Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58140 articles
Browse latest View live

สปช. ทยอยรับรัฐธรรมนูญร่างแรกแล้ว แต่ไม่แจกให้สื่อมวลชน

$
0
0
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติทยอยรับรัฐธรรมนูญร่างแรกแล้ว 1 คน ได้ 3 ชุด แต่ไม่แจกสื่อมวลชน ด้าน 'เทียนฉาย' มีหนังสือประกาศปรับแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79 ชั่วโมง

 
 
ที่มาภาพ: เพจวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
 
17 เม.ย. 2558 ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าที่รัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดให้สมาชิก สปช.รับร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ พิจารณาเสร็จแล้วเป็นร่างแรก ได้ตั้งแต่เวลา 13.00 น. บริเวณห้องโถง ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 แต่ปรากฏว่าสมาชิกให้ความสนใจมารอรับร่างรัฐธรรมนูญก่อนเวลาเป็นจำนวนมาก ทำให้บรรยากาศคึกคักตั้งแต่เวลา 12.00 น. และเริ่มแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญก่อนเวลาที่กำหนด โดยนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.ได้แจกร่างรัฐธรรมนูญให้กับสมาชิกด้วยตัวเอง สำหรับสมาชิก สปช.1 คนจะได้รับแจกเอกสาร 3 ชุด ประกอบด้วย 1. ร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 194 หน้า โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ 315 มาตรา จำนวน 130 หน้า รายงานการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ 20 หน้า และภาคผนวก 44 หน้า 2. ตารางสรุปเจตนารมณ์รายมาตราของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน 4 เล่ม และ 3. ตารางร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
       
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 18-19 เม.ย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็ยังเปิดให้สมาชิก สปช.เข้ามารับเอกสารได้แม้เป็นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ทั้งนี้ บริเวณจุดรับเอกสารยังได้ตั้งจุดลงชื่อแสดงความประสงค์ขออภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ โดยบุคคลแรกที่ลงชื่อ คือ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ สมาชิก สปช.
       
นายบุญเลิศ คชายุทธเดช รองโฆษกคณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. แถลงถึงกรณีที่ไม่มีการแจกร่างรัฐธรรมนูญให้กับสื่อมวลชนโดยมีการอ้างเป็นการทำผิดกฎหมายว่า ตั้งแต่เที่ยงของวันนี้ สมาชิกได้เดินทางมารับร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเตรียมการอภิปรายในวันที่ 20-26 เม.ย.แล้ว ส่วนปัญหาที่เกิดกับสื่อมวลชนที่ไม่ได้เอกสารเช่นเดียวกับที่ สปช.ได้รับนั้น ตนในฐานะเคยเป็นสื่อสารมวลชนประจำรัฐสภากว่า 10 ปี จึงถูกรุมล้อมจากนักข่าวว่าต้องการร่างรัฐธรรมนูญไปศึกษาทำหน้าที่สรุปสาระสำคัญให้สาธารณชนได้รับทราบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นสื่อสารมวลชนที่รับผิดชอบต่อประเทศชาติและคำนึงถึงสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
       
“สิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญหรือหมายถึงเสียงประชาชน เมื่อรัฐธรรมนูญยกร่างฯ เสร็จก็ชอบที่ประชาชนทั้งประเทศจะได้มีโอกาสรับรู้ ไม่สมควรที่จะปกปิดร่างรัฐธรรมนูญด้วยข้ออ้างใดๆ ก็ตาม เพราะไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดมาจำกัดสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน เช่น ในปี 2540 ร่างเสร็จมีการเผยแพร่ต่อประชาชนอย่างกว้างขวางเพื่อรับฟังความเห็นเรียกว่ากระบวนการประชาพิจารณ์ ในปี 2550 ก็มีการจัดพิมพ์เป็นเล่มแจกประชาชนทำประชามติ ในครั้งนี้จะต้องฟังเสียงประชาชนด้วย และที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ กำหนดจะเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนในวันที่ 27 เมษายนนั้น นักข่าวต้องไปตั้งคำถามว่ามีความชอบธรรมที่จะดำเนินการอย่างนั้นหรือไม่ ซึ่งผมไม่กลัวถูกตำหนิเพราะนักข่าวสามารถได้ร่างรัฐธรรมนูญจาก สปช.คนใดก็ได้เพราะมีทั้งหมด 250 คน” นายบุญเลิศกล่าว 
 
 
 
ปรับแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ให้ระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79 ชั่วโมง
 
ด้านเว็บไซต์สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภารายงานว่านายเทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ มีหนังสือประกาศปรับแนวทางการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ของประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือ สปช. ในระหว่างวันที่ 20เมษายน ถึง วันที่ 26เมษายน ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของสมาชิก เนื่องจากมีสมาชิกหลายคนให้ความเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้การอภิปรายและให้ความเห็นไปอย่างกว้างขวาง ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดเวลาการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก  โดยจะเริ่มประชุมในเวลา 09.00น ถึง 21.00น. ของทุกวัน ยกเว้นวันพฤหัสบดีที่23เมษายน ที่จะเริ่มในเวลา 14.00น ถึง 21.00น รวมระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79ชั่วโมง
 
สำหรับการแบ่งเวลาอภิปรายนั้น จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลา 15ชั่วโมง โดยวันแรกจะใช้เวลานำเสนอร่างรัฐธรรมนูญ 2ชั่วโมง และเวลาชี้แจง 1ชั่วโมง ส่วนวันต่อๆไปจะให้เวลาชี้แจงประมาณ 2ชั่วโมง  ส่วนสมาชิกสปช.จะใช้เวลาทั้งหมด 64 ชั่วโมง โดยให้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้ง 18 คณะ คณะละ 30 นาที รวม 9 ชั่วโมง ส่วนสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ประสงค์จะอภิปรายจะได้จัดสรรเวลาคนละประมาณ 15 นาที รวม 55 ชั่วโมง
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คสช.มีคำสั่งย้ายปลัดและบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการ

$
0
0
คสช.มีคำสั่งย้าย "สุทธศรี วงษ์สมาน" จากปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษาให้ "กำจร ตติยกวี" ดำรงตำแหน่งแทน พร้อมย้ายบุคลากรทางการศึกษาอีกหลายตำแหน่ง เพื่อการปฏิรูปการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ

 
 
17 เม.ย. 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ลงนามในคำสั่ง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๘  เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาและการบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปประเทศตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
 
ข้อ ๑ ให้ นางสุทธศรี วงษ์สมาน พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา
 
ข้อ ๒ ให้ นายพินิติ รตะนานุกูล พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาการศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
ข้อ ๓ ให้ นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
 
ข้อ ๔ ให้ นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
 
ข้อ ๕ ให้ นายอดินันท์ ปากบารา พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
 
ข้อ ๖ ให้ นางรัตนา ศรีเหรัญ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
 
ข้อ ๗ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้นปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป
 
ข้อ ๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน และให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งหรือพ้นจากตำแหน่ง ตามคำสั่งนี้ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
 
ข้อ ๙ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
สั่ง ณ วันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘
 
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา : Anniversary 1 ปีคืนความสุข

$
0
0

รายการ ‘บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา’ กลับมาพบกับท่านผู้ชมอีกครั้ง เนื่องในโอกาสพิเศษที่จะเวียนมาครบ 1 ปี ของการคืนความสุขให้กับประชาชนไทย หรือครบ 1 ปีรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 โดยนำเสนอรายการในตอนพิเศษ ว่าด้วยมุมมองจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และมานุษยวิทยา-สังคมวิทยา ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชน

พบกับพิธีกรเจ้าเก่า ‘พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์’ พร้อมแขกรับเชิญ ‘บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ’ นักวิชาการและอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ‘ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี’ นักวิชาการและอาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายการคืนความสุข 'ประยุทธ์' วอนสังคมหยุดสร้างวาทกรรมโจมตีรัฐบาล

$
0
0
ยืนยันรัฐบาลและ คสช.ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ พร้อมทั้งเปิดแผนโครงการคมนาคมที่รัฐบาลริเริ่มและเร่งผลักดันให้เป็นรูปธรรม ทั้งรถไฟฟ้า พัฒนาสนามบิน "สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-ภูเก็ต-อู่ตะเภา" วอนสังคมหยุดสร้างวาทกรรมขึ้นมาโจมตีรัฐบาล

 
 
17 เม.ย. 2558 เว็บไซต์ ThaiPBSรายงานว่ารายการคืนความสุขให้คนในชาติประจำวันที่ 17 เม.ย.2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ขยายความเรื่องการแถลงผลงานรอบ 6 เดือนของรัฐบาลโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจซึ่งนายกฯ โดยยืนยันว่ารัฐบาลและคสช.ได้ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ พร้อมทั้งเปิดแผนโครงการคมนาคมที่รัฐบาลริเริ่มและเร่งผลักดันให้เป็นรูปธรรม ทั้งรถไฟฟ้า พัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-ภูเก็ต-อู่ตะเภา วอนสังคมหยุดสร้าง "วาทกรรม" ขึ้นมาโจมตีรัฐบาล
 
เนื้อหาที่นายกฯ พูดในรายการคืนความสุขให้คนในชาติวันนี้ บางส่วนเป็นประเด็นเดียวกับที่กล่าวในการแถลงนโยบายรอบ 6 เดือนของรัฐบาล ซึ่งจัดขึ้นที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลา 9.00 น. โดยระบุว่าการบริหารราชการมีความคืบหน้าในหลายด้าน แต่ในส่วนของการปฏิรูปถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้น แต่จะต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อให้ประเทศหลุดพ้นจาก "กับดักทางการเมือง" อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ในตอนท้าย นายกฯ ได้มอบหมายให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจมาชี้แจงผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในรอบ 6 เดือน
 
นายกฯ ย้ำถึงผลงานในรอบ 6 เดือนของรัฐบาลว่าได้ทำตามแนวนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศของรัฐบาล 11 ด้านที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 12 ก.ย.2557 ซึ่งโจทย์สำคัญของประเทศและรัฐบาลก็คือการสร้างความสามัคคีและปรองดองของคนในชาติ  และแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีปัญหามานานนับ 10 ปี ไม่มีการสร้างความเข้มแข็งหรือเตรียมความพร้อม ทำให้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก
 
แต่หลังจากที่คสช.และรัฐบาลเข้ามาบริหาราชการแผ่นดินได้ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะแย่ โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.3 สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ส่วนด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจพบว่าเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 ดุลการค้าและดุลบริการของประเทศยังคงเกินดุล และเมื่อรวมกับดุลเงินทุนแล้ว ประเทศไทยยังมีดุลการชำระเงินที่เกินดุล ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทบ้าง แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิดและมีมาตรการที่รองรับไว้ตลอดเวลา ด้านเสถียรภาพภาคการคลัง รัฐบาลยังคงมีการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าปีที่แล้ว โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ต.ค.57- มี.ค. 58) จัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 973,952 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 3.5
 
"ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในภาพรวมจะเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ยังคงมีปัญหาที่มีผลกระทบโดยตรงต่อพี่น้องเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และธุรกิจ SME ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ หาทางทุกอย่าง ไม่ได้หยุดคิดเลยนะครับว่าทำยังไงราคาสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำให้มีราคาสูงขึ้น"
 
นายกฯ ได้รายงานความคืบหน้าของโครงการคมนาคมสำคัญๆ ซึ่งรวมถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ที่กำลังถูกประชาชนในพื้นที่และนักอนุรักษ์ต่อต้านอย่างหนัก เพราะกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรทางทะเล และกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมง
 
โครงการคมนาคมที่นายกฯ ระบุว่าเป็น “เส้นเลือด” หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลนี้ได้ริเริ่ม เร่งรัด ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ได้แก่  
 
1) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองจะมีการส่งมอบรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) 489 คัน  (จาก 3,183 คัน) ในเดือนกรกฎาคม 2558
 
2) Motorway 3 เส้นทาง ได้แก่ บางปะอิน – นครราชสีมา (196 กม.) บางใหญ่ – กาญจนบุรี (96 กม.) และ พัทยา – มาบตาพุด (32 กม.) อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม สำรวจ ออกแบบเส้นทาง ฯลฯ เพื่อลงมือก่อสร้างทันที เพื่อให้พร้อมใช้งานในปี 2562
 
3) รถไฟฟ้าใน กทม. และปริมณฑล10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กม. โดยสายสีน้ำเงินตะวันออกเปิดให้บริการแล้ว สายสีม่วงเหนือจะเปิดบริการในปี 2559 สายสีน้ำเงินตะวันตกและสายสีเขียวใต้อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะแล้วเสร็จตามกำหนด พร้อมใช้งานในปี 2563 ส่วนสายที่เหลือ 6 สาย อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 ทั้งหมด
 
4) โครงข่ายรถไฟทางคู่ระหว่างเมือง ระยะเร่งด่วน  6 เส้นทาง 903 กม. ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา–คลอง19–แก่งคอย (106 กม.)  เส้นทางมาบกะเบา–ถนนจิระ(132 กม.) เส้นทางถนนจิระ–ขอนแก่น (185กม.) เส้นทางลพบุรี–ปากน้ำโพ(148 กม.) เส้นทางประจวบคีรีขันธ์–ชุมพร(167 กม.) และเส้นทางนครปฐม–หัวหิน (165 กม.) ทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 และจะแล้วเสร็จในปี 2561
 
5) ระบบขนส่งโดยสารทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สามารถรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวได้200,000 คน/วัน และเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทได้  โดยยกระดับท่าเทียบเรือ ทั้ง 19 แห่งเป็น “สถานีเรือ”
 
"นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล ซึ่งขอความกรุณาว่าอย่าขัดแย้งกันมากเลย เราพยายามจะดูแลผู้ได้รับผลกระทบและเยียวยา ถ้าเราไม่สร้างตรงนี้มันก็เป็นปัญหาอีก ประตูการค้าฝั่งอันดามันเราก็จะไม่มีนะครับ แล้วก็เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าสู่ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาไม่ได้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
 
นอกจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2  โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี  โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 12.5 ล้านคน/ปี  และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานทหารอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 เป็นต้น  รวมทั้ง ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างไทย – จีน และ ไทย – ญี่ปุ่น
 
นายกฯ แสดงความยินดีกับแรงงานประมงไทย  68 คน ที่รัฐได้ช่วยเหลือให้เดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 8 เม.ย.2558 และยืนยันว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือเยียวยา โดยเบื้องต้นได้จัดให้แรงงานได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น จัดหาข้าวของเครื่องใช้ มอบเงินช่วยเหลือกลับภูมิลำเนาและการจัดหาสถานที่พักชั่วคราวหากจำเป็นโดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ทำงานร่วมกับอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพราะมีหลายคนยังตกระกำลำบากอยู่ ซึ่งทางรัฐบาลจะตามช่วยเหลือจนครบทุกคน โดยจะมุ่งเน้นการป้องกันการถูกล่อลวง จะทำลายกระบวนการทั้งหมด ทั้งเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ทำผิดกฎหมายไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ได้อีกต่อไป
 
