ ซึ่งปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา จะอ้างเหตุผลเรื่องการทำสัญญากับกระทรวงแรงงานแบบปีต่อปีตามปีงบประมาณ ซึ่งไม่ตรงกับช่วงที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างไม่ได้ หากไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ กองคลัง ไปทำการตรวจสอบสัญญาที่ทำกับบริษัทรับเหมางานทำความสะอาด เพื่อดูว่าสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาได้หรือไม่ นอกจากนี้จะตรวจสอบต้นทุนค่าใช้จ่ายของบริษัทรับเหมาทำความสะอาดว่าได้รับผล กระทบจากการปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทหรือไม่ หากกระทบมากก็พร้อมยกเลิกสัญญาเก่า และบวกต้นทุนค่าจ้างให้ใหม่

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาของส่วนราชการอื่นๆ ที่มีการจ้างงานในลักษณะเดียวกัน อยากแนะนำให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบสัญญาบริษัทรับเหมาเพื่อแก้ไข เป็นรายไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบางบริษัทได้มีการเตรียมรับมือหรือปรับขึ้นค่าจ้างไว้ล่วงหน้าแล้ว

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 5-4-2555)

 
กสร.แจง ค่าครองชีพรวมค่าจ้างได้หากลูกจ้างยอม

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  กล่าวถึงกรณีที่แรงงานใน จ.ระยอง และ จ.ปทุมธานี ร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างไม่เป็นธรรม ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ว่า ถูกนายจ้างบังคับให้ลงชื่อยินยอมรับค่าจ้างตามอัตราที่นายจ้างกำหนด โดยนำเอาค่าสวัสดิการต่างๆ มารวมให้ได้ค่าจ้างตามอัตราใหม่ว่า ได้มอบให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั้ง   2  จังหวัด เข้าไปตรวจสอบและทำความเข้าใจกับนายจ้าง ทั้งนี้พบว่าบางกรณีก็เป็นความเข้าใจผิดกัน อย่างไรก็ตาม ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน  ไม่สามารถนำสวัสดิการไปรวมเป็นค่าจ้างขั้นต่ำได้ เว้นแต่กรณีที่นายจ้างกับลูกจ้างทำความตกลงกันและทั้งสองฝ่ายยินยอมนำเอา สวัสดิการ  เช่น ค่าครองชีพ  ค่าเซอร์วิสชาร์จ ซึ่งมีการจ่ายเป็นประจำทุกเดือนมารวมเป็นค่าจ้าง แต่นายจ้างจะต้องใช้เป็นฐานในการคำนวณเวลาปรับเงินเดือน จ่ายโบนัสและโอที รวมถึงการจ่ายเงินชดเชยกรณีเลิกจ้างด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับเงินชดเชยสูงขึ้น
      
สำหรับสวัสดิการอื่นๆ เช่น ค่าอาหาร ค่ารถไม่สามารถนำมารวมเป็นค่าจ้างได้ เพราะไม่ใช่ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ลูกจ้างเป็นประจำ ทั้งนี้ ได้สั่งให้สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด จัดประชุมผู้ประกอบการและเชิญมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยจะจัดเป็นรายภาคตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงพฤษภาคมนี้

(โลกวันนี้, 5-4-2555)

 
นำร่องจ้างคนพิการตามสัดส่วนใหม่ที่กำหนดให้ทั้งรัฐและเอกชนจ้างคนพิการ 1 คนต่อลูกจ้าง 100 คน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้สรุปผลการจ้างงานคนพิการในภาพรวมกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ 2555 ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พ.ศ. 2554 ในสัดส่วนลูกจ้าง 100 คน ต่อการจ้างผู้พิการ 1 คน โดยในส่วนของกระทรวงแรงงานมีบุคลากรทั้งสิ้น 13,433 คน ส่งผลให้ต้องจ้างผู้พิการเข้าทำงานจำนวน 134 คน กระจายตามหน่วยงานในสังกัดทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สามารถดำเนินการครบตามจำนวนแล้ว นอกจากนี้ กระทรวงแรงงาน ได้ยกร่าง ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ การให้บริการที่มีมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ลงนามในประกาศดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและได้ส่งให้สำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเพื่อนำประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป พร้อมหวังว่าหน่วยงานอื่นๆ จะนำไปปฏิบัติตาม เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 5-4-2555)

 
รมว.แรงงาน เปิดช่องแรงงานนอกระบบเข้าประกันสังคม

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รมว.พาณิชย์เงา ระบุว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการดูแลแรงงานนอกระบบ 24 ล้านคน ว่า กระทรวงแรงงานเห็นความสำคัญของคนเหล่านี้ สำนักงานประกันสังคมจึงเปิดโอกาสให้แรงงานกลุ่มนี้สมัครใจเข้าสู่ระบบประกัน สังคมตามมาตรา 40 ได้ โดยสามารถเลือกสิทธิประโยชน์ได้ 2 ทางเลือก คือ 1.จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้สิทธิประโยชน์ 3 ประการ กรณีเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล 2-20 วันต่อไป ได้รับเงินทดแทนวันละ 200 บาท กรณีทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท และ 2.จ่ายสมทบ 150 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี กรณีเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล กรณีทุพพลภาพ และกรณีเสียชีวิตได้รับเท่าทางเลือกที่ 1 แต่ยังรวมถึงกรณีชราภาพได้รับรับเงินก้อนวัยหลังเกษียณ

(มติชน, 5-4-2555)

 
พนักงานผลิตยางบริดจสโตนกว่า 1,400 คน ชุมนุมประท้วงผู้บริหารหน้าโรงงาน

5 เม.ย. 55 - ที่หน้าโรงานผลิตยางรถยนต์ส่งออกทั่วโลก ยี่ห้อบริดจสโตน ของบริษัท บริดจสโตน ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย จำกัด ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 7 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี จำนวนกว่า 1,400 ตน รวมตัวประท้วงผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ที่สั่งปิดโรงงานแบบกะทันหัน เมื่อเที่ยงคืนของวันที่ 29 มี.ค.55 รวม 6 วันแล้ว
      
การปิดบริษัทในครั้งนี้ ไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า นอกจากนั้น ยังติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานฝ่ายผลิตใหม่ โดยให้เงินเดือนสูงกว่าเดิม ในราคาฝึกงาน 300 บาทต่อวัน หากรับเข้าทำงาน ได้วันละ 335 บาท ไม่รวมสวัสดิการ ทำให้พนักงานเดิมกว่า 1,400 คน ต้องตกงานทันที
      
ปัญหาที่เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากสหภาพแรงงานของโรงงาน นำโดย นายเพชรรุ่ง ผลสุข ประธานสหภาพ ตัวแทนพนักงานทั้งหมด ยื่นหนังสือเรียกร้องขอให้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ยกเลิกระบบคิดเงินเดือนค่าจ้างใหม่ เพราะเมื่อปีที่ผ่านมา ทางโรงงานได้นำเอาระบบเงินเดือนแบบโรงงานในประเทศญี่ปุ่นมาใช้ คือ เป็นระบบเงินเดือนที่อายุงานยิ่งนาน เงินเดือนยิ่งน้อย และแรงงานที่ทำอยู่ ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่เคยได้รับ

กลุ่มสหภาพฯ จึงเรียกร้อง ขอให้นำกลับไปใช้ระบบเงินเดือนแบบเดิม คือให้เงินค่าจ้างตามอายุงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อทางสหภาพฯ ได้ทำหนังสือเรียกร้อง และไปเจรจากันที่แรงงานจังหวัดชลบุรีเป็นจำนวน 4 ครั้ง จนถึงเมื่อเที่ยงคืน วันที่ 29 มี.ค. ผู้บริหารสั่งปิดประตูโรงงานแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย พร้อมติดป้ายเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ ดังนั้น จึงมารวมตัวประท้วงเพื่อขอให้ยกเลิกระบบเงินแบบประเทศญี่ปุ่น กลับมาใช้แบบเดิม ขอให้รับพนักงานกลับเข้าทำงานอย่างเดิม
      
นายมหาชาติ สุขพร รองประธานสหภาพฯ กล่าวว่า พวกตนไม่พอใจที่โรงงานกดขี่ค่าแรง เมื่อทำหนังสือขอเจรจาผู้บริหารไม่ยอมเจรจาแถมปิดโรงงาน พร้อมรับพนักงานใหม่ และพยายามตะล่อมให้พนักงานเดิมกลับเข้าทำงาน ซึ่งตนเห็นว่าไม่เป็นธรรม จึงได้รวมตัวประท้วงดังกล่าว
      
อนึ่ง โรงงานแห่งนี้ ส่งยางออกทั่วโลก มีกำลังการผลิตยางรถยนต์ 8,400 เส้นต่อวัน และกำลังขยายกำลังผลิตเป็นวันละ 13,000 เส้นต่อวัน ในอีก 3 ปีข้างหน้า พนักงาน 1 คน สามารถสร้างรายได้ให้แก่โรงงาน 12 ล้านบาทต่อเดือน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 5-4-2555)

 
แรงงานลำพูนร้อง – พนักงานเก่ายังไม่ได้ขึ้นค่าแรง หลังประกาศค่าจ้างใหม่มีผลบังคับ

6 เม.ย. 55 - ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างออกประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 54 มีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนำร่อง 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร และปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของ จ.ลำพูน คณะกรรมการค่าจ้างได้ประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จากเดิมวันละ 169 บาท ในปี 2554 ได้ปรับเป็น 236 บาทนั้น

ล่าสุดผู้ใช้แรงงานใน จ.ลำพูน รายหนึ่งร้องเรียนมาทางผู้สื่อข่าวว่า โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ใช้วิธีเลี่ยงปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงาน โดยใช้วิธีปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 236 บาทเฉพาะพนักงานที่อายุงานน้อยซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึง 236 บาท ส่วนพนักงานเดิมที่ได้รับค่าจ้างถึง 236 บาทต่อวันแล้ว โรงงานจะใช้วิธีปรับให้เล็กน้อยซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะ กรรมการค่าจ้างปรับขึ้นมา หรือหลายโรงงานก็ไม่ยอมปรับเลย

ทั้งนี้มีการชุมนุมและเจรจากับผู้บริหารเพื่อให้ปรับอัตราค่าจ้างให้สอด คล้องกับประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในหลายโรงงาน เช่น โรงงานผลิตคาร์บูเรเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งภายในนิคมอุตสาหกรรม ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน มีการเจรจาระหว่างตัวแทนพนักงานและผู้บริหารในช่วงหลังเลิกงานติดต่อกันหลาย คืน เพื่อต่อรองเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงานเก่า โดยมีพนักงานหลายร้อยคนชุมนุมรอผลการเจรจาภายนอกโรงงาน

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่บริษัท เอส ยู เอส (ไทยแลนด์) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์โลหะเพื่อการส่งออก มีแผนเลิกจ้างพนักงานซึ่งเป็นแกนนำทีร้องเรียนเรื่องการปรับค่าจ้างด้วย

(ประชาไท, 6-4-2555)

 
คลินิกโรคจากทำงานทะลุเป้า ลดอันตราย 4.55 ต่อพันราย

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้ แจงการดำเนินงานและสร้างเครือข่ายคลินิกโรคจากการทำงาน วันที่ 4-5 เมษายนที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ว่าคลินิกโรคจากการทำงานให้บริการเชิงรับลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วยเนื่องจากการทำงาน เช่น การตรวจรักษา วินิจฉัยโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพที่ได้มาตรฐาน และบริการเชิงรุก ได้แก่ การส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวัง และอุบัติเหตุจากการทำงาน ปี 2554 ขยายการให้บริการได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 68 แห่งเป็น 82 แห่ง ดูแลครอบคลุมลูกจ้างได้จำนวน 8.22 ล้านคนในสถานประกอบการ 338,270 แห่ง ช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการประสบอันตรายจากการทำงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

"ข้อมูลสถิติของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ปีงบประมาณ 2554 โครงการคลินิกโรคจากการทำงาน สามารถลดการประสบอันตราย กรณีหยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และตาย ลงได้เหลืออัตรา 4.55 ต่อพันราย จากอัตรา 5.37 ต่อพันราย ในปี 2553 หวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของคลินิกโรคจากการทำงานมาสร้างระบบป้องกัน และเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน และสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน ส่งผลให้ลูกจ้างได้รับการวินิจฉัย และรักษาโรคจากการทำงานอย่างถูกต้องและได้รับเงินทดแทนอย่างรวดเร็ว" นายวิทยากล่าว

(ประชาชาติธุรกิจ, 6-4-2555)

 
ธปท.เปิดอัตราค่าจ้างปี 2554 จบป.ตรีได้เฉลี่ย1.8หมื่น -ป.เอกได้ 8 หมื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ได้รายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยเฉลี่ย สิ้นปี 2554 ที่ผ่านมา

แยกตามการศึกษาและสาขาอาชีพ โดยแยกค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานไทยตั้งแต่ไม่มีการศึกษา จนถึงปริญญาตรีเฉลี่ยทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ พบว่า ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานที่ไม่มีการศึกษา ณ สิ้นปี 2554 อยู่ที่ 4,789.17 ต่อเดือน
         
ขณะที่แรงงานที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 5,734 บาทต่อเดือน สำหรับแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีค้าจ้างเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 6,089.98 บาท ส่วนแรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าได้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 6,972.18 บาทต่อเดือน

ด้านค่าจ้างของแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย จะแยกเป็น 3 ประเภท โดยค่าจ้างแรงงานของผู้จบมัธยมปลายสายอาชีวะ จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนสูงที่สุดที่ 12,500.59 บาท ส่วนแรงงงานที่จบมัธยมปลายสายสามัญจะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุด 7,863.45 บาทต่อเดือน ขณะที่ค่าจ้างแรงงานในสายวิชาการศึกษา ซึ่งหมายถึงด้านวิเคราะห์ วิจัย วางแผนพัฒนา เทคโนโลยีในการศึกษา จะมีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อเดือนที่ 7,960.42 บาท
         
สำหรับแรงงานระดับอนุปริญญา มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรวมทุกประเภทอยู่ที่ 11,209.59 บาทต่อเดือน โดยค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของผู้จบสายสามัญ มีรายได้เฉลี่ยสูงอยู่ที่ 13,647.59 บาทต่อเดือน สายอาชีวศึกษากลายเป็นสายที่ได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 11,054.49 บาทต่อเดือน ขณะที่สายวิชาการการศึกษามีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 11,443.89 บาทต่อเดือน

เมื่อสำรวจถึงค่าจ้างแรงงานระดับปริญญาตรี พบว่า แรงงานในระดับปริญญาตรีสิ้นปี 2554 มีค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 18,210.34 บาท แยกเป็น สายวิชาการ มีค่าจ้างเฉลี่ย 17,882.10 บาทต่อเดือน สายวิชาชีพ มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน 17,032.20 บาท โดยในระดับปริญญาตรีนั้น สายวิชาการการศึกษาขึ้นมาเป็นสายที่มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 22,796.45 บาทต่อเดือน
    
เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยระหว่างผู้ที่มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรี กับสูงกว่าปริญญาตรีจะเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยแบบก้าวกระโดด โดยจากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยในปี 2554 ของแรงงานระดับปริญญาตรีที่ 18,843.53 บาทต่อเดือน เมื่อขึ้นมาเป็นแรงงานระดับปริญญาโทจะมีค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 33,881.35 บาทต่อเดือน และหากเป็นแรงงานระดับปริญญาเอก ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนจะขึ้นไปที่ 80,288.83 บาทต่อเดือน
        
ขณะที่การสำรวจค่าจ้างแรงงาน จำแนกตามอาชีพ ทุกระดับการศึกษานั้น อาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส และเอกชนระดับผู้จัดการ มีค่าจ้างแรงงานสูงที่สุดเฉลี่ยที่ 26,360.33 บาทต่อเดือน ขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ มีค่าจ้างแรงงานเฉลี่ย 21,984.92 บาทต่อเดือน ช่างเทคนิคสาขาต่างๆ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องมีค่าจ้างเฉลี่ยที่ 16,264.77 บาทต่อเดือน ขณะที่เสมียนมีค่าจ้างเฉลี่ย 12,532.73 บาทต่อเดือน พนักงานบริการและพนักงานขายในร้านค้า และตลาดสด มีค่าจ้างเฉลี่ย 8,806.28 บาทต่อเดือน ผู้ปฎิบัติงานในธุรกิจด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวจ้อง มีค่าจ้างเฉลี่ย 7,502.91 บาทต่อเดือน ผู้ปฏิบัติการเครื่องจักรโรงงาน และเครื่องจักร รวมทั้งการประกอบมีค้าจ้างเฉลี่ย 7,504.97 บาทต่อเดือน อาชีพขั้นพื้นฐาน 5,038.08 บาทต่อเดือน และอาชีพอื่นๆ 13,388.81 บาทต่อเดือน

(ฐานเศรษฐกิจ, 6-4-2555)

 
สปสช.ตีปี๊บดึงแรงงานนอกระบบ เข้าประกันสังคม-ตั้งเป้าปีนี้ 1.2 ล้านคน

ภายหลังจากรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ใน 7 จังหวัดนำร่อง ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ล่าสุด มีกระแสข่าวว่านายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังมีนโยบายเปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบ ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมด้วย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 เมษายน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากนโยบายของนายเผดิมชัยที่ต้องการให้แรงงานทั้งในและนอกระบบมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ได้เปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบจำนวนกว่า 24.1 ล้านคน ซึ่งเป็นแรงงานที่ไม่ใช่ลูกจ้างในสถานประกอบการ เช่น กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน กลุ่มผู้ขับรถรับจ้าง แท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับจ้างทางการเกษตร หาบเร่แผงลอย คนทำงานบ้าน รับจ้างทั่วไป รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานอยู่ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ สามารถสมัครเข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 40 ได้ โดยปี 2555 นี้ สปส.อยู่ระหว่างทำประชาสัมพันธ์ดึงแรงงานนอกระบบเข้าสู่มาตรา 40 ตั้งเป้าราว 1.2 ล้านคน จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 600,000 คน เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ใน 2 ทางเลือก

"ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี 1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เมื่อเป็นผู้ป่วยในและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป จำนวน 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วันต่อปี 2.กรณีทุพพลภาพได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 15 ปี 3.กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท ส่วนทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี โดย 3 กรณีแรกจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกัน และเพิ่มกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนสำหรับวัยหลังเกษียณเรียกว่าบำเหน็จ ซึ่งจะคำนวณตามเงินที่ส่งสมทบเข้า สปส." ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว และว่า สำหรับหลักเกณฑ์สำคัญคือ แรงงานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ มีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกัน สังคมทุกพื้นที่ หน่วยบริการเคลื่อนที่ หรือสมัครผ่านตัวแทนที่ได้รับการอบรมจาก สปส.

น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี แต่หากจะให้ดียิ่งขึ้นไม่ควรแยกว่าแรงงานนอกระบบ หรือในระบบ แต่ควรเป็นระบบเดียว เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆ จะต้องได้รับเหมือนกัน หรือแตกต่างกันน้อยที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องไปแก้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เครือข่ายแรงงานได้รวมตัวกันล่ารายชื่อกว่า 14,000 รายชื่อ เพื่อยกร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับประชาชนขึ้น ซึ่งจะระบุถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของแรงงานนอกระบบที่ควรได้รับเหมือนแรงงานในระบบด้วย เรื่องนี้ไม่ยาก เพียงแค่รัฐบาลให้ความสำคัญก็ย่อมตราออกมาใช้ได้อย่างแน่นอน

นายดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงผลการศึกษาเรื่องผลกระทบของการดำเนินนโยบายรายได้ค่าแรงไม่น้อย กว่า 300 บาทต่อวันว่า จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างภาคการผลิต โดยเฉพาะการจ้างงานในกิจการเอกชนที่มีคนงาน 10-99 คน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) จะลดลงอย่างมาก และแรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะหลุดออกไปอยู่นอกภาคการผลิต เช่น เข้าไปช่วยธุรกิจครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง หรือการว่างงานแฝง และในกิจการเอกชนขนาดต่ำกว่า 10 คน ซึ่งส่วนมากอยู่ในภาคเกษตร ดังนั้น รัฐบาลควรมีมาตรการช่วยผู้ประกอบการในการปรับตัว และช่วยเหลือด้านแหล่งรองรับแรงงานที่จะได้รับผลกระทบ เพื่อไม่ต้องว่างงาน

ด้านนายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำในประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่่่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เพิ่มเป็น 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ได้ใช้นโยบายประหยัดต้นทุนด้านอื่นแทน เพื่อไม่ต้องผลักภาระราคาสินค้าไปให้ผู้บริโภค นอกจากนี้ เชื่อว่าไม่มีผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค หรือซัพพลายเออร์รายใดที่จะปรับเพิ่มราคาสินค้าในขณะนี้ เพราะตลาดกำลังมีการแข่งกันสูง การปรับราคาเพิ่มจะทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้

ทางด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวกรณีการแก้ปัญหาของแพงของรัฐบาลว่า แทนที่รัฐบาลจะมากล่าวหาว่าของแพงไม่เท่าในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ควรเอาเวลาไปแก้ปัญหาเรื่องนี้ให้ได้ดีกว่า อย่างโครงการร้านขายของถูก ประชาชนต้องตามให้ทัน เพราะเอาเงินภาษีไปทำให้ของถูก เปรียบเหมือนกับเอาเงินจากกระเป๋าซ้ายไปใส่กระเป๋าขวา ซึ่งไม่ได้ช่วยจริง ถ้าต้องการจะแก้ไขต้องทำอย่างเป็นระบบ ส่วนการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็ทำได้ เหมือนครั้งที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เคยทำด้วยการระดมของถูกมาขาย ซึ่งไม่ได้ใช้เงินภาษีจากประชาชนมาทำให้ของถูกแต่อย่างใด

"ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พรรคประชาธิปัตย์จะจัดโครงการขายสินค้าราคาถูก ภายใต้ชื่อว่า "ประชาธิปัตย์ของถูก สู้แพงทั้งแผ่นดิน" โดยจะมีการนำสินค้าจำเป็นราคาต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ข้าว มาจำหน่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ กทม. ในราคาถูก ซึ่งสินค้าบางรายการอาจจะถูกกว่าโครงการธงฟ้าของรัฐบาล โดย ส.ส.กทม. ของพรรคจะนำไปขายในเขตของตนเอง" นายอภิสิทธิ์กล่าว

(มติชน, 7-4-2555)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปชป.ท้าไม่นิรโทษกรรม เสนอสูตร 2-1 "สุเทพ-อภิสิทธิ์" ประกบแลก “ทักษิณ”

$
0
0

“เทพไท” เสนอสูตร "2-1" เรียกร้อง “ทักษิณ” รับข้อเสนอไม่นิรโทษกรรม "สุเทพ-อภิสิทธิ์" แลกแบบ 2 ต่อ 1 ผิดหวังนายกไม่เป็นผู้นำปรองดอง พร้อมขอรัฐบาลเปิดใจกว้างอภิปรายแก้ รธน.วาระ 2 อย่าพะวงเวลาเกินงาม

7 เม.ย. 55 - ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่านายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ และคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่ 2 ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 10-11เม.ย.นี้ว่า อยากจะให้รัฐบาลเปิดกว้างในการอภิปรายและถือว่าเป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิกที่สงวนคำแปรญัตติที่สามารถใช้สิทธิ์อภิปรายได้อย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลไม่ควรใช้ห้วงเวลาเป็นตัวกำหนดหรือบีบคั้นการอภิปรายของสมาชิก ถ้าการอภิปรายไม่สามารถเสร็จทันภายในวันที่10-12 เม.ย.นี้ ก็ควรจะขยายเวลาเปิดอภิปรายต่อหลังช่วงสงกรานต์แม้ว่าการลงมติในวาระ3 จะล่วงเลยวันที่30 เม.ย.นี้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ก็ตาม       

