Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

สั่งจอดำ 7 วัน 'ทีวี 24-Peace TV' เหตุเนื้อหายั่วยุปลุกปั่น ขัดประกาศ คสช.

$
0
0

30 มี.ค.2558เว็บสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส Thai PBS รายงานว่า นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาการออกอากาศรายการโทรทัศน์ช่องทีวี 24 (ช่องเอเชีย อัพเดท เดิม)  ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาผังรายการที่ตรวจสอบเนื้อหาเห็นว่า เนื้อหารายการเข้าข่ายให้ข้อมูลข่าวสารยั่วยุ ปลุกปั่น ขัดต่อประกาศ คสช.ฉบับ 97 และ 103 โดยที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 เห็นด้วยตามที่คณะอนุกรรมการเสนอฯและหน่วยงานความมั่นคงส่งมาว่า ขัดประกาศ คสช.จริง จึงมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตการออกอากาศช่องดังกล่าว เป็นเวลา 7 วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง และให้มีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียมไทยคม เพื่อระงับการออกอากาศ

สำหรับรายการที่ออกอากาศ ขัดประกาศ คสช.ได้แก่ รายการ Awakened ออกอากาศ วันที่ 2, 5 และ 10 มี.ค. 2558, รายการ News Room ออกอากาศ 28 ก.พ. 2558 , วันที่ 2 และ 10 มี.ค. 2558 และ รายการ The Clear ออกอากาศ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.2558

ที่ประชุมยังมีมติให้พักใช้ใบอนุญาตช่อง Peace TV (ช่อง DNN เดิม) เป็นเวลา 7 วัน หลังหน่วยงานความมั่นคงส่งความเห็นมาว่า มีเนื้อหาขัดประกาศ คสช. โดยที่ประชุมเสียงข้างมาก มีมติว่า การออกอากาศดังกล่าว มีเนื้อหายั่วยุปลุกปั่น ขัดต่อประกาศ คสช.ตามที่ผู้รับใบอนุญาตเคยทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ สำนักงาน กสทช. ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณาผังรายการเสนอ

สำหรับรายการที่มีเนื้อหาขัดต่อ ประกาศ คสช. ได้แก่ รายการมองไกล ออกอากาศ  28 ก.พ.2558 และ 7 มี.ค. 2558 รายการคิดรอบด้าน ออกอากาศ 4 และ 5 มี.ค.2558 รายการเดินหน้าต่อไปออกอากาศ  4 - 6 มี.ค. 2558  และรายการเข้าใจตรงกัน ออกอากาศ 4 -5 มี.ค.2558

 

สุภิญญาชี้ลงโทษเกินกว่าเหตุแนะควรลงโทษตามลำดับขั้น ไม่ใช่ลัดขั้นตอน
ด้าน สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสท. แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า กรณีการพักใช้ใบอนุญาต 7 วัน  ช่อง TV 24 มติ กสท. 3:2 และช่อง PeaceTV มติ กสท. 4:1 ตนเองอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อยทั้งสองกรณี

"ดิฉันอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อย เพราะเห็นว่ารายการดังกล่าวของ 2 ช่อง เป็นการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์การเมือง แม้เลือกข้าง แต่ยังไม่ถึงขั้นปลุกปั่น อีกทั้งถ้าบางรายการของช่อง 24TV และ PeaceTV มีปัญหาสุ่มเสี่ยง แต่การให้พักใช้ใบอนุญาตทั้งสถานี อาจเข้าข่ายลงโทษเกินกว่าเหตุได้" สุภิญญาระบุและว่า "มากไปกว่านั้นดิฉันเห็นว่า กสท. ควรพิจารณาความผิดบนฐานกฏกติกาของ กสทช.เองก่อนจะใช้คำสั่ง หรืออิงประกาศฯ คสช."

สุภิญญา ระบุว่า การลงโทษผู้รับใบอนุญาตควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น เตือน ปรับ พักใช้ เพิกถอน เหมือนกรณีความผิดอื่นๆ ไม่ใช่การเมืองแล้วใช้โทษทางลัด

"กสท.ควรใช้ดุลยพินิจว่า การวิพากษ์การทำงานรัฐบาล สนช. สปช. หรือ แม้แต่ คสช. ยังไม่ใช่ความผิดฐานขัดความมั่นคงในตัวของมันเอง ต้องดูสาระด้วย" สุภิญญากล่าว
 

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗ / ๒๕๕๗
เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ


เพื่อให้การปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปได้ความเรียบร้อย และเพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนและความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
                                   
(๑) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของประกาศคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                   
(๒) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                   
ข้อ ๒ ห้ามมิให้บุคคลใด รวมทั้งบรรณาธิการ พิธีกร สื่อมวลชน และเจ้าของกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์ และรายการวิทยุกระจายเสียง เชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นนักวิชาการ หรือผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ รวมทั้งผู้ที่เคยปฏิบัติงานในศาลและกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนองค์กรอิสระ มาให้สัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดหรือขยายความขัด แย้ง บิดเบือน และสร้างความสับสนให้กับสังคม รวมทั้งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง
                                  
ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอลและโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งผู้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทอันรวมถึงการสื่อสารทาง สังคมสื่อออนไลน์ มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามที่ได้รับแจ้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้บุคคลดังกล่าวรวมทั้งบุคคลอื่นใดงดเว้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ ดังต่อไปนี้
                                   
(๑) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
                                   
(๒) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
                                   
(๓) การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
                                   
(๔) ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
                                   
(๕) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
                                   
(๖) การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   
(๗) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
                                   
ข้อ ๔ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ระงับการชุมนุมหรือกิจกรรมที่ต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติในโอกาสแรก ทั้งนี้ หากเกินขีดความสามารถให้รายงานให้ผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงทราบ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                                  
ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ให้ระงับการจำหน่าย จ่าย แจก หรือเผยแพร่สื่อพิมพ์ รวมทั้งการออกอากาศของรายการดังกล่าวโดยทันที และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานนั้นดำเนินการตาม กฎหมาย
                                  
ข้อ ๖ การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและยังคงอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามกฎหมายในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงเป็นความผิดและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ    ณ    วันที่     ๑๘     กรกฎาคม    พุทธศักราช ๒๕๕๗

พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
(ประยุทธ์   จันทร์โอชา)
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 


ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๓ / ๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗

         
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน และความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
                                   
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   
“(๓) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่ สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอัน เป็นเท็จ”
                                   
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   
ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนิน การสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ    ณ    วันที่     ๒๑     กรกฎาคม    พุทธศักราช ๒๕๕๗

พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
(ประยุทธ์   จันทร์โอชา)
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คาดพระสงฆ์ชุมนุมกันหลักหมื่นต้าน ปฏิรูป-จัดการทรัพย์สินวัดและพระภิกษุ

$
0
0

เว็บไซต์มติชนรายงาน ว่า พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) ที่ปรึกษาสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา(สนพ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการนัดชุมนุมสวดเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อคัดค้านรายงานและข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตราการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน ที่ให้มีการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุ

รวมถึงเสนอให้ปรับปรุงกฎมหาเถรสมาคม(มส.)ฉบับที่ 24 พ.ศ.2541 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ ว่า พระสงฆ์และฆราวาสจะมาร่วมกันสวดมนต์ในวันที่ 31 มีนาคมแน่นอน โดยจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 10,000 รูป / คน จากเดิม 5,000 รูป / คน  ถึงแม้จะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ แต่ทางสนพ.ยืนยันว่าจะไม่ถอยอีกแล้ว
  
แหล่งข่าวจาก สนพ.กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตัวแทนรัฐบาลได้เข้าหารือผู้แทน มส.เพื่อหาทางออกกรณีที่พระสงฆ์ระบุว่าจะออกมาสวดมนต์ ทำให้มส.ต้องเชิญตัวแทนสนพ.เข้าหารือ แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ทางผู้แทนมส.จึงต้องเชิญผู้แทนสนพ.มาหารืออีกรอบ แต่ครั้งนี้สนพ.ปฏิเสธ
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจมาเลเซียบุกสำนักงานจับ 2 บก.มาเลเซียนอินไซเดอร์

$
0
0

บรรณาธิการ "มาเลเซียนอินไซเดอร์" 2 ราย ถูกตำรวจมาเลเซียควบคุมตัวและดำเนินคดีตามกฎหมายปลุกระดมยั่วยุ หลังเผยแพร่บทความระบุว่า ในการประชุมประมุขของสหพันธรัฐในมาเลเซีย มีการปฏิเสธเรื่องแก้ไขกฎหมายศาลชารีอะห์ ขณะที่ต่อมาเจ้ากรมลัญจกรของมาเลเซียได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าวและแจ้งความให้ตำรวจสอบสวน

ภาพหน้าแรกจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ "เดอะมาเลเซียนอินไซเดอร์" รายงานข่าวตำรวจบุกจับบรรณาธิการเดอะมาเลเซียนอินไซเดอร์ ช่วงเย็นวันนี้ (30 มี.ค.)

30 มี.ค. 2558 - หนังสือพิมพ์มาเลเซียกินีรายงานว่า เมื่อช่วงเย็นวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจมาเลเซียหลายสิบนาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการคมนาคมและมัลติมีเดียมาเลเซีย (MCMC) ได้บุกสำนักงานหนังสือพิมพ์เดอะมาเลเซียนอินไซเดอร์ (The Malaysian Insider) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ มีสำนักงานอยู่ที่ย่านปัตตาลิงจายา รัฐสลังงอร์

ทั้งนี้ มีการควบคุมตัวบรรณาธิการ 2 คน คือลีโอเนล โมเรส และซูคิฟลี สุหลง เพื่อสอบสวน โดยเป็นไปตามกฎหมายฐานการปลุกระดมยั่วยุ

ในรายงานเพิ่มเติมของหนังสือพิมพ์เดอะสตาร์ระบุว่า เมื่อวันพุธสัปดาห์ก่อนมาเลเซียนอินไซเดอร์ได้เผยแพร่บทความระบุว่า ในการประชุมของสุลต่าน 9 รัฐ และผู้ว่าการรัฐ 4 รัฐ หรือที่เรียกว่า "the Conference of Rulers" เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ได้ปฏิเสธการแก้ไขกฎหมายศาลชารีอะห์ ค.ศ. 1965

ในบทความดังกล่าวซึ่งอ้างถึงแหล่งข่าวระบุว่า การปฏิเสธการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมของประมุขจากรัฐต่างๆ ในมาเลเซีย อย่างไรก็ตามเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (26 มี.ค.) ซายิด ดาเนียล ซายิด อาหมัด ตำแหน่งเจ้ากรมลัญจกร ซึ่งเป็นผู้รักษาพระราชลัญจกรของประมุขมาเลเซีย ปฏิเสธว่าไม่มีแถลงการณ์ใดๆ ต่อเรื่องกฎหมายฮูดุดในรัฐกลันตัน และได้แจ้งความต่อตำรวจให้ดำเนินการสอบสวนเรื่องดังกล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลื่อนนัดตรวจหลักฐานคดีมือปืนป๊อบคอร์น อัยการกำลังพิจารณาแก้ฟ้องเป็นความผิดฐานเจตนาฆ่า

$
0
0

อัยการขอเลื่อนนัดตรวจหลักฐานคดี ระบุอยู่ระหว่างพิจารณาทำคำสั่งแก้ฟ้อง “มือปืนป๊อบคอร์น” เนื่องจาก นายอะแกว แซ่ลิ้ม ผู้เสียหายที่ 2เสียชีวิต จากความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็นฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

มติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 มีนาคม ที่ห้องพิจารณาคดี 808 ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานคดีหมายเลขคดีดำ อ.1626/2557 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ ฟ้องนายวิวัฒน์ ยอดประสิทธิ์ หรือทอป มือปืนป๊อปคอร์น อายุ 24 ปี เป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พกพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำอาวุธปืนออกนอกเคหสถานภายในพื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 เวลากลางวัน จำเลยกับพวกมีปืนเล็กยาวไม่ทราบชนิดและขนาด ติดตัวไปที่ทางแยกหลักสี่ เขตหลักสี่ เป็นพื้นที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และยิงปืนเข้าไปในอาคารศูนย์การค้าไอทีสแควร์ ทำให้น.ส.สมบุญ สักทอง ผู้เสียหายที่ 1 นายอะแกว แซ่ลิ้ม ผู้เสียหายที่ 2 นายนครินทร์ อุตสาหะ ผู้เสียหายที่ 3 และนายพยนต์ คงปรางค์ ผู้เสียหายที่ 4 ได้รับอันตรายสาหัส เหตุเกิดที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กทม.

แต่เมื่อถึงเวลาพนักงานอัยการแถลงต่อศาลขอเลื่อนนัดออกไปอีกครั้งเป็นครั้งที่ 2เนื่องจากพนักงานอัยการยังอยู่ระหว่างการพิจารณาทำคำสั่งแก้ฟ้อง หลังจากการเสียชีวิตของนายอะแกว แซ่ลิ้ว ผู้เสียหายที่ 2 จากความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น เป็นฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ศาลถามทนายความจำเลยแล้วไม่คัดค้าน จึงมีคำสั่งให้เลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยาน ออกไปเป็นวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เวลา 13.30 น. 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารไม่มาชี้แจง-‘หมอนิรันดร์’ บุกเรือนจำอีก 3 เม.ย.เยี่ยมผู้ต้องหาที่อ้างถูกซ้อม

$
0
0

 30 มี.ค.2558 เวลา 14.00 น. ที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ มีการประชุมของคณะอนุกรรมการสิทธิสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยมี นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน ที่ประชุมหารือถึงกรณีเจ้าหน้าที่ซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัย 9 ราย คดีวางระเบิดหน้าศาลอาญา โดยมีตัวแทนจากสำนักข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนกองบังคับการปราบปราม ผู้แทนกองบังคับการตำรวจนครบาล ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตัวแทนจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในส่วนของตัวแทนจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่มีการตอบรับเข้าร่วมการประชุม เนื่องจากปัญหาเอกสารที่ยังไม่ได้ส่งถึงผู้บัญชาการทหารบกเพื่อขออนุมัติ

นพ.นิรันดร์ กล่าวในที่ประชุมว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กสม.มีการตรวจสอบเรื่องการซ้อมทรมานผู้ต้องหา โดยเมื่อ 25 มี.ค. ตนกับเจ้าหน้าที่ กสม.และพญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ยื่นจดหมายไปที่เรือนจำเพื่อเข้าพบผู้ต้องหาและทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบร่างกาย แต่เมื่อเดินทางไปถึงทางเรือนจำ เจ้าหน้าที่เรือนจำชี้แจงว่ายังไม่มีหนังสือจากกรมราชทัณฑ์ ทางเรือนจำยืนยันว่าไม่มีคำสั่งจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ จึงได้ทำการเชิญตัวแทนจากหน่วยงานทั้งหมดเข้ามาชี้แจงในที่ประชุม เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงไม่ได้กล่าวหาหน่วยงานใดว่าทำการซ้อมทรมาน

“ผมทำตามหน้าที่ไม่เกี่ยวกับคดีวางระเบิด ผมรู้ว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด ผมเข้าใจ แต่ถ้าอธิบดีกรมราชทัณฑ์ไม่ให้เข้าไป ทางกรมราชทัณฑ์ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่าทำไมไม่อนุญาตให้ กสม. เข้าไปตรวจสอบ ขอยืนยันว่านี่ไม่เกี่ยวข้องเรื่องคดี แต่แม้ว่าจะใช้กฎอัยการศึกก็ไม่มีสิทธิไปซ้อมผู้ต้องหาไม่เช่นนั้นจะไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ฝากไปบอกอธิบดีกรมราชทัณฑ์ด้วย ผมปฏิบัติหน้าที่มา 6 ปีจนจะหมดวาระ ยังไม่เคยมีปรากฏกรณีว่ากรมราชทัณฑ์ไม่อนุมัติ” นายนิรันดร์กล่าว

พลตำรวจตรี  จิตติ รอดบางยา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ชี้แจงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับตัวผู้ต้องหาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ทั้ง 9 ราย โดยเรียกตัวแพทย์ผู้เข้าเวรในเวลาดังกล่าวจากโรงพยาบาลตำรวจเป็นผู้ตรวจร่างกายและรับมอบสิ่งของส่วนตัวของผู้ต้องหา ในวันส่งมอบตัวผู้ต้องหาทั้งหมดได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ มีหมายศาลทหารที่ออกในวันส่งหมอผู้ต้องหา มีการแจ้งข้อกล่าวหา แจ้งสิทธิผู้ต้องหา แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวนอยู่ในห้องกระจกที่สื่อและประชาชนทั่วไปสามารถเห็นได้ชัดเจน ไม่สามารถมีการทำร้ายผู้ต้องหาอย่างแน่นอน จากนั้นได้ควบคุมตัวเพื่อฝากขังที่ศาลทหารในกรุงเทพฯ และเข้าสู่กระบวนการขังที่เรือนจำชายและเรือนจำหญิง ขอยืนยันว่าไม่มีการทำร้ายแน่นอนในระหว่างการควบคุมตัวของตำรวจ และเป็นอันสิ้นสุดภาระหน้าที่ของพนักงานสอบสวน

ตัวแทนจากกองบังคับการปราบปราม พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แสงนุ่ม พงส.ผทค.กลุ่มงานสอบสวน บก.ป. กองบังคับการปราบปราม กล่าวว่า ในรายชื่อทั้งหมด 9 ราย มีเพียง แหวน ณัฎฐธิดา มีวังปลา คนเดียวที่ทางเจ้าหน้าที่ทหารร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ต้องหาว่ามีการติดต่อผ่านไลน์ในกลุ่มที่มีการหมิ่นสถาบันฯ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินคดี

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้แจงต่อว่า สามารถชี้แจงได้เฉพาะในส่วนที่รับตัวผู้ต้องหาต่อมาจากเจ้าหน้าที่ทหาร ไม่ทราบในส่วนเรื่องการจับกุมหรือการควบคุมตัวก่อนหน้า ในเรื่องการตรวจร่างกายได้ดำเนินการก่อนที่จะมีการสืบสวนสอบสวน รายละเอียดจากการตรวจของแพทย์เท่าที่ทราบไม่มีการได้รับบาดเจ็บตามที่เผยแพร่ในสื่อ เรื่องของข้อมูลการทำร้ายร่างกายผู้ต้องหาหากมีการแจ้งความเจ้าหน้าที่ก็รับแจ้งความตามปกติ

