Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 57985 articles
Browse latest View live

"เทพไท" เผย "กรณ์" เตรียมนำทีม ปชป. วางดอกไม้ไว้อาลัยผู้เสียชีวิต 10 เมษา

0
0

เชื่อเหตุการณ์ 10 เมษา 53 ประชาชน-ทหารเสียสูญเสียเพราะการกระทำของกองกำลังไม่ทราบฝ่าย-ชายชุดดำที่แฝงตัวกับผู้ชุมนุม ที่ผ่านมามีบางฝ่ายหยิบเหตุการณ์นี้ไปใช้เป็นเครื่องมือ โดยมิได้คำนึงถึงผู้สูญเสีย ทางพรรคจึงเตรียมนำดอกไม้ไปไว้อาลัยที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

 

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานวันนี้ (9 เม.ย.) ว่าที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการปรองดองที่รัฐบาลในฐานะผู้นำการปรองดอง มีท่าทีละเลยข้อเสนอที่จะนำไปสู่ความปรองดอง โดยเฉพาะท่าทีของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายคนไม่ได้นำพาข้อเสนอไปปฏิบัติ แต่พยายามหยิบฉวยข้อเสนอบางประเด็นไปบังหน้าเพื่อเสนอแนวทางปรองดอง โดยเลือกข้อเสนอบางข้อแต่ไม่ใช้ข้อเสนอบางข้อของสถาบันพระปกเกล้า โดยเฉพาะการขอให้ชะลอการสรุปผลการพิจารณาแนวทางปรองดอง และแนวคิดสานเสวนาเพื่อให้เกิดความปรองดอง โดยรัฐบาลมองว่าเป็นเรื่องเสียเวลาที่จะรับฟังการแสดงความคิดเห็น

นอกจากนี้ยังมีสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนยังออกมาถล่มเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ที่เสนอให้ขยายเวลาศึกษา เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหามาโดยตลอด แม้กระทั้งข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่รัฐบาลหยิบมาใช้เฉพาะการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ตนจึงอยากถามถึงข้อเสนอของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่เสนอให้นิรโทษกรรมทุกคน ยกเว้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แบบ 2 ต่อ 1 ที่ควรให้สถาบันตุลาการทำการตรวจสอบให้ชัดเจน สมาชิกพรรคเพื่อไทยกลับออกมาปฏิเสธข้อเสนอและบอกว่าการนิรโทษกรรมต้องทำทุกคนเท่ากัน เช่นนี้เท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรื่องนิรโทษกรรมต้องการทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณคนเดียว

เมื่อถามถึงกรณีที่นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่าการนิรโทษกรรมที่จะเกิดขึ้นน่าจะเป็นการนำคดีความที่พิจารณาโดยคณะกรรมตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหากแก่รัฐ (คตส.) มาพิจารณาให้ทั้งหมด ไม่ใช่การออกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม นายเทพไท กล่าวว่า ต้องไปดูเนื้อหา พ.ร.บ.ปรองดองของพรคเพื่อไทยว่า สอดคล้องกับที่นายวัฒนาออกมาพูดหรือไม่ ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีหลายคนไม่เคยมาร่วมฟังการรายงานผลการศึกษาความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าเลย นายวัฒนาควรไปทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคและนายกรัฐมนตรีก่อน ทั้งนี้ข้อเสนอของนายวัฒนาถือเป็นวิธีการที่จะนิรโทษกรรมอยู่แล้วเพียงแต่ทำให้ดูคลาสสิกกว่าการนิรโทษกรรมอย่างตรงไปตรงมา

นายเทพไท กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งสอดคล้องกับกระแสข่าวว่ามีตัวแทนของภาครัฐไปพูดคุยกับผู้ก่อความไม่สงบ กรณีดังกล่าวถือเป็นการสร้างเงื่อนไขและเติมเชื้อไฟความไม่สงบ การเสนอแนวคิดเจรจากับกลุ่มก่อการร้ายเป็นวิธีการที่ไม่เป็นที่ยอมรับและไม่ชอบธรรม แต่จะเป็นการยกระดับองค์กรก่อการร้ายในพื้นที่ภาคใต้ จึงขอให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไตร่ตรองและปรึกษากับฝ่ายความมั่นคงให้รอบคอบก่อน เพราะความผิดพลาดที่ผ่านมาล้วนเกิดขึ้นจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ลุแก่อำนาจทำให้เกิดปัญหาลุกลามจนถึงขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณควรกลับไปถามผู้นำเหล่าทัพโดยเฉพาะ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกว่าเห็นด้วยหรือไม่ ตนไม่อยากให้ปัญหาภาคใต้รุนแรงจนแก้ไขไม่ได้

ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวถึงกรณีที่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา นัดประชุมร่วมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในวาระ 2 ตนขอตั้งข้อสังเกตว่า มีความจำเป็นเพียงใดที่ต้องเร่งพิจารณา เพราะช่วงเวลานี้ยังอยู่ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ซึ่งความจริงแล้วการพิจารณาน่าจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 11-12 เม.ย. เพราะสมาชิกหลายคนเพิ่งได้รับเอกสารสงวนคำแปรญัตติ แต่รัฐสภากลับเร่งรัดที่จะพิจารณาในวันที่ 10 เม.ย.

ทั้งนี้ ตนเห็นว่าน่าจะมาจากเหตุผล 2 ข้อคือ 1. ประธานรัฐสภาได้ประเมินการอภิปรายว่าจะใช้เวลาพิจารณานานพอสมควร จึงต้องเผื่อเวลาและวันสำรองไว้ให้กระบวนการพิจารณาสำเร็จเพื่อจะได้เว้นไป 15 วัน และหลังจากนั้นก็จะได้ลงมติวาระ 3 ภายในสิ้นเดือนเมษายน ทั้งนี้ หากการพิจารณาเป็นไปตามที่ต้องการให้เสร็จสิ้นในวันที่ 12 เม.ย.อาจทำให้สมาชิกพรรคเพื่อไทยที่ต้องการเดินทางไปประเทศลาวและประเทศกัมพูชาเพื่อรดน้ำดำหัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

นายเทพไทกล่าวต่อว่า ตนขอเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาเปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเต็มที่ หากฝ่ายรัฐบาลอยากเร่งเวลาก็ให้ไปลดเวลาการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาล ขอย้ำว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสำคัญไม่ควรเร่งรัดเพื่อเอาใจนายใหญ่ หากพิจารณาในวาระ 2 ไม่เสร็จตามกำหนดก็ให้พิจารณาหลังเทศกาลสงกรานต์ หากพิจารณาวาระสามไม่ทันก็ให้ไปลงมติกันในสมัยประชุมวิสามัญทั่วไป 

นายเทพไท กล่าวด้วยว่าวันพรุ่งนี้ (10 เม.ย.) พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค พร้อมด้วย ส.ส.กรุงเทพฯ จะเดินทางไปไว้อาลัยผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์การปะทะกันเมื่อ 2 ปีก่อน ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง กรณีวันที่ 10 เม.ย.จะเป็นวันครบรอบเหตุการณ์ชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว ซึ่งการชุมนุมในครั้งนั้นนำมาซึ่งความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนที่บริสุทธิ์ จากการกระทำของกลุ่มคนเสื้อสีดำที่แฝงตัวอยู่กับผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง และที่ผ่านมาเหตุการณ์นี้ถูกหยิบยกไปใช้เป็นเครื่องมือโดยมิได้คำนึงถึงผู้สูญเสียชีวิต

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารพม่า–กองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' รบกันไม่หยุด ชาวบ้านนับร้อยหนีตาย

0
0

ทหารพม่าและกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ยังสู้รบกันต่อเนื่องในพื้นที่รัฐฉานภาคเหนือ ทั้งสองฝ่ายเพิ่งลงนามหยุดยิงกันครั้งใหม่เมื่อปลายเดือนมกราคม ผลจากการสู้รบสองฝ่ายทำชาวบ้านนับร้อยต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่

แหล่งข่าวในพื้นที่รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. มาจนถึงเมื่อวานนี้ (8 เม.ย.) เกิดเหตุสู้รบกันระหว่างทหารกองทัพพม่าและกองทัพรัฐฉาน SSA / SSPP หรือ กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" อย่างน้อย 3 ครั้งในพื้นที่เมืองแสนหวี การสู้รบเกิดจากทหารพม่าลาดตระเวนกดดันกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" โดยเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 6 เม.ย.สองฝ่ายสู้รบกันอย่างหนักที่บริเวณบ้านโหเหม็น – กองลาง ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 7 นาย บาดเจ็บ 7 นาย ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. วันเดียวกัน สองฝ่ายได้ปะทะกันอีกครั้งในพื้นที่เดียวกัน ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 1 นาย และบาดเจ็บอีก 4 นาย ส่วนฝ่ายกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ไม่มีรายงานการสูญเสีย

เมื่อเวลา 21.00 – 22.00 น. ของวานนี้ (8 เม.ย.) ได้เกิดการสู้รบกันอย่างหนักอีกครั้ง ระหว่างทหารพม่าและทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ทหารพม่าเป็นฝ่ายรุกเข้าโจมตีก่อน กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" เป็นฝ่ายตั้งรับได้รับบาดเจ็บ 1 นาย ส่วนฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 10 นาย บาดเจ็บ 2 นาย

จายวินข่าย ส.ส.เมืองแสนหวี พรรคเสือเผือก SNDP "ไทใหญ่" เปิดเผยว่า การสู้รบระหว่างทหารพม่าและกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งซ่อม (1 เม.ย.) การสู้รบทำให้ชาวบ้านในตำบลเมืองยาง กว่า 300 คน ได้รับผลกระทบต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่ โดยเหตุการณ์สู้รบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ตนจะนำไปรายงานเรียกร้องต่อที่ประชุมสภาในโอกาสต่อไป

ทั้งนี้ กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA / SSPP ภายใต้การนำของพล.ต.ป่างฟ้า มีพื้นที่เคลื่อนไหวในภาคเหนือของรัฐฉาน ได้ลงนามหยุดยิงสร้างสันติภาพกับรัฐบาลพม่ารอบใหม่เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา แต่นับจากนั้นมาทั้งสองฝ่ายยังคงมีการสู้รบกันอย่างต่อเนื่อง

ชาวเมืองแสนหวีคนหนึ่งเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 – 26 มีนาคม ที่ผ่านมา ทหารพม่าและทหารกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ได้ปะทะกันในพื้นที่เมืองแสนหวี เหตุเนื่องจากทหารไทใหญ่ "เหนือ" เข้าไปเคลื่อนไหวในพื้นที่และถูกทหารพม่าสกัดกั้น นับจากนั้นมาทั้งสองฝ่ายมีการสู้รบกันต่อเนื่อง และทำให้ชาวบ้านกว่า 300 คน จาก 30 ครอบครัวในตำบลเมืองยาง อยู่ห่างจากตัวเมืองแสนหวีไปทางตะวันตกราว 6 กม. ต้องอพยพไปอยู่ใกล้ตัวเมือง

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/
 

"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ความเห็น "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" หลัง "คิดเล่นเห็นต่าง" ประกาศพัก 1 เดือน

0
0

หมายเหตุ: วันนี้ (9 เม.ย.) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์สถานะลงในเฟซบุคตั้งค่าการเข้าถึงสาธารณะ หลังจากที่ลักขณา ปันวิชัย หรือ "คำ ผกา" ประกาศก่อนเข้ารายการ “คิดเล่น เห็นต่าง” ทางวอยซ์ทีวี ซึ่งคำ ผกา เป็นผู้ดำเนินรายการว่าจะหยุดออกอากาศรายการเป็นเวลา 1 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 14 เมษายน นี้ และจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งในวันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2555 โดยให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ต้องหยุดออกอากาศชั่วคราวเนื่องจากต้องการแสดงความรับผิดชอบ และขอขมาต่อพระรัตนตรัยรวมทั้งขอกราบขอโทษต่อมหาเถรสมาคม และองค์กรพุทธทั่วประเทศ ที่รายการได้กล่าวล่วงเกินซึ่งออกอากาศในวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม ในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องการสวดมนต์ข้ามปี (ข่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยความเห็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มีรายละเอียดดังนี้

000

นี่ผม "ช็อค" มากเลยนะ

ผมไม่ทราบว่า คุณแขก Kiku Nohana มีเหตุผลอะไรเรื่อง "ขอขมา" และ "พักรายการ 1 เดือน" นะครับ และขอย้ำว่า ทีเขียนต่อไปนี้ ไม่ได้เป็นการพูดถึงหรือวิจารณ์คุณแขก โดยตรง

แต่ทีคุณแขก พูดไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม มันเป็น "สาธารณะ" ไปแล้ว (เหมือนงานเขียน หรือการพูดในทีสาธารณะของใครก็ตาม) และก็มีปฏิกิริยา จากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกรณี พระมหาโชว์ ("นมเหียว" "หัวนมดำ") เป็นประเด็นสาธารณะไปแล้วเช่นกัน

บอกตรงๆว่า รู้สึกไม่ดีมากๆเลย กับการที่เรื่องมาลงเอยแบบนี้

คุณแขก พูดไปตอนแรก เมื่อวันที่ 10 มีนา จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ยังไงก็ตาม ก็ควรถือเป็นเรืองถกเถียง

ต่อให้ คนที่ไม่เห็นด้วย ก็เถียงกัน ดีเบตกัน แม้แต่ "ดีเบต" แย่ๆ แบบพระมหาโชว์ ตอนแรก ก็ยังดี

ที่ไม่ดี คือ เริ่มไป "ดึง" อำนาจรัฐ เข้ามาเกียวข้อง ด้วยการยื่นหนังสือต่อ กมธ.สภา นันแหละ

และทีตอนนี้ ผมเห็นว่า ไม่ดีมากๆ ก็คือการลงเอยแบบนี้แหละ

.............

ผมไม่ได้ตั้งใจจะโยงอะไร แต่ถ้าใครติดตามที่วันก่อนผมไป "ดีเบต" กับ คุณ ศาสดา ประเด็นมันอันเดียวกันนันแหละ

ประเทศนี้ "พื้นที่อ่อนไหว" (sensitive areas) หรือ "พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์" (sacred areas) มันมากเกินไป

และสังคมไทยควรต้องเรียนรู้ที่จะ

(ก) ลดทอน "ความศักดิ์สิทธิ์" ทังหลายลง ให้กลายเป็นเรื่องความเห็น ความรู้สึกส่วนตัว ในแง่ "คำสอน" อะไรเฉยๆ ไมใช่อะไรที่มัน "ศักดิ์สิทธิ์" (ไหนๆ พุทธ เองก็ชอบอ้างไมใช่หรือ เรื่อง เป็นวิทยาศาสตร์ ไมใช่เรืองศักดิ์สิทธิ์)

และ (ข) ต่อให้ บางคนจะยังรู้สึกว่า มีบางอย่าง "ศักดิ์สิทธิ์" ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนอื่นที่ เห็นว่า สิ่งนัน ไม่เพียงไม่ศักดิ์สิทธิ์ ยัง "ดาษๆ" (profane) หรือ ตรงข้ามกับความ "ศักดิ์สิทธิ์" นั้น ด้วย

ความจริง ผมนึกจะเขียนเรือ่งนี้ อยู่พอดี เมื่อเช้า ทีเห็น "ปางแม็คโดนัลด์" น่ะ นึกไม่ถึงว่า จะมาเจอกรณีนี้ให้เขียน โดยโยงกับประเด็นนี้

000

ก่อนอื่น ขอให้ผมย้ำว่า ผมถือว่า ที่ "ดีเบต" กับคุณ ศาสดา มัน "จบ" แล้ว (ไม่ได้แปลว่า ไม่ยินดีจะดีเบตอีกในประเด็นเดียวกันนะ) และผมไม่เคยมองว่า มันเป็นเรือ่ง "แพ้-ชนะ" อะไร และจริงๆ ก็ไม่แฮปปี้เท่าไร ทีหลายคน ล้อเล่น เป็นเรือ่งทำนองนั้น (แต่ก็เข้าใจว่า เป็นความเคยชินทีจะเฮฮาแบบนัน)

ทีผมยกเรือ่งนี้ขึ้นมาอีกก็เพราะจะย้ำว่า

ทำไม วันก่อน ผมจึง "เอาเป็นเอาตาย" "เอาจริงเอาจัง" กับประเด็นนั้นมาก

เพราะผมมองในเรื่อง "นัยยะ" ทีมันกว้างออกไป ถึงปัญหา ซึงผมเห็นว่าสำคัญมากๆ และเป็นเรื่องร่วมสมัยมากๆ คือ

เราควร "จัดการ" อย่างไร กับปัญหาเรื่อง "ความศักดิ์สิทธิ์" ในสังคมสมัยใหม่ ไมว่าจะเป็นเรื่องทีเกียวกับ ศาสนา หรือ เกี่ยวกับ กษัตริย์

ผมมองว่า กรณีล่าสุดเรือ่งรายการของคุณแขก Kiku Nohana ก็เป็นเรื่องนี้

คือ เริ่มจาก มีบางคน (คุณแขก) แสดงความเห็นบางอย่างหรือแสดงออกบางอย่างออกไป

แล้วมีคนอีกส่วนหนึง (ต่อให้เป็น "ส่วนใหญ่" หรือ จำนวนมากกว่า ผมไม่คิดว่าเป็นประเด็น) ที ไม่พอใจ หาว่าเป็นการ "ละเมิดความศักดิ์สิทธิ์" บางอย่าง

ผมยืนยัน เหมือนกับทียืนยันในการ "ดีเบต" กับคุณศาสดา ว่า

ในสังคมสมัยใหม่ เราต้องเริ่มต้นจากหลักการทีว่า

แต่ละคนมีสิทธิทีจะคิด และแสดงความเห็นอย่างเสรี ไม่รุนแรง

และ ความเห็นแต่ละคน หรือบางคน อาจจะไปในทางตรงกันข้ามแบบสุดๆ เลย กับสิ่งทีคนอื่น หรือคนจำนวนมากเชื่อกันอยู่

ทางออกคือ ต้องส่งเสริมวัฒนธรรมทีรู้จัก "อดทน อดกลั้น" หรือทีเรียกว่า "ขันติธรรม" (tolerance) ต่อความเห็นทีไม่เหมือนกับเรา

และจะอ้าง เรื่อง "จำนวน" เรื่อง "เสียงส่วนใหญ่" อะไร มากดทับ มาบังคับ ไมให้ คนทีเป็น "ส่วนน้อย" กระทัง เป็นเพียงคนๆเดียวในสังคม ไม่ได้

เราต้องเริ่มต้น จากการยอมรับว่า ในสังคมสมัยใหม่ มีความหลากหลายทางความคิด มากๆ 

สิ่งเดียวกัน ทีบางคน (แม้แต่ "คนส่วนใหญ่") เห็นว่า "ศักดิ์สิทธิ์" "แตะต้องไม่ได้" ก็มีบางคน (แม้แต่ แค่ คนเดียว) ทีจะเห็นตรงข้ามเลยก็ได้ คือ ไม่เพียง "ไม่ศักดิ์สิทธิ์" อาจจะเห็นว่า "ล้อเลียนได้" "ประณามได้" ด้วย

000

วันก่อนระหว่าง "ดีเบต" กับคุณ ศาสดา ผม "แตะ" หรือยกตัวอย่างสั้นๆ ถึงกรณี การ์ตูนที่ฝรังเดนมาร์ก คนหนึง เขียนล้อเลียนพระศาสดาของอิสลาม อันทีจริง มีอีกตัวอย่างทำนองเดียวกัน คือเรื่อง "ซัลมาน รุสดิ" ในนิยายเรื่อง The Satanic Verses

(หรือ ทีผมยกซ้ำแล้วซ้ำอีก ในเรื่องเกียวกับ สถาบันกษัตริย์ไทย เรื่อง "พ่อ" อะไรนี่แหละ)