นายเทพไท กล่าวว่า หากไม่ทันในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ตอนแรก ตนขอเสนอว่ารัฐบาลควรที่จะปิดสมัยประชุมก่อน แล้วเปิดสมัยวิสามัญในวาระ3 ไม่ควรขยายเวลาประชุมต่อในเดือนพ.ค. เพราะทั้ง ส.ส.-ส.ว.ไม่มีความพร้อมที่จะร่วมประชุมในช่วงนั้น เพราะมีกรรมาธิการหลายคณะได้รับการอนุมัติจากประธาน ให้เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศแล้ว ซึ่งจะสร้างความเสียหายในแผนงานและโครงการในสมาชิกทั้งหมด       

ทั้งนี้ถ้ารัฐบาลไม่รีบเร่งจนเกินไปก็ควรจะเลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไป พิจารณาในสมัยประชุมทั่วไปจะเหมาะหรือเปิดสภาสมัยวิสามัญจะสมกว่า อย่ากลัวที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพียงเพื่อเพราะเกรงกลัวการจะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจากฝ่ายค้าน       

ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอยกเว้นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายอภิสิทธ์ แบบ 2 ต่อ 1 ว่า ยังไม่มีเสียงตอบรับจากคนในพรรคเพื่อไทยแม้แต่คนเดียว จึงอยากจะเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาแสดงท่าทีว่าจะยอมรับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่ ถ้าหากว่าไม่พร้อมจะตอบเรื่องนี้กับสังคมก็ให้ส่งสัญญาณมายังตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่เป็นน้องสาว เพราะจะได้พิสูจน์ว่าการปรองดองครั้งนี้ไม่ได้ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงคนเดียว       

“นอกจากนี้อยากจะตำหนิท่าทีของนายกฯที่จะสามารถเป็นผู้นำการปรองดองได้ กลับไม่มีท่าทีต่อเรื่องนี้ เอาแต่พยายามบ่ายเบี่ยงโยนเรื่องดังกล่าวมากเป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎร และตัวเองก็ไม่เคยให้ความสำคัญใน 2 วันที่มีการอภิปรายเรื่องนี้ นายกฯก็ไม่ได้เข้ามารับฟังความคิดเห็นในสภาแม้แต่วินาทีเดียว จึงไม่เข้าใจว่ารัฐบาลมีทิศทางหรือจุดยืนอย่างไร ดังนั้นจึงขอเรียกร้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนออกมา” นายเทพไทกล่าว

ทั้งนี้ในการอภิปรายในสภาเมื่อ 5 เม.ย. นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อภิปรายคัดค้านข้อเสนอปรองดองที่กำลังผลักดันกันในสภา โดยตอนหนึ่งอภิปรายว่า "ส่วนที่มีการสร้างวาทะกรรมว่า ถ้าไม่ปรองดองกับผู้ก่อการร้ายก็จะไม่ปรองดองกับฆาตกรนั้น อยากให้ระวัง เพราะทั้งผู้ก่อการร้ายและฆาตกรนั้นเป็นคนเดียวกัน"

"และที่มีการท้าว่า 2 ต่อ 2 หรือไม่นั้น ผมให้ 2 ต่อ 1 คือ นิรโทษกรรมให้ทุกคนยกเว้นคน 3 คนคือ ผม นายสุเทพ และพ.ต.ท.ทักษิณ ท่านนายกฯ จะเอาหรือไม่ ขอให้มีแค่ 3 คนเท่านั้น ผมพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อประชาชนและประเทศ"

นายอภิสิทธิ์กล่าวย้ำว่า "ผมต่อให้ 2 ต่อ 1 ผมกับคุณสุเทพ 2 คน ไม่รับการนิรโทษกรรม แลกกับคุณทักษิณไม่นิรโทษกรรมคนเดียว ที่เหลือนิรโทษให้หมด อย่างนี้ประชาชนไม่ต้องเดือดร้อน และคุณทักษิณกลับมาสู้คดีเลย วันนี้อย่าลากสภาไปรองรับการตอบโจทย์ของใคร ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาของบ้านเมืองอย่างแท้จริง อย่าทำให้คำว่าปรองดองถูกปล้น และอย่าให้นายปรองดองถูกลักพาตัว แล้วไปเอาเสื้อนิรโทษกรรมมาคลุมใส่ พวกผมไม่ได้เรียกร้องอะไรไปมากกว่านี้ และพร้อมที่จะสนับสนุนหากกระบวนการนั้นจะทำให้เกิดความปรองดองอย่างแท้จริง"

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใจ อึ๊งภากรณ์: การปรองดองของยิ่งลักษณ์ได้แต่ปกป้องอำนาจอำมาตย์

$
0
0
 
 
สองปีหลังจากที่ทหารฆ่าประชาชนเสื้อแดงที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์ และ 9 เดือนหลังชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย เราเห็นได้ชัดว่าเพื่อไทย นายกยิ่งลักษณ์ และอดีตนายกทักษิณ ปรองดองกับทหารมือเปื้อนเลือดบนซากศพคนเสื้อแดง พร้อมกับหันหลังให้กับนักโทษการเมือง ไม่ว่าใครจะแก้ตัวต่างๆ นาๆ ให้รัฐบาล แต่ผมขอยืนยันตรงนี้
 
ทั้งๆ ที่เสื้อแดงจำนวนมากเลือกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่รัฐบาลตอบแทนด้วยความกระตือรือร้นในแสดงความเป็นมิตรกับอาชญากรอย่าง ประยุทธ์ และอนุพงษ์ และแทนที่จะนำฆาตกรมาขึ้นศาล มีการเลื่อนขั้นและเอาใจทหารมือเปื้อนเลือดแทน นักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์และสุเทพก็ลอยนวลเช่นกัน แต่ในกรณีหลังมีการเล่นละครในสภาเพื่อสร้างภาพว่าอยู่คนละข้าง ในความเป็นจริงทั้งสองพรรคการเมืองนี้ไม่ได้อยู่ข้างประชาชน แต่อยู่ข้างอำมาตย์
 
การที่รัฐบาลเพื่อไทย นำโดยรัฐมนตรีที่มีภาพอื้อฉาวอย่างเฉลิม หรือขี้ข้าเสื้อเหลืองอย่างอนุดิษฐ์ เน้นการเร่งใช้กฏหมายเผด็จการ 112 มากขึ้นตั้งแต่ชนะการเลือกตั้ง อาจเป็นความพยายามของพรรคเพื่อไทยและทักษิณที่จะพิสูจน์ “ความจงรักภักดี” แต่ที่สำคัญกว่านั้น เป็นการพิสูจน์ว่าเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ และทักษิณ พร้อมจะคลานและถ่อมตัวต่อกองทัพ และพร้อมจะให้กองทัพมีอำนาจพิเศษนอกรัฐธรรมนูญในการกำหนดสังคมการเมืองไทย เพราะกฏหมาย 112 มีความสำคัญที่สุดในการปกป้องทหาร เพื่อให้ทหารสามารถอ้างความชอบธรรมจากสถาบันกษัตริย์ในทุกอย่างที่ทหารทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำรัฐประหาร หรือฆ่าประชาชน
 
กฏหมายเผด็จการ 112 ถูกใช้ในการทำลายสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และทำลายประชาธิปไตยมานาน ทุกวันนี้นักโทษ 112 จำนวนมากติดคุกอยู่ในสภาพย่ำแย่ คนอย่างคุณสมยศไม่ได้รับการประกันทั้งๆ ที่ยังไม่มีการตัดสินคดี และคนอย่าง อ.สุรชัยหรืออากง ถูกกดดันด้วยอายุและสุขภาพ ให้ “สารภาพผิด” เพื่อหวังได้รับอภัยโทษในอนาคต แต่รัฐบาลตั้งหน้าตั้งตาปฏิเสธที่จะแก้กฏหมายชั่วอันนี้
 
นักการเมืองเพื่อไทยอาจอ้าง “ภัยจากรัฐประหาร” เพื่อให้ความชอบธรรมกับการปรองดองแบบยอมจำนน แต่ในทางปฏิบัตินโยบายการปรองดองของรัฐบาลมีผลในการปกป้องอำนาจทหารที่จะทำรัฐประหารอีกในอนาคต ซึ่งคล้ายๆ กับสถานการณ์ในพม่าทุกวันนี้
 
นอกจากปัญหา 112 และการไม่ยอมนำฆาตกรมาขึ้นศาลแล้ว ยังไม่มีมาตรการอะไรที่มีความหมายในการปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงนอกจากการตั้งคุกพิเศษ อีกสาเหตุหนึ่งที่รัฐบาลเพื่อไทยไม่ยอมนำทหารและคนอย่างอภิสิทธิ์มาขึ้นศาลก็อาจเพราะกลัวว่า อาจจะมีคนที่รักความเป็นธรรม เรียกร้องให้นำทักษิณและทหารมาขึ้นศาลในฐานะที่ฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ตากใบด้วย
 
ทักษิณคงอยากจะปรองดองแบบจับมือกับอำมาตย์ เพื่อหวังกลับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ในขณะเดียวกันมีการยกฟ้อง จักรภพ เพ็ญแข ในคดี 112 ซึ่งอาจเป็นการ “เอาใจ” ทักษิณเพราะคุณจักรภพเคยใกล้ชิดกับทักษิณ แต่นั้นไม่ได้พิสูจน์ว่าคุณจักรภพต้องการปรองดองแบบนี้กับอำมาตย์ เราคงต้องถามเจ้าตัวเอง
 
การโยนเงินให้ผู้ที่ได้ผลกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ใช่การปรองดองหรือการเยียวยาที่แท้จริง มันเหมือนการโยนเงินให้ครอบครัวคนจนโดยเศรษฐี หลังจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะชีวิตวีรชนประชาธิปไตย ตั้งค่าเป็นเงินทองไม่ได้ และยิ่งกว่านั้นเงินนี้มาจากภาษีประชาชนคนจนเอง ไม่ได้เป็นการจ่ายค่าชดเชยโดยทหารฆาตกรจากกระเป๋าตนเองแต่อย่างใด การโยนเงินให้ครอบครัวพลเรือนที่ถูกทหารฆ่าในภาคใต้ก็ไม่ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองในภาคใต้แต่อย่างใดอีกด้วย เราจะปล่อยให้พวกนั้นซื้อความสงบด้วยเงินของเราเองแบบนี้หรือ?
 
แกนนำ นปช. อาจพูดจานามธรรมเรื่องการไม่ทอดทิ้งวีรชนและการช่วยนักโทษ และอาจมีการเสนอปฏิรูปรัฐธรรมนูญเล็กๆ น้อยๆ แต่ในรูปธรรมบทบาทหลักของ นปช. คือการสลายขบวนการและระงับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ และไม่มีการรณรงค์ให้แก้หรือยกเลิก 112 โดย นปช. แต่อย่างใด
 
ในขณะที่เพื่อไทย ทหาร  ปรองดองกันเพื่อรักษาสถานภาพของอำมาตย์ และขณะที่คณะกรรมการปรองดองของรัฐสภามีประธานที่เคยทำรัฐประหารเพื่อล้มล้างระบบประชาธิปไตย แสงสว่างแห่งความหวังอยู่ที่คณะนิติราษฏร์ที่ต้องการลบผลพวงรัฐประหาร และอยู่ที่ขบวนการเพื่อปฏิรูป 112 คนก้าวหน้าทุกคนควรช่วยกันสร้างขบวนการมวลชนเพื่อผลักดันสิ่งเหล่านี้ เพราะถ้าเราไม่เคลื่อนไหว การปรองดองก็จะเป็นแค่การปกป้องอำมาตย์บนซากศพวีรชน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

$
0
0

"ผมต่อให้ 2 ต่อ 1 ผมกับคุณสุเทพ 2 คน ไม่รับการนิรโทษกรรม แลกกับคุณทักษิณไม่นิรโทษกรรมคนเดียว ที่เหลือนิรโทษให้หมด อย่างนี้ประชาชนไม่ต้องเดือดร้อน และคุณทักษิณกลับมาสู้คดีเลย"

5 เม.ย. 55, รัฐสภา

'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: อุดมการณ์สื่อ SAGA: สมจิตต์ ช่อง 7

$
0
0
 
งานนี้ต้องมีชื่อเต็ม เพราะอยากทำความเข้าใจให้ชัดเจนแต่แรกว่า ผมไม่ได้เขียนวิพากษ์สมจิตต์ นวเครือสุนทร แต่ยกกรณีของเธอมาตั้งคำถามถึงขอบเขตของการทำหน้าที่สื่อ

 
ผมไม่รู้จักสมจิตต์เป็นการส่วนตัว มีน้องๆ บอกว่าเธอเคยฝึกงานแนวหน้า สมัยผมอยู่ แต่จำกันไม่ได้และไม่เคยเจอกันอีก เข้าใจว่าจะเป็นรุ่นไล่ๆ กับ “น้องเล็ก” วาสนา นาน่วม ซึ่งหลังเรียนจบ แนวหน้าก็รับเข้าทำงานเป็นนักข่าวทหารตั้งแต่ต้น

 
ผมสอบถามเรื่องสมจิตต์จากคนที่รู้จักเธอ ทราบว่าเป็นนักข่าวที่เก่ง จับประเด็นแม่น ไม่ต้องจด ไม่ต้องไปไล่เทปดูอีกครั้ง แล้วก็กล้าซักถาม ทำการบ้าน (ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักข่าวที่เก่ง พวกยืนแอบหลังเพื่อนจดข่าวอย่างเดียวไม่มีทางก้าวหน้า)

 
มีคนเล่าว่า สมชาย มีเสน เคยชมว่าสมจิตต์เป็นนักข่าวที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในรุ่นถัดจากเขา อ๊ะ อ๊ะ อย่าไปติดใจกิตติศัพท์ด้านอื่น “ไอ้ช้าง” น้องผมจากแนวหน้า คือนักข่าวภาคสนามที่เก่งที่สุดในทำเนียบ จับประเด็นแม่น กล้าซัก กล้าถาม ไล่ต้อน จี้ใจดำ ก็ขนาดยุค รสช. กองบรรณาธิการต้องให้ “ไอ้ช้าง” หยุดงานหลบไปอยู่เชียงใหม่ เกรงจะไม่ปลอดภัยจากการไล่ซักสุจินดา หลังยกทีมออกจากแนวหน้า ไอ้ช้างมาอยู่ INN ด้วยกันพักหนึ่ง (จนได้แฟน หลังจากตอนที่อยู่แนวหน้าเคยจีบน้องเล็กแต่ไม่สำเร็จ คริคริ) แล้วบางกอกโพสต์ หนังสือพิมพ์ค่าตัวแพงที่สุด ก็ดึงไปอยู่ด้วย

 
เล่าอย่างนี้ก็พอเห็นภาพ สมจิตต์ถอดแบบมาจากสมชาย อันที่จริงถ้าไม่ใช่ยุคการเมืองเลือกข้าง เธอน่าจะเป็นนักข่าวที่เปล่งประกายเจิดจ้า นิสัยเสียที่อาจจะมีบ้างคือเธอไม่แคร์ใคร ไม่ค่อยมีพวก (ซึ่งยิ่งหนักขึ้นในยุคการเมืองเลือกข้าง) ไม่เหมือนนักข่าวทั่วไปที่รวมกลุ่มกันลอกข่าว พูลข่าว เพราะกลัวตกข่าว

 
สมจิตต์ไม่เคยมีข้อครหาเรื่องผลประโยชน์ มีนอกมีใน แม้ชื่นชมพรรคแมลงสาบอย่างแรงกล้า เหม่อมองหน้ามาร์คจนสะดุดหัวปักหัวปำ แต่ก็ไม่เคยมีข่าวร่ำลือในวงการว่าเธอได้อะไรจาก ปชป. ไม่เคยมีข่าวไปรับเลี้ยงดูปูเสื่อในคอนโดของรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (แหงอยู่แล้ว เธอเป็นผู้หญิง “ปูเสื่อ” เขามีไว้รับรองนักข่าวชาย) ไม่เคยรับโฆษณาหน่วยงานรัฐแล้วได้เปอร์เซ็นต์ ไม่เคยรับซองรายเดือน (ไม่เหมือน บก.ข่าวทีวีบางคน มีเสียงนินทาว่าสมัยทักษิณมีคนหัวขาวดูแล ขอขึ้นค่าตัวเขาไม่ให้เลยโดดไปฝั่งตรงข้าม)

 
แล้วก็ไม่เคยจัดทอดกฐินวัดบ้านตัวเอง แจกการ์ดตั้งแต่รัฐมนตรียันปลัดกระทรวง อธิบดี คนละปึก เหมือนสื่อบางคนที่ชอบออกมาโวยวายเรื่องเสรีภาพสื่อ

 
แต่แน่นอน สมจิตต์เลือกข้างชัดเจน รัก ปชป. เกลียดทักษิณ เพื่อไทย เลือกข้างจนอาจกล่าวได้ว่าในหัวเธอรับข้อมูลด้านเดียว

 
คำถามคือนักข่าวเลือกข้างได้ไหม รักเกลียดได้ไหม ผมว่าได้ นักข่าวเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่อยู่ที่เลือกข้างแล้วจะทำหน้าที่ให้ดีได้อย่างไร

 
ตั้งแต่รัฐบาลนี้เข้ามา สมจิตต์ตั้งคำถาม เสียจนโด่งดังตกเป็นข่าวเสียเอง เมื่อมีคนเสื้อแดงส่งเมล์ใช้ถ้อยคำไม่พอใจ เข้าข่าย “คุกคาม” (แต่การไปประท้วงช่อง 7 ให้ย้ายเธอออกจากหน้าที่ ไม่ถือเป็นการคุกคามสื่อนะครับ ประชาชนผู้เสพย์สื่อย่อมมีสิทธิแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจการทำหน้าที่ของสื่อ ตราบเท่าที่ไม่ใช้กำลัง)

 
กรณีสมจิตต์ไม่ได้ตามนายกฯ ไปประชุมที่กัมพูชา ต้องอธิบายให้คนนอกเข้าใจว่า (ตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจ) เวลานายกฯ หรือรัฐมนตรีคนสำคัญไปต่างประเทศ ทีวีพูล (ซึ่งเก็บเงินลงขันจากทุกช่อง) จะจัดคิวหมุนเวียนให้ช่องใดช่องหนึ่งไปทำข่าว แล้วเอาข่าวมาออกทุกช่อง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย โดยรัฐบาลก็อำนวยความสะดวกให้ เพราะเสมือนไปทำข่าวประชาสัมพันธ์ให้รัฐบาล (พูดง่ายๆว่านักข่าวที่ไปแบบนี้ไม่ได้มีเสรีภาพที่จะมาทำข่าวด่ารัฐบาลหรอก ทีวีพูลคุณก็รู้อยู่)

 
บังเอิญรอบนี้ คิวมาลงช่อง 7 และคิวนักข่าวก็ลงสมจิตต์พอดี พูดอย่างให้ความเป็นธรรม รัฐบาลก็สะดุ้ง นักข่าวที่จะตามนายกฯ ดันเป็นสมจิตต์ ที่รู้กันอยู่ว่ามีอคติกับรัฐบาล รัฐบาลขอเปลี่ยนตัว ช่อง 7 ไม่ยอม รัฐบาลก็เลยบอกว่างั้นไม่ต้องไปแล้ว โดยอ้างทางกัมพูชา

 
ถามว่านี่คือการแทรกแซงสื่อไหม พูดตรงไปตรงมาก็เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะ แต่เรียกให้ถูก น่าจะเรียกว่าปฏิเสธสื่อ คือไม่ใช่รัฐบาลเอาช่อง 3,5,9,11 ไปแต่ไม่ยอมให้ช่อง 7 ไป แบบนั้นถือว่าปิดกั้น แต่แบบนี้คือ เมื่อมีสมจิตต์ให้เลือกคนเดียว กรูก็ไม่เลือก ไม่เอานักข่าวตามไปซะเลย ถามว่ามีสิทธิไหมครับ

 
แต่แน่นอนรัฐบาลเสีย คือแทนที่จะได้ประชาสัมพันธ์ผลงาน ก็ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ นักข่าวก็เสีย คือแทนที่จะได้ข่าว ก็ไม่ได้ข่าว

 
พูดอย่างให้ความเป็นธรรมกับสมจิตต์ เธอบอกเพื่อนๆ ว่ารู้หรอกน่า ไปในนามทีวีพูล ทำข่าวการประชุมนานาชาติ เธอก็ต้องทำตัวให้เหมาะสม ไม่ไปทำวงแตกหรอก ผมว่ารัฐบาลน่าจะให้โอกาสเธอ เพราะถ้าเธอทำวงแตก รัฐบาลก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะจี้ทีวีพูลและช่อง 7 เล่นงาน

 
หน้าที่กับทัศนะ

 
ถ้าเรายอมรับว่านักข่าวเลือกข้างได้ มีเสรีภาพที่จะเป็นเหลืองแดง เลือกนิยมพรรคใดพรรคหนึ่ง ประเด็นที่ควรถกกันในแวดวงวิชาชีพสื่อคือ เราสามารถเอาทัศนะส่วนตัวเข้าไปสอดแทรกในการทำหน้าที่มากน้อยเพียงใด

 
ถ้าเป็นคอลัมนิสต์ เป็นคอมเมนเตเตอร์ โอเค ไม่มีปัญหา คุณจะใส่ความเห็นอย่างไรในคอลัมน์ ชัดเจนว่าเป็นความเห็นส่วนตัว (แต่ถ้าปลุกความเกลียดชัง ปลุกให้คนไร้สติ ก็คือสื่อรวันดา สมควรถูกประณาม ไม่สามารถปกป้องว่าเป็นเสรีภาพสื่อ)

 
ถ้าเป็นหัวหน้าข่าว รีไรเตอร์ สื่อไทยพยายามขีดวงว่าไม่ใส่ความเห็นในเนื้อข่าว (แต่มันก็มีวิธีสอดแทรก) ส่วนโปรยข่าว พาดหัวข่าว หลายสำนักละเลงกันสะใจ นี่ก็แยกคนอ่านอยู่ในตัว ฉบับไหนเป็นสื่อเหลือง สื่อแดง สือสลิ่ม หรืออีแอบ

 
ผมยืนยันเสมอว่าสื่อเลือกข้างได้ แต่คุณต้องยอมรับผลของการกระทำนั้น ไม่ใช่สื่อคุกคามคนแต่ห้ามคนเขาตอบโต้สื่อ สื่อเลือกข้างก็ต้องยอมรับว่าคุณจะต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถูกแสดงความไม่พอใจ ประท้วง ด่าทอได้ ตราบใดที่ไม่ใช้กำลังและไม่เข้าข่ายดูหมิ่นเหยียดหยามหรือหมิ่นประมาท (แบบเดียวกับหนัง “เชคสเปียร์ต้องตาย” ของสลิ่มตัวแม่ อิ๋ง กาญจนวณิชย์ ควรมีเสรีภาพในการฉาย แต่ฉายแล้วคนดูด่าขรม เสื้อแดงเกลียดชัง ผู้กำกับก็ต้องยอมรับ)

 
ปัญหาน่าคิดคือบทบาทของนักข่าวภาคสนามนี่สิ บทบาทของนักข่าวภาคสนามไม่ได้อยู่ที่การเขียนคอลัมน์หรือพาดหัว แต่อยู่ที่การตั้งประเด็นคำถาม ไม่ว่าจะถามนำ ถามตาม ถามต้อน ต้องทำการบ้านมาอย่างแม่นยำ นักข่าวเก่งๆ อย่างสมชาย มีเสน ไม่ได้ส่งผลสะเทือนเฉพาะหนังสือพิมพ์ฉบับที่ตัวเองอยู่ แต่เป็นผู้กำหนดประเด็นข่าวทำเนียบในวันนั้นของทุกสื่อได้เลย (นักการเมืองถึงได้กลัว)

 
ฉะนั้น ถ้าเราเลือกข้างแล้วเราสามารถสอดแทรกทัศนะเข้าไปในการตั้งคำถามมากน้อยเพียงไร

 
นักข่าวตัวอย่างในกรณีคล้ายสมจิตต์ ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม สุทิน วรรณบวร ผู้สื่อข่าวเอพี ผู้ตั้งคำถาม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ตอนที่พันธมิตรบุกทำเนียบแล้วรัฐบาลสมัครประกาศภาวะฉุกเฉินว่า “ระหว่างชีวิตเลือดเนื้อประชาชนกับนายกฯ เฮงซวย จะเลือกฝ่ายไหน”

