Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

เวียงรัฐ เนติโพธิ์

$
0
0

การรับเรื่องเช่น เรื่องผัดหมี่ แคะขนมครก ไม่ควรรับตั้งแต่ทีแรก มันเป็นเรื่องโจ๊กที่ทำให้มันเป็นเรื่องที่ตลกในระดับนานาชาติ และการตัดสินโดยที่ไม่มี accountability ต่อสังคมเลย แต่สามารถเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งได้ ... จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ทำให้กระบวนการของระบอบรัฐสภาอ่อนแอลง

20 ก.ค. 2554, กล่าวถึงการตัดสินรับรองผลการเลือกตั้งของ กกต.

ศาลเยอรมันสั่งถอนอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะ แลกมัดจำ 852 ล้านบาท

$
0
0

ศาลเยอรมันตัดสินถอนอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 แลกกับเงินมัดจำ 852 ล้านบาท (20 ล้านยูโร) หลังจากได้รับเอกสารยืนยันกรรมสิทธิ์เจ้าของเครื่องบินจากรัฐบาลไทย โดยศาลเยอรมันย้ำ หลักฐานดังกล่าวเป็นเพียง “ข้อสันนิษฐานเบื้องต้น” และจะได้รับเงินมัดจำคืนหลังจากศาลพิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้แท้จริงแล้วเท่านั้น

จากกรณีที่มีการอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร โดยศาลเยอรมัน เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคมที่ผ่านมา เนื่องมาจากกรณีพิพาทระหว่างบริษัทวอลเตอร์ บาว และรัฐบาลไทยนั้น ทำให้กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปเยอรมนี เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเยอรมนี และเร่งดำเนินการทางด้านกฎหมาย โดยได้เบิกความต่อศาลเยอรมันเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเพื่อนำเสนอหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

วานนี้ (20 ก.ค.) ศาลเยอรมันได้ตัดสินให้มีคำสั่งถอนอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะ โดยให้รัฐบาลไทยวางเงินมัดจำ 852 ล้านบาท (20 ล้านยูโร) หลังจากที่มีการยื่นเอกสารยืนยันจากกรมการบินพลเรือนว่า เครื่องบินดังกล่าวเป็นของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์เป็นของรัฐบาลไทยแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ทางรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลลานด์ชูตของเยอรมนี คริสโตเฟอร์ เฟลเนอร์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า เอกสารที่ทางรัฐบาลไทยยื่นต่อศาล เป็นเพียง “ข้อสันนิษฐานเรื่องกรรมสิทธิ์” เท่านั้น รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องวางเงินมัดจำ 20 ล้านยูโร และจะไม่ได้เงินมัดจำคืน จนกว่าทางศาลจะสามารถพิสูจน์ได้จริงว่าเครื่องบินดังกล่าวเป็นของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และไม่ใช่ของรัฐบาลไทย พร้อมทั้งแจงว่า “ถ้ายืนยันกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ก็เอาเครื่องบินออกไม่ได้”

มีรายงานว่า หนึ่งในเอกสารสำคัญที่ทางรัฐบาลไทยยื่นต่อศาลเยอรมนี อาทิ เอกสารการถอนชื่อโบอิ้ง 737 ลำดังกล่าวออกจากบัญชีของกระทรวงกลาโหม กองทัพอากาศ รวมถึงเอกสารใบสมควรเดินอากาศ ใบจดทะเบียนอากาศยาน และใบใช้อากาศยานส่วนบุคคล ซึ่งทั้ง 3 ฉบับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงลงพระนามาภิไธยด้วยพระองค์เองเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ หลังจากกองทัพอากาศน้อมเกล้าฯ ถวายเมื่อปี 2550

ก่อนหน้านี้ ทางคอร์นีเลีย พีเพอร์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนี ได้แสดงความเสียใจต่อความไม่สะดวกดังกล่าวที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เธอได้ชี้แจงต่อกษิต ภิรมย์หลังจากการหารือในเยอรมนีเมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ เนื่องจากคำตัดสินขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลเท่านั้น

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 บริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมัน วอลเตอร์ บาว ได้อายัดเครื่องบินพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 ที่สนามบินมิวนิค ประเทศเยอรมนี โดยแวร์เนอร์ ชไนเดอร์ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ของวอลเตอร์ บาว กล่าวว่า “เป็นหนทางสุดท้ายในการเร่งรัดหนี้” ให้รัฐบาลไทยชำระค่าชดเชยที่ยังค้างชำระราว 30 ล้านยูโร อันเป็นผลมาจากข้อพิพาทเกี่ยวกับทางยกระดับดอนเมือง โดยทางบริษัทวอลเตอร์ บาว ระบุว่า การเปลี่ยนเงื่อนไขการดำเนินการของทางด่วนดอนเมืองโดยรัฐบาลไทย ทำให้บริษัทต้องขาดทุนและล้มละลายในปี 2548 และต่อมาได้ฟ้องต่ออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งมีคำตัดสินในปี 2552 ให้รัฐบาลไทยชำระค่าเสียหายให้บริษัทวอลเตอร์ บาวกว่า 30 ล้านยูโร

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"กลุ่มฮักเมืองกก" ค้านเหมืองถ่านหิน-โรงไฟฟ้าอิตัลไทยในพื้นที่รัฐฉาน

$
0
0

"อิตัลไทย" ผุดเหมืองถ่านหินแบบเปิด-โรงไฟฟ้า 400 เมกกะวัตต์ในพื้นที่รัฐฉาน ห่างชายแดนเชียงราย 40 กม. กลุ่มอนุรักษ์ในรัฐฉานแฉตั้งแต่เริ่มก่อสร้างมีชาวบ้านย้ายออกไปแล้ว 2,000 คน เหตุเพราะทหารพม่าที่เข้ามาคุ้มกันโครงการได้บังคับใช้แรงงานชาวบ้าน ขณะที่มีการบังคับย้ายที่ดินทำกินของชาวบ้านมาตั้งแต่เมษายน โดยจ่ายค่าชดเชยเพียงไร่ละ 240 บาท

แผนที่จากเอกสารของกลุ่ม "ฮักเมืองกก" แสดงพื้นที่ซึ่งจะถูกยึดเพื่อโครงการเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าในเมืองกก รัฐฉาน ซึ่งติดกับ จ.เชียงราย

ภาพจากเอกสารของกลุ่ม "ฮักเมืองกก" แสดงภาพรถตักสำหรับโครงการก่อสร้างเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้า โดยการก่อสร้างดำเนินอยู่ข้างชุมชนทุกวัน

แผนที่จากเอกสารของกลุ่ม "ฮักเมืองกก" แสดงที่ตั้งของกองกำลังกลุ่มต่างๆ ที่อยู่รอบพื้นที่โครงการเหมืองถ่านหินและโรงไฟฟ้า

วันนี้ (21 ก.ค. 54) "กลุ่มฮักเมืองกก" ชุมชนที่ได้รับผลกระทบเริ่มรณรงค์ต่อต้านแผนการพัฒนาโครงการเหมืองและโรงไฟฟ้าถ่านหินของนักลงทุนจากไทย ในภาคตะวันออกของรัฐฉานที่เต็มไปด้วยการสู้รบ ได้จัดพิมพ์คู่มือ "ปกป้องเมืองกกจากถ่านหิน" ทั้งในภาษาไทย อังกฤษ ไทใหญ่และพม่า วิพากษ์วิจารณ์แผนของบริษัทอิตัลไทยที่จะพัฒนาเหมืองถ่านหินแบบเปิดและโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมืองกก 40 กิโลเมตรทางตอนเหนือจากพรมแดนจังหวัดเชียงราย ทั้งนี้เพื่อนำเข้าถ่านหินและพลังงานสู่ประเทศไทย

ในเอกสารของกลุ่มระบุว่า คนงานไทยเริ่มการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เมืองกก ในพื้นที่รัฐฉาน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 มีการไถที่ดินทำกินของสามหมู่บ้านในรัฐฉาน โดยทหารพม่าสั่งการให้ชาวบ้านย้ายออกไปตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น และพวกเขาได้รับค่าชดเชยเป็นเงินจำนวน 20,000 จ๊าด (ไม่ถึง 600 บาท) ต่อที่ดินหนึ่งเอเคอร์ (2.5 ไร่) หรือไร่ละ 240 บาท

โดยบริษัทอิตัลไทยได้จัดทำความตกลงกับรัฐบาลทหารพม่าที่จะ ขุดเจาะถ่านหิน 1.5 ล้านตันต่อปีที่เมืองกกเป็นเวลา 10 ปี และจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 405 เมกะวัตต์เพื่อจ่ายไฟฟ้าจำนวน 369 เมกะวัตต์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นเวลา 25 ปี

บริษัทอิตัลไทยต้องพึ่งพาทหารพม่าเพื่อความปลอดภัยของโครงการ เพราะโครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งยังมีการสู้รบ โดยมีการปะทะกันระหว่างทหารกลุ่มกองทัพรัฐฉานใต้กับกองทัพพม่าอยู่เสมอ ทั้งยังมีการละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นการบังคับใช้แรงงานโดยทหารพม่า เป็นเหตุให้ครึ่งหนึ่งของชาวบ้านที่มีเชื้อสายอาข่าและละหู่จำนวน 2,000 คนในเมืองกกได้หลบหนีออกจากพื้นที่ไปแล้ว

“ทหารพม่า ครอบครัวของพวกเขา และตำรวจมีจำนวนมากกว่าชาวบ้านดั้งเดิมที่อยู่ในเมืองกกเสียอีก” คู่มือการรณรงค์ที่จัดทำโดยกลุ่มฮักเมืองกก (ชื่อในภาษาไทใหญ่) ระบุไว้

ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว ประชาชนในประเทศไทยได้ประท้วงต่อแผนการนำเข้าถ่านหินจากเมืองกกผ่านอำเภอแม่ฟ้าหลวงที่มีทิวทัศน์สวยงามของเชียงราย และยังคงมีการต่อต้านแผนที่จะเปลี่ยนเส้นทางขนส่งเข้ามาทางด่านแม่สาย พวกเขายังกังวลถึงมลพิษที่มีต่อแม่น้ำกกเพราะเป็นแม่น้ำที่ไหลจากเมืองกกเข้าสู่ประเทศไทยและเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับชุมชนในภาคเหนือของไทยและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง

ขณะที่ในวันนี้ (21 ก.ค.) หน่วยงานของไทย นักวิชาการ และนักกิจกรรมจึงได้จัดเวทีสาธารณะที่วัดเจ็ดยอด จ.เชียงรายเพื่ออภิปรายถึงผลกระทบจากโครงการเมืองกก โดยใช้ชื่อการรณรงค์ว่า “การฉลองครบรอบ 750 ปีของเชียงรายท่ามกลางฝุ่นถ่านหินและมลพิษของแม่น้ำ?”

หมายเหตุ: ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: กลุ่มฮักเมืองกก harkmongkok@gmail.com

AttachmentSize
เอกสาร_Save Mong Kok From Coal1.99 MB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กองกำลังไทใหญ่ SSA ปะทะทหารพม่าดับ 4 เจ็บ 2 ในรัฐฉานตอนใต้

$
0
0

กองกำลังไทใหญ่ SSA กลุ่มเจ้ายอดศึก ปะทะทหารพม่าคุ้มกันการสร้างทางในเมืองปั่น รัฐฉานตอนใต้ ผลฝ่ายพม่าดับ 4 เจ็บ 2 และมีคนงานก่อสร้างถูกลูกหลงดับอีก 2 คน

มีรายงานจากแหล่งข่าวในพื้นที่ว่า เมื่อบ่ายวันที่ 18 ก.ค. ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA (Shan State Army) กลุ่มพล.ท.เจ้ายอดศึก อันมีองค์การการเมืองชื่อ สภากอบกู้รัฐฉาน RCSS (Restoration Council of Shan State) หรือ กองกำลังไทใหญ่ "ใต้" (SSA 'South') ได้ปะทะกับทหารพม่าในพื้นที่เมืองปั่น รัฐฉานภาคใต้ ซึ่งทำหน้าที่คุ้มกันการก่อสร้างเส้นทางระหว่างเมืองปั่น ไปยังท่าสบป้าด (ท่าข้ามแม่น้ำสาละวิน) การปะทะเกิดขึ้นตรงบริเวณระหว่างบ้านน้ำตอง และ บ้านตองควาย อยู่ห่างจากเมืองปั่นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 13 ไมล์

ผลจากการปะทะทำให้ฝ่ายทหารพม่าเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 2 นาย และมีคนงานก่อสร้างทางถูกลูกหลงเสียชีวิตอีก 2 คน ทั้งนี้ ทหารพม่าที่เสียชีวิตทราบว่าเป็นนายทหาร 3 นาย ชื่อ ส.อ.จอเต็งยุ้น ส.ท.จ่อเท และส.ต.เมียวมิ้น ขณะที่ฝ่ายทหารกองกำลังไทใหญ่ SSA มีเสียชีวิต 2 นาย

ด้านเว็บไซท์ข่าว Taifreedom สื่อกองทัพรัฐฉาน SSA รายงานข่าวนี้เช่นกันโดยระบุว่า เมื่อเวลา 15.50 น. วันที่ 18 ก.ค. เกิดเหตุทหาร SSA ได้ปะทะกับทหารพม่าสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 332 และ 520 ทำหน้าที่คุ้มกันก่อสร้างเส้นทางในพื้นที่เมืองปั่น รัฐฉานตอนใต้ โดย SSA เป็นฝ่ายโจมตีเข้าใส่ก่อนส่งผลให้ทหารพม่าเสียชีวิต 4 นาย บาดเจ็บ 1 นาย ส่วน SSA ไม่มีการสูญเสียแต่อย่างใด

สำหรับการก่อสร้างเส้นทางระหว่างเมืองปั่น-ท่าสบป้าด (ท่าข้ามแม่น้ำสาละวิน) ของทางการพม่าซึ่งมีกำหนดมุ่งหน้ามายังเมืองทา กิ่งอำเภอใหม่ ตรงข้ามชายแดนไทยด้านอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เคยเกิดการปะทะระหว่างทหาร SSA และทหารพม่าที่คุ้มกันการก่อสร้างเส้นทางนี้แล้วครั้งหนึ่งซึ่งทำให้การก่อ สร้างได้หยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง


ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ยึดรถนายทุนใหญ่สุราษฎร์ บุกขุดคูแบ่งแนวเขตเตรียมซื้อขายที่ ส.ป.ก

$
0
0

ตัวแทน ส.ป.ก.ลุยแจ้งความบริษัทจิวกังจุ้ย ผิดละเมิดคำสั่งศาลห้ามทำการใดๆ ที่ทำให้เกินผลเสียหายต่อพื้นที่ ส.ป.ก. เข้าขุดดินเป็นร่องคูแบ่งแนวเขต หวังขายเปลี่ยนมือ

วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 เมื่อเวลา 14.00 น.นายฉลอง มณีโชติ หัวหน้า ปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เข้าแจ้งความกับตำรวจ สภ.ชัยบุรีว่า ได้มีการซื้อขายพื้นที่ของ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และได้ทำลายพื้นที่ให้เสียหาย จากนั้น เจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกำลังตำรวจกว่าสิบนายได้เข้าตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว และได้พบรถบรรทุกสิบล้อ 1 คัน รถแบคโฮ 1 คัน และรถไถ 1 คันพร้อมคนขับ ตำรวจจึงได้จับกุมและเชิญตัวไป สภ.ชัยบุรีเพื่อดำเนินคดี

เมื่อเวลา 18.00 น.นายฉลอง ในฐานะตัวแทนของ ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฏร์ธานี เข้าให้ปากคำกับร้อยเวร สภ.ชัยบุรีเพื่อลงบันทึกประจำวัน ถึงกรณีนี้ว่า บริษัทจิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด มีเนื้อที่ 1,051 ไร่ เป็นบริษัทที่ ส.ป.ก.ฟ้องขับไล่ให้ออกจากพี้นที่ ส.ป.ก. แต่บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์ผลอาสินไว้กับศาลภาคแปด อย่างไรก็ตาม บริษัทได้กระทำผิดต่อคำสั่งศาลนอกจากนั้นยังละเมิดคำสั่งศาลที่ระบุว่าห้ามทำการใดๆ ที่ทำให้เกินผลเสียหายต่อพื้นที่ ส.ป.ก. โดยบริษัทได้ว่าจ้างให้ไปขุดดินเป็นร่องคูแบ่งแนวเขต เพื่อทำการขายเปลี่ยนมือ

คดีนี้นายฉลองได้แถลงว่าจะดำเนินคดีในฐานทำลายทรัพย์ให้เสียทรัพย์
 
ทั้งนี้ ในปี 2551 ส.ป.ก.ได้กำหนดมาตรการที่จะดำเนินการกับผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูป 4 กลุ่ม คือ1.กลุ่มเกษตรกรรายแปลง ที่ได้รับการจัดที่ดินจาก ส.ป.ก.ไปแล้วจำนวน 1.69 ล้านราย เนื้อที่กว่า 27.6 ล้านไร่ โดยจะเร่งเจรจาลดขนาดการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลงตามศักยภาพของเกษตรกร พร้อมดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบ หากตรวจพบว่ามีการโอนเปลี่ยนมือหรือไม่เข้าทำประโยชน์2.กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการสาธารณูปโภค เช่น ขอใช้ที่ดินสร้างสถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด ฯลฯ หากตรวจสอบพบว่า มีการใช้ประโยชน์ไม่เต็มพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตหรือใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะสั่งเพิกถอนการอนุญาตหรือลดขนาดพื้นที่
 
3 กลุ่มภาคเอกชน ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ในที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค หรือกิจการเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน หรือได้รับความยินยอมให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น การขอสำรวจแร่ ทำเหมืองแร่ หากพบว่าใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ หรือก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและ สิ่งแวดล้อม จะดำเนินการเพิกถอนทันที 4 กลุ่มเกษตร/บุคคล ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เช่น นายทุนที่ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ จะเร่งเจรจาและดำเนินการตามกฎหมาย ดังนั้น จึงขอความร่วมมือผู้ถือครองที่ดินแปลงใหญ่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้เข้าร่วมกระบวนการปฏิรูปเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

SIU: จากพุ่มพวง ดวงจันทร์ ถึง "คันหู" และปัญหาการมองวัฒนธรรมแบบไม่พลวัตร

$
0
0

“ตั้ง แต่ เป็นสาวเต็มกาย หา ผู้ชาย ถูก ใจ ไม่มี
เมื่อ คืน ฝันดี น่าตบ ฝันฝัน ว่าพบ ผู้ชาย ยอด ดี
พาไปเที่ยว ดู หนัง พาไปนั่ง จู๋ จี๋”

จากเนื้อเพลง “ผู้ชายในฝัน”ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์

ภาพปกอัลบั้ม ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์

เพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์เพลงดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเพลงเอกในการประกอบหนังชีวประวัติของ เธอในชื่อ “พุ่มพวง”ที่กำลังจะเข้าฉายในวันพฤหัสบดีนี้ โดยเนื้อร้องพูดถึงผู้หญิงที่มีความฝันว่าจะพบกับชายในฝันได้ขับกล่อมแฟนๆมา นานกว่า 20 ปี โดยเฉพาะท่อนที่อยู่ในความทรงจำของแฟนๆคือ “เสียบหล่นๆตั้ง 5 – 6 ที” กลายเป็นอะไรที่ชวนตีความได้หลากหลาย และกลายเป็นมุกตลกในวงเหล้า

เพลงของพุ่มพวงนั้นหลายๆเพลงมีความแสดงความ “ก๋ากั่น และเจ้าชู้” ในจังหวะสนุกสนาน ถือว่าได้สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งในช่วง 20-30 ปีก่อนเป็นอย่างมาก อยู่ในเพลง เช่น “นัดพบหน้าอำเภอ” ที่กล่าวถึงการพบรักกันโดยบังเอิญและหวังว่าจะพบกับหนุ่มที่เคยหมายตาอีก ครั้ง หรืออย่างเพลง หรืออย่างเพลง “หนูไม่รู้” เพลงที่ผู้หญิงแอบไปปิ๊งกับคนมีเจ้าของ

เพลงผู้ชายในฝัน

ซึ่งต่อมาได้เป็นแนวทางให้กับลูกทุ่งหญิงรุ่นใหม่อย่าง ยุ้ย ญาติเยอะ ในเพลงสุดเปรี้ยว “เลิกเมียบอกมา” หรือ อาภาพร นคร สววรค์ ในเพลง “เชฟบ๊ะ” หรือ “ชอบมั้ย” ก็มีสีสันฉูดฉาดไม่แพ้กัน

เรียกได้ว่าถ้าเพลงเหล่านี้มาออกในช่วงเวลานี้ ผู้มีอำนาจในกระทรวงวัฒนธรรมอาจจะตีอกชกหัวกันร้องกรี๊ดลั่นเหมือนนางร้าย ละคร 3 ทุ่ม (เวลาที่ละครติดเรทฉาย และคิดว่าเด็กๆนอนไปแล้ว) ภาพพจน์ของกระทรวงวัฒนธรรมหลังจากมีการก่อตั้งมาร่วม 10 ปีในสายตาคนในวงการศิลปะถือว่ามีความ “อนุรักษ์นิยม”ค่อนข้างสูง แทนที่จะมีหน้าที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การกระทำส่วนใหญ่กลับเป็นการ “อนุรักษ์นิยมแบบเกินกว่าอนุรักษ์นิยม” กล่าวคือการอธิบายในหลายๆบริบทนั้นมีความอนุรักษ์นิยมเกินกว่าบริบทและช่วง เวลาที่ผลงานเหล่านั้นได้เริ่มออกสู่สายตาประชาชนครั้งแรก

ยกตัวอย่างเช่นในขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมบอกว่า เพลง “คันหู” ที่มีเนื้อหาเพลงสองแง่สามง่ามโดยมีเนื้อร้องประกอบท่าเต้นที่ยั่วยวนว่า