ผมขอย้ำว่า ผมเองไม่เห็นด้วยกับการ์ตูน นสพ. เดนมาร์ก ที่วา และต้องการจะบอกว่า ฝรั่งจำนวนมาก รวมทั้งชาวเดนมาร์ก เอง ก็ไม่เห็นด้วย กรณี รุสดิ ก็เช่นกัน คนอังกฤษ หรือคนฝรังเอง จำนวนไม่น้อย ก็ไม่ชอบที รุสดิ เขียน

แต่ปัญหาคือ สังคมที่ "mature" หรือ มี "วุฒิภาวะ" ทางด้านวัฒนธรรม อย่างในกรณีเดนมาร์ก หรือ อังกฤษ เขาจุัดการเรือ่งนี้ คนละแบบกับสังคม ที่ไม่ยอมบรรลุ วุฒิภาวะ อย่างประเทศไทย หรือประเทศแถบนี้หลายประเทศ

นันคือ เขาถือว่า นี่เป็น "ความเห็น" ของเอกชน คนหนึง ที่มีสิทธิจะแสดงออกได้ และได้รับการคุ้มครอง การแสดงออกนั้น ตามหลักประชาธิปไตยของเขา

หลายคนชี้ให้เห็นด้วยว่างาน "ศิลปะ" หรือ "ศิลปิน" หรือ นักคิดนักเขียน ปัญญาชน นั้น มีลักษณะอย่างหนึงทีเลี่ยงไม่ได้เสมอ คือ offend ("ก่อให้เกิดความระคายเคืองใจ") ต่อคนอื่นๆ อยู่เป็นปรกติอยู่แล้ว เพราะนี่เป็น ธรรมชาติ ของงานศิลปะ หรือ ธรรมชาติ ของการแสดงออกของการคิด การตั้งคำถาม ซึงเป็นการสะท้อน ความอุดมสมบุรณ์ของวัฒนธรรมในสังคมทีเสรี

ถ้าการแสดงออกของ "เอกชน" คนใด อย่างกรณีนักวาดการ์ตูน หรือ กรณีรุสดิ ไป offend ความรู้สึกใครเข้า คนที่รู้สึกถูก offended ก็สามารถตอบโต้ ประณาม ได้

แต่ที่ไม่ควรทำมากๆคือ การไปสร้างการ "กดดัน" ให้เอกชนนั้น ต้อง ยุติ หรือต้อง "ถอน" หรือบังคับห้ามการแสดงออกนั้น

ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไมควร จะใช้การข่มขู่ หรือ กดดัน ด้วยกฎหมาย ด้วยอำนาจรัฐ เด็ดขาด (รุสดิ ถูก "หมายหัว" เป็นเวลาหลายปี ทางการอังกฤษ ซึงก็ไม่ได้แชร์ ทัศนะ ของรุสดิ ก็ยังให้ความคุ้มครองชีวิตให้)

มีแต่ต้องใช้ท่าที หรือ ทางออกแบบนี้ เท่านั้น จึงจะสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมสมัยใหม่ที่ (ก) มีความหลากหลายทางความคิด และ (ข) แต่ละคนมีสิทธิ์ เท่าเทียมกัน ทีจะคิดตามแบบของตัวเอง

000

เอ้า เชิญดู-ฟังกันเองอีกครั้ง หรือ โหลดเก็บไว้ เผื่อจะถูกลบหายไป

รายการ "คิดเล่นเห็นต่าง" 

วันที่ 10 มีนาคม 2555

http://www.youtube.com/watch?v=V1D5WWKI6do

วันที่ 11 มีนาคม 2555

http://www.youtube.com/watch?v=rJQQBd36dBg

และอันนี้ มีคนตัดตอนเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง

http://www.youtube.com/watch?v=9JZJNZSvrVQ

000

บอกตรงๆว่าผม upset กับเรื่องนี้มากๆ

ความเห็นของคุณแขก Kiku Nohana ใน "คิดเล่นห็นต่าง" วันที่ 10 - 11 มีนาคม จะถูกผิดยังไง ก็เถียงกันได้

แต่ผมมองไม่ออกเลยว่า จะถือเป็นการ "ล่วงเกินพระพุทธศาสนา" ได้อย่างไร? อะไรคือ "ล่วงเกินพระพุทธศาสนา"?? การตีความนโบายและโครงการบางอย่างของรัฐและองค์การสงฆ์ แม้กระทั่งการปฏิบัติบางอย่างของชาวพุทธ ที่ต่างกับการตีความขององค์กรสงฆ์ หรือ "ชาวพุทธส่วนใหญ่"? ความเห็นในเรื่องแบบนี้ ใช้ "เสียงส่วนใหญ่" หรือจำนวนคน หรือองค์กรศาสนา มาตัดสิน กดดันบังคับ ความเห็นของเอกชน แม้แต่คนเดียวได้หรือ?

ยิ่งมองไม่ออกเลยว่า คุณแขก มีอะไรทีต้อง "ขอขมาต่อพระรัตนตรัย" หรือ องค์กรสงฆ์ต่างๆ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เชคสเปียร์ต้องตายเสมอ: ถ้อยแถลงส่วนบุคคล

0
0

สามปีก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งที่หนัง THIS AREA IS UNDER QUARANTINE ถูกถอดออกจาเทศกาลภาพยนตร์แห่งหนึ่งด้วยอาการอันคลุมเครือของคณะกรรมการเซนเซอร์ภายใต้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับใหม่ ผมเคยเขียนบทความชิ้นหนึ่งเอาไว้ ชื่อบทความว่า It's not a problem of the film, It's the film culture(1) ในตัวบทความนั้นผมหยิบยกข้อความจากปากคำของ Lav Diaz ผู้กำกับชาวฟิลิปปินส์ คนสำคัญ เขากล่าวไว้ว่า

‘ผมขอย้ำอีกครั้ง การเซ็นเซอร์คือยาพิษของโลกภาพยนตร์ การเซ็นเซอร์คือยาพิษสำหรับศิลปะ การเซ็นเซอร์คือยาพิษของวัฒนธรรม การเซ็นเซอร์ คือการกระทำของพวกศักดินา มันคือระบอบเผด็จการ’ - ลาฟ ดิแอซ

สำหรับผมนั้น การเซนเซอร์ไม่ได้เพียงทำลายโอกาสที่จะพูด โอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น โอกาสที่จะตั้งคำถาม โอกาสที่จะโยนข้อถกเถียงลงไปในสังคม และควานหาคำตอบที่เป็นที่รับได้จากสังคมที่เต็มไปด้วยผู้คนหลากหลายนี้ หากในอีกทางหนึ่งการเซนเซอร์ก็ได้สร้าง แสดงความยอมรับ และเชิดชูวิธีคิดแบบอำนาจนิยม เรายอมรับได้ที่จะให้มีการใช้อำนาจ เรายอมรับให้ใครสักคนยึดเอาอำนาจที่เราจะคิดเองไปถือไว้ การยอมรับนี้ได้ปลูกฝังเรา ลูกหลานของเรา และลูกหลานของลูกหลานเราว่าเราสามารถจะปิดกั้นสิทธิของผู้อื่นโดยใช้ความคิดของเรามาเป็นตัวตัดสิน เราถูกสอนว่าการใช้อำนาจนั้นเป็นเรื่องยอมรับได้ และใช้มันกับผู้อื่นทันทีที่มีโอกาส มันจึงไม่น่าแปลกใจที่วิธีคิดแบบนี้จะทำให้เรายกตัวเองขึ้นเหนือผู้อื่น เพียงแต่ถ้าเรามีอำนาจแล้วล่ะก็

สามปีล่วงพ้นมาแล้ว และยังเต็มไปด้วยเรื่องน่าตกใจในทำนองที่ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับจัดเรท นี้ได้ทำการแบนภพยนตร์ไปแล้วถึงอีกสองเรื่อง นั้นคือ Insects In The Backyard ของคุณ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ หนังที่เล่าเรื่องชีวิตของครอบครัวที่มีพ่อเป็นสาวประเภทสองกับลูกสาวลูกชายวัยรุ่น และทั้งที่เป็นหนังที่พูดถึงความสวยงามในความสัมพันธ์รักชังของครอบครัว และความสับสนของวัยรุ่น แต่หนังก็โดนแบนด้วยข้อหา “มีเนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”(2) ซึ่งแม้จะไม่บอกออกมาชัดเจน แต่เราก็พอจะคาดเดาได้ไม่ยากว่า นอกจากฉากเปลือยด้านหน้าของตัวละครในหนังที่เป็นข้ออ้างอันหอมหวานแล้วนั้น หนังเรื่องนี้โดนแบนเนื่องจากมันได้ไปแตะเอาประเด็นสำคัญที่ผู้มีอำนาจในประเทศนี้ไม่ต้องการให้โลกได้เห็นนั่นคือ การที่ตัวละครในหนังเดินเข้าสู่วงการของการเป็นโสเภณีเด็ก โดยที่หนังไม่ได้ลงโทษตัวละครให้สาสมพอจะสั่งสอนศีลธรรมได้

ดังที่เคยกล่าวไป หนังไม่ได้ทำหน้าที่ในการสั่งสอนศีลธรรม เพราะภาพยนตร์ไม่ใช่พระ ไม่ใช่นักศีลธรรม หนำซ้ำ ภาพยนตร์ยังต้องทำให้เห็นถึงข้อโต้แย้งทางศีลธรรมด้วยซ้ำ ภาพยนตร์ควรจะสร้างให้เกิดข้อถกเถียงถึงศีลธรรมว่ามันมีปัญหาอย่างไรเมื่อนำมาพันธนาการมนุษย์ที่มีความหลากหลายอย่างยิ่ง จนศีลธรรมกลายเป็นกรงขังชนิดหนึ่งสำหรับการกดผู้อื่นให้ต่ำลงด้วยการป้ายสีง่ายๆลงไ

ผมไม่เคยลืมว่าการต่อสู้ของผู้สร้าง และผู้ชมจำนวนหนึ่งจบลงด้วยการที่ไม่อนุญาตให้หนังเรื่องนี้ฉาย แม้แต่ในแวดวงของการเสวนาวิชาการ จนกระทั่งในที่สุดหอภาพยนตร์ถึงกับจัดพิธีฌาปนกิจเชิงสัญลักษณ์ให้กับหนังเรื่องนี้(3)

จวบจนถึงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในที่สุด ระบบเรทติ้งแสนสุขของประเทศนี้ (ที่จัดเรทกันอย่างครื้นเครงด้วยการมี เรท ส. : ส่งเสริม สำหรับบทหนังเชิดชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และ เรท ฉ. :เฉพาะที่สามารถเอามาใช้การส่งเสริมการขายสำหรับหนังบางกลุ่มได้เป็นอย่างดี) ได้คลอดลูกหลานแห่งการแบนทั้งที่ยังจัดเรทออกมาอย่างน่าตื่นเต้นด้วยการสั่งแบน ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ภาพยนตร์โดยคุณ สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือที่รู้จักกันดีในนามอิ๋ง เค หนึ่งในผู้กำกับหญิงไม่กี่คนของประเทศนี้ และหนึ่งในผู้กำกับไม่กี่คนไม่ว่าชายหรือหญิงที่ทำหนังซึ่งท้าทายและกล้าหาญมาตลอดหลายปี ตัวหนังนั้นดัดแปลงมาจากละครของเชคสเปียร์อย่างแมคเบธ โดยผู้สร้างถอดทุกคำจากบทประพันธ์ดั้งเดิมออกมาเป็นภาษาไทยทั้งหมดโดยไม่ตัดทอน และตีความใหม่ผ่านประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย

อีกครั้งที่การแตะต้องสิ่งที่เลยพ้นไปจากความครื้นเครงสนุกสนาน สิ่งที่มีความเป็นการเมืองมากกว่าเรื่องเล่า สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ หรือสิ่งที่เป็นประเด็นที่สังคมสมควรถกเถียง ถูกฆ่าเสียตั้งแต่อยู่ในครรภ์

สำหรับคุณอิ๋ง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หลายปีก่อน หนัง คนกราบหมา ของเธอก็ไม่เคยได้ฉายไม่ว่าที่ไหนเว้นแต่การจัดฉายกลุ่มเล็กๆ สองสามครั้งเนื่องจากถูกรายงานว่าหนังของเธอนั้นก้าวล่วง เสียดสี เยาะเย้ยบางศาสนา ที่น่าเศร้าคือ คนกราบหมานั้นเป็นหนังเสียดสีสังคมไสยศาสตร์ที่ตลกที่สุด แยบคายที่สุด และสนุกที่สุดเรื่องหนึ่งเท่าที่ประเทศไทยเคยมีการสร้างกันมา น่าเสียดายยิ่งที่คนไทยไม่มีโอกาสจะได้ดูมัน

ที่นี่ประเทศไทย ประเทศที่แสวงหาความปรองดองอย่างขะมักเขม้น ประเทศยิ้มสยามที่นิยมสงบสันติ อีกครั้งได้เปิดเผยโฉมหน้าของความสงบสันติของตัวมันเองให้เราได้เห็น นั่นคือการทำลายได้ทุกอย่างเพียงเพื่อความสงบสันติ ความสงบสันติไม่ใช่การแสวงหาข้อตกลงร่วมกันผ่านการถกเถียงฉันมิตร (การถกเถียงในประเทศนี้ไม่ทำให้เกิดมิตร แต่จะทำให้เกิดศัตรูที่เจ้าคิดเจ้าแค้นอย่างยิ่ง) หากคือการปิดปากให้สนิทต่อการถกเถียง และหันมาสนุกสนานกับการซุบซิบนินทา การซ่อนความขัดแย้งไว้ใต้พรมลายกนก เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งจากชาติตระกูล การศึกษา หรือความมีชื่อเสียง ได้รับเกียรติให้ลีลาศบนพรมผืนนั้น

ข้อหา ‘มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ’(4) จึงไม่ใช่ข้อกล่าวหาที่เกินจินตนาการ หนำซ้ำยังยืนยันความรักสงบสันติอย่างรุนแรงจนเกือบจะเป็นอาการฮิสทีเรียแห่งอาการ ‘ไทยนี้รักสงบ’ เสียด้วยซ้ำ

ตลอดหลายปีที่ความขัดแย้งได้ฝังรากลงในสังคมอย่างถึงแก่น ไม่ได้สอนให้เข้าใจเลยว่า มีแต่การเผชิญหน้าด้วยท่าที่เป็นมิตร การทำความจริงให้ประจักษ์ และการให้ความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมเท่านั้นที่จะช่วยให้เราได้รับความสงบอย่างแท้จริง เราสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งร่วมกันได้ง่ายกว่านี้ คือลืมมันไปเสีย การทำความจริงให้ประจักษ์คือการฟื้นฝอยหาตะเข็บ การให้ความยุติธรรมคือการยอมรับว่าก่อนหน้านั้นเราทำผิดพลาด ถึงที่สุด เรา ‘ทำเองก็ได้ง่ายจัง’ ด้วยการไม่พูดถึงมันอีก อีกครั้ง และอีกครั้ง

“มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะอ้างว่าเขาเป็นซ้ายหรือว่าเป็นขวาไม่ใช่ประเด็น แต่คนลักษณะนี้ทำให้ชีวิตของเราและของบ้านเมืองไร้เหตุผลและเสียสติ ทำให้ความสงบเหือดหายและเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเยอรมันกับนาซี เราควรให้ลูกหลานทุกคนได้เห็นภาพนี้ เราควรจดจำมันไว้เสมอ ไม่ใช่เพื่อโหมไฟอาฆาตพยาบาทต่อกัน แต่เพื่อเตือนใจทุกคน รวมทั้ง‘คนดี’ อย่างที่เราคิดว่าเราเป็นด้วย ที่อาจกลายเป็นปีศาจได้ ถ้าถูกยั่วยุเกินทน” -อิ๋ง เค ผู้กำกับ(5)

จากปากคำของผู้กำกับ เป็นที่แน่ชัดว่า ผมน่าจะเป็นหนึ่งในผู้คนที่อยากจะกระโดดลงไปถกเถียงกับหนังอย่างถึงที่สุด อีกครั้งที่ผมอยากจะเขียนยาวๆ ถึงหนังเรื่องนี้ในฐานะหมุดหมายของสังคม รูปแบบของการบันทึกและตีความเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะอยู่ในฝั่งตรงข้ามกับความคิดของผมไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด มีแต่การได้ดูมัน ครุ่นคิดเกี่ยวกับมัน ถกเถียงเกี่ยวกับมันเท่านั้นจึงจะทำให้ผมได้สงบศึกกับมันได้

แต่ไม่มีโอกาสนั้น

มีความจำเป็นอันใดหรือที่เราต้องปิดปากคนที่เห็นต่างจากเรา มีความจำเป็นอันใดที่เราจะหวาดกลัวความไม่สงบจนต้องล่ามโซ่พันธนาการคนที่เราเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบ ความสงบในสังคมนี้สำคัญถึงขนาดนั้น หรือที่สำคัญกว่านั้นคือความต้องการความสงบเรียบร้อยนั้นเองคือปัญหา

แน่นอนว่าผมไม่ได้เห็นด้วยกับหลายส่วนของบทสัมภาษณ์ ไม่เห็นด้วยกับการที่ผู้กำกับทำให้หนังเรื่องนี้ ‘เป็นการเมือง’ ด้วยการพุ่งเป้าไปที่รัฐ (ผมมั่นใจลึกๆ ว่าในกรอบคิดที่ถูกหลอกหลอนด้วยความสงบปรองดอง ไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นใครรัฐบาลที่ผมชอบ หรือที่คุณชอบ ก็จะสั่งแบนหนังเรื่องนี้อย่างแน่นอน ไม่ใช่เพราะมันวิพากษ์รัฐบาล แต่มันวิพากษ์สังคมสงบสุขล้นเกิน โดยตัวของมันเอง) และไม่เห็นด้วยกับการพยายามจัดรูปร่างของหนังให้เป็นหนังสอนศีลธรรม(6)

แต่ทั้งหมดนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราต้องพูดถึงในตอนนี้เลยแม้แต่อย่างเดียว เพราะก่อนที่เราจะไปต่อสู้กันเรื่องนั้น เราต้องต่อสู้ที่จะไม่สงบก่อน เราต้องต่อสู้เพื่อที่จะให้ทุกคนได้พูดเสียก่อน ก่อนที่เราจะบอกว่าใครผิดใน หกตุลา เราต้องพูดเรื่องหกตุลาให้ได้เสียก่อน และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่เราจะไม่สงบเพื่อที่จะสงบ ไม่ปรองดองเพื่อจะได้ปรองดอ

กลับมาที่ภาพยนตร์อีกครั้ง จากประวัติศาสตร์ของแวดวงภาพยนตร์ในประเทศนี้ ไม่เคยมีครั้งใดที่ผู้สร้างชนะ ภาพยนตร์ยังคงยืนหยัดในฐานะผู้ร้ายของสังคมที่ต้องระแวงระวังและขีดวงจำกัดเสมอ THIS AREA สุดท้ายไม่ได้ฉายอย่างเป็นทางการในเทศกาลดังกล่าว ‘แสงศตวรรษ’ ฉายโดยตัดฉากที่กรรมการเซนเซอร์ต้องการตัดออก แทนที่ด้วยจอดำยาวนานตามเวลาจริง INSECTS โดนห้ามฉายจนถึงทุกวันนี้ มันจึงไม่ยากที่จะคาดคิดถึงชะตากรรมของ เชคสเปียร์ (ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์) เชคสเปียร์นั้นต้องตายแน่ในสังคมศีลธรรมสูงสงบล้นเกินเช่นนี้ อีกครั้งในมุมมองของผม ที่เราไม่มีทางจะงัดข้อกับผู้มีอำนาจในบ้านนี้เมืองนี้ได้ เราคงต้องใช้เวลาอีกเป็นชั่วอายุคนจึงจะบ่อนเซาะมันลง ผ่านทางการสร้างวัฒนธรรมแห่งการถกเถียง ซึ่งภาพยนตร์ก็อาจจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้น แต่ก็เช่นกัน การที่ทำไม่ได้(ในวันเดียว) มีความหมายแตกต่างมากมากมายกับการไม่ได้ทำ

