Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

ปลัดมหาดไทยเผยลงนามแต่งตั้ง ส.ก.กทม.แล้ว 30 ราย

$
0
0

ปลัดกระทรวงมหาดไทยเผย ลงนามแต่งตั้งสมาชิกสภา กทม.แล้ว 30 ราย หลังคัดเลือกโดยคณะกรรมการสรรหาตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 86 

16 ก.ย.2557 นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.กทม.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามประกาศแต่งตั้ง ส.ก.กทม. จำนวน 30 ราย เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา หลังคณะกรรมการสรรหาได้ประชุมพิจารณาคัดเลือกบุคคลตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 86/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว โดยให้คัดเลือกจากบุคคลผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่น ตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องเป็นข้าราชการ หรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไป

ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ส.ก.กทม.ทั้ง 30 คน ประกอบด้วย นายกิตติ บุศยพลากร ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์  โลหะชาละ พล.อ.โกญจนาท จุณณะภาต พล.อ.คนินทร วงศาโรจน์ นายคำรณ โกมลศุภกิจ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ   นายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ พล.ต.โชติภณ จันทร์อยู่ น.ส.ดวงพร รุจิเรข นายธวัชชัย ฟักอังกูร พล.ต.ท.ธีระศักดิ์ ง่วนบรรจง นายนิรันดร์ ประดิษฐกุล พ.ต.อ.ประสพโชค พร้อมมูล นายพรชัย เทพปัญญา  นายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ พล.ต.ท.พลบูรณ์ ชำนาญกูล นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ น.ส.เฟื่องฟ้า เทียนประภาสิทธิ์    นายภาส ภาสสัทธา นางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รท.วารินทร์ เดชเจริญ นายวิชาญ ธรรมสุจริต นายสงขลา วิชัยขัทคะ นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ นางสุกัญญา สุวัฒนวงศ์ นายสุทธิชัย ทรรศนสฤษดิ์ พล.ต.สุทธิชัย วงษ์บุบผา นายอภิรัตน์  ศิวพรพิทักษ์ นายอัครวัฒน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา โดยผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

 

ที่มา สำนักข่าวไทย


 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สธ.เผยผลตรวจเลือดผู้อยู่ในเกณฑ์รายที่ 2 ไม่พบเชื้อ ‘อีโบลา’

$
0
0

เผยผลตรวจเลือดผู้อยู่ในเกณฑ์สอบสวนโรคครั้งที่ 2 ไม่ติดเชื้อ ‘อีโบลา’ ยอดรวมตรวจขณะนี้ 1,406 คน ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ แพทย์แนะล้างมือบ่อยลดเชื้อโรคได้ 80 เปอร์เซ็นต์

16 ก.ย.2557 ไทยรัฐออนไลน์ รายงานความคืบหน้าสถานการณ์ของผู้อยู่ในเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา

ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า น.พ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และ พ.ญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์ผู้อยู่ในเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาที่กระทรวงสาธารณสุข

พ.ญ.นฤมล กล่าวว่า ผลการตรวจเลือดที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ออกมาเป็นลบ สรุปได้ว่าผู้อยู่ในเกณฑ์สอบสวนรายที่ 2 ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาอย่างแน่นอน และกระทรวงสาธารณสุขยุติการติดตามเฝ้าระวังอาการของผู้สัมผัสทั้ง 21 คนด้วย โดยอาการของผู้ป่วยเข้าได้กับไข้หวัดทั่วไป ขณะนี้อยู่ในการดูแลของแพทย์

ด้านรองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังตรวจคัดกรองอาการผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดในวันที่ 15 กันยายน มีทั้งหมด 47 คน ทุกคนปกติดี ยอดรวมตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายนเป็นต้นมา ตรวจทั้งหมด 1,406 คน โดยเดินทางผ่านท่าอากาศยาน 1,334 คน ทางเรือ 67 คน และตามพรมแดนต่างๆ 5 คน ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศไนจีเรีย รองลงมา คือ กินี ทุกคนปกติ ขณะนี้ด่านทุกแห่งยังคงเฝ้าระวังตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และขอให้ประชาชน ดูแลสุขอนามัยของตนเอง โดยกินร้อน ใช้ช้อนกลาง และล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ การล้างมือจะช่วยกำจัดเชื้อโรคได้มากถึงร้อยละ 80 และทำให้ไม่เกิดการเจ็บป่วยง่าย


ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยแทคติคใหม่อุตสาหกรรมยาข้ามชาติ ผลิตยาราคาถูกแต่ไม่ขายประเทศกำลังพัฒนา

$
0
0

 

16 ก.ย.2557 เจ้าหน้าที่มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เผยบรรษัทยาข้ามชาติทำข้อตกลงกับบริษัทยาในประเทศอินเดีย ผลิตยารักษาไวรัสตับอักเสบซีราคาถูกจำหน่ายในประเทศยากจน แต่ไม่อนุญาตให้ขายในไทย จีน และหลายประเทศในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา

นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์เพื่อการเข้าถึงการรักษา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา บริษัทยากิลลิแอดได้ทำข้อตกลงการใช้สิทธิโดยสมัครใจให้บริษัทยาชื่อสามัญในอินเดียชั้นนำ อาทิ ซิปพล้า แรนบัคซี่ และไมแรน สามารถผลิตยารักษาไวรัสตับอักเสบซี Sofosbuvir และขายในประเทศยากจน 91 ประเทศ จากราคา 1,000 ดอลลาร์ต่อเม็ดที่ขายในสหรัฐฯเหลือเพียงเม็ดละ 10 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงที่เหมือนจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงยารักษาชีวิตผู้ป่วย กลับไม่ให้ขายกับประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน รัสเซีย บราซิล ตุรกี ยูเครน หลายประเทศในตะวันออกกลางและละตินอเมริกา ซึ่งมีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีอยู่รวมกันประมาณร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั่วโลก

“ประมาณการผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีในไทยอยู่ที่ 1.45 ล้านคน ถ้าต้องซื้อในราคาปัจจุบันคือ 2,520,000 บาทต่อ 1 การรักษา จะต้องใช้งบประมาณมากกว่า 3 ล้านล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดินของไทยเสียอีก แต่ถ้าสามารถใช้ยาชื่อสามัญได้ จะเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีลดลงถึง 90% ทีเดียว” นายเฉลิมศักดิ์กล่าว

เจ้าหน้าที่มูลนิธิเข้าถึงเอดส์กล่าวด้วยว่า นี่คือแทคติคใหม่ของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่พยายามสร้างภาพลักษณ์ดูแลผู้ป่วยในประเทศยากจนที่มีจำนวนผู้ป่วยอยู่ไม่มาก แต่บังคับทำกำไรกับผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนา โดยดึงอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญอินเดียเป็นพวก เพราะทำเช่นนี้ บริษัทเหล่านี้ก็จะไม่ไปคัดค้านหรือฟ้องร้องเพิกถอนสิทธิบัตรซึ่งอันที่จริงไม่มีความใหม่ และนวัตกรรมที่สูงขึ้นแต่อย่างใด เท่ากับตัดคู่แข่งได้สำเร็จ ไม่มียาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาดประเทศกำลังพัฒนา จึงไม่จำเป็นต้องลดราคา นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครือข่ายองค์กรสุขภาพและผู้ป่วยในไทยจับมือกับทั่วโลกออกแถลงการณ์ประณาม

นายเฉลิมศักดิ์กล่าวว่า กรณีประเทศไทย บริษัทกิลลิแอดได้ยื่นคำขอสิทธิบัตรไว้หลายคำขอ ซึ่งนักวิชาการด้านยาและทรัพย์สินทางปัญญามองว่า เป็นคำขอที่ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตรเพราะไม่มีความใหม่และนวัตกรรมที่สูงขึ้น อันเป็นคุณสมบัตรสำคัญของสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตร โดยในวันจันทร์ที่ 22 ก.ย.นี้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และเครือข่ายผู้ใช้ยา จะเดินทางไปกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรยา sofosbuvir ดังกล่าว

ทั้งนี้ ไวรัสตับอักเสบซีเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญสำหรับประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งมีประชากร 185 ล้านคนเป็นผู้มีเชื้อชนิดนี้ทั่วโลก แต่ต้องเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าปีละ 350,000 คน ทั้งที่ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคที่รักษาได้ แต่ราคายาที่สูงทำให้ยากจะเข้าถึงการรักษา และทำให้คนเสี่ยงจะเป็นมะเร็งตับหรือตับล้มเหลว โดย sofosbuvir เป็นยาต้านไวรัสที่มีผลโดยตรง (direct acting antiviral - DAA) ที่ใช้รักษาไวรัสตับอักเสบซี เชื่อว่ามีประสิทธิภาพอย่างมากในการรักษาและลดระยะเวลาการรักษาโรค การเข้าถึงยาในราคาที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

สำหรับองค์กรในไทยที่ร่วมลงนามครั้งนี้ประกอบไปด้วย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กลุ่มศึกษาปัญหายา มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน กลุ่มคนรักหลักประกัน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และเครือข่ายผู้ใช้ยา คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิรณรงค์เพื่อการรักษาเอดส์  เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายกฯ แบ่งงาน ‘บิ๊กป้อม’ ดูกลาโหม-มหาดไทย-สตช.-ความมั่นคง ‘หม่อมอุ๋ย’ ดูคลัง-เกษตร-พาณิชย์-อุตฯ

$
0
0

16 ก.ย.2557 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ มีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 103 /2557 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรีในกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงกลาโหม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร  เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
 
พลเอกธนะศักดิ์  ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
 
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ราชบัณฑิตยสถาน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้นายวิษณุ ยังได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลและลงนามในเอกสารที่เกี่ยวกับการขอพระราชทานอภัยโทษ การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และการดำเนินคดีปกครอง และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย  และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู

หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถาน

นายสุวพันธุ์  ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาพบรรยากาศจากลอนดอน-กลาสโกว์ สองวันต่อจากนี้จะยังเป็นประเทศเดียวกันไหม

$
0
0

ความโกลาหลหรืองานฉลองในระยะสั้น จะเสียโอกาสกันทั้งหมดหรือเป็นประตูสู่ความรุ่งโรจน์ของชาติต่างๆ ที่เคยอยู่ร่วมสหราชอาณาจักรด้วยกันในระยะยาว เป็นประเด็นถกเถียงไม่รู้จบทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์ แต่อย่างน้อยดูจะมีสิ่งหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกันก็คือ คนสกอตแลนด์มีสิทธิในการตัดสินใจเรื่องของตัวเอง และไม่ว่าผลการลงคะแนนในวันที่ 18 กันยายนนี้จะเป็นอย่างไร ทุกฝ่ายจะยอมรับผลดังกล่าว

บทความนี้จะลองเล่าสิ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นระหว่างที่มา “เดินเล่น” ในสหราชอาณาจักร ในช่วงเวลาเกือบสองสัปดาห์ก่อนจะลงประชามติ ผู้เขียนไม่ได้เป็นนักรัฐศาสตร์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการปกครองหรือประวัติศาสตร์การเมืองของสหราชอาณาจักร เพียงแต่ติดตามการเมืองของสกอตแลนด์อยู่บ้าง ตั้งแต่สมัยไปเรียนหนังสืออยู่ที่เอดินบะระ เมืองหลวงของสกอตแลนด์ ระหว่างปี 2003 ถึง 2004 ด้วยว่า “เดินเล่น” ไปเจอไซต์ก่อสร้างที่ปลายถนนท่องเที่ยวสายหลัก แล้วพบว่ามันจะเป็นที่ตั้งของรัฐสภาสกอตแลนด์ (ซึ่งคนสกอตในตอนนั้นด่ากันทั่วบ้านทั่วเมืองว่าเปลืองตังค์ สร้างไม่เสร็จเสียที แถมหน้าตาก็น่าเกลียด) ก็เลยไปหาข้อมูลเพิ่มเติมและสนใจเรื่องดังกล่าวมานับแต่นั้น

บรรยากาศทั่วไปตามท้องถนนในลอนดอน เมืองหลวงของสหราชอาณาจักรนั้นไม่ได้มีอะไรให้สังเกตเห็นได้นัก ถึงเหตุการณ์ที่อาจจะเป็น “ครั้งหนึ่งในชีวิต” ที่กำลังจะเกิดในสหราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการที่สกอตแลนด์จะเป็นประเทศเอกราช (อีกครั้ง) หรือความเปลี่ยนแปลงของสหราชอาณาจักรที่จะเหลือเพียงสาม “ชาติ” (อังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) ที่พอจะสังเกตได้บ้างก็คือพาดหัวหนังสือพิมพ์ที่มีประเด็นเรื่องการลงประชามติตลอด ไม่ว่าจะเป็นความเห็นจากคนดัง (รวมทั้งพระราชินี) ภาพการรณรงค์จากฝ่ายต่างๆ เนื่องจากลอนดอน (และเมืองในสหราชอาณาจักรโดยรวมๆ) มีแผงขายหนังสือพิมพ์หรือร้านขายของชำที่โชว์พาดหัวหนังสือพิมพ์ไว้หน้าร้านแบบเด่นๆ อยู่เยอะ ถ้าเดินไปตามถนน แม้ในฐานะนักท่องเที่ยว ก็พอจะเห็นความเคลื่อนไหวนี้ได้บ้าง ถ้าสังเกตเสียหน่อย

ผิดกับเมืองใหญ่ในสกอตแลนด์อย่างกลาสโกว์ ที่ตามท้องถนนจะมีสติกเกอร์ “Yes” “No” หรือ “Aye” “Naw” ในภาษาสกอต ธงชาติกากบาทขาวบนพื้นน้ำเงิน และป้ายเกี่ยวกับการลงประชามติอยู่ทั่วไป แม้หลายป้ายจะเป็นการหยิบเอาการลงประชามติมาล้อเพื่อโฆษณาสินค้าหรือบริการของตัวเองก็ตาม แต่ก็ถือว่าอยู่ในกระแส

เหมือนๆ กับเมืองไทย ที่บางครั้งเราจะเห็นป้ายหรือสติกเกอร์บางส่วนถูกทำลาย ขีดฆ่า หรือปิดทับด้วยป้ายจากอีกฝั่งฝ่าย หรือมีป้ายล้อเลียนเสียดสีตลกๆ

ข้างล่างที่ถูกฉีกนี่ เป็นโปสเตอร์หน้านาย Alex Salmond รัฐมนตรีคนที่หนึ่ง (First Minister - ชื่อเรียกตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของสกอตแลนด์) และหัวหน้าแคมเปญ Yes ที่ถูกล้อว่าจะตั้งตัวเป็นประธานาธิบดี

อ่านต่อที่ http://blogazine.in.th/blogs/bact/post/5041

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช.ผ่านฉลุย งบปี 58 มติ 142 ต่อ 0

$
0
0

16 ก.ย.2557 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ลงมติวาระ 3 ผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 แล้ว ด้วยมติ 142 ต่อ 0 งดออกเสียง 2 เสียง

จากนั้น นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ซึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุม จึงสั่งปิดการประชุมในเวลา 22.30 น. รวมเวลาการอภิปราย ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 วาระ 2 -3 รวม 9 ชั่วโมง 30 นาที สำหรับขั้นตอนต่อจากไปนี้ไป พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะนำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558  ขึ้นทูลเกล้าฯ ก่อนนำมาประกาศใช้ต่อไป

ที่มา มติชนออนไลน์
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แดน สโนว์ ชวนชาวสกอตอยู่ร่วมกันในสหราชอาณาจักร

$
0
0

เอื้อเฟื้อภาพโดยอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล

15 ก.ย. 2557 - คลิปบรรยากาศผู้ชุมนุมกลุ่ม "Let's stay together" อย่างน้อยสี่พันคนชุมนุมที่จัตุรัสทราฟัลการ์ เพื่อสนับสนุนให้ชาวสกอตลงมติไม่แยกตัวจากสหราชอาณาจักร ทั้งนี้ แดน สโนว์ ผู้สื่อข่าวสารคดีโทรทัศน์ของบีบีซี ร่วมการชุมนุมและร่วมปราศรัยด้วยเป็นเวลา 4 นาทีเศษ เขาเริ่มต้นปราศรัยว่า "พวกเราเชื่อว่าเอกภาพดีกว่าแตกแยก เราร่วมมือกันดีกว่าแข่งขัน" ทั้งนี้เขากล่าวถึงความสำคัญของชาวสกอตที่บทบาทสำคัญด้านต่างๆ อยู่ในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร

และตอนหนึ่งยังกล่าวด้วยว่า ผู้ที่มาชุมนุมกันนี้เคารพในการตัดสินใจของคนสกอต "การโหวตในวันที่ 18 นี้ พวกเขาจะตัดสินใจอย่างไร ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะไปบอกคนสกอต แต่เราอยากบอกให้คนสกอตรู้ว่าเราต้องการอยู่ร่วมกับสกอตแลนด์"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทอม ดันดี: จดหมายระบายความในใจ-การถูกจับกุม

$
0
0


หมายเหตุ: ข้อความระบายความในใจและสภาพการถูกจับกุมจากปากเจ้าตัว ‘ทอม ดันดี’ อดีตนักร้องที่ผันตัวมาเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองและล่าสุดเป็นเกษตรกรปลูกไผ่  ปัจจุบันเขาถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จากข้อหามาตรา 112 และฝ่าฝืนคำสั่งไม่รายงานตัวตามประกาศ คสช.