นายกฯ กล่าวว่าในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้วางรากฐานสำหรับการปฏิรูปประเทศในเบื้องต้น แต่การจะปฏิรูปได้นั้นต้องมีกฎกติการใหม่ ซึ่งรวมทั้งการจัดทำกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับประเทศและได้รับการยอมรับ
 
"ถ้าประชาชนคิดว่าวันนี้เราดีอยู่แล้ว ผมก็ลำบากใจนะ ผมคิดว่าปัญหามีเยอะ ไม่ใช่ข้อแก้ตัว รัฐบาลพยายามทำเต็มที่แล้วก็ยังทำได้เท่านี้ การแก้ปัญหาที่ผ่านมา การลดความเหลื่อมล้ำ เรากำลังเดินมาถูกทางที่ให้เราได้มีโอกาสทำงานตรงนี้ ต้องดูว่าจะร่วมมือกันอย่างไรต่อไป แก้ไขอย่างไร โรดแมปเป็นอย่างไร จะปฏิรูปได้หรือไม่  6 เดือนที่ผ่านมานั้นรัฐบาลดำเนินการไปแล้วเบื้องต้น แล้วก็พร้อมจะส่งต่อให้รัฐบาลต่อๆ ไป ถ้าได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล และยอมรับกติกาเรื่องการปฏิรูป เราก็สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศ 'มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน' ในทุกระดับ 
 
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของตนและรัฐบาลว่า สังคมไทยกำลังเป็นสังคมแห่งวาทกรรมที่เชือดเฉือนกันด้วยถ้อยคำมากกว่าให้โอกาสพิสูจน์การทำงาน ซึ่งตนคิดว่ามีที่มาจาก "นิสัยที่ไม่ดี" ของคนไทยส่วนหนึ่ง คือ 1) ไม่ชอบศึกษาอะไรที่เป็นรายละเอียดแล้วรีบวิจารณ์ไปก่อน เช่น เมื่อรัฐบาลพูดเรื่องภาษีก็มีคนโวยวายทันทีว่ารัฐบาลแกล้งคนจน เก็บเงินคนจนอีกแล้ว 2) นิสัยของนักการเมืองที่เป็นนักเลือกตั้งที่คอยฉวยโอกาสโจมตีทุกคนที่พลาด ใช้วาทกรรมเจ็บๆ มาด่าคนที่ตั้งใจทำความดี
 
"วันนี้รัฐบาลพยายามจะทำเพื่อคนจน ก็มาหาว่ารัฐบาลนี่แกล้งคนจน ไม่มีจะกินอยู่แล้ว เอาแต่ขูดรีดเก็บภาษี ซึ่งผมก็ยังไม่ได้เก็บตรงไหนเลยนะ ประเทศต้องการเงินงบประมาณไปทำให้ประชาชนเติมในสิ่งที่ขาด สร้างความเข้มแข็ง แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ก็กลับไปพูดเป็นวาทกรรมว่า อุตส่าห์หาเงินซื้อบ้านแทบตายยังจะมาเก็บภาษีบ้านเราอีก" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
 
"ถึงแม้ว่ารัฐบาลนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ยังต้องการความร่วมมือในการแก้ปัญหา ท่านก็พยายามสร้างความเข้าใจผิดไม่คำนึงถึงผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชน เรื่องภาษี ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแต่เป็นเรื่องส่วนรวม คนไทยหลายคนไม่ชอบเรื่องการเก็บภาษี แต่เมื่อเทียบกับโครงการรถยนต์คันแรก โครงการรับจำนำข้าว คนชื่นชมว่าทำดีเพื่อประชาชน เพราะแต่ละคนได้ประโยชน์ ส่วนรวมเสียประโยชน์ แต่เสียหายเท่าไร อันตรายมาก นักการเมืองเหล่านี้พยายามสร้างความนิยมส่วนตัวและความนิยมของพรรคการเมืองโดยการใช้วาทกรรม ผมว่าเลิกซะทีนะ"
 
"อย่าไปสร้างวาทกรรมว่าคนจนจะได้ลืมตาอ้าปากสักที ให้ราคาข้าว ราคาผลิตผลการเกษตรสูงๆ เข้าไว้หรือให้ไปผ่อนรถคันแรก คืนภาษีให้  บางคนก็บอกว่าจะไม่ให้คนจนมีโอกาสขับรถเลยหรือไง แล้วมันขับได้ไหมล่ะ ผ่อนเขาไหวไหม แล้วในเมื่อยังไม่สร้างรายได้ให้เขาเลยแล้วไปให้เขาซื้อก่อน เป็นความต้องการเทียมทั้งหมด ผู้ผลิตก็มีการขยายโรงงานไปเยอะแยะแต่วันนี้ขายได้น้อยลง ก็มาบอกว่าเป็นความผิดของรัฐบาล ทั้งๆ ที่ขยายในสมัยใครก็ไม่รู้ ขยายเพราะโครงการรถยนต์คันแรก คนก็ซื้อกันเยอะ ซื้อกันเยอะก็ต้องขยายโรงงาน วันนี้พอไม่มีสตางค์ซื้อ ต้องมาคืนกันหมด ยึดคืนกันหมดนี่ แล้วทำยังไง"
 
นายกฯ สรุปว่าไม่มีระบบใดที่จะสร้างความปรองดองในประเทศได้ ไม่มีระบบการปกครองใดที่จะทำให้ประเทศเจริญได้หากคนในชาติยังไม่ได้รับการพัฒนา และปรับแนวคิดว่าต้องคำนึงถึงส่วนรวมก่อนส่วนตน และไม่ทำในสิ่งที่เป็นการขัดขวางการเจริญของประเทศ พร้อมกับระบุว่ารัฐบาลจะจับตาดูบุคคลที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย
 
ในช่วงท้ายของรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจได้มากล่าวถึงผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยมีนายจักรมณฑ์ ผาสุกวานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมพูดคุย ซึ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธรสรุปว่า แม้ตัวเลขการส่งออกจะติดลบถึงร้อยละ 4 ใน 3 เดือนแรก แต่รัฐบาลเชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศยังแข็งแรงพอควร และยังมีปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจของไทยใน 3 เดือนแรกขยายตัวได้ร้อยละ 3 ขึ้นไป และเชื่อว่าในไตรมาสถัดไป เมื่อการส่งออกกลับมาปกติแล้ว ปัจจัยอื่นๆ จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาดีขึ้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยาวชนสิงคโปร์จำคุกต่อ 1 วัน หลังพ่อแม่ไม่ประกันตัวคดีโพสต์คลิป "ลี กวนยูตายแล้ว"

$
0
0

ศาลสิงคโปร์เพิ่มเงื่อนไขประกันตัว "เอมอส ยี" ห้ามโพสต์โซเชียล และให้มารายงานตัวตำรวจทุกวัน ขณะที่พ่อแม่ไม่ยอมประกันตัวลูกชาย ทำให้ต้องจำคุกต่ออีก 1 วัน ขณะที่อัยการ ขอให้ศาลอนุญาตให้ชาวสิงคโปร์ที่ไม่ใช่พ่อแม่ของเอมอส ยี เป็นนายประกันได้

ภาพจากวิดีโอ  "Lee Kuan Yew Is Finally Dead!" ที่ เอมอส ยี เยาวชนชาวสิงคโปร์ บันทึกและโพสต์หลังการเสียชีวิตของอดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี กวนยู ซึ่งทำให้เขาถูกตำรวจจับและดำเนินคดี 3 ข้อกล่าวหา

17 เม.ย. 2558 - กรณี เอมอส ยี เยาวชนสิงคโปร์อายุ 16 ปี ซึ่งบันทึกวิดีโอ "Lee Kuan Yew Is Finally Dead!" และโพสต์ในช่อง YouTube ของเขาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา ต่อมาถูกตำรวจจับและดำเนินคดีเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเนื้อหาในวิดีโอเป็นการโจมตี ลี กวนยู และคริสต์ศาสนานั้น

ล่าสุด สเตรทไทม์รายงานว่า ในระหว่างนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดี เมื่อบ่ายวันที่ 17 เมษายนนั้น ผู้พิพากษาประจำเขต เคสเลอร์ โซะ ได้แจ้งเปลี่ยนเงื่อนไขการประกันตัว จากวงเงินประกันเดิม 20,000 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้กำหนดให้พ่อกับแม่ของ เอมอส ยี เท่านั้นให้เป็นนายประกัน เนื่องจากเอมอส ยีอายุเพียง 16 ปี

โดยระหว่างการนัดพร้อมดังกล่าว ผู้พิพากษายังกำหนดเงื่อนไขในการประกันตัวเพิ่ม โดยผู้พิพากษาได้แจ้งให้เอมอส ลบโพสต์ในเฟซบุ๊ค 2 โพสต์ที่โพสต์เมื่อวันที่ 14 เมษายน และบล็อกที่เขียนพาดหัวว่า "Donate To Help Amos Yee" หรือ "บริจาคเพื่อช่วยเหลือ เอมอส ยี" ซึ่งเขาหวังว่าจะระดมทุนได้ 30,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางคดี นอกจากนี้ยังถูกเสนอให้ตั้งค่าการเข้าถึงวิดีโอใน YouTube ที่เขาโพสต์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ดังกล่าวให้เป็นวิดีโอส่วนตัว รวมถึงโพสต์ที่แสดงเนื้อหาหยาบคายเมื่อวันที่ 28 มีนาคมด้วย

ในขณะที่ เขาต้องรับรองต่อผู้พิพากษาด้วยว่า ในช่วงมีการดำเนินคดี เขาจะไม่โพสต์ อัพโหลด หรือเผยแพร่สิ่งใดๆ ให้ปรากฏต่อสาธารณะทั้งในรูปแบบของเนื้อหาหรือการแสดงความเห็นใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะในรูปแบบของโซเชียลมีเดีย หรือการให้บริการออนไลน์ หรือเว็บไซต์ใดๆ นอกจากนี้เขาต้องไปรายงานตัวทุกวันต่อเจ้าพนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าทีตำรวจที่ได้รับมอบหมาย โดยรายงานตัวที่สถานีตำรวจเขตเบอด็อก

โดย เอมอส ยี เห็นด้วยกับเงื่อนไขใหม่ของศาล อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ของเขาตัดสินใจไม่ประกันตัวลูกชาย จากนั้น อัยการ ได้ร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนเงื่อนไขการประกันตัว โดยอนุญาตให้ชาวสิงคโปร์ที่ไม่ใช่พ่อแม่ของ เอมอส ยี เป็นนายประกันได้ อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันตัวปิดในเวลา 16.30 น. ในเวลาเดียวกับที่การนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีสิ้นสุด ทำให้ เอมอส ยี ต้องถูกควบคุมตัวอีก 1 วัน ตามรายของของแชนเนลนิวส์เอเชีย

ในรายงานของสเตรทไทม์ ผู้ช่วยอัยการ ฮอน ยี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า พวกเขาไม่ได้คัดค้านการประกันตัวเอมอส และไม่ได้มีคำขอเจาะจงให้พ่อแม่ของเอมอสเป็นนายประกัน

ก่อนหน้านี้ ภายหลังจากที่เอมอส ยี เผยแพร่คลิป ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา เอมอส ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญาสิงคโปร์ 2 ข้อหา ได้แก่ เผยแพร่เนื้อหาลามกผ่านระบบออนไลน์ มาตรา 292(1) และทำวิดีโอคลิปที่มีภาพและเสียงต่อต้านคริสต์ศาสนา ซึ่งทำร้ายความรู้สึกของชาวคริสต์โดยทั่วไป ตามมาตรา 298 และข้อกล่าวหาล่าสุด เป็นไปตามกฎหมายป้องกันการคุกคาม โดยในมาตรา 4(1) ห้ามไม่ให้แสดงพฤติกรรมข่มขู่หรือดูหมิ่นซึ่งทำให้ผู้รับรู้เกิดความรู้สึกถูกคุกคาม ตื่นตระหนกหรือทุกข์ใจ โดยศาลอ้างว่าที่เอมอส ยี วิจารณ์ลี กวนยูในวิดีคลิปดังกล่าว เจตนาทำให้ผู้พบเห็นหรือผู้รับฟังเกิดความรู้สึกทุกข์ใจ

ทั้งนี้ จะมีการนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีอีกครั้งในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ และการพิจารณาการประกันตัวอีกผลัดจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 2 เมษายน เวลา 16.00 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ภาพที่เผยแพร่ในสเตรทไทม์วันนี้ เป็นภาพของ เอมอส ยี เดินทางมาที่ศาลพร้อมกับพ่อแม่ โดยเขาสวมเสื้อยืดสีดำ และกำลังรับประทานกล้วยหอม

ขณะที่ครั้งหนึ่งในสมัยที่ ลี กวนยู ยังปกครองสิงคโปร์และออกกฎห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง นักข่าวบีบีซีเคยแนะนำเขาว่าควรให้คนเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อให้มีความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ ลี กวนยู โต้ตอบกลับมาว่า "ถ้าคุณคิดอะไรไม่ออกถ้าไม่ได้เคี้ยวละก็ ลองกินกล้วยสักใบสิ" (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

สำหรับคลิป ที่เอมอส ยี เผยแพร่นั้น ตอนหนึ่งเขาตั้งคำถามว่าสิงคโปร์แท้จริงแล้วเป็นประเทศที่มั่งคั่งจริงหรือ เพราะประชาชนมีชั่วโมงทำงานสูงที่สุดเมื่อเทียบกับบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วคือ 50.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ประเทศกลับมีดัชนีความเหลื่อมล้ำที่สูงที่สุด และมีสัดส่วนคนยากจนสูงที่สุดคือร้อยละ 28 และรัฐบาลสิงคโปร์เป็นรัฐบาลที่ใช้จ่ายด้านความมั่นคงสังคมและสาธารณสุขต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว

"งบประมาณที่ใช้จ่ายให้กับสาธารณะนั้นต่ำมาก เหมือนประเทศโลกที่สาม" เอมอส ยี กล่าวตอนหนึ่งในวิดีโอ นอกจากนั้นเขายังตั้งคำถามถึงมาตรการทางภาษีของสิงคโปร์ที่อยู่ในอัตราที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ รวมไปถึงเงินเดือนของผู้นำประเทศก็สูงที่สุดในโลกด้วย

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 มีนาคม มีชาวคริสต์ในสิงคโปร์รายหนึ่ง ริเริ่มการล่ารายชื่อ "ปล่อยเอมอส ยี จากความโกรธของคุณ"

"เราไม่รู้สึกโกรธจากคำแถลงของ เอมอส ยี ความเห็นของเขาต่อพระผู้ช่วยให้รอด พระเยซู ไม่สามารถคุกคามต่อความศรัทธาของเรา หรือทำให้ความรักของเราต่อพระเยซูลดลง กรุณาปล่อย เอมอส ยี จากความโกรธเคืองของคุณ เราอภัยต่อเขา และหวังว่าเขาจะมีชีวิตที่สมบูรณ์เพื่ออุทิศต่อชุมชนของเขาในภายหน้า" ตอนหนึ่งของแถลงการณ์เชิญชวนโดย วัลลี ตัม ระบุ โดยขณะนี้มีผู้ลงชื่อสนับสนุน 3,547 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักปรัชญาชายขอบ: คนดีกับความเป็นมนุษย์

