Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live

‘จิตรา-เคท-ปิยฤดี’ ถก "ความอยุติธรรมสีขาว" เมื่อความไม่เป็นธรรมถูกทำให้เป็นเรื่องจำเป็น

$
0
0

25 มีนาคม 2558 เวลา 13:30 น. ณ ห้อง 803 ชั้น 8 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วิทยาลัยสหาวิทยาการ โครงการ PPE แบ-กบาล ครั้งที่ 5 จัดงานเสวนาเรื่อง “ความอยุติธรรมสีขาว” เมื่อความไม่เป็นธรรมถูกทำให้เป็นเรื่องจำเป็น ว่าด้วยเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ความเป็นเพศ และความเป็นธรรม 3 แบบ โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ดร.ปิยฤดี ไชยพร อาจารย์พิเศษ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จิตรา คชเดช นักกิจกรรมทางสังคมนักสหภาพแรงงาน และเคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

 

จิตรา ชี้ สิทธิเสรีภาพไม่ได้มีผู้หยิบยื่นให้ แต่เกิดจากการต่อสู่

เริ่มจาก จิตรา กล่าวถึง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้แรงงานในโรงงาน สิทธิเสรีภาพที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานงานไม่ได้เกิดขึ้นโดยมีผู้มาหยิบยื่นให้ ต้องต่อสู้กับอะไรหลายอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพ หากถามว่าปัจจุบันนี้มีสิทธิเสรีภาพเต็มที่หรือไม่ ตอบได้ว่ายังไม่มี แต่หากเปรียบเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาก็ถือว่ามีเพิ่มขึ้นมาบ้าง ผู้ใช้แรงงานต้องต่อสู้กับสิ่งหนึ่งคือวัฒนธรรม โดยความเชื่อที่ว่านายจ้างคือผู้มีพระคุณ ต้องต่อสู้กับรัฐที่บอกว่าต้องรักษานายจ้างไว้เพื่อให้มีการจ้างงาน ต้องต่อสู้กับเพื่อนร่วมงานที่บอกว่ามีงานทำก็ดีแล้ว อยู่กันอย่างนี้ดีกว่า และต้องต่อสู้กับตัวเองด้วยว่าถ้าเราอยากมีชีวิตที่ดีขึ้นเราจะต้องทำอย่างไร เพราะผู้คนรอบข้างนั้นไม่เห็นด้วย ในขณะเดียวกันก็ต้องต่อสู้กับชุมชน ชุมชนคิดว่าการที่มีโรงงานในชุมชนเป็นเรื่องที่ดี เพราะเขาคิดว่าการมีโรงงานในชุมชนจะทำให้มีงานทำ จะทำให้ชุมชนมีการพัฒนา

วัฒนธรรมที่ถูกปลูกฝังมาอย่างต่อเนื่องคือนายจ้างเป็นผู้มีพระคุณ ตนเองมีรากฐานมาจากเป็นคนในภาคกลางที่ที่บ้านทำนา แม่บอกว่าอยู่บ้าน ภาคกลางน้ำชอบท่วม เวลาหน้าน้ำ น้ำจะท่วมข้าว ทำให้เราทำนาไม่ได้ ก็ไม่มีเงิน แต่หากไปทำงานในโรงงาน ฝนตก แดดออก ก็ยังสามารถทำงานได้และยังได้เงิน เพราะฉะนั้นแม่จึงสอนว่าหากเกิดมาทำงานในโรงงานสิ่งที่สำคัญก็คือต้องเคารพนายจ้าง ซื่อสัตย์ ไม่ลักขโมย เพราะเขาเป็นผู้มีพระคุณ การสอนเหลล่านี้ทำให้ไม่กล้าที่จะรวมตัวต่อรอง เพราะว่านายจ้างคือผู้มีพระคุณ จะไปเป็นหุ้นส่วนไม่ได้ ในขณะเดียวกันนายจ้างก็มีฐานความคิดเช่นนี้เหมือนกัน เพราะเขาเห็นเราเป็นลูกจ้าง เขากดขี่เรา

จิตรา คชเดช

จิตรากล่าวต่อว่า รากฐานสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจแบบนั้น เกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อว่าการเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมจะนำไปสู่สิ่งที่ดี โฆษณาว่าหากพื้นที่แถบเรามีโรงงาน มีอุตสาหกรรม คนจะมีงานทำ คนมีงานทำจะทำให้เศรษฐกิจรอบข้างดีขึ้น โดยไม่บอกถึงผลเสียที่จะตามมา ไม่บอกว่าหากมีโรงงานแล้วจะมีน้ำเสีย มีโรงงานแล้วจะมีอากาศที่เป็นมลพิษ มีโรงงานแล้วคนจะถูกกดขี่จากการทำงานและทำให้ให้นายจ้างรวยขึ้น ไม่มีการโฆษณาด้านผลแบบนี้ เวลามีนายจ้างต่างประเทศอยากมาลงทุนในประเทศไทย สิ่งที่รัฐไปโฆษณากับนายจ้างคือบอกว่า เรามีแรงงานราคาถูก มีที่ดินราคาถูก จะไม่ให้เสียภาษี

ปัญหาต่างๆแท้จริงแล้วก็เหมือนกับการพูดซ้ำซาก ตนพูดมาอย่างยาวนานแล้วว่า ปัญหาที่มันเกิดขึ้นกับคนงาน คนจนเมือง ชาวไร่ชาวนา เกิดอะไรขึ้นบ้าง คิดว่าทุกเวทีถ้าพูดเรื่องสะท้อนปัญหาทุกคนจะรู้หมดว่ามันเกิดปัญหาอะไร ชาวนาเกิดปัญหาอะไร เป็นหนี้ธกส. ปัญหาพ่อค้าคนกลาง ชุมชนเมืองคือคนที่อพยพเข้ามาแล้วไม่มีที่อยู่อาศัยก็ต้องอยู่ในชุมชนที่แออัด งบประมาณในการพัฒนาชุมชนเมืองไม่มี ปัญหาโรงเรียนเด็กไม่ได้เรียน ปัญหาคนงานค่าจ้างไม่พอกับค่าครองชีพ ไม่มีสิทธิการรวมตัว ความปลอดภัยในการทำงานไม่มี ความมั่นคงในการทำงานไม่มี ปัญหาเหล่านี้คิดว่าทุกคนทราบอยู่แล้ว เราพูดกันแบบซ้ำซากมากและพูดกันมาตลอดแต่ไม่เคยได้รับการเหลียวแลหรือเข้ามาแก้ปัญหา ตนทำงานเคลื่อนไหวมา 20 ปี พูดเรื่องปัญหาเหล่านี้มากับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย จนมาถึงกระทั่งรัฐบาลชุดปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่หมดไป

 

ความยุติธรรมในสังคมก็คือประชาชนต้องมีส่วนร่วมในทุกมิติ

จิตรา กล่าวถึงทางออกของปัญหาเหล่านี้ว่า ทางออกของปัญหาในขบวนการแรงงานนั้นไม่มี แต่อาจจะได้สิทธิการรวมตัวตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ปี 2518 สังเกตว่ากฎหมายที่จะมีสิทธิเสรีภาพต้องเกิดจากยุคสมัยด้วย หากเกิดในช่วงรัฐประหาร เกิดในช่วงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เกิดในช่วงสถานะการทางการเมืองต่างๆ ตัวกฎหมายจะเป็นตัวชี้ว่าช่วงนั้นสถานการจะเป็นอย่างไร กฎหมายแรงงานที่ออกมาในช่วงปี 2518 ถือว่าเป็นช่วงที่ดีและสังคมไทยตอนนั้นเรียกว่าประชาธิปไตยเบิกบาน ก็มีกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ออกมา แต่ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา กฎหมายยังไม่เคยมีการเปลี่ยนเรื่องสิทธิการรวมตัว สิทธิการรวมตัวตอนนั้นของกฎหมาย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ปี 2518 เขียนไว้ชัดเจนในข้อกฎหมายว่า การที่มีสิทธิ์หยุดงานได้ ในภาวะที่ประกาศกฎอัยการศึก คนงานไม่มีสิทธิ์ และคนงานสามารถเข้าสู่กระบวนการทางศาล ซึ่งเป็นศาลแรงงาน ศาลแรงงานจะให้สิทธิ์ในเรื่องของมีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และก็รัฐ แต่ยังมีเงื่อนไขอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะว่ามีเงื่อนไขในเรื่องของการไกล่เกลี่ย การไกล่เกลี่ยคือหากเราทำงานกับนายจ้างนี้ไม่ได้ก็ให้รับเงินชดเชยแล้วออกจากงาน นี่คือสิ่งที่ทำลายสิทธิการรวมตัวได้

ทางออกอีกทางหนึ่งคือโครงสร้างที่เป็นธรรมในสังคม จะต้องมีในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม กระบวนการยุติธรรมจะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง กระบวนการยุติธรรมโดยหลักแล้วเรื่องสิทธิการประกันตัวก็สำคัญมาก ยกตัวอย่างของคนงาน การประกันตัวคนงานที่มีปัญหาขัดแย้งกับนายจ้างเช่น คนงานชุมนุมหน้าโรงงานแล้วนายจ้างนั้นแจ้งจับข้อหาบุกรุก ก็จะต้องมีเงินประกันตัวหนึ่งแสนบาท ลองคิดดุว่าคนงานทำงาน 1 ปี ยังไม่ได้เงินหนึ่งแสนบาทเลย เขาจะเอาเงินที่ไหนไปประกันตัว แต่ในขณะเดียวกันหากเราพูดถึงเงินหนึ่งแสนบาทกับคนที่มีฐานะที่ดีกว่าถือว่าเป็นเงินเล็กน้อยมาก ตัวลูกจ้างไปศาลหนึ่งวันเท่ากับขาดรายได้ แต่นายจ้างเขาสามารถมีตัวแทนหรือทนายไปศาลแทนได้ เรื่องการต่อสู้เมื่อใช้ระยะเวลายาวนานลูกจ้างจะสู้ต่อไม่ได้ก็ต้องยอมยุติกระบวนการในการไกล่เกลี่ยให้จบไป เฉะนั้นเรื่องสิทธิประกันตัว เรื่องของกระบวนการยุติธรรม การต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จะต้องมีการแก้ไข

เรื่องการตรวจสอบ การตรวจสอบในโครงสร้างของสังคม การตรวจสอบรัฐ การตรวจสอบผู้ใช้ภาษี ก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเราสามารถทำได้ เราก็จะมีการพัฒนาเป็นประเทศที่ดีได้ การปฏิรูปการศึกษา การเรียนฟรี การเข้าถึงสุขอนามัย เรื่องสิทธิเนื้อตัวร่างกาย เรื่องสิทธิการทำแท้งของผู้หญิง และสิทธิ์ของประชาชน การเกิดสิทธิ์ของประชาชน กฎหมายต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นมามาลอยๆ หรือว่ามีผู้เห็นใจและบอกว่าเอาสิทธินี้ไป กฎหมายทุกอย่างเกิดมาจากแรงกดดันของประชาชนเช่น กฎหมายประกันสังคม กว่าจะออกมาได้เกิดการต่อสู้เรียกร้องมากมายของผู้ใช้แรงงาน แต่ก็มีกฎหมายบางอย่างที่ประชาชนนั้นไม่ต้องการออกมาเช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.บ.ฉุกเฉิน  เหล่านี้ก็ออกมาได้โดยง่าย แต่กฎหมายที่จะให้ออกมาเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนก็ไม่ได้ผ่านออกมาง่ายๆ ต้องเกิดการต่อสู้เรียกร้องกัน

“สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้มีความยุติธรรมในสังคมก็คือประชาชนต้องมีส่วนร่วมในทุกมิติ ถ้าประชาชนไม่มีส่วนร่วมเลย ก็ไม่สามารถที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมที่ดีได้ คือถ้าจะต้องให้ใครคนใดคนหนึ่งมากำหนดกรอบให้ประชาชนอยู่ในกรอบนั้น มันก็ไม่สามารถที่จะนำไปสู่การที่จะทำให้คุณภาพชีวิตที่ดี แล้วข้อขัดแย้งหรือความขัดแย้งในสังคมมันก็ไม่ได้หมดไปเพราะประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วม” จิตรากล่าว

เคท ครั้งพิบูลย์

เพศถูกทำให้มาพร้อมกับความผิดบาป ความสกปรก

เคท กล่าวถึงประเด็นความเป็นธรรมเกี่ยวข้องอย่างไรในเรื่องของเพศว่า เมื่อใดก็ตามที่สังคมไทยพุดถึงเรื่องเพศ เราจะนึกถึงความผิดบาป นึกถึงความสกปรก ไม่ควรพูดในที่สาธารณะ ทั้งที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุยกันเพื่อทำความเข้าใจ สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้อิทธิพลความคิดในเรื่องเพศเกิดขึ้นมา ตนเชื่อว่าเพราะวัฒนธรรมความเป็นเพศถูกผุกขาดมาตั้งแต่ผู้ที่เป็นพ่อแม่ในสังคมระดับครอบครัว และถูกส่งผ่านมาในระดับโรงเรียน สิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าเรื่องเพศถูกสื่อความในทางที่แย่นั้นมีผลมาจากรัฐ เมื่อพูดถึงวิถีคิดเรื่องเพศของรัฐไทยพบว่านโยบายและกฎหมายต่างๆของรัฐไทย หรือเพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนไป มักจะยกในเรื่องของศีลธรรมเข้ามาตัดสิน โดยเชื่อว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนหากไม่พูดถึงเรื่องศีลธรรมไว้ก่อน จะทำให้เด็กและเยาวชนเสื่อมลงเพราะพูดเรื่องเพศมากเกินไป ดังนั้นจึงไม่มีการเปิดพื้นที่ให้พูดเรื่องเพศ เมื่อใดก็ตามที่พูดขึ้นมาก็จะถูกตักเตือนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดี

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของรัฐไทยที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ มีการใช้วัฒนธรรม อำนาจ ที่เรียกได้ว่าเป็นกลไกในการควบคุมจารีตประเพณีหรือว่าชุดความคิดต่างๆ ถูกส่งผ่านวาทกรรมหลากหลายช่องทางเพื่อที่จะควบคุมเรื่องเพศ ในรัฐสมัยใหม่ที่พยายามมุ่งเรื่องของอำนาจเข้ามาสู่ศูนย์กลางอีกครั้งหนึ่ง การบริหารอำนาจแบบศูนย์รวมอำนาจไว้ศูนย์กลางมีผลทำให้วิธีคิดของเพศกับรัฐถูกรวบรวม ถูกคิด ถูกออกแบบจากมาตรฐานเดียวกันจากส่วนกลาง สิ่งที่เกิดขึ้นคือการออกแบบเรื่องเศรษฐกิจ การศึกษา มันจะถูกส่งมาจากส่วนกลางเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดคือนอกจากสร้างมาตรฐานหรือเกณฑ์ของเศรษฐกิจและการศึกษามาจากรัฐส่วนกลาง รัฐพยายามทำในเรื่องของเพศไปด้วย ทั้งนี้รัฐไทยนำวิธีคิดเรื่องชนชั้นมาจัดการเรื่องเพศ เมื่อใดก็ตามที่พูดถึงเรื่องเพศ สิ่งนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าความเท่าเทียมทางเพศแท้ที่จริงแล้วมีเรื่องชนชั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง รวมไปถึงความมีอัตลักษณ์ทางเพศ และเรื่องต่างๆ จะมีเรื่องชนชั้นเข้ามาเป็นส่วนตััดในทุกๆเรื่อง ในประวัติศาสตร์เรื่องเพศของผู้หญิงและผู้ชายมักจะอยู่ในชนชั้นสูง ใครก็ตามที่อยู่ใกล้แหล่งอำนาจมักจะถูกควบคุมเรื่องเพศอย่างมากที่สุด เมื่ออยู่ใกล้แหล่งอำนาจมากที่สุดมันก็ถูกแพร่กระจายสู่ชนชั้นต่างๆ รับเอาวัฒนธรรมทางเพศแบบนั้นมา ซึ่งไม่น่าเชื่อว่านอกจากรูปแบบการใช้ชีวิต การพัฒนาตัวเอง การผลักดันตัวเองเพื่อให้ออกจากชนชั้นหนึ่งสู่อีกชนชั้นหนึ่ง เรื่องเพศก็เป็นเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าหนังสือสุขศึกษาที่พูดเรื่องเพศอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ยังพูดถึงเรื่องเพศบนฐานความคิดที่เชื่อว่าเพศไม่มีทางเท่าเทียม เรื่องเพศในสังคมไทยถูกกดขี่เอาไว้จากการเรียนรู้ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ แบบทางการคือการกระทำผ่านในโรงเรียน สถานศึกษา ส่วนไม่เป็นทางการคือไม่มีสิทธิ์พูดเรื่องเพศในพื้นที่สาธารณะ

การจะเข้าใจแก่นแท้ของอำนาจที่รัฐเข้ามาจัดการควบคุมเรื่องเพศ พร้อมทั้งยังสร้างกฎกติกาให้ทำตาม หากทำตามจะได้รับรางวัล หากไม่ทำตามก็จะถูกลงโทษ ในกรณีเบื้องต้นอยากนำเสนอให้เห็นว่าที่มาของการกดขี่เรื่องเพศในเมืองไทย มีที่มาจากเรื่องของชนชั้นทางสังคมและการกระทำของรัฐเป็นหลัก

สังคมไทยแบ่งกล่องทางเพศไว้อย่างชัดเจน

ส่วนของความหลากหลายทางเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ในสังคมไทยยังให้ค่า ให้ราคา กับการพูดเรื่องนี้ต่ำมาก เรื่องของเพศสภาพ เพศวิถี ในบ้านเราถูกพูดมาอย่างยาวนานและต่อสู้เริ่มต้นมาจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หญิง ต่อมาสถานการณ์ทางสังคมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพบปัญหาว่าคนที่มีความหลากหลายทางเพศในบ้านเราก็ยังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่าเป็นปัญหาและการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม ในส่วนนี้เองที่เป็นปัญหาว่าทำไมจึงต้องมาพูดกันถึงเรื่องนี้ ข้อจำกัดและสภาพปัญหาของความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของสังคมที่วางไว้ จะเห็นว่าสังคมไทยแบ่งกล่องทางเพศไว้อย่างชัดเจนก็คือ กล่องความเป็นชาย กล่องความเป็นหญิง และเมื่อใดก็ตามที่ใครคนหนึ่งก้าวออกมาจากกรอบที่สังคมวางไว้ มักจะได้รับการตั้งคำถามแล้วไม่ได้รับความสนใจจากสังคม

เคทเล่าต่อว่า ในประเด็นของผู้ที่เป็นสาวประเภทสองมันมีอัตลักษณ์ทางเพศที่ชัดเจน และแสดงออกให้เห็นว่ามีการข้ามกรอบทางเพศมาอย่างชัดเจน ผู้ข้ามเพศในสังคมไทยยังประสบปัญหาเรื่องสิทธิการระบุตัวตนเช่น คำนำหน้านาม สิ่งนี้ผู้ข้ามเพศยังไม่ได้รับการรับรองจากรัฐ ต่อมาคือเรื่องของการแต่งกาย ที่ถูกควบคุมมาตั้งแต่การเป็นนักเรียน ในเครื่องแบบนักเรียน นักศึกษา รวมไปถึงการรับปริญญาและการฝึกงาน ส่วนนี้จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งเพศอย่างชัดเจนในเครื่องแบบ ดังนั้นมันจึงย้อนรอยไปว่าสิ่งที่เราปลูกฝังในเรื่องความเป็นเพศ มันถูกปลูกฝังอย่างใกล้ชิด ไม่ละมือที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้เป็นไปตามที่รัฐต้องการ

สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อพูดถึงความยุติธรรมในส่วนของสาวประเภทสองในบ้านเราก็คือเรื่องการรับราชการทหาร ที่ผ่านมามีกรณีการฟ้องร้องปี 2549 ในเรื่องของการถูกระบุในใบ สด.43 ว่าผู้ที่เป็นสาวประเภทสองจะได้รับการระบุในใบ สด.43 ว่าเป็นโรคจิตวิตถาร โรคจิตถาวร ซึ่งในบางคนต้องใช้ใบนี้ในการสมัครงานว่าผ่านการเกณ์ทหารแล้ว แต่เมื่อในใบถูกระบุแบบนั้นถามว่าใครจะรับเข้าทำงาน เกณฑ์อะไรที่นำมาตัดสินว่าผู้ที่เป็นสาวประเภทสองเป็นโรคจิต ต่อมาปี 2555 ศาลปกครองได้ตัดสินว่าสิ่งที่กระทรวงกลาโหมเขียนไปต้องเปลี่ยนระเบียบกระทรวง และต้องแก้ไขใหม่ว่าเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด หลังจากนั้นมาสาวประเพศสองที่เข้ารับการเกณฑ์ทหารจะได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีเปรียบเสมือนดั่งผู้หญิงคนหนึ่ง

ต่อมาเรื่องของสิทธิการรับบริการสาธารณะ จะเห็นว่ามีปัญหาในส่วนของบริการสาธารณะหลายอย่างเช่น การไปโรงพยาบาล (ให้รวมสาวประเพศสองไว้ในห้องพักของผู้ชาย) การไม่รับบริจาคเลือด รวมถึงการห้ามใช้บริการสถานบันเทิงบางแห่ง สิ่งเหล่านี้เป็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่ทำให้เห็นว่าการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอัตลักษณ์ทางเพศและเหตุของความเป็นเพศมันยังมีอยู่จริง การตัดสินใจว่าจะปฏิบัติกับคนอย่างไร ในสังคมไทยนอกเหนือจากการดูสถานะทางสังคมแล้วยังดูเรื่องของเพศอีกด้วย เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าอคติทางเพศยังมีอยู่จริงในสังคมไทย การที่คนที่มีความหลากหลายทางเพศจะลุกขึ้นมาพูดเรื่องของตัวเองอาจไม่ง่ายนัก หากจะขับเคลื่อนกฎหมายเรื่องเพศจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

ปิยฤดี ไชยพร

ความเข้าใจในเรื่องความเป็นธรรม 3 แบบ

ปิยฤดี กล่าวถึงความเป็นธรรมว่า ความเข้าใจในเรื่องความเป็นธรรม หากพูดถึงคำว่าความเป็นธรรมนั้นสามารถพูดถึงได้สามแบบ แบบแรกคือการปฏิบัติอย่างความเป็นธรรม หมายถึงการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน จะใช้ในกรณีเมื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นสิทธิ เสรีภาพพื้นฐาน เสรีภาพพื้นฐานของพลเมืองที่คนทุกคนที่เป็นพลเมืองจะต้องได้รับสิ่งนี้เท่ากัน เหมือนกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ หากคนหนึ่งได้ทุกคนก็ต้องได้

แบบที่สองคือ การปฏิบัติอย่างไม่เท่ากันแต่ได้รับความเป็นธรรม มีบางกรณีที่คนบางคนได้รับอะไรบางอย่างมากมันชอบธรรมที่คนบางคนจะได้รับในสิ่งเดียวกันนั้นน้อยกว่า มันเอื้อให้สามารถที่จะชอบธรรมได้ ในบริบทของตลาดเสรีหรือตลาดที่เป็นทุนนิยม คนจะมีขีดความสามารถไม่เท่ากัน ฉะนั้นในที่สุดแล้วอาจจะลงเอยด้วยชุดของสิ่งที่เขาถือครองอยู่ เช่น รายได้ ความมั่งคั่ง โอกาส ซึ่งบางคนมีมากน้อยไม่เท่ากัน ในกรณีนี้ความเป็นธรรมสามารถจะมีความหมายว่าคนบางคนจะมีเยอะมากได้ คนบางคนมีน้อยกว่าได้ แต่ในภาพรวมแล้วการที่คนมีเยอะกว่าจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ลงมาสู่คนที่มีน้อยกว่า เมื่ออยู่สูงจะต้องสามารถช่วยดึงคนข้างล่างขึ้นมาข้างบนได้ สังคมจะได้เติบโตไปด้วยกัน สิ่งที่สำคัญคือคนในสังคมต้องทำการตกลงกันว่าจะยอมให้ไม่เท่าได้แค่ไหน และไม่เท่าในเรื่องไหนได้บ้าง

แบบที่สามคือการปฏิบัติพิเศษ หมายถึง สิ่งที่คนบางคนอาจจะไม่ต้องมีมาก บางคนมีมากเป็นพิเศษและต้องการสิ่งนั้นมากกว่าคนอื่น ความเป็นธรรมในแบบที่สามนี้เป็นความหมายที่ต้องใช้ความรอบคอบมาก และต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและสถิติ เวลาใช้ความหมายของความเป็นธรรมในข้อที่สามคือ คนบางคนต้องได้มากกว่าคนอื่น เพราะเขามีความต้องการมากเป็นพิเศษ ตรงนี้ต้องใช้ความรอบคอบ เพราะบางทีถูกเอาไปใช้มั่วในทางที่เอื้อประโยชน์กับคนบางกลุ่มทางการเมือง แทนที่จะใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แท้จริงคือเพื่อสร้างความเป็นธรรม ฉะนั้นการให้ประโยชน์พิเศษจึงเป็นดาบสองคม หากจะเรียกร้องความเป็นธรรมจากความหมายนี้ จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากที่สุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

21 ลูกเรือประมงไทยในอินโดฯ กลับถึงไทยแล้ว

$
0
0
ลูกเรือประมงไทย 21 คนที่ตกค้างบนเกาะอัมบนของอินโดนีเซีย เดินทางกลับถึงไทยแล้ว หลังได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย และ 1 เม.ย.นี้จะมีแรงงานไทยที่ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเพิ่มอีก 6 คน ด้าน 'ฐปณีย์' โพสต์เฟซบุ๊กขอบคุณทุกฝ่าย 

 
28 มี.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่าที่ท่าอากาศยานดอนเมือง กลุ่มลูกเรือประมงไทยที่ตกค้างบนเกาะอัมบน ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 21 คน เดินทางกลับถึงไทยโดยสายการบินแอร์เอเชีย เที่ยวบิน QZ252 เมื่อเวลา 20.15 น. หลังได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย โดยมีผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ รวมถึงครอบครัวและญาติของกลุ่มลูกเรือที่มารอรับ
 
แรงงานทั้งหมดนี้เคยถูกกลุ่มนายหน้าหลอกไปขึ้นเรือประมงที่ จ.สมุทรสาคร โดยเสนอค่าจ้างเป็นเงินจำนวนมาก แลกกับทำงานบนเรือประมง จะถูกส่งไปบนเรือประมงในน่านน้ำเกาะอัมบน และถูกใช้แรงงานอย่างหนัก จนสามารถหลบหนีมาขอความช่วยเหลือได้
 
สำหรับการช่วยเหลือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จะนำตัวผู้เสียหายมาดูแลเพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสอบปากคำ ช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย และคัดกรองบุคคลเข้าเมือง เนื่องจากผู้เสียหายทั้งหมดไม่มีเอกสารประจำตัว โดยจะดำเนินการคัดแยกผู้เสียหาย พร้อมทั้งส่งตัวเข้ารับการคุ้มครองชั่วคราวที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ (ชาย) จังหวัดปทุมธานี เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากลูกเรือประมงไทยทั้งหมดที่ได้รับการช่วยเหลือ และติดตามให้การช่วยเหลือในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งดูแลเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์ให้กับผู้เสียหายก่อนส่งตัวกลับภูมิลำเนา และจะติดตามดูแลครอบครัวตามภูมิลำเนาเดิมของลูกเรือประมงไทยทั้ง 21 คน เพื่อจะได้ช่วยเหลือครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
 
ขณะที่นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ทางการไทยได้ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย เพื่อช่วยเหลือแรงงานไทย โดยในวันที่ 1 เมษายนนี้ จะมีแรงงานไทยที่ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเพิ่มอีก 6 คน ส่วนแรงงานที่อยู่ในเกาะเบจินา 5 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติจากตรวจคนเข้าเมืองอินโดนีเซีย คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถช่วยเหลือกลับไทยได้ ขณะนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้ช่วยเหลือและส่งลูกเรือประมงไทยที่สมัครใจกลับไทยแล้ว 169 คน แต่ยังไม่ทราบตัวเลขของแรงงานตกค้างที่แน่ชัด เพราะอยู่ระหว่างการพิสูจน์สัญชาติ
 
วันเดียวกันนี้ (28 มี.ค.) ฐปนีย์ เอียดศรีไชย ได้โพสต์ในเฟซบุ๊คส่วนตัว ขอบคุณทุกฝ่าย โดยระบุว่า
 
สำหรับคนทำข่าว เป้าหมายในการตีแผ่ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็เพื่อให้สังคมรับรู้ ตื่นตัว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ต่างจาก Ngo อย่างมูลนิธิ LPN ทำงานรวบรวมข้อมูลต่างๆก็เพื่อให้ภาครัฐมาแก้ไขร่วมกัน
 
ดีใจค่ะที่ภาพวันนี้มาถึง ชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานไทยในอินโดนีเซีย สถานทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา สถานทูตอินโดนีเซียประจำกรุงเทพ ประชุมร่วมกับ ผู้กำกับการสถานีตำรวจเกาะอัมบน เพื่อวางแนวทางช่วยเหลือ ทั้งลูกเรือที่เป็น คนตกเรือ คนผี คนเร่ร่อน ลูกเรือที่อยู่บนเรือและต้องการกลับประเทศไทย รวมทั้งการตรวจสอบศพนิรนามที่ต้องสงสัยว่าเป็นศพคนไทย
 
ขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ,พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ,พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม.,กระทรงการต่างประเทศ ท่านทูตภาสกร ทูตไทย ณ.กรุงจาการ์ตา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ
 
 
 
 

สำหรับคนทำข่าว เป้าหมายในการตีแผ่ข้อเท็จจริงต่างๆ ก็เพื่อให้สังคมรับรู้ ตื่นตัว และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี...

Posted by Thapanee Ietsrichai on 28 มีนาคม 2015

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ปณิธาน' เผยหารือใช้ ม.44 ตั้งแต่ต้นปี ด้าน ปชป.-พท. ระบุหนักกว่าอัยการศึก

$
0
0
"ปณิธาน วัฒนายากร" ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เผยรัฐบาลเตรียมนำ ม.44 มาใช้ตั้งแต่ต้นปี แต่มีเหตุระเบิดก่อน ด้าน ปชป.-พท. ประสานเสียง ม.44 แรงกว่ากฎอัยการศึก สั่งประหารชีวิตได้

 
28 มี.ค. 2558 เว็บไซต์แนวหน้ารายงานว่านายปณิธาน วัฒนายากร ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เปิดเผยถึง แนวคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการใช้ มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวแทนกฏอัยการศึกว่า คสช. ได้มีการหารือกันตั้งแต่ต้นปี 2558 แต่ปรากฏว่าในเวลาดังกล่าวเกิดเหตุระเบิดซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองขึ้น จึงต้องใช้กฏอัยการศึกไปก่อน อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลเห็นว่าขณะนี้ถึงเวลาที่ต้องเปิดพื้นที่การแสดงออกทางการเมืองมากขึ้นจึงเห็นควรนำมาตรา 44 มาใช้แทนได้ เพราะคิดว่าเป็นแนวทางที่ดีกว่าหลายด้าน
 
"ต้องรอดูว่าเมื่อใช้มาตรา 44 แทนกฏอัยการศึกจะมีการร่างระเบียบหรือออกเป็นประกาศของ คสช.อย่างไรในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเพราะในมาตรา 44 จำเป็นต้องมีระเบียบหรือประกาศเพิ่มเติมเนื่องจากไม่ครอบคลุมเหมือนกฏอัยการศึก ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการใช้มาตรา 44 ให้มีประสิทธิภาพต้องมีความรัดกุม  ผมคิดว่า คสช.คงมอบหมายให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฏหมายเป็นผู้ดูแล" นายปณิธาน กล่าว
 
นายปณิธานกล่าวด้วยว่ายอมรับว่า 2 ปัจจัยหลักมีความสำคัญต่อการตัดสินใจยกเลิกกฏอัยการศึก คือ 1.แรงกดดันจากกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมือง และ  2.แรงกดดันจากต่างชาติ  แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อมีการยกเลิกกฏอัยการศึกแล้ว ต่างชาติจะลดการกดดันไทยหรือไม่ เพราะหากยังมีการกดดันอยู่ก็เท่ากับว่า ต่างชาติ เช่น สหรัฐฯและองค์กรอื่นๆ ต้องการให้รัฐบาลคืนอำนาจแก่ประชาชนสถานเดียว
 
 
ปชป.-พท. ประสานเสียงม.44 แย่กว่ากฎอัยการศึก
 
ด้าน ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่านายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีจะยกเลิกกฎอัยการศึก แล้วใช้มาตรา 44 แทน ว่า กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีมา 101 ปี เป็นของเก่า แต่มาตรา 44 เราไม่ค่อยใช้ แต่มีศักดิ์สูงกว่ากฎอัยการศึก เพราะออกโดยรัฐธรรมนูญ และมาตรา 44 ก็เหมือนมาตรา 17 ที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร เคยใช้มาแล้ว ซึ่งอำนาจเหล่านี้เขาใช้ในเวลาบ้านเมืองไม่ปกติ และอำนาจของมาตรา 44 มีมากกว่ากฎอัยการศึก เพราะสามารถตัดสินจำคุกสั่งประหารชีวิตได้ มีผลเหมือนคำพิพากษาของศาล โดยไม่ต้องขึ้นศาล แต่กฎอัยการศึกตัดสินจำคุกใครไม่ได้ เพียงแต่ควบคุมตัวไว้ชั่วคราวโดยไม่ต้องมีหมายศาล ซึ่งกฎอัยการศึกต่างชาติไม่เข้าใจ และรังเกลียด เมื่อคนไทยผสมโรงเข้าไปด้วยก็ทำให้เกิดปัญหา แต่มาตรา44 ถ้าจะใช้ต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันของ คสช.
       