 
ใครที่ดูทีวีถ่ายทอดสดตอนนั้นคงจำได้ ไม่ใช่ถามธรรมดานะครับ แต่คุณสุทินใส่อารมณ์โกรธแค้นรุนแรงจนตัวสั่น

 
ถ้าคนไม่รู้จักมาก่อน คงเข้าใจว่าคุณสุทินเป็นแกนนำพันธมิตรหลุดเข้ามาในที่แถลงข่าว ไม่ใช่นักข่าว ซึ่งตอนหลังคุณสุทินก็ลาออกจากนักข่าว แล้วโดดขึ้นเวทีพันธมิตรจริงๆ

 
คุณสุทินเจ้าของหนังสือ “นักข่าวสายโจร” เป็นนักข่าวแบบที่สามารถใช้ภาษากำลังภายในว่า “ชิงชังความชั่วร้ายยิ่งกว่าความอาฆาตแค้น” เก่ง กล้า ตรงไปตรงมา อัตตาสูง แสดงออกอย่างร้อนแรงทุกยุคทุกสมัย เท่าที่จำความได้ก็ตั้งแต่สมัย รสช.เช่นถามบรรหารเรื่องที่พูดในสภาว่ามีนักการเมืองตระบัดสัตย์ "อยากรู้ว่าใครเป็นสัตว์ ใครเป็นคน คุณเป็นสัตว์หรือไม่" ตอนทักษิณเรียกพรรคเล็กมาลงสัตยาบัน ก็ถามว่า "นี่สภาจริงหรือสภาโจ๊ก"

 
“คุณดูสิครับว่าไอ้คนที่ได้รับคำถามจากเราน่ะ มันเหมาะสมที่จะได้รับคำพูดที่ไพเราะเพราะพริ้งไหม คุณคิดว่านักการเมืองพวกนี้ ควรได้รับคำถามแบบไหน คำถามที่นอบน้อมไหม ถ้าคนเลว เราต้องถามด้วยคำถามเลวๆ นักการเมืองที่คนทั้งประเทศเรียกมันว่าไอ้ จะให้คนเรียกว่าท่านเหรอ อย่างนี้แหละ ประชาชนถึงได้ถูกขี่คอมาตลอด”

 
ฟังแล้วน่าปรบมือให้ ถ้าไม่ฉุกคิดว่านี่ผู้นำม็อบหรือนักข่าว (กันแน่วะ)

 
“ผมถามว่าคุณสมัครเมื่อเกิดเหตุนองเลือดขึ้นแล้วเนี่ย พรรคประชากรไทยของคุณจะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลไหม แกก็บอกว่า เออ..ทีจอร์จบุชมันฆ่าคนในเหตุจลาจลในอเมริกาไม่เห็นมีใครว่าอะไรเลย ผมก็บอกว่ามันคนละเรื่องกัน ผมถามว่าคุณจะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลไหม แกก็เห็นนักข่าวฝรั่งเยอะแกก็บอกให้ฝรั่งถามบ้าง ปีเตอร์ซึ่งเป็นนักข่าวฝรั่งเขาก็บอกว่าผมก็จะถามเหมือนที่คุณสุทินถามน่ะแหล่ะ ผมก็ถามย้ำว่าจะถอนตัวหรือเปล่า แกหันขวับมาบอกว่าคุณหุบปากได้แล้ว ผมก็เลยสวนไปว่ามึงก็หุบปากสิวะ แกก็บอกว่าถ้างั้นคุณมาถามผมทำหอกอะไร ผมก็บอกว่าแล้วคุณมาเป็นรองนายกทำส้น....อะไร เท่านั้นแหละวงแตกเลย ตอนนี้พอแกมาเป็นนายกฯก็เลยมีคนตั้งฉายาแกว่า ‘นายกฯหอกหัก’ (หัวเราะขำ)”

 
คุณสุทินเล่าในผู้จัดการย้อนอดีตหลังพฤษภาทมิฬ

 
นี่ไม่ใช่เรื่องสีนะครับ ไม่ใช่เพราะเป็นสีเหลือง แต่สมมติกลับข้างกัน นักข่าววอยซ์ทีวีลุกขึ้นมากำหมัดกัดฟันหน้าแดงก่ำตะโกนถาม พล.อ.อนุพงษ์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ว่า “ระหว่างชีวิตเลือดเนื้อประชาชนกับนายกฯ ฆาตกร จะเลือกฝ่ายไหน” ผมก็ว่าคุณมีปัญหาแล้ว คุณจะเป็นนักข่าวหรือเป็นเสื้อแดง เส้นแบ่งมันเลอะเลือน เวลาทำหน้าที่ คุณต้องชัดเจนว่าเป็นนักข่าว

 
ถ้าเปรียบเทียบให้ Extreme อีกหน่อยก็คือ นักข่าวอิรักขว้างรองเท้าใส่จอร์จ บุช ในความเป็นชาวอิรักผู้ถูกรุกรานเขาคือฮีโร่ แต่ในความเป็นนักข่าว เขาล้ำเส้นจรรยาบรรณ

 
หลังคำถาม “นายกฯ เฮงซวย” คุณสุทินมีปัญหากับเอพีต้นสังกัด ท้ายที่สุดก็ลาออก (มาอยู่ ASTV พักหนึ่งแล้วลาออกไปโดยไม่ทราบสาเหตุ) คุณสุทินโทษว่ามีคนอีเมล์ไปฟ้อง พวกพันธมิตรพูดทำนองว่าเอพีถูกซื้อ หรือมีอิทธิพลล็อบบิ้ยิสต์ แต่ว่ากันตามเนื้อผ้า ถ้าผมเป็น บก.ข่าวเอพี ผมก็มองว่าคุณสุทินเลือกข้างแล้วใช้อารมณ์จนมีปัญหาในการทำข่าว ไม่เหมาะสมจะทำหน้าที่อีกต่อไป

 
สำนักข่าวใหญ่ระดับโลกนะครับ เขามีกรอบเกณฑ์ของเขาอยู่ ถึงไม่จำกัดว่าต้อง “เป็นกลาง” อย่างเคร่งครัด แต่ก็อย่าแสดงอารมณ์จนกระทบกระเทือนเครดิตของต้นสังกัด

 
จะหาเรื่องหรือหาข่าว

 
ย้อนมาที่สมจิตต์ เธอยังไม่ตั้งคำถามรุนแรงขนาดคุณสุทิน แต่อาจเป็นเพราะเธอ “แหลม” อยู่คนเดียวในช่วงที่พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล (อันที่จริงเท่าที่สอบถาม มีนักข่าว 3-4 คนที่มักตั้งคำถามซักไซ้ แต่ไม่มีใครตั้งคำถามร้อนเท่าสมจิตต์ รายหนึ่งอยู่สำนักข่าวต่างประเทศ แต่ประเด็นที่สำนักข่าวต่างประเทศต้องการก็แตกต่างไป)

 
นักข่าวที่สนิทกันรายหนึ่งยังบอกว่า สมจิตต์ตั้งคำถามคล้ายๆ ผมสัมภาษณ์ไทยโพสต์แทบลอยด์นั่นแหละ อย่างน้อยก็มีส่วนคล้ายกัน 50% ขึ้นไป คือต้อนจนกว่าจะได้ประเด็นที่ต้องการ

 
อ้าว งั้นเหรอ แต่ผมว่าไม่เหมือนกัน บรรยากาศต่างกัน ผมสัมภาษณ์พิเศษ 2 ต่อ 2 ไม่ว่าจะมีความเห็นตรงกันหรือตรงข้าม ยังเป็นการโอภาปราศรัยในบรรยากาศที่เอื้อ ไม่เหมือนยืนแย่งกันถามในทำเนียบ บางครั้งผมถามแรงในเนื้อหา แต่ก็ระวังท่าที และมักจะมาในช่วงท้ายๆ หลังจากปรับทุกข์ผูกมิตรแล้ว ไม่ใช่นั่งลงปุ๊บก็ชวนทะเลาะ ผมมีเวลาต้อน ยั่วยุ หรือยกยอ จนได้ประเด็นที่ต้องการ อย่างน้อยผมก็ไม่เคยลงเอยด้วยการหวิดฟาดปากกับแหล่งข่าวหรือโดนด่าไล่หลัง ส่วนใหญ่ชอบด้วยซ้ำ เพราะผมให้เขาพูดในสิ่งที่เขาอยากพูด พร้อมๆ กับถามในประเด็นที่ผมอยากถาม และประเด็นที่ผมคิดว่าคนอ่านอยากรู้

 
พูดแล้วจะหาว่าคุย งานสัมภาษณ์ที่ผมภาคภูมิใจคือสัมภาษณ์สนธิ ลิ้ม ในฉบับท้ายๆ ก่อนเลิกทำไทยโพสต์แทบลอยด์ สนธิก็รู้ว่าผมคิดอย่างไร แต่ผมให้สนธิพูดให้หมด และผมก็ถามสิ่งที่ผมอยากถามจนหมด สนธิอ่านแล้วชอบใจจนเอาไปพิมพ์เป็นเอกสารประกอบการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ พันธมิตรอ่านแล้วปลื้ม เสื้อแดงอ่านแล้วยิ่งชิงชัง มันออกมาสมบูรณ์แบบทั้งสองด้าน

 
ไม่ใช่ว่าผมสัมภาษณ์แล้วไม่ชวนทะเลาะ มียกเว้นบางราย เช่น พี่เปี๊ยก พิภพ ธงไชย เนื่องจากสนิทกัน ผมตั้งคำถามชวนทะเลาะ ประชดประเทียดเสียดสีอีกต่างหาก แต่ให้รสชาติไปอีกแบบ เป็นการเอาตัวตนของผมใส่เข้าไปในงานสัมภาษณ์ (เคยสัมภาษณ์ อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จนลูกสาว อ.สมเกียรติที่นอนอยู่ข้างวงหายง่วงลุกขึ้นมาถามว่านี่จะทะเลาะกันหรือสัมภาษณ์กัน)

 

ที่ยกหางตัวเองมายืดยาว คริคริ คือผมจะบอกว่าการตั้งคำถามมันเป็นศิลปะ ที่ต้องทำให้สอดคล้องกับกาลเทศะ ไม่ใช่ว่าผมเก่งหรอก ให้ผมไปยืนถามในทำเนียบก็คงใบ้กิน แต่หลักการเดียวกัน ถ้าเราอยากได้คำตอบ หรือแม้แต่อยากซักให้จน บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามแรง แต่หาวิธีไล่เรียงเอา

 
สมมติเช่น แทนที่จะถามว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คิดจะทำอะไรเพื่อประเทศชาติและประชาชนบ้างหรือไม่” คุณก็อาจจะถามว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ รัฐบาลต้องการแก้ไขประเด็นไหนบ้าง” ถ้าคุณมี agenda คุณก็ต้องพยายามล่อให้เขาตอบ เช่น ต้องการแก้ ม.237 เรื่องยุบพรรคใช่หรือไม่ จากนั้นค่อยลงท้ายว่าต้องการแก้ ม.309 ใช่หรือไม่

 
แต่พอถามว่า “การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ คิดจะทำอะไรเพื่อประเทศชาติและประชาชนบ้างหรือไม่” คุณอยากให้ยิ่งลักษณ์ตอบว่าอะไร “ไม่คิดค่ะ” กระนั้นหรือ มันคือคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ และจริงๆ มันไม่ใช่คำถาม แต่เป็นคำประณามที่มาในรูปของคำถาม ฉะนั้นไม่แปลกหรอกที่ยิ่งลักษณ์เดินหนี

 
แล้วมันก็เป็นสิทธิของรัฐบาลที่เขาจะวิจารณ์กลับ เป็นสิทธิของสุรนันท์ เวชชาชีวะ ที่จะวิจารณ์สมจิตต์ หรือวิจารณ์ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ หรือจะวิจารณ์ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ เช่นเดียวกับที่พรรคแมลงสาบมีสิทธิตอบโต้ผม สือจะถือสิทธิวิจารณ์นักการเมืองข้างเดียวไม่ได้

 
ผมพยายามจะแยกเรื่องสีเสื้อ ทัศนะ ออกไปแม้คงแยกไม่ได้เด็ดขาด แต่ลองสมมติตัวเองว่าถ้าผมเป็นบรรณาธิการข่าวทีวี ที่มีนักข่าวทำเนียบเป็นไม้เบื่อไม้เมากับรัฐบาล ผมจะทำอย่างไร ถ้านักข่าวของผมใช้วิชาชีพเป็นเครื่องมือแสดงทัศนะทีเกลียดชัง อคติ จนฝ่ายรัฐบาลต่อต้าน ถามอะไรก็ไม่ตอบ หรือตอบก็กลายเป็นทะเลาะกัน จะโทษนักข่าวฝ่ายเดียวไหม ก็คงไม่ แต่ถามว่าเขาทำหน้าที่นักข่าวได้เต็มที่ไหม คำตอบก็คือไม่

 
เอาง่ายๆ ถ้านักข่าววอยซ์ทีวีประณามอภิสิทธิ์ “ฆาตกร” ถ้าผมเป็น บก.ข่าวผมก็ต้องเรียกมาอบรม คุณแสดงอารมณ์อย่างนี้ไม่ได้ มันมีขีดคั่นของจรรยาบรรณอยู่ คุณไปยืนตรงนั้นไม่ได้ไปในฐานะส่วนตัว ไม่ได้ไปในฐานะวอยซ์ทีวีด้วยซ้ำ แต่ไปในฐานะนักข่าวที่ต้องตั้งคำถามแทนประชาชน ถามในสิ่งที่ประชาชนอยากรู้ คุณไม่มีหน้าที่ไปแสดงความเห็นหรืออารมณ์ของตัวเอง ถ้ามีความเห็น ก็ใช้สมองของคุณแปรมันออกมาเป็นคำถามที่สอดคล้องกับความอยากรู้ของสาธารณชน

 
พูดอีกอย่างในฐานะที่เราทำงาน เราก็ต้องอยากได้งาน เราตั้งคำถาม เราย่อมอยากได้คำตอบ ถ้าถามแล้วทำให้ไม่ได้คำตอบ ไม่ได้ข่าว เพียงแต่เป็นข่าวว่านายกฯ เดินหนีนักข่าวปากกล้า กลายเป็นตัวเราเป็นข่าวเสียเอง อย่างนี้ถือว่าบรรลุเป้าหมายของงานข่าวหรือไม่

 
ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ผมจะบอกว่าช่อง 7 ควรเปลี่ยนสมจิตต์ไปทำข่าวบันเทิง เพราะผมมองว่าสมจิตต์เป็นนักข่าวที่เก่ง เราควรมีนักข่าวเก่งๆ ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ไม่ใช่มีแต่นักข่าวที่เช้ามาก็ชมว่า วันนี้ท่านนายกฯ แต่งตัวสวยจัง แต่ปัญหาคือสมจิตต์ต้องหาจุดลงตัว หาจุดที่ทำหน้าที่ได้อย่างมีเหตุผล มีประโยชน์ รู้ประมาณ

 
ผมไม่ได้บอกว่านักข่าวจะต้องไปเอาอกเอาใจนักการเมือง ทหาร แต่ดูอย่างวาสนา นาน่วม ผบ.เหล่าทัพยัวะเธอก็หลายครั้ง แต่วาสนายังอยู่ ยังตั้งคำถามให้ ผบ.เหล่าทัพต้องตอบ เธอต้องมีศิลปะ ทีแข็งทีอ่อน ไม่งั้นก็ทำข่าวไปด้วยเขียนลับลวงพรางไปด้วยไม่ได้หรอก

 
ขอย้ำว่านี่ผมไม่ได้พูดเรื่องสมจิตต์คนเดียว แต่เธอเป็นตัวอย่างของกรณีที่นักข่าวเลือกข้างแล้ว จะทำหน้าที่อย่างไรให้เหมาะสม นี่เป็นประเด็นที่วงวิชาชีพสื่อควรขบคิด ไม่ใช่พอมันเป็นเรื่องแล้วก็สะใจ “ยุน้องออกมาตายดาบหน้า”

 
อันที่จริงผมเชื่อว่าเรื่องสีเสื้อมีส่วน เพราะมันทำให้คนสุดขั้วสุดโต่ง โดยเฉพาะสื่อ สุดโต่งอย่างไม่เคยเห็นกันมาก่อน เพราะความเชื่อที่ว่าตัวเองเป็นฝ่ายดี ฝ่ายถูก มีคุณธรรมจริยธรรม ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามคือความชั่วร้าย

 
สมจิตต์เองก็ทำหน้าที่ตรวจสอบมาทุกรัฐบาล ตั้งคำถามร้อนแรงกับทุกนายกฯ กระทั่งชวน หลีกภัย ยังเคยตอบโต้เธอว่ากลับไปถามพ่อถามแม่ที่บ้านสิ

 
แต่ในวิกฤติที่ไม่ปกตินี้ เธอก็น่าจะรู้ตัวเองดี ว่าอยู่ในอุณหภูมิปกติหรือไม่ เธอตรวจสอบรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในมาตรฐานเดียวกับรัฐบาลชวน หรืออย่างน้อยก็รัฐบาลบรรหารหรือเปล่า ถ้าอยู่ในระดับอารมณ์เดียวกันถึงมันจะมีปัญหา แต่ก็ไม่น่ามากขนาดนี้

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จี้เลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร

$
0
0

เวทีสาธารณะสิทธิชุมชน กับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ‘รสนา’ โฟนอินชี้ไทยควรใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนังจี้หยุดก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข มิฉะนั้นประชาชนจะมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นตามลำดับ

 

 

 

เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 7 เมษายน 2555 ที่ตลาดนัดเปิดท้ายบ้านหน้าศาล ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช  เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนัง จัดเวทีสาธารณะ “สิทธิชุมชน กับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้” และมีการแสดงดนตรีเพื่อชีวิตจากเครือข่ายศิลปินภาคใต้ อาทิ แสง ธรรมดา ตุด นาคอน พิมพ์นิยม หนุ่ย หยาดน้ำค้าง ติ๊ก ไทลากูน เพื่อคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร โดยมีชาวบ้านจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร สตูล และสงขลา ร่วมประมาณ 700 คน

นางรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร โฟนอินผ่านวิดิโอลิงค์ว่า ประเทศไทยควรหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากยิ่งขึ้นแทนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ แม้ประเทศญี่ปุ่นเองหลังจากที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ ต่อมารัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผนออกมาว่าจะใช้พลังงานหมุนเวียน 100 % ภายใน 40 ปี สำหรับพลังงานถ่านหิน ปิโตรเลียม จะนำมาใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น

“ประเทศไทยไม่ส่งเสริมบริษัทเอกชนให้ผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจัง เนื่องจากมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ระบุว่ากิจการพลังงานเป็นของรัฐเท่านั้น ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ คนไทยจะต้องร่วมกันผลักดันเพื่อกำหนดให้กิจกรรมพลังงาน อาทิ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน ฯลฯ เป็นสมบัติของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะของท้องถิ่น ไม่ใช่สมบัติของรัฐ เนื่องจากเมื่อนายทุนมาควบคุมรัฐ ก็จะกลายเป็นสมบัติของนายทุนจนทำให้เกิดการผูกขาดในที่สุด” นางรสนา กล่าว

นายครองศักดิ์ แก้วสกุล ประธานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนัง อ่านแถลงการณ์ว่า การดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ผ่านมา มุ่งเน้นการใช้เงินในการจัดตั้งมวลชน การประชาสัมพันธ์ฝ่ายเดียว การจ้างสื่อในพื้นที่ การสนับสนุนงบประมาณแก่นักการเมืองท้องถิ่นบางคนเพื่อเป็นกระบอกเสียง โดยไม่ยอมรับฟังความเห็นต่าง  ถึงความเป็นเหตุเป็นผลของประชาชนในพื้นที่

นายครองศักดิ์ กล่าวว่า ขอย้ำว่าคนลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ได้ปฏิเสธแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ แต่เลือกที่จะสนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมที่มาจากฐานศักยภาพทรัพยากรในจังหวัด เกิดการต่อยอดมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์การประมง และ การเกษตร ด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร

“เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนังจึงขอเสนอให้หยุดการดำเนินการใดๆ เรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข มิฉะนั้นประชาชนจะมีมาตรการที่เข้มข้นขึ้นตามลำดับ” นายครองศักดิ์ กล่าว 

นางจินตนา แก้วขาว กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ถ้านำแผนอนุรักษ์พลังงานระยะ 20 ปี 2554-2573 ของกระทรวงพลังงาน มาใช้ให้จริงจัง ขณะเดียวกันก็ไม่มีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกเลย ชาวบ้านต้องคิดใหม่ว่าการพัฒนาต้องมาจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐหรือนายทุน

“การต่อสู้ของคนหัวไทรจะต้องไม่ใช่แค่ต่อสู้เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินเท่านั้น แต่ควรรับรู้ถึงแผนพัฒนาของรัฐ โดยเฉพาะแผนพัฒนาของรัฐในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีถึง 22 โครงการ ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อน นิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นิคมอุตสาหกรรมเหล็ก ฯลฯ และการต่อสู้ไม่ใช่แค่เพียง 1-2 ปีจบ แต่เป็นการต่อสู้ระยะยาว” นางจินตนา กล่าว

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาทำให้ 'พระ' กลายเป็น 'อภิสิทธิชน' ยิ่งกว่า 'เจ้า'

$
0
0

หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 23 ก.พ.55 รายงานว่า สำนักงานพระพุทธพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา กลับไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว โดย พศ.เห็นด้วยกับการที่จะมีกฎหมายนี้ และขณะนี้ทราบว่าทางนายกรัฐมนตรีได้ส่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวทั้งหมดให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนที่จะส่งกลับมาที่นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง จากนั้นต้องอยู่ที่การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีว่าจะเสนอบรรจุเข้าในระเบียบวาระการประชุมของสภาหรือไม่

ตามรายงานข่าว ร่างพ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ฉบับ คือ ฉบับของพรรคประชาธิปัตย์ ฉบับของพรรคเพื่อไทย และฉบับของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาเป็นเวลา 4 ปี แล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการบรรจุเข้าในวาระการประชุมของสภาได้

ปัญหาคือ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับ “ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ. ...” ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในยุค คมช.หรือไม่ หากมีเนื้อหาเดียวกัน หรือเป็นฉบับเดียวกันก็ต้องถือว่าเป็น “กฎหมายเผด็จการ” ที่น่ากลัวยิ่งกว่า ม.122 เสียอีก

เพราะเป็นกฎหมายที่ยกสถานะของ “พระ” ให้เป็น “อภิสิทธิชน” ยิ่งกว่า “เจ้า” และกำหนดลักษณะความผิด “ครอบจักรวาล” และกำหนดอัตราโทษไว้สูงมาก เช่น

มาตรา 9 การจาบจ้วง ละเมิด ลอกเลียน บิดเบือน หรือการกระทำอื่นใดให้พระศาสดา ศาสนธรรม ศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ได้รับความเสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง หรือวิปริตผิดเพี้ยน จะกระทำมิได้


จะเห็นว่า ลักษณะความผิดตามมาตรานี้ “ครอบจักรวาล” มาก คำว่า “จาบจ้วง ล่วง ละเมิด บิดเบือน เสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง วิปริตผิดเพี้ยน” หากเทียบกับ ม.112 ที่ว่า “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย...” ยังชัดเจนกว่า แต่ขนาดชัดเจนกว่าก็เกิดปัญหาในเรื่อง “การตีความ” ตลอดมา และกลายเป็น “อาวุธ” ให้ “พวกคลั่งเจ้า” ล่าแม่มดได้อย่างน่ากลัว

คำถามคือ ถ้ามีกฎหมายที่ระบุลักษณะความผิดอย่างคลุมเครือ สามารถตีความได้ครอบจักรวาลเช่นนี้ กฎมายแบบนี้จะเป็น “อาวุธ” ให้ “พวกคลั่งศาสนา” ล่าแม่มดจนก่อให้เกิดความวุ่นวายมากขนาดไหน

มาตรา 21 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับพระศาสดาและศาสนธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

