Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58336 articles
Browse latest View live

ส่งท้ายปี Quotes of the Year (4): ‘เราคืออากง’ และ ‘ขอแชร์นะ’

$
0
0

ส่งท้ายปี ทีมประชาไท รวบรวมคมคำเด็ดๆประจำปีที่กลายเป็นวลีและประโยคฮิตทั้งในสังคมออฟไลน์และออนไลน์ ย้อนความทรงจำที่มาที่ไป และแรงกระเพื่อมจากถ้อยคำ ซึ่งหลายคำกลายเป็นผลสะเทือนต่อคนพูดเอง ขณะที่อีกหลายถ้อยคำ ก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างหลากหลาย แต่ที่แน่ๆ ล้วนถูกพูดขึ้นมาในจังหวะร้อนและสะท้อนความสนใจของสังคมไทยในสถานการณ์ที่ช่วยก่อกำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา

0 0 0

สำหรับ Quotes of The year ประจำปีนี้ ประชาไทขอยกให้กับวลี/ประโยคเหล่านี้

 

เราคืออากง

เราคืออากง

“อากง” คือคำเรียกติดปาก หมายความถึง “อำพล” ผู้ต้องขังคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ วัย 61 ปี แต่สภาพดูแก่ชราราวอายุ 70 ปี ผู้ริเริ่มเรียกอากงคนแรกคือ อานนท์ นำภา ทนายความของเขาเอง ซึ่งเป็นการเรียกเลียนแบบหลานๆ ของอำพลทั้ง 5 คน กรณีของอากงเป็นคดีหมิ่นพระบรมเดชานาภพที่สร้างความสั่นสะเทือนในสังคมได้สูงสุดเท่าที่เคยมีมาก็ว่า โดยเฉพาะใน Social Network อย่าง Facebook มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเรื่องโทษจำคุก 20 ปีจาก 4 ข้อความ SMS ซึ่งหลักฐานสำคัญคือ EMEI เครื่องโทรศัพท์ ซึ่งยังเถียงกันไม่จบว่าน่าเชื่อถือเพียงใด แค่ไหนจึงจะน่าเชื่อถือ น่าเสียดายที่พยานจำเลยในคดีนี้ไม่มีผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความเพื่อให้ข้อมูลทางเทคนิคสู้กันจนสุดลิ่มทิ่มประตู เหตุเพราะไม่มีใครกล้ามาเป็นพยานให้คดีลักษณะนี้

“เราคืออากง” คนที่เริ่มต้นคำนี้เห็นจะเป็นแอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาแชล อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ ผู้กุมข้อมูลลับของสังคมไทยผ่านเอกสารวิกิลีกส์ เขาโพสต์ข้อความนี้สั้นๆ ในเฟซบุ๊คส่วนตัว จากนั้นมันเริ่มระบาดเหมือนเพลี้ยในนาข้าว คำนี้ได้ผนวกเอาตัวผู้พูด (หรือผู้ที่คิดจะพูด) เข้ากับตัวของ “อากง” ซึ่งถูกจำคุก 20 ปี เพื่อสะท้อนถึงเพดานของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ต่ำมาก รวมทั้งคุกที่อาจรอ “เรา” ทุกคนอยู่เหมือนๆ กันเมื่อมาตรา 112 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

เราคืออากง

“กลุ่มเราคืออากง” เป็นกลุ่มนักกิจกรรมที่สนใจเรื่องประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออก มีฐานที่มั่นอยู่ใน facebook และมีการจัดกิจกรรม เช่น จัดแสดงศิลปะกลางแจ้ง “แท่งอัปลักษณ์” เพื่อแสดงสถิติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เราคืออากง

“ฝ่ามืออากง” ไม่นานหลังจากนั้น ปวิณ ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการไทยที่ไปเป็นนักวิจัยที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ก็ลุกขึ้นมาทำการรณรงค์ง่ายๆ ที่ทุกคนร่วมทำได้นั่นคือ การเขียน คำว่า “อากง” หรือบางคนก็เขียน “ปล่อยอากง” บนฝ่ามือตนเองแล้วเผยแพร่บน facebook โดยการรณรงค์นี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการ “ก้าวข้ามความกลัว” (abhaya-อภยาคติ-fearlessness) ของพม่า ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอองซาน ซูจี เพื่อสนับสนุนความกล้าหาญให้แก่นักโทษทางการเมืองจำนวนมากในพม่า ฝ่ามืออากงได้แพร่ระบาดออกไปนอกเหนือจากแวดวงนักกิจกรรม นักวิชาการหรือคนที่สนใจเรื่องมาตรา 112 เป็นทุนเดิม

เราคืออากง

“ก้าวข้ามความกลัว” ผลงานจากการรณรงค์ของปวิณ ถูกรวบรวมนำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือ “Thailand’s Fearlessness Free Akong ก้าวข้ามความกลัว” ซึงปรากฏภาพของฝ่ามือนับร้อยที่รวบรวมได้จาก facebook รวมถึงข้อเขียนของปวิณ และบทความเกี่ยวกับสถิติคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยปกหลังของหนังสือเล่มนี้เขียนไว้ว่า “โครงการ ‘Thailand’s Fearlessness: Free Akong’ มีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นในการเรียกร้องให้ปล่อยตัวอากง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด และผลักดันให้มีการปฏิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 เพื่อให้ไทยได้เป็นอายะประเทศสมบูรณ์แบบ”

เราคืออากง

“อาม่า สยบอากง” ผลสืบเนื่องเล็กน้อยในอีกฝั่งหนึ่ง เห็นจะเป็นการเขียน “อาม่าสยบอากง” บนฝ่ามือเช่นกัน ซึ่งแม้จะเป็นเพียงการแสดงออกที่ไม่ได้มุ่งเน้นเป็นการรณรงค์ให้เป็นกระแส แต่ก็สะท้อนให้เห็นความคิดเห็นที่ยังแตกต่างอย่างสุดขั้วภายในสังคมไทย ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลาในการถกเถียงกันอีกยาว (ถ้าคนเถียงไม่ถูกจับติดคุกหมดไปเสียก่อน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

0 0 0 0 0 0

 

"ขอแชร์นะ"

ในปีที่โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างเฟซบุ๊กกำลังเฟื่องฟู เช้า-สาย-บ่าย-เย็น หลายคนเป็นต้องแวะเข้ามาอัพสเตตัส กดไลค์ กดแชร์ หรือมาดูว่ามีใครมาไลค์ มาเม้นต์อะไรบ้าง เกิดประโยคติดปาก-ติดนิ้วของผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทย "ขอแชร์นะ/นะคะ" เมื่อเห็นลิงก์-ข้อความที่สนใจ และอยากนำไปเผยแพร่ต่อให้เพื่อนของตัวเองรับรู้ แม้ว่าเฟซบุ๊กจะมีปุ่ม share หรือ แบ่งปัน ให้กดได้ทันทีอยู่แล้วก็ตาม

ช่วงพีคสุดของภาวะ "ขอแชร์นะ" ในปีนี้คือ ช่วงน้ำท่วมใหญ่ที่ข้อมูล-ข่าวสารท่วมจอมาตามๆ กัน ข้อมูลบางเรื่องเกิดจริง ณ จุดเวลาหนึ่ง แต่ถูกสรุปไปแบบหนึ่ง บางเรื่องเป็นเรื่องแต่งล้วนๆ บวกภาพประกอบถูกรสนิยม หลายคนกดแชร์ข้อมูลพร้อมแสดงความเห็นสมทบชนิดที่ไม่ได้ตรวจสอบก่อน ก่อให้เกิดวิวาทะกันในวงกว้าง เว็บ "ศัพท์การเมืองไทยร่วมสมัย" เขียนแซวว่า พฤติกรรม "ขอแชร์นะ" ว่า "เกิดขึ้นในเวลาเพียงลัดนิ้วแต่อาจส่งผลกระทบที่ต้องใช้เวลาสะสางยาวนานกว่านั้นหลายเท่านัก" มองในแง่ดี อาจเป็นช่วงเวลาที่ข้อมูลหลากหลายได้ปะทะสังสรรค์ ให้ผู้ได้อ่านไปประมวลตัดสินใจเอาเอง (ถ้าไม่ unfriend กันไปก่อน)

อย่างไรก็ตาม ช่วงสิ้นปี การแชร์อาจชะงักไปเล็กน้อย เพราะ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที ออกมาขอไม่ให้แชร์นะอยู่หลายครั้ง ด้วยเหตุผลว่า การแชร์หรือกดไลค์ข้อความ-ลิงก์ที่มีลักษณะ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" อาจเข้าข่ายเผยแพร่ทางอ้อม ทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้ (จนเครือข่ายพลเมืองเน็ตต้องออกมาแถลงไม่เห็นด้วยและชี้แจง รมต.และผู้ใช้เน็ตอย่างละเอียดถึงหลักการและเหตุผลเลยทีเดียว)

 

/////////////

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

[คลิป] ธงชัย วินิจจะกูล: เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีฯ

$
0
0

วิดีโอการอภิปรายของธงชัย วินิจจะกูล เกี่ยวกับหนังสือของเดวิด สเตร็คฟัส และภาวะ "Hyper Royalism" ที่ร้าน Book Re:public เมื่อ 17 ธ.ค. นำเสนอพร้อมการแนะนำผู้อภิปรายโดย "ภัควดี ไม่มีนามสกุล"

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 54 ร้าน Book Re:public จ.เชียงใหม่ จัดเสวนา “เมื่อความจริง (นิยาย) โดนดำเนินคดีในยุคกษัตริย์นิยมล้นเกิน” มีผู้อภิปรายคือธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประวัติศาสตร์ไทย ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ดำเนินรายการโดยภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลอิสระ

เนื้อหาเป็นการอภิปรายหนังสือ “Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lese-Majeste” ของเดวิด สเตร็คฟัส แนวคิดเรื่องการดำเนินคดีหมิ่นประมาทและคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และอภิปรายภาวะ Hyper Royalism หรือภาวะกษัตริย์นิยมล้นเกินในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาประชาไทได้นำเสนอในส่วนที่เป็นการอภิปรายไปแล้ว [ตอนที่ 1] [ตอนที่ 2] และในวันนี้ขอนำเสนอวิดีโอการอภิปรายในวันดังกล่าว [เพลย์ลิสต์ของวิดีโอทั้งหมด คลิกที่นี่]

 

ตอนที่ 1

ตอนที่ 2


ตอนที่ 3


ตอนที่ 4


ตอนที่ 5


ตอนที่ 6


ตอนที่ 7


ตอนที่ 8

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมาคมนักข่าวนสพ.ฯ ให้ปี 54 เป็น “ปีแห่งความท้าทายบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน”

$
0
0

(31 ธ.ค.54) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี 2554 ผ่านเว็บไซต์ tja.or.th ระบุปี 2554 เป็น “ปีแห่งความท้าทายบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน” รายละเอียดมีดังนี้

...................................
รายงานสถานการณ์สื่อมวลชนในรอบปี 2554
“ปีแห่งความท้าทายบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน”

 

สืบเนื่องจากปี 2554 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความแตกแยกทางความคิดและอุดมการณ์ยังดำรงอยู่ การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงยังคงถูกตั้งคำถามถึงความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่อประชาชน ขณะเดียวกันการเติมโตของสื่อใหม่ๆ ทั้งเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงบริบทการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่สื่อมวลชนถูกท้าทายถึงบทบาทการทำหน้าที่

ขณะที่ประชาชนจำนวนไม่น้อยยังมองว่า สื่อมวลชนคือส่วนหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นปีที่คนทำสื่อต้องยึดในหลักการแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน และยึดมั่นในการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้าน รวมทั้งการเปิดพื้นที่ให้กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำรายงานสรุปสถานการณ์การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในรอบปี 2554 ที่กำลังจะผ่านไปไว้ดังนี้

1. การแทรกแซงการทำหน้าที่สื่อมวลชน จากกรณีที่มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มไม่พอใจการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง จากจุดเริ่มต้นพบว่ามีการส่งอีเมลและมีการโพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพในเชิงคุกคามและหวังทำร้ายร่างกาย ทำให้ผู้สื่อข่าวคนดังกล่าวรู้สึกไม่ปลอดภัย และขาดเสรีภาพในการทำหน้าที่ กลุ่มผู้สื่อข่าวภาคสนามจึงยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้ตรวจสอบต้นตอของข้อความดังกล่าว จากนั้นผู้สื่อข่าวที่ถูกโพสต์ข้อความคุกคาม จึงได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้โพสต์ข้อความ แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งไปเรียกร้องยังสถานีโทรทัศน์ต้นสังกัด เพื่อขอให้ปลดผู้สื่อข่าวคนดังกล่าว นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจในรัฐบาล ทำให้การเข้าไปแทรกแซงเปลี่ยนแปลงผังรายการในสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหรือ NBT เกิดขึ้นอีกครั้งด้วยการถอดรายการที่ออกอากาศในช่วงรัฐบาลประชาธิปัตย์ออกจากผังรายการเกือบทั้งหมด

2.เสรีภาพภายใต้ความรับผิดชอบ เห็นได้ชัดจากกรณี “อีเมลฉาว” ที่ได้กลายเป็นประเด็นร้อนในวงการสื่อ โดยในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 เว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่ง รายงานว่า มีผู้ส่งข้อความในอีเมลส่วนตัว 2 ฉบับ หัวข้อ “จดหมายถึงท่านพงษ์ศักดิ์” และ “ข้อเสนอ วิม” ไปยังสื่อมวลชนฉบับต่างๆ เนื้อหาระบุถึงการให้เงินกับคนในสื่อหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ และสถานีโทรทัศน์ 1 ช่อง เพื่อขอให้ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวการหาเสียงเลือกตั้งของพรรค จนทำให้สภาวิชาชีพ ทั้งสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน และแม้ว่าที่สุดแล้วจะไม่พบหลักฐานว่า มีการรับเงินตามที่มีการกล่าวอ้าง แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ถือว่าสั่นสะเทือนวงการสื่อมวลชนไม่ใช่น้อย

3.ความพยายามจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีความพยายามของข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมบางส่วนหมกเม็ดยัดไส้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เสนอให้คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ที่มีเนื้อหาเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ เพราะให้อำนาจผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกคำสั่งห้ามพิมพ์ เผยแพร่ สั่งเข้าหรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักรฯ แต่เมื่อรัฐมนตรีทราบว่าถูกข้าราชการหมกเม็ด จึงมีการประสานงานให้คณะ กรรมการกฤษฎีกาได้ทำความเห็นกลับมาว่า เนื้อหาบางส่วนใน พ.ร.บ.ดังกล่าวอาจขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 เรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ครม.จึงได้มอบให้กระทรวงวัฒนธรรม นำ พ.ร.บ.ฉบับนี้กลับไปพิจารณาใหม่

4.การปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หลังจากที่รอการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาเป็นเวลานาน เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2554 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง กสทช. 11 คน และล่าสุด กสทช.ได้มีมติเห็นชอบร่างแผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่และแผน แม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ฉบับ พ.ศ.2555 – 2559 ซึ่งจะนำเข้าสู่ขั้นตอนการประชาพิจารณ์และเปิด รับฟังความคิดเห็นกับประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้ในต้นปีหน้า และหากสามารถประกาศใช้ได้จะมีผลให้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ทั้งโทรทัศน์และวิทยุที่ตกอยู่ในสภาพสูญญากาศไร้การกำกับดูแลมาเป็นเวลานาน

5.สื่อจมน้ำกับบริการสาธารณะ เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าจากสถานการณ์อุทกภัยในช่วงปลายปีที่ผ่าน มาได้สร้างความเดือดร้อนในกับพี่น้องคนไทยนับล้านคน และในจำนวนนั้น สื่อมวลชนก็มีสถานะเป็นผู้ประสบภัยเช่นกัน ทั้งในส่วนของบุคคลและสำนักพิมพ์และสถานีโทรทัศน์หลายแห่ง และจากสถานการณ์อุทกภัยครั้งร้ายแรงนี้เอง ทำให้สื่อมวลชนทุกแขนงตื่นตัวโดยมีส่วนสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยคู่ขนานกับภาครัฐ ทั้งทำหน้าที่หลักในการรายงานข่าวอย่างแข็งขัน และเปิดสำนักงานเป็นจุดรับบริจาคสิ่งของและนำสิ่งของเข้าไปแจก เมื่อไปทำข่าวในพื้นที่น้ำท่วม ทั้งยังทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและประสานความช่วยเหลือด้วยความรวดเร็ว จนกลายเป็นอีกบทบาทหนึ่งของสื่อที่นอกเหนือจากการรายงานข่าวแล้ว ยังคงทำหน้าที่จิตอาสาได้อย่างเข้มแข็งเช่นกัน

6.สุดเศร้าอาลัยเพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อ เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจวงการสื่อในรอบปี 2 เหตุการณ์ กรณีแรกคือ นายศรวิชัย คงตันนิกูล ช่างภาพสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5 ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์แบล็คฮอว์กตกที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่สร้างความเศร้าเสียใจให้กับคนในวง การสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก ส่วนอีกกรณีเป็นเหตุรถข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำที่ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ทำให้ น.ส.อิสราวรรณ จำลองเพ็ง ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนช่างภาพและผู้ช่วยช่างภาพได้รับบาดเจ็บ ทั้ง 2 กรณีถือว่าเป็นการเสียชีวิตระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน

จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จึงขอสรุปว่า ในปี 2554 ที่กำลังจะผ่านไปถือว่าเป็น “ปีแห่งความท้าทายบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน” ซึ่งในอนาคตสื่อมวลชนจะต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน และยังคงยึดมั่นในหลักของจริยธรรมวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
www.tja.or.th
31 ธันวาคม 2554

ที่มา: http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2813:-2554-&catid=49:2552&Itemid=26

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส่งท้ายปี Quotes of the Year (5): “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

$
0
0

ส่งท้ายปี ทีมประชาไท รวบรวมคมคำเด็ดๆประจำปีที่กลายเป็นวลีและประโยคฮิตทั้งในสังคมออฟไลน์และออนไลน์ ย้อนความทรงจำที่มาที่ไป และแรงกระเพื่อมจากถ้อยคำ ซึ่งหลายคำกลายเป็นผลสะเทือนต่อคนพูดเอง ขณะที่อีกหลายถ้อยคำ ก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างหลากหลาย แต่ที่แน่ๆ ล้วนถูกพูดขึ้นมาในจังหวะร้อนและสะท้อนความสนใจของสังคมไทยในสถานการณ์ที่ช่วยก่อกำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา

0 0 0

สำหรับ Quotes of The year ประจำปีนี้ ประชาไทขอยกให้กับวลี/ประโยคเหล่านี้

 

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้”

(ร่วมบันทึกวาทะแรงๆ โดย รุ้งรวี ศิริธรรมไพบูลย์)

 

ส่งท้ายปี Quotes of the Year 5: “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”
ภาพจากมติชนออนไลน์

ไม่แน่ใจว่าวลี/ประโยค แห่งปีนี้ จะเป็น “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้” หรือ “ผู้นำโง่ พวกเราจะตายกันหมด”กันแน่ เพราะประโยคเต็มๆ นั้นก็คือ

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้…น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว…ผู้นำโง่ เพราะพวกเราจะตายกันหมด”

ข้อความดังกล่าวนี้เป็นที่ฮือฮาและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในสังคมออนไลน์และการรายงานข่าวของสื่อมวลชน จากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา โดยเป็นข้อความที่เกิดขึ้นจากการส่งข้อความผ่านเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่ชื่อว่าทวิตเตอร์ของ “หนูดี วนิษา เรซ” บุคคลผู้เป็นที่รู้จักในสังคมไทยด้วยโปรไฟล์ สาวสวยผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ เจ้าของอัจฉริยะสร้างได้ จบปริญญาโทด้านวิทยาการทางสมอง จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และพรีเซ็นเตอร์ซุปไก่สกัดตราแบรนด์

เหตุที่ข้อความนี้กลายเป็นที่ฮือฮาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก คงไม่ใช่ด้วยตัวข้อความ สาระสำคัญ ความเป็นเหตุเป็นผล หรือความหลักแหลม อะไรทั้งสิ้น แต่มันกลับอยู่ที่องค์ประกอบ ‘รอบๆ’ ข้อความประการหนึ่งก็ด้วยเพราะตัวของผู้โพสต์ข้อความนี้เอง ที่มี ‘ภาพลักษณ์’ ความเป็นผู้หญิงฉลาดหลักแหลม ด้วยโปรไฟล์สาขาวิชาและสถาบันการศึกษาที่จบมา อีกทั้งภาพลักษณ์ในด้านบุคลิกภาพของเธอก็ยังเป็นผู้หญิงที่สวย มีบุคลิกภาพที่ดี พูดจาดี มีทัศคติที่ดี สวยงาม ต่อสังคม ไม่ปรากฏว่าในชีวิตนี้เคยว่าร้าย หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในสื่อ หรือแม้กระทั่งเคยมีความคิดเห็นในเชิงการเมืองออกมาก่อน

ความ ‘ขัดกัน’ ของคำว่า “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” จากผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์ที่ “ไม่แรง” (ตลอดทั้งชีวิตที่ผ่านมา) เสริมส่งด้วยการเป็นผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับว่าฉลาดหลักแหลม ด้วยโปรไฟล์ทางการศึกษา อีกทั้งด้วยสภาพแวดล้อมทางการเมืองในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของผู้นำประเทศ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างหนัก ประกอบกับ การส่อนัยของข้อความดังกล่าวที่ว่า “ผู้นำโง่ พวกเราจะตายกันหมด” จึงทำให้ข้อความดังกล่าวเป็นที่นิยมชมชอบ ได้รับการเชื่อมั่นนับถือ สนับสนุน (จากคนกลุ่มหนึ่ง) แม้เธอจะออกมาอธิบายในภายหลังว่าข้อความดังกล่าวไม่ได้มีส่วนพาดพิงถึงตัวผู้นำประเทศแต่อย่างใดก็ตาม

หากเปรียบกันง่ายๆ ให้เห็นภาพ ก็คงเปรียบเสมือน นางเอกละครน้ำเน่าหลังข่าว ที่มีภาพลักษณ์ “ผู้ดี” แสนดี ไม่เคยว่าร้าย คิดร้าย หรือทำร้ายใคร และอาจจะโดนทำร้ายจากนางอิจฉามาตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็ไม่เคยตอบโต้ ได้แต่ก้มหน้ารับกรรม ยอมโดนทำร้ายเรื่อยมา ด้วยว่าผู้ดีนั้นคงไม่ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นคนอื่น เพราะนั่นมันไม่ใช่วิสัยของผู้ดี แต่จู่ๆ วันหนึ่งด้วยความเหลืออดเหลือทนหรืออะไรก็มิทราบได้ นางเอกของเราก็เดินไปจิกหัวนางอิจฉามาตบ ทั้งๆ ที่วันนั้นนางอิจฉาอาจจะยืนสวยๆ อยู่ยังไม่ได้ทำอะไร แต่ด้วยความเป็นผู้ดี เป็นนางเอก คนดูก็ย่อมออกแรงเชียร์ ด้วยเพราะว่านางเอกผู้แสนดี ไม่เคยทำอะไร “แรงๆ” อย่างนี้มาก่อน คงต้องเหลืออดจริงๆ ถึงได้กระทำการที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ดีนี้ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นที่รับได้ และถือว่าถูกต้อง เพราะเธอเป็น “นางเอก” ของคนดู

ตบมันเลย...อย่างนั้นแหละ ตบมัน!!!

ความโด่งดังของประโยคนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การนำมาเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองเท่านั้น แต่มันยังถูกนำไปใช้ในการ ‘เล่นมุก’ ต่างๆ ในสังคมออนไลน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตค่ะ พูดแล้วจะร้องไห้...กลัวขึ้นคานก็กลัว แต่กลัวที่สุด...ก็กลัวได้สามีเป็นแอบ(เกย์) นี่แหละ”

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วจะร้องไห้ … น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว ไม่มีคนเล่น google+ ด้วย”

“ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิตครับ พูดแล้วอยากร้องไห้.....น้ำท่วมไม่กลัว กลัวอย่างเดียว...คนที่มือไม่พายยังเอาปากราน้ำ เพราะ พวกเราจะตายกันหมด”

“ขอพูดอะไรแรง ๆ สักครั้งในชีวิต พูดแล้วจะร้องไห้ วินโดวส์จะมี troubleshooter ไว้ทำค-ยอะไรในเมื่อไม่เคยช่วยแก้ปัญหาเหี้ยอะไรตูไม่ได้เลย”

ซึ่งแน่นอนว่าการเล่นคำ เล่นประโยคนี้ ซึ่งมาจากข้อความทวิตเตอร์ของหนูดี มีมาก่อนการเล่น “จนกระทั่งโดยธนูปักที่เข่า” เสียอีก

 

0 0 0 0 0 0

 

 

“...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

ข้อความจาก facebook ID : Sasin Chalermlarp ของศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับผืนป่าตะวันตก ซึ่งโด่งดังในฐานะนักวิชาการเรื่องน้ำผู้อธิบายเรื่องยากๆ ออกมาให้ฟังเข้าใจง่าย และน่าติดตาม จาก “คลิปวิดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม” ซึ่งเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตในช่วงเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ปี 2554 ขณะที่มวลน้ำขนาดใหญ่จ่อทะลักเข้าท่วมกรุงเทพฯ ภาวการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อนักวิชาการด้านการจัดการน้ำ ข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นในการบริหารจัดการปัญหาของรัฐบาล

ส่งท้ายปี Quotes of the Year 5: “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

คลิปวิดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม โดย ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ

การนำเสนอข้อมูลของ “ศศิน” ทำให้นักอนุรักษ์กลายเป็นนักวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมรุ่นใหม่ที่ออกมาวิพากษ์การทำงานของรัฐบาลได้ถึงใจผู้ชม ท่ามกลางข้อมูล สถิติ การคำนวณทางวิชาการ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาที่โถมกระหน่ำไปมาในหน้าสื่อมวลชนอย่างท่วมท้นไม่แพ้กระแสน้ำ

ส่งท้ายปี Quotes of the Year 5: “ขอพูดอะไรแรงๆ สักครั้งในชีวิต” และ “...ผมรู้สึกว่าเป็นหนึ่งเดือนที่ เราพูดอะไรไม่ฉลาดมากไปหรือเปล่า..”