จากนั้นคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องการตรวจร่างกายก่อนรับมอบส่งตัวผู้ต้องหาหากเป็นแค่แพทย์เวรไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถบอกว่าบาดแผลเกิดขึ้นเมื่อไร หรือเวลาอาจมีความคลาดเคลื่อน

ด้านตัวแทนจากกรมราชทัณฑ์ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าในส่วนของเรือนจำชายได้ทำการตรวจร่างกายโดยพยาบาล เนื่องจากหมดเวลาทำการของแพทย์ แต่หลังจากนั้นมีแพทย์เข้าตรวจร่างกายหรือไม่ต้องขอกลับไปตรวจสอบข้อมูล ประเด็นที่เป็นไปตามสื่อ ทางกรมราชทัณฑ์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการซ้อมทรมานผู้ต้องหา ส่วนกระบวนการตรวจร่างกายมีการสอบถามปากคำ ไม่มีการกักตัวผู้ต้องหาในที่ลับ มีการถ่ายรูปหน้าตรง ด้านข้างและถอดเสื้อถ่ายรูป เพื่อทำทะเบียนประวัติ หาก กสม. ต้องการขอภาพถ่ายตรวจร่างกายและแบบฟอร์มการตรวจร่างกายให้ทำการยื่นหนังสือขอไป

ตัวแทนจากทัณฑสถานหญิงได้ชี้แจงว่า เมื่อมีผู้ต้องหาฝากขังจะมีการตรวจสอบร่างกาย และกรอกแบบฟอร์มการตรวจร่างกาย มีการเขียนว่าที่ร่างกายมีร่องรอยการทำร้ายหรือไม่และให้ผู้ต้องขังเซ็นกำกับ พร้อมมีรูปถ่าย ในส่วนกรณีรับตัวผู้ต้องขังฝ่ายทะเบียนจะมีระเบียนประวัติ สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ มีการถ่ายรูปด้านหน้า ด้านข้าง เพื่อทำทะเบียนประวัติผู้ต้องขังและสำหรับผู้ต้องหาหญิงวางระเบิดศาลอาญาทั้งสองราย ไม่มีรายละเอียดเรื่องการถูกซ้อมแต่อย่างใด

ขณะที่ จอน อึ๊งภากรณ์ หนึ่งในอนุกรรมการตั้งข้อสงสัยว่าการที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์ปฏิเสธไม่ให้เยี่ยม เปรียบเสมือนเป็นการยอมรับว่ามีการซ้อมทรมานเกิดขึ้นจริงเพราะปกติไม่เคยมีกรณีที่ทาง กสม. ยื่นหนังสือแล้วมีการปฏิเสธไม่ให้เยี่ยม แต่กรณีของ 9 ผู้ต้องหาวางระเบิดหน้าศาลอาญากลับมีการปฏิเสธไม่ให้เข้าเยี่ยม แม้ว่ากรมราชทัณฑ์จะไม่มีการทำร้ายผู้ต้องหา แต่กรมราชทัณฑ์ปกป้องไม่ให้ กสม. เข้าตรวจสอบว่าใครผิด ที่สำคัญ ควรออกมาตรการแนวปฏิบัติระหว่าง กสม. กรมราชทัณฑ์ กรมตำรวจ และทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

เรื่องขั้นตอนการดำเนินการต่อไปนั้น นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ได้ฝากตัวแทนจากกรมราชทัณฑ์เขียนบันทึกถึงอธิบดีกรมราชทัณฑ์เพื่อตอบจดหมายที่ได้ขออนุญาตเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาทั้ง 9 รายไปแล้วก่อนหน้านี้ และกำหนดจะเดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาทั้งหมดอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 3 เม.ย. เวลา 09.30 น. โดยเน้นย้ำขอให้อธิบดีตอบจดหมายฉบับเดิมมาให้ชัดเจน และทาง กสม.จะไม่ยื่นจดหมายฉบับใหม่ไปเนื่องจากยังไม่ได้รับการตอบจากจดหมายฉบับดังกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุยหลังฉายหนัง CITIZENFOUR: เมื่อโลกไซเบอร์ไม่อาจรักษาความลับ

$
0
0

เสวนา " Citizenfour หนัง-คอมพ์-คน-พลเมืองดิจิทัล" หลังชมภาพยนตร์ Citizenfour ก้อง ฤทธิ์ดี ชี้ว่าความคิดของเราเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ไม่ควรที่จะให้คนล่วงรู้ตลอดเวลาในนาม "ความมั่นคงของชาติ" อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กล่าวว่า หากออกกฎหมายหรือเทคโนโลยีด้านไซเบอร์แล้วทำให้ "คนอีกฝั่ง" มีอำนาจเหนือตัวเรา แบบนี้ไม่เข้าท่า

 

 

 

ไฮไลท์จากการเสวนา "Citizenfour หนัง-คอมพ์-คน-พลเมืองดิจิทัล" ติดตามคลิปจากการเสวนาฉบับเต็มเร็วๆ นี้

เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ SF Cinema เซ็นทรัลเวิร์ด มีการเสวนา "Citizenfour หนัง-คอมพ์-คน-พลเมืองดิจิทัล" โดยเป็นการเสวนา ในช่วงที่มีการฉายภาพยนตร์ Citizenfour หรือ พลเมืองสี่: แฉกระฉ่อนโลก โดย Documentary Clubซึ่งฉายสารคดีเรื่องดังกล่าวในโรงภาพยนตร์เครือ SF ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. และมีการเพิ่มรอบฉายจนถึงวันที่ 31 มี.ค.

โดยวิทยากรในการเสวนาประกอบด้วย อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network), พิชญพงษ์ ตันติกุล กลุ่ม 2600 Thailand และ ก้อง ฤทธิ์ดี คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดำเนินรายการเช้าทันโลก FM 96.5 MHz

000

พิชญพงษ์ ตันติกุล กล่าวว่า จากที่เห็นในภาพยนตร์ ในชีวิตจริงก็เคยเห็นคนพกอุปกรณ์หลายอย่าง เช่น พกมือถือหลายเครื่อง เผื่อระบบล่ม จะใช้อีกเครื่องอีกเครือข่ายเพื่อติดต่อได้ หรือพกโน๊ตบุคหลายเครื่องเผื่อถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจสอบข้อมูลในโน๊ตบุ๊ค ก็จะมีการเข้ารหัสข้อมูลในโน๊ตบุคเพื่อไม่ให้คนเข้ามาถือ

หรือการส่งข้อมูลทางอีเมล์ เราสามารถถูกโจมตีได้ตลอดเวลา เราใช้อินเทอร์เน็ตหรือไวไฟ อาจถูกคนที่ใช้ไวไฟเดียวกับเรา ถ้าเราไม่เข้ารหัสข้อมูล ก็อาจถูกขโมยข้อมูล ในภาพยนตร์จะเห็นการถอดรหัสข้อมูลแบบ GnuPG และสุดท้ายก็ออกมาเป็นข้อความที่อ่านได้

กรรณิการ์ ถามด้วยว่า รู้สึกตกใจไหมว่าประเทศสหรัฐอเมริกาทำขนาดหรือ ประเทศที่ร่วมมือกันทำแบบนี้ พิชญพงษ์กล่าวว่า มีความเป็นไปได้หากประเทศหลายฝ่ายร่วมมือกัน ทุกวันนี้เวลาเราส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ด้านหลังจากไอเอสพี เราไม่รู้เลยว่าระหว่างทางที่เราส่งข้อมูลจนถึงสหรัฐอเมริกา จนถึงเฟซบุ๊ค จะมีใครดักเก็บข้อมูลหรือเปล่า เป็นเรื่องที่เราคาดเดาไม่ได้ เรารู้แค่จากจุดเราไปถึงจุดนี้เท่านี้เอง

ก้อง ฤทธิ์ดี กล่าวว่า ประเด็นของหนังก็คือ ความสมดุลระหว่างความมั่นคงของชาติ กับ สิทธิส่วนบุคคล ความสมดุลอยู่ที่ไหน แต่ละที่ความสมดุลอาจต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น กับคำพูดที่ว่า "ถ้าไม่ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวอะไร" นั่นก็แปลก หรือ "ถ้าอย่างนั้นผมขอพาสเวิร์ดได้ไหม ผมไม่เอาไปทำอะไรหรอก ผมเป็นคนดี" นึกออกไหมครับ

"สำหรับผมคิดว่าความคิดของเราเป็นของศักดิ์สิทธิ์ คือเราจะเลือกแชร์ความคิดนั้นกับใครอยู่ที่เรา ไม่ควรมีใครจะบอกว่า "ผมสามารถรู้ความคิดคุณได้ตลอดเวลาเพราะนี่คือเรื่องความมั่นคงของชาติ" ผมไม่คิดว่าเป็นบรรยากาศที่ดีสำหรับในสังคมซึ่งต้องการมีประชาธิปไตย หรือสังคมซึ่งสนับสนุนให้เกิดการถกเถียง มี "Free discussion" เพราะเรามีคนที่รู้ตลอดเวลาว่าเราคิดอะไร และเป็นคนที่เราไม่อยากให้รู้ หรือไม่พร้อมจะให้รู้ มันคือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ข้ออ้างที่ว่า "ความมั่นคงของชาติ" โอเคมันมี แต่กลไกทางกฎหมายที่จะล็อคไว้เป็นชั้นๆ จะมีแค่ไหน"

"จากในภาพยนตร์ จะเห็นว่าการขอข้อมูลในสหรัฐอเมริกา กับพลเมืองตัวเองต้องขอหมายศาล แต่คนที่ไม่ใช่พลเมืองตัวเองไม่ต้องขอหมายศาล ซึ่งสำหรับเอ็ดเวิร์ด สโนวเดนเขาคิดว่าไม่แฟร์ ผมก็คิดว่าไม่แฟร์ ผมคิดว่าขั้นตอนการล็อคทางกฎหมายควรมีอยู่กี่ขั้น ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ผมเชื่อว่าต้องมีเพื่อการรักษาสมดุลระหว่างความคิดของเรากับประโยชน์ส่วนร่วม เรื่องนี้ถกเถียงกันได้ แต่กลไกทางกฎหมายมันแน่นหนาพอหรือเปล่า และกลไกนั้นเราสามารถถกเถียงกันหรือแชร์กันเพื่อตกลงกันว่ากลไกอยู่แค่ไหนหรือเปล่า ไม่ใช่อยากได้แบบนี้ก็จะเอาแบบนี้ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่กระทบสิทธิส่วนบุคคลของเรา"

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล กล่าวว่าถึง ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไม่ได้เข้ารหัสเปรียบเทียบกับระบบไปรษณีย์ว่า "ทุกๆ ครั้งเวลาเราส่งข้อมูล เหมือนเราส่งโปสการ์ด เราเขียนข้อความไปหย่อนที่ตู้ ถึงเวลามีบุรุษไปรษณีย์มาไขตู้ เอาโปสการ์ดไปที่ไปรษณีย์ที่เขต และเขตจะรวบรวมไปศูนย์คัดแยก และศูนย์คัดแยกก็ส่งที่เขตนั้น จังหวัดนั้น ส่งไปที่ไปรษณีย์ย่อย และบุรุษไปรษณีย์ของเขตจะนำไปหย่อนที่บ้านเพื่อนเรา"

"ทุกคนที่อยู่ในกระบวนการส่งไปรษณีย์ อ่านข้อความของเราได้หมด คือเราไม่ได้เข้ารหัส การส่งข้อมูลทั่วไปในอินเทอร์เน็ตเหมือนส่งโปสการ์ด ส่วนการเข้ารหัส จะช่วยหน่อยหนึ่ง คืออาจไม่ได้รับประกันความลับ การเข้ารหัสในโลกยังถูกถอดรหัสได้ ปัญหาคือนานแค่ไหนกว่าจะถอดรหัสได้ จะใช้เวลา 1 วันในการถอดรหัส หรือ 10 วัน หรือ 100 ปี มันถอดรหัสได้หมด ถ้าเมื่อเราพูดการประเมินความเสี่ยง เช่นอีก 1,000 ปีถอดรหัสได้ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับเราได้แล้ว ถ้าข้อมูลลับมากๆ เอาการเข้ารหัสอีก 1,000 ปีถอดได้ก็น่าจะปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มันก็ไม่ได้สำคัญอะไรก็ไม่ต้องเข้ารหัสก็ได้ ประเด็นของการเข้ารหัสคือมันประวิงเวลาได้แค่ไหน"

"ถ้าดูในภาพยนตร์ตอนที่สโนวเดนพยายามติดต่อคนทำสารคดี เขาบอกเลยได้ว่า การเข้ารหัสนี้ไม่ใช่เกราะกันกระสุน เพียงแต่ขอให้มีที่โล่งให้หายใจได้ สโนวเดนประเมินไว้เรียบร้อยแล้วว่าต้องเปิดหน้า เพราะสุดท้ายการที่เขาทำงานให้กับรัฐ แล้วอยู่ดีๆ หายตัวไป ต้องมีคนผิดสังเกตและสาวถึงตัวเขาได้อยู่แล้ว แต่การเข้ารหัสเขาคิดว่าช่วยประวิงเวลาได้ อาจทำให้เขามีเวลาเพิ่มขึ้นได้อีก 10 วัน และในเวลา 10 วันเขาสามารถจัดการบางอย่าง เช่น ติดต่อนักข่าว ติดต่อคนทำสารคดีได้ และหลังจากนั้น 10 วันต่อให้ถูกถอดรหัส ที่ทำงานสืบหาเขาได้ ก็ไม่เป็นไรแล้ว เขาหมดภาระกิจแล้ว เขาอาจจำเป็นต้องมีความลับ 10 วันนี้ แต่หลังจาก 10 วันนี้ เขาต้องการเปิดหน้า เขาขอระยะเวลาพอได้ทำภารกิจจบปุ๊บ เขาโอเคแล้ว"

สุดท้ายแล้ว คิดว่าเราอาจจะคาดหวังความลับ 100% ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ในโลกทุกวันนี้ แต่กลไกทางกฎหมายบางอย่างที่ว่าคุณต้องผ่านขั้นตอน หรือเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต ช่วยประวิงเวลาให้เราได้ ทำให้เราตั้งตัวได้ว่าจะเอาอย่างไรต่อดี และทำให้ตัวเราเองยังมีอำนาจในการควบคุมชีวิตเราอยู่บางประการ คือไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรือเทคโนโลยี ต้องถามว่าสุดท้ายมันทำให้เราควบคุมชีวิตเราได้หรือเปล่า แต่ถ้ากฎหมายหรือเทคโนโลยีออกมาแล้วกลับทำให้คนอีกฝั่ง มีอำนาจเหนือเราแบบนี้มันไม่เข้าท่าแล้ว

สำหรับเรื่องย่อของภาพยนตร์ Citizenfour เราเรื่องช่วงที่เอ็ดเวิร์ด สโนวเดน เตรียมเปิดเผยข้อมูลของโครงการสอดแนมอินเทอร์เน็ตหรือ NSA ของสหรัฐอเมริกา โดยเขาใช้นามแฝงว่า "พลเมืองสี่" เพื่อส่งอีเมล์ถึง "ลอร่า พอยทราส" ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว นำไปสู่การเปิดโปงโครงการดังกล่าว โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ปีล่าสุด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ. ประยุทธ์ ยันจะใช้ มาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ ถามจะกลัวอะไรนักหนา ขอให้เข้าใจกันบ้าง

$
0
0

นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ยันไม่ใช้มาตรา 44 รุกรานใคร ชี้ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน เอาไม่อยู่ ถามจะกลัวอะไรกันนักหนา แม้จะขัดแย้งสามอำนาจ ก็จะใช้อย่างสร้างสรรค์

ที่มาภาพ : ศูนย์สื่อทำเนียบ เว็บไซด์รัฐบาลไทย

31 มี.ค. 2558 มิติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 30 มีนาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ที่หอประชุมกระทรวงคมนาคม ถึงการใช้อำนาจมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) 2557 ที่ระบุไว้ในกรณีหัวหน้า คสช.เห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้า คสช.โดยความเห็นชอบของ คสช.มีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการ กระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่ง หรือการกระทำ หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด ว่าจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างสร้างสรรค์ มาตรา 44 เป็นการให้อำนาจในฐานะหัวหน้ารัฐบาล สามารถทำอะไรที่ให้เกิดความสงบเรียบร้อยในประเทศชาตินี้ได้ สามารถทำได้เลย ไม่ต้องอาศัยอำนาจทางสามแท่ง

"ถามว่าคนอย่างผมจะทำเพื่อไปรุกรานหรือแกล้งใคร ผมไม่ทำ แต่มันจำเป็นเข้าใจหรือยัง อะไรก็ได้ มาตรา 47 ก็มียังไม่ใช้ ตรงนี้ขอให้เข้าใจบ้าง ทำไมกลัวนักหนามาตรา 44 วันนี้ไม่กลัวหรือกฎอัยการศึก ซึ่งหนักกว่ามาตรา 44 ควบคุมทุกเรื่อง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าทางพรรคเพื่อไทย (พท.) เสนอให้ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แทน พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ลองไปถามทั้งสองพรรคสองรัฐบาลที่ผ่านมา 10 ปีที่ผ่านมาประกาศหรือเปล่า ทั้ง พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แต่ก็ยังตีกันเหมือนเดิม แล้วทั้งสองรัฐบาลก็โดนทั้งคู่ หากไปใช้แบบนี้แล้วจะเอาอยู่ไหมล่ะ

ที่มาภาพ : ศูนย์สื่อทำเนียบ เว็บไซด์รัฐบาลไทย

เมื่อถามว่าแสดงว่านายกฯจะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ที่มีอยู่อย่างจำกัดใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า