$
0
0

 

พุทธศาสนาเถรวาทแบบสยามไทย คือพุทธศาสนาที่สร้างแนวคิดทางสังคมการเมืองบนพื้นฐาน “จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ” ที่ถือว่าลำดับชนชั้นสูงต่ำทางสังคมขึ้นอยู่กับ “ปุพเพกตปุญญตา” หรือบุญบารมีที่คนเราทำมาแต่ปางก่อนไม่เท่ากัน ฉะนั้น บุญบารมีที่แต่ละคนทำมาในอดีตชาติจึงเป็นเงื่อนไขที่กำหนดล่วงหน้าให้คนเราเกิดมาในชนชั้นทางสังคมที่ต่างกัน

ผู้ปกครองสมควรเป็นผู้ปกครอง ไม่ใช่เพราะผ่านการแข่งขันในเรื่องวิสัยทัศน์ นโยบาย ความสามารถจนเป็นที่ยอมรับของประชาชน และได้อำนาจมาจากความยินยอมหรือเป็นไปตามเจตจำนงทั่วไปของประชาชน แต่เป็นเพราะคุณธรรมในตัวของผู้ปกครองและบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนกำหนดล่วงหน้าให้มาเป็นผู้ปกครอง ประชาชนควรยอมรับคุณธรรมหรือบุญบารมีของผู้ปกครอง ไม่ใช่เพราะมีเสรีภาพพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง แต่เป็นความเชื่อที่ไม่สามารถโต้แย้งหักล้างได้

ความคิดทางสังคมการเมืองบนฐานของจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ จึงกำหนดให้คนมี 2 ชนชั้นอย่างตายตัว คือชนชั้นปกครองกับชนชั้นผู้ถูกปกครอง มาตรฐานการแบ่งชนขั้นคือบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนและคุณธรรมในตัวคนที่ไม่เท่ากัน

พุทธศาสนาแบบไตรภูมิเป็นพุทธศาสนาแบบสยามเก่า ที่พัฒนามาเป็นพุทธชาตินิยมในสยามใหม่ นั่นคือพุทธที่สถาปนาองค์กรสงฆ์เป็นกลไกสนับสนุนอุดมการณ์รัฐสมัยใหม่ และพุทธศาสนากลายเป็น 1 ใน 3 สถาบันหลักของชาติคือ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์”

พุทธแบบสยามเก่าบวกกับพุทธแบบสยามใหม่ก็คือ พุทธศาสนาแห่งรัฐที่มีบทบาทหลักในการสร้างความคิดทางสังคมการเมืองว่า “ผู้ปกครองต้องเป็นคนดีมีคุณธรรม” และ “พลเมืองดี” ต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ภายในระบบความคิดทางสังคมการเมืองของพุทธเถรวาทแบบสยามไทยดังกล่าว จึงไม่มีความคิดเกี่ยวกับคุณค่าสากล เช่นเสรีภาพ ความเสมอภาคที่เป็นรากฐานของประชาธิปไตยสมัยใหม่ แต่เป็นความคิดที่ถือว่าผู้ปกครองที่มีบุญบารมีและคุณธรรมอยู่เหนือหลักเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นประชาธิปไตย ฉะนั้น เสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นประชาธิปไตยจึงไม่ใช่สิ่งที่มีค่าในตัวมันเอง มันจะมีค่าก็ต่อเมื่อไม่ขัดแย้งหรือคล้อยตาม “สิ่งสูงสุด” ที่เรียกว่า “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” เท่านั้น

อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์จึงเป็นความจริงสูงสุด หรือความดีสูงสุดที่โต้แย้งและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ของระบบสังคมการเมืองไทย เป็นความสูงสุดที่เป็นนิรันดร์!

แต่รัฐฆราวาสที่เป็นเสรีประชาธิปไตย ย่อมไม่ปกครองด้วยหลักความเชื่อทางศาสนา (เช่นความเชื่อเรื่อง “คุณธรรม” “คนดี” ตามหลักศาสนาใดศาสนาหนึ่ง) และไม่อ้างความดีหรือความจริงสูงสุดที่โต้แย้งหักล้างไม่ได้ใดๆ เป็นหลักในการปกครอง แม้หลักเสรีประชาธิปไตยเองก็ไม่ใช่ความดีหรือความจริงสูงสุด แต่เป็นหลักที่โต้แย้งหักล้างหรือเสนอให้เปลี่ยนแปลงได้ ตราบใดที่ไม่ใช้ความรุนแรงล้มล้าง

ฉะนั้น ความคิดเรื่องคนดีและชนชั้นทางสังคมตามจักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ และการถือว่าอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์เป็นความจริงและความดีสูงสุดที่พุทธศาสนาชาตินิยมสนับสนุน จึงขัดแย้งกับคุณค่าสากลคือเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นประชาธิปไตยสมัยใหม่ หรือเสรีประชาธิปไตย และนับวันจะถูกตั้งคำถามท้าทายมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของประชาชน อันเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจ การเมือง การสื่อสารในโลกสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ประเด็นท้าทายที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ ความดี คุณธรรม คนดี และอุดมการณ์อันเป็นความจริงและความดีสูงสุดหนึ่งเดียวที่โต้แย้ง หักล้างไม่ได้นั้น “ไม่มีความเป็นมนุษย์” หรือขัดกับความงอกงามของความเป็นมนุษย์ในโลกสมัยใหม่หรือไม่?

เพราะความงอกงามของมนุษย์ ทั้งในแง่ศักยภาพทางปัญญา ความคิด อารมณ์ สังคม ไปจนถึงการพัฒนาความสามารถที่จะขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และอื่นๆ ตลอดถึงการเปิดกว้างในการเรียนรู้เพื่อแสวงหาอิสรภาพทางจิตวิญญาณ ล้วนเป็นความงอกงามที่เป็นไปได้ในสังคมพหุนิยมที่ต้องอาศัยสนามการเรียนรู้ที่มีเสรีภาพ ความเสมอภาค และ/หรือความเป็นเสรีประชาธิปไตย

ทว่าการปลูกฝังกล่อมเกลาสร้าง “พลเมืองดี” ที่ไม่ใช่พลเมืองซึ่งมีสิทธิ เสรีภาพตามหลักสากล แต่เป็นพลเมืองที่มี “หน้าที่” เชื่อฟังผู้ปกครองที่เป็นคนดีมีคุณธรรม เพราะเชื่อว่าผู้ปกครองที่เป็นคนดีมีคุณธรรมนั้นๆ จะรู้ทุกเรื่อง คิดแทน ทำแทนได้ทุกเรื่อง เป็นคนดีแล้วจะไม่ทำสิ่งที่ผิดใดๆ หรือกระทั่งมีอภิสิทธิ์ทำสิ่งที่ผิดหลักการประชาธิปไตยได้ เช่นทำรัฐประหาร และผูกขาดการกำหนดกติกาปกครองประเทศได้ตลอดไป เป็นต้น นี่ย่อมเป็นการทำให้พลเมืองไม่มีความเป็นมนุษย์ในความหมายสมัยใหม่ และสำหรับพลเมืองที่ต้องการจะพัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองให้งอกงาม ด้วยการยืนยันการใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องเสรีประชาธิปไตย เขาย่อมเผชิญกับการปราบปรามของอำนาจรัฐ

คำถามก็คือ ที่มักอ้างกันตลอดเวลาว่าพุทธศาสนาเถรวาทสยามไทยสอนให้คนเป็น “คนดี” นั้น ความเป็นคนดี ทำไมจึงไปกันไม่ได้กับความเป็นมนุษย์ในโลกสมัยใหม่? หรือขัดแย้ง เป็นอุปสรรคต่อความงอกงามของความเป็นมนุษย์ในโลกสมัยใหม่?

นี่ต่างหากที่ควรเป็นคำถามหลักของการปฏิรูปพุทธศาสนา เพราะการปฏิรูปพุทธศาสนาจะไม่มีความหมายอะไรเลย หากไม่ปลดปล่อยพุทธศาสนาจากการเป็นกลไกอำนาจรัฐ และทำให้พุทธศาสนาเชิงคำสอนมีความหมายต่อการสนับสนุนคุณค่าความเป็นมนุษย์ในโลกสมัยใหม่
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดาวน์โหลดร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558

$
0
0
 
18 เม.ย. 2558 เพจ iLawรายงานว่าเมื่อวาน (17 เม.ย.) ที่รัฐสภา มีการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558 ให้สมาชิก สภาปฏิรูป (สปช.) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการอภิปราย ในวันที่ 20 เมษายน ถึง 26 เมษายน 2558 โดยกำหนดเวลาการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก จะเริ่มประชุมในเวลา 09.00 น ถึง 21.00 น. ของทุกวัน ยกเว้นวันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน ที่จะเริ่มในเวลา 14.00 น ถึง 21.00 น รวมระยะเวลาอภิปรายทั้งหมด 79ชั่วโมง
 
สำหรับการแบ่งเวลาอภิปราย จะให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลา 15 ชม. โดยวันแรกจะใช้เวลานำเสนอร่างรัฐธรรมนูญ 2 ชม. และเวลาชี้แจง 1 ชม. ส่วนวันต่อๆ ไปจะให้เวลาชี้แจงประมาณ 2 ชม.
ส่วนสมาชิก สปช.จะใช้เวลาทั้งหมด 64 ชม. โดยให้ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาทั้ง 18 คณะ คณะละ 30 นาที รวม 9 ชั่วโมง ส่วนสมาชิก สปช. ที่ประสงค์จะอภิปรายจะได้จัดสรรเวลาคนละประมาณ 15 นาที รวม 55 ชั่วโมง
 
ดาวน์โหลดร่างรัฐธรรมนูญ >>> http://bit.ly/1DtiwUO
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาวกะเหรี่ยงภาคตะวันตกขอมีส่วนร่วมในการประกาศแก่งกระจานเป็นมรดกโลก

$
0
0
กรมอุทยานเดินหน้าประกาศแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ขณะที่ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่เป็นห่วง เนื่องจากไม่มีส่วนร่วม ด้านสภาทนายความเสนอให้เลื่อนการส่งเข้าพิจารณาไปอีกหนึ่งปี

 
 
 
 
 
 
 
 
เมื่อช่วงบ่ายของวันศุกร์ที่ 17 เมษายน 58 เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการหายไปของนายบิลลี่ รักจงเจริญแกนนำชาวกะเหรี่ยงที่ต่อสู้เพื่อสิทธิอยู่อาศัยและสิทธิทำกินในพื้นที่ดั้งเดิมของกะเหรี่ยง จึงจัดการเสวนากับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานที่ศูนย์วัฒนธรรมบ้างโป่งกระทิง จังหวัดราชบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและร่วมกันหาทางออกหากป่าแก่งกระจานได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งจะมีการประชุมพิจารณาในเดือนมิถุนายน ที่ประเทศเยอรมัน
 
การเสวนาครั้งนี้นอกจากจะมีเครือข่ายกะเหรี่ยงและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานแล้ว ยังมีองค์การระหว่างประเทศและสื่อมวลชนอีกด้วย
 
กลุ่มป่าแก่งกระจานจัดเป็นพื้นที่คุ้มครองขนาดใหญ่ติดต่อกับผืนป่าของพม่าอันประกอบด้วยพื้นที่อนุรักษ์ทั้งหมด 4 แห่ง คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3 ล้านไร่ ครอบคลุมเนื้อที่ตั้งแต่จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี จนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้กลุ่มป่าแก่งกระจานยังเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์ที่หลากหลาย รวมถึงสัตว์หลายชนิดที่หาพบยาก เช่น จระเข้น้ำจืด นกเงือกสีน้ำตาล ฯลฯ
 
นายกมล นวลใย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกล่าวว่าหากกลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จะได้รับการสนับสนุนจากนานาชาติทั้งด้านเป็นแหล่งค้นคว้า การดูแลตามมาตรฐานต่างๆ รวมถึงได้เผยแพร่กิตติคุณและคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย
 
อย่างไรก็ตาม ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยและประกอบอาชีพอยู่ในป่าแก่งกระจานมีความกังวลอย่างมากในเรื่องของสิทธิและผลกระทบต่อสิทธิและวิถีชีวิตที่ตนจะได้รับหลังจากพื้นที่ป่ากลายเป็นมรดกโลก เนื่องจากปัจจุบัน สิทธิ์เหล่านั้นมีน้อยอยู่แล้ว จึงเกรงว่าหากอุทยานเป็นมรดกโลกจะมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นจนสร้างความลำบากให้แก่ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยและประกอบอาชีพในบริเวณป่า
 
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า ในปัจจุบันจะนิยมประกาศมรดกโลกทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมผสมร่วมกัน เนื่องจากในบริเวณนี้มีผู้อาศัยและรักษาป่ามาเนิ่นนานแล้ว ดังนั้น ในการเสนออุทยานแห่งชาติแก่งกระจานของประเทศไทยควรจะเสนออุทยานให้รอบด้านมากกว่านี้โดยรวมวัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยงเข้าไปด้วยและควรเลื่อนการเสนอไปอีกหนึ่งปี 
 
นายวุฒิ บุญเลิศ ที่รักษาเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี กล่าวว่ากรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชต้องให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นทั้งในเรื่องการกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆและการจัดสรรพื้นที่อาศัยและประกอบอาชีพ การจัดสรรพื้นที่ต่างๆให้ชัดเจน จัดการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่แล้ว และกระจายอำนาจให้ชุมชนเช่นกัน
 
ระหว่างและหลังจากการเสวนามีการแสดงดนตรีของ ศุ บุญเลี้ยงและพจนารถ พจนาพิทักษ์ รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของกระเหรี่ยง ประกอบด้วยการแสดงการรำสานเชือก การรำตง การแสดงดนตรีและขับร้องพื้นเมือง รวมถึงพิธีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เนื่องในโอกาสงานเดือน 5 ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวกะเหรี่ยง
 
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปีนี้หรือจะถูกเลื่อนการพิจารณาไปอีกหนึ่งปีหรือไม่ ต้องติดตามกันต่อไป
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตคนงาน บ.อาร์ซีเอ ไต้หวันชนะคดีค่าเสียหาย 'เจ็บป่วย-ตาย' จากสารเคมี

$
0
0
ศาลไต้หวันให้บริษัทอาร์ซีเอของอเมริกัน จ่ายค่าเสียหายแก่อดีตคนงานและครอบครัวที่เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งกว่า 560 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน

 
 
 

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2015 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ focustaiwan.tw รายงานว่าศาลของไต้หวันได้ตัดสินเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) ให้บ...