แรกเริ่มปัญหาที่เกิดขึ้น หลังมีประกาศกฎอัยการศึก ผม(ทอม ดันดี) ทำสวนอยู่บ้านพ่อ จ.เพชรบุรี และบอกสั่งเพื่อนไว้ถ้ามีประกาศเรียกมารายงานตัว คสช. ชื่อ นายธานัท ธนวัชรนนท์ ให้รีบแจ้งข่าว เหตุเพราะที่บ้านสวนไม่มีทีวีและวิทยุ จึงมิอาจทราบหมายเรียกตัวตามประกาศ คสช. ซึ่งใช้ชื่อเดิม คือ นายพันธิวา ภูมิประเทศ และมิได้มีการส่งข่าวจากเพื่อน

วันที่ 8 มิถุนายน 2557 เวลา 3 ทุ่มเศษ มีข่าวประกาศเรียก นายธานัท ธนวัชรนนท์ ให้มารายงานตัว จึงได้รับโทรศัพท์บอกกล่าวจากเพื่อน ในวันที่ 9 มิถุนายน 2557 ประมาณเวลา 5 โมงเช้า ขณะผมดูแลคนงานทำไร่ พักเที่ยงจึงได้ทราบข่าวกับคนที่บ้านจึงได้โทรศัพท์ติดต่อประสานไปยังเพื่อนที่ทำงานในโครงการพระราชดำริ “สันติภาพ” สมเด็จพระเทพฯ ที่ อ.จะนะ สะบ้าย้อย และได้เรียนคุยกับท่านพลโทธนายศ เพื่อนัดหมายเข้ารายงานตัวกับ คสช. ซึ่งท่านก็ได้แจ้งประสานไปยังพันเอกนิธิ ซึ่งจากนั้นผม (ทอม ดันดี) ได้โทรศัพท์ติดต่อท่าน พันเอกนิธิได้ให้คำแนะนำว่า ณ เวลาที่กำลังโทรศัพท์ น่าจะมิทันเวลาเข้ารายงานตัวในวันนี้ จึงรับเรื่องนัดหมายให้มาในวันรุ่งขึ้น 10 มิถุนายน 2557 เวลา 10.00-11.00 น. ณ สโมสรกองทัพบก เทเวศน์ กทม.

หลังจากตกลงนัดหมายเป็นที่เรียบร้อย เวลาบ่ายสามโมงวันเดียวกัน ผมจึงได้ขับรถปิคอัพขนผลผลิตในไร่ คือ หน่อไม้ไผ่หวานกิมซุง ไปส่งให้กับลูกค้า ขณะที่ขับรถไปตามเส้นทางสายแก่งกระจาน ห่างจากบ้านประมาณ 10 กม. ได้มีรถจี๊ป เชอโรกี วิ่งตามจี้ท้ายและขับปาดหน้า พร้อมขบวนรถยนต์อีก 4 คัน ขับมาจอดปิดท้าย จากนั้นมีกลุ่มชายฉกรรจ์อาวุธครบมือ (ปืนสงคราม และปืนสั้น) จำนวน 15-20 คน เข้ารายล้อมพร้อมตะโกนให้ห้ามทำการต่อสู้ขัดขืนและให้ออกมาจากรถ สร้างความตกตะลึงและหวั่นหวาดต่อผมและภรรยาเป็นอย่างมาก ในเวลาเดียวกับที่มีเจ้าหน้าที่ทหารในเครื่องแบบ พร้อมนายตำรวจนอกเครื่องแบบแสดงตัวขอทำการจับกุมในข้อหาไม่เข้าไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. โดยไม่มีหมายจับ โดยไม่รับฟังคำอธิบายใดๆ ทั้งสิ้น และมีขวบนรถทหารพร้อมทหารในเครื่องแบบใส่เสื้อเกราะกันกระสุน อาวุธสงครามครบมือ มารับส่งต่อตัวผมไปยังกองพันทหารราบที่ 15 จังหวัดเพชรบุรี

เมื่อไปถึงได้มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมาทำการสอบสวนโดยยัดข้อหาหลบหนีและขัดขืนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน และพยายามยัดเยียดเรื่องอาวุธสงคราม, การซ่องสุมกำลังพล, แผนผังการวางระเบิดที่จังหวัดราชบุรีและความผิดในข้อหา หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายเบื้องสูง (มาตรา 112)

สิ่งที่เจ้าหน้าที่คิดและสรุปเอาเองตามวิสัยทัศน์ของผู้มีอำนาจ ทำให้ผมรู้สึกเสียใจ เสียดายเงินภาษีที่ต้องนำมาเลี้ยงดูบุคคลเหล่านี้ อ่อนเยาว์ ต่อการบริหารประเทศเหลือเกิน

ผมถูกสอบสวน ตั้งแต่เวลา 20.30-23.20 น. ก็มีทหามารับตัวไปส่งควบคุมตัวไว้ที่กองร้อยทหารพราน อ.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี หน่วยทหารพรานนี้ดูแลผมดีมาก เขารู้จักคุ้นเคยกับผมเพราะเคยปลูกป่าร่วมกัน งานเฉลิมพระเกียรติที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ 2 คืนที่อยู่กับหน่วยนี้ ผมได้เข้าไปช่วยแนะแนวการเล่นดนตรีอยู่หลายชั่วโมง

วันที่ 12 มิถุนายน 2557 เวลา 5.00 น. มีทหาร สห.5 นายจากกทม.และพลขับ มารับตัวผมเดินทางโดยรถตู้เพื่อนำตัวมาสอบสวน ณ สโมสรกองทัพบก เทเวศวร์ กทม. ถึงที่หมายเวลา 7.30 น. สห.ที่ควบคุมตัวจึงนำผมลงจากรถไปนั่งรอในห้องเล็ก ประมาณ 2 ชม.แล้วจึงคุมตัวไปยังอีกห้อง พร้อมนำถุงผ้ามาคลุมศีรษะและใส่กุญแจมือ พาจูงไปขึ้นรถยนต์อีกคันหนึ่งแล้วขับออก

ระยะเวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง จึงจอดรถ แล้วพาเดินวกวนเข้าไปในห้องติดแอร์เล็กๆ ห้องหนึ่ง ให้นั่งเก้าอี้และกดศรีษะให้ก้มลง ซักครู่จึงมีคนอีกชุดซึ่งน่าจะมี 3 คน เข้ามาเริ่มทำการสอบสวน

-คนที่หนึ่งน่าจะนั่งอยู่ด้นขวามือ ทำหน้าที่บันทึกการสอบวนและส่งคำถาม

-คนที่สอง ทำหน้าที่เปิดคลิปเสียง ประกอบการสอบสวน

-คนที่สาม คือ คนยืนข้างหน้าและเป็นผู้สอบถาม

ตลอดเวลาในการสอบสวน ผม (ทอม ดันดี) ได้ยินแต่เสียงขู่ เสียงด่า ตะโกนคำหยาคาย ประโยคซ้ำๆ ด้วยการข่มขู่ว่าสามารถจะฆ่าผมทิ้งได้โดยไม่มีความผิดและจะนำลูกเมียมาทรมานจนกว่าผมจะรับสารภาพ

มีชุดสอบสวนในคำถามซ้ำๆ เปลี่ยนเข้ามาสอนผมไม่ต่ำกว่า 3 ชุดด้วยคำถาม

“มึงเอาอาวุธไปไว้ไหน”

“มึงมีกองกำลังเท่าไหร่”

“กูมีหลักฐานทุกอย่างพร้อม”

ผมตอบตามความจริงเท่าที่รู้ ผมบอกว่า “ผมไม่รู้เรื่องการวางระเบิด ไม่มีอาวุธสงคราม ไม่มีกองกำลัง และได้ค้าขายอาวุธใดๆ ทั้งสิ้น”

“ถ้าคุณทหารมีภาพผมถืออาวุธสงครามจริง มันอยู่ในหนังเรื่องไหนพราะผมเป็นพระเอกหนังบู๊ ถือปืนเกือบทุกเรื่อง และผมเป็นนักร้องมีชื่อเสียง จะไปทำให้เสียชื่อตัวเองทำไม ผมขี่รถช็อปเปอร์ ขับรถเก๋ง เที่ยว กิน ดื่มไวน์ ไม่สนุกกว่าเหรอ
ที่ผมออกมาต่อสู้ก็เป็นเรื่องประชาธิปไตย และปากท้องของประชาชนเท่านั้น ผมไม่นิยมสงครามและไม่ชอบความรุนแรง ผมรักคนชอบกันและชอบคนรักกัน ‘make love not war’ ถ้าคุณทหารมีหลักฐานชัดเจนอย่างที่พูดก็ต้องเสียเวลา เชิญเอาผมไปแขวนคอได้เลย เอาเลยครับท่าน”

(เพิ่มเติม) เมื่อตอนที่ผมกำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนเชิงขู่บังคับนั้น ผมพยายามอธิบายเรื่องข้อหาหมิ่นเบื้องสูงว่า “ผมทำงานโครงการพระราชดำริ “สันติภาพ ภาคใต้” ให้กับพระเทพฯ ทำงานเฉลิมพระเกียรติปลูกป่า แปรตัวอักษาเทิดไท้องค์ราชันย์ กับ big bike (แปรอักษรโดยใช้รถมอเตอร์ไซด์ใหญ่จำนวน 7,000 คัน) ที่สนามกีฬาเมืองกาญจน์ และที่สนามกีฬาธูปเตมีย์ กองทัพอากาศ” และอื่นๆ อีกมากมาย

ผู้สอบคนหนึ่งพูดขึ้นว่า “ไอ้ตอแหล เหี้ย! กูไม่สนใจหรอก”

เมื่อทหารปรักปรำผมไม่สำเร็จ ก็กลับมาแนวพูดดีกับผม ขอเป็นเพื่อนและถามคำถามเดิม ผมก็ตอบเหมือนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก

อ้อ! เกือบลืม ช่วงสอบสวนและขณะที่ผมบอกว่าเป็นพระเอกหนัง กลุ่มคนที่กำลังสอบสวนผมชะงักการสอบสวนไปชั่วครู่ แล้วถามว่าผมเป็นใคร ผมบอกว่าผมคือ ทอม ดันดี เขาอึ้งไป แล้วผลุนผลันออกไปนอกห้อง ซักพักก็แล้วเข้ามาอีกครั้งพร้อมลีลาการซักถามที่เปลี่ยนจากฝ่าเท้าเป็นหน้ามือ เปลี่ยนสรรพนาม มึง, กู หยาบคาย สำราก เป็น คุณ, ผม, ครับ เราเป็นเพื่อนกัน อย่าโกรธกันนะ ผมทำตามหน้าที่ 555 เออหนอทหารไทย!

กระบวนการสอบสวนเริ่มตั้งแต่เช้าจนถึง 5 ทุ่มเศษ ได้รับข้าวผัดพริกมาให้ 1 กล่องแต่กินไม่ได้ เพราะถูกใส่กุญแจมือ ยังดีที่มีกล้วยน้ำว้าห่ามๆ 1 หวีพอได้ประทังความหิว เมื่อสอบสวนเสร็จจนพวกเขาพอใจ (อาจจะไม่) ก็บังคับให้ผมเซ็นชื่อว่า “ทหารไม่ได้ขู่ ทหารพูดจาดีกับผู้ต้องหาตลอด ทหารไม่ได้ใช้กำลังซ้อม ทำร้ายร่างกาย” เผอิญนี่ถ้าไม่ใช่ ทอม ดันดี ผมคงกระอักเลือด เหมือนผู้ต้องหารายอื่นไปแล้ว แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน

หลังสอบเสร็จ 5 ทุ่มครึ่ง คืนวันที่ 12 มิถุนายน 2557 ทหาร สห.นำผมกลับมาส่งที่สโมสรกองทัพบก ที่เดิมกับเมื่อตอนเช้า โดยใช้เวลาขับรถแค่ 5 นาที ผิดกับขาไปเมื่อตอนเช้าที่ขับรถวนไปวนมากว่าครึ่งชั่วโมง ซึ่งผมเดาเอาว่า คงเป็นสถานที่ในอาณาเขตเดียวกันกับสโมสรกองทัพบกนั่นเอง ซึ่งผมก็ได้พูดกับทหารที่เป็นผู้นำพาว่า “ในหนังที่ผมเคยแสดง เขาก็ใช้เทคนิคนี้แหละ” พวก สห.เขาก็ถามว่ารู้ได้ยังไง แล้วก็พากันหัวเราะ

จากนั้นเขาก็นำผมขึ้นรถ เปิดถุงคลุมหน้า พาไปนอนที่ถนนอักษะ ซึ่งเป็นที่ตั้งชั่วคราวของทหาร ได้เจอพี่น้องเสื้อแดงที่ถูกควบคุมตัวอยู่ก่อน 4 คน เป็นชาย 1 หญิง 3 แต่ห้ามพูดคุยกัน ผมถูกแยกไปนอนคนเดียว

วันที่ 13 มิถุนายน 2557 สห.ทหารบกนำตัวผมไปส่งที่กองปราบปรามเพื่อให้ ตร.สอบสวนและฝากขัง เจอพี่น้องชู 3 นิ้วติดอยู่ 3 คน เป็นชาย 2 หญิง 1 (คุณหนิง) นอนในห้องขังกองปราบปรามลาดพร้าว 2 คืน เจ้าพนักงานสอบสวนจึงนำตัวไปฝากขังยังศาลทหารกรุงเทพ (สนามหลวง) และให้นำส่งยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แดน1

อยู่ในคุกเหมือนอยู่ยมโลก นรกดีๆ นี่เอง แต่ก็เจอกับพี่น้องเสื้อแดงจำนวนมากที่นั่น อยู่ในคุกแดน 1 ได้ 3 คืน จึงได้รับการประกันตัวจากศาลทหาร โดยให้ทำข้อสัญญาระหว่างกันว่า

1.ทอม ดันดี ต้องไปไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีก

2.ต้องไม่ขึ้นเวทีปราศรัย

3.ต้องไม่ให้ข่าวกับสื่อมวลชน

4.ห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง และออกนอกประเทศ

แล้วทหารจะไม่ยุ่ง เอาผิดใดๆ ต่างจับกันไป ทอม ดันดี สามารถรับงานคอนเสิร์ต และการแสดงได้เต็มที่ แต่ต้องมารายงานตัวตามกำหนด


สัญญาชายชาติทหาร

แน่นอน ลูกผู้ชายรับปากแล้วต้องทำ แต่ฝ่ายทหารกลับกรอกสั่งจับผม หลังจากรายงานตัว แจ้งข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และหมิ่นเบื้องสูง มาตรา 112 ส่งฟ้องทั้งศาลทหารและศาลอาญา โดยทหารบุกจู่โจมตรวจค้นบ้านผมถึง 2 ครั้ง ก็ไม่พบคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เพราะไม่มีคอมพิวเตอร์ทุกประเภท เล่นไม่เป็นด้วย มีพยานหลักฐานยืนยันพร้อม แต่ทหารก็ไม่รับฟัง ไม่สนใจ ซึ่งการกระทำนี้ถือเป็นการกลั่นแกล้งอย่างแสนสาหัส

ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2557 เวลาบ่าย 2 โมงกว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยรบพิเศษและนอกเครื่องแบบ อาวุธครบมือ จำนวนกว่า 30 นาย บุกเข้าจู่โจมจับกุมผมในไร่ไผ่ ประหนึ่งดังผมเป็นพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ พยายามทำให้ผมเสียขวัญตื่นตระหนก ซึ่งผมก็มิได้ตกอกตกใจ เพราะมั่นใจว่าไม่ได้กระทำความผิดอะไร รวมถึงคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับทหาร
แต่ทหารกลุ่มนี้บุกจับกุมตัวผมเหมือนอย่างคดีอุกฉกรรจ์ร้ายแรง ตรวจค้นบ้านทุกซอกทุกมุมเพื่อจะหาคอมพิวเตอร์ของกลางให้ได้ ซึ่งก็หาไม่เจอเพราะไม่มี พวกเขาจึงคุมตัวผมเข้ากทม. แล้วนำส่งต่อไปยังกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ชั้น 4 ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ปอท.ท่านก็ได้กรุณาจัดให้อีก 2 ข้อหา คือ – หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  มาตรา 14(3)