“ส่วนตัวผมอยากอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกมากกว่ามาตรา 44 และคนไทยส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่าไม่ได้รับผลกระทบอะไรกับกฎอัยการศึก แต่รู้สึกปลอดภัยเสียด้วยซ้ำ กฎอัยการศึกทหารเป็นคนใช้ นายกฯไม่มีอำนาจในการใช้ ดังนั้น หากใช้ไม่รอบคอบทหารควรถูกตำหนิ แต่เราไม่ค่อยรู้จึงตำหนินายกฯไว้ก่อน เพราะนายกฯก็เป็นผู้บังคับบัญชาทหารอีกทีหนึ่ง เคยอ่านข่าวไหมครับ ทหารใช้กฎอัยการศึกจับคนเล่นการพนันในงานศพ ผมรับรองว่า นายกฯไม่สั่งให้จับแน่นอน หากจะยกเลิกกฎอัยการศึก ผมจึงคิดว่า ต้องมีกฎ ระเบียบ คำสั่ง ตามมาตรา 44 ออกมารองรับเสียก่อน เพราะยากที่พล.อ.ประยุทธ์ จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพรียวๆ โดยไม่นำมาดัดแปลงเป็นคำสั่งอะไรรองรับเสียก่อน และหากออกคำสั่งมารองรับไม่รอบคอบ และมีผู้ไม่หวังดี ก็อาจแก้สถานการณ์ฉุกเฉินไม่ทัน ก็ยุ่งเหมือนกัน”
       
นายนิพิฎฐ์ กล่าวว่า เมื่อบ้านเมืองปกติแล้วถ้าจะยกเลิกคำสั่งตามมาตรา 44 ต้องออกเป็นพ.ร.บ.ยกเลิกเท่านั้น เพราะมาตรา 44 มีศักดิ์เป็นกฎหมาย หากจะยกเลิกก็ต้องยกเลิกด้วยกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนยุ่งยาก ดังนั้นมาตรา 44 จึงมีอำนาจเด็ดขาด รุนแรง กว่ากฎอัยการศึก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนไม่เข้าใจมากกว่า
       
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า กฎอัยการศึกมีกรอบที่ชัดเจน แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 44 หากออกมาแล้วใช้เกินขอบเขต ก็จะหนักกว่ากฎอัยการศึก ซึ่งความจริงแล้ว กฎอัยการศึกนั้นคนบริสุทธิ์จะไม่กระทบ จะกระทบเฉพาะคนคิดร้าย เว้นแต่จะออกมาตรา 44 มาเพื่อแทนกฎอัยการศึก และมีเนื้อหานุ่มนวลกว่าก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ต้องดูว่ามุมที่จะใช้มาตรา 44 คืออะไร ต้องให้ผู้มีอำนาจแถลงให้ชัดเจนว่าประสงค์จะใช้มาตรา 44 แค่ไหนเพียงใด
       
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า มาตรา 44 หากนำมาใช้จะแย่กว่าการใช้กฎอัยการศึก เพราะเป็นกฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรมเป็นการให้อำนาจหัวหน้า คสช.ทำการใดๆ ได้ทั้งหมด เหมือนสมัยก่อนที่มีมาตรา 17 มาตรา 21 ที่นำคนไปยิงเป้าโดยคำสั่งของคนคนเดียวไม่ต้องผ่ายอัยการ ผ่านศาลซึ่งมาตรา 44 เป็นบทบัญญัติทำนองเดียวกัน
       
“การนำมาตรา 44 มาใช้ยิ่งกว่ากฎอัยการศึกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะนำมาใช้อย่างไรหากยกเลิกกฎอัยการศึก แต่นำมาตรา 44 มา โดยมีผลอย่างเดียวกับกฎอัยการศึกก็ไม่ได้ช่วยอะไร คุณจะเรียกกฎอัยการศึก หรือกฎของฉันมันก็ค่าเท่ากัน อาจตบตาต่างประเทศได้ช่วงสั้น ๆ ว่า เราไม่ใช้กฎอัยการศึกแล้ว แต่มาตรา 44 จะใช้ไปในทางที่แย่กว่ากฎอัยการศึกเสียอีกผมไม่เห็นด้วยที่ต้องประกาศกฎอัยการศึกในช่วงนี้ และไม่เห็นด้วยที่จะต้องมีการใช้มาตรการตามมาตร 44 ขึ้นมาแทน เพราะไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ หากกฎอัยการศึกมีปัญหาก็ยกเลิก ถ้าเกิดปัญหาอีกก็ประกาศขึ้นมาใช้ใหม่ได้แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม”
       
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า หากยกเลิกกฎอัยการศึกหรือไม่ใช้มาตรา 44 พรรคเพื่อไทยและมวลชนคนเสื้อแดง จะออกมาเคลื่อนไหวหรือไม่นั้นมองว่า การที่คนจะแสดงความเห็นเป็นเสรีภาพ เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ใช่ว่า คนในประเทศไทยต้องปิดปากเงียบ หากจะให้รัฐบาลแสดงความเห็นอยู่ฝ่ายเดียวก็คงไม่ใช่การแสดงความเห็นในกรอบกฎหมายไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การปิดกั้นคนแสดงความเห็นในกรอบกฎหมายจะเป็นปัญหามากกว่าแต่หากใครใช้สิทธิเสรีภาพเกินกรอบกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินคดีรัฐบาลมีอำนาจดำเนินคดีอยู่แล้ว ส่วนพรรคการเมืองถ้าจะใช้สิทธิอะไรก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย
       
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่าการที่นายกฯมีความคิดยกเลิกกฎอัยการศึก มีข้อดีคือเป็นการแสดงความเข้าใจหรือยอมรับผลเสียต่อการใช้กฎอัยการศึก เนื่องจากการใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศมีผลต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชน ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะการสอบสวน และมีผลต่อภาพลักษณ์ของการยอมรับในต่างประเทศ เนื่องจากมีข้อเสียหลายด้าน แต่ไม่แน่ใจว่าการยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วใช้มาตรา 44 แทนเพื่อแก้ปัญหาทั้งหมดหรือจะแก้ปัญหาเฉพาะภาพพจน์ ถ้าคิดจะแก้แค่ปัญหาภาพพจน์ในการไม่ยอมรับกฎอัยการศึก แต่ยังคงจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน อย่างเดียวกับที่ใช้กฎอัยการศึกก็ไม่มีประโยชน์ เพราะปัญหาเดิมๆยังอยู่
       
ขณะเดียวกัน นอกจากจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาภาพพจน์ได้แล้ว จะเพิ่มปัญหามากยิ่งขึ้นด้วย ทำให้ถูกสังคมโลกมองว่าประเทศไทยกำลังใช้ระบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมาตรา 44 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจคสช. และคณะคสช.ที่มีอำนาจยับยั้ง หรือสั่งการให้กระทำใดๆ ทั้งในทางฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ซึ่งเท่ากับมีอำนาจเหนือธิปไตย 3 ฝ่ายอย่างเด็ดขาด ซึ่งขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่ผู้มีอำนาจจะใช้อำนาจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด แต่มาตรา 44 กลับกำหนดให้ผู้ที่มีอำนาจใช้อำนาจได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล เป็นระบบที่นานาประเทศจะยิ่งไม่ยอมรับ ขณะนี้ตนนึกไม่ออกว่า จะใช้มาตรา 44 ออกเป็นคำสั่งอย่างไร เพราะถ้าใช้แล้วยังจำกัดสิทธิเสรีภาพ เหมือนกฎอัยการศึกก็ป่วยการ แต่ถ้าเบากว่ากฎอัยการศึกก็ไม่เห็นความจำเป็น เพราะว่ามีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. พ.ศ.2551 และพ.ร.ก.พระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้ใช้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าที่ผ่านมากฎหมาย 2 ฉบับนี้ใช้ไม่ได้ผล เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายหรือผู้ตีความเลือกปฏิบัติและทำให้กฎหมาย 2 ฉบับนี้เสียไป ทั้งที่ตัวกฎหมายอาจไม่มีปัญหามาก เท่ากับบังคับใช้กฎหมาย
       
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า การเขียนคำสั่งของคสช.ขอให้เขียนเนื้อหาให้ชัดเจน ไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ไม่นำไปใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวน ต้องคำนึกถึงผลกระทบที่ขบวนการยุติธรรมปกติ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ว่า ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 อยู่ดี เพราะกฎหมายอื่นก็มีอยู่แล้ว แลโอกาสที่จะทำให้เกิดการไม่ยอมรับการใช้มาตรา 44 ก็มีสูงมาก เพราะมาตรา 44 ร้ายแรงยิ่งกว่ากฎอัยการศึก ขัดต่อหลักนิติธรรม นิติรัฐ กลายเป็นการใช้อำนาจของกลุ่มบุคคล หรือคณะบุคคลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นคำสั่งอย่างไร ซึ่งต้องดูฝีมือเนติบริกร ว่าจะคิดประดิษฐ์วิธีการอย่างไร เพราะอาจจะคิดออกมาแล้วเบามาก จนดูเหมือนว่าไม่มีผลอะไรในทางปฏิบัติก็ได้ คงต้องไปดูว่าการใช้มาตรา 44 มีวัตถุประสงค์อย่างไร มีหลักคิดอย่างไร สำคัญตรงนั้นมากกว่า ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นกลายงูกินหาง
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดชีวิตชาวเกาหลีเหนือที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จในเกาหลีใต้

$
0
0

สำหรับชาวเกาหลีเหนือผู้หลบหนีออกจากประเทศตนเองไปยังเกาหลีใต้ เป็นเพียงการเปิดบทใหม่ของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น หลายคนอาจจะเลือกเดินทางต่อไปยังประเทศอื่น แต่ก็มีอยู่ไม่กี่คนที่ปักหลักในเกาหลีใต้จนประสบความสำเร็จเช่นกรณีของคิมแดซุง ผู้ต้องการช่วยเหลือผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือรายอื่นๆ ด้วย


27 มี.ค. 2558 สำนักข่าวโกลบอลโพสต์รายงานเกี่ยวกับชายชาวเกาหลีเหนือชื่อคิมแดซุง ผู้อพยพหลบหนีจากประเทศเผด็จการที่ตนอยู่ไปสู่ประเทศเกาหลีใต้ แล้วสามารถดำเนินธุรกิจจนสำเร็จได้

นับตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษที่ 1990 มีผู้อพยพออกจากเกาหลีเหนือหลายคนข้ามแม่น้ำไปสู่ประเทศจีน หลายคนใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ ด้วยการเป็นชาวนาและเป็นคนงานก่อสร้าง บ้างก็ถูกส่งตัวกลับประเทศเกาหลีเหนือจนต้องถูกจองจำและทารุณกรรม บางคนถูกลอบส่งตัวไปยังมองโกเลียและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้พวกเขาขอพักพิงกับสถานกงสุลเกาหลีใต้ในประเทศเหล่านั้นได้ แต่เมื่อพวกเขาได้เข้าไปในเกาหลีใต้แล้วก็ยังต้องเผชิญกับการเหยียดแบบเหมารวมและความยากลำบากจากการทำงานในโรงงานหรือในฟาร์ม

อย่างไรก็ตามมีชาวเกาหลีเหนือคนหนึ่งชื่อคิมแดซุง อายุ 43 ปี เป็นชาวเกาหลีเหนือน้อยคนที่สามารถทำธุรกิจของตนเองในเกาหลีใต้แล้วประสบความสำเร็จ เขาเป็นเจ้าของบริษัทผลิตหมวกเบสบอลและสินค้าอุปโภคอื่นๆ นอกจากนี้คิมแดซุงยังเปิดเผยว่าเขาต้องการช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยการเปิดสถาบันทางการเงินเล็กๆ เพื่อช่วยเหลือชาวเกาหลีเหนือผู้อยู่กับความยากจนมานาน

ก่อนหน้านี้ในปี 2551 คิมแดจุงได้ตั้งสถาบันชื่อ คณะทำงานเพื่อผู้ลี้ภัยเกาหลีเหนือ (Working North Korea Refugees) ซึ่งสามารถให้เงินกู้ยืมแก่ธุรกิจต่างๆ ได้โดยเฉลี่ยแหล่งละ 45,000 ดอลลาร์ พวกเขาสนับสนุนทั้งผู้ที่ต้องการเปิดร้านขายของชำ บริษัทพลาสติก หรือศูนย์การแพทย์แผนตะวันออก คิมแดซุงบอกว่ามีช่องว่างต่างกันมากระหว่างชาวเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ชาวเกาหลีเหนือมักจะไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี และมีชาวเกาหลีเหนือราวร้อยละ 3 เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ

คิมแดซุงเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจเปิดธุรกิจในเกาหลีใต้ว่าเนื่องจากเขาเรียนรู้มาตลอดว่าถ้าไม่ขายของก็จะอดตาย เขาเล่าว่าช่วงวัยรุ่นเขาเคยต้องขายบุหรี่และเหล้ามาก่อนเพราะไม่ได้รับส่วนแบ่งอาหารมากพอซึ่งในตอนนั้นชาวเกาหลีเหนือมีความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากทำให้พวกเขาได้ปลดปล่อยจากความรู้สึกทุกข์ยาก

คิมแดซุงเล่าว่าหลังจากที่แม่ของเขาเสียชีวิตในปี 2540 แล้วถูกทิ้งศพกองไว้ที่สถานีรถไฟในท้องถิ่นเขาก็ตัดสินใจหนีข้ามแม่น้ำไปจีน เขาเดินทางต่อไปไทย และเข้าไปถึงเกาหลีใต้ได้ในปี 2543 ความอดอยากคร่าชีวิตชาวเกาหลีเหนือไปหลายแสนคนจนทำให้เกิดตลาดมืดขึ้นมา และการค้าในตลาดมืดนี่เองที่ทำให้ชาวเกาหลีเหนือบางคนค้าขายเป็น เนื่องจากในเกาหลีเหนือมีการสั่งห้ามเป็นเจ้าของบริษัทจึงมีแต่ผู้ที่ค้าขายได้ในตลาดมืดเท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ยังมีชาวเกาหลีเหนือที่หลบหนีจากประเทศบางคนหากินด้วยการค้าเถื่อน ใกล้กับชายแดนจีน

แดเนียล ทิวดอร์ ผู้ร่วมเขียนหนังสือเรื่อง "North Korea Confidential: Private Markets, Fashion Trends, Prison Camps, Dissenters and Defectors" ระบุว่ามีคนค้าข้าวที่คอยฟังวิทยุต่างประเทศว่ามีเรือขนส่งให้ความช่วยเหลือเข้าเทียบท่าหรือยัง เมื่อเรือเข้าเทียบท่าแล้วเขาจะรีบไปขายข้าวให้ได้เร็วที่สุดก่อนที่ราคาจะตก เรื่องนี้ทำให้พวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับโลกของทุนนิยม

คิมแดซุงบอกว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือเสรีภาพในการจะทำสิ่งต่างๆ เสรีภาพในการใช้ชีวิตของตัวเอง แต่ชาวเกาหลีเหนือไม่มีสิ่งเหล่านี้เพราะเกาหลีเหนือเป็นสังคมปิด แต่การที่พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องเสรีภาพในเกาหลีใต้ทำให้พวกเขาพัฒนาขึ้น

 

เรียบเรียงจาก

This North Korean is getting rich off capitalism, Globalpost, 26-03-2015
http://www.globalpost.com/article/6502237/2015/03/25/north-korean-getting-rich-capitalism

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยิ่งลักษณ์ชี้แจงหลัง พล.อ.ประยุทธ์พาดพิงว่ารัฐบาลก่อนไม่แก้ปัญหาค้ามนุษย์

$
0
0

กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พาดพิงว่ารัฐบาลก่อนไม่แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ "แต่วันนี้รัฐบาลนี้กำลังแก้ทุกอย่าง" ล่าสุด 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' ชี้แจงว่าได้ผลักดันแก้ไขมาตลอด จนไทยไม่ถูกจัดอันดับไปอยู่บัญชี 3 พร้อมแนะว่าจุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ปัญหาคือยอมรับการมีอยู่ของปัญหา เพื่อที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่ท้าทายระดับนานาชาติต่อไป

28 มี.ค. 2558 - กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ต่อกรณีลูกเรือประมงไทยถูกควบคุมตัวในประเทศอินโดนีเซีย และเหยื่อการค้ามนุษย์ในกิจการประมง โดย พล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่า "รัฐบาลที่ผ่านมาไม่เคยทำ แต่วันนี้รัฐบาลนี้กำลังแก้ทุกอย่าง" นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ล่าสุด วันนี้ (28 มี.ค.) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในเฟซบุ๊คเพจ Yingluck Shinawatraยืนยันว่าได้ผลักดันการแก้ปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด และในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการถูกลดระดับเป็นกลุ่มที่ 3 ของบัญชีการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอแผนเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ยิ่งลักษณ์แนะนำด้วยว่าให้จุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ปัญหาคือยอมรับการมีอยู่ของปัญหา เพื่อที่จะร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหาที่ท้าทายระดับนานาชาตินี้ต่อไป โดยคำชี้แจงมีรายละเอียดดังนี้

000

ที่มาของภาพ: เพจ Yingluck Shinawatra

"สืบเนื่องจากการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกรณีการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ที่ระบุว่า “รัฐบาลที่ผ่านมาไม่เคยทำ แต่วันนี้รัฐบาลกำลังแก้ทุกอย่าง” ซึ่งเกรงว่าอาจจะเป็นความเข้าใจผิดอันเนื่องมาจากการที่ท่านมีภารกิจมากจนไม่ได้มีเวลาหรือเจ้าหน้าที่ยังไม่มีโอกาสเรียนชี้แจงให้ท่านทราบ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในวงกว้างทั้งในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ และส่วนราชการที่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ดิฉันขอเรียนชี้แจงท่าน พร้อมทั้งสื่อไปถึงส่วนราชการ องค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพี่น้องประชาชนไทยทุกท่านค่ะ

การค้ามนุษย์คือการคุกคามสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนซึ่งสังคมการเมืองระหว่างประเทศต่างต่อต้าน และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ทั้งมาตรการความร่วมมือ ตลอดจนมาตรการการกดดันที่ใช้เงื่อนไขทางการค้า ดังนั้น ตลอดระยะเวลาที่ดิฉันเข้ารับตำแหน่ง จึงได้พยายามผลักดันการแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด โดยได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานให้การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ในปีการประเมินระดับของ พ.ศ. 2556 “ประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการถูกลดระดับเป็นกลุ่มที่ 3 เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอแผนเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งหากได้รับการดำเนินการจะถือว่าเป็นการแสดงความพยายามอย่างมีนัยสำคัญที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ และรัฐบาลได้จัดสรรทรัพยากรพอควรในการดำเนินการตามแผนดังกล่าว

เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ดีขึ้น รัฐบาลได้มีการประชุมหลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่ดิฉันเป็นประธานในการประชุมเอง และส่วนที่มอบหมายให้คุณพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ณ ขณะนั้น เป็นประธานแทน ตลอดจนตั้งคณะทำงานย่อยๆ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะด้าน เช่น ปัญหาเรื่องแรงงานประมง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกับข้อแนะนำจากรายงานฉบับปี พ.ศ. 2556 ทุกประเด็น

นอกจากนี้ ในการประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กับเอกอัครราชทูต Luis CdeBaca ผู้อำนวยการสำนักงานติดตามและต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 หลังจากได้รับฟังผลการดำเนินงานของประเทศไทย เอกอัครราชทูต Luis CdeBaca ได้แสดงความชื่นชมถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้วย

ตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง รัฐบาลได้เน้นสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และพยายามที่จะสร้างความเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา โดยมีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งมีข้อสั่งการ และนโยบายเพิ่มเติม โดยสิ่งที่รัฐบาลในช่วงนั้นได้ริเริ่มดำเนินการและพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ เช่น การปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งด้านการคุ้มครอง ป้องกัน และกระบวนการยุติธรรม ดังที่รัฐบาลได้มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ทั่วประเทศเพื่อเป็นจุดรับเรื่อง ส่งต่อและแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวง รวมทั้งเครือข่ายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของรัฐบาลชุดก่อน ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอาจจะลองพิจารณาศึกษาเพิ่มเติมจากรายงานดังกล่าวได้ค่ะ

อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญของการค้ามนุษย์นั้น อยู่ที่เรื่องการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งปัญหาในเชิงกฎหมาย รวมทั้งประสิทธิภาพการบริหารราชการ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่สามารถแก้ไขได้เพียงชั่วข้ามคืน หากต้องใช้เวลา และความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งในรายงานฉบับล่าสุดได้มีการยกประเด็นเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นของข้าราชการ โดยเฉพาะความเกี่ยวพันกับกรณีแรงงานประมงชาวโรฮิงญา ซึ่งถือเป็นบทเรียนว่า รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน ตลอดจนประเด็นการเรียกร้องของ NGOs และต้องพยายามที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในแนวทางที่ประชาชน และนานาชาติคาดหวังค่ะ

จุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ปัญหาคือ การยอมรับการมีอยู่ของปัญหา เพื่อที่จะร่วมมือช่วยกันแก้ปัญหาที่ท้าทายระดับนานาชาตินี้ต่อไปค่ะ"

000

แผนที่ในรายงานประจำปี สถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2557 ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงสถานการณ์ด้านเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยสีเขียวหมายถึงอยู่ในบัญชีที่ 1 (Tier 1) สีเหลืองอยู่ในบัญชีที่ 2 (Tier 2) สีส้มอยู่ในบัญชีที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) สีแดงหมายถึง บัญชีที่ 3 (Tier 3) สถานการณ์เลวร้าย โดยไทยและมาเลเซียอยู่ในกลุ่มสีส้มสลับแดง หมายถึง บัญชีที่ 3 ซึ่งถูกลดอันดับลงมาอัตโนมัติจากกลุ่มบัญชีที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง โดยในภูมิภาคเดียวกันนี้มีปาปัว นิวกินี และเกาหลีเหนือ ซึ่งอยู่ในกลุ่มบัญชีที่ 3

 

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในรายงานประจำปี เรื่อง สถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2557 (Trafficking in Persons Report 2014 หรือ TIP Report) ที่เผยแพร่โดยกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนมิถุนายน 2557 นั้น เป็นการสำรวจทุกประเทศในโลก โดยในปี 2557 ประเทศไทยถูกลดอันดับจากบัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) ลงมาอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์ค้ามนุษย์ระดับเลวร้ายที่สุด

โดยในรายงานประจำปี 2557 ดังกล่าว มี 23 ประเทศที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ได้แก่ แอลจีเรีย, แอฟริกากลาง, คองโก, คิวบา, อิเควทอเรียล กินี, เอริเทรีย, แกมเบีย, กินี-บิซเซา, อิหร่าน, เกาหลีเหนือ, คูเวต, ลิเบีย, มาเลเซีย, มอริเตเนีย, ปาปัว นิวกินี, รัสเซีย, ซาอุดิอาระเบีย, ซีเรีย, ไทย, อุซเบกิซสถาน, เยเมน, เวเนซุเอลา, ซิมบับเว

โดยในจำนวนนี้มีประเทศเคยอยู่ใน บัญชีกลุ่มที่ 2 ซึ่งต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) และถูกลดอันดับลงอัตโนมัติไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 3 (Tier 3) ได้แก่ ไทย มาเลเซีย เวเนซุเอลา

ต่อรายงานดังกล่าว นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวเมื่อ 21 มิ.ย. ปีที่ผ่านมาว่า ได้แสดงความเสียใจและรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐอเมริกา ตัดสินจัดอันดับไทยให้อยู่ในระดับต่ำสุด เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยมีการดำเนินการที่มีความคืบหน้าและเป็นรูปธรรมในทุกด้าน (5Ps) ได้แก่ การจับกุม ดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด , การคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์, การป้องกันปัญหา, การขับเคลื่อนกลไกการดำเนินงานระหว่างส่วนราชการ และความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: จดหมายจากนายเข้ม เย็นยิ่ง

$
0
0

 

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม รำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่โถงทางเข้าหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และมีนักศึกษาประชาชนมาร่วมงานอย่างคับคั่ง ในงานนี้ นอกจากจะมีการอภิปรายและเปิดตัวหนังสือ ยังมีการเปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” ที่จะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของป๋วย อึ๊งภากรณ์

ป๋วย อึ้งภากรณ์เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2458(ปฏิทินเก่า) ที่ตลาดน้อย พระนคร ในครอบครัวชาวจีนสยาม ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก แผนกภาษาฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุได้ 18 ปี แล้วได้เป็นมาสเตอร์หรือครูที่โรงเรียนอัสสัมชัญ

ต่อมา พ.ศ.2477 ป๋วยได้สมัครเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นนักศึกษารุ่นแรก สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิต และเมื่อ พ.ศ.2480 ก็ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และการคลังที่มหาวิทยาลัยลอนดอน แต่ในระหว่างนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปและญี่ปุ่นบุกประเทศไทย ทำให้ป๋วยต้องยุติการศึกษา เขาตัดสินใจทำงานเพื่อชาติโดยเข้าร่วมขบวนการเสรีไทยสายอังกฤษ เขากับเสรีไทยสายอังกฤษ 36 คนสมัครเข้ากองทัพอังกฤษ ป๋วยจึงได้รับยศเป็นร้อยเอกแห่งกองทัพบกอังกฤษ ใช้ชื่อจัดตั้งว่า "นายเข้ม เย็นยิ่ง"

พ.ศ.2486 นายเข้มได้ถูกส่งตัวมาที่บริติชอินเดีย เพื่อฝึกการรบในสนามและการจารกรรม จากนั้น ก็ได้รับคำสั่งให้ลอบเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเพื่อประสานงานกับกลุ่มต่อต้านญี่ปุ่นใต้ดินในประเทศ เดือนมีนาคม พ.ศ.2487 นายเข้มและเสรีไทยอีก 2 คน ก็ลักลอบโดดร่มลงมาที่จังหวัดชัยนาท แต่ถูกชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ไทยจับกุม ส่งเข้ามายังพระนคร แต่กลับได้รับการติดต่อจากฝ่ายขบวนการใต้ดินในประเทศและได้มีโอกาสเข้าพบกับ “รูธ”(ปรีดี พนมยงค์) หัวหน้าขบวนการ ช่วยทำให้ติดต่อประสานงานกันได้

หลังสงครามยุติ ป๋วยได้กลับไปศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกโดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการควบคุมดีบุก" และกลับมารับราชการในกระทรวงการคลังเมื่อ พ.ศ.2492 ต่อมา ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้แต่งตั้งให้ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2503 แล้วรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และยังเป็นกรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ นับว่าป๋วยเป็นข้าราชการคนหนึ่งที่ได้รับการขยายบทบาทอย่างมากในสมัยจอมพลสฤษดิ์

พ.ศ.2507 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ยังคงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป และได้รับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วจะกลายเป็นคนสำคัญในการสร้างนักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ ที่จะมีบทบาทต่อมา จากนั้น ใน พ.ศ.2510 เขาได้เข้าร่วมในการก่อตั้งมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทแห่งแรกของภาคเอกชน

ตั้งแต่ พ.ศ.2511 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อันนำมาสู่การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ.2512 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคสหประชาไทย ลงแข่งขันในการเลือกตั้ง และได้คะแนนเสียงมากที่สุด จอมพลถนอมจึงตั้งรัฐบาลบริหารประเทศต่อมาในระบบรัฐสภา

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2514 ป๋วย อึ้งภากรณ์ลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และได้ลาไปสอนพิเศษและทำวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ระหว่างที่เขาอยู่ต่างประเทศ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ที่คุ้นเคยกับการใช้อำนาจสมบูรณ์และไม่มีความอดทนในระบอบรัฐสภา ก็ก่อการรัฐประหารล้มเลิกประชาธิปไตย ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐสภา และกลับมาปกครองประเทศแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยใช้อำนาจของคณะปฏิวัติ ไม่มีการประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราว และไม่มีคณะรัฐมนตรี แต่ได้ตั้งสภาคณะปฏิวัติบริหารประเทศไทยพลาง ทำให้ประเทศไทยกลับคีนมาสู่ยุคมืดอีกครั้ง

ปรากฏว่าในเดือนมีนาคม พ.ศ.2515 วารสารเศรษฐศาสตร์สารฉบับชาวบ้าน ได้ตีพิมพ์เอกสารฉบับหนึ่ง ใช้ชื่อว่า “จดหมายของนายเข้ม เย็นยิ่ง เรียน นายทำนุ เกียรติก้อง ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ” ซึ่งก็คือจดหมายที่เขียนโดย ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ถึง จอมพลถนอม กิตติขจร แสดงการคัดค้านระบอบเผด็จการทหารนั่นเอง จดหมายฉบับนี้ ได้ถูกนำมาถ่ายทอดสู่หนังสือพิมพ์ทั่วไป จึงก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

จดหมายฉบับนี้ นายเข้มได้เสนอว่า ระบอบรัฐธรรมนูญที่ปกครองกันโดยกฎหมาย ย่อมดีกว่าที่จะให้การปกครองเป็นไปตามอำเภอใจของคนเพียงไม่กี่คน และถ้ามีการเลือกตั้ง ก็จะเกิดประชาธรรม คือ ธรรมะที่มาจากประชาชน ดังนั้น การรัฐประหารแล้วล้มเลิกรัฐธรรมนูญ ล้มเลิกการเลือกตั้ง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เหตุผลที่อ้างว่า ต้องยึดอำนาจเพราะสถานการณ์รอบบ้านไม่เป็นที่น่าไว้วางใจ ก็ไม่สมด้วยเหตุผล ภัยจากภายนอก ปัญหาสังคม และ ปัญหาเศรษฐกิจ สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องก่อรัฐประหารล้มระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าการรัฐประหารจะเป็นไปโดยราบรื่น และได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนมาก แต่ก็เป็นเพราะฝ่ายคณะรัฐประหารใช้อำนาจปืนควบคุมไว้ ไม่สามารถจะอธิบายได้ว่าเป็นความต้องการของประชาชน
ดังนั้น การที่จะดำเนินการให้ประเทศก้าวหน้ารุ่งเรืองต่อไป จอมพลถนอมควรที่จะเร่งร่างรัฐธรรมนูญ รื้อฟื้นระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้งโดยเร็ว ข้อความในจดหมายตอนหนึ่งระบุว่า "ได้โปรดเร่งรัดให้มีกติกาหมู่บ้านขึ้นเถิดโดยเร็วที่สุด ในกลางปี 2515 นี้หรืออย่างช้าก็อย่างให้ข้ามปีไป โปรดอำนวยให้ชาวบ้านไทยเจริญมีสิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธรรม สามารถเลือกตั้งสมัชชาขึ้นโดยเร็ว"

ขณะที่ข้อเรียกร้องตามจดหมายฉบับนี้ ได้รับการสนับสนุนและขานรับอย่างดีจากพลังนักศึกษาและพลังประชาธิปไตยในสังคมไทย แต่เมื่อพิจารณาจากสื่อมวลชนร่วมสมัยหลายฉบับ กระแสจะเป็นไปในทางตรงข้าม บ้างก็โจมตีว่านายป๋วยอยากดัง ฉวยโอกาสสร้างภาพเป็นนักประชาธิปไตย เพราะข้าราชการระดับนายป๋วย ถ้าอยากเสนอความเห็นต่อจอมพลถนอม ก็สามารถติดต่อโดยตรงได้ ไม่ต้องแสร้งทำเป็นเขียนจดหมายผ่านหนังสือพิมพ์ บ้างก็อธิบายว่า นายป๋วยควรให้โอกาสคณะปฏิวัติทำงานแก้ปัญหาบ้านเมือง ไม่ควรเอา”เท้าราน้ำ” บางก็ว่านายป๋วยไม่ควรเห็นดีงามกับรัฐสภา ที่ปล่อยให้พวก  ส.ส.ปากโว มาว่าคนโน้นคนนี้ ระบอบปฏิวัติที่เป็นอยู่ก็ทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยดี และมีบ้างที่เรียกร้องว่า คณะปฏิวัติควรจะจัดการปลดตำแหน่งนายป๋วยเสีย ไม่ควรทิ้งไว้เป็น “หอกข้างแคร่”

จนถึงวันนี้เมื่อเวลาผ่านไป 43 ปี การดำเนินการของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เขียนจดหมายคัดค้านคณะรัฐประหารได้รับการยอมรับว่าเป็นวีรกรรม สิ่งที่นายเข้ม เย็นยิ่ง เสนอถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และจดหมายฉบับนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่นำมาสู่การปฏิวัติใหญ่ของนักศึกษาเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ในทางตรงข้าม การรัฐประหาร พ.ศ.2514 ได้รับการประเมินว่า เป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญของจอมพลถนอม และทำให้นายทำนุ เกียรติก้อง หรือ จอมพลถนอม มีชื่อเสียงอันตกต่ำอับแสงมาจนถึงขณะนี้

อยากจะตั้งคำถามว่า อีก 43 ปีข้างหน้า ประวัติศาสตร์จะประเมินการรัฐประหารเมื่อ พ.ศ.2557 และบทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะ ว่าอย่างไร ถ้ารู้ตัวกันว่าทำความผิดพลาด ก็ควรที่จะเร่งแก้ความผิดพลาดเสีย ดีกว่าจะถลำลึกและชื่อเสียงเหม็นไปในอนาคตข้างหน้า

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน โลกวันนี้วันสุข ฉบับ 507 วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวัติศาสตร์โดยสังเขปของสงครามเวียดนาม

$
0
0

              

อีกเพียงเดือนเศษก็จะถึงวันที่ 30 เมษายน อันเป็นการครบรอบ 40 ปีที่กองทัพของเวียดนามเหนือได้เข้ายึดกรุงไซ่ง่อน (ปัจจุบันคือโฮจิมินห์ซิตี้) เป็นผลสำเร็จ อันนำไปสู่การรวมประเทศระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ได้ในที่สุด สงครามเวียดนามเป็นสงครามครั้งใหญ่สงครามหนึ่งซึ่งเกิดจากการดำเนินนโยบายทางการเมืองระหว่างมหาอำนาจและรัฐบริวารในสงครามเย็น สงครามนี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเวียดนาม (ประมาณกันว่ามีคนเวียดนามเสียชีวิตกว่า 2 ,000,000 คน) แล้วยังรวมไปถึงสังคม การเมือง เศรษฐกิจนโยบายต่างประเทศและทหารของสหรัฐอเมริกาอย่างมหาศาล  (มีทหารอเมริกันเสียชีวิตกว่า 58,000 คน)  อันเป็นสาเหตุที่ทำให้สหรัฐ ฯ ไม่สามารถทำการบุกรุกประเทศอื่นในขอบเขตขนาดใหญ่และเข้ายึดครองได้เป็นเวลา 25 ปี ดังที่เรียกว่าโรคกลัวเวียดนามหรือ Vietnam Syndrome จนถึงปี 2001 และ ปี 2003 ที่สหรัฐฯ ทำการบุกและยึดครองอัฟกานิสถานกับอิรักตามลำดับ (สำหรับปี 1991 นั้นกองทัพสหรัฐฯ เพียงแต่ขับไล่กองทัพอิรักออกจากคูเวตและคุมเชิงอยู่ห่างๆ เท่านั้น)
      
สงครามเวียดนามมีอีกชื่อหนึ่งว่าสงครามอินโดจีนครั้งที่ 2  สำหรับชาวเวียดนาม พวกเขาเรียกว่า สงครามอเมริกัน  ตามความจริงแล้วสงครามอินโดจีนมีหลายครั้งก่อนหน้านี้ไม่ว่าตอนที่ไทยทำสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อยึดบางส่วนของอินโดจีนคืนในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม หรือญี่ปุ่นเข้ามายึดภูมิภาคอินโดจีนจากฝรั่งเศส แต่การนับอย่างเป็นทางการของฝรั่งนั้นจะถือว่าสงครามอินโดจีนเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงระหว่างปี 1945-1954  อันหมายถึงตอนที่ฝรั่งเศสพยายามกลับมาครอบครองอินโดจีนอีกครั้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจะกลายเป็นผลต่อเนื่องไปถึงสงครามเวียดนามดังต่อไปนี้
บทความนี้ต่อไปนี้เป็นการแปลและมีการตัดต่อจากเว็บ vietnam.vassar.edu (ของมหาวิทยาลัย Vassar)
    
