Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

อภิสิทธิ์ชวนทุกพรรคพรุ่งนี้เจอกันอย่าทะเลาะกัน-ช่วยกันหาคำตอบให้ประเทศ

$
0
0

67 พรรคการเมืองหารือ กกต. เรื่องจัดวันเลือกตั้งใหม่ 'สมชัย' จะให้เวลาพรรคหนุนเลือกตั้งและพรรคที่ไม่ต้องการเลือกตั้งอภิปรายฝ่ายละ 30 นาที 'อภิสิทธิ์' ชวนทุกพรรคหาคำตอบให้ประเทศ หวังให้มีการเลือกตั้งที่เปิดสภาได้ ประชาชนยอมรับ ส่วน 'ชูวิทย์' บอกจะอยู่รดน้ำต้นไม้-ไม่ไปแสดงละครเป็นพระเอก ผบ.ทอ.ปฏิเสธเหล่าทัพร่วมแถลง ศอ.รส. 7 ข้อ

กกต. เผยมี 67 พรรคการเมืองตอบรับหารือเรื่องจัดเลือกตั้งใหม่

21 เม.ย. 2557 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวถึงการเชิญพรรคการเมือง 73 พรรค เข้าหารือร่วมกันในประเด็นการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ใหม่ แทนการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยขัดต่อรัฐธรรมนูญ(เป็นโมฆะ) ว่า จากการส่งหนังสือเชิญพรรคการเมืองทั้ง 73 พรรค ได้รับการตอบรับแล้ว 67 พรรค โดยในจำนวนนี้มีเพียง 3 พรรคที่ไม่สะดวกเข้าร่วมเพราะติดภารกิจ นอกนั้นยืนยันจะเข้าร่วมพูดคุยหารือเรื่องการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ในวันพรุ่งนี้(22 เม.ย.) ตามคำเชิญของ กกต. รวมถึงพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะมีการหารือกันรอบด้าน เพื่อช่วยหาทางออกที่ดีที่สุดร่วมกัน

เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวย้ำว่า จะนำผลการหารือกับพรรคการเมืองทั้ง 64 พรรคในวันพรุ่งนี้(22 เม.ย.) ไปรวมกับข้อมูลที่ได้จากหน่วยงานด้านความมั่นคง ที่ กกต.ได้หารือร่วมกันไปแล้วเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 เพื่อประมวลร่วมกับข้อมูลในการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ กกต.ได้ร่วมกับฝ่ายความมั่นคงประเมินไว้ เพื่อให้ได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการจัดการเลือกตั้งที่สุด เพราะไม่ต้องการให้เกิดความผิดพลาดอีก เนื่องจากการเลือกตั้งในแต่ละครั้งต้องใช้เงินงบประมาณเป็นจำนวนมาก

 

สมชัยเผยกติกาจะให้พรรคหนุนเลือกตั้งกับพรรคเลื่อนเลือกตั้งอภิปรายฝ่ายละ 30 นาที

อนึ่ง สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานด้วยว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงแนวทางในการหารือกับพรรคการเมืองในวันพรุ่งนี้(22 เม.ย.) ว่า กกต. ไม่ได้กำหนดรูปแบบการหารือไว้ล่วงหน้า แต่จะใช้กระบวนการในที่ประชุมให้เสนอความเห็นเพื่อกำหนดรูปแบบร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นการให้ทุกพรรคได้แสดงความเห็น หรือแบ่งช่วงเวลาให้มีการอภิปรายจากฝ่ายที่ต้องการเร่งให้มีการเลือกตั้ง กับฝ่ายที่เห็นว่ายังไม่ควรมีการเลือกตั้ง ฝ่ายละ 30 นาที จากนั้นจะถามความเห็นของแต่ละพรรค เพื่อหาข้อสรุป แต่จะไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ กกต. จะเปิดโอกาสให้หารือเฉพาะกรณีการกำหนดวันเลือกตั้งที่จะประสบความสำเร็จ เพื่อให้ได้จำนวน ส.ส. ที่สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้เท่านั้น หากการหารือในวันพรุ่งนี้(21 มี.ค.) ไม่ประสบความสำเร็จ กกต. จะนัดหารือพรรคการเมืองครั้งใหม่จนกว่าจะได้ข้อสรุป ซึ่งในส่วน กกต.จะเสนอกรอบระยะเวลาการจัดการเลือกตั้ง ภายใน 90 วัน เพราะเป็นช่วงเวลาที่เร็วที่สุด ทางด้านธุรการ การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการประเมินของเจ้าหน้าที่ กกต.

อย่างไรก็ตาม นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กล่าวเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่เป็นโมฆะจากสาเหตุเดิมอย่างแน่นอน โดยเห็นว่าการคุกคามการลงพื้นที่ของ กกต. และการขัดขวางไม่ให้พรรคการเมืองลงพื้นที่หาเสียงได้ อาจเป็นสาเหตุให้มีการฟ้องร้องให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ ยุติธรรม นำไปสู่การเป็นโมฆะได้

ทั้งนี้นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. ระบุ้วยว่า ได้มีการประสานขอความร่วมมือไปยังสถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เข้ามาช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่การหารือวันที่ 22 เม.ย. แล้ว

 

อภิสิทธิ์ชวนทุกพรรคหาคำตอบให้ประเทศ ในการหารือ กกต. 22 เม.ย. นี้

การแถลงข่าวของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ที่มา: เพจ Abhisit Vejjajiva)

ขณะเดียวกัน เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์เผยแพร่คำแถลงของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กรณี กกต. เชิญเข้าร่วมประชุมในวันที่ 22 เม.ย. โดยนายอภิสิทธิ์ระบุว่า

"ขอเรียนสื่อมวลชน และพี่น้องประชาชนว่าตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้เชิญหัวหน้าพรรค และเลขาธิการพรรค หรือผู้แทนของพรรคการเมืองเพื่อไปร่วมหารือกันในวันพรุ่งนี้ ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผมกับท่านรองหัวหน้าพรรค คือคุณชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ก็จะไปร่วมประชุม ซึ่งเราหวังว่าในการประชุมในวันพรุ่งนี้จะเป็นกระบวนการที่ทุกพรรคการเมืองจะช่วยกันหาคำตอบให้กับประเทศ มากกว่าการหาคำตอบให้กับพรรคการเมือง หรือมาถกเถียงกันในเรื่องของความต้องการของพรรคการเมือง"

"ที่เรียนอย่างนี้ก็เพราะว่าเป้าหมายสุดท้ายของการหารือในส่วนของ กกต. ก็เพื่อที่จะไปหารือกับรัฐบาลในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ที่จะต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกา แต่ประเด็นปัญหาของประเทศในขณะนี้ คงไม่ใช่การมาหาคำตอบว่าพรรคการเมือง ต้องการเลือกตั้งกันวันไหน แต่การหาคำตอบให้กับประเทศวันนี้คือ จะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และมีการเลือกตั้งใหม่ที่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ของการปกครองของในระบอบประชาธิปไตยและเป็นคำตอบให้กับประเทศได้อย่างไร"

"ผมขอยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าการเลือกตั้งต้องเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบของประเทศ และก็ประสงค์ที่จะเห็นการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว เพียงแต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นที่ยอมรับของประชาชน เป็นการเลือกตั้งที่เสรี สุจริต เที่ยงธรรม สิ่งที่เราจะได้นำเสนอในที่ประชุมก็คือว่า พรรคการเมืองต้องมาช่วยกันมาแก้ปัญหาที่เป็นปม หรือเป็นเงื่อนไขที่ทำให้การเลือกตั้งในขณะนี้ไม่ประสบความสำเร็จ"

"แน่นอนที่สุดการจะไปออกกฎ ระเบียบ เพื่อที่จะแก้ปัญหาในทางปฏิบัติของปัญหาที่เกิดขึ้นในวันที่ 2 ก.พ. หรือก่อนหน้านั้น หลายฝ่ายอาจจะมองว่าเป็นคำตอบที่เพียงพอในการประชุมในวันพรุ่งนี้ แต่ข้อเท็จจริงนั้นผมคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดอย่างนั้น

ผมอ้างอิงนิดหนึ่งว่า กกต. ท่านหนึ่งเขียนบทความว่าการแก้กฎระเบียบเหล่านี้ก็คงจะทำให้เปิดรับสมัคร และจัดการเลือกตั้งได้ แต่ท่านก็ทิ้งท้ายว่า เลือกไปแล้วไม่รู้ว่าจะเปิดสภาได้หรือไม่ ผมเห็นว่าการเลือกตั้งแล้วเปิดสภาไม่ได้ ไม่ใช่คำตอบ ประชาธิปัตย์ต้องการจะเห็นการเลือกตั้งที่นำไปสู่การเปิดสภา และการมีรัฐบาลที่ประชาชนยอมรับ เพื่อเป็นคำตอบให้กับประเทศ"

"เพราะฉะนั้นในวันพรุ่งนี้อยากจะให้ทุกพรรคการเมืองนั้นเปิดใจกว้าง แล้วก็ต้องถกกันถึงปัญหาที่แท้จริงของประเทศ วันนี้ถ้าจะให้มีการเลือกตั้งที่เหมือนกับเป็นพิธีกรรม แต่ไม่เป็นทางออกให้กับประเทศ ไม่มีประโยชน์ เพราะความขัดแย้งก็จะยังดำรงอยู่ ความเสี่ยงต่อการเผชิญหน้าต่อความรุนแรงก็ยังจะมีอยู่ และที่สำคัญที่สุดก็คือ คนที่เดือดร้อนที่สุดก็คือประชาชน เพราะขณะนี้ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่มีการมองได้ว่าจะมีข้อยุติอย่างไรนั้น ก็ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ต่อความเชื่อมั่นอย่างรุนแรง และประชาชนก็สะท้อนมาตลอดเวลาว่า มีความกังวลต่อสถานการณ์อย่างมาก แล้วก็ประสงค์ที่จะเห็นทุกฝ่ายนั้นมาร่วมกันหาคำตอบ"

"เพราะฉะนั้นก็อยากจะขอเชิญชวนทุกพรรคการเมืองนะครับว่า พรุ่งนี้เราคงไม่ไปทะเลาะกัน พรุ่งนี้เราคงไม่ไปพูดถึงความต้องการของแต่ละพรรค แต่ละฝ่าย แต่พรุ่งนี้เรามาช่วยกันหาคำตอบให้กับประเทศ ว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศเดินหน้าไปได้ ประชาธิปไตยเดินหน้าไปได้ ไม่มีการใช้ความรุนแรง ไม่มีการรบราฆ่าฟัน ไม่มีปฏิวัติรัฐประหาร แต่มีกระบวนการการเลือกตั้งซึ่งกลับมาเป็นที่ยอมรับของประชาชน เพื่อให้ได้คำตอบสำหรับประเทศในการเดินหน้า แล้วก็เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ครับ  นี่คือแนวทางที่เราได้วางไว้ในการที่จะไปร่วมประชุมในวันพรุ่งนี้" อภิสิทธิ์แถลงตอนหนึ่ง

 

ชูวิทย์ประกาศไม่ไปประชุม-จะอยู่บ้านรดน้ำต้นไม้ ที่ผ่านมาเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายจนถึงวันเลือกตั้งแล้ว

ขณะเดียวกัน ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ระบุในเพจของเขาด้วยว่าจะไม่ไปประชุม โดยมีรายละเอียดการชี้แจงดังนี้

"พรุ่งนี้ ผมไม่ไปประชุม

พรุ่งนี้ 22 เมษายน กกต. นัดหมายให้หัวหน้าพรรคการเมืองมาประชุมหารือและรับทราบความคิดเห็น ในประเด็นการกำหนดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งใหม่ ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ผมตัดสินใจว่าจะไม่ไปร่วมประชุม เพราะไม่เห็นเหตุผลความจำเป็นต้องหารือ อย่าหาว่าไม่ให้ความร่วมมือ ด้วยมีเหตุผลดังนี้

1. พรรคการเมืองทุกพรรค ยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ ให้ความร่วมมือในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาอย่างเต็มที่ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายตั้งแต่วันสมัครจนถึงวันเลือกตั้ง เพราะมีม็อบมาปิดล้อมจนเกิดเหตุการณ์รุนแรง มีผู้คนบาดเจ็บล้มตาย

2. บรรดาพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมากมาย แต่การเลือกตั้งกลับถูกสั่งให้เป็นโมฆะ

3. ไม่มีหลักประกันว่าการเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่มีการปิดกั้นขัดขวางจากม็อบสุเทพ ซ้ำร้ายยังประกาศอีกว่า หากมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ก็จะพาม็อบไปปิดล้อมเหมือนเดิม

4. การปิดล้อมหน่วยเลือกตั้งแม้เพียงหน่วยเดียว ก็จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะทันที

5. กกต. ยังมิได้แสดงให้สังคมได้เห็นว่า สามารถจัดการเลือกตั้งจนจบสิ้นกระบวนการ กลับเป็นเงื่อนไขเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ

6. การดำเนินคดีต่อผู้ขัดขวางการเลือกตั้งยังไม่ได้ปรากฏชัด ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าใครเป็นผู้สนับสนุนการขัดขวาง แถมยังท้าทายการปิดกั้นการเลือกตั้งอยู่ทุกวี่ทุกวัน

พรรคการเมืองทุกพรรคยกเว้นพรรคประชาธิปัตย์ ได้ปฏิบัติตาม กกต. ในการลงเลือกตั้ง ไม่ใช่ผู้ที่ก่อให้เกิดปัญหา อีกทั้งการกำหนดวันเลือกตั้งก็ไม่ใช่หน้าที่ของบรรดาพรรคการเมือง การประชุมหารือจึงกลายเป็นเครื่องมือ "ตกแต่งความชอบธรรม"

ที่ กกต. ควรจะหารือด้วยคือ พรรคประชาธิปัตย์พรรคเดียว คุณอภิสิทธิ์หัวหน้าพรรคคงจะไปร่วมประชุมพรุ่งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย แต่คงยืนยันว่าต้องปฏิรูปก่อนแล้วจึงเลือกตั้ง เพราะอย่างไรเสียก็ไม่สามารถทอดทิ้งคุณสุเทพเอาไว้เฝ้าถนนคนเดียวได้

คุณอภิสิทธิ์เป็นสุภาพบุรุษ จบการศึกษาจากมหาวิทลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ จึงไม่มีทางที่จะผิดคำสัญญากับคุณสุเทพ

พรุ่งนี้ใครจะไปประชุมก็ไปเถอะครับ ผมขออยู่บ้านรดน้ำต้นไม้ ต้นไม้จะเจริญงอกงามเป็นประโยชน์ ดีกว่าไปแสดงละครให้ใครบางคนได้ดูเป็นพระเอกเป็นไหนๆ ทั้งๆที่ในชีวิตจริงนั้น เป็นผู้ร้ายชัดๆ"

 

ผบ.ทอ.ปฏิเสธข่าวเหล่าทัพร่วมออกแถลงการณ์ ศอ.รส. 7 ข้อ

ส่วนกรณีเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา นายชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองผู้อำนวยการ ศอ.รส. อ่านแถลงการณ์ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ฉบับที่ 1 เรื่อง ข้อเรียกร้องต่อฝ่ายต่าง ๆ เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย มีข้อเรียกร้อง 7 ข้อ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)โดยมีการระบุว่าการออกแถลงการณ์ของ ศอ.รส. ผ่านการหารือร่วมกันกับหัวหน้าส่วนราชการ และที่ปรึกษา ศอ.รส. อันประกอบด้วยทหารทุกเหล่าทัพ ตำรวจ พลเรือน และหน่วยงานด้านความมั่นคงทุกหน่วยนั้น

ล่าสุดนั้นจากรายงานของ มติชนออนไลน์เมื่อวันที่ 20 เม.ย. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ได้ให้สัมภาษณ์ปฏิเสธการออกแถลงการณ์ดังกล่าว โดยระบุว่า ผู้แทนเหล่าทัพทำหน้าที่เพียงให้ข้อมูล ข้อเสนอ หรือการแสดงความคิดเห็น แต่ไม่สามารถตกลงใจหรือปฎิเสธเรื่องใดๆ ในที่ประชุม ศอ.รส.ได้ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ เพราะผู้แทนจะต้องทำรายงานในที่ประชุม ศอ.รส. เพื่อเสนอให้ ผบ.แต่ละเหล่าทัพ ได้รับทราบทุกครั้ง และถ้าเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจ ผบ.เหล่าทัพ ก็จะมาหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก่อนจะมีมติเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวทางเหล่าทัพยังไม่มีโอกาสหารือกันเลย ถ้าจะให้พูดเป็นการแจ้งให้ทราบโดยผ่านตัวแทนเหล่าทัพเท่านั้น

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวด้วยว่า การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวคงไม่ถึงกับมัดมือชก เพราะดูจากคำสัมภาษณ์ไม่ได้อ้างว่า ผ่านความเห็นชอบจาก ผบ.เหล่าทัพ แต่บอกว่าผ่านการหารือร่วมกันจากตัวแทนเหล่าทัพ ตรงนี้ต้องแยกแยะให้ออก เพราะการประชุมไม่ว่าจะเป็นการประชุมอะไรก็ตาม บางครั้งเป็นการขอมติที่ประชุม บางครั้งก็แค่แจ้งให้ทราบว่าจะดำเนินการอย่างนั้นอย่างนี้ ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ให้เหล่าทัพออกมาปฏิเสธนั้น พล.อ.อ.ประจินระบุว่า ต้องขอเวลาหารือกันในส่วนของเหล่าทัพก่อน เรื่องนี้คงต้องคุยกันอยู่แล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสท.ยังไม่สรุป 'คูปองทีวีดิจิตอล'-สุภิญญา ย้ำทุกกล่องต้องดูได้ครบ 48 ช่อง

$
0
0

ประชุมเคาะราคา-แจกคูปองทีวีดิจิตอลยังไร้ข้อสรุป ถกต่อพรุ่งนี้ สุภิญญาแจงยังมีประเด็นคาใจ ย้ำทุกกล่องต้องรับได้ 48 ช่องรวมทีวีชุมชน

21 เม.ย. 2557 การประชุมบอร์ดคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วันนี้ วาระคูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิตอลยังคงไม่ได้ข้อสรุป โดย สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ กสท. ทวีตผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ตอนหนึ่งระบุว่า "ไม่ได้ตั้งใจทำให้กระบวนการล่าช้า แต่มีบางประเด็นที่ยังไม่เคลียร์ก็ลำบากใจ จุดยืนดิฉันคือทุกกล่องต้องรับได้ 48 ช่องรวมทีวีชุมชนได้  ข้อจำกัดของกล่องทีวีดาวเทียม S2 คือไม่สามารถรับทีวีดิจิตอลชุมชนได้  สำหรับดิฉันคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ จึงยังลงมติไม่ได้"

นอกจากนี้ สุภิญญายังได้เขียนถึงรายละเอียดการประชุมในบล็อกส่วนตัว supinya.com ด้วย รายละเอียดมีดังนี้

 

ประชุมบอร์ด กสท. ยังไม่ได้ข้อสรุป นัดประชุมต่อพรุ่งนี้ อาจไม่ทันเข้าบอร์ดใหญ่ กสทช. พุธนี้

หลังจากประชุมกันมาราธอน วันนี้บอร์ด กสท. ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายเรื่องโครงการคูปองทีวีดิจิตอล สองประเด็นหลักที่ถกกันนานคือ
1. ราคาคูปองควรเป็นเท่าไหร่ ไม่ให้สูงเกินไป
2. ควรสนับสนุนกล่องของทีวีดาวเทียมและเคเบิลแบบบอกรับสมาชิก (Pay TV) เพื่อให้ดูทีวีดิจิตอลด้วยหรือไม่"

ข้อแรกน่าจะได้หลักการเบื้องต้นแล้วว่าจะปรับตัวเลขให้ลดลง แต่เหลือเท่าไหร่จะสรุปอีกครั้ง

ข้อสอง แม้ดิฉันจะเห็นด้วยในหลักการที่ว่ากิจการทีวีบอกรับสมาชิก (PayTV) ไม่ใช่ตลาดเดียวกันกับฟรีทีวีภาคพื้นดิน (free to air) ที่เป็นคู่แข่งกับฟรีทูแอร์ภาคดาวเทียมและการแลกกล่องเพย์ทีวีในตัวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทำให้ไม่ต้องมีหลายกล่อง ใช้กล่องเดียวกันดูได้ทั้งฟรีทีวีดิจิตอล 36 ช่องและช่องที่จ่ายเงินดูเพิ่ม โดยบังคับเรียงช่องทีวีดิจิตอลแบบภาคพื้นดินคือช่อง 1-36 ด้วย จริงๆ รับเงื่อนไขต่างๆ ที่วางไว้รัดกุมได้แล้วแต่อย่างไรก็ตามจุดหลักที่ยังไม่เห็นด้วยและเป็นประเด็นสำคัญคือ

กล่องดาวเทียมในระบบ DVB-S2 และกล่องเคเบิลในระบบ DVB-C นั้นดูฟรีทีวีดิจิตอลระดับชาติได้ 36 ช่อง แต่ไม่สามารถรับชมทีวีชุมชนอีก 12 ช่องได้ จุดนี้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับตนเอง เพราะเป็นคนผลักดันให้เกิดแนวคิดเรื่องต้องจัดสรรคลื่นให้กับภาคประชาชน 20% ถ้าเราไม่ส่งเสริมภาครับทีวีชุมชน ภาคส่งกว่าจะเกิดก็อีกนาน

ข้อจำกัดทางเทคนิคคือ การรับชมทีวีชุมชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต้องใช้กล่องหรือทีวีภาคพื้นดินดิจิตอล DVB-T2 รับเท่านั้น

คนที่จะได้ประโยชน์จากกล่อง pay TV คือคนชั้นกลาง ส่วนทีวีชุมชนภาคพื้นดินคือโอกาสของคนท้องถิ่น กสทช. มีหน้าที่ต้องส่งเสริมด้วยเช่นกัน ถ้าครัวเรือนรับทีวีชุมชนไม่ได้ โอกาสในการเกิดขึ้นของทีวีชุมชนโดยภาคประชาชนที่จะมาคานดุลกับทีวีสาธารณะและทีวีธุรกิจ 36 ช่องก็จะล่าช้าออกไป

ในวาระที่เหลือของการเป็น กสทช. อีก 3 ปีกว่า ดิฉันอยากเห็นการจัดสรรคลื่นทีวีชุมชนเกิดขึ้น เรื่องนี้จึงผูกพันโครงการคูปอง เป็น critical point ในการตัดสินใจของตนเองด้วย ถ้าให้ผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก PayTV ได้สิทธิ์เลือกกล่องที่ดูทีวีดิจิตอลระดับชาติในระบบ HD ได้ ก็กำลังทำให้สิทธิ์การรับชมทีวีดิจิตอลชุมชนในบางครัวเรือนหายไป ทางเลือกหนึ่งคือทำเป็นกล่องลูกผสม (Hybrid) คือมีทั้ง T2 และ S2 อยู่ด้วยกัน ดูได้สองแบบ แต่ต้นทุนสูงและคนผลิตในตลาดมีน้อยรายก็จะผูกขาดเกินไป (ที่สำคัญอยากให้เป็นกล่องไฮบริดที่เป็นกล่องเดียวถาวร ดูฟรีทีวีได้และจะดู Pay TV เจ้าไหนก็จ่ายเงินแล้วส่งสัญญาณเข้ากล่องมา ไม่ต้องเปลี่ยนกล่องอีก)

