Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58331 articles
Browse latest View live

ที่ประชุม กมธ. อาจขอขยายเวลาการพิจารณาผลกระทบ CPTPP

$
0
0

24 มิ.ย.2563 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วานนี้ (23 มิ.ย.63) การประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญศึกษาผลกระทบการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิค(CPTPP) วีระกร คำประกอบ ประธาน กมธ. หารือที่ประชุมโดยเฉพาะอนุ กมธ. ทั้ง 3 คณะว่า จะสามารถพิจารณาได้ทันเวลา 30 วันที่ได้จากสภาหรือไม่ 

ศุภชัย ใจสมุทร ประธาน อนุ กมธ.ด้านยาและสาธารณสุข เห็นว่า ไม่ทัน โดยเฉพาะการทำรายงานและข้อเสนอแนะต้องใช้ความละเอียดมาก แต่ก็ควรบอกรัฐบาล ถ้าจะยังฟังผลจาก กมธ. ก็ควรขยายเวลาออกไปเพิ่มอีก 30 วัน

นิกร จำนง รองประธาน อนุ กมธ.เกษตร เห็นว่า ข้อมูลไม่พอยังสรุปไม่ได้ การศึกษาผลกระทบทางลึกยังไม่มี การเยียวยาก็ไม่ชัด เนื้อหาเยอะมาก เพียงแค่การแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชปี 2542 ตามอนุสัญญา UPOV1991 มีเนื้อหาถึง 15 ประเด็น คล้ายกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ถ้ารัฐบาลจะไปเจรจาเดือนสิงหาคม กมธ.ก็ควรมีความเห็นเสนอไปสักรอบว่า ยังไม่ควรไปยื่นขอเข้าเจรจาก่อน 

ขณะที่ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ชี้แจงว่าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกและรัฐมนตรีพาณิชย์เคยกล่าวว่า ที่ชะลอไว้ยังไม่ยืนแสดงเจตจำนงขอเข้าเจรจา CPTPP เพราะยังมีประเด็นที่มีความคิดเห็นต่างเป็นข้อขัดแย้งมนสังคม และพูดว่าเมื่อสภามีมติตั้ง กมธ.ซึ่งจะให้ข้อเสนอกับรัฐบาล จึงแล้วแต่ กมธ. ตอนนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ไม่มีข้อสั่งการอะไร

ทำให้ประธานถามย้ำว่า ถ้าต้องการเข้าร่วมเจรจา ต้องยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงไปที่นิวซีแลนด์ในฐานะฝ่ายเลขาของความตกลง CPTPP เมื่อไร

กรมเจรจาฯ ชี้แจงว่า ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนวันที่ 5 ส.ค.ที่จะมีการประชุมกันของสมาชิก CPTPP 

ทั้งนี้ วีระกร ในฐานะประธานประเมินว่าอาจจะมีการขอขยายเวลา และอาจแจ้งให้รัฐบาลทราบก่อนวันที่ 25 ก.ค.นี้ ถ้าได้ข้อสรุปว่าจะขอขยายเวลา

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 (โปรดอ่านอีกครั้งเมื่อกระแสลมแห่งการอภิวัฒน์พัดหวน)

$
0
0

ราษฎรทั้งหลาย

 

เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากินซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้

การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า

๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)

๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น

๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

 

ที่มา:สถาบันปรีดีพนมยงค์ https://pridi.or.th/th/libraries/1583202126

 

 

หมายเหตุบรรณาธิการ: 

ดูเหมือนว่าการพูดคุยแลกเปลี่ยน หรือการทำกิจกรรมทางการเมืองเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง  24 มิถุนายน 2475  จะเป็นไปได้อย่างยากลำบากในสถานการณ์ปัจจุบัน

นอกจากอนุสรณ์สถาน อาคารวัตถุ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร อาทิเช่น หมุดคณะราษฎร พี่ประดับอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า อนุสาวรีย์ปราบกบฏ บริเวณหลักสี่ ฯลฯ ได้สาบสูญโดยไม่ทราบสาเหตุหรือได้ถูกทำลายไปแล้ว แม้แต่ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นเอกสารวิชาการ และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ที่ได้เคยถูกบันทึกไว้ตามเว็บไซต์ต่างๆ หลายแห่ง ในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงเพื่ออ่าน ศึกษา ทบทวนได้ในปัจจุบัน 

เนื่องในวาระ ครบรอบ  88 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง  24 มิถุนายน 2475 ประชาไทขอทำหน้าที่บันทึกเอกสารหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไว้ ณ ที่นี้
 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ชำนาญ จันทร์เรือง: คณะราษฎรกับการปกครองส่วนท้องถิ่น

$
0
0

ผมยืนยันทุกครั้งที่มีโอกาสเสนอความเห็นไม่ว่าจะเป็นในเวทีสัมมนาหรือการเรียนการสอน ตลอดจนการเขียนบทความทางวิชาการว่าการปกครองท้องถิ่นไทยที่แท้จริงเริ่มในปี 2476หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 แม้ว่าจะได้มีพัฒนาการมาก่อนหน้านั้นบ้างแล้ว แต่ก็มิใช่การปกครองท้องถิ่นแต่อย่างใด

เหตุที่ผมยืนอย่างนั้นก็เนื่องเพราะการปกครองท้องถิ่นเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการกระจายอำนาจ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นนิติบุคคลแยกอิสระออกจากการบริหารราชการส่วนกลาง ทำให้มีสิทธิและอำนาจในการทำนิติกรรมและสัญญาต่างๆ ตลอดจนเป็นเจ้าของหรือถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณและรายได้เป็นของท้องถิ่นเองมีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง

เริ่มจากปี 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดาริให้มีการทดลองจัดตั้งระบบสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก คือ สุขาภิบาลกรุงเทพ ต่อมาในปี 2448 ได้มีการขยายกิจการต่อไป โดยมีพระบรมราชโองการให้ยกฐานะตำบลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาล เรียกว่า "สุขาภิบาลท่าฉลอม"จึงถือได้ว่าสุขาภิบาลท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกในหัวเมืองของประเทศไทย สาหรับเจ้าหน้าที่ของสุขาภิบาลในขณะนั้น ได้แก่ บุคคลซึ่งทางราชการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้แก่ ผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ กรรมการอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้บริหารงานรับผิดชอบ เรียกว่า กรรมการสุขาภิบาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมืองต่างๆ และในการนี้ก็ได้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลท้องถิ่นขึ้น กิจการสุขาภิบาลทำท่าจะแพร่หลาย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน กิจการสุขาภิบาลจึงสะดุดลงไป ซึ่งสุขาภิบาลในครั้งนั้นยังมิใช่การปกครองท้องถิ่นแต่อย่างใด เพราะมิได้เข้าลักษณะสำคัญข้างต้น แต่เป็นเพียงการให้พื้นที่มีโอกาสในการจัดการบริการสาธารณะโดยเป็นการบริหารจากส่วนกลางหรือข้าราชการประจำที่ถูกส่งมาจากส่วนกลาง

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าได้ทรงปรึกษากับเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ว่าอยากจะให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาการจัดตั้งเทศบาล (municipality) ขึ้นในประเทศไทย และในที่สุดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย นายอาร์ ดี เครก (Richard D. Craig) เป็นประธานกรรมการ และมีอำมาตย์เอกพระกฤษณาพรพันธ์, พระยาจินดารักษ์,นายบุญเชย ปิตรชาติเป็นกรรมการ  ซึ่งคณะกรรมการฯมีความเห็นว่าควรเสนอร่างพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น ซึ่งเสนาบดีมหาดไทยได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ต่อพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานร่างฯให้สภาเสนาบดีประชุมในรายละเอียดเมื่อ 19 มกราคม 2473 แต่ยังไม่ได้ทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ร่างฯนี้จึงต้องระงับไป

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯคณะราษฎรได้เริ่มจัดวางรูปแบบและระเบียบการบริหารราชการของประเทศ ด้วยการประกาศใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช2476 ซึ่งนำรูปแบบมาจากฝรั่งเศส โดยจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นการรองรับสถานะทางกฎหมายของราชการส่วนท้องถิ่นเป็นครั้งแรกในการบริหารราชการแผ่นดิน  โดยในส่วนของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นคณะราษฎรก็ได้มีการออกกฎหมายขึ้นในปีเดียวกันคือ “พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พุทธศักราช 2476”จึงส่งผลให้มีองค์กรปกครองท้องถิ่นตามหลักการปกครองท้องถิ่นที่ครบถ้วนเป็นครั้งแรก โดยประกอบไปด้วยฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภาเทศบาลที่สามารถออกเทศบัญญัติได้ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณ มีทรัพย์สิน ฯลฯ

ในชั้นแรกมุ่งหวังที่จะให้มีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเดียวและหวังจะให้มีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในทุกพื้นที่และทุก 4,800 ตำบลในขณะนั้น โดยผู้ที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.นี้ก็คือนายปรีดี พนมยงค์นั่นเอง แม้ว่าในระยะเริ่มต้นจะสามารถจัดตั้งได้เพียง 35 แห่งและก่อนสิ้นสุดของยุคคณะราษฎร (2490) สามารถจัดจัดตั้งได้เพียง 117 แห่งในปี 2488 ก็ตาม เนื่องเพราะสถานการณทางการเมืองในขณะนั้นมีความพลิกผันเกือบตลอดเวลาและประกอบกับการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย   แต่ก็ถือว่าได้วางรากฐานของการปกครองท้องถิ่นขึ้นแล้ว

ต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในอดีตก็เคยเป็นส่วนหนึ่งใน 115 คนของคณะราษฎรเมื่อ 2475 แต่ในขณะนั้นยังเป็นเพียงพันตรีหลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) ซึ่งต่อมาภายหลังได้เกิดการแตกแยกกับผู้ก่อตั้งคณะราษฎรจนเกิดการรัฐประหาร 2490 แต่ในส่วนของการปกครองท้องถิ่นนั้น จอมพล ป.ได้มีการฟื้นฟูระบบสุขาภิบาลโดยมีการตรา พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495เพื่อเร่งพัฒนาท้องถิ่นและเตรียมการยกระดับเป็นเทศบาลในอนาคตแต่การจัดตั้งสุขาภิบาลยังยึดรูปแบบและโครงสร้างสุขาภิบาลเดิมในสมัย ร.5 ที่มีการแต่งตั้งข้าราชการประจำไปควบคุมสุขาภิบาล (local Government by Government Officials) และมีการตรา พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498เนื่องจากองค์กรปกครองท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่จะอยู่แต่ในเขตเมืองเท่านั้น จึงตั้งเป็น อบจ.ที่มีสถานะเป็น นิติบุคคลแยกออกจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาค

นอกจากนั้นยังมีการออก พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ.2499 เพื่อจัดจั้ง อบต.ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและสามารถดำเนินงานได้อย่างอิสระ โดย อบต.มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยสภาตำบลทำหน้าที่ออกข้อบัญญัติและทำหน้าที่ฝ่ายบริหารในรูปแบบคณะกรรมการตำบลที่มีกำนันเป็นประธานโดยตำแหน่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องมีการออกพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537เสียใหม่ ซึ่งทั้งโครงสร้างของสุขาภิบาล, อบจ.และ อบต.ต่างถูกปรับโครงสร้างใหม่ตามผลของรัฐธรรมนูญฯปี 2540 ที่ให้ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งและแยกฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาฯออกจากกันแทนที่จะมาจากการแต่งตั้งเช่นในอดีต โดยมีการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลเสียทั้งหมดและออกพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540เสียใหม่เช่นกัน โดยกำหนดให้มีนายก อบจ.เป็นการเฉพาะแทนการทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร อบจ.โดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นข้าราชการส่วนภูมิภาคเช่นในอดีต
 

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าคณะราษฎรเป็นผู้ที่ทำให้การปกครองท้องถิ่นของไทยเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ครบถ้วนตามหลักการของการปกครองท้องถิ่น สมควรที่เราจะได้ระลึกถึงคุณูปการของคณะราษฎร โดยการสานต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎร อันจะนำมาสู่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆสืบไป

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: คือหมุดที่ตอกขึ้นบนฟ้า

$
0
0

ยิ่งลบยิ่งไม่ลืมยิ่งไม่หาย
ยิ่งฆ่ายิ่งเวียนว่ายตามหลอกหลอน
เพราะแผ่นดินเป็นของราษฎร
คือความจริงไม่แคลนคลอนไม่เปลี่ยนแปลง

ความทรงจำไม่ใช่เพียงเรื่องเล่า
ไขว่คว้าได้แค่รูปเงาในเรื่องแต่ง
แต่มันคือหยาดเหงื่อและเลือดแดง
รดแผ่นดินด้วยเรี่ยวแรงสามัญชน

เขาเอาไปได้แค่สัญลักษณ์
แต่ความจริงปักหลักอยู่ทุกหน
ประวัติศาสตร์คือกงล้อที่หมุนวน
มุ่งไปสู่วันที่คนจะลุกยืน

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้ไว้
แผ่นดินนี้เป็นของไพร่จงลุกตื่น
โค่นนิทานหลอกลวงให้พังครืน
สายน้ำไม่อาจฝืนวันเวลา

วางดอกไม้ลงบนหมุด
ทุกๆ แห่งทุกๆ จุดเพื่อบอกว่า
หมุดหมายที่แท้จริงตลอดมา
คือตอกขึ้นไปกลางฟ้าใช่บนดิน!

 

หมายเหตุ: ภาพโดย Manus Klaeovigkit เมื่อ 24 มิถุนายน 2558 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ครช. ถามความคืบหน้าแก้ รธน. เครือข่ายขอตั้ง 24 มิ.ย. เป็นวันชาติและกําเนิดประชาธิปไตย

$
0
0

24 มิ.ย. 2563 ครช. และเครือข่าย ทวงถามความคืบหน้าร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เคยมายื่นต่อ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ ตั้งแต่ 13 มี.ค. 2563 ด้านกลุ่ม 24 มิถุนาฯ, คปอ., และ กสรก. ขอตั้งวันชาติและวันกำเนิดประชาธิปไตยเป็นวันที่ 24 มิ.ย.

10.30 น. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) ร่วมกับกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.) และกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง (กสรก.) จัดกิจกรรม 'ทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงคืนสัญญารัฐธรรมนูญประชาชน' บริเวณลานหน้ารัฐสภา โดยมีการอ่านประกาศคณะราษฎร และโบกธงสีเขียวที่เคยเป็นสัญลักษณ์รณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนปี 2540

อนุสรณ์ อุณโณ ตัวแทน ครช. อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ การแก้ไขหรือการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องวางอยู่บนหลักพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตยที่อํานาจสูงสุดเป็นของประชาชน ทั้งในแง่ของที่มา กระบวนการ และเนื้อหา ส.ส. จะต้องเร่งยกร่างและเสนอ พ.ร.บ.การรับฟังความเห็นของประชาชน เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของสภา และดําเนินการให้แล้วเสร็จในสมัยการประชุมนี้ เพื่อจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปลายปีนี้ตามที่กําหนดไว้ โดยจะต้องจัดให้มีกลไก เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เป็นหลัก และให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เรื่องหลักเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเสียงเห็นชอบจาก สมาชิกรัฐสภาจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กําหนดให้องค์กรที่ใช้อํานาจต้องมา จากหรือว่ายึดโยงกับประชาชน นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจาก การเลือกตั้ง และต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร

หลังจากอ่านแถลงการณ์ ครช. ยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่เคยเดินขบวนมายื่นเมื่อ 13 มี.ค. 2563 ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ) โดยมีชำนาญ จันทร์เรือง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่, วันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ, ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล, รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล,  บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทน กมธ. มารับเรื่อง

จากนั้น กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, คปอ.) และ กสรก. อ่านแถลงการณ์ขอให้ประกาศให้วันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันชาติและวันกําเนิดประชาธิปไตยของไทย เหมือนที่เคยเป็นระหว่างปี 2482-2503

แถลงการณ์ 24 มิ.ย. 2563 ทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงคืนสัญญารัฐธรรมนูญประชาชน

24 มิถุนายน 2563 ทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงสัญญารัฐธรรมนูญประชาชน

ย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ทําการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และต่อมาวันที่ 27 มิ.ย. 2475 ได้มีการตรา พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งไม่เพียงแต่เป็น รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย หากแต่ยังเป็นรัฐธรรมนูญที่สะท้อนหลักพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตย นั่นคือ อํานาจอธิปไตยหรือว่าอํานาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1 ว่า “อํานาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” โดยมีบุคคลและคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วย กษัตริย์ สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการราษฎร และศาล เป็นผู้ใช้อํานาจแทนตามที่ระบุไว้ในมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ดี การสถาปนาหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยถูกขัดขวางมา อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 88 ปีที่ผ่านมา เพราะนอกจากข้อความ “อํานาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ในรัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิ.ย. 2475 จะถูกแก้ไขเป็น “อํานาจอธิปไตย ย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม” ในรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธ.ค. 2475 และไม่ปรากฏข้อความดังกล่าว ในรัฐธรรมนูญฉบับใดอีก อํานาจของประชาชนยังถูกทําลายโดยการก่อรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยหลังเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองมีการก่อรัฐประหารรวม 24 ครั้ง สําเร็จ 13 ครั้ง หรือทุกสามปีครึ่งจะมีการก่อรัฐประหารทั้งสําเร็จและล้มเหลวหนึ่งครั้ง และในการทํารัฐประหารที่สําเร็จแต่ละครั้งจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ปัจจุบันประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมากถึง 20 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นหลังรัฐประหารมักขัดแย้งหรือไม่เป็นคุณต่อ อํานาจของประชาชนและระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของที่มา กระบวนการ หรือว่าเนื้อหา

ดังกรณีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช. ได้ยกเลิก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แล้วแต่งตั้งคณะบุคคลขึ้นมาทําการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ภายใต้การกํากับของตน โดยไม่ได้มีตัวแทนของประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือว่ามีความยึดโยงกับประชาชนแต่อย่างใด และแม้ต่อมารัฐบาล คสช. จะจัดให้มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถ นําไปสู่สิ่งที่เรียกว่ามติของประชาชนได้ เพราะเป็นการนําเสนอข้อมูลเพียงด้านเดียว อีกทั้งยังมีการระดมสรรพ กําลังอย่างกว้างขวางและทําทุกวิถีทางเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ ควบคู่ไปกับการปิดกัน ข่มขู่ คุกคาม และฟ้องร้องดําเนินคดีผู้นําเสนอข้อมูลอีกด้าน ไม่นับรวมการถือวิสาสะแก้ไขเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากผ่านการออกเสียงประชามติแล้ว

รัฐธรรมนญ พ.ศ. 2560 จึงไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน หากแต่สะท้อนความต้องการของ คลที่จะสถาปนาอํานาจของตนในนามของรัฐพร้อมกับลดอํานาจของประชาชน สิทธิของประชาชนใน

รัฐธรรมนญฉบับก่อนหน้าหายไป ขณะที่สิทธิบางด้านถูกเปลี่ยนเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่ารัฐจะทําตามหน้าที่หรือไม่อย่างไร

ขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สร้างเงื่อนไขให้ตัวแทนของประชาชน เช่น นักการเมืองและพรรคการเมืองอ่อนแอ และอยู่ในอาณัติขององค์กรที่ไม่ได้มาจากหรือว่ายึดโยงกับประชาชน พร้อมกับให้อํานาจศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระอย่างกว้างขวาง ในการกํากับควบคุมพรรคการเมืองและสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งให้อํานาจสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการ ให้สิทธิในการลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีที่ไม่จําเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการเป็นปราการด่านสําคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่นับรวมการมีบทเฉพาะกาลที่ให้อํานาจหัวหน้าคณะรัฐประหาร อยู่เหนือกฎหมายจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ รวมทั้งการระบุให้คําสั่ง ประกาศ และการกระทําของ คสช. และ หัวหน้า คสช. มีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายมายกเลิก เป็นต้น

นอกจากหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย มรดกคณะราษฎรด้านอื่นได้ถูกลบล้างอย่างกว้างขวาง ภายใต้รัฐบาล คสช. ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน นับตั้งแต่หมุดคณะราษฎรที่หายไปอย่างมีเงื่อนงํา ในช่วงต้นเดือน เม.ย. 2560 ขณะที่ต่อมาวันที่ 28 ธ.ค. 2561 มีการย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญไป เก็บไว้ในบริเวณที่ไม่มีการแจ้งให้ทราบ เช่นเดียวกับในเดือน ม.ค. 2563 มีการย้ายอนุสาวรีย์พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่ลานหน้าสโมสรนายทหาร ค่ายพหลโยธิน และรูปปั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่สถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ ไปเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มีการแจ้งให้ทราบเช่นกัน นอกจากนี้ มีการเปลี่ยนชื่อสถานที่ที่เป็นชื่อ บุคคลในคณะราษฎร เช่น “บ้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม” ที่ จ.เชียงราย ถูกเปลี่ยนเป็น “ศูนย์เรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์” เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2563 เป็นต้น การลบล้างมรดกคณะราษฎรในลักษณะเช่นนี้ยังคง ดําเนินไปอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ โดยไม่เคารพต่อข้อเท็จจริงและหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการลบล้างหรือเปลี่ยนความทรงจําเกี่ยวกับเหตุการณ์ 24 มิ.ย. 2475 ผ่าน แบบเรียน ภาพยนตร์ ละคร บทเพลง ฯลฯ ที่ดําเนินมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) มีเป้าหมายและพันธกิจในการแก้ไขหรือว่ายกร่าง รัฐธรรมนูญใหม่ที่ให้ความสําคัญกับประชาชนเป็นเบื้องต้น เห็นว่ามรดกที่คณะราษฎรได้มอบไว้ คือ หลัก พื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่อํานาจสูงสุดเป็นของประชาชน สามารถอาศัยเป็นหมุดหมายในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนได้ ประกอบกับวันที่ 13 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา ครช. ได้เดินทางมายื่นข้อเรียกร้อง ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฯ ณ รัฐสภาแห่งนี้ ให้มีการดําเนินการเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญประชาชน ครช. จึงถือเอาวันที่ 24 มิ.ย. 2563 นี้เป็น โอกาสในการทวงคืนมรดกคณะราษฎรและทวงสัญญารัฐธรรมนูญประชาชนไปพร้อมกัน ดังนี้

