Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58339 articles
Browse latest View live

รัฐบาลจะไม่ให้ความเห็นเรื่องคำถามพ่วง-หลังศาล รธน. ขอความเห็นแม่น้ำ 3 สาย

$
0
0

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเผยหนังสือตอบกลับหลังศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยื่นเอกสารเพิ่มเรื่องคำถามพ่วงประชามติว่า รัฐบาลและ คสช. ไม่เกี่ยวข้องกับคำถามพ่วง ผู้ที่จะตอบได้ดีคือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นต้นคิด

แฟ้มภาพนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช. ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี รับไหว้ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คสช. ปัจจุบันเป็น รมว.กระทรวงยุติธรรม ภายหลังชี้แจงเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2557 (ที่มา: ศูนย์สื่อทำเนียบรัฐบาล)

9 ก.ย. 2559 กรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้แม่น้ำ 3 สาย ประกอบด้วย สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ยื่นเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำถามพ่วงประชามติ ภายในวันจันทร์ที่ 12 กันยายนนี้นั้น

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานวันนี้ว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้มีหนังสือตอบกลับ ว่า รัฐบาล และ คสช.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งคำถามพ่วง จึงไม่สามารถให้ความเห็นใดๆ ได้ ผู้ที่จะให้ความเห็นและข้อมูลได้ดี คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการตั้งคำถามพ่วง ส่วนหนังสือตอบกลับคาดว่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ (9 ก.ย.)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์-กฎหมายสหรัฐฯ 200 รายชื่อร่วมเขียน จม.เปิดผนึกวิพากษ์ TPP

$
0
0

ก่อนที่จะมีการประชุมสภาของสหรัฐฯ เพื่อลงมติร่างความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) กลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์มากกว่า 200 คน เขียนจดหมายเปิดผนึกวิจารณ์ข้อกำหนดที่เอื้อต่อบรรษัทในการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของรัฐ และมีนักสิทธิพลเมืองกังวลว่าบรรษัทยักษ์จะพยายามล็อบบี้ให้ TPP ผ่านร่างในสภา

แฟ้มภาพเมื่อปี 2010 เป็นภาพผู้นำชาติเอเชีย-แปซิฟิก 10 ประเทศ นำโดยบารัค โอบามา ของสหรัฐอเมริกา ร่วมประชุมก่อนที่จะพัฒนามาสู่ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) โดยนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2016 มีชาติร่วมลงนามแล้ว 12 ชาติ (ที่มา: Wikipedia)

 

นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และกฎหมายในสหรัฐฯ มากกว่า 200 คนรวมถึง ลอเรนซ์ ไทรบ์ อาจารย์นิติศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้เป็นอาจารย์ของประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า เขียนจดหมายถึงสภาคองเกรสเตือนถึงเนื้อหาของหลักการว่าด้วย "การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน" (Investor-State Dispute Settlement หรือ ISDS) ที่มีลักษณะเอื้อต่อบรรษัทในความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) โดยระบุว่าเนื้อหาส่วนนี้มีลักษณะคุกคามหลักนิติธรรมและทำลายสถาบันประชาธิปไตยของประเทศสหรัฐฯ เอง

ในจดหมายของนักวิชาการเหล่านี้ยังระบุอีกว่าเนื้อหาของ ISDS มีลักษณะเสี่ยงต่อการลดอำนาจคุ้มครองรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ทำให้อำนาจตุลาการอ่อนแอลง และทำให้ระบบกฎหมายภายในสหรัฐฯ ถูกออกนอกระบบกลายเป็นระบบที่เอกชนควบคุมได้ตามอำเภอใจซึ่งอยู่นอกเหนือการตรวจสอบถ่วงดุล เหล่านีกวิชาการเรียกร้องให้ ส.ส. ปฏิเสธ TPP ถึงแม้ว่ารัฐบาลโอบาม่ามีความพยายามจะผ่าน TPP ให้ได้ในการประชุมสภาคองเกรสในอีกไม่นานนี้

นักวิชาการผู้ที่ร่วมลงนามต้าน TPP ในครั้งนี้ยังประกอบด้วย โจเซฟ สติกลิตซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ครูซ เรย์โนโซ อดีตผู้พิพากษาศาลสูงสุดของแคลิฟอร์เนีย และเจฟฟรีย์ แซคส์ ศาตราจารย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและที่ปรึกษาอาวุโสของสหประชาชาติ นักวิชาการเหล่านี้เคยแสดงความกังวลต่อร่าง TPP ก่อนหน้านี้แล้วโดยการส่งจดหมายต่อต้านการรวมหลักการ ISDS เข้าไปในร่าง TPP เมื่อช่วงเดือน มี.ค. 2558 แต่ก็ข้อเรียกร้องของพวกเขาก็ถูกละเลย ไม่เพียงเท่านั้นยังไม่มีการดัดแปลงแก้ไขข้อกำหนดที่เป็นปัญหาจากร่างเดิมก่อนหน้านี้เลย

จดหมายของนักวิชาการระบุอีกว่าถ้าหาก TPP ผ่านร่างการพิจารณาโดยสภาคองเกรสไม่เพียงแค่จะเป็นการตอกย้ำกลไกในแบบที่มีข้อบกพร่องนี้เท่านั้นแต่ยังทำให้กลไกนี้ขยายออกไปนอกสหรัฐฯ ด้วย โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาบรรษัทสร้างปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาวะ การดูแลความปลอดภัย นโยบายการคลัง มลพิษ การขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาจากวิธีการที่พวกเขาใช้ตอบโต้วิกฤตทางการเงิน ปัญหาคำตัดสินที่ไม่เป็นธรรมของศาลไม่ว่าจะเรื่องทรัพย์สินทางปัญหาไปจนถึงคดีล้มละลาย ปัญหานโยบายการทำให้เรือนจำและระบบบริการสุขภาพเป็นของเอกชน ปัญหาการพยายามเลี่ยงภาษี และปัญหาอื่นๆ

จดหมายของนักวิชาการสหรัฐฯ ระบุต่อไปว่า มีคดีการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ระบุว่าในปี 2558 มีคดีการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนถึง 70 คดี

อลิซาเบธ วอร์เรน วุฒิสมาชิกจากรัฐแมสซาชูเซตส์กล่าวว่าจดหมายของนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสหรัฐฯ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าข้อกำหนด ISDS จะทำลายระบบยุติธรรมและทำให้การแข่งขันเอื้อต่อบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่เพิ่มมากขึ้น ทำให้บรรษัทเหล่านี้ท้าทายกฎหมายแลข้อบังคับที่พวกเขาไม่ชอบได้ วอร์เรนจึงประกาศจุดยืนไม่เห็นด้วยกับ TPP ที่มีข้อกำหนด ISDS อยู่ด้วย

ลอริ วอลลาช จากองค์กรสิทธิพลเมืองพับลิคซิติเซนยังระบุเตือนตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วให้ระวังกลุ่มบรรษัทยักษ์ใหญ่ร่วมมือกันล็อบบีผลักดันให้ TPP ผ่านร่างในการประชุมสภาในช่วงที่กำลังจะพ้นตำแหน่งซึ่งจะถือเป้นช่วงเวลาที่มีภาระรับผิดชอบทางการเมืองน้อยมากเพราะเป็นการลงมติในแบบที่จะไม่ต้องกลับมาเจอหน้าผู้ลงมติอีก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากการที่ผู้ลงสมัครเลือกตังทั้ง 2 พรรคใหญ่มีจุดยืนต่อต้าน TPP ทั้งสองพรรคบวกกับความไม่พอใจของประชาชนชาวอเมริกันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ก็อาจจะสามารถหยุด TPP ไว้ได้

เรียบเรียงจาก

Prominent Scholars Decry TPP's "Frontal Attack" on Law and Democracy, Common Dreams, 07-09-2016 http://www.commondreams.org/news/2016/09/07/prominent-scholars-decry-tpps-frontal-attack-law-and-democracy

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.ทบ.ยังเชื่อระเบิดภาคใต้ฝีมือกลุ่มผลประโยชน์ - มารา ปาตานี ประณามระเบิดบ้านตาบา

$
0
0

ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ธีรชัย นาควานิช แถลงหลังลงพื้นที่ภาคใต้ ระบุเป็นไปไม่ได้ระเบิดทั่วภาคใต้เป็นฝีมืออาร์เคเค ผลสอบสวนส่อไปทาง "กลุ่มผลประโยชน์" ขณะที่ "มารา ปาตานี" ประณามผู้ก่อเหตุระเบิดโรงเรียนบ้านตาบา เรียกร้องทุกฝ่ายไม่พุ่งเป้าโจมตีไปที่ผู้อ่อนแอ

ที่มาของภาพประกอบ: สทท.ยะลา/สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

9 ก.ย. 2559 กรณีเกิดเหตุ มีผู้ลอบวางระเบิดบริเวณ ร้านขายของชำตรงข้ามโรงเรียนบ้านตาบา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อเวลา 08.25 น. เมื่อวันที่ 6 กันยายน โดยแรงระเบิดทำให้ ด.ญ.มินตรา อายุ 5 ขวบ นักเรียนชั้นอนุบาล เสียชีวิตพร้อมบิดาคือนายมะเย็ง อายุ 36 ปี ขณะเดินทางมาโรงเรียน นอกจากนี้ยังมี นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บอีก 10 คน นั้น

ล่าสุดวันนี้ (9 ก.ย.) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงข่าวที่ระบุว่า การก่อเหตุลอบวางระเบิดที่ผ่านมาเป็นกลุ่มของอาร์เคเคว่า คงเป็นไปไม่ได้ เขาจะเปลี่ยนแนวหรือเปล่า ซึ่งเราเองก็อย่าไปหลงทางมาก ขณะนี้การสืบสวนสอบสวนของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็รุดหน้าไปมากแล้ว ทุกอย่างไม่ส่อทั้งนั้น ไปส่อที่กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในพื้นที่ ถ้าใน 3 จชต. เศรษฐกิจดี ประชาชนสงบสุข และอยู่ในอัตลักษณ์ตนเอง เค้าก็จะมาครอบงำไม่ได้ อย่าไปหลงประเด็น ซึ่ง พล.อ.อักษรา เกิดผล ไปพูดคุยมาแล้ว ไม่ใช่

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานด้วยว่า พล.อ. ธีรชัย ยังกล่าวถึงการลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมประชุมกับหน่วยความมั่นคงและส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ว่า ได้มอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ พร้อมขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ได้ปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและกองทัพบกอย่างได้ผล ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความสงบสุขและให้ความร่วมมือกับทางราชการมากยิ่งขึ้น โดยได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสืบสวนสอบสวนนำตัวผู้กระทำผิดในคดีต่างๆ มารับโทษให้ได้โดยเร็วที่สุด

สำหรับการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร นั้น มีการทำงานร่วมมือกันอย่างดี และในระยะต่อไป ก็จะมีรัฐบาลส่วนหน้ามาดูแลเรื่องสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตามโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" นอกจากนี้ยังได้ฝากถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้ช่วยกันดูแล แจ้งข่าวสารให้กับเจ้าหน้าที่ได้รับทราบ สิ่งใดที่พี่น้องประชาชนเห็นว่ามาขัดขวางความเจริญหรือความสงบสุขในพื้นที่ ขอให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพราะจะไม่ยอมให้เหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นอีกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่พี่น้องประชาชนในห้วงวันฮารีรายอของพี่น้องชาวมุสลิมที่จะมาถึง (12 ก.ย. 59) นี้ ก็ไม่ได้เน้นย้ำอะไรกับทางหน่วย เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทราบดีอยู่แล้วว่าจะดูแลอย่างไรให้ประชาชนปลอดภัย โดยเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เข้มแข็งยึดประชาชนเป็นหลัก ให้ประชาชนมีความสงบสุขก็จะได้รับความร่วมมือจากประชาชน พล.อ.ธีรชัยระบุ

มารา ปาตานี ประณามระเบิด รร.บ้านตาบา เรียกร้องเจ้าหน้าที่ตามหาผู้ลงมือมาลงโทษ

อนึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 ก.ย. องค์กรซึ่งเป็นคณะเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลไทย "มารา ปาตานี" ได้ออกแถลงการณ์ของกลุ่มระบุเจาะจงไปที่เหตุการณ์วางระเบิดหน้าโรงเรียนตาบา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อเช้าวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งทำให้มีคนตาย 3 คนรวมไปถึงเด็กและพ่อ และบาดเจ็บอีก 7 คน โดยในรายงานของเพจบีบีซีไทยระบุคำแถลงซึ่งลงวันที่ 7 ก.ย. ว่า "มารา ปาตานีประนามการกระทำที่รุนแรงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือน รวมไปถึงเด็ก" พร้อมกันนั้นแสดงความเห็นใจต่อผู้สูญเสียและเรียกร้องให้ทางการสอบสวนในรายละเอียดเพื่อตามหาตัวผู้ลงมือ

ตอนท้ายของแถลงการณ์ระบุว่ากลุ่มมารา ปาตานียึดหลักคลี่คลายความขัดแย้งด้วยวิธีการพูดคุยอย่างสันติ "เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการใดๆ ด้วยเหตุและผล และในอนาคตไม่ยึดผู้อ่อนแอเป็นกลุ่มเป้าหมายในความขัดแย้งหนนี้"

นอกจากนี้ฮิวแมนไรท์วอทช์ยังออกแถลงการณ์ประณามเหตุระเบิด รร.บ้านตาบา เรียกร้องให้สหประชาชาติใส่ชื่อ "บีอาร์เอ็น" ในบัญชีผู้ก่อเหตุละเมิดต่อเด็กในพื้นที่ขัดแย้ง พร้อมเรียกร้องทั้งฝ่ายกองกำลังและรัฐบาลไทยยุติวงจรอุบาทว์เลิกใช้วิธีโจมตีมิชอบด้วยกฎหมาย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ราชกิจจานุเบกษา: แต่งตั้งโยกย้าย 798 นายทหาร-พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท นั่ง ผบ.ทบ.

$
0
0

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ให้นายทหารรับราชการ 798 ตำแหน่ง โดย พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท เป็น ผู้บัญชาการทหารบก โดยเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ที่ ผบ.ทบ. ไม่ได้มาจากสายบูรพาพยัคฆ์ ขณะที่ พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท.สสิน ทองภักดี เป็น เสนาธิการทหารบก

รายชื่อนายทหารที่ได้รับการแต่งตั้งโยกย้าย (แถวบน/จากซ้ายไปขวา) พล.อ. เฉลิมชัย สิทธิสาท เป็น ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ. พิสิทธิ์ สิทธิสาร เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก พล.ท. เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (แถวล่าง/จากซ้ายไปขวา) พล.ท. สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท. สสิน ทองภักดี เป็น เสนาธิการทหารบก และ พล.ท. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็น แม่ทัพภาคที่ 1

9 ก.ย. 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 133 ตอนพิเศษ 203 ง ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 กันยายน 2559 ได้เผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ให้นายทหารรับราชการ รายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี 2559 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 โดยมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

โดยมีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารทั้งสิ้น 798 ตำแหน่ง โดย พล.อ. เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก โดย พล.อ.เฉลิมชัย ถือเป็นนายทหารที่เติบโตจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และถือเป็นนายทหารนอกสายบูรพาพยัคฆ์คนแรกที่ได้ขึ้นเป็น ผบ.ทบ. นับแต่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา, พล.อ.ประยุทธ์, พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร และ พล.อ.ธีรชัย นาควานิช

สำหรับตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม ขณะที่ พล.อ. สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ เสนาธิการทหาร จะรับตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ขณะที่ตำแหน่ง 5 เสือ ทบ. ที่มีการแต่งตั้งโยกย้าย ประกอบด้วย พล.อ. พิสิทธิ์ สิทธิสาร เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก พล.ท. เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท. สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พล.ท. สสิน ทองภักดี เป็น เสนาธิการทหารบก

ในส่วนของนายทหารที่คุมกำลังในตำแหน่งที่น่าสนใจนั้น

พล.ท. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็น แม่ทัพภาคที่ 1
พล.ต. ธรรมนูญ วิถี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1
พล.ต. วิจักขฐ์ สิริบรรสพ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น แม่ทัพภาคที่ 3
พล.ท. ปิยวัฒน์ นาควานิช ที่ปรึกษากองทัพบก เป็น แม่ทัพภาคที่ 4
ขณะที่ พ.อ. วุฒิชัย นาควานิช เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9

ในส่วนของกองทัพอากาศ พล.อ.อ. จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ

ในส่วนของกองทัพเรือ พล.ร.ต. วิศาล ปัณฑวังกูร ผู้อำนวยการสำนักการข่าว กรมข่าวทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ

โดยรายละเอียดของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ มีรายละเอียดดังนี้ [อ่านราชกิจจานุเบกษา]

 

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณดังต่อไปนี้

กระทรวงกลาโหม

1. พลเอก สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น จเรทหารทั่วไป
2. พลเอก ภุชพงศ์ พงษ์ศิริ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

3. พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ปลัดกระทรวงกลาโหม
4. พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม
5. พลเอก อาชาไนย ศรีสุข ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม
6. พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองปลัดกระทรวงกลาโหม
7. พลเอก วิทยา จินตนานุรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
8. พลเอก ฐิตินันท์ ธัญญสิริ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
9. พลโท กิติกร ธรรมนิยาย ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำปลัดกระทรวงกลาโหม
10. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล เจ้ากรมการเงินกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม

11. พลโท พฤษภะ สุวรรณทัต รองผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
12. พลโท ถเกิงกานต์ ศรีอำไพ เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
13. พลโท สุรินทร์ กลิ่นชะเอม ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
14. พลโท คณิศ ทศวัฒน์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
15. พลโท เชิดศักดิ์ พงษ์ศิริ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
16. พลโท พิเชษฐ์ อัษฎานุวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
17. พลโท พนัส แสนสมบัติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
18. พลโท รุจ กสิวุฒิ รองผู้อำ นวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
19. พลโท สัมพันธ์ ธัญญพืช เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
20. พลโท ปรพล อนุศรี ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)

21. พลโท ชุติกรณ์ สีตบุตร หัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
22. พลโท อาวุธ แสงตะวัน หัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหาร กับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
23. พลโท สิโรจน์ ชูศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
24. พลโท สินสรศักดิ์ ปาลานุสรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
25. พลโท เดชา เดชะชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
26. พลโท เพิ่มพงษ์ ณ พัทลุง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
27. พลโท กิตติพล วัฒนะวรนันทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
28. พลโท พลภัทร วรรณภักตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
29. พลโท สุทัศน์ จารุมณี ที่ปรึกษากองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก)
30. พลเรือโท ปราโมทย์ สังฆคุณ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเรือเอก)

31. พลเรือโท เอกศักดิ์ ทุกข์สูญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม
32. พลโท เนรมิตร มณีนุตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหม เป็น รองผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
33. พลโท อภิชาติ วิไลเนตร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
34. พลโท อนุชิต อินทรทัต รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็น เจ้ากรมการเงินกลาโหม
35. พลโท ชมพล อามระดิษ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม
36. พลตรี ชัยวัฒน์ โฆสิตาภา ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
37. พลตรี ชวลิต สาลีติ๊ด รองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น หัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
38. พลตรี อภินันท์ คำเพราะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กลาโหม เป็น หัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม
39. พลตรี เกียรติศักดิ์ ลิลิตธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็น รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม
40. พลตรี ศิรศักดิ์ ยุทธประเวศน์ รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็น เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

41. พลตรี สุรศักดิ์ ทิมมาศ ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
42. พลตรี รักษ์พล จันทร์เหลือง รองเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
43. พลตรี ทวี พฤกษาไพรบูลย์ รองเจ้ากรมการเงินกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
44. พลตรี ทศพร หอมเจริญ รองเจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
45. พลตรี กฤษฏิวุฒิ อัตรผดุง รองผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
46. พลตรี กอบปัญญา วงศ์วิเศษกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
47. พลตรี ภูวนาถ วีระยุทธบัญชา ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
48. พลตรี กำชัย กำบังตน รองหัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
49. พลตรี ยุทธ พรหมพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
50. พลตรี ปริญญา ฉายดิลก รองหัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับกระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

51. พลตรี วิษณุ ภระมรทัต ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
52. พลตรี กฤตภาส คงคาพิสุทธ์ รองเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
53. พลตรี นาวิน สุมะโน ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
54. พลตรี สุวิทย์ จิรชนานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
55. พลตรี สุเชษฐ์ ตันยะเวช ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
56. พลตรี ธนิส พิพิธวณิชการ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
57. พลตรี ณรัตน์ ศรีรัตน์ รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
58. พลตรี อนุมนตรี วัฒนศิริ ผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
59. พลตรี ราชันย์ จารุวรรณ์ ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
60. พลตรี กีรติพงศ์ เดชวงศ์สุทัศน์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)

61. พลตรี อัครพล ประทุมโทน ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
62. พลตรี สมบูรณ์ ภาวศุทธิวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
63. พลตรี นเรศน์ มีลาภ รองเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
64. พลตรี เสถียร ผดุงทรง ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
65. พลตรี สุภมนัส ภารพบ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
66. พลตรี อนุตร ธรศรี ผู้ชำ นาญการสำ นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
67. พลตรี สัญญา จันทร์สงวน ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท)
68. พลอากาศตรี วระพล ใคร่ครวญ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลอากาศโท)
69. พลตรี นพพงศ์ ไพนุพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิเทศสัมพันธ์สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม
70. พลตรี สมคิด ทับทิม หัวหน้าศูนย์อำนวยการประสานงานข่าวกรอง สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

71. พลอากาศตรี สมชาย นุชพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึกกรมยุทธการทหารอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม
72. พลตรี เพิ่มศักดิ์ รอบจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพลเรือน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น รองหัวหน้าสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับกระทรวงการต่างประเทศ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม
73. พลตรี ปราโมทย์ สินสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานกำลังพล กรมเสมียนตรา เป็น ผู้ช่วยเจ้ากรมเสมียนตรา
74. พลตรี อดินันท์ ไชยฤกษ์ ผู้ชำนาญการสำนักงบประมาณกลาโหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม
75. พลตรี พิสิทธิ์ สิงหราไชย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น รองเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
76. พลตรี ไพบูลย์ วรวรรณปรีชา เสนาธิการกรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น รองเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
77. พลตรี เอกชัย หาญพูนวิทยา เสนาธิการกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เป็น รองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
78. พลตรี สุชาติ วงษ์มาก ผู้ชำนาญการกรมการเงินกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมการเงินกลาโหม
79. พลเรือตรี เผ่าเทพ ประสานพานิช ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ เป็น ผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญ
80. พลตรี บรรพต เกิดผลเสริฐ ตุลาการพระธรรมนูญประจำสำนักตุลาการทหาร เป็น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายศาลทหารสูงสุด

81. พลตรี ธานินทร์ ทุนทุสวัสดิ์ หัวหน้าอัยการทหาร เป็น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าคณะฝ่ายศาลทหารสูงสุด
82. พลตรี สมบัติ ประสานเกษม นักวิชาการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
83. พลตรี ยศ ชุมสาย ณ อยุธยา หัวหน้าสำ นักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
84. พลตรี วีระวุฒิ ผันนภานุกูล ที่ปรึกษาทางเทคนิค กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เป็น หัวหน้าสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมกลาโหม
85. พลตรี ชัยยศ ลิลิตวงษ์ ผู้อำ นวยการศูนย์รักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม
86. พลตรี สมชาติ ศิลป์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น รองผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
87. พลตรี ชัยวิน ผูกพันธ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 28 เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
88. นาวาเอก เรวัต อุบลรัตน์ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม
89. พันเอก กฤษณ์ ลัยวิรัตน์ เป็น รองหัวหน้าสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
90. นาวาเอก โกวิท อินทร์พรหม เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

