Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

พล.อ.ประยุทธ์จะเปิดเวทีให้นักศึกษา-นักวิชาการส่งตัวแทนเข้ามา-แต่อย่ามาด่า คสช.

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ เผยฟัง 'เดช พุ่มคชา' แสดงความเห็นเรื่องปฏิรูปเข้าท่า ชี้หากจัดประชุม-ต้องคิดเรื่องแก้ไขปัญหา ไม่ใช่จัดเพื่อด่า คสช. ย้ำเรื่องนักศึกษาเคลื่อนไหว-จะไม่ลงโทษใคร และเมื่อจัดเวทีแล้วก็ขอให้ส่งตัวแทนเข้ามา อย่าให้เอาใจยาก เปิดเวทีมาแล้วก็คุยกันไป พร้อมถามพวกต่อต้าน "ความรู้สึกช้าไปหรือเปล่า" อย่ามาต่อต้านกันวันนี้เลย

คลิป พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงข่าวโดยตอนหนึ่งกล่าวถึงการทำกิจกรรมของนักศึกษา

การแถลงข่าวหลังประชุมคณะรัฐมนตรีโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

วันนี้ (25 พ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงหลังประชุมคณะรัฐมนตรี โดยตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องแนวทางเปิดเวทีให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่า "เท่าที่ฟังเมื่อวานมีการประชุมของสภาชุมชน ใช่ไหม ก็มีท่านที่มีหนวดเครา อะไรต่างๆ (หมายถึง เดช พุ่มคชา) ผมก็เข้ามานั่งฟังนะ ทนอยู่ ฟังหลายนาทีเหมือนกัน ดีนะ เขามีเหตุผลของเขา เขาคิดในแง่ของประชาชน แต่จะทำอย่างไรนำมาสู่การปฏิบัติให้ได้ ผมสั่งไปแล้ว บอกให้ไปรับเรื่องมาด้วย"

"คือถ้าประชุมในสถานที่แล้ว นี่คือปัญหาแล้วจะแก้อย่างไร ไม่ใช่ประชุมแล้วด่า คสช. ด่ารัฐบาล แบบนี้ไม่ได้ มันผิด มันผิดด้วยสถานการณ์นะ แล้วก็ในเมื่อบางอย่างเราขอร้องกันแล้ว ก็ต้องขอกัน จะเห็นว่าเราไม่ได้มาลงโทษใครเด็ดขาดในเรื่องเหล่านี้เลย เห็นใจผมบ้างสิ ผมรับหมดนะ ไม่ว่าจะเป็นประชุมธรรมศาสตร์ ผมก็บอกให้ไปรับเรื่องมา ประชุมสภาประชาชน ผมก็บอกว่าให้ไปรับเรื่องมา แถมผมบอกว่าให้ไปเปิดเวทีให้นักศึกษากับนักวิชาการ ส่งตัวแทนเข้ามาแล้วเข้ามา ถ้าอย่างนี้เขามา และถ้าไม่เข้ามาก็อย่าไปเรียกข้างนอก หรือเข้ามาแล้วถูกบังคับอีกไม่ได้อีก แหมมันเอาใจยากจริงๆ โว้ย นะ ก็เปิดมาแล้วก็คุยกันไป แล้วสรุปมาเป็นเอกสารมา แต่จะมาโน้นนี้ มาว่าความรู้สึกช้าไปหรือเปล่านะ อย่ามาต่อต้านกันวันนี้เลย"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19-25 พฤศจิกายน 2557

$
0
0

กสม.แถลงกรณีห้าม จนท.ตั้งครรภ์ละเมิดสิทธิมนุษยชน
 
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. ได้ออกแถลงการณ์กรณีหน่วยงานในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้ติดประกาศว่า "ตั้งแต่วันที่ 30 ตุลาคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เจ้าหน้าที่ผู้หญิงทุกท่านให้กินยาคุมกำเนิด (ห้ามท้อง) ถ้าท้องให้ลาออกไปเลย" ซึ่งก่อนหน้าที่ทางโรงพยาบบาลได้ออกมาชี้แจงว่าไม่ได้ออกประกาศดังกล่าว นอกจากนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ลงพื้นที่ให้ข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณชน
 
ทั้งนี้ กสม. ได้ชื่นชมกระทรวงแรงงาน ที่ได้นำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เรื่องห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นผู้หญิงเพราะเหตุตั้งครรภ์ และข้อมูลข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้ กสม. เห็นว่าการเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ควรให้สิทธิแก่สตรีในการตัดสินใจอย่างอิสระ
 
อย่างไรก็ตาม หากประชาชนหรือผู้พบเห็นบุคคลใดถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน สามารถร้องเรียนมายัง 1777 เพื่อจะได้ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การสร้างสังคมให้มีความเสมอภาค 
 
(ไอเอ็นเอ็น, 19-11-2557)
 
ขสมก.เรียกร้องค่า "ขับรถดี"
 
นายวีระพงษ์ วงแหวน ประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร.ขสมก.) กล่าวเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า สร.ขสมก.จะเรียกร้องให้พิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้วย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาวะทางเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้นเช่น กัน
 
"ตามปกติอัตราเงินเดือนของข้าราชการและรัฐวิสาหกิจจะมีช่องว่าง ที่ใช้เปรียบเทียบกันอยู่ หากข้าราชการปรับขึ้น รัฐวิสาหกิจก็ต้องปรับด้วย แค่มีการประกาศจะขึ้นเงินเดือนก็ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ จะปรับราคาขึ้นแล้ว" นายวีระพงษ์กล่าว
 
นายวีระพงษ์กล่าวว่า สำหรับอัตราเงินเดือนเริ่มต้นที่ สร.ขสมก.เคยเสนอให้ปรับขึ้นก่อนหน้านี้คือ 9,040 บาทต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 6,800 บาทต่อเดือน ขณะเดียวกันจะขอเพิ่มค่าฝีมือให้กับพนักงานขับรถ ขสมก.ที่ขับรถดีอีก 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเคยเสนอเรื่องนี้ไปยัง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาแล้ว
 
นายวีระพงษ์กล่าวว่า ขสมก.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการขนส่งสาธารณะ เงินเดือนจะไม่มาก เช่นเดียวกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) โดยเมื่อพิจารณาจากอัตราเงินเดือนที่ได้รับจะต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันด้วยซ้ำ ส่วนค่าทำงานเกินเวลา 8 ชั่วโมง จะได้รับประมาณ 60-80 บาทต่อชั่วโมงเท่านั้น แตกต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นที่ได้ค่าล่วงเวลา 3 เท่าของการทำงานปกติ
 
(ประชาชาติธุรกิจ, 19-11-2557)
 
เผยอุตสาหกรรมยานยนต์ต้องการแรงงานอีกเพียบ
 
มล.ปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการศึกษาแนวทางการพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ พบว่าในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558 – 2562 มีความต้องการแรงงานในกลุ่มผู้ประกอบการยานยนต์ 63,025 คน ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ 200,555 คน
 
หากแยกความต้องการตามระดับการศึกษาพบว่า มีความต้องการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสบการณ์หรือผ่านการฝึกฝีมือ ร้อยละ 55 รองลงมา ระดับอาชีวศึกษา ร้อยละ 25 ระดับปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์ คือ วิศวกรรมเครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ เมคคาทรอนิกส์และอุตสาหการ ร้อยละ 15 และระดับปริญญาตรีในสายอื่นๆ เช่น บริหารธุรกิจ ร้อยละ 5
 
มล.ปุณฑริก กล่าวอีกว่า กพร.มีแผนพัฒนากำลังคนในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ โดยจะพัฒนาแรงงานให้ได้ 800 คน ทั้งพนักงานที่ทำงานในสถานประกอบการ นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษาด้านยานยนต์ในระดับปวช. ปวส. ในสาขาที่เกี่ยวข้อง และในระดับวิทยากร ในสาขาต่างๆ อาทิ กลึงซีเอ็นซี กัดซีเอ็นซี เครื่องวัดละเอียด การเชื่อมแมกซ์ ระบบไฮโดรลิกส์ โดยเริ่มอบรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 เป็นต้นไปซึ่งจะอบรมทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ มีระยะเวลาการอบรม 2 – 5 วัน
 
โดยจะร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา สถาบันการศึกษาต่างๆ ผู้ประกอบการด้านยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ จัดอบรมทั้งในสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคลระดับกลางและสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 1 สมุทรปราการเป็นเจ้าภาพหลักและบางส่วนจะอบรมในสถานประกอบการ เนื่องจากมีอุปกรณ์ในการฝึกครบถ้วน
 
“การพัฒนาบุคลากรด้านนี้ต้องเริ่มตั้งแต่การจัดทำหลักสูตร การพัฒนาครู การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาและการฝึกงานในสถานประกอบการจริงเพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในสถานการณ์จริง มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ รวมทั้งความร่วมมือในลักษณะของเครือข่ายระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกมีความรู้อย่างรอบด้านจากอุปกรณ์ที่ทันสมัยในสถานประกอบการ”
 
ทั้งนี้ยอดการผลิตรถยนต์ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านคัน ต่อปี มีกำลังแรงงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 700,000 คน โดยไทยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2563 จะผลิตรถยนต์ให้ได้ 3.5 ล้านคัน ทำให้ต้องเพิ่มกำลังแรงงานอีก 200,000 คน 
 
(มติชนออนไลน์, 20-11-2557)
 
"อมรา" ชี้เศรษฐกิจ-ละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัญหาใหญ่ระดับชาติ เหตุนายทุนข้ามชาติไม่เหลียวแลสิทธิแรงงาน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) คณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคล และสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ และแรงงานข้ามชาติ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิเตรียมชีวิต มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต แรงงานหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการแรงงานจังหวัดสมุทรสาคร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดเวทีเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "ประเทศไทยจะก้าวไปทางไหนกับการปฎิรูปประกันสังคม กรณีสถานะของแรงงานข้ามชาติ" โดยมีนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคล และสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์และแรงงานข้ามชาติ กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "ทิศทางประกันสังคมไทย สู่ประชาคมอาเซียน(AEC)
 
โดยนางอมรา กล่าวตอนหนึ่งว่า เมื่อพูดถึงแรงงานข้ามชาติ ต้องรวมไปถึงคนไทยด้วย เพราะเราอาจข้ามชาติไปทำประเทศอื่นได้ เมื่อประชาคมอาเซียนเปิด รั้วไม่มี แรงงานเหล่านี้ก็ไปๆมาๆ ทุกคนก็เป็นแรงงานข้ามชาติได้หมด ในมิติของการเปิดประชาคมอาเซียน ต้องมองเรื่องแรงงานกันใหม่ เพราะต่อไปคำว่าแรงงานข้ามชาติจะหมดไป แต่จะกลายมาเป็นแรงงานอาเซียนแทน ดังนั้น ประชาคมอาเซียนต้องร่วมมือกันเรื่องแรงงาน โดยมีกลไกที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน 3 อย่างที่ควรเกิดขึ้น คือ คณะกรรมาธิการด้านอาเซียนสังคม คณะกรรมาธิการอาเซียนด้านผู้หญิงและเด็ก ซึ่งคณะกรรมาธิการทั้งสองคณะนี้เกิดขึ้นแล้ว แต่คณะกรรมาธิการอาเซียนด้านแรงงานข้ามชาติ ยังไม่ยอมเกิด เกิดยากมาก เพราะเวลาเราพูดถึงอาเซียน มักจะบอกว่าเราเป็นอันหนึงอันเดียวกัน แต่เมื่อมาดูมิติด้านแรงงานแล้วไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเลย อย่างไรก็ตาม ตนหวังว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
 
"เราต้องติดตามดูว่าเมื่อเกิดเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ข้อตกลงแรงงานจะเป็นอย่างไร กรรมาธิการด้านแรงงานจะเป็นอย่างไร แรงงานข้ามชาติต้องได้รับการคุ้มครองดูแล ระบบประกันสังคมของแต่ละประเทศจะดูแลแรงงานที่ไม่มีสัญชาติของประเทศนั้นๆได้มากน้อยแค่ไหน แรงงานข้ามชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยหรือประเทศต้นทางที่ส่งแรงงานข้ามชาติเข้ามามีความร่วมมืออะไรบ้าง เพื่อให้เเกิดความคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์เข้าถึงประกันสังคม การคุ้มครองแรงงาน ไม่ถูกเอาเปรียบ ต้องให้การสนับสนุนแรงงานข้ามชาติด้วยการให้ความคุ้มครองทางสังคมที่เข้มแข็ง จึงถือเป็นมาตรฐานสำคัญที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของภูมิภาคได้"นางอมรา กล่าว
 
นางอมรา กล่าวต่อว่า ทุกประเทศในอาเซียนต้องตระหนักใน 3 เรื่อง ได้แก่ ประเทศสมาชิกอาเซียนควรร่วมมือทำความตกลงด้านประกันสังคมเพื่อคุ้มครองดูแลแรงงานและพลเมืองอาเซียนให้เป็นไปตามทิศทางเดียวกัน แรงงานข้ามชาติควรได้รับความคุ้มครองดูแลทางสังคมและประกันสังคมอย่างเท่าเทียมจากประเทศนั้นๆ และกลุ่มประเทศอาเซียนควรขยายความคุ้มครองทางสังคมโดยขยายระบบประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบให้ครอบคลุม ซึ่งขณะนี้สังคมโลกยอมรับว่าปัญหาทางสังคมที่มีอยู่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจ และปัญหาสิทธิมนุษยชน เนื่องจากนายทุนข้ามชาติมักไม่ดูแลเรื่องประกันสังคมของแรงงานในพื้นที่ ดังนั้น เห็นควรว่ารัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองให้ทุกคนไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ เอกชนต้องเคารพสิทธิมนุษยชนมีหน้าที่ดูแลไม่ละเมิดสิทธิ และสุดท้ายรัฐและเอกชนต้องเยียวยาหากมีการละเมิดสิทธิอย่างครอบคลุม
 
(กรุงเทพธุรกิจ, 20-11-2557)
 
ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย รอเข้าพบ รมว.แรงงาน 28 พ.ย. หารือปรับขึ้นค่าแรงงานตามเงินเฟ้อ 320 บาท
 
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยกับ รายการ ไอ.เอ็น.เอ็น. โฟกัสเศรษฐกิจ ว่า ส่วนตัวขอแสดงความยินดีการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขณะที่ค่าจ้างของแรงงานไทยนั้นเบื้องต้นได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แล้ว เพื่อขอเข้าพบในวันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พร้อมหารือเรื่องปรับขึ้นค่าแรงตามอัตราเงินเฟ้อ คือ ปรับขึ้นเป็น 320 บาท
 
ทั้งนี้ อยู่ระหว่างรอตอบรับจากทางกระทรวงแรงงานว่าจะให้เข้าพบในวันดังกล่าวหรือไม่ ส่วนผลสำรวจของ คสรท. ที่ระบุว่าค่าแรงที่เหมาะสมคือ 460 บาทต่อวัน เพื่อให้แรงงานมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ด้วยนั้น คงต้องดูถึงผลกระทบกับภาคธุรกิจด้วย 
 
(ไอเอ็นเอ็น, 20-11-2557)
 
จ.ตาก ขาดแคลนแรงงานกว่า 1 แสนคน วอน รง.ดัน กม.ให้ต่างด้าวเข้าทำงานเช้าเย็นกลับ
 
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อติดตามความคืบหน้าการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ และรับฟังข้อเสนอแนะการดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จากผู้ประกอบการเมื่อเร็วๆ นี้ทางกลุ่มผู้ประกอบการในจังหวัดตาก มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว 5 ข้อ ได้แก่ 1. ให้สามารถจ้างแรงงานต่างด้าวในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2. ให้เร่งดำเนินการตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ได้แก่ การจ้างแรงงานต่างด้าวแบบเดินทางเช้ามา - เย็นกลับ/การเดินทางไป - กลับ ที่มีช่วงระยะเวลาสั้น/การทำงานตามฤดูกาล (ภาคเกษตรกรรม) 3. การจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ 4. กำหนดกรอบระยะเวลาการผ่อนผันที่ให้แรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทำงานได้ ให้ชัดเจน หลังจากนั้น ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น การนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้แรงงานต่างด้าวเคลื่อนย้ายไปสู่กิจการอื่นๆ หรือพื้นที่ชั้นใน 5. ให้นำเงินค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวส่วนหนึ่งอยู่ในจังหวัดที่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวทำงาน เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวโดยไม่ต้องรอส่วนกลางจัดสรรงบประมาณ
       
รมว.แรงงาน กล่าวอีกว่า จังหวัดตากมีปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคเกษตรกรรม ดังนั้น สถานประกอบการจึงได้จ้างแรงงานต่างด้าวมาทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีนายจ้าง/สถานประกอบการ จำนวน 19,300 ราย มีความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จำนวน 126,851 คน เฉพาะในอำเภอแม่สอด ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว จำนวน 73,590 คน โดยล่าสุด จังหวัดตาก มีการจ้างแรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 26,403 คน ที่นำเข้ามาตาม MOU จำนวน 3,110 คน และมีแรงงานต่างด้าวที่ยื่นจดทะเบียน ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ จำนวน 45,083 คน โดยเป็นแรงงานต่างด้าวที่มายื่นจดทะเบียน ณ ศูนย์ฯ อำเภอแม่สอด จำนวน 30,264 คน ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในประเภทกิจการผลิตหรือจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป เกษตรและปศุสัตว์ กิจการต่อเนื่องการเกษตร งานบริการทั่วไป ส่วนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวใน จ.ตาก นั้น ขณะนี้มีแรงงานพม่าผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว 7,836 คน
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-11-2557)
 
หนุนให้นักโทษใช้กำไลข้อเท้า-ทำงานภาคประมง
 
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เข้าหารือกับ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาค้ามนุษย์ โดยเสนอให้ส่งผู้ต้องขังไปทำงานในเรือประมง เพื่อลดปัญหาการใช้แรงงานค้ามนุษย์ว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการลดปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ โดยจะให้ผู้ต้องขังที่ใกล้พ้นโทษ หรือพักการลงโทษ มีโอกาสหาลู่ทางทำมาหากิน เตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว เนื่องจากภาคประมงถือว่ามีปัญหาการใช้แรงงานมาตลอด อีกทั้งคนไทยไม่นิยมทำ
 
ดังนั้น หากผู้ต้องขังรายใดที่มีความรู้ความเข้าใจงานประมงและสมัครใจทำงานในเรือก็จะได้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการมีอาชีพทำให้รู้สึกกลมกลืนกับสังคมก่อนพ้นโทษ ขณะที่ภาคประมงก็ไม่ต้องใช้แรงงานเถื่อน จึงประสานงานกับปลัดกระทรวงแรงงานและอธิบดีกรมการจัดหางานเพื่อวางแนวทางผลักดันให้เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ ย้ำว่าการค้ามนุษย์คือการบังคับใช้แรงงาน แต่แนวทางการให้ผู้ต้องขังใช้แรงงานในเรือประมงต้องเน้นสมัครใจเท่านั้น หรือหากทำแล้วไม่ถนัดก็สามารถเปลี่ยนใจกลับขึ้นฝั่งได้
 
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ได้เดินทางตรวจเยี่ยมการทำงานของกรมคุมประพฤติ โดยมี นางกรรณิการ์ แสงทอง อธิบดีกรมคุมประพฤติ ให้การต้อนรับ พร้อมนำเยี่ยมศูนย์ควบคุมการติดตามด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Monitoring : EM) หรือกำไลข้อเท้า ซึ่งกรมคุมประพฤติเพิ่งจะจัดซื้อลอตใหม่ 3,000 เครื่อง โดยใช้งบ 74 ล้านบาท โดยกำไลข้อเท้าลอตนี้ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบจีพีเอสแทนการใช้เครื่องควบคุมติดตั้งที่บ้านเพื่อลดระบบทำงาน ซึ่งการใช้งานล่าสุด จะขยายพื้นที่เพิ่มจากเดิมเฉพาะ กทม. และปริมณฑล ไปยังต่างจังหวัดอีก 22 จังหวัด ประกอบด้วยนนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ปทุมธานี สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา สมุทรปราการ อุดรธานี สกลนคร เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก นครปฐม เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา
 
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวว่า กำไลคุมประพฤติ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามควบคุมพฤติกรรมผู้กระทำผิดได้โดยไม่ต้องคุมขัง เน้นใช้กับคดีที่ส่งผลกระทบกับสังคม เช่น คดีเมาแล้วขับ โดยเครื่องมือสามารถกำหนดเงื่อนไขการเดินทาง การห้ามเข้า-ออกพื้นที่ รวมถึงจำกัดระยะเวลาออกนอกพื้นที่ได้ ทำให้ผู้กระทำผิดไม่สามารถออกไปก่อเหตุซ้ำได้
 
(ไอเอ็นเอ็น, 22-11-2557)
 
เตือนคนหางานที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศเกาหลี
 
นายคมสัน พัวศรีพันธุ์ จัดหางานจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า ได้รับเบาะแสจากคนหางานว่ามีสาย นายหน้าจัดหางานชักชวนคนหางานให้สมัครไปทำงานประเทศเกาหลีใต้โดยแอบอ้างว่า สมัครงานผ่านบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจะให้เดินทางเข้าประเทศเกาหลีใต้ในลักษณะนักท่องเที่ยวและอยู่ลักลอบทำงาน โดยเรียกเก็บเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายคนละ 150,000 บาท ทำงานเกษตร ค่าจ้างเดือนละ 30,000 –40,000 บาท ทั้งนี้คนหางานที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศเกาหลีจะต้องสมัครเข้ารับการทดสอบความสามารถภาษาเกาหลีเพื่อสมัครไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี ตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ หรือ EPS และเมื่อสอบผ่านจึงจะสามารถสมัครเพื่อไปทำงานที่ประเทศเกาหลีได้ ดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกาหลี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงแรงงานเกาหลี โดยมีกรมการจัดหางานเป็นหน่อยงานดูแลรับผิดชอบในการจัดส่งเท่านั้น และการลักลอบไปทำงานโดยการเดินทางไปในลักษณะนักท่องเที่ยวนั้น คนหางานอาจถูกระงับการเดินทางจากด่านตรวจคนหางานได้หรือหากสามารถเดินทางเข้าประเทศเกาหลีและอยู่ลักลอบทำงานได้อาจประสบกับปัญหาภาวะยากลำบากในต่างประเทศ และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน 
 
สำนักงานจัดหางานจังหวัดพะเยา จึงขอแจ้งเตือนคนหางานหากต้องการสมัครไปทำงานต่างประเทศ โปรดตรวจสอบตำแหน่งงานจากสำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือขอรับคำปรึกษาก่อนตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ ได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดพะเยา หมายเลขโทรศัพท์ 054-887263 หรือที่เว็ปไซด์ www.doe.go.th/phayao 
 
