Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

รอมฎอนชายแดนใต้ ศาสนวิถีปิดท้ายที่มัสยิด

$
0
0

ละหมาดกลางฝน – ชายมุสลิมกลุ่มนี้ต้องละหมาดกลางฝนเนื่องจากมีคนมาละหมาดกันหนาแน่น
จนเต็มมัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ระหว่างการละหมาดตะรอเวียะฮ์ ซึ่งมีเฉพาะในเดือนรอมฎอน
 
 
 
แผงอาหารคาวหวานในย่านต่างๆ ในตัวเมืองปัตตานีในยามเย็น คึกคักขึ้นมาถนัดตา หลังจากเงียบเหงามาตลอดช่วงกลางวัน เช่น สองข้างทางถนนเส้นหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ผิดปกติไปจากทุกวัน
 
นั่นคือบรรยากาศวันแรกของเดือนรอมฎอนของที่นี่ ซึ่งคงไม่ต่างจากส่วนอื่นของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และที่อื่นๆ ที่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่หนาแน่น
 
ผู้คนต่างเข้าเออออรอคิวซื้อของหวานและกับข้าวไว้เตรียมละศีลอดในช่วงเวลาประมาณ 6 โมงครึ่ง ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ไปตลอดระยะเวลาอีก 29 วันหลังจากนี้ บางร้านถือโอกาสในช่วงเดือนรอมฎอนนี้ เป็นช่วงหยุดพักงานของพนักงานไปด้วย
 
จากถนนโล่งๆ แล้วเกิดรถติดขึ้นมาทันที เพราะทั้งนักเรียน นักศึกษาและประชาชนต่างออกมาหาซื้ออาหารในช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่สองข้างทางก็เต็มไปด้วยร้านขายอาหารจำพวกของหวานและกับข้าว
 
ครั้งถึงเวลากลางคืน สินค้าจำพวกของหวานก็จะหายไป เปลี่ยนเป็นจำพวกก๋วยเตี๋ยว น้ำชา โรตี หรือกับข้าวรอบดึก หรือซื้อตุนไว้กินช่วงก่อนถึงเวลาถือศีลออดของอีกวัน ในช่วงเวลาประมาณตีห้า หรือเรียกว่า อาหารซะโฮร์
 
ถนนจาบังติกอ ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ถือเป็นย่านขายอาหารคาวหวานใหญ่ที่สุดในเขตอำเภอเมือง โดยเฉพาะในช่วงเดือนถือศีลอด ซึ่งถนนสายนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นตลาดรวมอาหาร ผู้คนมุ่งหน้ามาเดินจับจ่าย เลือกซื้ออาหารกันที่นี่ ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน ขนมพื้นเมือง เครื่องดื่ม
 
อาหารที่ไม่ค่อยพบเห็นกันในเดือนอื่น ก็จะไปเห็นกัน อย่างตูปะซูตง หรือปลาหมึกยัดไส้ข้าวเหนียว
 
แม่ค้าขนมจีบในตลาดจะบังติกอคนหนึ่ง เล่าว่า เริ่มเปิดร้านขายประมาณบ่าย 2 โมง ซึ่งในวันแรกของเดือนรอมฎอน ของขายหมดก่อน 6 โมงเย็น เช่นเดียวกับพ่อค้าน้ำแข็งที่บอกด้วยน้ำเสียงดีใจว่า “วันแรกก็ขายดีเลย น้ำมะพร้าวหมดแล้ว น้ำเขียวก็เกือบหมด”
 
ที่ตลาดโต้รุ่ง แม้บรรยากาศไม่คึกคัก สู้ตลาดจะบังตีกอไม่ได้ แต่พ่อค้าแม่ค้าที่นี่ก็ยังเปิดขายเหมือนทุกวัน เริ่มตั้งร้านเวลาเดิม และเก็บร้านเวลาเดิม
           
ถนนโรงเหล้าสาย ก. มีผู้คนออกมาซื้ออาหารพอสมควร ถึงขนาดที่ว่าบางร้าน เดิมขายอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ขายเสื้อผ้าแฟชั่น อย่างร้านไฮโซไซตี้ที่ปกติขายเสื้อนำเข้าจากต่างประเทศ ก็เปลี่ยนมาตั้งแผงขายของหวานหลากสีสัน
 
วนกลับมาสายหน้า ม.อ. ร้านนิมะ ตั้งอยู่ในย่านหอเช่า ลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นนักเรียน นักศึกษา เจ้าของร้านบอกว่า ขายในราคาที่ไม่แพงมาก เพราะกลัวเด็กไม่ซื้อ
 
กะดะห์ เจ้าของแผงอาหารริมถนนหน้า ม.อ.เล่าว่า เดือนบวชทุกปีจะเตรียมของขายมากกว่าปกติสามเท่า แต่ปีนี้ของแพงขึ้น แต่ต้องขายในราคาเท่ากับปีที่แล้ว เพราะกลัวลูกค้าไม่ซื้อ แต่จะใช้วิธีลดปริมาณสินค้าลง เช่น แกงถุง ซึ่งก็ยังขายได้
 
สำหรับกับข้าวที่ขายดีที่สุดของร้านกะดะห์ น่าจะเป็นแกงเขียวหวานไก่ เพราะลูกค้าต่างชี้นิ้วสั่ง จนแม่ค้าตักใส่ถุงแทบไม่ทัน
 
ตกกลางคืน หลังจากทุกคนอิ่มหนำกับอาหารมื้อแรกของวันถือศีลอดและได้พักผ่อนตามอัธยาศัยไปสักพักหนึ่งแล้ว ก็ถึงเวลาที่ทุกคนมุ่งหน้าไปมัสยิดเพื่อร่วมกันละหมาดตะรอเวียะฮ์ ซึ่งมีเฉพาะเดือนรอมฎอนเท่านั้น หลังจากการละหมาดปกติ
 
เสียงอาซาน เรียกร้องให้ออกมาละหมาดในช่วงค่ำคืน ส่งสัญญาณให้ชาวมุสลิมออกมาพร้อมหน้าที่มัสยิด ทำให้ทุกมัสยิดแน่นขนัดไปด้วยชาวมุสลิมผู้ศรัทธา จนบางแห่งล้นออกมานอกมัสยิดทุกปี เช่น ที่มัสยิดปะการอ ถนนโรงเหล้าสาย ก.
 
หลังเที่ยงคืน เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่สุดยอดของเวลาในรอบวัน สำหรับการประกอบศาสนกิจ ยิ่งในเดือนรอมฎอน ซึ่งถือเป็นสุดยอดของเดือนในรอบปี ทั้งสำหรับการละหมาด การกล่าวรำลึกถึงพระเจ้า การอ่านคำภีร์อัลกุรอ่าน และการขออภัยโทษ
 
ดังนั้นอีกกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในช่วงเดือนรอมฎอน คือการลุกขึ้นมาละหมาดกลางดึก ยิ่งในช่วงๆ ท้ายของเดือน ยิ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญ เนื่องจากจะมีคืนหนึ่งที่เรียกว่า คืน ไลลาตุลก็อดร์  ซึ่งในคัมภีร์อัลกุรอ่านเขียนว่า เป็นคืนที่ยิ่งใหญ่มหาศาลยิ่งกว่า 1,000 เดือน
 
แน่นอนว่า บรรยากาศแบบกลางวันเงียบเหงา บ่ายเย็นคึกคัก ค่ำคืนผู้คนก็มุ่งหน้าไปมัสยิด ตกดึกลุกขึ้นประกอบศาสนกิจ จะเป็นอยู่อย่างนี้ต่อไป และจะยิ่งเข้มข้นขึ้นจนกว่าจะถึงวันฮารีรายอ หรือวันฉลองการสิ้นสุดการถือศีลอด
 
 
ดูดวงจันทร์เทคโนโลยียังถูกต้าน
วันที่ 31 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา เป็นวันที่สำนักจุฬาราชมนตรีกำหนดให้เป็นวันดูดวงจันทร์ เพื่อกำหนดวันถือศีลอดในเดือนรอมฎอนตามปฏิทินอิสลามเป็นวันแรกในวันรุ่งขึ้น หากมีผู้พบเห็นดวงจันทร์
 
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีร่วมกับ รองศาสตราจารย์นิแวเต๊ะ หะยีวามิง อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีโปรแกรมดูดวงจันทร์ ที่ชั้น 8 ของโรงแรมซีเอส ปัตตานี ติดต่อกันเป็นปีที่สามแล้ว แต่มองไม่เห็นดวงจันทร์ เนื่องจากท้องฟ้าปิด
 
รองศาสตราจารย์นิแวเต๊ะ บอกว่า การดูดวงจันทร์ของประเทศไทย ยังไม่ยอมรับผลที่มาจากการคำนวณโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือจากเครื่องมือเทคโนยีสมัยใหม่ แต่จะยอมรับผลจากการมองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น
 
“ปีนี้ผลการดูดวงจันทร์ มีคนเห็นดวงจันทร์ที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เหมือนหลายปีที่ผ่านมา เพราะจุดดูดวงจันทร์อยู่บนเทือกเขาสูงมาก ไม่มีสิ่งบดบังสายตา สังเกตเห็นดวงจันทร์ได้ง่าย เป็นทำเลที่ดีมากทีเดียว จึงมีคนสนใจไปดูดวงจันทร์ที่นั่นเป็นจำนวนมาก”
 
รองศาสตราจารย์นิแวเต๊ะ บอกด้วยว่า วิทยาศาสตร์สามารถเข้ามาช่วยเรื่องนี้ได้มาก เช่นการคำนวณว่าจะเห็นดวงจันทร์หรือไม่ คือ โปรแกรมคำนวณการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเห็นดวงจันทร์ตอนไหน ตัวอย่างโปรแกรม Starry Night เป็นต้น
 
“แต่ผู้รู้ในศาสนาอิสลามยังไม่เปิดใจรับในการใช้เครื่องมือดังกล่าว จึงต้องใช้การมองด้วยตาเปล่าแทน ซึ่งความจริงไม่ได้มีข้อห้ามในหลักการศาสนาอิสลามแต่อย่างใด”
 
รองศาสตราจารย์นิแวเต๊ะ ทิ้งท้ายว่า นั่นอาจเป็นเพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยังจำกัด ทำให้การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการคำนวณการโคจรของดวงจันทร์หรือ Moon Phase ไม่เป็นที่ยอมรับ เช่นเดียวกับประเทศซาอุดิอาราเบีย แต่ที่ประเทศมาเลเซีย มีการใช้วิธีการนี้มานานแล้ว จึงสามารถประกาศวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอนได้เร็วกว่าประเทศไทยหนึ่งวันทุกปี
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีประชาไท: ความจริง

$
0
0

ความจริงยังซ่อนเร้น ลวงพราง
ความชั่วยืดอกถาง ถากเย้ย
ความดีคร่ำครวญคราง กลางคุก
สองมาตรฐานเหวยเว้ย เวี่ยไว้นรกสวรรค์

ความจริงแสนบิดเบี้ยว เบือนทราม
คนผิดขู่ประณาม ตะคอกหน้า
คนถูกบ่ถูกถาม จริง-เท็จ
ประชาธิปไตยใบ้บ้า บอดเบื้อบุราณสมัย

ความจริงเล่นแบ่งข้าง เลือกสี
อำมาตย์อุ้มคนดี สั่งได้
ปากหวานจิตอัปรีย์ เปรมประจบ
ไพร่สิเลวเถื่อนไร้ เสนียดล้วนสถุลสรร

ความจริงยัดเยียดข้อ กล่าวหา
ผู้ก่อการร้ายตรา บาปย้ำ
เผาบ้านพล่านพารา แผนกลบ
ร้อยศพมันเหยียบซ้ำ ยั่วแย้งแดงทมิฬ

ความจริงทุกย่างก้าว ตามหลอน
ยืนนั่งเดินกินนอน ตื่นรู้
คุณนั่นแหละฆาตกร สั่งฆ่า
คุณนั่นแหละคือผู้ โค่นล้มราษฎร

ความจริงจักจดจ้อง โจษประจาน
ตราบชั่วกัลปาวสาน ชาติสิ้น
สมบูรณาญาเผด็จการ สยามรัฐ
จารึกความปล้อนปลิ้น เปรตแท้เทพแปลง

เลิกสาดโคลนเล่นลิ้น  ลวงประชา
อ้างชาติบอบช้ำสา- หัสชี้
ปากใครพล่ามโพนทนา ยุแยก
ไทยเทวษทุกวันนี้ ห่อนแจ้งสัจธรรม

มาเถิดมาเปิดโป้ง ความจริง
ปลดปล่อยไพร่ชายหญิง รากหญ้า
คืนหลักยุติธรรมอิง ทุกระบอบ
ผองเพื่อนเคลื่อนผลักหล้า โลกข้ามกลีเข็ญ

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก

$
0
0

เราจะใช้เสรีภาพในการพูดเป็นอาวุธ และด้วยธรรมเนียมที่ดีที่สุดของรัฐสภาของเรานี้ ขอยืนยันว่าศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และความมั่นคง จะเอาชนะความกลัวและความเกลียดชังให้จงได้

นายกรัฐมนตรี นอร์เวย์

TCIJ: คนอีสานเปิดวงถก เตรียม “ทางออกการพัฒนา” เสนอรัฐบาลใหม่

$
0
0

เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสานจับมือกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จัดเสวนาถอดบทเรียนนโยบายการจัดการทรัพยากรชาติ เตรียมเสนอทางเลือกรบ.ใหม่ เชื่อนโยบายไม่ต่าง “นโยบายทักษิณ” ในอดีต

 
 
เมื่อวันที่ 2 ก.ค.54 เวลา 8.00 น. ณ ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน จ.มหาสารคาม เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภาคอีสาน ร่วมกับกรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนถอดบทเรียนการจัดการทรัพยากรภาคอีสาน และทิศทางการจัดการทรัพยากรของภูมิภาคโดยภาคประชาชนในอนาคต โดยมีตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมกว่า 100 คน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในเวทีมีการถอดบทเรียนนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในภาคอีสานของรัฐบาล นับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 จนถึงในช่วงแผนฯ ฉบับที่ 10 ครอบคลุมทั้งในมิติ ดิน น้ำ ป่า และแร่ธาตุ เพื่อสรุปบทเรียนปัญหาร่วมกันทั้งในเชิงพื้นที่และภาพรวมของภูมิภาค
 
นายมนัส ถำวาปี คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากนัก เพราะแผนการพัฒนาของรัฐยังมุ่งเก็งกำไร เอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการ เอื้อนายทุน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก เช่น กรณีโครงข่ายไฟฟ้าแรงสูง 500 Kv ที่ส่วนตัวได้รับผลกระทบอยู่ขณะนี้ ดังนั้นจึงอยากเสนอให้รัฐบาลใหม่หันมาสนับสนุนการใช้ทรัพยากรทางเลือกที่มีอยู่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถใช้ได้ตลอดชั่วลูกชั่วหลาน แม้ในระยะแรกอาจมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูง แต่ต่อๆ ไป จะมีเพียงแต่ภาระค่าบำรุงรักษาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่ได้สร้างผลกระทบเหมือนโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อย่างที่รัฐได้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้
 
ส่วนนายบุญเลิศ เหล็กเขียว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวฝากถึงรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารใหม่ว่า ให้ฟังเสียงประชาชนบ้าง ฟังว่าพวกเขาจะเอาหรือไม่เอา ถ้าประชาชนเจ้าของพื้นที่เขาไม่เอาก็ควรฟัง เพราะนั่นเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเขา ไม่ใช่รัฐบาลมัวเห็นแต่ผลประโยชน์ หน่วยงานรัฐก็ไม่ควรที่จะมาบีบคั้นประชาชนให้ยอมรับตาม เช่น เวลาประชาชนไปเรียกร้องสิทธิก็กลับมาหาว่าเขาคัดค้านโครงการ หรือคัดการปฏิบัติงานของรัฐแล้วเอาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับ ทั้งๆ ที่ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มีสิทธิโต้แย้ง มีสิทธิคัดค้าน มีสิทธิประท้วง มีสิทธิเรียกร้อง ซึ่งส่วนตัวมันไม่เป็นธรรมสำหรับประชาชนอย่างพวกเขา ก็ขอฝากรัฐบาลให้ใจกว้างขึ้นหน่อย ยอมรับความคิดที่แตกต่างของชาวบ้านบ้าง
 