91. พันเอก เลิศฤทธิ์ ช่องวารินทร์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม
92. พันเอก ชิติพัทธ์ บุญช่วย เป็น หัวหน้าศูนย์อำนวยการประสานงานข่าวกรอง สำนักนโยบายและแผนกลาโหม
93. พันเอก ยุทธเกียรติ ล้วนไพรินทร์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพลเรือน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม
94. พันเอก ณัฐพล เกิดชูชื่น เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานกำลังพล กรมเสมียนตรา
95. พันเอก ภัทรพล ภัทรพัลลภ เป็น เสนาธิการกรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
96. พันเอก กานต์ กลัมพสุต เป็น ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
97. พันเอก กิติ ปัทมานนท์ เป็น เสนาธิการกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
98. พันเอก ไชย หว่างสิงห์ เป็น ผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
99. พันเอก พรพิศ รัตนานนท์ เป็น ตุลาการพระธรรมนูญประจำสำนักตุลาการทหาร
100. พันเอก ธำรงศักดิ์ วิวัฒนวานิช เป็น ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ

101. พันเอก ระพีพัชร จำรัส เป็น หัวหน้าอัยการทหาร
102. พันเอก พิสิษฐ ธีระเดชะชาติ เป็น รองเจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
103. พันเอก ธนภูมิ ดวงแก้ว เป็น นักวิชาการพิเศษ กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม
104. พันเอก ประจิตร อ่ำพันธุ์ เป็น ที่ปรึกษาทางเทคนิค กรมเทคโนโลยี สารสนเทศและอวกาศกลาโหม
105. พันเอก ชนินทร โพธิวัฒนางค์กูร เป็น รองเจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม
106. พันเอก พุฒิประสิทธิ์ จิระมะกร เป็น ผู้อำ นวยการสำ นักโยธาธิการ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
107. พันเอก ออมสิน ภิบาลญาติ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
108. พันเอก สุชาติ สุขสงค์ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
109. พันเอก ชวาล ผ่องใส เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
110. พันเอก วีรัฐ เกษสาคร เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

111. พันเอก ทรงพล พุ่มวิจิตร เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
112. นาวาเอก ยุทธชัย ลีลาสวัสดิ์ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
113. พันเอก สุรศักดิ์ วรรณสมบูรณ์ เป็น ผู้ชำนาญการสำนักงบประมาณกลาโหม
114. พันเอก เบญจพล รังษีภาณุรัตน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
115. พันเอก กฤษฎา รัตแพทย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
116. พันเอก ภัทรศักดิ์ หอมทรง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
117. พันเอก วัชริศ มูลณี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
118. พันเอก ศิวเรศ ศรีจันทร์วงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
119. พันเอก จิรภัทร เกิดโภคา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
120. พันเอก สุรศักดิ์ ภู่กลั่น เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

121. พันเอก จักรพงษ์ นวลชื่น เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
122. พันเอก ชาญชัย รุจิณรงค์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
123. พันเอก ปริทรรศน์ พงษ์พานิช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
124. พันเอก มาณพ ขาวสะอาด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
125. พันเอก ชาญชัย พฤกษ์ไพศาล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
126. พันเอก สมโชค แดงบรรจง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
127. พันเอก พจน์ เฟื่องฟู เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
128. นาวาอากาศเอก ก้องเกียรติ อารีรักษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
129. นาวาอากาศเอก อำนาจ ทองอ่อน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
130. นาวาอากาศเอก รังสรรค์ เยาวรัตน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

131. นาวาอากาศเอก พันธุ์เทพ ศิริพัฒนานันท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
132. นาวาอากาศเอกหญิง เชาวนา สุนทรวิภาต เป็น ผู้ชำนาญการกรมการเงินกลาโหม
133. พันเอกหญิง นาฎฐินี กลัมพสุต เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
134. พันเอกหญิง ภรณี ชเยมะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
135. พันเอกหญิง นันทิพา พรรัตนพันธุ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
136. พันเอกหญิง วรรณวิไล ไกรสรพงษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
137. นาวาอากาศเอกหญิง ไพเราะ ธรรมสุนทร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กองบัญชาการกองทัพไทย

138. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ เสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
139. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
140. พลเอก สุภกิจ นุตสถิตย์ ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
141. พลเอก กฤษฎา อารีรัชชกุล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
142. พลเรือเอก ไกรวุธ วัฒนธรรม ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
143. พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ รองเสนาธิการทหาร เป็น เสนาธิการทหาร
144. พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองเสนาธิการทหาร
145. พลเอก สุรสิทธิ์ ถาวร ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
146. พลเอก บัณฑิตย์ บุณยะปาน ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลเอก)
147. พลโท ถกลเกียรติ นวลยง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น รองเสนาธิการทหาร
148. พลเรือโท สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็น รองเสนาธิการทหาร
149. พลอากาศโท ชาญฤทธิ์ พลิกานนท์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น รองเสนาธิการทหาร
150. พลโท ธงชัย สาระสุข เจ้ากรมยุทธการทหาร เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด

151. พลโท กฤษณ์ รัมมนต์ เจ้ากรมแผนที่ทหาร เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลเอก)
152. พลโท ชัยชนะ นาคเกิด ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย
153. พลโท ธนสร ป้องอาณา รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย
154. พลโท จุลพจน์ อิทธะรงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
155. พลโท วิทยา วชิรกุล หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
156. พลโท รักบุญ มนต์สัตตา จเรทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
157. พลโท เกรียงศักดิ์ หมีทอง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
158. พลโท นิวัติ สุบงกฎ รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
159. พลโท สิบทิศ อักษรานุเคราะห์ ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
160. พลโท กฤษดา นรภูมิพิภัชน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)

161. พลโท ดุษฎี ภูลสนอง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
162. พลโท ก้องเกียรติ พลขันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
163. พลโท สมบูรณ์ แก้วอยู่ เจ้ากรมยุทธบริการทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลเอก)
164. พลเรือโท ไชยณรงค์ ขาววิเศษ ที่ปรึกษากองทัพเรือ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
165. พลโท อนุศักดิ์ เผ่านาค เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เป็น จเรทหาร
166. พลโท กฤษฎิ์ ยิ้มสู้ ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็น เจ้ากรมแผนที่ทหาร
167. พลโท นครา สุขประเสริฐ เสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
168. พลโท ธีร์ธวัช พลสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
169. พลโท เจิดวุธ คราประยูร ผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
170. พลโท สุรสิทธิ์ ถนัดทาง รองผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

171. พลโท สุพจน์ ธำมรงค์รัตน์ ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด
172. พลโท ยุทธนาสินธุ์ ศรีนุรัตน์เดชา ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลโท)
173. พลอากาศตรี วัฒนชัย เจริญรัตน์ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
174. พลตรี ปริพัฒน์ ผลาสินธุ์ รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหาร
175. พลอากาศตรี วีรพงษ์ นิลจินดา รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหาร
176. พลตรี ปริญญา ขุนนาศรี รองเจ้ากรมยุทธการทหาร เป็น เจ้ากรมยุทธการทหาร
177. พลเรือตรี ทิวา ดาราเมือง เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร
178. พลตรี ชนินทร์ โตเลี้ยง ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น เจ้ากรมยุทธบริการทหาร
179. พลตรี ชัชชัย ภัทรนาวิก รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เป็น ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
180. พลตรี คำรณ เครือวิชฌยาจารย์ รองเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เป็น เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร

181. พลตรี สัณทัศน์ นันทิภาคย์หิรัญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
182. พลตรี นเรนทร์ สิริภูบาล รองเสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น เสนาธิการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
183. พลตรี วรพล เยี่ยมแสงทอง รองผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
184. พลตรี รัตนชัย สุวรรณเทศ ผู้ช่วยผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ที่ปรึกษาสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ (อัตรา พลโท)
185. พลตรี ประสพชัย กงบุราณ ผู้อำนวยการสำนักวางแผนการฝึกร่วมและผสม กรมยุทธการทหาร เป็น ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย
186. พลตรี ชลิต ชุณหรัชพันธุ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย
187. พลตรี วรยุทธ ด้วงกลัด ผู้อำนวยการสำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
188. พลตรี ณรงค์ ไชยศรี รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
189. พลตรี เถกิงเดช คุ้มประยูร รองจเรทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
190. พลตรี มานพ อินทรแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจการปฏิบัติราชการ สำนักงานจเรทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

191. พลตรี ยอดพล เบี้ยวไข่มุข ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
192. พลตรี สมเกียรติ วรรณพิรุณ ผู้อำนวยการสำนักยุทธโยธาทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
193. พลตรี อนุชา รักเรือง รองเจ้ากรมข่าวทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
194. พลตรี ปรีชา เทียมฉัตร์ รองปลัดบัญชีทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
195. พลตรี ชิติสรรค์ สุขเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
196. พลตรี ธนัฐธัชญ์ พลอยไพศาล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
197. พลตรี ภาณุศิลป์ กลั่นเสนาะ รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
198. พลตรี อรรถธา รัตน์อ่อน ผู้ช่วยผู้บัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
199. พลตรี จุมพล เฉลยถ้อย ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
200. พลตรี ธราธร ใจดี ผู้อำนวยการสำนักบริการสิทธิประโยชน์กำลังพล กรมสารบรรณทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)

201. พลตรี วชิระ เกียรตินันทน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
202. พลตรี ชาติชาย ปานงาม ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
203. พลตรี สุทัศน์ จิตต์โสภา ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
204. พลตรี อัศฎางค์ สัจจปาละ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคงกรมกิจการชายแดนทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
205. พลตรี สมชาย ปั้นทอง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลโท)
206. พลอากาศตรี อนุพงศ์ จันทร์ใย ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุงร่วม กรมส่งกำลังบำรุงทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย (อัตรา พลอากาศโท)
207. พลตรี สมควร สาคร ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้อำนวยการสำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
208. พลตรี กิตติ เกตุศรี นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น เลขานุการกองบัญชาการกองทัพไทย
209. พลอากาศตรี รัชชาพงษ์ สมนาม ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหาร
210. พลอากาศตรี กีรติ วรทรัชต์ ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร

211. พลตรี ศิราวุฒิ วงศ์ขันตี เลขานุการกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
212. พลตรี ก่อเกียรติ พิทักษ์วงศ์ รองเจ้ากรมยุทธบริการทหาร เป็น รองจเรทหาร
213. พลตรี ดำรงค์ ตัณฑะผลิน ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร เป็น รองเจ้ากรมข่าวทหาร
214. พลตรี ณตฐพล บุญงาม ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหาร เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหาร
215. พลตรี สุภรัตน์ เงินบำรุง ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหาร เป็น รองปลัดบัญชีทหาร
216. พลตรี สุพจน์ มาลานิยม เสนาธิการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
217. พลตรี มนต์ ทวีวรรณบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารสิ่งอุปกรณ์ กรมส่งกำลังบำรุงทหาร เป็น รองเจ้ากรมยุทธบริการทหาร
218. พลตรี ไพโรจน์ วิไลลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน กรมกิจการชายแดนทหาร เป็น รองเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร
219. พลตรี ศิรัส แก้วสนธิ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้อำนวยการสำนักกิจการชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน กรมกิจการชายแดนทหาร
220. พลตรี ดนัย เถาว์หิรัญ ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย

221. พลตรี สุชาติ สุทธิพล ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง กรมกิจการชายแดนทหาร
222. พลตรี กิตติพงศ์ กาญจนาคม ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 2 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
223. พลตรี อภิชาติ ชามาตย์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหาร เป็น รองเสนาธิการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
224. พลเรือตรี คงคา เทพกุญชร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
225. พลตรี จรูญ อำภา ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง
226. พลตรี วิชา ไผ่เกาะ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกำลังพล กรมกำลังพลทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักตรวจการปฏิบัติราชการ สำนักงานจเรทหาร
227. พลตรี วิชัย ชูเชิด ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร
228. พลอากาศตรี สายศักดิ์ ครรภาฉาย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร
229. พลตรี ธิติชัย เทียนทอง ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักวางแผนการฝึกร่วมและผสม กรมยุทธการทหาร
230. พลตรี สัณห์เพชร สายสรรพมงคล ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง เป็น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหาร

231. พลอากาศตรี ธราธร รัตนเนนย์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ชำนาญการกองบัญชาการกองทัพไทย
232. พันเอก ทัฬห์ บุญเฉลย เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด
233. พันเอก สงคราม ขุมทอง เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
234. นาวาเอก ชาญชัยยศ อัฑฒ์สุวีร์ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
235. พันเอก สุชาติ ทับทิมแดง เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหาร
236. นาวาเอก บรรพต เนตรกระจ่าง เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหาร
237. นาวาเอก ก้องเกียรติ สัจวุฒิ เป็น รองเจ้ากรมกำลังพลทหาร 238. นาวาเอก อุดม ประตาทะยัง เป็น รองเจ้ากรมข่าวทหาร
239. นาวาอากาศเอก ทรงพล พรหมวา เป็น รองเจ้ากรมการสื่อสารทหาร
240. พันเอก กฤษณ์ บัณฑิต เป็น รองเจ้ากรมแผนที่ทหาร

241. พันเอก คณิศร สุนทรธีมากร เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการศูนย์รักษาความปลอดภัย
242. พันเอก ไตรเทพ ศรีพันธ์ุวงศ์ เป็น เสนาธิการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
243. นาวาอากาศเอก กระมล ทองประมูล เป็น เสนาธิการวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
244. พันเอก สุเมธี สานสุวรรณ เป็น ผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการทหาร
245. พันเอก นพดล สุขทับศรี เป็น ผู้อำนวยการสำนักยุทธโยธาทหาร
246. พันเอก ทวีศักดิ์ บุญรักชาติ เป็น รองเสนาธิการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
247. พันเอก ชาตรี กาญจนประโชติ เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกำลังพล กรมกำลังพลทหาร
248. พันเอก สุทน เหมือนพิทักษ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหาร
249. พันเอก นเรศน์ วงศ์สุวรรณ เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร
250. พันเอก ณัฐวุฒิ สบายรูป เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร

251. พันเอก วิทย์ เจริญศิริ เป็น รองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
252. พันเอก ไพศาล งามวงษ์วาน เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารสิ่งอุปกรณ์กรมส่งกำลังบำรุงทหาร
253. นาวาเอก สุรพงศ์ เจริญวัฒนสุข เป็น ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุงร่วม กรมส่งกำลังบำรุงทหาร
254. พันเอก คัมภีร์ พงษ์วิชัย เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหาร
255. พันเอก อนุชา ยันตรปกรณ์ เป็น รองเสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
256. พันเอก สำราญ ไชยริปู เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
257. พันเอก อภิสิทธิ์ นุชบุษบา เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 4 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
258. พันเอก ชุมโชค พลสมัคร เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริการสิทธิประโยชน์ กำลังพล กรมสารบรรณทหาร
259. พันเอก อภิศักดิ์ สมบัติเจริญนนท์ เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
260. พันเอก กิจก้อง กิตติขจร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

261. พันเอก นรนิติ เร้าเสถียร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
262. พันเอก สมบูรณ์ บุญเที่ยง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
263. พันเอก พรรณจักร์ สุกรีวิจิตต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
264. พันเอก ปริยะ เพ็ชรพลาย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
265. พันเอก ชุติภาส กาญจนฤกษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
266. พันเอก ณรงค์รัชช์ โตสิงห์ตระกูล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
267. พันเอก ฐิรวุฒิ ยูสานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
268. พันเอก ศักดิ์สิทธิ์ อยู่หุ่น เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
269. พันเอก พงศกร เพ็ญตระกูล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
270. พันเอก ประกาศิต เทศวิศาล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

271. พันเอก นเรศ ไชโย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
272. นาวาเอก คมสัน รัตนะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
273. นาวาอากาศเอก ณัฏฐนันท์ ธนัญชัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
274. นาวาอากาศเอก พิเชษฐ์ อาภรณ์พัฒนพงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
275. พันเอกหญิง พรจรีย์ แย้มจินดา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย
276. นาวาเอกหญิง อัญชณา คงคานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย

กองทัพบก

277. พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผู้บัญชาการทหารบก
278. พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร เสนาธิการทหารบก เป็น รองผู้บัญชาการทหารบก
279. พลเอก สิริศักดิ์ วรเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก
280. พลโท เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ แม่ทัพภาคที่ 1 เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

281. พลโท สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล แม่ทัพภาคที่ 3 เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
282. พลโท สสิน ทองภักดี รองเสนาธิการทหารบก เป็น เสนาธิการทหารบก
283. พลโท สุรเดช เฟื่องเจริญ รองเสนาธิการทหารบก เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
284. พลโท ธนศักดิ์ เก่งถนอมม้า ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
285. พลโท ธนดล สุรารักษ์ เจ้ากรมการทหารช่าง เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
286. พลโท มณฑล วัฒนธร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
287. พลโท บรรเจิด ฉางปูนทอง แม่ทัพน้อยที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
288. พลโท เรืองศักดิ์ สุวรรณนาคะ แม่ทัพน้อยที่ 4 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
289. พลโท ประสงค์ ล้อมทอง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
290. พลโท พะโจมม์ ตามประทีป ที่ปรึกษากองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)

291. พลโท ราชรักษ์ เรียนพืชน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
292. พลโท พิชิต บุญญาธิการ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
293. พลโท ไมตรี เตชานุบาล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
294. พลโท บัญชา ทองวิลัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
295. พลโท ศุภฤกษ์ ไม้แก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
296. พลโท ณัฏฐิพงษ์ เผือกสกนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลเอก)
297. พลโท สรรชัย อจลานนท์ เจ้ากรมกำลังพลทหารบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก
298. พลโท ณัฐพล นาคพาณิชย์ เจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก
299. พลโท อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพน้อยที่ 1 เป็น แม่ทัพภาคที่ 1
300. พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช ที่ปรึกษากองทัพบก เป็น แม่ทัพภาคที่ 4

301. พลตรี กนิษฐ์ ชาญปรีชญา ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหารกองทัพบก เป็น รองเสนาธิการทหารบก
302. พลตรี คธายุทธ์ เสาวคนธ์ รองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหารบก
303. พลตรี ชูชาติ บัวขาว รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารบก
304. พลตรี วิจักขฐ์ สิริบรรสพ รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น แม่ทัพภาคที่ 3
305. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา รองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็น แม่ทัพน้อยที่ 1
306. พลตรี ธนา จารุวัต รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น แม่ทัพน้อยที่ 3
307. พลตรี คุณวุฒิ หมอแก้ว รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็น แม่ทัพน้อยที่ 4
308. พลตรี ศิริชัย เทศนา รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
309. พลตรี สุรใจ จิตต์แจ้ง รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก
310. พลตรี จักรชัย โมกขะสมิต รองเจ้ากรมการทหารช่าง เป็น เจ้ากรมการทหารช่าง

311. พลตรี อาวุธ เอมวงศ์ รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เป็น เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก
312. พลตรี พิษณุ บุญรักษา รองเจ้ากรมพลาธิการทหารบก เป็น เจ้ากรมพลาธิการทหารบก
313. พลตรี ณฐพนธ์ ศรีสวัสดิ์ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
314. พลตรี สาโรช เขียวขจี รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก เป็น ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
315. พลตรี วิบูลย์พงศ์ อินทะพงษ์ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น รองหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
316. พลตรี เกรียงไกร ไกรลาศ รองเจ้ากรมการทหารช่าง เป็น ที่ปรึกษากองทัพบก
317. พลตรี จาตุรนต์ จารุเสน เจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก เป็น ที่ปรึกษากองทัพบก
318. พลตรี ธีระชัย เกตุตรีกรณ์ รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็น ที่ปรึกษากองทัพบก
319. พลตรี กัมพล ดิษฐคำเริง รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
320. พลตรี กันตภณ อัครานุรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

321. พลตรี ธรากฤต ทับทองสิทธ์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
322. พลตรี คู่ชีพ เลิศหงิม รองแม่ทัพภาคที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
323. พลตรี ชินวัฒน์ แม้นเดช รองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
324. พลตรี การุญ รัตนสุวรรณ รองแม่ทัพน้อยที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
325. พลตรี วัฒนชัย ประสานเกษม รองแม่ทัพน้อยที่ 4 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
326. พลตรี ชาตชาย วัฒน์ธนนันท์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
327. พลตรี ชัยวุฒ ยุทธศิลป์กุล ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
328. พลตรี วีระพันธ์ สมัครการ เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
329. พลตรี อดิศรย์ โครพ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
330. พลตรี กฤต ผิวเงิน ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

331. พลตรี อุทัย ชัยชนะ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
332. พลตรี นิตินัย ภีมะโยธิน ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
333. พลตรี ธัญญพรหม อัศวจินดา ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
334. พลตรี ประวิตร ฉายะบุตร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
335. พลตรี ดำริห์ สุขพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 13 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
336. พลตรี สิงห์ทอง หมีทอง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
337. พลตรี ชวลิต พงษ์พิทักษ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
338. พลตรี สุริยา ปาวรีย์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 19 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
339. พลตรี อุดร ประภาสะวัต ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
340. พลตรี โกศล ประทุมชาติ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

341. พลตรี ชัยณรงค์ แกล้วกล้า ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
342. พลตรี ธีร์ณฉัฏฐ์ จินดาเงิน ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 41 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
343. พลตรี พิชัย ผลพันธิน ผู้บัญชาการศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
344. พลตรี ชัยวัฒน์ จำรัส ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
345. พลตรี ดุษฎี ทัตตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
346. พลตรี สิทธิชัย จิตสมจินต์ ผู้อำ นวยการโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
347. พลตรี อรุณนิวัช ช้างใหญ่ เสนาธิการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
348. พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค ผู้ชำนาญการกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
349. พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด ผู้ชำนาญการกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
350. พลตรี ฐิติภูมิ เอื้ออำนวย ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

351. พลตรี นรินทร์ พรรณรายน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
352. พลตรี นพพร เบี้ยวไข่มุข ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
353. พลตรี เมตไตรย เจษฎาฉัตร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
354. พลตรี สนอง ชูดวง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
355. พลตรี สราวุธ กาพย์เดโช ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
356. พลตรี สนธิชัย ธนูสิงห์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
357. พลตรี สันต์ จิตรประสงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
358. พลตรี สุวัจน์ แย้มสงค์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
359. พลตรี เสมอภาค สง่าเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
360. พลตรี หม่อมหลวงกุลชาต ดิศกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)

361. พลตรี อธิวุฒิ เขียนวิจิตร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
362. พลตรี อรรถพร ทองธิราช ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
363. พลตรี ธัชพล กนกฉันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
364. พลตรี สิรเศรษฐ์ นุชอำพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองบัญชาการกองทัพไทย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก (อัตรา พลโท)
365. พลตรี วีระ บรรทม ผู้อำนวยการสำนักปกครองและบริการกำลังพล กรมกำลังพลทหารบก เป็น รองเจ้ากรมกำลังพลทหารบก
366. พลตรี พีระ ฉิมปรี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารบก เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
367. พลตรี รุจน์ อ่อนน้อมพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็น รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
368. พลตรี สันติพงศ์ ธรรมปิยะ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1
369. พลตรี ธรรมนูญ วิถี ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1
370. พลตรี สนธยา ศรีเจริญ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 2

371. พลตรี สมพงษ์ แจ้งจำรัส ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 3
372. พลตรี ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 310 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 3
373. พลตรี สุภโชค ธวัชพีระชัย เสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 3
374. พลตรี วรพล วิศรุตพิชญ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 4
375. พลตรี พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 เป็น รองแม่ทัพภาคที่ 4
376. พลตรี รเณศ อินทร์ยิ้ม เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3 เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ 3
377. พลตรี วิทยา อรุณเมธี เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 เป็น รองแม่ทัพน้อยที่ 4
378. พลตรี กิติศักดิ์ บัวสถิตย์ ผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
379. พลตรี อุดมศักดิ์ บัวพรหมมาตร์ เสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
380. พลตรี ประชุม กรุดสาท ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก

381. พลตรี ชัชวาลย์ เกิดสมบูรณ์ ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง เป็น รองเจ้ากรมการทหารช่าง
382. พลตรี วัจน์พัฒน์ เฟื่องฟู เสนาธิการกรมการทหารช่าง เป็น รองเจ้ากรมการทหารช่าง
383. พลตรี ศักดา ศิริรัตน์ ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เป็น รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก
384. พลตรี วิสุทธิ์ ศรีจันทราพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล กรมแพทย์ทหารบก เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก
385. พลตรี สุรศักดิ์ แพน้อย ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
386. พลตรี วัลลภ แดงใหญ่ ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
387. พลตรี สันต์ชัย เกิดสวัสดิ์ ผู้อำนวยการส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
388. พลตรี วัชระ พิทยานรเศรษฐ ผู้ชำนาญการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหารกองทัพบก
389. พลตรี ธีระพล มณีแสง ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาระบบ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก เป็น เจ้ากรมยุทธโยธาทหารบก
390. พลตรี พิศาล นาคผจญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารพัฒนาที่ 3

391. พลตรี ศตวรรษ รามดิษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
392. พลตรี หทัยเทพ กีรติอังกูร ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 19
393. พลตรี ณัฐชนก ศิริทีปตานนท์ เสนาธิการกองทัพภาคที่ 2 เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 27
394. พลตรี สมบูรณ์ ดีรอด ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก เป็น ผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพบก
395. พลตรี อยุทธ์ ศรีวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักแผนเตรียมพล กรมกำลังพลทหารบก เป็น ผู้อำนวยการสำนักปกครองและบริการกำลังพล กรมกำลังพลทหารบก
396. พลตรี ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก
397. พลตรี สุเทพ หิมารัตน์ เสนาธิการกรมพลาธิการทหารบก เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก
398. พลตรี วิรัช ปัญจานนท์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
399. พลตรี วรพจน์ ธนะธนิต ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
400. พลตรี อภิชาติ ไชยะดา ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

401. พันเอก ชัยวัฒน์ แสงทอง เป็น รองเจ้ากรมพลาธิการทหารบก
402. พันเอก เจริญชัย หินเธาว์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
403. พันเอก สมชาติ แน่นอุดร เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 3
404. พันเอก อภิเชษฐ์ ซื่อสัตย์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4
405. พันเอก สิทธิพร มุสิกะสิน เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5
406. พันเอก ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6
407. พันเอก ณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7
408. พันเอก วุฒิชัย นาควานิช เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9
409. พันเอก วิชาญ สุขสง เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15
410. พันเอก จิรเดช กมลเพ็ชร เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1

411. พันเอก ผดุงเกียรติ โปร่งจิตต์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 3
412. พันเอก พัลลภ เฟื่องฟู เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
413. พันเอก อนุสรณ์ ปัญญะบูรณ์ เป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารช่าง
414. พันเอก เภา โพธิ์เงิน เป็น ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 2
415. พันเอก อิทธิพล สุวรรณรัฐ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 13
416. พันเอก ยุทธชัย เทียรทอง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14
417. พันเอก สุรินทร์ นิลเหลือง เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15
418. พันเอก วสันต์ ทัพวงศ์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 16
419. พันเอก อัครเดช บุญเทียม เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 25
420. พันเอก ชาญชัย เอมอ่อน เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 28

421. พันเอก เกษมสุข ตาคำ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33
422. พันเอก สาธิต ศรีสุวรรณ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 34
423. พันเอก บัญชา ดุริยพันธ์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37
424. พันเอก วิทยา วรรคาวิสันต์ เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38
425. พันเอก ณรัช สิงห์ปภาภร เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 310
426. พันเอก อาคม พงศ์พรหม เป็น ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 41
427. พันเอก ณรงค์ศักดิ์ อัมรานนท์ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การทหารปืนใหญ่
428. พันเอก สายัณห์ เมืองศรี เป็น ผู้บัญชาการศูนย์สงครามพิเศษ
429. พันเอก พร ภิเศก เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
430. พันเอก กิตติพันธ์ ชูพิพัฒน์ เป็น เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก

431. พันเอก เชาวน์โรจน์ สอโส เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การบินทหารบก
432. พันเอก ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อสมบูรณ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก
433. พันเอก เชิดชัย อังศุสิงห์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก
434. พันเอก ศรชัย กาญจนสูตร เป็น ผู้บัญชาการศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก
435. พันเอก ธวัชชัย มาชมสมบูรณ์ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์อุตสาหการสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก
436. พันเอก สมคิด ดีมิตร เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การเคลื่อนย้ายกองทัพบก
437. พันเอก สุทิน เบ็ญจวิไลกุล เป็น เสนาธิการกองทัพภาคที่ 2
438. พันเอก ฉลองชัย ชัยยะคำ เป็น เสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
439. พันเอก จะนะ ปรีชา เป็น เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4
440. พันเอก ภาณุวัฒน์ เหนียวแน่น เป็น เสนาธิการกองทัพน้อยที่ 3

441. พันเอก อรรถพร เป้าประจักษ์ เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
442. พันเอก ทรงยศ อินทรเนตร เป็น เสนาธิการกรมการทหารช่าง
443. พันเอก กิตติชัย วงศ์หาญ เป็น เสนาธิการกรมพลาธิการทหารบก
444. พันเอก สุขุม สุขศรี เป็น เสนาธิการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
445. พันเอก สุรศักดิ์ ฉัตรกุล ณ อยุธยา เป็น ผู้อำนวยการสำนักแผนเตรียมพล กรมกำลังพลทหารบก
446. พันเอก อุกฤษฏ์ บุญตานนท์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารบก
447. พันเอก วุฒิไกร คล้ายวงษ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
448. พันเอก ชัยมนตรี โพธิ์ทอง เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาระบบ กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
449. พันเอก สุรัต แสงสว่างดำรง เป็น ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักนิยมและ ยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก
450. พันเอก วัชระ สัตยวงศ์ทิพย์ เป็น ผู้อำนวยการส่วนวิชาทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

451. พันเอก ธารา พูนประชา เป็น ผู้อำนวยการสถาบันพยาธิวิทยา ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
452. พันเอก นิมิตร์ สะโมทาน เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล กรมแพทย์ทหารบก
453. พันเอก วุฒิไชย อิศระ เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
454. พันเอกหญิง เบญจมาศ บุญรับพายัพ เป็น ผู้อำ นวยการวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
455. พันเอก สมบัติ เพชรประดับวงศ์ เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก (อัตรา พลตรี)
456. พันเอก สุขสันต์ บุญชิต เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก (อัตรา พลตรี)
457. พันเอก สุพเดช อุทา เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับบัญชากองทัพบก (อัตรา พลตรี)
458. พันเอก กฤชทัต ประเสริฐวงศ์ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก
459. พันเอก ไพ น้ำเจริญ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก
460. พันเอก ศิริพงษ์ รูปงาม เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพบก

461. พันเอก กฤษณะ วโรภาษ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
462. พันเอก กุศทินญ์ บูรณะวิทย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
463. พันเอก กุศล สิงห์สาย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
464. พันเอก จรูญ อินทร์สนอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
465. พันเอก จักราวุธ สินพูลผล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
466. พันเอก จิรวัฒน์ ทองเสนา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
467. พันเอก เจิมพล ถมยานาค เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
468. พันเอก ฉลองรัฐ ศรีปรีชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
469. พันเอก เฉลิมชัย ไชยสวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
470. พันเอก ชัชวาลย์ วรรณสุทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

471. พันเอก ฐิติเดช พงษ์สุวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
472. พันเอก ณรงค์กร บัวเงิน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
473. พันเอก ณรงค์ศักดิ์ สาสังข์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
474. พันเอก ณัชรพงศ์ ครุฑธา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
475. พันเอก ณัฏฐ์ เทียนทองดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
476. พันเอก ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
477. พันเอก ทนงศักดิ์ กิตติศัพท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
478. พันเอก ธรณิศ นิลวิไล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
479. พันเอก ธิติชัย ปรีชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
480. พันเอก ธีระ ศรีแสง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

481. พันเอก นพดล ศรีสิงห์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
482. พันเอก นพพร สุทเธนทร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
483. พันเอก นวภัทร ศิริวัฒน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
484. พันเอก นิพนธ์ รองสวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
485. พันเอก บัญชา รักชื่อ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
486. พันเอก บรรลือ อ่ำบุญ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
487. พันเอก ประจักษ์ ประเมศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
488. พันเอก ประสิทธิ์ สังข์น้อย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
489. พันเอก ผณินทร ปัทมโรจน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
490. พันเอก ภัคพงศ์ พรายจันทร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

491. พันเอก มนตรี ซ่วนพัฒน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
492. พันเอก ยงยุทธ สอนไม้ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
493. พันเอก วรรนพ นาคประสิทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
494. พันเอก วราวุธ พรหมสุภา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
495. พันเอก วิชัย วาสนสิริ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
496. พันเอก วิรัตน์ นิสยันต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
497. พันเอก วิริยะ ศรีบัวชุม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
498. พันเอก วิเศษศักดิ์ สุนทรเกส เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
499. พันเอก วีระพล ไตรสิงห์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
500. พันเอก ศุภชัย พรหมรุ่งเรือง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

501. พันเอก สมพจน์ สังข์ดา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
502. พันเอก สมเจตน์ เลิศรัตน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
503. พันเอก สุทธจิต ลีลานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
504. พันเอก สิทธิ ตระกูลวงศ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
505. พันเอก สิริศักดิ์ ตุ้มทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
506. พันเอก สุเมธ ธีระกุล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
507. พันเอก อดิศักดิ์ บัวพรหมมาตร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
508. พันเอก อนุรักษ์ แสงฤทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
509. พันเอก อัครวัฒน์ ซื่อสัตย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
510. พันเอก อิทธิศักดิ์ พลศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

511. พันเอกหญิง กรวิกา สิรสุนทร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
512. พันเอกหญิง จินตนา อิงคุลานนท์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
513. พันเอกหญิง นริสา เชิดธรรม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
514. พันเอกหญิง ศิริพักตร์ วีระภุชงค์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
515. พันเอกหญิง อังคณา ธีรเนตร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก

กองทัพเรือ

516. พลเรือเอก ทวีชัย บุญอนันต์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ
517. พลเรือเอก พลเดช เจริญพูล ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทหารเรือ
518. พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
519. พลเรือโท นฤดม ชวนะเสน ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
520. พลเรือโท จุมพล ลุมพิกานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือ เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา

521. พลเรือโท สุชีพ หวังไมตรี รองเสนาธิการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
522. พลเรือโท พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย รองเสนาธิการทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
523. พลเรือโท รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
524. พลเรือโท ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็น เสนาธิการทหารเรือ
525. พลเรือโท โสภณ วัฒนมงคล รองเสนาธิการทหารเรือ เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ
526. พลเรือโท ธานี ผุดผาด รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
527. พลเรือโท ไพโรจน์ อุ่นใจ รองเสนาธิการทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
528. พลเรือโท ปิติ วัลยะเพ็ชร์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
529. พลเรือโท รังสรรค์ โตอรุณ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
530. พลเรือโท นวพล ดำรงพงศ์ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ

531. พลเรือโท ฐานันดร์ เข็มเพ็ชร รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)
532. พลเรือโท เจริญศักดิ์ มารัตนะ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
533. พลเรือโท พัชระ พุ่มพิเชฏฐ์ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
534. พลเรือโท สุรพงษ์ อำนรรฆสรเดช ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
535. พลเรือโท ปัญญา เล็กบัว ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
536. พลเรือโท ไตรสิทธิ์ พันธุ์สิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
537. พลเรือโท พิเชฐ ตานะเศรษฐ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
538. พลเรือโท สุธีพงศ์ แก้วทับ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น รองเสนาธิการทหารเรือ
539. พลเรือโท ธีร์ อุปนิสากร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ เป็น ที่ปรึกษากองทัพเรือ
540. พลเรือโท นพดล สุภากร เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ

541. พลเรือโท ปกรณ์ วานิช เจ้ากรมข่าวทหารเรือ เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ
542. พลเรือตรี สุรศักดิ์ เมธยาภา ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1
543. พลเรือตรี ช่อฉัตร กระเทศ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
544. พลเรือตรี สุรพล คุปตะพันธ์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ เป็น ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
545. พลเรือตรี พฤหัส รัชฎา ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
546. พลเรือตรี บุญชิต พูลพิทักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
547. พลเรือตรี ประจวบ อ่อนตามธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
548. พลเรือตรี อำพล เที่ยงสกุล รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
549. พลเรือตรี สิริบุญ สุคนธมาน รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
550. พลเรือตรี วีนัส แจ้งสี ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

551. พลเรือตรี มิ่ง อิ่มวิทยา รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
552. พลเรือตรี วันชัย ท้วมเสม รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
553. พลเรือตรี มนต์ชัย กาทอง รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
554. พลเรือตรี วสันต์ บุญเนือง รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็น ที่ปรึกษากองทัพเรือ
555. พลเรือตรี ชาติชาย ศรีวรขาน รองปลัดบัญชีทหารเรือ เป็น ปลัดบัญชีทหารเรือ
556. พลเรือตรี สมภพ สุวิทยาลังการ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
557. พลเรือตรี ปรีชา พงศ์สุวรรณ รองเจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
558. พลเรือตรี สมหมาย วงษ์จันทร์ รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
559. พลเรือตรี สมชาย ณ บางช้าง เลขานุการกองทัพเรือ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ
560. พลเรือตรี สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ เป็น เจ้ากรมข่าวทหารเรือ

561. พลเรือตรี อารักษ์ แก้วเอี่ยม ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
562. พลเรือตรี สุกิตติ เสงี่ยมพงษ์ รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
563. พลเรือตรี อรัญ นำผล ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
564. พลเรือตรี เผดิม เนินฉาย รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
565. พลเรือตรี ชัชชัย โพธิพรรค เจ้ากรมจเรทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
566. พลเรือตรี สานนท์ ผะเอม ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
567. พลเรือตรี ประดิษฐ สำอางค์อินทร์ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
568. พลเรือตรี อาทร เคลือบมาศ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
569. พลเรือตรี นพดล เรืองสมัย ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)

570. พลเรือตรี วรรณพล กล่อมแก้ว รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือโท)
571. พลเรือตรี ชาติชาย ยุวรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2
572. พลเรือตรี สุรวิทย์ อาษานอก รองเจ้ากรมพลาธิการทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ
573. พลเรือตรี พร้อมสรรพ์ วุฑฒกนก ศาสตราจารย์ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ เป็น เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
574. พลเรือตรี บรรพต เกิดภู่ รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 เป็น เจ้ากรมจเรทหารเรือ
575. พลเรือตรี รัษฎางค์ ธีรเนตร ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
576. พลเรือตรี ยุจ พิจิตรชุมพล ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1
577. พลเรือตรี อนุพงศ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รองผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ
578. พลเรือตรี สุชา เคี่ยมทองคำ ผู้บัญชาการกองการฝึก กองเรือยุทธการ เป็น เจ้ากรมการขนส่งทหารเรือ
579. พลเรือตรี เสรีภาพ สุขเจริญ ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ เป็น รองผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ
580. พลเรือตรี พงศกร กุวานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

581. พลเรือตรี วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ผู้บัญชาการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ
582. พลเรือตรี สิทธิพร มาศเกษม ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ
583. พลเรือตรี พงศชาญ เพ็ชรเทศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ เป็น เลขานุการกองทัพเรือ
584. พลเรือตรี สมนึก เปรมปราโมทย์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็น รองเสนาธิการกองเรือยุทธการ
585. พลเรือตรี เอกราช พรหมลัมภัก ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
586. พลเรือตรี ธาดา เวสารัชชนันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ
587. พลเรือตรี กิตติพงศ์ รุมาคม รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็น รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ
588. พลเรือตรี สุชาติ บุญญะสัญ ผู้อำนวยการอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
589. พลเรือตรี ตุลา เกตุษเฐียร ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ เป็น ศาสตราจารย์ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
590. พลเรือตรี นพดล ปัญญาโฉม ผู้บัญชาการศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

591. พลเรือตรี สันติ เปาอินทร เสนาธิการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เป็น รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ
592. พลเรือตรี เชาว์ น้อยภารา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น รองเจ้ากรมพลาธิการทหารเรือ
593. พลเรือตรี เกรียงไกร อนันตศานต์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ
594. พลเรือตรี คำรณ พิสณฑ์ยุทธการ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
595. พลเรือตรี มนต์ธรรม์ วังแก้ว ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 2
596. พลเรือตรี เดชดล ภู่สาระ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1
597. พลเรือตรี ไชยนันท์ นันทวิทย์ รองเจ้ากรมข่าวทหาร เป็น ผู้บัญชาการกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ
598. พลเรือตรี วรานนท์ สิทธิพิทักษ์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ
599. พลเรือตรี จงกล มีสวัสดิ์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2
600. พลเรือตรี อณุวัฒ สัมภวะผล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ

601. พลเรือตรี นภดล สำราญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ เป็น เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือ
602. พลเรือตรี วินัย วิรัชกุล รองเจ้ากรมกำลังพลทหาร เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
603. พลเรือตรี เจริญพล คุ้มราษี เสนาธิการวิทยาลัยเสนาธิการทหารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ เป็น รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3
604. พลเรือตรี เบญญา บุญส่ง ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองการฝึก กองเรือยุทธการ
605. พลเรือตรี นิพร สุขเกษตร เจ้ากรมช่างโยธาทหารเรือเป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารเรือ
606. พลเรือตรี ชาลี ส่องสว่างธรรม ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ
607. พลเรือตรี กำจาย ปองเงิน เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ เป็น รองเจ้ากรมอู่ทหารเรือ
608. พลเรือตรี สมัย ใจอินทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายผลิต อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการอู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ
609. พลเรือตรี สมเจตน์ วันหว่าน ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายผลิต อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ
610. พลเรือตรี ศุภกร ปรกแก้ว ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ

611. พลเรือตรี พีระ อดุลยาศักดิ์ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ
612. พลเรือตรี ธีรกุล กาญจนะ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศจัดการทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
613. พลเรือตรี นันทพล มาลารัตน์ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็น ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
614. พลเรือตรี ชนินทร์ ผดุงเกียรติ เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1 เป็น ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ
615. พลเรือตรี วศิน บุญเนือง ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
616. พลเรือตรี วรรณ์ลบ ทับทิม หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหาร เป็น ผู้อำนวยการศูนย์ซ่อมสร้างสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารเรือ
617. พลเรือตรี วรพล ทองปรีชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
618. พลเรือตรี รณภพ กาญจนพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ซ่อมสร้างสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารเรือ เป็น เสนาธิการทัพเรือภาคที่ 1
619. พลเรือตรี สมพงษ์ บุญด้วยลาน ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ
620. พลเรือตรี วิศาล ปัณฑวังกูร ผู้อำนวยการสำนักการข่าว กรมข่าวทหารเรือ เป็น ผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ

621. พลเรือตรี วิศณุ สร้างวงศ์ใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
622. พลเรือตรี กิตติโศภณ โตสมบัติ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ เป็น ผู้อำนวยการสำนักการข่าว กรมข่าวทหารเรือ
623. พลเรือตรี ชูศักดิ์ ชูไพฑูรย์ ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ
624. นาวาเอก วิริทธิ์พล ธำรงเกื้อหนุน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
625. นาวาเอก ธนรักษ์ เอี่ยวสานุรักษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
626. นาวาเอก รณรงค์ สิทธินันทน์ เป็น ผู้บัญชาการศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
627. นาวาเอก พีระพล ธีรกุล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
628. นาวาเอก โฆษิต โพธิสิทธิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
629. นาวาเอก สุทธิพงส์ บุญลอย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
630. นาวาเอก โอภาส บูรณสัมฤทธิ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

631. นาวาเอก รักษพล ทองภักดี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
632. นาวาเอก เกียรติกุล เทียนสุวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
633. นาวาเอก อรรณพ ถิ่นพังงา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
634. นาวาเอก ปกรณ์ ปั่นสวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
635. นาวาเอก วัตรกิจ ยกสวัสดิ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
636. นาวาเอก จักรกฤช มะลิขาว เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
637. นาวาเอก ธเนศ อินทรัมพรรย์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ
638. นาวาเอก ภาณุวัชร กองจินดา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
639. นาวาเอกหญิง หยาดนภา บุญอนันต์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
640. นาวาเอก ธวัช นวลปลอด เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

641. นาวาเอกหญิง วราภรณ์ เกิดสุข เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
642. นาวาเอก ดุลยพจน์ สิชฌนุกฤษฏ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
643. นาวาเอก ไชยวัฒน์ ม่วงน้อย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
644. นาวาเอก บุลกร ไชยศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
645. นาวาเอก ประกายพฤกษ์ ศรีฟ้า เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ
646. นาวาเอก สมชาย แท่นนิล เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ
647. นาวาเอก อนุชาติ อินทรเสน เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
648. นาวาเอก เบญญา นาวานุเคราะห์ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ
649. นาวาเอก ไพชยนต์ จักรกลม เป็น ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ
650. นาวาเอก ภรเดช คะชา เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพเรือ

651. นาวาเอก อดินันท์ สุนทรารักษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
652. นาวาเอก พินิจ ชื่นรุ่ง เป็น นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำกองบัญชาการกองทัพเรือ
653. นาวาเอก นฤพล เกิดนาค เป็น ผู้อำนวยการการท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ
654. นาวาเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ
655. นาวาเอก สุทธินันท์ สมานรักษ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
656. นาวาเอก สำเริง จันทร์โส เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
657. นาวาเอก สุรนันท์ แสงรัตนกูล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
658. นาวาเอก สมพงษ์ นาคทอง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
659. นาวาเอก ธนู อยู่สุขี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
660. นาวาเอก สุพพัต ยุทธวงศ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหารเรือ

661. นาวาเอก อำนวย ทองรอด เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
662. นาวาเอก อนุชา เอี่ยมสุโร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
663. นาวาเอก เทิดเกียรติ อ่อนเมือง เป็น ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการ สำนักงานปลัดบัญชีทหารเรือ
664. นาวาเอก วุฒิชัย สายเสถียร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
665. นาวาเอก ยุทธศิลป์ จงเจือกลาง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
666. นาวาเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
667. นาวาเอก พิสิษฐ์ ทองดีเลิศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
668. นาวาเอก ระพีพงษ์ โสวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
669. นาวาเอก ชัยนันต์ ศรีเดช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
670. นาวาเอก ณรงค์ แสงบุศย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

671. นาวาเอกหญิง ปัทมา วิริยะศิริกุล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
672. นาวาเอก นันทปรีชา มีจันทร์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
673. นาวาเอกหญิง พรทิพย์ เมฆลอย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
674. นาวาเอกหญิง จินตนา แสงประเสริฐ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
675. นาวาเอกหญิง วิจิตรา ภู่เจริญยศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ

กองทัพอากาศ

676. พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ
677. พลอากาศเอก ทวิเดนศ อังศุสิงห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการทหารอากาศ
678. พลอากาศเอก เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพอากาศ
679. พลอากาศเอก สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
680. พลอากาศเอก นิรันดร์ ยิ้มสรวล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก) เป็น ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ

681. พลอากาศเอก ชูชาติ บุญชัย รองเสนาธิการทหาร เป็น ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
682. พลอากาศเอก นิทัศน์ ศิริมาศ หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บังคับบัญชา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
683. พลอากาศโท ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
684. พลอากาศโท สุรศักดิ์ ทุ่งทอง รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น เสนาธิการทหารอากาศ
685. พลอากาศโท ชวรัตน์ มารุ่งเรือง รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
686. พลอากาศโท ฌเณศ ชลิตภิรัติ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
687. พลอากาศโท พงศธร ไชยเสน ปลัดบัญชีทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
688. พลอากาศโท มานะ ประสพศรี รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
689. พลอากาศโท ยรรยง คุณโฑถม ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท) เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
690. พลอากาศโท สุรสิทธิ์ ปัญญาอุทัย หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)

691. พลอากาศโท อำพล อิ่มบัว รองเสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศเอก)
692. พลอากาศโท ธีรวุฒิ บุญเลิศ เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ
693. พลอากาศโท ภานุพงศ์ เสยยงคะ เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ
694. พลอากาศโท วันชัย นุชเกษม เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ
695. พลอากาศโท วิเชียร ธรรมาธร เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ
696. พลอากาศโท ไกรพล ยั่งยืน เจ้ากรมกำลังพลทหาร เป็น เจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ
697. พลอากาศโท ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็น เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
698. พลอากาศตรี นราธิป คำระกาย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ
699. พลอากาศตรี วงศกร เปาโรหิตย์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น รองเสนาธิการทหารอากาศ
700. พลอากาศตรี นพฎล ทองพุ่ม รองเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมข่าวทหารอากาศ

701. พลอากาศตรี มานัต วงษ์วาทย์ รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ
702. พลอากาศตรี ชาญยุทธ ศิริธรรมกุล รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
703. พลอากาศตรี สุทัศน์ แสงเดชะ เจ้ากรมการเงินทหารอากาศ เป็น ปลัดบัญชีทหารอากาศ
704. พลอากาศตรี จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
705. พลอากาศตรี ปัทม สุทธิสรโยธิน รองเจ้ากรมช่างอากาศ เป็น เจ้ากรมช่างอากาศ
706. พลอากาศตรี ไชยศ เทียนคำศรี รองเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ
707. พลอากาศตรี อนุตตร จิตตินันทน์ รองเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ
708. พลอากาศตรี สิทธิพร เกสจินดา รองปลัดบัญชีทหารอากาศ เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
709. พลอากาศตรี คเชนท์ โสมะนันทน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)
710. พลอากาศตรี ชลิต รัมมะวาส เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)

711. พลอากาศตรี วสันต์ อยู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)
712. พลอากาศตรี ศักดิ์พินิต พร้อมเทพ เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)
713. พลอากาศตรี ศิริพงษ์ สุภาพร เลขานุการกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)
714. พลอากาศตรี สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร ผู้อำ นวยการสำ นักกิจการพลเรือนเเละประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ (อัตรา พลอากาศโท)
715. พลอากาศตรี นภาเดช ธูปะเตมีย์ หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารอากาศ เป็น ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ
716. พลอากาศตรี อัครพล กลิ่นอุบล ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารอากาศ
717. พลอากาศตรี แมน ศีตะจิตต์ ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น เลขานุการกองทัพอากาศ
718. พลอากาศตรี เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ เป็น เจ้ากรมการเงินทหารอากาศ
719. พลอากาศตรี ต่อพล ออเขาย้อย ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ
720. พลอากาศตรี ชัยยะ อุปริรัตน์ เสนาธิการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน

721. พลอากาศตรี ปรีชา ชมบุญ เจ้ากรมจเรทหารอากาศ เป็น รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
722. พลอากาศตรี สุรทิน ยาวะโนภาส วิศวกรอาวุโสกรมช่างอากาศ เป็น รองเจ้ากรมช่างอากาศ
723. พลอากาศตรี อัมรินทร์ ตรีเพ็ชร รองเจ้ากรมสื่อสารทหาร เป็น รองเจ้ากรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ
724. พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เกื้ออรุณ เสนาธิการกรมสรรพาวุธทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ
725. พลอากาศตรี ไชยวัฒน์ กาศโอสถ ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น เสนาธิการกรมสรรพาวุธทหารอากาศ
726. พลอากาศตรี นิรันดร พิเดช เสนาธิการกรมแพทย์ทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ
727. พลอากาศตรี สุรพล พุทธมนต์ ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น เจ้ากรมช่างโยธาทหารอากาศ
728. พลอากาศตรี สุทธิพันธุ์ ต่ายทอง ผู้อำนวยการสำนักการปกครองและพัฒนากำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ
729. พลอากาศตรี ธรินทร์ ปุณศรี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรมข่าวทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมข่าวทหารอากาศ
730. พลอากาศตรี เฉลิมชัย ศรีสายหยุด ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ

731. พลอากาศตรี ศิริพล ศิริทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
732. พลอากาศตรี แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงบประมาณ สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ เป็น รองปลัดบัญชีทหารอากาศ
733. พลอากาศตรี คงศักดิ์ จันทรโสภา ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมข่าวทหารอากาศ
734. พลอากาศตรี สุรศักดิ์ อินทร์จำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
735. พลอากาศตรี ศุภณัฏฐ หนูรอด รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร เป็น ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือนเเละประชาสัมพันธ์ กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
736. พลอากาศตรี ประสงค์ ดวงเดือน ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
737. พลอากาศตรี สุธีระ เย็นทรวง หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
738. พลอากาศตรี สุรพล ชนไมตรี หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
739. พลอากาศตรี สุเวทย์ งูพิมาย หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
740. พลอากาศตรี เกรียงศักดิ์ โชคชินพัฒน์ ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

741. พลอากาศตรี ปีย์กรณ์ ปรีมณีสิทธ์ รองเจ้ากรมยุทธการทหาร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
742. พลอากาศตรี พิชัย วัจนสุนทร ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
743. พลอากาศตรี พิทักษ์ คูณขุนทด ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
744. พลอากาศตรี อดินันท์ จารยะพันธุ์ ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
745. นาวาอากาศเอก ฉัตรชัย มุขพรหม เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองผู้บัญชาการทหารอากาศ
746. นาวาอากาศเอก อติชาติ ศิลานันท์ เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
747. นาวาอากาศเอก อนุชา ผลโภค เป็น หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ
748. นาวาอากาศเอก วิฑูรย์ ตรีพรม เป็น ผู้ช่วยหัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
749. นาวาอากาศเอก นฤพล จักรกลม เป็น เจ้ากรมสารบรรณทหารอากาศ
750. นาวาอากาศเอก ภูวเดช สว่างแสง เป็น เจ้ากรมจเรทหารอากาศ

751. นาวาอากาศเอก สุวรรณ ขำทอง เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน
752. นาวาอากาศเอก ภูมิใจ ชัยพันธุ์ เป็น เสนาธิการหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
753. นาวาอากาศเอก เกรียงศักดิ์ ชาญตะปะ เป็น วิศวกรอาวุโสกรมช่างอากาศ
754. นาวาอากาศเอก เกรียงไกร โสธรชัย เป็น เสนาธิการกรมแพทย์ทหารอากาศ
755. นาวาอากาศเอก ชากร ตะวันแจ้ง เป็น ผู้อำนวยการสำนักการปกครองและพัฒนากำลังพล กรมกำลังพลทหารอากาศ
756. นาวาอากาศเอก สุรชัย อำนวยสิน เป็น ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหารอากาศ
757. นาวาอากาศเอก ชานนท์ มุ่งธัญญา เป็น ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ
758. นาวาอากาศเอก ธนศักดิ์ เมตะนันท์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ
759. นาวาอากาศเอก ดำเนิน พุ่มเจริญ เป็น ผู้อำนวยการสำนักส่งกำลังบำรุง กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
760. นาวาอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารทรัพยากร สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ

761. นาวาอากาศเอก ปราโมทย์ ศิริธรรมกุล เป็น ผู้อำนวยการสำนักบริหารงบประมาณ สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ
762. นาวาอากาศเอก ภาณุ อดทน เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
763. นาวาอากาศเอก วิรัตน์ เอี่ยมสาย เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
764. นาวาอากาศเอก อัมพร ทองถม เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
765. นาวาอากาศเอก กรวิตต์ วัชรสินธุ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
766. นาวาอากาศเอก กอบ พืชผา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
767. นาวาอากาศเอก ขวัญบุญ จุลเปมะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
768. นาวาอากาศเอก จำรัส บุญชูช่วย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
769. นาวาอากาศเอก ทวี มังสิงห์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
770. นาวาอากาศเอก ธรณินทร์ ตัณฑเสน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

771. นาวาอากาศเอก นภดล อุดมชัยรัตน์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
772. นาวาอากาศเอก นิรุช สายมี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
773. นาวาอากาศเอก นิสสัย วงษ์สวรรค์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
774. นาวาอากาศเอก บัญญัติ สุนทรธีรธรรม เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
775. นาวาอากาศเอก บัณฑิตย์ มีชูชีพ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
776. นาวาอากาศเอก ประยุทธ เปี่ยมสุวรรณ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
777. นาวาอากาศเอก ปริญญา ปรัชญาพันธ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
778. นาวาอากาศเอก ปรีชา ชนะชัย เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
779. นาวาอากาศเอก พิบูลย์ พุ่มเรือง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
780. นาวาอากาศเอก พีร์นิธิ จิรฐสุวรรณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

781. นาวาอากาศเอก ภัทระ โพธิ์ถวิล เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
782. นาวาอากาศเอก ภากร อุณหเลขกะ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
783. นาวาอากาศเอก ภาณุวัชร์ เปี่ยมศรี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
784. นาวาอากาศเอก มนูญ ชื่นชมคุณ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
785. นาวาอากาศเอก วิธาน ทิพย์มโนสิงห์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
786. นาวาอากาศเอก สนอง กัลปนาท เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
787. นาวาอากาศเอก สันติชัย พัฒกลับ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
788. นาวาอากาศเอก สุจินดา สุมามาลย์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
789. นาวาอากาศเอก สุรพันธ์ จรุงพันธุ์ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
790. นาวาอากาศเอก เสริมเกียรติ ก้อนมณี เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

791. นาวาอากาศเอก อภิสฤษฎิ์ วริทธิ์ธรนิรุช เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
792. นาวาอากาศเอกหญิง จินตนา ศิริโยธิพันธุ์ เป็น ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายใน ทหารอากาศ
793. นาวาอากาศเอกหญิง ดุจหทัย หาญสวธา เป็น ผู้ชำนาญการกองทัพอากาศ
794. นาวาอากาศเอกหญิง กฤตพร ตะวันแจ้ง เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
795. นาวาอากาศเอกหญิง จินตนา พวงผกา เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
796. นาวาอากาศเอกหญิง ประไพศรี ลยางกูร เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
797. นาวาอากาศเอกหญิง ผกาภรณ์ ศิริมาศ เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ
798. นาวาอากาศเอกหญิง สุภาวดี โหมาศวิน เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พล.อ.ประยุทธ์ขอคนไทยพักใจให้ดูละคร-เที่ยวพักผ่อน ส่วนพักกายให้ดูผลงานของรัฐ

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เปิดเผยว่าได้ไปประชุม  G20 ที่เมืองจีน ในฐานะที่เป็นประธาน G77 สะท้อนบทบาทไทยเป็นสะพานเชื่อม 2 กลุ่มเข้าด้วยกัน สร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมขอให้ประชาชนถ้ามีเวลาพักกาย ให้ดูผลงานรัฐ ว่าเขาทำอะไรกันบ้าง มีส่วนไหนจะช่วยรัฐบาลได้ ไม่ใช่โต้แย้งทุกเรื่อง

9 ก.ย. 2559 ในรายการ คืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. กล่าวเรื่องต่างๆ ตามที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลมีรายละเอียดดังนี้

000

สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน

ผมขอแสดงความยินดีกับคณะเยาวชนไทย จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้แก่ นางสาวสุรีย์พร ตรีเพชรประภา  นางสาวธิดารัตน์ เพียร และ นางสาวกาญจนา คมกล้า  ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานวิจัย  “นวัตกรรมการกักเก็บน้ำโดยเลียนแบบสับปะรดสี”  ซึ่งชนะเลิศจากการประกวดผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ประจำปี 2559  และได้รับ “รางวัลชนะเลิศ” ในการประกวด Stockholm Junior Water Prize ที่เมืองสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน  ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้รับพระกรุณาธิคุณจากเจ้าฟ้าชายคาร์ล ฟิลิป แห่งสวีเดน ประทานรางวัล ในครั้งนี้อีกด้วย

ผมขอขอบคุณและชื่นชม อาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 2 ท่าน ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้   พร้อมทั้ง สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันผลงานเยาวชนไทยดังกล่าว สู่สายตาชาวโลก และชนะเวทีการประกวดระดับนานาชาติ  ซึ่งผลงานนี้จะเป็นนวัตกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ สอดคล้องกันการพัฒนาที่ยั่งยืน  เกิดจากการเรียนรู้ จากการสังเกตธรรมชาติ และสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน  หลายอย่างถ้าทุกคนมองผ่าน ๆ ก็จะไม่เห็นประโยชน์อะไร แต่ถ้าหากมองอย่างพินิจ พิเคราะห์ อาจจะนำมาสู่การคิดการนำสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ หรือโลกอีกก็ได้ ผมเห็นว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่คงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ อย่างนี้เสมอ  เหมือนการสร้างบ้าน สร้างอาคารสูง ก็ต้องเริ่มจากลงเสาเข็ม  ก้อนอิฐ ก้อนเล็ก ๆ มาประกอบกันเช่นกัน

สำหรับผลงานวิจัยนี้  เกิดจากการศึกษาการกลไกทางธรรมชาติ 2 ประการ คือ (1) การกักเก็บน้ำและรักษาความชื้นของสับปะรดสี ประกอบด้วย การสังเกตคุณสมบัติเฉพาะ ของแผ่นสังกะสีเคลือบอะลูมิเนียมมุงหลังคาบ้านที่มีความจุความร้อนน้อย ในช่วงเวลากลางคืนเมื่อไอน้ำในอากาศมากระทบจึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ง่าย จนนำมาสู่การประยุกต์ เป็นต้นแบบสร้างอุปกรณ์ในการกักเก็บน้ำเลียนแบบสับปะรดสี โดยประดิษฐ์จากแผ่นอะลูมิเนียม  นับเป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรได้ โดยโมเดลจากการวิจัยนี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้แม้ในสภาวะแห้งแล้ง จากการนำชุดอุปกรณ์นี้ ที่มีราคาต้นทุนเพียงชุดละ 25 บาท ไปใช้งานจริงติดตั้งบนต้นยางพาราซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ  พบว่าสามารถรักษาความชื้นในดินได้ มากกว่าปกติร้อยละ 17 ประหยัดการรดน้ำลงกว่าปกติ ร้อยละ 10 ให้ผลผลิตสูงขึ้น ร้อยละ 57 และสามารถคืนทุนได้ภายใน 6 วัน  ผมคิดว่านวัตกรรมนี้ เกิดจากการสังเกตและผลิตอย่างง่าย ๆ  เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเยาวชนช่วยกันประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้  และให้ได้รับการพัฒนาด้วยหลักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการสนับสนุนสู่การผลิต มีการใช้ผมก็คิดว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ๆ  ขึ้นไปหลาย ๆ อย่าง  ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาต่อยอดต่อไป  อย่างปล่อยให้ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ น่าเสียดาย

จากการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ได้เห็นชอบให้เพิ่มบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) นับเป็นกลไกใหม่ ในแต่ละทุกกระทรวงให้มีหน้าที่ประสานงาน เร่งรัด กำกับ  ดูแลและติดตาม ให้รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวง ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ รวมทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้วย  โดยจะต้องทำงานประสานสอดคล้องกับ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ป.ป.ช.  ป.ป.ท.  สตง.  และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย  รัฐบาลนี้ถือว่าการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็น “วาระแห่งชาติ”  การดำเนินการทุกอย่าง ต้องมิใช่เป็นเพียงแนวนโนบาย หรือเป็นแผนในกระดาษ แต่ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม ในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

เราได้ตรวจสอบพบว่า  3 ปีที่ผ่านมา (2556 – 2558) ปัญหาการทุจริตสร้างความเสียหายให้หน่วยงานรัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มากกว่า 200 เรื่อง คิดมูลค่าความเสียหายมากกว่า 5 แสนล้านบาท   วันนี้รัฐบาลนี้ทำให้สถานการณ์การทุจริตลดลงเห็นอย่างชัดเจน  จากผลสำรวจของหน่วยงานต่างๆ  โดยเฉพาะผลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น  (Corruption Perceptions Index :  CPI) เกือบ 180 ประเทศทั่วโลก  ตั้งแต่ปี 2556 – 2558 อันดับของประเทศไทย “ดีขึ้น” ทุก ๆ ปี อย่างต่อเนื่อง  โดยในปี 2556 ก่อนที่รัฐบาลนี้ และ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ เราอยู่อันดับที่ 102  ปัจจุบันเราอยู่อันดับที่ 76 (“ดีขึ้น” เกือบ 30 อันดับ)   โดยเป้าหมายสำคัญในการปราบปรามการทุจริตของ รัฐบาลคือ “คนโกงรายเก่าจะต้องหมดไป คนโกงรายใหม่จะต้องไม่เกิด และไม่เปิดโอกาสให้มีการโกง ในทุกวงการ” เพราะเราต้องทำงานเชิงรุกช่วยกันเฝ้าระวังป้องกันตั้งแต่ต้นทางโดยใช้กฎหมาย

ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ จำนวน 258 ราย ได้มีการดำเนินการทางวินัยของต้นสังกัดแล้วเสร็จ จำนวน 62 ราย  มีผลทางวินัยให้ไล่ออก 8 ราย  พ้นจากตำแหน่ง 25 ราย ต้องให้โอกาสและความเป็นธรรมด้วย ที่เหลืออยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานด้านปราบปรามทุจริต เพื่อความรอบคอบและรัดกุมเป็นไปตามกฎหมาย   อย่างไรก็ตาม ผมมีความห่วงใยเจ้าหน้าที่ระดับผู้น้อย  ปฏิบัติการ ซึ่งบางทีไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือไม่ได้รู้เห็นกับการทุจริต แต่ต้องทำงานตามนโยบาย ตามคำสั่ง ไม่กล้าปฏิเสธ เนื่องจากเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย หรืออาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์  จึงสั่งการในที่ประชุม คตช. ให้พิจารณาหากลไกที่เหมาะสมในการให้ความเห็นธรรม แก่เจ้าหน้าที่ระดับล่างเหล่านั้นด้วยทั้งปัจจุบันและอนาคต เขาจะได้ไม่หวากกลัวจนทำงานไม่ได้

ผมเห็นว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศเราต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบ และครบวงจร อาทิ (1)  สภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน  ซึ่งโลกยุคโลกาภิวัฒน์  ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และสมัยใหม่เป็นเสมือน “ดาบ 2 คม” โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยฝ่ายที่จ้องกระทำผิด สรรหาเครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่ ที่มีราคาสูง  ฝ่ายปราบปราม ก็ต้องปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานทั้งคน ทั้งเทคโนโลยี ซึ่งก็จำกัดด้วยงบประมาณ  ดังนั้น กลไกที่มีศักยภาพ คือ “ประชาชนทุกคน” ที่เป็นเจ้าของประเทศ ต้องเป็นหู เป็นตา ร่วมมือกันช่วยกันเฝ้าระวัง แต่ก็คงต้องรู้กฎหมายด้วย รู้ขั้นตอนการทำงานของข้าราชการ  เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ไม่อย่างนั้นก็ตีกันไปตีกันมาจนทำอะไรไม่ได้เหมือนกัน

เรื่องต่อไปคือ ปัจจัยภายในและภายนอก เรามีพื้นฐานที่ต่างกัน มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม  คนอาจจะมีความไม่รู้จักพอเพียง ความโลภของมนุษย์  ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่สมดุลกับความเจริญทางสังคม  รายจ่าย รายได้ไม่สมดุลกัน  เกิดเป็นสังคมบริโภคนิยม-วัตถุนิยม ตามมาด้วยการแย่งชิงทรัพยากรไม่เกื้อกูลกันแบ่งปันกัน  เป็นโลกแห่งการแข่งขันเสรีอย่างที่ทั้งโลกเขาเป็นอยู่ในเวลานี้  คือประชาธิปไตยอย่างเสรีของตะวันตกหรือของสากล  ในอดีตนั้นสังคมไทยเน้นคุณธรรม จริยธรรม แต่ในปัจจุบันเรากลับให้ความสำคัญน้อยลง เป็นไปตามกลไกของโลกใบนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปต้องกลับมาที่เดิมด้วย

เรื่องการแก้ปัญหาทุกเรื่องต้องเริ่มต้นจากจิตใจ  “จิตสำนึก” ของแต่ละคน ครอบครัว โรงเรียน ชุมนชน สังคม และประเทศชาติ  เป็นโอกาสและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม  เน้นสร้างการรับรู้ อย่างกว้างขวาง  ให้ความสำคัญกับ “การศึกษา” ทั้งในระบบ ทั้งการเรียนรู้จากสังคม ชุมชน และให้มีการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  สร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุ ฯลฯ

สรุปสาระสำคัญ คือเราต้องแก้เรื่องนี้ที่จิตใจ ด้วยค่านิยม คุณธรรม ศีลธรรม  จริยธรรม ธรรมาภิบาล  ทำอย่างไรถึงจะให้ง่าย  เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าต้องเกิดจากใจของทุกคนจากองค์กร เราจะทำอย่างไรให้ง่ายที่จะปลูกฝัง ปลุกเร้าแรงกระตุ้น ที่ไม่มีผลกระทบเรื่องอื่น ๆ  เข้าใจหลักการและเหตุผล หลายคนต้องการให้ใช้กฎหมายอย่างรุนแรง  บางทีใช้กฎหมายอย่างเดียวก็ไม่สำเร็จ  เพราะเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ จะทำอย่างไรให้คนไม่ดีจะทำให้เป็นคนดี   ดีน้อยก็เป็นดีมากทำได้อย่างไร  บางคนทุจริตเพราะคิดว่าจำเป็น หน้าตาในสังคม เป็นความต้องการของครอบครัว   บางคนทุจริต เพราะความไม่รู้จักพอเพียง รวยแล้วรวยอีก  โดยอ้างความจำเป็นต้องหาเลี้ยงตนเอง หรือครอบครัว  บางคนทุจริตด้วยเจตนาไม่รู้จักเพียงพอ   เพราะฉะนั้นเราต้องมาพิจารณาว่า เราจะมีมาตรการอย่างไรที่เหมาะสมที่จะตอบโจทย์เหล่านี้ได้  เพราะเราก็มีเป้าหมายหลายกลุ่มด้วยกัน  สื่อโซเชียลยุคใหม่ต้องหันกลับมาดูสิ่งเหล่านี้   ไม่ใช่เสนอแต่เพียงเรื่องของการลงโทษ คงต้องมาสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกอันนี้เป็นหน้าที่ของสื่อที่ต้องช่วยผมอยู่แล้ว

ระหว่างวันที่ 4 – 5 กันยายน ที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำ G20 (G20 Summit)   ณ นครหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะประธานกลุ่ม G77 ตามคำเชิญของผู้นำจีนเป็นครั้งแรกที่ประธานกลุ่ม G77 ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในฐานะผู้สร้างสะพานเชื่อม (bridge builder) ระหว่างสมาชิก G77 130 ประเทศ และ G20 โดยเฉพาะประเด็นความสนใจของประชาคมระหว่างประเทศ ที่มีต่อการเมืองเศรษฐกิจ และวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยตามหลัก“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่รัฐบาลได้น้อมนำ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารประเทศ ในทุกระดับ ภายใต้แนวทางการส่งเสริมการ “ระเบิดจากข้างใน” และ “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” รวมทั้ง ความเชื่อมั่นเชื่อว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาคนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของ 130 ประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนด้วย