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 23-11-2557)
 
เผยธุรกิจขายปลีก-ส่ง ขาดแรงงานมากสุด
 
นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักเศรษฐกิจการแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้รายงานเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเทียบกับค่าจ้างจริง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ปี 2557 มี 17 จังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยสูงที่สุดทั้งปี 2556 และ 2557 คือ ภูเก็ต รองลงมาคือ กรุงเทพฯ ส่วนจังหวัดที่มีค่าจ้างจริงเฉลี่ยต่ำที่สุดในปี 2556 คือ นราธิวาส และปี 2557 คือ ศรีสะเกษ จังหวัดที่มีมาตรฐานการครองชีพสูงมากขึ้น ซึ่งอยู่นอกปริมณฑลและเป็นเมืองอุตสาหกรรม คือ ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี ส่วนผลสำรวจข้อมูลความต้องการและการขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการ ปี 2557 พบว่า ความต้องการแรงงานในกิจการขายส่ง ขายปลีกมากสุดอยู่ที่ร้อยละ 22.92 รองลงมาคือ ก่อสร้างร้อยละ 8.38 และที่พักแรมและบริการด้านอาหารร้อยละ 7.30 ตามลำดับ
       
ส่วนระดับการศึกษาที่ต้องการแรงงานมากที่สุดคือ ต่ำกว่า ม.3 อยู่ที่ ร้อยละ 23.04 รองลงมาคือ ป.ตรีและสูงกว่า ร้อยละ 22.53 และ ม.3 อยู่ที่ ร้อยละ 16.74 ตามลำดับ ขณะที่ทักษะฝีมือที่ต้องการมากที่สุดคือ แรงงานมีฝีมือร้อยละ 45.42 รองลงมาเป็นแรงงานกึ่งฝีมือร้อยละ 28.44 และแรงงานไร้ฝีมือ ร้อยละ 24.97 ตามลำดับ
       
ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มเดือนตุลาคม 2557 พบว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวแต่ค่อนข้างช้าและไม่ชัดเจนในทุกภาคส่วนโดยอุปสงค์ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่บางส่วนถูกรั้งไว้ด้วยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ ภาระหนี้ในครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวเป็นลำดับ ความต้องการที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องตามความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราการจองซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อลดลงตามราคาพลังงานและอาหารสด ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจากการขาดดุลบริการ รายได้ และเงินโอนตามการส่งกลับกำไรและเงินปันผล ส่วนดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุล โดยรวมดุลการชำระเงินขาดดุล ส่วนสถานการณ์การจ้างงานกันยายน 57 มีผู้ว่างงาน 118,680 คน อัตราการขยายตัว ร้อยละ10.28 อัตราการเติบโตของผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือนตุลาคม 57 อยู่ที่ร้อยละ 2.29
       
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ขอให้สำนักงานคณะกรรมการค่าจ้าง นำรายงานสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจแรงงานสรุปเป็นรายงานสำหรับผู้บริหาร โดยจะรายงานเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสนั้นจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการค่าจ้างก่อน เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบด้วย
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-11-2557)
 
แรงงาน 2.8 ล้านยังไม่ได้ 300 บาท
 
นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาส 3 ปี 57 ว่า มีผู้ว่างงาน 326,616 คน หรือ 0.84% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีอัตราการว่างงาน 0.77% โดยผู้ว่างงานเป็นกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน 171,117 คน เพิ่มขึ้น 14.6% เป็นการเลิกจ้าง 15,968 คน และลาออก 128,971 คน ทั้งนี้ เพราะจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการขยายกิจการและการจ้างงาน ส่วนค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนยังไม่รวมค่าล่วงเวลา และผลประโยชน์ตอบแทนอื่น เพิ่มขึ้น 11.4% อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีแรงงานที่ทำงานเต็มเวลา แต่ได้รับค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 300 บาทอยู่ 2.8 ล้านคน ในจำนวนนี้ 64.4% มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา และ 21% มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
 
สำหรับมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังคือการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 58 ที่มีแนวโน้มดีขึ้น จะทำให้ต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแรงงานระดับล่างและแรงงานกึ่งฝีมือ ที่ปัจจุบันยังมีคุณลักษณะไม่ตรงกับความ ต้องการของตลาด ดังนั้น จะต้องเร่งเพิ่มสัดส่วนการศึกษาสายอาชีวะกับสายสามัญให้อยู่ที่ 45:55 ภายในปี 58 พัฒนาทักษะแรงงานให้ตรงความ ต้องการของตลาด วางแผนการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ และเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น
 
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามการผิดนัดชำระหนี้เชื่อภายใต้การกำกับและบัตรเครดิต ซึ่งพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 90,157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.8% คิดเป็น 2.7% ต่อสินเชื่อรวม ขณะที่สินเชื่อภายใต้การกำกับผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน เพิ่มขึ้น 48.9% มูลค่า 14,644 ล้านบาท คิดเป็น 4.7% ของสินเชื่อภายใต้การกำกับรวม สำหรับยอดคงค้างชำระบัตรเครดิตเกิน 3 เดือนเพิ่มขึ้น 28.1% มูลค่า 8,153 ล้านบาท คิดเป็น 2.9% ของสินเชื่อภายใต้การกำกับรวม “แม้การผิดนัดชำระหนี้ยังไม่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อภาพรวม แต่ต้องเฝ้าระวัง เพราะสินเชื่อกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจกระทบทั้งความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินและคุณภาพชีวิตของครัวเรือน เพราะเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เมื่อเกิดหนี้เสียเพิ่มขึ้นมาก อาจทำให้สถาบันการเงินต้องกันสำรองเงินเพิ่ม”
 
ขณะเดียวกัน สศช.ยังเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและผู้พยายามฆ่าตัวตาย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยปี 55 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 21,195 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 43,500 คนในปี 56 ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเจ็บป่วยเรื้อรัง
 
(ไทยรัฐ, 25-11-2557)
 
แนะปรับสวัสดิการแรงงานไทย เน้น "ปั๊มบุตร-คลอดลูก-เงินสำรองยังชีพ"
 
ผศ.ดร.วิชัย โถสุวรรณจินดา ผู้บริหารโครงการปริญญาเอกสาขานโยบายสาธารณะและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เปิดเผยว่า จากการศึกษาด้านสวัสดิการแรงงานของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบ พบว่า หลายประเทศเน้นสวัสดิการการคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรเพิ่มขึ้น การส่งเสริมสวัสดิการออมเงินผ่านกองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้แรงงานมีเงินไว้ใช้ในยามเกษียณจากการทำงาน และการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บจากการทำงาน
       
ผศ.ดร.วิชัย กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องปรับปรุงสวัสดิการแรงงานและระบบประกันสังคมเพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรและรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยโดยในเรื่องสวัสดิการการคลอดบุตรและเลี้ยงดูบุตรนั้นควรเพิ่มวันลาคลอดจาก 90 วัน เพิ่มเป็น 120 วัน โดยได้รับค่าจ้างและรัฐบาลจัดสรรงบอุดหนุนการเลี้ยงดูลูก และสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไปมีสถานเลี้ยงเด็ก รวมทั้งสถานประกอบการต้องให้โอกาสแรงงานชายลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตร ได้ 15 วันโดยได้รับค่าจ้าง
       
ทั้งนี้ ในส่วนของสวัสดิการออมเงิน รัฐบาลจะต้องปรับปรุงกฎหมายโดยให้ทุกสถานประกอบการต้องมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและให้นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนร้อยละ 10 ของค่าจ้างและลูกจ้างจ่ายร้อยละ 5 ของค่าจ้างหรือตามกำลังที่ลูกจ้างจะจ่ายได้ ขณะเดียวกัน สำนักงานประกันสังคมจะต้องขยายอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปีและค่อยทยอยเพิ่มเป็น 65 ปี และเพิ่มอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในส่วนของเงินสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 3 เพิ่มเป็นร้อยละ 8 ภายในเวลา 5 ปี แรงงานจะได้มีเงินเพียงพอไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณ ซึ่งควรอยู่ที่เดือนละ 5 พันบาท ไม่ใช่เดือนละ 3 พันบาทเช่นปัจจุบัน ซึ่งไม่พอใช้จ่าย รวมทั้งส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุหากเกษียณแล้วยังจ้างงานต่อไปนายจ้างจ่ายค่าจ้างร้อยละ 80 และกองทุนประกันสังคมหรือรัฐบาลจ่ายร้อยละ 20
       
นอกจากนี้ การรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บจากการทำงานควรยุบรวมกองทุนเงินทดแทนเข้ากับกองทุนประกันสังคม เพื่อให้แรงงานใช้สิทธิประโยชน์กรณี เจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานได้อย่างคล่องตัวและนายจ้างไม่ต้องกังวลกับการถูกปรับต้องเพิ่มอัตราเงินสมทบ หากลูกจ้างเจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงานเพิ่มขึ้น
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 25-11-2557)
 
ก.แรงงาน คาดปี 58 ศูนย์ Smart Job Center ช่วยลดตัวเลขผู้ว่างงานเขต กทม.- ปริมณฑล ได้ร้อยละ 10
 
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (รมว.รง.) กล่าวในระหว่างเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์ด้านแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงานมีแนวคิดที่จะเป็นเอเยนต์หางานให้กับคนไทยมีโอกาสได้งานทำอย่างเต็มรูปแบบโดยผ่านศูนย์ Smart Job Center ซึ่งจะใช้ทรัพยากรกระทรวงแรงงานที่มีอยู่อย่างเต็มที่ร่วมกัน การสร้างศูนย์ดังกล่าว แต่ถ้าทำดีตึกสวยงามแต่ไม่มีใครมาหา นั่นคือสิ่งที่ต้องคิด การต้อนรับการให้บริการบรรยากาศต้องอบอุ่น คือโจทย์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมกันคิด ทั้งนี้ คนไทยต้องมีงานทำ แต่ปัจจุบันคนไทยบางส่วนอาจเข้าไม่ถึงการมีงานทำ เนื่องจากอาจไม่มีการบริหารจัดการเหมือนต่างประเทศที่มีเอเยนต์จัดหางาน กระทรวงแรงงานจึงต้องเข้ามาทำบทบาทเสมือนเอเยนต์รวมทั้งสร้างค่านิยมการใช้แรงงานให้ถูกต้อง
       
พล.อ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นสถานการณ์ด้านแรงงานต่างชาติ มอบหมายให้กรมการจัดหางาน วิเคราะห์ลักษณะและศักยภาพของแรงงานต่างชาติ ชาติต่างๆ ที่ต้องการจะเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยประเด็นที่จะวิเคราะห์ ได้แก่ ความเหมาะสมกับลักษณะงานประเภทใด นิสัยใจคอ อารมณ์ วัฒนธรรม ทั้งนี้การวิเคราะห์ต้องครอบคลุมทุกมิติไม่ใช่เฉพาะด้านแรงงานเท่านั้น
       
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า คาดว่า เมื่อเปิดศูนย์ Smart Job Center จะมีส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มผู้หางานระดับกลางถึงระดับสูงได้ โดยได้มีการกำหนดเป้าหมาย โดยคาดว่าจะมีการขยายศูนย์ ไปยังปริมณฑล ทั้งนี้ ใน 2558 จะสามารถลดตัวเลขผู้ว่างงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ลงร้อยละ 8 - 10 จากตัวเลขผู้ว่างงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับความก้าวหน้าของศูนย์ Smart Job Center ได้มีการรับมอบแปลนปรับปรุงอาคารจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ รวมถึงการเตรียมบุคลากรโดยซักซ้อมความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงาน และจัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้พร้อมที่จะให้บริการประชาชนตามกำหนดการเปิดศูนย์ ล่าสุดมีการดำเนินการไปแล้วกว่า 50% เบื้องต้นจะมีพิธีการเปิดศูนย์ฯ ได้ ในวันที่ 19 มกราคม 2558
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 25-11-2557)
 
คร.เล็งตรวจวัดแร่ใยหิน เฝ้าระวังโรคในโรงงาน
 
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่โรงแรมเอเชีย ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) กล่าวในการประชุมเรื่อง "เร่งเอเชียขจัดภัยใยหิน หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และสังคม" ว่า มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2554 เห็นชอบยุทธศาสตร์สังคมไทยไร้แร่ใยหิน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยกเลิกการนำเข้า การผลิต และการใช้แร่ใยหินได้อย่างจริงจัง ซึ่งผลจากการประชุมครั้งนี้จะรวบรวมให้หน่วยงานที่มีอำนาจออกนโยบายกำหนดมาตรการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในไทย
 
นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า หลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นที่แน่ชัดว่าต้องยกเลิกแร่ใยหิน แต่ยังติดปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ และข้ออ้างที่เกี่ยวข้องกับการเปิดการค้าเสรี แต่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยืนยันว่าต้องยกเลิกใช้อย่างเด็ดขาด ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้แร่ใยหินร่วมในการผลิต 100 แห่ง และมีโรงงานที่ใช้แร่ใยหินเป็นหลักในการผลิต 20-30 อุตสาหกรรม ซึ่ง คร.จะประสานไปยังกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงานและผู้ประกอบการ ในการตรวจวัดแร่ใยหินที่กระจายในอากาศภายในโรงงาน เพื่อให้คำแนะนำในการลดอันตรายให้ต่ำที่สุด รวมทั้งการใช้เครื่องป้องกัน ซึ่งจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในอนาคตจะมีผู้ป่วยเกิดขึ้นประมาณ 100,0000 รายต่อปี ส่วนไทยคาดว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 5,000-10,000 คน ซึ่งต้องสร้างระบบติดตาม เพื่อให้แรงงานได้รับการตรวจรักษา โดยใน 3 ปีข้างหน้าต้องมีการเก็บข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบ
 
(ASTV ประชาติธุรกิจ, 25-11-2557)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กปปส. เสนอ กมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ-เลิกปาร์ตี้ลิสต์-ซือขายเสียงเพิกถอนสิทธิตลอดชีพ

$
0
0

ถาวร เสนเนียม-สาทิตย์ วงศ์หนองเตย-เอกนัฏ พร้อมพันธุ์-สุริยะใส กตะศิลา-แซมดิน เลิศบุศย์ ให้ข้อเสนอต่อการร่างรัฐธรรมนูญ โดยย้ำระบบพรรคการเมืองต้องปลอดซื้อเสียง ขจัดนายทุนพรรค ยกเลิก ส.ส.บัญชีรายชื่อ ให้ศาลมีอำนาจตัดสินการเลือกตั้งแทน กกต. ใช้ระบบแต่งตั้ง ส.ว. ประชาชนฟ้องคดีคอร์รัปชั่นได้และปลอดอายุความ

ที่มา: เว็บไซต์รัฐสภา

25 พ.ย. 2557 - เว็บไซต์รัฐสภา รายงานว่า ระหว่างเวลา 09.30 - 12.00 น. วันนี้ (25 พ.ย.) ที่ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 3 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งทีประชุมได้รายงานความคืบหน้าในการทำงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยในวันนี้เป็นการการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพรรคการเมืองต่างๆ และกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมืองในหัวข้อ "จะยกร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรเพื่อให้สังคมไทยมีอนาคตที่ดีเพื่อส่งมอบให้ลูกหลานได้อย่างไร"

โดยที่ประชุมได้เชิญคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข (กปปส.) มีนายถาวร เสนเนียม นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นายสุริยะใส กตะศิลา และ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ เป็นผู้แทนในการเข้าประชุม

ทั้งนี้ในเว็บไซต์ไทยพีบีเอสได้เผยแพร่คำแถลงของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้เสนอต่อคณะกรรมาธิการ มีรายละเอียดดังนี้

000

วันนี้ กปปส. มาให้ข้อเสนอแนะกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเราเชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูป เราหวังว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งเราหวังว่า การที่ กมธ.ได้เชิญเรามาให้ความคิดเห็น ไม่ใช่เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น แต่จะมีการทำอย่างจริงจัง จากนี้ต่อไป เราจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของมวลมหาประชาชนในการติดตามการทำงานของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญและรวมไปถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่ผลักดันการปฏิรูป จากนี้ต่อไปเราจะตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วยแกนนำกปปส.ทั้ง 5 คนที่มาเสนอความคิดเห็นในวันนี้ ซึ่งประกอบด้วย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายถาวร เสนเนียม, นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์, เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ และนายสุริยะใส กตะศิลา จะขอความร่วมมือกับกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญให้แถลงความคืบหน้าในการร่างรัฐธรรมนูญต่อสาธารณชนเป็นระยะๆ

ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ กปปส.จะเสนอให้กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้  ได้แก่  หลักสำคัญที่ต้องอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ คือ ต้องระบุว่า ประเทศไทยต้องปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข, ต้องมีระบบถ่วงดุลอำนาจ 3 ฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ รวมไปถึงองค์กรอิสระ อย่างชัดเจน, ต้องขจัดการผูกขาดอำนาจ-การรวมศูนย์อำนาจที่หน่วยราชการ และกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน, รัฐธรรมนูญต้องปฏิบัติใช้ได้จริง

กปปส. ได้รวบรวมความคิดเห็นจากมวลมหาประชาชนตลอดระยะเวลา 204 วันที่ในช่วงที่มีการชุมนุม และได้ข้อสรุปในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ มานำเสนอให้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในวันนี้  กล่าวคือ

พรรคการเมือง

หัวใจสำคัญของการออกแบบระบบการเมืองหรือการเลือกตั้ง คือ การกำจัดกระบวนการทุจริตคอรัปชั่น ทุจริตการเลือกตั้ง ซื้อสิทธิ์ขายเสียงในทุกระดับ ตั้งแต่นายทุนเข้ามาซื้อเสียง ซื้อ ส.ส. เข้าพรรค จากนั้น ส.ส.ก็ใช้เงินไปซื้อเสียงของประชาชนในการเลือกตั้ง พอเข้ามาอยู่ในอำนาจก็ใช้เงินใช้ผลประโยชน์แทรกแซงระบบราชการ การทำงานขององค์กรอิสระ และฝ่ายตุลาการ เราต้องทำให้พรรคการเมืองเป็นพรรคของประชาชน ประชาชนเป็นเจ้าของพรรค ไม่ใช่นายทุน ต้องระบุให้ชัดว่า พรรคการเมืองต้องมีฐานสมาชิกหรือประชาชนผู้ลงทะเบียนเป็นเจ้าของพรรคไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซนต์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด และต้องคำนึงตามสัดส่วนของภูมิภาคด้วย  ต้องกำหนดชัดเจนว่า พรรคการเมืองต้องได้รับเงินสนับสนุนเพื่อนำไปทำกิจกรรมของพรรคจากผู้ที่ลงทะเบียนเป็นเจ้าของพรรคอย่างเหมาะสม พอเพียง ต้องเปิดโอกาสให้เจ้าของพรรคได้สนับสนุนพรรคอย่างโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินผ่านภาษี ซึ่งในปัจจุบันที่ให้ผู้เสียภาษีสนับสนุนพรรคการเมืองปีละ 100 บาทนั้นไม่พอเพียง ต้องกำหนดใหม่ตามสัดส่วนไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของจำนวนเงินที่เสียภาษี  หรือ บริจาคเงินเป็นก้อนได้แต่ต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่จ่ายในแต่ละปี

รัฐธรรมนูญต้องกำหนดชัดเจนว่า กรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกเลือกโดยเจ้าของพรรค และเจ้าของพรรคจะมีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวผู้สมัครของพรรคลงเลือกตั้งในทุกระดับ

ระบบการเลือกตั้ง-ยกเลิกสส.บัญชีรายชื่อ

ในส่วนของระบบการเลือกตั้ง ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า โทษของผู้ที่กระทำความผิดในการซื้อขายเสียงจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต นอกจากนี้ กปปส.ยังได้เสนอให้ถอนอำนาจ "กึ่งตุลาการ" ออกจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อจากนี้ อำนาจการให้ใบเหลืองใบแดง ควรจะเป็นหน้าที่ของศาล อาจจะมีการตั้งศาลเฉพาะ หรือ สาขาของศาลขึ้นมาทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ

ต้องการให้ยกเลิกระบบสส.บัญชีรายชื่อ เพราะกปปส.เห็นว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ได้ทำหน้าที่และไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมย์เดิม แต่ระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อกลับเป็นช่องทางให้นายทุนเข้ามาครอบงำกิจการของพรรค และไม่มีความยึดโยงกับประชาชน

อำนาจหน้าที่ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา  กปปส.เห็นว่าจะต้องคัดสรร ส.ว.จากอาชีพต่างๆ เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และเป็นที่ปรึกษาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

การกระจายอำนาจ-เลือกตั้งผู้ว่าฯ

กปปส.เสนอให้ยุบราชการส่วนภูมิภาค กระจายอำนาจการบริหาร รวมถึงงบประมาณไปสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมกับการบริหารท้องถิ่นของตนเอง

การแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชัน

กปปส.เสนอให้ประชาชนถือว่าเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องร้องเองได้ ให้คดีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชันไม่มีอายุความ และจะต้องเพิ่มโทษกับผู้ที่มีความผิดฐานทุจริตคอรัปชัน คือ ตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต รวมทั้งเสนอให้มีการปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ ให้มีการผ่าโครงสร้างตำรวจ ลดการรวมศูนย์อำนาจของตำรวจไว้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระจายอำนาจของตำรวจไปสู่จังหวัด ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คุณให้โทษ การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจในพื้นที่ได้

ลดความเหลื่อมล้ำ-ปฏิรูปพลังงาน

การปฏิรูปความเหลื่อมล้ำ ต้องสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้ประชาชนทุกประเทศในทุกระดับ เช่น โอกาสในการเข้าถึงที่ดินทำกิน สาธารณสุข การศึกษาฟรีตลอดชีพ

การปฏิรูปพลังงาน ต้องเปลี่ยนจากการผูกขาดเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด มาเป็นแนวคิดว่าพลังงานเป็นทรัพยากรของประเทศไทย ต้องถูกบริหารเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ และประชาชน

ทั้งหมดนี้เป็นข้อเสนอโดยย่อที่กปปส.จะเสนอต่อกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ  เราหวังว่าการปฏิรูปครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ เราหวังว่าการปฏิรูปและการร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วม รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศไทยที่ประชาชนมีส่วนร่วม

ในส่วนของการลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น กปปส.ไม่มีความขัดข้อง แต่ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลต้องหาหนทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความชอบธรรม ขอย้ำว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าการทำประชามติ คือ การทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการบ้านที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปต้องชี้แจงประชาชนให้ได้ว่าจะเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไรภายใต้กฎอัยการศึกที่มีอยู่ในปัจจุบัน

