Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

'วัฒนา' ถาม 'ป.ป.ช.-สตง.' คนขยันในรบ.ปู อยู่ไหน รบ.นี้กู้เงินแบงก์แจกคนโดยไม่ออกกม.รองรับ

$
0
0

วัฒนา เมืองสุข ชี้ รบ.แจกเงินผู้มีรายได้น้อย โดยให้ ธกส. ออมสิน และ กรุงไทย สำรองจ่ายไปก่อน เท่ากับทำผิดกฎหมายก่อหนี้กู้ยืมเงินจากธนาคารโดยไม่ได้ออกเป็นกฎหมายรองรับ จึงไม่ผูกพันที่รัฐสภาจะต้องอนุมัติงบฯปี 61 วอน 'ป.ป.ช. สตง.' ที่เคยขยันเล่นงานแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กรุณาอย่าเพิกเฉยกับเรื่องนี้

30 พ.ย. 2559 จากกรณีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยตามที่กระทรวงการคลังเสนอในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ หรือมาตรการแจกเงินให้ผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ต่อปีต่ำกว่า 100,000 บาท รวม 5.4 ล้านคน จากที่ก่อนหน้านี้ ครม.อนุมัติช่วยเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยไปแล้ว 2.9 ล้านคนไปแล้ว ภายใต้วง เงิน 6,540 ล้านบาท โดยอนุมัติวงเงินงบประมาณปี 61 จำนวน 12,750 ล้านบาท ส่วนวิธีการแจกเงินจะใช้วิธีการโอนเข้าบัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธ.ค.59 

วันนี้ (30 พ.ย.59) วัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความเห็นวิจารณ์มาตรการดังกล่าวว่ามีกระบวนการเข้าข่ายผิดในทางกฎหมาย โดยระบุในหัวข้อบทความว่า “สิ้นคิดแถมยังผิดกฎหมาย” ผ่านทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Watana Muangsook'
 
วัฒนา ระบุว่า มติ ครม. ที่เห็นชอบกรอบวงเงินจำนวน 12,750 ล้านบาท เพื่อแจกผู้มีรายได้น้อยโดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2560 ในส่วนของงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หรือรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2561 ตามที่สำนักงบประมาณเห็นสมควร โดยให้ธนาคาร ธกส. ออมสิน และ กรุงไทย สำรองจ่ายค่าใช้จ่ายไปก่อนและชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคาร เท่ากับรัฐบาลทำผิดกฎหมายก่อหนี้กู้ยืมเงินจากธนาคารโดยไม่ได้ออกเป็นกฎหมายรองรับ จึงไม่ผูกพันที่รัฐสภาจะต้องอนุมัติงบประมาณประจำปี 2561 จำนวนดังกล่าวให้ จึงถือเป็นมติ ครม. ที่ขัดต่อกฎหมายและธนาคารที่ปล่อยกู้อาจจะไม่ได้รับเงินคืน ป.ป.ช. และ สตง. ที่เคยขยันเล่นงานแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กรุณาอย่าเพิกเฉยกับเรื่องนี้
 
การแจกเงินยังแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลขาดสติปัญญาในการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรที่มีปัญหาเรื่องราคา ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และข้าวโพด วิสัยทัศน์ของ นรม. จึงมีเพียงชวนข้าราชการออกกำลังในเวลาราชการและใช้ปากแก้ปัญหา เช่น โทษเกษตรกรที่ปลูกกันมากเอง หรืออยากได้ราคาให้เอาไปขายที่ดาวอังคาร หรือขอให้เห็นใจรัฐบาลที่มีงบประมาณจำกัด เมื่อจนตรอกก็ต้องแก้ปัญหาด้วยการแจกเงิน ซึ่งตนไม่ได้คัดค้านผลประโยชน์ของประชาชน แต่รัฐบาลจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

"หัวใจสำคัญของเศรษฐกิจคือความเชื่อมั่น แต่การที่ประเทศเป็นเผด็จการ มีหัวหน้ารัฐบาลที่ขาดวิสัยทัศน์แต่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือทุกองค์กรและทุกคนตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไม่มีใครกล้ามาลงทุน เพราะอาจสิ้นคิดออกคำสั่งยึดกิจการของนักลงทุนแบบที่เคยเกิดขึ้นในอเมริกาใต้ หรือยึดทรัพย์นักลงทุนแบบทัวร์ศูนย์เหรียญ ดังนั้น หากรักชาติและต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น หัวหน้ารัฐบาลจะต้องกำหนดเวลาที่จะมีการเลือกตั้ง ประกาศว่าตัวเองและพรรคพวกจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศอีกต่อไปเว้นแต่จะลงเลือกตั้ง เพียงเท่านี้บรรยากาศของการลงทุนจะดีขึ้นและขยะสังคมที่พูดถึงก็จะหมดไปทันที ทำประเทศเสียหายมามากแล้ว ไม่คิดแก้ตัวทำความดีให้ประเทศบ้างเหรอครับ" วัฒนา โพสต์

 

 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อิศราชนุวัฒภ์ วรรคาวิสันต์

$
0
0
"ไม่อยากให้มองว่าคนรวยทำอะไรก็ได้ ทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่ากัน เลือกตั้งก็ได้ 1 คะแนนเท่ากัน เราต้องกลับมาตระหนักถึงผลกระทบถ้าหากวันใดวันหนึ่งเรามีลูกหลาน เราอยากให้ลูกหลานของเราอยู่ในสังคมแบบใด สังคมที่มีแต่ความช่วยเหลือกันหรือสังคมที่อยู่แบบตัวใครตัวมัน"
 
ลูกชายผบ.มทบ.38 ที่ถูกรุมทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส และเป็นกระแสข่าวขณะนี้ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 29 พ.ย. 2559

ประยุทธ์ขออย่ากดดันตร. แนะ 'ธัมมชโย' มอบตัวสู้คดี ศรีวราห์ขีดเส้นตายเที่ยงคืนนี้

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ ขอปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามขั้นตอน แนะ 'พระธัมมชโย' มาสู้คดีก็จบแล้ว ไม่ใช่ใช้วิธีการเอาคนหมู่มากมาต่อสู้คดีแบบนี้ รอง ผบ.ตร.ขีดเส้นตายมอบตัวเที่ยงคืนนี้

30 พ.ย. 2559 กรณีการดำเนินการกับพระเทพญาณมหามุนีหรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หลังศาลจังหวัดเลย และศาลจังหวัดสีคิ้ว อนุมัติหมายจับ คดีบุกรุกพื้นที่ป่า และอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องฐานร่วมฟอกเงิน-รับของโจร ทุจริตสหกรณ์ยูเนียนคลองจั่น

วันนี้ (30 พ.ย.59) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า จะต้องดูว่าเป็นคดีระหว่างใคร ซึ่งขณะนี้เหมือนประชาชนทั้งประเทศเข้าไปร่วมเป็นจำเลยทั้งหมด รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งยืนยันว่า ไม่ได้ไปละเมิดใคร พระสงฆ์ก็คือพระสงฆ์ แต่กฎหมายรัฐก็คือกฎหมายรัฐ จึงต้องให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนที่เจ้าหน้าที่ยังไม่เข้าไปดำเนินการจับกุมในขณะนี้ เนื่องจากเกรงว่า ประชาชนจะได้บาดเจ็บ ซึ่งหากเกิดการสูญเสียแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วสังคมรับได้หรือไม่ จึงไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นขออย่ามากดดันเจ้าหน้าที่ เนื่องจากต้องจะดูเวลาที่เหมาะสมในการเข้าไป จึงขอปล่อยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามขั้นตอน

"ถามว่าอยากให้เกิดไหม ถ้าอยากให้เกิดเดี๋ยวไปวันนี้ ให้เวลาเขาสิ ต้องไปกดดันคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่ากดดันเจ้าหน้าที่ จะให้ตีกันตั้งแต่เข้าประตู สังคมยอมรับได้หรือไม่ เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องดูเวลาที่เหมาะสมว่าจะเข้าไปตอนไหน ท่านต้องไปไล่คนที่ทำความผิดให้ออกมาข้างนอก คนอื่นจะได้ไม่เดือดร้อน ไม่เจ็บตัว มาสู้คดีก็จบแล้ว ไม่ใช่ใช้วิธีการเอาคนหมู่มากมาต่อสู้คดีแบบนี้ ที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าการใช้คนเยอะๆ นั้นเกิดอะไรขึ้น มีบทเรียนอยู่แล้ว ถ้าบอกว่าทุกคนต้องปฏิบัติตามหน้าที่ แต่หน้าที่พลเมืองก็อย่าขัดขวางการดำเนินการ ที่พูดมาไม่ได้อารมณ์เสีย แต่หลายเรื่องมันมีปัญหา ซึ่งก็กำลังแก้ไขอยู่ แต่ยังทำไม่ได้ทั้งหมดเพราะยังมีปัญหาเช่นนี้อยู่ และสื่อก็ต้องช่วยเพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ขอให้ออกมามอบตัวต่อสู้คดี ผมต้องการแค่นี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
 
พล.อ.ประยุทธ์ ยังระบุว่า จะต้องไปไล่คนที่ทำความผิดออกมามอบตัวแล้วสู้คดี อย่าเอาคนหมู่มากมาต่อสู้ ซึ่งประชาชนเองก็ไม่ควรขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
 

ศรีวราห์ขีดเส้นตายเที่ยงคืนนี้

พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า จะให้เวลาพระเทพญาณมหามุนี หรือ พระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ถึงเที่ยงคืน วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2559  ) หากยังไม่มามอบตัวพนักงานสอบสวนจะพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมาย และเตรียมดำเนินคดีกับรักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในข้อหาให้ที่พักพิงกับผู้ต้องหาตามหมายจับ หลังจากปรากฏในการให้สัมภาษณ์ของโฆษกวัดพระธรรมกาย ว่าพระธัมมชโย รักษาอาการอาพาธอยู่ภายในวัด และจนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้รับการประสานงานใดๆจากทางวัด จำเป็นต้องดำเนินคดีกับผู้ให้การช่วยเหลือพระธัมมชโย เพิ่มเติมด้วย
 
ส่วนที่ผู้บังคับการจังหวัดปทุมธานี นำหนังสือแจ้งให้พระธัมมชโย เข้ารับทราบข้อกล่าวหาของตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปติดประกาศที่ประตูวัดพระธรรมกาย นั้นมีกำหนดให้เข้ามอบตัวภายในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ส่วนจะนำกำลังเข้าจับกุม หรือ ตรวจค้นนั้นตำรวจมีแผนปฎิบัติการแล้วตามขั้นตอน
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชี้ขาดฯ คดีเรียกสินไหมทดแทนกรณี ตร.-ทหารยิงอับดุลอาซิเสียชีวิต อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม

$
0
0

คำสั่งชี้ขาดฯ ให้คดีอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมในคดีมารดาผู้ตาย ฟ้อง สตช. กองทัพบก และสำนักนายกฯ เรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารยิงนายอับดุลอาซิ สาและเสียชีวิต


2 ธ.ค. 2559 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย. เวลา 14.30 น. ตุลาการศาลปกครองสงขลาได้อ่านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ในคดีระหว่างนางสาวแยนะ สะอะ ผู้ฟ้องคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 1 กองทัพบก ที่ 2 สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 3 ซึ่งเป็นคดีที่ศาลปกครองสงขลาได้รับฟ้องโดยยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดให้แก่ผู้ฟ้องคดีแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ต่อมาฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งเขตอำนาจศาล จนกระทั่งนำไปสู่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และได้ชี้ขาดว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม

คดีนี้ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสงขลา เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ที่กระทำละเมิดต่อชีวิตนายอับดุลอาซิ บุตรชายของผู้ฟ้องคดี จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารได้ปิดล้อมตรวจค้นหมู่บ้านกำปงบือราแง อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี ได้ควบคุมตัวนายอับดุลอาซิจากบ้านไปยังสวนยางพาราหลังบ้านแล้วเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ยิงนายอับดุลอาซิถึงแก่ความตาย

ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองสงขลาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และที่ 2 ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งเขตอำนาจศาลว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองแต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ศาลปกครองสงขลาจึงส่งเรื่องให้ศาลจังหวัดปัตตานีซึ่งเป็นศาลยุติธรรมในพื้นที่เกิดเหตุคดีนี้พิจารณาทำความเห็น ศาลจังหวัดปัตตานีทำความเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ส่วนศาลปกครองสงขลายังคงเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองดังเดิม เมื่อความเห็นของ 2 ศาลแตกต่างกัน ต้องนำเรื่องนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล จึงได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม ซึ่งศาลจังหวัดปัตตานีคือศาลยุติธรรมที่มีเขตอำนาจเพราะคดีนี้เกิดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ทั้งนี้ศาลปกครองสงขลาจะได้ทำการโอนคดีและส่งสำนวนไปให้ศาลจังหวัดปัตตานีดำเนินกระบวนพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วิษณุชี้ พล.อ.เปรม กลับเป็นประธานองคมนตรีตามเดิม- 'อภัยโทษ' ต้องรอให้มีการพิจารณาก่อน