เสียใจ เสียดาย และน้อยใจ

ศิลปินอย่างผมทำงานเพื่อสังคม ช่วยชาติมาตลอด ต้องตกอยู่ในสภาพน่าอนาถในคุก นรกแท้ๆ

 

ขอร้องเรียนสื่อมวลชนทุกแขนง

ทอม ดันดี
(นายธานัท ธนวัชรนนท์)

 

 

*ปุจฉา– ผมมีข้อสงสัย อยากถามผ่านเพื่อนๆ คือ

1. ทำไมคลิปปราศรัยของผมเมื่อปีที่แล้ว (2556) ถึงมาลง Youtube ในช่วงกฎอัยการศึก

2. ทำไมผู้นำไปอัพโหลดและขยายความบนอินเตอร์เน็ต ถึงไม่โดนจับกุมหรือถูกตรวจสอบใดๆ

3. ทำไมผู้โดนกล่าวหากลับเป็นฝ่ายถูกลงโทษดำเนินคดี ติดคุกทั้งที่โดนละเมิดสิทธิ์

4.นี่คือ กระบวนการยุติธรรม ที่ดีที่สุดแล้วหรือของประเทศไทย

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยคือรัฐตัวอย่างระดับโลก: งานประชุมอินเตอร์เน็ตระหว่างรัฐบาลประจำปี 2557 (IGF 2014)

$
0
0

 

ผมจะผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่บนเศรษฐกิจบนฐานดิจิตอล (digital economy) ให้เป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 1 ปี ถือว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดของการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิตอลถือเป็นเศรษฐกิจฐานใหม่ เป็นพื้นฐานสำคัญทำให้เศรษฐกิจภาคอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การบริการและการเงินการธนาคารเติบโตต่อไป ซึ่งหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ก็อยู่ฐานนี้และรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ให้ความสำคัญมาก ประเทศไทยอาจจะช้ากว่าไปบ้าง แต่ถือว่ายังไม่ช้าเกินไปที่จะเริ่มต้นอย่างจริงจัง  เศรษฐกิจบนฐานดิจิตอลไม่ใช่เรื่องของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่เป็นฐานใหม่ให้เศรษฐกิจภาคอื่นๆ เติบโต เช่น ในภาคธนาคารจะเห็นได้ว่าปัจจุบันการทำธุรกรรม การโอนเงิน เป็นระบบดิจิตอล หรืออุตสาหกรรมรถยนต์ถ้าไม่ใช้ดิจิตอลก็พัฒนาต่อยอดไม่ได้"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์1 กล่าว ณ ทำเนียบรัฐบาล 15 กันยายน 2557, ประชาชาติธุรกิจ, เข้าถึงเมื่อ 16/6/2557 <http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410843975>

 

 

โลกตะวันตกซึ่งเป็นต้นทางของเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศได้ปรับตัวนานใหญ่ เมื่อเห็นแล้วว่าเศรษฐกิจที่อาศัยการผลิตเชิงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อาจไม่ใช่ที่พึ่งพิงที่น่าอุ่นใจอีกต่อไป เมื่อเห็นสัญญาณการเติบใหญ่ของมหาอำนาจจีนที่กลายเป็นโรงงานโลกไปแล้ว   ดังนั้นในปี ค.ศ.1994 กลุ่มนักคิดชั้นนำและนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง Bangemann ได้ยื่นรายงาน Bangemann Reportต่อสภายุโรป (European Council) ให้ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลขึ้นมาเป็นกำลังหลักในการยึดหัวหาดการเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของยุโรปต่อไป   ซึ่งผ่านมาแล้ว 20 ปี สิ่งที่ทำให้เห็นว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลคือ การสร้าง“ความไว้ใจ” 

ในงานประชุมอินเตอร์เน็ตระหว่างรัฐบาลต่างๆทั่วโลกประจำปี ค.ศ.2014 ก็ได้ยกเอา “Trust”หรือความไว้ใจ เป็นแกนกลางในการพัฒนานโยบายส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยเฉพาะตัวแทนจากบรรษัทผู้ประกอบการด้านไอทีดังๆของโลก อย่าง Google ก็ได้จัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจและแสดงออกถึงความกระตือรือร้นด้าน การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต หรือก็คือลุกค้าผู้ใช้บริการและสินค้าของ Google นั่นเอง

“Google มีความร่วมมือกับรัฐบาลในการนำข้อมูลของผู้ใช้ไปสร้างฐานข้อมูลด้านความมั่นคงไหม?” ผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งถามในเวที Big Tent ที่ Google เป็นผู้จัด

“ไม่ เราไม่เคยมีความร่วมมือกับรัฐบาลเลย   หน่วยงานด้านความมั่นคงแอบไปดักข้อมูลที่สายเคเบิ้ลใต้มหาสมุทรเอง”   ผู้บริหารของ Google กล่าวตอบโต้ทันทีด้วยท่าทีจริงจัง  

นี่เป็นสาระสำคัญหลักของงานประชุมครั้งนี้ นับจากที่มีจุดเปลี่ยนสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการใช้อินเตอร์เน็ตเมื่อเกิด การเปิดเผยความลับโดย เอ็ดเวิร์ด สโนวเด้นส์ ถึงโครงการใหญ่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติในการดักเก็บข้อมูลผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการขุดค้นประวัติการใช้และนำไปประกอบการจารกรรมทั้วโลก

งานประชุมในครั้งนี้จึงได้ยินคำว่า“Trust” บ่อยมากถึงมากที่สุด เพื่อดึงความมั่นใจของผู้ใช้กลับมา เพราะยิ่งมีผู้ใช้มากปริมาณข้อมูลที่ไหลเวียนในอินเตอร์เน็ตก็มาก   ซึ่งข้อมูลเหล่านั้น คือ ขุมทรัพย์ที่ปรากฏอยู่ใน Bangemann Report <http://www.cyber-rights.org/documents/bangemann.htm> รายงานชี้ว่า หากต้องการเข้าใจ พฤติกรรมการบริโภค และมองเห็นอนาคตว่า ควรจะจัดบริการอะไร/สินค้าอะไรใหม่ๆ ออกมารองรับความต้องการของผู้บริโภคแล้วละก็ ควรนำข้อมูลที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตมาประมวลผล   ซึ่งภาคธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และการตลาดปัจจุบัน ก็มีการใช้ข้อมูลส่วนนี้ โดยซื้อข้อมูลต่อจากบริษัทที่มีฐานข้อมูลผู้ใช้ เช่น Google, Yahoo, Facebook, Twitter, Line ฯลฯ ที่เราเคยสงสัยว่า  “ของฟรีมีได้ไง”   ครับ ของฟรีไม่มีในโลก เขาเอาข้อมูลของเราไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ   โดยที่เราแสดงความยินยอมโดยไม่รู้ตัวผ่านการ คลิก “ตกลง” เมื่อเริ่มใช้บริการเหล่านั้น

การจัดประชุมจึงเต็มไปด้วยห้องสัมมนาที่ว่าด้วยเรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิมนุษยชน และความมั่นคงในโลกออนไลน์   แม้แต่ในฟากธุรกิจก็ยังพูดเรื่องการสร้างนโยบายและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยมีเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” “การสื่อสารโดยได้รับการปกป้องเป็นนิรนาม” และ “การสร้างความชัดเจนเรื่องการร่วมมือกับรัฐ”   แม้เรื่องการเซ็นเซอร์ที่เคยเป็นประเด็นขาประจำก็อาจลดความนิยมลงไปบ้างด้วยกระแสความตื่นตัวในเรื่องนี้

ในเวทีระดับโลก การพูดเรื่องประชาธิปไตย หรือสิทธิมนุษยชน ถือเป็นเรื่องพื้นฐานเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นใจในการใช้อินเตอร์เน็ต เนื่องจากคนจำนวนมากมีความทรงจำร่วมเรื่อง “รัฐเผด็จการที่คุกคามความเป็นส่วนตัว” ของประชาชนดังที่ตัวแทนจากยุโรป และประเทศที่มีประสบการณ์การต่อสู้กับเผด็จการหลายรูปแบบมานานอย่างกลุ่มลาตินอเมริกานำเสนอ   จะเห็นว่า บราซิล มีบทบาทในการผลักดันเรื่องเหล่านี้มากเนื่องจากเมื่อกลางปีเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดงานใหญ่ คือ Net Mundial 2014 ที่มีการส่งต่อวาระมายังการประชุม IGF2014 นั่นคือ การมีส่วนร่วมจากรัฐภาคีทั่วโลกและองค์กรภาคประชาสังคมทั้งหลาย  

บทบาทของ บราซิล และเยอรมนี ในเรื่องอินเตอร์เน็ตนี้ก็เป็น ผลสะเทือนจากการเปิดเผยของ สโนวเด้นส์ ที่ว่า สหรัฐได้จารกรรมข้อมูลของผู้นำ สตรีเหล็กทั้งสองท่านอย่างต่อเนื่อง    การตอบโต้ทางการเมืองระหว่างประเทศของทั้งสองรัฐคือการสร้างพันธมิตรของประเทศที่ตกเป็นเป้าการจารกรรมและผลักดันจน สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ออกมติรับรองรายงานเรื่อง “สิทธิความเป็นส่วนตัวในบริบทเทคโนโลยีสารสนเทศ” (Resolution A/HRC/27/37) เมื่อกลางปี 2014 หลังจาก ผู้ตรวจการสิทธิในการแสดงออกได้เสนอรายงานฉบับนี้ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ในปี 2013

รายงานฉบับนี้ได้กลายเป็นเอกสารทางกฎหมายสำคัญที่องค์กรต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงภาคธุรกิจที่คำนึงถึงผลกระทบด้านจิตวิทยาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัว หยิบมาเป็นฐานในการผลักดันมาตรการต่างๆ เช่น กลุ่มแนวร่วมด้านอินเตอร์เน็ตก็เสนอหลักการ International Principles on the Application of Human Rights to Communications Surveillance 2014 < http://en.rsf.org/IMG/pdf/necessaryandproportionatefinal.pdf> ก็เสนอรายงานสิทธิในโลกอินเตอร์เน็ตประจำปี 2014 ที่มีรายงานสถานการณ์อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยออกมาด้วย

นอกจากนี้กลุ่มคณะทำงานภายใต้คณะมนตรีสหภาพยุโรปก็ได้เสนอหลักการคุ้มครองสิทธิในโลกอินเตอร์เน็ตของสหภาพยุโรปโดยเสนอ Declaration on Internet governance principles <https://wcd.coe.int/ViewDoc.jsp?id=1835773> ฉบับแปลภาษาต่างๆ ออกมาเพื่อให้ประชาชนและองค์กรประเทศต่างๆ นำไปเป็นเอกสารอ้างอิงในผลักดันนโยบายด้านอินเตอร์เน็ตต่อไป  

การพยายามให้มีส่วนร่วมโดยการแปลเอกสารต่างๆ เป็นภาษาท้องถิ่นมีห้องสัมมนา และมีเวทีอื่นๆ พูดถึงอยู่บ้าง เนื่องจากมีคนเสนอว่าอินเตอร์เน็ตเป็นโลกที่ภาษาอังกฤษทรงอิทธิพล แต่ทิศทางของโลกเริ่มเห็นชัดว่ามีคนใช้อินเตอร์เน็ตนอกโลกภาษาอังกฤษมากขึ้น การพัฒนานโยบายจึงต้องคำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมสื่อสาร   เพื่อสร้างหลักประกันสากลร่วมกัน เนื่องจากอินเตอร์เน็ตมีลักษณะสลายพรมแดนของรัฐชาติ

อย่างไรก็ดี รัฐชาติยังเป็นผู้เล่นหลักในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นผู้กำหนดนโยบายอินเตอร์เน็ตภายในรัฐ   ดังนั้นการแก้ปัญหาเรื่อง เขตอำนาจศาล ระหว่างรัฐในนโยบายด้านอินเตอร์เน็ตจึงมีความสำคัญมาก   ทุกฝ่ายเห็นข้อติดขัดจำนวนมาก เช่น การจัดการปัญหาด้านอาชญากรรมข้ามชาติที่มีอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อ หากจะจัดการต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ   อย่างไรก็ดีปัญหาที่ฉุดรั้งการร่วมมือในการสร้างนโยบายระหว่างประเทศด้านอินเตอร์เน็ต ก็คือ นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของแต่ละรัฐที่แตกต่างกันมาก   ตัวแทนจากหลายประเทศได้ต่อต้านการเสนอข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองสิทธิในอินเตอร์เน็ตโดยบอกว่า การริเริ่มอะไรระดับโลกเมื่อนำมาปรับใช้ภายใน ต้องคำนึงถึงบริบทการเมืองภายในประเทศด้วย  ในเวทีระหว่างประเทศการกล่าวเช่นนี้ ถือเป็นการประจานความเป็นรัฐเผด็จการของตัวเอง

ชาติเจ้าภาพตุรกีซึ่งมีชื่อเสียในการละเมิดสิทธิของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และมีนโยบายเข้มข้นกับผู้ประกอบการ ก็เป็นตัวอย่างสำคัญที่มีการถกเถียงในหลายเวที   ถึงขนาดมีนักวิชาการและนักกิจกรรมตุรกีชื่อดังระดับโลกประกาศบอยคอตไม่เข้าร่วมงานประชุม และมีการจัดงานประชุมคู่ขนาน Un Government Forum ขึ้นมาด้วย ซึ่งมีไฮไลต์อยู่ที่การอภิปรายของ จูเลียน อัสสาจน์ ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เข้ามาในงาน

ข้อถกเถียงเรื่องจะเน้นการสร้างนโยบายอินเตอร์เน็ตระดับโลกร่วมกัน หรือ จะไม่ก้าวก่ายการใช้อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐ   จึงยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการเจรจาต่อรองเพื่อสร้างนโยบายด้านอินเตอร์เน็ต   ยิ่งเมื่อมีเหตุการณ์สหรัฐรวบรวมข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ทั่วโลก   ทำให้เกิดข้อเสนอว่า “ห้ามส่งข้อมูลออกนอกประเทศ” ให้มีการสร้างฐานจัดเก็บข้อมูลภายในประเทศ ป้องกันการผูกขาดเหมืองข้อมูลโดยระบบสหรัฐ   ข้อเสนอนี้มักมาจากประเทศที่เชื่อว่าประเทศตนดูแลสิทธิมนุษยชนได้ดีกว่า   อันเป็นที่มาของการสร้างนโยบายด้านการคุ้มครองข้อมูลของสหภาพยุโรปแบบยกกะบิในปี ค.ศ.2014 นี้   โดยสหภาพยุโรปจะมีข้อตกลงรวมด้านการคุ้มครองข้อมูล General Regulation on Data Protection ออกมา   และหลังจากนี้จะมีการทำข้อตกลงฉบับใหม่กับสหรัฐเพื่อรับประกันสิทธิมากขึ้น (New Safe Harbor Agreement)

ข้อเสนอให้เก็บข้อมูลไว้ในรัฐกลับเป็นที่น่าตื่นตระหนกในหมู่ประเทศที่เสี่ยงภัยเผด็จการ เพราะมีผู้ร่วมประชุมเสนอว่า “หากบรรษัทต้องทำตามข้อกฎหมายอย่างประเทศไทย ก็น่าเป็นห่วงสิทธิของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเหมือนกัน”   สอดคล้องกับการนำเสนอข้อมูลขององค์กรผลักดันด้านการส่งเสริมสิทธิในอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ ที่มีความกังวลต่อรัฐไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ในภาวะวิกฤตระดับเดียวกับอิรักและพม่า เพราะมีการใช้กฎหมายอัยการศึกในการกำกับโลกไซเบอร์ 

ในเวทีซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐ องค์กรประชาสังคม และบรรษัท เมื่อมีการพูดเรื่องนโยบายของรัฐที่มีผลต่อการประกอบการของบรรษัทและการสร้างความเชื่อมั่นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ก็ได้มีการหยิบยกเอา รัฐไทย ให้กลายเป็น หมุดหมายสำคัญด้านความลำบากใจของบรรษัท ตั้งแต่กรณีการพยายามตัดการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายสังคมในประเทศไทย การริเริ่มระบบอินเตอร์เน็ตภายในที่ตัดขาดกับระบบสากล (มีจีนเป็นต้นแบบระบบ) และมีความพยายามของรัฐในการแทรกแซงนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคของบรรษัทจากการส่งตัวแทนไปเจรจากับบรรษัทเพื่อให้ทำตามคำขอ