ดังนั้นสถานการณ์บังคับให้ต้องเลือกว่าจะให้สิทธิ์คนดู Pay TV หรือปกป้องสิทธิ์คนดูทีวีชุมชน (แม้ทีวีชุมชนจะยังไม่เกิดก็ตาม แต่ กสทช. ต้องส่งเสริมให้เกิด) ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคคือ = กล่องที่รับทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินได้ 48 ช่อง ทั้งระดับชาติและชุมชน แต่เลือกบริการเสริมเป็น Pay TV อยู่ในกล่องเดียวตลอดไปได้ อยากจะดูบอลเจ้าใดหรือเนื้อหา exclusive อื่นๆ ค่อยจ่ายเงินเปลี่ยนรหัสรับส่งมาที่กล่องเดียว บ้านจะได้ไม่ต้องมีหลายกล่อง แต่ทางเลือกนี้ก็เป็นไปยากยิ่ง

ลำบากใจค่ะ แต่ขอบคุณกรรมการ กสท. ทุกท่านที่รับฟังข้อกังวลนี้และจะพิจารณาเพิ่มเติมโดยยังไม่สรุปวันนี้ ถ้าสุดท้ายกรรมการ กสท. อีก 4 ท่าน เห็นสอดคล้องแต่ดิฉันยังไม่สบายใจก็จะทำบันทึกสงวนความเห็นจุดยืนตนเองไว้เช่นเดิม เพื่อให้เรื่องเดินหน้าไปได้

เรื่องนี้เรื่องใหญ่เราไม่อยากจบลงด้วยการโหวต แต่เนื่องจากยังหามติเอกฉันท์ไม่ได้ เลยถกกันมาแล้วหลายรอบ ส่วนตัวมีประเด็นสำคัญที่คาใจดังที่กล่าวไปคือกล่องดาวเทียมใช้ดูทีวีชุมชนไม่ได้

ในฐานะที่เป็นเหตุให้ผลของการประชุมต้องล่าช้าออกไปด้วยประเด็นนี้ ขออภัยแทน กสท. ทุกท่านด้วยค่ะ เพราะรู้ว่าสังคมต้องการความชัดเจนในประเด็นนี้เร็วๆ แล้ว

ส่วนเรื่องราคาคูปองที่มีแนวโน้มลดลงกว่าที่ข่าวออกไปนั้น ยังไม่สรุปวันนี้เช่นกัน ต้องรอต่อไปอีกนิด slow but sure ดีกว่าค่ะ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐศาสตร์ 101 : (อ่าน)ลิขิต ธีรเวคิน กับประเด็น ‘รัฏฐาธิปัตย์’

$
0
0

ราชบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ ระบุสังคมไทยเผชิญทางตัน ความแน่นิ่งทางการเมืองไม่มีทางออก ภาวะอนาธิปไตย ชี้เป็นผลมาจากการวางแผนทางการเมืองที่ไม่ถูกต้อง-เลวร้าย ไม่มีธรรมแห่งอำนาจเพราะไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

หลังจากกระแสที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เสนอเรื่อง “รัฏฐาธิปัตย์” จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ รายการคมชัดลึกได้เชิญ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และราชบัณฑิต มาพูดคุยในประเด็นดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมี จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งประชาไทเห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจจึงถอดเทปมาเพื่อเผยแพร่ต่อ 

คลิ๊กดูคลิปรายการ คม ชัด ลึก ตอนดังกล่าว

0000

ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน : คำว่า “รัฏฐาธิปัตย์” หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินเกี่ยวกับการปกครองบริหาร อันนี้เป็นตัวบุคคลหรือคณะบุคคล ส่วน “อำนาจอธิปไตย” ที่ว่ามาจากประชาชน ที่เรียกว่า “popular sovereignty” นั่นคือฐานแห่งความชอบธรรม ซึ่งต้องอิงประชาชน เช่นประชาชนเป็นคนเลือกตั้ง เลือกเข้ามา อย่างประธานาธิบดีอเมริกา ตัวประธานาธิบดีพอได้รับเลือกนั่นคือองค์รัฏฐาธิปัตย์ แต่อำนาจของประชาชนยังอยู่ที่อเมริกัน คนอเมริกันทั่วไปมีส่วนลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นบางทีต้องแยกระหว่าง 2 อันนี้

คนที่พูดถึงรัฏฐาธิปัตย์มาจากมาตรา 3 นั้น พูดโดยไม่มีความรู้จริงๆ และคนที่อ้างตามก็เข้ารกเข้าพงหมด  สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือมันจะเขวทั้งประเทศ

ส่วนการพูดถึงการจะเป็นรัฏฐาธิปัตย์นั้น มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอยู่เป็นกลุ่ม และเมื่ออยู่เป็นกลุ่มนั้นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นคือความขัดแย้ง เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด เมื่อขัดแย้งไม่มีกฏเกณฑ์ก็ใช้กำลังสู้กันผลสุดท้ายมันจะสูญพันธุ์ ผู้ที่ฉลาดก็มองเห็นว่าปล่อยอย่างนี้ไม่ได้ เพราะหากสูญพันธุ์ตัวเองก็ไม่รู้จะอยู่อย่างไร จึงใช้อำนาจที่ตัวเองมีอยู่ เช่น การเป็นหัวหน้าในการล่าสัตว์ จัดระเบียบสังคมและมีผู้ช่วยเหลือ การล่าสัตว์แบ่งงานกันทำ ฐานะของคนในสังคม ทันทีที่เกิดแบบนี้ขึ้นมา เรียกว่า “มีการจัดระเบียบทางการเมือง” ขึ้นมา แล้วเขาจะเป็นคนออกกฏเกณฑ์ จัดสรรทรัพยากรทุกอย่าง และเป็นคนที่ทุกคนยอมรับและทำตาม เพราะหากไม่ทำตามจะถูกตีกบาล สิ่งนี้เรียกว่าการเกิด ”รัฐ” มีสังคมก่อนแล้วจึงเกิดรัฐ

รัฐเป็นนามธรรม และคนดังกล่าวพร้อมพรรคพวกเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ จึงเรียกว่า “รัฐบาล” เขามีอำนาจสูงสุดเช่นนั้น เขาคือ “รัฏฐาธิปัตย์” โดยประชาชนยอมให้เขาเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เพราะความกลัว เพราะฉะนั้นฐานแห่งการเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของเขามาจากการบังคับและความกลัว ต่อมาหากใช้สิ่งนี้ตลอดก็จะอยู่ไมได้จึงต้องสร้างให้เป็น “ประเพณี” เพื่อให้คนยอมรับ โดยการอ้างอาณัติจากสวรรค์บ้าง อย่างเช่นทางฝรั่งก็อ้างพระผู้เป็นเจ้า ของอินเดียก็อ้างเทวราช จนกระทั่งหลายชั่วคนคนก็ยอมรับ เมื่อยอมรับก็ไม่ต้องใช้กำลังแล้ว มันมีความชอบธรรมเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการสืบสันติวงศ์ก็คือการสืบรัฏฐาธิปัตย์ กษัตริย์สมัยโบราณนั้นคือรัฏฐาธิปัตย์

หลุย 14 แห่งฝรั่งเศส พูดไว้ว่า "I am the state" (l'etat c'est moi) “ข้าพเจ้าคือรัฐ” รัฐคือข้าพเจ้า ฝรั่งเศสทั้งประเทศคือคนเดียว นั่นคือรัฏฐาธิปัตย์ที่เห็นชัดที่สุด แต่ต่อมาเมื่อสังคมมันเปลี่ยน มันมีการต่อสู้ มีการแบ่งอำนาจ ตั้งแต่แมกนาคาร์ตาจนกระทั่งเป็น “ประชาธิปไตย” จึงต้องมี “การเลือกตั้ง” และผู้รับการเลือกตั้งก็จะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ จึงไม่อยู่ถาวรตลอด แต่ประชาชนทรงไว้ซึ่งอำนาจความชอบธรรมทางการเมือง หรือ popular sovereignty เพราะฉะนั้นมันแยกกันระหว่างความชอบธรรมทางการเมืองกับรัฏฐาธิปัตย์

จากประเพณีมาสู่การมีเหตุผลและกฏหมาย และหาก 2 อย่างมีปัญหาก็ต้องใช้ผู้นำบุญญาธิการ เมื่อระบบมันพังหมดก็ต้องใช้ผู้นำที่คนนับถือว่ามีอำนาจพิเศษสามารถแก้ปัญหาได้ เรียก “Charismatic leader” หรือ “Charismatic authority” กลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ได้มาจากการใช้อำนาจ แต่มาจากการที่คนเชื่อถือในความที่มีคุณสมบัติพิเศษส่วนตัว

เพราะฉะนั้นขณะนี้แบ่งเป็น 4 อย่างด้วยกัน รัฏฐาธิปัตย์มาจากกำลัง  รัฏฐาธิปัตย์มาจากประเพณี รัฏฐาธิปัตย์มาจากกฏหมายและความมีเหตุมีผล และรัฏฐาธิปัตย์มาจากคุณสมบัติพิเศษคือมีบุญญาธิการ

มาตรา 3 เป็นแบบสมัยใหม่ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ในขณะเดียวกัน พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขใช้อำนาจดังกล่าวผ่าน รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนี้ แปลว่าสังคมไทยนี้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่ไม่ได้ใช้เอง พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงใช้ผ่าน 3 อย่างข้างต้น แต่รัฐสภานั้นจะต้องมาจากการเลือกตั้ง เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เมื่อเลือกตั้งเสร็จได้นายกรัฐมนตรีต้องโปรดเกล้า เป็นการใช้อำนาจร่วมกันระหว่างประชาชนกับองค์พระประมุข และที่ต้องเป็นแบบนี้เนื่องจากมาตรา 2 ระบุไว้ชัดว่า ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะฉะนั้นอ้างมาตรา 3 อย่างเดียวไม่ได้ อ้างมาตรา 3 มาตั้งรัฐบาลโดยไม่พูดถึงมาตรา 2 เพราะบอกว่าต้องเป็นประชาธิปไตย และอ้างมาตรา 3 โดยไม่อ้างองค์พระประมุขเป็นผู้ใช้อำนาจผ่าน รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล ระวังหากอ้างแต่ประชาชนอย่างเดียวไม่ได้

อำนาจของปวงชนชาวไทยนั้น มันมีกระบวนการที่มีไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าจะต้องมีการเลือกตั้ง มีสภา มีการโหวตนายกในสภา ไม่ใช่อยู่ๆขึ้นมาอ้างอำนาจเสร็จแล้วก็ทำตามสบาย ถ้าจะทำอย่างนั้นต้องเลิกรัฐธรรมนูญเสียก่อน ด้วยการปฏิวัติ

รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ วันที่ 19 ก.ย.49 แล้วร่างขึ้นมา เมื่อร่างเสร็จเพื่อให้เกิดความชอบธรรม เพราะมาจากการใช้อำนาจ ก็ไม่เกิดความมั่นใจว่าจะใช้ได้ นักกฏหมายก็เสนอให้ลงประชามติ เอาเสียงประชาชนมาให้ความชอบธรรมกับรัฐธรรมนูญปี 2550 หากมีการรัฐประหารครั้งใหม่ล้มรัฐธรรมนูญปี 2550 เท่ากับเป็นการปล้นประชาชนที่พวกท่านเองไปให้เขาลงประชามติ เท่ากับเป็นการต่อสู้กับประชาชน 60% ที่ลงประชามติ เท่ากับดูถูกประชาชน ปฏิวัติไม่ได้หากจะพูดถึงหลักการ

 

จอมขวัญ(ผู้ดำเนินรายการ) : ผู้ที่พูดเรื่องนี้เป็นคุณสุเทพเป็นหลัก ก็บอกว่าถึงอย่างไรก็มีคำอธิบายของเขาทางฝั่ง กปปส. ด้วยการใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 3

เมื่ออ้างมาตรา 3 แล้ว มาตรา 2 อยู่ไหน

 

แต่ที่คุณสุเทพพูดนั้นไม่ได้ละเว้นว่ามีองค์ประกอบของพระประมุข ก็คือพระมหากษัตริย์ เพราะคุณสุเทพก็ก็บอกว่าตัวเองจะเป็นคนแต่งตั้งนายกฯและครม. ให้พระองค์ทรงโปรดเกล้าอยู่แล้ว

แล้วตัวเองมีอำนาจมาจากไหน มันไม่ขัดมาตรา 3 ใช่ไหม แล้วขัดมาตรา 68 ด้วย คือการล้มล้างประชาธิปไตย ขัดมาตรา 70 ขัดมาตรา 71 และการกันไม่ให้มีการเลือกตั้งขัดมาตรา 3 ซึ่งเป็นสิทธิประชาชน ขัดมาตรา 72 ซึ่งต้องทำหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และเมื่อเลือกมา 20 ล้านเสียงเสร็จแล้วกลับมาบอกว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการละเมิดคน 20 ล้านคน

ถ้ารัฏฐาธิปัตย์อ้างประชาชนจากมาตรา 3 แล้วประชาชนเท่าไหร่ การจะรู้ว่าประชาชนเท่าไหร่จะต้องมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วประเทศจึงรู้ได้ว่าเสียงข้างมากหรือข้างน้อย หรือมิฉะนั้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 มาจากการลงประชามติ และมาตรา 3 เป็นอำนาจของประชาชน จะต้องลงประชามติว่าจะให้ตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาโดยเอาประชาชนเป็นหลัก อยู่ๆขึ้นมาอ้างว่ามวลมหาประชาชน แล้วถ้าอีกข้างอ้างประชาชนมหาศาล มันกลายเป็น 2 รัฏฐาธิปัตย์ จำนวนเท่าไหร่ล่ะที่อ้าง อ้างได้เท่าไหร

 

แต่คำอธิบายของเขาก็อธิบายว่าไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆก็จะใช้ แต่ว่าไล่เรียงกันมาในกรณี worst case คือแย่สุดหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถ้าเหตุการร้ายสุดก็จะไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ มันจะเกิดช่องว่างหรือสุญญกาศ นี่คือที่มาว่าในเมื่อไม่มีใครทำอะไร นายกฯต้องไป ครม.ต้องไป ต้องมีคนทำหน้าที่ระหว่างนี้ คุณสุเทพจึงพูดเรื่องนี้ขึ้นมา ซึ่งแปลว่าน้ำหนักของคุณสุเทพเกิดขึ้นเพราะคาดว่าน่าจะเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นก่อน

ถ้าอย่างนั้นทำไมต้องเป็นคุณสุเทพ อีกฝั่งก็สามารถพูดได้เหมือนกัน เกิดช่องว่าแล้ว พวกเราตั้งคนขึ้นมาแล้วเป็นรัฏฐาธิปัตย์เหมือนกัน มีสิทธิไหม เอาจำนวนอะไรวัด อยู่ๆขึ้นมาแล้วบอกว่าข้าพเจ้ามีอำนาจนั้น เอาอำนาจมาจากไหน เพราะอีกฝ่ายก็อ้างอำนาจเหมือนกัน มันกลายเป็น 2 รัฏฐาธิปัตย์

 

คนที่จะประกาศว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ในธรรมเนียมปฏิบัติหรือในประวัติศาสตร์ มันเป็นมาอย่างไร

อย่างที่บอกก่อนหน้าแล้วว่า 1. ใช้กำลัง ตั้งตัวเองเป็นใหญ่ขึ้นมา ปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อปฏิวัติเสร็จก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ตอนนั้นคณะ คมช. นั้น คุณสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นรัฏฐาธิปัตย์ เหมือนกับทุกอย่างอยู่ในมือเขาหมด เพราะฉะนั้นจึงต้องประกาศแรกๆ เลยว่ามีการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คืนอำนาจให้ในหลวง อันที่ 2. คือ มีการสืบสันติวงศ์ ถ้าสมัยโบราณเรียกราชาภิเษก นั่นคือรัฏฐาธิปัตย์ แต่ถ้าใช้อำนาจคือปราบดาภิเษก และอันที่ 3. คือการเลือกตั้ง ได้คะแนนสูงสุดได้เป็นนายก หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีได้เสียงสูงสุด และอันที่ 4. หากไม่มีอะไรเลยก็ใช้คุณสมบัติส่วนตัว ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้นรัฏฐาธิปัตย์จะมาก็โดย 4 ทางนี้

อยู่ๆขึ้นมาประกาศรัฏฐาธิปัตย์อ้างอะไร อ้างมาตรา 3 นั้น อ้างคนเดียว อ้างจำนวนหนึ่ง แล้วจำนวนเท่าไหร่ แล้วฝั่งโน้นเข้าก็อ้างได้ เอาความชอบธรรมจากไหนมาอ้างว่าเหนือกว่า บอกจำนวนคนเยอะนั้นเยอะเท่าไหร่ วัดอย่างไร

 

ถ้าเทียบกับสิ่งที่ใกล้เคียงตอนนี้ที่สุดที่เรานึกออก คือที่ผ่านมามีการรัฐประหาร อันนั้นถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ตอนรัฐประหาร แต่ถ้าสมติว่าคราวนี้ที่คุณสุเทพประกาศ แม้ไม่มีอาวุธอะไร แต่ฝ่ายความมั่นคงก็นิ่งๆ คอยระวังไม่ให้ปะทะกัน อย่างนี้ถือเป็นการยอมรับให้การทำหน้าที่หรือการกระทำของคุณสุเทพเกิดขึ้นได้หรือไม่

เอาอำนาจมาจากไหน รัฐธรรมนูญยังอยู่ใช่ไหม ถ้าทำเช่นนี้ก็ขัมาตรา 113 เป็นกบฏในราชอาณาจักร ละเมิดตั้งหลายมาตรา มาตรา 2 ก็ละเมิด มาตรา 3 ก็ยังละเมิด มาตรา 70 ก็ละเมิด มาตรา 71 ก็ละเมิด ไม่ให้เลือกตั้งก็ละเมิดมาตรา 72 อีก ละเมิดทั้งรัฐธรรมนูญและกฏหมายอาญา อยู่ๆมาบอกว่านี่คือความถูกต้อง ถูกต้องได้อย่างไรเนื่องจากละเมิดหมด

ถ้าเป็นความถูกต้อง ทำไมพรรคการเมืองบางพรรคถอยหนีหมดเลย ปฏิเสธทันทีว่าไม่เกี่ยวข้อง ทำไมไม่ร่วมด้วย แม้กระทั่งฝ่ายทหารก็ถอย

 

แต่คำอธิบายของทาง กปปส. ก็มีนักวิชาการออกมาอธิบายนอกเหนือจากที่คุณสุเทพพูดบนเวทีว่ามันไม่ได้เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ แต่ทุกสิ่งที่มันเกิดขึ้นนั้นมันเกิดช่องว่าง มันไม่สามารถจะไปทางไหนได้แล้ว แล้วสิ่งที่เขาเสนอว่าอาจจะไปถึงวันนั้นแล้วทำตามที่คุณสุเทพพูดเรื่องรัฏฐาธิปัตย์นั้น ซึ่งเขาก็ยังคงยืนยันว่ายังอยู่ในเงื่อนไข อยูในมาตรา 3 อยู่ดี

ใครให้คุณทำ ในเมื่ออีกฝ่ายก็ทำได้

 

สมติว่าคุณสุเทพประกาศจะทำ ประกาศเป็นรัฏฐาธิปัตย์

ทางนี้เขาก็ประกาศบ้าง 2 รัฏฐาธิปัตย์แล้ว

 

ขออนุญาตเอามวลชนอีกฝั่งออกก่อน คำถามคือว่าคนที่จะบอกว่าได้หรือไม่ เป็นรัฏฐาธิปัตย์หรือไม่ คือฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ นอกเหนือจากมวลชนอีกฝั่งไหม คือจะต้องเป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงไหมที่จะบอกว่าคุณได้เป็นรัฏฐาธิปัตย์หรือไม่

มีอำนาจมาจากไหนหน่วยงานความมั่นคง นอกจากอำนาจที่ใช้กำลัง ก็คือรัฐประหารเสียเลย แต่ถ้าพูดเฉยๆนั้นมันต้องมีเหตุผล ไม่ใช่อยู่ๆบอกว่าคุณทำได้ คุณเป็นใคร ใครเป็นคนตั้งให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นใครทั้งสิ้นในหน่วยความมั่นคง ใครให้อำนาจให้คุณพูดเช่นนั้น รัฐธรรมนูญมีอยู่มาพูดว่าถูกต้องได้อย่างไร เป็นการพูดฝืนรัฐธรรมนูญหรือ ดังนั้นจะมีรัฐธรรมนูญทำไม ล้มรัฐธรรมนูญสิ ล้มสิเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากการลงประชามติด้วย เพราะฉะนั้นไม่ใช่การใช้สามัญสำนึก จะพูดว่าถูกต้องแล้วรัฐธรรมนูญอยู่ไหน ก็ต้องฉีกรัฐธรรมนูญไม่เช่นนั้นพูดไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญยังมีอยู่ ยังมีวุฒิสภาอยู่ แล้วรักษาการก็ยังมีอยู่ ซึ่งยังไม่รุ้ว่านายกหลุดทั้งพวกหรือเปล่า และเมื่อหลุดทั้งพวกก็ยังเป็นประเด็นอีก

หรือแม้กระทั่งการโยกย้ายข้านราชการ ต่อไปไม่ต้องมีการบริหารประเทศแล้ว บริหารอะไรไม่ได้เลย บริหารโยกย้ายแล้วมีความผิด วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทำหน้าที่ไม่ได้เลยนะ ผ่านกฏหมายมาอาจจะถูกปลดออกหมดเพราะทำผิดกฏหมาย นี่ใครปกครองประเทศ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ มันแยกกัน 3 อย่าง อยู่ๆ ตุลาการมีอำนาจตัดสินทุกอย่าง กลายเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ยิ่งกว่ารัฏฐาธิปัตย์อีก

ถ้าสงสัยขึ้นเวทีกับผมทุกคนเลย ไม่ว่าองค์กรไหน เอาประเด็นมาพูดกัน

 

ถ้าสมติสถานการณ์มันไปถึงวันนั้น มันอาจจะเป็นการเขียนนิยามใหม่ของรัฏฐาธิปัตย์ หรือประวัติศาสตร์การเมืองไทยไม่ได้หรอ

ได้ทั้งสิ้นล่ะประเทศไทย เห็นแมวบอกเป็นหมา เห็นหมาบอกเป็นไก่ ได้ทั้งนั้น ออกกฏหมายย้อนหลังก็ได้ ทำได้ทั้งหมด ตีความกฏหมายได้ 2 มาตรฐาน ไม่มีมาตรฐานก็ได้ อาจจะออกกฏหมายให้คนไทยเอาเท้าขึ้นข้างบนแล้วเอาหัวเดินต่างเท้าก็ได้ สังคมไทยตอนนี้ได้หมดทุกอย่างจนกระทั่งมันไม่มีที่ยึดแล้ว

สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้อันตรายอย่างมหาศาล 3 เรื่องด้วยกัน

หนึ่ง ทางตันทางการเมืองไม่มีทางออก เนื่องจากความขัดแย้งที่ไม่มีเหตุมีผล

สอง ความแน่นิ่งทางการเมือง กลไกทั้งหมดบริหารไม่ได้ รัฐบาลก็บริหารไม่ได้ ข้าราชการทำงานไม่ได้ ถูกคำสั่ง แต่เป็นคำสั่งที่ไม่มีความชอบธรรม คำสั่งมาจากการใช้กำลังซึ่งผิดกฏหมาย ผิดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

สาม อนาธิปไตย ขณะนี้วิญญาณสังคมไทยเคว้งคว้าง คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรเป็นเครื่องยึด กฏเกณฑ์กฏหมายไม่มีเลย

ทั้ง 3 อย่างนี้ ใครก็ตามที่คิดจะเอาชนะกันเพื่อปกปักรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคมและอำนาจ ผลสุดท้ายต้องรู้ไว้ด้วยว่าเป็นการทำลายกลไกโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดทางการเมืองสังคมของเรา ที่สำคัญที่สุดคือศรัทธาของการเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวพอสมควรนี้ พังทลายราบ ขณะนี้ความภูมิใจไม่ค่อยเหลือนะ ไปต่างประเทศอายเขานะ ไม่รู้เอาอะไรถูกอะไรผิด มันมั่วไปหมด ออกกฏหมายย้อนหลัง ตัดสินไม่เหมือนกัน การแยกอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ก็พังยุ่งหมดเลย ไม่มีระบบที่ไหนเป็นอย่างนี้ นี่เป็นสิ่งทีน่าเป็นห่วงยิ่ง

 

ที่อาจารย์บอกว่าทางตัน อาจารย์บอกว่าแน่นิ่ง อาจารย์บอกว่าอนาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดนี้ที่หลายคนทวงถามว่าแล้วจะไปอย่างไร ก็เพราะที่มันเป็นแบบนี้นี่ล่ะที่มันเกิดสุญญากาศมีช่องว่าง มันเลยต้องมาถึงวิธีที่คุณสุเทพเสนอ ถ้าไม่ไปในทางที่ กปปส.เสนอแล้วอาจารย์เสนออย่างไร

ช่องว่างแปลว่าอะไร ช่องว่างแปลว่ามันไม่มีบัญญัติในรัฐธรรมนูญ เมื่อไม่มีบัญญัติเอาไว้ ต้องใช้ประเพณีการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นมาตราที่ 20 ของธรรมนูญการปกครองสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และมาตรา 22 – 23 สมัยจอมพลถนอม และมาตรา 4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้หลักลายลักษณ์อักษร เจตนารมณ์ ประเพณีแห่งท้องถิ่นหรือหลักกฏหมายทั่วไป คือต้องหาทางออกให้ได้

ผมเคยบอกแล้วว่าวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง ปี 40 หมดวาระ มาจากการเลือกตั้งไม่ครบ 200 คน จึงเป็นวุฒิไม่ได้ เมื่อเป็นไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าไม่ครบก็ไม่ครบ ไม่มีวุฒิอีก ถ้าหมดวาระก็หมดไป อย่างนี้ผิด เพราะมันต้องมี 2 สภา อยู่ๆกลายเป็นเหลือเพียงสภาเดียว ก็ใช้มาตรา 7 โดยที่หมดวาระก็ให้หมดไป ไม่ครบก็คือไม่ครบ แต่ใช้ประเพณีรักษาการไว้ก่อนจนกระทั่งจะครบ นี่คือการใช้มาตรา 7 ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดโดยธรรมชาติ

แต่มาตรา 7 เป็นทางตันนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นมาจากมาตรา 7 แล้วไม่มีรัฐธรรมนูญบัญญัติ แต่มันเป็นการสร้างวางแผนให้มันเกิดมาตรา 7 คือให้มันเกิดเป็นทางตัน โดย 3 ทางด้วยกัน หนึ่ง การวางแผนสมรู้ร่วมคิด ที่จะทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น โดยมีนักกฏหมายที่เชี่ยวชาญพยายามวางแผนเพื่อให้มันเกิดเรื่องนี้ให้ได้ เมื่อวางแผนตามนี้จึงมีการทำงานเป็นกระบวนการ รับลูกกัน แล้วผลสุดท้ายก็ไปสู่ทางตัน จึงเป็น “ทางตันที่เกิดขึ้นโดยเจตนา” บนพื้นฐานของความไม่สุจริต ซึ่งทั้งหมดนี้เป็น “POLITICAL MACHINATIONS” หรือการวางแผนทางการเมืองที่มีลักษณะไม่ถูกต้องและเลวร้าย เพื่อจะนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น การใส่ความ การยุแหย่ให้ 2 พวกตีกันแล้วขึ้นภูดูเขาตีกัน

จากสิ่งเหล่านี้จึงนำไปสู่ช่องว่าง ซึ่งถือเป็นช่องว่างที่ไม่ได้เกิดโดยบริสุทธิใจ การเมืองใดที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องความสุจริตใจ เป็นการเมืองที่ใช้ไม่ได้ ไม่มีความชอบธรรม การเมือง อำนาจในการที่จะปกครองมี 3 อย่าง หนึ่ง ต้องถูกต้องตามกฏหมาย สอง ต้องมีความชอบธรรมเป็นที่ยอมรับ ทั้ง 2 สิ่งมีแล้ว จึงมี “moral authority” ธรรมแห่งอำนาจ สิ่งที่เกิดขึ้นที่ออกมาลักษณะนั้นถึงแม้จะถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งก็ยังคลุมเครือ แต่ไม่มีความชอบธรรม แม้ถูกต้องต้องตามกฏหมาย แต่ไม่มีความชอบธรรม ก็ไม่มีธรรมแห่งอำนาจ ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่ถ้ามีความชอบธรรม ซึ่งกฏหมายไม่ได้ผิดมาก ยังพอมีธรรมแห่งอำนาจบ้าง

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่มีธรรมแห่งอำนาจ เพราะไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นจะอ้างอะไรไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดเมื่ออ้างว่าเกิดทางตัน เกิดช่องว่าง จึงประกาศออกมา ประเด็นก็คือว่าใครให้อำนาจประกาศ อีกฝ่ายหนึ่งก็ประกาศได้เหมือนกันใช่ไหม นี่พูดอย่างตรงไปตรงมา ทำไมท่านถึงประกาศได้คนเดียวล่ะ แล้วบอกว่ามีจำนวนมากนั้นจำนวนมากวัดจากอะไร

ร.7 ที่ยินดีมอบอำนาจให้ประชาราษฏรทั่วไป แต่ไม่ยอมให้คณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของมวลประชาราษฏร ซึ่งเสียงอันแท้จริงของประชาราษฏรนั้น ราษฏรทั่วไปรู้จากไหน รู้จาก 2 อย่างเท่านั้น หนึ่งจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ ว่าจำนวนเสียงเชียร์พรรคไหน กลุ่มไหน หรือถ้ามีปัญหาก็ลงประชามติ ประชามติเป็นตัวที่รู้ที่สุด ไม่ใช่อ้างมวลมหาประชาชน ลงประชามติเลยว่าจะเอาอย่างไร

ความชอบธรรมเป็นนามธรรมอยู่แล้ว ถ้าอ้างว่าที่ท่านทำนั้นชอบธรรมกว่าก็พูดกันไม่รู้เรื่อง ท่านทำได้ คนอื่นก็ทำได้ ไม่ใช่ท่านพูดอย่างนั้นแล้วคนอื่นต้องทำตาม ท่านเป็นใคร คนอื่นไม่ใช่เจ้าของประเทศหรือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย one man one vote หนึ่งคนหนึ่งเสียง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ ภาคกลางเป็นคนไทยเหมือนกันหมด คุณถือดีอะไรถึงบอกว่าตัวเองยิ่งใหญ่กว่าคนอื่น คนต่างจังหวัดคุณภาพต่ำกว่าคน กทม.  เอาอะไรมาวัด พูดอย่างนี้ไม่ถูก คณไม่มีสิทธิ์พูดอย่างนี้ คนทุกคนมีความเป็นคนท่ากัน

5 อย่างที่เกิดขึ้นในสังคมยุคใหม่ คือ1) rights and freedom สิทธิเสรีภาพ 2) equality ความเสมอภาค 3) justice ระบบต้องยุติธรรม สองมาตรฐานอยู่ด้วยกันไม่ได้ 4) human rights สิทธิมนุษยชน รับรองโดยสหประชาชาติ 5) dignity ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่นี่คุณกำลังพูดคล้ายว่ามองคนอีกกลุ่มไม่มีความหมาย กลุ่มตัวเองมีความหมายมากที่สุด แผ่นดินนี้ของคุณคนเดียวหรือ

แล้วอ้างตัวเองได้อย่างไรว่าคุณเป็นรัฐฏาธิปัตย์ ใครแต่งตั้งคุณ เขาตั้งของเขาขึ้นมาเอง  อย่างนี้ผมก็ตั้งเองบ้าง กลายเป็น 2  รัฐฏาธิปัตย์ ในสังคมญี่ปุ่น ผมจำไม่ได้ก่อนธรรมปุระหรือเปล่า ก่อนเมจิ แผ่นดินจะมีดวงอาทิตย์สองดวงไม่ได้ ถ้ามีสองดวงต้องแยกกันอยู่ เหมาเจ๋อตุงก็ต้องอยู่ทางหนึ่ง เจียงไคเช็คก็อยู่ทางหนึ่ง สมัยกบฏไต้เผ็งมีการตั้งจักรพรรดิที่นานกิง ปักกิ่งก็ต้องปราบนานกิง ฉะนั้นจะอ้างขึ้นมาลอยๆ ไม่ได้ ต้องถามประชาชน จะรู้ว่าประชาชนคิดอย่างไร เท่าไร ก็ต้องประชามติ หรือการเลือกตั้งเท่านั้น ไม่อย่างนั้นใครๆ ก็พูดได้

 

การประชามติ การเลือกตั้ง อาจถูกมองได้ว่ากระบวนการกลไกต่างๆ กฎเกณฑ์ที่ใช้ยังใช้ไม่ได้

แล้วใครเป็นคนตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมา ใครเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ50 ใครเป็นคนแก้กฎหมายเลือกตั้งจากเขตละสามคนเป็นหนึ่งคน ท่านเป็นคนจัดการทั้งหมด ตั้งแต่ล้มรัฐธรรมนูญ40 ร่างรัฐธรรมนูญ50 เอาเสียงประชาชนมาข่มการใช้อำนาจผิดๆ ในการทำรัฐประหาร แล้วอยู่ๆ บอกว่าใช้ไม่ได้ คุณเป็นคนสร้างบ้านเอง อยู่เอง บ้านพังลงมาโทษคนอื่น มองให้มันยุติธรรม ลืมกันหมดแล้วเหรอ

15 เดือนที่เป็นรัฐบาลทำไมไม่ปฏิรูป รัฐธรรมนูญร่างมาอย่างนี้ทำไม คุณไม่มีสิทธิมาอ้างเพราะทำมาเองทั้งสิ้น ผมไม่ได้อยู่ฝ่ายไหนและไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมืองอีกต่อไป แต่ขอพูดด้วยความจริงใจ อย่างเป็นธรรม เพราะเป็นนักวิชาการที่ต้องการสัจธรรม ผมเบื่อความไม่มีสัจธรรมในสังคมนี้ ใครเป็นคนทำทั้งหมดนี้ ปปช. กกต.ใครตั้ง ไม่มีการโปรดเกล้าฯ ด้วย ตุลาการรัฐธรรมนูญออกกฎหมายย้อนหลังมายุบพรรคการเมืองใครตั้ง เอาอำนาจจากไหน อำนาจเผด็จการทั้งนั้น ออกกฎหมายย้อนหลังผิดหลักสากล ผิด UN ผิด International Covenant on Civil and Political Rights ผิดทั้งหมด การขัดขวางการเลือกตั้ง ขัดมาตรา 3, 72,2 1ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ขัดมาตรา 25 ของ International Covenant on Civil and Political Rights ขัดทั้งในและนอกประเทศ ขัดมาตรา 209,310 หน่วงเหนี่ยวกักขัง

 

ที่อาจารย์พูดมาทั้งหมด ศาลรัฐธรรมนูญชี้ไปหมดแล้ว ไม่ได้บอกว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง แต่ที่ผ่านมาเขาก็มีเหตุผลว่าทำไมขัดรัฐธรรมนูญ

ฟัง พูดให้มันเคลียร์ การเลือกตั้งที่ไม่เป็นวันเดียวกันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญทุกคนรู้หมด แต่ไม่ชอบเพราะอะไร เพราะมีการขวาง การขวางเขตเดียวก็ทำให้ไม่ชอบแล้ว และเมื่อขวาง มันก็ใช้กำลัง ผิดกฎหมายใช่ไหม แต่ทำไมบอกว่าสงบ ปราศจากอาวุธ สงบแปลว่าอะไร ขวางเลือกตั้งนี่สงบหรือ ศาลจึงไม่ได้บอกไงว่าเป็นโมฆะ ทั้งที่อันที่จริงต้องวินิจฉัยเป็นโมฆะไม่ใช่บอกว่าไม่ชอบ มันต้อง yes or no ไม่ใช่บอกว่า น่าจะลงประชามติ บอกมาเลยว่าโมฆะ กล้าพูดไหม อย่างนั้นคนที่ทำให้โมฆะคือใคร แล้วจะบอกว่าเขาทำถูกแล้วหรือ เท่ากับไปส่งเสริมเขาทำโมฆะใช่ไหม ศาลถึงไม่พูดคำว่าโมฆะ ถ้าจะวินิจฉัยให้ผูกพันต้องวินิจฉัยฟันธงไปเลย อย่าวินิจฉัยแบบนี้ ใครๆ ก็รู้ว่ามันไม่ชอบเพราะมันไม่เป็นวันเดียวกัน แต่คำถามคือ ทำไมมันจึงไม่เป็นวันเดียวกัน มันเกิดจากการขัดขวางใช่ไหม แล้วขัดขวางนี้ก็ไม่ถูกต้อง แต่บอกว่าโดยสงบปราศจากอาวุธก็เลยแปลว่าถูกต้องใช่ไหม ตรรกะคืออะไร มันเกิดจากอะไรก็เห็นๆ

 

ถามเผื่ออนาคต ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้กรณียิ่งลักษณ์ และวินิจฉัยชี้แบบนั้นย่อมเกิดปัญหาแน่ๆ ...(ถามไม่ทันจบ)

ปัญหาคือ ใครเป็นคนตั้งมาตรา 7 ตั้งเองอ้างเองไม่ได้ เพราะคนอื่นก็มีสิทธิอ้างเหมือนกัน ใครให้สิทธิคุณทำคนเดียว เรื่องนี้เห็นๆ กันอยู่ไม่ต้องใช้สมองที่ชาญฉลาดอะไรเลย ทำไมอยู่ๆ ท่านถึงมีสิทธิคนเดียว ทั้งๆ ที่มันเกิดโดยการวางแผนให้เกิด แล้วอ้างว่ามันเกิดขึ้นแล้ว ถามว่าคุณมีคนเท่าไร บอกว่ามาก อย่างนั้นลงประชามติก่อนว่ามากแค่ไหน จะปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูปก็ลงประชามติ

แต่สถานการณ์ตอนนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว ผมไม่อยากให้เกิด แต่พูดไว้ก่อนเลยว่ามันไม่ใช่เรื่องว่าอันไหนควรมาก่อนกันแล้ว มันกลายเป็นว่าจะให้เสียหายอย่างหนักก่อนแล้วจึงมาจัดการกันใหม่ หรือจะแก้ปัญหาจัดการอย่างดีไม่ให้เสียหาย พูดง่ายๆ ว่าจะให้เสียหายก่อนแล้วแก้ หรือแก้ก่อนเสียหาย ไม่ใช่เรื่องปฏิรูป-เลือกตั้งแล้ว คนละเรื่องแล้ว

 

ถ้าจะไม่ให้ไปถึงสิ่งที่ กปปส.จะทำ ถ้าศาลชี้ให้ครม.ไปด้วย ถ้าไม่ให้เขาเป็นรัฏฐาธิปัตย์อย่างที่คุณสุเทพประกาศ แล้วใครจะเป็นคนทำ

รัฏฐาธิปัตย์ดูจากอำนาจอะไร ไม่ใช่อยู่ๆ ก็ประกาศได้ สมมติประกาศมาแล้วเขาไม่เห็นด้วยจะทำยังไง ไม่รับรอง จะทำยังไง รัฐฏาธิปัตย์จะต้องเป็นที่ยอมรับ การยอมรับมีหลายแบบ อันแรก ยอมรับเพราะความกลัว  อย่างรัฐประหารเอารถถังมา, ยอมรับเพราะประเพณีสืบต่อกันมา, ยอมรับเพราะประชาชนเลือกตั้ง มีความชอบธรรมทางกฎหมายและความมีเหตุมีผล, ยอมรับเพราะคนนี้มีบุญญาธิการ มีคุณสมบัติพิเศษคนเลยยกให้เป็นคนมาแก้ปัญหา ถามว่าเขามีอะไรบ้างใน 4 อันนี้ มีกำลังไหม มีประเพณีไหมทุกคนยอมรับหมดไหม เลือกตั้งคะแนนเสียงท่วมท้นไหม เลือกตั้งยังไม่กล้าจะลงเลย มีบารมีคนยอมรับนับถือหรือ เขาไม่มีอะไรเลย คำถามต้องถามว่าเอาอะไรมามั่นใจว่าคนเขาจะยอมรับ

 

แล้วใครจะหานายกฯ

ก็สร้างปัญหาขึ้นมาก็ตอบเอาเองสิ คุณต้องตอบเองเพราะคุณสร้างปัญหาขึ้นมา หรือยากทำก็ทำไป แต่เขายอมรับหรือเปล่า และเมื่อเขาไม่ยอมรับจะทำอย่างไร คุณ shut down Bangkok แต่เขาอาจ shut down ที่อื่น ผมไม่ทราบ แล้วคุณจะแก้ปัญหาอย่างไร เรื่องจบไหม วิธีคิดตั้งแต่ต้นก็ผิดแล้ว ติดกระดุมเม็ดแรกผิดก็ผิดหมด คิดอะไรง่ายๆ simple minded ความกลัว กลัวสูญเสียทรัพย์ศฤงคาร อำนาจ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม เลยทำทุกอย่างเพื่อรักษามันไว้โดยมองอะไรสั้นๆ เขาเรียก สายตาสั้นทางการเมือง มองไม่เห็นอนาคตของประเทศ ไม่ว่าใครทั้งสิ้น แก่เพราะอยู่นาน กินข้าวเยอะ

 

สิ่งที่จะทำให้ปชช.รู้สึกว่าได้ปลดปล่อย นอกเหนือจากประชามติและการเลือกตั้งแล้วมีรูปแบบอื่นไหม

ถ้าได้เลือกตั้งคราวที่แล้วเรื่องจะผ่านไปเยอะ จะมาอ้างว่าคนเขาไม่ศรัทธาการเลือกตั้ง ถามว่าแล้วใครออกกฎหมายเลือกตั้ง ใครร่างรัฐธรรมนูญ คุณทำเองแล้วคุณไม่ศรัทธาเอง โทษคนอื่นหมดเลยหรือ ทางตันเกิดโดยธรรมชาติหรือมีคนสร้างขึ้นมา แล้วใครให้อำนาจคุณเป็นรัฏฐาธิปัตย์ รัฏฐาธิปัตย์คืออะไรยังไม่รู้กันเลย คนอธิบายเป็นอาจารย์ทาง local finance   อธิบายไปส่งเดช

 

สำหรับประชาชนที่เชื่อในปชต. แต่เห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ ยังต้องแก้ไข ทนไม่ไหวแล้วกับครม.ยิ่งลักษณ์ จะให้ทำอย่างไร
เขายุบสภาไปแล้วตอนเลือกตั้งก็อย่าลงคะแนนเสียงให้ก็จบ ก็สู้กันในการเลือกตั้ง มวลมหาประชาชนที่คุณอ้างว่าเยอะ ถ้าเยอะก็ต้องชนะอยู่แล้วทำไมไม่สู้ในกระบวนการ ตรรกะต้องพูดให้ตรง ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล รัฐบาลก็ออกไปแล้ว ผมก็เห็นด้วยว่าโครงการข้าวก็เละเทะ กระบวนการออกกฎหมายพ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยใช้ไม่ได้ทั้งสิ้น ผมก็ไม่เห็นด้วย ผมก็เห็นว่าไม่มีความชอบธรรม ทางออกก็คือกลับไปสู่การเลือกตั้งแล้วถ้าเสียงมวลมหาประชาชนอ้างว่ามันเยอะจนขนาดจะตั้งรัฏฐาธิปัตย์ก็ต้องชนะการเลือกตั้งแน่นอน

 

คนกลัวว่าการซื้อเสียงทำให้อีกฝ่ายชนะ

ถ้าเสียงมวลมหาประชาชนเยอะ ซื้อยังไงก็ไม่ชนะ หรือจะดูถูกประชาชนตัวเองเหรอ ก็มวลมหาประชาชนเยอะกว่ายังไงก็ต้องชนะ มวลมหาประชาชนถูกซื้อเสียงได้เหรอ ทั้งวิธีคิดและตรรกะมีปัญหาหมด ไม่เถียงด้วยเหตุด้วยผล เถียงไปเถียงมาก็เข้าตัวเองหมดแล้วก็ไม่สามารถจะตอบได้เพราะมันเริ่มด้วยเหตุผลที่ไม่มีพื้นฐาน มันสั่นคลอน โดยตรรกะเสียงมวลมหาประชาชนต้องเกินครึ่ง ถ้าไม่เกินครึ่งไม่มีสิทธิอ้าง ดังนั้นเลือกตั้งเขาต้องชนะแน่ เป็นรัฐบาล ไม่อย่างนั้นจะอ้างทำไม แสดงว่ามวลมหาประชาชนน้อยใช่ไหม เสียงไม่พอใช่ไหม

 

คำถามสุดท้าย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าต้องไปทั้งหมด ใครจะมีสิทธิเป็นนายกฯ ในช่วงนั้น