$
0
0

แฟ้มภาพ

2 ธ.ค. 2559 สื่อหลายสำนักรายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานะของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ภายหลังสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นทรงราชย์ รัชกาลที่ 10 ว่า เมื่อพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แล้วก็จะกลับไปดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีตามเดิม แต่หากจะมีกรณีใดที่ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งองคมนตรีได้ โดยหลักการมีอยู่ 3 ข้อ คือ1.มาจากพระราชอัชฌาศัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ออกจากตำแหน่ง 2.เสียชีวิต และ3.ลาออกเอง เพราะตำแหน่งดังกล่าวไม่มีวาระในการทำหน้าที่

“ส่วน พล.อ.เปรม ซึ่งก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ทำให้พล.อ.เปรมกลับไปดำรงตำแหน่งประธานองมนตรีเหมือนเดิม โดยไม่ต้องมีมติจากที่ประชุมองคมนตรี เพราะตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พล.อ.เปรมก็ยังเป็นประธานองคมนตรีอยู่ด้วย เพียงแต่ทำหน้าที่ประธานองคมนตรีไม่ได้” วิษณุกล่าว 

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ประเทศไทยมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 แล้ว ในขณะนี้จะยังไม่มีประกาศเรื่องใหญ่ที่เป็นทางการเพิ่มเติม แต่รัฐบาลจะออกประกาศที่เป็นแนวทางปฏิบัติ ซึ่งจะต้องรอที่ประชุมศูนย์บัญชาการติดตามสถานการณ์ (ศตส.) หารือให้ได้ข้อสรุปก่อน รวมถึงวันหยุดราชการตามปฏิทินที่ยังไม่มีความชัดเจน อยู่ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเพื่อเตรียมการ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือกระทบในวงกว้าง เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดประมาณ 3 วันเท่านั้น ส่วนวันหยุดสำคัญต่าง ๆ ยังคงเป็นเช่นเดิม

วิษณุ กล่าวต่อว่า ส่วนการพระราชทานอภัยโทษในวันสำคัญต่างๆ ภายหลังมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่นั้น ต้องรอให้มีการพิจารณาก่อน เพราะเป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจะเสนอหลักการเข้ามา และตนไม่ควรจะนำมาพูด เพราะเรื่องพวกนี้มีผลกระทบหลายอย่าง ไม่ใช่เป็นเรื่องของพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น แต่รวมถึงอย่างอื่นด้วย

 

ที่มา : สำนักข่าวไทยเนชั่นและสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ: ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับล่าสุด จะมีผลกับเรายังไงบ้าง

$
0
0

ชวนอ่านสรุปสาระสำคัญร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับวันที่ 18 พ.ย. 2559 ในประเด็นที่น่าจะกระทบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 
 

 



มาตรา 14(1) มักถูกนำมาฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ แม้ว่าเจตนารมณ์ของมาตรานี้จะมีขึ้นเพื่อจัดการกับการปลอมแปลงเอกสารและฉ้อโกงออนไลน์ 

กมธ.ที่ร่าง พ.ร.บ.คอมฯ เองก็เคยบอกว่าเห็นปัญหาของมาตรานี้ 

แต่ในร่างปัจจุบัน ก็ไม่มีการแก้เนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น 

อ่านต่อที่ สรุปร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด 'บล็อคไปให้ไพศาล' 

 


มีความกังวลว่า ข้อความที่เพิ่มเข้ามา อาจทำให้มีการใช้มาตรา 14(2) ฟ้องเอาผิดกับผู้ที่วิจารณ์นโยบายสาธารณะ หรือตรวจสอบคอร์รัปชัน 

อ่านต่อที่ รายงาน: โค้งท้ายๆ กับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรที่ไม่โอเค?



มาตรา 15 เรื่องความรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการ เป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก เพราะกำหนดโทษของผู้ให้บริการ (ซึ่งกินความกว้างตั้งแต่ ISP, เจ้าของเว็บ ยันคนปล่อยสัญญาณไวไฟ) มีโทษเท่ากับคนโพสต์ตามมาตรา 14 

มีการแก้ไขว่า ถ้าเอาออกตามที่มีคนแจ้งเตือนแล้วก็ไม่ผิด แต่ขั้นตอนก็ยังกว้างมาก เปิดให้ใครก็แจ้งเตือนได้ แถมต้องลบในสามวัน เสี่ยงเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง 

อ่านต่อที่ รายงานเสวนา: เสรีภาพออนไลน์ใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ข่าวเกี่ยวกับตัวกลาง http://prachatai.org/category/ตัวกลาง
 

มาตรา 15 เรื่องความรับผิดของตัวกลางหรือผู้ให้บริการ เป็นอีกประเด็นที่ได้รับความสนใจมาก เพราะกำหนดโทษของผู้ให้บริการ (ซึ่งกินความกว้างตั้งแต่ ISP, เจ้าของเว็บ ยันคนปล่อยสัญญาณไวไฟ) มีโทษเท่ากับคนโพสต์ตามมาตรา 14 

มีการแก้ไขว่า ถ้าเอาออกตามที่มีคนแจ้งเตือนแล้วก็ไม่ผิด แต่ขั้นตอนก็ยังกว้างมาก เปิดให้ใครก็แจ้งเตือนได้ แถมต้องลบในสามวัน เสี่ยงเกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง 

อ่านต่อที่ รายงานเสวนา: เสรีภาพออนไลน์ใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
 
 
 
 
มาตรา 16/2 กำหนดให้ใครก็ตามที่มีข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ศาลสั่งให้เป็นความผิดตามมาตรา 14 (นำเข้าข้อมูลเท็จ) และมาตรา 16 (ตัดต่อภาพ-ภาพคนตาย) และให้ทำลาย ในครอบครอง จะต้องทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นด้วย ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดครึ่งหนึ่งของผู้โพสต์ 

คำถามคือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลเหล่านั้นผิดตามมาตรา 14 หรือ 16 แล้วศาลสั่งให้ทำลาย

ภาระในการรู้ ค้นคำพิพากษา หรือพิสูจน์ว่าเราไม่รู้เป็นของใคร

แล้วจะกระทบกับคนที่ต้องทำงานกับข้อมูล อย่าง สื่อ นักวิจัย หรือห้องสมุดหรือไม่ ข้อมูลที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จะถูกทำให้หายไป?

อ่านต่อที่ รายงาน: โค้งท้ายๆ กับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรที่ไม่โอเค?
 
 

 
 


มาตรา 20 นอกจากจะเป็นการยื่นบล็อคจากรัฐฝ่ายเดียวและบล็อคเนื้อหาได้กว้างขวางแล้ว ยังขาดกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้วย

อ่านเกี่ยวกับมาตรา 20
 
 
 
 
นอกจากการบล็อคตามมาตรา 20 แล้ว ในร่างใหม่ยังเพิ่มมาตรา 20/1 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง 5 คน มาทำหน้าที่ขอให้ศาลมีคำสั่งบล็อคข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่ดันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีอีกด้วย

การเขียนเช่นนี้ กว้างเกินไปหรือเปล่า?
 
 
 
ในร่างประกาศฯ ที่เกี่ยวข้อง ระบุให้กระทรวงดิจิทัลตั้งศูนย์ เพื่อระงับหรือลบได้เอง โดยหากผู้ให้บริการยินยอม ศูนย์ตามร่างประกาศข้อ 4 จะเชื่อมโยงตรงกับผู้ให้บริการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ระงับหรือลบข้อมูลในระบบของผู้ให้บริการได้เอง

 
 
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลสูงสุดอินเดียสั่งเปิดเพลงชาติ "ชนะ คณะ มนะ" ก่อนฉายหนังทุกโรงภาพยนตร์

$
0
0

ศาลสูงสุดอินเดียตัดสินให้เปิดเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ซึ่งเป็นเพลงชาติอินเดียทุกครั้งในการฉายภาพยนตร์ พร้อมระบุว่าควรมีการบังคับใช้ให้ได้ภายใน 10 วัน ผู้ชมภาพยนตร์ต้องยืนเคารพเพลงชาติด้วย ศาลให้เหตุผลว่าผู้คนต้องเลิกทำตัวตามเสรีภาพแบบปัจเจก หันมายึดแนวทางชาตินิยมมากขึ้น

ตำรวจรัฐนาคาแลนด์บรรเลงเพลง ชนะ คณะ มนะ ระหว่างเทศกาลนกเงือก ซึ่งเป็นงานประจำปีของรัฐ (ที่มา: YouTube/WildFilmsIndia)

เพลงชาติอินเดีย ชนะ คณะ มนะ แบบมีผู้ขับร้อง (ที่มา: YouTube/Aman Kalra)

(ซ้าย)  รพินทรนาถ ฐากูร ผู้แต่งเพลง ชนะ คณะ มนะ (ขวา) ธงชาติสามสีของอินเดีย และโน๊ตเพลงชนะ คณะ มนะ (ที่มา: Wikipedia)

บีบีซีรายงานว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 โรงภาพยนตร์ในอินเดียมักจะมีการเปิดเพลงชาติแต่ก็เริ่มมีคนปฏิบัติตามลดลงเรื่อยๆ ในอินเดียไม่มีกฎหมายที่กำหนดชัดเจนให้ต้องเปิดเพลงชาติและใน 29 รัฐก็มีกฎหมายของตัวเองในเรื่องนี้ แต่คำสั่งล่าสุดจากศาลที่ให้มีการเปิดเพลงชาติพร้อมธงชาติอินเดียทุกครั้งก็ทำให้เกิดความคิดเห็นแบ่งเป็นสองฝ่ายหลักๆ ในโซเชียลมีเดีย

มีผู้คนแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ผ่านแฮชแท็ก #NationalAnthem ในทวิตเตอร์ เช่น ผู้ใช้รายหนึ่งระบุว่า "ผู้คนไปที่โรงภาพยนตร์เพื่อความบันเทิง ไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาชาตินิยมหรือภักดีต่อชาติหรือไม่" ส่วนฝ่ายสนับสนุนอ้างว่ายืนต่อคิวซื้อตั๋วยังทำได้ ทำไมถึงยืนเคารพเพลงชาติแค่ 1-2 นาที ไม่ได้

คำสั่งในครั้งนี้มาจากการที่ ชยัม นารายัน ชุกสี อายุ 77 จากเมืองโบปาลส่งคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเรื่องเพลงชาติ เขาให้สัมภาษณ์ต่อบีบีซีว่าเขาเห็นคนไม่เคารพเพลงชาติมาเป็นเวลาหลายปีทั้งจากคนทั่วไปและเจ้าหน้าที่รัฐ โดยที่โฆษกของพรรคภารติยะ ชนตะ หรือบีเจพี ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลชมว่าคำสั่งศาลในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ "ยอดเยี่ยม"

แต่ก็มีผู้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กเพจของบีบีซีอินเดียในเรื่องนี้ว่าทำไมพวกเขาต้องถอยหลังลงคลองกันด้วย และเรื่องความรักชาติเป็นสิ่งที่ทำผ่านการศึกษา บ้างก็บอกว่ามันเป็นความรู้สึกวิเศษที่ได้ยืนร่วมกับทุกคน

ในเรื่องของการยืนเคารพเพลงชาตินั้นไม่มีกฎหมายระบุบังคับไว้ชัดเจนเช่นกันแต่คำสั่งของกระทรวงมหาดไทยของอินเดียที่มีอำนาจทางกฎหมายก็บังคับให้ต้องยืนเคารพเพลงชาติทุกครั้ง ในโรงภาพยนตร์ก็มีข้อความระบุให้ผู้ชมต้องยืนเคารพเพลงชาติ อยางไรก็ตามเคยมีหลายกรณีที่ชวนให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องการยืนเคารพเพลงชาติอินเดีย เช่น กรณีที่ชายพิการคนหนึ่งถูกทำร้ายเพราะไม่ยืนในโรงภาพยนตร์เมื่อช่วงเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา เมื่อปีที่แล้วมีคนถูกโยนออกจากโรงภาพยนตร์เพราะไม่เคารพเพลงชาติ และในปี 2014 ก็เคยมีกรณีกลุ่มอันธพาลในเมืองมุมไบทุบตีชาวแอฟริกาใต้ที่ไม่ยอมยืนเคารพเพลงชาติอินเดีย และในปีเดียวกันก็มีคนถูกฟ้องร้องข้อหาปลุกปั่นเพราะไม่ยอมยืนเคารพเพลงชาติอินเดีย

เพลง "ชนะ คณะ มนะ" หรือ "จิตใจแห่งปวงชน" เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินเดีย บทเพลงนี้เขียนขึ้นด้วยภาษาเบงกาลีสันสกฤตและประพันธ์ทำนองโดย รพินทรนาถ ฐากูร นักเขียนรางวัลโนเบลชาวเบงกาลี โดยบทที่นำมาใช้เป็นเพลงชาตินี้นำมาจากบทแรกของเพลงเดิมซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญแบบพฺราหฺมะ ของแคว้นเบงกอล มีเนื้อหาทั้งหมด 5 บท เพลงดังกล่าวได้มีการขับร้องอย่างเป็นทางการครั้งแรกในที่ประชุมคองเกรสแห่งชาติของอินเดีย (Indian National Congress) ที่เมืองกัลกัตตา เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ภายหลังเพลง "ชนะ คณะ มนะ" ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นเพลงชาติอินเดียอย่างเป็นทางการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 1950

 

เรียบเรียงจาก

India cinemas ordered to play national anthem, BBC, 30-11-2016 http://www.bbc.com/news/world-asia-india-38155630

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศัพท์ภาษาอังกฤษที่น่ารู้เกี่ยวกับบรรพตและเทอดศักดิ์

$
0
0


 