เพลงคันหู

“อู๊ยคันหู
ไม่รู้ ว่าเป็นอะไร เอาสำลี มาปั่น ก็ไม่หาย
คันจริ๊ง มันคันอยู่ข้างใน คันหูทีไร ขนลุก ทุกที”

จากเนื้อเพลง “คันหู” ขับร้องโดย Turbo Music

เพลงอาจจะถูกนำเสนอผ่านการเป็นตัวแทนของชนชั้น ในขณะที่คนมีเงินสามารถไปเที่ยวโคโยตี้ ค็อกเทลเล้านจ์ที่มีระดับ ปรนนิบัติโดยสาวๆนุ่งน้อยห่มน้อย แต่คนหาเช้ากินค่ำอาจจะสามารถเข้าถึงกับวีซีดีโคโยตี้ หรือการแสดงสดที่มีความวาบหวิวกับถูกมองจากผู้มีการศึกษาว่า “อนาจาร” อะไรคือเส้นแบ่งระหว่าง “ศิลปะ” “งานบันเทิง” และ “อนาจาร”

กลับเลือกอธิบายว่าเพลงลูกทุ่งสมัยก่อนเช่นเพลงของ พุ่มพวง ดวงจันทร์นั้นมีความ “รักนวลสงวนตัว” และ “ไม่ขัดศีลธรรมอันดีงาม” ทั้งๆที่ในช่วงเวลาที่เพลงฮิตของพุ่มพวงออกอากาศนั้นถือว่าเป็นเรื่องฮือฮา และแปลกใหม่ไม่น้อยในแนวที่เรียกว่า “ลูกทุ่งสตริง” โดยเนื้อหาที่ผู้หญิงจะมาพูดถึงความรักแบบเปิดเผยตรงไปตรงมามากขึ้น หรือแม้กระทั่งไปรักคนมีเจ้าของแล้ว (หรือเพลง “ฉันเปล่านะเขามาเอง” ที่พูดถึงมีหนุ่มมาดักรอสาวนักร้องขี้เหงาตอนผับเลิก ไม่ต่างอะไรกับปัจจุบัน)

หรือการยกตัวอย่างว่าเพลงสุนทราภรณ์นั้น มีความถูกต้องตามขนบธรรมเนียมเพลงไทย มีเนื้อร้อง ทำนองที่ไพเราะด้วยอักขระวิธีประพันธ์ และเนื้อหาละเมียดละไม แต่ถ้าเราไปค้นจริงๆเนื้อหาของเพลงมีลักษณะที่ “วาบหวาม”มากกว่าเสียด้วยยกตัวอย่างเช่น เพลง “ขอให้เหมือนเดิม” ที่เรียกได้ว่าบรรยายโดยไม่ต้องจินตนาการเพราะเห็นภาพชัดเจน

“ก่อนจากกัน คืนนั้นสองเรา
แนบซบเนาเคล้าคลอพ้อพรอดภิรมย์
หวานล้ำบำเรอ เธอให้ชิดชม
ฉันกอดเล้าโลม ชื่นใจ
จูบแก้มนวล ช่างยวนเย้าตรึง”

จากเนื้อเพลง “ขอให้เหมือนเดิม” ขับร้องโดย สุนทราภรณ์

ยิ่งแล้วใหญ่หากจะยกไปเทียบกับบทพระราชนิพนธ์ “ลิลิตพระลอ”ที่มีความสวยงามในแง่ของวรรณศิลป์ก็ยังแฝงฉากอัศจรรย์ที่แทบจะ หลุดออกมาจากหนังสือปกขาวให้ได้ครางฮือ เช่นฉากที่หลังจากร่วมรักในน้ำเสร็จก็มาต่อบทรักรอบต่อไปบนบกต่อ ที่ว่า

“สรงสนุกน้ำแล้วกลับ…………..สนุกบก เล่านา
สองร่วมใจกันยก…………………..ย่างขึ้น
ขึ้นพลางกอดกับอก………………..พลางจูบ
สนุกดินฟ้าฟื้น……………………….เฟื่องฟุ้งฟองกาม”

จาก “ลิลิตพระลอ”

การทำเรื่องเพศ ให้กลายเป็นสินค้า (commodofication) นั้นมีมาอยู่ทุกสมัยอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าเรื่องเพศนั้นเป็นความบันเทิงของคนทุกระดับชั้นไม่ว่าจะเป็นเจ้า นาย ขี้ข้า ไพร่ หรืออำมาตย์ ย่อมไม่ห่างหายจากเรื่องเพศ ทั้งในวงเหล้าข้างทางหรือในรั้วในวัง เรื่องเพศคาวโลกีย์นั้นย่อมเป็นความสุขของมนุษย์ปุถุชนสะท้อนผ่านจิตรกรรมฝา ผนัง หรือ เพลงพื้นบ้านต่างๆ

ปัญหาก็คือเราควรจะมองวัฒนธรรมเป็นลักษณะพลวัตร(dynamic) ไม่ใช้แข็งตัว(stable) หรือการสร้างกรอบศีลธรรมอันดีงามขึ้นมาเพื่ออธิบายบริบทสังคมโลกที่มัน เปลี่ยนไปแล้ว การอนุรักษ์คือการเปิดใจรับศิลปะร่วมสมัย มิใช่การใช้กรอบอนุรักษ์นิยมในแบบที่อนุรักษ์นิยมเกินงานประพันธ์ในระยะเวลา นั้นซึ่งน่าแปลกใจว่ายิ่งสังคมพัฒนาไปข้างหน้า ความเป็นอนุรักษ์นิยมก็ยิ่งเข้มข้นและเข้มงวด ทุกอย่างยังคงตั้งอยู่บนมิติประวัติศาสตร์แบบ”ราชาชาตินิยม”มาอธิบายในบริบท ต่างๆ ซึ่งวัฒนธรรมส่วนใหญ่ติดกรอบความคิดแบบ “วัดๆวังๆ”อยู่ตลอดเวลา ผิดไปจากนี้ดูเหมือนจะเลวทรามต่ำช้าทั้งที่เป็นการนำเสนอตัวแทนของคนกลุ่ม น้อยในสังคม

ถ้าเป็นอย่างนั้นสิ่งแรกๆที่เราควรจะทำในรัฐบาลใหม่ ก็คือการทบทวนบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมและปรับปรุงเสียใหม่ เราจะเป็น Creative Economy ได้อย่างไรถ้าหากเรายังมองวัฒนธรรมทุกอย่างหยุดนิ่ง กระทรวงวัฒนธรรมสุดท้ายก็จะไม่พ้นเป็นขี้ปากให้คนทุกหมู่เหล่าล้อเลียนในวง ข้าวและวงเหล้าต่อไป

 

เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.siamintelligence.com/culture-should-to-be-dynamic/

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักศึกษาประท้วงคณบดีศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่

$
0
0

นักศึกษา-อาจารย์ชุมนุมแห่โลงศพประท้วงคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เหตุคณบดีเตรียมยุบ 10 สาขาวิชาในคณะ ด้านรองอธิการบดีฯ จะนำเรื่องเข้าสภามหาวิทยาลัยเสาร์นี้

ที่มาของภาพ: เฟซบุคกลุ่มมั่นใจ ศึกษาศาสตร์ มช.ทุกเพศทุกวัย ไม่เอาคณบดี

ช่วงบ่ายวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณ 200 คน รวมตัวกันที่อาคารกิจกรรมคณะศึกษาศาสตร์แล้วเดินขบวนแห่โลงศพ และถือพวงหรีดของสาขาวิชาต่างๆ ในคณะศึกษาศาสตร์ มาที่ตึกคณบดี มีการอ่านแถลงการณ์ และมีตัวแทนอาจารย์ และตัวแทนนักศึกษากล่าวเรียกร้องให้ รศ.ดร.นิ่มอนงค์ งามประภาสม คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ลาออกภายในวันที่ 22 ก.ค. จากนั้นจากนั้นก็เคลื่อนย้ายขบวนแห่ศพไปวนหอนาฬิกามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามรอบ

นักศึกษาที่ร่วมการประท้วงกล่าวว่า สาเหตุที่มีการชุมนุมเกิดจาก คณบดีจะสั่งยุบสาขาวิชาในคณะศึกษาศาสตร์จากเดิมที่มีอยู่ 15 สาขาวิชาจะยุบเหลือ 5 สาขาวิชา โดยจะปิดบางสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย อังกฤษ ศิลปะ ฝรั่งเศส คหกรรม เป็นต้น เพื่อให้ผ่านระบบเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา โดยมีนักศึกษาเสียใจที่สาขาของตนจะถูกยุบ บางสาขาวิชาจึงถามคณบดีให้ชี้แจง โดยคณบดีให้เหตุผลว่าเพื่อให้บุคลากรครูอาจารย์มีเพียงพอต่อนักศึกษาปริญญาตรี แต่นักศึกษาก็ยังไม่พอใจเหตุผลของคณบดี

แหล่งข่าวในคณะศึกษาศาสตร์ ระบุว่า ก่อนหน้านี้ทางสภามหาวิทยาลัยรับทราบเรื่องในคณะศึกษาศาสตร์แล้ว และแต่งตั้งคณะกรรมการมาดำเนินการ โดยจะประเมินผลจนถึงปลายเดือนตุลาคม ขณะที่ฝ่ายต่อต้านคณบดีเห็นว่าปลายเดือนตุลาคมเป็นเวลานานเกินไป ควรชุมนุมเพื่อให้คณบดียุติบทบาท

ทั้งนี้ นพ.ศุภชัย เชื้อรัตนพงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมารับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มอาจารย์และนักศึกษา ได้ยืนยันว่าจะตรวจสอบและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยจะนำเข้าที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเป็นวาระเร่งด่วนในวันเสาร์ 23 ก.ค.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิรักษ์ โกษะโยธิน

$
0
0

เชื่อว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีที่ทำให้พรรคเกิดความเข้มแข็งมากขึ้น พร้อมสรุปบทเรียนจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ว่าเรื่องใดจะต้องปรับปรุงเพื่อให้พรรคกลับมาทำวานรับใช้ประชาชนได้ ส่วนจะใช้คำว่าปฏิรูปพรรคได้หรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

อภิรักษ์เปิดตัวพร้อมเป็นเลขาฯ พรรคประชาธิปัตย์, 21 ก.ค. 2554

นักข่าวพลเมือง: พรรค ปชต.แรงงานเกาหลี “ยืนเดี่ยว” ปล่อย “สมยศ”

$
0
0

เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา องค์กรรณรงค์เพื่อเสื้อผ้าที่สะอาดปลอดการกดขี่ หรือ Clean Cloth Campaign (CCC) ส่งจดหมายเปิดผนึก พร้อมด้วยรายชื่อประชาชน 1,188 คนทั่วโลก ที่ได้จากการรวบรวมตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา ถึงนาง​สาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา เพื่อเรียกร้อ​งให้ปล่อยตัวหรือให้สิทธิกา​รได้รับการประกันตัวแก่สมยศ​ พฤกษาเกษมสุข นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานและสื่ออิสระ ซึ่งถูกจับกุมในข้อหาละเมิด​กฎหมายอาญามาตรา 112 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 และปัจจุบันยังคงถูกคุมขังอ​ยู่ ณ เรือนจำพิเศษ

สำหรับ Clean Cloth Campaign (CCC) เป็นองค์กรที่ทำงานรณรงค์คุ้มครองการละเมิดแรงงาน ส่งเสริมการปรับปรุงสภาพการ​จ้างงานและหนุนช่วยการเสริม​สร้างศักยภาพของคนงานในอุตส​าหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าทั่วโ​ลก มีสำนักงานประจำอยู่ใน 15 ประเทศในยุโรปและทำงานกับเค​รือข่าย 250 องค์กรทั่วโลก

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 4 พ.ค. ที่ผ่านมา CCC ได้ส่งจดหมายถึงนาย David Lipman คณะผู้แทนจากสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยกรณีสมยศ พฤษาเกษมสุข ถูกจับและคุมขัง พร้อมเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิมนุษยชนนายสมยศ และเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค นักกิจกรรมจากกว่า 10 เครือข่ายของ CCC ทั่วยูโรป จัดกิจกรรมหน้าสถานทูตไทย​เพื่อประท้วงการจับกุมคุมขั​งนายสมยศอย่างต่อเนื่อง (ดูเพิ่มเติม "สมยศ พฤกษาเกษมสุข")

นักกิจกรรมด้านแรงงานในเกาหลีใต้ยังคง “ยืนเดี่ยว” ประท้วง หน้าสถานทูตไทย ต่อเนื่อง
วันเดียวกันที่เกาหลีใต้ 2 นักกิจกรรมจากพรรคป​ระชาธิปไตยแรงงาน(Democratic Labour Party - DLP) "ยืนเดี่ยว" ประท้วงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หน้าสถานทูตไทย ประจำกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวหรือใ​ห้สิทธิในการได้รับการประกันตัว​แก่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ พร้อมด้วยนักโทษทางการเมืองคนอื่นๆ

นักข่าวพลเมือง: พรรค ปชต.แรงงานเกาหลี “ยืนเดี่ยว” ปล่อย “สมยศ”

โดยในวันนี้มีตำรวจเกาหลีใต้ 2 นายมายืนในบริเวณดังกล่าวพร้อมโล่ปราบจลาจลด้วย แต่ไม่มีเหตุปะทะกันแต่อย่างใด

อนึ่ง กิจกรรมรูปแบบนี้เกิดขึ้นอ​ย่างต่อเนื่องในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ วันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนักกิจกรรม นักสหภาพแรงงานผลัดเปลี่ยนกันมา​ยืนประท้วง และจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2554 นี้ (ดูเพิ่มเติม นักสหภาพแรงงานเกาหลี ‘ยืนเดี่ยว’ จี้ปล่อย ‘สมยศ’ ต่อ หลังหยุดเข้าพรรษา)

พรรคประชาธิปไตยแรงงาน (DLP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2543 โดยสมาพันธ์แรงงานเกาหลี หรือ KCTU (Korean Confederation of Trade Unions) ปัจจุบันมีสมาชิกพรรคกว่า 60,000 คน โดยในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2547 พรรคนี้มีถึง 10 ที่นั่งจาก 299 ที่นั่งในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่การเลือกตั้งในปี 2551 ลดเหลือ 5 ที่นั่ง โดยก่อนหน้านี้ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้เคยเข้าเยี่ยมผู้นำพรรคนี้​หลายครั้ง

AttachmentSize
Petition_Release_Somyot_July14-18-2011.pdf129.5 KB
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงานเสวนา: วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง และแนวโน้มรัฐบาลใหม่

$
0
0

 

(20 ก.ค.54) ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาโต๊ะกลม "วิเคราะห์ผลเลือกตั้ง และแนวโน้มรัฐบาลใหม่" ดำเนินรายการโดย สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า จากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา สะท้อนความต่อเนื่องของเทรนด์บางประการของระบบการเมืองและการเลือกตั้งไทย ตั้งแต่หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา โดยมีแนวโน้มมุ่งสู่ระบบสองพรรคการเมืองใหญ่อย่างชัดเจน แต่การแข่งขันระหว่างสองพรรคยังไม่สูสี ซึ่งหากต้องการสร้างเสถียรภาพให้การเมืองไทย จะต้องช่วยให้ ปชป.อยู่ในสภาพที่แข่งขันได้จริง โดยย้ำว่า การใช้วิธีพิเศษ เช่น รัฐประหาร ตุลาการภิวัตน์ จะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกตั้งและความนิยมต่อพรรคการเมืองของคนไทยได้อีกแล้ว

นอกจากนี้ จากผลการเลือกตั้งที่ทั้งสองพรรคใหญ่มีคะแนนกระจุกตัวตามภูมิภาค ประจักษ์เสนอว่า ถ้าต้องการความชอบธรรมในการบริหารประเทศ จะต้องพยายามกระจายฐานเสียงของตัวเองให้กระจายทั้งประเทศด้วย

ต่อคำถามว่า หากประเทศไทยเดินเข้าสู่การมีสองพรรคใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่ความหลากหลายจะอยู่ตรงไหน ประจักษ์ตอบว่า ระบบสองพรรคนั้นจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อสองพรรคไม่ได้เสนอนโยบายที่แตกต่างกันให้ประชาชนเลือก พร้อมเสนอว่า ปชป. ต้องมีแพคเกจนโยบายที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจาก พท. เช่นเดียวกับพรรคขนาดเล็กที่จะปรับตัวมาเป็นขั้วที่สามได้ก็ต่อเมื่อเสนอนโยบายทางเลือกที่สาม เช่น พรรคกรีนในยุโรปที่เสนอนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม หรือพรรคที่เสนอนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นสวัสดิการสังคม ไม่เช่นนั้น พรรคเหล่านี้จะลำบากมากขึ้นทุกทีๆ เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคเล็กไม่มีอะไรนอกจากกระแสและกระสุน

"เราไม่จำเป็นต้องมีพรรคมากมาย ถ้าไม่ได้มีความแตกต่างทางนโยบาย" ประจักษ์ทิ้งท้าย


เวียงรัฐ เนติโพธิ์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งข้อสังเกตจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาว่า มีเรื่องกลับตาลปัตร 3 ประการ ได้แก่ 1) คนส่วนใหญ่ที่เลือก พท.ถูกวิจารณ์ว่าเป็นคนโง่ ขาดข้อมูลข่าวสาร จึงเลือกนโยบายที่ตอบสนองผลประโยชน์เฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามดูจากนโยบายของสองพรรคพบว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แจกด้วยกันทั้งคู่

เวียงรัฐมองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกเชิงอุดมการณ์ของขบวนการคนเสื้อแดง "ปรากฏการณ์ยิ่งลักษณ์" คล้ายกับปรากฏการณ์ของผู้นำชาตินิยมของในหลายประเทศ ที่อาจไม่ได้มีผลงานหรือยังไม่มี แต่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้บางอย่างที่คนรู้สึกว่าต่อสู้มาด้วยกัน แม้ว่ายิ่งลักษณ์จะไม่ได้เคยต่อสู้ด้วยก็ตาม โดยจากผลสำรวจ กรณีที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่ได้รับการรับรองโดย กกต. มีผู้ไม่พอใจ 70% สะท้อนว่า พวกเขาไม่ได้สนใจนโยบาย แต่สนใจ พท.ในฐานะสัญลักษณ์บางอย่างของการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมบางอย่างที่เขาต้องการ

2) คนสามสิบกว่าล้านคนลงคะแนนเลือกตั้ง แต่ กกต.เพียงสามในห้า สามารถเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งได้ โดยเวียงรัฐวิจารณ์การตัดสินรับรองผลการเลือกตั้งของ กกต. ว่า ไม่ควรรับเรื่องร้องเรียนกรณีผัดหมี่ แคะขนมครกตั้งแต่แรก และมองว่าเรื่องนี้เป็นโจ๊กที่กลายเป็นเรื่องตลกระดับนานาชาติ นอกจากนี้การตัดสินโดยที่ไม่มีความรับผิดรับชอบ (accountability) ต่อสังคม แต่สามารถเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งได้ จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ที่ทำให้กระบวนการของระบอบรัฐสภาอ่อนแอลง

3) เรามักตอบว่าคนเลือก พท.เพราะนโยบายตอบสนองคนจน แต่จะพบว่าคนที่ออกมาทักท้วง-วิจารณ์ก่อนว่าจะทำได้หรือไม่ได้ คือฝ่ายที่ไม่ได้เลือก พท. ขณะที่กลุ่มที่เลือก พท.จะกดดันให้มีการปฏิรูปสถาบันทางการเมือง รวมทั้งหาความจริงว่าใครเป็นผู้ยิง 92 ศพ ใครเผา


อนุสรณ์ ธรรมใจ
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการแก้ไขปัญหาประเทศตามวิถีทางประชาธิปไตย สอง สะท้อนว่า ต้องการสันติภาพ จะเห็นว่ามีพรรคการเมืองขนาดกลาง ขนาดเล็กบางพรรคเสนอประเด็นที่อาจก่อความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่จำเป็น ไม่ได้ความสนใจและไม่ได้รับการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ มองว่า กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย และชนชั้นล่าง ที่ผ่านมาได้รับข้อมูลมากขึ้น มีการจัดตั้งเครือข่ายทางการเมืองที่เข้มแข็งขึ้น และมีวาระทางการเมืองของตัวเอง นักวิชาการบางส่วนวิจารณ์ว่าคนเหล่านี้โง่และซื้อได้ ดูเหมือนเนื้อเดียวกับ พท. แต่ไม่ใช่ เพราะคนเหล่านี้ใช้ พท. เพื่อผลักดันวาระทางการเมืองของตัวเอง

อนุสรณ์มองว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นจุดสูงสุดของพรรคเพื่อไทย หลังจากนี้จะขาลง ถ้ารัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาของประชาชนได้ หรือดำเนินการขัดแย้งกับความรู้สึกของประชาชน รวมถึงยังเป็นขาลงของอำมาตยาธิปไตย รัฐประหาร และตุลาการภิวัตน์ด้วย

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างสื่อไทย-สื่อต่างประเทศในการรายงานและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพสังคมไทยที่ผ่านมาว่า สื่อต่างประเทศให้ความสนใจกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงของคนจนชนบทมากเป็นพิเศษ ขณะที่สื่อไทยเหมือนจะจูนไม่ติด หรือไม่สนใจที่จะทำความเข้าใจว่าคนชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศว่าเปลี่ยนไปอย่างไร โดยยกตัวอย่างว่า ก่อนการเลือกตั้ง 2-3 สัปดาห์ โทมัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าว นสพ.อินเตอร์เนชั่นแนลทริบูน ลงพื้นที่ต่างจังหวัดของไทย เสนอรายละเอียดแบบที่สื่อไทยไม่สามารถเสนอได้ เช่น ควายกลายเป็นสัตว์ที่อ้วน เด็กรุ่นใหม่ทำนาไม่เป็น เข้าแต่ร้านอินเทอร์เน็ต ไม่อยากทำนา ภรรยาที่ต้องเอาไก่ที่เลี้ยงให้คนอื่นเชือด เพราะสามีซึ่งทำงานขับรถรับจ้างสงสารไก่ เชือดเองไม่ลง