ด้านนายสนั่น ชูสกุล ผู้อำนวยการโครงการทามมูล ให้ความเห็นปิดท้ายว่า จริงๆ แล้วเราก็มองว่านโยบายของรัฐบาลใหม่คงไม่ได้ต่างกับนโยบายทักษิณในอดีต ที่เน้นเรื่องการจัดการเรื่องทุน เรื่องฐานทรัพยากรที่มองว่าเป็นทุน คิดว่าช่วงต่อจากนี้คงเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นกว่าเดิมพอสมควร แต่ก็อาจจะเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความตระหนัก เกิดความตื่นตัวที่จะลุกขึ้นมาปกป้องทรัพยากรกันมาขึ้น  
 
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า วงแลกเปลี่ยนมีข้อสรุปร่วมกันว่ารากเหง้าของปัญหาในการจัดการทรัพยากรที่สร้างผลกระทบให้กับชุมชนท้องถิ่นอีสานในแต่ละภูมินิเวศนั้น ล้วนเป็นผลมาจากการรวมศูนย์อำนาจการจัดการทรัพยากรเข้าสู่ส่วนกลาง การมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและความเจริญเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจเป็นหลักใหญ่ ซึ่งได้นำมาสู่การลิดรอนสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ข่มเหงชาวบ้านสารพัดรูปแบบโดยไม่เคารพศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของคนอีสาน ฉะนั้นทางออกของปัญหาที่มีร่วมกันก็คือการปรับดุลอำนาจในการจัดการทรัพยากรกับรัฐเสียใหม่ เพื่อให้ชุมชนในแต่ละภูมินิเวศสามารถจัดการทรัพยากรด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับนิเวศวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นนั้นๆ
 
ทั้งนี้ การประชุมมีตัวแทนจากเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าร่วมแสดงความเห็น อาทิ โครงการทามมูล กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา สมาคมเพื่อนภู มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาทั่วภาคอีสาน อาทิ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าอุดรธานี เครือข่ายองค์กรชุมชนฟื้นฟูป่าภูกระแต กลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการสร้างเขื่อนปากชม กลุ่มชาวบ้านลุ่มน้ำเสียวและลุ่มน้ำชี กลุ่มชาวบ้านพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้าและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนา-ราษีไศล เป็นต้น
 
 
รายงานโดย: ฐากูร สรวงศ์สิริ
ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คดีการเมือง"

$
0
0

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คดีการเมือง"

ไปให้ (เกือบ) สุดกับ 'ใจ อึ๊งภากรณ์': ‘เสื้อแดงสังคมนิยม’ ขอทวงความยุติธรรมและประชาธิปไตยจากรัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์

$
0
0

พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเพราะคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวต่อสู้และเสียสละมาตลอดช่วงรัฐบาลเผด็จการทหารของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอนนี้เราเห็น ส.ส. และคณะรัฐมนตรีใหม่แต่งชุดเครื่องแบบสีขาวเดินเข้ารัฐสภาตามธรรมเนียมอำมาตย์ แต่เขาจะไม่มีตำแหน่งดังกล่าว ถ้าไม่มีขบวนการเสื้อแดง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะต้องเตือนความจำรัฐบาลใหม่ว่า เขาต้องตอบแทนบุญคุณของมวลชนประชาชน เราขอทวงความยุติธรรมและประชาธิปไตยดังนี้ 

1. ต้องปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงทุกคน ไม่ใช่แค่แกนนำ และไม่ใช่แค่การประกันตัวเท่านั้น ต้องเลิกคดี เพราะข้อหาต่างๆ นานาที่อำมาตย์ตั้งกับคนเสื้อแดง เป็นข้อหาทางการเมืองทั้งสิ้น คนของเราไม่ได้ทำความผิด

2. ต้องปล่อยนักโทษกฏหมายหมิ่นฯ (ม.112) ยกเลิกกฏหมายหมิ่นและกฏหมายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ปิดปากประชาชนไทย การมีกฏหมายหมิ่นฯ รวมถึงกฏหมายหมิ่นศาล เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพทางวิชาการ และความสามารถของประชาชนที่จะตรวจสอบองค์กรของรัฐ เพื่อความโปรงใส กฏหมายเหล่านี้ไม่มีในประเทศประชาธิปไตย และเราจะไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยแท้ได้ถ้ายังมีกฏหมายนี้อยู่ และเราไม่สามารถร่วมกันกำหนดอนาคตของระบบการปกครองไทยได้อีกด้วย รัฐบาลใหม่ต้องเลิกเซ็นเซอร์สื่ออย่างที่อำมาตย์ทำมาตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา

3. ต้องสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน โดยการนำนักการเมืองและนายพลที่มีส่วนในการฆ่าประชาชนที่ผ่านฟ้าและราชประสงค์มาขึ้นศาล อย่างที่ประเทศ อียิปต์ เกาหลีใต้ และประเทศอื่นทำ ต้องนำนายอภิสิทธิ์ สุเทพ เทือกสุบรรณ อนุพงษ์ เผ่าจินดา และประยุทธ์ จันทร์โอชา มาขึ้นศาลโดยเร็ว

4. ต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญทหาร อาจนำรัฐธรรมนูญปี 40 กลับมาใช้แล้วแก้ให้ดีขึ้น หรืออาจร่างใหม่ แต่คราวนี้ชุมชนคนเสื้อแดงต้องมีส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ไม่ใช่ยกให้นักวิชาการหรือเอ็นจีโอที่ชื่นชมเผด็จการร่างแต่ฝ่ายเดียว

5. ต้องมีการปฏิรูปกองทัพและระบบศาลแบบถอนรากถอนโคน ต้องปลด พล.อ.ประยุทธ์ ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทบ. ต้องรับใช้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องนำทหารออกจากสื่อ และลดงบประมาณทหารให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้แทรกแซงการเมือง ต้องปลดผู้พิพากษาสองมาตรฐานออก และนำระบบลูกขุนมาใช้เพื่อพิจารณาคดีสำคัญๆ

6. ต้องสร้างสันติภาพในภาคใต้ และที่ชายแดนเขมร ด้วยมาตรการทางการเมืองที่ปฏิเสธการคลั่งชาติ ควรให้ทหารกลับกรมกอง เพื่อปูทางไปสู่สมัชชาประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง  เพื่อกำหนดวิธีการปกครองที่ประชาชนเหล่านั้นต้องการ และในกรณีเขมร เราควรร่วมพัฒนาเขาพระวิหารกับฝ่ายเขมรดังมิตรและเพื่อนบ้านที่ดี

7. ประเทศไทยต้องเริ่มสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและครบวงจร ผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อสร้าง “ความเป็นพลเมืองเท่าเทียมกัน” แทน “วัฒนธรรมเจ้ากับไพร่"

8. ขบวนการทางสังคม เช่น สหภาพแรงงาน และกลุ่มชุมชน ต้องมีสิทธิเสรีภาพในการต่อรองตามมาตรฐานสากล การก่อตั้งสหภาพแรงงานและการนัดหยุดงานจะต้องไม่ถูกปราบปรามโดยรัฐหรือนายจ้าง และแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านต้องมีสิทธิร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกับคนงานไทย

ถ้ารัฐบาลใหม่เลือกที่จะหักหลังมวลชนเสื้อแดง และหันไปจับมือ “ปรองดอง” กับอำมาตย์ เราคนเสื้อแดงควรออกมาชุมนุมใหญ่จนกว่าเราจะได้ความยุติธรรมและประชาธิปไตย

คนเสื้อแดงจะมีพลังยิ่งใหญ่ถ้าจับมือกับขบวนการแรงงาน และทหารเกณฑ์ระดับล่างในการต่อสู้

วีรชนคนเสื้อแดงต้องไม่ตายเปล่า!!!

วีรชนคนเสื้อแดงต้องไม่ถูกขังลืม!!!

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"อภิสิทธิ์" ขอ "เพื่อไทย" ระวังการกู้เงิน

$
0
0

เพราะหลายประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และอาจส่งผลต่อค่าครองชีพ แนะควรทำโครงการที่ให้ประโยชน์ระยะยาว เป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง ด้าน "สาทิตย์" เผยอภิสิทธิ์เตรียมบันทึกรายการทีวีเพื่อส่งต่อนโยบายให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อ ด้าน "เทพไท เสนพงศ์" ขอให้ประธาน-รองประธานสภาชุดใหม่ทำหน้าที่เข้มงวดเพราะมีแดงฮาร์ดคอร์มาเป็น ส.ส.

อภิสิทธิ์เตือน "เพื่อไทย" ระวังการกู้เงิน ต้องพิจารณาเรื่องความเสี่ยง

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้ (3 ส.ค. 54) ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้พรรคเพื่อไทย ที่กำลังจะมาเป็นรัฐบาล ระมัดระวังในการที่จะกู้เงิน 8 แสนล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเพราะเห็นว่า ขณะนี้ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ และต้องพิจารณาด้านความเสี่ยง เพราะหลายประเทศมีวิกฤตเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อในประเทศ ที่อาจส่งผลกระทบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น และการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องของการปรับอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ควรพิจารณาในโครงการที่มีความมั่นใจที่จะให้ประโยชน์ในระยะยาว และต้องมั่นใจว่าเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง

นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวขอบคุณ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่อวยพรในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 47 ปีในวันนี้ (3 ส.ค.54) โดยตนเองจะทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้า และส่วนตัวต้องการให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ทำเพื่อประเทศชาติ

มาร์คเตรียมบันทึกเทปรายการส่งต่อนโยบายให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อ

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวแห่งชาติ ยังรายงานด้วยว่า นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในโอกาสที่สภาผู้แทนราษฎรจะประชุมเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมดวาระในการบริหารประเทศ จึงจะมีการส่งมอบงานด้วยการรายงานสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการบริหาร ประเทศ ส่งต่อให้รัฐบาลชุดใหม่ได้ทราบโดยครอบคลุมถึงนโยบายเร่งด่วนที่ต้องการให้ รัฐบาลใหม่สานต่อ การรายงานสถานะการคลัง สถานะทางเศรษฐกิจ สถานะทางสังคม รวมถึงความมั่นคงทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ

ทั้งนี้การบันทึกเทปวันนี้จะออกอากาศผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เวลา 20.30 น. ในวันพรุ่งนี้ (4 ส.ค. 54) โดยมีความยาวประมาณ 10 นาที และจะมีการจัดทำเอกสารแจกให้กับรัฐบาลชุดใหม่พร้อมแจกให้สื่อมวลชนด้วย

"เทพไท" ยินดีกับประธาน-รองประธานสภา ขอให้ทำหน้าที่เข้มงวดเพราะมีแดงฮาร์ดคอร์มาเป็น ส.ส.

สำนักข่าวแห่งชาติ ยังรายงานด้วยว่า ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.จังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้ตำแหน่งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เชื่อว่า ทุกคนมีประสบการณ์การทำงานทางการเมืองมานาน น่าจะให้บรรยากาศการประชุมในสภาเป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม ขอให้ทำหน้าที่การประชุมอย่างเข้มงวด เพราะ ส.ส.ชุดนี้ มีแกนนำ นปช.หลายคน และหลายคนมีพฤติกรรมฮาร์ดคอร์ หลายคนอาจไม่ทิ้งนิสัยปราศรัยข้างถนน อยากให้ประธานที่ทำหน้าที่ในสภาควบคุมให้ดี รักษาภาพพจน์สภาให้ดีที่สุด ทั้งนี้ เห็นว่าการเรียกประชุมสภาฯ เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ อาจจะกระชั้นเกินไป และควรแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทำไม กกต.ต้องรับรองสถานภาพการเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์

$
0
0
ตามที่น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน ได้ยื่นหนังสือร้องคัดค้านต่อ กกต. กรณีการรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เพื่อให้นำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาไต่สวนในที่ประชุมของกกต.ด้วย เกรงว่าคณะกรรมการไต่สวน จะสรุปคำให้การของตนไม่ถูกต้อง ครบถ้วนตามเจตนารมณ์ โดยเหตุผลที่ยื่นคำคัดค้านการเป็นสส.ของนายจตุพร คือ  การที่พรรคเพื่อไทย ให้การรับรองนายจตุพรเป็นสมาชิกพรรค  เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ทั้งๆ ที่ นายจตุพร ถูกศาลอาญามีคำสั่งให้เพิกถอนการประกันตัว ในคดีก่อการร้าย และถูกคุมขังเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา

ประเด็นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ คือ ประเด็นแรก นายจตุพร พรหมพันธุ์ ขาดคุณสมบัติในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เพราะถูกศาลอาญามีคำสั่งให้เพิกถอนการประกันตัวในคดีก่อการร้าย และถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ หรือไม่

ประเด็นที่สอง เกี่ยวเนื่องจากประเด็นแรก สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายจตุพร พรหมพันธุ์ สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (ฉบับคณะรัฐประหารฉบับนี้) ระบุไว้ในมาตรา 101 ว่าด้วย คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และมาตรา 102 ว่าด้วยลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครเป็น ส.ส. ซึ่งบุคคลที่จะสมัครเป็น ส.ส.นั้น ต้องมีทั้งคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามความที่ระบุไว้ใน 2 มาตรานี้

มาตรา 101 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนั้น ไม่มีข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ เพราะกล่าวถึงโดยทั่วไป เช่นว่า บุคคลที่สมัครรับเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว  ซึ่งนายจตุพร ก็มีคุณสมบัติตามมาตรานี้ ส่วนในมาตรา 102 ระบุลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เช่น ติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 100 (1) คือ ไม่เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช หรือ (2) อยู่ระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือ (4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ​และข้อห้ามตามมาตรา 102 (4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

โดยคุณสมบัติ ตามมาตรา 100 (3) ที่ว่า ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย นายจตุพรก็ไม่อยู่ในลักษณะต้องห้ามมิให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และหากจะพิจารณาว่าอาจเข้าข่ายไม่มีสิทธิเป็น ส.ส. ตามมาตรา 102 (4) ก็ไม่ได้ เพราะ (4) ของมาตรา 102 มีการห้ามต้องคำพิพากษให้จำคุกและถูกขังอยู่โดยหมายของศาล แต่นายจตุพรยังไม่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก

เมื่อพิจารณาทั้งสองมาตราประกอบกันแล้ว ไม่มีเหตุใดๆ ที่ทำให้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ไม่มีสิทธิได้รับการ ประกาศให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาในมาตรา 105 [1] ว่าด้วยสมาชิกภาพของ ส.ส.เริ่มนับแต่วันเลือกตั้ง และ มาตรา106 ว่าด้วยเรื่องการสิ้นสุดลงของสมาชิกภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว นายจตุพร ก็ไม่เข้าข่ายการขาดสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามมาตราดังกล่าว คือ ไม่เข้าข่าย ตามมาตรา 106 (4) (5) ที่อ้างว่าขาดคุณสมบัติ ตามมาตรา 101 และ มาตรา102 และ (11) เพราะนายจตุพร พรหมพันธุ์ ยังไม่ถูกศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (ดูมาตรา 106 )

นายจตุพร พรหมพันธุ์ อาจถูกเพิกถอนสิทธิการเป็น ส.ส.ได้ ด้วยเหตุเดียว คือ ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 106 (6) ที่ระบุว่า คุณสมบัติอื่นตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่งอาจมีข้อกำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวว่า การที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง ำให้ขาดคุณสมบัติการเป็น ส.ส. ซึ่งเมื่อพิจารณาในประเด็นนี้ จะเห็นได้ว่าเป็นประเด็นเล็กน้อย เพราะเหตุว่า การที่นายจตุพรไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง เพราะศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ออกจากเรือนจำไปเลือกตั้ง

กรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เพราะการที่นายจตุพรตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาและถูกควบคุมตัวในเรือนจำโดยไม่ได้รับการประกันตัวนั้น เป็นปัญหาว่าด้วยสิทธิผู้ต้องหา ซึ่งต้องยึดถือหลักการว่า ก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคท้าย) ซึ่งหมายความว่า การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับการประกันตัว เท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ เพราะคนที่ยังไม่ถูกศาลวินิจฉัยว่าเป็นผู้กระทำผิด ต้องไม่นำตัวไปคุมขังไว้เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดนั่นเอง

ดังนั้นจึงเป็นการเสมาะสมและชอบยิ่งนักที่ กกต.ได้ประกาศรับรองสถานภาพการเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ เพราะหากไม่ประกาศรับรอง เท่ากับว่า กกต.เป็นผู้ละเมิดหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญเสียเอง อันไม่เป็นผลดีต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหาษััตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ตามแบบอย่างของนานาอารยประเทศ

 

 

 


