Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

พล.อ.ประยุทธ์ หวัง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ ป้องกันการป่วนด้วยโซเชียลมีเดีย

$
0
0

นายกรัฐมนตรีระบุมีกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ไม่ได้มีไว้ล้วงตับ ความเป็นส่วนตัวก็ยังมี แต่ จนท.จะทำงานได้เร็วขึ้น ป้องกันการใช้โซเชียลมีเดียป่วน ด้าน รมว.ไอซีที ยืนยันจะเดินหน้าออกกฎหมายนี้ เพราะทุกประเทศห่วงภัยไซเบอร์ ตัวร่าง กม. ยังแก้ไขได้เพราะอยู่ชั้นกฤษฎีกา-สนช.

ที่มาของภาพ: เว็บไซต์รัฐบาลไทย

28 ม.ค. 2558 - สำนักข่าวไทยรายงานว่า เมื่อวานนี้ (27 ม.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ ภายหลังการประชุม ครม. ถึงความคืบหน้า ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  ที่ต้องรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา  โดยกฎหมายฉบับนี้จะนำมาใช้ เมื่อมีกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

โดยนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้จะไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของประชาชน หรือบุคคลทั่วไป แต่จะเข้าไปตรวจสอบบุคคล ที่เจ้าหน้าที่มีข้อมูลว่ากระทำผิดกฎหมาย การออกกฎหมายนี้จะช่วยให้ช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานสะดวก รวดเร็ว สอดคล้องกับสถานการณ์ และทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันในสังคมออนไลน์ มีการปลุกระดม สร้างความวุ่นวายมาโดยตลอด

"การมีกฎหมายไว้ ไม่ได้เพื่อต้องการไปล้วงตับ รู้ความลับใคร ความเป็นส่วนตัวยังมี  แต่จะเอาไว้ให้เจ้าหน้าที่ทำงานเร็วขึ้น ไม่ต้องรอหมายจับเหมือนในอดีต  และกฎหมายฉบับนี้มีไว้ เพื่อป้องกันการใช้โซเชียลมีเดีย มาปลุกปั่นสร้างความวุ่นวาย เพราะเหตุการลักษณะนี้ยังมีอยู่ในประเทศไทย จึงต้องปรับให้ทันสมัย ในการเอาผิดกับการกระทำที่หมิ่นสถาบัน หรือการหมิ่นศาสนา"

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งในการแถลงข่าวว่า "ถ้ามีเรื่องเขาถึงทำ ถ้าไม่มีเรื่อง เขาไม่ได้ไปควานเธอ ไม่ได้ไปตรวจโทรศัพท์เธอ ชั้นจะไปตรวจเธอทำไม ชั้นไม่อยากตรวจ ชั้นไม่อยากรู้ เรื่องส่วนตัวชั้นไม่เกี่ยว เธอจะไปพูดอะไรกับใครชั้นไม่เกี่ยวหรอก"

ไทยรัฐออนไลน์ รายงานความเห็นของ นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) โดยยืนยันว่าจะเดินหน้าออก พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะมีความจำเป็น ทุกประเทศห่วงภัยทางไซเบอร์กันหมดและมีกฎหมายนี้หมดแล้วจริงๆ เนื้อหาสาระไม่ได้ก้าวล่วงสิทธิส่วนบุคคล โดยเนื้อหาใน มาตรา 35(3) ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสารทุกช่องทางจริง แต่จะระบุไว้ด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง ขั้นตอนเข้าตรวจสอบทำอย่างไร และมาตรา 36 กำหนดบทลงโทษพนักงานเจ้าหน้าที่เอาข้อมูลที่ได้มาไปเปิดเผย ติดคุก 3 ปีและมีโทษปรับ ทุกอย่างยังแก้ไขได้ในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สนช.

ด้านนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ข้อกังวลที่ว่าอาจจะละเมิดสิทธิประชาชนได้นั้นกฎหมายดิจิตอล 8 ฉบับ มี 3 ฉบับที่ประชาชนห่วงคือ ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ทั้งหมดอยู่ในชั้นการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขอยืนยันกับประชาชนว่าจะดูแลอย่างเต็มที่ จะตรวจพิจารณาโดยคำนึงถึงข้อทักท้วง หากอะไรเป็นการใช้อำนาจที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะหามาตรการต่างๆ มากำกับดูแลให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พาณิชย์เตรียมเชิญผู้ผลิตหารือลดราคาสินค้า

$
0
0

‘ม.ร.ว.ปรีดิยาธร’ แจง รบ.จะเดินหน้าปรับโครงสร้างการลงทุนใหม่กระตุ้นเศรษฐกิจโต ขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศ IMF หนุนปรับโครงสร้างน้ำมัน-ภาษี รมว.พาณิชย์เตรียมเชิญผู้ผลิตหารือลดราคาสินค้า คลังพร้อมล้างหนี้ ขสมก. ลุ้นลงทุนภาครัฐกระตุ้นอสังหาฯ โต 5% อัดฉีดงบ 4 หมื่นล้าน จ้างเกษตรกร-คนยากจน ซ่อมถนนทั่วประเทศ

28 ม.ค.2558 คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มี พล.อ.อ.ชนะ อยู่สถาพร เป็นประธานกรรมาธิการฯ ได้เชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมให้ข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องเริ่มปรับโครงสร้างการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้น และสร้างแรงจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนาม มีการลงทุนที่คล้ายกับประเทศไทย แต่ค่าแรงและต้นทุนของไทยนั้นสูงกว่า ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถแซงหน้าได้ และเห็นว่าต้องขยายฐานการผลิตไปต่างประเทศและเปิดอุตสาหกรรมใหม่ที่เน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ภายในประเทศเป็นหลัก ลดการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ ยางพารา ที่ต้องส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรดังกล่าวในอุตสาหกรรมภายในประเทศให้ได้ถึงร้อยละ 50 และเตรียมดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตซ ที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนมาก

โดยมีตัวแทนกรรมาธิการฯ กล่าวสนับสนุนการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปรแตซ  แต่เนื่องจากการทำเหมืองแร่ใต้ดิน อาจครอบคลุมและกระทบกับที่ดินทำกินของเกษตรกรที่อาจทำให้ดินทรุด จึงเสนอว่าควรมีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรด้วย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทน การสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานประเภทใหม่ การปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ปรับโครงสร้างภาษี การปรับปรุงข้าวและสวนยาง  ยอมรับว่ารัฐบาลไม่สามารถผลักดันราคายางได้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาทตามที่ชาวสวนยางเรียกร้องได้ เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงส่งผลต่อราคายาง โดยเฉพาะยางสังเคราะห์ แต่ในส่วนของยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถผลักดันได้ถึงกิโลกรัมละ 63 บาท

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดขึ้นในอนาคต คือ นโยบาย ดิจิทัล อีโคโนมี่ (Digital Economy) ซึ่งเกี่ยวกับการนำดิจิตอลเข้าไปเสริมศักยภาพการทำงานของทุกกระทรวง ตลอดจนต้องนำไปเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลจะขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี โดยตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง และเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน จัดทำกฎระเบียบ รวมถึงมาตรฐานความมั่นคงและความปลอดภัยให้กับประชาชนและทุกหน่วยงานอย่างทั่วถึง

ไอเอ็มเอฟหนุนปรับโครงสร้างน้ำมัน-ภาษี

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เปิดเผยภายหลังหารือนายหลุยส์ อี บริวเออร์ ผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ว่า ผู้แทนกองทุนไอเอ็มเอฟ สนับสนุนแนวคิดของรัฐบาลไทยในการดำเนินนโยบายปรับโครงสร้างราคาน้ำมันและโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการปรับโครงสร้างภาษีหลายประเภท เช่น ภาษีการรับมรดก และภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาและพิจาณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และรัฐบาลยังเตรียมปรับโครงสร้างภาษี มูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยจะพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย

นอกจากนี้ ไอเอ็มเอฟยังชี้แจงรายได้ภาษีของรัฐบาลต้องดูแลให้สอดคล้องกับรายจ่าย เพื่อการลงทุนหลายโครงการ ยอมรับว่ารายได้ยังไม่เพียงพอ จึงต้องเพิ่มรายได้ภาษี เพราะรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลปี 2557 มีเพียงร้อยละ 17.5 ของงบประมาณทั้งหมด นับว่าน้อยเกินไป เมื่อปี 2558 จึงได้ขยับขึ้นมาถึงร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งหมด และอาจเพิ่มเป็นร้อยละ 25- 30 ในอนาคต จึงต้องปรับโครงสร้างภาษีหลายประเภท และยังแนะนำให้ไทยเร่งการลงทุนโดยเฉพาะงบลงทุนในช่วง 3 เดือนแรก โดยรัฐบาลกำลังเร่งรัดในขณะนี้

ส่วนกรณีธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาตรการอัดฉีดเงินสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (QE) วงเงิน 60,000 ล้านยูโรต่อเดือนนั้น เพื่อดูแลปัญหาเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการรับมือเงินทุนไหลเข้า ทำให้เงินบาทไม่แข็งค่ามากจนเกินไปและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวน แต่ระยะยาว ธปท.ต้องเตรียมตัวให้พร้อม เพราะจะมีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาอย่างแน่นอน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเงินทุนไหลเข้าไทยช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบกับภาคการส่งออก เพราะเงินบาทไม่ได้แข็งค่าขึ้น แต่การส่งออกฟื้นตัวช้า เพราะประเทศคู่ค้ากำลังซื้อลดลงมาก ทั้ง สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ส่วนการส่งออกไปจีนชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน จึงต้องยอมรับสภาพจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะที่กระทรวงพาณิชย์กำลังหาทางช่วยเหลือเพิ่มทั้งการเปิดตลาดใหม่ในแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้

รมว.พาณิชย์เตรียมเชิญผู้ผลิตหารือลดราคาสินค้าสัปดาห์หน้า

วันเดียวกัน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามการทำงานของกระทรวงพาณิชย์กับผู้บริหารระดับสูง ว่า ได้เร่งรัดการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ทั้งการดูแลค่าครองชีพราคาสินค้า และผลักดันการส่งออกให้ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 4 โดยในส่วนของการดูแลค่าครองชีพได้เห็นชอบแผนการดำเนินงาน 6 โครงการตั้งแต่สัปดาห์หน้า ได้แก่

1.จัดงานธงฟ้าเคลื่อนที่หรือจำหน่ายสินค้าราคาถูกกว่าปกติตามชุมชน สถานที่ราชการ สำนักงานเอกชน และตลาดสด รวม 2,000 ครั้งในปี 2558

2. นำสินค้าธงฟ้าไปจำหน่ายในตลาดชุมนุมที่กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลัก

3. จัดมหกรรมจำหน่ายสินค้าตามเทศกาล โดยสัปดาห์หน้าจะหารือเอกชนเพื่อจัดทำแคมเปญแบคทูสคูล เป็นต้น

4.จัดทำโครงการร่วมมือผลิตสินค้าราคาประหยัด เพื่อลดภาระค่าครองชีพ หรือโลว์คอสต์ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ (Lowcost Department Store) ซึ่งกำลังเจรจากับบริษัทดำเนินธุรกิจด้านค้าปลีก 1 รายในการจัดทำโครงการฯ โดยบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดในการเป็นต้นแบบผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคราคาประหยัดที่ลดในเรื่องค่าใช้จ่ายหีบห่อและการตกแต่งร้าน เพื่อให้ราคาสินค้าถูกลงกว่าปกติ กำหนดเปิดสาขาแรกย่านราชประสงค์เดือนพฤษภาคม 2558 ก่อนเพิ่มสาขาเป็น 14 แห่งภายในปีนี้ และวางแผนเปิด 142 สาขาภายใน 5 ปี โดยจะหารือกับบริษัทฯ เพื่อหาข้อสรุปวันที่ 3 กุมภาพันธ์

5. จัดมหกรรมธงฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และ

6. ต่อยอดหนูณิชย์พาชิม โดยรณรงค์ให้ร้านอาหารปรุงสำเร็จจัดทำเมนูตามฤดูกาล เช่น ไข่ไก่ถูกก็เน้นเมนูจากไข่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สัปดาห์หน้าได้สั่งการให้เชิญผู้ผลิตสินค้าและค้าปลีกในสินค้าอุปโภคบริโภคที่กระทรวงพาณิชย์ดูแลกว่า 200 รายการมาหารือ เพื่อหาแนวทางร่วมมือในการดูแลค่าครองชีพ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงและเร่งรัดให้ทุกภาคดำเนินการ และได้สั่งการให้เร่งรัดทำแผนและปฎิบัติเป็นรูปธรรมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งการดูแลค่าครองชีพมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องที่เห็นว่ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มจะมีบทบาทมากสุดจะเน้นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ให้มากสุด ดังนั้น การทำสินค้าโลว์คอสขณะนี้มีเอกชนให้ความสนใจโครงการนี้แล้ว

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า จะเพิ่มการทำประชาสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ เช่น โครงการลายแทงของถูก เป็นการเปิดเว็บไซต์หรือสื่อสารผ่านมือถือ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ว่ามีอาหารและสินค้าราคาถูกที่ใดบ้าง โครงการ 1569 โมบาย หรือหน่วยร้องเรียนผ่านทีม 1569 เพิ่มจำนวนอาสาพาณิชย์ที่มีอยู่แล้ว 500 ราย เพื่อรณรงค์โครงการฉลาดซื้อประหยัดใช้ ส่วนการส่งออกเร่งรัดการผลักดันส่งออกตามแผนที่กำหนดไว้ และเย็นวันนี้ (28 ม.ค.) การประชุมร่วมกับรัฐมนตรีการค้าเมียมมาร์ โดยไทยเสนอ 9 แนวทางในการผลักดันการค้า 2 ฝ่ายอีกเท่าตัวในปี 2559 อาทิ ส่งเสริมการค้าชายแดน ส่งเสริมลงทุนพัฒนาโลจิสติกส์ ทำศูนย์ค้าส่งค้าปลีก จับมือพัฒนาเมืองคู่แฝด และอุปสรรคกฎระเบียบ เป็นต้น

คลังพร้อมล้างหนี้ ขสมก.

รมว.คลังพร้อมล้างหนี้สะสม ขสมก. ตั้งเงื่อนไขให้เอกชนเข้ามาเดินรถแทนทั้งหมด ยืนยันไม่กระทบพนักงาน ระบุเตรียมใช้มาตรการภาษีช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

วันเดียวกัน สมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Australian PPP Experience” ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และมูลนิธิสถาาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ โย สมมาย กล่าวย้ำว่าการเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมทำงานในกิจการของภาครัฐเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญ เพื่อทำให้การทำงานของภาครัฐมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้เอกชนเข้ามาสัมปทานเดินรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แทนทั้งหมด เนื่องจากการบริหารงานของ ขสมก.ที่ผ่านมาประสบปัญหาภาวะขาดทุนต่อเนื่องสูงถึง 90,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต้องใหัเอกชนเป็นผู้บริหารงานแทน หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ทางกระทรวงการคลังจะรับภาระหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดมาดูแล โดยยืนยันจะไม่กระทบต่อสถานะของเจ้าหน้าที่และพนักงานอย่างแน่นอน สำหรับแนวทางการจัดการต้องใช้เวลาศึกษาแต่ละขั้นตอน โดยกระทรวงคมนาคมเป็นผู้พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา

ส่วนกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ หามาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย ในส่วนของกระทรวงการคลังศึกษาแนวทางออกมาตรการช่วยเหลือคนยากจนผ่านมาตรการภาษี ยืนยันไม่ใช้นโยบายประชานิยมอย่างแน่นอน คาดสรุปได้ใน 3 สัปดาห์หน้าก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา และเสนอเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณาออกเป็นแพ็คเก็จช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยร่วมกันกับกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพาณิชย์

ลุ้นลงทุนภาครัฐกระตุ้นอสังหาฯ โตร้อยละ 5

วันเดียวกัน วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “นโยบายภาครัฐกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศปี 2558” ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์รวมภาคก่อสร้างคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของจีดีพี และยังมีผลเกี่ยวเนื่องไปธุรกิจอื่นด้วยรวมแล้วอยู่ที่ร้อยละ 25 ของจีดีพี ทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ จึงต้องให้ความสำคัญ หากรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องมีการกระตุ้นการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ผ่านมาจึงมีมาตรการสนับสนุนการลงทุนและการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปีที่ผ่านมาภาคอสังหาริมทรัพย์จะไม่สดใสมากนัก โดยมีการเติบโตที่ติดลบหากเทียบกับปีก่อนหน้าจากปัญหาทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้มีโครงการเปิดใหม่ลดลงและยอดขายลดลง รวมทั้งบางโครงการมีการคืนเงินจองเงินดาวน์ แต่ในปีนี้มองว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐที่มีการใช้เม็ดเงินขนาดใหญ่น่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนมากขึ้น รวมทั้งสถาบันการเงินน่าจะแข่งขันกันให้สินเชื่อบ้าน เพราะมีความเสี่ยงต่ำ จึงน่าจะทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ปีนี้เติบโตประมาณร้อยละ 5 แม้ว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามในเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

“หนี้ครัวเรือนที่มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของจีดีพี ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์รายละเอียดว่าเป็นหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยมากน้อยเพียงใด หากเป็นหนี้ที่อยู่อาศัยไม่น่าเป็นห่วงมากนัก โดยมองว่าทิศทางอสังหาริมทรัพย์ปีนี้น่าจะดีตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างน้อยร้อยละ 4 และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัยมากขึ้น” วิสุทธิ์ กล่าว

อัดฉีด งบ 4 หมื่นล้านบาท จ้างเกษตรกร-คนยากจน ซ่อมถนนทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยด้วยว่า จากหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา สรุปมาตรการที่จะช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มผู้ยากจน  โดยจะให้กระทรวงคมนาคมจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาและบูรณะซ่อมแซมถนนทั่วประเทศในวงเงิน 40,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนมีนาคม 2558 เพราะในช่วงดังกล่าว เข้าสู่ฤดูแล้งของประเทศไทยพอดี จึงเป็นจังหวะที่ดีที่รัฐบาลจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกระลอกหนึ่ง

“ในแต่ละปีกระทรวงคมนาคามีงบประมาณในการพัฒนาและซ่อมแซมถนนทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่กระทรวงการคลังขอให้กระทรวงคมนาคมบวกเพิ่มจากงบประมาณปีปัจจุบันเข้าไปอีก 40,000 ล้านบาท โดยงบประมาณก้อนนี้กระทรวงการคลัง จะกู้เงินจากตลาดเงินแต่จะเป็นวิธีการไหนและรูปแบบใด ยังอยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.)” สมหมาย กล่าว

สมหมาย กล่าวว่า การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยตรง จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและเกษตรกรที่อยู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้เช่นการปลูกข้าว เป็นต้น ทำให้เกิดการว่างงานในชนบท ซึ่งจะเป็นปัญหาของสังคมตามมาในอนาคต ดังนั้น การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบแบบทันทีจะก่อให้เกิดการจ้างงานในชนบทมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรที่วางเว้นจากการเพาะปลูกพืชเกษตรเพราะเป็นช่วงหน้าร้อน

“ผมมีความหวังว่าเมื่อรัฐบาลทุ่มเงิน40,000 ล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้ว บริษัทผู้รับเหมาในต่างจังหวัดที่ชนะงานประมูลก็จะไปว่าจ้างเกษตรกรที่ไม่ได้ประกอบอาชีพในหน้าแล้งมาทำงานเพราะโครงการต่างๆเหล่านี้ จะไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่มูลค่าหลายพันล้านบาทที่อยู่ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม แต่จะเป็นโครงการขนาดเล็กๆ กระจายไปในชนบททุกแห่งทั่วประเทศ” สมหมาย กล่าว

 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทยและ มติชนออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครม.เห็นชอบยกเลิก ‘รถเมล์-รถไฟฟรี’ ดีเดย์ 1 ส.ค นี้

$
0
0

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา 27 ม.ค.58  พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบให้มีการยกเลิกโครงการรถเมล์-รถไฟฟรี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค 58 เป็นต้นไป พร้อมกับให้กระทรวงคมนาคมไปพิจารณาหาแนวทาง ช่วยเหลือลดค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้ต่ำใหม่ เพราะที่ผ่านมา โครงการนี้มีการนำภาษีของคนส่วนรวมไปอุดหนุนให้แก่คนเฉพาะกลุ่ม อีกทั้งยังมีคนที่ไม่มีรายได้ต่ำ รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของโครงการมาใช้บริการรถเมล์ รถไฟ ฟรีจำนวนมาก

ส่วนช่วงรอยต่อของโครงการ รถเมล์ รถไฟฟรี ระหว่างวันที่ 1 ก.พ.- 31 ก.ค. 58 ครม.เห็นชอบ ให้ผ่อนผันใช้โครงการแบบชั่วคราวต่อไปอีก 6 เดือน เพื่อให้เวลากระทรวงคมนาคม พิจารณาหาแนวทาง ช่วยลดค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้ต่ำ ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนเริ่มใช้แนวทาง ลดค่าครองชีพด้านค่าโดยสารใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.เป็นต้นไป