สงครามอินโดจีนครั้งที่  2  ในช่วงปี 1954 -1975  เป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งอย่างยาวนานระหว่างฝรั่งเศสและเวียดนาม ในเดือนกรกฏาคม ปี 1954 ภายหลังกว่า 100 ปีของการปกครองแบบ   อาณานิคม ฝรั่งเศสถูกผลักดันให้ออกจากเวียดนาม กองกำลังของคอมมิวนิสต์นำโดยนายพลหวอ เงวียน ย๊าป ได้เอาชนะกองทัพพันธมิตรนำโดยฝรั่งเศสที่เดียน เบียน ฟู ซึ่งเป็นพื้นที่เชิงเขาแถบชนบททางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม สมรภูมิอันชี้ขาดในครั้งนี้ได้ทำให้ฝรั่งเศสเชื่อว่าพวกเขาไม่สามารถคงความเป็นเจ้าอาณานิคมเหนืออินโดจีนได้อีกต่อไป และกรุงปารีสก็เร่งรีบขอประกาศสงบศึก ขณะที่ทั้ง 2  ฝ่ายมาประชุมเพื่อเจรจาสันติภาพที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เหตุการณ์ทั้งหลายก่อนหน้านี้ก็ได้กำหนดอนาคตของอินโดจีนไว้แล้ว
   

สนธิสัญญาสันติภาพเจนีวา (Geneva Accord)

สนธิสัญญาสันติภาพเจนีวาที่ลงนามโดยฝรั่งเศสและเวียดนามในฤดูร้อนปี 1954 แสดงให้เห็นถึงความตึงเครียดของสงครามเย็นที่แพร่ไปทั่วโลก มันถูกดำเนินการใต้เงามืดของสงครามเกาหลีที่เพิ่งจบสิ้นไปหมาด ๆ และยังเป็นสันติภาพที่น่ากระอักกระอ่วนใจสำหรับทั้งสองฝ่าย ด้วยแรงกดดันจากภายนอกคือสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชน ตัวแทนของเวียดนามต้องยอมให้มีการแบ่งประเทศตนออกเป็น 2  ส่วนชั่วคราวจากการใช้เส้นขนานที่ 17 เป็นตัววัด พวกมหาอำนาจของค่ายคอมมิวนิสต์กลัวว่าความไม่แน่นอนของสันติภาพจะทำให้ฝรั่งเศสและพันธมิตรที่เป็นมหาอำนาจคือสหรัฐอเมริกาโกรธแค้น ทางกรุงมอสโคว์และกรุงปักกิ่งไม่ต้องการจะเสี่ยงกับการเผชิญหน้ากับตะวันตกอย่างกระชั้นเกินไปหลังจากสงครามเกาหลี นอกจากนี้พวกคอมมิวนิสต์ยังเชื่อว่าพวกตนนั้นมีการจัดการองค์กรที่ดีกว่าในการเข้ายึดเวียดนามใต้ด้วยวิถีทางการเมืองเพียงอย่างเดียว
    
ตามมติของสนธิสัญญาเจนีวานั้น เวียดนามจะต้องมีการเลือกตั้งในปี 1956 เพื่อรวมประเทศเป็นหนึ่ง การแบ่งประเทศบนเส้นขนานที่ 17 นั้นจะหายไปกับการเลือกตั้ง สหรัฐฯและกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์จำนวนมากไม่ได้สนับสนุนสนธิสัญญานี้ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศคือนาย จอห์น ฟอสเตอร์ ดัลลัสคิดว่าข้อตกลงทางการเมืองของสนธิสัญญาฉบับนี้ให้อำนาจแก่พวกเวียดนามคอมมิวนิสต์มากเกินไป เขาจะไม่ยอมให้พวกคอมมิวนิสต์เข้ายึดเวียดนามใต้โดยปราศจากการสู้รบ ดังนั้นเขาและประธานาธิบดี ดไวท์ ดี ไอเซนเฮาวร์ ก็สนับสนุนกลุ่มในเวียดนามที่อยู่ใต้เส้นขนานที่ 17 ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯได้ส่งเสริมความพยายามครั้งนี้โดยการสร้างชาติเวียดนามใต้ผ่านข้อตกลงระหว่างชาติหลายฉบับอันก่อให้เกิดสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีโต้ (South East Asia Treaty Organization หรือ SEATO) ในปี 1954  สนธิสัญญาซีโต้ได้เสนอให้กลุ่มประเทศที่ลงนามมีการปกป้องซึ่งกันและกันทางทหารรวมไปถึงรัฐบาลของสาธารณรัฐเวียดนามหรือเวียดนามใต้
   
ในปี 1956 โง ดินห์ เดียม นักต่อต้านคอมมิวนิสต์ตัวยงได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งที่อื้อฉาวและได้เป็นประธานาธิบดีแห่งเวียดนามใต้ ในวันแรกที่มานั่งเก้าอี้เขาก็พบกับการต่อต้านจากฝ่ายตรงกันข้าม เดียมจึงเรียกร้องให้สหรัฐฯ ช่วยเหลือวิธีการต้านคอมมิวนิสต์ของตน โดยอ้างว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ดีอาร์วี)  หรือเวียดนามเหนือต้องการที่จะยึดเวียดนามใต้โดยกำลังทางทหาร ในช่วงปลายปี 1957 จากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ เดียมก็โต้ตอบกลับโดยได้รับการสนับสนุนจากซีไอเอในการระบุว่าใครพยายามจะโค่นล้มรัฐบาลของตนและทำการจำกุมปรปักษ์หลายพันคน   ในปี 1959 เดียมก็ได้ออกนโยบาย 10/59  ซึ่งอนุญาตให้ทางการสามารถจับประชาชนขังคุกได้หากถูกสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์โดยไม่ต้องมีการตั้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการ

นับตั้งแต่ขึ้นมามีอำนาจ เดียมก็พบกับความลำบากแบบเลือดตาแทบกระเด็น นักเรียน ปัญญาชน ชาวพุทธและกลุ่มอื่นๆ ต่างเข้าร่วมกับพวกคอมมิวนิสต์ในการต่อต้านการปกครองของเดียม (ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวพุทธประท้วงคือเดียมพร้อมน้องชายและภรรยาต่างนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก -ผู้แปล)ยิ่งคนกลุ่มนั้นเข้าโจมตีกองทหารและตำรวจลับของเดียมมากเท่าไร เขาก็ยิ่งพยายามควบคุมกลุ่มประท้วงมากเท่านั้น ประธานาธิบดีผู้นี้ยืนยันว่าเวียดนามใต้คือประเทศประชาธิปไตยที่รักสันติภาพและคอมมิวนิสต์นั้นต้องการจะทำลายประเทศใหม่ของเขา

รัฐบาลของประธานาธิบดี จอห์น เอฟเคนนาดีดูเหมือนจะแตกแยกทางความคิดกันว่ารัฐบาลของเดียมนั้นแท้ที่จริงเป็นประเทศประชาธิปไตยและรักสันติภาพหรือไม่ ที่ปรึกษาของเคนนาดีหลายคนเชื่อว่า เดียมนั้นไม่ได้ทำการปฏิรูปทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเพียงพอในการคงเป็นผู้นำที่มีเปี่ยมด้วยความสามารถของเวียดนามใต้ หลายคนเห็นว่าเดียมเป็น "คนดีที่สุดในกลุ่มคนเลว" ในขณะที่ทำเนียบข่าวกำลังประชุมกันเพื่อตัดสินอนาคตของนโยบายที่มีต่อเวียดนาม ก็มีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในระดับผู้นำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์

ในช่วงระหว่างปี 1956-1960 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนามต้องการจะรวมประเทศโดยวิถีทางการเมืองเพียงอย่างเดียว มันได้รับเอารูปแบบการต่อสู้ทางการเมืองมาจากสหภาพโซเวียต และได้พยายามโค่นล้มรัฐบาลของเดียมโดยการเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองภายในแต่ไม่สำเร็จ ภายหลังความสำเร็จของเดียมในการต่อสู้กับพวกแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ กลุ่มคอมมิวนิสต์ที่อยู่ทางใต้เกลี่ยกล่อมให้พรรคนำเอาวิธีการที่รุนแรงกว่าเดิมเพื่อทำให้เดียมกระเด็นออกจากเก้าอี้ ในการประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 10  เมื่อเดือนมกราคม ปี 1959 ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตกลงที่จะใช้วิธีการรุนแรงในการโค่นล้มรัฐบาลของเดียม ในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกันนั้นและอีกครั้งในเดือนกันยายนปี 1960 พรรคเน้นย้ำการใช้ความรุนแรงและการผสมผสานระหว่างขบวนการต่อสู้ทางการเมืองและอาวุธ ผลก็คือการเกิดขึ้นของกลุ่มที่มีฐานปฏิบัติการอันกว้างขวางในการระดมชาวเวียดนามใต้เพื่อต่อต้านรัฐบาลในกรุงไซง่อน

   

กลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนาม (National Liberation Front)

กลุ่มใต้ดินที่มีชื่อว่า ยูไนเต็ดฟรอนท์มีรากฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนานในเวียดนาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 พวกคอมมิวนิสต์ได้ใช้กลุ่มนี้ในการระดมกองกำลังต่อต้านฝรั่งเศส กลุ่มใต้ดินได้นำเอาพวกที่ทั้งเป็นและไม่เป็นคอมมิวนิสต์มารวมกันเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายที่จำกัดแต่มีความสำคัญ ในวันที่ 20 ธันวาคม ปี 1960 กลุ่มใต้ดินแบบใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์คือกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนาม (เอ็นเอลเอฟ) ก็ได้อุบัติขึ้น ใครก็ได้สามารถเข้ามาเป็นสมาชิกตราบที่เขาคนนั้นต่อต้านโง ดินห์ เดียม ชาวเวียดนามที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์จำนวนมากที่เข้าร่วมกลุ่มใต้ดินอาจจะไม่ได้ตระหนักว่าท้ายสุดแล้วทางพรรคก็จะยุบกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนามและจำกัดบทบาทของกลุ่มที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ในรัฐบาลผสมภายหลังสงคราม

ลักษณะของกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนามและความสัมพันธ์ที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอยได้ก่อให้เกิดการโต้เถียงกันในบรรดานักวิชาการและนักกิจกรรมต่อต้านสงครามรวมไปถึงนักวางนโยบายทั้งหลาย นับตั้งแต่กลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนาม ได้อุบัติขึ้นเมื่อปี 1960 เจ้าหน้าที่รัฐบาลในกรุงวอชิงตันอ้างว่ากรุงฮานอยนั้นได้ชี้นำให้กลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนาม โจมตีรัฐบาลไซง่อนอย่างรุนแรง จากชุด "เอกสารปกขาว"ของรัฐบาล คนข้างในกรุงวอชิงตันประณามกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนามโดยอ้างว่ามันเป็นหุ่นเชิดของกรุงฮานอย ในทางกลับกัน กลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนามบอกว่ามันเป็นกลุ่มอิสระ ไม่ขึ้นกับพวกคอมมิวนิสต์ในกรุงฮานอย และสมาชิกส่วนใหญ่เป็นพวกที่ไม่ได้สังกัดพรรคคอมมิวนิสต์ กรุงวอชิงตันก็ยังคงทำลายความน่าเชื่อถือกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนามและเรียกคนเหล่านั้นว่า "เวียดกง"อันเป็นคำแสลงที่หยาบคายสำหรับพวกคอมมิวนิสต์เวียดนาม (กระนั้นเพื่อความเคยชินกับคนอ่าน ต่อไปนี้ผู้แปลจะขอใช้คำว่าเวียดกงกับกลุ่มกลุ่มปลดปล่อยชาติเวียดนามตลอดไป  ผู้แปลก็ไม่รู้ว่ามันหยาบคายหรือไม่เพราะตอนไปเที่ยวที่โฮจิมินห์ซิตี้เมื่อ 2 ปีก่อนก็บอกกับคนเวียดนามว่าพวกเวียดกงนั้นเก่ง ก็เห็นเขาไม่พูดอะไร ได้แต่ยิ้มๆ )
   

เอกสารปกขาวเดือนธันวาคม ปี1961

ปี 1961 ประธานาธิบดีเคนนาดีได้ส่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญไปยังเวียดนามเพื่อรายงานสถานการณ์ในเวียดนามใต้และประเมินความต้องการการช่วยเหลือจากอเมริกาในอนาคต รายงานซึ่งปัจจุบันเป็นรู้จักกันว่า "เอกสารปกขาวเดือนธันวาคม 1961"  ได้ร้องขอให้มีการเพิ่มความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ทางเทคนิคและทางทหาร รวมไปถึงแนะนำให้ส่งกลุ่มที่ปรึกษาอเมริกันจำนวนมากเพื่อเสริมสร้างให้รัฐบาลของเดียมมีเสถียรภาพและยังสามารถบดขยี้พวกเวียดกง ในขณะที่เคนนาดีกำลังชั่งใจถึงข้อดีข้อเสียจากคำแนะนำเหล่านั้น ที่ปรึกษาของเขาคนอื่นๆ ได้แนะนำให้ประธานาธิบดีถอนตัวจากเวียดนามโดยอ้างว่ามันเป็น"ทางตัน"

ตามวิสัยของเคนนาดีแล้ว ประธานาธิบดีท่านนี้จะชอบเดินทางสายกลาง แทนที่จะส่งกองกำลังทางทหารอย่างมโหฬารตามที่เอกสารปกขาวเรียกร้องหรือไม่ก็ถอนตัวออกไปทันที เคนนาดีมุ่งไปที่ความสัมพันธ์อันมีขีดจำกัดกับเดียม สหรัฐฯ จะเพิ่มระดับของการเกี่ยวข้องทางทหารในเวียดนามใต้ผ่านที่ปรึกษาและอาวุธยุโธปกรณ์ ไม่ใช่ส่งทหารจำนวนมากเข้าไป กลยุทธ์แบบนี้มีปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น และในไม่ช้ารายงานจากเวียดนามระบุว่าพวกเวียดกงเริ่มมุ่งเน้นการยึดพื้นที่ในชนบทของเวียดนามใต้ เพื่อเป็นการต่อต้านความพยายามเหล่านั้น กรุงวอชิงตันและกรุงไซง่อนก็ได้เริ่มต้นส่งกองกำลังทหารเข้าไปในแถบชนบท ดังที่เรียกว่า แผนยุทธวิธีแฮมเล็ต (Strategic Hamlet Program) แผนการต่อต้านพวกใต้ดินนี้คือต้อนชาวบ้านทั้งหลายไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่สร้างโดยทหารเวียดนามใต้ นั่นคือความพยายามในการสกัดพวกเวียดกงออกจากชาวบ้านธรรมดาๆ ซึ่งเป็นฐานสนับสนุน แผนการนี้ได้มาจากประสบการณ์ของทหารอังกฤษในมาเลเซีย แต่ปัจจัยต่างๆ ในเวียดนามใต้กลับแตกต่างออกไปและแฮมเล็ตก็หาได้ผลมากนัก จากการสัมภาษณ์ต่อที่ปรึกษาของสหรัฐฯ ในพื้นที่ แผนยุทธวิธีแบบนี้ส่งผลลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไซง่อนและบรรดาชาวนา เมื่อก่อนชาวเวียดนามชนบทจำนวนมากเห็นว่าเดียมนั้นเป็นเพียงบุคคลที่น่ารำคาญ แต่แผนยุทธวิธีได้นำนโยบายรัฐบาลมาลุกล้ำชนบท ชาวบ้านจำนวนมากจึงโกรธแค้นที่ถูกผลักดันออกจากพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งพวกเขาอาศัยอยู่กันตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่ปรึกษาบางคนแนะนำว่าความล้มเหลวของแผนยุทธวิธีนี้ได้ทำให้จำนวนสมาชิกกลุ่มเวียดกงเพิ่มสูงขึ้นไปอีก
    

การทำรัฐประหาร

ในช่วงฤดูร้อนปี 1963 ด้วยความสำเร็จของเวียดกงและความล้มเหลวของตัวรัฐบาลเอง (ความจริงต้องบอกด้วยว่ายังเกิดจากความฉ้อฉลของตัวรัฐบาลอีกด้วย -ผู้แปล) รัฐบาลของเดียมกำลังอยู่ในสภาวะใกล้ล่มสลาย น้องชายของเดียมคือ โง ดินห์ นู ได้โจมตีเจดีย์ของศาสนาพุทธตามจุดต่างๆ ในเวียดนามใต้ โดยอ้างว่าเป็นแหล่งส่องสุมของพวกคอมมิวนิสต์ที่ทำลายเสถียรภาพของรัฐบาล ผลลัพธ์ก็คือการประท้วงอย่างหนักหน่วงบนท้องถนนของกรุงไซง่อนและพระภิกษุรูปหนึ่งได้ทำการเผาตัวเองจนมรณภาพ ภาพถ่ายพระที่จมอยู่ในกองเพลิงได้กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกและนำความอับอายอย่างมากมายมาสู่กรุงวอชิงตัน ปลายเดือนกันยายน การประท้วงของชาวพุทธได้ทำให้เวียดนามใต้แทบจะแตกเป็นเสี่ยงๆ จนรัฐบาลของเคนนาดีต้องสนับสนุนให้กลุ่มนายพลทำรัฐประหาร ในปี 1963 นายพลของเดียมเองหลายนายในกองกำลังของสาธารณรัฐเวียดนามก็ได้ติดต่อกับสถานทูตของสหรัฐฯในกรุงไซง่อนในการวางแผนโค่นเดียม เมื่อกรุงวอชิงตันขยิบตาให้ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปี 1963 เดียมและและน้องชายก็ถูกจับกุมและถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม แต่ 3  อาทิตย์หลังจากนั้น ประธานาธิบดีเคนนาดีก็ถูกลอบสังหารบนถนนในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส

ในช่วงเวลาที่ทั้งเคนนาดีและเดียมถูกสังหาร มีที่ปรึกษาทางทหารของอเมริกาถึง 16,000  นายในเวียดนามใต้ รัฐบาลของเคนนาดีได้จัดการให้มีการทำสงครามโดยปราศจากการส่งทหารจำนวนมากเข้าไป อย่างไรก็ตามปัญหาทางการเมืองที่เรื้อรังในกรุงไซง่อนได้ทำให้ประธานาธิบดีคนใหม่คือลินดอน เบนส์จอห์นสันเชื่อว่าปฏิบัติการที่ก้าวร้าวกว่าเดิมเป็นสิ่งจำเป็น หรือบางทีจอห์นสันนั้นมีใจฝักใฝ่ไปทางการส่งกำลังทหารหรือบางทีเหตุการณ์ในเวียดนามได้บีบให้ประธานาธิบดีต้องเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น แต่แล้วหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การโจมตีของกลุ่มบุคคลที่สงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ต่อเรือรบของสหรัฐฯ 2ลำในอ่าวตังเกี๋ย รัฐบาลของจอห์นสันได้ร้องขอรัฐสภาเพื่ออนุมัติให้ประธานาธิบดีมีอำนาจในการสั่งการต่อการทำสงครามครั้งใหญ่
    

มติอ่าวตังเกี๋ย (Gulf of Tonkin Resolution)

วันที่ 2 สิงหาคม ปี1964 เพื่อเป็นการโต้ตอบต่อความพยายามในการก่อวินาศกรรมของสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เวียดนามเหนือได้โจมตีเรือรบของสหรัฐ ฯ บริเวณอ่าวตังเกี๋ย การโจมตีครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้นในวันที่ 4  ถึงแม้หวอ เงวียน ย๊าป และผู้นำทางทหารของเวียดนามเหนือ รวมไปถึงรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯคือ โรเบิร์ต เอส แม็คนามาราจะสรุปก่อนหน้านี้ว่าจะไม่มีการโจมตีครั้งที่  2    ก็ตาม รัฐบาลของจอห์นสันก็ได้ใช้การโจมตีในวันที่ 4  นี้ในการขอมติของรัฐสภาในการให้อำนาจอย่างเต็มที่ต่อประธานาบดี มติซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า"มติอ่าวตังเกี๋ย" ได้ผ่านทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาโดยมีเสียงคัดค้านเพียง 2 เสียง (นั้นคือวุฒิสมาชิกมอร์สจากรัฐโอเรกอนและเกรนนิงจากรัฐอะแลสกา) มตินั้นได้ให้มีการโจมตีทางอากาศอย่างจำกัดเพื่อเป็นการตอบโต้เวียดนามเหนือ

ตลอดช่วงฤดูใบไม้ผลิตและช่วงหน้าหนาวของปี 1964 รัฐบาลของจอห์นสันได้ถกเถียงกันถึงกลยุทธ์อันเหมาะสมในเวียดนาม เสนาธิการทหารต้องการขยายสงครามทางอากาศไปถึงเวียดนามเหนืออย่างรวดเร็วในการช่วยให้รัฐบาลของใหม่ของกรุงไซง่อนมีเสถียรภาพ ฝ่ายพลเรือนในเพนตากอนต้องการให้มีการทิ้งระเบิดที่จำกัดพื้นที่และเลือกเป้าเพื่อเป็นการเพิ่มแรงกดดันทีละเล็กทีละน้อย มีเพียงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศคือจอร์จ บอลล์ที่คัดค้านโดยบอกว่านโยบายของจอห์นสันนั้นเป็นการยั่วยุเกินไปและได้ผลตอบแทนที่ไม่มากนัก ในช่วงต้นปี 1965  พวกเวียดกงได้โจมตีเวียดนามใต้รวมไปถึงฐานทัพของสหรัฐฯที่ประจำอยู่ ดังนั้นจอห์นสันได้สั่งให้มีการทิ้งระเบิดเหนือเวียดนามเหนือซึ่งเป็นปฏิบัติการที่กองทัพได้แนะนำตลอดมา

การทิ้งระเบิดซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ปฏิบัติการสายฟ้าฟาด"  (Operation Rolling Thunder) และการนำกองกำลังสหรัฐฯเข้ามาในปี 1965 ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องประเมินยุทธวิธีในสงครามเสียใหม่ ในช่วงปี 1960 จนไปถึงปลายปี 1964 พรรคเชื่อว่าตนสามารถรบเอาชนะเวียดนามใต้ได้ใน"ช่วงเวลาเพียงสั้นๆ " การพยากรณ์แบบมองโลกในแง่ดีจนเกินไปนี้ตั้งอยู่บนสถานการณ์ของสงครามที่มีพื้นที่จำกัดในเวียดนามใต้และไม่ได้นับการเข้ามาเกี่ยวข้องของกองทัพสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามเมื่อพบกับศัตรูคนใหม่ พรรคก็เปลี่ยนเป็นสงครามแบบยืดเยื้อ ความคิดของพวกเขาก็คือต้องทำให้สหรัฐฯติดหล่มในสงครามที่ไม่สามารถเอาชนะการต่อสู้ได้และต้องสร้างเงื่อนไขที่ไม่เอื้อต่อชัยชนะของอเมริกา พรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่าตนจะสามารถเอาชนะในสงครามแบบยืดเยื้อเพราะสหรัฐฯนั้นไม่มีกลยุทธ์ที่ชัดเจน จึงอาจเอือมละอาต่อสงครามและต้องการเจรจาในการสงบศึก ดังนั้นการพยากรณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของกรุงฮานอยในปี 1965 จึงขึ้นกับกลยุทธ์เช่นนี้
    

สงครามในอเมริกา

หนึ่งในเรื่องกลับตาลปัดอันยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามที่อุดมด้วยเรื่องพรรค์นี้คือการที่กรุงวอชิงตันมุ่งเน้นไปที่สงครามจำกัดขอบเขตในเวียดนาม รัฐบาลของจอห์นสันต้องการสู้สงครามครั้งนี้แบบ"เลือดเย็น" นั้นหมายความว่าอเมริกาจะทำการรบแบบต้องให้มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อวัฒนธรรมภายในชาติตน สงครามขอบเขตจำกัดต้องการให้มีการระดมทรัพยากร วัสดุและมนุษย์ที่ไม่มากนัก และนำไปสู่ความวุ่นวายเพียงน้อยนิดในชีวิตประจำวันของชาวอเมริกัน จากเหตุการณ์สำคัญในสงครามเย็นและการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ สงครามขอบเขตจำกัดย่อมเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักวางกลยุทธ์ทั้งหลายทั้งในและนอกกรุงวอชิงตัน แน่นอนพวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าหมายเช่นนั้นได้ สงครามเวียดนามมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อชีวิตของชาวอเมริกันและรัฐบาลของจอห์นสันถูกกดดันให้พิจารณาถึงผลกระทบจากการตัดสินใจที่มีต่อในบ้านตัวเองทุกวัน ในที่สุดแล้วไม่มีอาสาสมัครเพียงพอในการไปรบในสงครามที่ยืดเยื้อเช่นนี้ และรัฐบาลก็ทำการเกณฑ์ทหาร เมื่อมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นและคนอเมริกันถูกส่งไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลของจอห์นสันก็พบกับการต่อต้านสงครามทวีคูณขึ้น

ในขั้นแรกนั้นการประท้วงเกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยและในเมืองใหญ่ๆ แต่ในปี 1968 ทุกมุมของประเทศต่างก็รู้สึกถึงผลกระทบของสงคราม หนึ่งในเหตุการณ์ที่อาจจะโด่งดังที่สุดในการต่อต้านสงครามคือการจลาจลในชิคาโก้ในช่วงการประชุมครั้งใหญ่ของพรรคเดโมแครต ประชาชนหลายแสนคนเดินทางมายัง       ชิคาโก้ในเดือนสิงหาคมเพื่อประท้วงการที่สหรัฐฯเข้าไปยุ่งในเวียดนามและบรรดาผู้นำของพรรคเดโมเครตก็ยังคงให้มีการทำสงครามต่อไป


ยุทธการวันตรุษญวน (Tet Offensive)

ปี 1968 ทุกสิ่งดูจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ สำหรับรัฐบาลของจอห์นสัน ปลายมกราคม ทั้งเวียดนามเหนือและเวียดกงต่างร่วมกันโจมตีตามเมืองใหญ่ ๆของเวียดนามใต้ การโจมตีเป็นที่รู้จักกันในนามว่า ยุทธการวันวันตรุษญวน ถูกวางแผนมาเพื่อ"ทำลายเจตจำนงอันก้าวร้าว" ของรัฐบาลจอห์นสันและบังคับกรุงวอชิงตันให้ขึ้นโต๊ะเจรจา พรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่าคนอเมริกันต่างก็เบื่อสงครามเต็มทนและกรุงฮานอยสามารถทำให้จอห์นสันขายหน้าและต้องขอเจรจาสงบศึก ทว่าคำพยากรณ์เกี่ยวกับยุทธการวันตรุษญวณของพรรคคอมมิวนิสต์ผิดพลาด ทหารคอมมิวนิสต์พบกับการล้มตายอย่างมหาศาลในทางใต้และการสังหารหมู่ผู้ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ในเมืองเว้ทำให้ผู้สนับสนุนกรุงฮานอยขุ่นเคืองใจ นอกจากนี้ใครหลายคนคิดว่าแผนของยุทธการวันตรุษญวนนี้มีความเสี่ยงเกินไป สิ่งนี้ทำให้เกิดความหมางใจระหว่างพวกคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในเวียดนามเหนือและใต้ จอห์นสันผู้อับอายประกาศว่าจะไม่สมัครลงเลือกตั้งประธานาธิบดีอีก และบอกเป็นนัยๆ ว่าเขาจะขึ้นโต๊ะเจรจากับพวกคอมมิวนิสต์เพื่อยุติสงคราม


รัฐบาลสมัยนิกสัน

จอห์นสันได้เปิดโต๊ะเจรจากับพวกเวียดนามเหนืออย่างลับ ๆในฤดูใบผลิตปี 1968 ที่กรุงปารีส และในไม่ช้าก็ประกาศว่าสหรัฐฯและเวียดนามเหนือกำลังตกลงเพื่อเจรจาการยุติสงครามที่ราคาแสนแพงนี้ ถึงแม้ว่าจะมีความสำเร็จที่กรุงปารีส แต่พรรคเดโมเครตไม่สามารถเอาชนะผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกันคือริชาร์ด      นิกสันซึ่งประกาศว่ามีแผนลับในการยุติสงคราม  แผนลับของนิกสันปรากฏว่าเป็นการยืมมาจากแผนของ   ลินดอน จอห์นสันเมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดีคนใหม่ยังคงดำเนินการแผนที่เรียกว่า "การทำให้เป็นเวียดนาม" (Vietnamization) ชื่อน่าเกลียดที่บอกเป็นนัยว่าชาวอเมริกันจะไม่ต่อสู้และตายในป่าทึบของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกต่อไป   กลยุทธ์นี้คือการนำทหารอเมริกันกลับบ้านและเพิ่มการโจมตีทางอากาศยังเวียดนามเหนือและพึ่งพิงกับการโจมตีภาคพื้นดินของกองทัพเวียดนามใต้มากขึ้น

ในช่วงเวลานี้ สหรัฐฯยังพบกับการขยายสงครามไปยังเพื่อนบ้านคือลาวและกัมพูชา  ในขณะที่ทำเนียบขาวพยายามอย่างสิ้นหวังในการทำลายที่พักพิงและเส้นทางลำเลียงเสบียงของพวกคอมมิวนิสต์ (Ho Chi Minh trails) การโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงในกัมพูชาปลายเมษายนปี 1970 ทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรงในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วอเมริกา ที่มหาวิทยาลัยเคนท์สเตทในรัฐโอไฮโอ นักศึกษา 4 คนถูกฆ่าโดยกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิซึ่งถูกระดมพลมารักษาความเรียบร้อยในมหาวิทยาลัยภายหลังจากมีการประท้วงต่อนิกสันหลายวัน ก่อให้เกิดความตกตะลึงไปทั่วประเทศเมื่อนักศึกษาที่มหาวิทยาแจ๊กสันสเต็ทที่รัฐมิสซิสซิปปีก็ถูกยิงจนเสียชีวิตเหมือนกันด้วยเรื่องการเมืองเดียวกันนี้ ผู้เป็นแม่คนหนึ่งถึงกลับร่ำไห้ "พวกเขาฆ่าลูก ๆ ของพวกเราที่เวียดนามและยังตามมาฆ่าที่บ้านอีก"

กระนั้นการทำสงครามทางอากาศที่ขยายไปทั่วก็ไม่สามารถสกัดกั้นพวกคอมมิวนิสต์ได้แถมยังทำให้มีการเจรจาที่กรุงปารีสยากเย็นขึ้นไปอีก แผนการทำให้เป็นเวียดนามของนิกสันทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศเบาลง แต่การพึ่งพิงกับการทิ้งระเบิดที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ ของเขาทำให้พลเมืองอเมริกันเดือดดาล ต้นฤดูใบไม้ร่วงปี 1972 ที่ปรึกษาความมั่นแห่งชาติ เฮนรี คิสซิงเจอร์และ เลอ ดุค โธตัวแทนของเวียดนามเหนือก็ได้ร่างแผนสันติภาพสำเร็จ (ต่อมาทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1973 แต่เลอ ดุค โธปฏิเสธเพราะกล่าวว่าสงครามยังไม่สิ้นสุดจริงๆ - ผู้แปล)  กรุงวอชิงตันและกรุงฮานอยก็สันนิฐานว่าเวียดนามใต้จะยอมปฏิบัติตามข้อตกลงที่ถูกเขียนในกรุงปารีสโดยปริยาย แต่ ผู้นำคนใหม่ในเวียดนามใต้คือประธานาบดีเหงียน วัน เทียน และรองประธานาธิบดี เหงียน เกา กีย์ปฏิเสธร่างสันติภาพและต้องการไม่ให้มีการประชุมใด ๆ ทั้งสิ้น พวกเวียดกงเองก็ปฏิเสธร่างในบางส่วน สงครามกลับเข้มข้นขึ้นเมื่อรัฐบาลนิกสันได้สั่งให้มีการทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงเหนือเป้าหมายในเมืองใหญ่ ๆของเวียดนามเหนือเช่นกรุงฮานอยและนครไฮฟอง การโจมตีซึ่งบัดนี้เป็นที่รู้จักกันว่า "การทิ้งระเบิดช่วงคริสต์มาส" ทำให้นานาชาติประณามและกดดันให้รัฐบาลนิกสันต้องพิจารณากลยุทธ์และเรื่องการเจรจาอีกครั้ง


สนธิสัญญาสันติภาพกรุงปารีส  (Paris Peace Accords)

ในช่วงต้นมกราคม ปี1973 ทำเนียบขาวได้ให้คำมั่นกับรัฐบาลเวียดนามใต้ว่าจะไม่ทอดทิ้งกันถ้าพวกเขายอมลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ  ดังนั้นในวันที่ 23 ร่างสัญญาชุดสุดท้ายก็ปรากฏเป็นรูปเป็นร่าง ส่งผลถึงการสิ้นสุดสงครามอย่างเป็นทางการระหว่างสหรัฐฯและเวียดนามเหนือ นอกจากการหยุดยิงทั่วเวียดนามแล้วสหรัฐฯ ยังต้องถอนกำลังพลรวมไปถึงที่ปรึกษาทางทหารออกจากเวียดนามให้หมดเช่นเดียวกับการรื้อถอนฐานทัพของสหรัฐฯ ในเวียดนามใต้ภายใน 60 วัน เวียดนามเหนือยังตกลงที่จะปล่อยเชลยศึกทั้งอเมริกันและชาติอื่นทั้งหมด กระนั้นสนธิสัญญาสันติภาพก็ไม่ได้ยุติสงครามเสียจริงๆ ในเวียดนาม เมื่อรัฐบาลของเทียและกีย์ยังคงทำสงครามกับพวกคอมมิวนิสต์ต่อไป ช่วงระหว่างมีนาคม ปี 1973 จนมาถึงการล่มสลายของกรุงไซง่อนในวันที่ปลายเดือนเมษายนปี1975 กองทัพได้ต่อสู้อย่างสิ้นหวังเพื่อรักษาเวียดนามใต้ไว้ ฉากสุดท้ายก็มาถึงเมื่อรถถังของกองทัพเวียดนามเหนือได้แล่นอยู่บนถนนหลวงในเวียดนามใต้ ในเช้าวันที่ 30 เมษายนนั้นกองทัพคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดทำเนียบรัฐบาล อันเป็นการจบสิ้นสงครามเวียดนามหรือสงครามอินโดจีนครั้งที่  2 อย่างแท้จริง

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฮิปสเตอร์ “ความเกร่อ” ของวัยรุ่นไทย

$
0
0

 

ขอเกาะกระแสสุดฮิตของบ้านเรากันสักนิด “ฮิปสเตอร์เกร่อกันทั่วเมือง” จนอดที่จะหยิบเรื่องนี้มาเขียนไม่ได้ ก่อนอื่นจะต้องอธิบายที่มาของคำนี้กันก่อน “ฮิปสเตอร์” คือวัฒนธรรมกลุ่มย่อยของบุคคลที่มีพฤติกรรมรักความเป็นธรรมชาติ   มีความคิดในเชิงนอกกรอบ รักการถ่ายรูป ปั่นจักรยาน ติดโซเชียล กินกาแฟในร้านอาร์ตๆ ไม่ใช่กาแฟจากร้านแฟรนไชส์ ของใช้ทุกอย่างไม่เน้นราคาแพงแต่ต้องดูดี อาจเป็นของที่ทำด้วยมือมีชิ้นเดียวในโลก ซึ่งตอนนี้ “ฮิปเตอร์” กำลังเป็นกระแสอย่างมากในสังคมไทย

สงสัยกันมั้ยว่าทำไมฮิปสเตอร์ถึงต้องมีพฤติกรรมข้างต้นนี้?

