Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

ข่าวสารการประท้วงทั่วไทย 23-29 พ.ย. 2558

$
0
0
กำนัน-ผญบ.พร้อมลูกบ้านรวมตัวขับเจ้าอาวาส “วัดคลองบางไผ่” บริหารเงินไม่โปร่งใส
 
(22 พ.ย.) ชาวบ้านคลองบางไผ่ ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง กว่า 50 คน นั่งชูป้าย “ไม่เอาเจ้าอาวาส” “ออกไป” “ทำไมวัดไม่มีกรรมการวัด” บริเวณภายในวัด โดยมีนายชวลิต ร่มรื่น กำนันตำบลสำนักท้อน นายธวัชชัย ทองอิ่ม ที่ปรึกษากำนัน นายมนตรี คุ้มครอง สารวัตรกำนัน นายวุฒิชัย ทรงศิริ และนายวินัย นิลไพร ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ต.สำนักท้อน เข้าร่วมกับชาวบ้าน โดยมี นายนรินทร์ แซ่จู ปลัดอำเภอบ้านฉาง พ.จ.ท.เจริญศักดิ์ แสงสว่าง เจ้าหน้าที่ชุด รปภ.ทร.ที่ 4 ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านฉาง นำกำลังมาดูแลความสงบเรียบร้อย
       
นายชวลิต ร่มรื่น กำนันตำบลสำนักท้อน เปิดเผยว่า ชาวบ้านต้องการขอเปลี่ยนเจ้าอาวาสวัดคลองบางไผ่คนปัจจุบัน เนื่องชาวบ้านไม่พอใจเจ้าอาวาสหลายเรื่อง โดยเก็บความรู้สึกที่สะสมมานาน สาเหตุแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา ชาวบ้านหมู่ 4 ต.สำนักท้อน รวมทั้งสิ้น 184 ครัวเรือน ถูกน้ำท่วมบ้านมิดหลังคาเป็นวันมหาวิปโยค หนักที่สุดประสบความเดือดร้อนแสนสาหัสไม่มีที่พักอาศัยต้องอพยพมาอยู่กันบริเวณริมถนน
       
ตนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ได้พาชาวบ้านซึ่งเป็นคนสูงอายุ เด็ก และสตรี จำนวน 70 คน มาขอพักอาศัยที่วัดเป็นการชั่วคราว โดยให้ผู้ชายคอยเฝ้าสิ่งของที่บ้าน แต่เจ้าอาวาสไม่ให้เข้าพักอาศัยที่ศาลาวัดติดกับโรงครัว โดยให้มานอนที่บริเวณด้านนอกหน้าศาลาเมรุฌาปนกิจศพ ทั้งที่ฝนกำลังตกหนัก จึงต้องย้ายมานอนศาลาบริเวณหน้าโรงเรียน สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
       
นายชวลิต ร่มรื่น กำนันตำบลสำนักท้อน กล่าวต่อว่า ชาวบ้านไปยืมของเครื่องใช้เพื่อจะนำไปใช้ในการทำบุญก็ไม่ให้ยืม รวมทั้งบริหารวัดโดยไม่เอาคณะกรรมการวัด ทำให้ชาวบ้านสงสัยเรื่องรายรับรายจ่ายการเงินของวัด แต่จะตั้งกรรมการวัดเฉพาะกรณีที่มีงานทอดกฐิน หรืองานพิธีต่างๆเท่านั้น ปัจจุบันเบิกจ่ายเงินบริหารการเงินของวัดเพียงผู้เดียว และยังมีอีกหลายเรื่องซึ่งทำให้ชาวบ้านไม่พอใจมารวมตัวต้องการให้เปลี่ยนเจ้าอาวาสโดยเร็ว
       
ขณะเดียวกัน ชาวบ้านที่มารวมตัวกันจะเข้าไปพบเจ้าอาวาสบนวัด แต่ถูกชาวบ้านส่วนหนึ่งกีดกันไม่ให้เข้าไปบนวัด จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารต้องเข้าไปเจรจา และขอให้ส่งตัวแทนเข้าไปคุย จำนวน 20 คน
       
ขณะที่ตัวแทนชาวบ้านยื่นคำถามให้เจ้าอาวาสตอบว่าทำไมบริหารการเงินรายรับรายจ่ายไม่แต่งตั้งคณะกรรมการวัดเข้ามาร่วมตรวจสอบ ทำไม่ยืมสิ่งของเพื่อจะนำไปใช้งานบุญก็ไม่ให้ และอยากทราบว่า ปัจจุบันเงินของวัดมีเหลืออยู่เท่าไหร่ ทำให้เกิดมีปากเสียงกับชาวบ้านส่วนหนึ่งที่อยู่กับเจ้าอาวาส เมื่อการเจรจากันไม่รู้เรื่อง เจ้าหน้าที่จึงต้องให้ชาวบ้านลงจากวัดมารวมตัวกันด้านล่าง สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบ้าน และบอกว่าไม่ต้องการให้เจ้าอาวาสอยู่ต่อไปขอให้เปลี่ยนเจ้าอาวาสใหม่ 
 
 
คนไทยพลัดถิ่นหัวหิน ประท้วงตร.หนองพลับจับกุมตั้งข้อหามั่ว
 
(23 พ.ย.58) นายศึกฤทธิ์ เต็มฟอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)บึงนคร อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นตัวแทนนำคนไทยพลัดถิ่นกว่า 300 คน จากหมู่บ้านแพรกตะคร้อ และบ้านท่าไม้ลาย ต.บึงนคร เดินทางไปรวมตัวประท้วง ที่บริเวณด้านหน้า สภ.บ้านหนองพลับ อ.หัวหิน เนื่องจากไม่พอใจกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมคนไทยพลัดถิ่น 3 ราย ประกอบด้วย นายน้อย ปลอดโปร่ง นางมูนะ เวนะ และนางดาว ปลอดโปร่ง  พร้อมตั้งข้อหาเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต 
 
ต่อมานายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม นายอำเภอหัวหิน พ.ต.อ.บุญธรรม วรรณรัตน์ รองผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พ.ต.อ.ฤทธิ์รงค์ กันยาประสิทธิ์ ผกก.สภ.บ้านหนองพลับ ร.อ.ธีระพงษ์ นามสละ ตัวแทนจากมณฑลทหารบกที่ 15 (มทบ.15) นำกำลังเจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายปกครองดูแลความสงบเรียบร้อย เดินทางมารับหนังสือร้องขอความเป็นธรรม พร้อมรับฟังข้อเท็จจริงจากตัวแทนชาวบ้าน พอสรุปได้ว่าเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมคนไทยพลัดถิ่น 3 ราย ขณะรับจ้างทำไร่สับปะรดในพื้นที่ ต.บึงนคร พร้อมตั้งข้อหาเป็นคนต่างด้าว หลบหนีเข้าเมือง ทั้งที่มีบัตรประจำตัวแสดงเป็นคนไทยพลัดถิ่น รอการพิสูจน์สัญชาติ จากกระทรวงมหาดไทยและมีสิทธิทำงานรับจ้างได้ หลังจับกุมเจ้าหน้าที่ได้นำตัวคุมขัง 3 วัน เพื่อรอให้พนักงานสอบสวนทำสำนวนส่งฟ้องศาลจังหวัดหัวหิน 
 
ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาบานปลาย นายอำเภอหัวหินได้ใช้ตำแหน่งยื่นประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย พร้อมประสานพนักงานสอบสวนทำสำนวนสั่งไม่ฟ้องและหาทางเยียวยาผู้เสียหายหลังโดนคุมขัง จากนั้นจะขอให้พิจารณาย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมออกนอกพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุมอย่างสงบ
 
 
ชาวบ้าน 4 จังหวัดบุก ป.ป.ช.ยื่นหลักฐานเพิ่ม-ยกเลิกอาชญาบัตรเหมืองทองคำ
 
วันที่ 23 พ.ย. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ ตัวแทนประชาชน นำโดยนางวันเพ็ญ พรมรังสรรค์, นางอารมณ์ คำจริง ชาวบ้านจากจังหวัดพิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, ลพบุรี พร้อมตัวแทนชาวบ้านประมาณ 40 คน เข้ายื่นหนังสือถึงนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม ในคดีเหมืองทองคำ หลังจากที่ ป.ป.ช.ได้ตั้งกรรมการไต่สวนแล้ว
 
ทั้งนี้ เพื่อขอให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบกรณีมีการยกเลิกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินของประชาชน ในพื้นที่เดียวกับมีการขออาชญาบัตรพิเศษสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ของกลุ่มบริษัทคิงส์เกท ที่เข้าสู่ลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว ในหลายจังหวัดนั้นว่าอาจเกี่ยวข้องกันหรือไม่ โดยมีนายสุทธิ บุญมี ผู้อำนวยการสำนักการข่าวและกิจการพิเศษ เป็นผู้รับหนังสือแทน
 
 
กลุ่ม"คนไทยไร้ที่ทำกิน"เดินเท้าไปทำเนียบ ร้องถูกอาญาเถื่อนกลั่นแกล้ง "ลอบยิง-เผาบ้าน"
 
วันที่ 24 พ.ย. กลุ่มชาวบ้านสมาชิกสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน กว่า 10 คน รวมกันที่บริเวณศาลากลางจังหวัดกระบี่ ก่อนออกเดินเท้าไปทำเนียบรัฐบาลเพื่อขอความเป็นธรรมกับนายกรัฐมนตรี หลังจากเกิดเหตุ กลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย บุกเผา ทำลายที่พัก ทรัพย์สิน ของชาวบ้านกลุ่มผู้เรียกร้องที่ทำกิน ในนามสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน เสียหาย จำนวน 20 หลัง  ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก ภายในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของบริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด เหตุเกิดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
นายปรีดิ์ปราโมทย์ เลิศวรภัทร  ตัวแทนชาวบ้าน เปิดเผยว่า หลังจากเกิดเหตุ ผ่านมากว่า 1 สัปดาห์ ขณะนี้ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบแต่อย่างใด ยังมีกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย ลอบยิงใส่กลุ่มชาวบ้านต่อเนื่อง จึงต้องเดินเท้าไปกรุงเทพมหานครเพื่อให้นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าช่วยเหลือชาวบ้าน
 
สำหรับกลุ่มชาวบ้านในนามสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกินได้เข้ายึดพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของบริษัท สหอุตสาหกรรม จำกัด  ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ มากว่า 1 ปี เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ เอกสารสิทธิครอบครอง เป็น สปก 4-01 หลังพบว่า บริษัทให้คนงาน ลูกจ้าง ถือครองแทน ลักษณะเป็นนอมินี  ที่ผ่านมาสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดกระบี่ ตรวจสอบพบว่า เป็นการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงได้เพิกถอน สปก 4-01 แล้ว  รวม 109 แปลง พื้นที่ 4,998 ไร่  แต่กลุ่มผู้เรียกร้องยังคงอาศัยในพื้นที่ต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดสรรที่ดินทำกินให้  ทำให้เกิดความขัดแย้ง กับกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่  ซึ่งที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นหลายครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 4 คน บาดเจ็บจำนวนมาก
 
 
มุ่งหน้าเข้ากรุง! ม็อบสวนปาล์มกระบี่เดินเท้าเข้าพบนายกฯ ขอความเป็นธรรมถุูกเผาที่พัก
 
(25 พ.ย.) ที่วัดควนสบาย ต.กระบี่ใหญ่ อ.เมือง จ.กระบี่ กลุ่มสมาคมคนไทยไร้ที่ทำกินกว่า 20 คน นำโดย นายปรีดีปราโมทย์ เลิศวรภัทร์ ตัวแทนสมาคมฯ ได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดก่อนที่จะเคลื่อนขบวนออกเดินเท้าไปยังถนนเพชรเกษม มุ่งหน้าไปยังอำเภออ่าวลึก โดยมีจุดหมายที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากนายกรัฐมนตรี
       
จากกรณีกลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่ายบุกเผาทำลายที่พัก และยิงปืนข่มขู่สมาชิกของกลุ่มสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน ที่ปักหลักในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของบริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มฯ ที่ถูกเพิกถอน ส.ป.ก.4-01 ได้รับความเสียหาย จำนวนกว่า 20 หลัง ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา 
 
นายปรีดีปราโมทย์ เปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องเดินเท้าไปยังทำเนียบเนื่องจากที่ผ่านมา กลุ่มสมาชิกฯ ไม่ได้รับความปลอดภัย ไม่มีการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งที่มาเรียกร้องให้มีการตรวจสอบที่ดินของนายทุนที่ครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่กลับถูกรังแก กลั่นแกล้ง ข่มขู่จากกลุ่มอิทธิพลต่อเนื่อง ทำให้ไม่ได้รับความปลอดภัย จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่เรียกร้องด้วยความสงบ และดำเนินการเอาผิดต่อกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว
       
สำหรับกลุ่มสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน ได้เข้ายึดพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันของบริษัท สหอุตสาหกรรม น้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ม.4 ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ มานานกว่า 2 ปี 8 เดือน เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ ส.ป.ก 4-01 ที่บริษัทดังกล่าวทำประโยชน์โดยใช้ชื่อคนงาน ลูกจ้างเป็นเจ้าของ ส.ป.ก.จำนวน 109 แปลง เนื้อที่กว่า 4,998 ไร่
       
จนกระทั่งสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดกระบี่ (ส.ป.ก.) ตรวจสอบพบว่า เป็นการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.โดยมิชอบ จึงได้มีคำสั่งเพิกถอน ส.ป.ก.ทั้ง 109 แปลง เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ของผู้เสียสิทธิก่อนที่จะมีกลุ่มคนไม่ทราบฝ่ายบุกเข้าเผาทำลายที่พักจนได้รับความเสียหาย และใช้อาวุธปืนยิงข่มขู่จนสมาชิกต้องอยู่อย่างหวาดผวา เพราะมีเสียงปืนดังต่อเนื่อง 
 
 
ชี้ออก น.ส.3 ป่าชายเลนไม่ได้-ชาวบ้านตั้งกลุ่มอนุรักษ์
 
จากกรณีกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านบางใหญ่ ต.ทุ่งคา อ.เมืองชุมพร เข้าร้องขอความเป็นธรรมกับศูนย์ดำรงธรรม จ.ชุมพร เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนถูกนายทุนอ้างเอกสารสิทธิที่ดิน (น.ส.3) ในป่าชายเลนอ่าวทุ่งคา-สวี ฟ้องขับไล่รื้อบ้าน พร้อมกับตั้งข้อสงสัยมี น.ส.3 โผล่กลางป่าชายเลน ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร ทั้งที่กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านรวมทั้งผู้ใหญ่บ้านที่อาศัยทำกินมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังไม่มีใครมีเอกสารสิทธิใดๆ
 
ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 26 พ.ย.นายรักพงษ์ บุญย่อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเฉพาะภูมิภาค “ไทยรัฐ” ว่า ทางอุทยานฯ เคยเข้าไปตรวจสอบที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วทราบเจ้าของที่ดินชื่อนางชลธิชา เชิดชู อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99/1 หมู่ 4 ต.ทุ่งคา อ.เมืองชุมพร และเป็นเจ้าของร้านอาหาร “ยิ้มโภชนา” ซึ่งได้นำเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) มาแสดง มีเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา เมื่อทางอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพรลงไปตรวจสอบพื้นที่ว่าที่ดินแปลงนี้ได้มาอย่างไร ได้มาโดยชอบตามกฎหมายหรือไม่ก็ได้ทำเรื่องเสนอไปยังต้นสังกัดคือสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 สุราษฎร์ธานี เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ น.ส.3 ฉบับดังกล่าวว่าตรงกับภาพถ่ายทางอากาศหรือไม่
 
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร กล่าวอีกว่า เท่าที่ทราบขณะนี้ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 4 สุราษฎร์ธานี ได้ส่งเรื่องการตรวจสอบมาที่ จ.ชุมพร แล้ว และยังไม่ทราบว่าผลการตรวจสอบจะออกมาเป็นอย่างไร เนื่องจากยังไม่ได้เห็นหนังสือฉบับนั้น แต่สภาพพื้นที่หมู่ 4 ต.ทุ่งคา โดยทั่วไปเท่าที่ทราบไม่มีใครมีเอกสารสิทธิครอบครองที่ดินแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร การออกสารสิทธิจะกระทำไม่ได้ และจะต้องตรวจสอบการได้มาของ น.ส.3 ฉบับนี้โดยละเอียดต่อไป
 
ทางด้านนายวิษณุ เซียงเจ็น อายุ 37 ปี หนึ่งในชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน และบ้านพักที่อยู่อาศัยถูกทุบทิ้ง เปิดเผยว่า พวกตนมีอาชีพทำประมงพื้นบ้านหาเช้ากินค่ำ ขณะนี้ได้รวบรวมชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านบางใหญ่ ต.ทุ่งคา ประมาณ 60 คน จัดตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนขึ้นมา โดยตั้งชื่อ “กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน บางใหญ่ อ่าวทุ่งคา” เพื่ออนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ไม่ให้กลุ่มนายทุนผู้มีอิทธิพล หรือใครก็ตามเข้าไปบุกรุกทำลายระบบนิเวศวิทยา โดยเฉพาะป่าโกงกาง ป่าแสม แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ
 
“พวกตนถูกรังแกมานานแล้ว นับจากนี้จะไม่ยอมอีกต่อไปจะร่วมกันต่อสู้ และตรวจสอบเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด อยากให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับป่าชายเลนและลงมาตรวจสอบเรื่องนี้ด้วย ถึงแม้ว่าเอกสารสิทธิที่ได้มาจะถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แต่ก็ได้ประกาศให้คนทั้งประเทศได้รู้ว่ามีผู้ได้เอกสารสิทธิครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร โดยเฉพาะผู้ครอบครองป่าชายเลนในท้องที่หมู่ 4 ต.ทุ่งคา เพียงคนเดียวเท่านั้น” ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่อสอบถามเจ้าของที่ดินที่มีปัญหาแล้วแต่ไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งข่าวคืบหน้าจะนำเสนอต่อไป
 
 
แม่ค้าสามง่ามบุกร้องศูนย์ดำรงธรรมถูกแขวงการทางไล่ที่ทำกิน
 
นายอาวุธ เดชอุปการ และ นางวดีคูณ ลิ่มสกุล อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 191 หมู่ 4 ต.สามง่าม อ.สามง่าม จ.พิจิตร ซึ่งเป็นแกนนำพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของอยู่ริมทางหลวงบริเวณหน้าตลาดสามง่ามพร้อมด้วย พ่อค้า-แม่ค้า ประมาณ 20 คน ได้ร่วมกันเดินทางมายื่นหนังสือร้องทุกข์ให้กับ พ.ต.ท.ถนอม จินาวา รองหัวหน้าชุดเฉพาะกิจศูนย์ดำรงธรรม จ.พิจิตร เพื่อขอความเห็นใจว่า พวกของตนค้าขายริมถนนหน้าตลาดสามง่าม ซึ่งเป็นทางเบี่ยงไม่ได้กีดขวางการจราจรบนถนนเส้นหลักแต่อย่างใด ค้าขายเช่นนี้กันมานานนับสิบปี
       
เดิมทีเดียวก็เป็นตลาดกลางร่ม ตลาดปูเสื่อ แต่ต่อมาเทศบาลสามง่ามก็ได้ใช้งบประมาณของทางราชการมาตั้งเป็นเต็นท์เป็นเพิงให้ขายของ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เป็นชาวไร่ ชาวนา เก็บผักหาปลาได้ก็นำมานั่งขายริมถนน พอมีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
       
แต่มาวันนี้แขวงการทางพิจิตรได้ทำหนังสือมาไล่ที่และจะรื้อถอนเต็นท์และเพิงขายของ จึงมาร้องทุกข์ขอให้ศูนย์ดำรงธรรมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำด้วย 
 
 
ชาวบ้านร้องศูนย์ดำรงธรรม-ปปช. โวยอบจ.สุดชุ่ย ใช้งบ 1.4 ล้านทำถนน แค่ 2 เดือนพังแล้ว
 
ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 นายวิสูตร คีรีพันธ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ต.พรหมโลก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านกว่า 10 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม กรณีถนนคอนกรีตความกว้าง 4 เมตร ยาว 676 เมตร ภายในหมู่บ้านมีสภาพชำรุด หักและแตกร้าว สร้างเสร็จประมาณ 2 เดือน โดยขอให้ทางศูนย์ดำรงธรรมช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างดังกล่าว มีนายวีระพรรณ สุขขะวัลลิ หน.ศูนย์ดำรงธรรม เป็นผู้รับเรื่อง
 
นายวิสูตร กล่าวว่า ถนนคอนกรีต สายบ้านยางปากสระ-บ้านทุ่งนาชง ขนาดความกว้าง 4 เมตร ยาว 676 เมตร สร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากสร้างเสร็จแล้ว พบว่า บางจุดยังมีเหล็กโผล่ขึ้นมาบนผิวจราจร มีรอยแตกหักและรอยร้าวเกิดขึ้นหลายจุด ซึ่งสันนิษฐานว่าการก่อสร้างใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน มีอัตราส่วนการผสมของปูนน้อยเกินไป และความหนาไม่ตรงตามแบบแปลน สร้างแล้วเสร็จเพียง 2 เดือน หาผู้รับผิดชอบไม่ได้
 
ที่สำคัญความแปลกประหลาดของป้ายโครงการ ที่ระบุแต่เพียงจำนวนเงินงบ ประมาณ 1,438,000 บาท และชื่อโครงการเท่านั้น แต่ไม่ได้บอกถึงระยะทาง ระยะเวลาของการก่อสร้าง ใครเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ชาวบ้านจึงไม่มั่นใจในความโปร่งใส การตรวจรับงานผ่านไปได้อย่างไร ซึ่งอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น  และเกรงว่าหากปล่อยไว้อย่างนี้ ความเสียหายจะต้องเกิดขึ้น
 
นายวิสูตร กล่าวว่า ถนนสายนี้เป็นถนนสายหลักที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางขนส่งลำเลียงผลิตผลทางการเกษตรออกสู่ภายนอกมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ชาวบ้านดีใจเมื่อได้มีการสร้างถนนคอนกรีตให้ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้นแต่เมื่อพบว่าการก่อสร้างดังกล่าวมีปัญหา เกิดความเสียหายขึ้นหลายจุด จึงวอนร้องผ่านศูนย์ดำรงธรรมให้ช่วยตรวจสอบการก่อสร้างดังกล่าวด้วย
 