วันนี้แม้ว่ามวลมหาประชาชนจะไม่ได้ออกมาชุมนุม แต่ก็ยังติดตามและคาดหวังว่าการปฏิรูปจะสำเร็จได้ เราไม่อยากให้การต่อสู้ของเราสูญเปล่า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตองค์การนศ.หลายมหา’ลัย ร่อน จม.ถึง องค์การฯ ปจบ. โปรดปกป้องนศ.จากเผด็จการทหาร

$
0
0

อดีตสมาชิกองค์การและสโมสรนิสิตนักศึกษา จากหลากหลายมหาวิทยาลัย ออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ สโมสร/สภา/องค์การ นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่กำลังถูกลิดรอนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร

25 พ.ย.2557 อดีตสมาชิกองค์การและสโมสรนิสิตนักศึกษา จากหลากหลายมหาวิทยาลัย รวมลงชื่อจดหมายเปิดผนึกถึง สโมสร/สภา/องค์การ นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ “ได้โปรดปกป้องนักศึกษาของพวกท่าน” โดยเรียกร้องให้องค์กรนักศึกษาทั่วประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กำลังถูกลิดรอนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร และแสดงบทบาทท่าทีในการปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ในการแสดงออกทางการเมืองมิให้ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐที่พยายามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา เพราะการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของนักศึกษาเป็นหน้าที่หลักของกลุ่มองค์กรข้างต้น ที่ได้รับความไว้วางใจผ่านการเลือกตั้งเข้ามาเป็นตัวแทนของพวกเขา

โดยมีรายละเอียดดังนี้

จดหมายเปิดผนึกถึง สโมสร/สภา/องค์การ นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ: ได้โปรดปกป้องนักศึกษาของพวกท่าน

 

จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เข้าทำการควบคุมอำนาจการปกครอง และใช้ระบบเผด็จการทหารในการบริหารประเทศ ผ่านมาร่วม 6 เดือน และเป็นที่ปรากฏโดยทั่วไปว่ามีการการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่ออย่างกว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่ในรั้วมหาวิทยาลัย ที่มีการเรียกตัว จับกุม ข่มขู่ กดดัน อาจารย์และนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เพียงเพราะพวกเขาแสดงออกในทางที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทั้งที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แสดงออกได้ตามระบอบประชาธิปไตย ดังเช่นที่บางกลุ่มองค์กรก็เคยออกมาต่อต้านและแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก่อนๆหน้า

ทั้งนี้องค์การนักศึกษา หรือสโมสรนิสิตนักศึกษาในประเทศไทยก่อตั้งขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายในการเป็นสื่อกลางของนักศึกษาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นกระบอกเสียง และองค์กรสำคัญในการปกป้องสิทธิของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ทั้งยังเป็นองค์กรของเหล่าปัญญาชนในการชี้นำสังคมรวมถึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบอบประชาธิปไตย แต่ในปัจจุบันองค์กรเหล่านี้กลับไม่ได้ทำหน้าที่ในการปกป้องสิทธิของนักศึกษาแต่อย่างใด และยังคงมีการคุกคามนักศึกษาทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อดีตสมาชิกองค์การและสโมสรนิสิตนักศึกษา จากหลากหลายมหาวิทยาลัยที่มีรายชื่อข้างต้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแสดงจุดยืนประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ประชาชนและนิสิตนักศึกษาทุกคนพึงมี จึงขอเรียกร้อง ไปยังสโมสร/สภา/องค์การ นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ ดังนี้

1.   ขอเรียกร้องให้ สโมสร/สภา/องค์การ นิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งสหพันธ์ สมาพันธ์ เครือข่ายองค์การ/สโมสรนิสิตนักศึกษาทั้งหลายไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างใด โปรดจงตระหนักถึงความสำคัญในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กำลังถูกลิดรอนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ชิงอำนาจรัฐมาด้วยความไม่ชอบธรรม การปล่อยให้บรรยากาศอันไม่เป็นประชาธิปไตยนี้เกิดขึ้นต่อไป มีแต่จะทำให้มหาวิทยาลัยที่ควรเป็นสถาบันอุดมศึกษาถูกลิดรอนเสรีภาพทางวิชาการลงไป เห็นได้ชัดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีการห้ามจัดงานเสวนาทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหลายๆงาน

2.   ขอเรียกร้องให้ สโมสร/สภา/องค์การ นิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งสหพันธ์ สมาพันธ์ เครือข่ายองค์การ/สโมสรนิสิตนักศึกษาทั้งหลายไม่ว่าจะมีชื่อเรียกอย่างใด แสดงบทบาทท่าทีในการปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ในการแสดงออกทางการเมืองมิให้ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐที่พยายามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษา เพราะการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของนิสิตนักศึกษาเป็นหน้าที่หลักของกลุ่มองค์กรข้างต้น ที่ได้รับความไว้วางใจผ่านการเลือกตั้งเข้ามาเป็นตัวแทนของพวกเขา

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กลุ่มองค์กรนักศึกษาทั้งหลายจะเห็นประโยชน์และนำข้อเรียกร้องของเราไปพิจารณา

 

ด้วยจิตคารวะ

รักษ์ชาติ วงศ์อธิชาติ อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2554)

ยรรยง ผิวผ่อง อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น (2551)

ศานนท์ หวังสร้างบุญ อดีตนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2553)

เจนวิทย์ เชื้อสาวถี อดีตประธานกรรมาธิการฝ่ายการเมือง สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2553)

ปรัชญา นงนุช อดีตประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2555)

วณัฐ โคสาสุ อดีตประธานฝ่ายการเมืองและการมีส่วนร่วม องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2552)

ณัชฎา คงศรี อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2551)

ปกรณ์ อารีกุล อดีตกรรมการบริหารสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2552)

อนุธีร์ เดชเทวพร อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2551)

พีระพล เวียงคำ อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2551)

พรชัย ยวนยี อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (2554)

อุลัยรัตน์ ชูด้วง อดีตรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ ฝ่ายนักศึกษา (2550)

อิทธิพล หอมเกษร อดีตรองนายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ฝ่ายวางแผนและพัฒนา (2553)

ธิวัชร์ ดำแก้ว อดีตกรรมการบริหารสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ (2552)

โชคชัย หลาบหนองแสง อดีตนายกองค์การบริหาร องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ (2547)

มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ อดีตรองเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ (2550)

ธรรมชาติ กรีอักษร อดีตเลขาธิการสภานักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ (2554)

ศราวุฒิ  เรือนคง ประชาสัมพันธ์ สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2555)

พัทธนิตย์ สุวรรณประดับ ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2554)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.หอพัก-แยกหอพักชาย-หญิง

$
0
0

มติ ครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.หอพัก ใช้กับผู้กำลังศึกษาไม่เกิน ป.ตรี-อายุไม่เกิน 25 ปี กำหนดให้หอพักชายและหอพักหญิงไม่ปะปนกัน กำหนดหลักเกณฑ์เรียกเก็บค่าเช่า การทำสัญญาเช่า การขอใบอนุญาต-การเพิกถอนใบอนุญาต และการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก สังกัด พม.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล (ที่มา: เว็บไซต์รัฐบาลไทย)

26 พ.ย. 2557 - ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ (25 พ.ย.) ที่ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม เว็บไซต์รัฐบาลไทยมีการเผยแพร่ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยหนึ่งในเรื่องที่มีการเห็นชอบคือร่าง "พ.ร.บ.หอพัก พ.ศ. ...." โดยมีรายละเอียดดังนี้

000

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับในปัจจุบันแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับ ..) พ.ศ. .... (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำรวจจำนวนหอพักที่เข้าเกณฑ์และได้รับผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการก่อนร่างพระราชบัญญัติจะมีผลใช้บังคับ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดให้หอพัก หมายความว่า สถานที่ที่รับเฉพาะผู้พักตามพระราชบัญญัตินี้เข้าพักอาศัยโดยมีการเรียกเก็บค่าเช่า โดยผู้พักได้แก่ ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในสถานศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีและอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี

2. หอพักที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งร่างพระราชบัญญัตินี้ คือ หอพักสถานศึกษาซึ่งได้แก่ หอพักที่ผู้ประกอบกิจการหอพักเป็นสถานศึกษา และหอพักเอกชนซึ่งได้แก่ หอพักที่ผู้ประกอบกิจการเป็นบุคคลทั่วไป

3. กำหนดให้หอพักมี 2 ประเภท คือ หอพักชายและหอพักหญิง เพื่อป้องกันมิให้มีการปะปนกันระหว่างผู้พักชายและผู้พักหญิง ทั้งนี้ ไม่ได้ตัดสิทธิผู้ประกอบกิจการหอพักที่จะสร้างหอพักชายและหอพักหญิงอยู่ในบริเวณเดียวกันแต่ต้องแยกอาคารและใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักออกจากกัน

4. กำหนดหลักเกณฑ์การรับผู้พัก ดังนี้

4.1 หอพักสถานศึกษาสามารถรับผู้พักซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือระดับอุดมศึกษาได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้พักจะศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้นหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งได้กำหนดข้อยกเว้นให้หอพักสถานศึกษาสามารถรับบุคคลทั่วไปเข้าพักเป็นการชั่วคราวได้ในระหว่างปิดภาคการศึกษาที่ไม่มีผู้พัก

4.2 หอพักเอกชนกำหนดให้รับผู้พักได้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากผู้พักดังกล่าวสามารถดูแลตนเองได้พอสมควร

5. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการหอพักต้องทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือระหว่างผู้ประกอบกิจการหอพักและผู้พักตามแบบที่คณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพักกำหนด เพื่อให้สัญญาเช่าหอพักมีมาตรฐานเดียวกัน

6. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบกิจการหอพักและผู้พัก

7. กำหนดให้ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการหอพักสถานศึกษาและหอพักเอกชนต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักจากนายทะเบียน คือผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งในเขตพื้นที่ที่หอพักตั้งอยู่ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้โอนอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการหอพักให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้กำหนดให้บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และรายได้อื่น ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพักตามพระราชบัญญัตินี้ ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

8. กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักสถานศึกษาใช้ได้ตลอดไปโดยไม่มีอายุ แต่จะสิ้นผลเมื่อผู้ประกอบกิจการหอพักถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษาหรือเลิกกิจการ แล้วแต่กรณี และในกรณีผู้ประกอบกิจการหอพักดังกล่าวประสงค์จะประกอบกิจการหอพักต่อไป ให้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นหอพักเอกชน สำหรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักเอกชนให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

9. กำหนดให้หอพักสถานศึกษาได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพัก และอาจได้รับสิทธิในการได้รับลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษจากการประกอบกิจการหอพักโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากรหรือได้รับลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน สำหรับหอพักเอกชนที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพักอาจได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและการสนับสนุนด้านการเงินหรือวัสดุอุปกรณ์เช่นเดียวกับหอพักสถานศึกษา เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบกิจการหอพักเอกชนเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัตินี้มากยิ่งขึ้น

10. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการหอพักต้องจัดให้มีผู้จัดการหอพักเพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลหอพัก รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการหอพักจัดการหอพัก

11. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมกิจการหอพักโดยให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการของคณะกรรมการและของคณะอนุกรรมการ

12. กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักของนายทะเบียนไว้ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้พัก โดยกำหนดเหตุที่จะเพิกถอนใบอนุญาตไว้เพียง 2 กรณีคือ 1. หอพักไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการหอพัก หรือ 2. ผู้ประกอบกิจการหอพักขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้

13. กำหนดบทเฉพาะกาล

13.1 กำหนดให้ใบอนุญาตหรือการอนุญาตใด ๆ ที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน

13.2 โดยที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติห้ามผู้ใดใช้คำว่า “หอพัก” ในสถานที่ของตนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ที่ใช้คำดังกล่าวอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงกำหนดให้บุคคลดังกล่าวเลิกใช้คำว่า “หอพัก” ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรรมการสิทธิฯ เรียกร้องยุติความรุนแรงสตรี-เด็กในจว.ชายแดนใต้

$
0
0

26 พ.ย. 2557 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง ข้อเรียกร้องยุติการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีเนื้อหาดังนี้



แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เรื่อง ข้อเรียกร้องยุติการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

       
ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจ และการล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาที่พบทั่วไปในสังคมไทยและนับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมานับเป็นเวลากว่า 10 ปี ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของประชาชนในพื้นที่อย่างกว้างขวางทั้งด้านร่างกายและจิตใจแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้หญิงและเด็ก โดยผู้หญิงซึ่งเป็นทั้งผู้ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ปัจจุบันมีหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าหลายพันคนจากสถานการณ์ความไม่สงบและยังมีผู้หญิงและเด็กหญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยตรงจนถึงขั้นเสียชีวิตอีกจำนวนไม่น้อย โดยผู้หญิงที่เสียชีวิตเหล่านี้รวมถึงผู้หญิงที่เป็นบุคลากรทางสาธารณสุข หญิงมีครรภ์ หญิงพิการ หญิงสูงอายุและเด็กหญิง

นอกจากความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบแล้วผู้หญิงยังต้องเผชิญกับความรุนแรงซ้ำซ้อนจากปัญหาความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เช่น ความรุนแรงทางเพศในครอบครัว เนื่องจากสังคมยังมองว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว และสาเหตุของปัญหาส่วนหนึ่งมาจากผู้หญิงเอง จึงไม่มีมาตรการชัดเจนในการแก้ปัญหาเพื่อยุติความรุนแรงและการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่าผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งต้องอยู่ภายใต้กฎชุมชนซึ่งผู้นำชุมชนเป็นผู้ออกกฎระเบียบ เช่น มีการบังคับให้ผู้หญิงหรือเด็กหญิงแต่งงานโดยไม่สมัครใจและมีการลงโทษผู้หญิงหรือเด็กหญิงที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดขึ้น

ในโอกาสวันที่ 25 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการปกป้องคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างมาตรการในการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้หญิงเพื่อป้องกันหรือลดระดับความรุนแรงที่เกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบ ความรุนแรงในครอบครัว หรือความรุนแรงทางเพศ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคม ดังนี้

1) รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และสร้างมาตรการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิงจากความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมถึงให้มีการฟื้นฟู เยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจแก่ผู้หญิงและเด็กหญิงที่ได้รับความรุนแรง

2) กลไกการทำงานในทุกภาคส่วนของสังคมต้องขจัดอุปสรรคต่างๆในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง ตามหลักกฎหมาย และหลักการศาสนาอิสลาม รวมถึงให้มีกระบวนการให้คำปรึกษาในทันทีที่ผู้หญิงและเด็กหญิงได้รับความรุนแรงทุกรูปแบบ

3) ให้ทุกภาคส่วนคำนึงถึงความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพของสตรี ในการดำรงชีวิตและให้ความสำคัญกับการจัดตั้งครอบครัวเพื่อดำเนินชีวิตให้เป็นไปด้วยความอิสระ ปราศจากการบังคับ หรือ การคุกคามในทุกรูปแบบ

4) รัฐควรสร้างวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน โดยการปลูกฝังให้แก่เด็กและเยาวชนให้รู้จักการเคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นเสมอเป็นของตนเอง ทุกคนทุกเพศทุกวัยควรมองเห็นปัญหาร่วมกันและมีส่วนร่วมในกระบวนการป้องกัน และแก้ไขปัญหา

5) รัฐต้องจัดให้มีกลไกการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง สร้างความไว้ใจ และความเชื่อมั่นให้กับสตรีในทุกพื้นที่ โดยต้องนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการต่อต้านการทรมาน ของสหประชาชาติมาปฏิบัติในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิง
      
6) เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่ขัดแย้งเลิกใช้การต่อสู้ทางอาวุธและเคารพสิทธิของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็กโดยยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและหลักสิทธิมนุษยชนในอิสลามเพื่อให้ความคุ้มครองผู้หญิงและเด็กให้มีความปลอดภัย
                          
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
26 พฤศจิกายน 2557      
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.-ทหารจู่โจมรวบหนุ่มใหญ่คาบ้านพัก หลังโปรยใบปลิวต้านคสช. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

$
0
0

ทหาร-ตำรวจบุกจูโจมรวบหนุ่มใหญ่ โปรยใบปลิวต้าน คสช. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยันทำด้วยอุดมการณ์ ไม่มีใครอยู่เบื้องหลัง เผยเคยร่วมชุมนุมกับ นปช.มาก่อน และชอบไปชุมนุมกับ กปปส. เพื่อหาข่าว จนท.แจงคุมตัวตามกฎอัยการศึก เตรียมสอบสวน ดำเนินคดีและอาจจะต้องขึ้นศาลทหาร

หลังจากเช้ามืดวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้ปรากฏใบปลิวที่มีข้อความโจมตี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มาโปรยที่ถนนราชดำเนิน บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ต่อมา เจ้าหน้าที่ได้เก็บใบปลิวดังกล่าวมาหมดแล้ว ซึ่งมีข้อความอาทิเช่น ยกเลิกอัยการศึก , หยุดคุกคามประชาชน , อำนาจเป็นของประชาชน และ เสรีภาพ Freedom เป็นต้น

โดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและติดตาม รวมถึงต้องตรวจสอบว่ามีผู้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ ซึ่งหากใครทำผิดก็จะต้องดำเนินการต่อไป

ภาพใบปลิวบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ล่าสุด ไทยรัฐออนไลน์รายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 25 พ.ย. เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล และ ทหารจาก กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป.1รอ.) นำโดย พ.อ.คชาชาต บุญดี ผบ.ป.1รอ. ได้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก ขอเข้าควบคุมตัว นายสิทธิทัศน์ เหล่าวานิชธนาภา อายุ 54 ปี ผู้ต้องสงสัย ว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการแจกใบปลิวต้าน คสช. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เพื่อสอบสวน

พ.อ.คชาชาต เผยว่า จากการตรวจค้นบ้าน นายสิทธิทัศน์ พบใบปลิว อุปกรณ์การพิมพ์ หลักฐานทั้งหมด เสื้อผ้าลายพราง และเสื้อยืด ที่มีข้อความต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเมือง ส่งผลให้นาย สิทธิทัศน์ จำนนด้วยหลักฐานและให้เหตุผลว่า ทำด้วยอุดมการณ์ ทำคนเดียว ไม่มีใครเกี่ยวข้อง หรืออยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ ทหารได้ขอตรวจสอบ ภาพจากกล้องวงจรปิดในพื้นที่ของ สน.สำราญราษฎร์ จนพบเบาะแสว่า มีรถจักรยานยนต์ไปรับใบปลิวจากรถยนต์ เมอร์เซเดส เบนซ์ แต่ภาพไกล เห็นแผ่นป้ายทะเบียนไม่ชัด ซึ่งทหารก็ได้พยายามตรวจสอบ และหาข่าวร่วมกับตำรวจ จนที่สุดได้เบาะแส จึงจู่โจมเข้าควบคุมตัวนายสิทธิทัศน์ ที่บ้านพัก โดยตอนนี้ นายสิทธิทัศน์ ถูกควบคุมตัว ด้วยอำนาจกฎอัยการศึก ในเขตทหาร เพื่อสอบสวน ดำเนินคดี และอาจจะต้องขึ้นศาลทหาร

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจได้อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และ ป.วิอาญา ม.92(4) ร่วมกันนำตัว นายสิทธิทัศน์ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจค้นบ้านพักเลขที่ 18 ซ.พหลโยธิน 48 แยก 16-1 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กทม. ผลการตรวจค้น ปรากฏหลักฐาน เป็นเครื่องถ่ายเอกสารยี่ห้อเอชพี 1 เครื่อง, ปากกาเมจิกสีดำยี่ห้อตราม้า 1 ด้าม, มีดคัตเตอร์ 1 เล่ม, ไม้บรรทัดยาว 1 อัน, ตลับหมึกพรินเตอร์ 1 กล่อง, เสื้อยืดลายพรางทหาร 1 ตัว, เสื้อยืดคอกลมสีดำสกรีนข้อความ "เสรีชนคนราชดำเนิน" 1 ตัว, เสื้อยืดกลมสีดำสกรีนรูปนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ข้อความ "ภูผาขวางกั้นอธรรม" 1 ตัว, หมวกปีกลายพรางทหาร 1 ใบ, หมวกแก๊ปลายพรางทหาร 1 ใบ, เข็มขัดสีดำพร้อมซองปืนและซองกุญแจมือ 1 ชุด, ห่วงขาผ้า 1 คู่, กระดาษขนาด A4 ยี่ห้อโอเค 1 รีม,  แผ่นสติกเกอร์ข้อความ "รถคันนี้สีแดง" 1 แผ่น และ รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ รุ่น C200 หมายเลขทะเบียน 1 กม 200 กทม.