ในรอบปีสองปีที่ผ่านมา บรรพต (ชื่อจริง คือ นายหัสดิน อุไรไพรวัน ซึ่งบัดนี้อยู่ในคุกไปแล้ว) และนายเทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา ได้สร้างความฮือฮาให้กับโลกสังคมออนไลน์ ในลักษณะคล้ายคลึงกัน แม้ว่าจะมีการนำเสนอและวิเคราะห์ข่าวบนจุดยืนที่ต่างกัน คนแรกถูกจัดให้อยู่ทางฝ่ายเสื้อแดง[1] ส่วนคนที่ 2 ถูกจัดให้เป็นฝ่ายเสื้อเหลือง[2]

ปรากฏการณ์ของทั้ง  2 คน ให้ผมนึกถึงศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งทั้งหมดเป็นคำนาม (Noun) พร้อมการวิเคราะห์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้


1.Guru มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ครู ผู้ชี้นำ หรือผู้เชี่ยวชาญ (ในบทความนี้ขอใช้คำว่า “กูรู” ทับศัพท์ไปเลย)

บรรพตและเทอดศักดิ์ พยายามนำเสนอตัวเองในฐานะเป็นกูรูทางโลกสังคมออนไลน์ (ภาษาอังกฤษอีกคำก็คือ Cyber Guru)  มีการพูดวิเคราะห์สารพัดข่าวและประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยจะเน้นเรื่องแรกเป็นหลัก และเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ แต่สื่อกระแสหลักไม่กล้านำเสนออย่างรอบด้าน ฝ่ายบรรพตอยู่ใต้ดินแบบลึกลับ และปรากฏเพียงเสียงดัดแปลงบนยูทูบ (สาธารณชนรับรู้ตัวตนและใบหน้าของเขาเฉพาะตอนที่ถูกจับ) ไม่มีแฟนคลับมาแสดงตนในยูทูบเท่าไรนัก บรรพตมักจะถ่ายทอดรายการของเขาโดยใช้เวลาเป็นชั่วโมงขึ้นไป อันส่งผลให้เขาต้องด้นสดเหมือนบ่นไปเรื่อยเปื่อยอยู่บ่อยครั้ง บางทีก็เล่าเรื่องเป็นฉาก ๆ  และทำเสียงเลียนแบบผู้ถูกพาดพิงสลับกับหัวเราะเหมือนคนบ้า สำหรับเทอดศักดิ์ อยู่บนดินและแสดงตัวชัดเจน มีช่องยูทูบเป็นของตัวเอง แม้เวลาในคลิปของเขาไม่นานนัก แต่มีการนำเสนออย่างเป็นระเบียบกว่าบรรพตผ่านการพูดอย่างเนิบนาบดูน่าเชื่อถือ และมีการนำคลิปของเหตุการณ์ที่เขาต้องการวิเคราะห์มาแสดงประกอบให้เห็นภาพ เหมาะสำหรับการรับฟังแบบเร่งด่วน เขามีแฟนคลับแห่กันมาเชียร์กันคับคั่งทั้งในยูทูบและเฟซบุ๊คของตน (ซึ่งบรรพตไม่มี)  กระนั้นอาจด้วยสารของเขาเทิดทูนเจ้าจึงทำให้มีคนกล้าแสดงออกมากกว่าบรรพตก็เป็นได้

 

2.Self –Promotion แปลว่า การโฆษณาตัวเอง

ทั้งคู่มีวัตถุประสงค์ของการจัดรายการเหมือนกัน คือ การโฆษณาตัวเอง บรรพตมักโอ้อวดจำนวนคนคลิกมาฟังรายการของเขา อีกทั้งตอนต้นรายการเขามักกล่าวประโยคทักทายคนไทยและเทศ ที่อาศัยอยู่ทั่วโลกอย่างยาวเหยียดหลายนาที จนทำให้รู้สึกว่ามีคนติดตามรายการเขาเป็นล้าน ๆ เช่นเดียวกับการอ่านจดหมายจากทางบ้านที่ผู้เขียนยกย่องตัวเขา ส่วนเทอดศักดิ์นอกจากกล่าวยกย่องตัวเองเป็นบางครั้งแล้วยังมุ่งประโคมวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ซึ่งมีผู้จับผิดว่าให้ข้อมูลผิดพลาดในบางส่วน เช่น อ้างว่าเคยเป็นอาจารย์พิเศษ หรือวิทยากรที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีเพียงคณะมนุษยศาสตร์ 

พฤติกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะของบรรพต สำหรับผู้เขียนเป็นเรื่องที่น่ารำคาญสำหรับวงวิชาการ (หากนับพวกเขาว่าเป็นนักวิชาการ) ด้วยแวดวงอาจารย์มหาวิทยาลัยก็มีคนแบบนี้อยู่ไม่น้อย เช่น ไปงานสัมมนาก็พูดในเชิงยกย่องตัวเองหรือเรื่องส่วนตัวเสียค่อนรายการ สำหรับคนที่จัดได้ว่าเป็นกูรูหรือนักปราชญ์จริง ๆ มักนำเสนอวิชาการเป็นหลักมากกว่าจะคุยเรื่องตน และประวัติส่วนตัวก็มักประกอบกับงานวิจัยและผลงานทางวิชาการอื่น ๆ ด้วยมากกว่าการนำเสนอประวัติการศึกษาลอย ๆ ที่ข้อมูลไม่ชัดเจน กรณีเทอดศักดิ์ยังสะท้อนถึงความล้มเหลวของวงการการศึกษาที่มุ่งเน้นวุฒิหรือปริญญาบัตรมากกว่ากระบวนการหาความรู้อย่างแท้จริง


3.Conspiracy แปลว่า ทฤษฎีสมคบคิด

ทฤษฎีสมคบคิด หมายถึง การอธิบายเหตุการณ์ซึ่งไม่ดีไม่งามหรือผิดกฎหมายอันนำไปสู่ผลเสียแก่สาธารณชน และผู้กระทำมักเป็นรัฐบาล ไม่ว่าระดับประเทศ หรือต่างประเทศ หรือองค์กรลึกลับ กลุ่มผู้มีอำนาจ มนุษย์ต่างดาว ภูตผีปีศาจ ฯลฯ ในฐานะที่เป็น “แพะ” (scapegoat) อย่างเช่น การอธิบายว่าสาเหตุที่ทำให้เรือหรือเครื่องบินหายในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาก็คือมนุษย์ต่างดาว วงวิชาการถือว่าทฤษฎีสมคบคิดเป็นเพียงทฤษฎีหนึ่งที่ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะไม่จำเป็นต้องเอาทฤษฏีหรือปัจจัยอื่นมาร่วมวิเคราะห์ด้วยเหมือนกับหนังสือวิชาการ  แต่ก็สอดคล้องกับความชอบของมวลชนที่ต้องการคำอธิบายแบบง่าย ๆ เป็นเรื่องเป็นราว ง่ายต่อการจินตนาการ ทฤษฎีสมคบคิดจึงมักอยู่คู่กับวัฒนธรรมแบบประชานิยม อย่างเช่น ภาพยนตร์ ละคร นิทาน ฯลฯ  ซึ่งเหมาะสำหรับความเพลิดเพลินมากกว่า

สำหรับบรรพตนั้น มักพาดพิงเบื้องสูงและกลุ่มอำนาจรอบข้าง ส่วนเทอดศักดิ์พาดพิงทักษิณและกลุ่มอำนาจรอบข้างว่าทำให้ประเทศไทยหายนะ โดยทั้งคู่หากไม่จำคำพูดของนักวิชาการชื่อดังมาบางเรื่องก็อาศัยแหล่งข้อมูลอันเลื่อนลอย ปราศจากหลักฐาน เช่น การเล่ากันแบบปากต่อปากหรือจากเว็บไซต์ที่ไร้สาระพอกัน  หรือบางทีพวกเขาอาจจินตนาการขึ้นมาเองก็ได้  กระนั้นก็ต้องยอมรับว่าทฤษฎีสมคบคิดของพวกเขา ต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์บางประการ อย่างเทอดศักดิ์อิงอยู่บนอุดมการณ์ที่ชัดเจนกว่าบรรพต เช่น ลัทธิราชานิยมอย่างล้นเหลือ (Hyper-Royalism) และลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ที่มีรัฐบาลทหารเป็นพระเอก อันทำให้สันนิษฐานได้ว่า เขาไม่มีวันจะพบกับชะตากรรมเดียวกับบรรพต (แม้ผู้มีอำนาจจะออกมาขู่เทอดศักดิ์ก็ตาม) กระนั้น ทั้งเทอดศักดิ์และบรรพตก็อิงอยู่บนอุดมการณ์เกลียดชาวต่างชาติ (Xenophobia) โดยการอ้างเหมือนกันว่ามหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ จีน รัสเซีย  มักเข้ามาแทรกแซงการเมืองไทย หรืออยู่เบื้องหลังสถานการณ์ทางการเมืองสำคัญ ๆ ของโลก โดยเฉพาะเทอดศักดิ์นั้น บางคลิปของเขาเป็นเรื่องไร้สาระอย่างน่าตกใจ เช่น เขากล่าวหาว่าพวกโรฮิงญาเป็นเครื่องมือของฝรั่งในการเข้ามายึดแหล่งน้ำมันของไทยและเพื่อนบ้าน หรือแก้ตัวแทนน้องเบสว่า เพราะมีขบวนการล้มเจ้าและแบ่งแยกดินแดนอยู่ในอีสาน อันส่งผลให้เธอจำเป็นต้องพูดทำนองกระตุ้นคนอีสานให้รักในหลวง จึงถูกตัดต่อคลิปให้เข้าใจว่ากำลังดูถูกคนภาคนี้อยู่


4.Misinformation แปลว่า ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง

ทั้งบรรพตและเทอดศักดิ์ มีลักษณะสำคัญอันส่งผลให้คนที่ไม่ชอบเขานำมาโจมตีมากที่สุด คือ การนำเสนอข้อมูลบิดเบือนจากความเป็นจริง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจเพราะความเขลา สำหรับบรรพตมีอยู่มากมาย หลายเรื่องไม่สามารถนำมาเขียนในที่นี้ได้ (ทั้งผิดกฎหมายและมีมากเกินไป) นอกจากการโฆษณาไข่ดองน้ำส้มสายชูหมักว่าจะช่วยแก้โรคได้สารพัด กระนั้นเขาก็พยายามกลบเกลื่อนความบกพร่องเช่นนี้ผ่านคำคมภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาละตินตอนต้นรายการเช่นเดียวกับการกล่าวอ้างคำสอนหรือคำทำนายของพระเกจิ สำหรับเทอดศักดิ์ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผิด ๆ อย่างเช่น อับราฮัม ลินคอล์น เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐฯ หรือ จอมพล ป. เป็นคนออกแบบธงชาติไทย เป็นต้น สาธารณชนที่ไม่ใช่แฟนคลับ จึงมักโจมตีพวกเขาว่าเป็น "กูรูเก๊"  (fake guru) หรือ Charlatan อันหมายถึงนักต้มตุ๋น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนทั้งคู่เปิดช่องให้แฟนคลับสนับสนุนทางการเงิน (สำหรับบรรพตอ้างเรื่องขายเสื้อ)  อย่างไรก็ตามเขาทั้งคู่ก็มีกลไกป้องกันตัวเอง คือ การอ้างแพะหรือศัตรูในจินตนาการ อย่างเช่น บรรพตกล่าวโทษกลุ่มผู้รักเจ้าหรือคนไม่ชอบเขา  หรือเทอดศักดิ์ล่าสุดก็โทษพวกเสื้อแดงและกลุ่มล้มเจ้าว่าจับผิดและใส่ร้ายเขา เพราะเขาปกป้องสถาบัน อันเป็นตรรกะเดียวกับคนที่ออกมาปกป้องน้องเบส อรพิมพ์


5. Slander หมายถึง การใส่ร้ายป้ายสี

ทั้งบรรพตและเทอดศักดิ์ได้ใช้ข้อมูลบิดเบือนดังกล่าวประกอบกับทฤษฏีสมคบคิดเพื่อใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น แรงจูงใจนั้นยังคงเป็นเรื่องไม่ชัดเจนนักว่ามีใครเป็นผู้มีอำนาจอยู่เบื้องหลัง แต่ที่แน่นอนคือจะช่วยสร้างภาพให้แก่พวกเขาว่าเป็นกูรูผู้ปราดเปรื่อง เหมือนทศวรรษที่ 50 ที่วุฒิสมาชิกโจเซฟ  แม็คคาร์ธี กล่าวหาคนอเมริกันในวงการต่าง ๆ ว่า มีพฤติกรรมเป็นคอมมิวนิสต์อันส่งผลให้เขาได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงหนึ่ง พฤติกรรมทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเป็นข้อ ๆ นี้ จะส่งผลหรือเอื้อต่อกันเป็นลูกโซ่ จนพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ โดยเฉพาะเทอดศักดิ์ ซึ่งมีโอกาสในการจัดรายการต่อไป อย่างเช่น การใช้ทฤษฎีสมคบคิดจะช่วยให้การใส่ร้ายป้ายสีบุคคลที่เป็นเป้าหมายมีสีสันยิ่งขึ้น และการซื่อสัตย์ต่อข้อมูลย่อมทำให้ทฤษฎีสมคบคิดขาดพลัง ดังข้อกล่าวหาที่ว่า ปรีดี พนมยงค์ ลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ทำให้เทอดศักดิ์ต้องมองข้ามหรือบิดเบือนข้อมูลบางอย่างที่ยืนยันว่าปรีดีไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีนี้เลย หากเขาพยามทำตัวเป็นกลางและอิงกับทฤษฎีหรือข้อมูลอื่นอย่างเป็นเหตุเป็นผล จะทำให้ปรีดีซึ่งถูกมองว่าเป็นวีรบุรุษของกลุ่มเสื้อแดงดูดีขึ้นและจะไม่มีกลุ่มนิยมเจ้ามาติดตามมากมายเหมือนเดิม


