Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สร้อง รมว.แรงงาน สอบ สนง.คุ้มครองแรงงานสมุทรปราการ

$
0
0
สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สส่งหนังสือถึง "พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ระบุปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วน

 
22 ต.ค. 2557 สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สเปิดเผยว่าได้ส่งหนังสือร้องเรียนถึงพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ โดยสหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สระบุว่าเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วน
 
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ ได้ทำการรับรองว่าการเปลี่ยนข้อบังคับในการทำงานของบริษัทลินเด้ (อ่านเพิ่มเติม: สหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สค้านประกาศบริษัทฯ ชี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง)นั้นถูกต้องตามมาตรา 110 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน โดยไม่มีการตรวจสอบหรือสั่งให้แก้ไขตามมาตรา 108 แต่อย่างใด
 
โดยสหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สระบุว่าประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการทำงานของบริษัทลินเด้นี้เป็นการออกประกาศที่จงใจละเมิดข้อตกลงสภาพการจ้างที่บริษัทฯ ทำกับสหภาพแรงงานไว้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับฉบับนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้างอีกด้วย
 
ซึ่งสหภาพไทยอินดัสเตรียลแก๊สเห็นว่าการรับรองประกาศการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการทำงานนี้โดยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สมุทรปราการ นั้นดำเนินการโดยไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วน อาจส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิแรงงานและการละเมิดกฎหมายแรงงาน จึงขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสั่งการให้มีการตรวจสอบในกรณีนี้
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ว่าการฯ ฮ่องกงเผยกลัวคนจนในฮ่องกงมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งมากเกินไป

$
0
0

เหลียงชุนอิง ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศเมื่อไม่นานมานี้ว่า ถ้าให้มีการลงสมัครผู้แทนลงเลือกตั้งโดยตรงอาจจะทำให้คนจนในฮ่องกงมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งรวมถึงนโยบายมากเกินไป ทำให้ข้อความบทสัมภาษณ์ถูกแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว

21 ต.ค. 2557 เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ "ควอตซ์" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวธุรกิจนำเสนอเรื่องคำกล่าวของผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เหลียงชุนอิง ที่เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การปฏิรูปการเลือกตั้งตามความต้องการของผู้ประท้วงในฮ่องกงล่าสุดจะทำให้คนจนในฮ่องกงมีอิทธิพลมากเกินไป

เมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (20 ต.ค.) เหลียงชุนอิงให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศจากทำเนียบของทางการ ซึ่งสื่อควอตซ์บรรยายฉากของทำเนียบที่เป็นอาคารทรงโคโลเนียลประดับด้วยของหรูหรา เหลียงชุนอิงให้สัมภาษณ์ว่าการยอมให้ประชาชนชาวฮ่องกงซึ่งมีอยู่ราว 5 ล้านคนเลือกตั้งผู้แทนที่มาจากผู้สมัครโดยตรงถือเป็นข้อผิดพลาด

"ถ้านี่เป็นเกมที่นำเสนอในเชิงจำนวนล้วนๆ คุณคงต้องคุยกับประชาชนครึ่งหนึ่งของฮ่องกงที่มีรายได้น้อยกว่า 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ราว 58,000 บาท) คุณก็จะได้การเมืองและนโยบายในรูปแบบนี้แหละ" เหลียงชุนอิงกล่าว

เหลียงชุนอิงได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อต่างประเทศสามฉบับซึ่งมักจะต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าไปอ่านได้ แต่คำกล่าวในบทสัมภาษณ์ของเขามีการแชร์กันผ่านโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว

ข้อพิพาทเรื่องการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2560 มาจากความไม่พอใจของชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งเมื่อทราบว่าทางการจีนซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 1,200 คนจะทำการคัดเลือกผู้ลงชิงชัยในการเลือกตั้งแทนการเปิดรับสมัคร ทำให้เกิดการประท้วงในย่านธุรกิจของฮ่องกงนำโดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ก่อนที่ต่อมาชนชั้นกรรมาชีพในย่านมงก๊กจะเข้าร่วมชุมนุมด้วย โดยพวกเขามีความไม่พอใจนโยบายการเคหะของรัฐอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เหลียงชุนอิงเป็นลูกชายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่การที่เขาสร้างรายนับล้านได้จากการเป็นผู้บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิ์แห่งชนชั้นกรรมาชีพ" ตัวเขายังถูกผู้ประท้วงล้อเลียนโดยแต่งรูปเขาเป็นแดรกคูล่าและตะโกนไล่ให้เขาไปลงนรก

ฮ่องกงยังติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของเขตบริหารที่มีช่องว่างรายได้สูง โดยเมื่อไม่นานมานี้ธนาคารเครดิตสวิสได้รายงานเรื่องความมั่งคั่งของโลกในปี 2557 ซึ่งมีเขตบริหารพิเศษฮ่องกงติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศที่มีการกระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรม วัดจากจำนวนผู้มีความร่ำรวยสูงสุดร้อยละ 10 ของฮ่องกงถือสินทรัพย์อยู่ถึงร้อยละ 77.5 เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของคนทั้งประเทศ ทางด้านประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 6 ผู้มีความร่ำรวยร้อยละ 10 ถือสินทรัพย์ร้อยละ 73.8 เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ของคนทั้งประเทศ

เหลียงชุนอิงยังได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อวอลล์สตรีทเจอนัลอีกว่า ทางรัฐบาลจะยืนยันไม่ให้มีการลงสมัครรับเลือกตั้งโดยตรง แต่ก็หวังว่าจะมีการเจรจาหารือให้กับกลุ่มผู้ประท้วงจนหาข้อตกลงร่วมกันได้ เช่นการมีเงื่อนไขประนีประนอมที่ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครลงเลือกตั้งเป็นกลุ่มคนที่ผู้ประท้วงยอมรับได้


เรียบเรียงจาก

Hong Kong has too many poor people to allow direct elections, leader says, Quartz, 20-10-2014

Hong Kong Leader Warns Poor Would Sway Vote, The Wall Street Journal, 20-10-2014

Maybe US wealth inequality isn't as bad as you thought, CNBC, 17-10-2014
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รมว.ศธ.ย้อนถามกลุ่มต้านค่านิยม 12 ประการ “ผิดปกติหรือเปล่า”

$
0
0

รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ถามคนที่ต่อต้านค่านิยม 12 ประการ ยังปกติหรือเปล่า แจงพร้อมรับฟังถ้ามีคนไม่เห็นด้วยเยอะ


22 ต.ค. 2557 พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. กล่าวถึงกรณีมีกลุ่มออกมาต่อต้านค่านิยม 12 ประการว่า “ก็ต้องถามว่า ค่านิยม 12 ประการ มันมีข้อไหนที่ไม่ดีบ้าง น้องลองท่องดูนะ 1. รักชาติ ศาสนา 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ 1-12 มันก็ดีทุกข้อ ถ้าเราจะบอกคนให้ทำความดี 12 ประการอย่างงี้ ถ้ามันเป็นเรื่องผิดผมก็ว่า ต้องไปดูคนที่โพสต์หรืออยากเสนอเรื่องนี้ว่า ตัวเขาผิดปกติหรือเปล่า”

“ผมว่านะคือคนต่างความคิด ก็อันนี้เป็นเรื่องของสังคมดีกว่า ถ้าเขาเสนอมาแล้วสังคมส่วนใหญ่ คน 50-60 ล้านคนเห็นด้วยตามเขา รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการก็ต้องพิจารณาว่ามันไม่ถูกต้อง แต่ถ้ามีคนฟังแค่ 10 คน 5 คน ผมว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องไปสนใจ เพราะว่าไอ้เรื่องแบบนี้เก็บมาใส่หัวมากๆ ปวดสมองไม่ต้องคิดทำงานทำการอะไร ก็ต้องดูมันว่ายังมีคนขวางโลกอยู่ในทุกที่”

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า มีการแจ้งกับองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องแล้วว่า ไม่ได้ให้ครูสอนแบบท่องจำ ต้องมีการอธิบายเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน อาทิ ชาติ ศาสนาสำคัญอย่างไร ต้องขึ้นอยู่ระดับการศึกษาของเด็กด้วย

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 ต.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทได้รวมตัวหน้ากระทรวงศึกษาธิการ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการใช้หลักค่านิยม 12 ประการ ในการชี้นำความคิดเยาวชนไทย โดยตัวแทนของกลุ่มได้อ่านบท “อาขยานถึงท่านผู้นำ” เพื่อแสดงจุดยืนถึงการคัดค้านกรณีที่รัฐบาลพยายามสร้างชุดความดีชุดเดียวให้คนนับถือ โดยมองว่าคนในสังคมนั้นมีความหลากหลาย ควรยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายนั้น

นอกจากนี้กลุ่มดังกล่าวยังกล่าวตั้งแคมเปญรณรงค์ล่ารายชื่อใน ‘change.org’ ถึง พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  และ ดร. สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรียกร้องให้มีการยกเลิกการบังคับใช้ค่านิยม 12 ประการ ในหลักสูตรการศึกษาด้วย

 

ที่มา:http://news.voicetv.co.th/thailand/124139.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“เราจะทำตามสัญญา” กกต. พม่ายันเลือกตั้งแน่ ปลายตุลาต้นพฤศจิกาปี58

$
0
0

22 ต.ค. 57 – เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ทิน เอ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งสหภาพพม่า(UEC) เผยหลังจากร่วมการประชุมกับบรรดาพรรคการเมืองพม่าว่า ได้กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปของพม่าแล้ว ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนต.ค. หรือช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ปี 2558  พร้อมย้ำว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์และยุติธรรม ขณะเดียวกันได้เรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ องค์กรภาคประชาสังคม และกลุ่มให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศให้ความร่วมมือต่อการเลือกตั้งที่จะ มีขึ้นในปีหน้านี้ พร้อมเปิดโอกาสให้มีการสังเกตการเลือกเลือกตั้งได้

“เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เราจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และให้มีการจัดตังรัฐบาลภายใน 90 วันหลังจากการเลือกตั้ง และเพื่อที่จะทำให้มันเกิดขึ้นเราจะมีการจัดการเลือกตั้งในช่วงปลายเดือนตุลาคม หรือช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ปี 2558 ดังนั้นเราจึงไม่สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้”ทิน เอ กล่าว

ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งสหภาพพม่า ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีชาวพม่าที่อยู่ต่างแดนว่า จะมีการจัดการเลือกตั้งสำหรับแรงงานพม่าที่ถูกกฎหมายในต่างประเทศ โดยจะจัดให้มีการลงคะแนนเสียงที่สถานทูตพม่าในประเทศนั้นๆ ส่วนผู้ที่พักอาศัย หรือทำงานอย่างผิดกฎหมายในต่างประเทศหากต้องการเลือกตั้งจะต้องเดินทางกลับ ยังภูมิลำเนาของตนเอง

พม่าจัดการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2553 โดยพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ซึ่งเป็นพรรคของรัฐบาลทหารพม่าเดิม เอาชนะการเลือกตั้ง ได้ที่นั่งในวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรรวมกันกว่า 388 ที่นั่ง จากทั้งหมด 664 ที่นั่ง และเต็ง เส่ง ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในเดือนเมษายนปี 2554 (อ่านข่าวที่เกี่่ยวข้อง)หลังพม่าอยู่ภายใต้การปกครองของทหารของนายพลเนวิน มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ต่อมามีการเลือกตั้งซ่อมทั้งสองสภา เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ได้ที่นั่งในรัฐสภาไป 43 ที่นั่ง จากทั้งหมด 45 ที่นั่ง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ก่อนหน้านี้ในปี 2533 พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เคยชนะการเลือกตั้งขาดลอย แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากกองทัพ เพราะต้องการสืบทอดอำนาจทางการเมือง และใช้เวลาเกือบ 20 ปี รัฐบาลทหารพม่าจึงยอมจัดให้มีการเลือกตั้ง

ที่มา : สำนักข่าวอิรวะดี,มติชนออนไลน์,

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย

$
0
0

“ก็ต้องถามว่า ค่านิยม 12 ประการ มันมีข้อไหนที่ไม่ดีบ้าง น้องลองท่องดูนะ 1. รักชาติ ศาสนา 2.ซื่อสัตย์ เสียสละ 1-12 มันก็ดีทุกข้อ ถ้าเราจะบอกคนให้ทำความดี 12 ประการอย่างงี้ ถ้ามันเป็นเรื่องผิดผมก็ว่า ต้องไปดูคนที่โพสต์หรืออยากเสนอเรื่องนี้ว่า ตัวเขาผิดปกติหรือเปล่า”

22 ต.ค.57 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คสช. กล่าวถึงกรณีมีกลุ่มออกมาต่อต้านค่านิยม 12 ประการ

กต.ชี้ไทยพลาดเก้าอี้ UNHRC ไม่เกี่ยวการเมืองภายใน ย้ำยังยึดมั่นหลักสิทธิมนุษยชน

$
0
0
กระทรวงการต่างประเทศ ระบุการลงสมัครครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันไม่ใช่การคัดเลือก คะแนนเสียงที่ได้ถือว่าได้รับความไว้วางใจไม่น้อย ย้ำยังยึดมั่นในหลักการส่งเสริม-คุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มแข็ง เชื่อไม่กระทบชิง UNHC
 
22 ต.ค. 2557 กรณีไทยไม่ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) หรือ ยูเอ็นเอชอาร์ซี วาระปี 2558-2560 หลังมีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 69 เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
 
ทั้งนี้ สมาชิกในทวีปเอเชีย มีโควตาที่จะได้รับเลือกเข้าไปเป็นสมาชิกยูเอ็นเอชอาร์ซี จำนวน 4 ที่นั่ง จากทั้งหมด 15 ที่นั่ง โดยมีชาติที่สมัคร 5 ชาติ ได้แก่ กาตาร์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และไทย
 
นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่า ในกลุ่มภูมิภาคที่ไทยลงสมัครมีตำแหน่งว่าง 4 ตำแหน่ง โดยประเทศที่ได้รับเลือกคืออินเดีย 162 คะแนน อินโดนีเซีย 152 คะแนน บังคลาเทศ 149 คะแนน และกาตาร์ 142 คะแนน ขณะที่ไทยได้รับเสียงสนับสนุน 136 คะแนน
 
เมื่อเทียบกับการลงสมัครครั้งก่อนในวาระปี 2553-2556 ไทยได้รับคัดเลือกเป็นอันดับ 2 โดยมีประเทศในภูมิภาคที่ลงสมัครเพียง 4 ประเทศเท่านั้น ทุกประเทศจึงผ่านการคัดเลือกทั้งหมด
 
นายเสข กล่าวว่า ไทยยอมรับผลการเลือกตั้ง เราเคารพการตัดสินใจและเสียงทุกเสียงของประเทศต่างๆ และยินดีกับทุกประเทศที่ได้รับเลือกในครั้งนี้ ทั้งนี้ภูมิภาคที่ไทยแข่งขันในครั้งนี้ถือว่ามีการแข่งขันกันสูงระหว่างประเทศที่ลงสมัคร แต่คะแนนเสียงที่ไทยได้ถือว่าไทยได้รับความไว้วางใจไม่น้อย เมื่อเทียบว่าผู้ที่ลงเลือกตั้งต้องได้เสียงสนับสนุนน้อยที่สุดคือเกินกึ่งหนึ่งหรือ 97 เสียง เพราะการลงสมัครครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันไม่ใช่การคัดเลือก
 
เมื่อถามว่า หลายฝ่ายมองว่าสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบันส่งผลให้ไทยแพ้เลือกตั้งยูเอ็นเอชอาร์ซีครั้งนี้ นายเสขกล่าวว่า เราไม่สามารถพูดแทนรัฐสมาชิกได้ แต่เราหวังว่ารัฐสมาชิกไม่ได้โยงการตัดสินใจลงคะแนนเสียงกับเรื่องดังกล่าว เพราะในอดีตที่ไทยเคยเป็นสมาชิกยูเอ็นเอชอาร์ซี เราก็ดำเนินบทบาทอย่างดีและสร้างสรรค์ โดยนายเสขชี้ว่า ในช่วงที่นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ก็เคยได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานยูเอ็นเอชอาร์ซี และได้มีความริเริ่มต่างๆ เป็นที่ยอมรับของรัฐสมาชิก
 
อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าไทยยังยึดมั่นในหลักการที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มแข็งต่อไป
 
ผู้สื่อข่าวถามว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่าส่งผลเสียต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยหรือไม่ นายเสขกล่าวยืนยันว่า ไม่ เพราะถือเป็นเรื่องปกติของการแข่งขัน เสียงสนับสนุนที่ไทยได้รับถือว่าเป็น 2 ใน 3 ของเสียงจากรัฐสมาชิกซึ่งแสดงให้เห็นว่าไทยยังได้รับความเชื่อถือ และยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อความพยายามของไทยในการสมัครชิงตำแหน่งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (Non-Permanent Members of UNSC) วาระปี 2560-2561 ของไทยด้วยเช่นกัน
 
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เสียดายที่ไม่ได้รับเลือก แต่การลงสมัครก็คือการแข่งขัน อย่างไรก็ดีเสียงที่ไทยได้รับถือเป็น 70-80% ของรัฐสมาชิก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไทยยังได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากประเทศต่างๆ และยืนยันว่าแม้ไทยจะไม่ได้เป็นสมาชิกยูเอ็นเอชอาร์ซี แต่ก็จะยังให้ความสำคัญและแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในยูเอ็นเอชอาร์ซีต่อไป
 
 
เรียบเรียงจาก: กรุงเทพธุรกิจและ ประชาไท
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คณะทูต EU หารือ 4 องค์กรสื่อฯ ขอให้เคารพสิทธิฯผู้เสียหายกรณีเกาะเต่า

$
0
0

คณะทูตสหภาพยุโรปเข้ายื่นหนังสือและพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่อง ความรับผิดชอบของสื่อในการนำเสนอข่าวเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายกรณีเกาะเต่า กับ 4 องค์กรสื่อฯ แนะให้ยึดจริยธรรม และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มากกว่าแข่งขายข่าว

22 ต.ค. 57 คณะทูตจากกลุ่มประเทศยุโรปนำโดยนายฟรานเชสโก ซาเวริโอ นิสิโอ (Francesco Saverio Nisio) เอกอัครราชทูตอิตาลี ประจำประเทศไทย ในฐานะประธานกลุ่มฯ ร่วมกับเอกอัครราชทูตอีก 7 ประเทศ ประกอบด้วย ฝรั่งเศส, อังกฤษ, เดนมาร์ก, เยอรมัน, สเปน, เช็ก และโปรตุเกส เข้าพบตัวแทน 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ได้แก่ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือและหารือเรื่อง ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวผู้เคราะห์ร้ายกรณีการฆาตกรรมที่เกาะเต่า

โดยในการหารือครั้งนี้ฟรานเชสโก ซาเวริโอ นิสิโอ กล่าวว่าตนมีความกังวลในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนไทยกรณีเหตุการณ์การสูญ เสียที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะเต่าจึงอยากเรียก ร้องให้การรายงานข่าวของสื่อไทยนอกเหนือจากเรื่องเนื้อหาแล้ว ภาพ กราฟิกยังต้องไม่ไปละเมิดผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงไม่จำเป็นต้องนำ เสนอรายละเอียดของผู้ตกเป็นเหยื่อมากจนเกินไปเนื่องจากจะเป็นการไม่เคารพ ความเป็นส่วนตัว และสิทธิส่วนบุคลแล้วทั้งยังจะส่งผลกระทบกับความรู้สึกต่อคนในครอบครัว และผู้ใกล้ชิดอีกด้วย

ด้านนายเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ซึ่งเป็นผู้รับมอบหนังสือ ได้เผยว่าประเด็นใหญ่ที่อียูเน้น คือการที่สื่อไทยได้ลงรายละเอียด เนื้อหา และภาพที่ไม่สมควรในกรณีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่ เกาะเต่า ซึ่งอาจจะกล่าวว่า สาเหตุอาจมาจากการแข่งขันกัน และขาดความระมัดระวังทำให้ ภาพและข่าวที่ไม่สมควร ถูกเผยแพร่ออกไปเช่นสภาพศพทำให้เข้าข่ายไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทางคณะทูตอียูเป็นห่วงว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นอีกก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวจากยุโรปมาเที่ยวไทยบ่อย โอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อมีสูง และไม่อยากให้เกิดขึ้น ซ้ำรอย โดยการมาเข้าพบครั้งนี้ของคณะทูตไม่ได้ต้องการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ เพราะประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการให้สิทธิเสรีภาพมาก แต่อยากให้มองความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบตามหลักจริยธรรมมากว่า

ขณะเดียวกัน 4 องค์กรวิชาชีพยืนยันว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดยพร้อมจะหยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้ามาพุดคุยและผลักดันให้เกิดการปฏิรูปสื่อมวลชนต่อไป

 ที่มา: สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวอิศรา, คมชัดลึกออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลุดเอกสาร 'ลับมาก' ชงแก้ พ.ร.บ.กสทช. ยุบบอร์ด กทค.-กสท.