"พูดไปร้อยครั้งแล้ว ใช้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้ใช้เพื่อสร้างความขัดแย้ง ฉะนั้นต้องเข้าใจ แต่คนที่ขัดแย้งอ้างว่าใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อทำให้รัฐธรรมนูญ บ้านเมืองปลอดภัย ผมว่ามีเจตนาอะไรกัน ไม่แน่ใจนะ ไม่อยากไปกล่าวอ้าง ขอถามว่ายกเลิกกฎอัยการศึกแล้วจะเกิดอะไรขึ้น 1.การประท้วง 2.แกนนำออกมาเคลื่อนไหว ท้าทายรัฐบาลใช่หรือเปล่า ใช่ไหม ไม่มีใครตอบ ตอบสิ อย่างไรก็ตาม มาตรา 44 ให้ผมทำอะไรก็ได้ ถึงจะไปขัดแย้งกับสามอำนาจศาล ผมก็ทำได้ ถ้ามันทำแล้วไม่เกินกว่าเหตุหรือสร้างสรรค์ ผมไม่มีความผิด เป็นการใช้อำนาจอาศัยตามมาตรา 44 จะออกเป็นคำสั่งตามอำนาจ คสช.หรือรัฐบาลก็ได้"

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คุก 50 ปี! สารภาพลดกึ่งหนึ่ง ศาลทหารพิพากษาคดี 112 'ใหญ่ แดงเดือด'

$
0
0

 

31 มี.ค. ช่วงสายที่ผ่านมา ศาลทหารพิพากษาคดีที่นายเธียรสุธรรม หรือผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า 'ใหญ่ แดงเดือด' ว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 5 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวม 50 ปี แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 25 ปี

ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึงเป็นทนายจำเลยกล่าวภายหลังฟังคำพิพากษาว่า การอ่านคำพิพากษาเป็นไปอย่างปิดลับ ญาติจำเลยและผู้สังเกตการณ์เข้าฟังไม่ได้ ในการอ่านคำพิพากษาศาลไม่อ่านข้อความที่กระทำผิด ระบุเพียงว่าเป็นการกระทำผิดตามฟ้อง นอกจากนี้ศาลยังให้เหตุผลที่ไม่รอลงอาญาว่าเนื่องจากเป็นการกระทำผิดต่อสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ประกอบกับศาลลงโทษสถานเบาแล้วจึงไม่รอลงอาญา โทษจำคุกให้นับรวมการคุมขังในเรือนจำที่ผ่านมาด้วย แต่ไม่นับวันที่ถูกคุมตัวตามกฎอัยการศึก 7 วัน

เธียรสุธรรมอายุ 58 ปี จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เขาถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 18 ธ.ค.57 ถูกนำตัวไปสอบสวนที่ค่ายทหารก่อนส่งให้ตำรวจเพื่อแจ้งข้อกล่าวหา ทำการฝากขัง และขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เรื่อยมาจนปัจจุบัน เคยยื่นประกันตัวแต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกัน

ไอลอว์ระบุว่า “ใหญ่ แดงเดือด” มักโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์การเมือง และโจมตีการทำงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รวมทั้งการทำงานของคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีเรื่อยมา โดยมีการทำกราฟฟิคภาพพร้อมข้อความที่มีเนื้อหาเสียดสีการทำงานของรัฐบาล และพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ คำฟ้องระบุการโพสต์ของเขา 5 ข้อความในระหว่างเดือนกรกฎาคม –พฤศจิกายน 2557

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คดี 112 'บัณฑิต อานียา' ศาลทหารนัดพร้อม 22 มิ.ย.

$
0
0

 

31 มี.ค.58  เวลาประมาณ 9.30 น.ศาลทหารมีการพิจารณาคดีที่ บัณฑิต อานียา นักแปลนักเขียนวัย 73 ปีเจ้าของสมญา นักเขียนกึ่งบ้ากึ่งอัจฉริยะ เป็นจำเลย ถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยในวันนี้เป็นการสอบคำให้การจำเลยว่ายอมรับตามฟ้องโจทก์หรือไม่ บัณฑิตให้การปฏิเสธ

ศาลถามว่าจำเลยได้เคยกระทำความผิดคดีลักษณะเดียวกันนี้จนศาลฎีกาเคยพิพากษาจำคุก 4 ปีแต่รอลงอาญาไว้ 3 ปี เมื่อวันที่ 17 ก.พ.57 จริงหรือไม่ จำเลยกล่าวยอมรับว่าเป็นความจริง

ศาลทหารจึงนัดให้มีการไต่สวนนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 22 มิ.ย.58

บัณฑิต ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.57 หลังจากไปร่วมงานเสวนาที่จัดขึ้นโดยพรรคนวัตกรรม ซึ่งเป็นพรรคตั้งใหม่ยังไม่ได้จดทะเบียน การเสวนานี้เป็นการระดมความเห็นเกี่ยวกัการปฏิรูปในประเด็นต่างๆ เช่น อำนาจ กกต., ที่มา ส.ส., สถาบันกษัตริย์ ฯลฯ เพื่อรวบรวมความเห็นส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีผู้เข้าร่วมประมาณ 15 คน โดยขณะที่บัณฑิตกำลังแสดงความคิดเห็นอยู่ก็โดนรวบตัวทันทีโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สังเกตการณ์อยู่ในงานโดยที่ยังพูดไม่จบประโยค หลังจากนำตัวมาสอบปากคำที่ สน.สุทธิสารและถูกควบคุมตัวไว้หนึ่งคืน วันที่ 28 พ.ย. ตำรวจนำตัวเขาไปขออำนาจฝากขังต่อศาลทหาร ศาลอนุญาตให้บัณฑิตประกันตัวโดยมี 'วาด รวี' เพื่อนร่วมอาชีพเป็นนายประกัน และใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด 400,000 บาท ขณะที่ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเขียนคำร้องประกอบระบุถึงปัญหาสุขภาพที่ผู้ต้องหาเหลือไตเพียงข้างเดียวและต้องมีถุงปัสสาวะติดลำตัวมาตลอดหลายปี จากนั้นบัณฑิตเข้ารายงานตัวต่อศาลในทุกนัดฝากขังจนครบ 7 ผลัด และมีการสั่งฟ้องในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ในคำฟ้องระบุคำพูดของจำเลยเพียง 2 ประโยค ประโยคแรกกล่าวถึงความแตกแยกของสังคมไทยและสถานะของสถาบันกษัตริย์กับกฎหมาย ประโยคที่สองกล่าวถึงระบอบการปกครองว่าจะเลือกแบบใด

ทั้งนี้คดีนี้นับเป็นคดีที่ 2 ที่เขาตกเป็นจำเลยหมิ่นประมาทกษัตริย์ ในครั้งแรกนั้นเขาถูกขังในเรือนอยู่นาน 70 กว่าวัน รวมทั้งถูกส่งตัวไปรักษาในสถาบันจิตเวชด้วยก่อนได้รับการประกันตัว ต่อมาศาลอาญาลงโทษจำคุก 4 ปีแต่ให้รอลงอาญาเนื่องจากจำเลยป่วยเป็นโรคจิตเวช ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 8 เดือนโดยไม่รอลงอาญา กระทั่งเมื่อต้นปี 2557 ศาลฏีกาจึงพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แถลงการณ์เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ฉบับที่ 1/2558 กรณีวิสามัญฆาตกรรมทุ่งยางแดง

$
0
0

เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ชี้เหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมที่ทุ่งยางแดง เป็นเชื้อเพลิงหล่อเลี้ยงความขัดแย้ง จี้รัฐลงโทษเจ้าหน้าที่ที่มีความผิด เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพ พร้อมขอสื่ออย่าเสนอความจริงด้านเดียว

เมื่อวานนี้ 30 มี.ค. 2558 เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ออกแถลงการณ์ต่อกรณีวิสามัญฆาตดรรม 4 ศพ โดยที่ 2 ใน 4 เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฟาฎอนี และการควบคุมตัวชาย 22 คน ชี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวแปรหล่อเลี้ยงความขัดแย้ง ซึ่งส่งผลต่อบรรยากาศของขบวนการสันติสุข พร้อมยื่นข้อเสนอต่อรัฐลดเชื้อเพลิงความขัดแย้ง

แถลงการณ์เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ฉบับที่ 1/2558
กรณีวิสามัญฆาตกรรม 4 ศพกับอีก 22 คนถูกควบคุมตัวที่ทุ่งยางแดง

เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2558 เวลาประมาณ 17.00 น.ได้เกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงและขัดกับหลักมนุษยธรรม สากลอย่างปฏิเสธไม่ได้นั่นคือเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าได้ปิดล้อมจับตายเยาวชน 4 คน ซึ่ง 2 ใน 4 คน ที่เสียชีวิตนั้น เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และควบคุมตัวชายฉกรรจ์จำนวนทั้งหมด 22 คน ที่บ้านโต๊ะชูด ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสสูงของกระบวนการสันติภาพสันติสุข ซึ่งส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนในพื้นที่มีความคาดหวังสูงว่า สันติภาพสันติสุขคงเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ แต่ความคาดหวังสูงดังกล่าวก็ต้องมาติดลบอีกครั้งด้วยเหตุการณ์สลดใจสะเทือนขวัญในครั้งนี้

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหตุการณ์ครั้งนี้ได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญของการขยายตัวเป็นเงื่อนไขหล่อเลี้ยงความขัดแย้งจนส่งผล กระทบต่อบรรยากาศของกระบวนการสันติภาพสันติสุขนั้นคือ การสรุปและมองเหตุการณ์ในครั้งนี้ของทางภาครัฐ และประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะญาติๆ ผู้สูญเสียและเพื่อนพ้องน้องพี่ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีนั้น สรุปและมองเหตุการณ์ครั้งนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวการสรุปเหตุการณ์ของภาครัฐ โดยผ่านการชี้แจงเบื้องต้นหลังเหตุการณ์เกิดขึ้นได้ 1 วัน ของโฆษก กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) ดังนี้

พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เผยกับคลื่นข่าว 100.5 ว่า “จาก การที่เจ้าหน้าที่ปะทะผู้ก่อเหตุความรุนแรงในพื้นที่ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี วานนี้ คนร้ายเสียชีวิต 4 คน สามารถควบคุมแนวร่วมได้ 22 คน ยึดอาวุธปืน 4 กระบอก เป็นปืนอาก้า 3 กระบอก ปืนพก 1 กระบอก ระบุ เหตุดังกล่าวเป็นไปตามปฏิบัติการทุ่งยางแดงโมเดล หลังประชาชนแจ้งเบาะแสพบความเคลื่อนไหวของผู้ก่อเหตุความรุนแรงเตรียมเข้ามาโจมตีฐานปฏิบัติในพื้นที่ โดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วยความระมัดระวัง”

แต่ข้อสรุปของบรรดาญาติๆ และชาวบ้านต่อ เหตุการณ์นี้คือ ผู้เสียชีวิตทั้ง 4 คนนั้นไม่ใช่คนร้าย และไม่ใช่แนวร่วมขบวนการฯแต่อย่างใด อีกทั้ง 2 ใน 4 คน ที่เสียชีวิตนั้นยังเป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วยซ้ำ

เมื่อข้อสรุปของภาครัฐและประชาชนต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ต่างกันสุดขั้วนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้เกิดแรงกระเพื่อมขยายสร้างและเพิ่มเงื่อนไขหล่อเลี้ยง ความขัดแย้งยืดเยื้อโดยปริยาย กล่าวคือ

1.เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบไปบั่นทอนบรรยากาศของกระบวนการสันติภาพสันติสุขที่กำลังเป็นกระแสสูง และยิ่งตอกย้ำ ความรู้สึกของประชาชนว่าไม่สามารถไว้วางใจต่อนโยบายหรือข้อตกลงหรือการรณรงค์ใดๆ ซึ่งคาบเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพสันติสุขที่มาจากภาครัฐ

2.เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมหรือหลักนิติรัฐแห่งประเทศไทยโดยตรง หากปลายทางของการตรวจสอบข้อเท็จจริงซึ่งมาจากกลไกที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่นั้นสรุปว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีความผิดจริง แต่กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษทางอาญาได้ ยิ่งทำให้ประชาชนเพิ่มความไม่เชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมและยิ่งเพิ่มความรู้สึกร่วมกับขบวนการปลดปล่อยปาตานีอย่างเข้าใจว่า ที่ขบวนการฯได้ใช้กิจกรรมทางอาวุธต่อสู้กับรัฐนั้นเป็นสิ่งที่ชอบธรรม โดยภาวะวิสัยตามสภาพความเป็นจริงแล้ว

เพื่อเป็นการลดทอนน้ำหนักการเป็นเงื่อนไขหล่อเลี้ยงความขัดแย้ง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้และเชื่อว่าภาครัฐเองก็คงเห็น ด้วยที่จะไม่ปล่อยให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเงื่อนไขหล่อเลี้ยงความขัดแย้ง เสมือนเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีเป็นอันแน่

เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพจึงมีข้อเรียกร้องต่อภาครัฐ ดังต่อไปนี้

1.ระดับนโยบายของภาครัฐต้องแสดงความจริงจังต่อการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพสันติสุข โดยการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ปรากฏต่อสาธารณและหากผลสรุปตรงตามข้อมูลข้อ เท็จจริงของชาวบ้าน คือ เจ้าหน้าที่รัฐมีความผิดจริงนั้น รัฐต้องลงโทษทางอาญาอย่างไม่มีข้อยกเว้นใดๆ

2.หากกลไกการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ มีผลสรุปออกมาว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปะทะกับผู้ก่อเหตุรุนแรงจริง อีกทั้งผู้เสียชีวิตทั้ง 4 คน และผู้ถูกควบคุมตัว 22 คน ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับอาวุธปืนทั้ง 4 กระบอกดังกล่าว ขอให้ภาครัฐระดับนโยบายทำการแถลงข่าวชี้แจงเพื่อแก้ข่าวให้ตรงตามความเป็นจริงด้วยในทันที

3.ขอเรียกร้องต่อสื่อ อย่าทำตัวเสมือนเป็นโฆษก กอ.รมน. เสียเอง เมื่อมีเหตุการณ์อ่อนไหวที่สร้างความสูญเสียชีวิตต่อประชาชนดังเช่น เหตุการณ์ในครั้งนี้ ขอความกรุณาอย่านำเสนอข้อมูลจาก กอ.รมน. เพียงด้านเดียว มิเช่นนั้นสื่อเสียเองที่จะสร้างเงื่อนไขหล่อเลี้ยงความขัดแย้งระหว่างรัฐ กับประชาชน

ด้วยจิตรักสันติภาพและประชาธิปไตย
เครือข่ายประชาสังคมเพื่อสันติภาพ
30 มีนาคม 2558

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลทหารชลฯ ให้ประกันคนงานระยองโปรยใบปลิว ‘ประชาธิปไตยจงเจริญ’ แล้ว

$
0
0

ตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่อง หนุ่มคนงานระยองโปรยใบปลิว “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” คุมตัวเข้าสอบค่ายทหาร ก่อนศาลทหารจังหวัดชลบุรีให้ประกันด้วยหลักทรัพย์ 7 หมื่น

หลังจากเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา มติชนออนไลน์รายงานว่า พล.ต.ต.ชุมพล ฉันทะจำรัสศิลป์ ผบก.ภ.จว.ระยอง เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้คุมตัวนายพลวัฒน์ วโรดมพุฒิกุล อายุ 22 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33/73 หมู่ 4 ต.ทับมา อ.เมืองระยอง มือโปรยใบปลิวต่อต้านเผด็จการ มาจากค่ายทหาร จ.ชลบุรีแล้ว หลังให้การรับสารภาพ เป็นผู้ลงมือโปรยใบปลิว เพื่อมาควบคุมที่สภ.เมืองระยอง พร้อมควบคุมตัวและนำตัวไปสอบสวนที่ค่ายทหารใน จ.ชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. ที่ผ่านมา

จากกรณีที่ 02.00 น. วันที่ 21 มี.ค. 58 ได้มีชายลึกลับขี่รถจักรยานยนต์ นำใบปลิวมีข้อความปลุกระดมให้ลูกขึ้นสู้ และมีรูปชูสามนิ้ว มาโปรยที่หน้าหอพระพุทธอังคีรส สวนศรีเมือง หน้าโรงเรียนระยองวิทยาคม และวิทยาลัยเทคนิคระยอง ล่าสุด เจ้าหน้าที่สามารถจับกุมได้แล้ว เป็นพนักงานบริษัท ปตท.จีซี จ.ระยอง

ล่าสุดเมื่อวันที่ (30 มี.ค.) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า ศาลทหารจังหวัดชลบุรี (มณฑลที่ 14) ให้ประกันตัวนายพลวัฒน์ หนุมโปรยใบปลิวระยอง ด้วยหลักทรัพย์ 70,000 บาท

โดยนายพลวัฒน์ ถูกจับกุมในข้อหายุยงปลุกปั่น ให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ที่ห้ามวิพากษ์ วิจารณ์ คสช. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 และประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 จากการโปรยใบปลิวต่อต้านเผด็จการที่จังหวัดระยอง

สำหรับข้อความในใบปลิวดังกล่าว คือข้อความว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ถูกใช้เป็นกระแสมาก่อนหน้านี้ ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ.ที่ผ่านมา บนป้ายผ้าด้านหลังอัฒจันทร์ 2 ผืน ที่สนามศุภชลาศัย ระหว่างงานฟุตบอลเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70  จากนั้น มีผู้นำป้ายผ้าข้อความลักษณะดังกล่าวติดไว้ที่บริเวณสะพานลอยหน้า มหาวิทยาลัยบูรพา รวมทั้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งข้อความนี้มาจากคำกล่าวของครูครอง จันดาวงศ์ กล่าวก่อนถูกประหารชีวิตที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เมื่อ 31 พ.ค.2504 ตามมาตรา 17 ของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในข้อหากบฏต่อความมั่นคง และมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 

และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ที่นายพลวัฒน์ถูกตั้งข้อหานั้น บัญญัติไว้ว่า ผู้ใด กระทำให้ปรากฏ แก่ประชาชน ด้วยวาจา หนังสือ หรือ วิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำ ภายในความมุ่งหมาย แห่ง รัฐธรรมนูญ หรือมิใช่ เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือ ติชม โดยสุจริต

