Quantcast
Channel: ประชาไท Prachatai.com
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live

คดีฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. - ผบช.น. มั่นใจจะออกหมายจับได้เพิ่มแน่ๆ ผิดถึงใครจับคนนั้น

$
0
0

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกล่าวถึงการค้นรถทนายจากศูนย์ทนายความฯ ที่ศาลทหาร ว่ามีการค้นรถจริง แต่ไม่ทราบว่าเป็นรถทนาย เพราะตอนสอบปากคำ 14 ผู้ต้องหาบอกว่าไม่มีทนาย ส่วนสิ่งของที่ยึดได้ ถ้านำมาออกหมายจับได้จะดำเนินการต่อ ยืนยันว่าผิดถึงใครก็จะจับคนนั้น

พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ที่มา: มติชนทีวี)

28 มิ.ย. 2558 - พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ยืนยันกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นรถของ น.ส.ศศิกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่จอดอยู่บริเวณศาลทหารเมื่อวานนี้ (27 มิ.ย.) โดยในคลิปรายงานข่าวของมติชนทีวีพล.ต.ท.ศรีวราห์ กล่าวว่า "มีการค้นรถ แต่มีทนายหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นเขาแจ้งว่ามีทนายเลย อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าทนายยังไม่มี เราไปสอบปากคำเขายังไม่ให้สอบเพราะเขาอ้างว่าไม่มีทนาย" สำหรับเหตุผลที่ต้องค้นรถนั้น พล.ต.ท.ศรีวราห์กล่าวว่า เพราะมีหลักฐานสำคัญ มีของเข้าข่ายต้องยึด มีไว้ได้มาเพื่อใช้ในการกระทำความผิด

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า "ทราบอยู่แล้วว่ามี?" พล.ต.ท.ศรีวราห์กล่าวว่า "มีผู้แจ้ง" สำหรับสิ่งที่ยึดได้เป็นของกลาง พล.ต.ท.ศรีวราห์ตอบว่า "อยู่ในสำนวน" โดยระบุว่าจะยึดไว้ก่อนเพราะยังไม่สิ้นสุดการพิจารณากระบวนการ โดยจากหลักฐานที่ได้มานั้น พล.ต.ท.ศรีวราห์ กล่าวว่า "ถ้าออกหมายจับได้สำหรับผู้สนับสนุนคนร้ายก็จะออกหมายจับต่อ"

กรณีที่เจ้าของรถโต้แย้งว่า ตำรวจนำวัตถุพยานบางอย่างไปแล้วนำกลับเข้ามา พล.ต.ท.ศรีวราห์ กล่าวว่า "ไม่ทราบ ก็เป็นสิทธิที่จะโต้แย้ง" นอกจากนี้ พล.ต.ท.ศรีวราห์ กล่าวด้วยว่า การค้นรถเป็นอำนาจเจ้าพนักงานอยู่แล้วในการค้นตามกฎหมาย ไม่ต้องขอหมายค้น แต่กรณีได้ขอหมาย

ส่วนการทำกิจกรรมต่อเนื่องของนักศึกษา พล.ต.ท.ศรีวราห์ กล่าวว่า ทำได้ภายในขอบเขตของกฎหมาย ถ้าทำนอกขอบเขตจะดำเนินการทางกฎหมาย ส่วนพยานหลักฐานที่ได้มา จะนำไปดำเนินการออกหมายจับต่อ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า พยานหลักฐานได้มาจะนำไปออกหมายจับคนสั่งการหรือไม่ พล.ต.ท.ศรีวราห์ กล่าวว่า "ตอบได้เท่านี้ตามสำนวน แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังไม่สิ้นกระแส"

เมื่อถามว่าจะออกหมายจับได้เพิ่มหรือว่า พล.ต.ท.ศรีวราห์ ตอบว่า "ผมเชื่อว่าได้แน่ ต้องให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ยังไม่จำเป็นต้องผู้บัญชาการตำรวจนครบาลต้องลงไปดูแลเอง ยืนยันว่าผิดถึงใครก็จะจับคนนั้น ทุกข้อหา" พล.ต.ท.ศรีวราห์ ระบุด้วยว่า "หน้าที่ของ ผบช.น. คือทำสำนวนคดีอาญา ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมือง"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้กลางดึกของคืนวันที่ 26 มิ.ย. ที่ศาลทหาร กระทรวงกลาโหม เขตพระนคร พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ขอค้นรถของทนายความ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ภายหลังศาลทหารอนุมัติฝากขัง 14 ผู้ต้องหาที่เป็นนักศึกษาและเยาวชน ในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ข้อ 12 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116

ทั้งนี้ตำรวจอ้างว่าต้องการตามหาโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด แต่ทนายความไม่ยอมเพราะตำรวจไม่มีหมายค้น โดยตำรวจได้ใช้กระดาษติดเทปกาว ติดบริเวณที่เปิดประตูรถยนต์ทุกด้าน ล็อกล้อรถยนต์ และใช้แผงกั้นล้อมรถ ขณะที่ทีมทนายความได้เฝ้ารถยนต์ไว้ตลอดทั้งคืน และนำหมายค้นมาในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 27 มิ.ย.

ทั้งนี้ทนายความเห็นว่าตำรวจไม่มีอำนาจในการกักรถ จึงจะแจ้งความกลับฐานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ มาตรา 157 และ กักขังหน่วงเหนี่ยว ตามมาตรา 309 นอกจากนี้ ขณะที่ตำรวจตรวจยึดโทรศัพท์มือถือไป 5 เครื่อง ไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ต้องให้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานปิดผนึกเครื่องและให้ทุกฝ่ายลงชื่อกำกับ แต่ตำรวจเอามือถือวิ่งขึ้นรถมอเตอร์ไซค์หายไป โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ระบุว่า การกระทำเช่นนี้เป็นการกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ หลังจากผ่านไปประมาณสิบกว่านาทีตำรวจรู้ว่าทำผิดจึงวนรถเอามาคืนแต่เป็นรถคนละคัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ขณะเดียวกันที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อเวลา 17.00 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อาทิ กฤษฎางค์ นุตจรัส และเยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ได้แถลงข่าวกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจค้นรถยนต์ทนายด้วย โดยผู้สื่อข่าวจะรายงานรายละเอียดของการแถลงข่าวต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'บ้านเมืองยังไม่ปกติ 'วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เขียนถึง แมน ปกรณ์ 1ใน14 นักศึกษาที่ถูกจับกุม

$
0
0

 


ผมเลิกเขียนเรื่องการเมืองมาสักพักแล้ว...

ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ผมเขียน ผมมีความตั้งใจเดียว นั่นคือพยายามทำให้คนเข้าใจกันมากขึ้น เห็นใจกันมากขึ้น ยอมรับในความแตกต่างของกันและกันได้มากขึ้น

แต่ดูเหมือนว่าทุกความพยายาม จะนำมาแต่ผลตรงกันข้าม บทความการเมืองออนไลน์ของผม น้อยครั้งเหลือเกินที่จะเปลี่ยนความคิดอะไรของใครได้ ทำได้ก็เพียงแค่เรียกคนจำนวนมากที่มีความคิดในแบบของตนอยู่แล้ว มาระบายความเกลียดชังต่อกัน ด่าทอกัน ส่วนกับผู้เขียนอย่างผม ใครเห็นด้วยเขาก็ชม ใครไม่เห็นด้วยเขาก็ด่า ก็แค่นั้น

...เปล่าประโยชน์

แต่ในวันนี้ วันที่บ้านเมืองยังไม่ปกติดี ผมอยากจะขอลองดูอีกครั้ง...
——————-
บ้านเมืองยังไม่ปกติดี...

รูปทางซ้ายคือตัวผมเมื่อตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ตอนนั้นกลุ่มนักกิจกรรมในธรรมศาสตร์ และอีกหลายๆมหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันทำกิจกรรมการเมืองมากมายในการต่อต้านเครือข่ายของอดีตนายกฯทักษิณ และคัดค้านพรรคพลังประชาชน ผมเองตอนปีสามปีสี่ก็ active มากๆในกิจกรรมนี้ พวกเราพยายามล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อ เพื่อถอดถอนคุณทักษิณ และพยายามรณรงค์ให้คนกางดออกเสียง (Vote No) ในการเลือกตั้ง

ตอนนั้นบ้านเรายังไม่มี Social Network และยังไม่เบื่อหน่ายกับม็อบและการชุมนุมเช่นในปัจจุบันมากนัก ผมจำได้ว่าตอนรณรงค์ Vote No พวกเรานักศึกษาหลายสิบคน ได้ไปเดินขบวนในพื้นที่สาธารณะหลายๆพื้นที่ เพื่อชักชวนประชาชนให้หันมาสนใจกิจกรรมของพวกเรา และก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากหลายๆคน และมีบางคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ก็เดินเข้ามาคุยด้วย แลกเปลี่ยนกันด้วยดี แล้วก็แยกย้ายกันไป

ทำเสร็จเราก็กลับบ้าน ไปหาพ่อหาแม่ วันต่อมาเราก็ไปเรียนได้ตามปกติ

ไม่โดนจับ ไม่ต้องแบกรับความเกลียดชังของใคร

แค่ทำตามความเชื่อของตัวเอง

อีกภาพหนึ่งคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ที่นักศึกษา 14 คนที่มีส่วนร่วมในการในการทำกิจกรรมต้านรัฐประหารเมื่อวันครบรอบ 1 ปีรัฐประหาร 22 พ.ค.ที่ผ่านมา โดนจับกุมตัวไปตามหมายจับศาลทหาร ข้อหาขัดคำสั่ง คสช. และผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐตามประมวลกฎหมายอาญา ม.116

เมื่อคืนทั้ง 14 คนต้องนอนคุก และจะต้องถูกฝากขังทั้งสิ้น 12 วัน ในนั้น 13 คนเป็นผู้ชายและถูกส่งไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ขณะที่มีน้องอีกคนหนึ่งเป็นผู้หญิงที่ต้องถูกแยกไปขังไว้ที่ทัณฑสถานหญิงเพียงคนเดียว ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีในศาลทหารต่อไป และข้อหาที่พวกเขาถูกแจ้ง อาจจะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะต้องติดคุกถึง 7 ปี

เพราะเขายืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ พวกเขาจึงถูกด่าทอมากมายจากสังคม โดนกล่าวหาว่ามีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง (โดยไม่มีหลักฐานใดๆ)

เพราะเขาและเธอต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพ น้องๆเหล่านี้กำลังจะสูญเสียอิสรภาพของตัวเองไป

สิบปีผ่านมาจากวันเวลาในรั้วมหาวิทยาลัยของผม และนี่คือจุดที่เราอยู่

สังคมอุดมความเกลียดชัง สังคมที่ผู้มีอำนาจ อยากจะทำอะไรก็ได้ กลับมาอีกครั้ง

สังคมที่นักศึกษา ผู้ที่มีสถานะพิเศษ ในการมีชีวิตอยู่โดยปราศจากพันธนาการของผลประโยชน์และภาระของโลกใดๆ ไม่มีโอกาสร้องบอกกับสังคมได้ว่า ความถูกต้องในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด คืออะไร

บ้านเมืองยังไม่ปกติดี

แน่นอนว่าย่อมไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยกับน้องๆเค้า ผมเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับน้องๆเค้า 100 เปอร์เซ็นต์

แต่ผมรู้สึกว่า ในห้วงยามเช่นนี้ “ความเห็นด้วย” มิใช่เรื่องสำคัญที่สุด

สิ่งที่ผมเห็น คือคนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งที่กล้าหาญ กล้ายืนหยัดในความศรัทธาของตน กำลังจะถูกทำให้หายไปจากความทรงจำของผู้คน ถูกทำให้หมดอนาคตไปทั้งชีวิต เพียงเพราะเขากล้าพูดในสิ่งที่เขาคิด

เหมือนกับ “คน” ทุกคนที่ต้องล้มตาย ต้องถูกกักขัง ในทุกๆการชุมนุมที่ผ่านมา

มันไม่สำคัญเลยว่าสิ่งที่พวกเขาอยากจะพูด เป็นสิ่งเดียวกับที่ผมหรือคุณอยากพูดหรือไม่

สิ่งที่สำคัญคือ เราทุกคน ควรจะมีสิทธิ์เท่าเทียมกันที่จะพูดมันมิใช่หรือ

มันไม่สำคัญเลย ที่เราอยากเห็นบ้านเมืองในอุดมคติที่แตกต่างกัน
สิ่งที่สำคัญคือการหยืดหยัดเพื่อศรัทธาของตนเองนั้น ล้วนแล้วเป็นการกระทำที่น่านับถือทั้งสิ้นมิใช่หรือ

มันไม่สำคัญเลย ที่เราจะแตกต่างกันในความคิด

ถ้าจิตใจของเราต้องการสิ่งเดียวกัน คือสังคมที่เป็นธรรม และโลกที่ดีขึ้นสำหรับคนทุกคน

เราจะปล่อยให้เพียง “ความคิดไม่เหมือนกัน” เป็นความผิดมหันต์ ที่อนุญาตให้เราปล่อยคนกลุ่มหนึ่ง และอีกหลายๆกลุ่ม ถูกบังคับไปสู่การถูกพันธนาการจองจำ เช่นนั้นหรือ ?


ภาพโดย สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์
 

ในรั้วมหาวิทยาลัย ผมเคยพยายามสู้กับสิ่งที่ถูกเรียกว่าระบบทักษิณ จนมาวันนี้ดูเหมือนว่าสิ่งนั้นจะหายไปแล้ว

แต่ในวันนี้ สังคมเราดีขึ้นแล้วจริงๆหรือ?

สำหรับผม... มันยังไม่ดีพอ

แล้วเราก็ไม่ควรหยุดเดินต่อ เพื่อให้มันดีกว่านี้

ในบรรดาคนหนุ่มสาวที่ถูกจับไป ผมรู้จักน้องคนหนึ่งค่อนข้างดี คือน้อง แมน ปกรณ์ อารีกุล

แมนอายุ 26 ปี เป็นเด็กบ้านนอก เขาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายที่ดิน 4 ฉบับเพื่อคนจนมานาน ตั้งแต่สมัยรัฐบาลหลายรัฐบาลก่อนๆหน้านี้

หลายคนทวงถามว่านักศึกษาหายไปไหนในสมัยทรราชย์ครองเมือง ผมเองไม่สามารถยืนยันให้กับทุกคนได้ แต่กับแมน ผมกล้าบอกว่าแมนเขาไม่เคยหายไปไหน เขาสู้เรื่องนี้มาตลอด และไม่เคยแคร์ว่ารัฐบาลคือใคร เขาแค่แคร์ว่าความเป็นธรรมคืออะไร และในความคิดของเขา ในสมัยที่เป็นประชาธิปไตย อย่างน้อยพวกเขาก็ยังสามารถออกมาประท้วงได้เรื่อยๆ เทียบกับตอนนี้ที่ไม่มีสิทธิ์เอ่ยเสียงใดๆ

หลายคนคิดว่าการที่ทหารจับนับศึกษาไป ก็เพื่อสร้างความกลัวไม่ให้ใครกล้าออกมาพูดอะไรขัดหูขัดตาอีก

แต่สิ่งที่ผมได้จากแมนและเพื่อนๆ ไม่ใช่ความกลัว แต่คือแรงบันดาลที่จะออกมาพูดเสียงดังๆอีกครั้งว่า “บ้านเมืองยังไม่ปกติดี”

อีกไม่นานนี้ผมก็คาดและหวังว่า จะเริ่มมีการเริ่มล่ารายชื่อ เพื่อให้ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คนอย่างไม่มีเงื่อนไข

ผมเองขอออกชื่อตัวเองไว้ก่อน ณ ที่นี้

และก่อนหน้านี้ แมน พยายามจะชวนผมไปกินเบียร์เชียร์บอลกัน ซึ่งก็น่าเสียดาย ด้วยความยุ่งในหน้าที่การงาน ผมเองก็ไม่ได้ไปเจอน้องสักที

แล้วรีบออกมากินเบียร์กันนะมึง ไอ้น้อง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตื่นเถิดสหายสิทธิ์ (อย่ามัวแต่คุยกันเอง)

$
0
0

ณ ชายขอบของงานประชุมเสรีภาพออสโล (Oslo Freedom Forum-OFF) นักกิจกรรมชาวตูนีเซียที่มีนามว่าอามีร่า ยายาอุย (Amira Yahyaoui)ได้แสดงทัศนะเชิงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการทำงานของชุมชนนักสิทธิมนุษยชนเอาไว้อย่างแหลมคม

ฉันเพิ่งเดินทางกลับจากการไปร่วมงานประชุมเสรีภาพออสโล หรือที่ใครๆต่างพากันเรียกว่า “ดาวอสของนักปฏิวัติ”[i]งานนี้ หากจะเรียกว่าเป็นเวทีการประชุมด้านสิทธิมนุษยชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นเวทีที่ประกอบไปด้วยวิทยากรซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ปีนี้ก็เช่นกัน ไม่เป็นที่น่าผิดหวัง เพราะมีทั้ง ซีเน็บ เอล-ฮาซุยอี (Zineb El Rhazoui) คอลัมนิสต์ นิตยสารชาร์ลี เอ็บโด ซึ่ง ได้ขึ้นกล่าวสดุดีไว้อาลัยแก่เพื่อนร่วมงานของเธอที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์สังหารหมู่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้อย่างปลุกเร้า, ชีราซ มาเฮอร์ (Shiraz Maher) อดีตสมาชิกกลุ่มฮิซบุตาห์รีร์ (Hizb ut-Tahrir) ที่มาให้แง่คิดว่าเหตุใดความสุดโต่ง (ในที่นี้หมายถึง ความเชื่อทางศาสนาอิสลาม-ผู้แปล) จึงเป็นที่นิยม, และ จีซุงโฮ (Ji Seong Ho) ที่เล่าย้อนถึงความพยายามที่เป็นไปไม่ได้ของเขาหลายต่อหลายครั้งในการหลบหนีออกจากประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งในตอนท้ายของการนำเสนอนี้ ทำเอาล่ามของเขาถึงกับกลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่

แต่อย่างไรก็ดี ช่วงโปรดของฉันคือ ตอนที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับอามีร่า ยายาอุย นักกิจกรรมชาวตูนีเซีย แบบตัวต่อตัว

ในปี 2004 ยายาอุยในวัยยี่สิบปี ต้องหนีไปอยู่ปารีสหลังจากที่เธอถูกตำรวจลับติดตามตัว จากการที่เธอเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดี เซน เอล-อาเบอดีน เบน อาลี (Zine el-Abidine Ben Ali) เธอสามารถกลับเข้าประเทศบ้านเกิดได้อีกครั้งหลังการปฏิวัติโค่นล้มอำนาจเผด็จการ ‘อาหรับสปริง’ ในปี 2011 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเธอได้กลายเป็นหนึ่งในนักสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง แต่นั่นก็ไม่ทำให้เธอหยุดพูดในสิ่งที่เธอคิด

บนเวทีในงาน OFFเธอได้วิพากษ์วิจารณ์ชุมชนนักสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ และย้ำเตือนถึงอันตรายในการทำงานของนักสิทธิมนุษยชนที่ดูเหมือนจะอยู่แต่กับความพึงพอใจในกลุ่มของตนเองและขาดความเชื่อมโยงกับประชาชนทั่วไป หลังจากที่ได้ฟังสิ่งที่เธอพูดบนเวที ฉันรู้สึกว่ายังมีประเด็นอีกมากมายที่อยากจะคุยกับเธอ ระหว่างพักเบรค ฉันจึงตามหาเธอเพื่อขอสัมภาษณ์ ซึ่งเธอได้เล่าเกี่ยวกับการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศตูนีเซีย  -- รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์โลกขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ ได้อย่างคมคาย

บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ถูกเรียบเรียงใหม่เพื่อความกระชับและชัดเจน


FP: ในการนำเสนอของคุณบนเวที คุณพูดเกี่ยวกับการขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชน ทำไมคุณจึงเลือกที่จะโฟกัสประเด็นนี้?