ข้อความฉบับเต็มที่โพสใน เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp ที่เขียนเผยแพร่เมื่อวันที่ วันที่ 16 พ.ย.54
มีคนคลิกไลค์ 2,442 others และมีคนนำไปเผยแพร่ต่ออีกกว่า 562 shares

ภายหลังจากที่มีการโพสข้อความยอมรับความผิดพลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลของศศิน หลังเล็งเห็นผลสำเร็จในการป้องกันน้ำรุกเข้าท่วมกรุงเทพฯ ชั้นใน จากที่เคยคาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ จะไม่รอดพ้นจากการเป็นเมืองนองน้ำ ด้านหนึ่งทำให้เขาได้รับความชื่นชมในฐานะคนจริงที่กล้ายอมรับในความผิดพลาดของตัวเอง อีกด้านหนึ่งเขาถูกมองว่าหันมายอมรับการทำงานของรัฐบาลและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ในการป้องกันน้ำท่วม

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการโพสข้อความดังกล่าว นักวิเคราะห์คนดังได้เขียนชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเพิ่มเติม ดังนี้

1) ไม่ได้ยอมรับฝีมือสกัดน้ำ ศปภ. ตามที่คนโพสต์ โพสต์ ครับ ผมยอมรับว่าคนทำงานหน้างาน ซึ่งหมายถึงวิศวกร และคนทำงานอื่นๆ ของกรมชล "รู้" ว่าข้อมูลน้ำมีมาอย่างไร เคารพและให้เกียรติมาตลอด และยอมรับความเป็นมืออาชีพของการระบายน้ำใน กทม. จากคนทำงานหน้างานเช่นกัน ส่วนจะมาจากผู้บริหารอย่างไร ผมไม่เคยรู้ เวลาพูดถึงก็พูดแต่ว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้เขาเต็มที่ที่สุดแล้วส่วนผู้บริหารจะมีส่วนมา "หน้างาน" หรือ ในห้องวอร์รูมอย่างเข้มข้นก็คือส่วนนั้น และ สิ่งที่วิเคราะห์พลาด นั่นคือ ส่วนที่การจัดการน้ำของเขาที่เปลี่ยนยุทธวิธี ทางฝั่งตะวันออก และสิ่งที่ผมบอกอธิบายเรื่องราวหลายอย่างที่มีความนัยต้องตีความอยู่มากขอให้อ่านอย่างพิจารณาดีๆ ด้วยครับ

2) ผมยอมรับ "วิธีการ" ที่เขาทำมาว่าได้ผลส่วนหนึ่งและยอมรับว่า พี่นายช่างใหญ่ ก็มีเจตนารักษากรุงเทพฯ ชั้นในอย่างจริงจังแน่วแน่จริง ตามภารกิจที่ได้รับมา และตามความจริง ตามกรอบคิดและสถานการณ์ที่เขาทำงานและประเมินกันอยู่ แต่ไม่ได้บอกว่า วิธีการนั้น "ดีที่สุด" ที่จะป้องกัน กทม. และ สุวรรณภูมิ ในด้านที่จะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าปกติ ต่อที่อื่นๆ และจะมีวิธีการที่ทำงานกับคนที่ดีกว่านี้ได้มาก

3) ประเด็นที่ต้องออกมา เพื่อ "เตือนภัย" ให้ ตระหนัก ไม่ให้ ตระหนก เตือนในระดับที่ผมว่าคนตระหนัก แล้ว และพยายามที่สุดแล้วที่จะบอกให้ดูข้อมูลข่าวสาร อย่างมีนัยยะว่า จะท่วมเมื่อน้ำท่วมผ่านการสกัดใดๆมาด้วยเหตุผลใด ใน clip หรือ ทีวี ผมก็ทำงานส่วนนี้ต่อใน fb เป็นหลักครับจะมีเสียงออกตามวิทยุทีวีนั่นก็เพื่อเตือนภัย แลกเปลี่ยนให้คนได้คิดตามว่ามันมีเหตุผลที่จะท่วมหรือไม่ท่วมอย่างไร ต้องเฝ้าดูอะไร เท่าที่ดูๆ ก็เน้นตะวันตกที่วิกฤติมาถึงบัดนี้ ถือว่าเป็นสื่อทางเลือกที่คนเลือกตามเอง และเมื่อมีคนโพสต์ต่อ หรือนำไปแปลงเป็นสื่อสาธารณะหลักอื่นอื่นๆ นั่นก็อยู่นอกเหนือที่ผมรับรู้แล้ว ส่วนเรื่องเวลา ถ้านับจากวันที่ 11 ตุลามา เราก็อยู่ในภาวะ น้ำท่วม ที่ยันกันไว้ เป็นเดือน ครับ ผมบอกเสมอว่า น้ำทั้งหมดระบายหมด ต้องมีสามเดือน แต่ เอาแบบครึ่งหนึ่งพออยู่ได้ปกติ ก็ต้องมีหลังลอยกระทง ไปตามสภาพของพื้นที่แต่ละที่ครับ ตอนนี้ก็ผ่านมาเดือนกว่า ถ้าปล่อยท่วมกทม. แต่กลางเดือนที่แล้วก็ครบเดือนนานแล้วครับ

ทั้งนี้ มหาวิกฤติอุทกภัยในปีที่ผ่านมา เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2554 จนถึงปัจจุบัน จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “นกเตน (NOCK–TEN)” ร่องมรสุมกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงพาดผ่านประเทศไทย และปัญหาในการจัดการน้ำทำให้น้ำจากพื้นที่ภาคเหนือไหลบ่าลงสู่ภาคกลาง จากสรุปสถานการณ์สาธารณภัย โดยศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด (10 ธ.ค.2554) พบว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน 13,595,192 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะไดรับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ มีผู้เสียชีวิต 680 ราย (44 จังหวัด) สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)

พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด 684 อำเภอ 4,920 ตำบล 43,636 หมู่บ้าน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานีชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรีนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรีเลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ นครพนม อำนาจเจริญ มุกดาหาร สกลนคร ยโสธร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎรธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง สตูล สมุทรสาคร สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 3: มองจากมุมศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ‘ไฟใต้ปี 55 สงบหรือไม่’

$
0
0

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) นักวิจัยผู้เก็บข้อมูลสถิติสถานการณ์ไม่สงบมาตลอด 7 ปี วิเคราะห์แนวโน้มความรุนแรงในปี2555 ไฟใต้สงบหรือไม่ อะไรคือปัจจัย ดังนี้

0 0 0 0 0 0

เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 3: มองจากมุมศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ‘ไฟใต้ปี 55 สงบหรือไม่’

ไฟใต้ปี’55 สงบหรือไม่

มี 2 แนวโน้ม หากดูจากเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2554 ตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ

แนวโน้มที่ 1 สถานการณ์ความรุนแรงที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2554 เป็นผลมาจากการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการจัดการปกครองพิเศษตามที่รัฐบาลเคยเสนอในช่วงหาเสียงหยุดชะงักลง เรื่องการเจรจากับขบวนการก่อความไม่สงบที่เคยดำเนินการในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็หยุดชะงักลง และการขาดความชัดเจนในเรื่องทิศทางของนโยบายและความต่อเนื่อง

อีกด้านหนึ่ง ปัญหาเรื่องการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ ทั้ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 หรือการใช้กฎหมายที่เป็นทางเลือกใหม่ อย่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ที่ให้อบรมผู้ต้องหาแทนการจำขัง ตามมาตรา 21 ก็ยังไม่มีความไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสนทางนโยบายและสัญลักษณ์ทางการเมืองที่มีต่อประชาชนในพื้นที่และสัญลักษณ์ต่อขบวนการ

แนวโน้มความรุนแรงในปี 2555 อาจจะสูงขึ้น เพราะเป็นการตอบโต้และแสดงสัญลักษณ์กดดันรัฐบาล สร้างกระแสว่า สถานการณ์ยังไม่ยุติและยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน

แนวโน้มที่ 2 หากมีนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.4สน.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนใต้ (ศชต.) ประสานการทำงานเป็นระบบมากขึ้น จัดการทัศนะและท่าทีว่าด้วยเรื่องเขตปกครองพิเศษในพื้นที่ให้ชัดเจน จัดการเจรจากับกลุ่มต่างๆ หรือจัดการพูดคุยกับคนในพื้นที่ เช่น ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น

หากรัฐบาลดำเนินการอย่างนี้ แนวโน้มสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่จะลดลง แม้อาจลดลงไม่มาก แต่ก็สามารถช่วยประคับประคองสถานการณ์เอาไว้ได้

ผมเข้าใจว่า ผู้บริหารชุดใหม่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พยายามพูดคุยและเจรจากับกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ร่วมทั้งองค์กรภาคประชาสังคม

การผสมผสานทางนโยบายหรือการพูดคุยเชื่อมต่อระว่างภาคประชาสังคมกับฝ่ายรัฐและฝ่ายความมั่นคง จะเป็นดึงกระชับเหตุการณ์และเป็นเงือนไขให้เหตุการณ์ลดลง ส่วนเหตุการณ์ที่มีอยู่ อาจไม่ออกมาในรูปแบบที่รุนแรงมากหรือก่อเหตุพร้อมกับหลายสิบจุด เพราะมีนัยยะทางการเมืองหรือทางนโยบายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

ปีที่ผ่านมา มองเห็นการต่อสู้ทั้งของฝ่ายรัฐและฝ่ายขบวนการอย่างไร?

ในส่วนของรัฐ ในรอบปีที่ผ่านมา ทำได้ 2 อย่าง คือ 1.การรักษาความไม่สงบในพื้นที่หรือ การควบคุมพื้นที่ทำได้ในระดับหนึ่ง ในแง่การใช้กำลัง การใช้กฎหมายพิเศษ ทั้ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือกฎอัยการศึก ในระยะหลังทำได้ดีขึ้นในแง่การระมัดระวังไม่ให้มีการละเมิดสิทธิของประชาชน หรือไม่ให้เกิดความผิดพลาด ส่วนตำรวจ พยายามทำงานทางการเมืองหรือทำงานมวลชลมากขึ้น

แนวโน้มเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดี แต่การแก้ปัญหาระยะยาว โดยเฉพาะทางยุทธศาสตร์และการจัดการความขัดแย้ง จะต้องมีการพัฒนากันต่อไปว่า จะเอาอะไรเป็นประเด็นหลัก กลุ่มไหนจะเป็นกลุ่มประสานงานหรือกลุ่มใดจะเป็นกลุ่มเจรจาของฝ่ายรัฐ

ในเรื่องกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ การประสานงานกับผู้ศาสนา ผู้นำท้องถิ่นหรือภาคประชาชนสังคมในพื้นที่ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องปรับยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รัฐต้องให้ความสำคัญในการสร้างหรือขยายพื้นที่กลางทางการเมือง หรือพื้นที่กลางการเจรจาต่อรอง หากสามารถสร้างพื้นที่กลางได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาทางการเมืองและทางนโยบายได้

ในส่วนของขบวนการนั้น กำลังมีการปรับตัวอยู่หลายอย่าง เพราะการใช้ความรุนแรงสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเป็นตัวชี้ขาดการเปลี่ยนแปลงทางเมืองหรือการแก้ไขปัญหาได้ เพราะมีผลด้านลบต่อประชาชน สังคมและเศรษฐกิจ หากปัญหาเยื้อยื้อยาวนาน ก็จะบั่นทอนหรือทำให้สังคมมันอ่อนแอลง สะท้อนได้จากปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรง

ปัญหายาเสพติดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงโดยตรงกับขบวนการก่อความไม่สงบ แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่สงบที่ยื้อเยื้อ จึงทำให้เกิดสังคมอ่อนแอลง หากฝ่ายขบวนการต้องการสร้างสังคมทีดีหรือสังคมที่มีความสุข ก็ต้องคิดเรื่องนี้ด้วย เพราะหากปล่อยให้ประชาชนแย่มากๆ ก็จะส่งให้ผลกระทบทางการเมืองของตนเองด้วย

การแก้ปัญหา คือต้องเข้าสู่กระบวนการเจรจาหรือมีข้อเสนอที่เป็นนโยบายชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ที่ขาดไม่ได้การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง 2 ฝ่าย คือเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายขบวนการ จะต้องมองเห็นความจำเป็นในการใช้พื้นที่กลางในการแก้ปัญหาและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางสันติ

 

ต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไร กว่าจะเกิดสันติภาพในชายแดนใต้

สถานการณ์เกิดขึ้นมาแล้ว 8 ปี อาจจะมีความหวังมากขึ้น หากเดินมาถูกทาง แต่หากเดินผิดทาง อาจจะต้องใช้เวลานานไปอีก

 

อะไรคือทางออกของปัญหาชายแดนใต้

ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยตรงและโดยอ้อม ต้องเรียนรู้และปรับตัว คือถอดบทเรียนของตัวว่า การต่อสู่ด้วยความรุนแรงนั้น ไม่ว่าฝ่ายขบวนการหรือฝ่ายทหาร ไม่สารมารถที่จะแก้ปัญหาได้

หากเกิดสภาวะที่เยื้อยื้อเรื้อรังต่อไป ทุกๆฝ่ายก็จะได้รับเสียหาย ร่วมทั้งประชาชน ฉะนั้นต้องหาทางปรับตัว เรียนรู้ และก้าวไปข้างหน้า ต้องหาวิธีการทางสันติภาพ และกระบวนการทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหา แล้วหันมาสู่กระบวนการเจรจาระหว่างกัน

ข้อเรียกร้องต่างๆ อย่างข้อเรียกร้องสูงสุดของขบวนการ คือแบ่งแยกดินแดน ผมว่าอาจยากที่จะยอมรับได้ น่าจะลองทบทวนดู อาจจะต้องมีการปรับ จะเป็นไปได้หรือไม่หากใช้วิธีการอื่น หรือลดเป้าหมายลง เพื่อให้เกิดการเจรจากันจริงๆ

ส่วนฝ่ายรัฐเอง ก็ต้องเรียนรู้ว่า ต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยการปฏิรูปทางเมือง เพื่อแก้ปัญหาภาคใต้

ฉะนั้นการปรับโครงสร้าง โดยเฉพาะโครงสร้างอำนาจมีความสำคัญและต้องยอมให้มีการปรับ เพราะมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรเท่าไร เพราะอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญหรือกรอบกฎหมาย

ทุกฝ่ายต้องลดเงื่อนไขหรือข้อเรียกร้องตนเองลงมา ผมคิดว่า จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ปรับคนละก้าว เดี๋ยวก็สามารถหาข้อสรุปได้ เพราะคนยอมรับแนวทางสันติภาพมากขึ้นอยู่แล้ว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมชัย ภัทรธนานันท์: มองการเมืองฟิลิปปินส์ผ่านกรณี GMA

$
0
0

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภาพข่าวการสกัดไม่ให้กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย  (Gloria  Macapagal-Arroyo-GMA) ผู้เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ถึงสองสมัยเดินทางออกนอกประเทศ ได้สร้างความฮือฮาให้แก่ชาวฟิลิปปินส์ที่รับชมข่าวภาคค่ำอย่างใจจดใจจ่อเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะผู้คนต่างทราบผลการตัดสินของศาลสูงในช่วงตอนบ่ายของวันนั้นแล้วว่าศาลมีมติให้ GMA (ซึ่งถูกรัฐบาลห้ามเดินทางออกนอกประเทศ) เดินทางออกนอกประเทศได้ พวกเขาลุ้นว่ารัฐบาลจะกล้าขัดคำสั่งศาลหรือไม่ ปรากฏว่ารัฐบาลไม่เพียงแต่ห้ามไม่ให้ GMA เดินทางออกนอกประเทศ เท่านั้น แถมยังฟ้องเธอในข้อหาทุจริตการเลือกตั้งอีกด้วย ขณะนี้ รัฐบาลได้สั่งควบคุมตัว GMA ที่โรงพยาบาลเพราะเธออ้างว่าป่วยหนัก ปฏิกิริยาของคนฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ตอบรับการดำเนินการของรัฐบาลเพราะพวกเขาเชื่อว่า GMA เป็นประธานาธิบดีที่โกงประเทศยิ่งกว่าเผด็จการอย่างมาร์กอสเสียอีก

เมื่อเป็นเช่นนี้ ชีวิตทางการเมืองของเธอจึงผกผันกลับหัวกลับหาง กล่าวคือเมื่อเธอก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ๒๕๔๔ นั้น เธอมีภาพพจน์ที่ดีเพราะมีบทบาทในการชุมนุมร่วมกับประชาชนเรียกร้องให้เอสตราด้า (หรือที่ชาวฟิลิปปินส์เรียกอีกชื่อว่า Erap) ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้นให้พ้นจากตำแหน่ง มาบัดนี้ GMA ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับ Erap จะต่างกันก็ตรงที่เมื่อ Erap ถูกจองจำยังมีผู้คนที่สนับสนุนเขาออกมาชุมนุมคัดค้านถึง ๕๐,๐๐๐ คน ขณะที่ GMA มีผู้แสดงความเห็นใจเพียง ๒๐ คนเท่านั้น

หากศึกษาเส้นทางชีวิตทางการเมืองที่ผกผันของ GMA เราจะพบว่าชีวิตของเธอสะท้อนการเมืองฟิลิปปินส์ได้เป็นอย่างดี  GMA ก้าวขึ้สู่ตำแหน่งประธานาธิบดีโดยไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง กล่าวคือ ในปี ๒๕๔๑ GMA ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในรัฐบาล Erap  ในปี ๒๕๔๓-๒๕๔๔ ได้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่เนื่องจากความไม่พอใจการคอร์รัปชั่นของ Erap โดยเฉพาะการที่เขารับเงินจากบ่อนการพนันที่คนฟิลิปปินส์เรียกว่าเวเต็ง (Jueteng)  ผู้ประท้วงมาจากหลากหลายกลุ่มการเมืองทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ทั้งนักธุรกิจ นักการเมือง ปัญญาชน ศาสนจักร และขบวนการทางสังคม

แม้ว่าการประท้วงครั้งนี้จะดูเหมือนเป็นการประท้วงของมวลชนแต่ผู้ที่กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวคือชนชั้นนำ (อดีตประธานาธิบดีสองคนคือ โคราซอน อคีโนและฟิเดล รามอส ผู้นำศาสนจักร นักธุรกิจและนักการเมืองที่มาจากตระกูลที่ทรงอิทธิพล และทหาร) ชนชั้นนำเหล่านี้ได้ใช้ความไม่พอใจของมวลชนมาเป็นโอกาสในการกำจัดผู้นำทางการเมืองที่ไม่เป็นที่ยอมรับของพวกเขา Eva-Lotta E. Hedman เรียกปรากฎการณ์เช่นนี้ว่าเป็น "การเคลื่อนไหวในนามของประชาสังคม" (In the name of civil society)

จริงอยู่ที่ Erap เป็นผู้นำที่ฉ้อราษฏร์บังหลวง แต่ชนชั้นนำของฟิลิปปินส์ก็เคยเมินเฉยต่อพฤติกรรมเช่นนี้ของผู้นำทางการเมืองมานับครั้งไม่ถ้วน ทำไมพวกเขาจึง "รับไม่ได้" ในกรณีของ Erap? Hedman เห็นว่าเป็นเพราะ Erap คุกคามสถานะทางการเมืองของชนชั้นนำ ฟิลิปปินส์ช่วงก่อนและหลังมาร์กอสผู้นำทางการเมือง (ประธานาธิบดี สส. สว.) ล้วนมาจากตระกูลการเมืองที่เป็นเจ้าที่ดินที่ทรงอิทธิพลในชนบทซึ่งภายหลังได้เข้าคุมภาคอุตสาหกรรมของประเทศด้วย Benedict Anderson เรียกการเมืองแบบนี้ว่า "cacique democracy" (คาซีเก้ (cacique) เป็นภาษาสเปนในฟิลิปปินส์หมายถึงเจ้าที่ดินที่ทรงอิทธิพล) Erap ไม่ได้มาจากคนกลุ่มนี้ ด้วยเหตุนี้ พื้นเพการศึกษาและพฤติกรรมของเขาจึงดูไม่เหมาะสมไม่เข้าท่าในสายตาของชนชั้นนำ ที่สำคัญไปกว่านั้น ชัยชนะของ Erap ยังเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกตั้งอีกด้วย

บรรดานักการเมือง-เจ้าที่ดินเอาชนะการเลือกตั้งโดยอาศัย "น้ำมันหล่อลื่น" จากนายธนาคาร นักธุรกิจผู้มั่งคั่ง และเจ้าพ่อท้องถิ่น (ในกรณีของ GMA เจ้าพ่อท้องถิ่นในเครือข่ายของเธอที่รู้จักดีคนหนึ่งคืออัมปาตวนผู้ต้องหาก่อเหตุสังหารหมู่ที่จังหวัดมากินดาเนาอันฉาวโฉ่) Erap ชนะการเลือกตั้งโดยการสนับสนุนของคนจนที่นิยมชมชอบตัวเขาในฐานะวีรบุรุษของคนจนด้วยคะแนนเสียงที่มากกว่าประธานาธิบดีคนใดๆในฟิลิปปินส์ ทำให้ชนชั้นนำเห็นว่าการชนะเลือกตั้งแบบนี้เป็นภัยคุกคามต่อสถานะของพวกเขา เมื่อได้โอกาสพวกเขาจึงไม่รีรอที่จะกำจัดนัการเมือง 'นอกคอก' อย่าง Erap

GMA ได้ใช้โอกาสนี้มาเป็นหนทางในการก้าวขึ้นสู่การเป็นประธานาธิบดีโดยเจรจากับทหารให้ร่วมยึดอำนาจจาก  Erap การยึดอำนาจครั้งนี้ดำเนินการอย่างแยบยล กล่าวคือ มันเกิดขึ้นซ้อนกับการประท้วงครั้งใหญ่ที่ผู้เข้าร่วมส่วนมากมาจากชนชั้นกลาง เมื่อผู้ประท้วงรุกประชิดทำเนียบมาลากันยัง ทหารได้ประกาศถอนการสนับสนุนประธานาธิบดีและเข้าคุมตัว Erap เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า EDSA II (EDSA เป็นชื่อถนนที่มุ่งตรงไปที่ทำเนียบประธานาธิบดีตั้งชื่อตาม Epifanio de Los Santos ซึ่งมีอาชีพเป็นบรรณารักษ์ เมื่อก่อน EDSA เป็นถนนสายเล็กๆที่ไม่มีความสำคัญ แต่ได้กลายเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์เมื่อเกิดการประท้วงครั้งใหญ่บนถนนสายนี้อันนำไปสู่การสิ้นอำนาจของมาร์กอสในปี ๒๕๒๙ การประท้วงครั้งนั้นรู้จักกันดีในนาม EDSA I)

ภายหลังเหตุการณ์ศาลสูงได้วินิจฉัยให้ GMA เป็นประธานาธิบดีแทน Erap โดยอ้างอิงข้อกฏหมายที่ว่าเมื่อประธานาธิบดีลาออกหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งแทน การตัดสินครั้งนี้ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการ 'ฮ้ัว' กันในหมู่ชนชั้นนำเพราะ Erap ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เพราะถูกยึดอำนาจ ไม่ใช่เพราะเขาลาออก นักวิชาการบางคนเรียกการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในครั้งนี้ว่าเป็นการ'รัฐประหารของประชาสังคม'

เมื่อ GMA รับตำเเหน่งไม่นานเธอได้สั่งดำเนินคดี Erap ทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่โดยคนจนผู้นิยมในตัว Erap การประท้วงครั้งนี้แทบจะไม่มีการรายงานในสื่อมวลชนเลย แต่เมื่อมีการรายงานก็จะออกมาในเชิงลบ เช่น ผู้ประท้วงเป็นพวกป่าเถื่อน สกปรกเหม็นสาป ติดยา รับจ้าง เป็นต้น นี่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับบทบาทของสื่อใน EDSA II ในการประท้วงครั้งนั้นมีการรายงานข่าวในเชิงบวกตลอด ๒๔ ชั่วโมง การประท้วงครั้งนี้ได้สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้แก่ขบวนการทางสังคมเป็นอย่างยิ่งเพราะนี่คือการแสดงพลังและความต้องการของคนจนที่พวกเขาประกาศตัวว่าเป็นตัวแทน แต่ขบวนการทางสังคมไม่เป็นที่ต้อนรับของคนจนเหล่านี้เพราะพวกเขาไม่พอใจบทบาทของขบวนการใน EDSAII ในที่สุดการชุมนุมของคนจนก็ถูกสลายโดยคำสั่งของ GMA ที่บริเวณสะพานเมนดิโอลาทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง การประท้วงของคนจนครั้งนี้รู้จักกันในนาม EDSAIII นี่เป็นเหตุการณ์สำคัญในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกของ GMA

GMA ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองเมื่อเธอชนะการเลือกตั้งในปี ๒๕๔๗ ชัยชนะของเธอครั้งนี้มีเรื่องมัวหมองเมื่อมีการเผยแพร่เทปบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเธอกับเวอร์จิลิโอ การ์ซิลลาโน ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๘ ในการสนทนาครั้งนั้น GMA ได้ขอให้การ์ซิลลาโนช่วยปั่นผลการเลือกตั้งให้เธอชนะอย่างท่วมท้น เรื่องดังกล่าวแดงขึ้นมาเพราะทหารที่ GMA สั่งให้แอบบันทึกการสนทนาทางโทรศัพท์ของการ์ซิลลาโนได้ส่งเทปให้ฝ่ายค้าน กรณีอื้อฉาวดังกล่าวนี้คนฟิลิปปินส์เรียกว่ากรณี 'Hello, Garci' ตามคำทักทายทางโทรศัพท์ของ GMA

นอกจากการโกงเลือกตั้งแล้วยังมีกรณีอื้อฉาวอื่นๆที่สร้างความมัวหมองให้แก่ประธานาธิบดี เช่น กรณีสามีและลูกชายของเธอมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับ Erap คือรับเงินจากบ่อนการพนันเป็นรายเดือน เป็นต้น พฤติกรรมที่กล่าวมานี้ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านประธานาธิบดี ในเดือนกรกฏาคมบรรดาชนชั้นนำและขบวนการทางสังคมที่เคยร่วมมือกับ GMA ในการขับไล่ Erap ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เธอลาออก แม้ว่าจะเผชิญการประท้วงครั้งใหญ่แต่ GMA ก็เอาตัวรอดมาได้เพราะชนชั้นนำไม่เป็นเอกภาพ ขณะที่โคราซอน อคีโนนำการประท้วง ฟิเดล รามอสกลับสนับสนุน GMA  ทหารซึ่งได้ประโยชน์จากรัฐบาลอย่างมากก็ปฏิเสธที่จะร่วมมือ ส่วนขบวนการทางสังคมนั้นหลายต่อหลายองค์กรอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเพราะพวกเขาเป็น 'กองหน้า' ในการนำ GMA ขึ้นสู่อำนาจ

ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีถึงสองสมัย GMA ได้ก่อกรณีอื้อฉาวมากมาย ก่อนหมดวาระไม่นานเธอได้สร้างเกราะป้องกันตนเองโดยแต่งตั้งเรนาโต้ โคโรนาผู้ที่เป็นทีมงานของเธอให้เป็นประธานศาลสูงซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการตัดสินคดีความต่างๆ (ความจริงก่อนหน้านี้เธอก็ได้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงถึง ๑๑ คนจากทั้งสิ้น ๑๕ คน) การแต่งตั้งเช่นนี้คนฟิลิปปินส์เรียกว่าเป็น 'การแต่งตั้งตอนเที่ยงคืน' (midnight appointment) ซึ่งไม่ผิดกฏหมายแต่ผิดมารยาททางการเมือง