ถึงที่สุดผมจึงยังหวังลมๆ แล้งๆ ว่าผมจะได้ดูหนังเรื่องนี้ ถ้าหากมันจะทำให้เกิดความแตกแยก ถ้ามันจะทำให้ผมต้องการจะต่อสู้กับหนัง ก็ไดโปรดให้สิทธิ์ผมในการต่อสู้กับมันด้วยตนเองด้วยเถิ

เชิงอรรถ

(1): http://prachatai.com/journal/2009/11/26475
(2): http://www.ipetitions.com/petition/insects/
(3): http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1291992339&grpid=01&catid=08
(4):http://prachatai.com/journal/2012/04/39958
(5):http://prachatai.com/journal/2012/04/39958
(6): บทสัมภาษณ์ในรายการคมชัดลึกhttp://youtu.be/Fd8gMK6zEcM

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือปฏิรูปที่ดินตรังระดมชุมชนพื้นที่เขตป่าทับซ้อนร่วมเคลื่อนไหว ยืนยันสิทธิ์

0
0

สืบเนื่องจากสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า นำกำลังเข้าไปตัดฟันสวนยางพาราในพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านทับเขือ-ปลักหมู และรื้อสะพานเข้าพื้นที่โฉนดชุมชนบ้านหาดสูง

เครือปฏิรูปที่ดินตรังระดมชุมชนพื้นที่เขตป่าทับซ้อนร่วมเคลื่อนไหว ยืนยันสิทธิ์

วันนี้ (9 เม.ย.2555) เวลา 11.00 น.นางกันยา ปันกิติ พร้อมด้วย นายสมนึก พุฒนวล และกรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด ประมาณ 20 คน ได้ร่วมกันแถลงข่าวถึงสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น และทิศทางการขับเคลื่อนของเครือข่าย ณ มูลนิธิอันดามัน เลขที่ 35/10 หมู่ที่ 4 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง

นางกันยา ปันกิติ กรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า จากที่มีกระแสข่าวว่าชาวบ้านใช้ความรุนแรงขัดขืนการปราบปรามของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย กรณีบ้านหาดสูง พี่น้องได้กราบวิงวอนร้องขอ เหมือนคนไม่มีทางสู้ แต่ในที่สุดก็ถูกฟันทำลายสะพานเข้าหมู่บ้านโดยไม่มีความปราณี ทั้งๆ ที่สำนักงานโฉนดชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ชะลอการรื้อถอนสะพาน และส่งข้อมูลไปให้สำนักงานโฉนดชุมชนภายในวันที่ 10 เม.ย.นี้ แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม

“นอกจากนั้น มีข่าวว่าเร็วๆ นี้ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด จะนำกำลังประมาณ 200-300 คน จะเข้าไปรื้อถอนสวนยางพาราที่บ้านตระ การกระทำเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบธรรม รัฐบาลปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้มารังแกคนจนที่อยู่อาศัยในชุมชนดั้งเดิมได้อย่างไร แสดงว่ารัฐบาลไม่ได้ปรองดองกับชาวบ้าน ไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายการรับรองสิทธิชุมชน ตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และคนไทย ขอให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการกระทำของรัฐบาล และกรมอุทยานฯ ด้วย” นางกันยา กล่าวและว่า

ด้านนายสมนึก พุฒนวล กรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น ทางเครือข่ายฯ มีข้อเรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ให้รัฐบาลสานต่อนโยบายโฉนดชุมชน โดยให้คุ้มครองพื้นที่ และรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร 2.ให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ หยุดการกระทำที่ป่าเถื่อนและแอบแฝงทุจริต และหันกลับมาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในการดูแลรักษาป่า 3.ให้ ผวจ.ตรัง กำกับหน่วยงานป่าไม้และหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดการปราบปรามผู้บุกรุกป่าตัวจริง และยุติการกลั่นแกล้ง ข่มขู่คุกคามดำเนินคดีในพื้นที่ชุมชนดั้งเดิม 4.ให้สังคมร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง และขอบเขตการใช้อำนาจรัฐของกรมอุทยาน

นายสมนึก กล่าวต่อไปว่า ทางเครือข่ายฯ มีกำหนดจะเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 10 เม.ย.นี้ จะเคลื่อนขบวนรณรงค์ออกแจกแถลงการณ์ในพื้นที่อำเภอเมืองตรัง คาดว่าจะมีสมาชิกเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 200 คน ซึ่งจะมีทั้งขบวนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ จะเข้ายื่นหนังสือถึงนายเสนีย์ จิตตเกษม ผวจ.ตรัง ด้วย

จากนั้น ในช่วงสัปดาห์นี้จะรณรงค์อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทุกอำเภอของ จ.ตรัง โดยเฉพาะอำเภอที่ติดอยู่ในเขตป่า เพื่อให้คนตรังได้รู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าสมาชิกเครือข่ายฯ ไม่ใช่ผู้บุกรุกป่า แต่เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่มายาวนาน และมีกติกาในการดูแลรักษาป่าอย่างชัดเจน ในส่วนพี่น้องที่เดือดร้อนจากการประกาศเขตป่าทับซ้อนพื้นที่กลุ่มอื่นๆ ก็จะได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ร่วมกับเครือข่ายฯ ต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงสะท้อนคนวงการหนัง ถึงเวลา เชคสเปียร์ต้อง “เกิด”

0
0

 

คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าหนัง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ กลายเป็นหนังถูกปิดที่คนอ้าแขนรับมากที่สุดในขณะนี้ นี่อาจจะเป็นอีกหมุดหมายสำคัญท่ามกลางความแตกแยกและความไม่สงบอย่างรุนแรงในทางการเมือง ความคิด และความเชื่อของผู้คนในสังคม เพราะแม้แต่คนในแวดวงภาพยนตร์ซึ่งอาจมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ก็ยังเรียกร้อง “เสรีภาพ” สำหรับทุกจุดยืน เพื่อให้สังคมได้มีโอกาสถกเถียงกันด้วยตัวเอง

 

ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีเนื้อหามุมมองอย่างไร ภายใต้กรอบคิดไหน ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะห้ามชม คนดูต่างหากคือผู้ตัดสินที่แท้จริงว่าเขาจะเชื่อตามความคิดและเหตุผลที่ผู้ กำกับเสนอมาหรือไม่ การตีตนไปก่อนว่าหนังเรื่องนี้จะนำมาซึ่งความแตกแยกนั้นเป็นการดูถูกคนดู เสียเหลือเกิน

คงเป็นเรื่องยากที่จะให้ 'กองเซนเซอร์' ปรับกระบวนคิดให้เป็นดั่งอารยะ ผมเองอยากสนับสนุนให้มานิตย์และอิ๋ง เค อาศัยช่องทางนิว มีเดีย ในการเผยแพร่ผลงาน หากงานชิ้นนี้ไม่ได้ฉายในโรงภาพยนตร์แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวันฉายในสื่ออื่นได้ แม้อารมณ์ความรู้สึกจะไม่ได้คล้ายที่ฉายผ่านฟิล์ม ทว่าความคิดของผู้กำกับย่อมไปสู่ผู้ชมได้โดยตรง จากนั้นค่อยเป็นเวลาอันอารยะที่เราจะถกเถียงกันถึงประเด็นในหนังกันด้วย เหตุผลว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร

"I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it"


ธัญสก พันสิทธิวรกุล ผู้กำกับหนังสั้น

เป็นสัปดาห์ที่มีข่าวเกี่ยวเนื่องกันหลายประเด็นน่าสนใจ เพราะต่อจากการแบนหนังเรื่องนี้แล้ว ก็ตามมาด้วย พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา (ที่มีการกำหนดโทษให้จำคุก 5-10ปี และปรับแสนถึงห้าแสนบาท) ตามด้วยพระพุทธรูปปางแม็คโดนัลด์ (ที่เขาว่าเป็นของศิลปินชื่อ Jani Leinonen แต่คนไทยเอามาเป็นประเด็นซัดร้านแดกด่วน โดยไม่ยักมีใครเอะใจว่า ทำไมเขาจึงเสียดสีศาสนากับของกินยี่ห้อนี้) และคำขอโทษของ คำ ผกา (ที่ไม่ยักมีใครสาวต่อ ต่อข่าวลือเรื่องมาเฟียหัวโล้นข่มขู่)

แน่นอนว่าในฐานะคนทำหนัง ผมย่อมไม่เห็นด้วยต่อการเซ็นเซอร์ แล้วก็ยกย่องต่อผู้ใดก็ตามที่ต่อสู้กระบวนการแบนหนังด้วยใจบริสุทธิ์ แม้ว่าโดยส่วนตัว ผมเลือกที่จะทำงานใหม่ ๆ ต่อไป มากกว่าจะมาเสียเวลาสู้กับเรื่องอะไรแบบนี้ เพราะรู้ว่ากระบวนการแบนหนังของประเทศนี้ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ตราบเท่าที่ประเทศยังคงอ้างตัวว่าเป็นประชาธิปไตย แต่เบื้องหลังเป็นเผด็จการ จะเปลี่ยนไปกี่ยุคกี่สมัย เปลี่ยนรัฐบาลเป็นฝ่ายใด ตายแล้วเกิดใหม่(ถ้ามี) ก็ยังคงต้องถูกฝังรากไปเจ็ดชั่วโคตรอยู่ดี (ตอนนี้ผมชักไม่แน่ใจแล้วว่า มีคนเยอะแค่ไหนที่รู้ว่าประเทศอื่นข้างนอกนั่น เขาสามารถก่นด่าพระเจ้า ค้นหาว่าพระเจ้ามีจริงไหม โดยอย่างมากก็มีคนออกมาต่อต้าน หรือหาข้อพิสูจน์โต้แย้ง ทว่าไม่ถึงขั้นล่าแม่มด แขวนคอ ย่างไฟ อย่างศตวรรษที่ 15-17 เหยดดด กี่ร้อยปีแล้ววะ)

ต้องออกตัวก่อนว่า ยังไม่มีโอกาสดูเชคสเปียร์ต้องตาย แต่เคยดูงานเก่า ๆ ของทั้ง มานิต และอิ๋ง เค ก็ต้องยอมรับว่าเปรี้ยวเก๋ท้าทายกระตุกต่อมคิดต่อสังคมได้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็น คนกราบหมา (My Teacher Eat Biscuit) ของอิ๋ง ที่ว่าด้วยลัทธิกราบไหว้หมา และมีฉากเสียดสีเรื่องการเสพศพของพระ ที่เคยถูกแบนสมัยบางกอกฟิล์มยุคแรก ๆ(ที่เคยเลือกฉายหนังก้าวหน้ากว่ายุคหลังเยอะเลย) หรืองานชุดพิงค์แมนของมานิต ที่มีมาตั้งแต่ยังไม่มีสีเสื้อ ชมพู เหลือง แดง เขียว ฟ้า สลิ่ม อย่างทุกวันนี้ ก็ถูกตีความจากบริบทบริโภคนิยมกลายเป็นอื่นไป เมื่อความหมายทางสีถูกกำหนดค่าโดยสังคมหลังจากนั้น (ซึ่งต้องขอปรบมือยกย่องในความชาญฉลาดยิ่ง ที่สามารถทำให้สัญญะกลายเป็นเรื่องย้อนแย้งหากมองจากมุมของแต่ละฝ่าย ซึ่งช่างซ้อนทับได้เหมาะเจาะพอดีกับ กรณีสีแดง ในเชคสเปียร์ต้องตาย)

ส่วนที่ไม่แน่ใจนัก คือกรณีมารยาทการเปิดเผยรายชื่อผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบ เดาว่านี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีการแอบเปิดเผยให้สาธารณะชนได้รับรู้ ซึ่งข้อดีก็คือทำให้เห็นว่าในหมู่ 7 คน ยังมี 3 เสียงที่ไม่ลงลายเซ็นต์(ขอยกย่องความใจกว้างของท่านเช่นกัน แต่ผมก็อยากรู้จริง ๆว่า ถ้าเป็นรัฐบาลชุดที่แล้ว จะมีคนเซ็นต์แบนกี่คนกันหนอ) ทว่าหากผมเป็นกรรมการชุดนี้ก็น่าหนักใจ เพราะประเด็นที่มานิตกับอิ๋งแฉไว้ในบทสัมภาษณ์คมชัดลึกนั้น เรียกได้ว่าเซ็นเซอร์ชุดนี้ต้องตั้งหลักอีกหลายวันกว่าจะหายเป๋ทรุด แล้วออกมาตอบข้อซักถามได้(โชคดีที่ช่วงนี้เป็นวันหยุดยาว) ไม่ว่าจะกรณีเครื่องเพชร หรือสีเสื้อ ซึ่งนัยที่ถูกซ่อนไว้(และไม่ได้ซ่อน)ทั้งจากข่าว หรือบทสัมภาษณ์เอง จงใจชี้ชัดว่า เป็นเพราะรัฐบาลนี้ เป็นสีแดงเลยสั่งแบน ผมกลับเชื่อโดยสนิทใจว่า แม้ว่าท่านจะส่งเซ็นเซอร์ตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน หนังก็ยังต้องถูกแบนอยู่ดีนะขอรับ แล้ว คนกราบหมา ก็เคยโดนแบน สมัยประเทศเรามีนายกชื่อ ชวน หลีกภัย ไม่ใช่หรือครับ คนไทยช่างลืมง่าย แม้ว่าจะอ้างว่าได้ผ่านการให้ทุนสนับสนุนโครงการไทยเข้มแข็งจากรัฐบาลชุดก่อน(นี่ยังไม่ต้องนับที่มาว่าไทยเข้มแข็งเอาเงินมาแต่ใดและใช้ไปอย่างคุ้มค่าเป็นประโยชน์หรือไม่ แล้วต้องเอาเงินจากส่วนไหนในการคืนเงินกู้) แต่ในเบื้องแรก หนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้ทุนแม้แต่บาทเดียวจากโครงการนั้นมิใช่หรือครับ จนต้องออกมาต่อสู้กรณีที่ให้งบกับหนังบางเรื่องมากเกินไป เศษเหล่านั้นจึงกระเด็นตกมาถึงหนังจิ๊บ ๆ เรื่องอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเชคสเปียร์ต้องตายนี่ด้วย (หนังที่ได้ทุนและฉายไปแล้วคือ  อีนางเอ๊ยเขยฝรั่ง, คนโขน, ซามูไรอโยธยา ฯลฯ .....เอิ่ม) เกมในครั้งรัฐบาลชุดที่แล้ว ออกมาแก้เกี้ยวด้วยการพิจารณาเพิ่ม และเลือกหนังให้กับหนังที่น่าจะมีปากมีเสียงโต้แย้ง ผมแอบเชียร์ว่าไม่ต้องอายหรอกฮะ ถ้ารัฐบาลนี้จะแก้เกม ด้วยการอนุญาตให้ผ่าน แล้วให้เรทส่งเสริมสนับสนุน อย่างที่ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ขอไป

โดยส่วนตัวผมค่อนข้างจะผิดหวังต่อผู้กำกับเพียงเรื่องเดียวคือ หากดูจากงานก่อน ๆ หรือแม้แต่งานนี้ ก็น่าจะมีวิสัยทัศน์กว้างก้าวหน้าพอตัว แต่ก็ยังตกเป็นส่วนหนึ่งของวาทกรรม "เผาบ้านเผาเมือง" อยู่ดี ซึ่งขอให้ตัวท่านย้อนกลับไปตรวจสอบดูเอาเถิดว่า บรรดารายชื่อที่ลงเพื่อช่วยเหลือท่านในการต่อสู้กองเซ็นเซอร์ครั้งนี้นั้น ส่วนหนึ่งเขาไม่ฝักใฝ่สีแดงกันหรืออย่างไร.....ประเทศนี้ช่างย้อนแย้ง อย่างไรก็ตาม ผมกลับคิดว่า หากต้องการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำมากกว่า คือการเรียกร้องให้ยกเลิกเรทแบนและเรทส่งเสริม มิเช่นนั้น ก็จะมีเหยื่อรายใหม่ ๆ ไม่สิ้นสุด นะขอรับ...หลานเสรีไทย

 

FILMSICK  นามปากกาของนักวิจารณ์ภาพยนตร์ คอลัมนิสต์ นิตยสาร Bioscope

ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในที่สุด ระบบเรทติ้งแสนสุขของประเทศนี้ (ที่จัดเรทกันอย่างครื้นเครงด้วยการมี เรท ส. : ส่งเสริม สำหรับบทหนังเชิดชูอุดมการณ์ราชาชาตินิยม และ เรท ฉ. :เฉพาะที่สามารถเอามาใช้การส่งเสริมการขายสำหรับหนังบางกลุ่มได้เป็นอย่างดี) ได้คลอดลูกหลานแห่งการแบนทั้งที่ยังจัดเรทออกมาอย่างน่าตื่นเต้นด้วยการสั่งแบน ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ภาพยนตร์โดยคุณ สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือที่รู้จักกันดีในนามอิ๋ง เค หนึ่งในผู้กำกับหญิงไม่กี่คนของประเทศนี้ และหนึ่งในผู้กำกับไม่กี่คนไม่ว่าชายหรือหญิงที่ทำหนังซึ่งท้าทายและกล้าหาญมาตลอดหลายปี ตัวหนังนั้นดัดแปลงมาจากละครของเชคสเปียร์อย่างแมคเบธ โดยผู้สร้างถอดทุกคำจากบทประพันธ์ดั้งเดิมออกมาเป็นภาษาไทยทั้งหมดโดยไม่ตัดทอน และตีความใหม่ผ่านประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย

อีกครั้งที่การแตะต้องสิ่งที่เลยพ้นไปจากความครื้นเครงสนุกสนาน สิ่งที่มีความเป็นการเมืองมากกว่าเรื่องเล่า สิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ หรือสิ่งที่เป็นประเด็นที่สังคมสมควรถกเถียง ถูกฆ่าเสียตั้งแต่อยู่ในครรภ์

สำหรับคุณอิ๋ง นี่ไม่ใช่ครั้งแรก หลายปีก่อน หนัง คนกราบหมา ของเธอก็ไม่เคยได้ฉายไม่ว่าที่ไหนเว้นแต่การจัดฉายกลุ่มเล็กๆ สองสามครั้งเนื่องจากถูกรายงานว่าหนังของเธอนั้นก้าวล่วง เสียดสี เยาะเย้ยบางศาสนา ที่น่าเศร้าคือ คนกราบหมานั้นเป็นหนังเสียดสีสังคมไสยศาสตร์ที่ตลกที่สุด แยบคายที่สุด และสนุกที่สุดเรื่องหนึ่งเท่าที่ประเทศไทยเคยมีการสร้างกันมา น่าเสียดายยิ่งที่คนไทยไม่มีโอกาสจะได้ดูมัน

ที่นี่ประเทศไทย ประเทศที่แสวงหาความปรองดองอย่างขะมักเขม้น ประเทศยิ้มสยามที่นิยมสงบสันติ อีกครั้งได้เปิดเผยโฉมหน้าของความสงบสันติของตัวมันเองให้เราได้เห็น นั่นคือการทำลายได้ทุกอย่างเพียงเพื่อความสงบสันติ ความสงบสันติไม่ใช่การแสวงหาข้อตกลงร่วมกันผ่านการถกเถียงฉันมิตร (การถกเถียงในประเทศนี้ไม่ทำให้เกิดมิตร แต่จะทำให้เกิดศัตรูที่เจ้าคิดเจ้าแค้นอย่างยิ่ง) หากคือการปิดปากให้สนิทต่อการถกเถียง และหันมาสนุกสนานกับการซุบซิบนินทา การซ่อนความขัดแย้งไว้ใต้พรมลายกนก เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งจากชาติตระกูล การศึกษา หรือความมีชื่อเสียง ได้รับเกียรติให้ลีลาศบนพรมผืนนั้น