ยายาอุย: พวกเราต่างก็โฟกัสประเด็นสิทธิมนุษยชนกันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิที่จะเชื่อ สิทธิที่จะทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ -- แต่เราไม่พูดถึงชีวิตของประชาชนทั่วๆไป ในประเทศตูนีเซียถึงแม้ตอนนี้เราจะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแล้ว แต่เสรีภาพนี้ถูกใช้โดยกลุ่มคนเพียงแค่หยิบมือเดียว ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดียวกับที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพนี้มาโดยตลอด แน่นอน มันเป็นสิทธิที่สำคัญมาก แต่นอกจากประเด็นนี้ ยังมีประเด็นอื่นอีกมากมายที่อาจฟังดูไม่เซ็กซี่เพียงพอสำหรับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แต่ใช่ว่าจะมีความสำคัญน้อยไปกว่ากัน เช่น ความยุติธรรมทางสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมือง พวกเรา [นักกิจกรรม] ต่างมีส่วนร่วมทางการเมือง พวกเราได้สิทธินี้ แต่สำหรับคนอื่นๆแล้วนั้น การจะเข้าถึงสิทธินี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

ฉันขอยกตัวอย่างง่ายๆ ในประเทศตูนีเซีย ปัญหาด้านการจ้างแรงงานหญิงในชนบท และการเข้าถึงสิทธิทางสังคมเป็นปัญหาที่น่าวิตกมาก พวกเราใช้เวลาครึ่งหนึ่งของเวลาทั้งหมดที่เรามีพูดถึงประเด็นสิทธิสตรี -- แต่สำหรับพวกเราแล้ว สิทธิสตรีหมายถึงสิทธิที่จะได้เข้าไปนั่งอยู่ในรัฐสภา หรือสิทธิที่จะได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี แต่สิทธิขั้นพื้นฐาน -- สิทธิของประชากรอีก 99 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ -- กลับไม่ถูกพูดถึงหรือแม้แต่ถูกเรียกร้อง เราทำการปฏิวัติซึ่งเริ่มต้นจากข้อเรียกร้องทางสังคม และเราเปลี่ยนเแปลง เราปฏิรูปทุกอย่าง ยกเว้นทำตามข้อเรียกร้องนั้น คุณจินตนาการออกไหมว่าประชาชนทั่วไปจะรู้สึกคับข้องใจเพียงใด? มันเป็นการหักหลังดี ๆ นี่เอง

แต่อีกประเด็นหนึ่งที่ฉันกำลังทำอยู่ตอนนี้คือ การสร้างคลังสมองด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ เป็นงานใหม่ที่กำลังจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นภายในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ และฉันจะต้องทำงานอย่างมากกับเยาวชนเรื่องการ (ถูก) ทำให้มีความเชื่อ(ทางศาสนา-ผู้แปล)แบบสุดโต่ง

 

FP: สำหรับคุณ ความมั่นคงถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆอย่างงั้นหรือ?

ยายาอุย: แน่นอน ความมั่นคงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุด เราเป็นประเทศที่เล็กมาก ถูกคุกคามจากทั้ง อัลเคด้าในแอลจีเรีย และ [จาก Islamic State (IS) ใน] ลิเบีย -- มันเละเทะมาก คุณว่าไหมหละ? นอกจากนั้นแล้ว หนึ่งในกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ชัยชนะของตูนีเซียคือการที่เราไม่มีกองทัพเหมือนในประเทศอียิปต์ เบนอาลีเป็นเผด็จการและเขาเลือกที่จะทำให้กองทัพอ่อนแอลง เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการทำรัฐประหาร แต่ตอนนี้ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ ทุกวันนี้กองทัพของตูนีเซียไม่มีความพร้อมเลย ในขณะที่กลุ่มก่อการร้ายกลับมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก พวกเขาใช้โซเชียลมีเดียในการทำงานจัดตั้ง ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงทำสิ่งที่กำลังทำอยู่

แต่อีกเหตุผลคือ ในความคิดของนักสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ความมั่นคงถือเป็นสิ่งต้องห้าม ความมั่นคงแปลว่าคุณต่อต้านสิทธิมนุษยชน เมื่อนักสิทธิมนุษยชนมีความคิดเช่นนั้น อีกด้านหนึ่งก็ทำให้คนที่อาจจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนได้มีพื้นที่และเข้ามาทำงานด้านนี้ แต่ฉันคิดว่าคนที่มีพื้นฐานการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในประเด็นความมั่นคงให้มากกว่านี้ และเลิกคิดว่าความมั่นคงเป็นสิ่งต้องห้าม ถ้าพวกเราต้องการช่วยปกป้องสิทธิของผู้อื่น สิ่งแรกที่เราจำเป็นต้องปกป้องคือ สิทธิที่พวกเขาจะมีชีวิตรอดและไม่ถูกฆ่าตาย นี่คือก้าวแรก

 

FP: ฟังดูเหมือนว่างานส่วนใหญ่ของคุณจะโฟกัสในสิ่งที่คุณมองว่าเป็นจุดอ่อนของขบวนการสิทธิมนุษยชน -- นั่นคือการที่ขบวนการไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งก็คือเรื่องความมั่นคง คุณยังมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?

ยายาอุย: แน่นอน ปัญหาของฉันคือ นับวันฉันยิ่งรู้สึกว่าหัวข้อสิทธิมนุษยชนเป็นแค่เพียง “การพูดคุยของชนชั้นกระฎุมพี” ฉันหมายความว่าฉันรักเวที OFF แห่งนี้ แต่อย่าลืมว่าพวกเรากำลังพักอาศัยอยู่ในแกรนด์โฮเต็ลนะ อย่างเวลาที่พวกเราพูดถึงราอิฟ บาดาวี (Raif Badawi - นักเขียนและนักกิจกรรมชาวซาอุดิอาระเบียที่ถูกทางการดำเนินคดีจากการที่เขาวิพากษ์วิจารณ์บางแง่มุมของศาสนาอิสลาม - ผู้แปล) ฉันคิดว่าเราน่าเลือกพักในโรงแรมที่ไม่ต้องแพงเท่านี้และนำเงินส่วนที่เหลือไปให้ภรรยาของเขา ฉันมีปัญหากับเรื่องพรรค์นี้ และฉันก็วิพากษ์วิจารณ์กับเรื่องแบบนี้เวลาที่อยู่ในตูนีเซีย เพราะฉันไม่เชื่อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่มาจากโรงแรมห้าดาว ดังนั้นฉันจึงขอท้าทายมันสักหน่อย และฉันรู้ดีว่าคนจำนวนมากจะรู้สึกไม่โอเคกับคำวิจารณ์ของฉัน แต่มันเป็นปัญหาซีเรียสจริงๆ

 

FP: คำวิจารณ์ของคุณหมายถึงในตูนีเซียด้วยใช่ไหม?

ยายาอุย: ใช่ พวกเราจัดงานประชุมแล้วก็มีแต่คนหน้าเดิมๆมาร่วมงาน และแน่นอน คนเหล่านี้มักเห็นด้วยกับสิ่งที่พวกเราพูด ดังนั้นแล้วทำไม? ทำไมพวกเราถึงยังทำแบบนี้อยู่อีก?

 

FP: ในงานที่คุณทำ คุณจึงพยายามที่จะเข้าหาคนกลุ่มใหม่ๆให้มากขึ้น?

ยายาอุย: เราไม่คุยกับคนที่เห็นเหมือนเรามากเท่าไหร่ มันเสียเวลา เราเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนเพียงหนึ่งเดียว ที่ทำงานอย่างแข็งขันกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เราช่วยให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงเทศบาลในชุมชนของตน ให้สามารถเข้าถึงงบประมาณ และการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ และเราให้คนในท้องถิ่นทำสิ่งเหล่านี้ด้วยลำแข้งของพวกเขาเอง ไม่ใช่เป็นเรื่องที่คนเมืองอย่างพวกเราไปช่วยเหลือ “คนยากจน”

และที่ฉันอยากจะเน้นย้ำคือ สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในตูนีเซีย มันมีอยู่ทุกที่ ไม่ว่าคุณไปที่ไหนคุณก็เห็น ไม่ว่าจะเดินทางไปอเมริกา มาออสโล หรือไปแอฟริกาใต้ นี่คือวิธีที่เอ็นจีโอทำอยู่ทุกวันนี้

ไม่ว่าคุณจะไปที่ไหน คุณจะเห็นว่าความเชื่อมั่นระหว่างรัฐบาลและประชาชนล้วนพังทลายโดยสิ้นเชิง แต่ความเชื่อมั่นระหว่างภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไปก็เสื่อมถอยลงเช่นกัน และนี่คือเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการปฏิวัติที่เกิดขึ้นในหลายๆแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในอาหรับ หรือในเฟอร์กูสัน ไม่ได้ถูกจัดตั้งโดยเอ็นจีโอหรือภาคประชาสังคม หากแต่เกิดจากการรวมตัวของสามัญชนด้วยกัน ฉันคิดว่าสาเหตุหนึ่งมาจากการที่ประชาชนไม่ศรัทธาในองค์กรอันโก้เก๋ของบรรดาชนชั้นนำเหล่านี้

 

FP: คุณเคยประสบความยากลำบากในการทำงานเชื่อมโยงกับผู้คนบ้างไหม?

ยายาอุย: แน่นอน มันต้องมีก้าวแรกเสมอ ซึ่งก็คือ “เธอไม่ใช่พวกฉัน”

 

FP: แล้วคุณก้าวข้ามความยากลำบากนั้นไปได้อย่างไร?

ยายาอุย: ฉันเกลียดการเป็น “ผู้ช่วยชีวิต” ฉันเกลียดความคิดที่ว่าเอ็นจีโอเป็นผู้มาโปรด ฉันเกลียดปรัชญาลักษณะนี้ สิ่งที่พวกเราทำคือ เราอยู่เบื้องหลังและจะให้ความช่วยเหลือก็ต่อเมื่อพวกเขาร้องขอ แต่พวกเขาจะต้องหาทางออกหรือแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง

 

FP: นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมคุณจึงโฟกัสที่ประเด็นความพร้อมรับผิดของรัฐ (government accountability) ในงานของคุณใช่หรือไม่? เพื่อที่จะสร้างความเข้มแข็งให้คนในท้องถิ่น ให้พวกเขาสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐใช่หรือไม่?

ยายาอุย: แน่นอน การทำให้คนเสพติดคุณ ต้องพึ่งพาอาศัยคุณ มันน่าเย้ายวนใจอยู่ไม่น้อย -- “ความต้องการเป็นฝ่ายถูกต้องการ” มันเป็นพฤติกรรมที่แสนจะธรรมดาของมนุษย์ แต่มันส่งผลร้ายต่อคนที่เราไปให้ความหวัง (ลมๆแล้งๆ) ไว้ ว่า “เราจะช่วยเหลือคุณตลอดไป” เพราะมันไม่จริง มันไม่มีทางที่เราจะช่วยเหลือใครสักคนได้ตลอดไป

 

FP: แล้วคุณมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการเปลี่ยนผ่านโดยทั่วไปในตูนีเซีย? คุณพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นไหม?

ยายาอุย: มันน่าเหลือเชื่อมาก จริงๆนะ เพราะประเทศนี้ไม่เคยมีประชาธิปไตยมาก่อน และภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3-4 ปี เรามีความเป็นประชาธิปไตยได้ราวกับว่าที่ผ่านมาก็เป็นเช่นนั้นมาโดยตลอด ฉันเคยออกมาต่อต้านรัฐบาลชุดก่อนอย่างแข็งขัน และหลังจากนั้นไม่กี่ปีฉันแทบจะจำประเทศของตัวเองไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันน่าเหลือเชื่อมาก ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงในเมืองหลวงหรืออะไรทำนองนั้น แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของผู้คน มันน่าทึ่งมาก

สิ่งที่เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศอาหรับที่ผู้นำเผด็จการพยายามอธิบายกับประชาชนว่า ไอเอสกำลังจะมาเขมือบพวกเขา และชาวอาหรับยังไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย ตูนีเซียเป็นตัวอย่างอันน่าเหลือเชื่อ พวกเราเป็นเสมือนห้องแล็บค้นคว้า ทดลอง ที่พิสูจน์ให้ทั่วโลกได้เห็นแล้วว่า อิสลาม อาหรับ คนยากจน ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นได้ เป็นครั้งแรกที่พวกเราสามารถตอบได้ว่า “จริง” เมื่อถูกถามว่า “สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสากลจริงหรือ?” ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในทวีปเอเชีย แอฟริกา ยุโรป ลาตินอเมริกา อเมริกา -- ในทุกหนแห่ง ยกเว้นตะวันออกกลาง ในโลกอาหรับ แต่ในท้ายที่สุด เราสามารถตอบได้ว่า “จริง” เพราะประชาธิปไตยได้เกิดขึ้นทั่วโลกแล้วจริงๆ

แต่มันก็ถือว่าเป็นงานที่หินมาก ปัญหาของเราคือเรายากจนมาก ประเทศของเราไม่มีทรัพย์สินมากพอ สิ่งที่เรามีคือท้องทะเล -- และมันสมอง ถ้าคุณมีโอกาสได้พูดคุยกับชาวอาหรับที่มาจากประเทศอื่น เขาจะบอกคุณว่าชาวตูนีเซียนนั้นมีความต่างเพราะพวกเขาฉลาดกว่า แต่ในความเป็นจริง พวกเราไม่ได้ฉลาดกว่าใคร แต่เป็นเพราะเราไม่สามารถเอาแต่คอยพึ่งพาอาศัยอะไรได้ จริงๆแล้วประเทศตูนีเซียถูกสาปให้ต้องเปิดกว้าง ต้องเรียนรู้ และต้องทำ และนี่อาจเป็นอีกสาเหตุที่ว่าทำไมตูนีเซียถึงกำลังประสบความสำเร็จ เพราะพวกเราไม่สามารถพูดได้ว่า “มานอนเล่นกันเถอะ อย่าได้กังวลอะไรเลย เพราะเรามีเงินงอกเงยออกมาจากผืนดิน ”

ฉะนั้นเพื่อตอบคำถามของคุณ ฉันใช้ชีวิตทุกๆวันอยู่ระหว่างกึ่งกลางของประวัติศาสตร์ เป็นเช่นนี้ทุกวัน และแน่นอน มันเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ฉันมั่นใจว่าในอีกสิบปีหรือสิบห้าปีข้างหน้า มันจะเป็นเรื่องเล่าอันน่าเหลือเชื่อเรื่องหนึ่ง

 

 

ที่มา:

http://foreignpolicy.com/2015/06/05/a-wake-up-call-for-ngos-tunisia-arab-spring-oslo-freedom-forum/

 

ที่มาภาพ:รูปอามีร่า ยายาอุย https://oslofreedomforum.com/speakers/amirayahyaoui

 

 




[i]ดาวอสคือเมืองที่เป็นสถานที่จัดประชุมเศรษฐกิจโลก 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย : เรียงความของเด็กไทยไร้สัญชาติในญี่ปุ่น

$
0
0

 

 

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ นำเสนอประเด็นอันเนื่องจากรายงานข่าวของ huffington post ภาคภาษาญี่ปุ่น ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของเด็กชายไทยวัย 14 ปีที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น แต่อยู่ในภาวะไร้สัญชาติ โดยหยิบเอาเรียงความซึ่งคัดด้วยลายมือเป็นอักษรญี่ปุ่นของเด็กชาย บอกเล่าความไม่เข้าใจต่อชีวิตที่ต้องระหกระเหินไปกับแม่ชาวไทย เพื่อหลบหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไปตามเมืองต่างๆ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา จนกระทั่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชนให้ได้เข้าเรียนในโรงเรียนระดับชั้นมัธยม ก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตามจับกุมและฟ้องดำเนินคดีต่อศาลในที่สุด

พบกับ คำ ผกา และอรรถ บุนนาค มาถ่ายทอดเรื่องราว ชวนสนทนา และตั้งคำถาม ถึงกรณีเด็กไร้สัญชาติเปรียบเทียบกับในประเทศไทย ทั้งในประเด็นของทัศนคติของสังคมไทยที่มีต่อเด็กไร้สัญชาติ และการปฏิบัติต่อเด็กไร้สัญชาติ

คลิกไลค์เพื่อติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของรายการได้ที่ facebook.com/maihetpraphetthai

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศูนย์ทนายสิทธิฯ แถลงกรณีจับกุม 14 ขบวนการ ปชต.ใหม่

$
0
0

ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแถลงข่าวกรณีจับกุม 14 น.ศ.ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ชี้ จนท.เร่งรัดจับกุม-สอบสวน เผยพิรุธตรวจยึดรถยนต์-มือถือ ส่วน น.ศ.กำลังใจยังดี ฝาก 4 ข้อความผ่านสื่อมวลชน

28 มิ.ย.2558 เวลา 17.00 น.ที่ห้องประชุมจารุพงษ์ ทองสินธุ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดแถลงข่าวกรณีการจับกุม 14 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และการที่เจ้าหน้าที่ตรวจค้นและยึดรถยนต์ของทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนที่จอดอยู่ในบริเวณพื้นที่ศาลทหาร

กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า จากการเข้าเยี่ยม 14 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ขณะนี้นักศึกษาทั้ง 14 คนยังมีกำลังใจดี และยังตั้งใจที่จะต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และประชาธิปไตยต่อไปตามที่ตั้งใจเอาไว้ โดยกลุ่มนักศึกษาฝากข้อความผ่านทางสื่อมวลชนว่า