[1] มาตรา ๑๐๕ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง

มาตรา ๑๐๖ สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ

(๑) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

(๒) ตาย

(๓) ลาออก

(๔) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐๑

(๕) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๒

(๖) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๖๕ หรือมาตรา ๒๖๖

(๗) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก หรือพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมือง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ให้พ้นจาก การเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ที่ตนเป็นสมาชิก ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ลาออกหรือพรรคการเมือง มีมติ เว้นแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นได้อุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติคัดค้านว่า มติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวมิได้มีลักษณะตามมาตรา ๖๕ วรรคสามให้ ถือว่าสมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าว มีลักษณะ ตามมาตรา ๖๕ วรรคสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นอาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย

(๘) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้น เป็นสมาชิก และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรค การเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุด สมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบวันนั้น

(๙) วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๙๑ หรือศาลฎีกามีคำสั่งตามมาตรา ๒๓๙ วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาลมีคำ วินิจฉัยหรือมีคำสั่ง แล้วแต่กรณี

(๑๐) ขาดประชุมเกินจำนวนหนึ่งในสี่ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้ รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร

(๑๑) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการ รอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทีดีอาร์ไอเผย สภาพแวดล้อมในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมไทยยังไม่กระเตื้อง

$
0
0

ทีดีอาร์ไอเผยศักยภาพด้านนโยบายโทรคมนาคมไทยอยู่ลำดับปานกลาง เมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มตัวอย่าง 7 ประเทศในเอเชีย โดยปากีสถานได้คะแนนสูงสุดจากการประเมินครั้งนี้

ทีดีอาร์ไอเผยผลจากการประเมินนโยบายด้านโทรคมนาคมและสิ่งแวดล้อมในการกำกับดูแลในช่วง 2 ปี (2553-2554) ซึ่งจัดทำโดย LIRNEasia และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าศักยภาพในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของไทยอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศตัวอย่างที่ได้ทำการศึกษาประเทศอื่นๆอีก 6 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา โดยไทยมีคะแนนใกล้เคียงกับประเทศอินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา

สำหรับประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดในการประเมินครั้งนี้ และเป็นผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในปี 2551 ด้วย ก็คือ ประเทศปากีสถาน โดยคะแนนที่สูงนี้ได้มาจากความโปร่งใสและความคืบหน้าในกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมดูแลกิจการโทรคมนาคม  

สำหรับประเทศไทย ทำการสำรวจโดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ นายกิตติพงษ์ เรือนทิพย์ จากทีดีอาร์ไอ พบว่า ผลการประเมินในปี พ.ศ. 2553 โดยรวมไม่ต่างกับในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งสะท้อนว่าสภาพแวดล้อมในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของไทยมิได้ดีขึ้น 

การสำรวจสภาพแวดล้อมด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม (Telecom Regulatory Environment – TRE) ดำเนินการภายใต้กรอบที่เหมือนกันทั้ง 7 ประเทศ คือ ทำการสอบถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับอาวุโสให้ทำการประเมินความมีประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมทั้งในส่วนของตลาดโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เนต โดยแบ่งระดับคะแนนเป็น 5 ระดับ (1-5) 1 หมายถึงความด้อยประสิทธิภาพที่สุด ส่วน 5 หมายถึง ความมีประสิทธิภาพที่สุด โดย 3 หมายถึงความมีศักยภาพในระดับกลาง นอกจากนี้ในแบบสอบถามได้แบ่งมิติในการกำกับดูแลออกเป็น 7 มิติ  ได้แก่ การกำกับดูแลด้าน การเข้ามาแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการใหม่ (market entry), การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัด (scarce resources) เช่น คลื่นความถี่ หรือ เลขหมายโทรศัพท์, การเชื่อมต่อโครงข่ายระหว่างกัน (interconnection), อัตราค่าบริการ (tariff regulation), การแข่งขันอย่างเป็นธรรม (regulation of anti competitive practices), การให้บริการอย่างทั่วถึง (universal service obligation: USO), และ คุณภาพบริการ (quality of service: QOS) โดยทุกมิติที่กล่าวนี้จะได้รับการประเมินโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่าผู้ตอบแบบสอบถามจะทำการประเมินโดยให้คะแนนที่แตกต่างกัน 21 รายการ (7 มิติ X 3 ตลาด)

ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วย 3 กลุ่มอาชีพ กลุ่มที่ 1 ได้แก่  ผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์โทรคมนาคม และผู้ที่มีส่วนได้เสียโดยตรงกับภาคธุรกิจกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่ให้ความสนใจและติดตามความเคลื่อนไหวในด้านการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้แก่ สื่อมวลชน นักข่าว เจ้าหน้าที่รัฐบาล และเครือข่ายพลเมืองต่างๆ สำหรับกลุ่มบุคคลในกลุ่มที่ 3 นั้น เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาวิเคราะห์และติดตามการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจโทรคมนาคมในรายละเอียด กลุ่มคนในกลุ่มนี้ได้แก่ นักกฎหมายด้านโทรคมนาคม ที่ปรึกษาทางธุรกิจ นักวิเคราะห์และนักลงทุน

การศึกษาครั้งนี้มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 50 ราย โดยร้อยละ 32 มาจากกลุ่มที่ 1 และร้อยละ 34 มาจากกลุ่มที่ 2 และ 3 และเป็นการสำรวจ ภายใต้เงื่อนไขที่จะไม่เปิดเผยชื่อของผู้ที่ได้ทำการตอบแบบสอบถาม

ผลการสำรวจพบว่า คะแนนด้านการกำกับดูแลด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายได้รับคะแนนต่ำที่สุดเทียบกับด้านอื่น เช่นเดียวกับใน พ.ศ. 2551 โดยประเด็นปัญหาที่สะท้อนออกมาบ่อยครั้งที่สุด คือ การที่ กทช. ไม่ได้เข้ามาแก้ปัญหาการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่อของผู้ประกอบการที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จนกระทั่ง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 กทช. จึงมีคำสั่งให้เก็บค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่อที่ 50 สตางค์ต่อนาที แต่ถึงกระนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามหลายรายยังคงเห็นว่า เป็นอัตราที่สูงเกินควร

การกำกับดูแลการเข้าสู่ตลาดของผู้ให้บริการรายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้คะแนนเพียง 2.3 ซึ่งจัดได้ว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับคะแนนการประเมินที่ด้านอื่นๆได้รับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี พ.ศ.  2551 คะแนนในด้านนี้ของตลาดโทรศัพท์พื้นฐานลดลงจาก 3.1 เหลือ 2.6 และตลาดโทรศัพท์มือถือ จาก 2.7 เหลือ 2.3 หนึ่งในปัญหาที่มีการสะท้อนผ่านแบบสอบถามหลายครั้งคือ มาตรา 46 ใน พรบ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่งห้ามมิให้มีการเช่าต่อโครงข่ายซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจบริการโทรคมนาคมแบบเสมือน (MVNO: Mobile Virtual Network Operator)

สำหรับเหตุผลอื่นๆที่ทำให้คะแนนการกำกับดูแลด้านการเข้ามาแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการใหม่ได้รับคะแนนต่ำ คือ ความสับสนในกฎเกณฑ์ออกใบอนุญาตในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ใบอนุญาตประเภทที่ 2 ซึ่งตามหลักแล้วควรจะเป็นผู้ให้บริการที่มีเครือข่ายโทรคมนาคมของตนเองแต่ให้บริการแก่ลูกค้าภายในบริษัท เท่านั้น ในขณะที่ใบอนุญาตประเภทที่ 3 นั้นเป็นผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองที่ให้บริการแก่สาธารณชน (public commercialization) อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ มีผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตประเภท 2  ไปขายบริการให้แก่สาธารณชน เช่นเดียวกับผู้ถือใบอนุญาตประเภท 3 หากแต่เสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมบริการสังคมที่ต่ำกว่า

ดร.เดือนเด่น ย้ำว่า การประเมินครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการประเมินหน่วยงานกำกับดูแล   แต่ประเมินถึงสภาพแวดล้อมในการกำกับดูแล ซึ่ง กทช.เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมในการกำกับดูแล จะเห็นว่าปัจจัยลบต่อสภาพแวดล้อมในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของไทย มีทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับดูแล ทั้งปัญหาสัมปทาน ปัญหาที่เกิดจากข้อบัญญัติทางกฎหมาย   ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กทช.ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามระบุ คือ ความไม่ชัดเจนในการกำกับดูแล รวมทั้งปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ดูเหมือนเลือกปฏิบัติในบางเรื่อง                 

สิ่งที่ประเทศไทยควรทำเพื่อให้ธุรกิจโทรคมนาคมไทยเดินต่อไปได้ คือ หน่วยงานกำกับดูแลต้อง (1) กำหนดกฎกติกาในการกำกับดูแลที่มีความชัดเจน ไม่ควรให้ใช้ดุลพินิจของ กทช.เป็นหลักเพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงของผู้ประกอบการที่เกิดจากความไม่แน่นอนของกติกาในการกำกับดูแล  (2) บังคับใช้กฎ ระเบียบอย่างจริงจังมิใช่มีการปล่อยให้ผู้ประกอบการดำเนินการอย่างผิดกฎหมาย เช่น กี่ปฏิเสธการให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายเป็นต้น (3)  ควรมีฐานข้อมูลต้นทุนในการให้บริการที่ครบถ้วนและถูกต้องเพื่อที่จะสามารถกำหนดอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  รวมทั้งเรื่องของ  “สิทธิแห่งทาง”(right of way)ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขยายโครงข่ายให้เข้าถึงบ้านเรือนประชาชนได้นั้น ควรมีการกำกับและกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการใช้สิทธิดังกล่าว เช่น การจะพาดสายโทรศัพท์บนเสาของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจสื่อสารและไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตจาก กทช.ให้ดำเนินการได้ เป็นต้น  

ดร.โรฮาน ซามาราจไจวา (Dr. Rohan Samarajiva) ประธานกรรมการบริหารขององค์กร LIRNEasia มีความคิดเห็นต่อผลการประเมินศักยภาพในการกำกับดูแลของประเทศต่างๆ ว่า ประเทศที่มีกฎ กติกาในการกำกับดูแลที่ชัดเจน และ โปร่งใสจะได้คะแนนสูง เช่น ในกรณีของประเทศปากีสถาน แม้ค่าธรรมเนียมในการต่อใบอนุญาตค่อนข้างสูง (ประมาณ 291 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 8,730 ล้านบาท) แต่ว่าเป็นอัตราเดียวกันสำหรับทุกผู้ประกอบการ และมีการประกาศราคาค่าธรรมเนียมให้ทราบล่วงหน้าก่อนที่สัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง ความชัดเจนนี้เองได้สร้างความแน่นอนให้กับนักลงทุน ในทางตรงกันข้าม ในประเทศที่ได้คะแนนต่ำอย่างเช่นบังคลาเทศก็มีการต่อใบอนุญาตบ่อยครั้ง หากแต่ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการต่อใบอนุญาตที่ชัดเจนทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อภาคธุรกิจ เช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่ต้องสูญเสียผลประโยชน์อันเกิดจากความเสี่ยงในการลงทุนอันสืบ เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของกฎเกณฑ์ต่างๆในการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เปิดใช้ BTS อ่อนนุช-แบริ่ง 12 ส.ค. นี้ ไม่คิดค่าโดยสารถึงปีใหม่

$
0
0

กรุงเทพมหานครเตรียมให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) 12 ส.ค. นี้โดยไม่คิดค่าโดยสาร คาดจะมีผู้โดยสารเพิ่ม 120,000 คนต่อวัน รองรับผู้โดยสารย่านพระโขนง-บางนา ถึงสมุทรปราการ

เว็บไซต์กองประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร รายงานวานนี้ (3 ส.ค. 54) ว่า นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการฯ กทม. เผยว่า กทม. พร้อมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช – แบริ่ง) ในวันที่ 12 ส.ค.54 โดยไม่คิดค่าโดยสารจนถึงวันที่ 1 ม.ค.55 คาดจะมีผู้โดยสารใช้เส้นทางนี้ประมาณ 120,000 คน/วัน โดยก่อนหน้านี้ กทม. ได้ทดสอบเดินรถเป็นระยะเริ่มจากสถานีอ่อนนุช ( E 9) – สถานีบางจาก (E 10) – สถานีปุณณวิถี (E11 ) – สถานีอุดมสุข (E 12) – สถานีบางนา (E 13) และสิ้นสุดที่สถานีแบริ่ง (E 14) รวมระยะทาง 5.25 กิโลเมตร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

สำหรับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายอ่อนนุช – แบริ่ง จะผ่านพื้นที่เขตพระโขนงและเขตบางนา เชื่อมต่ออำเภอเมืองสมุทรปราการ ซึ่งจะช่วยให้คนกรุงเทพฯ ที่อาศัยในย่านดังกล่าวราว 200,000 คน รวมทั้งคนสมุทรปราการราว 500,000 คน ได้ใช้บริการระบบขนส่งมวลชน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที ในการเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ สามารถลดจำนวนการใช้รถยนต์ส่วนตัวได้อย่างมาก

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กทม.เตรียมรื้อตู้โทรศัพท์สาธารณะ 17,000 ตู้

$
0
0

เหตุผิดข้อตกลงสัมปทาน ติดป้ายโฆษณา และทับทางเท้าที่กว้างไม่ถึง 1.5 เมตร โดยจะหารือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องก่อนหากไม่รื้อถอน กทม.จะรื้อเองโดยบริษัทต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ในเว็บไซต์กองประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร รายงานว่า นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการ กทม. กล่าวว่า กทม. ได้หารือกับ บมจ. ทีโอที, บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เพื่อขอให้รื้อถอนตู้โทรศัพท์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้งในพื้นที่ กรุงเทพฯ ประมาณ 17,000 ตู้

โดยจำนวนตู้โทรศัพท์ที่จะรื้อถอน มีทั้งกรณีมีการทำผิดข้อตกลงในสัมปทานเมื่อปี 46 ที่กำหนดให้เป็นตู้ที่มีความโปร่งใสและไม่มีการติดป้ายโฆษณา ตู้โทรศัพท์หลายแห่งมีการละเมิดสัญญาด้วยการทำเป็นตู้ทึบ บดบังภูมิทัศน์ มีการติดป้ายโฆษณา ขณะที่บางแห่งติดตั้งบนทางเท้าที่มีความกว้างไม่ถึง 1.5 เมตร โดย กทม. จะใช้อำนาจรื้อถอนตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งจะนัดหารือกับบริษัทที่เกี่ยวข้องในวันที่ 23 ส.ค.54 เพื่อหาข้อสรุปเรื่องผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ตามหากบริษัทที่เกี่ยวข้องไม่ยอมรื้อถอน กทม. จะรื้อถอนเอง โดยบริษัทต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘เจ๋ง ดอกจิก’ รับสารภาพคดีหมิ่นฯ ศาลนัดพิพากษา 29 ส.ค.

$
0
0

วันที่ 3 ส.ค. 54 ที่ศาลอาญารัชดา เวลาประมาณ 13.00 น. นายยศวริศ หรือ ประมวล ชูกล่อม ( เจ๋ง ดอกจิก) จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ.2740/2553 แถลงรับสารภาพต่อศาล ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

โดยก่อนหน้านี้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์ในช่วงเช้า อัยการฝ่ายโจทก์ จำเลย และทนายจำเลย เดินทางมาศาล ศาลได้อ่านอธิบายคำฟ้องและชี้แจงให้จำเลยฟังว่า คำปราศรัยตามฟ้องเป็นคำพูดที่ไม่เหมาะสม แต่ยังขาดพฤติการณ์ประกอบว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงหรือไม่ ศาลจึงสอบถามจำเลยว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ แต่จำเลยแถลงขอเลื่อนการสืบพยานเป็นช่วงบ่ายเนื่องจากต้องการปรึกษากับแกนนำเสื้อแดงคนอื่นๆ ก่อนว่าควรรับสารภาพหรือไม่ และเมื่อเริ่มกระบวนพิจารณาคดีในช่วงบ่าย จำเลยแถลงรับสารภาพต่อศาลทุกประเด็นตามคำฟ้องโจทก์ อัยการฝ่ายโจทก์ และทนายจำเลยจึงแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลจึงยกเลิกนัดสืบพยานโจทก์ในวันนี้และยกเลิกวันนัดสืบพยานที่เหลือทั้งหมด

ต่อมาทนายจำเลยขออนุญาตยื่นแถลงการณ์ปิดคดี ศาลกำหนดให้เวลายื่นแถลงการณ์ 15 วัน และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 29 สิงหาคม 2554 จบการพิจารณาคดีเวลาประมาณ 14.30น.