1. การแก้ไขหรือการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องวางอยู่บนหลักพื้นฐานของระบอบ ประชาธิปไตยที่อํานาจสูงสุดเป็นของประชาชน ทั้งในแง่ของที่มา กระบวนการ และเนื้อหา

2. สภาผู้แทนราษฎรจะต้องเร่งยกร่างและเสนอพระราชบัญญัติการรับฟังความเห็นของประชาชน เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่การพิจารณาของสภา และดําเนินการให้แล้วเสร็จในสมัยการประชุมนี้ เพื่อจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปลายปีนี้ตามที่กําหนดไว้

3. ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องจัดให้มีกลไก เช่น สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เป็นหลัก และให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เรื่องหลักเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยเสียงเห็นชอบจาก สมาชิกรัฐสภาจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง

4. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กําหนดให้องค์กรที่ใช้อํานาจต้องมา จากหรือว่ายึดโยงกับประชาชน นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจาก การเลือกตั้ง และต้องไม่นิรโทษกรรมให้กับคณะรัฐประหาร

ด้วยความเชื่อมั่นในอํานาจของประชาชน

คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)

24 มิถุนายน 2563

รัฐสภา

แถลงการณ์ เรื่อง ขอให้ประกาศให้วันที่ 24 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันชาติและวันกําเนิดประชาธิปไตยของไทย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

คณะราษฎรทําการปฏิวัติสยาม 24 มิ.ย. 2475 เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญกําหนดให้ “อํานาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” จึงกล่าวได้ว่า “รัฐประชาชาติ” ถือกําเนิดขึ้นครั้งแรก ทําให้ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ นําประเทศสู่ความทันสมัยในทุกด้าน เช่น การ ขยายการศึกษาภาคบังคับ การจัดตั้งมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสสามัญชนได้รับการศึกษาสูงขึ้น เช่น ก่อตั้ง ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ มหิดล ศิลปากร บูรพา ประชาชนได้รับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภายใต้กฎหมาย และสิทธิการปกครองท้องถิ่น การสร้างผังเมืองสมัยใหม่ กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ประเทศได้รับเอกราชทางเศรษฐกิจ ทางศาล และการเมือง ฯลฯ

วันที่ 24 มิ.ย. 2475 มีคุณค่าความหมายสําหรับประชาชนคนไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงกําหนดให้วันที่ 24 มิ.ย. เป็น “วันชาติ” ของไทย และมีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง “วันชาติ” ลงวันที่ 18 ก.ค. 2481 โดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยนั้น และได้มีการเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิ.ย. ครั้ง แรกในปี 2482 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ให้วันที่ 23-25 มิ.ย. เป็นวันหยุด มีการเฉลิมฉลองทั่วทั้งแผ่นดินในทุกภาคส่วนของสังคม

การเฉลิมฉลองวันชาติไทยเป็นเวลา 21 ปี จนมาถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นรัฐบาลเผด็จ การทหาร ทําการยกเลิกวันชาติไทย 24 มิ.ย. ในวันที่ 21 พ.ค. 2503 จนทําให้วันสําคัญของชาติไทยนี้ ถูกลดทอนคุณค่าเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลดทอนคุณค่าของวันสําคัญการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการทํา ให้สัญลักษณ์สําคัญของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. สูญหายและถูกทําลายจนหมดสิ้นไป เช่น หมุดคณะราษฎรสูญหายไปในปี 2560 อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญถูกทุบทําลายลงไปในปี 2561 เป็นการเนรคุณต่อบรรพชนคณะราษฎรที่ทําการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อันแสดงถึงเจตนาของการทําลายรากฐานประชาธิปไตยลงไป

องค์กรดังมีรายชื่อท้ายหนังสือนี้จึงได้เรียนมายังสภาผู้แทนราษฎร ให้มีมติกําหนดให้วันที่ 24 มิ.ย. ของทุกปีเป็นวันชาติไทยและวันกําเนิดประชาธิปไตย โดยกําหนดให้วันที่ 23-25 มิ.ย. เป็นวันหยุด พร้อมทั้ง จัดงานเฉลิมฉลองเป็นไปตามเดิมดังเช่นระหว่างปี 2482-2503 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงคุณค่าประชาธิปไตย และความภาคภูมิใจของคนในชาติ ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประชาธิปไตยและความทันสมัย ที่ทําให้ประชาชนคนไทยได้ลืมตาอ้าปาก มีสถานะและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม แม้ว่าในปัจจุบันนี้ประเทศไทยจะยังไม่ได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์อันเนื่องมาจากการรัฐประหารถึง 20 ครั้ง ในรอบ 88 ปีที่ผ่านมาก็ตาม

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย

คณะประชาชนเพื่ออิสรภาพ (คปอ.)

กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิต และใกล้เคียง (กสรก.)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

พ.ค. 2563 ผู้ประกันตนว่างงาน 332,060 คน ถูกเลิกจ้าง 105,488 คน สูงสุดเป็นสถิติใหม่

$
0
0

เดือน พ.ค. 2563 มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม 332,060 คน ถูกเลิกจ้าง 105,488 คน สูงสุดเป็นสถิติใหม่


ที่มาภาพประกอบ: Nick Youngson CC BY-SA 3.0 ImageCreator

24 มิ.ย. 2563 จากข้อมูลรายงาน เศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน พ.ค. 2563ระบุว่าการจ้างงานในตลาดแรงงาน เดือน พ.ค. 2563 มีแรงงานในระบบประกันสังคมหรือผู้ประกันตน มาตรา 33 จำนวน 11,391,965 คน มีอัตราการหดตัวร้อยละ -1.29 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 11,540,945 คน) และมีอัตราการหดตัวร้อยละ -1.11 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 11,520,407 คน) โดยการจ้างงานรายอุตสาหกรรมหลักที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ สาขาขนส่ง ร้อยละ 4.33 สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 3.45 สาขาก่อสร้าง ร้อยละ 1.68 และสาขาการค้า ร้อยละ 0.34 ขณะที่ อุตสาหกรรมหลักที่หดตัว ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร ร้อยละ -10.36 และสาขาการผลิต ร้อยละ -2.90

การว่างงาน เดือน พ.ค. 2563 มีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 332,060 คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 87.68 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 176,931 คน) และมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 53.98 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 215,652 คน) โดยการว่างงานรายอุตสาหกรรมหลักเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าขยายตัวทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร ร้อยละ 282.56 สาขาขนส่ง ร้อยละ 112.16 สาขาก่อสร้าง ร้อยละ 86.07 สาขา การค้า ร้อยละ 74.36 สาขาการผลิต ร้อยละ 55.91 และสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 53.75

ทั้งนี้จากข้อมูลผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมระหว่างปี 2539-2563 พบว่าก่อนหน้านี้สถิติผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมเคยสูงสุดที่เดือน มิ.ย. 52 จำนวน 188,986 คน ต่อมาถูกทำลายสถติเมื่อเดือน เม.ย. 2563 ที่ 215,652 คน และสถิติล่าสุดในเดือน พ.ค. 2563 ที่จำนวน 332,060 คน นี้ก็ได้กลายเป็นสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้งในรอบปี 2563 นี้

ดูตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมระหว่างปี 2539-2563 ได้ที่นี่

ส่วนลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างเดือน พ.ค. 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 105,488 คน คิดเป็นอัตราร้อยละ 0.93 พบว่าอัตราการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (จำนวน 28,065 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (จำนวน 47,236 คน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.41 โดยการเลิกจ้างรายอุตสาหกรรมหลักเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา พบว่าขยายตัวทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร ร้อยละ 1,921.36 สาขาการค้า ร้อยละ 306 สาขาขนส่ง ร้อยละ 251.60 สาขาก่อสร้าง ร้อยละ 197.49 สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 158.01 และสาขาการผลิต ร้อยละ 139.53

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

จนท. กดดันห้ามรำลึก 24 มิ.ย. ที่ยโสธร-สุรินทร์

$
0
0

จนท. ข่มขู่คุกคามคนจัดงานรำลึก 88 ปี วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนกิจกรรม 'จุดเทียนตามหาประชาธิปไตย' ที่ยโสธรต้องปรับเป็นส่วนตัว ส่วนกิจกรรม 'อ่านประกาศคณะราษฎรอีกครั้ง รำลึก 88 ปี วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง' ที่สุรินทร์ยกเลิก เพื่อปกป้องสมาชิกที่ถูกเจ้าหน้าที่คุกคาม

มติชนออนไลน์รายงานว่า เมื่อเวลา 05.30 น. วันที่ 24 มิ.ย. 2563 ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์พระสุนทรราชวงศา สวนสาธารณะบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร กลุ่มคนรักษ์ประชาธิปไตยจังหวัดยโสธร จำนวน 4 ราย จัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 88 ปี วันอภิวัฒน์สยาม เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ระบอบประชาธิปไตยโดยกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งใช้ชื่อกิจกรรมว่า 'จุดเทียนตามหา ประชาธิปไตย'

กลุ่มคนรักษ์ประชาธิปไตยจังหวัดยโสธรทั้ง 4 ราย ได้ถือป้ายที่มีข้อความระบุว่า “จุดเทียนตามหาประชาธิปไตย”, ”ลบยังไง ก็ไม่ลืม”, ”88 ปี ประชาธิปไตย” และจุดเทียนเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการรำลึกครบรอบ 88 ปี วันอภิวัฒน์สยาม

แหล่งข่าวในกลุ่มคนรักษ์ประชาธิปไตยจังหวัดยโสธรรายหนึ่งเปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (23 มิ.ย. 2563) ทางกลุ่มมีการประชาสัมพันธ์ว่า 24 มิ.ย. เวลา 17.30 น. จะมีการจัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 88 ปี วันอภิวัฒน์สยามที่ลานหน้าอนุสาวรีย์พระสุนทรราชวงศา สวนสาธารณะบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร แต่ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐโทรศัพท์มาบอกห้ามจัดกิจกรรม พร้อมทั้งขู่ว่าหากไม่ทำตามจะดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งทางกลุ่มคนรักษ์ประชาธิปไตยจังหวัดยโสธรได้หารือกันแล้วว่า ไม่อยากทำให้ประชาชนผู้ที่จะมาเข้าร่วมกิจกรรมต้องถูกดำเนินคดีตามที่เจ้าหน้าที่รัฐกดดัน จึงจัดกิจกรรมรำลึกของกลุ่มแบบเรียบง่าย เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐมาขู่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการดำเนินคดี

ภาพจากเพจเยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตย - Surin youth for Democracy

ด้านทวิตเตอร์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า สมาชิกกลุ่มเยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตยถูกตำรวจสามนายและผู้ใหญ่บ้านไปพบที่บ้าน คุยว่าไม่อยากให้จัดกิจกรรม และยกเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ที่นักศึกษาถูกฆ่ามาพูดทำนองข่มขู่ พร้อมแจ้งว่าหากมีการละเมิดกฎหมายก็จะดำเนินคดี ด้านเพจเยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตย โพสต์มติยกเลิกกิจกรรม 'อ่านประกาศคณะราษฎรอีกครั้ง รำลึก 88 ปี วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง' เพื่อปกป้องสมาชิกที่ถูกเจ้าหน้าที่คุกคาม

ตำรวจและผู้ใหญ่บ้านไปพบสมาชิกกลุ่มเยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตย
ภาพจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'กองทัพบก' จัดรำลึก 'กบฏบวรเดช' ยกป้อง 'ประชาธิปไตยแท้จริง' อัด 'คณะราษฎร' ล้มราชบัลลังก์

$
0
0

'กองทัพบก' พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และ พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม ยกปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง พร้อมอัด 'คณะราษฎร' รัฐประหารเพื่อล้มราชบัลลังก์ ท่ามกลางกระแสสิ่งรำลึกฝ่ายคณะราษฏรเริ่มหาย ขณะที่ฝ่ายต่อต้านกำลังกลับมา

24 มิ.ย.2563 เนื่องในวันครบรอบ 88 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ที่นำโดยคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกัน เรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ส่งผลให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก นั้น ขณะที่ประชาชนและนักศึกษาจำนวนหนึ่งพยายามจัดกิจกรรมรำลึกปฏิบัติการของคณะราษฎร

สื่อหลายสำนัก รวมทั้ง วาสนา นาน่วม นักข่าวผู้ติดตามความเคลื่อนไหวของกองทัพ รายงานตรงกันว่า เมื่อเวลา 15.00 น. กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก มอบหมาย พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้แทนกองทัพบก เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย พล.อ.พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และบำเพ็ญกุศลแก่ พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงคราม เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของนายทหารที่มีความจงรักภักดี

แผนกแถลงข่าว กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก แจกเอกสารข่าว ให้สื่อว่า พิธีนี้เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของนายทหารที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันและยังเป็นนายทหารประชาธิปไตย ปี พ.ศ. 2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยโดยกลุ่มคนที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร ถือเป็นการรัฐประหารเพื่อล้มราชบัลลังก์

เอกสารแจกดังกล่าวระบุว่า ครั้น พ.ศ. 2476 ได้เกิดการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช โดยมีพระยาศรีสิทธิสงครามเป็นแม่ทัพ มีชื่อเป็นที่รู้จักกันว่า "กบฏบวรเดช" เนื่องจากพระองค์ทรงไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปกครองของพระยาพหลพลพยุหเสนา ที่มีลักษณะเป็นเผด็จการ

โดยเรียกร้องให้ รัฐบาลของพระยาพหลฯ ดำเนินตามแนวทางที่เสนอคือ ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ และให้รัฐบาลมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยให้อำนาจฝ่ายรัฐสภาในการตรวจสอบมากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้คณะราษฎรกลายเป็นคณะเผด็จการ แต่ในที่สุดการก่อกบฏ ไม่เป็นผลฝ่ายรัฐบาล ปราบปรามคณะกบฏ ลงได้

"วีรกรรมที่กล้าหาญและเสียสละของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และพระยาศรีสิทธิสงครามควรแก่การยกย่องในฐานะที่ทรงปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี และทรงมุ่งหวังให้ประเทศชาติดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง” เอกสารแจกดังกล่าวระบุ

ที่มา : Wassana Nanuam, The Standard และข่าวสดออนไลน์

สิ่งรำลึกฝ่ายคณะราษฏรเริ่มหาย ขณะที่ฝ่ายต่อต้านกำลังกลับมา

ทั้งนี้ ห้องศรีสิทธิสงคราม และห้องบวรเดช ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์กองทัพบกเฉลิมพระเกียรติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพิ่งเดินทางเป็นประธานพิธีเปิดห้อง เมื่อ 9 ต.ค.2562

ด้านหนึ่ง ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว กลางดึกคืนวันที่ 27 ต่อ 28 ธ.ค.2561 ที่กลางบริเวณวงเวียนหลักสี่ ย่านบางเขน กทม. มีกระบวนการย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช 2476 ตั้งอยู่ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารควบคุมสถานการณ์บริเวณดังกล่าว พร้อมการกักตัวประชาชนรวมทั้งผู้สื่อข่าวบางสำนักที่พยายามเข้าไปบันทึกเหตุการณ์การย้ายอนุสาวรีย์ฯ ด้วย จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอนุสาวรีย์ฯ ดังกล่าวไปอยู่ที่ใด เช่นเดียวกับ หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญหรือเรียกโดยทั่วไปว่า หมุดคณะราษฎร ที่เดิมเคยฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 จนกระทั้ง เม.ย. 2560 หมุดดังกล่าวได้หายไป

ก่อนการหายไปของ อนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช 1 วัน ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานก่อนข่าวดังกล่าวจะถูกลบไปในเวลาต่อมาว่า เมื่อคืนวันที่ 23 ธ.ค.61 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ทำพิธีสักการะแบบเงียบๆ เพื่อจะดำเนินการย้ายอนุสาวรีย์แห่งนี้ไปไว้ที่ศูนย์ก่อสร้าง กทม.ย่านหนองบอน อย่างถาวร

อย่างไรก็ตาม 28 ธ.ค.61 วีรนันต์ กัณหา ผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว VoiceTV โพสต์รายงานข่าวกรณีนี้ผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจ วีรนันต์ กัณหา - Weeranan Kanhar ว่า ตนโทรศัพท์สอบถามไปที่ ศักดิ์ชัย บุญมา ผอ.สำนักการโยธา กทม. ได้รับคำยืนยันว่า อนุสาวรีย์ปราบกบฏ ที่ถูกย้ายออกไปเมื่อคืนวันที่ 27 ธ.ค.62 ไม่ได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่ ศูนย์ก่อสร้างและบูรณะถนน 3 ย่านหนองบอน ตามที่ 'ประชาชาติธุรกิจ' รายงาน และ กทม. ไม่เคยทราบเรื่องการเคลื่อนย้ายเลย

ศักดิ์ชัย ผอ.สำนักการโยธา กทม. บอกเพิ่มเติมว่า "จริงๆ ก็ย้ายมาหลายครั้งแล้ว ก่อนหน้านี้อยู่กลางวงเวียน พอสร้างอุโมงค์ ก็ย้ายไปมุมตรงข้ามกับ สน.บางเขน แล้วพอสร้างสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็ย้ายมาอีกมุมหนึ่ง ผมว่ามันเกะกะ ทำไมนักข่าวสนใจ อนุสาวรีย์นี้จัง อยากให้เป็นข่าวเหรอ"

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2559 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้สักการะและดำเนินการย้ายอนุสาวรีย์ฯดังกล่าว ไปไว้ทางทิศเหนือ 45 องศา ฝั่งถนนพหลโยธินขาออกมุ่งหน้าสะพานใหม่เพื่อไม่ให้กระทบโครงสร้างสถานีวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน ซึ่งเป็น 1 ในสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต แล้วครั้งหนึ่ง

ที่มาของอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช

ภาพจากเพจ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม 

สำหรับอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้น เพจ 'ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม' เล่าถึงที่มาของอนุสาวรีย์ฯนี้ หรืออีกชื่อคือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏ โดยอ้างจากบทความของ ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ชื่อ“อนุสาวรีย์ปราบกบฏ กับการรำลึกวีรชนผู้พิทักษ์การปฏิวัติ พ.ศ. 2475” ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2556 ที่ระบุว่า

ที่มาของอนุสาวรีย์ฯ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อมีบุคคลคณะหนึ่งประกอบด้วยทหารและพลเรือน เรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านเมือง” มี นายพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นผู้นำ ได้นำทหารจำนวนมากจากหัวเมือง ทั้งจากอุบลราชธานี นครราชสีมา สระบุรี อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก ปราจีนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี มายึดบริเวณดอนเมือง เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกและปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของคณะกู้บ้านเมือง ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งตัวแทนไปเจรจากับคณะกู้บ้านเมืองให้ล้มเลิกความคิดล้มล้างรัฐบาล และถอนทหารกลับสู่ที่ตั้ง​ แต่กลับไม่เป็นผล ดังนั้น พระยาพหลฯ จึงตั้งให้หลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพคุมกำลังทหารออกปราบปรามฝ่ายคณะกู้บ้านเมือง โดยมีการปะทะกันที่บางเขนตั้งแต่วันที่ 12 - 16 ต.ค. 2476 ต่อมาฝ่ายคณะกู้บ้านเมืองได้พ่ายแพ้ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงลี้ภัยไปอินโดจีน แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลได้สูญเสียทหารและตำรวจจำนวน 17 นาย ในการปกป้องกฏหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้

หลังเหตุการณ์สงบเรียบร้อย รัฐบาลได้นำศพของผู้เสียชีวิตมาทำบุญอุทิศส่วนกุศล ณ วัดราชาธิวาส และได้จัดพิธีฌาปนกิจอย่างยิ่งใหญ่​ ณ​ ท้องสนามหลวงอย่างสมเกียรติในฐานะวีรชนของชาติ ในวันที่ 18 ก.พ.2477