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ การที่ฮิปสเตอร์กินกาแฟจากร้านอาร์ตๆ ไม่ใช่กาแฟจากร้าน  แฟรนไชส์ ความหมายเบื้องต้นคือเป็นกาแฟที่มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มากกว่า ราคาถูกกว่า เนื่องจากไม่ต้องจ่ายค่าแฟรนไชส์และค่าบริการเพิ่ม ส่วนความหมายในเชิงลึกคือการแสดงออกถึงการใช้ชีวิตแบบนอกกรอบ ไม่ตามใคร มีความเป็นตัวเองสูง ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบสังคมนิยมที่จะต้องกินกาแฟจากสตาร์บัค แต่ไม่ได้แอนตี้การกินกาแฟจากร้านเหล่านี้เสียทีเดียว ทั้งยังพยายามแสดงออกว่ามีความสามารถกินกาแฟจากร้านแฟรนไชส์ได้แต่ไม่กินเพราะขาดความเป็นศิลปะ และมองว่าเป็นสิ่งขาดรสนิยมแบบฮิปสเตอร์ไป

นอกจากการรสนิยมทางการบริโภคในเรื่องกาแฟที่เด่นชัดแล้วกิจกรรมการปั่นจักรยานก็คงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าชาวฮิปสเตอร์นั้นรักธรรมชาติ รักสุขภาพ พร้อมห่วงใยสภาพอากาศของสังคม ประกอบสร้างให้ฮิปสเตอร์ดูเป็นคนมีความคิดดีและรับผิดชอบต่อสังคม โดยที่ความจริงก็ไม่ได้ปรากฏว่าจุดประสงค์แท้จริงของการปั่นจักรยานคืออะไรกันแน่ แต่คนภายนอกสามารถตีความไปในแนวนั้นได้

นอกจากนี้หากมององค์ประกอบโดยรวมของเหล่าฮิปสเตอร์ไทยแล้วนั้น จะเห็นความคล้ายคลึงกับคนในยุค70’-90’ เป็นอย่างมาก ซึ่งคนในยุคนั้นมีความนิยมแบบชาติตะวันตกค่อนข้างมาก และเรารับวัฒนธรรมแบบฮิปสเตอร์มาจากตะวันตก ในตะวันตกการเป็นฮิปสเตอร์ถือเป็นเรื่องธรรมดามากๆ พูดอีกอย่างคือแท้จริงแล้วเราเลียนแบบชาวตะวันตกมาเต็มๆ

ฮิปสเตอร์จะแต่งตัวด้วยการใส่ยีนส์เป็นหลัก ยีนส์ในความหมายของแฟชั่นมันคือการแสดงออกถึงความกระฉับกระเฉง ความกระตือรือร้น และวัยที่ใส่ยีนส์นั่นก็คือคนหนุ่มสาวหรือวัยรุ่นนั่นเอง ไม่เพียงเท่านี้ ยุค 70’-90’ นั้นยังเป็นยุคที่มีความเจริญในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นดนตรี แฟชั่น ชาวฮิปสเตอร์จึงยึดถือว่าการใช้ชีวิตแบบคนในยุคนั้นเท่ และมีคุณค่ามากกว่าการใช้ชีวิตแบบคนในปัจจุบัน

แต่นั่นก็ไม่ได้แสดงว่าชาวฮิปสเตอร์ตัดขาดความนิยมในปัจจุบันเสียทีเดียว ตรงกันข้ามกลับติดโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นอย่างมาก ฮิปสเตอร์หลายๆ คนเป็นถึงเน็ตไอดอล แน่นอนอำนาจของความเป็น Celebrity ของพวกเขาถูกส่งผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วยการขยันอัพขยันแชร์รูปที่ตัวเองถ่าย ในมุมมองที่คนทั่วๆ ไปเขาไม่ทำกัน เช่น ถ่ายรูปกล้องผ่านกล้องอีกที ถ่ายรูปดอกไม้บนรองเท้า และสีที่ใช้ในการแต่งรูปต้องเป็นสีโทนอุ่นๆ ฟุ้งๆ เหมือนภาพที่ถ่ายจากกล้องฟิล์มในสมัยก่อน(ทั้งๆ ที่ถ่ายจากมือถือหรือกล้องดิจิตอล) นั่นคือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าฮิปสเตอร์ไทยนั้นกำลังประกาศให้เห็นว่าตนนั้นใช้ชีวิตที่แตกต่างกับคนยุคทุนนิยมในปัจจุบัน  โดยเลือกใช้ชีวิตแบบที่ ‘เหมือน’ ไม่เน้นวัตถุ และ ‘คิด’ ว่ามีคุณค่ามากกว่าคนทั่วๆไป

หากพิจารณาพฤติกรรมของฮิปสเตอร์ไทย แท้จริงแล้วสิ่งที่พวกเขาทำไม่ว่าจะเป็นการกินกาแฟไม่เน้นแบรนด์ ถ่ายรูปธรรมชาติ ปั่นจักรยาน ฯลฯ มันก็แสดงถึงการมีรสนิยมในกลุ่มเดียวกัน และการคิดว่าตัวเองมีความต่าง ก็คงลืมคิดไปว่าตัวเองนั้นก็ตามกระแสเซเลปฮิปสเตอร์คนอื่นๆ อยู่ดี ก็คงเรียกว่าต่างได้ไม่เต็มปากนัก

สิ่งที่ฮิปสเตอร์ต้องการคงไม่พ้นการเป็นที่ยอมรับตัวตนของพวกเขาจากคนในสังคม อยากให้สังคมมองเห็นคุณค่าในความต่างที่พวกเขาแสดงออก ฉะนั้น  "ความคิดที่เชื่อว่าตนเองแตกต่างทั้งที่ไม่ได้แตกต่าง" คือสิ่งที่ครอบงำวัยรุ่นที่หลงระเริงกับกระแสสังคมอย่างสนุกสนานโดยไม่ได้คิดอะไร ถามว่าเป็นเรื่องผิดหรือไม่ที่สังคมของเรามีฮิปสเตอร์โผล่ขึ้นเป็นดอกเห็ดขนาดนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องผิด การมีพฤติกรรมแบบสังคมส่วนใหญ่เป็นก็เป็นเรื่องปกติของสัตว์สังคมอย่างมนุษย์เรา แต่อย่าลืมมองเห็นคุณค่าในความเป็นตัวเอง เพราะการเป็นตัวเองเราจะรู้ว่าสิ่งนั้นเหมาะสมกับเรามากน้อยแค่ไหน เราจะเกิดความพอดีและรู้จักประมาณตนในแบบของเรา ลองมาเป็นฮิปสเตอร์ในแบบของตัวเองโดยไม่ตามใครคงจะเท่และเก๋ไม่น้อยเหมือนกัน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิถีมุสลิม: อิสลามกับวัฒนธรรมมลายู

$
0
0

 

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์พระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

อิสลามเป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า การมอบ การยอมจำนน การยอมแพ้ และการยอมตาม สำหรับความหมายศัพท์ทางวิชาการ  ได้ให้ความหมายของอิสลามไว้ว่า "อิสลามคือการยอมจำนนต่ออัลลอฮ (ซุบหานะฮูวตะอาลา) ในคำสั่งใช้และคำสั่งห้าม ผู้ใดที่ยอมจำนนทั้งกาย วาจา และใจในทุกๆ สิ่งต่ออัลลอฮ (ซุบหานะฮูวตะอาลา) เขาผู้นั้นคือ มุสลิม ผู้ที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อเอกองค์อัลลอฮ (ซุบหานะฮูวตะอาลา)" ดังที่พระองค์ได้เคยตรัสแก่นบีอิบริฮีม (อะลัยฮิสลาม)

ความว่า "เมื่อครั้งที่ผู้อภิบาลของเรา (อิบรอฮีม) ได้ตรัสแก่เขาว่า เจ้าจงเป็นมุสลิมผู้สวามิภักดิ์เถิด เขาก็ตอบว่า ข้าพเจ้าได้เป็นมุสลิมผู้สวามิภักดิ์ต่อผู้อภิบาล" (อัลบากอเราะฮฺ : 131)

สำหรับสิ่งที่อิสลามถือว่าสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกและเป็นรากฐานคือ หลักการศรัทธาในพจนานุกรมอาหรับ ได้ให้ความหมายของการศรัทธาไว้ว่า "ศรัทธาแปลว่า เชื่อ ดังที่อัลลอฮ (ซุบหานะฮูวตะอาลา)" ได้ตรัสในอัลกุรอานความว่า "และท่านยังไม่ได้เป็นผู้ศรัทธา (ชื่อ) ต่อเรา" (ยูซุฟ:17)

ท่านอิหม่ามอบูฮะนีฟะห์ (ฮ.ศ. 80 - 150) ได้ให้ความหมายของการศรัทธาในหนังสือ al-Fiqh al-Akbar ของท่าน อาลี อัลกอรี  ไว้ว่า "การศรัทธานั้นจะต้องประกอบด้วยการยอมรับและการเชื่อ คือการยอมรับด้วยวาจา และเชื่อด้วยจิตใจ ซึ่งจะต้องอยู่คู่กันขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดมิได้"

ท่านเมาดูดีย์  มีทัศนะว่า ความศรัทธาจะต้องเกิดมาจากความรู้ก่อน "ศรัทธาถ้าจะแปลตามตัวอักษรแล้ว แปลว่า รู้ เชื่อ และเชื่อถือโดยไม่มีข้อสงสัย ดังนั้นศรัทธา คือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นจากความรู้และความเชื่อถือ ผู้ซึ่งเชื่อถือในเอกภาพของอัลลอฮ เชื่อถือในคุณลักษณะของพระองค์ เชื่อถือในบทบัญญัติของพระองค์ กฎการให้รางวัลและลงโทษของพระองค์แล้วก็จะได้รับขนานนามว่า ผู้ศรัทธา"

หลักศรัทธาถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในอิสลาม ผู้ใดปฏิเสธหลักศรัทธาการงานของเขาจะไม่ถูกตอบรับจากอัลลอฮ ในที่สุดเขาจะเป็นผู้ที่ขาดทุนในวันอาคีเราะห์ (โลกหน้า) ดังที่อัลลอฮตรัสไว้ในอัลกุรอาน

ความว่า "และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธาดังนั้นการงานของเขาก็ไร้ผลอย่างแน่นอน และเขาจะเป็นผู้หนึ่งในบรรดาผู้ที่ขาดทุนในวันอาคีเราะห์" (อัลมาอิดะฮฺ: 5)

สำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามจะเรียกว่ามุสลิม การจะเป็นมุสลิมที่ศรัทธาและถูกยอมรับจากพระเจ้าและสังคมมุสลิมนั้น ผู้นั้นจะพร้อมที่จะยอมจำนนต่อพระเจ้าที่มีพระนามว่าอัลลอฮ (ซุบหานะฮูวตะอาลา) ในคำสั่งใช้และคำสั่งห้าม ผู้ใดที่ยอมจำนนทั้งกาย วาจา และใจในทุกๆ สิ่งต่ออัลลอฮ (ซุบหานะฮูวตะอาลา) ทรงสั่งใช้โดยเฉพาะการปฏิบัติตามกฎหมายอิสลามซึ่งเป็นธรรมนูญชีวิตของมุสลิม

สำหรับหลักศรัทธาในศาสนาอิสลามนั้นประกอบด้วย 6 ประการด้วยกัน

1.  การศรัทธาว่าอัลลอฮ์เป็นพระเจ้า

2. การศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮ์[1]

3. การศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ของพระองค์

4. การศรัทธาในบรรดาศาสนทูต(รอซูล)ของพระองค์ 

5. การศรัทธาในวันสิ้นโลก (อาคิเราะฮ์) หรือวันพิพากษา

6.  การศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะการณ์ ว่ามาจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น นั่นคือศรัทธาว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและดำเนินไปนั้นมาจากการกำหนด และอยู่ภายใต้การควบคุมของพระองค์ ในทางตรงกันข้ามหากพระองค์ไม่ประสงค์ในสิ่งใดหรือยับยั้งในสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะไม่มีวันเกิดขึ้นเช่นกัน

ในขณะที่หลักปฏิบัติประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 5 ประการ คือ

1. การกล่าวคำปฏิญาณตนว่า “ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮ. มุฮัมมัด รอซูลุลลอฮ.” ซึ่งแปลว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกเคารพภักดีอย่างเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮ.และมุฮัมมัดเป็นศาสนฑูตของพระองค์.

2. การนมาซหรือละหมาด  วันละ 5 เวลา

3. การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

4. การจ่ายซะกาตหรือทานบังคับ

5. การประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครมักกะฮสำหรับผู้ที่มีความสารถ

แต่ทั้งห้าประการนี้ในหมวดการประกอบศาสนกิจ เพราะหลักนิติศาสตร์  แบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ๆ คือ

1. หมวดการประกอบศาสนกิจตามที่เกล้ามาแล้ว

2. หมวดปฏิสัมพันธ์ (อัลมุอามะลาตฺ) อันหมายถึงบรรดาหลักการเฉพาะ ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน อาทิเช่น การซื้อขาย, การทำธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ การสมรส และการตัดสินข้อพิพาท เป็นต้น

ในส่วนของนักวิชาการ สังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ ได้แบ่งหมวดของกฎหมายอิสลาม ออกเป็น 4 หมวด คือ

1. หมวดการประกอบศาสนกิจ (อัลอิบาดาตฺ)

2. หมวดปฏิสัมพันธ์ (อัลมุอามะลาตฺ)

3. หมวดลักษณะอาญา (อัลอุกูบาตฺ)

4. หมวดการสมรส (อัซซะวาจฺญ์) หรือกฎหมายครอบครัว (อะฮฺกาม – อัลอุสเราะฮฺ)

* จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่า ประเภทหมวดของกฎหมายอิสลาม มีความครอบคลุมถึง เรื่องราวทางศาสนา และทางโลก ในขณะที่หลักนิติธรรมอิสลาม ตั้งอยู่บนหลักพื้นฐาน ของการจัดระเบียบ ที่ครอบคลุมกิจกรรมทุกมิติ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นมิติทางจิตวิญญาณ, จริยธรรม และวัตถ

หลักพื้นฐาน 5 ประการเปรียบเสมือนเสาห้าต้นของอิสลาม ซึ่งเสหมือน “บ้าน” หรืออาคารที่ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญบ้านจะต้องสร้างขึ้นมาจาก “เสา” โดยเสาทั้ง 5 ต้นได้เล่นบทบาทในการค้ำจุนสังคมมุสลิมในมิติที่แตกต่างกัน การปฏิญานตนนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่เข้ามาเล่นในบทบาทของอุดมการณ์  ตามด้วยการละหมาดวันละ 5 เวลา เข้ามาเล่นบทบาทในสองด้าน ด้านหนึ่งคือการสร้างสัมพันธ์เริ่มต้นกับอัลลอฮฺ  ในอีกด้านหนึ่งเป็นการก่อร่างชุมชนมุสลิมพื้นฐานโดยมีมัสญิดเป็นศูนย์กลาง ส่วนการจ่ายซะกาตทุกปีเข้ามาเล่นบทบาทการกระจายความมั่งคั่งทางวัตถุและการสถาปนาพื้นฐานความยุติธรรมในสังคม และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนได้เข้ามาเล่นบทบาทเป็นโรงเรียนของการฝึกอบรมผู้ศรัทธาในหลากหลายมิติ สำหรับฮัจญ์ที่กำหนดให้ผู้มีความสามารถกระทำอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิตได้ เข้ามาเล่นบทบาทชุมชนโลกของอุมมะฮฺอิสลามที่ยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ

องค์ประกอบหลักทั้งสองจะต้องสะท้อนจากความบริสุทธิใจซึ่งในศาสนาอิสลามเรียกว่า หลักคุณธรรม (อัลเอียะฮฺซาน)   หลักทั้ง 3 ประการนี้ได้มาจากคำสอนของ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้วัจนะไว้ ความว่า  "ขณะที่เรากำลังอยู่กับท่านศาสนฑูตในวันหนึ่ง มีชายผู้หนึ่งได้ปรากฎกายขึ้น เขาใส่อาภรณ์ที่ขาวสะอาด มีผมดำขลับ โดยที่ไม่มีร่องรอยของการเดินทางปรากฏให้เห็น ไม่มีผู้ใดในหมู่เราที่รู้จักเขา จนกระทั่งเขาเข้ามานั่งเอาเข่าเกยกับเข่า ของท่านนบี และเอามือทั้งสองวางลงบนหน้าตักของท่านนบีแล้วกล่าวว่า"โอ้..มุฮัมหมัด โปรดบอกฉันเกี่ยวกับอัลอิสลาม" ท่านตอบว่า "คือการปฏิญาณตนว่า ลาอิลาฮ่าอิ้ลลัลลอฮฺ มูฮำหมัดรอซูลุ้ลลอฮฺ และการดำรงละหมาด การบริจาคซะกาต การถือศิลอดเดือนรอมฎอน และการทำฮัจญ์หากมีความสามารถจะไปได้" ชายผู้นั้นกล่าวว่า "ท่านพูดถูกแล้ว" (ท่านอุมัร) กล่าวว่า เราแปลกใจเหลือเกินที่เขาถามแล้วยืนยันในคำตอบเสียเองเขาถามต่อไปว่า "โปรดบอกฉันเกี่ยวอัลอีหม่าน" ท่านนบีตอบว่า "คือการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ, ต่อมาลาอิกะฮฺ, ต่อคัมภีร์, บรรดาศาสนฑูตขอพระองค์, วันอวสาน และศรัทธาในเรื่องการกำหนดความดีและความชั่วของพระองค์" ชายผู้นั้นกล่าวว่า "ท่านพูดถูกแล้ว"เขายังถามต่อไปอีกว่า "โปรดบอกฉันเกี่ยวกับอัลเอียะฮฺซาน" ท่านนบีตอบว่า "คือการที่ท่านจะต้องสักการะต่ออัลลอฮฺประหนึ่งว่า ได้เห็นพระองค์ แม้ว่าท่านไม่เห็นพระองค์ก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเห็นท่าน"[2]

หลักทั้ง 3 ประการดังที่กล่าวมา จะต้องสามารถบูรณาการกันได้และเชื่อมสัมพันธ์กันอย่างเชื่อมโยงกันมาตรแม้นผู้ใดผู้หนึ่งปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ ได้อย่างครบถ้วนแต่หลักศรัทธาผิดเพี้ยน ฉะนั้นการปฏิบัติของเขาก็ไร้ผล หรือคนที่หลักศรัทธาถูกแต่ปฏิบัติไม่ถูก ก็ไร้ผลเช่นเดียวกัน หรือคนที่มีหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติสมบูรณ์ แต่ขาดความบริสุทธิ์ใจในความเชื่อหรือในการปฏิบัตินั้น งานของเขาก็ไร้ผลเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างของผู้ที่มีหลักศรัทธาไม่ถูกต้องงานของเขาก็ไร้ผล เช่น คำตัดสินของท่านอิบนุ อุมัร เกี่ยวกับผู้ที่เชื่อเรื่องการกำหนดสภาวะการณ์ ผิดพลาด ดังนี้ "หากว่าคนใดในหมู่พวกเขามีทองประหนึ่งดังภูเขาอุฮุดแล้วเขาก็บริจาคมันไป อัลลอฮฺก็จะไม่รับการบริจาคจากเขาจนกว่าเขาจะศรัทธา ในเรื่องการกำหนดสภาวะการณ์อย่างถูกต้องเสียก่อน"[3]  ตัวอย่างของผู้ที่เชื่อถูกแต่ปฏิบัติไม่ถูก งานของเขาก็ไร้ผลดังนี้

ท่านอิบนุ อุมัรกล่าวว่า "ฉันเคยได้ยินท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า การละหมาดโดยไม่มีน้ำละหมาดนั้น จะไม่ถูกตอบรับ และการบริจาคจากทรัพย์ที่ยักยอกมาจะไม่ถูกตอบรับเช่นเดียวกัน"  

ตัวอย่างของผู้ที่เชื่อถูกและปฏิบัติก็ถูกแต่ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ (เพื่อพระเจ้าองค์เดียว) งานของเขาก็ไร้ผล ดังที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ว่า"และพวกเขามิได้ถูกใช้เพื่อสิ่งใด นอกจากเพื่อการสักการะต่ออัลลอฮฺอย่างผู้ที่บริสุทธิ์ใจ" (อัล-บัยยินะฮฺ:5)

จากหลักการอิสลามดังกล่าวทำให้ศาสนาอิสสลามคือแนวทางการดำเนินชีวิตหรือธรรมนูญชีวิต (Code of Life) ของมุสลิมทุกคนที่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามจนเป็นวิถีวัฒนธรรม  ถึงแม้จะมีกฎหมายของแต่ละประเทศรองรับหรือไม่รวมทั้งประเทศไทย ดังที่ สมบูรณ์ พุทธจักร ให้ทัศนะว่า “ประเทศไทยรู้จักคุ้นเคยกับกฎหมายอิสลามมาช้านานพร้อมๆ กับการเข้ามาของศาสนาอิสลามในประเทศไทย  เมื่อมุสลิมเป็นประชาชนส่วนหนึ่งของประเทศไทย  ศาสนาอิสลามจึงเป็นศาสนาหนึ่งของประเทศไทย  ดังนั้นกฎหมายอิสลามจึงถือเป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่งของประเทศไทยโดยเฉพาะในบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ยึดปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะได้รับการรับรองจากรัฐหรือไม่ก็ตามมุสลิมก็มีความจำเป็นต้องยึดถือปฏิบัติ ”  ในขณะเดียวกันการจะพัฒนาการเมือง  เศรษฐกิจ สังคม  การศึกษา  ศาสนา วัฒนธรรมในชุมชนมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องสอดคล้องกับหลักการอิสลาม

วิถีวัฒนธรรมมุสลิมข้างต้นจะต้องสอดคล้องกับหลักการอิสลามเท่านั้นจึงจะเรียกว่าวัฒนธรรมอิสลาม   ดังนั้นวิถีวัฒนธรรมของมุสลิมจะต้องสอดคล้องกับหลักการอิสลามซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักสองประการคือคำสั่งของอัลลอ์และแบบฉบับของท่านร่อซู้ลมุฮัมมัด โดยจะต้องผ่านหลักฐานอ้างอิงอัน ประกอบด้วยคัมภีร์อัลกรุอาน อัล สุนนะฮฺ (วัจนศาสดา)[4]อัล อิจมาอฺ[5](ความเห็นที่เหมือนกัน) อัล กิยาส[6] (การผนวกเหตุการณ์ที่ไม่มีหลักฐานกำหนดบทบัญญัติ)

จะเห็นได้ว่า วิถีของความเป็นมุสลิม จะผูกยึดกับหลักปฏิบัติอย่างแน่นหนา โดยมีพื้นฐานจากหลักความเชื่อทางศาสนาเป็นตัวกำหนด อันแสดงความเป็นอัตลักษณ์มุสลิมอย่างชัดเจน

อัตลักษณ์มุสลิม (Muslim Identity) เป็นความรู้สึกนึกคิดที่บุคคลมีต่อมุสลิมว่า “มุสลิมคือใคร” ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการปฏิสังสรรค์ระหว่างตัวมุสลิมกับคนอื่น โดยผ่านการมองของมุสลิมและการที่คนอื่นมองมุสลิม อัตลักษณ์ต้องการความตระหนัก (awareness) ในตัวมุสลิมและพื้นฐานของการเลือกบางอย่าง นั่นคือมุสลิมจะต้องแสดงตนหรือยอมรับอย่างตั้งใจกับอัตลักษณ์ที่มุสลิมเลือก ความสำคัญของการแสดงตนก็คือ การระบุได้ว่ามุสลิมมีอัตลักษณ์ทีอยู่ภายใต้หลักการอิสลาม และมีความแตกต่างจากกลุ่มอื่น อื่นที่ไม่ใช่มุสลิม

ฉลาดชาย รมิตานนท์ กล่าวว่าอัตลักษณ์นั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นลอยๆ ตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างของวัฒนธรรมในช่วงเวลาหนึ่ง และวัฒนธรรมก็เป็นสิ่งก่อสร้างทางสังคม (social construct) นอกจากนี้วัฒนธรรมก็ไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งหรือตายตัว หากแต่มีรูปแบบเป็นวงจรที่เรียกว่า “วงจรแห่งวัฒนธรรม” (circuit of culture) ดังนั้นอัตลักษณ์ทั้งหลายจึงมีกระบวนการถูกผลิต (produced) ให้เกิดขึ้น สามารถถูกบริโภค (consumed) และถูกควบคุมจัดการ (regulated) อยู่ในวัฒนธรรมเหล่านั้น และทั้งนี้ยังมีการสร้างความหมายต่างๆ (creating meanings) ผ่านทางระบบต่างๆ ของการสร้างภาพตัวแทน (symbolic systems of representation) ที่เกี่ยวกับตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ ทางอัตลักษณ์อันหลากหลายที่สามารถเลือกใช้ หรือนำเอามาสร้างเป็นอัตลักษณ์ของของแต่ละคน

ประเวศ วะสี (2545) กล่าวว่าวิถีชีวิตชุมชนคือวัฒนธรรม วัฒนธรรมคือวิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มชน ที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมหนึ่งๆ อันประกอบด้วย ความเชื่อร่วมกัน การมีระบบคุณค่าร่วมกัน การทำมาหากิน ภาษา การดูแลรักษาสุขภาพ ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ ควรสังเกตว่าในขณะวัฒนธรรมเป็นบูรณาการของวิถี ชีวิตทั้งหมด แต่เศรษฐกิจแบบที่เข้าใจกันอย่างปัจจุบัน เป็นเรื่องแยกส่วนที่เอาเงินเป็นตัวตั้ง  

ดังนั้นอัต ลักษณ์นักศึกษามุสลิมอันมีฐานมาจากวัฒนธรรมและวิถีแห่งชุมชน จึงอาจให้นิยามโดยง่ายว่า การแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของนักศึกษามุสลิมโดยมีพื้นฐานอยู่บนวัฒนธรรม ประเพณี อันสืบเนื่องมาจากหลักการแห่งศาสนาอิสลามและวิถีแห่งมุสลิมเป็นตัวกำหนด

แล้วอะไรคือวิถีมุสลิม วิถีมุสลิมเป็นวิถีที่ยึดโยงกับแก่นแกนของอิสลาม 3 ประการ อันได้แก่หลักศรัทธา หลักศาสนบัญญัติ ตลอดจนหลักคุณธรรมจริยธรรม   ซึ่งเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นหน้าที่ของมุสลิมที่ต้องทำความเข้าใจ การมีศรัทธาในอิสลามนอกจากจะต้องได้รับการยืนยันด้วยวาจา โดยการกล่าวปฏิญาณตนและโดยการปฏิบัติด้วยการนมาซ(ละหมาด) ถือศีลอด จ่ายซะกาต(การจ่ายทานบังคับ) และไปทำฮัจญ์แล้ว ยังต้องแสดงออกในชีวิตประจำวันตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมมัดปฏิบัติไว้ ให้เป็นแบบอย่างด้วย

อีกทั้งอิสลามสอนว่า มนุษย์ถูกส่งมาใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้เป็นการชั่วคราวและมีชีวิตที่แตกต่างกัน ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ฐานะและโอกาส ทั้งนี้เพื่อให้มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน แต่สิ่งที่มนุษย์จะได้รับเหมือนกันคือการทดสอบจากอัลลอฮฺตลอดทั้งชีวิต ว่าเขาจะนึกถึงและศรัทธาต่อพระองค์หรือไม่ 

ดังที่ อัลซุฮัยลีย ให้ทัศนะว่า หลักฐานที่นักวิชาการส่วนมากเห็นพ้องกัน ซึ่งประกอบด้วยคัมภีร์อัลกรุอาน อัล สุนนะฮฺ (วัจนศาสดา) อัล อิจมาอฺ (ความเห็นที่เหมือนกัน) อัล กิยาส (การผนวกเหตุการณ์ที่ไม่มีหลักฐานกำหนดบทบัญญัติ)

เช่น อ.อัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง  นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีให้ทรรศนะ งานบุญและการละเล่นเป็นสิ่งที่คู่กับชุมชนนั้นมาตั้งแต่อดีตเพียงแต่นำหลักศาสนาอิสลามมาบูรณาการ 


“ในบางกิจกรรมเป็นวิถีดั้งเดิมที่ตกทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมเก่าที่มีอิทธิพลพื้นฐานเป็นของวิถีฮินดู พราหมณ์ และความนิยมในสังคม เช่น 

1. งานบุญ  งานแต่งงาน มีกิจกรรมบางประการที่เป็นลักษณะอิทธิพลของฮินดู พราหมณ์ เช่น การทำบายศรี (บูงอซีเระฮฺBunga Sirihฺ) การป้อนข้าวเหนียวสี (ขาว แดง เหลือง ที่เรียกว่า Jemput Semangat หรือ Makan Semangat) การแห่ขบวนช้าง ตลอดจนการตกแต่งประดับประดาสถานที่ด้วยดอกไม้และสีสันอย่างสวยงาม ตลอดจนการนั่งเก้าอี้คู่กันเหมือนกับการนั่งบัลลังก์ (เกอราญางัน Kerajangan)ของบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน งานจัดเลี้ยงเนื่องในวันเข้าสุหนัตหรือมาซกยาวี (ขริบปลายหนังอวัยวะเพศชาย) บางครอบครัวจะมีการจัดงานเลี้ยงอาหารใหญ่โต เชิญแขกเหรื่อจำนวนมาก มีการแห่ขบวนช้างและมีการละเล่นบันเทิงหลากชนิด ซึ่งในทัศนะของศาสนาถือเป็นการฟุ่มเฟือย การโอ้อวด และทำให้หลงตัวเอง หลายกิจกรรมได้ถูกล้มเลิกลง คงเหลือเพียงกิจกรรมหลักเท่านั้น

2. งานกินน้ำชา (มาแกแต) เพื่อการกุศลหรือช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น สร้างศาสนสถาน โรงเรียน สถานสาธารณะ หรือการช่วยเหลือความเดือดร้อนเฉพาะบุคคล เป็นต้น ยังคงเป็นวิถีที่ยังคงหาดูได้ในสังคมชายแดนใต้”  แต่ก็อาจจะปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย  มีการเลี้ยงโต๊ะจีน บ้างในงานหารายได้ใหญ่ๆ  มีการเปิดบ้านเลี้ยงอาหารวันฮารีรายอในแต่ละที่ก็แตกต่างกัน

3. การละเล่นและการแสดง บางอย่างบางประเภทนอกจากจะเป็นการละเล่นที่ผสมผสานของวัฒนธรรมหลายๆ วัฒนธรรมมาประยุกต์เป็นของท้องถิ่น เช่น บาดิเกฮูลู (ดิเกฮูลู) มโนราห์ มะโย่ง ตตือรี (การแสดงเพื่อการรักษาโรค) การแห่นกในวรรณคดี หนังใหญ่ (วายังชวา วายังมลายู) หนังตะลุง (วายังกูเล็ต) ฯลฯ ปัจจุบันจะยังคงมีการแสดงบ้างแต่ค่อนข้างจะหาชมได้ยากขึ้น การละเล่นหรือการแสดงใดที่ล่อแหลมหรือขัดกับหลักการศาสนาจะถูกละทิ้งไป การขัดหลักศาสนา เช่น มีสตรีแสดงร่วมกับบุรุษ การร้องรำทำเพลงในที่สาธารณะ ผู้ชมผู้ร่วมที่ไม่แบ่งสถานที่ระหว่างชายหญิง เนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องที่เชิญชวนในเรื่องชู้สาว ไม่สุภาพ อิจฉาริษยา ดูถูกศาสนา กล่าวหาใส่ร้ายผู้อื่น ฯลฯ ในหลักการศาสนาต้องการจะปกป้องและป้องกันเรื่องความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากการแสดงหรือการละเล่นจึงได้กำหนดกรอบให้ปฏิบัติให้ชัดเจน

ตัวตนสังคมมลายูมุสลิมเป็นแบบอย่างหนึ่งในระบบนิเวศของประชาชนในประเทศ ความสวยงามที่มีพื้นฐานทางศาสนายังคงสามารถดำรงรักษาอย่างยาวนาน ถึงแม้จะมีพายุร้ายคลื่นลมแรงถาโถมด้วยความหนักหน่วงหนักหนาและสาหัสสากรรจ์มาโดยตลอดเพียงใดก็ตาม แต่สัจธรรมที่เป็นกรอบของชุมชนยังคงรับภาระหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบอย่างดียิ่ง เพียงแต่คนในสังคมประเทศจะเข้าใจเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงใด จะแยกแยะสัจธรรมและอวิชชาออกจากกันมากน้อยชัดเจนเช่นใด อย่างไร ระดับการยอมรับในความสวยงามของความหลากหลายของเพื่อนร่วมชาติมากน้อยเพียงใดเท่านั้น”  ที่สังคมมุสลิมในประเทศอื่นก็เช่นกันมีขนบธรรมเนียมประเพณี  แลการละเล่นที่แตกต่างกันตามเผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ 

 

 

 

อ้างอิง

[1]เทวทูต โดยพวกเขาเหล่านั้นกำเนิดจากรัศมีหน้าที่หลักในการปฏิบัติตามอัลลอฮฺ ในขณะเดียวกันมลาอิกะฮ์นั้นไม่กินไม่ดื่ม เป็นต้น

[2]รายงานโดยท่าน อุมัร อิบนิค็อตต็อบ บันทึกโดยมุสลิม 

[3]บันทึกโดย มุสลิม ในซอเฮียะมุสลิม กีตาบุตตอฮาเราะฮฺ บทที่2

[4]สุนนะฮฺ หมายถึง สิ่งที่มาจากท่านศาสดามุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ว่าจะเป็นคำพูด การกระทำหรือการยอมรับ (อิสมาแอ อาลี ,2535 : 54 ; Mohd.Salkitee,1996 :73 ; Khallaaf,1995 : 35 ; Al-Zohailee,1996 :1/450)