เจ๋ง ดอกจิก หรือ จำเลยในคดีนี้ ถูกกล่าวหาว่า ทำความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 จากการปราศรัยบนเวทีของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 จึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องตามข้อหาดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2553

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เทร์เฟอร์ มอสส์

$
0
0

งบประมาณทางด้านการทหารของไทยเพิ่มขึ้นสามเท่านับจากการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด และในปี 2554 งบประมาณทางทหารยืนอยู่ที่ 5.6 พันล้านดอลลาร์ซึ่งมากพอกันกับงบประมาณทางทหารของอินโดนีเซีย ซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทย 4 เท่า

ผู้สื่อข่าวด้านความมั่นคงและการทหาร

คุก 6 เดือน-ปรับ 5 หมื่น "สนธิ ลิ้มทองกุล" หมิ่นประมาทตระกูลดามาพงศ์ ศาลให้รอลงอาญา 3 ปี

$
0
0

ด้าน "สนธิ ลิ้มทองกุล" ให้สัมภาษณ์สื่อจวก กกต. เร่งรับรองผลการเลือกตั้ง สะท้อนต้นเหตุการเมืองล้มเหลว เผยจะให้โอกาสรัฐบาล "เพื่อไทย" ทำงาน หากยังยึดหลักธรรมาภิบาล แต่ถ้าแก้กฎหมายให้พวกพ้อง - จาบจ้วงสถาบันฯ พันธมิตรฯ จะออกมาเคลื่อนไหว

"สนธิ" วิจารณ์ กกต. เร่งรับรองผลการเลือกตั้ง สะท้อน กกต.ต้นเหตุการเมืองล้มเหลว
เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อวานนี้ (3 ส.ค.) ว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวระหว่างไปรับฟังคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาทตระกูลดามาพงศ์ ที่ศาลอาญา โดยนายสนธิตำหนิการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เร่งรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.เพื่อให้สามารถเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่งถือว่าผิดวัตถุประสงค์การทำหน้าที่แท้จริงของ กกต. เพราะหากทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว ปัญหากรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ คงจะไม่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่า กกต.เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบการเมืองล้มเหลว เพราะไม่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการเลือกตั้งให้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กกต.ชุดนี้ไม่แตกต่างจากชุดที่มี พล.ต.อ. วาสนา เพิ่มลาภ เป็นประธาน

“โดยสรุปแล้วบทบาทของ กกต.ไม่ใช่บทบาทที่ควรจะเป็นตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพราะฉะนั้นแล้วเรื่องของคุณจตุพร ก็เลยกลายเป็นเรื่องเล็กเมื่อเทียบกับบทบาทหน้าที่ของ กกต.ถ้า กกต.ทำหน้าที่จริง ตรวจสอบจริง ปัญหากรณีคุณจตุพร ย่อมไม่เกิดขึ้น ผมไม่ตำหนิคุณจตุพร ไม่ตำหนิคนเสื้อแดง ผมตำหนิคณะกรรมการการเลือกตั้ง

“ที่น่าเสียใจก็คือว่า แต่ละคนนี่เป็นอดีตผู้พิพากษาที่มีประสบการณ์ในการดูแลหลักนิติรัฐกันมาตั้ง หลายคน คนหนึ่งก็เป็นถึงรองอัยการสูงสุด คุณวิสุทธิ์ โพธิแท่น ก็เช่นกัน อยู่คณะรัฐศาสตร์ (ธรรมศาสตร์) คนเหล่านี้ยังไม่สามารถที่จะตีความเจตนารมณ์ของกฎหมายได้นี่ ผมคิดว่าการเมืองไทยนี่ ระบบการเมืองที่มันล้มเหลว อย่าไปโทษนักการเมือง เพราะว่า กกต.ทำให้การเมืองไทยล้มเหลว และถ้าการเมืองไทยล้มเหลวแล้วนี่ ประเทศชาติก็ล้มเหลวเช่นกัน”

สนธิให้โอกาสรัฐบาลเพื่อไทยทำงาน หากยังยึดหลักธรรมาภิบาล
นายสนธิ ยังกล่าวถึงการเตรียมจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ว่า ตราบใดที่รัฐบาลใหม่ ยึดหลักธรรมาภิบาลก็ต้องให้โอกาสในการทำงาน แต่หากทำเพื่อผลประโยชน์ของครอบครัว และพวกพ้องแล้วคงเป็นหน้าที่ของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะต้องทำหน้าที่ในการ ตรวจสอบ ส่วนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คงแค่จับตาดู แต่เมื่อใดที่มีการแก้กฎหมายนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หรือมีการจาบจ้วงสถาบัน ทางกลุ่มพันธมิตรฯ จะมีการกำหนดท่าทีในการเคลื่อนไหวอีกครั้ง

“ผมคิดว่า ผมพยายามมองโลกในแง่ดี ตราบใดที่เขายังยึดหลักธรรมาภิบาลอยู่ ผมคิดว่า เป็นอะไรบางอย่างที่ต้องให้โอกาสเขา แต่ถ้าเขาเข้ามาแล้ว พิสูจน์ว่า เขาเข้ามาทำงานเพื่อครอบครัวเขา เพื่อตัวเอง และพวกพ้องเขา นั่นก็อีกประเด็นหนึ่ง แต่ในส่วนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เราบอกแล้ว เราก็บอกแล้วว่าเราจะอยู่เฉยๆ จนกว่า 2 ข้อที่เราตั้งไว้ คือ แก้กฎหมายแล้วก็จาบจ้วงสถาบัน” นายสนธิ กล่าว

ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 6 เดือน ปรับ 5 หมื่น สนธิ-สโรชา กล่าวหาตระกูลดามาพงศ์โกง ให้รอลงอาญา 3 ปี
สำหรับคดีที่นายสนธิ เดินทางมาฟังคำพิพากษานั้น มติชนออนไลน์ รายงานว่าเป็นคดีที่ พล.ร.ท.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ญาติคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร์ อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ฟ้องนายสนธิ กับพวก เป็นจำเลยที่ 1-10 ในความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่น และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กรณีร่วมกันจัดรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ถ่ายทอดออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ช่องนิวส์ 1 และเผยแพร่ตีพิมพ์ทาง น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์ www.manager.co.th โดยกล่าววิจารณ์การขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ด้วยถ้อยคำลักษณะใส่ร้ายตระกูลดามาพงศ์และบุคคลในตระกูลดามาพงศ์ของโจทก์ให้ ได้รับความเสียหาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2549

โดยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2550 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า ข้อเท็จจริงที่ได้จากคำเบิกความพยานโจทก์ยังคลาดเคลื่อนในทางนำสืบ จึงมีน้ำหนักไม่มั่นคงให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทฯ จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้ง 10 ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากข้อความตามฟ้องโจทก์ เช่น ชินวัตร...ดามาพงศ์ โกงทั้งโคตร ขายชาติเลี่ยงภาษี แม้ไม่มีชื่อโจทก์แต่การที่ลงชื่อตระกูลทำให้ผู้อ่านย่อมเข้าใจไปได้ว่าหมาย ถึงทั้งตระกูลโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งข้อความดังกล่าวยังเป็นความหมายในทางลบทำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า การกระทำของตระกูลโจทก์กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่จะดำเนินการไม่ใช่หน้าที่จำเลยมาตัดสิน ข้อความตามฟ้องของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การเสนอข้อเท็จจริงโดยสุจริต ส่วนจำเลยที่ 2, 3, 5, 6 และ 10 มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วม ขณะที่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้บริหารแผนฯของจำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีส่วนกระทำผิด ส่วนจำเลยที่ 8 และ 9 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 5 โจทก์ไม่มีได้นำสืบให้เห็นว่ามีส่วนร่วมกระทำผิดอย่างไร

โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วยพิพากษาว่าแก้ว่า จำเลยที่ 1,2,3,5,6 และ 10 กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ประกอบมาตรา 83 โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุก นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน, น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร นายขุนทอง ลอเสรีวานิช เจ้าของและผู้จัดทำเว็บไซต์ www.manager.co.th และนายปัญจภัทร์ อังคสุวรรณ ผู้ควบคุมดูแลเว็บไซต์ www.manager.co.th จำเลยที่ 1, 2, 5 และ 10 ตามลำดับในความผิดฐานความผิดฐานร่วมกันดูหมิ่น และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เป็นเวลาคนละ 6 เดือน ปรับคนละ 50,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลาคนละ 3 ปี

และให้ปรับ บริษัทแมเนเจอร์ มีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน และ บริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ผู้ผลิตรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร จำเลยที่ 3 และ 6 ซึ่งเป็นนิติบุคคล คนละ 50,000 บาท และให้ร่วมกันลงตีพิมพ์คำพิพากษาลงใน น.ส.พ.ผู้จัดการรายวัน และเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นเวลา 7 วันต่อเนื่องกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เคร็ก เจ. เรย์โนลด์ส: อภิปรายเรื่องระบอบอัตตาธิปไตยไทย - เพื่อนบ้าน

$
0
0

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้อง HB7801 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดเสวนารายการ “มองการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก ครั้งที่ 3” โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และสาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเชิญ ศ.ดร. เคร็ก เจ.เรย์โนลด์ส (CRAIG J.REYNOLDS) นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) อภิปรายหัวข้อ “การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (Autocratic Rule in Thailand and Its Neighbours)”

สำหรับคำบรรยายของเคร็ก ซึ่งแปลโดยคุณภัควดี ไม่มีนามสกุล มีรายละเอียดดังนี้ สำหรับวิดีโอการอภิปราย ประชาไทจะทยอยนำเสนอในโอกาสต่อไป

000

เคร็ก เจ.เรย์โนลด์ส (CRAIG J.REYNOLDS) อภิปรายที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อ 3 ส.ค. ที่ผ่านมา

 

"...คาบสมุทรอุษาคเนย์คือภูมิภาคของระบอบการเมืองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งการปกครองอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมืองพรรคเดียว ไม่ว่าจะเป็นพรรคทหาร พรรคสังคมนิยม พรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเชื้อชาตินิยม สิงคโปร์และมาเลเซียก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น"

"...เมื่อพิจารณาภูมิทัศน์ทางสังคม-การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมุมกว้าง ผมไม่คิดว่าลัทธิฟาสซิสต์ช่วยให้เราเข้าใจผู้นำแบบทหารในประเทศไทย อันที่จริงบุคลิกภาพของผู้นำที่ผู้สันทัดกรณีบางคนอยากติดป้ายฉลากว่าเป็นฟาสซิสต์นั้น หากใช้คำนิยามอื่นกลับช่วยให้เข้าใจได้ดีกว่า ในประเทศไทย ผู้นำที่เข้มแข็ง และหากจำเป็นก็ติดอาวุธรถถังกับปืนมาด้วยนั้น ได้รับความนิยมพอๆ กับเป็นที่ชิงชัง นอกจากนี้ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งแบบไทยๆ ยังมีองค์ประกอบความเชื่อแบบพุทธศาสนาที่เห็นได้ชัดด้วย ผู้นำที่เข้มแข็งไม่ว่าจะมีหรือไม่มีภูมิหลังมาจากกองทัพหรือตำรวจ มักมีความประพฤติแบบนักพรต และได้รับชื่นชมจากความมีวินัยและอำนาจในการควบคุมตัวเอง"

"...ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบไหนในยุคสมัยใหม่ การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยทุกวันนี้มีรากเหง้ามาจากรูปแบบ เศรษฐกิจการเมืองดั้งเดิมของชนชั้นนำ รูปแบบดั้งเดิมนิยมยกย่องคนที่สามารถใจกว้างและใจดำได้พร้อมกัน เขาสามารถให้รางวัลผู้สนับสนุนและลงโทษคู่อริกับคู่แข่งได้อย่าง เด็ดขาด ความนิยมที่มีต่อผู้นำแบบนี้ยังมีอยู่อย่างไม่เสื่อมคลายในภูมิภาคนี้ มันเป็นสิ่งที่เราไม่ควรประเมินต่ำเกินไป มันยังมีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน"

 

000

(หมายเหตุ: ภาพประกอบในบทอภิปรายและตัวเน้น เป็นการเน้นโดยประชาไท)

การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
(Autocratic Rule in Thailand and Its Neighbours)

Craig J. Reynolds
Australian National University

แปลโดย ภัควดี ไม่มีนามสกุล
www.midnightuniv.org

 

ก.

อารัมภบท

ขอบคุณสำหรับคำเชิญให้มาปาฐกถาในหัวข้อ “มองอนาคตการเมืองไทยผ่านสายตาคนนอก” ผมได้รับเชิญให้มาอภิปรายเกี่ยวกับการเมืองไทยในฐานะคนนอก ในฐานะที่ผมเป็นชาวต่างประเทศ นอกจากนี้ผมไม่ใช่เอตทัคคะด้านการเมือง ผมไม่ใช่นักรัฐศาสตร์ ผมเป็นนักประวัติศาสตร์ และผมเน้นการมองอดีต ไม่ใช่อนาคต ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผมในการมองอนาคต

ในเกือบทุกประเทศ ประชาชนต้องการสิทธิในการเลือกตั้ง ประชาชนต้องการสิทธิในการเลือกผู้นำของตนเอง และประชาชนรวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองเพื่อผลักดันผู้แทนของตนให้ลงสมัครชิงตำแหน่งต่างๆ ที่มีการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องมือที่ไว้ใจได้ที่จะช่วยชี้ให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการปกครองเป็นไปอย่างไรจริงๆ และในการพยายามเข้าใจการเมืองไทย ผมคิดว่าการให้ความสนใจการเมืองของการเลือกตั้งมากเกินไปจะทำให้เราเกิดความไขว้เขว กิจกรรมของพรรคการเมืองและการเลือกตั้งกลับกลายเป็นม่านอำพรางกลไกที่แท้จริงของการเมืองไทย

ผมขอสารภาพว่าผมไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการเมืองในระบบเลือกตั้งมากนัก เพราะเมื่อครั้งที่ผมเดินทางมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกในฐานะอาสาสมัครหน่วยสันติภาพ (Peace Corps Volunteer) พรรคการเมืองและการเลือกตั้งในประเทศไทยไม่มีความสำคัญเท่าไร ผมยังเชื่อจนถึงเดี๋ยวนี้ว่ามันยังไม่ค่อยสำคัญมากเท่าไร ในสมัยที่มาเป็นอาสาสมัครนั้น ผมมาเมืองไทยในฐานะตัวแทนของจักรวรรดินิยมอเมริกัน ซึ่งเป็นจักรวรรดินิยมแบบ “อ่อน” ที่มาควบคู่กับจักรวรรดินิยมแบบแข็งที่รัฐบาลอเมริกันดำเนินการในระหว่างสงครามเย็น เมื่อผมมาถึงประเทศไทยครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี ในทางเทคนิคนั้น ผมเป็นลูกจ้างของรัฐบาลสฤษดิ์ และหลังจากเขาเสียชีวิตในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 ถนอมกับประภาสก็ขึ้นมามีอำนาจแทน ผมก็ยังเป็นลูกจ้างของรัฐบาลเผด็จการทหาร การเลือกตั้งและพรรคการเมืองไม่มีความหมายในตอนนั้น และผมคิดว่ามันก็ไม่มีความหมายมากนักในตอนนี้

ผมมีสองประเด็นในการอภิปรายครั้งนี้

ประการแรก ผมคิดว่าเราต้องเข้าใจรัฐไทยให้ถ่องแท้มากขึ้น ในความคิดเห็นของผม นักวิเคราะห์และนักวิชาการไม่ได้อธิบายรัฐไทยอย่างถูกต้อง [เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับตอนที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย พอล คีตติ้ง มาเยือนประเทศไทยเมื่อปลายปี พ.ศ. 2537 ตอนนั้นชวน หลีกภัยแห่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรี] รัฐไม่ใช่สิ่งที่เป็นหน่วยเนื้อเดียวกัน (monolithic) มันมีองค์ประกอบหลายส่วน มีหน่วยที่เป็นเอกเทศมากมาย ซึ่งบางครั้งก็แสดงบทบาททั้งๆ ที่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ เราจึงจำเป็นต้องมีโมเดล/มโนทัศน์/พาราไดม์ที่ดีกว่านี้ในการเข้าใจรัฐไทย รัฐไทยคืออะไร ใครมีบทบาทเป็นตัวแทนรัฐไทย ใครหรืออะไรที่มีบทบาทโดยมีรัฐหนุนหลัง และหน่วยต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร นักรัฐศาสตร์ไทยมักชอบพูดถึง “รัฐ” ว่ามีพลังอำนาจมากแค่ไหน ผมคิดว่านี่เป็นมายาคติอย่างหนึ่ง รัฐไม่ได้มีพลังอำนาจขนาดนั้น ผมจะกลับมาพูดถึงประเด็นนี้ในภายหลัง

ประเด็นที่สองเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยในคาบสมุทรอุษาคเนย์ ผมอยากก้าวออกไปจากประเทศไทยสักชั่วขณะหนึ่ง และหันกลับมามองประเทศนี้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศที่มีความเชื่อมโยงกันทางประวัติศาสตร์ มีระบบการเมืองที่มีลักษณะร่วมกันหลายอย่าง สยาม/ประเทศไทยไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมโดยตรง แต่ไทยหยิบยืมคุณลักษณะหลายๆ ประการของรัฐอาณานิคมมา และใช้ต้นแบบอาณานิคมในการปฏิรูปการปกครองที่เริ่มต้นในคริสตทศวรรษ 1890 (ช่วงพุทธทศวรรษ 2433-2443) ระหว่างการประท้วงและความรุนแรงที่เกิดขึ้นปีที่แล้ว บางครั้งมีการเปรียบเทียบประเทศไทยกับรัฐบาลทหารในประเทศพม่า แต่นอกเหนือจากนี้แล้ว มีการอภิปรายน้อยมากเกี่ยวกับฐานะของประเทศไทยในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านบนภาคพื้นคาบสมุทร การโต้เถียงวิวาทะและการแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตล้วนแล้วแต่เป็นการมองเข้ามาภายในประเทศทั้งสิ้น (inward-looking) เมื่อคำนึงถึงการประท้วงครั้งใหญ่และการยึดราชประสงค์ มันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมความสนใจของสาธารณชนจึงโฟกัสอยู่ที่การเมืองไทย แต่มันยังมีมุมมองแบบภูมิภาคศึกษาที่จะช่วยอธิบายระบอบประชาธิปไตยที่ลุ่มๆ ดอนๆ มาหลายทศวรรษของประเทศไทยด้วย

 

ข.

