Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58386 articles
Browse latest View live

เผยเด็กมุสลิม 250,000 เรียนตาดีกา ศอ.บต.ทุ่ม 100 ล้านตั้งศูนย์กลางเรียนรู้

$
0
0

จัดใหญ่ มหกรรมตาดีกาปัตตานี โชว์ความสามารถเด็ก ศอ.บต.เผยเยาวชนมุสลิม 250,000 แห่เข้าเรียน พร้อมทุ่ม 100 ล้าน ตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ “อินติฟาดะห์” ตัวแทนไทยแข่งอานาชีดระดับโลก

กวีมลายู – บาบอนูรุดดีน ปาดังรู โต๊ะครูปอเนาะในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ในฐานะนักกวีมลายูนูซันตารา ขึ้นเวทีอ่านบทกวีภาษามลายูเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน ในงานมหกรรมตาดีกาจังหวัดปัตตานี เมื่อ 23 มิถุนายน 2555 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 23 มิถุนายน 2555 ที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี มูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดงานมหกรรมตาดีกาจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 31 มีครู นักเรียนตาดีกา (ศูนย์การสอนศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐาน) ในจังหวัดปัตตานี และนักศึกษาชมรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี เข้าร่วมกว่า 1,000 คน 

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวเปิดเผยระหว่างเปิดงานว่า ศอ.บต.พยายามส่งเสริมการตั้งศูนย์กลางเรียนรู้ที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส โดยมีลักษณะคล้ายตาดีกา ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยให้งบประมาณที่จังหวัดนราธิวาส 100 ล้านบาท โดยอาจจะเชิญครูตาดีกาหรือนักปราชญ์ในท้องถิ่นมาระดมความคิดว่า ทั้งสองศูนย์การเรียนรู้ควรจะรวบรวมสิ่งใดเข้าไปบ้าง

พ.ต.อ.ทวี กล่าวต่อไปว่า ตนอยากให้กำลังใจกับครูผู้สอนและนักเรียนตาดีกา เพราะหลายปีที่ผ่านมาอาจรู้สึกหว้าเหว่ หากเปรียบเทียบงบประมาณที่ตาดีกาได้รับกับการศึกษาระบบอื่นพบว่า ตาดีกาได้รับการสนับสนุนไม่มากนัก แต่ผู้ปกครองยังมั่นใจและนิยมส่งลูกหลานเข้าเรียน ขณะนี้มีศูนย์ตาดีกาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2,038 ศูนย์ มีนักเรียนกว่า 250,000 คน

พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า สิ่งที่ตนทำอาจเป็นส่วนน้อยในการส่งเสริมค่าตอบแทนครูผู้สอน ส่งเสริมให้ตาดีกาสามารถบริหารได้ แต่ที่สำคัญจะทำอย่างไรให้ครูผู้สอนได้รับการพัฒนา ได้รับการอบรม ไม่ลาออกกลางคัน เพราะอนาคตจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ที่การศึกษาและเยาวชน

ทั้งนี้มหกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก ศอ.บต. โดยกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย การประกวดขับร้องอานาซีด ประกวดการปราศรัย ประกวดการอ่านปาฐกถา การอ่านบทกวีภาษามลายูและการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านของเด็กนักเรียนตาดีกาทั้งชายและหญิงจาก 15 ศูนย์ในจังหวัดปัตตานีที่ผ่านการคัดเลือกในระดับอำเภอ

นอกจากนี้ยังมีโชว์การขับร้องอานาชีดของกลุ่มอินติฟาดะห์ ซึ่งเป็นตัวแทนประเทศไทยที่จะเข้าประกวดการขับร้องอานาชีดระดับโลก ในวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2555 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียด้วย

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แพทย์ชนบทเผยขบวนการเขมือบงบเครื่องมือแพทย์ 502.6 ล้านบาท บางรายการสาธารณสุขอัพราคาสูงกว่าปกติ 100 %

$
0
0

24 มิ.ย. 55 - จากการที่ชมรมแพทย์ชนบทยื่นเอกสารหลักฐานให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบการอนุมัติจัดซื้อเครื่องซักผ้าอัตโนมัติแบบอุโมงค์ที่ตั้งราคาสูงถึงเครื่องละ 39.3 ล้านบาท และเครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในสภาพจริง (เครื่องตรวจ DNA) เครื่องละ 8.5 ล้านบาท โดยระบุว่าสูงกว่าราคาจัดซื้อจริงที่ 3.58 ล้านบาท รวมทั้งรายการครุภัณฑ์ทางการแพทย์อื่นๆ ในเงินงบลงทุนค่าเสื่อมของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 502.6 ล้านบาท ที่เป็นอำนาจอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุขนั้น
 
นพ.อารักษ์  วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทเปิดเผยว่าหลังจากที่ชมรมและผู้อำนวยการ รพ.ชุมชน จำนวนหนึ่งได้ยื่นเอกสารหลักฐานให้ ปปช. และผู้ตรวจการแผ่นดินเมื่อวันที่ 19 มิย. ที่ผ่านมา เพื่อให้ตรวจสอบการชะลออนุมัติเครื่องมือทางการแพทย์ในโครงการไทยเข้มแข็งเดิม วงเงินสามพันกว่าล้านบาทที่มีข่าวภายในว่ามีการถ่วงเวลาให้ผู้ขายไปเคลียร์เงินทอนก่อนและการอนุมัติงบลงทุนค่าเสื่อมจำนวน 502.6 ล้านบาทที่อยู่ในอำนาจอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุขและพบว่ามีหลายรายการตั้งและอนุมัติราคาสูงกว่าตลาดปกติถึง 100 %
 
“ข่าวการเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้มีหลาย รพ.และกลุ่มคนรักกระทรวงสาธารณสุข ได้ทยอยส่งเอกสารหลักฐานเปิดโปงขบวนการหาเงินทอนจากงบประมาณบริการคนไข้ดังกล่าวมายังชมรมแพทย์ชนบทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนว่าหลังจากที่กลุ่มผลประโยชน์เอกชนและฝ่ายการเมืองได้เข้ายึดครองเสียงข้างมากในคณะกรรมการ สปสช. แล้วได้มีการส่งคนใกล้ชิดซึ่งวงการภายในเรียกกันว่า “ไอ้เสือโหย” ร่วมกับพ่อค้าในเครือข่ายเรียกประชุมผู้บริหาร รพ.บางแห่ง ในภูมิภาคที่โรงแรมแห่งหนึ่งพร้อมส่งรายการและราคาเครื่องมือทางการแพทย์ให้ผู้บริหาร รพ.ทำคำขอตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขและเขตตรวจราชการบางเขตอนุมัติงบประมาณ โดยมีการอ้างว่าผู้มีอำนาจมากในกระทรวงได้เตรียมงบลงทุนค่าเสื่อมจำนวนกว่า 500 ล้านบาทและงบช่วยน้ำท่วมจำนวนมากกว่า 300 ล้านบาทไว้แล้ว” นพ.อารักษ์ กล่าว
 
อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ล่าสุด นพ.ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามอนุมัติครุภัณฑ์จากงบลงทุนค่าเสื่อมแล้วจำนวน 307.7 ล้านบาทเมื่อปลายเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา  จัดสรรให้รพ.ต่างๆ ทั้งที่ได้ทำคำขอเข้ามาและไม่ได้ขอโดยครุภัณฑ์ดังกล่าวมีหลายรายการที่มีปัญหาความเหมาะสมหรือ รพ.ไม่มีความจำเป็นต้องใช้และมีราคาสูงกว่าตลาดปกติมาก เช่นจัดสรรเครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในสภาพจริง (เครื่องตรวจ DNA) ที่ส่วนใหญ่ใช้กับ รพ.ในสถาบันการแพทย์ชั้นสูง ในราคาเครื่องละ 8.5 ล้านบาทให้กับ รพ.พระนครศรีอยุธยา รพ.พระนั่งเกล้า รพ.นครพิงค์ รพ.ราชบุรี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ และ รพ.หาดใหญ่ในราคาที่สูงกว่าที่มหาลัยนเรศวรเพิ่งทำสัญญาจัดซื้อเครื่องดังกล่าวกับบริษัทไบโอราด แลมบอราทอรีส์ จำกัด เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์  ที่เพิ่งผ่านมาในราคาเพียง 3.38 ล้านบาท สูงต่างกันกว่าเท่าตัว
 
นพ.อารักษ์ เปิดเผยต่อว่า จากเอกสารที่ได้รับจากรพ.ต่างๆ และภายในกระทรวงสาธารณสุขยังมีการอนุมัติเครื่องมือทางการแพทย์ราคาสูงอีกหลายรายการที่มีการประสานงานกันอย่างเป็นขบวนการจากผู้ใกล้ชิดผู้มีอำนาจภายในกระทรวงสาธารณสุข ออกเดินสายบังคับให้รพ.ต่างๆ ทำคำขอตามแบบฟอร์มที่บริษัทเอกชนกำหนดไว้แล้วเหมือนกรณีทุจริตยาในอดีต หรือกรณีงบไทยเข้มแข็งสมัยรัฐบาลที่แล้วที่ถูกสังคมตรวจสอบอย่างหนักจนมีการทบทวนรายการครุภัณฑ์การแพทย์เหลือเฉพาะเท่าที่จำเป็นและลดราคาประหยัดงบประมาณได้หลายพันล้านบาท
 
อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวว่า ขบวนการเขมือบงบลงทุนค่าเสื่อมกว่า 500 ล้านบาทและงบช่วยน้ำท่วมอีก 300 กว่าล้านบาททำกันอย่างโจ่งแจ้ง รีบร้อน คล้ายกับผู้มีอำนาจมีเวลาจำกัดโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและประชาคมภายในกระทรวงสาธารสุขที่มีระบบตรวจสอบที่ไม่กลัวต่ออำนาจมืดทางการเมืองเหมือนกระทรวงอื่นๆกลัวกัน ดูตัวอย่างการอนุมัติเครื่องซักผ้าอัตโนมัติแบบอุโมงค์ที่ตั้งให้ รพ.ตรัง จำนวน 1 เครื่องราคา 39.3 ล้านบาท โดยไม่คำนึงถึงขนาดของ รพ. ความจำเป็นต้องใช้งานและภาระการบำรุงรักษาซ่อมแซมในอนาคตว่าคุ้มค่าหรือไม่ และไม่เกรงกลัวว่าเครื่องดังกล่าวเคยตั้งที่ รพ.วชิระพยาบาล กรุงเทพมหานครในราคา 34.0 ล้านบาท และถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สอบและเปิดเผยเป็นข่าวว่ามีมูลเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
 
“ขบวนการหาประโยชน์จากงบเครื่องมือแพทย์ของ รพ.ต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ทำกันโดยไม่รู้สึกว่าเป็นงบประมาณสำหรับบริการผู้ป่วย สำหรับคนยากคนจน สำหรับรพ.ที่ถูกน้ำท่วม ทำกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นขบวนการเหมือนอย่างที่อดีต รมว.สาธารณสุขที่ต้องคดีจำคุกกรณีทุจริตยา เคยเปิดเผยว่าทุจริตในวงราชการ จะขึ้นจากวงจรอุบาทว์  ที่เริ่มจากพ่อค้าที่หวังกำไรโดยมิชอบเป็นผู้เสนอ และผู้มีอำนาจทางการเมืองที่แสวงหาประโยชน์เป็นผู้สั่งผ่านคนใกล้ชิด โดยมีข้าราชการประจำระดับสูงที่หวังเกาะตำแหน่งนานๆ หรือผู้ที่วิ่งเต้นซื้อตำแหน่งใหญ่ๆ เป็นผู้สนอง เมื่อครบองค์ประกอบทั้งสามอย่างแล้ว  ขบวนการทุจริต กินคำใหญ่ๆจากงบบริการผู้ป่วยจึงเกิดขึ้น ซึ่งสังคม สื่อมวลชน ต้องตรวจสอบ โดยชมรมแพทย์ชนบท ขอเรียกร้องทุกภาคส่วนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านเข้ามาตรวจสอบขบวนการทุจริตนี้อย่างจริงจัง” นพ.อารักษ์ กล่าว 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัลจาซีร่าตีแผ่ชีวิตแรงงานพม่าตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ที่โรงงานในกาญจนบุรี

$
0
0

"อัลจาซีร่า" เผยชะตากรรมแรงงานพม่าหลบหนีออกมาจากแรงงานโรงงานแปรรูปผลไม้ใน จ.กาญจนบุรี ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ขณะที่ในกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เผยรายงานการค้ามนุษย์ล่าสุดไทยถูกจัดไว้ในบัญชีที่ 2 หรือกลุ่มประเทศที่ต้องจับตามอง

รายงาน "Migrant workers exploited in Thailand" ของอัลจาซีร่า ล่าสุดตีแผ่ชีวิตแรงงานชาวพม่าคนหนึ่งที่หนีออกมาจากโรงงานใน จ.กาญจนบุรี ซึ่งเขาร้องเรียนว่าตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ (ที่มา: Aljazeera/youtube.com)

 

สำนักข่าวอัลจาซีร่า รายงานเมื่อ 23 มิ.ย. ว่า รัฐบาลไทยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะปราบการค้ามนุษย์ หลังจากที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเผยแพร่รายงานเรื่องการค้ามนุษย์ฉบับล่าสุดโดยวิจารณ์ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่ามีการปฏิบัติเพียงเล็กน้อยเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว

ทั้งนี้จากข้อมูลขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน แรงงานข้ามชาติซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า มักเข้ามาทำงานในโรงงานไทยซึ่งพวกเขาจะถูกบังคับให้ทำงานภายใต้เงื่อนไขที่น่าตกใจ และได้รับผลกระทบจากการละเมิดอย่างร้ายแรง พวกเขาจำนวนมากตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์

บางส่วนของพวกเขาตกเป็นเหยื่อของภาวะผูกมัดด้วยหนี้ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาถูกนำพามา ถูกขาย และถูกบังคับให้ทำงานเพื่อนำเงินไปจ่ายส่วยให้ตำรวจและจ่ายหนี้ให้กับบริษัทที่พาพวกเขามาทำงาน

โดยผู้สื่อข่าวของอัลจาซีร่า เวน เฮย์ เดินทางไป จ.กาญจนบุรี ทางตะวันตกของไทย เขาได้พูดกับแรงงานคนหนึ่งที่หนีออกมาจากโรงงานแปรรูปผลไม้แห่งหนึ่ง 

อัลจาซีร่า ยังรายงานว่า นอกจากนี้ ยังมีข้อกล่าวหาว่าโรงงานวีต้าที่ มีการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ส่งสินค้าให้กับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อวอลมาร์ท

ทั้งนี้ ประเทศไทยถูกจัดไว้ในบัญชีที่ 2 ที่ต้องจับตามองในรายงานเรื่องการค้ามนุษย์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในปีนี้ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และหากถูกจัดไปอยู่ในบัญชีที่ 3 ซึ่งเป็นประเทศเสี่ยงเรื่องการค้ามนุษย์ ก็จะต้องเผชิญกับมาตรการคว่ำบาตรหลายด้านจากสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ประเทศที่มีชื่อในบัญชีลำดับที่ 2 หมายถึงประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำในความพยายามที่จะกำจัดการค้ามนุษย์ แต่ได้แสดงหลักฐานให้เห็นว่ากำลังดำเนินความพยายามที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเมื่อปีก่อน

ในรายงานของสหรัฐอเมริกา บันทึกไว้ว่าประเทศไทยจะรอดจากการถูกลดอันดับไปอยู่ในบัญชีลำดับที่ 3 ก็ด้วยการที่รัฐบาลมีการเขียนแผนในการปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว ที่จะสามารถช่วยให้ประเทศเข้าสู่มาตรฐานขั้นต่ำในกำจัดการค้ามนุษย์เหล่านี้

ในรายงานของสหรัฐอเมริกา ยังแนะนำประเทศไทยให้แก้ปัญหาแรงงานที่ถูกบังคับ แรงงานขัดหนี้ การที่แรงงานถูกยึดเอกสารทำงาน และการรีดไถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังแนะนำด้วยว่า จำนวนผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์จะต้องถูกดำเนินคดีและลงโทษ รวมทั้งใช้มาตรการเดียวกันนี้กับเจ้าหน้าที่ซึ่งคอรัปชั่นด้วย

ทั้งนี้ตามกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทยในปี 2551 ผู้ที่ละเมิดจะต้องระวางโทษจำคุก 4 ถึง 10 ปี แต่ในทางปฏิบัติมีจำนวนน้อยมากที่จะถูกจับกุมและดำเนินคดี

อัลจาซีร่า ทิ้งท้ายในรายงานว่า รัฐบาลไทยสัญญาว่าจะมีแผนการปราบปรามการค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หลายคนก็พิจาณาว่าทางการไทยไม่มีแรงจูงใจทางการเมืองพอที่จะจัดการการคอรัปชั่นที่แพร่ขยายในหมู่เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานอื่นๆ

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Thailand vows to tackle human trafficking, Aljazeera, Last Modified: 23 Jun 2012 19:53

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 17 - 23 มิ.ย. 2555

$
0
0
ผ่าทางตัน กม.คุ้มครองแรงงานรับงานไปทำที่บ้าน ก.แรงงานรับลูกเร่งออกกฎกระทรวง 
 
รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 18 มิถุนายน 2555 คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.)และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมจัด ประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “กฎหมายลำดับรองกับการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน” ที่โรงแรมทีเค พาเลส แจ้งวัฒนะ 
  
นางสุนี ไชยรส รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า มีข้อสังเกต 2 ประเด็นคือ 1.พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553ออกมาแล้วแต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ และจะเห็นว่าในพ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ระบุจะต้องตั้งคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ภายใน120 วันนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้ แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่คณะกรรมการเพื่อดำเนินการไปพลางก่อนแต่ขณะ นี้ยังไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการฯประเด็นนี้ถือ เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องขับเคลื่อน 2.ยังมีกฎกระทรวงที่ต้องออกมารองรับขณะนี้ยังมีความล่าช้า อย่างไรก็ตามในแง่กฎกระทรวงหากเป็นไปได้ควรให้จัดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาค แรงงานด้วย โดยสามารถจัดตั้งคณะกรรมการชุดเล็กคณะหนึ่งเพื่อให้ภาคแรงงานมีส่วนร่วมเสนอ ความเห็น 
  
นายวินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน  กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องมีกฎหมายลำดับรองทั้งสิ้น 14 ฉบับ ซึ่งออกไปแล้วในส่วนที่ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก 6 ฉบับ ส่วนที่เหลืออีก 8 ฉบับที่มีผลกระทบต่อบุคคลภายนอกยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ โดยเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้ามาจากต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีการศึกษามาก่อนและมีรายละเอียดมากที่ ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการอ้างอิง หากเร่งรีบเกรงว่าจะเป็นช่องทางให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง เช่น กฎกระทรวงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของหญิงมีครรภ์และเด็กอายุต่ำ กว่า15 ปีตามมาตรา 21, กฎกระทรวงเกี่ยวกับค่าพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพและค่าทำศพ ตามมาตรา 25, การกำหนดอัตราค่าตอบแทน เป็นต้น 
  
ส่วนเรื่องการดำเนินการขณะที่ยังไม่มีคณะกรรมการตามมาตรา 50 ซึ่งระบุให้ บุคคลตามที่กำหนด ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการแทนไปก่อนได้ ซึ่งในการสรรหาขณะนี้ยังติดปัญหาที่วิธีการสรรหากรรมการที่เป็นตัวแทนฝ่าย ลูกจ้าง ซึ่งตามหลักการแล้วจะต้องใช้วิธีลงคะแนนแบบหนึ่งคนหนึ่งเสียง(one man one vote) แต่ใช้งบประมาณมาก ดังนั้น อาจต้องใช้ระบบไตรภาคี คือ ให้ตัวแทนเสนอรายชื่อ แต่การเลือกแบบนี้อาจจะได้ตัวแทนไม่ตรงตามที่ต้องการ  โดยอาจจะขอความร่วมมือกับหอการค้าและสภาอุตสาหกรรมในข้อมูลส่วนนี้ หากได้รับความร่วมมือจะทำให้ได้ข้อมูลทั้งกลุ่มนายจ้างและกลุ่มผู้รับงานไป ทำที่บ้าน เมื่อประกอบกับฐานข้อมูลเก่าของกรมจัดหางานและกลุ่มแรงงาน 5 ภาค แล้วน่าจะคลอบคลุมเกือบทั้งหมด โดยในวันที่ 21 มิถุนายนนี้จะมีการประชุมเรื่องดังกล่าวคาดว่าน่าจะมีความคืบหน้ามากยิ่ง ขึ้น 
  
“เห็นด้วยที่จะให้ออกกฎกระทรวงโดยเร็ว คือเสนอหลักการไปก่อนแล้วปรับปรุงเพิ่มเติมรายละเอียดในภายหลัง และเน้นย้ำว่าเรื่องสำคัญที่ควรจะตราออกมาก่อน คือ เรื่องความปลอดภัย ซึ่งจะรับหน้าที่ผลักดันให้ออกมาเป็นลำดับแรก และยังเปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆมีแนวทางที่น่าสนใจ สามารถร่างและนำมาเสนอประกอบการพิจารณาออกกฎกระทรวงด้วย” 
  
นายอภิมุข สุขประเสริฐ กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  กล่าวว่า กฎกระทรวงยังมาไม่ถึงขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งหากมาถึง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วคาดว่าจะพิจารณาใช้เวลาไม่นานประมาณ    1 -2เดือน เว้นแต่มีประเด็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย โดยหลักของกฎหมายฉบับนี้ต้องการคุ้มครองแรงงานนอกระบบที่รับงานไปทำที่บ้าน ให้ได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกับลูกจ้างในระบบ ส่วนประเด็นการออกกฎกระทรวงนั้น เห็นว่าต้องเร่งผลักดัน ส่วนระดับของความคุ้มครองนั้นสามารถปรับปรุงพัฒนา แก้ไขได้ ขณะที่เรื่องการสรรหาคณะกรรมการตามมาตรา 50 วรรคแรก เป็นมาตรการเร่งรัด ดังนั้นต้องเริ่มที่ต้องให้เกิดคณะกรรมการชุดแรกตามมาตรา 25ก่อนแล้วจึงจะเข้าสู่กระบวนการสรรหาโดยคาดว่าไม่น่าจะใช้เวลานาน 
  
นายสุภัท  กุขุน ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร   กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้มุ่งดูแล 3 ส่วนคือค่าตอบแทน สวัสดิการ และคุณภาพชีวิต  ขณะที่กรอบงานในมาตรา 3 ระบุงานที่รับไปทำที่บ้านหมายถึง งานที่ผู้จ้างงานในกิจการอุตสาหกรรมมอบให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อนำไป ผลิตหรือประกอบนอกสถานประกอบกิจการของผู้จ้างงานหรืองานอื่นที่กำหนดในกฎ กระทรวง คาดว่ากฎหมายดังกล่าวจะใช้เวลาอีกนานพอสมควร 
  
เนื่องจากต้องพิจารณาในรายมาตราและต้องมีกฎกระทรวงและระเบียบมารองรับ ส่วนตัวเห็นว่าควรจะเขียนควบคู่กันเพื่อให้กฎหมายดังกล่าวออกบังคับใช้ได้ เร็ว อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมาตรา24 ระบุถึงความรับผิดชอบในค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพแลค่าทำศพในกรณีที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตายอันเนื่องมาจากการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์และสิ่งอื่นที่ใช้ในการทำงานที่ผู้ว่าจ้างจัดหาหรือส่งมอบให้ ประเด็นคือจะต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงข้อน่ากังวลคือ บางกรณีอย่างกรณีพลุระเบิด นายจ้างจะนำค่าจ้างส่วนใดมาจ่าย ประเด็นนี้ยังไม่ได้คิดเผื่อไว้และหากลูกจ้างทุพพลภาพจะดูแลจะช่วยกันอย่าง ไร เรื่องนี้อาจจะขยายผลต่อไปถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกองทุนดูแลและคุ้มครอง หรือไม่ 
  
นายไพโรจน์ พลเพชร กรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ขอให้ส่งร่างกฎกระทรวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พิจารณาเพื่อจะเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะของคปก. ให้กฎหมายดังกล่าวนำไปสู่ขับเคลื่อนต่อไป 
  
นางวิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคมต้องพิจารณา กล่าวว่า มี 3 ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ 1.ลักษณะการจ้างเป็นแบบใดเป็นลักษณะการจ้างทำของหรือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน 2.ปัญหาที่มีกฎหมายแม่แล้วแต่กฎหมายลูกยังไม่ออกมาจึงไม่สามารถนำมาบังคับ ใช้ได้ หากกลไกไม่สามารถทำได้อาจจะต้องหาวิธีการอื่น  เพราะแม้จะตั้งกรรมการไม่ได้แต่การดำเนินการจะมีช่องว่างไม่ได้ หากมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ก็จำเป็นต้องตีความ ดังนั้นแม้ว่าจะไม่มีลายลักษณ์อักษรเรื่องค่าจ้าง หรือความปลอดภัย หากไม่มีก็ต้องเทียบเคียงได้ โดยสามารถนำกฎหมายแรงงานใช้เทียบเคียงได้ 3.เรื่องค่าตอบแทน ต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ซึ่งจะมี 2 ประเภทคือ เป็นไปตามมาตรฐานฝีมือ หรืออัตราค่าจ้างขั้นต่ำท้องที่ เป็น 3 ประเด็นสำคัญที่ต้องนำไปพิจารณาด้วย 
  
นางพูนทรัพย์  สวนเมือง ตุลาพันธุ์  ผู้แทนเครือข่ายผู้รับงานไปทำที่บ้าน  กล่าวว่า ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีปัญหาอย่างมากโดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงอัตราค่าจ้าง และยังไม่แน่ชัดว่าจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่แม้ว่าจะมีพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ รับงานไปทำที่บ้าน แต่ค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นทุกปีในช่วงระยะ 10-15 ปีที่ผ่านมาพบว่า ค่าแรงไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงอยากเรียกร้องให้แต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยเร็วเนื่องจากบทบาทของคณะกรรมการฯมีหน้าที่ในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนและ กฎหมายลูกต่างๆ เพราะจะเห็นว่าแรงงานประมาณ70-80% เป็นแรงงานหญิงซึ่งยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่  จึงอยากจะร้องขอให้กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้อย่างเร่งด่วนหากเป็นไปได้ไม่ ควรเกิน 1ปี 
  
นางสาวนุชนภา บำรุงนา กรรมการเครือข่ายแรงงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ กล่าวว่า  สถานการณ์ขณะนี้แรงงานส่วนใหญ่เสียโอกาสด้านค่าแรง และประสบปัญหาความปลอดภัยในการทำงาน โดยแรงงานผู้รับงานไปทำที่บ้านหลายพื้นที่ประสบปัญหาสารพิษตะกั่วตกค้างใน ร่างกาย ขณะเดียวกันมีความเสี่ยงสูงที่ผู้สูงอายุและเด็กในบ้านจะได้รับสารพิษดัง กล่าวด้วยอันเนื่องมาจากการรับงานมาทำที่บ้าน    
 
(มติชน, 18-6-2555)
 
เผยผลสำรวจสายงานที่ผู้หญิงสนใจอยากทำมากที่สุด 5 อันดับแรก 
 
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยผลสำรวจ 10 อันดับความต้องการของตลาดแรงงานสำหรับผู้หญิง และ สายงานที่ผู้หญิงสนใจทำงานมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ งานธุรการ อันดับ 2 งานด้านการตลาดและงานประชาสัมพันธ์ อันดับ 3 คืองานด้านโฆษณา อันดับ 4 งานด้านการเงินการธนาคาร อันดับ 5 งานด้านการโรงแรมและท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังคัดสรรงานดีๆสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะกว่า 20,000 อัตรากับบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Age of Lady Has Begun” 
 