$
0
0

กสทช. หลุดเอกสาร "ลับมาก" เนื้อหาชงแก้ กม.กสทช. ยุบบอร์ด กทค.-กสท. ให้อำนาจเต็มบอร์ดใหญ่ แจงเกิดปัญหากรณีบอร์ดใหญ่ไม่ได้ตัดสินใจแต่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย คาดส่งเรื่องต่อ ครม.และ สนช.เร็วๆ นี้ ด้านสุภิญญาทวีต ไม่รู้เรื่องด้วย ชี้ควรขอมติบอร์ด กสทช.ก่อนเสนอ

22 ต.ค.2557 เมื่อวันที่ 20 ต.ค. เวลาราว 21.00 น. ทวิตเตอร์ @TakornNBTCของ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีการเผยแพร่ภาพถ่ายรายละเอียดภายใน "เอกสารลับมาก" ของ กสทช. โดยมีเนื้อหาระบุว่า ความเห็นชอบจากประธาน กสทช.เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ด้วยการปรับปรุงโครงสร้าง กสทช.เป็นการเร่งด่วน และเสนอให้มีคณะกรรมการเพียงคณะเดียว เพื่อทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้เกิดเอกภาพ ส่งเสริมการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นธรรม สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและธุรกิจที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจฐานดิจิตอล (ดิจิตอลอีโคโนมี) และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ต่อมา เวลา 12.30 น. นายฐากรได้ลบภาพดังกล่าวออก และมีการให้สัมภาษณ์สื่อยืนยันว่า ไม่ได้ดำเนินการเผยแพร่รูปภาพดังกล่าว แต่ยอมรับว่ารูปภาพดังกล่าวได้ถ่ายไว้จริงในไอแพดส่วนตัว และไม่ได้ส่งให้แก่ใคร กำลังตรวจสอบที่มาของการเผยแพร่รูปภาพ แต่ยอมรับว่าหนังสือฉบับดังกล่าวที่เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการขอยุบบอร์ด กรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ กรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้เหลือเพียงบอร์ด กสทช. เป็นบอร์ดเดียวเป็นเรื่องจริง

ด้านเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. ว่า สาเหตุที่ต้องปรับโครงสร้างใหม่ เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 35 ให้ กสทช.แต่งตั้งคณะกรรมการชุดเล็ก 2 ชุด คือ กทค. และ กสท. เพื่อให้มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงตัดสินใจได้ทันทีโดยไม่ต้องส่งเรื่องเข้าที่ประชุม กสทช. ทำให้ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่การตัดสินใจของกรรมการชุดเล็กมีปัญหา ขณะที่คณะกรรมการ กสทช.ไม่สามารถเข้าไปร่วมตัดสินใจได้ แต่เมื่อเกิดการฟ้องร้อง กสทช.ทั้งหมดกลับต้องรับผิดชอบด้วย

แหล่งข่าวคนดังกล่าวระบุว่า ดังนั้นสำนักงาน กสทช.จึงตัดสินใจลดอำนาจหน้าที่ของกรรมการทั้ง 2 ชุดดังกล่าว ด้วยการตัดมาตรา 35 ออก เพื่อไม่ให้มีกรรมการชุดเล็ก และให้อำนาจการตัดสินใจของทุกเรื่องอยู่ที่กรรมการ กสทช.ชุดใหญ่แทน ส่วนการดำเนินงาน ก็อาศัยการตั้งคณะอนุกรรมการดูรายละเอียดในเรื่องต่างๆ แทน ก่อนจะส่งเรื่องให้กรรมการ กสทช.พิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเรื่องนี้สำนักงานได้หารือกับกฤษฎีกาอย่างต่อเนื่องจึงคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาในการแก้กฎหมายดังกล่าว จากนี้จะดำเนินการนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ สภานิติบัญญัติ (สนช.) คาดว่าจะเรียบร้อยภายในเร็วๆ นี้
           
แหล่งข่าวคนดังกล่าวระบุว่า การแก้กฎหมายนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เพราะที่ผ่านมา กสทช.มีปัญหาในการบริหารงานหลายเรื่อง ถ้าไม่แก้ กสทช.อาจจะถูกยุบได้ อีกอย่างคือรัฐธรรมนูญใหม่ที่จะออกมา ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะกำหนดบทบาทของ กสทช.ไว้อย่างไร จะยังให้เป็นองค์กรอิสระหรือไม่ หรือจะให้ไปอยู่ภายใต้หน่วยงานใด จึงไม่รู้ว่ากสทช.จะถูกจัดระเบียบอย่างไร ถึงตอนนั้นอาจจะต้องมีการแก้กฎหมายอีกครั้งหนึ่ง

ด้านกรุงเทพธุรกิจอ้างแหล่งข่าวจาก กสทช. ระบุว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ กสทช. นำส่งยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเบื้องต้นนายฐากร ได้หารือกับ พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. และ กสทช. บางรายแล้ว ซึ่งกว่าครึ่งได้เห็นชอบ
      
ขณะที่ สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @supinyaระบุว่า ยังไม่ทราบเรื่องข้อเสนอยุบรวมบอร์ดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากสำนักงานและประธานจะเสนอแก้ พ.ร.บ.กสทช.ก็ไม่ว่าอะไร แต่ประธานและสำนักงานควรทำวาระหารือกรรมการทั้ง 10 คนว่าคิดเห็นอย่างไรด้วย อีกทั้งตาม พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 27 (23) ระบุอำนาจของบอร์ด กสทช.ในการเสนอแก้ไขกฏหมาย ไม่ใช่อำนาจของประธาน กสทช.โดยลำพัง

"ไม่ได้ค้านเรื่องการแก้กฏหมาย ถ้าคนนอกจะยุบจะแก้ ไม่เป็นไร แต่ถ้าคนในจะเสนอแก้เอง ขอเพียงให้หารือมติบอร์ด กสทช.ด้วย จะได้เสนอความเห็น" สุภิญญาระบุ




ที่มา:ASTVผู้จัดการออนไลน์, กรุงเทพธุรกิจ และ ทวิตเตอร์ @supinya

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนช.ผ่านกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ ด้าน ก.ศป.เฮ! ได้อยู่ยันครบวาระ

$
0
0
สนช.ถก กฎหมายจัดตั้งศาลปกครองฯ หลังอภิปรายเกือบ 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 169 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ผ่านร่างกฎหมาย ด้านตุลาการ 101 คนเฮ! ก.ศป.อยู่ยันครบวาระ
 
22 ต.ค. 2557 การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม  ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่.. ) พ.ศ. …. ในวาระ 2 และ 3 ซึ่งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีสาระเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ซึ่งที่ผ่านมาได้บัญญัติไว้เฉพาะในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยไม่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
 
ดังนั้นควรจะกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง  ไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติ คุณลักษณะต้องห้าม วิธีการเลือก และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ผู้ทรงคุณวุฒิให้สอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่สภาจะรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้มีตุลาการศาลปกครอง 101 คน เข้าชื่อเพื่อทำหนังสือถึงนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เพื่อให้ระงับหรือชะลอการพิจารณา เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ไม่ผ่านรับความคิดเห็นของตุลาการศาลปกครอง กระทั่งนายพรเพชร เปิดให้ตุลาการฝ่ายที่เห็นต่างและสนับสนุนร่างดังกล่าวเข้าเป็น กมธ.ร่วมเพื่อพิจารณากฎหมาย
 
หลังอภิปรายเกือบ 2 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมก็ได้มีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 169 ต่อ 1 เสียง และงดออกเสียง 8 เสียงให้บังคับใช้ ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่.. ) พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
 
ทั้งนี้ สำนักข่าวไทยรายงานว่า ประชุมได้พิจารณาเป็นรายมาตรา โดยสมาชิกส่วนใหญ่เห็นชอบตาม กมธ.เสียงข้างมาก ให้มีการแก้ไข เมื่อเข้าสู่การพิจารณาในมาตรา 12 กำหนดให้ดำเนินการเลือกกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ศป.) ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้
 
โดยคณะ กมธ.เสียงข้างมากมีมติให้ตัดออกทั้งมาตรา ขณะที่ นายวิชัย ชื่นชมพูนุท รองประธานศาลปกครองสุงสุด ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อย ได้สงวนความเห็นเพื่อขออภิปรายต่อที่ประชุม เพราะต้องการให้คงไว้ซึ่งมาตรา 12  เนื่องจากองค์ประกอบ ก.ศป.เป็นการบัญญัติใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ เป็นครั้งแรก เพราะไม่เคยมีการระบุไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ มาก่อน ดังนั้น องค์ประกอบของ ก.ศป.ที่จะกำหนดขึ้นมาใหม่ ตามร่างฯ ที่สภาฯ รับหลักการ และกำลังพิจารณากันอยู่นี้ ก็ควรมีกำหนดให้เลือกตั้งใหม่ทั้งหมดด้วย
 