การคาดคะเนของ GMA นั้นถูกต้อง เมื่อนอย นอย บุตรชายของโคราซอน อคีโน ก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีก็มีคำสั่งห้ามเธอเดินทางออกนอกประเทศเนื่องจากเป็นบุคคลที่จะถูกดำเนินคดีร้ายแรงหลายคดี แต่ศาลสูงได้มีมติให้เธอเดินทางออกนอกประเทศได้ด้วยเหตุผลที่ว่าเธอยังไม่ถูกฟ้อง เธอจึงยังไม่มีความผิด รัฐบาลแก้เผ็ดโดยการยื่นฟ้องเธอในคดีโกงการเลือกตั้งสว.ในเขตมินดาเนาที่ศาลเมืองปาซายในวันต่อมาและสั่งจับกุมเธอดังที่กล่าวไปแล้ว

ความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายยังไม่จบลงเท่านี้ ไม่กี่วันหลังจากนั้นศาลสูงมีมติให้แบ่งที่ดินของตระกูลอคีโนให้แก่ชาวนาไร้ที่ทำกินตามกฏหมายการปฏิรูปที่ดิน ความจริงที่ดินของตระกูลอคีโนนั้นต้องถูกจัดสรรให้แก่ชาวนาตั้งแต่ครั้งที่อคีโนผู้แม่เป็นประธานาธิบดี แต่เธอก็ 'เลี่ยงบาลี' โดยให้ชาวนาถือหุ้นแทนที่ดิน สิ้นปีก็จะมีการปันผลจากการขายผลผลิตให้ การใช้วิธีนี้ทำให้ตระกูลอคีโนเป็นเจ้าของที่ดินต่อไป ขณะที่ชาวนาก็เป็นลูกจ้างเหมือนเดิม

ปฏิกริยาของนอย นอยต่อคำตัดสินดูเหมือนจะเป็นในทางบวก คือเขาบอกให้สมาชิกของตระกูลให้ยอมรับมติของศาล แต่เขาก็บอกว่าต้องมีการชดเชยด้วยราคาที่เป็นธรรม ตามกฏหมายการจัดสรรที่ดินให้แก่ชาวนาต้องมีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าของที่ดิน ปัญหาของกรณีนี้อยู่ที่ว่าจะจ่ายค่าที่ดินโดยใช้ราคาปี ๒๕๓๐ อันเป็นปีที่จะต้องแบ่งที่ดินแก่ชาวนาหรือจะใช้ราคาปี ๒๕๕๔ อันเป็นปีที่ศาลสูงมีมติ ราคาที่เป็นธรรมในสายตาของนอย นอย คงเป็นราคาปี ๒๕๕๔ แต่ศาลสูงกลับเห็นว่าเป็นราคาปี ๒๕๓๐ เพราะในปีนั้นชาวนาได้ฟ้องศาลคัดค้านการถือครองหุ้นจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของคดี การตัดสินเช่นนี้จะทำให้ตระกูลอคีโนได้รับเงินชดเชยน้อยลงประมาณสิบเท่า

หลังการตัดสินดังกล่าวนอย นอย ได้โจมตีโคโรนาด้วยถ้อยคำที่รุนแรงอย่างเปิดเผยหลายครั้งเริ่มด้วยข้อหาไม่รักษาความยุติธรรมจบลงด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้เคลื่อนไหวถอดถอนโคโรนา ประธานศาลสูง โดยอาศัย สส.ฝ่ายรัฐบาลทั้งในพรรคของเขาเองและพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตร ขณะนี้ เรื่องอยู่ที่วุฒิสภาซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะถอดถอนโคโรนาหรือไม่ เนื่องจากเป็นเรื่องร้อนคิดว่าหลังปีใหม่ไม่นานคงได้รู้กัน

 

 

หมายเหตุ: การเขียนบทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Nippon Foundation ตามโครงการปัญญาชนสาธารณะเอเชีย ทั้งนี้ความเห็นในบทความนี้เป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (2)

$
0
0

ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี

 

ด้วยเพราะหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ที่โครงสร้างอำนาจ ประเด็นการกระจายอำนาจ จึงเป็นประเด็นหลักบนเวทีสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 1 “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” วันที่ 5 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สองและเป็นวันปิดงาน

โทนของงานวันนี้ ฉายจับอยู่ที่การกระจายอำนาจ ตั้งแต่ช่วงแรกไปจนถึงช่วสงปิดงาน

ไล่มาตั้งแต่ปาฐกถาพิเศษ “สิทธิ เสรีภาพของประชาชนในทัศนะอิสลาม” โดยดอกเตอร์อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา ต่อด้วยการฉายวีดิทัศน์ “ทำไมต้องกระจายอำนาจ” จากนั้นเป็นการนำเสนอ “รูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจ” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

ตามด้วยการอภิปรายเรื่อง “ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนใต้: มุมมองที่หลากหลาย” ผู้อภิปรายประกอบด้วย นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตกรรมการปฏิรูป นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้

ก่อนหน้านี้ ข้อเสนอเกี่ยวกับการกระจายอำนาจในแบบเฉพาะที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เคยถูกเรียกร้องและหยิบยกขึ้นมาพูดคุยบ้างแล้วในอดีต ดังกรณีข้อเรียกร้อง 7 ประการ เมื่อกว่าหกสิบปีก่อนของฮัจญีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา ผู้นำศาสนาคนสำคัญของปัตตานี

ครั้นเมื่อความรุนแรงระลอกใหม่ปะทุขึ้นในปี 2547 รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอ “นครปัตตานี” เป็นหนึ่งในรูปแบบพิเศษของการกระจายอำนาจต่อหน้าประชาชน ณ มัสยิดกรือเซะและวัดช้างไห้ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเกิด “เหตุการณ์ 28 เมษายน 2547” ไม่นาน

ข้อเสนอดังกล่าวเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ดอกไม้หลากสีเพื่อเป็นแนวทางดับไฟใต้ ถ้อยแถลงครั้งนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการถกเถียงเรื่องนี้ในเวลาต่อมา

ต่อมา ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ก็ได้นำเสนอแนวทางดับไฟใต้ต่อรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหารในปี 2549 โดยหนึ่งในนั้นคือการปรับโครงสร้างบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รวบรวมกลุ่มจังหวัดเป็น “มณฑลเทศาภิบาล”

แม้แต่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในปี 2551 ก็เคยเสนอแนวทางการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ

ขณะที่ “เครือข่ายประชาชนเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการปกครองในจังหวัดชายแดนใต้” ที่เกาะกลุ่มกันมาตั้งแต่ต้นปี 2552 โดยได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันต่างๆ อาทิ สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) สภาพัฒนาการเมือง และสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ก็ได้พัฒนาร่างข้อเสนอจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ราว 50 เวที

กระทั่ง สามารถผลักดันออกมาเป็น “ปัตตานีมหานคร” ได้อีกตัวแบบหนึ่ง ผ่านรูปแบบของรายงานวิจัยและร่างพระราชบัญญัติในเวลาต่อมา

ในอีกด้านหนึ่ง แนวทางการกระจายอำนาจยังรองรับด้วยงานวิจัยอื่นๆ อีกหลายตัวแบบ เช่น ข้อเสนอ “ทบวงชายแดนใต้” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และดอกเตอร์สุกรี หลังปูเต๊ะ ที่มาจากการทบทวนรูปแบบการถ่ายโอนอำนาจและฟังเสียงสะท้อนจากผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 2551 โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอการเปลี่ยนผ่านจาก “ทบวงชายแดนใต้สู่เขตพิเศษสามนคร” ของนายอำนาจ ศรีพูนสุข ที่เสนอกระบวนการในการเปลี่ยนผ่านแบบมีจังหวะก้าว และตัวแบบ “เขตบริหารปกครองพิเศษ” ของนายสุริยะ สะนิวา และคณะ

เท่าที่ได้ประมวลข้อเสนอในเรื่องนี้ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สามารถนำมาสังเคราะห์ และจัดกลุ่มออกเป็น 6 ทางเลือกในการบริหารปกครอง เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาลักษณะเด่นของรูปแบบการบริหาร ข้อสนับสนุน และข้อวิจารณ์ของแต่ละทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1    คือ “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)”
ทางเลือกที่ 2 คือ “ทบวงการบริหารพื้นที่ชายแดนใต้”
ทางเลือกที่ 3 “สามนคร 1”
ทางเลือกที่ 4 “สามนคร 2”
ทางเลือกที่ 5 “มหานคร 1”
ทางเลือกที่ 6 คือ “มหานคร 2”

ทุกรูปแบบทางเลือกจะถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอในที่ประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ช่วงเวลา 9.55–10.25 น. ของวันที่ 5 มกราคม 2555 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

หาดใหญ่กันน้ำไม่อยู่/สะเดาถูกตัดขาด

$
0
0

 

1 มกราคม 2555 น้ำท่วมใต้ขยายวง 12 อำเภอสงขลาเจอน้ำถล่มหนัก สะเดาวิกฤติถูกตัดขาด หาดใหญ่ไปไม่รอดน้ำทะลุเข้าตัวเมืองชั้นใน lyj’หลายชุมชนอพยพคนแล้ว พัทลุงส่งทีมค้นหา 8 นักท่องเที่ยวหลงป่า ยะลา–นราธิวาสเจอดินถล่มซ้ำ ปัตตานีท่วมแล้ว 5 อำเภอ

รายงานข่าวจากจังหวัดสงขลาแจ้งว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้ ได้กระจายไปยังอำเภอต่างๆ แล้ว 12 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสะเดา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาทวี อำเภอนาหม่อม อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอบางกล่ำ อำเภอเทพา อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ และอำเภอเมืองสงขลา มีผู้จมน้ำผู้เสียชีวิตแล้ว 1 รายคือ นายฟักเม่ง แซ่เจีย อายุ 54 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ เนื่องจากบ้านถูกน้ำท่วมกะทันหัน หนีออกจากบ้านไม่ทัน

สะเดาวิกฤติถูกตัดขาด
สำหรับพื้นที่วิกฤติคืออำเภอสะเดา เนื่องจากถนนกาญจนวนิชบริเวณบ้านทุ่งลุง ในเขตเทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ น้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้ ขณะที่เส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์ ก็ถูกตัดขาดจากน้ำท่วมรางรถไฟเขตเทศบาลตำบลพะตง ไม่สามารถเดินขบวนรถได้ ทำให้อำเภอสะเดาถูกตัดขาด ขณะเดียวกันในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา มีบ้านเรือนถูกน้ำพัดพังเสียหายแล้ว 8 หลัง

จากสภาพดังกล่าว ส่งผลให้รถขบวนขนส่งสินค้าต้องจอดที่สถานีชุมทางรถไฟหาดใหญ่ ส่วนขบวนรถไฟระหว่างประเทศบัตเตอร์เวร์ธ–กรุงเทพมหานคร จากมาเลเซียเข้าสู่สถานีหาดใหญ่ในช่วงเย็นของวันที่ 1 มกราคม 2555 ต้องจอดที่สถานีปาดังเบซาร์ สำหรับรถไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงให้บริการตามปกติ

ส่วนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์ที่เข้ามาท่องเที่ยวปีใหม่ในอำเภอหาดใหญ่ เริ่มเช็คเอ้าต์ออกจากโรงแรมเดินทางกลับประเทศ เนื่องจากเกรงน้ำจะท่วมหาดใหญ่ แต่ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ติดค้างอยู่ตามโรงแรมต่างๆ เนื่องจากเส้นทางถนนกาญจนวานิช ระหว่างอำเภอหาดใหญ่กับอำเภอสะเดาที่เส้นทางไปด่านพรมแดนสะเดาถูกตัดขาด

ขณะที่ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ต่างพากันไปซื้ออาหารตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ไปตุนเตรียมรับสถานการณ์หลังจากทางเทศบาลนครหาดใหญ่เปลี่ยนป้ายสัญลักษณ์เตือนภัยน้ำท่วม จากธงเขียวเป็นธงเหลือง เพราะ ปริมาณน้ำที่จุดวัดน้ำบางศาลาอีกเพียง 40 เซนติเมตรน้ำจะล้นตลิ่ง ในขณะที่น้ำในคลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำที่ 1 ยังต่ำกว่าระดับตลิ่งกว่า 1.50 เมตร

น้ำทะลักเข้าตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นใน
ล่าสุดน้ำจากคลองหวะเริ่มไหลทะลักเข้าสู่พื้นที่ตัวเมืองหาดใหญ่ บริเวณถนนพลพิชัยหน้าโรงเรียนคลองหวะน้ำท่วมสูงประมาณ 1 เมตร ชาวบ้านเร่งอพยพออกมาจากพื้นที่ ขณะที่ชุมชนจันทร์วิโรจน์ ซึ่งเป็นจุดแรกที่น้ำจะไหลเข้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นใน ต่างเร่งขนย้ายสิ่งของ รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ออกจากบ้าน โดยทางจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศให้อพยพประชาชนในชุมชนต่างๆ พร้อมกับจัดหน่วยกู้ภัยลำเลียงเรือท้องแบนมารับผู้อพยพแล้ว

ขณะเดียวกันเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เร่งนำกระสอบทรายมาวางเป็นแนวกั้นน้ำ เพื่อชะลอน้ำให้ไหลเข้าสู่ตัวเมืองหาดใหญ่ชั้นใน ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าได้ช้าลง

นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ กล่าวว่า ถึงแม้บริเวณ 4 แยกคลองหวะระดับน้ำจะขึ้นสูง แต่ยังถือว่าระดับน้ำยังต่ำอยู่ เทศบาลจะพยายามระบายน้ำให้เร็วที่สุด ขณะนี้คลองระบายน้ำที่ 1 ยังสามารถระบายน้ำได้ดี ขณะที่คลองอู่ตะเภายังรับน้ำได้อีก 3 เมตร 

ส่งทีมค้นหา8นักท่องเที่ยวหลงป่า
รายงานข่าวจากจังหวัดพัทลุงแจ้งว่า ช่วงเย็นวันที่ 1 มกราคม 2555 มีชาวบ้านและพรานป่า ซึ่งชำนาญพื้นที่ป่าเขาล้อน ตำบลกงหรา ได้ออกเดินทางเข้าป่า เพื่อช่วยเหลือ 8 นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปชมทะเลหมอกรับปีใหม่ ที่ขาดการติดต่อมาตั้งแต่เมื่อฝนเริ่มตกหนักตอนเย็นวันที่ 31 ธันวาคม 2554 โดยประสานกับเจ้าหน้าที่ที่รออยู่ข้างล่างเป็นระยะ

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมนั้น ล่าสุดน้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดได้ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรสวนยางพารา ในอำเภอตะโหมด 4 ตำบล อำเภอบางแก้ว 2 ตำบล อำเภอเขาชัยสน 3 ตำบล อำเภอป่าบอน 2 ตำบล อำเภอกงหรา 2 ตำบล อำเภอศรีนครินทร์ 3 ตำบล อำเภอศรีบรรพต 1 ตำบล อำเภอควนขนุน 6 ตำบล อำภอเมืองพัทลุง 5 ตำบล โดยมีน้ำท่วมสูงประมาณ 80 เซนติเมตร–1 เมตร โดยเฉพาะถนนสายอำเภอเขาชัยสน–อำเภอกงหรา หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 12 ตำบลคลองเฉลิม และสายตะโหมด–กงหรา หมู่ที่ 12 ตำบลตะโหมด ระดับน้ำท่วมสูงรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ 

ยะลาเจอภัยดินถล่ม
ที่จังหวัดยะลา น้ำจากแม่น้ำปัตตานีและบึงแบเมาะ ได้เอ่อเข้าท่วมที่ราบลุ่มในเขตเทศบาลนครยะลา โดยกระแสน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร เข้าท่วมบริเวณหมู่บ้านเมืองทอง ถนนธนวิถี 5 เขตรอยต่อหมู่ที่ 9 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ชุมชนย่านตลาดเก่า และชุมชนมัรกัสยะลา (ศูนย์ดะวะห์) หมู่ที่ 3 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ต้องเร่งย้ายสิ่งของและอพยพออกจากบ้าน ขณะที่เทศบาลนครยะลาได้ตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่หลายเครื่อง เพื่อเร่งสูบน้ำอย่างเร่งด่วน

โดยมีนายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วยนายพงศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา นายเวโรจน์ สายทองแท้ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา ได้เดินทางไปอำนวยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานสรุปสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดยะลาว่า น้ำท่วมคลอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองยะลา ที่ตำบลสะเตงนอก ตำบลยุโป ตำบลท่าสาป และตำบลลำใหม่ อำเภอยะหา ที่ตำบลบาโร๊ะ ต้องอพยพราษฎร 20 ครัวเรือน ตำบลปะแต มีชาวบ้านได้รับผลกระทบ 153 ครัวเรือน และเกิดเหตุดินถล่มทับบ้าน 1 หลัง ตัวบ้านได้รับเสียหายบางส่วน อำเภอรามัน ที่ตำบลโกตาบารู รถเล็กผ่านไม่สะดวก ตำบลกายูบอเกาะ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ตำบลอาซ่อง หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าธง หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลเกะรอ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 7 และตำบลจะกว๊ะ หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 อำเภอบันนังสตา ที่ตำบลตลิ่งชัน ตำบลบาเจาะ และตำบลบันนังสตา อำเภอกรงปินัง ที่ตำบลกรงปินัง และตำบลสะเอ๊ะ

นายเดชรัฐ เปิดเผยว่า ทางจังหวัดยะลาได้เร่งระดมเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อุปกรณ์ เครื่องมือในการช่วยเหลือเบื้องต้น เข้าไปช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมแล้ว พร้อมทั้งประกาศ แจ้งเตือนพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่เสี่ยงภัย ให้เก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ขึ้นที่สูง และระมัดระวังอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า ปลั๊กไฟที่อยู่ในที่ต่ำ และระมัดระวังสัตว์ร้ายต่างๆ ที่อาจเข้ามารบกวนและทำร้ายในช่วงน้ำท่วม

นายเดชรัฐ เปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลาตรวจสอบข้อมูลและสรุปพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป ส่วนบ้านที่ถูกดินถล่มทับ จะให้อพยพไปอยู่ในที่พักชั่วคราว โดยให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และองค์การบริหารส่วนตำบลปะแต อำเภอยะหา เข้าไปตรวจสอบและให้ความช่วยเหลือแล้ว 

ทหารออกโรงช่วยชาวบ้าน
ขณะเดียวกันพล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วยพ.ท.ธนุตม์ พิศาลสิทธิวัฒน์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 พร้อมทหารจากหน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 ออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านหมู่ที่ 3 บ้านเป๊าะยานิ ตำบลสะเตงนอก ซึ่งมีชาวบ้านอยู่อาศัยกว่า 400 ครัวเรือน ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก 5 ครัวเรือน น้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ต้องย้ายมาอาศัยที่ศูนย์อพยพชั่วคราวของหมู่บ้าน

พร้อมกันนี้หน่วยเฉพาะกิจยะลาที่ 11 ยังได้นำทีมแพทย์ทหาร พร้อมเครื่องยาเวชภัณฑ์และอาหารสำเร็จรูป พร้อมเรือท้องแบน และรถ GMC ของกองทัพภาค 4 ออกมาให้บริการชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมด้วย

พล.ท.อุดมชัย กล่าวว่า ในส่วนของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้มีการประสานฝ่ายพลเรือนและหน่วยกองกำลังเจ้าหน้าที่ทหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กระจายกำลังออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างเต็มที่ เป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนในหมู่บ้าน ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สามารถรู้ล่วงหน้าว่าน้ำจะไหลเข้าท่วมพื้นที่ ทำให้เตรียมพร้อมรับมือได้ทัน คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้นโดยเร็ว

ปัตตานีท่วมแล้ว 5 อำเภอ
วันเดียวกันนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี ได้ประกาศแจ้งพื้นที่น้ำป่าไหลหลากและเกิดน้ำท่วมแล้ว 5 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอยะรัง อำเภอแม่ลาน อำเภอกะพ้อ อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี มีประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 2,000 ครัวเรือน พร้อมกับได้แจ้งเตือนทั้ง 12 อำเภอ ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดปัตตานี ขณะนี้ทางหลวงสาย 418 เป็นเส้นทางสัญจรหลัก ตรงบริเวณเขตรอยต่อระหว่างอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี–ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา น้ำป่าไหลหลากท่วมเส้นทางต้องปิดถนนฝั่งขาออกไม่ให้รถทุกชนิดผ่าน โดยหน่วยทหารได้จัดกำลังมาคอยอำนวยความสะดวก และอนุญาตให้รถวิ่งผ่านฝั่งขาเข้าได้เพียงช่องทางเดียว

ขณะที่หมู่ที่ 5 ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง น้ำป่าและน้ำจากแม่น้ำปัตตานี ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรกว่า 300 ครัวเรือน ถนนเข้าออกหมู่บ้านจมอยู่น้ำประมาณ 30–60 เซนติเมตร ประชาชนต้องนำสิ่งของขึ้นไปไว้บนที่สูง 

นราธิวาสเร่งช่วยผู้ประสบภัย
วันเดียวกัน ที่บริเวณวัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนายจำนัล เหมือนดำ นายอำเภอสุไหงปาดี ได้ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากน้ำท่วมใน 6 ตำบลของอำเภอสุไหงปาดี หลังฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำได้กว่า 260 มิลลิเมตร ทำให้ระดับน้ำท่วมสูงกว่า 60 เซนติเมตร ส่งผลให้บริเวณถนนสายหลักและสายรองในอำเภอสุไหงปาดี ได้รับความเสียหาย รถเล็กไม่สามารถผ่านได้

พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส ในฐานะเจ้าอาวาสวัดประชุมชลธารา กล่าวว่า ปริมาณน้ำที่ท่วมครั้งนี้สูงที่สุดในรอบ 30 ปี หลังจากฝนหยุดตกแล้ว สถานการณ์น้ำที่ท่วมในพื้นที่เริ่มลดลงจนเหลือ 30 เซนติเมตร คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในคืนวันที่ 1 มกราคม 2555 ถ้าหากไม่มีฝนตกซ้ำอีก เนื่องจากมวลน้ำได้ไหลลงสู่ป่าพรุโต๊ะแดง เขตรอยต่ออำเภอสุไหงปาดีกับอำเภอสุไหงโก–ลก ซึ่งเป็นแก้มลิงธรรมชาติ

นายจำนัลยอมรับว่า ปริมาณน้ำได้ไหลบ่าลงมาจากเทือกเขาตะเวอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมาย ทำให้ราษฎรไม่สามารถเก็บสิ่งของขึ้นบนที่สูงได้ทัน ทางอำเภอกำลังตรวจสอบความเสียหาย ทั้งในส่วนของบ้านเรือนราษฎร ถนน และสาธารณูปโภค เพื่อให้ความช่วยเหลือและซ่อมบำรุงต่อไป

ขณะเดียวกันนายอภินันท์ ก็ได้ประกาศให้พื้นที่ 8 อำเภอ เป็นเขตประสบภัยพิบัติ และแจ้งไปยังนายอำเภอทั้ง 8 อำเภอ ให้การช่วยเหลือราษฎร รวมทั้งสำรวจความเสียหายเพื่อตั้งงบประมาณช่วยเหลือเยียวยาอย่างเร่งด่วนแล้ว

จากการสำรวจล่าสุด มีน้ำท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนของราษฎรในจังหวัดนราธิวาสแล้ว 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอจะแนะ อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงปาดี อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอสุคิริน และอำเภอเมืองนราธิวาส โดยบริเวณน้ำท่วมได้ขยายวงกว้าง ปริมาณน้ำท่วมขังสูงอยู่ที่ระดับ 100–130 เซนติเมตร

ขณะนี้ถนนจารุเสถียร สายสุไหงโก–ลก–เจาะไอร้อง ยานพาหนะทุกชนิดไม่สามารถสัญจรไปมาได้ โดยมีน้ำท่วมขังสูง 2 จุดคื ภายในเขตเทศบาลตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี และบริเวณทางโค้งมะรือโบออก หมู่ที่ 1 ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถบรรทุกและเครื่องขยายเสียง ประกาศเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมสามารถอพยพได้ทันที หากมีน้ำป่าบนเทือกเขาไหลทะลัก 

รือเสาะท่วมหนักแถมดินถล่มซ้ำ
สำหรับพื้นที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดของจังหวัดนราธิวาสคืออำเภอรือเสาะ เนื่องจากมีน้ำป่าบนเทือกเขาหลังหมู่บ้านกาเปาะ หมู่ที่ 4 ตำบลสุวารีไหลทะลักเข้าท่วม และพัดบ้านเรือนราษฎร 5 หลัง หายไปกับกระแสน้ำ ประกอบด้วย บ้านของนายฮารง สาลี นายฮาซิน แดแง นายสุรเดช กาลอปอ นางรอพีซะ สะแดแก และนายฮาเซ็ง แดแง แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

นอกจากนี้ น้ำป่ายังได้พัดดินบนเทือกเขาหลังหมู่บ้านถล่มลงมา สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนของราษฎรอีก 20 หลัง โดยพ.ต.อ.สะท้านฟ้า วามะสิงห์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ ได้นำกำลังตำรวจไปให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ถนนประชาธิปไตย ขอจังหวัดธนบุรีคืน

$
0
0

“กรุงธนแทนที่      กรุงศรีอยุธยา
ราชธานีไทย        ถึงจะแตกแยกไปก็ไม่สิ้นคนดี”

วันที่ ๒๘ ธันวาคมของทุกปี จะถือกันว่า เป็นวันพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งจะเป็นวันที่ประชาชนชาวธนบุรี จะจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นผู้กอบกู้เอกราชของราชอาณาจักร หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ใน พ.ศ.๒๓๑๐ พระเจ้าตาก ซึ่งขณะนั้นเป็นพระยาวชิระปราการ ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ แล้วนำกองทัพต่อสู้เพื่อรื้อฟื้นบ้านเมือง พระองค์ประสบความสำเร็จ และได้ตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ครองราชย์สมบัติมาได้ ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ.๒๓๒๔ ก็เกิดกบฏภายในราชอาณาจักร จนทำให้พระองค์เสื่อมอำนาจลง เจ้าพระยาจักรี สมุหนายก จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ แล้วมีพระราชดำริว่า กรุงธนบุรี เมืองหลวงเดิม ตั้งอยู่ในที่คับแคบ ไม่ต้องด้วยหลักพิชัยสงคราม จึงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ฝั่งบางกอก ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นที่มาของกรุงเทพฯ เมืองหลวงในปัจจุบัน

ในทางประวัติศาสตร์ในระยะแรก เมืองธนบุรี ก็ยังมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งในราชอาณาจักร จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ได้มีการจัดตั้งเป็นมณฑลกรุงเทพมหานคร มีการรวมหลายเมืองอยู่ในมณฑล คือ กรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ ธัญญบุรี  และมีนบุรี จนเมื่อเกิดการปฏิวัติ พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีการยกเลิกมณฑล แล้วตั้งเป็นจังหวัด โดยถือว่าจังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เป็น ๒ จังหวัดที่แยกจากกัน ถือเป็นการปกครองส่วนภูมิภาค