ภาพขณะเข้าจับกุม ที่มาเฟซบุ๊ก วาสนา นาน่วม

จากการสอบสวน นายสิทธิทัศน์ ได้ให้การยอมรับว่า เมื่อ 22 พ.ย.57 เวลาประมาณ 19.00 น. ได้เริ่มเขียนใบปลิวโจมตี คสช. ปรากฏตามหลักฐานที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สำราญราษฎร์ ได้ทำการตรวจยึด โดยเป็นผู้ผลิตใบปลิวโจมตี คสช.เองทั้งหมด และพิมพ์สำเนาเสร็จเมื่อ 23 พ.ย.57 เวลาประมาณ 03.00 จากนั้นได้ทำการนัดพบกับ นายวชิระ ทองสุข หรือ บอย ภายใน ซ.สำราญราษฎร์ เขตพระนคร ซึ่งได้ถ่ายถุงใส่ใบปลิวจากท้ายรถเบนซ์รุ่น C200 สีดำ หมายเลขทะเบียน 1 กม 200 กทม. ใส่รถจยย.ของนายวชิระ โดยนายวชิระ อาสาเป็นผู้ขับขี่ จยย.ยี่ห้อฮอนด้าเวฟ นำใบปลิวดังกล่าวไปโปรยบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ 23 พ.ย.57 เวลาประมาณ 05.00 น. หลังจากนั้นได้แยกย้ายกันหลบหนี กระทั่งถูกจับกุม ส่วนเสื้อที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ กปปส.นั้น นายสิทธิทัศน์ อ้างว่า ชอบไปชุมนุม เพื่อหาข่าว จึงมีเสื้อ

ผู้จัดการออนไลน์รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า นายสิทธิทัศน์ ระบุถึงสาเหตุการโรยใบปลิวดังกว่า เนื่องจากตนเคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช.มาก่อนตั้งแต่ปี 2553 จากนั้นเมื่อมีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.ก็ได้มาสังเกตการณ์ด้วย จนกระทั่ง คสช.ยึดอำนาจ ตนรู้สึกว่าถูกปิดกั้นสิทธิจึงอยากแสดงออกอะไรบางอย่าง และไม่ได้มีใครอยู่เบื้องหลัง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พีมูฟ' ถามความคืบหน้าปัญหาที่ดิน ขอรัฐเร่งดำเนินการ

$
0
0


วานนี้ (25 พ.ย. 2557) เวลาประมาณ 09.00 น. ณ อาคารสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ตัวแทนองค์กรภาคประชาชน ในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ กว่า 30 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาของภาคประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ให้ภาครัฐเร่งพิจารณาดำเนินการ โดยมีนายสมเจตน์ โรจน์พัฒนากุล ตัวแทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เป็นผู้รับเรื่องในที่ประชุม

การติดตามความคืบหน้าดังกล่าว สืบเนื่องจากตามที่ได้มีการประชุมร่วมระหว่างรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ณ ห้องประชุมอรรถไกลวัลย์วที อาคารสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี โดยมีหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม และเห็นชอบในกรณีเร่งด่วนว่า ให้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหา และล่าสุดเมื่อ 17 พ.ย.2557 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ที่ตัวแทน ขปส.ได้เข้าร่วมประชุมหารือ กับพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง

โดยมีเรื่องติดตามในกรณีเร่งด่วน อาทิ 1. พิจารณาการทบทวนแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้
2. พิจารณาการดำเนินการของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน และโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 3. พิจารณาผลการดำเนินการโฉนดชุมชน  4. พิจารณาแนวทางผลักดันนโยบายการกระจายถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม โดยกฎหมาย 4 ฉบับ 5. พิจารณาแนวทางการนำที่ดินในเขตป่าสงวนที่หมดสัญญาเช่า มาจัดสรรให้เกษตรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน  6. พิจารณาการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

ตัวแทนทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งในที่ประชุมทราบว่า การแก้ไขปัญหาการปฎิบัติการในเชิงนโยบาย ทางสำนักปลัดสำนักนายกฯได้รับเรื่องการประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุม เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาของ ขปส. เกือบเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเรื่องคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา โดยมีตัวแทนของ ขปส.กว่า 20 คน อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้รวมอยู่ด้วย

ส่วนประเด็นพิจารณาการทบทวนแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้ เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบการทวงคืนผืนป่าว่าจะมีการทบทวนหรือไม่อย่างไร อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดให้มีการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับเรื่องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วน ทาง สปน.จะเร่งรัดให้จัดการประชุม และเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาในการดำเนินการเป็นการต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ออกหมายจับเพิ่มอีก 5 คดีแอบอ้างเบื้องสูงทวงหนี้-กรรโชกทรัพย์ เอี่ยว ‘พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์’

$
0
0

โฆษกสตช. เผยสืบสวนพบว่ามีกลุ่มที่แอบอ้างสถาบัน ทำการทวงหนี้หาประโยชน์โดยมิชอบ โดยศาลได้ออกหมายจับทั้ง 5 คนแล้ว ระบุมีความเกี่ยวข้องกับ ‘พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์’ ถอดยศ ‘ว่าที่พ.ต.ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา’ หนึ่งในผู้ต้องหาแล้ว หลังวานนี้พระราชทานเครื่องราชฯ

26 พ.ย.2557 ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า จากการสืบสวนพบว่ามีกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างสถาบัน ทำการทวงหนี้ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และกรรโชกทรัพย์ เพื่อหาประโยชน์โดยมิชอบ ตรวจสอบแล้วพบว่ามีผู้ร่วมกระทำความผิดปรากฏรายชื่อ ดังนี้ 1. นายณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา 2. นายสิทธิศักดิ์ อัครพงศ์ปรีชา 3. นายณรงค์ อัครพงศ์ปรีชา 4. นายสุทธิศักดิ์ สุทธิจิตต์ และ 5.นายชากานต์ ภาคภูมิ

พล.ต.ท.ประวุฒิกล่าวว่า สำหรับบุคคลดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีต ผบช.ก. โดยมีส่วนร่วมในการกระทำผิด ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยื่นคำร้องขออนุมติหมายจับต่อศาล ศาลได้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 5 คน ในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือเสรีภาพ โดยมีอาวุธโดยร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผู้กระทำหรือบุคคลอื่น และร่วมกันลักทรัพย์ เหตุเกิดในเขตรับผิดชอบของ สน.พระโขนง และขณะนี้กลุ่มผู้ร่วมกระทำความผิดทั้งหมดได้ถูกจับกุมแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกฎหมาย

ทั้งนี้ เวลา 16.00 น. พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะนำของกลางคดี พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ไปแสดงที่ ร.1 พัน.3

ต่อมา เมื่อเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงความคืบหน้าคดีการจับกุมตัว พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กับพวก ร่วมกันกระทำความผิดเรียกรับผลประโยชน์ทั้งบ่อนการพนันและส่วยน้ำมันเถื่อนว่า ล่าสุดสามารถออกหมายจับผู้ต้องหา ซึ่งเป็นเครือข่ายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ เพิ่มเติมได้อีก 5 รายมีทั้งทหารและพลเรือน ขณะนี้กลุ่มผู้ร่วมกระทำความผิดทั้งหมดถูกจับกุมแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยหลังจากนี้จะทำการสืบสวนต่อไป หากสืบสวนพบว่าบุคคลใดมีส่วนเกี่ยวข้องก็จะออกหมายจับทั้งหมด อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถบอกจำนวนที่แน่ชัดว่ามีผู้ร่วมขบวนการอีกกี่ราย

“กลุ่มคนพวกนี้มีการแอบอ้างสถาบันฯ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทุกๆ ด้าน ซึ่งคดีนี้ตำรวจคงจะมีการขออกหมายจับเรื่อยๆ ไม่สามารถเร่งได้ หากพยานหลักฐานเกี่ยวข้อง หรือเชื่อมโยงไปถึงใครก็ต้องดำเนินการ ทุกอย่างว่ากันตามพยานหลักฐาน เป็นไปตามข้อเท็จจริง และยังตอบไม่ได้ว่ามีจำนวนกี่คน เพราะในการสอบสวน การจะออกหมายจับใครต้องมีพยานหลักฐานรองรับ” ผบ.ตร.กล่าว

ถอดยศ ‘ว่าที่พ.ต.ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา’ หลังวานนี้พระราชทานเครื่องราชฯ

ทั้งนี้ 1 ในผู้ที่ถูกออกหมายจับมีชื่อพ้องกับ ว่าที่ พ.ต. ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา ที่พึ่งมีราชกิจจานุเบกษาวานนี้ (25 พ.ย.) ที่เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 57 ให้แก่นายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวนหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม

ซึ่ง โพสต์ทูเดย์รายงานว่า พล.ต.ต.ประวุฒิ โฆษกสตช. เปิดเผยว่า ว่าที่พ.ต.ณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา เป็นคนเดียวกับ นายณัฐพล อัครพงศ์ปรีชา ซึ่งศาลได้อนุมัติออกหมายจับข้อหา“ร่วมกันข่มขืนใจให้กระทำการใดไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายหรือเสรีภาพ โดยมีอาวุธโดยร่วมกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผู้กระทำหรือบุคคลอื่น และร่วมกันลักทรัพย์” กรณีมีส่วนพัวพันกับแก๊งพล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผบช.ก. และได้ถูกถอดยศพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาสั่งปรับ 'พระเกษม' 2 พัน ฐานดูหมิ่นฯ ศาสนวัตถุ หลังใช้มือตบพุทธชินราชจำลอง

$
0
0

ศาลฎีกาสั่งปรับ ‘พระเกษม อาจิณณสีโล’ 2,000 บาท ในคดีความผิดดูหมิ่นเหยียดหยามต่อศาสนวัตถุ หลังใช้มือตบพุทธชินราชจำลอง เจ้าตัวยันไม่ผิดวินัย หนุนตรวจสอบทรัพย์สินพระ เผยพระก่อนบวชยากจนบวชเสร็จแล้วร่ำรวยเยอะแยะ

เมื่อวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา ไทยรัฐออนไลน์รายงาน ว่า ที่ศาลจังหวัดหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้พิพากษาได้นั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้เสียหายแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.น้ำหนาว ให้ดำเนินคดีกับ พระเกษม อาจิณณสีโล แห่งที่พักสงฆ์สามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ในข้อหาดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนวัตถุ ช่วงปลาย ก.ค. 51 และศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 53 ให้ยกฟ้อง ต่อมาอัยการจังหวัดหล่มสักอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาวันที่ 13 มี.ค.  55 ว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ให้จำคุกกระทงละ 1 ปี และปรับกระทงละ 10,000 บาท รวม 2 กระทง จำคุก 2 ปี และปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 2 ปี จำเลยยื่นฎีกา

ผู้พิพากษาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ว่า ที่จำเลยยื่นฎีกาต่อสู้ว่า ผอ.สำนักพุทธ ไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องเข้าเป็นโจทก์นั้น และศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยโดยไม่ต้องส่งกลับไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการกระทำความผิดของจำเลยนั้นเป็นคดีอาญาแผ่นดิน เมื่อมีผู้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วก็สามารถดำเนินคดีกับจำเลยได้ ประเด็นที่จำเลยนำป้ายข้อความ “ทองเหลืองหล่อนี้ ไม่ใช่พุทธเจ้าแน่ ไม่ต้องกราบมัน” และการใช้มือตบพระพักตร์องค์พระพุทธชินราชจำลองนั้น ถือเป็นความผิดที่กระทำการดูหมิ่นเหยียดหยามต่อศาสนวัตถุ ซึ่งข้อเท็จจริงที่ใครก็ยอมรับว่าพุทธรูปเป็นตัวแทนของพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชนใช้กราบไหว้ แม้จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการเผยแพร่พุทธศาสนานั้น จำเลยสามารถทำได้แต่ต้องไม่กระทำละเมิดต่อกฎหมาย ส่วนการลงโทษจำคุกและรอลงอาญาของศาลอุทธรณ์นั้นรุนแรงเกินไป

ทั้งนี้ จำเลยมีความมุ่งมั่นศึกษาในพระธรรมวินัยในพุทธศาสนา จึงพิพากษาให้ไม่ลงโทษจำคุกและรอลงอาญาจำเลย และให้ลงโทษปรับกระทงละ 2,000 บาท จำนวนสองกระทง รวม 4,000 บาท การนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงลดค่าปรับให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือให้จำเลยจ่ายค่าปรับ 2,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ภายหลังฟังคำพิพากษา พระเกษม กล่าวว่า ได้ชำระค่าปรับไว้ที่ศาลอุทธรณ์ จำนวน 20,000 บาทไปแล้วนั้น เมื่อหักค่าปรับตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำนวน 2,000 บาท ทำให้ต้องรับเงินคืนจำนวน 18,000 บาทนั้น ไม่สามารถเซ็นชื่อรับเงินคืนได้เพราะเป็นพระ คงจะต้องปล่อยให้ครบ 5 ปี และตกเป็นของหลวงไป ในวันนี้ถือเป็นที่สุดแล้ว โทษจำคุกไม่มี แต่มีความผิดเพราะไปกวนรูปปั้นเขาจึงต้องโดนปรับตามเรื่องของโลก แต่ทางธรรมไม่ผิด

พระเกษม กล่าวด้วยว่า กระแสโลกให้เราผิดก็จริง แต่ตนเองไม่เคยผิดวินัยและไม่ควรผิด พวกผิดวินัยเต็มบ้านเต็มเมืองก็คือพวกเถรสมาคม มีเงินเยอะก็ผิดเยอะ และเห็นด้วยว่าควรให้ตรวจสอบทรัพย์สินพระ บรรดาผู้ไปคัดค้านก็ถือว่าผิดวินัย ส่วนตัวแล้วพร้อมให้ตรวจสอบ พวกพระที่ก่อนบวชยากจนบวชเสร็จแล้วร่ำรวยเยอะแยะ ใครกล้าไหมพวกที่ไปตรวจสอบพระเหล่านี้ พอไปตรวจสอบพระเอาเงินยัดให้ก็รับเงินแล้วเดินออกจากวัดจบกันไป ขอให้คอยดูช็อตต่อไป จะมีอะไรเด็ดกว่านี้อีกเยอะ และขอเรียกร้องให้มีการจัดตั้งศาลสงฆ์ พระผู้ใหญ่กล้ากันหรือไม่ ตนพร้อมเป็นจำเลยในศาลสงฆ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มท.1 แจงเหตุระงับเลือกตั้งอปท. กันขัดแย้ง ‘พล.อ.ประวิตร’ เป็น ปธ.ศึกษาแนวทางคัดเลือกแทน

$
0
0

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เผยกรณี ครม.มีคำสั่งระงับการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง พร้อมมอบหมายให้ ‘พล.อ.ประวิตร’ เป็นประธานศึกษาแนวทางการคัดเลือก

หลังจากที่วานนี้(25 พ.ย.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวถึงการสั่งการของนายกรัฐมนตรีในการประชุม ครม. ครั้งที่ 11/2557 โดยกล่าวว่า นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)จะมีการหมดวาระ และจะมีการเลือกตั้งประมาณต้นปี 2558 ประมาณ 1,000 กว่าตำแหน่ง โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พร้อมที่ใช้อำนาจในรัฐธรรมนูญมาตรา 44 ให้ผู้ที่หมดวาระดำรงตำแหน่งลงนี้รักษาการตำแหน่งเดิมต่อไป จะไม่คัดสรรเอาคนนอกเข้าไปทำหน้าที่ เหมือนที่เคยมีคำสั่ง คสช. ออกมาก่อนหน้านี้เพราะเกรงว่าจะเกิดความขัดแย้ง

ล่าสุดวันนี้(26 พ.ย.) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ระงับการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ที่จะหมดวาระลงกว่า 1,000 ตำแหน่ง ว่า นายกรัฐมนตรีเกรงว่าอาจจะมีปัญหาในการคัดเลือก เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จึงมีมติให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเดิม รักษาการไปก่อน พร้อมมอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานศึกษาแนวทางการคัดเลือก เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

ส่วนกรณีนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้แบ่งพื้นที่ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามงานตามนโยบายของรัฐบาล ว่า รัฐบาลดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และพล.อ.ประวิตรให้ความสำคัญญมาก ติดตามงานด้านความมั่นคงโดยยึดข้อมูลของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยดูแลพื้นที่ ถือเป็นนโยบายที่ดีและเชื่อว่าไม่มีปัญหา เพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมติดตามงานและประสานข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทยอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว

 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย, มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มาตรา44กับการคืนความสุขให้คนท้องถิ่น

$
0
0

                                                                                                                                                

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชาได้ประกาศใช้อำนาจตามมาตรา44ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557[1]เพื่อระงับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นที่กำลังจะหมดวาระในปี พ.ศ. 2558 ประมาน 1000 คน หากย้อนกลับไปในช่วงเดือนกรกฎาคมจะพบว่าพลเอกประยุทธ ในฐานะหัวหน้า คสช. ได้ออกประกาศ คสช ฉบับที่ 85-86 อันเกี่ยวเนื่องกับการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในกรณีที่ตำแหน่งนั้นๆว่างเว้นลง โดยได้กำหนดเงื่อนไขต่างๆเช่น ต้องเป็นข้าราชการระดับ8ขึ้นไปหรือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นต้น[2]หากพิจารณาเนื้อหาในประกาศ คสช. ฉบับที่ 85-86 และคำสั่งตามมาตรา 44 ที่ถูกนำมาใช้เป้นครั้งแรกนั้นจะพบว่ามีเนื้อความที่ขัดหรือแย้งกันอย่างชัดเจน โดยที่ประกาศ คสช ฉบับที่ 85-86 นั้น ให้ทำการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นจากการกำหนดคุณบัติไว้ตามประกาศแต่การประกาศล่าสุดโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา44ของรัฐธรรมนูญฯ กลับให้สมาชิกที่ครบวาระทำหน้าที่รักษาการณ์ต่อไปโดยห้ามจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกชุดใหม่

ความลักลั่นเกิดขึ้นเมื่อมีการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 85-86ไปแล้วว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อ ในทางกลับกันหากอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯ กลับให้สมาชิกที่ครบวาระรักษาการณ์ต่อไป จะเห็นได้ว่าแนวทางทางกฎหมายไม่ชัดเจนว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องปฏิบัติเช่นไรเพราะประกาศ คสช. ฉบับที่ 85-86 ก็ยังไม่ถูกยกเลิกและคำสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญนั้นมีลำดับศักดิ์ทางกฎหมายเทียบเท่ากับประกาศ คสช ฉบับที่ 85-86 หรือไม่?

รัฐธรรมนูญมาตรา 44 บัญญัติว่า

“ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระทําการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่งหรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว”

ตามมาตรา 44 จะพบว่าการใช้อำนาจตามมาตรานี้มีเงื่อนไขคือ1.เพื่อความจำเป็นหรือประโยชน์ในการปฏิรูป 2. ส่งเสริมความสมานฉันท์ของประชาชน 3.ป้องกันปราบปรามการกระทำที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง

จากเงื่อนไขทั้ง3ประการข้างต้นเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าพลเอกประยุทธ์ใช้เงื่อนไขด้านใดในการงดเว้นการเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่น หากอ้างความจำเป็นด้านการปฏิรูปหรือปรองดองรัฐบาลควรที่จะแสดงความจริงใจในการให้ประชาชนได้ใช้สิทธิตามกฎหมายในการเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ต้องการให้มีเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเสนอต่อ สปช. ไม่ใช่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สกัดการแสดงออกของประชาชนโดยเฉพาะการแสดงออกผ่านการเลือกตั้ง หากพิจารณาเงื่อนไขประการที่2 ได้แก่เพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ของประชาชน นั่นยิ่งแสดงให้เห็นทัศนคติของรัฐบาลและ คสช.ได้เป็นอย่างดีว่า รัฐบาลและ คสช. มองว่าการเลือกตั้งนั้นเป็นความเลวร้ายและก่อให้เกิดการแตกสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งสามารถอนุมานได้ว่าแท้จริงแล้วรัฐบาลและ คสช.ไม่มีความจริงใจในการไปสู่ระบอบประชาธิปไตยหรือกล่าวให้ถึงที่สุดคือ รัฐบาลและคสช. เองไม่ได้ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยเลยแต่กลับมองว่าระบบราชการต่างหากที่สามารถเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนรัฐไทยไปได้ ส่วนเงื่อนไขประการสุดท้ายคือเพื่อความมั่นคง ต้องถามกลับไปยังรัฐบาลและ คสช. ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงอย่างไร?

จากประวัติศาสตร์ของกฎหมายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับมาตรา44 ได้แก่ มาตรา17 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ หรือมาตรา21 ในสมัยพลเรือเอกสงัด ซึ่งทั้งสองมาตราดังกล่าวเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่หัวหน้าคณะรัฐประหารเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและไม่ปรากฎว่าหัวหน้าคณะรัฐประหารที่ผ่านมาใช้อำนาจเผด็จการตามมาตราดังกล่าวเพื่อเข้าแทรกแซงการบริหารราชการในระดับท้องถิ่น หากแต่ใช้ในการรักษาความมั่นคงเท่านั้นเช่นใช้อำนาจตามมาตรา17 เพื่อประหารชีวิตผู้ค้ายาเสพย์ติดรายใหญ่เป็นต้น

เราไม่อาจกล่าวได้ว่านโยบายคืนความสุขของ คสช.นั้นเป็นการคืนความสุขที่แท้จริงเพราะคสช.ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการคืนสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชนหากแต่ยิ่งลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรต้องเข้าใจก่อนว่าการมีส่วนร่วมโดยเฉพาะการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นนั้นเป็นสิทธิทางการเมืองที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดเพราะประชาชนสามารถเลือกผู้แทนจากคนในท้องถิ่นเพื่อเข้ามาบริหารจัดการทรัพยากรในแต่ละท้องถิ่นได้ แต่การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในคราวนี้แม้ว่าจะเป็นการกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นเดิมรักษาการณ์แทนไปก่อนก็ตามแต่นั่นหมายความว่าถ้าประชาชนในท้องถิ่นมีความตั้งใจที่จะไม่เลือกผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นชุดเดิมก็จำต้องทนรับสภาพเพราะรัฐบาลใช้อำนาจตามมาตรา44เพื่อระงับการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไว้โดยไม่มีท่าที่ว่าจะได้เลือกตั้งเมื่อใด หากอ้างอิงตามการร่างรัฐธรรมนูญจะพบว่าประชาชนในระดับท้องถิ่นจำต้องทนรับความสุขที่ คสช. มอบให้ไปจนถึงประมานกลางปี พ.ศ. 2559 ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเสียก่อนจึงจะได้รับสิทธิในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นคืนมา ซึ่งกว่าจะถึงเวลานั้นประชาชนคงจะสำลักความสุขจาก คสช.ไปเสียแล้ว

ความสับสนของรัฐบาลและ คสช.เอง ในแง่ของกฎหมายกล่าวคือตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 85-86 ที่กำหนดให้มีการสรรหาแต่ล่าสุดกลับบอกให้รักษาการณ์ต่อกรณีเช่นนนี้สร้างความสับสนแก่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระดับท้องถิ่นค่อนข้างมากว่าสุดท้ายแล้วจะต้องปฏิบัติเช่นไรและประกาศ คสช.ฉบับที่ 85-86 ยังมีผลทางกฎหมายหรือไม่และหากเกิดการขัดกันจะใช้กฎหมายฉบับใดเป็นบรรทัดฐาน แต่หากมองในแง่ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยย่อมต้องตอบว่าทุกการกระทำทางกฎหมายของ คสช.นั้นไม่มีความชอบธรรมตามกฎหมายอยู่เลยเพราะเป็นผู้ทรงอำนาจที่มาจากการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายอย่างชัดเจน แต่ในเมื่อประชาชนไม่อาจต้านทานอำนาจของ คสช.ได้ก็คงได้แต่ก้มหน้ารับเอาความสุขที่ได้รับคืนมาให้อย่างเสียไม่ได้

 

 

[1] http://news.voicetv.co.th/thailand/137132.html

[2] http://prachatai.org/journal/2014/07/54590

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"ชุมชนพึ่งตนเอง" ทางออกหรือทางตัน

$
0
0

 


ภาพจากชาวบ้านกลุ่ม "ตนรักบ้านเกิด" ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย

ความคิดว่าด้วยการพึ่งตนเอง (self-reliance) ปรากฏในหลายสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะด้านจิตวิทยา และสาขาว่าด้วยการพัฒนา แม้ว่าความคิดนี้จะระบุว่า เป็นการค้นหาศักยภาพความสามารถที่ตนเองมีอยู่เพื่อนำออกมาใช้ ซึ่งจะนำไปสู่สู่ความภาคภูมิใจ ก่อให้เกิดพลังความสามารถ ที่จะกำหนดวิถีชีวิต เส้นทางเดินได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นในด้านการพัฒนาแล้ว การพึ่งตนเองยังเป็นส่วนสำคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนของการพัฒนาร่วมกับหน่วยงานภายนอกด้วย