เขาวิจารณ์ว่า สื่อกระแสหลักไทยเหมือนรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีไว้เพื่อชนชั้นกลาง โดยชนชั้นกลาง และสำหรับชนชั้นกลาง อยู่แต่ในโลกของตัวเอง และวันที่ 3 ก.ค. ต่างก็เกิดอาการเซอร์ไพร์สเมื่อทราบผลการเลือกตั้ง พร้อมตั้งคำถามว่าเช่นนี้แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร เมื่อสื่อเป็นเช่นนี้

ประวิตรวิจารณ์ว่า การที่สื่อเสนอแต่เพียงให้ปรองดองนั้นเป็นโจทย์ที่ผิด เนื่องจากเขามองว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องสำคัญในสังคมประชาธิปไตย เพียงแต่ให้อยู่กันได้โดยที่ไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญอีกก็พอ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เริ่มได้ที่สื่อ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างสื่อกระแสหลักก็เป็นแบบบนลงล่าง ที่คนทำสื่อที่มีความเชื่อต่างสีกับผู้บริหารยากจะอยู่ได้ พร้อมยกปรากฏการณ์ที่ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ สื่อมวลชนในเครือมติชน บอกว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นเสาร์สุดท้ายที่จะได้ลงบทความในมติชน ซึ่งประวิตรตั้งคำถามว่า องค์กรสื่อจะต้องบังคับให้คนในองค์กรเห็นเหมือน บก. หรือไม่ ถ้าเช่นนั้น สังคมไทยจะไปต่อลำบาก

ประวิตรเสนอว่า สิ่งที่ท้าทายสำหรับสื่อและสังคมคือ การประคับประคองระบอบประชาธิปไตยให้ไปได้ก่อน โดยใช้ขันติและความอดทน การผลักดันทหารกลับกรมกอง และการตั้งคำถามกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพซึ่งมีผลโดยตรงกับเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน พร้อมตั้งคำถามว่า ตอนนี้สื่อไทยแยกออกไหมว่า "จาบจ้วง" กับการพูดถึงนำเสนออย่างเท่าทัน มีเส้นแบ่งไหม หรือการประจบยกยออย่างไม่พอเพียงเท่านั้นที่รับได้

จรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬา ซึ่งมาร่วมฟังการเสวนา ร่วมแสดงความเห็นโดยกล่าวถึงงานวิจัยในหัวข้อลักษณะเดียวกับประจักษ์ว่า พบว่า การตัดสินใจเลือกตั้งคราวนี้ของประชาชนไม่ต่างจากที่ผ่านมา โดยในอีสาน เหนือ ใต้ คะแนนที่ได้เสียงส่วนใหญ่เป็นคะแนนจัดตั้งทั้งหมด โดยมีหัวคะแนน ซึ่งไม่ได้อาจแจกเงินในช่วงเลือกตั้ง แต่ดูแลคนในเขตเลือกตั้งมาตลอด 3-4 ปี โดยเกือบทั้งหมดมีการใช้ระบบหัวคะแนนในการรักษาฐานเสียงของทั้งประเทศ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ ดูได้ที่ http://www.tpd.in.th/

จรัส กล่าวเพิ่มเติมว่า คนแทบไม่สนใจว่าจะมีนโยบายอย่างไรแต่มีการคุมมาแล้ว ดังนั้น เมื่อถามถึงคุณภาพ ต้องบอกว่าคุณภาพต่ำพอๆ กับคราวที่ผ่านมา คนไม่ได้สนใจว่าจะเลือกอะไร ได้ข้อมูลด้านเดียวมาก ไม่ได้ตัดสินใจต่างไปจากเดิมเลย ดังนั้น ถ้าจะพัฒนาการเมืองของเรา ด้านการเลือกตั้ง จะต้องทำให้ข้อมูลไปถึงชาวบ้านจริงๆ

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักรัฐศาสตร์ชี้ รบ.ยิ่งลักษณ์อยู่ได้นานสุด 1 ปี

$
0
0

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา สถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา (ISIS) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “Post Election Thailand: Conflict or Compromise?” ว่าด้วยสถานการณ์การเมืองไทยหลังการเลือกตั้ง โดยนักวิชาการต่างมีข้อสรุปคล้ายกันว่า รัฐบาลชุดใหม่ น่าจะต้องเผชิญกับสัญญาณความขัดแย้งที่ยังคงมีมาอีกเป็นระยะ พร้อมทั้งฝากข้อเสนอแก่ชนชั้นนำ พรรคการเมือง รวมถึงสังคมบางประการ เพื่อให้สร้างความประนีประนอมให้เกิดขึ้นได้ในการเมืองไทย

 
“ฐิตินันท์” ชี้ ความกดดันอาจบีบให้รบ. ยิ่งลักษณ์อยู่ได้ 6 เดือน – 1 ปี
รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติศึกษา วิเคราะห์แนวโน้มการเมืองไทยหลังเลือกตั้งว่า ถึงแม้ว่าผลการเลือกตั้งจะแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ชัยชนะของพรรคเพื่อไทย เป็นอาณัติจากประชาชนที่ชัดเจนแต่รัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีเวลาดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ไม่นาน เนื่องจากจะเผชิญแรงกดดันและการท้าทายจากหลายฝ่าย ซึ่งอาจทำให้เธออยู่ได้เพียง 6 เดือน ถึง 1 ปีเท่านั้น และมองว่าแรงกดดันที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการที่ฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้ง ไม่ยอมรับผลที่ออกมา มิฉะนั้นสัญญาณเหล่านี้คงไม่เกิดขึ้น พร้อมทั้งตั้งคำถามด้วยว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งที่ผ่านมา จะมีสัญญาณที่ท้าทายจากฝ่ายต่างๆ มากเท่ากับพรรคเพื่อไทยหรือไม่
 
“หากการเลือกตั้งในประเทศอื่น มีพรรคที่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ชัดเจนขนาดนี้ พรรคนั้นก็คงจะขึ้นมามีอำนาจอย่างชัดเจนไปแล้ว หากแต่ในประเทศไทย อาณัติที่เพื่อไทยได้รับมากลับค่อยๆ หมดลงไปเสียแล้ว” ฐิตินันท์ตั้งข้อสังเกต
 
“ประชาธิปัตย์” ต้องหัดเอาชนะทางการเมืองให้ได้โดยไม่หวังพึ่งผู้อยู่เบื้องหลัง
นอกจากนี้ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ถอดบทเรียนถึงความล้มเหลวของพรรคประชาธิปัตย์ด้วยว่า ถึงแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์มีเงื่อนไขที่เอื้อให้กับการเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้หลายอย่าง เช่น การแก้กฎหมายเลือกตั้ง แต่ก็ยังทิ้งห่างพรรคเพื่อไทยอย่างขาดลอย พรรคประชาธิปัตย์จึงจำเป็นต้องกลับไปทบทวนว่าข้อผิดพลาดคืออะไร และพยายามแข่งขันทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทยให้ได้ โดยที่ใช้วิธีที่ใสสะอาดและปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพและสมดุลของการเมืองในระบบเลือกตั้ง
 
“พรรคประชาธิปัตย์ ควรใช้ประโยชน์จากความสามารถที่มีอยู่ให้มากที่สุดในการเอาชนะการเลือกตั้ง  และแข่งขันทางนโยบายกับพรรคเพื่อไทย โดยไม่หวังพึ่งความช่วยเหลือพิเศษจากนอกระบบ” ฐิตินันท์เสนอแนะ
 
ชนชั้นนำไทย จำเป็นต้องปรับตัวก่อนความขัดแย้งจะลุกลาม
ฐิตินันท์ ยังวิเคราะห์ความขัดแย้งในการเมืองไทยว่า มีที่มาจากขั้วระหว่างฝ่ายสถาบันกษัตริย์นิยม และฝ่ายนิยมประชาธิปไตย อันเป็นผลจากซากที่ตกค้างสมัยสงครามเย็น โดยเขาอธิบายว่า การดำรงอยู่ของฝ่ายอำนาจเก่าหรือฝ่ายที่นิยมสถาบันฯ ตั้งแต่ในทศวรรษที่ 20 ในแง่หนึ่ง นับว่าเป็นการรักษาไว้ซึ่งการพัฒนา ระเบียบความสัมพันธ์ และป้องกันประเทศจากภัยจากคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงทศวรรษที่ 21 การขึ้นมาของทักษิณ ก็ได้ท้าทายระเบียบอำนาจเก่า ที่ทำให้ชนชั้นนำเกรงกลัวว่าความสัมพันธ์ในระบบการเมืองอาจเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ต้องอาศัยการปรับตัวและการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อการประนีประนอม และป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัวมากขึ้นอีก
 
“พิชญ์” วิเคราะห์พลังประชาธิปไตยในสังคมไทยสี่แบบ
ทางด้านพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ  ได้แบ่งประเภทพลังประชาธิปไตยในไทยออกเป็นสี่แบบ ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างแข่งขัน และช่วงชิงพื้นที่ทางการเมือง อันประกอบด้วย ประชาธิปไตยแบบไทย ซึ่งมีที่มาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ มีลักษณะเป็นชาตินิยม เน้นความมีเสถียรภาพ และศีลธรรมเชิงพุทธศาสนาเป็นตัวกำกับสังคม ประเภทที่สองคือ ประชาธิปไตยในระบบเลือกตั้ง ซึ่งมีจุดอ่อนตรงที่เน้นประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าในระยะยาว และไม่สามารถรักษาความยั่งยืนได้เสมอไป นอกจากนี้ พิชญ์ยังกล่าวถึง ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมแบบชนชั้นกลาง โดยในส่วนนี้ จะไม่ใช่คนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เป็นฝ่ายที่นับว่ามีพลังและอำนาจมากกลุ่มหนึ่ง และมักมีทัศนคติว่า ประเทศไทยควรตัดสวัสดิการให้น้อยลง และเน้นการต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยคนเสื้อเหลืองและเสื้อหลากสี จัดอยู่ในพลังกลุ่มนี้ ส่วนประเภทสุดท้าย คือ ประชาธิปไตยแบบปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วยเหล่าเอ็นจีโอ และภาคประชาสังคม ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่าประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยพลังกลุ่มนี้ ประสบข้อกังขาในเรื่องความเป็นตัวแทน ความโปร่งใส และการตรวจสอบ
 
เสนอแนะ ต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ พร้อมปฏิรูปกองทัพ-ศาล
นักวิชาการประจำภาคปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้มีข้อเสนอสี่ประการต่อข้อท้าทายที่ดำรงอยู่ในการเมืองไทย โดยเน้นว่า หากจะให้พลังทางการเมืองกลุ่มต่างๆ เข้าสู่กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย(Democratization)  ร่วมกันได้ จำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เปิดให้สำหรับทุกฝ่าย เช่น การทำให้การต่อต้านปัญหาคอร์รัปชั่น เป็นเรื่องที่จำเป็นทางการเมือง มิใช่โยงอยู่กับศีลธรรมอันดีเช่นที่เคยเป็นมา นอกจากนี้ ต้องทำให้ฝ่ายที่นิยมประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งเข้าใจด้วยว่า การเลือกตั้งไม่ใช่ทุกอย่าง และไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้อย่างหมดสิ้น นอกจากนี้ ได้เสนอให้มีการปฏิรูปกองทัพ โดยไม่ใช่ให้เพียงทหารกลับกรมกองอย่างเดียว เช่นในสมัยพฤษภาคม 2535 แต่จำเป็นต้องมีการปฏิรูปให้โปร่งใส และมีการสานเสวนาและความร่วมมือระหว่างฝ่ายประชาชน รวมถึงการค้นหาความจริงเพื่อสร้างความยุติธรรม และให้มีการปฏิรูปอำนาจศาลให้มีความเป็นธรรมทางการเมือง
 
 
 
 
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผลสำรวจระบุลูกจ้างสหรัฐฯ ยอมถูกลดเงินเดือนแลกกับการทำงานที่บ้าน

$
0
0

18 ก.ค. 2011 เว็บไซต์ Business News Daily นำเสนอผลการสำรวจเรื่องการรับงานไปทำที่บ้านในสหรัฐฯ ด้วยข้อสรุปว่า การทำงานทางไกลจากที่บ้าน (Telecommuting) อาจจะเป็นสิ่งที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย 

Business News Daily ระบุว่า มีลูกจ้างชาวสหรัฐฯ จำนวนหนึ่งที่ต้องการอิสรภาพและสวัสดิการที่พึงได้จากการทำงานที่บ้าน ขณะที่ฝ่ายนายจ้างก็สามารถประหยัดค่าเช่าสำนักงานและอาจรวมถึงเงินเดือนส่วนหนึ่งด้วย

จากผลสำรวจโดย Staples Advantage บริษัทขายเครื่องสำนักงานออฟฟิศพบว่า ร้อยละ 40 ของลูกจ้างยอมให้มีการตัดค่าจ้างเพื่อที่จะได้ทำงานที่บ้าน โดยร้อยละ 74 ของผู้ตอบแบบสำรวจยอมให้หักเงินเดือนระหว่างร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 5 ต่อเดือน ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจอีกร้อยละ 20 รายยอมให้หักเงินเดือนถึงร้อยละ 10 ผลสำรวจยังได้ระบุอีกว่า พวกเขายอมยกเลิกดูรายการโทรทัศน์รายการโปรด (ร้อยละ 54) ลดเวลานอน (ร้อยละ 48) หรือยอมเลิกทานอาหารจานโปรด (ร้อยละ 40) แทนการถูกสั่งให้เลิกทำงานที่บ้าน

ผลสำรวจบอกอีกว่า ร้อยละ 86 ของผู้ทำงานที่บ้านบอกว่าพวกเขารู้สึกดีกว่าและสร้างผลผลิตได้มากกว่าเมื่อได้ทำงานที่บ้าน

สิ่งต่อไปนี้คือความคิดเห็นจากผู้ทำงานที่บ้าน

- พวกเขารู้สึกว่ามีความสุขและมีสุขภาวะที่ดีกว่า เมื่อถูกซักถามให้เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ผู้ทำงานที่บ้านบอกว่าระดับความเครียดของพวกเขาลดลงร้อยละ 25 โดยเฉลี่ย และความสุขโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 ตั้งแต่ที่ทำงานที่บ้าน มีร้อยละ 73 ถึงขั้นบอกว่าพวกเขาทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะมากขึ้นเมื่อได้ทำงานที่บ้าน

- ซื่อสัตย์มากขึ้น ก่อนหน้าที่พวกเขาต้องทำงานที่บ้าน ผู้ตอบแบบสำรวจเหล่านี้ต้องเดินทางไปกลับที่ทำงานโดยเฉลี่ยระยะทาง 77 ไมล์ ร้อยละ 76 ของผู้ทำงานที่บ้านบอกว่า พวกเขารู้สึกได้ให้เวลากับงานมากขึ้น และบอกว่ารู้สึกซื่อสัตย์ต่อบริษัทมากขึ้นตั้งแต่ได้ทำงานที่บ้าน

- บริหารเวลาได้สมดุลกว่า มากกว่าร้อยละ 80 บอกว่าในตอนนี้พวกเขาจัดสรรเวลาทำงานกับเวลาส่วนตัวได้สมดุลมากขึ้น

Business News Daily เปิดเผยอีกว่า บริษัทที่อนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่บ้านยังได้ประหยัดทั้งค่าเช่าสำนักงานและเงินเดือนด้วย คนทำงานที่บ้านกล่าวในหารสำรวจว่าพวกเขาสรรหาเผอร์นิเจอรืทำงาน (ร้อยละ 87)และเครื่องใช้สำนักงาน (ร้อยละ 60) และพัสดุอุปกรณ์ (ร้อยละ 57) ด้วยตัวเอง

เทรนด์ดังกล่าวนี้เป็นไปในทางเดียวกับการวิจัยของฟอร์เรสเตอร์ที่ทำนายว่าในปี 2016 ร้อยละ 43 ของแรงงานสหรัฐฯ จะกลายเป้นผุ้ทำงานที่บ้าน

ที่มา
Employees Willing to Cut Pay to Work from Home, 18-07-2011, Business News Daily
http://www.businessnewsdaily.com/telecommuting-saving-businesses-money-1539/

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ชาวอุบลฯ พบผู้ว่าฯ ค้านเปิดช่องเอกชนขนเครื่องจักรสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล

$
0
0

แฉ บ.บัวสมหมายหวังเดินหน้าโครงการต่อ ขุดบ่อน้ำขนาดยักษ์ 15 ไร่ ทำชาวบ้านขาดแคลนน้ำใต้ดิน ข้าวนาปรังเสียหาย ร้องผู้ว่าฯ ส่งคนลงสอบความเดือดร้อน ด้าน อก.จังหวัดชี้ ครม.มีมติระงับก่อสร้าง การขนเครื่องจักรเข้าพื้นที่ต้องยื่นเรื่อง

 
 
 
สืบเนื่องจากกรณีที่ชาวบ้านใน ต.ท่าช้าง และต.บุ่งมะแลง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ได้รวมตัวกันคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทบัวสมหมายไบโอแมส จำกัดซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 17 บ้านคำสร้างไชย ต.ท่าช้าง มาตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากมีการทำประชาคมที่ไม่โปร่งใส และกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
 
วานนี้ (21 ก.ค.2554) เวลา 10.00 น.ชาวบ้านหมู่ที่ 3 บ้านใหม่สารภี หมู่ที่ 12 บ้านคำนกเปล้า หมู่ที่ 17 บ้านคำสร้างไชย ต.ท่าช้าง หมู่ที่ 9 บ้านโนนเจริญ และหมู่ที่ 11 บ้านหนองเลิงนา ต.บุ่งมะแลง รวมกว่า 20 คน เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อคัดค้านการขออนุญาตขนย้ายเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างและเครื่องจักรเข้าพื้นที่ของบริษัทบัวสมหมายฯ โดยชาวบ้านได้ถือป้ายข้อความว่า หยุดโรงไฟฟ้า คืนน้ำให้ชุมชน คืนชีวิตให้คน เพื่อบอกเล่าถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
 
นางทองคับ มาดาสิทธิ์ แกนนำชาวบ้านให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ได้รับการบอกเล่าจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้างว่า บริษัทบัวสมหมาย ได้ยื่นขออนุญาตนำเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างและเครื่องจักรเข้าพื้นที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ แต่ทาง อบต.ท่าช้างได้แจ้งแก่ตัวแทนบริษัทฯ ว่าอำนาจการให้อนุญาตอยู่ที่จังหวัด และขอให้บริษัทฯ ยื่นขอต่อจังหวัดอุบลราชธานี ดังนั้นชาวบ้านจึงได้เดินทางมายังศาลากลางจังหวัดเพื่อคัดค้านไม่ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ อนุญาตให้บริษัทขนเครื่องจักรเข้าไปในพื้นที่ เนื่องจากตอนนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ระหว่างการตรวจสอบและหาแนวทางแก้ไขโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด
 
นางทองคับกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันทางบริษัทได้พยายามเดินหน้าโครงการต่อ ด้วยการปรับพื้นที่และทำการขุดสระน้ำขนาดใหญ่เนื้อที่กว่า 15 ไร่ มีความลึกกว่า 20 เมตร ทำให้ชาวบ้านต้องประสบปัญหาน้ำไม่พอใช้ในการทำข้าวนาปรัง จนผลผลิตที่ได้ลดลงจากปีที่แล้วเป็นจำนวนมาก เกิดการแย่งชิงน้ำในการทำนา เนื่องจากน้ำใต้ดินที่ชาวบ้านใช้ไหลไปรวมที่บ่อน้ำของบริษัท ทำให้หนองธรรมชาติ และบ่อน้ำของชาวบ้านที่ขุดไว้เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคมีปริมาณน้ำลดน้อยลงมาก ทั้งที่ดูจากสถิตปริมาณน้ำฝนแล้วพบว่า ปีนี้มีฝนตกมากกว่าปีที่แล้ว แต่น้ำในหนองและบ่อของชาวบ้านกลับมีน้ำน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่บ่อน้ำของบริษัทมีน้ำอยู่เต็มบ่อ
 
อีกทั้งช่วงที่ฝนตกหนักยังทำให้ดินที่บริษัทถมที่ไหลลงไปที่นาของชาวบ้าน และไหลลงหนองน้ำธรรมชาติที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ ซึ่งทางชาวบ้านก็ได้เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่าชาวบ้านเดือดร้อนอย่างไรบ้าง
 
หลังจากชาวบ้านรอหน้าศาลากลางประมาณ 30 นาที นายประวัติ รัฐิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงมาสอบถามชาวบ้าน และเมื่อทราบวัตถุประสงค์ของชาวบ้านแล้วจึงได้ประสานให้นายสมชาย เสงี่ยมศักดิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี มาร่วมพูดคุยกับชาวบ้าน
 
นายสมชายได้กล่าวกับชาวบ้านว่า ตอนนี้บริษัทบัวสมหมายฯ ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้ เนื่องจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ระงับและยุติการก่อสร้างเอาไว้ก่อน ส่วนการขนย้ายเครื่องจักรเข้าในพื้นที่นั้น ทาง อบต.ต้องส่งหนังสือมาที่จังหวัดเพื่อนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งจะขอความคิดเห็นของอุตสาหกรรมจังหวัดประกอบการตัดสินใจ
 
ชาวบ้านได้ร้องขอทราบข้อมูลต่อมาว่าทาง อบต.ท่าช้าง ได้ส่งเรื่องดังกล่าวเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วหรือยัง ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ยืนยันว่าตอนนี้ทางจังหวัดยังไม่ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด และจะพิจารณาเรื่องที่ชาวบ้านร้องเรียนประกอบการตัดสินใจอย่างแน่นอน
 