จากนั้นได้บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวินไว้ในปลอกกระสุนปืนใหญ่ทองเหลืองตามประเพณีของทหารและตั้งไว้ที่กรมกองต้นสังกัดของเหล่าทหารและตำรวจทั้ง 17 นาย เป็นเวลา 3 ปี ต่อมาราชการได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ที่ตำบลหลักสี่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร จึงได้นำอัฐิของวีรชน 17 นาย มาบรรจุไว้ที่อนุสาวรีย์แห่งนี้ 

ภาพจาก เฟสบุ๊ค 'ป. ลครพล'

เฟสบุ๊ค 'ป. ลครพล' ได้โพสต์ภาพพร้อม คำกราบบังคมทูลของ พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในงานพิธีเปิดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ตำบลหลักสี่ 15 ต.ค. 2479 ด้วยว่า

"กระทรวงกลาโหมขออุทิศอนุสาวรีย์นี้ให้แก่ชาติไทย เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติเตือนใจชาวไทยว่า อย่าแตกความสามัคคีกัน ทั้งการคิด การพูด และการทำ หากแม้ว่าสิ่งระลึกเตือนสติเตือนใจนี้จะเป็นคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองแม้แต่น้อย ก็ขอให้ผลอันนี้ได้ไปเป็นเครื่องประดับวิญญาณแก่สหายที่รักผู้กล้าหาญของเกล้ากระหม่อมทั้ง 17 นายนั้นตลอดไป"

อนึ่ง ไม่เพียงอนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดชและหมุดที่หายเท่านั้น ช่วงเวลาใกล้เคียงนี้ยังมีสิ่งรำลึกอื่นๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลในคณะราษฎร หายหรือย้ายอีก เช่น อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญจังหวัดบุรีรัมย์ อนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยตั้งอยู่ที่สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ อนุสาวรีย์พระยาพหลฯ ซึ่งเคยตั้งอยู่ที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี หรือค่ายพหลโยธิน บ้านจอมพลป. พิพิธภัณฑ์ใน จ.เชียงราย ปัจจุบันป้ายชื่อหน้าบ้านถูกเปลี่ยนเหลือเพียงคำว่า “ศูนย์การเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์” ค่ายพหลโยธิน  หรือศูนย์การทหารปืนใหญ่ที่ต. เขาพระงาม อ.เมืองลพบุรี ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ค่ายภูมิพล”  ค่ายพิบูลสงคราม  หรือกองพลทหารปืนใหญ่ ต.ท่าแค อ.เมืองลพบุรี ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “ค่ายสิริกิติ์” ฯลฯ

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

พล.อ.ประวิตร ไม่รู้อาวุธที่ชายแดนเตรียมไปใช้อะไร สั่ง ตร. ขยายผล

$
0
0

รองนายกฯ สั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งสอบขยายผลความเชื่อมโยง กรณีจับอาวุธสงครามจำนวนมากที่ชายแดนจังหวัดตาก ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ ย้ำกรณีนี้ไม่กับการคงไว้ซึ่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เผยแกนนำพบลังประชารัฐมาพบที่ มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ไม่ได้มาประชุม ย้ำไม่เคยเอามูลนิธิมาเกี่ยวข้องกับการเมือง

แฟ้มภาพ: เว็บไซต์รัฐบาลไทย

24 มิ.ย. 2563 สำนักข่าวไทยรายงาว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดอาวุธสงครามจำนวนมาก บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา จังหวัดตาก ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับขบวนการยาเสพติด หรือเพื่อสร้างสถานการณ์ทางการเมืองว่า อยู่ระหว่างการสอบสวน ซึ่งได้กำชับให้ทุกพื้นที่ระวังป้องกันเหตุร้าย ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่าเชื่อมโยงกับการเมืองนั้น กำลังตรวจสอบอยู่และรอรายงานของเจ้าหน้าที่ และได้กำชับให้ดูว่ามีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ หรือไม่ และเป็นอาวุธของใคร มาจากใคร

เมื่อถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าจะเป็นการ ซื้อขายอาวุธปกติทั่วไปตามชายแดนหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เราก็ไม่รู้ ต้องดูกันอีกที เมื่อถามว่า การพบอาวุธสงครามนี้ทำให้ต้องกังวลความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงนี้หรือไม่

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองไม่มีอะไรน่าห่วง ส่วนการแสดงกิจกรรมความเคลื่อนไหวทางการเมืองในโอกาส 24 มิถุนายน วันครบรอบ 88 ปี การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ นั้น สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ขออย่าทำผิดกฎหมาย

เมื่อถามว่า มีความกังวลว่าจะขยายผลต่อจากนี้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ต้องดูและติดตามสถานการณ์ต่อไป ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผลที่จะยังบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน บังคับใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

เมื่อถามถึงกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์ รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือต่อปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถึงกรณีที่แกนนำพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เดินทางไปเชิญเพื่อนั่งเป็นหัวหน้าพรรค พปชร. ที่มูลนิธิป่ารอยต่อฯ ไม่มีความเหมาะสม นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่เป็นไร เพราะการเดินทางมาหา เนื่องจากรู้ว่าตนอยู่ที่ไหน จึงได้เดินทางมาหา ไม่ได้มาประชุมอะไร พร้อมย้ำว่า ไม่ได้นำมูลนิธิฯ มาเกี่ยวข้องกับการเมือง

เมื่อถามว่า ในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ จะไปร่วมการประชุมใหญ่สามัญของพรรค พปชร.เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่และหัวหน้าพรรคหรือไม่ พล.อ.ประวิตร ไม่ตอบคำถามดังกล่าว

ด้าน พล.ท. ฉลองชัย ชัยยะคำ แม่ทัพภาคที่ 3 กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า ทหารหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 (ฉก.ร.4) เป็นหน่วยปฏิบัติในการเข้าไปจับกุม ข้อมูลที่มีเป็นเพียงข้อมูลในเบื้องต้น ต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนขยายผล ขณะนี้ได้ส่งตัวทั้ง 2 คนไปที่ส่วนกลางแล้ว เพื่อให้ตำรวจสืบสวนหาข้อมูลเชิงลึกต่อไป โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธต่างๆ ที่ยึดได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการนำไปก่อความไม่สงบหรือไม่ เพราะอาวุธบางประเภท เช่น เอ็ม 79 ในอดีตเคยมีประวัติในการนำไปใช้ในการก่อเหตุในช่วงที่ผ่านมาหลายเหตุการณ์ หาซื้อไม่ยากนัก นอกจากนั้น ยังมีประเด็นในเรื่องการนำอาวุธเพื่อไปแลกยาเสพติดหรือไม่ เพราะในการจับการค้าอาวุธสงคราม จะมีกรณีแบบนี้อยู่ แต่ทั้งหมดต้องรอผลการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพราะผู้ต้องหาเป็นคนไทย ไม่ใช่ต่างด้าว คงซักถามและสอบสวนได้ตามปกติ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

โปรดเกล้า พ.ร.ฎ. ถอนสภาพที่ดินสาธารณสมบัติ เสริมสร้างหน่วยให้ทหารมหาดเล็กราชวัลลภฯ

$
0
0

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 เพื่อถอนสภาพที่ดิน 3 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 32 ไร่ จากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพื่อมอบหมายให้กองทัพบกนำไปใช้ในการเสริมสร้างหน่วยให้กับหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 20 มิ.ย. พ.ศ. 2563 เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และมีรายละเอียดดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 8 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 ลงวันที่ 13 ธ.ค. พ.ศ. 2515 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563”

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้ 
(1) แปลงที่ 1 (ลำรางสาธารณะ) ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 31 ไร่ 1 งาน 89 ตารางวา 
(2) แปลงที่ 2 (ลำรางสาธารณะ) ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 งาน 20 ตารางวา 
(3) แปลงที่ 3 (ลำรางสาธารณะ) ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 งาน 51 ตารางวา 
ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

อย่างไรก็ตาม ในท้ายพระราชราชกฤษฎีกา มีเหตุผลในการประกาศใช้ คือ เนื่องจากที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 3 แปลง ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นลำรางสาธารณะ ปัจจุบันพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันในที่ดินทั้ง 3 แปลงดังกล่าวแล้ว สมควรถอนสภาพที่ดินทั้ง 3 แปลงจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เพื่อมอบหมายให้กองทัพบกนำไปใช้ในการเสริมสร้างหน่วยให้กับหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เวทีเสวนา 88 ปี 24 มิถุนา ออนไลน์ 'เกษตรกรใต้' หยุดกลางคัน เหตุ จนท.ฝ่ายปกครองติดต่อตรวจสอบ

$
0
0

เสวนาออนไลน์ "ครบรอบ 88 ปี 24 มิถุนายน 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ประชาธิปไตย" ของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ และขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย ที่ชุมชนคลองไทรพัฒนา จ.สุราษฎร์ธานี ยุติกลางคัน เหตุมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่เข้ามาติดตามและสกัด

24 มิ.ย.2563 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ (24 มิ.ย.63) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ขปท.) ได้ร่วมกันจัดงาน “เสวนา "ครบรอบ 88 ปี  24 มิถุนายน 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ประชาธิปไตย" โดยมีการสนับสนุนการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก  ระหว่างเวลา 9.00 – 11.00 น. ตามกำหนดการในเวทีได้มีการจัดกิจกรรม เล่นดนตรี,เสวนาและเปลี่ยนความคิดเห็น และแถลงการณ์ ปิดท้าย โดยได้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางเฟซบุ๊ก (Facebook Live) ของ สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และคณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)

โดยในช่วงการเสวนา มีตัวแทนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) 6 ท่าน ได้แลกเปลี่ยนในหลักการ 6 ประการ ของคณะราษฎร์ที่ได้มีการประกาศไว้ในประกาศคณะราษฎร์ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ.ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์ของชุมชนที่เผชิญมานั้น ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ทั้งนี้ หลักการ 6 ประการของคณะราษฎร์ ก็ได้มีกล่าวถึง เอกราช, ความปลอดภัย, เศรษฐกิจ, สิทธิเสมอภาค, เสรีภาพ และการศึกษา ซึ่งผู้ร่วมเสวนาได้เสนอถึงเรื่องของการเข้าถึงทรัพยากรที่ประชาชนคนยากจนที่ควรเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรนั้น ทั้งในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตของประชาชนที่เห็นต่างทางการเมืองซึ่งเมื่อแสดงออกถึงความเห้นต่างก็อาจถูกบังคับให้สูญหายได้ โดย นอกจากนี้ยังได้เสนอถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ต้องมีส่วนร่วมของประชาชน

ทั้งนี้ได้มีปิดท้ายด้วยการอ่านแถลงการณ์ ที่มีเนื้อหาใจความสำคัญกล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองตลอดระยะเวลา 88 ปี หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถึงปัจจุบัน โดยมีเนื้อหากล่าวถึงผู้ที่เหล่านักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่ถูกบังคับให้สูญหายและประทุษร้ายจนถึงแก่ความตายจากอำนาจรัฐที่มาตากเผด็จการ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มาพร้อมกับความล้าหลังทางด้านประชาธิปไตยของไทยตลอดระยะเวลา 88 ปี ที่เห็นได้จากการรัฐประหารกว่า 13 ครั้ง โดยสุดท้ายได้เรียกร้องประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย ได้ร่วมมือกันผลักดันให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้ามาแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับ คสช. (ปี 2560) และขอเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ดังความมุ่งหวังของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้เมื่อ 88 ปีที่แล้ว โดยภายหลังจากการอ่านแถลงการณ์ ก็ได้มีการแลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติมเล็กน้อย

ภาพรถและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่เดินทางเข้ามาตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม เวทีกิจกรรมดังกล่าวจบเวทีลงในเวลา 11.00 น. ก่อนกำหนดเวลา 1 ชั่วโมง ตามกำหนดการเดิม 9.30-12.00 น. เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ติดต่อสอบถามถึงการจัดเวทีดังกล่าว

รายงานข่าวระบุว่า ต่อมาเวลาประมาณ 11.36 น. มีเจ้าหน้าฝ่ายปกครอง 2 นาย ทะเบียนรถ ขจ.1703 สีน้ำเงิน ซึ่งมีตราของฝ่ายปกครองติดอยู่ด้านข้างของรถ ไม่ทราบจังหวัดเนื่องจากสีจาง และมีทะเบียนเพียงด้านหน้ารถเท่านั้น จากที่ว่าการอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่จัดงานเสวนา ที่ชุมชนคลองไทรพัฒนา ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเขาติดตามสอบถาม และสกัดการจัดเวทีเสวนาดังกล่าว

ทั้งนี้เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เดินทางเข้ามา ได้สอบถามว่า "จัดงานอะไรกัน" "พื้นที่ชุมชนนี้ มีกี่ชุมชนที่เป็นกลุ่มของสหพันธ์ฯ" โดยแจ้งว่า การเดินทางเข้ามานี้เนื่องจาก นายอำเภอให้เดินทางเข้ามา พร้อมทั้งขอกำหนดการจัดกิจกรรม เพื่อแจ้งกับทางอำเภอต่อไป โดยใช้เวลาในการพูดคุย 5-10 นาที จึงเดินทางออกจากชุมชน

สำหรับ แถลงการณ์ของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ และขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย มีดังนี้

แถลงการณ์ 88 ปี 24 มิถุนายน 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตย

ณ. ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

จากวันนั้นจนวันนี้ เป็นเวลา 88 ปีแล้ว ที่หมุดหมายแห่งการสถาปนาประชาธิปไตยเพื่อเริ่มต้นสังคมแบบใหม่เข้ามาแทนที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเป็นสังคมแบบเก่า

การอภิวัฒน์ประชาธิปไตยในครั้งนั้น คณะราษฎรได้วางหลักใหญ่ ๆ 6 ประการ คือ เรื่อง เอกราช, ความปลอดภัย, เศรษฐกิจ, สิทธิเสมอภาค, เสรีภาพ และการศึกษา ไว้ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ซึ่งคณะราษฎรมุ่งหวังให้ประชาชนในประเทศได้มีประชาธิปไตยและมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

88 ปีที่ผ่านมาหลัก 6 ประการที่คณะราษฎรได้ประกาศไว้ ยังคงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยเห็นได้ชัดเจน จากการที่ชนชั้นสูงได้พยายามขัดขวาง การเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ระบบประชาธิปไตยโดยการก่อการรัฐประหารและการก่อกบฏ รวมแล้วทั้งสิ้น 23 ครั้ง นับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

อาทิเช่น หลักของคณะราษฎรเรื่องความปลอดภัยซึ่งมีเจตนาประกันสิทธิ เสรีภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แต่ในความเป็นจริงเราได้เห็นมาทุกยุคทุกสมัยว่า ผู้นำหรือนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนับตั้งแต่ในอดีต เป็นต้นมา จนกระทั่งในปัจจุบัน มีผู้สูญเสียชีวิตจากการบังคับให้สูญหายและประทุษร้ายถึงขั้นสูญเสียชีวิตมากมายหลายคน เช่น นายเตียง ศิริขันธ์, นายจำลอง ดาวเรือง, นายถวิล อุดล และ นายอินทร์ ภูริพัฒน์ รวมทั้งการสูญเสียชีวิตของผู้นำของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 35 คน ที่ถูกลอบสังหารโดยสมุน บริวาร ของเหล่าเผด็จการ ในช่วงปี 2516 ถึง 2522 ฯลฯ

มาจนถึงสถานการณ์ปัจจุบันก็ยังคงมีทั้งผู้นำที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินและประชาธิปไตย ยังคงมีเหตุการณ์บังคับสูญหายและประทุษจนถึงแก่ชีวิตอย่างต่อเนื่อง  เช่น สมาชิก สกต. จำนวน 4 ราย นายเด่น คำแหล้, บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ, นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ, นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์, นายชัชชาญ บุปผาวัลย์, นายไกรเดช ลือเลิศ, นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์, นายกฤษณะ ทัพไทย, นายสยาม ธีรวุฒิ และล่าสุด คือ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากนับจากหลังเหตุการณ์อภิวัฒน์ 2475 เป็นต้นมา ประชาชนผู้ออกมาเรียกร้องและต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำนวนมากมายหลายคน ได้ถูกรัฐเผด็จการสั่งฆ่าและทำให้สูญหายอย่างโหดเหี้ยมทารุณ

ทั้งนี้ในยุคของรัฐบาลเผด็จการ ก็มีการปราบปรามประชาชน ผู้ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่ว่าจะในเหตุการณ์ปฏิวัติประชาชน 14 ตุลาคม 2516 , การล้อมปราบนักศึกษาประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519, เหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม 2535 และเหตุกาณ์ล้อมปราบ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง ปี 2553 ซึ่งทำให้มีผู้ถูกสังหารหลายร้อยคน และบาดเจ็บ พิการ จำนวนหลายพันคน

ในปัจจุบัน ประชาชนถูกปกครองโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งสืบทอดอำนาจมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ได้ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพจากกฎหมาย และนโยบายควบคุมการใช้เสรีภาพทางการเมือง ตลอดจนนโยบายที่ควบคุมสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรและที่ดินของเกษตรกร ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ผลักดัน โดย คสช. ซึ่งไม่มีส่วนร่วมจากประชาชน พร้อมด้วยกฎหมายและพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ผลักดันโดย คสช. ซึ่งมีผลในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกกว่า 600 ฉบับด้วย

ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า การขัดขวางประชาธิปไตยตลอด 88 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นการตักตวง กอบโกยผลประโยชน์ ที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งความมั่งคั่งต่าง ๆ ที่เกิดจากฐานทรัพยากรและงบประมาณของประเทศชาติ ซึ่งได้ก่อให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและโอกาสในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ของประเทศด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนใหญ่

ขบวนการขัดขวาง และต่อต้านการพัฒนาระบบการเมืองให้ก้าวหน้าไปในแนวทางประชาธิปไตย เป็นการปูทางสร้างอำนาจของเผด็จการให้สามารถดำเนินต่อไปได้อีก เพื่อกดขี่ขูดรีดประชาชนในประเทศ มิให้ได้มีสิทธิเสรีภาพใด ๆ ทั้งยังดำรงไว้ ซึ่งความเป็นทาสที่แปรเปลี่ยนจากการทำงานเพื่อรับใช้นายทาส มาสู่การเป็นทาสเพื่อรับใช้นายทุนและชนชั้นปกครองเท่านั้น มิได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับอิสระและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

ในวาระครบรอบ 88 ปี 24 มิถุนา 2475 นี้ จึงขอเชิญชวนประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย ได้ร่วมมือกันผลักดันให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้ามาแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับ คสช. (ปี 2560) และขอเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ดังความมุ่งหวังของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้

เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ

แถลง ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2563

สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้

ขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กลุ่มสานพลังประชาชนปักหลักทำเนียบ ค้านโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าชีวมวล

$
0
0

กลุ่มสานพลังประชาชนปักหลักทำเนียบรัฐบาล คัดค้านการออกใบอนุญาตโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลเกษตรหนองบัวแดง เนื่องจากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นไม่ได้สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง และพื้นที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ชุมชนอาจส่งผลต่อสุขภาพได้

ไอลอว์รายงานว่า 24 มิ.ย. 2563 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ประชาชน อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ประมาณ 30 คนภายใต้ชื่อกลุ่มสานพลังประชาชน นำโดยจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน เดินทางมาที่บริเวณข้างคลองผดุงกรุงเกษม ด้านหลังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อรอเคลื่อนขบวนไปยื่นหนังสือที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล ที่ตั้งอยู่ภายในสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อขอให้ยกเลิกกระบวนการขอใบอนุญาตโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลเกษตรหนองบัวแดงทั้งหมดและจัดทำการรับฟังความคิดเห็นใหม่

เวลา 07.50 น. พ.ต.ท.ภาคิณ สิริปุณยาพร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สืบสวนเข้าเจรจากับจตุภัทร์เรื่องการยื่นหนังสือ มีการถกเถียงเรื่องการแจ้งการชุมนุม แต่จตุภัทร์ยืนยันว่า ตอนนี้อยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่จำเป็นต้องแจ้งการชุมนุมตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ เมื่อจตุภัทร์ขอให้ตำรวจอำนวยความสะดวกเรื่องห้องน้ำ พ.ต.ท.ภาคิณ ได้แจ้งให้จตุภัทร์ไปดำเนินเรื่องต่อสำนักงานเขตดุสิตเพื่อพิจารณา โดยเจ้าหน้าที่สืบสวนได้พยายามสอบถามกำหนดการที่ชาวบ้านจะไปยื่นหนังสือ จตุภัทร์แจ้งว่า คงเป็นช่วงสายเนื่องจากรอให้ประชาชนเข้าทำงานให้เรียบร้อยเสียก่อนจะได้ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

ต่อมา สมพาศ นิลพันธุ์ รองปลัดประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมาพูดคุยกับจตุภัทร์ เขาจึงอธิบายเหตุผลที่ชาวบ้านต้องเดินทางมายื่นหนังสือว่า พื้นที่ที่ประชาชนอาศัยเป็นพื้นที่สีเขียวที่ใช้พึ่งพิงทำการเกษตรมายาวนาน แต่ด้วยนโยบาย คสช. ที่สนับสนุนโรงงานน้ำตาลทำให้มีการเดินหน้าสร้างโรงงานน้ำตาลในหลายพื้นที่ของภาคอีสาน รวมทั้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ โดยที่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นไม่ได้สะท้อนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ พื้นที่ตั้งของโรงงานยังอยู่ใกล้ชุมชนอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ จึงต้องการให้ยกเลิกกระบวนการขอใบอนุญาตโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลเกษตรหนองบัวแดงทั้งหมดและจัดทำการรับฟังความคิดเห็นใหม่

จากนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ กทม. มาพูดคุยเรื่องการพักค้างคืนของผู้มาชุมนุม โดยระบุว่า ไม่อยากให้พักค้างที่บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม จตุภัทร์จึงชี้แจงว่า ชาวบ้านไม่มีใครอยากพักค้าง ถ้าข้อเรียกร้องได้รับการตอบสนองวันนี้ ทุกคนจะเดินทางกลับทันที แต่หากไม่แน่ใจว่าข้อเรียกร้องจะได้รับการตอบรับ และไม่ต้องการให้พักค้างบริเวณดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะต้องจัดหาที่พักให้ หลังการพูดคุยได้ข้อสรุปว่า เจ้าหน้าที่จะให้พักค้างที่บริเวณลานจอดรถของสำนักงาน ก.พ.ร. แทน

เวลา 09.45 น. ประชาชนได้ตั้งแถวถือป้ายผ้าเดินมุ่งหน้ามาที่สำนักงาน ก.พ.ร. เรียงแถวตามฟุตบาทและช่องซ้ายสุดของพื้นผิวจราจร ระหว่างกิจกรรมจตุภัทร์เน้นย้ำถึงเรื่องการรักษาระยะห่างและความสะอาดภายในหมู่ชาวบ้าน เมื่อมาถึงสำนักงาน ก.พ.ร. ตัวแทนได้อ่านแถลงการณ์

อย่างไรก็ตาม มีรายงานด้วยว่า เมื่อคืนนี้ตำรวจได้สอบถามประชาชนโนนสวรรค์ที่ร่วมเดินทางมาในวันนี้ด้วยว่า จะไปไหนและทำอะไรกัน แต่ไม่ได้สกัดกั้นการเดินทางแต่อย่างใด สำหรับกำลังเจ้าหน้าที่มีตำรวจในเครื่องแบบไม่น้อยกว่า 20 นาย นอกเครื่องแบบไม่น้อยกว่า 10 นาย เจ้าหน้าเทศกิจไม่น้อยกว่า 15 นาย เฝ้าติดตามสถานการณ์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สนท.อ่านประกาศคณะราษฎรที่หอศิลปฯ หลังกิจกรรมเพนกวินยังถูกนอกเครื่องแบบตาม

$
0
0

สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 บนสกายวอล์คหน้าหอศิลปฯ กรุงเทพ ภายหลังจากเลิกกิจกรรมตำรวจนอกเครื่องแบบยังได้ขับรถติดตาม

24 มิ.ย.2563  เวลาประมาณ 17.00 น. ก่อนที่สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) จะเริ่มกิจกรรมอ่านคำประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ขึ้น ตำรวจจากสน.ปทุมวัน ที่วางกำลังอยู่บริเวณสกายวอล์คหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพได้ประกาศให้นักข่าวที่มารอทำข่าวต้องยืนแยกจากกลุ่มที่ทำกิจกรรม หากกลุ่มที่ทำกิจกรรมมีการฝ่าฝืนกฎหมายแล้วผู้สื่อข่าวยืนปะปนอยู่ด้วย ตำรวจจะแยกไม่ออก หลังประกาศตำรวจได้นำรั้วมากั้นไว้

นอกจากนั้นยังได้แจ้งทศพร เสรีรักษ์ ที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ว่าขณะนี้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังไม่ได้ยกเลิก และให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมด้วยเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 หากมีการกระทำที่อาจจะเสี่ยงต่อการติดโควิด-19 จะเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

  

เมื่อใกล้ถึงเวลา 18.00 น.  พริษฐ์ ชิวารักษ์  และนักกิจกรรมจาก สนท. นำป้ายไวนิลมากาง จากนั้นจึงได้อ่านคำประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 เมื่ออ่านจบแล้ว พริษฐ์ได้ประกาศยุติกิจกรรมลง

นอกจากกลุ่มที่มาร่วมกิจกรรมอ่านประกาศคณะราษฎรแล้วในบริเวณใกล้เคียงยังมีกลุ่มคน 7 คน มายืนถือป้ายรณรงค์ เช่น “ขอความสงบให้พวกเราทำมาหากิน” “หยุดความขัดแย้ง เดินหน้าทำมาหากิน” เป็นต้น

ภาพจาก iLaw

หลังเสร็จกิจกรรมพริษฐ์ไลฟ์ผ่านเพจเล่าว่ามีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบขับรถติดตามประกบขณะเดินทางกลับ และยังกล่าวอีกว่าตนได้รับแจ้งจากคนรู้จักว่ามีคำสั่งมาว่าให้อุ้มตนเองเช่นเดียวกับกรณีที่มีเจ้าหน้าที่จะเข้าจับกุมปิยรัฐ จงเทพภายหลังจากเสร็จกิจกรรมในตอนเช้าวันเดียวกันนี้ ซึ่งในกรณีของปิยรัฐได้เดินทางเข้ามอบตัวที่ สน.ชนะสงคราม แล้วเมื่อทราบว่าตนมีหมายจับ

เมื่อช่วงบ่ายมีคนพบสติกเกอร์รูปหมุดคณะราษฎรในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้แจ้งมาที่ผู้สื่อข่าว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กวีประชาไท: จวนถึงวัน!

$
0
0

คณะราษฎรขอปรับการปกครอง
เพื่อประชาชนทั้งผองอย่างทั่วถึง
24 ปี 2475 ยังตราตรึง
เสียงก้องสะท้อนถึงปัจจุบัน

ผู้บัญชาการทหารใหญ่
ยืดอกใส่จินตนาการระคนฝัน
2475 วันนั้นก็แค่แผนล้มสถาบัน
คนละเรื่องกัน ประชาธิปไตย

ประชาชนรวมตัวอย่างแกล้วกล้า
ทายท้าอำนาจฟ้าชูธงไทย
โห่ร้องกึกก้องยุคสมัย
ประชาชนต่างหากเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

“แสงดาวแห่งศรัทธา” ของจิตรสุกสกาว
ทั่วฟ้าระยิบพริบพราว มิรู้สิ้น
ใกล้ถึงวันของเราได้อยู่ได้กิน
เท่าเทียมกันทั่วถิ่นผืนดินไทย

จวนถึงวันวันที่ฟ้าสิ้นศรัทธา
ประชาชนทุกหย่อมหญ้าสุขสดใส
รออีกหน่อยไม่ช้าเราจะเป็นไท
คณะราษฎรทำเพื่อใคร ประชาชน ประชาชน.

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

แถลงจัด 30 ปี สืบ นาคะเสถียรและงานแสดงเชิงสัญลักษณ์ ‘ระวังจะสูญพันธุ์’ 28 มิ.ย.นี้ หน้าหอศิลป กทม.

$
0
0

24 มิ.ย.2563 ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร รายงานว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ หรือ โควิด - 19 กลายเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ประชาคมโลกต่างหันมาให้ความสนใจกับเรื่องปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่า เนื่องจากมีแนวความคิดที่อิงจากงานวิชาการหลายที่มา ว่าด้วยปฐมบทแห่งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในครั้งนี้ และในหลายครั้งที่ผ่านมา ล้วนมีต้นตอมาจากการบริโภคสัตว์ป่า และการบุกรุกพื้นที่ธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่จึงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อชีวิตของมนุษยชาติโดยตรง

จากรายงานวันที่ 24 มิ.ย.2563 พบว่าขณะนี้ผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มีจำนวนประมาณ 9,359,372 คน และเสียชีวิตจากโรคร้ายถึง 479,879 คน ตัวเลขดังกล่าวถือเป็นจำนวนที่สูงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น หากมนุษย์ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้ความสำคัญกับธรรมชาติ

ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร มองว่า การแพร่ระบาดของโควิด -19 ได้ทำให้ผู้คนทั่วโลกเริ่มหันกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่รอบตัว ซึ่งในอดีตแม้นักสิ่งแวดล้อมเองจะเคยนำเสนอแนวคิดเรื่องดังกล่าว แต่กลับได้รับความนิ่งเฉยจากกระแสสังคม ดังนั้นเมื่อโรคอุบัติใหม่ได้เกิดขึ้นผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือ มนุษยชนทุกคน และต้องพึงตระหนักต่อความจริงที่ว่า 'มนุษย์ไม่ได้อยู่เหนือธรรมชาติ'

"ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 มันทำให้มนุษย์ต้องหยุดการกระทำอะไรบางอย่าง เนื่องจากต้องอยู่ในสภาวะล็อกดาวน์ หรือเวิร์กฟอร์มโฮม ดังนั้นปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ได้ห่างไกลจากมนุษย์ และที่ผ่านมามนุษย์ไม่ได้อยู่เหนือธรรมชาติ ซึ่งหลังจากนี้เราต้องปรับตัวและสร้างความเข้าใจใหม่ในเรื่องการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เพื่อใครแต่เพื่อตัวเราเอง" ศศิน กล่าว

วัชรบูล ลี้สุวรรณ กรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และศิลปินสายสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นว่า แม้มนุษยชาติจะมีการพัฒนาองค์ความรู้หรือความสามารถในด้านเทคโนโลยีมากเท่าใด แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะโรคอุบัติใหม่ได้ ดังนั้นจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่า ต่อให้มนุษย์จะมีการพัฒนาไปได้ไกลหรือรวดเร็วแค่ไหน แต่สุดท้ายเราก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

"แม้มนุษย์เราจะฉลาดหรือเก่งกล้าแค่ไหน มันก็ไม่ได้แปลว่าเราอยู่เหนือสิ่งที่เรียกว่าธรรมชาติ ดังนั้นการที่โควิด - 19 สร้างผลกระทบต่อผู้คน จนกระทั่งมีการเจ็บป่วย หรือล้มตาย จึงเปรียบเสมือนเป็นการเตือนของธรรมชาติ ซึ่งผู้คนต้องนำไปเป็นบทเรียน และจะต้องตระหนักถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้" วัชรบูร ลี้สุวรรณ กล่าว

มูลนิธิสืบนาคะเสถียรขอเชิญชวนผู้ที่มีหัวใจรักสิ่งแวดล้อม ร่วมแสดงเจตจำนงในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า ผ่านงานแถลงข่าว รำลึก 30 ปี สืบ นาคะเสถียร กับแนวคิดการทำงานในอนาคต และร่วมชมกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ‘ระวังจะสูญพันธุ์’ (BE CAREFUL TO EXTINCTION) ในวันอาทิตย์ที่ 28 มิ.ย.นี้ บริเวณลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น.

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

‘ยิ่งลบ…ยิ่งจำ ’ : นักวิชาการถกการรื้อถอนมรดกคณะราษฎรและการต่อสู้ทางความทรงจำ

$
0
0

รายงานเสวนา การเมืองของความทรงจำและการลบลืม: คณะราษฎรและการปฏิวัติ 2475 นักวิชาการย้ำยิ่งลบ ยิ่งจำ ยิ่งปิดกั้น ยิ่งอยากรู้ ชี้สงครามความทรงจำยังไม่สิ้นสุด และยังต่อสู้กันต่อไป

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2563 คณะรัฐศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราฯ จัดงานเสวนาออนไลน์หัวข้อเรื่อง "การเมืองของความทรงจำและการลบลืม: คณะราษฎรและการปฏิวัติ 2475" ผ่านทางเฟซบุ๊กไลฟ์แฟนเพจ Direk Jayanama Research Center โดยมีวิทยากรประกอบด้วย ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชาตรี ประกิตนนทการ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชา ศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  และ ประจักษ์ ก้องกีรติ ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

การเกิดใหม่ของคณะราษฎร-การหายไปของ 14 ตุลา

ชาตรี กล่าวว่า ปรากฏการณ์ของการเกิดใหม่ของคณะราษฎรเกิดขึ้นหลังรัฐประหารปี 2549 ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่เขย่าประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ ส่วนการรัฐประหาร 2557 คือ การทำให้คณะราษฎรเกิดเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งตนไม่ได้คิดเอง แต่อาศัยความคิดมาจาก ธนาพล อิ๋วสกุล การรื้อถอนมรดกของคณะราษฎรสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางการเมืองในแต่ละยุคสมัยหลังยุคคณะราษฎร ซึ่งในยุคก่อนปี 2549 ไม่มีสัญลักษณ์ของคณะราษฎรถูกใช้ในการชุมนุมอย่างมีนัยยะสำคัญ อาจจะมีบ้างในงานวิชาการ เช่นงานของอาจารย์ธำรงศักดิ์และอาจารย์ชาญวิทย์อยู่บ้างแต่ก็น้อย และจะพบสัญลักษณ์ที่อยู่ในการประท้วงเพียงไม่กี่อย่าง เช่น ธงชาติ แผนที่ประเทศไทย 

ส่วนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในตอนนั้น ได้รับความนิยมมากในฐานะวีรบุรุษของกลุ่มทหารในช่วง 2530 - 2540 ซึ่งก่อนรัฐประหารปี 2549 จะพบว่ามีอนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม เกิดขึ้นมากมายในพื้นที่ของทหารเต็มไปหมด และภาพลักษณ์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จะมีลักษณะเผด็จการเป็นปีกขวาของคณะราษฎร เป็นคนที่ถูกอธิบายว่าทำให้การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์เพราะว่าจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีลักษณะเป็นเผด็จการทหารนิยม 

เหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งในช่วง 30 - 40 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่หลังรัฐประหารปี 2549 เหตุการณ์ 14 ตุลา ถูกลดพลังและความสำคัญลง เนื่องจากกลุ่มคนที่เรียกว่า ‘คนเดือนตุลา’ หันไปสนับสนุนการทำรัฐประหารปี 2549 ทำให้ 24 มิ.ย. 2475 ถูกกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยนำมาเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว ปรีดี พนมยงค์ที่เคยถูกตีความเดี่ยวๆ เช่นในบทบาทหัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำขบวนการเสรีไทย เป็นต้น เริ่มมีการพูดถึงปรีดีกับคณะราษฎรที่มีบทบาทของพระยาพหลฯ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้ก่อการปฏิวัติ ซึ่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมรวมถึง 14 ตุลา เริ่มถดถอยพลังลง และถูกแทนที่ด้วยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ปราบกบฏ และวัตถุที่เป็นมรดกคณะราษฎรทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด 

จากเหตุการณ์ที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ทำให้รัฐและฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่สบายใจและคิดว่า นี่คือประวัติศาสตร์ที่เป็นอันตรายต่อรัฐ ทำให้เกิดกระบวนการรื้อถอนมรดกคณะราษฎร แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จ เพราะมรดกคณะราษฎรถูกเปลี่ยนรูปแบบไปเป็น popular object เช่น พวงกุญแจ นาฬิกา คุกกี้ ซึ่งพบว่าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการชุมนุมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ เมื่อช่วงต้นปี 2563 เห็นได้ชัดว่า การทำลายวัตถุที่เป็นมรดกคณะราษฎรไม่สามารถลบเลือนภาพความทรงจำของคณะราษฎรไปได้ แต่ก็ไม่ควรที่จะประเมินกระบวนการรื้อถอนครั้งนี้ต่ำเกินไป เพราะการทำลายวัตถุเหล่านั้น เป็นการทำลายพลังทางการเมืองที่ผูกติดอยู่กับที่ตั้งและวัตถุ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ก่อให้เกิดวัตถุนั้นๆ ด้วย ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าวัตถุต้นฉบับให้พลังได้มากกว่าวัตถุจำลอง ดังนั้นการทำลายมรดกคณะราษฎรจึงมีพลังมากกว่าที่คิด และยังมองไม่เห็นถึงจุดสิ้นสุดว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ

ปฏิรูปราชทัณฑ์ คุณูปการปฏิวัติ 2475

ศรัญญู กล่าวถึงการจัดการนักโทษว่า ในช่วงสมัยรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชของไทยนั้น การควบคุมจัดการนักโทษมีเป้าหมายเพื่อที่จะสร้างระเบียบแบบแผนความเรียบร้อยแก่บ้านเมือง และไม่ได้มีแนวความคิดที่จะฟื้นฟูนักโทษให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมอีก ดังนั้นหลัง 2475 จึงมีการปฏิรูปงานราชทัณฑ์ให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดระเบียบสังคม แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและสร้างสังคมอุดมคติในระบอบใหม่ด้วยองค์ความรู้ใหม่อาชญวิทยาแบบตะวันตก คณะราษฎรมุ่งหวังให้งานราชทันฑ์เป็นไปตามระบบสากลและสามารถฟื้นฟูนักโทษให้กลับมาใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้อีก ซึงมีแนวทางให้นักโทษทำงานเป็นเหมือนการอบรมฟื้นฟู ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างผลประโยชน์ให้กับรัฐโดยผ่านการใช้ทรัพยากรนักโทษและทรัพยากรต่างๆ ของรัฐ ที่อาศัยโครงสร้างของเรือนจำในการใช้แรงงานนักโทษผลิตและนำไปจำหน่าย เพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายให้กับรัฐ ขณะเดียวกันเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้นมาจะพบว่า เงินจำนวนหนึ่งได้ไปจุนเจือนักโทษเสมือนเป็นเงินปันผล ซึ่งสามารถทำให้นักโทษอยู่ดีกินดีมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบข้าราชการราชทัณฑ์ให้มีการสอบแข่งขันเข้าทำงานเพื่อประสิทธิภาพของเจ้าพนักงาน

โครงการใหญ่ที่คณะราษฎรได้สร้างขึ้นมาคือ ‘ทัณฑนิคม’ เป็นโครงการที่จะนำนักโทษไปบุกเบิกพื้นที่ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เพื่อสร้างให้เป็นนิคมหรือเมืองขึ้นมา ซึ่งทดลองทำที่แรกที่ธารโต จังหวัดยะลา และเมื่อได้ผลก็ขยายมาทำต่อที่คลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา และที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับควบคุมนักโทษทางการเมืองหลายกลุ่ม เช่น กบฏบวรเดช กบฏนายสิบ กบฏกรมพระยาชัยนาทนเรนทร แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่ค่อยได้ผลมากนัก เพราะขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 

ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์รัฐประหารปี 2490 จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิบูลสงคราม ขึ้นมามีอำนาจ ซึ่งไม่ค่อยให้ความสนใจงานราชทัณฑ์มากนัก จนกลายเป็นช่วงที่ความทรงจำของนักโทษทางการเมืองที่มีความรู้พรั่งพรูออกมาถึงความยากลำบากในช่วงที่ต้องโทษที่เกาะตะรุเตา เช่น บันทึกความทรงจำ หนังสือที่เล่าประสบการณ์ต่างๆ ออกมาเป็นนิยาย แสดงภาพของนักโทษที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐบาล ซึ่งสามารถใช้โจมตีคณะราษฎรได้เป็นอย่างดี หากจะประเมินว่าบันทึกความทรงจำของนักโทษทางการเมืองโดยเฉพาะนักโทษบวรเดชประสบความสำเร็จขนาดไหน สะท้อนได้ดีจากงานเขียนประวัติศาสตร์ในช่วงทศวรรษ 2500-2520 บรรดานักวิชาการในช่วงนั้นมองว่ากบฏบวเดชเป็นพระเอก ซึ่งสร้างภาพทับงานปฏิรูปราชทัณฑ์ของคณะราษฎรจนแทบจะเลือนหายไป ดังนั้น ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจึงเอางานเขียนเหล่านี้มาสร้างต่อเป็นภาพยนตร์และละครเวทีเพื่อถ่ายทอดถึงความเลวร้ายและการเป็นปฏิปักษ์กับคณะราษฎร ซึ่งเป็นการโต้กลับกระแสการเกิดใหม่ของคณะราษฎรในปัจจุบัน

ช่วงชิงความหมายของคำว่าพระเอกและตัวร้าย

ธำรงศักดิ์  กล่าวว่า ความทรงจำช่วงปฏิวัติ 2475 นั้น เป็นการช่วงชิงความหมายของคำว่าพระเอกและตัวร้ายของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็พยายามที่จะชูให้พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นพระเอก และคณะราษฎรเป็นตัวร้าย ยกตัวอย่างในหนังสือ ‘กบฏบวรเดช’ ที่ชูให้บวรเดชเป็นพระเอกที่ตายตอนจบ และผู้ร้ายก็คือคณะราษฎรและรัฐบาลในคณะราษฎร หรืออย่างในงานสี่แผ่นดินของมรว.คึกฤทธิ์ ที่พยายามทำให้คณะราษฎรเป็นผู้ร้าย และเป็นสาเหตุทำให้บ้านแตกสาแหรกขาด แต่การกระทำเช่นนี้ มันให้ผลลัพธ์ของการปลูกฝังเป็นไปในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งผู้อ่านบางคนก็จะเกิดความสงสัยและงงงวยว่า คณะราษฎรคือใคร นั่นคือสิ่งที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมตั้งใจจะกลบฝัง แต่ก็กลบไม่มิด