นับตั้งแต่ระบบอาณานิคมล่มสลายไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นปัญหาในคาบสมุทรอุษาคเนย์ คำว่า “คาบสมุทรอุษาคเนย์” (mainland Southeast Asia) นี้ ผมหมายถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ยกเว้นอินโดนีเซียกับฟิลิปปินส์ รัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งในภูมิภาคนี้มักเป็นรัฐบาลพรรคเดียว รัฐบาลอำนาจนิยมชอบการเลือกตั้ง เพราะผู้นำสามารถบอกกับโลกได้เต็มปากว่าตนขึ้นมามีอำนาจผ่านกระบวนการเลือกตั้ง ความแตกต่างระหว่างการเลือกตั้งกับระบอบประชาธิปไตยมักไม่ถูกชี้ชัดลงไป แท้ที่จริงแล้ว มีความแตกต่างมหาศาลระหว่างการเลือกตั้งกับระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งไม่ได้ทำให้เรามีระบอบประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติ ถ้าการเลือกตั้งไม่เสรีและไม่มีการแข่งขันกันอย่างแท้จริง ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมก็เกิดขึ้นไม่ได้ การซื้อเสียงกล่าวคือการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงินสดและแรงจูงใจอื่นๆ แก่ผู้ลงคะแนนเสียง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก นำไปสู่ความเชื่อที่แพร่หลายว่า การเลือกตั้งถูกล็อกผลมาแล้ว ยังมีปัญหาอีกประการหนึ่ง นั่นคือ วัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมจำเป็นต้องมีขันติธรรมต่อความไม่เห็นพ้อง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ ผู้มีอำนาจในภูมิภาคนี้พยายามจำกัดความไม่เห็นพ้องและบิดเบือนระบอบประชาธิปไตยจนพวกเขาดำรงตำแหน่งได้ยาวนาน บางครั้งพวกเขาพยายามผูกขาดอำนาจการปกครองอย่างถาวรด้วยซ้ำ แน่นอน เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจให้พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรตอนที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีและบริหารพรรคการเมืองเหมือนกลุ่มธุรกิจผูกขาด (cartel) เขาต้องการอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

ค.

เพื่อเข้าใจประเด็นนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราลองดูประเทศต่างๆ ในพื้นคาบสมุทร ในพม่า กองทัพปกครองมาแล้วเกือบห้าสิบปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2505 หลังจากประกาศเอกราช พม่ามีผู้นำที่เข้มแข็งมากสองคน นั่นคือนายพลเนวินและนายพลตานฉ่วย นายพลตานฉ่วยเป็นที่รู้จักในฉายาของ “ผู้พิทักษ์และผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นผู้ยิ่งใหญ่” ทุกวันนี้ดูเหมือนเขาก้าวลงจากการบริหารประเทศรายวันแล้ว ปีที่แล้วมีการเลือกตั้งในพม่าและมีหลักฐานว่าระบอบเผด็จการทหารกำลังผ่อนปรนมากขึ้น อองซานซูจี ได้รับการปล่อยตัวจากการกักบริเวณในบ้าน แต่ขบวนการของเธอถูกบั่นทอนจนอ่อนแรง ตัวเธอเองก็แสดงออกถึงแนวโน้มแบบอัตตาธิปไตยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การที่เธอไม่ยอมให้พรรคเอ็นแอลดีเข้าร่วมในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว และยืนกรานว่าจะต้องคว่ำบาตรการเลือกตั้งต่อไป ถึงแม้นักวิเคราะห์และนักกิจกรรมหลายคนเชื่อว่าการคว่ำบาตรจะส่งผลเสียยิ่งกว่าช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กองทัพจะผ่อนคลายการควบคุมลงบ้างเล็กน้อย แต่หากมองในระยะยาวที่สุด การปกครองระบอบทหารรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งน่าจะยังครองความเป็นใหญ่ในประเทศพม่าต่อไป

ในกัมพูชา ผู้นำกำปั้นเหล็กยังอยู่ในอำนาจ หลังจากครองอำนาจมาหลายทศวรรษนับตั้งแต่เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างที่เวียดนามยึดครองกัมพูชาด้วยกำลังทหาร ฮุนเซนเป็นอดีตสมาชิกเขมรแดง นับตั้งแต่กัมพูชาฟื้นอำนาจอธิปไตยได้ใน พ.ศ. 2536 ฮุนเซนเป็นผู้มีบทบาทนำในกลุ่มแนวร่วมของพรรคประชาชนกัมพูชาและพรรคนิยมกษัตริย์ (พรรคฟุนซินเปก) ซึ่งครองอำนาจทางการเมือง ในกัมพูชามีการเลือกตั้งก็จริง แต่ฮุนเซนเป็นนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยมีช่วงขัดตาทัพแค่สองสามครั้ง นี่คือรัฐบาลอัตตาธิปไตย ประเทศมีเสถียรภาพก็จริงแต่ไม่มีสัญญาณของการถ่ายโอนอำนาจ

ลาวเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมพรรคเดียวมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 อันที่จริงพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายมีเพียงพรรคเดียวคือ พรรคปฏิวัติประชาชนลาวซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ผู้บริหารการปกครองประเทศคือคณะกรรมการโปลิตบูโรกลุ่มเล็กๆ และคณะกรรมการกลางที่มีสมาชิก 49 คน มีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2535 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติขึ้นมาใหม่จำนวน 85 คน และมีการเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2549 โดยที่จำนวนสมาชิกขยายเป็น 115 คน สมัชชาแห่งชาติจะเลือกผู้นำใหม่ทุกห้าปี และในเดือนมิถุนายนจะมีการลงคะแนนเสียงเพื่อยืดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการใหญ่ของพรรคปฏิวัติประชาชนลาว ดังนั้น จึงมีแผนการถ่ายโอนอำนาจในหมู่ผู้นำในรัฐบาล ถึงแม้อาจมีการลงคะแนนให้ดำรงตำแหน่งต่อไปก็ตาม เช่นเดียวกับในกัมพูชา ลาวมีเสถียรภาพ แต่สิ่งที่แตกต่างจากกัมพูชาก็คือ ลาวมีการถ่ายโอนอำนาจอย่างสม่ำเสมอสำหรับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองพรรคเดียวที่ครองอำนาจ

เช่นเดียวกับลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวเช่นกัน ตามรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับ พ.ศ. 2535 ซึ่งนำมาใช้แทนฉบับ พ.ศ. 2518 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม (CPV) สถาปนาอำนาจในรัฐบาลและการเมืองอย่างแน่นหนามั่นคง องค์กรการเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับพรรค CPV เท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันในการเลือกตั้งระดับชาติ สมัชชาแห่งชาติมีสมาชิก 498 คน การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 และมีสมาชิกสมัชชาไม่กี่คนที่ไม่สังกัดพรรคใดๆ ในประเทศนี้อีกเช่นกันที่เราได้เห็นการปกครองโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว

ในมาเลเซีย มีกิจกรรมทางการเมืองแบบหลายพรรคมากกว่าในประเทศอื่นก็จริง แต่พรรคอัมโน ซึ่งเป็นพรรคที่มีบทบาทนำในกลุ่มแนวร่วมทางการเมืองที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ได้เอกราช พรรคอัมโนได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้ตัวเองได้เปรียบและปรับเปลี่ยนเขตเลือกตั้งเนืองๆ เพื่อรักษาความได้เปรียบในการเลือกตั้งเอาไว้ การประท้วงและความปั่นป่วนในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมคือความไม่พอใจที่มีต่อพรรคอัมโนและกลุ่มพันธมิตรทางการเมือง Barisan Nasional ในประเด็นการที่กลุ่มการเมืองนี้ผูกขาดการเมืองมาเลเซียเอาไว้ กลุ่มพันธมิตรในปัจจุบันและกลุ่มเดียวกันก่อนหน้านี้ปกครองมาเลเซียมาตั้งแต่ประกาศเอกราช การกีดกันระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมดูเหมือนเป็นนโยบายหลักของพรรคอัมโนมาตลอด เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มหาเธร์ โมฮัมหมัด ซึ่งเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียนานถึง 22 ปี แสดงปาฐกถาที่ย้ำว่าระบอบประชาธิปไตยล้มเหลวในหลายประเทศและการปกครองแบบรวบอำนาจต่างหากที่เป็นคำตอบ เขาปฏิบัติตามที่เขาเทศนา มาเลเซียมีการปกครองแบบอัตตาธิปไตยพรรคเดียวมาเกือบครึ่งศตวรรษ

เมื่อผมสอนวิชาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคาบสมุทรอุษาคเนย์ ปรกติผมจะไม่รวมสิงคโปร์ แต่ในที่นี้จะพูดรวมไปถึงสิงคโปร์ด้วย เพราะมันเป็นอีกตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นการปกครองแบบพรรคเดียว เราอาจนิยามระบบการเมืองของสิงคโปร์ว่าเป็นระบบสังคมนิยมที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ ในสิงคโปร์ พรรคกิจประชาชน (People’s Action Party) ชนะทุกการเลือกตั้งมาตั้งแต่ได้เอกราชใน พ.ศ. 2502 และแน่นอนว่าปกครองสิงคโปร์มาตั้งแต่สมัยนั้น หากมีพรรคการเมืองใดส่งสัญญาณว่าจะเป็นฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง พรรค PAP ก็จะหาทางสกัดขัดขวางและรักษาการปกครองแบบพรรคเดียวเอาไว้ สมาชิกรัฐสภาที่เป็นฝ่ายค้านบางคนที่ส่อแววให้เห็นความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและได้รับความนิยมก็ถูกทำลายทางการเงินด้วยการฟ้องร้อง บทเรียนที่น่าสนใจจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบกับสิงคโปร์ก็คือ ตระกูลลีมีบทบาทสำคัญในการสืบต่อการปกครองพรรคเดียวของ PAP

อนึ่ง ในการเลือกตั้งของประเทศสิงคโปร์เมื่อ พ.ศ. 2549 ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงที่มีอายุมากและรายได้ต่ำจำนวน 300,000 คน ได้รับเงินประมาณ 500 ดอลลาร์สิงคโปร์เข้าบัญชีธนาคารก่อนการเลือกตั้งไม่นาน และพวกเขาได้รับเงินจำนวนเดียวกันนี้อีกครั้งใน พ.ศ. 2550 ไม่มีเสียงโวยวายว่ามีการซื้อเสียงในประเทศสิงคโปร์ การแจกเงินเช่นนี้ช่วยปูทางให้พรรค PAP และรักษาอำนาจให้พรรคได้เป็นรัฐบาลถาวรต่อไป แต่ไม่มีใครเรียกการแจกเงินนี้ว่า “การซื้อเสียง” ดูเหมือนการซื้อเสียงเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

ดังนั้น เราเห็นอะไรบ้าง? พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนามและสิงคโปร์ ล้วนแล้วแต่เป็นรัฐพรรคเดียวและถูกปกครองโดยพรรคการเมืองเดียวนี้มาตั้งแต่สิ้นสุดยุคอาณานิคม ประเทศเหล่านี้มีรัฐบาลที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ในลาวและเวียดนาม กระบวนการสืบทอดอำนาจอย่างสม่ำเสมอสร้างหลักประกันให้การต่อวาระการดำรงตำแหน่งของผู้นำจากกลุ่มผู้สมัครที่กำกับคัดสรรมาแล้ว ในสิงคโปร์ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน โดยมีลักษณะเฉพาะของการที่ตระกูลลีมีบทบาทสำคัญโดดเด่นและมีอิทธิพลสูง ในพม่าและกัมพูชา เราพอมองเห็นลักษณะการปกครองของผู้นำเดี่ยวที่เข้มแข็งเป็นระยะเวลานาน แล้วความรุนแรงทางการเมืองล่ะ? ถ้าเราจำกัดการเปรียบเทียบไว้แค่เหตุการณ์ประท้วงของมวลชนที่มีการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก ก็จะมีแค่เหตุการณ์ในพม่า พ.ศ. 2531 (มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,200 คนในเดือนมีนาคมและสิงหาคม) และ พ.ศ. 2552 (ผู้เสียชีวิตประมาณ 138 คน) มาเลเซียมีเหตุจลาจลด้านเชื้อชาติใน พ.ศ. 2512 (ยอดผู้เสียชีวิตน้อยกว่า 200 คน)

กล่าวมาถึงจุดนี้ ข้อสรุปของผมคืออะไร? ผมมองว่าคาบสมุทรอุษาคเนย์คือภูมิภาคของระบอบการเมืองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งการปกครองอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมืองพรรคเดียว ไม่ว่าจะเป็นพรรคทหาร พรรคสังคมนิยม พรรคคอมมิวนิสต์ พรรคเชื้อชาตินิยม สิงคโปร์และมาเลเซียก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ภูมิภาคของระบอบการเมืองแบบอัตตาธิปไตยนี้รายล้อมรอบประเทศไทย ซึ่งคาดหวังว่าระบอบประชาธิปไตยจะหยั่งรากและเจริญเติบโต ประเทศไทยจะมีโอกาสแค่ไหนในการหล่อเลี้ยงระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมท่ามกลางเพื่อนบ้านแบบนี้? มันเป็นสภาพแวดล้อมที่หยาบกระด้าง ถึงแม้ไม่มีความรุนแรงทางการเมืองอย่างเปิดเผยมากนัก แต่มันก็เต็มไปด้วยจอมโหด กล่าวคือทหารกับตำรวจถือปืนที่คอยกดขี่ความไม่เห็นพ้อง ผู้บริหารประเทศเคยอยู่ในกองทัพ ทหารถูกฝึกให้เป็นผู้บริหารประเทศไม่ใช่เป็นแค่นักรบ ผมสรุปว่าประเทศไทยก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นในภูมิภาคนี้ ประเทศไทยอยู่อย่างกลมกลืนในสภาพแวดล้อมนี้ และประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านแสนดีของประเทศรอบข้าง ระบอบการเมืองของไทยก็เป็นส่วนหนึ่งของสนามการเมืองในภูมิภาคที่มีลักษณะเด่นตรงที่นิยมการปกครองแบบอัตตาธิปไตย คำว่า “การปกครองแบบอัตตาธิปไตย” ผมไม่ได้หมายถึงการปกครองโดยผู้นำที่เด็ดขาดเพียงคนเดียว ถึงแม้ว่านั่นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม การปกครองแบบอัตตาธิปไตยอาจเป็นการปกครองโดยพรรคเดียว (ลาว เวียดนาม กัมพูชา) พรรคเดียวที่ครอบงำโดยตระกูลเดียว (สิงคโปร์) พรรคเดียวที่ครอบงำพันธมิตรทางการเมือง (มาเลเซีย)

เราถามได้ว่าทำไม? ทำไมการปกครองระบอบอัตตาธิปไตยจึงหยั่งรากลึกแน่นในคาบสมุทรอุษาคเนย์ตั้งแต่ได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา?