ข้อหา ‘มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ’ จึงไม่ใช่ข้อกล่าวหาที่เกินจินตนาการ หนำซ้ำยังยืนยันความรักสงบสันติอย่างรุนแรงจนเกือบจะเป็นอาการฮิสทีเรียแห่งอาการ ‘ไทยนี้รักสงบ’ เสียด้วยซ้ำ

ตลอดหลายปีที่ความขัดแย้งได้ฝังรากลงในสังคมอย่างถึงแก่น ไม่ได้สอนให้เข้าใจเลยว่า มีแต่การเผชิญหน้าด้วยท่าที่เป็นมิตร การทำความจริงให้ประจักษ์ และการให้ความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมเท่านั้นที่จะช่วยให้เราได้รับความสงบอย่างแท้จริง เราสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งร่วมกันได้ง่ายกว่านี้ คือลืมมันไปเสีย การทำความจริงให้ประจักษ์คือการฟื้นฝอยหาตะเข็บ การให้ความยุติธรรมคือการยอมรับว่าก่อนหน้านั้นเราทำผิดพลาด ถึงที่สุด เรา ‘ทำเองก็ได้ง่ายจัง’ ด้วยการไม่พูดถึงมันอีก อีกครั้ง และอีกครั้ง

“มาถึงวันนี้ แทนที่จะเป็นอันธพาลคลั่งเจ้าที่เราต้องกลัว เรามีกลุ่มคนบ้าคลั่งกลุ่มอื่นที่ไร้เหตุผลและนิยมความรุนแรงอย่างแท้จริง อันเป็นผลงานมหกรรมปั่นหัวโดยเครื่องจักรทักษิณ ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะอ้างว่าเขาเป็นซ้ายหรือว่าเป็นขวาไม่ใช่ประเด็น แต่คนลักษณะนี้ทำให้ชีวิตของเราและของบ้านเมืองไร้เหตุผลและเสียสติ ทำให้ความสงบเหือดหายและเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับเยอรมันกับนาซี เราควรให้ลูกหลานทุกคนได้เห็นภาพนี้ เราควรจดจำมันไว้เสมอ ไม่ใช่เพื่อโหมไฟอาฆาตพยาบาทต่อกัน แต่เพื่อเตือนใจทุกคน รวมทั้ง‘คนดี’ อย่างที่เราคิดว่าเราเป็นด้วย ที่อาจกลายเป็นปีศาจได้ ถ้าถูกยั่วยุเกินทน” -อิ๋ง เค ผู้กำกับ

จากปากคำของผู้กำกับ เป็นที่แน่ชัดว่า ผมน่าจะเป็นหนึ่งในผู้คนที่อยากจะกระโดดลงไปถกเถียงกับหนังอย่างถึงที่สุด อีกครั้งที่ผมอยากจะเขียนยาวๆ ถึงหนังเรื่องนี้ในฐานะหมุดหมายของสังคม รูปแบบของการบันทึกและตีความเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะอยู่ในฝั่งตรงข้ามกับความคิดของผมไม่ว่ามันจะถูกหรือผิด มีแต่การได้ดูมัน ครุ่นคิดเกี่ยวกับมัน ถกเถียงเกี่ยวกับมันเท่านั้นจึงจะทำให้ผมได้สงบศึกกับมันได้

แต่ไม่มีโอกาสนั้น ……..

ถึงที่สุดผมจึงยังหวังลมๆ แล้งๆ ว่าผมจะได้ดูหนังเรื่องนี้ ถ้าหากมันจะทำให้เกิดความแตกแยก ถ้ามันจะทำให้ผมต้องการจะต่อสู้กับหนัง ก็ไดโปรดให้สิทธิ์ผมในการต่อสู้กับมันด้วยตนเองด้วยเถิด 

(อ่านบทความฉบับเต็มของ FILMSICK ได้ที่นี่)

 

000000000

 



จดหมายเปิดผนึก ล่ารายชื่อหยุดแบนภาพยนตร์ไทย

ที่มา: http://www.shakespearemustdie.com

 

เรียนทุกท่าน,

ขอเชิญร่วมลงชื่อ หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ ไม่เป็นประชาธิปไตย ด้วยการเขียนชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และความเห็นสั้นๆ(ถ้าต้องการ) ลงบนอีเมล์และส่งกลับมายัง

mekhdeth@gmail.com

โดยเราจะ Print out อีเมล์ของท่านแนบท้ายจดหมายคัดค้านซึ่งจะนำส่งนายกรัฐมนตรีในวัน 17  เมษายนนี้ รบกวนช่วยส่งต่อไปยังเพื่อนๆคนรักหนัง คนรักเสรีภาพ ผู้สนใจจะร่วมลงชื่อด้วยครับ

ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนการรณรงค์ครั้งนี้ ซึ่งมีความหมายกับเรามาก หากเราไม่คัดค้าน ไม่ต่อสู้ในครั้งนี้ การแบนหนังก็ยังคงเกิดขึ้นอีกกับเรื่องต่อไป ครั้งแล้วครั้งเล่าไม่จบสิ้น

ด้วยความนับถือ

มานิต ศรีวานิชภูมิ

ผู้อำนวยการสร้าง เชคสเปียร์ต้องตาย


Dear friends,

You can be part of this appeal to Thailand's Prime Minister Yingluck Shinawatra
by just email your name, address, career and brief comment on the issue (if you want to) to our email address:
mekhdeth@gmail.com
Thank you so much for your kind supports.

Follow here is the content of the open letter:

*********************************

จดหมายเปิดผนึก

หยุดแบนภาพยนตร์ไทย หยุดปิดกั้นเสรีภาพ
ไม่เป็นประชาธิปไตย

เรียน     

นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร     
ประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
และรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม
รองประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ

                        ด้วยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ ๓ มีมติในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ ห้ามเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) ในราชอาณาจักร ด้วยเหตุผลว่า ภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อ ๗(๓)

                        คณะ ของข้าพเจ้าอันประกอบไปด้วย ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย นักวิชาการ นักแสดง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านภาพยนตร์ กลุ่มคนรักหนัง ตลอดจนประชาชนผู้รักเสรีภาพ เห็นว่ามติดังกล่าวคลุมเครือ ครอบจักรวาล ไร้เหตุผลสนับสนุน ถือเป็นมาตรการรุนแรง ขาดความพอดี อันเป็นเหตุให้กระทบต่อ สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแก่ทุกฝ่าย ทั้งผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ชม

                        ทั้งนี้เจตนารมณ์ของ พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ปัจจุบัน เป็น พรบ.ที่ให้ความสำคัญกับระบบการจัดประเภทของภาพยนตร์ (Rating) เพื่อเป็นหลักประกันในสิทธิและเสรีภาพของประชาชน แทนพรบ.ภาพยนตร์ฉบับเก่าที่ใช้วิธีแบบเผด็จการคือ ห้ามฉายหรือแบน

                        คณะของข้าพเจ้าจึงขอคัดค้าน ไม่เห็นด้วยต่อมติห้ามฉายภาพยนตร์ไทย เชคสเปียร์ต้องตาย และขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่ง ชาติ โปรดพิจารณาทบทวนมติดังกล่าว และโปรดมีคำสั่งห้ามแบนภาพยนตร์ไทยในอนาคต โดยให้ยึดถือการจัดประเภทภาพยนตร์ (Rating) เป็นหลักปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อมิให้กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย

                        อนึ่ง เชคสเปียร์ต้องตาย นับเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สอง ที่ถูกคำสั่งห้ามฉาย ภายใต้พรบ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ฉบับปัจจุบัน โดย Insects in the Backyard ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ถูกคำสั่งดังกล่าวใน ปี ๒๕๕๓ ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง

                        จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจาณา

                                                                        ด้วยความนับถือ

------------

Open Letter of Appeal

Stop Banning Thai Films; Stop Obstructing Freedom;
Stop Undemocratic Practices

Addressed to:
Prime Minister Yingluck Shinawatra
Chairperson, National Board of Film and Video
and Minister of Culture Mrs Sukumol Khunpleum
Vice Chair of the National Board of Film and Video

            On April 3rd, 2012, the Film and Video Censorship Board, Third Committee, issued a verdict banning from distribution the film ‘Shakespeare Must Die’ in the Kingdom of Thailand, the reason given being that “the film’s content causes divisiveness among the people of the nation, according to Ministerial Regulation describing types of films 2009, Article 7(3)”

            I and my party, consisting of filmmakers, academics, actors, film professionals, film lovers as well as the general freedom-loving public, believe that the verdict is excessively vague and over-inclusive, unsupported by reason, and as such must be considered an extreme and excessive measure, without moderation, and a severe infringement on everyone’s “constitutionally-guaranteed democratic rights and freedoms” as it infringes on the rights of both filmmakers and their audience.

            The intent of the present Royal Edict on Film and Video of 2009, which instituted the rating system, is to ensure the people’s rights and freedoms, in place of the previous Royal Edict on Film and Video which employed solely the dictatorial measure of banning films.

            Therefore I and my party hereby lodge our disagreement to the banning order on ‘Shakespeare Must Die’, and request that the Prime Minister, in her capacity of Chairperson of the National Board of Film and Video, consider overturning this verdict, and further, to issue an order to forbid the banning of any other Thai film in future, and to use the rating system exclusively, so that there would be an end to this infringement of democratic rights and freedoms.

            ‘Shakespeare Must Die’ is the second Thai film to have been banned under the present Royal Edict on Film and Video, with ‘Insects in the Backyard’ by Thanyavarin Sukhapisit being the first film to have been banned in 2010 after the institution of the rating system.

For your kind consideration.

Respectfully Yours,

            Manit Sriwanichpoom

รายนามผู้ร่วมคัดค้าน

List of Co-Complainants:

1. มานิต ศรีวานิชภูมิ : ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

2. สมานรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ : ผู้กำกับภาพยนตร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

3. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ

4. Professor Mark Thornton Burnet : Professor of Shakespeare Studies, Queen's University, UK

5. นิวัติ กองเพียร : นักเขียน

6. สกุล บุญยทัต : นักวิจารณ์วรรณกรรมและอาจารย์คณะอักษรศาตร์ ม.ศิลปากร นครปฐม

7. ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ : นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย

8. สุชาติ สวัสดิ์ศรี : ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2554

9. อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล : ผู้กำกับภาพยนตร์ รางวัลปาล์มทองคำจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ปี 2553

10. จักกาย ศิริบุตร : ศิลปิน

11. ชาติชาย ปุยเปีย : ศิลปินศิลปาธร ปี 2549

12. อานิก อัมระนันทน์ : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

13. ดร.ประพนธ์ คำจิ่ม : อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14. ดร.สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ : นักธรรมชาติวิทยา นักเขียน

15. ก้อง ฤทธิ์ดี : สื่อมวลชน

16. นคร โพธิ์ไพโรจน์ : สื่อมวลชน

17. ประดิษฐ ประสาททอง : นักแสดงละครเวที รางวัลศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง ปี2547 กระทรวงวัฒนธรรม

18. แดนอรัญ แสงทอง : ศิลปินศิลปาธร ปี 2553

19. ธาริณี เกรแฮม : นักแสดงนำ เชคสเปียร์ต้องตาย

20. พิศาล พัฒนพีระเดช : นักแสดงนำ เชคสเปียร์ต้องตาย

21. สุขิตา เขมวิลาส : ผู้จัดการกองถ่าย เชคสเปียร์ต้องตาย

22. อจล ศรีวรรธนะ คิบรับ : ผู้ช่วยผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย

23. พิรุณ อนุสุริยา : ผู้ช่วยผู้กำกับ เชคสเปียร์ต้องตาย

24. ประยูร ไชยเยศ : นักแสดง เชคสเปียร์ต้องตาย

25. วิสูจน์ ศรีสัจจะลักษณ์ : อาร์ตไดเรคเตอร์ เชคสเปียร์ต้องตาย

26. ปวีณา ทะไกรเนตร : นักแสดง เชคสเปียร์ต้องตาย

27. น้ำมนต์ จ้อยรักษา : นักแสดง เชคสเปียร์ต้องตาย

28. โรจนินทร์ ลีนะพรพัฒน์ : Creative Director

30. ประวิตร โรจนพฤกษ์ : สื่อมวลชน

31. ดร.พลวัต ประพัฒน์ทอง : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

32. ชญานิน เตียงพิทยากร : นักเขียนอิสระ

33. พิชยะพงศ์ เนียมประพันธ์ : นักศึกษา

34. ก้อนเมฆ ชัชวรัตน์ : นักเรียน

35. อัครัฐ จึงตระกูล

36. ชาญ พูนทวี : อาชีพอิสระ

37.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง : นักเรียน

38. พลอยไพลิน เกษมสุข : นักเรียน

39. วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์ : เขียนหนังสือ อำนวยการสร้างภาพยนตร์

40. ประทุม เข็มวิลาศ : ผู้อำนวยการโรงเรียน (เกษียณ)

41. สนิฎา วงศ์ยงศิลป์

42. ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์ : พนักงานบริษัท

43. วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย : ผู้กำกับ

44. ปรัชญา เรือนเย็น : ช่างภาพอิสระ

45. วิสาข์ อัมระนันทน์ : Senior Copywriter

46. จิต โพธิ์แก้ว : นักแปลข่าว

47. สิริกัญญา ชุ่มเย็น : บรรณาธิการสำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม/ ธุรกิจส่วนตัว

48. พศุตม์ ลาศุขะ : นักศึกษาปริญญาเอก ที่ School of Cultural Inquiry, The Australian National University (ANU)

49. ศิวัช อ่วมประดิษฐ์ : พนักงานรัฐวิสาหกิจ

50. Chaisiri Jiwarangsan : Artist

51. กัญจน์ฐิมา อัศวสัมฤทธิ์ : นักเรียน

52. ณัฐพันธุ์ บุญเลิศ : รับจ้างอิสระ

53. ณัฐพล เหลืองวัฒนไพศาล : พนักงานบริษัท

54. อาศิส บุญมา : ธุรกิจส่วนตัว

55. พรชัย นวการพิศุทธิ์

56. โปรดปราน ระตีพูน : ผู้ตรวจสอบระบบงาน

57. เอื้ออังกูร สันติรงยุทธ : : นักเรียน

58. ยุคนธร แก้วปราง : นักศึกษา

59. จันทวิภา อภิสุข : นักสังคมสงเคราะห์อิสระ

60. จุมพล อภิสุข : ศิลปินอิสระ

61. สุภณา โสภณพนิช : สถาปนิก

62. Thomas Fröhlich : Filmmaker and Author in Berlin

63. อุษณีย์ ปานเพ็ชร: นักศึกษา

64. เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์ : นักศึกษา

65. สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ์ : นักศึกษาปริญญาโท

66. ฝนทอง บุญทับทิม : Project Manager

67. บุญรักษา อวยพร : นักศึกษา

68. ปรารถนา ศรีสว่าง : ค้าขาย

69. ศุภยง พันธุมโกมล : พนักงานบริษัท

70. ชลเทพ ณ บางช้าง : ล่าม/นักแปลอิสระ

71. พีรวิชญ์ ช่วงโชติ : อาชีพอิสระ

72. ปัทมา คุ้มพ่วงดี : อาชีพอิสระ

73. อินทิรา วิทยสมบูรณ์ : Social Worker

74. กรรณิกา เจริญชัย : อาชีพอิสระ

75. ศุภวิชญ์ ยอดน้ำคำ : นักศึกษา

76. รัฐพงษ์ พิมพ์สุวรรณ : สถาปนิก

77. ไกรวุฒิ จุลพงศธร : นักศึกษาปริญญาโท

78. สุรศักดิ์ ปานกลิ่น

79. สุทธิกิตติ์ วงศ์ศรีรัตน์

80. ณัฐวุฒิ ขุนเจริญ : HR บริษัท PICO (Thailand) PCL.

81. ณัฐณิช ลาภล้นเหลือหลาย

82. นครินทร์ กาขันธ์ : อาชีพอิสระ

83. พีรวุฒิ สำเร็จผล : นักศึกษา

84. พรพรรณ โพธิ์สวัสดิ์ : พนักงานบริษัทเอกชน

85. ธนาวิ โชติประดิษฐ

86. สุริยา โพธิ์เอี่ยม : นักศึกษา

87. พัทธชนก กิติกานันท์ : อาจารย์

88. Olivier Pin-Fat : Photographer

89. วลีรัตน์ เชค เทิดทูนภูภุช : นักศึกษา

90. เชิดชนนี ตันธนวิกรัย : นักเรียน

91. Win Wessels : Student

92. สุพัตรา ณ นุวงศ์ : นักศึกษา

93. Arnika Fuhrmann : Research Scholar

94. Val McCubbin : Visual Arts Department, New International School of Thailand

95. Liam Morgan : Camera Operator

96. วัฒนา ถิ่นนคร : ประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

97. ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ : บันทึกเสียง

98. ชนม์ ศรีสูงเนิน : ผู้กำกับภาพยนตร์สั้น

99. โสฬส สุขุม : ผู้ควบคุมการผลิตภาพยนตร์อิสระ

100. ดนยา กนกมณีรัตน์

101. สมชาย ศรานุรักษ์ : รับจ้าง

102. Papat Lau : freelance

103. ภาณุวัฒน์ ศรีขลา : นิสิต

104. นวพล อินสุวรรณ : นักศึกษา

105. พีระพัชย์ จาตุกัญญาประทีป : นักศึกษา

106. ปกรณ์ อารีกุล : นักศึกษา/นักกิจกรรมทางสังคม

107. วิเชียร เลิศสุรพิบูล : เกษียณ

108. สุภัทร์ ภู่พานิชเจริญกูล

109. มรกต ปิยะเกศิน

110. เบญจภรณ์ ธรรมาธร : นักศึกษา

111. บุณยรักษ์ วัฒนะรัตน์ : นักศึกษา

112. สุทิศา เฉลิมธนศักดิ์

113. Michael Connors : La Trobe University, Australia

114. CJ Hinke : Retired professor of English Literature

115. อิสรีย์ โพนอินทร์ : เภสัชกร

116. พรนรินทร์ จิรายุเจริญศักดิ์

117. วชิรพล อาลัย

118. อรรถกฤษณ์ มหาเกตุ : วิศวกรโยธา

119. ปฏิพันธ์ ลิมปภาพันธุ์ : นักศึกษา

120. ธัญทิพย์ บุญอำนวยวิทยา : นักศึกษา

121. Alex Zeeh

122. เยาวลักษณ์ กนกมณีรัตน์ : แม่บ้าน

116. มัญชรี นรพัลลภ : แม่บ้าน

117. ชินณะ อินทวงษ์ : Gaffer

118. Sarah Bond

119. อมรรัตน์ กุลประยงค์ : นักศึกษา

120. Larissa Stillman : Translator / Interpreter

121. ปัญจศักดิ์ บุญงาม : อาชีพรับจ้าง

122. ธิติพงษ์ รอดคำทุย

123. อรอนงค์ อรุณเอก : ผู้ประสานงานโครงการ Volunteer Connex, นักแปลและล่ามอิสระ

124. พฤฒิไกร เศษศรี : เกษตรกร

125. ฑิตฐิตา ซิ้มเจริญ : นักศึกษา

126. หยกภัณฑ์ งามวงษ์ : นักศึกษา

127. ทิพนาถ สุดจิตต์ : นักเรียน

128. ชนาภัทร พระทาเพชร : นักศึกษา

129. Stephen Albair : Assistant Professor, Las Positas College, Livermore, California, USA

130. เฉลิมพงษ์ พันธุโพธิ์ : Rewriter/ Translator กองบก.บางกอกโพสต์

131. เทวฤทธิ์ มณีฉาย : นักวิจัยอิสระ และ สมาชิกกลุ่มประกายไฟ

132. อดิศักดิ์ นิธิเมธาโชค : แพทย์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