การ “จาบจ้วง” “ล่วงละเมิด” พระศาสดาคืออะไรหรือ ถ้าเป็นการด่า การทำร้าย ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเองก็เคยถูกด่า ถูกใส่ร้ายว่าทำให้สตรีตั้งครรภ์ก็มี ถูกทำร้ายก็มี แต่ท่านไม่ด่าตอบ ไม่เคยเรียกร้องให้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการ

ทว่าวางหลักการเอาไว้ว่า “ถ้ามีใครบริภาษหรือด่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ พุทธบริษัทไม่ควรโกรธ ควรมีสติ ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลไปตามควรแก่กรณี” นอกจากนี้ท่านยังเตือนสติว่า “ใครก็ตาม มีความโกรธต่อผู้ทำร้ายตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติตามคำสอนของตถาคต”

แล้ว “จาบจ้วง” “ล่วงละเมิด” “บิดเบือน” ศาสนธรรมจะตัดสินจากเกณฑ์อะไร? เพราะในประวัติศาสตร์ก็มีการตีความคำสอนของพุทธศาสนาไม่ตรงกันมาตลอด ตอนที่พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ก็มีการตีความเรื่อง “อัตตา-อนัตตา” ไม่ตรงกันแล้ว และหลังจากท่านปรินิพพานแล้ว ก็ยิ่งมีการตีความคำสอนในเรื่องอื่นๆ ต่างกัน จนเกิดการแตกแยกเป็นนิกายต่างๆ กว่าร้อยนิกาย

ที่สำคัญหลักกาลามสูตรก็เปิดให้ผู้ศึกษาพุทธมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ คือจะไม่เชื่อแม้แต่ครูหรือศาสดาเลยก็ได้ ให้เชื่อความจริงที่ตนพิสูจน์ได้แล้วเท่านั้น


แล้วกำหนดไปได้อย่างไร “โทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท” คนที่คิดมาตรานี้ไม่รู้คิดกันขึ้นมาได้จากหลักการอะไร ไม่ “ละอาย” ต่อพระพุทธเจ้าบ้างหรือครับ

เพราะพระพุทธเจ้าทำตัวเป็น “คนธรรมดา” ถูกด่าได้ วิจารณ์ได้ เมื่อมีคนทำร้าย (เช่นเทวทัตลอบสังหาร) ก็ไม่เรียกร้องให้เอาผิดทางกฎหมายใดๆ


คือหากคิดจากมุมมองของพระพุทธเจ้า เรื่องการด่า หรือเรื่องประเภทจาบจ้วง ล่วงละเมิดอะไรพวกนี้ มันไร้สาระมากเลย แค่จะเก็บมาเป็นอารมณ์ก็ไม่ควรแล้ว จะไปคิดเรื่องจะเอาผิดเอาโทษทางกฎหมายไปทำไม เพราะถ้าไม่เป็นอย่างที่เขาด่า หรือจาบจ้วง มันจะเสียหายอะไร

พระพุทธเจ้าไม่ได้ต้องการทำให้ธรรมะเป็น “ของศักดิ์สิทธิ์” ไม่ต้องการให้ศาสดาหรือครูเป็น “บุคคลศักดิ์สิทธิ์” ฉะนั้น ใครจะตั้งคำถามกับธรรมะ หรือศาสดาอย่างไรก็ได้ ด่าได้ วิจารณ์ได้ ไม่ถือเป็นการจาบจ้วง ล่วงละเมิดที่ต้องมีความผิดทางกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น (หากจะผิดก็เป็นเรื่องทางศีลธรรม ที่มีผลทางศีลธรรมเช่นการถูกตำหนิติเตียนเป็นต้นเท่านั้น) นี่คือ “เสรีภาพ” ทางความคิด ความเชื่อที่พระพุทธเจ้ารับรอง

แต่มาตรา 21 ในร่าง พ.ร.บ.นี้กำลังทำให้เสรีภาพที่พระพุทธเจ้ารับรองไว้แล้วกลายเป็นความผิดร้ายแรงที่ “ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท” คิดจากจุดยืนของพระพุทธเจ้าแล้วเป็น “โทษที่อำมหิต” เหลือเกินครับ ถึงจะคิดว่าผู้ร่างกฎหมายมี “เจตนาดี” แต่เป็นเจตนาดีที่ทำลายหลักการที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้าอย่างสิ้นเชิง


คือถ้าชาวพุทธคิดว่าใครจาบจ้วงล่วงละเมิดพระพุทธเจ้าและพระธรรมต้องจับเขาไปติดคุกขั้นต่ำสุดตั้ง 10 ปี เราจะอธิบาย “กรุณาคุณ” ของพระพุทธเจ้าอย่างไรไม่ทราบ จะอธิบายคุณธรรมเรื่องปัญญาและกรุณาอย่างไร จะอธิบายเมตตาธรรมที่อภัยได้แม้กระทั่งศัตรูอย่างไร 

มาตรา 22 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 9 ในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนศึกษา ศาสนบุคคล ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนสมบัติ และศาสนพิธี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท

ถามว่า “ศาสนบุคคล” คือพระภิกษุ สามเณร หรือชี ใช่หรือไม่ หากตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แม้แต่พระพุทธเจ้าเองยังถูกด่าได้ วิจารณ์ได้โดยไม่ผิดกฎหมายใดๆ ทำไมพระภิกษุ สามเณร หรือชีในยุคปัจจุบันจะต้องเป็น “อภิสิทธิชน” ยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า

มาตรานี้กำลังยกให้พระภิกษุ สามเณร หรือชีมีสถานะเป็น “อภิสิทธิชน” ซึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาคทางกฎหมายตามระบอบประชาธิปไตย พระภิกษุ สามเณร หรือชีนั้นอีกสถานะหนึ่งคือ “ประชาชน” ในรัฐที่ย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคกับบุคคลอื่นๆ อยู่แล้ว เช่น กฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาก็คุ้มครองถึงบุคคลที่เป็นภิกษุ สามเณร ชี อยู่แล้ว

การบัญญัติกฎหมายเช่นนี้กำลังสถาปนาสถานะทางกฎหมายของ “พระ” ให้เหนือกว่า “เจ้า” ด้วยซ้ำ เพราะพระมีเสรีภาพเต็มที่ที่จะพูด หรือแสดงความเห็นทางการเมือง และก็ทำกันเช่นนี้อยู่ตลอดมา


สมมติต่อไปมีกฎหมายแบบนี้จริง ถ้ามีพระออกมาพูด “ฆ่าเวลาบาปมากกว่าฆ่าคน” ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองแล้วมีคนทนไม่ได้กับคำพูดแบบนี้แล้วด่ากลับ และถูกตีความว่า “จาบจ้วง ล่วงละเมิด ทำให้เสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง” เขาต้องติดคุกห้าถึงสิบปี หรือโดนปรับเป็นแสนเลยหรือ

คือพระจะพูดอะไรก็พูดได้ใช่ไหมครับ “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” “ฆ่าเวลาบาปมากกว่าฆ่าคน” เกรียนกับความทุกข์ของชาวบ้านทางเฟซบุ๊ค หรือด่าสีกาว่านมเหี่ยว ฯลฯ พระมีเสรีภาพพูดได้หมดเลย แต่ถ้าชาวบ้านด่ากลับจะต้องถูกตีความว่า “จาบจ้วง ล่วงละเมิด ทำให้เสียหาย เสื่อมเสีย มัวหมอง” มันไม่เป็นกฎหมายที่ “เสียสติ” หรือ “อยุติธรรม” เกินไปหรือครับ!


ข้อความต่อไปนี้ยิ่งน่าเกลียด

ผู้ใดร่วมประเวณีไม่ว่าทางใดและวิธีการใดกับพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ตลอดจนผู้ชักจูง จัดหา หรือจ้างวาน ให้มีการร่วมประเวณีดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท

ตกลงแม้แต่เรื่อง “เอากัน” พระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ก็มี “อภิสิทธิ์” เหนือคนธรรมดา คือพระภิกษุ สามเณร แม่ชีเอากับชาวบ้านแล้วแค่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วก็สึกออกมาสบายใจเฉิบ แต่ชาวบ้านต้องติดคุกตั้งแต่ 5 ถึง 10 ปี ไม่ทราบว่าผู้ร่างกฎหมายใช้ “หลักการ” อะไรในการร่างข้อความที่ “วิปริต” แบบนี้


เพราะตามหลักการของพุทธศาสนานั้น การทำผิดวินัยสงฆ์ หรือผิดหลักศีลธรรมทางพุทธศาสนา มีแต่ “สมณเพศ” ต้องผิดมากกว่า มีโทษทางศีลธรรมหนักกว่าคนธรรมดา เพราะเป็นผู้รู้เรื่องหลักวินัยสงฆ์ และหลักศีลธรรมทางศาสนาดีกว่า และมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบรักษาวินัยและหลักศีลธรรมทางพุทธศาสนามากกว่า

มาตรา 23 ผู้ใดกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำต่อพระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ผู้นั้นต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ สามเท่า

มาตรานี้ก็ขัดต่อ “หลักความเสมอภาคทางกฎหมาย” เช่นกัน ทำไมต้องระวางโทษหนักกว่าคนธรรมดาถึง 3 เท่าครับ ใช้หลักการอะไรคิด?

ผมเข้าใจว่า ชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และฆราวาสที่ร่วมกันผลักดันให้มีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คงทำไปด้วย “เจตนาดี” แต่เป็นเจตนาดีที่ขาดความชัดเจนในหลักการดั้งเดิมของพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าถือว่าพระศาสดา พระสงฆ์ เป็นคนธรรมดา ไม่ใช่ “บุคคลศักดิ์สิทธิ์” พระธรรมไม่ใช่ “ของศักดิ์สิทธิ์” ที่ด่าไม่ได้ วิจารณ์ไม่ได้ ซึ่งหลักการเช่นนี้แสดงถึง “ความมีใจกว้าง” (Tolerance) ในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางความคิดความเชื่อ


พุทธศาสนาอยู่ท่ามกลางลัทธิความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างหลากหลายโดยไม่มีความขัดแย้งรุนแรง ก็เพราะมีหลักการรองรับความมีใจกว้างดังกล่าว (เช่นที่ปรากฏใน “โอวาทปาฎิโมกข์” เป็นต้น)

แต่ในยุคปัจจุบันพุทธศาสนาอยู่ในสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ให้คุณค่าสูงยิ่งกับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค หลักสิทธิมนุษยชน และหลักความมีใจกว้างในสังคม “พหุวัฒนธรรม” จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ที่จะมี “กฎหมายเผด็จการ” คุ้มครองพุทธศาสนาอย่างเป็นพิเศษเช่นนี้

ซึ่งโดยสาระแล้ว ร่างกฎหมายดังกล่าว ทำให้สถานะของพระภิกษุ สามเณร และชี กลายเป็น “อภิสิทธิชน” ยิ่งกว่า “เจ้า” และยิ่งกว่า “พระพุทธเจ้า” ด้วยซ้ำ กฎหมายแบบนี้จึงไม่ควรมี เพราะไม่เป็นประโยชน์ใดๆ แก่พุทธศาสนาและขัดต่อหลักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างสิ้นเชิง!

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คลินิกโรคจากการทำงาน ปี 2555 สถานการณ์สุขภาพความปลอดภัยแรงงานไทย

$
0
0

 

ข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ใช้แรงงาน

การริเริ่มผลักดันแพทย์และคลินิกโรคจากการทำงาน เป็นข้อเสนอและเรียกร้องต่อรัฐบาลของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย ในนามสมัชชาคนจนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 สถานการณ์ช่วงแรกๆ นั้น มีแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล จาก รพ.ราชวิถี ทำหน้าที่วินิจฉัยคนคนงานเพียงผู้เดียว

จนมาปัจจุบัน จากการเข้าร่วมฟังและร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการคลินิกโรคจากการทำงาน  2555 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555 โดยมีท่านเผดิมชัย สะสมทรัพย์ มาเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิด ได้กล่าวถึงภาพรวมว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมกับกระทรวงสาธารณสุขได้ทำสัญญาตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2548 ให้มีการดำเนินการคลินิกโรคจากการทำงาน แบ่งเป็นระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง โดยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุนทั้งเชิงรุกและเชิงรับ เพื่อดูแลลูกจ้างในการส่งเสริม ป้องกัน เฝ้าระวังและอุบัติเหตุจากการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐด้านแรงงาน โดยเพิ่มศักยภาพกองทุนเงินทดแทนในการดูแลลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน ซึ่งมี รพ.ในสังกัดที่สามารถขยายเพิ่มในปี 55 จำนวน 14 แห่ง จากเดิม 68 แห่ง รวมเป็น 82 แห่ง เพื่อให้สามารถดูแลลูกจ้างจำนวน 8.22ล้านคน ครอบคลุมสถานประกอบการ 338,270 แห่ง จากข้อมูลสถิติกองทุนเงินทดแทนปี 54 สามารถลดการประสบอันตรายกรณีหยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป ให้เหลือ 4.55 ต่อพันราย จากอันตราย 5.37 ต่อลูกจ้างพันรายในปี พ.ศ.2553

ในขณะที่ รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิติตภรณ์ ผู้ร่วมอภิปรายบนเวทีได้ให้ข้อมูลว่า ทั่วโลกมีผู้ใช้แรงงานประสบอันตรายจากการทำงานปีละ 250 ล้านคน เสียชีวิต 325,000 คน เป็นโรคจากการทำงาน 160 ล้านคน ทั้งนี้ จากการรายงานสถิติการประสบอันตรายของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนยังต่ำกว่าค่าประเมินการ นั่นคือความจำเป็นที่ทำให้คลินิกโรคจากการทำงานต้องได้รับการพัฒนาให้มีการวินิจฉัยโรคให้มากขึ้น ประกอบกับอนาคตอันใกล้ ไทยจะก้าวเข้าสู่เวทีอาเซียน ซึ่งจะมีการแข่งขันสูง จึงทำให้การพัฒนางานด้านนี้ใความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง

ที่ผ่านมางานอาชีวอนามัยของอาเซียนได้มีการตั้งเครือข่ายแล้ว เรียกว่า Asfan oshnet มีการแบ่งงาน โดยไทยรับเรื่องการพัฒนา มาเลเซียรับเรื่องมาตรฐาน ฟิลิปปินส์รับเรื่องฝึกอบรม อินโดนีเซียรับเรื่องวินิจฉัย สิงคโปร์รับเรื่องตรวจรักษา

สถานการณ์ที่ผ่านมา เกาหลีกับสิงคโปร์มีอัตราการวินิจฉัยโรคสูงมาก ขณะที่ จีน โรคซิริโคซิส ญี่ปุ่น นิวโมนิโคโอซิสมีแนวโน้มลดลง ไทยภาคเกษตรโรคจากสารเคมีสูง แต่กองทุนของเรายังไม่ได้ให้การคุ้มครอง ขณะที่เวียดนาม โรคซิลิโคซิสพบผลการวินิจฉัยสูง เพราะมี ILO เข้าไปช่วย รองลงมาคือโรคหูจากเสียงดัง และโรคบิสซิโนซิส  สิงค์โปรมีการตรวจสุขภาพวินิจฉัยชัดเจน การได้ยินจากเสียงดังแนวโน้วจึงลดลง เป็นเพราะผลการใช้กฎหมายเข้มงวดจริงจัง เกาหลียังมีโรคกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก เขาจึงเอาจริงจัง มีแพทย์เชี่ยวชาญมากขึ้น ตัวเลขผลการวินิจฉัยจึงสูงขึ้น กระทรวงแรงงานเรา ยังมีการรายงานต่ำกว่ามาตรฐานมาก แม้แนวโน้มโรคทางกายศาสตร์จะมากเหลือเกิน เพราะคนงานยกของหนักรีบเร่ง แต่โรคทั้งหมดสามารถป้องกันได้ ซึ่งเรามีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ที่ผลักดันให้ไทยรับอนุสัญญา 155 160 และ 187 เพื่อให้เราจะต้องทำงานส่งเสริมป้องกันให้เต็มที่   

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯมองว่า นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม กว่า 5 ทศวรรษ ยังขาดการเตรียมความพร้อมในการพัฒนา การให้ความรู้กับผู้ใช้แรงงานที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมควบคู่กันไป ทำให้ผู้ใช้แรงงานต้องทำงานกับเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือสารเคมีอันตรายที่นำเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต หรือระบบการทำงานที่รีบเร่ง เพื่อการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในด้านสุขภาพอนามัย เกิดการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานมีแนวโน้มสูงและทวีความรุนแรงขึ้นด้วย  จากสภาพปัญหาหลายๆ อย่าง การจ้างงานในราคาถูกเพื่อลดต้นทุน คนงานจึงต้องหารายได้ด้วยการทำโอที 12 ชม.ต่อ 6 วัน ต่อสัปดาห์ หรือ 80 ชม.ต่อสัปดาห์ ซึ่งในต่างประเทศเขาทำกันแค่ 35 ชม.ต่อสัปดาห์เท่านั้น

ประเทศในอาเซียนหลายประเทศมีเทคโนโลยีต่ำ แต่การแข่งขันสูง ยิ่งโดยเฉพาะในลาว เขมร เวียดนาม คนงานจึงขาดความมั่นคง เพราะลักษณะการจ้างงานมีการยืดหยุ่นสูง เน้นการจ้างเหมา เอางานกลับไปทำข้างนอก มีแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติซึ่งไม่มีสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครอง ขาดความปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคจากพิษภัยที่มองไม่เห็นต่างๆ และโรคที่สืบเนื่องจากการทำงานด้วยการเร่งการผลิต จนทำให้คนงานเป็นโรคโครงสร้างกระดูกจำนวนสูงสุด ทั้งยังมีปัญหาที่คนงานยังขาดความเข้าใจและการเข้าถึงสิทธิได้ยากเย็น

การศึกษาข้อมูลตัวเลขสถิติการเจ็บป่วย ประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิตหรือสูญหายจากการทำงาน หากมองย้อนหลังไป 9 ปี  (ตั้งแต่ปี 2545-2553) คนงานที่ได้สิทธิตามกฎหมายพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 (Workmen’s Compensation Act) พบว่า

1.) จำนวนการประสบอันตรายรวม 9 ปี             1,706,779 คน

2.) จำนวนผู้ประสบอันตรายเฉลี่ยปีละ                  189,642 คน

3.) อัตราการประสบอันตรายเฉลี่ยปีละ 25 คน/ลูกจ้าง   1,000 คน

4.) จำนวนผู้เสียชีวิตปีละ                                       791 คน
5.) จำนวนผู้ทุพลภาพปีละ                                       13 คน
6.) จำนวนผู้สูญเสียอวัยวะบางส่วน                         3,194 คน
7.) จำนวนเงินทดแทนที่เบิกจ่ายเฉลี่ยปีละกว่า      1,500 ล้านบาท
8.) จำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยตกวันละ                             1.2 คน

 

ความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการทำงานนี้  นอกจากจะส่งผมต่อสุขภาพกายใจของคนงานแล้วยังทำให้สูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ทั้งความสูญเสียที่เกิดขึ้นทางตรง และทางอ้อม คือทางด้านจิตใจ ซึ่งไทยยังไม่มีการประเมินค่าสูญเสียในด้านการดำรงชีวิตของแรงงาน หรือในเชิงคุณภาพชีวิตซึ่งไม่อาจประเมินค่าหรือทดแทนได้

แม้ในปี 2550 สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ เครือข่ายแรงงาน และเครือข่ายประชาชน จะผลักดันจนกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย บัญญัติในมาตรา 44 ว่า ”คนทำงานย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันด้านความปลอดภัยและสวัสดิกาพในการทำงานหรือเมื่อพ้นสภาพการทำงาน” แต่สภาพความเป็นจริง คนงานยังไม่ได้รับการบริการด้านสุขภาพ และสิทธิตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.1537 * หรือแม้กระทรวงแรงงานจะผลักให้ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ยกเรื่อง “สุขภาพความปลอดภัยให้เป็นวาระแห่งชาติ แรงงานปลอดภัยสุขภาพอนามัยดี” แต่รัฐก็ยังไม่มีการตั้งงบประมาณเรื่องนี้อย่างจริงจัง โยนให้เรื่องสุขภาพความปลอดภัยของคนงานอยู่ที่กระทรวงแรงงานอย่างเดียว ถึงแม้จะมีการตั้งคลินิกโรคขึ้นมามากมายถึง 82 แห่ง แต่ทำไมคนงานถึงยังเข้าไม่ถึงสิทธิ ซึ่งยังไม่รู้ว่าตัวเลขคนงานที่เจ็บป่วยประสบอันตราย เสียชีวิต ที่หายไปจากสถิติมีจำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ก็มีปัจจัยหลายเรื่องดังนี้

(1)  ปัจจัยตัวลูกจ้าง

1.1  ปัญหาขาดความรู้ ความเข้าใจสิทธิประโยชน์เงินทดแทนที่พึงต้องได้รับตามกฎหมาย เพราะเข้าไม่ถึงข้อมูล เพราะวันหนึ่งๆ ต้องทำงานอย่างน้อยวันละ 8-12 ชม

1.2 ปัญหาความไม่กล้าใช้สิทธิกองทุนเงินทดแทน เพราะกลัวว่า อาจถูกนายจ้างกลั่นแกล้ง หรือเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้  ไม่เข้าใจขั้นตอน หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเวลาและการให้ข้อมูลในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนในแต่ละกรณี จึงทำให้สูญเสียสิทธิที่ควรได้โดยไม่จำเป็น

1.3 ลูกจ้างจำนวนมากได้รับค่าจ้างต่ำ แบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงในการเลี้ยงดูคู่สมรสหรือบิดามารดาและบุตรที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ ทำให้ต้องจำยอมอดทนทำงานโอทีหลายชั่วโมงเป็นประจำต่อเนื่อง ภายใต้สภาวะแวดล้อมในการทำงานที่มีความเสี่ยงสูงจากความเหนื่อยล้าจึงทำให้ประสบอันตรายในการทำงานได้ง่าย

1.4 เมื่อคนงานหนึ่งคนเรียกร้องสิทธิ คนงานในสถานประกอบการ หรือบางสหภาพแรงงาน กลับมองว่า คนที่ป่วยที่ใช้สิทธิตามกฎหมายเป็นตัวเจ้าปัญหาจะทุบหม้อข้าวตัวเอง

 

(2)  ปัจจัยด้านนายจ้าง

2.1  นายจ้างกลัวเสียภาพลักษณ์ของผู้ลงทุน ห่วงว่าถ้ามีข่าวคราวการประสบอุบัติเหตุ /เจ็บป่วยจากการทำงานจำนวนมาก อาจถูกลดคำสั่งซื้อ (ORDER) เพราะผิดกฎจรรยาบรรณทางการค้า (CODE OF CONDUCT) ในประเด็นการดูแลความปลอดภัยในการทำงานที่มีข้อตกลงกับคู่ค้าต่างประเทศ

2.2  นายจ้างส่วนหนึ่งไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลประสบอันตรายในการทำงานของลูกจ้างจำนวนมากในสถานประกอบการ เพราอาจกระทบต่อการถูกวินิจฉัยจากเจ้าหน้าที่เงินทดแทนให้ต้องจ่ายเงินสมทบอัตราใหม่มากขึ้นในอนาคต นายจ้างไม่แจ้งการประสบอันตรายของลูกจ้างแก่เจ้าหน้าที่ภายใน 15 วันตามกฏหมาย เพื่อความสะดวกของลูกจ้างในการใช้สิทธิเงินทดแทน มีโทษแค่ปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งเป็นโทษที่น้อยมาก

2.3 นายจ้างบางส่วนมีเจตนาจะลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด เพื่อหวังผลกำไรสูงสุด โดยไม่ยอมลงทุนปรับปรุงเครื่องจักร/อุปกรณ์การผลิตสินค้าให้มีความปลอดภัยในการทำงาน

2.4 นายจ้างบางราย ไม่ยอมรับการวินิจฉัยของแพทย์ ให้ลูกจ้างแจ้งการประสบอันตรายที่ไม่เนื่องจากการทำงานโดยให้ใช้ประกันสังคม หรือให้ไปหาแพทย์คนใหม่ ทำให้ลูกจ้างถึงสิทธิช้า หรือให้ใช้สิทธิประกันสุขภาพหมู่ซึ่งไม่ใช่จากการทำงาน จึงไม่มีสถิติการเจ็บป่วยประสบอันตรายในสถานประกอบการ หรือกลั่นแกล้ง เลิกจ้างลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน

2.5 นายจ้างไม่เขียนหรือกรอกข้อมูลถึงสาเหตุของการเจ็บป่วยหรือการประสบอันตรายเนื่องจาก

การทำงาน ทำให้ไม่มีข้อเท็จจริงครบถ้วนและเป็นผลให้ลูกจ้างถูกวินิจฉัยว่าการเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานว่าไม่ได้เกิดเนื่องจากการทำงาน ถูกกองทุนปฎิเสธ

2.6 นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ไม่สนับสนุนดูแลความปลอดภัยฯ ในสถานประกอบการชัดเจนจริงจัง หรือไม่ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) ย่อมทำให้ลูกจ้างบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานได้ง่ายมากขึ้น

2.7  การตรวจสุขภาพประจำปีให้กับคนงาน ไม่ได้ตรวจตามปัจจัยเสี่ยง หรือเอ๊กซเรย์ฟิลม์เล็ก และไม่ใช่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ฯ ตรวจอย่างไรก็หาไม่เจอโรค

 

(3)  ปัจจัยด้านหน่วยงานรัฐและผู้บังคับใช้กฎหมาย พ.รบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537

3.1  ยังขาดนโยบายเตรียมความพร้อมแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดการจ้างงานในสังคมอุตสาหกรรม

3.2 โครงการ Zero Accident จริงๆ เป็นนโยบายที่ดี แต่กับมีปัญหา เพราะทำให้สถานประกอบการ

ปกปิดกรณีลูกจ้างประสบอันตราย หรือบ่ายเบี่ยงส่งเข้าประกันสังคม หรือกองทุนสุขภาพ ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน

3.3  พนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่ ที่รับเรื่องร้องเรียน ไม่อำนวยความสะดวกรวดเร็วเพียงพอ บางครั้งบ่ายเบี่ยงให้ลูกจ้าง กลับไปแจ้งนายจ้างหรือให้ใช้สิทธิกองทุนประกันสังคม โดยลูกจ้างไม่เข้าใจ ไม่กล้าโต้แย้ง

3.4  เจ้าหน้าที่ไม่แนะนำให้ลูกจ้างเข้าใจหลักเกณฑ์วิธีการเข้าถึงสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนอย่างชัดเจน ซึ่งต้องมีข้อมูลเอกสารหลายอย่าง และแพทย์ที่วินิจฉัยมาแจ้ง แก่เจ้าหน้าที่อย่างครบถ้วน เพราะขาดประสบการณ์ในการทำงาน และหรือถูกกดดันจากฝ่ายนายจ้าง

3.5  กระบวนการวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์ ในหลายกรณีมีความล่าช้ามาก และลูกจ้างบางรายอาจ เสียชีวิตหรือพิการ หรือถูกไล่ออก ไม่สามารถอดทนรอคอยความเป็นธรรมจากคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่เงินทดแทน ต่อไปได้

3.6 หลักเกณฑ์เงื่อนไขที่จะได้รับค่ารักษาพยาบาลที่แบ่งเป็นวงเงินตามความจำเป็นเบื้องต้น กรณีเป็นโรคเรื้อรัง และกรณีต้องผ่าตัดใหญ่ มีปัญหากรณีที่ลูกจ้างบางรายต้องทำการรักษาพยาบาลต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือต้องรอการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต่อเนื่องรวดเร็วได้

3.7  เจ้าหน้าที่ที่วินิจฉัย คณะกรรมการแพทย์ คณะกรรมการอุทธรณ์กองทุนเงินทดแทน ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 ซึ่งเป็นผู้รักษา มีขั้นตอนการวินิจฉัยซ้ำ หรือกลับคำวินิจฉัยให้ลูกจ้าง ไม่เนื่องจากการทำงาน ทำให้แพทย์ผู้รักษาไม่อยากวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ทำให้ต้องอุทธรณ์ และต่อสู้คดีต้องใช้ระยะเวลานานถึง 3-4 ปี จึงจะได้เป็นข้อยุติ

3.8 บางกรณีที่ชนะคดีในการฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ คณะกรรมการอุทธรณ์ ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง แต่ก็ติดปัญหาในกรณีเรื่องการทดแทนสิทธิประโยชน์เนื่องจากขณะที่ป่วยและถูฏเลิกจ้าง หรือ ลาออกงานมาพักรักษาตัวที่บ้าน ไม่ได้รักษาพยาบาลกับแพทย์อย่างต่อเนื่องเพราะถูกระงับสิทธิประกันสังคมในการรักษาพยาบาลตัวไปก่อนระหว่างที่รอผลคำวินิจฉัย ประกอบกับไม่มีเงินสำรองในการรักษาตัวก่อน จึงเป็นสาเหตุให้ไม่มีหลักฐานที่จะเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้การหยุดงานตามความเห็นของแพทย์

3.9  คณะอนุกรรมการและคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน  ดำเนินการประชุมเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานความเจ็บป่วยของลูกจ้างค่อนข้างล่าช้า

3.11 ศักยภาพการตรวจวัดประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในการทำงานตามกฎหมายรัฐยังทำได้น้อย ตรวจได้เพียงปีละประมาณ 17,000 กว่าแห่ง จากสถานประกอบการกว่า 4 แสนแห่ง ด้วยข้อจำกัดทั้งบุคลากร และองค์ความรู้

 

(4)  ปัจจัยด้านแพทย์และสถานพยาบาล

4.1  แพทย์จำนวนมากขาดแคลนองค์ความรู้ด้านอาชีวเวชศาสตร์  ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยสาเหตุการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน 

4.2  แพทย์บางรายจะไม่ยอมวินิจฉัยว่าลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน  ถ้านายจ้างไม่อนุญาตหรือ  ยินยอมเห็นชอบด้วย  หรือ กลัวภาระตามมาภายหลังที่อาจต้องไปชี้แจงกับเจ้าหน้าที่หรือขึ้นศาลและเป็น

4.3  แพทย์บางราย ระบุในใบรับรองแพทย์ให้ลูกจ้างลาป่วยจำนวนน้อยเพียง 1-2 วัน  ซึ่งไม่เพียงพอต่อการหยุดพักรักษาตัว  ทำให้ต้องไปหาหมอบ่อยครั้ง หรือ ลาหยุดงานกับนายจ้างบ่อยๆ

4.4  สถานพยาบาลจำนวนมาก  ไม่มีนโยบายบริหารจัดการที่คำนึงถึงอาชีวอนามัย  โดยสนับสนุนให้แพทย์เรียนรู้ด้านอาชีวเวชศาสตร์  และมีโอกาสทำงานด้านนี้ได้ก้าวหน้าต่อเนื่องในสถานพยาบาล  ทำให้ลูกจ้างต้องเดินทางไปแสวงหาแพทย์หลายคน ในหลายสถานพยาบาลเพื่อวินิจฉัยความเจ็บป่วยของตน

4.5 มีการจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปปัจจุบันมีกว่า 82 แห่ง แต่มาตรฐาน ยังมีความแตกต่าง

4.6 ต้องสนับสนุนคลินิกโรคจากการทำงาน ให้เกิดการวินิจฉัยโรคมากขึ้น และควรมีสิ่งจูงใจให้แพทย์พยาบาลทางด้านอาชีวเวชศาสตร์

(1) ข้อเสนอแนะต่อลูกจ้างและองค์กรลูกจ้าง

1.1 ต้องให้ความสำคัญและสนใจ การศึกษา การฝึกอบรม เพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง   

1.2 ต้องมีนโยบาย โครงสร้าง แผนงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานอย่างต่อเนื่องภายในองค์กรแรงงาน และมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (อาทิเช่น มีฝ่ายความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน)

1.3 ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แผนงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ร่วมกับนายจ้าง / หน่วยงานภาครัฐ และร่วมปฏิบัติการ

1.4 ต้องสร้างเครือข่ายสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างกันและกันในการแก้ไขปัญหากรณีการเจ็บป่วยด้วยโรคและการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง และการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม

(2) ข้อเสนอแนะต่อนายจ้างและองค์กรนายจ้าง

2.1 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และกฏหมายความปลอดภัยฯที่เกี่ยวข้อง

อาทิ ส่งใบ กท. 16) ต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิประโยชน์เงินทดแทน ภายใน 15 วัน เพื่อเจ้าหน้าที่เป็นผู้วินิจฉัยสิทธิประโยชน์เงินทดแทนเร็วขึ้น  และทำการแจ้งส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอย่างรวดเร็ว

2.2 ต้องมีนโยบายและแผนงานงบประมาณด้านสุขภาพแลความปลอดภัยในการทำงาน และมีผู้บริหารที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานที่ชัดเจนในสถานประกอบการ (โดยไม่ใช่เป็นงานฝากของฝ่ายบุคคลหรือกรรมการผู้จัดการ/หัวหน้างาน) รวมทั้งต้องให้ลูกจ้างเข้าไปมีส่วนร่วม

2.4 ต้องเรียกประชุม คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ของสถานประกอบกิจการ อย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามผลการประชุมโดยเร่งด่วน

2.5 ต้องส่งเสริมการทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพ (จป.) อย่างจริงจัง  ไม่ควรให้ (จป.) ทำงานทุกอย่าง ที่ไม่สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ตนเอง

 

(3) ข้อเสนอแนะต่อสำนักงานกองทุนเงินทดแทน แพทย์ สถานพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงแรงงาน)

3.1 กระทรวงแรงงานต้องมีนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมสำรวจตรวจสอบการขึ้นทะเบียนของนายจ้างและลูกจ้าง โดยประสานข้อมูลกับอุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัดอย่างต่อเนื่อง

3.2 ประกันสังคมต้องทำงานเชิงรุก ต้องมีการทำงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนและหลักเกณฑ์ขั้นตอนการเข้าถึงสิทธิประโยชน์กรณีต่างๆ แก่ลูกจ้างและนายจ้างอย่างทั่วถึง

3.3 เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนต้องตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในกรณีที่นายจ้างไม่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน หรือส่งล่าช้า

3.4 เจ้าหน้าที่ฝ่ายประโยชน์ทดแทน ต้องมีหลักการรับเรื่องและการยื่นเรื่อง แบบแจ้งการประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหายและคำร้องขอรับเงินทดแทนตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 โดยเร็วไม่มีเงื่อนไข

3.5 ฝ่ายประโยชน์ทดแทน ควรรับเรื่องการยื่นใช้สิทธิ์ของลูกจ้างตามแบบแจ้งการประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือสูญหายและคำร้องขอรับเงินทดแทนตาม พรบ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 และการกรอกข้อมูลข้อเท็จจริงควรสอบถามลูกจ้างอย่างละเอียดชัดเจน เพื่อสำหรับเป็นข้อมูลการประกอบคำวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์เงินทดแทนไม่ควรเขียนรวบรัด(เพราะลูกจ้างไม่สามารถเขียนเองได้)

3.6 ให้มีการจัดทำเกณฑ์วินิจฉัยโรคจากการประกอบอาชีพที่เป็นมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับรวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

3.7 จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายพรบ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่จะนำไปสู่การลดข้อจำกัดต่างๆ เหมาะสมกับสถานการณ์ของปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะกฏหมายดังกล่าวใช้มากว่า 18 ปี โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาค

3.8 กระบวนการวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์ตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่วินิจฉัย อนุกรรมการหน่วย คณะกรรมการแพทย์กองทุนเงินทดแทน ในแต่ละขั้นตอนของการพิสูจน์สิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน ควรมีระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน เพราะที่ผ่านมาไม่มีกำหนดระยะเวลาไว้

3.9 กระบวนการวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์เงินทดแทนในชั้นการอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนไม่ควรเกิน 30 วัน

3.10 กระบวนการวินิจฉัยพิสูจน์สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและการประสบอันตรายจากการทำงาน ต้องมีการเชื่อมประสานกันระหว่าง ลูกจ้างที่ได้รับเจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงาน องค์กรลูกจ้าง นายจ้าง สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กองตรวจความปลอดภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แพทย์ที่เชี่ยวชาญอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  โดยทำงานเชิงรุกต้องเข้าไปตรวจสอบในสถานประกอบการนั้นๆ โดยทันทีที่มีการเจ็บป่วยหรือการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้างเกิดขึ้นทุกกรณี เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น และลดการสูญเสียในอนาคต แบบซ้ำซาก

3.11 เสนอให้มีการปรับปรุง อัตราค่ารักษาพยาบาล ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2551 เสนอหลักการควรมีการปรับปรุงวงเงินค่ารักษาพยาบาลอย่างน้อย 5 ปีต่อครั้ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลง

3.12 สำนักงานประกันสังคมจะพัฒนาประชาสัมพันธ์ระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศให้เข้าถึงคนทำงานเข้าถึงคลินิกโรคจากการทำงาน ได้ง่ายและอย่างทั่วถึง

3.13 จะต้องมีแผนงานในการเพิ่มศักยภาพการตรวจวัดประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งด้าน เพิ่มอัตรากำลัง และมาตรฐานในการตรวจวัดประเมินความเสี่ยง

3.14 สร้างมาตรฐานของแพทย์  พยาบาล บุคลากร ด้านอาชีวอนามัย รวมทั้ง เกณฑ์วินิจฉัยโรคจากการทำงาน ให้เป็นมาตรฐานสากล และเป็นมาตรฐานในระดับเดียวกัน

3.13 มีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีแพทย์และพยาบาลอาชีวอนามัยอย่างเพียงพอ รองรับการดูแลลูกจ้างที่มาใช้บริการ อย่างต่อเนื่องโดยเพิ่มแรงจูงใจให้มากกว่านี้

(4) ข้อเสนอต่อนโยบายรัฐบาล

4.1 ต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มีการผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย

4.2 ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

4.3 ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้างมีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง

4.4 รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้

-      

ฉบับที่ 155 ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย  ค.ศ.1981 (พ.ศ.2524)
-       ฉบับที่ 161 ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.1985 (พ.ศ.2528)
-       ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.2006 (พ.ศ.2549)

4.5 ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ในการทำงาน

4.6 การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง

4.7 ควรมีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และบูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทยโดยมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สันติสนทนาในบริบทของความรุนแรงที่ภาคใต้

$
0
0

ท่ามกลางการถกเถียงถึงทางออกของไฟใต้ด้วยแนวทางการเมืองและระหว่างความสับสนต่อสิ่งที่เรียกว่า ‘การพูดคุย’ และ ‘การเจรจา’ บทความชิ้นนี้ที่พยายามทำความเข้าใจและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ “สันติสนทนา” ของ ‘ชัยวัฒน์ สถาอานันท์’ อาจทำให้เข้าใจสถานการณ์ที่ดำรงอยู่ได้อย่างมีสติใคร่ครวญ

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษในเว็บไซต์และหนังสือพิมพ์ Bangkok Post เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2555 ในชื่อ “Building the case for peace dialogues” ข้อเขียนข้างล่างนี้เป็นบทความฉบับเต็มที่ได้รับการอนุญาตให้กองบรรณาธิการทำการแปลและผ่านการตรวจทานโดยผู้เขียน กองบรรณาธิการเห็นว่าในสถานการณ์ที่ความรุนแรงกดทับและมีการถกเถียงถึงกระบวนการสันติสนทนาและการเจรจาสันติภาพอย่างกว้างขวาง การทำความเข้าใจสิ่งที่ “สันติสนทนา” เป็นและไม่เป็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้เขียนในบทความชิ้นนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น

English version please see below.

0 0 0

สันติสนทนาในบริบทของความรุนแรงที่ภาคใต้

         

ในวันที่ 31 มีนาคม 2555 ความรุนแรงในภาคใต้ได้ปะทุขึ้นด้วยเหตุการณ์ระเบิดจำนวน 5 ครั้ง โดยเกิดเหตุในจังหวัดยะลา 3 ครั้ง ในจังหวัดปัตตานี 1 ครั้ง และอีกครั้งที่โรงแรมลีการ์เดนท์ซึ่งตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมืองหาดใหญ่ เหตุร้ายเหล่านี้ต้องนับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะมองในแง่ขององค์ประกอบในการก่อความรุนแรง, ความโดดเด่นของภาพความรุนแรงที่ปรากฏและผลของการแลเห็นภาพดังกล่าวในใจคน และที่สำคัญคือจำนวนของผู้คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากมีผู้เสียชีวิตจำนวน 14 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 549 คน ซึ่งรวมไปถึงเด็กๆ อีกร่วมร้อยคน แม้แต่เด็กทารกวัยเพียงสองเดือนก็พลอยเป็นเหยื่อความรุนแรงครั้งนี้ไปด้วย จำนวนตัวเลขของผู้บาดเจ็บที่สูงที่สุดมาจากกรณีระเบิดที่โรงแรมลีการ์เดนท์ ซึ่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บถึง 416 คน

เมื่อราวหนึ่งปีก่อน ในวันที่ 30 มีนาคม 2554 คณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี (คยส.) ซึ่งเป็นคณะทำงานทางความคิด (think tank) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำเสนอรายงานเชิงนโยบายของคณะทำงานฯ พร้อมกับข้อเสนอหลายประการ รวมทั้งการเสนอแนะให้มีนโยบายเกี่ยวกับกระบวนการสันติสนทนาที่เป็นเอกภาพ รายงานเชิงนโยบายชิ้นนั้นยังได้ระบุว่าความรุนแรงในภาคใต้ดูเหมือนจะพุ่งสูงขึ้นคล้ายแนวโน้มที่เห็นตั้งแต่ต้นปี 2547 กระทั่งถึงปี 2550 รายงานดังกล่าวยังได้ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่าการใช้ระเบิดนั้นแพร่หลายมากยิ่งขึ้นและดูเหมือนว่าจะมีความซับซ้อนในทางเทคนิคยิ่งกว่าเมื่อก่อน (กรุณาคลิกดูรายงาน. "รายงานยุทธศาสตร์จัดการความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2554 – 2547")

เหตุการณ์สำคัญก่อนหน้าเหตุร้ายเมื่อวันที่ 31 มีนาคมคือเหตุระเบิดรถยนต์ที่จอดอยู่ใกล้กับศาลากลางจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ระเบิดในรถยนต์น้ำหนัก 30 กิโลกรัมดังกล่าวได้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และบาดเจ็บอีก 12 คน ทำให้ตึกสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดปัตตานี รวมไปถึงรถยนต์ที่จอดอยู่ในที่เกิดเหตุ 12 คันเสียหายยับเยินไปด้วย เหตุระเบิดที่ปัตตานีในครั้งนั้นได้แสดงให้เห็นการเคลื่อนตัวชนิดใหม่ของความรุนแรงในภาคใต้อย่างชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญคือระเบิดขนาดนี้ที่มีอำนาจทำลายร้ายแรงถึงเพียงนี้ทำให้เห็นว่าผู้ผลิตและใช้ระเบิดมีความสามารถทางเทคนิคเหนือกว่าที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ในบริบทเช่นนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องยืนยันและ/หรือนำเสนอนโยบายที่เป็นเอกภาพของภาครัฐเกี่ยวกับสันติสนทนา (peace dialogue) ในเวลาเช่นนี้ โดยเฉพาะเมื่อความรุนแรงในภาคใต้ขยายตัวและเข้มข้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การตระหนักแน่ถึงความจำเป็นของนโยบายดังกล่าวควรต้องวางอยู่บนสาระของการทำความเข้าใจสันติสนทนาให้ดีขึ้น ทั้งในแง่ที่ว่าจริงๆ แล้วสิ่งที่ว่านี้คืออะไร และจะสามารถทำงานได้อย่างไรในบริบทของความรุนแรงที่สุดขั้วเช่นนี้

สันติสนทนาไม่ใช่อะไร?

บางคนแน่ใจว่าการที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ขยายความขัดแย้งที่ถึงตายด้วยระเบิดเหล่านั้นก็เพื่อกดดันรัฐบาลให้นั่งลงพูดคุยกับพวกเขา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกปรารภว่าการสนทนากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเพียงบางกลุ่มคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการโจมตีด้วยระเบิดในวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ในอีกด้านหนึ่ง พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ได้ออกมาปฏิเสธเมื่อเร็วๆ นี้ว่าไม่มีการพูดคุยที่ไม่เป็นทางการใดๆ ระหว่าง ศอ.บต. กับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ (Bangkok Post, 3 และ 4 เมษายน 2555)

การโต้ตอบเหล่านี้เกิดขึ้นในบริบทของรายงานข่าวว่ามี “สันติสนทนา” ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบอย่างแพร่หลาย พร้อมๆ กับการดำเนินการผลักดัน “นโยบายบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2555-2557” ฉบับใหม่ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติและขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาให้ความเห็นของวุฒิสภาไทย (กรุณาคลิกดูรายละเอียด ‘นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557’)

ที่สำคัญ วัตถุประสงค์ข้อที่ 8 ของนโยบายดังกล่าวคือการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับสันติสนทนาและเอื้ออำนวยให้มีความต่อเนื่องของกระบวนการสันติสนทนากับกลุ่มที่เลือกใช้ความรุนแรงต่อต้านรัฐอันเนื่องมาจากอุดมการณ์ที่เห็นแย้งแตกต่าง

จากงานศึกษาเกี่ยวกับ “การสานเสวนา” ของ มารค ตามไท รองประธานของ คยส. และ ปาริชาต สุวรรณบุบผา จากมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ามีเหตุผลอยู่หลายข้อที่ตอบต่อคำถามที่ว่าเหตุใดสันติสนทนาจึงมักจะถูกปรามาสและตั้งแง่สงสัย

ประการแรก มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่เห็นว่าไม่มีเหตุผลใดๆ ที่ควรจะต้องเข้าไปข้องเกี่ยวกับการสนทนากับผู้คนที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม

ประการที่สอง เมื่อบางคนเข้าร่วมสานเสวนาก็เป็นเพียงเพื่อพยายามจะปกป้องผลประโยชน์ของตนและกลุ่มเท่านั้น

ประการที่สาม สำหรับผู้คนที่ต้องการเข้าไปข้องเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าว พวกเขาก็ทำเพียงเพื่อป้องกันมิให้ “สูญเสีย” คนของพวกตนให้กับอีกฝ่าย ขณะที่มองกระบวนการเสมือนที่เก็บเกี่ยวข้อมูลสำคัญๆ เท่านั้น ไม่ต่างกับการพบปะกับ “ศัตรู” ก่อนหน้าการสู้รบในสมรภูมิ

ประการที่สี่ ไม่เพียงคนที่เข้าร่วม “สานเสวนา” จะไม่ไว้ใจกันเอง บางคนยังไม่มีความเชื่อมั่นในตัวกระบวนการสานเสวนานั้นเองด้วย

ประการที่ห้า บางคนมั่นใจว่าหลักการบางอย่างที่ใช้กับกระบวนการสานเสวนา (เช่นว่าการเปิดเผยความจริง?) ไม่สามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในชีวิตจริงใดๆ ได้เลย

และประการที่หก เพราะไม่ใส่ใจว่า “สานเสวนา”เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา บางคนจึงรีบชี้เลยว่าการสนทนานั้นไร้ประโยชน์ เนื่องจากผู้คนยังถูกฆ่าต่อเนื่องไม่หยุด

คงต้องกล่าวถึงประเด็นที่ควรจะชัดเจนแต่ต้น คือ สันติสนทนาไม่ใช่การเจรจา (negotiation) เป้าประสงค์ของการเจรจานั้นคือข้อตกลง ซึ่งบางครั้งก็หมายถึงข้อตกลงสันติภาพ การเจรจาในที่นี้ควรต้องนำผู้คนที่มีอำนาจหน้าที่จากทั้งสองฝ่ายมาสู่โต๊ะเจรจา บ่อยครั้งมักมีตัวกลาง (mediator) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการเหล่านี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อตกลงในท้ายที่สุด

ตัวอย่างเช่นข้อตกลงสันติภาพเดย์ตันซึ่งจัดทำกันที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพทเทอสันใกล้เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 โดยมีประธานาธิบดีสามคนจากเซอร์เบีย โครเอเชีย และบอสเนีย เข้าร่วม มีการลงนามในข้อตกลงดังกล่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ธันวาคม 2538 และถือเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามในบอสเนีย

อีกตัวอย่างหนึ่งคือข้อตกลงแคมป์เดวิดในปี 2521 ซึ่งยังผลให้เกิดสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์-อิสราเอลในปี 2523 ที่ประธานาธิบดีซาดัตแห่งอียิปต์และนายกรัฐมนตรีเบกินแห่งอิสราเอลลงนามกันที่กรุงวอชิงตันดีซี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2523 โดยมีประธานาธิบดี จิมมี คาร์เตอร์ เป็นประจักษ์พยาน

นอกจากนี้ สันติสนทนายังไม่ใช่การพูดคุยระหว่างคู่ขัดแย้งที่มีเป้าประสงค์ในเชิงการทหารเพื่อการค้นหาว่าอีกฝ่ายนั้นต้องการอะไรและมีลักษณะอย่างไร (เช่น ควานหาข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและโครงสร้างของกลุ่มหรือที่ตั้งของอีกฝ่าย) งานเช่นนี้คือการแสวงหาข่าวกรอง สันติสนทนายังแตกต่างจากการพูดคุยในกรอบของการทำสงครามจิตวิทยาที่มีเป้าประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดของอีกฝ่าย ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการทำสงคราม

ทำความเข้าใจสันติสนทนา

นอกจาก “สันติสนทนา” จะขึ้นต่อลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งในแต่ละที่ เป้าประสงค์ของสันติสนทนายังถูกกำหนดโดยธรรมชาติของการสนทนานั้นเองด้วย มักถือกันว่าการสนทนาหมายถึงวิธีการที่จะต้องใช้เผชิญหน้ากับความขัดแย้ง “ผ่านถ้อยคำ (through words)” สำหรับคำว่า “ผ่าน (through)” นี้ ในภาษากรีก คือ “dia” ซึ่งหมายถึง “ระหว่าง (during)” “ห้วงเวลาที่ต่อเนื่อง (successive intervals)” “ในทิศทางที่แตกต่าง (in different directions)” “ผละจากห้วงเวลาที่หยุดหรือพัก (leaving an interval)” หรือ “รอยแยกหรือเปิดช่อง (breach)” กล่าวให้ถึงที่สุดการสนทนาเป็นวิธีการที่ผู้คน (โดยเฉพาะคนที่เลือกจะเอาตัวเองเข้าไปข้องเกี่ยวกับการพยายามทำสิ่งนี้ในท่ามกลางความขัดแย้งที่ถึงตาย) จะมองเห็นทั้งตัวของพวกเขาเองและตัวตนคนอื่น อันตอกย้ำยืนยันถึงวิถีทางที่อัตลักษณ์อันแตกต่างกันจะได้เผชิญหน้ากันและกันในกระบวนการสนทนา เมื่อสันติสนทนาก่อตัวขึ้นในท่ามกลางความขัดแย้งที่ถึงตายดังเช่นกรณีชายแดนใต้ของประเทศไทยหรือในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ผู้ที่เข้าร่วมสนทนาเหล่านั้นอาจไม่ได้มาในฐานะเพื่อน หากแต่แรกมาร่วมกระบวนการในฐานะศัตรู หากเขาจะตัดสินใจเข้าร่วมกระบวนการนี้

สันติสนทนาจึงมีเป้าประสงค์อยู่ที่เข้าถึงความเข้าใจกันและการสร้างความไว้วางใจ ความเข้าใจในกรอบคิดของการสนทนาดังกล่าวนี้หมายถึงอะไรบางอย่างที่ใกล้เคียงกับการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy) กล่าวคือ การมองเห็นและรู้สึกเกี่ยวกับโลกเหมือนกับที่อีกฝ่ายหนึ่งมองเห็นและรู้สึก ความเข้าใจในลักษณะนี้สำคัญยิ่ง หากปรารถนาจะเข้าใจให้ได้ว่าการต่อสู้ของฝ่ายนั้นวางอยู่บนฐานความชอบธรรมเช่นไร

คนไม่ควรเข้าร่วมกระบวนการสันติสนทนาด้วยความรู้สึกอับจนสิ้นหนทาง แต่ด้วยความมั่นอกมั่นใจว่ามีทางเลือกอื่นที่นอกเหนือจากการใช้ความรุนแรง ทั้งยังมาจากการที่ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการที่จะรักษาเสริมสร้างทางเลือกเหล่านั้นผ่านการทำความเข้าใจเหตุผลและโลกของอีกฝ่ายอย่างลึกซึ้ง ด้วยความหวังว่าความเชื่อมั่นไว้วางใจระหว่างคู่ขัดแย้งจะก่อตัวขึ้นในท้ายที่สุด

ปัญหาของสันติสนทนากับความรุนแรงในภาคใต้นั้นไม่ใช่ว่าไม่มีการสนทนากันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยในบางระดับกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในอีกบางปีก สิ่งที่จำเป็นในขณะนี้คือการมีนโยบายของภาครัฐที่เป็นเอกภาพเกี่ยวกับสันติสนทนาเพื่อเปิดโอกาสให้เกิดช่องทางสื่อสารอันหลากหลาย กล่าวอีกอย่างก็คือ ควรต้องมีนโยบายที่เกี่ยวกับสันติสนทนาที่มีความเป็นเอกภาพโดยที่เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสสำหรับการสนทนาอันหลากหลายช่องทางในเวลาเดียวกัน

นโยบายที่เป็นเอกภาพจะทำหน้าที่เป็นการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์ที่กว้างขวางครอบคลุมการแสวงหาทางออกทางการเมืองต่อปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ พร้อมๆ กับการเอื้อให้เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานสันติสนทนาอยู่มีความรู้สึกถึงความมั่นคงและมั่นใจ การแสวงหาโอกาสของสันติสนทนาอันหลากหลายจะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้มีผู้คนจากภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมกระบวนการอย่างกว้างขวางครอบคลุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากในฝ่ายของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเอง

ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการสันติสนทนายังน่าจะช่วยเปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่นิยมแนวทางสายกลางภายในกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้คนที่มีแนวคิดสุดโต่งในกลุ่มพวกเขาอ่อนกำลังลง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง กระบวนการสันติสนทนาจะทำหน้าที่เป็นดั่งพื้นที่ซึ่งทรงพลังอำนาจให้กับความเป็นไปได้อื่นๆ ที่อาจจะบรรเทาโศกนาฏกรรมแห่งความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในภาคใต้ได้ในที่สุด

 


 

Peace Dialogue in the Context of Historic Southern Violence

 

Chaiwat Satha-Anand
Professor of Political Science, Thammasat University
Chairperson, Strategic Nonviolence Commission, Thailand Research Fund

         

On March 31, 2012, southern violence exploded with 5 bombs causing three explosions in Yala, one in Pattani and another at the Lee Garden Hotel right in the heart of Haad Yai business district. These incidents together are historic in terms of the organization of violence, the centrality of the spectacle and its psychological impacts, and especially- the number of people directly affected since they killed 14 people and wounded at least 549, including about a hundred children, one is a two-month old baby. The highest number of casualties comes from the Lee Garden Hotel explosion with 416 wounded.

Almost exactly a year ago, on March 30, 2011 the Strategic Nonviolence Commission (SNC), a think tank under the auspices of the Thailand Research Fund (TRF) presented its policy paper with a recommendation for a unified policy on peace dialogue, among other things.  The policy paper also indicated that southern violence seems to be picking up paralleled to the trend which began in early 2004 and moving up until 2007. It also pointed out the fact that the use of explosion was becoming more prevalent and seems to be more technically sophisticated.

Then a homemade-bomb hidden in a car parked near the provincial hall of Pattani exploded on February 9, 2012. The 30 kg.-car bomb killed one person and wounded 12 others. It caused damage to the public health office, education zone 1 head office as well as 12 parked vehicles. This Pattani bomb attack marks a new departure in southern violence because to get such a destructive effect out of that amount of explosive indicates a fact that the technical ability of the bomb maker is superior to anything that occurred there until then.

In this context, I would argue that there is a need to reaffirm and/or introduce a unified state policy on peace dialogue at this time, precisely because of the intensity and possible escalation of southern violence.  This policy need could be substantiated by a better understanding of peace dialogue both in terms of what it is and how it works in the context of extreme violence.

What peace dialogue is not?

 While some people maintained that the insurgents escalated the already deadly conflict with these bombs to pressure the government to hold talk with them, General Prayuth Chan-ocha, the army chief, remarked that the dialogue with only certain groups of insurgents and not others was the reason for the March 31 bomb attacks. The secretary general of the Southern Border Provinces Administration Centre (SBPAC), Police Colonel Thawee Sodsong, on the other hand, recently came out to deny that there has ever been any informal talk between SBPAC and the insurgents. (Bangkok Post, April 3 and 4, 2012) These exchanges took place in the context of reports about prevalent “peace dialogues” between the government and the insurgents as well as the pending new “Southern border provinces administration and development policy, 2012-2014, prepared by the National Security Council and now waiting for its final discussion in the Thai Senate. Importantly, the eighth objective of this 2012-2014 plan is to create appropriate environment for peace dialogue and to foster continuity of peace dialogue process with those who choose to use violence against the state because of their opposing ideology.

Drawing on the works on dialogue of Mark Tamthai of the SNC and Parichart Suwanbuppa of Mahidol University, there are many reasons why peace dialogue is often treated with contempt or suspicion. First, there are those who see no reason why one should engage in dialogue with people from other side. Second, when some have to participate in dialogue, it is only an attempt to defend one’s own interest and group. Third, for those who want to engage in it, they do so to protect their people from “losing” to the other side while seeing dialogue as an important information gathering platform, not unlike meeting the “enemy” before the battlefield. Fourth, not only does mistrust exist among people who are supposed to engage in dialogue, some don’t have trust in the dialogue process itself. Fifth, some maintained that certain rules governing the dialogue process (such as truth telling?) cannot be applied in any real-life situation. Sixth, ignoring the notion of dialogue as a process which can take time, some quickly point out that dialogue is useless since the killings continue unabated.

It is important to first point out the obvious: peace dialogue is not a negotiation. The aim of a negotiation is an agreement, sometimes referred to as a peace agreement. A negotiation should involve authorized persons on both sides to come to the negotiating table, often times with a mediator to help facilitate the process aiming to reach an agreement. An example would be the Dayton peace agreement reached at Wright-Patterson Air Force Base near Dayton, Ohio in November 1995 attended by three presidents from Serbia, Croatia and Bosnia, formally signed in Paris on December 14, 1995 and put an end to the war in Bosnia.  Another example would be the 1978 Camp David Accord which resulted in the 1979 Egypt-Israel Peace Treaty signed in Washington D.C. on March 26, 1979 by President Sadat and Prime Minister Begin, with President Jimmy Carter as the witness.

In addition, peace dialogue is not a conversation between two conflicting parties aiming to find out what the other side wants and what they are like militarily (e.g. finding out about the size of their group, its structure or its location). This is intelligence gathering.  It is also different from conversation in the framework of psychological warfare, an important part of conducting war, aiming at conversion of the other party.

Understanding peace dialogue

Though heavily shaped by the specific reality of a particular conflict, the aim of peace dialogue is also governed by the nature of dialogue itself. Dialogue is generally seen as a means to come to terms with conflict “through words”. Apart from “through”, the Greek word “dia” can also mean “during”, “successive intervals”, “in different directions”, “leaving an interval” or “breach”. Dialogue then is about how people, especially those who choose to engage in this effort in the midst of deadly conflicts, see both themselves and the others. It underscores the ways in which different identities encounter one another in dialogue. When peace dialogue takes place in the midst of deadly conflicts, such as southern Thailand or southern Philippines, participants in a dialogue may not come as friends, but enemies, if they do come at all.

 Peace dialogue aims at reaching understanding and creating trust. Understanding within the framework of dialogue means something closer to empathy: to see and feel the world as the other side does. This empathic understanding is crucial if one wishes to construe the other side’s claim to legitimacy of their cause. One engages in peace dialogue not from a sense of helplessness, but from confidence that there are alternatives to violence and that both sides need to nurture such alternatives through profound understanding of each side’s cause and world in the hope that trust among conflicting parties will eventually emerge.

The problem with peace dialogue and southern violence is not that there is no dialogue between Thai government officials at some levels and some factions from the insurgents. What is needed now, however, is a unified state policy on peace dialogue that would allow the many channels of communication in existence. In other words, there should be a unified peace dialogue policy with many windows of opportunities for several of them to take place.

A unified policy would serve as a broad strategic direction in pursuit of political solutions to the problem of southern violence, while giving a sense of security for government officials working on peace dialogue. The pursuit of several peace dialogue opportunities would contribute significantly to the inclusivity of participants, especially from among the insurgents. Moreover, peace dialogues would also open up a space for the moderates within the insurgent groups, while potentially help weaken the extremists among them. Properly understood, peace dialogue could serve as a powerful space for other possibilities that could alleviate the tragic curse of violence in southern Thailand.

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฟางลี่จื่อ ผู้เป็นแรงบันดาลใจการประท้วงเทียนอันเหมิน เสียชีวิตแล้ว

$
0
0

ฟาง ลี่จื่อ อาจารย์ฟิสิกส์ที่ต่อต้านรัฐบาลจีน ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้กับการชุมนุมจัตุรัสเทียนอันเหมินเสียชีวิตแล้วในสหรัฐฯ ด้วยอายุ 76 ปี  

7 เม.ย. 2012 - สำนักข่าว BBC รายงานว่า ฟาง ลี่จื่อ นักต่อต้านรัฐบาลจีนผู้ที่คำกล่าวของเขากลายมาเป้นแรงบันดาลใจให้กับการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 เสียชีวิตแล้วด้วยอายุ 76 ปี ขณะอยู่ในประเทศสหรัฐฯ

แต่เดิมแล้ว ลี่จื่อเป็นนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชั้นนำ ต่อมาเขาถูกขับออกจากพรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1987 โดยถูกกล่าวหาว่ายุยงให้เกิดการความไม่สงบ

ลี่จื่อ แสดงการสนับสนุนการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างเปิดเผย แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับมวลชน

หลังจากการปราบปรามผู้ประท้วงทีจัตุรัสเทียนอันเหมินโดยรัฐบาลจีน ฟางลี่จื่อ และภรรยาของเขาก็ลี้ภัยเข้าไปในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ก่อนจะหลบหนีออกจากประเทศจีน

ทั้งคู่ต่างกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีซึ่งมีโทษหนักถึงประหารชีวิต

แม้ว่าจีนจะเรียกร้องให้ส่งตัวพวกเขามาดำเนินคดี แต่อเมริกาก็ปฏิเสธและในปี 1990 ก็ส่งตัวพวกเขาออกเดินทางไปประเทศสหรัฐฯ

ฟางลี่จื่อ เกิดเป็นลูกของบุรุษไปรษณีย์ เขาได้เป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน ในเมืองเหอเฝย

กลุ่มนักศึกษาที่มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยมักจะกล่าวอ้างคำพูดของเขาที่บอกว่า ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองจากล่างขึ้นบน ไม่ใช่จากบนลงล่าง

ลี่จื่อเคยกล่าวถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่า "ลัทธิมาร์กซิสม์เหมือนเสื้อผ้าที่ถูกสวมใส่จนโทรมแล้ว มันควรจะถูกเอาไปเก็บได้แล้ว"

 
 
 
ที่มา
Fang Lizhi, China dissident who inspired Tiananmen, dies, BBC, 07-04-2012
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เชิงอรรถ : การเมือง เรื่องเซอร์เรียล ของ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์

$
0
0

ภายใต้แสงแดดอันแผดเผาที่ระอุในช่วงเดือนเมษายน ผู้เขียนได้มองและรับรู้สิ่งต่างๆมากมายโดยเฉพาะในสังคมโลกเรา มองการเมืองที่ล้มเหลวของผู้ยึดอำนาจในมาลี มองการเมืองที่น่าปวดหัวในเมืองไทย มองความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ก็ทำให้เข้าใจว่าท้ายที่สุดแล้วความขัดแย้งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิด ความขัดแย้งที่ทุกคนวาดฝันอย่างสวยงามว่าวันหนึ่งเราต้องมีวิธีจัดการกับมันนั้น สิ่งที่จะขจัดได้เป็นอย่างดีก็คงเป็นดังที่หลายต่อหลายคนในสังคมนี้บอกก็คือ “ลืมมันไป”

คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าสังคมไทยเรานั้นลืมมามากแล้ว ลืมจนไม่สามารถที่จะนำเอาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตมาเป็นบทเรียนได้ ลืมจนเราไม่รู้ว่าต้นสายปลายเหตุของการเปลี่ยนแปลงใน พ.ศ.2475 เป็นอย่างไร ลืมจนไม่รู้ว่า 14 และ 16 ตุลาคม ใครเป็นผู้เกี่ยวข้องบ้างและสถาบันต่างๆ ในสังคมในตอนนั้นมีจุดยืนอย่างไร ต่อต้านหรือสนับสนุน จนมาถึงปัจจุบันก็มีผู้เสนอให้ใช้แนวทางเดียวกันคือ “ขอให้ลืม” เพื่อวันข้างหน้า ซึ่งดูแล้วมันก็ไม่เจ็บปวดอะไรกับคนอย่างเราๆ ที่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่หากเราลองนึกถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบดูบ้างก็จะรู้ว่ามันเป็นการปัดความรับผิดชอบที่น่าเจ็บปวดมิใช่น้อย เพราะขนาดเราแค่จะลืมแฟนเก่าที่ทิ้งเราไปมันยังทำได้ยาก แล้วนับประสาอะไรกับคนที่สูญเสียผู้ที่เป็นที่รักอย่างไรเสียเขาก็คงทำใจให้ลืมมิได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นความจริงเกี่ยวกับเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองเราในรอบหลายปีที่ผ่านมาและไม่อยากรอวันที่คุณหมดลมหายใจแล้วถึงจะรู้ความจริง

แต่ไม่เป็นไร วันนี้ผู้เขียนจะลองลืมปัญหาที่หนักสมองแล้วหันมาลองมองอะไรที่ผ่อนคลายลงบ้าง เป็นโอกาสดีที่ผู้เขียนมีโอกาสได้พบกับเพื่อนเก่าท่านหนึ่งซึ่งมีมุมมองเกี่ยวกับการเมืองเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้เขียน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กันต่างๆนานา และที่สำคัญได้อ่านวรรณกรรมซึ่งได้กล่าวถึงการเมืองอีกมุมหนึ่งที่สะท้อนผ่านเรื่องราวธรรมดาๆแต่แฝงไปด้วยความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย วรรณกรรมเรื่อง “การเมืองเรื่องเซอร์เรียล” ของ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ ได้ตั้งคำถามแบบเซอร์เรียลไว้มากในระดับหนึ่ง เป็นการตั้งคำถามแบบปลายเปิดไว้อย่างน่าสน เพียงแต่ว่า จะมีใครสักกี่คนที่สนใจจะตอบคำถามประเด็นเหล่านั้น ผู้เขียนจึงขอเป็นคนส่วนน้อยที่อยากตอบคำถามและอธิบายความต่อจากมุมมองของคุณจิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ แบบไม่เซอร์เรียลดูบ้าง โดยจะนำจุดที่น่าสนใจมาลองมองผ่านความคิด ความรู้ ความเห็น ที่ผู้เขียนมีมาเปิดมุมมองต่อข้อเขียนเหล่านั้น

กล่าวถึง “การเมืองเรื่องเซอร์เรียล” เป็นงานเขียนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมของ SCG INDY AWARD 2011 เป็นงานที่ซ่อนความคิดอะไรไว้หลายอย่างแม้ว่าตัว คุณจิรัฏฐ์ เองจะกล่าวว่ามีความรู้ด้านการเมืองในลักษณะฉาบฉวย แต่ในมุมมองผู้เขียนกลับมองว่า ก็คงเป็นการถ่อมตัวของ คุณจิรัฏฐ์ มากกว่า เพราะในที่สุดแล้วเมื่อคุณอ่านจบคุณน่าจะได้ความรู้ และความสนุกจากวรรณกรรมชิ้นนี้มากทีเดียว

“คำนำ”

ในเบื้องแรก เป็นคำถามที่ค่อนข้างสำคัญที่น้อยคนนักที่จะหาเหตุผล คุณจิรัฏฐ์ ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีอยู่ของ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ว่า “บ่อยครั้งที่พวกเราหลายคนไปรวมตัวกันที่นั่น เพื่อเรียกร้องในสิ่งที่พวกเราคิดว่าตัวเองมี... แต่จนป่านนี้เรายังไม่รู้เลยว่าสิ่งที่เรามีนั้นมันคืออะไร”

สำหรับคำถามนี้มันไม่ง่ายนักที่จะตอบ หากจะถามว่าสิ่งที่เรามีมันคืออะไร แต่เหนือสิ่งอื่นใดผู้เขียนคิดว่า เราควรแบ่งผู้ชุมนุมต่างๆ ออกเป็น 2 ส่วนก่อนนั่นก็คือ ส่วนของนักคิดซึ่งก็คือเหล่าบรรดาแกนนำต่างๆ และเหล่านักฟัง (ผู้เขียนมองว่าคนไทยชอบหาความจริงโดยการฟังมากกว่าการศึกษาผ่านตำราและวิชาการ) ในที่นี้ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในการกำหนดสถานที่ต่างๆในการชุมนุมนั่นก็คือ ส่วนของนักคิด

จริงๆ แล้วอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ได้เป็นสิ่งที่หากเราไปกราบไหว้บูชาแล้วจะต้องได้ตามที่ขอดังเช่นสถานที่ต่างๆในสังคมนี้ เพียงแต่ว่านับตั้งแต่ยุคของประชาธิปไตยเสื่อมถอย หลังจากการเสื่อมอำนาจของคณะราษฎร์เป็นต้นมา สถานที่ต่างๆ ที่คณะราษฎร์ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานและสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงจากระบอบ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” สู่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” นั้นได้ถูกทำลายลงที่ละน้อยที่ละน้อย ดังนั้นพื้นที่ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ประชาธิปไตยของประเทศนี้ก็ลดน้อยลงไปเช่นเดียวกัน เช่น สนามหลวง ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเป็นสถานที่ที่คนธรรมดาสามัญชนไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ภายหลังเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงฯ สนามหลวงก็ถูกใช้เป็นที่จัดงานของราษฎร์นั่นก็คือ วันฉลองรัฐธรรมนูญและวันชาติ (ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าเราก็มีวันชาติกับเขาเช่นกัน) จนมาถึงในยุคนี้ เริ่มแรกแห่งความขัดแย้ง สนามหลวงก็เป็นที่ซึ่งใช้ในการแสดงความคิดทางการเมืองของบรรดานักพูดหลากสีหลายค่าย แต่กระนั้นปัจจุบันสนามหลวงก็กลับมาเป็น “ของหลวง” อีกครั้ง นั้นก็แสดงว่าพื้นที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงก็ได้ถูกกลืนไปอีกหนึ่งที่เช่นกัน

ดังนั้นเหลืออีกกี่ที่กัที่เป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนลองนั่งนึกดูว่ามีอะไรบ้างก็คงเหลือแต่ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” เท่านั้นที่จะเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย ผู้เขียนไม่ทราบหรอกว่า บรรดาเหล่าผู้คนที่ไปชุมนุมที่นั้น มีจุดประสงค์ที่เป็นประชาธิปไตยหรือไม่ แต่อย่างน้อยที่สุดการไปชุมนุมที่นั้นก็เป็นสัญลักษณ์และสร้างความเด่นชัดในเนื้อหาการชุมนุมเพื่อสนับสนุนแนวความคิดของตัวเองว่า สิ่งที่ทำอยู่เป็นการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยก็เท่านั้น กล่าวโดยสรุปก็คือว่า “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” มันมิได้ศักดิ์สิทธิ์อะไร แต่มันเป็นสิ่งที่แสดงสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยที่เหล่าคณะราษฎร์สร้างขึ้นที่เหลือเป็นมรดกชิ้นสำคัญสิ้นสุดท้ายในสังคมเท่านั้นเอง

“เหตุฆาตกรรมในห้องน้ำของสำนักงาน อบต.”