สุธิดา กาญจนกันติกุลผู้จัดการฝ่ายการตลาดแมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า จากผลสำรวจของทีมบริหารงานบุคคลของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป พบว่าจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อ หลายครอบครัวส่งผลให้ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยออกมาหางานประจำนอกบ้านทำมากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว ฉะนั้น แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กรที่นำเสนอโซลูชั่นการจัดหาแรงงานเชิงนวัตกรรม จึงได้คัดสรรงานดีๆสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะกว่า 20,000 อัตรา กับบริษัทชั้นนำ ทั่วประเทศจากหลากหลายสาขาอาชีพ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The Age of Lady Has Begun” จะเป็นการสร้างโอกาสดีๆให้กับผู้หญิงทั้งหลายได้มีงานทำมากขึ้น เพราะเราเข้าใจการทำงานของผู้หญิง และเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้หญิงเช่นกัน แต่สำหรับบางคนอาจมีข้อจำกัดหรือขาดโอกาสในการหางานทำ ขณะเดียวกัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้ทำการสำรวจสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสำหรับผู้หญิง พบว่า 10 อันดับแรก ได้แก่ สายงานบริการลูกค้าสัมพันธ์มีจำนวนกว่า 25,042 อัตรา สายงานธุรการจำนวน 1,278 อัตรา สายงานการผลิตจำนวน 805 อัตรา สายงานขาย จำนวน 121 อัตรา สายงานการตลาด และ ประชาสัมพันธ์จำนวน 95 อัตรา สายงานคอลเซ็นเตอร์ จำนวน 86 อัตรา สายงานบัญชี จำนวน 55 อัตรา สายงานสุขภาพโภชนาการ จำนวน 51 อัตรา สายงานบริการเฉพาะทาง จำนวน 47 อัตรา และสายงานการธนาคารและการเงิน จำนวน 39 อัตรา และในส่วนสายงานอื่นๆ เรายังเปิดรับไม่ต่ำกว่า 200 อัตรา และจากผลสำรวจสายงานที่ผู้หญิงสนใจอยากทำมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ งานธุรการ อันดับ 2 งานด้านการตลาด และงานประชาสัมพันธ์ อันดับ 3 คือ งานด้านโฆษณา อันดับ 4 งานด้านการเงินการธนาคาร อันดับสุดท้าย งาน ด้านการโรงแรม และท่องเที่ยว 
 
(Manpower, 19-6-2555)
 
สธ.ยกระดับ รพ.ในระยอง รองรับอุตสาหกรรม 
 
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2555 นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ ลงพื้นที่ จ.ระยอง เพื่อตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลระยอง และติดตามการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โอกาสนี้ยังได้เข้าเยี่ยมอาการของ นายบุญพึ่ง จิตต์ปลื้ม อายุ 48 ปี เป็นผู้ป่วยรายสุดท้ายใน 394 ราย ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์บริษัท บีเอสที อีลาสโตเมอร์ (มาบตาพุด) สารเคมีระเบิด เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจเยี่ยมพบว่าผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ ยังเหลือปัญหากระดูกที่ส้นเท้าแตก ต้องฟื้นฟูต่อเนื่องและมีปัญหาเยื่อแก้วหูทั้ง 2 ข้างทะลุ ไม่ได้ยิน ซึ่งจะได้รับเครื่องช่วยฟังในเร็วๆ นี้ 
 
นายวิทยา เปิดเผยว่า กรอบงานสาธารณสุขใน จ.ระยอง นอกจากจะดูแลปัญหาการเจ็บป่วยทั่วไปเหมือนพื้นที่อื่นแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรม มีโรงงานประมาณ 2,235 แห่ง มีประชากรแฝงเข้าไปทำงานจำนวนมาก ทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าว รวมทั้งประชาชนพื้นที่ รวมทั้งจังหวัดมีมากกว่า 1 ล้านคน จะต้องให้การดูแลทั้งหมด รวมทั้งยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบสุขภาพจากสารเคมีในระยะยาว จึงมอบนโยบายพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล 4 แห่ง ได้แก่ รพ.ระยอง รพ.แกลง รพ.มาบตาพุด และ รพ.ปลวกแดง ให้สามารถพร้อมรับทั้งภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยจะพิจารณาอย่างรอบคอบตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนอย่างเร็วที่สุด 
 
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ด้านการรักษาพยาบาลได้ยกระดับโรงพยาบาลมาบตาพุดเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียง เพื่อดูแลผู้ป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพ มีแพทย์เฉพาะทาง เพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่อีก 200 กว่าอัตรา และเพิ่มแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็น 4 คน เพื่อเป็นศูนย์รองรับการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมี และโรคจากการประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีความจำเป็นมาก ขณะเดียวกัน ในด้านการเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ และมลพิษทางอากาศ น้ำ ดิน ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลสุขภาพ ประชาชนในชุมชน ทั้งในเขตและนอกเขตควบคุมมลพิษอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่อาจมีต่อประชาชน ในปี 2556-2560 
 
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนจัดบริการตรวจเฝ้าระวังปีละ 50 กว่าล้านบาท ตรวจสุขภาพประชากรปีละ 15,000 คน ในระยะยาวจะหารือการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันผล กระทบ มีการตรวจเชิงลึก ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะมีมาตรการให้ลูกหลานแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนซื้อ บัตรประกันสุขภาพเพิ่มเติมด้วย 
 
รมว.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ในส่วนของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ตนยังได้มอบนโยบายให้ร่วมเฝ้าระวังตรวจสอบความผิดปกติของมลภาวะมลพิษใน พื้นที่ โดยให้จัดอบรม อสม. ด้านพิษภัยของสารเคมี เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันแก่ตนเองและชุมชน สามารถรองรับเมื่อเกิดวิกฤติฉุกเฉิน ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยรวมด้วย ทั้งนี้ ยังมอบนโยบายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในภาคตะวันออก ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าโอทอป ยกระดับให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น รองรับครัวไทยสู่ครัวโลก ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค เนื่องจากโซนนี้มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก หากสินค้าได้มาตรฐานจีเอ็มพีขั้นต้น ก็สามารถวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้าได้. 
 
(ไทยรัฐ, 19-6-2555)
 
พยาบาลบุกทำเนียบฯ จี้บรรจุลูกจ้างชั่วคราว 1.7 หมื่นคนเป็นราชการ 
  
เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 55 ที่เลียบคลองเปรมประชากร ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล กลุ่มเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 2,000 คน จากทั่วประเทศ ได้มาชุมนุมติดตามข้อเรียกร้องที่ให้รัฐบาลมีมติให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)ดำเนินการเปิดกรอบอัตรากำลังใหม่ สำหรับบรรจุพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราวฯเป็นข้าราชการ ทั้งนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวได้ยื่นต่อนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ. เมื่อ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันก็ขอให้กระทรวงสาธารณสุข ออกจากระบบของสำนักงานกพ. เนื่องจากกพ.ไม่เข้าใจในบริบทของระบบสุขภาพ จึงไม่นำเรื่องความขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ มาปฏิบัติในการพิจารณากรอบอัตราตำแหน่ง ซึ่งทำให้ประชาชนไม่ได้รับบริการสุขภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด 
 
ด้านนายอนุสิษฐ์ เป็งแก้ว ผู้ประสานงานกลาง พยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กล่าวว่า ทางเครือข่ายได้เข้ายื่นเรื่องกพ.แล้ว เพื่อให้ดำเนินการเปิดอัตราบรรจุลูกจ้างชั่วคราว 17,000 ตำแหน่ง ซึ่งในวันนี้(19 มิ.ย.)จะรอคำตอบจากรัฐบาล โดยเฉพาะนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สธ.จะให้คำตอบอย่างไร และมีตัวแทนเครือข่ายเดินทางไปพบกับนายวิทยา ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี สัญจรแล้ว และหากยังไม่ได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจก็จะยกระดับการชุมนุมเรียกร้องให้นาย วิทยา ดำเนินการให้มีความชัดเจน กรณีที่เคยรับปากว่าจะบรรจุลูกจ้าง 3,000 คน ที่เข้าทำงานปี 2549-2550? ซึ่งหากยังไม่มีความชัดเจน อาจจะมีพยาบาลวิชาชีพฯลาออกทั่วประเทศก็ได้ ขณะเดียวกันก็จะรอคำตอบจาก กพ. หากไม่ดำเนินการก็จะยื่นถอดถอนนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการ ก.พ. ออกจากตำแหน่งด้วย 
 
(แนวหน้า, 20-6-2555)
 
สวีเดนให้โควต้าแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่า 5,000 คน 
 
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากทางการสวีเดนว่า ได้ให้โควตาแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน นี้ ประมาณ 5,000 คน โดยสหภาพแรงงานในสวีเดนได้ประกันรายได้ให้แก่ผู้ที่เดินทางไปเก็บผลไม้ จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 80,000 บาท และได้จัดเตรียมทั้งที่พักและข้าวของไว้ให้แรงงานไทยเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะที่พักจัดแยกเป็นหลายแคมป์ ทำให้ไม่แออัดเช่นปีผ่านๆ มา ส่วนประเทศฟินแลนด์จะให้โควตาแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ประมาณ 2,000 คน 
 
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีแรงงานไทยมาลงทะเบียนเพื่อเดินทางไปเก็บผลไม้ในสวีเดนและฟินแลนด์ ประมาณ 6,000 คน ซึ่งการเดินทางไปทำได้ใน 2 รูปแบบ คือ 1.แจ้งการเดินทางผ่านบริษัทจัดหางาน และ 2.เดินทางไปด้วยตนเองโดยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสวีเดนคนละ 7.5 หมื่นบาท และฟินแลนด์คนละ 6 หมื่นบาท คาดว่าจะเริ่มส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ใน 2 ประเทศนี้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ 
 