ผมคิดได้สองเหตุผล เหตุผลแรกคือ ทุกประเทศในภูมิภาคนี้มีประวัติศาสตร์ก่อนยุคสมัยใหม่ที่อยู่ภายใต้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบอบกษัตริย์ในภูมิภาคนี้ไม่เคยหรือที่จริงคือไม่สามารถมีขันติธรรมต่อการมีฝ่ายค้านที่จงรักภักดี ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การเป็นฝ่ายค้านก็คือการเป็นขบถต่ออำนาจเหนือหัว (อำนาจอธิปไตย/รัฏฐาธิปัตย์) ระบอบอาณานิคมกวาดทำลายระบอบกษัตริย์ โดยเฉพาะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในเกือบทุกประเทศแถบนี้ก็จริง แต่ในประเทศเหล่านี้ เราก็ยังพบระบอบกษัตริย์ตกค้างในยุคหลังอาณานิคม กัมพูชา มาเลเซียและแน่นอนคือประเทศไทย ระบอบกษัตริย์อาศัยการหนุนหลังของกองทัพและความฉลาดทางการเมืองของกษัตริย์เอง แสดงให้เห็นความยืดหยุ่นและความสามารถในการฟื้นฟูอำนาจตัวเองจากสภาพการณ์ที่หมิ่นเหม่จะล่มสลายในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 และอีกครั้งในปลายทศวรรษ 1940

เหตุผลประการที่สองคือ ระบอบอาณานิคมไม่เคยหรือไม่สามารถมีขันติธรรมต่อการมีฝ่ายค้านที่จงรักภักดี การเป็นฝ่ายค้านในยุคอาณานิคมก็คือการขบถต่ออำนาจเหนือหัว (อำนาจอธิปไตย/รัฏฐาธิปัตย์) กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ การเป็นฝ่ายค้านเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางกฎหมายนั่นเอง การคัดค้านต่ออำนาจเหนือหัวคือการกระทำผิดกฎหมาย คือการประกอบอาชญากรรม ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีกฎหมายความมั่นคงที่ทำให้การวิจารณ์รัฐบาลและความหัวแข็งทางการเมืองเป็นอาชญากรรม กลุ่มประเทศในคาบสมุทรอุษาคเนย์ล้วนแล้วแต่รับมรดกกฎหมายความมั่นคงภายในประเทศมาจากมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมตะวันตก ในกรณีของประเทศไทย ไทยรับมรดกนี้มาจากแนวคิด Pax Americana ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงช่วงต้นทศวรรษ 1970 [1] การปกครองแบบอาณานิคมช่วยตอกย้ำจารีตของระบอบกษัตริย์ นั่นคือใครก็ตามที่ต่อต้านรัฐบาลในขณะนั้นคือกบฏ จนถึงทุกวันนี้ใครก็ตามที่ต่อต้านรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่ก็เป็นกบฏ ในประเทศไทยระหว่างทศวรรษ 1950 ผู้ใดที่ไม่เห็นพ้องทางการเมืองจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือหัวเอียงซ้าย และหน่วยสืบสวนของกรมตำรวจที่รับผิดชอบการปราบปรามผู้ไม่เห็นพ้องทางการเมืองก็คือ สันติบาล คำว่าสันติบาลนี้มีความหมายแปลตรงตัวก็คือ “กองกำลังรักษาสันติภาพ”

 

ง.

ถ้าเช่นนั้น ประเทศไทยอยู่ตรงไหน? ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองแบบอัตตาธิปไตยหรือเปล่า? เราเพิ่งมีการเลือกตั้งระดับชาติ และตอนนี้เรา (อาจ) มีนายกรัฐมนตรีหญิงจากการเลือกตั้ง ประชาชนส่งเสียงแล้ว! ผมขอแสดงความคิดเห็นสักหนึ่งหรือสองประเด็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองและวัฒนธรรมการเมืองของประเทศไทยก่อน

การผสมพันธุ์ของระบอบอัตตาธิปไตยกับประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยกับอัตตาธิปไตย เป็นสิ่งที่หยั่งรากลึกในจิตสำนึกของชนชั้นนำไทย ไม่กี่วันก่อนการปฏิวัติ 2475 ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 7 เคยคิดจะประทานรัฐธรรมนูญ แต่เขากลับยึดติดอยู่กับความหวังว่าจะสามารถกระตุ้นชาวไทยให้สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัชกาลที่ 7 กล่าวเช่นนี้ว่า “ประเทศของเราใช้ระบอบการปกครองแบบ ‘เผด็จการ’ แต่ระบอบของเราไม่เหมือนระบอบ ‘เผด็จการ’ อื่น ตรงกันข้าม ระบอบของเรามีลักษณะแบบ ‘ประชาธิปไตย’ หลายอย่าง ดังนั้น มันจึงน่าจะเป็นแบบครึ่งครึ่ง และเรายังไม่ได้ตัดสินใจว่าเราจะใช้ระบอบใด” นับแต่นั้นมา นักรัฐศาสตร์ไทยและตะวันตกก็เขียนกันเยอะแยะเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ในประเทศไทย อันที่จริง “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” คือบทสรุปอย่างดีของสิ่งที่รัชกาลที่ 7 กล่าวไว้ หลังจากเวลาผ่านไปหลายทศวรรษ ไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากนัก จนถึงตอนนี้มันถดถอยจนน่าจะเป็น “ประชาธิปไตยหนึ่งส่วนสี่ใบ” หรือน้อยกว่านั้นอีก ประวัติศาสตร์และเวลาที่ผันผ่านไปแค่ทำให้ทุกอย่างกลับตาลปัตร ราวกับต้องเปลี่ยนคำพูดเสียใหม่ว่า “ประเทศของเราใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่มีลักษณะแบบเผด็จการหลายอย่าง” การมีใบหน้าสองแบบของเผด็จการผู้มีเมตตาหรือทรราชผู้รู้แจ้งยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักคิดด้านการเมืองของไทย เฉกเช่นที่พวกเขาชอบตั้งข้อสงสัยต่อนัยสำคัญที่แท้จริงของการปฏิวัติ 2475 ผมเชื่อว่าเหตุผลหนึ่งที่ “การปฏิวัติ” เมื่อ พ.ศ. 2475 ถูกศึกษาอย่างกระพร่องกระแพร่งและมีการทำความเข้าใจกันน้อยมาก ก็เพราะความนิยมใน “ทรราชผู้รู้แจ้ง” ยังคงมีพลังอยู่ในวัฒนธรรมการเมืองไทยจนทุกวันนี้ คำว่า “เด็ดขาด” เป็นคำสำคัญคำหนึ่งในวัฒนธรรมการเมืองไทย มันสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำไทยต้องเป็นคน “เด็ดขาด”

ประชาชนไทยนิยมผู้นำที่เด็ดขาดเข้มแข็งมาตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เมื่อลัทธิฟาสซิสต์กำลังเป็นที่นิยมในโลก ผู้นำไทยนิยมลัทธิฟาสซิสต์ของมุสโสลินีก็เพราะมันมีอุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ คำๆ นี้ถูกใช้ในความหมายบวกในหนังสือพิมพ์ที่ออกในกรุงเทพฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 1920 และต้นทศวรรษ 1930 ชีวประวัติของมุสโสลินีฉบับภาษาไทยได้รับการตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2475 นั่นเอง แต่ไม่ใช่อุดมการณ์ของลัทธิฟาสซิสต์หรอกที่ผู้นำทางการเมืองไทยชื่นชอบจริงๆ สิ่งที่พวกเขาชื่นชอบคือบุคลิกภาพส่วนตัวของบุรุษเหล็กต่างหาก หรือไม่ก็รูปแบบที่เจือจางลงมาหน่อยของวีรบุรุษขี่ม้าขาว นี่คือสิ่งที่ดึงดูดใจผู้นำไทยและนักคิดทางการเมือง ผู้นำระดับโลกอย่าง เอมัน เดฟเลอรา, โจเซฟ สตาลิน, อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, มหาตมะ คานธี, เยาวะหราล เนห์รู, เจียงไคเช็ก, เหมาเจ๋อตง และโจวเอินไหล ล้วนแล้วแต่ได้รับความสนใจ ทั้งๆ ที่มันเป็นรายชื่อที่พิลึกพิกลอย่างยิ่ง รวมไว้หมดตั้งแต่นักชาตินิยม นักคอมมิวนิสต์ นักสันติวิธี ไปจนถึงนักฟาสซิสต์ หลวงวิจิตรวาทการเขียนถึงคนเหล่านี้ด้วยความชื่นชมอย่างยิ่ง ในหนังสือชื่อ กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ ซึ่งตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2495 รายชื่อบุคคลสำคัญที่รวบรวมไว้มีวีรสตรีหลายคน เช่น ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล, ซาร่าห์ เบิร์นฮาร์ท และเฮเลน เคลเลอร์ หลวงวิจิตรวาทการเขียนบทความหลายชิ้นและหนังสือหลายเล่มในแนววรรณกรรมว่าด้วยความสำเร็จ และชี้ให้ผู้อ่านเห็นว่าทำไมคนเหล่านี้จึงควรได้รับการชื่นชมในด้านจิตใจที่แข็งแกร่ง พลังของความมุ่งมั่น ความเชื่อมั่นในตัวเองและเจตจำนงที่เข้มแข็ง

ความนิยมชมชอบในบุคคลที่มีเจตจำนงแข็งกล้า ซึ่งสามารถสั่นสะเทือนโลกได้ด้วยคำพูดและการกระทำ เป็นปรากฏการณ์ที่พบเห็นได้ทุกแห่ง ไม่เฉพาะในประเทศไทย เมื่อซิดนีย์ ฮุก สรรเสริญ ผู้สร้างประวัติศาสตร์” ในหนังสือ The Hero in Historyซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2486 เขานิยามอุดมคติของความเป็นผู้นำที่เป็นที่นิยมในหลายๆ ส่วนของโลก รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อุดมคติของบุคคลที่ยิ่งใหญ่แบบนี้มีอิทธิพลที่ยาวนานมากในประเทศไทย ระหว่างการประท้วงทางการเมืองในเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นักข่าวคนหนึ่งในเชียงใหม่เห็นรูปภาพของมหาตมะ คานธี, เนลสัน แมนเดลาและเช เกวารา ถัดจากภาพบุคคลเหล่านี้ก็คือภาพพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร! ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนมีความโดดเด่นเหนือคนธรรมดา แต่การนำภาพผู้นำระดับโลกที่มีชื่อเสียงมาเรียงต่อกัน ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่บุคคลเหล่านี้ได้รับความชื่นชมคือพลังอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม โดยไม่สนใจว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของอุดมการณ์แบบใดบ้าง คนที่มีชื่อเสียงเหล่านี้มีบางสิ่งบางอย่างร่วมกัน นอกจากพลังอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรมแล้ว พวกเขายังมีส่วนผสมประหลาดเหนือคำอธิบายที่เราเรียกในภาษาอังกฤษว่า charisma [อย่าแปลว่า “บารมี” ทับศัพท์ภาษาอังกฤษดีกว่า] ซึ่งทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นผู้นำตามธรรมชาติ

เมื่อพิจารณาภูมิทัศน์ทางสังคม-การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมุมกว้าง ผมไม่คิดว่าลัทธิฟาสซิสต์ช่วยให้เราเข้าใจผู้นำแบบทหารในประเทศไทย อันที่จริงบุคลิกภาพของผู้นำที่ผู้สันทัดกรณีบางคนอยากติดป้ายฉลากว่าเป็นฟาสซิสต์นั้น หากใช้คำนิยามอื่นกลับช่วยให้เข้าใจได้ดีกว่า ในประเทศไทย ผู้นำที่เข้มแข็ง และหากจำเป็นก็ติดอาวุธรถถังกับปืนมาด้วยนั้น ได้รับความนิยมพอๆ กับเป็นที่ชิงชัง นอกจากนี้ความเป็นผู้นำที่เข้มแข็งแบบไทยๆ ยังมีองค์ประกอบความเชื่อแบบพุทธศาสนาที่เห็นได้ชัดด้วย ผู้นำที่เข้มแข็งไม่ว่าจะมีหรือไม่มีภูมิหลังมาจากกองทัพหรือตำรวจ มักมีความประพฤติแบบนักพรต และได้รับชื่นชมจากความมีวินัยและอำนาจในการควบคุมตัวเอง นายกรัฐมนตรีหลายคนและอีกหลายคนที่อาจได้เป็นนายกรัฐมนตรีมีบุคลิกที่สอดคล้องกับคำนิยามนี้ คอลัมน์นิสต์ในประเทศไทยคนหนึ่งที่ใช้นามปากกาว่า “ช้างน้อย” นิยามบุคลิกภาพของผู้นำแบบนี้ว่าเป็นส่วนผสมของนักบวชกับเจ้าพ่อ นักพรตกับบุรุษเหล็กในคนคนเดียว ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นผู้ชาย ประธานองคมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง พลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำเสื้อเหลือง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

เราจะเข้าใจผู้นำแบบนี้ได้ดีขึ้น ถ้าลองเปรียบเทียบกับแนวคิดของ “ผู้ยิ่งใหญ่” ในส่วนอื่นของโลก รวมทั้งในรัฐชาติต่างๆ แถบมหาสมุทรแปซิฟิก ในวัฒนธรรมการเมืองอุษาคเนย์ “ผู้ยิ่งใหญ่” ถูกเรียกว่า “ผู้มีบุญญาบารมี” (man of prowess) “ผู้ยิ่งใหญ่” ยืนยันสิทธิในอำนาจของตนจากการกระทำ ไม่ใช่จากเชื้อสาย ในอาณาจักรยุคก่อนสมัยใหม่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีกฎหมายการสืบทอดอำนาจให้บุตรคนหัวปี การชิงบัลลังก์จึงเกิดขึ้นบ่อย พี่น้องคนละแม่หรือลูกพี่ลูกน้องในสังคมหลายผัวหลายเมียมักชิงดีชิงเด่นกันเพื่ออ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ โดยอ้างเรื่องเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่มารองรับการอ้างสิทธิ์ของตน ผู้มีบุญญาบารมีจะตกรางวัลให้บริวารของตนด้วยที่ดินหรือศักดินาอำนาจเหนือบ่าวไพร่ เขาใจกว้างในการให้รางวัลและไม่ปรานีผู้ที่ชักช้าในการแสดงความจงรักภักดี เช่นเดียวกับผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่เกาะเมลาเนเชีย ผู้ปกครองขยายขอบเขตอำนาจและสร้างเครือข่ายนอกเหนือท้องถิ่นด้วยการแสดงความใจกว้าง โดยคำนวณแล้วว่าจะดึงดูดผู้สนับสนุนให้จงรักภักดีได้ พวกเขาแจกจ่ายลาภที่ได้มาจากการค้าหรือการปล้นให้แก่บริวารหรือผู้ติดตามของตน ในโลกทุกวันนี้แทนที่จะพูดถึงการค้าหรือการปล้น ลองนึกถึง “การตกลงทางธุรกิจ” แทนที่จะพูดถึงบริวารหรือผู้ติดตาม ลองนึกถึง “พรรคการเมือง” จารีตแบบนี้ช่วยอธิบายพฤติกรรมในปัจจุบัน รวมทั้งการสร้างฐานเสียงทางการเมืองด้วยการซื้อเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติ ในวิถีทางแบบนี้ ผู้นำสามารถสั่งสมทุนทางสังคมและขยายอิทธิพลของตนเองได้ “การแจกจ่ายลาภ” สามารถนำมาใช้อธิบายนโยบายของรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค และกองทุนหมู่บ้านละล้าน กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้านละล้าน ไม่ใช่นโยบายของรัฐบาล แต่เป็นการแจกจ่ายรางวัลเพื่อสร้างฐานเสียงทางการเมืองมากกว่า

ผู้ยิ่งใหญ่” อาจครองอำนาจชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็มี “ผู้ยิ่งใหญ่เล็กๆ” อยู่ทั่วไปที่ต้องการเข้ามาชิงอำนาจ “ผู้ยิ่งใหญ่เล็กๆ” เหล่านี้พยายามเพิ่มพูนความเหี้ยมหาญของตนด้วยการแข่งขันกันเอง ในท้ายที่สุด พวกเขาต้องการท้าทาย “ผู้ยิ่งใหญ่” ที่ประสบความสำเร็จแล้ว ในสมัยปลายยุคอาณานิคมในคาบสมุทรอุษาคเนย์ การปฏิวัติมักนำโดย “ผู้ยิ่งใหญ่เล็กๆ” ในประเทศไทย เราเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “ผู้มีบุญ” การกบฏของผู้มีบุญคือรูปแบบดั้งเดิมของลัทธิประชานิยม ซึ่งมีผู้นำเป็นผู้มีบุญญาบารมีที่ถูกผลักไสไปอยู่ชายขอบโดยรัฐเจ้าอาณานิคม ไม่ว่าเจ้าอาณานิคมนั้นจะเป็นตะวันตก (เช่น ในลาว กัมพูชา พม่า) หรือเป็นคนท้องถิ่น (เช่น ประเทศไทย) เวทมนตร์คาถา เครื่องรางของขลังและชื่อเสียงในด้านอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ช่วยดึงดูดและระดมผู้สนับสนุน ในประเทศไทยยุคสมัยใหม่ ผู้มีบุญญาบารมีอาจเป็นนายพลระดับสูงที่ไต่เต้าขึ้นมา ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและรับใช้ระบอบกษัตริย์ได้อย่างโดดเด่น หรือเขาอาจเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสร้างตัวได้จากการขายอุปกรณ์โทรคมนาคมให้หน่วยงานความมั่นคง ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นรูปแบบไหนในยุคสมัยใหม่ การปกครองระบอบอัตตาธิปไตยในประเทศไทยทุกวันนี้มีรากเหง้ามาจากรูปแบบเศรษฐกิจการเมืองดั้งเดิมของชนชั้นนำ รูปแบบดั้งเดิมนิยมยกย่องคนที่สามารถใจกว้างและใจดำได้พร้อมกัน เขาสามารถให้รางวัลผู้สนับสนุนและลงโทษคู่อริกับคู่แข่งได้อย่าง เด็ดขาด ความนิยมที่มีต่อผู้นำแบบนี้ยังมีอยู่อย่างไม่เสื่อมคลายในภูมิภาคนี้ มันเป็นสิ่งที่เราไม่ควรประเมินต่ำเกินไป มันยังมีอิทธิพลอย่างมากในปัจจุบัน

 

จ.