ด้านนางศิริภัสร สิทธิสา แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า เมื่อรู้ว่าบริษัทบัวสมหมายฯ ยังไม่สามารถขนเครื่องจักรเข้าในพื้นที่ได้ก็รู้สึกสบายใจขึ้น อย่างไรก็ตามชาวบ้านก็ยังคงต้องติดตามการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป และหากเป็นไปได้ตนก็อยากให้หน่วยงานมีอำนาจในการอนุมัติเดินทางลงไปตรวจสอบความจริงที่ว่าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน เพื่อที่จะได้ยกเลิกการอนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัทบัวสมหมายฯ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รัฐบาลยิ่งลักษณ์กับการบูรณาการอาเซียน

$
0
0

แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า การบูรณาการอาเซียนในปี 2015 นั้นตั้งอยู่บนฐาน การบูรณาการด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยนโยบายรูปธรรม ได้แก่ มาตรการส่งเสริมการค้าเสรี การลดหย่อนภาษีสำหรับทุนต่างชาติ การลดลักษณะชาติภายใต้ความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favor Nation) และอาจตีความกลายๆ ว่า รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี

ด้านหนึ่งย่อมเป็นการขยายความมั่งคั่งสู่ประเทศในภูมิภาค ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การลงทุนจากต่างประเทศเป็นการขยายโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีชีวิตที่มีทางเลือกมากขึ้น ความมั่งคั่งถูกแผ่กระจายออกไป และดึงประชาชนในพื้นที่ล้าหลังเข้าสู่ระบบการผลิตโลก ทำลายสังคมจารีตสู่สำนึกสากล และค่านิยมการบริโถคแบบแผนเดียวกัน แ

ต่ในขณะเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาก็เป็นไปตามที่องค์กรพัฒนาเอกชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศพยายามชี้แจง คือความเปราะบางแบบใหม่ ความผันผวนของกลไกตลาด และการลงทุนที่ปราศจากจริยธรรม การกดขี่แรงงาน และการตักตวงทรัพยากรจากพื้นที่ที่ปราศจากกฎหมายคุ้มครอง ความเปราะบางข้างต้นนี้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายการบูรณาการอาเซียน สำหรับประเทศโดยมากในภูมิภาคที่มีปัญหาด้านการพัฒนาประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน การละเลยปัญหาข้างต้นย่อมเป็นการขุดหลุมฝังศพตัวเอง การลุกฮือในประเทศแถบภูมิภาคนี้อันมีต้นเหตุจากลักษณะการต่อสู้ในชีวิตประจำวัน ที่มักจบลงด้วยการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุม อุ้มฆ่า หรือขังลืม อาจไม่สามารถทำได้โดยสะดวกนัก เพราะมันจะทำให้ทั้งภูมิภาคนี้เข้าสู่ภาวะมิคสัญญี สำหรับชนชั้นปกครอง มันเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคิดใหม่เรื่องการจัดการความขัดแย้งตลอดจนแนวทางการพัฒนาในสังคม

ในกรณีไทย ที่ผ่านมาชนชั้นปกครองมี “โลกภาพ” ที่ค่อนข้างล้าสมัยทั้งในแง่การพัฒนา และการจัดการความขัดแย้ง ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งทางสังคมนับจากทศวรรษ 2550 สื่อทางการไทยมักพยายามโฆษณาภาพชนชั้นปกครองเกี่ยวกับการพัฒนา พื้นที่ทุรกันดาร นำน้ำ ไฟ ถนนไปให้ ไม่นับรวมกับการบริจาคที่ทำกันเป็นเทศกาลงานบุญประเพณี ขณะที่วิธีคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง ก็มิได้มีความแตกต่างจากคู่มือ ซีไอเอ สมัยสงครามเย็นที่พยายามมองว่า ผู้ชุมนุมถูกล้างสมอง จ้างให้มา แกนนำเป็นสายตรงจากพรรคคอมมิวนิสต์พยายามล้มเจ้า คนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนไทย และจบลงด้วยการขนทหารมายิงประชาชนกลางเมืองแบบเดียวกันกับที่เคยทำเมื่อสามสิบสี่สิบปีก่อน พร้อมทั้งการส่งเสริมให้เด็กไทยได้เรียนประวัติศาสตร์ว่าด้วยวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของชนชั้นปกครอง

สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์จำเป็นต้องพิจารณาคือ ลักษณะความขัดแย้งในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความซับซ้อนและเชื่อมร้อยกัน การจัดการความขัดแย้งนั้นมิอาจใช้มุมมองโลกภาพแบบเดิมๆ

บทความนี้จะพิจารณาความขัดแย้งรูปแบบใหม่ที่จำเป็นต้องก้าวให้พ้นจากวิธีการจัดการความขัดแย้งแบบเดิมๆ

 

1. ปัญหาด้านอัตลักษณ์และวิถีชีวิต

บทความของ สตีเว่น โบโรวิคได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งท้าทายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่พรรคเพื่อไทย ไม่ได้รับ ส.ส.แบ่งเขตสักที่นั่งเดียวในพื้นที่ภาคใต้ โดยหนึ่งในสาเหตุคงไม่พ้นจากการสลายการชุมนุมที่มัสยิด กรือแซะ อันนำสู่การเสียชีวิตของผู้ร่วมชุมนุม นักวิชาการสายอนุรักษ์นิยม พยายามโยงการจัดการปัญหาภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณเข้าเป็นหนึ่งใน “นโยบายประชานิยม” ที่ถูกผลักโดยความต้องการแบบสั้นๆ มักง่ายของผู้ลงคะแนน และนักการเมือง การพิจารณาเช่นนี้นับเป็นการละเลยพัฒนาการของสังคมไทย ทักษิณ ชินวัตรไม่ใช่วีรบุรุษหรือ ซาตานที่มาเสกบันดาลทุกเงื่อนไขในประเทศนี้ วิธีการลดทอนค่าความเป็นมนุษย์เพื่อจัดการปัญหาสังคมไทย ถูกสั่งสมมาในโครงสร้าง ผ่านประวัติศาสตร์แนวราชาชาตินิยมมาช้านาน ไม่ใช่เพียงแค่ประชาชนเชื้อชาติมาเลย์เท่านั้นที่เผชิญเงื่อนไขนี้ ประชาชนจากพื้นที่ตอนเหนือ และอีสาน ก็ถูกลดทอนความเป็นคน โดยชนชั้นกลางในเมืองมาช้านาน (ปัจจุบันก็ยังคงอยู่) โดยอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ถูกต้อง ถูกแทนที่ด้วยประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม การโต้กลับของขบวนการที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นภาพสะท้อนการขัดขืนของคนในพื้นที่ ซึ่งเรื่องนี้มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องอัตลักษณ์อย่างเดียวแน่นอน หากแต่เกี่ยวพันกับปัญหาเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างพื้นที่ แต่หลายปีที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าขบวนการดังกล่าวไม่มีศักยภาพพอที่จะพัฒนาและจัดการปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่เช่นกัน สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องก้าวให้พ้นเมนูนโยบายแบบเดิมๆ อาทิ “เราคนไทยเหมือนกัน” , “ขวานไทยที่ไม่มีด้าม เอาไปใช้การคงไม่ได้” รวมถึงวิธีคิดแบบเดิมๆเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดน

ในยุคสมัยแห่งการบูรณาการ ประวัติศาสตร์ที่ควรพูดถึงคือประวัติศาสตร์ร่วมของประชาชนแต่ละพื้นที่ หาใช่ประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำ ประวัติศาสตร์เรื่องการเสียดินแดน ได้ดินแดน หรือข้าศึกมาเผาเมืองเมื่อหลายร้อยปีก่อน นับเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่สร้างสรรค์ และคงไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชนชั้นนำแต่ละยุคสมัยเป็นหลัก วิธีคิดศาสนาแห่งรัฐ(ไม่ว่าของรัฐส่วนกลางและฝ่ายแบ่งแยกดินแดน) ควรถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ศาสนาควรเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนมากกว่าการปลูกฝังโดยรัฐ การตั้งเขตปกครองพิเศษยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งมิใช่กับพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น หากแต่ต้องพิจารณาการกระจายอำนาจอย่างเต็มที่ในพื้นที่อื่นเช่นกัน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ทหาร ตำรวจ บุคลากรด้านศาล จากส่วนกลางอันนับเป็นมือไม้ของระบบรัฐรวมศูนย์แบบอำมาตยาธิปไตย พึงถูกยกเลิก หรือจำกัดอำนาจความรับผิดชอบให้น้อยที่สุด รัฐส่วนกลางพึงสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น บุคลากรและเครื่องมือด้านสาธารณสุข การสร้างเครือข่ายการคมนาคมราคาถูกโดยรัฐ และรณรงค์มาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลให้เป็น ขั้นต่ำของข้อบังคับในท้องถิ่น เปลี่ยนวิธีคิดของพื้นที่ชายแดนจากลักษณะพื้นที่ที่อำนาจอธิปไตยไปไม่ถึงสู่การเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของแต่ละพื้นที่

 

2. ประเด็นแรงงาน แรงงานข้ามชาติ และความมั่นคงมนุษย์

เมื่อประมาณปี 2552 บริษัทบอดี้แฟชั่นได้ทำการเลิกจ้างพนักงานกว่าสองพันคน ในโรงงานย่านบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ แม้จะมีการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย พนักงานโดยมากมีภูมิหลังมาจากครอบครัวฐานะยากจนในต่างจังหวัด และอพยพมาตั้งแต่ราวอายุ 14-15 โดยมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมต้นเป็นอย่างมาก การเลิกจ้างในวัยกลางคนนับเป็นหายนะของชีวิตแรงงาน ที่ไม่สามารถมีทางออกใดๆในประเทศนี้ ข้อสังเกตสำคัญคือพนักงานที่ถูกปลดออกมักเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ที่มีอายุ พร้อมกันนั้น บริษัทยังขยายสาขาไปเปิดสาขาที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีค่าจ้างขั้นต่ำต่ำกว่า ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ราวห้าสิบบาท และต่ำกว่าค่าจ้างที่บริษัทจ้างแรงงานที่ถูกปลดกว่าครึ่งหนึ่ง

การบูรณาการรอาเซียนเป็นที่หวาดวิตกต่อ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงาน ด้านหนึ่งคือการนำเข้าแรงงานราคาถูกบริเวณชายแดนไทย ซึ่งแรงงานที่อำนาจต่อรองต่ำนี้มีแนวโน้มที่จะรับค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดการว่างงานในแรงงานไทย หรือกระทั่งการที่ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตสู่พื้นที่ที่ค่าจ้างต่ำกว่า ในลักษณะโรงงานไร้ราก แต่การปิดกั้นและปฏิเสธการบูรณาการอาเซียนโดยสิ้นเชิงก็ดูจะเป็นการปิดตาข้างเดียวโดยปฏิเสธราวกับว่า การกดขี่แรงงานข้ามชาติ การปิดสถานประกอบการและไล่คนออกแล้วไปเปิดที่ใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมการผลิตไทย ในด้านหนึ่งการบูรณาการเป็นการเปิดโอกาสที่จะผลักดันประเด็นด้านความมั่นคงของมนุษย์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น แต่ทำอย่างไรให้แรงงานได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ภายใต้การบูรณาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มักมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าสังคมที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นเพราะการปล่อยเสรีทางเศรษฐกิจ ฮ่องกงอันเป็นตัวอย่างของ มิลตัน ฟลิดแมน นักวิชาการผู้สนับสนุนแนวคิดเสรีนิยมใหม่ หากพิจารณาดูแล้ว ในฮ่องกง รัฐเป็นผู้สร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งสิ้น ทุกวันนี้ฮ่องกงเติบโตจากการเป็นประเทศอุตสาหกรรมของเก๊ สู่การเป็นศูนย์กลางการเงินและการบริการของภูมิภาค ประเด็นสำคัญที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องให้ความสำคัญ คือการสร้างหลักประกันพื้นฐานแก่ประชาชนโดยรัฐบาล อันจะเป็นเกราะป้องกันปัญหาความไม่มั่นคงจากการขยายตัวของการเปิดการค้าเสรีและบริการในระดับภูมิภาค

บทความของ นพ.พิทักษ์ วชิระศักดิ์มงคล ได้ชี้ให้เห็นลักษณะสำคัญของนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามสิบบาทรักษาทุกโรค ที่เปลี่ยนจากการรักษาแบบสังคมสงเคราะห์แบบเก็บตก สู่สิทธิขั้นพื้นฐานที่สามารถเข้ารับบริการได้โดยไม่ต้องพิสุจน์ความเจ็บ หรือความจน ดังนั้นหากพิจารณาหลักประกันความมั่นคงทางชีวิตของไทยด้านอื่นๆแล้วค่อนข้างต่ำมาก ทั้งด้านที่อยู่อาศัย หรือการประกันรายได้...ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตลก เพราะประเทศไทยนับเป็นประเทศที่ “หวงสัญชาติ”มาก ขนาดเด็กอายุเจ็ดขวบยังต้องมีบัตรประชาชน แต่เมื่อเอาตามจริงแล้วการเป็นคนไทยกลับไม่ได้สิทธิประโยชน์เป็นชิ้นเป็นอันนัก ข้อเสนอนี้ฟังดูเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก แต่หากรัฐบาลส่งเสริมการประกันรายได้แก่ประชาชนทุกคน ให้มีรายได้เพียงพอในระดับเทียบเท่าค่าจ้างเริ่มแรก สิ่งเหล่านี้จะเป็นการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจต้องขึ้นค่าจ้างเพื่อจูงใจคนสู่ตลาดแรงงาน การจ้างค่าจ้างแบบ”กันตาย” ควรจะสูญพันธ์ไปจากระบบการจ้าง ดังเช่นข้อเสนอ ของ คณะปฏิรูประบบค่าจ้างโดยขบวนการแรงงานไทย ที่ให้ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำสู่ “ค่าจ้างลูกจ้างไร้ฝีมือที่เริ่มทำงานปีแรก” นั่นหมายความว่าโครงสร้างค่าจ้างต้องมีความครอบคลุมถึง แรงงานทุกระดับ ไม่ว่าจะเริ่มงานใหม่ ทำงานมาแล้วสิบปี หรือใกล้เกษียณ โดยได้ค่าตอบแทนตามอายุงาน (เช่น ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานยี่สิบปี ควรมีค่าจ้างเป็นประมาณ 2.5เท่า ของผู้เริ่มงานปีแรกเป็นขั้นต่ำ) นั่นหมายความว่ารัฐจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากทั้งภาษีทางตรง (ภาษีเงินได้) และภาษีทางอ้อม (ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการที่ประชาชนมีอำนาจการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น) ซึ่งสามารถมาจัดเปินเงินชดเชยการว่างงานที่ประชาชนต้องได้ไม่น้อยกว่า “ค่าจ้างสำหรับผู้เริ่มทำงานปีแรก” และเป็นการให้ในฐานะสิทธิพลเมืองไม่ใช่การให้แบบเก็บตกหรือสงเคราะห์

หลักการข้างต้นมิได้จำเพาะเพียงแค่แรงงานไทย หากแต่หมายรวมถึงแรงงานทุกสัญชาติที่อยู่ในตลาดแรงงานของไทย จึงเป็นที่แน่ชัดว่าหากค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น ความต้องการแรงงานข้ามชาติที่ค่าจ้างต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบย่อมสูงขึ้น เช่น งานประมง หรือก่อสร้าง การบูรณาการอาเซียนจะทำให้เงื่อนไขของแรงงานข้ามชาติมีความชัดเจนมากขึ้น ผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานข้ามชาติอาจต้องถูกวางเงื่อนไขให้ทำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแก่ลูกจ้าง รวมถึงต้องมีการปรับค่าจ้างตามมาตรฐานเดียวกับแรงงานไทย สิ่งที่ต้องตามมาคือการวิธีคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่ง ความเป็นพลเมืองไทย การได้มาซึ่ง “สัญชาติไทย” พึงพิจารณาผ่านลักษณะการทำงานของแรงงานนั้น โดยถือการคุ้มครองความมั่นคงของมนุษย์มากกว่าความมั่นคงของรัฐ รูปธรรมคือแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอย่างต่อเนื่องสามปีไม่ว่าจะเข้าเมืองด้วยวิธีใด สามารถขอสัญชาติไทยได้ และได้รับสิทธิเยี่ยงพลเมืองไทย รวมถึงสิทธิประกันการว่างงาน

ประเทศไทยมักหลงทางกับวลี “การพัฒนาฝีมือแรงงาน” โดยมองว่าคนว่างงาน ว่างงานเพราะไร้ทักษะและไม่มีความสามารถเพียงพอ ซึ่งมิได้ผิดทั้งหมดหากแต่ละเลยว่าข้อเท็จจริงของการว่างงานโดยมากเกิดเพราะการต้องการลดต้นทุนของผู้ประกอบการในกรณีที่แรงงานเริ่มสูงอายุ หรือเริ่มหัวแข็งและหัวหมอมิยอมจำนนต่อสภาพการจ้างงานที่ขูดรีด การเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ใช้แรงงานต้องขึ้นกับองค์กรของผู้ใช้แรงงานเอง นั่นคือสหภาพแรงงานซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับประเทศอารยะทั้งหลายที่การแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงานเกิดจากการต่อสู้ด้วยองค์กรของพวกเขาเอง อันแตกต่างจากแบบแผนของไทย ที่มักใช้ระบบเส้นสายและการอุทิศตนขององค์กรพัฒนาเอกชนและช่วยเหลือเป็นประเด็นแยกขาดมากกว่าการปฏิรูปสังคมโดยรวม ในประเด็นการพัฒนาฝีมือนั้น หลักการง่ายๆคือ การพัฒนาระบบการศึกษาถ้วนหน้าครบวงจร ที่ผู้ศึกษา ที่บรรลุนิติภาวะพึงได้ค่าตอบแทนไม่ต่ำกว่า “ค่าตอบแทนสำหรับผู้เริ่มงานปีแรก” อันเป็นโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานไทยได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างเต็มที่ พร้อมกันนั้น สำหรับประชาชนชาวอาเซียนก็พึงได้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา(รัฐ)ไทย ด้วยอัตราค่าเล่าเรียนเดียวกัน โดยรัฐบาลพึงให้ทุนสนับสนุนแก่นักศึกษาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสามารถสูง เพื่อเป็นบุคลากรเพื่อพัฒนาสังคมไทย และสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อการบูรณาการระหว่างประเทศ

 

3. สิทธิทางการเมือง และการแสดงออก

สิทธิทางการเมืองและสิทธิทางเศรษฐกิจ เป็นเงื่อนไขเดียวกัน การบูรณาการอาเซียนต้องนำสู่แนวคิด พลโลกที่เคารพความเป็นมนุษย์ระหว่างกัน ประวัติศาสตร์การเมืองแบบล้าหลังยุคสงครามเย็นควรถูกแทนที่ด้วยประวัติศาสตร์การร่วมมือกันของประชาชน ที่ต่างเผชิญปัญหาและความเปราะบางเดียวกัน กฎหมายที่จำกัดสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์บางสถาบันพึงถูกยกเลิก ไม่ว่า จะเป็นบางสถาบันของไทย พรรคเผด็จการคอมมิวนิสต์ หรือพรรคชาตินิยมของประเทศใดๆ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เงื่อนไขเฉพาะของภูมิภาคนี้ในลักษณะวัฒนธรรมสัมพัทธ์ หากแต่เป็นภาพสะท้อนความด้อยพัฒนาที่เกิดจากการกดขี่อย่างเป็นระบบของประเทศในภูมิภาคนี้ ชนชั้นนำและพรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมมักพยายามสร้างแนวร่วมของวัฒนธรรมจารีตของชนชั้นสูง แต่ประชาชนและพรรคการเมืองของประชาชนชนชั้นล่างต้องไปไกลกว่านั้น คือการบูรณาการความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งตัวตน เสรีภาพ และประชาธิปไตย

ปัญหาของสิทธิเสรีภาพและการแสดงออกทางการเมืองไทย จึงมิใช่เรื่องเฉพาะของสังคมไทย ค่านิยมและความศักดิ์สิทธิ์ต่อบางสถาบันล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การกดขี่ในระบบทุนนิยม ลักษณะนี้เกิดขึ้นกับหลายประเทศในภูมิภาคนี้ โดยมีระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีลักษณะร่วมคือ การได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ในประเทศภูมิภาคนี้ (New Rich of Asia) โดยเป็นกลุ่มที่เปราะบาง กลวงเปล่าและไร้อุดมการณ์ คนกลุ่มนี้หาใช่พลังประชาธิปไตยตามทฤษฎีการพัฒนากระแสหลัก ตรงกันข้ามคนกลุ่มนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อความก้าวหน้าทุกชนิด แม้ว่าพวกเขาเป็นกลุ่มแรกๆที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการพัฒนาระบบทุนนิยมที่ผ่านมา ในกรณีประเทศไทยคนกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่ม”สลิ่ม” ชนชั้นกลางที่ก่นด่าการสร้างทางรถไฟฟ้า หรือกั้นทางรถเมล์ด่วนพิเศษว่าทำให้รถติด ทั้งๆที่เส้นทางโดยสารทางรางทั้งหมดเชื่อมพวกเขาจากคอนโดฯหรูสู่ออฟฟิสกลางเมืองอีกย่านหนึ่ง คนกลุ่มนี้โวยวายกับการขึ้นค่าแรงวันละสามร้อยบาทว่าจะทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ทั้งๆที่ความเป็นจริงคนเหล่านี้ก็รับประทานอาหารมื้อละร้อยบาทตามร้านอาหารแฟรนไชส์ที่กดขี่ค่าแรงผู้ใช้แรงงานและปราศจากสหภาพแรงงาน (พวกเขามักชื่นชมเด็กมัธยมที่ทำงานในร้านอาหารพาร์ตไทม์ว่ามีจิตสำนึกผู้ประกอบการตั้งแต่เด็ก โดยลืมเฉลียวใจว่าค่าจ้างชั่วโมงละ 22 บาทไม่สามารถซื้ออะไรแก่พนักงานวัยเยาว์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าชีวิตที่ดีในปัจจุบันหรืออนาคต) และหากจำกันได้คนกลุ่มนี้คือคนที่สรรเสริญการสังหารผู้ชุมนุมของรัฐเพื่อทวงคืนห้างสรรพสินค้าและสี่แยกของพวกเขา คนกลุ่มนี้มักจะฟูมฟายกับความเป็นไทย และจารีตอันงดงาม รวมถึงคุณค่าแบบเอเชียๆทั้งหลาย เช่น ซื่อสัตย์ ขยัน ประหยัดอดทน แต่ชีวิตประจำวันของพวกเขากลับมีแต่ความกลวงเปล่า การฟังธรรมะจากเกจิอาจารย์ชื่อดังในวันหยุดนับเป็นหนทางการไถ่บาปภาระในระบบทุนนิยมของพวกเขา