6.Devout follower แปลว่า สาวกผู้เชื่อมั่น

ในที่นี้อาจหมายถึงแฟนคลับของทั้งคู่  หากเราไม่เชื่อข้อกล่าวหาของบางกลุ่มที่ว่าพวกเขามีหน้าม้ามาช่วยสร้างภาพก็จะพบว่ามีสาวกผู้เชื่อมั่นต่อเทอดศักดิ์มากกว่าบรรพตอย่างเทียบไม่ได้ ผ่านการกดไลค์และการแสดงความเห็นเป็นเชิงปกป้องในทุกกรณี[3]แม้จะทราบหรือยอมรับว่ากูรูของเขาจะให้ข้อมูลผิด ๆ เช่น พูดแก้ต่างว่า “พูดผิดบ้างจะเป็นไรไป”  อันสะท้อนให้เห็นว่าสังคมนั้นพร้อมจะยึดติดอยู่กับความเชื่อ (faith) บางประการ โดยปราศจากการพินิจพิเคราะห์ข้อมูลประกอบอื่น ๆ  อุปมาดังการทานอาหารจานด่วนซึ่งไม่ต้องปรุงอะไรมากแต่ให้รสชาติเอร็ดอร่อย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาเพราะการศึกษาและสื่อมวลชนไทยตั้งแต่อดีตก็ยัดเหยียดข้อมูลเฉพาะบางเรื่องให้กับมวลชนเพียงด้านเดียวมานานแล้ว

อย่างไรก็ตามหากมองอีกด้าน มันเป็นความต้องการของมวลชนต่อกูรูผู้จะมายืนยันหรือตอกย้ำอุดมการณ์ที่แต่ละกลุ่มยึดมั่นอย่างสุดโต่งคนละด้าน คือ ความต้องการวิพากษ์สถาบันและลัทธิราชานิยมอย่างเหลือล้น ในขณะที่พวกเขาพบว่าไม่สามารถเชื่อมต่อได้ถนัดนักกับนักวิชาการซึ่งมีอุดมการณ์แบบเดียวกัน อันเป็นผลจากอคติต่อภาพของนักวิชาการบนหอคอยงาช้างที่ผลิตผลงานวิชาการอันแห้งแล้ง ยากจะเข้าใจ (อาจจะมีข้อยกเว้น เช่น นักวิชาการพลัดถิ่นอย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ซึ่งมีผู้ติดตามเป็นจำนวนไม่น้อยแต่งานของพวกเขานอกจากในเฟซบุ๊กก็เป็นวิชาการมากไป) ไม่เร้าใจเหมือนทฤษฎีสมคบคิดและการใส่ร้ายป้ายสีบุคคลที่พวกเขาเกลียดอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พวกเขาจึงแสวงหาบุคคลซึ่งเป็น “กูรู” อย่างบรรพตและเทอดศักดิ์ ซึ่งในอนาคตก็จะมีหน้าใหม่ปรากฏตัวอีกเรื่อย ๆ        

                    

 

เชิงอรรถ         

[1]ความจริงแล้วเรายังต้องรวมถึงช่องยูทูบของกลุ่มเสื้อแดงอื่นๆ ที่ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศซึ่งมีความหลากหลาย บางกลุ่มนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ได้ดี แต่บางกลุ่มก็เหมือนบรรพต และมักถูกนักวิชาการบางท่านแม้อยู่อุดมการณ์เดียวกันโจมตีว่า “มโน” (imagine) หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับชนชั้นปกครอง และบัดนี้เหตุการณ์บางอย่างก็ได้พิสูจน์ว่าเป็นการมโนไปไกลของพวกเขาจริงๆ

[2]ฝั่งเสื้อเหลืองนั้นถือได้ว่ามีจำนวนไม่มากนักในยูทูบ (หากไม่นับประเภทขาอินดี้ที่ออกมาด่าฝ่ายตรงกันข้ามอย่างหยาบคาย) สำหรับบุคคลที่เป็นต้นแบบของเทอดศักดิ์ได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งบัดนี้อยู่ในคุกไปแล้ว แต่บทความในเว็บไซต์ผู้จัดการได้สรรเสริญเขาประดุจดัง มหาตมา คานธี แม้จะเป็นคดีเกี่ยวกับเอกสารเท็จก็ตาม

[3]ทฤษฎีหน้าม้านี้คือการที่ผู้มีอำนาจบางคนให้ทุนสนับสนุนและยังอาศัยหน่วยทางไซเบอร์ของรัฐและเอกชนในการสนับสนุนนายเทอดศักดิ์เพื่อกดไลค์และการสนับสนุน เพื่อเป็นการสร้างข่าวลือโต้กลับ (Counter –Rumor) ในบางประเด็นที่สังคมไทยมีอยู่เต็มไปหมด และถูกผลิตซ้ำโดยกลุ่มที่อยู่ตรงกันข้ามกับรัฐอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้มีจุดอ่อนเช่นเหตุใดผู้มีอำนาจจึงจ้างให้คนอย่างเทอดศักดิ์ที่ขาดความรู้อย่างแท้จริงมารับภารกิจเช่นนี้ และยังระดมทรัพย์จากสาธารณชนด้วย แต่ก็มีคนแก้ต่างได้ว่าเพราะผู้มีอำนาจก็ไม่ได้ฉลาดแบบเดียวกับเทอดศักดิ์ เช่นขาดความรู้ทางประวัติศาสตร์เหมือนกัน หรืออีกประการหนึ่งคือพวกเขาเข้าใจดีว่ามวลชนเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ไปยิ่งกว่าการหลงยึดติดกับภาพพจน์ของผู้แสดงตนว่าเป็นกูรู  ส่วนการระดมทรัพย์นั้นแท้ที่จริงอาจเป็นสิ่งช่วยวัดความนิยมอย่างเป็นรูปธรรมต่อตัวรายการ หรือการทำให้แนบเนียนว่าเขาไม่ได้มีใครอยู่เบื้องหลัง กระนั้นทฤษฎีนี้ก็ถือได้ว่าเป็นทฤษฎีสมคบคิดเพราะยังไม่มีหลักฐานชัดเจน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มีชัยเป็นประกันรธน.ใหม่ไม่กระทบคุณสมบัติสนช.

$
0
0

มีชัย เผยรธน.ใหม่ไม่กระทบคุณสมบัติสนช.ให้พิจารณา กม.ประกอบรัฐธรรมนูญได้  ระบุนักการเมืองแจ้งความเห็นต่อ กรธ. ขอปรับแก้กฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมืองได้ หากมองว่าให้เวลาน้อย ย้ำอย่ากังวลเรื่องปลดล็อคทำกิจกรรมทางการเมือง เพราะ คสช. พิจารณาอยู่ โฆษก กรธ.แจงจัดทำกฎหมายลูก 2 ฉบับ 'พรรคการเมือง-กกต.' ใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว 

แฟ้มภาพ เว็บไซต์ข่าวรัฐสภา

2 ธ.ค. 2559 รายงานข่าวจากเว็บไซต์ข่าวรัฐสภาระบุว่า มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงข้อบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญต่อคุณสมบัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณสมบัติของสมาชิก สนช. เพราะได้กำหนดข้อยกเว้นหลายเรื่องทั้งเรื่องการเป็นข้าราชการถือหุ้นในกิจการสื่อรวมถึงการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.)  ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ ก็จะไม่ส่งผลให้สมาชิก สนช. ส่วนใหญ่ขาดคุณสมบัติ  และไม่ส่งผลต่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก เว้นแต่ผู้ที่เคยถูกจำคุกหรือผู้ที่ทุจริต

ส่วนกรณีที่พรรคการเมืองกังวลว่า หากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่เปิดให้พรรคสามารถทำกิจกรรมทางการเมือง ก็จะไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญได้ทันนั้น มีชัย กล่าวว่า ตามร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดระยะเวลาให้กับพรรคการเมืองอย่างเต็มที่และเมื่อเปิดเนื้อหาร่างกฎหมายลูกแล้ว หากนักการเมืองเห็นว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ไม่เพียงพอ ก็สามารถแจ้งให้ กรธ. พิจารณาปรับแก้ไขได้  นอกจากนี้ คสช. อยู่ระหว่างพิจารณาผ่อนปรนคำสั่งต่างๆเพื่อเปิดทางให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองและดำเนินการให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ  ดังนั้นพรรคการเมืองไม่ควรกังวลในเรื่องนี้

ขณะที่ อุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. กล่าวถึงกรณีการยกเว้นคุณสมบัติของสมาชิก สนช.  โดยยืนยันว่า สมาชิกสนช. ที่ดำรงตำแหน่งหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจและกรรมการในรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาหน่วยงานของรัฐ ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิก สนช. ต่อไปได้ เนื่องจากในบทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับ สนช. ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้มีการบัญญัติรับรองไว้แล้ว ตามมาตรา 263 วรรค 2(2ข) อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้เป็นข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ระบุไว้ในระยะเปลี่ยนผ่านเท่านั้น แต่หากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาชุดใหม่ตามปกติแล้ว คุณลักษณะต้องห้ามดังกล่าว จะถูกนำมาใช้บังคับตามปกติ โดยไม่มีข้อยกเว้น

ส่วนความคืบหน้าการดำเนินงานในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ กรธ.ได้รับ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญจากหน่วยงานต่างๆ จำนวน 8 ฉบับ ขาดเพียง 2 ฉบับ คือ ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโดย กรธ.จะเร่งพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อาทิ กฎหมายลูกว่าด้วยพรรคการเมือง และกฎหมายลูกว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่เนื่องจากเนื้อหาของกฎหมายมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้น กรธ.จึงพยายามตรวจสอบเนื้อหาให้รอบคอบ คาดว่าทั้ง 2 ฉบับ จะสามารถเปิดเผยเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับช่วงที่มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นอกจากนี้ กรธ.ได้กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการพิจารณารายละเอียด ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 8 ชุดโดยให้ กรรมการ กรธ. ทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการ รองประธานอนุกรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ ที่เข้าร่วมในอนุกรรมการ ทำหน้าที่รวบรวม และนำเสนอความคิดเห็นหรือรายละเอียดที่ควรมีการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งจะทำให้การพิจารณากฎหมายมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น โดย กรธ. มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย

 

ที่มา เว็บไซต์ข่าวรัฐสภา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ศรีสุวรรณ' ร้องป.ป.ช.สอบผู้ว่าฯ เชียงใหม่ ชี้ปล่อย 'เดอะคอร์' เปิดไม่มีใบอนุญาต

$
0
0

ที่มา เฟซบุ๊ก Srisuwan Janya

2 ธ.ค. 2559 สำนักข่าวไทยรายงานว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผ่านนายพิศิษฐ์ พัฒนกิจจำรูญ เจ้าพนักงานไต่สวนชำนาญการพิเศษ เพื่อให้ตรวจสอบ ปวิณ ชำนิประศาสน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะนายทะเบียนโรงแรม ตาม พ.ร.บ.โรงแรม 2547 เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันมีลักษณะทุจริตต่อหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ พ.ศ.2542 หรือไม่ จากกรณีที่โรงแรม เดอะคอร์ (The Core) จ.เชียงใหม่ ไม่มีใบอนุญาตการประกอบกิจการโรงแรมตาม พ.ร.บ.โรงแรม 2547 ทั้งที่เปิดบริการมาตั้งแต่ปลายปี 2558 จนถึงปัจจุบัน และเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการอย่างเปิดเผย  และนายปวิณได้เข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 จนถึงปัจจุบัน

ศรีสุวรรณ กล่าวว่า ต้องการให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อให้เป็นบรรทัดฐาน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในฐานะนายทะเบียนโรงแรม ของแต่ละจังหวัดได้ทำการตรวจสอบโรงแรมในพื้นที่ว่ามีโรงแรมที่เปิดให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรือไม่ เพราะเรื่องนี้มีลักษณะเดียวกันกับกรณีโรงแรมอีสติน ตัน โอเทล เชียงใหม่ ของนายตัน ภาสกรนที  ที่เปิดบริการโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมเช่นกัน  และเชื่อว่ายังมีโรงแรมอีกหลายแห่งทั่วประเทศที่เปิดให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาต

“ขอเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศประกาศรายชื่อโรงแรมในแต่ละจังหวัดที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอย่างถูกกฎหมาย  เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ ได้รับรู้ และจะได้ช่วยกันตรวจสอบไม่ให้โรงแรมที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม ลักลอบเปิดให้บริการได้อีก” ศรีสุวรรณ กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เบอร์นี แซนเดอร์ส พูดถึง 'ฟิเดล คาสโตร' และมรดกจากการปฏิวัติคิวบา

$
0
0

เบอร์นี แซนเดอร์ส อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งตัวแทนพรรคเดโมแครต ให้สัมภาษณ์ต่อ Democracy Now! เกี่ยวกับการจากไปของฟิเดล คาสโตร โดยเขาชี้ให้เห็นมรดกที่สำคัญของคิวบาคือ ระบบบริการสาธารณสุขที่ดีมาก รวมทั้งเรื่องการศึกษา แต่บางอย่างก็เลวร้ายเพราะผ่านไป 50 ปี ผู้คนยังไม่มีเสรีภาพและเศรษฐกิจยังย่ำแย่

แต่เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นเพราะคาสโตรฝ่ายเดียว นอกจากนี้ชาวอเมริกันก็ควรเรียนรู้ว่าที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกามีส่วนส่งเสริมการเผด็จการในประเทศอื่นๆ ทั้งกัวเตมาลา ชิลี หรือเอลซัลวาดอร์ หรือแม้แต่อิหร่าน

ที่มา: Democracy Now!