ที่ผ่านมาเวทีการประชุมผู้นำ G20  จะเน้นการหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 90 ของเศรษฐกิจโลก และมีจำนวนประชากรรวมกันประมาณ 2 ใน 3 ของโลก อย่างไรก็ตาม โลกใบนี้เป็นของมนุษยชาติทุกคน “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากโลกยังคงเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในประเทศและแต่ละประเทศด้วยกัน จะเกิดช่องว่าง ระยะห่าง ที่นับวันจะ “ขยายใหญ่ขึ้น” นำไปสู่ปัญหาระดับโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยง และต้องร่วมกันรับผิดชอบ ดังนั้น หัวข้อการหารือในปีนี้ คือ “การประสานนโยบายและแนวทางการพัฒนาใหม่ ๆ เพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก”ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว กับประเทศกำลังพัฒนา ด้วยการสร้าง “หุ้นส่วนระดับโลก” เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืนและครอบคลุมไปพร้อม ๆ กันนั้นผมเห็นว่าสอดคล้องกับแนวนโยบายของไทย โดยเฉพาะในฐานะประธาน G77 ที่พยายามผลักดันให้ทุกฝ่ายผนึกกำลังกัน เพื่อสร้างความร่วมมือรูปแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เดินหน้าเคียงบ่าเคียงไหล่ซึ่งกันและกัน เหมือน “เพื่อน  พี่  น้อง  ญาติ ” ตามศักยภาพของแต่ละประเทศ และตามความสมัครใจ ในการเผชิญกับความท้าทายในหลากมิติ และเอาชนะสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ต้องกล้าคิดนอกกรอบแต่ต้องนำกลับมาเข้าสู่กฎกติกาแต่ก็ต้องหาวิธีการใหม่ ๆ และก้าวข้ามเส้นแบ่งในรูปแบบเดิมๆ สู่ความเป็น “ยานยนต์แห่งศตวรรษที่ 21” สำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ในแนวทางการพัฒนาใหม่ ๆ ประกอบด้วย (1) การให้โอกาส เปิดทางเลือกและไม่ปิดกั้นประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในด้านนโยบายและความร่วมมือ (2) การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภายในโดยให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการศึกษา เรียนรู้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริม SMEs  และ  Start-up อันจะเป็น   “กลจักร” ใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ระดับฐานรากเชื่อมโยงเข้าสู่ “ห่วงโซ่คุณค่าโลก”และ (3) การสนับสนุนบทบาททุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ตามกลไก “ประชารัฐ”ของรัฐบาลไทย เพื่อให้บรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างเข้มแข็งและสมดุล ซึ่งไทยพร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์ตาม “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่ประเทศอื่น ๆ ด้วย ดังคำกล่าวที่ว่า เราจะเจริญเติบโตและแข็งแกร่งไปด้วยกัน (Stronger Together)

สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 28 และ 29 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวม 15 การประชุม ระหว่างวันที่ 6 – 8 กันยายน 2559 นั้น มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันกับการประชุมผู้นำ G20 นอกจากกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเงิน การค้า การลงทุน รวมทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว เวทีนี้ อาเซียนและประเทศพันธมิตร เน้นความมี “พลวัต” ที่จะต้องดำเนินการสร้างความสมดุลใน 3 ด้านเพื่อนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ (1) การเสริมสร้างเศรษฐกิจที่เข้มแข็งที่ทุกคนได้รับการดูแลและประโยชน์จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเฉพาะการส่งเสริมเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “นวัตกรรม” (2) การสร้างความมั่นคง ที่แข็งแกร่ง เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนทุกวัยอย่างสมดุล และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในประชาคมอย่างสร้างสรรค์และ (3) การสร้างความเชื่อมโยงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่ละเลยการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพภายในภูมิภาค เพื่อให้การไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนเป็นอย่างราบรื่น

ทั้งนี้ อาเซียนและประชาคมโลก จำต้องปรับตัวเข้าหากัน มีพลวัต เป็นเอกภาพและเป็นปึกแผ่น ร่วมสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคด้วยให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่อาทิ เช่น  การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ อาชญากรรมไซเบอร์ การลักลอบค้ามนุษย์และยาเสพติด รวมถึงการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ซึ่งเราไม่อาจหลีกเลี่ยง หรือแบ่งแยกความรับผิดชอบได้เนื่องจากทุกประเทศจะต้องได้รับผลกระทบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ประเทศ “ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง”  ดังนั้น เราได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายไว้เนื้อเชื่อใจกันและดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ (Constructive Joint Activities)  ในลักษณะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ในทุกกิจกรรม เราควรเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ได้รับผลประโยชน์ส่วนแบ่งร่วมอย่าง อย่างเท่าเทียม และไม่ควรแข่งขันกัน แต่ควรเรียนรู้และแบ่งปันแนวปฏิบัติ ประสบการณ์ องค์ความรู้ เทคโนโลยี ในสาขาที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นโลกสีเขียว เป็นโลกแห่งสันติภาพ  ดังนั้น สิ่งที่ประเทศไทยและประชาชน “คนไทยทุกสาขาวิชาชีพ และทุกเพศวัย” จะได้รับจาการกระชับความสัมพันธ์ จากทุกเวทีการประชุม ในทุกกรอบความร่วมมือในครั้งนี้ ถือว่า “โอกาสใหม่ ๆ” ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ของประชาชนในภูมิภาค จากการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ การเข้าถึงแหล่งทุนในการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐานคุณภาพสูง รวมทั้ง การสนับสนุนการค้าและการลงทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน เพื่อเชื่อมต่อธุรกิจท้องถิ่น OTOP + SMEs + Start-up ให้เข้าสู่ระบบห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งสอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบาย “Thailand 4.0” และการบริหารราชการแผ่นดินของไทย ในเชิงบูรณาการโดยน้อมนำหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สอดคล้องกับ SDGs 2030 ของ UN เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนควบคู่ไปกับความสามารถในการรับมือกับประเด็นท้าทายต่าง ๆ ในอนาคตด้วย

รัฐบาลจะจัดให้มีการแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาล ครบรอบ 2 ปี จะมีการถ่ายทอดสด ผ่านสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ในเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ รายละเอียดต่าง ๆ ได้รวบรวมเป็นหนังสือ สำหรับเผยแพร่และแจกจ่ายพี่น้องสื่อมวลชน ซึ่งในวันนั้น ผมและรองนายกรัฐมนตรี ทั้ง 6 ท่าน ชี้แจงสรุปนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของ รัฐบาล ตั้งแต่เริ่มเข้ามาบริหารประเทศ จนถึงปัจจุบัน ในแต่ละปัญหาที่สำคัญๆ ของประเทศ ที่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน เริ่มต้นกำลังทำแล้วต้องทำต่อไปมีความแตกต่างจากในอดีตอย่างไร ที่ผ่านมา และผลของความคืบหน้าในการดำเนินการอย่างไรทั้งนี้ มีการวางรากฐานการปฏิรูปประเทศ มีการเดินหน้าประเทศสู่อนาคต ให้กับลูกหลานอย่างไร พร้อมทั้ง ได้คัดเลือกผลงานหลักๆ เตรียมนำเสนอในรายการ “เดินหน้าประเทศไทย” เวลา 18.00 น. หลังเคารพธงชาติ “ทุกวัน – เว้นเย็นวันศุกร์”  ขอให้พี่น้องประชาชนสามารถติดตามชมรายการ “ย้อนหลัง” จากสื่อออนไลน์ หรือเว็บไซต์ของรัฐบาล

หากพี่น้องประชาชนเห็นด้วยกับผมว่า “เหนื่อยนัก พักก็หาย”  แต่จะพักอย่างไร พักมาก พักน้อยเพราะว่าปัญหามีมาก เพราะฉะนั้นเวลาในการพักผ่อนจะน้อยก็ไม่เป็นไร ให้ช่วยกันและเป็นกำลังใจให้กันและกันทำให้เป็นประโยชน์ ใช้เวลาว่างให้มีคุณค่า เมื่อว่างเว้นจากการตรากตรำทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน ผมคิดว่า “พักใจดูละคร เที่ยวพักผ่อนกันบ้าง ถ้าเวลาพักกายดูผลงานรัฐ” อย่าดูให้เหนื่อย ดูว่าเขาทำอะไรกันบ้าง เรามีส่วนตรงไหนจะช่วยรัฐบาลได้อย่างไร ไม่ใช่ดูแล้วโต้แย้งทุกเรื่อง บางทีก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกัน ผมก็พยายามทำให้ อ่านหนังสือบ้างแล้วกัน  หนังสือทุกอย่างเป็นประโยชน์ คนเราจะรู้ เรียนรู้อะไรในโลกใบนี้ก็โดยการอ่านหนังสือ อ่านแล้วก็คิดไปด้วย อ่านที่มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดี ก็ขอเชิญชวนทุกท่านได้แบ่งสรรเวลาในการเสพสื่อ อย่างสมดุล ผมไปต่างประเทศมา โดยเฉพาะประเทศอาเซียนทุกประเทศดูละครไทย ดูข่าวไทยอะไรทั้งหมด   เพราะฉะนั้นเสนออะไรออกไปเสนอให้ดี  จะเป็นสิ่งที่บางครั้งที่เราเอาเรื่องที่มันไม่ใช่ออกไปเสนอมันก็ไม่ได้เพราะเราคงจะชมแต่ “บันเทิงคดี”โดยไม่สน “สารคดี” เลย ก็คงเป็นไปไม่ได้อีก เพราะบางอย่างนั้นเป็นข่าวสารจากรัฐบาลซึ่งไม่เคยมีรัฐบาลไหน ทำแล้วก็พูด แจ้งให้ประชาชนทราบ เพราะต้องการสื่อสารกับพี่น้องประชาชนโดยตรง ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน อย่าไปฟังความบิดเบือน และความร่วมมือกัน เพื่อประเทศชาติ และลูกหลานของเราในอนาคต   และผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนทุกคนที่เป็นคนไทย คงไม่อยากให้ลูกหลานของเรา ต้องมาเหน็ดเหนื่อยเหมือนเราในทุกวันนี้   ดังนั้น การรับรู้ รับฟัง การดำเนินงานของรัฐ ก็จะเป็น “สะพานเชื่อมโยง” ความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ  ภาคประชาสังคม  ภาคธุรกิจเอกชน ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ในการแสวงหาความร่วมมือ และความช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกันและกัน ตามช่องทางที่เหมาะสมนะครับ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"มองเทศ : เปลี่ยนไทย" โจทย์ท้าทาย Redesigning Thailand รุ่น 3

$
0
0

นักศึกษาหลายสถาบันอุดมศึกษาร่วมโครงการ Redesigning Thailand #3 “มองเทศ : เปลี่ยนไทย” ซึ่งจัดโดยทีดีอาร์ไอ มุ่งเรียนรู้ทักษะสู่การเป็นนักวิจัยเชิงนโยบายมืออาชีพในอนาคต โดยปีนี้นักศึกษารัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการนำเสนอโครงการ "บทเรียนการกระจายอำนาจในญี่ปุ่น สู่การออกแบบใหม่ระบบบริหารราชการแผ่นดินของไทย"

ทีดีอาร์ไอเดินหน้าต่อเป็นปีที่ 3 สำหรับโครงการ Redesigning Thailand #3มองเทศ : เปลี่ยนไทย” เวทีเรียนรู้ทักษะขั้นต้นการก้าวสู่นักวิจัยเชิงนโยบายมืออาชีพในอนาคต กิจกรรมลับสมองประลองไอเดียของเหล่านิสิต นักศึกษาที่สนใจอยากแชร์ไอเดียการแก้ไขเชิงนโยบาย ผ่านบทบาทสมมติการเป็นนักท่องเที่ยวเชิงนโยบายไปในประเทศต่าง ๆ เรียนรู้และนำเสนอไอเดียภายใต้มุมมอง “มองเทศ : เปลี่ยนไทย”อย่างไรดี โดยมีบุคลากรนักวิจัยมืออาชีพของทีดีอาร์ไอเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ซึ่งมีการตัดสินและมอบรางวัลเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาในระดับปริญญาตรี (ปี 1-ปี4) ทุกสาขา ทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ได้แสดงความคิดเห็นและแนวทางผ่านการนำเสนอบทความ ภายใต้โจทย์ “ถ้าคุณคือนักท่องเที่ยวเชิงนโยบายไปในประเทศต่าง ๆ แล้วจะมีมุมมอง “มองเทศ เปลี่ยนไทย”อย่างไร ” ซึ่งในปีนี้ได้รับความสนใจจากนักศึกษาหลากหลายคณะจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อาทิ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะจิตวิทยา เข้าร่วมโครงการ ฯลฯ

ในปีนี้มีนักศึกษาสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 37 ทีม โดยคณะกรรมการคัดเลือกเหลือ 7 ทีมสุดท้าย ซึ่งทีมที่ผ่านเข้ารอบตัดสิน ร่วมประลองโจทย์ด้านนโยบายสาธารณะกับผู้บริหารและนักวิจัยของทีดีอาร์ไอ ได้แก่

1. โครงการ “FDI100% กับ รถไฟความเร็วสูง”
2.โครงการ Capturing the Flavor
3. โครงการ “จากละตินอเมริกาสู่ทั่วโลก: กลยุทธ์แก้ปัญหาความยากจนจากนโยบายการจ่ายเงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข”
4. โครงการ “บทเรียนการกระจายอานาจในญี่ปุ่น สู่การออกแบบใหม่ระบบบริหารราชการแผ่นดินของไทย”
5. โครงการ “E-WASTE ปัญหาที่ถูกกระแสสังคมบดบัง”
6. โครงการ “The Swedish Model: Family การดูแลครอบครัวโดยรัฐสวัสดิการในสวีเดน”
7. โครงการ “อนาคตของสังคมผู้สูงอายุจากสวีเดนถึงไทย : กรณีศึกษานโยบายเบี้ยผู้สูงอายุ”

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ครั้งนี้พบว่าน้อง ๆ มีความแอคทีฟกันมาก และได้นำเสนอแนวคิด ได้อย่างค่อนข้างน่าสนใจ แต่ละคนมีมุมมองซึ่งเรียกได้ว่า มีการศึกษาค้นคว้าเตรียมตัวมาดีพอสมควร และนำเสนอได้กระชับภายในเวลาที่กำหนด ด้วยรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นความหลากหลายในการสะท้อนแนวคิดของการจัดการนโยบายสาธารณะที่ยาก ๆ ในแบบฉบับพลังของคนรุ่นใหม่ กิจกรรมนั้นนอกจากจะเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีคิดและหลักการบนพื้นฐานความจริงแล้ว ยังมีการถ่ายทอดข้อมูลและวิธีการที่ถูกต้องของการทำวิจัยเชิงนโยบายจากนักวิจัยมืออาชีพของทีดีอาร์ไอด้วย

สำหรับผลการตัดสิน ทีมที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศไปครองในปีนี้ ได้แก่ โครงการบทเรียนการกระจายอำนาจในญี่ปุ่น สู่การออกแบบใหม่ระบบบริหารราชการแผ่นดินของไทยของทีมนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์(การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ นายนพณัฐ แก้วเกตุ นายธนพร อันโนนจาน และนายจตุรพร ผานาค คณะรัฐศาสตร์ ซึ่งได้นำเสนออย่างน่าประทับใจ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1จาก โครงการ จากละตินอเมริกาสู่ทั่วโลก: กลยุทธ์แก้ปัญหาความยากจนจากนโยบายการจ่ายเงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข ของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ นายณาคิน เหลืองนวล นายภัทร อภิวัฒนกุล และนายศาศตริน วงศ์จีระศักดิ์ และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2โครงการ The Swedish Model: Family การดูแลครอบครัวโดยรัฐสวัสดิการในสวีเดน จากทีมนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่นกัน คือ นางสาววิชญา พีชะพัฒน์ นางสาวพิมลพรรณ์ โสรีกุล และ นางสาวนภาภรณ์ เอลเลอร์มันน์

โดยทีมที่ชนะเลิศได้รับเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท ส่วนรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เงินรางวัล 20,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัล 12,000 บาท รวมทั้งประกาศนียบัตรแต่งตั้งให้เป็น TDRI Junior Policy Researcher สิทธิฝึกงานกับทีดีอาร์ไอ และได้รับพิจารณาเข้าทำงานระบบ Fast Track ที่ทีดีอาร์ไอหลังสำเร็จการศึกษา

Redesigning Thailandเป็นกิจกรรมเพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในนโยบายสาธารณะได้ลองคิดจากปัญหาจริง ทำให้นักศึกษาได้แชร์ประสบการณ์แนวคิดและวิธีการมองโลกมองปัญหาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยผ่านกระบวนการคิดไตร่ตรองจากคำถาม มีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับอย่างรอบด้าน เพราะงานวิจัยนโยบายสาธารณะผลการศึกษาจะมีผลกระทบกับส่วนใหญ่ ความภูมิใจของนักวิจัยเชิงนโยบาย คือ ผลงานของเราได้ช่วยสังคม เราจะรู้สึกภูมิใจมาก การเป็นนักวิจัยได้ทำสิ่งดี ๆ ให้สังคมได้ โครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจในส่วนของทัศนคติหรือแนวคิดของคนรุ่นใหม่ ในการก้าวสู่การเป็นนักวิจัยด้านนโยบายสาธารณะทีดีในอนาคต.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิจัย สกว. ค้นพบส่วนพันธุกรรมก่อความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า

$
0
0

จากข่าวหนุ่มขับ จยย.รับจ้าง ตระเวนให้อาหารสุนัขจรจัด แต่ถูกกัดและเสียชีวิตเพราะโรคพิษสุนัขบ้า ล่าสุด นักวิจัยปริญญาเอก สกว. ค้นพบส่วนของพันธุกรรมก่อความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้า ระบุแม้จะกลายพันธุ์บนตำแหน่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการถอดรหัสเป็นกรดอะมิโน แต่ก็ส่งผลต่อความรุนแรงของเชื้อไวรัสที่เพิ่มมากขึ้น หวังใช้ความรู้ไปศึกษาต่อยอดเพื่อป้องกันรักษาโรคต่อไป

ที่มาของภาพประกอบข่าว: Wikipedia

9 ก.ย. 2559 จากกรณีหนุ่มวินมอเตอร์ไซค์ใจบุญให้อาหารสุนัขจรจัด แต่ถูกกัดเป็นโรคพิษสุนัขบ้าและเสียชีวิตในเวลาต่อมานั้น ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เปิดเผยว่า ดร.พัทธมน วิโรจนาภิรมย์ นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ภายใต้การสนับสนุนของ สกว. ได้ทำการศึกษาและพบว่าเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเชื้อที่ทำให้คนหรือสัตว์ที่ได้รับเชื้อเสียชีวิตทั้งหมด โดยมักจะก่อให้เกิดอาการสมองอักเสบด้วย ทั้งนี้เชื้อไวรัสจะเข้าสู่สัตว์หรือคนผ่านทางน้ำลายที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนบาดแผลที่โดนกัด และจะเพิ่มปริมาณในกล้ามเนื้อก่อนเดินทางไปยังสมองส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดอาการแสดงของโรค โดยความสามารถในการก่อโรคจะลดลงได้ด้วยการเลี้ยงเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าในเซลล์ที่มีต้นกำเนิดมากจากเซลล์นอกระบบประสาท หรือโดยการปรับเปลี่ยนทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามเมื่อทำการเลี้ยงเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า (QS-05) ที่ได้จากสุนัขไทยที่ตายด้วยโรคพิษสุนัขบ้า โดยเลี้ยงในเซลล์ไตของลูกหนูแฮมสเตอร์ (BHK-21) กลับทำให้เชื้อใหม่ที่ได้นั้นมีความสามารถในการก่อโรคสูงขึ้นภายหลังการเลี้ยงเชื้อ 7 ครั้ง ในเซลล์ไตของลูกหนูแฮมสเตอร์ (QS-BHK-P7)

นักวิจัยจึงได้ศึกษาความรุนแรงของเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าหลังทำการเลี้ยงในเซลล์นอกระบบประสาท และศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับพันธุกรรมระหว่างเชื้อไวรัสต้นกำเนิดและเชื้อไวรัสที่เลี้ยงในเซลล์นอกระบบประสาท โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัยเรื่อง “การปรับตัวของเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าในเซลล์ที่มีต้นกำเนิดไม่ใช่ระบบประสาทโดยเชื้อมีความรุนแรงขึ้น: การศึกษาระดับยีนควบคุม” ซึ่งมี ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เมธีวิจัยอาวุโส สกว. จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ผลการวิจัยพบว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวมีความสามารถในการทำให้หนูทดลองตายด้วยการฉีดเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าทั้งทางกล้ามเนื้อและทางสมองโดยตรง ขณะที่ QS-05 ทำให้หนูทดลองตายได้เฉพาะเมื่อฉีดเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าทางสมองเท่านั้น เมื่อนักวิจัยเปรียบเทียบลำดับเบสทั้งหมดของเชื้อทั้งสอง พบว่ามีการกลายพันธุ์แบบ missense mutation หรือการสร้างรหัสพันธุกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งส่งผลต่อการสร้างกรดอะมิโน รวม 3 ตำแหน่ง พบในส่วนบริเวณผิวเซลล์ (ectodomain) ของยีนไกลโคโปรตีน (S23Rc) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงการปรับตัวในเซลล์นอกระบบประสาท และ H424P ซึ่งไม่อยู่ในส่วนของยีนเชื้อไวรัส (PDZ) ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุนแรงของเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า และอีกตำแหน่งพบในยีนโพลีเมอเรส (I1711V) นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์แบบ point mutation ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดในระดับโมเลกุลหรือยีน และไม่ส่งผลต่อการสร้างกรดอะมิโน อีกตำแหน่งที่ยีนอะดีนีน (adenine) ตำแหน่งที่ 7 ของรหัสพันธุกรรม polyadenylation signal ซึ่งอยู่ระหว่างยีนฟอสโฟโปรตีนและยีนแมตทริคโปรตีน โดยบทบาทของการกลายพันธุ์ในยีนโพลีเมอเรสและส่วนระหว่างยีนฟอสโฟโปรตีนและยีนแมตทริคโปรตีนยังคงต้องทำการศึกษาต่อไป

“แม้จะเกิดการกลายพันธุ์บนตำแหน่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการถอดรหัสเป็นกรดอะมิโน แต่ก็ยังส่งผลต่อความรุนแรงของเชื้อไวรัสที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้องค์ความรู้จากงานวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปใช้ต่อยอดในการศึกษาความสำคัญของตำแหน่งบนยีนที่กล่าวมาต่อความรุนแรงของการก่อโรค และจะนำลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสทั้งสองชนิดมาออกแบบสร้างไวรัสพันธุ์ผสมที่ตัดต่อสายพันธุ์กรรม (recombinant viruses) ด้วยเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมแบบย้อนกลับ (reverse genetics) ทั้งแบบต้นฉบับ และเชื้อไวรัสที่มีการสลับส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการถอดรหัสเป็นกรดอะมิโน แล้วนำไวรัสที่ได้ไปใช้ทำการพิสูจน์ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและรักษาต่อไป ” ดร.พัทธมนกล่าวทิ้งท้าย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สหประชาชาติประชุมฉุกเฉิน-หารือตอบโต้เกาหลีเหนือทดสอบนิวเคลียร์ครั้งที่ 5

$
0
0

เกาหลีเหนือถือโอกาสวันก่อตั้งประเทศ ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 10 ปี และเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ ด้านกองทัพเกาหลีใต้ประเมินแรงระเบิดกว่า 10 กิโลตัน ประกาศลั่นเกาหลีใต้พร้อมชิงโจมตีก่อน หากมีสัญญาณว่าเกาหลีเหนือจะทำสงครามนิวเคลียร์ ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมด่วน คาดว่าจะมีมาตรการคว่ำบาตรรอบล่าสุดต่อเกาหลีเหนือ