นายวิชัย ระบุว่า การตัดมาตรา 12 ออกทั้งมาตรา น่าจะไม่ถูกต้อง ขณะเดียวกัน องค์ประกอบของ ก.ศป.มีอยู่ไม่ครบตามจำนวน เพราะสัดส่วนจากวุฒิสภาและครม.หมดวาระลงไปแล้ว ก่อนที่รัฐธรรมนูญ 2550 จะสิ้นสุดลง และจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่อยู่แล้ว ดังนั้น เพื่อให้ กศป.ทำหน้าที่ไปพร้อมๆ กัน จึงน่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมดภายหลังจากที่ร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวบังคับใช้ไปแล้ว
 
ขณะที่ นายกล้านรงค์ จันทิก สมาชิก สนช. ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวกล่าวว่า ร่างเดิมที่สภามีมติรับหลักการนั้น มีการยกเลิก ก.ศป.ทั้งหมด และจะมีการตั้งขึ้นมาใหม่ แต่ในระหว่างตั้งขึ้นใหม่นั้น ได้ให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองเข้าไปทำหน้าที่แทน ซึ่งคณะ กมธ.เห็นว่า ก.ศป.ชุดนี้ที่เหลือวาระอยู่ถึงวันที่ 19 เม.ย. 2558 หรืออีกราว 6 เดือน จะต้องหมดวาระไปด้วย เมื่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นการลิดรอน สิทธิ ก.ศป.ที่ยังอยู่ในวาระ
 
การที่ คณะกมธ.ตัดมาตรา 12 เพราะต้องการให้กศป.อยู่ต่อไป จนกว่าจะครบวาระ และเมื่ออยู่ครบวาระแล้ว ทางกมธ.ก็เขียนวิธีการคัดเลือก กศป.ที่ว่างลงได้ โดย คณะกมธ.ได้เขียนรองรับไว้ในมาตรา 13 แล้ว คือ ให้ ก.ศป.ซึ่งดำรงตำแหน่งก่อนรัฐธรรมนูญปี 50 สิ้นสุดลง ยังคงมีตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะครบวาระ 19 เม.ย.58 และให้ประธานกรรมการ และกรรมการ ใน ก.ศป.เป็นคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ  ซึ่งที่ประชุมอภิปรายราว 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติในวาระ 3 เห็นชอบ 169 ต่อ 1 เสียง และงดออกเสียง 8 เสียง ให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้ 1  ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานกรรมการ  2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคนซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองและได้รับเลือกจากตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง 3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาสองคน และจากคณะรัฐมนตรีอีกหนึ่งคน รวมแล้ว 13 คน  แต่ขณะนี้ไม่มี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากวุฒิสภา และจากคณะรัฐมนตรี ทำให้เหลือ 10 คน ประกอบด้วย ประธานศาลปกครองสูงสุด ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 6 คน ตุลาการศาลปกครองชั้นต้น 3 คน
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผย 'สหภาพรัฐสภา' มีมติ คงความเป็นสมาชิกภาพ สนช.

$
0
0

สนช. เผยสหภาพรัฐสภา (IPU) คงสมาชิกภาพ สนช. แม้เกิดรัฐประหาร เหตุเข้าหลักเกณฑ์ที่มีสถานะเป็นรัฐสภา เพราะมาจากการจัดตั้งจากกฎหมายภายในประเทศ มีอำนาจนิติบัญญัติ รวมทั้งมีหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร มีโรดแมป-กำหนดการเลือกตั้ง


22 ต.ค. 2557 วีระศักดิ์ ฟูตระกูล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทน สนช. ในการประชุมสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union: IPU) ครั้งที่ 131 ระหว่างวันที่ 10-16 ตุลาคม 2557 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส แถลงว่า แม้ไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของ IPU ได้มีมติเอกฉันท์ให้ สนช.คงสิทธิความเป็นสมาชิกภาพของ IPU อย่างสมบูรณ์ สามารถเข้าร่วมได้ทุกกิจกรรม ไม่ถูกตัดสิทธิใดๆ ซึ่งแตกต่างจากมติของคณะกรรมการบริหารของ IPU เมื่อปี 2549 ซึ่งไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และ IPU ได้ให้ สนช.ขณะนั้นดำรงสมาชิกภาพได้แต่ถูกห้ามไม่ให้การร่วมกิจกรรมใดๆ

วีระศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า IPU ซึ่งมีสมาชิก 164 รัฐสภาของประเทศต่างๆ ให้การดำรงสิทธิในการเป็นสมาชิกอย่างสมบูรณ์ครั้งนี้ เนื่องจาก สนช. และ กระทรวงการต่างประเทศได้ร่วมชี้แจง ถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ก่อนกำหนดใช้รัฐธรรมนูญ และจัดตั้ง สนช. เข้าทำหน้าที่รัฐสภาอย่างสมบูรณ์ ซึ่งล้วนเป็นไปตามธรรมนูญของ IPU ที่มีเกณฑ์การเป็นสมาชิกว่าต้องเป็นรัฐสภาตามนิยามที่กำหนดไว้ 3 ข้อ คือเป็นรัฐสภาที่มาจากการจัดตั้งจากกฎหมายภายในประเทศนั้นๆ มีอำนาจนิติบัญญัติ และมีหน้าที่ติดตามตรวจสอบฝ่ายบริหาร อีกทั้งไทยได้ชี้แจงถึงแผนการปฏิรูปประเทศหรือโรดแมป (Road Map) ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม มีการกำหนดถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งทาง IPU ให้ความเชื่อมั่น พร้อมแสดงความหวังว่าไทยจะดำเนินตามโรดแมป และจัดการเลือกตั้งต่อไป

 

ที่มา:สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รัฐสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วุฒิพงศ์ เผยสำนวนคดีจำนำข้าวยังไม่สมบูรณ์ ให้รอติดตามความคืบหน้าการประชุมครั้งถัดไป

$
0
0

หัวหน้าคณะทำงานอัยการ พิจารณาคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว เผยการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จเนื่องจากสำนวนคดีดังกล่าวยังมีข้อไม่สมบูรณ์ในหลายประเด็น หากการประชุมครั้งต่อไปไม่ได้ข้อยุติ ป.ป.ช. สามารถส่งฟ้องเองได้

22 ต.ค. 57 – สำนักข่าวไทยรายงานว่า วันนี้ 22 ต.ค. นายวุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์  รองอัยการสูงสุด  ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานอัยการ พิจารณาคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีตั้งคณะทำงานประชุมร่วมกันระหว่าง อัยการกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  ในการพิจารณาข้อไม่สมบูรณ์ของสำนวนคดีว่า  ขณะนี้กระบวนการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากสำนวนคดีดังกล่าวยังมีข้อไม่สมบูรณ์ในหลายประเด็น

ส่วนกรอบระยะเวลา 14 วันในการพิจารณานั้น เป็นเพียงกรอบระยะเวลาในการเร่งรัดเท่านั้น ซึ่งคงไม่มีผลต่อการพิจารณาคดี และถึงแม้จะเลยกรอบระยะเวลามาแล้วก็ตาม ถ้าหากคณะทำงานร่วมมีความเห็นสั่งฟ้องก็ยังสามารถฟ้องคดีต่อศาลฎีกานักการ เมืองได้  ซึ่งคงจะต้องรอติดตามความคืบหน้าในการประชุมครั้งถัดไป  โดยทางคณะทำงานร่วมได้นัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 7 พ.ย.นี้

เมื่อถามว่าถ้าหากในการประชุมวันที่ 7 พ.ย. นี้ ยังไม่ได้ข้อยุติ  หาก ป.ป.ช. จะฟ้องคดีเองสามารถทำได้หรือไม่  นายวุฒิพงศ์  กล่าวว่า  ก็เป็นเรื่องของทาง ป.ป.ช.  แต่ตามกฎหมายทาง ป.ป.ช.ก็สามารถฟ้องคดีเองได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิปรัฐบาลถกนัดแรก เร่งกฎหมายปฏิรูป 27 ต.ค.นี้

$
0
0
‘สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ’ เผย คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เตรียมถกนัดแรก 27 ต.ค.นี้ ‘ประยุทธ์’ ย้ำเร่งกฎหมายปฏิรูป 4 ด้าน
 
22 ต.ค. 2557 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หลังจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิปรัฐบาล) จำนวน 22 คน ไปเมื่อวันที่ 21 ต.ค. ได้กำหนดให้มีการประชุมวิปรัฐบาลนัดแรกในวันที่ 27 ต.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อพิจารณากฎหมายที่จะเข้าสู่การพิจารณา สนช. ตามบัญชีรัฐบาล ที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย และพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม รอง ผบ.สส. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ร่วมจัดทำเพื่อให้ไปเป็นโรดแม็ป
 
ทั้งนี้ นายกฯ ย้ำว่า การทำงานวิปรัฐบาลให้เน้นเร่งกฎหมาย 4 ด้าน คือ 1.กฎหมายที่เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศ 2.กฎหมายที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์ ลดความเหลื่อมล้ำ 3.กฎหมายที่เกี่ยวการปฏิรูปประเทศ และ 4.กฎหมายที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างส่วนราชการ
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มท.เตรียมส่งกรรมการลงพื้นที่ติดตามการใช้งบ อปท.