สำหรับแนวทางการพิจารณาเรื่องรถเมล์ฟรี หรือแนวทางการพิจารณาว่าคนกลุ่มใด จะสามารถใช้รถเมล์ฟรีนั้นทางกระทรวงคมนาคม จะใช้เวลาสำรวจและแยกประเภทกลุ่มประชาชน จากทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทยประมาณ 2 เดือน เพื่อกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มเยาวชนเด็กนักเรียน กลุ่มผู้สูงอายุที่เกิน 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้พิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงกลุ่มผู้ได้รับสิทธิพิเศษอยู่แล้ว เช่น ทหารผ่านศึก หลังจากนั้นช่วง 4 เดือนที่เหลือ จะหาวิธีพร้อมกับแนวทางปฏิบัติว่า ควรใช้วิธีแสดงสิทธิเพื่อรับการช่วยเหลือจึงเหมาะสม เช่น ใช้เป็นบัตรผู้สูงอายุ บัตรนักเรียน หรือทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาใหม่

“กระทรวงคมนาคมได้ทำเรื่องเสนอไปกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณลดค่าครองชีพ เพื่อเสนอขอให้ ครม.พิจารณายกเลิก เพราะเห็นว่าโครงการนี้มีจุดอ่อน และกระทรวงจะไปหาแนวทางใหม่ เพื่อช่วยเหลือได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหลังจากนี้จะต้องไปคิดว่าจะช่วยเหลือแบบใด เช่น จะต้องมีการแสดงสิทธิ หรือบัตรเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือจริงๆ ถึงจะให้ขึ้นรถได้ฟรี หรือได้ส่วนลดค่าโดยสาร 50% แต่ยังไม่ได้สรุปซึ่งจะต้องหาข้อมูล รายละเอียดเพื่อนำไปเสนอ ครม.พิจารณาอีกครั้ง” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.จะมีการพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ การปรับบทบาทของขสมก.ใหม่ จากผู้กำกับดูแล และผู้ให้บริการเดินรถ เหลือเป็นผู้ให้บริการเดินรถเพียงอย่างเดียว และโอนหน้าที่การกำกับดูแลไปให้กรมการขนส่งทางบกดูแล ต่อมาให้มีการปรับเส้นทางเดินรถใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมกับเปิดกว้างให้หน่วยงานอื่น เช่น กรุงเทพมหานคร บริษัทรถร่วมเอกชน เข้ามาเดินรถได้ และการแก้หนี้สินสะสมของ ขสมก. 92,000 ล้านบาท

 

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์และ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 22-28 ม.ค. 2558

$
0
0
ช่วง 3 เดือนแรงงานถูกหลอกเกือบ 200 คน สูญเงินกว่า 9 ล้าน
 
(22 ม.ค.) นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) เปิดเผยว่า จากสถิติการรับเรื่องร้องทุกข์จากคนหางานกรณีถูกสาย/นายหน้า หรือบริษัทจัดหางานหลอกลวงไปทำงาน ในช่วงเดือนตุลาคม -ธันวาคม 2557 กกจ.ได้รับเรื่องร้องทุกข์ทั้งสิ้น 190 คน มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 9,660,000 บาท โดยมีสาเหตุ 1.จ่ายค่าบริการแล้ว แต่ไม่ได้รับการจัดส่งไปทำงาน 2.จัดส่งไปต่างประเทศแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าประเทศปลายทางได้ 3.ถูกส่งไปทำงานแบบลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย และ 4.ส่งไปแล้วแต่ไม่มีงานทำ รวมทั้งถูกลอยแพในต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อ ลดภาวะเสี่ยงต่อการไปทำงานผิดกฎหมาย และทำงานในตำแหน่งที่ทางการมาเลเซียไม่อนุญาต ทั้งโดยตั้งใจหรือถูกล่อลวงชักชวนโดยสาย/นายหน้าเถื่อน หรือโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศให้ติดต่อสอบถามที่กรมการจัดหางาน (กกจ.) 
       
นายสุเมธ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีแรงงานหญิงไทยที่เดินทางไปทำงานประเทศมาเลเซียในตำแหน่งพนักงานนวด ถูกจับกุมเนื่องจากมีพฤติการณ์ลักลอบทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต ขอเตือนแรงงานไทยที่อยากจะไปทำงานในประเทศมาเลเซีย คิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ศึกษาเงื่อนไขในสัญญาจ้างงานอย่างละเอียด โดยสัญญานั้นจะต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานแรงงานไทยหรือสถานทูต/สถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ และควรเดินทางไปทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยติดต่อกับ กกจ.หรือหากติดต่อกับนายจ้างโดยตรงก็ขอให้แจ้งการเดินทางต่อ กกจ.เนื่องจากการลักลอบทำงาน หรือทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศมาเลเซีย ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งปัจจุบันทางการมาเลเซียยังคงจับกุมแรงงานต่างชาติที่ลักลอบทำงานผิดกฎหมายทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กกจ.โทร.02-245-6708-9 หรือ สายด่วนกกจ. โทร.1694
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-1-2558)
 
คนงานไทยเคว้งสิงคโปร์-สมาคมถูกไล่ แฉสำนัก แรงงาน เลิกจ่าย ค่าเช่าที่ รอถกทูต
 
เมื่อวันที่ 21 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมเพื่อนแรงงานไทยในประเทศสิงคโปร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สมาคมมีความจำเป็นต้องขอเลื่อนการเรียนการสอนคอร์สภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ สำหรับแรงงานไทยและแม่บ้านไทยออกไปก่อน เนื่องจากสมาคม ได้รับแจ้งจากสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ (สนร.) ว่าให้สมาคมย้ายของออกจากห้องที่เป็นสำนักงานในปัจจุบัน ภายในวันที่ 25 ม.ค.นี้ เพราะค่าเช่าห้องสูงขึ้น ทำให้ สนร.ต้องยกเลิกการเช่าห้องและกำลังหาห้องใหม่ ดังนั้นขอให้นักเรียนทุกคนรอฟังข่าวจากสมาคม หรืออาจารย์ที่สอนว่าคอร์สต่างๆ จะเริ่มได้เมื่อไหร่ 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่าต่อมามีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนเข้ามาแสดงความเห็น ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาให้กำลังใจสมาคม และไม่เห็นด้วยกับการย้ายที่ตั้งสมาคม พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงบทบาทของ สนร.ที่ผ่านมา ว่าเป็นการรังแกแรงงานไทยในสิงคโปร์หรือไม่ เนื่องจากสมาคมเป็นที่รวมกันของแรงงานที่มีจิตอาสา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทั้งนี้ ในเฟซบุ๊กยังเชิญชวนสมาชิกสมาคมให้มาพบปะกันเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่ สนร.จะยกเลิกการเช่าและให้สมาคมย้ายออก ในวันที่ 25 ม.ค. เวลา 17.00 น. ภายในเลขที่ 5001 ห้อง 03-28 ชั้น 3 อาคารโกลเด้นมายล์ คอมเพล็กซ์ ถนนบีช สิงคโปร์ 199588
 
รายงานข่าวจากสมาคมเพื่อนแรงงานไทย ในประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยว่า สมาคมอยู่ภายใต้สำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ (สนร.) สังกัดกระทรวงแรงงาน ซึ่ง สนร.ได้นำจดหมายแจ้งให้สมาคมย้ายออกมาติดไว้ที่หน้าออฟฟิศเมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุให้สมาคมขนย้ายทรัพย์สินออกจากออฟฟิศภายในวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา แต่สมาคมขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 25 ม.ค.นี้ ซึ่ง สนร.ก็ยินดี ทั้งนี้เหตุผลในการย้ายทรัพย์สินออก เนื่องจาก สนร.แจ้งว่าค่าเช่าห้องของสมาคมที่ สนร.เป็นผู้จ่ายให้แพงขึ้น สนร.ไม่มีกำลังจ่ายให้ได้
 
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ที่ผ่านมาค่าเช่าออฟฟิศของสมาคม อยู่ที่เดือนละ 1,500 เหรียญสิงคโปร์ และเจ้าของอาคารโกลเด้น มายล์ คอมเพล็กซ์ ขอขึ้นค่าเช่าเป็น 1,800 เหรียญสิงคโปร์ ซึ่งสมาคมก็ยินดีจะจ่ายส่วนต่าง 300 เหรียญสิงคโปร์นี้ แต่ สนร.ไม่ยอมและแจ้งว่าจะหาสถานที่เช่าให้ใหม่ แต่ไม่ระบุว่าเมื่อไหร่ โดยสมาคมมีกิจกรรมสอนภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ให้แรงงานไทยทุกวันอาทิตย์ ทำให้หลังวันที่ 25 ม.ค.เป็นต้นไป สมาคมจะไม่มีสถานที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์อีก
 
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ปัจจุบัน สนร.พยายามกดดันให้สมาคมจดทะเบียนให้ถูกกฎหมายของสิงคโปร์ ทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะคนที่มาทำงานกับสมาคมนั้น เป็นแรงงานที่มีจิตอาสามาด้วยใจ ไม่ได้มีเงินเดือนประจำกับสมาคม อีกทั้งการก่อตั้งสมาคมให้ถูกกฎหมายต้องมีคนที่มีสัญชาติสิงคโปร์ ต้องมีเจ้าหน้าที่บัญชี และมีคนทำรายงานประจำปี ซึ่งรายละเอียดมากมายเต็มไปหมด แต่ที่ผ่านมากิจกรรมของสมาคมก็ดำเนินไปได้โดยไม่มีปัญหาอะไร ทางการสิงคโปร์ก็ส่งคนมาตรวจสอบ มีการสัมภาษณ์คนของสมาคม โดยทางการยังยอมรับและชมเชยในสิ่งที่สมาคมทำอีกด้วย 
 
"สมาคมต้องรอเจรจากับเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์คนใหม่ ที่จะมารับตำแหน่งช่วงสิ้นเดือนม.ค.นี้ ว่าจะหาทางช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง แต่สมาคมยืนยันว่าพี่น้องแรงงานไทยเกือบ 4 หมื่นคนในสิงคโปร์จะไม่ชุมนุมประท้วง เพราะเป็นไปไม่ได้เลย กฎหมายสิงคโปร์ไม่เอื้อให้พลเมืองชั้นสองชุมนุมอยู่แล้ว ส่วนกิจกรรมของสมาคมที่มีสมาชิกกว่า 300 คนมาลงทะเบียนเรียนภาษา ตัดผม ร้อยพวงมาลัย แกะสลักผลไม้ ก็ต้องงดจัดชั่วคราวไปก่อน" รายงานข่าวระบุ
 
สำหรับความเป็นมาของสมาคมเพื่อนแรงงานไทยในสิงคโปร์ ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ.2545 สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช (มสธ.) เปิดการเรียนการสอนทางไกลในประเทศสิงคโปร์ โดยมีสำนักงานแรงงานในประเทศสิงคโปร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์อำนวยการจัดการเรียนการสอนทางไกลให้กับมสธ. จึงเกิดรวมกลุ่มของนักศึกษา ต่อมาพัฒนาเป็นกลุ่มอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของสำนักงานแรงงาน เช่น กิจกรรมวันแรงงาน กิจกรรมวันสงกรานต์ และกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา
 
จากนั้นประมาณปี 2547 ผศ.ดร.พัฒนา กิติอาษา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันที่ 10 ม.ค.2556 เคยมาศึกษาวิจัยชีวิตและชุมชนคนงานไทยในสิงคโปร์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมอาสาช่วยสอนภาษาอังกฤษให้แรงงานไทยและแม่บ้านไทยที่สนใจ ที่สมาคม โดยเริ่มเปิดคอร์สภาษาอังกฤษเบื้องต้น จากนั้นแรงงานไทยบางส่วนก็อาสาเข้ามาช่วยงานสมาคม จนถึงปัจจุบันกว่า 10 ปีที่ผ่านมา สมาคมทำหน้าที่เหมือนเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมสำหรับแรงงานไทย อย่างไรก็ตาม สมาคมพยายามหารายได้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าน้ำค่าไฟค่าอินเตอร์เน็ตด้วยวิธีจัดกิจกรรมสอยดาวใน วันแรงงาน ซึ่งได้รับบริจาคสิ่งของจากทางวัดไทย อีกทั้งมีการจัดประกวดลูกทุ่งเสียงทอง โดยมีร้านอาหารร้านค้าในอาคารโกล เด้นมายล์ให้การสนับสนุนอีกด้วย
 
รายงานข่าวระบุว่า วัตถุประสงค์ของสมาคม ประกอบด้วย 1.เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยใน สิงคโปร์ 2.เพื่อส่งเสริมความสามัคคีในหมู่แรงงานไทยและชุมชน คนไทยในสิงคโปร์ 3.เพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมืออันดีกับหน่วยงานราชการไทยในสิงคโปร์และหน่วย งานราชการและเอกชนของสิงคโปร์ 
 
(ข่าวสด, 22-1-2558)
 
สหภาพฯ หารือผู้ว่า กทม. แนวทางโอนย้าย ขสมก.-สิทธิประโยชน์
 
นายวีระพงษ์ วงศ์แหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำพนักงานองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพยื่นหนังสือขอทราบแนวทาง การโอน ขสมก. เข้าสังกัดกทม. ตามนโยบายของรัฐบาล โดยขอทราบรายละเอียดแนวทางแผนงานการโอน ขสมก. ไปสังกัดกทม. เกี่ยวกับ 1. การโอน ขสมก. จะคงสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา พนักงานไม่เห็นด้วยหากยุบเลิก ขสมก. และไปตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมา
 
2. หากโอนไปแล้ว สิทธิผลประโยชน์ของพนักงานจะทำอย่างไร สถานภาพของพนักงานเป็นข้าราชการประจำกทม. หรือเป็นลูกจ้างกทม. หรือเป็นลูกจ้างองค์กรกทม. 3. พนักงานได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานหรือไม่ กฏหมายใด หากไม่มีจะได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายใด 4. กทม. มีมาตรการรองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน และการฌาปนกิจสงเคราะห์พนักงาน ขสมก. อย่างไร
 
และ 5. มาตรฐานสิทธิประโยชน์ของพนักงานใช้อะไรเป็นตัวกำหนด อิงกฏหมายใด และหากจะโอน ขสมก. ไปสังกัดกทม. จะต้องไปเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดิมที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครหรือกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากสมาชิกสหภาพแรงงานฯ และพนักงาน ขสมก. พร้อมที่จะไปในสถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้
 
ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ขณะนี้กรุงเทพมหานครยังไม่ทราบแนวทางชัดเจนและยังไม่มีอะไรเป็นทางการ เนื่องจากการถ่ายโอนดังกล่าวรัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจ แต่ยืนยันว่าการบริหารบุคลากรของกรุงเทพมหานครทั้งในส่วนของข้าราชการ ลูกจ้าง และอาสาสมัครของกรุงเทพมหานคร ในยุคของตนได้ดูแลบุคลากรอย่างดี ทั้งในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งหากมีการโอนขสมก. เข้าสังกัดกทม.จริง กทม. ก็พร้อมที่จะดูแลบุคลากรทุกคนอย่างเต็มที่
 
(ryt9.com, 23-1-2558)
 
บุกจับบริษัททัวร์ลำปาง เปิดนำเที่ยวบังหน้าตุ๋นคนงานไป ตปท.
 
(23 ม.ค. 58) นายปรีชา อินทรชาธร ผู้อำนวยการกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน พร้อมด้วยนางพรปวีณ์ วิชิต จัดหางานจังหวัดลำปาง และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าตรวจที่บริษัท พงษ์ศักดิ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัททัวร์ ตั้งอยู่เลขที่ 719 ม.15 ต.บ่อแฮ้ว อ.เมืองลำปาง
       
หลังทางจัดหางานจังหวัดลำปางได้รับการร้องเรียนจากคนหางานว่าถูกบริษัทดังกล่าวหลอกให้ไปทำงานที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะเกาหลี, ญี่ปุ่น ซึ่งได้ชำระเงินไปบางส่วน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้เดินทางไป จากนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบทางโซเชียลมีเดียต่างๆ จนพบว่าบริษัทดังกล่าวได้ประกาศรับสมัครงานจริง จึงได้ประสานไปยังกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน เข้าตรวจสอบ
       
โดยเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวกรรมการของบริษัทได้จำนวนสองคน คือ นายพงษ์ศักดิ์ ต๊ะกูล และนายประสิทธิ์ ปัทมะ ส่วนอีกหนึ่งคนคือ นายพายุ สว่างใจธรรม ไม่อยู่ในบริษัท ซึ่งเจ้าหน้าที่จะได้ออกหมายจับต่อไป
       
นายปรีชาระบุว่า บริษัทดังกล่าวใช้วิธีทำทัวร์บังหน้า แต่ลักลอบนำคนงานไปทำงานยังต่างประเทศในลักษณะนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย และที่ผ่านมาได้มีคนหางานถูกหลอก และสูญเงินให้บริษัทดังกล่าวไปแล้วกว่า 20 คน ซึ่งแต่ละคนก็เสียเงินค่านายหน้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไปคนละ 70,000-80,000 บาท รวมมูลค่าความเสียหายแล้วกว่าล้านบาท เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาจัดส่งคนงานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต
       
นายปรีชายอมรับว่า ในระยะนี้คนลำปางนิยมไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมาก ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ตามลำดับ คาดว่าอาจจะเป็นเพราะเรื่องเศรษฐกิจ รวมถึงการเกษตรไม่ค่อยดี จึงทำให้คนหันไปนิยมทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเชื่อว่าการไปทำงานในต่างประเทศจะสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้ดีที่สุด ปัญหาเรื่องการถูกหลอกจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
       
ซึ่งบางส่วนชาวบ้านทราบว่าอาจจะถูกหลอกแต่ก็ยอมเสี่ยงโดยไม่ฟังคำเตือนของทางราชการ อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการถูกหลอกอีก ขอให้ตรวจสอบตำแหน่งหรือรายละเอียดอื่นๆ รวมถึงบริษัท หรือนายหน้าให้ดีว่าได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในต่างประเทศหรือไม่ก่อนตัดสินใจ หรือแม้แต่การเรียกเก็บค่านายหน้าจำนวนมาก เนื่องจากอาจจะสูญเงินฟรีได้ โดยสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดลำปาง 0-5426-5051-2 ทุกวัน เวลาราชการ
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-1-2558)
 
ยอดโรงงานใหม่ปี 2557กระฉูดเงินทุนแตะ 602,236 ล้านบาท
 
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถิติการประกอบกิจการโรงงานที่ได้เก็บข้อมูลตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค.-31 ธ.ค. 2557 ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 ทั้งเปิดโรงงานใหม่และขยายกิจการ รวมทั้งสิ้น 3,815 ราย มูลค่าเงินทุน 456,963 ล้านบาท มีการจ้างคนงาน 149,883 คน แบ่งเป็น การประกอบกิจการใหม่ 3,245 ราย และขยายโรงงาน 570 ราย
 
นอกจากนี้ข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในปี 2557 ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 5,619 ราย คิดเป็นเงินทุน 602,236 ล้านบาท จ้างคนงาน 204,394 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2556 ได้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 5,472 ราย คิดเป็นเงินทุน 517,271 ล้านบาท จ้างคนงาน 178,105 คน ตัวเลขจึงดีขึ้นทุกตัวคิดเป็นเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 เบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมประเมินว่า ตัวเลขการตั้งและขยายโรงงานของภาคเอกชนในปี 2558 มีแนวโน้ม ที่ดีกว่าปีที่ผ่านมาตามแผนการลงทุนของหน่วยงานรัฐ
 
“จะเห็นได้ว่าโรงงานเปิดทำการผลิตในปัจจุบัน เป็นโรงงานขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนสูง และมีการจ้างคนงานเป็นจำนวนมาก สามารถช่วยขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดี และมั่นใจว่าภายใน 1-2 เดือน จะมีโรงงานเปิดสายการผลิตใหม่และขยายกิจการโดยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคทุกจังหวัด อีกจำนวน 2,154 โรงงาน คิดเป็นเงินลงทุน 242,603 ล้านบาท และจะมีการจ้างงานใหม่อีก 59,793 คน ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นในการสร้างและขยายกิจการในประเทศไทย”
 
ดังนั้นจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2558 มีแนวโน้มสดใส มีแนวโน้มที่ดีเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา” นายจักรมณฑ์ กล่าว
 
สำหรับจังหวัดที่มีโรงงานเปิดใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) จ.ปทุมธานี 309 โรงงาน 2) จ.สมุทรปราการ 287 โรงงาน 3) กรุงเทพฯ 222 โรงงาน 4) จ.ชลบุรี 190 โรงงาน และ 5) จ.สมุทรสาคร 167 โรงงาน ส่วนประเภทกิจการที่เปิดโรงงาน
 
มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) อุตสาหกรรมอาหาร 281 โรงงาน 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ 255 โรงงาน 3) กลุ่มผลิตยานพาหนะ 251 โรงงาน 4) กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช 248 โรงงาน และ 5) กลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ 242 โรงงาน
 
นายจักรมณฑ์กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการประกอบกิจการและขยายกิจการ เพราะภาคการผลิต (Real Sector)
 
มีส่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริง มีเงินหมุนในระบบ ทั้งการลงทุน การจ้างงาน และใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพื่อสร้างมูลค่า โดยเฉพาะการออกใบอนุญาต รง.4 ของกระทรวงอุตสาหกรรม จึงมีนโยบายให้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จัดทำข้อมูลการแจ้งเริ่มประกอบการ และขยายโรงงานจริงว่า หลังได้รับใบอนุญาตจากกระทรวง ไปแล้วมีคงเหลือที่ยังไม่ประกอบกิจการจำนวนกี่ราย เพื่อช่วยประสานอำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน และพบว่าโรงงานที่เปิดดำเนินกิจการในตอนนี้เป็นกิจการขนาดใหญ่ ที่มีความพร้อมและการเตรียมตัวที่ดี
 