แฟ้มภาพ คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ประธานพรรคแรงงานเกาหลี ประธานคณะกรรมาธิการกิจการแห่งรัฐ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพประชาชนเกาหลี เมื่อ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา (ที่มา: KCNA)

10 ก.ย. 2559 ตามที่เมื่อวานนี้ (9 ก.ย.) เมื่อเวลา 07.30 น. ตามเวลาประเทศไทย หรือ 09.00 น. ตามเวลาเกาหลีเหนือ หรือ 09.30 น. ตามเวลาเกาหลีใต้ มีรายงานว่า เกาหลีเหนือได้ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา โดยหลังกาดทดลองได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 โดยแรงสั่นสะเทือนมีศูนย์กลางอยู่ที่สถานที่ทดสอบนิวเคลียร์ปุงเก-รี ของเกาหลีเหนือ

ทั้งนี้การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เกิดขึ้นในวันครบรอบการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือเกาหลีเหนือ

โดยในเวลาต่อมา สถานีโทรทัศน์กลางเกาหลี (KCTV) ของทางการเกาหลีเหนือ รี ชุนฮี ผู้ประกาศข่าวอาวุโสของสถา ซึ่งอ่านคำประกาศของเกาหลีเหนือมาตั้งแต่สมัย คิม อิลซุง เป็นผู้อ่านคำประกาศอ้างว่าการทดสอบนิวเคลียร์เป็นผลสำเร็จด้วย และอ้างว่าไม่มีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลจากสถานที่ทดสอบ

ในรายงานของสำนักข่าวยอนฮัประบุว่า  คณะเสนาธิการทหารร่วม หรือ JCS ของเกาหลีใต้ ประเมินว่าระเบิดที่เกาหลีเหนือทดสอบสร้างแรงระเบิดถึง 10 กิโลตัน ซึ่งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เกาหลีเหนือทดสอบนิวเคลียร์ โดยการทดสอบก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคมปี 2559 เกิดแรงระเบิดขนาด 6 กิโลตัน

ทั้งนี้กองทัพเกาหลีใต้ได้จัดประชุมฉุกเฉิน ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ นำโดยประธานคณะเสนาธิการร่วม ลี ซุนจิน

ด้าน ลีม โฮ-ยอง ประธานผู้อำนวยการของฝ่ายวางแผนการ คณะเสนาธิการทหารร่วม (JCS) ขู่ว่า "หากมีสัญญาณการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้จะใช้วิธีชิงโจมตีผู้นำเกาหลีเหนือก่อน โดยจะร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิด"

ในรายงานของยอนฮัประบุว่า เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลเกาหลีใต้เอ่ยถึงการชิงโจมตีก่อน หากมีสัญญาณว่าเกาหลีเหนือจะโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์

ขณะที่ประธานาธิบดีปัก กึนเฮ ของเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมประชุมอาเซียนที่ สปป.ลาว ได้ประชุมฉุกเฉินกับทีมงาน โดยตอนหนึ่งกล่าวว่า "การทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือถือเป็นการละเมิดต่อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และท้าทายประชาคมนานาชาติ" ทั้งนี้ปัก กึนเฮ ยุติการเยือน สปป.ลาว ก่อนกำหนด และรีบเดินทางกลับเกาหลีใต้ทันที เพื่อรับมือในประเด็นความมั่นคงดังกล่าว

ในส่วนของปฏิกิริยาจากนานาชาตินั้น ในรายงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กล่าวประณามเกาหลีเหนือว่า การที่เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งล่าสุดเมื่อเช้านี้ เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเป็นภัยคุกคามต่อญี่ปุ่น และบ่อนทำลายสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคนี้รวมถึงประชาคมโลก ซึ่งญี่ปุ่นขอประณามอย่างรุนแรง และได้ยื่นประท้วงไปยังเกาหลีเหนือแล้ว นอกจากนี้ญี่ปุ่นจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อรับมือกับสถานการณ์

ขณะที่ ในรายงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ระบุว่า สหรัฐจะสร้างความมั่นใจว่ามีมาตรการป้องกันอย่างเพียงพอในการปกป้องสหรัฐ และพันธมิตร และสหรัฐจะเพิ่มมาตรการกดดันเกาหลีเหนือให้รุนแรงขึ้นจากการกระทำดังกล่าวของเกาหลีเหนือ

ล่าสุด สำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้ รายงานว่า บัน คี-มุน เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติได้หารือด่วนเมื่อวันศุกร์ (9 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งเข้าสู่วันที่ 10 ก.ย. แล้วตามเวลาประเทศไทย เพื่อหามาตรการคว่ำบาตรใหม่เพื่อตอบโต้กรณีที่เกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 5

ทั้งนี้สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นผู้ร้องขอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหารือในเรื่องดังกล่าว หลังเกาหลีเหนือถือโอกาสในวันก่อตั้งประเทศทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ โดยการทดสอบก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในเดือนมกราคม

บัน คี-มุน ระบุว่าจะประณามการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือด้วยถ้อยคำที่แข็งกร้าวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างที่เกาหลีเหนือได้ฝ่าฝืนข้อมติสหประชาชาติ และเข้ายังเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมี "มาตรการเชิงปฏิบัติที่เหมาะสม"

"ผมวางใจในคณะมนตรีความมั่นคงที่จะรวมกันและมีมาตรการที่เหมาะสม เราต้องยุติการเขม็งเกลียวนี้"

ก่อนหน้านี้หลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2559 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนืออย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมาตรการเหล่านี้รวมทั้งการตรวจสอบเรือขนส่งสินค้าที่เข้าและออกเกาหลีเหนือ การห้ามส่งออกถ่านหิน และแร่ธาตุอื่นๆ

ขณะที่ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เคยออกมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือมาแล้ว 5 ครั้ง โดยมาตรการครั้งแรก เกิดขึ้นหลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 1 ในปี 2549 มาตรการครั้งที่ 2 หลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 2 ในปี 2552 มาตราการครั้งที่ 3 เกิดขึ้นหลังเกาหลีเหนือทดลองจรวดพิสัยไกลที่อ้างว่าเป็นการส่งดาวเทียมในปี 2555 ครั้งที่ 4 หลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 3 ในปี 2556 และครั้งที่ 5 หลังเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2559 ดังกล่าว

สำนักข่าวยอนฮัประบุว่า จีนเป็นชาติที่สำคัญต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เนื่องจากเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรที่ออกเสียงวีโต้ที่ประชุมได้ เช่นเดียวกับ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา

บทวิเคราะห์ของยอนฮัประบุว่า จีนเป็นชาติคู่ค้าสำคัญของเกาหลีเหนือ และเป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบที่เกาหลีเหนือจำเป็นต้องใช้โดยเฉพาะในด้านพลังงาน นักวิเคราะห์เคยกล่าวไว้ว่าจีนเกรงว่าหากกดดันเกาหลีเหนืออย่างหนัก อาจทำให้รัฐดังกล่าวล่มสลาย จะเกิดความไม่มีเสถียรภาพที่ชายแดนจีน และมีชาติเกิดใหม่ที่ดำเนินนโยบายหนุนสหรัฐอเมริกาขึ้นมาแทน

 

แปลและเรียบเรียงจาก

U.N. Security Council to hold urgent meeting over N.K. nuclear test, Yonhap, 2016/09/10 02:34

N. Korea conducts 5th nuclear test, Yonhap, 2016/09/09 20:03

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: โรคกลัวอิสลามในไทย

$
0
0

 


ในขณะที่ความคิดทางการเมืองกระแสหลักในสังคมไทย กลายเป็นอนุรักษ์นิยม ต่อต้านประชาธิปไตย ลิตมีแนวโน้มขวาจัดมากขึ้น กระแสหนึ่งที่เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างรวดเร็ว คือ กระแสต่อต้านและเกลียดกลัวอิสลาม ซึ่งมีรากฐานโดยตรงมาจากกระแสต่อต้านอิสลามสากล และหลอมรวมกับแนวคิดอันคับแคบและอคติแบบศาสนาพุทธ

ในทางสากล แนวคิดและปฏิบัติการในการต่อต้านอิสลาม เรียกว่า “โรคกลัวอิสลาม(Islamophobia)” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่ง ที่มาจากการสร้างโลกทัศน์ให้มองชาวมุสลิมในฐานะสิ่งแปลกปลอมและเป็นศัตรู ซึ่งโดยทั่วไปก็เกิดจากอคติของชาวคริสต์ที่มีต่อศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มหาอำนาจตะวันตกไปสนับสนุนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลบนแผ่นดินปาเลสไตน์ และทำให้ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตะวันตกกับโลกมุสลิมขยายตัว และตะวันตกเริ่มกลายเป็นเป้าโจมตีของฝ่ายอิสลามฝ่ายก้าวหน้า แต่ความขัดแย้งยังไม่รุนแรงนัก เพราะยังมีกลุ่มอิสลามอนุรักษ์นิยมที่ร่วมมือกับตะวันตกต่อต้านคอมมิวนิสต์

ต่อมาเมื่อเกิดการล่มสลายของโลกคอมมิวนิสต์ สถานการณ์กลับนำมาสู่การเผชิญหน้ากันโดยตรงระหว่างมหาอำนาจตะวันตกกลับกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง โดยเฉพาะหลังจากที่เกิดสงครามอิรัก-คูเวตเมื่อ ค.ศ.1992 จากนั้น เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ที่กลุ่มคนร้ายพลีชีพใช้เครื่องบินโจมตีตึกเวิร์ลเทรดที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา กลายเป็นหลักหมายสำคัญที่ก่อให้เกิดการสร้างกระแสหวาดระแวงและเกลียดชังชาวมุสลิมอย่างเพิ่มทวีในสหรัฐและโลกตะวันตก และกระแสยิ่งรุนแรงเมื่อเกิดกระแสการก่อการร้ายของกลุ่มไอซิสในยุโรป เช่น ในระยะไม่นานมานี้ มีการสำรวจทัศนคติของประชาชนในยุโรปตะวันตกและออสเตรเลีย พบว่าประชาชนจำนวนมากเชื่อว่า ชาวมุสลิมมีแนวโน้มจะเป็นผู้ก่อการร้ายหรืออย่างน้อยก็สนับสนุนผู้ก่อการร้าย และมีกระแสเรียกร้องให้จับตาคนมุสลิมเป็นพิเศษ

ที่กล่าวว่า โรคกลัวอิสลามนั้นเป็น”อคติ” เพราะความจริงแล้ว แม้กระทั่งในทางสากล ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ไม่ได้นิยมความรุนแรง ไม่ได้สนับสนุนการก่อการร้าย และชาวอิสลามเองจำนวนมากก็ตกเป็นเหยื่อของการก่อการร้ายด้วย ยิ่งกว่านั้น ปัญหาสำคัญยังมาจากการใช้อคติทางศาสนานำเสนอข่าวของสื่อตะวันตก เช่น ถ้าผู้ก่อการร้ายเป็นมุสลิม ก็จะออกข่าวว่า เป็นมุสลิมหัวรุนแรง หรือกลุ่มก่อการร้ายมุสลิม แต่ถ้าคนร้ายเป็นชาวคริสต์หรือศาสนาอื่น ก็จะไม่เรียกด้วยลักษณะทางศาสนา ทำให้เกิดภาพลักษณ์ว่า มีแต่พวกอิสลามเท่านั้นที่ชอบก่อความรุนแรง

สำหรับในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ถือว่า สถานการณ์การก่อการร้ายไม่รุนแรง และไม่ใครปรากฏกระแสต่อต้านศาสนาอิสลามมาก่อน แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา กระแสการต่อต้านอิสลามเริ่มเกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ ที่มีการเสนอข่าวถึงความรุนแรงในการปฏิบัติการของฝ่ายก่อการร้ายต่อต้านรัฐอยู่เสมอ และเมื่อความรุนแรงยืดเยื้อ กระแสการต่อต้านอิสลามก็ขยายตัวไปยังภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ทั้งที่ปัญหาในสามจังหวัดภาคใต้ความจริงแล้วเป็นปัญหาการเมืองเสียยิ่งกว่าปัญหาทางศาสนา และปฏิบัติการของฝ่ายทหารที่หวาดระแวงคนมุสลิม ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปัญหาขยายตัว

โรครังเกียจและต่อต้านอิสลามอาจจะเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมจากกรณีชาวพุทธจังหวัดน่าน ได้เคลื่อนไหวคัดค้านการสร้างมัสยิดที่จังหวัดน่านเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2558 ต่อมา เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ก็เกิดกระแสการต่อต้านการตั้งโรงงานผลิตอาหารฮาลาลที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งที่โรงงานลักษณะนี้ ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดข้อเสียหายทางศาสนาอะไรเลย

แต่ที่มากกว่านั้น คือการสร้างข่าวลวงอันน่าสะพรึงกลัวจากชาวพุทธหัวรุนแรง เช่น การกระพือข่าวว่าอิสลามวางแผนยึดประเทศไทย หรือที่ย่อยลงมาคืออิสลามจะยึดภาคใต้ของไทยตั้งแต่ชุมพรลงไป ซึ่งข่าวเหล่านี้ ล้วนไม่มีแหล่งข้อมูลหรือที่มาอันชัดเจน และที่ไม่น่าเชื่อยิ่งกว่านั้นก็คือ การออกข่าวในลักษณะที่ว่ารัฐบาลไทยเผด็จการทหารของไทยให้การสนับสนุนศาสนาอิสลาม แต่ไม่สนับสนุนศาสนาพุทธ ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่ไม่มีหลักเหตุและผล และใช้ข้อมูลเท็จหรือข้อมูลด้านเดียวทั้งสิ้น

กระแสการต่อต้านและรังเกียจอิสลามยังมาจากอคติแบบพุทโธเลียน ที่เชื่อว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอันยอดเยี่ยม ดีที่สุดในโลก เป็นวิทยาศาสตร์และเป็นเหตุผลที่สุด จึงนำมาสู่ข้อเสนอแบบกระแสหลักชนิดที่ว่า ศาสนาพุทธต้องอยู่คู่ชาติไทย จะเป็นศาสนาอื่นไม่ได้

มากไปกว่านั้นก็คือ การกุข้อมูลว่า ประเทศตะวันตกทั้งหลายต่างหันมานับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติก็ยังมีผู้เชื่อถือว่าเป็นจริง ทั้งที่ศาสนาพุทธในประเทศไทยก็เต็มไปด้วยความเชื่อปะปน เช่น เครื่องรางของขลัง พิธีกรรมนานาชนิด ตลอดจนการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกพุทธ ทั้ง พระคเณศ เจ้าแม่กวนอิม เสด็จพ่อ ร.5 จตุคามรามเทพ หรือแม้แต่ปลัดขิก แต่ก็ยังมั่นใจในความดีงามของสังคมพุทธ นำมาสู่การดูถูกดูแคลนศาสนาอื่น และนำมาสู่การต่อต้านอิสลาม ทั้งที่ศาสนาคริสต์ต่างหาก ที่มีองค์กรจัดตั้งและมีความพยายามในการเผยแพร่ให้คนเข้ารีตในประเทศไทยมากเสียยิ่งกว่า แต่ปรากฏว่าในโลกออนไลน์ได้มีการตั้งเพงรวมพลคนเกลียดอิสลาม ก็มีผู้เข้าไปสนับสนุนจำนวนไม่น้อย

ความจริงแล้ว ต้องอธิบายว่า ศาสนาทุกศาสนาก็มีลักษณะแบบเดียวกัน การนับถือเป็นสิทธิของแต่ละคน และไม่สามารถจะบอกได้ในเชิงหลักการสมบูรณ์ว่า ศาสนาไหนดีที่สุด เพราะผู้นับถือก็ต้องเชื่อว่า ศาสนาของตนถูกต้องแล้วทั้งสิ้น ดังนั้น การนับถือพุทธ หรือ อิสลาม ย่อมเป็นเรื่องสิทธิของแต่ละคนที่ไม่ควรก้าวก่ายกัน การที่อิสลามจะมายึดครองไทยจะเป็นได้กรณีเดียว คือ คนไทยส่วนข้างมากต้องหันไปนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นไปได้ยาก

หลักการที่ถูกต้องระหว่างศาสนาที่ต่างกัน ควรจะอยู่ร่วมโดยสันติและเคารพกันมากกว่า ถ้าปลุกเร้าความเดียดฉันท์และรังเกียจกันในทางศาสนาแบบพุทโธเลียน จนเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงทางศาสนาย่อมจะไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น ให้ถือว่าชาวอิสลามทั้งผองก็คือเพื่อนเรา ที่นับถือไม่เหมือนเรา สังคมก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

0000


เผยแพร่ครั้งแรกในโลกวันนี้วันสุข ฉบับ 580 วันที่ 3 กันยายน 2559

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โสภณ พรโชคชัย: คำสารภาพบาปของคนดื้อแพ่งที่ป้อมมหากาฬ

$
0
0


ภาพประกอบจาก ประชาไท

อันที่จริงสิ่งที่คนดื้อแพ่งที่ป้อมมหากาฬนั้น เป็นการพูดเพื่อขอความเห็นใจ ไม่อยากให้รื้อถอน  แต่ด้วยคำพูดของพวกเขาเองนี่แหละที่เป็น "คำสารภาพ" ชัดว่า พวกเขาไร้มโนธรรม ไร้ความชอบธรรม และไม่สมควรอยู่ในที่นั้นอีกต่อไป  ลองมาฟังดู

ในหนังสือพิมพ์ online ประชาไทได้มีบทความ "เปิดใจคนป้อมมหากาฬหลังถูก กทม. ไล่รื้อบ้าน 'ขออยู่และเลือกที่จะตายที่นี่' เมื่อเวลา 09:10 ของวันที่ 8 กันยายน 2559 นั้น  สิ่งที่พวกเขาพูดล้วนไร้เหตุผลจริงๆ

หญิง อายุ 52 ปี ". . .ตั้งแต่ปี 2546. . .ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีอยู่ที่ศูนย์การค้าวรจักร ได้เงินเดือน 18,000 บาท แต่พอ กทม. จะมาไล่รื้อ เราต้องเป็นเวรยาม. . .ช่วงนั้นไปสายประจำจนเถ้าแก่เจ้าของศูนย์การค้าวรจักรที่เราทำงานด้วยพูดกับเราว่าเลือกเอาระหว่างที่ซุกหัวนอนกับที่ทำมาหากิน. . . เราก็ลาออก. . .ไม่นานก็มีอาการเป็นลมล้มชักบ่อย. . .กล้ามเนื้ออ่อนแรง. . . ทุกวันนี้พี่ต้องกลายเป็นคนพิการเพราะความเครียดจากการไล่รื้อ. . .มีหมายศาลติดทุกบ้าน. . ." 

กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าเธอตัดสินใจผิดพลาด  ลำพังรายได้มากขนาดนั้นในช่วงเวลานั้น ไปเช่าหรือซื้อบ้านหลังใหม่ได้เลย  และการมีหมายศาลมาติดที่บ้าน แสดงว่าศาลพิพากษาแล้ว แต่กลับไม่ปฏิบัติตาม

หญิง อายุ 75 ปี ". . .อยู่ในชุมชนมานานกว่า 40 ปี. . .บ้านของเราเป็นบ้านของบรรพบุรุษสามีที่เขาซื้อมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย เขาอยู่มาหลายชั่วรุ่น. . .ไล่เราแล้วจะให้เราไปอยู่ไหน. . .สงสารคนแก่บ้าง” 

กรณีนี้ไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นของตนเอง และไม่ใช่ชุมชนโบราณเพราะไม่ได้อยู่มาแต่ต้น  อย่าอ้างอยู่มานาน ทำไมไม่คิดว่าอยู่ฟรี เอาเปรียบสังคมมานานหลายสิบปี  เลิกปล้นชิง  สมควรคืนแก่สังคมได้แล้ว

ชาย อายุ 66 ปี "เพิ่งทราบว่าบ้านต้องถูกรื้อเพียง 2 วันที่ผ่านมา. . .ตนเองไม่ใช่เจ้าของบ้านหรือมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยเป็นเพียงผู้เช่า แต่ก็เช่ามาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2522 เป็นเวลากว่า 37 ปีที่อาศัยอยู่ที่แห่งนี้. . .แต่พอเวลาผ่านมา 20 กว่าปี มีหมายไล่รื้อชุมชนเจ้าของบ้านเขาไปรับเงินจาก กทม. ค่าไล่รื้อ ทั้งๆ ที่เรายังเช่าเขาอยู่ วันที่เขามาที่บ้านหลังนี้ช่วงที่เจ้าหน้าที่เข้ามาทำการรื้อถอนบ้าน เขากลับพูดว่าเราไม่เคยเช่าเขา. . ." 