$
0
0
รมว.มหาดไทย เผย เตรียมตั้งกรรมการลงพื้นที่ติดตามการใช้งบท้องถิ่นเสริมงานผู้ว่าฯ หลัง ป.ป.ช.ระบุ องค์การปกครองท้องถิ่นถูกร้องเรียนติดอันดับ คาดเสนอบัญชีแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงเข้า ค.ร.ม.สัปดาห์หน้า
 
22 ต.ค. 2557 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่าในปีที่ผ่านมาองค์การปกครองท้องถิ่น (อปท.) และกรมที่ดินติดอันดับการถูกร้องเรียน ว่า นอกจากการดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว จะส่งคณะกรรมการที่มีผู้ตรวจราชการกระทรวงร่วมกับคณะทำงานของรัฐมนตรีลงพื้นที่ไปกำกับดูแลการใช้งบประมาณของ อปท. ด้วย โดยจะลงไปดูว่า อปท. ได้ทำตามแผนงานที่เสนอไว้และทำตามกฎระเบียบหรือไม่ เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้การทุจริตลดน้อยลง
 
“จะพยายามดูให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด เพราะ อปท. มีจำนวนมากกว่า 70,000 แห่ง ผมมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่มีการร้องเรียนมา เมื่อพบการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งต้องดำเนินการตามกฎหมาย การร้องเรียนทำได้ทุกทางจะร้องผ่านศูนย์ดำรงธรรม หรือร้องมาที่กระทรวงโดยตรง หรือร้องป.ป.ช.ก็ได้ จะได้ตรวจสอบ การที่เราจะมีกรรมการตรวจสอบก็เป็นสิ่งเติมเต็มให้การตรวจสอบมีความสมบรูณ์มากขึ้น จะได้ดำเนินการกับคนผิดเพื่อป้องกันคนกล้าโกง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าว
 
ส่วนกรณีทุจริตของกรมที่ดิน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ได้มอบนโยบายแล้วว่าทุกเรื่องจะต้องทำให้ถูกกฎหมาย ปัญหาที่พบมากที่สุดคือที่ดินที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องตรวจสอบ ถ้ามีความผิดเกิดขึ้นจะดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องดีที่จะนำเรื่องนี้เสนอเป็นประเด็นให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กำหนดเป็นประเด็นปฏิรูป อย่างไรก็ตาม ขอให้ สปช.มีความพร้อมในการทำงานชัดเจนกว่านี้ก่อน
 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบวิสัยทัศน์ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ว่างจำนวน 18 ราย และผู้ตรวจราชการกระทรวง 4 ราย หากคณะกรรมการพิจารณาเสร็จจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.อนุพงษ์มีแผนเร่งรัดการทำงานในเชิงรุกโดยกำหนดให้ประชุมคณะทำงานฝ่ายการเมืองทั้งที่ปรึกษาและเลขานุการทุกคน ร่วมกับฝ่ายข้าราชการประจำทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี โดยวันจันทร์จะประชุมทีมการเมืองร่วมกับปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงและหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง ส่วนวันพฤหัสบดีจะเป็นการประชุมทีมการเมืองร่วมกับปลัดกระทรวง และอธิบดีทุกกรมและผู้บริหารรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ก.คลัง ออกกฎกระทรวงเว้นภาษีทหาร 'โครงการเกษียณก่อนกำหนด'

$
0
0

22 ต.ค. 2557 หลังรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ข้าราชการทหาร ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของ กระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 82/2557 เรื่อง เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 โดยกำหนดให้เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการและเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับ เมื่อออกจากราชการตามโครงการดังกล่าว เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้


ล่าสุด วันนี้ มีการเผยแพร่กฎกระทรวง ฉบับที่ 304 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงนามโดยนายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2557 มีรายละเอียดดังนี้

กฎกระทรวงดังกล่าว  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 กำหนดให้เงินได้ดังต่อไปนี้เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้

(1) เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของ กระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ตามประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 82/2557 เรื่อง เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
(2) เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เมื่อออกจากราชการ ตาม (1)

ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
 

ที่มา: มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ค้าน! กฎหมายแร่ฉบับ คสช. เครือข่ายประชาชนฯ จวกเอื้อประโยชน์นายทุน ยันต้านถึงที่สุด

$
0
0
องค์กรชาวบ้าน-เอ็นจีโอ ‘เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรแร่ประเทศไทย’ เดินหน้าค้าน หลังรัฐบาลประยุทธ์ อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.แร่ จวกฉวยโอกาสเร่งผลักดันกฎหมายเอื้อนายทุน ผลกระทบเดิมยังไม่แก้ ไม่สมกับคำว่าคืนความสุขให้ประชาชน
 
22 ต.ค. 2557 องค์กรชาวบ้านในพื้นที่ผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ และองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ที่ทำงานติดตามนโยบายการจัดการทรัพยากรแร่ และปัญหาการทำเหมืองแร่ที่มีผลกระทบต่อชุมชน ในนาม ‘เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรแร่ประเทศไทย’ ออกมาคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายแร่
 
หลังจากเมื่อวาน (21 ต.ค.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งนำโดยพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประชุม ครม. และมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ตามลำดับ
 
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ... เป็นการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยแร่ และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ทุกฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่หลายประเด็น อาทิ การลดขั้นตอนและกระบวนการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาตให้สั้นลง ผู้ประกอบการสามารถรับบริการขออนุญาตทำเหมืองแล้วเสร็จในจุดเดียว หรือ One stop service กำหนดอัตราค่าภาคหลวงแร่ใหม่และจัดสรรผลประโยชน์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น
 
นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทและการออกประทานบัตรการทำเหมืองแร่ออกเป็น 3 ประเภท คือ การทำเหมืองประเภทที่ 1 ได้แก่ การทำเหมืองในเนื้อที่ไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตจังหวัดที่มีการทำเหมืองเป็นผู้ออกประทานบัตร การทำเหมืองประเภทที่ 2 ได้แก่ การทำเหมืองในเนื้อที่ไม่เกินหกร้อยยี่สิบห้าไร่ ให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เป็นผู้ออกประทานบัตร
 
และการทำเหมืองประเภทที่ 3 ได้แก่ การทำเหมืองในทะเลการทำเหมืองใต้ดินตามที่กำหนดในหมวด 5 การทำเหมืองที่ไม่ใช่การทำเหมืองประเภทที่ 1 หรือการทำเหมืองประเภทที่ 2 ให้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ออกประทานบัตร ซึ่งปัจจุบันกฎหมายแร่ไม่ได้มีการแบ่งประเภทและรัฐมนตรีเป็นผู้ออกประทานบัตร
 
นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน เปิดเผยว่า ตนมีเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับการผ่านร่างกฎหมายแร่ของครม. ได้แก่ 1.รัฐบาลประยุทธ์ไม่ควรเร่งรีบฉกฉวยโอกาสผลักดันออกกฎหมายแร่ในขณะนี้ แต่ควรจะมีการประเมินศักยภาพแร่ทั้งประเทศ ทุกชนิด ว่ามีปริมาณเท่าไร อยู่ที่ไหนบ้าง และมีการใช้ประโยชน์อย่างไร แล้วประกาศให้สาธารณะทราบ 2.การกระจายอำนาจแบ่งประเภทการออกประทานบัตรตามร่างกฎหมายแร่ฟังเหมือนจะดูดี หากแต่เป็นการกระจายการคอรัปชั่นมาสู่ทุกกระบวนการ ซึ่งในอนาคตนายทุนจะวิ่งเข้าหาผู้ว่าฯ เข้าหาท้องถิ่นได้ง่ายขึ้น 3.ปัญหาของการทำเหมืองคือเรื่องผลประโยชน์ซึ่งประเทศชาติจะได้รับยังไม่มีความชัดเจน
 
“การเร่งรีบผ่านกฎหมายแร่มันไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการเมือง เพราะขณะนี้ประเทศไทยกำลังพูดถึงการปฏิรูปการเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม ผมจึงเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นให้ผ่าน อย่างน้อยก็ควรให้มีรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนก่อน และให้กฎหมายแร่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ให้มีการเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับร่างกฎหมาย” นายสุวิทย์ กล่าว
 
นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของเครือข่ายเหมืองฯ จะติดตามเนื้อหาของร่างกฎหมายแร่ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) และจะมีการคัดค้านการออกกฎหมายแร่ในทุกกระบวนการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
 
ด้านนายสุรพันธ์ รุจิไชยวัฒน์ เลขานุการกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย กล่าวว่า เดิมทีการทำเหมืองแร่ทั้งหมดก็มีผลกระทบมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะแร่ทองคำ และพิกัดอัตราก็ไม่เป็นธรรม ดังนั้นการที่ ครม. มีมติผ่านร่างกฎหมายแร่ ตนจึงเห็นว่าจะเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตได้เร็วขึ้น ซึ่งปัญหาผลกระทบก็จะมีมากขึ้น สังคมและสิ่งแวดล้อมก็จะเสื่อมโทรมเร็วขึ้นตามไปด้วย เหมือนกับที่นี่ที่ทหารกำลังเข้าควบคุมแร่ทองคำเพื่อให้ดำเนินการได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น
 
นางสมหมาย หาญเตชะ ประธานกลุ่มคนรักษ์บ้านแหง พื้นที่การขอประทานบัตรเหมืองแร่ลิกไนต์ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายแร่ ที่ครม.ผ่านความเห็นชอบ โดยเฉพาะการเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายข้าราชการ ซึ่งจะทำให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาตทำเหมืองง่ายขึ้น และหลบเลี่ยงการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทั้งนี้ หากยกตัวอย่างว่ามีการขอทีละ 100 ไร่ๆ หลายๆ แปลง โดยผู้ว่าฯ สามารถอนุมัติได้เลยมันก็จะกลายเป็นพัน เป็นหมื่นไร่ มีปัญหาผลกระทบตามมามากมาย
 
สุดท้ายนางมณี บุญรอด กรรมการกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ชาวบ้านจากพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ซึ่งเป็นเหมืองใต้ดิน อยู่ระหว่างการยื่นคำขอประทานบัตรทำของผู้ประกอบการ กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ต่างๆ ก็มีสาเหตุมาจากการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้นายทุน ซึ่งปัจจุบันผลกระทบก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข แล้วรัฐบาลยังจะมาผลักดันกฎหมายแร่อีก ซึ่งไม่มีความเป็นธรรมและไม่สมกับคำว่าจะคืนความสุขให้กับประชาชน และเมื่อรัฐบาลไม่ฟังเสียงของประชาชน พวกเราก็จะต่อสู้คัดค้านจนถึงที่สุด
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิป สปช. มีมติสรรหาคนนอก ร่วมกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ย้ำ 28 ต.ค. คลอดรายชื่อ

$
0
0

วิป สปช. ชั่วคราว มีมติสรรหากรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน โดยเลือกจาก สปช. 15 คน แบ่งโควตาให้คนนอกอีก 5 คน โดยจะมีการลงมติคัดเลือกกันในวันที่ 28 ตุลาคมนี้ ยันพยายามหาบุคลที่มีความหลากหลายทางความคิด