แซนเดอร์สกล่าวถึงกรณีอิหร่านว่าในปี 2496 รัฐบาลสหรัฐอเมริกา เคยเกื้อหนุนบริษัทน้ำมันอังกฤษด้วยการจัดฉากให้เกิดการรัฐประหารโค่นล้ม โมฮัมเหม็ด มอสซาเดกผู้ที่มาจากการเลือกตั้งเพราะต้องการให้มีการแปรรูปบริษัทน้ำมันบางส่วนของที่นั่นให้เป็นของประเทศ ทำให้อิหร่านกลับไปสู่ระบอบชาห์ผู้โหดเหี้ยมจนปูทางให้เกิดการปฏิวัติโค่นล้มเขาจนทำให้โคไมนีขึนมามีอำนาจ แซนเดอร์สบอกว่าไม่มีการนำเสนอเรื่องแบบนี้ในสื่อใหญ่ๆ ของตะวันตกเลย

Democracy Now! สัมภาษณ์ เบอร์นี แซนเดอร์ส วุฒิสมาชิกรัฐเวอร์มอนต์ ผู้เคยลงสมัครเพื่อชิงตำแหน่งผู้แทนพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา โดยแซนเดอร์สพูดถึง ฟิเดล คาสโตร อดีตผู้นำคิวบาที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยเขาเป็นคนที่ปกครองคิวบามาเป็นเวลายาวนานเกือบครึ่งศตวรรษหลังจากปฏิวัติโค่นล้มจอมเผด็จการบาติสตาที่สหรัฐอเมริกาหนุนหลัง โดยในบทสัมภาษณ์ แซนเดอร์สพูดถึงชีวิตและสิ่งที่ตกทอดมาจากคาสโตร

อนึ่ง ฮิลลารี คลินตัน คู่แข่งของแซนเดอร์สในการเป็นตัวแทนลงชิงชัยในฐานะตัวแทนพรรคเดโมแครตเคยกล่าวหาว่าเขาแสดงความชื่นชมคาสโตร ขณะที่ เอมี กูดแมน นักข่าวของ Democracy Now! สัมภาษณ์แซนเดอร์ส เกี่ยวกับคาสโตรในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกาที่ส่งผลถึงปัจจุบัน

แซนเดอร์ส กล่าวว่าคาสโตรไม่เพียงแค่ส่งผลระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกาเท่านั้น เขากับภรรยาเจน แซนเดอร์ส เคยไปเยือนคิวบา 2-3 ครั้ง ครั้งแรกในปี 2532 และเจนก็ทำการศึกษาคิวบาในบางส่วนพบว่ามีสิ่งดีๆ ให้พูดถึงจำนวนมาก เช่น ระบบบริการสุขภาพดีมากสำหรับประเทศโลกที่สาม จากที่เป็นระบบประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้าให้ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ครั้งสุดท้ายที่แซนเดอร์ไปใช้บริการพวกเขาก็บริการดีมาก มีการคิดค้นยาใหม่ๆ แซนเดอร์สบอกถึงข้อดีของคิวบาอีกเรื่องหนึ่งว่าระบบการศึกษาของพวกเขาก็ดี แต่สิ่งที่แย่คือเศรษฐกิจของคิวบาและคนที่แสดงออกต่อต้านในคิวบาก็มีชีวิตที่ไม่ค่อยดีนัก

แน่นอนว่าสำหรับแซนเดอร์สแล้วการที่คาสโตรโค่นล้มเผด็จการที่สหรัฐอเมริกาส่งเสริมถือเป็นเรื่องดีมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างไปในทางที่ดีมาก และเป็นเรื่องที่ชวนถกเถียงกันไม่รู้จบว่าสหรัฐอเมริกามีส่วนในการทำให้เกิดประเทศอย่างคิวบาได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงบางอย่างในคิวบาก็เป็นเรื่องเลวร้ายมาก ผ่านไป 50 ปีแล้วหลังการปฏิวัติแต่ผู้คนก็ยังไม่มีเสรีภาพในการแสดงการต่อต้านรัฐบาลได้และเศรษฐกิจก็ยังย่ำแย่

อย่างไรก็ตามแซนเดอร์สบอกว่านี่ไม่ใช่ผลที่มาจากการกระทำของคาสโตรแต่เพียงอย่างเดียว และเขาไม่เข้าใจว่าทำไมถึงทำเหมือนคิวบายังเป็นประเทศเดียวที่ไม่เป็นประชาธิปไตยแล้วก็ไม่วิจารณ์เรื่องนี้กับซาอุดิอาระเบีย และพวกเขาควรให้การศึกษาชาวอเมริกันว่าสหรัฐอเมริกา เองก็เคยส่งเสริมการโค่นล้มรัฐบาลประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆ และส่งเสริมเผด็จการเมื่อช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น กัวเตมาลา ชิลี หรือเอลซัลวาดอร์ แม้แต่อิหร่าน

แซนเดอร์สกล่าวถึงกรณีอิหร่านว่าในปี 2496 รัฐบาลสหรัฐอเมริกา เคยเกื้อหนุนบริษัทน้ำมันอังกฤษด้วยการจัดฉากให้เกิดการรัฐประหารโค่นล้ม โมฮัมเหม็ด มอสซาเดกผู้ที่มาจากการเลือกตั้งเพราะต้องการให้มีการแปรรูปบริษัทน้ำมันบางส่วนของที่นั่นให้เป็นของประเทศ ทำให้อิหร่านกลับไปสู่ระบอบชาห์ผู้โหดเหี้ยมจนปูทางให้เกิดการปฏิวัติโค่นล้มเขาจนทำให้โคไมนีขึนมามีอำนาจ แซนเดอร์สบอกว่าไม่มีการนำเสนอเรื่องแบบนี้ในสื่อใหญ่ๆ ของตะวันตกเลย

เอมี กูดแมน ยังถามแซนเดอร์สอีกสองคำถาม หนึ่งในนั้นคือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องระบบการเลือกคณะผู้เลือกตั้งหรือ Electoral College ของสหรัฐอเมริกา ที่คลินตันได้คะแนนจากประชาชนโดยรวมมากกว่า แต่เมื่อนับจำนวนคณะผู้เลือกตั้งแล้ว ทำให้คลินตันพ่ายต่อโดนัลด์ ทรัมป์

แซนเดอร์สตอบว่าระบบคณะผู้เลือกตั้งนี้เป็นระบบที่ล้าสมัย ผู้คนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคณะผู้เลือกตั้งที่เขาจะเลือกเป็นใคร ผู้คนล้วนลงคะแนนให้คลินตันหรือทรัมป์ แล้วพันธกิจของพวกเขาคือการสนับสนุนตัวแทนที่คนในรัฐลงคะแนนให้

อีกคำถามหนึ่งของกูดแมนคือกรณีที่ทรัมป์อ้างว่าตัวเขาเองก็อาจจะชนะคะแนนเสียงจากประชาชนข้างมากได้แต่ที่คลินตันได้คะแนนมากว่าเป็นเพราะมีคนไปลงคะแนนอย่างผิดกฎหมาย แซนเดอร์ส มองเรื่องนี้อย่างไร

"เรื่องนี้คุณต้องแปลกใจแน่ๆ แต่โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อสิ่งที่โดนัลด์ ทรัมป์ พูดเลยแม้แต่คำเดียว" แซนเดอร์สกล่าวในการให้สัมภาษณ์

แซนเดอร์สบอกให้ลองมองกลับไปในทุกคำกล่าวที่ดูไร้สาระและไม่มีมูลความจริงทุกอย่างที่ทรัมป์เคยพูดออกมา สำหรับแซนเดอร์สแล้วทรัมป์คือคนขี้โกหกชนิดป่วยไข้ แต่ที่อันตรายคืออาจจะถึงจุดหนึ่งที่ทรัมป์ไม่รู้ตัวว่าตัวเองโกหกอีกต่อไปแล้ว ทรัมป์อาจจะอ้างในสิ่งที่ตัวเองเห็นหรือเชื่อจริงๆ แต่มันก็มีแต่เขาคนเดียวที่เชื่อแบบนั้น อันตรายของมันไม่ใช่ว่ามันเป็นเรื่องเท็จ อันตรายของมันคือถ้าหากเรามีประธานาธิบดีที่เชื่อว่ามีคนลงคะแนนอย่างผิดกฎหมายล้านคนอาจจะส่งผลให้พวกรีพับลิกันปิดกั้นการเข้าถึงการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ทำให้คนเข้าถึงการเลือกตั้งได้ยากขึ้นไม่ว่าจะเป็นผู้อพยพหรือคนชายขอบหรือไม่ ทำให้พวกเขาต้องต่อสู้กับข้ออ้างนี้ของทรัมป์อย่างเต็มที่

เรียบเรียงจาก

Bernie Sanders on the Life and Legacy of Late Cuban Revolutionary Fidel Castro, Democracy Now!, 29-11-2016 https://www.democracynow.org/2016/11/29/bernie_sanders_on_the_life_and

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี

$
0
0

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี

2 ธ.ค. 2559 ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 289 ง วันที่ 2 ธันวาคม 2559 มีการเผยแพร่พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานองคมนตรี มีรายละเอียดดังนี้

ประกาศ
แต่งตั้งประธานองคมนตรี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่ประธานองคมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรีและทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งประธานองคมนตรี

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ประกอบกับมาตรา 12 มาตรา 13 และมาตรา16 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระราชโองการ
พรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาพัฒน์ ชี้ไตรมาส 3 ว่างงานทรงตัว ชม.ทำงานเพิ่ม รายได้-ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น

$
0
0

สภาพัฒน์ ได้รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสามปี 59 ระบุ อัตราการว่างงานทรงตัว ชั่วโมงการทำงาน รายได้และผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่ลดลง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดีขึ้น 

 
2 พ.ย. 2559 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ ได้รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสามปี 2559 ซึ่งมีความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญได้แก่ รายได้และผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น ความยากจนและความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออก และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินดีขึ้น อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง ได้แก่ สถานการณ์การจ้างงาน การว่างงาน การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง การดูแลสุขภาพจิตของคนไทย การบริโภคบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน อุบัติเหตุจราจร และการจัดการปัญหายาเสพติดที่ใช้การสาธารณสุขนำการป้องกันและปราบปราม โดยมีสาระดังนี้

อัตราการว่างงานทรงตัว ชั่วโมงการทำงาน รายได้และผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น

ในไตรมาสสามปี 2559 ผู้มีงานทำมีจำนวน 38,263,172 คน ลดลงร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการจ้างงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.3 เนื่องจากกิจกรรมทางการเกษตรที่ลดลง พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและต้องเลื่อนการเพาะปลูกออกไป ส่วนการจ้างงานภาคนอกเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เป็นการเพิ่มในสาขาก่อสร้าง ค้าปลีก/ค้าส่ง โรงแรมและภัตตาคาร แต่สาขาการผลิตและการขนส่งมีการจ้างงานลดลง ผู้ว่างงานมีจำนวน 362,513 คน อัตราการว่างงานทรงตัวเท่ากับร้อยละ 0.94 และมีสัญญาณการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากชั่วโมงทำงานที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ผู้ที่ทำงานมากกว่า 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ และ 50 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และ 0.2 ตามลำดับ เนื่องจากการฟื้นตัวของการส่งออกและความต้องการสินค้าภายในประเทศ ค่าจ้างแรงงานภาคเอกชนแท้จริงที่ไม่รวมผลตอบแทนอื่นๆ และค่าล่วงเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยผลิตภาพแรงงานภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และผลิตภาพแรงงานภาคนอกเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3

ปัจจัยที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญในระยะต่อไป ได้แก่

1. การบริหารจัดการน้ำเพื่อไม่ให้กระทบพื้นที่เพาะปลูก จากปริมาณน้ำ ในเขื่อน ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 พบปริมาณน้ำในเขื่อนสำคัญๆ มีมาก (ระดับน้ำ 80–100 ของระดับกับเก็บน้ำของอ่าง) อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนอุบลรัตน์ และบางเขื่อนมีปริมาณน้ำเกินความจุกักเก็บ (ระดับน้ำเกิน 100 ของระดับกับเก็บน้ำของอ่าง) อาทิ เขื่อนป่าสัก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกิ่วคอหมา และเขื่อนแควน้อย ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างระมัดระวังเพื่อให้เกิดสมดุลน้ำในเขื่อน และไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรที่จะมีการเก็บเกี่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
 