ส่วนที่ยังไม่เปิดดำเนินกิจการ ส่วนใหญ่จะเป็นเอสเอ็มอี เนื่องจากยังต้องใช้เวลาในการหาแรงงาน แหล่งเงินทุน หรือการก่อสร้างที่อาจล่าช้า และปัจจัยอื่นๆ หากผู้ประกอบการรายใดมีอุปสรรคที่ภาครัฐจะสามารถช่วยได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือดังกล่าว
 
(แนวหน้า, 24-1-2558)
 
เล็งจ้างงานหน้าแล้ง-แจกเงินหมู่บ้าน รัฐทุ่มงบแสนล้านจัดขบวนการแก้จน
 
นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือรากหญ้าว่า ขณะนี้คลังกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาจึงยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โดยคาดว่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนในช่วงต้นเดือน ก.พ.58 สำหรับนโยบายรัฐบาลที่กำลังผลักดันนั้น จะเป็นการมองไปในหมู่บ้านชนบท เป็นการช่วยให้เกิดการจ้างงานในช่วงหน้าแล้ง กระตุ้นให้คนมีงานทำ ซึ่งยืนยันว่าจะไม่ใช่โครงการประชานิยม เช่นเดียวกับการจัดตั้งกองทุนพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีเป้าหมายจะให้เงินกับหมู่บ้านนำไปใช้ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะใช้เงินจากส่วนไหน จำนวนเท่าไร 
 
แต่คงจะไม่ให้แบบกองทุนหมู่บ้านที่ให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เพราะมากเกินไป รัฐบาลคงไม่ไหว แต่เป็นการให้เงินแบบมีเงื่อนไข นำไปใช้ในโครงการที่มีประโยชน์ ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ในเดือน ก.พ.เช่นกัน
 
“การทำนโยบายประชานิยมของรัฐบาลที่ผ่านมาๆ ทำให้เกิดภาระต่องบประมาณสูงมาก ทั้งในเรื่องจำนำข้าว รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี สร้างหนี้สูงถึง 700,000-800,000 ล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลนี้มีแนวคิดที่จะเสนอให้มีการตั้งงบประมาณกลางปีละ 100,000 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ปีงบ 2559 เป็นต้นไป เพื่อให้รัฐบาลนำเงินในส่วนนี้มาใช้จ่ายในการดูแลประชาชนที่มีฐานะยากจน ยากไร้ เนื่องมาจากเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลง และธรรมชาติเปลี่ยนแปลง ทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่งกลุ่มผู้ยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือนั้นจะเป็นเกษตรกรหรือไม่เป็นเกษตรกร”
 
ทั้งนี้ นายสมหมายกล่าวว่า การเสนอตั้งงบประมาณ 100,000 ล้านบาท จะเป็นคนละส่วนกับงบกลางฉุกเฉินที่จะนำมาใช้เกี่ยวกับภัยพิบัติ เป็นงบกลางเพื่อมาดูคนยากจน ยากไร้ เพื่อให้รู้ว่าใช้เงินจากไหน อะไรบ้าง และเพื่อไม่ให้เกิดการบานปลายจนเป็นหนี้สะสม และหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินจากการกู้ ก็จะกู้จากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ หรือจากหน่วยงานอื่นก็ต้องตั้งงบคืนเต็มจำนวนในปีงบประมาณถัดไป
 
(ไทยรัฐ, 24-1-2558)
 
จับตาขบวนการงาบหัวคิวแรงงาน นักการเมือง-จนท.มีเอี่ยวส่งเชือดพ่วงยึดทรัพย์
 
นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้หารือถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุจริตในการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อเสนอต่อนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นำไปรายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยในที่ประชุม ผู้แทน ป.ป.ช.ได้เสนอให้ตั้งคณะกรรมการกลางในการกลั่นกรองบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศที่มีอยู่เดิมกว่า 200 บริษัท และที่มาจดทะเบียนเปิดใหม่เพื่ออุดช่องโหว่การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกินความเป็นจริง แต่ชี้แจงในที่ประชุมว่าปัจจุบันกระทรวงแรงงานมีคณะกรรมการตรวจสอบตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ดังนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการกลางฯ ขึ้นมา แต่ขอให้กระทรวงแรงงานกำชับต่อคณะกรรมการตรวจสอบให้ดำเนินการดูแลเรื่องการเก็บค่าใช้จ่ายให้เข้มข้นมากขึ้น และกรณีรัฐมนตรีมีหุ้นหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทจัดหางานก็ห้ามไม่ให้เข้าไปวินิจฉัยการอุทธรณ์ของบริษัทจัดหางานหรือไม่ให้พิจารณาจัดส่งแรงงาน รวมทั้งหากมีแรงงานร้องเรียนและตรวจสอบพบว่าบริษัทจัดหางาน เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสูงเกินจริงจะต้องตรวจสอบและลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด โดยนอกจากใช้ระเบียบข้าราชการแล้วก็ให้เอาผิดตามกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่มีโทษยึดทรัพย์ด้วย
       
“ที่ประชุมได้ขอให้กระทรวงแรงงานไปพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งแรงงานให้รัดกุมมากขึ้นเพื่อไม่ให้มีช่องโหว่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจริง ได้ชี้แจงไปว่าปัจจุบันกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ระบุไว้อย่างรัดกุมพอสมควร และขณะนี้กระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างศึกษาว่ากฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องข้อใดบ้างที่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม หากต้องแก้ไขก็จะดำเนินการ แต่คงแก้ไขในลักษณะยืดหยุ่นเนื่องจากการจัดส่งแรงงานมีกรอบระยะเวลาจัดส่ง หากเขียนกฎหมายตายตัวเกินไปจะเป็นอุปสรรคในการจัดส่งแรงงานไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้” ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว
       
ด้านพล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากรายงานของ ป.ป.ช.พบว่า ต้นตอการทุจริตเริ่มที่ฝ่ายการเมืองเห็นช่องทางการทุจริตจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศจึงไปตั้งบริษัทจัดหางาน และเมื่อตรวจสอบพบเข้าก็ไม่ให้เข้า การทุจริตมีกระบวนการ 3 ระดับ คือ ฝ่ายการเมืองให้ผู้แทนมาตั้งบริษัทจัดหางาน ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติร่วมมือกัน จึงต้องหาทางปิดช่องทางการทุจริตทั้ง 3 ระดับนี้ เช่น การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มโทษโดยยึดทรัพย์บริษัทจัดหางานและผู้ที่กระทำผิด และจะต้องสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้แก่ข้าราชการ นอกจากนี้จะต้องแบ่งเกรดบริษัทจัดหางานเพื่อดูว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไรและเชื่อมโยงกับใครบ้าง ซึ่งขณะนี้ตนได้รับรายชื่อบริษัทจัดหางานทั้งหมดมาแล้วและจะดำเนินการตรวจสอบ นอกจากนี้จะต้องทบทวนกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง หากพบว่ามีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตก็ต้องแก้ไข
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 26-1-2558)
 
ที่ประชุม คนร. เห็นชอบให้ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 35 แห่งให้ได้รับเงินเดือน 9,040 บาท
 
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้เห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจจำนวน35 แห่งที่ขึ้นทะเบียนบัญชีแรงงานไว้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างที่มีรายได้ขึ้นต่ำเพียงเดือนละ5,780 บาทให้ได้รับเงินเดือน 9,040บาท ให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่300 บาทต่อวันจะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับลูกจ้างขณะที่พนักงานที่มีแรงงานค่าจ้างขั้นสูงหากจะขยายเพดานค่าจ้างขึ้นไปอีกจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และครม.เห็นชอบเป็นรายกรณีไป
 
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบแผนฟื้นฟูของการรถไฟแห่งประเทศไทยการบินไทย และขสมก.โดยในส่วนของขสมก.ที่ประชุมได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานของขสมก.เดิมที่เป็นผู้กำกับดูแลรถโดยสารสาธารณะให้ยกหน้าที่ดังกล่าวให้กรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่แทนส่วนขสมก.ให้เป็นเพียงผู้ประกอบการเท่านั้นโดยเรื่องดังกล่าวจะเสนอครม.เห็นชอบต่อไป
 
(กรุงเทพธุรกิจ, 26-1-2558)
 
รัฐบาลอัดฉีด งบ 4 หมื่นล้านบาท จ้างเกษตรกร-คนยากจน ซ่อมถนนทั่วประเทศ
 
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา สรุปมาตรการที่จะช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มผู้ยากจน โดยจะให้กระทรวงคมนาคมจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาและบูรณะซ่อมแซมถนนทั่วประเทศในวงเงิน 40,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนมีนาคม 2558 เพราะในช่วงดังกล่าว เข้าสู่ฤดูแล้งของประเทศไทยพอดี จึงเป็นจังหวะที่ดีที่รัฐบาลจะอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกระลอกหนึ่ง
 
"ในแต่ละปีกระทรวงคมนาคามีงบประมาณในการพัฒนาและซ่อมแซมถนนทั่วประเทศอยู่แล้ว แต่กระทรวงการคลังขอให้กระทรวงคมนาคมบวกเพิ่มจากงบประมาณปีปัจจุบันเข้าไปอีก 40,000 ล้านบาท โดยงบประมาณก้อนนี้กระทรวงการคลัง จะกู้เงินจากตลาดเงินแต่จะเป็นวิธีการไหนและรูปแบบใด ยังอยู่ระหว่างการหารือกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)" นายสมหมายกล่าว
 
นายสมหมาย กล่าวว่า การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยตรง จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและเกษตรกรที่อยู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้เช่นการปลูกข้าว เป็นต้น ทำให้เกิดการว่างงานในชนบท ซึ่งจะเป็นปัญหาของสังคมตามมาในอนาคต ดังนั้น การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบแบบทันทีจะก่อให้เกิดการจ้างงานในชนบทมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรที่วางเว้นจากการเพาะปลูกพืชเกษตรเพราะเป็นช่วงหน้าร้อน
 
"ผมมีความหวังว่าเมื่อรัฐบาลทุ่มเงิน 40,000 ล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแล้ว บริษัทผู้รับเหมาในต่างจังหวัดที่ชนะงานประมูลก็จะไปว่าจ้างเกษตรกรที่ไม่ได้ประกอบอาชีพในหน้าแล้งมาทำงานเพราะโครงการต่างๆเหล่านี้ จะไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่มูลค่าหลายพันล้านบาทที่อยู่ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคม แต่จะเป็นโครงการขนาดเล็ก ๆ กระจายไปในชนบททุกแห่งทั่วประเทศ" นายสมหมายกล่าว
 
(มติชนออนไลน์, 26-1-2558)
 
ช็อก! ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ตัดสิทธิผู้ประกันตนลาออก คสรท.เตรียมยื่นค้าน
 
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม คสรท.จะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และจากนั้นเวลา 11.00 น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ทบทวนร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคม(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ตามขั้นตอนตามวาระแรกไปแล้ว และรอการพิจารณาในวาระที่สองในเดือนกุมภาพันธ์
 
เนื่องจากพบว่าร่างดังกล่าวมีการตัดสิทธิผู้ประกันตนกรณีลาออกจากงานจากเดิมที่ผู้ประกันตนจะได้รับเงินช่วยเหลือขณะว่างงานจำนวนร้อยละ30ของค่าจ้างไม่เกิน3เดือนโดยที่ไม่มีการสอบถามผู้ประกันตนและส่งผลกระทบ สร้างความเดือดร้อนต่อผู้ประกันตนอย่างมาก เนื่องจากแรงงานบางรายลาออกด้วยเหตุผลที่ต้องมาดูแลอาการป่วยของคนในครอบครัว การตัดสิทธิออกไปก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมแรงงานมากยิ่งขึ้น
 
ประธานคสรท.กล่าวอีกว่า ตนทราบข้อมูลมาว่า การตัดสิทธิดังกล่าวออก เพราะสปส.เคยระบุว่ามีผู้ประกันตนบางคนลาออกเนื่องจากหวังเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน แต่จากความเป็นจริงที่คสรท.พบคือไม่มีใครอยากลาออกจากงาน ซึ่งการลาออกจะทำให้ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัวและพบว่าบางส่วนถูกนายจ้างบีบให้ออกจากงาน
 
"สปส.อย่ามโนไปเองว่าแรงงานลาออกเพราะหวังเงินกรณีว่างงานเงินที่ถูกตัดออกไปนี้เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับคนยากคนจนเวลาคนงานลำบากเงินส่วนนี้ช่วยชีวิตไว้ได้หากสปส.จะประหยัดเงินก็อย่ามาตัดสิทธิกันแบบนี้ไปตัดโครงการอื่นๆ ที่ฟุ่มเฟือยและไม่เกิดประโยชน์กับผู้ประกันตนจะดีกว่า ทั้งการประชาสัมพนธ์ การไปดูงานต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินกองทุนไปได้มากกว่าการมาตัดสิทธิกรณีว่างงาน"
 
น.ส.วิไลวรรณ ยังกล่าวว่า อยากให้ทบทวนเนื้อหาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ โดยให้สิทธิผู้ประกันตนที่ลาออกจากงานและลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนแต่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปีและมีอายุต่ำกว่า 55 ปี สามารถขอรับเงินสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงเกณฑ์อายุ 55 ปี เพราะผู้ประกันตนหลายคนที่ลาออกจากงานมีความเดือดร้อน ที่ผ่านมามีกรณีแรงงานเสียชีวิตก่อนอายุครบ 55 ปีและไม่ได้แจ้งระบุทายาทผู้รับเงินต่อสปส.ไว้จึงทำให้เงินตกเป็นของกองทุน
 
นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติก็ควรได้รับเงินบำเหน็จเมื่อครบกำหนดทำงานในไทยและเดินทางกลับประเทศต้นทางโดยไม่ต้องรออายุครบเกณฑ์นอกจากนี้อยากให้เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรจากเดิมตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ6ปีเป็นถึงอายุ 15 ปี แทนการให้เงินค่าคลอดบุตรเพิ่มเป็น 3 คน จากเดิมที่กำหนดไว้ 2 คน
 
น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า ตนมองว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีการเปิดให้ผู้ประกันตนเข้าไปมีส่วนร่วม เห็นได้จากอำนาจการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ หรือการออกระเบียบ ยังคงเป็นอำนาจของฝ่ายรัฐและการเมือง ซึ่งหากการยื่นหนังสือขอให้ทบทวนไม่เป็นผลก็อาจจะต้องมีการเคลื่อนไหว เนื่องจากเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน  
 
(มติชนออนไลน์, 26-1-2558)
 
พนักงานห้างโลตัส สาขานครนายก กว่า 50 คน ชุมนุมถือป้ายประท้วง หัวหน้างาน เหตุไม่ให้ลาจนแท้งลูก
 
วันที่ 26 มกราคม 2558   พนักงานห้างโลตัส สาขานครนายก กว่า 50 คน ชุมนุมถือป้ายประท้วง บริเวณลานจอดรถ โดยอ้างว่าเพื่อแสดงความไม่พอใจหัวหน้างาน ที่ปฎิเสธไม่ให้พนักงานคนหนึ่งไปพบแพทย์ หลังมีอาการตกเลือดเมื่อช่วงเช้าวานนี้ จนต้องอดทนรอจนเลิกงาน เพื่อนพนักงานจึงได้พาไปพบแพทย์ ก่อนที่แพทย์จะ ระบุว่า แท้งลูก ทั้งที่ตั้งครรภ์ได้เพียง 2 เดือน
 
หลังชุมนุมไม่นานฝ่ายบริหารของห้าง ได้เรียกพนักงานทั้งหมดไปพูดคุย โดยไม่ให้ผู้สื่อข่าวเข้าบันทึกภาพ ทราบชื่อหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง คือนางสาวพิมพา มาสุก ผู้จัดการสาขา และ นางสาวกัญชพรพิมพิ์อักษร เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เบื้องต้นจะดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล และเตรียมดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงอีกครั้ง
 
(MONO 29, 26-1-2558)
 
เทสโก้โลตัสชี้แจงกรณีห้ามพนักงานตกเลือดพบแพทย์
 
พนักงานห้างเทสโก้โลตัส สาขานครนายก ยอมกลับเข้าทำงานตามปกติแล้ว หลังประท้วงกรณีหัวหน้างานปฎิเสธการขอไปพบแพทย์ของพนักงาน จนพนักงานแท้งลูก ล่าสุด บริษัท เอก-ชัย ดีลทริบิวชั่น ซิสเทม ผู้ดำเนินธุรกิจการปลีกและค่าส่งภายใต้ชื่อ "เทสโก้โลตัส" ออกแถลงการณ์เรื่องนี้
 
โดยระบุว่าบริษัทฯเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยัน ที่ผ่านมา มีนโยบายใส่ใจดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานมาโดยตลอด ส่วนกรณีพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์จากการตรวจสอบเบื้องต้นกับผู้จัดการสาขาและพนักงาน พบว่า ได้ปรับตารางการทำงานของพนักงานคนดังกล่าว โดยไม่ให้ทำงานหนัก ที่อาจจะกระทบการตั้งครรภ์ ทั้งนี้บริษัทฯจะตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับความยุติธรรม
 
สำหรับเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นหลังจากพนักงานห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขานครนายก กว่า 50 คน ประท้วงหัวหน้างาน ที่ไม่ให้พนักงานหญิงคนหนึ่งไปพบแพทย์ ทั้งที่มีอาการตกเลือด จนเพื่อนพนักงานต้องตัดสินใจนำตัวพาไปพบแพทย์ ก่อนที่แพทย์จะระบุว่า ได้แท้งลูก หลังตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน
 
ส่วนการออกมาชุมนุมประท้วงของพนักงาน เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา บริษัทอ้างว่า เกิดจากการสื่อสารผิดพลาด แต่หลังพูดคุยกันแล้ว พนักงานยอมกลับเข้าทำงานตามปกติแล้ว
 
(TPBS, 26-1-2558)
 
สปส.พร้อมแก้ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คืนสิทธิผู้ประกันตนสมัครใจลาออก
 
วันที่ 27 มกราคม นายโกวิท สัจจวิเศษ โฆษกสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคม(ฉบับที่..) พ.ศ. …. ที่ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในวาระแรกและผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ ร่างพ.ร.บ. มีการตัดสิทธิผู้ประกันตนกรณีลาออกจากงานจากเดิมที่ได้รับเงินช่วยเหลือร้อยละ 30 ของเงินเดือนเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.)ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน ว่า เหตุที่สปส.ตัดออกเนื่องจากเห็นว่าไม่มีประเทศใดในโลกที่ให้เงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน หากแรงงานสมัครใจลาออกเอง มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ให้สิทธินี้ แต่มีกมธ.วิสามัญบางรายขอสงวนคำแปรญัตติไว้เพื่ออภิปรายในวาระที่สอง โดยขอให้คงสิทธิกรณีว่างงานไว้เช่นเดิมและร่างพ.ร.บ.จะเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 2 ของสนช.ในเดือนกุมภาพันธ์นี้
 
นายโกวิท กล่าวอีกว่า หากสนช.พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมในวาระที่ 2 และเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกมธ.วิสามัญที่ให้คงสิทธิกรณีว่างงานไว้เช่นเดิม ทางสปส.ก็จะไม่คัดค้าน หากร่างพ.ร.บ.ผ่านในวาระที่ 2 และ 3 โดยยังคงเนื้อหาตัดสิทธิกรณีว่างงาน สปส.ก็จะเร่งเสนอต่อสนช.ขอแก้ไขกฎหมาย 2-3 มาตรา เพื่อคงสิทธิกรณีว่างงานไว้เช่นเดิม เนื่องจากมีเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิว่างงานออก เพราะการลาออกจากงานของแรงงานมีหลายเหตุผล เช่น ถูกบีบให้ลาออก ลาออกเพื่อดูแลญาติพี่น้องที่ป่วย เป็นต้น
 
ด้าน นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย ในฐานะกมธ.วิสามัญยกร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการตัดสิทธิว่างงานดังกล่าวออกจากร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เนื่องจากการตัดสิทธิดังกล่าวถือเป็นการลิดรอนสิทธิของผู้ประกันตน โดยได้อธิบายให้กมธ.วิสามัญทุกคนเข้าใจ ส่วนมากเห็นด้วยว่าไม่ควรจะตัดออกและควรใช้ข้อกำหนดเดิม แต่สนช. รับหลักการในวาระที่ 1 ไปแล้วจึงให้ตนสงวนคำแปรญัตติเสียงส่วนน้อยไว้เพื่ออภิปรายในสภาเมื่อร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่วาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ 14 ภาคีเครือข่ายผู้ประกันตน จะประชุมกันเพื่อหาแนวทางขับเคลื่อนต่อไป
 
(มติชนออนไลน์, 27-1-2558)
 
จ่อชง ครม.ขอเพิ่มกรอบอัตรา พนง.ราชการ เพิ่ม 1.9 หมื่นอัตรา
 
(27 ม.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทำหน้าที่แทน อ.ก.พ. กระทรวง เมื่อเร็วๆ นี้ โดยมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานนั้น ได้เห็นชอบอนมุมัติกรอบพนักงานราชการ สังกัด สอศ. เพิ่มเติม จำนวน 19,686 อัตรา โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ขอเพิ่มกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ปีงบประมาณ 2556 - 2559 จำนวน 7,455 อัตรา แบ่งเป็น ทำหน้าที่สอน 5,677 อัตราและสายสนับสนุน 1,778 อัตรา และ 2. ขอกำหนดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ปีงบประมาณ 2560 - 2564 จำนวน 12,231 อัตรา แบ่งเป็น ทำหน้าที่สอน 9,250 อัตรา และสนับสนุน 2,981 อัตรา สำหรับวิทยาลัยในสังกัด สอศ. ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม กรอบอัตราดังกล่าวใช้วิธีการคำนวณโดยยึดตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำหนดว่า อัตราความต้องการที่แท้จริงของ สอศ. อยู่ที่ 19.686 อัตรา แบ่งเป็น ผู้ทำหน้าที่สอน 14,927 อัตรา และผู้ทำหน้าที่สนับสนุน 4,759 อัตรา
       