บรรษัทคำนึงปัญหาเหล่านี้มากดังที่ได้มีการทำรายงานความโปร่งใสรายงานความร่วมมือกับรัฐอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในกรณีคำขอของไทยบริษัทก็จำต้องปฏิเสธอย่างโจ่งแจ้งเป็นข่าวไปทั่วโลก <http://online.wsj.com/articles/social-media-companies-skip-meeting-with-thai-junta-1401373919>

ในหลายเวทีจึงเป็นบรรษัทเองที่เสนออย่างชัดเจนว่า ประชาคมโลกและรัฐต้องมีนโยบายที่ชัดเจน มั่นคง และมีมาตรฐานร่วมกัน   เนื่องจากบรรษัทในฐานผู้ลงทุนในการสร้างโครงข่าย และบริการต่างๆ ต้องการกฎหมายที่ชัดเจน แน่นอน เพื่อนำไปปรับยุทธศาสตร์การทำธุรกิจ และการลงทุนในเทคโนโลยี รวมถึงการวางแผนแผนธุรกิจใหม่ และที่สำคัญที่สุดคือ การเอาไปเรียก “ความมั่นใจของผู้บริโภค” กลับคืนมา

กลเกมส์การเมืองในเวทีระหว่างประเทศเป็นไปอย่างสนุกสนาน เนื่องจากตัวแทนของรัฐเจ้าภาพตุรกี และรัสเซีย ส่งคนเข้ามาแย้งประเด็นต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน  แต่ก็มีตัวแทนจากรัฐอื่น นักกิจกรรมด้านอินเตอร์เน็ตตอบโต้ โดยอาศัยรายงานของอย่างเป็นทางการขององค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ และสหภาพยุโรป   จึงเห็นเกมส์ของเวทีนานาชาติว่า ทุกอย่างต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายด้วย มิใช่อาศัยอำนาจแต่เพียงอย่างเดียว

มหาอำนาจจีนพยายามยามลอยตัวเหนือปัญหา ไม่มาถกเถียงในเวทีต่างๆ แต่ใช้วิธีการตั้งประเด็นและจัดห้องสัมมนาที่ตนสนับสนุนเอง ในประเด็นที่ตนอยากจะพูด และหากมองลึกๆ ก็เป็นการแอบตบหน้ามหาอำนาจอื่นที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ เช่น การจัดประชุมเรื่อง Big Data in Big publishing Era ซึ่งเป็นการเหน็บสหรัฐอเมริกาที่ลักขโมยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นไป แต่มาประณามจีนเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น

กลุ่มประเทศในอัฟริกา และประเทศห่างไกล จะเน้นประเด็น ความเหลื่อมล้ำสิทธิในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ต ว่าต้องทำอย่างไรให้ อีก ห้าพันล้านคนได้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต และทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นเสียงสะท้อนของคนทั้งโลก   หากมองมาที่ไทย ก็สอดคล้องกับปัญหาที่ว่าคนไทยอีกกว่าครึ่งยังไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้ แต่กลับมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์คบอกว่า เสียงในอินเตอร์เน็ตคือเสียงสวรรค์ สะท้อนความคิดของคนในประเทศ    การเพิ่มจำนวนคนในโลกไซเบอร์เพื่อให้สะท้อนสัดส่วนที่แท้จริง จึงมีความสำคัญมาก

ประเด็นอื่นๆ ในเวทีการประชุมก็ได้แก่ จุดยืนของรัฐต่างๆ คือ ต้องการให้เทคโนโลยีสารสนเทศ สร้างงานสร้างรายได้เพิ่มให้กับประเทศ  การเห็นตรงกันทั่วโลกว่าการเพิ่มการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตในหมู่มวลชนจะเพิ่มศักยภาพธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อกระแสหลักอื่นๆ ในการโฆษณา ติดต่อ สื่อสารกับลูกค้า

ประเด็นมาใหม่มาแรง ก็คือ การเปลี่ยนโลกของอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และนโยบายการกำกับส่งเสริมเทคโนโลยี เนื่องจากในหลายรัฐที่ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรืออินเตอร์เน็ตพื้นฐานไม่ดี  เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟนได้ก้าวข้ามโครงข่ายพื้นฐานเดิมไปเลย   ทำเห็นว่ามีผู้ใช้ในพื้นที่ใหม่ๆมากขึ้น และนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง เช่น โอกาสทางธุรกิจในอัฟริกา หรือ การปลุกระดมทางการเมืองในเหตุการณ์อาหรับสปริงส์

กล่าวโดยสรุป การส่งเสริมกิจกรรมในอินเตอร์เน็ตเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ จำต้องคำนึงถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นในส่วนลึกของจิตใจผู้บริโภคให้ได้   การคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแนวทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากรัฐจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจดิจิตอล   เช่นเดียวกับการสร้างกฎหมายและนโยบายด้านอินเตอร์เน็ตที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อความสะดวกใจในการประกอบการของบรรษัทไอทีระดับโลก 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พบภาพมนุษย์อวกาศขึ้นรถเมล์ ไม่ได้ล้อ ‘ประยุทธ์’ แต่โปรโมทสินค้าระงับกลิ่นกายปีที่แล้ว

$
0
0

หลังจากเฟซบุ๊กแฟนเพจโพสต์ภาพ “ประชาชนล้อเลียนวาทะกรรมนายก แต่งตัวจะไปดาวอังคาร” ตรวจสอบพบไม่เกี่ยวกับการล้อเลียนการแก้ปัญหาราคายาง แต่เป็นการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของ Axe Apollo พ.ค.ปีที่แล้ว

17 ก.ย.2557 ภายหลังวาทะร้อนกึ่งมุกตลกของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ว่าด้วยการแก้ปัญหาข้อเรียกร้องของชาวสวนยางพาราที่ต้องการให้ขายได้กิโลกรัมละ 90-100 บาท ว่า “คงต้องไปขายที่ดาวอังคารแล้ว” ซึ่งกล่าวในระหว่างการเข้ารับฟังการแถลงยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์ทหาร พ.ศ. 2558-2562 ของคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นปี 2556 ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ที่สโมสรทหารบก วิภาวดี เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา จนนำมาสู่การวิพากษ์วิจารณ์และภาพล้อเลียนในโซเชียลเน็ตเวิร์กถึงการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำจำนวนมาก

ล่าสุดวันนี้(17 ก.ย.) เมื่อเวลา 9.28 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘นักข่าวอิสระเพื่อประชาธิปไตย’ โพสต์ภาพคนใส่ชุดอวกาศขึ้นรถโดยสารประจำทาง พร้อมข้อความประกอบภาพว่า “ประชาชนล้อเลียนวาทะกรรมนายก แต่งตัวจะไปดาวอังคาร” ส่งผลให้มีการแชร์ต่อขณะนี้กว่า 300 แชร์แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบ ภาพดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการล้อเลียนวาทะกรรมนายกฯ แต่อย่างใด พบภาพเดียวกันนี้ใน kapook.comและ dek-d.comระบุว่าเป็นการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของ Axe Apollo ซึ่งมีการเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ค.ปีที่แล้ว โดยนอกจากคนใส่ชุดอวกาศจะปรากฏตัวที่รถโดยสารประจำทางแล้ว ยังปรากฏตามห้างสรรพสินค้า โรงอาหาร เป็นต้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI : ข้อเสนอการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ สกัดคอร์รัปชันให้ตรงจุด

$
0
0

การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐถูกมองว่ามีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันมาโดยตลอด สาเหตุหลักมาจากการไม่เปิดเผยข้อมูล  แม้ไทยจะมีกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการบังคับใช้มาตั้งปี 2540 แล้วก็ตาม  ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐจึงน่าจะเป็นการสกัดหรือต่อต้านคอร์รัปชันที่ตรงจุด

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ ธิปไตร แสละวงศ์ได้ร่วมกันทำการศึกษาเรื่อง “การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ และการต่อต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทย”โดยผลการศึกษา ระบุว่า การต่อต้านคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพตามหลักสากลต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐและภาคประชาสังคม โดยรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ภาคประชาชนได้เข้าถึง เพื่อตรวจสอบการบริหารของรัฐอีกทางหนึ่ง

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการให้สัมปทานของรัฐ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้  แต่ที่ผ่านมาพบว่า การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวยังเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ โดยมีสาเหตุมาจากการที่มีข้อยกเว้นที่ค่อนข้างกว้าง และการไม่มีบทลงโทษในกรณีที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งของคณะกรรมการฯ   โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประการแรก พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯยังคงเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถใช้วิจารณญาณว่าจะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้รับการร้องขอ เนื่องจากกฎหมายได้ให้ข้อยกเว้นแก่ “ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย” ด้วยให้นิยามว่าเป็นข้อมูลที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัยส่วนบุคคล ความเป็นส่วนตัว (privacy)  กระบวนการทางยุติธรรม ฯลฯ ซึ่งขาดกรอบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาทำให้หน่วยงานรัฐสามารถอ้างข้อยกเว้นได้อย่างเสมอ    อีกทั้งการกำหนดบทลงโทษกลับกลายเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่รัฐพิจารณาเลือกที่จะปกปิดข้อมูลมากกว่าการเปิดเผย เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารราชการได้กำหนดบทลงโทษในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเปิดเผยข้อมูลที่ห้ามเปิดเผย แต่ไม่มีบทลงโทษสำหรับการไม่เปิดเผยข้อมูลที่ต้องเปิดเผยตามกฎหมาย  

ประการที่สอง การพิสูจน์ว่าข้อมูลใดควรเปิดเผย ตามกระบวนการของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร(กวฉ.) ของ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ(สขร.)นั้น ใช้เวลาค่อนข้างนาน และคำวินิจฉัยไม่ถือเป็นที่สุดในทางปฏิบัติ  เนื่องจาก สขร.ไม่มีอำนาจลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐหรืออกคำสั่งโดยตรงต่อหน่วยงานของรัฐ

คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอสามส่วน   ข้อเสนอส่วนแรกเป็นข้อเสนอในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารว่าควรเปิดเผยหรือปกปิดควรมีการปรับปรุงดังนี้  ควรแก้ไขคำว่า “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” เป็น “ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” ซึ่งครอบคลุมข้อมูลข่าวสารในการครอบครองบริษัทเอกชนซึ่งจัดทำบริการสาธารณะ เช่น ฐานข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่ในครอบครองของบริษัทโทรคมนาคมเอกชน หรือ ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในครอบครองของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น  ควรกำหนดหลักการเปิดเผยหรือปกปิดข้อมูลข่าวสารที่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ผลประโยชน์สาธารณะต้องมาก่อนผลประโยชน์ส่วนบุคคล โดยหน่วยงานที่ครอบครองข้อมูลจะต้องประเมินผลได้-ผลเสียจากการเปิดหรือไม่เปิดเผยข้อมูล (Prejudice Test) ตามมาตรฐานสากล เช่น หลักการเปิดเผยของ สขร.สหราชอาณาจักร(Information Commissioner’s Office-ICO)  และควรกำหนดกรอบในการอ้างข้อยกเว้นตามกฎหมาย เช่นในกรณีของความมั่นคงนั้น อาจกำหนดให้การปฏิเสธที่จะเปิดเผยเอกสารใดๆ โดยอ้างความมั่นคงนั้นจะต้องเป็นเอกสารที่มีการจัดชั้นความลับล่วงหน้าเท่านั้น เป็นต้น

ข้อเสนอส่วนที่สองเกี่ยวกับการปรับปรุงเชิงสถาบัน คณะผู้วิจัยเห็นว่าควร ให้ สขร.เป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเมือง เช่นเดียวกับ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)เป็นต้น  ซึ่งต้องมีแหล่งเงินทุนและบุคลากรอย่างเพียงพอต่อการบังคับใช้กฎหมาย

ข้อเสนอส่วนสุดท้าย  ควรให้ “เขี้ยวเล็บ” แก่ สขร. ในการลงโทษทางปกครองแก่หน่วยงานของรัฐที่ไม่เปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งภายในระยะเวลาที่ ครม . กำหนด นอกจากนี้แล้ว คณะผู้วิจัยเห็นว่า การสร้างแรงจูงใจให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเสนอให้กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)ให้ความสำคัญแก่ดัชนีชี้วัดการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ในการกำหนดค่าตอบแทนและแรงจูงใจให้แก่พนักงานและหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ.อ.วินธัยเตือนตัดต่อภาพนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องไม่เหมาะสม

$
0
0

รองโฆษก คสช. เตือนตัดต่อภาพนายกรัฐมนตรีไม่เหมาะสม ไม่ควรทำ - ที่ผ่านมามั่นใจว่าประชาชนสัมผัสได้ถึงตัวตนที่เปิดเผย เป็นกันเองของนายกรัฐมนตรี วอนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตร่วมสร้างสังคมออนไลน์คุณภาพ

17 ก.ย. 2557 - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ว่า พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า กรณีที่มีผู้ไม่หวังดี นำภาพของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตัดต่อแต่งเติมแล้วนำมาโพสต์ผ่านทางโซเชี่ยลมีเดีย เพื่อจะชี้นำให้ผู้พบเห็นเกิดความสับสนในภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม และไม่ควรทำอย่างยิ่ง พร้อมมั่นใจว่า ประชาชนทราบดีว่าเป็นเพียงการบิดเบือนใส่ร้าย เพราะในช่วงที่ผ่านมา ประชาชนสามารถสัมผัสได้ถึงตัวตนอย่างเปิดเผยของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกันเอง เคารพ และให้เกียรติทุกคน และมีความห่วงใยประชาชนอย่างแท้จริง จึงขอวอนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ร่วมกันสร้างสังคมออนไลน์ที่มีคุณภาพ โดยช่วยกันขจัดการกระทำในลักษณะบิดเบือน ใส่ความ ก่อให้เกิดความแตกแยก เกลียดชัง หรือทำให้สังคมสับสน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เล็กๆ น้อยๆ ว่าด้วย 'คำ' กับเรื่อง 'แรงงาน'

$
0
0



“กรรมกร” รากเหง้าแห่งการต่อสู้?

การถกเถียงเรื่องการใช้คำเรียก “คนทำงาน” ว่าแบบไหน อย่างไร จึงจะสร้างจิตสำนึกและต่อยอดไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการแรงงานนั้นมีมาอยู่ทุกยุคทุกสมัย

นักวิชาการนักกิจกรรมฝ่ายสังคมนิยม ที่มีความต้องการให้คนทำงานมีจิตสำนึกทางชนชั้น และไม่ลืมรากเหง้าของกรรมกรแนวๆ ที่ต่อสู้มาด้วยเลือดและหยาดเหงื่ออะไรประมาณนั้น พยายามปกป้องคำว่า “กรรมกร” ไม่ให้สูญหายไป ประมาณว่าอย่าอายเมื่อถูกเรียกด้วยคำนี้ เพราะเป็นคำที่ทำให้ไฟแห่งการต่อสู้ยังลุกโชนได้เสมอ

ส่วนนักวิชาการที่หลุดจากการเป็นนักสังคมนิยมไปแล้วบางส่วนก็เสนอไปในทิศทางเดียวกันในข้างต้น ว่าการลืมรากเหง้าของคำว่า "กรรมกร" นั้นก็น่าจะเป็นปัจจัยให้ขบวนการแรงงานอ่อนแอลงไป แต่ก็ชวนให้ตั้งคำถามต่อไปเฉยๆ ว่าบริบทสังคมปัจจุบันคำไหนจะ "ไหลลื่น" และได้รับการ "ยอมรับ" จากคนทำงาน และก็ชวนตั้งคำถามไปเรื่อยๆ (อีกเช่นเคย)

ทั้งนี้เมื่อมีเวลาผู้เขียนเองก็มีแบบสอบถามเล็กๆ ประจำตัว ไว้ลองสอบถามคนทำงานอาชีพต่างๆ ว่าคิดกับคำไหนยังไง ซึ่งก็แบ่งคนทำงานได้ออกเป็นสองกลุ่ม

กลุ่มแรก ที่อินกับการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นนักสหภาพแรงงานที่ได้รับการจัดตั้งและได้รับการศึกษามาจากฝ่ายมาร์กซิสต์ ฝ่ายซ้าย ฝ่ายสังคมนิยมมาเป็นอย่างดี ก็จะอินกับคำว่ากรรมกรพอสมควร แต่ที่ว่าอินนี่ก็ไม่ถึงกับไปประกาศตนว่าเป็นกรรมกรตามสถานที่ต่างๆ อะไรอยู่ตลอดเวลานะครับ อินให้พอเอาไปไว้ใช้ปลุกใจคนทำงานตอนที่ต้องรวมกลุ่มให้การศึกษา หรือเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานที่ต้องเจรจาเรียกร้องกับนายจ้างในสถานการณ์ “สู้รบ” อะไรทำนองนั้นมากกว่า