คุณจิรัฏฐ์ ได้กล่าวถึงสองประเด็นใหญ่ๆ จากเหตุฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในห้องน้ำของ อบต. คือ เมื่อมีคนตายในห้องน้ำ แทนที่ทุกคนจะมุ่งประเด็นว่าเกิดอะไรขึ้น และสิ่งใดเป็นมูลเหตุที่สำคัญของปัญหา แต่สิ่งที่ คุณจิรัฏฐ์ กล่าวกลับเป็นการพูดในเชิงเสียดสีสังคมว่า เหตุที่เกิดนั้นสิ่งที่ทุกคนหวาดกลัวเป็นวิญญาณเฮี้ยน มากกว่า

กับเรื่องนี้ผู้เขียนมีความเห็นด้วยและมองว่า คุณจิรัฏฐ์ กำลังพยายามที่จะอธิบายและเตือนสังคมว่า รัฐมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของประชาชนในท้องที่ ส่งที่ประชาชนควรจะตระหนักมากกว่าเรื่องภูตผีมันควรจะเป็นการตระหนักถึงสวัสดิภาพของชีวิตมากกว่า การเกิดเหตุฆาตกรรมในพื้นที่ชุมชนนั่นก็แสดงว่า ความไม่ปลอดภัยกำลังคืบคลานเข้ามาในชุมชน ประชาชนควรที่จะตระหนักและตื่นตัวในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นมุมมองที่น่าสนใจและเห็นด้วยเป็นอย่างมาก และที่สำคัญการจบปัญหานี้มันก็เป็นสิ่งที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว นั่นก็คือ “ลืม”  สิ่งที่ควรจะเป็นมากกว่าคือรัฐควรหาสาเหตุและวิธีป้องกัน ส่วนประชาชนก็ควรตื่นตัวและเรียกร้องความปลอดภัยจากรัฐมากกว่า

ส่วนที่กล่าวถึงนักการเมืองที่เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วก็หายตัวไปอย่างไม่ใยดี มันก็คงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเมื่อเราพูดอยู่เสมอว่า การเลือกตั้งคือ การเลือกตัวแทน (Represent) คำว่าตัวแทนความหมายของมันหากเปรียบแล้วก็เสมือนว่า ตัวแทนเป็นดังสี่เหลี่ยมที่สามารถวางทับกันอย่างแนบสนิท หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เหมือนกันอย่างกับแกะ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต้องแปลกใจหากเข้าหายไปเพราะในเมื่อคุณบอกว่าเขาเป็นตัวแทน เขากับคุณก็เป็นคนๆเดียวกัน สิ่งที่เขาคิดก็เหมือนสิ่งที่คุณคิด ดังนั้นก็ถูกต้องแล้วที่ไม่มีความจำเป็นใดๆที่เขาเหล่านั้นจะมาไถ่ถามและขอความเห็นจากคุณ หากจะโทษก็ต้องโทษตัวเราเองที่ยอมรับและเรียกเขาว่าตัวแทนของเรา แต่หากถามผู้เขียน  ผู้เขียนไม่เคยเรียกเขาเหล่านั้นว่าผู้แทนเพราะผู้เขียนมองว่าไม่มีใครที่จะแทนตัวของเราได้

“ผมกับหมวกกันน็อค”

มีอยู่ตอนหนึ่งที่ คุณจิรัฏฐ์ กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “เขาสนใจการเมืองมากจนกลายเป็นไม่สนใจ” โดยความจริงแล้วคำถามนี้อธิบายได้โดยง่ายกล่าวคือ คุณจิรัฏฐ์ กำลังสะท้อนบางอย่างในสังคมเรา โดยทั่วไปสังคมมักจะเชื่อในสิ่งที่อยากให้เป็นมากกว่าสิ่งที่เป็นในปัจจุบัน สังคมต้องการความสงบสุข ความไม่ขัดแย้ง ฯลฯ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่เพ้อฝันไปจากความจริง เราศึกษาและวาดภาพความสวยหรูของสังคมผ่านการจินตนาการ เรามองความปกติ (Normal) เป็นสิ่งที่เป็นอนาคต (ความปกติมีสองแบบคือ ความปกติที่เป็นปัจจุบัน และความปกติที่เกิดจากความคาดหวังในอนาคต) ดังนั้นหากเราคิดและศึกษาเนื้อแท้ของการเมืองแล้วสิ่งที่เป็นอยู่มิได้เป็นเรื่องใหม่ของสังคมไทยหรือสังคมโลกแต่อย่างใด มันต่างเกิดขึ้นมาตลอดควบคู่กับการเกิดขึ้นของมนุษย์ เมื่อเรามองความจริงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติแล้วคำว่า  “เขาสนใจการเมืองมากจนกลายเป็นไม่สนใจ” ก็เป็นสิ่งที่ คุณจิรัฏฐ์ กำลัง เข้าใจการเมืองมากก็เท่านั้น

“หล่อนร่วมรักใต้แสงเทียน”

ยัยมีน กล่าวอย่างไม่เข้าใจว่า “เหตุใดเขาจึงไม่สามารถมีเซ็กในห้องนอนได้ ทั้งที่เขาก็จ่ายค้าห้องเท่ากัน ทุกอย่างเขาก็จ่ายเท่ากับเพื่อนร่วมห้อง” เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก มุมมองนี้ทำให้ผู้เขียนนึกถึงการเมืองในประเทศเราเป็นอย่างมาก ชนชั้นกลางในเมืองกรุงฯต่างหัวเสียไปกับการชุมนุมของผู้คนสีเสื้อต่างๆ แต่อีกแง่หนึ่ง (ผู้เขียนไม่มีความมุ่งหมายที่จะกล่าวว่าใครผิดหรือถูก) เมื่อทุกคนในสังคมก็มีความเสมอภาคกันทางด้านภาษี  ทุกคนก็ต้องจ่ายเมื่อซื้อของ ทุกคนต้องจ่ายเมื่อมีรายได้ ฯลฯ ดังนั้น ถนนก็ไม่ควรที่จะมีไว้ให้ผู้มีฐานะทางสังคมได้ใช้เพียงอย่างเดียว เขาเหล่านั้นควรเป็นเจ้าของได้ด้วย เพราะถนนหนทางที่สร้างขึ้นสร้างจากเงินของทุกคนไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีรถยนต์หรือไม่ ผู้เขียนจะไม่มีปัญหาเลยหากถนนหนทางสร้างจากเงินของผู้ใช้รถยนต์เท่านั้น เช่นเดียวกับ ยัยมีน ที่ไม่เข้าใจว่าเขาทำไมเขาไม่สามารถมีเซ็กในห้องนอนได้ ทั้งที่เขาก็จ่ายค้าห้องเท่ากัน ทุกอย่างเขาก็จ่ายเท่ากับเพื่อนร่วมห้อง คำตอบง่ายๆ ก็คือว่า “สุนทรียะ” มันต่างกันเท่านั้นเอง คนชั้นกลางในเมืองกรุงฯเขาก็ทำในสิ่งเดียวกับผู้ชุมนุมทั่วไปนั่นแหละ ไม่สนหลอกว่ารถจะติดหากพอใจ เช่น ปิดถนนจัดการนิทรรศการ ขายของ ฯลฯ เพราะในที่สุดแล้ว “สุนทรียะ” ของเขา มักจะมีคุณค่ามากกว่า “สุนทรียะ” ของคนอื่นเสมอ

“ME IN THE DARK”

“ผมใคร่จะเป็นลมอีกรอบ เป็นลมคราวนี้ขอให้ไม่ต้องฟื้นเลยดีกว่า.....ที่จะนอนดูตัวเองกินเนื้อตัวเอง” สิ่งแรกที่เห็นประโยคนี้ผู้เขียนนึกถึงแนวคิดปรัชญาการเมืองหนึ่งขึ้นมาทันที นั่นก็คือ เรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ถ้ำของเพลโต ขึ้นมา เพราะสิ่งที่ คุณจิรัฏฐ์ กำลังพูดถึงเป็นการอธิบายถึงความธรรมดาของมนุษย์ที่จะรับเอาสิ่งที่ตัวเองต้องการรับเท่านั้น หากสิ่งใดที่เป็นความจริงอันน่าเจ็บปวดแล้วเราก็ไม่อยากที่จะรับรู้มันแม้ว่ามันเป็นความจริงก็ตาม เรื่องราวของมนุษย์ถ้ำ จึงเป็นสิ่งที่อธิบายทุกอย่างในสังคมได้ดีมาก

ทั้งหมดนี้เป็นการมอง เรื่องเซอร์เรียลของ คุณจิรัฏฐ์ แบบไม่เซอร์เรียล เชื่อแน่ว่าหลายคนอาจจะมีความคิดและมุมมองที่ต่างออกไปเมื่อได้อ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ ผู้เขียนคิดว่าวรรณกรรมเรื่องนี้เป็นมากกว่าวรรณกรรม ซ่อนแนวคิดและปัญหาของสังคมไว้ภายใต้ตัวหนังสือ แม้ว่าบางอย่างอาจจะไม่ใช่ความมุ่งหมายของ คุณจิรัฏฐ์ ที่อยากจะสื่อก็ตาม แต่อย่างน้อยๆก็เป็นสิ่งเล็กๆที่ผู้เขียนนำมาขบคิดต่อได้ คนอื่นอาจจะไม่ได้อะไรจากวรรณกรรมเล่มนี้นองจากความสนุก แต่สำหรับผู้เขียนนอกจากจะได้ความสนุกแล้วยังได้เรียนรู้กับมันอย่างมากเลยทีเดียว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เรื่องของซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)

$
0
0

 

ซูโดอีเฟดรีน เป็นข่าวครึกโครมขึ้นมา เนื่องจากพบว่ามียาหายไปจากระบบเป็นจำนวนมาก เชื่อว่าจะนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า ทางราชการจึงมีมาตรการเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับ จนล่าสุด  เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2555 ได้มีประกาศของกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ยกระดับให้ยาแก้หวัด ซูโดอีเฟดรีนสูตรผสม เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2  ห้ามมี ไว้ในครอบครอง  ทำให้เกิดคำถามของสังคมขึ้นมากมาย เช่น “คุณหมอจ่ายยาแก้หวัดที่เป็นยาเสพติดให้ผม กินแล้วจะมีอันตรายหรือเปล่า”  “อ.ย.เรียกคืน, ห้ามผลิต, และห้ามจำหน่าย ยาแก้หวัดชนิดซูโดอีเฟดรีนแล้ว ต่อไปถ้าเป็นหวัด จะทำอย่างไร?” “คุณหมอช่วยออกใบรับรองแพทย์ให้หน่อยได้ไหม ว่ายา ซูโดอีเฟดรีนนี้ ได้มาจากคุณหมอ กลัวถูกจับ” ฯลฯ จึงเห็นว่าควรเขียนบทความนี้ เพื่อความเข้าใจอันดี 

ความเป็นมา

สูตรยา ซูโดอีเฟดรีน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(ก่อนวันที่ 3 เม.ย.) แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. สูตรเดี่ยว คือมีสารซูโดอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤิทธิ์เพียงตัวเดียว จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในประเภท 2 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ผู้ประสงค์จะมีหรือใช้ ต้องมีใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ อีกทั้งต้องทำรายงาน การได้มา และการใช้ไป รวมทั้งชื่อและที่อยู่ของผู้รับยาไป (แบบแบบ บจ.8, บจ.9, บจ.10 ) ส่งให้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกเดือน

2. สูตรผสม คือมีสารซูโดอีเฟดรีน และตัวยาอื่นทั้งชนิดเดียว หรือหลายชนิดผสมอยู่ด้วยในเม็ดเดียวกัน เช่นผสมกับยาแก้แพ้, ยาแก้ไอ, ยาขับเสมหะ, ยาแก้ปวดลดไข้ เป็นต้น ตำรับสูตรผสมนี้ ถือเป็นยาตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 นอกจากนั้น ยังถือเป็นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ยาสูตรเดี่ยวตามข้อ 1 นั้น มีใช้มานานแล้ว และยังคงใช้มาตลอด โดยมิได้มีปัญหาใดๆ เพราะขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุออกฤิทธิ์ฯ มีการควบคุมอย่างรัดกุม ส่วน ซูโดอีเฟดรีนสูตรผสมนั้น ขึ้นทะเบียนเป็นยา (ไม่เป็นวัตถุออกฤิทธิ์ ตามพรบ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ) ทำให้มีการรั่วไหล ถูกนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาบ้า  คณะกรรมการอาหารและยาเคยคิดว่า การประกาศให้ครอบครองได้เฉพาะสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วย จะมีระบบควบคุมยาที่รัดกุม แต่กลับกลายเป็นแหล่งรั่วไหลแหล่งใหญ่ จึงต้องออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข 2 ฉบับ ดังกล่าว

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2555 มีสาระสำคัญอะไรบ้าง

ฉบับแรก เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ (เพิ่มเติม) โดยมีสาระกำหนดให้ยา ซูโดอีเฟดรีนสูตรผสม เปลี่ยนจากยาเสพติดให้โทษประเภท 3 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 2

ฉบับที่ 2 เรื่องกำหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 และประเภท 2 พ.ศ.2555

หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 30 วัน ร้านขายยาและสถานพยาบาลที่ยังมียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่สูตรผสมพาราเซตามอล ซึ่งก่อนหน้านี้ อย.อนุญาตให้จำหน่ายในร้านขายยาได้ จะต้องส่งคืนยาทั้งหมดให้กับบริษัทผู้ ผลิต

ผลของประกาศทั้ง 2 ฉบับก็คือ ยา ซูโดอีเฟดรีนสูตรผสม เปลี่ยนสภาพจากยาเสพติดให้โทษประเภท 3 (ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522) กลายเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งต้องจัดทำรายงานแบบ บจ.8, บจ.9, บจ.10 เพื่อรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทุกเดือนเช่นเดียวกับสูตรเดี่ยว และเพื่อล้างไพ่ และเริ่มต้นกันใหม่ อ.ย. จึงต้องเรียกเก็บยาสูตรผสมทั้งหมด มาเก็บไว้ก่อน

ยา ซูโดอีเฟดรีน เป็นยาเสพติดหรือไม่

ยา ซูโดอีเฟดรีนไม่ใช่ยาเสพติด เพียงแต่สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นของการผลิตยาบ้า (ยากลุ่ม Amphetamines โดยเฉพาะMethamphetamine) เพราะฉะนั้น ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ หรือ โรคไซนัสอักเสบ ที่ต้องใช้ยานี้เป็นเวลานานๆ ตามที่แพทย์สั่ง ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด

คณะกรรมการอาหารและยา เรียกเก็บยาทั้งหมด ถ้าเป็นหวัด จะทำอย่างไร?


อ.ย. เรียกเก็บเฉพาะ "สูตรผสม" ที่มียาหลายชนิดในเม็ดเดียว ใครที่เคยใช้ยาสูตรผสมอยู่ ก็สามารถใช้เหมือนเดิม เช่น เดิมกินยาที่มี ซูโดอีเฟดรีน ผสมยาแก้แพ้ และยาแก้ไอ อยู่ในเม็ดเดียวกัน ก็ต้องกินแยกกัน เป็นยา ซูโดอีเฟดรีน 1 เม็ด, ยาแก้แพ้ 1 เม็ด และยาแก้ไออีก 1 เม็ด

ข้อแตกต่างอีกประการคือ ซูโดอีเฟดรีน จะมีเฉพาะในสถานพยาบาล ที่มีใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ไม่สามารถหาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปได้ ถ้าท่านเป็นหวัด แต่ไม่ประสงค์จะไปพบแพทย์ตามสถานพยาบาลที่กล่าวข้างต้น ก็สามารถซื้อยาแก้หวัด ที่มีส่วนผสมของฟีนิลเอฟริน(Phenylephrine) ซึ่งแม้ประสิทธิภาพจะด้อยกว่า ซูโดอีเฟดรีน แต่ก็สามารถเป็นอีกทางเลือกได้

ได้รับยามาจากแพทย์ จะถูกตำรวจจับหรือไม่ ถ้าบังเอิญถูกตำรวจค้นเจอ

ไม่ถูกจับ เนื่องจากได้รับการยกเว้นตามมาตรา 63 วงเล็บ 2 ของพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518ให้สามารถครอบครองได้ โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาต  

มาตรา 63.... (2) การมีไว้ในครอบครองของบุคคลใน "ปริมาณพอสมควร" เพื่อการเสพ การรับเข้าร่างกายหรือการใช้ด้วยวิธีอื่นใดตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม, ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม, หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของบุคคลนั้นหรือสัตว์ของบุคคลนั้น

คำว่า "ปริมาณพอสมควร” ควรจะเป็นเท่าใดนั้น ก็ต้องดูประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กําหนดปริมาณการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๑ หรือประเภท ๒ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งระบุว่า “การครอบครอง ซูโดอีเฟดรีน คำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้วไม่เกิน 5 กรัม มีโทษตามมาตรา 106 ถ้าเกิน 5 กรัมมีโทษตามมาตรา 106 ทวิ”

พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518

มาตรา 106 ผู้ใดครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือ 2 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 62 วรรค 1ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท

มาตรา 106 ทวิ ผู้ใดครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือ 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (5 กรัม) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท

ตามความเห็นผม (ซึ่งไม่ใช่นักกฏหมาย) เห็นว่า "ปริมาณพอสมควร" น่าจะไม่เกิน 5 กรัม ซึ่งถ้าคำนวนจากยาซูโดอีเฟดรีน 1 เม็ด เท่ากับ 60 มิลลิกรัม ปริมาณยาที่จะครอบครองได้ น่าจะไม่เกิน 83.33 เม็ด

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กรีซบุกปาไข่รายการทีวี-เหตุไม่พอใจสัมภาษณ์นักการเมืองขวาจัด

$
0
0

ที่มา: Russia Today/ Youtube.com

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (8 เม.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงฝ่ายซ้ายในกรีซจำนวน 17 คน ได้บุกเข้าสตูดิโอของช่องโทรทัศน์ระดับภูมิภาคของกรีซ และขว้างปาไข่กับโยเกิร์ตไปยังผู้จัดรายการในระหว่างจัดรายการสด เหตุไม่พอใจที่อาทิตย์ก่อนหน้าสัมภาษณ์นักการเมืองจากพรรคนีโอนาซีซึ่งมีนโยบายการเมืองที่ขวาจัด

เหตุเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ดำเนินรายการทอล์คโชว์ พานาจิโอติส วัวราซ (Panagiotis Vourhas) กำลังสัมภาษณ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่งในรายการสดของสถานี  'เอพิรอส ทีวี 1' โดยกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งผูกผ้าเช็ดหน้าเพื่อปิดบังหน้าตาของตนเอง ได้ลักลอบเข้ามาในสถานีและปาไข่พร้อมโยเกิร์ตใส่ผู้ดำเนินรายการอย่างไม่ยั้ง

รายงานข่าวระบุว่า สาเหตุของความไม่พอใจดังกล่าว เนื่องมาจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า รายการโทรทัศน์นี้ได้เชิญ จูร์สิ อาวิ (Jrysi Avgi) ผู้นำของพรรคนีโอนาซี "โกลเด้น ดอวน์" (Golden Dawn) ซึ่งชูนโยบายต่อต้านผู้อพยพมาเป็นแขกรับเชิญในรายการ โดยในขณะนี้ พรรคโกลเด้น ดอวน์ มีคะแนนนิยมราวร้อยละ 5 จากการสำรวจสำหรับการเลือกตั้งรัฐสภาที่จะมาถึงในเดือนหน้า

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ

$
0
0

กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ออกหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ กำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ระหว่างวันที่ 8-12 เม.ย.55

หมายเหตุ: กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ออกหมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ กำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ระหว่างวันที่ 8-12 เม.ย. 55 มีรายละเอียดดังนี้ [อ่านเอกสารทั้งหมด คลิกที่นี่]

วันที่ 8 เม.ย. เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพิธีพระราชกุศลออกพระเมรุ

วันที่ 9 เม.ย. เวลา 07.00 น. เสด็จฯ ยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพิธีเชิญพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพออกพระเมรุ พระราชทานเพลิงพระศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ตามพระโกศทองใหญ่ทรงพระศพขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถ ไปยังพระเมรุท้องสนามหลวง ในเวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ยังพระที่นั่งทรงธรรม หน้าอาสน์สงฆ์ พระเมรุ พระที่นั่ง ในการพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เวลา 22.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จขึ้นพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพ

วันที่ 10 เม.ย. เวลา 08.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ยังพระที่นั่งทรงธรรม ในการพิธีเก็บพระอัฐิ ทรงเก็บพระอัฐิ สรงพระสุคนธ์ เชิญลงในพระโกศทองคำลงยา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ ตามพระโกศพระอัฐิเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง

วันที่ 11 เม.ย. ก่อนเวลา 16.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพิธีพระราชกุศลพระอัฐิ

วันที่ 12 เม.ย. เวลา 10.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในการพิธีเลี้ยงพระ เชิญพระอัฐิขึ้นประดิษฐาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ เสด็จฯ ตามเชิญพระโกศพระอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

[อ่านเอกสารทั้งหมด คลิกที่นี่]

 

AttachmentSize
หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเจ้าฟ้าเพชรรัตน์336.5 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตำรวจชักปืนยิงขึ้นฟ้าหวังสลายแรงงานพม่า-กัมพูชาชุมนุมเรียกร้องสวัสดิการ

$
0
0

แรงงานชาวกัมพูชา-พม่าที่โรงงานแช่แข็งอาหารทะเลที่สงขลาร้องเรียนให้มีการปรับปรุงสวัสดิการ สภาพการจ้างงาน เบื้องต้นเตรียมเจรจาฝ่ายบุคคลต่อเช้าวันจันทร์ แต่โรงงานกลับปิดประตู-ไม่จัดรถรับส่ง เพื่อไม่ให้พนักงานเข้าไปในโรงงาน และเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงปืนขึ้นฟ้าหลายนัด หวังสลายการชุมนุม 

เมื่อวานนี้ (8 เม.ย. 55) พนักงานชาวกัมพูชา และชาวพม่า หลายร้อยคน ที่โรงงานพัฒนาซีฟู้ดส์สงขลา จำกัด ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งประกอบกิจการอาหารทะเลแช่แข็ง ได้ชุมนุมภายในโรงงานเพื่อขอเจรจากับฝ่ายบุคคลของโรงงาน เพื่อให้มีการปรับปรุงสภาพการจ้างงาน โดยตัวแทนพนักงานมีข้อเรียกร้อง 2 เรื่อง คือให้โรงงานจ่ายค่าเบี้ยขยัน 600 บาทต่อเดือน และค่าข้าววันละ 20 บาท ตามที่เคยระบุไว้ว่าจะจ่าย

ทั้งนี้การเรียกร้องให้ปรับปรุงสวัสดิการเิกิดขึ้นหลังจากที่ประกาศค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. โดยที่อัตราค่าจ้างของ จ.สงขลา ปรับเพิ่มจากวันละ 176 บาท มาเป็นวันละ 246 บาท

อนึ่ง ก่อนหน้านี้พนักงานเคยร้องเรียนด้วยว่า สภาพการจ้างงานของโรงงานมีปัญหาหลายเรื่อง เช่น ห้องน้ำภายในโรงงานที่ใช้งานได้จริงอยู่ไม่กี่ห้องและมีสภาพย่ำแย่ สถานที่พักอาศัยมีความแออัด ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน โดยสภาพที่พัก 1 ห้อง พักอาศัยรวมกัน 6 คน ใช้ห้องน้ำรวมซึ่งมีอยู่จำกัด และต้องจ่ายค่าที่พักคนละ 300 บาทต่อเดือน และมีการเก็บค่าน้ำ ค่าไฟ ทั้งที่ก่อนหน้าที่จะมาทำงาน ตกลงกันว่าจะไม่มีการเรียกเก็บ

ปัญหาเรื่องการรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่เจ็บป่วยหนักจะต้องไปโรงพยาบาลเอง มีปัญหาเรื่องของการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานงานชาวต่างชาติ โดยเฉพาะต่อพนักงานชาวพม่า และโรงงานยังมีการยึดหนังสือเดินทางเอาไว้ ให้คนงานถือแต่สำเนาหนังสือเดินทาง

นอกจากนี้มีกรณีที่พนักงานชาวกัมพูชาหนีออกจากโรงงานบ่อย เนื่องจากทำงานได้ค่าแรง และได้ค่าล่วงเวลาน้อย

อย่างไรก็ตาม การเจรจาเมื่อวานนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยทางฝ่ายบุคคลและพนักงานนัดหมายกันว่าจะเจรจาในวันนี้ (9 เม.ย.) เวลา 10.00 น.