 
ประท้วงหน้าสถานทูตสหรัฐ จี้ ถอด "กลิน เดวีส์"
 
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานการประท้วงที่นำโดย "พระพุทธอิสระ" ที่นำกลุ่มประชาชนราว 200 คนประท้วงหน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย เมื่อช่วงวันศุกร์ (27 พ.ย.) ที่ผ่านมา หลังไม่พอใจความคิดเห็นที่เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย "กลิน เดวีส์" ที่วิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ในประเทศไทย และเรียกร้องให้สหรัฐถอดถอนเอกอัครราชทูต
 
รายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่า พระพุทธอิสระได้ประณามเอกอัครราชทูตสหรัฐว่า ดำเนินพฤติกรรมไม่เหมาะสม และสหรัฐไม่มีสิทธิในการพยายามกดดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับราชวงศ์ ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้วสถาบันกษัตริย์ถือเป็นเรื่องสูงส่งและต้องปกป้องด้วยชีวิต
 
การประณามของพระพุทธอิสระ สืบเนื่องจากการกล่าวสุนทรพจน์ของนายเดวีส์ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ประจำประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเอกอัครราชทูตสหรัฐแสดงความกังวลว่า ศาลทหารของประเทศไทยมีการสั่งจำคุกประชาชนในกรณีหมิ่นเบื้องสูง ว่าเป็นโทษที่ยาวนาน และแสดงความเห็นว่าไม่ควรมีผู้ใดถูกจำคุก เนื่องจากต้องการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย และยกเลิกการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
 
ทั้งนี้ ตามกฎหมาย โทษจำคุกในคดีหมิ่นสถาบันมีโทษจำคุกเป็นระยะเวลา 15 ปี อย่างไรก็ตาม ภายใต้รัฐบาลทหารในช่วงที่ผ่านมา มีการตัดสินจำคุกนักโทษที่แสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันในเฟซบุ๊ก 2 ราย เป็นระยะเวลาถึง 28 ปี และ 30 ปี ด้านนักวิเคราะห์ต่างประเทศหลายฝ่ายระบุว่า กฎหมายหมิ่นสถาบัน หลายครั้ง อาจถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดศัตรูทางการเมือง แม้ว่ารัฐบาลทหารของไทยจะอ้างว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องกำจัดผู้ที่ดูหมิ่นสถาบัน
 
 
บุกสภาฯ ร้องโรงงานโฉ่ทิ้งน้ำเสียลงน้ำลำโดมใหญ่
 
นายปรเมษฐ์ ศรีหล้า สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่าตนพร้อมด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และชาวบ้านที่อาศัยบริเวณรอบลุ่มแม่น้ำลำโดมใหญ่ ได้เข้ายื่นหนังสื่อต่อ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่รัฐสภา เพื่อขอให้ช่วยเหลือชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำลำโดมใหญ่ จ.อุบลราชธานี ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรง จากการดำเนินการของกลุ่มบริษัทเอกชนที่เข้ามาตั้งโรงงานไบโอก๊าซและโรงงานเอทานอล โดยอาจทำผิดกฎหมายหลายฉบับ เพราะถมดินและก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียทับแหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ ส่งผลให้แม่น้ำเน่าเสียและมีสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งลำน้ำดังกล่าวเป็นลำห้วยสาขาของแม่น้ำลำโดมใหญ่ อันเป็นแหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลสัตว์น้ำจืดที่สำคัญ 4 แห่ง ลำห้วยคำนางอ้วน ร่องคำงูเหลือม ห้วยคำค่า ห้วยคำผักย้า ส่งผลทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป
 
นอกจากนี้กลุ่มบริษัทดังกล่าวได้มีการก่อสร้างวัตถุปิดกั้นทางสาธารณะประโยชน์หลายเส้นทางที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ดินของบริษัท โดยการล้อมรั้วและการห้ามประชาชนเข้าใช้ประโยชน์เหมือนที่เคยใช้สัญจรไปมาในอดีต ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการสัญจรและดำรงชีพ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บผักหาของป่า การหาสัตว์น้ำเลี้ยงชีพ
 
นายปรเมษฐ์ กล่าวด้วยว่า กลุ่มโรงงานดังกล่าวอาจดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ มีการทำลายสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติสาธารณสมบัติของแผ่นดินอย่างร้ายแรง ทำผิดต่อกฎหมายหลายฉบับ ไม่ว่าประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติโรงงาน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกฎกระทรวงอุตสาหกรรม จึงอยากให้หน่วยงานราชการเข้าไปตรวจสอบ
 
ทั้งนี้แม่น้ำลำโดมใหญ่ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งของชาวบ้าน เนื่องจากเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำจืดและสัตว์อื่นๆ นานาชนิด เป็นแม่น้ำต้นน้ำที่ไหลผ่านหลายอำเภอก่อนลงสู่แม่น้ำมูล ชาวบ้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำลำโดมใหญ่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหลายหมู่บ้าน คือ บ้านสะพานโดม บ้านห้วยขาม บ้านใหม่ศรีเจริญ บ้านแก่งโดม บ้านคำหมากอ่อน บ้านพึ่งโดม บ้านดอนผึ้ง อยู่ในตำบลแก่งโดม อำเภอสว่างวีระวงศ์
 
อย่างไรก็ตาม แม้ได้มีการร้องทุกข์ไปยังหน่วยงานราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า และเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงมายื่นร้องต่อรัฐสภาเพื่อขอให้ช่วยแก้ปัญหา โดยให้ดำเนินการตรวจสอบและมีคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการหรือเพิกถอนใบอนุญาต เนื่องจากทำผิดต่อกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งขอให้สอบการอนุญาตให้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
 
นอกจากนี้ อยากให้ สปช.ประสานไปยัง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ใช้นโยบายการปราบปรามอิทธิพลและผู้ที่บุกรุกที่ดินสาธารณะสมบัติของแผ่นดินมาดำเนินการอย่างเด็ดขาด เนื่องจากกลุ่มบริษัทดังกล่าวเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่และมีอิทธิพลมากในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไม่กล้าฟ้องร้อง และถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศกำลังมีการปฏิรูปอย่างรอบด้านที่จะได้ดำเนินการปฏิรูปด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย เพื่อไม่ให้มีการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบความเดือดร้อนต่อชาวบ้านในพื้นที่
 
 
ชาวบ้านโวยแนวเขต น.ส.3 สลับไปมาไม่ตรงกับพื้นที่จริง
 
จาก​กรณี​กลุ่ม​ชาว​ประมง​พื้นบ้าน​บ้าน​บาง​ใหญ่ หมู่​ที่ 4 ต.​ทุ่ง​คา อ.​เมือง​ชุมพร เข้า​ร้องขอ​ความ​เป็น​ธรรม​กับ​ศูนย์​ดำรง​ธรรม จ.​ชุมพร เนื่องจาก​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อน​ถูก​นายทุน​อ้าง​เอกสาร​สิทธิที่ดิน​ (น.ส.3) ใน​ป่าชายเลน​อ่าว​ทุ่ง​คา-สวี ซึ่ง​อยู่​ใน​เขต​อุทยาน​แห่งชาติ​หมู่​เกาะ​ชุมพร ฟ้อง​ขับ​ไล่​ที่​และ​เข้าไป​รื้อ​ทุบ​ทำลาย​บ้านเรือน​ชาว​ประมง ท่ามกลาง​ความ​เคลือบแคลง​สงสัย​ของ​สาธารณชน​ทั่วไป​ว่าที่​ดิน  น.ส.3 ดัง​กล่าว​ไป​โผล่​อยู่​กลาง​ป่าชายเลน​ได้​อย่างไร ทั้งๆที่​ผืน​ป่าชายเลน​แห่ง​นี้ ไม่​มี​ใคร​เคย​ได้​เอกสาร​สิทธิครอบครอง​เลย​แม้แต่​ราย​เดียว​นั้น
 
ความ​คืบ​หน้า​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้ เมื่อ​เวลา 13.00 น.​วัน​ที่ 28 พ.ย. ​นาย​จรัส กำเนิด​โทน อายุ 62 ปี อยู่​บ้าน​เลข​ที่ 95/2 หมู่ 4 บ้าน​บาง​ใหญ่ ต.​ทุ่ง​คา อ.​เมืองชุมพร ประธาน​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่าชายเลน​บาง​ใหญ่ อ่าว​ทุ่ง​คา เปิดเผย​กับ​ผู้สื่อข่าว​เฉพาะกิจ​ภูมิภาค “ไทยรัฐ” ว่า หลังจาก​กลุ่ม​ชาว​ประมง​พื้นบ้าน​ที่​ถูก​นายทุน​อ้าง​เอกสิทธิ น.ส.3 ใน​ที่ดิน​ป่าชายเลน​ฟ้อง​ขับ​ไล่​รื้อ​ทุบ​ทำลาย​บ้านเรือน​ที่​อยู่​อาศัย อ้าง​ว่า​รุก​ล้ำ​เข้าไป​ใน​เขต​ที่ดิน​พิพาท​ของ​นายทุน​คน​ดัง​กล่าว​ออก​ไป​นั้น กลุ่ม​ชาว​ประมง​พื้นบ้าน​ที่​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อน รวม​ทั้ง​ชาว​บ้าน​ที่​อาศัย​ใน​พื้นที่​หมู่​ที่ 4 บาง​ใหญ่ ต.​ทุ่ง​คา เกิด​ความ​เห็นใจ​และ​สงสาร​ชาว​บ้าน​ที่​ถูก​รังแก จึง​รวม​ตัว​กัน​จัดตั้ง​เป็น “กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่าชายเลน​บาง​ใหญ่ อ่าว​ทุ่ง​คา” และ​มอบหมาย​ให้​ตน​เป็น​ประธาน​กลุ่มฯ เพื่อ​ต่อสู้​กับ​กลุ่ม​นายทุน​อิทธิพล​และ​ร่วม​กัน​ปกป้อง​ผืน​ป่าชายเลน แหล่ง​เพาะ​พัน​ธุ์สัตว์​น้ำ​ที่​สำคัญ
 
นาย​จรัสเปิดเผย​อีก​ว่า จาก​การ​เข้าไป​ตรวจสอบ​พื้นที่​จริง​ที่​นายทุน​ราย​นี้​อ้าง​ว่า​มี​เอกสาร​สิทธิ น.ส.3 ครอบครอง​ป่าชายเลน​นั้น​ใน​เบื้องต้น​พบ​ว่า​มี​ข้อ​พิรุธ​หลาย​อย่าง​ซึ่ง​ไม่​ตรง​กับ​ข้อเท็จจริง​ที่​ปรากฏ​ใน​เอกสาร​สิทธิ น.ส.3 อาทิ แนว​เขต​ที่ดิน น.ส.3 ที่​ระบุ​ว่า​ด้าน​ทิศ​เหนือ​จด​คลอง​บาง​มูล หรือ​ที่​ชาว​บ้าน​เรียก​ว่า​คลอง​บาง​กะ​บูน​นั้น​ปัจจุบัน​พบ​ว่า​เป็น​คู หรือ​ร่องน้ำ​เล็กๆที่​ถูก​ขุด​ขึ้น​มา​ใหม่ มี​ขนาด​ความ​กว้าง​ประมาณ​ 4 เมตร ส่วน​คลอง​บาง​มูล​หรือ​คลอง​บางกะ​บูน ลำ​คลอง ธรรมชาติ​เดิม มี​ขนาด​ความ​กว้าง​ประมาณ 2 เมตร ปัจจุบัน​อยู่​บริเวณ​กลาง​ที่ดิน​ของ​นายทุน​ราย​นี้​นั้น​ก็​หมายความ​ว่า​พื้นที่​ของ​นายทุน​คน​นี้​ได้​ขยาย​เพิ่ม​ขึ้น​จาก​เดิม​และ​มี​การ​นำ​เสา​คอนกรีต​ไป​ปัก​กั้น​เป็น​แนว​เขต​รอบๆพื้นที่​ หาก​ประมาณ​ด้วย​สายตา​คาด​ว่า​บุกรุก​ครอ​บ​คลุม​พื้นที่​มาก​กว่า20 ไร่ ซึ่ง​เกิน​กว่า​เนื้อที่ น.ส.3 ที่​อ้าง​ไว้
 
“ตั้งแต่​ตน และ​ชาว​บ้าน​เข้า​มา​อาศัย​อยู่​ใน​พื้นที่ ยัง​ไม่​เคย​พบ​เห็น​ใคร​เข้า​มา​ครอบครอง​ที่ดิน​ป่าชายเลน และ​เข้า​มา​ทำ​ประโยชน์​ใน​ที่ดิน​แต่​อย่าง​ใด การ​ที่​นายทุน​คน​นี้​จะ​นำ​ไป​ใช้​อ้าง​กับ​ทาง​ที่ดิน​จังหวัด​ชุมพร​เพื่อ​เตรียม​ออก​โฉนด​นั้น​กลุ่ม​ชาว​บ้าน​จะ​ออก​มา​คัดค้าน​และ​ไม่​ยอม​อย่าง​แน่นอน” ประธาน​กลุ่ม​อนุรักษ์​ป่าชายเลน​บาง​ใหญ่​อ่าว​ทุ่ง​คา กล่าว​ใน​ที่สุด ขณะ​ที่​ผู้สื่อข่าว​ไม่​สามารถ​ติดต่อ​เจ้าของ​ที่ น.ส.3 ได้ ซึ่ง​ข่าว​คืบ​หน้า​จะ​นำ​เสนอ​ต่อ​ไป
 
 
ไร้ข้อยุติ! ผู้ว่าฯเชียงรายถอดใจยกเลิกลงพื้นที่ หลังชาวบ้านค้านไม่ให้ใช้ทำเขตเศรษฐกิจฯ
 
ที่ศาลาวัดบ้านบุญเรือง ม.2 ต.บุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ปัญญา คอนซัลแทนต์ จำกัด เอกชนที่ปรึกษาของจังหวัด ไปพบปะกับชาวบ้าน เพื่อชี้แจงโครงการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภายหลังมีการคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการใช้พื้นที่ ต.บุญเรือง จำนวน 3,021 ไร่ 1 งาน 75 ตารางวา ซึ่งจังหวัดได้ศึกษาแล้วเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เลือกดำเนินการ
       
โดยมีชาวบ้านร่วมประมาณ 200 คน และมี นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชน นายระวี ถาวร ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์แม่น้ำอิง เข้าร่วมด้วย ซึ่งนายบุญส่งให้เจ้าหน้าที่และบริษัทที่ปรึกษาให้ข้อมูลความเป็นมาของโครงการ และคณะกรรมการระดับจังหวัดมีการคัดเลือกพื้นที่ อ.แม่สาย อ.เชียงแสน และ อ.เชียงของ เพื่อจัดตั้งเพราะมีความเหมาะสม คือ อ.แม่สาย โดดเด่นด้านการค้าและการเงิน เชียงแสนโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวพักผ่อนและการศึกษา และเชียงของโดดเด่นด้านโลจิสติกส์ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแปรรูปการเกษตร 
       
 ขณะที่ชาวบ้านจัดเป็นนิทรรศการด้านหน้าห้องประชุมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชุมชนบุญเรืองซึ่งเรียกชื่อพื้นที่แตกต่างจากจังหวัด ที่ระบุว่า เป็นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณประโยชน์บุญเรือง ทางโครงการให้ข้อมูลการวิจัยพื้นที่ประกอบภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวทางอากาศว่า พื้นที่นี้มีความสมบูรณ์
       
โดยเฉลี่ยมีไม้หนาแน่นเฉลี่ย 124 ต้นต่อไร่ ซึ่งมากกว่าป่าเสื่อมโทรม 8 เท่า แบ่งเป็นไม้หนุ่มสูงไม่เกิน 2 เมตร 63 ต้นต่อไร่สูงกว่าป่าเสื่อมโทรม 3 เท่า วัดรอบระดับอกได้ 50 - 100 ซม. มี 44 ต้นต่อไร่มากกว่าป่าเสื่อมโทรม 5.5 เท่า และไม้ที่วัดรอบอกได้มากกว่า 100 ซม. มี 17 ต้นต่อไร่ หรือมากกว่าป่าเสื่อมโทรม 8 เท่า กักเก็บคาร์บนเหนือดิน 17,247 ตัน มีลูกไม้ทดแทนและไม้หนุนที่ขึ้นแทนในอัตราสูง เป็นป่าชุ่มน้ำและสมบูรณ์ด้วยสัตว์ไม่รวมแมลงกว่า 211 ชนิด ที่สำคัญคือ มีเสือปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ นาก ชะมด แมวดาว ฯลฯ ที่เป็นสัตว์หายาก
       
นายบุญส่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับความสมบูรณ์ของพื้นที่ แต่สิ่งที่จะนำไปใส่ในพื้นที่ไม่ใช่ยาพิษ แต่เป็นสิ่งที่ดีและแม้จะมีอุตสาหกรรม แต่เป็นเชิงนิเวศ เพราะไม่มีมลภาวะ หากจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ก็จะให้กระทบน้อยที่สุด และเชื่อว่า สาเหตุที่ไม่เห็นด้วยเกิดจากไม่เคยมีเจ้าหน้าที่เข้าไปให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีผู้ที่ได้หรือเสียผลประโยชน์เข้าไปให้ข้อมูลกับชาวบ้านแทน
       
กรณีที่เลือกที่ ต.บุญเรือง เพราะที่ดินอื่นราคาพุ่งสูงมาก จนนักธุรกิจไม่สามารถซื้อแล้วเข้าไปประกอบการจนได้ผลตอบแทนในอัตราที่รวดเร็วได้ ดังนั้น ที่ ต.บุญเรือง จึงเหมาะสมและตนก็เห็นถึงความสมบูรณ์เรื่องสัตว์ป่าและพันธุ์พืชตามที่นำเสนอแต่ก็สามารถปรับให้เหมาะสมได้โดยจะขอพื้นที่เพียง 1 ใน 3 ของเนื้อที่ทั้งหมดหรือราว 1,000 ไร่ โดยที่สมควรสงวนเอาไว้ เราก็จะสงวนเอาไว้ส่วนที่จำเป็นน้อยลงก็นำไปดำเนินการดังกล่าว ส่วนการซื้อขายที่ดินที่เป็นปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้น เพราะรัฐจัดหาที่ดินให้เองและการให้ข้อมูลไปต่าง ๆ นานา ก็จะยุติ กระนั้นยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเอกชนรายใดแน่นอน
       
นายบุญส่ง กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีข่าวการสร้างศูนย์ขนส่งสินค้าเชื่อมสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย - สปป.ลาว ที่ อ.เชียงของ และหากมีการสร้างศูนย์นี้ที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ก็จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อยู่ฝั่งเดียว แต่หากมีการจัดตั้งในฝั่งไทยในนามเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ก็มีงบประมาณให้แล้วอำเภอละ 50 ล้านบาท เพื่อเข้าไปสร้างสาธารณูปโภค เช่น ถนน ไฟฟ้า ฯลฯ ให้ต่อไป
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นชาวบ้านได้แสดงความเห็น ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้งเขตฯ แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ที่ ต.บุญเรือง เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบโดยเฉพาะน้ำเสีย โดยไม่ไว้ใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบขึ้นจริง เพราะเอกชนที่เคยจะลงทุนในทุ่งสามหมอน ต.สถาน และ ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ ซึ่งการนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) เคยศึกษาให้เป็นเขตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะย้ายจากทุ่งสามหมอนไปลงทุนในป่าชุมชนบุญเรืองแทนด้วยสาเหตุของราคาที่ดินพุ่งสูงดังกล่าว
       
ขณะที่บางส่วนเห็นว่ารัฐบาลในปัจจุบันมีนโยบายให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พื้นที่แก้มลิง ฯลฯ จึงควรปฏิบัติตาม และป่าชุมชนบุญเรืองอยู่ที่ลุ่มชุ่มน้ำติดแม่น้ำอิงหากว่าต้องสร้างแม้จะเป็น 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด และใช้เพื่ออุตสาหกรรมเบาก็ต้องถมดินอยู่ดี ซึ่งจะทำให้พื้นที่หลายตำบลโดยรอบได้รับผลกระทบกันหมด เพราะน้ำอิงโดยเฉพาะฤดูน้ำหลากจะทะลักเข้าท่วม บางคนถึงขนาดระบุว่าหากแสดงการคัดค้านตามกฎหมายไม่ได้ผลก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อคัดค้านต่อไป
       
นางเตือนใจ กล่าวว่า พื้นที่ป่าชุมชนบุญเรืองเป็นป่าชุ่มน้ำที่มีพืชมากมายและมีสัตว์ป่าหลากหลายพันธุ์โดยบางชนิดเป็นสัตว์ป่าหายาก จึงเป็นป่าชุมชนที่สมบูรณ์กว้างใหญ่มากที่สุดของลุ่มแม่น้ำอิง ดังนั้น การที่รัฐบาลมียุทธศาสตร์ฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่าไม้ ดังนั้น เมื่อมีพื้นที่เช่นนี้ควรอนุรักษ์เอาไว้ส่วนจะจัดตั้งเขตฯ ควรไปหาพื้นที่อื่นที่ยังมีอีกหลายแห่งแทน
       
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากการรับฟังความเห็นที่ ต.บุญเรือง ครั้งนี้ไม่ได้ข้อยุติ จนทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายต้องเดินทางกลับโดยยกเลิกกำหนดไปดูพื้นที่ด้วย
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การตรวจสอบทุจริต: อย่างสุจริต-เที่ยงธรรม

$
0
0

ที่มา: ประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

กรณีการทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์กำลังเป็นที่สนใจของสังคมอย่างกว้างขวาง นับวันดูจะมีข้อมูลข้อเท็จจริงถูกเปิดเผยออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สาธารณชนมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันการตรวจสอบโครงการนี้กลับเป็นไปอย่างล่าช้าและยังไม่มีวิธีการที่น่าเชื่อถือ