[5]ความเห็นที่เหมือนกันของประชาชาติมุสลิมในเรื่องศาสนา (Al-Ghazali, n.d :2/294)หรือหมายถึง ความเห็นที่เหมือนกันของบรรดาปาชญ์ผู้วินิฉัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของปัญหาศาสนา (Al-Razee,1992:4/20 )

[6]กิยาส คือการผนวกเหตุการณ์ที่ไม่มีหลักฐานกำหนดบทบัญญัติ เข้ากับเหตุการณ์ที่มีหลักฐานกำหนดบทบัญญัติ เพราะทั้งสองเหตุการณ์มีสาเหตุ  ของการกำหนดบทบัญญัติเหมือนกันเช่นกัญชาเป็นสิ่งผิดศาสนบัญญัติ เหมือนกับเหล้า เพราะทั้งสองมีลักษณะมึนเมา เป็นสาเหตุในการถูกห้ามเหมือนกันเหล้านั้นเป็นสิ่งที่สิ่งผิดศาสนบัญญัติ และถูกห้ามโดยมีนัศศฺ (หลักฐาน) จากคัมภีร์อัลกรุอาน ในขณะกันชาไม่ได้ระบุในคัมภีร์(Khallaf,1995:52)

  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ.รามฯ โวย ‘ASTV’ แก้ข่าว ‘ทหารพรานนราฯมอบอาคารเรียนตาดีกา’ ทั้งที่เป็นโครงการนักศึกษา

$
0
0

องค์การ-สภานักศึกษา-กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายภาคใต้(P.N.Y.S) ม.รามฯ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ‘ASTV’ แก้ข่าว หลังระบุ ทหารพรานนราฯมอบอาคารเรียนตาดีกา ทั้งที่เป็นโครการนักศึกษา

 

29 มี.ค.2558 องค์การนักศึกษาสภานักศึกษาเเละกลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายภาคใต้(P.N.Y.S) มหาวิทยาลัยรามคำเเหง ออกแถลงการณ์ หลังจากวานนี้(28 มี.ค.58) ASTVผู้จัดการออนไลน์ นำเสนอข่าว "ทหารพรานนราฯมอบอาคารเรียนตาดีกาให้ชุมชนหลังสร้างเสร็จเรียบร้อย" โรงเรียนตาดีกา หมู่บ้านไอร์กือซา ม.3 ต.ช้างเผือก อ.จะเเนะ จ.นราธิวาส (ตามลิงค์: http://manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9580000036053 )

โดยแถลงการณ์ของนักศึกษาโต้แย้งว่า จากการนำเสนอข่าวข้างต้นบิดเบือนกับข้อเท็จจริงจนทำให้เกิดกระเเสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากโรงเรียนตาดีกาดังกล่าวเป็นโครงงานค่ายเรียนรู้ศึกษาปัญหาชนบทและอบรมจริยธรรมของกลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีการศึกษา 2557 อาคารเรียนตาดีกาหลังนี้ได้ก่อสร้างระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน - 20 ธันวาคม 2557 ในการนี้องค์การนักศึกษาสภานักศึกษาและกลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายเเดนชายแดนภาคใต้มหาวิทยาลัยรามคำเเหง ขอเรียกร้องให้สื่อ ASTV กอ.รมน.และทหารพรานแสดงความรับผิดชอบโดย

1.ขอให้บรรณาธิการสื่อASTV กอ.รมน.และทหารพรานออกมาขอโทษนักศึกษาและผู้ให้การสนับสนุนโครงงานฯ

2.ขอให้สื่อASTVนำเสนอข้อมูลความเป็นจริงของโครงงานตามหนังสืออ้างอิงที่กล่าวข้างต้นให้สาธารณชนได้รับทราบ

3.ขอให้สื่อASTVนำเสนอข่าวที่ได้ตรวจสอบอย่างเป็นกลางด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ งดการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมนักศึกษาและสังคมโดยร่วม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฑเถนวาท: การเวียนซ้ำของสถานการณ์ในยุคมืด

$
0
0


 

เกริ่นนำ

“เถนวาท”(อ่านว่า เถ-นะ-วาท) คำนี้ จงใจให้คล้ายคลึงกับคำว่า “เถรวาท” (ในแป้นพิมพ์ตัว “ร” กับตัว “น” อยู่ติดกัน) แต่ให้ความหมายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เถรวาท คำนี้มาจากคำว่า “เถระ”(ถิร-ผู้มั่นคง) ซึ่งพระพุทธเจ้าอธิบายดังที่เขียนไว้ในธรรมบทว่า เถระ คือ ผู้รู้ธรรมดับทุกข์ มีกิริยาเป็นปรกติมนุษย์ มักรอบคอบสำรวม ไม่ข้องแวะกับความรุนแรงการเบียดเบียนสิ้นเชิง ท่านเหล่านั้นเจริญชีวิตอย่างสงบอาศัยความรอบรู้ในธรรม [1]และเมื่อเป็นแบบนี้ เห็นได้ชัดว่า คำ “เถระ” ที่ใช้ในภาษาไทยเกิดความคลาดเคลื่อนฟั่นเฝือจากจำกัดความในธรรมบทนี้ กล่าวคือ เถระชาวไทยมีกิริยาไม่เป็นปรกติมนุษย์ นั่นคือ รักจะเป็นอภิมนุษย์ เป็นผู้แสดงฤทธิ์ปาฏิหาริ์ย (ซึ่งพระพุทธเจ้าตำหนิรุนแรงขนาดว่าไม่ต่างจากโสเภณีอวดของลับ) เถระชาวไทยมักไม่สำรวม ข้องแวะกับกิจกรรมส่งเสริมความรุนแรงและการเบียดเบียน เป็นต้น การเคลื่อนไหวทางการเมืองเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ เถระชาวไทยยังเจริญชีวิตตามกระแสโลกด้วยวิชาความรู้ทางโลกหรือเดรัจฉานวิชา สั่งสมทรัพย์สมบัติ ประจบคฤหัสถ์ ไม่ศึกษาคัมภีร์ที่ตนเองปวารณาเองว่าจะศึกษาให้แตกฉาน ดังนั้น คำนาม “เถรวาท” ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า คำพูดของเถระ อันบ่งถึงว่าเป็น “เถระ” ที่ร่วมสังคายนาคำสอนของพระพุทธเจ้าครั้งที่ 1 พร้อมกันด้วยวิธีสังคีติ (สวดลงมติ) จึงไม่ปรากฎอย่างเด่นชัดใน เถระชาวไทย อาจเป็นเพราะ ความเป็นเถระชาวไทย ได้เปลี่ยนแปลงลักษณาการให้ขึ้นต่อวัฒนธรรมไปเสียแล้ว เช่น การยืมคำว่า “เถระ” มาใช้ในสมณศักดิ์ อันเป็นการสถาปนาชนชั้นของนักบวชขึ้นเพื่ออำนาจในการปกครองของรัฑภายใต้โฉมหน้าศาสนา เมื่อคำว่า “เถระ” เริ่มมีปัญหา อะไรเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาบ้าง?

เมื่อ “เถรวาท” ศัพท์เดิม ไม่น่าตรงกับ “เถรวาทแบบไทยๆ” จึงคำว่า “เถนวาท” ก็มีสิทธิ์ถูกหยิบขึ้นมาใช้อย่างลำลองเพื่ออธิบายลักษณาการของยุคมืดที่ “เถระ”(ผู้มั่นคง) กลายเป็น “เถนะ”(ผู้ลักขโมย-เงินบริจาคจนมั่งคั่ง) ดังนั้น “เถนวาท” ที่ค่อยๆคืบคลานมาแทนที่ “เถรวาท” ส่งผลให้ บรรดาพระเถนะเหล่านั้น ย่อมสาธยายธรรมเพื่อลาภ ยศ(สมณศักดิ์) สรรเสริญ(รางวัลทางโลกและการถูกยกย่องเป็นครูบาอาจารย์หรืออรหันต์) ที่สุดแล้ว เถนบุคคลก็ได้สิ้นจากความเป็นปรกติมนุษย์ไป นั่นคือ กลายเป็นอภิมนุษย์ เต็มไปด้วยพิธีรีตอง เต็มไปด้วยการบวงสรวงบูชา (เห็นชัดว่า ความเป็นเถระได้ขาดลงโดยปริยายหากถือตามคำอธิบายของพระพุทธเจ้าด้วย) แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วในยุคมืด (Medieval era) ซึ่งตามปกติเรามิได้ศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้มันเกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ


เนื้อหา

[1] พระเถนะสอนคำสอนที่จับต้องไม่ได้ เพราะคำสอนที่จับต้องได้ ตรวจสอบได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักสำคัญหนึ่งในพุทธศาสนาชื่อ “โอวาทปาติโมกข์คาถา” ซึ่งท่องกันว่า “ทำดี ละเว้นขั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส” เป็นข้อสรุปที่กว้างขวางเกินไป และไม่อาจจับต้องได้เลย หากถามว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงพูดสรุปแก่นของพระพุทธศาสนาเพียงแค่นี้ คำตอบคือ พระพุทธเจ้าไม่ได้พูดเพียงแค่นี้ และในคาถาสั้นๆนี้ พระพุทธเจ้าพูดกับพระอรหันต์ด้วย ดังนั้นจึงเป็นว่า คู่สนทนาก็ทราบดีอยู่ในพุทธประสงค์แล้วเพราะเป็นสานุศิษย์ แต่ถ้าย้อนกลับมาถามพุทธศาสนิกชนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ก็จะเกิดปัญหาทันทีว่า ขอบเขตของการทำดี วิธีละเว้นชั่ว และแนวทางที่จะทำจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ในเมื่อศัพท์แต่ละคำ พระพุทธเจ้าได้ให้ความไว้ทั้งสิ้น เป็นต้น บุญ, บาป จึงน่าจะอรรถาธิบายว่า“ไม่สะสมสิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมองซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ทุกกรณี 1 ปฏิบัติสิ่งเกื้อกูลจิตให้รู้ ตื่น เบิกบานอย่างสม่ำเสมอ 1 ทำให้จิตรู้ ตื่น เบิก คล่องแคล่วว่องไว ควรการแก่ทำงานต่างๆ 1” หากเป็นแบบนี้ก็จะจับต้องได้มากขึ้น แต่ก็อาจจะเป็นนามธรรมอยู่เพราะเกี่ยวกับจิตใจ มองไม่เห็น วัดผลไม่ได้ แบบนี้ใครที่เจ้าโวหารหน่อยก็สามารถพูดได้ เช่น พระตุจโฉโปฏฐิละ เป็นต้น

ถ้าถามว่าในโอวาทปาติโมกข์คาถามีเท่านี้หรือไม่? คำตอบคือไม่ และคำสอนในคาถาก่อนหน้าของพระพุทธเจ้าก็น่าสนใจกว่า เพราะพอจะมองเห็นได้ วัดผลได้ (ทั้งยังเป็นคาถาต้นพระสูตร) กล่าวคือความอดทนเป็นสุดยอดตบะที่ต้องบำเพ็ญ, ความดับทุกข์เป็นสุดยอดของหลักธรรม จงไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นลำบาก ไม่พูดร้าย ไม่ทำร้าย กินแต่พอประมาณ อยู่ในที่สงบวิเวก ฝึกจิตให้สม่ำเสมอ เพราะนี่เป็นคำสอนของบรรดาผู้บรรลุธรรมทั้งหลาย [2]ดังนั้น โดยที่ไม่ต้องใช้เกณฑ์อย่างละเอียด เราสามารถจำแนกพระเถระกับเถนะได้จากพฤติกรรมดังกล่าว เพราะใครๆก็พูดได้ว่าตัวกำลังทำดี ตัวกำลังละเว้นความชั่ว ตัวกำลังหลับตาทำจิตบริสุทธิ์ แบบนี้อาจตู่เอาเองก็ได้ ถ้าเราหันมาใช้เกณฑ์ว่า มีความอดทนอดกลั้นหรือไม่? เบียดเบียนเบียดบังหรือไม่? ทำให้ผู้อื่นลำบากหรือไม่? (เพราะพระต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย) ไม่พูดร้ายโจมตีผู้อื่น (ไม่ว่าจะปากปราศัยน้ำใจเชือดคอหรือผรุสวาทก็ตาม) แต่ข้อหลังนี้ ไม่ได้แปลว่า ห้ามเข้าไปถกเถียงเสวนาเพื่อปัญญา แต่ห้ามพูดสิ่งที่ไร้เหตุผล การเพ้อเจ้อ เที่ยวไปตั้งชื่ออย่างนั้นอย่างนี้ บริภาษด่าคนนั้นคนนี้ (คือ การประพฤติตัวที่สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีโยนิโสมนสิการ คือ ความคิดโดยลึกซึ้ง) ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ถกเถียงกับนักบวชนิครนถ์อยู่บ่อยครั้ง

ดังนั้น ประเด็นเกี่ยวกับจริยศาสตร์นี้ ไม่จำเป็นต้องใช้วาระจิตหรืออิทธิฤทธิ์เข้าตรวจสอบ ใช้พฤติกรรมก็เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะพอแยกระหว่างพระเถนะกับพระเถระได้ หากเป็นพระเถนะแล้วก็เท่ากับเป็นโมฆบุรุษนั่นเอง


[2] พระเถนะพยายามสถาปนาคำสอนตัวเป็นที่หนึ่ง เป็นทางเดียว เพื่อแบ่งแยกและสร้างความรุนแรง

ประเด็นนี้ คล้ายคลึงกับแนวคิดของซีเปรียนนูส ที่ศาสนจักรยืมมาสร้างวัฒนธรรมแห่งความกลัวและความเกลียดชังตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษ และยังทรงพลังอยู่จนถึงทุกวันนี้ที่ว่า“นอกพระศาสนจักรไม่มีความรอด” (Extra Ecclesiam nulla salus) กล่าวคือ ต้องเป็นสำนักคิดของตัวเอง(อตฺตโนมติ) เท่านั้นที่จะได้รับความรอดพ้นในที่สุด (สำนักคิดอื่น แม้จะคิดคล้ายกันแต่ก็ไม่อาจจะได้รับความรอดได้) จะเห็นได้ว่าความคิดนี้ทำให้เกิดการตีตราผู้อื่นว่า “นอกรีต” (Heretic) และที่สุดเมื่อผสมผสานกับการเมืองแบบลึงค์เป็นศูนย์กลาง (คือ การเมืองแบบรัฑ) การประหารฆ่าฟันผู้หญิงและผู้เห็นต่างจึงเริ่มต้นในชื่อการล่าแม่มด (หลักฐานแรกๆของการล่าแม่มด ศาลศาสนาได้หาเรื่องฆ่าผู้หญิงก่อนผู้ชาย)

หากมีใครจะสวนโต้ว่า พุทธศาสนา ไม่ก้าวร้าวถึงขนาดจะฆ่าใครได้ ก็แนะนำให้ดูแนวคิดสุดโต่งของพระวีรธู(Ashin Wirathu) ในพม่า เหตุผลที่ชาวพุทธไม่บังอาจฆ่าใครตามอำเภอใจอย่างในยุคกลางได้ ก็เพราะ ศตวรรษที่ 21 โลกได้ยอมรับกฎหมายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อย่างน้อยที่สุด ก็มีการตกลงว่าการละเมิดชีวิตอย่างไร้เหตุผลระดับนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ กระนั้น ก็ยังมีผู้ปฏิบัติอยู่อย่างไม่รู้จักอาย (อลัชชี)  แม้กระทั่งในประเทศไทยเองก็ตาม เป็นต้น การละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ การค้ากามโสเภณีในฐานะวัตถุทางเพศ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เนื่องมาจากแนวคิดที่พยายามจะกวาดล้างผู้ที่เห็นต่างด้วยความรุนแรงทั้งสิ้น ข้อสังเกตสำคัญในประเด็นนี้คือ พระเถนะมักสนับสนุนความรุนแรงแบบนี้ ควบคู่กับ ความยินดีในทรัพย์ ประจบคฤหัสถ์ แสวงหาลาภ สักการะมากมาย ไม่ถือสันโดษ

ในบรรดาพระเถนะที่สนับสนุนให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือพูดให้ร้ายผู้อื่น แน่นอน อีกบทบาทหนึ่งก็จะสถาปนาตัวเองเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ (Spiritual leader) ผู้เข้าถึงธรรมะชั้นสูง (พระอริยบุคคล) สังเกตจากคำสรรเสริญเยินยอของบรรดาศิษย์ที่ยกครูขึ้นชั้นอรหันต์บ้าง โพธิสัตว์บ้าง และหลักฐานสำคัญ ก็คือ คำสอนของพระเถนะเหล่านั้นจะเน้นเกี่ยวกับสำนึกของความเป็นพวกเขา พวกเรา มีการใช้สรรพนามแทนพวกเขาพวกเรา นั่นคือ แบ่งแยกกลุ่มของตัวออกจากสังคมทั้งหมด อาจประนามสังคมบ้าง เยินยอตัวเองว่าเป็นกลุ่มผู้มีบุญบ้าง นั่นคือ สำนึกของความลุ่มหลง (โมหจริต) ว่าตัวเป็นที่หนึ่ง เป็นทางเอก เป็นทางเดียว กล่าวคือ หากไม่มีตัวเองแล้ว พระศาสนานี้ คงต้องถึงแก่การวิบัติ ซึ่งแนวคิดเรื่อง ผู้มีบุญ (ผีบุญ) ลักษณะนี้ ใช้ได้เสมอกับชาวไทยที่มีสำนึกเรื่องผี สาง และความงมงายดังกล่าวกลับเป็นสิ่งที่จะปิดกั้นความเป็นอริยบุคคลแม้ชั้นต้น อย่างโสดาบัน เสียเอง ในชื่อ “สีลพฺพตปรามาส” (misapprehension of virtue and duty) ซึ่งไม่ว่าจะใช้หลักการใดมาวิเคราะห์ แม้แต่หลักการที่หยาบที่สุด เป็นต้น สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ บรรดาพระเถนะเหล่านี้ก็พ้นหรือไม่อาจเกี่ยวข้องกับลักษณะของเถรวาททุกประการ


[3] พระเถนะไม่ห้ามศิษย์เอกที่สุดโต่ง แต่กลับพึงพอใจศิษย์เอกที่สุดโต่งนั้น เพื่อปกป้องประโยชน์ตน

บรรดาลูกศิษย์ของพระเถนะเหล่านี้จะมีลักษณะร่วมกัน (Stereotype) กล่าวคือ มีอารมณ์ที่วิปริตแปรปรวนคล้ายกับมีอาการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า หรือ ไบโพลาร์ (Depression or bipolar disorder) ควรรู้ว่า ผู้มีความผิดปรกติของสารเคมีในสมองในระดับที่ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะฝึกปฏิบัติจิต เช่น พระวินัยห้ามผู้ที่เป็นโรคลมชัก (epilepsy) บวช โดยจะถามว่า อะปะมาโร (เธอเป็นโรคลมชักมั้ย?) ซึ่งควรรู้ว่า โรคนี้เคยเป็นกันมากในแคว้นมคธ อาการของโรคนี้คาบเกี่ยวกับอาการทางจิตเวช เช่น อาการประสาทหลอน (hallucination) อาการหลงผิด (delusion) หรือความผิดปรกติทางอารมณ์ (Mood disorder) จึงเป็นสิ่งที่ต้องห้ามอย่างยิ่งในการปฏิบัติจิต เพราะ ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จ

เพราะชื่อว่า “ธรรมะ” ก็คือแนวทางการฝึก (มรรค) ในท้ายที่สุด “ทุกข์” สงบ ระงับ ตามลำดับ เมื่อสั่งสมเหตุแห่งกุศลตามคำแนะนำของอาจารย์ตนไปเรื่อยแล้ว ย่อมเกิดผลในที่สุด ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่มักลืมตั้งคำถามกันว่า“ฝึกฝนจิตใจตั้งนาน เหตุใดจิตใจจึงไม่พัฒนาไปในทางที่สงบเย็นลง” และการที่ละเลยการตั้งคำถามเช่นนี้ ก็อาจแปลว่า ไม่มีกัลยาณมิตรที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รวมถึงอาจารย์ก็มิได้ช่วยเหลือด้วย หรือแม้แต่ตัวอาจารย์เองก็เช่นกัน แบบนี้ ความดับทุกข์จะเป็นอันหวังได้อย่างไร ก็เป็นแต่เพียงความหลงคิดว่าตัวดับทุกข์ได้เท่านั้น ท้ายที่สุด ก็กำเริบขึ้นเต็มรูปแบบเมื่อมีเหตุมากระทบ

แง่นี้ เป็นว่า การมีอยู่ของบรรดาพระเถนะ ได้บำรุงเลี้ยงผู้ป่วยไว้ หรือแม้แต่พระเถนะผู้นั้นเองก็เป็นผู้ป่วย ซึ่งในทางการแพทย์การปล่อยให้ผู้ป่วยจิตเวชใช้ชีวิตอยู่โดยควบคุมตัวเองได้บ้างไม่ได้บ้างเป็นอันตราย ยกตัวเองเช่น ลัทธิหลงผิดที่ลงเอยด้วยการฆ่าตัวตาย เป็นต้น และเหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นในยุคกลางเช่นเดียวกัน ในเวลานั้นนักบวชรวมถึงฆราวาสก็ต่างอ้างว่า ตัวเองได้รับการประจักษ์จากพระเจ้าหรือบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์กันทั้งนั้น เพราะชาวตะวันตกเองก็ได้นับถือศาสนาผีมาก่อนไม่ต่างจากชาวเอเชีย ท้ายที่สุด ศาสนจักรจึงต้องสร้างกลไกลขึ้นมาเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด เป็นต้น สมณกระทรวงการแต่งตั้งนักบุญ (Congregation for Causes of Saints) แม้ว่าจะไม่มีประสิทธิภาพที่สุดก็ตามที

ที่สำคัญพุทธศาสนายังเป็นศาสนาที่ไม่มีคำสอนในลักษณะสุดโต่ง นอกจากนี้ ยังวิจารณ์ลัทธิที่มีแนวคิดสุดโต่งว่าเป็นความคิดที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) อีกด้วย เช่น แนวคิดเอกการณวาท คือ ทุกอย่างเกิดจากเหตุเดียว เพราะพุทธศาสนามองเรื่องปัจจัยและผลสืบเนื่องจากปัจจัยว่ามีความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้น ชาวพุทธที่โยนว่าทุกอย่างเกิดจากเหตุเดียว เป็นมิจฉาทิฏฐิในตัวเอง เพราะนั่นไม่นับเป็นท่าทีของพุทธศาสนา


[4] พระเถนะเกิดขึ้นเพราะการบิดเบือนคำสอน หรือเกิดขึ้นเพราะอะไร?

พระเถระที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมอาจตั้งข้อสังเกตว่า บรรดาพระเถนะที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆนั้น เกิดมาจากการบิดเบือนคำสอนของพระพุทธองค์ และนี่เองคือคำถามว่า จริงหรือที่การบิดเบือนทำให้เกิดพระเถนะ หรือจะถามอีกแง่หนึ่งว่า เราจะยุติการบิดเบือนคำสอนโดยการแช่แข็งคำสอนได้หรือไม่? ซึ่งการศึกษาทางปรัชญาในปัจจุบันได้ขยายทรรศนะเรื่องนี้อย่างกว้างๆ แล้วว่า“เราไม่อาจยุติการบิดเบือนได้ หากเราจะใช้คำว่านั่นคือ การบิดเบือน ในทำนองเดียวกัน เราไม่อาจจะแช่แข็งคำสอนได้อีก ไม่ว่าจะเผด็จการเพียงใด” ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดสำนักคิดทางการตีความใหญ่ 2 สำนักคิด แต่บรรดาพระเถระในประเทศไทยหยุดอยู่ที่สำนักคิดแรกมากกว่าสำนักคิดหลัง (ไม่แน่ว่า เพราะยังไม่ได้ศึกษา หรือเพราะศึกษาแล้วไม่ถูกจริต) ดังนี้คือ

4.1 การตีความขึ้นกับการแปลงภาษา (Tran-code) และเรียบเรียง (Adaptation) เพราะมีตัวบทเดียว

วิธีคิดนี้เห็นได้ชัดมากในการแปลภาษาปาลี นั่นคือ เราแปลงรหัส (Code) ภาษาปาลีไปสู่ภาษาไทย หรือที่เรียกกันว่า การแปลหรือแต่งกระทู้ธรรม อันที่จริงมีคำกล่าวที่นานเกือบครึ่งศตวรรษแล้วของ David Mandelbaum ที่ว่า“ไม่มีทางที่คุณจะแปลงภาษาจนนำไปสู่ความจริงทางสังคมอันเดียวกันได้” เมื่อเป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะตีความตามตัวอักษร หรือการพยายามตีศัพท์โดยรอบคอบที่สุดก็ตาม ก็ไม่อาจจะเรียกได้ว่าลงรอยกันสนิทพอดีในความหมายทางภววิทยา และพอความจริงทางสังคมแม้จะคล้ายคลึงกันแต่ไม่อาจเท่ากับกัน วิธีคิดที่เรียกว่า พหุนิยมทางญาณวิทยา (epistemological pluralism) และเมื่อเป็นแบบนี้ เราจะได้คำอธิบายที่มีมากกว่าหนึ่งเสมอ และการตีความย่อมหลากหลายขึ้นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ จริงอยู่แม้ว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับการไม่อาจแทนที่กันได้ทางความหมาย แต่โดยทั่วไป มีนักคิดชื่อ Umberto Eco เห็นว่าหากไม่ตีความเกินจริง (Over-interpretation) ก็พอที่จะมองเห็นหลัก หรือร่องรอย (Trace) แห่งความสอดคล้องต้องกันได้อยู่บ้าง แนวการตีความแบบนี้อาจสรุปย่นย่อว่า เป็นการตีความแบบตามร่องรอยที่ผู้เขียนทิ้งไว้ (Readerly Text) ผ่านการศึกษาสัญลักษณ์ (Symbol) ต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยเป็นที่นิยมมาก อาจเพราะ เล่นหวย และติดพนัน เป็นต้น

4.2 การตีความอิสระหลากหลาย เลื่อนไหล ไม่ตายตัว เพราะตัวบทมากมายและซ่อนเร้น

กล่าวโดยง่าย คือ การทำลายความหมายที่ผูกขาดในตัวบทนั้นลง ดังนั้น แปลว่าตีความได้หลากหลายไปหมด วิธีนี้นำเสนอและพัฒนาโดย Roland Barthes กล่าวคือ ไม่ตั้งการผูกขาดตัวบทไว้ก่อน จึงมีช่องทางที่หลากหลายมาก(และมิได้มีการควบคุม)ในการตีความตัวบทนั้น เมื่อเป็นแบบนี้ก็อาจจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติว่า จะมีการตีความที่ผิด หรือเป็นอันตรายหรือไม่? ซึ่งวิธีการที่จะวินิจฉัยนี้ไม่ยากอย่างที่คิด นั่นคือ ใช้เงื่อนไขที่มีอยู่เป็นข้อกำหนด นั่นคือ แสวงหากฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นกฎในลักษณะข้อตกลงภาพกว้าง มิใช่รายละเอียด เป็นต้น พุทธศาสนามีข้อตกลงที่เป็นกรอบแห่งการตีความอยู่หรือไม่ และกรอบนั้นได้กำหนดหรือบังคับมากน้อยเพียงใด ซึ่งการตีความดังกล่าวหากเราถือว่าจะติดตามกรอบนั้นอยู่ ก็ตีความได้หลากหลายตราบที่อยู่ในกรอบนั้น เว้นแต่เราจะปฏิเสธกรอบนั้นด้วย ซึ่งก็ต้องประกาศให้ชัดว่า มิได้ถือกรอบตรงนี้อีกต่อไป หากว่าเป็นเรื่องของตัวบทหรือการตีความแล้ว ก็สามารถสืบสาวหาเหตุได้ไม่ยากเย็น

อาจมีผู้กล่าวว่า การเปิดเสรีให้มีการตีความนั้นจะทำให้เกิดความอลหม่านขึ้น (Chaos) ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเกิดขึ้นเพราะผลสืบเนื่องแบบนี้ แต่ในอีกแง่หนึ่งในมุมที่สร้างสรรค์ การตีความฝ่ายสร้างสรรค์ก็ย่อมมีที่ทางที่จะผลิตชุดคำอธิบายดีๆที่จะขยายผลให้เห็นจริงต่อไปได้ด้วย แต่ที่แน่ๆ การกล่าวอ้างว่า สำนักของตนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวก็แผ่วเบาลงไป ในเมื่อได้รับสิทธิ์แห่งการตีความอย่างเท่าเทียมแล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของพระธรรมกถึกที่จะสื่อสารสิ่งที่ตัวเองตีความว่าจะโน้มน้าวหรือชี้ให้ผู้ฟังรู้จักวิธีการตีความของตนอย่างไร (ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น) นั่นหมายความถึง การคืนสิทธิ์ในการเลือกให้กับผู้รับสาร ได้คิดเอง พิจารณาเอง และเลือกด้วยเจตจำนงอิสระของตัวเอง (ตราบเท่าที่การเลือกหรือกระบวนการฝึกฝนนั้นไม่เบียดเบียน ไม่รบกวน ไม่เข้าข่ายที่ผิดกฎหมาย)

สรุปแล้วพระเถนะดูเหมือนจะเกิดขึ้นเพราะการแช่แข็งคำสอน มากกว่า การปล่อยเสรีให้ตีความคำสอน


[5] อะไรคือการเวียนซ้ำของสถานการณ์ในยุคมืดบ้าง? 

ตั้งแต่เริ่มยุคมืดตอนต้น (ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายสำนักเริ่มไม่เหมือนกัน) แต่ที่ปรากฎขึ้นคือ การเรืองอำนาจของขุนนางที่เข้ามาร่วมแทรกแซงในศาสนจักร และบรรดานักบวชก็เล่นการเมืองภายใต้หน้ากากของนักบุญผู้มีศรัทธา ในสมัยนั้น ศาสนจักรไม่ห้ามนักบวชแต่งงานมีครอบครัว แต่ทว่าก็ยังถือเรื่องผัวเดียวเมียเดียว (ตามอิทธิพลโรมัน) แม้กระนั้น เรากลับพบในประวัติศาสตร์ว่า บรรดาคาร์ดินัลกลับมีหลายเมีย และแต่ละเมียมีลูกหลายคน นี่เป็นจุดที่ทำให้เกิดแย่งชิงอำนาจขึ้นเสมอในยุคกลาง และทั้งๆที่คำสอนของคริสตศาสนา คือ “ความรัก” และพระเยซูผ่านพระคัมภีร์ได้กำกับด้วยคำอธิบายที่มีนัยทางจริยศาสตร์ด้วยว่า “เมื่อท่านปฏิบัติต่อใครก็ตามที่ต่ำต้อยที่สุด ก็เท่ากับปฏิบัติต่อเราด้วย” (มัทธิว 25:37-40) หรือคำสอนที่ว่า “ชนชั้นปกครองต้องรับใช้ผู้อื่น ทุกคนต้องมีชีวิตหรือยอมสละชีวิตเพื่อผู้อื่น”(มาระโก 10:41-45) ซึ่งในข้อหลังนี้ พระเยซูในฐานะอาจารย์ยังทำการล้างเท้าลูกศิษย์เพื่อเป็นแบบอย่างอีกด้วย (ซึ่งขัดกับสำนึกของคนไทยที่ว่าอาจารย์ไม่ควรล้างเท้าให้ศิษย์) แต่กระนั้นก็ดี บรรดานักบวชชั้นปกครองของศาสนจักรในยุคมืดก็มิได้ปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์อันชัดเจนนี้ ต่างก็ประพฤติเช่นเดียวกับบรรดาพระเถนะทุกวันนี้ คือ สอนคำสอนที่จับต้องไม่ได้ ออกไปทางการเทศนาปราศัยให้เคลิ้มฝัน ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง สถาปนาคำสอนของตัว ของพวกตัว เป็นทางเดียว ทางเอก ด้วยการทำการสังคายนาเพื่อประนามลัทธินอกรีต (ซึ่งที่จริง คืออีกกลุ่มอำนาจหนึ่งถือตามแนวคิดนั้น จึงได้กวาดล้างไปในคราวเดียว) ทั้งยัง ส่งเสริมพวกที่มีความศรัทธาอย่างสุดโต่ง พวกบ้าคลั่งทางศาสนา ซึ่งที่จริงอาจจะเป็นบรรดาผู้ป่วยทางจิต เป็นต้น แนวคิดในการทรมานตัวเองเกินพอดี หรือ การสนับสนุนให้รบในสงครามครูเสด และที่สำคัญ แม้ว่าศาสนจักรจะเรืองอำนาจในยุคมืดถึงขีดสุดแล้วก็ตามในแง่ของการอนุรักษ์และพิทักษ์หลักธรรมคำสั่งสอน แต่ก็เห็นได้ชัดว่า ไม่ประสบความสำเร็จในการต้านทานความคิดอันหลากหลายของมนุษย์ในการเข้าถึงคัมภีร์ได้ จนที่สุด การอนุรักษ์ก็ทำไม่สำเร็จ และการป้องกันการตีความก็ทำไม่สำเร็จ แน่นอนว่า เรื่อง “เงิน ผลประโยชน์ อำนาจ ชนชั้น” เป็นตัวแปรของยุคมืด

สุดท้ายแล้ว ไม่มีเรื่องของมนุษยธรรมตั้งแต่แรก เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีเรื่องของสิทธิมนุษยชน เพราะนั่นเป็นแค่คำปราศัย


สรุป

คริสตศาสนาในยุคมืดเคยผลิตซ้ำคำว่า “อิสระ,เสรีภาพ” มาก่อนหน้าพุทธศาสนา และครั้งหนึ่งก็เคยลากทุกอย่างเข้าความเป็นคริสตศาสนาทั้งสิ้น มากไปกว่านั้น ยังได้ผูกขาดการตีความไว้ (จนถึงทุกวันนี้) แต่เราก็น่าจะเห็นด้วยตาแล้วว่า ความหลงผิดของศาสนจักรทำให้เกิดอะไรบ้างในปัจจุบัน โดยที่ศาสนจักรเองไม่อาจรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เลย ลำพังแค่สงครามระหว่างนิกายคาทอลิกกับโปรแตสแตนท์ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตายกี่ครั้งจึงจะชดเชยผู้บริสุทธิ์ที่ล้มตายไปเพราะความป่าเถื่อนนั้นได้ แน่นอนที่สุด ศาสนาพุทธนิกายเถนวาทก็เช่นกัน ซึ่งกำลังเดินเข้าสู่ความเป็นผู้เก่าแก่ที่สุด เป็นคำสอนดั้งเดิม  แต่กลับเพิกเฉยต่อสิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม ซ้ำร้ายการยืนเคียงข้างวรรณะที่ต่ำที่สุดอย่าง “จัณฑาล” แบบที่เจ้าชายสิทธิตถะพยายาม (แม้ว่าพระองค์จะทำได้ไม่ดีนัก) ก็ไม่เกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย เพราะเถนวาท รักแต่คนรวย รักแต่คนที่ประกอบด้วยวุฒิ 3 (ชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ) และถ้ามีใบกระดาษก็ยิ่งดี จะใบอนุโมทนา ใบธนบัตร ใบอะไรก็ได้ แต่สิ่งที่ไม่มีให้ก็คือ ความเมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณ กลายเป็นว่า เถนวาทไม่อาจเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ได้อีกต่อไป นอกจากพึ่งไม่ได้แล้ว ยังแบมือขอและขูดรีดเอากับผู้ศรัทธาด้วยคำขู่ว่าจะต้องตกนรก ลักษณาการแบบนี้คือยุคมืดชัดๆ