หากผู้นำแบบข้างต้นเป็นปทัสฐานในภูมิภาคนี้ มันมีผลอย่างไรต่อการทำความเข้าใจรัฐ? ผมอยากย้อนกลับไปที่ประเด็นแรกที่กล่าวถึงเมื่อตอนต้น นั่นคือความจำเป็นในการเข้าใจ “รัฐไทย” รัฐไทยคืออะไร? รัฐไทยเป็นอย่างไรจริงๆ? ถ้าเราจะวาดเป็นภาพให้เห็นหน้าตาของมันจะออกมาแบบไหน? ใครเป็นตัวแทนของรัฐไทย? ใครหรืออะไรที่กระทำโดยมีรัฐคอยหนุนหลัง? หน่วยต่างๆ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร? นายกรัฐมนตรีเป็นจุดศูนย์กลางหรือเปล่า? กษัตริย์เป็นจุดศูนย์กลางหรือเปล่า ในเมื่อกษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ?

 

[หมายเหตุ: ส่วนต่อจากนี้อาจเข้าใจยากหากไม่ได้ฟังคำบรรยาย ภาพสไลด์ประกอบสี่ภาพจะช่วยให้ประเด็นหลักชัดเจนยิ่งขึ้น]

(ภาพสไลด์ที่ 1) โครงสร้างของรัฐบาลไทย ลดทอนให้ดูง่ายๆ ลืมเรื่องโครงสร้างของรัฐบาลไปก่อน ลืมเรื่องสภานิติบัญญัติ รัฐสภา นายกรัฐมนตรี ตุลาการไปก่อน ลองนึกภาพรัฐไทยเป็นปมพัวพันยุ่งเหยิงของความสัมพันธ์ ความเป็นพันธมิตรและการต่อสู้แข่งขันระหว่างศูนย์กลางอำนาจหลายศูนย์ ซึ่งมักชิงดีชิงเด่นกันเอง ลองวาดภาพต่อไปถึง jungle gym ที่เคยเห็นในสนามเด็กเล่น (ภาพสไลด์ที่ 2) ซึ่งจุดเชื่อมโยงไม่ได้เกิดจากเชือก แต่เกิดจากสายเคเบิลที่ถักร้อยกันอย่างซับซ้อนและมารวมกันที่จุดเชื่อมต่างๆ

(ภาพสไลด์ที่ 3) จุดต่างๆ ที่สายเคเบิลมาเชื่อมกันคือชุมทาง (nodes) ของอำนาจ สถาบันต่างๆ เช่น รัฐสภา กรมตำรวจที่มีหลายก๊กหลายเหล่า กองทัพที่มีหลายก๊กหลายเหล่า สำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มเครือข่ายธุรกิจ หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงการต่างประเทศ หรือกรมกองแผนกต่างๆ และพระราชวัง (ที่มีหลายวัง) แต่ละจุดเชื่อมโยงหรือชุมทางอำนาจอาจมีอิสระในตัวเองอย่างมาก มันอาจดำเนินการโดยไม่มีใครสั่งหรือขอให้ทำงานวิชาการเกี่ยวกับ “ชุมทางอำนาจการปกครอง” ในแบบต่างๆ ชี้ให้เห็นว่ามโนทัศน์เกี่ยวกับรัฐในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่แพร่หลายในโลกปัจจุบัน มีกิจกรรมการปกครองรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นนอกรัฐ รวมทั้งมีลักษณะแบบพหุนิยมและอัตตาณัติที่ไม่ได้วางแผนหรือคาดการณ์ไว้หรือได้รับมอบหมายอำนาจให้กระทำ

ทุกคนต่างก็ปรารถนาที่จะเข้าใกล้อำนาจ ไม่ว่าอำนาจนั้นอยู่ที่ไหน รวมทั้งเสาะหาหนทางเข้าถึงผลกำไร กลุ่มคนที่ปรารถนาอำนาจและผลกำไรจำต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถหันเหทิศทางได้อย่างรวดเร็วเมื่อเงื่อนไขต่างๆ เปลี่ยนไป นี่คือเหตุผลที่จิตวิญญาณแบบผู้ประกอบการที่กล้าได้กล้าเสียจึงได้รับการยกย่องอย่างสูงในรัฐไทย คนไทยต้องรู้จักปรับตัวอย่างฉับพลันในสภาพการณ์ที่ผันแปร เช่นเดียวกับธุรกิจที่ต้องรู้จักยืดหยุ่นและปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจหรือตลาด อันที่จริงแล้วมีชุมทางอำนาจจำนวนมากที่ทำงานเหมือนองค์กรธุรกิจ เช่น บริษัท ทักษิณ จำกัด, บริษัท กองทัพบก จำกัด, บริษัท พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จำกัด ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ความหวั่นเกรงว่าคนอื่นจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ณ จุดเชื่อมโยงอำนาจจุดอื่นๆ คือสิ่งที่สกัดขัดขวางการกระทำที่บุ่มบ่ามและอาจชะลอการตัดสินใจให้ช้าลง ระบบนี้มีลักษณะบางอย่างที่จงใจทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างชะลอลง ความยืดหยุ่นและการปรับตัวมีความสำคัญก็จริง แต่ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบและความผ่อนหนักผ่อนเบาก็จำเป็นเท่าๆ กัน เพื่อให้การอุปมานี้เห็นภาพมากขึ้น ลองวาดภาพว่าจุดที่เป็นรอยต่อ/ชุมทางอำนาจเป็นสิ่งมีชีวิต มันสามารถแพร่พันธุ์/ผลิตซ้ำตัวเองได้ ราชวงศ์/สถาบันสูงสุดไม่ใช่ชุมทางอำนาจเดียวที่สามารถสืบทอดลูกหลาน กองทัพ กรมตำรวจ บรรษัทธุรกิจที่มีสายใยเชื่อมโยงกับชุมทางอำนาจก็สามารถสืบทอดลูกหลานของตัวเองได้เช่นกัน

ชุมทางหรือจุดเชื่อมโยงเหล่านี้ผูกพันกันอย่างไร? อะไรที่แล่นกลับไปกลับมาไปตามสายเคเบิลที่เชื่อมระหว่างจุดเชื่อมโยงต่างๆ? ต่อไปนี้คือบางตัวอย่างของสิ่งที่เคลื่อนไหวไปตามสายเคเบิลที่เชื่อมชุมทางอำนาจปกครอง

-สิ่งของ โดยเฉพาะของมีค่าทางวัตถุ การบริจาคและของขวัญ (จากบนสู่ล่างและจากล่างสู่บน) การแจก การจ่าย ค่าจ้าง เงินสินบน วัตถุที่เป็นแรงจูงใจให้ดำเนินการลุล่วง

-ข้อมูลและ “ข่าววงใน” ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความลับ การเปิดโปงอย่างแนบเนียน คำเตือนและการบอกใบ้ บางครั้งก็จริงบางครั้งก็หลอกเกี่ยวกับการพัฒนาที่กำลังจะเกิดขึ้น โอกาสที่กำลังจะมาถึงและไม่ใช่แค่โอกาสทางการค้าเท่านั้น ความรู้ทุกประเภท กล่าวกันว่าข่าวลือคือความรู้ของผู้ไร้อำนาจ แต่ในรัฐไทยข่าวลือมีความสำคัญในการเคลื่อนไหวผลักดันระหว่างชุมทางต่างๆ

-คำสั่งและข้อเรียกร้อง คำขอร้องเร่งด่วนที่เรียกร้องการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว การอ้อนวอนขอให้ช่วย หนี้บุญคุณ ข้อผูกมัด ข้อตกลง ความเข้าใจต่อกันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ สัญญาบางครั้งอาจต้องการลายลักษณ์อักษร แต่บางครั้งเพียงแค่ยกหูโทรศัพท์ไปหาก็พอแล้วต่อการทำให้บางอย่างลุล่วง

-ในทางตรงกันข้าม อะไรก็ตามที่เคลื่อนไหวอยู่ระหว่างจุดเชื่อมโยงก็อาจเผชิญแรงต้านทานได้ ทั้งความไม่พอใจ การขัดขืน การขัดขวาง หรือการปฏิเสธตรงๆ ความอิจฉาริษยาและความไม่ไว้วางใจเป็นแรงผลักดันการกระทำ การบิดเบือนข้อมูลและความไม่ลงรอยสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นไว้ได้

-ความสัมพันธ์ระหว่างชุมทางอำนาจอาจเป็นสายเลือดหรือการแต่งงาน หรือเส้นสายที่เกิดจากโรงเรียน มหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมรุ่นหรืออยู่หน่วยเดียวกันในกองทัพ มิตรภาพ ความเป็นเพื่อนและความภักดีที่เกิดจากวิถีชีวิตและการทำงานร่วมกัน ข้อผูกมัดของการต่างตอบแทนและการช่วยเหลือกันที่เกิดมาจากความเชื่อมโยงเหล่านี้

-การรวมศูนย์อำนาจที่ชุมทางต่างๆ จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์ พลวัตและความเคลื่อนไหว across the CJG ช่วยให้รัฐไทยสามารถแก้ไขตัวเองได้ในยามที่มีความตึงเครียดหรือความขัดแย้งมากเกินไป หรือเมื่ออำนาจถูกรวมศูนย์มากเกินไป ดังเช่นที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2548-2549 จนนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 การวิเคราะห์ในที่นี้มีส่วนคล้ายกับทฤษฎีระบบและรูปแบบโครงสร้าง-หน้าที่ ซึ่งนักทฤษฎีรัฐสมัยใหม่ละทิ้งกันไปนานแล้ว แต่ในที่นี้มันมีประโยชน์ที่เราจะนำโมเดลโครงสร้าง-หน้าที่มาใช้อธิบาย

การรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2534 และการรัฐประหาร 2549 สร้างความประหลาดใจแก่ผู้สันทัดกรณีทุกคน ทั้งนักข่าว นักวิชาการ รวมทั้งนักวิชาการชาวไทยเอง และนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคง ต่างพากันยอมรับว่าเหมือนถูกปลุกให้ตกใจตื่น ความคาดไม่ถึงนี้มีสาเหตุอยู่ CJG/รัฐไทยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ด้วยภาษาที่ใช้อธิบายในปัจจุบัน แว่นที่เราใช้มองรัฐไทยต้องเปลี่ยนเลนส์เสียใหม่ ในขณะนี้เรายังไม่ปรับโฟกัสและภาพทุกอย่างยังเบลออยู่

ภาพของรัฐไทยที่วาดให้เห็นนี้นำเสนอความเข้าใจถึงสิ่งที่ดำเนินไปตามความเป็นจริงมากขึ้น เราสามารถพูดถึงไม่เพียงแค่เครือข่ายสถาบันกษัตริย์ แต่สามารถพูดถึงเครือข่ายกรมตำรวจ เครือข่ายกองทัพ เครือข่ายกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เครือข่ายผู้พิพากษา ทำไมปมอันยุ่งเหยิงของชุมทางอำนาจเหล่านี้จึงยังคงมีอำนาจนำอยู่? ก็เพราะมันเป็นระบบที่ผลิตศูนย์กลางการปกครองที่มีหลายศูนย์ แต่ละศูนย์ก็มีอัตตาธิปไตยของตัวเอง ปมอันยุ่งเหยิงนี้ยังมีอำนาจนำ ก็เพราะมันเป็นการคานอำนาจในระบอบอัตตาธิปไตย เราต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง แต่เราไม่ต้องการผู้นำที่เข้มแข็ง หากเขา (หรือเธอ หรือเธอที่เป็นตัวแทนของเขา) ควบคุมชุมทางอำนาจมากเกินไป ถ้ามีการควบคุมมากเกินไป ถ้ามีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดมากเกินไป ระบบจะสูญเสียสมดุล คนจำนวนมากจะรู้สึกสั่นคลอนเมื่อมันเกิดขึ้น (ภาพสไลด์ที่ 4 เมื่อทักษิณอยู่ในอำนาจ)

 

ฉ.