“ก่อนหน้าในปีงบประมาณ 2555 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เคยอนุมัติกรอบพนักงานราชการให้ สอศ. จำนวน 5,366 อัตรา แต่ส่วนใหญ่ทำหน้าที่สนับสนุนในตำแหน่งบริหารทั่วไปและตำแหน่งบริการ แต่ที่ผ่านมาอาชีวะประสบปัญหาขาดแคลนครูเรื้อรังมานานถึง 21 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในวิทยาลัยที่จัดตั้งใหม่ 132 แห่ง ซึ่งเป็นวิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี โดยที่ผ่านมาวิทยาลัยส่วนใหญ่แก้ปัญหาด้วยการเจียดงบอุดหนุนรายหัวไปใช้ในการจ้างครูสอน จำนวน 18,165 อัตรา แบ่งเป็น ทำหน้าที่สอน 7,713 อัตรา และสนับสนุน 10,452 อัตรา ทั้งนี้ ระยะเร่งด่วนเมื่อได้รับจัดสรรอัตราเพิ่มเติม มาก่อน สอศ. จะนำอัตรากำลังดังกล่าวไปจัดสรรให้วิทยาลัยที่มีปัญหาขาดแคลนครูวิกฤต คือ ขาดครูมากกว่าร้อยละ 70 ก่อน” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า จากนี้ สอศ. จะแจ้งไปยัง คพร. เพื่อพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ซึ่งหากได้รับกรอบอัตรากำลังตามที่เสนอ จำต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นปีละ 1,413,468,000 ล้านบาท
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 27-1-2558)
 
'ประจิน' ยันใน 2 ปียังไม่โละพนักงานบินไทย ปัดทิ้งหุ้นนกแอร์
 
เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 58 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึง กรณีที่ในแผนฟื้นฟูการบินไทย จะต้องมีการปรับลด พนักงานลง 5,000 คน จากที่มีอยู่ 25,000 คน เหลือ 18,000 คน ว่า ในเรื่องนี้มีอยู่ในแผนแต่ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นการปลดบุคลากร แต่เป็นการปรับลด ซึ่งจำนวนอาจจะไม่ถึง 5,000 คน และไม่ได้ทำภายใน 2 ปี อย่างที่เป็นข่าว โดยระยะเวลาการปรับลด อาจจะมากกว่า 2 ปี ซึ่งอาจจะเป็นแผนปรับลดระยะยาว 8-10 ปี และเหลือบุคลากรอยู่ที่ 20,000 ต้นๆ มากกว่า
 
อย่างไรก็ตาม วิธีการและแนวทางการปรับลดบุคลากรนั้น จะเป็นการสมัครใจ เพราะการบินไทย มีวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เหมือนที่อื่น ที่จะลด หรือ ปลดบุคลากรได้เลยทันที ส่วนแนวทางการขายทรัพย์สิน ที่ไม่เกิดประโยชน์และเป็นภารกิจหลักของการบินไทย (Non-Core) เช่น กิจการโรงแรม ,กิจการการขนส่งน้ำมันนั้น ในเรื่องนี้ได้ให้การบินไทย จัดทำรายละเอียดว่า มีส่วนงานไหนบ้าง ที่ต้องจำหน่ายออกไป เพราะการขายสินทรัพย์ของการบินไทย ก็มีหลายส่วน ทั้งเรื่องของเครื่องบินที่จะปลดระวาง และจะต้องขายออกไปกว่า 22 ลำ ซึ่งในส่วนของการขายเครื่องบินนั้น จะสามารถเริ่มดำเนินการได้เลยใน 1 ปี หลังจากที่มีการอนุมัติ
 
ส่วนเรื่องการขายที่ดิน และอาคารสำนักงานนั้น ได้ให้การบินไทยไปจัดทำรายละเอียด เพื่อเตรียมเสนอ คณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. ต่อไปทั้งนี้ การจัดทำรายละเอียดทั้งการปรับลดบุคลากร และการขายทรัพย์สินที่ไม่เป็นภารกิจหลัก การบินไทยจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือน
 
"ตอนนี้ยังหาข้อสรุปชัดเจน ไม่ได้ว่าธุรกิจไหนไม่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น โรงแรมถ้าบอกว่า ไม่เกี่ยวกับการบินก็ไม่ใช่ เพราะหากเกิดปัญหาต้องนำผู้โดยสารไปพัก ก็ต้องนำไปพักที่โรงแรม หรือธุรกิจท่อน้ำมัน เครื่องบินของการบินไทย ก็ต้องเติมน้ำมัน แต่หากเป็นท่อน้ำมัน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องบิน ก็อาจจะพิจารณาว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการบินได้ โดยรายละเอียดต่างๆ ทางการบินไทยจะต้องไป สรุปมาให้ชัดเจน"
 
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ในแผนฟื้นฟูการบินไทย ได้มีการระบุให้การบินไทยขายหุ้นจำนวน 39 % ที่ถือหุ้นในสายการบินนกแอร์ทิ้งทั้งหมดนั้น ในเรื่องนี้ยืนยันว่า ไม่มีแต่อย่างใด แต่การบินไทยจะเป็นพันธมิตรทางการบินกับสายการบินนกแอร์ และสายการบินไทยสมายล์ โดยเส้นทางไหน ที่บินทับซ้อน และถ้าการบินไทยบินแล้วขาดทุน ก็ต้องหยุดบินทันที
 
ด้านนายดำรง ไวยคณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย (สร.การบินไทย) ยืนยันว่า การบินไทยไม่สามารถปลดพนักงานได้ เพราะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนข้อเสนอที่จะปรับลดพนักงานลง 5,000 คนนั้น จากการหารือกับฝ่ายบริหารการบินไทยพบว่า เป็นแผนดำเนินการ 5 ปี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เกิดจากพนักงานที่เกษียณประมาณ 500 คนต่อปี และโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (เออรี่รีไทร์) ประมาณ 500 คนต่อปี รวมทั้ง 2 ส่วนภายใน 5 ปี จะมีพนักงานลดลงตามแผนที่กำหนดไว้ได้ ส่วนที่จะปรับลดได้ น่าจะเป็นพนักงานที่ว่าจ้างจากภายนอก (เอาท์ซอส) โดยเฉพะกลุ่มที่ประจำสำนักงานใหญ่ บริษัทการบินไทย คาดว่า มีไม่น้อยกว่า 1,000 คน
 
นายดำรง กล่าวต่อ ปัญหาส่วนหนึ่ง เกิดจากการปรับขยายโครงสร้างของฝ่ายบริหาร แต่ไม่มีฝ่ายปฏิบัติ จึงมีการว่าจ้างพนักงานเอาท์ซอสเข้ามาเสริมการทำงาน จึงมีข้อสังเกตว่า ในส่วนของพนักงานประจำได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ หากมีการปรับลดในส่วนนี้ จะช่วยลดต้นทุนภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ลงได้ส่วนหนึ่ง
 
(ไทยรัฐ, 27-1-2558)
 
โรครุมเร้าแรงงานไทยในต่างแดนเพียบ กังวลหนี้-ค่าใช้จ่าย จัดทีมแพทย์ดูแล
 
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และ มาเลเซีย มีคนไทยเดินทางไปทำงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมาก แต่มักประสบปัญหาด้านการสื่อสาร ทำให้เมื่อเวลาเจ็บป่วยจึงขาดโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ บางรายอาจต้องกลับประเทศก่อนกำหนด กรมฯจึงจัดโครงการดูแลสุขภาพแรงงานไทยในประเทศอาเซียนขึ้น เพื่อให้คนไทยในต่างแดนได้รับบริการด้านสุขภาพ สร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง และการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลการป่วยของแรงงานไทย ศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการรักษาพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพแรงงานไทยให้เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ และเป็นต้นแบบการจัดบริการแก่แรงงานไทยในประเทศอาเซียนอื่นๆ
       
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2557 กรมฯได้จัดทีมแพทย์ไปดูแลแรงงานไทยใน 3 ประเทศดังกล่าว รวม 9 ครั้ง ทีมแพทย์ประกอบด้วย จิตแพทย์ 1 คน พยาบาล 4 คน พยาบาลอาชีวเวชศาสตร์ 1 คน ผู้ประสานงาน 2 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน จากโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ โดยให้การตรวจรักษา คัดกรองสุขภาพ จ่ายยา ตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ ได้แก่ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว การให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและการเจ็บป่วยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต การประเมินและให้คำแนะนำด้านอาชีวอนามัย การสำรวจสุขภาพด้านอาชีวอนามัย และความพึงพอใจต่อบริการ ซึ่งมีผู้เข้ารับบริการ จำนวน 1,258 ราย
       
“การเจ็บป่วยที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ อาการกล้ามเนื้อและกระดูก จำนวน 361 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 200 ราย โรคผิวหนัง จำนวน 120 ราย โรคระบบทางเดินหายใจ จำนวน 120 ราย และโรคระบบทางเดินอาหาร จำนวน 72 ราย นอกจากนี้ จากการตรวจประเมินสภาพจิตของผู้รับบริการ พบว่ามีปัญหาด้านคุณภาพชีวิต ความกังวลจากเรื่องหนี้สินและภาระค่าใช้จ่าย พฤติกรรมการดื่มสุรา การสูบบุรี่ และภาวะซึมเศร้า ซึ่งทีมแพทย์ได้ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวและว่า โครงการนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดี จากกระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศ ทำให้ได้ต้นแบบการจัดหน่วยบริการดูแลสุขภาพแรงงานไทยในประเทศอาเซียนอื่นๆ
       
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า ในปี 2558 กรมฯได้ประสานไปยังสถานทูตไทยในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน รวมทั้งหารือแนวทางการดูแลสุขภาพแรงงานไทยและได้วางแนวทางการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรมอาสาสมัครแรงงาน เรื่องการดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเองในญี่ปุ่น การอบรมล่ามของบริษัท เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองด้านอาชีวเวชศาสตร์ ในไต้หวันและการจัดกิจกรรมบริการตรวจแรงงานไทยด้านกายและจิต การอบรมอาสาสมัครแรงงานและพระภิกษุ เรื่อง การดูแลสุขภาพและการใช้ยาสามัญประจำบ้าน ในเกาหลีใต้ ต่อไป
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 28-1-2558)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาษาในโลกประชาธิปไตย: Patronizing

$
0
0

 

 

ในบทความแปลที่น่าสนใจยิ่งของคุณภาคิน นิมมานนรวงศ์ เรื่อง "สลาวอย ชิเชค: อเทวนิยมคือมรดกที่ควรต่อสู้ให้ได้มา"[1]นั้น มีอยู่จุดหนึ่งที่ดิฉันใคร่ขอหยิบยกมากล่าวถึงสักเล็กน้อยในที่นี้ นั่นคือ การแปลความหมายของคำว่า patronizing อันปรากฏอยู่ในย่อหน้าก่อนสุดท้ายของบทความต้นฉบับ ดังที่ยกมาด้านล่างนี้

"While a true atheist has no need to bolster his own stance by provoking believers with blasphemy, he also refuses to reduce the problem of the Muhammad caricatures to one of respect for other's beliefs. Respect for other's beliefs as the highest value can mean only one of two things: Either we treat the other in a patronizing way and avoid hurting him in order not to ruin his illusions, or we adopt the relativist stance of multiple "regimes of truth," disqualifying as violent imposition any clear insistence on truth."[2]

คำกริยา patronize เป็นคำที่พบบ่อยในสังคมตะวันตก ที่น่าสนใจคือเป็นคำที่มีความหมายทั้งบวกและลบ ขึ้นอยู่กับบริบทที่นำไปใช้ กูเกิลอธิบายศัพท์คำนี้เป็น 2 ความหมายว่า

1. treat with an apparent kindness that betrays a feeling of superiority.

2. frequent (a store, theater, restaurant, or other establishment) as a customer. / give encouragement and financial support to (a person, especially an artist, or a cause).

ส่วนปทานุกรมอังกฤษเป็นไทยของ สอ เสถบุตร แปลคำนี้ว่า ผู้อุปการะ, คนชุบเลี้ยง, ผู้อุปถัมภ์, พระบรมราชูปถัมภ์; สนับสนุน, อุดหนุน; ทำทีกรุณา, วางโต

หากใช้คำว่า patronize ในบริบทของการให้เงินหรือทรัพย์สินเพื่ออุดหนุนร้านค้าหรือเป็นผู้อุปถัมภ์ คำนี้มักมีความหมายในเชิงบวกเสมอ แต่ถ้านอกเหนือไปจากนี้ ความหมายของคำก็มักจะกลายเป็นข้อที่ 1 คือหมายถึงการแสดงท่าทีกรุณา หากแฝงไว้ด้วยการยกตนเหนือผู้อื่น หรือดูถูกดูหมิ่นผู้อื่นอยู่ในที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำนี้อยู่ในรูปของคำคุณศัพท์ คือ patronizing ดังเช่นในบทความนี้ ความหมายก็มักจะเป็นในเชิงลบเสมอ

 

ในบทความแปลของคุณภาคิน ซึ่งแปลย่อหน้าดังกล่าวไว้ว่า

"ในขณะที่ผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้าโดยแท้จริงไม่จำเป็นต้องสนับสนุนจุดยืนของตนเองด้วยการยั่วยุดูหมิ่นผู้ที่ศรัทธาในพระเจ้า พวกเขายังปฏิเสธการลดทอนปัญหาของการ์ตูนล้อเลียนนบีมุฮัมหมัด ให้กลายเป็นหนึ่งในวิธีการเคารพความเชื่อของผู้อื่นอีกด้วย การเคารพความเชื่อของผู้อื่นในฐานะคุณค่าอันสูงสุดมีความหมายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไม่ใช่การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเกื้อกูลและหลีกเลี่ยงการทำร้ายคนเหล่านั้นเพื่อรักษาภาพลวงตาของพวกเขาไว้ให้ปลอดภัย ก็เป็นการปรับใช้จุดยืนอันสัมพัทธ์ว่าด้วย “ระบอบแห่งความจริง” ที่หลากหลาย ซึ่งไม่มีคุณสมบัติของการยัดเยียดว่าความยึดมั่นอันแจ่มชัดใด ๆ คือความจริงแท้ด้วยวิธีการที่รุนแรง"

คุณภาคินเลือกใช้คำว่า "ความเกื้อกูล" ซึ่งมีนัยยะเชิงบวกไปในทิศทางเดียวกันกับคำว่าอุดหนุน อุปการะ หรืออุปถัมภ์ ซึ่งดิฉันเห็นว่า ไม่น่าจะใช่สาระที่บทความชิ้นนี้ต้องการสื่อ เพราะเมื่ออ่านบริบทโดยรวมแล้ว ผู้เขียนน่าจะต้องการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อทางศาสนา อันกระทำในนามของการเคารพความเชื่อของผู้อื่นในฐานะคุณค่าอันสูงสุด ดังที่ผู้เขียนได้สรุปไว้ในย่อหน้าสุดท้ายของบทความว่า

"What about submitting Islam - together with all other religions - to a respectful, but for that reason no less ruthless, critical analysis? This, and only this, is the way to show a true respect for Muslims: to treat them as adults responsible for their beliefs."

(แล้วถ้าเราจะวิเคราะห์วิจารณ์ศาสนาอิสลามและศาสนาอื่นด้วยความเคารพ ทว่าตรงไปตรงมาอย่างไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมล่ะ นี่น่าจะเป็นวิธีเดียวกระมังที่เราจะแสดงออกถึงความเคารพต่อชาวมุสลิมได้อย่างแท้จริง นั่นคือ การปฏิบัติต่อพวกเขาเยี่ยงผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อความเชื่อของตนเอง)[3]

คำว่า patronizing ในบทความชิ้นนี้ จึงน่าจะหมายถึงการปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยท่าทีกรุณาอันแฝงไว้ด้วยความรู้สึกเหนือกว่า

ศัพท์คำว่า patronize ตามความหมายในบทความนี้ แม้จะพบบ่อยในชีวิตประจำวันของชาวตะวันตก (ได้ยินบ่อยก็เช่นวลี "Don't patronize me!") แต่กลับหาคำแปลตรงตัวเป็นภาษาไทยไม่ได้ รวมถึงไม่พบการใช้คำศัพท์ที่ให้ความหมายเดียวกันนี้ในสังคมไทยสักเท่าไร ซึ่งอาจเป็นเพราะความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในสังคมไทยที่ระบบอาวุโสมีความสำคัญและดำรงอยู่อย่างเข้มข้นและเข้มแข็งนั้น การที่คน ๆ หนึ่งจะใช้สถานะทางเพศ วัย หรือสังคมมา patronize คนอื่น จึงเป็นเรื่องที่กระทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นความแปลกประหลาดอะไร หรือถ้าคิดกันอย่างจริงจังแล้ว มันอาจจะกลับตาลปัตรเลยก็ได้ นั่นคือการ patronize อาจเป็น norm ของสังคมไทย ขณะที่ในสังคมประชาธิปไตยตะวันตกพฤติกรรมแบบนี้อาจไม่เป็นที่ยอมรับกันอีกต่อไปแล้ว

 

 

 

[2] Slavoj Zizek. “Atheism is a legacy worth fighting for” New York Times. http://www.nytimes.com/2006/03/13/opinion/13iht-edzizek.html?_r=0

[3]แปลโดยผู้เขียน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

iLaw ตอน4: การฟ้องคดีหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพื่อปิดกั้นการแสดงออก

$
0
0

สรุปสถานการณ์เสรีภาพการแสดงออกปี 2557 : การฟ้องคดีหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพื่อปิดกั้นการแสดงออก  ปี 2557 กฎหมายหมิ่นประมาทและพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ) ยังเป็นอาวุธที่ทั้งภาครัฐและเอกชนใช้เพื่อปิดกั้นหรือตอบโต้กับเรื่องราวที่ไม่อยากได้ยิน ในปีนี้มีกรณีที่การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน หรือให้ความเห็นทางวิชาการ วิพากษ์วิจารณ์ประเด็นที่เป็นประโยชน์สาธารณะเป็นเหตุให้ถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทหลายกรณี 

การฟ้องคดีใหม่ๆ ในรอบปีที่ผ่านมาตอกย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของสื่อมวลชน นักเคลื่อนไหว หรือนักวิชาการ ที่มุ่งนำเสนอข้อเท็จจริงต่อสังคม รวมไปถึงชาวบ้านที่ใช้เสรีภาพการแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง และทำให้วัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อการตรวจสอบความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนถูกคุกคาม
 
คดีหมิ่นประมาท และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่เกิดขึ้นใหม่ในปี 2557
 
คดีบริษัททุ่งคำ ฟ้อง ชาวบ้านจังหวัดเลย 2 คดี
กรณีความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานระหว่างบริษัททุ่งคำ ที่ได้รับประทานบัตรเหมืองทองคำ ในพื้นที่ อ.วังสะพุง จ.เลย กับกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง นำมาสู่การฟ้องคดีหมิ่นประมาท หลังเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างชาวบ้านกับกลุ่มชายชุดดำที่ต้องการขนแร่ผ่านหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 มีสื่อมวลชนและองค์กรต่างๆ ลงพื้นที่ไปทำข่าวจำนวนมาก
 
บริษัททุ่งคำ ยื่นฟ้องจำเลยที่เป็นชาวบ้าน 2 คน 2 คดี ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 คือ สุรพันธุ์ หรือ “พ่อไม้” จากการให้สัมภาษณ์กับนักข่าวช่อง TNN24 ถึงกรณีที่มีเหตุไฟไหม้เต็นท์ของคนงานเหมือง และพรทิพย์ หรือ “แม่ป๊อป” จากการให้สัมภาษณ์กับนักข่าวช่อง Nation TV ถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ชาวบ้านต้องประสบ 
 
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทั้งสองคดีนี้บริษัททุ่งคำเลือกยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดที่โจทก์มีสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ทำให้จำเลยต้องรับภาระอย่างหนักในการเดินทาง การต่อสู้คดี และยังต้องแบกรับความเสี่ยงต่อชีวิตและร่างกายขณะเดินทางออกนอกพื้นที่ด้วย
 
ในวันที่ 4 ธันวาคม 2557 ตัวแทนชาวบ้านจาก อ.วังสะพุง จ.เลย เจรจาและลงนามบันทึกข้อตกลงกับกรรมการผู้จัดการ บริษัททุ่งคำ โดยตกลงกันว่าบริษัทยินดีถอนฟ้องทุกคดี แลกกับการที่ชาวบ้านยินยอมให้ขนแร่ที่ขุดแล้วออกจากพื้นที่ทำเหมือง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเลย อัยการจังหวัดเลย และนายอำเภอวังสะพุง เป็นพยานการทำบันทึกข้อตกลง วันที่ 8 ธันวาคม 2557 โจทก์จึงส่งทนายความเข้ายื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีที่มีการฟ้องร้องชาวบ้านทั้งหมด 
 