เอาอย่างนี้แล้วกัน มาตรา7 คนส่วนใหญ่ไม่รู้ ผมกลับจากบังคลาเทศ ผมไปขอรัฐธรรมนูญจากบังคลาเทศ 600 กว่ามาตรา แล้วบอก อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโน ว่า ของเรา 300 กว่ามาตราในรัฐธรรมนูญ40 มันไม่พอ ใส่มาตรานี้ไว้แบบของจอมพลสฤษดิ์ มาตรา 20 ถ้าไม่มีบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ มันใช้สำหรับกรณีซึ่งมีช่องว่างเกิดขึ้น ไม่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ มันมีประเพณีแบบราชการก็ได้ ไม่ใช่ในหลวงต้องมาตั้งนายกฯ แบบนั้นเป็นการอ้างให้ระคายเคืองเบื้องพระบุคลบาทด้วย เพราะท่านทรงดำรัสแล้วว่าท่านไม่มีอำนาจ เราสามารถใช้ประเพณีกรณีถ้าไม่มีจริงๆ ประเทศจะมีช่องว่างไม่ได้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่าประเพณีมีอย่างไรบ้าง อธิบดีไม่อยู่ รองอธิบดีต้องรักษาการ เผอิญครั้งนี้ ครม.หมดทั้งชุด ที่สำคัญ ส.ส.ก็ไม่มีอีก ก็ต้องเอาใกล้เคียงกับส.ส. คือ ส.ว. ยิ่งถ้าชุดใหม่ออกมา ในวุฒิสภานี้ก็ต้องสามารถที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่หาคนมาเป็นนายกฯ รักษาการชั่วคราว เพราะมันจะว่างหรือเป็นทางตันไม่ได้ตราบเท่าที่รัฐธรรมนูญยังอยู่ แต่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเอาไว้ ก็ใช้มาตรา 7 มาตรา7 ใช้อย่างไรกรณีที่ไม่มีสภา ไม่มีผู้บริหารเลย อันที่หนึ่ง ปลัดกระทรวงคงต้องทำหน้าที่ ส่วนตัวนายกฯ ก็คงต้องให้วุฒิสภาคัดเลือก ภายหลังจากที่มีการเปิดประชุมวุฒิสภาแล้ว ไม่ใช่เอา 30-40 คนที่เหลืออยู่ เพราะที่เหลืออยู่ก็ไม่มีเครดิตอยู่แล้ว

 

ให้วุฒิสรรหานายกฯ ชั่วคราว

ผมไม่บอกว่าวุฒิต้องหา ถ้ามันว่างขึ้นมาแล้วต้องหาให้ได้ กลไกที่จะตั้งนายกฯ ได้ต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร ถ้าไม่มีก็ต้องมองซ้ายมองขวาก็ต้องใช้เทียบเคียงคือวุฒิสภา วุฒิสภาจะเป็นอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง ก็มันไม่เขียนเอาไว้ ก็ต้องใช้ประเพณี ปลัดกระทรวงก็ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวง แต่ต้องมีหัวหน้าบริหาร หัวหน้านี้ต้องมาจากการสรรหาโดยสภา สภาไม่มีก็ต้องมองเทียบเคียง ที่มาจากการเลือกตั้งเหมือนก็คือ วุฒิสภา เพื่อหานายกฯ ชั่วคราว สามเดือนแล้วให้เลือกตั้ง กลับสู่สภาพเดิม รัฐธรรมนูญ50 ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ไม่ใช่อ้างว่าข้าพเจ้าจะเป็นคนตั้งเอง ถามว่าใครให้อำนาจคุณ เอาอำนาจจากไหน หรือว่ามีแบ็คอัพ แล้วบอกว่าแบ็คอัพให้อำนาจ แบ็คอัพก็ไม่มีอำนาจ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความเป็นนักวิชาการ ด้วยความเป็นคนไทยในประเทศนี้ ผมต้องการให้สิ่งนี้มันถูกต้อง ไม่สามารถทนได้กับความไม่ถูกต้องไม่ว่าจะในองค์กรไหน มันทำให้มีปัญหากับบรรยากาศทางวิชาการ ความถูกต้องและสัจธรรม สังคมใดที่ไม่เคารพความถูกต้องและสัจธรรม สังคมนั้นอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศักดิ์ศรี เป็นสังคมที่ไร้คุณค่า 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ไล่ล่าสุดขอบฟ้าโกตี๋

$
0
0

 

 

ในท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทยเช่นนี้ กลับกลายเป็นเรื่องแปลกที่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ กลับมีท่าทีในทิศทางเดียวกันในกรณีหนึ่ง คือการไล่ล่าติดตามแกนนำของคนเสื้อแดงคนหนึ่ง ที่มีชื่อเล่นเรียกกันว่า “โกตี๋” โดยเหตุผลสำคัญในการเล่นงานก็คือ ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 จึงเท่ากับว่า ทั้งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย ต่างก็ต้องลงเรือร่วมขบวนการ”ล่าแม่มด”ลำเดียวกัน

โกตี๋มีชื่อจริงว่า นายวุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ แต่เดิมก็คือชาวบ้านธรรมดา แต่เริ่มตื่นตัวเข้ามามีบทบาททางการเมือง เพราะไม่อาจยอมรับการรัฐประหาร พ.ศ.2549 และเห็นว่า มีการจงใจใส่ร้ายทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไม่เป็นธรรม เขาเข้าร่วมขบวนการเสื้อแดงเพราะต้องการต่อสู้ให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงได้รวบรวมประชาชนก่อตั้งกลุ่มปทุมธานีรักประชาธิปไตยเมื่อ พ.ศ.2552 เพื่อต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และต่อมาเขามีบทบาทชัดเจนขึ้นหลังจากการล้อมปราบคนเสื้อแดงเมื่อ พ.ศ.2553 ในฐานะหนึ่งในแกนนำเสื้อแดงอิสระนอกกลุ่ม นปช. โกตี๋สร้างฐานมาจากการเป็นโฆษกในสถานีวิทยุชุมชน จากการแสดงท่าทีที่ตรงไปตรงมาขวานผ่าซาก จึงถูกโจมตีว่าเป็นฝ่ายเสื้อแดงสายฮาร์คคอร์ นิยมความรุนแรง และเป็นที่เชื่อกันมากในสื่อมวลชนฝ่ายขวา พวกสลิ่มและกลุ่มนิยม กปปส. ทั้งที่ยังไม่เคยปรากฏหลักฐานด้วยซ้ำว่า โกตี๋ไปก่อความรุนแรงเรื่องใดในสถานการณ์ใด แต่ในระยะหลังจากที่ กลุ่ม กปปส.จัดชุมนุมก่อกวนบ้านเมืองแล้วเกิดความรุนแรง ชื่อโกตี๋จะเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ถูกกล่าวหาก่อนเสมอ

เหตุการณ์หนึ่งที่โกตี๋ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย คือ กรณีไล่ยิงคนเสื้อแดงของการ์ดของฝ่าย กปปส.ที่นำโดยพระพุทธอิสระที่หลักสี่ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในเหตุการณ์นี้ มือปืนของฝ่าย กปปส.ยิงประชาชนคือ นายอาเกว แซ่ลี้ จนบาดเจ็บทุพลภาพ นอนอยู่ในโรงพยาบาลจนถึงขณะนี้ กลายเป็นว่าโกตี๋ก็ถูกพาดพิงว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการปะทะ ถูกกล่าวหาเป็นจำเลยแทนสุเทพ เทือกสุบรรณ และพระพุทธอิสระที่เป็นผู้ก่อความรุนแรงตัวจริง ทั้งที่โกตี๋ปฏิเสธด้วยซ้ำว่าไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เลย และคงจะไม่สามาถบงการการยิงประชาชนของ”มือปืนป็อปคอร์น”ฝ่ายนายสุเทพได้

กรณีที่เป็นเรื่องใหญ่ต่อมา คือ ในวันที่ 6 มีนาคม พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้แถลงว่า รัฐบาลและศูนย์รักษาความสงบ(ศรส.) จะต้องเร่งดำเนินคดีกับโกตี๋ที่ขึ้นป้ายผ้าแบ่งแยกประเทศ ซึ่งมาจากการที่โกตี๋ขึ้นป้ายผ้ามีข้อความว่า "อยู่กันด้วยความสามัคคีไม่ได้...ก็แบ่งแยกกันอยู่..." และมีตัวหนังสือสีขาวด้านล่างข้อความ "มึงกับกู...แยกแผ่นดินกันเลย.." โดยโกตี๋อธิบายว่า การขึ้นป้ายนั้นเป็นการประชดที่กองทัพและองค์กรอิสระไม่ดำเนินการอะไรเลยกับ ฝ่าย กปปส.ที่เป็นกบฎก่อกวนบ้านเมือง แต่กลับมาริดรอนสิทธิเสียงของประชาชน

กรณีที่นำมาสู่การกล่าวหาโกตี๋ตามมาตรา 112 มาจากการเผยแพร่คลิปวีดีโอในวันที่ 7 เมษายน โดยการที่สำนักข่าวไวซ์นิว(Vice News) ที่เป็นสำนักข่าวอิสระในแคนาดา ได้สัมภาษณ์นายวุฒิพงศ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย สำนักข่าวอิสราได้รายงานว่า “ในคลิปวีดีโอดังกล่าวตอนหนึ่งถึงเหตุผลที่คนเสื้อแดง ต้องมาออกต่อสู้ในขณะนี้ ว่า “เพื่อเรียกร้องให้เขายุติในการก่อม็อบกัน เรียกร้องให้มีระบอบการเลือกตั้ง เพราะคุณบอกว่ารักชาติ แต่คุณทำลายชาติ เศรษฐกิจ เสียหายย่อยยับ แต่ผมสู้ระบอบที่ครอบงำในเมืองไทยมาชั่วนาตาปีแล้ว สุเทพแค่ตัวละคร ” ก่อนจะชี้มือขึ้นข้างบน และถามผู้สื่อข่าวกลับว่า“เข้าใจความหมายใช่ไหม” และยังกล่าวต่อไปว่า "คนอื่นไม่กล้าพูด แต่ผมกล้าพูด”

การให้สัมภาษณ์ลักษณะนี้ ถูกตีความทันทีว่า โกตี๋เหิมเกริมจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูงและจงใจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สื่อมวลชนฝ่ายขวาต่างระดมโจมตีโกตี๋เป็นการใหญ่ แพทย์ฝ่าย กปปส.อย่าง พล.ต.เหรียญทอง แน่นหนา ผอ.รพ.มงกุฎวัฒนะ ก็ได้ระบุผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเรียกร้องให้ทหารในกองทัพจัดการกับโกตี๋ เนื่องจากที่ผ่านมามีความชัดเจนว่ารัฐบาลเพื่อไทยและหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายนั้นจงใจปล่อยปละละเลย และไม่ดำเนินการเอาผิดกับคนที่จาบจ้วงสถาบันแต่อย่างใด

ในวันที่ 9 เมษายน พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ส่งทีมกฏหมายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับโกตี๋ในข้อหาหมิ่นพระเดชานุภาพ โดยพาดพิงสถาบันว่าอยู่เบื้องหลังการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มนายสุเทพ เทือกสุบรรณ จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งให้นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีเอาผิดกับโกตี๋ ส่วนนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ประธานที่ปรึกษาศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ศอ.รส.) ก็แถลงต่อมาว่า ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งติดตามตัวมาดำเนินคดีแล้ว และถึงแม้จะมีข่าวว่า "โกตี๋" หนีออกนอกประเทศก็ยังสามารถขอความร่วมมือส่งตัวในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดนได้

ก่อนอื่นคงต้องอธิบายว่า การมุ่งเล่นงานโกตี๋ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็มีเป้าหมายที่ยืนยันข้อกล่าวหาที่สื่อมวลชนกระแสหลักสร้างกระแสกันมานานในเรื่อง”แดงล้มเจ้า” ทั้งที่คำสัมภาษณ์ทั้งหมดของโกตี๋ถ้าเป็นจริง ก็ไม่ได้เป็นการหมิ่นหรือล่วงละเมิดผู้ใด หรือเป็นการสื่อว่าจะมีการล้มล้างสถาบันแต่อย่างใด การอธิบายว่าการเคลื่อนไหวของนายสุเทพ มีผู้มีอำนาจเหนือกว่าอยู่เบี้องหลัง ก็เป็นที่พูดกันทั่วไป การนำเอามาตรา 112 มาเล่นงานกันจึงไม่ต่างจากขบวนการล่าแม่มดในสมัยกลาง และข้อสังเกตคือ ลักษณะการโจมตีไล่ล่าโกตี๋ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ต่างจากกรณีคุกคามไล่ล่าคุณดารณี ชาญเชิงศิลปะกุล หรือ ดาร์ตอปิโด เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2551 ซึ่งส่งผลให้คุณดารณีกลายเป็นเหยื่อรายสำคัญของมาตรา 112 ต้องถูกจับติดคุกมานานกว่า 5 ปีจนถึงทุกวันนี้

ดังนั้นขบวนการโจมตีไล่ล่าโกตี๋ ก็คือกระบวนสร้างเรื่อง ใส่ร้ายป้ายสี เอากฎหมายมาตรา 112 มาเป็นเครื่องมือ ทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พรรคประชาธิปัตย์เคยทำอยู่เสมอนั่นเองกระบวนการใส่ร้ายป้ายสีของฝ่ายขวาครั้งนี้ยังพุ่งเป้าไปที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ที่ถูกเอ่ยถึงว่าอาจจะเป็นผู้ที่ให้ที่หลบภัยแก่โกตี๋ เพราะถือว่าเป็นคนใกล้ชิดเพราะ”เคยถ่ายรูปคู่กัน” ทำให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ต้องออกมาแถลงเร่งให้มีการดำเนินคดีและขอให้โกตี๋มามอบตัวแก่ทางการตำรวจ

กรณีไล่ล่าโกตี๋ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนอีกด้วยว่า สังคมไทยยังเป็นสังคมที่ปราศจากเหตุและผล เชื่ออะไรตามกันโดยขาดการตรวจสอบ จึงสามารถปล่อยให้กฎหมายมาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเล่นงานฝ่ายตรงข้ามได้ครั้งแล้วครั้งเล่า

จักรภพ เพ็ญแข ได้อธิบายกรณีนี้อย่างชัดเจนว่า กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก็ไม่ใช่เกมของขบวนประชาธิปไตย หากแต่เป็นเกมของระบอบอำมาตย์ศักดินา ดังนั้น เนื้อความที่โกตี๋ใช้ในการให้สัมภาษณ์นั้น ผิดหรือถูกไม่ใช่ประเด็นของเรื่อง เพราะ”พูดชัดหรือไม่ชัดเขาก็เอาผิดได้ทั้งนั้นถ้าเขาจะเอา” แต่ปัญหาคือระบบการบังคับใช้กฎหมายไทยมีความอ่อนแอเป็นพิเศษกับเรื่องของพระบรมเดชานุภาพ ประเด็นปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนพูด แต่อยู่ตัวกฎหมายที่ขาดความเป็นธรรมและขัดต่อหลักนิติธรรมสากลต่างหาก

และนี่คือประเด็นสำคัญของการไล่ล่าโกตี๋


จาก โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 460 วันที่ 19 เมษายน 2557

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองปราบเตรียมเสนอตั้งคณะทำงานสอบสวนคดี "โรส" หมิ่นเบื้องสูง เตือนสื่ออย่าเผยแพร่คลิปซ้ำ

$
0
0

กองปราบเผยหลังพิจารณาหลักฐานแล้วเข้าข่ายผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง จึงเตรียมเสนอตั้งคณะทำงานในคดีนี้ ชี้สามารถขอความร่วมมือทางคดีอาญาระหว่างประเทศไทยและอังกฤษได้ เนื่องจากผู้ต้องหาอยู่ในประเทศอังกฤษ 

21 เม.ย. 2557 เว็บไซต์มติชนรายงานว่า ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล รองผู้บังคับการกองบังคับการปราบปราม (รองผบก.ป.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีนายสุรพงศ์ อมรพัฒน์ อายุ 67 ปี และ นางสมจินตนา อมรพัฒน์ อายุ 59 ปี แจ้งความดำเนินคดีกับบุตรสาว คือ นางสาวฉัตรวดี อมรพัฒน์ หรือ "โรส" อายุ 34 ปี ในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยนำแผ่นดีวีดีบันทึกภาพและเสียงของ นางสาวฉัตรวดี ที่กล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูง มอบให้พนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน ว่าหลังจากพิจารณาพยานหลักฐานแล้ว พบว่าพฤติกรรมของ นางสาวฉัตรวดี เข้าข่ายทั้งความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงเตรียมทำเรื่องเสนอไปยัง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เพื่อพิจารณาตั้งคณะทำงาน
   
คณะพนักงานสอบสวนที่เสนอแต่งตั้งครั้งนี้ ประกอบด้วย บก.ป., กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.), กองบัญชาการตำรวจสันติบาล (บช.ส.), สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และสำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งกองการต่างประเทศ เช่นเดียวกับกรณีการพิจารณาดำเนินคดีกับ นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ หรือ "โกตี๋" แกนนำคนเสื้อแดง จ.ปทุมธานี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ข้อหาหมิ่นเบื้องสูง
     
พ.ต.อ.ประสพโชค กล่าวอีกว่า  การพิจารณาดำเนินคดีกับ นางสาวฉัตรวดี นั้นเจ้าหน้าที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมีอัตราโทษสูง อย่างไรก็ดี เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ แล้วจะขออนุมัติศาลอาญา ออกหมายจับต่อไป และหากศาลอนุมัติหมายจับแล้วจะเข้าสู่กระบวนการสืบสวนติดตาม โดยอาศัยความร่วมมือทางคดีอาญาระหว่างประเทศไทย กับประเทศอังกฤษ ทางอัยการสูงสุดจะเป็นผู้ทำคำร้อง เนื่องจากผู้ต้องหาอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
     
รอง ผบก.ป.กล่าวเพิ่มว่า ขอแจ้งไปยังสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปอย่านำภาพและเสียงคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ซ้ำ เพราะจะเข้าข่ายกระทำความผิดไปด้วย และขอให้ใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข่าวและข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลทางสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายช่องทาง 
 
ต่อข้อถามถึงกรณีการโพสต์ข้อความขององค์กรกำจัดขยะของแผ่นดินประกาศจัดตั้งกองกำลังปกป้องตัวเองนั้น พ.ต.อ.ประสพโชค กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ หากเป็นความจริงน่าจะเข้าข่ายกระทำผิดลักษณะข่มขู่ คุกคาม ละเมิดสิทธิผู้อื่น เพราะองค์กรดังกล่าวไม่ได้มีหน้าที่ตามกฎหมาย       
    
เมื่อถามถึงการติดตามตัวนายวุฒิพงศ์ รอง ผบก.ป.ระบุว่า จากข้อมูลของทาง ตม.ไม่พบการเดินทางออกนอกประเทศของนายวุฒิพงศ์ แต่หากนายวุฒิพงศ์หลบหนีออกนอกประเทศแล้วน่าจะใช้ช่องทางตามธรรมชาติในการหลบหนี ไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองตามด่านต่างๆ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘จริยธรรมสื่อ’ เรื่องล้าสมัย? ในโลกที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนแปลง

$
0
0
'จอม เพชรประดับ' เชื่อจริยธรรมสื่อยังสำคัญ เพราะสื่อต้องนำสังคม ไม่ให้ดิ่งเหว เตือนทำสื่อต้องมองพ้นความเป็นไทย ให้ความเป็นธรรมทุกคนบนโลก ด้าน 'อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์' ผู้ก่อตั้งเว็บข่าวไอทีบล็อกนัน ไม่เชื่อเว็บเดียวจะมีทุกอย่าง หนุนการแยกไปทำสื่อเองหากไม่เห็นด้วยจุดยืนเว็บ
 
 
22 เม.ย. 2557 เสวนา: ‘จริยธรรมสื่อ’ เรื่องล้าสมัย?  ในโลกที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนแปลง ในการอบรม “จริยธรรมสื่อและการเซ็นเซอร์” จัดโดยโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย (SAPAN) โดยการสนับสนุนของ USAID และมูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน ระหว่างวันที่ 22-23 เม.ย. 2557 ที่ โรงแรม ดิเอทัส กรุงเทพฯ (ซอยร่วมฤดี)
 
จอม เพชรประดับ ผู้สื่อข่าวอิสระวอยซ์ทีวี ในฐานะสื่อมวลชนอาชีพ กล่าวว่า จริยธรรมวิชาชีพของสื่อหลักและสื่อทางเลือกต่างก็มีเหมือนกัน แต่ความเข้มข้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสื่อนั้นๆ อย่างสื่อหลักอาจต้องคิดมากและจริงจังเพราะเข้าถึงง่าย มีอิทธิพลกับผู้คนในวงกว้าง แต่ปัจจุบันมองว่าสื่อทางเลือกพลิกมาเป็นสื่อหลักแล้ว โดยยกตัวอย่างการรับสื่อของตัวเองที่รับสื่อทางเลือกและโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพราะเห็นปัญหาของสื่อหลักที่ไม่รอบด้าน ไม่ลึก ไม่เป็นธรรม ดังนั้นกรอบจริยธรรมวิชาชีพต่อสื่อรองจึงควรเข้มข้นมากขึ้นเช่นกัน
 
ทิศทางของสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ถูกมองว่าเป็นสื่อรองเป็นแหล่งปลดปล่อยระบายอารมณ์ แต่ในภาวะความขัดแย้งของสังคม สื่อดังกล่าวจะกลายเป็นที่พึ่งหลักของสังคม การนำจริยธรรมวิชาชีพมาเป็นกรอบการทำงานเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
 
ส่วนคำถามว่า “จริยธรรมสื่อ” เป็นเรื่องล้าสมัยไหม คิดว่าจริยธรรมยังมีความสำคัญเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ โดยเฉพาะสื่ออาจจำเป็นเพราะเป็นการให้ความคิด นำความคิดคนในสังคม ต้องมีความรอบคอบเพื่อไม่ให้สังคมดิ่งลง กลายเป็นสังคมที่ไม่มีอารยะ อาชีพสื่อมีความผูกพันเกี่ยวเนื่องกับสังคม โดยเฉพาะระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
 
จอม กล่าวต่อมาว่า บริบทสังคมที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้สื่อกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม กรอบจริยธรรมวิชาชีพกับบริบทสังคมแบบเดิมมีการเผชิญหน้ากันอยู่อย่างรุนแรง เพราะวิชาชีพสื่อมวลชนที่แท้จริงเป็นวิถีทางแห่งเสรีภาพและความเท่าเทียมของสังคมตามหลักคิดประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สังคมอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และทิศทางสื่อออนไลน์ทำให้คนมีพื้นที่ในการส่งเสียง เป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อความเป็นประชาธิปไตย
 
ธงที่ควรตั้งสำหรับคนทำสื่อคือนำพาสังคมไปสู่ความเจริญ สู่ความเป็นอริยะ ไม่นำเสนอข้อเท็จจริงทุกเรื่องที่อาจมีผลให้สังคมต่ำลง ในส่วนสื่อกระแสรองถึงเวลาที่จะกลับมาทำให้กรอบจริยธรรมมีความเข้มข้นมากกว่าหรือเท่ากับสื่อกระแสหลัก
 
จอม กล่าวว่าด้วยว่า การทำสื่ออย่าติดกรอบ “เราคือคนไทย” หรือต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพที่พูดถึงคน ต้องเคารพในสิทธิความเป็นคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความเป็นธรรมกับทุกคนบนโลก
 