คนกลุ่มนี้ไม่มีพลังใดๆทั้งสิ้น การก้าวเข้าสู่สังคมใหม่ไม่จำเป็นต้องใส่ใจคนเหล่านี้ซึ่งมักเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้กับ พรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยม ด้วยเงื่อนไขโครงสร้างทางสังคม พวกเขามีทรรศะเหยียดเพศ เชื้อชาติ และชนชั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการภูมิภาค คนกลุ่มนี้มีอยู่ในทุกสังคมทุกประเทศ สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องพิจารณาคือ จะทำอย่างไรให้คนส่วนน้อยที่มีทรรศนะคับแคบเหล่านี้ เป็นเพียงตัวตลกของสังคมมากกว่าอภิชนที่น่ายกย่อง (เราจะเห็นตัวอย่างในประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้าช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ ที่วิถีชีวิตและทรรศนะชนชั้นกลางแบบมาตรฐานถูกทำให้เป็นเรื่องตลกในภาพยนตร์ทั่วไป มากกว่าเรื่องการเสียสละทำตามหน้าที่อันน่ายกย่องแบบคุณค่าเอเชียในปัจจุบัน) การบูรณาการอาเซียนจึงจำเป็นต้องพิจารณาการแสดงออกทางการเมืองที่สะท้อนผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงมากกว่า ข้อเรียกร้องของเหล่าอภิชนที่กลวงเปล่าในแต่ละประเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเงื่อนไขสำคัญกับการบูรณาการทางสังคม และการแสดงออกทางความคิดอันเป็นสากล การสร้าง “ฮาร์ดแวร์” และ “ซอฟท์แวร์” ทางไอที ที่ราคาถูกและเข้าถึงผู้คนส่วนมากนับเป็นเรื่องสำคัญ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของ บรรษัทข้ามชาติในการผูกขาดพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ รัฐบาลแต่ละประเทศพึงเป็นผู้สนับสนุนการวิจัยค้นคว้าเพื่อนำสู่เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อนำสู่การสร้าง ซอฟท์แวร์สาธารณะของประชาชนในภูมิภาค มากกว่าทรัพย์สมบัติของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งมักถูกควบคุมโดยชนชั้นอภิสิทธิ์ชนของแต่ละสังคมอีกต่อหนึ่ง

โดยสรุปแล้วการบูรณาการอาเซียนจึงไม่ใช่เรื่องของวลีที่สวยงาม ในลักษณะ “พลโลก” หรือมิตรภาพไร้พรมแดนเท่านั้น แต่เป็นการท้าทายพลังของประชาชนผู้ถูกกดขี่ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ ซึ่งกำลังจะเผชิญกับ เงื่อนไขความขัดแย้งและความเปราะบางแบบใหม่ อันเป็นสิ่งที่ท้าทายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่จำเป็นต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับคะแนนเสียงจากคนยากจนส่วนใหญ่ของประเทศจะสามารถนำเงื่อนไขการบูรณาการนี้เพื่อประโยชน์ของคนส่วนมากได้หรือไม่ ซึ่งโจทย์ของสังคมหลังการบูรณาการอาเซียน จึงมิใช่เพียงแค่การสร้างความมั่นคงแก่พลเมืองชาติตน หากแต่ต้องตีความถึงเหล่า “ไพร่” ที่ถูกกดขี่ในภูมิภาคนี้ การสร้างแนวร่วมของพรรคเพื่อไทย จึงมิอาจคิดคำนวณได้เพียงแค่เรื่องปัจจัยทางธุรกิจและผลกำไร หากแต่เป็นการถามท้าถึงมิติความมั่นคงของมนุษย์ทั้งภูมิภาคนี้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสียงของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ เสียงที่ไม่ธรรมดาในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

$
0
0

การรับฟังความเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ถูกกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เกือบทุกปี สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีกิจกรรมที่เรียกว่าการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยมีลักษณะของกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามกรอบและแนวทางที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนด หลายปีที่ผ่านมา การรับฟังความคิดเห็นทั่วไปเริ่มกลายเป็นงานประเพณี บางปีเริ่มใช้ข้อจำกัดทางการเงิน มาเป็นตัวกำหนดรูปแบบและวิธีการ ข้อสรุปหลายประเด็นถูกเลือกหยิบไปใช้ ตามความสนใจ ความต้องการของแต่ละกลุ่มองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวพันกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ประเด็นสำคัญบางประการที่ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายอาจซุกซ่อนอยู่ในบางย่อหน้าของผลการรับฟัง และอาจเป็นที่มาของปัญหาการดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการกำหนดหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ดังนั้นหากไม่สามารถใช้กลไกของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการให้สอดคล้องกับกฎหมายอย่างจริงจัง เสียงบ่น และความคับข้องใจโดยเฉพาะของผู้ให้บริการก็จะยิ่งดังขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับการรับฟังความเห็น

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้คณะกรรมการ “หมายความว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีอำนาจหน้าที่ในการรับฟังความเห็น บัญญัติไว้ในมาตรา 18(10) และมาตรา 18(13)

มาตรา 18(10) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังความเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข

มาตรา 18(13) จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี

จะเห็นได้ว่ามาตรา 18(10) เป็นบทบาทในส่วนของอำนาจ ให้คณะกรรมการ สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ ส่วนมาตรา 18(13) เป็นบทบาทในส่วนของหน้าที่ ซึ่งกำหนดให้ ต้องมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกปี สำหรับการจัดประชุม คณะกรรมการสามารถกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการต้องไปดำเนินการจัดประชุมให้ โดยคณะกรรมการเป็นผู้รับฟังความเห็น จึงจะเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหน้าที่ของคณะกรรมการ

 

เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรับฟัง

แม้ว่าในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 18(10)(13) จะกล่าวถึงการรับฟังความเห็นโดยทั่วไป แต่ในพระราชบัญญัติมีบทบัญญัติ ให้หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่าย เพื่อบริการสาธารณสุข ต้องผ่านการรับฟังความเห็น ตามมาตรา 18(13) ก่อน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในพระราชบัญญัติที่ถูกระบุ อย่างชัดเจนว่าต้องทำการรับฟังความเห็น และเมื่อประกอบกับมาตรา 18(13) ก็หมายถึงว่าต้องทำทุกปี ก่อนที่จะมีการกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขในแต่ละปี ไม่ได้เปิดโอกาสให้สำนักงานหรือ คณะกรรมการมีการกำหนดหลักเกณฑ์โดยไม่ผ่านการรับฟังความเห็น

ลองพิจารณารายละเอียดในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา ๔6

มาตรา 46 หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา 44 และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้ป่วย มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการรับฟังความเห็นตามมาตรา18(13) ก่อน และอย่างน้อยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

  1. อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นฐานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามาตรา50(4)
  2. ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
  3. คำนึงถึงความแตกต่างในภารกิจของหน่วยบริการ
  4. คำนึงถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ 

บทบัญญัติในมาตรานี้เชื่อมโยงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข การจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนเข้ากับการรับฟังความเห็น โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 4 ประการ และเป็นการประชุมรับฟังความเห็นโดยคณะกรรมการที่ต้องทำทุกปี ในภาคปฏิบัติหากจะดำเนินการให้สอดคล้องกัน หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกองทุนหลักประกันสุขภาพในปีถัดไป สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องนำเสนอต้นร่างหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเบื้องต้นให้คณะกรรมการพิจารณา จากนั้นจึงนำหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ผ่านการพิจารณาดังกล่าวไปจัดประชุมให้คณะกรรมการได้มีการรับฟังความเห็น ก่อนจะเกิดเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่มีการประกาศใช้ในแต่ละปี ดังนั้นเวลาที่เหมาะในการรับฟังความเห็นของการจัดสรรค่าใช้จ่ายแก่หน่วยบริการต่างๆต้องเกิดขึ้นก่อนเดือนกันยายนของแต่ละปี เพื่อให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถดำเนินการบริหารกองทุนได้อย่างเหมาะสมและทันเวลา

กระบวนการตามมาตรา 46 จนนำไปถึงการรับฟังความเห็นตามมาตรา 18(13) หากมีการดำเนินการอย่าง เคร่งครัดจึงเป็นกลไกสำคัญ ทั้งต่อผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้องทั้งมวล ให้อยู่ในฐานะของการตกลงร่วมกันจากการที่ต้องมีส่วนได้ ส่วนเสียกับการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปี ซึ่งอาจมีความจำกัดหรือเพียงพอตามภาวะทางการเงินการคลังของประเทศในแต่ละปี คณะกรรมการและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็จะมีบทบาทในการดำเนินการจัดสรรให้มีประสิทธิภาพและทันเวลาต่อไป การเกิดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้หน่วยบริการได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขอื่นๆจากกองทุนที่จะเกิดขึ้นในระหว่างปี หากจะเกิดขึ้น ย่อมยังอยู่ภายใต้มาตรา 46 คือ “ต้องผ่านการรับฟังความเห็นตามมาตรา 18(13) ก่อน” นั้นคือถ้าจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดสิทธิการได้รับค่าใช้จ่ายขึ้นมาใหม่ในระหว่างปี จะต้องมีการรับฟังความเห็นโดยคณะกรรมการก่อน ดังนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข หากจะเกิดขึ้นใหม่โดยไม่ได้มีการดำเนินการรับฟังความเห็นมาก่อนตามมาตรา 18(13) จึงขัดกับหลักการสำคัญของพระราชบัญญัติ

 

เสียงที่ไม่ธรรมดาในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การรับฟังความเห็นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงนับเป็นกลไกสำคัญของการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเชื่อมโยงมาตรา 46 เข้ากับการรับฟังความเห็นของคณะกรรมการเป็นประจำทุกปีตามมาตรา 18(13) ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่กฎหมายกำหนดให้ต้องรับฟัง สำหรับประเด็นอื่นๆจึงเป็นประเด็นที่คณะกรรมการอาจมีการกำหนดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับภาวการณ์ เพื่อช่วยให้คุณภาพและมาตรฐานของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ดังนั้นการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการภายใต้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงไม่ใช่เรื่องทั่วไป ไม่ใช่เรื่องที่จะดำเนินการเพียงขอให้ผ่านไปทีในแต่ละปี แต่การรับฟังความเห็นของคณะกรรมการ โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุน เป็นสิ่งที่ไม่สามารถละเลยได้ และจำเป็นต้องเป็นการรับฟังภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548

เสียงของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จึงเป็นเสียงที่ไม่ธรรมดา ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างแน่แท้จริงๆ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นิตยสาร ‘มุม’ จับคู่สนทนา พระรักเกียรติ VS ชำนาญ จันทร์เรือง

$
0
0

หมายเหตุ: นิตยสาร ‘มุม’ เป็นนิตยสารธรรมะ แจกฟรี และเผยแพร่ในจังหวัดเชียงใหม่ บทสนทนานี้ได้รับความอนุเคราะห์ส่งมาเผยแพร่โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

เรื่องราวความขัดแย้งในสังคมไทยที่เกิดขึ้นทุกระดับขณะนี้ ขมวดปมเข้ามาสู่ระบบการเมืองไทยที่ล้มลุกคลุกคลาน และถูกคาดหวังว่าควรจะพัฒนาเข้มแข็งขึ้น VS ฉบับนี้จึงได้นิมนต์ พระรักเกียรติ รกฺขิตธมฺโม (สุขธนะ) อดีต รมว.กระทรวงสาธารณสุข ที่เคยถูกจับในข้อหาทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งหลังจากที่ถูกปล่อยตัวแล้ว ท่านก็มาแสวงหาทางธรรม พร้อมทั้งแสดงธรรมเตือนนักการเมืองให้ไม่คอรัปชั่น มาแลกเปลี่ยนกับ อ.ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการ แห่งมหาลัยเที่ยงคืน ซึ่งอดีตเป็นรักษาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีปกครองของศาลปกครอง ในเรื่องวิธีการในการแก้ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน

นิตยสาร ‘มุม’ จับคู่สนทนา พระรักเกียรติ VS ชำนาญ จันทร์เรือง

0 0 0

พระรักเกียรติ : การจะแก้ไขปัญหาความแตกแยกในสังคมไทยปัจจุบันนี้ จะเห็นว่าความจริงมันแตกแยกกันล้ำลึก มันร้าวลึก มันแตกแยกกันรุนแรง รวมถึงสังคมชั้นสูง ชั้นกลาง ระดับรากหญ้า แตกแยกกันหมด แม้แต่วงการสงฆ์ก็แตกแยก วิธีแก้ไขมันก็ต้องดูเหตุก่อน พระพุทธเจ้าสอนว่าสิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับ เพราะฉะนั้นเหตุของการแตกแยก อาตมามองว่าเป็นปัญหาทางการเมือง เพราะปัญหาทางการเมืองของไทยเป็นแบบที่เขาเรียกว่าระบบวงจรอุบาทว์ การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองด้วยการทุจริต ด้วยการซื้อเสียง ด้วยการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้อำนาจ เมื่อเข้าสู่อำนาจแล้วก็ต้องมีการถอนทุนคืน มีการตอบแทนกลุ่มทุน มีการทุจริตเพื่อเตรียมการเลือกตั้งใหม่ วงจรนี้เขาเรียกว่าเป็นวงจรอุบาทว์ ทำการทุจริตเพื่อรักษาอำนาจตัวเองไว้ เสร็จแล้วก็หมุนเวียนไปสู่การเลือกตั้ง

วงจรอุบาทว์อีกอย่างหนึ่งคือการปฏิวัติ ถ้ามีการปฏิวัติก็ทำให้บ้านเมืองสะดุดหยุดลง เพราะฉะนั้นการปฏิวัติก็เป็นส่วนหนึ่งของวงจรอุบาทว์ วงจรอุบาทว์กับการเมืองไทยมันคู่กัน ยกตัวอย่างก็ได้ อย่างเช่นรัฐบาลทักษิณ 2544 เข้าสู่การเมือง เข้าสู่อำนาจโดยการซื้อเสียง จัดตั้งพรรคการเมืองโดยการซื้อ ส.ส. โดยการเอาพวกขวาสุดซ้ายสุด ซื้อเหมายกพรรคยกครัว ซื้อท่านเสนาะเข้ามา ซื้อท่านสุวัฒน์เข้ามา ซื้อท่านประจวบ ชัยสาร เข้ามา ซื้อหมด เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วเขาก็แก้ไข เรียกว่าเป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมาก เป็นรัฐบาลที่มี power ในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นรัฐบาลที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองมากที่สุด เขาซื้ออำนาจมา แต่ต้องยอมรับว่าการคอรัปชั่นปีนั้นน้อยกว่าปีนี้(2554)

อ.ชำนาญ : เหมือนพันธมิตรพูดเลย (หัวเราะ)

พระรักเกียรติ : ไม่เหมือน อาจจะความเห็นตรงกันเป็นบางข้อ แต่พันธมิตรเขาส่งเสริมการใช้อำนาจนอกระบบ ซึ่งอาตมารังเกียจมาก

อ.ชำนาญ : ในกรณีที่พระอาจารย์พูด เหมือนตรงที่ว่าช่วงนี้มีการทุจริตคอรัปชั่นมากกว่าช่วงนั้น คือทั้งสองฝ่าย ทั้งสอง period แหละ แต่ว่า period นี้มันดื้อๆ เลย

พระรักเกียรติ : อาตมามองว่าการเมืองต้องปล่อยให้มันมีวิวัฒนาการของมัน ถ้ามีการทุจริตก็ต้องให้มีองค์กรตรวจสอบ ปปช. กกต. เขาดำเนินการ ให้เป็นไปตามกฎตามเกณฑ์ ไม่ใช่ว่าพอเกิดการทุจริตปั๊บก็เรียกร้องหาคณะปฏิวัติ บ้านเมืองกำลังเดินไปด้วยดี แต่ว่าก็มีคณะปฏิวัติมาคั่นตอนทุกครั้ง แทนที่กำลังทหารหรือคณะปฏิวัติจะแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นที่ตัวเองอ้างเป็นเหตุในการปฏิวัติ ก็ใช้อำนาจในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลนั้นมาทำการคอรัปชั่นเสียเอง

อ.ชำนาญ : ตัวผู้ที่ไปกล่าวหาเขา ตัวเองก็ไม่ได้บริสุทธิ์

พระรักเกียรติ : คืออ้างว่าปฏิวัติเพราะเขาทุจริต แต่ว่าหลังจากตัวเองมาใช้อำนาจ มาเป็นรัฐบาล ตัวเองกลับทำทุจริตเสียเอง หนักกว่าเก่า ใช่ไหม แล้วทำให้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงได้ไหม บ้านเมืองหยุดชะงัก การเติบโตทางเศรษฐกิจก็หยุดชะงัก ความแตกแยกในสังคมก็เกิดขึ้น การปฏิวัติ 2534 ก็เกิดความแตกแยก พฤษภาทมิฬ เกิดความแตกแยกรุนแรงในสังคมคนไทย จนฆ่ากันในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปฏิวัติ 2549 ก็เกิดความแตกแยก เกิดเหตุการณ์เมษาเลือด 2552 เกิดเหตุการณ์กระชับพื้นที่ 2553 คนตายเป็นร้อย เพราะอะไร เพราะเกิดความแตกแยก เขาเรียกว่าความแตกแยกมันมาจากเหตุการณ์ปฏิวัติ

อ.ชำนาญ : ใช่ จากการรัฐประหาร ผมว่ามันเป็นการแก้ปัญหาแบบมักง่าย

พระรักเกียรติ : แล้วทุกครั้งของการปฏิวัติโยนความผิดว่ารัฐบาลคอรัปชั่น แต่ก็ไม่เห็นว่าคณะปฏิวัติหรือคณะที่มาจากการปฏิวัติจะมาปราบปรามคอรัปชั่น มาจับนักการเมืองที่คอรัปชั่นที่ตัวเองอ้างได้เลย

อ.ชำนาญ : อันนี้ที่ผมเห็นด้วย ตัวที่ไปว่าเขา ตู่เขา ว่าเป็นทุจริตคอรัปชั่น ตัวเองก็ไม่ได้ดีกว่าเขา คือทำงานมาก็มีเงินเก้าสิบสี่ เก้าสิบห้าล้าน อันนี้ผมเห็นด้วย แต่ว่าผมอาจจะเห็นแย้งกับพระอาจารย์นิดเดียวที่บอกว่า ปล่อยให้องค์กรที่มีหน้าที่อย่าง ปปช. อย่างศาลตรวจสอบ จริงๆ แล้วเครื่องมือนี้ก็เป็นเครื่องมือในการที่จะทำให้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นบรรเทาเบาลง แต่ผมคิดว่ามันยังไม่พอเท่านั้นเอง มันน่าจะเป็นเรื่องจิตสำนึก เรื่องค่านิยมของเยาวชน อย่างจะได้เห็นเมื่อปีที่แล้วต้นปี มีการสำรวจบอกว่า โกงบ้างไม่เป็นไร ขอให้เก่ง ขอให้บริหารบ้านเมืองได้ ซึ่งผมว่าอันนี้มันอาจจะไม่ถูกต้องนัก ถ้าเรามีความเชื่ออย่างนี้มันเป็นเหมือนกับติดลบแต่แรกแล้ว

พระรักเกียรติ : ความหมายของอาตมาก็คือว่าต้องเข้มแข็ง ความเข้มแข็งเกิดจากการปฏิรูปทางการเมืองปี 2540 ก็เกิดความเข้มแข็งในองค์กรตรวจสอบ เกิดศาลอาญานักการเมืองขึ้นมา เกิดศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา องค์กรตรวจสอบไม่ว่า ปปช. ก็ดี กกต. ก็ดี เหมือนกับว่ามีกระแส มีอำนาจ เพิ่มอำนาจทางกฎหมายพิเศษ ให้สามารถดำเนินการกับนักการเมืองได้ ประการที่สองที่สำคัญก็คือว่า ต้องสร้างจิตสำนึกประชาธิปไตยในหมู่ประชาชน อาจจะสร้างโดยองค์กรอิสระภาคเอกชนก็ได้ ซึ่งอาตมาเปรียบเทียบเหมือนที่พูดเมื่อกี้ว่า ปีหนึ่งเราต้องสูญเสียเงินกับการทุจริตคอรัปชั่นปีหนึ่งสามแสน ห้าแสนล้านบาท แต่ว่าเงินจำนวนนี้แทนที่เราจะเสียไปกับนักการเมืองที่คอรัปชั่น ก็ใช้เงินตรงนี้มาให้องค์กรอิสระ มาปรับปรุงความเข้มแข็ง