ส่วนคนทำงานอีกกลุ่มที่พึ่งได้รับการจัดตั้งใหม่ๆ หรือไม่รู้การมีอยู่ของฝ่ายซ้าย และไม่รู้ถึงการมีอยู่สหภาพแรงงาน ไม่รู้ถึงประวัติศาสตร์การต่อสู้ต่างๆ จะพอใจกับการถูกเรียกว่า “พนักงาน” มากกว่า (อันนี้ลองถามคนทำงานในโรงงานฝ่ายผลิต และมิตรสหายภาคบริการทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานนั่งโต๊ะ)

รวมทั้งความไม่พอใจต่อคำเรียกประเภทที่อาจจะดูแคลนไปบ้าง เช่น หนุ่มสาวโรงงาน สาวฉันทนา และคำตามแบบฉบับข่าวหัวสีต่างๆ ที่มักพ่วงมากับข่าวอาชญากรรม (เป็นหลัก) เมื่อมีเหตการอะไรก็ตามที่เหล่าคนทำงานได้เป็นข่าวในหน้าสื่อนั้น พวกเขาเองก็ไม่ค่อยชอบมากนัก แต่ก็ต้องจำยอมเพราะคำต่างๆ มากมายในสังคม “สื่อ” มักจะเป็นผู้กำหนดเสมอ

เรียกว่ายอมๆ แบบไม่พอใจ แต่ทำอะไรไม่ได้มากนัก น่าจะเป็นอารมณ์ทำนองนี้มากกว่า

โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเห็นควรว่าการใช้คำต่างๆ นั้น ก็แล้วแต่จังหวะจะโคนและกาลเทศะ ที่จะหยิบใช้คำไหนขึ้นมาใช้ ไม่ได้ซีเรียสอะไรมากนัก

และจากบทสรุปที่สรุปเอาเองจากการสังเกตการณ์ปัญหาคนงานบางส่วนก็พบว่าจิตสำนึกทางชนชั้นแรงงานนั้นมักจะมาตอนนายจ้างเบี้ยว นายจ้างกลั่นแกล้งก่อน เสียมากกว่า ส่วนคำว่า “กรรมกร” “สหภาพแรงงาน” และประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้นนั้น มักจะมาศึกษากันทีหลังเสียเป็นส่วนใหญ่

“จับกัง” “แรงงานเพื่อนบ้าน” และ “กรมคุ้มครองแรงงาน”

ความเคลื่อนไหวแวดวงแรงงานไทยหลังคณะทหารเข้ามาบริหารประเทศนอกจากเรื่องความพยายามจัดระบบแรงงานต่างด้าว พยายามล้างภาพลักษณ์เรื่องการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กแล้ว เรื่อง “คำ” ต่างๆ นานาในแวดวงแรงงานก็ถูกหยิบยกมาอภิปรายกันพอสมควร

กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาในการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ของ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ (ควบปลัดกระทรวงกลาโหมไปด้วยอีกตำแหน่ง) ประเด็นที่สื่อได้จับมาขยายต่อที่เรียกเสียงฮือฮาได้บ้างก็คือการที่ พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวถึงฉายาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่เรียกว่า “จับกัง 1” นั้นว่าส่วนตัวไม่มีปัญหาแต่อยากให้เปลี่ยนคำเรียกเพื่อให้เกียรติผู้ใช้แรงงานที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (ดู: รมว.แรงงาน วอนเปลี่ยนคำเรียก "จับกัง" เพื่อให้เกียรติผู้ใช้แรงงาน, สำนักข่าวไทย, 15 กันยายน 2557)

อืม... ดูท่านหัวก้าวหน้าพอสมควรนะครับ ที่ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ น่าจะเป็นรัฐมนตรีแรงงานท่านแรกๆ เลย

ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2557 ที่ผ่านมานายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) ได้เปิดเผยว่ากรมการจัดหางานอยากขอความร่วมมือสื่อมวลชนในการเปลี่ยนคำเรียกแรงงาน 3 สัญชาติ จากแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานเพื่อนบ้าน เพื่อความเหมาะสมและเป็นการให้เกียรติแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีอีกช่องทางหนึ่งให้กับประเทศไทยว่าไม่มีการค้ามนุษย์หรือการกดขี่แรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาองค์กรอิสระได้เรียกร้องในเรื่องคำนิยามดังกล่าว เพราะมองว่าการเรียกแรงงานเพื่อนบ้านว่าแรงงานต่างด้าว เป็นการไม่ให้เกียรติผู้ที่มาร่วมสร้างระบบเศรษฐกิจไทย โดยจะนำร่องจากสื่อมวลชนในสังกัดกรมประชาสัมพันธ์ก่อน เนื่องจากได้มีการหารือและขอความร่วมมือกับผู้บริหารของกรมประชาสัมพันธ์แล้ว (ดู: กกจ.ขอเรียกแรงงานต่างด้าวเป็นแรงงานเพื่อนบ้าน, สำนักข่าวไทย, 5 กันยายน 2557)

กระแสเรื่องการพยายามใช้คำให้เกียรติเพื่อนมนุษย์นั้นในไทยเองก็มีมาอย่างยาวนานในวงแคบๆ อย่างเช่นองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ก็มักจะใช้คำว่า “แรงงานข้ามชาติ” หรือ “แรงงานต่างชาติ” มากกว่าอยู่แล้ว และอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปขั้นต้นแล้วว่าเรื่องนี้ “สื่อ” น่าจะมีความสำคัญมากที่สุดหากจะรณรงค์กันจริงจังส่วนจะรณรงค์กันยังไงก็คงต้องปรึกษาหารือตั้งกฎระเบียบกันต่อไป

ไม่แน่นะครับ ในยุคทหารครองเมืองนี้เราอาจจะเปลี่ยนคำที่ดูไม่ให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ได้บ้างก็ได้ ใครจะรู้ (แต่ท้ายสุดก็อย่าลืมว่ามันก็เป็นแค่ “คำเรียก” นะครับ)

ส่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ออกมาเล่นเรื่องคำกับเขาบ้าง โดยมีดำริว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเปลี่ยนชื่อ “กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน” เป็น “กรมคุ้มครองแรงงาน” เฉยๆ เนื่องจากชื่อเดิม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั้นยาวเกินไป (ไม่รู้ได้รับอิทธิพลมาจากกเล่นทวิตเตอร์รึเปล่าในการลดทอนชื่อให้สั้นลง)

ซึ่งความเห็นจากผู้นำขบวนการแรงงานไทยท่านหนึ่งอย่าง วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ก็ได้ออกมาระบุอย่างเข้าใจเรื่องนี้ชัดแจ้งว่า “ไม่อยากให้มองเรื่องชื่อ แม้จะสร้างความสับสน แต่อยากให้เน้นเรื่องบทบาทของ กสร.ที่ต้องมีการปฏิรูปการทำงานทั้งด้านการบริหารและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งปัจจุบันยังมีบางปัญหาที่ติดขัดเรื่องกฎหมาย เช่น การเลิกจ้าง การละเมิดสิทธิ การปิดงาน และข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งอำนาจในการเรียกนายจ้างมาเจรจายังเป็นเพียงการขอความร่วมมือทำให้บางครั้งนายจ้างไม่มาเจรจา รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินการตามข้อเรียกร้องต่างๆ ยังมีระยะเวลานานเกินไป” (ดู: ผู้นำแรงงานไม่เห็นด้วย เปลี่ยนชื่อกรมสวัสดิฯ, สำนักข่าวไทย, 15 กันยายน 2557)

.. คือทั้งหลายทั้งปวงนั้น มันยังมีเรื่องอะไรให้ทำมากกว่าเรื่อง “คำ” สำหรับการแก้ไขปัญหาคนงานครับ.
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ลุ้นประกันตัวรอบ 2 'เจ๋ง ดอกจิก' คดี 112 ภายในสัปดาห์นี้

$
0
0

ทนายวิญญัติ ชาติมนตรี เผย ยื่นประกันตัวรอบ 2 'เจ๋ง ดอกจิก' คดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ คาดทราบผลภายในสัปดาห์นี้ ชี้หากเป็นไปตามหลักเกณฑ์กฏหมายปกติย่อมได้รับประกันเหมือน ‘สนธิ ลิ้มทองกุล’

17 ก.ย. 2557 หลังจากเมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.2740/2553 ให้นายยศวริศ  ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการขึ้นเวทีปราศรัยบนเวที นปช. เชิงสะพานมัฆวาน เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 53 โดยพิพากษายืนให้จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ขณะที่นายยศวริศได้ยื่นขอประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 500,000 บาทนั้น (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ล่าสุดวานนี้(16 ก.ย.) นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความกลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน(กนส.) ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด จำนวน 500,000 บาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างฎีกานายยศวริศ เป็นครั้งที่ 2

นายวิญญัติ กล่าวด้วยว่า ถ้าเป็นไปตามหลักเกณฑ์กฏหมายปกติจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เหมือนที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับสิทธ์นี้ โดยตามกระบวนการจะใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 วันทำการ ที่ศาลชั้นต้นจะส่งต่อไปยังศาลฏีกาพิจารณา คาดว่าจะทราบผลภายในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ หลังจากที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา ได้มีการยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวแล้วครั้งในครั้งแรก แต่วันที่ 6 พ.ค. ที่ผ่านมา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้อง เนื่องจากศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่าเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง อีกทั้งจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตให้ฎีกาและยื่นฎีกา จึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากปล่อยชั่วคราวจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งนี้นายยศวริศถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรรมการสิทธิฯ จัดถกจับกุมผู้ชุมนุมละเมิดสิทธิ? ญาติผู้ตาย53 – ตัวแทน คสช.ร่วม

$
0
0

15 ก.ย.2557 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) จัดประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การปฏิบัติการจับกุมผู้ชุมนุมเรียกร้องประเด็นขาหุ้นเดินขบวนเรียกร้องปฏิรูปนโยบายพลังงาน และกลุ่มเรียกร้องความเป็นธรรมต่อกรณีศาลยกฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในคดีสลายการชุมนุมปี 53 โดย กสม. ได้เชิญตัวแทนของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้แก่ พ.อ.วิจารณ์ จดแตง หัวหน้าส่วนปฏิบัติการ คณะทำงานกฎหมายของ คสช. พ.อ.สัญชัย บูรณะสัมฤทธิ์ คณะทำงานด้านกฏหมาย ส่วนงานการรักษาความสงบเรียบร้อยของ คสช. พ.ท.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ รองผู้บังคับการนครบาล 1 พ.ต.อ.วิชัย แดงประดับ ตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ สน. พญาไท พ.ต.ท.นทธีฤทธิ์ หาญเสน่ห์ลักษณ์ พนักงานสอบสวนชำนาญการพิเศษ กองบังคับการกองปราบปราม พ.ต.อ.เศกสิทธิ์ สุภาอ้วน ผู้กำกับสน.บางซื่อ และนายพันศักดิ์ ศรีเทพ บิดาของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ และนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดา นายณัทพัช อัคฮาด น้องชาย ของน.ส.กมลเกด อัคฮาด ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53 เข้าชี้แจงเหตุการณ์จับกุมดังกล่าว

พ.อ.วิจารณ์กล่าวว่า การบังคับใช้กฎอัยการศึกนั้นเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีการใช้อาวุธสงครามทำร้ายกันจนมีคนเจ็บคนตายจำนวนมาก จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อระงับยับยั้งสถานการณ์ แม้ว่าต่างชาติจะต่อต้านไม่ยอมรับแต่ถ้าปล่อยให้ประเทศควบคุมความรุนแรงไม่ได้จะเกิดความเสียหายใหญ่หลวง กฎอัยการศึกก็ใช้เท่าที่จำเป็น ส่วนใหญ่กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการระทำความผิด แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความเห็นต่างก็เพียงแค่เรียกมาปรับทัศนคติแล้วก็ปล่อยตัวไป ไม่ได้ขัง ทำร้ายร่างกายหรือทรมาณแต่อย่างใด ไม่ว่าจะกลุ่มใดก็แล้วแต่ทางผู้บังคับบัญชาก็ได้มีช่องทางเอาไว้ให้แสดงความเห็นด้วย คือ ให้เข้าร่วมประชุมแล้วเสนอความคิดเห็นได้ เช่น ในการปฏิรูปพลังงานท่านหัวหน้า คสช. ก็ได้เป็นประธานการประชุมที่สโมสรกองทัพบก ฉะนั้นการที่ออกมาเดินตามที่สาธารณะแล้วโปรยใบปลิวหรือชักชวนให้คนมาร่วมทำให้คนยังคิดว่าความขัดแย้งยังมีอยู่ซึ่งขัดต่อคำสั่ง คสช. เมื่อฝ่าฝืนเจ้าหน้าที่ก็ต้องเข้าไปปฏิบัติหยุดกิจกรรมดังกล่าว  ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามกรอบของกฎหมาย

พ.ท.บุรินทร์ กล่าวว่าตนเป็นส่วนปฏิบัติงานด้านกองกำลัง ทำหน้าที่เข้าไปดูแลผู้ชุมนุมที่ถูกคุมตัวมาแล้วทำการชี้แจงกับผู้ชุมนุมว่าการกระทำของผู้ชุมนุมเป็นสิ่งที่ดีแต่สถานการณ์ขณะนี้ไม่ปกติแล้วก็มีกลุ่มฉวยโอกาสที่ใช้สถานการณ์เช่นนี้ก่อความไม่สงบขึ้นมาอีก ไม่เฉพาะเรื่องของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอน เมื่อมีการชุมนุมบนท้องถนนก็จะให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปพูดคุยก่อนที่กองกำลังของเราจะเข้าไป ขอร้องให้เข้าสู่ระบบที่ผู้ใหญ่เปิดช่องทางไว้ ทั้งที่ คสช. หรือศูนย์ดำรงธรรม ซึ่งยินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แต่ขอร้องว่าอย่าทำพฤติกรรมที่ต่างคนต่างทำเพื่อการเรียกร้องที่ผิดแนวทางจากที่เป็นระบบอยู่ เมื่อยังมีการปฏิบัติแบบนั้นก็จำเป็นจะต้องมีการเชิญตัวมาปรับความเข้าใจ  การปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนทาง คสช. หรือผบ.กองกำลังมีการเน้นย้ำเรื่องนี้โดยตลอด ไม่มีการปฏิบัติแบบทางการทหาร และนำกฎหมายมาดำเนินการโดยเสมอภาค

นายรัษฎา มนูรัษฎา อนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้สอบถามทางตัวแทนของ คสช. ว่าการที่บุญยืน ศิริธรรม อดีตวุฒิสมาชิก ร้องเรียนว่าถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปจากการที่แสดงความคิดเห็นเรื่องการปฏิรูปพลังงาน เป็นเวลา 3 คืน  และไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาเป็นความจริงหรือไม่

พ.ท.บุรินทร์ กล่าวว่า ในกรณีนี้เช้าวันที่มีการเดินขบวนบนท้องถนน ทางตำรวจมีการควบคุมตัวส่งให้ทางทหาร แล้วพาไปที่สนามกีฬากองทัพบกเพื่อทำประวัติบุคคลตามขั้นตอน และแจ้งขอควบคุมตัวตามอำนาจกฎอัยการศึก ซึ่งการคุมตัวตามกฎอัยการศึกไม่ได้เป็นการจับขังเหมือนตามป. วิ อาญา ทั่วไป แต่เป็นกักตัวสอบสวนเรื่องที่สงสัย อย่างกรณีนี้ก็คือทำไมมีการขอร้องแล้วยังมาทำพฤติกรรมแบบนี้ เหมือนที่สื่อมวลชนเรียกว่าการปรับทัศนคติ ซึ่งไม่ได้เป็นข้อกล่าวหาว่ามีความผิดฐานใด หรือตามประมวลกฎหมายฉบับใด ตามกฎอัยการศึกจะเรียกว่าการกักตัวเพื่อสอบสวน หลังจากทำประวัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากทางทหารไม่มีพื้นที่กักตัว เพื่อกันข้อครหาว่าทหารเอาตัวไปจึงนำไปฝากที่กองปราบปราม ซึ่งปฏิบัติเช่นนี้กับคนทุกกลุ่มที่จับมาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม โดยใช้อำนาจตามมาตรา 6 ของกฎอัยการศึกขอให้พนักงานสอบสวนช่วยดำเนินการกักตัวให้ ในคืนนั้นกว่าจะเดินทางก็มืดแล้วจึงกักตัวไปตามระเบียบ เนื่องจากในคืนนั้นยังไม่สามารถเปิดห้องให้ได้ เช้าวันรุ่งขึ้นจึงไปเปิดห้องแอร์ให้เพื่อให้เหมาะสมกับคนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ วันแรกกลุ่มผู้ถูกควบคุมตัวไม่พอใจการกระทำของเจ้าหน้าที่เพราะคิด่วาการแสดงออกเป็นความถูกต้องไม่ใช่ไปทำผิดกฎหมาย ไม่ได้เป็นการชุมนุมทางการเมือง ตนจึงได้ชี้แจงว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง แต่เป็นการรักษาความสงบ เมื่อมีการรวมกลุ่มบนท้องถนนทหารก็ต้องรีบระงับไม่ให้มีเหตุบานปลายอ พอวันที่ 2-3 ก็พูดคุยกันจนทำความเข้าใจกันได้ จากนั้นมีการนัดเสวนาของหลวงปู่พุทธอิสระ ทหารก็รีบดำเนินการปล่อยตัวหลังจากที่ผู้ถูกควบคุมตัวยอมรับและรับปากแล้วว่าจะไม่ลงมาบนถนนอีกแล้ว