ธำรงศักดิ์ กล่าวเสริมว่า นอกจากอนุสาวรีย์ต่างๆ ที่ถูกทุบหรือย้ายแล้ว การเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทย การกำหนดวันเปลี่ยนปีศักราชเป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี การออกกฎหมายทะเบียนสมรส ถนนราชดำเนินและสภาผู้แทนราษฎรนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นมรดกของคณะราษฎรและการปฏิวัติที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

คำว่า ‘ประเทศไทย’ 

การเปลี่ยนชื่อสยามมาเป็นประเทศไทยนั้น ธำรงศักดิ์ อธิบายว่า สาเหตุที่รัฐบาลหลวงพิบูลสงครามประกาศเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นประเทศไทยหรือไทยแลนด์ เนื่องจากต้องการให้ประเทศเข้าสู่สากลมากขึ้น และในเนื้อหาเพลงชาตินั้น ท่อนที่ว่าร้องว่า “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะอธิบายก็คือใครเป็นคนไทยบ้างซึ่งหลากหลาย  ทั้งคนไทย คนลาว คนเขมร คนภาคใต้ คนแขก และคนเชื้อชาติอื่นๆ ดังนั้น รัฐบาลในยุคนั้นพยายามที่จะอธิบายว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใครมาจากภาคไหน คุณก็คือคนไทยดังนั้นประเทศไทย

สวัสดีปีใหม่ 1 มกรา

สำหรับเรื่องการกำหนดวันเปลี่ยนปีศักราชนั้น ธำรงศักดิ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้รัชกาลที่ 5 จะทำให้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันเปลี่ยนปีศักราช  แต่คณะราษฎรต้องการที่จะทำให้ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโลกสากล ดังนั้นรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงครามก็ประกาศให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่หรือวันเปลี่ยนปีศักราช ซึ่งทั้งคำว่าสวัสดีและวันขึ้นปีใหม่นั้นถือว่าเป็นมรดกของคณะราษฎร  

ผัวเดียวเมียเดียว

เรื่องที่คณะราษฎรพยายามจะผลักดันให้เท่าเทียมกัน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงผู้ชายและคำสรรพนามก่อนยุคปฏิวัติ 2475 ซึ่ง ธำรงศักดิ์ อธิบายว่า ในโลกของสังคมแบบยุคก่อนปฏิวัติ 2475 เป็นสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ ดังนั้นผู้ชายจึงมีเมียหลายเมียในบ้านเดียวกันได้ เช่น เจ้าขุนหรือเจ้าพระยาที่มีเมียหลายคน ถือว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคนั้น แต่การที่จะทำให้ประเทศนี้ก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่จะต้องออกกฎหมายผัวเดียวเมียเดียว มีการจดทะเบียนสมรสครั้งเดียว หากจะอยากจดทะเบียนกับคนใหม่จะต้องหย่ากับคนเก่าเสียก่อน นั่นคือ สิ่งที่เป็นกฎหมายของความทันสมัย แต่กฎหมายนี้ไม่ผ่านในสมัยรัฐบาลสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สาเหตุที่ไม่ผ่านก็คือ เสนาบดีของไทยทั้งหมดเป็นบุคคลที่มีหลายเมีย ซึ่งการที่มีผัวเดียวแต่หลายเมียนำไปสู่การที่ผู้หญิงถูกกดขี่อย่างยิ่ง เนื่องจากว่าเป็นสังคมผู้ชายเป็นใหญ่ ครั้นคณะราษฎรปฏิวัติ 2475 เสร็จ คณะราษฎรได้ผลักดันกฎหมายผัวเดียวเมียเดียวในทันที จากนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้หญิงเริ่มเชื่อมั่นในตัวเองว่าตนมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย ธำรงศักดิ์ ตั้งข้อสังเกตว่า หลังรัฐประหารปี 2490 นิยายหรือละครทีวีโทรทัศน์พยายามนำวิถีชีวิตว่าด้วยผัวเดียวแต่หลายเมียกลับเข้ามา เช่น ท่านขุน ท่านหลวง ท่านพระ หรือท่านพระยาที่จะมีหลายเมีย เพื่อกล่อมเกลาให้คนยอมรับรสนิยมหรือว่าวัฒนธรรมแบบโลกโบราณ ซึ่งตรงนี้ ตนมองว่าเป็นระบอบวัฒนธรรมศักดินาที่ต่อต้านวัฒนธรรมศิวิไลซ์ของคณะราษฎร แต่ตอนนี้เราอยู่ในวัฒนธรรมที่ผัวเดียวเมียเดียวอย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นมรดกของคณะราษฎร

ถนนราชดำเนิน และสภาผู้แทนราษฎร

สำหรับถนนราชดำเนินนั้น ธำรงศักดิ์ อธิบายว่า ถนนราชดำเนินถูกสร้างให้เป็นถนนสายธุรกิจของกรุงเทพในสมัยยุคคณะราษฎร ดังนั้นเขาจึงสร้างอาคารหรือตึกมโหฬารขึ้นสองข้างทางของถนนนี้ โดยที่ต้นทางของถนนราชดำเนินนี้มีโรงแรมที่หรูที่สุดของกรุงเทพและปลายทางก็จะเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์ที่หรูที่สุดในยุคนั้น ถนนราชดำเนินนี้กำเนิดมาพร้อมกับไอเดียที่จะเชื่อมไปสู่ถนนภาคต่าง ๆ ซึ่งคณะราษฎรมาพร้อมกับโครงการที่จะสร้างถนนต่างๆ ให้เชื่อมกันทั้งประเทศ และมรดกอีกชิ้นที่เราไม่อาจลืมได้ นั่นคือคำว่า ‘สภาผู้แทนราษฎร’ ที่ยังตกมาถึงเราจนปัจจุบัน เพราะคณะราษฎรคือตัวแทนของราษฎรที่ต้องการอธิบายว่าอำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย

ไม่ใช่แค่ทำลายเพื่อให้ลืม แต่เป็นการประกาศชัยชนะ

ธนาวิ ยกตัวอย่างของการหายไปของหมุดคณะราษฎรแล้วแทนที่ด้วยหมุดหน้าใส ว่านั่นคือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของ Iconoclasm หรือการทำลายวัตถุ สัญลักษณ์หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ แล้วแทนที่ด้วยสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่ง แต่ทั้งนี้การทำลายความทรงจำนั้นเป็นผลพวง และอาจจะไม่ใช่จุดประสงค์หลักของ Iconoclasm สำหรับจุดประสงค์หลักของ  Iconoclasm นั้น คือ การประกาศแถลงการณ์หรือการกระทำทางการเมืองอย่างหนึ่งที่มีแรงขับมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติทางศาสนาหรือการปฏิวัติทางการเมืองที่นำไปสู่การแทนที่อุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่ง ดังนั้นปรากฏการณ์ Iconoclasm ก็จะเกิดขึ้นเมื่อมีการปฏิวัติชนิดเปลี่ยนระบอบการปกครอง

ยิ่งลบ ยิ่งจำ ยิ่งปิดกั้น ยิ่งอยากรู้

ธนาวิ กล่าวถึงการทุบ สร้าง แทนที่ (Iconoclasm) ว่า รัฐไม่สามารถลบความทรงจำผ่านการรื้อหรือทำลายวัตถุได้ง่ายขนาดนั้น เนื่องจากว่าการลืมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา การที่วัตถุอย่างหนึ่งหายไปแต่เพียงลำพังมันก็อาจจะไม่ได้ทำให้ของพวกนี้ถูกลืมไปได้เลย ถ้าสิ่งของเหล่านั้นยังมีสิ่งทดแทนในรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งยังมีการรำลึกซึ่งเป็นปฏิบัติการต่างๆ ก็จะทำให้ข้อมูลของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังคงไหลเวียนอยู่ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าการที่วัตถุดั้งเดิมไม่มีอยู่จะแปลว่าไม่สำคัญหรือไม่ต้องสนใจก็ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ซึ่งการกระทำเช่นนี้ของรัฐนั้นมันให้ผลตรงกันข้าม กล่าวคือ จากที่คนในสังคมจะลืมเรื่องราวของคณะราษฎรแต่กลับไปปลุกเร้าความสนใจใคร่รู้ของคนในสังคมหรือคนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยรู้จักคณะราษฎรมาก่อน ซึ่งหากว่ารัฐไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของราษฎร สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างก็ได้ ซึ่งการทุบ สร้าง แทนที่ (Iconoclasm) นี้ก็ทำให้เกิด Popular object ขึ้นมา คล้ายกับการทำรูป meme หรือรูปล้อเลียน ซึ่งถูกเอาไปแปรรูปรวมกับอย่างอื่นกลายเป็นวัตถุข้าวของเล็กน้อยหรือของที่ระลึกและเป็นสิ่งที่เราซื้อขายกันได้ เช่น คุกกี้หมุดคณะราษฎร นับว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพร่กระจาย Popular object เหล่านี้ให้เป็นที่รู้จักได้ ยิ่งยุคนี้เป็นยุคของโซเชียลมีเดีย ยิ่งทำให้กระบวนการรื้อถอนหรือลบเลือนนั้นทำได้ยากเมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ต ซึ่งรัฐเผด็จสามารถลบเลือนความทรงจำได้ด้วยการเผาห้องสมุดหรือการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ  แต่ยุคโซเชียลมีเดียนั้น การบันทึกภาพทำให้ภาพที่ไหลเวียนอยู่ในอินเตอร์เน็ต แต่ทั้งนี้การมีอินเตอร์เน็ตก็มีสองด้านเช่นเดียวกัน หากเราสามารถเก็บข้อมูลหรือโพสต์อะไรต่างๆ ได้อย่างอิสระ รัฐก็จะมีมาตรการอะไรบางอย่างที่จะควบคุมพื้นที่ออนไลน์ แต่ในขณะเดียวกันก็ยากที่รัฐจะจับให้มั่นคั้นให้ตายเพราะว่ามันก็จะมีคนที่รอดออกไปได้หรือหาวิธีที่จะทำให้มันสามารถเป็นไปได้อยู่

สงครามความทรงจำยังไม่สิ้นสุด และยังต่อสู้กันต่อไป

ธำรงศักดิ์ ให้ความคิดเห็นว่า การต่อสู้ระหว่างระบอบเผด็จการกับระบอบประชาธิปไตยแบบสากล มันเพิ่งระเบิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลา ซึ่งก่อนหน้านั้นมันเหมือนกับว่าชัยชนะของระบอบรัฐทหารระบอบเก่ามันเบ็ดเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว แต่ปรากฏว่าการระเบิดตัวของพลังประชาชนนิสิตนักศึกษาในรอบ 40 - 50 ปี มันได้เปลี่ยนแปลงทิศทางในการต่อสู้ ยิ่งอยากได้ความเป็นประชาธิปไตยแบบสากลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งย้อนกลับไปสู่ 2475 และคณะราษฎรมากขึ้นเท่านั้น สำหรับการรื้อถอนสถานที่ที่เกี่ยวกับคณะราษฎรนั้น เราไม่เข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริงของการทุบทิ้ง เช่น การทุบโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ในครั้งนั้นทุกสถานที่จะถูกอธิบายว่าปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น แต่เราไม่เคยถูกโยงให้เห็นเลยว่า นี่คือกระบวนการทุบทำลายมรดกราษฎร จนกระทั่งนักวิชาการอย่างอาจารย์ชาตรีอาจารย์ศรัญญูที่ชี้ให้เห็นว่า เป็นการถูกทำลายอย่างมีเงื่อนงำ

ในขณะที่ ธนาวิ กล่าวว่า หากวัดการแพ้ชนะอยู่ที่ว่าวัตถุถูกทุบทิ้งหรือเปล่า แน่นอนว่าผู้แพ้คือฝ่ายประชาธิปไตย แต่เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทั้งสองฝ่ายเป็นคู่ต่อสู้ที่ไม่ได้มีกำลังเท่ากัน เราไม่สามารถที่จะป้องกันมรดกเหล่านี้ไม่ให้ถูกทำลายได้  ดังนั้นเราจึงต้องสู้ผ่านภาพตัวแทนที่ถูกผลิตออกมาและไหลเวียนซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มรดกคณะราษฎร์ไม่หายไปไหนอย่างสิ้นเชิง เราได้เห็นความพยายามของคนหลายคน เช่น พิพิธภัณฑ์สามัญชน ที่เก็บเข้าของความทรงจำต่าง ๆ หรือคนทั่วไปที่ถ่ายรูปแชร์รูปหรือโพสต์รูปในโซเชียลมีเดียจึงรู้สึกว่าพื้นที่ออนไลน์เป็นจุดที่ที่พอจะช่วยเก็บความทรงจำนี้ได้ หากจะสู้ ก็สู้กันตรงที่เก็บความทรงจำมากกว่าการรวมพลังกันประท้วงให้ไม่ทุบทิ้ง

มรดกคณะราษฎร ความผูกพันและทรงจำของคนท้องถิ่น

ศรัญญู กล่าวถึงมรดกคณะราษฎรกับความสนใจของคนในท้องถิ่นว่าต้องให้เครดิตกับคนในท้องถิ่นที่ยังสนใจ พื้นที่ความทรงจำ (site of memory) พวกนี้อยู่เช่นคนบุรีรัมย์ที่มีความพยายามที่จะตามหาว่าอนุสาวรีย์นั้นหายไปไหน  แต่ก็ยังมีข้อคำถามต่อไปอีกว่าคนในท้องถิ่นจะมีเสียงมากน้อยแค่ไหนในการรื้อฟื้นหรือหาความหมายของสิ่งที่เป็นมรดกของคณะราษฎร ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วความหมายบางประการก็ถูกทำให้เลือนหายหรือเปลี่ยนความหมายจากยุคคณะราษฎร แต่ทั้งนี้การทุบหรือทำลายนั้นก็ไปปลุกพื้นที่ความทรงจำนั้นขึ้นมา ภายหลังก็มีการทำสารคดีตามรอยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรืออนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญในต่างจังหวัดของประชาไท ซึ่งจะทำให้ความจำบางอย่างเกี่ยวกับคณะราษฎรกลับขึ้นมาอีกครั้ง ผศ.ศรัญญู กล่าวต่อไปอีกว่า ไม่แน่ใจว่า ในทัศนะของผู้มีอำนาจนั้น จะเป็นการชี้เป้าให้ทำลายมากกว่าเดิมหรือไม่ ทั้งนี้ตนมองว่าเป็นเรื่องที่ต้องสู้กันอีกในระยะยาว

เช่นเดียวกับ ชาตรี ที่มีความคิดเห็นว่าการหาความเชื่อมโยงระหว่าง 14 ตุลากับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะเป็นกลยุทธ์สำหรับการปกป้องอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไม่ให้ถูกทำลายได้ง่าย ส่วนในกรณีของอนุสาวรีย์จำลองที่ต่างจังหวัดนั้น ตนคิดว่า ความทรงจำส่วนบุคคลท้องถิ่นที่เป็นเรื่องเล่าท้องถิ่นและความผูกพันเฉพาะบุคคล อาจจะช่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น โรงพิมพ์วัดสังเวชคุรุสภาที่ตั้งอยู่ริมคลองบางลำพู ซึ่งเป็นมรดกของคณะราษฎรนั้นสามารถอยู่รอดด้วยความทรงจำ ความผูกพันหรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กันระหว่างตึกนั้นกับชุมชนบางลำภู มิใช่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร ซึ่งการทำให้เห็นว่าวัตถุเหล่านี้ไม่ได้มีความทรงจำชุดเดียว  แต่มีความทรงจำที่หลากหลายที่เกี่ยวพันกับคนกว้างไกลในหลายกลุ่ม ก็อาจจะเป็นพลังที่จะช่วยดึงตัววัตถุที่เป็นต้นฉบับยังคงอยู่

สำหรับ รดารัตน์ ศุภศรีและพศวัต แซ่คู้ ผู้รายงานเสวนาชิ้นนี้ปัจจุบันเป็นนักศึกษาฝึกงานประจำกองบรรณาธิการข่าวประชาไท

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับ ‘การปฏิวัติสยาม 2475’

$
0
0

แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิวัติสยาม 2475 ที่ออกแบบมาสำหรับท้าดวลทั้งผู้เชี่ยวชาญและไม่เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ใครได้คะแนนน้อยด่าได้แต่อย่าแรง 

สุขสันต์วันเริ่มต้นประชาธิปไตย

1.กบฏครั้งใดเป็นแรงบันดาลใจให้กับคณะราษฎร

ก. กบฏผีบุญ หรือกบฏผู้มีบุญ ในอีสาน
ข. กบฏชาวนา ในจีน
ค. กบฏ ร.ศ. 130 ในไทย
ง. กบฏบวรเดช ในไทย
จ. กบฏศาสดา ในเพลง

_____________________

เฉลย > ค. กบฏ ร.ศ. 130
_____________________

รู้จัก กบฏ ร.ศ. 130

ต้นรัชสมัยรัชกาลที่ 6 หลังขึ้นครองราชย์ได้ราวปีเศษ ทางการสืบทราบว่ามีคณะนายทหารและพลเรือนกลุ่มหนึ่งจัดตั้งสมาคม "อานาคิช" (Anarchist) หรือคณะ ร.ศ. 130 นายทหารจำนวน 91 คน วางแผนจะก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองและแทนที่ด้วยรัฐธรรมนูญแบบประเทศตะวันตก หรือแม้แต่จะเปลี่ยนเป็นระบอบสาธารณรัฐ

ฐานข้อมูลการเมืองไทยของสถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า ทหารกลุ่มนี้มีเป้าหมายในการเปลี่ยนประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรือถ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอม ก็จะดำเนินการทูลเชิญเจ้านายพระองค์อื่น เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไทย

อย่างไรก็ตาม หลายคนถือว่า การปฏิวัติของคณะราษฎรเป็นสายธารต่อเนื่องมาจากลุ่มกบฏ ร.ศ. 130 และพวกเขาก็ยังอยู่ร่วมสมัยเดียวกัน

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ เล่าถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มนี้ไว้ ดังนี้

ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ในวันปฏิวัติ 24 มิถุนายน ราวบ่ายโมงกว่า มีกลุ่มบุคคลคณะหนึ่งได้รับเชิญจากหัวหน้าคณะราษฎรให้มาพบเพื่อแสดงความเคารพและขอบคุณคณะปฏิวัติประชาธิปไตยผู้มาก่อน นั่นคือ ผู้แทน

คณะปฏิวัติ ร.ศ. 130 ได้แก่ ร.อ.นายแพทย์เหล็ง ศรีจันทร์ หรือ หมอเหล็ง หัวหน้าคณะ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง รองหัวหน้าคณะ ร.ต.บ๋วย บุณยรัตพันธุ์ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ และร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ เลขาธิการคณะ

คณะปฏิวัติ ร.ศ. 130 (ถูกเรียกชื่อตามปีที่ถูกจับกุมซึ่งยังใช้ระบบปีแบบเดิม) ส่วนใหญ่เป็นทหารบก ต้องการที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เป็นประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีสภา มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลที่ถ่วงดุลตรวจสอบได้ของประชาชน ซึ่งมีทั้งที่เรียกว่าระบอบแบบ “ลีมิตเต็ดมอนากี้” และแบบ “รีปับลิ๊ก”

หมอเหล็งได้เขียนด้วยลายมืออธิบายสภาพที่ดำรงอยู่และระบอบการเมืองของไทยขณะนั้น ในเอกสารชื่อ “ว่าด้วยความเสื่อมทรามแลความเจริญของประเทศ” ว่าประเทศที่ปกครองในแบบ “แอ๊บโซลู๊ตมอนนากี้” ทั้งในยุโรปและอเมริกา “ก็ได้ช่วยกันคิดกำจัดประเพณีที่ชั่วร้ายอย่างป่าเถื่อนนั้นให้หมดสิ้นไป ประเทศเหล่านั้นจึงได้มีความศรีวิลัยยิ่งขึ้นเป็นอันดับมา”

แนวคิดสำคัญของคณะปฏิวัติประชาธิปไตยนี้คือการทำให้คนเท่ากัน ไม่ใช่คนนั้นเป็นคนตระกูลสูง คนนี้เป็นคนตระกูลต่ำ ทุกคนทุกตระกูลเป็นคนเท่ากัน ประเทศที่เป็นแบบอย่างที่คณะปฏิวัตินี้ชื่นชมคือ ญี่ปุ่น คณะปฏิวัตินี้ต้องการใช้วิธีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันโดยใช้กำลังทหาร ดังนั้น ฝ่ายก่อการจึงขยายสมาชิกออกไปในกรมกองทหารต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยมียุทธวิธีว่า หากได้ทหารมาเป็นพวกมากเท่าไหร่ โอกาสแห่งชัยชนะก็มากเท่านั้น

คณะปฏิวัติคณะนี้ถูกกวาดจับเพราะความลับแตกจากสมาชิกที่เพิ่งรับเข้ามา 1 คน ที่ได้เข้าร่วมประชุมแล้วกลับใจนำความไปบอกฝ่ายรัฐบาลรัชกาลที่ 6 นายคนนี้ชื่อ ยุทธ หรือ แต้ม คงอยู่ ได้รับความดีความชอบยศถาบรรดาศักดิ์จากรัฐบาลให้เป็น พันเอก พระยากำแพงราม แต่หลังปราบกบฏบวรเดช 2476 ได้แขวนคอตายในห้องขัง

“ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม!” นายพันเอก พระยาพหล ได้กล่าวแก่ผู้แทนคณะปฏิวัติ ร.ศ. 130 พร้อมกับยื่นมือไปสัมผัสกระชับกับทุกคน และได้ถามความเห็นว่าแต่ละคนนั้นมีต่อการปฏิวัติในวันนี้ประการใดบ้าง หมอเหล็ง ศรีจันทร์ กล่าวตอบทันทีว่า “เป็นการสมใจตามทางของคณะ ร.ศ. 130 ด้วยความตื่นเต้น แต่ขอได้โปรดยึดอุดมคติและอำนาจตอนต้นนี้ไว้จนกว่าจะปลอดภัย โดยโปรดดูตัวอย่างหมอซุนยัตเซ็นที่เสียทีแก่ยวนไซไซไว้ด้วย”

2. อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ก. เศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างหนัก
ข. เกิดชนชั้นกลางและข้าราชการรุ่นใหม่
ค. ผลการปฏิรูปการเมืองในอดีต
ง. ถูกทุกข้อ
จ. ผิดทุกข้อ

_____________________

เฉลย > ง. ถูกทุกข้อ

_____________________

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ 2475

หนังสือ ปฏิวัติ 2475 ของชาญวิทย์ เกษตรศิริ ระบุว่าความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของสังคมไทยก่อนหน้านั้นทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นปัจจัยที่นำไปสู่การปฏิวัติ 2475

Ø ปฏิรูปการบริหารราชการ 2435 อาจกล่าวได้ว่าเป็นความพยายามที่จะรวมอำนาจทางการเมืองไว้ที่สถาบันกษัตริย์ ทำให้อำนาจของขุนนางส่วนกลางและผู้นำท้องถิ่นต้องถูกตัดตอน ซึ่งได้สร้างข้อจำกัดและปัญหาสืบเนื่องในรัชกาลต่อๆ มาและนำไปสู่การตั้งคำถามต่อสถาบันกษัตริย์ในที่สุด

Ø การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจก็มีผลเช่นกัน การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งทำให้ระบบการค้าของไทยจากที่เคยเป็นระบบผูกขาดโดยเจ้าและขุนนางเปลี่ยนเป็นระบบการค้าเสรี พร้อมกับเกิดเศรษฐกิจที่มุ่งส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าหลักในช่วงรัชกาลที่ 5 ในขณะเดียวกัน ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกก็นำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ รวมถึงปัญหาการสะสมที่ดินของชนชั้นสูงในขณะที่ชาวนาไร้ที่ดินทำกิน

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้จากเดิมที่สังคมมี 2 ชนชั้นใหญ่ๆ คือเจ้าและขุนนาง กับ ไพร่และทาส ก็พลันเกิดชนชั้นใหม่ เพราะความต้องการแรงงานสูงขึ้น แรงงานอิสระที่ไม่ใช่ไพร่กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตร เหตุนี้นำไปสู่การเลิกทาสซึ่งเริ่มต้นใน พ.ศ. 2411 และเลิกทาสทั้งหมดใน พ.ศ. 2448 ส่วนแรงงานไพร่ก็ได้สลายตัวไปโดยเหลือไว้แต่การเกณฑ์ทหารเท่านั้น

Ø ด้วยปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดข้าราชการ ราษฎร และชนชั้นกลาง ซึ่งน่าจะเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกในแง่สิทธิของตนในความหมายของการเป็น “ราษฎร” ควบคู่และขนานไปกับการกระจุกตัวทางการเมืองในระดับของพระราชวงศ์

ชนชั้นกลางดังกล่าวอยู่คาบเกี่ยวระหว่างชนชั้นเจ้า-ข้าราชการชั้นสูงและราษฎร ส่วนหนึ่งอยู่ในวงราชการทหารและพลเรือนซึ่งชาญวิทย์เรียกว่าเป็นสถาบันข้าราชการใหม่ อีกส่วนอยู่นอกระบบราชการ เช่นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักธุรกิจ และผู้ประกอบการ และผู้นำของชนชั้นกลางคือผู้ที่กลายมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

“ผู้นำใหม่” เหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดชาตินิยม และเนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาในระบบใหม่ทั้งในและนอกประเทศ การเปรียบเทียบประเทศของตนกับประเทศอื่นที่ก้าวหน้ากว่า เช่น

· พระยาพหลพลพยุหเสนา : สำเร็จการศึกษาโรงเรียนนายร้อยทหารบกปี 2447 ได้ทุนไปเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยปรัสเซียในกรุงเบอร์ลิน สำเร็จการศึกษาปี 2450

· พระยาทรงสุรเดช : สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกปี 2450 ได้ทุนไปศึกษาต่อวิชาทหารช่างที่เยอรมนีและต่อระดับสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรีในการสำเร็จการศึกษาปี 2456

· พระประศาสน์พิทยายุทธ : สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกปี 2454 ได้ทุนไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกเยอรมัน และย้ายไปเรียนที่โรงเรียนนายร้อยโพลีเทคนิคที่สวิตเซอร์แลนด์ (ในอ้างอิงบอกว่าเรียนไม่จบ ขออาสาไปรบก่อน)

· ควง อภัยวงศ์ : ศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่เอกอล ซังตรัล เดอ ลียอง (มหาวิทยาลัยซังตรอล ลียองส์เนส) ประเทศฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาในปี 2470

คณะราษฎรถูกผลักดันโดยลัทธิชาตินิยมและแนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งเป็นอุดมการณ์ของ “ชนชั้นกลาง” ในสยามโดยทั่วไปในขณะนั้น และแนวคิดของลัทธิชาตินิยม ซึ่งมีรากฐานอยู่ในความคิดว่าประชาชนเป็นเจ้าของประเทศร่วมกันและมีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหารของรัฐบาลก็สะท้อนออกมาในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ที่ว่า “ประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง”

เว็บไซต์ 101 ได้รวบรวมปัจจัยของการปฏิวัติเพื่อโต้แย้งคำกล่าวที่ว่า การปฏิวัติ 2475 เกิดจากประชาชนที่ขาดการศึกษา โดยระบุถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านสถาบันการเมืองที่ผูกขาดรวมศูนย์อำนาจในกลุ่มเจ้านายและขุนนางชั้นสูง จนการบริหารช้าและขาดประสิทธิภาพ, ปัจจัยด้านการแพร่หลายของแนวคิดใหม่ๆ ที่ทำให้คนต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะประชาธิปไตยหรือชาตินิยมที่ล้วนท้าทายอุดมการณ์จารีตชาติกำเนิด บุญบารมี และความไม่เท่าเทียมทางชนชั้น, ปัจจัยการก่อตัวของชนชั้นใหม่ เช่น ปัญญาชน นักเรียนนอกและนักหนังสือพิมพ์ ที่เชื่อเรื่องเสรีภาพ ความทันสมัยและความเสมอภาคเท่าเทียม, ปัจจัยด้านวิกฤตเศรษฐกิจ จนปรับข้าราชการชั้นกลางและล่างออกรวมทั้งขึ้นภาษีรายได้ที่กระทบคนชั้นกลางจนเกิดกระแสไม่พอใจรัฐบาล และปัจจัยภายนอกจากการล่มสลายของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั่วโลก ทั้งจีน รัสเซีย เยอรมันและออสเตรีย-ฮังการี

3. ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีข่าวลือหนาหูเรื่องการปฏิวัติในหน่วยทหาร จึงได้มีการจัดตั้งกลุ่มสอดส่องนายทหารที่อาจก่อการปฏิวัติขึ้น ชื่อว่าอะไร

ก. สมาคมเทพารักษ์
ข. หน่วยสายลับราชองค์รักษ์
ค. สมาคมแหนบดำ
ง. สมาคมทหารของพระราชา
จ. กลุ่มเสลี่ยงเงิน

_____________________

เฉลย > สมาคมแหนบดำ

_____________________

ความวิตกกังวลต่อการปฏิวัติ

ปี 2474 เศรษฐกิจไทยฝืดเคืองอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำรุนแรงด้วย รัฐบาลในรัชกาลที่ 7 ได้ปลดข้าราชการจำนวนมากออกจากราชการ ยุบหน่วยงาน ลดทอนค่าใช้จ่าย ปัจจัยนี้ได้ช่วยแพร่กระจายข่าวลือไปทุกมุมเมือง ว่ารัฐบาลกษัตริย์น่าจะต้องงดงานฉลองพระนคร 150 ปีไว้เสีย เพราะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศกำลังตกอยู่ในยุคฝืดเคือง

งานฉลองพระนคร 150 ปีก็คืองานฉลองราชวงศ์จักรี 150 ปี มีขึ้นในวันที่ 6 เมษายน 2475 เป็นงานเปิดสะพานพุทธ และเปิดอนุสาวรีย์พระพุทธยอดฟ้า รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่สมัยรัชกาลที่ 7
ทูตญี่ปุ่นชื่อ ยาสุกิจิ ยาตาเบ บันทึกไว้ว่า ข่าวลือเหล่านี้มีมาตั้งแต่ก่อนหน้างานฉลองพระนครอยู่ราวหนึ่งเดือน ว่าจะมีคนวางแผนก่อการไม่สงบ โดยอาศัยความชุลมุนวุ่นวายของงานฉลองพระนคร 150 ปี อีกทั้ง กบฏ ร.ศ. 130 ก็เพิ่งเกิดก่อนหน้าเพียง 20 ปีก่อน ทำให้เกิดความระแวงกันอย่างมาก

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ระบุว่า ในหน่วยทหารมีการกำชับและติดตามสอดส่องนายทหารฝ่ายเสนาธิการว่ามีใครคิดกระทำตามข่าวลือนี้หรือไม่ แต่ยิ่งกำชับ ข่าวลือก็ยิ่งแพร่สะพัดออกไป จึงมีการตั้ง “สมาคมแหนบดำ” มีสมาชิกเป็นนายทหาร มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ขึ้นด้วย เพื่อสอดส่องนายทหารที่อาจคิดปฏิวัติ

หลังเสร็จพระราชพิธีที่สะพานพุทธก็มีพระราชพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สนามหลวง พระปกเกล้าฯ ก็เสด็จไปพักอิริยาบถ ณ วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนเกิดการปฏิวัติ 24 มิถุนายน

4. ทำไมการรวมตัวครั้งแรกของผู้ก่อตั้งคณะราษฏรจึงเกิดขึ้นในฝรั่งเศส

ก. กลุ่มผู้ก่อตั้งพยายามออกนอกประเทศเพื่อประชุมลับ
ข. กลุ่มผู้ก่อตั้งไปท่องเที่ยวยุโรป
ค. กลุ่มผู้ก่อตั้งเดินทางไปศึกษาต่อและทำงานอยู่ในยุโรป
ง. กลุ่มผู้ก่อตั้งกำลังอยู่ในช่วงถูกเนรเทศออกจากประเทศ
จ. กลุ่มผู้ก่อตั้งตระเวนหาทุนจากต่างประเทศเพื่อทำการปฏิวัติ

_____________________

เฉลย > ค. กลุ่มผู้ก่อตั้งเดินทางไปศึกษาต่อและทำงานอยู่ในยุโรป

_____________________

การก่อตัวของคณะราษฎร

การรวมตัวของผู้ก่อตั้งคณะราษฎรเกิดขึ้นในปี 2469 ณ หอพักในกรุงปารีสโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 7 คน คือ

1. ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี ลาออกจากราชการมาศึกษาด้านรัฐศาสตร์ในฝรั่งเศส

2. ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนการทหารที่ฝรั่งเศส

3. นายแนบ พหลโยธิน เรียนเนติบัณฑิตที่อังกฤษ และเรียนเศรษฐศาสตร์การเมืองที่ฝรั่งเศส

4. นายตั้ว ลพานุกรม ศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์

5. นายจรูญ สิงหเสนี เป็นข้าราชการต่างประเทศ เป็นเอกคราชทูตที่อิตาลีและหลายประเทศ

6. ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี มาศึกษาต่อโรงเรียนนายทหารม้าในฝรั่งเศส

7.นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับทุนศึกษาต่อด้านกฎหมายในฝรั่งเศส

ทั้งหมดล้วนเป็นคนหนุ่มทั้งพลเรือนและนายทหารชั้นผู้น้อย ส่วนประเทศฝรั่งเศสนั้น ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้กลายเป็นมหาอำนาจโลก จึงเริ่มนิยมให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อในประเทศมากขึ้น

การประชุมครั้งแรกเกิดขึ้นที่บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอเมอราร์ (Rue Du Sommerard) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ติดต่อกันนานถึง 5 วัน ที่ประชุมมีมติตกลงเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ใต้กฎหมาย โดยตกลงใช้วิธีการ "ยึดอำนาจโดยฉับพลัน" รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือดเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติรัสเซีย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงจากมหาอำนาจบริเตนและฝรั่งเศสที่มีดินแดนติดกับสยามในเวลานั้น

ระหว่างปี 2470–2572 ร้อยโทประยูรสามารถหาสมาชิกเพิ่มได้อีก 8 นาย รวมทั้งพระยาทรงสุรเดชขณะเดินทางไปดูงานที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมากลายเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในคณะราษฎร และหลวงสินธุสงครามชัยซึ่งเป็นนักเรียนนายเรือที่ประเทศเดนมาร์ก นอกจากนี้ยังมีควง อภัยวงศ์ และทวี บุณยเกตุ ด้วยการก่อตัวของคณะดังกล่าว 15 คนแรกมาจากความสัมพันธ์ส่วนตัว คือเป็นศิษย์ร่วมสถาบันหรือเป็นเครือญาติกัน แม้สมาชิกคณะราษฎรจะเป็นนักเรียนนอกหลายคน แต่บางคนก็ไม่เคยศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ เช่น พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)

การสมัครสมาชิกของคณะราษฎรนั้นถือว่ารัดกุมกว่าเมื่อเทียบกับเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 เนื่องจากไม่ปรากฏว่าข่าวรั่วไหลจนถูกจับได้ มีหลักฐานว่าบางคนปฏิเสธเข้าร่วมแต่สัญญาว่าจะไม่บอกรัฐบาล

นอกจากนี้ ในการประชุมผู้ก่อตั้งคณะราษฎรครั้งแรกได้มอบหมายให้นายแนบ พหลโยธิน เป็นผู้รับผิดชอบดูแลครอบครัวของสมาชิกหากการปฏิวัติไม่สำเร็จด้วย เนื่องจากมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าคนอื่นเพราะได้รับมรดกจากบิดา โดยจะไม่ให้นายแนบออกหน้ามากนักในการปฏิวัติ

แกนนำได้ใช้เวลาศึกษา วางแผนปฏิวัติสยามและหาทุนดำเนินการ โดยเริ่มหาพรรคพวกและผู้สนับสนุนซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในหน่วยงานราชการทั้งสายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน รวมทั้งสิ้น 114 คน (อ้างอิงตัวเลขจากวิกิพีเดีย)

สำหรับแรงจูงใจที่ทำให้ผู้คนลุกขึ้นมาปฏิวัติครั้งนี้ กรณีพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร เขาระบุว่า ระบอบเก่าไม่สามารถสร้างกองทัพไทยให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพได้แท้จริง ถูกชี้นำโดยผู้ใหญ่ จึงต้องปฏิวัติสร้างประเทศไทยใหม่ ดังที่ตัวเขาได้ไปเห็นต้นแบบการทหารจากยุโรปหลังได้ทุนไปเรียนทหารที่เยอรมัน 10 ปีเต็ม

ในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรมพูดถึงสาเหตุของการปฏิวัติ โดยระบุคำกล่าวของปรีดี พนมยงค์ว่า การยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เริ่มเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกตอนปลายในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผ่านการอภิวัฒน์ทางอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการต้องการแรงงานจึงต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้มีเสรีภาพมากขึ้น เมื่อไทยเปิดประเทศกับโลกตะวันตกในรัชกาลที่ 4 และ 5 ทุนนิยมเข้ามามีอิทธิพล คนจึงเรียกร้องให้เปลี่ยนจาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย

การปฏิรูปมีเค้าลางตั้งแต่ปี 2427 เมื่อเจ้านายและข้าราชการสถานทูตไทยในยุโรปตะวันตกได้ทำหนังสือทรงพิจารณาปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่เกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 ขึ้นแต่ไม่สำเร็จ ดังที่ปรีดีได้เล่าไว้ใจความว่า ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ได้เล่าให้ฟังถึงความเสื่อมโทรมของระบอบสมบูรณาฯ และเสียงเรียกร้องของราษฎรในสยามที่ต้องการให้เปลี่ยนระบอบ ฉะนั้นใน ค.ศ. 1925 หลังได้สนทนากับ ร.ท. ประยูรฯ หลายครั้งจึงชวนเขาไปเดินเล่นที่ถนน Henri Martin ปรารภกันว่าได้ยินผู้ที่ต้องการเปลี่ยนระบอบสมบูรณาฯ หลายคน แต่ยังไม่มีใครจะตัดสินใจเอาจริง ฉะนั้นเราจะไม่พูดแต่ปากแต่ต้องทำจริง จากน้อยไปสู่มากแล้ววางวิธีการชวนเพื่อนที่ไว้ใจได้ร่วมเป็นหน่วยแรก

5. คณะราษฎรใช้เทคนิคอะไรในการประชุมวางแผนปฏิวัติ เพื่อเป็นข้อแก้ตัวหากถูกจับกุม

ก. จัดปาร์ตี้บนเรือ
ข. มีสำรับไพ่วางไว้
ค. ปลอมตัว
ง. เล่นเครื่องดนตรีเสียงดังกลบเกลื่อน
จ. สนทนาในระหว่างตีกอล์ฟ

_____________________

เฉลย > ข. มีสำรับไพ่วางไว้

_____________________

การวางแผน

เมื่อพระปกเกล้าไม่อยู่กรุงเทพฯ โดยย้ายไปประทับที่วังไกลกังวล หัวหิน แผนปฏิวัติที่จะให้พระองค์ลงนามในรัฐธรรมนูญโดยตรงจึงกลายเป็นความกดดันของฝ่ายปฏิวัติแทน เพราะพวกเขามีจำนวนกันเพียงหลักร้อย และอาจสำเร็จครึ่งไม่สำเร็จครึ่ง อีกทั้งคณะก่อการยังต้องการให้ดำเนินการทั้งหมดหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อและไม่กระทบพระเกียรติของพระมหากษัตริย์เกินไป

นับจากกลุ่มคณะราษฎรเริ่มก่อตั้งโดย 7 คนหนุ่มที่ปารีส เมื่อปี 2469 ก็ขยายเชื่อมผู้นำทหารอาวุโส และขยายสมาชิกทั้งในไทยและต่างประเทศ แต่การประชุมผู้นำคณะราษฎรเพื่อวางแผนนั้นเพิ่งเริ่มเมื่อเดือนเมษายน 2475

การประชุมแต่ครั้งจะมีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 8 คน และจะวางเครื่องมือเล่นการพนันไว้ด้วย เผื่อว่าหากถูกจับกุมก็ให้ยอมรับว่ามีการมั่วสุมลักลอบเล่นการพนัน การประชุมแต่ละครั้งยังใช้เทคนิคอีกหลายอย่าง เช่น การเสนอรายชื่อผู้ก่อการปฏิวัติในรูปแบบของบัญชีสินค้า การมีคนดูต้นทาง เป็นต้น

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เล่าว่า แผนของพวกเขาเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งใกล้วันลงมือจริงก็ยังมีเปลี่ยน โดยเมื่อครั้งประชุมครั้งที่ 2 มีการเสนอให้จู่โจมยึดพระราชวังในตอนดึกและบังคับให้พระเจ้าอยู่หัวลงนาม แต่ก็มีคำแย้งว่า แผนนี้หวาดเสียวเกินไป อยากได้แผนที่ละมุนละม่อมมากขึ้น ในการประชุมครั้งต่อมา มีแผนว่า การบังคับให้พระเจ้าอยู่หัวลงนามนั้นอาจก่อให้เกิดการนองเลือด จึงเสนอให้วางแผนใหม่เพื่อให้กระทบพระเกียรติน้อยที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 2475 ผู้นำคณะราษฎร 8 คนประชุมกันที่บ้านนายประยูรหลังสถานีรถไฟสามเสน 4 คนเป็นทหารชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่ พระยาพหลฯ พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์ และพระประศาสน์ ฝ่ายคณะราษฎรหนุ่ม ได้แก่ หลวงพิบูลฯ หลวงประดิษฐ์ฯ นายตั้ว และนายประยูร โดยพระยาทรงได้เสนอ 3 แผนปฏิวัติคือ

แผนแรก ให้นัดประชุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่กระทรวงกลาโหมหรือกรมยุทธศึกษา แล้วประกาศว่าคณะราษฎรยึดอำนาจเปลี่ยนระบอบการปกครอง หากทหารคนไหนไม่เห็นด้วยก็คุมตัวไว้ และให้ทหารเข้าควบคุมตัวบุคคลสำคัญตามวังเจ้านายและบ้านข้าราชการผู้ใหญ่มาไว้ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม

แผนที่สอง ให้ควบคุมเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ตัดการสื่อสารทั้งหมด รวบรวมกำลังทหารมาชุมนุมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สับเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาหน่วยทหาร แล้วประกาศเปลี่ยนระบอบการปกครอง