กรณีนี้เขาติดประกาศรื้อมานานหลายสิบปี และล่าสุดก็หลายสิบวัน  ผู้นี้อ้างตนว่าเช่าที่คนอื่น แต่เจ้าของยืนยันให้อยู่ฟรี  แต่ถึงหากเช่าจริง ก็ไม่ได้เก็บค่าเช่ามานานแล้ว  เอาสมบัติของแผ่นดินไปใช้ฟรี ๆ ไม่รู้สึกรู้สา ไม่สำนึกผิดชอบชั่วดีบ้างหรือไร

ชาย 58 ปี "เช่าบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬมากกว่า 30 ปี. . .หลังปี พ.ศ.2546. . .เจ้าของบ้านเขาก็ไม่มาเก็บเงินค่าเช่าแล้ว บ้านหลังนี้ไม่ได้อยู่ในข้อตกลงที่จะไล่รื้อเพราะเป็นบ้านไม้โบราณ" 

กรณีนี้ก็เช่นกัน อยู่มา 30 ปี โดย 17 ปีแรกเช่าบ้าน แล้ว 13 ปีหลังอยู่ฟรีโดยไม่เสียเงินสักบาทเดียว  ถือเป็นการบุกรุกอยู่อาศัย  ขนาดเจ้าของบ้านเดิมเขาไปแล้ว แต่ตนเองก็ไม่ยอมย้าย  นี่มีมโนธรรมสำนึกบ้างหรือไม่ที่ถือเอาทรัพย์ของส่วนกลางมาใช้สอยส่วนตัว  จริงๆ ทางราชการก็มีการจัดหาที่อยู่ให้ใหม่  สนับสนุนการขนย้าย ฯลฯ  แต่ดื้อแพงไม่ยอมสถานเดียว

การกระทำของชาวชุมชนที่นักข่าวประชาไท พยายามไปเฟ้นหามาแต่พวกผู้สูงวัย  ใช้ความน่าสงสารจากเปลือกนอกอย่างนี้มาคัดง้างกับการกระทำผิดทำนองคลองธรรมแบบนี้ เป็นสิ่งที่สมควรแล้วหรือ  สื่อไม่ควรเลือกข้างใช่หรือไม่  กรณีศึกษาบุคคลทั้ง 4 ข้างต้นนี้ แทนที่จะได้รับความเห็นใจ  แต่เท่ากับเป็นการเปิดโปงตัวเองอย่างล่อนจ้อนว่า เป็นผู้ที่ไร้ซึ่งหิริโอตัปปะโดยแท้  นี่จึงถือเป็นคำสารภาพบาปของพวกเขาเอง

บุคคลควรมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาปบ้าง

0000

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ธุรกิจนำเข้าแรงงานเดินสายล๊อบบี้ ก.แรงงาน ขอผ่อนปรนกฎระเบียบ

$
0
0
ชมรมผู้นำเข้าแรงงานต่างด้าวยื่นข้อเสนอถึง รมว.แรงงาน ขอแก้ พ.ร.ก.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 เสนอให้ “ลดเงินประกัน-ไม่ต้องวางหลักประกันไว้กับทางราชการ-ขยายระยะเวลาบทเฉพาะกาลจาก 60 วันเป็น 1 ปี-ค่าขอวีซ่า ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันสุขภาพและค่าขอใบอนุญาตทำงาน นายจ้างเรียกคืนจากแรงงานได้”

 
10 ก.ย. 2559 นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน ระบุเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมาว่าได้มอบหมายให้นายสมบัติ นิเวศรัตน์ ผู้ตรวจราชการกรมการจัดหางาน ต้อนรับตัวแทนจากชมรมผู้นำเข้าแรงงานต่างด้าวที่มายื่นข้อเสนอถึงพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขอให้แก้ไขพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชกำหนดฯ ฉบับดังกล่าว ซึ่งนายศักดิ์ชัย ธรรมปรีชาถาวร ประธานคณะกรรมการรุ่นก่อตั้งชมรมผู้นำเข้าแรงงานต่างด้าวได้เป็นผู้แทนยื่นข้อเสนอเป็นจำนวน 6 ข้อดังนี้ 1.ลดจำนวนเงินหลักประกันที่ผู้รับอนุญาตต้องวางไว้กับอธิบดีกรมการจัดหางานจากไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทเป็นไม่น้อยกว่า 3 แสนบาท 2.ให้เรียกเก็บหลักประกันจากนายจ้างในอัตราเดียวกับที่เรียกเก็บจากบริษัทผู้รับอนุญาตยกเว้นนายจ้าง ที่นำคนต่างด้าวมาทำงานโดยไม่ใช้บริการของผู้รับอนุญาตไม่เกินคราวละ 5 คน ไม่ต้องวางหลักประกันไว้กับทางราชการ 3.ให้ขยายระยะเวลาผ่อนปรนของบทเฉพาะกาลจาก 60 วันเป็น 1 ปี 4.บทนิยามของ คำว่าการนำคนต่างด้าวมาทำงาน 5.ให้กำหนดอัตราสูงสุดของค่าบริการที่บริษัทสามารถเรียกจากนายจ้างไว้ที่ไม่เกินคนละ 40% ในส่วนค่าของค่าขอวีซ่า ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันสุขภาพ และค่าขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวให้นายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบและเรียกคืนจากแรงงานต่างด้าวได้ 6.ให้กำหนดภาระความรับผิดชอบของผู้อนุญาตต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างกลับประเทศเฉพาะกรณีที่เป็นความผิดของผู้รับอนุญาตเท่านั้น 
 
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวในตอนท้ายว่าพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 ได้ร่างขึ้นบนหลักการเพื่อคุ้มครอง และป้องกันปัญหาที่เปราะบางและสุ่มเสี่ยงต่อการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไม่มีกฎหมายใช้บังคับ จึงทำใหัเกิดปัญหาหลายประการ เช่น แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ เป็นต้น ซึ่งพระราชกำหนดดังกล่าวจะช่วยจัดระเบียบผู้ประกอบกิจการและป้องกันการลักลอบนำคนต่างด้าวมาทำงานโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งคุ้มครองผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตามกฎเกณฑ์และมีมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม กรมการจัดหางานจะนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาอย่างเร่งด่วน ตามความเหมาะสมต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์ระบุประชาชน 78.% เชื่อการเลือกตั้ง 2560 ยังคงมีการซื้อเสียง

$
0
0
กรุงเทพโพลล์สำรวจประชาชน 1,156 คน 78.0% เชื่อการเลือกตั้งปี 2560 ยังคงมีการซื้อเสียงส่วนใหญ่ไม่เชื่อ กกต. แก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ 68.2% เห็นด้วยหากให้กระทรวงมหาดไทยช่วยจัดการเลือกตั้ง เพื่อลดปัญหาการซื้อเสียง

 
 
 
10 ก.ย. 2559 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2560” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,156 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78.0 เห็นว่าการเลือกตั้งในปี 2560 น่าจะยังมีการซื้อเสียงอยู่ ขณะที่ร้อยละ 16.6 เห็นว่าไม่น่าจะมี ส่วนที่เหลือร้อยละ 5.4 ไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะสามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.0 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนร้อยละ 9.8 ไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่หากจะให้กระทรวงมหาดไทยมาช่วย กกต. จัดการเลือกตั้ง เพื่อลดปัญหาการซื้อเสียง ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.2 เห็นด้วยเพราะคิดว่าน่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของ กกต. ได้ ขณะที่ร้อยละ 25.1  ไม่เห็นด้วยเพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของ กกต.  และ กกต. สามารถดูแลได้อยู่แล้ว มีเพียงร้อยละ 6.7 ไม่แน่ใจ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โครงการทวิภาษาใน จ. ชายแดนภาคใต้ คว้ารางวัล Literacy Prize จากยูเนสโก

$
0
0
ในโอกาสวันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day) โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยภาษาถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับรางวัล King Sejong Literacy Prize จากองค์การยูเนสโกในปีนี้ 

 
 
 
เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมาเนื่องในโอกาสวันการรู้หนังสือสากล (International Literacy Day) โครงการส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยภาษาถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับรางวัล King Sejong Literacy Prize จากองค์การยูเนสโกในปีนี้ 
 
โครงการวิจัยปฏิบัติ “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-ภาษามาลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้”ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2549 โดย สถาบันวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดลสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยและพันธมิตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลการเรียนของนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษามาลายูถิ่นทั้งนี้ การศึกษาจากทั่วโลกรวมถึงจากยูเนสโกและยูนิเซฟ ชี้ว่าเด็กๆ จะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นมากหากพวกเขาได้เรียนโดยใช้ภาษาถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงชั้นปฐมวัย
 
นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “งานวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการสอนด้วยภาษาถิ่น จะทำให้เด็กเรียนได้ดีขึ้นและมีพื้นฐานที่ดีในเรื่องการอ่านเขียนและการคำนวณ เราพบว่าเด็กในจังหวัดชายแดนใต้มีผลการเรียนที่อยู่ในกลุ่มเกณฑ์ที่ต่ำที่สุดของประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเด็กๆ หลายคนมีความยากลำบากในการปรับตัวและทำความเข้าใจเมื่อเรียนเป็นภาษาไทย เราจึงริเริ่มโครงการนี้เพื่อแก้ประเด็นดังกล่าว”
 
ในส่วนของรางวัล องค์การยูเนสโกได้ระบุว่า คณะกรรมการตัดสิน “ชื่นชมกับแนวทางของโครงการที่เป็นนวัตกรรม … และความสำเร็จของโครงการในการทำให้ผลการเรียนของเด็กนักเรียนที่พูดมาลายูในโรงเรียนประถมทางภาคใต้ของไทยดีขึ้นอย่างยั่งยืน”
 
ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ขึ้นรับมอบรางวัลที่กรุงปารีสเมื่อวานนี้ กล่าวว่าโครงการนี้ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่1แล้วจึงค่อยๆนำภาษาไทยและภาษาอังกฤษมาใช้ในระดับที่สูงขึ้น
 
“โครงการนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนแบบทวิภาษานั้นสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ และยังช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่เด็กๆ เราหวังว่าโครงการนี้จะเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยที่มีการใช้ภาษาถิ่นขณะนี้เรากำลังร่วมมือกับยูนิเซฟและพันธมิตรอื่นๆ ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากโครงการนี้สำหรับการสนับสนุนนโยบายภาษาแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนการสอนด้วยภาษาถิ่นในประเทศไทยต่อไป”
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยธ.เผยอภัยโทษผู้ต้องขัง 'สูงวัย-โรคร้ายแรง' ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์

$
0
0
รองปลัดยุติธรรม แจงอภัยโทษผู้ต้องขังวัย 70 ปี เหลือโทษไม่เกิน 3 ปี หรือติดคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ส่วนพักโทษเหลือโทษไม่เกิน 5 ปีถึงเข้าเงื่อนไข กรณีเป็นโรคร้ายแรงอยู่ในดุลพินิจของแพทย์

 
10 ก.ย. 2559 ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่านายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และในฐานะโฆษกกระทรวงยุติธรรม ได้เผยแพร่สาระสำคัญและหลักเกณฑ์การพระราชทานอภัยโทษในโอกาสสำคัญ หรือพักการลงโทษกรณีอ้างเหตุรับประโยชน์เกี่ยวกับอายุและภาวะการเจ็บป่วยของผู้ต้องขัง
       
โดยระบุว่า สาระสำคัญและตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุของผู้ต้องขังนั้นต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดอายุ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรืออายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปี ที่เหลือกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีของโทษตามกําหนดโทษ เช่น พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมาบัญญัติว่า “ต้องได้รับโทษจําคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของโทษตามกําหนดโทษ และต้องมีโทษจําคุกตามกําหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ” เป็นต้น และยังต้องดูว่าการกระทำความผิดที่ต้องรับโทษนั้นเป็นฐานความผิดต้องห้ามไม่ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษด้วยหรือไม่อีกด้วย ส่วนการพักโทษของผู้ต้องขังที่มีอายุเกิน 70 ปี ต้องเหลือโทษไม่เกิน 5 ปี และต้องถูกจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ของโทษตามกําหนดโทษ
       
ทั้งนี้ หากเป็นนักโทษเด็ดขาดที่กรณีอ้างเหตุเป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อย 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ เช่น พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2559 บัญญัติว่า “ต้องได้รับโทษจําคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกําหนดโทษ เว้นแต่เป็นคนเจ็บป่วย ด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่า 2 คนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าไม่สามารถจะรักษาในเรือนจําให้หายได้” เป็นต้น 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ใต้ฝุ่น

$
0
0

ฝุ่นในสายลมแรง
มองไม่เห็น แต่มีจริง
หนุ่มสาวในสายลมแรง
เหมือนฝุ่นในสายลมแรง

สายลมแรงพัดมาจากที่ไกล
แต่อยู่ใกล้ เย็นเยือกกาย จับใจ
ลมหายใจแรงแห่งภาพฝันที่ฝันใฝ่
ลมหายใจแห่งเบื้องในไกลห่าง

ฝันเก่ามองเห็น และอยู่ไม่ไกล
ฝันใหม่ที่มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง
ฝันเก่ากระจายไปทั่วสายลมแรง
ฝันใหม่กระจายไปทั่วความเปลี่ยนแปลง

ฝันใหม่ฝุ่นใหม่ในสายลมพัดแรง
แม้เป็นฝุ่นในฝันจากที่ห่างไกล
แต่เป็นฝุ่นในฝันใหม่ที่ไม่อยู่เบื้องใด
นอกจากอยู่ในใจปวงประชา
นํ้าท่วมฟ้า ปลากินดาว
ดวงอาทิตย์เหินหาว อาจม

ในสายลมแรงความเปลี่ยนแปลง
ฝุ่นฝันกระจายตัวอิสระ
ฝุ่นไม่อยู่ใต้อุ้งเท้าใคร

ฝุ่นไม่อยู่ใต้อุ้งเท้าใคร
ไม่ว่าใคร ในสายลมแรง

0000

 

หมายเหตุ

เขียน 9 กรกฎาคม 2559
แก้ไข 10 กันยายน 2559

ชื่อภาพ Self Portrait - ภาพใกล้เหมือนตัวเอง
เทคนิค สีนํ้า เกรยอง บนกระดาษสา
ขนาด 14 X 20 ซม.
ปีสร้าง พ.ศ.2545
ผู้สร้าง สุชาติ สวัสดิ์ศรี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธิปไตยที่แท้จากสหรัฐฯ: เลือกตั้งทุกอย่างรวมทั้งผู้พิพากษา

$
0
0

 


บางคนบอกว่าสหรัฐอเมริกาจะเป็นตัวอย่างประชาธิปไตยที่แท้จริงได้อย่างไร  เห็นไปเที่ยวรุกรานประเทศอื่นทั่วโลก  ข้อนี้เราคงต้องคิดแยกแยะ  นโยบายต่อประชาคมต่างประเทศของผู้บริหารประเทศสหรัฐฯ ก็เรื่องหนึ่ง  ความเป็นประชาธิปไตยในประเทศก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  อย่ามาปะปนกัน  ในด้านประชาธิปไตย  สหรัฐฯ มีอย่างสมบูรณ์ยิ่ง

ผมมีโอกาสไปมลรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยที่แท้ที่เราแทบไม่เคยรู้  ผมถามเพื่อนที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ท่านก็ยังเคยรู้มาก่อนเลย  ประชาธิปไตยที่แท้ในสหรัฐฯ นั้นมีลักษณะดังนี้:

1. หลักสำคัญก็คือแทบทุกอย่างมาจากการเลือกตั้ง  เขาถือว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน" (ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน) อย่างแท้จริง  ถ้าไม่มีเลือกตั้งไม่ว่าจะระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศ ก็เท่ากับว่าไม่มีประชาธิปไตย

2. ในระดับประเทศ  สหรัฐฯ มีการเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร (ประธานาธิบดี)  ไทยเราก็น่าจะมีการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง หรืออย่างน้อยก็ต้องให้ผู้แทนของพรรคที่มีเสียงมากที่สุด ได้เป็นนายกฯ (ไม่ใช่ "เหาะ" มาจากภายนอก ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย)  หัวหน้าฝ่ายบริหารมาบริหารแทนประชาชนทั้งมวลที่มอบอำนาจให้

3.  ประธานาธิบดีที่ประชาชนเลือกเป็นผู้ตั้งองค์คณะในศาลฎีกา โดยความเห็นชอบของวุฒิสภา ซึ่งมีอยู่ 9 คนซึ่งจะอยู่จนตาย  โดยในขณะนี้ มีอยู่ 5 คนที่ตั้งโดยนายจอร์จ บุช  ที่ตั้งโดยนายโอบามามีเพียง 4 คน  บางคนอาจตั้งคำถามว่าถ้าผู้นำฝ่ายบริหารตั้งศาล แล้วศาลจะยุติธรรมหรือ ข้อนี้อยู่ที่การกลั่นกรองของวุฒิสภาและเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับอำนาจประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งตามมติมหาชนว่าเป็นใหญ่ที่สุด

4. โดยนัยนี้จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกจึงกำหนดให้อำนาจฝ่ายบริหารเข้มแข็งเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน  ไม่ใช่แบบไทยๆ ที่พยายามบ่อนทำลายฝ่ายบริหาร เพราะมีอำนาจที่มองไม่เห็น (พรรคข้าราชการ) คอยจะเป็นใหญ่แทนประชาชน

5. ไม่มีการห้ามว่าสามี ภรรยา เครือญาติ ลงสมัครรับใช้ประชาชนในทุกตำแหน่ง  การทั้งปวงอยู่ที่การตัดสินใจของประชาชน (โปรดอย่าหาว่าประชาชนไทย จะถูกซื้อเสียง  นี่เป็นการอ้างเท็จ (http://bit.ly/2c5dOFk)

6. การเลือกตั้ง สส. และ สว. มีทั้งในระดับประเทศและในระดับมลรัฐ  แต่ในระดับมลรัฐจะอยู่ในตำแหน่งในระยะเวลาที่สั้นกว่า

7. ในแต่ละมลรัฐมีการเลือกผู้ว่าการมลรัฐ รองผู้ว่าฯ "รมว.คลัง" อัยการ ผู้พิพากษาศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น และตำแหน่งอื่นๆ อีกมากมายที่ล้วนแต่มากการเลือกตั้ง

8. ต่อลงมาจากระดับมลรัฐก็ถึงระดับจังหวัด (County) หรืออาจเรียกว่าอำเภอหรือเขตก็แล้วแต่ถนัด  ในระดับนี้ก็จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานกรรมการเลือกตั้ง หัวหน้าตำรวจ (Sheriff) ผู้อำนวยการฝ่ายประเมินค่าทรัพย์สิน ผู้อำนวยการฝ่ายจัดเก็บภาษี ประธานและกรรมการจัดการศึกษา และอื่นๆ  นอกจากนี้ในระดับเทศบาลหรือเมืองย่อย ตำแหน่งต่างๆ ที่คล้ายกันเหล่านี้ก็มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น

9. ผู้พิพากษายังต้องมาจากการเลือกตั้ง  และไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติว่าต้องจบกฎหมายเสียด้วย (แต่ผู้สมัครทุกคนก็จบกฎหมาย)  ทั้งนี้ยกเว้นศาลปกครอง ซึ่งพิจารณาคดีระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน ก็จะมาจากการแต่งตั้ง โดยอำนาจของประธานาธิบดีเป็นคนตั้งตั้งแต่ระดับศาลฎีกาลงมา  ในระดับจังหวัดของบางมลรัฐ  ผู้พิพากษาอาจมาจากการแต่งตั้งโดยหัวหน้าผู้พิพากษาที่ประธานาธิบดีแต่งตั้งอีกที

10. การมีการเลือกตั้งผู้พิพากษาเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่น เข้าใจปัญหาต่าง ๆ ดีกว่าผู้พิพากษาจากส่วนกลางที่ไม่ยึดโยงประชาชนและไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริง  การเลือกตั้งผู้พิพากษาจึงเหมือนการให้อำนาจ เคารพภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้ความสำคัญแก่ท้องถิ่น ผู้นำ ผู้มีอิทธิพลทางความคิดในท้องถิ่นอย่างแท้จริง

11. ส่วนข้าราชการประจำนั้นมีไว้เพื่อการเป็น "มือไม้" ให้กับข้าราชการการเมือง  ประเทศประชาธิปไตยที่แท้ เขาถือว่ายิ่งเลือกตั้งมามาก ยิ่งได้คนที่ต้องใจประชาชน  ไม่ได้มาสร้างภาพกล่าวหานักการเมืองว่าเลวสารพัด เพื่อตัวเองจะได้ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างถาวร

12. รายได้ก็มีการกำหนดชัดเจน เช่น ผู้ว่าการมลรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี ผู้พิพากษา หรือผู้จัดเก็บภาษี ฯลฯ มีรายได้ปีละประมาณ 130,000 เหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับเดือนละ 380,000 บาท แตกต่างกันไปตามจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่น  โดยท้องถิ่นที่มีคนต้องดูแลมาก ก็มีรายได้สูงกว่า แต่ก็ต่างกันไม่มากนัก  ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านตัวเลขรายได้เลย

13. เมื่อเทียบกับไทย รายได้นี้มากกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยเราเพียง 3 เท่า  และพวกเขาไม่มีสวัสดิการอู้ฟู่แบบข้าราชการบิ๊กๆ ของไทย  ไม่มีโอกาสเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ  ไม่ผลประโยชน์แอบแฝง "ตามน้ำ" อื่น  หากพิจารณาจากการซื้อขายตำแหน่ง ๆ ละ 15 ล้านบาท อยู่ได้ 3 ปี  ราชการไทยบางตำแหน่ง อาจมีเงินเดือนเทียบเท่ากับ 417,000 บาท นับว่ารวยกว่าข้าราชการสหรัฐฯ เสียอีก  ด้วยเหตุนี้ "พรรคข้าราชการ" จึงไม่อยากให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั่นเอง

14. ทุกประเทศก็ต้องการคนดีมาเป็นตัวแทนของประชาชนบริหารประเทศหรือท้องถิ่น แต่เขาไม่มีการโหมกระแสคนดี (ที่ไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง)  ยิ่งเลือกตั้งบ่อย ยิ่งจะได้คนดีเข้ามา ไม่ใช่ไม่เลือกตั้ง  ยกเว้น สว.ระดับประเทศที่จะถูกเลือกตั้งให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี  สส. จะมีอายุเพียง 2 ปี  เพื่อการเฟ้นหาคนดีๆ เข้ามา  ไม่ใช่หาคนดีๆ จากการแต่งตั้งหรืออีกนัยหนึ่งก็คือความดีแบบอุปโลกน์นั่นเอง

15. ความสำเร็จสำคัญอย่างหนึ่งของการนี้เกิดจากการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เก็บและใช้ในท้องถิ่น ก็คล้ายกับการจัดเก็บค่าส่วนกลางในอาคารชุดหรือบ้านจัดสรรของไทยเรานั่นเอง  แต่ทุกวันนี้เราไม่มีภาษีนี้ มีแต่ภาษีโรงเรือนอันบิดเบี้ยว  ภาษีส่วนมากเก็บผ่านส่วนกลางแล้วส่งมาส่วนท้องถิ่น  ทำให้เกิดอาการ "วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง" เพราะไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ  แต่ถ้าเก็บในท้องถิ่นและใช้ในท้องถิ่นเป็นหลัก  และมีผู้แทนของประชาชนมาดูแลผลประโยชน์ตั้งแต่ประเมินค่า เก็บภาษี จัดการศึกษา ฯลฯ งบประมาณก็ใช้เพื่อท้องถิ่นอย่างเต็มที่

ดังนั้นถ้าหากไทยจะมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจริงโดยไม่เป็นแค่คำลวง จะต้อง

1. มีการเลือกตั้งโดยควรปฏิรูประบบราชการให้มีการเลือกตั้งทุกระดับ ตั้งแต่นายอำเภอ ผู้ว่าฯ นายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่ตำแหน่งผู้พิพากษาอรรถคดี (ยกเว้นคดีปกครอง) เพราะเท่ากับเราให้ความสำคัญต่อคนท้องถิ่นในการตัดสินคดีความกันเอง

2. ราชการส่วนกลางที่เทอะทะสมควรได้รับการลดทอน  ราชการส่วนภูมิภาคต้องมีขนาดเล็กที่สุดหรือไม่มี  มีแต่ส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เพื่อให้งบประมาณแผ่นดินไปสู่ส่วนท้องถิ่นมากขึ้น

ส่วนการปฏิรูปแบบไทยๆ จะทำให้ไทยเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ อำนาจอธิปไตยเป็นของคนไทยหรือไม่  ประเทศชาติจะไปสู่ความรุ่งโรจน์ หรือรุ่งริ่ง  ทุกท่านต้องลองตรองดูเองเอง

0000


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บริหาร คณาจารย์ ม.รังสิต หนุนชุมชนป้อมมหากาฬอยู่กับโบราณสถานได้

$
0
0

คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ออกจดหมายเปิดผนึกสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตคนอยู่กับโบราณสถานได้

 10 ก.ย. 2559 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ออกจดหมายเปิดผนึก “สนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตคนอยู่กับโบราณสถานได้” โดยระบุว่าตามที่กรุงเทพมหานครมีแนวทางการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ เพื่อเป็นสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยว จนมีความขัดแย้งกับชุมชนป้อมมหากาฬ มายาวนานกว่า 20 ปีและมีการวิพากษ์วิจารณ์จากเครือข่ายชุมชน นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดี เครือข่ายนักวิชาการ/ภาคประชาสังคมจำนวนมากรวมทั้งองค์กรอิสระเช่นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาอย่างต่อเนื่องที่มุ่งหวังให้กรุงเทพมหานครคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์และคณะรัฐมนตรีปรับกรอบแนวคิดและแนวทางการพัฒนามาสู่หลักการที่บริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนให้ชุมชนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้และคัดค้านแนวทางการรื้อชุมชนประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งเดียวที่เหลืออยู่ของกรุงเทพในขณะที่มีงานวิจัยที่นำเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างชัดเจนและยั่งยืนต่อ กทม.ตั้งแต่ปี 2549 แต่ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดจนถึงปัจจุบัน

การเข้ารื้อบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬของกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 และ 4 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา แม้จะเริ่มด้วยบรรยากาศที่ตึงเครียดแต่ในที่สุดก็มีแนวทางที่ดีร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโดยกรุงเทพมหานครได้ยอมรับเข้าร่วมเจรจากับหลายฝ่าย ต่อหน้าประจักษ์พยานทั้งสื่อมวลชนและเครือข่ายประชาสังคมต่าง ๆ จำนวนมาก โดยตกลงรื้อเฉพาะ 12 หลังที่สมัครใจเท่านั้น และจะมีการตั้งคณะกรรมการพหุภาคีเพื่อออกแบบวางแผนการพัฒนาชุมชนที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานได้โดยพิจารณาองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และกรอบแนวคิดการพัฒนาที่กลมกลืนกับการอนุรักษ์โบราณสถานที่มี “คน” “ประวัติศาสตร์ชุมชน”เป็นตัวตั้งและดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอจากการเจรจาครั้งล่าสุด ประกอบกับงานวิจัย และการเสนอความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา ยังไม่มีผลนำไปสู่ทางออกที่เป็นจริง ยังคงมีข่าวคราวการเตรียมไล่รื้อต่อไป ทำให้สถานการณ์ไม่เป็นผลดีต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน

คณะผู้บริหารและคณาจารย์ ของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ติดตามเรื่องราวของปัญหาและความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ในฐานะนักวิชาการที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม และยึดถือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนจึงขอมีส่วนร่วมในการเสนอทางออกของการแก้ไขปัญหาดังนี้

1) เป็นที่ประจักษ์ในข้อเท็จจริงร่วมกันว่า พื้นที่ป้อมมหากาฬเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่มีความหมายในเชิงประวัติศาสตร์ และขณะเดียวกันก็มีชุมชนป้อมมหากาฬเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีบ้านไม้โบราณ มีต้นไม้ใหญ่กลางกรุง และมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมอยู่คู่กันมายาวนาน จึงไม่ควรไล่รื้อชุมชนออกไป

2) กรอบแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในยุคปัจจุบันมีทิศทางที่ก้าวหน้าต่างจากเดิมมากแล้ว รวมทั้งมีบทเรียนที่ดีงามในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตในต่างประเทศ ในสังคมไทยก็ได้เรียนรู้พัฒนาคุณค่าและความหมายของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงแผนแม่บทการพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ให้มีการยอมรับหลักการที่คนและชุมชนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีจิตวิญญาณของประวัติศาสตร์ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคารพในหลักการการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน

3) ทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้ คือ การยุติการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ และขอสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหลายฝ่ายมากำหนดกรอบแนวคิดแนวทางการพัฒนาในการสร้างพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตทำให้ชุมชนป้อมมหากาฬ และกำแพงเมือง เป็นแบบอย่างของการอนุรักษ์โบราณสถาน ที่มี “ชุมชน” อยู่ร่วม และมีกติการ่วมกันในการรับผิดชอบดูแลโดยชุมชน ซึ่งจะเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุด

คณะผู้บริหารและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ตามรายชื่อแนบท้ายนี้ ขอเสนอความเห็นเพื่อมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคมร่วมกับทุกฝ่าย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร จะร่วมกับภาคประชาสังคม และชุมชนป้อมมหากาฬ ดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ลุล่วง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่มีชีวิตและงดงามคู่กับสังคมไทย                             

รายชื่อผู้บริหารและนักวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิตที่ร่วมสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต

1.      รศ.วิสูตร จิระดำเกิง                          รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร

2.      นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์        รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

3.      ผศ.ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร                    รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

4.      ดร.พงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจ                 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

5.      ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ                    รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

6.      นายอานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์            รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคม

7.      ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ                 ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร

8.      นายธนภัทร เอกกุล                          ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการตลาด

9.      รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

10.     รศ.วิทยากร เชียงกูล                        คณบดีกิตติคุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

11.     ผศ.ดร.นฤพนธ์ไชยยศ                      คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

12.     รศ.พิศประไพ สาระศาลิน                  คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ

13.     นายอำนวยวุฒิ สาระศาลิน                 คณบดีคณะดิจิตัลอาร์ต

14.     นายอนุสรณ์ ศรีแก้ว                         คณบดีคณะนิเทศศาสตร์

15.     ผศ.ดร.เด่น อยู่ประเสริฐ                    คณบดีวิทยาลัยดนตรี

16.     ผศ.ดร.วราพร ลักษณลม้าย                คณบดีคณะเทคโนโลยีอาหาร

17.     ผศ.ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์                คณบดีคณะกายภาพบำบัด

18.     ผศ.ดร.อำภาพร นามวงศ์พรหม           คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์

19.     ผศ.ดร.ธนภัทร ทรงศักดิ์                    คณบดีคณะเภสัชศาสตร์

20.     รศ..นันทชัย ทองแป้น                       คณบดีคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์

21.     ผศ.ดร.ธรรมศักดิ์ รุจิระยรรยง             คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์

22.     ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์         รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์

23.     นายปราโมทย์ พิพัฒนาศัย                 รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะนิติศาสตร์

24.     นายบุญส่ง ชเลธร                            รองคณบดีสถาบันรัฐประศาสนศาสตร

25.     ดร.อาภา หวังเกียรติ                         ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์

26.     นายวสันต์ ยอดอิ่ม                           ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

27.     ดร.ฉัตรวรัญ องคสิงห์                       รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

28.     ดร.ดวงพร อาภาศิลป์                        รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

29.     ผศ.ดร.ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน            รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

30.     นายสุริยะใส กตะศิลา                       รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

31.     ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน                        อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

32.     นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์               อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

33.     ผศ.ดร.รัตพงศ์ สอนสุภาพ                  ผอ.หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

34.     นางสาวชนัฐนันท์ ม่วงวิเชียร               หัวหน้าหลักสูตรผู้นำฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

35.     ดร.ศรัณย์ ธิติลักษณ์                        ผอ.หลักสูตรผู้นำฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

36.     ดร.สมิทธิ์ ตุงคะสมิต                         อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

37.     พลเรือตรี ผศ.ดร.วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

38.     ดร.ชุลีรัตน์ เจริญพร                         ผอ.ศูนย์วิจัยฯ และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

39.     นายอาทิตย์ ทองอินทร์                     หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

40.     นายฟ้าลั่น กระสังข์                          อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

41.     นางสุนี ไชยรส                                ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรมวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม/อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผยพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกาใน กทม. แล้ว

$
0
0
รองปลัดกรุงเทพฯ เผยพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิกาในพื้นที่สาทร และผู้ติดเชื้ออีก 20 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างเฝ้าระวังและควบคุมโรค เป็นระยะเวลา 30 วัน ยืนยันยังไม่พบการเสียชีวิต ด้านกรมควบคุมโรค เผยช่วงหน้าฝน 4 เดือนค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพิ่มเกือบ 3 เท่า ขอประชาชนร่วมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

 
10 ก.ย. 2559 ThaiPBSรายงานว่า พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าพบหญิงตั้งครรภ์เป็นผู้ป่วย ซึ่งได้รับการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ ยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิกาในพื้นที่เขตสาทร กทม. ขณะตั้งครรภ์ได้ 37 สัปดาห์ แต่ขณะนี้คลอดลูกแล้ว พบว่าทั้งแม่และเด็กปลอดภัย โดยคาดว่าได้รับเชื้อจากสามี ที่มีประวัติเดินทางกลับจากประเทศสิงคโปร์
 
จากการสอบสวนโรคบุคคลใกล้ชิด พบผู้ป่วยกับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อีกจำนวน 20 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคของสำนักอนามัย และสำนักงานเขตอย่างเคร่งครัด ประมาณ 30 วัน หรือ 2 เท่าของระยะฟักตัว โดยขอความร่วมมืองดเดินทางออกนอกบ้านในระยะนี้
 
พญ.วันทนีย์กล่าว่า กทม.ยังเฝ้าระวังหญิงตั้งครรภ์อีก 1 คน ซึ่งขณะนี้มีอายุครรภ์ประมาณ 7 เดือน เนื่องจากมีประวัติเป็นไข้ มีผื่น ปวดข้อ และตาแดง
 
อย่างไรก็ตามยืนยันว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ขอความร่วมมือประชาชนอย่าตื่นตระหนก และควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายภายในบ้านเรือน เพื่อป้องกันตัวเอง
 
สนามบินอุบลตั้งเครื่องจับอุณหภูมิ เข้มป่วยไข้ซิกา
 
ด้าน TNNรายงานวันเดียวกัน (10 ก.ย.) ว่านายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค และท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี เปิดจุดคัดกรองโรคไวรัสซิกา ที่บริเวณจุดรับผู้โดยสารขาเข้า ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี 
 
ทั้งนี้ เนื่องจากในประเทศไทยมีแนวโน้มของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสซิกาในหลายจังหวัด แม้ว่าจังหวัดอุบลราชธานียังไม่มีรายงานผู้ป่วย แต่ได้ดำเนินมาตรการป้องกัน โดยการติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกน หรือ กล้องตรวจจับอุณหภูมิ เพื่อคัดกรองผู้โดยสาร หากพบอุณหภูมิสูงผิดปกติ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง มีอาการเข้าข่ายต้องสงสัย จะกักตัวไว้เพื่อสอบถามประวัติตามระบบคัดกรอง ให้คำแนะนำ และดำเนินตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
 
สำหรับโรคไวรัสซิกา มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะ จึงควรที่จะกำจัดยุงและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยอาการของโรค ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง และอาจมีอาการอื่นได้ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต และ อุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายใน 2-7 วัน แต่หากหญิงมีครรภ์ติดเชื้อหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้รีบพบแพทย์โดยเร็ว เพราะหากติดเชื้ออาจส่งผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ ทำให้เกิดภาวะสมองเล็กได้
 
กรมควบคุมโรค เผยช่วงหน้าฝน 4 เดือนค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพิ่มเกือบ 3 เท่า
 
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา เว็บไซต์สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่านายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังการประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (EOC) ว่าในช่วงหน้าฝนปีนี้ ฝนตกบ่อยครั้งจนเกือบทุกวัน ทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและแหล่งน้ำต่างๆ และยุงก็เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย ซึ่งช่วงหน้าฝนนี้ก็เป็นฤดูระบาดสูงสุดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะด้วย โดยเฉพาะ 3 โรคสำคัญ คือ ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–6 กันยายน 2559 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 38,031 ราย เสียชีวิต 31 ราย และพบว่าพื้นที่ที่มีผู้ป่วยหนาแน่น คือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ช่วงหน้าฝนทำให้จำนวนยุงเพิ่มมากขึ้น การป้องกันไม่ให้ยุงกัดของประชาชนน้อยลง กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลายไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น ทำให้ทั้งสองภาคดังกล่าวมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากขึ้น และมีผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกาในบางพื้นที่
 
นอกจากนี้ ช่วงหน้าฝนปีนี้ ยังพบว่าจากการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายมีค่าเพิ่มสูงขึ้น เฉพาะในชุมชนและบ้านพักบางแห่งสูงขึ้นจากช่วงต้นฤดูฝนอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเดือนพฤษภาคมและเดือนสิงหาคม ดังนี้ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนจาก 9.84 เป็น 24.49 และบ้านพักบางแห่งจาก 0.32 เป็น 5.72 ซึ่งค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งเพาะพัน์ลูกน้ำยุงลายและอาจทำให้มีจำนวนผู้ป่วยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเพิ่มขึ้นตามมาเช่นกัน 
 
นายแพทย์อำนวย กล่าวต่อไปว่า กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนในการควบคุมยุงลายในบ้านของท่านเองอย่างสม่ำเสมอ โดยดำเนินตามมาตรการ 3 เก็บ 5 ส. “เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ” และกิจกรรม 5 ส. เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ ไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดยร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นทุกวันศุกร์ โดยเริ่มวันนี้เป็นแรกจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2559 รวมถึงการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ยาทากันยุง นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด และสวมเสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ปกคลุมผิวหนังและร่างกาย
 
ส่วนคำแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แยกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1.หญิงตั้งครรภ์ทั่วไป ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ให้ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ยาทากันยุงที่ทำจากสมุนไพร นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด ควรไปฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุข หากมีมีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรือมีอาการผิดปกติให้รีบไปแพทย์ และงดเดินทางไปในพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา 2.หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โดยให้ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงลายกัด โดยใช้ยาทากันยุงที่ทำจากสมุนไพร นอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวด ให้ฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุข และเข้าไปปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ป่วยก่อน งดเดินทางไปในพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกา และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หรืองดมีเพศสัมพันธ์ระหว่างท้อง หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาชนร่วมคล้องแขนปกป้อง 'ชุมชนป้อมมหากาฬ'

$
0
0

เครือข่ายชุมชน กลุ่มนักศึกษา และผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่ใกล้เคียงร่วมกิจกรรม 'ป้อมมหากาฬไม่โดดเดี่ยว' มีการคล้องแขนเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือปกป้องชุมชน ชาวบ้านลั่นถอยไม่ได้อีกแล้ว

ที่มาของภาพ: เพจชุมชนป้อมมหากาฬ

 
 
 
 
 
 
 
 
ที่มาภาพ Banrasdr Photo
 

10 ก.ย. 2559 มติชนออนไลน์รายงานว่าเวลา 15.00 น. ที่ชุมชนป้อมมหากาฬ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีการจัดงาน “มหากาฬไม่โดดเดี่ยว” โดยมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งเครือข่ายชุมชน กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ ม.รังสิต ผู้ประกอบการธุรกิจในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ วันซ์อเกน โฮสเท็ล และประชาชนทั่วไป รวมถึงนายแก้วสรร อติโพธิ อดีต ส.ว. และ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เวลา 15.00 น. มีการแสดงดนตรีโดยวงโฮปแฟมิลี่ จากนั้นนายศานนท์ หวังสร้างบุญ จากกลุ่มมหากาฬโมเดลลุกขึ้นกล่าวบริเวณลานชุมชนว่า สิ่งที่คนทั่วไปส่วนหนึ่งเข้าใจผิดคือ ชาวบ้านหวังว่าจะอยู่ที่ป้อมมหากาฬในฐานะเดิม แต่ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะมีข้อเสนอถึง 5 ข้อ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการขอเป็นอาสาสมัครดูแลสวนสาธารณะ พัฒนาชุมชนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว นอกจากนี้ กทม.ยังจะมีรายได้จากการเก็บค่าเช่าที่อีกด้วย

ต่อมาเป็นการแสดงของ ‘กลุ่มบ้านนี้ดีจัง’ ซึ่งเป็นการรวมตัวของเยาวชนในชุมชนฝั่งธนบุรี อาทิ ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม ชุมชนวัดสังกัจจายน์, ชุมชนวัดดงมูลเหล็ก, ชุมชนปรกอรุณ และชุมชนวัดโพธิ์เรียง

นายสุรนาถ แป้นประเสริฐ ตัวแทนกลุ่มบางกอกนี้ดีจัง กล่าวว่า อยู่นิ่งเฉยไม่ได้ เพราะประวัติศาสตร์ควรอยู่คู่กับชุมชน คนควรอยู่กับประวัติศาสตร์ ชุมชนจะมีชีวิตได้ต้องมีผู้คน จะพรากพื้นที่ประวัติศาสตร์ไปจากคนได้อย่างไร

“หากวันนี้ชุมชนป้อมซึ่งมีประวัติศาสตร์ยังอยู่ไม่ได้ แล้วพื้นที่อื่นๆ จะอยู่ได้หรือ อยากให้ชุมชนยืนหยัดต่อไป สัญญาว่าจะไม่ทอดทิ้งป้อมมหากาฬ” นายสุรนาถกล่าว

น.ส.ศิริพร พรหมวงศ์ ซึ่งทำกิจกรรมในชุมชนคลองเตย กล่าวว่า ชุมชนคลองเตยเป็นสลัมขนาดใหญ่ที่สุดใน กทม. ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน ตอนนี้มีปัญหาไม่ต่างกัน คือมีการต่อรองไล่รื้อมาหลายสิบปี ถามว่าจะทำอย่างไรให้รัฐเห็นความสำคัญของคนจน จะพูดเรื่องผิดหรือถูกกฎหมายไม่ได้ ต้องพูดถึงความเป็นธรรมของคนด้วย

เวลาประมาณ 16.00 น. มีการอ่านจดหมายเปิดผนึกของคณะผู้บริหาร คณาจารย์มหาวิทยาลัยรังสิต เรื่องสนับสนุนให้ชุมชนป้อมมหากาฬเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต คนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้

นางสุนี ไชยรส ในฐานะ ผอ.ศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต กล่าวว่า คณะผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยรังสิตที่ติดตามเรื่องราวของปัญหาและความขัดแย้ง ในฐานะนักวิชาการที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม และยึดถือการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน จึงขอมีส่วนร่วมในการเสนอทางออกของการแก้ปัญหา คือ ขอเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแผนแม่บทการพัฒนาเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ให้มีการยอมรับหลักการที่คนและชุมชนอยู่ร่วมโบราณสถานได้ โดยทางออกที่เหมาะสมและเป็นไปได้คือ การยุติการไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ ขอสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยหลายฝ่ายต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีการแจกเอกสารจดหมายเปิดผนึกซึ่งมีรายนามคณาจารย์จำนวน 41 ราย ประกอบด้วยรองอธิการบดี คณบดี และอาจารย์จากคณะวิชาต่างๆ

ต่อมา มีการร้องเพลงที่แต่งขึ้นเองโดยชาวป้อมมหากาฬ ซึ่งมีชาวบ้านหลายรายร้องไห้ออกมาขณะขับร้อง เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการต่อสู้โดยชุมชนที่ไม่สามารถถอยได้อีกแล้ว จากนั้นมีการอ่านบทกวีโดยนายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต และการแสดงดนตรีโดยวงคีตาญชลี

เวลา 17.00 น. มีการทำกิจกรรมนำ ‘พวงมโหตร’ ซึ่งทำจากกระดาษว่าวหลากสี ซึ่งชาวบ้านและผู้ร่วมงานช่วยกันประดิษฐ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความอดทนและความเป็นไทยไปแขวนยังรั้วชุมชนป้อมมหากาฬฝั่งสวนสาธารณะ ซึ่งเป็นรั้วสังกะสีที่เคยถูกทำลายเป็นจุดแรกในการรื้อถอนโดย กทม. เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา

บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก โดยมีชาวบ้านในชุมชนป้อมมหากาฬ ชาวบ้านจากเครือข่ายชุมชนต่างๆ ประชาชนที่สนับสนุนแนวคิดการอยู่ร่วมกันของชุมชนกับป้อมมหากาฬ รวมถึงชาวต่างชาติร่วมนำพวงมโหตรไปแขวนในจุดที่จัดเตรียมไว้ โดยเป็นราวไม้ที่ทอดยาวตั้งแต่ริมกำแพงป้อมมหากาฬ ไปจนถึงริมคลองโอ่งอ่าง

นางสุนี ไชยรส กล่าวว่า แม้พวงมโหตรจะเป็นเพียงกระดาษบางๆ แต่เป็นสัญลักษณ์ของกำแพงแห่งกำลังใจที่จะร่วมปกป้องชุมชนป้อมมหากาฬ

ต่อมาเมื่อเวลา 18.00 น. ชาวชุมชนป้อมมหากาฬ เครือข่ายชุมชนและผู้สนับสนุนได้ตั้งแถวยืนเรียงกันบริเวณกำแพงป้อมมหากาฬ แล้วร่วมร้องเพลงชาติ จากนั้นมีการคล้องแขนเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือ มีการถือป้ายผ้าเขียนข้อความว่า “มหากาฬไม่โดดเดี่ยว” “หยุดรื้อถอนชุมชน เดินหน้าพหุภาคี” “คนกับเมืองอยู่ร่วมกัน” ตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬกล่าวว่า ขอให้ภาครัฐเดินหน้าสนับสนุนให้จัดตั้งคณะกรรมการพหุภาคี เพื่อหาทางออก จากนั้นวงคีตาญชลีซึ่งขึ้นไปตั้งวงบนกำแพงป้อมได้นำร้องเพลง “แสงดาวแห่งศรัทธา” ระหว่างนี้ชาวบ้านบางรายได้ร้องไห้ออกมา

นายธวัชชัย วรมหาคุณ ประธานชุมชนกล่าวว่า ขอขอบคุณทุกคนที่ให้กำลังใจและช่วยเหลือจนสามารถเกิดงานในวันนี้ได้ และยืนยันว่าจะขอปกป้องผืนแผ่นดินแห่งนี้ต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'พะเยาว์ อัคฮาด' ระบุถูกทหารบุกบ้านถามเรื่องการเมือง

$
0
0

'พะเยาว์ อัคฮาด' นักเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมกรณีบุตรสาวเสียชีวิตจากการสลายชุมนุมปี 2553 ระบุมีทหารมาที่บ้านโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อสอบถามการเคลื่อนไหวทางการเมืองและกลุ่มที่รู้จัก

 
10 ก.ย. 2559 มติชนออนไลน์รายงานเมื่อเวลา 18.21 น. ว่ามีการแชร์ภาพจากผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อ Aramis Akahadเป็นเหตุการณ์ทหารหนึ่งคันรถเดินทางไปที่บ้าน ระบุว่า “ทหารบุกบ้านผมอีกแล้วไม่รู้เรื่องอะไร ผมกำลังกลับบ้านแม่อยู่คนเดียว” ทั้งนี้บ้านหลังดังกล่าวเป็นของ นางพะเยาว์ อัคฮาด ญาติผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม พ.ค. 53 นักเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมกรณีบุตรสาวของตนเสียชีวิต
 
โดยนางพะเยาว์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าเจ้าหน้าที่ทหารประมาณ 6-7 คนมาที่บ้านโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อสอบถามการเคลื่อนไหวทางการเมือง และกลุ่มต่าง ๆ ที่ตนรู้จัก
 
“ทหารเค้าเข้ามาโดยไม่บอกล่วงหน้า และเข้ามาบอกว่าเค้าเปลี่ยน ผบ.ใหม่ เลยออกมาเยี่ยมเยียน แต่ถามแต่ละอย่างคือถามว่าเราจะเคลื่อนไหวการเมืองอะไรยังไงต่อ และกลุ่มต่างๆที่เรารู้จักจะมีการเคลื่อนไหวยังไงต่อมันดูคุกคามไปค่ะ มากัน 6-7คน ดิฉันอยู่บ้านคนเดียวด้วย”
 
 
ต่อมานางพะเยาว์ ได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว Phayaw Akkahadระบุรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้
 
"หลังจากวันนี้ที่ทหารเข้ามาที่บ้านดิฉันโดยมิได้นัดหมายแล้ว พอข่าวแชร์ออกไปแล้วเมื่อสักครู่นี้ก็มีหัวหน้าชุดนายทหารที่มาที่บ้าน โทรเข้ามาหาดิฉันบอกว่า ผบ.คนเก่าที่ส่งงานมาให้ชุดเค้าทำนั้นบอกไว้ว่าดิฉันและครอบอยู่ใน 2 กลุ่มหลัก
 
1. กลุ่มผู้เห็นต่าง
 
2. กลุ่มเป้าหมาย
 
ในกลุ่มที่ 1 ดิฉันพอเข้าใจได้ เพราะทหารยิงลูกดิฉันตายในวัดปทุม และดิฉันก็ต่อต้านเผด็จการอยู่แล้ว
 
ส่วนในกลุ่มที่ 2 เนี่ย "กลุ่มเป้าหมาย" ดิฉันและครอบครัวเป็นเป้าหมายของรัฐบาลไปแล้วเหรอคะ ฆ่าลูกสาวดิฉันตายอย่างเลือดเย็นแล้วยังให้ดิฉันและครอบครัวเป็นเป้าหมายอีกอย่างนั้นเหรอคะ และนั่นไม่เท่าไหร่ มาบอกดิฉันอีกว่าวิธีที่มาคุยกับดิฉันนี้คือวิธีเดียวกับที่ใช้พูดคุยกับครอบครัวของผู้ก่อความไม่สงบทางภาคใต้ "ดิฉันและครอบครัวไม่ใช่กลุ่มก่อความไม่สงบค่ะ ลูกสาวดิฉันถูกทหารฆ่าตายในวัด " ฝากไปถึงนายกรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยนะคะ ว่าดิฉันขอประนามการกระทำของรัฐบาลที่กระทำต่อดิฉันและครอบครัวดิฉันว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนที่สุดค่ะ ถ้าฆ่าลูกสาวดิฉันแล้วยังจะตามเหยียบย่ำครอบครัวดิฉันแบบนี้อีก แม่คนนี้จะลุกขึ้นสู้อีกครั้งค่ะ แล้วเจอกันค่ะ..."
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58339 articles
Browse latest View live


<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>