พ.ต.ท.นทธีฤทธิ์ ทางกองปราบฯ ได้รับการร้องขอจากทหาร จึงได้รับตัวผู้ถูกกักตัวมาไว้ที่กองบังคับการกองปราบปราม ทางฝ่ายทหารก็ส่งตัวบุญยืนมาที่กองปราบฯ วันที่ 24 ส.ค. โดยมีกำหนดกักตัวถึงวันที่ 30 ส.ค. แต่กักตัวไว้ 2 คืน ทางฝ่ายทหารจึงขอตัวกลับไป และไม่ได้มีการร้องทุกข์ดำเนินคดีมา

พ.ท.บุรินทร์เสริมว่า กรณีของขาหุ้นนั้นทางทหารเห็นว่าไม่ได้ฝ่าฝืนเรื่องชุมนุมทางการเมือง แต่ฝ่าฝืนอัยการศึก เมื่อมีการชี้แจงและปรับทัศนคติเรียบร้อยและทางคุณบุญยืนยอมรับแล้วทางทหารก็ไม่ต้องทำการแจ้งข้อกล่าวหา ตามกฎอัยการศึกไม่ได้ระบุว่าฝ่าฝืนแล้วจะมีโทษ แต่เป็นอำนาจสอบสวนเพื่อหาความผิดอื่น เช่น ยาเสพติด ทางเจ้าหน้าที่ทหารก็จะใช้อำนาจตรวจค้นในตอนกลางคืนและดำเนินการจับกุม เมื่อจับมาแล้วต้องแจ้งก่อนว่าขออนุญาตควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก และเมื่อตรวจสอบแล้วมีความผิดจึงจะแจ้งข้อกล่าวหาว่าจำหน่ายหรือมีครอบครงยาเสพติด ซึ่งมีอัตราโทษ ตามพระราชบัญญัติต่างๆ แต่ของกฎอัยการศึกไม่มีอัตราโทษ มีแต่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ดำเนินการได้

นายรัษฎาถามย้ำว่าทางเจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาว่าคุณบุญยืนได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือประกาศหรือว่ากฎอัยการศึกจึงปล่อยตัวโดยไม่มีการดำเนินคดีใช่หรือไม่ และอีกหนึ่งเรื่อง สนธิสัญญาหรือกติการะหว่างประเทศที่ไทยลงนามไว้ยังคงยึดถืออยู่ถูกต้องหรือไม่ เพราะฉะนั้นการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพพื้นฐานของประชาชนเรายังทำได้อยู่ ในกรณีของคุณบุญยืนพูดเรื่องพลังงาน แสดงความไม่เห็นด้วย แล้วอย่างกรณีเวทีของหลวงปู่พุทธอิสระ เป็นการแสดงความคิดเห็นก็ทำได้

พ.อ.วิจารณ์ เรื่องการเชิญตัวไป คำสั่ง คสช. ที่ 97/2557 (5) ได้ขอความร่วมมือไว้หากมีการฝ่าฝืนให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการระงับได้ตาม(4) ซึ่งหากปล่อยให้มีการไปเดินขบวนคนอื่นจะเอาเป็นเยี่ยงอย่างออกมากันเต็มไปหมดก็จะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ การเชิญตัวไปเพื่พูดคุยว่ามีช่องทางแสดงความคิดเห็นให้  ซึ่งเมื่ออธิบายเข้าใจแล้วก็จะไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา

พ.ท.บุรินทร์เสริมว่าเมื่อทำประวัติควบคุมเสร็จแล้วก็จะมีการแจ้งว่าได้ทำผิดกฎอัยการศึก ได้ก่อการชุมนุมบนถนน ก่อความวุ่นวาย โดยทหารเป็นคนแจ้งข้อกล่าวหา

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวว่าที่นายรัษฎาถามนั้นเนื่องจากว่าในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 4 ได้ระบุไว้ว่าสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคต้องได้รับความคุ้มครอง แต่เมื่ออ้างคำสั่ง คสช. ที่ 97/2557 เรื่องขอความร่วมมือในการให้ข้อมูลข่าวสารการก่อความไม่สงบกับประเด็นที่ขาหุ้นพลังงานหรือที่ภาคใต้มีการเดินที่หาดใหญ่ไม่เกิน 5 คน ภายหลังเหลือ 2 คน พอถึงชุมพรก็ถูกห้ามไม่ให้เดิน ในฐานะที่เขาเป็นพลเรือนที่ รธน. ได้ให้ความคุ้มครองไว้ เขาได้แสดงความเห็นเรื่องการปฏิรูปพลังงานเพราะเขามองว่าประเด็นนโยบายที่มีอยู่ตอนนี้เขาไม่เห็นด้วยก็อยากที่จะเสนอกับ คสช. เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้มีภาคประชาชนที่ตื่นตัวอยากเข้ามาร่วม ซึ่งเขาเป็นพลเมืองที่มีสิทธิทางการเมือง

นิรันดร์ กล่าวด้วยว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องที่ กสม. หรือสื่อต่างประเทศกังวลเพราะมองว่าเป็นการไปขัดสิทธิเสรีภาพของเขา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเรื่องทางการเมือง การให้ความคิดเห็นที่แตกต่างจะนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ของชาติและประชาชน พอไม่ให้เขาแสดงความคิดเห็นก็เหมือนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพ ทำให้มีความขัดแย้งมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ยอมรับว่าในช่วงการชุมนุมที่ผ่านมา 5-6 เดือน มีการใช้อาวุธสงคราม แต่นี่เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็น แล้วรธน. ก็ให้การรับรอง แล้วจะอธิบายต่อสังคมได้อย่างไร

พ.ท.บุรินทร์ ชี้แจงว่า ไม่ว่า รธน. ฉบับเก่าหรือฉบับชั่วคราว ก็คุ้มครองสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว เว้นแต่ถูกกำกับด้วยข้อกฎหมาย ในช่วงนี้ คสช. ก็ไม่ได้ปิดบังปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น และมีช่องทางให้เข้าชี้แจงข้อมูลต่างๆ อยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์ดำรงธรรมหรือทำเนียบรัฐบาล หรือ คสช.เองก็ได้รับจดหมายเป็นหมื่นฉบับที่ชี้แจงข้อเท็จจริงต่างๆ แต่ทาง คสช. ขอในลักษณะของการแสดงออกเพื่อไม่ให้กระทบกับภาพลักษณ์ในการปฏิบัติการตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ไม่อย่างนั้นจะเกิดเหตุการชุมนุมอื่นๆ ตามมาได้

นายรัษฎาถามต่อว่าตกลงข้อกล่าวหาที่แจ้งคืออะไร เนื่องจากที่ชี้แจงยังไม่สอดคล้องกับทางกองปราบฯ ที่บอกว่าปล่อยโดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา

พ.ท.บุรินทร์ ชี้แจงว่ากองปราบฯ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้กฎอัยการศึกเลย อำนาจตามกฎอัยการศึกเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ทหารล้วนๆ เป็นแค่ผู้ให้ใช้สถานที่กับทางทหารโดยการร้องขอตามมาตรา 6 เนื่องจากหากเป็นที่หน่วยงานตำรวจจะมีภาพลักษณ์นิ่มนวลกว่าค่ายของทหาร ทางเจ้าหน้าที่ต้องการให้เป็นสถานที่เปิดเผยไปมาหาสู่ได้เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหามีการอุ้มหาย เพราะฉะนั้นก่อนที่จะทำการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกทางเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาว่าผิดตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ขอควบคุมตัว แต่ไม่มีอัตราโทษ ซึ่งจะเรียกว่าข้อกล่าวหาก็ไม่ใช่ แต่เป็นการแจ้งว่าเป็นการฝ่าฝืนจึงขอควบคุมตัวไปสอบสวน เมื่อควบคุมตัวไป มีการพูดคุยแล้ว จึงทำหนังสือไปแจ้งกองปราบฯ ว่าขอตัวคืนแล้วไม่ประสงค์ให้กองปราบฯ รับตัวไว้ จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ก็รับตัวไปไม่เกี่ยวกับทางกองปราบฯ แล้ว เมื่อทั้งคุณบุญยืนและคนอื่นๆ ยอมรับว่าจะไม่มาชุมนุมบนถนนแล้วก็มีการเซ็นเอกสารรับรองไว้

พ.ต.ท.นทธีฤทธิ์ ชี้แจงเสริมว่า เรื่องการแจ้งข้อกล่าวหาการกักตัวตามกฎอัยการศึกไม่ได้เป็นการปฏิบัติตาม ป. วิอาญา ดังนั้นหลังการกักตัว หากมีการส่งตัว มีการร้องทุกข์แล้วจึงจะมีการปฏิบัติตาม ป.วิอาญา นั่นคือการแจ้งข้อกล่าวหา ซึ่งบางกรณีอยู่ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมาร้องทุกข์ต่อไป หรือจะเป็นผู้เสียหายมาร้องทุกข์เพิ่มเติมดำเนินคดีก็ทำได้ ซึ่งทหารจะดำเนินคดีหรือไม่ก็อยู่ที่ฝ่ายกฎหมายของเขาตรวจสอบแล้วว่าจะดำเนินคดีหรือไม่

พ.ต.อ.อรรถวิทย์ กล่าวว่า ในกรณีของคุณวีระและคุณบุญยืน เป็นครั้งแรกที่ใช้กฎอัยการศึกเพราะมีการพูดคุย ห้ามแล้ว ส่วนพฤติกรรมการเคลื่อนไหวแสดงความคิดเห็นก่อนหน้านี้ทำในพื้นที่ปิด เช่น ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามโรงแรมต่างๆ ทาง คสช.และ บช.น.ก็ไม่ได้ปิดกั้น สามารถทำได้ แต่การออกมาเคลื่อนไหวบนถนนเป็นลักษณะที่จะทำให้มีความวุ่นวาย หากปล่อยให้เกิดขึ้นจะมีการเลียนแบบจะเสียบรยากาศ จึงต้องห้ามตรงนี้

ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ อนุกรรมการศึกษาและตรวจสอบปัญหาแรงงาน กสม. ถามตัวแทนของ คสช. ว่าเกณฑ์ของ คสช. เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่กำหนดว่าการแสดงออกบนท้องถนนถือว่าไม่สงบนั้นเป็นปัญหา การรวมตัวของประชาชนเป็นร้อยเป็นพันจะทำได้หรือไม่

พ.ท.บุรินทร์ ตอบว่าต้องดูเจตนาของแต่ละกลุ่ม เช่นกรณียื่นหนังสือที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา ก็มีการเชิญแต่ไม่ได้ควบคุมตัวมาชี้แจง แล้วแต่พฤติกรรมที่ทำในแต่กรณี หากรวมตัวเป็นร้อยเป็นพันแต่ไม่ได้มีลักษณะที่กล่าวไป ทางผู้ใหญ่ก็จะมีการพิจารณาโดยละเอียด

พันธ์ศักดิ์-กมนเกด ร่วมถก

พ.ต.อ.เศกสิทธิ์ กล่าวถึงกรณีจับกุมนายพันศักดิ์ ศรีเทพ นางพะเยาว์ อัคฮาดและนายณัทพัช อัคฮาด กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม ปี 2553 ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา จากกิจกรรมเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีศาลอาญายกฟ้องคดีการสลายการชุมนุมปี 53 โดยอ้างว่าไม่มีอำนาจ ว่า เนื่องจากเป็นช่วงที่มีสถานการณ์ไม่ปกติ มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งทาง สน.บางซื่อกังวลอย่างมากว่าการกระทำดังกล่าวจะขัดต่อประกาศของ คสช. หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจก่อให้เกิดความแตกแยกและไม่สงบ รวมถึงเกรงเกิดเหตุแทรกซ้อนจากมือที่ 3 จึงได้ขอกำลังจากตำรวจและทหารมาร่วมกันเพื่อป้องกันเหตุแทรกซ้อน กรณีนี้เป็นความเข้าใจผิดว่าศาลยกฟ้อง หากแต่เป็นการฟ้องผิดศาล ศาลอาญาเพียงระบุว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดี ส่วนทางตำรวจต้องป้องกันไม่ให้มีการรวมกลุ่มและฝ่าฝืนกฎอัยการศึกหรือคำสั่ง

ตำรวจกล่าวต่อว่า วันนั้นนายณัทพัชและนางพะเยาว์มาที่ทางขึ้นรถไฟฟ้ากำลังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเกี่ยวกับกิจกรรมและการตัดสินของศาลอยู่มีการแจกเอกสารใบปลิว ทางตำรวจเกรงว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารและชักชวนให้มีการรวมกลุ่มที่อาจจะขัดต่อประกาศ คสช. 97 และกฎอัยการศึก จึงได้เชิญทั้งสองคนไปที่ สน. ขอร้องให้หยุดการกระทำ ขณะเดียวกันทางพันศักดิ์ได้โยนใบปลิวบนสะพานลอยลงบนถนน ซึ่งมีประชาชนที่ใช้รถใช้ถนนเข้าไปเก็บจนชุลมุน ทางตำรวจก็ได้เชิญไปที่สน.ย่อย  ชี้แจงว่าการกระทำอาจจะขัดกฎอัยการศึก ประกาศ คสช. ที่ 97 ซึ่งมีเนื้อหาเดียวกับเอกสารที่พะเยาว์และณัทพัชแจกกับสื่อ เมื่อเชิญตัวทั้งสามคนก็ได้มีนายอานนท์ นำภา ทนายความตามไปที่สน. ด้วย

เมื่อถึงสน.ก็ได้พิจารณาร่วมกับทหารพระธรรมนูญว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทเพราะไปพาดพิงถึงบุคคลอื่นในเอกสาร ก็ได้แจ้งไปทางผู้ถูกพาดพิงว่าประสงค์จะดำเนินคดีหรือไม่ ถ้าจะดำเนินคดีทาง สน. ก็จะรับแจ้งความแต่ถ้าไม่ก็เป็นสิทธิของผู็ถูกพาดพิงที่จะไม่ดำเนินการ แต่ในกรณีของนายพันศักดิ์ที่ได้โปรยใบปลิวเป็นความผิดซึ่งหน้า ทางเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องแจ้งข้อกล่าวหา ถ้าตำรวจไม่ดำเนินการตามกฎหมายก็จะมีความผิดโดยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก็ได้แจ้งข้อหาพันศักดิ์คนเดียว เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พศ 2535 มาตรา 10 วรรคแรก ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หากไม่เสียค่าปรับในชั้นสอบสวน สามารถไปเสียค่าปรับในชั้นศาลได้ซึ่งอาจจะปรับต่ำกว่านี้ แต่ผู้ต้องหาก็ยอมเสียค่าปรับในอัตราสูงสุดดังนั้นคดีอาญาก็สิ้นสุดกันไป

ส่วนการกระทำดังกล่าวขัดคำสั่ง คสช. หรือ ประกาศบางฉบับ แต่การฝ่าฝืนไม่ได้กำหนดโทษก็ได้พิจารณาร่วมกับทหารพระธรรมนูญตกลงกันว่าจะเอาความผิดตามปกติ แต่ไม่เอากฎอัยการศึกมาใช้ ทหารพระธรรมนูญเห็นว่าน่าจะประนีประนอมกันได้ จึงได้ชี้แจ้งว่าในเรื่องที่มีการเรียกร้องความเป็นธรรมยังสามารถอุทธรณ์คดีได้  และหากต้องการแสดงความคิดเห็นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้เวทีเสวนาที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือหมิ่นเหม่ต่อการผิดคำสั่ง คสช. ส่วนไม่มีผลทางกฎหมายเป็นเพียงผลทางจิตวิทยาเท่านั้น และทุกฝ่ายรวมทั้งนักสิทธิมนุษยชนที่มาด้วยก็ยินยอมทำความเข้าใจ  