1. ยืนยันว่าทั้ง 14 คน เป็นนักโทษการเมือง เนื่องจากถูกตั้งข้อหาอันเนื่องจากความผิดทางการเมือง
2. ฝากถึงญาติพี่น้องว่า ทั้ง 14 คนยังไม่มีความคิดเรื่องการขอปล่อยตัวชั่วคราว หรือขอประกันตัว มีเงื่อนไขประการเดียว คือ หากคนใดเกิดเจ็บป่วยไม่สบายขั้นรุนแรง จึงจะขอประกันตัวเพื่อออกมารับการรักษาพยาบาล เมื่อหายเป็นปรกติก็จะกลับเข้ามาอยู่กับกลุ่มเพื่อนในเรือนจำ
3. ทั้ง 14 คนไม่ยอมรับอำนาจของศาลทหาร และยืนยันว่าพวกเขาต้องได้รับการดำเนินคดีในศาลพลเรือนเท่านั้น
4. เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คน รวมถึงนักโทษการเมืองคนอื่นๆ โดยไม่มีเงื่อนไข

กฤษฎางค์ กล่าวว่า เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (27 มิ.ย.) พนักงานสอบสวนพยายามทำการสอบสวนนักศึกษาโดยไม่มีการติดต่อทนาย นักศึกษาทั้งหมดจึงปฏิเสธที่จะให้มีการสอบสวนโดยที่ไม่มีทนายอยู่ด้วย พ.ต.ท.มานิตย์ ทองขาว พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ สน.สำราญราษฎร์ ยืนยันว่าจะทำการสอบสวนนักศึกษาในพรุ่งนี้ (29 มิ.ย.) โดยจะจัดหาทนายจากสภาทนายความมาให้ แต่นักศึกษาปฏิเสธ โดยยืนยันว่าจะใช้ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนเท่านั้น

กฤษฎางค์ กล่าวว่าโดยหลักแล้ว ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับคำปรึกษาจากทนาย เพื่อป้องกันการเสียเปรียบเจ้าหน้าที่ และต้องเป็นทนายความตามที่ผู้ต้องหาระบุเท่านั้น โดยทางศูนย์ทนายฯ ได้ทำหนังสือไปยังสภาทนายความแจ้งถึงความต้องการของนักศึกษาที่ต้องการใช้ทนายความจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน

ทางด้าน เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าพยายามทำการตรวจค้นรถยนต์ ซึ่งเป็นของหนึ่งในทีมทนายความของศูนย์ทนายว่า ในระหว่าง 00.30 น.-03.00 น.ของวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา ภายหลังที่ศาลทหารอนุมัติฝากขัง 14 นักศึกษาแล้ว มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจกว่า 10 คน เข้าล้อมรถยนต์ส่วนบุคคลของทนายจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยแจ้งว่าจะทำการยึดโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาที่อยู่ภายในรถ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าเห็นว่ามีการนำโทรศัพท์ของนักศึกษาไปเก็บไว้ในรถยนต์คันดังกล่าว

เยาวลักษณ์กล่าวว่า การยึดโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาต้องกระทำต่อหน้าผู้ต้องหา ไม่ใช่ยึดเอาจากทนายซึ่งได้สิทธิในการเป็นเจ้าของอยู่ในขณะนั้น และในหมายจับกุมตัวของเจ้าหน้าที่ไม่มีการระบุถึงการยึดทรัพย์สิน ทนายจึงไม่สามารถให้เจ้าหน้าทำการตรวจค้นรถและยึดโทรศัพท์ได้ เจ้าหน้าที่จึงทำการล็อคล้อและสั่งห้ามเคลื่อนย้ายรถยนต์ออกจากบริเวณศาลทหาร รวมเป็นเวลากว่า 15 ชั่วโมง

ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า มีความชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่คุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนาย ทำการกักและตรวจค้นรถโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการกักขังหน่วงเหนี่ยว ละเมิด ข่มขืนจิตใจ โดยทางศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้แจ้งดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ สน.ชนะสงครามแล้ว

เยาวลักษณ์กล่าวถึงกรณีการตรวจค้นรถต่อไปว่า หลังจากได้หมายศาล เจ้าหน้าทำการตรวจค้นรถยนต์และยึดเอาโทรศัพท์มือถือจำนวน 5 เครื่อง ในขณะที่แถลงข่าวอยู่นี้ ยังไม่มีการตรวจค้นข้อมูลการใช้โทรศัพท์ โดยเจ้าหน้าที่จะทำการเปิดเครื่องโทรศัพท์ในวันจันทร์ที่ 29 มิ.ย.นี้

ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตั้งข้อสังเกตถึงการจับกุมตัว 14 นักศึกษาในครั้งนี้ด้วยว่า เป็นการกระทำที่เร่งรัด มีการทำบันทึกการจับกุมโดยที่ไม่มีการสอบปากคำและการพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อรีบเร่งจะส่งไปยังศาลทหาร ซึ่งเปิดการไต่สวนช่วงดึกในเวลา 23.00 น.

สำหรับกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้กำกับการ ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน นำโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 เครื่องขึ้นรถออกไปนานกว่า 10 นาที ก่อนจะนำกลับมาที่ศาลทหารนั้น ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า มีความผิดปรกติและเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยการกระทำของเจ้าหน้าที่ในการค้นและยึดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการกระทำโดยมิชอบ เนื่องจากไม่มีหมายค้นจากศาลอาญา และถือว่าเป็นการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม และเป็นการข่มขู่ทนายให้เกิดความหวาดกลัว

กฤษฎางค์ กล่าวในตอนท้ายว่า กระบวนการยุติธรรมจะมีความหมาย ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติตามกฎหมายโดยชัดแจ้ง ขณะนี้นักศึกษาทั้ง 14 คน ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าการดำเนินคดีจะถึงที่สุด ส่วนพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบนั้น ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ และการค้นรถโดยไม่มีหมายศาลถือเป็นความผิดโดยชัดแจ้ง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิ้วกลม: เราคือเพื่อนกัน

$
0
0


 

1
เพื่อนๆ ผู้อ่านครับ

สมมุติว่า อยู่มาวันหนึ่งมีบริษัทแห่งหนึ่งได้รับอนุญาตให้ทำเหมืองทองคำบริเวณใกล้บ้านของคุณซึ่งตั้งรกรากมาเนิ่นนาน เขาเริ่มผลิตและแต่งแร่ ไม่นานนัก สารเคมีที่ใช้ในการผลิตเริ่มรั่วซึมมาตามลำธารสาธารณะ ส่งผลกระทบมาถึงบ้านของคุณ หมู่บ้านของคุณ เพื่อนบ้านของคุณ พ่อแม่พี่น้องของคุณ ผู้คนพันกว่าครอบครัว เกือบสี่พันคน ต้องเจ็บป่วย และยังต้องกินอาหารปนเปื้อนสารเคมีอยู่ทุกวัน

เพื่อนๆ จะทำอย่างไรครับ

โชคร้ายที่เหตุการณ์สมมุติที่ว่าเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

โชคร้ายที่เสียงของชาวบ้านที่นั่นอาจไม่ดังเท่าเสียงของเพื่อนๆ ผู้เชี่ยวชาญการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย

ในปี 2556 ชาวบ้านบริเวณนั้นหกหมู่บ้านรวมตัวกันในนามกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด เพื่อยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและอธิบดีกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลให้บริษัทที่ทำเหมืองแร่ดำเนินการตามเงื่อนไขประทานบัตรและใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่ต้องทำเหมืองโดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

แต่แล้ว ผลลัพธ์คือการไล่ทุบตี จับชาวบ้านมัดมือไพล่หลัง จนบาดเจ็บสาหัสหลายราย

หลังรัฐประหาร คสช. ได้มอบหมายให้หน่วยทหารในพื้นที่เข้ามาดูแลกรณีเหมืองทองคำ มีการแต่งตั้ง ‘คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเหมืองทองคำจังหวัดเลย’ 4 ชุด ซึ่งชาวบ้านกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดไม่เห็นด้วย และขอให้มีการแก้ปัญหาตามข้อเสนอของประชาชน ด้วยเหตุผลว่าการแก้ปัญหาที่กระทบกับชีวิตของพวกเขานั้นควรให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

แต่แล้ว ผลลัพธ์คือแกนนำกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดและนักศึกษาที่ร่วมเรียกร้องถูกเรียกไปรายงานตัวเพื่อปรับทัศนคติ

และกลุ่มนักศึกษาที่ว่านี้คือนักศึกษาที่เรารู้จักพวกเขาในนาม ‘ดาวดิน’ นักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งออกค่ายเรียนรู้สังคม พวกเขาลงพื้นที่กับชาวบ้านรอบๆ เหมืองทองคำอำเภอวังสะพุงต่อเนื่องหลายปี จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ศึกษาข้อมูลและทำงานร่วมกับชาวบ้านมาโดยตลอด มิใช่แค่ในสมัยของรัฐบาลนี้เท่านั้น

สำหรับชาวบ้านบริเวณนั้น ดาวดินจึงไม่ต่างจากลูกๆ หลานๆ ที่มาช่วยเหลือกัน ดูแลกัน ห่วงใยกัน

หลังรัฐประหาร การเคลื่อนไหวเพื่อต่อสู้เรื่องเหมืองทองคำถูกจำกัดมากขึ้น และมักถูกโยงกับเรื่องการเมืองเสมอ ทั้งที่โดยพื้นฐานแล้วเป็นการต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้านแท้ๆ

จากที่เสียงเบาอยู่แล้ว ก็กลายเป็นแทบจะส่งเสียงไม่ได้ เอาง่ายๆ คนเมืองอย่างเราๆ แทบไม่เคยได้ข่าวคราวของชาวบ้านที่อำเภอวังสะพุงเลยแม้แต่น้อย

ครั้งหนึ่ง ในปี 2556 ขณะที่ตำรวจชุดปราบจราจลจะเข้าสลายชาวบ้านที่มาชุมนุมเพื่อร่วมรับฟังความคิดเห็น หลังจากฝ่ายรัฐกันไม่ให้คนเห็นแย้งเข้าไปแสดงความคิดเห็น อนุญาตเพียงคนที่เห็นด้วยเข้าไปฝ่ายเดียว เมื่อถึงนาทีเผชิญหน้ากัน นักศึกษาดาวดินตั้งแถวเป็นกำแพงมนุษย์เพื่อปกป้องชาวบ้านจากกำลังของเจ้าหน้าที่

นักศึกษาช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อนต่อสู้กับอำนาจรัฐและอำนาจทุน

เพื่อนๆ ครับ ถ้าเราเป็นชาวบ้านที่อำเภอวังสะพุง เราจะรู้สึกกับนักศึกษาเหล่านี้อย่างไร

...

2

กาลครั้งหนึ่ง สมัยที่ยังเรียนอยู่ที่คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ผมมีโอกาสได้อ่านนิตยสาร ‘สารคดี’ ฉบับพิเศษ ‘14 ตุลา 2516’ ระหว่างไล่สายตาไปตามเรื่องราวในนั้น ผมเกิดคำถามในใจว่า ทำไมหนุ่มสาวในยุคสมัยนั้นจึงได้มีเรี่ยวแรงกำลังและความใฝ่ฝันต่างจากหนุ่มสาวในรุ่นเราเหลือเกิน

ความใฝ่ฝันของพวกเขาเป็นเรื่องระดับสังคม ระดับประเทศ มิใช่ความฝันเรื่องความสำเร็จส่วนตัว อยากเข้าทำงานในบริษัทที่มีชื่อเสียง อยากได้เงินเดือนเยอะๆ อยากได้โบนัสปีละหลายเดือน หรืออะไรทำนองนั้น

โจทย์ของพวกเขามุ่งหวังจะเปลี่ยนแปลงสังคมให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น ช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ชาวนา คนยากคนจน ให้ได้รับความเป็นธรรมในชีวิตมากกว่าที่เคย

แล้วพวกเราทำอะไรกันอยู่?

ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่หลายคนพูดว่า โจทย์ของการศึกษาในยุคหลังกำหนดไว้เพียงเพื่อรับใช้ทุนนิยม หวังผลิตแรงงาน พนักงาน เข้าสู่ระบบ เพื่อทำงานหาเงินตอบโจทย์ของผู้ประกอบการธุรกิจทั้งหลาย หันไปมองโจทย์ที่อาจารย์หยิบยื่นให้พวกเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ นิสิตอย่างพวกเรานั่งออกแบบเก้าอี้ราคาแพง อินทีเรียโรงแรมหรู สปาห้าดาว กราฟิกดีไซน์เก๋ๆ เท่ๆ แทบไม่มีการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาให้คนเล็กคนน้อย หรือเพื่อแก้ปัญหาของคนด้อยโอกาสในสังคม

เหมือนเราอยู่กันคนละโลก

มิใช่ว่านิสิตนักศึกษาไม่อยากใช้วิชาความรู้ช่วยเหลือสังคม แต่เราแทบไม่มีความคิดโหมดนั้น เพราะเราอยู่ในโลกที่ห่างไกลปัญหาของคนเล็กคนน้อยเหล่านั้นเหลือเกิน

แน่นอน โจทย์ที่อาจารย์ให้เราคิดนั้นย่อมเป็นโจทย์ที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพ แต่หากมองอีกแง่หนึ่ง ถ้าเราอยู่ในสังคมเดียวกัน เราก็ควรรับรู้ปัญหาและลองใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาขบคิดหาวิธีแก้ให้กับเพื่อนร่วมสังคมบ้างมิใช่หรือ แต่เราไม่เคยถูกสอนให้มองไปทางนั้น ทุกวันนี้อาจเริ่มมีบ้างแล้ว

และนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย สายใยเชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษากับปัญหาสังคม เรื่องราวของสังคม ความทุกข์ยากของเพื่อนร่วมสังคมนั้นเลือนลางเหลือเกิน

...

3

หลังจากที่นักศึกษากลุ่มดาวดินออกมาเคลื่อนไหวและถูกจับกุมตัวไปขึ้นศาลทหาร เราได้ยินทั้งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและคอมเมนต์ส่วนหนึ่งในเฟซบุ๊กพูดในทำนองว่า “ชื่นชมนักศึกษาที่ทำชื่อเสียงให้กับประเทศในทางวิทยาศาสตร์ การกีฬา ส่วนกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวนี้ขอให้หยุด เพราะทำให้บ้านเมืองไม่สงบ” หรือคำพูดทำนองว่า “เป็นนักศึกษาออกมาโวยวายทำไม หน้าที่ของนักศึกษาคือการเรียน” หรือกระทั่งคำกล่าวที่บอกว่า “หน้าตาพวกนี้ไม่เหมือนนักศึกษา แต่เหมือนอสูรกุ๊ยมากกว่า”

ฟังแล้วก็น่าเศร้าแทนสังคมไทย นักศึกษาที่คิดถึงเพื่อนร่วมสังคม ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม กลับกลายเป็นนักศึกษาที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องการ แล้วเราต้องการนักศึกษาแบบไหนกันหรือ?

บางคนเขียนคอมเมนต์ถามนักศึกษาเหล่านี้ว่า “ตอนรัฐบาลโกงกินทำไมไม่ออกมา ไปหดหัวอยู่ที่ไหน” ซึ่งผมคิดว่านี่คือเรื่องเดียวกัน ไม่ว่ารัฐบาลคอร์รัปชั่นที่มาจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลที่ใช้อำนาจอย่างไม่ธรรมที่มาจากการยึดอำนาจก็ควรถูกตรวจสอบทั้งนั้น และกลุ่มดาวดินก็ต่อสู้กับทั้งสองรัฐบาลมาแล้วนี่แหละ

การจับกุมนักศึกษากลุ่มดาวดินจึงมิได้น่าเศร้าเพียงเพราะเจ้าหน้ารัฐจับกุมนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้ชาวบ้านเท่านั้น แต่การจับกุมเช่นนี้ย่อมสร้างความหวาดกลัวให้กับนักศึกษาและพลเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่หวังดีต่อสังคม นับเป็นการตัดตอนความคิด ความฝัน และความหวัง มิใช่เพียงของคนหนุ่มสาว มิใช่เพียงของประชาชน แต่ยังเป็นการตัดตอนความคิด ความฝัน และความหวังของสังคมไทย

เพราะมันบอกกับเราว่าสังคมนี้ไม่ให้คุณค่ากับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับเพื่อนร่วมสังคมแม้แต่น้อย

หากยอมปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เราอยากเห็นสังคมเป็นอย่างไรหรือ?

...

4

สังคมที่ผู้คนหัวเราะ เสียดสี ก่นด่า เมื่อนักศึกษาที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของชาวบ้านถูกจับนั้นเป็นสังคมประเภทไหนกัน

เราไม่ต้องการพลเมืองที่มีสำนึกเพื่อเพื่อนร่วมสังคมจริงหรือ?

ถ้าครอบครัวของเราต้องดื่มน้ำจากลำธารปนเปื้อนสารเคมี เราไม่ต้องการความเห็นใจจากใครเลยจริงหรือ ถ้าเพื่อนของเราต้องดื่มน้ำปนเปื้อนสารเคมี เราจะยักไหล่แล้วบอกว่าจะร้องแรกแหกกระเชอไปทำไม เราจะอยู่กันอย่างนั้นจริงๆ หรือ?

ถ้าน้องๆ ดาวดินต่อสู้เพื่อเรา เพื่อหมู่บ้านของเรา เราจะมองเขาต่างไปจากตอนนี้ไหม

วันหนึ่งนักศึกษาเหล่านี้อาจทวงถามบางสิ่งเพื่อพวกเราก็เป็นได้ หรือต้องรอให้ถึงวันนั้น เราจึงคิดว่าพวกเขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง

สำหรับผมแล้ว ดาวดินเป็นตัวอย่างนักศึกษาที่หาได้ยากในสังคมไทย ทั้งความทุ่มเทและความกล้าหาญของพวกเขา ล้วนแล้วแต่เป็นนักศึกษาที่ควรได้รับการคารวะ ผมนับถือพวกเขาที่มองเห็นชาวบ้านเป็น ‘เพื่อน’ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือชาวบ้านก็เห็นพวกเขาเป็น ‘เพื่อน’ เช่นกัน

สำนึกถึง ‘เพื่อน’ ร่วมสังคมเช่นนี้เองเป็นสิ่งวิเศษกับสังคมโดยรวม เพราะมันสร้างบรรยากาศของการเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน เห็นใจกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคม

ความเป็น ‘เพื่อน’ ที่ว่านี่เองที่ขาดหายไปจากสังคมไทย เพราะเรามัวแต่คิดถึง ‘ประเด็นส่วนตัว’
หลายคนอาจเบื่อการเมือง เบื่อการเคลื่อนไหวเรียกร้อง และชอบที่บ้านเมืองสงบ แต่เราคงต้องถามว่า ‘สงบ’ นั้นสงบของใคร และสงบเพื่อใคร ในเมื่อยังมีคนเสียประโยชน์จากความ ‘สงบ’ ที่ว่านี้ และจำเป็นต้องส่งเสียงออกมาให้คนอื่นได้ยิน จำเป็นต้องต่อสู้เพื่อชีวิตของตัวเอง

เพราะเหตุนี้บ้านเมืองที่สงบไร้สุ้มเสียงเรียกร้องหรือโต้แย้งจึงเป็นโลกสมมุติที่ซุกปัญหาเอาไว้ใต้พรม กดทับเสียงร้องไห้ของคนจำนวนมากเอาไว้ไม่ให้คนส่วนใหญ่ได้ยิน

สงบสุขอยู่เหนือความทุกข์ที่มองไม่เห็น

ด้วยเหตุนี้เอง ประชาธิปไตยจึงสำคัญ เพราะมันเปิดโอกาสให้ทุกเสียงได้พูด ได้ส่งเสียง ได้เรียกร้อง

ทุกเสียงพูดได้ ดังเท่ากัน และสำคัญเท่ากัน

...