 
15 สิงหาคม 2557 เอกศักดิ์ ญาโนทัย ผู้รับมอบอำนาจจากกระทรวงพลังงาน ยื่นฟ้อง ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) จากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊คเพจ “คุยกับหม่อมกร” ทำนองว่า ราคาขายน้ำมันดีเซลที่ส่งไปจำหน่ายที่ สปป.ลาว ต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศไทย ทำให้กระทรวงพลังงานได้รับความเสียหาย
 
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงรับฟ้องไว้พิจารณา และนัดสอบคำให้การจำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 คู่ความทั้งสองฝ่ายได้มาที่ศาล เพื่อตกลงวันนัดสืบพยานกันโดยเป็นการสืบพยานโจทก์ 4 นัด สืบพยานจำเลย 9 นัด ศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ เพราะจำเลยอาจมาศาลไม่ได้ทุกนัด 
 
 
25 สิงหาคม 2557 ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองยื่นฟ้องมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย, ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์  ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา และเสนาะ สุขเจริญ บรรณาธิการสำนักข่าวอิศรา ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) กรณีนำเสนอข่าวว่า ดิเรกฤทธิ์มีบันทึกส่วนตัวหรือที่เรียกกันว่า “จดหมายน้อย” ขอให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สนับสนุนการแต่งตั้งโยกย้ายนายตำรวจรายหนึ่ง
 
28 สิงหาคม 2557 มีรายงานว่า ดิเรกฤทธิ์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นคดีแพ่งจำนวน 50 ล้านบาทด้วย หลังยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วจำเลยยังไม่หยุดพฤติกรรมดังกล่าว
 
10 พฤศจิกายน 2557 ศาลอาญามีคำวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยให้เหตุผลว่า การกระทำของโจทก์เป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปย่อมตำหนิติเตียนได้ทั้งนั้น และยิ่งโจทก์เป็นผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองยิ่งต้องถูกบุคคลอื่นๆ ในสังคมตำหนิติเตียนได้หนักขึ้น และการที่จำเลยทั้งสามลงโฆษณาข้อความเช่นนั้น จึงถือว่าจำเลยทั้งสามแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนที่ย่อมกระทำได้
 
8 กันยายน 2557 บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง 3) ยื่นฟ้องสุภิญญา กลางนรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการ กสทช. ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) จากการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ และรีทวีตข้อความ ในประเด็นความขัดแย้งระหว่างช่องสามและ กสทช. เรื่องการโอนย้ายสัญญาณมาสู่ระบบดิจิทัล 
 
1 ธันวาคม 2557 ศาลอาญานัดไต่สวนมูลฟ้อง ทนายฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง คู่กรณีเจรจาตกลงกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง
 
138
 
 
คดีหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่มีความเคลื่อนไหวสำคัญในปี 2557 
 
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีผู้ชุมนุมหนองแซงดูหมิ่นนายก อบต. คดีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 โดยผู้ชุมนุมกล่าวปราศรัยพาดพิงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำนองว่า เป็นสุนัขรับใช้โรงไฟฟ้า ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2556 ว่าจำเลยทั้งสามคนมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า ให้จำคุกคนละ 15 วัน ปรับคนละ 1,000 บาท  ให้รอการลงโทษ 2 ปี 
 
23 มกราคม 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น เนื่องจากพยานโจทก์ทั้งหมดไม่เคยมีเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยทั้งสาม อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น 
 
 
ถอนฟ้องคดี กสทช. ฟ้องหมิ่นประมาท ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และณัฏฐา โกมลวาทิน เป็นคดีความที่ต่อเนื่องมาจากปี 2556 โดยสำนักงาน กสทช. ยื่นฟ้องนักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “ที่นี่ไทยพีบีเอส” จากกรณีที่ ดร.เดือนเด่น วิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศ “ห้ามซิมดับ” ออกรายการดังกล่าว
 
10 กุมภาพันธ์ 2557 ศาลอาญานัดไต่สวนมูลฟ้อง และสั่งรับฟ้องในวันที่ 17 มีนาคม 2557 โดยศาลแนะนำให้คู่ความทั้งสองฝ่ายไปไกล่เกลี่ยกัน ต่อมาวันที่ 26 กันยายน 2557 หลังนายสุทธิพล ทวีชัยการ หนึ่งในกรรมการ กสทช. ที่เป็นโจทก์ฟ้องคดีนี้ลาออกจากตำแหน่งไปดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ศาลนัดไกล่เกลี่ยประนีประนอมคดี คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้และแถลงร่วมกันว่า ในชั้นนี้ได้ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลย 
 
ศาลอุทธรณ์ลดโทษจำคุก คดีคธา : Wet dream คธา ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์ข่าวลือเป็นเหตุให้หุ้นตกในปี 2552 ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) คดีนี้ไม่ใช่เรื่องการหมิ่นประมาทบุคคลแต่เป็นข้อกล่าวหาเรื่องการสร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุก 4 ปี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2557 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้ว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปีแล้วลดโทษให้หนึ่งในสาม เหลือจำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 4 ปีนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่าหนักเกินไป ควรแก้ไขใหม่เป็นให้จำคุกกรรมละ 2 ปี รวม 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม เหลือจำคุก 2 ปี 8 เดือน 
 
10 มีนาคม 2557 ศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยเป็นการชั่วคราว โดยเห็นว่าศาลอุทธรณ์โทษจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน หากปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี
 
ส่งฟ้องคดี กองทัพเรือ ฟ้อง ภูเก็ตหวาน อลัน และชุติมา สองนักข่าวของภูเก็ตหวาน สำนักข่าวออนไลน์ในจังหวัดภูเก็ต ถูกกองทัพเรือแจ้งความฐานหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังเผยแพร่รายงานของรอยเตอร์ที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่กองทัพเรือเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา
 
17 เมษายน 2557 อัยการนัดส่งตัวฟ้องที่ศาลจังหวัดภูเก็ต ศาลนัดสืบพยานวันที่ 14 - 16 กรกฎาคม 2558
หลังจากส่งฟ้องแล้วทั้งสองฝ่ายมีความพยายามเจรจา โดยมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเป็นคนกลาง แต่ยังตกลงกันไม่ได้ ช่วงเดือนตุลาคมกองทัพเรือภาคที่สามแจ้งกับสื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า ของดการให้ข่าวกรณีการดำเนินคดีกับภูเก็ตหวาน และห้ามผู้สื่อข่าวภูเก็ตหวานเข้ามาทำข่าวในพื้นที่ของกองทัพเรือ เนื่องจากการเผยแพร่ข่าวของภูเก็ตหวานก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทัพเรือไทย 
 
พิพากษายืนยกฟ้อง คดีทิชา ณ นคร ถูก พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท โดยคดีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546  ซึ่งในวันที่22 เมษายน 2557 ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีการนัดฟังคำพิพากษาของศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาสรุปได้ว่า ก่อนที่จำเลยจะให้สัมภาษณ์และเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ มีข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมของโจทก์ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่เริ่มจากบทสัมภาษณ์และบทความของจำเลยเป็นคนแรก ทำให้คดีนี้ศาลทั้งสามชั้นพิพากษายกฟ้อง
 
 
เลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องคดี บริษัท เบ็ทเทอร์ ลีฟวิ่ง ฟ้อง ประชาชาติธุรกิจ คดีนี้สืบเนื่องจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจและกรุงเทพธุรกิจ เผยแพร่เนื้อหากรณีมีบริษัททุนข้ามชาติขอจดโดเมนเป็น .thai ต่อมาทั้งหนังสือพิมพ์และแหล่งข้อมูลถูกบริษัทที่ถูกพาดพิงฟ้องฐานหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 แต่โจทก์ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 4 สิงหาคม ก่อนที่จะเลื่อนนัดไต่สวนมูลฟ้องอีกครั้ง ไปเป็นวันที่ 19 มกราคม 2558
 
ยกฟ้องคดีหมิ่นประมาทของอานดี้ ฮอลล์  อานดี้ ฮอลล์ เป็นนักวิจัยด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ ถูกบริษัท เนเชอรัล ฟรุ๊ต ฟ้องหมิ่นประมาท จากการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอัลจาซีราถึงสภาพการจ้างงานในโรงงานผลิตสับปะรดแปรรูปในประเทศไทย นอกจากคดีนี้ อานดี้ถูกฟ้องเป็นคดีทั้งแพ่งและอาญาอีก 3 คดี เป็นคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯด้วย 1 คดี
 
วันที่ 2 - 10 กันยายน 2557 ศาลจังหวัดพระโขนง นัดสืบพยานโจทก์และจำเลย และวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ศาลจังหวัดพระโขนงอ่านคำพิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากมูลเหตุคดีนี้อานดี้ให้สัมภาษณ์ขณะอยู่ที่ประเทศพม่า โดยสำนักงานอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้มีพนักงานอัยการอยู่ร่วมในชั้นสอบสวนด้วย แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในชั้นสอบสวนมีเพียงพนักงานสอบสวน สน.บางนา เท่านั้น จึงถือเป็นการสอบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
 
แม้ศาลจะยกฟ้องไป 1 คดี แต่ก็ยังเหลืออีก 3 คดี วันที่ 17 พฤศจิกายน 2557 ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีนัดไต่สวนมูลฟ้อง คดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติ จากสถานทูตฟินแลนด์ และทนายความด้านสิทธิมนุษยชนจากแคนาดามาร่วมสังเกตการณ์ด้วย แต่ตัวอานดี้ ฮอลล์ไม่มาศาล 
ก่อนเริ่มกระบวนพิจารณา ศาลขอให้คู่ความไกล่เกลี่ยยอมความกัน เพราะศาลยังไม่ได้สั่งฟ้องคดี แต่คู่ความตกลงกันไม่ได้ โจทก์ยืนยันว่าโรงงานของตนได้รับความเสียหายอย่างมากหลังจากงานวิจัยของฝ่ายจำเลยเผยแพร่สู่สาธารณะ  จึงมีการนัดไต่สวนมูลฟ้องครั้งต่อไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 
 
ถอนฟ้อง คดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ฟ้อง ไทยพับลิก้า คดีนี้สืบเนื่องจาก สำนักข่าวไทยพับลิก้าซึ่งทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน เผยแพร่บทสัมภาษณ์ประธานกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ฯ ในประเด็นความไม่โปร่งใสในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ฯ และถูกศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์ฟ้องฐานหมิ่นประมาทและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2556
 
2 มิถุนายน 2557 ศาลจังหวัดมีนบุรีนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เนื่องจากคณะกรรมการสหกรณ์ชุดปัจจุบันได้ประชุมกันในวันที่ 11 เมษายน 2557 แล้วมีมติให้ถอนฟ้อง ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง
 
ถอนฟ้องคดี จอน อึ๊งภากรณ์ ถูกกลุ่มหมอฟ้องหมิ่นประมาท คดีนี้จอน อึ๊งภากรณ์และพวกอีก 9 คน ถูกฟ้องว่าแจกเอกสารในงานเปิดตัว “กลุ่มคนรักสุขภาพ” เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2555 มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาท
สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) ว่ามีเจตนาล้มระบบหลักประกันสุขภาพ 
 
19 สิงหาคม 2557 ศาลจังหวัดนนทบุรีนัดสืบพยานโจทก์ ผู้พิพากษากล่าวกับฝ่ายโจทก์และจำเลยว่า ศาลเห็นว่าควรไกล่เกลี่ยจึงเชิญทนายฝ่ายจำเลยและจำเลยทั้ง 6 คน ออกจากห้องพิจารณาเพื่อพูดคุยกับฝ่ายโจทก์ หลังจากนั้น จึงเชิญฝ่ายจำเลยพร้อมทนายมารับทราบการเจรจาระหว่างผู้พิพากษาและฝ่ายโจทก์ โดยข้อตกลงที่จะถอนฟ้องคือการทำหนังสือคำชี้แจง โจทก์และจำเลยยอมร่วมทำคำชี้แจง สุดท้ายตกลงกันได้ ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง 
 
ข้อสังเกต และแนวโน้มในปี 2557
 
ข้อสังเกตประการแรก เห็นได้ว่าคดีหมิ่นประมาทที่ฟ้องร้องดำเนินคดีกันมีแนวโน้มการไกล่เกลี่ยและถอนฟ้องค่อนข้างสูง กล่าวคือ ในปี 2557 จากคดีความ 12 คดี มีการถอนฟ้องกัน 6 คดี และยกฟ้อง 2 คดี มีคดีที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา 4 คดี ศาลยกฟ้องไปแล้ว 2 คดี และลงโทษ 1 คดี ซึ่งศาลพิพากษาให้รอการลงโทษ
 
สถิติเช่นนี้ทำให้เห็นว่า การฟ้องร้องดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทนั้น มีลักษณะเป็นการฟ้องเพื่อตอบโต้การนำเสนอข้อมูลที่ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องการให้ปรากฏ เป็นการฟ้องเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของผู้ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือเพื่อสร้างภาระให้กับจำเลยและขบวนการเคลื่อนไหวของจำเลย และปรามไม่ให้มีการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ไม่ใช่การฟ้องคดีเพื่อมุ่งลงโทษบุคคล เพื่อชดเชยความเสียหายที่โจทก์ได้รับ หากมีข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงภายหลังและสามารถตกลงกันได้ โจทก์ก็ยินยอมที่จะถอนฟ้องไม่ติดใจเอาความ
 
ข้อสังเกตประการที่สอง จะเห็นได้ว่าบุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาท ล้วนเป็นองค์กรที่มีฐานะอยู่เหนือกว่าผู้ถูกฟ้องคดีในแง่ต้นทุนในการต่อสู้คดี ตัวอย่างเช่น กรณีบริษัททุ่งคำ ยื่นฟ้องชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ หรือกรณีบริษัท เนเชอรัล ฟรุ๊ต ยื่นฟ้องอานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น 
 
นอกจากนี้ ในปี 2557 ยังเป็นปีที่เห็นปรากฏการณ์ว่าหน่วยงานของรัฐเข้ามาเป็นโจทก์ฟ้องหมิ่นประมาทเอกชนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของหน่วยงานหรือบุคลากรของหน่วยงาน เช่น กรณีกระทรวงพลังงาน ยื่นฟ้อง ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระ กรณีคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ฟ้อง ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ และณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการ “ที่นี่ไทยพีบีเอส” กรณีกองทัพเรือฟ้องสำนักข่าวภูเก็ตหวาน และกรณีสำนักงานศาลปกครองฟ้องสำนักข่าวอิศรา เป็นต้น
 
จึงเป็นประเด็นคำถามเด่นในปีนี้ว่า หน่วยงานรัฐในฐานะที่รับผิดชอบจัดทำบริการสาธารณะที่กระทบต่อประชาชน มีความชอบธรรมหรือไม่ที่จะนำงบประมาณและทรัพยากรของหน่วยยงานมาใช้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ หรือควรปล่อยให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์และติเตียนการปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท 
 
ข้อสังเกตประการที่สาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 5 ปี ยังคงถูกนำมาใช้ฟ้องร้องคู่กับการหมิ่นประมาทเสมอ ทั้งที่กฎหมายฉบับนี้มีเจตนาเพื่อใช้ปราบปรามการกระทำความผิดต่อระบบมากกว่าการจำกัดเนื้อหาบนโลกออนไลน์ การใช้กฎหมายที่ผิดไปจากเจตนามีผลให้จำเลยต้องรับภาระหนักขึ้นในการต่อสู้คดี ในการหาหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นมาประกันตัว และในการเผชิญหน้ากับอัตราโทษตามกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นวัตถุประสงค์ที่โจทก์ต้องการก็ได้
 
 

สรุปสถานการณ์ประจำปี 2557 กรณีอื่นๆ

สรุปสถานการณ์ปี 2557 1/5 : การเรียกบุคคลไปรายงานตัว การจับกุมและการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก

สรุปสถานการณ์ปี 2557 2/5: คดีหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ เดินหน้าหนึ่งก้าวก่อนถอยหลังสามก้าว

สรุปสถานการณ์ปี 2557 3/5: เสรีภาพการชุมนุม/การแสดงออกสาธารณะ และการตั้งข้อหาทางการเมือง

 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กมธ.ยกร่าง เผยตั้งคณะกรรมการศึกษาการยุบรวม กสม.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน และจัดตั้ง กจต. ดำเนินการเลือกตั้งแทน กกต.

$
0
0

คำนูณ เผย เตรียมยุบรวม คณะกรรมการสิทธิฯ และผู้ตรวจการฯ รวมกัน และเตรียมรวบอำนาจจัดการเลือกตั้งให้ข้าราชการเป็นผู้ดูแลแทน กกต.

 

 

เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2558 เว็บข่าวรัฐสภา คำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์แนวทางการร่างบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกัน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรใหม่ จึงต้องศึกษาข้อดีและข้อเสียของการควบรวมทั้ง 2 องค์กร เนื่องจากการทำงานของทั้ง 2 องค์กรมีความคล้ายคลึงกัน จึงต้องควบรวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งสองส่วนให้เหมาะสมตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยหากรวบทั้ง 2 องค์กรจริง จะมีคณะกรรมการประมาณ 10-11 คน

ส่วนการจัดการเลือกตั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงานละ 1 คน เข้ามาทำหน้าที่ เพื่อให้การเลือกตั้ง ทั้ง ส.ส. สมาชิกสภาท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จาตุรนต์ เผย ถูกทหารเรียกเข้าค่ายก่อนบ่ายสาม โดยไม่ทราบเหตุผล

$
0
0

 

 

29 ม.ค. 2558 เวลาประมาณ 12.30 จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้โพสต์ข้อความ บนหน้าเฟซบุ๊ก  Chaturon Chaisang โดยระบุว่า

“มีผู้สื่อข่าวบางรายโทรมาสอบถามว่าผมถูกเชิญไปกองทัพภาคที่ 1 บ่ายนี้ใช่หรือไม่ ขอเรียนให้ทราบว่าเมื่อตอนสายๆวันนี้มีนายทหารนายหนึ่งโทรมาหาผมแจ้งว่าได้ รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เชิญผมไปพบที่กองทัพภาคที่ 1 เวลาบ่ายสามโมงเพื่อพูดคุยด้วย แต่ไม่ทราบหัวข้อที่จะคุย ผมได้ตอบรับคำเชิญว่าจะไปที่กองทัพภาคที่ 1 ก่อนบ่ายสามโมงวันนี้ผมไม่ทราบหัวข้อที่จะพูดคุย แต่ก็คิดว่าการได้พูดคุยกันก็น่าจะเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่กำลังต้องการความคิดเห็นจากทุกฝ่ายสำหรับการแก้ปัญหา บ้านเมืองรวมทั้งการวางกฎกติกาต่างๆ ผมยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งทางเจ้าหน้าที่และก็ยินดีที่จะ เสนอความคิดเห็นที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของผม เสมอมา”


ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่าน จตาตุรนต์ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น ต่อกรณี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกถอดถอนโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรเพชร โต้แทน กรณี ‘แดเนียล รัสเซล’ พบ ยิ่งลักษณ์ ชี้ ไทย-สหรัฐ มองประชาธิปไตยต่างกัน

$
0
0

พรเพชร ซัด ผู้ช่วย รมต. กระทรวงต่างประเทศ สหรัฐฯ ดำเนินการผิดระเบียบการทูต ชี้ไม่จำเป็นต้องทำหนังสือชี้แจงจุดยืน เพราะไทย-สหรัฐ มองประชาธิปไตยต่างกัน

ที่มาภาพ : เว็บข่าวรัฐสภา

29 ม.ค. 2558 ที่รัฐสภา พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนข.) กล่าวถึง กรณีแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ที่เดินทางเข้าพบอดีตนายกรัฐมนตรีและกล่าวพาดพิงถึงประเทศไทย ว่า ไม่รู้สึกแปลกใจที่แดเนียล มาพบปะในเชิงที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบทางการทูต ซึ่งลักษณะแบบนี้กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาทำเป็นประจำ แต่ก็ยังดีกว่าการที่ส่งสปายสายลับซีไอเอที่ส่งไปแทรกแซงกิจการภายในของ ประเทศต่างๆ ซึ่งเห็นว่าการใช้นโยบายดังกล่าวนี้เพราะถือว่าตัวเองเป็นประเทศมหาอำนาจ

และยังไม่จำเป็นต้องทำหนังสือชี้แจงจุดยืนของไทยไปยังสหรัฐอเมริกา เพราะยังมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีต่อกันในทุกมิติ ทั้งนี้ยืนยันว่า สิ่งที่รัฐบาลไทยภายใต้การนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดำเนินการขณะนี้ได้มองถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเป็นหลัก โดยยึดหลักตามระบบนิติรัฐ นิติธรรม มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ผ่านมา และต้องการให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม และสะท้อนถึงความต้องการของประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นเป็นเพราะไทยและสหรัฐฯ มีมุมมองประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน โดยสหรัฐฯ ยึดแค่กระบวนการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว แต่ไม่ได้พิจารณาบริบทหรือปัญหาภายประเทศนั้นๆ ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ประธาน สนช. ยืนยันด้วยว่า กระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นไปตามระบบรัฐสภา ถูกต้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และหลักนิติธรรม ส่วนกรณีที่แดเนียล มองว่าการถอดถอนครั้งนี้เป็นการไล่ล่านักการเมืองฝ่ายตรงข้ามนั้น พรเพชร กล่าวว่า สนช.ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อไล่ล่าใคร

 