 

 

อรรถาธิบาย

[1] “ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ” ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ธัมมัตถวรรค 19 ต้นเรื่องคือพระพุทธเจ้าทรงปรารถเรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ ผู้มีรูปร่างเล็กเหมือนเด็ก แลดูเหมือนสามเณรมากกว่าพระอรหันตสาวกรูปอื่น โดยทรงกล่าวมีใจความว่า “ความเป็นเถระนั้นไม่ขึ้นกับความแก่ชราแต่ขึ้นปัญญา”

[2] “ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรัง วิเหฐยนฺโต อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกเข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตเต จ อาโยโค เอตํ พุทธาน สาสนํ”(โอวาทปาฏิโมกขคาถา) จุดนี้มีข้อสังเกตว่า มหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค ในสูตรที่ตรงกันนี้ ผู้พูดคือ วิปัสสีพุทธเจ้า (ไม่ใช่เจ้าชายสิทธัตถะสมณโคดม) และขึ้นต้นด้วย “ขนฺตี ปรมํ ตโป.....” ไม่ใช่ “สพฺพปาปสฺส อกรณํ...” และนั่นอาจเป็นสำนึกของเถระผู้สังคายนาที่จะทำให้ธรรมะนี้เป็นสากล (คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายสอนแบบนี้) เป็นการรับรองจริยศาสตร์แบบพุทธไปในคราวเดียวกันด้วย











 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รู้จักกลุ่มนักกิจกรรมผู้ต้องการ 'ปลดอาวุธ' ตร.นิวยอร์ก ป้องกันการข่มเหงประชาชน

$
0
0

เมื่อประชาชนไม่ไว้ใจการทำงานของสำนักงานตำรวจนครนิวยอร์ก (NYPD) เนื่องจากมองว่าตำรวจใช้กำลังสังหารประชาชนและใช้อำนาจในทางที่ผิด พวกเขาจึงพยายามจัดตั้งกลุ่มสอดส่องการทำงานของตำรวจในชุมชนและมีเป้าหมาย "ปลดอาวุธ" รวมถึงสร้างการจัดการแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการของชุมชนเอง


ภาพหน้าจอเว็บ disarmnypd.org/


28 มี.ค. 2558 เว็บไซต์ Waging Nonviolence รายงานเรื่องกลุ่มนักกิจกรรมชื่อ 'คอปวอทช์' (Copwatch) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงจากตำรวจด้วยวิธีการช่วยสอดส่องถ่ายภาพวิดีโอการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในชุมชน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายต้องการสร้าง "เขตปลอดตำรวจ" และมีการรณรงค์เลิกติดอาวุธให้ตำรวจด้วย

กลุ่มคอปวอทช์มีโครงการช่วยเหลืออีกกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า "กลุ่มปลดอาวุธสำนักงานตำรวจนครนิวยอร์ก" (Disarm NYPD) เป็นกลุ่มที่ไม่อยากให้เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์กสังหารประชาชนอีก พวกเขาร่วมมือกับคนในชุมชนเพื่อสอดส่องและกดดันตำรวจในย่านที่มีตำรวจปฏิบัติการอยู่มากเกินไป อีกทั้งยังมีการจัดตั้งเขตปลอดตำรวจที่มีลักษณะการจัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีแบบของชุมชนเอง พวกเขายังต้องการให้มีการปลดอาวุธตำรวจทั้งหมดอีกด้วย

สมาชิกกลุ่มปลดอาวุธฯ รายหนึ่งที่ไม่ประสงค์ออกนามกล่าวว่า พวกเขารู้สึกว่าตำรวจไม่มีความรับผิดชอบมากพอในการพกพาอาวุธเนื่องจากมีเหตุสังหารประชาชนเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้วทำให้พวกเขาต้องการให้มีการปลดอาวุธตำรวจโดยทันที

อีกเป้าหมายหนึ่งของกลุ่มปลดอาวุธฯ คือการทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกจากพื้นที่ไปให้หมด โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกันขึ้นมาเองในชุมชนโดยไม่ต้องพึ่งพิงตำรวจ นอกจากนี้ยังมีแผนการตั้งสภาและเครือข่ายในท้องถิ่นของตัวเองเพื่อช่วยให้คนในชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการชีวิตตนเองได้

พวกเขาได้ไอเดียดังกล่าวมาจากกลุ่ม 'ทวงคืนเดอะบร็องซ์' (Take Back The Bronx) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2554 กลุ่มดังกล่าวนี้ใช้วิธีการตั้งป้ายไม่ต้อนรับตำรวจในส่วนต่างๆ ของเขตปกครองบร็องซ์ที่มีกำลังตำรวจอยู่หนาแน่น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกมาเดินตามท้องถนนได้โดยไม่ค้องกลัวว่าจะถูกตำรวจคุกคามและยังเป็นการเพิ่มความตื่นตัวในหมู่ผู้อาศัยในย่านนั้นๆ ว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้โดยไม่ต้องอาศัยตำรวจ

กลุ่มปลดอาวุธฯ ร่วมมือกับกลุ่มเฝ้าระวังตำรวจในการสร้างพื้นที่เขตปลอดตำรวจขึ้น เช่นการมีหน่วยตรวจตราตำรวจของคอปวอทช์คอยดูแลพื้นที่กลุ่มคนผิวดำเพื่อให้ตำรวจรับรู้ว่ามีคนคอยสอดส่องการทำงานของพวกเขาอยู่ นักกิจกรรมเชื่อว่าเมื่อมีประชาชนผู้ตรวจตราตำรวจมากขึ้น ตำรวจก็จะมีความยับยั้งช่างใจมากขึ้นเวลาจะใช้อำนาจตัวเองในทางที่ผิด หรือบางส่วนถึงขั้นหลบหนีออกจากพื้นที่ที่ตัวเองไม่อยากถูกสอดส่องอยู่ตลอดเวลา

โฮเซ ลาเซลล์ หนึ่งในผู้ตรวจตราตำรวจของกลุ่มคอปวอทช์กล่าวว่า พวกเขาไม่ได้ทำเพื่อตัวเองอย่างเดียว แต่พวกเขาต้องการทำให้เกิดผลต่อชุมชนและเสริมพลังให้กับชุมชนด้วย

ลาเซลล์ยังทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรมนักตรวจตราตำรวจหน้าใหม่ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของผู้ตรวจตราตำรวจมากขึ้นและกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ นักกิจกรรมหลายกลุ่มยังวางแผนจัดการประท้วงในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ความรุนแรงของตำรวจและมีปฏิบัติการในระดับเล็กๆ ในระดับเขตเพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกจากพื้นที่

ปฏิบัติการของกลุ่มเหล่านี้ ได้แก่ การปฏิเสธให้ความร่วมมือกับตำรวจที่ทำหน้าที่อยู่ การตั้งบูธข้อมูลข่าวสารของคอปวอทช์ฝั่งตรงข้ามถนนของสถานีตำรวจ อีกทั้งการหาวิธีการจัดการความขัดแย้งแบบอื่นๆ โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากตำรวจยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสร้างเขตปลอดตำรวจได้

Waging Nonviolence ระบุว่าการสร้างเขตปลอดตำรวจทำให้ผู้อาศัยในพื้นที่โดยเฉพาะวัยรุ่นสามารถรวมตัวกันได้อย่างเปิดเผยและมีการหารือกันเรื่องความขัดแย้งได้อย่างบริสุทธิ์ใจภายใต้การดูแลของชุมชน ซึ่งมีการเน้นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นถ้าหากแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตำรวจข่มขู่คุกคาม

'ทวงคืนเดอะบร็องซ์' เริ่มจากจุดเล็กๆ ด้วยการรวบรวมผู้คนในย่านเดียวกัน โดยทำให้เห็นถึงความต้องการร่วมกันของพวกเขาและรับรู้เรื่องที่พวกเขาต่างก็โดนกดขี่เหมือนกัน มีการตั้งป้ายเพื่อให้คนหนุ่มสาวร่วมกันเขียนว่าพวกเขาต้องการจะทำอะไรถ้าหากคนในชุมชนรวมตัวกันได้ซึ่งมีผลตอบรับที่ดีมาก คนหนุ่มสาวหลายคนพากันระบุถึงสิ่งที่จะลดความขัดแย้งได้เช่น พวกเขา "ต้องการมีงานที่ดี" "อยากประสบความสำเร็จในการแข่งบาสเก็ตบอลทัวร์นาเมนต์" และ "อยากให้ตำรวจออกไปห่างๆ พวกเขา" กลุ่มปลดอาวุธฯ หวังว่าด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยสอดส่องตำรวจและจากประชาชนในพื้นที่พวกเขาจะสามารถจัดอาณาเขตปลอดตำรวจเพิ่มขึ้นได้ในระดับใหญ่ขึ้นและให้มีการจัดการในระดับถาวร

สมาชิกรายหนึ่งของกลุ่มปลดอาวุธฯ กล่าวว่าพวกเขาต้องการใช้หน่วยตรวจตราตำรวจเพื่อช่วยกดดันให้ตำรวจออกจากพื้นที่ไป หลังจากตำรวจออกจากพื้นที่ไปแล้วพวกเขาก็จะแทนที่ด้วยอะไรใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงมากกว่าและพวกเขาก็อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว


เรียบเรียงจาก

Meet the new group that wants to disarm and displace the NYPD, Waging Nonviolence, 26-03-2015
http://wagingnonviolence.org/2015/03/meet-new-group-wants-disarm-displace-nypd/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิจัย CFR เผยรอยร้าวเศรษฐกิจไทยหลังรัฐประหารปี 2557

$
0
0

นักวิจัยอาวุโสจากองค์กรความสัมพันธ์ระหว่างประเทศวิเคราะห์ว่าแม้ประเทศไทยจะเกิดวิกฤติในหลายด้านมาตลอด 15 ปีที่ผ่านมาแต่ก็ยังผยุงเศรษฐกิจอยู่ได้เว้นแต่หลังการรัฐประหารปี 2557 ที่สารเคลือบคุ้มกันเศรษฐกิจไทยเริ่มเกิดรอยร้าวจนทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดหนัก


29 มี.ค. 2558 โจชัวร์ คูร์แลนท์ซิกค์ นักวิจัยอาวุโสจากองค์กรคณะมนตรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (CFR) เขียนบทความเกี่ยวกับความตกต่ำของเศรษฐกิจประเทศไทยหลังการรัฐประหาร 2557

โดยบทความระบุว่าถึงแม้ไทยจะเกิดวิกฤติทางการเมืองและภัยธรรมชาติในตลอดช่วง 15 ปีก่อนหน้านี้แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังคงประคับประคองตัวมาได้ซึ่งคูร์แลนท์ซิกค์เปรียบเทียบว่าราวกับมีสาร "เทฟลอน" คอยเคลื่อบไม่ให้เศรษฐกิจไทยเสื่อมลง แต่ดูเหมือนว่าหลังรัฐประหารปี 2557 สารเคลือบ "เทฟลอน" ที่คอยคุ้มกันเศรษฐกิจไทยมาตลอดก็ยังไม่สามารถป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้

แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีวิกฤติปัญหามากมายเช่น วิกฤติอุทกภัยในช่วงฤดูมรสุมปี 2554 ที่ทำให้อุตสาหกรรมทางตอนบนของกรุงเทพฯ เสียหายจำนวนมาก ในปี 2553 ก็เคยมีเหตุการณ์ทหารปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยมใจกลางย่านธุรกิจ แต่หลังจากหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวก็ยังคงเดินทางเข้าประเทศไทย และอัตราการเติบโตของจีดีพีก็ยังคงเพิ่มขึ้น หลายคนมองว่าหลังรับประหารปี 2557 เศรษฐกิจไทยก็จะกลับมาฟื้นตัวได้เหมือนเดิมเช่นที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ แต่ในบทความในเว็บไซต์ควอทซ์ระบุว่า "ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยจะสามารถทนทานต่อความวุ่นวายทางการเมืองและเรียกนักท่องเที่ยวและนักลงทุนกลับมาได้นั้นเป็นช่วงเวลาที่จบสิ้นลงแล้ว"

คูร์แลนท์ซิกค์ระบุว่าความวุ่นวายทางการเมืองของไทยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาเบี่ยงเบนความสนใจของนักการเมืองจากการดำเนินนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบการศึกษาทำให้ไม่มีการพัฒนาเพื่อตอบรับกับเศรษฐกิจที่ประชาชนมีรายได้ระดับกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชั้นเรียนเรื่องภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทยล้าหลังกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างมาก

เมื่อไม่นานมานี้บทความในหนังสือพิมพ์ 'ทูเดย์' ของสิงคโปร์ระบุว่า "ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 55 จากทั้งหมด 60 อันดับในดัชนีความสามารถด้านภาษาอังกฤษซึ่งจัดว่าต่ำที่สุดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ถึงแม้ว่าประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศอื่นๆ จะมีทรัพยากรน้อยกว่าในการส่งเสริมด้านภาษาก็ตาม คูร์แลนท์ซิกค์ระบุอีกว่าภาษาอังกฤษจะมีความจำเป็นต่อการดึงดูดนักลงทุนในภูมิภาคและมีความสำคัญต่อแรงงานในหลายสายงานที่ต้องการมองหาโอกาสช่วงที่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คูร์แลนท์ซิกค์ระบุว่าในขณะที่ประเทศไทยมีความดึงดูดนักลงทุนในแง่ทรัพยากรแต่ความวุ่นวายทางการเมืองก็ทำให้นักลงทุนถอยหนีไปในขณะที่ประเทศอย่างฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม และอินโดนีเซีย มีการส่งเสริมนโยบายดึงดูดนักลงทุนมากกว่า

คูร์แลนท์ซิกค์วิเคราะห์อีกว่าหลังจากเกิดรัฐประหารปี 2557 แล้วดูเหมือนทางการญึ่ปุ่นก็ยังคงให้การสนับสนุนไทยแต่เป็นไปเพราะต้องการขจัดอิทธิพลจากจีนเท่านั้น เช่นกรณีให้กู้ยืมสร้างทางรถไฟ แต่ภาคส่งนเอกชนของญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในไทยเกิดความไม่มั่นใจและเริ่มหันไปลงทุนในประเทศอื่นของภูมิภาคนี้ขณะที่นักลงทุนประเทศอื่นๆ ก็เริ่มระมัดระวังในการทำโครงการใหม่ๆ ในไทย

เมื่อไม่นานนี้สำนักข่าวบลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลงราวครึ่งหนึ่งของประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ปี 2553 ทางด้านธนาคารโลกประเมินว่าในปี 2558 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะอยู่ในระดับต่ำสุด และเมื่อไม่นานมานี้แม้แต่ธนาคารกลางของไทยเองก็ประเมินว่าอัตราการเติบโตจะลดลงในปี 2558


เรียบเรียงจาก

Thailand’s Teflon economy finally seems to be cracking, Quartz, Joshua Kurlantzick, 25-03-2015
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จุดสุดยอดแห่ง One Night Stand กับ Citizenfour และจุดยืน Open Relationship แบบวาสลาฟ ฮาเวล

$
0
0

(แหล่งภาพ http://www.bangkokpost.com/lifestyle/27925_editorialDetail_one-night-stand.html?reviewID=3297)

 “คุณคิดอยากขายตัวหรือเปล่า” เป็นคำถามที่คุณวิทุรา อัมระนันทน์ โยนเป็นก้อนหินถามทางไปยังกลุ่มผู้ชมที่นั่งอึ้งทึ่งเสียวกับ One Night Stand การแสดงเต้นเดี่ยวร่วมสมัยของเธอ ผู้เขียนเองอยากจะตอบเหลือเกินว่าคำถามของคุณวิทุรานั้นละมุนละม่อมไปหน่อย ด้วยผู้เขียนขายตัวมานานแล้ว แถมขายอย่างมีอารยะและจรรยาบรรณ คือไม่เคยคิดตังค์หรือถ้า (มโนว่า) ได้อะไรตอบแทนก็ได้แค่เศษถั่วเศษขี้เถ้า ที่พูดถึงนี้ไม่ใช่แค่เรื่องเรือนกายที่พลีให้กับความรักและความปรารถนาตามประสาปุถุชนแต่หมายถึงเรื่องการตีพิมพ์งานทางวิชาการ ที่ใช่ว่าตีพิมพ์ในวารสารทุกฉบับและหนังสือทุกเล่มจะถือว่ามีค่าในสายตาของระบบพี่ชายใหญ่ที่ประเมินคุณค่านักวิชาการด้วยระบบฐานข้อมูลแห่งแดนลับแล คืนวันแห่งการโหมงาน แกลลอนกาแฟและกระทิงแดงที่ทำให้กระแสเลือดเป็นพิษไม่เคยแลกผลตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ นักเรียนของผู้เขียนเองก็เช่นกัน หลายคนตรากตรำกรำงาน เขียนบทความ เขียนบทวิจารณ์หนังสือลงวารสารที่มีคนอ่านเพียงหยิบมือเดียวเพียงเพื่อแลกเอาประโยคสองประโยคไปตัดแปะในซีวีประวัติการทำงานว่าฉันมีผลงานทางวิชาการนะ จ้างฉันสิ โอ หนุ่มสาวเอ๋ย ในวังวนมหาสมุทรแห่งความสิ้นหวัง ประภาคารแห่งภูมิปัญญาดับมืดปิดตาย ประโยคสองประโยคที่เขียนเป็นบรรณานุกรมในซีวีเป็นแค่เปลวแผ่นสาหร่ายที่ลอยมาแตะเล็บเท้าคนรุ่นใหม่ คุณคงจะไร้เดียงสามากหากเชื่อว่ามันจะเป็นห่วงยางช่วยชีวิต รู้มั้ยว่าวงวิชาการกำลังจมดิ่ง… สุดขั้วสุดติ่ง ขอแนะนำให้เปลี่ยนสายงานอาชีพ

“คุณคิดอยากขายตัวหรือเปล่า ถ้าอยาก คุณจะตีราคาตัวเองเท่าไหร่” หากคุณวิทุราลองโยนหินก้อนนี้ถามเส้นทางการใช้เหตุผลของประชากรในรัฐเผด็จการที่ไม่ใกล้ไม่ไกล ผู้เขียนเชื่อว่าคำตอบที่ได้นั้นไม่ต่างอะไรกับการขายตัวทางวิชาการมากนัก เราขายตัวกันทุกคน หลายคนขายไปตั้งแต่ออกมาเดิน ขึ้นเวที สวมเสื้อสี เป่า เปล่งเสียงเรียกร้องให้ปิดตายฝาหีบเลือกตั้ง หลายคนขายตัวไปตั้งแต่ถอดใจเลิกฟูมฟายและหันมารับความสุขที่มโนว่ากำลังถูกส่งคืน หลับหูหลับตาเชื่อสัญญาที่ขอเวลาไม่นาน ไม่นำพาต่อ “เดฌา-วูว์” แห่งการแช่แข็งประเทศและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่นำพาต่อคลื่นลมแห่งความไม่เป็นธรรม คำถามของคุณวิทุราสำหรับใครหลายคนที่ขายตัวไปนานจนลืมและมือเริ่มถือสากประณามการชายตัว คงไม่ใช่ก้อนหินถามทางหากเป็นเหมือนตัวอับเฉาในสำเภาทอง(ชุบ)ที่ “ล่องลิ่วไปตามลม สรรพสัตว์ก็จะชื่นชมโสมนัส” ใช่ โสมนัสกับการชักธง “มโนหมู่” ที่หลายคนโทมนัส สำเภาทองชุบแห่งความสุขอันไม่นำพาต่อชะตากรรมของลูกเรือขายแรงงาน ไม่นำพาต่อความทุกข์ระทมของบิดาที่สูญเสียบุตรแล้วยังต้องสูญเสียเสรีภาพ ทานใดอันสูงสุดในโลกนี้ก็กู้สิ่งที่เสียไปไม่ได้ ทานนี้มิเพียงไร้ค่าตอบแทน แต่ยังแลกมาด้วยการถูกข่มขู่ขืนใจอีกคำรบหนึ่ง “น้ำพระเนตรเธอไหลหยาดหยดเป็นสายเลือด ไม่เว้นวายหายเหือดซึ่งโศกา จึงเอาพระปัญญาวินิจฉัยเข้ามาข่มโศก ว่าบุตรวิโยค” เราได้แต่ทอดอาลัย ในขณะที่หลายคนอยากจะโยนตัวอับเฉาที่คอยถ่วงสำเภาทองชุบนี้ทิ้งกลางมหาสมุทรไปให้สิ้น

เราตีราคาตัวเองเท่าไหร่ คำตอบคือ… น้อยมากถึงศูนย์ ที่แย่คือหลายคนไม่ปรารถนาแม้แต่จะคิดและพูดถึงคำถามนี้ ความสำส่อนทางอุดมการณ์ทางการเมือง เช่นเดียวกับสิ่งที่สังคมเรียกว่า “สำส่อนทางเพศ” แท้จริงไม่ควรเป็นเรื่องน่าอาย การขายบริการทางเพศไม่ใช่เรื่องแย่ตราบใดที่มีกฏหมายคุ้มครองและมาตรฐานรับรอง เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัย การขายตัวทางการเมืองไม่ใช่เรื่องแย่ตราบใดที่เราตั้งคำถามและยอมรับทางเลือกของเราพร้อมๆ กับยอมรับทางเลือกที่แตกต่างของผู้ที่คิดต่าง ไม่ใช่อยู่ด้วยความเกลียดความกลัวจนไม่อยากเผชิญหน้ากับความเป็นจริง ติดโรคเริมเรื้อรังมาก็ปฏิเสธแถมประณามคนที่ไม่ยอมร่วมเพศร่วมอุดมการณ์สุขสุดยอดไปด้วยกัน ตรงนี้แหละคือปัญหา

“คุณคิดอยากขายตัวหรือเปล่า” ในหนังสารคดี Citizenfour หลายคนไม่อยากขายตัว เราเข้าใจไปว่าในมหาสมุทรแห่งความวุ่นวายนี้เรายังคงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีเจตจำนงเสรี แต่จริงๆ ข้อมูลส่วนตัวถูกขายหรือส่งมอบแบบฟรีๆ เน้นๆ ให้รัฐเผด็จการแบล็คเมล์โดยที่เราไม่รู้ตัวและไม่สมยอม เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เป็นเพียงทุ่นหนึ่ง หรือทุ่นดุ้นกระแทกที่ทำให้ทองชุบที่ฉาบสำเภารัฐเผด็จการร่อนกร่อนไปได้สักนิ้วสองนิ้ว ปลาเทศบาลว่ายเป็นเกลียวขึ้นมาดูดกลืนเปลวทองจนหมดไร้ร่องรอยความผิด หนังสารคดีชวนให้ประชากรโลกรู้สึกวิตกจริต ไม่อยากพิมพ์เสิร์ชกูเกิลหาคลิปโป๊ ไม่อยากคิดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องสอดแนมอันเอกของพี่ชายใหญ่ที่เฝ้า(ถ้ำ)มองเราอยู่ ไม่อยากคิดว่ามีคนคอยจ้องจับผิดหรือลักลอบเก็บข้อมูลส่วนตัวที่เราขายให้ฟรีเพียงเชื่อมต่อเข้าเพจต่างๆ ผ่านโปรไฟล์เฟซบุ๊กบ้าง เช็คอินผ่าน Swarm หรือออร์จี้ทางสไกป์กับคนที่เราสมควรออร์จี้ด้วยหรือกับคนที่อาจทำให้ชีวิตเราลำบากบ้าง ความจริงในโลกปัจจุบันที่ทำให้มนุษย์ใต้ดินในงานเขียนของดอสโตเยฟสกีที่วิตกจริตอย่างสุดขั้วอยู่แล้ว (ผู้เขียนกำลังพูดถึงตัวละครที่มุดลงไปอยู่ใต้ดินสมชื่อเพราะเกลียดและกลัวความโปร่งแสงแห่งโลกบนดิน รังเกียจสถาปัตยกรรมที่เน้นการเฝ้ามองควบคุมทุกความเคลื่อนไหวอย่าง Crystal Palace หรือปราสาทเรือนแก้วในประเทศอังกฤษ สุดยอดนวัตกรรมแห่งความเป็นสมัยใหม่ที่มาพร้อมการสละความเป็นส่วนตัว) วิตกจริตหนักยิ่งขึ้นจนต้องรีบมุดหัวลงไปอยู่อเวจี หรือชั้นที่อยู่ใต้ของใต้ของใต้ดินด้วยความขยาด เชื่อว่าหลายคนกำลังรู้สึกวิตกจริต หูแว่ว ได้ยินเสียงในหัวที่คอยบอกให้เซนเซอร์ตัวเอง คอยห้ามใจไม่ให้เขียนอะไรในที่สาธารณะที่จะทำให้เจ้านายและเพื่อนร่วมงานเอามาใช้เป็นข้อตั้งแง่สร้างกำแพงอคติ

 

(แหล่งภาพ http://www.london-architecture.info/LO-009.htm)


หลายคนอาจรู้สึกว่าตนตาพร่าตาฝาด ระหว่างพิมพ์ข้อความทางโซเชียลมีเดียและอีเมล์พลันเห็นหัวลูกศรเม้าส์ขยับได้เอง ควบคุมด้วยมือที่มองไม่เห็น มือของสิ่งที่มีหรือไม่มีชีวิตที่แย่ยิ่งกว่าพี่ชายใหญ่เพราะเป็นสสารนิรนามที่เรามโนว่าคอยนั่งอ่านนั่งเช็คข้อความของเรา จับตามองนิ้วมือที่วางอยู่คาแป้นพร้อมวิจารณ์เรื่องความดำของขี้เล็บ ขนาดความสั้นยาว หนาบาง… ของพิซซ่าที่อาจเผลอกดสั่งออนไลน์ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โรควิตกจริตนั้นเป็นของคู่กันกับรัฐเผด็จการ ไม่ต้องรู้จักหรือนั่งดูหนังเชโกสโลวะเกียที่ถ่ายทำในช่วงทศวรรษ 70 แต่ไม่ได้ฉายจนถึงปี 1989 ชื่อ “อูโค” (Ucho) ที่แปลว่า “หู” ก็สามารถเดาได้ว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับเครื่องดักฟังอันเป็นเครื่องมือควบคุมหลักแห่งรัฐเผด็จการก่อนอินเตอร์เน็ตและเกี่ยวกับความวิตกจริตสุดขั้วที่ระบอบเบ็ดเสร็จสังคมนิยมโซเวียตได้บ่มเพาะเป็นไวรัสวายร้ายทำลายชีวิตหลายคนที่แม้ไม่ได้ถูกดักฟังจริงๆ แต่หลอนเอง มโนเอง จนแทบเสียสติ


                                          (แหล่งภาพ http://www.hunter.cuny.edu/classics/russian/courses-1/td)


(แหล่งข้อมูลhttp://www.mzv.cz/washington/en/culture_events/news/v4_film_series_runs_april_4_25.html)


“คุณชอบกลืน (น้ำว่าว) หรือไม่” เป็นคำถามเด็ดอีกคำถามหนึ่งที่คุณวิทุราโยนถามผู้ชมกุลสตรีศรีสยามและสตรีชาวต่างประเทศ ใจจริงผู้เขียนอยากให้ถามผู้ชมบุรุษด้วย แต่ผู้เขียนได้คืบแล้วก็คงไม่หวังจะเอาศอก ไม่เพียงเพราะการใช้ศอกนั้นต้องเจ็บและแสบน่าดู แต่แค่ได้เห็นผู้ชมพูดเรื่องเพศอันเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคมไทยอันศิวิไลซ์ สังคมคนดีไม่ปี้ในที่แจ้ง (ไม่แย้งว่าเย็ดในที่ลับ) ก็ถือเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์แล้ว ผู้เขียนรู้สึกว่า One Night Stand มีความเป็นไทยสูงมาก ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมจึงรู้สึกอย่างนั้น แล้วทำไมสิ่งที่กลืนลงคอระหว่างชมการแสดงนั้นขมและขื่นเหลือเกิน เป็นเพราะสังคมเราไม่มีการนั่งจับเข่าคุยกันเรื่องเพศในที่แจ้งอย่างเปิดเผย หรือเพราะการแสดงอันน่าอัศจรรย์ใจนี้ยังไม่ได้แตะประเด็นเรื่องเพศและความต้องการของ LGBT มากเท่าที่ควร หรือทุกข้อที่กล่าวมา ก็เป็นได้ พนันได้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่ชอบกลืน แต่ใน Citizenfour เราทุกคนได้ถูกบังคับฝืนกลืนน้ำว่าวจากปลายกระบอกระบอบเผด็จการที่บรรลุจุดสุดยอดแห่งการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งสิ้น คำถามของคุณวิทุราทำให้เห็นว่ามหาสมุทรที่สำเภาทองชุบแล่นไปตามบัญชาของคลื่นลมที่มองไม่เห็นนั้น เป็นมหาสมุทรของน้ำกามอันเป็นผลของความ(เบ็ด)เสร็จของอำนาจที่สอดเสียบเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต   

ในโลกแห่งโรควิตกจริต เราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร ข้อมูลส่วนตัว คนที่เรารัก ล้วนเป็นเบี้ยประกันต่อรอง รอวันมือที่มองไม่เห็นนำมาใช้สำเร็จความใคร่ทางอำนาจ เรารู้สึกไร้ค่า เรารู้สึกกลัว กลัวโดนข่มขืน กลัวการมองคนรักถูกกระทำชำเราต่อหน้าต่อตา โรควิตกจริตและการหาหนทางถอนพิษวิตกจริตทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ดังจะเห็นในจดหมายเปิดผนึกที่วาสลาฟ ฮาเวล (สมัยที่ยังไม่เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งเชโกสโลวะเกียหลังกำแพงเบอร์ลินและระบอบคอมมิวนิสต์พังทลาย) เขียนถึง กุสตาฟ ฮุซาก ซึ่งในขณะนั้น—เดือนเมษายน ปี 1975—ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวะเกีย ช่วงเวลาที่ฮุซากเป็นผู้นำเชโกสโลวะเกียนั้นเรียกว่า “ยุคแห่งการทำให้เป็นปกติ” หรือ “ยุคแห่งการกลับคืนสู่ปกติ” (Normalisation) คำว่า “ปกติ” ในที่นี้หมายถึงการรับคำสั่งจากมอสโก ปวารณาตัวเป็นรัฐในบังคับโซเวียตอย่างเต็มดุ้นเต็มด้าม ทั้งหมดนี้เป็นนโยบายที่มุ่งดับฝันและขยี้หวังของผู้ที่ปรารถนาจะปฏิรูประบอบสังคมนิยมในเชโกสโลวะเกียให้เป็น “ประชาธิปไตย” มากกว่าเดิม ทั้งหมดนี้มีอเล็กซานเดอร์ ดุบเช็ก ผู้ที่เชื่อมั่นในระบอบสังคมนิยมอย่างสุดจิตสุดใจเป็นผู้ผลักดัน ดุบเช็ก—เจ้าของสโลแกน “สังคมนิยมใบหน้ามนุษย์” เป็นผู้รณรงค์ให้พรรคสังคมนิยมแห่งเชโกสโลวะเกียปกครองตัวเองแทนที่จะโค้งคำนับรับคำสั่งจากมอสโกตลอดเวลา ช่วงเวลาแห่งความหวังนี้เรียกว่า “ฤดูใบไม้ผลิแห่งปราก” (Prague Spring) มีการลดละเลิกการเซนเซอร์งานศิลปะ นับเป็นยุคทองที่ไม่ใช่ทองชุบ ทว่ายุคทองแท้มักเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างกรณีใบไม้ผลิแห่งปรากนี้กินเวลาระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ในปี 1968 เท่านั้น วันที่ 21 สิงหาคมประเทศในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอพากันมาเยี่ยมปรากพร้อมรถถังและกำลังทหาร เป็นอันสิ้นสุดยุควิกลจริต ต่อมาการเซนเซอร์โหดกว่าเดิม ศิลปินและนักวิชาการถูกปิดปากหรือโยนเข้าคุกเพื่อให้สังคมเป็นปกติสุขสไตล์สตาลินอีกครั้งหนึ่ง เล่าย้อนหลังมานาน สิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะกล่าวถึงคือจุดยืนเรื่อง open relationship ของวาสลาฟ ฮาเวล ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักเขียนที่ถูกขึ้นบัญชีดำตั้งแต่ปี 1969 งานเขียนถูกแบน ตัวเขาและภรรยาถูกจับตามอง จดหมายฉบับนี้เริ่มด้วยคำถามที่ว่าอะไรคือความหมายของคำว่า “ปกติ” ของฮุซาก แม้รัฐจะใช้การที่ผู้คนไปทำงาน หาเงินซื้อรถผ่อนบ้าน มีชีวิตดูจะปกติสุขเป็นดัชนีชี้วัดความสุขและความพอใจของประชาชน ฮาเวลกล่าวว่าจะไม่ให้ทุกอย่างดูจะเป็นปกติสุขได้อย่างไรในเมื่อสังคมใต้รัฐเผด็จการเป็นสังคมที่ไม่ได้ใส่ใจความรู้สึกอันแท้จริงของประชาชน มัวแต่ไปให้ความสำคัญเรื่องวัตถุสิ่งของและการแสดงออกที่เป็นแค่เปลือกนอก หากฮาเวลนั่งดู One Night Stand ด้วยคนก็คงจะอธิบายด้วยภาษาทำนองนี้ “ถ้ากะเทาะเปลือกของการใส่เสื้อสีต่างๆ เพื่อแสดงความจงรักภักดี มองเนื้อนมไข่ใต้เสื้อชั้นใน รัฐเป็นดั่งคู่นอนที่ไร้รัก ไม่แคร์หรอกว่าคุณจะถึงจุดสุดยอดหรือไม่” แล้วอะไรกันเล่าที่ทำให้ประชาชนพร้อมใจกันแสดงความเป็น “ปกติ” หรือ “เฟคว่าถึง” ในความหมายของรัฐ คำตอบของฮาเวลคือ ความกลัว ไม่ใช่กลัวตัวสั่น แต่เป็นความกลัวที่แฝงอยู่ในใจ:

ประชาชนถูกผลักดันด้วยความกลัว กลัวว่าจะถูกไล่ออกจากงาน ครูบาอาจารย์สอนสิ่งที่ตนไม่เชื่อจริงๆ เพียงเพราะหวั่นเกรงว่าตนจะไม่มีอนาคต นักเรียนก็ว่าไปตามครูด้วยกลัวว่าจะไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนต่อ ชายหนุ่มเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์เยาวชนสังคมนิยมและร่วมทำกิจกรรมทุกกิจกรรมก็เพราะความจำเป็น ภายใต้ระบบการให้แต้มและคะแนนต่างๆ คนเป็นพ่อย่อมรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงว่าลูกชายและลูกสาวของเขาจะได้รับแต้มคะแนนที่ไม่เพียงพอต่อการสมัครเข้าโรงเรียน จึงต้อง “อาสา” ทำทุกอย่างที่รัฐต้องการ  ความกลัวผลที่ตามมาของการขัดขืนอำนาจรัฐได้ผลักดันให้ผู้คนออกจากบ้านไปยังคูหาเลือกตั้ง ลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัครที่ระบอบได้คัดสรรมาแล้ว และความกลัวนี้ได้ผลักดันให้ประชาชนหลับหูหลับตามองพิธีกรรมอันน่าขันนี้ในนามของการเลือกตั้งอันชอบธรรม เพราะกังวลเรื่องการทำมาหากิน ตำแหน่งหน้าที่การงาน และอนาคตของตน ประชาชนจำต้องไปร่วมประชุม ลงมติในทุกเรื่องที่จำเป็น หรือไม่ก็ปิดปากเงียบเฉยไป

(จาก “เรียน ดร. ฮุซาก” “Dear Dr Husák” โดยวาสลาฟ ฮาเวล)

วาสลาฟ ฮาเวล เมื่อปี 1975

(แหล่งภาพ http://salon.eu.sk/en/5435/english-visegrad-mirror-v%C3%A1clav-havel-at-dusk/)

ฮาเวลมองว่าทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องปกติ หากวิปริตและวิกลจริต หนทางที่จะแก้ปัญหานี้  (เห็นได้จากประกาศกฎบัตร77 ซึ่งเกิดขึ้นสองปีภายหลังจดหมายเปิดผนึกได้รับตีพิมพ์) คือการสู้ความกลัวด้วยความไม่กลัว สู้ความ “ปกติ” แห่งโรควิตกจริต ด้วยความ “ไม่ปกติ” แห่งใจที่พร้อมจะวิกลจริต คือใจที่พร้อมเผชิญความจริงอย่างกล้าหาญ Open Relationship ในความหมายความสัมพันธ์ปลายเปิดระหว่างประชาชนกับรัฐในลักษณะนี้จะทำให้รัฐถูกตอนอำนาจ ไม่สามารถขู่เข็ญและแบล็คเมล์ประชาชนได้ ดังนั้นผู้เขียนต้องการถามคำถามปลายเปิดบ้าง ฤา “วิกลจริต” จะเป็นชื่อยาถอนพิษแห่งโรควิตกจริตในรัฐเผด็จการ แทนที่จะกลัวว่าจะถูกล้วงความลับ ก็ล้วงควักชีวิตในที่แจ้งให้ดูให้เห็นกันไปเลย เฟซบุ๊กเป็นได้ทั้งกรงขังและพื้นที่แห่งเสรีภาพในฝันของแดร์ริดาซึ่งเห็นว่าความหมายนั้นขึ้นอยู่กับการตีความ แม้แต่คำหรือตัวบทที่ดูเหมือนจะตายตัวถาวร status เฟซบุ๊ก ที่ดูสามัญตายตัวก็ยังสามารถเป็นฟาร์มากอนคือทั้ง ยาพิษ ยาถอนพิษ ยาเสน่ห์ ความจริง และความเท็จในเวลาเดียวกัน แฮชแทค#ชีวิตและความรักก็เป็นเช่นนั้น หากเราจะต้องเสียตัวให้กับรัฐ หรือขายตัวแบบมีอารยะและจรรยาบรรณ คือให้ฟรีๆ อยู่แล้ว ก็ทำให้มันเต็มที่ไปเลย กลืนความขมขื่นให้หมดก่อนถ่มมันออกมา ขจัดความกลัวไปให้สิ้น ใช้โซเชียลมีเดียเป็น sex toy ของเล่นที่มิเพียงสำเร็จความใคร่ของระบอบ(เบ็ด)เสร็จนิยม แต่สำเร็จความใคร่ของเราในหนทางที่จะทำให้พอจะรับมือกับโลกที่เสรีภาพกลายเป็นเรื่องผิดปกติและประชาธิปไตยกลายเป็นเรื่องวิกลจริตไป ใส่ข้อมูลส่วนตัวในเฟซบุ๊กไปให้หมด คุณชอบกลืน ชอบขายตัว ขายในราคาใด กิน ปี้ ที่ไหนอย่างไร ท่าไหน บางทีความสัมพันธ์ปลายเปิด ความโปร่งใสที่เปิดให้ตรวจสอบอย่างโจ่งแจ้งอาจทำให้รัฐเผด็จการเงิบ ตกม้าตาย แพ้เกมตัวเอง tabula rasa กระดานขาวที่โปร่งใสเป็นแค่กระดานขาวที่โปร่งใส รัฐไม่รู้อะไรเกินเลยไปกว่าที่เราเปิดเผย และหากรู้อะไรมากกว่านั้นนิดนึง อย่างมากอาจมีไฟล์ภาพโป๊ เสียงเซ็กส์โฟน ข้อความอันตรายของพวกเราไว้เป็นเบี้ยประกัน แต่หากเราพร้อมใจกันถึงจุดสุดยอดด้วยเจตจำนงเสรีของการไม่แคร์และพร้อมใจกันอยู่ในความสัมพันธ์แบบเปิดกับรัฐ กับมวล(ไม่มหา)ประชาชน เปิดผ้าเลิกเสื้อให้เห็นตับไตเครื่องในไปเลย เราพูดได้หรือไม่ว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องปกติธรรมชาติของมนุษย์

คงต้องมานั่งค้นใจและถามตัวเองว่าเรากลัวอะไร มีอะไรที่เราจำต้องกลัว

คงต้องมาวัดใจกันว่านี่สมควรถึงแก่เวลาแห่งเซ็กส์หมู่และการคุยกันเรื่องเซ็กส์หมู่สไตล์วิกลจริตในโลกเผด็จการที่เน้นความปกติและสุขสุดยอดแล้วหรือยัง… เพราะอย่างที่ One Night Stand ได้พยายามย้ำแกมปลอบประโลมสังคมไทย:

ความเงี่ยนและการเปิดเผยเรื่องความเงี่ยนของเราทุกคนนั้นเป็นเรื่องที่… โอเคเสมอ

 

(แหล่งภาพ http://ink361.com/app/users/ig-449798506/cheryllyone/photos)

 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ขึ้นภาษี: สะท้อนความหนักหน่วงของปัญหาเศรษฐกิจ

$
0
0


 

การเสนอให้ขึ้นภาษี ถ้าเป็นในอเมริกาย่อมเป็นเรื่องใหญ่และย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์ตามสิทธิเสรีภาพและวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบฉบับอเมริกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าภาษีที่จะจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นภาษีประเภทไหน มีความสำคัญหรือมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่หรือไม่อย่างไร ภาษีบางประเภทอาจไม่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่มากนัก เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดินที่มีลักษณะการซื้อขายเก็งกำไร เป็นต้นนั้น อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือมีผู้แสดงความเห็นคัดค้านน้อยกว่าการขึ้นภาษีประเภทอื่น   เนื่องจากความสมเหตุสมผลของการจัดเก็บภาษีในอันที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างรายได้ของคนรวยกับคนจน แต่ถึงกระนั้นแม้คนส่วนใหญ่จะยอมรับความสมเหตุสมผลของการขึ้นภาษีกับคนรวยดังกล่าวก็ตาม แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมทุนเสรีอเมริกัน อย่างเช่น ทีปาร์ตี้ และบางกลุ่มในพรรครีพับลิกัน ก็ยังออกโรงคัดค้าน เพียงแต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อประชามติ

ในอเมริกามีภาษีอยู่หลายประเภท แต่หากดูจากลักษณะการปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปกครองส่วนกลางแล้ว การจัดเก็บภาษีในอเมริกาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีท้องถิ่น (local tax) กับภาษีส่วนกลาง (federal tax) แน่นอนว่าทั้งไม่ว่าจะอยู่ในรัฐบาลท้องถิ่นใดก็ตามพลเมืองทุกคนมีหน้าที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลกลางเท่ากัน ซึ่งก็คือภาษีเงินได้ (income tax)  ส่วนภาษีท้องถิ่น บางรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ระดับรัฐ (state) หรือเมือง (city) อาจมีการเก็บภาษีไม่เหมือนกัน ขึ้นกับนโยบายของแต่ละรัฐบาลท้องถิ่นนั้น เช่น รัฐบาลของรัฐเนวาดาเก็บภาษีจากการขายสินค้า (state sales tax) ในอัตรา 6.85% ขณะที่รัฐบาลโอเรกอนไม่มีการเก็บภาษีประเภทนี้ เป็นต้น นอกจากนี้อเมริกาใช้ระบบที่เรียกว่า “ความยุติธรรมทางภาษี” เพื่อบรรเทาเบาบางความได้เปรียบทางสังคมของคนมีรายได้สูง ด้วยการเก็บภาษีมรดก  ภาษีซื้อขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร (ตามระยะเวลาการถือครองสั้นยาว) ในอัตราที่สูง โดยอัตราการจัดเก็บขึ้นกับจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์ที่มีการทำธุรกรรม

ปกติแล้วไม่ว่านักการเมืองอเมริกันหรือประเทศใดก็ตามมักไม่ค่อยกล้าเสี่ยงออกนโยบายหรือแผนขึ้นภาษีกับประชาชน โดยเฉพาะภาษีที่กระทบต่อคนจำนวนมาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลภาษีบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีราคาต่ำจนถึงราคาปานกลาง (พิจารณาว่าควรเก็บหรือไม่และอัตราเท่าใดจากฐานค่าครองชีพและอัตราเงินเฟ้อ)  เพราะกลัวผลกระทบทางการเมือง คือ กลัวว่าจะสูญเสียคะแนนความนิยมจากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง หากเป็นไปได้บรรดานักการเมืองที่มาจากประชาชนจะเลือกหนทางอื่นเพื่อหารายได้เข้ารัฐมากกว่าการเลือกแนวทางการขึ้นภาษี ยกเว้นประเทศที่มีผู้นำเผด็จการ หรือประเทศมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในขั้นวิกฤต ขั้นข้าวยากหมากแพง ไม่มีทางเลือก แต่ทางเลือกในการขึ้นภาษีที่กระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ ก็จะนำประเทศสู่หายนะทางด้านเศรษฐกิจในที่สุด ดังนั้น ประเทศส่วนใหญ่ ในยามที่เศรษฐกิจย่ำแย่ กลับต้องใช้วิธีลดภาษีลงด้วยซ้ำ เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน เพราะเมื่อประชาชนเดือดร้อนปัญหาต่างๆ ย่อมตามมามากมาย

โดยรวมแล้วนโยบายด้านภาษีของพรรครีพับลิกันกับพรรคเดโมแครต ต่างกันตรงที่พรรครีพับลิกันต้องการย้อนไปสู่เศรษฐกิจทุนนิยมเสรีแบบเดิม อ้างว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน รีพับลิกันมองว่าสวัสดิการของรัฐคือตัวบั่นทอนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะสร้างนิสัยขี้เกียจ  พรรคนี้จึงไม่ต้องการให้มีการเก็บภาษีหลายประเภทเกินไป ใครทำงานมากสมควรได้ค่าตอบแทนมาก รีพับลิกันยังได้เสนอให้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้ 2 ประเภทลงอีกด้วย ขณะที่พรรคเดโมแครตมองว่าหากไม่มีเครื่องมือด้านภาษี จะทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนถ่างออกมากขึ้น เดโมแครตต้องการให้รัฐมีสวัสดิการในระดับที่เหมาะสม  และมองว่าคนที่มีรายได้น้อยสมควรได้รับการช่วยเหลือจากรัฐเพื่อให้การดำเนินชีวิตของพวกเขาไม่อัตคัตเกินไป
ส่วนการจัดเก็บภาษีของประเทศรัฐสวัสดิการที่คิดจากฐานรายได้ส่วนบุคคลของพลเมืองในประเทศนั้นเป็นคนละส่วนกับการขึ้นอัตราเก็บภาษีของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหารายได้ของรัฐที่ไม่เข้าเป้า รัฐสวัสดิการ เช่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียหรือแม้แต่แคนาดา จัดเก็บภาษีสวัสดิการ (social tax) ในอัตราที่สูงเพื่อสวัสดิการของพลเมืองซึ่งเป็นการคุ้มครองประชาชนในด้านการศึกษา และสาธารณสุขทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ภาษีของรัฐสวัสดิการไม่ได้เกิดจากรัฐบาลขาดเงินรายได้แต่อย่างใด

สำหรับนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย การขึ้นภาษีที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง จึงเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ในอเมริกาสาเหตุส่วนหนึ่งแห่งชัยชนะของบารัก โอบามา แห่งพรรคเดโมแครต  ก็คือนโยบายการขึ้นภาษีเอากับผู้มีรายได้สูงหรือกลุ่มอีลิทชน (elite) ไม่ว่าโอบามาจะทำสำเร็จหรือไม่ แต่คนส่วนใหญ่พอใจนโยบายที่ว่านี้   หากทุรนโยบายของรัฐบาลบางประเทศที่เป็นเผด็จการกลับกระทำในทางตรงกันข้าม คือ ไม่กล้าดำเนินการเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินเพื่อการเก็งกำไร เช่น ที่ดินที่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า เป็นต้น

การหาทางออกจากปัญหาเศรษฐกิจ มิใช่กระทำโดยขึ้นภาษีเพียงอย่างเดียว แต่มีวิธีการอื่นๆ อีก ได้แก่  การอาศัยวิธีการทางด้านการเงิน เช่น การใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นแรงจูงใจในการกระต้นเศรษฐกิจ เป็นต้น   การอาศัยวิธีการทางด้านการคลัง เช่น การใช้นโยบายปรับลดอัตราภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจการซื้อการขายให้มีมากขึ้น ทำให้เงินทุนมีการหมุนเวียน เกิดสภาพคล่องในวงจรเศรษฐกิจ เป็นต้น  การอาศัยมาตรการอุดหนุนของรัฐนอกเหนือไปจากวิธีการทางด้านการเงินการคลัง เช่น การค้ำประกันหรือรับจำนำสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งมีผลทำให้วงจรเศรษฐกิจหรือเงินทุนถูกขับเคลื่อนไหลเวียนดียิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการปฏิบัติเชิงนโยบายของตัวองค์กรบริหารสำคัญคือรัฐบาล ที่จะต้องควบคุมและทางปรับลดค่าใช้จ่ายลงภาครัฐลง รายจ่ายไหนไม่จำเป็นก็ไม่ต้องจ่าย เช่น รายจ่ายยุทโธปกรณ์ด้านทหาร ซึ่งรายจ่ายประเภทนี้แทบทุกประเทศพอเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจต้องมีการพิจารณาปรับลดก่อนรายจ่ายประเภทอื่นๆ แม้กระทั่งรัฐบาลอเมริกันเองก็มีการปรับลดรายจ่ายด้านกลาโหมลง ช่วงที่บารัก โอบามา เข้ารับตำแหน่งใหม่สหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในช่วงวิกฤตซับไพรม์ รัฐบาลโอบามาเสนอแผนระยะยาวในการปรับลดงบกลาโหม จากปี 2010 ที่งบกลาโหมอยู่ที่ 722.1 พันล้านเหรียญ หรือ 4.9 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี เป็นลดลงเหลือ 698.2 พันล้านเหรียญ หรือ 3.6 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2015 

นอกจากนี้สิ่งที่น่าพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ มาตรการด้านการคลังด้วยการขึ้นภาษีหากขึ้นซี้ซั้ว ดีไม่ดีก็ขัดกับหลักการเปิดเสรีเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะภาษีจากสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าซึ่งนับวันกำแพงภาษีจะถูกทลายลงไปเรื่อยๆ ดังนั้น การแนวทางการแสวงหารายได้จากการขึ้นภาษีทั่วไปคือภาษีที่เก็บจากประชาชนและภาคธุรกิจทั่วไป ยกเว้นภาษีเงินได้ 2 ประเภทแล้วจึงหดสั้นลงทุกที รัฐบาลที่ดีจึงต้องวางแผนหาทางหารายได้เข้ารัฐทางอื่น เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุน มิใช่ มุ่งไปที่การเก็บภาษีอันเป็นแนวทางวิบัติในโลกสมัยใหม่

หากเป็นในช่วงขาลงของเศรษฐกิจ หรือเศรษฐกิจกำลังย่ำแย่ ผลกระทบของการขึ้นภาษีที่จะต้องสำเหนียกอย่างยิ่งก็คือ มันอาจนำไปสู่ความย่อยยับทางด้านเศรษฐกิจ นั่นคือ การล้มเป็นลูกโซ่ของระบบเศรษฐกิจทั้งประเทศ อาจเป็นเช่นเดียวกับเมื่อคราวที่เคยเกิดกับประเทศไทยสมัยต้มยำกุ้งปี 2540 ก็เป็นได้ หากรัฐไม่สามารถควบกุมกลไกเศรษฐกิจมหภาคได้

การขึ้นภาษีของรัฐในยามเศรษฐกิจวิกฤต ย่อมนำไปสู่ความตึงหรือความหนืดทางด้านเศรษฐกิจ  เช่น หากมีการขึ้นอัตราภาษีเอากับเจ้าของที่อยู่อาศัยก็จะทำให้เจ้าของหรือผู้ซื้อที่พักอาศัยที่มีความลำบากจากเงื่อนไขของรายได้ที่น้อย (จากพิษเศรษฐกิจ) อยู่แล้ว ต้องลำบากขึ้นไปอีก จนต้องทิ้งที่อยู่อาศัยนั้นในที่สุด ส่งผลให้หนี้เสียในระบบเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดก็กระทบกับสถาบันการเงินในประเทศ และระบบเศรษฐกิจของทั้งหมด

จะสังเกตเห็นว่า เมื่อคราววิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008 และลากยาวมาจนถึงปี 2012  เมือง หลายเมืองในสหรัฐอเมริกาถึงขั้นล้มละลาย  (bankruptcy) เมืองหรือแม้แต่รัฐบาลกลางอเมริกันเองหันมาใช้นโยบายลดภาษีหรือเว้นภาษีให้สำหรับการลงทุนในเมืองที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ  เช่น เมือง Vallejo ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ล้มละลายจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการยกเว้นการจัดเก็บภาษีกับผู้ที่ไปลงทุนในเมืองนี้ในขณะนั้น

การแสดงออกด้วยทีท่าว่าจะขึ้นภาษีเอากับประชาชนคือสิ่งที่แสดงออกอย่างหนึ่งว่าฐานะการคลังของประเทศนั้นกำลังมีปัญหา (อาจถึงขั้นรุนแรง) อย่างไรก็ตามเมื่อเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในอาการย่ำแย่ ทางออกด้านนโยบายการคลัง มิใช่การขึ้นภาษีเอากับประชาชน หากควรลดภาษีให้กับประชาชนเสียด้วยซ้ำ

ประเทศส่วนใหญ่ที่ปกครองโดยระบบประชาธิปไตยเลือกแนวทางการขึ้นภาษีกับประชาชนทั่วไปเป็นทางเลือกท้ายสุดทว่ามักจบลงด้วยเรื่องเศร้า แต่ส่วนใหญ่รัฐบาลของประเทศประชาธิปไตยเหล่านี้มักไม่เลือกแนวทางการขึ้นภาษี เพราะการขึ้นภาษีกับประชาชนทั่วไปนั้นแสดงว่ารัฐไร้กึ๋นในการบริหารเศรษฐกิจ หรือไม่ก็เศรษฐกิจประเทศนั้นใกล้ถึงกาลวิบัติเต็มที.

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลายองค์กรจี้ทีมสอบเหตุทุ่งยางแดง ทำงานรอบด้าน นำคนผิดมาลงโทษ

$
0
0

หลายองค์กรร่วมแถลงการณ์กรณียิงปะทะบ้านที่โต๊ะชูด ทุ่งยางแดง ให้กรรมการค้นหาความจริงทำงานอย่างรอบด้านและเป็นธรรม นำคนผิดมาลงโทษให้ได้ไม่ใช่แค่เยียวยาอย่างเดียว เผยมุ่งค้นหาทำไมถึงตาย 4 ศพและการใช้อาวุธ พร้อมเปิดชื่อทีมสอบข้อเท็จจริงเหตุทุ่งยางแดง แต่งตั้งโดยผู้ว่าปัตตานี

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2558 องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หลายองค์กรประกอบด้วยมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กลุ่มด้วยใจ องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP) สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา นายอับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย นายฮัมดี ขาวสะอาด มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก นางสาวสุวรา แก้วนุ้ย และนางสาวตัสนีม เจ๊ะตู มูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้า ร่วมออกแถลงการณ์กรณีเหตุรุนแรงที่ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 ที่มีผู้เสียชีวิต 4 คน และถูกควบคุมตัวอีก 22 คน โดยขอให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ฝ่ายรัฐตั้งขึ้นไม่ใช่แค่เพื่อการเยียวยาผู้เสียหาย แต่ต้องนำผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ด้วย

แถลงการณ์ดังกล่าวมีข้อเรียกร้องต่อการดำเนินการของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว 4 ข้อ ประกอบด้วย


1. มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรมและได้รับข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ได้ข้อเท็จจริง

2. ควรมีเป้าหมายในการตรวจสอบมิใช่เพียงการเยียวยาผู้เสียหายเท่านั้นแต่ต้องให้ความสำคัญกับการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษทางวินัยและตามกฎหมาย

3. ถ้าพบว่าเป็นการกระทำความผิดผู้รับผิดชอบหมายรวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงด้วย

4. ควรทบทวนนโยบายการปิดล้อมตรวจค้นและแนวทางการในการปฏิบัติด้วยอาวุธ

ในตอนท้ายของแถลงการณ์ระบุด้วยว่า “...เหตุการณ์นี้จะไม่กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวหากมีการดำเนินการอย่างเป็นธรรม ให้สังคมได้รับรู้ จึงขอเรียกร้องอย่างจริงจังในการดำเนินงานและติดตามผลของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง”


เปิดชื่อทีมสอบข้อเท็จจริงเหตุทุ่งยางแดง

ด้านนายวีรพงค์ แก้วสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุการณ์ยิงปะทะพื้นที่บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี คำสั่งจังหวัดปัตตานีที่ 3639/2558 สั่ง ณ วันที่ 28 มีนาคม 2558 โดยมีรายชื่อประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายต่างๆ จำนวน 15 คน ดังนี้

1.รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี (นายเถกิงศักดิ์ ยกศิริ) เป็นประธานคณะกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย 2.รองผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ได้รับมอบหมาย 3.รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานีที่ได้รับมอบหมาย 4.ปลัดจังหวัดปัตตานี 5.ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี 6.อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีหรือผู้แทน
7.ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจังหวัดปัตตานี 8.ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ 9.นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ 10.นายมูฮำหมัดอาลาวี บือแน 11.ประธานชมรมอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น อ.ทุ่งยางแดง 12.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน 13.ประธานชมรม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อ.ทุ่งยางแดง 14.ป้องกันจังหวัดปัตตานี เลขานุการ และ 15.ผู้ช่วยป้องกันจังหวัดปัตตานี ผู้ช่วยเลขานุการ

สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ ได้แก่ 1.ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวเหตุการณ์ดังกล่าว 2.ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แล้วภายใน 7 วัน นับแต่รับทราบคำสั่ง 3.เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จรายงานผลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีทราบ 4.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้สั่งการและมอบหมาย

คำสั่งนี้ระบุว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบฯอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 52/1(2) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม


มุ่งค้นหาทำไมถึงตาย 4 ศพและการใช้อาวุธ

นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ หนึ่งในกรรมการชุดนี้ในนามตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า คณะกรรมการชุดนี้ได้ประชุมนัดแรกวันที่ 29 มีนาคม 2558 ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดปัตตานี ที่ประชุมได้กำหนดระยะเวลาค้นหาความจริงภายใน 7 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2558 เป็นต้นไป โดยจะรับฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ที่อยู่เหตุการณ์และชาวบ้านที่อยู่รอบบริเวณที่เกิดเหตุ

“เป้าหมายของการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อค้นหาความจริงว่า เหตุการณ์เป็นอย่างไร ทำไมถึงมีผู้เสียชีวิต 4 ศพ จุดที่ใช้อาวุธเกิดจากสาเหตุอะไร” นายประสิทธิ์ กล่าว

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์นี้มีความสำคัญมาก เพราะหากรัฐจัดการไม่ดีก็จะส่งผลให้การพูดคุยสันติภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมีความลำบากมากขึ้นไปด้วย

“จริงๆแล้วเจ้าหน้าที่รัฐควรเน้นการเจรจาการพูดคุย อดทนให้ถึงที่สุดก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีกรณีปิดล้อมตรวจค้นมาแล้วซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ใช้เวลาพูดคุยหรือเจรจาถึง 6 ชั่วโมง สุดท้ายก็จบลงด้วยดี แต่ครั้งนี้ไม่ทราบว่าเหตุใดจึงใช้อาวุธด้วย ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่คณะกรรมการต้องค้นหาความจริงมาให้ได้”

นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐต้องคำนึงว่าทุกคนคือคนไทย ต้องดำเนินการจากเบาไปหาหนัก ต้องมีการพูดคุยกัน มีการเจรจากัน ใช้ความอดทนถึงที่สุด หากอีกฝ่ายใช้อาวุธก่อนเจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้อาวุธได้ ซึ่งทุกครั้งเจ้าหน้าที่รัฐใช้มาตรการอย่างนี้ แต่ครั้งนี้รู้สึกว่ามีความผิดปกติ มีการใช้อาวุธเร็วและไม่รู้มีอะไรอยู่เบื้องหลัง ดังนั้นต้องค้นหาความจริงภายใน 7 วัน

นายประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนยืนยันมาตลอดว่าการทำงานองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี สันติวิธีเป็นแนวทางเดียวเท่านั้นที่จะต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองหรือทางสังคม ต้องความอดทนและอดกลั้น ต้องเข้าใจว่าคนที่กำลังต่อสู้อยู่ในขณะนี้มีความกดดัน ดังนั้นเราต้องเอาสิ่งเหล่านั้นออกมา ซึ่งในกระบวนการเหล่านี้ต้องมีความอดทนสูงมากและต้องให้โอกาสประชาชน ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด

 

แถลงการณ์ฉบับเต็ม


แถลงการณ์ ร่วมองค์กรพัฒนาเอกชน กรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่ทุ่งยางแดง จ. ปัตตานี
ขอให้คณะกรรมการตรวจสอบมิใช่ แค่เยียวยาผู้เสียหาย ต้องนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ

(เผยแพร่วันที่ 29 มีนาคม 2558)


เมื่อวันที่ 25 มี.ค.58 เวลาประมาณ 17.00 น. มีการสนธิกำลังระหว่างฉก.ปัตตานี 25 นปพ. 431 ฉก ทพ.41 กำลังตำรวจจาก สภ.ทุ่งยางแดง จนท. ฝ่ายปกครอง และ ทหารจากร้อย ร.35314 ฉก.ปัตตานี ได้เข้าปฏิบัติการตรวจสอบความผิดปกติในพื้นที่ ม.6 บ.โต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี การปฏิบัติการดังกล่าว ส่งผลให้มีการจับกุมประชาชนจำนวน 22 คน และวิสามัญฆาตกรรม จนมีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวน 4 ศพ แต่ในวันรุ่งขึ้นกลับปรากฏข้อเท็จจริงจากชาวบ้านและครอบครัวผู้สุญเสียที่แตกต่างจากข่าวที่ปรากฏ

ต่อมาทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเหตุการณ์ยิงในพื้นที่อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 4 ระบุพร้อมให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายโดยปราศจากการแทรกแซง และเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนภายใต้การทำงานของเจ้าหน้าที่ จึงขอเรียกร้องต่อการดำเนินการของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.มีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเป็นธรรมและได้รับข้อมูลรอบด้าน เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้ได้ข้อเท็จจริง

2.ควรมีเป้าหมายในการตรวจสอบมิใช่เพียงการเยียวยาผู้เสียหายเท่านั้นแต่ต้องให้ความสำคัญกับการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษทางวินัยและตามกฎหมาย

3.ถ้าพบว่าเป็นการกระทำความผิดผู้รับผิดชอบหมายรวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงด้วย

4.ควรทบทวนนโยบายการปิดล้อมตรวจค้นและแนวทางการในการปฏิบัติด้วยอาวุธ

คงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และคงไม่มีใครอยากให้เกิดความสูญเสียไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม เหตุการณ์นี้จะไม่กลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวหากมีการดำเนินการอย่างเป็นธรรม ให้สังคมได้รับรู้  จึงขอเรียกร้องอย่างจริงจังในการดำเนินงานและติดตามผลของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง

ลงนามโดย
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
กลุ่มด้วยใจ
องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี (HAP)
สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา
อับดุลอาซิส ตาเดอินทร์ ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
ฮัมดี ขาวสะอา มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก
สุวรา แก้วนุ้ย
ตัสนีม เจ๊ะตู มูลนิธิเพื่อการศึกษาและเยียวยาเด็กกำพร้า

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มายาคติเกี่ยวกับ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ในระบอบรัฐธรรมนูญไทย (2)

$
0
0


 

"มาตรา 69 กับแนวความคิดว่าด้วยสิทธิต่อต้านขัดขืนผู้ปกครอง"

 


5. “สิทธิต่อต้านขัดขืนผู้ปกครอง” (Widerstandsrecht) – แม่แบบความคิดของคำว่า “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ”?

หลังจากที่ได้วิเคราะห์บทบัญญัติมาตรา 68 (รัฐธรรมนูญ 50) โดยละเอียดแล้วว่าไม่ได้มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการก่อตั้งหรือประกัน “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” แต่อย่างใด เป็นก็แต่เพียงบทบัญญัติที่มีผลเป็นการทั่วไปในการจำกัดหรือตีกรอบการใช้สิทธิเสรีภาพอื่น ๆ ที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้เท่านั้น นอกจากนี้กระบวนการต่าง ๆ ที่บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 68 ก็มีความไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางความเป็นจริงและในทางกฎหมายหลายประการ ข้อสรุปของการมีอยู่ของบทบัญญัติมาตรา 68 คงเป็นได้แต่เพียงตัวอย่างหนึ่งของการ “ลอก” กฎหมายต่างประเทศเข้ามาอย่างไม่ยึดโยงกับหลักการหรือความคิดที่อยู่เบื้องหลัง แล้วนำมาทำให้เป็น “แบบไทยๆ” (ไม่ว่าจะโดยไม่รู้หรือจงใจ) อันทำให้บทบัญญัตินั้นกลายเป็น “สิ่งแปลกปลอม” ในระบบรัฐธรรมนูญ (และยิ่งตลกขึ้นอีก เมื่อบทบัญญัตินี้ถูกนำมาใช้อย่างจงใจบิดเบือนโดยคณะ “ตลก” รัฐธรรมนูญในห้วงปี 2555-57)

บทบัญญัติอีกมาตราหนึ่งที่บัญญัติไว้ในหมวดว่าด้วย “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ก็คือมาตรา 69 (รัฐธรรมนูญ 50) ที่บัญญัติไว้ว่า“บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”ซึ่งความคิดของบทบัญญัตินี้สืบเนื่องมาจากมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญ 40 ที่บัญญัติถ้อยคำเช่นเดียวกันไว้เป็นครั้งแรกในระบบรัฐธรรมนูญไทย

บทบัญญัติในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญนานาประเทศ ตัวอย่างหนึ่งที่เป็นแนวทางหรือแม่แบบในการนำไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ ก็คือ มาตรา 20 วรรค 4 แห่งกฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งบัญญัติไว้ว่า

“ชาวเยอรมันทุกคนมีสิทธิในการต่อต้านขัดขืนบุคคลใดก็ตามที่กระทำการเพื่อล้มล้างระบอบ(รัฐธรรมนูญ)นี้ หากหนทางในการปัดป้องด้วยวิธีการอื่นไม่สามารถเป็นไปได้”

แนวความคิดเบื้องหลังของบทบัญญัติมาตรา 20 วรรค 4 ของกฎหมายพื้นฐานนี้เป็นเรื่องของ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ซึ่งมีรากฐานความคิดมาจากแนวความคิดกฎหมายธรรมชาติ กล่าวคือ เมื่อผู้ปกครองใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมตามธรรมชาติของประชาชนที่จะลุกขึ้นขัดขืนการกดขี่ภายใต้การปกครองดังกล่าว เพื่อปฏิเสธอำนาจการปกครองเดิม และสถาปนาระบอบการปกครองใหม่ขึ้นมาหรือย้อนกลับไปสู่ระบอบการปกครองเดิมที่เป็นไปเพื่อประชาชน

ความคิดว่าด้วย “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นี้มีปรัชญาเบื้องหลังเชื่อมโยงได้ทั้งจากแนวความคิดกฎหมายธรรมชาติในยุคสมัยกลางที่มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับศาสนาคริสต์ และกฎหมายธรรมชาติยุคใหม่ที่เน้นความสำคัญของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล

ในขณะที่แนวความคิดกฎหมายธรรมชาติแบบคริสต์อธิบายว่าผู้ปกครองไม่ใช่องค์รัฏฐาธิปัตย์แต่อยู่ภายใต้ระเบียบการปกครองของพระเจ้า ดังนั้นหากผู้ปกครองใช้อำนาจไปในทางที่ผิด ศาสนจักรและประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะต่อต้านขัดขืนเพื่อสถาปนาระเบียบการปกครองของพระเจ้าขึ้นมาอีกครั้ง แนวความคิดกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่อธิบายความคิดเรื่องสิทธิต่อต้านขัดขืนโดยยึดโยงกับทฤษฎีสัญญาก่อตั้งรัฐ (ทฤษฎีสัญญาประชาคม) กล่าวคือ เมื่อผู้ปกครองละเมิดพันธกรณีที่ตกลงกับประชาชนเพื่อก่อตั้งระบบการปกครองให้คุ้มครองชีวิต เสรีภาพ และกรรมสิทธิ์ ประชาชนย่อมไม่จำเป็นที่จะต้องเชื่อฟังผู้ปกครองอีกต่อไป และอาจนำไปสู่การลุกขึ้นสู้เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองที่ชอบธรรมขึ้นมาใหม่

แนวความคิดว่าด้วยสิทธิต่อต้านขัดขืนนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญทั้งในการประกาศอิสรภาพของอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส ใน Virginia Bill of Rights ค.ศ. 1776 มาตรา 3 ได้รับรองสิทธิต่อต้านขัดขืนของประชาชนในการที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มรัฐบาลที่ไม่ได้ปกครองโดยเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ นอกจากนี้ในคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีสัญญาก่อตั้งรัฐตามแนวความคิดกฎหมายธรรมชาติ กล่าวไว้ว่า

“เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลกลายเป็นอุปสรรคทำลายเป้าประสงค์(เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน) ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนที่จะเปลี่ยนแปลงหรือล้มล้างรัฐบาลนั้น เพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่และวางรากฐานหลักการดังกล่าวขึ้นใหม่และจัดระเบียบอำนาจในรูปแบบตามที่จะเห็นสมควรว่าจะเป็นประโยชน์ได้มากที่สุดต่อความปลอดภัยและความสุขของประชาชน”

ในขณะที่คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ในการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้รับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ไว้ในมาตรา 2 โดยรับรองให้การธำรงไว้ซึ่งสิทธิต่อต้านขัดขืนการถูกกดขี่ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนตามธรรมชาติที่ไม่อาจถูกพรากไปได้นั้น เป็นวัตถุประสงค์ของทุกสังคมการเมือง

ปัจจุบัน แนวความคิดว่าด้วย “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นั้นถูกเปลี่ยนแปลงจากแนวความคิดตามกฎหมายธรรมชาติให้กลายมาเป็นแนวความคิดตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

กล่าวคือ จากเดิมการอ้างสิทธิต่อต้านขัดขืนอ้างอิงอยู่กับสิทธิตามธรรมชาติ เพื่อก่อตั้งหรือฟื้นฟูระบอบความเป็นธรรมที่แท้จริงขึ้นมา ในระบอบรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและประกันความเป็นนิติรัฐ-ประชาธิปไตยได้รับรองสิทธิต่อต้านขัดขืนไว้ในฐานะสิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดเป้าหมายของการต่อต้านขัดขืนไม่ใช่เป็นไปเพื่อสถาปนาระบอบการปกครองใหม่ขึ้น แต่เป็นไปเพื่อปกป้องหรือรื้อฟื้นระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ระบอบรัฐธรรมนูญกำลังหรือได้ถูกทำลายลงไป สิทธิต่อต้านผู้ปกครอง(ตามธรรมชาติ) จึงกลายมาเป็น “สิทธิต่อต้านขัดขืนการล้มล้างรัฐธรรมนูญ”

การรับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืนการล้มล้างรัฐธรรมนูญ” นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกลไกของ “ระบอบประชาธิปไตยที่ปกป้องตัวเองได้” ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อไม่ให้ระบอบนิติรัฐ-ประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญสถาปนาขึ้นนั้นถูกทำลายลง

อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าการรับรองสิทธิต่อต้านขัดขืนการล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นจะมีปัญหาในตัวเอง กล่าวคือ เมื่อเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้ว สิทธิดังกล่าวจะมีผลหรือมีความหมายอย่างไรเมื่อรัฐธรรมนูญถูกฉีกหรือทำลาย?

หากรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรถูกยกเลิกหรือทำลายไป เช่นนี้บทบัญญัติที่รับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืนการล้มล้างรัฐธรรมนูญ” ก็ย่อมสิ้นผลไปทำให้สิทธิดังกล่าวก็ไม่ได้หลงเหลืออยู่ด้วย เช่นนี้บทบัญญัติดังกล่าวจะมีไว้ทำไม? ในเมื่อไม่มีทางมีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด?

ในบทความเรื่อง “When to Overthrow your Government: The Right to Resist in the World’s Constitutions” ของ Tom Ginsburg และคณะ ซึ่งได้ศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนานาประเทศที่มีลักษณะเป็นการกล่าวถึง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” เอาไว้นั้น แยกความมุ่งหมายของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่รับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” เอาไว้เป็นสองความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน

กล่าวคือ ในรัฐธรรมนูญบางประเทศที่การสถาปนารัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการปฏิวัติ-รัฐประหาร ล้มล้างการปกครองในระบอบเก่า เป้าหมายสำคัญของการรับรองสิทธิดังกล่าวไว้นั้น ก็เพื่อให้มีผลย้อนไปเป็นการรับรองความชอบธรรมในการกระทำของตนในอดีตที่ได้เคยทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารเพื่อโค่นล้มระบอบเก่า

ในขณะที่ความมุ่งหมายอีกด้านหนึ่งนั้น เป็นไปเพื่อมองไปข้างหน้า กล่าวคือ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำรงอยู่ของระบอบรัฐธรรมนูญใหม่ที่ถูกก่อตั้งขึ้นไม่ให้ระบอบการปกครองประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองนั้นถูกทำลายลง การรับรองสิทธิต่อต้านขัดขืนจึงเป็นการกระตุ้นความรับรู้ในการมีอำนาจของประชาชนว่าสิทธิต่อต้านขัดขืนที่ตนมีนั้น เป็นพลังอำนาจที่สำคัญในการจำกัดอำนาจผู้ปกครอง

หากพิจารณาจากความมุ่งหมายประการที่สอง สิทธิต่อต้านขัดขืนจึงมีความหมายในเชิงเป็น “สัญลักษณ์” ของการปฏิเสธการล้มล้างรัฐธรรมนูญ โดยลักษณะเฉพาะของ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นี้เมื่อเปรียบเทียบกับ “สิทธิ” อื่น ๆ ที่รัฐธรรมนูญรับรองนั้น มีความแตกต่างกัน กล่าวคือในขณะที่สิทธิตามรัฐธรรมนูญอื่น ๆ นั้นถูกรับรองและคุ้มครองโดยโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ จึงมีผลบังคับใช้ได้เมื่อระบอบรัฐธรรมนูญดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นั้นแม้จะถูกรับรองในรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน แต่การกล่าวอ้างและยกสิทธิต่อต้านขัดขืนขึ้นสู้นั้น จะเกิดขึ้นก็แต่ในสภาวะที่ระบอบรัฐธรรมนูญไม่ทำงานแล้ว นั่นคือ การที่ระบอบรัฐธรรมนูญถูกทำลายหรือล้มล้าง

ผลของการรับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ไว้ในรัฐธรรมนูญ จะเกิดขึ้นก็แต่ในกรณีที่ว่า การต่อต้านขัดขืนนั้นได้รับชัยชนะ และมีผลเป็นการรื้อฟื้นระบอบรัฐธรรมนูญที่ถูกทำลายลงไปแล้วนั้นขึ้นมาใหม่ เช่นนี้สิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จึงถือว่าเป็นฐานความชอบธรรมทางกฎหมายในบรรดาการกระทำต่าง ๆ ที่ได้กระทำไปเพื่อการต่อต้านขัดขืน แม้การนั้นจะมีผลเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ว่าจะในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางมหาชนก็ตาม

เมื่อได้ทราบอุดมการณ์และความมุ่งหมายของการรับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ต่อไปจะขอยกตัวอย่างคำอธิบายเกี่ยวกับ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ในระบอบรัฐธรรมนูญเยอรมนี ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของการนำมาบัญญัติในรัฐธรรมนูญไทย

กล่าวคือ มาตรา 20 วรรค 4 แห่งกฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีบัญญัติไว้ว่า ““ชาวเยอรมันทุกคนมีสิทธิในการต่อต้านขัดขืนบุคคลใดก็ตามที่กระทำการเพื่อล้มล้างระบอบ(รัฐธรรมนูญ)นี้ หากหนทางในการปัดป้องด้วยวิธีการอื่นไม่สามารถเป็นไปได้”

มาตรานี้รับรอง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” แก่ชาวเยอรมันทุกคนว่าเป็นผู้ทรงสิทธิ โดยรับรองแก่ชาวเยอรมันเฉพาะในฐานะที่เป็นพลเมือง (ไม่รวมถึงการกล่าวอ้างในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หากบุคคลใดมีสองสถานะ) โดยการใช้สิทธินี้อาจใช้โดยลำพังหรือใช้แบบรวมกลุ่มก็ได้ โดยเป็นการต่อต้าน “ผู้ใดก็ตาม” ที่ต้องการล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นต่อตัวบุคคล หรือต่อองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้น และไม่ว่าจะเป็นการกระทำของเอกชนหรือว่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

โดยกรณีที่จะใช้สิทธิต่อต้านขัดขืนได้นั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขสามประการที่ว่า (1.) มีอันตรายต่อหลักการพื้นฐานที่กฎหมายพื้นฐานรับรอง นั่นก็คือ หลักการของระเบียบพื้นฐานทางเสรีประชาธิปไตย ได้แก่ หลักประชาธิปไตย, หลักนิติรัฐ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่ากรณีใด ๆ ที่มีการละเมิดหลักการดังกล่าวนี้แล้วทุกกรณี จะก่อให้เกิดสิทธิต่อต้านขัดขืนทั้งสิ้น แต่จะต้องถึงขนาดว่าการละเมิดหลักการดังกล่าวกระทบต่อโครงสร้างของรัฐที่รัฐธรรมนูญมุ่งคุ้มครอง ทั้งนี้ “อันตราย” ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องปรากฏให้เห็นอยู่อย่างชัดเจน (2) มี “การกระทำ” ไม่ใช่เพียงแค่ขั้นตอนการตระเตรียม โดยอย่างน้อยจะต้องถึงขนาดอยู่ในขั้นของการพยายามกระทำแล้ว ทั้งนี้สิทธิต่อต้านขัดขืนนี้ยังมีผลอยู่ แม้ว่าการล้มล้างระบอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นผลสำเร็จแล้ว (ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ภายหลังระบอบรัฐธรรมนูญได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง) และ (3) ไม่มีหนทางในการปัดป้องด้วยวิธีการอื่นแล้ว กล่าวคือ กลไกอื่น ๆ ที่รัฐธรรมนูญและระบอบกฎหมายรับรองไว้ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป โดยการใช้สิทธิต่อต้านขัดขืนนั้นเป็นเครื่องมือท้ายที่สุดในการรักษาไว้ซึ่งระบอบรัฐธรรมนูญ หากปรากฏว่ายังมีช่องทางดำเนินการด้วยวิธีอื่นได้อยู่ เช่น ด้วยกลไกกระบวนการทางกฎหมายผ่านองค์กรตุลาการ เช่นนี้ก็ยังไม่สามารถอ้างสิทธิต่อต้านขัดขืนนี้ได้

อย่างไรก็ตามกฎหมายพื้นฐานไม่ได้กำหนดเอาไว้แต่อย่างใดว่าการต่อต้านขัดขืนนั้นเป็น “หน้าที่” แต่เป็นเจตจำนงเสรีของประชาชนในการตัดสินใจที่จะใช้ “สิทธิ” ปกป้องระบอบรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้รูปแบบของการใช้สิทธิต่อต้านขัดขืนนั้นอาจเป็นได้ทั้งการแสดงออกในเชิงปฏิเสธ คือ ไม่เชื่อฟังผู้มีอำนาจที่ได้อำนาจมาโดยทำลายระบอบรัฐธรรมนูญ หรือการแสดงออกในเชิงรุก โดยการใช้กำลังต่อวัตถุหรือบุคคล

แม้กฎหมายพื้นฐานจะไม่ได้กำหนดขอบเขตการใช้สิทธิต่อต้านขัดขืนไว้ (เมื่อเทียบกับของไทยที่จำกัดว่า “โดยสันติวิธี”) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการอ้างสิทธิต่อต้านขัดขืนนั้นจะเป็นไปอย่างไร้ขอบเขต กล่าวคือ การต่อต้านขัดขืนเพื่อป้องกันระบอบรัฐธรรมนูญนั้นต้องเป็นไปภายใต้หลักความพอสมควรแก่เหตุ โดยพิจารณาทั้งความเหมาะสม ความจำเป็น และการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่มหาชนได้รับกับประโยชน์ที่เอกชนต้องเสียหาย

 

6. สิทธิต่อต้านขัดขืน กับ Civil Disobedience

ก่อนที่จะวิเคราะห์บทบัญญัติเกี่ยวกับ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ในระบบรัฐธรรมนูญไทย มีประเด็นทั่วไปที่ต้องกล่าวถึงอีกเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือ ความแตกต่างระหว่าง “สิทธิต่อต้านขัดขืน” กับกรณี Civil Disobedience ที่ถูกแปลเป็นไทยว่า “การดื้อแพ่ง” หรือ “อารยะขัดขืน”

กรณีการใช้ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นั้น ไม่ใช่ Civil Disobedience เนื่องจากมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งในเรื่องขอบเขตทางกฎหมายและการเมือง รวมไปถึงเป้าหมายและวิธีการ

กล่าวคือ Civil Disobedience นั้นหากถือตามนิยามของ John Rawl หมายถึงการกระทำโดยปราศจากการใช้กำลังและเปิดเผย ที่เป็นไปตามมโนธรรมสำนึก แต่มีผลเป็นการขัดต่อกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ ทั้งนี้โดยมีเป้าประสงค์เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือแนวนโยบายของรัฐ โดยเป็นการดำเนินอยู่ในกรอบของระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

ในขณะที่ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นั้นจะถูกใช้ในสถานการณ์ที่ระบอบรัฐธรรมนูญถูกทำลายลง ไม่ใช่เพียงกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่เคารพรัฐธรรมนูญเป็นรายประเด็นหรือรายกรณี Civil Disobedience นั้นเกิดขึ้นในบริบทภายใต้รัฐเสรีประชาธิปไตย โดยเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเห็นร่วมจากสาธารณะ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยกรอบที่รัฐธรรมนูญนิติรัฐ-ประชาธิปไตยรับรองไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านทางเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการชุมนุม

ทั้งนี้ “เป้าหมาย” ของการใช้ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นั้นเพื่อฟื้นฟูหรือสถาปนาระเบียบรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ Civil Disobedience มีเป้าหมายเพื่อลดทอนความชอบธรรมหรือเพื่อให้นำไปสู่การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือการตัดสินใจทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่ง

สุดท้ายแล้วการใช้ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” และ Civil Disobedience นั้นแตกต่างกันในแง่ของวิธีการ โดยเงื่อนไขของ Civil Disobedience นั้นจะต้องเป็นไปโดยปราศจากการใช้กำลังใด ๆ แต่การใช้ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” นั้นภายใต้หลักความพอสมควรแก่เหตุแล้ว สามารถดำเนินการใด ๆ ก็ได้ที่จำเป็น รวมไปถึงการใช้กำลังไม่ว่าต่อทรัพย์สินหรือต่อบุคคลอื่น

ด้วยเหตุนี้ การอ้าง Civil Disobedience นั้นไม่ได้อยู่บนฐานของ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” และไม่สามารถอาศัยเป็นเหตุให้มีอำนาจกระทำได้ การอ้าง Civil Disobedience อาศัยฐานของเสรีภาพในโครงสร้างรัฐธรรมนูญโดยเป็นหนึ่งในการสร้างความเห็นร่วมในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเสรีภาพดังกล่าวผูกพันบรรดาองค์กรของรัฐที่ต้องเคารพ อย่างไรก็ตามหากนำไปสู่การละเมิดกฎหมาย ลำพังการอ้าง Civil Disobedience ไม่ถือเป็นเหตุให้ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายได้ แต่หากการกระตุ้นความเห็นร่วมของสังคมเป็นผลสำเร็จ ก็ย่อมมีผลต่อการลงโทษอาญา ไม่ว่าจะเป็นการลดโทษหรือนิรโทษกรรม เพราะว่าการกระทำความผิดเพราะเหตุ Civil Disobedience ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ที่เป็นอาชญากร

 

7. “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ตามมาตรา 69 รัฐธรรมนูญ 50

สำหรับรัฐธรรมนูญไทยนั้น บัญญัติไว้ในมาตรา 69 ว่า“บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้”

แม้มาตรา 69 นี้จะมีรากเหง้ามาจากบทบัญญัติมาตรา 20 วรรค 4 ของกฎหมายพื้นฐานสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และเจตนารมณ์ในการบัญญัติครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 40 จะเป็นไปเพื่อต่อต้านการรัฐประหารยึดอำนาจ แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันความเข้าใจและการนำไปใช้มาตรา 69 ในฐานะสิทธิประการหนึ่งตามหมวด “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ดูจะต่างไปราวเหมือนเป็นคนละเรื่อง

ในชั้นยกร่างรัฐธรรมนูญ 50 มีความพยายามอธิบายการใช้ “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” (ทั้งกรณีมาตรา 68 และ 69) ให้รวมไปถึงการต่อต้านการทุจริตการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ในทางปฏิบัติมีการกล่าวอ้าง “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ตามมาตรา 69 รัฐธรรมนูญ 50 หลายกรณี โดยเฉพาะในช่วงการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา (อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงดูเหมือนว่าบรรดาบุคคลที่อ้าง “สิทธิ” ดังกล่าวนั้น ไม่ได้ต้องการ “ต่อต้านขัดขืน” เพื่อ “พิทักษ์” แต่กลับเป็นไปเพื่อมุ่ง “ทำลาย” รัฐธรรมนูญ)

คณะ “ตลก” รัฐธรรมนูญ เคยยกมาตรา 69 ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการรับคำร้องกรณีตามมาตรา 68 มาขยายเขตอำนาจในการรับฟ้องตรง โดยยกคำว่า “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ขึ้นมาส่งเสริม

ขณะเดียวกัน บทบัญญัติเช่นเดียวกันในรัฐธรรมนูญ 40 มาตรา 65 (ซึ่งมีถ้อยคำทุกอย่างเหมือนมาตรา 69 รัฐธรรมนูญ 50) เคยถูกยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุในการกระทำฉีกบัตรเลือกตั้งเมื่อ 2 เมษายน 2549

ในคดีฉีกบัตรเลือกตั้งนั้น ได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11850/2554 ว่าสิทธิตามมาตรา 65 นั้น “ต้องเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย” โดยเป็นสิทธิประการหนึ่งตามรัฐธรรมนูญเรียกว่า “การใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี” ซึ่งจะอ้างได้ “เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน” ด้วยเหตุนี้การฉีกบัตรเลือกตั้งอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภานั้นจึงไม่สามารถอ้าง “สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี” (ตามคำของศาลฎีกา) กรณีตามมาตรา 65 ได้

หากเจตนารมณ์ดั้งเดิมของการนำเข้า “สิทธิต่อต้านขัดขืน” เข้ามาในระบอบรัฐธรรมนูญไทย เพื่อให้เกิด “ระบอบประชาธิปไตยที่ปกป้องตนเองได้” ตามแบบของระบอบรัฐธรรมนูญเยอรมัน แต่จากคำพิพากษาของศาลฎีกานี้ ศาลฎีกาได้ “ทำลาย” หลักการ, อุดมการณ์ และคุณค่าของ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ลงโดยสิ้นเชิง ด้วยการจำกัดให้เป็นเพียงสิทธิประการหนึ่งภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ได้มีสถานะใดเป็นพิเศษ

นอกจากนี้ก็แทบจะไม่เคยมีการให้คำอธิบาย “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ใน “ความหมาย” และ “คุณค่า” แบบที่ควรจะเป็นดังที่ถูกอธิบายในระบอบรัฐธรรมนูญต่างประเทศ

จึงไม่ต้องแปลกใจที่ “สิทธิต่อต้านขัดขืน” ไทยจึงไม่ได้มีค่าใด ๆ ในเรื่องการสร้างความมั่นคงให้ระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย และจะสิ้นไปพร้อมกับรัฐธรรมนูญแบบไร้ความหมาย

 

 

หมายเหตุ:เรียบเรียงจากบทความของผู้เขียนซึ่งเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์โลกวันนี้วันสุข คอลัมน์สนามรบกฎหมาย ฉบับวันที่ 21-27 กุมภาพันธ์ 2558, 28 กุมภาพันธ์- 6 มีนาคม 2558 และ 7-13 มีนาคม 2558

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

#BoycottIndiana ชาวสหรัฐฯ ร่วมต่อต้านกฎหมายศาสนารัฐอินเดียนา หวั่นใช้กีดกันทางเพศสภาพ

$
0
0

ชาวสหรัฐฯ รวมถึงนักกิจกรรมเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศต่างพากันต่อต้านกฎหมาย 'ฟื้นฟูเสรีภาพทางศาสนา' ซึ่งกลัวว่าจะถูกนำมาอ้างใช้เพื่อกีดกันทางเพศสภาพ อย่างเช่นการไม่ต้อนรับหรือให้บริการคนรักเพศเดียวกัน

 

30 มี.ค. 2558 หลังจากที่ ไมค์ เพนซ์ ผู้ว่าการรัฐอินเดียน่าจากพรรครีพับรีกันลงนามอนุญาตใช้กฎหมายกีดกันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศก็ทำให้เกิดกระแสต่อต้านทั้งจากนักกิจกรรม ศิลปิน เจ้าของธุรกิจ และนักกีฬา จากทั่วประเทศสหรัฐฯ ที่ประกาศบอยคอตต์ทางเศรษฐกิจต่อรัฐอินเดียน่าในนามการเคลื่อนไหว #BoycottIndiana จนทำให้ ส.ส. รัฐอินเดียน่าเริ่มคำนึงว่าควรย้อนกลับมาพิจารณากฎหมายใหม่อีกครั้งหรือไม่

กฎหมายกีดกันทางเพศฉบับดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า "กฎหมายฟื้นฟูเสรีภาพทางศาสนา" ที่มีการลงนามอนุญาตใช้เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งในเนื้อความกฎหมายนี้ระบุห้ามไม่ให้มีกฎหมายของรัฐใดๆ ที่เป็นการ "สร้างภาระอย่างหนัก" ต่อการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนาของประชาชนทั่วไป สถาบันทางศาสนา สมาคม หรือธุรกิจ

นักวิจารณ์กล่าวว่ามาตรการนี้จะกลายเป็นการสนับสนุนให้บุคคลหรือธุรกิจกระทำสิ่งที่ล่วงละเมิดกฎหมายห้ามการกีดกันซึ่งมีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิความเท่าเทียมกังวลว่ากฎหมายที่อ้างถึงเสรีภาพทางศาสนานี้จะถูกนำมาใช้เหยียดหรือกีดกันกลุ่มคนรักเพศเดียวกันโดยเจ้าของธุรกิจที่ไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน

อย่างไรก็ตามมีการประท้วงจากหลายฝ่าย โดยมีการติดสติ๊กเกอร์ตามหน้าร้านค้าทั่วรัฐอินเดียนาซึ่งระบุข้อความว่า "ธุรกิจแห่งนี้เปิดรับทุกคน" และเมื่อวันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมานักกิจกรรมหลายร้อยคนก็พากันเดินขบวนนอกที่ว่าการรัฐเพื่อเรียกร้องให้เพนซ์ลาออกจากตำแหน่ง

นอกจากนี้สมาคมนักกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติสหรัฐฯ (N.C.A.A.) ยังแสดงความกังวลว่ากฎหมายดังกล่าวจะกระทบนักกีฬาและผู้เข้าชมกีฬาของตน ซึ่งนักกีฬาซูเปอร์สตาร์เอ็นบีเอชื่อ ชาร์ลส บาร์ตลีย์ ประท้วงด้วยการเรียกร้องให้การจัดแข่งบาสเก็ตบอลรอบสุดท้ายของ N.C.A.A. ในรัฐอินเดียน่าไปจัดในรัฐอื่น เจสัน คอลินส์ นักกีฬาเอ็นบีเออีกคนหนึ่งวึ่งเปิดเผยตัวเองว่าเป็นคนรักเพศเดียวกันยังโพสต์แสดงความกังวลถึงกฎหมายนี้ในทวิตเตอร์ของเขาด้วย

อย่างไรก็ตามเพนซ์กล่าวปกป้องกฎหมายฉบับนี้อ้างว่าเป็นการคุ้มครองย้อนหลังให้กับผู้ที่รู้สึกว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนกำลังถูกโจมตีโดยการกระทำของรัฐบาล เขากล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสื่ออีกว่าแม้จะมีผู้ประท้วงแต่เขาก็จะไม่เปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้ เพนซ์ยังปฏิเสธอีกว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เจตนาทำให้เกิดการเหยียดหรือการกีดกัน

ทางด้านผู้อำนวยการด้านกฎหมายของกลุ่มสิทธิคนรักเพศเดียวกัน ซาราห์ วอร์บิโลว์ กล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้สะท้อนถึงความอดกลั้นต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และเธอคิดว่ากฎหมายฉบับนี้สามารถส่งผลให้เกิดการกีดกันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้จริง

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในวงการไอทีอย่างทิม คุก หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารของแอปเปิ้ล และเจเรมี สต็อปเปลแมน ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Yelp ต่างก็แสดงความไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงผู้นำคนอื่นๆ อย่าง ฮิลลารี่ คลินตันรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ และ เกรก บัลลาด นายกเทศมนตรีเมืองอินเดียนาโปลิสสังกัดพรรครีพับรีกัน ก็พากันต่อต้านกฎหมายฉบับนี้


เรียบเรียงจาก

Indiana Law Denounced as Invitation to Discriminate Against Gays, New York Times, 27-03-2015

National #BoycottIndiana Movement Drives Officials to Backpedal on Anti-LGBTQ Law, CommonDreams, 29-03-2015
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รวบหนุ่มวัย 17 โพสต์คลิปชวนฉลองการตายและวิพากษ์อดีตผู้นำสิงคโปร์

$
0
0

เด็กหนุ่มชาวสิงคโปร์แพร่คลิปวิพากษ์ลีกวนยู เป็นผู้นำที่เลวร้าย ควบคุมประเทศด้วยโฆษณาชวนเชื่อและการปิดกั้นสื่อ ถูกจับกุม พร้อมกระแสวิพากษ์ตัวเขาเองทั้งด้านดีและร้าย ขณะที่ครูรายหนึ่งบอก แง่คิดจากเหตุการณ์ดังกล่าวคือ สิงคโปร์ล้มเหลวในการผลิตคนรุ่นใหม่ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์

เอมอส ยี ในคลิปที่เขาวิพากษ์วิจารณ์ลีกวนยู

เอมอส ยี วัย 17 ปี สัญชาติสิงคโปร์ เผยแพร่คลิปแสดงความยินดีในการเสียชีวิตของอดีตผู้นำที่ได้รับการนับถือว่าเป็นบิดาแห่งชาติของสิงคโปร์ ลีกวนยูเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเรียกลีกวนยูว่า "เผด็จการ" ทั้งยังท้าให้นายลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันผู้เป็นบุตรชายของลีกวนยู ฟ้องดำเนินคดีกับเขาด้วย

ต่อมาในบ่ายของวันอาทิตย์ เขาก็ถูกจับกุม โดยเว็บไซต์ Strait Time ระบุว่าเขาถูกจับกุมหลังจากที่มีผู้ไปร้องเรียนที่สถานีตำรวจร้องทุกข์กล่าวโทษต่อยี ถึงกว่า 20 ราย นับตั้งแต่เขาโพสต์คลิปขึ้นยูทูบ ในวันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยสเตรทไทม์ระบุว่า เนื้อหาของคลิปนั้นหมิ่นประมาทลีกวนยู และมีบางส่วนหมิ่นศาสนาคริสต์

ทั้งนี้บางส่วนของคลิประบุว่า ในที่สุดลีกวนยูเป็นผู้นำที่เลวร้ายที่สุดของประเทศนี้ แต่พยายามบอกกับโลกว่าสิงคโปร์เป็นประชาธิปไตย ขณะที่ทำเหมือนว่าให้โอกาสกับประชาชนในการเลือกแต่กลับปิดกั้นสื่อ และเสรีภาพ พร้อมๆ ไปกับการโฆษณาชวนเชื่อชาตินิยมให้กับประชาชนทุกเมื่อเชื่อวัน “แล้วพอถึงวันที่เขาตายคุณก็จะเห็นว่าบรรดาสื่อต่างๆ ก็พากันเสนอข่าว “เลียไข่” ลีกวนยู” เขากล่าวด้วยภาษาที่รุนแรง

ยีวิจารณ์ต่อไปด้วยว่า ลีกวนยูนั้นมีชื่อเสียงในการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมต่อคนที่วิพากษ์วิจารณ์เขา ด้วยการฟ้องร้อง เอาเข้าคุกและทำให้ล้มละลาย ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้คนไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์เขาเพราะกลัวจะต้องมีปัญหาทางกฎหมายในการถูกดำเนินคดีภายใต้ระบบยุติธรรมที่ลีกวนยูควบคุม ดังนั้นสิ่งที่คนได้ฟังกันก็มีแต่เรื่องว่าลีกวนยูยิ่งใหญ่อย่างไร
ในบางตอนของคลิปเขาได้เปรียบเทียบลีกวนยูกับพระเยซูถึงความเหมือนในการได้รับความนิยมของประชาชน ซึ่งบางอย่างนั้นไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง

สำหรับคลิปดังกล่าวมีการเผยแพร่ยูทูปเมื่อวันที่ 27 มี.ค. โดยมีผู้แชร์ไปแล้ว ประมาณ 50,000 ราย อย่างไรก็ตามคลิปที่โพสต์ลงยูทูปว์ถูกตั้งค่าส่วนตัวแล้ว และมีผู้ทำสำเนาและโพสต์ซ้ำใหม่

คลิปดังกล่าวยังถูกเผยแพร่ในเฟซบุ๊กของ Temasek Review และน่าสนใจว่า ความเห็นนั้นมีทั้งชื่นชมและตำหนิติเตียน เช่น ในวัย 17 ปี แทนที่จะมาวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำผู้สร้างคุณูปการต่อชาติ  ยีควรจะตั้งคำถามว่าได้ทำอะไรให้กับชาติได้เท่ากับที่ลีกวนยูเคยทำหรือไม่

บางส่วนของความเห็นที่มี่ต่อ เอมอส ยี จากเพจ Temasek Review

 

เว็บไซต์ The Real Singapore ได้เผยแพร่บทความจากครูรายหนึ่งใช้ชื่อว่า Basheer Khan ซึ่งแสดงความเห็นต่อกรณีของเอมอส ยีว่า ในฐานะครูคนหนึ่ง ถ้ามองข้ามเรื่องการใช้อารมณ์ของเขาไปแล้ว การกล้าแสดงออกและกล้าวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าคุณสมบัติเหล่านี้จึงไม่ค่อยมีอยู่ในเด็กของสิงคโปร์ ดูเหมือนว่าบรรดาบุคลากรทางการศึกษาของสิงคโปร์จะภาคภูมิใจกับความสำเร็จของระบบการศึกษาในศตวรรษที่ 20 ที่เน้นการเรียนการสอนให้เชื่อตามครู แต่ล้มเหลวที่จะสร้างเด็กที่สามารถถกเถียงอภิปราย การมีความคิดเชิงวิพากษ์และสร้างสรรค์อย่างที่การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรจะมี

อย่างไรก็ตาม ต้นทางของบทความซึ่งมาจากเฟซบุ๊กของ  Basheer Khan นั้น เมื่อคลิกเข้าไปอ่าน ก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อความได้แล้ว

 

เรียบเรียงจาก

17YR OLD S'POREAN ACTOR REJOICES OVER THE DEATH OF LEE KUAN YEW

Amos Yee, who made insensitive remarks on Christianity in anti-LKY video, arrested 

LOCAL TEACHER SAYS 'WE HAVE ONLY OURSELVES TO BLAME FOR AMOS YEE'
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

8 องค์กรสิทธิค้านใช้ม.44 ชี้แย่ยิ่งกว่าอัยการศึก

$
0
0

 


24 พ.ค. 2557 สนามเป้า กรุงเทพฯ
แฟ้มภาพ: ประชาไท

กรณี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ระบุว่า กำลังพิจารณานำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ซึ่งประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จนปัจจุบัน 

ล่าสุด (30 มี.ค. 2558) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 8 องค์กรออกแถลงการณ์คัดค้านการบังคับใช้ มาตรา 44 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 เรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากมาตราดังกล่าวนั้นขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้

อนึ่ง องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ศูนย์ข้อมูลชุมชน, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.), มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา, มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) และ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
 

มาตรา 44รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557
ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอํานาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทําการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทํานั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคําสั่งหรือการกระทํา รวมทั้งการปฏิบัติตามคําสั่งดังกล่าว เป็นคําสั่ง หรือการกระทํา หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ทั้งนี้ เมื่อได้ดําเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว


แถลงการณ์คัดค้านการบังคับใช้ มาตรา 44 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557

เผยแพร่วันที่ 30 มีนาคม 2558

ตามที่ปรากฏข่าวในวันที่ 27 มีนาคม 2558 ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  กำลังพิจารณานำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 นั้น องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อข้างท้ายนี้ขอแสดงความห่วงกังวลถึงแนวคิดดังกล่าวต่อไปนี้

1. การเรียกร้องให้ยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึกของหลายองค์กรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้เกิดการละเมิด เนื่องจากพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการค้น การยึด การเกณฑ์ การห้าม การควบคุมตัวบุคคลได้ไม่เกิน 7 วัน ตามมาตรา 15 ทวิ และทำให้การพิจารณาคดีในศาลทหารไม่สามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดมา

2. หากมีการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกโดยนำมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) มาบังคับใช้ แทนพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ก็ไม่อาจถือเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา แต่จะยิ่งทำให้ประชาชนขาดหลักประกันด้านสิทธิและเสรีภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมาตราดังกล่าวได้ให้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ โดยให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว นั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด ซึ่งหมายความว่า การกระทำหรือคำสั่ง รวมถึงการปฏิบัติการตามคำสั่งดังกล่าวนั้นไม่อาจถูกตรวจสอบโดยองค์กรใดได้เลยแม้กระทั้งองค์กรตุลาการ อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากเกิดความเสียหายขึ้นจากการกระทำดังกล่าวประชาชนก็ไม่อาจได้รับการเยียวยา และไม่นำไปสู่การลงโทษผู้กระทำความผิด (Impunity)

3. โดยที่การยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น เป็นไปเพื่อคุ้มครองและปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และประเทศมีกฎหมายที่ให้อำนาจในการควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อยอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องใช้กฎอัยการศึกหรือมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราว

องค์กรสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อข้างท้ายจึงขอเรียกร้องให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทบทวนการบังคับใช้มาตราดังกล่าว เนื่องจากมาตราดังกล่าวนั้นขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ และขัดต่อพันธกรณีด้วยสิทธิมนุษยชน  ซึ่งจะนำมาซึ่งขาดการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ และอาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจโดยอำเภอใจ และส่งผลประชาชนขาดหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพอย่างร้ายแรงยิ่งไปกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก และไม่อาจบรรลุเจตนารมณ์ตามที่ประชาคมโลกเรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึกได้

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลชุมชน
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58138 articles
Browse latest View live




Latest Images