2. การฟื้นตัวของการส่งออกที่จะมีผลต่อการจ้างงานในสาขาอุตสาหกรรม การส่งออกที่เริ่มมีอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่สาม ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นภาวะธุรกิจ (3 เดือนข้างหน้า) ในด้านคำสั่งซื้อสินค้าในต่างประเทศ และการส่งออก ปรับตัวดีขึ้นหลังจากติดลบต่อเนื่องอย่างน้อย 4 ไตรมาสที่ผ่านมา ชี้ว่าแนวโน้มการผลิตเพื่อส่งออกจะค่อยๆ กลับมาเพิ่มขึ้น โดยสัญญาณในช่วงแรกจะเป็นการเพิ่มชั่วโมงการทำงาน และหากสถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่องผู้ประกอบการจึงจะเริ่มจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งในไตรมาสสามมีสัญญาณการเพิ่มชั่วโมงการทำงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สาขาการผลิตมีชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ซึ่งต้องติดตามการฟื้นตัวของความต้องการสินค้าทั้งภายในและจากต่างประเทศในระยะต่อไป รวมทั้งการใช้กำลังการผลิต และการจ้างงานควบคู่กัน

การสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ 

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2564 จะทำให้อัตราส่วนการพึ่งพิงวัยทำงานจากผู้สูงอายุ 1 คน ต่อแรงงาน 4.2 คนในปี 2558 กลายเป็นผู้สูงอายุ 1 คน ต่อแรงงาน 3.2 คน ในปี 2564 และในปี 2574 ไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ซึ่งจะมีอัตราส่วนการพึ่งพิงวัยทำงานเท่ากับ ผู้สูงอายุ 1 คน ต่อแรงงาน 2.1 คน อาจจะนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร อีกทั้งปัญหาด้านการคลังของประเทศที่จะต้องมีภาระในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนการทำงานให้กับผู้สูงอายุที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการมีรายได้ของผู้สูงอายุ การใช้ประสบการณ์และเวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 

การสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ 

รูปแบบการให้ผู้สูงอายุมีงานทำนั้นอาจจะเป็นการขยายระยะเวลาการเกษียณหรือการจ้างงานใหม่ของแรงงานที่สูงวัยที่จะต้องคำนึงถึงศักยภาพทั้งทางด้านร่างกายและความสามารถที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยกระทรวงแรงงานได้จัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานคนพิการและผู้สูงอายุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดยมีเว็บไซต์ www.doe.go.th/elderly เป็นแหล่งส่งเสริมการจ้างงานของผู้สูงอายุอีกช่องทางหนึ่ง เปิดให้บริการไปแล้วเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2559 มีผู้สูงอายุลงทะเบียนระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม–8 พฤศจิกายน 2559 จำนวน 825 ราย อีกทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 เห็นชอบมาตรการดูแลผู้สูงอายุเพื่อสร้างงานให้แก่ผู้สูงอายุ การสร้างความมั่นคงทางรายได้ และการมีที่อยู่ ผ่าน 4 มาตรการ ได้แก่ (1) มาตรการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 
นำค่าใช้จ่ายสำหรับค่าจ้าง เงินเดือนจ้างผู้สูงอายุทำงาน หักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า (2) มาตรการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Complex) บนพื้นที่ราชพัสดุ 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดชลบุรี นครนายก เชียงใหม่ และเชียงราย (3) การดำเนินโครงการสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage) โดยให้ธนาคารออมสินและธนาคารสงเคราะห์ปล่อยสินเชื่อสำหรับผู้สูงอายุเกินกว่า 60 ปี และ (4) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. …
ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยดีขึ้น รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยปี 2558 ของ สศช. พบว่า สัดส่วนคนจนลดลงเหลือร้อยละ 7.2 จากร้อยละ 10.5 ในปี 2557 ขณะที่ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้มีสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคลดลงจาก 0.465 ในปี 2556 เหลือ 0.445 ในปี 2558

รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในเรื่อง 

(1) การเร่งสร้างโอกาส อาชีพและการมีรายได้ที่มั่นคง ได้แก่ การเพิ่มโอกาสการมีงานทำโดยจัดให้มีศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย และจัดตั้งศูนย์ประสานงานและสนับสนุนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (2) การช่วยเหลือ อุดหนุน และลดรายจ่าย โดยการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย ช่วยเหลือเกษตรกรยากจนทั้งเรื่องหนี้สิน ลดดอกเบี้ย และสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง  (3) การออกกฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทั้งในด้านภาษี การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส และ (4) การสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต แม้ว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้จะดีขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ประกอบกับยังมีการกระจุกตัวของสินทรัพย์ทางการเงินและที่ดิน รวมถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ผันผวนรุนแรง และการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็วจะกระทบต่อความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย 
 
การดำเนินงานในระยะ 5 ปีข้างหน้าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงให้ความสำคัญกับการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ของกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด เนื่องจากจะเป็นการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำในภาพรวม รวมทั้งเป็นการช่วยยกระดับรายได้เฉลี่ยของประเทศให้เป็นไปตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มีเป้าหมายไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง โดยมีแนวทางมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพบริการทางสังคมให้ทั่วถึงทั้งในเรื่องการศึกษา สาธารณสุข การปิดช่องว่างการคุ้มครองทางสังคม และมุ่งเน้นมากขึ้นในเรื่องการเพิ่มทักษะแรงงานและการใช้นโยบายแรงงานที่สนับสนุนการเพิ่มผลิตภาพแรงงานและเสริมสร้างรายได้สูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด การกระจายการจัดบริการภาครัฐและจัดสรรทรัพยากรให้กระจายตัวอย่างเป็นธรรม รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและพึ่งพาตนเอง และสามารถจัดการทรัพยากรในชุมชนได้
 
ผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้น ขณะที่สถานการณ์โรคไข้เลือดออกดีขึ้น แต่ต้องเฝ้าระวังสุขภาพจิตคนไทย ในไตรมาสสามปี 2559 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 21.1 โดยผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันน้อยเกิดการติดเชื้อได้ง่าย อีกทั้งยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ขณะที่จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงถึงร้อยละ 58.4 เนื่องจากทุกหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคที่มากับยุงลาย หากยังต้องเฝ้าระวังสุขภาพจิตคนไทยที่มีแนวโน้มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงถวายความอาลัย รัฐจึงได้ดูแลฟื้นฟูสุขภาพใจของประชาชนและชวนกันแปรความรู้สึกโศกเศร้ามาเป็นพลัง
ในการสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ท่านในการทำประโยชน์และพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้น
 
การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเพื่อลดภาวะอ้วนและการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายปี 2557 พบว่าคนไทยมีภาวะอ้วน ความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้น ขณะที่การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนและโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังก็เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.5 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 19.2 ในปี 2557 สอดคล้องกับผลการสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากรปี 2558 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่พบว่าคนไทยที่มีอัตราการเคลื่อนไหวน้อยมีถึงร้อยละ 95.5 ดังนั้น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ อย่างจริงจังทั้งการลดพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ และการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีกิจกรรม
ทางกายที่เพียงพอ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อให้คนได้มีกิจกรรมทางกายอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเชิญชวนข้าราชการออกกำลังกายในวันและเวลาที่เหมาะสม โดยไม่เสียงานราชการ เพื่อสุขภาพที่ดี ลดความเครียดและเพิ่มพลังในการทำงาน

ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่ลดลง 

แต่ยังต้องเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนที่สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีมูลค่า 30,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 0.8 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริโภคบุหรี่มีมูลค่า 12,894 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 ร้อยละ 11.1 แต่ยังต้องเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนอายุ 15-24 ปีที่สูบเป็นประจำทุกวันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.5 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 12.2 ในปี 2558 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอุตสาหกรรมยาสูบมีกลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดนักสูบหน้าใหม่และทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้วสูบมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ได้มีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน และเพื่อยกระดับการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไม่ให้เข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้ง่าย รวมทั้งแก้ไขให้สอดคล้องกับกรอบอนุสัญญา
ว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดีขึ้น

ขณะที่การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องใช้การสาธารณสุขนำการป้องกันและปราบปราม คดีอาญาโดยรวมไตรมาสสามปี 2559 ลดลงร้อยละ 0.9 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2558 โดยคดีชีวิตร่างกายและเพศ และคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์รับแจ้งลดลงร้อยละ 18.7 และ 23.2 ตามลำดับ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนดีขึ้นจากการที่ภาครัฐมุ่งเน้นสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีด้วยการจัดระเบียบสังคมและการควบคุมการกระทำผิดกฎหมาย ขณะที่คดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ภาครัฐจึงได้ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหายาเสพติดโดยใช้การสาธารณสุขนำการป้องกันและปราบปรามเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางที่ประชุมแห่งสหประชาชาติ โดยนำผู้เสพเข้ารับการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการทั้งในด้านการบำบัดฟื้นฟูอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน การฝึกทักษะอาชีพ การเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อประกอบอาชีพ เพื่อให้สามารถกลับคืนเข้าสู่สังคมได้การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
 
ไตรมาสสามปี 2559 อุบัติเหตุจราจรทางบกและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 และ 13.4 มูลค่าความเสียหายลดลงร้อยละ 50.9 ในส่วนของการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางน้ำ จากสถิติอุบัติเหตุทางเรือของกรมเจ้าท่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบเฉลี่ยแต่ละปีเกิดอุบัติเหตุไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง ล่าสุดเดือนกันยายน มีผู้เสียชีวิต 28 รายจากเหตุการณ์เรือล่มเพียงครั้งเดียว ภาครัฐได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การรณรงค์ควบคุมปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทั้งทางบกและทางน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย การสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัย รวมทั้งการยกระดับความปลอดภัยการสัญจรทางน้ำอย่างเข้มข้น อาทิ เส้นทางคลองแสนแสบ ห้ามใช้เรือที่มีการติดตั้งระบบแก๊สโดยต้องเป็นเรือที่ใช้ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล มาตรการแก้ไขในระยะยาว การจัดหน่วยกู้ชีพหรืออุปกรณ์กู้ชีพที่สามารถให้การช่วยเหลือได้ทันที การปรับเปลี่ยนเรือให้ทันสมัยที่มีระบบเดินเรือที่เงียบและปลอดภัยมากขึ้น 

ชุมชนกับการมีส่วนร่วมจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

สถานการณ์คุณภาพน้ำในปี 2558 คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และคุณภาพน้ำในเกณฑ์พอใช้ลดลงร้อยละ 41 และภาพรวมคุณภาพน้ำในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2554-2558) มีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง การเเก้ปัญหาต้องเริ่มจากการให้ความรู้  การสร้างจิตสำนึก และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในการป้องกันและกำจัดมลพิษทางน้ำ ตัวอย่างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาแหล่งน้ำ อาทิ ชมรม "คนรักแม่กลอง” โดยการจับมือภาคี 16 เครือข่ายในการรณรงค์เพื่อลงชื่อร้องเรียนและเรียกร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะดูแลแหล่งน้ำ 5 จังหวัด เพื่อดูแลสัตว์ใหญ่ใกล้สูญพันธุ์รวมถึงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการนำ แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในการจัดการน้ำเสีย (1) ชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม กรุงเทพฯ เป็นการรวมกลุ่มของชาวบ้านทำการฟื้นฟูจัดการน้ำเน่าเสีย มีการนำเทคโนโลยีกังหันน้ำจากพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยเติมออกซิเจนในน้ำ (2) ชุมชนบ้านศาลาดิน จ.นครปฐม ชาวบ้าน ได้ร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองมหาสวัสดิ์ โดยการตรวจวัดคุณภาพน้ำและติดตั้งถังดักไขมัน รวมถึงการพัฒนากังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ รัฐบาลได้สนองพระราชดำริในการจัดการน้ำทั้งระบบรวมน้ำเสีย โดยขยายผลระบบเครือข่ายเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำ ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำเป็นคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ซึ่งชาวบ้านและชุมชนต่างๆ ได้น้อมนำพระราชดำริและเทคโนโลยีมาใช้ ในการสำรวจเก็บข้อมูล เช่น จีพีเอส ภาพถ่ายดาวเทียม โทรมาตรวัดฝนและระดับน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น  เพื่อนำมาวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในชุมชนของตนเอง ปัจจุบันมีเครือข่ายมากกว่า 900 ชุมชน 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เดชรัตวิเคราะห์ภาคเกษตรเปลี่ยน แรงงานลด รายย่อยยังอยู่รอด ทุนใหญ่ยังไม่ลงเต็มตัว

$
0
0

เดชรัตเสนอโครงสร้างการเกษตรไทยเปลี่ยนไปในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะแรงงานค่อนข้างน่าเป็นห่วง พบแรงงานภาคเกษตรมีผู้สูงอายุมากขึ้น ส่วนที่ดินยังไม่น่าห่วง ด้านทุนและเทคโนโลยีพบพื้นที่การปลูกข้าวยังกระจายตัว แต่หมูและไก่ตกอยู่ในมือทุนรายใหญ่ เชื่อธุรกิจใหญ่ยังไม่โดดลงมาเล่น ถ้ายังคุมความเสี่ยงไม่ได้

เดชรัต สุขกำเนิด

ภาคเกษตรของไทยกำลังเปลี่ยน แต่เปลี่ยนไปอย่างไร เป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบ เดชรัต สุขกำเนิด จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พยายามตอบโจทย์ข้างต้นผ่านงานศึกษา ‘การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมการเกษตรของไทยในรองสองทศวรรษ: การวิเคราะห์ผ่านการสำมะโนการเกษตรปี พ.ศ.2536, 2546 และ 2556’ ในงานโครงการเวทีเครือข่ายงานวิจัยไทยศึกษา หัวข้อ ‘พลวัตสังคมเกษตรในยุคเสรีนิยมใหม่’ ที่จัดขึ้นที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวานนี้ (2 ธันวาคม 2559)