ล่าสุดวันนี้ พนักงานในโรงงานรายหนึ่งร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่า ช่วงเช้าทางโรงงานไม่มีการจัดพาหนะไปรับพนักงานที่ต้องการมาทำงานที่โรงงาน มีการปิดประตูไม่ยอมให้คนงานที่ชุมนุมรอการเจรจาอยู่ภายนอกหลายร้อยคนเข้าไปในโรงงาน และต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำการอยู่บริเวณโรงงานประมาณ 15 นาย ได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าหลายนัดเพื่อสลายการชุมนุมของคนงาน โดยคนงานหลายคนอยากออกจากงานที่ทำ แต่ไม่กล้าเดินทางไปที่อื่น เนื่องจากถูกยึดหนังสือเดินทางเอาไว้ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ โดยผู้สื่อข่าวจะรายงานเพิ่มเติมต่อไป

ทั้งนี้โรงงานดังกล่าว อยู่ในเครือ PTN ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ของประเทศไปยังสหรัฐอเมริกา เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และยังให้บริการแช่แข็งสินค้า จำหน่ายรถยนต์ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร อุปกรณ์ก่อสร้าง และการค้าระหว่างประเทศ ตามที่ปรากฏข้อมูลในเว็บไซต์ของเครือบริษัทดังกล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สัญญา กระบวนการทางกฎหมาย และเศรษฐศาสตร์

$
0
0

"หากต้นทุนทางสังคมจากการเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายลดต่ำลงได้มากเท่าไหร่ เสียงของคนเล็กคนน้อยในสังคมก็ดังมากขึ้นเท่านั้น"


ภาพโดย ilkin (CC BY-NC-ND 2.0)
 

ในบทความที่แล้วเรื่อง “เศรษฐศาสตร์ สถาบันฯ กฎหมาย ในห้วงเวลาแห่งการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ” ได้กล่าวถึงรัฐธรรมนูญในฐานะ “สถาบัน” หรือ กติกาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคม (rule of game) รวมถึงเสนอแนะมุมมองทางเศรษฐศาสตร์กฎหมายว่า รัฐธรรมนูญในอุดมคติควรมีลักษณะเป็นอย่างไร ในบทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องของทฤษฎีสัญญา (the economic theory of contract)

ทฤษฎีสัญญาคือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มุ่งศึกษาและอธิบายถึงการเกิดสัญญา และการตอบสนองต่อสัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเชิงสถาบัน โดยเฉพาะกฎหมาย [2] ก่อนที่จะทำความเข้าใจว่ากฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างไรนั้นต้องกล่าวท้าวไปถึงคำอธิบายของเศรษฐศาสตร์กฎหมายต่อการเกิดขึ้นของสัญญาเสียก่อน

ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์, สัญญาคือ สิ่งที่กล่าวถึงการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ (exchange of benefits) ดังนั้นคนที่จะก่อสัญญาขึ้นมาร่วมกันนั้นอย่างน้อยที่สุดตนเองต้องไม่เสียประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว หากคนยังคงมีความเป็นเหตุเป็นผลอยู่ เราเรียกพฤติกรรมที่ไม่ยอมจะร่วมทำสัญญาหากมีคู่สัญญาคนใดคนหนึ่งแม้เพียงคนเดียวเสียประโยชน์นี้ว่าการพัฒนาแบบพาเรโต (pareto improvement) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสัญญามัก “ตั้งต้น” ด้วยการร่างเพื่อให้ทั้งสองฝ่าย-คู่สัญญา ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งคู่ (better off) แตกต่างเพียงว่าใครจะได้ประโยชน์มากไปกว่ากันเท่านั้น

ตัวแปรที่กำหนดการกระจายผลประโยชน์จากสัญญาว่าใครจะได้ประโยชน์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา อย่างพ่อกับลูก สามีต่อภรรยา เป็นตัน แต่ในบริบททางเศรษฐกิจการเมืองปัจจัย “อำนาจต่อรอง” กลับเป็นตัวกำหนดสำคัญว่าใครจะได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใดจากสัญญา แต่อำนาจต่อรองคือสิ่งใดเล่า? Mushtaq Khan เคนกล่าวเอาไว้ว่า อำนาจต่อรองเป็นคำที่อาจพิจารณาได้จากแง่มุมที่หลากหลาย แต่แง่หนึ่งที่น่าสนใจก็คือ “อำนาจต่อรอง หมายถึงการสร้างต้นทุนให้กับคู่สัญญา”

การพิจารณาว่าอำนาจต่อรองคือการสร้างต้นทุนให้แก่คู่สัญญานั้นชัดเจนอย่างมาก (แม้จะเป็นกรณีสุดโต่งไปเสียหน่อยสำหรับโลกแห่งความเป็นจริง) ในกรณีถ้าผู้อ่านชอบชมหนังมาเฟีย เวลาคู่สัญญาถูกปืนจ่อหัวในการร่างสัญญา คู่สัญญาดังกล่าวมักไม่ค่อยเรื่องมากในการเซ็นสัญญาและมักไม่ค่อยเรียกร้องประโยชน์จากตัวสัญญาเท่าไหร่นัก

คำถามสำคัญอยู่ที่ ในความเป็นจริงแล้วสัญญามีสิทธิที่จะถูกร่างขึ้นโดยมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบตั้งแต่ต้น (ไม่เป็นการพัฒนาแบบพาเรโต) หรือไม่? คำตอบคือมีความเป็นไปได้อยู่สามกรณีได้แก่ (1) ผู้ร่วมร่างสัญญาไม่มีสภาพที่พร้อมจะทำความเข้าใจสัญญา เช่น บ้า, สูญเสียสมดุลทางจิตใจ, ขาดความรู้-วุฒิภาวะในเรื่องที่ตนเองทำสัญญา เป็นต้น (2) สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญา/ ถูกหลอก และ (3) ถูกบังคับข่มขู่ให้ต้องร่วมทำสัญญา ดังนั้นจะพบว่าทั้งสามกรณีนำไปสู่ข้อยกเว้นทางกฎหมายในลักษณะต่างๆ กันเช่น เป็นโมฆะ หรือโมฆียะ ทางกฎหมายโดยส่วนใหญ่

กฎหมายจึงมักต้อง “ตั้งต้น” ที่สภาพซึ่งไม่มีใครเสียประโยชน์จากตัวสัญญาเสมอ ทว่าเนื่องจากสัญญามีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลายาวนาน สภาพซึ่งทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์จากสัญญาย่อมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาได้จากหลายปัจจัย:

(1) เกิดการเปลี่ยนแปลงรสนิยม (preference change) ยกตัวอย่างเช่น ก่อนแต่งงานอาจจะชอบคู่ของเราในลักษณะหนึ่ง เมื่อแต่งงานไปแล้วอาจจะเปลี่ยนใจอยากได้คู่ชีวิตอีกแบบหนึ่ง ก็นำมาสู่ความเสียประโยชน์จากการก่อสัญญาผูกมัดขึ้นมา เป็นต้น (2) ความไม่แน่นอนของผลตอบแทน ยกตัวอย่าง การซื้อขายทองล่วงหน้า ผู้ที่ซื้อคาดหวังว่าราคาในอนาคตจะสูงขึ้นซึ่งจะทำให้การซื้อล่วงหน้าได้รับกำไร แต่ปรากฏว่าในอนาคตราคาทองอาจจะตกลงทำให้ความจริงแล้วสัญญาที่เกิดขึ้นส่งผลร้ายต่อคู่สัญญา (ผู้ซื้อ) เป็นต้น และ (3) วิกฤติที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า เช่น สัญญาส่งมอบสินค้าระบุว่าจะส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ แต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ทำให้ส่งมอบสินค้าไม่ได้ เป็นต้น

การที่สัญญาดำเนินไปแล้วพบว่า ผู้ที่เคยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสัญญาเกิดเสียประโยชน์ขึ้นมา คู่สัญญาดังกล่าวมักละเมิดสัญญา/ ไม่ปฏิบัติตามสัญญา, ปัญหาคือเมื่อมีการละเมิดสัญญาเกิดขึ้น คู่สัญญาจะปฏิบัติต่อกันอย่างไร?

หากการเจรจาเพื่อบังคับใช้สัญญาดำเนินไปได้ระหว่างคู่สัญญาโดยศานตินั่นก็ถือเป็นเรื่องดี ทว่าในทางปฏิบัติแล้ว การจะกระทำเช่นนั้น เกิดขึ้นได้ยาก การบังคับให้เป็นไปตามสัญญาโดยคู่สัญญาดำเนินการกันเอง มีความเสี่ยงที่จะนำมาสู่ความรุนแรง หรือการตีความสัญญาในลักษณะที่ให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งทำให้เกิดข้อพิพาทไม่สามารถหาข้อยุติได้โดยง่าย (market failure) ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในการสร้างความยุติธรรมทางสัญญา/ การบังคับให้เป็นไปตามสัญญาให้เกิดขึ้น ผ่านระบบยุติธรรมในฐานะผู้ชำนาญการเพื่อตัดสินให้สัญญามีสภาพบังคับและเป็นธรรมต่อคู่สัญญา (state intervention)

นั่นเท่ากับว่า หากสัญญาถูกละเมิด คู่สัญญาที่เสียประโยชน์จะมีทางเลือกอยู่ 4 ทางด้วยกันคือ (1) เลิกสัญญากันทั้งสองฝ่าย กรณีนี้เกิดจากทั้งสองฝ่ายล้วนรู้สึกว่าสัญญามีผลต่อตนเองในทางลบด้วยกันทั้งคู่ (pareto inferior) เช่น แต่งงานกันมาซักระยะพบว่าต่างก็ไม่รักกันแล้วก็ขอหย่า เป็นต้น (2) นำไปสู่การชดเชยระหว่างกันเองโดยศานติ หรือเขียนหลักชดเชยไว้ในสัญญาตั้งแต่ต้น (3) นำเรื่องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อศาล (voices) และ (4) นิ่งเฉยและยอมถูกละเมิดสัญญา (exit)

เนื่องจากกรณีทั้งสองฝ่ายจบลงด้วยดี (happy ending) อย่างการเลิกสัญญาด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย และการตกลงชดเชยกันได้นั้นค่อนข้างชัดเจน บทความนี้จะวิเคราะห์เพิ่มเติมในส่วนของกรณีที่คู่สัญญาเลือกที่จะฟ้องร้องต่อศาล และกรณีที่ยอมถอยโดยไม่ได้รับอะไรเลย ว่าเกิดมาจากสาเหตุใดบ้าง

การที่คนจะเลือกฟ้องร้องหรือยอมรับความไม่ยุติธรรมจากการถูกละเมิดสัญญานั้นก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนของกระบวนการทางกฎหมาย (cost of legal process) ว่าสูงเพียงใดโดยเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟ้องร้องทางกฎหมาย เช่น หากการถูกละเมิดสัญญามีผลทำให้ผู้ถูกกละเมิด เสียประโยชน์มูลค่าน้อย การที่จะต้องจ่ายค่าทนาย ค่าเสียเวลาในการเข้าสู่คดี ค่าความเสี่ยงจากการถูกคุกคามจากการเป็นคดี ฯลฯ ในมูลค่าสูงแล้ว ก็อาจจะไม่คุ้มหากเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง ดังนั้นการนิ่งเฉยอาจเป็นประโยชน์สุทธิมากกว่า (exit)

หรือแม้กระทั่ง ผู้ที่เสียประโยชน์มีมูลค่าของความสูญเสียสูงมาก [3] แต่ว่าไม่มีเงินที่จะไปต่อสู้คดีความเนื่องจากเป็นครอบครัวยากจน (limited budget constraint) การที่ระบบกฎหมาย หรือระบบยุติธรรมมีต้นทุนในการเข้าถึงที่สูงก็ทำให้คนยากจนไม่สามารถเข้าถึงระบบยุติธรรมได้เช่นเดียวกัน นัยนี้ ต้นทุนในกระบวนการทางกฎหมายจึงเป็นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่แยกไม่ได้จากความยุติธรรมทางกฎหมาย หรือความเป็นธรรมทางสังคม

เป้าหมายในการออกแบบกระบวนการทางกฎหมาย (หมายถึงเส้นทางจากการฟ้องร้องทางคดี กระทั่งจบมาเป็นคำตัดสินของศาล) สำหรับนักเศรษฐศาสตร์แล้วจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาจุดต้นทุนทางสังคมต่ำที่สุด (social cost minimization) กล่าวให้ง่ายเข้า กระบวนการทางกฎหมายควรมีต้นทุนที่ต่ำเพื่อให้คนเล็กคนน้อยสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ ทัดเทียมกับคนร่ำรวย

ต้นทุนทางสังคมของกระบวนการทางกฎหมายมีสูตรง่ายๆ ดังนี้คือ SC = Ca + C(e) โดย SC หมายถึงต้นทุนทางสังคมรวม, Ca หมายถึงต้นทุนที่เกิดจากการเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งนับรวมค่าทนาย ค่าเสียเวลา ค่าความเสี่ยงจากการถูกคุกคาม เป็นต้น และ C(e) หมายถึงต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินคดีผิดพลาด เช่น ควรได้รับการชดเชยแต่ไม่ได้รับ หรือควรได้รับการชดเชย 5,000 บาทแต่สั่งชดเชยเพียง 4,500 บาท (ต้นทุนคือ 500 บาทในกรณีตามตัวอย่าง) เป็นต้น

นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าการลดต้นทุนทางสังคมของระบบยุติธรรม (cost reduction on legal process) จะช่วยให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ส่วน เช่น เพิ่มความผาสุกโดยรวมของคนในสังคม, ทำให้สัญญามีสภาพบังคับมากยิ่งขึ้น และลดการเกิดกลุ่มมาเฟีย (ซึ่งหากินจากการช่วยบังคับใช้สัญญาด้วยอำนาจนอกกฎหมาย เช่น การรับจ้างทวงหนี้ด้วยกำลัง เป็นต้น) แต่หนทางที่จะช่วยลดต้นทุนของระบบยุติธรรมนั้นจะทำได้อย่างไรบ้าง?

ข้อเสนอว่าด้วยการลดต้นทุนของระบบยุติธรรมนั่นมีอยู่ด้วยกันหลายระดับ ในที่นี้จะหยิบยกมากล่าวถึงเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อเปิดความสนใจให้ผู้อ่านได้ศึกษาต่ออย่างลึกซึ้งในภายหลัง ส่วนแรกคือเรื่องของการลดต้นทุนจากการจ้างทนายลง เพราะต้นทุนจากการจ้างทนายเป็นต้นทุนหลักของ Ca ก็ว่าได้

การจะสร้างข้อเสนอในการลดต้นทุนการจ้างทนายนั้นต้องเข้าใจก่อนว่า “ตลาดทนาย” มีลักษณะอย่างไร, ตลาดทนายนั้นเป็นตลาดที่เรียกว่าตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (monopolistic competition market) ทนายแต่ละคนได้รับการผูกขาดโดยตราสินค้า เช่น สำนักทนายความ A สำนักทนายความ B มีคุณสมบัติหรือความชำนาญหรือชื่อเสียงที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ประกอบการทนายก็ถูกจำกัดโดยการสอบ license ทำให้ปริมาณทนายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีนั้นถูกควบคุมเอาไว้อย่างใกล้ชิด ราคาของการจ้างทนายในตลาดแบบนี้จึงสูงเพราะจำนวนทนายมีไม่พอแก่ความต้องการของคนในสังคม

หากต้องการจะลดราคาของทนายลงให้ผู้ที่เข้าถึงระบบกฎหมาย มีต้นทุนที่ถูกขึ้นจะทำได้ก็โดยการ (1) เพิ่มอุปทานทนาย (supply push) การมีทนายเข้าสู่ตลาดมากขึ้นก็จะทำให้เกิดการแข่งขันและทำให้ราคาตลาดของการว่าความมีโอกาสลดลงได้ การเพิ่มอุปทานทนายนั้นไม่ควรทำโดยการลดหลักเกณฑ์หรือความเข้มงวดของการออก license ทนายเนื่องจากคุณภาพของทนายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ควรเพิ่มโดยการสร้างนักศึกษากฎหมายจำนวนมากขึ้นอย่างมีคุณภาพเพื่อเข้ามาเป็นทนายในอนาคต (2) การสร้างนักศึกษากฎหมายที่มีคุณภาพนอกจากจะเข้าสู่อาชีพทนายแล้ว บางส่วนอาจเป็นศาล ซึ่งจะขยายความสามารถในการรองรับคดีของระบบ (capacity building) ทำให้ต้นทุนเวลา (timing cost) ในการรอพิจารณาคดีลดลง (3) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการอุดหนุนเพื่อให้บริการทนายความอย่างมีคุณภาพแก่คนยากจน

ทั้งสามประการคือช่องทางที่ “อาจจะ” ช่วยให้ต้นทุนในการเข้าถึงกฎหมายของคนจนลดลง และได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น ทีนี้ส่วนที่จะต้องแยกต่างหากมาวิเคราะห์ก็คือต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวพันถึงการตัดสินคดีที่ผิดพลาด การตัดสินคดีที่ผิดพลาดดังที่ได้เรียนไปแล้วว่าอาจไม่ได้เกิดขึ้นในลักษณะที่ตัดสินจากผิดเป็นถูก (หรือกลับกัน) เท่านั้น แต่อาจเกิดในรูปของการประเมินมูลค่าชดเชยไม่ตรงตามที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะการประเมินความชดเชยแทบจะทุกประเภทไม่มีมูลค่าตลาด (market price) ราคาของการชดเชยโดยส่วนใหญ่เป็นราคาที่กำหนดโดยแบบจำลอง (mark to model) ทั้งนั้น

ยกตัวอย่างเช่น หากนาย A เป็นนักคณิตศาสตร์ถนัดขวาถูกตัดแขนซ้ายขาด กับนาย B เป็นช่างไม้ถูกตัดแขนซ้ายขาด สองคนนี้ควรได้รับการชดเชยเท่าๆ กันหรือไม่? หรือเมื่อพูดถึงคดีโลกร้อน ซึ่งต้องคำนวณถึงการชดเชยที่เป็นธรรมสำหรับการตัดไม้และก่อให้เกิดผลกระทบแง่ลบต่อสังคม (negative externality) เราจะคำนวณได้อย่างไรว่าผลกระทบจากการตัดไม้ดังกล่าวมีมูลค่าเท่าไหร่?

ความยากของการประเมินมูลค่าเหล่านี้ทำให้มีโอกาสเสมอที่ศาลจะก่อให้เกิดต้นทุน C(e) จากการตัดสินชดเชยที่ผิดพลาด ต้นทุนส่วนนี้จะลดน้อยถอยลงได้ก็ต่อเมื่อศาลมีระบบสนับสนุนที่เข้มแข็ง คือมีที่ปรึกษาในเรื่องการประเมินมูลค่าชดเชยอย่างเฉพาะเจาะจงในสาขาคดีที่ตนเองต้องเข้าไปตัดสิน หรือไม่เช่นนั้นศาลก็จะต้องมีความชำนาญในสาขาดังกล่าวเสียเอง (เช่น กรณีบางประเทศระบุให้กฎหมายเป็นปริญญาใบที่สอง) หากศาลมีความชำนาญในประเด็นเฉพาะแล้ว โอกาสที่จะตัดสินชดเชยผิดพลาดอย่างมากก็น้อยลง (variance minimization)

ทั้งหมดนี้ก็จะเห็นว่า... หากต้นทุนทางสังคมจากการเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายลดต่ำลงได้มากเท่าไหร่ เสียงของคนเล็กคนน้อยในสังคมก็ดังมากขึ้นเท่านั้น, ปัญหาสำคัญคือ หากคนเล็กคนน้อยไม่อาจส่งเสียงเรียกร้องให้มีการลดต้นทุนในการเข้าถึงกฎหมายตั้งแต่ต้น แล้วใครจะช่วยลดต้นทุนในการเข้าถึงกระบวนการทางกฎหมายเหล่านี้? ถ้านักวิชาการที่เกี่ยวข้องยังดูดายแล้วใครจะช่วยพี่น้องเรา?


/////////////////////////

 

[1] ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณ อ.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้ที่สอนผู้เขียนให้รู้จักกับเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยกฎหมาย และจุดประกายให้ผู้เขียนมีความสนใจจะศึกษาในสาขานี้เพิ่มเติมมากระทั่งปัจจุบัน หากบทความนี้มีความผิดพลาดอะไรผู้เขียนขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
[2]
นอกจากกฎหมายยังมี “สถาบันทางสังคม” อื่นๆ อีกที่มากกำหนดความสัมพันธ์ในทางสัญญา เช่น วัฒนธรรมความรับผิดต่อสัญญา เป็นต้น แต่อยู่นอกเหนือจากหัวข้อ economics of law จึงไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้
[3]
คำว่าสูญเสียสูงมาก เป็นความหมายว่า สูงมากในมุมมองของผู้สูญเสีย ไม่ใช่ในลักษณะมูลค่าทั่วไป เช่น การบอกว่าถูกโกงสัญญาเสียเงินไป 50,000 บาทสำหรับชนชั้นกลางบนอาจไม่คุ้มเป็นคดีความ เพราะมูลค่าน้อยเกินไป แต่สำหรับชนชั้นล่างทางเศรษฐกิจ เงินจำนวนเท่านี้กระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือนอย่างมาก

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พัก “คิดเล่น เห็นต่าง” 1 เดือน คำ ผกา รับไม่ก้าวล่วง "พุทธศาสนา"

$
0
0

“คำ ผกา” แสดงความรับผิดชอบ ยุติจัดรายการ “คิดเล่น เห็นต่าง” นาน 1 เดือน ระบุน้อมรับในการกล่าววาจาพาดพิงพุทธศาสนา-มหาเถรสมาคม ยืนยันจะไม่ก้าวล่วงในเรื่องนี้

(9 เม.ย.55) เว็บไซต์วอยซ์ทีวีรายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (8 เม.ย.) ลักขณา ปันวิชัย หรือ “คำ ผกา” หรือ ผู้ดำเนินรายการ “คิดเล่น เห็นต่าง” ทางวอยซ์ทีวี ประกาศก่อนเข้ารายการว่า จะต้องหยุดออกอากาศรายการเป็นเวลา 1 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 เมษายน นี้ และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2555

โดย "คำ ผกา" ระบุเหตุผลว่า สาเหตุที่ต้องหยุดออกอากาศชั่วคราวเนื่องจากต้องการแสดงความรับผิดชอบ และขอขมาต่อพระรัตนตรัยรวมทั้งขอกราบขอโทษต่อมหาเถรสมาคม และองค์กรพุทธทั่วประเทศ ที่รายการได้กล่าวล่วงเกินซึ่งออกอากาศในวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม ในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องการสวดมนต์ข้ามปี และนับตั้งแต่นี้ต่อไป รายการของเราจะไม่กล่าววาจาใดๆ ที่กล่าวล่วงเกินต่อพระพุทธศาสนาอีกต่อไป พร้อมกราบขออภัยมาด้วยความเคารพมา ณ โอกาสนี้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม" เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับอ่อน

$
0
0

(9 เม.ย.55) นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม กรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์เสียชีวิตด้วยโรค มะเร็งตับอ่อน ด้วยวัย 71 ปี เมื่อเวลา 13.43 น. ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์

สำหรับนายไพบูลย์เคยทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายไพบูลย์รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลชั่วคราวของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ต่อมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม  2550

หลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในปี 2553 นายไพบูลย์เข้ามาทำหน้าที่เป็น 1 ใน 27 กรรมการในคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ

 

////////////////
เรียบเรียงจาก เว็บไซต์กรุงทพธุรกิจ, วิกิพีเดีย(เรียกดูเมื่อ 15.20น. 9 เม.ย.55)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images