Posted by Workazine on 17 เมษายน 2015

 
เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2015 ที่ผ่านมาเว็บไซต์ focustaiwan.twรายงานว่าศาลของไต้หวันได้ตัดสินเมื่อวันศุกร์ (17 เม.ย.) ให้บริษัทอาร์ซีเอ (RCA) จ่ายค่าเสียหายแก่อดีตคนงานและครอบครัว เป็นจำนวนเงินประมาณ 560 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยระบุว่าสารเคมีจากโรงงานของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากสหรัฐฯ รายนี้ได้ทำให้คนงานเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง
 
อดีตคนงานมากกว่า 200 คนของโรงงานบริษัทอาร์ซีเอในเมืองเถาหยวน (Taoyuan) เริ่มทยอยเสียชีวิตในช่วงทศวรรษ 1990 โดยโรงงานแห่งนี้เปิดดำเนินการเมือปี 1970 และปิดตัวลงไปเมื่อปี 1992 
 
ทั้งนี้ผลการสอบสวนระบุว่าน้ำใต้ดินของโรงงานแห่งนี้ปนเปื้อนสารเคมีอันตรายซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการเสียชีวิตของอดีตคนงานในโรงงาน นอกจากนี้โรงงานยังไม่มีเครื่องป้องกันให้แก่คนงานที่ต้องสัมผัสตัวทำละลายอินทรีย์โดยตรง และไม่มีการตรวจสุขภาพให้แก่คนงานตามที่กฎหมายกำหนด โดยทนายความของผู้เสียหายระบุว่าว่าคดีนี้จะสร้างบรรทัดฐานให้แก่บริษัทที่ไร้ความรับผิดชอบและช่วยให้คนงานได้รับความคุ้มครองมากขึ้น ด้านญาติผู้เสียชีวิตบางรายระบุว่าได้รับค่าเสียหายต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับความเสียหายจำนวนคนที่เจ็บป่วยและเสียชีวิต 
 
 
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชงยกระดับ 'กองทุนหมู่บ้าน' เป็น 'สถาบันการเงินชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง'

$
0
0
ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเตรียมเสนอ ครม. แก้ไขกฎหมายยกฐานะกองทุนหมู่บ้านเป็นสถาบันการเงินชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง

 
 
18 เม.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เปิดเผยว่า เพื่อให้กองทุนหมู่บ้านที่มีศักยภาพเป็นแหล่งเงินทุนในชุมชนและต้องการส่งเสริมการออมแทนการให้กู้เงินเพียงอย่างเดียว จึงเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการยกระดับกองทุนหมู่บ้านเป็น “สถาบันการเงินชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรมการกองทุนหมู่บ้าน การคัดเลือกคณะกรรมการ การกำหนดให้มีหลักเกณฑ์ค้ำประกันเงินกู้ให้รัดกุมมากขึ้น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และให้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านมีความมั่นคงและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
 
โดยไม่จำกัดเรื่องทุนของกองทุนหมู่บ้านต้องสูงขึ้นมากนัก เช่น อาจมีประมาณ 3-5 ล้านบาท สามารถจัดตั้งได้ แต่จะกำหนดให้สมาชิกต้องออมเงินผ่านสัจจะออมทรัพย์หรือสะสมเงินออมในรูปแบบต่างๆ เช่น สมาชิกต้องมีเงินฝากสะสมสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของสมาชิกทั้งหมดในหมู่บ้าน การมีผลประเมินกองทุนที่มีในระดับเกรดดีหรือดีมาก ผ่านตัวชี้วัดในหลายด้าน มีการจัดทำระบบบัญชีมีมาตรฐาน เพื่อให้หลายกองทุนหมู่บ้านรวมตัวกันเป็นสถาบันการเงินชุมชน มีเป้าหมายให้ได้ตำบลละ 1 แห่ง แล้วแต่ศักยภาพในพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการสถาบันการเงินชุมชนเข้ามาบริหารและควบคุมดูแล
 
คาดว่าในปี 2558 จะเห็นกองทุนหมู่บ้านเกิดขึ้น สถาบันการเงินชุมชนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ประมาณ 2,000 แห่ง เพราะขณะนี้ทั้ง ธ.ก.ส.และออมสิน ได้ส่งเสริมให้มีสถาบันการเงินชุมชนแล้ว จึงต้องการนำทั้งสองแบบเข้ามารวมกันอยู่ในโครงการเดียวกันและใช้ชื่อเดียวกัน สัญลักษ์เดียวกัน รวมทั้งแก้ไขในเรื่องติดปัญหาการฟ้องร้องอ้างตามกฎหมายขัดทรัพย์ เนื่องจากเงินของกองทุนหมู่บ้านเป็นเงินของรัฐ หากมีคดีความผูกพันจะได้รับการพิจารณาเรื่องการอายัดทรัพย์ เพราะเป็นเงินของรัฐ คาดว่าจะเสนอ ครม.พิจารณาได้ก่อนการจัดงานครบรอบ 14 ปี กองทุนหมู่บ้านในช่วงเดือนกรกฎาคมปีนี้
 
นายลักษ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า วางเป้าหมายส่งเสริมให้กองทุนหมู่บ้านขยับฐานะเป็นสถาบันการเงินชุมชนในปี 2558 จำนวน 1,500 แห่ง เพราะได้รับมอบหมายให้ดูแลกองทุนหมู่บ้านที่มีผลดำเนินงานดีมาก 10,569 แห่ง และผลดำเนินงานดี 10,015 กองทุน สำหรับกองทุนเกรดดีมากจะให้สินเชื่อเพิ่มต่อยอดอีกจากวงเงิน 1 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท สำหรับกองทุนเกรดดี จะได้รับสินเชื่อต่อยอดอีก 500,000 บาทต่อกองทุน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนได้มีแหล่งเงินทุนดูแลตนเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวพลเมือง: ชาวบ้านชุมชนคลองมุดงฉลองโวยนายทุนไล่ที่ สงสัยได้โฉนดมาได้อย่างไร

$
0
0
ชาวบ้านชุมชนคลองมุดงฉลอง จ.ภูเก็ต ถูกนายทุนขับไล่ที่ ชาวบ้านชี้ตามกฎหมายที่ดินต้องเป็นของรัฐหลังหมดสัมปทานบัตรเหมืองแร่เก่า แล้วนายทุนได้โฉนดที่ดินมานั้นมีกระบวนการได้มาอย่างไร หน่วยงานไหนเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบออกให้

 
 
 
 
 
 
18 เม.ย. 2558 นักข่าวพลเมืองแจ้งข่าวกับประชาไทว่า สืบเนื่องมาจากกรณีที่ชาวบ้านชุมชนคลองมุดงฉลอง จ.ภูเก็ต ได้ถูกนายทุนขับไล่ที่ออกจากที่อยู่อาศัย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านระบุว่าทั้งๆ ที่เรื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจราณาของศาลจังหวัดภูเก็ต และแม้ชาวบ้านมีเอกสารใบนัดของศาลมายืนยัน แต่กลุ่มคนที่มาขับไล่รื้อถอนก็ไม่ยอมรับฟัง โดยชายฉกรรจ์ประมาณ 100 คน เข้ามาข่มขู่ชาวบ้าน รวมทั้งได้ทำลายที่อยู่อาศัยโดยใช้เครื่องจักร และได้นำเอกสารโฉนดที่ดินมาให้ชาวบ้านดู
 
นักข่าวพลเมืองได้ระบุว่าที่ดินดังกล่าวที่ชาวบ้านอาศัยอยู่เป็นที่ดินสัมปทานบัตรเหมืองแร่เก่า ซึ่งได้หมดอายุบัตรไปเกือบ 50 ปี ตามหลักกฎหมายหากหมดสัมปทานแล้ว และไม่มีผู้ใดยื่นเรื่องราวภายในวันและเวลาที่กำหนดให้ถือว่าสัมปทานบัตรนั้นสิ้นอายุในวันที่ครบกำหนดคือ 90 วัน ดังนั้นที่ดินดังกล่าวก็จะต้องตกเป็นของรัฐดังเดิม ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ นอกเสียจากได้รับอนุญาต หรือมีคำสั่งอื่น ๆ จากรัฐ ซึ่งชาวบ้านได้ตั้งข้อสงสัยว่าการที่นายทุนได้โฉนดที่ดินมานั้นมีกระบวนการได้มาอย่างไร และหน่วยงานไหนเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบออกให้ 
 
ทั้งนี้ที่ดินดังกล่าวมีโฉนดอยู่จริงแค่ประมาณ 4 ไร่ แต่สามารถออกโฉนดครอบที่ดินสัมปทานบัตรผืนนี้มา 80 กว่าไร่ และยังติดเขตป่าชายเลนชุมชนคลองมุดง ส่วนชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยกันประมาณ 60 ครัวเรือน มีที่อยู่อาศัยคนละ 10 เมตร ถึง 20 เมตร พอที่จะสร้างที่อยู่อาศัยได้ ไม่ได้มีจุดประสงค์จะมาถือครองเพื่อทำธุระกิจเหมือนกับพวกนายทุนต่าง ๆ โดยชาวบ้านทำมาหากินโดยการ เก็บของเก่าขาย ปลูกผักผลไม้ เลี้ยงปลา เป็นต้น
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สมบัติ' ค้านระบบเลือกตั้งผสมของเยอรมัน ชี้ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ

$
0
0
"สมบัติ ธำรงธัญวงศ์" ประธาน กมธ.ปฎิรูปการเมือง ค้านระบบเลือกตั้งเยอรมนี ย้ำรัฐบาลผสมทำเกิดปัญหาต่อรองผลประโยชน์ ชี้นายกคนนอกไม่ตรงความต้องการประชาชน

 
18 เม.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฎิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (19 เม.ย.) จะประชุมคณะกรรมาธิการปฎิรูปการเมือง ที่อาคารรัฐสภา เพื่อเตรียมความพร้อมกำหนดกรอบประเด็นที่จะอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 20-26 เมษายนนี้ เนื่องจากปรับเวลาการอภิปรายให้สั้นลง โดยประธานกรรมาธิการแต่ละคณะคนละ 30 นาที และสมาชิกคนละ 15 นาที ส่วนตนเองจะพูดในภาพรวม และให้สมาชิกอภิปรายอย่างเต็มที่ ไม่ต้องยึดกรอบของกรรมาธิการ เพื่อจะได้มีอิสระ จึงต้องวางแนวทางการอภิปรายไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน เพราะเวลาที่ได้รับถือว่าน้อย หากเทียบกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่มีอยู่มากกว่า 100 มาตรา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าบรรยากาศจะไม่ดุเดือดเข้มข้น เพราะเป็นการชี้แจงให้ข้อมูล หักล้างด้วยเหตุและผลมากกว่าใช้อารมณ์เหมือนการอภิปรายของนักการเมืองในอดีต
 
“การอภิปรายภาพรวมจะชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของโครงสร้างและการออกแบบรัฐบาลให้มีความเป็นเอกภาพเข้มแข็ง โดยเฉพาะจากประเทศที่กำลังพัฒนาและขณะนี้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีรัฐบาลที่เข้มแข็งหรือมีรัฐบาลพรรคเดียว แต่ร่างรัฐธรรมนูญที่กมธ.ยกร่างเขียนขึ้นกลับมองตรงกันข้าม โดยต้องการให้มีรัฐบาลผสมด้วยการนำการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมของประเทศเยอรมันมาใช้ ซึ่งในความเป็นจริงรัฐบาลผสมจะยิ่งเกิดปัญหา เพราะหากพรรคเสียงข้างมากมีเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องดึงพรรคการเมืองอื่นมาร่วมรัฐบาล จะทำให้เกิดการต่อรองอำนาจภายในพรรคร่วมรัฐบาล เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้รัฐบาลทำงานไม่ราบรื่น เข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า การเมืองเพื่อผลประโยชน์ของพรรคร่วม” นายสมบัติ กล่าว
 
นายสมบัติ กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีที่เปิดช่องให้เลือกนายกรัฐมนตรีจากคนนอกได้ ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง ยิ่งสร้างปัญหา เพราะจากการลงพื้นที่เปิดเวทีรับฟังความเห็นของกมธ.ปฎิรูปการเมืองพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีด้วยตนเองถึงร้อยละ 70 สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจประชาธิปไตยของประชาชนที่ต้องการแสดงออกทางการเมืองในการเลือกผู้ที่จะขึ้นมาบริหารประเทศด้วยตัวเอง ส่วนกลไกการตรวจสอบทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจและการยื่นถอดถอนก็ไม่มีอะไรใหม่หรือสามารถใช้ได้จริงกับนักการเมืองที่มีเรื่องของพวกพ้องและผลประโยชน์ต่างตอบแทนเข้ามาเกี่ยวข้อง ตนจึงเสนอให้ใช้เสียงของส.ส. 1 ใน 10 เข้าชื่อยื่นต่อประธานวุฒิสภาตั้งคณะอนุกรรมาธิการวิสามัญไต่สวน หากพบว่ามีความผิดให้ยื่นเรื่องกลับไปยังประธานวุฒิสภา ส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปพิจารณาต่อ จะทำให้กลไกการตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายสมบัติ กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานในสหรัฐเคลื่อนไหวครั้งใหญ่-เรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ 15 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง

$
0
0

แรงงานหลายสาขาอาชีพจากหลายเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกากว่า 200 เมือง ชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง - เรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ 15 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ พร้อมเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมด้านอื่น รวมทั้งต่อต้านการเหยียดสีผิว

สำนักข่าวคอมมอนครีมส์รายงานว่าเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (16 เม.ย.) มีการประท้วงของแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ ครั้งใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีแรงงานจากหลากหลายสาขาอาชีพอาทิเช่น แรงงานฟาสต์ฟู้ด, แรงงานซักรีด, คนทำงานบ้าน, พี่เลี้ยงเด็ก, แรงงานร้านค้า และลูกจ้างงานด้านการศึกษา รวมหลายหมื่นคนออกมาเดินขบวนกันตามเมืองต่างๆ มากกว่า 200 เมืองทั่วสหรัฐอเมริกา

การเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ 15 เหรียญสหรัฐ (480 บาท) ต่อชั่วโมงซึ่งเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงในสหรัฐฯ มาเป็นเวลามากกว่า 3 ปีแล้วเกี่ยวกับปัญหาความยากจนและความไม่เสมอภาคในสังคม โดยในการเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ไม่เพียงแค่คนงานในสหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มคนงานจากอีก 35 ประเทศ ใน 6 ทวีป เช่น นิวซีแลนด์, บราซิล, ญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย

เทอร์เรนซ์ ไวส์ ซึ่งเป็นพ่อลูกสาม ซึ่งทั้งสามคนทำงานในร้านฟาสต์ฟู้ดที่เมืองแคนซัสซิตี้ รัฐมิสซูรี ไวส์แถลงต่อสื่อว่าพนักงานฟาสต์ฟู้ดกำลังเรียกร้องสิทธิพลเมืองร่วมกับนักกิจกรรมสายอื่นๆ อย่างนักศึกษา นักกิจกรรมต่อต้านการเหยียดผิว นักวิชาการ และแรงงานสายอื่น ทำให้พวกเขาเข้มแข็งมากขึ้น และไวส์เชื่อว่าพวกเขาจะชนะ

การประท้วงเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานภาคบริการนานาชาติ (Service Employees International Union) ซึ่งจงใจให้จัดการประท้วงตรงกับวันภาษีแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (15 เม.ย.) เพื่อเน้นย้ำให้เห็นว่าคนงานค่าแรงขั้นต่ำถูกบีบให้จำเป็นต้องพึ่งพาโครงการสาธารณะเพื่อจะมีชีวิตอยู่รอดได้