(มติชนออนไลน์, 20-6-2555)
 
ก.แรงงาน เตรียมแผนรับมือเลิกจ้างจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป 
 
นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการเตรียมการรับผลกระทบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจประเทศในแถบยุโรป หลังเข้าร่วมการประชุมกับนายกรัฐมนตรีและผู้แทน 9 กระทรวงที่เกี่ยวข้องที่ทำเนียบรัฐบาลว่า  กระทรวงแรงงานเตรียมแผนรับมือผลกระทบวิกฤติที่จะเกิดขึ้นกับแรงงานไทย โดยแบ่งเป็น  3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มแรงงานในสถานประกอบการที่อาจจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโดยเฉพาะใน 10 อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มยอดการส่งออกสินค้าไปประเทศแถบยุโรปลดลง พร้อมเฝ้าระวัง  4  กลุ่มอุตสาหกรรมเป็นพิเศษ คือ  กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มยานยนต์และกลุ่มสิ่งทอ โดยจะให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) สรุปข้อมูลภาพรวมว่าสถานประกอบการเหล่านี้อยู่ในจังหวัดใดบ้างภายในสัปดาห์ นี้   
 
นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า จากนั้นจะให้สำนักงานแรงงานจังหวัดลงไปสำรวจข้อมูลสถานการณ์การจ้างงานและ เลิกจ้างในสถานประกอบการเหล่านั้น  อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลสำนักงานประกันสังคมขณะนี้สถานการณ์การจ้างงานในประเทศยังถือว่า อยู่ในภาวะปกติโดยยังอยู่ในช่วงชะลอตัว จากเดิมที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ  1 ต่อเดือน  ล่าสุดเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ  0.2 ลดลงไป 0.8 
 
นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ส่วนกลุ่มที่สองเป็นแรงงานไทยที่ทำงานในประเทศแถบยุโรปที่ปัจจุบันมีอยู่ 1,800 คน ส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานด้วยตนเอง โดยเตรียมการมาตรช่วยเหลือแรงงานไทยกลุ่มนี้ หากถูกบริษัทเลิกจ้างและต้องเดินทางกลับไทย กระทรวงแรงงานจะช่วยดูแลในเรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งหาตำแหน่งงานที่เหมาะสมรองรับ และกลุ่มที่สามเป็นแรงงานไทยที่กำลังจะเดินทางไปทำงานในประเทศแถบยุโรป เช่น แรงงานที่จะไปเก็บผลไม้เบอร์รีที่สวีเดนและฟินแลนด์ ประมาณ 7,000 คน หากไม่ได้เดินทางไป ก็จะหาตลาดงานใหม่ในประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นรองรับ 
 
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการช่วยเหลือแรงงานไทยทั้ง 3 กลุ่มนี้จะใช้รูปแบบเดียวกับในช่วงประสบวิกฤติน้ำท่วม  เนื่องจากมองว่าเป็นผลกระทบระยะสั้น เช่น การใช้แรงงานสัมพันธ์เข้าไปป้องกันการเลิกจ้าง โครงการป้องกันการเลิกจ้าง โดยรัฐช่วยจ่ายค่าจ้าง 2,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน โครงการเพื่อนช่วยเพื่อนให้เปลี่ยนที่ทำงานชั่วคราว การให้สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่อง หรือการขยายเวลาการลดเงินสมทบประกันสังคม โดยจะเร่งสรุปข้อมูลเสนอนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ที่จะเป็นประธานการประชุมในสัปดาห์หน้า 
 
(สำนักข่าวไทย, 20-6-2555)
 
บ.โดลฯ แจงการประท้วงของพนักงานเป็นการเจรจากันตามประกาศของบริษัทฯ เท่านั้น 
 
20 มิ.ย. 55 -  บริษัท โดล ไทยแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่ ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ชี้แจงกรณีการออกมาประท้วงของพนักงานที่รวมตัวกันประท้วงฝ่ายบริหาร เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าน้ำมันแก่รถรับ-ส่งพนักงาน และจ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาตามจริงเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ความจริงแล้วเป็นการปรึกษาหารือและเจรจากันระหว่างตัวแทนของฝ่ายบริษัทกับ ฝ่ายพนักงานขับรถรับ-ส่งพนักงาน ตามประกาศของบริษัท ซึ่งติดประกาศในเช้าวันดังกล่าว เกี่ยวกับการจ่ายค่าน้ำมันแก่รถรับ-ส่งพนักงาน อย่างไรก็ตาม มีพนักงานของบริษัทเกือบ 2,000 คนเข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อติดตามผล เนื่องจากเกรงว่าข้อตกลงระหว่างบริษัทกับพนักงานขับรถจะกระทบต่อการมาทำงาน ของตน 
       
ในการเจรจาดังกล่าวได้มีการโชว์แผ่นป้ายตามรูปภาพที่ได้ลงไว้ แต่ไม่ได้มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น การเจรจาดำเนินไปอย่างเรียบร้อยและสิ้นสุดลงประมาณ 10 โมงเช้า โดยบริษัทยินยอมตามข้อเสนอของพนักงานขับรถบางส่วน หลังจากนั้นประมาณ 11 โมงพนักงานที่เข้าประชุมก็แยกย้ายกลับเข้าทำงานตามปกติ บริษัทได้ทำบันทึกรายงานการประชุม ลงนามยอมรับ และแจ้งให้พนักงานทราบโดยทั่วกันแล้ว 
       
ส่วนประเด็นเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำที่มีบางสื่อรายงานว่าบริษัทจ่ายต่ำ กว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนดนั้น บริษัทได้ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงแต่ประการใด ในความเป็นจริงแล้วบริษัทจ่ายสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดใน ปัจจุบัน ส่วนรายละเอียดในข่าวที่ลงผิดพลาดนั้น น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ให้ข่าว 
       
ในส่วนที่บางสื่อเสนอข่าวว่าบริษัทไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของ รัฐนั้น บริษัทได้ชี้แจงว่าบริษัทให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นการขอเข้าตรวจสถานประกอบการ ส่งเอกสาร หรือความร่วมมืออื่นๆ นอกจากนั้น บริษัทยังได้รับเลือกให้เป็นโรงงานสีขาวตามมาตรฐานของกระทรวงแรงงาน และให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการตรวจแรงงานต่างด้าวทุกครั้ง 
 
(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-6-2555)
 
พนักงานรง.ผลไม้กระป๋องประจวบฯประท้วงฝ่ายบริหารฯ 
 
กลุ่มพนักงานโรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง บริษัท โดล ไทยแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่ ตำบลหนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ กว่า 3,000 คน นำโดยนายเกียรติสยาม ยินดีสังข์, นายเจือ จาดศรี ,นายอุทัย ศรีสม พนักงานขับรถ ได้นัดหยุดงานรวมตัวทำการประท้วงการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ที่ด้านหน้าบริเวณหน้าโรงงาน พร้อมทั้งยืนยันว่าหากฝ่ายบริหารไม่ยอมรับข้อเสนอ พนักงานทั้งหมดจะยังไม่กลับเข้าทำงาน 
 
นายเจือ จาดศรี กล่าวว่า พวกตนได้รวมตัวกับมาตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับความเดือดร้อน จากมาตรการการงดจ่ายค่าน้ำมันรถรับ-ส่ง พนักงาน หากไม่สามารถรับส่งพนักงานได้ตามจำนวนที่กำหนด รวมทั้งราคาค่ารถที่จ่ายให้ก็ขัดกับสภาพปัจจุบันที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูง ขึ้น ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปีมาแล้ว หลังจากที่ผู้บริหารคนเก่าเกษียนอายุไป และมีผู้บริหารคนใหม่เข้ามา 
 
ปัญหาดังกล่าวเริ่มสร้างความเดือดร้อนเมื่อผู้บริหารรายใหม่เข้ามา ซึ่งมีการจ่ายค่าน้ำมันขาไปและขากลับของคนงานต่อคนเพียง 15 บาทเท่านั้น และหากวันไหนรถรับส่งพนักงานมีพนักงานโดยสารมาไม่ถึง 10 คน ก็จะไม่มีการจ่ายเงินให้ ทำให้ผู้ที่ขับรถ รับส่ง ไม่สามารถมาส่งพนักงานได้ และพนักงานก็ไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้เช่นกัน เนื่องจากไม่คุ้มค่า 
 
อีกทั้งราคาที่จ่ายให้ขัดต่อราคาค่าน้ำมันและค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง ซึ่งปัจจุบันทางโรงงานอ้างอิงราคาน้ำมันกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องในข้ออื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อพนักงานอีกหลายข้อ ดังนี้คือ "การรับส่งพนักงานของคนรถให้คิดอัตราเฉลี่ยต่อวิก โดยการกำหนดให้พนักงานต้องมาทำงานไม่ต่ำกว่า 48 คนต่อวิก แต่ถ้ามาไม่ถึงให้ทางบริษัทตัดค่าน้ำมันได้โดยยึดหลักเฉลี่ยวันละ 7 บาทต่อคน แต่จะต้องไม่ตัดค่าหัว ขอค่าล่วงเวลาคนขับรถในส่วนที่เกินจาก 2 ชั่วโมงไปแล้วโดยคิดชั่วโมงละ 30 บาท เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น 
 