เมื่อปรากฏเป็นข่าวว่ามีการทุจริตในโครงการนี้ บุคคลสำคัญในรัฐบาลรีบออกมาปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลโดยบอกว่าเป็นเรื่องของกองทัพ ไม่เกี่ยวกับกระทรวงกลาโหมและรัฐบาล แต่ต่อมาก็ปรากฏเอกสารยืนยันว่าโครงการนี้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้เสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.ซึ่งก็เท่ากับแสดงว่าโครงการนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหมและรัฐบาล

ต่อมา มีข้อสงสัยว่ามีการใช้งบประมาณของราชการหรือไม่ คนในรัฐบาลก็บอกว่าไม่มี แต่ปรากฏว่ามีการค้นพบการใช้งบประมาณของทางราชการ จนกระทั่งคนในรัฐบาลต้องออกมายอมรับ

พล.อ.อุดมเดช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและอดีต ผบ.ทบ.ยอมรับว่า มีการทุจริตเกี่ยวกับการรับบริจาคจริง แต่ได้มีการนำเงินนั้นไปบริจาคแล้ว ทำให้ใครที่พอเข้าใจหลักกฎหมายง่ายๆย่อมรู้ว่าความผิดสำเร็จได้เกิดขึ้นแล้ว นอกจากนั้นก็ยังมีข่าวอื้อฉาวว่ามีการทุจริตในขั้นตอนต่างๆอีกหลายขั้นตอน จะจริงหรือไม่ยังไม่มีการพิสูจน์

มีการตรวจสอบเกี่ยวกับโครงการนี้โดยผบ.ทบ.คนปัจจุบัน เบื้องต้นสรุปว่าไม่พบการทุจริต พร้อมกับมีเสียงตามหลังมาว่าเมื่อกองทัพบกตรวจสอบแล้วว่าไม่พบการทุจริตก็จบได้แล้ว แต่ต่อมาก็พบว่าที่ ผบ.ทบ.ตรวจสอบนั้นเป็นเพียงเรื่องเกี่ยวกับบัญชีรายได้และรายจ่ายจากการบริจาคเท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบการทุจริตแต่อย่างใด

ก่อนหน้านี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่พากันบอกว่าจะตรวจสอบได้ต้องมีคนไปร้องทุกข์กล่าวโทษหรือกล่าวหาเสียก่อน บางองค์กรอย่าง เช่น ปปช.ยังไม่ทันจะตรวจสอบก็รีบออกมาบอกว่ายังไม่พบการทุจริต ฟังคล้ายกับจะบอกว่าไม่มีการทุจริต

ปัญหาจึงมาอยู่ที่การตรวจสอบซึ่งดูจะมีปัญหามากและยังไม่มีวี่แววว่าจะมีการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของสังคมได้ นี่คือโจทย์ข้อใหญ่และยากสำหรับ คสช.และรัฐบาลในวันนี้

ผู้ต้องสงสัยหรือถูกกล่าวหาจากสังคม ขณะที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ทบ.และ รมช.กลาโหม ปัจจุบันยังคงเป็น รมช.กลาโหมอยู่ การที่ รมว.กลาโหมตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่มีรองปลัดกระทรวงเป็นประธานและกรรมการส่วนใหญ่ก็อยู่แต่ในกระทรวงจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่น่าเชื่อถือว่า คณะกรรมการจะสามารถทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาได้ การตั้งกรรมการสอบสวนที่จะมีผลทางวินัยนี้ควรให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการควรเป็นระดับปลัดกระทรวง

ที่เป็นปัญหายิ่งขึ้นไปอีก คือ การตรวจสอบโดยศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ หรือ ศอ.ตช. ซึ่งดูเหมือนรัฐบาลอาจจะใช้ตรวจสอบเพื่อให้เห็นว่ากำลังเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ แต่กลับจะยิ่งแสดงให้เห็นปัญหาที่ใหญ่กว่าเรื่องการทุจริตในโครงการนี้เสียอีก นั่นคือ ปัญหาระบบของการจัดการกับการทุจริตที่ คสช.และรัฐบาลนี้ได้ออกแบบและสร้างไว้

คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานนั้นตั้งโดย คสช. ในคณะกรรมการนี้มีทั้ง ปปช. สตง. อัยการสูงสุดและองค์กรอื่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปราบการทุจริตอยู่ด้วย หมายความว่าโดยระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ องค์กรอิสระทั้งหลายที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบการทุจริตไม่มีความเป็นอิสระหรือไม่ใช่องค์กรอิสระแล้ว นั่นคือ ปัญหา

แต่ยังไม่จบแค่นี้ ศอตช.และองค์กรต่างๆที่ไปเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติที่อยู่ใต้คำสั่งของคสช.นี้ กำลังจะตรวจสอบโครงการที่ดำเนินการมาโดยอดีตเลขาธิการ คสช.และปัจจุบันยังเป็นกรรมการคสช.อยู่ ย่อมมีคำถามว่าการตรวจสอบที่ทำโดยระบบกลไกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางอำนาจหน้าที่และผลประโยชน์เช่นนี้ จะเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรมได้อย่างไร

ทางที่ดี เฉพาะหน้านี้จึงไม่ควรใช้ ศอตช.ทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการนี้ แต่ควรส่งเสริมและให้ความร่วมมือให้องค์กรที่มีหน้าที่ทั้งหลายทำหน้าที่ไปอย่างเป็นอิสระจาก คสช.และรัฐบาล ส่วนขั้นตอนต่อไปควรจะทบทวนระบบการจัดการกับการทุจริตเสียใหม่ อย่าให้อีนุงตุงนังหาหลักหาเกณฑ์ไม่ได้อย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตำรวจเตรียมเปิดตัวคนโพสต์ป่วนบ้านเมืองพรุ่งนี้ ชี้คนละกลุ่มกับขอนแก่นโมเดล

$
0
0
เปิดตัวละครลับกลุ่มใหม่ เมื่อตำรวจเตรียมนำตัวคนโพสต์ข้อความ ยุยง ปลุกปั่นสร้างความวุ่นวายในบ้านเมืองแถลงข่าวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติพรุ่งนี้ (30 พ.ย.) ระบุกลุ่มบุคคลนี้เป็นคนละกลุ่มกับผู้ต้องหาคดีขอนแก่นโมเดล

 
30 พ.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่าพลตำรวจเอกเดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่งให้พลตำรวจตรีอัคราเดช พิมลศรี ผู้บังคับการกองปราบปรามไปช่วยราชการศูนย์ปฎิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ ศปก.ตร. นั้น ส่วนตัวเชื่อว่า พลตำรวจตรีอัคราเดช เป็นคนมีความรู้ความสามารถจึงทำให้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต้องการมอบหมายภารกิจที่เหมาะสมให้ แต่ไม่ขอแสดงความเห็นถูกโยกย้ายเพราะปล่อยปละละเลยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าไปเกี่ยวข้อง กับขบวนนการแอบอ้างสถาบันเบื้องสูงหาผลประโยชน์หรือไม่
 
ส่วนกรณีที่กระทรวงหลาโหม ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงการทุจริตก่อสร้างโครงการอุทยานราชภักดิ์ ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยินดีที่จะให้ข้อมูลหากประสานงานผ่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพราะเชื่อว่าพนักงานสอบสวนมีข้อมูลบางส่วน
 
โฆษกสำนักงานตำรวจยังกล่าวถึง การออกหมายจับ นายธนกฤต ทองเงินเพิ่ม 1 ใน 9 ผู้ต้องหา คดีขอนแก่นโมเดล ล่าสุด ว่าเป็นไปตามพยานหลักฐานที่ศาลทหารกรุงเทพ ออกหมายจับ ส่วนรายละเอียดทางคดี ต้องพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นคนชี้แจงเท่านั้น ส่วนการที่ทนายความของนายธนกฤต เข้าแจ้งความเอาผิด กับคณะพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดีทุกนาย ก็เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่สามารถทำได้  ซึ่งต้องนำข้อมูลกลับไปตรวจสอบรายละเอียดตามคำฟ้องว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร
 
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังเปิดเผยว่าวันพรุ่งนี้ จะควบคุมตัวบุคคลที่โพสต์ข้อความ ยุยง ปลุกปั่น สร้างความวุ่นวายในบ้านเมืองมาแถลงข่าว โดยกลุ่มบุคคลนี้เป็นคนละกลุ่มกับผู้ต้องหาคดีขอนแก่นโมเดล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย : พุทธศาสน์ในไสยศาสตร์

$
0
0

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ยังสนทนากันในประเด็นเกี่ยวกับพุทธศาสนากับความเชื่อพื้นถิ่นที่ผสานกลมกลืนกันจนเกิดความรุ่มรวยและหลากหลาย เช่น สยามในอดีต หรือในดินแดนพุทธศาสนาอื่นๆ ที่ยังคงลักษณะดังกล่าวมาจนกระทั่งปัจจุบัน เช่น ทิเบต และดินแดนตามเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งนิยามหรือให้ความหมายความเชื่อ-พิธีกรรมดั้งเดิมด้วยวิธีหรือปรัชญาแบบพุทธ เช่น สุญญตา ปัญญา อวิชชา ทำให้พุทธศาสนาดำรงอยู่อย่างมั่นคงท่ามกลางความหลากหลายของนิกายต่างๆ

พบกับคำ ผกา และแขกรับเชิญพิเศษ คมกฤช อุยเต็กเค่ง หรือเชฟหมี ครัวกากๆ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ facebook.com/maihetpraphetthai


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘กลุ่มลูกเหรียง’ เล่าอีกมุมหนึ่งที่ 'โน้ส อุดม' มายะลา ช่วยเหลือเด็ก

$
0
0

29 พ.ย. 2558 จากกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งบวกและลบต่อคลิปบางส่วนทอล์คโชว์ 'เดี่ยวฯ 11' ของ 'โน้ส อุดม' ที่ตอนหนึ่งได้เล่าประสบการณ์หลังได้ไปเที่ยวที่ จ.ยะลา (ดูคลิปดังกล่าวที่เพจ ‘โปรดใช้วิธีการ ปั่นจักรยาน ในการรับชม つづ く’ ) จนมีการออกมาชี้ว่าคนในจังหวัดชายแดนใต้ไม่ขำด้วย พร้อมระบุว่าเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์และกระทบท่องเที่ยว จนกระทั่งเรียกร้องให้ออกมาขอโทษ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘กลุ่มลูกเหรียง

ล่าสุดวันนี้(29 พ.ย.58) วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ หรือ ชมพู่ ผู้ดูแลกลุ่มลูกเหรียง และเป็นกลุ่มที่โน้ส อุดม แต้พานิช ได้ลงมาอาศัยอยู่ด้วย พร้อมทั้งช่วยดูแลเด็กเยาวชนในกลุ่มช่วงที่เดินทางมายัง จ.ยะลา โดย วรรณกนก ได้โพสต์ข้อความชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘กลุ่มลูกเหรียง’ มีข้อความชี้แจงว่า

“สวัสดีค่ะทุกท่าน

หลังจากที่เงียบมาหลายวัน ได้ยินข่าวมาหลายครั้งถึงกรณีคลิปวีดีโอเดี่ยว 11 ที่ตัดต่อมา กรณีพี่โน้สพูดถึงจังหวัดยะลา และมีกระแสพาดพิงออกมา ในฐานะที่เป็นน้องสาวพี่โน้สคนหนึ่ง ไม่มีอะไรจะพูดนอกจากอยากบอกเล่าถึงผู้ชายคนหนึ่งที่มาใช้ชีวิตอยู่กับลูกเหรียง 2 ปีที่ผ่านมา

พี่โน้สมาที่ลูกเหรียงยะลาหลายครั้ง และมาอยู่ครั้งละหลายๆวัน ครั้งที่นานที่สุดคือครั้งที่พี่โน้สกับน้องๆและพี่ๆหลายคนมาช่วยกันสร้างห้องน้ำให้ที่บ้านลูกเหรียง ใช้เวลาสร้าง 15 วัน กว่าจะเสร็จใช้งานได้ ท่ามกลางฝนตกหนัก แดดจ้าในบางวัน พี่โน๊สเป็นแค่คนธรรมดาทั่วไปที่มาใช้ชีวิตที่นี่ เข้าครัวทำอาหารกินกับน้อง ๆ ไปจ่ายตลาด และปั่นจักรยานเล่นกับเด็กๆในซอยใกล้ๆบ้าน และอาจจะมีมื้อพิเศษที่ไปกินข้าวร้านข้างนอกบ้าง (ซึ่งดิฉันยืนยันว่าไม่เคยมีการปิดร้านสักครั้งที่ไปกิน และอาจจะด้วยจำนวนของคนไปกินหลายคน ก็อาจจะทำให้ดูแน่นร้าน หรืออาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในบางครั้ง) และเวลาไปที่ร้านไหนเป็นธรรมดาที่มีเจ้าของร้านขอให้พี่โน๊สได้เซ็นข้อความไว้ที่ร้าน ซึ่งบรรยากาศก็น่ารักมาก

ทุกครั้งที่มายะลา พี่โน้สจะต้องจัดวันลงไปเยี่ยมน้องๆในโครงการเด็กทุน ลูกเหรียง ที่ทางพี่โน้ส และพี่ๆหลักสูตร ABC อุปถัมป์อยู่หลายสิบคน ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส เรานั่งเบียดรถเก๋งและรถกระบะกระเตงๆกันไปตามพื้นที่ต่าง ๆ อึดอัดหน่อย แต่เราก็มีความสุขดี หลายบ้านที่พี่โน้สไปเห็นความเป็นอยู่ที่ยากลำบากของน้องๆ แล้วช่วยเหลือทันที เป็นเงินให้ครอบครัวเด็ก ๆ และส่งเงินตามมาเพื่อซ่อมแซมบ้านหลายหลัง เพื่อให้น้องๆมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในกรณีที่มีเด็กสูญเสียจากเหตุการณ์รายใหม่ๆ ที่ทางลูกเหรียงลงไปแล้วเรารู้สึกว่าควรช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พี่โน้สจะเป็นคนแรกทุกครั้งที่ยื่นมือมา บอกพี่ช่วยเอง พี่โน้สจึงมีลูกสาว ลูกชายรับอุปถัมภ์ไว้ที่นี่ และรับไปเรียนที่กรุงเทพหลายคน นี่เป็นเรื่องที่ผู้ชายคนนี้ทำมาอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่เขาไม่เคยพูด ไม่เคยอยากเล่าออกสื่อแค่นั้นเอง

ถามว่าทำไมที่ผ่านมาไม่เห็นสื่อ หรือดิฉันพูดอะไรถึงการมาของพี่โน้สเลย มีแต่คนได้ข่าว และพบเห็นพี่โน้สบ้างตาม 7-11 เวลาพี่โน้สพาเด็กๆ ไปซื้อของ หรือเวลาไปปั่นจักรยานเล่น ดิฉันต้องเรียนตรงนี้เลยว่า แค่มีคนตั้งใจลงมาช่วยเหลือเด็ก ๆและใช้ชีวิตกับพวกเราที่นี่ครั้งละหลายๆ วัน ก็เป็นเรื่องที่ดิฉันนับถือในหัวใจของเขามากแล้ว และเคารพในความเป็นส่วนตัวของพี่โน้ส

ตั้งแต่ครั้งแรกที่พี่โน้สมายะลา พี่โน้สบอกว่าพี่อยากมาเยี่ยมเด็กๆ เท่านั้น อยากมาเงียบๆ ดิฉันถามว่าต้องใช้รถคุ้มกันไหมตอนไปรับพี่ และพี่จะนอนโรงแรมที่ปัตตานีไหม ดิฉันจะได้จัดการเรื่องรับส่ง แต่พี่โน้สบอกว่า พี่นอนที่ลูกเหรียงได้ไหม ดิฉันบอกว่ามันเล็ก น่าจะไม่สะดวกสบาย เรามีแต่ฟูก หมอน เก่าๆ ไม่มีผ้าเช็ดตัวให้พี่ แต่พี่โน้สบอกว่าไม่เป็นไรพี่อยู่ได้

ต้องยอมรับว่าในครั้งแรกที่พี่โน้สมายะลา ดิฉันค่อนข้างกังวลมาก เป็นห่วงความปลอดภัยของพี่โน๊ส จึงติดต่อแคท ซึ่งเป็นน้องทหารที่ช่วยเหลืองานจิตอาสาด้วยกันหลายครั้ง แคทมีรถตู้ จึงขอให้มาขับรถตู้รับพี่โน้สจากสนามบิน ดิฉันเข้าใจว่าคนที่มายะลาครั้งแรก รู้สึกอย่างไร ย่อมมีความกังวลใจอยู่ลึกๆ เพราะพึ่งผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นไม่นาน แต่บรรยากาศก็สนุกสนาน เพราะโชเฟอร์อารมณ์ขันของเราคนนี้ดูแลพวกเราเป็นอย่างดี สร้างความประทับใจต่อการมายะลาครั้งนี้เป็นอย่างมาก

ดิฉันแค่ขอเป็นส่วนหนึ่งที่อยากบอกเล่าเรื่องราวของที่นี่ให้คนข้างนอกได้รับรู้บ้าง ว่าผู้ชายคนนี้ทำอะไรมากมายที่ดิฉันอาจจะเล่าได้ไม่หมด เพื่อช่วยเหลือเด็กที่นี่ ในหลายเวทีที่กรุงเทพ พี่โน้สมักจะบอกเล่าให้คนอื่นๆฟังเรื่องอาหารอร่อยของยะลา ร้านขนมไทยที่เขาติดใจ ร้านอาหารใต้ที่เขามาทุกครั้งต้องไปกิน รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวที่สันติ2 อำเภอบันนังสตา ว่ามันอเมซิ่งยะลาขนาดไหน ซึ่งพี่โน๊สกับน้องๆลูกเหรียงได้ไปนอนที่ 1 คืน พี่โน๊สประทับใจมาก เพราะแม้แต่ดิฉันเอง ดิฉันก็ไม่เคยไปสัมผัสที่นั่น การบอกเล่าถึงความประทับใจที่นี่ให้คนข้างนอกได้รับรู้ ทำให้หลายคนอยากมา รวมทั้งรายการต่าง ๆที่อยากมาถ่ายทำที่นี่ นั่นเป็นสิ่งที่พี่โน๊สทำมาตลอด

ดิฉันขอโทษถ้าการสื่อสารทำให้เข้าใจผิดกัน และขอบคุณทุกๆท่านที่กรุณาอ่านข้อความของดิฉัน เพื่อจะได้รับรู้อีกมุมหนึ่งของคนที่ยังไม่เข้าใจ ดิฉันไม่มีสื่ออะไรที่จะบอกเล่า จึงขอเล่าอนุญาตใช้พื้นที่นี้ในการสื่อสาร ขอบคุณมากๆ ค่ะ”

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘กลุ่มลูกเหรียง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวิตรติงทูตสหรัฐฯคิดให้ดีก่อนพูด ม.112 ยันดำเนินการทุกอย่างโดยเคารพสิทธิมนุษยชน

$
0
0

30 พ.ย. 2558 จากกรณีเมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา นายกลิน ที. เดวีส์  ได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ ณ เวทีเสวนาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ขณะที่การดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ปกครองของคณะรัฐประหาร โดยนายกลิน ที. เดวีส์  เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งได้ราวๆ 9 สัปดาห์ ย้ำว่ารัฐบาลสหรัฐฯ มีความเคารพอย่างยิ่งและรู้สึกชื่นชมพระมหากษัตริย์ไทย แต่ก็อ้างถึงสิทธิการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสรเสรี “เราเชื่อว่าไม่ควรมีใครควรถูกจำคุกต่อการแสดงมุมมองอย่างสันติ และเราสนับสนุนอย่างหนักแน่นต่อความสามารถของบุคคลหรือองค์กรอิสระใดๆ ในการค้นคว้าวิจัยและรายงานประเด็นสำคัญๆ โดยปราศจากความกลัวว่าจะถูกแก้แค้น” (อ่านรายละเอียด)

ล่าสุดวันนี้ (30 พ.ย.58) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง กรณีดังกล่าวว่า นายกลินก็ต้องคิดเวลาพูดอะไรออกมา เพราะทางไทยก็บอกชัดเจนอยู่แล้วว่ารัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พยายามดำเนินการทุกอย่างโดยเคารพสิทธิมนุษยชน ตนคิดว่าคงไม่มีรัฐบาลใดที่ยึดอำนาจมาแล้วจะให้เรื่องสิทธิมนุษยชนได้ถึงขนาดนี้ เราก็ปล่อยทุกอย่าง

“ไม่มีรัฐบาลไหน ที่ยึดอำนาจมา แล้วปล่อยให้มีการแสดงความเห็นอย่างเสรี เช่นปัจจุบัน ขณะนี้ รัฐบาลพยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุด และพยายามทำให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่ถาวร แต่ขอให้รอ เพราะตอนนี้ต้องแก้ปัญหาหลายด้าน  เพื่อวางรากฐานให้ประเทศ  ทุกอย่างยังเดินตามโรดแมป และจะมีการเลือกตั้งอย่างแน่นอน” พล.อ.ประวิตร กล่าว

“ผมยืนยันว่าประเทศในอาเซียน ไทยไม่ด้อยไปกว่าใคร เพราะคนไทย 60-70 ล้านคน มันใช้ได้เลย รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มี และคนที่มีอยู่ในขณะนี้เก่งมาก เพียงแต่อย่ามีเรื่องมารบกวนและอย่าไปเล่นการเมืองกันมาก อย่างไรก็ตามยืนยันว่ามีเลือกตั้งเกิดขึ้นแน่นอน เพราะเราเดินตามโรดแมป แต่ถ้าไปไม่ได้จริงๆ จะทำอย่างไร หากสถานการณ์เป็นแบบนี้พอไปได้ก็ไป” พล.อ.ประวิตร กล่าว

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทยและกรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนริมโขง หวั่นศาลไม่เข้าใจผลกระทบข้ามพรมแดน กรณี กฟผ. ซื้อไฟจากเขื่อนลาว

$
0
0

เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัด ลุ่มน้ำโขง หวั่นความเห็นตุลาการผู้แถลงคดี  ยังไม่เข้าใจปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน กรณี กฟผ. ลงนามสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี

30 พ.ย. 2558 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 8 ศาลปกครอง แจ้งวัฒนะ ได้มีการนัดพิจารณาคดีครั้งแรก กรณีเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง อันได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ยื่นฟ้อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ผู้ถูกฟ้องที่1 และอีก 4 หน่วยงานของรัฐ คือคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ , กระทรวงพลังงาน , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องที่ 2-5 ตามลำดับ อันสืบเนื่องจากกรณี การลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี โดยทางกลุ่มผู้ฟ้องเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับการพิจารณาคดีครั้งนี้ สอ รัตนมณี พลกล้า ทนายความของคดีนี้ ได้ให้ข้อมูลหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีครั้งแรกว่า ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็น ยกฟ้อง โดยมีการสรุปประเด็นที่พิจารณาไว้สองเรื่องคือ ประเด็นที่หนึ่ง ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมดละเลยต่อหน้าที่ไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี โดยตุลการผู้แถลงเห็นว่า การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำที่ตรงกับนิยาม โครงการของรัฐ เป็นเพียงการทำสัญญาซื้อไฟฟ้า มีลักษณะเป็นเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศ ฉะนั้นจึงมองว่าการลงนามดังกล่าวไม่ใช่โครงการของรัฐ ที่จะต้องดำเนินการตามระเบียบ ซึ่งจะต้องมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือจัดทำรายการผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ตุลาการผู้แถลงจึงเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องจึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวก่อนลงนามในสัญญา

ทนายความกล่าวต่อไปว่า ศาลได้เข้าไปพิจารณาดูด้วยว่า ในข้อตกลงของการลงนามในสัญญาซึ่งมีการกำหนดว่า ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนไซยะบุรีต้องมีการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตราฐานสากล โดยในกรณีนี้ ศาลเห็นว่า การทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมฯ นั้นทางเจ้าของโครงการได้ดำเนินการไปเสร็จสิ้นแล้วตามกฎหมายของประเทศลาว เท่ากับว่ามีการดำเนินการถูกต้องตามขั้นตอนไม่ได้มีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่

ส่วนในประเด็นที่สอง โดยศาลตั้งประเด็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-4 ละเลยต่อมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ ในกรณีที่กำหนดว่า ก่อนที่จะมีการลงนามจะต้องมีการดำเนินการ อย่างน้อย 3 ประการคือ สัญญาจะต้องมีการผ่านการพิจารณาของสำนักงานอัยการ โครงการจะต้องดำเนินการตามกระบวนการ PNPCA ((Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement) และต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของโครงการ โดยศาลมองว่า รูปแบบของ PNPCA กำหนดให้มีการปรึกษาหารือ และจัดทำข้อตกลง ซึ่งศาลเห็นว่า กระบวนการเหล่านี้ได้ดำเนินการไปแล้ว

ต่อกรณีที่กลุ่มผู้ฟ้องเห็นว่า การดำเนินการต่างๆ ไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดน ศาลเห็นไม่มีข้อกำหนดใดๆ ที่กล่าวถึงหลักการดังกล่าวไว้ ฉะนั้นจึงไม่มีความจะเป็นต้องดำเนินการ ในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ศาลมองว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ไม่ใช่โครงการของรัฐ การจะนำข้อมูลมาเผยแพร่จะต้องได้รับการอนุญาติจากเจ้าของโครงการ และในสัญญาของโครงการได้กำหนดว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ ฉะนั้นการที่หน่วยงานซึ่งถูกฟ้องนำข้อมูลมาเผยแพร่เท่าที่ดำเนินการได้ ก็ถือว่ามีการดำเนินการตามกฎหมายแล้ว จึงมีคำสั่งให้ยกฟ้อง

ทนายความกล่าวต่อว่า คำแถลงของตุลาการผู้แถลงคดี ไม่ได้มีผลใดๆ ต่อการพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการเจ้าของสำนวน ซึ่งศาลจะมีการกำหนดให้มีการฟังคำพิพากษาต่อไป

ด้าน นิวัฒน์ ร้อยแก้ว เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ตั้งข้อสังเกตุต่อประเด็นดังกล่าวว่า เป็นการให้ความเห็นที่ยังไม่เข้าใจเรื่องของผลกระทบข้ามพรมแดน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต้องมีการพูดถึง มีการแก้ไขกันที่ตัวกฎหมายต่อไป

“เมื่อเราฟังตุลาการแถลงแล้ว เห็นชัดเจนเลยว่ามีข้อบกพร่องมากมาย ที่ชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมในเรื่องการจัดการทรัพยากร เพราะมีข้อกฎหมายและระเบียบมากมาย... การจัดการทรัพยากรร่วมกันกฎหมายต้องไปให้ถึง ไม่อย่างนั้นแม่น้ำโขงตายแน่ ตายจริงๆ ตายแบบไม่มีทางสู้ นี่คือสิ่งที่มองเห็นชัด”นิวัฒน์ กล่าว

สอ รัตนมณี ทนายความของคดีฝ่ายผู้ฟ้อง ให้ความเห็นต่อไปว่า ประเด็นปัญหาตอนนี้คือ กฎหมายของไทยและในประเทศเพื่อนบ้านยังไม่คุ้มครองปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน แม้ตอนนี้จะยังไม่มีคำตัดสินออกมา ก็ยังคงมีความหวังว่า ตุลาการเจ้าของสำนวนจะเห็นว่า การวินิจฉัยคดีนี้ สามารถสร้างบรรทัดฐานที่จะสนับสนุนการดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิชุมชน อันเกิดจากปัญหาผลกระทบข้ามพรมแดน

ด้าน ชานณรงค์ วงศ์ลา กลุ่มฮักเชียงคาน หนึ่งในเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ให้ความเห็นว่า การเดินทางมาวันนี้ เพื่อต้องการพึ่งพาความยุติธรรมจากศาล แต่สิ่งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า รัฐไทยไม่สามารถปกป้องคุ้มครองทรัพยากร และประชาชนของตัวเอง ทั้งที่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นแล้ว แต่ในด้านของกฎหมายยังไม่มีกฎหมายที่คุ้มครองผลกระทบข้ามพรมแดน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

 

สรุปคดีและคำสั่งศาลปกครองสูงสุด กรณีฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเขื่อนไซยะบุรีคดีหมายเลขดำที่ ส.493/2555 ศาลปกครองกลาง

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2555 ประชาชน 8 จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผู้อาจได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขง ทั้งในด้านระบบนิเวศของแม่น้ำโขงและส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน อย่างร้ายแรง ได้ร่วมกันให้ตัวแทน ฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนการทำสัญญาซื้อไฟฟ้าของกฟผ. (PPA) เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส.493/2555 ระหว่าง นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ที่ 1 กับพวกรวม 37 คน ผู้ฟ้องคดี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ 1 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 2 กระทรวงพลังงาน ที่ 3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 4 คณะรัฐมนตรี ที่ 5 ผู้ถูกฟ้องคดี

โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษา ดังนี้

1. ให้มีคำพิพากษาว่า โครงการสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นโครงการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้มีคำสั่งให้ยกเลิกโครงการดังกล่าวเสีย

2. ให้มีคำพิพากษา ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งห้าปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และมติของรัฐบาล รวมทั้งการแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเหมาะสม การรับฟังความคิดเห็นอย่างเพียงพอและจริงจัง และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ทั้งในฝั่งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากอันตรายข้ามพรมแดน ก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี

3. ให้มีคำพิพากษาว่า ให้ยกเลิกมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 5 ในการอนุมัติให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ดำเนินโครงการสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี

ต่อมา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ โดยออกเป็นคดีหมายเลขแดงที่ 59/2556 ซึ่งผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ในวันที่ 21 มีนาคม 2556 เพื่อขอให้ศาลพิจารณารับคำฟ้องคดีไว้พิจารณา โดยศาลปกครองสูงสุดรับเป็นคำร้องที่ คส.11/2556

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.57 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ตามคำสั่งที่ 8/2557 ให้มีคำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจาณาบางส่วน 

โดยศาลปกครองสุงสุดได้วินิจฉัยพอสรุปได้ ดังนี้

ศาลเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 ได้ยื่นฟ้องเป็น 3 ข้อหา จึงพิจารณารายข้อหา ดังนี้

ข้อหาที่หนี่ง มติของคณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน ที่อนุญาตให้ กฟผ. ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ของประเทศลาว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การมีมติให้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินการภายในของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อ นำไปสู่การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด จึงยังไม่มีผลทางกฎหมายออกสู่ภายนอกไปกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของผู้ฟ้องทั้ง 37 คน ดังนั้น ผู้ฟ้องทั้ง 37 คนจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ศาลไม่รับข้อหานี้ไว้พิจารณา

ข้อหาที่สอง สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ บริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน มีความประสงค์อันแท้จริง คือ ต้องการให้ศาลปกครองมีคำบังคับให้เพิกถอนหรือยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระหว่าง กฟผ. กับบริษัทไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด แต่ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีไม่ปรากฏว่า ผู้ฟ้องทั้ง 37 คนเป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัญญาทางปกครอง จึงไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน จะมีสิทธิฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน จึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีข้อหาที่สองต่อศาลปกครองได้ ตามมาตรา 42 วรรค 1 แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 แม้ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน อุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อไฟฟ้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน ในฐานะที่เป็นผู้เสียภาษี และผู้รับประโยชน์จากสัญญา แต่ศาลเห็นว่า การเสียภาษีอากรถือว่าเป็นหน้าที่ที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน จะต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ศาลไม่รับข้อหานี้ไว้พิจารณา

ข้อหาที่สาม ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ปฏิบัติ หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และมติของรัฐบาล รวมทั้งการแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเหมาะสม การรับฟังความคิดเห็นอย่างเพียงพอและจริงจัง และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม ทั้งในฝ่ายไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากอันตรายข้ามพรมแดน ก่อนที่จะดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการจัดซื้อไฟฟ้าโครงการเขื่อนไซยะบุรี

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องทั้ง 37 คน เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือได้รับผลกระทบโดยตรงและมากเป็นพิเศษกว่า บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้อยู่อาศัยหรือประกอบอาชีพในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง จึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อน  หรือเสียหาย ที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน ได้รับจำต้องมีคำบังคับโดยสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายและมติของรัฐบาล รวมทั้งการแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเหมาะสม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นอย่างเพียงพอและจริงจัง และประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคมตามคำขอของผู้ฟ้องคดีทั้ง 37 คน ตามมาตรา 72 วรรค 1(2) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โครงการเขื่อนไซยะบุรีสร้างในแม่น้ำนานาชาติ ต้องปฎิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น PNPCA เนื่องจากเป็นกติกาที่ใช้ในการจัดการแม่น้ำนานาชาติร่วมกัน โครงการไซยะบุรีเป็นโครงการที่กั้นแม่น้ำที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียตนาม ซึ่งเป็นผลกระทบข้ามพรมแดน จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีที่ฟ้องโดยใช้สิทธิชุมชนในการฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ เพื่อคุ้มครองไม่ให้ตนได้รับผลกระทบ จึงใช้สิทธิในการฟ้องได้

ศาลจึงมีคำสั่งแก้คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้รับคำฟ้องของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 37 คน เฉพาะข้อหาที่ 3 ในส่วนที่ฟ้อง ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 ปฏิบัติ หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และมติของรัฐบาล รวมทั้งการแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเหมาะสม การรับฟังความความคิดเห็นอย่างเพียงพอและจริงจัง การประเมินผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ไว้พิจารณา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนรวย คืนถิ่น: ปัญหาการสื่อสาร เมื่อต้องการไล่คนกลับบ้าน

$
0
0

 

ทำงานในเมือง ดีกว่าทำสวนที่บ้าน?

ถ้าคุณเบื่อชีวิตมนุษย์เงินเดือน คลิปนี้มีคำตอบข้อมูลเพิ่มเติม คลิก www.facebook.com/konglakuentin/photos/a.441285489355996.1073741828.441230242694854/541760302641847/?type=3&permPage=1

Posted by คนกล้าคืนถิ่น on Thursday, September 24, 2015


เพื่อนส่งวิดีโอ ‘คนกล้าคืนถิ่น’ ซึ่งกระหน่ำแชร์ร่วม 70,000 ครั้งบนหน้าเฟซบุ๊ก ด้วยเป็นธรรมดาของชนชั้นกลางผู้ขี้ขลาดตาขาวเกินกว่าจะแบกรับผลกระทบในภายหลัง ส่วนตัวจึงพยายามหลบเลี่ยงจะพาดพิง วิพากษ์ วิจารณ์ อะไรก็ตามแต่ที่บั่นทอนน้ำใจมิตรสหาย ซึ่งรายล้อมด้วยคนดี แต่ถึงกระนั้นแล้ว 70,000 แชร์ ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ที่ควรค่าแก่การหลบเลี่ยงจะพูดถึงในต่างแง่มุมไม่

คนกล้าคืนถิ่น เป็นโครงการความร่วมมือขององค์กรเกษตรพอเพียงทั้งหลาย ตั้งแต่สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิปิดทองหลังพระ หนึ่งไร่หนึ่งแสน สภาหอการค้าไทย สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มธ. ม.ลาดกระบัง เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ มูลนิธิธนาคารต้นไม้ โครงการ 100 โครงการเปลี่ยนประเทศ (โครงการหนึ่งในโครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย) ม.หอการค้าไทย โครงการผูกปิ่นโตข้าว มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง มูลนิธิพิทักษ์ประชาชาติ ม.เกษตรศาสตร์ มูลนิธิข้าวขวัญสันติอโศก เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน มูลนิธิส่งเสริมการออกแบบอนาคตประเทศไทย และกองทัพบก ด้วยหวังจะเพิ่มปริมาณแรงงานเกษตรมีความสามารถให้ชุมชน

นอกเหนือจากการเติมเต็มมายาคติชุมชนให้อุดมสมบูรณ์ ในหมู่คนชั้นกลาง และประสบความสำเร็จในการสานต่อวาทกรรม ‘มิตรสหายชาวทุ่ง’ ซึ่งมีมาตั้งแต่เริ่มเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ กทม. หรือในอีกนัยหนึ่งคือ เมื่อ กทม. กลายเป็นศูนย์กลางกระจุกความเจริญแล้ว กระบวนการสื่อสารก็ไม่มีมากไปกว่าความพยายามหาแพะรับบาป เพื่อง่ายต่อการโยนความโง่ จน เครียด ให้ใครก็ตาม ซึ่งอยู่ในฐานะต่ำกว่าผู้เล่าเรื่อง การใช้ fear approach ดังกล่าวจึงเป็นวิธีการสื่อสารเดียวที่องค์กรคนดีใช้อย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จยิ่งในจินตนาการของหมู่ชนชั้นกลาง หากแต่ไม่สามารถทำงานกับกลุ่มเป้าหมายที่ประสบปัญหาจริง ๆ ได้ เช่น การถาโถมงบประมาณมหาศาลไปกับการทำสื่อ เพื่อจะบอกว่า คนสูบบุหรี่คือความอัปยศของครอบครัว คือความน่ารังเกียจของสังคม คือฆาตกร ฆ่าลูก ฆ่าเมีย โดยดูจะชัดเจนกว่า ความพยายามจะเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม หรือ จน เครียด กินเหล้า ที่มีผู้วิจารณ์จนช้ำเลือดช้ำหนองแล้ว แต่ ‘ภาคีเครือข่าย’ ก็ยังคงนำไปพูดถึงอย่างภาคภูมิ โดยตั้งใจลืมไปว่า ถ้า รวย มีความสุข ก็กินเหล้าได้ ไม่เป็นไร การหยิบยกตัวละครชาวบ้าน คนจน เกษตรกร แรงงาน มาอยู่ในสื่อดังกล่าว จึงไม่ได้อยู่ในสถานะของการสื่อสารบนความเข้าใจ หรือในบทบาทตัวละครที่สะท้อนภาพลักษณ์ของตัวคนต่างจังหวัดเองในทางปัจเจก หากแต่เป็นสัญญะแสดงถึงต้นแบบที่ไม่น่าเอาเยี่ยงอย่าง เป็นตัวแทนแห่งความโง่ ความไม่รู้ ไม่ประสีประสา สร้างความมักง่ายต่อการกล่าวโทษคนต่างจังหวัดอย่างเฉยชาว่า ประเทศไทยมีทุกอย่าง แต่ที่คนยังจนเพราะคนบ้านนอกมันโง่ เป็นต้น

วิดีโอ ‘คนกล้าคืนถิ่น’ ฉบับ ดร.เกริก ก็เช่นกัน คลิปเริ่มด้วยการโยนความผิดบาปให้กลุ่มพนักงาน แรงงาน ในเมืองกรุง ที่ทนรถติด ทนเสียงบ่นด่าจากเจ้านาย ทนรับเงินเดือนอันน้อยนิด ที่เมื่อเทียบกับผู้พูดแล้วช่างต่างราวนรกสวรรค์ วิดีโอจึงสร้าง ‘โลกจำลอง’ ให้ผู้พูดและผู้ถูกพูดถึงเกี่ยวดองกันด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ลักษณะเดียวกับครู-นักเรียน พ่อแม่-ลูก คนรวย-คนจน ด้วยยกให้ผู้พูดเหนือกว่าในทุกกรณี และเมื่อสร้างให้ผู้พูดฉลาดกว่า ย่อมหมายถึง ผู้ถูกพูดถึงโง่กว่าโดยปริยาย นอกจากนี้ยัง กระหน่ำซ้ำเติมกลุ่มคนผู้หนีความอาภัพ มาใช้ชีวิตรอดในกรุงเทพอย่างยากลำบาก ด้วยการบอกต่อว่า การได้มาซึ่ง รถไม่ติด เงินเดือนมหาศาล ไม่ต้องถูกเจ้านายด่านั้น ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ทำ ‘ชิล ๆ’ เป็นเกษตรสายชิล ทำไปบันเทิงเริงรมย์ไป

จากนั้น ก็ตามจารีตนิยมของวิธีการสื่อสารที่ออกผ่านองค์กรลักษณะนี้ คือการสรุปทุกสิ่งที่รับชมว่า หากจะถึงพร้อมด้วยอะไรเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องยาก แค่เริ่มต้นจากสิ่งที่ตัวเองมี หนทางแห่งความร่ำรวย ไม่มีหนี้สิน ช่างง่ายดายเสียยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้น กระบวนการสรุปจบสำเร็จรูป ไม่ต้องการความซับซ้อน ขายได้ดีเสมอในหมู่ผู้ต้องการความง่าย พอ ๆ กับการขายคอร์สกำลังใจ ดูแล้วแทบจะโยนแมคบุ๊คทิ้ง ไปจับจอบถางหญ้า พรวนดิน แหม วิถีเกษตรสายชิล  ช่างง่ายดายอะไรเสียจริง แต่อย่าพูดถึงปัญหาราคาสินค้าเกษตร ภัยแล้ง แมลงศัตรูพืชนะ ไม่เอา ไม่ยากได้ยิน รับไม่ได้

ไม่มีใครอยากทำงานแทบตายแล้วได้เงินน้อย อยากเสียเวลากับรถติด หรือมีความสุขกับเสียงเจ้านายบ่นด่าหรอกครับ เพียงแค่คนส่วนใหญ่ของโลกใบนี้ ไม่ได้มี ‘privilege’ (อภิสิทธิ) พอที่จะเลือกชีวิตเยี่ยง ดร.เกริก ได้เท่านั้นเอง มีคนอีกมากที่ทำงานเท่าไรก็ไม่เคยพอ เพราะต้องส่งเงินช่วยพ่อแม่ ต้องแก้ปัญหาลูกติดยา เพราะ(กว่าจะ)ได้ค่าแรงแค่ 300 บาท จะออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมที่ไม่เคยได้รับ ก็โดนด่าในฐานะผู้ทำรถติดเสียแล้ว

ในทางการสื่อสาร เสียงของคนเหล่านี้จึงไม่เคยถูกพูดด้วยเสียงและท่าทีของเขาเอง หากแต่ถูกพากษ์ด้วยเสียงคนดี เสียงผู้รู้ เสียงองค์กรทำงานเพื่อสังคม (ทว่า สังคมที่ว่านั้น พาสเจอร์ไรซ์คนที่ไม่เข้าพวกออกไปแล้ว) เสียงประชาชน ในความหมายของผู้มีเลือด มีเนื้อ มีสุข มีทุกข์ มีความขัดแย้ง มีผลประโยชน์ มีน้ำตา มีความต้องการจะส่งลูกไปเรียนต่างประเทศพอ ๆ กับคนที่เข้าถึงโอกาสมากกว่า มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ต และรถไฟฟ้าเช่นเดียวกัน จึงไม่เคยถูกสื่อสารผ่านช่องทางเหล่านี้แม้แต่น้อย

กระนั้นแล้ว อย่าได้ตกใจไป “ในเมื่อตีวัวกระทบคราดขนาดนี้ ยังมีทั้งวัว ทั้งคราด กดแชร์ กันมากมาย” นับตั้งแต่ไทยทำสนธิสัญญาเปิดประเทศในสมัย ร.4 ก็เริ่มรับแรงงานข้ามชาติมาทำงานจำนวนมาก ชาวจีนเข้ามามีบทบาทในภาคแรงงานนานนับศตวรรษ ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยังพอใจกับรายได้และชีวิตไร่นา จนปี 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ดำเนินเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีนิยม ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ แรงงานไทยก็เริ่มเคลื่อนย้ายออกจากชนบทเข้ามามีชีวิตในเขตอุตสาหกรรมอย่างแข็งขัน

ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับวิธีคิดของหมู่คนกรุงเดิมที่เริ่มรับไม่ได้กับการเจริญเติบโตของกลุ่มคนต่างจังหวัด ที่เข้ามาตัดส่วนแบ่งเค้ก ซึ่งแต่เดิมตนเคยสวาปามอย่างสุขหนำสำราญ วาทกรรมกลับไปใช้ชีวิตชนบท จึงเริ่มกล่อมประสาทสังคมไทยนับแต่นั้นมา ดังจะเห็นได้จากเพลงชาวทุ่ง ซึ่งขับร้องโดยเลิศ ประสมทรัพย์ “พวกเราทั้งหลายมิตรสหายชาวทุ่ง  คร้านเคยพบเคยเห็นกรุง  รู้เพียงกรุงนั้นยุงคลุ้งไป ฝุ่นกรุงฟุ้งเฟ้อ สังคมเพ้อเป็นไข้  แสงและสีมีพิษภัย  หาลมจะหายใจไม่มี ...อยู่นาประสาเขาเรา ไร้ของมอมเมาเคล้าคลุกกคลี  อยู่เมืองสวรรค์นั่นซี มีแต่ที่พิกลพิการ อย่ามัวสงสัย คิดไปไหนไกลบ้าน รักดินฟ้านาสำราญ เพราะมันเป็นวิมานสุขจริง” เพลงพร่ำสอนคนต่างจังหวัด ซึ่งขับร้องโดยคนกรุงเทพ ให้ชวนจินตนาการว่า กรุงเทพมันน่ากลัว ยุงก็เยอะ ฝุ่นก็ฟุ้ง หายใจยังลำบาก พวกเราอย่าสงสัยอยากเข้าไปทำงาน อย่าเข้าไปให้คนกรุงเทพ (ที่เขาฉลาดกว่า) หลอกเลย อยู่ป่า อยู่นา อยู่เขา นี่แหละดีแล้ว พอแล้ว เหมาะกับตัวเราดี หนำซ้ำยังตามมาด้วยเพลงอย่าง ข้างขึ้นเดือนหงาย พล็อตหนังละครที่ชีช้ำไปด้วยคนบ้านนอกมาหลงแสงสีในเมืองกรุงจนใจแตก หรือการสร้างตัวละครให้คนต่างจังหวัด ดูตลก เด๋อด๋า ก็ย่อมทำลายความจริงที่เป็นอยู่ เพื่อสร้างความเสียเปรียบทางการต่อรองของคนต่างจังหวัดในทุกกรณี วาทกรรมไล่คนกลับถิ่นที่ไม่มีอะไรกิน จึงเคียงข้างสังคมไทยมาช้านาน

แม้ว่าเสียงของกลุ่มคนผู้ถูกพูดถึงโดยคนกรุง จะถูกสื่อสารผ่านตัวเขาเองมากขึ้น ในยุคสมัยแห่งสังคมออนไลน์ เสียงของคนเหล่านี้เริ่มย่างกรายเข้ามาหลอกหลอน และท้าทายมายาคติอันผิดพลาดของคนกรุง ดังนั้นจึงไม่ผิดแปลกที่จะเห็นโครงการสร้างความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในนามของความห่วงใย อย่างการสร้างภาพให้อินเทอร์เน็ตเป็นศัตรูบ่อนทำลายวัฒนธรรมไทยอันดีงาม แม้จะยอมรับการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นในระยะหลัง เพราะทุกฝ่ายหยั่งรู้ถึงประโยชน์ในการเผยแพร่วิธีคิดฝั่งฝ่ายของตนเองได้เช่นกัน แต่ด้วยอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางเดียวในการเข้าถึงและถ่ายทอดความจริงของกลุ่มคนที่ไม่ได้มี privilege หรือเข้าไม่ถึงทรัพยากร เมื่อคนต่างจังหวัด คนรุ่นใหม่ เด็กเยาวชน เริ่มคล่องแคล่วกับการใช้เครื่องมือเหล่านี้ ย่อมเป็นภัยคุกคามครั้งสำคัญของกลุ่มอำนาจเก่าที่หมดอายุแล้วในทางวิธีคิด ทว่ายังดำรงตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ในประเทศอย่างอายุวัฒนะ

ทั้งนี้ ก็มิได้สรุปว่า การถึงพร้อมด้วยองค์ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ และกลับไปทำงานสบาย เงินดีที่บ้าน จะเป็นเรื่องผิดแต่ประการใด หากแต่ต้องไม่ละเลยปัญหาความไม่ธรรม ความเหลื่อมล้ำ การจัดสรรที่ดินอันแปลกประหลาด ปัญหาค่าครองชีพ และสรุปเอาเองอย่างมักง่ายว่า ที่ประเทศไทยยากจน เพราะคนต่างจังหวัดโง่ คอยถ่วงความเจริญ

สื่อสารมวลชน จะต้องไม่ตอกย้ำมายาคติชนบทไทย ไล่คนต่างจังหวัดกลับบ้าน โดยไม่สนใจมิติอื่นใด หากแต่ต้องใช้ความจริง พูดคุย สื่อสาร ถ่ายทอด ด้วยความเข้าใจ เป็นมิตร และเป็นธรรม

 

 

อ้างอิง

คลิปวิดีโอจาก แฟนเพจเฟซบุ๊ก คนกล้าคืนถิ่น : ทำงานในเมือง ดีกว่าทำสวนที่บ้าน ? 
คุณวริศ ลิขิตอนุสรณ์ และคุณภัทธา สังขาระ ที่ช่วยตรวจทานบทความ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โฆษก คสช. อัด ′ตู่-เต้น′ ใช้คำว่า "ทุจริต" ปมราชภักดิ์ เป็นการใช้เพียงความรู้สึก

$
0
0

30 พ.ย. 2558 จากกรณีที่ จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ถุกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว กลางตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร ท่ามกลางสื่อมวลชนที่รอทำข่าว และประชาชน ระหว่างแถลงข่าวก่อนเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา

‘สมหวัง-ธนาวุฒิ’ โดนด้วยขณะ แวะร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน ราชบุรี

ข่าวสดออนไลน์รายงานด้วยว่า ล่าสุดเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงได้เข้าไปพูดคุยและคุมตัวแกนนำนปช.อีก 2 คน คือ สมหวัง อัสราษี และ ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ์ ซึ่งมาแวะพักที่ร้านกาแฟภายในปั๊มน้ำมัน จ.ราชบุรี

โฆษก คสช. อัด ′ตู่-เต้น′ ใช้คำว่า "ทุจริต" ปมราชภักดิ์ เป็นการใช้เพียงความรู้สึก

สำนักข่าวไทยรายงานด้วยว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า  เนื่องจากเจ้าหน้าที่มองว่าเป็นการพยายามเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างชัดเจน  พฤติกรรมเริ่มจากการป่าวประกาศเชิงชี้นำ ในทำนองปลุกปั่นให้เกิดความไม่เรียบร้อย  ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาจากพฤติกรรมในหลายวาระ รวมทั้งการกล่าวต่อสาธารณะโดยใช้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนมาตลอด

“โดยเฉพาะการใช้คำว่าทุจริต ซึ่งหน่วยงานหรือผู้มีหน้าที่โดยตรงยังไม่มีใครกล่าวถึง เป็นการใช้เพียงความรู้สึกทั้งสิ้น  ปัจจุบันจะเห็นว่าภาครัฐไม่นิ่งนอนใจเมื่อสังคมต้องการทราบ หลาย ๆ หน่วยงานก็กำลังร่วมกันดำเนินการภายใต้ขอบเขตความรับผิดชอบเพื่อคลี่คลายไขความกระจ่างให้” พ.อ.วินธัย กล่าว

โฆษก คสช. กล่าวว่า หลังจากนี้อาจจะมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการให้ข้อมูลใด ๆ กับสังคม  ถ้ายังไม่มีข้อพิสูจน์ที่สมบูรณ์ชัดเจน  แล้วมีบุคคลใดนำมาใช้กล่าวอ้างจนส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กร  ก็จะมีการใช้มุมทางกฎหมายเข้ามาพิจารณาดำเนินการอย่างจริงจัง

“การเคลื่อนไหวของนายณัฐวุฒิ ในลักษณะเช่นนี้ ไม่น่าเกิดประโยชน์ต่อกระบวนการไขความกระจ่างเพราะไม่ใช่ผู้มีหน้าที่  ซึ่งจะทำให้หลายฝ่ายเคลือบแคลงในท่าทีที่อาจดูไม่ต่างจากรูปแบบเดิม ๆ  ซึ่งมิได้เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอย่างแท้จริง  และในความเป็นจริงทุกคนที่สนใจในเรื่องนี้ สามารถติดตามได้ตลอดจากช่องทางที่เหมาะสมต่าง ๆ และที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ก็ใช้แนวทาง ขอความร่วมมือ และทำความเข้าใจเป็นลำดับแรก” โฆษก คสช. กล่าว

ประจิน มองไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์บานปลาย ควรพูดคุยกันให้รู้เรื่อง

ก่อนหน้านั้น มติชนออนไลน์รายงานด้วยว่า เมื่อเวลา 11.30 น. พล.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์กรณีดังกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารไปจับ จตุพรและ ณัฐวุฒิ แต่มองว่าเจ้าหน้าที่ทหารไม่ควรปล่อยให้เหตุการณ์บานปลายเช่นนี้

"ควรพูดคุยกันให้รู้เรื่องและไม่ทราบว่าอำนาจในการสั่งจับครั้งนี้เป็นของใครเพราะต้องดูเป็นกรณีๆ ไป ส่วนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เตรียมสอบเรื่องนี้จากที่พบว่ารัฐบาลมีการอนุมัติงบประมาณส่วนหนึ่งของรัฐไปใช้ในโครงการนั้น ขั้นต้นทราบว่าเจตนาของมูลนิธิใช้เงินบริจาค แต่ไม่ทราบมีส่วนงบส่วนราชการอย่างไร" พล.อ.ประจิน กล่าว

เมื่อถามว่าสังคมมีความสงสัยอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงว่ากรณีอุทยานราชภักดิ์ดำเนินการอย่างไรใช้งบจากไหนเพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจไม่ควรออกมาโต้เถียงกันจนกลายเป็นเรื่องการเมือง พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า “ได้ยินข่าวโครงการอุทยานราชภักดิ์ก็มีความชื่นชมที่ทางมูลนิธิสามารถทำโครงการนี้ได้ และท่านอยากให้เป็นไฮไลต์ของงานท่าน แต่พอมาพูดในแง่ลบคนทำก็เสียความรู้สึก เสียกำลังใจ ต้องช่วยกัน ซึ่งผมจะไปเรียนรมว.กลาโหมให้ทราบตามที่สื่อแนะนำ เพื่อไม่ให้เป็นประเด็นการเมือง ไม่อยากให้เรื่องดีๆ กลายเป็นเรื่องการเมือง ส่วนจะส่งผลต่อภาพลักษณ์รัฐบาลหรือคสช.หรือไม่นั้น มองว่าทำให้เสียความรู้สึกต่อผู้ที่ปรารถนาดีต่อโครงการ"

โฆษกกลาโหม แจงเชิญ ‘ตู่-เต้น’ ไปคุย - หวั่นม็อบชนม็อบ

มติชนออนไลน์รายงานอีกว่า พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้จับกุม จตุพร และ ณัฐวุฒิ เพียงแต่เชิญตัวมาพูดคุยเท่านั้น เพราะเกรงว่าจะเกิดปัญหาม็อบชนม็อบขึ้น เนื่องจากทราบว่ามีมวลชนจาก จ.ราชบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปรอต่อต้านกลุ่มของ จตุพรและ ณัฐวุฒิ อยู่จึงอาจเกิดการปะทะกันขึ้น เพราะ จตุพรเอง ก็นำมวลชนไปจำนวนหนึ่งด้วยเช่นกัน จึงได้เชิญตัวไปทำความเข้าใจ แต่ทั้งนี้ขอปฏิเสธที่จะบอกสถานที่การพูดคุย และจำนวนวันในการควบคุมตัว

นปช. ร้องคสช.ปล่อยตัว ‘จตุพร-ณัฐวุฒิ’ ก่อนจะบานปลาย

ด้าน ธิดา ถาวรเศรษฐ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจระบุว่า ไม่ทราบว่าจตุพรและณัฐวุฒิ ถูกควบคุมตัวไปที่ไหนและชตากรรมเป็นอย่างไร พร้อมระบุว่า พวกเขาไม่ได้นัดหมายขับเคลื่อนทางการเมืองใดๆ ในการต่อต้านคสช. พวกเขาทำหน้าที่พลเมืองดีด้วยซ้ำ เพื่อช่วยตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลนี้และบรรดาผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย

“คำถามจากสังคมต่อคณะคสช.ก็จะอื้ออึง และถ้ามีเรื่องไม่ถูกต้องเกิดขึ้นต่อ คุณจตุพรและคุณณัฐวุฒิ ก็น่าจะสงสัยได้ว่าคสช.ต้องการสร้างและขยายความขัดแย้งเพื่อวัตถุประสงค์ใด หรือการทำรัฐประหารปีกว่ามานี้ยังแก้ความขัดแย้งในหมู่ผู้ปกครองทั้ง” ธิดา ระบุ

นอกจากนี้ ธิดา ยังให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Thaivoicemediaเรียกร้องให้คสช.ปล่อยตัวทั้ง 2 คนด้วย ก่อนจะบานปลาย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.สส.กองทัพพม่า - ปธน.เต็ง เส่ง เตรียมหารือเปลี่ยนผ่านการเมืองกับ 'ออง ซาน ซูจี' พุธนี้

$
0
0

พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผบ.สส.กองทัพพม่า เผยว่าพุธที่ 2 ธ.ค. นี้เตรียมหารือ "การปรองดองแห่งชาติ" กับออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคเอ็นแอลดีและผู้ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่ปธน.เต็ง เส่ง ตอบรับการเจรจาเช่นกัน โดยเป็นการแยกหารือที่ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า

พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผบ.สส.กองทัพพม่า (ซ้าย) และหนังสือตอบรับการเจรจากับ ออง ซาน ซูจี ประธานพรรคเอ็นแอลดี (ขวา) (ที่มา: เฟซบุ๊ค Min Aung Hlaingและ สำนักข่าวเมียวดี)

(ภาพซ้าย) ออง ซาน ซูจี ส่งจดหมายจดหมายเชิญหารือปรองดองแห่งชาติรวม 3 ฉบับ โดยฉบับนี้เป็นฉบับที่ส่งไปยัง พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า (ที่มา: วิกิพีเดียและเฟซบุ๊ค NLDParty)

 

30 พ.ย. 2558 - พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่าได้โพสต์เอกสารในเฟซบุ๊คเพจยืนยันว่าจะมีการหารือกับออง ซาน ซูจี ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ในวันพุธที่ 2 ธันวาคมนี้

โดยก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 พ.ย. ออง ซาน ซูจี  ได้ทำจดหมายเรียนเชิญ 3 ฉบับ ไปยัง (1) ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพพม่า พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย,  (2) ประธานาธิบดีพม่า เต็ง เส่ง และ (3) ประธานรัฐสภา ฉ่วย มานน์ เพื่อหารือถึงกระบวนการปรองดองแห่งชาติ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

ทั้งนี้เนื้อหาในจดหมายทั้ง 3 ฉบับ ที่มีการเผยแพร่ในเฟซบุ๊คของพรรสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย มีข้อความในจดหมายคล้ายกัน โดยจดหมายฉบับที่เขียนถึงฉ่วย มานน์ ประธานรัฐสภาพม่านั้น ข้อความตามที่แปลฉบับภาษาอังกฤษในเมียนมาร์ไทม์ระบุว่า

"เพื่อทำให้ความต้องการของประชาชนเกิดผลในทางปฏิบัติ ตามที่พวกเขาแสดงออกผ่านการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นไปอย่างสันติและมีความสำคัญอย่างแท้จริงต่อความมีศักดิ์ศรีของชาติเรา และความผาสุกของพลเมืองนั้น"

"ด้วยเหตุนี้ ดิฉันขอเรียนเชิญพบท่านประธานรัฐสภาเพื่อหารือถึงกระบวนการปรองดองแห่งชาติ เพื่อทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ดิฉันขอเรียนเชิญให้มีการหารือในสัปดาห์หน้า"

 

ขณะที่ ออง ซาน ซูจี ได้ลงชื่อท้ายจดหมายว่า "ออง ซาน ซูจี ประธานพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย"

โดยภายในวันที่ 11 พ.ย. นั้นเองบุคคลทั้ง 3 ได้ตอบรับการหารือ "เพื่อความปรองดองแห่งชาติ" ที่เสนอโดยออง ซาน ซูจี โดย พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้ออกแถลงการณ์ในนาม "กองทัพพม่า" ในช่วงบ่ายวันนั้น แสดงความยินดีต่อประชาชนพม่าที่ลงคะแนนในการเลือกตั้งที่ "มีวินัยและเป็นระบบแบบแผน" และยินดีที่พรรคเอ็นแอลดีคะแนนนำ รวมทั้งตอบรับคำเชิญจาก ออง ซาน ซูจี และยินดีร่วมเจรจา "ปรองดองแห่งชาติ" ก่อนที่อีก 3 สัปดาห์ต่อมา จะมีการกำหนดวันเวลา และสถานที่เจรจาดังกล่าว

000

ทั้งนี้ สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่า ในเฟซบุ๊คของมิน ออง หล่าย เขาระบุว่าจะหารือกับออง ซาน ซูจี ในเวลา 14.00 น. วันพุธนี้ ณ ที่ทำงานของเขาในกรุงเนปิดอว์ ขณะที่อีก 15 นาทีต่อมา ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้โพสต์ระบุว่าจะพบกับ ออง ซาน ซูจี ในวันพุธที่ 2 ธันวาคม เช่นเดียวกัน แต่เป็นช่วงเช้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า ในกรุงเนปิดอว์
 
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ที่ผ่านมา ฉ่วย มานน์ ประธานรัฐสภาพม่า ซึ่งในการเลือกตั้ง 8 พ.ย. แพ้การเลือกตั้ง ส.ส. ที่บ้านเกิดของเขาในอำเภอผิ่ว ภาคพะโค ให้กับผู้สมัครจากพรรคเอ็นแอลดี ได้หารือกับออง ซาน ซูจี แล้ว โดยทั้ง 2 ฝ่าย ให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ ขณะที่ก่อนหน้านี้เต็ง เส่ง และ มิน อ่อง หล่าย ระบุว่าพวกเขาจะพบกับออง ซาน ซูจี ภายหลังจากที่ กกต.พม่า จัดการกระบวนการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรวมถึงกระบวนการวินิจฉัยผลการเลือกตั้งในเขตที่มีการร้องเรียนภายในวันที่ 23 ธันวาคม 2558
 
อนึ่ง การเจรจาเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในเดือนเมษายนปีนี้ โดย ออง ซาน ซูจี เคยร่วมหารือ 4 ฝ่ายที่ทำเนียบประธานาธิบดีพม่า ผู้เข้าร่วมได้แก่ ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง, แกนนำพรรคฝ่ายค้าน ออง ซาน ซูจี, ผู้บัญชาการกองทัพพม่า มิน อ่อง หล่าย และ ประธานสภาชนชาติ เอ หม่อง ซึ่งเป็นแกนนำพรรคชาติยะไข่ (ANP) โดยมีการหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญพม่าและการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามไม่มีผลความคืบหน้าสำคัญหลังการเจรจาดังกล่าว จนกระทั่งจะมีการเจรจาครั้งล่าสุดในวันพุธที่จะถึงนี้ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทูตสหรัฐแถลงเปิดรับไทย พร้อมตอบคำถาม TPP–เอ็นจีโอค้านดันในรัฐบาลทหาร

$
0
0

30 พ.ย.2558 นายกลิน ที เดวีส์ (Glyn T. Devies) เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) โดยนายเดวีส์เริ่มต้นการพูดคุยว่าเขาขอพูดและตอบคำถามเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับทีพีพีและเรื่องการประชุมโลกร้อนเท่านั้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เพียง 3 วัน พุทธอิสระได้นำประชาชนออกมาประท้วงการให้สัมภาษณ์ของทูตสหรัฐที่ให้ความเห็นว่าไม่ควรมีใครติดคุกจากการแสดงความคิดเห็นโดยสันติ โดยผู้ประท้วงไม่พอใจต่อการวิพาษ์การใช้มาตรา 112 ของไทย

สำหรับเนื้อหาการแถลข่าวนั้น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาและ Kristina Kvein ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจระบุว่า  การประชุม รัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 หรือ COP21 ที่ปารีสนั้นสหรัฐได้เป็นผู้นำในข้อตกลงความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิศาสตร์ การใช้พลังงานสะอาด โดยสิ่งที่สหรัฐจะทำคือการผลักดัน 1.การลดมลพิษ 2.วางรอบการทำงานระยะยาวในการสร้างแรงจูงใจในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศต่างๆ 3. ให้การสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ทั้งในทางการเงินและวิชาการ

ส่วนเรื่องทีพีพีนั้นก็เกี่ยวพันกับการยกระดับมาตรฐานต่างๆ ที่ว่ามาเช่นกัน โดยเดวีส์กล่าวว่า ทีพีพีเป็นความตกลงทางการค้าที่มีมาตรฐานสูงในทุกเรื่อง ไม่ว่ามาตราฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความโปร่งใสในกฎระเบียบ การส่งเสริมอินเตอร์เน็ตเสรี การลดความยากจน โดยเป็นการค้าระหว่างประเทศที่มีมูลค่าสูงถึง 40% ของจีดีพีโลก และสหรัฐยินดีต้อนรับประเทศต่างๆ รวมทั้งไทย ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาและเคยแสดงความสนใจเข้าร่วม

ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการผูกขาดสิทธิบัตรโดยเฉพาะกับการผลิตยาและนโยบายเปิดเสรีภจีเอ็มโอที่บรรจุอยู่ในทีพีพี เดวีส์กล่าวว่า ข้อตกลงนี้ไม่ใช่การหาสมดุลระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อ แต่เป็นมันเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตยารายใหม่ด้วย ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงในการผลิตยาชื่อสามัญหลายตัวและนับเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งในเรื่องนี้ ส่วนจีเอ็มโอนั้นอาจจะยังไม่มีคำตอบที่ดีให้กับไทยนัก

ด้าน Kvein ระบุว่า ขณะนี้มี 12 ประเทศที่กำลังเจรจาทีพีพีร่วมกัน โดยยังอยู่ระหว่างการต่อรองผลประโยชน์กันในทุกประเด็น ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกมาก ส่วนไทยนั้นยควรดูในรายละเอียดข้อตกลงที่ตอนนี้มีออกมาแล้วเป็นพันหน้าให้ละเอียดและให้ประชาชนไทยตัดสินใจร่วมกันด้วยว่าจะเข้าร่วมกับข้อตกลงนี้หรือไม่ ส่วนที่จะเป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมทีพีพีของไทยอย่างสำคัญก็คือมาตรฐานแรงงานของไทยเองที่ยังไม่ถึงเกณฑ์