ดังนั้น ชาวธนบุรี จึงได้มีจังหวัดธนบุรีของตนเอง ในระยะแรก สมุทรสาครก็รวมอยู่ในจังหวัดธนบุรีด้วย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งแรก จังหวัดธนบุรีก็มีผู้แทนราษฎรจังหวัดของตน ต่อมา พ.ศ.๒๔๘๐ เมื่อมีการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นครั้งแรก จังหวัดธนบุรี ก็มีเทศบาลนครธนบุรีเป็นอิสระของตนเอง นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ เป็นอดีตผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรีที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นคนสำคัญในการรวมรวมเงินบริจาคเพื่อรณรงค์สร้างอนุสาวรีย์พระเจ้ากรุงธนบุรีที่วงเวียนใหญ่ ซึ่งสร้างได้สำเร็จและประดิษฐานเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ สำหรับอดีตผู้แทนราษฎรธนบุรีที่มีชื่อเสียงในระยะต่อมาก็เช่น นายไถง สุวรรณทัต พล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ เป็นต้น

จนกระทั่งเมื่อเกิดการรัฐประหาร โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ คณะผู้ยึดอำนาจได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๕ ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ให้ยุบจังหวัดธนบุรีไปรวมกับจังหวัดพระนครโดยให้เรียกว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี โดยให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการแต่งตั้งควบตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีในจังหวัดที่รวมกัน ในคำประกาศคณะปฏิวัติได้ให้เหตุผลการรวมจังหวัดดังนี้

"โดยที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครองมาช้านาน  แม้ในปัจจุบันการประกอบอาชีพของประชาชนแต่ละจังหวัดก็ได้ดำเนินไปในลักษณะที่เป็นจังหวัดเดียวกัน  และการจัดหน่วยราชการสำหรับรับใช้ประชาชน  ก็ได้กระทำในรูปให้มีหน่วยราชการร่วมกัน เช่น การศาล การรับจดทะเบียนกิจการบางประเภท  คณะปฏิวัติจึงเห็นสมควรที่จะรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นจังหวัดเดียวกัน  เพื่อการบริหารราชการจะได้ดำเนินไปโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพ  บังเกิดความเจริญแก่จังหวัดทั้งสองโดยรวดเร็ว" (อ้างจาก กำพล จำปาพันธ์ รัฐประหาร ๒๕๑๔ กับการรวมธนบุรีเข้ากับกรุงเทพฯ)

ดังนั้น จะขอย้ำในที่นี้ก่อนว่า การรวมธนบุรีเข้ากับกรุงเทพฯนั้น คือ ผลพวงของการรัฐประหาร ไม่มีการนำเสนอเข้าพิจารณาในสภาผูแทนราษฎร ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ถามชาวฝั่งธน ไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า คณะรัฐประหารปรึกษาหารือ หรือรับข้อเสนอมาจากใคร ยิ่งกว่านั้น จะเห็นว่าเหตุผลในการรวมจังหวัดอ่อนมาก ข้ออ้างเพียงแค่ จังหวัดทั้งสองมีความสัมพันธ์กันทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการปกครอง ไม่ได้ให้ความกระจ่างได้เพียงพอ

แต่กระนั้น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ก็ยังคงมีคำว่า ธนบุรีอยู่ในชื่อ จนกระทั่ง อีก ๑ ปีต่อมา คือ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ คณะรัฐประหารก็ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๕ ให้ยุบรวมการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลทั้งหมดเข้ากับผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหน่วยราชการเดียว เรียกว่า กรุงเทพมหานคร ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเลิกชื่อนครหลวงกรุงเทพธนบุรีไปด้วย และการเรียกชื่อ กรุงเทพมหานคร ยังคงใช้มาถึงปัจจุบัน ในโครงสร้างการบริหารเช่นนี้ ธนบุรีคือเขตที่เคยเป็นอำเภอเมืองธนบุรี กลายเป็นเพียงเขตหนึ่งในกรุงเทพมหานครเท่านั้น

การยุบรวมจังหวัดธนบุรีเข้ากับกรุงเทพมหานครดังกล่าว ทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็นจังหวัดใหญ่เทอะทะ เพราะจากสถิติในขณะนี้ กรุงเทพมหานครมีประชากรที่เป็นทางการราว ๕.๗ ล้านคน หรือราว ๘.๕ เปอร์เซนต์ของประเทศ มีการแบ่งเขตการบริหารได้ถึง ๕๐ เขต และมี ผู้แทนราษฎรถึง ๓๓ คน ก่อนหน้านี้ เคยมีครั้งหนึ่งเช่นกัน ที่เกิดการตั้งคำถามกับความใหญ่โตของกรุงเทพมหานคร คือ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ เมื่อเกิดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกครั้งแรก ในขณะนั้น คิดจำนวนวุฒิสมาชิกสัดส่วนตามประชากร ทำให้กรุงเทพมหานครมีวุฒิสมาชิกได้ ๑๘ คน ทำให้มีผู้สมัครแข่งขันถึง ๒๖๕ คน ซึ่งเป็นการยากลำบากทั้งในการจัดการที่จะต้องปิดประกาศผู้สมัครและพิมพ์บัตรเลือกตั้ง จึงมีการเสนอกันว่า ถ้ากรุงเทพมหานครมีขนาดเล็กลง การเลือกตั้งจะสะดวกกว่านี้ แต่หลังจากการเลือกตั้ง กระแสนี้ก็เงียบหายไป

จนกระทั่ง เมื่อผ่านมาถึงขณะนี้ กรุงเทพมหานครจะมีอายุครบ ๔๐ ปี ได้เกิดกระแสจากประชาชนชาวธนบุรีที่สงสัยและไม่เห็นด้วยกับการรวมจังหวัด และเริ่มเกิดการรณรงค์ที่ให้มีการฟื้นฟูจังหวัดธนบุรี โดยตั้งเป็นเฟซบุค "เราต้องการจังหวัดธนบุรี” การรณรงค์นี้ เหตุผลที่รองรับแรกสุดคือ พื้นที่กรุงเทพมหานครกว้างเกินไปกว่าที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครจะดูแลได้ทั่วถึง ตัวอย่างรูปธรรมที่ก่อให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจสำหรับชาวธนบุรีก็คือ กรณีน้ำท่วมใหญ่ครั้งที่ผ่านมา ชาวฝั่งธนบุรีรู้สึกว่าถูกปล่อยให้รับน้ำแทนชาวพระนครชั้นใน มีการนำเสนอข้อมูลว่า ชาวธนบุรีนั้น มีจำนวน ๓๑.๒๔ เปอร์เซนต์ของกรุงเทพฯ แต่ไม่มีระบบการระบายน้ำของตนเอง ดังนั้น ถ้าหากว่าชาวธนบุรี มีการบริหารท้องถิ่นของตนเอง การจัดการบริหารน่าจะดีกว่า

นอกจากนี้ ในระยะ ๔๐ ปีที่ผ่านมา ก็เกิดการแยกจังหวัด และตั้งจังหวัดใหม่ถึง ๗ จังหวัด คือ ยโสธร พะเยา มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระแก้ว อำนาจเจริญ และ บึงกาฬ ซึ่งทำให้การบริหารราชการสะดวกและคล่องตัวมากขึ้นทั้งสิ้น และการแบ่งจังหวัดเหล่านั้น ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาทางการเมืองใดเลย นี่จึงเป็นเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ที่จังหวัดธนบุรี จะแยกตัวออกมา เพื่อช่วยลดขนาดของกรุงเทพมหานครลง

ประการต่อมา การรื้อฟื้นจังหวัดธนบุรีถือได้ว่าเป็นการถวายพระเกียรติแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี ที่เป็นผู้ตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และด้วยเหตุผลที่ธนบุรีเป็นอดีตราชธานีเช่นนี้ ก็น่าจะเพียงพอต่อการฟื้นฟูสถานะของจังหวัดขึ้นมา เพื่อเป็นการเคารพแก่ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

สำหรับผมเอง ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้เช่นกัน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นชาวธนบุรี สาเหตุสำคัญก็คือ การล้มล้างผลพวงของการรัฐประหาร พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งอาจจะเป็นจุดกเริ่มต้นของการล้มล้างผลพวงรัฐประหารทั้งหลาย ที่ทำให้ประเทศไทยล้าหลังอยู่ในขณะนี้

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส่งสัญญาณมูบารัคอาจรอดคดีสังหารหมู่ผู้ชุมนุม

$
0
0

ศาลในกรุงไคโรเปิดการพิจารณาคดีสังหารหมู่ประชาชนอีกครั้ง อดีตประธานาธิบดีผู้เป็นจำเลยซึ่งกำลังรักษาโรคหัวใจที่โรงพยาบาลเดินทางมาศาลพร้อมเตียงพยาบาล ญาติๆ ผู้ตายบอกเริ่มหมดหวัง หลังจากพยานส่วนใหญ่ให้การว่ามูบารัคไม่ได้เป็นคนสั่งการปราบผู้ชุมนุม


การชุมนุมในอียิปต์เมื่อวันที่ 8 ก.พ.2011
ภาพโดย
RamyRaoof (CC BY 2.0)

2 ม.ค. 2012 - อดีตประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค ของอียิปต์ปรากฏตัวในศาลที่พิจารณาคดีในข้อกล่าวหาสังหารผู้ชุมนุม ก่อนที่จะมีการเลื่อนการพิจารณาคดีไปอีกเป็นวันที่ 3 ม.ค.

วันที่ 2 ม.ค. สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอียิปต์เผยแพร่ภาพของอดีตประธานาธิบดีมูบารัคบนเตียงพยาบาลถูกพาเข้าไปในโรงเรียนตำรวจที่ชานเมืองของกรุงไคโรซึ่งใช้เป็นสถานที่พิจารณาคดี โดยนี่ถือเป็นการพิจารณาครั้งที่สองหลังจากที่มีการพักพิจารณาคดีไป 2 เดือน

ลูกชายของมูบารัค 2 คนคือ อะลา และกามาล ก็ถูกฟ้องในข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงอดีตรัฐมนตรีมหาดไทยฮาบิน เอล-แอดลี ผู้ที่ถูกฟ้องทั้งข้อหาสั่งฆ่าผู้ชุมนุมและข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งหมดต่างกลับขึ้นศาลอีกครั้งในวันดังกล่าวด้วย

มูบารัคถูกตั้งข้อหาเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดในเหตุการณ์สังหารหมู่ผู้ประท้วงมากกว่า 800 คน ในช่วงที่มีการลุกฮือต่อต้านของประชาชนเมื่อเดือน ก.พ. ปีที่ผ่านมา (2011)

มูบารัคอาจต้องโทษประหารชีวิตหากเขาถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงฐานสังหารผู้ชุมนุม แต่บางคนก็เห็นว่า การที่ศาลปล่อยตัวตำรวจ 5 นายที่ถูกตั้งข้อหาสังหารผู้ชุมนุมนั้น เป็นการส่งสัญญาณว่าจะมีการยกฟ้องข้อกล่าวหาของมูบารัค

ทั้งนี้ อดีตประธานาธิบดีวัย 83 ปี ผู้นี้กำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทหารเนื่องจากโรคหัวใจ

โดยก่อนหน้านี้หมายศาลได้มีการนัดพิจารณาคดีในวันที่ 28 ธ.ค. 2011 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงกระบวนการศาลและมีการให้การเพียงเล็กน้อยก่อนจะเลื่อนพิจารณาเป็นวันที่ 2 ม.ค. และเลื่อนอีกครั้งเป็นวันที่ 3 ม.ค. ดังกล่าว

การให้การในวันที่ 28 ธ.ค. 2011 มาจากฝั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งพยายามให้การแก้ต่างว่ามูบารัคไม่ได้เป็นผู้สั่งการให้ยิงผู้ชุมนุม ขณะที่พยานอีกรายคือพลโท ซามี ฮาเฟซ อันนัน ผู้ที่มีอำนาจลำดับสองในสภาทหารไม่สามารถมาให้การได้เนื่องจากเหตุขัดข้องทางเทคนิค

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ประชาชนหลายคนหวังว่าการพิจารณาคดีของมูบารัคจะช่วยทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นบ้างในกรุงไคโร หลังจากที่มีการเหตุปะทะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

ในการพิจารณาสองครั้งล่าสุด ทนายความฝ่ายผู้ประท้วงที่ถูกสังหาร เรียกร้องให้ถอนตัวผู้พิพากษาอาห์เม็ด เรฟัต โดยกล่าวหาว่าเรฟัตมีอคติเอียงข้างฝ่ายจำเลย แต่ข้อเรียกร้องของเขาไม่เป็นผล โดยทนายความกล่าวว่าศาลได้พยายามยั่วยุในช่วงที่เขากำลังให้การ แต่ไม่ได้กระทำแบบเดียวกันในช่วงที่มูบารัคให้การด้วย

ญาติของเหยื่อที่ถูกสังหารบอกว่า พวกเขาเริ่มหมดหวังที่จะได้เห็นมูบารัคถูกดำเนินคดี เนื่องจากพยานฝ่ายอัยการส่วนมากให้การยืนยันว่ามูบารัคไม่ได้สั่งยิงผู้ชุมนุม

พยานสำคัญรายหนึ่งซึ่งเป็นอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีมหาดไทยบอกว่า แอดลี เป็นผู้สั่งการให้ยิงแก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำใส่ผู้ชุมนุมในช่วงวันที่ 28 ม.ค. 2011 ซึ่งเป็นวันที่การประท้วงปะทุรุนแรงที่สุด

 

ที่มา

Mubarak appears briefly in court, Aljazeera, 02-01-2012

Egypt court adjourns Mubarak trial, Aljazeera, 29-12-2011

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สุรชัย แซ่ด่าน: สาส์นถึงประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรม

$
0
0

 

ชื่อบทความเดิม: สาส์นถึงพี่น้อง ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและรักความเป็นธรรม

หมายเหตุ: จดหมายจากสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือ แซ่ด่าน ซึ่งถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ส่งผ่านมาทางผู้เข้าเยี่ยมเพื่อเผยแพร่

 

 

กราบเรียนพี่น้องประชาชนผู้รักชาติรักประชาธิปไตย และ รักความเป็นธรรมทุกท่าน

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2553 ผมกับพี่น้องคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่ง มาจัดงาน “เคาน์ดาวน์” เรียกร้อง “อิสรภาพ” ให้กับ “คุณณัฐวุฒิ ไสเกื้อ และ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช.)”  ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุก แต่พอมาถึง 31 ธันวาคม 2554  ผมก็มาถูกคุมขังอยู่ในคุกแทน  แกนนำ นปช.ก็ต้องมาจัดงาน “เคาน์ดาวน์”  เรียกร้องอิสรภาพให้แก่ผมและคนเสื้อแดงอีกหลายคนที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ก็ไม่รู้ว่าเราจะต้องจัดงาน “เคาน์ดาวน์” หน้าคุกกันอีกกี่ปี และไม่รู้ว่าพวกเราจะต้องผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน จัดงานเค้าดาวน์กันอีกกี่ครั้ง นี่คือ ผลของกระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน

เมื่อตอนที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลคนเสื้อแดง ถูกขังคุกเพราะศาลไม่ให้ประกันตัว อ้างเหตุกลัวหลบหนี แต่คนเสื้อเหลืองที่ความผิดร้ายแรงมากกว่า ได้รับการประกันตัวไม่กลัวหลบหนี นี่คือ สองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม คนเสื้อแดงก็พอทำใจได้ เพราะประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับพวกเรา

แต่เวลานี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล คนเสื้อแดงก็ยังถูกขังคุก คนเสื้อเหลืองก็ไม่ถูกขังคุกเหมือนเดิมคนเสื้อแดงยังจะทำใจได้หรือ ? กับระบบสองมาตรฐานอย่างนี้ และเป็นเครื่องยืนยันว่าอำนาจรัฐที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล เพราะแค่จะประกันตัวคนของตนเองยังทำไม่ได้ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจึงบริหารประเทศอย่างไร้ความมั่นคง ต้องคอยเอาใจเจ้าของอำนาจอย่างแท้จริงอยู่ตลอดเวลา แล้วจะทนอยู่อย่างนี้ไปได้นานเท่าไหร่ ฝากข้อคิดนี้ไปยัง รัฐบาลและคนเสื้อแดงทั่วประเทศด้วย

สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้รัฐบาลได้อยู่รอดปลอดภัยและพี่น้องประชาชนมีความคิดที่แจ่มใส มีจิตใจที่รุ่งโรจน์ ตาสว่างมากยิ่งขึ้น รวมพลัง รอคอยโอกาส ลุกขึ้นสู้ กำชัยชนะ เมื่อโอกาสมาถึงในไม่ช้านี้ ผมจะรอคอยพวกท่านมาเปิดประตูคุกให้ แต่ถ้าผมตายเสียก่อนก็จงเอาศพไปแห่ประท้วง ม.112 จนกว่าจะแก้ไขให้มีความเป็นธรรมและประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นในประเทศไทย

                                                                                                                 

                                                                                                                     สุรชัย  แซ่ด่าน

                                                                                    ประธานองค์กรแดงสยาม (Red Siam Organization)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กระจายอำนาจ สู่การปฏิรูปโครงสร้างรัฐชายแดนใต้ (3)

$
0
0

ในงานสมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ชายแดนใต้ไม่ทอดทิ้งกัน” ในวันที่ 5 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันที่สองของงาน ที่กำหนดให้มีการนำเสนอเรื่องการกระจายอำนาจในจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น

สาระสำคัญที่คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษคือ ทางเลือกการกระจายอำนาจรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่จะมีการพูดคุยในประเด็นนี้ถึง 2 หัวข้อ

หนึ่ง “นำเสนอรูปแบบทางเลือกการกระจายอำนาจจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ตามด้วยการอภิปรายเรื่อง “ทางเลือกการกระจายอำนาจในรูปแบบพิเศษจังหวัดชายแดนใต้: มุมมองที่หลากหลาย” โดยนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตคณะกรรมการปฏิรูป นายสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ นายกสมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้

สำหรับทางเลือกการกระจายอำนาจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอ เป็นการประมวลมาจากรูปแบบที่มีการเสนอในวาระโอกาสต่างๆ ตลอดช่วงที่ผ่านมารวม 6 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

ทางเลือกที่ 1 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.
มีพื้นที่ดูแลครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของเลขาธิการที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง

มีผู้ว่าราชการจังหวัดจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย ดูแลรายจังหวัด ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองส่วนภูมิภาค ทำหน้าที่ประสานหน่วยงานจากกระทรวงต่างๆ สำหรับการทำงานในพื้นที่

ส่วนองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตั้งแต่ระดับจังหวัด เมือง และตำบลตามลำดับ

ลักษณะเด่น เป็นการบริหารและการปกครองรูปแบบพิเศษที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หน่วยงานราชการส่วนใหญ่ให้การยอมรับ

โครงสร้างการบริหาร เลขาธิการมาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี มีสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)

ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยังคงอยู่เหมือนเดิม

จุดเด่นอยู่ตรงที่มีความเป็นเอกภาพในการบริหารราชการ และเป็นนิติบุคคล เลขาธิการมีอำนาจสั่งย้ายข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมออกนอกพื้นที่ได้ทันที โครงสร้างบริหารราชการและอำนาจหน้าที่ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน

ข้อวิจารณ์ พื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมจังหวัดที่ไม่ได้มีความขัดแย้งรุนแรงคือ จังหวัดสตูลและพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสงขลา ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่มีอำนาจจริง มีงบประมาณจำกัด ขาดความเป็นอิสระ คนในพื้นที่ไม่ได้มีโอกาสเลือกผู้บริหารศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้

ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นส่วนราชการรูปแบบเฉพาะที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี  

เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวง รับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง ที่ปฏิบัติงานในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีรองเลขาธิการตามจำนวนที่นายกรัฐมนตรีกำหนด เป็นผู้ช่วยสั่งการ และปฏิบัติงานตามที่เลขาธิการมอบหมาย

ในส่วนของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และการจัดตั้งงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดเขตพัฒนาพิเศษและกรอบแนวทางการบริหาร และการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษ ตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอ

พิจารณาเสนอแนะหน่วยงานของรัฐให้จัดทำแผนพัฒนา แผนงาน และโครงการ พร้อมงบประมาณในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำกับ เร่งรัด ติดตาม แก้ไขกฎระเบียบ และลดขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อคณะรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

สำหรับปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ในส่วนของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งตัวแทนสาขาอาชีพต่างๆ จากการคัดเลือกกันเองจำนวนไม่เกิน 49 คน มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดทำ หรือปรับปรุง เพื่อเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณา ให้คำปรึกษา เสนอแนะ ร่วมมือ และประสานงานกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการปฏิบัติการ ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติการ รายงานต่อเลขาธิการ และนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ

ทางเลือกที่ 2 ทบวงการบริหารพื้นที่ชายแดนใต้
มีสถานะเทียบเท่ากระทรวงจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐมนตรี มีผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดที่มาจากการแต่งตั้งทำหน้าที่เป็นรองปลัดทบวง และมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลักษณะเด่นอยู่ที่เป็นการบริหารปกครองรูปแบบพิเศษ ที่มีสถานะเทียบเท่ากระทรวง เป็นรูปแบบที่มีลักษณะประนีประนอมระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ยึดหลักการถ่ายโอนอำนาจ

ในส่วนของโครงสร้างการบริหาร มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บริหารสูงสุด ปลัดทบวงเป็นข้าราชการประจำ โดยให้รองปลัดทบวงที่มาจากผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กำกับดูแลการบริหารงานในแต่ละจังหวัด

มีสมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งตัวแทนภายในกลุ่มอาชีพ มีอำนาจให้ความเห็นชอบต่อนโยบายและงบประมาณของทบวงฯ

นอกจากจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยังคงอยู่เหมือนเดิมแล้ว ยังมีสภาท้องถิ่นที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งในแต่ละเขตท้องถิ่น และผู้นำศาสนาที่สรรหามาจากท้องถิ่นอีกด้วย

นับเป็นข้อเสนอรูปแบบการปกครอง ที่มีการถ่วงดุลกลุ่มพลังทุกฝ่าย มีลักษณะประนีประนอมระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น และระหว่างคนทุกกลุ่มในท้องถิ่น โดยมีฝ่ายการเมืองเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง

สำหรับจุดอ่อนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การปกครองรูปแบบทบวงคือ ไม่มีการกระจายอำนาจสู่ประชาชน เนื่องจากยังยึดติดอยู่กับระบบบริหารราชการ ไม่มีหลักประกันว่ารัฐมนตรีว่าการทบวง จะสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ได้จริง ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ไม่มีอำนาจจริง มีงบประมาณจำกัด และขาดความเป็นอิสระ

สำหรับรูปแบบการปกครองที่ได้จากงานวิจัยโครงการการศึกษาการปกครองท้องถิ่นของจังหวัดที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์: กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และดอกเตอร์สุกรี หลังปูเต๊ะ และงานวิจัยตัวแบบทางกฎหมายสำหรับการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของอำนาจ ศรีพูนสุข ระบุว่า บวงการบริหารกิจการชายแดนภาคใต้ มีสถานะเทียบเท่ากระทรวงจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้นำในระดับนโยบายและองค์กรกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

มีจังหวัดเป็นส่วนราชการระดับกรม จัดตั้งขึ้นตามเขตการปกครองเดิม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเดิม มีฐานะเทียบเท่าอธิบดีจังหวัด ขณะที่ระเบียบราชการ ตั้งแต่อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านยังคงฐานะเดิม แต่ให้ขึ้นตรงกับทบวง

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งเขตพื้นที่พิเศษ (Special Region) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากทบวงฯ ขึ้นมาดูแลการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในภาพรวมของกลุ่มจังหวัด โดยแบ่งบทบาทให้ไม่ซ้อนทับกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เขตพื้นที่พิเศษ ประกอบด้วย สภาเขตพื้นที่พิเศษ มีสมาชิก 2 ประเภทคือ จากการเลือกตั้งโดยตรงอำเภอละหนึ่งคน และให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลคัดเลือกเข้ามาอีกจำนวนหนึ่ง สภามีหน้าที่จัดทำแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และพิจารณาจัดสรรงบประมาณ

นอกจากนี้ ยังมี “คณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจเขตพื้นที่พิเศษ” เป็นที่ปรึกษาสภาเขตพื้นที่พิเศษ

มีประธานสภาเขตพื้นที่พิเศษ เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี มี “สำนักงานเลขาธิการสภาเขตพื้นที่พิเศษ” เป็นกลไกส่วนราชการ เป็นหน่วยธุรการและหน่วยงานสนับสนุนทางวิชาการ มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีการปรับปรุงโครงสร้างภายใน เพื่อตอบสนองต่อวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา และการพัฒนาในมิติที่มีศาสนานำ โดยจัดตั้ง “คณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจ” ขึ้นในทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ให้มีกรรมการที่เลือกสรรขึ้นมา โดยให้ความสำคัญกับผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ

อีกทั้งให้ความสำคัญกับหลักกฎหมายอิสลาม หรือชะรีอะห์ เพิ่มกลไกการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามหลักการดังกล่าว เป็นการลดคดีความที่นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรม

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ท้องถิ่น โดยเพิ่มทั้งอำนาจและแหล่งรายได้ใหม่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ โดยโอนมาให้รัฐมนตรีทบวงการบริหารกิจชายแดนภาคใต้ เป็นผู้กำกับดูแล

ติดตามทางเลือกที่ 3 และที่ 4 ได้ในตอนต่อไป

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘เจ้าท่าสตูล’ จับเฟอร์รี่แกนนำต้าน ‘ท่าเรือน้ำลึกปากบารา’

$
0
0

นายไกรวุฒิ ชูสกุล ผู้จัดการฝ่ายบริหารการตลาดของบริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่แอนด์สปีดโบ้ท จำกัด เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ของวันที่ 2 มกราคม 2555 เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาสตูล จับเรือบรรทุกนักท่องเที่ยวของบริษัท หลีเป๊ะเฟอรี่ฯ ที่บริเวณเกาะไข่ ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา หลังจากวิ่งจากท่าเรือเกาะหลีเป๊ะ โดยแจ้งว่าบรรทุกนักท่องเที่ยวเกิน 65 คน ตามจำนวนที่นั่งของเรือ ขณะที่ปล่อยให้เรือของอีกบริษัทให้บริการรับส่งผู้โดยสารต่อไป ทั้งที่บรรทุกผู้โดยสารเรือเกินกำหนดเช่นกัน

นายไกรวุฒิ เปิดเผยอีกว่า เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาสตูลให้เรือลอยลำอยู่ในทะเลกว่า 1 ชั่วโมง ก่อนสั่งให้กัปตันขับเรือกลับไปยังเกาะหลีเป๊ะ และสั่งให้นักท่องเที่ยวขึ้นลงเรือถึง 3 ครั้ง โดยมีทหารเรือ และตำรวจน้ำเข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยให้เรือของบริษัท หลีเป๊ะเฟอรี่ฯ เดินทางต่อไปได้ ทางบริษัท หลีเป๊ะเฟอรี่ฯ ได้โทรศัพท์พูดคุยกับหัวหน้าสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูลแล้ว แต่เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูลไม่ยินยอม ยืนยันว่าลูกน้องทำตามกฎหมาย

นายไกรวุฒิ เปิดเผยด้วยว่า ก่อนหน้าที่เรือของบริษัท หลีเป๊ะเฟอรี่ฯ ออกจากท่าเรือที่เกาะหลีเป๊ะ กัปตันเรือได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูล ซึ่งประจำอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะว่า มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 9 คน โดยสารเรือเกินจำนวนที่นั่งเพื่อลงที่เกาะตะรุเตา เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวอนุญาต เพราะเห็นว่าเป็นเรือเที่ยวเดินทางเข้าฝั่งเที่ยวสุดท้าย

นายไกรวุฒิ เปิดเผยต่อไปว่า ต่อมา เวลา 15.00 น. วันเดียวกัน ชาวบ้านและกลุ่มประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวประมาณ 100 คน ได้ชุมนุมปิดทางเข้าท่าเรือปากบารา เรียกร้องให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูล ปล่อยเรือบริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่ฯ เพราะไม่เห็นด้วยกับการเลือกปฏิบัติ และการกักตัวนักท่องเที่ยว เป็นผลให้มีการปล่อยเรือลำดังกล่าวในเวลาต่อมา และเดินทางมาถึงฝั่งท่าเรือปากบารา เวลาประมาณ 18.00 น.