คนงานผู้ประท้วงชูป้าย "พวกเรามีค่ามากกว่านี้" ในขณะที่เรียกร้องค่าแรงที่สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ (living wages) รวมถึงเรียกร้องสิทธิในการรวมกลุ่มกันในที่ทำงานโดยไม่ถูกข่มขู่คุกคามหรือถูกลงโทษ

ผู้ประท้วงยังช่วยกันร่วมเรียกร้องในประเด็นอื่นๆ นอกจากเรื่องค่าแรง โดยเชื่อมโยงเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจกับความเป็นธรรมทางสังคมเช่นในประเด็นเรื่องที่ตำรวจสังหารคนผิวดำที่ไม่มีอาวุธในหลายกรณีเช่นที่เกิดขึ้นในเมืองชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา หรือในเมืองเฟอร์กูสัน รัฐมิสซูรี โดยมีการรำลึกถึงผู้ที่ถูกตำรวจสังหารซึ่งเป็นกิจกรรมของขบวนการ 'ชีวิตคนผิวดำก็มีความหมาย' (Black Lives Matter) ที่กำลังเติบโตขึ้น

ชาร์ลีนน์ คาร์รูเทอร์ ผู้อำนวยการ 'โครงการยุวชนคนผิวดำ 100' (Black Youth Project 100) กล่าวว่าพวกเขาร่วมต่อสู้กับคนงาเพื่อเรียกร้องค่าแรง 15 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมงเพราะคิดว่าความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นธรรมด้านเชื้อชาติสีผิวเป็นเรื่องเดียวกัน "คนงานผิวดำต้องคอยชำระหนี้ที่พวกเขาไม่ควรจะมีให้กับบรรษัทจอมละโมบมาเป็นเวลานานเกินไปแล้ว" คาร์รูเทอร์กล่าว

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (13 เม.ย.) โครงการกฎหมายการจ้างงานแห่งชาติสหรัฐฯ (National Employment Law Project) เผยแพร่รายงานระบุว่ามีผู้หญิงและคนผิวสีอยู่ในกลุ่มคนงานที่ได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่ควรเป็นจำนวนมาก โดยมีคนงานเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกันมากกว่าร้อยละ 50 และคนงานเชื้อสายละตินมากกว่าร้อยละ 60 ได้ค่าแรงน้อยกว่า 15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประท้วงเมื่อวันพูะยังเรียกร้องให้มีความเป็นธรรมต่อแรงงานเกิดขึ้นในที่อื่นๆ นอกจากสหรัฐฯ ด้วย

มาสซิโม แฟรตตินี่ ผู้ประสานงานระหว่างประเทศของสหภาพแรงงานอาหารสากลแถลงต่อสื่อว่า อุตสาหกรรมอาหารฟาสต์ฟู้ดถูกถูกกุมอำนาจอยู่โดยบรรษัทระดับโลกที่ร่ำรวยระดับพันล้านอยู่เพียงไม่กี่บรรษัท ดังนั้นพวกเขาจึงต้องฟลัหกันขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานไปสู่ระดับโลกเพื่อให้ได้ค่าจ้างที่ดีขึ้น การปฏิบัติต่อคนงานที่ขึ้น และสิทธิที่ดีขึ้น

ผู้เข้าร่วมการชุมนุมกล่าวว่าขบวนการนี้เป็นการโต้ตอบอย่างเร่งด่วนต่อความไม่เสมอภาคที่เพิ่มมากขึ้นทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลก

"เพียงเพราะผมทำงานในร้านฟาสต์ฟู้ดไม่ได้หมายความว่าผมจะต้องทนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก" แอนดรูว์ โอลซัน พนักงานแมคโดนัลด์ในลอสแองเจลิสกล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสื่อแอลเอไทม์

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวชื่อรานา ฟอรูฮาร์ ระบุในนิตยสารไทม์ว่าการเปลี่ยนค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 15 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมงเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทำให้เป็นเรื่องที่นักการเมืองต้องพิจารณาหนักมากในช่วงการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้เพราะประเด็นนี้ดูเหมือนจะยังไม่จบลงง่ายๆ

เรียบเรียงจาก

'I Know We Will Win': Largest Ever Low-Wage Worker Protest Sweeps United States, CommonDreams, 16-04-2015 http://www.commondreams.org/news/2015/04/16/i-know-we-will-win-largest-ever-low-wage-worker-protest-sweeps-united-states

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ข้อเขียนเพื่อทำความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ 2558 และข้อสังเกตบางประการ

$
0
0

 

เพื่อทำความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ 2558 และข้อสังเกตบางประการ ขอแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น คือ 1.นายกรัฐมนตรี 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. วุฒิสภา 4. คณะกรรมการ สภา สมัชชา ที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และ 5. เรื่องโดยรวม


1. นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรีมาจาก "การเลือก" ของ ส.ส. แต่ไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง หากมาจากการเลือกตั้ง สภาผู้แทนฯ โหวตโดยใช้คะแนนเสียงเกิน1/2 ในกรณีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง สภาผู้แทนฯ ต้องใช้คะแนนเสียง 2/3 (ม. 172)

กำหนดวาระว่าห้ามเกิน 2 สมัย รัฐธรรมนูญปี 50 ใช้คำว่าห้ามเกิน 8 ปี แปลว่าคราวนี้การดำรงตำแหน่งอาจยิ่งสั้นลง เพราะ 2 วาระ อาจไม่ถึง 8 ปี

นำหลักแบ่งแยกอำนาจแบบฝรั่งเศสซึ่งเคยใช้ใน รัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้ กล่าวคือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้ หมายความว่า ส.ส.ต้องลาออกมาเพื่อรับตำแหน่ง รมต.


2. สภาผู้แทนราษฎร

สภาผู้แทนราษฎรจำนวนโดยประมาณ 450 คน มาจาก

ก) เลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดา 1 เขต 1 คน จำนวน 250 คน ดังนั้นเขตเลือกตั้งจะใหญ่ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเปลี่ยนจากเดิม 375 เขต เหลือ 250 เขต

ข) เลือกตั้งแบบผสมเขตและสัดส่วน (MMP) จำนวนประมาณ 200 คน โดยแบ่งประเทศเป็น 6 เขต น่าจะตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แบ่งไว้ แต่ละภาคประชากรไม่เท่ากัน ดังนั้นแต่ละเขตอาจมี ส.ส. จำนวนไม่เท่ากัน การเลือกตั้งบัญชีรายชื่อเป็นแบบเปิด ผู้ใช้สิทธิสามารถเลือกผู้สมัครในบัญชีที่พรรค/กลุ่มการเมืองเสนอมา ได้ 1 ชื่อ

ข้อสังเกตคือ ประชาชนมีแนวโน้มเลือกผู้สมัครที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ส่วนผู้สมัครคนอื่น ๆ ในบัญชี ก็ต้องหาเสียงแข่งกันเพื่อให้ตัวเองถูกเลือก เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะได้เห็นการเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคล มากกว่านโยบายและแบรนด์พรรคการเมือง เคยประเมินประเด็นนี้ไปแล้วว่า จะทำให้พรรคขาดแรงจูงใจนำเสนอนโยบาย ทำให้การซื้อเสียงโดยตัวบุคคลเพิ่มสูงขึ้น และจะทำใหระบบอุปถัมภ์และเจ้าพ่อท้องถิ่นกลับมามีบทบาทในการเมืองระดับชาติ เพราะทั้ง ส.ส เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เน้นตัวบุคคลทั้งสองระบบ

ประเทศต้นแบบอย่างเยอรมัน และประเทศอื่น ๆ อีก 9 ประเทศที่ใช้ระบบ MMP ใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด ส่วนประเทศที่ใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด มักไม่มี ส.ส. เขต เช่น อินโดนีเซีย

ในมาตรา 112 มีข้อกำหนดว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง หมายความว่าไม่จำเป็นต้องจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นแต่เพียงการรวมกลุ่มอย่างหลวมๆ ซึ่งดูเหมือนจะเอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มโดยธรรมชาติ

แต่ในมาตราเดียวกันกลับกำหนดว่าหากพรรคหรือกลุ่มการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในภาคใด ก็ต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตในภาคนั้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อด้วย

มองได้ว่าเป็นมาตรการที่สร้างข้อจำกัดให้พรรคขนาดเล็ก เพราะที่ผ่านมาพรรคการเมืองขนาดเล็ก ทุนน้อยประสบปัญหาในการหาผู้ลงสมัครในนามพรรค นอกจากนั้นยังเอื้อพรรคภูมิภาค สกัดพรรคที่ได้รับความนิยมระดับชาติ เช่นพรรครักไทยของคุณชูวิทย์ซึ่งในการเลือกตั้งปี 2554 ส่งแต่บัญชีรายชื่อ ไม่ส่งผู้สมัครระบบเขต

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญได้ทำให้การการช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน มีนัยสำคัญต่อผลเลือกตั้ง โดยกำหนดว่า ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดหรือไม่เลือกบัญชีใด (ม113)

การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยสภาผู้แทนฯ ทำได้เช่นเดียวกับที่เคยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 50 คือ อภิปรายนายกรัฐมนตรีใช้เสียงไม่น้อยกว่า 1/5 อภิปราย รมต รายบุคคล ใช้เสียงไม่น้อยกว่า 1/6 และหลังจาก 2 ปี ลดเหลือเพียง ½ ของฝ่ายค้าน

ผู้เคยถูกถอดถอนหรือถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองหมดสิทธิลงเลือกตั้ง

 

3. วุฒิสภาจำนวน 200 คน มาจาก 5 ช่องทาง

ก) 77 คนมาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน แต่ผู้ลงสมัครต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการจังหวัดผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรม 10 คน ส่วนคณะกรรมการจังหวัดชุดนี้มีที่มาอย่างไร รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้ ต้องรอดู พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ข) ผู้เคยเป็นปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า 10 คน และปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ 10 คน โดยเลือกกันเองในแต่ละประเภท

ค) ตัวแทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ เลือกกันเอง 15 คน

ง) ผู้แทนองค์กรด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และด้านท้องถิ่น เลือกกันเอง 30 คน

จ) ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านต่างๆ มาจากการสรรหา 58 คน ทั้งนี้คณะกรรมการสรรหาเป็นใครบ้าง มีที่มาอย่างไร ไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ

เช่นเดียวกับ รัฐธรรมนูญ ปี 40 และ 50 ที่กำหนดว่า สว. ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี และเหมือน รัฐธรรมนูญ ปี 50 ที่ห้ามเป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของ ส.ส. นอกจากนี้ยังห้ามผู้เคยเป็น ส.ส. ภายใน 5 ปี และ เคยดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญภายในระยะเวลา 2 ปี มาเป็น สว.ด้วย

ข้อสังเกตสำคัญคือ มีการเพิ่มอำนาจวุฒิสภาอย่างกว้างขวางและเข้มข้น กล่าวคือ ก) การแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งคณะและรายบุคคลจะต้องผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภา (มาตรา 130) ข) วุฒิสภา 40 คน สามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ (มาตรา 147) และ ค) สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่างมีอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายของอีกฝ่าย (มาตรา 153-154)

จะเห็นได้ว่าเป็นการเพิ่มอำนาจวุฒิสภาจากรัฐธรรมนูญ 40 และ 50 อย่างมาก เมื่อพิจารณาอำนาจที่ใช้ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยมติ 3/5 ของรัฐสภา (มาตรา 253-254) อาจทำให้มองเบื้องต้นได้ว่าระบบรัฐสภาไทยมีอำนาจหน้าที่คล้ายกับรัฐสภาคู่ที่เท่าเทียมกัน (symmetrical bicameralism) ของสหรัฐอเมริกา
หากแต่ ความแตกต่างที่เด่นชัดคือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาของอเมริกา ต่างมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ของไทย ดูเหมือนวุฒิสภาจะมีอำนาจหน้าที่มากกว่าสภาผู้แทนราษฎร


4. คณะกรรมการ สภา สมัชชา และองค์กรที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ

ถ้านับไม่ผิด รัฐธรรมนูญได้จัดตั้ง คณะกรรมการ องค์กร สภา สมัชชา ขึ้นมาใหม่ ที่มุ่งหมายให้แสดงบทบาทสำคัญในอนาคตไว้อย่างน้อย 10 องค์กร ได้แก่

1.สภาผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธรรม 77 จังหวัด (10 คน) กลั่นกรองผู้สมัคร สว.

2.สภาตรวจสอบภาคพลเมือง (50 คน) ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐภายในเขตจังหวัดของตน 77 จังหวัด

3.สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ

4.คณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ

5.คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนโดยระบบคุณธรรม

6.ศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ

7.คณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง (กจต.)

8.ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน (เป็นการยุบรวมคณะกรรมสิทธิมนุษยชนฯ เดิม เข้ากับผู้ตรวจการแผ่นดิน)

9.คณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ

10.สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ

การจัดการเลือกตั้ง จะไม่ได้เป็นหน้าที่ของ กกต แต่จะมี คณะกรรมการดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการที่แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ มาดำเนินการแทน (มาตรา 268)


5. เรื่องโดยรวม มีประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น

5.1 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กำหนดไว้ชัดเจนด้วยประโยคว่า
“ประชาชนชาวไทยย่อมมีฐานะเป็นพลเมือง” ความเป็นพลเมืองและหน้าที่ของพลเมือง (มาตรา 26 และ 27) มาก่อนมาตราที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

คุณสมบัติของพลเมืองเช่น มีค่านิยมที่ดี มีวินัย รู้รักสามัคคี มีความเพียร พึ่งตนเอง เสียภาษีอากรโดยสุจริต ไม่ทำให้เกิดความเกลียดชังกัน ฯลฯ รัฐมีหน้าที่ต้องปลูกฝัง เพื่อสร้างความเป็นพลเมืองตามมาตรานี้

5.2 อำนาจวินิจฉัยของศาลรัฐธรมนูญ ระบุไว้ชัดเจนในมาตรา 7 ว่า สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ สามารถขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ชี้ขาดได้ กล่าวคือ ไม่ต้องฟ้องผ่านอัยการสูงสุดตามที่เคยถกเถียงกัน นอกจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (เดิม) ของเนื้อหารัฐธรรมนูญ (ใหม่) เสมอ

5.3 พรรคการเมืองจะถูกควบคุมภายใต้แนวคิด “ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี” มีการใช้คำว่า การสร้างความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง มีความพยายามที่จะให้พรรคจัดการเลือกตั้งขั้นต้น โดยใช้คำว่าหยั่งเสียงประชาชน อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ จะต้องดู พรบ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ว่าจะไปไกลแค่ไหน

5.4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้จะมีการเขียนไว้เสมือนทำได้เหมือนภายใต้รัฐธรมนูญ 50 แต่ในทางปฎิบัติ จะเป็นไปได้ยากมาก เพราะมีข้อห้ามหลายประการ เช่น ห้ามเปลี่ยนโครงสร้างและองค์ประกอบของแต่ละสภา ห้ามแก้ไขกลไกที่กระทบวินัยการเงิน การคลัง และการงบประมาณ หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมถึงการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ข้อห้ามเหล่านี้ครอบคลุมแทบทุกสาระหัวใจของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 300) และดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังต้องผ่านประชามติ (เสียง 1/2) โดยประชาชนอีกด้วย ทุก 5 ปี จะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอิสระประเมินผลการใช้บังคับรัฐธรรมนูญ