อ.ชำนาญ : อันนี้ก็คงเป็นวิธีการหนึ่ง แต่ว่าวิธีการแบบนี้อย่างเดียวคงทำได้ไม่สำเร็จ แต่ประเด็นหนึ่ง คือ โดยตัวของ ปปช. เองก็มีบางส่วนที่น่ากังขาอยู่ พูดในฐานะนักวิชาการนะครับ เพราะได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารเช่นเดียวกับของ คมช. ตั้งขึ้น อันนี้มาจากรัฐประหาร แต่ผมไม่ได้หมายความว่าทั้งชุดจะไม่ดีนะ เพราะว่าการแต่งตั้ง การเข้าสู่ตำแหน่ง โดยหลักมันจะต้องผ่านวุฒิสภา ผ่านการโปรดเกล้า ต่างๆ นานา ซึ่งอันนี้ในองค์ประกอบของคณะ ปปช. เอง บางท่าน ก็น่าจะเข้าสู่ระบบที่มันได้รับการตรวจสอบมากกว่านี้ คือต้องเป็นที่ประจักษ์เลย เราจะไปตรวจสอบคนอื่นต้องไม่ให้กังขาครับ

พระรักเกียรติ : ประเด็นนี้อาตมามีความเห็นแย้ง ในฐานะที่เป็นคนที่ถูกดำเนินการโดย ปปช. นะ อาตมาเห็นว่าองค์กรตรวจสอบระดับ ปปช. มันมีประโยชน์มาก เป็นยักษ์ที่มีตะบอง ทำให้คนเกรงกลัวต่อบาป เกรงกลัวต่อการกระทำผิดฐานคอรัปชั่น ต้องสร้างให้เขาเป็นลักษณะนั้น แต่ที่อาจารย์ว่า ที่แต่งตั้งโดยคณะทหารหรืออะไรต่างๆ มันเป็นเพราะว่าในยุคหนึ่ง ในยุครัฐบาลทักษิณ เป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก เสียงท่วมท้น เขาใช้อำนาจที่มีเสียงท่วมท้นในการบริหารประเทศ รัฐบาลต้องเข้มแข็ง รัฐบาลต้องมีเสถียรภาพ รัฐบาลที่มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อมั่น ต้องเป็นรัฐบาลที่มีเสียงท่วมท้น เขาคิดอย่างนั้น เสร็จแล้วเขาก็จัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงท่วมท้นขึ้นมา หมายความว่าไปดึงพรรคต่างๆ ไปดึงมาไม่มีหยุดมีหย่อน โดดเดี่ยวองค์กรตรวจสอบ คือเขาต้องให้รัฐบาลที่จะสามารถบริหารประเทศได้ ต้องเป็นรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งโดยมีเสียงท่วมท้น เสร็จแล้วเขาก็โดดเดี่ยวพรรคประชาธิปัตย์ ไม่แม้แต่ลงชื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ไม่สามารถลงชื่อได้ ทำลายองค์กรตรวจสอบ แทรกแซง กกต. ก็ส่งเพื่อนตำรวจไปอยู่ ก็เหมือนกับเป็น กกต. ชุดของทักษิณ เขาก็จะมีแนวคิดที่ว่าการที่จะเป็นรัฐบาลเข้มแข็งและประสบความสำเร็จได้ เขาต้องทำลายระบบตรวจสอบ การทำลายระบบตรวจสอบอย่างที่เห็นมา 2544 ถึง 2548

จะเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ พรรคฝ่ายค้านต้องถูกโดดเดี่ยว มีจำนวน สส. ไม่ถึงร้อย จากจำนวนห้าร้อย แล้วไม่สามารถลงชื่อแม้แต่ควบคุมการทำงานของรัฐบาล คือไม่สามารถใช้แม้แต่การวอล์คเอ้าท์ได้เลย ไม่สามารถลงชื่อเข้าชื่ออภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ แล้วก็ทำให้องค์กรตรวจสอบต่างๆ อ่อนแอ ในสำนักงาน ปปช. ก็เหมือนกัน ท่านกล้านรงค์ 2544 เขาถูกท่านทักษิณเบียดจนต้องหลุดออกจากตำแหน่ง ปปช. แล้วเพิ่งได้รับการแต่งตั้งกลับมา อันที่จริงคนที่มีความเที่ยงธรรม คนที่มีความยุติธรรม คือท่านกล้าณรงค์นี่แหละ ไม่ใช่ท่านประธานอะไรหรอก

อ.ชำนาญ : คือผมก็เห็นด้วยในหลักการใหญ่ แต่หมายความว่า ผมเห็นด้วยอย่างที่มีองค์กรตรวจสอบอย่าง ปปช. แต่ว่าตัวบุคคลที่เข้ามาเท่านั้นเอง แต่เฉพาะ ปปช. อย่างเดียวก็ไม่พอ มันน่าจะอย่างอื่น น่าจะปลูกฝังภาคเอกชน เยาวชน เพราะว่ารุ่นใหญ่ๆ รุ่นอายุมากๆ จะเปลี่ยนใจได้อย่างท่านคงหายาก คือว่ารุ่นอายุเยอะๆ แล้วเปลี่ยนทัศนคติยาก แล้วบางอย่างบางคนก็คิดว่าตัวเองตงฉิน ไม่ทุจริต แต่ที่สำคัญมันคือเรื่องโอกาสซะมากกว่า บางคนว่าแน่ๆ จริงๆ เงินไม่ได้ผ่านมือเยอะขนาดนั้น บางทีได้ชื่อว่าเป็นตงฉินมานานไม่รู้กี่สิบปี พอมีอำนาจ มีเงิน มีอะไรผ่านเข้ามา ก็เปลี่ยนแปลงเยอะ

ผมเคยไปที่ศาลาว่าการของรัฐอิลลินอยส์ เมืองสปริงฟิลด์ เขาให้ผมดูรูปผู้ว่าการรัฐแปดคนสุดท้าย สี่คนสุดท้ายถูกขึ้นศาล สามคนอยู่ในคุก นี่ไม่รวมผู้ว่าการรัฐคนสุดท้ายที่เอาตำแหน่งโอบามาไปขาย ยังไม่รวม ตอนนั้นผมไปเขายังไม่ทำ ก็แสดงว่าระบบตรวจสอบเขาดี ผมว่าคนฝรั่งคนไทยไม่ต่างกันเท่าไหร่ ผมคิดว่ากิเลสตัณหามันพอกัน แต่ระบบตรวจสอบเขาดี มีการงัดการคาน คือไม่ปล่อยให้มีใครมีอำนาจเด็ดขาดอยู่ในมือเพียงฝ่ายเดียว อย่างบ้านเราใครพอมีอำนาจเสร็จก็อย่างว่า อย่างท่านเป็นรัฐมนตรีมาท่านทราบนี่ครับ ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับนาย สบายครับท่าน ใครจะกล้าขัดกล้าขวาง ไม่มีใครกล้าบอกหรอก อย่างถ้าอภิสิทธิ์พูดนอกเรื่อง ก็ไม่มีใครกล้าบอก คล้ายว่าอย่างนี้ทำไม่ค่อยถูก อย่างนี้ไม่มีใครกล้าบอก แต่ระบบของฝรั่ง ไม่ใช่ว่าฝรั่งดีนะ แต่ของเขาระบบเขามีการตรวจสอบมีการตรวจเช็ค สื่อก็สำคัญ สื่อต้องตรวจ สื่อมืออาชีพหายากเดี๋ยวนี้ สื่อก็ไปเลือกข้างแล้ว จะขุดจะคุ้ย จะอะไร พอจะทำเสร็จ อ้าวเดี๋ยว มันเป็นนายทุนพรรคอยู่ เป็นนายทุนหนังสือพิมพ์อยู่ อย่าไปแรงนักนะ

พระรักเกียรติ : อาตมาแยกแยกนิดหนึ่งว่า การเมืองมันแก้ได้ด้วยการเมือง แต่ว่าถ้าแก้ด้วยธรรมะก็หมายความว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้า คือจริงๆ แล้วพระพุทธศาสนาสอนให้คนไม่นิยมความรุนแรง การใช้กำลังทหารปราบปราม หรือว่าการแตกแยก การต่อสู้ การช่วงชิง การทำร้ายกัน การฆ่ากันตามท้องถนน มันเป็นเรื่องความรุนแรง ซึ่งมันไม่ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า

คำสอนของศาสนาพุทธนี่เป็นคำสอนที่เขาเรียกว่าเป็นแบบสันติวิธี ถ้าจะใช้ธรรมะของพระพุทธเจ้า การแก้ไข การปรองดอง แก้ไขโดยการปรองดองด้วยธรรมของพระพุทธเจ้า ทุกคนต้องเสียสละ ต้องไม่ยึดถืออัตตายึดถือตัวตน ตัวกูของกู อำนาจของกู วาสนาของกู ตำแหน่งของกู วาสนาของกู ต้องยึดถือ ต้องถอยหลังออกมาจากอำนาจวาสนา ตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์พวกนี้ ต้องถอยหลัง ถ้าด้วยธรรมพระพุทธเจ้านี่ต้องแก้ไขปัญหาความแตกแยกของสังคมไทย ต้องถอยกันคนละก้าว ต้องลดทิฏฐิลงทั้งสองฝ่าย แล้วก็ต้องไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป ต้องใช้ทางสายกลาง ปัญหาที่ผ่านมาของประเทศไทยยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาวงจรอุบาทว์ก็ดี ปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเข้าสู่อำนาจโดยการปฏิวัติ การเข้าสู่อำนาจโดยการซื้อเสียง ด้วยการโกงการเลือกตั้ง มันเป็นปัญหาที่บั่นทอนความเจริญของประเทศไทยมาโดยตลอด เราต้องรู้ข้อนี้ก่อน แล้วเมื่อเกิดการบั่นทอนความเจริญในการพัฒนาประเทศแล้วยังไม่พอ ยังเกิดปัญหาความแตกแยกในสังคมไทยอย่างรุนแรง อย่างที่อาตมายกตัวอย่าง ปัญหาเหล่านี้มันเป็นความสูญเสียของประเทศ เป็นความแตกแยกที่ร้าวลึก แล้วก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ถ้าทุกคนยังเห็นแก่ตัว นักการเมืองทุกฝ่ายยังเห็นแก่ตัว อาตมาอยากให้ปรองดองจริงๆ คือปรองดองด้วยธรรม ปรองดองด้วยธรรมคือต้องปรองดองจริงๆ ปรองดองทุกฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายเดียว

อย่างเช่น เดี๋ยวนี้อาตมาคิดว่าไปไหนก็จะพยายามรณรงค์ให้คนเลือกพรรคการเมืองพรรคใหญ่สองพรรค เลือกเอาเลย จะไปประชาธิปัตย์ จะไปเพื่อไทย ชอบเพื่อไทยก็เลือกเพื่อไทย ชอบประชาธิปัตย์ก็เลือกประชาธิปัตย์ พรรคเล็กๆ ที่คอยใช้อำนาจต่อรอง ต้องขับออกไป ต้องรณรงค์ไม่ให้เลือก เสร็จแล้วถ้าเขาได้เสียงข้างมาจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ก็คือให้ตั้งรัฐบาลพรรคเดียว เพราะรัฐบาลพรรคเดียวจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน รัฐบาลที่มีเสียงท่วมท้นจะมีพลังในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ได้ แต่ถ้าไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว ต้องอย่าตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำเป็นรัฐบาลที่เกิดจากการต่อรองของนักการเมืองที่ตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา ที่อาศัยโอกาสในการต่อรอง หาประโยชน์จากการต่อรอง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาประเทศโดยเร็ว ต้องตั้งรัฐบาลด้วยเสียงข้างมาก ถ้าตั้งรัฐบาลพรรคเดียวไม่ได้ ต้องตั้งรัฐบาลสองพรรคใหญ่

อาตมาเสนอว่าให้บวกระหว่างพรรคอันดับหนึ่งกับพรรคอันดับสอง พรรคอันดับหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี พรรคอันดับสองเป็นรองนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ชนะ ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์แพ้ ให้อภิสิทธิ์เป็นรองนายกรัฐมนตรี หรืออภิสิทธิ์ชนะ ให้อภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์เป็นรองนายกรัฐมนตรี แล้วสลับกันเลือกทุกกระทรวง ไม่ต้องมีการต่อรอง ถ้ามีการต่อรอง พวกที่ต่อรองได้เขาต้องไปถอนทุนคืน เขาต้องไปตอบแทนกลุ่มทุน เขาต้องไปทำทุจริตเพื่อสืบทอดอำนาจตัวเอง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

อ.ชำนาญ : ขออนุญาตถามพระอาจารย์นิดหนึ่ง เชียงใหม่มันเป็นเมืองหลวงคนเสื้อแดง แต่ผมใกล้ชิดทั้งเหลืองทั้งแดง ผมเป็นประธานเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น ซึ่งรวมทั้งแดงทั้งเหลือง ทั้งสลิ่มทั้งอะไรหมดเลย คือเสื้อแดงเขาจะถามอย่างนี้ตลอดเวลาว่า เรียกร้องให้ปรองดองคือการให้อภัย นี่คือเรื่องหลักของศาสนา แล้วทีเรื่องหลักกฎหมายล่ะ คนผิดทำไมถึงไม่ได้รับการลงโทษ คนผิดต้องได้รับการลงโทษ ข้อเรียกร้องสองอันมันไปกันไม่ได้ เขาว่ากันอย่างนั้น พระอาจารย์จะตอบยังไงดี

พระรักเกียรติ : อุดรก็เป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดงเหมือนกัน อาตมาก็ไม่ใช่ชอบเสื้อแดง ก็ไม่ใช่ชอบเสื้อเหลือง ไม่ชอบสักเสื้อ เพราะอาตมาเห็นว่าปัญหาความแตกแยกกันมันทำลายประเทศ เพราะว่าทำลายกัน หลับหูหลับตากัน เอาแต่ใจเอาแต่ความคิดของตัวเองทั้งสองฝ่าย ต้องเอาสองฝ่ายมารวมเลยเพื่อจะได้ไม่มีความคิดที่จะมีการทำลายล้มล้างอะไรกัน จะได้มาเป็นพลังในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ปรองดองฝ่ายเดียวมันไม่มีทางสำเร็จ เหมือนกับตบมือฝ่ายเดียว จะสำเร็จได้ยังไง ปรองดองต้องปรองดองทุกฝ่าย แม้แต่เขมรเขาก็ปรองดอง ปรองดองแห่งชาติ เขาก็เอาเขมรสี่ฝ่ายมารวมกันนะ ถึงจะแก้ไขปัญหาความแตกแยกในเขมรสำเร็จ เขามีเขมรสี่ฝ่าย คำว่าปรองดองมันเกิดจากเขมรมาก่อนนะ เขมรแดงฆ่าคนตายสองล้านคน เขายังอภัยให้กัน เอามาร่วมรัฐบาลกันเลย แมนเดล่านี่ ดำกับขาวยังมาร่วมกันได้เลย ติดคุกตั้งหลายปียังมาร่วมกันได้เลย แล้วอย่างฮิลลารี่ คลินตัน แพ้เลือกตั้ง โอบาม่ายังเอามาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศเลย ทำไมจะทำไม่ได้ ถ้าทุกฝ่ายเห็นแก่ชาติ

เดี๋ยวนี้ถ้าแก้ไขแบบเดิม เอาแต่ละฝ่ายไปรวมกับพวกพรรคเหลือเลือก ต้องไปง้อพวกพรรคต่อรองนี่นะ ก็ต้องโดนเขาขี่ อย่างอภิสิทธิ์โดนเขาขี่มาตั้งสองปี เขาอยากได้อะไรแล้วถ้าเขาไม่ได้ เขาก็ walk out ทั้งพรรค สภาถึงล่มไง เข้าใจหรือเปล่า ถ้าเป็นนายกแล้วไม่มีเสียงเด็ดขาด ตั้งรัฐบาลปริ่มน้ำ ก็โดนพวกนักต่อรองขี่ แล้วมันจะประสบความสำเร็จไหม ถ้าเป็นนายกโดยต้องอาศัยพวกนั้นหายใจนี่นะ จะแก้ปัญหาได้ไหม แก้ไม่ได้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้าคุณเดินกฎหมายนิรโทษกรรม ยิ่งไม่มีทางประสบความสำเร็จ ไม่เป็นที่ยอมรับ มันก็เกิดการแบ่งฝ่าย ถ้าคุณนิรโทษกรรม พวกเสื้อแดงพวกเสื้อเหลืองเขาก็ไม่ยอม คนทั่วไปเขาไม่ยอม ทำผิดแล้วนิรโทษตัวเอง ก็เหมือนกับพวกปฏิวัติ ปฏิวัติแล้วนิรโทษไม่ให้ตัวเองมีความผิด มันไม่ได้ต่างอะไรกัน ฉะนั้นต้องใช้นิติรัฐ ต้องเอามาขึ้นศาล แล้วใครเป็นรัฐบาลช่วงนั้น ต้องขอพระราชทานอภัยโทษให้หมดเลย

อ.ชำนาญ : โหวตโนก็เป็นสิทธิ์นะ แต่ผมคิดว่าเสียของ มันไม่มี effect อะไรมาก หนึ่ง ไม่มีผลตามกฎหมาย สอง การโหวตโนผมคิดว่ามันเป็นการปิ้งปลาประชดแมวซะมากกว่า ถ้าโหวตโนธรรมดาไม่เป็นไรนะ แต่โหวตโนเพื่อจะไปเรียกอำนาจนอกระบบ อำนาจอะไรที่มันนอกเหนือจากระบบประชาธิปไตยเข้ามา หรือระบบใหม่อะไรก็แล้วแต่ ถวายคืนพระราชอำนาจอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่เรื่องแล้วล่ะ โลกมันไปแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์นี่ผมว่าดีกว่าประธานาธิบดี ยังไงก็ดีและสมควรจะมีไว้ แต่ต้องเป็นสถาบันที่ใครอย่าดึงลงมา แล้วโหวตโนก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่โหวตโนจะต้องเห็นด้วยกับพันธมิตรเสียหมด ตอนแรกผมก็คิดจะโหวตโนนะ แต่คิดไปคิดมา ก็ต้องกลายเป็นเลือกข้างว่า จะเลือกพรรคการเมืองหรือไม่เลือกพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองจะชั่วดีถี่ห่างอย่างไรก็แล้วแต่ มันเป็นกลไกระบบของประชาธิปไตย พอใจเราก็เลือก ไม่พอใจเราก็ปลด แต่การที่ปิ้งปลาประชดแมวหรืออะไรก็แล้วแต่ ผมคิดว่าไม่น่าจะเห็นด้วย ในการที่ปฏิเสธสิ่งที่เลวน้อยที่สุด แต่เรื่องตัวบุคคลไม่ว่ากันนะ คนบางคนก็เลวจริงๆ พรรคบางพรรคมันก็ซื้อเสียงด้วย

พระรักเกียรติ : ความจริงในช่วงรัฐบาลทักษิณ 2544 : 2548 ช่วงนั้นการทุจริตน้อยลงนะ รายกระทรวงน้อยลง แต่ที่เขาโจมตีนี่คือทุจริตเชิงนโยบาย ให้พี่ให้น้อง ให้บริษัทของตัวเอง แต่ว่ารายกระทรวง ทั้งข้าราชการประจำ ทั้งนักการเมืองนี่น้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเลย ซึ่งมันไม่ใช่เต็มไปทุกหย่อมหญ้าเหมือนกับปัจจุบัน เหมือนสองปีที่ผ่านมา เกิดจากรัฐบาลที่ตั้งขึ้นด้วยการต่อรอง การเข้าสู่อำนาจด้วยการยืมจมูกคนอื่นหายใจ เขาไม่ได้ดั่งใจเขาก็บีบ จะบีบก็ตายจะคลายก็รอด

อ.ชำนาญ : อันนี้เขาเรียก เสียงข้างน้อยชนะเสียงข้างมาก (หัวเราะ)

พระรักเกียรติ : เพราะพรรคร่วมรัฐบาลพรรคเล็ก พรรคเล็กบีบพรรคใหญ่ ถ้ายิ่งลักษณ์ชนะเลือกตั้ง แต่เป็นรัฐบาลพรรคเดียวไม่ได้ต้องไปร่วมกับท่านบรรหาร ต้องไปร่วมกับคุณเนวิน แล้วต้องถูกคุณเนวินต่อรองให้ได้ดั่งใจ ถ้าให้ผลประโยชน์ไม่ได้ดั่งที่ตั้งใจ เขาก็ไปรวมกับประชาธิปัตย์ เขาก็ pack กำลังกัน ใช่ไหม คุณชนะเลือกตั้ง แต่คุณไม่มีเสียงเกินครึ่ง คุณก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้ เขาบอกแล้วว่าพรรคเล็กจะเป็นตัวชี้ว่าใครจะได้เป็นนายก เพราะพวกนี้เตรียมมาต่อรองโดยเฉพาะ

อ.ชำนาญ : ผมเห็นด้วยกับพระอาจารย์อยู่สองอัน หนึ่ง คือเลือกให้ขาดไปเลย

พระรักเกียรติ : สอง ถ้าไม่ขาด ให้เอามาบวกกัน ถ้าไม่บวกก็ไม่ได้

อ.ชำนาญ : อันที่สองผมไม่เห็นด้วย ไม่ได้หมายถึงว่าไม่บวก ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องโน้น แต่หมายถึงว่ามันจะขาดคนตรวจสอบเท่านั้นเอง คือประวัติศาสตร์การเมืองนี่ ผมขอเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนอาจารย์นะ ประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดแล้วล่ะ

พระรักเกียรติ : ใช่ ก็หลักการมันเป็นอย่างนั้น มันควรเป็นฝ่ายค้าน แต่ว่าเดี๋ยวนี้สถานการณ์บ้านเมืองเราไม่ปกติ นอกจากไม่ปกติแล้ว มันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข การที่จะแก้ได้ต้องการพลังสองพรรคนี้มารวมกัน ถึงจะแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในวิกฤตการณ์อย่างนี้ได้ แต่ว่าถ้าสองพรรคนี้ไม่รวมกัน ตั้งแง่ตั้งงอนกันมันก็เป็นสวรรค์ของนักต่อรอง คือเราพิสูจน์แล้วว่าสองปีที่ผ่านมา พรรครัฐบาลเสียงปริ่มน้ำไม่สามารถแก้ไขปัญหาประเทศชาติได้เลย