“เบื้องต้นนั้นบริษัท หลีเป๊ะเฟอรี่ฯ ได้สำรองเงิน 6 หมื่นบาทให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 6 คนที่ตกเครื่องบิน รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ตกรถโดยสาร ทั้งนี้นักท่องเที่ยวได้มอบอำนาจให้บริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่ฯ ดำเนินคดีกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูล ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแจ้งว่า จะยื่นเรื่องกับกงสุลของแต่ละประเทศ ให้ดำเนินการกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูลเช่นกัน” นายไกรวุฒิ กล่าว

นายไกรวุฒิ เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้บริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่ฯ และกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ชมรมมัคคุเทศน์ท้องถิ่น ได้ประสานไปยังผู้อำนวยการเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 หัวหน้าสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูล ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอละงู จังหวัดสตูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายอำเภอละงู เพื่อเจรจาพูดคุยกันในวันที่ 4 มกราคม 2555 ที่ท่าเรือปากบารา

นายไกรวุฒิ เปิดเผยด้วยว่า บริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่ฯ และกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ชมรมมัคคุเทศน์ท้องถิ่น มีข้อเสนอให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูลรับผิดชอบ กรณีบริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่ฯ สำรองเงินจำนวน 6 หมื่นบาทให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 6 คน ที่ตกเครืองบิน และขอให้ย้ายเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 จังหวัดสตูลที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้โดยด่วน

“ถ้าหากไม่ทำตามข้อเสนอ บริษัทหลีเป๊ะเฟอรี่ฯ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ชมรมมัคคุเทศน์ท้องถิ่น และชาวบ้าน จะออกมาชุมนุมประท้วงปิดท่าเรือปากบารา และทำหนังสือร้องเรียนไปยังกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม สำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลต่อไป” นายไกรวุฒิ กล่าว

“ต้องเข้าใจว่า กรณีนี้เป็นเรือเที่ยวสุดท้าย มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9 คน จะไปลงที่เกาะตะรุเตา ซึ่งไม่ไกลจากเกาะหลีเป๊ะ ส่วนคนไทยมีทั้งเด็กและคนแก่ ต่างต้องการกลับบ้าน เนื่องจากบ้านจะถูกน้ำท่วม และยังเป็นการเลือกปฏิบัติ ถือเป็นการกลั่นแกล้งกันอย่างชัดเจน”  นายไกรวุฒิ กล่าว

สำหรับนายไกรวุฒิ เป็นหนึ่งในแกนนำคัดค้านการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่มีกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินโครงการ ทั้งนี้ บริษัท หลีเป๊ะเฟอรี่แอนด์สปีดโบ้ท จำกัด เป็นบริษัทที่คนในท้องถิ่นร่วมกันลงทุน

 

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ย้อนรอยสายสัมพันธ์ไทย-เกาหลีเหนือ (1): ครม.ให้ลดธงครึ่งเสาไว้อาลัย “คิม จอง อิล”

$
0
0

เผยประกาศสำนักเลขาธิการ ครม. ให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ลดธงครึ่งเสาทั่วราชอาณาจักรเพื่อไว้อาลัย “คิม จอง อิล” ระบุสองประเทศ “มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดมา” 

สื่อเกาหลีเหนือระบุ รัฐบาลไทยไว้อาลัยคิม จอง อิลสั่งลดธงครึ่งเสา 3 วัน

สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) ของทางการเกาหลีเหนือรายงานเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา ในการประชุมของคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันอังคารที่ 20 ธ.ค. ได้ตัดสินใจให้มีการลดธงครึ่งเสาในสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่มีภารกิจในต่างประเทศทุกแห่งตั้งแต่วันพุธถึงวันศุกร์ (21 – 23 ธ.ค. 54)

นอกจากนี้สำนักข่าวกลางเกาหลี ยังระบุด้วยว่า ในพิธีศพของคิม จอง อิลที่กรุงเปียงยาง มีผู้แทนพรรคการเมืองจากไทย ประธานสถาบันศึกษาแนวคิดจูเช่ ประเทศไทย และประธานสมาคมมิตรภาพไทย-เกาหลีเหนือเข้าร่วมด้วย และระบุด้วยว่ารัฐบาลไทยส่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วม

 

เผยประกาศสำนักงานเลขาธิการ ครม. ให้ลดธงครึ่งเสา

ขณะเดียวกันจากการตรวจสอบของผู้สื่อข่าว พบว่ามีรายงานข่าวการลดธงครึ่งเสาของหน่วยงานราชการในประเทศไทยด้วย โดย สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ รายงานเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 54 ว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ออก “ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่องให้ส่วนราชการลดธงครึ่งเสา” มีเนื้อหาดังนี้

ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่องให้ส่วนราชการลดธงครึ่งเสา

ด้วยกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งว่า นาย Kim Jong Il เลขาธิการพรรคคนงานเกาหลี ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ และผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพประชาชนเกาหลี (General-Secretary of the Worker's Party of Korea Chairman of the National Defense Commission of the Democratic People's Republic of Korea Supreme Commander of the Korean People's Army) ได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอาการหัวใจวาย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554 ในขณะมีอายุ 69 ปี และโดยที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดมา เพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่ นาย Kim Jong Il เลขาธิการพรรคคนงานเกาหลี ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ และผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพประชาชนเกาหลี นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และขอความร่วมมือหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ลดธงครึ่งเสาทั่วราชอาณาจักร เป็นเวลา 3 วัน ตั้งแต่วันพุธที่ 21 ธันวาคม ถึงวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2554

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
21 ธันวาคม 2554”

 

ทั้งนี้การกำหนดให้มีการลดธงชาตินั้นถูกกำหนดเป็นกรอบกว้างๆ ตาม "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529" ข้อ 14 ที่ระบุว่า "การลดธงชาติครึ่งเสาในกรณีใด และเป็นเวลาเท่าใด ให้กระทรวงการต่างประเทศ สำนักพระราชวัง หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี แจ้งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีสั่งการ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งให้กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบและปฏิบัติ"

 

พบหลายหน่วยงานได้รับคำสั่งลดธงครึ่งเสา แบบดีเลย์”

โดยผู้สื่อข่าวได้รวบรวมหนังสือสั่งการของหน่วยงานราชการต่างๆ ในประเทศ ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 เพื่อไว้อาลัยแด่นายคิม จอง อิล โดยผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตว่าการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน โดยหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน ในทางปฏิบัติน่าจะไม่ได้ปฏิบัติเต็มเวลา เพราะมีหน่วยงานราชการบางแห่งมีคำสั่งในวันที่ 22 หรือวันที่ 23 ธ.ค.


โทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทย “ด่วนที่สุด” ที่ มท 0201.3/ว 5166 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54


หนังสือจากหัวหน้าสำนักงานจังหวัดพะเยา ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา “ด่วนที่สุด” ที่ พย. 0016.3/ ว 6110 เรื่อง การลดธงครึ่งเสา ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54


หนังสือจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก “ด่วนที่สุด” ที่ ตก. 0016.3/ว 20977 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2554 เรื่อง ลดธงครึ่งเสา

 

กรณีโทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทย “ด่วนที่สุด” เลขที่ มท 0201.3/ว 5166 ถึง ส่วนราชการระดับกรม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และจังหวัดทุกจังหวัด ลงนามโดย นายพระนาย สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่หนังสือลงวันที่ 22 ธ.ค. 54 หลังการประกาศของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 1 วัน และเข้าสู่วันที่ 2 ของการลดธงครึ่งเสา

ต่อมา นายวิรุฬ พรรณเทวี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพะเยา ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ พย. 0016.3/ ว 6110 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54 เรื่อง การลดธงครึ่งเสา ถึง หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ นายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา และนายกเทศมนตรีเมืองดอกคำใต้

ขณะที่จังหวัดตาก มีการออกหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ ตก. 0016.3/ว 20977 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2554 เรื่อง ลดธงครึ่งเสา ลงนามโดยนายวุฒิ สิทธิสุราษฎร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก สั่งการไปยัง หัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง นายอำเภอทุกอำเภอ นายองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีนครแม่สอด นายกเทศมนตรีเมืองตาก

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ นร. 0508/ ว 269 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 ถึง ปลัดกระทรวงยุติธรรม 

หนังสือของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน “ด่วนที่สุด” ที่ ยธ 0601/ว 1849
ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54 ถึง หน่วยงานในสังกัด

 

ในกรณีกระทรวงยุติธรรม นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ นร. 0508/ ว 269 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 เรื่อง เลขาธิการพรรคคนงานเกาหลี ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ และผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพประชาชนเกาหลี ถึงแก่อสัญกรรม เรียน ปลัดกระทรวงยุติธรรม โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจลดธงครึ่งเสาทั่วราชอาณาจักรเป็นเวลา 3 วันดังกล่าว

จากนั้นมีหนังสือ “ด่วนที่สุด” ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ ยธ 0601/ว 1849 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54 ถึง หน่วยงานในสังกัด ให้ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วันดังกล่าว

หนังสือจากสำนักงานศาลยุติธรรม (ไม่สามารถอ่านลายมือชื่อผู้ลงนามได้) “ด่วนที่สุด” ที่ ศย.005/ ว 770 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 ถึง หน่วยงานในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมให้ลดธงครึ่งเสา

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 4121/4967 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 เรื่อง ขอความร่วมมือให้ลดธงครึ่งเสา

 

ขณะที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยนางเลียมทอง จอมคำสิงห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ ศธ 4121/4967 เรื่อง ขอความร่วมมือให้ลดธงครึ่งเสา เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54

 


เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ออกหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ นร 0508/ว 269 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 เรียน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม


สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ วธ 0203.6/ว 284 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 สั่งการหน่วยงานในสังกัดให้ลดธงครึ่งเสา


นางสุนิสา จิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กระทรวงวัฒนธรรม ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ วธ 0401/ว 3474 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54 เรื่อง ขอส่งหนังสือเวียน เลขาธิการพรรคคนงานเกาหลี (นาย KLim Jong Il) ถึงแก่อสัญกรรม (หมายเหตุ: ต้นฉบับสะกดผิด)

 

ในกรณีของกระรวงวัฒนธรรม นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ออกหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ นร 0508/ว 269 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 เรียน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง เลขาธิการพรรคคนงานเกาหลี ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันประเทศ และผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพประชาชนเกาหลี ถึงแก่อสัญกรรม

ต่อมาในวันเดียวกัน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ วธ 0203.6/ว 284 ลงวันที่ 21 ธ.ค. 54 ถึง สำนักงานรัฐมนตรี กรมการศาสนา กรมศิลปากร กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อให้มีการลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วันดังกล่าว

และต่อมาในวันที่ 22 ธ.ค. 54 ซึ่งเป็นวันที่สองของการกำหนดลดธงครึ่งเสา นางสุนิสา จิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กระทรวงวัฒนธรรม ทำหนังสือ “ด่วนที่สุด” ที่ วธ 0401/ว 3474 ลงวันที่ 22 ธ.ค. 54 เรื่อง ขอส่งหนังสือเวียน เลขาธิการพรรคคนงานเกาหลี (นาย KLim Jong Il) ถึงแก่อสัญกรรม (หมายเหตุ: ต้นฉบับสะกดผิด) เรียน อธิบดี รองอธิบดีทั้ง 3 ท่าน ท่าน ผชช.ผอ.สำนัก ผอ.สศก. ที่ 1-15 หน.กลุ่ม/งานขึ้นตรงต่อกรม หัวหน้ากลุ่มใน สบก. และหน่วยงานในภูมิภาคทุกแห่ง

 

ที่มาของข่าว:

ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่องให้ส่วนราชการลดธงครึ่งเสา, สำนักข่าวแห่งชาติ, 22 ธ.ค. 54 http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255412220223&tb=N255412

Thai Cabinet Meets on Demise of Kim Jong Il, Decides to Hoist Flags at Half-Mast, KCNA, 23 Dec 2011 http://www.kcna.co.jp/item/2011/201112/news23/20111223-58ee.html

Foreign Personages Visit DPRK Missions, KCNA, 27 Dec 2011http://www.kcna.co.jp/item/2011/201112/news27/20111227-45ee.html

KCNA: More Foreign Personages Mourn Demise of Kim Jong Il, KCNA, 28 Dec 2011 http://assistamerica.countrywatch.com/rcountry.aspx?vcountry=28&topic=CBWIR&uid=5516452

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เมืองไทย 2555 อะไรรอเราอยู่ ตอน 4: สุรชัย ตรงงาม มองกระบวนการยุติธรรมกับการปกป้องทรัพยากร

$
0
0

สัมภาษณ์ สุรชัย ตรงงาม นักกฎหมายด้านคดีสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) กับมุมมองต่อกระบวนการยุติธรรมกับการปกป้องทรัพยากร ภาพรวมในปี 2555 อนาคตอันก้าวหน้าของสิทธิชุมชนหรือโซ่ตรวนของคนจน ปัญหาความยุติธรรมและการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม

 

ภาพรวมของปีที่ผ่านมา ในเรื่องกระบวนการยุติธรรมกับการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร?

สุรชัย: สถานการณ์โดยรวม ผมคิดว่าเรามีรัฐบาล 2 รัฐบาลในปีนี้ คือรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ กับรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย แต่ว่าสิ่งที่เราเห็นคือไม่มีความแตกต่างกันในเชิงนโยบายการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งเรื่องการที่รัฐบาลต้องออกกฎหมายหรือการออกกติกาใดๆ ในการคุ้มครองสิทธิในด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังไม่มีแนวโน้มในเรื่องนี้ที่ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะด้วยปัญหาทางการเมือง หรือปัญหาอุทกภัยใดๆ ก็ตาม แต่สิ่งที่เราพบก็คือยังไม่มีความเคลื่อนไหวที่จะผลักดันให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ หรือมาตรการใดๆ ในการคุ้มครอง

ยกตัวอย่างเช่น การที่รัฐธรรมนูญได้รับรองในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาโครงการด้านสิ่งแวดล้อม แต่เรายังไม่มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่จะออกกฎเกณฑ์ที่มีความชัดเจนว่า ใครควรจะเป็นผู้ที่มีส่วนในการเข้ามาร่วมให้ความเห็น และควรต้องมาร่วมรับรู้ข้อมูลแค่ไหน มีส่วนให้ความเห็นแค่ไหน ก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการ ผมคิดว่าหลักเกณฑ์เหล่านี้ยังเป็นเรื่องที่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ แต่ยังไม่มีกฎหมายที่พูดถึงหลักการตรงนี้อย่างชัดเจน ซึ่งมันส่งผลให้ลักษณะการรับฟังความคิดเห็นมีหลักเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน และก่อให้เกิดข้อสงสัย ความไม่ไว้วางใจของชุมชน ชุมชนก็มันจะสะท้อนว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

การที่รัฐบาลไม่พยายามที่จะออกกฎเกณฑ์หลักการในการรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการอื่นๆ อีกหลายๆ มาตรการ เช่น การผ่านร่างกฎหมายองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ที่แม้จะมีการร่างมาและผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แต่ในสมัยรัฐบาลเพื่อไทยก็ไม่ได้รับรอง ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกไป นี่แสดงให้เห็นว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลเองยังไม่มีแผนนโยบายในการคำนึงถึงการมีสิทธิ การมีส่วนร่วม

อย่างไรก็ดี เราก็จะเห็นการเกิดขึ้นขององค์กรต่างๆ ที่จะมาสนับสนุนการขับเคลื่อนของชุมชนด้านสิทธิ เช่น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แต่ก็ยังเป็นแค่เรื่องการก่อตั้ง การปฏิรูปกฎหมายตรงนี้อาจมีแนวโน้มให้มีการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายที่มันสอดคล้องกับสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่ง

 

ปรากฏการณ์เด่นๆ ซึ่งเป็นที่จดจำในช่วงเวลาที่ผ่านมาคืออะไร?

สุรชัย: ผมคิดว่ามันมีการขับเคลื่อนของชุมชนในหลายรูปแบบในปัจจุบัน นอกจากการตรวจสอบการดำเนินโครงการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนของเขาในเฉพาะพื้นที่แล้ว ยังมีการรวมตัว รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมากขึ้น เช่น เครือข่ายเหมืองแร่ หรือปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ต่อต้านแผนพัฒนาภาคใต้ หรือเครือข่ายปฏิรูปที่ดินซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่ดินที่เป็นธรรมและการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายเรื่องโลกร้อน

กรณีเหล่านี้ผมคิดว่า เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้เห็นว่าชาวบ้านชาวบ้านเริ่มมีการรวมตัวรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายมากขึ้นในการขับเคลื่อน และการขับเคลื่อนดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะไปสู่การขับเคลื่อนที่มากกว่าในพื้นที่ เช่น การตั้งคำถามต่อแผนพัฒนาภาคใต้ การตั้งคำถามต่อการจัดทำผังเมือง ซึ่งพวกนี้จะเป็นเรื่องที่มันกว้างกว่าพื้นที่ ตรงนี้เป็นรูปธรรมที่เห็นและมีแนวโน้มที่ดี เพียงแต่ว่าในการดำเนินการดังกล่าวยังเป็นเรื่องของการใช้สิทธิในการควบคุมตรวจสอบ แต่การรณรงค์เรื่องของการใช้สิทธิทางการฟ้องคดีนั้นยังมีอยู่ไม่มาก การขับเคลื่อนของชุมชนเราก็จะเห็นว่ายังไม่ได้ทำอย่างเป็นรูปแบบแต่เป็นไปตามสถานการณ์ทางธรรมชาติ

ยกตัวอย่างกรณีน้ำท่วมคราวนี้เราก็จะเห็นว่าจะมีชุมชนย่อยๆ ออกมาตั้งคำถามกับการทำงานของรัฐในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทำไมน้ำท่วมที่นั่นแต่ไม่ท่วมที่นี่ ทำไมท่วมที่นี่มากกว่า ที่นี่มีลักษณะเป็นประชาชนชั้นสองน้อยกว่าที่อื่นหรือย่างไร ผมคิดว่ามันมีลักษณะเชิงสถานการณ์มากกว่าที่จะออกมาตั้งคำถามในเรื่องเหล่านี้มากขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ผมคิดว่าในปีที่ผ่านมาจะมีลักษณะที่คล้ายกับปีก่อนๆ ก็คือว่าในเรื่องการขับเคลื่อนของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม เราจะพบปรากฏการณ์ของการใช้กระบวนการทางกฎหมายเพื่อที่จะดำเนินคดีกับแกนนำ กับชาวบ้านที่ใช้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าชาวบ้านจะแสดงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ตั้งคำถามกับโครงการก็อาจถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท หรือว่าชาวบ้านใช้สิทธิในการชุมนุมก็อาจถูกดำเนินคดีทางอาญาเกี่ยวกับการชุมนุมมั่วสุม ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

ปรากฏการณ์การใช้กระบวนการทางกฎหมายเหล่านี้ ในหลายๆ ครั้งเราจะเห็นได้ว่ามันเป็นเรื่องที่ตัวรัฐ หรือทุน หรือผู้ประกอบการเองมีความประสงค์ต้องการจะขัดขวางการแสดงความคิดเห็นในการตรวจสอบของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งอันนี้เป็นแนวโน้มที่มีมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงในปีที่ผ่านมาก็มีลักษณะเช่นนั้นอยู่

คราวนี้ในลักษณะของกระบวนการยุติธรรมเอง กระบวนการยุติธรรมก็จะมีผลในคำพิพากษาคดีของคุณจินตนา แก้วขาว ที่พิพากษาให้จำคุก 4 เดือน ข้อหาบุกรุก จากการที่คุณหน่อย จินตนา แก้วขาว และคนในชุมชนเข้าไปร่วมคัดค้านโครงการถ่านหินเมื่อสิบปีที่แล้วโดยไม่รอลงอาญา ตัวคำพิพากษาเองก็ทำให้เห็นถึงว่ากระบวนการยุติธรรมเองยังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง ตรงนี้ก็เป็นจุดที่ก่อให้เกิดการตั้งคำถามมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

 

 

หมายความว่ากระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2554 มีกรณีที่น่าสนใจคือเรื่องคดีคุณจินตนา?

สุรชัย: ครับ และก็หลายๆ คนที่ออกมาปกป้องทางสิทธิชุมชน ซึ่งผมคิดว่ามีหลายๆ ประเด็นที่ต้องมีความชัดเจนว่าความผิดทางอาญาที่มีความเกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในด้านสิ่งแวดล้อมมันควรมีเส้นแบ่ง หรือขอบเขตมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ซึ่งอันนี้ยังมีความไม่ชัดเจน ยังเป็นเรื่องคลุมเครือ และโดยคำพิพากษาเองก็ยังไม่ได้พูดในประเด็นนี้อย่างชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่สังคมต้องมีการศึกษาและพูดคุยให้มากขึ้น

กระบวนการยุติธรรมเองก็มีการพยายามปรับตัว โดยการตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลแพ่ง ตั้งแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลปกครอง รวมถึงมีการออกคำแนะนำของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินคดีด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งออกมาพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ตรงนี้ก็สะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมก็พยายามปรับตัว

ถ้าได้อ่านคำแนะนำของประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดก็จะมีคำแนะนำหลายอย่างที่พยายามจะบอกถึงหลักเกณฑ์ว่ากระบวนการยุติธรรมจะต้องคำนึงถึงเรื่องสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยู่นะ เช่น เรื่องการใช้สิทธิในการฟ้องร้องคดีของประชาชนต้องคำนึงถึงเรื่องสิทธิชุมชนมากขึ้น หรือการพิจารณาคดี ศาลต้องมีการพิจารณาในเชิงรุกมากขึ้น ต้องสามารถสอบถามพยานเพิ่มเติมได้เองหรือออกไปเดินเผชิญสืบ และตัวคำพิพากษานั้นเองก็ต้องคำนึงถึงการใช้สิทธิของชุมชนกับถิ่นที่อยู่ ผลประโยชน์สาธารณะ

อีกทั้งมีความพยายามวางหลักการในลักษณะคล้ายกันทั้งศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดคือว่า ให้คำนึงถึงหลักการพัฒนาที่ยังยืนและสิทธิของชนรุ่นต่อไป ผมคิดว่าอันนี้เป็นแนวโน้มที่ดี เพียงแต่ว่าในปีที่ผ่านมาก็ยังอาจยังไม่มีผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจน แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีในทางคดี

เราทำคดีอยู่บางเรื่อง เช่นคดีที่ชาวบ้านมีการขอร้องเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม กรณีเรื่องการฟ้องเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งออกโดยไม่ชอบเพื่อนำไปก่อสร้างโรงถลุงเหล็กที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งบริษัทก็มีการฟ้องร้องทางกรมที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้มีการเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ทีนี้ชาวบ้านในพื้นที่ก็มีส่วนในการคัดค้านเรื่องนี้มาโดยตลอดและก็เห็นว่าจะมีผลกระทบต่อชุมชนของตนในด้านสิ่งแวดล้อมและในหลายๆ ประเด็น จึงร้องสอดเข้ามา ขอเข้าเป็นคู่ความในศาล เพื่อนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง ในการพิจารณาคดีและมีคำพิพากษา แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าชาวบ้านไม่ได้เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าว จึงสั่งยกคำร้องขอร้องสอดนั้น

แต่เมื่ออุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองสูงสุดก็ยืนยันหลักการตรงนี้ว่า สิทธิของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ถือว่ามีการโต้แย้งสิทธิ และควรมีที่จะนำเข้ามาพิจารณาคดี เพื่อให้ผลของคดีนี้ที่จะมีผลโดยตรงนี้สามารถเป็นไปตามหลักการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้เป็นแนวโน้มที่ดี อย่างน้อยก็คือเปิดช่องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและการแก้ไขปัญหาในหลากหลายเรื่องขึ้นมา เพียงแต่ว่าผลของการพิพากษา และการจัดตั้งแผนกคดีต่างๆ เพิ่งเริ่มต้น อาจจะต้องรอดูผลต่อไป

 

คาดว่าในอนาคตเรื่องสิทธิชุมชนจะถูกพูดถึงมากขึ้นในทางกฎหมายหรือเปล่า?

สุรชัย: ผมคิดว่าสิทธิชุมชนได้ถูกสถาปนาโดยรัฐธรรมนูญ และได้รับการยอมรับมากขึ้น มีการพยายามที่จะตีความเรื่องสิทธิชุมชน สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนมากขึ้น อย่างน้อยอย่างที่ผมยกตัวอย่างคือคำสั่งศาลปกครองที่ศาลรับคำร้องสอด มันก็เป็นตัวยืนยันประการหนึ่งว่า อย่างน้อยศาลปกครองรับรองสิทธิชุมชนในการที่จะเข้ามาปกป้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของตนในคดีได้ แต่ว่าการรับรองต่างๆ ก็ยังอยู่แค่ว่าเขาเป็นผู้มีสิทธิเข้ามาในคดีได้ แต่ว่าเขาจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมจริงๆ หรือไม่ ต้องไปพิสูจน์กันในการพิจารณาคดีและคำพิพากษาต่อไป

 

คิดเห็นอย่างไรกับการที่มีคำวินิจฉัยศาลระบุว่า กฎหมายป่าไม้ซึ่งมักถูกนำมาใช้จับกุมชาวบ้านที่อยู่กับป่าไม่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตรงนี้จะทำให้มีแนวโน้มการฟ้องคดีต่อชาวบ้านเพิ่มขึ้นหรือไม่?