นายรัษฎาสอบถามว่าขณะที่มีการควบคุมตัวจากสถานีรถไฟฟ้าไปที่สน.ย่อยไม่ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาใช่หรือไม่

พ.ต.อ.เศกสิทธิ์ ตอบว่าไม่ได้เป็นการคุมตัวแต่เป็นการเชิญตัวไปเพื่อยับยั้งและปรับทัศนคติ เนื่องจากการกระทำหมิ่นเหม่ต่อการผิดกฎหมาย ส่วนใบปลิวที่โปรยมีลักษณะหมิ่นประมาทบุคคลที่ถูกพาดพิง ซึ่งก่อนหน้านั้นตำรวจของทาง บก.น. 1 ก็ได้ไปยับยั้งขอพะเยาว์ว่าอย่าเคลื่อนไหวเช่นนี้ ในการนำตัวไปได้พาขึ้นรถตู้ไปแล้วพาเข้าห้องประชุมของสน. มีการเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำ ไม่ได้พันธนาการ ในส่วนของคดีความผิดตามพรบ.รักษาความสะอาดฯ กรณีของพันศักดิ์คนเดียว ไม่รวม พะเยาว์และณัทพัช ส่วนคดีหมิ่นประมาทหลังจากได้ทำหนังสือแจ้งไปแล้วยังไม่มีผู้เสียหายมาแจ้งความ

พ.อ.วิจารณ์ตอบข้อซักถามว่าการเรียกบุคคลไปปรับทัศนคติว่าได้ผลจริงหรือไม่จากผู้เข้าร่วมประชุมว่า ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม มีการเชิญคนทุกฝ่ายมาเป็นจำนวนมาก เมื่อปรับความเข้าใจแล้วก็จะเห็นว่าแต่ละคนที่ออกมาให้ข่าวว่าการปฏิบัติของ คสช. ไม่มีใครโต้แย้งคัดค้าน มีความเข้าใจกัน แล้วก็ไม่ออกมาสร้างความวุ่นวาย การปรับทัศนคติเป็นสิ่งที่ดี การเจรจาพูดคุยดีที่สุด

นายพันศักดิ์ แสดงความเห็นว่าหลังจากที่ศาลยกฟ้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็มองว่าควรต้องมีการเรียกร้องความเป็นธรรม แต่ถ้าไปร้องที่ศาลอาญาก็จะเป็นการละเมิดศาลก็เลยเลี่ยงเรียกร้องไปที่ประชาชนดีกว่าว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ทางกลุ่มเรียกร้องมาตลอดว่าไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ขอให้จบที่เราซึ่งจะจบได้ด้วยกระบวนการยุติธรรม จึงจัดกิจกรรมแจกใบปลิวเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ไม่ได้มีเจตนาทำความสกปรกกับบ้านเมือง เพราะจะเห็นว่ากระดาษหนึ่งรีมที่โปรยไปก็ถูกเก็บเหลือเป็นหลักฐานเพียงแค่ 197 แผ่น ซึ่งหากตำรวจไม่ได้มาเก็บไปเสียก่อนก็เชื่อว่าจะถูกเก็บไปจนหมด เข้าใจได้ว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย แต่เจตนาคือต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมจากกิจกรรมนี้

นางพะเยาว์ ชี้แจงว่ากิจกรรมที่จัดไม่ได้เป็นกิจกรรมที่คัดค้านทางการเมืองแต่เรียกร้องความยุติธรรม และรู้สึกว่าถูกลิดรอนสิทธิเกินไปหรือไม่ เนื่องจากมีตำรวจพยายามจะคุมตัวตั้งแต่อยู่บนรถไฟฟ้า มีตำรวจคนหนึ่งคอยโทรศัพท์ถามตลอดว่าอยู่สถานีอะไรแล้วเพื่อที่ออกจากประตูรถมาก็จะได้บล็อกตัวเลย

นายณัทพัช เสริมว่าการที่บอกว่าเชิญตัวเอาขึ้นรถตู้จริงๆ แล้วเป็นรถกระบะติดไซเรน แล้วรถข้างหลังก็เป็นรถห้องขังที่จอดเตรียมไว้ คำว่าเชิญตัวน่าจะเป็นเชิญแต่โดยดี แต่ก็มีเจ้าหน้าที่ดักอยู่ทุกชั้นและเมื่อเดินทางถึงสถานีรถไฟฟ้าแล้วก็มีตำรวจมาล้อมวงกลมทั้งสองชั้น เมื่อมีการพูดอะไรก็มีมาดึงตลอด

เรื่องการปรับทัศนคติ เขาถูก คสช. จับวันที่ 22 -26 พฤษภาคม  โดยไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา ไม่มีชื่อในรายชื่อที่ประกาศไว้ ตอนจับก็เอาปืนมาจ่อแล้วก็เอาขึ้นรถไป ไปเปลี่ยนรถแล้วก็เอาไปขังที่เรือนจำมณฑลทหารบกที่ 11 นครปฐม ขังเดี่ยวโดยไม่ให้ติดต่อใคร สภาพที่อยู่ก็ไม่ได้เป็นบ้านพัก แต่เป็นห้องเล็กๆ มีซี่ลูกกรง มีห้องน้ำในตัว ไม่มีไฟให้ มีน้ำให้วันละ 4 ถัง ตอนออกมาก็ให้เซ็นเอกสารห้ามเคลื่อนไหวการเมือง ทุกวันนี้ยังไม่มีใครออกมาแสดงความรับผิดชอบ ในการปรับทัศนคติไม่มีทหารคนไหนมาพูดคุยด้วยเลยขังไว้ในห้องเฉยๆ ตอนปล่อยก็ไม่ได้บอกว่าปล่อยแต่เป็น คสช. เรียกมารายงานตัว เอาไปปล่อยไว้ที่กองทัพภาคที่ 1 ทุกวันนี้ยังไม่รู้ว่าถูกจับด้วยข้อหาอะไร

นายรัษฎาสอบถามเพิ่มว่าการแสดงความคิดเห็นถ้าไม่ได้มาเดินบนถนนแต่เป็นจัดเสวนาตามโรงแรมก็อะลุ่มอะล่วยได้ แต่มีข้อมูลว่าทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กรนิรโทษกรรมสากล จัดงาน “ความยุติธรรมที่ปิดปรับปรุง” มีคำสั่งห้ามไม่ให้จัดกิจกรรม ก็เป็นเรื่องทางวิชาการแต่ก็ถูกห้าม คสช. ทราบเรื่องหรือไม่และมีเหตุผลใด ซึ่งในคำถามนี้ทาง นพ.นิรันดร์ได้ชี้แจงว่าไม่ได้แจ้งประเด็นนี้ไว้กับทางเจ้าหน้าที่ทหารก่อนว่าจะมีการสอบถาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่ออังกฤษเผยตัวเลขชาวอังกฤษถูกฆาตกรรมในไทย

$
0
0


หนังสือพิมพ์เดลี่เมล์ของอังกฤษ ได้สรุปผลกระทบที่เกิดจากอาชญากรรมในไทยต่อการท่องเที่ยว โดยเขียนบทความเรื่อง “อาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้นนำความเสื่อมเสียมาสู่ไทยอย่างไร” ตีพิมพ์วันที่ 16 กันยายน 2557

รีสอร์ทบนเกาะที่งดงามของไทยดูเหมือนจะแฝงไปด้วยอันตรายที่เกิดกับนักท่องเที่ยว ดังที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในคดีฆาตกรรมโหดสองนักเดินทางชาวอังกฤษ

โบรชัวร์การเดินทาง หนังสือนำเที่ยวเกี่ยวกับทะเลสีครามที่เงียบสงบ หาดทรายและป่าที่งดงามกลับซ่อนความจริงที่ว่า อาชญากรรมยังเกิดอย่างต่อเนื่องในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตามข้อมูลจากกระทวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร ชาวอังกฤษจำนวนมากถึง 11 คน ได้ถูกฆ่าตายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552

ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่าปี 2555/56 สตีเฟ่น แอชตัน หนุ่มลอนดอนที่ชอบการสังสรรปาร์ตี้วัย 22 ถูกฆ่าตายในบาร์บนหาดรินบนเกาะพงัน - รีสอร์ทที่ทางการอังกฤษได้เตือนนักท่องเที่ยวให้ระวังความเสี่ยงของการถูกทำร้ายโดยแก๊งที่ใช้ความรุนแรง

กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษแจ้งว่า การทำร้ายนักท่องเที่ยวพบบ่อยครั้งในช่วงงานปาร์ตี้ฟูลมูล และโดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงดึกใกล้บาร์ในหาดริน ที่ตั้งของการจัดงานฟูลมูนปาร์ตี้ บนเกาะพะงัน ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการจัดงานปาร์ตี้ที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเพลงเต้นรำที่ ได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านไทย

นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษยังได้รับการเตือนว่า การทำร้ายร่างกายและปล้นทรัพย์อาจเกิดขึ้นในบริเวณหาดเฉวงบนเกาะสมุย รวมถึงย่านท่องเที่ยวอื่นๆ ในประเทศไทย รวมทั้งเชียงใหม่ พัทยาและกระบี่

ในเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา ชาวอเมริกันคนหนึ่งถูกแทงตายจนเสียชีวิต และลูกชายของเขาได้รับบาดเจ็บสาหัสในการถูกทำร้ายร่างกายในบาร์แห่งหนึ่งในจังหวัดกระบี่

ในส่วนของอาชญากรรมโดยทั่วไปนั้น กระทรวงต่างประเทศอังกฤษได้เตือนชาวอังกฤษให้ระวังการหลอกลวง ล้วงกระเป๋า กระชากกระเป๋าและการฉ้อโกงบัตรเครดิต

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศอังกฤษได้จัดพิมพ์รายชื่อประเทศต่างๆ ที่ชาวอังกฤษอาจขอหรือต้องการความช่วยเหลือด้านกงสุล รายงานนี้ยังแสดงว่า สถานที่ใดที่ชาวอังกฤษตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมบ้าง และไทยได้ตำแหน่งที่สอง รองจากฟิลิปปินส์ที่ชาวอังกฤษต้องการความช่วยเหลือด้านกงสุลมากที่สุดในโลก

ในปี 2556/57 ชาวอังกฤษเดินทางมาไทยมากกว่า 906,000 ครั้ง ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีชาวอังกฤษอาศัยอยู่ประมาณ 50,000 คน ในจำนวนนี้ มีการขอความช่วยเหลือด้านกงสุลใน 1,164 เหตุการณ์ ในจำนวนนี้รวมถึงกรณีข่มขืน 11 คดี การทำร้ายร่างการ 6 คดี และ 267 กรณีที่ชาวอังกฤษถูกนำตัวไปที่โรงพยาบาล

นอกจากนั้น ในช่วงปี 2556/57 ชาวอังกฤษเสียชีวิตในไทย 362 ราย แม้ว่าตัวเลขนี้รวมถึงผู้ที่เสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติด้วยนั้น แต่จำนวนรวมผู้เสียชีวิตในไทยมีสูงที่สุดในโลก ยกเว้นสเปนซึ่งมีความอังกฤษอาศัยอยู่มากกว่าในไทยถึง 12 เท่า
ฆาตกรรมล่าสุดสร้างผลกระทบในทางลบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งยังคงฟื้นตัวจากการทำรัฐประหารที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมปีนี้

ทั้งนี้ การออกมาแสดงความเห็นของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงการฆาตกรรมล่าสุด ได้สร้างความไม่พอใจอย่างมากจากทั้งสื่ออังกฤษและทางการอังกฤษถึงการไม่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนของโศกนาฏกรรม

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลอุทธรณ์เลื่อนอ่านคำพิพากษา 85 การ์ด พธม. ยึดเอ็นบีที-เหตุจำเลยมาไม่ครบ

$
0
0

11 จำเลยคดียึดเอ็นบีที 26 ส.ค. 2551 ไม่มาศาล - 2 รายไม่แจ้งสาเหตุผิดนัดทำให้ศาลออกหมายจับ โดยนัดฟังคำพิากษาศาลอุทธรณ์ใหม่ 17 พ.ย. นี้

เหตุการณ์เข้าควบคุมสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย หรือ NBT เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 โดยการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ที่มา: NBT/แฟ้มภาพ)

18 ก.ย. 2557 - ตามที่วันนี้ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่กลุ่มนักรบศรีวิชัยและการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวม 85 คน มีนายธเนศร์ คำชุม เป็นแกนนำ เป็นจำเลยในความผิดฐานซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และข้อหาอื่นๆ กรณีพกอาวุธเข้าไปในสถานที่ราชการ ร่วมกันบุกรุกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT และทำลายทรัพย์สิน เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2551 รวมมูลค่าเสียหายกว่า 6 แสนบาท โดยศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายธเนศร์ คำชุม 2 ปี 6 เดือน ส่วนที่เหลือจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี 6 เดือน โดยศาลให้รอลงอาญาจำเลยที่เป็นเยาวชน 6 คน

นอกจากนี้ระหว่างการรอฟังคำพิพากษา 1 ในจำเลย 85 คน ทราบชื่อคือนายอมรินทร์ ยี่เฮง ลงไปชูป้ายประท้วงร้องขอความเป็นธรรมด้านหน้าศาล ทำให้เจ้าหน้าที่ศาลต้องมานำตัวออกไป โดยนายอมรินทร์ระบุว่า การที่ถูกศาลสั่งเป็นบุคคลอันตราย สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียง จึงจะฟ้องผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

มีรายงานเพิ่มเติมว่า วันนี้มีจำเลยที่ไม่เดินทางมาศาลรวมทั้งสิ้น 11 คน ในจำนวนดังกล่าวมีจำเลย 2 คน ประกอบด้วยนายสุรสิทธิ์ แย้มประชา จำเลยที่ 36 และ นายอำไพ ศิริชยานนท์ จำเลยที่ 73 ที่ไม่แจ้งเหตุถึงสาเหตุที่ผิดนัด ศาลจึงให้ออกหมายจับ จำเลยทั้ง 2 เพื่อนำตัวมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พร้อมให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ออกไปเป็นวันที่ 17 พฤศจิกายน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โสภณ พรโชคชัย: คิดใหม่ พัฒนานครให้น่าอยู่ ยั่งยืนถึงลูกหลาน

$
0
0

ผังเมืองกระทบการใช้ชีวิตและเงินในกระเป๋าของทุกคน ทุกวันนี้ประชาชนคนเล็กคนน้อยจนถึงพ่อค้าคหบดี ลำบากกับการเดินทางเหลือเกิน ถ้าซื้อบ้านแนวราบก็ต้องไปไกล แต่ละวันต้องตาลีตาเหลือกออกจากบ้านตั้งแต่ก่อน 06:00 น.  กลับบ้านก็มืดค่ำ ค่ารถก็แสนแพงขึ้นทุกวัน ก็เพราะเราขาดการวางผังเมืองที่ดีนั่นเองครับ

เมื่อต้นเดือนกันยายน ผมไปสัมมนาเรื่องผังเมือง ได้รับเอกสารของกรมโยธาธิการและผังเมือง แจกเป็นเล่มๆ เช่นผังประเทศไทย พ.ศ.2600 ผังภาคเหนือ และภาคอื่นๆ พ.ศ.2600 เช่นกัน  เห็นแล้วก็นึกขำว่าแล้วผมและคนอีกค่อนห้องที่ประชุมด้วยกัน จะอยู่ถึงหรือเปล่า  อันนี้คงเป็นผังที่ไม่เป็นจริง  ผังเมืองที่แท้ต้องเป็นเสมือนแผนแม่บทหรือ Master Plan ที่ทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติร่วมกัน ทั้งการไฟฟ้า ประปา สาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น

เรามาดูแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาเมือง ซึ่งผมเคยนำเสนอกับประเทศเพื่อนบ้านมาแล้วในฐานะที่เคยเป็นที่ปรึกษาในโครงการของกระทรวงการคลังเวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา และเสนอกับธนาคารโลกในการพัฒนาสาธารณูปโภคในกรุงจาการ์ตา  บางประเทศก็ได้ดำเนินการประสบความสำเร็จกันไป

การสร้างมูลค่าเพิ่มของระบบถนน

ถนนนำความเจริญไปสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ทุกวันนี้ ประเทศต้องเสียเงินค่าก่อสร้างถนนและสาธารณูปโภคต่าง ๆ นับแสนล้านบาทต่อปี ทั้ง ๆ ที่ความจริงสามารถสร้างได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย และยังอาจได้กำไรไว้พัฒนาประเทศอีกต่างหาก