                (1) เพื่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง ในกฎหมายแผ่นดิน หรือ รัฐบาล โดย ใช้กำลัง ข่มขืนใจ หรือ ใช้กำลังประทุษร้าย

                (2) เพื่อให้ เกิดความปั่นป่วน หรือ กระด้างกระเดื่อง ในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะ ก่อความไม่สงบขึ้น ใน ราชอาณาจักร หรือ

                (3) เพื่อให้ ประชาชน ล่วงละเมิด กฎหมายแผ่นดิน

            ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 7 ปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

น.ศ.-ภาคประชาสังคม ‘ตรัง-ปาตานี’ ชี้ปัญหาประชาธิปไตยไทย ชาตินิยมยังครอบงำการศึกษา

$
0
0

รายงานเสวนา “สังคมคู่กับประชาธิปไตย#ความรักก็เช่นกัน” น.ศ.-ภาคประชาสังคมตรัง-ปาตานี เห็นพ้องประชาธิปไตยคือความเท่าเทียม ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ วิพากษ์การศึกษาไทยถูกอุดมการณ์ชาตินิยมครอบงำ มหาวิทยาลัยปิดกั้นนักศึกษาไม่ให้เรียนรู้ปัญหาสังคม-ชุมชน

วันที่ 26 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา ที่ห้อง L2121 อาคารเรียนรวม 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง (ม.อ.ตรัง)  เครือข่ายส่งเสริมสิทธิชุมชนจังหวัดตรัง (คสช.ตรัง) ร่วมกับปาตานีฟอรั่ม และกลุ่มนักศึกษา Scholar of people ม.อ.ตรัง ร่วมกันจัดงานสานเสวนา “สังคมคู่กับประชาธิปไตย#ความรักก็เช่นกัน” โดยมีการจัดเสวนาหัวข้อย่อยหลายหัวข้อ เช่น ความรักใช้กับประชาธิปไตยได้หราา, ความเป็นประชาธิปไตยในระบบการศึกษาไทย และบทบาทนักศึกษากับการสร้างสังคมประชาธิปไตย โดยมีนักศึกษาและประชาชนสนใจเข้าร่วมฟังราว 100 คน

เวทีเริ่มด้วยการขับขานบทเพลงโดย ‘ตู่ ลมเถื่อน’ ศิลปินจากกลุ่มแตกหน่อประชาธิปไตยประชาชน ต่อด้วยการแนะนำความเป็นมาขององค์กรผู้ร่วมจัด

นายศิลป์เรืองศักดิ์ สุขใส ผู้ประสานงานเครือข่ายส่งเสริมสิทธิชุมชนจังหวัดตรัง แนะนำที่มาว่า เครือข่ายก่อเกิดมาตั้งแต่ปี 2551 โดยนักกิจกรรมในแวดวงภาคประชาสังคมในจังหวัดตรัง ซึ่งเห็นการลิดรอนสิทธิในด้านต่างๆ  ทั้งสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ทั้งทางด้านทรัพยากร แผนพัฒนาของรัฐกับชุมชน มีการดำเนินการจัดกิจกรรมนักศึกษาออกค่ายอาสาตามชนบท ต่อมาก็วิวัฒนาการและเชื่อมร้อยกับนักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ และวิวัฒนาการกลายเป็นกลุ่มแตกต่อประชาธิปไตยประชาชน ขยายแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยโดยพยายามดึงคนเล็กคนน้อยมาเรียนรู้ร่วมกัน

นางสาวนูรีมะห์ บือราเฮง ผู้ประสานงานปาตานีฟอรั่ม เล่าว่า ปาตานีฟอรั่มกำเนิดขึ้นจากการร่วมมือของนักกิจกรรมทางสังคมรวมตัวกันโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งการตื่นรู้ สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสาธารณะ เปิดให้แสดงทัศนะคติของตัวเองบนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตย มีเป้าประสงค์ที่ส่งเสริมการสื่อสารเองจากพื้นที่ปาตานี (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) สู่พื้นที่อื่นในประเทศไทย มีการพยายามเชื่อมร้อยสร้างความเข้าใจปัญหาร่วมกันของปาตานี  กับปัญหาสังคมไทยที่เหลื่อมล้ำ และละเมิดสิทธิมนุษยชน

นายธิติวัฒน์ เงินสองศรี ตัวแทนกลุ่มนักศึกษา Scholar of people ม.อ.ตรัง เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า เกิดจากการที่เขาสนใจปัญหาสังคมและแนวคิดประชาธิปไตย อยากเรียนรู้นอกมหาวิทยาลัยโดยเดินทางไปศึกษาปัญหาตามชนบทในจังหวัดตรัง พบว่ามีปัญหาเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน จึงมีแนวคิดอยากตั้งกลุ่มนักศึกษาใน ม.อ.ตรัง จึงชวนเพื่อนๆ น้องๆ มาร่วมศึกษาเรียนรู้ปัญหาร่วมกันผ่านการออกค่ายอาสาโดยโบกรถ กินข้าว ทำนา เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้าน ต่อมาจึงมีการรวมตัวอย่างจริงจัง 6-7 คน ตั้งเป็นกลุ่ม ซึ่งมีความหมายว่า ‘ปัญญาชนเพื่อประชาชน’ ซึ่งเป็นรูปเป็นร่างมาได้ประมาณครึ่งปี และมีการจัดออกค่ายอาสาอิสระอย่างต่อเนื่อง

จากนั้น จึงเริ่มต้นเวทีสานเสวนา หัวข้อ ‘ความรักใช้กับประชาธิปไตยได้เหรอ?’ ดำเนินการอภิปรายโดย นางสาวพรพิมล รัตนกุล ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาศักยภาพนักข่าวภาคพลเมืองภาคใต้

รัฐประชา  พุฒนวล ตัวแทนจากกลุ่มแตกหน่อประชาธิปไตยประชาชน ให้นิยามของประชาธิปไตยในทัศนะของตัวเองว่า ถ้าแปลกันตรงตัวประชาธิปไตยก็คือประชาชน บวกกับอธิปไตย นั่นหมายถึงอำนาจเป็นของประชาชน อันประกอบไปด้วยหลักการเสรีภาพ เสเมอภาค และภราดรภาพ แล้วโยงภาพมายังความรักและครอบครัวว่าในครอบครัวมีความเป็นประชาธิปไตยหรือเปล่า ถ้าไม่มีประชาธิปไตยก็หมายถึงเผด็จการ เช่น ปิตุธิปไตยอันหมายถึงพ่อเป็นใหญ่ หรือมาตุธิปไตยอันหมายถึงแม่เป็นใหญ่ ยกกรณีหากลูกทำจานข้าวแตกพ่อแม่ตีลูก แต่ถ้าพ่อแม่ทำจานข้าวแตกกลับไม่เป็นไร

นายปรัชญา โต๊ะอีแต ผู้จัดการปาตานีฟอรั่ม เห็นว่า ความรักกับประชาธิปไตยมีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก เพราะเป็นเรื่องของความผูกพันระหว่างคน 2 คน ต้องมีลักษณะของการแบ่งปันกัน การยอมรับความเข้าใจของกันและกัน ถ้าใครอีกคนหนึ่งไม่ยอมรับข้อเสนอของคนอีกคนหนึ่งก็จะไม่ก่อเกิดการผูกพัน หรือมองเห็นคุณค่าของกันและกัน

นายซัยด์ วาเตะ  ตัวแทนกลุ่มนักศึกษา Scholar of people ม.อ.ตรัง สะท้อนว่า ประชาธิปไตย คือสิทธิเสรีภาพ ความเท่าเทียม ผู้คนที่อยู่ร่วมในสังคมต้องเข้าใจกัน ถ้าไม่ยอมรับความเห็นของคนอื่นสังคมนั้นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้การแสดงความเห็นของใครที่จะให้คนอื่นในสังคมยอมรับได้นั้นต้องมีขอบเขตทางศีลธรรม วัฒนธรรมไม่เกินขอบเขตการเคารพสิทธิความเชื่อของผู้อื่นด้วย มุสลิมเชื่อว่าหากใครแสดงความเห็นของตัวเองจนเกินเลยก็ต้องตักเตือนกัน เสนอสิ่งที่ดีต่อกัน ไม่ใช่การประจานกัน

นายซูการไน รอแม ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาตูปะ ม.อ. ปัตตานี มองว่า ประชาธิปไตยคือเรื่องความเท่าเทียม และเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ไม่มีใครเหนือกว่าใคร ไม่มีใครต่ำกว่าใคร ซึ่งมันเกี่ยวโดยตรงกับความรักซึ่งคู่รักต้องมีความเท่าเทียมกัน ถ้าแค่คาดหวังผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว เอาแต่ใจตัวเอง เป็นเผด็จการหรือเปล่า ความรักที่เป็นประชาธิปไตยนั้นต้องเคารพความคิดเห็นของกันและกัน  เคารพความต่าง  โดยร่วมกันออกแบบครอบครัว หรือเรายอมให้ใครคนๆ เดียวออกแบบครอบครัวแบบเผด็จการ

นายอนวัช จันทร์หงษ์  ตัวแทนกลุ่มนักศึกษาสภาแตออ  ม.อ. ปัตตานี แสดงทัศนะว่า ความรักกับประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่สอดคล้องกัน ความรักคือการให้ แต่ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การให้ ประชาธิปไตยซับซ้อนกว่าความรัก ประชาธิปไตยไม่โรแมนติคเหมือนความรัก ประชาธิปไตยยืนอยู่บนฐานของหลักการคนเท่ากัน อาศัยประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง เข้าไปเรียกร้องผลประโยชน์ให้คนจังหวัดตรัง อีกทางหนึ่งคืออาศัยประชาธิปไตยทางตรง เช่น ขบวนการชาวบ้านค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา คัดค้านเขื่อนคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน  เป็นต้น ซึ่งเรียกร้องสิทธิชุมชนของตัวเองสู้รบกับวาทกรรมต้องเสียสละเพื่อส่วนรวม ซึ่งชาวบ้านคนเล็กคนน้อยถูกบังคับให้เป็นผู้เสียสละอยู่ตลอด รวมถึงการเมืองเสื้อเหลือง เสื้อแดงที่มีสิทธิสู้ตามสิทธิที่มี แต่ไม่ควรเลยกรอบของกฎหมายไปสู่ความรุนแรง

พรพิมล ผู้ดำเนินการเสวนาแสดงความเห็นว่า ความรักเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติคือสัตว์ใหญ่รังแกสัตว์เล็ก ปลาใหญ่กินปลาน้อย ขณะที่ประชาธิปไตยเป็นเรื่องที่คนร่วมกันสร้างขึ้นในการอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันก็มีขัดแย้งกันอยู่ในตัว พร้อมๆ กับตั้งคำถามต่อผู้ร่วมเสวนาว่า สามารถใช้บรรทัดฐานความรักกับประชาธิปไตยได้หรือไม่ ?

รัฐประชา มองความรักแบบสัญชาติญาณมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญชาตญาณการแสดงออกเพื่อประสงค์ดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ เป็นแค่กระบวนการหนึ่งในการสืบพันธุ์ของมนุษย์ แล้วต่อมาก็ก่อเกิดเป็นความผูกพัน และความรัก การสืบพันธุ์ของมนุษย์สืบพันธุ์โดยลำพังไม่ได้ต้องมีคู่ เมื่อจำเป็นต้องมีคู่มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่คน 2 คนก็เริ่มมีการเมือง ข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน การออกแบบข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันต้องดูว่าใครเป็นผู้มีอำนาจออกแบบ ซึ่งผู้มีอำนาจออกแบบย่อมออกแบบเข้าข้างตัวเองอยู่แล้ว ถ้ากระบวนการออกแบบการอยู่ร่วมกันของคน 2 คนเป็นประชาธิปไตยก็จะรักกันยืนยาว หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดก็เป็นเผด็จการ เป็นแค่การฝืนจำอยู่  ผู้หญิงก็เป็นแค่วัตถุทางเพศ ไม่มีความเท่าเทียมผู้ชาย

ปรัชญา มองว่า ความรักคือความผูกพัน ซึ่งเริ่มจากการผูกพันทางใจ ไม่ใช่ผูกพันทางความคิด ผูกพันทางร่างกาย เรารักสิ่งแวดล้อมได้ เรารักทะเล รักสัตว์ รักเพื่อนมนุษย์ รักเพื่อน รักสังคมด้วยการผูกพันทางใจ  มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวลำพังได้ และโหยหาใครอีกคนมาเติมเต็มกลบฝังความโดดเดี่ยวด้วยความผูกพัน รู้สึก คนต้องมีสังคม ต่างคนต่างอยู่ไม่ได้ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันมีกรอบกฎกำหนด ศีลธรรมกำหนด ไม่ว่าศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือลัทธิอศาสนา ก็เชื่อว่าต้องมีศีลธรรมมากำหนด

“ธรรมชาติของมนุษย์สนใจเพศตรงข้าม มีภาพอุดมคติในเพศตรงข้ามที่สามารถดึงดูดเสน่ห์ ดึงดูดให้มีความผูกพันทางใจ นำไปสู่การผูกพันทางความคิด การอยู่ร่วมกันต้องให้คุณค่า ประชาธิปไตยคือการกำหนดสิ่งต่างๆ เท่ากันด้วยการให้คุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เท่ากัน”  ปรัชญากล่าว

ด้านซัยด์  ให้นิยามประชาธิปไตยเชื่อมกับความรักว่าคือการให้ เมื่อรู้จักการการก็รู้จักการรัก ขณะที่ประชาธิปไตยคือสิทธิและความเท่าเทียมกัน แม้มีวัฒนธรรมและศีลธรรมที่แตกต่างกันก็ต้องเคารพกัน ยอมรับความเห็นของคนอื่น ไม่ว่าความคิดเชื่อของเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือความเชื่อของต่างศาสนิก จะไม่มีความขัดแย้งกันหากรู้จักการให้  กรณีเดียวกับการออกนโยบายต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ หากรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือกฎต่างๆ ขัดแย้งกับศีลธรรมความเชื่อของคน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไม่ยอมรับความแตกต่างของท้องถิ่นก็เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความแตกแยก

ส่วนในมุมทัศนะที่ถูกศาสนิกอื่นมองว่าในอิสลามคือสังคมชายเป็นใหญ่นั้น  ซัยด์อธิบายว่า พระเจ้าสร้างให้ผู้ชายคุณลักษณะทางร่างกายแข็งแกร่งมีความอดทนกว่าจึงเหมาะกับการเป็นผู้นำครอบครัว ขณะที่พระเจ้าสร้างให้ผู้หญิงอ่อนโยนมีบทบาทหลักในการทะนุถนอมเลี้ยงดูลูกซึ่งเป็นประชากรของสังคม

ปรัชญา ขยายความประเด็นที่ถูกศาสนิกอื่นมองว่าในอิสลามคือสังคมชายเป็นใหญ่ว่า อิสลามไม่ได้มีปัญหาเรื่องสิทธิผู้หญิง แต่องค์ประกอบทางร่างกายที่พระเจ้าสร้างเป็นตัวกำหนดทางกายภาพที่แตกต่าง ศาสนาอิสลามจึงวางบทบาทชายกับหญิงที่แตกต่างกัน ความเป็นประชาธิปไตยอยู่ในแนวคิดอิสลาม คือ พื้นทางทางความเชื่อต้องถูกหลอมให้เหมือนกันก่อน โดยอิสลามพยายามสลายกรอบความเชื่อให้เป็นความเชื่อเดียวกันก่อนใช้ชีวิตคู่กัน ถ้าสังเกตจะเห็นว่าหากใครอยากใช้ชีวิตคู่กับมุสลิมต้องรับศาสนาอิสลามก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อปรับความเชื่อให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน

“สำหรับการให้อิสรภาพ เสรีภาพ ในการปรึกษาหารือร่วมของทั้งชายและหญิง ซึ่งนำมาซึ่งมีผู้หญิงมุสลิมหลายต่อหลายคนทำงานนอกบ้าน มีการออกแบบร่วมกันว่าอาจให้ฝ่ายชายช่วยงานบ้านบ้าง”  ปรัชญากล่าว

ซูการไน  อธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างความรักกับประชาธิปไตยในทัศนะของเขาว่า ความรักคือความจริงใจต่อกัน ไม่ใช่แค่การให้อย่างเดียว ประชาธิปไตยก็เช่นกันไม่ใช่แค่การที่ผู้ใหญ่ซึ่งอยู่เหนือกว่าให้ลงมาอย่างเดียว บังคับให้คนข้างล่างต้องรับอย่างเดียวโดยไม่มีความจริงใจ ทั้งที่ควรมีความจริงใจด้วย

ขณะที่อนวัช มองว่า ทั้งนิยามของประชาธิปไตย และความรักสามารถให้คำจำกัดความได้หลายนิยาม แล้วแต่ใครเป็นผู้กำหนด จาที่ตนศึกษาประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย การก่อเกิดเริ่มจากแรกมีผู้เป็นใหญ่คือชนชั้นนำ ต่อมามีพัฒนาการให้ขุนนางเข้ามาต่อรองอำนาจ ต่อมาก็ประชาชนเข้ามาต่อรองอำนาจ เมื่อมีการต่อรองอำนาจย่อมมีความขัดแย้งเป็นธรรมดา มีการต่อสู้ อย่างเมื่อก่อนลักษณะในสังคมไทยในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์มีอำนาจ ครั้นเมื่อมีการปฏิวัติเมื่อปี 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งไม่มีการนองเลือด แต่ขณะเดียวกันก็มีขบวนการโตกลับของเครือข่ายชนชั้นนำ และค่อยวิวัฒนาการมาสู่การลุกขึ้นต่อรองอำนาจโดยชนชั้นกลางในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

“สังคมภาคใต้ เป็นชนชั้นกลางนิยมพรรคประชาธิปัตย์ ขณะเดียวกันสังคมเหนือ อีสาน ซึ่งส่วนใหญ่คือคนเสื้อแดงเป็นชนชั้นกลางใหม่ ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผมไม่ได้บอกว่าทักษิณเป็นคนดี แต่ทักษิณคือตัวเลือกที่ดีที่สุดแล้วในการเข้าถึงทรัพยากรของชนชั้นกลางใหม่ หากประเทศไทยมีตัวเลือกนักการเมืองที่ดีกว่านี้คนเสื้อแดงก็คงจะไม่เลือกทักษิณ ประชาธิปไตยมันไม่ได้โรแมนติคแบบเอื้ออาทร” อนวัชกล่าว