ข้อสรุป โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนมองโลกในแง่ดี ผมมักเชื่อว่าสิ่งต่างๆ จะดีขึ้น ผมตื่นนอนทุกเช้าพร้อมกับความคิดว่าวันนี้ต้องเป็นวันดี ถึงแม้ผมมีเรื่องต้องกังวล เช่น การเขียนร่างคำบรรยายครั้งนี้ วันนี้อากาศน่าจะดีกว่าเมื่อวาน หนังสือเล่มต่อไปที่ผมอ่านน่าจะบอกอะไรบางอย่างที่ผมกำลังพยายามทำความเข้าใจเพื่อใช้ในโครงการวิจัยของผม ในการเลือกตั้งคราวหน้า เราน่าจะมีนายกรัฐมนตรีที่ดีกว่าคนก่อน นายกรัฐมนตรีคนต่อไปก็ต้องดีกว่าเพราะคนก่อนมันแย่มาก อ่อนแอ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่เด็ดขาด

แต่สำหรับการเมืองไทย ผมกลับมองโลกในแง่ร้าย ผมไม่มีข้อเสนอแนะสำหรับทางออก (ข้อเสนอทางออกที่เป็นไปได้สำหรับสังคมไทย) อะไรต่ออะไรไม่มีทางดีขึ้นอีกยาวนาน ทั้งนี้เพราะจารีตอัตตาธิปไตยนี้ฝังแน่นอยู่กับเรามานานเหลือเกิน และเพราะศูนย์กลางอำนาจหลายๆ ศูนย์ที่ก่อรูปขึ้นเป็นรัฐไทยนั้น ต่างก็สามารถดำเนินการเป็นเอกเทศของตัวเอง

ผมไม่คิดว่าการก้าวไปข้างหน้าจะเกิดขึ้นได้แม้แต่ก้าวเดียวก็เป็นไปไม่ได้ จนกว่าเราจะเข้าใจว่าความเป็นจริงคืออะไรในภูมิภาคที่แวดล้อมประเทศไทย รวมทั้งในประเทศไทยเอง ทุกหนแห่งมีแต่การปกครองแบบอัตตาธิปไตย และประชาชนก็ต้องการมันหรือมีมันอยู่แล้ว หรืออยากมีและไม่ยอมสลัดมันทิ้งไป



หมายเหตุ:

[1] ผมค้นดูในหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ David Streckfuss, Truth on Trial in Thailand (Routledge 2011) เพื่อดูว่าประเทศไทยสร้างหรือได้รับสืบทอดกฎหมายความมั่นคงภายในมาจากไหน แต่ผมไม่พบข้อสรุปที่ชี้ชัดเจน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กฎหมายความมั่นคงภายในของไทยได้รับแรงบันดาลใจจากกฎหมายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ผมค้นดูในหนังสือของ ธานินทร์ กรัยวิเชียร, การใช้กฎหมายป้องกันคอมมิวนิสต์ (1974) แต่ก็ค้นไม่พบเช่นกันว่ากฎหมายนี้มีต้นตอมาจากไหน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คนงานไทยร้องเรียน ถูกนายหน้าหลอกทำงานอิสราเอลแต่ไม่ได้ไป

$
0
0

คนงานไทยร้องเรียน กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน-กรมการจัดหางาน ถูกหลอกมีงานให้ทำที่อิสราเอล เผยนายหน้าเรียกเงินคนละ 70,000 - 100,000 แสนบาท ถึงกำหนดบินเลื่อนนัด เผยมีเหยื่อถูกหลอกในหลายจังหวัดกว่า 20 คน

4 ส.ค. 54 - น.ส.สุธาสินี แก้วเหล็กไหล โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย พร้อมด้วยแรงงานไทยจำนวน 5 คนได้มาร้องเรียนว่าถูกนายหน้าจัดหางานไปทำงานเป็นคนงานในสวนดอกไม้ที่ประเทศอิสราเอล โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการส่งไปทำงานคนละ 70,000 - 100,000 แสนบาท ซึ่งมีแรงงานจากจังหวัดต่างๆ เช่น สุโขทัย ตาก พิษณุโลก อุดรธานี ถูกหลอกลวงด้วยรวมประมาณ 20 คน

คนงานหญิงอายุ 34 ปี ชาว จ.สุโขทัย กล่าวว่า เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2553 ได้มีเพื่อนมาชักชวนให้ไปทำงานเป็นคนงานในสวนดอกไม้ที่ประเทศอิสราเอล โดยมีนายหน้าเรียกเก็บค่าใช้จ่ายคน 70,000 - 100,000 แสนบาท และนัดเดินทางบินไปประเทศอิสราเองในวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่ามา แต่เมื่อถึงกำหนดนัดกลับขอเลื่อนกำหนดเดินทางมาเป็นระยะ ดังนั้น ตนกับเพื่อนๆ จึงมาร้องเรียนต่อกรมการจัดหางาน เพื่อเรียกร้องเงินค่านายหน้าคืนและดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายกับนายอิทธิพล ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีแรงงานจากจังหวัดต่างๆ ที่จ่ายเงินค่านายหน้าให้แก่นายอิทธิพลไปแล้ว 14 คน ได้ไปแจ้งความกับตำรวจไว้แล้ว

ทั้งนี้ นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางานได้รับเรื่องไว้ และมอบให้นางอาทิตยา เล็กวานิช หัวหน้าฝ่ายวิชาการและแผนงาน กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน (กกจ.)ไปดำเนินการต่อ ซึ่งนางอาทิตยาได้ให้แรงงานทุกคนเขียนร้องทุกข์ไว้และตรวจสอบข้อมูลนายหน้าในกรณีนี้ ว่าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ กกจ.พบว่า ก่อนหน้านี้นายหน้าคนนี้ได้ถูกแรงงานกลุ่มอื่นร้องเรียนกรณีหลอกลวงคนงานไปทำงานที่อิสราเอลมาก่อน และตำรวจกำลังจะออกหมายจับ

ทั้งนี้นางอาทิตยา กล่าวว่า ขอให้ แรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศตรวจสอบนายหน้าด้วยว่าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่หรือถูกใช้ใบอนุญาต โดยดูข้อมูลได้ที่ www.doe.go.th โทร.0-2248-2278 หรือหากถูกหลอกลวง ติดต่อร้องทุกข์โทร. 0-2248-4792

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

TCIJ: ลอบวางเพลิงชุมนุมในที่พิพาทสวนปาล์มสุราษฎร์ วอด 3 หลัง

$
0
0

 ที่มา: ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ)

  

 

วันนี้ (4 ส.ค.53) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านชาวบ้านในชุมชนคลองไทรพัฒนา หมู่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี คาดว่าเป็นฝีมือกลุ่มอิทธิพลที่ได้รับผลประโยชน์จากการซื้อขายที่ดินสวนปาล์มที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการฟ้องร้องดำเนินคดีกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยกลุ่มอิทธิพลดังกล่าวเคยเข้ามายิงข่มขู่ในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านย้ายออกจากพื้นที่ก่อนหน้านี้

ชาวบ้านที่อยู่เหตุการณ์เล่าว่าเมื่อเห็นเปลวเพลิงได้พยายามเข้าไปดับไฟ แต่กลับได้ยินเสียงปืนยิงรัวจากบริเวณที่เกิดเหตุทำให้ไม่กล้าเข้าไปใกล้ และได้พยายามโทรแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ชัยบุรี ซึ่งเจ้าหน้าที่รับปากจะเข้ามาตรวจสอบ แต่ก็ไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านต้องปล่อยให้เพลิงลุกไหม้และดับมอดไปเอง จนกระทั่งตอนเช้าจึงได้เข้าสำรวจความเสียหาย

จากการสำรวจพื้นที่พบว่า บ้าน 3 หลัง ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางชุมชนถูกเพลิงเผาไหม้ทั้งหลัง และยังไม่ทราบความเสียหายต่อทรัพย์สิน อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว เนื่องจากเจ้าของบ้านได้ย้ายออกไปอยู่กับญาติภายนอกชุมชนก่อนหน้านี้ เนื่องจากเกรงกลัวกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่

ทั้งนี้ ชุมชนคลองไทรพัฒนา หมู่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี เป็นสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประสานการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินกับรัฐบาลโดยการจัดทำโฉนดชุมชน โดยเป็น  1 ใน 35 พื้นที่นำร่องจัดทำโฉนดชุมชน ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สื่อเยอรมันชี้ กรณีวอลเตอร์บาวอาจสะเทือนความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนี

$
0
0

นสพ.สปีเกลของเยอรมนีเปิดเผยเบื้องหลังการดำเนินการอายัดเครื่องบิน ระบุหากทางการไทยยังไม่ชำระค่าชดเชยให้วอลเตอร์ บาว รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องใช้ไม้แข็งกับไทย โดยลดความสัมพันธ์ทางการค้า และอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศ มิเช่นนั้น ทางการเยอรมนีอาจต้องชำระหนี้ให้วอลเตอร์ บาวแทน

หนังสือพิมพ์สปีเกล (Spiegel) ของเยอรมนี ได้รายงานความคืบหน้าของกรณีพิพาทระหว่างไทย-เยอรมนี เกี่ยวกับการอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 โดยอ้างรายงานของศาสตราจารย์คริสตอฟ เพาลัส ประจำมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายการล้มละลาย ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลเยอรมนีควรทำทุกวิถีทางในอำนาจ เพื่อบังคับให้ทางการไทยจ่ายค่าชดเชยจำนวนกว่า 30 ล้านยูโร คืนให้บริษัทวอลเตอร์ บาว โดยมาตรการดังกล่าวรวมถึงการลดความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-เยอรมนี และการอายัดทรัพย์สินต่างชาติ มิเช่นนั้น รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวให้กับบริษัทวอลเตอร์ บาวแทน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา สถานทูตเยอรมนีได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชำระค่าชดเชยที่ยังคงชำระต่อบริษัทวอลเตอร์ บาว เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และระบุด้วยว่า ทางผู้ลงทุนจะจับตากรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด


เผยเบื้องหลังการอายัดเครื่องบิน

หนังสือพิมพ์สปีเกล ยังได้เปิดเผยเบื้องหลังการดำเนินการอายัดเครื่องบินของนายแวร์เนอร์ ชไนเดอร์ ผู้พิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทวอลเตอร์ บาวว่า ในระยะสองปีที่ผ่านมา นายชไนเดอร์ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเจรจาการยุติข้อพิพาทดังกล่าวหลายครั้ง ตามด้วยจดหมายเตือนจำนวนหลายฉบับ หากแต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทางการไทยแต่อย่างใด จนทำให้นายชไนเดอร์จำเป็นต้องใช้มาตรการขั้นสุดท้าย คือการอายัดทรัพย์สิน โดยได้เริ่มเล็งตรวจสอบเครื่องบินโบอิ้งของรัฐไทย

สปีเกลระบุว่า นายชไนเดอร์ได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวนิรนามจากกรุงเทพฯ ทางแฟกซ์ อันประกอบด้วยข้อมูลเส้นทางการบินของเครื่องบินลำดังกล่าว รวมถึงใบทะเบียน หมายเลขไฟล์ท และชื่อของนักบิน โดยพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 มีกำหนดการมาลงจอดที่สนามบินมิวนิควันที่ 21 พ.ค. 54 และจะประจำอยู่จนถึง 8 ส.ค. 54 และมีแผนการบินไปยังหลายแห่ง เช่น สนามบินเมมมิงเงน (Memmingen) (ห่างจากเมืองมิวนิค 100 กิโลเมตร) กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และกรุงลอนดอน นสพ.สปีเกลรายงานว่า นายชไนเดอร์ได้ว่าจ้างนักศึกษาเพื่อให้บันทึกความเคลื่อนไหวของเครื่องบินลำดังกล่าว และปรากฏว่าความเคลื่อนไหวของเครื่องบินเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับทุกประการ ทางผู้พิทักษ์ทรัพย์ของวอลเตอร์ บาว จึงได้ดำเนินการร้องขอคำสั่งจากศาล โดยในครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ เพราะศาลแขวงมิวนิคพิจารณาว่าไม่มีอำนาจตัดสิน เนื่องจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สวมใส่เครื่องแบบ ทำให้มีภูมิคุ้มกันทางการทูต แต่ประสบความสำเร็จในครั้งต่อมา เมื่อนายชไนเดอร์นำคดีดังกล่าวไปดำเนินการที่ศาลในกรุงเบอร์ลิน

อัยการสูงสุดเตรียมเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน เพื่อยุติกรณี วอลเตอร์ บาววันนี้
ล่าสุด (4 ส.ค.54) สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือกับอัยการสูงสุด ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการสู้คดีกับ บริษัทวอลเตอร์ บาว ของเยอรมนี ซึ่งถือหุ้นใน บริษัทดอนเมือง โทลล์เวย์ อายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์จากกรณีข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทย กับ บริษัทวอลเตอร์ บาว ว่า รัฐบาลต้องการให้คดีนี้สิ้นสุดโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสถาบันพระมหากษัตริย์ วันนี้อัยการสูงสุดจะเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เพื่อเร่งรัดให้ได้ข้อยุติที่ดี คาดว่าไม่เกิน 3 วัน น่าจะมีความคืบหน้า ขอยืนยันว่ารัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหา โดยไม่ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ขณะนี้ ยังไม่มีการวางเงินเพื่อถอนอายัดแต่อย่างใด


ทางการไทย ย้ำจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการดำเนินการสู้คดีทั้งหมด

ทั้งนี้ หลังจากที่สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 ก.ค. เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ว่า พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานจะใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อนำไปยุติกรณีพิพาทดังกล่าวจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อถอนอายัดพระราชพาหนะ ทำให้ทางการไทยจัดประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยนายอำพล กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดพิเศษว่า คณะรัฐมนตรีได้รับทราบตามแนวทางและพระราชวินิจฉัย และเห็นชอบอนุมัติเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี เช่น ค่าว่าจ้างทนาย โดยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการสู้คดีทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Spiegel. Thailand Pledges to Settle Dispute Over Prince's Jet. 3 ส.ค.54
สถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ยืนยัน ไทยต้องชำระค่าชดเชยตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ, 26 ก.ค. 54

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธปท. ชี้รายได้เฉลี่ยลูกจ้างไทยไม่พอยาไส้ ด้าน 7-11 หนุนค่าแรง 300 บาท

$
0
0

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยลูกจ้างไทยยุคหมู-ไก่-ไข่แพงรายวันไม่พอยาไส้ ด้านบริษัทซีพีออลล์ บริษัทแม่ 7-11  ยันหนุนนโยบายรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 300 บาท พร้อมรับแรงงานปริญญาตรี 15,000 บาท

 

4 ส.ค. 54 – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำในประเทศไทยที่มีอาชีพลูกจ้างและพนักงาน ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ล่าสุด สิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่มีงานทำที่เป็นลูกจ้างทั้งสิ้น 17,310,300 คน แบ่งเป็นลูกจ้างในภาครัฐบาล 3,560,000 คน และเป็นลูกจ้างในภาคเอกชน 13,750,300 คน พบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างล่าสุด ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า ลูกจ้างไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 9,775.1 บาทเท่านั้น

ทั้งนี้ หากแยกเป็นผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างในภาคเกษตรกรรมพบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 4,900.3 บาท ขณะที่ผู้ที่มีงานทำในภาคนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งหมายรวมถึงภาคก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคบริการ มีรายได้เฉลี่ย 10,501.5 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสำหรับค่าจ้างแรงงานโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้น 5% ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานในภาคเกษตรกรรม ปรับเพิ่มขึ้น 11% ค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้า และการบริการ ปรับเพิ่มขึ้น 5.6%

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ภาวะตลาดแรงงานยังคงตึงตัว โดยสัดส่วนจำนวนตำแหน่งงานว่างและผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าอัตราการว่างงานในช่วงต่อไปจะต่ำลงได้ เนื่องจากดัชนีชี้ความยากง่ายในการทำงาน ระบุว่า การหางานจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าในเดือนที่ผ่านมา

ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในขณะนี้รายได้ของลูกจ้างยังต่ำ จึงควรจะได้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จนกระทั่งกลายเป็นการสร้างปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งของสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรจะขึ้นค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่ควรจะที่เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และศักยภาพในการผลิต และทักษะแรงงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าจ้างแรงงานใหม่ เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นด้วย

ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น โดยตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหักเงินเฟ้อแล้ว ยังไม่ฟื้นตัว หรือมีระดับต่ำกว่าในช่วงปี 2540 หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเท่าที่มีการประเมินค่าจ้างที่ขึ้น หักเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานยังมีช่องว่างสามารถให้ปรับขึ้นได้ 10% แต่หากปรับขึ้นครั้งเดียว 300 บาท หรือประมาณ 40% อาจจะส่งผลให้ภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงแล้วก็ควร เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่ออนาคตประเทศควบคู่ไปด้วย

ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวถึงการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ว่า เป็นมติที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้แล้วว่า ในที่สุดสหรัฐฯน่าจะแก้ปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้ผ่านไปก่อนเท่านั้น แต่ในระยะยาวปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอยังคงเป็นปัญหาที่กระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกของสหรัฐฯบ้าง ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น การส่งออกในช่วงต่อไปอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากกำลังซื้อจากสหรัฐฯที่ลดลง โดยประเทศไทยมีสัดส่วนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 11% ของการส่งออกรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ผู้ส่งออกของไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในจีน อาเซียน และอื่นๆ มากขึ้น โดย ธปท.คงต้องจับตาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในระยะต่อไป

7-11 หนุนนโยบายรัฐปรับค่าแรง 300

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง 7-11 กล่าวในงานเสวนาพิเศษ การปรับตัวของภาคธุรกิจในยุครัฐบาลใหม่ว่า ซีพีออลล์พร้อมปฏิบัติตามนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลถึงแม้ว่านโยบายดังกล่าว จะกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่ก็พร้อมปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะการปรับขึ้นค่าแรง ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง

ขณะเดียวกัน ซีพีออลล์ มีความพร้อมที่จะรับแรงงานปริญญาตรีจบใหม่ 10,000 อัตรา เข้าทำงานในทันที นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลชุดใหม่ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภาคบริการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่การออกกฎหมายควบคุมธุรกิจค้าปลีก ขณะเดียวกัน ต้องลดแรงงานภาคเกษตรลง

 

ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: ไทยรัฐ, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สำนักพระราชวังประกาศงดไว้ทุกข์ 12 ส.ค. 1 วัน

$
0
0

ประกาศสำนักพระราชวัง
เรื่อง งดการไว้ทุกข์ในราชสำนัก

ตามประกาศสำนักพระราชวังลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวาย สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไปนั้น

เลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้งดไว้ทุกข์ในราชสำนัก 1 วัน เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม 2554

สำนักพระราชวัง

4 สิงหาคม พุทธศักราช 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live




Latest Images