เรียบเรียงจาก : เว็บข่าวรัฐสภา , ASTV ผู้จัดการออนไลน์
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารสั่ง เลื่อนจัดไร้กำหนด งานแถลงข่าวดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อเอเซีย:ประเทศไทย อ้างลักษณะงานหมิ่นเหม่

$
0
0

 

29 ม.ค. 2558 ผู้สื่อข่าวได้รับการแจ้งจากตัวแทนมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ว่า ส่งจดหมายแจ้งยกเลิกกำหนดการแถลงข่าวดัชนีสถานภาพสื่อเอเซีย:ประเทศไทย 2557 พร้อมระบุว่าถูกร้องขอจาก คสช. ให้เลื่อนการจัดงานออกไปก่อน โดยกำหนดการเดิม มูลนิธิฯ จะจัดการแถลงข่าวในวันพรุ่งนี้ ที่โรงแรม VIE ราชเทวี โดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ผลการสำรวจดัชนีชี้วัดเสรีภาพสื่อ ซึ่งได้ทำการประเมินโดยผู้มีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ในประเทศต่างๆ ในเอเชีย

ตัวแทนมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ได้กล่าวต่อไปว่า เนื้อหาของงาน และเนื้อหาของหนังสือ “ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อเอเชีย:ประเทศไทย 2557” เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเอาไปในเนื้อหาที่เคยมีการเผยแพร่ไปแล้วก่อนหน้านี้ 2-3 ปี นอกจากนั้นก็มีเพียงข้อมูลจากการสัมภาษณ์สื่อมวลชนในประเทศไทย ซึ่งได้ให้ข้อมูลในเชิงข้อเท็จจริง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในเช้าวันนี้ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปแจ้งกับผู้จัดการโรงแรมว่า ไม่อนุญาติให้จัดงาน ทั้งนี้กำหนดการของงานแถลงข่าวที่ถูกให้ยกเลิกมีดังนี้

09.00 - 09.30 ลงทะเบียน

09.30 - 09.40 กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ คุณมาร์ค ศักซาร์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ดำเนินรายการโดยผศ. ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธาน, สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน (CMDI) 

09.40 - 10.00 รายงานดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อเอเชีย รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อดีตประธาน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ เสนอผลจากรายงานเรื่อง “ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อเอเชีย: ประเทศไทย 2557”

***อาหารว่างเสริฟ์ระหว่างการประชุม***

10.00 – 11.00 ความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะโดย คุณเทพชัย หย่อง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (TBJA)
สุณัย ผาสุข Asian Human Right Watch Gayathry Venkiteswaran Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)

11.00 – 12.00 อภิปรายร่วมโดยผู้มีส่วนร่วมผลิดรายงานดังกล่าว

อัจฉรา อัชฌายกชาติ นักข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

สุวิทย์ มิ่งมล ประธาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อำนวยการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย TBC

ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์สิทธิเสรีภาพ , สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA)

โสภิดา วีรกุลเทวัญ เลขานุการ กสทช ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน

จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการ, มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน (ประชาไท)

สุชาดา จักรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ, ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)

ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ นิด้า

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สุเมธ สมคะเน ประธานสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย (NUJT)

การซักถามจากนักข่าวและผู้เข้าร่วม

12.00-13.00   รับประทานอาหารกลางวัน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาไทรับรางวัลชมเชยสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน-จากข่าวการบังคับสูญหาย-ซ้อมทรมาน

$
0
0

แอมเนสตี้มอบรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประชาไทรับรางวัลชมเชย ประเภทข่าวออนไลน์ จากข่าวภาคภาษาอังกฤษ "Crime of the State: Enforced disappearance, killings and impunity" ขณะที่สปริงนิวส์ได้รับรางวัลดีเด่นประเภททีวีดิจิตอล จากข่าวการหายตัวไปของบิลลี่ พอละจี ชาวกะเหรี่ยงผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ทำกินแห่งผืนป่าแก่งกระจาน

29 ม.ค. 2558 - เมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (29 ม.ค.) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดพิธีมอบ “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2557 ณ ห้องเบญจรงค์ บอลรูม โรงแรมรอยัล เบญจา โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนให้สื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติและสื่อออนไลน์ ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลดีเด่น แต่ได้รับรางวัลชมเชยแทน สำหรับสื่อโทรทัศน์ในระบบเคเบิลท้องถิ่นและสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น ปีนี้ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัล

นายชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพราะเล็งเห็นว่าสื่อมวลชนเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง สื่อทำหน้าที่เป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป

ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2557 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้

รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับชาติ ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลดีเด่น แต่มีรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ บทความเรื่อง “Is Khon Kaen the New Model of Justice?” หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และข่าวชุด ไขปม "บิลลี่-พอละจี" หายตัว นักต่อสู้แห่งป่าแก่งกระจาน” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประกอบด้วยรางวัลดีเด่น 2 รางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ สารคดีเชิงข่าวเรื่อง “ข่มขืนบนรถไฟกับกระบวนการยุติธรรมคดีทางเพศ” สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี และข่าวชุด "การหายตัวไปของ "บิลลี่" นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินของชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน" สถานีโทรทัศน์สปริงส์นิวส์

และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ สารคดีเชิงข่าวชุด "ปาตานีกลางพายุฝน" สถานีโทรทัศน์วอยซ์ ทีวี และสารคดีเชิงข่าวชุด "สัญชาติไทยพลัดถิ่น" สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี

รางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ ไม่มีผลงานใดได้รับรางวัลดีเด่น แต่มีรางวัลชมเชย 3 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ ได้แก่ ข่าวชุด “เสียงจากเหยื่อข่มขืนบนรถไฟเมื่อ 13 ปีก่อน” เว็บไซด์สำนักข่าวไทย และบทความเรื่อง “Crime of the State: Enforced Disappearance, Killings and Impunity.” หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท รวมทั้งข่าวชุด “จากปากคำผู้ถูก คสช. ควบคุมตัว” เว็บไซด์มติชนออนไลน์

ส่วนรางวัลข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่น และรางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ในระบบเคเบิลท้องถิ่นไม่มีผลงานใดได้รับรางวัล

นายชำนาญ จันทร์เรือง กล่าวต่อว่านอกจากพิธีมอบรางวัล โดย นางอังคณา นีละไพจิตร ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกละเมิดสิทธิในฐานะผู้ปกป้องและนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่สื่อมวลชนในวันนี้แล้ว ยังจัดให้มีการปาฐกถาในหัวข้อ “สื่อมวลชน: บทบาทในการส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพสิทธิมนุษยชนในสังคม” โดย คุณพิทยา จินาวัฒน์ ที่ปรึกษาพิเศษด้านการสื่อสารสาธารณะเพื่อสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนั้นยังกล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้และปกป้องสิทธิมนุษยชนและทำความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลสั่งปรับชาวนาราชบุรีคนละ 5 พัน ข้อหาปิดถนนเรียกร้องเงินจำนำข้าว

$
0
0

 3 ชาวนาราชบุรี โดนสั่งปรับคนละ 1 หมืน แต่ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่ง พร้อมขอบคุณที่ศาลเมตตาเพราะชาวนาไม่รู้กฏหมาย

 

 

มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 27 ม.ค. เวลา 09.00 น.  ที่ห้องพิจารณาที่ 4 ศาลจังหวัดราชบุรี ได้มีการพิจารณาตัดสินในคดีที่ชาวนาราชบุรีในหลายอำเภอรวมตัวกันปิดถนนสายพระราม 2 ที่บริเวณหน้าตู้ยามตำรวจทางหลวงวังมะนาว ตำบลวังมะนาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เพื่อประท้วงเรียนร้องเงินโครงการจ่ายเงินจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ไม่ยอมจ่ายจำนำข้าวให้แก่ชาวนาทั่วประเทศส่งผลให้มีการประท้วงปิดถนนระหว่างวันที่ 1-7 ก.พ.  2557

โดยระหว่างประท้วงนั้น ได้มีการใช้รถยนต์บรรทุก และเต๊นท์มาวางปิดกันถนนจนรถไม่สามารถสัญจรผ่านไม่มาได้  ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ดำเนินคดีกับผู้ที่นำรถและเต๊นท์มาขวางถนนจำนวน 3 ราย ประกอบด้วย ประยงค์ คล้ายศิริ อายุ 48 ปี, โชคชัย เกตุแก้ว อายุ 44 ปี และละเอียด โตกลึง อายุ 47 ปี ชาวนาในอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในการเรียกร้องเงินจำนำข้าวในครั้งนั้น และคดีเข้าสู่ชั้นศาลพิจารณา ข้อหาร่วมกันกระทำความผิดปิดกั้นทางหลวงทางสาธารณะโดยการวางวัตถุ หรือนำสิ่งใดมาขวางทางบนทางหลวง

ความคืบหน้าล่าสุด สุรพันธ์ ไลยภาค ทนายความอาสาจากสภาทนายความจังหวัดราชบุรีเปิดเผยว่าเหตุการณ์ตอนชุมนุมยังไม่มีอะไร แต่การชุมนุมได้นำรถยนต์ไปขวางปิดถนนมีการนำเต๊นท์ไปกางขวาง ตรงนี้จึงกลายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับกรมทางหลวง เป็นการกระทำความผิดทางอาญา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการเรื่องสอบสวนส่งอัยการฟ้องศาล เพราะว่าความผิดทางอาญาจะมีอายุความ จึงเรียกตัวไปแจ้งข้อกล่าวหา ทางชาวนาได้ขอทนายจากสภาทนายความจังหวัดราชบุรี จึงเข้ามาดูรายละเอียด พร้อมรับทำเรื่องในนามสภาทนายความจังหวัดราชบุรีให้ จนถึงวันนี้เป็นวันตัดสินของศาลแล้ว

จากการพิจารณาของศาล ได้ตัดสินปรับคนละ 10,000 บาท แต่ยอมรับสารภาพลดให้กึ่งหนึ่ง จึงเหลือคนละ 5,000 บาท ไม่มีการรอลงอาญา ลงโทษปรับอย่างเดียว ถือว่าเป็นความปรานีของศาลชั้นต้นมาก

สุรพันธ์ ทนายความอาสา กล่าวอีกว่า การอุทธรณ์อยู่ที่อัยการที่จะอุทธรณ์หรือไม่ภายใน 30 วัน แต่หากเลยกำหนดมีเหตุอันควรก็อาจจะเลื่อนไปอีก คดีนี้ผมคิดว่าทางอัยการน่าจะเห็นใจ ชาวนาที่โดนคดีทั้ง 3 คน ที่นำรถไปขัดขวาง ซึ่งเป็นการกระทำลักษณะมองแล้วไม่ได้มีเจตนา เพียงแต่ว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงเป็นเรื่องขึ้นมา ซึ่งหลังจากเสียค่าปรับเป็นเงินคนละ 5,000 บาทแล้ว ศาลได้ปล่อยตัวออกมา

โดยทั้งสามคนที่ถูกดําเนินคดีนั้น กล่าวว่า ขอขอบคุณศาลที่ปราณี ขอบคุณสภาทนายความ ที่ส่งทนายความมาช่วยดูแล ที่นึกถึงชาวนาที่ว่า ทำความผิดโดยไม่ได้ตั้งใจ ที่เป็นแบบนี้เพราะเกิดความเดือดร้อน ขอบคุณศาลที่เมตตาเพราะชาวนาไม่รู้เรื่องอะไร เราเป็นชาวนาเรายอมรับผิดทุกอย่าง ผิดก็ว่ากันไปตามผิด แต่ทั้งนี้เราไปเรียกร้องสิทธิ์กับรัฐบาลครั้งที่แล้ว เรารับผิดแล้วเราทำตามกฏหมายหมายทุกอย่าง แล้วทางรัฐบาลนั้นจะให้อะไรกับชาวนาบ้าง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ประยุทธ์’ เตือนเคลื่อนไหวไม่หยุด ห้ามออกนอกระงับทำธุรกรรมการเงิน ขู่สื่อถามมากๆจะถูกปรับทัศนคติ

$
0
0

29 ม.ค.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์  ถึงการเชิญตัว สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ แกนนำพรรคเพื่อไทย มาปรับทัศนคติ ว่า เป็นการเรียกมาเพื่อปรับทัศนคติและทำความเข้าใจ  ไม่ทราบว่าในการควบคุมตัวครั้งนี้ จะต้องให้พักค้างคืนหรือไม่  ขึ้นอยู่กับฝ่ายความมั่นคงจะพิจารณา

ส่วนที่มีกระแสข่าวการควบคุมตัว ก่อนที่จะเชิญตัวนั้น นายกรัฐมนตรี ระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้ติดต่อไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ที่ไม่ออกเป็นหนังสือเชิญ เพราะไม่ต้องการทำให้เป็นเรื่องใหญ่   เหตุผลที่เชิญมา เนื่องจากมีการแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมในสถานการณ์ขณะนี้ และเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล ทั้งที่มีกฎอัยการศึก จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวาย

เตรียมเรียกอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมาปรับทัศนคติ

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนี้จะเชิญ พิชัย นริพทะพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มารายงานตัว เพื่อทำความเข้าใจ หลังจากที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นโยบายพลังงานของรัฐบาล ทั้งที่ขณะเป็นรัฐมนตรีไม่เคยทำอะไรเลย โดยจะเชิญมาทำความเข้าใจ พร้อมกันนี้ได้มีการติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวที่มีกลุ่มคนเสื้อแดงออกมารณรงค์ให้ใส้เสื้อแดงทุกวันอาทิตย์ ว่ามีความเคลื่อนไหวอย่างไร และเป็นไปอย่างสร้างสรรค์หรือไม่

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่คสช.ทยอยเรียกนักการเมืองเข้ามารายงานตัว เพิ่มเติมด้วยว่า "ทำไม เมื่อวานก็ถามไปแล้วการเชิญตัวมาเป็นการไปกดดันใคร เรียกมาทำความเข้าใจเราจะไปกดดันเขาทำไม เราจะไปทำอะไรเขาล่ะ" เมื่อถามว่าการเชิญตัวมาครั้งนี้ให้ค้างคืนหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า ก็แล้วแต่ให้ฝ่ายความมั่นคงเขาพิจารณาดูในแต่ละคนที่เชิญมา แต่ถ้าให้นอนค้างคืนก็เปลืองข้าวด้วยนะ ไม่ได้อยากให้อยู่หรอก

ต่อคำถามว่าต่อไปนี้ใครที่ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองก็จะถูกเชิญมาปรับทัศนคติและทำความเข้าใจใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แล้วถูกหรือไม่ล่ะที่ออกมาพูดกันอย่างนี้มันสมควรที่จะพูดตอนนี้หรือก็เท่านั้นแหละ จะมาถามให้เป็นเรื่องการอยู่ได้

ขู่นักข่าวถ้าถามมากๆ ถามไม่สร้างสรรค์ จะถูกปรับทัศนคติด้วย

ต่อคำถามว่าแต่หลายฝ่ายมองว่าบรรยากาศเหมือนทหารกำลังเป็นฝ่ายกดดัน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอย่างมีอารมณ์โกรธ ว่า "ใครล่ะใครมอง มีคนตรงไหนมองเช่นนั้นใครอึดอัดบ้าง พลเรือนที่ไหนอึดอัด ไปถามคนจนดูบ้าง ดูอย่างวันนี้ถามสิว่าพวกเราประชุมอะไรกันเป็นเรื่องคนจนเรื่องของคนทั้งประเทศทั้งนั้น ไม่ได้พูดถึงเรื่องอำนาจผม ผมไม่ได้เป็นพวกบ้าอำนาจ ไม่เข้าใจกันสักที หาเรื่องกันอยู่นั่น เมื่อวาน (28 ม.ค.) ก็ครั้งหนึ่งแล้วถ่ายรูปได้อย่างไรผมก็ชี้นิ้วของผมไปเรื่อย ไอ้ห่า ถ่ายออกมาดีๆ ดันไปถ่ายผมชี้นิ้วอย่างนั้นอย่างนี้นี่แหละที่เขาบอกว่าจิตใจมันต่ำ ด่าอีกไม่กลัวหรอกจะด่าแบบนี้จะทำไม"

ต่อคำถามว่าใครออกมาแสดงความคิดเห็นก็จะถูกเชิญตัวใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็ต้องไปชี้แจง "คราวหลังพวกคุณก็ต้องโดนด้วย ถ้าถามมากๆ ล่ะก็ ถามไม่สร้างสรรค์ อยากถามว่ามันทำได้หรือไม่เล่าออกมาพูดขัดแย้งทัดทานอำนาจที่มีอยู่เต็มๆ ขนาดมีอำนาจอย่างนี้มันยังมาท้าทายแบบนี้ ถ้าไม่มีกฎอัยการศึกมันจะเกิดอะไรขึ้นทุกคนก็รู้ทั้งนั้นแหละ อยากให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ผมรู้ว่าพวกสื่ออยากให้เกิด ทุกๆ วันนี้จะได้ขายข่าวกันไง พวกท่านไม่เหนื่อยหรอก เขียนข่าวให้มันดีเขียนให้คนรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ไม่เช่นนั้นมันก็ตีกันอยู่อย่างนี้ ถามว่าสิ่งที่พวกเขาพูดวันนี้มันกดดันผมหรือไม่ ผมเป็นรัฐบาลผมมีอำนาจเต็มแล้วจะมาท้าทายอยู่แบบนี้ได้หรือไม่ ที่ปล่อยมาทุกวันนี้ก็เยอะไปแล้วนะแล้วยังจะทำต่อไปอีกหรือ

เตือนใครยังเคลื่อนไหวจะห้ามออกนอกประเทศห้ามทำธุรกรรมการเงิน

“ถ้าคนที่เคลื่อนไหวยังไม่หยุด จะห้ามออกนอกประเทศ ตรวจสอบทางการเงิน และห้ามดำเนินการทางการเงินด้วย ที่ผ่านมา มีการผ่อนผันการใช้กฎอัยการศึกษามาตลอด แต่ต่อไปจะเข้มข้นขึ้นตามสถานการณ์ของบ้านเมือง” นายกรัฐมนตรี กล่าว

“วันนี้ต้องถามว่า การแสดงความคิดเห็นต่างๆ เหมาะสมหรือไม่  ถามว่าเคลื่อนไหวแล้วประชาชนได้อะไร วันนี้รัฐบาลทำงานเรื่องของคนจน แก้ไขปัญหาประเทศ ไม่ได้ทำเพื่อรักษาอำนาจ  อยากถามว่า พวกที่จะมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ทำเพื่ออะไรในขณะนี้ ทั้งที่รู้อยู่ จะออกมาโต้แย้งอำนาจที่รัฐบาลมีอยู่เต็มๆ ในขณะนี้ทำไม ขณะมีอำนาจยังท้าทาย ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึกจะขนาดไหน จะเกิดอะไรขึ้น” นายกรัฐมนตรี กล่าว

ถามรณรงค์ใส่เสื้อแดงวันอาทิตย์สร้างสรรค์ประโยชน์อะไรหรือไม่

ต่อคำถามที่ว่า สมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด ออกมารณรงค์ให้ทุกวันอาทิตย์ใส่เสื้อสีแดงจะมีการดำเนินการอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า แล้วมันควรทำหรือไม่ ควรจะต้องใส่เสื้อแดงกันทุกวันอาทิตย์มีที่ไหนเขาชวนกัน อยากถามว่ามีจุดมุ่งหมายอะไรสร้างสรรค์ประโยชน์อะไรหรือไม่ แล้วทำไมไม่รณรงค์ใส่เสื้อสีเหลือง สีแดง สีฟ้าบ้าง ทำไมถึงไม่มี แล้วทำไมต้องมีแต่สีแดงก็รู้กันอยู่จะมาถามอะไรกันส่งเดช

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ ยังระบุว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้ ไม่รบกวนสมาธิการทำงาน แต่รู้สึกรำคาญ

 

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทยและมติชนออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

45 องค์กร-คนทำงานสิทธิ ค้านควบรวม กก.สิทธิ-ผู้ตรวจการแผ่นดิน

$
0
0

29 ม.ค. 2558 องค์กรภาคประชาชน 45 แห่งและคนทำงานด้านสิทธิ 6 ราย รวมถึงอดีตกรรมการสิทธิฯ ออกแถลงการณ์คัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และผู้ตรวจการแผ่นดิน ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอวานนี้ โดยระบุว่า แม้ทั้งสององค์กรจะเป็นองค์กรอิสระ และมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการร้องเรียนเช่นเดียวกัน แต่เนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบมีความแตกต่างกัน โดย กสม. มุ่งตรวจสอบและคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของบุคคลใด ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นมุ่งตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายโดยการกระทำดังกล่าวอาจจะไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ได้

รายละเอียดแถลงการณ์มีดังนี้


แถลงการณ์
คัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดิน


ตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ในหมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐส่วนที่ 5 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 4 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตอนที่ 5 ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยเสนอให้มีการควบรวมทั้งสององค์กรเข้าด้วยกันเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณามีความเห็นไปในทางเดียวกันว่าให้รอการพิจารณาไว้ก่อนโดยไปศึกษาข้อดี ข้อเสียในการควบรวมทั้งสองหน่วยงานเข้าด้วยกันเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในคราวต่อไป และมีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งเพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกันนั้น

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) และองค์กรที่มีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอคัดค้านการควบรวมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกัน โดยขอแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะประกอบความคิดเห็นดังต่อไปนี้

1. ที่มาและเจตนารมณ์ของการก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินในระดับสากล

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถือเป็นสถาบันระดับชาติด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามหลักการปารีส (Paris Principles -ดูเอกสารสหประชาชาติ A/RES/48/134) ซึ่งเกิดขึ้นจากผลการประชุม International Workshop on National Institutions for the Promotion and Protection of Human Rights ในปีค.ศ.1991 และได้รับการรับรองตามมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่ 48/134 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 1993 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันมีสถาบันระดับชาติด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกว่า 106 ประเทศทั่วโลก

ในขณะที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ Ombudsman นั้น มีที่มาจากประเทศสวีเดน ก่อตั้งขึ้นในราวปี 1809 ให้ทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดิน บรรเทาทุกข์เดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากความอยุติธรรมอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อประเทศสวีเดนเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย แนวคิดเรื่อง Ombudsman จึงยังคงอยู่แต่องค์กรผู้ใช้อำนาจนี้ คือ สภาผู้แทนราษฎร จึงเรียกว่า “ผู้ตรวจการรัฐสภา” คือ ทำหน้าที่แทนฝ่ายนิติบัญญัติในการเยียวยาแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนอันเกิดจากการกระทำที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นบทบาทขององค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐที่สำคัญองค์กรหนึ่งที่ยึดโยงกับตัวแทนของผู้ใช้อำนาจอธิปไตย [1]

เมื่อพิจารณาจากที่มาขององค์กรทั้งสองในระดับสากลจะเห็นว่าเจตนารมณ์ของการจัดตั้งและภารกิจนั้นแตกต่างกัน กล่าวคือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมุ่งแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นมีวัตถุประสงค์ตรวจสอบการใช้ฝ่ายปกครองมิให้ใช้อำนาจตามอำเภอใจในการดำเนินการบริหารบ้านเมือง

2.อำนาจหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินในประเทศไทย

ในประเทศไทยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน มีที่มาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 และรัฐธรรมนูญ 2550 โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่สำคัญ คือ การตรวจสอบและรายงานการกระทําหรือการละเลยการกระทํา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ ประเทศไทยเป็นภาคีและเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทําหรือละเลยการกระทําดังกล่าว การเสนอนโยบายกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการส่งเสริมการศึกษาสิทธิมนุษยชน

ส่วนอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่สำคัญ คือ ในการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงกรณีการร้องเรียนว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือการปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม รวมถึงการตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล

เมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ดังกล่าว แม้ทั้งสององค์กรจะเป็นองค์กรอิสระ และมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการร้องเรียนเช่นเดียวกัน แต่เนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมุ่งตรวจสอบและคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม ไม่ว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นจะเกิดจากการกระทำของบุคคลใด ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นมุ่งตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายโดยการกระทำดังกล่าวอาจจะไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ได้

อย่างไรก็ตามแม้มีบางกรณีที่สามารถร้องเรียนได้ทั้งสององค์กรคือกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เมื่อมีการตรวจสอบหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบของทั้งสององค์กรย่อมมีความแตกต่างกัน เพราะนอกจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะต้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายแล้ว ยังต้องพิจารณาว่ากรณีดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่ข้อเสนอในเชิงนโยบายและกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีดังกล่าว ประชาชนจึงย่อมได้รับความคุ้มครองสิทธิมากกว่าการพิจารณาโดยอาศัยบทบัญญัติทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และองค์กรข้างท้ายนี้ เห็นว่าการที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาควบรวมหน่วยงานทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยอ้างว่าเป็นเพราะอำนาจหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานคล้ายคลึงกันนั้น ย่อมเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเจตนารมณ์และภารกิจขององค์กร และขอเสนอแนะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณายกร่างบทบัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นหน่วยงานอิสระแยกจากกันเป็นสองหน่วยงาน อันสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ 2550 และจะนำไปสู่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนต่อไป

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
1. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
2. สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
3. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Prorights Foundation)
4. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
5. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
6. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw)
7. มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
8. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
9. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
10. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Homenet)
11. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
12. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม (สสธ.)
13. คณะทำงานไทยเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน
14. พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
15. เครือข่ายผู้หญิงอีสาน
16. ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา
17. มูลนิธิพิทักษ์สตรีและเด็ก
18. มูลนิธิชุมชนไท
19. ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรมชุมชนเทือกเขาเพชรบูรณ์
20. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
21. เครือข่ายทรัพยากรภาคเหนือตอนล่าง
22. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)
23. เครือข่ายสลัมสี่ภาค
24. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ ภาคอีสาน
25. กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
26. ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา
27. สถาบันชุมชนอีสาน
28. โครงการป่าชุมชน
29. โครงการทามมูน
30. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย
31. สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ
32. สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี
33. สมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชน
34. คณะทำงานวาระทางสังคม
35. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
36. คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
37. ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
38. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)
39. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
40. สภาชนเผ่าพื้นเมืองประเทศไทย
41. สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
42. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)
43. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
44. สมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ
45. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา
46. นายสมชาย หอมลออ
47. นางสุนี ไชยรส
48. ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี
49. นายชำนาญ จันทร์เรือง
50. นางสาวดาราราย รักษาสิริพงศ์
51. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์

[1]สรุปความจากบทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2556 หน้า 7-8

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แรงงานบุกสภาค้าน ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม-สนช.ไฟเขียวให้ตัวแทนชี้แจงใน กมธ.

$
0
0

 

29 ม.ค. 2558 เวลา 10.00 น. ที่อาคารรัฐสภา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 27 องค์กร ได้เดินทางเพื่อขอเข้าพบและยื่นจดหมายคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งอยู่ในการพิจารณาวาระที่2 ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคม ซึ่งมีเนื้อหาตัดสิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 33 กรณีว่างงาน จากเดิมเมื่อลาออกจากงานด้วยความสมัครใจ จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน สาเหตุที่สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ตัดออกเนื่องจากไม่มีประเทศใดในโลกที่มีกฎหมายให้เงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน หากแรงงงานสมัครใจลาออก และเห็นว่า มีผู้ประกันตนบางรายลาออกเพื่อหวังใช้ใช้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

ด้านนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ได้แถลงข้อคัดค้านบริเวณหน้าสวนสัตว์ดุสิตก่อนเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมประมาณ 50 คน เข้ายื่นจดหมายต่อพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ที่อาคารรัฐสภานั้น โดยกล่าวถึงสองประเด็น คือ สิทธิกรณีการการลาออกของแรงงานอาจมาจากหลายสาเหตุ ไม่มีบุคคลใดต้องการลาออกจากงาน เพราะอาจทำให้สูญเสียรายได้ มีบางส่วนถูกนายจ้างบีบให้ออก จากการมีข้อพิพาทกันระหว่างลูกจ้างนายจ้าง และจากการที่นายจ้างย้ายฐานการผลิต ปิดกิจการหรือเศรฐกิจชะลอตัว

ส่วนประเด็นที่สอง การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้ประกันตนกรณีชราภาพ ซึ่งจะได้รับเงินรายเดือนนั้น มีกำหนดให้ผู้ประกันตนต้องส่งเงินครบ 15 ปี หรืออายุ 55 ปี ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทยซึ่งมักกำหนดการจ้างงานเป็นเวลา 4 ปีหรืออยู่ทำงานไม่ถึง 55 ปีก็เดินทางกลับประเทศก่อน ทำให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าสู่ระบบประกันสังคม จึงควรให้ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปี และอายุไม่ถึง 55 ปี สามารถเลือกรับสิทธิเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญได้

นางสาววิไลวรรณกล่าวเสริมอีกว่า เงินประกันตนนั้นมาจากเงินของผู้ประกันตนและจากนายจ้าง จ่ายร่วมกันคนละ5% ส่วนรัฐบาลมีส่วนช่วยออกเงินผู้ประกันเพียง2.75% เท่านั้น โดยปกติตามหลักการต้องออกเท่ากัน โดยเฉพาะเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายสมทบ2.75%ยังคงค้างจ่ายให้กับผู้ประตนอีกด้วย จะเข้ามาจัดการละเมิดสิทธิเงินของแรงงานไม่ได้

ขณะที่กระทรวงแรงงานอยู่ในช่วงการเสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาของครม.และสนช. ซึ่งเดิมเป็นฉบับประชาชนผ่านการเข้าเสนอชื่อกฎหมายจำนวน 12,130 รายชื่อ นำโดย นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับบูรณาการแรงงาน โดยภาคประชาชน แต่ฉบับดังกล่าวกลับไม่ได้รับการพิจารณา หลังจากเปลี่นรรัฐบาล ได้เดินทางร่วมกับกลุ่ม คสรท.เพื่อยื่นจดหมายขอชะลอการนำร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับกระทรวงแรงงานไว้ก่อน เนื่องจากฉบับดังกล่าวไม่มีประชาชนและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งยังขัดต่ออนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ 94 ที่กำหนดให้ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน ทั้งแรงงานในอุตสาหกรรม แรงงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานนอกระบบ แรงงานเกษตร แรงงานข้ามชาติ

นายชาลียังกล่าวอีกว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับกระทรวงมีความเหลื่อมล้ำอย่างมาก ในมาตรา4 มีการบังคับใช้กับกลุ่มเป้าหมายโดยกีดกันกลุ่มอื่น ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มลูกจ้างและภาคธุรกิจขนาดเล็ก สะท้อนว่าแรงงานยังไม่มีสิทธิที่จะรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกองค์กรตนได้อิสระ และในมาตรา 5 รัฐสามารถแทรกแซงการจัดตั้งองค์กรของแรงงานตั้งแต่ขั้นตอนของการก่อตั้ง การปฏิบัติงาน รวมถึงการบริหารงาน ทั้งที่การรวมตัวจัดตั้งองค์กรแรงงานทั้งในประเทศและระดับนานชาติ  ต้องจำกัดบทบาทรัฐไม่ให้เข้ามาแทรกแซง และมุ่งเน้นเปลี่ยนกรอบความคิดจาก"นายจ้าง"เหนือ"ลูกจ้าง" ไปสู่สถานะแบบ "ผู้จ้างกับคนทำงาน" ที่เป็น "หุ้นส่วนกัน" แบบเสมอภาคและเท่าเทียม

ทั้งนี้กิจกรรมดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ได้ให้ผู้ชุมนุมยื่นจดหมายรอบริเวณลานพระบรมรูปฯ หน้าอาคารรัฐสภา โดยมีนายพีระศักดิ์ พอจิต สมาชิกสนช. พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร  และนายสมชาย แสวงการ สมาชิกสนช. เข้ามารับหนังสือคัดค้าน

พลเอกสิงห์ศึก ชี้แจงว่า วันที่ 2 ก.พ.นี้จะมีการพิจารณาต่อสภานิติบัญญัติในวาระที่ 2 จึงมีการเสนอให้ตั้งตัวแทน 5 คน จากตัวแทนกลุ่มองค์การแรงงาน 27 แห่ง เข้าร่วมเพื่อชี้แจงต่อหน้ากรรมธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม เพื่อให้มีน้ำหนักขึ้นในการพิจารณา

จากนั้นเวลา 11.00 น. หลังจากยื่นจดหมายคัดค้านที่รัฐสภา คสรท.และอีกกว่า 27 องค์กรแรงงานได้เดินเท้าต่อเพื่อไปยื่นหนังสือคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม และยื่นจดหมายให้ชะลอพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต่อพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน และตัวแทนจากสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้รับจดหมาย ฝ่ายกลุ่มผู้ยื่นจดหมายคัดค้านได้เน้นย้ำกับผอ.ศูนย์ว่า หนังสือคำร้องต้องส่งถึงมือนายกรัฐมนตรี โดยตนและกลุ่มต้องการเห็นนายกรัฐมนตรี พูดถึงเรื่องนี้ในวันศุกร์ที่ 30 ม.ค.58 เพื่อคืนความสุขให้กับผู้ใช้แรงงาน

ด้านผู้อำนายการกฎหมาย ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ได้แจงกับกลุ่มผู้เรียกร้องว่า กลุ่มแรงงานจะได้รับผลประโยนช์มากว่ากฎหมายเดิม ซึ่งเรื่องกำลอยู่ในการพิจารณา ส่วนการแก้กฎหมายนั้นต้องแก้กันอีกหลายครั้ง ไม่ใช่แก้ครั้งนี้ครั้งเดียวในส่วนของกรณีการว่างงานจะรับเข้าพิจารณา ด้านทำเรื่องให้ถึงมือ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชาพูดในวันพรุ่งนี้นั้น คงไม่สามารถรับปากได้แต่จะเร่งให้ถึงมือให้เร็วที่สุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แรงงานบุกสภาค้าน ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม-สนช.ไฟเขียวให้ตัวแทนแจง กมธ.

$
0
0

 

29 ม.ค. 2558 เวลา 10.00 น. ที่อาคารรัฐสภา คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ซึ่งประกอบไปด้วยเครือข่ายแรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 27 องค์กร ได้เดินทางเพื่อขอเข้าพบและยื่นจดหมายคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ซึ่งอยู่ในการพิจารณาวาระที่2 ต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายประกันสังคม ซึ่งมีเนื้อหาตัดสิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 33 กรณีว่างงาน จากเดิมเมื่อลาออกจากงานด้วยความสมัครใจ จะได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน สาเหตุที่สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ตัดออกเนื่องจากไม่มีประเทศใดในโลกที่มีกฎหมายให้เงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน หากแรงงงานสมัครใจลาออก และเห็นว่า มีผู้ประกันตนบางรายลาออกเพื่อหวังใช้ใช้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

ด้านนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ได้แถลงข้อคัดค้านบริเวณหน้าสวนสัตว์ดุสิตก่อนเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมประมาณ 50 คน เข้ายื่นจดหมายต่อพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ที่อาคารรัฐสภานั้น โดยกล่าวถึงสองประเด็น คือ สิทธิกรณีการการลาออกของแรงงานอาจมาจากหลายสาเหตุ ไม่มีบุคคลใดต้องการลาออกจากงาน เพราะอาจทำให้สูญเสียรายได้ มีบางส่วนถูกนายจ้างบีบให้ออก จากการมีข้อพิพาทกันระหว่างลูกจ้างนายจ้าง และจากการที่นายจ้างย้ายฐานการผลิต ปิดกิจการหรือเศรฐกิจชะลอตัว

ส่วนประเด็นที่สอง การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้ประกันตนกรณีชราภาพ ซึ่งจะได้รับเงินรายเดือนนั้น มีกำหนดให้ผู้ประกันตนต้องส่งเงินครบ 15 ปี หรืออายุ 55 ปี ส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในประเทศไทยซึ่งมักกำหนดการจ้างงานเป็นเวลา 4 ปีหรืออยู่ทำงานไม่ถึง 55 ปีก็เดินทางกลับประเทศก่อน ทำให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าสู่ระบบประกันสังคม จึงควรให้ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปี และอายุไม่ถึง 55 ปี สามารถเลือกรับสิทธิเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญได้

นางสาววิไลวรรณกล่าวเสริมอีกว่า เงินประกันตนนั้นมาจากเงินของผู้ประกันตนและจากนายจ้าง จ่ายร่วมกันคนละ5% ส่วนรัฐบาลมีส่วนช่วยออกเงินผู้ประกันเพียง2.75% เท่านั้น โดยปกติตามหลักการต้องออกเท่ากัน โดยเฉพาะเงินที่รัฐบาลต้องจ่ายสมทบ2.75%ยังคงค้างจ่ายให้กับผู้ประตนอีกด้วย จะเข้ามาจัดการละเมิดสิทธิเงินของแรงงานไม่ได้

ขณะที่กระทรวงแรงงานอยู่ในช่วงการเสนอร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ที่กำลังเข้าสู่การพิจารณาของครม.และสนช. ซึ่งเดิมเป็นฉบับประชาชนผ่านการเข้าเสนอชื่อกฎหมายจำนวน 12,130 รายชื่อ นำโดย นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนและผลักดันร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับบูรณาการแรงงาน โดยภาคประชาชน แต่ฉบับดังกล่าวกลับไม่ได้รับการพิจารณา หลังจากเปลี่นรรัฐบาล ได้เดินทางร่วมกับกลุ่ม คสรท.เพื่อยื่นจดหมายขอชะลอการนำร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับกระทรวงแรงงานไว้ก่อน เนื่องจากฉบับดังกล่าวไม่มีประชาชนและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งยังขัดต่ออนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) ฉบับที่ 87 และ 94 ที่กำหนดให้ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน ทั้งแรงงานในอุตสาหกรรม แรงงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานนอกระบบ แรงงานเกษตร แรงงานข้ามชาติ

นายชาลียังกล่าวอีกว่า ร่างพ.ร.บ.ฉบับกระทรวงมีความเหลื่อมล้ำอย่างมาก ในมาตรา4 มีการบังคับใช้กับกลุ่มเป้าหมายโดยกีดกันกลุ่มอื่น ไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มลูกจ้างและภาคธุรกิจขนาดเล็ก สะท้อนว่าแรงงานยังไม่มีสิทธิที่จะรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกองค์กรตนได้อิสระ และในมาตรา 5 รัฐสามารถแทรกแซงการจัดตั้งองค์กรของแรงงานตั้งแต่ขั้นตอนของการก่อตั้ง การปฏิบัติงาน รวมถึงการบริหารงาน ทั้งที่การรวมตัวจัดตั้งองค์กรแรงงานทั้งในประเทศและระดับนานชาติ  ต้องจำกัดบทบาทรัฐไม่ให้เข้ามาแทรกแซง และมุ่งเน้นเปลี่ยนกรอบความคิดจาก"นายจ้าง"เหนือ"ลูกจ้าง" ไปสู่สถานะแบบ "ผู้จ้างกับคนทำงาน" ที่เป็น "หุ้นส่วนกัน" แบบเสมอภาคและเท่าเทียม

ทั้งนี้กิจกรรมดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ได้ให้ผู้ชุมนุมยื่นจดหมายรอบริเวณลานพระบรมรูปฯ หน้าอาคารรัฐสภา โดยมีนายพีระศักดิ์ พอจิต สมาชิกสนช. พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร  และนายสมชาย แสวงการ สมาชิกสนช. เข้ามารับหนังสือคัดค้าน

พลเอกสิงห์ศึก ชี้แจงว่า วันที่ 2 ก.พ.นี้จะมีการพิจารณาต่อสภานิติบัญญัติในวาระที่ 2 จึงมีการเสนอให้ตั้งตัวแทน 5 คน จากตัวแทนกลุ่มองค์การแรงงาน 27 แห่ง เข้าร่วมเพื่อชี้แจงต่อหน้ากรรมธิการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม เพื่อให้มีน้ำหนักขึ้นในการพิจารณา

จากนั้นเวลา 11.00 น. หลังจากยื่นจดหมายคัดค้านที่รัฐสภา คสรท.และอีกกว่า 27 องค์กรแรงงานได้เดินเท้าต่อเพื่อไปยื่นหนังสือคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม และยื่นจดหมายให้ชะลอพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้อำนวยการศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน และตัวแทนจากสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้รับจดหมาย ฝ่ายกลุ่มผู้ยื่นจดหมายคัดค้านได้เน้นย้ำกับผอ.ศูนย์ว่า หนังสือคำร้องต้องส่งถึงมือนายกรัฐมนตรี โดยตนและกลุ่มต้องการเห็นนายกรัฐมนตรี พูดถึงเรื่องนี้ในวันศุกร์ที่ 30 ม.ค.58 เพื่อคืนความสุขให้กับผู้ใช้แรงงาน

ด้านผู้อำนวยการกฎหมาย ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ได้แจงกับกลุ่มผู้เรียกร้องว่า กลุ่มแรงงานจะได้รับผลประโยชน์มากว่ากฎหมายเดิม ซึ่งเรื่องกำลอยู่ในการพิจารณา ส่วนการแก้กฎหมายนั้นต้องแก้กันอีกหลายครั้ง ไม่ใช่แก้ครั้งนี้ครั้งเดียวในส่วนของกรณีการว่างงานจะรับเข้าพิจารณา ด้านทำเรื่องให้ถึงมือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพูดในวันพรุ่งนี้นั้น คงไม่สามารถรับปากได้แต่จะเร่งให้ถึงมือให้เร็วที่สุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กมธ.ยกร่างฯ เผย รธน.ใหม่ ห้ามรัฐบาลกู้เงินโดยไม่ผ่านการตรา พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี

$
0
0

รธน. ใหม่ ปรับหลักการงบประมาณแผ่นดินใหม่ กำหนดให้เงินกู้เป็นรายได้ของแผ่นดิน ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณต้องมีรายละเอียดทั้งงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายได้ประจำปี และห้ามรัฐบาลกู้เงินกู้เงินทำโครงการต่างๆ โดยไม่ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี

29 ม.ค. 2558 เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า คำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (รธน.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่าง รธน. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาต่อในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และสถาบันการเมือง หมวด 5 ว่าด้วยการคลังและการงบประมาณ โดยได้มีการวางหลักการใหม่ของการเงินการคลังใหม่หลายประการ อาทิ ได้มีการปรับนิยามเงินแผ่นดินใหม่ ให้หมายความรวมถึง เงินรายได้แผ่นดิน เงินกู้ เงินคงคลัง และเงินรายได้จากทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์อื่นที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครอง เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินโดยรวม พร้อมกันนี้ยังเพิ่มบทบัญญัติห้ามรัฐบาลกู้เงินโดยไม่ผ่านการตราพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี ซึ่งหมายถึงว่าไม่สามารถออกกฎหมายพิเศษเพื่อกู้เงินได้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากรัฐบาลในอดีตได้ออกกฎหมายพิเศษกู้เงินทำโครงการต่างๆ โดยไม่ผ่านพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี จนทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าการนำงบประมาณกู้เงินดังกล่าวมาใช้นอก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีสามารถทำได้หรือไม่ ขณะที่เงินรายได้ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินจะสามารถทำได้โดยการตรา กฎหมายให้หน่วยงานรัฐไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน อีกทั้งกรอบวงเงินต้องไม่กระทบกับการรักษาวินัยการเงินการคลังและ ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานรัฐด้วย   