5

ก่อนถูกจับกุมตัว นักศึกษาเหล่านี้ใส่เสื้อที่มีตัวหนังสือเขียนว่า “เราคือเพื่อนกัน” ผมคิดว่าคำคำนี้มีความหมายอีกแง่มุมหนึ่งซ่อนอยู่ในนั้นด้วย หาก ‘เพื่อน’ คือคนที่มองเห็นความทุกข์ของกันและกัน และไม่ได้คิดถึงแต่ตัวเอง นักศึกษาเหล่านี้คือเพื่อนของชาวบ้าน คือเพื่อนของประชาชน

‘เรา’ คือประชาชนทั้งหมด

ส่วน ‘ปิศาจ’ หรือ ‘อสูร’ ที่แท้จริงนั้นคือคนที่อยู่ตรงข้ามกับประชาชน ไม่ว่าเขาคือใคร ไม่ว่าจะมาด้วยวิธีไหน เลือกตั้งเข้ามา ยึดอำนาจเข้ามา หากตรงข้ามกับประชาชน ไม่ฟังเสียง ไม่ให้ความสำคัญ ไม่คิดถึงผลประโยชน์ของประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง เราควรยืนข้างกันเพื่อส่งเสียงขับไล่ปิศาจร้ายร่วมกัน

ผู้นำเอง ถ้าเห็นว่าเราคือเพื่อนกัน ถ้าอยู่ข้างประชาชนก็ต้องรับฟังกัน เปิดโอกาสให้ได้แสดงความคิดเห็น นำไปแก้ไข มิใช่จ้องแต่จะจับคนที่ออกมาตักเตือนไปขังหรือปรับทัศนคติ

‘เรา’ ควรสู้กับคอร์รัปชั่นด้วยกัน และสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมด้วยกัน

การสู้กับความไม่ชอบธรรมทุกรูปแบบนั้นจำเป็นด้วยกันทั้งนั้น

อาจมีความเห็นต่าง บ้างไม่ชอบคุณทักษิณ ไม่ชอบคุณประยุทธ์ก็ว่ากันไป (ซึ่งไม่แปลกถ้าใครจะไม่ชอบทั้งคู่) แต่ถ้าเห็นต่างว่าไม่ควรต่อสู้เพื่อคนที่ด้อยโอกาส คนเสียงเบา คนจน หรือไม่ควรให้เขาเหล่านี้แสดงความคิด แสดงออก อันนี้คงเป็นเรื่องใหญ่

สังคมสงบสุขที่เราต้องการน่าจะเป็นสังคมที่ผู้คนสนใจปัญหาและความทุกข์ของกันและกัน รับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีอารยะ มิใช่สงบเพราะปิดปากคนอื่นหรือหรือละเลยไม่ใส่ใจความทุกข์ที่ห่างไกลตัวเอง

สังคมแบบนั้นอาจดูเหมือนสงบ เพียงเพราะเราไม่ได้ยิน หรือไม่สนใจเสียงร้องไห้ของคนอื่น

ในฐานะคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน #เราคือเพื่อนกัน มิใช่หรือ

ถ้าไม่เป็นเพื่อนกับประชาชน แล้วเราจะเป็นเพื่อนกับใคร?


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ลมหายใจและความเชื่อ

$
0
0

 

ลมหายใจและความเชื่อ
ตอนผมอายุเท่าพวกคุณ
ผมคร่ำเคร่งอยู่กับตำรับตำรา
ยึดหอสมุดเป็นเรือนพัก
เหมือนนักบวชในอาศรม
มุ่งเข้าใจตีความในคัมภีร์
ในโลกที่ก้าวสู่ยุคใหม่แล้ว

เติบโตขึ้นมาหน่อย
ผมหมกหมุ่นอยู่กับตัวเอง
ปลุกปั้นตัวอักษร
ถ่ายทอดความรู้สึก
เพื่อบรรลุรสถ้อยคำ

โลกเหมือนจะเปลี่ยนไปเร็วมาก
ผมพบว่าความอิสระเสรี
ที่แลคล้ายสายลมโบกพัดทุ่งหญ้า
คือลมหายใจ

เมื่อวันเวลาล่วงผ่านไป
อิสระเสรีคือความเชื่อ
หนึ่งเดียวของผม

มาถึงตอนนี้
ผมคิดว่าการปกครองที่ดีที่สุด
คือการไม่ถูกปกครอง
แต่ผมจะยืนหยัดความเชื่อของผมได้อย่างไร
หากไม่มีพื้นที่ให้เสรีภาพ
อิสรภาพจะดำรงอยู่ได้อย่างไร
หากเราไม่มีสิทธิ์เลือกทางของตัวเอง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิวยอร์กไทม์ลงลึกการประท้วง 'เปลี่ยนธง' ของชนพื้นเมืองในชิลี ช่วงฟุตบอลโคปาฯ

$
0
0

เมื่อการประท้วงด้วยการเปลี่ยนธงชาติเป็นธงประจำชนเผ่า 'มาปูเช' อาจจะดูเหมือนการแสดงอัตลักษณ์ธรรมดาๆ แต่การแสดงออกอย่างสันติเช่นนี้มี 'เบื้องหลัง' คือความคับแค้นจากการถูกกระทำโดยรัฐมาตั้งแต่ยุคสมัยที่ชิลียังเป็นเผด็จการทหาร


27 มิ.ย. 2558 สำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทม์รายงานว่าที่เมืองเตมูโก ประเทศชิลี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีสนามกีฬาที่ใช้แข่งขันฟุตบอลโคปาอเมริกา มีคนประท้วงด้วยการแอบเปลี่ยนธงชาติของชิลีให้กลายเป็นธงประจำกลุ่มชาติพันธุ์มาปูเช กลุ่มชาติพันธุ์ชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในชิลี จนทำให้ต้องมีการเปลี่ยนธงกลับคืนและใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าธงไว้ 4 นาย

เมืองเตมูโกถือเป็น "เมืองหลวง" ของชาติพันธุ์มาปูเชซึ่งอาศัยอยู่ในท้องถิ่นนี้มาก่อนหน้านี้ชาวยุโรปจะเข้ามาเมื่อ 500 ปีที่แล้ว ซึ่งชาวมาปูเชมองว่าการแข่งขันฟุตบอลโคปาอเมริกาถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะแสดงตัวตนของมาปูเชรวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ให้ชาวโลกได้รับรู้ ทำให้ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าการจัดแข่งฟุตบอลนัดแรก ริคาร์โด เซลิส สมาชิกสภาเมืองเสนอข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการต่อนายกเทศมนตรีให้มีการตดธงกลุ่มชาติพันธุ์มาปูเชร่วมกับธงชาติชิลีที่ลานจัตุรัสใจกลางเมืองในช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโคปาอเมริกัน

เซลิสไม่ได้เป็นชาวมาปูเชแต่ต้องการให้มีการยอมรับอิทธิพลของชาวมาปูเช อย่างไรตามข้อเรียกร้องของเซลิสถูกปฏิเสธจากนายกเทศมนตรีซึ่งอ้างว่าธงชาติชิลีเป็นตัวแทนของชาวชิลีทั้งประเทศอยู่แล้ว เซลิสกล่าวให้สัมภาษณ์ว่าการตัดสินใจของนายกเทศมนตรีถือเป็นเรื่องที่ผิดเพราะผู้คนในเมืองอื่นๆ ของชิลีจะบอกว่าเมืองเตมูโกเป็นเมืองที่มีชาวมาปเชอาศัยอยู่ ซึ่งเขาต้องการแสดงให้คนอื่นๆ เห็นว่ามีชาวมาปูเชอาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยผ่านการแสดงออกในช่วงมหกรรมฟุตบอลโคปาอเมริกา

นิวยอร์กไทมืระบุว่าในวันที่มีการยื่นข้อเรียกร้องมีผู้คนที่ทั้งสนับสนุนและโต้แย้งผ่านทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งการโต้แย้งในเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาความไม่ลงรอยกันระหว่างชาวมาปูเชกับชาวชิลีที่มีเชื้อสายยุโรป

เวนันซิโอ โคนนูปาน นักศึกษาอายุ 25 ปี เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิประสานวัฒนธรรมชิลี (Fundación Chile Intercultural) เพื่อส่งเสริมสิทธิของชาวมาปูเชและสร้างความเข้าใจประเด็นเรื่องชาวมาปูเชให้ประชาชนได้รับรู้ เขาเปิดเผยว่าปัญหาความไม่ลงรอยกันอย่างหนึ่งที่แย่ที่สุดคือปัญหาความขัดแย้งเรื่องกรรมสิทธิที่ดินระหว่างกลุ่มชาวนาชิลีและบริษัทป่าไม้กับกลุ่มชาวมาปูเชผู้ต่อต้าน

ทั้งนี้ ยังมีการประท้วงอย่างสันติของกลุ่มชาวมาปูเชเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมาโดยมีผู้ประท้วงชาวมาปูเช 40 คน ทำการปิดถนนชั่วคราว ซึ่งถนนดังกล่าวเป็นถนนที่จะมีรถโดยสารของทีมชาติเปรูเดินทางผ่านทำให้ผู้เล่นของชาวเปรูต้องรอจนการประท้วงจบลงถึงจะเดินทางต่อไปได้ ผู้ประท้วงในวันนั้นไม่พอใจที่มีการสร้างสนามบินบนที่ดินของชาวมาปูเชโดยที่ไม่ได้รับค่าชดเชยอย่างเหมาะสม

โคนนูปาน กล่าวว่าการประท้วงของพวกเขาไม่ใช่เพื่อต้องการขัดขวางการแข่งขันโคปาอเมริกา ไม่ได้ต้องการตั้งเป้าโจมตีชาวเปรูหรือชาวชิลี พวกเขาแค่ต้องการเน้นย้ำถึงปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญ แต่ชาวชิลีบางคนก็มักจะคิดไปเกินจริงว่า "ชาวมาปูเชต้องการทำสงคราม ชาวมาปูเชจะเผาบ้านเผาเมืองเรา ชาวมาปูเชเป็นคนไม่ดี" สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับพวกเขาจริงๆ คือรัฐบาล ไม่ใช่ชาวนาหรือประชาชนด้วยกัน

โคนนูปานผู้เป็นแฟนฟุตบอลตัวยงยังชี้ให้เห็นอนุสาวรีย์ที่จัตุรัสใจกลางซึ่งเขาบอกว่ามันเป็นอนุสาวรีย์เพื่อรำลึกถึงความสัมพันธ์หลายร้อยปีระหว่างชาวมาปูเชกับชาวสเปนแต่โคนนูปานและคนบางกลุ่มเห็นว่าอนุสาวรีย์นี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งอนุสาวรีย์ดังกล่าวมีรูปปั้นของนักผจญภัยชาวสเปนถือไม้กางเขน ผู้หญิงชนพื้นเมืองชั้นสูง ชาวนาที่ดูเป็นวีรบุรุษ ทหารชิลีถือปืนที่ดูสงบเสงี่ยม และนักรบถือหอกชาวมาปูเชที่ดูแปลกประหลาด

นิวยอร์กไทม์ระบุว่าในช่วงที่มีความขัดแย้งทางวัฒนธรรม มีโรงนาชาวชิลีถูกจุดไฟเผา มีการใช้ความรุนแรงจากตำรวจต่อชาวมาปูเช ชาวมาปูเชพยายามเรียกร้องสิทธิต่อที่ดินที่ถูกยึดไป บางสว่นเรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มากขึ้น หรือบางส่วนก้พยายามต่อสู้เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเช่นเรื่องภาษาถิ่น แต่ก็มีปัญหาคือชาวมาปูเชเหลือดินแดนดั้งเดิมของตนเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นและพวกเขาก็ไม่ได้รับการรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญในชิลีทำได้ยากมาก

ชาวมาปูเชได้รับผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิที่ดินในสมัยเผด็จการทหาร ออร์กุสโต ปิโนเชต์ ซึ่งปกครองชิลีตั้งแต่ปี 2516-2533 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการพยายามให้ความช่วยเหลือแก่ชาวมาปูเช แต่ความสัมพันธ์ของรัฐบาลชิลีกับชาวมาปูเชหลังจากนั้นก็ไม่คงเส้นคงวา เช่นในสมัยของประธานาธิบดี ริคาร์โด ลากอส ผู้สังกัดพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยก็เคยใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่ถูกประกาศใช้ในสมัยเผด็จการทหารต่อผู้นำชาวมาปูเช จนกระทั้งทำให้รัฐบาลชิลีถูกตัดสินลงโทษโดยศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาในปี 2557

ในคำตัดสินดังกล่าวศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริการะบุว่า ทางการชิลีละเมิดหลักการตามกฎหมายและสิทธิตามหลักการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ (presumption of innocence คือหลักการที่ระบุว่าจำเลยจะยังคงบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำผิดจริง) ในการกล่าวหาว่าสมาชิกชุมชนมาปูเช 7 คนและนักสิทธิมนุษยชนทั้ง 1 คนว่ากระทำความผิดฐานก่อการร้าย ซึ่งศาลสิทธิมนุษยชนฯ สั่งให้ทางการชิลียกเลิกคำตัดสินดังกล่าว และให้การเยียวยาทางการแพทย์และทางจิตใจต่อเหยื่อที่ถูกตัดสิน รวมถึงให้ทุนการศึกษาแก่ลูกๆ ของเหยื่อและให้การชดเชยอย่างเหมาะสมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการพิจารณาคดี


เรียบเรียงจาก

Indigenous Group Plants Its Flag in Copa América, DAVID WALDSTEINJUNE, 24-05-2015
INTER-AMERICAN COURT OF HUMAN RIGHTS ORDERS CHILE TO ANNUL SENTENCES UNDER ANTI-TERRORIST LAW, IC Magazine, 31-08-2015

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลภาพ ‘เขียน จ.ม.ถึงเพื่อน’ 14 ขบวนการประชาธิปไตยใหม่

$
0
0

เวลาประมาณ 12.00 น. ของวันที่ 28 มิ.ย.2558 ที่กำแพงประวัติศาสตร์ ด้านข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) และนักศึกษาหลายกลุ่ม จัดกิจกรรมเขียนจดหมายเพื่อให้กำลังใจนักศึกษาและเยาวชนกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ 14 คน ที่ถูกฝากขังในเรือนจำด้วยข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116

มีประชาชนเดินทางมาร่วมเขียนข้อความให้กำลังใจแก่ 14 สมาชิกของขบวนการประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงจนถึงช่วงเย็น โดยนักศึกษาที่จัดกิจกรรมกล่าวว่า จะมีการนำข้อความเหล่านี้ไปอ่านให้เพื่อนนักศึกษาที่ถูกฝากขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ทั้ง 14 คนด้วย


 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหาร-ตำรวจเรียกบุคคลมาสอบถามต่อเนื่อง ก่อนจัด 'ครม.สัญจร' เชียงใหม่

$
0
0

ก่อนประชุม ครม.สัญจรเชียงใหม่ ทหาร-ตำรวจติดตามความเคลื่อนไหวประชาชนหลายกลุ่มต่อเนื่อง มีทั้งเชิญคุยในค่าย นัดพบร้านกาแฟ เข้าพบที่บ้าน และโทรศัพท์สอบถาม ย้ำไม่ให้มีการเคลื่อนไหวใดๆ

28 มิ.ย.58 - ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. และคณะรัฐมนตรีมีกำหนดการประชุมนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 72 พระชนมพรรษาในระหว่างวันที่ 29-30 มิ.ย.นี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงก่อนหน้าการประชุมหลายวันที่ผ่านมา ทางเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลในพื้นที่ได้มีการติดตามความเคลื่อนไหวของประชาชนหลายกลุ่มในจังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีการทั้งการโทรศัพท์สอบถาม เข้าไปหาที่บ้าน นัดพบที่ร้านกาแฟ และเชิญตัวไปพูดคุยในค่าย

จากการตรวจสอบเบื้องต้นของผู้สื่อข่าว พบว่ามีนักกิจกรรม นักศึกษา อาจารย์ หรือประชาชนหลายสิบรายในจังหวัดเชียงใหม่ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำรวจ ดำเนินการติดตามตรวจสอบความเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ถูกติดตามหรือเรียกรายงานตัวมาก่อนหน้านี้ โดยได้ถูกสอบถามข้อมูลความคิดเห็น ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และเจ้าหน้าที่ได้ขอให้ยืนยันว่าจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ในช่วงที่มีการประชุมครม.สัญจร

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.58 ทางมณฑลทหารบกที่ 33 ได้เชิญแกนนำนปช.แดงเชียงใหม่จำนวน 4 ราย นำโดยนายพิชิต ตามูล เข้าไปพูดคุยภายในค่ายกาวิละ โดยมีการขอความร่วมมือไม่ให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงครม.สัญจร จากนั้นยังได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนัดพบพูดคุยสอบถามข้อมูลกับนายพิชิตในวันต่อๆ มาด้วย

ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลเดินทางเข้าไปพบ รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวช่วงครม.สัญจร ส่วนนักศึกษารายหนึ่งได้มีสันติบาลเดินทางไปพบที่บ้านจังหวัดเชียงราย พร้อมกับผู้ใหญ่บ้าน และอดีตนักศึกษาอีกรายหนึ่งที่เคยถูกเรียกรายงานตัวก่อนหน้านี้ ก็ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์ไปสอบถามความเคลื่อนไหวในอาทิตย์ที่ผ่านมาถึงสองครั้ง

ด้านรจเลข วัฒนพาณิชย์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้านหนังสือ Book Re:public ได้ถูกทั้งเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจโทรศัพท์สอบถามข้อมูลหลายครั้ง ก่อนจะมีการนัดหมายเพื่อพูดคุยกับทั้งทหารและตำรวจพร้อมกันที่ร้านกาแฟในตัวเมืองเชียงใหม่