133. สพลดนัย เชยล้อมขำ : นักศึกษา

134. ดวงใจ สุภาพึ่ง : ครู

135. วรเชษฐ์ ลีลาเจริญพร : ช่างภาพอิสระ

136. จิรายุ เพ็ชรอำไพ : นักเรียน

137. พีระพงศ์ แก้วแท้ : อนาคตของชาติ

138. พูนพิพัฒน์ ตั้งคำ : นักเรียน

139. ณภัทร ฐานวาสก์ : นักวิจัยอิสระ

140. ปราโมทย์ ศรอุดม : เทคนิคเชี่ยน

141. กฤษฎ์ พรหมใจรักษ์ : นิสิต

142. รพีพัฒน์ อุทัยพิพัฒนากุล : นิสิต ม.เกษตร

143. อนุสรณ์ ติปยานนท์ : นักเขียน

144. ลักษณ์นัยน์ ทรงเสี่ยงไชย : นักออกแบบแสง/อาจารย์สาขาสื่อสารการแสดง

145. นรุตม์ สูทกวาทิน : พนักงานบริษัท

146. คมลักษณ์ ไชยยะ : ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

147. ชินธิป เอกก้านตรง : นักศึกษา

148. วิชญา พรหมสวัสดิ์ : นักศึกษา

149. พีรพัฒน์ ตัณฑวณิช : ข้าราชการ

150. นิอร มานะพันธ์โสภี : พนักงานบริษัท

151. ฉัตรสุดา หาญบาง : พนักงานบริษัท

152. สุมิตร ทองพาหุสัจจะ

153. พิทวัส เอื้อวงศ์กูล : นักศึกษา

154. ฝอยฝน ชัยมงคล : นักศึกษาปริญญาเอก

155. ศรุตยา เจริญพรพานิชกุล

156. พุทธพงษ์ จิตรักญาติ : ช่างภาพ

157. Diane Mantzaris : Artist

158. ธัชเวช มารมย์

159. Cattleya Jaruthavee : Photographer

160. พศิน พุฒพึ่งทรัพย์

161. วราศร กิจจำนงค์ : พนักงานรัฐวิสาหกิจ

162. เอนก จงทวีธรรม : อาจารย์

163. พัลลภัทร น้อยธิ : แพทย์แผนปัจจุบัน

164. สิริธร จงทวีธรรม : นักศึกษา

165. อมร แต้อุดมกุล : นักข่าว

166. คัทลียา เผ่าศรีเจริญ : อาชีพอิสระ

167. Bussakorn Lamuthai

 


สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

10 เมษา 53: นิทรรศการรถถัง จุดเปลี่ยนสู่ความรุนแรง

0
0

ในวาระครบรอบ 2 ปี เหตุการณ์ 10 เมษายน 2553 หลายคนอาจจำมันได้เพียงเลือนรางหลังสถานการณ์ทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย เหตุการณ์นั้นเป็นหมุดหมายสำคัญในแง่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของความสูญเสีย ด้วยความพยายาม “ขอคืนพื้นที่”ของรัฐบาลในขณะนั้น และจบด้วยความตายของพลเรือน 20 ชีวิต ทหาร 5 ชีวิต มีผู้บาดเจ็บรวม 863 คน ก่อนสถานการณ์จะค่อยๆ ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดของความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตร่วมร้อยคนในเดือนถัดมาของปีเดียวกัน ท่ามกลางเรื่องเล่าเกี่ยวกับ “ชายชุดดำ” ที่สร้างความกังขาและสร้างความชอบธรรมทำให้เรื่องราวทั้งหมดกลายเป็นสีเทา

สีเทา เหมือนหมอกควันที่ค่อยๆ จางหายไปกับสายลม โดยไม่มีใครได้อะไรจากความสูญเสียดังกล่าว แม้แต่บทเรียนที่จะไม่กลับไปสู่จุดเดิม

 

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก we watch

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลยกฟ้อง “บก.ลายจุด” จัดชุมนุม “เปลือยเพื่อชีวิต”กลางดงกระสุน ไม่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

0
0

 

10 เม.ย.55   ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ ผู้พิพากษาอ่านคำตัดสินคดีที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด เป็นผู้ต้องหาในคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มั่วสุมทางการเมืองเกิน 5 คน กีดขวางทางจราจร และก่อความไม่สงบแก่ประชาชน ในพื้นที่ซึ่งมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจากกรณีที่จัดกิจกรรม “เปลือยเพื่อชีวิต” และเวทีชั่วคราวบริเวณใต้ทางด่วนดินแดง เมื่อวันที่ 18 พ.ค.53 โดยศาลยกฟ้องคดีนี้

ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจำเลยระบุถึงเหตุผลในคำพิพากษาว่า ศาลเห็นว่าเหตุการณ์ความรุนแรงได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น มีการใช้กระสุนจริงจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก การตั้งเวทีเล็กก็ดำเนินมาก่อนที่นายสมบัติจะมีการจัดกิจกรรม นอกจากนี้กิจกรรมที่นายสมบัติจัดก็เป็นไปโดยสันติ ปราศจากอาวุธ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงตามฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินจึงไม่สามารถลิดรอนสิทธิดังกล่าวได้ โดยเฉพาะเมื่อนายสมบัติเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ศึกษาเรื่องการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ย่อมต้องเข้าไปอยู่ในที่ชุมนุมเพื่อสังเกตการณ์อยู่แล้ว  

นายสมบัติ กล่าวว่า วันนี้ได้เตรียมตัวไปฟังคำพิพากษาโดยคาดว่าจะถูกพิพากษาลงโทษโดยให้รอลงอาญา เช่นเดียวกับคดีลักษณะเดียวกันอีกคดีหนึ่งที่ตัดสินไปก่อนหน้านี้ เป็นความผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน บริเวณเรียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ จึงรู้สึกค่อนข้างประหลาดใจเมื่อศาลตัดสินยกฟ้อง โดยยืนยันหลักการสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนในการชุมนุม ไม่มีอำนาจใดจะมาลิดรอนความเป็นมนุษย์ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่ากิจกรรมดังกล่าวชัดเจนมากว่าไม่ได้ยั่วยุความรุนแรงและทำให้ประชาชนสงบลงด้วยซ้ำ ศาลจึงยกฟ้อง โดยคาดว่าคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญ

เมื่อถามว่าคิดอย่างไรกับคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ก่อนหน้านี้ประชาชนจำนวนมากถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลาหลายเดือน สมบัติกล่าวว่า คดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นคดีทางการเมือง และต้องยอมรับว่ามีการพิจารณาจากบรรยากาศทางการเมือง เกี่ยวพันกับสถานการณ์ทางการเมือง ในช่วงหลังเกิดเหตุใหม่มันถูกใช้อย่างเกินเลยมากเพราะต้องการให้เกิดความเข็ดหลาบเพื่อหยุดสถานการณ์  แค่เพียงคนไปส่งข้าวส่งน้ำในม็อบก็ถูกตัดสินลงโทษจำคุกแล้ว

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ใบตองแห้ง...ออนไลน์: พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

0
0


 

ผมเพิ่งเขียนเรื่อง “รัดทำมะนวยกะอรหัง” ลงในคมชัดลึก แต่มีประเด็นที่ควรนำมาขยาย เกี่ยวกับกรณีที่ “10 อรหันต์” ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ทักท้วงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่คณะกรรมาธิการจะนำกลับเข้ามาพิจารณาวาระ 2 ในรัฐสภาวันที่ 10-11 เม.ย.นี้

ก่อนอื่นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับ 10 อรหันต์ ขอบอกว่า สื่อที่ตีข่าวนี้ ล้วนแต่มั่ว เพราะไม่เข้าใจประเด็นจริงๆ เช่น บางฉบับบอกว่า 10 อรหันต์ชี้ 3 ประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ ไทยโพสต์บอกว่า 10 อรหันต์แฉ รธน.มิบังควร ขนาดศูนย์ข่าวอิศรายังบอกว่า ที่ปรึกษาผู้ตรวจการฟันธง 3 ร่างขัดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง

ประเด็นที่ 10 อรหันต์ชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญคือการกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ประเด็นนี้ตกไปแล้ว เพราะคณะกรรมาธิการชี้แจงว่า เป็นแค่ร่างของคณะรัฐมนตรี ร่างของคณะกรรมาธิการแก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามแล้ว

อันที่จริงประเด็นนี้ก็ถกเถียงกันได้เหมือนกัน เพราะ 10 อรหันต์ยกมาตรา 195 วรรคแรกมาอ้างว่า “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้บัญญัติให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม การที่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามร่างกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการจึงไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๙๕ วรรคแรก”

ถ้าตีความตามตัวบท ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น ร่างแก้ไขมาตรา 211 สมัยบรรหาร ก็มีบรรหารลงนามฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยอภิสิทธิ์ ก็มีอภิสิทธิ์ลงนาม แต่ถ้าพูดกันตามหลักการจริงๆ ผมว่ารัฐธรรมนูญเขียนไว้ไม่ถูกต้อง นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ในพระราชบัญญัติ เพื่อประกาศใช้ เพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรให้ประธานรัฐสภาลงนามฯ เพราะไม่เกี่ยวกับฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับเต็มทุกฉบับก็มีประธานรัฐสภา (หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เป็นผู้ลงนาม แต่พอร่างแก้ไข กลับให้นายกฯ ลงนาม มันตลก

แต่ไม่เป็นไรเป็นแค่ประเด็นทางเทคนิค หยวนๆ ไปได้

ประเด็นใหญ่จริงๆ คือ 10 อรหันต์คัดค้านการให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญที่ สสร.ร่างออกมา ขัดต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ โดยเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย และให้เขียนเพิ่มเข้าไปในมาตรา 291/13

“ก่อนที่ประธานรัฐสภาจะส่งความเห็นไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคสาม (เพื่อลงประชามติ) ถ้านายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นชอบแล้วนั้น มีลักษณะตามมาตรา ๒๙๑/๑๑ วรรคห้า ให้เสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา แล้วให้ประธานรัฐสภาส่งความเห็นดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามมาตรา ๒๙๑/๑๑ วรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นตกไป”

โห ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญของ สสร.ตกไปเลยนะครับ

ประเด็นนี้ขอยืนยันว่ายอมไม่ได้ ด้วย 2 เหตุผลด้วยกัน คือหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจจะยุบศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะกำหนดบทตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ อาจจะกำหนดที่มาของศาลรัฐธรรมนูญเสียใหม่ เช่นให้วุฒิสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดคัดเลือกจากบัญชีนักวิชาการ ผู้พิพากษา นักปกครอง ฯลฯ โดยมีบทเฉพาะกาลว่า หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ 6 เดือนหรือ 1 ปี ให้ตุลาการชุดนี้พ้นจากตำแหน่งแล้วเลือกใหม่ ฯลฯ

ไม่ว่าจะกำหนดอย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนได้เสีย ฉะนั้นสมมติศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างรัฐธรรมนูญตกไป โดยอ้างว่าขัดต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข-ด้วยความปรารถนาดีต่อตุลาการ ผมว่าท่านได้กินต้มซุปเปอร์หม้อใหญ่แน่ (จะสั่งไปให้จากสกายไฮ คริคริ)

เหตุผลข้อสอง อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจที่รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ แต่อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจที่อยู่สูงกว่า ฉะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญจะไปตีความรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หรือรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ทั้งฉบับไม่ได้

พูดภาษาชาวบ้านคือรัฐธรรมนูญเป็นแม่ผู้ให้อำนาจศาล ศาลมีอำนาจตีความว่าร่างพระราชบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ มีอำนาจตีความคุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่เวลาที่รัฐสภาจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ตัวแม่ที่ให้อำนาจตัวเอง ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะไปตีความใดๆ ทั้งสิ้น

ตอนที่รัฐบาลอภิสิทธิ์แก้รัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยก็เคยส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่วินิจฉัยเพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาล 10 อรหันต์ก็รู้ครับ จึงพยายามจะยัดเข้ามาอยู่ในมาตรา 291/13 ดังกล่าว

แต่ประเด็นที่ 3 ที่ 10 อรหันต์ทักท้วงผมเห็นว่าถูกต้อง และคณะกรรมาธิการต้องแก้ไขโดยด่วน นั่นคือประเด็นที่ทั้ง 3 ร่างของรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา กำหนดว่าหลังลงประชามติแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยให้นำมาตรา 150 และ 151 มาบังคับใช้โดยอนุโลม ซึ่งหมายถึงให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้งแล้วหากทรงยับยั้งก็ส่งกลับไปให้รัฐสภาลงมติยืนยันนั้น

“คณะกรรมการฯ เห็นว่าไม่ควรบัญญัติในลักษณะเช่นนี้ เพราะเมื่อประชาชนลงประชามติแล้ว การให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยับยั้งแล้วกลับไปรัฐสภาเป็นผู้ลงมติยืนยันได้อีก ย่อมขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 ทั้งยังเป็นการมิบังควรอย่างยิ่งในทางการเมืองด้วย ทั้งนี้ ควรบัญญัติให้มีการลงประชามติแล้วให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ดังที่เคยบัญญัติมาในอดีตก็จะเหมาะสมกว่า”

ประเด็นนี้กรรมาธิการยังฟังไม่ได้ศัพท์อยู่เลยนะครับเพราะพีรพันธุ์ พาลุสุข รองประธานกรรมาธิการจากพรรคเพื่อไทย บอกว่ารู้สึกแปลกใจ “เขาไปยกมาได้อย่างไร กระทั่งกฎหมายธรรมดา ถ้าพระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งไว้ สภาฯก็มีสิทธิทบทวน เป็นมาตั้งแต่สมัยไหนๆ แล้ว เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย เราไม่ได้ไปลดพระราชอำนาจอะไรเลย เขาคงเข้าใจผิด”

พีรพันธุ์น่ะแหละเข้าใจผิด เพราะจริงๆ แล้ว 10 อรหันต์เสนอว่า “มิบังควรให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้งประชามติ” ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วประกาศใช้เลย

นี่เป็นหลักการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ที่จริงต้องพูดให้ชัดเลยว่า “พระมหากษัตริย์ไม่มีอำนาจยับยั้งประชามติ” เพราะประชามติคือการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน เป็นอำนาจสูงสุด สูงกว่าอำนาจรัฐสภาเสียอีก

ฉะนั้นการกำหนดว่าให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจยับยั้ง แล้วให้รัฐสภาลงมติยืนยันจึงผิดเพี้ยน เพราะแม้แต่รัฐสภาก็ยังมีอำนาจต่ำกว่าประชามติของประชาชนทั้งประเทศ จะไปยืนยันได้ไง

อันที่จริงถ้า 10 อรหันต์พูดซะให้เคลียร์ แทนที่จะมัวอ้อมแอ้มไปใช้ศัพท์ “มิบังควร” ผู้คนก็คงเข้าใจชัดเจนกว่านี้ แต่อย่างว่า 10 อรหันต์ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการสำนัก “อ้างพระราชอำนาจ” ก็เลยอ้ำๆ อึ้งๆ หลบๆ เลี่ยงๆ

ยิ่งตอนที่กิตติศักดิ์ ปรกติ แถลงข่าวการประชุมครั้งก่อน 28 มี.ค.ยิ่งเพี้ยนไปใหญ่ (แต่ผมอ้างจากเดลินิวส์ ถ้าข่าวผิดก็ขออภัย)

"ที่ประชุมได้มีการถกเถียงกันในเชิงวิชาการโดยมีข้อยุติร่วมกันว่า เมื่อประชาชนลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้วก็ให้ประธานรัฐสภานำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยได้เลย ไม่จำเป็นต้องให้รัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนมาพิจารณาอีก และในข้อเท็จจริงแม้พระมหากษัตริย์อาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วพระมหากษัตริย์ไม่เคยใช้พระราชอำนาจในเรื่องการยับยั้งร่างรัฐธรรมนูญที่มีการลงมติโดยประชาชนแล้ว

"กรรมการที่เสนอเห็นว่าหากให้มีการนำรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 150 และมาตรา 151 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการตรา พ.ร.บ.มาบังคับใช้ โดยอนุโลมกับร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาการขัดกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนได้ เช่นถ้าประชาชนลงประชามติแล้วมีการทูลเกล้าฯขึ้นไปและพระมหากษัตริย์ทรงไม่ถวายคืนกลับมา รัฐสภาก็ต้องมาพิจารณาดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแล้วก็จะเกิดปัญหาว่ารัฐสภาจะเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์หรือประชาชน ซึ่งที่ประชุมมองว่าถ้ามีการบัญญัติให้นำมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้กับร่างรับธรรมนูญฉบับใหม่โดยอนุโลมก็อาจทำให้เกิดข้อโต้แย้งโดยไม่จำเป็น จึงควรมีการบัญญัติเพียงว่าประชาชนหากประชาชนมีประชามติรับร่างประชาชนแล้ว ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯพระมหากษัตริย์แล้วจบเลย"

คำอธิบายนี้พยายามจะบอกว่าทรงมีพระราชอำนาจอยู่แต่ไม่เคยใช้ ผิดครับ พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจยับยั้งประชามติ ไม่สามารถใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เพราะประชามติอยู่เหนือพระราชอำนาจ

สาเหตุที่ไม่มีพระราชอำนาจ ถ้าอธิบายอย่างนุ่มนวลก็อธิบายตามย่อหน้าที่สองนั่นแหละ คุณจะไปบัญญัติให้พระมหากษัตริย์มีความเห็นขัดกับประชาชนเสียงข้างมากได้ไง

ฟังแล้วอย่างง คือผมเห็นด้วยกับ 10 อรหันต์ในข้อสรุป แต่เหตุผลต่างกัน อธิบายเรื่องพระราชอำนาจต่างกัน เพราะ 10 อรหันต์พยายามอธิบายว่ายังอาจใช้พระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้ แต่ผมว่าไม่ได้

ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ต้องการให้พระมหากษัตริย์พ้นไปจากความขัดแย้ง เป็นที่เคารพ เป็นศูนย์รวมจิตใจ จึงไม่ต้องการให้พระมหากษัตริย์แสดงความเห็น ซึ่งย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย

การลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา ในฐานะองค์ประมุข ไม่ได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์เห็นชอบ ผู้รับผิดชอบคือผู้รับสนองพระบรมราชโองการนั้น

มีแต่ร่างพระราชบัญญัติที่รัฐธรรมนูญให้พระมหากษัตริย์ใช้สิทธิ Veto ได้ แต่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญน่าจะเผื่อไว้ว่า ถ้าร่าง พ.ร.บ.นั้นมีผู้คัดค้านมาก ก่อให้เกิดความขัดแย้ง องค์ประมุขก็เป็นที่พึ่งสุดท้าย สมมติเช่นมีผู้ถวายฎีกาขอให้ยับยั้ง จึงทรงยับยั้ง ไม่ใช่เป็นความเห็นของพระองค์แต่อย่างใด

ซึ่งที่ผ่านมาในรัชกาลนี้ ในหลวงก็ไม่เคยยับยั้งด้วยความเห็นส่วนพระองค์ เคยมีแต่ในรัฐบาลไทยรักไทยที่ทรงยับยั้งร่าง พ.ร.บ.ราชภัฏ เพราะมีปัญหาที่วุฒิสภาตีกลับแล้วสภาผู้แทนยืนร่างเดิม แล้วเป็นร่างที่ทำไม่เรียบร้อย มั่ว เลอะเทอะ ประกาศใช้เป็นกฎหมายไม่ได้