สุรชัย: อันนี้น่าจะหมายถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องว่า พ.ร.บ.อุทยานฯ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันนี้เราก็ต้องดูนะครับว่า คำฟ้องดังกล่าวถือเป็นคำฟ้องในบางประเด็นเกี่ยวกับ พ.ร.บ.อุทยานเท่านั้น ในรายละเอียดผมยังไม่แน่ใจ เพราะยังไม่เห็นคำพิพากษา เราเห็นแต่ข่าวที่ออกมา ดังนั้นจึงไม่เห็นเหตุผลในรายละเอียดว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้เหตุผลอย่างไรจึงวินิจฉัยออกมาในทำนองนั้น แต่ในความเข้าใจของผม เบื้องต้นผมคิดว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญพยายามจะบอกว่า แม้ว่าตัวกฎหมายอุทยานไม่ได้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจนในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนจะประกาศเขตอุทยาน กรมอุทยานก็ผูกพันต้องบังคับใช้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญ ต้องรับรองสิทธิ์ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญอยู่ดี

กล่าวโดยง่ายๆ นั้นหมายความว่า ไม่ว่ากฎหมายอุทยานจะเขียนไม่เขียนกรมอุทยานก็ต้องปฏิบัติตารัฐธรรมนูญ คุณจะไปออกกฎเกณฑ์อะไร แค่ไหน อย่างไรเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็น ก็เป็นเรื่องที่กรมอุทยานต้องทำเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้านสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่ว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่เราดูจากประเด็นเท่านั้นจะต้องไปดูในรายละเอียดของคำพิพากษาอีกที

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

 

แนวโน้มในอนาคตของกระบวนการยุติธรรมกับการปกป้องทรัพยากรจะเป็นอย่างไร?

สุรชัย: แนวโน้มในอนาคต ในปีหน้า (พ.ศ.2555) ผมคิดว่าการเคลื่อนของประชาชนจะเป็นการเคลื่อนในเชิงการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องผังเมือง การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะที่มันเป็นผังเมืองว่า เราควรกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนให้เป็นแบบไหน ให้เป็นเกษตรกรรม ให้ปลอดจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรืออยากให้เป็นท่องเที่ยว หรือในบางพื้นที่อาจอยากให้เป็นอุตสาหกรรมก็แล้วแต่ มันจะมีการขับเคลื่อน ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องผังเมืองและกฎหมายผังเมืองนี้มากขึ้น

เราอาจมีการพูดถึงเรื่องการกำหนดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเชิงพื้นที่ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมปี 2535 มากขึ้น ผมคิดว่าการขับเคลื่อนนี้มันจะมีลักษณะนอกจากเป็นรายเฉพาะประเด็น เฉพาะพื้นที่ ก็จะมีการคุ้มครองที่เป็นลักษณะวงกว้างอย่างนี้มากขึ้น ผมคิดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างนั้น

ส่วนการขับเคลื่อนกฎหมายใหม่ๆ ในปีหน้าก็น่าจะมีทั้ง พ.ร.บ.ผังเมืองเองที่ออกมาตั้งแต่ปี 2518 และปัจจุบันก็มีการร่างกฎหมายอยู่ทั้งโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และภาคประชาชนบางส่วนก็มี รวมทั้งยังมีกฎหมายอีกหลายเรื่อง องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นกฎหมายที่เราต้องผลักดันกันต่อไป เพราะว่ากฎหมายที่องค์กรภาคประชาชนพยายามเสนอคืออยากให้เป็นองค์กร แต่ภาครัฐบางส่วนอาจเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรตรงนี้

รวมทั้งในปีหน้า ผมคิดว่าจะมีคำพิพากษาที่ออกมาเป็นบรรทัดฐานในอีกหลายเรื่อง คำพิพากษาสูงสุด เช่น คดีคลิตี้ เกี่ยวกับเรื่องการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ก็น่าจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของหน่วยงานรัฐมีหน้าที่ในการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนมลพิษมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะว่าเรายังไม่มีการพูดเกี่ยวกับการเยียวยาในแง่ของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปจากการดำเนินกิจการ โครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลายตอนนี้เลย อย่างชัดเจนนะครับ คดีคลิตี้ก็อาจจะเป็นเคสแรกๆ ที่ชัดเจนขึ้น

นอกจากนั้น เราก็จะมีคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดเกี่ยวกับคดีเรื่องการสลายการชุมนุมท่อก๊าซฯ ไทย-มาเลเซีย ที่มีการฟ้องร้องคดีกันมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นการวางหลักบางประการเกี่ยวกับเรื่องการใช้เสรีภาพในการชุมนุมของชุมชนในด้านต่างๆ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งอันนี้ก็เป็นแนวโน้มที่เราต้องติดตามกันต่อไปครับว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจะวางบรรทัดฐานอะไร อย่างไร และจริงๆ แล้วภาคประชาชนหรือนักวิชาการจะเห็นพ้องต้องกันไหมหากจะต้องมีการผลักดันให้มีการออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายใดต่อไป

 

ในแง่ของการใช้กระบวนการทางกฎหมายในการฟ้องร้องชาวบ้าน แนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

สุรชัย: คือลักษณะจะเป็นลักษณะร่วมโดยทั่วไป คือจะมีแนวโน้มมากขึ้นออยู่แล้ว ผมคิดว่าปีหน้าก็น่าจะต้องผลักดันให้มีการตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมในหลายๆ ด้าน คงต้องมีการพูดถึงเรื่องการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมากขึ้นซึ่งก็มีอยู่นะ แต่ว่าในบางประเด็นก็ไม่มี พูดง่ายๆ ว่าไม่ทั่วถึงจริงจัง ก็อาจจะมีเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคน เฉพาะคดีสิ่งแวดล้อมซึ่งผมคิดว่าการใช้สิทธิด้านสิ่งแวดล้อมมันไม่สามารถจะไปจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลต่างๆ ได้ เพราะว่ามันมีสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้สิทธิด้านสิ่งแวดล้มตรงนี้ ไม่ว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และมีการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน

ตรงนี้ทั้งฝ่ายภาคประชาชนและฝ่ายนักวิชาการเองก็ต้องพยายามผลักดันประเด็น และศาลเองก็วินิจฉัยข้อเท็จจริง หรือว่าข้อกฎหมายเหล่านี้ให้มีความชัดเจน เพราะผมคิดว่ามันจะทำให้การใช้สิทธิของชุมชน ของประชาชนในส่วนต่างๆ มีความชัดเจนขึ้น และตัวชุมชนเองก็จะได้มีการทบทวนว่าการใช้สิทธิของตนเองนั้นมีความเหมาะสมเพียงพอแล้วหรือไม่ แค่ไหน อย่างไรด้วย เพราะปัจจุบันที่มันยังไม่มีความชัดเจนก็ก่อให้เกิดกระบวนการที่อาจทำให้เกิดการกลั่นแกล้ง หรือว่าเพื่อไม่ให้ชุมชนมีปากมีเสียงหรือสามารถมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งผมคิดว่าไม่ควรจะมีลักษณะแบบนี้

 

สำหรับกรณีการระดมฟ้องร้องคดีน้ำท่วมต่อหน่วยงานรัฐ ถือเป็นกรณีที่ประชาชนลุกขึ้นมาใช้สิทธิทางกฎหมายมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร?

สุรชัย: ในการใช้สิทธิ์ หากมองเพียงการใช้สิทธิ์ก็อาจจะดูดี แต่คิดว่าลักษณะดังกล่าวมันอาจไม่ได้นำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนจริง คือมันอาจจะช่วยเยียวยาได้ แต่ว่ามันมีความจำเป็นคือจะฟ้องเพื่อเยียวยาก็ว่ากันไป เป็นสิทธิของแต่ละคนที่เห็นว่ามีความเสียหายเฉพาะบุคคลก็สามารถที่จะเรียกร้อง แต่จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ง่ายอะไรขนาดนั้น คือเราเห็นกลไกเรื่องการฟ้อง แต่ในความจริงแล้วเราต้องดูผลที่มันเกิดขึ้นด้วย ผมคิดว่าสิ่งที่มันมากไปกว่านั้น เราต้องคิดในเชิงสร้างกลไก สร้างมาตรการ คำพิพากษามันต้องสร้างกลไก สร้างมาตรการ และตัวกระบวนการการฟ้องจะต้องสร้างความเข้มแข็งด้วย

อันนี้ก็พูดตรงๆ คือผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการระดมฟ้องนี้ ถ้ามันไม่มีกระบวนการให้เขามีส่วนร่วม มันก็เหมือนกับการมอบอำนาจมอบชีวิตให้ทนายความไปทำคดีให้ ซึ่งผมคิดว่าอย่างนี้ผลมันก็ไม่น่าได้เต็มประสิทธิภาพมากนัก

การฟ้องมันฮือฮาก็จริง แต่มันสร้างเป็นบรรทัดฐานอะไรหรือเปล่า คือคนเขามีวัตถุประสงค์อะไรหลายอย่างก็แล้วแต่ และตรงนี้ก็อาจจะสร้างคุณูปการบางอย่างทางสังคมในทางสังคมก็ได้ หรืออาจเป็นรูปการใหม่ในการฟ้องก็ได้ แต่คนไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องที่ตนฟ้องมากพอที่สร้างจิตสำนึกในบางเรื่องขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นเรื่องการเรียกค่าเสียหาย ซึ่งก็โอเคก็เยียวยากันไป แล้วสุดท้ายปีหน้าก็มาว่ากันใหม่

 

บุคคลแห่งปีที่มีอิทธิพลในวงการด้านสิ่งแวดล้อมในปีที่ผ่านมาคือใคร เพราะอะไร

สุรชัย: บุคคลที่มีอิทธิพลต่อวงการด้านสิ่งแวดล้อมผมก็ต้องพูดถึงคุณหน่อย จินตนา และนักต่อสู่อีกหลายๆ คนที่ต่อสู้เพื่อชุมชนของเขา แต่ต้องถูกดำเนินคดีและจำคุกคุมขัง ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นสำคัญมากในปีที่ผ่านมา เพราะว่าในการต่อสู้ของบุคคลดังกล่าวไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่สิ่งที่เขาทำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยคำนึงถึงสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวของเขามันเป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ผมคิดว่ากระบวนการยุติธรรมต้องคำนึงถึง และให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของชุมชนในการออกมาตรวจสอบ หรือการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อมต้องมีที่ยืน และได้รับความคุ้มครองจากกระบวนการยุติธรรม

ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมยังละเลย และไม่ได้คำนึงถึงสิทธิของชุมชนอย่างเพียงพอ ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบ และต้องวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมได้กลับมาคำนึงถึง และกระบวนการยุติธรรมตรงนี้ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะศาล แต่หมายถึงกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ รวมถึงทนายความและก็ศาลด้วย

ผมคิดว่าเราอาจจะต้องกลับมาทบทวนว่า เราจะสร้างความชัดเจนในการใช้สิทธิของประชาชนที่จะได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญอย่างเพียงพอได้อย่างไร ไม่ใช่การใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญนำไปสู่ผลลัพธ์ที่จะต้องได้รับโทษทางอาญา ต้องชดใช้ความเสียหายในทางแพ่ง ผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องที่คนทำเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมต้องได้รับผลที่ไม่เป็นธรรมอย่างนั้น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ส่งท้ายปี Quotes of the Year (6): ไม่แก้แค้น แต่แก้ไข และ Forgive and Forget กับคำถามจะแก้ไขอะไร ให้อภัยใคร และหลงลืมใคร

$
0
0

ส่งท้ายปี ทีมประชาไท รวบรวมคมคำเด็ดๆประจำปีที่กลายเป็นวลีและประโยคฮิตทั้งในสังคมออฟไลน์และออนไลน์ ย้อนความทรงจำที่มาที่ไป และแรงกระเพื่อมจากถ้อยคำ ซึ่งหลายคำกลายเป็นผลสะเทือนต่อคนพูดเอง ขณะที่อีกหลายถ้อยคำ ก่อให้เกิดการอภิปรายอย่างหลากหลาย แต่ที่แน่ๆ ล้วนถูกพูดขึ้นมาในจังหวะร้อนและสะท้อนความสนใจของสังคมไทยในสถานการณ์ที่ช่วยก่อกำเนิดถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา

0 0 0

 

ไม่คิดแก้แค้นแต่จะแก้ไข และ Forgive and Forget

 

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ตวงพร อัศววิไล ในรายการ intelligence ถึงแนวนโยบายของเพื่อไทย

 

16 พ.ค. 2554

ยิ่งลักษณ์ก้าวเข้ามาสู่เวทีการเมืองอย่างเป็นทางการ ในฐานะปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย เพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในวันแห่งการเริ่มต้น เธอพูดกับสื่อด้วยน้ำเสียงประหม่าตามสคริปต์โดยมีโค้ทเด็ดที่สื่อทุกสำนักต้องทำไปพาดหัวว่าพรรคเพื่อไทย “ไม่คิดแก้แค้น แต่จะแก้ไข” เพื่อเน้นย้ำแนวทางปรองดองของพรรค และชี้ชวนให้มองไปข้างหน้า หลังจากที่ประเทศติดหล่มความขัดแย้งทางการเมืองมายาวนานกว่า 5 ปีแล้ว

ในการแถลงข่าวเดียวกัน ยิ่งลักษณ์กล่าวถึงเหตุผลหลักที่เธอเข้ามาทำงานการเมืองซึ่งเป็นงานที่เธอไม่เคยคิดจะเลือกว่า “ผ่านไปถึง 5 ปี ผู้คนและประชาชนก็ยังคิดถึงพี่ชายและคิดถึงนโยบายเก่าๆ ที่เคยทำมาในอดีต รวมถึงให้ความอบอุ่น ความเมตตากับครอบครัวดิฉัน ดิฉันจึงรู้สึกว่าครอบครัวของเรานั้น เป็นหนี้ประชาชน”

ยิ่งลักษณ์นำพาพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งมาด้วยจำนวน ส.ส. 265 เสียง และเป็นผู้นำรัฐบาลมาย่างเข้า 6 เดือนแล้ว แนวทางปรองดองและการแก้ไขของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ยังคงถูกตั้งคำถามว่า มันจะดำเนินไปเช่นไร ขณะที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมในปี 2553 หลายคนก็ยังคงถูกกักขังและดำเนินคดีต่อไป

จดหมายจากคำหล้า ชมชื่น ที่ส่งถึงทักษิณ ชินวัตร ก่อนที่เขาจะถูกตัดินจำคุก 10 ปี ข้อหาปล้นอาวุธปืนของทางราชการตอนหนึ่งบอกความในใจอย่างกระท่อนกระแท่นในฐานะประชาชนผู้สนับสนุนทักษิณว่า

“สิ่งที่ผมต้องการมากที่สุดก็คือเรื่องการประกันตัวผมมากๆ เลยครับ เพราะผมอยากออกไปช่วยเหลือครอบครัว เพราะว่าแฟนผมต้องรับภาระอยู่คนเดียวและลูกผมต้องเรียนหนังสือด้วย ผมจึงอยากจะประกันตัวไปช้วยแฟนแบ่งเบาภาระครอบครัวมากเลยครับ”

 

20 พฤศจิกายน 2554

ทักษิณ ชินวัตร ส่งจดหมายจากนครดูไบมายังประชาชนไทย เพื่อให้กำลังใจต่อวิกฤตน้ำท่วม “ผมขอเรียกร้องทุกฝ่ายที่รักชาติบ้านเมืองจริง ต้องรู้จักคำว่า "FORGIVE AND FORGET" คือรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน ลืมเรื่องเก่าๆ เข้าสู่มิติใหม่ของวันพรุ่งนี้เพื่อบ้านเมืองและลูกหลานเราครับ”

ทั้ง “ไม่คิดแก้แค้น แต่จะแก้ไข” และ "FORGIVE AND FORGET" นั้นเป็นการเน้นย้ำถึงการยื่นมือออกไป “ปรองดอง” แต่พี่น้องตระกูลชินวัตรกำลังต้องการปรองดองกับใคร และอย่างไร

ภายใต้การนำของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่า ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ จะได้รับการเยียวยาอย่างไร เสรีภาพในการแสดงความเห็นไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีขึ้นไปจากรัฐบาลอภิสิทธิ์ แนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้กฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ยังเหมือนเดิม และมีท่าท่าจะหนักกว่าเดิม

ปัญหาเหล่านี้เคยเป็นปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นเพื่อชี้ว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขาดสำนึกประชาธิปไตยอย่างไร กลายเป็นประเด็นเดียวกับที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ถูกจับตาเช่นกัน

คนเสื้อแดงและผู้เห็นใจเสื้อแดงบางส่วนเริ่มตั้งคำถาม แต่ถูกปัดตกไปด้วยคำอธิบายทำนองว่า อย่าเพิ่งถามตอนนี้ ให้กำลังใจรัฐบาลไปก่อน หรือ รัฐบาลมีงานอื่นต้องทำก่อน.....จนถึงวันนี้ คำถามที่ดังขึ้นทุกวันๆ ไม่ใช่คำถามจากคนที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพรรคเพื่อไทยและครอบครัวชินวัตรในประเด็นยิบย่อย ไร้สาระ หากแต่เป็นคำถามจากมวลชนที่พาเธอเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และกลายเป็นผู้หญิงที่ถูกจับตามองมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

รัฐบาลที่ก้าวขึ้นมาจากการเลือกตั้งหลังผ่านการเมืองนองเลือดที่มีทหารและประชาชนเสียชีวิตไปทั้งสิ้น 91 ศพ และบาดเจ็บนับพัน รัฐบาลภายใต้การนำอย่างเป็นทางการของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ การมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนอยู่ห่างๆ ! (?) ของพี่ชาย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะแก้ไขอะไรสิ่งใดที่พวกเขารู้สึกผิดพลาดที่ผ่านมา จะให้อภัยใคร และหลงลืมใครเพื่อให้ตนเองได้ยืนหยัดอยู่บนหนทางอำนาจ ปี 2555 นี้น่าจะคลี่คลายคำถามเหล่านี้ได้ชัดเจน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รอบโลกแรงงานธันวาคม 2554

$
0
0

คนงานในเซี่ยงไฮ้กว่าพันคนประท้วงเลิกจ้าง

2 ธ.ค. 54 - กลุ่มจับตาแรงงานจีนในสหรัฐแถลงว่า เหตุผละงานเกิดขึ้นที่โรงงานของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าสิงคโปร์แห่งหนึ่งที่ผลิตสินค้าให้แก่แอปเปิลและฮิวเลตต์แพคการ์ดของสหรัฐ หลังจากบริษัทเลิกจ้างคนงานประมาณ 1,000 คนเนื่องจากมีแผนจะย้ายไปผลิตที่อื่น คนงานอ้างว่าถูกเลิกจ้างโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้าและได้รับค่าชดเชยน้อยเกินไป คาดว่าการผละงานจะยืดเยื้อต่อในวันนี้ เพราะมีคนงานราว 50 คนปักหลักประท้วงอยู่ภายในโรงงาน ขณะที่ด้านนอกมีรถตำรวจจอดรอดูสถานการณ์อยู่ 2 คัน

นับเป็นเหตุประท้วงล่าสุดที่เกิดขึ้นในจีนเมื่อแรงงานที่เรียกร้องมากขึ้นเผชิญหน้ากับนายจ้างที่ประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้นแต่ส่งออกได้ลดลง อันเป็นผลจากตลาดส่งออกสำคัญอย่างสหรัฐและยุโรปเศรษฐกิจซบเซา เดือนที่แล้วคนงานกว่า 7,000 คนผละงานที่โรงงานผลิตรองเท้ากีฬาในมณฑลกวางตุ้งเพราะไม่พอใจการเลิกจ้างและลดค่าแรง ขณะที่คนงานสตรีหลายร้อยคนที่โรงงานผลิตเสื้อชั้นในในเมืองเสิ่นเจิ้นผละงานเพื่อขอเพิ่มค่าแรงการทำงานล่วงเวลา

กรีซเห็นชอบมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ แม้ผู้ประท้วงปะทะตำรวจนอกรัฐสภา

7 ธ.ค. 54 - สมาชิกสภานิติบัญญัติกรีซ เห็นชอบร่างกฎหมายงบประมาณปี 2012 ซึ่งเป็นข้อผูกมัดว่าเอเธนส์จะทำตามเป้าหมาย ที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือก้อนใหม่ หลังเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมประท้วงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกรัฐสภา     

สมาชิกสภาส่วนใหญ่จาก ทั้งพรรคสังคมนิยม อนุรักษนิยม และอนุรักษนิยมสุดโต่ง ที่สนับสนุนรัฐบาลรักษาการของกรีซ ลงมติเห็นชอบแผนงบประมาณปรับลดค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่ได้รับความนิยม ด้วยคะแนนเสียง 258 ต่อ 41 เสียง จากผู้เข้าประชุมทั้งหมด 299 คน      

ลูคัส ปาปาเดมอส รักษาการนายกรัฐมนตรีของกรีซ ระบุว่า แผนงบประมาณฉบับนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญของกระบวนการเปลี่ยนนโยบายการเงินที่ล่มจม ซึ่งทำให้ชาวกรีกแต่ละคนต้องรับภาระหนี้สาธารณะมากกว่า 30,000 ยูโร    

“การดำเนินการของเราจะตัดสินอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ ไม่เพียงแต่ในปี 2012 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลอดทั้งทศวรรษด้วย” ปาปาเดมอส ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา พร้อมกับหน้าที่ในการให้สัตยาบันข้อตกลงหนี้ยูโรโซน และจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า      

ปาปาเดมอส ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรองประธานธนาคารกลางยุโรป ยังยืนกรานด้วยว่า สถานะของกรีซในสหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศยูโรโซนนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และประชาชนชาวกรีกจะป้องกันด้วยทุกวิถีทางที่เป็นไปได้

ผู้นำรักษาการของเอเธนส์ คาดการณ์ว่า งบประมาณปี 2012 นี้จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้น 4,500 ล้านยูโร และตัดลดค่าใช้จ่ายลงได้ราว 5,000 ล้านยูโร โดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากระบบจัดเก็บภาษีที่จะใช้ในเดือนมกราคมปีหน้า ปาปาเดมอส ยังเสริมว่า ในปีหน้ายังจะมีการปฏิรูปภาคสาธารณสุข ประกันสังคม ความยืดหยุ่น และยุติธรรมในการจ้างงานด้วย  

อย่างไรก็ตาม ก่อนการลงมติได้เกิดความรุนแรงภายนอกอาคารรัฐสภา โดยนักเรียน นักศึกษา และผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายซ้ายหลายพันคนต่างก่อเหตุประท้วง เพื่อเป็นการระลึกถึงเด็กหนุ่มรายหนึ่ง ซึ่งถูกตำรวจยิงอย่างโหดเหี้ยม เป็นการจุดชนวนเหตุจลาจลทั่วประเทศเมื่อ 3 ปีก่อน

ผู้ชุมนุมขว้างปาระเบิดเพลิง และหินอ่อนที่แตกออกจากอาคารใกล้เคียง เข้าใส่ตำรวจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็ตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตา และระเบิดแสง เพื่อขับไล่ให้พวกเขาถอยร่นไป ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บเกือบ 20 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ และอีกกว่า 20 คนถูกจับกุม

ซิตี้กรุ๊ป เล็งลอยแพพนักงาน 4,500 คนทั่วโลก เพื่อลดต้นทุน

7 ธ.ค. 54 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ซิตี้กรุ๊ป กลุ่มบริษัทการเงินชั้นนำของโลกจากสหรัฐฯ ประกาศแผนปรับลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 4,500 ตำแหน่ง ในช่วง 2-3 ไตรมาสข้างหน้า เพื่อลดต้นทุนของบริษัทในภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังซบเซาจากปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป โดยนายวิกรม บัณฑิต ซีอีโอของซิตีกรุ๊ป ประเมินว่า แผนปรับลดพนักงานดังกล่าวน่าจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายในไตรมาส 4 เพิ่มขึ้นอีกราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ซิตี้กรุ๊ปเท่านั้นที่ต้องลอยแพพนักงานเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจโลก ก่อนหน้านี้คู่แข่งหลายราย ต่างก็ออกมาประกาศใช้มาตรการเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น เอชเอสบีซี, ลอยด์ส หรือ แม้แต่แบงก์ ออฟ อเมริกา

แรงงานจีนประท้วงเจ้านายต่างชาติ

8 ธ.ค. 54 - แรงงานจีนหลายร้อยคนภายในโรงงานผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไหเหลียง สตอเรจ โปรดักส์ ดำเนินการโดยบ.ฮิตาชิของญี่ปุ่น ที่เมืองเสิ่นเจิ้น ทางภาคใต้ เคลื่อนไหวประท้วงติดต่อกันวันที่ 5 เมื่อวันพฤหัสบดี (8 ธ.ค.) ไม่พอใจถูกหัวหน้างานชาวต่างชาติกดขี่ใช้แรงงาน ทั้งยังเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรงและปรับสวัสดิการทำงาน

ข่างแจ้งว่า ช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา แรงงานจีนในพื้นที่แหล่งอุตสาหกรรมทางภาคใต้ เคลื่อนไหวประท้วงกันจำนวนมาก เพราะต้องการได้รับการยกระดับสวัสดิการทำงาน ทำให้บรรดานักลงทุนต่างชาติต้องปรับเวลาให้แรงงานพักผ่อนมากขึ้น ขณะเดียวกัน โรงงานหลายแห่งสรุปข้อตกลงปรับค่าจ้างแรงงานต่อคนให้เฉลี่ยเดือนละ 1,000 หยวน หรือราว 5,000 บาท.

คนงานโรงงานทอผ้าและทำรองเท้าของกัมพูชาเป็นลม เพราะทำงานหนักไป

10 ธ.ค. 54 - คนงานโรงงานทอผ้าและทำรองเท้าของกัมพูชามีอาการเป็นลมหมดสติถึงกว่า 1,500 คน นับแต่ต้นปีที่ผ่านมา สาเหตุมาจากทำงานหนักเกินกว่าร่างกายจะทนไหว

นายเซย์ ซีพน รัฐมนตรีกระทรวงกิจการสังคมของกัมพูชา กล่าวในการประชุมหาแนวทางแก้ปัญหาคนงานป่วยเป็นลมมากขึ้นผิดปกติว่า นอกจากปัญหาการทำงานหนักเกินไปแล้ว คนงานเหล่านี้ยังมีปัญหาสุขภาพอ่อนแอเป็นทุนเดิม เมื่อต้องมาเผชิญกับปัญหางานหนักและบางครั้งต้องเผชิญกับสารเคมีแรงๆ  แล้วก็มักเกิดอาการเป็นลมได้  และเป็นที่น่าสังเกตว่า ในปีนี้มีจำนวนผู้ที่มีอาการเป็นลมมากขึ้นและถี่ขึ้นอย่างผิดสังเกต การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยองค์การแรงงานโลกหรือ ไอแอลโอและกระทรวงแรงงาน  กระทรวงสวัสดิการสังคม และสมาคมเจ้าของโรงงานทอผ้ากัมพูชา สหภาพแรงงงานและองค์การเอกชนของกัมพูชา

แรงงานต่างชาติเดินขบวนขอวันหยุดไต้หวัน

11 ธ.ค. 54 - สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงไทเป ไต้หวัน ว่า แรงงานต่างชาติในไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับพันคน รวมถึงแรงงานไทยจำนวนหนึ่ง เดินขบวนไปตามถนนสายต่างๆ ในย่านธุรกิจใจกลางกรุงไทเปเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นสิทธิตามกฎหมายของแรงงานต่างชาติราว 200,000 คน ที่ประกอบอาชีพผู้ดูแลคนป่วย หรือคนชราตามบ้าน

ตามกฎหมายแรงงานของไต้หวัน แรงงานต่างชาติในโรงงาน หรือสถานที่ก่อสร้างจะมีวันหยุดพักผ่อน 1 วันต่อสัปดาห์ แต่ข้อกำหนดไม่รวมถึงแรงงานที่ดูแลคนป่วย หรือคนชราตามบ้าน มีประมาณครึ่งหนึ่งของแรงงานต่างชาติทั้งหมดในไต้หวัน

นายหวัง อิง-เหยิน เจ้าหน้าที่สมาพันธ์แรงงานอิสระแห่งชาติ กล่าวว่า วันหยุดประจำสัปดาห์ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานดูแลคนป่วยหรือคนชราตามบ้านอยู่แล้ว แต่แรงงานส่วนนี้ส่วนใหญ่สมัครใจทำงานเต็มสัปดาห์ เพื่อรับเงินเพิ่มในส่วนของวันหยุด

ตัวเลขข้อมูลของทางการไต้หวันระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างชาติ ที่พักอาศัยอยู่กับนายจ้างในไต้หวันถึง 421,000 คน ในจำนวนนี้รวมถึงแรงงานจากอินโดนีเซีย 172,000 คน เวียดนาม 93,000 คน ฟิลิปปินส์ 82,000 คน และไทย 72,000 คน.