เดวีส์ ยืนยันว่า การแถลงครั้งนี้ไม่ได้ต้องการเร่งรัดให้ไทยเข้าร่วมแต่เป็นเพียงการมาตอบคำถามหากประเทศไทยสงสัยเกี่ยวกับทีพีพี เพราะแม้สหรัฐเองก็ยังต้องศึกษาเรื่องต่างๆ ที่มีรายละเอียดซับซ้อนและอยู่ระหว่างการเจรจาของ 12 ประเทศรวมถึงข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มต่างๆ ภายในของสหรัฐ
ทูตสหรัฐกล่าวว่า หวังว่านี่จะเป็นเพียงโรดแม็พอันหนึ่งในการเดินทางต่อป แต่ยังไม่จำเป็นต้องต้องเจาะจงหรือเร่งรัด เพราะเป็นเพียงระยะเริ่มต้น เราเพียงแต่พูดถึงหลักโดยกว้างๆ ทั่วไป ส่วนการตัดสินใจเป็นเรื่องของแต่ละประเทศ

ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีออกมาตอบโต้การแสดงความเห็นของเดวีส์เรื่อง 112 ว่าอาจกระทบกับเรื่องเศรษฐกิจ โดยคำถามแรกถามว่าคิดว่าจะกระทบการค้าหรือไม่ และคำถามที่สอง คิดว่าจะมีโอกาสที่จะสังคมไทยจะถกเถียงเรื่องนี้อย่างมีเหตุผลหรือไม่ เดวีส์กล่าวว่า ในคำถามที่สองนั้นเขาไม่มีคุณสมบัติที่จะตอบได้ เขาแค่หวังเกี่ยวกับการเปิดการสนทนาในหัวข้อต่างๆ ที่กระทบต่ออนาคตคนไทยทั้งหมดเพราะมันสำคัญในการลงหลักปักฐานของประชาธิปไตย และขออภัยที่ต้องขออนุญาตไม่ตอบคำถามนี้ ส่วนเรื่องการค้านั้นเขาเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์และอนาคตของประเทศ

นอกจากนี้ยังมีผู้ถามว่าทูตจะร่วมงาน Bike for Dad หรือไม่ เดวีส์กล่าวว่า คิดว่าจะร่วมงานนี้อย่างแน่นอน เพราะมีความเคารพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในบ้านก็มีพระบรมฉายาลักษณ์ที่พระองค์ฉายพระรูปร่วมกับ เอลวิส เพรสลีย์ แต่คงไม่ได้ร่วมในระยะทางหมด แต่อยู่ในส่วนเส้นทางของทูตซึ่งมีระยะทางสั้นกว่า

ด้านกรรณิการ์ กิจติเวชกุล จากกลุ่มจับตาข้อตกลงการค้าเสรี หรือ เอฟทีเอ วอทช์ ให้ความเห็นต่อการแถลงข่าวของทูตสหรัฐในครั้งนี้ว่า ทีพีพีเป็นประโยชน์กับสหรัฐฯมากกว่าฝ่ายไทย สหรัฐจึงยอมวางหลักการส่งเสริมประชาธิปไตยที่พร่ำเทศนานานาชาติ เปิดอ้อมแขนรับรัฐบาลทหารของไทยที่มีข้อกล่าวหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มข้น ซึ่งก็ตรงกับการทำข้อมูลของ อย.ของไทยที่เคยประเมินผลกระทบจากแค่ทริปส์พลัสเรื่องยาประเด็นเดียว ผลประโยชน์จะตกอยู่กับบริษัทข้ามชาติทั้งหมด บนรายจ่ายของระบบสุขภาพของไทยและชีวิตคนไทย

กรรณิการ์แสดงความกังวลว่า ค่าใช้จ่ายด้านยาที่เพิ่มไม่ต่ำกว่าปีละแสนล้าน ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดจากการผูกขาดเมล็ดพันธุ์อีกไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้าน ขณะที่ผลประโยชน์ที่สหรัฐฯมาล่อ เป็นแค่สิทธิพิเศษทางการค้าด้านภาษี ระยะสั้นๆ เท่านั้น

“การเข้า TPP มีผลผูกพันระยะยาวต่อประชาชนคนไทย เหตุใดจึงไม่รอรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยซึ่งน่าจะสะท้อนความต้องการของประชาชนได้มากกว่า ถ้าสหรัฐอ้างว่ากระบวนการกว่าจะเข้าได้ มันใช้เวลายาวนาน อีก 2 ปี TPP จึงจะเปิดรับสมาชิกใหม่ได้ ถึงตอนนั้นอาจจะมีการเลือกตั้งแล้ว ก็แสดงว่า รัฐบาลสหรัฐยอมรับการตัดสินใจของรัฐบาลรัฐประหาร ยอมรับการปกครองของรัฐบาลทหารที่จะผูกมัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตด้วยใช่หรือไม่”

กรรณิการณ์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า รัฐบาล คสช. เล่นบทในเรื่องนี้ไปกันคนละทิศคนละทาง นายกรัฐมนตรีสั่งให้ทุกหน่วยราชการไปศึกษาข้อมูล text แล้วทำความเห็น ขณะที่สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประกาศว่าจะเข้า TPP ให้ได้ และไปขอร้องญี่ปุ่นให้ช่วย ทั้งที่ยังไม่มีการประชุมรวบรวมความเห็นหรือถกข้อมูลระหว่างหน่วยงานเลย

“มีข่าวลือหึ่งว่า ในการประชุม ครม.นัดพิเศษวันที่ 4 ธ.ค.นี้ จะดันเรื่อง TPP เต็มแรง ถ้าข่าวนี้จริง ก็ต้องถือว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ มีความสามารถในการเลียนแบบนักการเมืองที่ตัวเองเคยกร่นด่า เพราะเมื่อ 3 ปีที่แล้ว วันที่ 4 ธ.ค. ครม.ยิ่งลักษณ์ ก็เคยนำกรอบการเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป เข้าอนุมัติทั้งที่ไม่เคยผ่านการรับฟังความคิดเห็น โดยอาศัยช่วงเวลาวันสำคัญในการดึงความสนใจของสาธารณชนออกไป” กรรณิการ์กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชามติเปิดผลโหวต ผู้ใช้เน็ต 92% ไม่เอา พ.ร.บ. กำลังพลสำรอง

$
0
0

เปิดผลโหวตประชามติ 92 % ไม่เห็นด้วยเรียก ‘กำลังพลสำรอง’ แนะควรเพิ่มประสิทธิภาพกองทัพด้วยเทคโนโลยี หวั่นเปิดช่องคอร์รัปชั่น

30 พ.ย. 2558 เว็บไซต์ประชามติ (www.prachamati.org) เปิดผลโหวต ในประเด็นเรื่อง การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหาร เห็นด้วยหรือไม่ พบว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 92 % ไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า กำลังพลปัจจุบันมีจำนวนมากอยู่แล้ว การเรียกกำลังพลจะส่งผลกระทบต่อนายจ้างที่ยังต้องจ่ายเงินเดือนโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน มองว่าเป็นการเพิ่มภาระทางครอบครัวต่อคนทำงาน และอาจเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชั่น บางความคิดเห็นแนะควรเพิ่มประสิทธิกองทัพด้วยเทคโนโลยีมากกว่าปริมาณกำลังพล หากต้องการกำลังพลสำรองจริงควรเป็นระบบสมัครใจ

หลัง จากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง ในเดือน ก.ค. 2558 เว็บไซต์ prachamati.org ได้ตั้งคำถามให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นใน ประเด็น ‘การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการ เห็นด้วยหรือไม่?’ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็เห็นชอบให้ประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว และตามมาด้วยเสียงคัดค้านและการรณรงค์ต่อกฎหมายดังกล่าวจำนวนมากในโลกออนไลน์

ผลการออกเสียงผ่านเว็บไซต์ prachamati.org ตั้งแต่เปิดให้โหวตจนถึงวันที่ 30 พ.ย. 2558 รวมเวลากว่า 4 เดือน มีผู้ใช้เน็ตร่วมโหวตและแสดงความคิดเห็นจำนวน 1,724 คน ผลคือ มีผู้เห็นด้วย 8 % และ ไม่เห็นด้วย 92 % ทั้งนี้จากการสำรวจความคิดเห็นในเว็บไซต์ และเฟซบุ๊กประชามติ พบว่ามีผู้แสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทางไม่เห็นด้วยกับการเรียกกำลังพลสำรอง

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลไว้หลากหลาย เช่น ไม่เห็นด้วย เนื่องจากปัจจุบันมีกำลังพลมากพออยู่แล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่การจัดสรรไม่ดี ด้วยเหตุที่พลทหารบางส่วนไปทำงานในบ้านของผู้บังคับบัญชา หรือมีชื่อฝึกอยู่แต่ไม่ได้มาฝึกจริง จึงต้องแก้ไขที่การจัดสรรกำลังพลให้มีประสิทธิภาพก่อน เพราะปริมาณที่มากก็ อาจไม่ช่วยอะไร และยังมีความเห็นว่าการให้ชายไทยที่อายุเกินสามสิบกลับมาฝึกอาจจะมีปัญหา เรื่องสภาพร่างกายไม่พร้อม

อีกประเด็นหนึ่ง คือ ประเทศไทยไม่มีแนวโน้มจะมีภัยสงคราม โดย มีผู้แสดงความคิดเห็นว่า ควรเอางบประมาณส่วนนี้ไปลงทุนกับการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศดีกว่า นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่างบประมาณกำลังพลสำรองจะเป็นการสิ้นเปลืองและเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชั่น เช่น อาจมีการยอมจ่ายเงินแทนการไปฝึกจริง อย่างไรก็ตามฝ่ายที่เห็นด้วย มองว่า ระบบการเรียกำลังพลสำรองเป็นการเตรียมก่อนเกิดภัยสงคราม เพื่อฝึกฝนให้มีวินัย ฝึกใช้ยุทธโธปกรณ์ เพราะหากเกิดสงครามขึ้นจริงๆ จะไม่มีเวลามาทบทวนฝึกซ้อม

อีกหนึ่งเหตุผลหนึ่งที่มีคนไม่เห็นด้วย คือ จะส่งผลต่อการจ้างงาน อาชีพ รายได้ และภาระทางครอบครัว ของ คนที่จะเป็นกำลังพลสำรอง ความเห็นในมุมของผู้ประกอบการมองว่า อาจกระทบต่อบริษัทต่างๆ เพราะระหว่างการเรียกกำลังพลไปฝึกทางบริษัทยังคงต้องจ่ายค่าจ้าง ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ในมุมของผู้ประกอบอาชีพส่วนตัว หรืออาชีพอิสระก็จะได้รับผลกระทบเพราะต้องขาดรายได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อ ภาระทางครอบครัว เพราะผู้ชายบางคนเป็นเสาหลักของครอบครัวในการหารายได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เสนอว่า ควรมีระบบชดใช้หนี้สินแทนคนที่ถูกเรียกไปฝึกกำลังพลสำรองด้วย 

นอกจากข้อเสนอใช้หนี้ให้กำลังพลสำรองแล้ว ชาวเน็ตยังแสดงความเห็นด้วย แต่เห็นว่าการรับกำลังพลสำรองควรเปิดรับสมัครอย่างเดียว โดยให้เงินเดือนและสวัสดิการให้ดี ซึ่ง หากเปิดรับสมัครจะช่วยให้ได้คนที่มีใจเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ควรให้เงินเดือนที่สูงและสวัสดิการที่ดี เพราะจะทำให้มีการแข่งขันและทำให้ได้คนเก่งเข้ามาเป็นทหาร อย่างไรก็ดีมีผู้เห็นแย้งว่าคนไทยยังคงเห็นแก่ตัวถ้าจะรอคนที่สมัครใจ คงรักตัวกลัวตายกันอยู่ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยากเสียสละ ดูแลปกป้องประเทศ ซึ่งความเห็นทำนองนี้ก็ถูกแย้งกลับอีกเช่นกันว่า การรักชาติไม่จำเป็นต้องเป็นทหารก็ได้ การทำงานและเสียภาษีเพื่อไปใช้เป็นเงินเดือนทหารหรือไปชื้ออาวุธก็ก็เป็นการช่วยชาติเช่นกัน

ทั้งนี้ มีผู้แสดงความคิดเห็นด้วยว่า การที่ภาครัฐจะทำอะไรที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ควรยึดหลักการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชนด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักมานุษยวิทยาวิพากษ์การเยียวยาผู้ถูกล่าอาณานิคม ไปให้ไกลกว่า 'การบริจาค'

$
0
0

เกิดประเด็นถกเถียงเรื่องการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากลัทธิล่าอาณานิคมตั้งแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อนซึ่งบางส่วนยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ โดยนักมานุษยวิทยาเขียนบทความชี้แนะว่าไม่เพียงแค่ค่าชดเชยเท่านั้นแต่ควรกำจัดทัศนคติและสัญชาติญาณแบบนักล่าอาณานิคมผู้ขูดรีดผลประโยชน์ให้หมดไปด้วย

29 พ.ย. 2558 บทความของเจสัน ฮิกเกิล นักมานุษยวิทยาจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LSE) เผยแพร่ในเว็บไซต์เดอะการ์เดียนระบุถึงข้อถกเถียงเรื่องการชดเชยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการล่าอาณานิคม โดยระบุว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาคือลักษณะการเล่าเรื่องในกระแสหลักของประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมักจะเล่าผ่านทางสถาบันใหญ่ๆ อย่างธนาคารโลก โดยเล่าในทำนองปัดความผิดให้พ้นตัว เช่นการกล่าวโทษว่าประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศยากจนเพราะพวกเขาขี้เกียจและสร้างปัญหาภายในกันเอง ส่วนประเทศตะวันตกร่ำรวยเพราะ "ทำงานหนัก"

นอกจากนี้ฮิกเกิลยังระบุอีกว่าถ้าหากมีกรณีที่ประเทศผู้เคยล่าอาณานิคมมาก่อนยอมรับว่าพวกเขาเคยกระทำการล่าอาณานิคมจริงก็มักจะยอมรับในแบบที่ทำให้มันไม่ถูกมองเป็นอาชญากรรม และมักจะเล่าในทำนองว่าการยึดอาณานิคมของพวกเขาเป็นบันไดที่ทำให้ประเทศนั้นๆ พัฒนาได้ แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน

บทความในเดอะการ์เดียนยกตัวอย่างกรณีวิดีโอของชาชิ ทารูร์ ส.ส.ประเทศอินเดียที่เคยกล่าวอภิปรายในสมาคมโต้วาทีออกซ์ฟอร์ดยูเนียนเรื่องที่ว่าอินเดียควรได้รับการชดเชยจากอดีตเจ้าอาณานิคมอังกฤษ การอภิปรายในครั้งนี้มีการเผยแพร่ผ่านยูทูบซึ่งมีผู้เข้าชมมากกว่า 3 ล้านวิว ทำให้ฮิกเกิลมองว่าประเด็นเรื่องการชดเชยประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการล่าอาณานิคมนั้นเป็นประเด็นที่ผู้คนให้ความสนใจมาก

อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องการชดเชยประเทศอดีตอาณานิคมก็ต้องคำนึงถึงวิธีการเล่าประวัติศาสตร์จากฝ่ายอดีตเจ้าอาณานิคมเองด้วย โดยฮิกเกิลมองว่าความยากจนที่เกิดขึ้นในประเทศแถบซีกโลกใต้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองแต่เป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยน้ำมือมนุษย์ และประเทศอดีตเจ้าอาณานิคมก็ไม่ได้เล่นบทเป็นผู้เสริมสร้างความเจริญแต่กลับเป็นบทบาทของ "ผู้ปล้นชิง" มากกว่า

ฮิกเกิลเปิดเผยถึงการที่ยุโรปเข้าไปยึดอาณานิคมแถบละตินอเมริกาในช่วงปี พ.ศ.2035 (ค.ศ.1492) ว่าเดิมทีพื้นที่เหล่านั้นมีจำนวนประชากรคนพื้นถิ่นราว 50-100 ล้านคน แต่ในอีกราว 100-200 ปีถัดจากนั้นมีประชากรคนพื้นถิ่นเหลืออยู่แค่ 3.5 ล้านคนเท่านั้นโดยส่วนใหญ่ผู้คนเสียชีวิตเนื่องมาจากโรคระบาดจากต่างประเทศ ถูกสังหารหรือไม่ก็ถูกใช้แรงงานทาสจนเสียชีวิต รวมถึงถูกขับออกนอกถิ่นจนอดตาย ซึ่งผู้เสียชีวิตมีมากกว่าจำนวนคนที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง 7 เท่า

บทความของฮิกเกิลระบุต่อไปว่าชาวยุโรปในยุคนั้นล่าอาณานิคมแถบละตินอเมริกาเนื่องจากต้องการแร่เงินโดยระหว่างปี พ.ศ. 2046-2203 (ค.ศ.1503-1660) มีการส่งแร่เงินไปยังยุโรปมากถึง 16 ล้านกิโลกรัม มีจำนวนมากกว่าเหล็กในคลังของยุโรปถึง 3 เท่า และในอีก 100-200 ปีหลังจากนั้นก็มีการนำเอาทรัพยากรแร่เงินออกไปจากละตินอเมริกาถึง 100 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ามหาศาล พวกชาวยุโรปในยุคนั้นไม่เพียงแค่ใช้แรงงานทาสจากชนพื้นเมืองเท่านั้นแต่ยังมีการนำทาสจากแอฟริกาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าไปด้วยทำให้มีแรงงานทาสอยู่เป็นจำนวนมาก

ในตอนนี้มีประเทศแถบแคริบเบียน 14 ประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนฟ้องร้องอังกฤษเรียกค่าเสียหายจากการใช้แรงงานทาสในอดีต โดยระบุว่าหลังจากที่อังกฤษเลิกทาสในปี พ.ศ.2377 (1834) มีการชดเชยให้แก่เฉพาะเจ้าของทาสแต่ไม่ได้มีการชดเชยให้ทาส แต่ฮิกเกิลชี้ว่าการเรียกร้องแค่ค่าเสียหายยังไม่เพียงพอเพราะเป็นการมองแรงงานทาสเป็นแค่สิ่งที่ถูกตีมูลค่าและละเลยความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่แรงงานทาสเคยได้รับ

ฮิกเกิลระบุว่าสิ่งที่เจ้าอาณานิคมได้รับจากความเจ็บปวดของพวกเขาคือบ้านเมืองที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม โดยฮิกเกิลยกตัวอย่างกรณีที่เบลเยียมในสมัยกษัตริย์เลออปอลที่ 2 ซึ่งเข้ายึดอาณานิคมของคองโกและเป็นเหตุให้มีชาวคองโกเสียชีวิต 10 ล้านคน นับเป็นประมาณเกือบครึ่งหนึ่งของประชากร

ฮิกเกิลระบุว่าอาชญากรรมที่ชาติเจ้าอาณานิคมก่อไว้ยังมีอีกจำนวนมากซึ่งถือเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นระบบเศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงเพียงคนจำนวนน้อยในขณะที่ทำลายคนส่วนใหญ่ แต่แนวการเล่าประวัติศาสตร์ของชาติที่เคยก่อเหตุเลวร้ายเหล่านี้ไว้กลับพยายามอ้างถึงเรื่องการพัฒนาซึ่งเป็นเรื่อง "เหลวไหล" และ "เป็นเท็จ" ในมุมมองของฮิกเกิล

อย่างไรก็ตามทารูร์มองว่าการจ่ายเงินชดเชยให้กับพวกเขาแม้แต่เพียงแค่ 1 ปอนด์ก็ถือว่าเป็นสิ่งแทนการยอมรับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าเคยมีเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้เกิดขึ้น

แต่ฮิกเกิลเสนอให้ไปไกลกว่านั้นด้วยการที่ไม่ใช้แค่การให้แบบการกุศล แต่ต้องมีการขจัดสัญชาตญาณแบบนักล่าอาณานิคมทิ้งไปด้วย ถึงแม้ว่าในยุคปัจจุบันอาจจะไม่มีการกดขี่แบบอาณานิคมอย่างตรงตรงมาแบบในอดีตแต่ก็ยังคงมีการใช้วิธีการหาผลประโยชน์แบบขูดรีดอยู่ เช่น การรุกไล่ที่ดินทำกิน การหาประโยชน์ทางการเงินอย่างผิดกฎหมายและการทำสัญญาการค้าที่ไม่เป็นธรรม

ในประเด็นนี้แฟรงก์ บอยล์ เคยเขียนข้อความเชิงเสียดสีในบทความของเดอะการ์เดียนว่า "การให้ปลาหนึ่งตัวแก่คนๆ หนึ่งเขาจะมีกินไปหนึ่งวัน ถ้าเอาเบ็ดตกปลาให้เขาเขาจะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่ว่าจะต้องไม่ไปทำให้แม่น้ำที่มีปลาของพวกเขาเน่าเสีย ไม่ลักพาตัวเทียด (พ่อแม่ของทวด) ของพวกเขาไปเป็นทาสแล้วก็โผล่หัวในอีก 400 ปีถัดมาเพื่อมาพูดอะไรบ้าๆ บอๆ เกี่ยวกับปลา"

 

เรียบเรียงจาก

Enough of aid – let’s talk reparations, Jason Hickel, The Guardian, 27-11-2015
http://www.theguardian.com/global-development-professionals-network/2015/nov/27/enough-of-aid-lets-talk-reparations

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.แจ้งข้อหา ม.116 บวก พ.ร.บ.คอมฯ หญิงวัย 61 โพสต์เฟซบุ๊กปมราชภักดิ์

$
0
0

30 พ.ย. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่า พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร รักษาราชแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แถลงจับกุม จุฑาทิพย์ หรือ เจนนี่ เวโรจนากรณ์ อายุ 61 ปี หลังโพสต์ข้อความหมิ่นประมาท อันเป็นเท็จ เกี่ยวกับการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้เกิดความเสียหาย และก่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน

โดย มติชนออนไลน์ระบุว่า จุฑาทิพย์ เดินทางมามอบตัวกับพนักงานสอบสวน หลังตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ตรวจสอบได้จากเฟซบุ๊กส่วนตัวของ จุฑาทิพย์ โดยใช้ชื่อว่า "เจนี่เจนี่" (ซึ่งเว็บสวพ.FM91ระบุว่าชื่อ "Jeny Jeny verochanakorn") ว่ามีการนำข้อความเท็จเกี่ยวกับการทุจริตการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวไม่ตรงกับความเป็นจริงและมีการกล่าวหาในลักษณะหมิ่นประมาทบุคคลอื่นมาเผยแพร่

จุฑาทิพย์ ยอมรับเป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวจริง ลงในเฟสบุ๊คส่วนตัวเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยได้รับข้อความเหล่านี้มาจากบุคคลอื่น และไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลก่อนว่าเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยโพสต์ข้อความในลักษณะกล่าวหาการทำงานของรัฐบาลชุดนี้มาแล้ว เนื่องจากเกิดความไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาลที่ทำให้ธุรกิจส่วนตัวของตนเองชะงักตัวลง และไม่รู้ว่าผิดกฎหมาย

"เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.พระโขนง ได้แจ้งข้อหา ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (2) ที่ระบุความผิดฐานกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และความผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) (4) ที่ระบุว่าความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย ต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และเผยแพร่หรือส่งต่อ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" พล.ต.ท.ศานิตย์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมด้วยว่าจากการสืบค้นเฟซบุ๊กบัญชีชื่อ 'Jeny Jeny verochanakorn' ขณะนี้ไม่สามารถเข้าถึงได้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘โหดสัส’ มหากุศล จัดประมูลโมเดลตุ๊กตา ‘สมศักดิ์ เจียม’ ได้ 2.8 หมื่น เข้าบ้านเด็กอ่อนรังสิต

$
0
0

30 พ.ย. 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.00 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ ร่างปัจจุบันของเพจ ‘โหดสัส’ และ ‘โหดสัส V2’ โพสต์ประมูล โมเดลตุ๊กตา SJ Super Jeammy DeliveryChair นัมเบอร์สุดท้าย รหัส 11Z (หนึ่งหนึ่งแซด) ซึ่งเป็นโมเดลจำลอง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศ

เพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ ระบุด้วยว่าโมเดลดังกล่าว มีตัวเดียวในกาแล็กซี่ (resintoy high 3inch By catmasktoy) เพื่อส่งเงินไปช่วยน้องๆ ที่สถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนรังสิต

“ปล.เงินไม่มีหัก,ไม่มีรายได้ส่วนหนึ่ง,ไม่มีรายได้ครึ่งหนึ่ง,เงินไม่ผ่านแอดมิน เข้าบัญชีช่วยน้องๆโดยตรงเต็มๆ จากคนชนะประมูล” เพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ ระบุ

โดยวาง กติกา ว่า เปิด 0 บาท ใส่ขั้นต่ำ 50 (ลงท้ายด้วย 0 ) ปิดตอน 4 ทุ่มวันนี้ (22:00น. ของวันจันทร์ที่ 30 เดือน 11 2015) เมื่อถึงเวลา แอดมินจะคอมเม้นว่าปิด แล้วคอมเม้นประมูลลราคาสูงสุดบนคอมเม้นแอดมิน จะได้ไป ผู้ชนะโปรดโอนเงินเข้าเพจตามบัญชีด้านล่างภายใน 24 ชั่วโมง แล้วส่งสลิปมาที่คอมเม้นรูปนี้ หากเกินกำหนด คนที่ประมูลราคาก่อนหน้าผู้ชนะจะได้ไปแทน พร้อมทั้งระบุหมายเลขบัญชีธนาคารของมูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต เพื่อสวัสดิการเด็ก เบอร์โทร เบอร์ FAX รวมทั้ง เว็บไซต์ http://www.rangsitbabyhome.org/th/donate

สำหรับผู้ที่ชนะการประมูลคือผู้ใช้ชื่อเฟซบุ๊กบัญชีว่า ‘Prapat Markpeng’ ยอด 28,000 บาท โดยเพจ ‘โหดสัส ตามภาพ’ โพสต์เมื่อเวลา 22.12 น. ที่ผ่านมาว่า ได้โอนเงินเรียบร้อยแล้ว พร้อมนำหลักฐานการโอนมาแสดงด้วย

 

 

โล้นไซตามะโอนเรียบร้อย ยอด 28,000 บาท ขอให้บุญบารมีครั้งนี้ส่งผลให้โล้นไซตามะและสมเจียมอายุมั่นขวัญยืน ไปตลอดกาลนาน

Posted by โหดสัส ตามภาพ on 30 พฤศจิกายน 2015

 

ทั้งนี้เพจโหดสัส ได้เคยจัดประมูลโมเดลสมศักดิ์รุ่นก่อนหน้าช่วยแมว เพจ ‘CatVagrant รับบริจาคอาหารและยาเพื่อแมวจร’ (URL : https://www.facebook.com/CatVagrants )แล้วเมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยผู้ชนะการประมูลคือ Prapat Markpeng เช่นกัน ซึ่งชนะการประมูลไปในราคา 8,500 บาท ขณะ 4 ส.ค.58 มีการประมูลในลักษณะดังกล่าวเช่นกันแต่บริจาคให้สุนัข ยอดชนะประมูลอยู่ที่ 5,500 บาท (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

 

 

ประมูลSJ Super Jeammy DeliveryChair นัมเบอร์สุดท้าย รหัส 11Z (หนึ่งหนึ่งแซด)*มีตัวเดียวในกาแล็กซี่(resintoy high...

Posted by โหดสัส ตามภาพ on 29 พฤศจิกายน 2015

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไมโครซอฟท์' ให้ข้อมูลรัฐไทยดำเนินคดี พ.ร.บ.คอมฯ โบรกเกอร์ปล่อยข่าวหุ้นตก

$
0
0

30 พ.ย. 2558 องค์กร Privacy International ซึ่งเป็นองค์กรที่ติดตามในประเด็นสิทธิความเป็นส่วนตัว เปิดเผยรายงานผ่านเว็บไซต์องค์กรเมื่อวันที่ 17 พ.ย. ว่าบริษัทไมโครซอฟท์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีร้ายแรงของรัฐบาลในประเทศไทย พร้อมระบุว่านี่เป็นตัวอย่างที่น่าตกใจของบริษัทสัญชาติตะวันตกที่ไม่เพียงแต่ร่วมมือกับรัฐบาลที่ไม่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยเหลือให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย

องค์กร Privacy International ระบุว่า กรณีดังกล่าวเป็นคดีที่นายคธา ซึ่งเป็นโบรกเกอร์คนหนึ่ง ถูกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ฟ้องด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานเป็นผู้ปล่อยข่าวพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยถูกกล่าวหาว่าการกระทำดังกล่าวทำให้หุ้นตกลงอย่างฉับพลัน

ทั้งนี้ องค์กร Privacy International ชี้ว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ผู้ใช้ปล่อย “ข้อมูลอันเป็นเท็จ” ในโลกออนไลน์ เนื่องจากคำว่า “ข้อมูลอันเป็นเท็จ” เป็นคำที่คลุมเครือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จึงถูกใช้กับข้อความที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วหลายครั้ง เพื่อฟ้องร้องความเห็นใดก็ตามเกี่ยวกับราชวงศ์ที่ถูกมองว่าเป็นเชิงลบ

องค์กร Privacy International ระบุว่า จากการตรวจสอบพบว่าบริษัทไมโครซอฟเข้ามามีบทบาทในคดีนี้อย่างไม่ถูกต้อง ด้วยการให้เอกสารสำคัญที่ถูกใช้เป็นหลักฐานเอาผิดนายคธาในการไต่สวนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557

เอกสารสำคัญหนึ่งในสามชิ้นที่แสดงอยู่ในชั้นศาลคือจดหมายจากบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งค้นพบโดยองค์กร Privacy International ระบุหมายเลขไอพีของบัญชีอีเมลที่เกี่ยวข้องกับการโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพดังกล่าว แม้ว่าจดหมายดังกล่าวจะไม่ได้ให้อะไรมากไปกว่าหมายเลขไอพีของบัญชีอีเมลของผู้ต้องสงสัย แต่จดหมายฉบับนั้นก็ทำไปสู่การพิพากษาสั่งฟ้องนายคธาในที่สุด เอกสารฉบับดังกล่าวจากไมโครซอฟท์ถูกใช้เพื่อหักล้างหลักฐานของฝ่ายจำเลยในคดีนี้

นายคธาถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนเมื่อเดือนมีนาคม 2557 และขอยื่นอุทธรณ์ นายคธาถูกปฏิเสธไม่ให้ประกันตัวและยังคงถูกจำคุกอยู่กว่าหนึ่งปี

องค์กร Privacy International ระบุว่า ก่อนการเผยแพร่รายงานนี้ ได้ให้โอกาสบริษัทไมโครซอฟท์ในการแสดงท่าทีต่อการตรวจสอบแล้ว โดยไมโครซอฟท์ตอบกลับมาว่า พวกเขาเพียงแค่ขานรับต่อคำร้องที่มีเป้าหมายแน่ชัดซึ่งเป็นไปตามระเบียบของกฎหมาย พร้อมให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าระเบียบของกฎหมายดังกล่าวอยู่ภายใต้กฎหมายไทย และพุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้เฉพาะรายบุคคลเท่านั้น บริษัทไมโครซอฟท์ระบุว่า พวกเขาสนับสนุนการสอบสวนบัญชีอีเมลที่โดนกล่าวหาว่าถูกใช้ในการละเมิดกฎหมายของไทย จากการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและส่งผลต่อตลาดซื้อขายหุ้นของไทยในทางลบ

องค์กร Privcay International ชี้ว่า บริษัทไมโครซอฟท์ได้ให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของผู้ใช้กับรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งที่รู้ว่าอยู่แล้วว่าการสอบสวนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายหรืออาชญากรรมร้ายแรง แต่เป็นเพียง “ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง” ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น การกระทำดังกล่าวของไมโครซอฟท์ถือว่าสนับสนุนการฟ้องร้องที่ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก

อีวา บลูม ดูมอนเตท (Eva Blum-Dumontet) เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยขององค์กร Privacy International กล่าวว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้ร้องขอให้ยาฮู (Yahoo) เปิดเผยหมายเลขไอพีของบัญชีอีเมลนิรนาม บัญชีอีเมลดังกล่าวถูกใช้เพื่อประจานรายการคำสั่งเซนเซอร์ที่รัฐบาลจีนใช้ควบคุมงาน Asia Democracy Forum ก่อนวันครบรอบการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ยาฮูได้รวบรวมข้อมูลและเปิดเผยออกมาว่าหมายเลขไอพีของอีเมลมาจากสำนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในมณฑลหูหนาน นายชือเต่า นักข่าวที่ทำงานให้กับสำนักข่าวหนังสือพิมพ์ถูกจับกุมและพิพากษาจำคุก 10 ปี ขณะนั้น ยาฮูถูกวิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากยินยอมต่อคำขอของรัฐบาลจีน พวกเขาออกมาแก้ต่างว่าพวกเขาไม่ทราบถึงลักษณะคดีที่แท้จริงของคดีนี้

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยขององค์กร Privacy International กล่าวว่า เป็นเรื่องที่รับไม่ได้อย่างสิ้นเชิงที่ 10 ปีให้หลังบริษัทสัญชาติอเมริกันอีกแห่งหนึ่งให้ความร่วมมืออย่างชนิดหน้ามืดตามัวกับคำร้องของรัฐบาลที่กดขี่ประชาชนอย่างโจ่งแจ้ง คำแก้ต่างของบริษัท ไมโครซอฟท์ ยิ่งก่อให้เกิดคำถามมากขึ้น เมื่อพวกเขาโต้แย้งว่าได้รับคำร้องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎหมายไทย โดย “การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องซึ่งส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในทางลบ”

"ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน “การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง” ถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมอย่างสมเหตุสมผล เราขอชื่นชมที่บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามกฎหมายของท้องที่ แต่ถ้อยแถลงเช่นนี้ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการละทิ้งมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของสากลได้ นี่นับว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจและน่ากังวลที่บริษัทสัญชาติตะวันตกสมรู้ร่วมคิดกับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่เรียบง่ายอย่างชัดแจ้งแบบต่อหน้าต่อหน้า" อีวา บลูม ดูมอนเตท ระบุ

ที่มา

Privacy International investigation exposes the role of Microsoft in Thailand human rights abuse case
https://www.privacyinternational.org/node/673
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคสนามจากรัฐยะไข่: ร่องรอยทางประวัติศาสตร์-ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงญา

$
0
0

บันทึกจากภาคสนามเรื่องเล่าของผู้คนในพื้นที่-ร่องรอยทางประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ก่อนกลายเป็นผู้ลี้ภัยภายในบ้านตัวเอง หลังความพยายามหลายทศวรรษของรัฐพม่าที่ต้องการลบล้างชาวโรฮิงญาออกจากรัฐยะไข่ รวมไปถึงการยึดครองที่ดินของชาวโรฮิงญาโดยชาวพุทธยะไข่ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ

000

เหตุการณ์จลาจลระหว่างคนมุสลิม-โรฮิงญาและคนยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธเมื่อปี ค.ศ. 2012 เคลื่อนผู้อพยพทางทะเลและสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยในช่วงปี 2013 - 2015 ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิม-โรฮิงญากลายเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงที่ได้รับความสนใจจากสังคม ในลำดับต่อจากนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอบันทึกจากภาคสนาม หลังจากที่มีโอกาสลงพื้นที่เมืองซิตตเวและยะเตเตาก์ รัฐยะไข่ ประเทศพม่าในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ผ่านเรื่องเล่าของผู้คนในพื้นที่ ตลอดจนร่องรอยทางประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นอยู่ของคนมุสลิม-โรฮิงญาในชุมชนดั้งเดิมและในค่ายผู้ลี้ภัยภายประเทศซึ่งอธิบายได้ถึงตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาและอิทธิพลของศาสนาอิสลามในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคม ตลอดจนความพยายามของรัฐบาลพม่าที่ต้องการลบล้างชาวโรฮิงญาออกจากรัฐยะไข่ และการยึดครองทรัพย์สิน โดยเฉพาะที่ดินของคนมุสลิม-โรฮิงญาโดยชาวพุทธซึ่งเกิดขึ้นภายใต้การรับรู้ของเจ้าหน้าที่รัฐ

 

ตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาและอิทธิพลของศาสนาอิสลามในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ

ตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาเป็นหนึ่งในข้อถกเถียงที่ได้รับความสนใจจากสังคมในฐานะเป็นหนึ่งในปมความขัดแย้งเชิงประวัติศาสตร์อย่างน้อยสองมิติ

มิติแรก เสนอว่า คนมุสลิม-โรฮิงญาเป็นคนท้องถิ่นที่มีตัวตนในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ โดยผู้สนับสนุนแนวคิดนี้เสนอว่า คนมุสลิม-โรฮิงญาเป็นคนท้องถิ่นที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลามจากอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาลหรือมีการพัฒนาอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์จากอิทธิพลของนักเดินเรือชาวมุสลิมในช่วงศตวรรษที่ 7 หรือ 8 และมีความรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงศตวรรษที่ 14-16

มิติที่สอง เสนอว่า คนมุสลิม-โรฮิงญา เป็นคนจิตตะกองที่อพยพเข้าสู่พม่าในยุคอาณานิคมอังกฤษ หนึ่งในผู้สนับสนุนแนวคิดนี้เสนอว่า คำว่าโรฮิงญาเพิ่งถูกลูกหลานของผู้อพยพจากจิตตะกองที่อาศัยอยู่ตอนเหนือของรัฐยะไข่นำมาใช้เรียกตัวเองเมื่อปี ค.ศ. 1951

ทว่าด้วยข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลภาคสนาม ทำให้การนำเสนอข้อเถียงทั้งสองมิติในช่วงเวลาที่ผ่านมาแทบไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจนมากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เขียนมีโอกาสลงพื้นซิตตเวและยะเตเตาก์ ได้พูดคุยกับคนท้องถิ่น และมีโอกาสการลัดเลาะสังเกตการณ์บรรยากาศรอบเขตตัวเมือง เขตชุมชนดั่งเดิม และค่ายผู้ภัยภายในประเทศ ทำได้พบร่อยรองการตั้งถิ่นของคนมุสลิม-โรฮิงญาและอิทธิพลของศาสนาอิสลามในพื้นที่ซึ่งเกิดขึ้นก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ

ชุมชนดั้งเดิมของคนมุสลิม-โรฮิงญาแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตยะเตเตาก์ (Rathedaung) ซึ่งการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ค่อนข้างยากลำบาก ต้องขออนุญาตเดินทางเข้าไปในพื้นที่จากรัฐ การเดินทางที่ต้องอาศัยการนั่งเรือข้ามฝากจากฝั่งซิตตเว ต่อด้วยการนั่งรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง และเดินเท้าเข้าสู่ชุมชน เพราะความเป็นปฏิปักษ์หวาดระแวงระหว่างกัน ทำให้คนขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างซึ่งนับถือศาสนาพุทธไม่กล้าเข้าไปในชุมชนของคนมุสลิม-โรฮิงญา

การเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านทำให้ผู้เขียนได้พบกับมัสยิดประจำหมู่บ้านซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1771 แต่ด้วยข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ สถานการณ์ความตึงเครียดที่กำกับให้คณะผู้เขียนต้องใช้เวลาในพื้นที่อย่างกระชับที่สุด นอกเหนือจากนี้ ยังมีข้อจำกัดทางด้านการสื่อสารเนื่องจากล่ามของคณะผู้เขียนซึ่งเป็นชาวโรฮิงญาไม่สามารถเดินทางเข้าพื้นที่ได้ การเก็บข้อมูลชุมชนจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก อย่างไรก็ตาม มัสยิดแห่งนี้ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1771 นับเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญเพียงไม่กี่ชิ้นที่ปรากฏและหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันซึ่งสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ด้วยตัวเองถึงการมีตัวตนของคนมุสลิม-โรฮิงญาในรัฐยะไข่ก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษซึ่งเริ่มต้นขึ้นหลังจากกองทัพอังกฤษมีชัยชนะเหนือราชวงศ์อลองพญาของพม่าครั้งแรกในปี ค.ศ. 1826

มัสยิดของหมู่บ้านในเขตยะเตเตาก์ (Rathedaung) ห่างจากซิตตเวไปทางทิศเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร

นอกจากนี้ ในเขตตัวเมืองซิตตเวยังพบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ เช่น มัสยิดในเขตเมืองซึ่งถูกปิดโดยรัฐและบางแห่งถูกทุบทำลายลงซึ่งสามารถบอกเล่าถึงอิทธิพลของศาสนาอิสลามและการตั้งชุมชนมุสลิมในย่านเศรษฐกิจและเขตตัวเมืองได้เป็นอย่างดี

บนถนน Main Road ของเมืองซิตตเว เริ่มต้นจากพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและห้องสมุดไปยังสนามบินซิตตเว ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีด้วยการเดินเท้าพบเห็นมัสยิดตั้งอยู่สองข้างทางถึงสามแห่ง มัสยิดแห่งแรก โดยสภาพทั่วไปดูทรุดโทรมเพราะถูกปล่อยทิ้งร้างมานานโดยไม่ได้รับการบำรุงรักษา แต่โครงสร้างตัวอาคารนับว่ายังมีความสมบูรณ์ มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากย่านการค้าขายและท่าเรือของเมืองซิตตเวมากนัก แต่ไม่ทราบว่าถูกสร้างขึ้นในปีใด เพราะเป็นสถานที่ถูกปิดตายเป็นระยะเวลานาน ตรอกซอกซอยที่ตัดผ่านประตูทางเข้ามีแผงลวดหนามกั้นอยู่และไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสัญจรผ่านได้ ประตูทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รัฐอย่างน้อย 2-3 คน เฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม อดีตสมาชิกรัฐสภาชาวโรฮิงญาและเจ้าหน้าที่องค์กรท้องถิ่นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยซึ่งทั้งสองคนเคยอาศัยอยู่ในชุมชนมุสลิม-โรฮิงญาดั้งเดิมในเขตเมืองซิตตเว ก่อนเกิดเหตุจลาจลปี ค.ศ. 2012 กล่าวว่า มัสยิดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นมานานกว่า 200 ปีแล้ว

มัสยิดแห่งแรกที่ผู้เขียนลงพื้นที่ สภาพโครงสร้างยังสมบูรณ์ แต่ทางเข้าภายนอกถูกปิดกั้นด้วยเครื่องกีดขวาง

ห่างออกมาจากมัสยิดแห่งแรกไม่ไกลมากนักเดินมุ่งหน้าไปทางสนามบินซิตตเวไม่เกิน 15 นาที พบเห็นซากปรักหักพังของมัสยิดแห่งหนึ่งซึ่งถูกทำลายลงเหลือแต่เพียงโครงสร้างส่วนล่างและฝั่งตรงกันข้ามมีวัดและเจดีย์ขนาดใหญ่ซึ่งถูกสร้างขึ้นภายหลังมัสยิดแห่งนี้

ที่ตั้งมัสยิดแห่งหนึ่งในเมืองซิตตเวมองจากภายนอก ซึ่งตัวอาคารถูกทำลาย

วัดถูกสร้างให้อยู่ตรงข้ามกับมัสยิด

วัดที่ถูกสร้างให้อยู่ตรงข้ามกับมัสยิด เมื่อมองจากภายนอก

จากนั้นเดินมุ่งหน้าต่อไปบนเส้นเดียวกันนี้ประมาณ 5 นาทีจนถึงสามแยกทางเข้าสนามบิน ซิตตเว พบมัสยิดแห่งที่สาม ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1887 มัสยิดแห่งนี้ยังคงความสมบูรณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม แต่มีสภาพทรุดโทรมเพราะไม่ได้รับการบำรุงรักษา มีเจ้าหน้าที่รัฐเฝ้าอยู่หน้าประตูทางเข้า 2-3 คน ฝั่งตรงข้ามมีวัดซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1981หรือในยุคของนายพลเนวินซึ่งบริหารประเทศภายใต้แนวนโยบายชาติพม่านิยมแนวพุทธแบสุดโต่งหรือนโยบายสังคมนิยมวิถีพม่า