เมื่อพูดถึงเรื่องเชิงโครงสร้าง เดชรัตมุ่งไปที่ 3 ประเด็นหลักคือที่ดิน แรงงาน และทุน เขาเริ่มอธิบายจากประเด็นที่ค่อนข้างอ่อนไหวในสังคมไทยอย่างที่ดิน ซึ่งดูจะเป็นประเด็นที่ชี้เป็นตายว่าเกษตรกรรายย่อยจะสามารถอยู่รอดหรือไม่

เดชรัต กล่าวว่า ในระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี 2536-2556 จำนวนครัวเรือนเกษตรกรไทยยังเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มไม่มาก จาก 5.65 ล้านราย เป็น 5.91 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 ในแง่ดีคือยังมีครัวเรือนเกษตรอยู่ ไม่ได้น้อยลง แต่ขณะเดียวกันพื้นที่การเกษตรกลับลดลงเล็กน้อยจาก 118.76 ล้านไร่ เหลือ 116.62 ล้านไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 2

“สิ่งที่เรากังวลว่าพื้นที่การเกษตรจะเสียให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและเมือง เมื่อมองในภาพรวม หมายถึงส่วนที่เสียก็มี แต่ก็ไปเพิ่มที่อื่น ดังนั้น โดยภาพรวมในด้านที่ดินยังไม่ปรากฏชัด แต่ก็มีคนเป็นห่วงว่า ที่ดินน้อยลงขณะที่คนเพิ่มขึ้น เนื้อที่ถือครองโดยเฉลี่ยจะเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามคาด เนื้อที่ถือครองเฉลี่ยต่อครัวเรือลดลงพอสมควร จากเดิมเฉลี่ย 21 ไร่ต่อครัวเรือนเกษตร 1 ราย ตอนนี้เหลือ 19.7 ไร่ต่อครัวเรือนเกษตร 1 ราย ลดลงประมาณร้อยละ 6”

เมื่อจำแนกตามพื้นที่ถือครอง จะพบว่ารายใหญ่ที่ถือครองที่ดินการเกษตรจำนวนมากยังเห็นภาพไม่ชัดเจนว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ตลอด 20 ปี ผู้ที่ถือครองที่ดินการเกษตรตั้งแต่ 40-139 ไร่ในปี 2536 เท่ากับ 0.69 ล้านรายและยังคงเท่าเดิมในปี 2556 ส่วนผู้ที่ถือครองที่ดินการเกษตรตั้งแต่ 140 ไร่ขึ้นไปในปี 2536 เท่ากับ 0.03 ล้านราย ซึ่งก็ยังคงเท่าเดิมกับในปี 2556 เช่นกัน โดยครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ 3 ล้านรายถือครองที่ดินประมาณ 10-30 ไร่ ในปี 2556 ลดลง 0.06 ล้านรายจากปี 2536 จากข้อมูลข้างต้น เดชรัตจึงเห็นว่าการล่มสลายของภาคการเกษตรและฟาร์มขนาดเล็กยังไม่ปรากฏชัดเจน

“แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความมั่นคงในการถือครองที่ดิน การถือครองที่ดินดีขึ้นเล็กน้อยคือมีผู้ถือโฉนด 3.7 ล้านรายในปี 2546 เพิ่มขึ้นมาเป็น 4.0 ล้านรายในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 ซึ่งถือว่าน้อยไป ถ้าเพิ่มในอัตรานี้ คงต้องใช้เวลาไปอีก 40 ปีกว่าเกษตรกรไทยจะมีความมั่นคงในที่ดิน”

ส่วนด้านประโยชน์การใช้ที่ดิน พบว่า ข้าวมีพื้นที่ปลูกลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 55.4 เหลือร้อยละ 51.3 ในรอบ 20 ปี แต่ที่เพิ่มมากคือยางพารา จากร้อยละ 8.0 ในปี 2536 เป็นร้อยละ 14.5 ในปี 2556 โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นเกือบ 4 ล้านไร่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 2546-2556 การเปลี่ยนแปลงนี้บ่งบอกว่าเกษตรกรตอบสนองต่อราคา

“แต่การตอบสนองต่อราคาของเกษตรกรเป็นการตอบสนองราคาแบบตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว คือราคาดีแล้วค่อยตาม แต่ในแง่การวางแผนด้านการผลิตการเกษตรต้องวางแผนล่วงหน้า คือปลูกสิ่งที่กำลังจะราคาดี แต่ของเราคือสิ่งไหนราคาดี เราจะปลูก คือเกษตรกรใช้ข้อมูลอย่างดีที่สุดเท่าที่มี แต่มันมีไม่พอที่จะใช้ตัดสินใจแล้วเกิดความมั่นคงในฐานะความเป็นอยู่ได้”

แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงในมุมมองเดชรัตคือเรื่องแรงงาน ตั้งแต่ 2536-2556 เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรของครัวเรือนเกษตรชัดเจน สัดส่วนหัวหน้าครัวเรือนเกษตรที่มีอายุ 25-43 จากร้อยละ 17 ในปี 2536 ลดเหลือเพียงร้อยละ 5.2 ในปี 2556 ส่วนกลุ่มอายุ 35-44 ก็ลดลงจากร้อยละ 28.4 เหลือร้อยละ 18.4 ขณะที่ช่วงอายุ 45-54 ปี, 55-64 ปี และ 65 ปีขึ้นไปกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แนวโน้มนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอายุของสมาชิกในครัวเรือนการเกษตรที่คนวัยตั้งแต่ 25-44 ปีมีสัดส่วนลดลง แต่ช่วยวัยตั้งแต่ 45-65 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น เมื่อมองในเชิงจำนวน พบว่า จำนวนสมาชิกครัวเรือนที่ทำการเกษตรลดลงจาก 11 ล้านรายในปี 2536 หรือ 8.55 ล้านรายในปี 2556

“เรื่องแรงงานจะเป็นปัจจัยสำคัญที่บีบคั้นเกษตรกรในอนาคต” เดชรัต สรุป

ในด้านของทุน เดชรัต กล่าวว่า การเข้ามาของทุนนิยมแบบเสรีจะมีส่วนเข้ามาแย่งสัดส่วนการผลิตในภาคเกษตรจากเกษตรกรรายย่อยมากน้อยแค่ไหน คำตอบคือแย่งเฉพาะบางตัวเท่านั้น โดยเฉพาะในตัวที่มีเทคโนโลยีดีพอจะควบคุมไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการผลิต

“แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความมั่นคงในการถือครองที่ดิน การถือครองที่ดินดีขึ้นเล็กน้อยคือมีผู้ถือโฉนด 3.7 ล้านรายในปี 2546 เพิ่มขึ้นมาเป็น 4.0 ล้านรายในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7 ซึ่งถือว่าน้อยไป ถ้าเพิ่มในอัตรานี้ คงต้องใช้เวลาไปอีก 40 ปีกว่าเกษตรกรไทยจะมีความมั่นคงในที่ดิน”

เดชรัตนำเสนอข้อมูลว่า พื้นที่ปลูกข้าวขนาดใหญ่ที่มีเนื้อที่มากกว่า 140 ไร่ขึ้นไป มีส่วนแบ่งในเนื้อที่ปลูกข้าวร้อยละ 1.28 ในปี 2536 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.88 ในปี 2556 โดยร้อยละของเนื่อที่การปลูกข้าวส่วนใหญ่ยังอยู่ที่พื้นที่ขนาดกลางคือขนาดประมาณ 10-39 ไร่ หมายความว่าโครงสร้างการผลิตข้าวมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

“แต่ที่เปลี่ยนมากคือการเลี้ยงสุกรที่กระจุกอยู่ในมือรายใหญ่ จากข้อมูลพบว่า สัดส่วนผู้เลี้ยงสุกรเพียงร้อยละ 1.5 ของผู้เลี้ยงทั้งหมดแต่คุมผลผลิตถึง 2 ใน 3 ของปริมาณสุกรในประเทศ ในไก่ก็มีลักษณะเดียวกัน

“สรุป การถือครองที่ดินไม่ใช่จุดที่น่ากังวลมาก จริงๆ แล้วเป็นผล ถ้ามีปัญหาเรื่องแรงงาน เรื่องสู้ทุนไม่ได้ จึงจะเกิดการเสียที่ดิน จุดสำคัญอยู่ที่แรงงานกับทุน ถ้าทุนขยายเข้ามาแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง แต่จำกัดวง หมายความว่าถ้าตรงไหนที่ความเสี่ยงเยอะ ทุนจะไม่สนใจ จะสนใจเฉพาะที่มีความเสี่ยงน้อยและควบคุมได้ ในอนาคตเราคงต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ทดแทนการใช้แรงงาน ต้องดูว่าเขาจะบุกตรงไปไหน ต้องไปเตรียมความพร้อมในจุดนั้น แล้วทำให้เรื่องความมั่นคงการถือครองที่ดินดีขึ้น รวมถึงข้อมูลด้านราคาที่จะนำมาใช้ในการวางแผน ไม่ใช่ข้อมูลย้อนหลัง แต่เป็นข้อมูลไปข้างหน้า”

ผู้สื่อข่าวประชาไทสอบถามว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ระบุถึงการสนับสนุนให้เกิดเกษตรแปลงใหญ่ ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลต่อการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อยหรือไม่ เดชรัต ตอบว่า คำว่าเกษตรแปลงใหญ่ ไม่ได้แปลว่าธุรกิจเกษตรรายใหญ่จะลงมาผลิตเอง จากตัวเลขที่มีอยู่จะพบว่า ถ้ามีความไม่แน่นอนอยู่ในการผลิต ทุนรายใหญ่จะไม่เข้ามาทำการผลิตเอง แต่จะควบคุมผ่านปัจจัยการผลิต หมายถึงได้กำไรจากการขายปัจจัยการผลิตกับการซื้อผลผลิต

“ส่วนมากที่สุดที่จะเกิดขึ้นในฝั่งทุนก็คือ นาแปลงใหญ่หรือเกษตรแปลงใหญ่เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจจะมีธุรกิจใหม่ขึ้นมาอีกธุรกิจหนึ่งที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตรที่จะสามารถเข้าไปได้เยอะขึ้น ให้บริการได้มากขึ้น คือได้กำไรจากการใช้เครื่องจักรกลเหล่านี้มากขึ้น

“แต่การที่จะเข้าไปแล้วเกิดความล่มสลายของเกษตรกรรายย่อยจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเทคโนโลยีนั้น เขาควบคุมได้จนความเสี่ยงในการผลิตเหลือน้อยมากๆ แล้ว ถ้าความเสี่ยงในการผลิตยังมากอยู่ เขาจะมอบความเสี่ยงนั้นให้เป็นของเกษตรกรรายย่อยเป็นผู้เสี่ยงแทน เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้คิดว่าเขาทำเกษตรแปลงใหญ่เพื่อไปครอบครองแทนที่ อันนี้จากข้อมูลที่ผมมี อีกประเด็นหนึ่งคือ ธุรกิจการเกษตรรายใหญ่อาจจะหวังว่าถ้าทำเกษตรแปลงใหญ่แล้ว ต้นทุนในการติดต่อทำธุรกรรมและรวบรวมผลผลิตจะง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของธุรกิจการเกษตรรายใหญ่ลดลง ขณะเดียวกันก็อาจจะช่วยให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากต้นทุนที่ลดลง แต่คงไม่มีนัยในทางตรง

“นัยในทางตรงก็ขอให้จับตาเรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียว ถ้าเทคโนโลยีค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า เมื่อผลิตแล้วความเสียหายจะน้อย เมื่อนั้นเขาจะลงมาเต็มๆ เหมือนกับสุกรและไก่”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คงอำนาจ ม.44-สนช.ควบเก้าอี้หน่วยงานอื่นยังทำหน้าที่ต่อแม้ใช้ รธน.ใหม่

$
0
0
โฆษก กรธ. ระบุ คสช. ยังคงมีอำนาจ ม.44 อยู่ แม้ใช้ รธน. ใหม่ สนช. ดำรงตำแหน่งหน่วยงานต่าง ๆ ยังนั่ง สนช. ได้จนกว่ามี ส.ส.- ส.ว. ใหม่ แต่ลงเลือกตั้งต้องลาออกใน 90 วัน 

 
เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559 ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่านายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) แถลงว่า จากการที่ กรธ. ได้มีตัวแทนเข้าไปร่วมสัมมนากับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิก สนช. ภายหลังหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการประกาศใช้นั้น กรธ. ยืนยันว่า สมาชิก สนช. ที่ดำรงตำแหน่งหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และกรรมการในรัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาหน่วยงานของรัฐ ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สนช. ต่อไปได้ จนกว่าจะมีสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาชุดใหม่ เนื่องจากในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญได้มีการบัญญัติรับรองเอาไว้แล้ว
       
โฆษก กรธ. กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม หากสมาชิก สนช. จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จะต้องลาออกจากตำแหน่งภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีกระบวนการสรรหา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ หากสมาชิก สนช. คนใด มีชื่ออยู่ในกระบวนการคัดเลือก ส.ว. ดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่ง สนช.
       