แผนที่สาม ให้หน่วยทหารเข้าควบคุมสมเด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร ที่เหลือปฏิบัติตามแผนที่สอง

ที่ประชุมมติเลือกแผนสาม และกำหนดวันปฏิวัติคือวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2475

แต่ต่อมาวันปฏิวัติต้องเลื่อนเพราะวันเสาร์อาทิตย์เป็นวันพักผ่อนของกรมพระนครสวรรค์ที่จะนั่งเรือพระที่นั่งบนลำน้ำเจ้าพระยา จึงกำหนดวันปฏิวัติใหม่เป็นวันอังคารที่ 21 และถูกเลื่อนเป็นพฤหัสที่ 23 จนกระทั่งได้มติว่าเป็นวันศุกร์ที่ 24 มิ.ย.อย่างแน่นอนเพราะตอนนี้ตำรวจฝ่ายรัฐบาลก็เริ่มสงสัยและติดตามสอบสวนอย่างใกล้ชิด หากไม่รีบฝ่ายคณะราษฎรจะถูกจับกุมก็คงล้มเหลวเหมือนเมื่อ 20 ปีก่อน

6.ประกาศยึดอำนาจที่เขียนด้วยลายมือในกระเป๋าเสื้อของพระยาพระหลฯ ถูกเขียนด้วยภาษาอะไร

ก. ไทย
ข. ฝรั่งเศส
ค. เยอรมัน
ง. โปรตุเกส
จ. ภาษาลู

_____________________

เฉลย > ค. เยอรมัน
_____________________

วันปฏิวัติ

ตี 4 ของเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พระยาพหลและพระประศาสน์เดินทางออกจากบ้านพักที่บางซื่อไปยังที่นัดหมายริมทางรถไฟสามแพร่ง หรือปัจจุบันคือถนนประดิพัทธ์ฝั่งสะพานควายตัดกับทางรถไฟ เพื่อเจอกับนายทหารคนอื่น เช่น พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์, พ.ท.พระประศาสตร์พิทยายุทธ, พ.ต.หลวงพิบูลสงคราม, ร.อ.หลวงทัศไนยนิยมศึก และพ.ต.หลวงสฤษฎ์ยุทธศิลป์ โดยจะทำตามแผนการปฏิวัติตามที่ตกลงกันในที่ประชุมคณะราษฎรเมื่อ 4 วันก่อน หลังจากผ่านการเลื่อนมาหลายต่อหลายรอบ

6 โมง 5 นาที ขบวนรถหุ้มเกราะและทหารจากพลทหารจากกรมทหารม้า กรมทหารปืนใหญ่ กองพันทหารช่าง พร้อมอาวุธและลูกปืนจำนวนมากถูกนำโดยทหารบกคณะราษฎร 20 คนมาถึงลานพระบรมรูปทรงม้า ที่นั่นกองร้อยนักเรียนนายร้อยทหารบกและกองร้อยนักเรียนนายดาบรออยู่แล้ว และมีผู้บังคับการกองพันนำทหารมาดูการฝึกซ้อมยุทธวิธีในการรบอยู่ด้วย อีกทั้งทหารเรือจากกองนาวิกโยธินกว่า 100 คน ตอนนี้ทหารราบ 6 กองพันถูกลวงให้มารวมพลแล้ว 3 กองพัน ส่วนกรมทหารม้า กรมทหารปืนใหญ่ ทหารช่างและการสื่อสาร ฝ่ายคณะราษฎรยึดกุมไว้แล้ว

พระยาพหลพลพยุหเสนายืนท่ามกลางทหารที่ลานนั้น หยิบกระดาษโน้ตที่นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่าเป็นภาษาเยอรมันออกมาจากกระเป๋าเสื้อแล้วอ่าน ทั้งนี้เพื่อป้องกันกรณีที่อาจถูกจับกุมเสียก่อน ใจความสำคัญระบุว่า คณะราษฎรได้ยึดอำนาจการปกครองไว้แล้วโดยเด็ดขาด เปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ ขอความสนับสนุนจากทหารและห้ามไม่ให้ผู้ใดขัดขืนหรือสู้ ไม่อย่างนั้นจะลงโทษขั้นรุนแรง

เมื่อสิ้นเสียงประกาศปฏิวัติ สมาชิกคณะราษฎรก็พากันเปล่งเสียง “ไชโย” ดังกึกก้อง พระยาพหลและพระยาทรงเดินนำทหารจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังรั้วพระที่นั่งอนันตสมาคมที่ซึ่งควบคุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงไว้

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ระบุว่า แต่เดิมเชื่อกันว่า พระยาพหลได้อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับแรกที่เป็นฉบับยาว และมีนโยบาย 6 ข้อของคณะราษฎรที่จะเป็นนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาสร้างประเทศชาติ แต่จากงานศึกษาในระยะหลังชี้ว่า พระยาพหลน่าจะประกาศยึดอำนาจการปกครองที่ลานพระบรมรูปทรงม้าอย่างสั้นกระชับ เพราะถ้าอ่านจากประกาศคณะราษฎรฉบับยาวจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่าสิบนาที และตรงจุดที่พระยาพหลยืนอ่านประกาศตรงลานนั้น อีก 4 ปีต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม 2479 คณะราษฎรได้วาง “หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ” หรือ หมุดคณะราษฎร ทำจากทองสำริดไว้เป็นที่รำลึกการปฏิวัติ ปัจจุบันหมุดนี้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย

อย่างไรก็ดี ในช่วงเช้าวันนั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เสนาบดีว่าการกระทรวงพาณิชย์และการสื่อสารได้หลบหนีทางรถไฟเพื่อไปกราบบังคมทูลเตือนพระมหากษัตริย์ที่หัวหิน แต่ปฏิบัติการยึดอำนาจได้เสร็จสิ้นและผู้ก่อการประสบความสำเร็จไปแล้ว

ตลอดการยึดอำนาจ เจ้าหน้าที่รัฐทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนส่วนใหญ่ต่อสู้ขัดขืนเล็กน้อย แต่ได้รับความร่วมมือทั้งด้านโฆษณาชวนเชื่อ การกระจายเสียงทางวิทยุที่ช่วยกันเผยแพร่ โดยมีน้ำเสียงที่แตกต่างจากโทรเลขที่ส่งให้พระปกเกล้าอย่างมาก ในโทรเลขมีการใช้คำราชาศัพท์ใจความว่า หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออกและแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น และหากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย จนในช่วงเย็น ผู้ก่อการรู้สึกมั่นใจแล้วจึงเรียกประชุมรัฐมนตรีอาวุโสเพื่อให้สนับสนุนคณะราษฎรและขอให้กระทรวงการต่างประเทศส่งข่าวไปยังทูตต่างประเทศทั้งหมด โดยให้คำมั่นว่าจะคุ้มครองชีวิตและธุรกิจของชาวต่างชาติและบรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญาของสยามด้วย

วิกิพีเดียอ้างอิงงานศึกษาที่ระบุว่า 26 มิ.ย. 2475 พระปกเกล้าเรียกผู้ก่อการเข้าพบ และทักทายว่า "ข้าพเจ้ายืนขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะราษฎร" นับเป็นอิริยาบถที่สำคัญเนื่องจากโดยปกติพระมหากษัตริย์จะประทับนั่งเสมอและประชาชนจะถวายบังคม ปรีดีทูลขอโทษที่หมิ่นพระเกียรติในประกาศคณะราษฎร พระปกเกล้าเจ้าจึงประทับตราอภัยโทษแก่สมาชิกคณะราษฎรทุกคนจากการปฏิวัติ

จากนั้นคณะราษฎรได้ปล่อยตัวประกันทั้งหมด ยกเว้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งถูกมองว่า มีอำนาจมากเกินไป จึงกราบทูลขอให้พระองค์เสด็จออกนอกประเทศ

7.หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ก. เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา
ข. เอกราช ประชาธิปไตย เสมอภาค จริยธรรม วินัย การศึกษา
ค. ความมั่นคง คุณธรรม ปัญญา เสรีภาพ ภราภรภาพ วัฒนธรรม
ง. รัฐสวัสดิการ ความหลากหลาย เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
จ. ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กองทัพ ประชาชน รัฐธรรมนูญ

_____________________

เฉลย > ก.เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา
_____________________

ประกาศคณะราษฎรและหลัก 6 ประการ

ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์หาเป็นไปตามหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่าภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษีราชการหรือภาษีส่วนตัว ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ใช้ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว
รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษาก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง ! บ้านเมืองกำลังอัตคัตฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบ้านเมืองให้มีงานทำจึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินมีเท่าไหรก็เอาฝากต่างประเทศคอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองของแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า

๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎร อดอยาก
๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎร เช่นที่เป็นอยู่)
๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๕ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันคงจะอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ยึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริย์" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

หลัก 6 ประการของคณะราษฎร ปรากฎอยู่ในประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 และกลายเป็นนโยบายของคณะกรรมการราษฎรชุดแรก ในระบอบประชาธิปไตยของไทย และให้ใช้หลัก 6 ประการฯในการปฏิญาณตนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วย

หลัก 6 ประการของคณะราษฎรมีใจความหลักได้คือ "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา" และถูกนำไปใช้ทั้งในงานสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และรัฐพิธีในสมัยนั้น เช่น เสา 6 ต้นในอาคารหรือซุ้มต่างๆ, บัวกลุ่ม 6 ชั้นที่เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน, ป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม หรืองานประติมากรรม เลี้ยงช้างน้อยด้วยอ้อยหก ของ ผิว ทิมสา ที่มีแม่ช้างเอางวงรัดอ้อย 6 ท่อนอยู่ และมีลูกช้างหลายตัวอยู่รอบ ๆ สื่อถึงประเทศไทยที่จะเติบโตขึ้นด้วยหลัก 6 ประการ นอกจากนี้ในงานรัฐพิธีสมัยนั้น ก็นิยมประดับธง 6 ผืนพร้อมกับประดับพานรัฐธรรมนูญ เพื่อสื่อถึงรัฐธรรมนูญและหลัก 6 ประการ

8. พระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยใน พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎรโดยต่อท้ายว่าอะไร

ก. ไม่เห็นด้วย
ข. ชั่วคราว
ค. ฉบับแรก
ง. อนุมัติ
จ. รอการปรับปรุง

_____________________

เฉลย > ข. ชั่วคราว
_____________________

รัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร vs. รัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวา

หลังปฏิวัติ คณะราษฎรได้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นที่บัญชาการ และเชิญราชวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บางคนมาควบคุมไว้เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยของคณะราษฎร

วันที่ 26 มิถุนายน รัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้คณะราษฎรเข้าเฝ้าที่วังสุโขทัย หลวงประดิษฐ์มนูธรรมหรือปรีดี ผู้แทนคณะราษฎรจึงได้นำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 และร่างพระราชกำหนดนิรโทษกรรมคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ที่เตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ลงพระปรมาภิไธย พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดนิรโทษกรรม ส่วนพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามทรงรับไว้พิจารณา

1 วันถัดมา ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม โดยลงว่า “ชั่วคราว” กำกับต่อท้ายชื่อพระราชบัญญัติ เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ภายใน 6 เดือน และให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันของพระมหากษัตริย์และคณะราษฎร พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองประเทศแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศสยาม แต่บ้างก็ว่า คำว่า "ชั่วคราว" นั้นปรากฏในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 โดยระบุว่าฉบับก่อนหน้านั้นเป็นฉบับชั่วคราว

พระราชบัญญัติธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างขึ้นโดยแกนนำคณะราษฎร มี 39 มาตรา แบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ อำนาจของกษัตริย์, อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร, อำนาจของคณะกรรมการราษฎรและอำนาจศาล

มาตรา 1 ความว่า "อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย" รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยยกเลิกพระราชอำนาจโบราณ เช่น การยับยั้งกฎหมาย การพระราชทานอภัยโทษ และพระราชสิทธิในการยืนยันผู้สืบราชสมบัติและรัชทายาท กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าวจำกัดอำนาจทั้งหมดของพระมหากษัตริย์ โดยยังไม่ได้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการราษฎรเป็นฝ่ายบริหาร และสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาที่ได้มาจากการแต่งตั้ง 70 คนอีกด้วย

ช่วงบ่ายของวันอังคารที่ 28 มิถุนายน ได้มีการเปิดสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารของคณะราษฎรแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 70 คน สภาผู้แทนฯเลือกประธาน และรองประธานสภาผู้แทนฯ ประธานคณะกรรมการราษฎรเลือกคณะกรรมการราษฎร 14 คนและได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 7 คนเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนถัดมา กลายเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาฯ

อันที่จริงก่อนหน้าการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยังมีร่างรัฐธรรมนูญที่รัชกาลที่ 7 ดำริให้ที่ปรึกษายกร่างขึ้นแต่ไม่เคยประกาศ ฉบับแรกเป็นของพระยากัลยาณไมตรีหรือฟรานซิส บี.แซร์ มีทั้งหมด 12 มาตราเรียกว่า “Outline of Preliminary Draft ร่างเสร็จสิ้นในปี 2467 ให้อำนาจอธิปไตยและอำนาจสูงสุดทางนิติบัญญัติเป็นของพระมหากษัตริย์ โดยสามารถตั้งนายกรัฐมนตรี อภิรัฐมนตรีและถอดถอนองคมนตรีได้ และระบุให้นายกรัฐมนตรีต้องกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ เพื่อขอรับบรมราชวินิจฉัยโดยต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการ

นอกจากนี้ยังมีร่างของพระยาศรีวิสารวาจาเมื่อปี 2474 โดยเรียกร่างนี้ว่า เค้าโครงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ร่างดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบของการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติ ตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย มีใจความเช่น พระมหากษัตริย์สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติเลือกตั้งครึ่งหนึ่งและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ไม่เกินครึ่งหนึ่ง

อย่างไรก็ดีมีคนมองว่า ร่างรัฐธรรมนูญของพระยาศรีวิสารวาจาดังกล่าวเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกรูปแบบหนึ่งแต่ไม่ใช่ประชาธิปไตยและร่างนี้ถูกคัดค้านเนื่องจากมองว่า ไทยไม่สมควรที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะนั้นเพราะประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปกครองตนเอง และมองว่าปัญหาขณะนั้นไม่ได้อยู่ที่มีหรือไม่มีนายกรัฐมนตรี แต่เป็นเรื่องการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างนี้จึงไม่ได้ถูกพระราชทาน

ในที่สุดหลังใช้พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวปี 2475 ได้ 6 เดือน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 หรือเรียกว่า ฉบับ 10 ธันวาฯ ก็ถือกำเนิด โดยมีทั้งหมด 68 มาตราแบ่งเป็น 7 หมวด ได้แก่ หมวด 1 พระมหากษัตริย์ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร หมวด 4 คณะรัฐมนตรี หมวด 5 ศาล หมวด 6 บทสุดท้าย เป็นหมวดพิเศษเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และหมวด 7 การใช้รัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล โดยมีใจความบางส่วนว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ทรงมีพระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ลงนามในสัญญาสันติภาพ ทำสนธิสัญญา พระราชทานอภัยโทษ ปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนยุบสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ยังสามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้ กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 2 ประเภท คือจากการเลือกตั้ง และจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ อีกทั้งกำหนดให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปอยู่เหนือการเมือง

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 พบความแตกต่างสำคัญ 3 ข้อคือ
1.ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจลดลง สามารถถูกยุบโดยพระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา นอกจากนี้ยังกำหนดให้สภาฯ มีอำนาจในการตราพระราชบัญญัติและพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีด้วย

2.ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีมีอำนาจมากขึ้น ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีจำนวน 14 - 24 คน มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาฯ มีอำนาจในการตราพระราชกำหนด และกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย รวมทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร

3. ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ได้พระราชอำนาจคืนมากขึ้น ดังที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ละเมิดมิได้ อีกทั้งทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติทางสภา ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล มีพระราชอำนาจพระราชทานอภัยโทษและยกฐานะให้พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าอยู่เหนือการเมือง

9. สาเหตุที่ทำให้พระยามโนปกรณ์ฯ นายกรัฐมนตรีคนแรกปิดรัฐสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราคืออะไร

ก. ต้องการปฏิรูปการศึกษาก่อน
ข. มีความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์
ค. มีปัญหาสุขภาพอย่างหนัก
ง. เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ
จ.ต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่

_____________________

เฉลย > ง. เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ

_____________________

การรัฐประหารครั้งแรก

ต้นเหตุที่นำไปสู่การปิดสภาของพระยามนโนปกรณ์ฯ มาจากความขัดแย้งภายในสภา หลังหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอ “เค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ” ที่ให้รัฐออกพันธบัตรซื้อที่ดินทำกินทั้งหมด ทำให้ชาวนาชาวไร่มีสภาพเป็นลูกจ้างรัฐ จึงถูกโจมตีอย่างหนักว่า เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ ดังพระบรมราชวินิจฉัยของรัชกาลที่ 7 ที่ว่า โครงการนี้เหมือนกับโครงการที่ประเทศรัสเซียใช้อยู่ หากแต่ในสมัยถัดมา นักประวัติศาสตร์หลายคนชี้ว่า เค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดีมีลักษณะเป็นแบบสหกรณ์เต็มรูปแบบซึ่งไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน และยังมีหลักประกันสังคมให้แก่ประชาชนนับตั้งแต่เกิดจนถึงตาย อันเป็นหลักการของรัฐสวัสดิการก้าวหน้า มิใช่ระบอบคอมมิวนิสต์อย่างที่ถูกกล่าวหา

เหตุการณ์เริ่มขึ้นในระหว่างประชุมสภาวันที่ 31 มี.ค. 2476 พระยามโนปกรณ์และพระยาทรงสุรเดชอ้างเหตุว่า การประชุมวันก่อนมีสมาชิกพกอาวุธเข้าที่ประชุม จึงนำกำลังทหารประมาณหนึ่งกองร้อยมาควบคุมการประชุมของสภา จนคนโจมตีการใช้อำนาจของพระยามโนปกรณ์ว่าเป็นเผด็จการ

วันรุ่งขึ้น 1 เม.ย. 2476 เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบเดิม รัฐบาลพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทำให้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติทั้งหมดไปขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจของกษัตริย์ในรูปของพระราชกฤษฎีกา และได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ โดยไม่ผ่านการพิจารณาของสภาเพื่อบีบให้หลวงประดิษฐ์ฯ ต้องเดินทางไปต่างประเทศ ในช่วงนี้มีหนังสือพิมพ์หลายหัวไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจของพระยามโนปกรณ์และถูกสั่งปิดด้วยข้อหาเป็นเสี้ยนหนามต่อแผ่นดิน หรือผิดตาม พ.ร.บ. คอมมิวนิสต์

นักประวัติศาสตร์นับว่า นี่คือการรัฐประหารครั้งแรกของประเทศ

หลังประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รัฐบาลดูเหมือนจะควบคุมสถานการณ์การเมืองได้ดี จนกระทั่งกลางเดือน มิ.ย. 2476 ความตึงเครียดเริ่มเกิดขึ้นเมื่อ 4 ทหารเสือคณะราษฎรได้แก่ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และพระประศาสน์พิทยายุทธ ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโดยอ้างว่ามีอาการเจ็บป่วยและระบุวันลาออกล่วงหน้าเป็น 24 มิ.ย. 2476

หลังจากการลาออกมีการโยกย้ายตำแหน่งหลายครั้งตามความพอใจ จนสุดท้ายข่าวการย้ายล่าสุดเล็ดลอดออกมาว่า พ.อ.พระยาศรีสิทธิสงครามจะออกคำสั่งด่วนย้ายนายทหารผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้พ้นไปจากการบังคับบัญชาหน่วยทหาร คณะราษฎรจึงรวมกำลังโดยมีหลวงพิบูลสงครามเป็นหัวหน้าฝ่ายทหารบก หลวงศุภชลาศัยเป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือ และเชิญพระยาพหลพลพยุหเสนามาเป็นผู้นำของคณะทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

การรัฐประหารเกิดขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 20 มิ.ย. 2476 กำลังเข้ายึดและควบคุมที่ทำการรัฐบาลและจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในพระนคร เช่น วังปารุสกวัน พระที่นั่งอนันตสมาคม กระทรวงกลาโหม สำนักงานไปรษณีย์กลาง โดยมีหลวงโกวิท อภัยวงศ์ ตัดการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ และมีกำลังทหาร รถเกราะคุมประตูวิเศษชัยศรี พระบรมมหาราชวังซึ่งเป็นทำเนียบรัฐบาลในขณะนั้น ส่วนหนึ่งบุกจับกุมพระยามโนปกรณ์นิติธาดาและบุคคลสำคัญในรัฐบาลและบังคับให้ลาออก เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น

เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎรกราบบังคมทูลลงพระปรมาภิไธยในประกาศแต่งตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 21 มิ.ย. 2476 และการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญก็เริ่มขึ้นอีกครั้งในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังจากที่ปิดไปเป็นเวลากว่า 81 วัน การยึดอำนาจในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดจบทางการเมืองของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

10. หลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายกบฏบวรเดช พวกเขาถูกคุมขังที่ไหน