ส่วน พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักเขียน-นักแปลอิสระ ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบสองนายเดินทางไปพบที่บ้านตั้งแต่เช้า 7.00 น. มีการพูดคุยสอบถามถึงความเคลื่อนไหวและประวัติส่วนตัว โดยเจ้าหน้าที่แจ้งด้วยว่าได้รับคำสั่งให้ตามประกบเพื่อดูความเคลื่อนไหวในช่วงครม.สัญจร และถ้าหากมีความเคลื่อนไหว จะมีหน่วยอื่นนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มาติดตามต่อ

เช่นเดียวกับ นิติพงศ์ สำราญคง นักเขียนอิสระ ซึ่งเคยถูกควบคุมตัวปรับทัศนคติก่อนหน้านี้ ได้มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเดินทางไปพูดคุยด้วยถึงที่ทำงาน และนักกิจกรรมวัฒนธรรมอีกรายหนึ่งก็ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปพบที่ที่พักเช่นกัน

สำหรับนักเคลื่อนไหวในประเด็นทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเองก็ได้มีการติดตามพูดคุยด้วยเช่นกัน โดยดิเรก กองเงิน แกนนำสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ได้มีเจ้าหน้าที่โทรไปพยายามนัดหมายพบปะ ต่อมาก็ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางไปพบที่บ้าน แต่เขาไม่อยู่บ้าน จึงได้สอบถามความเคลื่อนไหวจากภรรยาแทน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทหารยังได้นัดหมายแกนนำของ สกน.สองคนไปพูดคุยที่ร้านกาแฟเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ด้วย

ไทยรัฐออนไลน์ได้รายงานก่อนหน้านี้ว่า การรักษาความปลอดภัยในการประชุมครม.สัญจรครั้งนี้ มีการระดมเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัคร ร่วม 2,000 นาย ร่วมรับสถานการณ์ โดยเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ทางทหาร-ตำรวจได้ร่วมกันซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ หากมีกลุ่มผู้ชุมนุมหรือผู้แสดงสัญลักษณ์ เข้ามาในพื้นที่การประชุม นอกจากนี้ตามตึกสูงที่อยู่ใกล้ที่ประชุมยังมีตำรวจและทหารเข้าไปประจำอยู่ และมีการตรวจสอบข่าวผู้ที่จะเข้ามาพักตามอาคารโรงแรมและคอร์ตที่อยู่ใกล้หอประชุมด้วย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มเพื่อนประชาธิปไตยใหม่ จุดเทียน-ปล่อยลูกโป่ง 14 ลูก ให้กำลังใจเพื่อน หน้าเรือนจำ

$
0
0

กลุ่มเพื่อนประชาธิปไตยใหม่ จุดเทียนร้องเพลงให้กำลังใจเพื่อนขบวนการประชาธิปไตยใหม่ 14 คน ที่ถูกจับกุม หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พร้อมอ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้เรือนจำไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม

28 มิ.ย. 2558 ที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เวลา 20.00 น. มีประชาชนจำนวนประมาณ 30 คน มารวมตัวจุดเทียน พร้อมร้องเพลงให้กำลังใจนักศึกษา นักกิจกรรม ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่ถูกจับกุม และมีกลุ่มเพื่อนประชาธิปไตยใหม่จำนวนประมาณ 10 คนมาอ่านแถลงการณ์ให้เห็นถึงกระบวนการจับกุมที่ไม่ชอบธรรม และพฤติกรรมของศาลทหารที่ดำเนินการพิจารณาคดี นอกเวลาราชการ พร้อมเรียกร้องให้เรือนจำ และกรมราชทัณฑ์ หากเห็นว่ากระบวนการเหล่านี้ไม่ชอบธรรม ขอให้ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง และกระบวนการที่ไม่ชอบธรรม 

 

00000

แถลงการณ์ กลุ่มเพื่อนประชาธิปไตยใหม่

เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 26 มิถุนายน 2558 เจ้าหน้าที่ได้เข้าจับกุม กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ภายหลังการออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยพฤติกรรมการจับกุมของเจ้าหน้าที่ไม่มีการแจ้งสิทธิผู้ต้องหา เป็นการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่ไม่แสดงตัวว่ามาจากหน่วยไหน อีกทั้ง ในบันทึกการจับกุม เจ้าหน้าที่ได้ระบุว่าผู้ต้องหามีการหลบหนี ซึ่งไม่สอดคล้องกับการรายงานข่าวและปากคำของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาจึงขอให้แก้ไขถ้อยคำว่าไม่ได้หลบหนีแต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอม จึงทำให้กลุ่มผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ยอมเซ็นชื่อ และท้ายที่สุดก็ถูกพาตัวมาฝากขังกับศาลทหารกรุงเทพฯ

และในวันนี้ (28 มิถุนายน 2558) ทางทีมทนายความของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ได้แถลงว่า นักศึกษาทั้งหมดยังไม่ให้ปากคำเพราะยังไม่ได้พบทนายและทนายยังไม่สามารถไปพบได้ แต่ทว่าเจ้าหน้าที่กลับจะเข้าไปสอบสวนในวันพรุ่งนี้โดยมีทนายความจากสภาทนายความเข้าร่วมแทน ทั้งที่นักศึกษาทั้งหมดมีทนายอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องไม่เหมาะสมและสมควรถูกตั้งคำถามต่อความโปร่งใส่ในกระบวนยุติธรรม

นอกจากนี้ พฤติการณ์ของศาลทหารกรุงเทพฯ ได้ก่อให้เกิดคำถามต่อการทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม เพราะศาลทหารทำการไต่สวนและมีคำสั่งให้ฝากขังผู้ต้องหาในเวลา 21.00-24.00 ทั้งที่ไม่ใช่เวลาทำการปกติ อีกทั้งศาลทหารกรุงเทพฯ ได้ยกคำร้องขอคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาจำนวน 14 ราย ทั้งที่ทางกลุ่มประชาธิปไตยใหม่เปิดเผยสู่สาธารณะตลอดมาว่าจะไม่หลบหนีพร้อมยินยอมให้หน้าที่จับกุมตัว และยืนยันว่าการกระทำของตนเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกด้วย จากองค์ประกอบดังที่กล่าวมา จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 14 คน เว้นเสียแต่ต้องการจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพที่ทางกลุ่มกระทำการมาโดยตลอด

ด้วยพฤติการณ์เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐกำลังอ้างอำนาจตามกระบวนการยุติธรรมเพื่อจับกุมและดำเนินคดีผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยหวังผลประโยชน์ทางการเมือง ขณะที่ศาลทหารก็ทำตัวเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อสนองตอบเป้าหมายทางการเมืองมากกว่าเป็นองค์กรตุลาการที่ใช้ดุลพินิจในกระบวนการยุติธรรม

ดังนั้น เราจึงขอเรียกร้องว่า เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากกรณีใดที่เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์เห็นชัดเจนว่าหมายขังผู้ต้องหาทางการเมืองออกโดยองค์กรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมก็ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิ้วกลม

$
0
0

"วันหนึ่งนักศึกษาเหล่านี้อาจทวงถามบางสิ่งเพื่อพวกเราก็เป็นได้ หรือต้องรอให้ถึงวันนั้น เราจึงคิดว่าพวกเขาทำในสิ่งที่ถูกต้อง สำหรับผมแล้ว ดาวดินเป็นตัวอย่างนักศึกษาที่หาได้ยากในสังคมไทย ทั้งความทุ่มเทและความกล้าหาญของพวกเขา ล้วนแล้วแต่เป็นนักศึกษาที่ควรได้รับการคารวะ ผมนับถือพวกเขาที่มองเห็นชาวบ้านเป็น ‘เพื่อน’ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือชาวบ้านก็เห็นพวกเขาเป็น ‘เพื่อน’ เช่นกัน"

หรือ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ ใน 'เราคือเพื่อนกัน'

Landscape of ไทยๆpublic sphere

$
0
0



เมื่อเดือนปีแรกหลังรัฐประหารครั้งทันสมัยที่สุด นักเสรีนิยมชาวไทยยุค2014ชูหนังสือ 1984ขึ้นมาเทียบเคียงกับการย้อนอดีตให้ทันสมัยที่สุดเท่าที่จะนึกถึงได้ หลักฐานของการได้รับความนิยมตามสมควรคือการไล่จับเด็กที่ถือหรืออ่านหนังสือเล่มนี้ในที่สาธารณะ ไปจนถึงภาพใบหน้าBig Brotherที่ถูกดัดแปลงเป็นแบบไทยๆลงไปโดยนักวาดนิรนาม

นิยายน่าเศร้าเรื่องนี้จบลงด้วยปัจเจกชนหนึ่งหน่วยใดๆถูกทำลายให้ย่อยยับ ด้วยพลังอำนาจของการจ้องมองภายหลังการขอคืนพื้นที่ปริมณฑลสาธารณะไปอย่างเบ็ดเสร็จ มันบรรยายอย่างละเอียดถึงการถูกรุกคืบจากพื้นที่สาธารณะ จนกลืนกินความเป็นส่วนตัวให้หมดสิ้นเป็นคนๆไป ยิ่งเป็นปัจเจก...ยิ่งบังอาจเป็นส่วนตัว...เจ้าก็จะถูกคุกคาม


หลังจากการเพียรกินแซนวิช การอ่านหนังสือในที่สาธารณะ การปรากฏใบหน้าและร่างกายหน้าหอศิลป์ในวันสำคัญ มิถุนา 2015 กลุ่มนักศึกษาสิบกว่าคนกับผู้คนนิรนามหลักร้อยได้ตะโกนบอกเราด้วยภาพหน้าสน.ปทุมวันว่า มนุษย์หนึ่งหน่วยสามารถกลายร่างเป็นปริมณฑลสาธารณะได้อย่างไร

บนการมองพวกเขาและพวกที่ไม่ใช่พวกเขาผ่านยูทูปหลายสิบคลิป บวกกับภาพรายงานข่าวสมัครเล่นตลอดวันคืนแห่งการจ้องมอง ทั้งจากผู้ที่เอาใจช่วยบ้างไม่ช่วยบ้าง ว่าทหารหาญจะรวบเด็กเหล่านี้กันเมื่อไหร่ อย่างไร คลิปไหนจะน่าทึ่งหรือก่ออารมณ์แบบใดแก่เรา...ข่าวร้ายของคสช.ก็คือในปี2015นั้น Big Brotherกับสมุนproxyทั้งหลายก็กำลังถูกจ้องมองกลับ จากผู้คนนิรนามที่ไม่อาจรู้จำนวนที่แน่นอน(เพราะทำโพลไม่ได้) ด้วยว่าปีที่เขียน1984นั้นโลกไอทียังไม่ถือกำเนิด 1984น่ะเด็กๆเขาหยิบขึ้นมาอ่านประชดเท่านั้นแหละ แต่เขากำลังเขียน2015กันขึ้นมาใหม่ ...เขารู้ว่าไม่เพียงแต่Big Brotherที่จ้องมองเขาอยู่...

ช่วงเวลาที่เรามองเด็กนักศึกษาทั้ง 14 คน กับกลุ่มคนที่รายล้อม เราได้เข้าไปสู่ปริมณฑลสาธารณะเดียวกันกับเขาเหล่านั้น เพราะพวกเขากำลังพูดกับสิ่งที่อยู่ในใจเราไปพร้อมๆกับมนุษย์อีกหลายร้อยคนที่เรามองเห็นได้เป็นตัวตน เมื่อนั้นก็คือปริมณฑลสาธารณะได้ก่อกำเนิด

ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด...เราเรียกมันว่าเสรีภาพ

นักคิดท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ในช่วงสิ้นหวังว่า ไม่มีหรอกไอ้การแบ่งพื้นที่เป็นส่วนตัว-สาธารณะในสังคมโบราณน่ะ มันเพิ่งมาเกิดเอาตอนที่มนุษย์เปลี่ยนเป็นสังคมสมัยใหม่ตอนที่รู้จักเสรีภาพนั่นแหละ ปริมณฑลสาธารณะที่ทันสมัยที่สุดของเหล่าผู้รัฐประหารก็คงมีเพียง ทีวี วิทยุ และสถานที่สัญญลักษณ์ทางการเมืองที่มีรูปร่างทางกายภาพที่แน่นอนที่เข้ายึดคืนได้ด้วยแผงเหล็กสีเหลืองบวกกับอำนาจที่มาพร้อมกับการพกอาวุธขู่ให้กลัว วิทยุนั้นผู้เขียนไม่ทราบว่าเขายึดไหมเพราะไม่ได้ฟังมาหลายปีแล้ว หากได้ไปยึดไว้แล้วเราชาวเมืองคงไม่ค่อยรู้สึกสูญเสียอะไรไปให้เจ็บใจเท่าไรนัก จะมีก็ทีวีที่เสียฟีลไปตอนดูกีฬาถ่ายทอดสดเป็นพักๆ ส่วนสถานที่สาธารณะถ้าไม่ไปยึดห้างสรรพสินค้าเราก็จะรู้สึกกันน้อยมาก เพราะหอศิลป์เรานั้นก็น่าหลับจนเกินจะอยากไปชม มันคึกคักน่าไปก็ตอนไปคอยจ้องมองการบุกจับเด็กๆของพวกท่านนั่นแหละ ว่ามันจะน่าดูหน้าไม่อายกันได้แค่ไหน

รัฐประหารที่ยึดพื้นที่สมัยใหม่เพื่อกลับไปสู่ยุคก่อนสมัยใหม่ หรือทำให้พื้นที่หมดความเป็นสาธารณะด้วยตะแกรงและแผงกั้น เป็นความพยายามที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดและถูกคุกคาม เพราะกริยาการใช้อำนาจที่เขาเอาความเป็นสาธารณะออกไปจากสถานที่อันคุ้นเคย หากแต่โลกยุคหลังสมัยใหม่นั้น ปริมณฑลสาธารณะลอยห่างออกไปจาการยึดติดกับกายภาพพื้นที่ ความหมายของสถานที่ล้อเล่นไปมากับกายภาพบนพื้นที่และบนเวลาที่สั้นลง สารของเสรีภาพและประชาธิปไตยไม่ได้อยู่ที่อนุสาวรีย์หรือหอศิลป์ตลอดเวลา แต่มันก็ไม่ได้หายไปไหน สารของมันกลับมาตอกย้ำเราเมื่อท่านนำแผงกั้นไปล้อมไว้เป็นเดือนราวกับประจานตัวเอง และกลับมาย้ำกับเราเป็นครั้งคราวทุกครั้งที่มีผู้กล้าถูกจับเพราะเพียงเดินผ่านไปบอกว่าเราต้องการมัน ทุกครั้งที่ท่านกล่าวว่าเรายังมีมันไม่ได้ ท่านก็ได้กล่าวไปพร้อมๆกันว่าเพราะเรามีมันอยู่ตลอดเวลาท่านจึงยังต้องหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา

26 มิถุนา 2558 ทันทีที่เด็ก14คนถูกส่งเข้าเรือนจำท่านก็ได้หักหาญก็เอามันไปจากหลายใบหน้านิรนามที่ไม่รู้จำนวน...

ภาพและเสียงจากเซียนการเมืองผู้ผ่านตุลาและพฤษภาต่างตักเตือนบ้างคาดหวังบ้างถึงการลุกฮือแบบ14ตุลา เพลงและบทกวีที่มีอายุกว่า 40 ปีใช้ปลอบประโลม ซีกสมคบคิดสร้างนิยายแผนซ้อนแผนเบื้องหลัง ขู่สำทับด้วยภาพนองเลือดในอดีต 3-4 ครั้งหลัง ตุลาและพฤษภาวนเวียนมาใช้ขู่-ใช้สร้างความหวังตลอดความขัดแย้ง10ปีที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงคือทั้งในโศกนาฏกรรมและชัยชนะ(ปลอมๆ)ที่เราเคยผ่าน ล้วนมีความเงียบเป็นองค์ประกอบสำคัญให้การเล่าเรื่องราวเหล่านั้นราบรื่นขึ้นในการเล่าสู่กันฟัง ไปจนถึงการไม่เล่ามันทั้งโครงเรื่องทิ้งไว้เพียงเศษชิ้นส่วนภาพที่ปิดบังไม่ได้อย่าง 6 ตุลา เราไม่เคยเห็นฮีโร่เสกสรร-ธีรยุทธแบบเรียลไทม์ เรามีแทบจะภาพเดียวที่เศร้าสุดขีดของจารุพงศ์ ทองสินธุ์อยู่ในหัว เราบางคนเท่านั้นที่รู้จักดีถึงช่วงชีวิตกดทับในระหว่างทางความอัปยศทางการเมืองไทยระลอกแล้วระลอกเล่า เขาเหล่านี้อยู่ในความเงียบในห้วงเวลาของผลกระทบที่กระทำกันเป็นสิบๆปีขึ้นไป เมื่อเขาเล่าผู้รับฟังได้เพียงแต่เงียบ ตบไหล่แล้วจากไปเพื่อพูดเฉพาะสิ่งที่เขาพูดได้เท่านั้น

เครื่องมือเดิมๆในการจัดการความขัดแย้งเพื่อความสงบคือ การจัดการกำราบเสียงให้เงียบลง มันไม่เป็นเพียงการจับเด็กเข้าคุกเพื่อปิดภาพและเสียงของเขาต่อสาธารณะ ความเงียบที่น่ากลัวอยู่รอบๆตัวเราหลังคืนการจับกุม คำถามอยู่ที่นอกคุก สังคมไทยกำลังปฏิบัติการเลือกสรรว่าจะพูดหรือจะเงียบถึงเรื่องราวชั่วโมงที่ผ่านมาอย่างไรดี?

ในทุกวีรกรรมทางประวัติศาสตร์ไทยเราทั้งต้อนรับและยอมจำนนให้กับความเงียบ มันเป็นเนื้อหาของสิ่งที่เราเขียนและเล่าเพื่อความราบรื่นแบบเดียวกับที่นักเขียนทำกับโครงสร้างของนิยาย หรือแบบเดียวกับที่เหล่านักเคลื่อนไหวอายุ50upใช้มันในฐานะจังหวะทางการเมือง

...ส่วนเด็ก14คนกำลังเขียน 2015กันขึ้นมาใหม่...ไม่รอขนบการเขียนสังคมเพื่อความราบรื่นในนิยายการต่อสู้...ต้องไม่มีความเงียบ...