แต่ในทางปฏิบัติการพึ่งตนเองได้กลายเป็นเรื่องที่ทำให้รัฐ หรือหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงต่อการพัฒนา ลดบทบาทการสนับสนุนชุมชนและประชาชนผู้ยากไร้ลง ในหลายประเทศแนวคิดเรื่องการพึ่งตนเอง เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการตัดลดงบประมาณด้านสวัสดิการทางสังคมจากภาครัฐ และส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จัดหาเงินกู้ในรูปของสถาบันการเงินขนาดเล็กพร้อมไปกับการส่งเสริมให้เกิดรายได้จากภาคการเกษตร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยรัฐทำหน้าที่ให้ความรู้ จัดฝึกอบรม และลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อให้เอกชนเข้ามาบุกเบิกลงทุนและช่วงชิงทรัพยากรเพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

การส่งเสริมให้เกิดการพึ่งตนเองนั้นมีวิธีคิดที่สำคัญอยู่ว่า ชาวบ้าน พึ่งตนเองไม่ได้ เป็นภาระที่ต้องคอยรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ดังนั้นในโลกของทุนนิยมเสรีจึงต้องทำให้ชาวบ้านเหล่านี้สามารถพึ่งตนเองให้ได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐลง อย่างไรก็ตามในยุคสมัยของการพยายามรวมรัฐ-ชาติ ของไทย ที่อำนาจรัฐยังแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปไม่ถึงในชนบท ประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องให้บุคคลภายนอกมาบอกให้เขาเหล่านั้นต้องพึ่งตนเอง บทความเรื่อง ครอง จันดาวงศ์ กับการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของชาวอีสาน เป็นตัวอย่างอันดีของการพึ่งตนเอง ของชาวอีสานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากข้าราชการและรัฐบาล

แต่สิ่งที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือ ไม่เพียงแต่ชาวนาอีสานจะลุกขึ้นมาจับอาวุธต่อสู้เพื่อปกป้อง และเรียกร้องความเป็นธรรม ชาวบ้านเหล่านี้ได้มีส่วนอย่างสำคัญในการเข้าร่วมช่วยเหลือขบวนการเสรีไทยที่เคลื่อนไหวในบริเวณเทือกเขาภูพานด้วย บทความอีกเรื่องที่ทำให้เห็นว่า การพึ่งตนเองเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างใกล้ชิดคือ บทความเรื่อง คนกลุ่มใหม่ในชนบทกับการเมืองท้องถิ่น ที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดเครือข่ายทางการเมืองที่เปลี่ยนโฉมหน้าคนชนบทจากผู้ที่เคยถูกกำหนดบทบาททางการเมืองให้เป็นเพียงผู้สนับสนุนนักการเมือง ได้กลายเป็น “ผู้เล่น” และกลายเป็นนักการเมืองเอง ทำให้การเมืองส่วนกลางลดบทบาทด้านการพัฒนาลง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กลายเป็นเวทีสำคัญที่ทำให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องรอการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางอีกต่อไป

สิ่งสำคัญอีกประการที่พบในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้คือ การพึ่งตนเองของชาวบ้าน ชาวชนบทนั้น แทบจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากรัฐผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ เลย แต่การพึ่งตนเองเหล่านั้นเกิดจากการสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ และทักษะการดำรงชีวิตในถิ่นอาศัย รัฐ ดังเช่น การใช้ชีวิตในฤดูน้ำหลาก ของชาวบ้านตาลเอน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากบทความเรื่อง นิเวศภูมิปัญญากับการปรับตัวในช่วงฤดูน้ำหลากของชาวบ้านตาลเอนฯ หรือบทความเรื่องพลวัตรในสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนชาวลัวะอพยพฯ นอกจากนั้นบทความเรื่อง ชุมชนพึ่งตนเอง : แนวทางแห่งวิถีชีวิตอิสระของคนพิการ และความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุฯ ได้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า มนุษย์มีศักยภาพที่จะพึ่งตนเองได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องให้บุคคลภายนอกมาบอกให้ต้องพึ่งตนเอง

การพึ่งตนเองในงานพัฒนาจึงเป็นกลไกกำกับความสัมพันธ์ (dispositif) ซึ่งเป็นเครื่องมือของอำนาจ เพื่อผลักภาระการจัดสวัสดิการทางสังคม และการสร้างหลักประกันการดำรงชีพให้กับประชาชน กลายเป็นเรื่องของธุรกิจเอกชนที่ประชาชนมีภาระต้องจ่าย หรือมิเช่นนั้นก็ให้ประชาชนรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันเอง โดยรัฐหันไปสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ให้เข้ามาลงทุนในกิจการดังกล่าวแทน การพึ่งตนเองจึงอาจเป็นทางออกสำหรับการพัฒนาโดยองค์กรภาครัฐที่ไม่สามารถจะเข้ามาดำเนินการพัฒนา ชาวบ้าน ชาวชนบท ที่รู้เท่าทันและเปลี่ยนแปลงจนองค์กรการพัฒนาทั้งหลายเหล่านี้ตามไม่ทัน โดยหันไปจับมือกับภาคธุรกิจเพื่อให้เข้ามายึดฉวยทรัพยากรในชนบทแทน เพื่อทำให้ทรัพยากรกลายเป็นสินค้า สะสมทุนเร่งการเติบโตของรัฐ ภายใต้ข้ออ้างที่ว่า การเข้ามาของการลงทุนจะนำพาชาวบ้านไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

ในขณะที่อีกด้านหนึ่งการพึ่งตนเองของชาวบ้านก็คือ การลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐ และการเข้ามาของนายทุนส่วนกลาง ซึ่งการพึ่งตนเองแบบนี้ ไม่เคยถูกกล่าวถึงในสาขาวิชาว่าด้วยการพัฒนาที่สอนกันอยู่ในสถาบันการศึกษา ดังเช่นภาพปกวารสารฉบับนี้ ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลย ชู 3 นิ้ว กลางทุ่งนา ให้กำลังใจนักศึกษากลุ่ม 'ดาวดิน' ด้วยห่วงใยความปลอดภัยในชีวิตของลูกๆ นักศึกษา ปฏิบัติการให้กำลังใจกลางทุ่งนาในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต ท่ามกลางสถานการณ์การคุกคามจากบริษัทเหมืองแร่ทองคำ และฝ่ายความมั่นคง นับเป็นความกล้าหาญ และสะท้อนถึงการพึ่งตนเองอย่างถึงที่สุดโดยไม่มีหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานใดยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือ
 

 

สรุปบทความตีพิมพ์วารสาร สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร

 ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2557)

ชื่อเรื่อง

ผู้เขียนบทความ

ครอง จันดาวงศ์กับการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธของชาวนาอีสาน

 

สมชัย ภัทรธนานันท์

คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

การตระหนักรู้ในตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิตและ    ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

กนิษฐา ลิ้มทรัพย์

นิสิตปริญญาโทจิตวิทยาชุมชน คณะสังคมศาสตร์

 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

พลวัตในสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนชาวลัวะอพยพ กรณีศึกษา บ้านน้ำมีด ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน

จิรัฐติกาล  ไชยา

นักศึกษาปริญญาโท

ชนบทศึกษาและการพัฒนา มธ.

ชุมชนพึ่งตนเอง : แนวทางแห่งวิถีชีวิตอิสระของคนพิการ

Self-Reliance Community:

The Way for Independent Living of Persons with Disabilities

 

อ.ดร.วรอนงค์ โกวิทเสถียรชัย อาจารย์ประจำ ภาควิชาฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล

 

คนกลุ่มใหม่ในชนบทกับการเมืองท้องถิ่น

 

 

ชัยพงษ์  สำเนียง

สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่

 

นิเวศภูมิปัญญาการปรับตัวช่วงฤดูน้ำหลากในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Ecological Wisdoms and an adaptation of local people during flooding in Phranakhon Si Ayutthaya

 

คมลักษณ์  ไชยยะ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

บทวิจารณ์หนังสือ

พัฒนา กิติอาษา, สู่วิถีอีสานใหม่ (Isan becoming : agrarian change the sense of mobile community in Northeastern Thailand)

อิทธิพล โคตะมี

นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลไม่ให้ประกันตัว 2 ผู้ต้องหาคดีเกาะเต่า แม้ทูตพม่ายื่นประกัน

$
0
0

ทูตพม่ายื่นขอประกันตัว 2 ผู้ต้องหาคดีเกาะเต่า ชี้ถูกฝากขังไว้เป็นเวลานานแล้ว ขณะที่ศาลยังคงไม่ให้ประกัน ระบุความผิดร้ายแรงและเกรงจะหลบหนี

จากกรณีเมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมาเกิดเหตุสองนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษถูกทำร้ายและเสียชีวิตอยู่ริมชายหาดเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาในวันที่ 2 ต.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเป็นแรงงานชาวพม่า พร้อมทั้งฝากขัง 2 ผู้ต้องหาในเวลาต่อมา

ล่าสุด วันนี้(26 พ.ย.) บีบีซีไทย - BBC Thaiรายงานว่า สถานทูตพม่าประจำประเทศไทยได้มอบให้เลขานุการโทของสถานทูตพร้อมคณะทนายความพม่า และเจ้าหน้าที่ของสภาทนายความ เดินทางไปที่ศาลจังหวัดเกาะสมุย เพื่อขอยื่นประกันตัวนายซอ วิน ทัน และ นายซอ ลิน โดยให้เหตุผลว่าคนทั้งสองถูกฝากขังไว้เป็นเวลานานแล้ว

นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความบอกว่า คนทั้งสองถูกขังมา 5 ผลัด รวมเวลาที่ถูกฝากขังนับเดือนแล้ว ขณะเดียวกันก็ไม่มีประจักษ์พยานหรือหลักฐานที่ชัดเจนหรือมีผู้เห็นว่าคนทั้งสองกระทำความผิด

นอกจากนี้คนทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าดีเอ็นเอที่ตรวจพบก็ไม่ใช่ของตน ดังนั้นเพื่อให้ได้มีโอกาสออกมาแสวงหาหลักฐานเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างถูกคุมขังก่อนส่งฟ้องศาล ทางสถานทูตพม่าจึงยื่นขอประกันตัว โดยสถานทูตพม่ายินดีเป็นผู้รับประกัน และจะให้คนทั้งสองมาอยู่ในการดูแลและพักอาศัยในบริเวณสถานทูต ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่ได้คัดค้าน

อย่างไรก็ดี ศาลปฏิเสธคำขอดังกล่าว โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าคดีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีร้ายแรง ผู้ต้องหาเป็นชาวต่างชาติ หากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวเกรงวาจะหลบหนี จึงไม่อนุญาต

นายสุรพงษ์ แสดงความแปลกใจกับการตัดสินดังกล่าว และเห็นว่าผู้ที่ขอประกันตัวคือสถานทูตพม่า ดำเนินการในนามของรัฐบาลพม่า ซึ่งถือเป็นการให้เกียรติและไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อย แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาต ทั้งที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ

นายสุรพงษ์กล่าวด้วยว่า หากศาลจะให้ฝากขังคนทั้งสองอีกต่อไปก็คงจะต้องมีเหตุผลมากกว่าเดิม และหากจะมีการส่งฟ้องก็ควรดำเนินการ สำหรับสภาทนายความและสถานทูตพม่ากำลังพิจารณาว่าจะอุทธรณ์คำสั่งศาลต่อไปอย่างไรหรือไม่ แต่เห็นว่าศาลคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โจชัว หว่อง แกนนำ นศ. ในฮ่องกง ถูกจับกุมขณะตำรวจสลายการชุมนุม

$
0
0

เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างคำสั่งศาลเดินหน้าเคลียร์พื้นที่ชุมนุมย่านมงก๊กจับกุมแกนนำนักศึกษา โจชัว หว่อง และเลสเตอร์ เฉิน และประชาชนอีก 116 คน หลังจากเกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ โดยผู้ชุมนุมในย่านมงก๊กจำนวนหนึ่งยังแสดงเขตจำนงค์ว่าจะปักหลักชุมนุมต่อไปแม้ว่าจะถูกสลายการชุมนุม


26 พ.ย. 2557 เจ้าหน้าที่ตำรวจฮ่องกงจับกุมแกนนำนักศึกษา 2 คน หลังจากพยายามเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเต็มใบในฮ่องกงโดยมีการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมเกิดขึ้น

กลุ่มสหพันธ์นักศึกษาฮ่องกงและสำนักข่าวเซาธ์ไชน่ามอร์นิงโพสต์เปิดเผยว่าแกนนำนักศึกษาที่ถูกจับกุม 2 คน คือ โจชัว หว่อง และเลสเตอร์ เฉิน หลังจากในช่วงกลางคืนก่อนหน้านี้มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจในย่านมงก๊ก นอกจากนี้ยังมีประชาชนอีก 116 คนถูกจับกุมในข้อหาชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย ทำร้ายเจ้าพนักงานหรือขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะพยายามใช้สเปรย์พริกไทยในการสลายการชุมนุมแต่ผู้ชุมนุมจำนวนมากก็ยังคงปักหลักอยู่ที่เดิม

ก่อนหน้านี้โจชัว หว่อง เคยถูกจับกุมมาแล้วครั้งหนึ่งในที่ชุมนุมที่ย่านแอดไมรัลตี้ในช่วงเริ่มต้นการชุมนุมไม่นาน แต่การจับกุมในครั้งนั้นทำให้เกิดผลสะท้อนทำให้มีผู้คนหลายพันคนออกมาร่วมชุมนุมบนท้องถนนซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน หลังจากนั้นศาลได้ตัดสินให้ตำรวจปล่อยตัวเขาเนื่องจากมีการกักตัวหว่องไว้นานโดยไม่มีเหตุผล

ในการจับกุมครั้งล่าสุดมีการเผยแพร่ภาพหว่องกำลังถูกตำรวจ 2 นายควบคุมตัวเขาออกไปผ่านทางเฟซบุ๊คของกลุ่มสกอลลารริซึ่ม ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ร่วมประท้วง

เดอะ การ์เดียนระบุว่าการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงตั้งแต่ 2 เดือนที่แล้วโดยรวมเป็นไปอย่างสงบ แต่หลังจากที่ศาลมีคำสั่งให้เปิดพื้นที่บนในที่ชุมนุมย่านมงก๊กก็มีการวางกำลังตำรวจ 4,000 นาย เพื่อทำตามคำสั่งศาลและมีกลุ่มคนไม่ทราบฝ่ายเข้าไปก่อกวนผู้ชุมนุมซึ่งมีบางส่วนเป้นคนที่เกี่ยวข้องกับแก็งค์อาชญากรรมและตำรวจ

เจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่าในการจับกุมครั้งล่าสุดนี้มีคนหนึ่งถูกจับในข้อหาพกพาอาวุธเพื่อป้องกันตัวเช่นขวาน ค้อน ชะแลง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 9 นายได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้

ในช่วงคืนวันอังคารที่ผ่านมามีประชาชนเข้าไปร่วมชุมนุมในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นหลายร้อยคนจนกระทั่งในวันพุธมีความตึงเครียดเพิ่มสูงขึ้นเพื่อตำรวจเข้ามาดูแลการเปิดทางถนนที่มีการชุมนุมในขณะที่ผู้ชุมนุมซึ่งสวมหมวกกันน็อกและหน้ากากพยายามยืนหยัดชุมนุมต่อไป นอกจากนี้ในช่วงเช้าวันพุธยังมีกลุ่มคนสวมหมวกเบสบอลสีแดงและเสื้อยืดเขียนว่า "I (Heart) HK" (ฉันรักฮ่องกง) พยายามช่วยนำแนวกั้นของผู้ชุนนุมออกหลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศว่าจะใช้คำสั่งศาลเคลียร์พื้นที่ชุมนุมโดยไม่ทราบว่าคนเหล่านี้มาจากกลุ่มใด

หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เข้าไปรื้อแนวกั้นเหล็กออกพร้อมทั้งกำจัดสิ่งอื่นๆ ที่พวกเขามองว่ากีดขวางเช่นเต็นท์หรือเครื่องเรือนที่ผู้ชุมนุมนำเข้าไป มีตำรวจหลายร้อยนายเคลื่อนขบวนต่อไปตามท้องถนนอย่างช้าๆ

เจ้าหน้าที่ประกาศในช่วงเช้าสั่งให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่และไม่กีดขวางถนน อีกทั้งยังบอกให้สื่อมวลชนดูแลความปลอดภัยของตนเอง ในคำประกาศระบุอีกว่าพวกเขาขอให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาไม่เข้าไปปะปนกับ "กลุ่มหัวรุนแรง" และ "ผู้ก่อปัญหา" เพื่อไม่ให้มีการบาดเจ็บหรือถูกยั่งยุให้ก่ออาชญากรรม อย่างไรก็ตามมีสื่อในพื้นที่หลายคนรายงานพวกเขาถูกผลักและปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตรจากตำรวจ

กลุ่มผู้ชุมนุมในฮ่องกงไม่พอใจที่ทางการจีนจะเป็นผู้คัดเลือกตัวแทนลงเลือกตั้งผู้ว่าการเขตปกครองฮ่องกงในปี 2560 แทนที่จะเปิดให้มีการรับสมัครผู้แทนทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้มีทางเลือกอย่างแท้จริง ทำให้พวกเขาปักหลักชุมนุมในย่านต่างๆ 3 แห่งในฮ่องกงตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา แต่เมื่อไม่นานมานี้ดูเหมือนว่าผู้ชุมนุมจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปลดลง อีกทั้งยังมีความแตกแยกทางความคิดในกลุ่มผู้ชุมนุมเองเนื่องจากกลุ่มที่มีความสุดโต่งคิดว่าพวกตนจะต้องยืนหยัดชุมนุมให้ถึงที่สุด


เรียบเรียงจาก

Hong Kong student leaders arrested as police try to clear protest zone, The Guardian, 26-11-2014
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: ออง ซาน ซูจีกับ "การอภัย" ในการสู้กับทรราช (Freedom from Fear)

$
0
0

 

งานเขียนบทนี้ของออง ซาน ซูจี ถูกรวมอยู่ในหนังสือที่ใช้ชื่อเดียวกัน นั่นคือ Freedom from Fear ที่แปลกันอย่างง่ายๆ ว่า "เสรีภาพจากความกลัว" ซึ่งหลังจากที่ต้นฉบับถูกส่งเข้าสำนักพิมพ์เพื่อจัดเตรียมการตีพิมพ์ได้เพียง 17 วัน ในปี 1991 หัวหน้าคณะบรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับแจ้งว่า ออง ซาน ซูจี ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพ ขณะที่ตัวของเธอนั้นถูกคุมขังทางการเมืองในที่พักของเธอ ในสถานการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่า ที่พรรคของเธอได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่การเลือกตั้งถูกทำให้เป็นโมฆะ


สำหรับบทที่ชื่อว่า "การอภัยเมื่อเผชิญกับภยาคติ" - Freedom from Fear (เดี๋ยวเมื่ออ่านไปแล้วจะเข้าใจว่าทำไมไม่ควรแปลอะไรง่ายๆ ว่าเสรีภาพจากความกลัว) ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกหลังจากที่ออง ซาน ซูจี ได้รับรางวัล Sakharov Prize for Freedom of Thought จากสภาแห่งสหภาพยุโรป หนึ่งเดือนก่อนได้รับรางวัลโนเบล หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ รางวัลนี้เป็นรางวัลโนเบลในระดับภูมิภาคยุโรป ที่ให้กับผู้ต่อสู้กับการกดขี่และความไม่เป็นธรรมและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนั่นแหละครับ และในครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์งานชิ้นนี้ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ก็ได้เป็นหนึ่งในช่องทางในการตีพิมพ์มาแล้ว (ดังนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในบ้านเรา)

ในตอนต้นของงาน ออง ซาน ซูจี ชี้ให้เราเห็นอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจที่ต่างจากที่เราชอบพูดว่า อำนาจนั้นมีแนวโน้มไปสู่ความฉ้อโกง และอำนาจที่เบ็ดเสร็จนั้นคือการฉ้อโกงที่เบ็ดเสร็จ ซึ่งมาจากพูดถึงคำว่า คอร์รัป(ชั่น) จากประโยคอภิมหาอมตะของ ลอร์ด แอคตั้น ที่ว่า Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely นั่นแหละครับ - โปรดสังเกตคำว่า corrupt ให้ดี (และจริงๆ แล้ว ประโยคต่อเนื่องที่คนลืมอ้างอิงก็คือ Great men are almost always bad men - คนที่ยิ่งใหญ่นั้นมักจะเป็นคนชั่ว - หุหุ)

ออง ซาน ซูจี พลิกประเด็นโดยชี้ว่าอำนาจนั้นไม่ได้นำไปสู่ความฉ้อฉล แต่ความกลัวต่างหากที่นำไปสู่ความฉ้อฉล

หมายถึง ความกลัวที่จะเสียอำนาจไป ทำให้คนที่มีอำนาจนั้นฉ้อฉล และความกลัวต่อการถูกลงโทษ (หรือถูกใช้อำนาจใส่) ได้ทำให้เกิดการฉ้อฉลต่อคนที่ยอมต่ออำนาจและการลงโทษนั้น

มาถึงตรงนี้ ออง ซาน ซูจี เปิดประเด็นต่อโดยการเปลี่ยนจากการใช้คำว่า คอร์รัปชั่น (corruption) ซึ่งอาจจะแปลว่าการฉ้อฉล มาใช้คำว่า "อคติ" โดยอิงเข้ากับหลักศาสนาพุทธ คือ "อคติสี่" ที่ชาวพม่าคุ้นเคย (สังเกตให้ดีถึงยุทธศาสตร์การอ้าง "ความเป็นพม่า" ในการต่อสู้ช่วงชิงความหมายด้วยการอิงกับศาสนาพุทธที่ตัวเผด็จการพม่านั้นชิงฉวยไปใช้ล้มรัฐบาลประชาธิปไตยและรากฐานการกู้ชาติของบิดาของเธอในนามของสังคมนิยมแบบพุทธและตัวเธอในฐานะผู้หญิงในสังคมชายเป็นใหญ่ที่ถูกกีดกันสิทธิทางการเมืองและความเป็นชาวพม่าเพราะแต่งงานกับชาวต่างชาติ)

อคติสี่นั้นก็คือการฉ้อฉลสี่แบบ(fourkindof corruption ขณะที่ทางไทยแปลว่าลำเอียง) ประกอบด้วย

1.ฉันทาคติ คือการฉ้อฉลที่เกิดจากความปรารถนา หรือเบี่ยงเบนไปจากหนทางที่ถูกต้อง เพราะรักหรืออามิสสินจ้าง