ปะทะเดือดคนงานน้ำมัน-ตร.คาซัคสถาน

17 ธ.ค. 54 - มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน จากเหตุปะทะระหว่างคนงานบริษัทน้ำมันกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของรัฐบาลคาซัคสถาน ในเมืองทางตะวันตกของประเทศ

ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ตำรวจปราบจลาจลยิงกระสุนจริงเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วงซึ่งเป็นคนงานบริษัทน้ำมันในเมืองชานาโอเซ่น ทางตะวันตกของประเทศ ขณะผละงานประท้วงเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก ขณะที่สำนักงานอัยการในพื้นที่ยืนยันว่า เกิดการปะทะระหว่างทั้งสองฝ่ายจริงจนมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ แต่ยืนยันว่าไม่มีการยิงเข้าใส่ผู้ประท้วง พร้อมกับเตือนให้ชาวบ้านหลีกเลี่ยงเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีการชุมนุมประท้วง

การปะทะที่เกิดขึ้นนับเป็นเหตุความวุ่นวายครั้งรุนแรงที่สุดในคาซัคสถาน ประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันนับตั้งแต่แยกตัวเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี 2534

สหภาพแรงงานการบินฝรั่งเศสประท้วง

21 ธ.ค. 54 - ผู้โดยสารจำนวนมากต้องเผชิญกับความล่าช้าของหลายเที่ยวบินที่สนามบินชาร์ลส์ เดอ โกลล์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ขณะที่มีการยกเลิกหลายเที่ยวบินที่สนามบินลีอง วานนี้ เนื่องจากการประท้วงของเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยในช่วงฤดูกาลวันหยุด ที่เข้าสู่วันที่ 5 แล้ว ทั้งนี้ การประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งสหภาพแรงงานต้องการให้มีการพัฒนาสภาพการทำงานและเรียกร้องให้เพิ่มเงินเดือน แต่การเจรจาเพื่อยุติการประท้วงล้มเหลว

สหวิริยาเดินเครื่องผลิตที่อังกฤษไม่ทันต้นปี 55 เหตุคนงานประท้วง

21 ธ.ค. 54 - สำนักข่าว BBC รายงานว่าบริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ยังไม่สามารถเดินเครื่องเตาเผาที่โรงงานใน Teesside ได้ทันในกำหนดเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดการเดินเครื่องเตาเผาอาจจะล่วงเลยไปถึงเดือนมกราคมปีหน้า สำหรับสาเหตุความล่าช้านั้นเกิดมาจากปัญหาด้านสภาพอากาศ รวมถึงการผละงานประท้วงของคนงานรับเหมาก่อสร้างของโครงการ

ด้านนายนายวิน วิริยประไพกิจ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของสหวิริยา ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในประเทศวันเดียวกัน (21 ธ.ค.) ว่าตามที่มีกำหนดการว่าโรงงานของสหวิริยา ที่อังกฤษจะเริ่มเดินเครื่องในวันที่ 6 มกราคม 2555 นั้น ปัจจุบันกิจกรรมปรับปรุงหน่วยผลิตอื่นๆของโรงงานได้เสร็จเรียบร้อยตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีงานในส่วนของเตาถลุงเหล็กที่อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุง ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องมาจากในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย การนัดหยุดงานของสหภาพแรงงานบริษัทผู้รับเหมาช่วง และการพบกิจกรรมหน้างานเพิ่มเติมจากที่วางแผนไว้ จึงทำให้ไม่สามารถเริ่มเดินเครื่องจักรได้ในวันที่ 6 มกราคมตามที่กำหนดไว้

แต่อย่างไรก็ตามวินทิ้งท้ายไว้ว่า SSI UK จะพยายามอย่างเต็มความสามารถที่จะลดระยะเวลาในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการได้โดยเร็ว

เจ้าหน้าที่จราจรอากาศเปรูผละงานประท้วง

23 ธ.ค. 54 - เจ้าหน้าที่จราจรอากาศในกรุงลิมา เมืองหลวงของเปรู จำนวน 180 คน ผละงานประท้วงเป็นเวลา 3 วัน เพื่อเรียกร้องค่าแรงเพิ่มให้เท่ากับนักบิน กลุ่มผู้ประท้วงระบุว่า เงินเดือนของเจ้าหน้าที่จราจรอากาศสมควรจะต้องเพิ่มเป็นเดือนละเกือบ 7,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2 แสนบาท เท่ากับเงินเดือนของนักบิน แต่ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่จราจรอากาศในเปรู ที่แม้จะมีประสบการณ์ในการทำงานมาร่วม 30 ปี มีเงินเดือนเพียงเดือนละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพียง 30,000 บาทเท่านั้น ด้านประธานาธิบดีโอยันตา อูมาลา ของเปรู ประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับระบบการบิน ส่งผลให้ทางท่าอากาศยานสามารถจ้างเจ้าหน้าที่จราจรอากาศรุ่นใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทนพนักงานที่ผละงานประท้วงได้ทันที

กัมพูชาเผยตัวเลขรายได้จากแรงงานไปทำงานใน 4 ประเทศแถบเอเชีย

23 ธ.ค. 54 - สถิติของทางการกัมพูชาระบุว่า กัมพูชามีรายได้จากแรงงานที่เดินทางไปทำงานในประเทศแถบเอเชีย 4 ประเทศ รวมทั้งไทย ปีละ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,580 ล้านบาท เว็บไซต์สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างสถิติกัมพูชาระบุว่า เมื่อนับถึงสิ้นปี 2553 มีแรงงานชาวกัมพูชาเดินทางมาทำงานในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นราว 126,000 คน และพวกเขาเหล่านั้นส่งเงินกลับประเทศปีละราว 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 5,580 ล้านบาท โดยเงินดังกล่าวนับเป็นรายได้หลักของครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและอาศัยอยู่ในชนบท

ขณะเดียวกัน มีรายงานจากกระทรวงแรงงานและฝึกอาชีพของกัมพูชาระบุว่า เมื่อนับถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ไทยเป็นประเทศที่รับแรงงานกัมพูชามากที่สุด โดยมีงานรองรับถึง 8,464 ตำแหน่ง ขณะที่มาเลเซียตามมาเป็นอันดับสอง และอันดับสามเป็นเกาหลีใต้ ซึ่งในปีนี้เป็นตลาดที่กำลังเติบโตสำหรับแรงงานกัมพูชา มูลนิธิเอเชียและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐ หรือยูเสด ประมาณว่า กัมพูชามีแรงงานใหม่ราว 300,000 คน แต่มีเพียง 20,000-30,000 คนเท่านั้นที่ได้งานทำ

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสนามบินฝรั่งเศสเดินหน้าประท้วงต่อ

26 ธ.ค. 54 – เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าอากาศยานชาร์ลส์ เดอ โกลในกรุงปารีสของฝรั่งเศสลงมติให้เดินหน้าประท้วงต่อไป หลังจากเมื่อ 4 วันก่อนทางการส่งตำรวจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้แน่ใจว่าการประท้วงของพวกเขาจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางในช่วงวันหยุด

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานราว 200 คนลงมติสนับสนุนให้เดินหน้าเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อไป ก่อนหน้านี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีกล่าวว่า รัฐบาลอาจใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ประท้วงจะไม่ใช้ช่วงวันหยุดในการต่อรองข้อเรียกร้องของพวกเขา โดยในวันรุ่งขึ้น ได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้ประท้วงเพื่อตรวจผู้โดยสารและกระเป๋า  อย่างไรก็ตาม การผละงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวส่งผลกระทบไม่มากนักต่อเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยมีบางเที่ยวบินที่ล่าช้า โฆษกท่าอากาศยานกล่าวว่า การจราจรทางอากาศยังคงดำเนินต่อไปตามปกติในเช้าวันจันทร์นี้

คนขับรถไฟใต้ดินลอนดอนผละงานประท้วง

26 ธ.ค. 54 - คนขับรถไฟใต้ดินนครหลวงแห่งอังกฤษ ประท้วงเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้น รวมถึงวันหยุดพิเศษ หากต้องทำงานใน"วันบ็อกซิ่งเดย์" หรือ"วันแกะกล่องของขวัญหลังวันคริสต์มาส" การผละงานส่งผลให้เส้นทางรถไฟใต้ดินทั่วทั้งกรุงลอนดอนประสบปัญหาล่าช้า หรือต้องลดการให้บริการบางเส้นทาง แต่ไม่กระทบมากนักต่อบรรดานักชอปปิ้งที่ออกมาจับจ่ายซื้อของขวัญและสินค้าในวันบ็อกซิ่งเดย์ อันเป็นวันจับจ่ายซื้อสินค้าตามเนื่องจากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ นำสินค้ามาลดราคาสูงสุดถึง 50%

สหภาพคนขับรถไฟใต้ดินขู่ว่า หากข้อเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนอง จะมีการผละงานประท้วงอีก 3 ครั้ง ในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

แกนนำสหภาพแรงงานฝรั่งเศสรับข้อเสนอยุติการชุมนุมของเจ้าหน้าที่สนามบิน

27 ธ.ค. 54 - แกนนำสหภาพแรงงานหลายแห่งในฝรั่งเศสตัดสินใจรับข้อเสนอเพื่อยุติการชุมนุมประท้วงของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสนามบินที่ดำเนินมานาน 11 วัน อย่างไรก็ดี แรงงานยังต้องโหวตว่าจะยุติการชุมนุมหรือไม่ ด้านสถานีวิทยุ RFI ของฝรั่งเศส รายงานผ่านทางเว็บไซต์ว่า แกนนำสหภาพแรงงาน 4 แห่ง ได้แก่ FO, CFTC, CFDT และ Unsa กล่าวว่า แรงงานเสนอให้มีการทำข้อตกลงเพื่อยุติการชุมนุม "ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย"

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสนามบินฝรั่งเศสเริ่มชุมนุมประท้วงทั่วประเทศในวันที่ 16 พฤศจิกายน เพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานและขึ้นค่าแรง 200 ยูโร (261 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อเดือน แต่การชุมนุมกดดันไม่ได้ผล ส่วนหนึ่งเพราะประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ตัดสินใจส่งทหารและตำรวจมาช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้ประท้วง ในการตรวจผู้โดยสารและสัมภาระ ทำให้การดำเนินงานไม่หยุดชะงักในช่วงเทศกาลคริสต์มาส

หลังชุมนุมนาน 11 วัน แรงงานจำนวนมากเริ่มต้องการให้ความขัดแย้งยุติลง และสหภาพแรงงานเปิดเผยว่า นายจ้างเสนอว่าจะจ่ายโบนัสปลายปี 1,000 ยูโร (1,304 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้แทนการขึ้นเงินเดือน ส่วนเรื่องสภาพการทำงานจะมีการเจรจากันในเดือนหน้า โดยทางสหภาพแรงงาน CGT ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงดังกล่าว โดยจะหารือกับสมาชิกก่อน

ก่อนหน้านี้แรงงานได้หารือกันและโหวตว่าจะชุมนุมต่อไปจนถึงวันจันทร์ และจะหารือกันอีกครั้งในวันอังคารเพื่อตัดสินใจว่าจะยอมรับข้อเสนอที่สหภาพบางแห่งยอมรับไปแล้วหรือไม่

ฟิลิปปินส์จะขยายคำสั่งห้ามส่งแรงงานไปยังไนจีเรีย หลังเกิดเหตุระเบิดในวันคริสต์มาส

29 ธ.ค. 54 - กระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์แถลงวันนี้ว่า จะขยายคำสั่งห้ามส่งแรงงานไปทำงานในไนจีเรีย หลังเกิดเหตุระเบิดในวันคริสต์มาสที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 คน ซึ่งเดิมนั้นคำสั่งดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มกราคมนี้ เพื่ออนุญาตให้มีการส่งแรงงานชาวฟิลิปปินส์หลายพันคนเข้าไปทำงานในภาคพลังงานของไนจีเรียได้อีกครั้ง ภายหลังมีคำสั่งห้ามส่งแรงงานไปยังไนจีเรีย เนื่องจากเกิดเหตุคนงานชาวฟิลิปปินส์ถูกลักพาตัวหลายครั้งในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ระหว่างปี 2549-2552 แต่เหตุระเบิดที่เกิดขึ้น ทำให้วิตกกังวลด้านความปลอดภัย ดังนั้นคำสั่งห้ามดังกล่าวจึงจะมีผลบังคับใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักปรัชญาชายขอบ: ยิ่งกว่า ม.112

$
0
0

มีเรื่องที่ผมพบเห็นในวันนี้แล้วรู้สึกสะเทือนใจอย่างมาก ทำให้ผมอดที่จะเขียนอะไรออกมาไม่ได้ เรื่องแรก ช่วงเช้าผมได้เห็นสเตตัสในเฟซบุ๊คของอดีตนักศึกษาที่ผมเคยสอน มีลิงค์ภาพของอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล จาก นสพ.ไทยโพสต์ และมีข้อความที่เขาพิมพ์ด่าแรงมาก และเมื่อดูความเห็นอื่นๆ ก็ล้วนแต่เข้ามารุมด่า บางความเห็นถึงกับเรียกร้องให้มีการทำร้าย อ.ปิยบุตร เลยด้วยซ้ำ

อีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องที่นักศึกษาชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นามแฝง “ก้านธูป” ถูกตำรวจออกหมายเรียกในความผิดตาม ม.112 ผมทราบมาว่าเรื่องที่ถูกแจ้งความเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งเธอเองก็ได้รับผลกระทบมามากแล้วจากการที่มหาวิทยาลัยสองแห่งปฏิเสธที่จะรับเข้าเป็นนักศึกษา ล่าสุดช่วงส่งท้ายปีเก่า ASTV ผู้จัดการก็นำเรื่องราวและข้อมูลส่วนตัวของเธอมาตีแผ่ประจานโดยเปิดเผยชื่อจริง และแสดงความเห็นเชิงตำหนิที่ธรรมศาสตร์รับเธอเป็นนักศึกษา

ผมกำลังพูดถึง “อันตราย” หรือ “สิ่งที่น่ากลัว” กว่า ม.112 

เพราะลำพัง ม.112 หากผู้แจ้งความและระบบยุติธรรมใช้ดุลยพินิจดำเนินการตรงไปตรงมาตาม “ความหมาย” จริงๆ ของคำว่า “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย” ก็ยังไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเกินไปนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในบรรยากาศของการล่าแม่มดและระบบยุติธรรมเวลานี้คือ เราไม่สามารถจะเห็นการ “แยกแยะ” อย่างชัดเจนว่า อะไรคือหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย อะไรคือการแสดงอารมณ์ความรู้สึก หรือ “เกรียน” แบบเด็กๆ อะไรคือการวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะ 

เมื่อใครมาแจ้งความ ตำรวจก็ไม่กล้าปฏิเสธที่จะดำเนินการต่อ เมื่อส่งเรื่องไปยังอัยการ เขาก็ต้องส่งต่อให้ศาล เพราะเขาเองก็ไม่อยากรับผิดชอบเรื่องที่ถือกันว่า “ละเอียดอ่อน” แบบนี้ และเมื่อถึงชั้นศาลก็ยากที่ “เหยื่อ” จะรอด (กรณี “อากง” ด้วยการพิสูจน์โดย “ไม่สิ้นสงสัย” หลายคนคิดว่าแกน่าจะรอด แต่แกก็ไม่รอด แถมยังโดนหนักอย่างเหลือเชื่อ)

ดูเหมือนว่าพอมันเปิดโอกาสให้ “ใครๆ” ก็ไปแจ้งความเอาผิดได้ คนที่ไม่ชอบความคิดความเห็น หรือมีจุดยืนทางการเมืองต่างกัน สีต่างกัน หรือประเภท “คลั่งเจ้า” อย่างไร้เหตุผลก็สามารถไปแจ้งความได้ 

ม.112 มันจึงกลายเป็นเครื่องมือของ “ใครๆ” นี่แหละ และใครๆ ที่ว่านี้ก็มีวิธีคิดที่น่ากลัวมาก!

อย่างกรณีของพวกที่โพสต์ด่า อ.ปิยบตร ที่ผมกล่าวถึง ส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตเสรีอย่างเต็มที่ในเรื่องกิน ดื่ม เที่ยว ช้อป และอื่นๆ เรียกว่าวิถีชีวิตโดยรวมๆ ของพวกเขาถือว่ามีเสรีภาพจากขนบจารีตเก่าๆ มาก 

แต่เสรีภาพที่ว่านั้นน่าจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ หรือโดยธรรมชาติเนื่องจากการซึมซับค่านิยมการใช้ชีวิตสมัยใหม่ที่ผ่านเข้ามาทางภาพยนตร์ ดนตรี แฟชัน สื่ออินเทอร์เน็ต ฯลฯ  ทว่าไม่ได้ผ่านการปะทะสังสรรค์ทางความคิด หรือผ่านวัฒนธรรมการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์จนตกผลึก การใช้ชีวิตที่มีเสรีภาพที่ได้มาโดยธรรมชาตินั้นมันมีรสชาติน่านิยมมากกว่าชีวิตตามขนบจารีตเก่าแบบไทยๆ อยู่มาก จึงต่อให้กี่“ระเบียบรัตน์” จะออกมาจัดระเบียบการใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่อย่างไร ก็ไม่มีทางสำเร็จ

ผมไม่ได้ตำหนิการใช้ชีวิตเสรีของเด็กรุ่นใหม่ ถึงยังไงชีวิตเสรีมันน่าจะเปิดให้คนเราได้เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบชีวิตตนเองได้ดีกว่า แต่อยากตั้งข้อสังเกตว่า เพราะชีวิตที่มีเสรีภาพเช่นที่เป็นอยู่นี้ที่เสรีภาพไม่ใช่สิ่งที่ได้มาโดยผ่านวัฒนธรรมปะทะสังสรรค์ทางความคิด การตั้งคำถาม การวิพากษ์วิจารณ์จนตกผลึก มันจึงทำให้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ดูเหมือนมีเสรีภาพมากๆ นั้น พอเผชิญกับปัญหาเรื่อง “เสรีภาพทางการเมือง” ที่เป็นเสรีภาพที่ต้องเข้าใจได้ด้วยการผ่านวัฒนธรรมการปะทะสังสรรค์ทางความคิด การตั้งคำถาม และวิพากษ์วิจารณ์จนตกผลึกนั้น ปรากฏว่าคนรุ่นใหม่ไม่ get ความหมายและ “คุณค่า” ของเสรีภาพดังกล่าวนี้เลย พวกเขาไม่ get ว่า อะไรคือ “ปัญหา” หรือ “อุปสรรค” ของความเป็นประชาธิปไตยเอาเสียเลย

ฉะนั้น พวกเขาจึงด่าคนอย่าง อ.ปิยบุตร ผู้ซึ่งออกมายืนยันเสรีภาพทางการเมืองแทนพวกเขาและประชาชนทุกคนอย่างสาดเสียเทเสีย และพวกเขาจึงไล่ล่าแม่มดด้วยการอ้าง “ตรรกะวิปริต” แบบท่องจำต่อๆ กันมาอย่างนกแก้วนกขุนทอง

ถามว่าเด็กรุ่นใหม่รักชีวิตที่มีเสรีภาพไหม? แน่นอนว่าเขารัก เขาไม่ต้องการถูกใครมาบังคับกะเกณฑ์การใช้ชีวิตของเขาแน่ๆ แต่ถามว่าเขารัก “เสรีภาพทางการเมือง” ไหม? อันนี้มีปัญหา ปรากฏการณ์ลูกเสือไซเบอร์ บรรยากาศล่าแม่มด และกระแสการอ้าง “ตรรกะวิปริต” แบบนกแก้วนกขุนทองที่เด็กรุ่นใหม่ซึมซับและรับมาใช้อย่างง่ายดาย ล้วนแต่เป็นภาพสะท้อนในทางที่สนับสนุนการทำลาย “เสรีภาพทางการเมือง” อย่างน่าวิตก

ภาพสะท้อนดังกล่าวมันก็สะท้อนวัฒนธรรมการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย และ/หรือระบบการศึกษาแบบทางการทั้งระบบด้วยว่า ไม่ได้สร้างคุณลักษณะของ “พลเมือง” ที่รักเสรีภาพทางการเมือง แต่เน้นการปลูกฝังให้รักให้ซาบซึ้งสิ่งอื่น และยอมให้สิ่งอื่นนั้นสำคัญกว่าเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน จนกระทั่งอ้างสิ่งนั้นเพื่อสังหารประชาชนที่ออกมาเรียกร้องเสรีภาพทางการเมืองครั้งแล้วครั้งเล่า

อันตราย หรือสิ่งที่น่ากลัวกว่า ม.112 จึงได้แก่การไม่สามารถเข้าถึงความหมายและคุณค่าของเสรีภาพทางการเมืองนี่แหละ และการพร้อมที่จะทำลายผู้ออกมาเรียกร้องร้องหรือยืนยันเสรีภาพทางการเมืองได้ทุกเมื่อ ทุกวิถีทางนี่แหละ

วันนี้อาจารย์ชาวอเมริกันที่ทำงานอยู่ที่เดียวกัน มาสนทนาด้วย (เขาพูดไทยแข็งแรง) เขาพูดอย่างน่าคิดว่า “ทุกสังคมมันมีเรื่องที่เสี่ยงมากบ้างน้อยบ้าง การที่มีคนออกมาตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่มันเสี่ยง เขาควรจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าจะถูกตำหนิ”

พูดก็พูดเถอะ ผมเห็นสื่อ นักวิชาการ และบุคคลที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ออกมาวิเคราะห์ทำนองว่า ข้อเรียกร้องให้ปฏิรูป ม.112 และการแก้รัฐธรรมนูญคือ “ระเบิดเวลา” ที่อาจก่อความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองในปี 2555 ผมมีความรู้สึกว่าหากเราต่างร่วมกัน “รับผิดชอบ” มากกว่านี้ ด้วยการเสนอ เหตุผล ความคิด จุดยืนของฝ่ายต่างๆ อย่างลงลึกในรายละเอียดให้รอบด้านมากที่สุด ความขัดแย้งและความรุนแรงแบบที่เคยเป็นมาจะไม่มีทางเกิดขึ้นอีก

ถามว่าวันนี้เรามีความกล้าที่จะตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่มันเสี่ยงต่อความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองอย่างรอบด้านหรือยัง? 

ทำไมเสียงที่มีความกล้าบางเสียงเช่น เสียงของ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ซึ่งเป็นเสียงที่ยืนยัน “หลักการ” ประชาธิปไตย และอธิบาย “ประเด็นปัญหา” ระดับรากฐานของความเป็นประชาธิปไตย พร้อมกับอ้างตรรกะเหตุผลประกอบอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด สื่อกระแสหลักจึงละเลยที่จะนำเสนอ ขณะที่อีกฝ่ายจะอ้าง “ตรรกะวิปริต” ขนาดไหน สื่อกระแสหลักต่างพร้อมใจกันเป็น “กระบอกเสียง” ให้

นี่ก็คือความน่ากลัวอีกประการหนึ่ง เป็นความน่ากลัวเนื่องจากเสียงของหลักการ เหตุผลเป็นเสียงที่ไร้ “กระบอกเสียง” แต่เสียงของ “ตรรกะวิปริต” เป็นเสียงที่สื่อหลักพร้อมจะเป็นกระบอกเสียงให้ และคนรุ่นใหม่ที่รักชีวิตเสรีแต่ไม่เห็นคุณค่าของเสรีภาพทางการเมืองก็พากันเฮโลตามกันอย่างง่ายๆ

เรื่องที่มันเสี่ยงแบบเดียวกับยุคศตวรรษที่ 19 ทำให้ “กระบอกเสียง” ในทศวรรษที่สองของศตวรรษที่ 21 “กลัว” ที่จะสะท้อนเสียงของหลักการ เหตุผล ที่ยืนยันเสรีภาพทางการเมืองและความเป็นประชาธิปไตย 

นี่คือ “ความกลัวที่น่ากลัว” อย่างเหลือเชื่อในยุคสมัยของเรา!