โดยปกติเมื่อมีถนนใหม่เกิดขึ้น ที่ดินริมถนนที่แต่เดิมเป็นที่ว่างเปล่า รกร้าง ที่ตาบอด ที่ในซอยแคบ ที่ปลายหรือสุดซอย จะมีมูลค่าสูงขึ้นมาก จากการศึกษาของผมเรื่องการจัดรูปที่ดินบริเวณถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง เมื่อปี 2533 พบว่า การตัดถนนใหม่เข้าไปในที่ดินย่านนั้น ทำให้ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 14,000 บาท เป็น 38,000 บาท หรือประมาณ 2.71 เท่า และการศึกษาของผมอีกครั้งหนึ่งเพื่อการจัดรูปที่ดินบึงบัวมน รามอินทรา กม.8 พ.ศ.2534 ก็พบว่า ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากตารางวาละ 8,675 เป็น 20,228 บาท หรือประมาณ 2.33 เท่า  โดยสรุปแล้วจึงอนุมานว่า ภายหลังการตัดถนน ราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า

จากแผนภูมิที่แสดงไว้ข้างต้น ต้นทุนถนนเส้นหนึ่งเท่ากับค่าก่อสร้างถนนกับค่าเวนคืน โดยหากสมมติให้ค่าก่อสร้างถนนเท่ากับ 1 ต้นทุนค่าเวนคืนที่ดินมาสร้างถนนจะประมาณ 3, 2 หรือ 1 เท่าของค่าก่อสร้างถนนในเขตในเมือง เขตต่อเมือง และเขตชานเมืองตามลำดับ

ดังนั้น ในกรณีตัดถนนในเขตเมืองที่ต้องลงทุน 4,000 ล้าน (เป็นค่าก่อสร้าง 1,000 ล้าน และค่าเวนคืน 3,000 ล้านบาท ตามสัดส่วน 1:3) หากทางราชการเวนคืนที่ดินสองฝั่งถนนเพิ่มอีกสองเท่าของตัวถนน เช่น ถนนกว้าง 40 เมตร ก็เวนคืนอีกข้างละ 40 เมตรแล้ว ต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท (ค่าสร้างถนน 1,000 ล้านบาท, ค่าเวนคืนที่ดินที่เป็นถนน 3,000 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มอีก 2 ฝั่งถนนขนาดเท่าตัวถนน อีก 6,000 ล้านบาท) และเมื่อก่อสร้างถนนแล้วเสร็จ ต้นทุนที่ดินสองฝั่งถนน 6,000 ล้านบาทนี้ก็จะกลายเป็น 15,000 ล้าน (หรือเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าตามที่ประมาณการไว้ข้างต้น) ซึ่งสูงกว่าต้นทุนทั้งโครงการ (10,000 ล้านบาท) ถึง 5,000 ล้าน ซึ่งเท่ากับสามารถสร้างถนนได้โดยไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน อีกทั้งยังได้ “กำไร” ไว้บำรุงชาติอีกต่างหาก

โดยหลักการนี้ ต่อไปทางราชการก็ไม่ต้องจำกัดงบประมาณในการจ่ายค่าเวนคืนที่ดินในราคาต่ำ ๆ และก็ยังสามารถสร้างถนนได้ทั่วไป ถือเป็นโครงการประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย (win-win) คือ

1. ราชการก็ไม่เสียงบประมาณแผ่นดิน สามารถนำงบประมาณไปช่วยประชาชนที่ขาดแคลนทางอื่นดีกว่า
2. เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนก็ยินดี เพราะได้รับการเวนคืนในราคาที่เป็นธรรม
3. ประชาชนทั่วไปก็มีถนนหนทางไว้สัญจรเพิ่มมากขึ้น
4. สังคมโดยรวมก็มีความสุข เพราะสองข้างทางแทนที่จะต้องแบ่งขายกลายเป็นตึกแถวมากมายจนเสียทัศนียภาพ ทางราชการอาจเอาพื้นที่บางส่วนมาทำเป็นสวนสาธารณะ เมืองก็จะมีการวางแผนและผังที่ดี

โดยสรุปแล้ว หัวใจสำคัญของความเป็นไปได้นี้ก็คือ ถนนเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินได้อย่างมหาศาล ในประเทศไทยยังมีถนนไม่เพียงพอ เมื่อใดที่มีการสร้างถนน ราคาที่ดินสองข้างทาง ก็จะเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ดินใจกลางเมือง ที่ดินเขตต่อเมือง ที่ดินชานเมือง หรือแม้แต่ที่ดินชนบทก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคก็ตรงที่ว่า กฎหมายเวนคืนปัจจุบันไม่อนุญาตให้เวนคืนมาเพื่อการพาณิชย์ ทางราชการเองก็ไม่มีหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนหรือพัฒนาที่ดินซึ่งต้องแก้ไขเพื่อให้ไทยสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรให้น้อยและคุ้มค่าที่สุด และกรณีตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียก็สามารถเวนคืนที่ดินเพื่อการพาณิชย์ตราบเท่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม

การอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารความหนาแน่นสูง

ที่ผ่านมาทางราชการมักมีแนวคิดแบบที่ปฏิบัติตาม ๆ กันมา (Conventional Belief) ว่า ไม่ควรทำกรุงเทพมหานครหนาแน่น น่าจะเก็บรักษาที่ดินไว้เพื่อชนรุ่นหลัง แนวคิดนี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และกลับจะเป็นภัยต่อลูกหลานในอนาคตที่ต้องซื้อบ้านในย่านชานเมืองไกล ๆ  ผมจึงเห็นว่าเราควรวางแผนให้กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นขึ้น ทำให้ที่ดินในเมืองได้รับการใช้สอยอย่างเข้มข้น ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ต้องขยายตัวออกสู่ชานเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เป็นการประหยัดภาษีของประชาชน

ในปัจจุบัน ผังเมืองกำหนดให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) ต่ำมาก แต่เดิมกำหนดให้ทั่วกรุงเทพมหานครมีสัดส่วน 10:1 แต่ตามผังเมืองปัจจุบัน มีพื้นที่จำกัดที่ให้มีการพัฒนาในสัดส่วนดังกล่าว ผมจึงขอเสนอให้แก้ไขผังเมืองให้สามารถพัฒนาที่ดินตาม FAR เป็น 10:1 หรือ 15:1 และให้ส่วนที่สามารถพัฒนาได้เพิ่มจากปัจจุบัน ต้องเสียภาษีเพิ่มเติม เพื่อทางราชการจะสามารถนำรายได้จากส่วนนี้มาใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ

การนี้จะสามารถทำให้เกิดพื้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น สมมติเป็น 1 ล้านตารางเมตรต่อปี และหากมูลค่าของพื้นที่เป็นเงินประมาณ 50,000 บาทต่อตารางเมตร ก็จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 50,000 ล้านบาท  และหากมาตรการนี้เป็นจริง อาคารใจกลางเมืองที่มีการพัฒนาบนพื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อย ก็จะขออนุญาตพัฒนาใหม่ อันจะเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ที่ดินใจกลางเมืองก็จะได้รับการใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ภาษีที่ได้ก็จะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในทางอื่นนั่นเอง

การก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมือง

ในขณะนี้ทางราชการพยายามก่อสร้างรถไฟฟ้าออกไปชานเมืองจำนวนหลายสาย ซึ่งบางสายก็อาจมีความจำเป็น แต่บางสายก็อาจเป็นการสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชน เช่น ประชาชนผู้มีรายได้ปานกลางอาจคิดว่าจะสามารถซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดนอกเมืองได้ แต่หากรถไฟฟ้าชานเมืองแล้วเสร็จ ค่าโดยสารอาจเป็นประเด็นปัญหาสำคัญ เพราะผู้โดยสารต้องเสียค่ารถไฟฟ้าอีกเท่าตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าต่อวันอาจตกเป็นเงินถึง 150-200 บาท และเมื่อนั้นประชาชนก็จะตระหนักว่ารถไฟฟ้าชานเมืองบางสายไม่อาจประหยัดค่าเดินทางได้ ต่างจากทางด่วน ซึ่งยังมีรถประจำทางหรือรถตู้ขึ้นทางด่วนในราคาที่ถูกกว่า

ผมขอเสนอให้เพิ่มความสำคัญของการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าใจกลางเมือง เช่น ที่ครั้งหนึ่งทางราชการจะสร้างรถไฟฟ้าจากบางซื่อผ่านถนนสามเสนเข้าเมืองจนถึงหัวลำโพง และควรดำเนินการในพื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณอื่น ๆ ทั้งเขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ยานนาวา ลาดพร้าว ฯลฯ การสร้างรถไฟฟ้ายังอาจใช้การก่อสร้างระบบรางเบา  แต่ระบบรถด่วนประจำทาง (Bus Rapit Transit: BRT) ไม่ควรสร้างเพราะทำให้เสียช่องทางจราจรไป 1 ช่องทาง และจากประสบการณ์ที่ผมเคยไปเป็นที่ปรึกษากระทรวงการคลัง อินโดนีเซีย พบว่า ระบบนี้ซึ่งกรุงจาการ์ตาใช้มาก่อนไทยนั้น ไม่มีประสิทธิผลเพียงพอและกลายเป็นปัญหาในระยะยาว

ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใจกลางเมืองนั้น อาจมีข้อสงสัยว่า จะเป็นการจัดสรรงบประมาณให้เฉพาะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือไม่ ผมเห็นว่าข้อนี้ไม่ใช่การมุ่งประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เพราะการลงทุนนี้จะสามารถคืนทุนโดยไม่เสียภาษีอากรของประชาชน และที่สำคัญยังจะสามารถช่วยให้นครหลวงแห่งนี้สามารถทำการหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยยิ่งขึ้น และหากมีระบบรถไฟฟ้าที่ดียิ่งขึ้น อาคารต่าง ๆ ใจกลางเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีที่จอดรถมากมายเช่นในปัจจุบัน สามารถนำพื้นที่ไปใช้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ได้มากขึ้น เพราะการใช้รถส่วนตัวจะลดลง ทำให้ความต้องการใช้ที่จอดรถจะลดลงตามไปด้วย

เราต้องคิดวางผังพัฒนาเมืองใหม่ เพื่ออนาคตของลูกหลานของเรา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลทหารให้รอลงอาญา 3 รายคดีต้านรัฐประหารในกรุงเทพฯ

$
0
0

ศาลทหารกรุงเทพ อ่านคำพิพากษาผู้ต้านรัฐประหารที่ราชประสงค์-ฟอร์จูนรวม 3 ราย โดยให้จำคุก 3 เดือน ปรับ 5 พัน โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี ส่วนคดีปล่อยลมยาง-พ่นสีรถทหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นัดสืบพยานโจทก์ 26 พ.ย.

ทหารเข้าควบคุมพื้นที่หน้าห้างอมรินทร์และแมคโดนัลด์ หลังมีกลุ่มต้านรัฐประหารเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2557 ล่าสุดศาลทหารให้รอลงอาญาผู้ถูกจับกุมจากกิจกรรมดังกล่าว และคงเหลือแต่โทษปรับ 5,000 บาท (แฟ้มภาพ/ประชาไท)

18 ก.ย. 57 - เมื่อเวลา 9:00 น. กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชน (กนส.) ได้รายงานว่าที่ศาลทหารกรุงเทพ มีการพิจารณาคดีคดีฝ่าฝืนคำสั่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และศาลได้มีคำพิพากษาคดี นายวรภพ วิชชาสุทธิ์, นายณัฐวุฒิ นุชนารถ และนายสุเมศ วิโรจน์ชัยยันต์ ในข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชุมนุมทางการเมือง ตามคำประกาศ คสช.ที่ 7/2557 ศาลทหารกรุงเทพ ได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 10,000 บาท จำเลยให้การเป็นประโยชน์เป็นเหตุลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษกึ่งหนึ่ง ให้ลงโทษ จำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงอาญา 2 ปี

สำหรับนายวรภพ เข้าร่วมกิจกรรม "กินแมคต้านรัฐประหาร" ที่ราชประสงค์เมื่อวันที่ 25 พ.ค. และถูกจับกุมที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และถูกส่งตัวไปฝากขังที่กองปราบเป็นเวลา 7 วัน ก่อนจะถูกตั้งข้อหาและได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

ส่วนนายณัฐวุฒิเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐประหารโดยการชูป้าย "Election Only" ที่หน้าแมคโดนัลด์ แยกราชประสงค์ ในวันที่ 31 พ.ค. เขาถูกควบคุมตัวในวันเดียวกันและส่งไปฝากขังที่กองปราบเป็นเวลา 7 วัน ก่อนจะถูกตั้งข้อกล่าวหาและได้รับการประกันตัว

ส่วนนายสุเมศ ถูกเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าร่วมปลุกระดมให้ประชาชนประมาณ 100 คน รวมตัวที่บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าฟอร์จูนทาวน์เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร เหตุเกิดในเดือนพฤษภาคม เขาถูกจับกุมขณะเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้าดังกล่าว และถูกควบคุมตัวที่กองปราบ 7 วัน ก่อนจะถูกตั้งข้อกล่าวหา โดยเขายื่นประกันตัวได้ในผลัดที่สอง

อีกคดีในวันเดียวกัน ศาลทหารกรุงเทพได้ไต่สวนคำให้การคดีนางสาวพรรมณี ชูเชาว์ ถูกกล่าวหาว่า พ่นสีสเปย์รถทหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และนายสมบัติ โกมัยพันธ์ ซึ่งทำท่าทางปล่อยลมยางรถยนต์ทหาร เหตุเกิดวันที่ 28 พ.ค. โดยถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ที่ห้ามมิให้ชุมนุมทางการเมือง, ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายทำให้ผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับอันตรายแก่กาย และทำให้เสียทรัพย์

ศาลอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง โดยจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพในส่วนของข้อหาร่วมกันฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และ ทำให้เสียทรัพย์ แต่ในส่วนของข้อหา ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับอันตรายแก่กาย ให้การปฏิเสธ เนื่องจากมิได้เป็นผู้ลงมือกระทำหรือมีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด  ทั้งนี้ ศาลทหาร นัดสืบพยานโจทก์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2557 เวลา 8.30 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.ปัดบริหารงบบัตรทองปี 58 ยังไม่สรุป รอบอร์ดเคาะ 22 ก.ย.นี้

$
0
0
สปสช. ปัดยังไม่มีข้อสรุปบริหารงบบัตรทองปี 2558 ในรูปแบบเขตสุขภาพ ยัน สธ.เข้าใจผิด แจงการประชุมเมื่อ 15 ก.ย.เพื่อรับทราบข้อมูลของ สธ. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการประชุมบอร์ด สปสช. 22 ก.ย.นี้ ยังไม่มีการลงมติใดๆ
 
18 ก.ย. 2557 สืบเนื่องจากกรณี นพ.บัญชา ค้าของ ผู้อำนวยการกลุ่มประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า ได้มีการหารือเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2558 และได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะมีการบริหารงานแบบเขตสุขภาพ และให้มีการจัดสรรเงินเป็นก้อนในระดับเขต นั้น
 
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การให้ข้อมูลของ นพ.บัญชา น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิด ข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับความเป็นจริง การประชุมวันนั้น  ไม่มีการลงมติใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงการหารือ ซึ่งการหารือดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา นพ.ณรงศักดิ์ อังคะสุวพลา และ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษา รมต.สธ. ได้เชิญปลัด สธ. และ เลขาธิการ สปสช. ประชุมหารือเพื่อรับทราบข้อมูลของกระทรวง สธ.เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 ก.ย.นี้ เนื่องจากจะมีวาระสำคัญเรื่องการพิจารณาการบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพปี 58
 
ทพ.อรรถพร กล่าวต่อว่า การประชุมดังกล่าวก็เพื่อรับทราบข้อมูลจากสธ.เท่านั้น ไม่มีข้อตกลงใดๆเกิดขึ้นในการประชุม และไม่ใช่การประชุมเพื่อหาข้อยุติของเรื่องการจัดสรรเงินตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ผลการหารือก็ไม่เกี่ยวข้องกับมติการจัดสรรเงินของปี 58 ที่ผ่านความเห็นชอบของอนุกรรมการการเงินการคลังดังนั้นข้อเสนอต่อบอร์ด สปสช. จึงยังคงเป็นข้อเสนอที่ผ่านอนุกรรมการการเงินการคลัง และ อนุกรรมการยุทธศาสตร์ ตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกประการ
 
“บรรยากาศในการหารือเป็นไปด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัย  สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการ ขั้นตอน สำหรับความร่วมมือในการทำงานเพื่อประชาชนต่อไป และองค์ประกอบที่พูดคุยในวันนั้น(15 ก.ย.)ไม่มีอำนาจในการปรับเปลี่ยนมติของอนุฯการเงินการคลังแต่อย่างใด” โฆษก สปสช.กล่าว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images