นอกจากนี้แล้วการทำสัญญาจ้างของบริษัทกับคนรถ จะต้องให้คนรถเข้าร่วมในการร่างสัญญาจ้างละจะต้องมีการเซ็นสัญญาว่าจ้างทุก ครั้งที่เปิดฤดูการผลิตและจะต้องต่อสัญญาออกไปทุกครั้ง และประการสุดท้าย ขอให้ออกใบสลิปค่าหัวคนงานและค่าน้ำมันคนรถโดยการแยกค่าหัวและน้ำมันออกจาก กันทุกครั้งไป 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่า การประท้วงของกลุ่มคนงานยืดเยื้ออยู่กว่า 3 ชั่วโมง จนกระทั่ง ผู้บริหารของทางโรงงานฯ ได้เรียกตัวแทนคนงานรวม 5 คน เข้าไปเจรจาตกลง ซึ่งเจรจาใช้เวลากว่าครึ่งชั่วโมง จากนั้นตัวแทนได้ออกมาแจ้งว่า ทางผู้บริหารได้รับข้อเสนอของกลุ่มผู้ประท้วง แต่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน หรือมีการลงลายลักษณ์อักษร และได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ ผู้บริหาร ออกมาตกลงและเจรจา ต่อหน้าผู้สื่อข่าว แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้บริหารทั้งสอง พร้อมกับสั่งเจ้าหน้าที่ รปภ.ห้ามไม่ให้ผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจ และนายอนุวัช เต็มชัย ปลัดอำเภอหัวหิน ที่เดินทางมาหาข้อเท็จจริง เข้าไปภายในเขตโรงงานโดยเด็ดขาด ทำให้พนักงานส่วนใหญ่ยังไม่กลับเข้าทำงานตามปกติ และยืนยันว่าหากยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจะยังไม่กลับเข้าทำงาน 
 
(เนชั่นทันข่าว, 21-6-2555)
 
สาธารณสุขคลัง-แรงงานถกแก้กองทุนให้เสมอภาค 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี งดจัดรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" แต่ได้มอบหมาย ให้นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แจงรายละเอียดหลักประกันสุขภาพ ดำเนินรายการโดย นายธีรัตถ์ รัตนเสวี 
 
นายวิทยา กล่าวว่า นโยบายเรื่องการดูแลเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชนนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ดูแลข้อเท็จจริงว่า ทำอย่างไรให้ใช้สิทธิ์จาก 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนข้าราชการพลเรือน, กองทุนหลักประกันสุขภาพ และกองทุนประกันสังคม ให้เกิดความเท่าเทียมกัน ไม่เหลื่อมล้ำกัน โดยมีกระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุข มาบูรณาการเพื่อทำงานร่วมกัน โดยใช้ทั้ง 3 สิทธิ์ ได้อย่างเสมอภาค อย่างกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที เพียงแค่มีบัตรประชาชนก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลแล้ว 
 
"นายกรัฐมนตรียังมอบหมายในส่วนเรื่องโรคเอดส์ที่ต้องดูแลเรื่องการรักษา ให้มีความเสมอภาค เอดส์ที่ต้องดูแลเรื่องการรักษาให้มีความเสมอภาค โดยต้องทำให้ 3 กองทุนมีมาตรฐานเดียวกัน เมื่อประชาชนเข้ารับการรักษาและเมื่อดูแลการรักษาแล้ว จะต้องดูแลเรื่องการป้องการเพื่อไม่ให้เกิดผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ ซึ่งตรงนี้ทางกระทรวงก็จะนำมาสรุปเพื่อหาข้อมูลที่ชัดเจนในการดำเนินการไปใน ทิศทางเดียวกัน หาข้อที่ดีที่สุดเพื่อดูแลสุขภาพของคนไทย ส่วนการรักษาโรคไต ไตวาย ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก และขั้นตอนการรักษาค่อนข้างยุ่งยากไม่ว่าจะเป็นการล้างไต การดูแลก็ดี การพบหมอ การล้างช่องท้อง การล้างผ่านเส้นเลือด ตรงนี้นายกรัฐมนตรีย้ำว่า ขอให้ดูแลผู้ป่วยโรคนี้โดยใช้ทั้ง 3 สิทธิ์ได้อย่างครอบคลุม" นายวิทยา กล่าว 
 
ส่วนกรณียาที่ใช้ในการรักษาที่ประชาชนเข้ารับการรักษาและมีการเปลี่ยน สิทธิ์ หรือเปลี่ยนโรงพยาบาลรักษาและกลัวว่าจะไม่ได้ยาเดิมนั้น ทางกระทรวงเล็งเห็นถึงความสำคัญและได้มีการตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องยาโดย รวมทั้ง 3 กองทุน หาข้อสรุปว่า ควรซื้อยาลักษณะแบบไหน อย่างไร เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานเดียวกัน 
 
"ในบัญชียาหลักจะมีการพูดคุยกัน เพื่อแสวงหายาที่เหมาะสมและราคาที่เหมาะสม เพื่อเป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน อีกทั้งจะมีการกระตุ้นให้ประชาชนนำยาเก่าหมดอายุแล้วมาแลกกับไข่ เนื่องจากยาที่ได้ไปใช้ไม่หมด และมีจำนวนมาก ต้องแก้ปัญหาโดยไม่นำยาเก่าที่หมดอายุมาใช้อีกและส่งผลให้สุขภาพเสื่อมลง ซึ่งช่วยลดงบประมาณ แต่ยืนยันไม่ลดคุณภาพของยาแน่นอน" นายวิทยา กล่าว 
 
(บ้านเมือง, 23-6-2555)
 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประชาธิปัตย์ ตั้งคณะทำงานจับตาการชุมนุมคนเสื้อแดง 24 มิ.ย.

$
0
0

รองโฆษก ปชป. ขอให้ตำรวจจับกุมทันที หากอภิปรายกระทบสถาบันฯ ด้านโฆษกพรรคเพื่อไทยขอแสดงจุดยืนในโอกาส 80 ปี 24 มิ.ย. 2475 ขอแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย

สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานว่า นางสาวมัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิ ปัตย์ เปิดเผยว่า พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งคณะทำงานติดตามการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 24 มิ.ย. เพราะเกรงว่าจะมีการอภิปรายกระทบสถาบันฯ หรือพรรคการเมืองอื่น โดยจะไม่ขัดขวางการชุมนุม เพราะถือเป็นสิทธิ์ พร้อมเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ดูแลการชุมนุมให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและจับกุมทันทีที่มีผูกระทำผิด

ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การที่นายจตุพร พรหมพันธ์ ได้ตั้งเวทีปราศัยโจมตีศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการเริ่มกระบวนการปลุกระดมมวลชน และนายกรัฐมนตรี ควรจะมีการตักเตือน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุของความขัดแย้งรอบใหม่ได้

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานที่พรรคเพื่อไทย ในวันนี้ (24 มิ.ย.) โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวในโอกาสครบรอบ 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยว่า พรรคเพื่อไทยขอแสดงจุดยืนที่จะอยู่เคียงข้างประชาชน และร่วมพัฒนาประชาธิปไตย โดยเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ทั้งการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น เพื่อให้อำนาจประชาธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมากระบวนการทางประชาธิปไตยยังมีปัญหา ทั้งการปฏิวัติ รัฐประหาร หรือฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนเองเห็นว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่ยังค้างอยู่ ล้วนเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน โดยการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังมีปัญหาอยู่ และหากสามารถเดินหน้าไปตามขั้นตอนได้จะทำให้รัฐธรรมนูญ มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวอีกว่าในโอกาสที่วันนี้เป็นวันครบรอบ 80 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพรรคเพื่อไทยจะขอเป็นผู้ยื่นให้พิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งหากทุกฝ่ายยังนิ่งเฉย ประชาธิปไตยที่แท้จริงอาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ 2

$
0
0

กองทัพต้องยุติบทบาททางการเมือง,ต้องดำเนินคดีแก่คนที่สั่งฆ่าประชาชน,ผลักดันรวมตัวและการเจรจาต่อรองของคนงาน ความยุติธรรมต้องเสมอกัน,หยุดใช้ ม. 112 ปล่อยนักโทษการเมืองและให้เสรีภาพในทางวิชาการและให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร 

5.00 น. วันนี้(24 มิ.ย.2555) ณ หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า กลุ่มนักกิจกรรมหลายกลุ่มที่ได้ร่วมรำลึก 80 ปี 24 มิ.ย. 2475 การอภิวัฒน์ประชาธิปไตยของคณะราษฎร โดยหนึ่งในกลุ่มกิจกรรมที่ร่วมรำลึกคือคณะราษฎรที่ 2 ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษากลุ่มสะพานสูงและกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แต่งตัวเป็นคณะราษฎร เช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน),  หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ), หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์),  หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) และประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น โดยในเวลา 6.40 น. คณะดังกล่าได้มีการอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 

 

และหลังจากนั้น ได้มีการอ่านหลัก 6 ประการใหม่ของคณาราษฎรที่ 2 ที่มีการปรับเข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน ดังนี้
 
 
หลักประการที่ ๑ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเอกราช
เอกราช หมายถึง ความเป็นอิสระแก่ตน ไม่ขึ้นต่อผู้อื่น
 
ในการอภิวัฒน์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คณะราษฎรได้ประกาศหลักประการแรกในการปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตยว่า “จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง”
 
 เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ความเป็นเอกราชที่คณะราษฎรมุ่งหวังจะรักษาคงจะหมายถึงการที่ประเทศสยามต้องไม่เป็นเมืองขึ้นต่อประเทศอื่นใด เช่น ไม่สูญเสียดินแดนของประเทศ ไม่เป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ไม่เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เป็นต้น เนื่องจากสยามนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางดินแดนของจักรวรรดิต่างๆ ประกอบกับในเวลานั้นได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ไปทั่วโลก และรัฐบาลกษัตริย์ที่เคยใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ ทำให้ประเทศสุ่มเสี่ยงที่ล้มละลายและอาจตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติได้ ซึ่งหากสยามตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น การบริหารประเทศก็ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาตินั้น ไม่อาจทำเพื่อประโยชน์ของราษฎรสยามได้เลย
               
มาถึงวันนี้ ๘๐ ปีผ่านไป สถานการณ์โลกดำเนินไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มีกฎกติกาสากลที่จะคอยป้องกันมิให้ประเทศใดรุกรานประเทศอื่น อีกทั้งประเทศไทยยังมีเศรษฐกิจที่มั่นคง ยังมีทุนสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก มิได้ประสบปัญหาถึงขนาดที่จะเอาตัวไม่รอด สิ่งเหล่านี้จึงเป็นหลักประกันในความเป็นเอกราชของประเทศไทย แต่ในขณะที่ประเทศเป็นเอกราชนั้น ยังมีสิ่งซึ่งเป็นเสาหลักของระบอบประชาธิปไตยที่ตลอด ๘๐ ปีที่ผ่านมาถูกแทรกแซงอยู่เสมอ ไม่ได้มีเอกราชไปด้วย นั่นคือองค์กรที่มีหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตย และองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ เปรียบเสมือนผลไม้ที่เปลือกนอกสวยงามแต่มีเนื้อในที่เน่าเฟะ
               
ระบอบประชาธิปไตยได้กำหนดอำนาจอธิปไตยไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งการใช้อำนาจเป็นสามส่วน ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจ อำนาจบริหารมีรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจ และอำนาจตุลาการมีศาลเป็นผู้ใช้อำนาจ อำนาจทั้งสามนี้จะทำหน้าที่ของตัวเองและคอยถ่วงดุลมิให้อำนาจอื่นมีมากเกินไปตามที่กฎหมายกำหนด และเนื่องจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่อำนาจเป็นของราษฎร อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตยจึงต้องใช้เพื่อประโยชน์ของราษฏร แต่ในความเป็นจริงกลับมีการแทรกแซงและขัดขวางมิให้เป็นไปตามนั้น
               
การแทรกแซงนี้เกิดโดยการที่กลุ่มคนที่คิดว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น และต้องการมีอำนาจในสังคม เช่น ทหาร นายทุนนักธุรกิจ หรือผู้มีสถานะทางสังคมสูงส่ง เป็นต้น ได้บงการบุคลากรขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย และองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ให้ใช้อำนาจสนองความต้องการของพวกตน และบุคลากรผู้ไม่มีใจเป็นประชาธิปไตยก็ได้ศิโรราบยอมเป็นเครื่องมือของอำนาจนอกระบบเหล่านั้น มีทั้งการดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่อำนาจนอกระบบ การไม่เข้าร่วมประชุมสภา หรือการถ่วงดุลการใช้อำนาจอื่นอย่างเกินขอบเขตที่จะกระทำได้ มีการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายและการตีความกฎหมายเข้าข้างตนเองเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การกระทำเหล่านั้น นอกจากนี้อำนาจนอกระบบยังใช้วิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาขัดขวางการใช้อำนาจอธิปไตย เช่น การรัฐประหาร การชุมนุมประท้วงโดยผิดกฎหมายเพื่อขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้อำนาจอธิปไตยขาดเอกราช ต้องไปรับใช้อำนาจนอกระบบ ไม่อาจสร้างประโยชน์สุขแก่ราษฏรได้
               
ด้วยเหตุนี้ คณะราษฎรที่สอง ต่อต้านอำนาจนอกระบบ จึงมีข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดเอกราชดังนี้
 
๑.       บุคลากรขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยและองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ จักต้องหยุดทำตัวเป็นขี้ข้ารับใช้อำนาจนอกระบบ และใช้อำนาจของท่านโดยยึดหลักประชาธิปไตย ท่านเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่มีอำนาจใดที่เหนือไปกว่านี้
๒.      กต้องปลูกฝังค่านิยมในการใช้อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตยเป็นวิธีการปกครองและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ และกำจัดค่านิยมในการใช้วิธีการอื่นหรือการขัดขวางการใช้อำนาจอธิปไตยทุกรูปแบบ
๓.      กองทัพจักต้องยุติบทบาททางการเมือง เนื่องจากตลอด ๘๐ ปีที่ผ่านมา กองทัพเป็นเครื่องมือที่สำคัญของอำนาจนอกระบบในการทำลายความเป็นเอกราชของอำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตย
๔.      การถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจอธิปไตยจักต้องไม่มากเกินส่วนที่กฎหมายกำหนด โดยการตีความกฎหมายต้องเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง
๕.      สื่อจักต้องนำเสนอข่าวการกระทำที่เป็นการทำให้เอกราชของอำนาจอธิปไตยและองค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องเสื่อมเสียไป โดยให้ข้อมูลละเอียดครบถ้วน และแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการกระทำเหล่านั้น
 
ราษฎรทั้งหลายจงร่วมกันรักษาเอกราชของอำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้เป็นอำนาจที่บริสุทธิ์ที่มุ่งใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่ราษฎรเอง ให้ประเทศไทยได้มีเอกราชอย่างแท้จริง
 
 
 
หลักประการที่ ๒ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักความปลอดภัย
 
“จงพึงระลึกไว้ว่าประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของพวกเจ้าอย่างที่หลอกลวงกัน”
เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมและประชาธิปไตย
คือหลักความมั่นคงและความปลอดภัยของพลเมืองชาวสยาม
 
ราษฎรทั้งหลาย คนเรานั้นเกิดมาใยแตกต่างกัน? ทำไมคนเราถึงได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยที่ไม่เท่ากัน? ทั้งๆที่คนเรานั้นเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นชาติเดียวกัน อาจแตกต่างกันบ้างในด้านความร่ำรวย หรือชื่อเสียงเกียรติยศ แต่นั่นทำให้เขาได้รับความปลอดภัยแตกต่างกันหรือ?
           
ราษฎรทั้งหลาย เราต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ อุดมการณ์ที่เราหวังว่าสักวันหนึ่งชีวิตของเราจะดีขึ้น ผิดหรือที่เราต้องการประชาธิปไตย ผิดหรือที่เราเกิดมาเป็นคนไทย และเราเป็นกบฎหรือที่เราเรียกร้องในสิ่งที่เราควรได้
           
เราทำสิ่งต่างๆเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เจริญงอกงาม แต่คนบางกลุ่มซึ่งได้รับผลต่างๆจากสิ่งที่เราทำ ทั้งๆที่เราทำประโยชน์ต่อพวกเขา แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับฆ่าพวกเรา ฆ่าพวกเราดั่งผักปลา พวกเขาคือทรราชย์ของแผ่นดิน ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐต้องให้ความคุ้มครองต่อราษฎร แต่เขาเหล่านั้นกลับมองมาและฆ่าพวกเราดั่งไม่ใช่คนชาติเดียวกัน
         
  ราษฎรทั้งหลาย พี่น้องเรานั้นต่อสู้เพื่ออนาคตของประเทศที่จะเบ่งบานในวันข้างหน้า เราเรียกร้องสิทธิของเราที่ควรจะได้รับความความคุ้มครองมาตั้งแต่กำเนิด สิทธิที่ว่านั้นคือ สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองความปลอดภัย ความปลอดภัยที่ไม่ใช่ลูกปืน
  
ไม่มีประเทศใดที่ผู้มีอำนาจจะสั่งฆ่าประชาชนแล้วยังดำรงอยู่ในอำนาจต่อไปได้เป็นเวลานานเช่นนี้ แม้กระทั่งพระเจ้าซาร์รัสเซียเองที่สั่งฆ่าประชาชนก็มิอาจจะดำรงอยู่ในอำนาจได้ แต่เพราะเหตุใดเล่า บุคคลที่สั่งฆ่าประชาชนทั้งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 6ตุลา หรือเมษาเลือด ถึงยังดำรงอยู่ในอำนาจได้
 
  คณะราษฎรที่ 2 ไม่ได้มาที่นี่เพื่อแย่งอำนาจจากผู้ใด คณะราษฎรที่ 2 มาที่นี้เพื่อเรียกร้อง เรียกร้องความปลอดภัย ความปลอดภัยที่ราษฎรจักต้องได้ ไม่ใช่คำหลอกลวงและการโฆษณาว่าราษฎรจักได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จักได้รับการดูแลให้ชีวิตดีขึ้น แต่ชีวิตของราษฎรจะได้รับความปลอดภัยไม่ได้หากยังมีอำนาจนอกระบบที่คอยสั่งฆ่าประชาชน
   คณะราษฎรที่ 2 จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้
 