 
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ Blognone.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวสารไอที และชุมชนของคนในวงการไอทีกลุ่มใหญ่ เล่าว่า ส่วนตัวไม่ได้จบนิเทศศาสตร์ แต่จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มทำเว็บ blognone เพราะไม่มีคนทำ 10 ปีที่แล้วแม้จะมีข่าวไอที แต่ไม่ใช่อย่างที่ต้องการ บางครั้งแปลผิดบ้าง ซึ่งเข้าใจได้เพราะไอทีเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ทั้งนี้พบว่าผู้สื่อข่าวในสื่อหลักไม่มีใครเรียนจบไอทีมาโดยตรง
 
ผู้ดูแลเว็บไซต์ Blognone.com กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวไม่ได้สนใจเรื่องสื่อหลัก สื่อทางเลือก เพราะมองว่าสื่อก็คือสื่อ และในยุคปัจจุบันที่คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ผู้บริโภคมีทางเลือกเสมอ จึงต้องสร้างคุณภาพทุกมิติ และในส่วนของ blognone พยายามสร้างมาตรฐานขึ้น เช่น การสะกดคำ แม้จะไม่มีฝ่ายพิสูจน์อักษร แต่ก็พยายามสร้างวัฒนธรรมตรวจสอบทักท้วงกัน ให้สมาชิกมีส่วนร่วมทำให้ข่าวดีขึ้น
 
สำหรับจุดยืนของ blognone ได้ประกาศว่ามีคุณค่าด้านไอทีบางอย่างที่สนับสนุน เช่น การไม่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ และสนับสนุนโครงการของนักศึกษา
 
ต่อคำถามว่าการมีจุดยืนแบบนี้เป็นการเซ็นเซอร์หรือไม่ อิสริยะ ตอบว่า บนอินเทอร์เน็ต มีทางเลือกเสมอ พร้อมเปรียบเทียบเว็บไซต์เป็นเหมือนเกาะหนึ่งบนมหาสมุทรอินเทอร์เน็ต ใครรับจุดยืนของ blognone ได้ก็ขึ้นมา รับไม่ได้ก็ไปเกาะต่อไป เพราะในยุคใหม่ การไปเกาะอื่นนั้นใช้ต้นทุนน้อยมาก แค่ 2 คลิกเท่านั้น
 
อิสริยะ กล่าวว่าไอเดียที่สร้าง blognone เพราะอยากได้คุณค่านี้ที่หาไม่ได้จากที่อื่น ถ้าไม่มีคุณค่านี้ เราก็ไม่มีตัวตน อย่างไรก็ตาม ยินดีสนับสนุนเว็บใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น สนับสนุนให้คนแยกไปและโยงเป็นเครือข่ายกัน เพราะมองว่าโมเดลเว็บเดียวทำทุกอย่าง มีทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน เพราะโลกปัจจุบันเป็นโลกของเครือข่าย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ประยุทธ์’ สั่งทัพภาค 4 คุยกลุ่มขัดแย้งชายแดนใต้ นักเคลื่อนไหวชี้ควรยอมรับการสู้เพื่อเอกราช

$
0
0

ผบทบ.สั่ง กอ.รมน.และทัพภาค 4 คุยกลุ่มขัดแย้งให้มอบตัวสู้ดคีและสั่งควบคุมอาวุธ ผอ.ปาตานีรายาชี้ต้องพูดความจริงเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ส่วนกระแสรณรงค์เฟซบุคมาแรงปกป้องเด็กจากเหตุไม่สงบ

22 เม.ย.2557 โฆษก กอ.รมน.เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก สั่งการให้เร่งทำความเข้าใจกับกลุ่มความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้ให้มอบตัวสู้คดี และกำหนดมาตรการควบคุมอาวุธปืนทุกประเภท ด้าน ผอ.ปาตานีรายาขอให้ยอมรับความจริงการเรื่องต่อสู้เพื่อเอกราชของบีอาร์เอ็น

พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เปิดเผยว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะ รอง ผอ.รมน. กล่าวถึงกรณีเหตุการณ์ลอบยิงสองพ่อลูก และเหตุยิงครอบครัว อส.อับดุลฮากิม ในพื้นที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ว่า เครือข่ายแนวร่วมของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงอาจชูประเด็นนี้เพื่อปลุกกระแสจนนำไปสู่การก่อเหตุแก้แค้นต่อเป้าหมายอ่อนแอ และเป้าหมายเชิงสัญลักษณ์ระหว่างคนทั้งสองศาสนา

โฆษก กอ.รมน.กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งการให้ มทภ.4/ผอ.รมน.ภาค 4 เชิญทุกกลุ่มที่มีความขัดแย้งภายในท้องถิ่นเข้ามาทำความเข้าใจกันอีกครั้ง เพื่อให้มอบตัวต่อสู้คดีในกระบวนการยุติธรรม พร้อมกำหนดมาตรการควบคุมอาวุธปืนทุกประเภทอย่างเป็นรูปธรรม โดยรวมเข้ากับระบบฐานข้อมูลอาวุธปืนของ ศชต. และให้หน่วยงานนำยุทโธปกรณ์พิเศษที่ได้รับมอบมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเสริมมาตรการรักษาความปลอดภัยทั้งเชิงรับและเชิงรุก ให้สามารถแจ้งเตือนแนวโน้มการเกิดเหตุ และติดตามความเคลื่อนไหวของคนร้ายเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้น

โดยก่อนหน้านี้ ผบ.ทบ.ชี้แจงไว้ว่า ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. ยังอยู่ในระดับการต่อสู้ของกลุ่มที่มีความคิดเห็นต่างกับรัฐ และเป็นเรื่องภายในประเทศ ไม่ใช่สถานการณ์สงคราม ตราบใดที่มีการละเมิดกฎหมาย ฝ่ายเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายตามกระบวนการของกฎหมายปกติ โดยอาศัยการรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาล

ตูแวดานียา ตูแวแมแง ผู้อำนวยการสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา กล่าวถึงการชี้แจงของ ผบ.ทบ. ผ่านโฆษก กอ.รมน. ในกรณีดังกล่าวว่า หากไม่ใช่ปัญหาระหว่างประเทศแล้วองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ เช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) หรือองค์กร Peace Architecture and Conflict Transformation Alliance (PACTA) รวมถึงรัฐมาเลเซียเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร และหากไม่ใช่ภาวะสงคราม การที่กองทัพไทยประกาศใช้กฎอัยการศึก และกลุ่มบีอาร์เอ็นประกาศสู้เพื่อเอกราชปาตานี หมายความว่าอย่างไร

ผ.อ.ปาตานีรายา กล่าวด้วยว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ถ้าคนปาตานีไม่เห็นด้วยกับการต่อสู้เพื่อเอกราชของบีอาร์เอ็น การเคลื่อนไหวของกองกำลังจรยุทธ์ในเมืองและชุมชน คงไม่สามารถก่อเหตุได้มากครั้งและถี่ที่สุด เมื่อเทียบกับการก่อเหตุของขบวนการต่อต้านรัฐทั่วโลกในรอบปีที่ผ่านมา เรื่องนี้ต้องพูดความจริงเพื่อการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนต่อไป

ขณะเดียวกันก็มีความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในเฟสบุค มีการโพสต์และแชร์ข้อความรณรงค์ปกป้องการละเมิดสิทธิเด็กจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้ เช่น

“The world must act now to SAVE PATANI and Patanian's CHILDREN..”
“STOP! VIOLENCE to CHILDREN #Save PATANI”
“Save Children หยุดทำร้ายเรา ให้โอกาสสันติภาพได้ผลิบาน”
“#Save_Patanian_Children #SavePatani“

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักสิทธิฯ หวั่นบราซิลใช้ กม.ต้านก่อการร้าย ปราบผู้ชุมนุมช่วงฟุตบอลโลก

$
0
0

สภาบราซิลกำลังพยายามผ่านร่างกฎหมายต้านการก่อการร้ายให้ได้ก่อนจะถึงช่วงฟุตบอลโลกในเดือน มิ.ย. ที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพ หลังจากเกิดเหตุไม่สงบในงานฟุตบอลปีที่แล้ว แต่ก็มีผู้หวั่นเกรงว่ากม.นี้จะสามารถตีความแบบเหมารวมเพื่อใช้ปราบปรามการชุมนุมอย่างสงบด้วยหรือไม่

21 เม.ย. 2557 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาสำนักข่าวเดอะการ์เดียน รายงานว่า องค์กรสิทธิมนุษยชนแสดงความหวั่นเกรงว่าการเสนอร่างกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายในบราซิลเพื่อเตรียมรับกับการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปีนี้จะถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างปราบปรามการชุมนุมอย่างถูกกฎหมาย

รัฐบาลบราซิลระบุว่าพวกเขาต้องออกกฎหมายดังกล่าวให้ทันก่อนพิธีเปิดฟุตบอลโลกปี 2557 จะเริ่มต้นในวันที่ 12 มิ.ย. นี้ เนื่องจากฟุตบอลโลกเป็นงานใหญ่ระดับนานาชาติที่มีคนมีชื่อเสียงมาร่วมมากจนอาจตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มหัวรุนแรงได้

แต่กลุ่มทนายความ นักการเมือง เอ็นจีโอ และผู้จัดการประท้วง เตือนว่าการใช้คำในร่างกฎหมายที่นำเสนอสู่รัฐสภาบราซิลมีความคลุมเครือมาก และอาจให้อำนาจกองกำลังรักษาความสงบในการจับกุมผู้ประท้วงโดยไม่มีข้อจำกัด

รัฐสภาบราซิลได้ผ่านร่างกฎหมายมาตรา 449 ซึ่งระบุให้มีการจำคุก "ผู้ที่ก่อเหตุหรือยุยงให้เกิดความหวาดกลัวในวงกว้าง โดยวิธีการคุกคามหรือพยายามข่มขู่คุกคามชีวิต, สวัสดิภาพ, สุขภาพ หรือ เสรีภาพของคนทั่วไป"

ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายนี้บอกว่า กฎหมายนี้มีความจำเป็นในการอุดช่องโหว่กฎหมายในบราซิล โดยแม้ว่าประเทศบราซิลจะไม่มีเหตุการณ์ก่อการร้ายใหญ่มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ประเทศก็ต้องเตรียมรับการเป็นเจ้าภาพงานกีฬาใหญ่และกำลังเริ่มมีชื่อเสียงต่อนานาชาติมากขึ้น

ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ยังระบุให้อำนาจแก่รัฐต่างๆ ในบราซิลที่มีสนามจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยให้เจ้าหน้าที่รัฐนั้นๆ สามารถยับยั้งหรือปราบปรามการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงได้ รวมถึงมีการห้ามสวมหน้ากากเช่นเดียวกับการประท้วงด้วยยุทธวิธีแบล็กบล็อก (Black Bloc วิธีการประท้วงของกลุ่มอนาธิปัตย์ที่สวมเสื้อคลุมหัวหรือผ้าปิดหน้าสีดำ) โดยก่อนหน้านี้ในการแข่งขันฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพเมื่อปีที่แล้ว ก็มีผู้ออกมาประท้วงราวหนึ่งล้านคน แต่ก็มีเหตุรุนแรงในการประท้วงกลุ่มเล็กๆ

อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์มองว่ากฎหมายนี้เสี่ยงต่อการทำให้การประท้วงและการก่อการร้ายถูกเหมารวมว่าเป็นเรื่องเดียวกัน โดยฮัมแบร์โต คอสตา หัวหน้าพรรคแรงงานในวุฒิสภาบราซิลบอกว่า ถืงแม้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายจะจำเป็น แต่ในการอภิปรายก็ไม่สามารถนิยามคำว่า 'การก่อการร้าย' ให้ชัดเจนได้ ในทางตรงกันข้ามอาจจะทำให้รัฐนำกฎหมายนี้ไปใช้ลงโทษผู้จัดกิจกรรมอื่นๆ เช่นการประท้วง

องค์กรแอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลกล่าวว่าร่างกฎหมายนี้อาจทำให้การควบคุมเหตุไม่สงบโดยตำรวจของบราซิลแย่ลงไปอีกจากเดิมที่ทำได้ไม่ดีอยู่แล้ว อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ

โจอาว ตันเครโด ประธานสถาบันทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนบอกว่ากฎหมายนี้เป็นการก้าวถอยหลังเนื่องจากสามารถนำมาใช้ป้ายสีผู้ชุมนุมได้ อีกทั้งยังไม่เหมาะสมกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย

"คุณไม่สามารถเอาผู้ประท้วงไปเทียบกับผู้ก่อการร้าย นั่นเป็นสิ่งที่ไร้ความรับผิดชอบ เป็นสิ่งที่แม้แต่เผด็จการยังไม่ทำกัน" ตันเครโดกล่าว

ทางด้านประธานาธิบดี ดิลมา รุสเซฟฟ์ ผู้มีอำนาจลงนามผ่านร่างกฎหมายนี้ยังอยู่ในสภาพถูกกดดันจากทั้งสองฝ่าย เนื่องจากรุสเซฟฟ์เคยเป็นฝ่ายกบฏที่ถูกทรมานในช่วงที่ประเทศบราซิลยังเป็นเผด็จการและใช้ชีวิตอย่างอันตรายในช่วงที่หน่วยความมั่นคงมีอำนาจสูง แต่อีกด้านหนึ่งเธอก็ให้สัญญากับฟีฟ่าว่าจะลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในช่วงฟุตบอลโลก รวมถึงถ้าหากการจัดแข่งฟุตบอลโลกเป็นไปอย่างราบรื่น เธอก็มีโอกาสได้รับความนิยมในการเลือกตั้งเดือน ต.ค. มากขึ้น

ทางการบราซิลเคยประกาศว่าจะมีการเพิ่มกำลังรักษาความสงบมากขึ้น โดยบอกว่าจะมีการวางกำลังตำรวจปราบจลาจล 10,000 นาย ใน 12 เมืองที่มีการจัดแข่งฟุตบอลโลก หน่วยงานข่าวกรองของบราซิลยังได้สอดส่องโซเชียลเน็ตเวิร์กเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นพื้นที่ในการนัดชุมนุม

แม้จะมีการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ แต่ทางการบราซิลก็ประเมินว่าการชุมนุมในช่วงฟุตบอลโลกจะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลบราซิลได้ให้สัญญาว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุขและการศึกษา เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นยังได้ทำให้ผู้ประสงค์เข้าร่วมการชุมนุมเปลี่ยนใจ จากการสำรวจพบว่าประชาชนในบราซิลที่มีความต้องการเข้าร่วมการชุมนุมลดลงจากร้อยละ 81 ในเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว เหลือร้อยละ 52 ในเดือน ก.พ. ขณะที่มีเพียงร้อยละ 32 บอกว่าพวกเขาสนับสนุนการชุมนุมในช่วงฟุตบอลโลก

 

เรียบเรียงจาก

World Cup 2014: Brazil's plans for anti-terror law alarm rights groups, The Guardian, 19-04-2014
http://www.theguardian.com/football/2014/apr/19/world-cup-brazil-anti-terror-law-alarms-human-rights-groups
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

23 องค์กรออกแถลงการณ์ เรียกร้อง สตช.เร่งหาตัวแกนนำกะเหรี่ยงแก่งกระจาน

$
0
0

22 เม.ย.2557 เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และองค์กรเครือข่าย รวม 23 องค์กร ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งหาตัว ‘บิลลี่’ พอละจี รักจงเจริญ รวมทั้งเร่งหาตัวผู้กระทำผิด และเรียกร้องอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสั่งหัวหน้าอุทยานแก่งกระจานออกจากพื้นที่ เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

สืบเนื่องจากกรณีที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ แกนนำกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย หายตัวไปอย่างลึกลับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา หลังถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานควบคุมตัว โดยนายพอละจีมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย จากกรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้าทำการอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่า และทำการรื้อถอน เผาบ้านพัก และยุ้งข้าวของชาวบ้านเมื่อปี 2554

ในขณะที่มีรายงานข่าวว่า เมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนกรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ โดยนายชัยวัฒน์ ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการหายตัวไปของนายบิลลี่แต่อย่างใด

 

.................................................

แถลงการณ์
กรณีผู้นำกะเหรี่ยงนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งพื้นที่แก่งกระจานหายตัวไป


ข่าวการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ (บิลลี่) ซึ่งเป็นผู้นำชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 จนถึงวันนี้ยังไม่พบตัวนายบิลลี่ ที่ผ่านมานายบิลลี่ มีบทบาทสำคัญในการร่วมปกป้องสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านของตนเองมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้อพยพชาวบ้านที่อยู่ในป่า ทำการรื้อถอนและเผาบ้าน ตลอดจนเผายุ้งข้าวของชาวบ้านดังเป็นข่าวในช่วงปี 2554จากกรณีดังกล่าวนายบิลลี่ได้ร่วมกับชาวบ้านร้องเรียนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศาลปกครอง และสภาทนายความอีกทั้งนายบิลลี่ก็เป็นพยานให้กับศาลปกครองในเรื่องนี้ด้วย และต้องไปให้ปากคำแก่ศาลปกครองในวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 นี้พร้อมกับผู้ร้องเรียนในหมู่บ้านการต่อสู้เรียกร้องดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้แก่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นอย่างมาก

จากการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ (บิลลี่) ครั้งนี้ มีเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลหลายประการ พวกเราเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (KNCE) เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย (คชท.) ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง

จึงขอเรียกร้องดังนี้
1. ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เร่งดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิดและตามหาตัวนายพอละจี รักจงเจริญ ให้พบโดยเร็วที่สุด
2.ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูแลคุ้มครองครอบครัวนายพอละจี รักจงเจริญ และผู้นำชุมชนในพื้นที่ระหว่างที่ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง
3. ขอให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีคำสั่งให้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วน เพื่อให้การสอบสวนเป็นไปอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และลดความหวาดกลัวของคนในพื้นที่ อีกทั้งเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจของนายชัยวัฒน์ด้วย

จากข้อเรียกร้องดังกล่าวพวกเราหวังว่าหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการให้อย่างเร่งด่วนและขอให้คนในสังคมร่วมกันติดตาม ตรวจสอบ เพื่อธำรงความเป็นธรรมในสังคมไทยต่อไป

พวกเราเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และภาคีองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าหากปัญหานี้ไม่ได้รับการสอบสวนและคลี่คลายให้กระจ่างในเวลาอันสมควร จำเป็นต้องยกระดับการร้องเรียนขึ้นสู่กลไกระหว่างประเทศ เช่น คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ(CERD) และเวทีถาวรว่าด้วยประเด็นชนเผ่าพื้นเมืองแห่งสหประชาชาติ (UNPFII)เป็นต้น พวกเราจะติดตามผลการร้องเรียนกับท่านอย่างใกล้ชิด
จนกว่าจะพบนายพอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่) ต่อไป

 

ด้วยจิตคาราวะ
เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
ร่วมกับ ภาคีองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 22 เมษายน 2557 ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

 

รายชื่อภาคีองค์กรและเครือข่ายที่ร่วมแถลงการณ์
1. มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (IPF)
2. มูลนิธิเพื่อประสานความร่วมมือชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชีย (AIPP)
3. มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ (WISE)
4. มูลนิธิภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมืองบนพื้นที่สูง (IKAP)
5. มูลนิธิช่วยเหลือเด็กชายแดนจังหวัดตาก
6. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ)
7. มูลนิธิพุทธเกษตร เชียงใหม่
8. มูลนิธิรักษ์ไทย (สำนักงานภาคเหนือ)
9. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
10. ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลเชียงใหม่
11. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT)
12. สมาคมเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย
13. สมาคมปกาเกอะญอเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
14. สมาคมปกาเกอะญอเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
15. สมาคมม้ง
16. สมาพันธ์ชาวกะเหรี่ยงแห่งสยาม
17. คณะคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสท์ (KBC)
18. เครือข่ายกองบุญข้าว
19. กลุ่มอนุรักษ์บนพื้นที่สูงอำเภอจอมทอง
20. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)
21. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์ (คพสช.)
22. เครือข่ายสตรีชนเผ่าแห่งประเทศไทย (IWNT)
23. เครือข่ายสื่อชนเผ่าพื้นเมือง (IMN)

 

ลำดับเหตุการณ์การหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่)


วันที่ 17 เมษายน 2557
เวลา 10.00 น. นายพอละจี รักจงเจริญ(บิลลี่) ออกเดินทางจากหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย เข้าสู่ตัวเมือง (อ.แก่งกระจาน)
เวลา 14.00 น. ชาวบ้านได้ทราบข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จับกุมและนำตัวไปสอบสวน โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

วันที่ 18 เมษายน 2557
เวลา 06.00 น. นายพอละจี รักจงเจริญ(บิลลี่) ยังไม่กลับเข้าบ้าน
เวลา 08.00 น. ชาวบ้านโป่งลึก-บางกลอย เริ่มออกตามหา
เวลา 21.00 น. นายกระทง โชควิบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านบางกลอย หมู่ 1 ต. ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี แจ้งความไว้ที่สถานที่ตำรวจภูธรแก่งกระจาน

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่กระจานยอมรับว่าได้จับตัวนายพอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่)ไปจริง เพราะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าจับกุมผู้บุกรุกป่าและพบของกลางเป็นน้ำผึ้งเป็นจำนวนหนึ่ง จึงมารับตัวไปเพื่อสอบสวนและตักเตือน ต่อมาได้ปล่อยตัวไปที่แยกหนองมะข้า หลังจากนั้นก็ไม่ได้รับข่าวจากนายพอละจีอีกเลย

วันที่ 19 เมษายน 2557
เวลา 13.00 น. ภรรยาและเครือญาติของนายพอละจี รักจงเจริญ (บิลลี่) มาแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน และออกค้นหาตามสถานที่ต่าง ๆ ที่นายพอละจีเคยไป จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบตัวนายพอละจี

วันที่ 21 เมษายน 2557
ภรรยาของนายพอละจี จงเจริญ ชาวบ้านและผู้แทนเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตตะนาวศรี ยื่นหนังสือต่อนายมณเฑียร ทองนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ที่ศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี และ พล.ต.ต. พีรชาติ รื่นเริง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี และที่กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบุรี เพื่อขอความเป็นธรรมและให้เจ้าหน้าที่ช่วยติดตามเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: มหรสพกลางกรุง

$
0
0

 

มหรสพสนุกยุค
มรสุมบ่าบุกเข้าเมืองใหญ่
ยังเร่งยังเร้ามิชั่งใจ
บ้านใครเมืองใคร? ย่ำบาทา

ลมหายใจของผู้บริสุทธิ์
มิอาจหยุดความอยากมากตัณหา
ตีตนเป็นใหญ่ ไหว้บูชา
ลับหลังส่ง-ค้าอำนาจเมือง

ท่ามดินแดนเรืองรุ่งท่านมุ่งหมาย
พาขุนศึกตั้งค่ายอันคุ้มเขื่อง
ชัยชนะท่านว่า ฟ้ารองเรือง
มิเปล่าเปลืองแม้แลกหนึ่งชีวี