22 ต.ค. 57 ที่รัฐสภา นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ว่าที่ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญประสานงานกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ วิป สปช.ชั่วคราว ว่าที่ประชุมมีมติส่งสมาชิก สปช. ร่วมเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 15 คน และอีก 5 คน มาจากการสรรหาบุคคลภายนอก โดยจะนัดประชุมในวันจันทร์ที่  27 ต.ค. เพื่อให้ที่ประชุม สปช. พิจารณาเห็นชอบหลักเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อที่ประชุมเห็นชอบแล้ว จะให้ส่งสมาชิก สปช.แต่ละสาขาทั้ง 11 ด้าน และ 4 ภาค แยกไปประชุมพิจารณาเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมสาขาละ 1 คน

เทียนฉาย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นคนนอกให้เป็นหน้าที่ของวิป สปช.เป็นผู้สรรหา และเสนอชื่อ จากนั้นจะนัดประชุมลงมติคัดเลือกกันในวันที่ 28 ต.ค. ซึ่งวันนั้นจะได้ตัวแทนจาก สปช. 15 คน ขณะที่คนนอกอีก 5 คน อาจจะต้องประชุมวิป สปช. เพื่อพิจารณาบุคคลที่เหมาะสม และขอความเห็นชอบจากที่ประชุม สปช.ต่อไป โดยจะพยายามหาบุคคลที่มีความหลากหลายทางความคิด เข้ามาร่วมเป็นกรรมาธิการในสัดส่วนนี้ โดยมีคุณสมบัติ คือความเหมาะสมไม่ซ้ำซ้อนกับคุณสมบัติที่สมาชิก สปช.15 คน และจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เช่นไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นนักวิชาการ หรือเป็นนักกฎหมาย เพราะเมื่อถึงตอนยกร่าง สามารถใช้นักกฎหมายเข้ามาช่วยยกร่างทางเทคนิคได้

ทั้งนี้ที่ประชุมวิป สปช.ชั่วคราว มีมติแต่งตั้งนายเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธานวิป สปช. ชั่วคราว  นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ น.ส.ทัศนา บุญทอง เป็นรองประธานวิป นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นเลขานุการ และนายวันชัย สอนศิริ เป็นโฆษก วิป สปช.

ที่มา : สำนักข่าวไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มือปืนบุกยิงทหารดับ 1 ก่อนวิ่งเข้ารัฐสภาแคนาดา

$
0
0


22 ต.ค. 2557 มีรายงานว่า เกิดเหตุการณ์ยิงกันในกรุงออตตาวา เมืองหลวงของแคนาดา โดยเหตุเกิดจากมีมือปืนยิงทหารที่เฝ้าอนุสรณ์สถานสงครามแห่งชาติ ก่อนวิ่งเข้าไปในอาคารรัฐสภา

ตำรวจนายหนึ่งทวีตว่าเกิดเหตุยิงกันที่อนุสรณ์สถานเมื่อเวลา 9.52 น. ตามเวลาประเทศแคนาดา หรือตรงกับเวลา 20.52 น.ตามเวลาประเทศไทย

โดยที่รัฐสภามีมือปืนถูกยิงเสียชีวิตหนึ่งราย ขณะตำรวจกำลังตามล่าหาผู้ต้องสงสัยอีกหนึ่งหรือมากกว่านั้น

ล่าสุด ตำรวจออตตาวาแถลงว่านายทหารซึ่งถูกยิงเสียชีวิตแล้ว

ส่วนสื่อแคนาดารายงานว่าผู้นำคือนายกรัฐมนตรี Stephen Harper ปลอดภัย ส.ส.พรรคลิเบอรรัล จอห์น แมคเคย์ซึ่งก่อนหน้านี้หลบอยู่ในอาคารบอกนักข่าวว่า เขาได้ยินเสียงปืนดังขึ้นประมาณสิบนัด แต่ตอนแรกไม่แน่ใจว่าเป็นเสียงปืน แล้วเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็เข้ามาสั่งให้ทุกคนไปหลบด้านหลังของอาคาร

ด้าน นสพ.วอลสตรีทเจอนัลรายงานว่า มีมือปืนทั้งหมดสามคน ส่วนแฟรงค์ การ์ดเนอร์นักวิเคราะห์ข่าวความมั่นคงของบีบีซีทวีตว่า ทหารแคนาดาสั่งปิดฐานทั่วประเทศตอนนี้

เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังแคนาดายกระดับการเตือนภัยการก่อการร้าย หลังทหารรายหนึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือน ต.ค. แคนาดาได้ประกาศแผนเข้าร่วมการโจมตีทางอากาศนำโดยสหรัฐอเมริกา เพื่อต้านกลุ่มไอเอส (ไอซิส) ในอิรัก อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อมูลยืนยันใดๆ ว่าการโจมตีในสัปดาห์นี้ เกี่ยวข้องกับกลุ่มไอเอสหรือการโจมตีทางการทหารครั้งล่าสุดนี้
 

 

เรียบเรียงจาก
http://www.bbc.com/news/world-us-canada-29724907
https://www.facebook.com/BBCThai/posts/1570155909872110

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บ.ลินเด้ แจงเปลี่ยนสภาพการจ้างเป็นคุณแก่ลูกจ้าง หลังองค์กรแรงงานเรียกร้องให้พูดคุยกัน

$
0
0

23 ต.ค. 2557 ฝ่ายบริหารของบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงกรณีที่สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ออกมาคัดค้านการเปลี่ยนข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ หลังองค์กรแรงงานเรียกร้องให้มีการเจรจาพูดคุยกัน

โดยเมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2557 ที่ผ่านมาฝ่ายบริหารของบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ชี้แจงกรณีที่สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ออกมาคัดค้านการเปลี่ยนข้อบังคับในการทำงานของบริษัทฯ ดังนี้

ตามทีท่านได้มีหนังสือที่ สร. ทีไอจี 077/2557 ถึงบริษัทฯ เพื่อคัดค้านระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ ฉบับลงวันที่ 1 ตุลาคม 2557 นั้นบริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่าระเบียบข้อบังคับฉบับดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงสภาพการจ้างงานฉบับปัจจุบัน และเป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่าฉบับเดิม โดยระเบียบข้อบังคับฉบับใหม่ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2557เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบข้อบังคับเดิม ฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 ดังนี้

1. แก้ไขเพิ่มเติมวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับพนักงานให้สอดคล้องกับข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างบริษัทฯ กับสหภาพแรงงานฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 ทีผ่านมา

2. แก้ไขเพิ่มเติมให้มีความเป็นคุณแก่พนักงานมากขึ้น โดยให้สิทธิพนักงานจัดส่งสินค้าของบริษัทฯ สามารถมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด จากเดิมที่ไม่มีสิทธิได้รับเนื่องจากพนักงานได้รับเงินชดเชยในลักษณะอื่นแทนการรับเงินล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด เช่น โบนัสท่อ และค่าเที่ยวการขนส่ง เป็นต้น

ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี โดยปรากฏหลักฐานชัดเจนนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ตามที่ปรากฏในระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงานของบริษัทฯ ฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2542 ที่ระบุชัดเจนว่า พนักงานกลุ่มดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดดังกล่าว จนกระทั้งนี้ เมือวันที่ 1 กันยายน 2556 ทีผ่านมา คณะผู้บริหารของบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดแก่พนักงานขับรถขนส่งแก๊สของบริษัทฯ ในอัตรา 1 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงการทำงานปกติตามกฎหมายแรงงาน ส่งผลให้พนักงานจัดส่งสินค้าสามารถได้รับค่าล่วงเวลาเพิ่มเติมจากเดิมทีมีสิทธิได้รับเฉพาะโบนัสค่าท่อและค่าเทียวขนส่งเท่านั้น ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับฯ ให้สอดคล้องกับการจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่พนักงานจัดส่งดังกล่าว

อนึ่ง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด ดังกล่าว บริษัทถือปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2541 แห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้ “ในกรณีทีนายจ้างให้ลูกจ้างในงานขนส่งทางบกทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานและทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่ว โมงในวันทำงานตามจำนวนชั่ว โมงทีทำ”

ทั้งนี้ในกรณีที่พนักงานจัดส่งได้รับมอบหมายให้มาปฏิบัติงานสำนักงานนอกเหนือจากงานขนส่งสินค้าหรือมาเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนาที่บริษัทฯ จัดขึ้น ก็จะได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุดในอัตราเดียวกันกับพนักงานระดับปฏิบัติการในส่วนงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดและตามระเบียบบริษัทฯ ซึ่งมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมแต่อย่างใด

บริษัทฯ ขอยืนยันว่า ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่ได้ขัดหรือแย้งกับแนวปฏิบัติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตลอดจน ข้อตกลงแห่งสหประชาชาติหรือ UN Global Compact แต่อย่างใด

บริษัทฯ จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านโปรดเข้าใจตรงกันว่าระเบียบข้อบังคับฉบับ 1 ตุลาคม 2557 จัดทำขึ้นเพียงเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงสภาพการจ้างฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2557 และการจ่ายค่าล่วงเวลาสำหรับพนักงานจัดส่งสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการจ้างปัจจุบันและ กฎกระทรวงฉบับที่ 12 ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2541 แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่ง เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่าระเบียบข้อบังคับฉบับเดิม อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากสหภาพแรงงานเพื่อสร้างสรรค์ระบบแรงงานสัมพันธ์ทีดีต่อไป

 

องค์กรแรงงานเรียกร้องให้มีการเจรจาพูดคุยกัน

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2557 ที่ผ่านมาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงานในกลุ่มพลังงานในประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรเครือข่ายแรงงานกับสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ได้ออกมาระบุว่าจากการที่ได้รับทราบปัญหาที่มีสาเหตุจากการที่นายจ้างไม่มีการปรึกษาหารือร่วมกับสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส ก่อนประกาศลดสภาพการจ้างที่มีอยู่เดิมนั้น จึงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่เข้าใจบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และกลุ่ม ปตท. น่าจะมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงจำเป็นต้องเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของบริษัทลินเด้ทบทวนในเรื่องการจัดเวทีประชุมหารือกับสหภาพแรงงานโดยเร็ว