2.โทสาคติ คือการเดินไปในหนทางที่ผิดเพราะไม่ชอบ เพราะเกลียดชัง โกรธแค้น

3.โมหาคติ คือ ฉ้อฉลเพราะไม่รู้ความ

4.ภยาคติ ซึ่งออง ซาน ซูจี เห็นว่าสำคัญที่สุด ก็คือ ฉ้อฉลที่เกิดจากความกลัว หรือพิจารณาศัพท์ให้ดีก็คือ ภัย bhaya ซึ่งนี่แหละครับเมื่อเราพูดถึง อภัย ก็คือ การไม่มีภัย ปลอดจากภัย และปลอดจากความกลัว ดังนั้นเวลาพูดถึงการให้อภัย จึงไม่ใช่แค่ความหมายที่ใช้กันจนเกร่อว่า "ลืม หรือ จำ" แต่มันคือสภาวะที่ไม่กลัว แต่ต้องไม่กลัวอย่างมีสติ เพราะถ้าไม่กลัวแบบไม่มีสติ อาจจะย้อนไปเป็นโมหาคติ คือ เดินไปในทางที่ไม่ถูกเพราะไม่รู้ความ (แปลง่ายๆ ว่าโง่ แต่คนที่ชอบว่าคนอื่นโง่ก็มักจะโง่ และมีอคติ คือ ฉ้อฉลในจิตใจ หรือโกงได้เหมือนกัน ต้องตระหนักรู้ให้มากเข้าไว้)

ออง ซาน ซูจี ตระหนักถึงประเด็นเรื่องของความไม่รู้เป็นอย่างมาก และมองว่าเราจะต้องขจัดความไม่รู้ด้วยการมีเสรีภาพในการแสวงหาความจริง/สัจจะ โดยไม่ถูกเหนี่ยวรั้งด้วยความกลัว ดังนั้นในสังคมที่เต็มไปด้วยความฉ้อฉล (ซึ่งแน่นอนในความหมายนี้ ออง ซาน ซูจี ได้เปิดประเด็นให้เห็นว่า อคตินั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่คลุมไปถึงการโกงและความฉ้อฉล ดังนั้นถ้าจะพิจารณาหรือต้านโกงนั้นมันต้องตั้งหลักเรื่องอคตินี่แหละ) หรือเต็มไปด้วยอคตินี้ จะเป็นสังคมที่ความกลัวแทรกซึม-ครอบงำไปในทุกอณู

ออง ซาน ซูจี มองว่าการที่ประชาชนพม่าออกมาบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี 1988 ไม่ใช่เป็นผลโดยตรงมาจากเพียงเรื่องของความอดอยากทางเศรษฐกิจ แต่คนพม่าซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นคนที่ถูกเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดีและรักสงบ เขาออกมาบนถนนก็เพราะการดำเนินชีวิตของเขาถูกกระทำย่ำยีด้วยการฉ้อฉลและความกลัว โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษานั้นไม่ได้ออกมาชุมนุมประท้วงเพียงเพราะเพื่อนเขาต้องตาย แต่เขาออกมาบนถนนเพราะสิทธิในการดำรงชีวิตของเขาถูกปฏิเสธโดยระบอบเผด็จการซึ่งพรากการใช้ชีวิตที่มีความหมายของพวกเขาไปสิ้นและพรากเอาความหวังต่ออนาคตของพวกเขาไปเสีย

และเมื่อการเคลื่อนไหวของนักเรียนนักศึกษาทำให้ประชาชนได้รู้สึกถึงความคับข้องใจที่ขยายไปในวงกว้างขึ้นการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยก็ขยายตัวไปทั่วประเทศซึ่งส่วนหนึ่งของผู้ที่สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตยนี้ก็คือนักธุรกิจที่แท้จริงก็มีทักษะและเครือข่ายที่จะได้ประโยชน์กับระบบที่เป็นอยู่แต่ความมั่งคั่งที่พวกเขามีนั้นไม่ได้ทำให้เขารู้สึกถึงความมั่นคงที่แท้จริงหรือมาเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปในชีวิตของพวกเขาได้จริงๆโดยพวกคนมีเงินเหล่านี้ก็ตระหนักได้ว่าถ้าเพื่อนพ้องร่วมชาติเดียวกับเขาซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้ร่ำรวยเหมือนพวกเขานั้นจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมายได้ก็จำเป็นจะต้องมีการบริหารที่พร้อมรับผิดต่อประชาชน

อองซานซูจีชี้ว่าชาวพม่าเหนื่อยล้ากับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะหวาดวิตกเพราะเป็นผู้ถูกกระทำราวกับว่าพวกเขาเป็นเหมือนน้ำที่อยู่ในมือของผู้มีอำนาจซึ่งในท้ายที่สุดพวกเขาก็สามารถตระหนักได้ว่าพวกเขาอาจจะเปลี่ยนสถานะของตนกลายเป็นเศษแก้วที่ตำมือของผู้มีอำนาจได้เศษแก้วที่เปรียบเสมือนสิ่งที่เล็กที่สุดแต่แหลมคมย่อมมีอำนาจเมื่อถูกบีบหรือถูกย่ำ(ยี)และจะถูกมองเป็นสัญลักษณ์แห่งความหาญกล้าที่เป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะเป็นเอกราชจากการบีบคั้นของผู้มีอำนาจดังที่อองซานบิดาแห่งการปลดปล่อยสู่เอกราชของพม่าได้กระตุ้นเตือนให้ชาวพม่าได้พัฒนาความหาญกล้าขึ้นมาด้วยการชี้ว่าอย่าเพียงพึ่งพาความหาญกล้าและอดทนของคนอื่นแต่ทุกคนจะต้องเสียสละในการที่จะหลอมรวมกันเป็นวีรบุรุษที่มีความหาญกล้าและอดทน

ซึ่งสิ่งนี้เท่านั้นจะทำให้เราพบกับเสรีภาพ(หรือเอกราช)ที่แท้จริง

การพยายามที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากอคติ หรือการไม่ฉ้อฉล ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวในทุกๆ ส่วนของชีวิตประจำวันนั้นอาจจะมองเห็นไม่เด่นชัดจากพวกคนที่โชคดีพอที่จะมีชีวิตในบรรยากาศที่มีการปกครองด้วยหลักนิติธรรมด้วยว่ากฎหมายที่ยุติธรรมนั้นขัดขวางไม่ให้เกิดการฉ้อฉลโดยการตัดสินคดีกับผู้กระทำผิดโดยไม่ไว้หน้าใครและยังช่วยสร้างสังคมที่ผู้คนนั้นสามารถเติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยไม่ต้องหันไปหาการฉ้อฉลต่างๆและในสังคมที่ไม่มีกฎหมายที่ยุติธรรมเช่นนี้ภาระในการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมและการประพฤติถูกทำนองคลองธรรมที่รับรู้กันทั่วไปก็เป็นภาระของประชาชนคนธรรมดา

และด้วยผลของการพยายามที่สะสมตัวขึ้นมาอย่างไม่ย่อท้อและมั่นคงนี้ความพยายามของประชาชนก็จะเปลี่ยนแปลงชาติที่เคยถูกทำให้ผิดรูปร่างไปด้วยความหวาดกลัวมาสู่ชาติที่มีกฎหมายเป็นรากฐานที่จะส่งเสริมความมุ่งมาดปรารถนาของมวลมนุษย์ที่จะอยู่อย่างสมานฉันท์และยุติธรรมและสกัดกั้นพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของพวกเขาลง

ในยุคที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดอาวุธที่อันตรายและถูกใช้โดยผู้มีอำนาจและผู้ที่ขาดหลักการโดยนำไปใช้ครอบงำคนที่อ่อนแอและคนที่รอการช่วยเหลือก็เป็นยุคที่เราต้องการความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างการเมืองกับศีลธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติดังที่คำประกาศสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้แถลงว่าทุกๆคนและทุกภาคส่วนของสังคมควรจะส่งเสริมให้เกิดสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพต่างๆที่มนุษยชาติไม่ว่าจะสีผิวไหน ชาติหรือศาสนาใดก็จะต้องได้รับสิทธินั้น แต่ตราบที่รัฐบาลที่ได้อำนาจของพวกเขาจากการข่มขู่บังคับแทนที่จะมาจากการมอบให้ด้วยความสมัครใจของประชาชนและการที่มีกลุ่มบุคคลที่แสวงหาประโยชน์ในระยะสั้นจากสันติภาพและความมั่งคั่งในระยะยาวของสังคมแล้วการร่วมมือกันของปฏิบัติการในระดับนานาชาติที่จะป้องกัน(การละเมิด)และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ที่จะต้องตระหนักถึงและอีกส่วนหนึ่งนั้นการต่อสู้ก็จะต้องมาจากการที่เหยื่อของการกดขี่ครอบงำนั้นจะต้องพัฒนาเอาสิ่งที่พวกเขามีขึ้นมาจากภายในตัวของเขาเองออกมาเพื่อปกป้องสิทธิของพวกเขาที่จะถูกพรากไปไม่ได้ในฐานะที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งมนุษยชาติที่เป็นครอบครัวเดียวกัน

ดังนั้นการปฏิวัติที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในระดับจิตวิญญาณซึ่ีงมาจากความมุ่งมั่นในระดับปัญญาต่อความต้องการที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในจิตใจและคุณค่าต่างๆในจิตใจของผู้คนที่จะนำไปสู่การพัฒนาของประเทศชาติ การปฏิบัติจะมีโอกาสสำเร็จอย่างแท้จริงหากเป็นเพียงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือสถาบันที่ส่งผลเพียงแต่เรื่องทางกายภาพทั้งนี้เพราะหากขาดการปฏิวัติในระดับจิตวิญญาณแล้วอำนาจในการผลิตความไม่เท่าเทียมกันภายในระบบเก่านั้นก็ยังคงทำงานต่อไปและเป็นภัยคุกคามที่มีอย่างต่อเนื่องต่อกระบวนการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงสู่รุ่นต่อไป

ดังนั้นการเรียกร้องให้มีเสรีภาพประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนจึงยังไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงแต่จะต้องเป็นความมุ่งมั่นที่ผนึกประสานกันอย่างเป็นเอกภาพในการได้มาซึ่งสัจธรรมที่หยัดยืนต่ออิทธิพลของความฉ้อฉลและอคติต่างๆทั้งจากความปรารถนาความเกลียดชังความไม่รู้และความกลัว

มีผู้กล่าวว่านักบวชก็คือคนบาปที่ฝึกตนให้พ้นจากบาป ดังนั้นเสรีชนก็คือผู้ที่ถูกกดขี่ย่ำยีที่ฝึกฝนตนเองให้แข็งแกร่งเพื่อจะแบกรับภาระความรับผิดชอบและผดุงไว้ซึ่งความเข้มงวดในการที่จะทำให้สังคมเสรีนั้นเกิดขึ้นและมีชีวิตต่อไปอย่างยั่งยืนและท่ามกลางเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ผู้คนมีชีวิตอย่างสมบูรณ์"เสรีภาพจากความกลัว"เป็นสิ่งที่โดดเด่นและเป็นทั้งวิธีการและเป้าหมายด้วยเหตุนี้ประชาชนที่สร้างชาติที่มีการลงหลักปักฐานของสถาบันประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งและป้องกันไม่ให้เกิดการใช้อำนาจรัฐในทางที่ไม่ถูกต้องก็จะต้องเรียนรู้เป็นเบื้องแรกถึงการปลดปล่อยจิตใจของตัวเองออกจากความหวาดกลัวและการไม่สนใจทุกข์สุขของผู้อื่นให้ได้

สำหรับอองซานผู้เป็นบิดาแห่งการปลดปล่อยและต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่านั้นได้ทำให้พวกเราเห็นว่าความหาญกล้าไม่ได้เป็นเรื่องทางกายภาพเท่านั้นแต่ต้องหมายถึงความหาญกล้าในการพูดความจริงความหาญกล้าในการรักษาคำพูดความหาญกล้าในการยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ ความหาญกล้าในการยอมรับว่าได้พลั้งพลาดไป และได้มีการแก้ไขสิ่งเหล่านั้น รวมทั้งความหาญกล้าในการเคารพคนที่อยู่ตรงข้ามกับเรา และเจรจากับข้าศึก รวมทั้งการเปิดให้ประชาชนตัดสินว่าเขามีค่าพอจะเป็นผู้นำของประชาชนได้ไหม

ความกล้าหาญทางศีลธรรมเช่นนี้จึงทำให้ออง ซานเป็นที่รักและเคารพในพม่า และไม่ได้เป็นเพียงวีรบุรุษนักรบ แต่เป็นแรงบันดาลใจและมโนสำนึกของชาติ ดังเช่นที่เนห์รูได้สรรเสริญถึงคานธีว่า "หัวใจของคำสอนของท่านก็คือ การไม่กลัวและสัจจะ รวมทั้งการปฏิบัติที่ตรงกับการไม่กลัวและสัจจะ รวมทั้งการคำนึงถึงความเดือดร้อนของมวลชนเป็นหลัก"

แม้ว่าคานธีกับอองซานจะมีความแตกต่างกัน เช่นคานธีเป็นผู้เผยแพร่การต่อสู้ที่ไม่ใช้ความรุนแรง และออง ซานเป็นผู้ก่อตั้งกองทัพแห่งชาติของพม่า แต่สิ่งที่เหมือนกันของทั้งสองมหาบุรุษก็คือการต่อกรกับการปกครองโดยเผด็จการ และการที่เนห์รูชี้ว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคานธีก็คือการปลูกฝังความหาญกล้าให้กับชาวอินเดีย และแม้ว่าเนห์รูจะเป็นผู้นำทางการเมืองหัวสมัยใหม่ แต่เมื่อเขาประเมินถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชในยุคสมัยใหม่นั้น เขาก็หันไปเชื่อในปรัชญาโบราณของอินเดียที่ว่า "สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดของบุคคลหรือชาติก็คือ การอภัย - abhaya หรือการปราศจากความกลัว ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องทางร่างกาย แต่หมายถึงการปราศจากความกลัวในจิตใจ"

การไม่กลัว (อภัย) อาจจะเป็นของขวัญที่ล้ำค่าแก่มวลมนุษย์ แต่สิ่งที่ล้ำค่ามากกว่านั้นก็คือความหาญกล้าที่เกิดมาจากการฝึกฝนและการทำจนเป็นนิสัยของการไม่ปล่อยให้ความกลัวเข้ามาบังคับการกระทำของเราหรือเราอาจจะมองว่านี่คือการที่เราให้อภัยหรือผ่อนปรนหรือปราศจากความกลัวท่ามกลางแรงกดดันที่โถมกระหน่ำใส่เรา

ภายในระบบที่ปฏิเสธการดำรงอยู่ของสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ความกลัวมักจะเป็นกฎระเบียบของสังคมนั้น ไม่ว่าจะเป็นความกลัวต่อการถูกจองจำ กลัวต่อการถูกทรมาน กลัวต่อการตาย กลัวต่อการสูญเสียมิตร ครอบครัว หรือสิ่งที่ใช้ดำรงชีวิต ความกลัวต่อความยากจน ความกลัวต่อความโดดเดี่ยว ความกลัวต่อความล้มเหลว และสิ่งที่เป็นความกลัวที่ทำลายล้างขั้นสูงสุดคือความกลัวที่แสดงตัวออกมาในฐานะของ "สามัญสำนึก" หรือ "ปัญญา" ที่มองว่าการกระทำที่หาญกล้าแม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ก็ช่วยให้ผู้คนสามารถที่จะรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ได้นั้นถูกมองว่าเป็นสิ่งที่แสนจะโง่เง่าขาดการไตร่ตรองและไม่มีความหมายใดๆมันเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยสำหรับผู้คนที่อยู่ภายใต้ความหวาดกลัวในกฎเหล็ก(ที่เชื่อว่าความแข็งแกร่งของผู้ปกครองคือความถูกต้อง)ในการที่พวกเขาจะปลดปล่อยตัวเองออกมาจากการครอบงำด้วยความกลัวที่ทำให้เขาอ่อนล้าและประสาทเสียแต่กระนั้นก็ตามแม้ในสภาวะที่มีการบีบบังคับอย่างสูงสุดความหาญกล้าก็จะเกิดขึ้น เพราะความกลัว ไม่ใช่สภาวะธรรมชาติของผู้คนที่มีอารยธรรม

ต้นธารของความหาญกล้าและความอดกลั้นในอำนาจแห่งการปลดปล่อยนั้นโดยทั่วไปก็คือความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าในความศักดิ์สิทธิ์ของหลักการทางศีลธรรมที่ประสานเข้ากับความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ที่แม้ว่าจะเผชิญอุปสรรคใดๆสภาวะของความเป็นมนุษย์ก็มีเพื่อความก้าวหน้าทางกายภาพและจิตวิญญาณมนุษย์นั้นต่างจากสัตว์ป่าตรงที่สามารถปรับปรุงให้ตนเองดีขึ้นได้และไถ่ถอนความผิดพลาดของตนเองได้ด้วยตัวของเขาเองรากเหง้าของความรับผิดชอบของมนุษย์คือการสร้างความสมบูรณ์แบบและจะต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นให้ได้รวมทั้งการคิดค้นหาหนทางไปสู่ความสมบูรณ์แบบนั้น เจตจำนงที่จะเดินตามหนทางนั้น และอย่างน้อยหากเดินไปไม่ถึงก็จะต้องไปไกลจนถึงขั้นที่จะเหนือไปกว่าข้อจำกัดที่เคยมีและเอาชนะสภาวะแวดล้อมที่จำกัดเอาไว้ให้ได้

วิสัยทัศน์ของมนุษย์ที่มีต่อโลกที่เต็มไปด้วยความมีเหตุมีผลและอารยธรรมของมนุษยชาติจะนำให้มนุษย์กล้าและเผชิญกับความเจ็บช้ำในการสร้างสังคมที่เป็นอิสระจากความต้องการและความกลัวและเราไม่สามารถละทิ้งแนวคิดในเรื่องของสัจจะความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วยการมองว่าเป็นสิ่งที่ซ้ำๆซากๆน่าเบื่อหน่าย เมื่อแนวคิดเหล่านี้มักจะเป็นทำนบสุดท้ายที่ต่อต้านกับอำนาจที่โหดเหี้ยมและไร้ความปรานี

 

เผยแพร่ครั้งแนกใน มติชนรายวันฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557)
ที่มา: มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

“นี่มันไม่ใช่เบียร์”: การเมืองวัฒนธรรมของจิบีรุในญี่ปุ่น

$
0
0

 

“นี่มันไม่ใช่เบียร์” เสียงอุทานนุ่มๆจากนักเขียนหนุ่มใหญ่แห่งเมืองสุรินทร์หลังจากจิบ “จิบีรุ”(Jibiru)ของ Daisen G beer เรียกรอยยิ้มจากศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์จากเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี  การจิบจิบิรุท่ามกลางอากาศเย็นยามบ่าย ณ ร้าน Raku Craft Beer Café ย่านแหล่งช็อปปิ้งกลางเมืองฮิโรชิมาครั้งนี้  ดูเหมือนจะเป็นการอุ่นเครื่องสำหรับงานเวิร์คช็อปของโครงการปัญญาชนสาธารณะเอเชียประจำปี ค.ศ. 2013-2014 ที่พวกเราได้เข้าร่วม(ระหว่างวันที่ 9-14 พฤศจิกายน)  โดยบังเอิญไปด้วยเป็นการดื่มฉลองให้กับการครบรอบ 20 ปีของการกำเนิด“จิบีรุ” ในญี่ปุ่นไปด้วย  แน่นอนพวกเราทั้ง 3 กลับไปร่วมฉลองที่ร้านนี้กันอีกหลายรอบ  แต่อะไรคือจิบีรุที่พวกเราจิบ?  