มหรสพสนุกยุค
มรสุมบ่าบุก ,ยังรุกรี่
เร่งเร้าระดมประชาชี
ความตาย-เมืองนี้ ฝีมือใคร

มรสุมโหมเมืองศิวิไลซ์
นั่นใคร จัดมหรสพกลางกรุง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มผู้บริโภคลุยฟ้องคดีเชฟโรเลตเรียกค่าเสียหาย 7 ล้าน

$
0
0

ลูกค้ารถยนต์ 7 รายฟ้องแพ่ง เรียกค่าเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของรถยนต์เชฟโรเลต ระบุต้องการให้เป็นคดีตัวอย่างเรื่องการใช้สิทธิของผู้บริโภคเพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของการคุ้มครองผู้บริโภค และเสนอให้ปรับปรุงมาตรการเยียวยาจากการหักค่าเสื่อมราคากับ สคบ. ด้วย

22 เม.ย. 2557 - ตามที่คณะทำงานสืบค้นข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้สรุปผลการทดสอบรถยนต์รถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต รุ่นครูซ ว่า พบปัญหาในรถยนต์ทั้ง 12 คัน แต่ปรากฏว่าข้อเสนอจากการไกล่เกลี่ยของ สคบ. จำนวน 3 รายที่ไปเจรจาเป็นกลุ่มแรกไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม จึงเป็นเหตุให้กลุ่มผู้ได้รับความเสียหาย ไม่เจรจาและตัดสินใจขอยื่นฟ้องคดีกับบริษัท เชฟโรเลตฯ นั้น

ล่าสุดเมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (22 เม.ย.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แจ้งว่า ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต รุ่นครูซ ฟ้องบริษัท เชฟโรเลตฯ ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ทั้งหมด 7 ราย

โดยผู้เสียหายทั้ง 7 ราย ระบุสาเหตุที่ยื่นฟ้องว่าเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นมีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ซื้อรถจนถึงปัจจุบัน และมีการแก้ไขบ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เลขาธิการ สคบ. ก็ได้แถลงผลการทดสอบว่า พบปัญหาในรถทุกคันที่ทดสอบ โดยพบปัญหาเกี่ยวกับระบบส่งกำลัง ได้แก่ เกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงกระตุก เกียร์ไม่ Kick-down เกียร์เปลี่ยนขึ้น ๆ ลง ๆ เกียร์กระตุกในสภาวะรถติดเคลื่อนตัวช้า เป็นต้น โดยรถคันที่มีการรายงานอาการซ้ำๆ มากที่สุดคือ 38 ครั้ง  พร้อมยืนยันว่าผลการทดสอบของคณะทำงานสืบค้น ถือเป็นที่สุด และขอให้บริษัทฯ เยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม การเยียวยาความเสียหายตามหลักเกณฑ์ของ สคบ. กลับให้หักค่าเสื่อมราคารถยนต์สูงถึง 40% (20% ในปีที่หนึ่ง  12% ในปีที่สอง และ 8% ในปีที่สาม) ซึ่งไม่แตกต่างจากการขายรถมือสองที่เต๊นท์ เพราะการที่ตัดสินใจจ่ายเงินซื้อรถใหม่มาขับก็หวังจะได้รถยนต์ที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะและมีความปลอดภัย ใช้งานได้หลายๆ ปีตามอายุการใช้รถยนต์ทั่วไปโดยไม่มีปัญหา แต่กลับกลายเป็นว่าซื้อรถมาเพื่อซ่อม และต้องกังวลว่าจะเกิดอาการขัดข้องในระหว่างขับขี่จนอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ ผู้ฟ้องคดีทั้ง 7 รายจึงตัดสินใจนำคดีสู่ศาลยุติธรรมเพื่อปกป้องสิทธิของตนและเชื่อมั่นว่าจะได้รับความยุติธรรมจากคดีดังกล่าว  โดยขอให้ศาลมีคำสั่งดังนี้

หนึ่ง ขอให้รับผิดชอบคืนเงินดาวน์และค่างวดเช่าซื้อที่ชำระไปแล้วทั้งหมด

สอง ขอให้บริษัทฯ รับผิดชอบค่าใช้สอยรถยนต์ต่อผู้ให้เช่าซื้อเต็มจำนวนแทนผู้บริโภค เนื่องจากสาเหตุที่ต้องบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและเรียกเงินคืนนั้นเพราะสินค้าชำรุดบกพร่องจากการผลิต ไม่ใช่จากการใช้งานปกติของผู้บริโภค

สาม ขอให้ศาลห้ามบริษัทฯ จำหน่ายรถยนต์รุ่นพิพาท และให้เรียกเก็บสินค้าดังกล่าวจนกว่าจะได้เปลี่ยนแปลงให้มีความปลอดภัย แต่หากแก้ไขไม่ได้ ให้ห้ามผลิตหรือนำเข้ามาจำหน่าย

สี่ ขอเรียกค่าเสียหายต่อจิตใจที่ต้องหวาดกลัว วิตกกังวล ตลอดเวลาในการใช้รถยนต์พิพาท

นอกจากนี้ กลุ่มผู้บริโภคต้องการให้คดีนี้เป็นคดีตัวอย่างในเรื่องการใช้สิทธิของผู้บริโภคเพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานของการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป จะมีการยื่นข้อเสนอในการปรับปรุงมาตรการเยียวยาจากความชำรุดบกพร่องในเรื่องการหักค่าเสื่อมราคา เพื่อการไกล่เกลี่ยที่เป็นธรรมกับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ต่อคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอีกอีกทางหนึ่ง

ผู้เสียหาย 7 รายนี้ เป็นกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 25 ราย เข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา กรณีซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต รุ่นครูซ และรุ่นแคปติวา แล้วเดือดร้อนเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของสินค้า ซึ่งบริษัทฯ เสนอขอแก้ไขปัญหาและเจรจากับผู้ร้อง แต่ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ทั้งหมด ยังผลไปสู่การทดสอบรถยนต์ที่สนามแก่งกระจานเซอร์กิต จ.เพชรบุรี ในเดือนตุลาคม 56 โดยคณะทำงานสืบค้นข้อเท็จจริงซึ่งแต่งตั้งโดยสคบ.  มีผู้เสียหายที่สมัครใจนำรถยนต์เข้าทดสอบในครั้งนั้นทั้งหมด 12 คันและทุกคันเป็นรถยนต์รุ่น เชฟโรเลต ครูซ  ที่ผลิตในปี 2011-2012 จนกระทั่งได้มีผลการทดสอบดังกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จอม เพชรประดับ

$
0
0

การทำสื่ออย่าติดกรอบ “เราคือคนไทย” หรือต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพที่พูดถึงคน ต้องเคารพในสิทธิความเป็นคนอย่างเท่าเทียมกัน ให้ความเป็นธรรมกับทุกคนบนโลก

22 เม.ย. 57 ในวงเสวนา ‘จริยธรรมสื่อ’ เรื่องล้าสมัย? ในโลกที่ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนแปลง

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 16-22 เม.ย. 2557

$
0
0

จับตาสัญญาณอันตราย! ตัดโอที-จ่ายเงินเดือนช้า นักธุรกิจชี้โรงงาน"กลาง-ย่อย"กระทบแล้ว
 
นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ร้านค้าย่อย (โชห่วย) ทั่วประเทศ เริ่มได้รับผลกระทบจากการที่โรงงานผลิตสินค้าระดับล่างและโรงงานขนาดกลางและย่อย (เอสเอ็มอี) ลดเวลาทำงานจากปกติ (โอที) ลดสวัสดิการของพนักงาน และจ่ายเงินเดือนล่าช้า เพื่อลดภาระผู้ประกอบการและลดความเสี่ยงทางธุรกิจ หลังเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ซบเซา และการส่งออกยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการซ้ำเติมยอดขายของร้านค้าโชห่วยให้ลดลงอีก จากที่กำลังได้รับผลกระทบอยู่แล้ว จากกรณีรัฐบาลจ่ายชำระเงินค่าจำนำข้าวให้ชาวนาล่าช้าและยอดเงินที่ได้รับยังค่อนข้างน้อย และความเดือดร้อนของเกษตรกรกับสินค้าราคาเกษตรตกลง โดยเฉพาะข้าวฤดูกาลใหม่นาปรัง 2557 ราคารับซื้อต่ำเหลือแค่ตันละ 5,000 บาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนขายอย่างต่ำๆ ก็เกินตันละ 7,000-8,000 บาท และราคายางพารายังต่ำลงต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาจากภัยแล้ง ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะกระทบต่อผลผลิตที่เสียหายไปเท่าไหร่ 
 
"กังวลว่ากำลังซื้อจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานระดับล่างลดลง หรือเกิดการตกงาน ร้านค้าริมถนนจะได้รับผลกระทบเป็นด่านแรก เหมือนร้านค้าเล็กๆ ในต่างจังหวัด เริ่มเจอปัญหายอดขายลดลง ทำให้ต้องลดการสั่งซื้อสินค้าจากค้าส่ง ซึ่งยี่ปั๊วซาปั๊วอย่างเรา ก็ต้องลดการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตสินค้า ทำให้โรงงานก็ต้องลดเวลาทำงาน จ่ายเงินล่าช้า ยังไม่รวมปัญหาการเลิกจ้างและบัณฑิตใหม่ตกงาน เงินรายได้ที่จะหมุนเวียนในระบบ 3-4 รอบเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยก็หายไป เห็นได้จากการปรับลดตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของหน่วยงานต่างๆ" นายสมชายกล่าว
 
นายสมชายกล่าวว่า สัญญาณเตือนภัยต่อระบบเศรษฐกิจที่ไม่ดีนัก คือ การแข่งขันจัดแคมเปญส่งเสริมการขาย จัดรายการลด แลก แจก หรือแถมกันรุนแรงในขณะนี้ เพื่อเป็นการรักษาลูกค้าและพยุงรายได้บริษัท จึงอยากให้ปัญหาการเมืองจบลง เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นๆ โดยเฉพาะการบริโภคลดลง การท่องเที่ยวน้อยกว่าปกติ เงินฝืดเพราะคนระมัดระวังการใช้จ่ายกลัวรายได้อนาคตลดลงและตกงาน ตอนนี้ที่ดูว่าการค้าปลีกค้าส่งยังเดินได้ แต่ไม่ได้ขายได้ขายดีในทุกพื้นที่ 
 
น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบภาวะการประกอบการของผู้ประกอบการธุรกิจ พบว่าภาคบริการในต่างจังหวัดมีการหดตัวบ้างแล้ว ซึ่งปัจจุบันสัดส่วน 70-80% เป็นธุรกิจต่างจังหวัด และส่วนใหญ่ยังใช้แรงงานในการผลิตอยู่จำนวนมาก หากได้รับผลกระทบย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งระบบ ซึ่งกรมกำลังเฝ้าติดตามและเตรียมหาแนวทางช่วยเหลือธุรกิจที่มีปัญหา โดยธุรกิจที่น่าห่วงคือธุรกิจที่ใช้แรงงานมาก เช่น การผลิตสิ่งทอ เครื่องเรือน เป็นต้น
 
(มติชนออนไลน์, 16-4-2557)
 
ก.แรงงานจัดโครงการสถานประกอบการต้นแบบด้านแรงงานสัมพันธ์ 
 
 ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีมติเห็นชอบจัดทำโครงการสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานต้นแบบขึ้นเพื่อเป็นแบบอย่างและเผยแพร่แนวทางการดำเนินการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานให้แก่สถานประกอบการต่างๆ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกโดยกำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้น เช่น ต้องเป็นสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเกินกว่า 10 ปีติดต่อกัน โดยคัดเลือกสถานประกอบการทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและเล็ก คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้และคัดเลือกสถานประกอบการดีเด่นฯในต้นปี พ.ศ. 2558
       
“หลังจากได้สถานประกอบการดีเด่นฯ คณะกรรมการจะจัดทำคู่มือเผยแพร่องค์ความรู้และกิจกรรมด้านแรงงานสัมพันธ์ของสถานประกอบการทั้งหมด รวมทั้งขอให้สถานประกอบการเหล่านี้จัดวิทยากรมาช่วยอบรมให้ความรู้แก่สถานประกอบการต่างๆ ที่ต้องการส่งเสริมด้านแรงงานสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และอาจจะมีมีการเชิญสถานประกอบการต้นแบบไปจัดโรดโชว์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ให้แก่ประเทศต่างๆ ในอาเซียนด้วย” รองปลัด รง. กล่าว
       
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2556 มีสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานจากกระทรวงแรงงาน 10 ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2547-2556) ทั้งหมด 16 แห่ง เช่น ประเภทที่มีสหภาพแรงงาน 7 แห่ง เช่น สถานประกอบการขนาดใหญ่ เช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (สำนักงานใหญ่) จ.สมุทรปราการ บริษัท ไทยแอโรว์ จำกัด (โรงงานฉะเชิงเทรา) จ.ฉะเชิงเทรา สถานประกอบการขนาดกลาง เช่น บริษัท เทยินโพลีเอสเตอร์ จำกัด จ.ปทุมธานี บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) โรงงาน 2 สมุทรปราการ
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-4-2557)
 
จ่อตั้ง “กองอาเซียน” ดูแลแรงงานอาเซียน มิ.ย.ประเดิมยกร่างตราสาร
 
นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน ได้จัดตั้ง “กองอาเซียน” ขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน โดยกองอาเซียนจะมีหน้าที่ในการจัดทำยุทธศาสตร์ นโยบายและข้อเสนอแนะ แนวทางการดำเนินงานด้านแรงงานในกรอบอาเซียน และความร่วมมือในกรอบพหุภาคีอื่นๆ รวมทั้งดำเนินการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งการกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน ขณะเดียวกันทำหน้าที่ประสาน สนับสนุนความร่วมมือด้านแรงงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกรอบอาเซียน และความร่วมมือในกรอบพหุภาคีอื่นๆ ทั้งการจัดการประชุม การเข้าร่วมประชุม จัดทำถ้อยแถลง กำกับท่าที และการเจรจาในระดับนานาชาติภายใต้กรอบดังกล่าว พร้อมทั้งทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์จัดทำเอกสารทางวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นข้อมูลในการดำเนินงานความร่วมมือในกรอบอาเซียน กรอบความร่วมมือในพหุภาคีอื่นๆ รวมถึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนกระทรวงแรงงานในคณะกรรมการด้านความร่วมมือในกรอบอาเซียน หรือกรอบความร่วมมือพหุภาคีอื่นๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ปลัดกระทรวงแรงงานมอบหมาย
       
รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า งานแรกในเดือนมิถุนายน นี้ กระทรวงแรงงานจะเป็นเจ้าภาพจัดการการประชุมยกร่างตราสารอาเซียน เพื่อร่วมกันร่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานแรงงานต่างด้าว ระดับล่าง ซึ่งจะช่วยให้ทั้งแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในไทยได้รับการคุ้มครอง ขณะเดียวกันแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศก็จะได้รับการคุ้มครองเช่นกัน
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 17-4-2557)
 
ต่างชาติทำวุ่น! นับเด็กช่วยงานพ่อแม่เป็นการใช้แรงงาน จ่องัดประเพณีฉะกลับ
 
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้หารือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ เรื่องแนวทางความร่วมมือ เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับประเด็นการใช้แรงงานเด็กในประเทศไทย โดยสำนักงานสถิติฯ ได้รับข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่นำข้อคิดเห็นขององค์กรเอกชน (เอ็นจีโอ) ในการเก็บข้อมูลการสำรวจการใช้แรงงานเด็กของไทยในการแยกประเภทเด็กทำงานและแรงงานเด็กให้ชัดเจน  โดยสำนักงานสถิติฯ จะดำเนินการปรับแบบสำรวจให้มีหัวข้อที่ชี้ชัดมากขึ้น รวมทั้งจะมีการนำแบบสำรวจการเก็บข้อมูลของต่างประเทศที่ใช้กันแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับมาใช้ในประเทศไทยด้วย ซึ่งสำนักงานสถิติฯมองแบบสำรวจของประเทศอินโดนีเซียไว้ ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการนำแบบสำรวจใหม่มาเริ่มใช้เก็บข้อมูลเด็กทำงานในปี 2558
       
“การเก็บข้อมูลการใช้แรงงานเด็กในไทยยังเป็นปัญหา เนื่องจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) เอ็นจีโอ มีการนับจำนวนแรงงานเด็กต่างจากไทย โดยนับเด็กที่ช่วยพ่อแม่ทำงานที่บ้านเป็นการใช้แรงงานเด็กด้วย ขณะที่วัฒนธรรมไทยปลูกฝังให้เด็กให้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ซึ่งไทยเตรียมชี้แจงเรื่องศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีเอกสารชัดเจนกับนานาประเทศ เชื่อว่าหากไทยสามารถชี้แจงในเรื่องนี้ได้ สหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆ จะมองสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กของไทยในทางที่ดีขึ้น” รองปลัด รง. กล่าว
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-4-2557)
 
สปส.หาทางช่วยแรงงานสแตนเลย์ หวั่นขาดสิทธิประกันสังคม
 
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้ได้เข้าหารือกับ นางอำมร เชาวลิต เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.)และนายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสปส.ในเรื่องปัญหาสิทธิประกันสังคมของลูกจ้าง บริษัทสแตนเลย์ เวิร์คส์ จำกัด เนื่องจากมีปัญหาข้อพิพาทระหว่างสหภาพแรงงานสแตนเลย์กับบริษัท 
 
ทางบริษัทจึงใช้สิทธิตามกฎหมายสั่งปิดงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างนับตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 5 เดือน แต่ระยะเวลาการขยายสิทธิประกันสังคมจะสิ้นสุดในวันที่ 25 เมษายน 2557 ซึ่งพ้นระยะเวลา 6 เดือนตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดการให้สิทธิไว้ ทำให้ลูกจ้างบริษัทสแตนเล่ย์ 44 คนที่มีข้อพิพาทกับนายจ้างไม่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่างๆได้และส่งผลกระทบต่อชีวิตลูกจ้าง  
 
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวต่อไปว่า ได้ขอให้สปส.พิจารณาในแง่กฎหมายว่าจะสามารถออกระเบียบหรือประกาศให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ก็ขอให้พิจารณาว่าให้ลูกจ้างสามารถส่งเงินสมทบเข้าประกันสังคมเองได้หรือไม่ เพื่อจะได้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อไปได้  
 
หากสามารถออกระเบียบรองรับได้ก็ให้ลูกจ้างส่งเงินสมทบแบบเดือนต่อเดือนเริ่มจากเดือนพฤษภาคมนี้และส่งเงินสมทบต่อเนื่องไปจนกว่าการแก้ปัญหาข้อพิพาทจะได้ข้อยุติ และได้ขอให้สปส.แจ้งผลการพิจารณาในแง่กฎหมายก่อนวันที่ 22 เมษายนนี้เพราะศาลแรงงานนัดไกล่เกลี่ยระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างในวันดังกล่าว
 
ด้าน นายอารักษ์ พรหมณี รองเลขาธิการสปส. กล่าวว่า เลขาธิการสปส.ให้ตนไปศึกษาในแง่กฎหมายว่าจะสามารถออกประกาศหรือระเบียบเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทสแตนเล่ย์ไม่ให้ขาดสิทธิประกันสังคมได้หรือไม่ รวมทั้งให้ไปหารือกับนายจ้างด้วย 
 
จากการหารือกับนายจ้างมีข้อกังวลในประเด็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานในแง่ของการปิดงาน จึงขอให้สปส.พิจารณาในแง่กฎหมายว่าหากนายจ้างช่วยส่งเงินสมทบจะมีผลกระทบตามที่มีข้อกังวลหรือไม่ ซึ่งสปส.อยู่ระหว่างศึกษาในแง่กฎหมายของประกันสังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  จะให้ได้ข้อสรุปก่อนวันที่  25  เมษายนนี้
 
“ประเด็นปัญหาข้างต้นถือเป็นเรื่องใหม่ที่สปส.เพิ่งเคยจอเป็นครั้งแรกเพราะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างกฎหมายคุ้มครองแรงงานกับกฎหมายประกันสังคม     จะต้องหาทางออกเพื่อช่วยลูกจ้างบริษัทสแตนเล่ย์ไม่ให้ขาดสิทธิประกันสังคมโดยพิจารณาในแง่กฎหมายให้รอบคอบและรัดกุม  ต่อไปในอนาคตอาจจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมเพื่ออุดช่องโหว่ในเรื่องนี้” 
 
(มติชน, 21-4-2557)
 
ลูกจ้างโรงงานผลิตว่านกระป๋องส่งนอก ฮือประท้วงนายจ้างไม่จ่ายค่าแรง
 
(21 เม.ย.) ที่บริเวณหน้าสำนักงานฝ่ายบุคคลของโรงงานปราณบุรีสับปะรดกระป๋อง จำกัด หมู่ที่ 4 ต.หนองตาแต้ม อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้มีพนักงาน และลูกจ้างในส่วนของโรงงานผลิตว่านกระป๋องส่งนอกกว่า 300 คน ได้ร่วมตัวชุมนุมประท้วงนายจ้างหลังไม่ยอมจ่ายค่าแรงงานมานานเกือบ 2 เดือน จนทำให้ได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้บริหารรายใดออกมาชี้แจงเหตุผลถึงสาเหตุที่ไม่สามารถจ่ายเงินเดือน และค่าแรงงานให้แก่พนักงาน และลูกจ้างแต่อย่างใด
       
อีกทั้งทางโรงงานก็ได้มีการปิดการผลิตว่านกระป๋องโดยไม่มีกำหนดเปิดทำงานที่แน่ชัด ทำให้พนักงาน และลูกจ้างเกิดความสับสน ประกอบกับใกล้เปิดเทอม จึงส่งผลกระทบต่อครอบครัวของพนักงาน และลูกจ้างที่ต้องแบ่งรับภาระหนี้สิน และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
       
โดยทางพนักงาน และลูกจ้างได้เรียกร้องขอให้ผู้บริหารยอมจ่ายเงินเดือนที่คงค้างไว้ภายในวันนี้ หากมีการชำระแล้วก็จะไม่ติดใจเอาความ หรือหากทางโรงงานจะมีการจ้างแรงงานออกก็ยินยอม แต่ขอให้จ่ายเงินค่าแรงก่อน
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การชุมนุมของพนักงาน และลูกจ้างดังกล่าวจนถึงขณะนี้ (14.00 น.) นานหลายชั่วโมงแล้ว แต่ยังไม่มีผู้บริหารรายใด หรือหุ้นส่วนของโรงงานออกมาชี้แจง มีแต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของโรงงานเท่านั้นที่ออกมาปฏิเสธไม่สามารถให้คำตอบอะไรได้ ต้องรอฝ่ายบริหารเท่านั้น
       
นายอำนวย รักอู่ อายุ 46 ปี 49/3 หมู่ 2 ต.ศิลาลอย อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตนได้รับความเดือดร้อนมานานเกือบ 2 เดือน หลังจากที่โรงงานมีการผัดผ่อนการจ่ายค่าแรงมาโดยตลอด จนถึงขณะนี้ตนต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายภายในครอบครัวก่อน ทำให้ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง ซึ่งเราก็ทำงานมาโดยตลอด ลูกจ้างทั้งหมดในโรงงานกว่า 300 คน ยังไม่มีใครได้รับเงินค่าจ้างเลยแม้แต่คนเดียว ทั้งนี้ เคยเรียกร้องไปทางสำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้มาตรวจสอบแต่เรื่องก็ยังเงียบหายไป ไม่มีคำตอบเช่นกัน
       
ด้านนางอารยา พุ่มพวง พนักงานอีกหนึ่งรายกล่าวว่า นอกจากได้รับผลกระทบจากค่าแรงงานแล้วตนจำเป็นต้องรักษาตัว ต้องเข้าโรงพยาบาลทุกเดือนเพื่อรักษาตัว แต่พบว่าทางโรงงานขาดส่งค่าประกันสังคม แต่มีการหักเงินประกันสังคมจากพนักงานทุกเดือน จึงเกรงจะไม่ได้รับการคุ้มครอง สร้างความเดือดร้อนเพิ่มขึ้น และจะเพิ่มภาระมากขึ้นในอนาคต
       
“อยากวิงวอนให้ผู้บริหารลงมาเจรจากับพนักงานโดยด่วน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน โดยการจราจาจะจ่ายเงินเท่าใดก่อนก็ขอให้มาพูดคุยตกลงกัน เพราะพวกเรายังไม่สามารถออกไปทำงานที่อื่นได้ นอกจากรับจ้างทั่วไปเพื่อนำเงินมาประทังชีวิตไปก่อน” นางอารยา กล่าว
       
ด้านนายสุกิจ ครุฑคง นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานแรงงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ในวันนี้ได้เดินทางมารับฟังปัญหาของพนักงานโรงงานดังกล่าว โดยทราบว่าลูกจ้างทั้งหมดยังไม่ได้รับค่าจ้างนานเกือบ 2 เดือน โดยล่าสุด ได้มีการประสานงานทางโทรศัพท์กับผู้บริหารโรงงานแล้วแต่ไม่สามารถติดต่อได้
        
โดยขั้นตอนต่อไปจะให้พนักงานทั้งหมดได้เขียนบันทึกคำร้องปากคำ กรณีไม่ได้รับเงินค่าแรงเพื่อรวบรวมประกอบการดำเนินการของสำนักงานแรงงานต่อไป โดยจะพยายามเร่งรัดให้โรงงานดำเนินการจ่ายค่าแรงงานที่ค้างชำระให้เร็วที่สุด แต่ถ้ายังเพิกเฉยก็จะต้องดำเนินการให้พนักงานลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน และแจ้งความดำเนินคดีต่อไป
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-4-2557)
 
คนงานมิชลินปักหลักก.แรงงานต่อ หลังเจรจาไม่ได้ข้อยุติ นัดไกล่เกลี่ยอีกครั้ง 29 เม.ย.
 
เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่กระทรวงแรงงาน นายสุวิทย์ สุมาลา รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กล่าวว่า การเจรจาระหว่างตัวแทนสหภาพแรงงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด จ.ชลบุรี กับนายจ้างในเรื่องข้อพิพาทแรงงานเป็นครั้งที่ 8 โดยผู้แทนนายจ้างเสนออายุข้อตกลง 3 ปี เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน เบี้ยขยัน รวม 900/1,000/1,200 บาทต่อคนต่อเดือน แต่ตัวแทนสหภาพเสนออายุข้อตกลง 1 ปี โบนัส 4 เดือน บวกเงินอีก 20,000 ปรับค่าจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 และค่าเช่าบ้าน 2,000 บาทต่อคนต่อเดือน จากเดิมเสนอขอโบนัส 3.3 เดือน บวกเงิน 15,000 บาท ค่าเช่าบ้าน 2,700 บาทและเบี้ยขยัน 1,500 บาท แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จึงได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ยครั้งต่อไปวันที่ 29 เมษายน เวลา 10.00 น. ที่สำนักแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คนงานบริษัทสยามมิชลินหลายร้อยคนยังคงปักหลักชุมนุมเรียกร้องที่กระทรวงแรงงานต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ในเรื่องสภาพการจ้างงาน การขอเงินตอบแทนพิเศษประจำปี(โบนัส) โดยมีการเจรจามาแล้ว 7 ครั้ง โดยมีผู้นำแรงงานปราศรัยโจมตีบริษัทฯ ในเรื่องการเจรจาข้อเรียกร้อง เป็นระยะ
 
(มติชนออนไลน์, 22-4-2557)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความเข้าใจผิดๆ เรื่องพลังงานของนายโสภณ สุภาพงษ์ จากเวที กปปส.

$
0
0

 

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เวที กปปส. สวนลุม ได้เริ่มพูดเรื่องพลังงาน แต่ไม่วายที่จะป้อนข้อมูลความเข้าใจผิดๆ แก่บรรดาสาวกมวลมหาประชาชนอยู่ดี ทั้งๆ  ที่เมื่อสองเดือนก่อน ได้ตัดสินใจไม่ให้กลุ่ม กคป หรือกลุ่มทวงคืนพลังงานได้ขึ้นเวที กปปส. อาทิ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล เป็นต้น [i] ผู้เขียนก็นึกว่า กปปส. เข้าใจเรื่องพลังงานดี เพราะในกลุ่มของ กปปส เอง ก็มีผู้ที่เข้าใจเรื่องพลังงานอย่างดีคือ ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ นางอานิก อัมระนันทน์ อดีต สส.ประชาธิปัตย์ และ รองประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร แต่ก็น่าแปลกที่กลุ่ม กปปส กลับไม่ขอข้อมูลจากทั้งสองคนนี้ แต่กลับไปหลงเชื่อกลุ่มทวงคืนพลังงาน อย่างเช่น นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ที่ไปหลงเชื่อกลุ่มทวงคืนพลังงานเพราะระยะหลังๆ พยายามพูดเรื่องพลังงาน [ii] แต่ก็เข้าใจผิดๆ อยู่เหมือนเคย แถมยอมรับอีกด้วยว่า ได้คุยกับ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี บ่อยๆ  ผู้เขียนขอเรียกว่า “โดนล้างสมอง” ให้เข้าใจข้อมูลพลังงานผิดๆ มากกว่า และโดยเฉพาะล่าสุดให้นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่บางจาก ได้ขึ้นเวทีบ่อยๆ  ด้วยความที่ผู้นี้เคยบริหารงานในบริษัทน้ำมัน ทำให้มีเครดิตที่จะพูดเรื่องพลังงาน แต่แล้วก็เข้าใจผิดๆ อย่างไม่น่าเชื่อว่าเคยบริหารงานในบริษัทน้ำมัน เพียงเพราะต้องการโยงสาเหตุกำไรของ ปตท. และน้ำมันแพง มาจากระบอบทักษิณ [iii] [iv]

ขอยกตัวอย่างสัก 3 ประเด็นก่อนละกัน

ประเด็นที่ 1
ข้อเสนอให้ใช้ราคาหน้าโรงกลั่นที่ราคา Export Parity นั้น ไม่น่าเชื่อว่าเป็นคำพูดที่ออกมาจากปากของผู้ที่เคยบริหารงานในบริษัทน้ำมัน การคิดราคา Export Parity นั่นหมายถึง เรากำลังเป็นผู้ส่งออกแข่งกับประเทศสิงคโปร์

โรงกลั่นในประเทศไทยนั้นสร้างขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป โดยเราจะนำเข้าน้ำมันดิบมากลั่นเองแทน ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ประกอบการในประเทศก็คือ ให้กำหนดราคาหน้าโรงกลั่นตามหลักการ Import Parity คือราคาเทียบเท่านำเข้า เพราะต้นทุนโรงกลั่นในประเทศไทยสูงกว่า ทั้งเรื่องการขนส่ง เพราะต้องขนส่งน้ำมันดิบเข้ามากลั่นไกลกว่าสิงคโปร์ กำลังการกลั่นที่ต่ำกว่า คุณภาพน้ำมันที่ใช้ก็สูงกว่า (ไทยกลั่นยูโร 4 สิงคโปร์กลั่นยูโร 2) ไทยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการสำรองน้ำมันตามกฎหมาย (สิงคโปร์ไม่ต้องสำรองน้ำมัน) และ ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่่ประเทศไทยก็สูงกว่าอีก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่บวกใน Import Parity คือค่าขนส่ง ค่าประกัน ค่าสูญเสีย และค่าปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งรวมๆ กันอยู่ประมาณ 80-90 สตางค์ต่อลิตร โดยเป็นค่าปรับปรุงคุณภาพเป็นยูโร 4 เสียส่วนใหญ่ประมาณ 50-60 สตางค์ต่อลิตร จึงไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเทียมหรือค่าใช้จ่ายสมมติที่นายโสภณกล่าวอ้าง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีอยู่จริง ซึ่งอาจจะบวกน้อยกว่าภาระค่าใช้จ่ายต้นทุนที่มากกว่าสิงคโปร์ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้นด้วยซ้ำไป แต่ถ้าโรงกลั่นคิดค่าใช้จ่ายสูงกว่า Import Parity ก็จะแข่งขันกับน้ำมันนำเข้าจากสิงคโปร์ไม่ได้ จึงเป็นเพดานราคาที่โรงกลั่นจะคิดเกินกว่านี้ไม่ได้ ต่อให้โรงกลั่นถูกผูกขาดก็ตาม สุดท้ายราคาน้ำมันก็ต้องเป็นไปตามกลไกลของตลาด จะเห็นว่าธุรกิจโรงกลั่นไม่ได้กำไรงามเลย ครึ่งปีแรกขาดทุนยับ ครึ่งปีหลังกลับมามีกำไรบ้าง

ถ้าไปบังคับให้โรงกลั่นขายราคา Export Parity จะกลายเป็นว่า ประเทศเพื่อนบ้านจะแห่กันมาซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นไทยจนหมด เพราะราคาเท่ากับที่สิงคโปร์แถมหักค่าขนส่งอีก กลายเป็นประเทศไทยไม่มีน้ำมันใช้ ต้องนำเข้าจากสิงคโปร์ในราคานำเข้าอยู่ดี และสุดท้ายโรงกลั่นไทยก็อยู่ไม่ได้เพราะค่าการกลั่นที่ต่ำจนแข่งขันกับสิงคโปร์ไม่ได้ก็ต้องปิดตัวลง ส่งผลทำให้ Supply ในภูมิภาคหายไปกว่า ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ราคาน้ำมันสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้นไปกันใหญ่

แล้วมีคำถามต่อมาว่าในเมื่อต้องใช้ราคาเท่ากับนำเข้า แล้วจะสร้างโรงกลั่นทำไม คำตอบก็คือ การที่รัฐส่งเสริมให้มีโรงกลั่นในประเทศเพราะ โรงกลั่นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของน้ำมันดิบให้เป็นน้ำมันสำเร็จรูป ทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่ม ลดการสูญเสียเงินตราไปต่างประเทศ โดยการนำเข้าน้ำมันดิบแทนน้ำมันสำเร็จรูป และเป็นการสร้าง GDP ให้กับประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้คนไทย และรัฐก็เก็บภาษีได้อีก ดังนั้นการมีโรงกลั่นในประเทศ ย่อมมีประโยชน์กว่าไม่มี

ประเด็นที่ 2
เปลี่ยนระบบสัมปทานขุดเจาะน้ำมันไปเป็นระบบแบ่งผลผลิตหรือ Production Sharing ที่นายโสภณกล่าวอ้างว่า ตัวเองพยายามผลักดันระบบนี้ แต่ไม่สำเร็จ ก็ไม่น่าจะสำเร็จอยู่แล้ว เพราะประเทศไทยเคยนำระบบ Production Sharing จากมาเลเซียมาประยุกต์ใช้ครั้งหนึ่งใน Thailand 2 จนเจ๊ง เพราะไม่มีใครมาพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยถึง 7 ปี เพราะรัฐเก็บส่วนแบ่งมากจนบริษัทเอกชนไม่สามารถลงทุนขุดเจาะน้ำมันและได้ผลตอบแทนที่คุ้มต่อการลงทุน นายโสภณ อ้างว่า ระบบสัมปทานทำให้เราไม่รู้ข้อมูลราคาซื้อขาย ขณะที่ระบบแบ่งผลผลิตจะทำให้เรารู้ข้อมูลราคาซื้อขาย ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงอีก เพราะราคาซื้อขายต้องเปิดเผยต่อรัฐ และประกาศราคาอยู่ในหน้าของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติทุกๆ เดือน [v] และกล่าวถึงระบบสัมปทานปัจจุบันว่า “แอบขายน้ำมันที่ขุดได้ในราคาถูกๆ เพื่อมาแบ่งถูกๆ” ที่น่าแปลกมากก็คือ บริษัทจะไปแอบขายน้ำมันที่อื่นถูกๆ ทำไมโดยไม่มีเหตุผล เพราะยิ่งขายได้แพง ก็ได้กำไรมากขึ้นอยู่ดี ถึงแม้ว่าจะต้องแบ่งให้รัฐเพิ่มขึ้นก็ตาม จึงเป็นตรรกะที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง

แล้วมันต่างกันตรงไหนที่รัฐเก็บส่วนแบ่งในรูปตัวเงิน กับเก็บส่วนแบ่งในรูปของน้ำมัน เพราะน้ำมันที่ขุดเจาะขึ้นมาได้นั้น มันมีมูลค่าด้วยตัวของมันเองคือราคาตลาดโลก ถ้ารัฐขอแบ่งน้ำมันไป ก็ไม่ต่างกับขอแบ่งเงินในรูปมูลค่าของน้ำมันนั้น ถ้าอ้างว่า รัฐแบ่งน้ำมันไปขายถูกๆ ให้ประชาชนได้ ก็ไม่ต่างอะไรที่รัฐกำลังอุดหนุนราคาในรูปส่วนต่างของราคาขายกับราคาตลาดโลก เพราะรัฐก็สามารถขายน้ำมันในราคาตลาดโลกได้เช่นกัน

ประเด็นที่ 3
ยกกำไร ปตท. ว่ากำไรปัจจุบันเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่าหลังการแปรรูป โดยพยายามโยงที่มาของกำไรมาจากการขายน้ำมันแพงจากสูตรราคาอ้างอิงสิงคโปร์บวกค่าขนส่งเทียมว่าเป็นผลพวกจากระบอบทักษิณ แต่พูดแต่เลขกำไรอยู่มุมเดียว ไม่พูดตัวเลขอื่นๆ  เช่น ยอดขาย อัตรากำไร หนี้สิน และสาเหตุ ? เอาง่ายๆ  กำไร ปตท. จากงบการเงินปี 2556 [vi] หลังหักภาษีส่งเข้ารัฐแล้ว มีกำไรอยู่ 115,125.20 บาท จากยอดขาย 2,842,688 ล้านบาท คิดเป็นผลตอบแทน 4% เท่านั้นเอง ผุ้เขียนกลับมองว่า ปตท.ไม่ได้กำไรมหาศาลเลย สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และที่ ปตท. มีรายได้มาก ก็เพราะรายได้ส่วนใหญ่มาจากการค้าระหว่างประเทศ เพราะ ปตท.มีการลงทุนในต่างประเทศจำนวนมากด้วย รวมทั้งกำไรส่วนใหญ่ก็มาจาก ปตท.สผ.ที่มาจากการลงทุนทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 40 โครงการ ไม่ได้เกิดจากการขายน้ำมันแพงเกินจริงของ ปตท.เลย ถ้าดูงบการเงินส่วนที่เป็นการขายน้ำมัน ปตท. ขาย 617,305 ล้านบาท แต่มีกำไรก่อนหักภาษีเพียง 10,716 ล้านบาท คิดเป็น 1.7% เท่านั้น น้อยกว่าฝากธนาคารประจำเสียอีก !!!

ถ้าคิดจะเอากำไรทั้งหมดแสนล้านบาทมาลดราคาน้ำมันในประเทศลง ก็ลดได้แค่เพียงลิตรละ 2 บาทเท่านั้นเองจากการใช้น้ำมันประมาณ 50 ล้านลิตรต่อปีของประเทศไทย และสุดท้าย ปตท. ก็เจ๊ง แข่งขันกับบริษัทน้ำมันต่างชาติไม่ได้ และระบบพลังงานของไทยจะถูกครอบงำโดยต่างชาติ ถ้าเป็นแบบนั้น เราก็จะกลับไปสู่อดีตในยุคที่บริษัทน้ำมันต่างชาติผูกขาดสามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ และขาดความมั่นคงทางพลังงาน อาจจะได้ต่อคิวเติมน้ำมันตามโควต้ากันอีก และแน่นอนคงไม่มีใครยอมขายก๊าซ NGV กับ LPG ขาดทุนแบบที่ ปตท. ทำอยู่ทุกวันนี้ที่ยอมขายขาดทุนให้ประชาชนรวมกันกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี ที่ไม่มีใครพูดถึงมุมนี้ของ ปตท.เลย [vii]

เอาแค่เบาะๆ  3 ประเด็นก่อน แค่นี้ก็ทราบแล้วว่า นายโสภณ ยังคงมีความเข้าใจในเรื่องพลังงานผิดๆ  ไม่ได้รู้จริงอย่างที่กล่าวอ้างเลย ทั้งๆ ที่เคยเป็นอดีตผู้บริหารบริษัทน้ำมันบางจาก หรือทั้งหมดเป็นเพราะความมีอคติต่อ ปตท. เพียงเพราะคิดว่าเป็นตัวแทนของระบอบทักษิณเท่านั้นเอง พออ้างชื่อทักษิณเท่านั้น มวลมหาประชาชนก็เชื่อนายโสภณทันทีอย่างไม่ลืมหูลืมตา ช่างน่าเป็นห่วงจริงๆ  ประเทศไทย !!!

.................................................

 

[i] กังขาเวที กปปส.ปทุมวัน บีบห้ามพูดเรื่องพลังงาน พบ “ปิยสวัสดิ์” นั่งหลังเวที
[ii] “อรรถวิชช์” ลั่นปฏิรูปพลังงาน “เอาคืนท่อก๊าซ-ปิโตรเคมีจ่ายแพงขึ้น” วอน ASTV อย่าระแวง
[iii] โสภณ สุภาพงษ์ เวที กปปส สวนลุมพินี 11 4 57 ล้วงลึกพลังงานไทย
[iv] โสภณ สุภาพงษ์ เวที กปปส สวนลุมพินี 21 4 57 ทำไมราคาน้ำมันไทยแพง
[v] ประกาศราคาปิโตรเลียมรายเดือน โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
[vi] งบการเงิน ปตท. ปี 2556
[vii] ปตท.อ่วมขาดทุน NGV 2 หมื่นล้าน
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ช่วยทูตญี่ปุ่นเข้าพบ รอง ผบ.ชน.เพื่อสอบถามสถานการณ์

$
0
0

ผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าพบรอง ผบ.ชน. เพื่อติดตามสถานการณ์ชุมนุมรวมถึงแนวโน้มความรุนแรง ที่อาจส่งผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่นในไทย โดยฝ่าย บช.น. จะแจ้งเตือนหากมีเหตุรุนแรง และจะเฝ้าระวังเหตุอาชญากรรม

22 เม.ย. 2557 -  มีรายงานว่า นายไทชิ อากิโมโตะ เลขานุการเอกและหัวหน้านายตำรวจผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจ ประจำสถานเอกอัครราชทูตประเทศญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมคณะ เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.ฉันทวิทย์ รามสูต และ พล.ต.ต.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นการส่วนตัว เพื่อติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรง และส่งผลกระทบกับชาวญี่ปุ่นที่อาศัยและท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งนี้ตามรายงานของ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

โดย พล.ต.ต.ฐิติราช เปิดเผยว่า สถานทูตญี่ปุ่นมีความกังวลในสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองของประเทศไทย ซึ่งได้ยืนยัน การทำงานของตำรวจจะเป็นไปอย่างเต็มที่ และเชื่อว่า จะไม่มีเหตุเผชิญหน้า จนนำไปสู่ความรุนแรงระหว่างผู้ชุมนุมกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างแน่นอน อีกทั้งได้ให้ข้อมูลการประสานเรื่องการแจ้งเตือน และแนวทางป้องกัน เพื่อเฝ้าระวังเหตุรุนแรง รวมถึงการเฝ้าระวังเหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับชาวญี่ปุ่น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จับตาวาระ กสทช.: ซุปเปอร์บอร์ดเสนอรายงานประเมิน กสทช. ปี 56

$
0
0

ประชุม กสทช.พุธนี้ ซุปเปอร์บอร์ดเสนอรายงานประเมิน กสทช.ประจำปี 2556  พิจารณาร่างประกาศประมูลคลื่น 1800  - พร้อมถกต่อ ร่างประมวลจริยธรรมบอร์ด

<--break- />22 เม.ย.2557 ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ครั้งที่ 4/2557 ในวันพรุ่งนี้ (23 เม.ย.2557) มีวาระน่าจับตาได้แก่ รายงานการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2556 ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) หรือซุปเปอร์บอร์ด ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในมาตรา 72 ได้กำหนดให้ กตป.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการและบริหารงานของกสทช. กสท. กทค. สำนักงานกสทช. และเลขาธิการกสทช. แล้วแจ้งผลให้ กสทช.ทราบภายใน 90 วันนับตั้งแต่แต่วันสิ้นปีบัญชี  รวมทั้งให้ กสทช. นำรายงานดังกล่าวเสนอต่อรัฐสภาพร้อมรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีตามมาตรา 76 และต้องเปิดเผยรายงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบทางระบบเครือข่ายสารสนเทศของสำนักงาน กสทช. หรือวิธีการอื่นที่เห็นสมควร

นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า “รายงานการประเมินของ กตป. มีหลายประเด็นน่าสนใจที่สำนักงานควรนำมาพิจารณาให้ความสำคัญ อย่างเรื่อง การเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนทางระบบเครือข่ายสาระสนเทศตามาตรา 59 ที่ยังล่าช้าและไม่ครบถ้วน อาทิ ข้อมูลด้านรายละเอียด เงื่อนไขการประกอบกิจการ รายงานผลการศึกษาวิจัย ข้อมูลเรื่องร้องเรียนตามกฎหมาย ซึ่ง กตป.เสนอว่า เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสมีหลักธรรมาภิบาล ต้องให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม คือ 30 วัน ซึ่งในรายงานยังพบว่า มีตัวชี้วัดบางเรื่องที่ยังไม่แล้วเสร็จและเกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค และระบบร้องรับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว (One-stop-service) นอกจากนี้ การประเมินตนเองของสำนักงาน และการกำหนดตัวชี้วัดที่อาจทำให้ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ รวมทั้งการจัดทำงบประมาณและผลการใช้จ่ายงบประมาณขาดความเชื่อมโยงกับแผนแม่บทและแผนต่างๆ ของ กสทช.”