5.5 ให้ความคุ้มครองการใช้อำนาจของ คสช. และรัฐบาลปัจจุบัน โดยบทเฉพาะกาลมาตรา 315 ระบุว่าบรรดาการใด ๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

18 องค์กรประชาสังคมวอนประยุทธ์เผยจุดยืนคุ้มครองการลงทุนที่กระทบต่อนโยบายสาธารณะ

$
0
0

องค์กรประชาสังคม 18 องค์กรทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกฯ ชี้ท่าทีและจุดยืนการคุ้มครองการลงทุนที่มีผลกระทบต่อการจัดทำนโยบายสาธารณะ หลังหน่วยราชการอ้างกลัวถูกนักลงทุนต่างชาติฟ้องร้อง เตะสกัดนโยบายและกฎหมายเพื่อประชาชน

19 เมษายน 2558 กรุงเทพฯ  กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน เปิดเผยว่า องค์กรภาคประชาสังคม 18 องค์กรได้รวมตัวกันทำจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มีคำสั่งกระทรวงต่างประเทศให้มีการชี้แจงท่าทีและจุดยืนการคุ้มครองการลงทุนที่มีผลกระทบต่อการจัดทำนโยบายสาธารณะ หลังหน่วยราชการอ้างกลัวถูกนักลงทุนต่างชาติฟ้องร้อง ตั้งท่าขวางนโยบายและกฎหมายเพื่อประชาชน อาทิ การแก้ไข พรบ.ยา พ.ศ.2510, การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินภายใน 2 ปี เมื่อวันที่ 12 เม.ย.พ.ศ.2554 และ พรบ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่

“กระทรวงพาณิชย์อ้างว่า กฎหมายต่างๆ ที่กำลังแก้ไขเพื่อให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาวะที่ดีขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปประเทศอาจสร้าง ‘ผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน’ จะทำให้รัฐไทยถูกนักลงทุนต่างชาติฟ้องเรียกค่าเสียหายผ่านอนุญาโตตุลาการ ทั้งที่ตัวแทนของกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภาหลายสมัยและหลายวาระ ยืนยันว่า การคุ้มครองการลงทุนของไทยในเอฟทีเอต่างๆนั้น ยังไม่อนุญาตให้มีการฟ้องร้องผ่านกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนต่อนโยบายสาธารณะ เราจึงต้องการให้รัฐบาลชี้แจงต่อสาธารณะอย่างเปิดเผยว่า จุดยืนและท่าทีของรัฐบาลชุดปัจจุบันยังเป็นเช่นนี้หรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเอาใจนักลงทุนไปแล้ว”

ที่ผ่านมา รัฐไทยเคยถูกนักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่า 1,400 ล้านบาทต่ออนุญาโตตุลาการ จากกรณีบริษัทวอเตอร์บาวน์และดอนเมืองโทลล์เวย์ ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 ระบุว่า หากจะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับนักลงทุนต่างชาติ จะต้องมีความยินยอมจากรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะในทุกกรณีไป  ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ระบุเหตุของมตินี้ว่า หากหน่วยงานของรัฐเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือเป็นฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าชดเชย จะเกิดภาระด้านงบประมาณแผ่นดิน และในทุกรัฐบาลที่ผ่านมาจะค่อนข้างระมัดระวังในการเจรจาประเด็นนี้อย่างมาก

“ที่ผ่านมา ผู้เจรจาเอฟทีเอประเด็นนี้จะยึดตามกรอบการเจรจาความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 ที่กำหนดให้ ไม่คุ้มครองการลงทุนที่ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริง (real economic activities) และจะคุ้มครองการลงทุนที่มีการลงทุนแล้ว (post-establishment) เท่านั้น และกำหนดมาตรการที่จำเป็น และเหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ เช่น สิ่งแวดล้อม สุขภาพสาธารณะ มาตรการเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ต้องถูกละไว้ ไม่ให้เป็นประเด็นที่นำไปสู่การฟ้องร้อง แต่ขณะนี้ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กำลังกำหนดกรอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนแก่นักลงทุนต่างประเทศโดยไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะมากนัก เราจึงขอให้การกำหนดกรอบต่างๆเป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาลและโปร่งใส แม้จะดำเนินการในรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารก็ตาม”

นอกจากนี้ ผู้ประสานงานเอฟทีเอ ว็อทช์ระบุว่า นอกเหนือจากคดีบริษัทวอเตอร์บาวน์ ยังมีผู้ถือหุ้นชาวมาเลเซียของบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ซึ่งทำเหมืองทองที่ จ.เลย ได้ยื่นฟ้องร้องรัฐบาลของไทยต่ออนุญาโตตุลาการอีกกรณี

“ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้มีการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ขอให้เปิดเผยต่อสาธารณะอย่างตรงไปตรงมาว่า กรณีนี้มีความคืบหน้าอย่างไร การเจรจาต่อรองจะส่งผลทำให้รัฐบาลไทยต้องย่อหย่อนกฎระเบียบต่างๆ ของ ก.ล.ต.(คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) หรือมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในการทำเหมืองและผลกระทบต่อชุมชนรอบเหมืองหรือไม่อย่างไร เราตระหนักดีว่า รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารย่อมต้องการแสวงหาการยอมรับจากต่างประเทศ แต่นั่นไม่พึงเป็นเหตุให้เกิดการทำลายหรือแลกเปลี่ยนกับนโยบายสาธารณะที่มีไว้เพื่อปกป้องประชาชนและสังคม”

ทั้งนี้ ภาคประชาสังคม 18 องค์กรที่ร่วมลงนามประกอบไปด้วย กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch), เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก,ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย และ โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา

 

 


..........................

 

เนื้อหาจดหมายเปิดผนึก

 

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

 

เรียน                       นายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

สำเนาเรียน           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร)

                                รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พล.อ.ฉัตรชัย สาลิการิยะ)

                                อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (นายชุตินทร คงศักดิ์)

เรื่อง                       ท่าทีและจุดยืนการคุ้มครองการลงทุนที่มีผลกระทบต่อการจัดทำนโยบายสาธารณะ

 

                ตามที่ ขณะนี้หน่วยราชการต่างๆ ดังเช่น กระทรวงพาณิชย์มักจะอ้างว่า กฎหมายต่างๆ ที่กำลังแก้ไขเพื่อให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาวะที่ดีขึ้นซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการปฏิรูปประเทศตามนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบัน อาจสร้าง ‘ผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน’ โดยหน่วยงานของรัฐเหล่านั้นมีท่าทีที่จะขัดขวางหรือชะลอนโยบายสาธารณะที่กล่าวมา อาทิ การแก้ไข พรบ.ยา พ.ศ.2510[1] , การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี มาตรการทำให้สังคมไทยไร้แร่ใยหินภายใน 2 ปี เมื่อวันที่ 12เม.ย.พ.ศ.2554 และ พรบ.ควบคุมยาสูบฉบับใหม่

                พวกเรา ภาคประชาสังคม อันประกอบไปด้วย เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่ายผู้ป่วย เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสุขภาวะ ตามรายนามด้านล่าง ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในเรื่องความตกลงด้านการคุ้มครองการลงทุนระดับทวิภาคี ชี้แจงต่อสาธารณะอย่างเปิดเผยในประเด็นต่อไปนี้

1.     ตัวแทนของกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการของรัฐสภาหลายสมัยและหลายวาระ ยืนยันว่า การคุ้มครองการลงทุนของไทยในความตกลงทวิภาคีฉบับต่างๆนั้น ยังไม่อนุญาตให้มีการฟ้องร้องผ่านกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนต่อนโยบายสาธารณะ ซึ่งรวมทั้งความตกลงด้านการลงทุน (ACIA) ของอาเซียน ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งลอกแบบมาจากมาตรา 20 ของความตกลง GATT ที่เป็นรากฐานของความตกลงในองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ยืนยันสิทธิอันชอบธรรมของประเทศสมาชิกในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนได้ โดยที่ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องให้รัฐบาลประเทศนั้นๆ ยกเลิกนโยบายสาธารณะดังกล่าว หรือเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยอาศัยกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนนอกประเทศ (ISDS) แทนที่จะใช้กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ  ขอให้กระทรวงต่างประเทศยืนยันว่า คำชี้แจงของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภาชุดต่างๆ ยังคงเป็นไปตามนั้นหรือไม่ และหน่วยงานราชากรอื่นๆ รับทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้มากน้อยอย่างไร

2.     ที่ผ่านมา จากการชี้แจงของตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศยืนยันว่า ในความตกลงฯใหม่ๆ รัฐไทยค่อนข้างระมัดระวังในการเจรจาประเด็นนี้มากทีเดียว โดยผู้เจรจายึดตามกรอบการเจรจาความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา[2] เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553 ที่กำหนดให้ ไม่คุ้มครองการลงทุนที่ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจริง (real economic activities) และจะคุ้มครองการลงทุนที่มีการลงทุนแล้ว (post-establishment) เท่านั้น และกำหนดมาตรการที่จำเป็น และเหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ เช่น สิ่งแวดล้อม สุขภาพสาธารณะ มาตรการเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาค ต้องถูกละไว้ ไม่ให้เป็นประเด็นที่นำไปสู่การฟ้องร้อง และเนื่องจากรัฐไทยเคยถูกนักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่า 1,400 ล้านบาทต่ออนุญาโตตุลาการ จากกรณีบริษัทวอเตอร์บาวน์ และดอนเมืองโทลล์เวย์ ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 ระบุว่า หากจะใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับนักลงทุนต่างชาติ จะต้องมีความยินยอมจากรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะในทุกกรณีไป  ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวระบุเหตุของมตินี้ว่า หากหน่วยงานของรัฐเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือเป็นฝ่ายที่ต้องชดใช้ค่าชดเชย จะเกิดภาระด้านงบประมาณแผ่นดิน  จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า จนถึงทุกวันนี้ในการเจรจาการคุ้มครองการลงทุนต่างๆ กระทรวงการต่างประเทศยังคงปฏิบัติตาม มติ ครม.เมื่อวันที่ 28 ก.ค.52 และ กรอบการเจรจาที่ผ่านรัฐสภาเมื่อวันที่ 8 ก.ย.2553 หรือไม่อย่างไร

3.     หลังจากรัฐไทยเคยถูกนักลงทุนต่างชาติจากบริษัทวอเตอร์บาวน์ ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายมูลค่า 1,400 ล้านบาทต่ออนุญาโตตุลาการจากการลงทุนในดอนเมืองโทลล์เวย์ไปแล้ว ยังมีรายงานจากสื่อมวลชนอีกว่า ผู้ถือหุ้นชาวมาเลเซียของบริษัททุ่งคาฮาเบอร์ได้ยื่นฟ้องร้องรัฐบาลของไทยต่ออนุญาโตตุลาการ[3] และกระทรวงการต่างประเทศได้มีการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการกับผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ขอให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า กรณีนี้มีความคืบหน้าอย่างไร การเจรจาต่อรองจะส่งผลทำให้รัฐบาลไทยต้องย่อหย่อนกฎระเบียบต่างๆ ของ ก.ล.ต.หรือมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในการทำเหมืองและผลกระทบต่อชุมชนรอบเหมืองหรือไม่อย่างไร โปรดเปิดเผยต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส

4.     ในขณะนี้กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กำลังกำหนดกรอบการให้ความคุ้มครองการลงทุนแก่นักลงทุนต่างประเทศ ขอให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า กระบวนการนี้ดำเนินไปถึงขั้นไหนแล้วและอย่างไร กระทรวงฯ ได้เปิดเผยต่อสาธารณะมากน้อยเพียงไร  ขอให้ชี้แจง และดำเนินการอย่างมีธรรมาภิบาลด้วย

ทั้งนี้  เราทั้งหมดนี้ไม่ปฏิเสธว่า การค้าและการลงทุนมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไม่มากก็น้อย แต่การค้าและการคุ้มครองกรลงทุนต้องตั้งอยู่บนหลักของธรรมภิบาลและความเป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเป็นหลัก  เรายังคงเชื่อมั่นว่า การค้าและการลงทุนที่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อกระบวนการในการพิจารณาและตัดสินใจ ตลอดจนการเจรจา มีความโปร่งใส ธรรมาภิบาล และมีการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

                จึงเรียนมาเพื่อขอให้ทางรัฐบาลชี้แจงต่อสาธารณชนอย่างเร่งด่วน

 

ขอแสดงความนับถือ

(ภญ. สำลี ใจดี)

กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ,

สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค,

มูลนิธิเภสัชชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย,

โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา

 

 




[1] หนังสือของกระทรวงพาณิชย์ ที่ พณ 0703/275 ลงวันที่ 15 ม.ค.2558 ความตอนหนึ่งว่า “จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศและบรรยากาศการลงทุนของไทย โดยเฉพาะหาก อย.ไม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติซึ่งเข้ามาลงทุนในประเทศขึ้นทะเบียนยาด้วยเหตุโครงสร้างราคายาไม่เหมาะสม นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติอาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐไทยผ่านกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน (Investor-State Dispute Settlement - ISDS) เพื่อปกป้องสิทธิของตนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ออกโดยรัฐบาลไทยภายใต้ความตกลงการคุ้มครองการลงทุนทวิภาคี ซึ่งปัจจุบันไทยมีความตกลงคุ้มครองการลงทุนทวิภาคีบังคับใช้แล้วกว่า 37 ฉบับ และอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำอีกกว่า 50 ฉบับ”

[2] ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อวันที่ 8 ก.ย.2553 http://www.mfa.go.th/business

[3] ผู้ถือหุ้น”ทุ่งคา”ยื่นฟ้อง รบ. ก.ล.ต.มึนปมต้านเหมืองทองคำ จ.เลยบานปลาย, ประชาชาติธุรกิจ 23 ส.ค.57

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ขอแสดงความยินดีด้วยสหาย

$
0
0


                                                           
                                     
เป็นไงสหาย
ที่เคยใส่ร้ายป้ายสีเขาไปทั่ว
คำประชาชนคำก็มหาประชาชนระรัว
คนอื่นชั่วเมื่อไม่เอาไม่ตามใจ

ที่เคยกร่างเบ่งบอกจะปฏิรูป
รักกอดจูบแกนนำ น้ำปลื้มไหล
เลิกเผด็จการเสียงข้างมาก ประชาธิปไตย
ประชาชนต้องเป็นใหญ่ถล่มทลาย

ปิดบ้านทิ้งเรือน นั่งเครื่องบิน
ไปอยู่กินสนุกกันหลากหลาย
ปิดเมืองปิดถนน พล่านท้าทาย
ไม่สนใจกฏหมาย ลงขันเงินตรา

คงยังไม่ลืมนะสหาย
วาดฝันอันพริ้งพราย สวยหนักหนา
คนโกงจะหมดสิ้น จากแผ่นดินมารดา
ราคาพืชผล เต็มยุติธรรม

ข้าวชาวนา ยางพารา สวนปาล์ม
ราคาจะงามไม่ตกต่ำ
ทุนนิยมสามานย์เคยกระทำ
จะสิ้นซากคนนำบางตระกูล

เป็นอย่างไรสหาย
สบายสมอยาก สิ่งเคยสูญ
ยึดประเทศมาได้ รัฐธรรมนูญ
ได้คืนมาสมบูรณ์ คงสมใจ

คงไม่มีการนิรโทษกรรม
อย่างพวกศีลธรรมต่ำ แล้วใช่ไหม
ในรัฐธรรมนูญคงไม่เขียนไว้
เรื่องให้นิรโทษกรรมตัวเอง

ยังนอนกับลูกกับเมียเปี่ยมสุขศรี
เมียคงปรนเปรอผัวดี ยิ้มบานเบ่ง
ไทยไม่เป็นทาสแล้ว แสนครื้นเครง
ไม่มีใครเอาเปรียบข่มเหง สหายแล้ว

อ่านรัฐธรรมนูญใหม่แล้วนะสหาย
ประกายฉลาด จรัสแก้ว
คงเต็มตาสมอง อยู่พราวแพรว
เป็นหลักแนวแถวหน้าของโลกสินะ

ขอแสดงความยินดีด้วย คนเก่งสหาย
ลูกหลานคงสบายไปทุกขณะ
มรดกแห่งความมืดมน ภาระ
คงผละไปจากลูกหลานเคยอ้างกัน

มีความสุขและเชื่องดีนะสหาย
ควายและอีโง่ สมาธิสั้น
พร้อมกับรัฐธรรมนูญใหม่คงสูญพันธุ์
ไชโยให้โลกลั่นเลย สหายที่รัก!