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: เปิดฎีกาชาวบ้านแม่ตาว หมดหวังรัฐเยียวยาพิษแคดเมี่ยม

$
0
0

เรียบเรียงจากจดหมายยื่นฎีกา ได้รับผลกระทบจากสารพิษแคดเมียมปนเปื้อนในเมล็ดข้าว แหล่งน้ำ สภาพแวดล้อม และในร่างกาย เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554 ของ นางภิรมย์ ใจรุณ นายสมบูรณ์ จำปาทอง ราษฎรค้างภิบาล หมู่ 1 ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก

 

 

ภาพจาก enlawthai.org

 

ปลายปีทีผ่านมา นางภิรมย์ ใจรุณ และนายสมบูรณ์ จำปาทอง ราษฎรค้างภิบาล อ.แม่สอด จ.ตาก ได้ยื่นขอถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากประสบความยากลำบากทุกข์แสนสาหัสมาเกือบครึ่งชีวิตกับพิษภัยแคดเมี่ยม จนตัดสินใจยื่นฎีกาขอความเป็นธรรมที่สำนักพระราชวัง เพราะหมดหวังไร้ทางพึ่งกับทุกหน่วยงานภาครัฐ

เนื้อหาฎีการ้องทุกข์ดังกล่าวระบุถึง การดำเนินงานการทำเหมืองแร่สังกะสีบนดอยผาแดง ในเขตตำบลพระธาตุผาแดง ต.แม่ตาว และ ต.แม่กุ อ.แม่สอด จ.ตาก โดยบริษัท ตากไมนิ่ง จำกัด และ บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ปี 2520 แต่ปัจจุบันเหลือบริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียว

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านมีความรู้สึกดีใจที่บ้านเมืองของเรานั้นมีเหมืองแร่สังกะสีเกิดขึ้น ทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง แต่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2546 มีการตรวจวัดระดับสารแคดเมียมในดินและข้าวบริเวณตำบลพระธาตุผาแดง แม่ตาวและแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่ามีการปนเปื้อนในระดับที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนแถบนั้นกว่า 6,000 คน ที่บริโภคข้าวที่ผลิตได้จากบริเวณดังกล่าว ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศแห่งหนึ่ง

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2546 มีการตรวจพบสารแคดเมียมระดับที่เป็นอันตรายในร่างกายประชาชนในเขตตำบลพระธาตุผาแดง แม่ตาวและแม่กุ โดยโรงพยาบาลแม่สอดได้ออกบัตรผู้ป่วยแคดเมียมให้กับประชาชนที่มีสารแคดเมียมปริมาณสูงในร่างกายด้วย (แต่ในระยะหลังที่ผู้ป่วยแคดเมียมไปตรวจสุขภาพและรักษาโรคภัยไข้เจ็บเกี่ยวกับแคดเมียมหรือโรคภัยไข้เจ็บอื่นก็จะถูกยึดบัตรผู้ป่วยแคดเมียมคืนไปโดยไม่แจ้งเหตุผล) ในปี พ.ศ. 2547 พบการปนเปื้อนแคดเมียมในดินและข้าวในปริมาณสูง โดยรัฐบาลสั่งให้ชาวบ้าน 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน รวมพื้นที่ปลูกข้าวและพืชอาหารอื่น 13,237 ไร่ มีเกษตรกรรวม 862 ราย ตัดทำลายข้าวและพืชอาหารอื่นให้หมดสิ้น เพื่อควบคุมข้าวที่ปนเปื้อนสารแคดเมียมไม่ให้จำหน่ายออกสู่ตลาดเพื่อมิให้ผู้บริโภคข้าวในตลาดต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพข้าวไทย โดยช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ด้วยการจ่ายชดเชยให้ไร่ละ 3,700 บาท

ในปี พ.ศ. 2548 ยังคงเกิดเหตุการณ์เหมือนปีที่แล้วจนรัฐบาลได้สั่งให้ชาวบ้านตัดทำลายข้าวและพืชอาหารอื่นให้หมดสิ้น พื้นที่ 13,439 ไร่ จำนวนเกษตรกร 903 ราย โดยได้รับค่าชดเชยความเสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 4,220 บาทต่อไร่ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลทำการจ่ายชดเชยค่าเสียหายเป็นปีสุดท้ายให้แก่เกษตรกรจำนวน 835 ราย พื้นที่ 13,205 ไร่ ในอัตราไร่ละ 4,220 บาท พร้อมกับการวางแผนระยะยาวด้วยการให้ชาวบ้านหันไปปลูกอ้อยเพื่อผลิตเอทานอลแทนข้าวในพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียมจำนวน 13,237 ไร่ เพื่อหวังที่จะปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรจากการปลูกพืชอาหารไปเป็นพืชพลังงาน”

ฎีกาดังกล่าว ระบุว่า ผลจากการดำเนินการดังกล่าวทำให้บริษัทผาแดงฯ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด และบริษัท เพโทรกรีน (กลุ่มน้ำตาลมิตรผล) จำกัด ร่วมกันจัดตั้งบริษัท แม่สอดพลังงานสะอาด จำกัด และโรงงานผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ขึ้นที่อำเภอแม่สอด มีกำลังการผลิต 2 แสนลิตรต่อวัน ใช้อ้อยประมาณ 6 แสนตันต่อปี เพื่อรองรับผลผลิตอ้อยในพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียมในอำเภอแม่สอด ในส่วนของรัฐบาลได้ให้หน่วยงานราชการและบริษัทผาแดงฯ ร่วมกันส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียมจำนวน 13,237 ไร่ แต่ปัจจุบันมีชาวบ้านปลูกอ้อยอยู่เพียง 5,000 กว่าไร่ หรือคิดเป็น 40% ของพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียมเท่านั้น เนื่องจากเกิดปัญหาขาดทุนและเป็นหนี้สินจนทำให้ชาวบ้านต้องล้มเลิกการปลูกอ้อยลงไปหลายราย

สาเหตุสำคัญเพราะไม่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐและผู้ประกอบการเหมืองแร่อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันบริษัทแม่สอดพลังงานสะอาดฯ ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับผลผลิตอ้อยจากพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียมในอำเภอแม่สอดเป็นหลักกลับไปทำการส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่อำเภอพบพระและแม่ระมาด จังหวัดตาก แทนเสียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อหวังจะให้ได้พื้นที่ปลูกอ้อยในเขตสองอำเภอดังกล่าวประมาณ 45,000 ไร่ เพียงพอต่อปริมาณสำรองอ้อยเพื่อป้อนกำลังการผลิตที่วางเป้าหมายไว้ และมีความมั่นคงกว่าพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียมในเขตอำเภอแม่สอดที่หน่วยงานราชการและบริษัทผาแดงฯ ขาดความมุ่งมั่นส่งเสริมการปลูกอ้อยอย่างจริงจัง

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ทำหน้าที่แทนคณะรัฐมนตรี) มีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงบประมาณว่า “สำหรับการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในช่วงการปรับเปลี่ยนอาชีพ เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 55,725,100 บาท (ห้าสิบห้าล้านเจ็ดแสนสองหมื่นห้าพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพของเกษตรกร จำนวน 835 ราย พื้นที่ 13,205 ไร่ ในอัตราไร่ละ 4,220 บาท ตามอัตราที่เคยช่วยเหลือในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 โดยเห็นสมควรให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ.2549 เป็นปีสุดท้าย”

เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 และปีงบประมาณ พ.ศ.2548 เป็นเงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 117,879,622 บาท และขณะนี้เกษตรกรจะเริ่มมีรายได้จากการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชอื่นทดแทนแล้ว ทั้ง ๆ ที่ปริมาณแคดเมียมที่ปนเปื้อนในนาข้าวและผืนดินที่ใช้ปลูกพืชอาหารอื่นยังคงมีปริมาณสูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน แต่รัฐบาลและผู้ประกอบการเหมืองแร่ก็ไม่สามารถทำให้เกษตรกรหันไปปลูกอ้อยให้ได้ทั้งหมดในพื้นที่เป้าหมายที่ปนเปื้อนแคดเมียม 13,237 ไร่ ตามที่วางแผนไว้ โดยปล่อยให้ชาวบ้านต้องปลูกและกินข้าวปนเปื้อนแคดเมียมอยู่ต่อไป

“ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือหน่วยงานราชการทั้งหลายที่ทำหน้าที่คอยติดตาม ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ ดูแล แก้ไขและเสนอแนะให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่สังกะสี วางเฉยต่อหน้าที่หรือความรับผิดชอบของตัวเองโดยไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อราษฎรอย่างไร มิหนำซ้ำบางหน่วยงานกลับแสดงท่าทีปกป้องหรือแก้ต่างให้ผู้ประกอบการทำเหมืองแร่สังกะสีว่าการปนเปื้อนของแคดเมียมมิได้มีสาเหตุมาจากกิจกรรมเหมืองแร่สังกะสี แต่เกิดจากสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่บริเวณนี้ที่เป็นแหล่งศักยภาพแร่สังกะสีเกิดการผุพังสลายตัวและพัดพาตะกอนดินและหินจากเทือกเขาที่มีแร่สังกะสีและแคดเมียมปะปนอยู่ลงมาทับถมสะสมตัวในพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ในระดับพื้นที่ต่ำกว่าตั้งแต่อดีตกาลหลายล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน เป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อนแคดเมียม”

 

 

ภาพจาก econ.mju.ac.th

 

ฏีการะบุว่า ทั้งๆ ที่ผลการตรวจสอบ ศึกษาหรือวิจัยเกือบทั้งหมดที่นำมากล่าวอ้างได้สรุปสาเหตุและแหล่งที่มาของการปนเปื้อนแคดเมียมไว้ 3 ประการด้วยกัน คือ 1. กระบวนการตามธรรมชาติ เกิดจากกระบวนการผุพังสลายตัวตามธรรมชาติของพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งศักยภาพแร่สังกะสีพัดพาเอาตะกอนดินและหินจากเทือกเขาแหล่งแร่สังกะสีที่มีแคดเมียมเกิดร่วมอยู่ด้วย ลงมาทับถมสะสมตัวในที่ลุ่มซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ตั้งแต่อดีตกาล 1.8 ล้านปี ล่วงมาจนถึงปัจจุบัน 2. จากการทำเหมืองแร่สังกะสี โดยเหมืองอาจปล่อยน้ำทิ้งและตะกอนที่มีการปนเปื้อนสูงเกินค่ามาตรฐานและการชะล้างพัดพาตะกอนจากการเปิดพื้นที่ทำเหมือง 3. การบุกรุกพื้นที่ต้นน้ำ การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำการเกษตร ซึ่งก่อให้เกิดการชะล้างพัดพาตะกอนดิน การทดหรือสูบน้ำจากห้วยแม่ตาวและห้วยแม่กุเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ซึ่งทำให้ตะกอนธารน้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมไหลจากแปลงนาที่สูงกว่าสู่แปลงนาที่ต่ำกว่า และการใช้ยาปราบศัตรูพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต

 “ข้าพเจ้าทั้งสองสงสัยว่าแท้จริงแล้วการทำเหมืองแร่สังกะสีบนดอยผาแดงมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยต่อการปนเปื้อนแคดเมียมในแหล่งน้ำและนาข้าวของชาวบ้านในที่ลุ่ม แต่กลับไม่มีการพิสูจน์ให้ชัดเจนลงไปว่าการปนเปื้อนแคดเมียมจากสาเหตุใดมีปริมาณมากน้อยต่างกันเพียงใด และแต่ละสาเหตุควรจะมีส่วนรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาหรือผลกระทบมากน้อยต่างกันอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนแคดเมียมในแต่ละสาเหตุได้อย่างไร”

เนื้อหาในฎีการะบุว่า ความพยายามจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการและผู้ประกอบการเหมืองแร่สังกะสีในการระบุว่าผู้ประกอบการทำเหมืองแร่สังกะสีไม่ใช่สาเหตุสำคัญของการปนเปื้อนแคดเมียมนั้นเป็นการข้อสรุปที่ขัดความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นอย่างยิ่ง รีบด่วนสรุปเพื่อที่จะปัดภาระความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความเสื่อมโทรมของสุขภาพร่างกายประชาชนในพื้นที่เกินไป

จากการกล่าวอ้างในทางวิชาการถึงสาเหตุการปนเปื้อนแคดเมียม 3 ประการ ตามที่กล่าวไว้นั้นกลับไม่สามารถสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเข้าใจได้ จึงเกิดการรวมตัวกันของชาวบ้านใน 3 ตำบล คือ ตำบลพระธาตุผาแดง แม่ตาวและแม่กุยื่นฟ้องบริษัททำเหมืองแร่สังกะสี 2 บริษัทต่อศาลปกครอง (โดยตัวแทนชาวบ้าน 32 ราย) เพื่อให้มีคำสั่งบังคับ 6 หน่วยงาน คือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาที่ดิน คณะกรรมการควบคุมมลพิษ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุม ป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ฟื้นฟู เยียวยาสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนที่ป่วยจากการได้รับสารพิษแคดเมียมสะสมในร่างกาย และให้หยุดการประกอบกิจการเหมืองแร่สังกะสีของทั้ง 2 บริษัท และศาลแพ่ง (โดยชาวบ้าน 959 ราย) เพื่อให้มีคำสั่งบังคับให้ 2 บริษัททำเหมืองแร่สังกะสีชดใช้เงินประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท จากการทำเหมืองแร่สังกะสีที่ทำให้ที่ดินทำกินเสียหายเสื่อมโทรมจากการปนเปื้อนแคดเมียมจนไม่สามารถกินข้าวและพืชผลการเกษตรอื่นที่ปลูกได้ รวมทั้งให้ชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจากโรคภัยไข้เจ็บที่ได้รับจากสารพิษแคดเมียมสะสมในร่างกายด้วย

 “ข้าพเจ้าทั้งสองมีข้อสังเกตประการหนึ่งว่าการขุด ไถ พรวน ยกร่อง ปรับระดับพื้นดินเพื่อทำการเกษตรกับการเปิดหน้าดินเพื่อทำเหมืองแร่มีความแตกต่างกันลิบลับ เพราะลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่สังกะสีบริเวณพื้นที่ต้นน้ำบนดอยผาแดงและดอยที่อยู่ใกล้เคียงที่มีการทำเหมืองแร่สังกะสีนั้นมีการสะสมตัวของแร่ที่ระดับความลึก 30 เมตรจากผิวหน้าดินลงไป และมีความหนาของชั้นแร่สังกะสีประมาณ 220 เมตร ดังนั้น การทำการเกษตรในระดับหน้าดินไม่น่าจะรบกวนแคดเมียมที่อยู่ร่วมกับแร่สังกะสีในระดับความลึกประมาณ 30 เมตรจากผิวดินลงไปได้ จึงสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าการกล่าวอ้างทางวิชาการที่บ่งบอกว่าสาเหตุสำคัญของการปนเปื้อน แคดเมียมเกิดจากการทำการเกษตรบนที่สูงมากกว่ากิจกรรมเหมืองแร่ที่ต้องเปิดหน้าดินลึกเข้าไปในชั้นแร่สังกะสีที่มีแคดเมียมร่วมอยู่ด้วยได้อย่างไร”

ถ้าจะระบุว่าแคดเมียมมีการสะสมตัวอยู่ในชั้นผิวดินเป็นจำนวนมาก ก็ต้องศึกษาวิจัยให้แน่ชัดว่าแคดเมียมที่อยู่ร่วมกับแร่สังกะสีในชั้นแร่ที่ลึกลงไปในดินนั้นมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าแคดเมียมที่กระจายตัวเป็นอิสระบนผิวดิน เพื่อที่จะคาดการณ์ได้ว่าปริมาณแคดเมียมจากส่วนใด (จากผิวดินหรือในชั้นแร่สังกะสีที่อยู่ลึกจากผิวดิน) เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการปนเปื้อนแคดเมียมในแหล่งน้ำ ดินและพืชผลการเกษตรของชาวบ้าน แต่ถ้าหากผลการศึกษาวิจัยในส่วนนี้ยังไม่ชัดเจนข้าพเจ้าจึงเห็นว่ายังไม่สมควรด่วนสรุปว่าการทำเหมืองแร่สังกะสีไม่ใช่สาเหตุหลักของการปนเปื้อนแคดเมียม

“ข้าพเจาทั้งสองพยายามคิดใคร่ครวญในข้อกฎหมายแร่มาตรา 131/1 ที่ระบุว่า ‘ผู้ถืออาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตน ต่อความเสียหาย หรือความเดือดร้อนรำคาญใดอันเกิดขึ้นแก่บุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นในเขตที่ได้รับอนุญาต ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำของผู้ถืออาชญาบัตร ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้น’  แต่ก็ไม่เห็นเจ้าหน้าที่ส่วนราชการใดกระตือรือล้นช่วยเหลือราษฎรที่กำลังตกระกำลำบาก

มีข้อมูลในหน้าหนังสือพิมพ์ได้ระบุตัวเลขไว้ว่าปัจจุบันชาวบ้านมีสารแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ในเลือด กระดูกและปัสสาวะในระดับสูงกว่าปกติเป็นจำนวนมากถึง 844 ราย โดย 40 ราย มีอาการไตวายและไตเสื่อม อีก 219 ราย อยู่ในภาวะไตเริ่มเสื่อม นอกจากนี้ยังมีอาการนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ภาวะกระดูกพรุน และอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างอื่นอีกเป็นจำนวนมาก

จากที่กล่าวมาทั้งหมด ถึงแม้ว่าตัวข้าพเจ้าทั้งสองจะร่วมฟ้องร้องดำเนินคดีต่อส่วนราชการที่มีหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังการทำเหมืองแร่สังกะสี และบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด เพื่อขอให้ดำเนินการเอาผิดทางปกครองหรือทางแพ่ง แต่ข้าพเจ้าทั้งสองก็ยังคงทุกข์ใจอยู่ตลอดเวลา เพราะไม่รู้ว่าการดำเนินคดีจะต้องใช้เวลาเท่าไหร่ และจะมีผลออกมาเช่นใด ซึ่งข้าพเจ้าทั้งสองก็ไม่รู้ว่าจะยังมีชีวิตอยู่ทันได้เห็นผลหรือไม่ เนื่องจากว่าข้าพเจ้าทั้งสองอายุมากแล้ว

เรื่องการยื่นถวายฎีกาแด่พระองค์ท่าน ข้าพเจ้าก็ใช้เวลาคิดใคร่ครวญอยู่นานหลายปี เพราะเกรงว่าจะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทและกลัวข้าราชการกับนักการเมืองในพื้นที่มาข่มขู่คุกคาม แต่เมื่อนึกถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยและชราภาพของข้าพเจ้าทั้งสองจึงตัดสินใจทำการยื่นถวายฎีกาเพื่อขอความเมตตาแด่พระองค์ท่าน โดยข้าพเจ้าทั้งสองมิได้มีความประสงค์ขอความช่วยเหลือเพียงลำพังข้าพเจ้าสองคนให้รอดพ้นจากความทุกข์เท่านั้น แต่ข้าพเจ้าทั้งสองขอถวายฎีกาเพื่อขอความช่วยเหลือให้แก่ประชาชนทั้งหมดในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ถูกผลกระทบจากสารพิษแคดเมียมปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ไร่นาและในร่างกาย

สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นห่วงก็แต่ลูกหลานของข้าพเจ้าทั้งสองที่น่าจะมีสารพิษแคดเมียมปนเปื้อนในร่างกายสะสมอยู่ในระดับที่คาดว่าน่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุขัย คงจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบต่อจากรุ่นของข้าพเจ้าทั้งสองต่อไป ข้าพเจ้าทั้งสองคิดใคร่ครวญอยู่หลายปีถึงการยื่นถวายฎีกาแด่พระองค์ท่าน บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งสองได้ทำตามใจปรารถนาแล้ว หากแม้จะตายก็คงนอนตายตาหลับแล้ว”

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

Guy Fawkes ผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพกับความหมายแตกต่างของสลิ่มไทย

$
0
0

การประท้วงของ Occupy Wall Street ได้ใช้หน้ากาก Guy Fawkes เป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวที่แสดงอำนาจของประชาชนในการต่อสู้ แล้วหน้ากาก Guy Fawkes มาถึงการประท้วงในประเทศไทย โดยปรากฏเคียงคู่กับกลุ่มสยามสามัคคีรวมพลังประท้วงทูตสหรัฐ เมื่อ 15 ธ.ค. ที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกิจการภายในของไทย เหตุมาจากกฎหมายอาญามาตรา 112 

(ที่มา ผู้จัดการออนไลน์)

ความหมาย Guy Fawkes ของ Occupy Wall Street ที่ใช้สื่อสารในการเคลื่อนไหวของพวกเขากับการประท้วงในประเทศไทย มีความหมายที่แตกต่างกัน


ทำไมต้องเป็น Guy Fawkes 

ผู้เข้าร่วมจากเพจ “แก๊งค์หน้ากากต่อต้านทักษิณ - V for Thailand” ผู้ริเริ่มการใช้หน้ากาก Guy Fawkes ในเวอร์ชัน V for Vendetta ได้อธิบายการใช้หน้ากากนี้เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ว่า

“...หลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วยกับการไป ประท้วงสถานทูตสหรัฐฯ ในประเด็นเรื่อง ม.112 แล้วพวกเราใส่หน้ากากนี้ ---- สิ่งที่เราอยากจะบอก ก็คือ สหรัฐ กำลังกลัวประเด็น Occupy Wall Street เป็นอย่างมาก หน้ากากนี้เป็นสัญลักษณ์อย่างนึงในการต่อต้านระบอบทุนนิยมสามานย์ด้วยนะครับ เรามุ่งเป้าให้ภาพนี้ออกไปยังสื่อต่างประเทศ เนื่องจาก หน้ากากนี้มีความเป็นสากลสูงมาก และเราเชื่อว่ามันได้ผลครับ หัวใจเรารักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความถูกต้อง การร่วมต่อต้านกับสิ่งชั่วร้ายในโลกสากล ยุคปัจจุบัน หน้ากากนี้ คือ สัญลักษณ์อย่างนึงครับ…”

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ได้โพสต์ข้อความรณรงค์ด้วยหน้ากาก V for Vendetta ว่า

“กิจกรรมหน้ากระดานข้อความ ที่เรานำเสนอเพื่อน ๆ ก็คือ ทำหน้ากากใส่ แล้วพิมพ์ข้อความที่เราอยากสื่อ ถ่ายรูป แล้วอัพรูปขึ้น Facebook เพื่อต่อต้านการกระทำของหน่วยงานต่างประเทศที่เข้ามาแทรกแซงกับเรื่องกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องไม่ควรกระทำ เนื่องจาก แต่ละประเทศมีจารีต ประเพณี และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ด้วยสิทธิ เสรีภาพ ในการแสดงออกอย่างสงบ ประชาชนย่อมมีสิทธิในการต่อต้านการกระทำดังกล่าวของหน่วยงานต่างประเทศที่เข้ามายุ่งวุ่นวาย ภายใต้แนวทางของเรา คือ เงียบสงบ ไม่ก้าวร้าว แต่สะท้อนสิ่งที่คิดออกมาด้วยประโยคสั้น ๆ”

ในการประท้วงที่ Zuccotti Park นิวยอร์ค Alexandra Ricciardelli ให้เห็นว่าเกี่ยวกับการใช้หน้ากาก Guy Fawkes ว่า “สิ่งนี้ไม่เกี่ยวกับการวางระเบิด แต่เกี่ยวกับความเป็นนิรนามและสันติ” 

Jason J. Cross กล่าวว่า “หน้ากากมาจากความคิดของการลุกขึ้นสู้กับรัฐบาล Guy Fawkes เป็นตัวแทนของความจริงที่ประชาชนมีอำนาจแท้จริง”

ผู้ไม่เปิดเผยนามที่เข้าร่วมการประท้วง กล่าวว่า “หน้ากาก Fawkes คือ การต่อสู้กับผู้ครองอำนาจที่กดขี่เรา”

Lewis Call ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ ที่ California Polytechnic ใน San Luis Obispo อธิบายว่า “ในปัจจุบันมีการมองว่า Guy Fawkes เป็นนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพ นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพส่วนบุคคลต่อระบบปกครองกดขี่” หลังจากเริ่มแรกที่ถูกมองว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่พยายามทำลายอังกฤษ

หน้ากากนี้ปรากฏตัวครั้งแรกหลังจากภาพยนตร์เรื่อง “V for Vendetta” ออกฉายได้สองปี แฮ๊คเกอร์ กลุ่ม Anonymous สวมหน้ากาก Guy Fawkes แบบเดียวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในการประท้วงต่อต้าน Church of Scientology ต่อมาเป็นคือกรณี Wikileaks และล่าสุดคือ Occupy Wall Street [1]


ใครคือ Guy Fawkes และ V for Vendetta

เราน่าจะมารู้สึกกับ Guy Fawkes และหน้ากาก V for Vendetta

Guy หรือ Guido Fawkes เป็นหนึ่งในผู้สมรู้ร่วมคิดในเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์อังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1605 ที่เป็นที่มาของตัวละครนิรนาม ในการ์ตูน ของ Alan Moore เรื่อง V for Vendetta สร้างเป็นภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2006 โดยสองพี่น้อง Wachowski 

V for Vendetta ในฉบับการ์ตูนและภาพยนตร์เป็นบุรุษที่ไม่มีใครรู้จักตัวจริงของเค้า ที่ซ่อนอยู่ภายใต้หน้ากาก Guy Fawkes 

กบฏดินปืน (Gunpowder plot) นั้นเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1604 ด้วยสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 คน ต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 13 คน เกิดมาจากกลุ่มคริสตชนนิกายโรมันคาทอลิก ที่มีความไม่พอใจต่อกษัตริย์ James ที่ 1 ซึ่งส่งเสริมนิกาย English Church และกวาดล้างพวกคาทอลิก Fawkes ได้รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลเกี่ยวกับดินระเบิด จากประสบการณ์ทางทหารและ ความเชี่ยวชาญทางด้านวัตถุระเบิดของเขา โดยการวางแผนเช่าห้องใต้ถุนของรัฐสภาเพื่อเก็บดินปืนไว้ทั้งหมด 36 ถัง (820 kg) เพื่อจะระเบิดอาคารรัฐสภาของอังกฤษไปพร้อมกับ กษัตริย์ James I 

Guy Fawkes ถูกจับกุมตัวในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ.1605 และได้ถูกประหารชีวิตอย่างทารุณ โดยการใช้ม้าแยกร่าง ตัดหัวเสียบประจาน 

ต่อมาภายหลังรัฐบาลอังกฤษได้กำหนดให้เป็นวันสำคัญที่มีการเฉลิมฉลอง ระลึกถึงความกล้าหาญ ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความยุติธรรม โดยมีการจัดงาน Guy Fawkes Night หรือเรียกอีกอย่างว่า Bonfire Night ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน ของทุกปี 

ส่วน V for Vendetta เป็นตัวละครในเหตุการณ์สมมติ เขาเป็นผู้ยืนหยัดต่อสู้เพียงผู้เดียวกับรัฐบาลอังกฤษที่กลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จของอังกฤษ ภาพยนตร์เรื่อง V for Vendetta เป็นที่ถกเถียงกันอย่างแพร่หลายใน forum ต่างๆว่าจริงๆแล้ว ผู้ที่ซ่อนตัวเองอยู่ภายใต้หน้ากากนั้นคือใครกันแน่ [2]


Guy Fawkes และ V for Vendetta กับความหมาย

สลิ่มกลุ่ม V for Thailand อาจจะตีความว่าเฉพาะการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จ โดยเลือกใช้ความหมายของภาพยนตร์ V for Vendetta และตีความระบบเสียงข้างมากเป็นเผด็จการรัฐสภา ที่นำไปสู่เผด็จการเบ็ดเสร็จโดยนักการเมืองชั่วร้าย และไม่ได้สนใจ Guy Fawkes ผู้เป็นต้นกำเนิด

เสื้้อแดงอาจจะเห็นว่า Guy Fawkes เป็นพวกต่อต้านระบบสมบูรณาญาสิทธิราช เพราะแผนวางระเบิดที่มุ่งสังหารกษัตริย์ เจมส์ที่ 1

ตามประวัติศาสตร์ Guy Fawkes ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการนับถือศาสนา และสำหรับ V for Vendetta ได้สืบทอดเจตจำนงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ 

แต่การสื่อสารของ V for Thailand ต่อสังคมโลก อาจจะสร้างความสับสน ในเมื่อพวกเขาใช้หน้ากาก Guy Fawkes ที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก มาปกป้องกฎหมาย ม.112 ที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกเสียเอง

(ที่มา ผู้จัดการออนไลน์)

 

อ้างอิง

[1] Tamara Lush and Verena Dobnik, Occupy Wall Street: Vendetta Masks Become Symbol Of The Movement, AP / The Huffington Post, November 04, 2011

[2] mbos, Guy Fawkes, Gunpowder Plot and Real Identify of V, http://mbos.multiply.com/journal/item/21

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58336 articles
Browse latest View live


<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>