ส่วนความเห็นด้านกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ นางสาวสุภิญญา กล่าวเพิ่มเติมว่า  “มีข้อสังเกตเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิตอล ทั้งในเรื่องการกำหนดมาตรฐานสำหรับราคากล่องรับสัญญาณ (Set-Top-Box) การจัดสรรคลื่นให้ภาคประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมถึงการปรับเงื่อนไขการปรับลดสัดส่วนเนื้อหา ในช่องหมวดข่าวสารสาระจากร้อยละ 70 ให้เหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ที่อาจทำให้มีผลต่อการรับรู้ข่าวสารข้อมูลผู้บริโภค หรือไม่ควรศึกษาเพิ่มเติมด้วย และอีกหลายประเด็นที่เป็นข้อสังเกตด้านการกำกับดูแล ซึ่งหลังมีมติแล้ว สำนักงานจะต้องเผยแพร่รายงานการประเมินนี้ต่อสาธารณะตามกฎหมายต่อไป”

นอกจากนี้ วาระที่ค้างไว้ซึ่งยังต้องถกต่อ ได้แก่ “ร่างประมวลจริยธรรมของกรรมการ กสทช.” เสนอโดยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระเบียบการบริหารงานภายในของสำนักงาน กสทช. ซึ่งการเสนอครั้งนี้พร้อมความเห็นของกรรมการเสียงส่วนใหญ่ว่า ไม่ประสงค์จะแก้ไขร่างประมวลจริยธรรม ในขณะที่นางสาวสุภิญญา และนายประวิทย์ สอง กสทช.ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญ ที่พบว่าอาจมีบางถ้อยคำที่แสดงเจตจำนงในการพยายามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของกรรมการที่เสียงแตกต่าง รวมทั้งข้อคำถาม และข้อคิดเห็นต่อร่างฯนี้ไว้

ส่วนวาระอื่นๆ ได้แก่ วาระนโยบายและแผนยุทธศาสตร์กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ พ.ศ. 2557 – 2559 

วาระด้านโทรคมนาคมน่าจับตา ได้แก่ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคม ย่าน 1710 – 1722.5 MHz/ 1805 – 1817.5 MHz และ 1784 – 1760.5 MHz/1843 – 1588.5 MHz พ.ศ. ... และร่างประกาศ กสทช. เรื่อง แผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล(International Mobile Telecommunications – IMT) ย่านความถี่ 1710 – 1785/1805 – 1880 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ส่วนวาระการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอล ในเรื่องสำคัญต่างๆ ทั้งราคา และแผนการแจกคูปอง ยังไม่มีการนำเข้าประชุมในวันพรุ่งนี้ โดยจะนัดประชุมรอบพิเศษต่อไป 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกายกฟ้อง ‘ทิชา’ หมิ่น ‘สันต์ ศรุตานนท์’ จบคดีบิ๊กขี้หลี

$
0
0

ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ยกฟ้อง ‘ทิชา ณ นคร’ คดีหมิ่นประมาท พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ชี้แสดงความเห็นโดยสุจริต ปกป้องสิทธิของสตรี

22 เม.ย.2557 ห้องพิจารณาคดี 405 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลฎีกามีคำพิพากษายืน ยกฟ้องตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในคดี  พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้อง ทิชา ณ นคร หรือ ป้ามล ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

โดยก่อนหน้านี้ ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก เขียนบทความและให้สัมภาษณ์ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน เดือนมิถุนายน 2546 ต่อกรณีข้าราชการตำรวจระดับสูงคนหนึ่งมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมส่อเจตนาในทางชู้สาวกับนักข่าวหญิง

ภาพจากเฟซบุค iLaw

คดีนี้ในศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่าบทความดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงโจทก์ร่วมโดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามฟ้อง ต่อมาโจทก์อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยให้เหตุผลว่า แม้ในบทความของทิชาจะไม่ได้ระบุชื่อโจทก์ร่วมโดยตรง แต่ช่วงเวลานั้น ประชาชนต่างทราบว่า หมายถึงโจทก์ร่วม ซึ่งจำเลยเห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาสังคม จึงพยายามชี้ให้เห็นปัญหา เพื่อร่วมกันแก้ไข โดยแสดงความเห็นในมุมของสตรี โดยสุจริต ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาสรุปได้ว่า ก่อนที่จำเลยจะให้สัมภาษณ์และเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ มีข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมของโจทก์ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่เริ่มจากบทสัมภาษณ์และบทความของจำเลยเป็นคนแรก อีกทั้งจำเลยก็ทำงานในองค์กรที่เกี่ยวกับสตรี ย่อมอยู่ในวิสัยที่จะแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อปกป้องสิทธิของสตรีไม่ให้ถูกคุกคามทางเพศ และเนื้อหาในบทสัมภาษณ์และบทความก็เป็นเรื่องที่มุ่งนำเสนอปัญหาให้นายกรัฐมนตรีรับทราบว่าพฤติกรรมตามข่าวที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นทางสังคมที่คุกคามต่อความปลอดภัยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้หญิง แม้จะมีการอ้างพฤติกรรมในทำนองชู้สาว แต่ก็เป็นการอ้างจากข่าวที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์มาก่อนหน้านี้ ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยอ้างขึ้นมาเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและอุทธรณ์

 

ที่มาเฟซบุค iLaw

อ่านรายละเอียดคดีได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/569#detail

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคการเมืองเสนอ กกต.จัดเลือกตั้งให้ไว-อภิสิทธิ์งดร่วม หวั่นไม่ปลอดภัย

$
0
0

58 พรรคร่วมหารือ กกต.เรื่องวันเลือกตั้ง โดยเสนอให้จัดเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเพื่อรักษาระบอบ ปชต. ด้าน 'พุทธะอิสระ' พาคนมาค้าน ขอไม่ไปเลือกตั้งจนกว่าจะปฏิรูป ส่วนอภิสิทธิ์เขียนใบลา ไม่มาเพราะหวั่นความปลอดภัย 'สมชัย' ไม่รับปากเลือกตั้งแล้วจะเปิดสภาได้ทันทีหรือไม่

22 เม.ย. 2557 - ตามที่ กกต. นัดหารือพรรคการเมืองเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ในเวลา 14.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น โดยจะมี 58 พรรคการเมืองเข้าร่วม และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่ได้ลงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ก็จะเข้าร่วมด้วย โดยขอให้ทุกพรรคที่มาประชุมอย่าทะเลาะกัน ช่วยกันหาคำตอบให้ประเทศนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

 

อภิสิทธิ์แจ้ง กกต. ขอยกเลิกเข้าร่วมประชุมเพราะเกรงเรื่องความปลอดภัย

ล่าสุด เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ได้เผยแพร่แถลงการณ์ ที่ ปชป. 57900867 ลงวันที่ 22 เม.ย. เรื่อง "การประชุมหัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้แทนกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง" เรียนประธาน กกต. อ้างถึง หนังสือด่วนที่สุดที่ ลต.0401/ว739 ลงวันที่ 10 เม.ย. 57 มีเนื้อหาระบุว่า

"ตามที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ตอบรับการเข้าร่วมประชุมหารือพรรคการเมืองเกี่ยวกับการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ตามหนังสือเชิญของคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ต่อมามีข้อมูลในเชิงลึกว่า อาจมีปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการประชุมดังกล่าว และหลังจากได้หารือเป็นการภายในกับคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว และมีความเห็นร่วมกันว่า การเข้าร่วมประชุมของพรรคประชาธิปัตย์ อาจจะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นจริง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้แทน จึงไม่ได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ ในกระบวนการพิจารณา ประเด็นการกำหนดวันเลือกตั้งต่อไป โดยพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นในเบื้องต้นว่า วันเลือกตั้งที่เหมาะสมจะกำหนดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ทุกฝ่ายได้ร่วมกันคลี่คลายสถานการณ์ของบ้านเมือง อันจะเป็นหลักประกันว่า การจัดการเลือกตั้ง จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประสบความสำเร็จ เสรี สุจริต และเที่ยงธรรม ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันที่จะมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ และฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการดังกล่าว

ในการนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ขอความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้โปรดจัดส่งรายงาน การหารือและแสดงความคิดเห็นของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในวันนี้ให้แก่พรรคประชาธิปัตย์ เพื่อประกอบการพิจารณาการให้ความเห็นของพรรคประชาธิปัตย์ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อไป ขอแสดงความนับถือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์"

ทั้งนี้ในเฟซบุ๊คของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีการโพสต์ภาพจดหมายดังกล่าวด้วย พร้อมพิมพ์ข้อความว่า "คงต้องหาโอกาสอื่นต่อไป จะไม่ลดละความพยายามครับ"

 

กกต. ยืนยันไม่มีการถ่ายทอดสดเพราะจะทำให้คุมการประชุมลำบาก-เกิดการฟ้องร้อง

ขณะเดียวกันก่อนการประชุม สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายงานว่า นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงว่าที่ประชุมมีมติไม่อนุญาตให้มีการถ่ายทอดสดการหารือดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาการนัดหารือระหว่าง กกต. กับหัวหน้าหรือผู้แทนจากพรรคการเมืองไม่เคยให้มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ การถ่ายทอดสดอาจทำให้การควบคุมการประชุมเป็นไปอย่างยากลำบาก และในการประชุมฝ่ายต่างๆ อาจมีการโต้แย้งด้วยอารมณ์ และคำพูดที่หากมีการเผยแพร่ไปแล้วอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องเป็นคดีอาญาได้ ทั้งนี้ กกต.ได้อนุญาตให้สื่่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังได้ตลอดการประชุม

ส่วนมาตรการรักษาความปลอดภัย สำนักงาน กกต.ได้ประสานหน่วยงานความมั่นคง ทหารและตำรวจ นำโดยกองบังคับการตำรวจนครบาล 2 ให้ช่วยดูแลความเรียบร้อย โดยในการเข้าพื้นที่อาคาร เจ้าหน้าที่จะมีการตรวจสอบบุคคลเข้าออก และตรวจค้นไม่ให้มีการพกพาอาวุธอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการก่อเหตุร้าย

 

พุทธะอิสระพามวลชนแจ้งวัฒนะมาติดป้ายไม่ไปเลือกตั้งจนกว่าจะปฏิรูป

ในเวลาต่อมา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า ก่อนเริ่มการประชุมในเวลา 14.00 น. มีเหตุผู้ชุมนุม กปปส. ฝ่าย "พุทธะอิสระ" ได้นำมวลชนเคลื่อนมาจาก ถ.แจ้งวัฒนะ เพื่อมาคัดค้านการประชุมระหว่าง กกต.และผู้แทนพรรคการเมือง โดยนำป้ายผ้าคำว่า "คนไทยจะไม่ไปเลือกตั้งจนกว่าจะปฏิรูป" มามอบให้กับ กกต. ซึ่งมีนายภุชงค์ นุตตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เป็นผู้แทนรับมอบ

โดยพระพุทธะอิสระ กล่าวว่า กกต.ต้องนำป้ายผ้าดังกล่าวไปติดตั้งภายในห้องประชุม มิเช่นนั้นจะไม่เคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ ขณะเดียวกัน กกต.ได้นำป้ายผ้าดังกล่าวติดภายในห้องประชุมแล้ว เพื่อให้มวลชนเคลื่อนกลับ และเพื่อให้การประชุมสามารถเดินหน้าต่อไปได้

ขณะที่นายภุชงค์ เปิดเผยว่าพรรคประชาธิปัตย์ยกเลิกไม่เข้าร่วมประชุมแล้ว เนื่องจากเกรงในเรื่องปัญหาความปลอดภัย ส่วนตัวแทนพรรคการเมืองอื่น เช่น พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทยและพรรครักษ์สันติ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งรูปแบบการพูดคุยนั้น กกต.จะเปิดโอกาสให้แต่ละพรรคได้สะท้อนความคิดเห็นเพียงพรรคละ 1 นาทีครึ่ง พร้อมทั้งแบ่งช่วงเวลาให้ฝ่ายที่เห็นควรจัดการเลือกตั้งและฝ่ายที่ต้องการให้ชะลอการเลือกตั้ง แสดงความคิดเห็นฝ่ายละ 30 นาที ก่อนนำความเห็นจากทุกพรรคการเมืองไปหารือให้ได้ข้อสรุปอีกครั้ง

 

พรรคการเมืองส่วนใหญ่สนับสนุนให้รีบเลือกตั้ง 'สมชัย' ไม่รับปากจัดเลือกตั้งแล้วจะเปิดสภาได้หรือไม่

ส่วนบรรยากาศการประชุมนั้น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ได้กล่าวเปิดการประชุม ว่า ผลการหารือจะเป็นทางออกของปัญหา และจะตอบโจทย์ประเทศได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ กกต. ได้เสนอแนวทางจัดการเลือกตั้ง 3 แนวทางคือ

แนวทางที่ 1 กำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม แนวทางที่ 2 กำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 17 สิงหาคม และแนวทางที่ 3 กำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 14 กันยายน 2557

จากนั้นตัวแทนพรรคการเมืองได้เริ่มการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น โดยนายโภคิน พลกุล ที่ปรึกษากฎหมายพรรคเพื่อไทย แสดงความเห็นด้วยที่จะให้จัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 20 กรกฎาคม และควรจัดเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตย พร้อมเรียกร้องให้ กกต. วางแนวทางแก้ไขปัญหาการขัดขวางการรับสมัครเลือกตั้ง ส่วนตัวแทนจากพรรคการเมืองอื่น ๆ แสดงความเห็น พร้อมจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และเห็นด้วยกับแนวทางจัดการเลือกตั้งของ กกต. แต่ขอให้ กกต. มีหลักประกันว่า การเลือกตั้งตามแนวทางดังกล่าว จะสำเร็จและไม่มีเหตุให้การเลือกตั้งต้องขัดรัฐธรรมนูญอีก

ด้านตัวแทนพรรคการเมืองขนาดเล็ก เสนอให้จัดเลือกตั้งวันที่ 25 มิถุนายน 2557 และขอให้ กกต. กำหนดสถานที่รับสมัครโดยใช้เป็นสถานที่ของกองทัพ เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย

ขณะที่นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ยืนยันว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญในประเด็มเดิมที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยไว้อย่างแน่นอน เพราะ กกต. ได้วางกลไกการรับสมัครให้ทุกเขตมีผู้สมัครรับเลือกตั้ง และหากเขตเลือกตั้งใดมีปัญหาเรื่องการขัดขวางการลงคะแนนเลือกตั้ง กกต. จะจัดการเลือกตั้งซ้ำในเขตดังกล่าวในกรอบเวลา 180 วัน แต่ทั้งนี้ กกต. ไม่สามารถยืนยันได้ว่า หลังการเลือกตั้งจะมีจำนวน ส.ส. ครบร้อยละ 95 เพื่อให้เปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้หรือไม่ เนื่องจากการประกาศจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ กกต. ต้องคำนวนคะแนนจากทุกหน่วยเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ภายหลังใช้เวลาประชุมนานกว่า 2 ชั่วโมง ที่ประชุมไม่ได้มีการลงมติ โดย ประธาน กกต. ระบุว่า จะนำความเห็นและข้อเสนอจากทุกพรรคการเมือง ไปสรุปและหารือในที่ประชุม กกต. เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งครั้งใหม่ที่เหมาะสม และนำไปหารือกับรัฐบาลต่อไป ทั้งนี้ยอมรับว่า ส่วนใหญ่พรรคการเมืองสนับสนุนให้จัดการเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า หากสถานการณ์สงบ ก็สามารถเลื่อนวันจัดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประธาน กกต.เผยนายกตอบรับหารือ 30 เม.ย.นี้ โพลล์ชี้ประชาชนอยากเลือกตั้งเร็วที่สุด 20 ก.ค.

$
0
0
 
26 เม.ย. 2557 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ระบุ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตอบรับคำเชิญเข้าร่วมหารือกำหนดวันเลือกตั้งในเวลา 14.00 น. วันที่ 30 เมษายนนี้ ส่วนจะมีการเลื่อนวันเลือกตั้งให้เร็วขึ้นจากวันที่ 20 กรกฎาคมหรือไม่จะมีการหารือกันในวันจันทร์นี้ พร้อมย้ำด้วยว่า กกต. ยินดีหารือร่วมกับทุกฝ่าย รวมทั้งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมหวังว่าพรรคประชาธิปัตย์จะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งด้วย
 
ด้านมติชนออนไลน์รายงานว่าหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้หารือกับพรรคการเมืองต่างๆ และได้เสนอแนวทางจัดการเลือกตั้ง 3 แนวทาง แต่ทั้งนี้ยังไม่มีมติที่ชัดเจนเกี่ยวกับวันจัดการเลือกตั้งดังกล่าว เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเจรจาระหว่าง กกต. กับพรรคการเมือง “สวนดุสิตโพลล์” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,361 คน ระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2557 สรุปผลได้ ดังนี้
   
1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับผลการเจรจาของ กกต. กับพรรคการเมืองที่มีทางเลือก การเลือกตั้ง 3 แนวทาง คือ  20 ก.ค.57   17 ส.ค.57  และ 14 ก.ย.57
 
อันดับ 1 ควรหาข้อตกลงร่วมกัน พิจารณาวันเลือกตั้งให้เหมาะสมและเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย  29.31%
อันดับ 2 อยากให้สรุปวันเลือกตั้งโดยเร็ว บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อไปได้  27.76%
อันดับ 3 การเจรจาเป็นวิธีการที่ดี ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและช่วยกันแก้ปัญหาก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง 21.59%
อันดับ 4 กังวลว่าจะไม่สามารถทำตามแนวทางหรือข้อตกลงที่หารือร่วมกันได้ มีเรื่องผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง 15.42%
อันดับ 5 กกต.จะต้องทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม  5.92%
    
 
2. ประชาชนสมหวัง หรือ ผิดหวัง กับการเจรจาระหว่าง กกต. กับ พรรคการเมืองครั้งนี้อย่างไร?
 
อันดับ 1 เฉยๆ  68.80%เพราะ เป็นแค่การโยนหินถามทาง ไม่ว่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการใดบ้านเมืองก็ยังคงวุ่นวายอยู่ดี ไม่อยากคาดหวัง ฯลฯ
อันดับ 2 ผิดหวัง 24.80% เพราะ ยังไม่สามารถระบุวันเลือกตั้งที่ชัดเจนได้ เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ ฯลฯ
อันดับ 3 สมหวัง   6.40% เพราะ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ฯลฯ
    
 
3. ประชาชนคิดว่าน่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงใด?
 
อันดับ 1 เลือกตั้งเร็วที่สุดภายใน 59 วัน คือ 20 ก.ค.57    46.58% เพราะ บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อไป สถานการณ์ต่างๆ จะได้คลี่คลายหรือยุติโดยเร็ว ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจ ฯลฯ 
อันดับ 2 เลือกตั้งภายใน 115 วัน คือ 14 ก.ย.57      35.49% เพราะ ควรมีการปฏิรูปก่อน รอให้สถานการณ์คลี่คลาย ความขัดแย้งลดลง การเลือกตั้งจะได้สมบูรณ์ไม่เป็นโมฆะอีก ฯลฯ
อันดับ 3 เลือกตั้งภายใน 87 วัน คือ 17 ส.ค.57    17.93% เพราะ หากจัดการเลือกตั้งเร็วเกินไป อาจมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยออกมาคัดค้าน เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม พรรคการเมืองมีเวลาหาเสียง ฯลฯ
               
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ.อีสาน ประนามกรณีการลอบสังหารแกนนำมวลชนฝ่ายประชาธิปไตย

$
0
0
26 เม.ย. 2557 สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสานออกแถลงการณ์กรณีการลอบสังหารแกนนำมวลชนฝ่ายประชาธิปไตย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
แถลงการณ์สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน
กรณีการลอบสังหารแกนนำมวลชนฝ่ายประชาธิปไตย
 
ในวันที่ 24 เมษายน 2557 มวลชนฝ่ายประชาธิปไตยต้องสูญเสียทรัพยากรทางปัญญาไปนั่นคือ กวีชาวไพร่ ไม้หนึ่ง ก.กุนที ด้วยการฆาตกรรมอันอุกอาจท้าท้ายอำนาจรัฐซึ่งเป็นการกระทำของมัจจุราชฆาตกรอันโหดเหี้ยมอำมหิตผิดวิสัยแห่งการเป็นมนุษย์  ก่อนหน้านี้ยังมีแกนมวลชนอันไพศาลฝ่ายประชาธิปไตยต้องโดนลอบสังหาร ลอบทำลายมาตลอด การกระทำอันป่าเถื่อนมิเคยได้เอื้อมมือถึงตัวบ่งการผู้อยู่เบื้องหลังแม้แต่เพียงครั้งเดียว  
 
เหตุการณ์เช่นต้องนำวลีเด็ดของผู้ทำรัฐประหารยึดอำนาจประชาชนอย่างไร้ยางอายนั่นคือพลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน ด้วยวาทกรรมที่ว่า “แม้นตายก็พูดไม่ได้” ถึงกระนั้นมวลชนอันไพศาลฝ่ายประชาธิปไตยก็รับรู้ได้ถึงความไม่ชอบมาพากลความฉ้อฉลของอำนาจมืดที่ประชาชนมองเห็นและสัมผัสได้มาโดยตลอด การลอบสังหาร ไม้หนึ่ง ก.กุนที ก็เป็นอีกครั้งที่แสดงออกถึงความโหดเหี้ยมอำมหิตของอำนาจนอกระบบที่บงการและคอยกำกับสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จากเหตุการณ์อันอุกอาจซึ่งกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของมวลชนอันไพศาลฝ่ายประชาธิปไตย 
 
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน ขอประณามกระทำอันของอำนาจมืดที่ไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์พร้อมกันนั้นขอสดุดีไม้หนึ่ง ก.กุนที นักรบของประชาชนขอให้ดวงวิญญาณสถิตเป็นประชาทิพย์ คอยปกป้องคุ้มครองขบวนการการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยให้ได้ชัยชนะ
 
ข้อเรียกร้องต่อมวลชนฝ่ายประชาธิปไตย
 
1.ขอให้ประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย ทุกกลุ่ม ทุกองค์กร เคลื่อนไหว ต่อต้าน  “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน มาไม้ไหนไปไม้นั้น” เพื่อเป็นการตอบโต้การกระทำอันโหดเหี้ยมอำมหิตของฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยและบรรดาอำนาจนอกระบบทั้งหลาย
 
2.ขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมขั้นสูงสุดต่อสถานการณ์การต่อสู้กับฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยและบรรดาอำนาจนอกระบบทั้งหลายถึงขั้นแตกหักเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
 
สุดท้ายพลังอันแข็งแกร่งของมวลชนฝ่ายประชาธิปไตยจะยังคงยืนเด่นและท้าทายต่ออำนาจมืดอันโหดเหี้ยมอำมหิต ประชาชนจงอย่าลืมการกระทำอันไร้ซึ่งความเป็นมนุษย์ในเหตุการณ์นี้และนำความคับแค้นนี้ให้แปรเปลี่ยนเป็นพลังในการต่อสู้ต่อไป
 
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน
วันที่  26 เมษายน พ.ศ. 2557
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images