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่าสืบเนื่องจากได้มีการรวมกลุ่มผู้นำสหภาพแรงงานในสาขาพลังงานในประเทศไทย ทั้งแรงงานภาครัฐวิสาหกิจและแรงงานภาคเอกชน เพื่อการรณรงค์และส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบการต้นสังกัดของแต่ละสหภาพแรงงาน ด้วยเชื่อว่าระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และการส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีทัศนคติที่ดีต่อกัน ให้เกียรติกัน มีความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ทั้งด้านผู้ใช้แรงงาน และ สิทธิการบริหาร อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะลดปัญหาความขัดแย้ง นำไปสู่การพัฒนาองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน การให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการเคารพสิทธิแรงงานของฝ่ายบริหารต้นสังกัดของแต่ละสหภาพแรงงาน จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่ง ด้วยจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียนและในระดับโลก

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่าสำหรับความขัดแย้งที่เราได้รับทราบว่ามีสาเหตุจากการละเลยหรือไม่ยินดีที่จะปรึกษาหารือร่วมกับสหภาพแรงงานก่อนประกาศต่อสาธารณะเพื่อปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สร้างปัญหาโดยไม่จำเป็น ด้วยการไม่เคารพในสิทธิแรงงาน เป็นเรื่องที่ ไม่ควรเกิดขึ้นกับ บริษัทข้ามชาติที่อยู่ภายใต้แนวปฏิบัติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และ ภายใต้ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) รวมถึงการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมของบริษัท (CSR) อย่างบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ด้วยที่ผ่านมาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่าเคยได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน Social Dialog ที่ฝ่ายบริหารของบริษัทให้การสนับสนุนจัดขึ้น และทราบว่า ผู้แทนฝ่ายบริหารที่มาร่วมงาน มีความเข้าใจเรื่องของสิทธิแรงงานเป็นอย่างดี จึงน่าแปลกใจที่เกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นอีก

แต่จากการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ได้ทราบว่า บริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้นัดหมายกับสหภาพแรงงาน ต้นเดือน พฤศจิกายน 2557 แล้ว หากทางบริษัทจะได้มีการดำเนินการที่มุ่งเน้นส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี โดยเร่งทบทวนวิธีการดำเนินงานที่แสดงถึงการเคารพสิทธิแรงงานตามหลักการสากล และคำนึงถึงแนวปฏิบัติขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และ ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) อย่างเป็นรูปธรรม ย่อมจะช่วยยุติความขัดแย้งที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต

ด้วยประสงค์ให้ฝ่ายบริหารบริษัทลินเด้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และสหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊สได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ได้หารือกันด้วยเหตุด้วยผล จึงขอวิงวอนให้ท่านได้โปรดพิจารณาหาทางลดความขัดแย้ง และยุติปัญหา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ผลสรุปที่เกิดประโยชน์โดยรวม โดยเฉพาะกรณีการปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ และค่าตอบแทนต่างๆ เพื่อเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี ในโอกาสต่อๆไป ทั้งนี้ สร.ปตท. ขอขอบคุณ ในความกรุณาและความเข้าใจในเจตนาดีของพวกเรา มา ณ โอกาสนี้

อนึ่งปัจจุบัน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับการคัดเลือกจากที่ประชุมใหญ่สาขาพลังงานของ IndustriALL Global Union ซึ่งเป็นสหพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ ที่เกิดจากการควบรวมของ สหพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ 3 แห่ง คือ สหพันธ์แรงงานโลหะระหว่างประเทศ (IMF) สหพันธ์แรงงานสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้าระหว่างประเทศ (ITGLWF) และ สหพันธ์แรงงานเคมีภัณฑ์พลังงานและเหมืองแร่ระหว่างประเทศ (ICEM) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 50 ล้านคน จากสมาชิกประมาณ 140 ประเทศ ให้ทำหน้าที่ Co-Chair ในสาขาพลังงาน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘พระสุเทพ’ ไม่ขึ้นเบิกความคดีการตายช่างภาพญี่ปุ่นปี53 อ้างส่งปากคำคดีอื่นแทน

$
0
0

อดีต ผอ.ศอฉ. แจ้งอัยการไม่ประสงค์มาเบิกความคดีการตาย ‘ฮิโรยูกิ มูราโมโต้-วสันต์ ภู่ทอง-ทศชัย เมฆงามฟ้า’ อ้างส่งปากคำคดีอื่นแทน ขณะที่ทนายญาติผู้ตายแย้งต้องนำตัวมาเบิกให้ได้ ชี้เป็นคนละเหตุการณ์ ศาลกำชับอัยการฯ รีบดำเนินการเพราะได้หมายเรียก ‘สุเทพ’ เป็นเวลานานแล้ว

เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรพลิกศพนายฮิโรยูกิ มูราโมโต้(ผู้ตายที่ 1) สัญชาติ ญี่ปุ่น ช่างภาพสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าวการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) ที่หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 รวมทั้ง นายวสันต์ ภู่ทอง(ผู้ตายที่ 2)  อายุ 39 ปี และนายทศชัย เมฆงามฟ้า(ผู้ตายที่ 3) อายุ 44 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิต ในเวลาและบริเวณใกล้เคียงกัน จากการขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร

โดยวันนี้ศาลนัดสืบพยาน 3 ปาก ได้แก่ พระสุเทพ หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และ ผอ.ศอฉ.ในขณะเกิดเหตุ ซึ่งปัจจุบันบวชเป็นพระภิกษุอยู่ ร.ต.อ.อริย์ธัช อธิสุรีย์มาศ และพ.ต.อ.วัลลภ ประทุมเมือง หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน แต่พยานทั้งสามคนแจ้งว่าไม่สามารถมาตามนัดได้

พนักงานอัยการฯ หรือผู้ร้อง แถลงว่าตามที่ขอให้ศาลหมายเรียกพยานปากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เข้าเบิกความในวันนี้ ผู้ร้องได้รับแจ้งจากนายสุเทพว่าได้รับหมายเรียกโดยชอบแล้ว แต่ไม่ประสงค์จะมาเบิกความเนื่องจากในคดีนี้เป็นคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพ ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 โดยเหตุสืบเนื่องจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งแต่ช่วงปี 2553 ซึ่งนอกจากคดีนี้แล้ว พนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องของให้ศาลนี้ทำการไต่สวนชันสูตรพลิกศพอีกหลายคดีด้วยกัน ซึ่งล้วนแต่เป็นคดีที่มีเหตุสืบเนื่องจากเหตุการณ์เดียวกันกับคดีนี้ ตัวนายสุเทพมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในเรื่องการออกคำสั่งในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ผอ.ศอฉ.) ซึ่งนายสุเทพได้เคยเบิกความเป็นพยานต่อศาลนี้ในคดีหมายเลขดำที่ ช.5/2555 ระหว่างพนักงานอัยการ ผู้ร้อง ในคดี 6 ศพ วัดปทุมฯ คดีหมายเลขดำที่ ช.6/2555 ระหว่างพนักงานอัยการ ผู้ร้อง ในคดีการตายของนายชาติชาย ชาเหลา และในคดีหมายเลขดำที่ ช.7/2555 ระหว่างพนักงานอัยการ ผู้ร้อง ในคดีการตายของนายบุญมี เริ่มสุข พร้อมทั้งได้ส่งเอกสารประกอบคำเบิกความที่มีการรวบรวมข้อเท็จจริงไว้ครบถ้วนต่อศาลไปแล้ว

โดยนายสุเทพ ไม่ประสงค์จะเข้าเบิกความ ปรากฏตามหนังสือฉบับลงวันที่ 22 ก.ย.2557 ซึ่งอยู่ในสำนวนของศาลแล้ว แต่ผู้ร้องยังคงติดในสืบพยานปากนายสุเทพ เพราะเป็นพยานปากสำคัญ โดยภายหลังผู้ร้องจะทำหนังสือถึงอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ เพื่อขออนุญาตตัดพยานปากนายสุเทพและจะนำมาแถลงอีกครั้งในวันที่ 25 พ.ย.2557 ตามที่นัดไว้เดิม

ทนายญาติผู้ตายทั้ง 3 ในคดีนี้ แถลงร่วมกันว่าเนื่องจากพยานปากนายสุเทพ เป็นพยานปากสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีโดยตรง และฝ่ายทนายญาติผู้ตายทั้ง 3 ก็อ้างนายสุเทพเป็นพยานร่วมกันกับฝ่ายผู้ร้องไว้ด้วย จึงประสงค์จะนำนายสุเทพเข้าเบิกความ ส่วนตามหนังสือที่นายสุเทพ มีถึงศาลอาญากรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 22 ก.ย.2557 โดยอ้างให้นำคำเบิกความทั้ง 3 คดีก่อนหน้ามาแทนการเข้าเบิกความในคดีนั้น ทนายญาติผู้ตามทั้ง 3 แถลงร่วมกันว่าข้อเท็จจริงทั้ง 3 คดีดังกล่าวเป็นคนละเหตุการณ์กับคดีนี้

ผู้ร้องแถลงต่อไปว่า ตามที่ได้มีการประสานงานให้ ร.ต.อ.อริย์รัช อธิสุรีย์มาศ เข้าเบิกความในวันนี้ ตามหนังสือรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 17 ต.ค.2557 ซึ่งอยู่ในสำนวนคดีนี้ ผู้ร้องได้รับแจ้งจาก ร.ต.อ.อริย์รัช ว่าติดภารกิจเร่งด่วนต้องเดินทางไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อปฏิบัติภารกิจ ประกอบกับยังไม่มีหมายเรียกจากศาลให้ ร.ต.อ.อริย์รัช เข้าเบิกความในวันนี้ แต่ ร.ต.อ.อริย์รัช แจ้งผู้ร้องว่าไม่ติดขัดที่จะเข้าเบิกความในวันที่ 12 พ.ย.2557 เวลา 9.00 น. และขอให้ศาลออกหมายเรียก ร.ต.อ.อริย์รัช เข้าเบิกความในวันดังกล่าวต่อไป