ในแง่นี้ ที่จริงก็ยังเป็นการใช้ “พระราชอำนาจ” ในแง่ของการกลั่นกรองตรวจสอบกระบวนการ คล้ายๆ กับกรณีคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ที่ในหลวงไม่ลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯ ผู้ว่า สตง.คนใหม่ เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่สะเด็ดน้ำว่าคุณหญิงพ้นตำแหน่งหรือไม่แล้ววุฒิสภาไปตั้งคนใหม่

การใช้พระราชอำนาจกลั่นกรองกระบวนการไม่ใช่ความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ในแง่นี้แม้รัฐธรรมนูญไม่ให้อำนาจ Veto พระมหากษัตริย์ก็ยับยั้งได้ สมมติเช่น รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกา แล้วมีรัฐมนตรีออกมาโวยว่าองค์ประชุมไม่ครบ ก็สามารถยับยั้งไว้ก่อนจนกว่าจะมีการยืนยัน

แต่แม้รัฐธรรมนูญจะเปิดช่องให้พระมหากษัตริย์แสดง “ความเห็น” ได้ในการ Veto พระราชบัญญัติตามมาตรา 151 “พระราชอำนาจ” นั้นก็ยังมีอำนาจน้อยกว่ามติของรัฐสภาอยู่ดี ฉะนั้นถ้าถามว่า ประชามติของประชาชนทั้งประเทศกับมติของ ส.ส. ส.ว. 650 คน อำนาจไหนใหญ่กว่า ก็ ซตพ.ครับ พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

คณะกรรมาธิการควรลบมาตรานี้ทิ้งเสีย เพราะจริงๆ แล้วทั้ง 3 ร่างก๊อปมาจากมาตรา 291(7) ปัจจุบัน ก๊อปโดยไม่ใช้สมอง ว่านั่นมันเป็นการแก้ไขโดยรัฐสภา นี่เป็นการแก้ไขโดยประชามติ

แต่ก็ควรขอบคุณ 10 อรหันต์งามๆ เพราะถ้ากรรมาธิการตัดออกโดยลำพัง แมลงสาบและสลิ่มคงปั้นข้อหา “ล้มล้างพระราชอำนาจ” โยนใส่กันวุ่นวาย นี่ยังดี มี 10 อรหันต์อย่าง อ.สุรพล นิติไกรพจน์ อ.จรัส สุวรรณมาลา อ.นรนิติ เศรษฐบุตร อ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็นเกราะอยู่แล้ว

 

ใบตองแห้ง
10 เม.ย.55
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เอฟทีเอ ว็อทช์ เบรคอธิบดีกรมเจรจาฯ หวั่นเข้าร่วม TPP กระทบการเข้าถึงยา

0
0

(10 เม.ย.55) ตามที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พยายามผลักดันให้ประเทศไทยการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) โดยอ้างผลการศึกษาว่า อุตสาหกรรมไทย ทั้งเกษตร อาหาร สิ่งทอ อัญมณี ท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ จะได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมข้อตกลงนี้อย่างมาก

นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา สมาชิกกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอ ว็อทช์ เห็นว่า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศควรให้ข้อมูลกับสาธารณะอย่างครบถ้วน เพราะในการศึกษาเบื้องต้นของกรมฯที่จัดจ้างบริษัทเอกชนทำ ยังระบุว่า การเข้าร่วม TPP มีผลกระทบอย่างมากโดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงยาและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

“กรมเจรจาฯควรเลิกวิธีการโฆษณาชวนเชื่อว่าทำเอฟทีเอมีแต่ด้านดีด้านเดียวได้แล้ว เพราะแม้แต่งานศึกษาที่กรมเจรจาฯจัดจ้างบริษัทเอกชนทำ ยังชี้ว่า ในการเจรจา TPP ที่ 8 ประเทศกำลังเจรจาฯกันอยู่ สหรัฐฯมีข้อเรียกร้องสูงมาก ทั้งการบังคับให้จดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ การขยายอายุสิทธิบัตร จาก 20 ปีออกไปอีกไม่เกิน 5 ปีเพื่อชดเชยความล่าช้าของกระบวนการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร และให้ขยายอายุสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการใช้ยาแบบใหม่เพียงเล็กน้อย การผูกขาดข้อมูลยา 5 ปี สำหรับยาใหม่ และ 3 ปี สำหรับยาที่ได้รับสิทธิบัตรมาแล้ว ในเรื่องนี้ท่าทีสมาชิก TPP อื่นๆ ยังมองว่า จะทำให้ผูกขาดยาต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงยาได้ จำกัดการบังคับใช้สิทธิ (ซีแอล) ไม่อนุญาตให้หน่วยงานจัดซื้อยาของรัฐต่อรองราคายา และบังคับเปิดตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ยิ่งไปกว่านั้น ด้านการค้าบริการและการลงทุน สหรัฐฯเรียกร้องให้ใช้แนวทาง Nagative List (อะไรที่เปิดเสรีไม่ได้ให้แจ้ง) ให้เปิดให้ชาวต่างชาติถือหุ้นได้ 100% การโอนเงินทำได้โดยเสรีและไม่มีอุปสรรค ต้องการให้มีบทบัญญัติเรื่องอนุญาโตตุลาการที่จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องยกเลิกนโยบายสาธารณะหรือเรียกค่าชดเชยจากรัฐในนโยบายต่างๆ ได้ ซึ่งขณะนี้ทั้งมาเลเซีย เวียดนาม และบรูไน ยังไม่ยอมรับ ส่วนออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ประกาศไม่ต้องการให้มีบทบัญญัติเรื่องอนุญาโตตุลาการ”

สมาชิกเอฟทีเอ ว็อทช์ ระบุว่า สิ่งสำคัญที่กรมเจรจาฯไม่ยอมพูด หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ คือ การที่ประเทศใดเข้าไปเจรจาทีหลังจะถูกบังคับให้ยอมรับความตกลงที่มากกว่า ประเทศสมาชิกเดิม 8 ประเทศ ซึ่งขณะนี้ ญี่ปุ่นกำลังเผชิญภาวะความกระอักกระอ่วนนี้อยู่

“ในระยะหลัง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศจัดจ้างบริษัทเอกชนมาทำการศึกษามากขึ้น ในการนำเสนองานศึกษาของบริษัทเอกชนที่กรมเจรจาฯจัดจ้างหลายครั้ง เชิญแต่ภาคเอกชน เช่น สภา หอการค้า สภาอุตสาหกรรม แต่ไม่เคยเชิญภาคประชาสังคมหรือกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ เลย ขอเรียกร้องให้กรมเจรจาฯ ยุติการโฆษณาชวนเชื่อ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชน ดำเนินการอย่างเปิดเผยโปร่งใส ทำการศึกษาอย่างครบถ้วนรอบด้าน และเปิดรับฟังความคิดเห็นของสาธารณะอย่างจริงจัง จริงใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ”

นอกจากนี้ การเจรจา TPP ถูกตั้งข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองระหว่างประเทศว่า สหรัฐฯพยายามผลักดันอย่างมาก เพราะต้องการขยายอิทธิพลด้านการค้าและการเมืองผ่าน TPP และชิงความได้เปรียบเหนือจีน มากกว่าที่จะเป็นเรื่องวัตุประสงค์ทางการค้าเท่านั้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายถึงคุณ สังคม

0
0

เขียนที่ ไหนสักแห่ง
10 เมษายน 2555

เรียนคุณสังคมที่รักและเคารพ
ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงคุณสังคม เพื่อสอบถามสารทุกข์สุขดิบว่าเป็นอย่างไร เพราะทราบว่าเพิ่งสูญเสียญาติผู้ใหญ่ไป หวังว่าคุณจะหายโศกเศร้าแล้ว แต่วันที่ผมเขียนจดหมายนี้ไม่ทราบว่าคุณยังจำได้หรือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อปี 2553 ตอนตะวันใกล้ลับขอบฟ้า ผมคิดว่าคุณคงจำไม่ค่อยได้แล้วหรือจำได้ก็คงเลือนรางทั้งๆ ที่เวลาผ่านมาเพียงช่วงไม่กี่ปี วันนั้นมีคนใส่เสื้อแดงกลุ่มหนึ่งมาชุมนุมด้วยความเชื่อทางการเมืองแบบหนึ่ง ที่เชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจ เค้าเหล่านั้นออกมาเรียกร้องให้พิสูจน์เจตจำนงของประชาชนด้วยการยุบสภาและให้มีการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่เขาได้ตอบรับในวันนั้นคือการเข้าล้อมปราบด้วยกระสุนจริงแต่ประดิษฐ์ถ้อยคำว่า มาขอพื้นที่คืน คุณสังคมคงพอรำลึกถึงได้แม้จะพยายามให้บิดเบือนอย่างใดก็ตาม พยายามนำกระแสธารวาทกรรมต่างๆ มาชำระล้างความจริงแท้ให้ออกไปจากหน้าประวัติศาสตร์สักเพียงใด แต่สิ่งที่ไม่ได้จางหายไปคือ ภาพชีวิตที่ร่วงหล่น โลหิตที่ไหลนองบนพื้นถนนและสาดกระเซ็นใส่เสื้อสีแดง ที่แม้มันจะสีเดียวกันกับเลือดแต่ก็มองเห็นได้เด่นชัดเมื่อเปรอะเลอะเนื้อตัว เสียงกระสุนปลิวว่อนตัดอากาศมาปะทะร่าง ปะปนกับเสียงโห่ร้องพร้อมร่ำไห้กับชะตากรรมของผู้ร่วมอุดมการณ์ คุณสังคมพอระลึกได้หรือไม่ครับ ท่ามกลางช่วงเวลาที่ผู้คนเรียกหาการให้อภัย การปรองดอง เรียกร้องให้ลืมอดีตเสีย แต่ผมและเหล่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์คงลืมไม่ได้ แต่ก็ได้แต่กล้ำกลืนเพราะมีคนบอกว่าเราต้องเดินหน้าเพื่อสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาของประเทศ ผมคงไม่ขออะไรคุณสังคมมาก เพียงขอมาปรับทุกข์แบบเล่าสู่กันฟัง

คุณสังคมครับ ช่วงนี้พอจะได้เจอกับท่านอดีตนายกและรองนายกผู้สั่งการในเหตุการณ์นั้นบ้างหรือไม่ครับ ถ้าเจอพวกเค้าหรือคนในพรรคของเค้าฝากความไปบอกกล่าวเขาด้วยครับว่า ท่านเหล่านั้นควรมีความละอายในสิ่งที่ได้กระทำลงไปบ้าง แม้แต่เพียงเล็กน้อยพอให้รู้ว่าท่านยังมีสำนึกแห่งความเป็นมนุษย์ผู้มีศาสนาบ้าง เพราะหลังจากเหตุการณ์ในวันที่ 10 ท่านเหล่านั้นนอกจากสั่งฆ่าเพื่อนเราแล้ว ยังขุดศพเพื่อนเรามาเยาะเย้ยถากถาง ประณามหยามหมิ่น เหยียบหยามใส่ร้ายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คนเจ็บเพื่อนเราถูกใส่ร้าย กล่าวหาคนตายว่าเป็นโจรเผาบ้านเผาเมือง ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นที่ตาย ตายก่อนไฟไหม้ทั้งสิ้น แม้แต่ในวันนี้ท่านเหล่านั้นก็มีการทำกิจกรรมทางการเมืองบริเวณที่เพื่อนเราตาย ความรู้สึกของเราประหนึ่ง ฆาตกรวนเวียนกลับไปที่เกิดเหตุ แล้วถ่มน้ำลายรดหน้าศพ ฝากคุณสังคมไปบอกท่านเหล่านั้น ได้โปรดหยุดทำอะไรที่หมิ่นหยามน้ำใจกันบ้างเถิดครับ

สุดท้ายนี้ผมฝากถึงคุณสังคมโดยตรงนะครับ ฝากให้คุณสังคมกลับไปเรียนรู้ประวัติศาตร์การเมืองและนำมาเป็นบทเรียนเสียบ้าง ว่าแนวคิดแบบไหนทำให้คนเป็นอย่างไร การที่คุณสังคมจะรักใครมากเกลียดใครมากนั้นไม่ใช่ปัญหา เพราะในเมื่อเราบอกว่าเราเป็นประชาธิปไตย แต่กระนั้นการรักใครเกลียดใครก็ไม่ได้หมายความว่าคุณสังคมจะสนับสนุนให้มีการฆ่ากันได้เพียงเพราะปัญหาเรื่องความรักความเกลียดเท่านั้น คุณสังคมต้องหัดเข้าใจและหัดใช้มันสมองคิดไตร่ตรองหาเหตุและผลในเรื่องต่างๆ ใช่แต่เพียงอ่านหัวข้อข่าวจากสื่อมวลชนเลือกข้างเพียงสี่ห้าบรรทัดแล้วท่านก็มาตัดสินเอาเอง คุณสังคมต้องออกจากกะลาทางความคิดล้าหลังที่ครอบงำคุณสังคมเองอยู่แล้วหัดไปดูว่าประเทศอารยะนั้นเค้ามีวิธีใช้เหตุผลกันอย่างไร และไม่ว่าคุณสังคมจะเข้าใจเหตุการณ์ 10 เมษา 53 อย่างไรก็ช่าง แต่ขออย่างว่าอย่าได้ลืมมันไป และจงจำไว้เพื่อเตือนความคิดสติปัญญาว่า คนเราไม่ควรพรากชีวิตผู้อื่นเพียงเพราะเค้าคิดไม่เหมือนกัน

ด้วยความระลึกถึง

10 เมษายน 2555
ปล. ขออุทิศแด่ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 10 เมษายน 2553

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แผนหยุดยิงไร้หวัง รัฐบาลซีเรียยิงคนหนีข้ามแดนไปตุรกี

0
0

แม้จะถึงกำหนดการหยุดยิงในวันแรกตามแผนของยูเอ็น แต่ซีเรียก็ยังคงปะทะกันโดยไม่มีทีท่าว่าจะมีการหยุดยิงทั้งสองฝ่าย ฝ่ายรัฐบาลซีเรียยิงข้ามฝั่งพรมแดนไปยังตุรกีเพื่อสกัดผู้อพยพ ขณะที่ฝ่ายต่อต้านบอกต้องการกำลังทางอากาศยานจากต่างชาติ

วันที่ 10 เม.ย.55 สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า แม้จะถึงกำหนดการที่ทางยูเอ็นเสนอแผนหยุดยิงจากทุกฝ่ายในซีเรียเป็นวันแรก แต่ก็ยังคงมีการยิงและใช้อาวุธหนักถล่มหมู่บ้านประชาชน

กองทัพซีเรียได้ยิงโจมตีใส่หมู่บ้านคนข้ามรอยต่อพรมแดน ขณะที่กลุ่มทางการทูตพยายามทำให้แผนการสันติภาพของยูเอ็นบรรลุผล แม้จะผ่านขั้นแรกของกำหนดเส้นตายการหยุดยิงไปแล้วก็ตาม

โคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติผู้เสนอแผนดังกล่าวเดินทางเยือนตุรกีและอิหร่านในวันที่ 10 เม.ย. ขณะที่รัสเซียต้อนรับการมาเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศของซีเรีย

"กำหนดการวันที่ 10 เม.ย. กลายเป็นโมฆะ" นาชิ โครู รอง รมต.ต่างประเทศของตุรกีกล่าว ขณะเดียวกันตุรกีก็ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการใช้อาวุธยิงข้ามฟากพรมแดนใส่ค่ายผู้ลี้ภัยในตุรกีจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย ในเขตชายแดนที่อันนันหมายจะมาเยือนในวันเดียวกันนี้

ประเทศใกล้เคียงอีกหนึ่งคือเลบานอนก็ออกมาประนามการสังหารผู้สื่อข่าวในประเทศเลบานอนโดยการที่ทหารของซีเรียยิงข้ามพรมแดนมาอีกฝั่ง

โฆษกการต่างประเทศของสหรัฐฯ วิกเตอเรีย นูแลนด์ บอกว่า "เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้อีกอย่างหนึ่งว่ารัฐบาลอัสซาด ดูไม่มีความต้องการปฏิบัติตามฉันทามติที่ให้ไว้กับโคฟี่ อันนันเลย"

ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีร่า อนิตา แมคนอจ รายงานจากแอนตาคิอาทางตอนใต้ของตุรกีว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการยกระดับของสถานการณ์ความตึงเครียดในเขตชายแดนซึ่งมีระดับความตึงเครียดสูงอยู่แล้ว

มีรายงานว่าเหตุยิงข้ามพรมแดนดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่กองกำลังของซีเรียพยายามสกัดกั้นไม่ให้ผู้อพยพหนีเข้าไปในประเทศตุรกี

มีชาวซีเรียหลายพันคนอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 8 แห่ง ในเขตปกครอง 3 แห่งติดกับพรมแดนของซีเรีย ขณะที่มีผู้อพยพส่วนอื่นๆ ข้ามพรมแดนไปยังเลบานอน, จอร์แดน และอิรัก

ในกรุงดามากัส ประธานาธิบดี บาชาร์ อัล-อัสซาด ไม่ได้กล่าวอะไรในวันจันทร์ (9 เม.ย.) ที่ผ่านมา เขาไม่ได้บอกว่าจะปฏิบัติตามข้อเสนอของอันนันในการนำกองทัพออกจากเขตบ้านเรือนประชาชนภายในวันที่ 10 เม.ย. หรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 เม.ย. ที่ผ่านมา อัสซาดได้เรียกร้องให้ฝ่ายกบฎมีศรัทธาที่ดีต่อฝ่ายรัฐบาล ซึ่งทางผู้นำฝ่ายต่อต้านปฏิเสธ เมื่อรวมกับเหตุการณ์ปฏิบัติการที่เป็นปฏิปักษ์ของกองทัพซีเรียแล้ว ทำให้มีความสงสัยว่ากำหนดการหยุดยิงเต็มรูปแบบที่อันนันกำหนดเส้นตายไว้ในเวลา 6 โมงเช้าของวันพฤหัสฯ (12 เม.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่

ด้าน วาลิด อัล-มูอะเล็ม รมต.ต่างประเทศของซีเรีย ไปเยือนรัสเซียเพื่อหารือกับรมต.ต่างประเทศของรัสเซีย เซอกี ราฟลอฟ

หนึ่งในตัวแทนของลาฟรอฟบอกว่ารัสเซียกำลังทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของซีเรียในการเปิดให้มีการเจรจากับฝ่ายต่อต้าน แต่เขาก็กล่าวย้ำว่าทางรัสเซียไม่สนับสนุนการใช้กำลังจากต่างชาติเข้าแทรกแซง

'หากแผนการของอันนันไม่สำเร็จ ... ซีเรียก็จะเข้าสู่สงครามกลางเมือง'

นอกจากฝ่ายรัฐบาลจะยังไม่หยุดยิงแล้ว ยังไม่สัญญาณใดบ่งบอกว่าฝ่ายกบฎจะหยุดยิงเช่นกัน นักกิจกรรมฝ่ายต้านรัฐบาลบอกว่ากองกำลังของพวกเขาติดอาวุธเบาและอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย กำลังถูกฝ่ายรัฐบาลโจมตีอย่างหนัก

นายพลคนหนึ่งที่ย้ายข้างจากฝ่ายรัฐบาลมาเป็นฝ่ายต่อต้านต้องการให้มีกองกำลังทางอากาศจากต่างชาติโจมตีใส่ปืนใหญ่และหน่วยรถถังของกองทัพซีเรีย