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จอห์น เดรปเปอร์: สมบัติ บุญงามอนงค์ และพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด มีทางออกให้กับชาวนา

$
0
0

เรื่องราวของนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชน สมบัติ บุญงามอนงค์ ฉายาหนูหริ่ง หรือ บก.ลายจุด ซึ่งในขณะนี้ได้อยู่ในความสนใจของสื่อต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันสมบัติเรียกได้ว่า ถูกรังแกโดยรัฐไทย ที่นำโดยเผด็จการทหารแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ซึ่งนั่นทำให้สมบัติต้องเผชิญกับ 5 ข้อกล่าวหา รวมถึงข้อหาการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112

พล.อ.ประยุทธ์ เอง ตั้งสมมติฐานว่า กิจกรรมล่าสุดที่สมบัติทำ คือ การขายข้าวนั้น ก็มาจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยสมมติฐานที่ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุนให้กับสมบัติ ด้วยพล๊อตความคิดความเชื่อแบบนี้ ถือเป็นบุคลิกของรัฐบาลชุดนี้ ที่เกี่ยวเนื่อง (หวังว่าจะไม่ได้ตั้งใจ) กับบุคลิกของเผด็จการฟาสซิสต์ตามที่ได้เคยอธิบายไว้ที่นี่แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรจะชี้ให้เห็นว่า สมบัติเองก็เป็นเจ้าของรายการโทรทัศน์ในช่องทีวีสันติภาพ ซึ่งใช้เป็นช่องทีวีของ นปช ซึ่งก็เคยเชื่อมต่อกับทักษิณ

แต่ทำไมแนวคิดเรื่องการขายข้าวจึงถูกโจมตี? สิ่งที่สมบัติทำ คือ การซื้อข้าวโดยตรงจากเกษตรกร นำมาแพ็คโดยใช้สถานที่เล็กๆ ภายใต้ยี่ห้อ “ลายจุด” เสร็จแล้วก็ขาย สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นการขัดขืนต่อสถานการณ์ปัจจุบัน คือ การซื้อข้าวจากเกษตรกรตัน 15,000 บาท เหมือนกับที่โครงการประกันราคาข้าวในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำ แล้วนำมาทำในรูปแบบของธุรกิจเพื่อสังคมที่ตัดออกพ่อค้าคนกลาง เช่น โรงสีข้าว และระบบราชการ (กระทรวงเกษตร ฯลฯ) ออกไปโดยปริยาย และการขายตรงสู่ผู้บริโภค

ในขณะเดียวกัน คนส่งข้าวก็จะได้ค่าส่งถุงละ 15 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดโดยทั่วไป ราคาซื้อข้าวที่สูงกว่าราคาตลาด รวมกับค่าจัดส่งต่อถุงที่สูงกว่าตลาดเช่นกัน จึงเป็นสองปัจจัย ที่ทำให้ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งก็เป็นกิจกรรมการค้าที่คล้ายคลึงกับสินค้ายี่ห้อดอยคำ ภายใต้โครงการหลวงมากกว่าที่เป็นแบบทุนนิยมสมบูรณ์แบบ

พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เหน็บแนมว่า ข้าวลายจุดซื้อข้าวจากเกษตรกรทั้งหมด และบริหารจัดการระบบสินค้าเกษตรของประเทศไปเลย แต่คำถามคือ ทำไมจะทำไม่ได้ล่ะ ทำไมข้าวไทยจึงไม่ทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ใช้การตลาดขายตรงกับลูกค้า?

มันก็คงจะมีคนอยู่สองกลุ่มหลักๆ ที่จะไม่ชอบแนวคิดนี้แน่ๆ คือ พวกเจ้าของโรงสีและไซโล ที่มีสมาคมของตัวเอง และก็เป็นพ่อค้าคนกลางมาแต่ในอดีต ซึ่งคนสองกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีโอกาสอันน้อยนิดในการได้รับการจ้างงานในช่วงที่ไทยเป็นประเทศสยาม นอกเหนือจากการเป็นลูกจ้างของรัฐ อันนี้รวมถึงการค้าข้าวด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริง เราก็ยังมีความความจำเป็นที่จะต้องใช้บริการของพวกเขา นอกเสียจากว่าแทนที่รัฐบาลจะจ่ายให้กับโรงสีและไซโลข้าว ก็นำเงินส่วนนั้นมาจ้างให้สมาคมเกษตรกรทำแทน  

ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจจะไม่พอใจกับแนวคิดนี้ ก็คือ ข้าราชการที่ทุจริตคอรัปชั่นที่สร้างรายได้จากการตรวจสอบ กำกับดูแล และการเพิ่มเทปสีแดงให้กับการเคลื่อนไหว และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าว แต่นี่ก็ไม่ใช่หนึ่งในปัญหาที่เผด็จการทหารพยายามที่จะแก้อยู่หรือ?

แต่ มีคำถามเกี่ยวเรื่องความเชี่ยวชาญด้านการตลาดของสมาคมเกษตรกร คำตอบ คือ สมาคมเกษตรกรสามารถที่จะจ้างผู้ประกอบการธุรกิจค้าข้าวในประเทศและต่างประเทศที่รู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรและต้องทำอะไรในธุรกิจนี้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ  แรงงานจ้างผู้จัดการ แทนที่จะเป็นผู้จัดการจ้างแรงงาน

สุดท้าย คุณจะค่อยๆ เห็นความสมบูรณ์ของรูปแบบเศรษฐกิจแนวใหม่ ในอดีตชาวนา คือชนชั้นล่างสุดของระบบห่วงโซ่อาหาร ที่ทั้งยากจน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทย-ลาวที่ทำการเกษตรแถบพื้นที่ชายขอบ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาทุกประเภท เช่น ดินเค็ม และการใช้สารกำจัดศัตรูพืชเกินปริมาณที่กำหนด ซึ่งในรูปแบบนี้ การสั่งการจะทำโดยรัฐ แต่ถ้าเกษตรกรทำงานร่วมกัน และใช้ระบบประชาธิปไตยในการเลือกผู้นำของสมาคมเกษตรกร ซึ่งหลายที่ทำอยู่แล้ว เป็นผู้ที่จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการโดยตรง ให้มาทำหน้าในการประสานงาน ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับบริษัท ซึ่งเป็นการตัดบทบาทรัฐออกไป นั่นหมายถึงคุณมีพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

บางคนอาจกล่าวว่านี่เป็นรูปแบบของลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่อันที่จริงแล้ว มันไม่ใช่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เพราะลิทธิคอมมิวนิสต์จะมีระบบสั่งการผ่านระบบราชการส่วนกลาง จัดหา จัดการ ตามความต้องการและดำเนินงานโดยตรง โดยคณะกรรมการทั้งหมดที่ดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ ผ่านรัฐบาลพรรคเดียว อันที่จริง รัฐไทยก็ได้ควบคุมการจัดหาหรือจัดส่งข้าวอยู่ ซึ่งนั่นก็คือไทยอยู่ระบอบสังคมนิยม - เศรษฐกิจแบบออกคำสั่ง – ซึ่งบางครั้งก็ได้หยิบยืมรูปแบบของรัฐบาลเผด็จการมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา แต่โดยรวมแล้ว เศรษฐกิจไทยเองก็มีธุรกิจจากภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เราเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่าเป็น “เศรษฐกิจแบบไฮบริด” และการแนะนำระบบประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจให้เป็นอีกระบบหนึ่ง ก็ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบของเศรษฐกิจไทยจากการเป็นระบบเศรษฐกิจแบบไฮบริดในชั่วข้ามคืน

บทบาทที่สมบัติได้สร้างให้ตัวเองในฐานะผู้ประกอบการทางสังคมถือได้ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็ยังคงผู้จัดการที่ต้องจ้างพนักงาน และแนวคิดนี้ก็มีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งเป็นเหตุผลที่พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด มีข้อเสนอแนะให้สมบัติคิดการใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงก็ถือว่ายอดเยี่ยม เห็นได้ชัดว่าไม่มีทางลัดสำหรับการแก้ไขปัญหาข้าวในประเทศไทย ภาคการเกษตรเองก็ฝากคำถามทางสังคมการเมือง และชาติพันธุ์ถึงคนไทยทุกคน แต่พันเอกสรรเสริญควรจะให้คำแนะนำแก่พล.อ.ประยุทธ์ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจผ่านการตัดพ่อค้าคนกลางออกจากระบบเศรษฐกิจนี้ การตัดระบบราชการที่ไม่จำเป็นออกทันที

เกษตรกรและสมาคมที่เป็นตัวแทนของพวกเขา ควรที่จะจ้างสมบัติ ซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถที่จะนำทีมผู้บริหาร และร่วมงานกันในการที่จะเจรจาต่อรองกับระบบราชการ และการสร้างแผนธุรกิจ จากนั้นการจัดการจ้างงานของสมาคม จะรับผิดชอบต่อสมาคม ซึ่งจะกลายเป็นคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร ผู้บริหารระดับสูงนี้ได้รับเงินกู้ยืมจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และพันธมิตรทางธุรกิจที่มั่นคง ผ่านขั้นตอนนี้ สมาคมเกษตรกรสามารถควบคุมดูแลการสี การจัดเก็บ การตลาด และการขายข้าวของพวกเขา ที่อาจใช้การทางแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการขายในจำนวนมากก เช่น เว็บไซท์ขายของออนไลน์อาลีบาบา

ข้อผิดพลาดที่เกิด จะทำผู้จัดการถูกไล่ออก และทุกอย่างก็จะดำเนินไปอย่างผิดปกติ ดังนั้น มันอาจจะต้องมีกฎระเบียบบางอย่าง และแน่นอนว่ามันควรจะมีองค์กรอิสระที่จะมาตรวจสอบ และระบบการประกันภัยพิบัติของรัฐ เข้ามาช่วยสนับสนุน แต่ในพูดกันตามจริงแล้ว ในเกมนี้ ก็ไม่มีอะไรจะต้องเสีย จากการกองทัพจะให้การสนับสนุนวิธีการที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถที่จัดการกับชีวิตและอนาคตของตัวเขาเอง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สั่งฟ้องธัชพงศ์-นัชชชา เจ้าตัวกังวลการปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศของเรือนจำ

$
0
0

29 มิ.ย.2558  เพจศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า เวลาประมาณ 12.00 น. อัยการศาลทหารมีคำสั่งฟ้องธัชพงศ์ แกดำ จำเลยที่ 1 และนัชชชา กองอุดม จำเลยที่ 2 ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/58 ซึ่งทางจำเลยได้ยื่นขอประกันตัว โดยใช้หลักประกันเดิม คือ เงินสด 10,000 บาท ศาลอนุญาตให้ประกันตัว ขณะนี้รอนำตัวไปเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเพื่อปล่อยตัว

กรณีนัชชชา กองอุดม ได้มีการยื่นคำแถลงขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวที่เรือนจำหญิงด้วย แต่ศาลยกคำร้อง โดย พ.อ.พิเศษศักดิ์ ค้ำชู ตุลาการพระธรรมนูญอ้างเหตุผลว่า พิจารณาตามกฎหมาย จำเลยยังมีสถานภาพเป็นเพศชาย และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดรองรับว่าชายที่แปลงเพศแล้วให้ถือเป็นเพศหญิง จึงให้ยกคำร้อง

ทั้งนี้ ช่วงสายของวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา นัชชชา กองอุดมถูกจับกุมขณะพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมาแล้ว 2 คืน ก่อนถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบแสดงหมายจับเข้าจับกุม ขณะเตรียมตัวไปที่ สน.ปทุมวันพร้อมเพื่อน

ภายหลังถูกจับกุมที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ได้พาตัวนัชชชาไปยังศาลทหารกรุงเทพฯ เพื่อทำเรื่องขอฝากขัง แต่ทางนัชชาได้ยื่นเรื่องคัดค้าน โดยให้เหตุผว่าตนกำลังไม่สบาย อยู่ระหว่างการศึกษา และเป็น transgender แต่ศาลไม่อนุญาตโดยให้เหตุผลว่า จำเลยเลยมีท่าทีปลุกปลั่นยุยงให้เกิดความไม่สงบ และมีมวลชน โดยที่ตุลาการไม่ขึ้นนั่งบัลลังก์ ระหว่างรอฝากขังนัชชชาจึงยื่นเรื่องขอประกันตัวโดยใช้เงินสด 10,000 บาท

เมื่อเดินทางถึงเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จะต้องมีขั้นตอนการตรวจร่างกายที่กระทำโดยนักโทษที่เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่เป็นเพศชายทั้งหมด ระหว่างนั้นมีการส่งเสียงตะโกนแซวจากนักโทษชายคนอื่น ๆ อยู่ตลอด ซึ่งนัชชชากล่าวว่า ถ้อยคำเหล่านี้ทำให้ตนอึดอัดใจ ขณะที่ขั้นตอนการตรวจร่างกายก็คล้ายจะมีความจงใจลวนลาม ซึ่งขั้นตอนภายในเรือนจำทำให้ตนรู้สึกเครียดและวิตกกังวล เพราะมีกระบวนการซึ่งต้องเปิดเผยร่างกายและกระทำโดยเพศชายทั้งหมด

ทั้งนี้ กลุ่มเพื่อประชาธิปไตยและความหลากหลายทางเพศออกแถลงการณ์ ‘ข้อเรียกร้องต่อการควบตัวบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ’ โดยมีรายละเอียดบางส่วน ดังนี้

“...การควบคุมตัวบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศต้องกระทำการด้วยความระมัดระวังเเละอ่อนไหวต่อ สถานการณ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ต้องมีการควบคุมตัวในเรือนจำ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการควบคุมตัวบุคคลสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความต้องการพิเศษ เเละเพื่อป้องการการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม เเละย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เเละเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองเเละสิทธิทางการเมือง ข้อ 17 เเละอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีนั้น ได้ระบุว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจำเป็นต้องได้รับการปกป้องสิทธิมนุษยชนในระหว่างการควบคุมตัว

กรณีที่บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจำเป็นต้องถูกควบคุมตัว ผู้ถูกควบคุมตัวต้องได้รับการควบคุมตัวในเรือนจำตามอัตลักษณ์ทางเพศที่เหมาะสม ผู้มีความหลากหลายทางเพศที่เปลี่ยนอัตลักษณ์เป็นหญิงไม่สมควรถูกควบคุมตัว ตรวจค้นร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ชาย ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติเเละการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกควบคุมตัว เนื่องจากกระบวนการรับตัว ตามหลักการ Yogyakarta Principles on the Application of International Human Rights Law in relation to Sexual Orientation and Gender Identity ข้อ 9 ระบุว่า บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรมระหว่างถูกควบคุมตัว เเละควรได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพต่อสิทธิเเละศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยการได้รับความเคารพในเพศสภาพเเละเพศวิถีถือเป็นส่วนหนึ่งของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์...” อ่านฉบับเต็มที่http://www.prachatai.com/journal/2015/06/59954

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกว.เปิดเวทีข้อมูลป่าไม้-ที่ดิน แนะปรับการจัดการทั้งระบบ

$
0
0

29 มิ.ย.2558 สำนักงานกองสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดเวทีนำเสนอข้อมูลวิชาการการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นป่าไม้-ที่ดิน ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำข้อเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ก่อนวันที่ 23 ก.ค.นี้

ผศ.อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน สกว.กล่าวว่า ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ที่สำคัญ คือ แนวเขตป่าไม้ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความขัดแย้งกับประชาชนซึ่งส่วนหนึ่งได้รับการผ่อนผัน ให้อยู่อาศัยในเขตป่า มีการจับกุมประชาชนที่บุกรุกป่าและใช้แบบจำลองป่าไม้เรียกร้องค่าเสียหายในอัตราสูง ในคดีโลกร้อน นอกจากนั้น บทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบต่างๆ ไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน ขณะที่ปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน ได้แก่ ประชาชนจำนวนมากไร้ที่ทำกิน การบุกรุกที่ดินของรัฐทุกประเภท รวมถึงดินเสื่อมโทรม มีปัญหาระบบข้อมูลและการบริหารจัดการที่ดิน สิทธิในที่ดินและเอกสารสิทธิในที่ดิน ที่ดินถูกทิ้งร้างและเก็งกำไร  และระบบภาษีที่ดินขาดประสิทธิภาพ

ผศ.อิทธิพล กล่าวว่า แนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐ เช่น นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน พบว่ามีประชาชนมาขอขึ้นทะเบียนรับความช่วยเหลือเกือบ 5 แสนราย แต่มีที่ดินเป็นแปลงรับรองสิทธิจำนวน 18 ไร่เศษ และมีแปลงว่างเพียง 1.85 แสนไร่ ทั้งยังมีการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ถึงครึ่งประมาณร้อยละ 11-18 ของพื้นที่ประเทศ ทำให้ไทยต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยการประเมินขั้นต่ำกว่า 127 ล้านบาทต่อปี

ส่วนการปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยจัดให้มีแผนที่แสดงขอบเขตที่ดินทุกประเภทที่ชัดเจนไม่ซับซ้อน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งแนวเขตที่ดิน บูรณาการใช้แผนที่ฐานในการกำหนดแนวเขตการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ที่ดิน พบว่ามีเพียงแนวเดียวโดยการตกลงร่วมกันของผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากมีการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ก็ให้พิจารณาดำเนินการโดยมิให้กระทบสิทธิของประชาชน หรือบางกรณีให้มีการพิสูจน์การได้มา ขณะที่ปัญหาที่ดินกระจุกตัว พบว่ามีความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินโดยผู้ถือครองที่ดินมากที่สุดมีจำนวน 6.31 แสนไร่ และน้อยที่สุด 1 ตารางวา

ผศ.อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายป่าไม้โดยจัดทำฐานข้อมูลแนวเขตที่ดินของรัฐ จะต้องสอดคล้องกับประกาศของกฎหมายต่างๆ และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากฐานข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ด้านนโยบายโฉนดชุมชนซึ่ง 467 ชุมชนในพื้นที่ 47 จังหวัดยื่นขอ มีข้อดีคือ ชุมชนสามารถบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกภายใต้ข้อตกลงกับภาครัฐ ป้องกันการใช้ที่ดินที่อาจส่งผลกระทบกับชุมชนทำให้ที่ดินของรัฐข้างเคียงได้รับการดูแล ขณะที่รัฐจะได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการดูแลที่ดินและลดภาระในการป้องกันการบุกรุกที่ดินของรัฐอีกทางหนึ่ง ล่าสุดในรัฐบาลนี้ได้มีการสรุปเนื้อที่ที่จะนำไปจัดให้ชุมชนตั้งแต่ปี 2558-2564 รวม 9,769,811ไร่