ก. เรือนจำบางขวาง
ข. โรงเรียนพลตำรวจบางเขน
ค. เขาชีจรรย์
ง. เนรเทศออกนอกประเทศ
จ. เกาะตะรุเตา

_____________________

เฉลย > ก. เรือจำบางขวาง และ จ.เกาะตะรุเตา

_____________________

กบฏบวรเดช

หรือ คณะกู้บ้านเมือง เกิดขึ้นเมื่อ 11 ต.ค. 2476 เป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ และข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" ระบุถึงแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การถือครองและการเช่าที่ดิน การจัดรัฐสวัสดิการ การแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่างๆ

ชนวนเหตุของการก่อกบฏเกิดขึ้นตั้งแต่ความวุ่นวายเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ที่ทำให้พระองค์เจ้าบวรเดชและนายพลโดนปลดจนเกิดความไม่พอใจรัฐบาล และมองว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย. 2475 เป็นเพียงการรัฐประหารไม่ใช่การปฏิวัติ

ข้อเสนอของกบฏบวรเดชต่อรัฐบาลมี 6 ข้อคือ ต้องทำให้สยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญชั่วกัลปาวสาน, ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะการตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาล, ข้าราชการตำแหน่งประจำการต้องอยู่นอกการเมือง และไม่ตัดสิทธิข้าราชการในการยึดถือลัทธิการเมืองใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ให้ใช้อำนาจหรือโอกาสในตำแหน่งเพื่อสนับสนุนเผยแผ่, การแต่งตั้งบุคคลต้องถือคุณวุฒิความสามารถเป็นหลักโดยไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องทางการเมือง, ให้พระเจ้าอยู่หัวเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง และกองทัพต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น

เหตุการณ์กบฏบวรเดชเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทรงสละราชสมบัติในเวลาต่อมา

ปัจจุบันอนุสาวรีย์ที่รำลึกเหตุการณ์การปราบกบฏบวรเดชตั้งอยู่บริเวณหลักสี่ กรุงเทพฯ มักเรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" โดยที่ชื่อจริงคือ อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชและปัจจุบันอนุสาวรีย์ดังกล่าวได้ถูกเคลื่อนย้ายไปแล้วโดยไม่ทราบแน่ชัดว่าย้ายไปอยู่ที่ใด

หลังกบฏบวรเดชถูกปราบ พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและภรรยาบินหนีไปยังเวียดนาม

นักโทษคนอื่นถูกคุมขังในที่ต่างๆ จนเมื่อศาลพิเศษพิพากษาก็นำตัวมาจำคุกที่แดน6 มหันตโทษ(บางขวาง)ทั้งหมด จนกระทั่งราชทัณฑ์ตั้งนิคมนักโทษที่ตะรุเตาจึงย้ายนักโทษการเมืองบางส่วนไปไว้ที่นั่น
เมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกจึงย้ายนักโทษการเมืองจากตะรุเตามาไว้ที่เกาะเต่า

หนังสือ 'ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อฯ' ของณัฐพล ใจจริง ระบุตอนหนึ่งว่า ศาลพิเศษ พ.ศ.2476 ตัดสินลงโทษบุคคลที่เข้าร่วมเคลื่อนไหวครั้งนี้ฐานก่อกบฏ มีโทษถึงประหารชีวิต(แต่ได้รับการลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทน) และจำคุกในระยะเวลาต่างๆ ตามแต่ความผิดของแต่ละคน มีจำนวนผู้ถูกตัดสินลงโทษทั้งหมด 250 คน ถูกปลดจากราชการ 117 คน

ข้อมูลของไทยรัฐระบุว่า เรือนพักนักโทษบนตะรุเตาเป็นเรือนขนาดใหญ่ อยู่หลายคน นักโทษหญิงจะอยู่ในพื้นที่จัดพิเศษ นักโทษต้องทำงานอย่างหนัก ถูกตีตรวน หากหลบหนีหรือขัดขืนก็จะถูกยิงตาย กระทั่งปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในวันที่ 1 ส.ค. 2487 นักโทษการเมืองจึงต่างพ้นมลทินในที่สุด ต่อมาในเดือนมีนาคม 2489 คุกตะรุเตาถูกปิดตัวลง รัฐบาลไทยประกาศถอนการหวงห้ามของกรมราชทัณฑ์ และกำหนดให้หมู่เกาะตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติ

ขอขอบคุณห้องเรียนประวัติศาสตร์ @LINE อาจารย์ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์

- ปฏิวัติ 2475 1932 REVOLUTION IN SIAM (ชุดประวัติศาสตร์ร่วมสมัย 2), ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคณะ
- เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475, ศรีบูรพา
- เหตุการณ์ รศ.130 https://bit.ly/3hYPgiq
- การปฏิวัติสยาม 2475 https://bit.ly/2VcZfXK , https://bit.ly/3hXPB5e
- คณะราษฎร https://bit.ly/2B26DhK
- คำกล่าวบังคมทูล https://bit.ly/319RsxH
- สาเหตุการปฏิวัติ https://www.silpa-mag.com/history/article_49539
- มายาคติเกี่ยวกับการปฏิวัติ https://www.the101.world/the-myths-of-2475/
- หลัก 6 ประการ https://bit.ly/3eyxdxC
- ประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 https://prachatai.com/journal/2007/06/13231 , https://bit.ly/3805R0P
- ร่างรัฐธรรมนูญสมัยคณะราษฎร https://prachatai.com/journal/2017/04/71108
- พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครอง https://bit.ly/2Ytivm4
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับที่ 1 https://bit.ly/2CANKDc , https://bit.ly/2Bw4lYm
- รัฐประหาร 20 มิ.ย.2476 https://bit.ly/2Z0ybMw , https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_469
- กบฏบวรเดช https://bit.ly/37Y554l
- คุกตะรุเตา https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1614418
- เสวนาปฏิวัติ 2475 https://www.youtube.com/watch?v=RLQyk-TeNWQ
- 7 ผู้สถาปนาคณะราษฎร https://www.voicetv.co.th/read/qNSJoXBGl

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

แอมเนสตี้เรียกร้องให้ทางการไทยหยุดคุกคามนักกิจกรรมที่จะรำลึก 88 ปี อภิวัฒน์สยาม

$
0
0

หลังจากเกิดกรณีคุกคามนักกิจกรรมในจังหวัดยโสธร-สุรินทร์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยหยุดคุกคามนักกิจกรรมที่นัดกันออกมาทำกิจกรรมรำลึกคณะราษฎรที่อภิวัฒน์สยามเมื่อ 24 มิ.ย. 2475 หรือ 88 ปีที่แล้ว

24 มิ.ย.2563 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทยต้องยุติการคุกคามนักกิจกรรมที่จะจัดชุมนุมรำลึกการอภิวัฒน์สยาม 24 มิ.ย. 2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งกิจกรรมจะเกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งในบางพื้นที่มีการอ้างใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สกัดการทำกิจกรรมโดยอ้างว่าเป็นการป้องกันการระบาดของโควิด-19 โดยเนื้อหาของแถลงการณ์มีดังนี้

จากการรายงานข่าวที่มีการระบุว่า นักกิจกรรมจำนวนหนึ่งถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ จากการชุมนุมรำลึกวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามตัวนักกิจกรรมถึงที่พักอาศัย โทรศัพท์ข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม เจรจาไม่ให้ผู้ชุมนุมใช้สถานที่ รวมถึงการขอข้อมูลส่วนตัวของผู้เข้าร่วมชุมนุมจากผู้จัด

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แถลงว่าทางการไทยต้องยุติการดำเนินการใดๆ เพื่อคุกคามหรือสร้างความหวาดกลัวในการทำงานของนักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและบุคคลอื่น ๆ ให้สามารถใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และการชุมนุมอย่างสงบ โดยปราศจากการข่มขู่ คุกคามและการฟ้องร้องดำเนินคดี

“รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของทุกคนในประเทศ รวมถึงผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองด้วย เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างถ้วนหน้า”

“การดำเนินการตามมาตรการเพื่อรับกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องเป็นไปอย่างได้สัดส่วนและเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น รัฐบาลต้องหลีกเลี่ยงการสร้างข้อจำกัดต่อการชุมนุมอย่างสงบในที่สาธารณะใด ๆ เมื่อผ่านพ้นช่วงการกักตัว โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ชุมนุมจัดให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในระหว่างการประท้วง”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังระบุเพิ่มเติมว่า ขอให้ทางการไทยประกันให้เกิดสภาพแวดล้อมที่บุคคลทุกคนสามารถรวมตัว แสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นได้อย่างสงบ พร้อมทั้งหยุดดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เคลื่อนไหวอย่างสงบ และยังเรียกร้องทางการไทยให้ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่จะไม่ควบคุมตัว คุกคาม หรือลงโทษบุคคลเพียงเพราะการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกหรือการชุมนุมอย่างสงบ

หลายกิจกรรมไม่ได้จัด

กิจกรรมรำลึกครบรอบ 88 ปี อภิวัฒน์สยาม 24มิ.ย.2475 ในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะได้จัดจนเสร็จสิ้นกิจกรรม แม้ว่าจะพบอุปสรรคจากการเข้าขัดขวางของตำรวจ แต่หลายกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้น เนื่องจากผู้จัดถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามหรือเจ้าของสถานที่ไม่ให้จัด ประชาไทจึงได้รวบรวมเพิ่มเติมมารายงาน

กรุงเทพฯ - หลังจากกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยสามารถจัดฉายภาพจำลองเหตุการณ์พระยาพหลพยุหเสนาอ่านประกาศคณะราษฎรได้สำเร็จ แต่ภายหลังกิจกรรมขณะที่นักกิจกรรมกำลังแยกย้าย เจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบไม่ทราบสังกัดชัดเจนพยายามเข้าจับกุมปิยรัฐ จงเทพ โดยไม่ได้ระบุถึงสาเหตุการจับกุม ทำให้ปิยรัฐหลบเลี่ยงหนีไป ก่อนที่ภายหลังเขาจะเดินทางเข้ามอบตัวกับตำรวจ สน.ชนะสงคราม เนื่องจากมาทราบทีหลังว่าตัวเองถูกออกหมายจับจากการทำกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และหลังมอบตัวเขาก็ถูกส่งตัวไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน

อีกหนึ่งกรณีเกิดขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกลุ่ม KMITL Political ต้องยกเลิกกิจกรรมอ่านประกาศคณะราษฎรไปเนื่องจากทางสถาบันฯ และตำรวจแสดงความกังวลเรื่องการระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้จัดต้องไลฟ์อ่านประกาศคณะราษฎรแทน

ร้อยเอ็ด - พลังนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย ร้อยเอ็ด แจ้งเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นการไลฟ์อ่านประกาศคณะราษฎรผ่านเฟซบุ๊ก จากเดิมที่จะจัดขึ้นที่หน้าเสาธง ข้างสระแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เนื่องจากสำนักกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยไม่ให้จัดโดยอ้างเรื่องความเสี่ยงในการควบคุมโควิด-19 และยังอยู่ระหว่างมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

สุราษฎร์ธานี - แม้ว่า สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และขบวนการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย (ขปท.) จะจัดงานเสวนา "ครบรอบ 88 ปี  24 มิถุนายน 2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สู่ประชาธิปไตย แบบออนไลน์โดยการไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กแล้ว แต่ก็ยังต้องเลิกก่อนกำหนดการ 11 ชั่วโมง เพราะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองติดต่อสอบถามการจัดเวทีดังกล่าวและยังเดินทางมาสกัดถึงสถานที่จัดงานที่ชุมชนคลองไทรพัฒนา ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี อีกด้วย

ยโสธร - กลุ่มคนรักษ์ประชาธิปไตยจังหวัดยโสธร ต้องเปลี่ยนเวลานัดทำกิจกรรม 'จุดเทียนตามหา ประชาธิปไตย' ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์พระสุนทรราชวงศา สวนสาธารณะบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร จาก 17.30 น. เป็น 5.30 น.แทน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่รัฐโทรศัพท์กดดันห้ามจัดกิจกรรม หากไม่ทำตามจะดำเนินคดี ทำให้กลุ่มตกลงกันว่าเพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมต้องถูกดำเนินคดีไปด้วย จึงทำให้กิจกรรมเรียบง่ายขึ้นและเหลือผู้ทำกิจกรรมเพียง 4 คน

สุรินทร์ - สมาชิกกลุ่มเยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตย ต้องยุติกิจกรรมอ่านประกาศคณะราษฎรไปเนื่องจากตำรวจสามนายและผู้ใหญ่บ้านไปพบที่บ้าน คุยว่าไม่อยากให้จัดกิจกรรม และยกเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ที่นักศึกษาถูกฆ่ามาพูดทำนองข่มขู่ พร้อมแจ้งว่าหากมีการละเมิดกฎหมายก็จะดำเนินคดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
24 มิถุนายน ไปไหนดี?

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ศิลปินกราฟฟิตี้ ถูกคุกคามกลางดึกหลังโพสต์ภาพ 'ปรีดี-คณะราษฎร์' บนกำแพงวัดราชนัดดาฯ

$
0
0

ศิลปินกราฟฟิตี้โพสต์แจ้งถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบคุกคามกลางดึก หลังโพสต์ภาพฉายโปรเจคเตอร์รูปปรีดีและคณะราษฎรบนกำแพงวัดราชนัดดาฯ ในวันครบรอบ 88 ปี อภิวัฒน์สยาม 24 มิ.ย.2475

25 มิ.ย.2563 เวลา 0.23 น. Headache Stencil ศิลปินกราฟฟิตี้เสียดสีการเมือง โพสต์ลงเพจของตนว่ามีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจำนวน 4 นาย มารอพบที่คอนโดมิเนียมที่เขาพักอาศัย โดยเขายังระบุอีกว่าเจ้าหน้าที่มาโดยไม่ได้แสดงหมาย และแจ้งว่ามาเพื่อดูแลเท่านั้น

 

ภายหลังเขาได้โพสต์ว่าตนอยู่ในที่ปลอดภัยแล้วและในตอนเช้าเขาได้โพสต์ภาพจากกล้องวงจรปิด เป็นภาพชายในชุดไปรเวทจำนวน 4 คน เข้าไปที่บริเวณใต้คอนโดมิเนียมของเขา โดยในภาพกล้องวงจรปิดระบุเวลาว่า 22.33 น.

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่เขาโพสต์ภาพการฉายโปรเจคเตอร์ภาพปรีดี พนมยงค์ บริเวณโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร และภาพเหตุการณ์ทำอภิวัฒน์สยามของคณะราษฎร ในเวลาประมาณ 1.00 น. ของวันที่ 24 มิ.ย. 2563 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 88 ปี คณะราษฎรทำการอภิวัฒน์สยามเมื่อปี 2475

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ Headache Stencil โพสต์ลงเพจเมื่อ 24 มิ.ย.2563 เวลา 1.00 น.

มือกราฟิตี้ 'นาฬิกาประวิตร' ระบุถูกไล่ล่า คุกคามบ้านคนรู้จัก

มือกราฟิตี้ 'นาฬิกาประวิตร' เผยจบเรื่องแล้ว หลังจ่ายค่าปรับคดีทำลายทรัพย์สินสาธารณะ

ทั้งนี้เขาเคยถูกคุกคามในลักษณะนี้มาก่อนแล้ว เมื่อครั้งที่เขาพ่นภาพกราฟฟิตี้นาฬิกาปลุกที่มีภาพใบหน้าพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ บนสะพานลอยแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิท จนสุดท้าย 6 ก.พ.2559 เขาต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกปรับเป็นเงิน 3,000 บาทด้วยข้อหาร่วมกันขูด ขีด กะเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ที่กำแพง ที่ติดกับถนน บนถนน หรืออยู่ในที่สาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาต

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กัมพูชารับทุน รบ. จีน ฝึกทูตพม่า ลาว กัมพูชารับมือประเด็นออนไลน์

$
0
0

รมว.ต่างประเทศกัมพูชา เซ็นรับกองทุนความร่วมมือจากรัฐบาลจีนจำนวน 223 ล้านบาท หนึ่งในนั้นมีโครงการมูลค่า 15 ล้านบาท ให้สถาบันด้านการทูตของกัมพูชาสร้างเสริมศักยภาพด้าน "การทูตไซเบอร์" ฝึกเทคนิค กรอบคิดให้นักการทูตพม่า กัมพูชา ลาวจัดการและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ บนโลกไซเบอร์

ซ้ายไปขวา: หวัง เวิ่นเทียน และปรั๊ก สุคน จับมือระหว่างพิธีลงนามข้อตกลงกองทุนพิเศษด้านความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (ที่มา:Facebook/ Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation - Cambodia)

เมื่อ 24 มิ.ย. 2563 สถาบันแห่งชาติด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (NIDIR) เผยแพร่เอกสารว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (23 มิ.ย.) ปรั๊ก สุคน (Prak Sokhonn) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงกิจการและความร่วมมือต่างประเทศของกัมพูชา ได้ลงนามร่วมกับหวัง เวิ่นเทียน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำกัมพูชา ในโครงการความร่วมมือภายใต้กองทุนพิเศษด้านความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ปี 2563 

กองทุนดังกล่าวมีมูลค่า 7,225,400 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 223.3 ล้านบาท) เพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ อาทิ สังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรมนุษย์ ความมั่นคงไซเบอร์ การท่องเที่ยว การบริการ สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองด้านวัฒนธรรม ฯลฯ 

ภายใต้กองทุนดังกล่าว สถาบันแห่งชาติด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (NIDIR) ได้รับทุนพิเศษภายในชื่อโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพด้านการทูตไซเบอร์” ในจำนวนเงิน 498,740 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 15.4 ล้านบาท) โดยมี Chhiv Yiseang เป็นผู้อำนวยการโครงการ โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับนักการทูตในกัมพูชา ลาว พม่า ในเรื่องการทูตไซเบอร์ เพื่อให้สามารถนำเทคนิคและชุดความคิดด้านการทูตไปวิเคราะห์และจัดการประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์

เอกสารยังระบุว่ารัฐบาลจีนได้สนับสนุนสถาบัน NIDIR มาตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มด้วยการบริจาคอุปกรณ์ด้านสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อปี 2561 และ 2563

ภาพเอกสาร (ที่มา:Facebook/ National Institute of Diplomacy and International Relations - NIDIR)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการข้างต้นเกิดขึ้นหลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จีนมากขึ้นตามประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะในประเด็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงหลังมีผลการศึกษาของ อายส์ ออน เอิร์ธ อิงค์ (Eyes on Earth)บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาด้านน้ำที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ เผยแพร่รายงานเรื่องระดับน้ำที่เปลี่ยนไปจากธรรมชาติ อันเป็นผลจากการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงจำนวนมาก ทำให้ทางการจีนต้องออกมาปฏิเสธ

สถานทูตจีนลงบทความ ยืนยันเขื่อนจีนไม่มีผลทำให้ลุ่มน้ำโขงตอนล่างแห้งแล้ง

สถานทูตสหรัฐฯ โพสต์บทความห่วงแม่น้ำโขงเหมือนกัน

ชวนดูความร่วมมือ ‘แม่โขง-ล้านช้าง’ กับความพยายามคุมเกมบนแม่น้ำโขงของจีน

ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMC) ถูกเสนอขึ้นโดยหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน ในเวทีประชุมผู้นำจีน-อาเซียน ที่พม่าเมื่อปี 2557 กรอบความร่วมมือ LMC ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2559 ที่เมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ประเทศจีน โดยมีนายกฯ ไทยและจีนเป็นประธานร่วม มีประเทศลุ่มน้ำโขงอีก 4 ประเทศเป็นสมาชิก มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับภูมิภาคอื่น ๆ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนในภาพรวม

ปัจจุบัน กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ไทย และจีน

ก่อนหน้าที่จะเกิดกรอบความร่วมมือ LMC ขึ้น ประเทศลุ่มน้ำโขงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีข้อตกลงความร่วมมืออีกชุดหนึ่งที่ชื่อว่า คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission -  MRC) ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศของไทยรายงานว่า ความร่วมมือดังกล่าวจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2500 โดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจสำหรับเอเชียและตะวันออกไกล โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจจากผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 และปัญหาน้ำท่วมของประเทศลุ่มน้ำในภูมิภาค แต่ประเทศสมาชิกมีเพียง 4 ประเทศได้แก่ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ส่วนจีนและพม่านั้นมีปัญหาการเมืองภายในและไม่ได้เข้าร่วม

รศ. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Institute of Security and International Studies - ISIS) เคยให้ความเห็นว่า การจัดตั้งความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (Lancang – Mekong Cooperation) สะท้อนว่าจีนไม่เล่นตามกติกาที่จีนไม่ใช่คนตั้ง ประเทศขนาดเล็กที่อยู่ตามลุ่มน้ำโขงก็ต้องยอมจีน ถ้าหากประเทศในอาเซียนทั้งบนบกและผืนน้ำไม่ผนึกกำลังกันใช้อำนาจต่อรองในการร่วมมือทางการทูตกับกับจีนโดยเอาประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย มาคานอำนาจกับจีน กลุ่มประเทศเหล่านี้จะเสียเปรียบจีนมากขึ้นเรื่อยๆ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai
Viewing all 58331 articles
Browse latest View live


<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>