มัสยิดแห่งที่สามที่ผู้เขียนไปสำรวจ

ถึงแม้ว่ามัสยิดทั้งสามแห่งที่ได้กล่าวถึงข้างต้นไม่อาจบ่งบอกได้อย่างชัดเจนถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลามและการตั้งถิ่นฐานของคนมุสลิม-โรฮิงญาในซิตตเวก่อนยุคอาณานิคมอังกฤษ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการสำรวจมัสยิดและสัมภาษณ์ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ การนี้ การสัมภาษณ์ชาวพุทธในประเด็นดังกล่าวแทบไม่มีความเป็นไปได้ ในขณะที่ชุมชนมุสลิมในละแวกดังกล่าวได้ถูกเผาทำลายและทุบทำลายในเหตุการณ์จลาจลเมื่อปี 2012

ที่มากไปกว่านั้น ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดซึ่งเคยเป็นชุมชนชาวมุสลิมกำลังถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นชุมชนชาวพุทธ โดยที่ดินบางจุดมีการสร้างหลังใหม่แทนที่หลังเดิม ส่วนที่ดินแปลงที่เหลือได้มีการทำสัญลักษณ์จับจองที่ดินเป็นที่ดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระนั้นก็ตาม มัสยิดทั้งสามแห่งนี้บอกเล่าชัดเจนถึงความรุ่งเรืองของศาสนาอิสลามและการตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมในย่านศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าและการคมนาคมทางเรือในอดีตอย่างชัดเจน สอดคล้องกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่อธิบายถึงเมืองซิตตเว ว่าเคยเป็นเมืองท่าที่มีความสำคัญของรัฐยะไข่นับตั้งแต่ยุคอาจักรโบราณต่อเนื่องมาจนถึงยุคอาณานิคมอังกฤษ และปัจจุบันพื้นแห่งนี้ยังทำหน้าที่ดังกล่าวเหมือนเช่นเคย ดังจะเห็นได้จากบรรยากาศการค้าขายและเรือที่เข้าเทียบท่าบริเวณท่าเรือที่มีผู้คนคึกคักในช่วงเวลาเช้าและช่วงหัวค่ำ อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างสำคัญประการหนึ่ง คือ หลังเหตุการณ์จลาจลเมื่อปี ค.ศ. 2012 ไม่มีคนมุสลิม-โรฮิงญาอาศัยอยู่ในเขตเมืองซิตตเว เพราะทุกคนได้ถูกบังคับให้ย้ายไปอยู่ในชุมชนชาวมุสลิมและค่ายผู้ลี้ภัยบางแห่งที่มีสภาพไม่แตกต่างไปจากค่ายกักกัน

ท่าเรือท้ายตลาดซิตตเว

บรรยากาศหน้าตลาดซิตตเว

เอกสารแสดงสิทธิถือครองที่ดินของชาวโรฮิงญา

(โปรดติดตามตอนที่ 2)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บทความอีสต์เอเชียฟอรัมตั้งคำถาม หลังเลือกตั้งในพม่า ออง ซาน ซูจี จะมีอำนาจแค่ไหน

$
0
0

ในการเลือกตั้งของพม่าที่พรรคเอ็นแอลได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นก็มีคำถามเกิดขึ้นว่าจะมีการจัดสรรอำนาจกันอย่างไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออองซานซูจีให้สัมภาษณ์ว่าเธออาจจะมีอำนาจมากกว่าประธานาธิบดีซึ่งอาจจะถูกฝ่ายผู้นำเผด็จการทหารเอามาใช้เล่นงานได้


พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอล) ปราศรัยย่อยลานหน้าสถานีรถไฟย่างกุ้ง
เมื่อคืนวันที่ 5 พ.ย. 
(แฟ้มภาพ: ประชาไท)

30 พ.ย. 2558 มิ้นท์ ซาน (Myint Zan) ศาตราจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยมัลติมีเดียในมาเลเซีย เขียนบทความลงในเว็บไซต์อีสต์เอเชียฟอรัม ถึงประเด็นการเลือกตั้งของพม่าเมื่อไม่นานมานี้ที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ 'เอ็นแอลดี' (NLD) สามารถชนะการเลือกตั้งได้ แต่ก็มีคำถามว่า ออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดีของพม่าจะมีอำนาจทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน

โดยในขณะที่ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ของพม่าระบุว่า ออง ซาน ซูจี ไม่สามารถเป็นประธานาธิบดีของพม่าได้เนื่องจากลูกชายเธอสองคนเป็นคนที่มีสัญชาติอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีคนต่อไปของพม่าจะมาจากการแต่งตั้งโดยพรรคของเธอที่ชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมาก และจากการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา ออง ซาน ซูจี กล่าวว่าถ้าหากพรรคเอ็นแอลดีสามารถชนะการเลือกตั้งในวันที่ 8 พ.ย. และตั้งรัฐบาลใหม่ได้ตัวเธอจะมีสถานะ 'เป็นยิ่งกว่าประธานาธิบดี'

อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับในปี 2533 ที่การเลือกตั้งถูกทำให้เป็นโมฆะแม้ว่าพรรคเอ็นแอลดีจะชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย มิ้นท์ ซานระบุว่าการประกาศอย่างตรงไปตรงมาของ ออง ซาน ซูจี ในครั้งนี้ชวนให้นึกถึงอูจีหม่อง (U Kyi Maung) ผู้อาวุโสแห่งพรรคเอ็นแอลดีที่เคยกล่าวให้สัมภาษณ์อย่างไม่ระมัดระวังเอาไว้เมื่อเดือน มิ.ย. 2533 หลังจากที่พรรคเอ็นแอลดีชนะการเลือกตั้งได้ไม่กี่สัปดาห์ว่า ขิ่น ยุ้นต์ (Khin Nyunt) ผู้นำทหารในยุคนั้นมีเรื่องให้ต้องร้อนๆ หนาวๆ แน่ ซึ่งเป็นการตอบคำถามเรื่องที่ว่าพรรคเอ็นแอลดีจะตั้งศาลพิจารณาคดีทหารที่ "ล้ำเส้น" แบบเดียวกับการพิจารณาคดีนาซีเยอรมนีในนูเรมเบิร์กหรือไม่

แต่หลังจากนั้นอูจีหม่องก็ถูกจับกุมเข้าคุก 5 ปี และเขาเสียชีวิตก่อนที่จะได้เห็น ขิ่น ยุ้นต์ ถูกขับออกจากตำแหน่งและถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านพักตั้งแต่ปี 2547 เป็นเวลา 7 ปี

โดยในการแสดงความคิดเห็นของอูจีเมาอาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้พรรคเอ็นแอลดีเสื่อมอำนาจลง ถึงกระนั้นมิ้นท์ ซานก็ระบุว่าการแสดงความคิดเห็นในปี 2558 และปี 2533 ก็มีบริบทต่างกัน

สำหรับคำถามที่ว่ามีประเทศใดบ้างที่มีผู้มีอำนาจเหนือประธานาธิบดีอยู่ทั้งในเชิงตัวบุคคลหรือเชิงสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือแค่ในเชิงพิธีการ มิ้นท์ ซาน ยกตัวอย่างกรณีของอิหร่านหลังจากที่มีการโค่นล้มจักรพรรดิชาห์แห่งอิหร่านในปี 2522 แล้ว ก็มีตำแหน่งอยาตุลเลาะห์ซึ่งเป็นผู้รอบรู้ศาสนาและผู้นำนิกายชีอะฮ์เกิดขึ้นซึ่งถึงแม้ว่าในทางกฎหมายอยาตุลเลาะห์ โคไมนีจะไม่เป็นประธานาธิบดี แต่ในเชิงพิธีการและการปฏิบัติแล้วโคไมนีทำตัวอยู่เหนือประธานาธิบดี หลังจากโคไมนีเสียชีวิตก็มีเซย์เยด อาลี คาเมเนอี รับสืบทอดตำแหน่งต่อเขาก็แสดงอำนาจอยู่เหนือประธานาธิบดีเช่นกัน

มิ้นท์ ซานระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ในรัฐธรรมนูญอิหร่านจะระบุให้อยาตุลเลาะห์มีอำนาจเหนือประธานาธิบดีแต่ไม่ได้ระบุด้วยคำที่ตรงไปตรงมา และเมื่อมีการพิจารณารัฐธรรมนูญของพม่าปี 2551 แล้วก็เป็นไปได้ว่าถ้ามีการตีความในอีกแบบหนึ่ง อองซานซูจีก็อาจจะขึ้นเป็นผู้นำระดับสูงของประเทศได้

มิ้นท์ ซานยกตัวอย่างอีกประเทศหนึ่งคือฟิจิ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ของฟิจิหรืออย่างน้อยก็ในข้อตกลงระบุให้มีสภาผู้นำใหญ่ (Great Council of Chiefs) สามารถแต่งตั้งหรือถอดถอนประธานาธิบดีได้ในภาวการณ์พิเศษ ทำให้ตีความได้ว่าสภาผู้นำใหญ่มีอำนาจเหนือประธานาธิบดี

ส่วนประเทศพม่าในอดีตก็เคยมีภาวะที่ผู้นำพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอยู่เหนือประธานาธิบดี คือกรณีที่เนวิน (Ne Win) อดีตประธานาธิบดีจากพรรคบีเอสพีพี (BSPP) ที่หลังจากออกจากตำแหน่งแล้วก็ยังคงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ อีกทั้งเนวินก็แสดงยังมีอำนาจอยู่เหนือประธานาธิบดีคนถัดจากนั้นถึงแม้ว่าในรัฐธรรมนูญของพม่ายุคนั้นจะไม่มีข้อความระบุให้ประธานพรรคมีอำนาจเหนือประธานาธิบดีก็ตาม แต่เรื่องนี้ก็ถือเป็นอดีตไปแล้ว

มิ้นท์ ซาน ระบุว่าถ้าหาก ออง ซาน ซูจีทำตัวมีอำนาจอยู่เหนือประธานาธิบดีจริง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแรงต้านจากพรรคยูเอสดีพีของฝ่ายเผด็จการทหารที่จะใช้ศาลรัฐธรรมนูญเล่นงานซูจีในเรื่องนี้โดยในรัฐธรรมนูญของพม่าระบุว่าผู้ที่สามารถฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญได้ขอแค่มีจำนวน ส.ส. ในสภาเพียงแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น


เรียบเรียงจาก

Could Aung San Suu Kyi be above Myanmar’s next president?, Myint Zan, East Asia Forum, 25-11-2015
http://www.eastasiaforum.org/2015/11/25/could-aung-san-suu-kyi-be-above-myanmars-next-president/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปล่อย ‘จตุพร-ณัฐวุฒิ’ ถึงบ้านแล้ว แต่ยังมีรถทหารเฝ้าอยู่

$
0
0

1 ธ.ค. 2558 จากกรณี จตุพร พรหมพันธุ์ และ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัว กลางตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร ท่ามกลางสื่อมวลชนที่รอทำข่าว และประชาชน ระหว่างแถลงข่าวก่อนเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ เมื่อช่วงสายของวานนี้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

ล่าสุดเมื่อเวลา 22.24 น.(30 พ.ย.58) เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘Jatuporn Prompan - จตุพร พรหมพันธุ์’ ได้โพสต์ภาพพร้อข้อความว่า “ถึงบ้านโดยปลอดภัย ขอขอบคุณทุกความห่วงใยของพี่น้องครับ”

ขณะที่ ณัฐวุฒิ โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ’ เมื่อเวลา 0.07 น. ของวันนี้(1 ธ.ค.58) ว่า “ขอบคุณทุกท่านที่เป็นห่วงครับ ผมกลับถึงบ้านตอน 3 ทุ่ม 40 ปลอดภัยดี แต่มีรถทหารและรถปิคอัพตามมาจอดสตาร์ทเครื่องอยู่หน้าบ้านทันทีที่มาถึง คงจอดทั้งคืน ตกลงปล่อยผมหรือยังครับ”

เช่นเดียวกับ ธนาวุฒิ วิชัยดิษฐแกนนำ นปช. ซึ่งมีรายงานข่าวว่าถูกควบคุมตัวด้วยนั้น โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจด้วยว่าตนเองและคนอื่นๆ ปลอดภัยแล้ว

ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 18.21 น. (30 พ.ย.58) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.)กองบัญชาการกองทัพบก ว่า ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่ 16 จ.ราชบุรี ได้นำกำลังเข้าควบคุมตัวนายจตุพร พรหมพันธ์ และนายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ ที่มหาชัยเมืองใหม่เพื่อเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยได้นำตัวทั้งสองคนไปทำข้อตกลงและหารือ ที่กองพลทหารราบที่ 9 จ.กาญจนบุรี

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ทหารได้แจงถึงข้อตกลงตามคำสั่งคสช.ที่เคยทำข้อตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะการห้ามเคลื่อนไหวใดๆที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เพราะจะมีความผิดตามมาตรา 44 ดังนั้นจึงต้องทำข้อตกลงเพิ่มเติมและให้บันทึกทำความเข้าใจด้วยเพื่อเตือนความจำ                 

"เรื่องนี้พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.ในฐานะผบ.กกล.รส. มีความเห็นว่าจะต้องทำบันทึกความเข้าใจ เพราะที่ผ่านมาอาจจะไม่มีการทำบันทึกเอาไว้ แค่เรียกมาปรับทัศคติหลายครั้งแล้วก็ปล่อยตัวกลับไป หลังจากรับปากว่าจะไม่เคลื่อนไหวอีก แต่ครั้งนี้ต้องทำบันทึกเพื่อจะได้เป็นการเตือนสติ ไม่ให้สร้างความวุ่นวายหรือเคลื่อนไหวใดๆอีกรวมถึงให้ตรวจสุขภาพ ทั้งสองคนก่อนจะปล่อยตัวในค่ำวันนี้(30พ.ย.)เพราะไม่เช่นนั้นเดี๋ยวจะไปอ้างว่าถูกทหารทำร้ายร่างกายดังนั้นจึงต้องทำให้รอบคอบป้องกันการฟ้องร้อง”แหล่งข่าวจาก กกล.รส. ของกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ระบุ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาญวิทย์: อุดมการณ์อันยาวนาน กับใบปลิวเอกสารที่รอการพิสูจน์

$
0
0


แม้ในปี 2558 ชาญวิทย์ จะมีอายุ 60 ปีแล้ว แต่เขาก็ยังคงเป็นคนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง ไม่ต่างจากสมัยหนุ่มๆ ที่เคยร่วมเคลื่อนไหวในเหตุการณ์เดือนตุลา ทั้งปี 2516 และ 2519 จนต้องสูญเสียอิสรภาพ ในครั้งนี้ (ปี 2558) ชาญวิทย์ต้องสูญเสียอิสรภาพอีกครั้ง เมื่อใบปลิวที่เขาแจกในงานชุมนุมทางการเมืองที่ท่าน้ำนนท์ เมื่อปี 2550 ถูกมองว่าเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

ชาญวิทย์เป็นชาวจังหวัดพัทลุง เขาจบการศึกษามัธยมปลาย จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปี 2516 เขาสอบเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ แต่ก็เรียนไม่จบ เนื่องจากเป็นโรคเครียด จึงลาออกขณะเรียนอยู่ปี 3 เพื่อไปรักษาตัว

ชาญวิทย์สนใจการเมืองและทำงานเคลื่อนไหวร่วมกับภาคประชาสังคมมาตลอด เขาเข้าร่วมขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขาเคยถูกศาลจังหวัดเชียงใหม่พิพากษาให้จำคุกมาแล้วครั้งหนึ่ง

หลังออกจากคุกในช่วงปี 2520 เขาเข้าร่วมกับศูนย์นิสิตนักศึกษาภาคเหนือและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ชาญวิทย์เล่าถึงอุดมการณ์ของเขาในขณะนั้นว่า เขาต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

หลังรัฐบาลพล.อ.เปรม มีคำสั่งที่ 66/2523 นิรโทษกรรมให้กับผู้ร่วมขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ยอมเข้ามอบตัว ชาญวิทย์ก็หยุดการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ในเดือนพฤษภาคม 2535 ชาญวิทย์เข้าร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง โดยร่วมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง เป็นผลให้เขาถูกจับกุมและถูกขังที่เรือนจำคลองเปรม 3 วัน ช่วงปี 2539 ชาญวิทย์เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ก่อนที่จะมาทำหน้าที่ติดตามกฎหมายจากรัฐสภาให้กับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

หลังการรัฐประหาร 2549 ชาญวิทย์วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน และทำใบปลิวออกแจกจ่าย เนื่องจากต้องการให้เจตนารมณ์ของคณะราษฎรเกิดขึ้นจริง นั่นคือ "ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย"

ใบปลิวที่ชาญวิทย์แจก ยาว 5 หน้า มีกล่าวถึงบุคคลในพระบรมวงศานุวงศ์ บุคคลสำคัญ และนักการเมือง อย่างน้อย 13 คน มีพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รวมอยู่ด้วย เนื้อหาของใบปลิวมีลักษณะเป็นการพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ และมีการวิเคราะห์พฤติกรรมในอดีตของบุคคลต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับโชคชะตา

และใบปลิวเจ้าปัญหาทำให้ชาญวิทย์ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 ในปี 2551 ระหว่างสู้คดี ชาญวิทย์ได้รับการประกันตัว แต่ต่อมาเขาไม่มารายงานตัวตามนัดศาล ทำให้กลายเป็นผู้ต้องหาหนีคดี และถูกออกหมายจับ

เดือนมีนาคม 2558 มีเหตุปาระเบิดศาลอาญา ชาญวิทย์มีชื่อเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยด้วย เขาถูกจับอีกครั้งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ที่จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งก่อนถูกจับกุมเขาไปเป็นวิทยากรประเด็นประชาธิปไตย ให้กลุ่มประชาชนในจังหวัดขอนแก่น และมักแจกใบปลิวเพื่อเผยแพร่แนวคิดในประเด็นต่างๆ เป็นประจำ

ในคดีปาระเบิด นอกจากมือระเบิดสองคนที่ถูกจับจากที่เกิดเหตุ ซึ่งให้การรับสารภาพไปแล้ว ชาญวิทย์และบุุคคลอีกอย่างน้อย 20 คนที่อยู่ในกลุ่มไลน์เดียวกัน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารตามจับตัวได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่ให้การปฏิเสธ ในจำนวนนี้ได้รับการประกันตัว 1 คน

ระหว่างถูกควบคุมตัวในคดีปาระเบิดศาลอาญา เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวเขากลับมาดำเนินคดี 112 อีกครั้ง หลังคดีถูกจำหน่ายชั่วคราวไปกว่า 7 ปี

"ผมต้องการให้สถาบันฯ มีความมั่นคงขึ้นตามเอกสารชิ้นนี้ " และ "ประเมินสถานการณ์ในช่วงเปลี่ยนผ่านเท่านั้น” ชาญวิทย์เบิกความไว้ตอนหนึ่ง ในวันสืบพยานที่ศาลจังหวัดนนทบุรี เมื่อเดือนกันยายน 2558

จากใบปลิว 1 ชุด อัยการฟ้องชาญวิทย์โดยแยกเป็นความผิดตามมาตรา 112 จำนวน 4 กรรม คือ การหมิ่นประมาท 1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 2) สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ 3) สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช 4) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ซึ่งชาญวิทย์บอกกับศาลว่า เขาประเมินและวิจารณ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สังคมและโหราศาสตร์ที่ศึกษามา และไม่เห็นว่าเป็นการหมิ่นประมาท แต่จะทำให้สถาบันมั่นคงขึ้นดังเช่นโมเดลของประเทศญี่ปุ่น โดยข้อมูลบางส่วนมาจากเอกสารที่ได้จากงานศพ พ.ท.ณรงค์เดช นันทโพธิ์เดช และรวบรวมจากที่อื่นๆ

ชาญวิทย์ยังต่อสู้ในประเด็นองค์รัชทายาทนั้นครอบคลุมถึงพระองค์ใดบ้างด้วย โดยเขาระบุว่า ตามกฎหมายมาตรา 112 คุ้มครองพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลนั้นกำหนดให้องค์รัชทายาทเป็นชายเท่านั้น จึงไม่ครอบคลุมถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาตามที่โจทก์ฟ้อง

“การแจกใบปลิวเป็นปฏิบัติการทางการเมืองอย่างหนึ่ง ผมเป็นพลเมืองผมจึงต้องนำเสนอแนวคิดต่อสังคม ไม่อาจนั่งเฉยๆ" ชาญวิทย์แถลงต่อศาลเพื่อย้ำถึงจุดประสงค์ที่ทำ

"ไม่มีครอบครัว อยู่ตัวคนเดียวมาตลอด" เขาพูดด้วยบุคลิกเด็ดเดี่ยว และท่าทีที่มั่นใจในตัวเองสูง เมื่อถามถึงครอบครัวและอุดมการณ์ที่ต่อสู้ หลังสืบพยานเสร็จสิ้น ชาญวิทย์ขอสัมผัสมือกับผู้มาร่วมฟังการพิจารณาคดีในศาล เป็นสัญญาณถึงมิตรไมตรีต่อกันก่อนจากลา

“ไม่เป็นไร ข้างนอกกับข้างในก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ต่างแค่ขนาดของกรง” เขากล่าวกับเพื่อนที่ตามไปฟังการพิจารณาคดี เมื่อถามถึงสภาพการคุมขังข้างใน นับถึงก่อนการพิพากษาเขาถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ มากว่า 8 เดือนแล้ว และยังต้องต่อสู้คดีปาระเบิดศาลอาญาอีกคดีหนึ่งที่ศาลทหาร

ในมุมมองจากผู้สังเกตการณ์ หากจะมีสัจธรรมใดมาข้องเกี่ยวกับชีวิตที่ผ่านพบมาหลากเหตุการณ์ของชาญวิทย์ เรื่องของเขาคงเหมือน "เกมการเมือง" ที่ย่อมมีขึ้นมีลงอยู่เสมอ

* 1 ธันวาคม 2558 ศาลจังหวัดนนทบุรี จะอ่านคำพิพากษาคดี 112 ของชาญวิทย์




หมายเหตุ:อ่าน 112 The series ตอนอื่นๆ --> http://freedom.ilaw.or.th/node/162

ที่มา: แฟนเพจ iLaw

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images