(1)

ในปลายปี ค.ศ. 1994 จากการเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก  รัฐบาลโมริฮิโร โฮโซกาวา( Morihiro Hosokawa)จากพรรคญี่ปุ่นใหม่( new Japan Party)และซึโมโต ฮาตะ(Tsumoto Hata)จากพรรคเสรีประชาธิปไตยที่เป็นรัฐบาลต่อเนื่องกันในปีนั้น  ได้เสนอกฎหมายที่นำไปสู่การลดกฏระเบียบต่างๆที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของญี่ปุ่น  ซึ่งนั่นได้ส่งผลต่อการควบคุมการผลิตและการจัดจำหน่ายพืช  รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว, ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ฯลฯ ทั้งตลาดภายในและการส่งออกของญี่ปุ่น  ผลของกฏหมายดังกล่าวได้ส่งผลให้การผลิตและการจัดจำหน่ายเบียร์ในญี่ปุ่นสามารถขออนุญาตเพื่อทำการผลิตได้ง่ายขึ้น  นั่นคือแต่เดิมผู้ที่จะขอใบอนุญาตผลิตเบียร์เพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่นต้องมีการผลิตอย่างน้อย 2,000,000 ลิตรต่อปี  แต่กฏหมายใหม่นี้ได้เปลี่ยนลดลงมาเป็นเพียงมีกำลังการผลิต 60,000 ลิตรต่อปีก็สามารถยื่นขอใบอนุญาตการผลิตได้  ที่สำคัญกฏหมายดังกล่าวได้ส่งผลให้การผลิตและค้าเบียร์กึ่งผูกขาดที่มีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่นสิ้นสุดลงทันที 

ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลากว่า 60 ปีอุตสาหกรรมเบียร์ของญี่ปุ่นถือว่าอุตสาหกรรมสำคัญประเภทหนึ่ง  ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วช่วงหลังสงครามครั้งที่ 2  โดยในช่วงสงครามอุตสาหกรรมดังกล่าวถูกควบคุมโดยกองทัพ  แต่ช่วงหลังสงครามเอกชนได้เข้ามาดำเนินกิจการอีกครั้ง  โดยรัฐได้ทำการฟื้นฟูและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเบียร์ไม่ต่างอะไรกับอุตสาหกรรมรถยนต์หรืออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น  อุตสาหกรรมเบียร์ได้รับการคุ้มครองด้านการค้าจากรัฐบาลญี่ปุ่น(ด้วยการกำหนดปริมาณการผลิตต่อปีดังที่ได้กล่าว)  ในขณะเดียวกันเบียร์ก็เป็นแหล่งภาษีสรรพสามิตรที่สำคัญ(ภาษีเบียร์มีอัตราการเก็บที่สูงกว่าเหล้าและสาเก)  และด้วยผลประโยชน์จำนวนมหาศาลว่ากันว่าบริษัทเบียร์ของญี่ปุ่นมีสายสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลและพรรคการเมืองของญี่ปุ่นตลอดมาตั้งแต่หลังสงครามครั้งที่ 2  ในญี่ปุ่นมีผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่อยู่เพียง 4 บริษัท กิริน( Kirin)ซึ่งเป็นเบียร์ยี่ห้อแรกของญี่ปุ่นก่อตั้งในปี ค.ศ. 1869 ในโยโกฮามาโดยบริษัทของคนอเมริกัน  ซัปโปโร( Sapporo)เบียร์ที่เกิดจากการสนับสนุนของรัฐก่อตั้งในปี ค.ศ.1876  อาซาฮี( Asahi)เป็นเบียร์ที่เดิมชื่อโอซาก้าเบียร์แต่เปลี่ยนมาใช้ชื่ออาซาฮีในปี ค.ศ.1892  และซันโตรี( Santory)เบียร์เอกชนญี่ปุ่นก่อตั้งในปี ค.ศ.1899 นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆอีกอย่างเช่น Orion Beer (เบียร์จากโอกินาวาแต่จัดจำหน่ายโดยอาซาฮีและ Yebisu (ปัจจุบันผลิตโดยซัปโปโร)  โดยบริษัทใหญ่ทั้ง 4 บริษัทนี้จะผลิตเบียร์ประเภท Lager เป็นหลัก( โดยทั่วไปเบียร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Lager กับ Ale  โดยอุตสาหกรรมเบียร์ส่วนใหญ่จะผลิต Lager เพราะจะเก็บไว้ได้นานกว่า Ale  และหากใช้ต้นทุนการผลิตที่เท่ากันการผลิตเบียร์ประเภท Lager จะได้ปริมาณผลผลิตที่มากกว่าแม้ว่าวิธีการผลิตจะยุ่งยากกว่า Ale)  แต่สำหรับบริษัทที่เกิดใหม่หลังปี ค.ศ.1994 จะผลิต Ale ซึ่งให้รสชาติที่แตกต่างกับ Lager 

 

(2)


“จิบีรุ”(Jibiru beer) หรือ “เบียร์พื้นบ้าน”จะมีการปรุงรสเบียร์แบบ Ale ที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น  ตั้งแต่น้ำที่มาผลิต มีทั้งน้ำแร่และน้ำจากธารหิมะละลาย(น้ำที่มีค่าเป็นด่างจะเหมาะกับการผลิตเบียร์)  ส่วนผสมของผลไม้ในท้องถิ่นต่างๆที่ออกตามฤดูกาล  รวมถึงผลผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์ต่างๆ  มีการออกแบบโลโก้ที่บ่งบอกถึงแหล่งผลิตเบียร์นั่นๆ อย่างไรก็ตามการปรุงรสชาติเบียร์เหล่านั้นก็ยังคงอิงมาตรฐานการจัดรสชาติของเบียร์ตะวันตก อย่างเช่น Ale จะแบ่งเป็น Porter, Pale Ales, Stout เป็นต้น

การเกิดขึ้นของโรงงานผลิตเบียร์ขนาดเล็ก( microbrew)ในญี่ปุ่นช่วงปลายปี ค.ศ.1994 จึงถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ  ไม่ใช่เฉพาะในแง่ของหน่วยการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่เป็นเรื่องของรสนิยมของผู้บริโภคด้วย   เพราะโรงงานผลิตเบียร์เหล่านี้หันไปผลิตเบียร์ประเภท Ale  โดย Echigo และ Ohotsk ( ผู้ผลิตเบียร์สีฟ้า)เป็นเบียร์ 2 ยี่ห้อแรกที่ได้รับใบอนุญาตและตั้งโรงงานผลิตเบียร์ออกจำหน่าย  แต่การผลิตช่วงแรกยังไม่ได้เป็นในลักษณะของอุตสาหกรรมโรงงาน  ดังนั้นจึงไม่มีการบรรจุขวดและจัดจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางแต่อย่างใด  หากแต่จะขาย ให้กับลูกค้าในร้านแบบ brewpub ของทั้ง 2 บริษัท  ต่อมาในปี ค.ศ.1995 บริษัท Kiuchi Brewery จากเมืองอิบารากิ  ในเขตคันโตได้เป็นผู้ที่ผลิตเบียร์รายย่อยในเชิงอุตสาหกรรมรายแรกของญี่ปุ่น  ด้วยประสบการณ์ที่เป็นโรงงานผลิตซาเกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1823 เบียร์ของ Kiuchi Brewery จึงมีระบบการจัดการที่ดี  และถือเป็นเจ้าแรกที่บรรจุขวดออกจำหน่ายและมีการเพื่อสร้างแบรนด์ให้กับตนเองอย่างจริงจังด้วยสัญลักษณ์ตรานกฮูก  ที่ปัจจุบันคอเบียร์ทั่วโลกรู้จักกันในนาม  Hitachino Nest 

จริงๆการทำเบียร์ขนาดเล็กไม่ใช่เริ่มครั้งแรกที่ญี่ปุ่น  หากมีครั้งแรกในอังกฤษตั้งแต่ยุคปลายปี 1960 และในอเมริกาตั้งแต่ยุคปี 1970 ซึ่งจะเรียกว่า “Craft Beer”  ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาแหล่งผลิตใหญ่เบียร์ประเภทนี้มากกว่า  3,000 ยี่ห้อ  สำหรับในญี่ปุ่นหลังจากที่เริ่มใน ปี ค.ศ. 1994 ก็มีผู้ผลิตในชุมชนต่างๆทั่วญี่ปุ่นหันมาผลิตจิบีรุกันอย่างมาก  เพียงแค่ปีเดียวหลังจาก Echigo และ Ohotsuk ได้เริ่มไว้ในปี ค.ศ. 1995 มีผู้ผลิตเพิ่มเป็นถึง 75 รายและเพิ่มเป็น 200 รายในปี ค.ศ.1998  และสูงสุดถึงราว 1,000 รายในช่วงปี ค.ศ. 2000 อย่างไรก็ดีมีว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นก็ยังคงคุ้นเคยกับเบียร์จากบริษัทใหญ่ 4 เจ้าเช่นเดิม กลุ่มผู้ผลิตและผู้นิยมเบียร์ประเภทนี้จึงจัดได้ร่วมกันตั้งสมาคม the Japan Craft Beer Association( JCBA) ในปี ค.ศ. 1994 เพื่อโปรโมทและช่วยสร้างความนิยมให้กับเบียร์  และต่อมาในปี ค.ศ. 1999 ได้มีการก่อตั้ง the Japan Brewer Association( JBA) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิตและผู้ค้าเบียร์ชุมชน  มีการริเริ่มจัดเทศกาลเบียร์เพื่อยกระดับคุณภาพของเบียร์ชุมชน โดย the Japan Craft Beer Association และ the Beer Taster Organization จัด Japan Beer Cup และ International Beer Competition  มีการจัดเทศกาลเบียร์ประจำปีเพื่อให้ผู้ผลิตพบกับผู้บริโภคด้วย ในที่ต่างๆ  เช่น Craft Beer Festa ที่เกียวโต, Great Japan Beer Festival ที่ โตเกียว, โอซาก้า, โยโกฮามา และ Microbrew Beer Festival  ที่โตเกียวเป็นต้น

แต่ก็ใช้ว่าจิบีรุจะมีหนทางที่ราบรื่นตลอด 20 ปีที่ผ่านมา  ที่น่าสนใจคือปัจจุบันกิจกรรมการผลิตและจำหน่ายจิบีรุอยู่ในมือของคนรุ่นหนุ่มสาว  ในภาคเกษตรของญี่ปุ่นมีการกล่าวถึง “ชาวนารุ่นใหม่”กับการผลิตการเกษตรอินทรีย์ให้กับอุตสาหกรรมเบียร์  ร้าน brewpub จำนวนมากดำเนินธุรกิจโดยคนหนุ่มสาวญี่ปุ่น  และพวกเขาเหล่านี้ดูเหมือนจะยินดีใช้คำเรียกเบียร์ประเภทนี้ว่า“คุระฝุโทะเบียร์”( Kurafuto bia)(ทับศัพท์คำว่า“craft beer” ตามกระแสนิยมในโลกตะวันตก)แทนคำว่าจิบีรุ 

(3)

ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาระหว่างที่ทำวิจัยอยู่ในโอซาก้า  ผู้เขียนมีโอกาสไปนั่งจิบเบียร์ที่โรงงาน Minoh Beer ในเมืองเล็กๆที่ชื่อว่า Minoh ตอนเหนือของโอซาก้า  หลังจากได้พูดคุยกับเจ้าของที่นั่งอยู่หลังเคาเตอร์ก็ทราบว่าธุรกิจของ Minoh Beer ดำเนินธุรกิจแบบกิจการของครอบครัว  โดยลูกสาว ลูกชายและลูกสะใภ้ดูแลธุรกิจต่อจากมาซาชิ  โฮชิตะ พ่อผู้ที่เป็นคนก่อตั้งโรงงานเบียร์ในปี ค.ศ. 1997 และได้เสียชีวิตไปเมื่อ ปี ค.ศ. 2012  มาซาชิ โฮชิตะจัดว่า “ Godfather of Craft Beer “ของญี่ปุ่น  เขาเปลี่ยนกิจการจากร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก่อตั้ง Minoh Beer หลังจากกฎหมายเปิดโอกาสของการทำผลิตเบียร์ขนาดเล็กได้ 3 ปี   เขาเรียนรู้ทักษะการผลิตเบียร์จากผู้ผลิตเบียร์หลายๆอื่นในญี่ปุ่น  และปรับปรุงรสชาติเบียร์ตามรสนิยมที่ตนเองชอบจนนำพาเจ้า Minoh Beer “ตราลิง”( หมู่บ้าน Minoh อยู่ติดกับอุทยาน Minoh ซึ่งเต็มไปด้วยลิง)กวาดแชมป์เบียร์มาอย่างมากมายทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ  โดยหลังสุดในปี ค.ศ. 2013 Minoh Beer Imperial Stout ก็เพิ่งไปได้ World Beer Awards มา 

จากการสังเกตโรงงานของพวกเขามีขนาดไม่ใหญ่นัก  หากมองเผินๆก็น่าจะแค่ร้านขายของชำขนาดใหญ่ร้านหนึ่ง  ดังนั้น ธุรกิจของพวกเขาจึงมีกำลังการผลิตไม่มาก  จำนวนหนึ่งผลิตส่ง brewpub ( Minoh beer มี brewpub 2 แห่งในตัวเมืองโอซาก้า) มีสินค้าที่บรรจุขวดขายที่ส่งไปวางขายตามร้านสะดวกอยู่บ้าง  แต่ว่าจะแตกต่างไปจากเบียร์ที่จำหน่ายที่โรงงานเอง  เพราะที่โรงงานนอกจากเบียร์สดแล้วก็เบียร์ที่ปรุงรสชาติเฉพาะผลิตแบบจำนวนจำกัดตามฤดูกาลหรือที่เรียกว่า “seasonal beer”  Minoh Beer ไม่มีผลิตเพื่อส่งออกไม่ว่าจะบรรจุขวดหรือกระป๋อง  ด้วยเหตุผลที่ว่าเบียร์ที่พวกเขาผลิตประเภท Ale นั่น  ส่วนใหญ่มีอายุหลังการบรรจุขวดประมาณ 3 เดือน(แต่มีผู้ค้าอื่นๆที่ดำเนินการรับ Minoh ไปจำหน่ายนอกญี่ปุ่น)หากดื่มหลังจากนั้นรสชาติจะเปลี่ยนไป  และที่สำคัญจากการพูดคุยกับลูกชายของมาซาชิเขาบอกว่าต้องการรักษาคุณภาพในแง่รสชาติเบียร์  เพราะพวกเขายังใช้วัตถุดิบจากแปลงการเกษตรในท้องถิ่นผสมกับวัตถุดิบที่นำเข้ามา  หากผลิตเพื่อการส่งออกด้วยพวกเขาต้องขยายแปลงการเกษตร  ต้องขยายโรงงาน  และต้องมีระบบการจัดบริหารการตลาดที่ดี  ซึ่งในแง่ของการผลิตแบบครอบครัวในปัจจุบันพวกเขายังไม่พร้อมในการดำเนินการเช่นนั้น  

ตัวอย่างของ Minoh Beer น่าจะไปกันได้กับการผลิตเบียร์ชุมชนในลักษณะของการผลิตแบบช่างฝีมือตามแบบของเบียร์ที่เรียกกันว่า “craft beer” แต่นั้นก็ไม่น่าจะใช่ข้อสรุปของคุระฝุโทะในญี่ปุ่นทั้งหมด  เพราะผู้ผลิตเบียร์ประเภทนี้เจ้าแรกๆอย่าง Echigo และ Hitachino ก็ผลิตแบบอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง  มีการผลิตทั้งรุ่นและรสชาติต่างๆออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย  เราจะพบความหลากหลายรสชาติของ Echigo บรรจุกระป๋องไม่ยากนักในร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไปในญี่ปุ่น  ส่วน Hitachino Nest ปัจจุบันน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 20 รสและมียอดการส่งออกถึง 40 % ของกำลังการผลิตทั้งหมด

 



(4)

อย่างไรก็ตามแม้จะผ่านมา 2 ทศวรรษตลาดของเบียร์จิบีรุก็ไม่ได้โตไปมากกว่า 1% ของการบริโภคเบียร์ในญี่ปุ่น  บริษัทผู้ผลิตรายสำคัญอย่าง Ginga Kogen Beer ล้มละลายในปี ค.ศ. 2000 แต่ก็ยังคงมีผู้ผลิตรายใหม่ก้าวเข้ามา  ในปี ค.ศ.2013 มีบริษัทที่ผลิตจิบีรุในญี่ปุ่นประมาณ 400 กว่าแห่ง(จากเดิมช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 มีถึงราว 1,000 แห่ง) แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีของญี่ปุ่นคนวัยทำงานที่เป็นผู้บริโภคเบียร์หันไปดื่มหัดโพชุ(Happoshu หรือเบียร์ที่มีมอลต์ต่ำ)ที่มีราคาถูก( กระป๋องละ 100 กว่าเยน   ในขณะเบียร์ทั่วไปประมาณ 200 -250 เยนต่อกระป๋อง ส่วนจิบีรุตกประมาณ 300 – 450 เยนต่อกระป๋อง)  อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญก็คือภาษี  เนื่องจากทั้งโรงงานเบียร์ขนาดเล็กและโรงงานเบียร์ขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นต่างเสียภาษีเท่ากัน( 220,000 เยนต่อกิโลลิตร)  ซึ่งทำให้ผู้ผลิตรายเล็กต้องรับความเสี่ยงสูงในแง่ต้นทุนการผลิตเบียร์ที่มีตลาดแคบกว่า  ในแง่ของการจัดจำหน่ายก็เป็นเรื่องสำคัญร้านประเภท brewpub แม้จะมีตามเมืองที่เป็นแหล่งผลิตเบียร์และย่านเมืองท่องเที่ยว  แต่ส่วนใหญ่ brewpub ก็จะหาได้ง่ายในเมืองใหญ่ๆอย่าง โตเกียว, โอซาก้า, โยโกฮา นี้ยังไม่นับการจัดจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อประเภท Family Mart, Lawson หรือ 7-11 ที่จะหาเบียร์ประเภทนี้ได้ไม่ง่ายเลย  จากประสบการณ์ของผู้เขียนตามสาขาที่อยู่ในย่านธุรกิจหรือย่านแหล่งท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งที่หาได้ง่ายกว่าสาขาทั่วไป   

มีงานเขียนเชิงข่าวที่โยงปรากฏการณ์ของการเกิด craft beer กับกลุ่มวัฒนธรรมย่อยไม่ว่าจะเป็นพวก Deadhead(กลุ่มแฟนเพลงวง Grateful Dead วงร็อกยุคฮิปปี้ในยุค 60) พวกพั๊งค์  กลุ่มอินดี้ จนถึงพวกฮิปสเตอร์  ผู้เขียนยังไม่เห็นภาพเหล่านั้นชัดเจน  แต่เราจะเห็นว่าการเกิดขึ้นของเบียร์ชุมชนในญี่ปุ่น เกิดขึ้นจากการปรับตัวของเสรีนิยมใหม่ทางเศรษฐกิจในระดับโครงสร้าง  แต่นั่นก็เป็นสร้างโอกาสของการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในระดับล่างเช่นกัน  การสร้างพื้นที่ของรสนิยมในการบริโภคเบียร์จิบีรุแม้ไม่ได้เป็นต่อต้านวัฒนธรรมการบริโภค  แต่เป็นการปฏิเสธการถูกครอบงำรสนิยม(แห่งชาติ)ของเบียร์ใหญ่เพียงแค่ 4 ยี่ห้อ  การเปลี่ยนแปลงจาก “จิบีรุ”ถึง “คุระฝุโทะเบียร์”อาจเป็นแค่วัฒนธรรมทางเลือกในยุคเสรีนิยมใหม่(ที่กลับไปหล่อเลี้ยงระบบทุนนิยม) แต่นี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วและกำลังเกิดขึ้นตามมาอีกไม่เพียงแค่ในญี่ปุ่น  ในอเมริกากลุ่มนิยมเบียร์ประเภทนี้มีการตั้งธงว่าใน ปี ค.ศ. 2020 จะสร้างตลาดให้ถึง 20% ของตลาดบริโภคเบียร์รวมในประเทศ  The Society of Independent Brewer( SIBA) ตั้งในอังกฤษในปี ค.ศ. 1990 เพื่อต่อสู้ด้านกฎหมายในอังกฤษและสหภาพยุโรป  ให้เบียร์ขนาดเล็กสามารถดำเนินการผลิตและดำเนินธุรกิจของตนเองได้  ในเอเชียก็เช่นเดียวกันนี้ ไม่ว่าในจีน ในเกาลี  ในไต้หวัน ในอินเดียและในไทย กระแสการปลดแอกการผูกขาดรสเบียร์(แห่งชาติ) กำลังเกิดขึ้น  แต่หนทางจะเป็นเช่นไรคงต้องติดตามกันต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญดีกว่ามีศาลรัฐธรรมนูญ?

$
0
0

 


ประเด็นปัญหาค้างคาใจที่มีต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไทยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้เกิดข้อถกเถียงตามมาว่าในโอกาสที่เรากำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 กันอยู่นี้ว่าเราสมควรที่จะยังมีศาลรัฐธรรมนูญกันอยู่หรือไม่ ประการใด

บ้างก็ว่าสมควรมีอยู่ต่อไปแต่จำกัดบทบาทหน้าที่ลง บ้างก็ว่าให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเหมือนที่เคยมีในอดีตก่อนรัฐธรรมนูญปี 40 บ้างก็สุดโต่งไปเลยว่าให้อำนาจศาลยุติธรรมไปเลยเหมือนในสหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษ เป็นต้น

เรามาดูว่าข้อดีข้อเสียของแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

1)ศาลรัฐธรรมนูญ(Constitutional Court) มีหน้าที่หลักในการวินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติใดขึ้นไปขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือหน้าที่อื่นๆตามที่แต่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น รัฐธรรมนูญปี 40และ50 ของไทยเราก็ให้มีอำนาจวินิจชี้ขาดข้อขัดแย้งอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ยุบพรรค ฯลฯ โดยหลักการของการให้จัดให้มีศาลรัฐธรรมนูญนั้นเพื่อต้องการตั้งให้เป็นองค์กรอีกองค์กรหนึ่งต่างหากจากรัฐสภา รัฐบาลหรือศาลยุติธรรม เริ่มมีครั้งแรกในปี 1920 ที่ออสเตรีย จากนั้นประเทศต่างๆ จึงเริ่มทยอยนำไปใช้ เช่น เยอรมัน สเปน โปรตุเกส เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ ไทย ฯลฯ

ลักษณะเช่นนี้เป็นการรวมเอาอำนาจในการพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติไว้ที่องค์กรๆเดียวแทนที่จะกระจายไปยังหลายองค์กร ซึงเป็นการสร้างความเป็นเอกภาพในทางวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญให้เกิดขึ้น ส่วนกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยฝ่ายบริหารเช่นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ ก็เป็นอำนาจของศาลปกครองในการที่จะทำหน้าที่วินิจฉัยในลักษณะของประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่(Dual Courts System)นั่นเอง

สำหรับองค์ประกอบของคณะผู้พิพากษาหรือตุลาการก็แล้วแต่รัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศจะกำหนดไว้ โดยทั่วไปมักจะคัดเลือกมาจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในทางกฎหมายมหาชนหรือการเมืองมากกว่าจะอาศัยเพียงผู้ผู้พิพากษาในศาลปกติที่มีความเชี่ยวชาญด้านคดีแพ่ง คดีอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน เนื่องจากคดีที่ขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจรัฐซึ่งเป็นมุมมองด้านการเมืองหรือกฎหมายมหาชนและจำเป็นต้องระเบียบวิธีพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะที่แตกต่างจากการพิจารณาคดีทั่วไป

ข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือเป็นศาลที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ ส่วนข้อเสียก็คือมักจะอิงไปในทางการเมืองเพราะเป็นการเข้าสู่ตำแหน่งภายหลังจากที่ประกอบอาชีพอื่นมาแล้ว ย่อมมีความใกล้ชิดหรือเกี่ยวพันทางการเมืองมาไม่มากก็น้อย

2)ศาลยุติธรรม(Court of Justice) มักใช้ในประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยว (Single Court System ) หมายถึงประเทศนั้นไม่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ โดยให้อำนาจแก่ศาลยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนอกเหนือจากการพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาทั่วไป โดยทั้วไปจะเป็นหน้าที่ของศาลชั้นสูงสุดหรือ Supreme Court เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เดนมากร์ก นอร์เวย์ เป็นต้น

ข้อดีก็คือเป็นที่มั่นได้ว่าผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมนั้นจะปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองค่อนข้างสูง ส่วนข้อเสียก็คือขาดความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายมหาชนและการเมือง จึงทำให้ในบางครั้งคำพิพากษาที่ออกมาจึงอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า “เกิดผลประหลาด(absurd)”นั่นเอง ทั้งนี้ ก็เนื่องเพราะหลักคิดและนิติวิธีของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนนั้นแตกต่างกัน(ดูเพิ่มเติมได้จาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=967http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=967)

3)คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ(Constitutional Council)เป็นองค์กรทางการเมืองหนึ่งซึ่งอยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบหลากหลาย มีทั้งที่มาจากการแต่งตั้งของฝ่ายการเมืองหรือโดยตำแหน่งทางการเมือง เช่น ประธานาธิบดี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ประธานศาล อัยการสูงสุด ฯลฯ เพื่อมิให้มองประเด็นต่างๆไปในทิศทางเดียวกันหมด ที่สำคัญก็คือเพื่อให้มีสถานะที่เป็นอิสระจากสภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีและศาล โดยมีหลักคิดที่ว่าไม่ให้มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งขึ้นมามีอำนาจเหนือองค์กรอื่น เช่น หากให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจ ก็ดูเสมือนว่าศาลเป็นผู้มีอำนาจสูงยิ่งกว่าฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไป

ต้นแบบที่สำคัญ คือ ฝรั่งเศสที่เป็นประเทศแรกที่จัดตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมาในปี 1958 ซึ่งประเทศอื่นที่ใช้ระบบนี้ ก็คือ กัมพูชา เลบานอน คาซัคสถาน ศรีลังกา อัลจีเรีย เป็นต้น