อ.ชำนาญ : ผมไม่หมดความหวังนะ ตราบใดที่เรายังมีอย่างนี้ หน่วยงาน ปปช. ก็แน่นอนล่ะเขาก็เป็นหน่วยงาน ยังไงก็คือราชการ ก็ทำตามกรอบราชการนั่นแหละ ถึงแม้มันจะไม่ขึ้นกับรัฐบาลก็ตาม มันยังเทอะทะ ติดกฎระเบียบ ทำได้บางอย่าง บางอย่างก็ทำไม่ได้ บางอย่างก็ตีความโดยแคบ บางอย่างก็ตีความโดยจำกัด ผมเป็นนักกฎหมาย ผมอ่านดูกฎหมาย ปปช. บางอย่างมันก็ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากไปหรือเปล่า แต่บางคนก็ว่าจำเป็นเพื่อเอาคนทุจริตลงมา บางทีมันก็ไม่แฟร์กับเขา อย่างเรื่องทักษิณ คุณเปรียบว่าคดโกงทุจริตอะไรก็แล้วแต่ ใช่ ควรได้รับการลงโทษ แต่มันก็มีขบวนการ ไม่ใช่ไปเตะออกโดยวิธีการรัฐประหาร สังคมไทยเรา เขาเรียกว่ามันเป็นสังคมทวิลักษณ์นะ ถ้าเศษขยะตกอยู่ตรงนี้ เราเดินกันสามสี่คน ถ้าให้เก็บ คนใดคนหนึ่งไม่ไปหรอก ถ้าเราเดินคนเดียว เราอาจจะเก็บ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

หรือบางทีอย่างสังคมพุทธใช่ไหม สังคมพุทธเมตตาอารีย์ ก็ต่อยกันสู้กันอยู่ตลอดแหละครับ สังคมเห็นใจผู้หญิง เห็นใจคนชรา ลองไปดูกรุงเทพสิครับ ผมเพิ่งไปมาเมื่อวาน รถไฟฟ้า รถเมล์ ไม่มีใครลุกให้กันแล้ว ยกเว้นคนท้อง เขาเอาท้องดันหน้าแล้วถึงจะลุกให้ แล้วตรงข้ามกัน ผู้หญิงเห็นผู้ชายลุกขึ้นให้ แทนที่จะขอบคุณ กลับบอกว่าไอ้นี่ชีกอ ไอ้นี่อะไรต่างๆ นานา คือสังคมมันเลยกลายเป็นแล้งน้ำใจ สังคมมันสู้กันอยู่ตลอด ศาสนาพุทธกับทุนนิยม มันสู้กันอยู่ตลอด ในเรื่องของการเมืองผมคิดว่ายังไงประชาธิปไตยก็น่าจะเป็นระบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุด ไม่ใช่ว่าดีที่สุดนะ ณ ปัจจุบัน จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การแก้ปัญหาก็ต้องใช้กลไกของมัน ใช้ระบบการบังคับใช้กฎหมาย อยู่ที่คนใช้ คืออย่างตามหลักนิติธรรมไหม คือบุคคลเสมอกันด้วยกฎหมายไหม เลือกปฏิบัติไหม เลือกผลบังคับไหม คือกฎหมายมีหลายฉบับ เลือกใช้บางฉบับก็มี คือปัญหามันเกิดขึ้น หรือต้องบังคับใช้ แต่บังคับช้า ความยุติธรรมที่มาล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม ถามว่ายุติธรรมไหม ก็ยุติธรรมนะ ตัดสินคดีสิบกว่าปีแล้ว คดีแรงงานได้ค่าชดเชยคนละแสนกว่าบาท ซึ่งถ้าคิดเป็นเงินมันก็เสียหายไปเยอะอยู่ ก็ถามว่าตัดสินแล้วนี่ ชนะแล้ว แต่เป็นความยุติธรรมที่มาล่าช้า อันนี้ระบบก็ต้องได้รับการปฏิรูป เยอะครับ กระทรวงยุติธรรมก็ต้องวิจารณ์ได้ด้วย ไม่ใช่พอวิจารณ์ไปก็กลายเป็นหมิ่นศาล ไปละเมิดอำนาจศาล ซึ่งคนเขากลัว ถึงไม่กล้าพูดไม่กล้าทำอะไรกัน มันไม่ถูก

การหมิ่นศาลมันต้องใช้ในกรณีที่จำเป็นมากๆ หรือกรณีที่ไปว่าเขาว่าทุจริต รับสินบาทค่าสินบน อะไรขนาดนั้นก็ได้ วิจารณ์การพิพากษาที่ไหนเขาก็ทำได้ แต่บ้านเราไม่กล้า ศาลตัดสินแล้วก็จบ บ่นมากๆ เดี๋ยวโดน ความจริงไม่ใช่โดนง่ายๆ หรอก ผมก็ทำงานในวงการ ผมก็ทราบ พวกนี้ก็คือคน ศาลก็คือคน พระคุณเจ้าก็คือคน ถ้าตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรม ก็คือคน แต่ว่ามันต้องมีการ check balance แล้วก็ตรวจสอบให้ได้ ต้องไม่ให้อำนาจอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งมากเกินไป อย่าง กกต. ชี้เป็นชี้ตาย ใบแดงใบเหลือง ไม่มีสิทธิ์เลยนะ สมัยก่อนประกาศผล 30 วันหลังการเลือกตั้ง แดงก็แดงเลย เหลืองก็เหลืองเลย ทำฟ้องศาลก็ยังไมได้ ผมคิดว่ามันขัดหลัก ผมคิดว่ามันเกินไป แล้ว กกต. มันก็คนเหมือนกันนี่ มีพรรคมีพวก มีความนิยมอยู่ในใจ ก็ต้องมี ผมไม่ได้หมายความว่าเขาไม่ยุติธรรมนะ เพราะมันมีสิทธิ์ผิดพลาดได้

ผมก็เชื่อว่าการกำจัดคอรัปชั่น ปปช. อย่างเดียวไม่พอหรอก มันต้องอีกเยอะหลายอย่าง และตัว ปปช. เอง องค์ประกอบของ ปปช. หรือ ปปช. จังหวัดจะถือว่าดีไหม ดี แต่ก็จะเป็นดาบสองคม หนึ่ง อาจจะเป็นดาบที่ใช้ฟาดฟัน สอง ก็อาจจะเป็นมาเฟียตัวใหม่ แล้วมันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะได้คนบริสุทธิ์มาทั้งแผง ปปช. เก้าคน ไม่ใช่ดีหมดทั้งเก้าคน ผมก็เชื่อว่าอย่างนั้น หลายคนผมก็รู้จัก แต่ก็โอเคล่ะ คงดีกว่าคนอื่นบ้าง จุดอ่อนก็คงมี เบื้องหลังหลายคนก็อยู่ในกระทรวงที่มีอำนาจวาสนา ที่มีผลประโยชน์ผ่านมือมา เป็นไปได้ไหมว่าไม่เคยรับเบี้ยผลประโยชน์เลย ผมไม่เชื่อนะ คนเราดีจริงไม่ดีจริงก็ดูว่ามีโอกาสไหม แล้วทำไม่ทำ ถ้ามีโอกาสแล้วไม่ทำ ถึงจะดี แต่บางคนเป็นอาจารย์ ร้อยวันพันปีเงินไม่เคยผ่านมือ มันก็พูดได้

ทีนี้ผมให้อาจารย์สามร้อยล้าน มาพลิกให้หน่อยสิ อาจจะพูดว่า เออ ขอคิดดูก่อน ใช่ไหมครับ แต่บางคนที่มันอยู่กับเงิน สมุหบัญชีถึงมีถูกไอ้คดียักยอกเงินตลอดเวลา เพราะเงินมันอยู่ในมือ พูดถึงว่ากลุ่มที่มีอำนาจทางการเมือง อยู่ในอำนาจตลอด อำนาจชี้เป็นชี้ตายคน เหมือนองค์กรอิสระทำการตรวจสอบ อย่าให้อำนาจกระจุกตัวอยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่ง อย่าให้อำนาจอยู่ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งมากเกินไป อย่าง กกต. นี่ผมก็ไม่เห็นด้วย ปปช. นี่มีอำนาจเด็ดขาดจริง แต่ต้องมีใครคาน ปปช. ได้ด้วยนะ ไม่ใช่ว่าใครคานไม่ได้ ปปช. ก็ต้องถูกสอบได้ด้วยเหมือนกัน ถูกวิจารณ์คำตัดสินได้ด้วยเหมือนกัน ใช่ไหมครับ องค์กรตรวจสอบ ไม่จำเป็นต้องศาล อาจเป็นภาคประชาชนก็ได้ วิจารณ์ และศาลก็เช่นเดียวกัน ตัดสินคนอื่น คนอื่นก็ต้องตัดสินศาลได้ด้วย ใช่ไหม คำพิพากษาออกมาเผยแพร่ คนก็ต้องวิจารณ์ได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ยกพลล้อมโรงไฟฟ้าจะนะ จี้แก้ปัญหาน้ำคลองนาทับ

$
0
0

เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ชาวบ้านตำบลนาทับ ตำบลคลองเปียะ และตำบลใกล้เคียงในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประมาณ 400 คน รวมตัวกันประท้วงปิดโรงไฟฟ้าจะนะ บริเวณป้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อยื่นหนังสือต่อผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งเทศไทย เรียกร้องให้ทางโรงไฟฟ้าจะนะ ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด เรียกร้องสิทธิ์ของชาวบ้านในการใช้น้ำในคลองนาทับ ที่เน่าเสียเพื่อประกอบอาชีพ ทั้งส่งเสียงดังรบกวนชาวบ้านตำบลคลองเปียะเป็นอย่างมาก

นายโชติบริพัฒน์ ไชยแก้ว ประธานศูนย์ยุติธรรมชุมชนนาทับ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา โรงงานไฟฟ้าจะนะละเลยมาตรการควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตามที่เคยสัญญากันไว้ว่า จะปรับปรุงปริมาณน้ำดิบกับน้ำหล่อเย็นให้มีความสมดุล ไม่ส่งผลต่อสัตว์น้ำ แต่พอนำน้ำเข้าสู่ระบบหล่อเย็น มีน้ำบางส่วนระเหยกลายเป็นไอ ทำให้ปริมาณความเค็มของน้ำในคลองนาทับเพิ่มมากขึ้น ไม่เหมาะกับการวางไข่และฟักตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน นอกจากนี้ ทางโรงไฟฟ้าไม่ยอมติดตั้งตาข่ายที่มีความละเอียดสูง เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำวัยอ่อนในน้ำที่ดูดนำเข้าไปใช้หล่อเย็นในโรงไฟฟ้า

นายโชติบริพัฒน์ เปิดเผยอีกว่า ผลจากการที่โรงไฟฟ้าจะนะไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้น้ำในคลองนาทับเน่าเสีย สัตว์น้ำจำพวกกุ้ง ซึ่งต้องวางไข่บริเวณที่มีน้ำกร่อยคือคลองนาทับ เพราะมีแพลงส์ตอนอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน ขณะนี้ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านประสบปัญหาอย่างมาก หากินไม่พอเลี้ยงครอบครัว ปริมาณสัตว์น้ำลดลง อีกทั้งกระทบกับผู้ประกอบกิจการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาในกระชังก็ได้ผลผลิตไม่คุ้มทุน ที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าจะนะแก้ปัญหาด้วยการปลูกป่า ปล่อยสัตว์น้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ไม่ได้ผล เพราะปลาที่ปล่อยขนาด 7–8 นิ้ว ถูกปลาใหญ่กินหมด

“เราเรียกร้องให้โรงไฟฟ้าจะนะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ว่า จะมีมาตรการควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าควรสนใจชุมชน เมื่อก่อนปลากะพงจากคลองนาทับมีมูลค่า 120 ล้านบาทต่อปี เดี๋ยวนี้พ่อค้า แม่ขายต้องไปซื้อจากเกาะยอ เมื่อปี 2550 โรงไฟฟ้าเพิ่งเดินเครื่องปีแรก พอฝืนเลี้ยงปลาในกระชังได้บ้าง ระยะหลังเลี้ยงไม่ได้แล้ว ได้แต่เก็บกระชังเก่าๆ เศษเหล็กนำไปขาย” นายโชติบริพัฒน์ กล่าว

นายโชติบริพัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า หากโรงไฟฟ้าจะนะไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เคยสัญญากันไว้ พี่น้องในตำบลนาทับ ตำบลคลองเปะ และตำบลใกล้เคียงในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จะคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าจะนะ แห่งที่ 2 หากโรงไฟฟ้าจะนะไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ก็จะมีการปิดโรงไฟฟ้าครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 ตามมา จนกว่าจะทำตามสัญญา

นายโชติบริพัฒน์ กล่าวว่า การลุกขึ้นมาของคนนาทับ และคลองเปียะครั้งนี้ เพราะต้องการสะท้อนความเดือดร้อนจริงๆ โดยแสวงหาข้อมูลจากนักวิชาการ ทำความเข้าใจในหมู่บ้านต่างๆ ให้ชัดเจน ต้องอธิบายชาวบ้านให้เข้าใจเหตุผลที่ลุกขึ้นประท้วง เกิดจากผลกระทบอะไร นี่เป็นปฐมบทการต่อสู้ของชาวตำบลนาทับ ในการรับมือกับแผนพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่บ้านสวนกง รถไฟรางคู่ และแนวท่อน้ำมันจากจังหวัดสงขลา ไปยังบ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตลอดจนนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่จะเกิดขึ้นที่ตำบลนาทับด้วย” นายโชติบริพัฒน์ กล่าว

นางกัลยา มันหลี อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านควนหัวช้าง ตำบลคลองเปรียะ เปิดเผยว่า ตนเสนอให้ทางโรงไฟฟ้าจะนะจ่ายค่าชดเชยชาวบ้านบ้านควนหัวช้าง ตำบลคลองเปียะ ครัวเรือนละ 1 หมื่นบาทต่อปีทุกครัวเรือน เพราะการดำเนินการส่งผลกระทบต่อการทำมาหากินอย่างมาก หากไม่จ่ายค่าชดเชย ตนและชาวบ้านจะคัดค้านโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 จนถึงที่สุด

“เสียงดังจากโรงไฟฟ้าจะนะ รบกวนชาวบ้านอย่างหนัก หายใจไม่ค่อยออก น้ำยางพารากรีดยางไม่ค่อยไหล” นางกัลยา กล่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนใต้ล้มเวทีสภาพัฒน์ ทบทวนแผนพัฒนาขัดมติ ครม.

$
0
0

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 21 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมกรรณิกา โรงแรมทักษิณ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด จัดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ มีตัวแทนหอการค้า นักธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมประมาณ 120 คน

ในขณะที่นายศักดิ์ชัย ประโยชน์วนิช ผู้เชี่ยวชาญการวางผังเมือง นำเสนอข้อมูลอยู่นั้น นายประยุทธ์ วรรณพรหม คณะทำงานเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะนครศรีธรรมราช ได้ลุกขึ้นพูดว่า ทำไมวันนี้ถึงไม่มีการเชิญคณะกรรมการจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมาร่วมเวทีด้วย ทั้งที่มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้สภาพัฒน์ ดำเนินการตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

นายประยุทธ์ กล่าวว่า ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติบอกให้ทบทวนอย่างบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมของคนภาคใต้ ไม่ใช่สภาพัฒน์ไปจ้างบริษัทที่ปรึกษามาทบทวน ซึ่งขัดกับมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องการให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม

จากนั้นนายประยุทธ์ ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะนครศรีธรรมราช เรื่องความไม่ถูกต้องการดำเนินการทำแผนพัฒนาภาคใต้โดยสภาพัฒน์ ภายใต้การดำเนินการของบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด เนื้อหาสรุปว่า การดำเนินการของบริษัทในการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ มีความไม่ชอบธรรมในด้านกระบวนการ และกติกาที่ตกลงกันระหว่างประชาคมทั้งประเทศกับสภาพัฒน์

“การดำเนินการของบริษัทและสภาพัฒน์ อยู่นอกเหนือมติมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ตามมติของคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กรณีแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน

“สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีมติเกี่ยวกับแผนพัฒนาภาคใต้ โดยสรุปว่า 1.ขอให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้สภาพัฒน์ ทบทวนร่างแผนแม่บทภาคใต้ โดยมีหลักการที่สำคัญภายใต้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

2. การดำเนินการตามข้อ 1. ให้สภาพัฒน์ตั้งกรรมการที่ประกอบด้วยทุกภาคส่วนด้วยการมีส่วนร่วมใช้เครื่องมือที่หลากหลาย มุ่งการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์คำนึงถึงผลกระทบรอบด้าน

3. ให้คณะกรรมการตามข้อ 2. ผลักดันแผนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งระดับภาค ท้องถิ่น กลไกติดตาม กำกับประเมิน เผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนทราบ 4.ขอให้คณะรัฐมนตรีออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการตามข้อ 2. มีความต่อเนื่อง

“ทางเครือข่ายฯจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกับสภาพัฒน์ ที่ฝืนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และฝืนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนภาคใต้และไม่เคารพมติประชาชนทั้งประเทศ

“การดำเนินการของบริษัทคอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด ที่ผ่านมาถือว่าเป็นโมฆะ เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะนครศรีธรรมราช ขอให้บริษัทฯยุติการดำเนินการ และจะติดตามการดำเนินงานของสภาพัฒน์ จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป”

เมื่ออ่านเสร็จก็ได้มอบแถลงการณ์ดังกล่าวต่อนายศักดิ์ชัย จากนั้น ได้มีตัวแทนภาคประชาชนลุกขึ้นพูดอีกหลายคน โดยส่วนใหญ่เห็นว่าการประชุมครั้งนี้ไม่มีความชอบธรรม และการประชุมครั้งนี้เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่เชิญคนที่ร้องทุกข์ไปยังสมัชชาสุขภาพแห่งชาติให้ทบทวนแผนพัฒนาภาคใต้ เช่น ชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งในที่ประชุมมีผู้ได้รับเชิญเพียง 30 คนเท่านั้น จึงขอให้ทุกคนกลับบ้าน ทำให้เกิดความวุ่นวายเล็กน้อย

จากนั้นผู้เข้าร่วมได้ทยอยออกจากห้องประชุมในเวลา 10.20 น. เหลือผู้ร่วมเพียงประมาณ 20 คนที่ยังอยู่ต่อและฟังประชุมจนจบ โดยมีนายประสาท เกศวพิทักษ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจักรกฤษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ นำเสนอ

ทั้งนี้ในเอกสารประกอบการประชุม ระบุความเป็นมาของโครงการว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เห็นชอบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มีสาระสำคัญเพื่อให้มีการทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน

นายประพันธ์ มุสิกพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ สภาพัฒน์ เปิดเผยหลังการประชุมว่า กระบวนการเชิญทุกภาคส่วนมาระดมความคิดเห็นมี 2 วิธี คือ 1.สภาพัฒน์ส่งหนังสือเชิญไปยังสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติจะเชิญใครมา 2. สภาพัฒน์ส่งหนังสือเชิญไปยังทุกภาคส่วนทั้งราชการ นักธุรกิจเอกชน นักพัฒนาภาคเอกชน (NGOs) ฯลฯ

นายประพันธ์ เปิดเผยว่า การประชุมกลุ่มย่อยยังมีต่อไปในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดระนองต่อไปในวันที่ 22 กรกฎาคม 2554

นายประพันธ์ กล่าวว่า บริษัทที่ปรึกษา และสภาพัฒน์ไม่ได้มีธงอะไรไว้ แค่ลงมารับฟัง ระดมความคิดเห็น รวบรวมข้อมูลจริงจากพื้นที่ ส่วนประเด็นที่ได้จะรับไปพิจารณาหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า ข้อมูลนั้นๆเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ในการนำจัดทำจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

“ถ้ามีโอกาสจะจัดประชุมกลุ่มย่อยทำความเข้าใจและระดมความคิดเห็นคนจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกครั้ง เพราะความเข้าใจว่า เราตั้งธงจะเดินหน้าโครงการ ทั้งที่จัดเพื่อระดมความคิดเห็นว่า คนใต้ต้องการพัฒนาไปในทิศทางไหน” นายประพันธ์ กล่าว

ส่วนกลุ่มชาวบ้านที่ออกจากห้องประชุมได้เดินทางไปอัดเทปรายรายเจาะ เกาะ ติด ของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ประเด็นเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่บ้านสระบัว ตำบลท่าศาลา อำเภอนครศรีธรรมราช ซึ่งชาวบ้านแสดงความต้องการว่า ต้องการพัฒนาทิศทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เน้นเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ก่อนหน้าเมื่อบริษัทคอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด ได้จัดประชุมในเรื่องนี้มาแล้ว 2 เวที โดยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมโรงแรมวังโนรา อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีผู้ร่วมประชุม ประมาณ 60 คน

ครั้งนั้น นางจิระพา หนูชัย ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรสตรี จังหวัดพัทลุง และเครือข่ายสตรี 14 จังหวัดภาคใต้ ถามนายศักดิ์ชัยว่า ทางบริษัทได้เชิญกลุ่มคนภาคส่วนใดบ้าง กี่คน จากนั้นจึงขอให้คนที่ไม่ได้รับหนังสือเชิญลุกขึ้น ปรากฏว่ามีคนลุกขึ้นประมาณ 50 คน