ผศ.อิทธิพล เสนอแนวทางการแก้ปัญหาไว้ 8 ประการ คือ
1. ปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ให้เหมาะสมกับสภาพของทรัพยากรและบริบทของสังคมไทยในปัจจุบัน หรือรวมกฎหมายยกร่างใหม่เป็นประมวลกฎหมาย
2. ให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดิน
3. ปรับปรุงการจัดการที่ดินทั้งระบบ โดยพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนและที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องยกร่างใหม่เพียงฉบับเดียว เพื่อช่วยเหลือผู้ไร้ที่ทำกินให้การจัดที่ดินเป็นเอกภาพทั้งการจัดที่ดินและเงื่อนไขการทำประโยชน์และสิทธิในที่ดิน
4. การผังเมือง ให้สามารถวางแผนและกำกับดูแลการใช้ที่ดินสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐและเอกชนมากขึ้น รวมถึงมาตรการต่างๆ สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ
5. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กำหนดให้เจ้าของที่ดินที่ให้เช่าเพื่อเกษตรกรรมโดยไม่ทำสัญญาเช่าจะผูกพันผู้เช่า 6 ปี แต่ถ้าให้เช่าโดยมีการทำสัญญาเช่าเป็นหลักฐานอาจน้อยกว่า 6 ปี แต่จะน้อยกว่าที่ คชก.ตำบลประกาศกำหนดไม่ได้
6. ออกฎหมายภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ตามขนาดการถือครองที่ดินและภาษีผลได้จากทุนเพื่อลดการเก็งกำไรที่ดินและการถือครองที่ดินขนาดใหญ่โดยทิ้งว่างเปล่า
7. ตั้งธนาคารที่ดิน ให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน บริหารจัดการที่ดินของรัฐและเอกชน พัฒนาตลาดที่ดินและใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม รวมถึงสนับสนุนการเงินแก่การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสม เป็นกลไกของรัฐในการสำรองที่ดินเพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจหรือช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาชนบทหรือเมือง หรือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ
8. สนับสนุนการยกร่าง พ.ร.บ.โดยตัดคำว่าโฉนดชุมชนออกไป เพื่อลดความสงสัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินที่อาจโยงถึงการให้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยที่ดินยังเป็นของรัฐและสามารถยกเลิกได้หากปฏิบัติผิดจากเงื่อนไขการอนุญาต

ผศ.อิทธิพลทิ้งท้ายว่าควรยกระดับคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติจากระเบียบสำนักนายกให้มีกฎหมายรองรับ เพื่อทำหน้าที่ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพราะเป็นผู้ดูแลที่ดินของทั้งประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงต้องการมีการจัดการอย่างมีเอกภาพและกระจายสู่พื้นที่อย่างเหมาะสม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI : โอกาสสองต่อในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยสำหรับคนจน

$
0
0

มองมุมบวกแนวคิด “คอนโค-อพาร์ทเม้นท์คนจน” ราคาถูกใกล้ระบบขนส่งมวลชน แม้ไม่ใช่รูปแบบสำเร็จรูปสำหรับคนจนทุกกลุ่ม แต่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับวิถีชีวิตของคนจนจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ การสร้างโอกาสสองต่อในการพัฒนาเมืองควบคู่การแก้ไขปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัยของคนจนเมืองสามารถทำได้ โดยภาครัฐสามารถทำให้กระบวนการเร็วขึ้นได้โดยเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนกระบวนการประชาสังคมทางด้านการให้องค์ความรู้ และช่วยเป็นตัวกลางในการประสานความช่วยเหลือจากภาคเอกชน

ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์  ดังนั้นการสร้างกลไกส่งเสริมและสนับสนุนให้คนจนได้มีโอกาสที่จะเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างถาวรในรูปแบบที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐพึงกระทำ แนวคิดของนายกรัฐมนตรีในเรื่องของการจัดหาที่อยู่อาศัยราคาถูกใกล้แนวรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชน จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ ที่จะตอบโจทย์การช่วยเหลือคนจนในมิติดังกล่าว

นณริฎ พิศลยบุตร

แนวคิดดังกล่าว มีความเหมาะสมและสอดคล้องต่อการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ยากจนได้มากน้อยเพียงใดนั้น ดร.นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า  หากจะจำแนกคนจนในกรุงเทพฯที่ขาดปัจจัยพื้นฐานเรื่องบ้านหรือที่อยู่อาศัยออกเป็น 2 กลุ่มแบบหยาบๆ คือ กลุ่มคนจนที่อยู่ในชุมชนแออัด กับ กลุ่มคนจนที่ไม่ได้อยู่ในในชุมชนแออัด จะพบว่ากลุ่มคนจนสองกลุ่มนี้จะมีพื้นฐานอาชีพและวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน  จึงต้องการรูปแบบของที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันด้วย   ซึ่งจากไอเดียของนายกรัฐมนตรีที่เสนอมานั้น การจัดหาที่อยู่อาศัยราคาถูกใกล้รถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับคนจนจำนวนหนึ่งที่ยังขาดปัจจัยเรื่องบ้านเป็นของตนเอง ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีอาชีพมั่นคงมีรายได้พอสมควรแต่ไม่มากพอจะซื้อบ้านหรือมีที่อยู่อาศัยของตนเองได้ จึงต้องไปหาที่อยู่ราคาถูกซึ่งไกลจากที่ทำงานทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การมีที่อยู่อาศัยใกล้ระบบขนส่งมวลชนก็จะตอบโจทย์ของคนกลุ่มนี้ได้  อย่างไรก็ตามก็ยังมีเงื่อนไขที่ต้องพิจารณาอีกมาก เช่น จำนวนกลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติ/รายได้  รูปแบบการบริหารจัดการ(คอนโด/อพาร์ทเม้นท์) และการบริหารจัดการในภาพรวม เป็นต้น อย่างน้อยควรให้มีการศึกษาให้ชัดเจนพอสมควรจึงจะทำให้การดำเนินโครงการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด

ขณะที่ที่อยู่อาศัยในรูปแบบนี้ อาจไม่เหมาะกับกลุ่มคนจนที่อยู่ในชุมชนแออัด ซึ่งมีพื้นฐานมาจากต่างจังหวัดหรือคนกรุงเทพฯบางส่วนที่ไปบุกรุกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นของภาครัฐบ้าง ของเอกชนบ้าง ทำอาชีพรับจ้าง ค้าขาย หรืออาชีพอิสระต่าง ๆ และคุ้นชินกับการอยู่ในที่อาศัยในแนวราบซึ่งสอดคล้องกับอาชีพและการดำเนินชีวิตมากกว่า เช่น ต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บสัมภาระหรือสิ่งของเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ 

ทางแก้สำหรับคนจนในกลุ่มนี้นั้น จะอาศัยการสร้างที่อยู่อาศัยแนวดิ่ง เช่น คอนโด หรือแฟลตมาปรับใช้โดยตรงไม่ได้ เนื่องจากที่อยู่อาศัยแนวดิ่งจะไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้ และปัญหาที่คนกลุ่มนี้ประสบอาจจะมีความซับซ้อนที่ต้องอาศัยการแก้ไขปัญหาโดยเริ่มจากชุมชนเป็นหลัก เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการแก้ไข

แนวทางในการแก้ไขในลักษณะนี้ได้ถูกดำเนินการอยู่โดย พอช. ผ่านโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเน้นการทำกระบวนการสังคมที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการของชุมชนว่าจะพัฒนาไปอย่างไร แต่กระบวนการดังกล่าวมักใช้เวลานานยาวนานร่วม 3 ปี 

ดังนั้น ในกรณีที่ภาครัฐต้องการจะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับคนจนในชุมชนแออัด จึงควรที่จะต้องอาศัยกลไกการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ยั่งยืนกว่าการสร้างที่อยู่อาศัยแนวดิ่งที่ไม่ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้โดยตรง

ทั้งนี้ ในกรณีที่ภาครัฐต้องการที่จะเร่งกระบวนการในการแก้ไขปัญหาให้รวดเร็วขึ้น เช่นในกรณีที่พื้นที่ที่ชุมชนแออัดอาศัย อยู่ทับเขตการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทำให้การเข้ากระบวนการชุมชนข้างต้นอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ในเงื่อนเวลา ในกรณีนี้ ภาครัฐควรหาวิธีการในการลดขั้นตอน กระบวนการ ที่ภาครัฐสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ตัวอย่างเช่น ภาครัฐสามารถเข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดกระบวนการชุมชนเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับพอช. และท้องถิ่น ภาครัฐสามารถช่วยเรื่องการออกแบบชุมชน ที่อยู่อาศัย ที่เหมาะสมทั้งในเรื่องความสอดคล้องต่อการใช้ชีวิตร่วมกันในชุมชน ความคงทนของวัสดุก่อสร้าง ความยั่งยืนคือสามารถใช้ได้นาน และรองรับการใช้ชีวิตในบั่นปลาย ภาครัฐยังสามารถช่วยในการเป็นตัวกลางเพื่อประสานงานระหว่างชุมชนที่ประสบปัญหา กับบรรษัทภิบาลของภาคเอกชน ในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง และเงินบริจาค ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทำให้กระบวนการมีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

กล่าวโดยสรุป แนวความคิดในเรื่องของการสร้างคอนโดราคาย่อมเยาใกล้รถไฟฟ้า สามารถที่จะตอบโจทย์คนจนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้ดีเฉพาะ กลุ่มคนจนที่พอมีฐานะ มีอาชีพทีค่อนข้างมั่นคง แต่มีรายได้ที่ต่ำไม่เพียงพอที่จะซื้อบ้าน หรือคอนโดในปัจจุบัน แต่แนวคิดดังกล่าว ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนจนในชุมชนแออัดที่คุ้นชินกับการอาศัยในที่อยู่อาศัยแนวราบมากกว่า ทั้งนี้ การผลักดันไปสู่ภาคปฏิบัติสำหรับการพัฒนาคอนโดแนวดิ่งสำหรับคนจนกลุ่มแรกยังคงต้องอาศัยการศึกษาวิจัยในหลายประเด็นเพื่อที่จะให้โครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด สำหรับการผลักดันการแก้ไขปัญหาสำหรับชุมชนในพื้นที่แออัดนั้น กลไกในการแก้ไขปัญหาที่ดีมีอยู่แล้ว คือ กระบวนการทางสังคมที่ให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหา บทบาทที่จำเป็นสำหรับภาครัฐในส่วนนี้ จะอยู่ในรูปของการช่วยเหลือให้ความรู้ในส่วนที่ชุมชนขาด และช่วยเป็นตัวกลางในเรื่องของการประสานความช่วยเหลือจากภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของกระบวนการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถตอบโจทย์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ในกรณีที่ปัญหามีความคาบเกี่ยวกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อนุสรณ์ ธรรมใจ : ไทยต้องเตรียมรับมือความผันผวนจากตลาดการเงินโลก หลังกรีซเสี่ยงถอนตัวจากยูโรโซน

$
0
0

ทางการไทยและตลาดการเงินต้องเตรียมตัวรับมือและติดตามอย่างใกล้ชิดกรณีกรีซผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะความผันผวนจากตลาดการเงินโลกความเสี่ยงที่กรีซจะถอนตัวจากยูโรโซนมีมากขึ้น แต่ยังไม่น่าจะเกิดขึ้นตอนนี้ การถอนตัวออกจากยูโรโซนไม่เป็นผลดีต่อกรีซในระยะสั้นถึงปานกลางเนื่องจากระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงมาก อัตราการว่างงานสูง ประชามติของประชาชนกรีซน่าจะยังต้องการอยู่ในยูโรโซนต่อไป กรีซได้ประกาศมาตรการควบคุมเงินทุนเพื่อไม่ให้ลุกลามสู่การล่มสลายของระบบสถาบันการเงิน

จากสถานการณ์ดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยควรมีการประชุมคณะกรรมการธนาคารและคณะกรรมการนโยบายการเงินพิเศษ และพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาต่ำกว่า 1% เนื่องจากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและความเสี่ยงของปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น แม้ผลกระทบในเบื้องต้นต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมไม่มาก เนื่องจากปัจจุบันไทยมีหนี้สินต่างประเทศน้อย ทุนสำรองระหว่างประเทศและยอดเกินดุลบัญชีเงินสะพัดในระดับสูง แต่อาจเกิดความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นได้ 

ผลกระทบจากภัยแล้งต่อเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมน่าจะรุนแรง ขณะที่ภัยแล้งทำให้ผลผลิตลดลงแต่ราคาข้าวยังคงต่ำกว่า 8 พันบาทต่อตัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องไปตรวจสอบดูว่า กลไกตลาดข้าวทำงานปรกติดีหรือไม่ และเสนอให้นำมาตรการรับจำนำข้าวกลับมาใช้ระยะหนึ่งเพื่อพยุงราคา ไม่ให้เกษตรกรเดือดร้อนมากไปกว่านี้

นโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าวนั้น เป็นมาตรการที่รัฐบาลใช้มาอย่างยาวนานหลายรัฐบาล หลังจากมาตรการกีดกันการส่งออกและเก็บค่าพรีเมียมข้าวได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 โดยนโยบายแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรนี้มุ่งแก้ไขและบรรเทาปัญหาผลกระทบจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรต่อเกษตรกร ภาคเกษตรกรรม และระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ในช่วงห้า-หกทศวรรษที่ผ่านมา ภาคเกษตรกรรมของไทยได้มีพัฒนาการไปจากเดิมมาก โดยในช่วงปี พ.ศ.2500 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีเกือบร้อยละ 40 มาจากภาคเกษตรกรรม มีประชากรอยู่ 27 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในภาคเกษตรกรรมร้อยละ 80 ขณะที่ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์มวลรวมจากภาคเกษตรกรรมอยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 11 ของจีดีพี โดยมีคนไทยหนึ่งในสามอยู่ในภาคเกษตรกรรม ตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา แรงงานภาคเกษตรกรรมในชนบทหลั่งไหลสู่อุตสาหกรรมและภาคบริการ ผลจากการหลั่งไหลออกนอกภาคเกษตรกรรมเพราะภาคเกษตรกรรมมีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน ในที่สุดประเทศไทยก็ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรและต้องอาศัยแรงงานข้ามชาติในการทำงาน ผลผลิตต่อไร่ของการปลูกข้าวในไทยไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นเท่าไหร่ในช่วงที่ผ่านมา พื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศร้อยละ 60 อาศัยน้ำฝนและปีนี้ก็เผชิญภัยแล้งอย่างหนัก ทำให้ผลผลิตในปีนี้ออกมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ผลผลิตต่อไร่ของไทยต่ำมากเพียง 338 กิโลกรัมต่อไร่ แม้กระทั่งผลผลิตต่อไร่ในพื้นที่ชลประทานของข้าวไทยเองก็ต่ำกว่าผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของอาเซียนและโลก

ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของไทยก็ต่ำสุดในกลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวหลักๆของโลกแล้ว แต่ความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยไม่มีปัญหาและการส่งออกข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างปี พ.ศ. 2520-2554 ปริมาณเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 2.2 แสนตัน ความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลกและความร่ำรวยจากการส่งออกจึงเป็นผลมาจากการขูดรีดผลประโยชน์ส่วนเกินจากผู้ผลิต คือ ชาวนา เมื่อชาวนาสามารถขายข้าวได้ในราคาสูงจากราคารับจำนำจึงทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวลดลงหลังใช้นโยบายรับจำนำข้าว 15,000 บาทต่อเกวียน สิ่งที่สะท้อนว่าความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลกเป็นผลจากกลยุทธด้านราคาเป็นหลักและต้องกดราคาข้าวในประเทศให้ต่ำ ผู้ผลิตชาวนาจึงได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์จากแรงงานของตัวเองไม่มากนัก หากการส่งออกข้าวไทยจะดีขึ้นหรือความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นต้องเกิดจาก การลงทุนปรับปรุงพันธุ์ข้าว การเพิ่มผลผลิตต่อไร่และการลดต้นทุน เป็นต้น

ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำในปัจจุบันทำให้ภาคเกษตรกรรมหดตัวลงและไม่อยู่ในสภาพที่จะดูดซับแรงงานชนบทได้ ผู้คนในชนบทโดยเฉพาะคนรุ่นหนุ่มสาวค่อยๆ ถอยห่างจากชนบทและภาคเกษตรกรรมเพื่อหนีความไม่มั่นคงทางด้านรายได้และความยากจน ลูกหลานเกษตรกรไม่อยากเป็นเกษตรกรอีกต่อไป ภาวะดังกล่าวมีความจำเป็นต้องมีมาตรการหรือนโยบายเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรด้วยการแทรกแซงราคาโดยรัฐ ในกรณีของพืชผลเกษตรอย่างเช่น ข้าว จำเป็นต้องรับจำนำในราคาสูงเพื่อรักษาพื้นที่การผลิตข้าวเอาไว้ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวและพืชผลอื่นๆ อย่างรุนแรงมาก มีความจำเป็นต้องสร้างระบบชลประทานทั่วถึงและทันสมัย ลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนาแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเพื่อยกระดับรายได้และประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจรุนแรง จึงจำเป็นต้องใช้นโยบายเชิงรุกด้วยการรับจำนำข้าวในราคาสูง จึงแก้ปัญหาได้รวดเร็วและแน่นอนย่อมมีผลกระทบบางด้านเกิดขึ้นและอาจเกิดแรงต่อต้านจากผู้มีแนวทางแตกต่างหรือผู้เสียผลประโยชน์

การกระจุกตัวของการถือครองที่ดินในสังคมไทย ถือว่าเป็นปัญหาที่อยู่ในระดับรุนแรงมากๆ เนื่องจากกลุ่มที่ถือครองที่ดินสูงสุด 20% แรกถือครองที่ดินมากกว่ากลุ่มที่ถือครองที่ดินต่ำสุด 20% ล่างสุดมากถึง 325 เท่า นอกจากนี้กลุ่มที่ถือครองที่ดินสูงสุด 20% แรกนี้ยังถือครองที่ดินคิดเป็น 80% และคนที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศนี้ 10% แรก ถือครองที่ดินเกือบ 90% ของทั้งประเทศ นอกจากนี้ จากผลการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินยังพบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอภาคหรือการกระจายการถือครองที่ดินสูงถึง 0.89 การที่ค่า Gini Coefficient มีค่าสูงเกือบ 0.9 สะท้อนถึงความไม่ธรรมและความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจที่รุนแรง

มาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรและการรับจำนำข้าวเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ เป็นวิธีการแก้ปัญหาราคาตกต่ำของราคาสินค้าเกษตรและราคาข้าวได้รวดเร็วที่สุด เป็นนโยบายควรนำกลับมาใช้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ซึ่งดีกว่าใช้วิธีแจกเงินให้เกษตรกรต่อไร่ นโยบายรับจำนำข้าวย่อมดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการแก้ปัญหาด้วยการแจกเงินต่อไร่ให้เกษตรกร การรับจำนำ รัฐบาลยังมีสต๊อกข้าว อย่างไรก็ตาม แผนการรับจำนำครั้งใหม่ต้องทบทวนจุดอ่อนในอดีต เช่น ไม่รับจำนำในราคาสูงเกินราคาตลาดมากเกินไป ไม่รับจำนำทุกเมล็ด แยกรับจำนำข้าวในราคาตามระดับคุณภาพ ตรวจสอบขั้นตอนการรับจำนำให้โปร่งใสและลดการรั่วไหลทุจริต เป็นต้น ต้องบริหารจัดการระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสเพื่อให้ได้สภาพคล่องมาชำระหนี้ชาวนาและทำให้เกิดภาระทางการคลังให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันต้องสร้างความมั่นใจต่อระบบสถาบันการเงินเพื่อปล่อยกู้หรือชำระเงินให้ชาวนาที่ถือใบประทวน โดยสถาบันการเงินสามารถนำใบประทวนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันมารับเงินจากรัฐบาลได้ต่อไป

ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ในการศึกษาทบทวนปัญหาและข้อผิดพลาดจากนโยบายรับจำนำข้าวเพื่อนำมาสู่การพิจารณาว่า จะปรับปรุงนโยบายรับจำนำข้าวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และสามารถช่วยเหลือเกษตรกรรายได้น้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้หลุดพ้นจากความยากลำบากทางเศรษฐกิจ นโยบายรับจำนำข้าวที่ผ่านมาได้ทำให้ชาวนายากจนจำนวนไม่ต่ำกว่า 3.45 แสนราย ได้รับเงินจำนำข้าวเฉลี่ยรายละ 94,579 บาท และชาวนาระดับกลางและรายได้สูงไม่ต่ำกว่า 2.69 แสนราย ได้รับเงินจำนำข้าวเฉลี่ยรายละ 405,937 บาท นอกจากนี้ยังทำให้ชาวนาบางรายที่มีที่ดินขนาด 100 ไร่ขึ้นไปมีรายได้ปีละ 2-3 ล้านบาท หรือชาวนาที่มีที่ดินขนาดใหญ่จะได้รายได้เฉลี่ย 4-6.6 แสนบาทต่อปี ด้วยระดับรายได้แบบนี้จึงทำให้ภาคเกษตรกรรมไทยเติบโตและขยายตัวได้อย่างมั่นคงต่อไป 

รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวนาอย่างชัดเจนจะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจของชาวนาจำนวนมากดีขึ้น ลดปัญหาความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาธิปไตยฐานรากเข้มแข็งขึ้น ประชาธิปไตยรากฐานเข้มแข็งจากฐานะทางเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองที่มากขึ้นของชาวนา มาตรการรับจำนำข้าวในราคาสูงโดยรัฐกลายเป็นเครื่องมือสำคัญทำให้ชาวนาจำนวนไม่น้อยหลุดพ้นจากกับดักความยากจน

นอกจากนี้การทำให้ “ผู้คนในภาคเกษตรกรรม” มีรายได้สูงขึ้น เท่ากับเป็นการสกัดกั้นการอพยพย้ายถิ่นของชาวชนบท และ รักษาสมดุลโครงสร้างเศรษฐกิจระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งลดปัญหาสังคมและความแออัดของเมืองใหญ่

สต็อกข้าวของรัฐบาลที่สะสมเพิ่มขึ้นจากการรับจำนำต้องบริหารจัดการให้ดี (จำนวนนี้สามารถนำมาเป็นอาหารสำรองทางยุทธศาสตร์จากการขาดแคลนอาหารในอนาคตจากภาวะโลกร้อนได้แต่ต้องมีระบบเก็บรักษาคุณภาพดีๆ) การมีสต๊อกจำนวนมากขึ้นจะทำให้การระบายข้าวบริหารยากขึ้น เมื่อปล่อยข้าวออกมาในตลาดจะกดราคาในตลาดให้ปรับตัวลดลง รัฐบาลก็จะขาดทุนเพิ่มเติมอีก ส่วนการเก็บข้าวไว้รอให้ราคาตลาดโลกสูงขึ้นค่อยทยอยขาย รัฐก็ต้องมีระบบการจัดเก็บสะต๊อกข้าวที่ได้มาตรฐาน รายละเอียดของนโยบายรับจำนำบางส่วนต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อปิดจุดที่จะสร้างปัญหาและลดการรั่วไหล การทุจริตนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลอมใบประทวน การนำข้าวมาเวียนเทียนสะต๊อกลม การสวมสิทธิ ตลอดจน การใช้บริษัทในเครือข่ายรับซื้อข้าวจากรัฐบาล

รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนวิธีการรับจำนำเสียใหม่ ไม่ให้กลายเป็นการผูกขาดการค้าข้าวโดยรัฐบาล หรือตั้งราคาจำนำสูงเกินกว่าราคาตลาดมากๆ ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณราคาที่บิดเบือน ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกข้าวเกินพอดีเกินศักยภาพและเบียดบังพื้นที่เพาะปลูกพืชผลประเภทอื่น เนื่องจากสามารถขาย

ข้าวในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดมากกว่า 40% (ในช่วงที่มีการรับจำนำในราคา 15,000 บาทต่อเกวียน) สิ่งนี้ทำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรม เน้นปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตเร็วแทนพืชอื่น การรับจำนำแบบคละเกรดอาจทำให้คุณภาพข้าวย่ำแย่ลงในอนาคต เกษตรกรขาดแรงจูงใจผลิตข้าวคุณภาพ  

นโยบายแทรกแซงราคาหรือพยุงราคา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายรับจำนำ นโยบายประกันราคาก็ตาม รัฐบาลควรนำมาใช้ระยะหนึ่งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาหรือเกษตรกรเมื่อราคาพืชผลตกต่ำและผันผวนเท่านั้น การแทรกแซงราคาที่ฝืนกลไกตลาดไม่สามารถทำได้ในระยะเวลานานๆ เพราะจะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบตลาด ระบบการผลิตและฐานะทางการคลังของรัฐบาล และไม่สามารถสร้างรายได้หรือชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนาหรือเกษตรกรให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนได้ หลังจากที่รายได้เกษตรกรมีความมั่นคงด้วยการจำนำข้าวแล้ว ก็มุ่งไปที่การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มอำนาจของเกษตรกรในโครงสร้างการผลิตและโครงสร้างการตลาด

ผมมีข้อเสนอในเรื่องนโยบายภาคเกษตรดังต่อไปนี้ 

1.  ต้องมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เริ่มต้นตั้งแต่ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินเพื่อการเกษตร กำหนดเพดานการถือครองที่ดินอย่างเหมาะสม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดิน จัดตั้งกองทุนที่ดินเพื่อเกษตรกร รวมทั้งการพลักดันให้มีการเก็บภาษีที่ดินเพื่อกระตุ้นให้นำที่ดินรกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการผลิต 

2. ไทยต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนต่อ ไตรลักษณะของภาคเกษตรกรรมของไทย อันประกอบด้วย เกษตรดั้งเดิม เกษตรอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เกษตรอินทรีย์ทางเลือก ในขณะที่โลกเผชิญความท้าทายทางด้านความมั่นคงอาหารและพลังงาน

3. ใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการความรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปสินค้าเกษตร (ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆ)

4. เพิ่มรายได้เกษตรกรด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มสวัสดิการให้ชาวนาและเกษตรกร

5. ทยอยลดระดับการแทรกแซงราคาลง (แต่ต้องไม่ยกเลิกทันที) โดยนำระบบประกันภัยพืชผลและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามาแทนที่ ทำให้ “ไทย” เป็นศูนย์กลางของตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรของภูมิภาค

6. พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร

7. จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีภายใต้ WTO, FTA, AEC

8. ส่งเสริมการขยายฐานในรูป Offshore Farmingเกษตรพันธะสัญญาโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV

9. การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมและเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ ครัวของโลก รัฐควรลดบทบาทแทรกแซงกลไกตลาดสินค้าเกษตรลง ลดการบิดเบือนกลไกราคา

10. จัดให้มีตลาดสินค้าเกษตรให้มากและหลากหลายและพัฒนาไทยสู่การเป็น “ครัวของโลก” และทำให้ไทยเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยของโลก

11. ทำให้ชาวนาหรือเกษตรกรทั้งหลายเข้าถึงแหล่งทุนได้ดีขึ้นปล่อยสินเชื่อถึงเกษตรกรโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง โรงสี หรือ บริษัทค้าปัจจัยการผลิตทั้งหลาย บูรณาการการบริหารจัดการกองทุนที่เกี่ยวกับการแก้ไขหนี้สินเกษตรกรให้เป็นเอกภาพและเร่งรัดแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร

12. นำนโยบายรับจำนำข้าวกลับมาดำเนินการจนกว่าราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้นระดับหนึ่งและยกเลิกนโยบายแจกเงินให้ชาวนาเนื่องจากเป็นมาตรการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ สิ้นเปลืองและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรนอกจากบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนให้ชาวนาในระยะสั้นมากๆ เพราะเงิน 1,000 บาทใช้ไม่เกินสามวันก็หมดแล้ว นอกจากนี้การกำหนดมาตรการแบบนี้อยู่บนฐานคิดแบบสังคมสังเคราะห์และส่งเสริมวัฒนธรรมอุปถัมภ์อันไม่ได้ทำให้ชาวนาเข้มแข็งขึ้นในระยะยาวและยังเป็นการทำให้ประชาธิปไตยฐานรากอ่อนแอลงด้วย

 

 


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อมธ. วอนปล่อยตัวนักศึกษา ‘ประชาธิปไตยใหม่’ โอนคดีไปศาลพลเรือน

$
0
0

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา เวลา 23.29 น. เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ หรือ อมธ.’  เผยแพร่แถลงการณ์องค์การฯ เรื่อง การจับกุมตัวกลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่

โดยระบุว่า สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่กลุ่มนักศึกษาแนวร่วมประชาธิปไตยใหม่ ถูกจับเนื่องจากการแสดงออกทางการเมืองในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2558 โดยได้ถูกตั้งข้อหา 2 ข้อหาคือ

(1) ขัดคำสั่งที่ 3/2558 ข้อ 12 ที่คสช.ออกตามมาตรา 44 เรื่องห้ามมั่วสุมทางการเมือง

(2) ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เรื่องการยั่วยุปลุกระดมประชาชน

โดยกลุ่มนักศึกษาได้ถูกนำตัวไปยังศาลทหารกรุงเทพ และเจ้าหน้าที่ได้มีการขอคำสั่งศาลฝากขังในคืนวันเดือนกันนั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยตรง มีความเห็นต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. กระบวนการปรองดองและการปฏิรูปประเทศ เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดเห็นและการมีส่วนรวมจากประชาชนทุกภาคส่วน ดังนั้น การที่ห้ามปรามการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จึงไม่ใช่หนทางที่จะนำประเทศไปสู่กระบวนการใดๆ ได้เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่บรรยากาศในบ้านเมืองต้องการความคิดเห็นของทุกฝ่ายในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น การห้ามปรามการแสดงความคิดเห็นจึงเป็นส่วนสำคัญในการปฏิรูปประเทศนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สมควรยิ่ง

2. โดยหลักการแล้วศาลทหาร มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีความที่เกี่ยวข้องกับความผิดของทหาร ยกตัวอย่างเช่น ความผิดทางด้านวินัย หรือการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งในการขึ้นศาลทหารนั้นจำเลยที่เป็นพลเรือนจะไม่มีสิทธิแต่งตั้งทนาย หรือฟ้องคดีเองได้ที่ศาลทหาร ต้องมอบคดีให้แก่อัยการทหารเป็นโจทก์รวมถึงในส่วนของการพิจารณาคดีความ ก็ยังอยู่ในขั้นตอนที่เป็นการตัดสินของทหารอีกด้วย ซึ่งนักศึกษาที่ถูกจับไม่ได้มีสถานะเป็นทหารประจำการ กระบวนการนี้จึงอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่จำเลยซึ่งเป็นพลเมืองได้ อีกทั้งบ้านเมืองก็ไม่ได้อยู่ในช่วงสงคราม จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะใช้ศาลทหารในการพิจารณาคดีของนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องของการแสดงออกทางการเมืองเพียงเท่านั้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าว องค์การนักศึกษาจึงขอเรียกร้องให้ท่าน ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุมในข้างต้นและยกเลิกการใช้ศาลทหารในคดีของพลเรือน ทั้งนี้เสียงสะท้อนทั้งหมดที่กล่าวไป เป็นความเห็นของนักศึกษาที่มีความหวังดีต่อประเทศไทย รวมถึงความยุติธรรมที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในสังคม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอขององค์การนักศึกษานั้น จะได้รับการรับฟัง และพิจารณา พวกเราฝันเห็นสังคมที่สามารถเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคมผ่านกลไกประชาธิปไตย เพราะความสงบสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จากการสร้างกลไกที่ยั่งยืน มิใช่เกิดจากการเก็บกดปิดกั้นชั่วครั้งชั่วคราวดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้

แถลงการณ์องค์การนักศึกษา เรื่อง การจับกุมตัวกลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่

Posted by องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ on 28 มิถุนายน 2015

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยิง 'สมยศ สุธางค์กูร' ปิดตำนานพระราม 9 พลาซ่า

$
0
0

สมยศ สุธางค์กูร ถูกยิงเสียชีวิตที่ลานจอดรถร้านอาหารย่านสวนหลวง ปิดตำนาน "พระราม 9 พลาซ่า ตลกดังทั่วฟ้าเมืองไทย" ถัดจาก 'บุญเลี้ยง อดุลย์ฤทธิ์กุล' ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในเดือนเดียวกันเมื่อ 16 ปีที่แล้ว

แฟ้มภาพสมยศ สุธางค์กูร ในโฆษณา "พระราม 9 พลาซ่า"

29 มิ.ย. 2558 - หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายงานว่า เมื่อเวลา 21.00 น. พ.ต.ท.กู้เกียรติ จันทร์พุ่ม พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษสน.คลองตัน ได้รับแจ้งเหตุยิงกันตายในลานจอดรถร้านเฮงหูฉลาม เขตสวนหลวง กทม. ที่เกิดเหตุพบศพนายสมยศ สุธางค์กูร อายุ 62 ปี อดีตผู้บริหารพระราม 9 พลาซ่า สภาพนอนหงายแน่นิ่ง ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาดเข้าที่บริเวณกลางศีรษะ 1 นัด และหัวไหล่ข้างซ้าย 1 นัด พบรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ รุ่นอี 200 สีดำ หมายเลขทะเบียน ฌร 3636 กรุงเทพมหานคร จอดติดเครื่องยนต์อยู่ โดยด้านท้ายฝั่งซ้ายมีร่องรอยถูกเฉี่ยวชนจนบุบ เจ้าหน้าที่จึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน

ในเดือนเดียวกันนี้ เมื่อ 16 ปีที่แล้ว คือเมื่อวันที่ 21 มิถุนายนปี 2541 นายบุญเลี้ยง อดุลยฤทธิ์กุล ผู้บริหารวิลลาคาเฟ่ คู่แข่งของพระราม 9 พลาซ่าในสมัยนั้น ถูกยิงเสียชีวิตภายในคอนโดนำโชค ซอยรามคำแหง 74 โดย ศูนย์ข้อมูลมติชนระบุว่า ในเวลานั้นตำรวจเพ่งเล็งประเด็นสังหารว่ามาจากความขัดแย้งเรื่องกิจการคาเฟ่ เพราะในเวลานั้นกำลังมีข้อพิพาทกับคู่แข่งอย่างรุ่นแรงในการแย่งตัว "ไชยา มิตรชัย" พระเอกลิเก - นักร้องคนดัง อย่างไรก็ตาม มือปืนคือขจรศักดิ์ กลิ่นเฟื่อง ซึ่งจับได้ในภายหลัง สารภาพว่าเป็นการฆ่าชิงทรัพย์

ในรายงานของประชาชาติธุรกิจหัวข้อ เบื้องหลังเสียงหัวเราะ "ตลกคาเฟ่" พระราม 9 พลาซ่า พื้นที่พิเศษ แหวกขนบ ตลก-ลูกค้าร่วมกันแสดง" เผยแพร่เมื่อ 19 กันยายน 2552 เรียบเรียงจาก งานวิจัยของ อาจินต์ ทองอยู่คง ให้ข้อมูลว่า นายสมยศ สุธางค์กูร ถือเป็นผู้กว้างขวางในแวดวงสถานบันเทิง และเป็นเจ้าของและผู้บริหารงาน พระราม 9 พลาซ่า โดยเคยเป็นคู่กรณีของ 'เฮียเลี้ยง' หรือ นายบุญเลี้ยง อดุลย์ฤทธิกุล อดีตเจ้าของวิลล่าคาเฟ่ สถานบันเทิงในย่านเดียวกัน โดยนายบุญเลี้ยงได้ถูกคนร้ายฆ่าชิงทรัพย์ ไปเมื่อปี 2541 จนทำให้วิลลาคาเฟ่ต้องปิดกิจการลง เหลือเพียงพระราม 9 พลาซ่า ของนายสมยศเท่านั้น

ต่อมาในปี 2541 บุญเลี้ยง ถูกยิงเสียชีวิต หลังจากนั้น วิลล่าคาเฟ่ ก็ปิดกิจการ ทำให้เวทีและพื้นที่ ของบรรดาตลกเหลือเพียงพระราม 9 พลาซ่าของสมยศ สุธางค์กูร

โดย พระราม 9 พลาซ่านั้น เคยเป็นช่องทางที่มีอำนาจต่อพวกคณะตลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นคาเฟ่ชื่อดังที่สุดท้าย ที่ยังคงเหลืออยู่ ขณะที่เคยมีประกาศิตจาก สมยศ ห้ามตลกตระกูลเชิญยิ้มขึ้นเวทีเรียกเสียงหัวเราะบนเวทีพระราม 9 พลาซ่าเด็ดขาด หรือตลกคณะใดที่ต้องการขึ้นเวทีก็ห้ามมีนามสกุลเชิญยิ้มต่อท้าย ขณะเดียวกัน ตลกคณะ "เชิญยิ้ม" ก็บอยคอตไม่ไปแสดงที่พระราม 9 พลาซ่า

ข้อมูลของประชาชาติธุรกิจ ระบุด้วยว่า ในปี 2552 สมยศ อยู่ใน ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อันดับที่ 33 ต่อจาก นายสรรเสริญ สมะลาภา อันดับ 32 และสมยศยังเป็นนายกผู้ประกอบการสถานบันเทิงแห่งประเทศไทย

สำหรับข้อมูลธุรกิจ ของสมยศ บริษัท พระราม 9 พลาซ่า จำกัด จดทะเบียน 5 ตุลาคม 2538 ประกอบกิจการภัตตาคาร บาร์ ไนท์คลับ ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทจนถึงปัจจุบัน ผลประกอบการในช่วงหลัง ขาดทุนต่อเนื่องปีละ 2 ล้านกว่าบาท เรื่อยมา

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58141 articles
Browse latest View live


Latest Images