ในส่วน พ.ต.อ.วัลลภ ประทุมเมือง เนื่องจากพยานปากดังกล่าวเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนและเป็นผู้สรุปข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวน ผู้ร้องประสงค์จะนำพยานปากดังกล่าวเข้าสืบเป็นปากสุดท้ายเพื่อสรุปข้อเท็จจริงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยจะให้ศาลนัดเข้าสืบในวันที่ 25 พ.ย.2557 ตามที่นัดไว้เดิม

โดยศาลฯ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าเพื่อให้การไต่สวนคำร้องเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงให้ไต่สวนพยานผู้ร้องเพิ่มอีก 1 นัด คือในวันที่ 12 พ.ย.2557 เวลา 9.00 – 16.30 น. กำชับผู้ร้องให้เร่งดำเนินการมีหนังสือถึงอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญาศาลกรุงเทพใต้ หากถึงวันนัดแล้วศาลจะใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควรโดยเคร่งครัดต่อไป เนื่องจากพยานปากนายสุเทพ เป็นพยานที่ศาลได้หมายเรียกเป็นเวลานานแล้ว            

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

งานสัปดาห์ 'หนังสือถูกแบน' ในสหรัฐฯ ปีล่าสุดเน้นหนังสือเรื่องชนชั้นและความยากจน

$
0
0

กลุ่มสมาคมห้องสมุดชาวอเมริกันจัดงานสัปดาห์ "หนังสือถูกแบน" เป็นประจำทุกปี เพื่อท้าทายการร้องเรียนและสั่งห้ามหนังสือบางเล่ม โดยในปีล่าสุดเน้นประเด็นหนังสือที่พูดถึงชนชั้นและความยากจนที่ถูกร้องเรียนคัดค้านเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่นานมานี้

22 ต.ค. 2557 สำนักงานฝ่ายเสรีภาพทางปัญญาของสมาคมห้องสมุดชาวอเมริกันหรือเอแอลเอ (ALA) จัดงานสัปดาห์ "หนังสือถูกแบน" ติดต่อกันเป็นปีที่ 32 เมื่อช่วงวันที่ 21-27 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งงานหนังสือดังกล่าวนี้เป็นงานประจำปีที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการอ่าน โดยมุ่งถ่วงดุลอำนาจการควบคุมเนื้อหาและการสั่งแบนหนังสือ ซึ่งในสหรัฐฯ มักจะมีการสั่งห้ามไม่ให้มีหนังสือบางเล่มในห้องสมุดหรือในโรงเรียน

งานหนังสือถูกแบนมักจะมีธีมในแต่ละปีต่างกัน โดยนำมาจากประเด็นเช่นเรื่องศาสนา ชาติพันธุ์ เพศสภาพ เรื่องความสัมพันธ์เชิงชู้สาว เรื่องที่ถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาทางเพศโจ่งแจ้ง รวมถึงเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่ามีการใช้ภาษาหยาบคาย

เดอะ การ์เดียนระบุว่าสิ่งที่น่ากังวลในตอนนี้คือมีความพยายามสั่งแบนหนังสือที่เกี่ยวกับความยากจนและเรื่องชนชั้นเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มีความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มสูงขึ้นและมีการทำให้คนจนดูเป้นคนไม่ดี การนำหนังสือที่แสดงให้เห็นสภาพชีวิตตามความเป็นจริงของผู้คนที่ต้องต่อสู้กับความยากจนจึงเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง

เดอะ การ์เดียนระบุอีกว่ามีงานวิจัยจำนวนหนึ่งระบุว่าการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ประเด็นทางสังคม หรือสถานการณ์ที่ต่างออกไปจากชีวิตปกติทำให้คนเรามีความรู้สึกเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในช่วงเวลาที่มีการแบ่งแยกชนชั้นทางเศรษฐกิจ ไม่เพียงแค่ความรวยและความจนเท่านั้นที่แบ่งแยกผู้คนออกจากกัน แต่เป็นความไม่รู้และการขาดการเชื่อมโยงกับสังคมที่เป็นตัวแบ่งแยกคนด้วย

ประเทศสหรัฐฯ มักจะมีวัฒนธรรมการคัดค้านเนื้อหาของหนังสือที่บางครั้งก็มาจากข้ออ้างที่ไม่เป็นความจริงและการคัดค้านก็ไม่ได้มาจากฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมเท่านั้น แม้ว่าบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ มาตราแรกจะระบุให้มีการคุ้มครอง "การเข้าถึงแนวความคิดต่างๆ รวมถึงเสรีภาพในการพูด" ก็ตาม

มีองค์กรหลายองค์กรที่คอยต่อต้านการเซนเซอร์เนื้อหาจากหนังสือ เช่น เอแอลเอและกลุ่มแนวร่วมต่อต้านการเซนเซอร์แห่งชาติหรือเอนซีเอซี แต่ในการสั่งห้ามหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐศาสตร์สังคมช่วงไม่นานมานี้มีอะไรไม่ชอบมาพากล

เดบอราห์ คาลด์เวลล์-สโตน รองผู้อำนวยการของเอแอลเอกล่าวว่า พวกเขาเห็นว่ามีการพยายามคัดค้านหนังสือที่มีเนื้อหาประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความยากจนและเรื่องชนชั้น หรือเป็นหนังสือที่มีมุมมองทางการเมืองแบบทางเลือกต่อสถานการณ์ความยากจน

นักเขียนรายหนึ่งชื่อโทนี มอร์ริสัน มักจะตกเป็นเป้าการคัดค้านดังกล่าว เธอบอกว่านักเขียนที่ถูกคัดค้านเนื้อหาเหล่านี้เป็นเพราะพวกเขาเขียนถึงเรื่องเชื้อชาติและชนชั้น มักจะมีการนำเสนอภาพชาวแอฟริกันอเมริกันในสหรัฐฯ ที่เผชิญความยากลำบาก มอร์ริสันกล่าวอีกว่าหนังสือที่ถูกคัดค้านเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นหนังสือเรื่องแต่ง แต่หนังสือที่ไม่ใช่เรื่องแต่งที่มีการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องชนชั้นทางเศรษฐกิจก็เริ่มถูกคัดค้านมากขึ้น

โจแอน เบอร์ติน ผู้อำนวยการบริหารของเอนซีเอซีเปิดเผยว่าหนังสือที่มักจะถูกร้องเรียนส่วนมากเป็นหนังสือที่ถูกมองว่า "ต่อต้านทุนนิยม" ซึ่งในกลุ่มสังคมบางกลุ่มกล่าวหาว่าหนังสือเหล่านี้ทำลายคุณค่าของความเป็นคริสต์และคุณค่าความเป็นอเมริกัน

หนึ่งในหนังสือที่ถูกคัดค้านเล่มหนึ่งคือหนังสือที่ชื่อว่า "กรรมกรคนจน : คนที่ไม่มีใครมองเห็นในอเมริกา" (The Working Poor: Invisible in America) เขียนโดย เดวิด เค ชิปเลอร์ ถูกร้องเรียนโดยกลุ่มผู้ปกครองในเท็กซัส นอกจากนี้ยังมีหนังสือของบาร์บารา แอเอนริช ที่ถูกผู้ปกครองกล่าวหาว่าส่งเสริมแนวคิดแบบสังคมนิยมและแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ผิดๆ โดยหนังสือของแอเอนริชเกี่ยวกับเรื่องการต่อสู้ของคนรายได้น้อยและมีการโต้แย้งมายาคติความเข้าใจผิดต่อเรื่องความยากจน เช่นโต้แย้งมายาคติเรื่องความเป็นคนไม่เอาถ่าน

นอกจากนี้ยังมีการคัดค้านเนื้อหาที่มุ่งสำรวจเรื่องความไม่สงบในสังคม โดยก่อนหน้านี้เคยมีเหตุการณ์ที่นักศึกษาจำนวนมากในเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด พากันเดินออกจากชั้นเรียนเพื่อประท้วงต่อต้านการนำเสนอของคนกลุ่มหนึ่งที่อ้างว่าเนื้อหาการสอนวิชาประวัติศาสตร์ขั้นสูงควร "ส่งเสริมให้เห็นประโยชน์ของระบบบรรษัทเอกชนเสรี" และ "ไม่ส่งเสริมให้เกิดความวุ่นวายหรือการต่อสู้เรียกร้องในสังคม"

เดอะ การ์เดียนระบุว่าการคัดค้านหนังสือที่ระบุถึงเรื่องปัญหาสังคมจะทำให้ความตึงเครียดของปัญหาต่างๆ เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป้นปัญหาความไม่เท่าเทียม ปัญหารายได้ต่ำ ปัญหาความยากจน และความรู้สึกไม่ปลอดภัย การทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงงานวรรณกรรมที่พูดถึงประเด็นเหล่านี้ได้อย่างเสรีจึงถือเป็นประเด็นความยุติธรรมทางสังคมที่ควรเรียกร้อง

งานหนังสือถูกแบนถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2525 เพื่อตอบโต้กระแสการคัดค้านไม่ให้มีหนังสือบางเล่มในโรงเรียน ร้านหนังสือ และห้องสมุด โดยการให้คนที่ทำงานเกี่ยวกับหนังสือ ทั้งบรรณารักษ์ คนขายหนังสือ ผู้จัดพิมพ์ นักข่าว ครู อาจารย์ และผู้อ่าน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันในประเด็นนี้

เอแอลเอระบุว่ามีหนังสือถูกร้องเรียนคัดค้านไม่ให้มีวางแผงจำนวนมากกว่า 11,300 เล่มนับตั้งแต่ปี 2525 จนถึงตอนนี้ ใน 10 อันดับหนังสือที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดมีหนังสือนิยายเรื่อง เดอะ ฮังเกอร์ เกม (the Hunger Games) ของซูซานน์ คอลลิน รวมอยู่ด้วย โดยถูกร้องเรียนในเรื่องประเด็นศาสนาและจัดเรตอายุผู้อ่านไม่เหมาะสม


เรียบเรียงจาก

Poverty and class: the latest themes to enter the US banned-books debate, The Guardian, 21-10-2014

ข้อมูลเกี่ยวกับ Banned Books Week
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images