เมื่อถามว่า ภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ คสช. จะมีอำนาจใช้ มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 เต็มที่เหมือนเดิมหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองให้ คสช. ยังคงมีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่า ในทางปฏิบัติการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ทางผู้ใช้อำนาจ น่าจะต้องคำนึงถึงรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งทางกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนคำสั่งของ คสช. ตามมาตรา 44 ที่มีอยู่ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญยังคงมีผลต่อไปตามกฎหมายจนกว่า คสช. จะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งที่ออกไปก่อนหน้านั้น
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ไผ่ ดาวดิน' โดนจับ 112 กรณีแชร์ข่าว BBC ไทย

$
0
0

 

3 ธ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 8.45 น. ที่ชัยภูมิ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวในข้อหาความผิดตามมาตรา 112 จากการแชร์พระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ของบีบีซีไทย รายงานข่าวในพื้นที่แจ้งว่า เจ้าหน้าที่แสดงหมายจับขณะเข้าจับกุมตัวเขา เบื้องต้นทราบว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังนำตัวเขาไปยัง สภ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ
 
ไผ่โดนจับขณะทำกิจกรรมธรรมยาตรากับพระไพศาล วิสาโล ปัจจุบันพระไพศาลยังคงมุ่งมั่นธรรมยาตราต่อ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ผู้แจ้งความกรณีนี้คือ พ.ท.พิทักษ์พล ชูศรี รองหัวหน้ากองยุทธการ มณฑลทหารบกที่ 23 ขอนแก่น ซึ่งเข้าแจ้งความต่อ สภ.เมืองขอนแก่นเมื่อ 2 ธ.ค.2559 และตำรวจขอศาลจังหวัดขอนแก่นออกหมายจับต่อมา
 
อนึ่งพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 ของบีบีซีไทยนั้นเผยแพร่ในวันที่ 2 ธ.ค. และถูกกล่าวถึงอย่างมากในโซเชียลมีเดีย มีคนแชร์กว่า 2,697 (ณ เวลา 13.00 น. ของวันที่ 3 ธ.ค.)  โดยไผ่เป็นคนหนึ่งที่แชร์และมีการคัดลอกเนื้อหาจากชิ้นงานดังกล่าว 4 ย่อหน้ามาโพสต์ในสเตตัสก่อนแชร์ โดยไม่ได้เขียนอะไรเพิ่มเติม ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าเบื้องต้นจตุภัทร์ยืนยันจะไม่ลบโพสต์ดังกล่าว

 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลื่อนโอนเงินให้ผู้มีรายได้น้อย หลังพบชื่อซ้ำนับหมื่นราย

$
0
0
กรมสรรพากรประกาศเลื่อนโอนเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยอีกรอบ หลังพบรายชื่อซ้ำกันนับหมื่นราย เร่งตรวจสอบคาดจ่ายเร็วสุดสัปดาห์หน้า

 
3 ธ.ค. 2559 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจรายงานว่านายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่าหลังจากที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส.), ธ.ออมสิน และธ.กรุงไทย โอนเงินช่วยเหลือรายย่อยจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อดูแลค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยนอกภาคเกษตร 1,500-3,000 บาท/ราย รวมไปถึงเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาท ในวันนี้ (3 ธ.ค.) ยังไม่สามารถโอนเงินได้ จากเดิม กำหนดให้โอนพร้อมกันตั้งแต่ 1 ธ.ค. โดยขอตรวจสอบรายชื่อให้ชัดเจนถูกต้องก่อน แล้วจะเร่งโอนให้เร็วที่สุด 
 
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการตัดชื่อผู้ไม่ได้รับสิทธิ์นับหมื่นราย เนื่องจากไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งเสียชีวิต บางรายรายได้เกินกำหนด โดยต้องตรวจสอบชัดเจนก็เพื่อต้องการให้การโอนเงินช่วยเหลือตรงกับหลักเกณฑ์ผู้ได้รับสิทธิ์จริง 
 
ส่วนมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อนำเงินค่าใช้จ่ายที่พัก ค่าทัวร์ ระหว่างการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีอีก 15,000 บาท นักท่องเที่ยวต้องเก็บใบเสร็จรับเงิน ทั้งแบบแยกรายละเอียด เพื่อแยกชัดเจนสำหรับค่าใช้จ่ายด้านอื่น และใบเสร็จแบบลดหย่อน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการหักลดหย่อนภาษี 
 
ทั้งนี้ กลุ่มผู้มีรายได้น้อยภาครัฐได้เปิดลงทะเบียนก่อนหน้านี้ และกำหนดว่าหากมีรายได้ไม่ 30,000 บาทต่อปี ได้รับรับเงินช่วยเหลือจาก 3,000 บาทต่อราย หากมีรายได้ 30,000-100,000 บาทต่อปี ได้รับเงินช่วยเหลือ 1,500 บาทต่อราย รวมจำนวน 5.4 ล้านราย วงเงิน 12,750 ล้านบาท ส่วนเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 บาทต่อราย จำนวน 2.9 ล้านราย วงเงิน 6,000 ล้านบาท จากผู้ลงทะเบียนและผ่านการตรวจสอบเบื้องต้น 8.3 ล้าน 
 
นายพรชัย ฐีระเวช รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การที่ยังไม่สามารถโอนเงินในวันนี้ได้เพราะตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ผู้ลงทะเบียนบางส่วน มีรายได้เกินกว่าปีละ 100,000 บาท มากกว่า 10,000 ราย และไม่สามารถชี้แจงตามหลักฐานที่กรมสรรพากรตรวจพบ เช่น ผู้ลงทะเบียนบางส่วน สำแดงรายได้ไม่ตรงกับที่ระบุ อีกทั้งยังพบการขอเงินคืนจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประกอบกับผู้ลงทะเบียนจำนวนหนึ่ง ลงทะเบียนซ้ำกันหลายธนาคาร ซึ่ง สศค. จะยึดข้อมูลการโอนเงินผ่านธนาคารสุดท้ายที่ลงทะเบียน คาดว่า จะสามารถโอนเงินได้ภายในสัปดาห์หน้า แต่ไม่สามารถกำหนดวันได้ชัดเจน 
 
รายงานจากกระทรวงการคลังระบุว่า จากการตรวจสอบข้อมูลรายได้ผู้ลงทะเบียนฯ โดยใช้หมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พบว่า ผู้ลงทะเบียน 8.3 ล้านคน มีผู้ลงทะเบียนซ้ำธนาคารกัน 2-3 ธนาคาร รวมกว่า 4.6 หมื่นพคน รวมทั้งบางคนชื่อต่างกันแต่ใช้เลขบัตรประชาชนเดียวกัน จึงต้องส่งให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบให้ชัดเจนว่า หมายเลขบัตรประชาชนที่ซ้ำกันเป็นของบุคคลใด 
 
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบรายชื่อว่า มีสิทธิ์ได้รับเงินตามมาตรการรัฐหรือไม่ ผ่านเว็บไซด์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือ เวปไซด์ www.epayment.go.th และ http://govwelfare.rd.go.th
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ในทุกที่ มีความเศร้า

$
0
0

 


ใครกันนะที่มาร่ำไห้?
จนน้ำตาไหลเป็นสายอาบก้อนหิน
ผ่านกลีบดอกหญ้าหยาดหยดรดลงดิน
จนธุลีซีดสิ้นเป็นสีดำ

ใครกันนะกำลังกรีดร้อง?
โหยไห้หวนดั่งทำนองความเจ็บช้ำ
พร่ำพรรณนาถึงคำสาปชะตากรรม
ครั้งเนิ่นนานโบราณร่ำบรรพกาล

ใครกันนะคือผู้พลัดพราก?
หัวใจเจ้าที่จำจากจึงแตกซ่าน
สูญสลายตายตามรักที่ร้าวราน
ทรมานไม่เคยผ่านหรือหลุดพ้น

ใครกันนะที่ถูกจองจำ?
เสรีภาพเพียงถ้อยคำยังถูกปล้น
นาฬิกาเอยหมุนซ้ำย้ำว่ายวน
อยู่ในห้วงแห่งทุกข์ทน...ตลอดไป

ปฏิทินที่ฉีกขาดยังเวียนวน
ในคืนวันอันทุกข์ทน..ตลอดไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แจ้งข้อหา ม.112-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 'ไผ่ ดาวดิน' ทนายเตรียมยื่นประกันพรุ่งนี้

$
0
0
แจ้งข้อหา ม.112-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 'ไผ่ ดาวดิน' สอบและคุมขังนอก สภ.เมืองขอนแก่นเพื่อความปลอดภัย-สงบเรียบร้อย เตรียมฝากขังที่ศาล-ทีมทนายเตรียมยื่นประกันพรุ่งนี้

 
 
 
3 ธ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 16.45 น. นายสุธน จิตอารีย์ ทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้สัมภาษณ์ว่า นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ดาวดิน ถูกนำตัวไปคุมขังที่ สภ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่นแล้วหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาความผิดตาม มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 นำเข้าข้อมูลเท็จโดยผู้ต้องหาให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน
 
นายสุธนกล่าวด้วยว่า ในการสอบสวนผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวผู้ต้องหาไปสอบสวนที่ศูนย์ฝึกและอบรมตำรวจภูธรภาค 4 จังหวัดขอนแก่นโดยอนุญาตให้เพียงทนายความเข้าร่วมการสอบสวนด้วย ทั้งที่สภ.เมืองขอนแก่นเป็นเจ้าของคดีและเป็นผู้ขอศาลออกหมายจับ ส่วนการคุมขังผู้ต้องหาที่ สภ.น้ำพองนั้นเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่มีความสำคัญ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อความสงบเรียบร้อย
 
สำหรับขั้นตอนต่อไปเป็นทนายความแจ้งว่าวันนี้ไม่สามารถดำเนินการขอประกันตัวในชั้นสอบสวนได้ทันและพรุ่งนี้พนักงานสอบสวนจะนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังยังศาลจังหวัดขอนแก่น ส่วนทางทีมทนายจะเตรียมยื่นประกันตัวด้วย สำหรับสภาพจิตใจของผู้ต้องหานั้นปกติดี
 
เมื่อสอบถามถึง พฤติการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาใช้ประกอบการแจ้งข้อกล่าวหาทนายความระบุว่าเจ้าหน้าที่ปริ้นท์หน้าเฟซบุ๊กที่ระบุว่าเป็นของผู้ต้องหาซึ่งมีการก๊อปปี้บางส่วนของเนื้อหาพระราชประวัติ รัชกาลที่ 10 ในเว็บข่าวบีบีซีไทยที่ผู้ต้องหาทำการแชร์มา
 
ทั้งนี้คดีนี้ผู้แจ้งความร้องทุกข์คือพันโท พิทักษ์พล ชูศรี รองหัวหน้าหน่วยยุทธการมณฑลทหารบกที่ 23 ขอนแก่น ซึ่งเข้าแจ้งความเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่สภ.เมืองขอนแก่นและพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอออกหมายจับต่อศาลขอนแก่นในวันเดียวกัน ก่อนเข้าจับกลุ่มจตุภัทร์ในวันนี้ที่จังหวัดชัยภูมิขณะทำกิจกรรมธรรมยาตราร่วมกับพระไพศาล วิสาโล
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ดาวดินออกแถลงการณ์ให้ปล่อย 'ไผ่ ดาวดิน' ทันที

$
0
0
กลุ่มดาวดินออกแถลงการณ์ขอให้ปล่อยตัว 'ไผ่ ดาวดิน' โดยไม่มีเงื่อนไขในทันที และขอให้ยกเลิกข้อกล่าวหา เพียงเพราะการแชร์ข่าวสารบนเฟซบุ๊ค

 
 
3 ธ.ค. 2559 กลุ่มดาวดิน ออกแถลงการณ์โดยระบุว่าจากกรณีที่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มดาวดิน เป็นผู้ใช้เฟสบุ๊คในการเสพข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นกิจวัตร ไม่ต่างจากพวกเราทุกคนที่สามารถเข้าถึง social media ได้ง่ายกว่าการเข้าเซเว่น เป็นหนึ่งในหลายพันคนที่ได้แชร์ข่าวของสำนักข่าว BBC Thai แต่กลับมีหมายจับ ในข้อหาความผิดตามมาตรา 112 จากการแชร์ข้อมูลดังกล่าวของเฟซบุ๊ค BBC Thai ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารเป็นผู้ฟ้องคดีและขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวไปยัง สภ.เมืองขอนแก่น เพื่อดำเนินคดีต่อไป 
 
การกระทำของเจ้าหน้าที่ ถือเป็นการกระทำที่ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ขัดต่อหลักการเสรีภาพในการแสดงออก ตามระบอบประชาธิปไตย และถือเป็นการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่อย่างชัดแจ้ง  แสดงให้เห็นถึงการขาดความเคารพในสิทธิเสรีภาพในสังคมไทย เพราะไม่ควรมีใครต้องถูกจับเพียงเพราะโพสต์เฟซบุ๊ค พวกเราเป็นแค่นักศึกษาและเป็นลูกหลานสามัญชนคนธรรมดา ที่ตกเป็นเหยื่อของผู้มีอำนาจที่คอยจ้องเล่นงานดาวดินเท่านั้น ดังนั้นพวกเราจึงขอให้ปล่อยตัวพี่น้องสมาชิกของกลุ่มดาวดินโดยไม่มีเงื่อนไขในทันที และขอให้ยกเลิกข้อกล่าวหา เพียงเพราะการแชร์ข่าวสารบนเฟซบุ๊ค 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images