นางจิระพา จึงกล่าวว่า การกำหนดอนาคตจังหวัดพัทลุงมีความชอบธรรมหรือไม่ในการเชิญคนมาร่วมเวทีระดมความคิดเห็นแค่ 10 คน ซึ่งนายศักดิ์ชัย ตอบว่า บริษัททำหนังสือเชิญทั้งหมด 40 คน แต่ได้รับหนังสือตอบรับแค่ 7 คน จากนั้นผู้ที่ไม่ได้รับเชิญเดินออกจากห้องประชุม

ส่วนเวทีก่อนหน้านั้น คือเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2554 จัดขึ้นที่ห้องประชุมจามจุรี โรงแรมซากุระแกรนด์วิว อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างการนำเสนอนายกิตติภพ สุทธิสว่าง ตัวแทนกลุ่มรักษ์จะนะ และกลุ่มคัดค้านท่อก๊าซไทย- มาเลเซีย กล่าวแสดงความเห็นถึงการเชิญผู้เข้าร่วมว่า เหตุใดจึงไม่มีคนที่อยู่ในเครือข่ายของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติด้วย หากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นแบบเดิม และคนกลุ่มเดิม การทบทวนจะมีขึ้นไปทำไม อย่างไรก็ตามการจัดเวทีดังกล่าวดำเนินการไปจนจบกระบวนการ

อนึ่งจากเอกสารแนบหนังสือด่วนที่สุดที่ สพท.6383/2554 ของสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สภาพัฒน์ ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 เชิญร่วมประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ถึงเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ระบุเป้าหมายผู้ร่วมประมาณ 400 คน

โดยประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน นักการเมืองท้องถิ่น นักวิชาการ ประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน จากกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 150 คน ตรัง 30 คน กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พังงา กระบี่ และภูเก็ต 80 คน ระนอง 30 คน พัทลุง 30 คน นครศรีธรรมราช 30 คน สุราษฎร์ธานี และชุมพร 50 คน

หนังสือดังกล่าว ลงชื่อนายสมชาย ศักดาเวคีอิศร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน ประธานกรรมการกำกับการดำเนินงานโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

แถลงการณ์ เครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ นครศรีธรรมราช

เรื่อง : ความไม่ถูกต้องการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้โดยสภาพัฒน์ฯ ภายใต้การดำเนินการของ บริษัท คอนซัลแตนท์ ออฟเทคโนโลยี จำกัด

การดำเนินการบริษัทที่ปรึกษาในการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ ในครั้งนี้ มีความไม่ชอบธรรมของทั้งในด้านกระบวนการ และกติกาที่ได้ตกลงไว้แล้วระหว่างประชาคมและสภาพัฒน์ฯ โดยระบุว่าการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ให้ดำเนินการภายใต้มติสมัชชาสุขภาพ ปี 2552 การดำเนินการครั้งนี้อยู่นอกเหนือมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเราไม่อาจยอมรับได้ด้วยประการทั้งปวง

การดำเนินการของบริษัทและสภาพัฒน์ฯ อยู่นอกเหนือมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้มีหนังสือถึงประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้สภาพัฒน์ฯ ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ตามมติสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติสุขภาพแห่งชาติกรณีแผนพัฒนาภาคใต้ฯ ที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ตามหนังสือ นร 0506 / 13067

โดยมติสมัชชามีมติเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้ โดยสรุปว่า

  1. ขอให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้ ศสช. ทบทวนร่างแผนแม่บทภาคใต้ โดยมีหลักการที่สำคัญภายใต้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  2. การดำเนินการตามข้อ 1. ให้ ศสช. ตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยทุกภาคส่วน ด้วยการมีส่วนร่วม ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย มุ่งการตัดสินใจเชิงยุทศาสตร์ คำนึงถึงผลกระทบรอบด้าน
  3. ให้คณะกรรมการตามข้อ 2. ผลักดันให้แผนได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งระดับภาค ท้องถิ่น กลไกติดตาม กำกับ การประเมิน เผยแพร่ข่าวสารให้ประชาชนทราบ
  4. ขอให้ ครม. ออกระเบียบสำนักนายก เพื่อให้การดำเนินการของกรรมการตามข้อ 2. มีความต่อเนื่อง

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวถือว่าฝืนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและฝืนมติ ครม. วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ซึ่งทางเครือข่ายจะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกรณีสภาพัฒน์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งคณะรัฐมนตรี ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ภาคใต้และไม่เคารพมติประชาชนทั้งประเทศ และการดำเนินการของบริษัททั้งหมดที่ผ่านมาถือว่าเป็นการดำเนินการที่เป็น โมฆะ ซึ่งเครือข่ายผลกระทบนโยบายสาธารณะ นครศรีธรรมราช ขอให้บริษัทยุติการดำเนินการ และจะติดตามการดำเนินงานของสภาพัฒน์ จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

ด้วยจิตที่รักแผนดินเกิด
21 กรกฎาคม 2554

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘สภาพัฒน์’ระบุตรังเน้นท่องเที่ยว สร้างท่าเรือกันตังขนถ่านหินอินโด

$
0
0

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ที่โรงแรมวัฒนาปาร์ค จังหวัดตรัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็นในโครงการศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ ครั้งที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประมาณ 60 คน

เวทีที่จังหวัดตรัง ผู้นำเสนอในเวทีในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายสุทัศน์ วรรณเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านดารท่องเที่ยว รศ.ดร.สุพรชัย อุทัยนฤมล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ รท.ดร.สุพรชัย ศิริโวหาร ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ และผู้เชี่ยวชาญด้านสังคม

รศ.ดร.สุพรชัย กล่าวต่อที่ประชุมว่า ในปี 2558 จะมีการเปิดประชาคมอาเซียน ทำให้รั้วของสิบประเทศสมาชิกอาเซียนทลายลง ทั้งสิบประเทศเปรียบจะกลายเป็นบ้านที่อยู่ในรั้วเดียวกัน ถ้าประเทศไทยไม่มีความพร้อม จะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาแรงงานของภาคใต้ ซึ่งครอบคลุมจังหวัดตรังด้วยพบว่า มีอัตราการว่างงานถึงร้อยละ 42 แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือและกึ่งฝีมือ มีแนวโน้มว่าในแง่การผลิตไทยจะเสียเปรียบประเทศอื่น ขณะที่เด็กอายุ 3–17 ปี ไม่ได้รับการศึกษาในภาคบังคับถึง 850,000 คน ตนจึงขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ นำกลับได้คิดต่อว่า จะทำอย่างไรให้ประชากรกลุ่มนี้ มีงานรองรับจะได้ไม่เป็นปัญหาสังคมต่อไป

รศ.ดร.สุพรชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับถนนเพชรเกษม จากจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง ไปจนถึงจังหวัดสตูล จะมีการปรับปรุงให้เป็นถนนสี่เลน เพื่อให้การเดินทางสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะมีความเร่งด่วนมากกว่าการเปิดถนนใหม่ และเส้นทางรถไฟรางคู่ สำหรับจังหวัดสตูลและจังหวัดตรัง ประสบปัญหาการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไม่สามารถปรับภูมิทัศน์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวได้ ถึงแม้มีงบประมาณแต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ถ้าจะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ต้องแก้กฏหมายให้เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่ด้วย

“สำหรับจุดแข็งของจังหวัดตรังคือ มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์สามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศน์ได้ ประกอบกับโลกอยู่ในภาวะวิกฤติทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ทำให้เอื้อกับการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ในส่วนของฝั่งอันดามัน มีแผนการพัฒนาพื่อรองรับแผนแม่บทโครงการความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย หรือ IMT–GT โดยจะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจสู่นานาชาติ” รศ.ดร.สุพรชัย กล่าว

รศ.ดร.สุพรชัย กล่าวด้วยว่า ในส่วนของภาพรวมการพัฒนาฝั่งอันดามัน จะเน้นการพัฒนาขีดความสามารถ และการสร้างนวัตกรรมจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน การพัฒนาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมและสุขภาพ สินค้าและบริการให้เชื่อมโยงและเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันกับนานาชาติอย่างยั่งยืน การพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ เพื่อรักษาฐานนักท่องเที่ยวเดิม และเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวคุณภาพบนฐานทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของพื้นที่ และการพัฒนากลไกการบริหารจัดการ การตลาด การพัฒนาคุณภาพบุคลากรการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ทั้งนี้ ในเอกสารประกอบการประชุมระบุว่า พื้นที่แถบอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดตรัง และจังหวัดระนอง เป็นพื้นที่ที่สร้างรายได้ให้ประเทศสูงสุดจากการท่องเที่ยว โดยปี 2550 สร้างรายได้เป็นอันดับหนึ่งคือ 127.0 พันล้านบาท จึงเป็นพื้นที่ที่ต้องพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นพิเศษ สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน

ในเอกสารีกยังระบุอว่า จะมีการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หรือถนนเพชรเกษมเป็นถนน 4 เลน เชื่อมจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต ตรัง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสตูล พร้อมกับจะสร้างถนนสายใหม่เชื่อมเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัด และระหว่างต่างประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงเส้นทางรถไฟเส้นจากชุมทางทุ่งสง–ตรัง–กันตัง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่งสินค้า และการขนส่งมวลชน ระหว่างเส้นทางรถไฟสายหลัก จากชุมทางรถไฟทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปยังฝั่งอันดามันที่สถานีกันตัง จังหวัดตรัง

สำหรับการขนส่งทางน้ำ จะกำหนดให้ท่าเรือกันตังเป็นท่าเรือหลัก ในการขนถ่ายถ่านหินลิกไนต์จากอินโดนีเซีย ไปยังโรงงานปูนซีเมนต์ที่อำเภอทุ่งสง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: หยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้าง อยู่เหนือข้ออ้างกฎหมายที่อยุติธรรม

$
0
0

“ตามกฎหมายรัฐจะว่าผิดกะว่าไป เฮาถือว่าเฮามาเอาที่ของเฮาคืน แล้วกะบ่หวังว่าสิร่ำสิรวยดอก แต่ถ้าถามว่าถ้าบ่มี ที่ดิน 5 - 6 ไร่สิตายบ่ อีหลีแล้วกะบ่ตายดอก ถ้าว่าใจบ่ขาด แต่ว่ามันแฮงย่ำแย่ หลายต่อหลายคนเข้าไปแย่งชิงงานกันในกรุงเทพฯ  คนมันกะล้นงานอยู่แล้ว...”

“ผมว่าส่วนหนึ่งกะให้พี่น้องอยู่หม่องนี่ซะ เว้าไปแล้วหม่องนี่กะคือสิทธิเก่าอันชอบธรรมของเฮา ผมบอกว่าชอบธรรมเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าแม้ว่าที่ดินหม่องนี่ตกไปเป็นที่ดินของรัฐ ผมถือว่ารัฐบาลเบียดเบียน รัฐแย่งชิง ปล้นทรัพย์สมบัติของชาวบ้าน” 

ถ้อยคำอันหนักแน่นจากปากพ่อลุน สร้อยสด ชาวบ้านเก้าบาตร ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กลั่นออกมาจากหัวจิตหัวใจ ผู้ที่ครั้งหนึ่งปู่ย่าตายายของแกเคยแบกจอบ คราด ไถ ลงมือบุกเบิกที่ดินแถบนี้ด้วยน้ำพักน้ำแรง หยาดเหงื่อแรงกาย หวังมีที่ดินทำกินเลี้ยงดูครอบครัว และเป็นมรดกตกทอดให้กับลูกหลานรุ่นต่อไป
 
 
พ่อลุนและเพื่อนบ้านอีก ๑๗๑ ครอบครัว เดิมเป็นคนตำบลลำนางรอง ก่อนจะเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่ชื่อ “บ้านเก้าบาตร” ซึ่งเป็นพื้นที่กรณีพิพาทระหว่างชาวบ้านเก้าบาตรและกรมป่าไม้ พ่อลุน ลูกชายและพ่อมวล ถูกฟ้องร้องคดีบุกรุกแผ้วถางที่ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ ทั้งที่ทุกคนรู้อยู่แก่ใจว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ทำกินเดิมที่พวกเขาเคยบุกเบิกทำประโยชน์
 
พ่อลุนเล่าว่า ราว ๔๐ ก่อน รัฐมีนโยบายเปิดป่าดงใหญ่บางส่วนให้ชาวบ้านบริเวณนั้นเข้าไปทำกิน เป้าหมายไม่ใช่การให้เกษตรกรคนจนได้มีที่ดินทำกิน แต่เพื่อให้เป็นกันชน แนวปราการต่อต้านการก่อการร้ายตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ยุคนั้น ใครมีแรงงานมากบุกเบิกได้มาก ครอบครัวละ ๕๐-๓๐๐ ไร่ ทหาร หน่วยงานราชการ ฝ่ายปกครองก็มิได้ขัดขวาง ส่งเสริมสนับสนุนให้บุกเบิกเสียด้วยซ้ำ
 
แต่แล้วความหวังของพ่อลุนและเพื่อนบ้านก็เริ่มสั่นคลอน หลังเหตุการณ์สู้รบกับก่อการร้ายตามแนวชายแดนเบาบางลง ผู้คนถิ่นอื่นอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รัฐมีนโยบายอพยพชาวบ้าน จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน จัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ ๑๖ ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย ๑ ไร่ และที่ทำกิน ๑๕ ไร่ โดยให้สิทธิเป็น สทก. สิทธิทำกิน คือทำกินได้แต่ห้ามจำหน่ายจ่ายโอน ส่วนที่ดินเดิมที่เหลือจากการจัดสรร และเคยบุกเบิกทำกินกันครอบครัวละ ๕๐-๓๐๐ ไร่ ก็ถูกกันไม่ให้เข้าไปทำกินได้ดังเดิม
 
“ทหารเขาบอกว่า อยู่หม่องนี่บ่ปลอดภัย อยู่กันกระจัดกระจาย เผื่อเขายิงปืนใหญ่มาสิเฮ็ดจังได๋”
 
แม้ช่วงหลังรัฐจะมีการจัดสรรที่ดินเพิ่มเติมให้เขย หรือสะใภ้ใหม่ ใครดวงดีก็จับฉลากได้  คนที่ไม่ได้ก็ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น หรืออาศัยอยู่กับญาติ ทำงานรับจ้างรายวันเพราะไม่มีที่ดินทำกิน
 
ปี ๒๕๒๘ รัฐเปิดให้เอกชน กลุ่มบุคคลเข้ามาเช่าพื้นที่เสื่อมโทรมในเขตป่าสงวนดงใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเคยบุกเบิกทำกินไว้เดิมก่อนมีการจัดสรร ผู้ที่ได้สิทธิเช่าส่วนใหญ่เป็นนายทุน สัญญาเช่าเกือบ ๓๐ ปี เสียค่าเช่าแค่ปีละ ๑๐-๒๐ ต่อไร่ แต่ชาวบ้านก็ไม่สามารถเช่าได้ ด้วยข้ออ้างเงื่อนไข “ไม่มีรถไถใหญ่ ก็ไม่สมควรทำประโยชน์” ทั้งที่สิทธิของพวกเขา คือ “เจ้าของที่ดิน ไม่ใช่คนขอเช่าด้วยซ้ำ”
 
ระยะเวลาร่วม ๓๐ ปี นายทุน บริษัทเอกชนได้กำไรจากการปลูกพืชเศรษฐกิจโตไวเป็นกอบเป็นกำ พร้อมๆ กับผืนดินป่าดงใหญ่ที่ไร้คุณภาพ เสื่อมลงทุกวัน ด้วยฤทธิ์สารเคมีนานาชนิด แม่น้ำลำห้วยที่เคยใสสะอาดเต็มไปด้วยสารพิษตกค้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่าก็หาได้ยากเต็มที ระบบนิเวศที่เคยอุดมสมบูรณ์ให้ได้อาศัยพึ่งพาตลอดทั้งปี ก็ถูกแทนที่ด้วยต้นยูคาฯ ทำให้ป่ากลายเป็นทะเลทรายสีเขียว พ่อลุนและเพื่อนบ้านได้แต่เฝ้ามอง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า การพากันลงชื่อคัดค้านการต่อสัญญาเช่าของบริษัท
 
“ชาวนา ชาวไร่ และคนจนไร้ที่ดินเหล่านี้ ต้องการที่ดินผืนเล็ก ๆ เพื่อผลิตอาหารและมีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว” นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงที่ดินที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยปี ๒๕๕๐ มาตรา ๕๐
 
ปี ๒๕๔๘ พ่อลุนและเพื่อนบ้านเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ปี ๒๕๕๒ ได้เข้าไปปักหลักตั้งถิ่นฐานในแปลงที่หมดสัญญาเช่าของบริษัท พื้นที่ ๑,๙๐๐ ไร่ เพื่อพลิกฟื้นแผ่นดินเดิมที่ถูกแย่งชิงไปโดยรัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ มองข้ามหยาดเหงื่อแรงกายที่ได้บุกเบิกด้วยสิทธิอันชอบธรรม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือครองที่ดินให้มีความเป็นธรรมและยั่งยืน คือเป้าหมายของพ่อลุน ชาวบ้านเก้าบาตร และเกษตรกรไร้ที่ดินทั่วประเทศ
 
กระท่อมไม้ยูคาฯ มุงหญ้าคาแทนสังกะสี คือบ้านของชาวบ้านเก้าบาตร แม้ไม่มีไฟฟ้า ประปา ร้านค้า หรือเครื่องอำนวยความสะดวกใด ๆ แต่หมู่บ้านแห่งนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ น้ำจิตน้ำใจ และรอยยิ้มที่เป็นมิตร
 
ที่ดินหมดสัญญาเช่า หากแต่ตอยูคาฯ เก่าก็ยังคงโยงยึดผืนดิน ร่องรอยการดูดกลืนกินสารอาหารในดินกว่า ๓ ทศวรรษ จนเหลือแต่เพียงความแข็งกระด้างของซากดิน ข้าวและมันสำปะหลังกำลังถูกแซมลงดินด้วยจอบ เสียม และรถไถนาเดินตาม กล้วยกลายเป็นพืชปรับปรุงดินขนานดี เป็นร่มเงาก่อนลงจำพวกไม้ยืนต้น ไม้ธรรมชาติต่อไป
 
ทุกครอบครัวจะมีที่ดินทำกินเฉลี่ยประมาณ ๕-๖ ไร่ หากแต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ก็ยังเป็นของส่วนรวมของทุกคน เพราะหลักการของบ้านเก้าบาตร ที่ดินแปลงนี้จะจัดทำเป็น “โฉนดชุมชน” เป็นสิทธิรวมหมู่ ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีการวางแผนการผลิตที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น คำนึงถึงระบบนิเวศน์ สภาพแวดล้อมและความยั่งยืน ไม่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ ไม่ทำลายป่าสมบูรณ์  ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุล และอยู่ร่วมกันบนฐานวัฒนธรรมที่ดีงาม กฎ กติกาของชุมชน
 
หลักการพลิกฟื้นแผ่นดินเดิมดูเข้าที มีความเป็นไปได้ มีนโยบายรัฐบาลที่เป็นแนวทางการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกำลังอยู่ในกระบวนการขั้นตอนเท่านั้น แต่ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือการถูกกลั่นแกล้ง จากหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ขับไสเกษตรกรรายย่อยให้พ้นทางด้วยการฟ้องร้องยัดเยียดคดีความให้กับแกนนำ ซึ่งพ่อลุน คือเหยื่อหนึ่งของกฎหมายที่อยุติธรรม
 
“เรื่องคดีกะส่วนคดี ถึงจังได๋กะหลีกเลี่ยงบ่ได้ กะแก้ไปตามกระบวนการเฮาบ่แหม่นคนผิด เฮาบอกว่าเฮาบ่แหม่นคนผิด เฮาบ่แหม่นผู้บุกรุก เฮาเป็นเกษตรกร พ้อคดีกะพ้อไป แต่ว่าพ้อความยากจนหนักกว่าคดี ความยากจนเดือดร้อนกว่าคดี แต่ว่าคดีมาซ้ำเติมเฮาอีก แล้วหมู่เฮาสิหาความสุขความสบายใจ หาความมั่นคงแบบยั่งยืนได้จังได๋”
 
นโยบายมอบโฉนดชุมชน คือความหวังของพ่อลุน และเกษตรกรไร้ที่ดินทั่วประเทศ การฟ้องร้องดำเนินคดี หรือข่มขู่ ใช้กำลังบังคับโยกย้าย คงไม่ใช่ทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ แต่การปฏิรูปที่ดินจะเป็นจริงได้ นอกจากการต่อสู้ของผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยชอบธรรมแล้ว ทุกหน่วยงานของรัฐควรเปิดใจ อย่าทำให้ศรัทธาของประชาชนที่เคยมีต่อภาครัฐ ต้องลดน้อยเสื่อมถอยลงกว่านี้เลย
 
ที่ผ่านมารัฐบาลไทย ให้สิทธินายทุนเช่าพื้นที่ของเกษตรกรที่เคยบุกเบิกมากว่าสามสิบปี เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวหลายหมื่นไร่ ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับคนจำนวนน้อยถ้าเทียบกับชาวบ้านที่ต้องสูญเสียที่ดินทำกิน  ทั้งผู้มีอำนาจ นักการเมืองในสังคมไทยบางคนมีที่ดินหลายหมื่นไร่แต่ไม่ได้ทำประโยชน์ แต่สำหรับพ่อลุนและชาวบ้านเก้าบาตรการต่อสู้เพื่อให้ได้ที่ดินทำกินเพียงเล็กน้อยกลับมีปัญหาอุปสรรคมากมาย แม้กระทั่งที่ดินที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นมรดกโดยชอบธรรมของบรรพบุรุษ ก็ยังต้องกอบกู้ขอคืนกลับมา แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อยกับการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็หวังว่า สักวันหนึ่งจะได้มีสิทธิ์ทำกินในที่ดินของตนเองโดยชอบธรรม
 
แม้กฎหมายก็มิอาจอยู่เหนือหยาดเหงื่อแรงงานผู้ก่นสร้างผืนดิน
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images