"คุณไม่จำเป็นต้องดำเนินภารกิจทางอากาศในระยะยาวก็ได้ ร้อยละ 70 ของกองกำลังซีเรียเริ่มไม่ทำอะไรแล้ว และการจู่โจมทางอากาศยานจะเป็นการส่งข้อความให้กับประชาชนชาวซีเรียได้รับรู้ว่า ประชาคมโลกอยู่ข้างพวกเขา" มุสตาฟา อัล-ชีค เจ้าหน้าที่ทหารที่ย้ายข้างมาอยู่ฝ่ายต่อต้านกล่าว

ชีคกล่าวอีกว่า อัสซาดไม่สามารถอาศัยกองทัพจากการเกณฑ์ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นมุสลิมนิกายซุนนีได้ เนื่องจากพวกเขาจะไม่ฟังคำสั่งจากเหล่าผู้นำกองทัพที่ประกอบด้วยชาวนิกายอะลาไวท์แบบเดียวกับประธานาธิบดีซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อย

นอกจากนี้ชีคยังเรียกร้องสหรัฐฯ ตุรกี และชาติอาหรับ ทำการโจมตีแบบเดียวกับที่เคยทำในสมัยทศวรรษ 1990 กับยูโกสลาเวีย โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ทหารที่หนีออกจากกองทัพได้รวมกลุ่มกัน

ขณะเดียวกันทางนักกิจกรรมฝ่ายต่อต้านก็กล่าวหาว่ากองกำลังรัฐบาลได้ยิงถล่มหมู่บ้านใกล้ๆ กับเมืองอิดลิบ รวมถึงในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ

กลุ่มสิทธิมนุษยชนในซีเรียรายงานตัวเลขความสูญเสียว่า มีผู้เสียชีวิตจากการปะทะในวันที่ 9 เม.ย. จำนวน 48 ราย รวมทหาร 12 ราย มีประชาชนอย่างน้อย 35 รายถูกสังหารในหมู่บ้าน ลาทัมนา ใจกลางเขตฮามา

"รัฐบาลคิดว่าพวกเขาจะสามารถควบคุมพื้นที่ที่มีฝ่ายกบฎไว้ได้ทั้งหมด ก่อนวันที่ 10 เม.ย. และเมื่อไม่สำเร็จ พวกเขาจึงได้แต่ฆ่าเวลา" รามี อับเดล ราห์มาน สมาชิกองค์กรสิทธิฯ กล่าว

"หากแผนการของอันนันไม่เป็นผล ก็จะไม่มีแผนการใดสำเร็จอีกแล้ว ซีเรียจะเข้าสู่สงครามกลางเมือง" ราห์มานกล่าว

 

ที่มา

Syria ceasefire plan prospects grow dim, 10-04-2012, Aljazeera
http://www.aljazeera.com/news/middleeast/2012/04/201249162749211983.html

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประณามบอร์ด สปส.เหตุไม่เห็นชอบเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน

0
0

(10 เม.ย.55) ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ออกแถลงการณ์เรื่อง "ประณามบอร์ด สปส.เหตุไม่เห็นชอบเจ็บป่วยฉุ

กเฉิน 3 กองทุน" จากกรณีมติคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ไม่เห็นชอบในการเซ็นข้อตกลงร่วม 3 ฝ่าย เรื่องให้ประชาชนเข้ารับบริการที่ใดก็ได้ หากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยใช้อัตราการจ่าย DRG ละ 10,500 บาท ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลอีกมหาศาล

โดยระบุว่า มติดังกล่าวถือเป็นมติที่แสดงถึงความไม่เข้าใจความทุกข์ยากของผู้ประกันตน ของคณะกรรมการประกันสังคม ซึ่งผู้ประกันตนถือเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหามากที่สุด คือ ผู้ประกันตนเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ปีละ 2 ครั้ง และต้องสำรองจ่ายไปก่อนใน 72 ชั่วโมง เกินจากนั้นผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบเอง นโยบายในข้อตกลงร่วม 3 ฝ่ายกรณีฉุกเฉินนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนสูงสุดทันที ถือว่าได้ปลดแอกผู้ประกันตนจากความยากลำบากในกรณีฉุกเฉินทันที

ดังนั้น ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนจึงขอประณามกรรมการประกันสังคมที่ไม่ก้าวหน้า ไม่เห็นความทุกข์ของผู้ประกันตน ไม่มีความพยายามในการแก้ไขปัญหาของผู้ประกันตนที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนี้ รวมถึงเมื่อมีความพยายามของส่วนอื่นที่มุ่งแก้ปัญหาให้ผู้ประกันตนอย่างถูกทาง ก็มีมติที่แสดงความไม่เข้าใจทุกข์นี้ด้วย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อิหร่านเตรียมตัดอินเทอร์เน็ต สร้างอินทราเน็ตใช้ในประเทศภายใน 5 เดือน

0
0

เว็บไซต์ blognone รายงานว่า Reza Taghipour รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีของอิหร่านประกาศแผนการสร้าง "อินเทอร์เน็ตสะอาด" โดยการสร้างบริการต่างๆ ขึ้นทดแทนบริการจากโลกตะวันตก เช่น Iran Mail, Iran Search Engine โดยอิหร่านเคยประกาศแผนการนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว

แผนการนี้จะแบ่งออกเป็นช่วง ช่วงแรกจะตัดบริการใหญ่ๆ ที่รัฐบาลได้ทำขึ้นทดแทนแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นภายในเดือนสิงหาคมจะตัดเว็บทั้งหมดออก เหลือให้เข้าได้เฉพาะเว็บที่อยู่ในรายการอนุญาตเท่านั้น

การสมัคร Iran Mail ทุกวันนี้ต้องอาศัย ชื่อจริง, บัตรประชาชน, และกรอกที่อยู่เต็ม โดยกระบวนการต้องได้รับการยืนยันจากหน่วยงานรัฐก่อนใช้งาน

ก่อนหน้านี้อิหร่านเป็นชาติที่พยายามเซ็นเซอร์หรือดักฟังการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างหนัก มีประชาชนจำนวนมากถูกจับเพราะโพสต์ข้อความผิดกฏหมาย และมีความพยายามจะปิดกั้น Tor (ระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยนิรนาม) อย่างต่อเนื่อง

นโยบายการสร้างเน็ตภายในประเทศของอิหร่านถูกวิจารณ์ว่าจะปิดโอกาสของบริษัทอิหร่านในการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะจีนและรัสเซีย ตอนนี้อิหร่านมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 11% ของประชากร

แผนการของอิหร่านมีดังนี้

สร้างเครือข่ายภายในประเทศสำหรับคนมุสลิม เน้นจริยธรรมและศีลธรรม สอดคล้องตามกฎหมายอิสลาม
ประชาชน 60% ของประเทศจะได้ใช้เครือข่ายใหม่ในเร็วๆ นี้ และจะใช้หมดทั้งประเทศภายใน 2 ปี
ช่วงแรกๆ อิหร่านจะยังมีเน็ตทั้งสองแบบขนานกันไป โดยธนาคาร หน่วยงานราชการ บริษัทขนาดใหญ่ จะยังใช้อินเทอร์เน็ตปกติได้อยู่
แต่ภายหลัง ประเทศอิหร่านจะเปลี่ยนมาใช้เครือข่ายในประเทศแทนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด
อิหร่านยังจะพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองเพื่อใช้แทนวินโดวส์ และจะเปิดตัวในอีกไม่ช้า

 

ที่มา:

  • อิหร่านเตรียมตัดอินเทอร์เน็ต สร้างบริการอินทราเน็ตใช้ในประเทศภายในห้าเดือน
    http://www.blognone.com/node/31509
  • อิหร่านจะสร้าง "เน็ตในประเทศ" ใช้แทน "อินเทอร์เน็ต" ภายใน 2 ปี
    http://www.blognone.com/news/23983
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รำลึก 2 ปี พล.อ.ร่มเกล้า ภรรยายันปรองดองเริ่มต้นจาก “ความจริง”

0
0

 

 

 

10 เม.ย.55  เวลา  13.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีการจัดงานรำลึกเหตุการณ์การเสียชีวิตของของ พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (รอง เสธ.พล.ร.2 รอ.) จากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่จากผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 โดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ได้นำผู้เข้าร่วมไปววางดอกไม้ ณ จุดที่พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม เสียชีวิต เพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่พลเอกร่มเกล้า ณ  บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ

จากนั้นเวลาประมาณ 15.00 น. ได้เคลื่อนขบวนมายังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ เพื่อจัด “งานรำลึก 2 ปี พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และเพื่อนมิตร” โดยก่อนจะมีเวทีเสวนา นางทิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ได้กล่าวแนะนำญาติพลทหารที่เสียชีวิตในเหตุการณ์และเปิดโอกาสให้ถ่ายทอดความรู้สึก ก่อนที่นางทิชาจะกล่าวถึงการปรองดองว่า การปรองดองมีหลายเงื่อนไขหลายหลายองค์ประกอบที่ คู่กรณีและฝ่ายต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรองดอง ไม่ใช่เฉพาะเหยื่อไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่หรือว่านั่งอยู่ในสภาหรือมีตำแหน่งแต่อย่างใด

นางทิชากล่าวว่า คำว่าปรองดองเป็นเรื่องของความรู้สึกของคน ความต้องการหรือจุดยืนของแต่ละคนก็ต่างกัน อย่างพวกเราในฐานะผู้เสียชีวิต ครอบครัวผู้เสียชีวิต สิ่งที่เราต้องการคงไม่มีอะไรที่มาทดแทนได้ สิ่งที่เราอยากได้คืนก็คือชีวิตของคนที่เรารัก แต่ยังไงมันก็ไม่มีวันได้คืน สิ่งที่เราอยากจะเรียกร้องก็คืออย่าให้คนอื่นต้องเสียชีวิตเหมือนอย่างที่พวกเราได้เจอ คนที่ยังอยู่นั้นเหมือนตายไปแล้วทั้งเป็น

“จะบอกไว้เลยคนที่อยู่นี้ เขาไม่ได้ฆ่าร่มเกล้าคนเดียวแต่เขาฆ่าเราด้วย มันตายไปด้วย เพราะฉะนั้นคือไม่อยากให้พวกเราต้องเจอกับสภาพสูญเสียแบบนี้อีก นอกจากว่าคนที่สูญเสียไปไม่เป็นทรัพยากรที่จะทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง ร่มเกล้าเนถ้าอยู่ก็ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองได้อีกมาก” นางทิชากล่าว

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีต ผอ.หน่วยข่าวกรอง กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันที่ 10 เม.ย.53 ว่าทหารจำเป็นต้องเข้ามาสลายการชุมนุมเนื่องจากการเดินทางสู่ฝั่งธนถูกปิดกั้น จึงต้องการพื้นที่บางส่วนคืนเพื่อเปิดเส้นทาง แต่กลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งมีไม้ไผ่เหลาแหลมเป็นอาวุธมีกำลังมากกว่า กำลังทหารจึงไม่สามารถรุกเข้าไปได้ และเมื่อเกิดการปะทะกับกองกำลังไม่ทราบฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถอยหลังได้เพราะถูกปิดเส้นทาง แม้ทหารมีอาวุธก็ไม่กล้ายิงเนื่องจากคนกลุ่มดังกล่าวอาศัยประชาชนคุ้มกัน ความสูญเสียจึงเกิดขึ้น  จนมาถึงปัจจุบันนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอซึ่งเคยบอกว่าเสื้อแดงเป็นคนทำ วันนี้ก็สติฟั่นฟือนไปแล้ว

พล.ท.นันทเดชยังกล่าวถึงการปรองดองว่า  สิ่งที่ต้องทำก่อนการปรองดองคือการค้นหาความจริงของเหตุการณ์ในวันนั้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นก็ใช้เวลานับสิบๆ ปีกว่าจะค้นหาความจริงและนำไปสู่การปรองดอง

“มันจะเป็นไปได้อย่างไรในมื่อรอยแผลแห่งความแค้นยังปรากฏอยู่” อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกล่าว

นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมีผลเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปอย่างไม่อาจคาดคิด โดยรัฐบาลพยายามจะอ้างการปรองดองโดยให้ตัวเองกลับมามีอำนาจเบ็ดเสร็จและบอกให้สังคมลืมการเสียชีวิตของประชาชน ทหารในเหตุการณ์ที่ผ่านมา

นายสมชายยังกล่าวถึงมติครม. 10 ม.ค.55 ที่ให้จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียชีวิต 7.5 ล้านบาทว่า แม้ตนจะเข้าใจว่าการช่วยเหลือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวผู้สูญเสีย แต่ก็นับเป็นการกระทำที่สองมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ภาคใต้ หรือการชดเชยให้กับผู้ต้องขังที่ถูกยกฟ้อง ที่สำคัญ เงินดังกล่าวมีที่มาไม่ชอบมาพากล เนื่องจากนายจตุพร พรหมพันธ์ และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ได้กล่าวตั้งแต่ตอนที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้เข้ารับตำแหน่งว่าตกลงกันได้แล้วว่าจะจ่ายชดเชยผู้เสียชีวิต 10 ล้านบาท แต่ในที่สุดก็มีการต่อรองลดลง 25% เพื่อการปรองดอง

สมชายกล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในเวลาซึ่งเป็นหลักสากลและเป็นข้อเสนอที่ทั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดอง (คอป.) และสถาบันพระปกเกล้าเสนอก็คือ การค้นหาความจริงให้ปรากฏ แต่วันนี้รัฐบาลกลับรวบรัดตัดตอน ผู้ต้องหาที่จับได้ว่าเป็นผู้ยิง M79 วันนี้ก็ไม่แน่ว่านอนสบายอยู่เรือนจำใหม่บางเขนหรือไม่

 

นางสาวรสนา โตสิตระกูล ส.ว.สรรหากล่าวว่า ข้อผิดพลาดสำคัญคือ หลัง 19 ก.ย.49 นักการเมืองที่เราต่อสู้ด้วย ไม่ได้ถูกจัดการอย่างทันทีทันใด จึงฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกได้ และคนทำรัฐประหารในวันนี้ก็ไปอยู่ฝ่ายที่ตัวเองรัฐประหารเสียแล้ว

“ทหารที่ลุกมาปฏิวัตินั้นฉวยโอกาส ถ้าไม่ปฏิวัติ ประชาชนก็จัดการกับทักษิณไปได้นานแล้ว วันนั้นยังไม่มีเสื้อแดง และกำลังของทักษิณก็อ่อนล้า วันี้เป็นสงครามชิงเมือง สภาไม่สามารถทำอะไรได้ เขาอาศัยการยกมือเท่านั้น เลือกตั้งในเงิน 50,000 ล้านก็ยึดประเทศไทยได้แล้ว แล้วเข้ามาล้วงทรัพยากร” รสนากล่าว พร้อมระบุให้จับตาดูการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะยิ่งตัดอำนาจประชาชนในการตรวจสอบรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นมาตรา 67 หรือ มาตรา 190

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านนี้ในช่วงเช้า ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดพิธีทำบุญครบรอบ 2 ปีการเสียชีวิตของ พ.อ.ร่มเกล้า โดยมี พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาคที่ 1  นายทหารชั้นผู้ใหญ่จาก พล.ร.2 รอ. และผู้บังคับหน่วยของกองทัพภาคที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวมาร่วมงาน  และนางนิชา ภรรยา พล.อ.ร่มเกล้า ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เหตุการณ์ผ่านไป 2 ปี มีสิ่งที่เราไม่เข้าใจเกิดขึ้น จนต้องสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับคดีต่างๆ เพราะ 2 ปีก็เป็นเวลาที่เราให้มากพอสมควรกับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ แต่ว่าคดีมีความคืบหน้าไประยะหนึ่งแล้ว ดูเหมือนกับว่ามีการเปลี่ยน ซึ่งเราไม่เข้าใจก็ต้องถามด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่อยากจะฟังคำตอบ

เมื่อถามว่า มั่นใจว่าจะหาตัวคนร้ายที่สังหาร พ.อ.ร่มเกล้าได้หรือไม่ นางนิชากล่าวว่า เป็นเรื่องยาก เพราะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก แต่อย่างน้อยที่สุดถ้าเราเห็นความตั้งใจหรือมีเจตนาที่จะป้องกันป้องปราม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก คงจะทำให้การตายของคนที่ตายไปไม่สูญเปล่า ไม่ว่าจะหาตัวได้หรือไม่ได้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือภาครัฐแสดงให้เห็นว่าหลักนิติรัฐคืออะไร และยังเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม

ส่วนเรื่องการปรองดอง นางนิชากล่าวว่า ถ้ามองความปรองดองสมานฉันท์ ไม่ใช่มีแค่การนิรโทษกรรม แต่มีองค์ประกอบ 4 อย่างคือ การค้นหาความจริง การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม การเยียวยา การนิรโทษกรรม ไม่สามารถจะแตะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วบอกว่านี่คือการปรองดอง ทุกอย่างต้องไปทั้ง 4 ตัวแปร แล้วควรต้องเรียงลำดับว่าจาก 1 ไปสู่ 2 3 และ 4 แต่วันนี้ต้องการคำอธิบายว่า ทำไมข้ามขั้นตอนการค้นหาความจริง แล้วกระโดดไปสู่นิรโทษกรรม อยากจะฝากว่า ความปรองดองสมานฉันท์เป็นเรื่องของคนในชาติ ประชาชนทุกคน เพราะฉะนั้นอาจต้องใช้เวลาในการเยียวยาเวลา มันเป็นโอสถที่ใช้ในการเยียวยา จะทำให้การพูดคุยกันในสังคม การเปิดใจความคิดเห็นรับฟังซึ่งกันละกัน ก็เป็นการเยียวยาไปในตัว หากรีบเร่งมากน่าจะนำไปสู่ผลเสียมากกว่าผลดี ประชาชนน่าจะมีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการสมานฉันท์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทัศนะต่อการปรองดอง จากหนึ่งพ่อผู้เสียชีวิต 10 เมษา

0
0

 

 

 

5 คำถามกับ บรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ พ่อของ เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ ชายหนุ่มที่เสียชีวิตด้วยวัย 28 ปี ที่บริเวณสี่แยกคอกวัวในคืนวันที่ 10 เม.ย.53 ขณะที่กำลังทหารกำลังเข้า “ขอคืนพื้นที่” จากผู้ชุมนุม เขาอยู่ในกลุ่มคนที่อยู่ด้านหน้าและถูกยิงเข้าที่แผงอก 5 นัด

เราพบเขาและภรรยาโดยบังเอิญที่หัวถนนข้าวสารตอนบ่ายแก่ ขณะกำลังนั่งพักริมถนน หลังจากจุดเทียน วางอาหารไว้หน้ารูปถ่ายของลูกชายในจุดใกล้เคียงกับจุดที่เขาเสียชีวิต ก่อนที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะร่วมจุดเทียนรำลึกผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการในช่วงค่ำ

00000

ผ่านไป 2 ปี ทุกวันนี้ชีวิตเป็นอย่างไร และต้องการอะไรมากที่สุด

ตั้งแต่ลูกตายตั้งแต่วันที่ 10 เมษา2553 ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีความสุขกับสิ่งเป็นอยู่ คิดถึงแต่ลูก อยากให้ลูกกลับมาอยู่ด้วย จะกิน จะเที่ยว จะอะไรก็ไม่เหมือนตอนลูกอยู่ อยากให้เขากลับมา แต่มันเป็นไปไม่ได้ อยากให้รัฐบาลชุดยิ่งลักษณ์ดำเนินคดีให้กับลูกชายและผู้เสียชีวิตทั้ง 91 ศพ ให้รู้ว่าใครเข่นฆ่าประชาชน อยากให้เร่งหาคนสั่งฆ่ามาลงโทษ

 