นอกจากนี้ยังบัญญัติหลักการของการจัดทำพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณแผ่นดินขึ้นมาใหม่ โดยกำหนดตราเป็นร่าง พ.ร.บ. งบประมาณประจำปี และร่าง พ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติม ไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้หลังจากนี้ไปร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ต้องจัดทำเป็นรูปแบบที่มีรายละเอียดทั้งงบประมาณรายจ่ายและงบประมาณรายได้ ประจำปี เพื่อเอื้อต่อการออกเป็นกฎหมายลูกในอนาคตต่อไป ขณะที่การจัดสรรงบฯ นอกจากจัดสรรตามหน่วยงาน และภารกิจแล้ว ยังเพิ่มการจัดสรรงบฯ ให้เป็นไปตามพื้นที่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการตามพื้นที่ของประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้การใช้จ่าย การก่อหนี้และภาระผูกพันที่มีผลต่อรายได้แผ่นดินต้องอยู่ภายใต้หลักความคุ้มค่า โปร่งใส และการรักษาวินัยทางการคลัง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคลังและการงบประมาณของรัฐ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักเคมีพบวิธีการทำให้ไข่ต้มคืนสภาพ เอื้อประโยชน์วิจัยมะเร็ง-อุตสาหกรรมอาหาร

$
0
0

การทดลองที่ดูเหมือนจะไร้ประโยชน์อย่างการทำให้ไข่ต้มสุกกลับคืนสภาพเป็นไข่เหลวกลับมีที่มาจากความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้โปรตีนเสียกลับคืนรูปเป็นโปรตีนที่ใช้การได้แบบเดิมด้วยวิธีการราคาถูกและประหยัดเวลา ซึ่งอาจจะส่งผลช่วยเหลือการวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งและการผลิตอาหารได้


29 ม.ค. 2558 วารสาร ChemBioChem เผยแพร่รายงานผลการทดลองของมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเออร์ไวน์ (UCI) และนักเคมีจากออสเตรเลีย ที่สามารถค้นพบวิธีการทำให้ไข่ต้มสุกกลับคืนสภาพเป็นไข่เหลวที่ยังไม่ได้ต้มได้ ซึ่งการค้นพบนี้อาจจะนำมาช่วยลดต้นทุนในด้านต่างๆ ทั้งด้านการรักษามะเร็ง การผลิตอาหาร และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพด้านอื่นๆ ได้หลายล้านดอลลาร์

เกรกอรี่ ไวส์ ศาตราจารย์ด้านเคมีและชีววิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัย UCI กล่าวว่า พวกเขาสามารถค้นพบวิธีทำให้ไข่ต้มสุกกลับเป็นไข่เหลวได้ด้วยวิธีการแยกโปรตีนที่เชื่อมต่อกันอยู่ออกจากกันแล้วปล่อยให้มันพับคืนรูปตัวเอง พวกเขาทดลองทำกับไข่ที่ต้มนาน 20 นาที ด้วยอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส และทำให้โปรตีนสำคัญในไข่กลับคืนสู่ระบบการทำงานตามเดิม

การทดลองในเรื่องนี้ดูเหมือนจะไร้ประโยชน์ แต่จริงๆ มันเป็นประโยชน์ในด้านการทำให้โมเลกุลโปรตีนที่พับตัวผิดปกติ (misfold) ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งการพับตัวผิดปกติของโปรตีนจนทำให้ใช้การไม่ได้และในบางกรณียังอาจจะส่งผลเป็นพิษจนทำให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มโรคโปรติโอพาร์ธี (Proteopathy) เช่นอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็นต้น มีนักวิจัยจำนวนมากพยายามทดลองเพื่อหาวิธีทำให้โปรตีนที่ผิดปกติกลับมาใช้การใหม่ได้

ก่อนหน้านี้เคยมีวิธีการที่สามารถนำโปรตีนที่พับผิดรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ก็เป็นขั้นตอนที่ราคาแพงและใช้เวลามากเทียบเท่ากับการแยกสารผ่านเยื่อในระดับโมเลกุลซึ่งใช้เวลา 4 วัน เทียบกับวิธีการที่ผู้ทดลองคืนสภาพไข่ซึ่งอาศัยเวลาหลายนาที

เว็บไซต์ Phys.org อธิบายกระบวนการสร้างโปรตีนที่ชื่อไลโซไซม์ (lysozyme) ว่า หลังจากไข่ถูกต้มแล้วจะมีการใช้สารยูเรีย (Urea) เพื่อทำให้ไข่ขาวที่แข็งตัวกลับมาเป็นไข่เหลวแต่นี่เป็นแค่ครึ่งแรกเพราะโปรตีนในไข่จะยังคงพับตัวอย่างยุ่งเหยิงอยู่ ทำให้หลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์จะดำเนินกระบวนการในระดับโมเลกุลคือการใช้เครื่องทำให้ของเหลวหมุนวน (Vortex fluid device) กับไข่และใช้แผ่นฟิล์มสำหรับของเหลวขนาดเล็กมาก (microfluidic films) ช่วยจัดให้โปรตีนคืนรูปกลับมาดังเดิม

ChemBioChem ระบุว่าวิธีการนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตโปรตีนในระดับอุตสาหกรรมหรือในเชิงการวิจัยได้ เช่นการช่วยทดลองสร้างสารภูมิต้านทางมะเร็งซึ่งลดขั้นตอนการทำให้โปรตีนคืนรูปดังเดิม การลดขั้นตอนเหล่านี้มีโอกาสทำให้การักษามะเร็งมีราคาถูกลงได้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมอาหารหรือเกษตรกรยังมีโอกาสนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตามทางมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเออร์ไวน์ (UCI) ได้จดสิทธิบัตรงานวิจัยนี้ไว้และสำนักงานด้านเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยก็ทำงานนี้ร่วมกับนักวิจัยจากหน่วยงานเชิงธุรกิจ


เรียบเรียงจาก
Chemists find a way to unboil eggs, Phys, 26-01-2015
http://phys.org/news/2015-01-chemists-unboil-eggs.html

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Proteopathy

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มโน! 'พลเมืองเน็ต' ชี้ชุด กม.เศรษฐกิจดิจิทัล ร่างแปลง กม.ความมั่นคง

$
0
0

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จากเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ความพยายามแปลงกฎหมายพิเศษให้กลายเป็นกฎหมายปกติทุกครั้งหลังรัฐประหาร ชี้รอบนี้ชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ทดแทนประกาศคณะรัฐประหารได้ครบ แซวใครอยากเลิกอัยการศึก ให้หนุนชุดกฎหมายใหม่นี้ เพราะใช้แทนกันได้


24 พ.ค. 2557 สนามเป้า กรุงเทพฯ
แฟ้มภาพ: ประชาไท

29 ม.ค. 2558 ตอนหนึ่งในงานเสวนา “ทิศทางการปฏิรูปสื่อและสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล” ของเวทีเสวนา NBTC Public Forum ซึ่งพูดถึงร่างกฎหมายสิบฉบับเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลที่ ครม.อนุมติเห็นชอบในหลักการเมื่อเร็วๆ นี้

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงกรณีมีผู้แย้งว่าชุดกฎหมายเหล่านี้เป็นเรื่องความมั่นคงทางระบบสารสนเทศ ไม่ใช่เรื่องของความมั่นคงของกองทัพว่า คิดว่าไม่ได้คิดไปเอง เพราะถ้าไปดูกฎหมายทั้งสิบฉบับ ภาษาในทุกฉบับ ไม่ว่าการเอาคลื่นคืนไปให้รัฐจัดสรร การใช้คลื่นเพื่อความมั่นคง การมีคลื่นเพื่อการนั้นอย่างเพียงพอหรือว่าคณะกรรมการ โครงสร้างต่างๆ ต่างสะท้อนความคิดของคณะรัฐประหารที่ยังมีอำนาจอยู่ในขณะนี้

อาทิตย์ชี้ว่า หากย้อนไปดูเมื่อปี 2549 อย่างที่เข้าใจกันว่า ทุกๆ ครั้งที่มีการรัฐประหาร จะมีการควบคุมสื่อในบางระดับ หนักบ้างเบาบ้าง ตามแต่ละครั้ง โดยจะมีการส่งทหารไปตามสถานีวิทยุ สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในปี 2549 นั่นก็คือมีสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนออกมาชุมนุมกันเยอะมากในขณะนั้น เมื่อยังไม่มีกฎหมายเชิงควบคุม ก็มีการออกคำสั่ง คปค. 5 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ ใช้ในการควบคุมเว็บ ต่อมาเมื่อมี สนช. ร่างแรกเลยที่ สนช.หยิบขึ้นมา คือ ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ซึ่งในมาตรา 20 ว่าด้วยการปิดเว็บ น่าสนใจว่ามันเป็นกระบวนการหนึ่งหรือเปล่าที่แปลงกฎหมายพิเศษให้เป็นกฎหมายปกติ

อาทิตย์กล่าวต่อว่า ส่วนรอบนี้ วันที่ 20 พ.ค. ก่อนรัฐประหาร กอ.รส. ใช้อำนาจกฎอัยการศึกตัว ออกประกาศให้ควบคุมสื่อออนไลน์ ต่อมามีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ซึ่งประกาศฉบับแรกๆ ในคืนวันนั้น มีอาทิ ฉบับที่ 12 ว่าด้วยการขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช. ประกาศฉบับที่ 14 ห้ามสื่อสัมภาษณ์นักวิชาการ ข้าราชการ ศาล ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ คสช. เช่นกัน ฉบับที่ 17 เรียกไอเอสพีไปรายงานตัว และให้ไอเอสพียับยั้งเนื้อหาต่างๆ ที่จะขัดขวางการทำงานของ คสช. ฉบับที่ 18 ให้สื่องดเว้นข้อมูลข่าวสาร 7 ลักษณะ ฉบับที่ 22 เป็นการจัดตั้งโครงสร้างการทำงานของสำนักงานเลขาธิการของ คสช. สิ่งที่น่าสนใจคือมีหลายฝ่ายในสำนักเลขาธิการนี้ อันหนึ่งคือฝ่ายความมั่นคงซึ่งดูแล 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงไอซีที คือในมุมมองของ คสช. กระทรวงไอซีทีอยู่ฝ่ายความมั่นคง ฉบับที่ 26 มีการตั้งคณะกรรมการติดตามตัวสื่อออนไลน์ ตรวจสอบโซเชียลมีเดีย

ฉบับที่ 80 ที่พูดถึงเรื่องเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจะต้องนำส่งเข้าคลัง และเงินกองทุนนี้ คลังสามารถยืมไปใช้ได้ตามความเหมาะสม และมีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการบริหารกองทุน ตัดสัดส่วนของคณะผู้ทรงคุณวุฒิออกไปและเพิ่มกรรมการโดยตำแหน่งขึ้นมา 1 คนก็คือปลัดกระทรวงกลาโหม ฉบับที่ 94 เป็นการเลื่อนการประมูล 4G ออกไป คลื่น 900 และ 1800 ถูกเลื่อนออกไป 1 ปี โดยบอกว่าให้ไปปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ ฉบับที่ 97 ห้ามการเผยแพร่เนื้อหาต่างๆ ในสื่อมวลชน ซึ่งในฉบับนี้ขยายรวมบุคคลทั่วไปด้วย

อาทิตย์กล่าวว่า รวมๆ แล้ว สิ่งที่จะชี้ให้เห็นก็คือว่า ประกาศต่างๆ เหล่านี้ถ้าดูเรื่องเนื้อหา ไม่ว่าจะการเรียกไอเอสพีเข้ามาเพื่อสั่งให้ไอเอสพีทำหรือไม่กระทำการใดๆ ได้ มันก็ไปปรากฏอยู่ในอำนาจตามมาตรา 34 ของร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ คือ อำนาจของคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงไซเบอร์แห่งชาติ เรื่องกองทุนก็ไปอยู่ใน พ.ร.บ.กองทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดสรรคลื่น ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับตัวอำนาจหน้าที่ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัลกับการปรับอำนาจของตัว กสทช. การตรวจสอบอินเทอร์เน็ตต่างๆ ปรากฏอยู่ใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และพ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ โครงสร้างคณะกรรมการต่างๆ ตามคำสั่งฉบับที่ 22 ที่กระทรวงไอซีทีอยู่ในฝ่ายความมั่นคง จะเห็นโครงสร้างจากสัดส่วนคณะกรรมการเกือบทุกชุดในกฎหมายสิบฉบับนี้ว่าความมั่นคงอยู่ตรงไหนบ้าง

"รวมๆ ผมกำลังจะบอกว่า ชุดกฎหมายสิบฉบับนี้ไม่ได้เกินเลยไปเลยที่เราจะบอกว่ามันคือการแปลงกฎหมายพิเศษ ณ ขณะนี้ให้กลายไปเป็นกฎหมายปกติ" อาทิตย์กล่าวและว่า และถ้าไปดูโครงสร้างก็จะพบว่า ต่อให้มีการเลือกตั้ง กระทรวงดิจิทัลซึ่งรัฐมนตรีอาจจะมาจาก ส.ส. หรือไม่ก็ตาม ตัวกระทรวงไม่ได้มีอำนาจมากนักเพราะอำนาจการบริหารงานต่างๆ ได้ถูกนำมาใส่ในคณะกรรมการต่างๆ หมดแล้ว ซึ่งถ้าพูดถึงการยึดโยง เรื่องการเลือกตั้งที่มาของ ส.ส. และผู้แทนต่างๆ คณะกรรมการแบบนี้ซึ่งดำเนินงานเป็นจำนวนมากในกระทรวงใหม่ก็อาจจะไม่ได้มีความยึดโยงกับประชาชนมากนัก กลายเป็นว่ากระทรวงและรัฐมนตรีมีความหมายน้อยมากเมื่อเทียบกับตัวคณะกรรมการต่างๆ

ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชี้ว่า คำถามต่อไปก็คือว่าพอสิ่งเหล่านี้มันกลายเป็นกฎหมายปกติ คณะกรรมการเหล่านี้ทำงานไป แปลว่า ฝ่ายความมั่นคงยังอยู่ ต่อให้มีการเลือกตั้งหรือรัฐบาลพลเรือนแล้วแต่นโยบายเหล่านี้ที่เป็นเรื่องความมั่นคง คณะกรรมการที่มาจากฝ่ายความมั่นคงก็จะยังคงอยู่ต่อไป

"ผมคิดว่าถ้าใครอยากให้ยกเลิกกฎอัยการศึกเร็วๆ ก็ควรจะต้องสนับสนุนกฎหมายสิบฉบับนี้ เพราะว่าก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปที่จะต้องใช้กฎอัยการศึก เพราะใช้กฎหมายสิบฉบับนี้ได้แล้ว" อาทิตย์กล่าวและว่า ดังนั้น ต้องตีให้เห็นว่า เป็นความพยายามแปลงกฎหมายพิเศษให้เป็นกฎหมายปกติซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงมองว่ามันเป็นชุดกฎหมายความมั่นคง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีดีอาร์ไอแนะ รมว.ทำหนังสือถึงกฤษฎีกาให้เปิดฟังความเห็นแก้ชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล

$
0
0

กรณี ครม.ผ่านชุดร่างกม.เศรษฐกิจดิจิทัล ผอ.สพธอ.แจงจำเป็นต้องร่างกฎหมายแบบท็อปดาวน์-ทำเงียบๆ เพื่อให้ผ่านออกมาก่อน ชี้กระบวนการร่างยังอีกไกล พร้อมรับฟังความเห็น ด้านประธานทีดีอาร์ไอชี้ ผ่าน กม.ทั้งที่ยังไม่นิ่ง สร้างภาระกฤษฎีกา เสนอให้ตัวแทนคนเห็นต่างเข้าให้ความเห็น

อ่านแนวคิดและสาระสำคัญจาก สพธอ. ที่ด้านล่าง

29 ม.ค. 2558 ในเวทีเสวนา NBTC Public Forum 1/2558: “ทรัพยากรคลื่นความถี่และทิศทางการสื่อสารภายใต้ร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล” ณ อาคารหอประชุมชั้น 1 สำนักงาน กสทช. มีการพูดถึงชุดร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล 10 ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. และกำลังจะเข้า สนช.

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) และสมาชิก สนช. ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัล นำเสนอแนวคิดและสาระสำคัญของชุดร่างกฎหมายดังกล่าว (ดูที่ด้านล่าง)พร้อมกล่าวว่า การร่างกฎหมายถ้าไม่ทำแบบท็อปดาวน์ (จากบนลงล่าง) และทำแบบเงียบๆ คงไม่สามารถออกมาได้ โดยยกตัวอย่างว่ามีบทเรียนจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งร่างมาแล้ว 17-18 ปียังไม่ออกเป็นกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม สุรางคณา ระบุด้วยว่า กระบวนการร่างกฎหมายยังมีอีกมาก และการที่ ครม.เห็นชอบแล้ว ไม่ได้แปลว่าเห็นชอบทั้งฉบับ แต่เป็นการเห็นชอบให้มีกฎหมาย พร้อมย้ำว่า หลังผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งจะตกผลึกระดับหนึ่งแล้วจะมีการรับฟังความเห็นตลอดทาง

นอกจากนี้ สุรางคณา กล่าวถึงกรณีมีการวิจารณ์ร่างกฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่างมากด้วยว่า เชื่อว่าคนเซ้นสิทีฟกับคำว่า "ความมั่นคง" กลัวว่าจะคุกคามความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงความเห็น ซึ่งขอชี้แจงว่า ความมั่นคงนี้มุ่งคุ้มครองการรักษาความลับข้อมูล ความถูกต้องครบถ้วน (Intrigity) และสภาพพร้อมใช้งานของระบบเท่านั้น

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) แสดงความเห็นว่า ปัญหาใหญ่ของชุดกฎหมายนี้อยู่ที่วิธีคิดในการทำร่างกฎหมายนี้ หากจะทำเศรษฐกิจดิจิทัล แต่ไม่มาพร้อม open government เปิดให้มีปรึกษาหารือ จะเกิดปัญหาความไว้วางใจ โดยจากประสบการณ์ที่มีส่วนร่างกฎหมายทั้งในสภาเลือกตั้งและแต่งตั้ง รัฐบาลมักพยายามอธิบายว่าเส้นทางยังอีกไกล แต่ที่เคยทำมา เวลากฤษฎีกาพิจารณากฎหมายจะทำตามนโยบายรัฐบาล เพราะเป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐบาล หากมีข้อสังเกตในชั้น ครม. กฤษฎีกาจะนำไปพิจารณาด้วย

เขากล่าวต่อว่า แต่ชุดกฎหมายนี้ผ่านโดยไม่ได้ความเห็นจากหน่วยงานรัฐเลย และโดยธรรมชาติ กฤษฎีกาไม่ใช่เวทีเปิด สิ่งที่กฤษฎีกาจะทำต่อไปไม่ใช่เวทีรับฟังสาธารณะ ใครจะได้โอกาสไปชี้แจงบ้างไม่อาจทราบได้ เพราะฉะนั้น คนจะไม่มั่นใจในกระบวนการว่า กฤษฎีกาจะแก้กฎหมายในเรื่องใหญ่อย่างนโยบาย

สมเกียรติชี้ว่า จากการทำวิจัยเกี่ยวกับกฤษฎีกา กฤษฎีกามักบ่นปัญหาหนึ่งว่า หากรัฐบาลไม่มีทิศทางที่ชัด เช่น ยังมีข้อคิดที่ยังไม่ตกผลึก กฤษฎีกาจะแก้อย่างไร เพราะมีหน้าที่แก้ตามสิ่งที่รัฐบาลอยากจะเห็น เพราะฉะนั้น การส่งร่างกฎหมายให้กฤษฎีกาเป็นการสร้างภาระให้กฤษฎีกาเยอะมาก

ทั้งนี้ สมเกียรติ กล่าวถึงข้อเสนอต่อ สพธอ. และรัฐบาล ว่า ถ้าจะให้ร่างนี้เกิดปัญหาน้อยและกฎหมายออกมาใช้ได้จริง จะต้อง หนึ่ง รัฐมนตรีต้องทำหนังสือถึงกฤษฎีกาว่าพร้อมให้รับฟังความเห็นจากหน่วยงานอื่น ไม่เฉพาะตัวแทนรัฐบาล โดยอาจมอบหมายให้คนที่เห็นต่างกันมากๆ ส่งผู้แทนเข้าไปช่วยติดตาม นำเสนอความเห็นในชั้นกฤษฎีกา สอง เมื่อกฎหมายไปถึงสภาแล้ว สนช. ควรมีแนวว่าพร้อมจะรับเอาร่างคู่ขนานของภาคประชาสังคมไปประกอบการพิจารณาประกบร่างของรัฐบาล และให้โควต้ารัฐบาลในการพิจารณาชั้น กมธ.แก่คนที่เห็นต่างกับรัฐบาล รวมถึง สนช.เองรับจะเสนอชื่อคนเห็นต่างเข้าไปอยู่ในชั้นกมธ.ด้วย จะแก้ไขข้อผิดพลาดในกระบวนการก่อนหน้าให้เสียหายน้อยลง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images