จากนั้น ผู้ดำเนินการเสวนาตั้งคำถามและประเด็นแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความเป็นประชาธิปไตยในระบบการศึกษาไทย รวมถึงบทบาทนักศึกษากับการสร้างสังคมประชาธิปไตยต่อผู้ร่วมเสวนา

อนวัช เห็นว่า วิชาประวัติศาสตร์ไทยในระบบการศึกษาไทย ยัดเยียดเอกลักษณ์ชาติผ่านภาพรัฐชาติ โดยตนมองเป็น 2 ส่วนคือ รัฐเหมือนร่างกาย ชาติหมายถึงจิตวิญญาณ เอกลักษณ์ชาติไทยไม่ได้เป็นจริงโดยตัวเอง แต่ถูกนิยามขึ้นมา และตั้งคำถามว่าใครเป็นคนนิยามขึ้นมา มีลักษณะการช่วงชิงการนิยามโดยโครงสร้างส่วนบนของสังคมไทย ฝังไปในความคิดนักศึกษามีอิทธิพลส่งผลต่อระบบคิดนักศึกษาในการมองคนในชาติว่าใครคือคนไทย ซึ่งหากคำนิยามว่าชาติถูกนิยามมาในหลักสูตรการศึกษาแบบนั้นหากเราไม่เชื่อก็จะถูกมองว่าไม่ใช่คนชาติไทย

“นอกจากเอกลักษณ์ชาติแล้ว ยังมีเอกลักษณ์ทางพื้นที่ชุมชนความทรงจำ นั่นคือท้องถิ่น ซึ่งต่างเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทย แต่ประวัติศาสตร์ชุมชนไม่ได้ถูกพูดถึงและให้ค่า จึงไม่แปลกที่ประวัติศาสตร์ปาตานีขัดแย้งกับความเป็นชาติไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทยถูกสร้างขึ้นมาจากหลักการมองคนไม่เท่ากัน ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แม้แต่วันชาติดั้งเดิม คือ 24 มิถุนายน อันเป็นวันปฏิวัติการปกครองของคณะราษฎรจากระบบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตย ก็ถูกยกเลิกในรัฐบาลเผด็จการทหารยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นการลบเลือนความทรงจำประชาธิปไตยจึงไม่แปลกที่เด็กไทย นักศึกษาไทยไม่ให้ความสำคัญกับประชาธิปไตย มันเป็นการถูกทำให้ลืม” อนวัชกล่าว

ซัยด์ ย้ำว่าระบบการศึกษาไทยมีปัญหาเช่นกัน ซึ่งหลักสูตรถูกกำหนดโดยรัฐอย่างไม่เป็นประชาธิปไตย คือ เลือกที่จะซ่อนเนื้อหาความเป็นจริงบางอย่าง พยายามรักษาความจริงนั้นไว้โดยไม่ใส่ในหลักสูตร หลักสูตรถูกกำหนดโดยปิดกั้นคำตอบของเรา ถ้าเราตอบออกจากกรอบที่เขาวางไว้ก็จะผิด สอนแบบไม่ให้นักศึกษาแสดงความเห็นของตัวเอง

“หน้าที่ของนักศึกษาต้องกล้าเรียกร้องสิทธิของตัวเอง กล้าแสดงออก ทุกวันนี้มีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยขึ้นมาโดยการจัดขององค์กรเอ็นจีโอสายสิทธิมนุษยชนสานเสวนาบ้างเล็กน้อยให้ประชาชนและนักศึกษาได้พูดในสิ่งที่อยากพูด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบรรยากาศในมหาวิทยาลัยมันน่าจะมีเวทีมากกว่านี้เสียด้วยซ้ำ เพื่อสะท้อนและรับฟังความคิดเห็นหลากหลาย เป็นกระบอกเสียงแทนประชาชนบ้าง สังคมเราอยู่ในระบอบประชาธิปไตย แต่ทุกวันนี้เพียงก็แค่ชื่อ แต่จริงๆ ไม่ใช่ประชาธิปไตย”

ซูการไน  มองว่า การออกแบบหลักสูตรโดยรัฐเลือกที่จะใส่ชุดความคิดไหนให้นักศึกษา และซ่อนอำพรางอีกชุดความคิดที่ไม่ต้องการให้นักศึกษารู้ ซูการไนยกตัวอย่างกรณีความเป็นประชาธิปไตยใน ม.อ.ปัตตานี มหาวิทยาลัยมีการพยายามสกัดการรณรงค์คัดค้านออกนอกระบบของนักศึกษา โดยอธิบายกับนักศึกษาว่า นักศึกษายังเป็นเด็กจะขอเข้าร่วมกำหนดแนวทางว่ามหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบหรืออยู่ในระบบไม่ได้ และหากเกิดผิดพลาดนักศึกษาจะรับผิดชอบไหวหรือไม่

ซูการไน  ยังมองว่า กิจกรรมใน ม.อ.มีการจำกัดนักศึกษาไม่ให้ออกไปเรียนรู้กับกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัยด้วยการกำหนดชั่วโมงกิจกรรม ซึ่งปิดกั้นการเรียนรู้ปัญหาสังคม ปัญหาชุมชนภายนอก ซูการไน  เห็นว่า การกำหนดชั่วโมงกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเป็นโซ่ตรวนล่ามนักศึกษาเอาไว้ การกำหนดบังคับให้ทำกิจกรรมเฉพาะแค่ในมหาวิทยาลัยโดยไม่ให้ทำกิจกรรมในชุมชน เรียนรู้ปัญหาของพื้นที่ปาตานี ทั้งที่นักศึกษาเป็นคนพื้นที่ปาตานีเองถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ให้พวกเขาเรียนรู้ปัญหาบ้านของพวกเขาเองได้อย่างไร

“ผมก็ยังมองเห็นเป็นประชาธิปไตยอยู่บ้างนะในมหาวิทยาลัย ที่อาจารย์บางคนไม่ได้บังคับให้ผมต้องใส่นักศึกษาเข้าเรียน ผมไม่ใส่ชุดนักศึกษาเข้าเรียนอาจารย์ไม่ได้มีปัญหา ผมมองว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ชุดนักศึกษาแต่อยู่ที่ความรู้”  ซูการไนกล่าว

ปรัชญา เชื่อมโยงปัญหาระบบการศึกษาไทยที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยอธิบายผ่านข้อสะกิดของสังคมผ่านทอล์คโชว์ของโน้ต อุดม แต้พานิช เขายกตัวอย่างเช่น การให้ร้องเพลงลูกเสือ การผูกเงื่อนเชือกต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตจริง รวมไปตั้งคำถามว่าทำไมต้องท่องจำสูตรคูณ ทั้งที่รู้ว่าในที่สุดแล้วก็ใช้เครื่องคิดเลขในการคำนวณ ปรัชญารู้สึกว่าระบบการศึกษาไร้สาระพอสมควร เขายกตัวอย่างการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของคนไทยตั้งแต่ชั้นประถมปลาย จนถึงมหาวิทยาลัย แต่กลับพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทว่าปรัชญากลับชี้ไปที่ข้อดีอย่างหนึ่งของการศึกษาไทย คือ ทำให้เขาตั้งคำถาม

ปรัชญา ชี้ว่า ระบบการศึกษาไทยเป็นกลยุทธ์ควบคุมคนในชาติ ให้เป็นไปในทิศทางที่รัฐฝังใส่หัวตั้งแต่เด็ก ปัญหาที่เขาค่อนข้างข้องใจคือ ประวัติศาสตร์ปาตานี ที่ไม่ได้มีอยู่ในหลักสูตรของระบบการศึกษาไทยไม่ว่าระดับชั้นไหนๆ ทั้งที่มีประวัติศาสตร์อาณาจักรล้านนา ล้านช้าง ขณะที่ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้เกิดขึ้นทับถมมาหลายสิบปี มีคนตายไป 5-6 พันคน แต่ไม่มีใครรู้ว่ามีที่มาจากอะไร

ปรัชญา เห็นค่อนข้างชัดว่าผลของระบบการศึกษาไทยที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ฉายภาพผ่านการขาดวุฒิภาวะของคนในสังคมไทย ขาดวุฒิภาวะทางการเมือง ขาดการยอมรับความเห็นต่าง

“โลกนี้มีแค่ผิดกับถูกเท่านั้นเหรอ ทำไมคนไทยมองว่าคนที่ไม่ใช่เสื้อเหลืองก็ต้องเป็นเสื้อแดง ถ้าไม่เอารัฐประหารมึงมีปัญหา มองปัญหาขาวดำ ไม่มีสีเทาเลยเหรอ การไม่ตั้งคำถามกับระบบการศึกษาไทย ผู้คนในสังคมไทยส่วนใหญ่จึงไม่เห็นโครงสร้างปัญหาที่แท้จริงของสังคมไทย”   ปรัชญากล่าว

รัฐประชา  ชี้ถึงปัญหาหลักสูตรการศึกษาที่ถูกกำหนดโดยชนชั้นสูง มหาวิทยาลัยจึงเป็นแค่คอกขังนักศึกษาไม่ให้ออกไปแสวงหาความจริงในสังคม เขายกตัวอย่างหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ที่เรียนแค่การชนช้างยุทธหัตถี บอกว่าทำสงครามห้ำหั่นกับพม่า ทว่างานศึกษาของสุจิตต์ วงศ์เทศ ระบุว่า พม่าไม่เคยรบกับไทย แต่ชนชั้นสูงพม่ารบกับชนชั้นสูงไทยต่างหาก

รัฐประชา  กล่าวว่า ระบบโซตัสในมหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นเผด็จการ โดยที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและให้การสนับสนุนระบบโซตัสอยู่ การต้องปฏิบัติตามคำสั่งตามระบบอาวุโสโดยไร้เหตุผลสิ้นเชิงเป็นการสืบทอดแนวคิดอำนาจนิยม และระบบอุปถัมภ์

รัฐประชา กล่าวว่า การปฏิบัติตามคำสั่ง ยึดมั่นในประเพณี ระบบว้าก ระบบเชียร์ ระบบโซตัส เป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งรุ่นพี่ไม่เห็นว่ารุ่นน้องเป็นคนเท่ากัน ใช้ความเป็นรุ่นพี่กดขี่ข่มเหงรุ่นน้อง สั่งการโดยไม่มีเหตุผล เหยียดความศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของรุ่นน้อง มหาวิทยาลัย และอาจารย์มหาวิทยาลัยมีผลประโยชน์กับระบบโซตัสที่ถูกสะกดให้เคารพรุ่นพี่ แล้วมันง่ายที่จะสะกดให้เคารพอาจารย์อีกทอดหนึ่ง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิจัยจากคอร์เนลล์มอง 'ปฏิรูปที่ดินในกัมพูชา' ยังไม่แก้ปัญหาเดิม-ส่อเกิดปัญหาใหม่

$
0
0

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เขียนบทความกรณีรัฐบาลมีแผนปฏิรูปที่ดินในกัมพูชา สะท้อนวัฒนธรรมการเมืองแบบใช้ที่ดินสร้างอำนาจและความนิยม แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาในระยะยาว อีกทั้งยังส่อเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการจัดสรรที่ดิน


30 มี.ค. 2558 อลิซ เบบอง ฟรองซ์ ว่าที่ดุษฎีบัณฑิตจากภาควิชาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เขียนบทความในเว็บไซต์อีสต์เอเชียฟอรั่มวิเคราะห์เกี่ยวกับการสนับสนุนปฏิรูปที่ดินในกัมพูชาซึ่งน่าหวั่นเกรงว่าจะสร้างปัญหาให้กับประชาชน

ฟรองซ์ระบุว่า การปฏิรูปที่ดินจะทำให้ประชาชนรายเล็กๆ ราว 770,000 คนที่ยังไม่ได้รับการระบุสิทธิชัดเจนเหนือที่ดินของตน ผู้อาศัยอยู่บนที่ดินรายเล็กๆ เหล่านี้ต้องเผชิญหน้ากับเหล่าบริษัทจากโครงการพัฒนาที่ต้องการทำพื้นที่ไว้ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรในนามของ 'สัมปทานที่ดินเพื่อเศรษฐกิจ' (ELCs) ซึ่งโครงการพัฒนาของรัฐบาลกัมพูชาก็ไม่มีการควบคุมและช่วยเหลือในเรื่องการยุติข้อขัดแย้งแต่อย่างใด

ฟรองซ์ระบุว่าปัญหาหลักๆ ในกัมพูชาคือเรื่องความโปร่งใสในภาคส่วนที่ดิน และการยกเลิก ELCs ก็ไม่รู้ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้างเพราะไม่เคยมีข้อมูลสาธารณะที่บ่งบอกชัดเจนว่าที่ใดเป็นผืนดินของรัฐ เป็นที่มีกรรมสิทธิ์ หรือเป็นที่ดินลงทุนทางการเกษตร

รัฐบาลกัมพูชาเคยให้นักศึกษามหาวิทยาลัยช่วยสำรวจพบว่ามีเจ้าของที่ดินในกัมพูชามากกว่า 600,000 คน อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐ และยังมีแผนการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ แต่การพยายามจัดสรรนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยเฉพาะชนพื้นเมืองในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและการยึดครองที่ดินทำกิน ทั้งที่มีประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 74 จากการสำรวจโดยนักศึกษายังคงรอการออกเอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดินของพวกเขาอยู่ ส่วนที่ไม่ได้ถูกระบุในการสำรวจของนักศึกษากัมพูชาก็น่ากังวลเช่นกัน

ฟรองซ์ระบุว่าในช่วงที่มีแผนการจัดสรรกรรมสิทธิ์มีประชาชนบางส่วนถูกกดดันจากผู้มีอำนาจที่อาศัยในเมืองให้ขายที่ให้ซึ่งนับเป็นที่ดินขนาดกว้างขวางมาก โดยการจัดการนี้รอดพ้นไปจากสายตาของรัฐบาลกัมพูชาและการตรวจสอบของภาคประชาสังคม การขายที่ให้กับการลงทุนทางการเกษตรในกัมพูชาชวนให้ตั้งคำถามเนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศที่มีหนี้สินในชนบทสูงมากและมีความเสี่ยงสูงในภาคส่วนการธนาคาร

ฟรองซ์เสนอว่าควรมีการจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดินมากกว่านี้เพื่อสร้างความมั่นคงทางที่ดินในกัมพูชา นอกจากนี้ยังต้องมีการฝึกอบรมในชุมชนและการประชุมหารือของผู้ถือหุ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อนายทุนผู้บริจาคให้รัฐบาล แต่สิ่งที่ควรจะประเมินกันจริงๆ คือ ประชาชนกัมพูชายังคงสูญเสียที่ดินอยู่หรือไม่

บทความยกตัวอย่างวิธีการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวจากโครงการรณรงค์น้ำตาลเลือด (Blood Sugar Campaign) ซึ่งมีเป้าหมายเป็นผู้บริโภคน้ำตาลในยุโรปและสหรัฐฯ เพื่อกดดันให้สหภาพยุโรปปฏิบัติการสืบสวนในกรณีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและการไล่ที่อย่างไม่เป็นธรรมเพื่อการทำไร่อ้อยในกัมพูชา

"นักกิจกรรมชุมชนในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้นทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ผู้บริจาคควรเล็งเห็นจะต้องเปลี่ยนวิธีการจากการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคในระยะสั้นๆ มาเป็นการส่งเสริมในระยะยาวทั้งด้านกฎหมายและการเสริมอำนาจให้คนในชุมชน ทุกวันนี้วาทกรรมเรื่องสิทธิที่ดินที่มีการเชื่อมโยงกับความมั่นคงทางอาหารและความจำเป็นในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็กำลังเติบโตขึ้นด้วย" ฟรองซ์ระบุในบทความ

อย่างไรก็ตามฟรองซ์ระบุว่าการดำเนินกิจกรรมยังมีอุปสรรคจากการข่มขู่คุกคาม เช่น การจำคุกนักกิจกรรมที่ปิดถนนประท้วง นอกจากนี้ยังมีการพยายามซื้อตัวนักกิจกรรมในชุมชนและเอ็นจีโอ รวมถึงการปฏิเสธต่ออายุวีซ่าให้กับนักกิจกรรมต่างชาติด้วย นอกจากนี้สภาแห่งชาติของกัมพูชายังเตรียมออกกฎหมายลิดรอนสิทธิหลายด้าน ทั้งกฎหมายควบคุมสื่อ กฎหมายการจำกัดชนิดพืชพันธุ์ของเกษตรกรและบทลงโทษของผู้ไม่ปฏิบัติตาม รวมถึงกฎหมายที่ทำให้รัฐมีอำนาจเหนือเอ็นจีโอมากขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นการออกกฎหมายล้าหลัง

ฟรองซ์ตั้งข้อสังเกตต่อวัฒนธรรมทางการเมืองกัมพูชาว่า ผู้นำกัมพูชาอย่างฮุนเซนมีการใช้ที่ดินเป็นเครื่องมือทางการเมือง เช่น ใช้เรื่องแจกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้กับคนจนเป็นการรณรงค์หาเสียงช่วงก่อนเลือกตั้ง แต่ตัวเขาเองก็มีการแจกจ่ายที่ดินให้กับชนชั้นนำเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการเมืองและอาศัยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการสะสมความมั่งคั่งของตัวเอง

ฟรองซ์ระบุว่าสิ่งที่เป็นปัญหาท้าทายรัฐบาลกัมพูชาคือ "คนตัวใหญ่" อย่างพวกเขาจะทำอย่างไรในการสร้างความเปลี่ยนแปลงระยะยาวแทนการสร้างผลประโยชน์ทางการเมืองในระยะสั้น สิ่งที่ควรจะทำมีมากกว่าการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน การยึดครองที่ดิน หรือออกสัมปทาน แต่ควรมีการเปลี่ยนนโยบายทางสังคมที่มองที่ดินเป็นเรื่องคุณภาพชีวิตแทนการมองเป็นเครื่องมือทางการเมือง