 


00:02 น./ 19 เมษายน 2015
เนินตะวัน - พรหมคีรี: นครศรีธรรมราช
"หลังอ่านกวาด ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2558"
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย : 50 ปีกำเนิดชาติสิงคโปร์

$
0
0

 

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ เป็นควันหลงอันเนื่องจากการถึงแก่อสัญกรรมของ ‘ลีกวนยู’ อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทโดดเด่นอย่างสำคัญในการสร้างประเทศ รายการในเทปนี้ชวนท่านผู้ชมมาทำความรู้จักประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ อันเก่าแก่แห่งนี้ ในแง่มุมด้านประวัติศาสตร์ กำเนิดและความเป็นมาของสิงคโปร์ รวมถึงการเรื่องราวของลีกวนยูที่นำการพัฒนาประเทศจนมีความเจริญก้าวหน้าเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค พบกับ อรรถ บุนนาค และแขกรับเชิญ ‘ลลิตา หาญวงศ์’ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ facebook.com/maihetpraphetthai

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: ศาสนาของโลกในอนาคต

$
0
0

 

ในขณะที่โลกเรากำลังสับสนวุ่นวายเพราะเหตุแห่งความขัดแย้งทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งต่างศาสนาเช่น พุทธศาสนิกชนกับชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ของพม่า ความขัดแย้งในศาสนาเดียวกันระว่างสุหนี่กับชีอะห์ของศาสนาอิสลาม หรือแม้แต่ในไทยเราเองระหว่างเอาธรรมกายกับไม่เอาธรรมกาย ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดเพราะเป็นเรื่องของความเชื่อและศรัทธา ซึ่งในอดีตก็เคยมีการสู้รบกันอย่างยาวนานถึงสามร้อยปีคือคริสต์กับอิสลามในสงครามครูเสด ผมในฐานะของผู้ที่สนใจศึกษาในศาสนามาอย่างยาวนานแม้ว่าจะยืนยันตนเองในรายการของสำเนาทะเบียนบ้านว่าไม่นับถือศาสนาใดๆเป็นการเฉพาะก็ตาม ก็ได้พบว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจที่น่าจะนำมาเสนอต่อผู้อ่าน

ข้อมูลดังกล่าวที่ว่าก็ได้มาจากการสำรวจของสำนักวิจัยพิว(Pew Research Center) ในสหรัฐอเมริกาพบว่าในปี 2050(2593)หรือในอีก 35 ปีข้างหน้าซึ่งโลกจะมีประชากร 9.3 พันล้านคน หากสถิติการเพิ่มของประชากรของโลกยังอยู่ในอัตราปัจจุบันนี้เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติของปี2010 แล้วพบว่า

1)โลกจะมีจำนวนชาวมุสลิมใกล้เคียงกับชาวคริสต์ คือ 2.8 : 2.9 พันล้านคน(30:31%) ซึ่งในปี 2010 ศาสนาคริสต์มีผู้นับถือมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง(31%) คือ 2.2 พันล้านคนซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของประชากรโลกที่มีอยู่ 6.9 พันล้านคน ส่วนศาสนาอิสลามมีผู้นับถือเป็นอันดับสอง คือ 1.6 พันล้านคน หรือ 23 %

2)พวกที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ(ซึ่งอยู่ในอันดับสามของโลกรองจากคริสต์และอิสลาม) ที่ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสโดยจะเพิ่มจากเดิมในปัจจุบัน 1.1 พันล้านคนอีกประมาณ100 ล้านคนเป็น 1.2 พันล้านคน แต่อัตราส่วนโดยรวมต่อประชากรของโลกจะลดลงจาก 16% เป็น 13%

3)จำนวนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธจะคงที่เท่ากับปี2010 เนื่องจากประเทศที่มีชาวพุทธส่วนใหญ่จะอยู่ในสังคมคนสูงวัย(aging population)และอัตราการเกิดต่ำ(low fertility rates) เช่น จีน ไทยและญี่ปุ่น เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู(Hindu)กับชาวยิว(Jewish)กลับมีจำนวนมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

4)ในยุโรปประชากรชาวมุสลิมจะมีจำนวนเพิ่มเป็น 10 % ของประชากรชาวยุโรป

5)ในอินเดียผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูจะยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามในอินเดียจะมีจำนวนมากที่สุดในโลกแซงอินโดนีเซียในปัจจุบัน ในภาพรวมทั้งโลกผู้นับถือศาสนาฮินดูจะเพิ่มขึ้น 34%จากจำนวนเกินหนึ่งพันล้านคนนิดหน่อยไปเป็นเกือบ 1.4 พันล้านคน

6)ในสหรัฐอเมริกาชาวคริสต์จะมีจำนวนลดลงจากเดิมที่มีจำนวนสามในสี่ของประชากรปี2010ไปเป็นสองในสามในปี2050 จำนวนผู้นับถือศาสนายูดาย(Judaism)จะไม่มีจำนวนมากที่สุดของบรรดาผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ในสหรัฐอเมริกาอีกต่อไป แต่จำนวนชาวมุสลิมในสหรัฐอเมริกาจะมีจำนวนมากกว่าผู้ที่ระบุตนเองว่าเป็นชาวยิว(Jewish)แทน

7)จากสีในทุกๆสิบคนของชาวคริสต์ในโลกนี้จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในซับสะฮาราอาฟริกา(sub-Saharan Africa)

นอกจากนั้นในรายงานยังระบุว่าในทศวรรษที่จะถึงนี้ศาสนาคริสต์จะเสียดุลของการเปลี่ยนศาสนา โดยจะมีผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ 40 ล้านคน แต่ในขณะเดียวกลับสูญเสียไป 106 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เปลี่ยนไปเป็นผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆ

แนวโน้มหลังจากปี 2050(2593)

ถ้าแนวโน้มยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องเช่นเดิมจำนวนชาวมุสลิมจะมีอัตราส่วนเท่ากับชาวคริสต์คือ 32% ในราวๆปี2070(2613) หลังจากนั้นจำนวนของชาวมุสลิมจะมากกว่าชาวคริสต์และก่อนปี2100(2643)จะมีชาวมุสลิม 35 % และชาวคริสต์ 34%

ที่นำข้อมูลทั้งหมดมาเสนอนี้เพื่อเป็นข้อมูลทางวิชาการเพื่อให้ศาสนิกแต่ละศาสนาให้รู้ว่ามีข้อมูลและแนวโน้มเช่นนี้อยู่ ส่วนใครจะนำไปปรับใช้อย่างไรก็สุดแล้วแต่มุมมองของแต่ละคนครับ

 

 

 

หมายเหตุ
1)สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมรายงานฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://www.pewforum.org/2015/04/02/religious-projections-2010-2050/

2)ผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 15 เมษายน 2558

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิจารณ์ชี้ 5 ข้อ ความตกลงการค้า TPP เอื้อบรรษัทข้ามชาติ ทำลายประเทศคู่ค้า

$
0
0

18 เม.ย. 2558 เดวิด คอร์เตน นักวิจารณ์บรรษัทตัวยงผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการวารสาร YES! เขียนบทความเกี่ยวกับการหารืออย่างลับๆ ในการประชุมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ซึ่งทางผู้นำสหรัฐฯ กำลังส่งร่างข้อตกลงสุดท้ายให้กับรัฐสภาพิจารณาเร็วๆ นี้

จากเอกสารลับเกี่ยวกับความตกลง TPP ที่ถูกเปิดโปงระบุว่าข้อตกลงดังกล่าวนี้ไม่ได้สนับสนุนสิทธิแรงงาน การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กตามที่กล่าวอ้างโดยรัฐบาลสหรัฐฯ

คอร์เดนอ้างอิงร่างเอกสารลับที่ลงวันที่ 20 ม.ค. ที่ถูกเปิดโปงโดยเว็บไซต์วิกิลีกส์ ระบุให้เห็นว่ากลุ่มผู้สนับสนุน TPP พยายามปกปิดเอกสารลับเหล่านี้เพื่อทำให้การเจรจาดำเนินไปอย่างปิดลับ และสิ่งที่ถูกเปิดโปงเป็นไปตามสิ่งที่กลุ่มต่อต้านความตกลง TPP เคยวิจารณ์ไว้ คือการที่ข้อตกลงนี้ให้อำนาจบรรษัทในการฟ้องร้องรัฐบาลถ้าหากรัฐบาลช่วยเหลือคุ้มครองแรงงานหรือสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังทำให้การช่วยเหลือธุรกิจในท้องถิ่นโดยรัฐบาลเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

คอร์เตนช่วยย่อยเอกสารลับของการประชุม TPP ออกมาเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายและเผยแพร่เป็นหัวข้อต่างๆ ในบทความดังต่อไปนี้

1) การสั่งห้ามสนับสนุนเจ้าของธุรกิจท้องถิ่นเกินหน้าบรรษัทยักษ์

ในข้อตกลง TPP ส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการลงทุนมีการระบุข้อควรปฏิบัติของประเทศสมาชิกต่อนักลงทุนจากต่างชาติไว้ว่า ประเทศสมาชิกควรปฏิบัติต่อนักลงทุนจากประเทศสมาชิกชาติอื่นในระดับที่ไม่ด้อยไปกว่าปฏิบัติกับนักลงทุนในชาติตนเองด้านต่างๆ ของธุรกิจ ทั้งการก่อตั้ง การจัดหา การขยาย การบริหาร การดำเนินการ การปฏิบัติการ และการขาย รวมถึงแง่มุมอื่นๆ ของการลงทุน ซึ่งสรุปอย่างง่ายว่าห้ามการสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นเหนือธุรกิจต่างชาติในด้านต่างๆ รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย

ในเวลาต่อมาประเทศสมาชิกทั้ง 12 ประเทศยังประกาศยกเลิกสิทธิในการสนับสนุนเข้าข้างเจ้าของธุรกิจในประเทศตนไม่ว่าจะในระดับเล็กหรือระดับใหญ่ แม้ว่าธุรกิจในประเทศเหล่านั้นจะส่งเสริมให้มีการสร้างงาน สร้างสินค้าและการบรอการเพื่อรับใช้คนในประเทศ โดยถูกระบุให้ปฏิบัติต่อบรรษัทข้ามชาติเท่าๆ กับธุรกิจในประเทศตนเอง

2) ต้องมีการจ่ายให้กับบรรษัทในกรณีที่ต้องกำจัดมลภาวะ

ในข้อตกลงของ TPP ยังมีการกำหนดเงื่อนไขห้ามไม่ให้มีการอายัดหรือทำให้ "การลงทุน" กลายเป็นของประเทศนั้นๆ ซึ่งอาจจะฟังดูมีเหตุผล แต่ข้อตกลงนี้มีการนิยามการลงทุนว่าหมายรวมถึง "ความคาดหวังรายได้หรือกำไร" คอร์เตนระบุว่าการนิยามนี้เปิดโอกาสให้บรรษัทฟ้องร้องประเทศสมาชิกได้หากประเทศสมาชิกออกกฎที่ทำให้บรรษัทมีผลกำไรที่คาดหวังไว้ลดลงเช่น การสั่งห้ามขายสินค้าอันตราย การห้ามทำลายสิ่งแวดล้อม หรือห้ามกดขี่แรงงาน

"พูดอีกอย่างหนึ่งคือประเทศสมาชิก TPP มีสิทธิในการยับยั้งบรรษัทต่างประเทศในการทำร้ายประชาชนและสิ่งแวดล้อมของพวกเขา แต่ทว่าประเทศนั้นๆ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับบรรษัทเพื่อไม่ให้พวกเขาทำสิ่งเหล่านั้น" คอร์เตนระบุในบทความ

องค์กรจับตามองการค้าเสรีระบุว่าข้อตกลงทำนองเดียวกันนี้เคยมีระบุไว้ในความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เช่นกัน โดยมีบรรษัทต่างชาติชนะคดีได้รับค่าชดเชยจากรัฐรวม 360 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินภาษีประชาชนสหรัฐฯ

3) มีการตั้งศาลลับโดยอาศัยนักกฎหมาย 3 คน

ข้อมูลที่ถูกเปิดโปงระบุอีกว่าประเทศสมาชิกจะมีวิธีการแก้ไขข้อพิพาทด้วยการตั้งศาลยุติธรรมที่ประกอบด้วยผู้ตัดสิน 3 คน สองคนแรกมาจากการแต่งตั้งของคู่ขัดแย้งที่มีข้อพิพาทกันฝ่ายละหนึ่งคน คนที่สามจะเป็นผู้ตัดสินที่มาจากการแต่งตั้งโดยการตกลงกันระหว่างคู่ขัดแย้ง ทั้งนี้เว้นแต่คู่ขัดแย้งจะตกลงร่วมกันให้เป็นไปในลักษณะอื่น

คอร์เตนระบุว่า ผู้ตัดสินที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนักกฎหมายที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน ซึ่งเป็นความพยายามให้อำนาจกับบรรษัทในการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากสาธารณะ อีกทั้งยังมีการปกปิดกระบวนการศาลและตัวตนของผู้ตัดสินเป็นความลับ ทำให้การตัดสินไม่ได้รับการพิจารณาจากระบบยุติธรรมของชาตินั้นๆ

สำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทม์ระบุว่าศาลของ TPP มีต้นแบบมาจากศาลแบบเดียวกับ NAFTA ซึ่งให้อำนาจพลิกคำตัดสินแม้แต่จากศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ได้ จอห์น ดี อีเชเวอร์เรีย นักวิชาการด้านกฎหมายจากมหาวิทยลัยจอร์จทาวน์กล่าวว่า วิธีการแก้ไขข้อพิพาทแบบนี้เป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อความเป็นอิสระของระบบศาลสหรัฐฯ