มองทิศทางการปรองดองตอนนี้อย่างไร

เรื่องการปรองดองนั้นเราสนับสนุน  ไม่ว่าจะเป็นการนิรโทษกรรม หรือปรองดอง ครอบครัวฟุ้งกลิ่นจันทร์ยินดี ไม่เช่นนั้นสังคมมันคงไปต่อไม่ได้ แต่เรื่องค้นหาความจริงและหาคนผิดในเหตุการณ์ปี53 ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพทำไว้ก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ต้องหาข้อเท็จจริง

 

แต่ถ้านิรโทษกรรมก็จะครอบคลุมทุกฝ่าย

ต่อให้นิรโทษกรรมทุกฝ่าย ก็ขอให้ครอบครัวฟุ้งกลิ่นจันทร์รู้ว่าใครเป็นคนผิด ให้รู้ว่ามีคนผิด ไม่เป็นไร ขอให้ได้รู้ ก็เหมือนกับเหตุการณ์ทั่วๆ ไป 14 ตุลา พฤษภา35 ก็นิรโทษกรรมให้คนฆ่าประชาชนทั้งนั้น

...แต่พ่อว่า ถึงที่สุดนรกจะไม่นิรโทษกรรมให้คนสั่งฆ่าประชาชน

 

อีกฝั่งถนน คนกลุ่มหนึ่งก็มาจัดงานรำลึกถึงการจากไปพล.อ.ร่มเกล้า ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้ง มองกรณีนี้อย่างไร

พ.อ.ร่มเกล้าก็เป็นประชาชนคนหนึ่งที่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ถ้าเขาไม่ทำเขาก็ได้รับโทษ อาจมีคนฝั่งนั้นบอกว่า คนเสื้อแดงหรือผู้ชุมนุมยิง เขารู้ได้อย่างไร เห็นหรือเปล่า เหมือนทางรัฐบาลว่าชายชุดดำ จับได้ไหมก็จับไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าพ.อ.ร่มเกล้า หรือพี่น้องประชาชนที่ตายตรงนี้ ทุกคนมีสิทธิจัดรำลึกให้แต่ละคนเหมือนกันไม่มีใครห้ามได้ ประชาธิปไตย อย่างวันนี้คนเสื้อแดงไม่ได้ทำบุญ เพราะว่ามีเหตุการณ์สำคัญ เสื้อแดงก็ต้องยอมรับ เลื่อนก็ต้องเลื่อน คนเสื้อแดงยอมรับได้ทุกรูปแบบ ถูกกระทำซ้ำยังไงก็ต้องยอมรับ

 

แล้วทำไมยังมาจุดเทียนไว้อาลัยเงียบๆ

สำหรับตัวเราเอง จะเลื่อน ไม่เลื่อน มันอยู่ที่เรา มันก็ต้องยึดวันที่ 10 เมษาเป็นเสาหลัก เพราะลูกเราเสียชีวิตวันนี้ ไม่ใช่วันที่ 11 12 13 14 15 ฉะนั้นเราต้องเห็นความสำคัญของวันที่ 10 เมษา เราจะไม่มีวันลืมเลือน ใครจะพูดยังไง ขอให้ลืม ญาติวีรชน 10 เมษาลืมไม่ได้ มันต้องจำไว้ให้แม่นว่าวันนี้เป็นวันที่สิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นกับลูกชายและพี่น้องเราทั้ง 91 ศพ

 

ก่อนหน้านี้ทั้งคุณพ่อ คุณแม่เองก็ร่วมขบวนเสื้อแดง ลูกก็ร่วมด้วยจนสูญเสียเขาไป ตอนนี้ยังเชื่อในผู้นำ หรือแนวทางแบบที่ตัวเองเคยเชื่อไหม

เราก็ต้องเดินตามทางลูกชาย เพราะลูกชายคิดเสมอว่าประเทศนี้ยังไม่มีความยุติธรรมให้ประชาชนคนรากหญ้า ก็ต้องต่อสู้เรียกร้องให้ลูกชายให้สำเร็จ นั่นแหละถึงจะเรียกว่าได้รับสิ่งที่เราภาคภูมิใจ ส่วนตัวบุคคลเราก็จำเป็นต้องเชื่อมั่น แม้เขาอาจจะล่าช้า หย่อนยาน แต่เราก็ต้องร่วมกัน และต้องผลักดันการค้นหาความจริงต่อไป ไม่มีหยุด  

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประมวลภาพ: เสื้อแดงอิสระจัดรำลึก 2 ปี 10 เมษา จารึก 26 ศพแรก

0
0

 

10 เม.ย. 55 – เมื่อเวลาราว 17.00 น. กลุ่มเสื้อแดงอิสระราว 200-300 คน ร่วมกันรำลึกเหตุการณ์ครบรอบ 2 ปีเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 โดยมีกิจกรรมการจุดเทียนและวางดอกไม้รำลึก ณ บริเวณที่มีการเสียชีวิต ได้แก่ บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน และถนนดินสอ ใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทย์ ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายขบวนไปรวมที่หน้ารัฐสภา โดยมีการปราศรัยสลับกับการเล่นดนตรีไปจนถึงกลางดึก

หลังจากที่ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลาราว 17.00 น. คนเสื้อแดงพร้อมญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเดือนเม.ย. –พ.ค. 53 ได้เดินขบวนมายังบริเวณสี่แยกคอกวัว ซึ่งเป็นจุดแรกที่มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 โดยระหว่างการจุดเทียนรำลึก ประชาชนได้ร่วมร้องเพลง “นักสู้ธุลีดิน” พร้อมกับมีการประกาศรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 26 รายประกอบด้วยรายชื่อพลเรือน 21 รายและทหารอีก 5 ราย

ในขณะที่ช่วงเช้าของวันเดียวกัน ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ได้วางพวงหรีดบริเวณสี่แยกคอกวัวเพื่อไว้อาลัยการเสียชีวิตของพลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม ซึ่งเป็นนายทหารที่เสียชีวิตในวันที่ 10 เม.ย. ในขณะปฏิบัติหน้าที่ และเวลาบ่ายสามโมง มีการจัด “งานรำลึกสองปี 10 เมษา พลเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และเพื่อนมิตร” ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ. ราชดำเนิน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

โดยก่อนหน้านี้ ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานกลุ่มนปช. ประกาศว่าจะจัดกิจกรรมทำบุญเพื่อรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวในวันนี้ที่บริเวณสี่แยกคอกวัวเช่นเดียวกัน แต่ภายหลังได้เลื่อนไปจัดเป็นวันที่ 11 เม.ย. แทน เนื่องจากเกรงว่าจะงานกระทบต่อขบวนพระราชพิธีเก็บพระอัฐิ 

0000

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่สี่แยกคอกวัว ณ วันที่ 10 เมษายน 2553



ลำดับ


ชื่อ สกุล


อาย


โรงพยาบาล


สถานที่ชันสูตร


บาดแผล


สถานที่ตาย


เหตุตาย


หมายเหตุ


1


Mr. Hiroyuki Muramoto


43


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกซ้าย


ก่อนถึง รพ.


ปอดและเส้นเลือดแดงใหญ่


ปืนสงคราม


2


นาย สวาท วงงาม


43


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


3


นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข


36


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง


ก่อนถึง รพ.


ปอดและเส้นเลือดแดงใหญ่


ปืนสงคราม


4


นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า


44


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง


ก่อนถึง รพ.


หัวใจฉีกขาด


ปืนสงคราม


5


นาย จรูญ ฉายแม้น


46


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังในกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นที่ 1


ก่อนถึง รพ.


ปอดขวาและตับขวาฉีกขาด


ปืนสงคราม


6


นาย วสันต์ ภู่ทอง


39


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


7


นาย ไม่ทราบชื่อ (สยาม วัฒนนุกุล)


53


กลาง


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงอก ทะลุหลัง


ก่อนถึง รพ.


ปอดและเส้นเลือดแดงใหญ่


ปืนสงคราม


8


นาย มนต์ชัย แซ่จอง


54


กลาง


นต.รพ.ตร.


ไม่พบบาดแผล


ใน รพ.


ระบบหายใจล้มเหลว จากโรคถุงลมโป่งพอง


แก๊สน้ำตา

 


9


นาย อ้าพน ตติยรัตน์


26


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


10


นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร


23


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า


ก่อนถึง รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


11


นาย ไพรศล ทิพย์ลม


37


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม


12


นาย เกรียงไกร ทำน้อย


24


หัวเฉียว


นต.รพ.ตร.


ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง


ใน รพ.


อวัยวะในช่องท้องฉีกขาด


ปืนสงคราม


13


นาย คะนึง ฉัตรเท


50


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังในหน้ากระดูกสันหลังส่วนอก


ก่อนถึง รพ.


ปอดขวาและตับขวาฉีกขาด


ปืนสงคราม


14


พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์


25


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


แผลเปิดกะโหลกท้ายทอยขวาน่อง 2 ข้างฉีกขาดฟกช้ำ


ก่อนถึง รพ.

 


สมองฉีกขาด

 


ระเบิด

 


15


พลฯ อนุพงษ์ เมืองรำพัน


21


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


ทรวงอกฟกช้ำ, น่อง 2 ข้างฉีกขาดฟกช้ำ


ก่อนถึง รพ.


หัวใจฉีกขาด


ระเบิด


16


นายนภพล เผ่าพนัส


30


วชิรพยาบาล


วชิรพยาบาล


ถูกยิงที่ท้อง


ใน รพ.


 


ปืนสงคราม


17


.. ร่มเกล้า ธุวธรรม


43


พระมงกุฏฯ


พระมงกุฏฯ


ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาดฟกช้ำ


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ระเบิด


18


พลฯ สิงหา อ่อนทรง


 


พระมงกุฏฯ


พระมงกุฏฯ


อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด


ก่อนถึง รพ.


หัวใจฉีกขาด


ระเบิด


19


พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี


22


พระมงกุฏฯ


พระมงกุฏฯ


ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ระเบิด


20


นายสมิง แตงเพชร


49


จุฬาฯ


จุฬาฯ


ถูกยิงศีรษะ


ใน รพ.


สมองฉีกขาด


ปืนสงคราม

 

หมายเหตุ

  • ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ที่ผ่านฟ้า รวม 26 ราย เป็นทหาร 5 ราย, พลเรือน 21 ราย (ทหารนอกประจำการ 1 ราย, นักข่าวรอยเตอร์ 1 ราย)
  • รายที่ 25 นาย มานะ อาจราญ ถูกกระสุนปืนเสียชีวิตขณะอยู่ในสวนสัตว์ดุสิต รายที่ 26 เสียชีวิตเพิ่มหลังนอนพักใน โรงพยาบาล (15 พ.ค.53)

 0000

 

DSCF8936 DSCF8938 DSCF8935 DSCF8944
กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตรำลึกเหตุการณ์ 10 เม.ย. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

IMG_4676
พ่อและแม่ของนายเทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ หนึ่งในผู้เสียชีวิตเหตุการณ์สลายการชุมนุม 10 เม.ย. 53
มาไว้อาลัย ณ จุดที่ลูกชายเสียชีวิต บริเวณสี่แยกคอกวัว

IMG_4720

บรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ และภรรยา พ่อและแม่ของ เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์

IMG_4769 IMG_4790
ผู้ชุมนุมร่วมจุดเทียนและร้องเพลงนักสู้ธุลีดินบริเวณสี่แยกคอกวัว
IMG_4830
พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ "พยาบาลเกด" กมลเกด อัคฮาด
หนึ่งในผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนพฤษภา 53

IMG_4868 IMG_4840 IMG_4846
กลุ่มประกายไฟแสดงละคร และร่วมกรวดน้ำแก่ผู้เสียชีวิต
IMG_4886 IMG_4885
เวทีปราศรัยบริเวณหน้ารัฐสภา

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Silence of the Lamp: อวสานสภาการหนังสือพิมพ์อังกฤษ (1)

0
0

ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ (The Press Complaints Commission: PCC) ได้ประกาศยุบองค์กรลง โดย Lord Hunt ประธาน PCC ให้คำอธิบายกับการประกาศยุบสภาการหนังสือพิมพ์อังกฤษว่า เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่าน เพื่อให้สื่อได้มีเวลาทบทวนไตร่ตรองบทบาทในอดีตที่ผ่านมา และเพื่อโอกาสในการเรียกความมั่นใจของสาธารณชนต่อสื่อกลับคืนมา

ทั้งนี้ คณะกรรมการสภาฯมีมติเอกฉันท์ในหลักการที่จะแปลงรูป PCC หลังช่วงเปลี่ยนผ่านไปเป็นองค์กรใหม่ที่จะสามารถกำกับดูแลการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพให้ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน

การประกาศยุบตัวของสภาการหนังสือพิมพ์อังกฤษนี้เป็นผลกระทบจากวิกฤตศรัทธาที่ประชาชนมีต่อสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อที่ทำหน้าที่กำกับดูแลจรรยาบรรณสื่อ

ปรากฏการณ์วิกฤติศรัทธาต่อบทบาทสื่อและองค์กรวิชาชีพสื่อในประเทศอังกฤษพัฒนามาจนถึงจุดแตกหักจนถึงขั้นที่สภาการหนังสือพิมพ์ต้องประกาศยุบตัวนี้ เมื่อเกิดคดีที่สื่อละเมิดจรรยาบรรณจนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก กรณีที่มีการเปิดเผยว่าผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์นิวส์ออฟเดอะเวิร์ล (The News of the World) ทำการดักฟังโทรศัพท์ ติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจ และใช้ความสัมพันธ์และอิทธิพลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการรายงานข่าวมาตั้งแต่ปี 2006

จากการสอบสวนเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่าพฤติกรรมดักฟังโทรศัพท์และล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของ The News of the World นั้นมีมาตั้งแต่ปี 2002 โดยในช่วงต้นการดักฟังโทรศัพท์ของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจำกัดอยู่ในหมู่บุคคลสาธารณะ เช่น ดารานักแสดง นักการเมือง และสมาชิกราชวงศ์อังกฤษเท่านั้น แต่ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2011 มีการเปิดเผยข้อมูลว่าผู้สื่อข่าวของ The News of the World สามารถเข้าไปฟังข้อความเสียง(voice mail) ในโทรศัพท์ของ Milly Dowler นักเรียนหญิงวัย 13 ปีที่ถูกลักพาตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม 2002 และพบเป็นศพถูกฆาตกรรมเดือนกันยายนปีเดียวกัน

การเปิดเผยถึงวิธีการหาข่าวของ The News of the World โดยเข้าไปฟัง voice mail ของ Milly Dowler ระหว่างที่เธอหายตัวไปนั้น ทำให้สาธารณชนไม่พอใจอย่างรุนแรงและรวมตัวกันรณรงค์ต่อต้านสื่อ ผลจากการบอยคอตของผู้อ่าน และการที่บริษัทต่างๆถอนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ทำให้ The News of the World ที่ตีพิมพ์มานานถึง 168 ปีต้องปิดตัวลง ทั้งยังนำไปสู่วิกฤตศรัทธาของสาธารณชนต่อสื่อโดยรวม

ไม่เพียงแต่บุคคลสาธารณที่ตกเป็นเหยื่อของสื่อที่ละเมิดจรรยาบรรณ ครอบครัวของบุคคลที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้น ผู้บริโภคสื่อและประชาชนทั่วไปต่างพากันตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบถึงจรรยาบรรณสื่อ และบทบาทของสภาการหนังสือพิมพ์อังกฤษ (PCC) ที่ประชาชนเรียกว่าเป็น “เสือกระดาษ”

ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นอีกต่อไปว่าสื่อจะสามารถกำกับดูแลกันเองได้

ต่อกรณีการละเมิดจรรยาบรรณสื่อของ The News of the World นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปีที่แล้ว (2011) นายเดวิด คามารอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ลงนามในประกาศแต่งตั้ง Lord Justice Leveson เป็นประธานในการสอบสวนบทบาทและพฤติกรรมของสื่อและเจ้าหน้าตำรวจในการดักฟังโทรศัพท์ ของบุคคลทั่วไป โดยคณะกรรมการสืบสวนของ Lord Justice Leveson มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเรียกสอบสวนพยานต่างๆ ทั้งนี้ พยานที่ถูกเรียกตัวมาให้ปากคำในคดีนี้ มีทั้ง นักข่าว ผู้บริหาร สื่อ เจ้าของสื่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และนักการเมืองจากทุกพรรค โดยพยานทั้งหมดจะต้องสาบานตนก่อนให้ปากคำและต่อหน้าสาธารณชน กระบวนการสอบสวนนี้จะมุ่งไต่สวนวัฒนธรรม การทำข่าวและจรรยาบรรณของสื่อ

Lord Justice Leveson กล่าวไว้ในการเปิดการสืบสวนคดีนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2011 ว่า “สื่อทำหน้าที่ตรวจสอบที่สำคัญยิ่งในทุกๆแง่มุมของสาธารณชน นั่นคือ ทำไมความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในวงการสื่อจึงกระทบต่อพวกเราทุกคน ดังนั้น หัวใจหลักของการสอบสวนคดีนี้ เป็นเพียงคำถามพื้นๆว่า ใครจะเฝ้าระวังผู้เฝ้าระวัง?

ทั้งนี้ Lord Justice Leveson แถลงว่าจะไต่สวนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ กับสาธารณชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ และนักการเมือง การสอบสวนคดีดังกล่าวนี้ จะเป็นแนวทางต่อการกำหนดกฎระเบียบในการควบคุมกันเองของสื่อในอนาคต และ ธรรมาภิบาลของสื่อที่สอดคล้องกับเสรีภาพสื่อพร้อมไปกับการรักษาจรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพสื่อ

ตอนต่อไป -ประวัติสภาการหนังสือพิมพ์อังกฤษ : 59 ปีของการเปลี่ยนรูปแปลงร่าง
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

บรรเจิด ฟุ้งกลิ่นจันทร์ ผู้สูญเสียลูกชายในวันที่ 10 เม.ย. 53

0
0

ต่อให้นิรโทษกรรมทุกฝ่าย ก็ขอให้ครอบครัวฟุ้งกลิ่นจันทร์รู้ ว่าใครเป็นคนผิด ให้รู้ว่ามีคนผิด ไม่เป็นไร ขอให้ได้รู้ ก็เหมือนกับเหตุการณ์ทั่วๆ ไป 14 ตุลา พฤษภา 35 ก็นิรโทษกรรมให้คนฆ่าประชาชนทั้งนั้น...แต่พ่อว่า ถึงที่สุดนรกจะไม่นิรโทษกรรมให้คนสั่งฆ่าประชาชน

10 เม.ย. 55, สี่แยกคอกวัว

เตือนภัยสึนามิรอบมหาสมุทรอินเดีย หลังแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ใกล้อาเจะห์

0
0

(11 เม.ย.55) สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า การเกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.9 ริกเตอร์ ใต้ทะเลนอกจังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย โดยแผ่นดินไหวดังกล่าวทำให้มีการประกาศเตือนภัยสึนามิรอบมหาสมุทรอินเดีย

โดยศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกระบุว่า ยังไม่รู้แน่ว่าสึนามิจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่แนะนำทางการอินโดนีเซียให้เตรียมมาตรการรับมือที่เหมาะสม

ภูมิภาคดังกล่าวเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง โดยสึนามิในปี 2547 คร่าชีวิตผู้คนในอาเจะห์ราว 170,000 ราย

ศูนย์เตือนภัยสึนามิระบุว่า แรงสั่นสะเทือนดังกล่าวสามารถทำให้เกิดสึนามิทำลายล้างในวงกว้าง ที่สามารถส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทั่วแอ่งมหาสมุทรอินเดีย

ล่าสุด สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) ปรับลดระดับความแรงลงมาที่ 8.7 ริกเตอร์แล้ว

 

 

ที่มา: Large Aceh quake triggers Indian Ocean tsunami warning
http://www.bbc.co.uk/news/world-asia-17675399

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 57985 articles
Browse latest View live