เรียบเรียงจาก

Time to sow the seeds of land reform in Cambodia, Alice Beban France, East Asia Forum, 26-03-2015
http://www.eastasiaforum.org/2015/03/26/time-to-sow-the-seeds-of-land-reform-in-cambodia/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เมื่อเครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นต้องฟื้นฟูกิจการ

$
0
0

นับเป็นข่าวใหญ่ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับต่อกรณีที่ศาลล้มละลายกลางได้อนุมัติการเข้าฟื้นฟูกิจการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด (ต่อไปนี้เรียกสั้นๆ ว่า “ยูเนี่ยนคลองจั่น”)  หากไม่นับเรื่องการทุจริตของอดีตประธานและเงินบริจาคแก่วัดธรรมกายแล้ว  การเข้าฟื้นฟูกิจการจากภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของยูเนี่ยนคลองจั่นยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ อาทิ ความเป็นสถาบันการเงินของยูเนี่ยนคลองจั่น ความเข้าใจของสมาชิกในฐานะลูกหนี้ เจ้าหนี้ และเจ้าของ จำนวนเจ้าหนี้ที่มีมากและอาจโยงกันเป็นลูกโซ่ และแนวทางการฟื้นฟูกิจการตามแผน เป็นต้น

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ลักษณะหนึ่งที่สมาชิกมักเป็นกลุ่มคนที่มีกิจกรรมร่วมกันหรือมีที่พักอาศัยในเขตหรือย่านเดียวกัน เช่น ยูเนี่ยนคลองจั่นที่มีสมาชิกอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ต่างจากสหกรณ์ออมทรัพย์อีกลักษณะหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นกลุ่มคนที่มาจากอาชีพเดียวกันหรือที่ทำงานเดียวกัน เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานบริษัทการบินไทย เป็นต้น  ในแง่ของการดำเนินงานแล้ว สหกรณ์ทั้งสองลักษณะนี้ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก  ผู้เขียนขอรวมเรียกสหกรณ์ทั้งสองลักษณะนี้ว่าสหกรณ์ออมทรัพย์  แรงจูงใจสำคัญในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์คืออัตราเงินปันผลที่จูงใจ อัตราดอกเบี้ย (เงินฝากและเงินกู้) ที่ดีกว่าตลาด และกระบวนการกู้เงินที่ง่ายกว่าธนาคารพาณิชย์  หลักประกันสำคัญที่ใช้ในการขอกู้ (สามัญ) คือการค้ำประกันโดยสมาชิกรายอื่น  ขณะที่วงเงินในการกู้นั้นจะผูกอยู่กับมูลค่าหุ้นของสมาชิก  หากสมาชิกรายใดฝากเงินและกู้เงินกับสหกรณ์ เขาจะเป็นทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ และเจ้าของ

เท่าที่ทราบ ยูเนี่ยนคลองจั่นเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลฯ นับตั้งแต่ปรับปรุงกฎหมายในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540  ประเด็นที่น่าคิดคือ ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พยายามอย่างมากที่จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ล้มละลาย  หากเห็นธนาคารใดเริ่มมีฐานะง่อนแง่น ธปท. จะรีบเข้าไปแทรกแซงและฟื้นฟูกิจการด้วยตนเอง  นอกจากนั้นแล้ว กฎหมายประกันเงินฝากยังคุ้มครองผู้ฝากเงิน (ในวงเงินไม่เกินห้าสิบล้านบาทในปัจจุบัน) ทำให้ความกังวลของผู้ฝากเงินลดลง  ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายกำกับดูแลสถาบันการเงินที่กำลังจะออกใหม่นั้นยังทำให้ธนาคารพาณิชย์ล้มยากขึ้น  เราอาจไม่มีโอกาสเห็นการฟื้นฟูกิจการของธนาคารพาณิชย์ผ่านศาลฯ เพราะการฟูมฟักของ ธปท. ที่เป็นทั้งผู้กำหนด (นโยบาย) และผู้กำกับ (การดำเนินงาน)  ขณะที่ผู้ฝากเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ (ซึ่งรวมถึงยูเนี่ยนคลองจั่น) นั้นไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายประกันเงินฝากทั้งๆ ที่เป็นสถาบันการเงินรูปแบบหนึ่ง  การกำกับดูแลจาก ธปท. จึงเป็นไปแบบห่างๆ อย่างห่วงๆ  ดังนั้น การฟื้นฟูกิจการผ่านศาลฯ ของยูเนี่ยนคลองจั่นน่าจะเป็นตัวอย่างสำคัญต่อสถาบันการเงินอื่นๆ ที่มิได้อยู่ภายใต้อาณัติของ ธปท.

ด้วยเหตุที่สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มรูปแบบเหมือนธนาคารพาณิชย์  การระดมเงินฝากและการทำธุรกรรมบางประเภทก็ถูกจำกัดไปโดยปริยาย  สหกรณ์ออมทรัพย์หลายแห่งเลือกที่จะกู้จากสหกรณ์อื่นและมาปล่อยกู้ต่อให้แก่สมาชิกของตน  การกู้ยืมกันไปมาเช่นนี้อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่เมื่อสหกรณ์หนึ่งประสบปัญหา ดังเช่นในกรณีของยูเนี่ยนคลองจั่น 

ยูเนี่ยนคลองจั่นมีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์อยู่ถึง 19,534 ล้านบาท (จากหนี้สินประมาณ 21,934 ล้านบาท)  ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ติดลบอย่างมหาศาลนี้ทำให้ความเป็นเจ้าของของสมาชิกหายไป เหลือเพียงแต่สถานะลูกหนี้ (หากกู้เงิน) และเจ้าหนี้ (หากฝากเงิน)  ในส่วนของลูกหนี้นั้น สมาชิกอาจไม่กังวลเท่าใดนักเนื่องจากทางยูเนี่ยนคลองจั่นอาจไม่สามารถเร่งรัดให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้ในเวลาอันสั้น  ส่วนที่เป็นปัญหาและอาจทำให้สมาชิกขมขื่นที่สุดคือสถานะเจ้าหนี้เงินฝากที่นอกจากจะไม่ได้รับการคุ้มครองแล้ว เงินออมที่ตนฝากไว้กับยูเนี่ยนคลองจั่นอาจได้รับคืนเพียงร้อยละ 10 (ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์)

หลังจากที่ศาลฯ อนุมัติให้ยูเนี่ยนคลองจั่นเข้าฟื้นฟูกิจการไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 คณะผู้ทำแผน (ซึ่งเป็นคณะกรรมการสหกรณ์ชุดปัจจุบัน) มีเวลา 3 เดือนในการจัดทำแผนและต้องให้เจ้าหนี้จำนวน 2 ใน 3 ของเจ้าหนี้ทั้งหมดเห็นด้วยกับแผน  ขั้นตอนการทำแผนเป็นขั้นตอนที่ยากอีกขั้นตอนหนึ่ง ด้วยเหตุที่ว่าผู้ทำแผนต้องจัดทำแผนให้เป็นที่พึงพอใจแก่เจ้าหนี้ส่วนใหญ่  (ยูเนี่ยนคลองจั่นมีเจ้าหนี้ที่เป็นสมาชิกผู้ฝากเงินและสหกรณ์แห่งอื่นๆ รวมกันนับหมื่นราย)  การประนอมหนี้ที่มักใช้กันเป็นอันดับแรกคือการขอลดหนี้  ยูเนี่ยนคลองจั่นก็อาจขอลดหนี้โดยจ่ายคืนเพียงร้อยละ 10 ของจำนวนหนี้ (เช่นเดียวกับเจ้าหนี้เงินฝากจากสมาชิก)  ประเด็นดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้หลายรายซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพราะหนี้ที่หายไปถึงร้อยละ 90 ย่อมส่งผลถึงสถานะทางการเงินของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  มิหนำซ้ำบางรายยังต้องการให้ยูเนี่ยนคลองจั่นชำระหนี้คืนภายในหนึ่งเดือน (ซึ่งอาจเป็นไปได้ยาก)  ยิ่งไปกว่านั้น เจ้าหนี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์มักปล่อยกู้แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทำให้มีสิทธิมีเสียงรองลงมา

อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของแผนคือการฟื้นฟูกิจการตามแผนที่มีกรอบเวลา 5 ปี  ณ ขณะนี้รายละเอียดของแผนยังไม่ปรากฏและคงต้องติดตามดูเมื่อครบกำหนด 3 เดือน  อย่างไรก็ตาม  ผู้ทำแผนของยูเนี่ยนคลองจั่นกล่าวในเบื้องต้นว่าขณะนี้ยูเนี่ยนคลองจั่นมีสภาพคล่องอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาทและอาจได้รับเงินคืนจากวัดธรรมกายอีกเดือนละ 100 ล้านบาท  นอกจากนั้น ยังมีเงินสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีก 5,000 ล้านบาท  กระนั้นก็ตาม เจ้าหนี้บางรายยังมองไม่เห็นหนทางว่ายูเนี่ยนคลองจั่นจะจัดการกับหนี้กว่า 22,000 ล้านบาทได้อย่างไร 

ในมุมของผู้เขียน แนวทางในการทำแผนและฟื้นฟูกิจการที่น่าจะเป็นไปมากได้ที่สุดคือเริ่มจากขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้  หากขอลดหนี้ไม่ได้มากก็ควรจะขอยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป  ขณะเดียวกันก็พิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้ยูเนี่ยนคลองจั่นมีกระแสเงินสดหมุนเวียนมากขึ้นในแต่ละเดือนและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง  หากเป็นไปได้อาจต้องมีตัวแทนเจ้าหนี้มาอยู่ร่วมในคณะผู้ดำเนินงานตามแผนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่เจ้าหนี้  ประเด็นที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งคือยูเนี่ยนคลองจั่นต้องปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาลในการดำเนินงานของตนเพราะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการทุจริตของอดีตประธาน  หากปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาลและสามารถฟื้นฟูกิจการกลับมาได้ ยูเนี่ยนคลองจั่นจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานต่อสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์อื่นๆ ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ควรให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น  ปัญหาการทุจริตและธรรมาภิบาลเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ขบวนการสหกรณ์ของไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกต. ห่วงถูกทหารกล่าวหาเป็นผู้มีอิทธิพล ขณะที่ชุมชนถูกไล่รื้อต่อเนื่อง

$
0
0

ล่าสุด ‘ชุมชนทุ่งทับควาย’ ถูกให้ออกจากพื้นที่สวนป่าบางขัน ภายใน 15 เม.ย.2558 แกนนำชาวบ้านเร่งยื่นหนังสือขอชะลอ ด้าน ‘ชุมชนเพิ่มทรัพย์’ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีอิทธิพล

30 มี.ค. 2558 เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. พ.อ.ทวี เกิดสมบูรณ์ รอง ผบ.จทบ.ส.ฎ. เป็น ผู้แทน ผบ.จทบ.ส.ฎ. เข้าชี้แจงรายละเอียดต่ออธิบดีกรมองค์การต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กรณี สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษย์ชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ให้ชี้แจงกรณี การปฏิบัติการของ จนท.บก.ควบคุม.จทบ.ส.ฎ. ต่อชุมชนเพิ่มทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) จ.สุราษฎร์ธานี 

หน่วยข่าวทหารระบุว่า เกิดการร้องเรียนโดยการบิดเบือนข้อมูลนำไปสู่ความสับสนที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันจนมีการนำข้อมูลยกระดับเป็นปัญหาระดับประเทศ และดึงสหประชาชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่โดยแท้จริงแล้ว เป็นเรื่องของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ที่ใช้ความเดือดร้อนของพี่น้องประชามาเป็นหนทางในการแสวงหาประโยชน์ ซึ่งขณะนี้หน่วยงานความมั่นคงทราบถึงพฤติกรรมของแกนนำคนดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ การประชุมเสร็จสิ้นเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. โดยจากการประชุม กระทรวงการต่างประเทศจะสรุปรายละเอียดนำเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบและ พิจารณาดำเนินการต่อไป 

ด้านตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ให้สัมภาษณ์ต่อกรณีดังกล่าวว่า การกล่าวหาว่าชาวบ้านเป็นผู้มีอิทธิพลทำให้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็น ห่วงอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัย เพราะถูกใส่ร้ายทำให้สังคมโดยเฉพาะในภาครัฐเข้าใจผิด และอาจเป็นการคิดกำจัดให้พ้นทางผลประโยชน์ของนายทุนและกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ 

“การใส่ร้ายป้ายสี การปรักปรำ การบิดเบือนข้อเท็จจริง เป็นกลยุทธ์ ที่ชนชั้นปกครองใช้ทำลายนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรมในสังคมมาทุกยุคทุกสมัยคราวนี้ก็เช่นกัน” ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า การทำลายชื่อเสียง ทำลายความน่าเชื่อถือ หวังผลให้ชาวบ้านสูญเสียความชอบธรรมทางสังคม และจะกระทบกับการต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินของชาวบ้านซึ่งไม่ใช่เพียง แค่เพียงชุมชนเพิ่มทรัพย์ แต่ยังมีที่อื่นๆ ด้วย

ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ให้ข้อมูลด้วยว่า ล่าสุดชุมชนทุ่งทับควาย อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราชถูกปักป้ายไล่รื้อ และวันนี้ (30 มี.ค. 2558) ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้และแกนนำชาวบ้านได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงผู้ ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอให้ยุติการไล่รื้อชุมชนบ้านทุ่งทับควายไว้ก่อน ทั้งนี้ ชุมชนทับควายอยู่ในพื้นที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่ตั้งชุมชนด้านหน้าติดถนนลาดยาง ห่างที่ว่าการ อ.บางขัน ประมาณ 5-7 กิโลเมตร 

สืบเนื่องจาก มีหนังสือลงนามโดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงวันที่ 20 ม.ค.2558 ซึ่งระบุว่าชาวบ้านเป็นผู้บุกรุก และให้รื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้าง พืชผลอาสิน ออกไปให้พ้นจากพื้นที่สวนป่าบางขัน ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควายฯ ให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 15 เม.ย.2558

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ชี้แจงเหตุผลไว้ในหนังสือที่ยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดดังนี้

1.กระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ้นเสร็จครบถ้วน เนื่องจากยังมิได้รายงานผลการตรวจสอบไปยังคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( แต่งตั้งภายใต้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สั่งเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2555 โดย นาวสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) ซึ่งการทำงานของคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้หยุดชะงักลงเนื่องจากความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องยุติการบริหารราชการแผ่นดิน 

2. ต่อมารัฐบาล คสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม โดยมอบหมายให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

3. ต่อมามี คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/ 2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (อ้างถึงลำดับที่ 7) 

4. ต่อมาหม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล จึงได้มี คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ 1/2558 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อ้างถึงลำดับที่ 3)

“กระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะสรุปเป็นประการใด และการจะไล่รื้อราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย หรือไม่ อย่างไร จะต้องผ่านการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และต้องผ่านกระบวนการไต่สวนรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน และพิจารณาโดยรอบคอบ เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อราษฎรน้อยที่สุด” จดหมายระบุ

 

29 มีนาคม 2558

เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนทุ่งทับควาย

เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

สำเนาถึง

1. ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช

2. หัวหน้างานสวนป่าอ่าวตง – บางขัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

3. นายอำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

อ้างถึง

1. แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้, การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557 ลงวันที่  20  พฤศจิกายน  2557    เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

3. คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ 1/2558 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงนามโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

4.หนังสือที่ นศ 0013.3/1342 ลงวันที่ 20 มกราคม 2558  เรื่องการเข้าอยู่ในพื้นที่สวนป่าทุ่งทับควาย  ของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ลงนามโดย นายสวัสดิ์ อั้นเต้ง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

5.หนังสือที่ นศ 1718/153 ลงวันที่ 30 มกราคม 2558 เรื่องขอรายงานผลการประชุมคณะทำงานตรวจสอบและรังวัดพื้นที่บริเวณที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงนามโดย นายวิรัช แก้วเมือง ปลัดอำเภอบางขัน

6.ประกาศองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เรื่องให้ผู้เข้าอยู่อาศัยในเขตพื้นที่สวนป่าบางขัน ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงนามโดย นายปริญญา เกตุแก้ว หัวหน้างานสวนป่าอ่าวตง – บางขัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้

7.คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 1/ 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สั่ง ณ วันที่ 29 มกราคม 2558 ลงนามโดย หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตามหนังสือที่อ้างถึงลำดับที่ 4 ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้พิจารณาและ ลงความเห็นว่าการเข้าอยู่ในพื้นที่สวนป่าทุ่งทับควายของสหพันธ์เกษตรกรภาค ใต้ชุมชนบ้านทุ่งทับควายเชื่อได้ว่าเป็นการบุกรุกทรัพยากรของรัฐ และในหนังสือดังกล่าวจึงได้สั่งการให้สวนป่าทุ่งทับควายต้องดำเนินการตามกฎหมาย และอำนาจหน้าที่ และนำไปสู่การออกประกาศขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ตามหนังสือที่อ้างถึงลำดับที่ 6 ซึ่งมีใจความสำคัญ สองประการ ดังนี้

1.คณะทำงานตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ดำเนินการตรวจสอบพื้นที่บริเวณที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เข้าทำประโยชน์ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช เสร็จแล้ว

2. สวนป่าบางขัน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่สวนป่าฯ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย ตำบลวังหิน อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงขอให้สมาชิกชุมชนบ้านทุ่งทับควาย รื้อถอนสิ่งที่ปลูกสร้าง พืชอาสินหรือสิ่งอื่นใดที่ผิดไปจากเดิม ออกไปให้พ้นจากพื้นที่สวนป่าบางขัน ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควายฯ ให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 15 เมษายน 2558 ฯลฯ

เกี่ยวกับกรณีข้างต้น สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) มีประเด็นขอเรียนชี้แจง และขอให้ยุติการไล่รื้อชุมชนบ้านทุ่งทับควาย อำเภอบางขัน  จังนครศรีธรรมราช ไว้ก่อน ด้วยเหตุผล ดังนี้

1. กระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ้นเสร็จครบถ้วน เนื่องจากยังมิได้รายงานผลการตรวจสอบไปยังคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แต่งตั้งภายใต้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สั่งเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 โดย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี) ซึ่งการทำงานของคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้หยุดชะงักลงเนื่องจากความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องยุติการบริหารราชการแผ่นดิน

2.ต่อมารัฐบาล คสช. โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 216/2557 ลงวันที่  20 พฤศจิกายน 2557 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (อ้างถึงลำดับที่ 2) โดยมอบหมายให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

3. ต่อมามี คำสั่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ที่ 1/ 2558  เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (อ้างถึงลำดับที่ 7)

4. ต่อมาหม่อมหลวงปนัดดา ดิสกุล จึงได้มี คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ 1/2558 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2558 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อ้างถึงลำดับที่ 3)

ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบพื้นที่สวนป่าบางขันฯ ควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จะสรุปเป็นประการใด และการจะไล่รื้อราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทุ่งทับควาย หรือไม่ อย่างไร จะต้องผ่านการตรวจสอบของคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน (อ้างถึงแล้วลำดับที่ 7) และต้องผ่านกระบวนการไต่สวนรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน และพิจารณาโดยรอบคอบ เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อราษฎรน้อยที่สุด เกิดความเป็นธรรมต่อราษฎรมากที่สุด ทั้งต้องไม่ขัดต่อแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้, การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน บทที่ 1

“ข้อ 1.3.1 การกระทำใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 มีผลบังคับใช้....” ด้วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ข้อมูลและความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมตามลำดับ เพื่อคณะกรรมการ และคณะทำงาน ดังกล่าวข้างต้นจะได้ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชน

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณายุติการบังคับไล่รื้อ จนกว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร ชุมชนทุ่งทับควายที่ขาดแคลนหรือไร้ที่ดินทำกินได้แล้วเสร็จ

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียกร้องปล่อยตัว บก.มาเลเซียนอินไซเดอร์-The Edge

$
0
0

องค์กรวิชาชีพสื่อเรียกร้องรัฐบาลมาเลเซียเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัว บ.ก.มาเลเซียนอินไซเดอร์ทั้งสี่และผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สนพ. The Edgeซึ่งถูกคุมตัวโดยไม่จำเป็น

กรณีตำรวจมาเลเซียบุกจับบรรณาธิการมาเลเซียนอินไซเดอร์ 3 ราย และดำเนินคดีตามกฎหมายปลุกระดมยั่วยุ หลังเว็บดังกล่าวเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับกฎหมายศาลชารีอะห์ และล่าสุด มีการจับกุม จาฮาบาร์ ซาดิก ผู้บริหารเว็บข่าวเดอะมาเลเซียนอินไซเดอร์ (The Malaysian Insider), ฮอไกตั๊ด ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา สนพ. The Edge เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

31 มี.ค. 2558 ศูนย์เพื่อสื่อมวลชนอิสระ (Centre for Independent Journalism: CIJ) และ สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัวสื่อทั้ง 5 ราย

CIJ และ SEAPA ระบุว่า การจับกุมภายใต้กฎหมายปลุกระดมยั่วยุและกฎหมายการสื่อสารและมัลติมีเดีย เป็นการโจมตีเสรีภาพสื่อและการข่มขู่โดยใช้กำลังตำรวจในการจับกุมและคุมตัวทั้งห้าคน

แถลงการณ์ระบุย้ำสิ่งที่ CIJ ได้แถลงไปเมื่อวานว่า หากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเจตนาจะสอบสวนมาเลเซียนอินไซเดอร์ถึงกรณีบทความเกี่ยวกับการประชุมของสุลต่าน 9 รัฐ และผู้ว่าการรัฐ 4 รัฐ (the Conference of Rulers) จริง ตำรวจก็สามารถสอบคนเหล่านี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องควบคุมตัวพวกเขา กักตัวไว้ข้ามคืน และฝากขัง และหากบทความดังกล่าวมีความผิดพลาด ก็สามารถถอดหรือแก้ไขบทความนั้นได้ ทั้งนี้ หากบทความดังกล่าวเป็นความจริง ก็ไม่มีเหตุให้ต้องสอบสวน นอกจากนี้ ยังวิจารณ์ด้วยว่า การกระทำของตำรวจนั้นไม่ได้สัดส่วนกับเหตุผลจับกุมที่ระบุไว้

"หลังจากการจับกุมและควบคุมตัวผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหลายครั้ง ทำให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อในการทำหน้าที่ฐานันดรที่สี่ซึ่งเป็นเสาหลักในการธำรงหลักการรับผิดของรัฐบาลและแจ้งข่าวสารต่อประชาชน" แถลงการณ์ระบุพร้อมยกตัวอย่างว่าที่ผ่านมา สื่อทั้งสองได้ทำหน้าที่รายงานและตั้งคำถามเรื่องกองทุน 1MDB ของรัฐอย่างต่อเนื่อง

แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลมาเลเซียเคารพเสรีภาพในการแสดงออกและเรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวบรรณาธิการมาเลเซียนอินไซเดอร์ทั้งสี่และฮอไกตั๊ด ซึ่งถูกคุมตัวโดยไม่มีความจำเป็นด้วย

 

ที่มา:

https://www.facebook.com/CijMalaysia/posts/947504625301880?fref=nf

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ป่าสาละ’ เปิดงานวิจัยเหตุผลทางธุรกิจของธนาคารที่ยั่งยืนในไทย พร้อมชวนร่วมเครือข่ายฯ

$
0
0

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัท ป่าสาละ จำกัด ดำเนินการภายใต้ทุนวิจัยจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ขอเชิญท่านร่วมงานสัมมนา “การธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย” (Sustainable Banking Thailand) ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมฮิลตัน ซอยสุขุมวิท 24  โดยมี สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ ด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด กล่าวถึงผลสรุปงานวิจัย“เหตุผลทางธุรกิจของการธนาคารที่ยั่งยืนในประเทศไทย”

งานวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตระหนักในระดับผู้ดำเนินนโยบาย นักการเงิน ธุรกิจการธนาคาร และผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายอื่นๆ ในสังคมไทย ถึงความสำคัญของวิถีการธนาคารที่ยั่งยืน จัดตั้ง “เครือข่ายการธนาคารที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย” ที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ที่สนใจในวิถีการธนาคารที่ยั่งยืน และพร้อมจะทำตัวเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรที่ตนสังกัด และเพื่อรณรงค์ส่งเสริมธรรมเนียมปฏิบัติของการธนาคารที่ยั่งยืน ตลอดจนมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ Equator Principles

สฤณี กล่าวถึงรูปธรรมของธนาคารที่ยั่งยืนในไทย ซึ่งการธนาคารที่ยั่งยืนในภาคปฏิบัติวันนี้จะต้องพิสูจน์ผ่านการดำเนินธุรกิจสองด้านหลักด้วยกัน คือ ด้านการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ ทั้งสินเชื่อสำหรับลูกค้า ธุรกิจและสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อย และ ด้านการเสริมสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชากรที่ยังเข้าไม่ถึง

สำหรับรูปธรรมของธนาคารที่ยั่งยืนในไทยนั้น คณะวิจัยพบว่าวงการธานคารพานิชย์ไทยโดยรวมยังค่อนข้างล้าหลังทั้ง 2 ด้าน แต่ธนาคารพาณิชย์ที่นำวิถีปฏิบัติของธนาคารที่ยั่งยืนไปประยุกต์ใช้น่าจะมีโอกาสทางธุรกิจหลายประการโดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงความสนใจของธนาคารหลายแห่งที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ภายหลังการเปิดตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการบุกตลาดผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะการเติบโตอย่างก้าวกระโดของการใช่สมาร์ทโฟนและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (อ่านรายงานวิจัยเพิ่มเติม)

สฤณี อาชวานันทกุล

สฤณี ได้ยกองค์ประกอบของการธนาคารที่ยั่งยืน ตามในรายงาน “Banking for Sustainability ของ IFC หรือ International Finance Corporation ซึ่งต้องทำ 4 เรื่อง ดังนี้

1 ธนาคารต้องมีความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงินและลูกค้า จะได้สามารถมีส่วนร่วมในระยะยาวกับการพัฒนาประเทศ

2 ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของโครงการและบริษัทต่างๆ ที่สถาบันการเงินออกทุนให้

3 ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมผ่านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4 ความยั่งยืนทางสังคมผ่านสวัสดิการของชุมชน

หากธนาคารให้ความสำคัญเรื่องนี้ คนจะให้ความเชื่อมั่นมากขึ้น ตัวนักลงทุนเองก็เรียกร้องให้สนใจความยั่งยืน และลุกค้าของธนาคารเองก็มีการเรียกร้องให้ธนาคารใส่ใจเรื่องของสินเชื่อที่ปล่อยไปแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้ ด้วย

นอกจากนี้ สฤณี ยังได้นเสนอระดับของธนาคารที่ยั่งยืน ตั้งแต่

1.     ระดับ ที่เน้นการประชาสัมพันธ์ ทำกิจกรรมซีเอสอาร์ การกุศล ไม่เกี่ยวใดๆ กับการดำเนินธุรกิจหลักของธนาคาร

2.     ระดับ ที่มีโครงการ กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เช่น สินเชื่อเขียว มาเสริมผลิตภัณฑ์หลัก

ซึ่งธนาคารของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ 1 กับ 2

3.     ระดับที่มีหลักการและธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรากฐานของผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่างๆ ของธนาคาร

4.     ระดับ ที่มีการจับมืเป็นแนวร่วมกับธนาคารอื่นและสื่อสารกับสาธารณะ สนับสนุนนักลงทุนที่รับผิดชอบ แก้ไขกฏเกณฑ์กำกับดูแลภาคธนาคารให้มุ่งสู่ความยั่งยืน

5.     ระดับ ที่มีเป้าหมายไม่ใช่หลีกเลี่ยงสถานการณ์เชิงลบ อีกต่อไป แต่เน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างความร่วมมือของธนาคาร ที่สร้างเครือข่ายและให้รางวัล เช่น GABV ที่มีสมาชิก 25 แห่ง UNEP FI ที่มีสถาบันการเงินลงนามกว่า 200 แห่งทั่งโลก โดยมีธนาคารทิสโก้และ บ.กรุงเทพประกันภัย เข้าร่วมด้วย เป็นต้น

สฤณี กล่าวถึง แนวโน้มโลกที่ทำให้วิถีธนาคารที่ยั่งยืนมีประโยชน์ทางธุรกิจสูงขึ้น ประกอบด้วย วิถีธุรกิจที่ไม่ยั่งยืน มีความชัดเจนมากขึ้น ต้นทุนที่เคยตกอยู่กับสังคม สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ธุรกิจที่เป็นลุกค้าของธานคารต้องแบกรับมากขึ้น ข้อตกลงระหว่างประเทศ กฏหมายและแรงจูใจจากภาครัฐ อาทิ ภาษีคาร์บอน สิทธิประโยชน์ทางภาษี ฯลฯ กำลังเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับธุรกิจที่ยั่งยืน อาทิ พลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เกษตรอินทรีย์ ฯลฯ รวมทั้ง เอ็นจีโอ หันมาให้ความสนใจ ธนาคารมากขึ้นในฐานะผู้มีบทบาท มีมาตั้งคำถามกับ ธนาคารมากขึ้น

ตัวอย่างกรณีความเสี่ยงทางการเงินของโครการเขื่อนไชยะบุรี ที่ไม่มีสถาบันการเงินรายใดในไทยลงนามรับหลัก Equator ไทยยังมีแต่บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ไม่มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้าพลังน้ำ ต้นทุนเพิ่มจากประมาณการเดิมแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาตราการดักตะกอนสุ่มเสี่ยงที่จะลดรายได้และเพิ่มค่าใช้จ่าย ไม่เคยได้รับความเห็นชอบจากกัมพูชาและเวียดนาม ประเทศท้ายน้ำที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าตามข้อตกลงไม่เคยแล้วเสร็จ ความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินกู้คืน จากความเสี่ยงทางกฏหมาย

ระบบคุ้มครองผู้บริโภคการเงิน โดยเฉพาะหลังวิกฤติทางการเงิน เรียก World Bank Good Practices ของ ธนาคารโลก ประกอบด้วย อำนาจการกำกับดูแลไม่ควรกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน การเปิดเผยข้อมูลที่รับผิดชอบ ข้อมูลทั้งหมดต้องเปิดเผยในภาษาที่เข้าใจง่าย เพียงพอ ให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ใช้วิธีขายที่เป็นธรรมและเหมาะสม ไม่ยัดเยียด ให้เวลาเปลี่ยนใจ คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค มีกลไกเยียวยา รับเรื่อร้องเรียน และส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินและความตระหนักรู้เรื่องการเงิน

สำหรับประสิทธิผลของโครงการให้ความรู้ทางการเงิน เช่น จัดอบรม สิ่งที่มีประสิทธิผลจริงที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือต้องทำที่จุดขายหรือให้บริการ เพราะเป็นจุดที่คนต้องตัดสินใจ

สฤณี ระบุถึงนัยจากพฤติกรรมทางการเงินของคนไทย ค่าใช้จ่ายก่อนใหญ่ที่เป็นปัญหา คือประเภทที่เกิดกะทันหัน และอาศัยทุนทางสังคมไม่ได้ และคนไทยโดยรวมยังไม่ออมเงินระยะยาว ต้องบูรณาการให้ความรู้ทางการเงินในการออกแบบผลิตภัณฑ์เงินออมระยะยาว

หนี้ที่สร้างปัญหาจริงๆ คือหนี้ที่กำหนดยอดชำระสูงและเงินต้นไม่ลดลงระหว่างทางและคนจำนวนมากกลัวการเป็นหนี้ ต้องปรับปรุงมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลสินเชื่อและให้ความรู้เรื่องวิธีจัดการหนี้ คนไทยโดยรวมรู้สึกเครียดกับการทำบัญชีรายรับ-จ่าย ลำพังการแจกแบบฟอร์มบัญชี สอบบัญชีและสร้างเครื่องมือให้ความรู้ทางการเงินไม่เพียงพอ ต้องฝังการให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์และให้กำลังใจด้วยเพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนใช้เครื่องมือจริงๆ 

เครือข่ายการธนาคารที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย

“เครือข่ายการธนาคารที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย” เป็นการรวมตัวกันของนักการเงิน นักการธนาคาร และบุคลากรในภาคการเงิน รวมถึงนักวิชาการด้านการเงินการธนาคาร ผู้มีความสนใจร่วมกันที่จะขับเคลื่อนภาคธนาคารกระแสหลักในไทย ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”

วัตถุประสงค์ของเครือข่ายฯ

1.     เป็นแหล่งเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการธนาคารที่ยั่งยืนของสมาชิก และระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอก ผ่านการจัดประชุม ประชุมเชิงปฏิบัติการ และ/หรืองานสัมมนารายไตรมาส

2.     เป็นเวทีกลางในการค้นคว้าวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการธนาคารที่ยั่งยืน

3.     เป็นสถาบันกลางในการติดต่อประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการธนาคารที่ยั่งยืน อาทิ BSRGlobal Alliance of Banking on Values (GABV)Equator PrinciplesInternational Finance Corporation

คุณสมบัติของผู้ประสงค์เป็นสมาชิก

1.     ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับภาคการเงินการธนาคารในประเทศไทย อาทิ นายธนาคาร นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่องค์กรกำกับดูแล กรรมการกลุ่มองค์กรการเงินชุมชน นักวิชาการด้านการเงิน

2.     มีความสนใจในแนวคิด วิถีปฏิบัติ และเหตุผลทางธุรกิจของ “การธนาคารที่ยั่งยืน”

3.     สามารถสละเวลามาร่วมกิจกรรมของเครือข่ายฯ ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 2 ครั้ง

สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

1.     ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น

2.     รับข้อมูลข่าวสารของเครือข่ายฯ ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

3.     รับรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ “Business Case for Sustainable Banking in Thailand” โดย บริษัท ป่าสาละ จำกัด และงานวิจัยทุกฉบับโดยเครือข่ายฯ ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

4.     หนังสือ “การเงินปฏิวัติ”  โดย สฤณี อาชวานันทกุล ฟรี! เมื่อสมัครเป็นสมาชิก (เฉพาะ 40 ท่านแรกเท่านั้น)

ท่านใดปรารถนาอยากยกระดับวงการธนาคารไทยไปพร้อมกับเรา เชิญสมัครได้แล้ววันนี้ โดยคลิกที่นี่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.แนะ รธน.ใหม่ต้องคงเสรีภาพสื่อ เสนอแก้ ก.ม.จำกัดสิทธิประชาชน

$
0
0

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) แนะนายกฯ ประธาน สนช. ประธาน สปช. คงเสรีภาพสื่อในรัฐธรรมนูญ เสนอแก้ ก.ม.จำกัดเสรีภาพประชาชน-สื่อมวลชน แนะ สตง.ตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ เผยต่อสาธารณะทุก 3 เดือน

31 มี.ค.2558 นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “การแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติโดย คปก.มีความเห็นว่า เรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นประเด็นสำคัญที่มีความเชื่อมโยงกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และเสรีภาพของสื่อมวลชนคือเสรีภาพของประชาชน

ในข้อเสนอแนะของ คปก.เสนอให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะต้องคงไว้ซึ่งหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนเพื่อเป็นการรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งถือเป็นหลักการที่สอดคล้องกับหลักการมีส่วนร่วมในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและฝ่ายการเมืองผ่านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากการนำเสนอของสื่อมวลชน

นอกจากนี้ คปก.ยังยืนยันให้คงหลักเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สื่อมวลชนสามารถปฏิบัติภารกิจในการนำเสนอข่าวตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำหรือแทรกแซงภาครัฐ รวมถึงฝ่ายการเมืองหรือเจ้าของกิจการและรัฐธรรมนูญจะต้องคงไว้ซึ่งหลักการข้อห้ามนักการเมืองเข้าครอบงำกิจการสื่อสารมวลชนโดยการเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนตามที่ปรากฏในมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดย คปก.ยังได้เสนอให้มีกฎหมายรองรับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อเป็นการปกป้องเสรีภาพและความเป็นอิสระของสื่อมวลชน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานแห่งวิชาชีพสื่อ

สำหรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นข้อห้ามมิให้กระทำการที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติหรือศาสนา หรือยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หรือใช้ความรุนแรงระหว่างกันนั้น คปก.มีความเห็นว่า จะต้องเป็นการบัญญัติให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วย

ส่วนข้อเสนอแนะของ คปก.ต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอแนะให้มีการทบทวนกฎหมายที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน และเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชน และต้องสร้างกลไกการตรวจสอบองค์กรกำกับดูแลคลื่นความถี่ให้มีความโปร่งใส-ตรวจสอบได้ โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้ามาทำหน้าที่ดูแลองค์กรดังกล่าวเป็นการเฉพาะ และจะต้องเปิดเผยรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อสาธารณะเป็นรายไตรมาส

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตผู้นำ นศ. สิงคโปร์ วิจารณ์ 'ลีกวนยู' เป็นเผด็จการนักสร้างภาพ

$
0
0

อดีตผู้นำ นศ. ที่เคยถูกรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งข้อกล่าวหาจนต้องลี้ภัยทางการเมืองเขียนบทความถึงการเสียชีวิตของลีกวนยู อดีตผู้นำสิงคโปร์ ระบุว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ประชาชนได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ และตัวเขาคิดว่าสิงคโปร์ประสบความสำเร็จได้เองโดยไม่ต้องมีลีกวนยู

31 มี.ค. 2558 ตันหัวเปียว (Tan Wah Piow) อดีตผู้นำนักศึกษาสิงคโปร์ผู้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ลอนดอนในปี 2530 เขียนบทความตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ ลีกวนยู อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ได้รับการยกย่อง โดยแสดงความคิดเห็นที่ต่างออกไปว่าการเสียชีวิตของลีกวนยูจะทำให้ประชาชนชาวสิงคโปร์เป็นอิสระ

ตันหัวเปียวต้องลี้ภัยเพราะเคยถูกรัฐบาลสิงคโปร์ในยุคนั้นกล่าวหาว่าเขาร่วม "สมคบคิดลัทธิมาร์กซิสม์" (Marxist Conspiracy) ซึ่งมีคนถูกทางการสิงคโปร์จับกุมด้วยข้ออ้างนี้ 16 ราย เขาระบุในบทความว่าในชีวิตของลีกวนยูเขามีความเป็นห่วงอยู่เรื่องเดียวคือต้องการให้ประชาชนในชาติกลัวเขาทำให้เขาไม่มีเพื่อนร่วมงานมีแต่ลูกสมุน

ในแง่ที่ลีกวนยูถูกยกย่องให้เป็นผู้นำเผด็จการที่ประสบความสำเร็จโดยยังคงสร้างภาพความเป็นประชาธิปไตยและการมีหลักนิติธรรมได้นั้น ตันหัวเปียวมองว่าการที่ "สิงคโปร์โมเดล" ประสบความสำเร็จได้เป็นเพราะนครรัฐสิงคโปร์มีที่ตั้งที่ได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในแง่ของการเป็นท่าเรือ รายล้อมด้วยประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากร นอกจากนี้ยังเป็นเพราะประชาชนที่มีความอุตสาหะและขยันขันแข็งอีกด้วย

ตันหัวเปียวระบุว่า สิ่งที่ลีกวนยูประสบความสำเร็จคือการสร้างความเชื่อผิดๆ ว่ามีแต่ตัวเขาคนเดียวเท่านั้นที่เป็นบิดาผู้ก่อตั้งบุกเบิกสิงคโปร์ แต่ความเชื่อนี้จะค่อยๆ ลบเลือนไปหลังการเสียชีวิตของเขา

"สำหรับคนที่ต้องการเป็นที่หวาดกลัวมากกว่าจะเป็นที่รัก ครอบครัวของเขาและสมุนของเขาที่ตอนนี้กำลังไว้ทุกข์ให้กับการเสียชีวิตของเขาก็ไม่ควรแปลกใจถ้าหากมีผู้เฉลิมฉลองการเสียชีวิตของเขาในฐานะเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่จะทำให้ประชาชนเป็นอิสระในที่สุด" ตันหัวเปียวระบุในบทความ

"การเสียชีวิตของลีกวนยูจะปลดล็อกผู้คนออกจากข้อห้ามและปลดปล่อยผู้คนออกจากความหวาดกลัว ความหวาดกลัวจะถูกลงโทษทางการเมืองทำให้ชาวเมืองและผู้อาศัยในสิงคโปร์ 'ง่อยเปลี้ย' อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่น ซึ่งความกลัวนี้ส่งผลไปถึงทั้งคนที่ร่ำรวยมากและคนที่ฉลาดมาก แม้กระทั่งผู้ที่มีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงก็ยังกลัวที่จะแสดงความเห็นต่าง" ตันหัวเปียวระบุในบทความ

ตันหัวเปียววิเคราะห์อีกว่าพรรคกิจประชาชน (PAP) ที่ได้รับอานิสงค์จากการค้ำจุนโดยลีกวนยูมาตลอด 50 ปี ก็จะมีความสามารถในการครอบงำทางการเมืองลดลง และการเป็นชนชั้นนำทางการเมืองของพวกเขาก็ไม่ได้ง่ายอีกต่อไป


ข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Tan_Wah_Piow

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อีสานระดมอีก ชูแผนแม่บทป่าไม้ประชาชน ยันผลกระทบแผนแม่บทป่าไม้จากรัฐ

$
0
0

นักกฎหมาย-นักวิชาการจัดเวทีระดมสมองปัญหาป่าไม้ที่ดินอีสาน ชี้ผลกระทบจากการจัดการป่าไม้ยุค คสช. ชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่มีส่วนร่วม

เมื่อวันที่ 28 – 29 มี.ค.58 ที่ศาลาบ้านดินชุมชนหนองจาน ต.นาหองทุ่ม อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น ภาคประชาชนอีสานที่ได้รับผลกระทบเรื่องที่ดินทำกินทั้งในเขตพื้นที่ป่าไม้ และที่สาธารณะประโยชน์กว่า 80 คน ร่วมแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็นจัดทำร่างแผนแม่บทป่าไม้โดยประชาชนเตรียมเสนอภาครัฐ โดยมีนักวิชาการและนักกฎหมายร่วมแลกเปลี่ยน

สมนึก ตุ้มสุภาพ  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า การระดมสมองครั้งนี้ต่อเนื่องจากเวทีสัมมนา “ยกร่างแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 – 20 มี.ค.58 ณ โรงแรมเจริญธานี  จังหวัดขอนแก่น โดยในวันดังกล่าว นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า ได้ร่วมเชิญตัวแทนประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้านป่าไม้ที่ดินในภาคอีสาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากภาคประชาชน ที่ร่วมกันร่างแผนแม่บทการจัดการป่าไม้ภาคประชาชน เสนอต่อผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวเพิ่มว่า เวทีครั้งนี้ จึงเป็นส่วนของชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ นัดหมายร่วมกันจัดทำแผนยกร่างแผนแม่บทฯ ที่จัดการกันเองโดยชุมชนขึ้นอีกครั้ง เพื่อรวบรวมและร่วมระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแต่ละพื้นที่ ทั้งปัญหาและผลกระทบต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อเตรียมเสนอภาครัฐให้ร่วมพิจารณาสนับสนุนแผนแม่บทที่ร่างโดยประชาชน ให้มีการกระจายอำนาจสู่ชุมชน รวมทั้งให้ผู้มีอำนาจสั่งการยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 ยกเลิกการจับกุม ไล่รื้อ และตัดฟันพืชผลของประชาชน และให้มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่วมกับภาคประชาชน เพื่อศึกษาว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากแผนแม่บทจำนวนเท่าไร อย่างไร

สมนึกเสริมอีกว่า ในพื้นที่ภาคอีสานภายหลังคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 64/57 และประกาศใช้แผนแม่บทป่าไม้ในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ของรัฐพบว่า ประชาชนหรือราษฎรได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว เท่าที่ร่วมแลกเปลี่ยนจากตัวแทนที่เข้าร่วมครั้งนี้พบว่า มีไม่ต่ำกว่า15 พื้นที่ และไม่น้อยกว่า 10 จังหวัดได้รับผลกระทบอย่างมาก ทั้งคำสั่งให้ออกจากพื้นที่  เช่นชุมชนโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และชุมชนบ่อแก้ว ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมินับจากวันที่ 25 ส.ค. 57 เจ้าหน้าที่สนธิกำลังปิดป้ายประกาศไล่รื้อ ไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง

นอกจากนี้ บางพื้นที่ถูกตัดฟันอาสิน  จับกุมดำเนินคดี  และถูกผลักดันออกจากพื้นที่  ทั้งขโมยทรัพย์สินชาวบ้าน  ติดป้ายตรวจยึด  เช่น ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงชมภูพาน และป่าดงกระเฌอ บ้านจัดระเบียบ ต.หลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนครโดยหน่วยงานภาครัฐเข้าทำการตัดต้นยางพาราไป 380 กว่าไร่ แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาบุกรุก 37 ราย โดนทั้งคดีอาญา บางรายโดนรื้อบ้าน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูพาน บ้านดานเม็ก ต.สำราญ อ.สามชัย จ.กาฬสินธุ์ โดยเจ้าหน้าฝ่ายปกครองอำเภอสามชัยเจ้าหน้าที่ทหารชุดร้อย รส.1 ม.พัน 14 และเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรสามชัย  แจ้งให้ชาวบ้านมารวมกันเพื่อจะดำเนินการทำข้อมูลออกเอกสารสิทธิที่ดินให้  ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ได้รวบรวมบัตรประชาชนไว้  จากนั้นได้ทำการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้าน

“แน่นอนว่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาส่งผลต่อความหวาดระแวงของประชาชนมาอย่างต่อเนื่องการดำเนินชีวิตแบบไม่มีความสุข ไร้สิ้นซึ่งความมั่นคง บางพื้นที่ถูกผลักดันออกไปแล้วคือ กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ บ้านเก้าบาตร ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ครอบครัวต้องจากบ้าน สูญสลายกระจัดกระจายไปรับจ้างทำงานต่างถิ่นซึ่งข้อเท็จจริงกรณีข้างต้น มีอีกเป็นจำนวนมาก รัฐบาลที่ผ่านมาหลายยุคสมัยไม่สามารถดำเนินการให้เป็นที่ยุติได้กระทั่งปัจจุบัน หากแผนแม่บทดังกล่าวดำเนินการต่อ โดยไม่พิจารณาประวัติศาสตร์และพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นั้นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ อันเนื่องมาจากนโยบายของรัฐ ย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิที่ดิน การถูกอพยพอาจเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งชาวบ้านต้องถูกดำเนินคดีในฐานะผู้บุกรุกที่ดินอย่างแน่นอน ดังนั้นชาวบ้านจึงร่วมระดมยกร่างแผนประชาชนดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่ซ้ำรอยมานับครั้งไม่ถ้วน” ผู้อำนวยการศูนย์ ฯ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มองว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น ชาวบ้านมักเป็นผู้ถูกกระทำมาตลอด และนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับภาครัฐ โดยภาพรวมมองว่า นอกจากปัญหาความเหลี่ยมล้ำที่ต่อเนื่องมาจากทุกยุคสมัยรัฐบาลไม่ได้มีนโยบายกระจายการถือครองที่ดินเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความไม่เป็นธรรม เนื่องจากรัฐมีเป้าหมายให้ที่ดินกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มทุนเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น การอนุญาตให้เอกชนเช่าทำประโยชน์ในเขตป่าและที่ดินของรัฐ ทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกต่อต้านความไม่เป็นธรรม แม้ชุมชนจะมีหลักฐานพร้อมข้อเท็จจริงในสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินมาก่อนการประกาศเขตป่า  แต่ขาดโอกาสที่จะเข้าพบและอธิบายข้อมูลให้กับผู้มีอำนาจให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอด

อลงกรณ์ กล่าวว่า หากเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะผู้มีอำนาจสั่งการไม่พร้อมเปิดใจรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริง ให้เกิดการมีส่วนร่วมตัดสินใจกันหลายฝ่าย ชาวบ้านก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บุกรุกมาโดยตลอด ขณะเดียวกันภาครัฐกลับไม่เคยเข้าใจว่าชาวบ้านไม่ได้รับความเป็นธรรมอย่างไรบ้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน ตลอดจนครอบครัว และญาติพี่น้อง ทั้งในเรื่องชีวิตและทรัพย์สิน การถูกละเมิดสิทธิชุมชน และถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพียงฝ่ายเดียว

“ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสอบ หรือการพิสูจน์สิทธิ์ ต้องมีความหลากหลาย ทั้งนี้ต้องมีลักษณะจำแนกแยกแยะให้ชัดเจน ระหว่างนายทุนที่ถือครองที่ดินในเขตป่า กับชาวบ้านที่มีกรณีพิพาทสิทธิในที่ดินกับหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ควรมีการระงับแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ออกไว้ก่อน และดำเนินการทบทวน โดยเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในช่วงที่ผ่านมา “อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองกล่าว

ด้านวิบูลย์ บุญภัทรรักษา ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและพัฒนานักกฎหมายฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากพิเคราะห์ลึกลงไปในรายละเอียดให้มากกว่านี้ จะเห็นว่านับแต่มีกฎหมายป่าไม้ รวมทั้ง พ.ร.บ.ต่างๆ ที่คลอดออกมา ทุกฉบับไม่มีพื้นที่สำหรับในเรื่องของสิทธิชุมชนที่เอื้อประโยชน์ให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการได้เลย ดังนั้น หลักการแก้ไขปัญหาต้องคำนึงถึงการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และการเข้าถึงสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชาชน โดยพิจารณามาตรการหลักๆ เพื่อผลักดันให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เช่น การจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า กองทุนธนาคารที่ดิน และการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อความยั่งยืนในแต่ละพื้นที่ด้วย

ที่ปรึกษาศูนย์ฯ กล่าวเพิ่มว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะสามารถดำเนินการแก้ไขได้ ควรอย่างยิ่งที่ภาครัฐจะหันมาให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทบทวนแผนแม่บทป่าไม้ฯ ไม่เช่นนั้น คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 66/57 ที่ระบุและมีผลบังคับใช้ ว่า การกระทำใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ยกเว้นผู้บุกรุกใหม่จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการขั้นตอนต่อไป ตรงกันข้ามผู้มีอำนาจกลับไม่หยิบคำสั่ง 66/57 มาบังคับใช้ ในฐานะที่ชาวบ้านต่างถือครองทำประโยชน์มาก่อนที่รัฐจะเข้ามาประกาศเขตป่าต่างๆ ทับซ้อน อีกทั้งชาวบ้านก็ไม่ได้มีการบุกรุกเพิ่มแต่อย่างใด รวมทั้งพื้นที่พิพาทก็ได้มีกระบวนการแก้ไขมาโดยตลอด ล่าสุดมติตามนโยบายข้อเสนอในที่ประชุมให้ชะลอและยุติการดำเนินการใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตอันปกติสุขของประชาชน

“หากวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุแห่งความขัดแย้ง จะพบว่ากรอบความคิดและแนวปฏิบัติของรัฐ จะมุ่งผูกขาดอำนาจการจัดการทรัพยากรป่าไม้ไว้ที่หน่วยงานรัฐเพียงส่วนเดียว รวมทั้งทัศนะในการมองปัญหาว่าการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศเกิดจากการบุกรุกของราษฎร ทำให้ความไม่ชอบธรรมตกอยู่ที่ชาวบ้านสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นการสร้างความไม่ปกติสุขในการดำเนินชีวิตให้กับชาวบ้าน ไม่ใช่เป็นการคืนความสุขอย่างแท้จริง และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่ง “ ที่ปรึกษาศูนย์กฎหมายฯ ให้ความเห็น ทิ้งท้าย

ในเวทีระดมความคิดเห็น ผู้เข้าร่วมได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้ภาครัฐมีส่วนร่วมการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐที่ประกาศทับซ้อนชุมชนและพื้นที่ทำกิน จัดทำแนวเขตและจำแนกที่ดินให้ชัดเจน รวมทั้งจัดสรรที่ดินและรับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินให้กับราษฎรที่ยากจน และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการที่ดินร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการ หรือการใช้แนวคิดในระบบนิเวศวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการฟื้นฟูฐานทรัพยากรโดยชุมชน รวมทั้งเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ผลกระทบพื้นที่เขตป่า ผู้เข้าร่วมเวทีที่ได้รับผลกระทบจากกรณีพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ให้ข้อมูลว่า ถูกหน่วยงานท้องถิ่น เข้ามาดำเนินการปิดกั้นพื้นที่พิพาทหลังมีประกาศคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และแผนแม่บทป่าไม้ฯ รวมทั้งยื่นคำขาดให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ เช่น กรณีที่สาธารณะประโยชน์โคกป่าแดง ต. สำโรงปราสาท อ.ปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรงปราสาท อ้างคำสั่ง คสช.ที่ 64 /2557 จัดทำโครงการขุดคลองส่งน้ำโดยขุดผ่านที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของชาวบ้าน รวมทั้งมีการแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านข้อหาบุกรุกพื้นที่

กรณีที่สาธารณะประโยชน์ทุ่งซำเสี้ยว ต.สระโพนทอง อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดำเนินการขุดลอกแนวเขตที่สาธารณะประโยชน์ทำให้พืชพันธุ์ผลอาสิน อาทิ ไร่อ้อย และนาข้าว ถูกทำลายได้รับความเสียหาย

และกรณีที่สาธารณะโคกหนองสิม ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด จากเหตุการณ์วันที่ 12 ก.พ.58 มีเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด กองทัพภาคที่สอง รวมทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กว่า 60 นาย เข้ามาตรวจสอบพื้นที่พร้อมข่มขู่ให้ชาวบ้านที่ไปร่วมลงชื่อออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ยังขู่ว่าจะทำการรื้อถอนวัด และมีการข่มขู่ว่าหากพระกลับเข้ามาจะจับสึกโดยทันที ทำให้วันนี้พระยังไม่กล้ากลับเข้ามาจำวัด


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images