4) ให้สิทธินักเก็งกำไรเคลื่อนย้ายเงินได้เต็มที่

ในข้อตกลงยังระบุห้ามไม่ให้มีการจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินข้ามประเทศ แต่กลับให้สิทธินักเก็งกำไรในการทำลายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ผ่านการชักใยอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดการเงินโดยไม่มีการแทรกแซงจากรัฐบาลชาตินั้นๆ โดยการห้ามไม่ให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกมีสิทธิจำกัดการเก็งกำไร

5) ให้ผลประโยชน์บรรษัทมาก่อนผลประโยชน์ของชาติ

ส่วนหนึ่งของข้อตกลงระบุเน้นย้ำให้เห็นว่าบรรษัทไม่จำเป็นต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศที่พวกเขาทำธุรกิจอยู่ โดยสั่งห้ามไม่ให้ประเทศสมาชิกออกข้อบังคับให้บรรษัทต้องผลิตเพื่อส่งออกหรือใช้ในประเทศตามที่กำหนดจำนวนไว้ รวมถึงไม่สามารถออกข้อบังคับให้ต้องซื้อสินค้าหรือทำสัญญาเรื่องการใช้สินค้าของผลิตภัณฑ์ในประเทศนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมอีก 6 ข้อซึ่งระบุไปในทางไม่จำเป็นต้องให้บรรษัททำประโยชน์ต่อประเทศ

ถึงแม้เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลโอบามาจะอ้างว่าข้อกำหนดข้างต้นมีไว้เพื่อให้บริษัทสัญชาติอเมริกันมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นบ้างในการทำธุรกิจกับต่างชาติ แต่คอร์เตนก็ตั้งคำถามสำคัญว่า "บริษัทสัญชาติอเมริกันคืออะไรกันแน่"

โดยบทความของคอร์เตนระบุถึงการที่บรรษัทขนาดใหญ่ที่ทำกำไรมหาศาลระดับล้านล้านโดยมีที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ หลีกเลี่ยงจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เหตุใดถึงยังเรียกบรรษัทเหล่านี้ว่ามีสัญชาติอเมริกันฯ

คอร์เตนระบุอีกว่า การอนุมัติ TPP จะหมายถึงการบูชายันต์ประชาธิปไตยและสิทธิในการควบคุมตลาดและทรัพยากรเพื่อทำประโยชน์ให้ส่วนรวมของพวกเขาเพื่อให้ประโยชน์กับพวกบรรษัทที่แอบอ้างชาติอเมริกันในการกดขี่ประชาชนประเทศอื่นและใช้ทรัพยากรของประเทศอื่นที่ร่วมลงนามในข้อตกลงที่ต่ำทรามนี้ด้วย

 

เรียบเรียงจาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานพิเศษ: เยียวยารอยร้าว…หลังเหตุการณ์สุคิริน

$
0
0

รายงานพิเศษจากพื้นที่ เรื่องราวต่อเนื่องหลังความตาย 4 ศพ ที่บ้านน้อมเกล้า ต.สุคิริน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ตอน เยียวยารอยร้าว…หลังเหตุการณ์สุคิริน

การเยียวยาข้ามวัฒนธรรมสมานบาดแผลและรอยร้าวทางใจกรณีเหตุการณ์สี่ศพ ที่สุคิริน

“ใช้สุขให้เยอะ ทุกข์ไม่ต้องเอามาใช้ มันหนัก เกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา” ยายเจียม รัตนะ วัย 88 ปี บอกกล่าวแก่สมาชิกเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ และสมาชิกสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ที่ไปแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต ณ วัดลำภู อ.เมือง จ.นราธิวาส ในวันที่ 17 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นวันฌาปนกิจศพนางอารีและนายสมนึก รัตนะ  สองแม่ลูกที่ถูกยิงเสียชีวิตภายในบ้านพักและจุดไฟเผา ณ บ้านน้อมเกล้า ม.12 ต.สุคิริน อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ทั้งสองเป็นลูกสาวและหลานชายของยายเจียม ศพของคนทั้งสองตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ในวัดแห่งนี้ เพื่อความสะดวกในการจัดการงานศพ ของญาติและผู้มาร่วมงาน

นับเนื่องจากช่วงค่ำวันที่ 12 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงวันสงกรานต์ของพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศ รวมทั้งในพื้นที่ชายแดนใต้ เป็นช่วงเกิดเหตุร้ายกับพี่น้องไทยพุทธ 4 รายคือ นางอารี และ นายสมนึก รัตนะ สองแม่ลูก และ นายจุลกับนางดำ อินเอิบ สองสามีภรรยา ทั้งสี่ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมถูกจุดไฟเผาในบ้านพัก

สองครอบครัวนี้ เป็นสองครอบครัวสุดท้ายของพี่น้องไทยพุทธที่ยังคงปักหลักอาศัยและทำมาหากิน ณ บ้านน้อมเกล้า มาเกือบ 30 ปี จนเริ่มมีสถานการณ์ร้ายเกิดขึ้นในพื้นที่ และเกิดเหตุกับเพื่อบ้านใกล้กัน ทำให้ผู้เสียชีวิตทั้งสี่เตรียมตัวละทิ้งทุกอย่างไปอยู่กับลูกหลานในพื้นที่ที่คิดว่าปลอดภัยกว่า หากแต่ยังมิทันได้ย้ายกลับ ก็มาเกิดเหตุร้ายเสียก่อน

“หมดแล้ว ไม่มีใครเหลือ เรามีอยู่แค่นี้จะไปแบกปืนก็ไม่ใช่ กำลังเตรียมทำบ้านเตรียมย้ายออกมาอยู่ที่ลำภู แต่ก็ออกมาไม่ทัน” วนิดา รัตนะ ลูกสาวคนโตของนางอารี บอกด้วยสายตาหมดหวัง

“วันที่ 11 ได้ไปรับแม่ออกมานอนด้วยที่นี่ พอวันที่ 12 ทำพิธีรดน้ำดำหัวเสร็จเขาบอกว่าจะกลับ บอกให้นอนอีกคืนก็ไม่ยอม เขาว่าไม่ได้เตรียมเสื้อผ้ามา กลับบ้านดีกว่า ยาก็ไม่ได้เอามา น้องเขยไปส่งตอนสี่โมงเย็น พอหกโมงแม่ก็โดนยิง มีคนโทรมาบอกตอนทุ่มกว่า บ้านที่ถูกเผา ชาวบ้านแถวนั้นก็มาช่วยดับไฟ จริงๆ วันนั้นจะตามแม่กลับไปด้วย แต่บ้านที่น้อมเกล้า น้ำจะแห้งเวลาหน้าร้อน ลำบากเรื่องน้ำ จึงไม่ได้ตามไป ไม่อย่างนั้นคงโดนมากกว่านี้”

เธอบอกด้วยว่าแม่และน้องชายกำลังเตรียมการที่จะมาอยู่ด้วยกันที่ ต.ลำภู ซึ่งเธอได้มาใช้ชีวิตกับครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว สาเหตุที่แม่ของเธอตัดสินใจนาน เพราะเป็นห่วงบ้าน สวนยางและสวนผลไม้ ที่เป็นรายได้หลัก

“แม่สู้ชีวิต ทำงานหนักมาตลอด ตั้งแต่ไปเริ่มบุกเบิกทำมาหากินตรงนั้น จนกระทั่งพ่อและน้าชายมาถูกยิงเมื่อปี 2547 แม่ก็สู้มาตลอด พวกเราย้ายออกมาก่อน แม่อยู่กับน้องชายคนสุดท้อง ที่ดินเป็นสวนผสม 20 ไร่ มีสวนยาง 7 ไร่ นอกนั้นเป็นสวนผลไม้ บางอย่างไม่ต้องออกมาขายที่ตลาด พี่น้องมุสลิมที่อยู่ใกล้ๆ กันก็มาช่วยซื้อกันตลอด เราอยู่กันมาเป็น 30 ปี ไม่เคยมีอะไรผิดใจกัน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมาตลอด”

ด้วยความที่มีอยู่กันเพียงสองครอบครัวสี่ชีวิตของครอบครัวรัตนะ และครอบครัวอินเอิบ ที่บ้านรั้วติดกัน ทำให้ลูกหลานก็สนิทชิดเชื้อกัน แต่รุ่นลูก รุ่นหลานของสองครอบครัวนี้จะออกมาอยู่กันแถววัดลำภูเป็นส่วนใหญ่ เพราะดั้งเดิมเป็นคนที่นี่ และเมื่อเกิดสถานการณ์ ก็ไม่มีลูกหลานคนไหนกลับไปอยู่และทำมาหากินในชุมชนบ้านน้อมเกล้านี้อีก  จนเกิดเหตุสลดใจล่าสุดขึ้น ทุกคนจึงเห็นพ้องกันว่าให้ขายที่ดิน

วนิดาบอกว่า เมื่อจัดการงานศพแม่และน้องชายเสร็จ ก็จะเข้าไปขนย้ายข้าวของที่บ้านน้อมเกล้า ส่วนเรื่องที่ดินนั้นอยากขาย และทราบว่าทางเจ้าหน้าที่อาจจะเข้าไปตั้งฐานตรงจุดนั้น จะเป็นอย่างไรต่อก็ไม่ว่าอะไร เพราะเธอเองก็ไม่มีกำลังที่จะไปทำอะไรในที่ดินนั้นอีกแล้ว

ในงานศพวันนั้น  ลูกสาวคนโตของนายจุลและนางดำ อินเอิบ สองสามีภรรยา เพื่อนบ้านของอารีที่ถูกยิงและเผาเช่นเดียวกันคือ อุบล อินเอิบ อยู่ในงานศพเช่นกัน ศพของพ่อแม่เธอฌาปนกิจไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน เธอต้อนรับคณะผู้มาเยือนต่างศาสนิกด้วยท่าทีเป็นมิตร

อุบลบอกว่า พ่อและแม่ของเธอกำลังเตรียมตัวทานข้าวเย็นแต่มาเกิดเหตุร้ายก่อน

“เขาอยู่กันสองคนตายาย มีลูกสี่คน ออกมาอยู่ข้างนอกหมด อยู่นราธิวาสสามคน อยู่นครราชสีมาหนึ่งคน ชวนพ่อแม่ออกมาอยู่ด้วยกัน เขาก็กำลังตัดสินใจ เราเองก็เข้าไปหาเดือนละครั้ง ไม่ได้ไปหาตลอด แม่กรีดยางเอง เพราะเพิ่งเปิดหน้ากรีดได้ 2 ปี ส่วนพ่อไม่ได้ทำอะไรดูแลสวนผลไม้ที่มี”

“เราไม่เคยมีปัญหากับใคร มุสลิมทำตูป๊ะ(ข้าวต้มมัด)  ทำขนมก็เอามาให้ แม่ปลูกผักก็เอาไปให้ เป็นความเอื้ออาทรที่มีให้กัน เรื่องที่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้ว่าใครเป็นคนทำ ในวันเกิดเหตุการณ์เดียวกันนี้ ยางแผ่นสวยๆ ที่แม่เก็บไว้ก็ถูกขโมย ยางแผ่นหลังบ้านก็เอามาเผา ขี้ยางในสวนก็ถูกขโมยในช่วงที่ขนศพออกมา เพื่อนบ้านจะไปเอาขี้ยางมาขาย เพื่อเอาเงินมาช่วยงานศพก็ไม่ทัน เหตุการณ์ครั้งนี้มันสะท้อนใจ ไม่ดูข่าว ดูไลน์เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นกับพ่อและแม่ ถ้าดูแล้วสะเทือนใจ”

ลม้าย มานะการ ตัวแทนจากสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพฯ ที่ไปร่วมในงานวันนั้นด้วยบอกว่าดีใจและประทับใจ เมื่อพี่น้องเครือข่ายภาคประชาสังคมบอกว่า อยากไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ

“ตื้นตันแทนญาติ บางองค์กรหยิบเรื่องนี้มาปรึกษากัน และลงมติส่งตัวแทนไปเยี่ยม รู้สึกมีความหวังว่า ภาคประชาสังคมไม่ทอดทิ้งกัน ที่คาดหวังในฐานะที่อยู่ที่นี่มา และคงอยู่ต่อไปคือ จะร่วมแชร์กับพวกเราที่เป็นประชาสังคมทั้งหลาย ให้เป็นตัวต่อที่สำคัญของการสร้างสันติภาพ ถ้าสันติภาพนั้นหมายถึง ความสัมพันธ์ที่ช่องว่างของการแบ่งพวก แบ่งฝ่าย มีน้อยที่สุด ทุกคนมีความปรารถนาดีต่อกัน อยากให้ทุกคนปลอดภัย  มีพื้นที่ปลอดภัย อยากให้ประชาสังคม ศอ.บต. กอ.รมน. และชุมชนช่วยกันสร้างสิ่งนี้ ในพื้นที่อันดับแรกเลย ที่เร่งด่วน คือพื้นที่ชุมชนพุทธมุสลิมอยู่ร่วมกัน ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ ของทั้งฝ่ายก่อการเอง  ฝ่ายรัฐ ฝ่ายชุมชน และประชาสังคม ซึ่งเราต้องร่วมกันทำอะไรที่เป็นรูปธรรม เพื่อไม่ให้ใครต้องเป็นเหยื่อและถูกบังคับให้ต้องทิ้งถิ่นฐาน ไม่ว่าชุมชนนั้นจะมีพี่น้องส่วนน้อยส่วนใหญ่เป็นใคร ทุกคนมีสิทธิอยู่อย่างปลอดภัย”

คำนึง ชำนาญกิจ จากเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมฯ ที่ไปร่วมเยี่ยมครอบครัวด้วยในวันนั้น บอกว่า แม้ว่าเธอเป็นมุสลิม แต่ก็เห็นใจในชะตากรรมที่พี่น้องพุทธประสบ ตอนแรกก็รู้สึกกลัวๆเหมือนกันที่จะมาเยี่ยม  ไม่รู้ว่าพี่น้องชาวพุทธ จะต้อนรับหรือเปล่า หรืออาจจะรู้สึกไม่ดี หรือหวาดระแวงต่อพี่น้องมุสลิมหรือเปล่า แต่เมื่อมาเยี่ยมแล้ว  ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบก็ดีใจ  รู้สึกมีกำลังใจ  และรู้ว่าพี่น้องมุสลิมก็ห่วงใยเขา

คำนึง บอกว่า เหตุการณ์ความรุนแรงรายวัน  อาจมีแรงขึ้น ทั้งประชาชนชาวพุทธ มุสลิมกลายเป็นเหยื่อ ข้ามไปมา  จึงอาจจะทำให้เกิดความหวาดระแวง และรอยร้าวระหว่างคนสองศาสนามากขึ้น การเยี่ยมครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบแบบข้ามวัฒนธรรม เช่นพุทธเยี่ยมมุสลิม มุสลิมเยี่ยมพุทธ  เพื่อแสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างทุกข์ร้อนในความตายของอีกฝ่าย  จะช่วยเยียวยาความรู้สึก และสมานรอยร้าวทางใจของกันและกันได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58140 articles
Browse latest View live




Latest Images