ข้อดี คือ ทำให้มีองค์กรที่มีอำนาจชัดเจนและจำกัดเฉพาะเรื่องและสามารถถ่วงดุลการใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ส่วนข้อเสีย  คือ ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิในการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้น้อยกว่าสองแบบแรกแต่ก็มีทางแก้ด้วยการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ

สำหรับไทยเรานั้นใช้มาแล้วทั้งสามแบบข้างต้นคือใช้ศาลยุติธรรมในกรณีคำพิพากษาฎีกาในคดี   อาชญากรสงครามที่ 1/2489 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2489 กรณี พรบ.อาชญากรสงครามฯเป็นกฎหมายอาญาที่มีลักษณะการบังคับใช้ที่มีผลย้อนหลังเป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญฯ ให้ถือว่าเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้ ถือเป็นโมฆะ

ต่อมารัฐธรรมนูญฯ ปี 2489 ได้เริ่มมีการจัดตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นมา และมีบ้างเว้นบ้างแล้วแต่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะบัญญัติไว้จวบจนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 40 และ 50 จึงได้มีการบัญญัติให้มีศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา ซึ่งผลงานก็ปรากฏดังเป็นที่รับทราบโดยทั่วไป

ไม่มีการเมืองการปกครองรูปแบบไหนที่ดีที่สุด ไม่มีการเมืองการปกครองของประเทศไหนดีที่สุดจนสามารถลอกเลียนแบบเอามาใช้ได้เลยโดยไม่ดัดแปลง แต่การเมืองการปกครองเป็นเรื่องของการลองผิดลองถูก หาข้อบกพร่องแล้วปรับปรุงใหม่ พบข้อบกพร่องใหม่ก็ปรับปรุงใหม่อีก กรณีการที่จะให้องค์กรใดมีอำนาจอะไรนั้น ก็อยู่ที่เราจะกำหนดขึ้นมาตามความเห็นของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยว่าจะปรับปรุงแก้ไขในข้อบกพร่องใด

ผมในฐานะที่เป็นหนึ่งเสียงของอำนาจอธิปไตยที่ถึงแม้จะถูกระงับใช้บริการชั่วคราวก็ตาม ขอเสนอว่าผมเลือกการมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจเพียงการวินิจฉัยเฉพาะความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายต่างๆที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น โดยไม่มีหน้าที่อื่นนอกเหนือจากนี้  ดังเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นครับ

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2557
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทำไม ประวัติศาสตร์ มักซ้ำรอยเดิมเสมอ

$
0
0

 

เหตุใดและทำไม  เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเมื่อนานมาแล้ว  ยังคงวนเวียนเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นระยะ  รูปแบบวิธีปฏิบัติอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  แต่บริบทเนื้อหาภายในก็ยังคงเดิมไม่แปรเปลี่ยน

เหตุใดและทำไม  ผู้กุมอำนาจรัฐในรุ่นต่อมา  จึงยังคงกระทำการซ้ำรอยเดิมอยู่เสมอ  คล้ายกับว่า  ยังไม่ได้เรียนรู้บทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีต  รวมถึงไม่ได้ทบทวนข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อจะนำมาใช้แก้ไขปัญหาในปัจจุบันเลย

แต่แท้ที่จริงแล้ว  ผู้สืบทอดอำนาจรัฐรุ่นต่อมาที่เติบโตขึ้นภายใต้กงล้อประวัติศาสตร์นี้ได้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต  จนกระทั่งได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า  ขั้นตอนและวิธีการเข้าสู่อำนาจ  การรักษาไว้ซึ่งอำนาจ  รวมทั้งการขยายขอบเขตแห่งอำนาจนั้น  เป็นสิ่งที่พิสูจน์มาแล้วว่า  มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเสมอ ไม่ว่ากาลเวลาและสังคมจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเช่นใด  ดังนั้นจึงดำเนินรอยตามวิธีการปฏิบัติดังแบบอย่างที่คนรุ่นก่อนเคยกระทำเรื่อยมา  โดยเชื่ออย่างสนิทใจว่า  จะสามารถควบคุมสภาพการณ์ต่างๆ ได้  ไม่ว่าจะมีการตอบโต้จากฝ่ายประชาชนผู้เสียประโยชน์หรือไม่อย่างไร  กลุ่มคนเหล่านั้นยังคงเชื่อมั่นอย่างมิเสื่อมคลายว่า  เอาอยู่  และสามารถจัดการกับฝ่ายตรงข้ามได้  ดังผลที่ปรากฎชัดแจ้งแล้ว  ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อกลุ่มคนรุ่นหลังที่จะเลียนแบบอย่างความสำเร็จ  หรืออาจจะกล่าวได้ว่า  แม้วันเวลาได้ผันแปรไปอย่างมีพลวัตแล้ว  แต่ผู้กุมอำนาจรัฐยุคปัจจุบันกลับยึดติดอยู่ในมโนทัศน์  กรอบแนวคิด  และความเพ้อฝันถึงวันวานในสังคมแบบจารีตดั่งเดิมไม่เสื่อมคลาย

1. สังคมแห่งสยามประเทศที่ผ่านมา  มีรูปแบบการปกครองโดยการควบคุมกลุ่มคนตามลำดับชั้นที่เรียกว่า ระบอบศักดินาอนุรักษ์ทุนนิยม โดยมีกลุ่มชนชั้นนำทางอำนาจที่สืบเชื้อสายจากวงศ์ตระกูล  กลุ่มนายทุนผู้ใกล้ชิดที่ได้ประโยชน์จากการผูกขาด  กลุ่มทหาร  กลุ่มข้าราชการนักวิชาการ  เป็นผู้กำหนดนโยบายและวางกรอบกติกาทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง  โดยการสร้างความได้เปรียบให้กับกลุ่มตนเองเพื่อผลประโยชน์พรรคพวกเพื่อนพ้องและวงศาคณาญาติ  พร้อมกับสร้างอุปสรรคและเงื่อนไขกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากรของกลุ่มคนฝ่ายตรงข้าม  ต่อมาความขัดแย้งดังกล่าวนี้ก็เกิดการปะทุและขยายตัวทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ระหว่างกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มผู้ใกล้ชิด  กับกลุ่มทุนรุ่นใหม่  ประชาชนหัวก้าวหน้า  นักศึกษา  หรือผู้ที่ต้องการปลดปล่อยพันธนาการจากความเชื่อดั่งเดิม  ไม่ต้องการถูกเอารัดเอาเปรียบอีกต่อไป

2. เกิดการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค โดยมีอุดมการณ์ขั้นพื้นฐานที่ต้องการให้ทุกคนอยู่ภายใต้กฏระเบียบเดียวกัน  พร้อมทั้งมีการบังคับใช้กฎหมายที่เที่ยงตรงและเป็นธรรม  ต้องการความโปร่งใสที่สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้  นั่นคือ  ต้องการสถาปนา ระบบยุติธรรม ให้ยั่งยืน  ไม่ใช่ระบบที่ ยุติ-ความเป็นธรรม  รวมถึงต้องการคัดเลือกตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์อย่างเป็นอิสระ  ปราศจากการชี้นำจากศูนย์กลางอำนาจ

3. มีการตั้งข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม เช่น การอ้างถึงภัยจากคอมมิวนิสต์  การอ้างถึงภัยที่จะมาทำลายสถาบันหลักของชาติ  ใช้เป็นข้ออ้างในการปลุกระดมมวลชน  พร้อมทั้งขยายแนวร่วมไปยังกลุ่มอื่นในสังคม เช่น กลุ่มชนชั้นนำตามจารีต  ข้าราชการ  นักวิชาการ  พระสงฆ์  รวมถึงผู้มีการศึกษาสูงและประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง

มีการประดิษฐ์มุสาวาทกรรมและผลิตซ้ำถ้อยคำโฆษณาชวนเชื่อ  เพื่อขยายประเด็นความขัดแย้งให้มากยิ่งขึ้น  สร้างกระแสความโกรธแค้นชิงชังโดยไร้เหตุผล  จนไม่สามารถค้นหาตรรกะทางปัญญาใดๆ มาอรรถาธิบายได้กระจ่างแจ้ง  เช่น  ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป  หรือ  ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน  เป็นต้น  รวมทั้งตราหน้าคนเหล่านั้นว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติและประชาชน

4. เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร  มีการใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงต่อผู้ที่มีความคิดแตกต่าง รวมทั้งกล่าวอ้างว่า  กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลังต่างชาติ ข้ออ้างอันศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงใช้ได้ผลเป็นอย่างดี  ไม่ว่าเวลาจะผันเปลี่ยนไปนานเท่าไร  นั่นคือ  การกล่าวอ้างความชอบธรรมที่ผูกขาดไว้เฉพาะกลุ่มตนเท่านั้น อ้างถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความจงรักภักดีต่อประเทศชาติ ดังนั้นจึงมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างสูงสุดที่จะต้องเข้ามาควบคุมเพื่อยุติความขัดแย้งของคนในชาติ  ซึ่งเป็นหน้าที่และเป็นภารกิจอันชอบธรรมของผู้พิทักษ์รักษา  พร้อมทั้งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้น  เพื่อให้ประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสงบสุข

ทั้งนี้แนวคิดอันทรงพลานุภาพและถูกปลูกฝังให้เชื่อเช่นนั้นตลอดมาว่า  ประชาธิปไตยที่มาจากสังคมตะวันตกนั้น  ยังไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน  อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความศึกษาต่ำ  จึงไม่เข้าใจวิถีทางประชาธิปไตยที่ถูกต้อง  ทำให้ถูกโน้มน้าวทางความคิดและถูกชักจูงใจได้ง่าย  รวมถึงยังขาดจิตสำนึกพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของกลุ่มผู้ยึดกุมอำนาจจะต้องเข้ามาปฏิรูป  ตลอดจนสถาปนาระบอบคุณธรรมจริยธรรมขึ้นมาใหม่  เพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น  ไม่เหมือนใคร  เป็นรูปแบบเฉพาะอย่างไทย  ซึ่งปุถุชนคนธรรมดาส่วนอื่นบนโลกใบนี้ไม่มีวันเข้าใจและเข้าถึงได้  รวมทั้งรักษาอัตลักษณ์และคุณลักษณะอันดีงามตามขนบจารีตนิยม

อาวุธที่สำคัญประการหนึ่ง  คือ  การโฆษณาชวนให้เชื่อ  เคลิบเคลิ้มและคล้อยตาม  คำปลอบประโลมให้ฝันถึงและเฝ้ารอวันใหม่ที่ดีกว่าเดิม  ทั้งจากการบอกกล่าวเล่าขานนิทานยามเย็นหรือเสียงกระซิบจากสายลม รวมถึงการบัญญัติค่านิยมพื้นฐานแห่งรัฐที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยแอบอิงกับศาสนาและความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ  มีการสร้างขอบเขตแห่งฝันเพื่อให้ทุกคนไขว้คว้าไปให้ถึง  โดยกลุ่มคนที่มีความเชื่อความศรัทธาแบบเดียวกันเท่านั้น  ที่จะมีสิทธิ์อยู่ในวิมานแดนสุขาวดีนี้

5. เกิดการไล่ล่าผู้เห็นต่าง  โดยผ่านกระบวนการทางกฎหมายและรวมทั้งตั้งข้อกล่าวหาอันเป็นเท็จที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้  เลือกที่จะปฏิบัติต่อผู้เห็นต่างอย่างเข้มงวดกวดขัน  แต่ย่อหย่อนกฎเกณฑ์สำหรับกลุ่มของพวกตนเอง

6. ตั้งรัฐบาลเผด็จการแนวอนุรักษ์นิยมที่เน้นผู้มีภาพลักษณ์ดีงามตามแบบแผน  มีนโยบายหลักในการขจัดคอรัปชั่นให้หมดไปโดยเร็ว  สร้างสังคมแห่งการพอเพียง  แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ไม่สามารถสร้างผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเกิดคำถามในเรื่องความโปร่งใสที่ไม่สามารถตรวจสอบได้

7. จัดทำรัฐธรรมนูญและสร้างกฎเกณฑ์ให้ฝ่ายตัวเองได้เปรียบในการเลือกตั้ง  เพิ่มอำนาจข้าราชการประจำ  รวมถึงโยกย้ายข้าราชการเพื่อสร้างความได้เปรียบ

8. ตั้งพรรคการเมืองหรือสนับสนุนพรรคการเมืองบางพรรค  เลือกตั้งแล้วพ่ายแพ้  ในที่สุดได้รัฐบาลฝ่ายตรงข้าม

9. เกิดความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่  ระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับกลุ่มศักดินาอนุรักษ์ทุนนิยม  และวนเวียนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น  อย่างซ้ำแล้วซ้ำอีก  ไม่เปลี่ยนแปลง

กงล้อแห่งประวัติศาสตร์ยังคงทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์และตรงไปตรงมาเสมอ  ในการให้บทเรียนแก่อนุชนรุ่นหลังได้เห็นถึงสังคมที่มีกระบวนการเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  และดับไป  ซึ่งเป็นธรรมดาแห่งโลก  เป็นกฎที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้ดีแล้ว  ทั้งนี้หากคนรุ่นต่อมาได้สรุปบทเรียนอย่างครุ่นคิดและใส่ใจ  และพร้อมใจกันหยุดยั้งเหตุการณ์ในอดีตไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยเดิมในปัจจุบันแล้ว  ในที่สุดสังคมนั้นก็จะสามารถก้าวผ่านการทดสอบขั้นที่หนึ่งเพื่อไปสู่สังคมที่มีความก้าวหน้าในลำดับต่อไปได้  อย่างไรก็ตาม  ยังคงมีบททดสอบใหม่ที่รอคอยให้คนในสังคมได้ร่วมแรงร่วมใจกันฟันผ่าอุปสรรค  ความยากลำบาก  เพื่อยกฐานะแห่งความเสมอภาคนั้นไปสู่หมู่คนทุกชนชั้น  และเพื่อให้กงล้อแห่งประวัติศาสตร์นี้ได้หมุนเวียนเปลี่ยนทิศทางไปสู่เส้นทางใหม่  ในอันที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งเพื่อความผาสุกแห่งสังคมโดยรวมต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธิปไตยในหมู่บ้านต่อต้านเหมืองแร่ทองคำ: ปฏิสัมพันธ์ของชาวบ้านกับนักศึกษาดาวดิน

$
0
0

ไม่เพียงความกล้าหาญของนักศึกษากลุ่มดาวดินต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ขณะกำลังกล่าวเปิดงานคืนความสุขให้คนไทยรวมใจสู้ภัยแล้งที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา ในวันต่อมาเรายังเห็นความกล้าหาญของชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด ที่ต่อสู้คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำในเขตตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ชูสามนิ้วกลางทุ่งนาในฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อสนับสนุนการกระทำของนักศึกษากลุ่มดาวดิน เพียงเพราะเป็นห่วงเป็นใยต่อความปลอดภัยในชีวิตของลูกๆ นักศึกษา ปฏิบัติการให้กำลังใจด้วยการชูสามนิ้วของชาวบ้านจึงเกิดขึ้นกลางทุ่งนาในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต

ความน่าสนใจอยู่ที่สัญลักษณ์ชูสามนิ้วของชาวบ้าน มีความหมายลึกซึ้งกินใจกว่าของนักศึกษากลุ่มดาวดินยิ่งนัก เพราะนอกจากเป็นสัญลักษณ์ที่เห็นด้วยกับการต่อต้านรัฐประหารของนักศึกษาแล้วยังเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นห่วงเป็นใยต่อความปลอดภัยในชีวิตของนักศึกษากลุ่มดาวดินที่ได้ลงมาร่วมกินนอน คลุกคลีกับชาวบ้านเป็นระยะเวลายาวนาน

การสนับสนุนความคิดและการกระทำของนักศึกษากลุ่มดาวดินของชาวบ้านเกิดขึ้นจากการกระทำของทหารในพื้นที่ที่เจอกับตัวเอง หลังจากค่ำคืนอันมืดมนของวันที่ 15 ต่อเนื่องจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 16 พฤษภาคม 2557 ที่กองกำลังอำพรางใบหน้ากว่า 300 คน นำโดยนายทหารทั้งในและนอกราชการ เข้ามาจับตัวชาวบ้านมัดมือมัดเท้า เตะ ต่อยและทุบตีด้วยท่อนไม้ พร้อมกับเอามีดและปืนจี้ชาวบ้านที่ขัดขืน เพื่อเปิดทางให้บริษัททุ่งคำ จำกัด ขนแร่ออกไปในยามวิกาล จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 40 ราย ต่อมาหลังรัฐประหารทหารหนึ่งกองร้อยได้เข้ามาประจำการอยู่ในหมู่บ้านโดยอ้างว่าจะมาดูแลสอดส่องความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน แต่สิ่งที่ทหารกระทำกลับตรงกันข้ามเพราะเข้ามาสร้างกระบวนการบีบบังคับให้ชาวบ้านยอมรับการขนแร่รอบใหม่ของบริษัทฯ

ท่ามกลางการกล่าวหาและใส่ร้ายป้ายสีต่อนักศึกษากลุ่มดาวดินว่ามีไอ้โม่งอยู่เบื้องหลังปฏิบัติการชูสามนิ้วต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา จะมีสิ่งใดเล่าที่สูงส่งยิ่งกว่าเจตจำนงค์เสรีที่เป็นหลักคิดสำคัญที่นักศึกษากลุ่มดาวดินได้เข้ามาเรียนรู้และใช้ชีวิตกินอยู่หลับนอนร่วมกับชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด สิ่งนี้คือหลักคิดสำคัญของชาวบ้านและนักศึกษากลุ่มดาวดินใช้ในการรวมตัวกันเพื่อสร้างพลังประชาชนต่อสู้คัดค้านเหมืองแร่ทองคำเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปีที่ผ่านมา

สิ่งนี้เองคือหลักคิดพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย นอกจากนั้นแล้ว ปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษากลุ่มดาวดินกับชาวบ้านในหมู่บ้านต่อต้านเหมืองแร่ทองคำยังประกอบไปด้วยหลักคิดประชาธิปไตยอีกสองส่วน คือ

ส่วนแรก คือตัวตนของประชาชนต้องเกี่ยวพันกับการเมืองในระบบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ตั้งแต่หน่วยพื้นที่ที่ย่อยที่สุดในระดับหมู่บ้าน ชุมชน ตำบล ท้องถิ่น ภูมิภาค เรื่อยมาจนถึงระดับประเทศ ซึ่งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทุกระดับ หมายถึง การเมืองการปกครองของไทยต้องสนับสนุนและพัฒนาประชาธิปไตยจากฐานล่างที่สุดด้วยการเลือกตั้ง ไม่ใช่ล้มการเลือกตั้งด้วยกระบอกปืนแล้วเปลี่ยนระบบเป็นการแต่งตั้งหรือสรรหาแต่อย่างใด และรัฐต้องสนับสนุนประชาชนในระดับบุคคล/ปัจเจก (เพื่อป้องกันกลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ) ให้เกี่ยวข้องผูกพันกับการเมืองตั้งแต่ระดับฐานล่างสุดเพื่อให้สถาบันการเมืองเหล่านี้ใช้อำนาจรับใช้ประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ส่วนที่สอง การเมืองภาคประชาชนหรือการเมืองบนท้องถนนหรือการเมืองนอกสภา (ตั้งแต่สภาท้องถิ่นไปจนถึงรัฐสภา) ที่รัฐจะต้องพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และมีส่วนร่วมให้ดียิ่งขึ้นในการเสริมสร้างศักยภาพประชาชนให้มีพลังเทียบเท่าหรือมากกว่าการเมืองในระบบ เพื่อคานอำนาจการเมืองในระบบที่ฉ้อฉลและไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนซึ่งเป็นคนเล็กคนน้อย คนยากจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

สิ่งเหล่านี้เองคือปฏิสัมพันธ์ของชาวบ้านในหมู่บ้านต่อต้านเหมืองแร่ทองคำกับนักศึกษากลุ่มดาวดิน (ซึ่งจริง ๆ แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติในชีวิตจิตใจของชาวบ้านอีกหลายหมื่นแห่งทั่วประเทศ รวมทั้งนักศึกษากลุ่มอื่น ๆ ด้วย)

ซึ่งการเข้ามายึดอำนาจของ คสช. นอกจากจะเป็นความผิดหวังของประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่หวังว่า คสช. จะเข้ามาทุบทำลายประชาธิปไตยตัวแทนหรือประชาธิปไตยเลือกตั้งที่มีการโกงกินกันอย่างมโหฬาร เพื่อเข้ามาจัดระบบการเมืองใหม่ให้ปลอดจากสิ่งเหล่านี้ แต่ต้องผิดหวังเพราะ คสช. ได้เข้ามาทุบทำลายจนย่อยยับทั้งสามส่วนที่เป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย นั่นคือ

หนึ่ง เจตจำนงค์เสรีหรือเสรีภาพของปัจเจกชนที่มีอยู่ในคนทุกคน ที่ คสช. ห้ามพูดห้ามเขียนห้ามแสดงออกถึงความเห็นที่แตกต่างจาก คสช.

สอง ประชาธิปไตยในระบบหรือประชาธิปไตยตัวแทนหรือประชาธิปไตยเลือกตั้ง ที่ คสช. จัดสรรอำนาจและวางโครงสร้างอำนาจในรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่สะท้อนให้เห็นเพียงแค่ว่า “คอร์รัปชั่นในเสื้อตัวใหม่” เท่านั้นเอง

และสาม ประชาธิปไตยมวลชนนอกสภา ที่ชาวบ้านต่อต้านเหมืองแร่ทองคำจังหวัดเลยเจอกับตัวเอง คือ ห้ามพูดห้ามเขียนห้ามแสดงออกถึงการคัดค้านต่อต้านเหมืองทองคำ ไม่ว่าจะเป็นป้ายตามหมู่บ้าน และห้ามรวมกลุ่มทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น แต่กลับสนับสนุนทุกกิจกรรมที่บริษัทฯ กระทำ

ท้ายที่สุด นอกจากความรู้ที่ได้จากห้องเรียนประชาธิปไตยที่นักศึกษากลุ่มดาวดินได้ลงไปกินอยู่หลับนอนร่วมกับชาวบ้านแล้ว ความงดงามของนักศึกษากลุ่มดาวดินไม่เพียงการชูสามนิ้วเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารเท่านั้น แต่การชูสามนิ้วของชาวบ้านยังเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความห่วงใยที่พ่อ ๆ แม่ ๆ กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดมีต่อลูก ๆ ดาวดินด้วย ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการท้าทายอำนาจรัฐ ณ ขณะนี้ย่อมเป็นอันตรายต่อชีวิตไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images