1.                        ปกป้องประเทศโดยการปกป้องชีวิต อิสรภาพและรัฐธรรมนูญของพลเมืองทุกท่าน ให้ปลอดภัย
2.                        ต้องมีหลักประกันที่ทำให้พลเมืองทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นธรรมทุกด้าน ไม่มีอภิสิทธิ์ให้กับคนหนึ่งคนใดหรือกลุ่มคนใดโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์ มีฐานะชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมมากมายเพียงใด ไม่เว้นแม้แต่พวกเจ้าและโครงข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
3.                        ต้องเคารพหลักการสากลที่ส่งเสริมนิติรัฐ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ซึ่งนานาอารยประเทศยึดถือปฏิบัติทุกข้อ
4.                        จะต้องสร้างความเป็นธรรมแก่ราษฎรที่สูญเสียต่อการกระทำของผู้มีอำนาจนอกระบบที่สั่งฆ่าประชาชน เพราะรัฐบาลไม่ได้ให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนเท่าที่ควร
5.                        จักต้องมีการดำเนินคดีแก่คนที่สั่งฆ่าประชาชนตลอดจนทำลายอำนาจนอกระบบที่เป็นสาเหตุของการที่ประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัย
 
ขอให้รัฐบาลรู้เถิดว่า ท่านจงอย่ากลัว อย่ากลัวที่จะอยู่เคียงข้างประชาชน อย่ากลัวที่จะทำลายอำนาจนอกระบบ เพราะประชาชนอยู่เคียงข้างท่านแล้ว แต่หากท่านหาได้ดำเนินการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับความอยุติธรรมแล้วไซร้ รัฐบาลก็หามีความชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ต่อไปไม่
 
หลักประการที่ ๓ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเศรษฐกิจ
ราษฏรทั้งหลาย
  
เมื่อรัฐบาลชุดนี้ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาลในสภา ราษฎรบางคนได้มีความหวังว่านโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่ได้ให้คำมั่นเอาไว้ก่อนเลือกตั้งจะช่วยให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแต่ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่  ราคาสินค้าเกษตรยังคงตกต่ำ  ข้าวของราคาแพง  ค่าแรงยังคงน้อย  ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ รัฐบาลอันมาจากการเลือกตั้งของราษฎรยังคงไม่ฟังเสียงของราษฎร แต่กลับยกพวกพ่อค้าวานิช นายทุนผู้มีอันจะกินให้มีสิทธิ์พิเศษมากกว่าราษฎร ปล่อยให้เกษตรกร และแรงงานถูกกดขี่ข่มเหงตามยถากรรม
 
การที่แก้ไขไม่ได้ ก็เพราะนโยบายเศรษฐกิจทั้งปวงนั้นมิได้เป็นไปเพื่อราษฎรแต่เป็นไปเพื่ออุ้มชูเหล่าคหบดีนายจ้าง และเพื่อประโยชน์แห่งชนชั้นนำผู้ถือหุ้น  เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับปล่อยให้นายทุนทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่าน้ำมันซึ่งสมควรจะเป็นสมบัติสาธารณะอันราษฎรพึงมีสิทธิ์ที่จะได้ใช้ในราคาถูกอีกทั้งยังเป็นต้นทุนของสินค้าทั้งปวงกลับถูกผูกขาดจนน้ำมันมีราคาแพงเกินจริง ทั้งบรรษัทที่กุมท่อส่งและโรงกลั่นก็ยังไปเข้ากับเชฟรอนอันเป็นบรรษัทต่างชาติเสีย ไม่มีชนชาติใดที่ผลิตน้ำมันเองได้กว่ากึ่งหนึ่งจะต้องทนใช้น้ำมันราคาแพงฉะนี้ นอกจากอาร์เจนตินา ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้ผ่านร่างกฎหมายยึดคืนบรรษัทน้ำมันจากบรรษัทต่างชาติเสียแล้ว
 
รัฐบาลให้คำมั่นอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้เป็นจริงดังคำสัญญาไม่  เมื่อปรับขึ้นค่าแรงนำร่องใน 7 จังหวัดก็ปรากฎให้เป็นที่ประจักษ์ว่าสินค้าต่างพากันขึ้นราคาแพง เพราะต้นทุนสูงขึ้น แต่ผลิตได้เท่าเดิม ทั้งนี้มิใช่เพราะราษฎรนั้นโง่ หรือเกียจคร้าน หากขาดโอกาส และรัฐบาลทุกสมัยก็หาได้มีเจตนาพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างจริงใจไม่  เมื่อแรงงานด้อยทักษะฉะนี้แล้ว ค่าแรง 300 บาททั่วประเทศจึงเป็นเรื่องอันฟุ้งฝัน
 
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของคหบดีนายทุน ไม่ใช่ของราษฎรตามที่เขาหลอกลวง  คณะราษฎรที่หนึ่งอันเป็นคณะราษฎรของแท้นั่นแหละ ได้ตั้งมั่นว่า “จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก”  สุดท้ายมีแต่พวกเจ้าที่ชุบมือเปิบ คอยอุปถัมภ์ค้ำจุนนายทุน ถือหุ้นบรรษัทใหญ่กวาดเอาทรัพย์สินเอาไว้หลายแสนล้านบาท  หุ้นเหล่านี้ได้มาจากไหน ก็ล้วนมาจากผลพวงของการอภิวัฒน์สยาม พุทธศักราช 2475 ทั้งสิ้น   คณะราษฎรมุ่งหวังจะไม่ให้ราษฎรต้องอดอยาก ผ่านไปแล้ว 80 ปีแรงงานสยามยังคงตกอยู่ใต้เงื้อมมือของนายทุนใต้เงาเจ้า  รัฐบาลรีรอไม่ลงนามรับรองอนุสัญญา ILO 87/98 ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศที่จะคุ้มครองส่งเสริมการรวมตัวกันเป็นสหภาพและสร้างอำนาจต่อรองให้กับราษฎร ก็เพราะเกรงจะขัดแข้งขาคหบดีนายทุน  แทนที่จะยึดเอาประโยชน์แห่งราษฎรเป็นที่ตั้ง รัฐบาลกลับฟังแต่เสียงของคหบดีนายทุนเรื่อยมา
 
เหตุฉะนั้น ราษฎร นิสิตและนักศึกษาที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายดังกล่าวแล้ว จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรที่สองขึ้น คณะราษฎรที่สองเห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องยุติการผูกขาดธุรกิจพลังงาน คืนสมบัติธรรมชาติแก่ราษฎร  เร่งฝึกอาชีพพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างจริงจังเพื่อให้นโยบายค่าแรง 300 ทั่วประเทศสัมฤทธิ์ผลในเร็ววัน โดยจะต้องมิใช่เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง แต่ต้องมุ่งเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นสำคัญ  ลงนามในอนุสัญญา ILO87/98 เพื่อผลักดันให้แรงงานมีสหภาพที่เข้มแข็งและสามารถต่อร่องกับคหบดีนายทุนได้อย่างทัดเทียม ขยายความคุ้มครองของประกันสังคมมิให้จำกัดแต่ในเพียงแรงงานในระบบแต่จะต้องคุ้มครองราษฎรที่ประกอบกิจการร้านค้า ขับขี่ยวดยานรับจ้าง แลกรรมกรทั้งหลายให้มีหลักประกันอันมั่นคงไม่ต่างกัน  อีกทั้งจะต้องเข้มงวดกวดขันมาตรการรับจำนำข้าวให้โปร่งใสไร้การคอรัปชั่นเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างเต็มกำลัง
 
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรที่สองให้ทำกิจอันจะคงอยู่อย่างสถิตสมบูรณ์สถาพร เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม เพื่อความบริบูรณ์ของปากท้องของพี่น้องเกษตรกร แรงงาน ให้ราษฎรผู้กรำงานหนักตลอดชีวิตได้รับผลตอบแทนที่พึงได้เอง มิใช่เป็นข้าทาสผู้ทำงานรับใช้คหบดีนายทุนผู้อาศัยร่มบารมีเจ้าทำนาบนหลังราษฎร อันจะสืบสานเจตนารมณ์แห่งคณะราษฎรที่ได้เคยประกาศไว้ ณ ที่แห่งนี้ให้วิวัฒน์พัฒนา เพื่อความสุขประเสริฐจะได้บังเกิดแก่ราษฎรโดยถ้วนหน้า
 
 
หลักประการที่ ๔ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเสมอภาค
เพราะเป็นที่ประจักษ์แจ้งและเป็นความจริงแท้ว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน  ไม่มีใครเกิดมาเพื่อเป็นนาย และไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาเพื่อเป็นทาส  ในแผ่นดินนี้มีเพียงมนุษย์ที่ยืนอยู่บนผืนธรณีเดียวกัน ไม่มีอำนาจจากสรวงสรรค์ที่จะรังสรรค์ชอบความธรรมแห่งการกดขี่ด้วยชั้นชน  มีเพียงคุณค่าแห่งความเป็นคนและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์คือที่สุดแห่งอำนาจและความชอบธรรมทั้งปวง 
 
และเพราะความสำเร็จแห่งการอภิวัฒน์โดยคณะราษฎรชุดก่อนนั้นเอง   ที่ได้ทำลายการปกครองอันกดขี่ ไม่ชอบธรรมและได้สถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อมอบสิทธิและความเสมอภาคให้ทั่วถึงกันแก่ราษฎรทั้งหลาย
 
อันเป็นที่มาแห่งหลักประการที่ ๔ ของเราคณะราษฎรที่ ๒ ว่าจะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน
สิทธินั้นคืออะไร  เรื่องนี้เราอาจตอบได้ว่า สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและบังคับบัญชาให้ราษฎรทั้งหลายพึงมีสิทธิและใช้สิทธิได้โดยชอบ
 
แต่สำหรับความเสมอภาคนั้นคืออะไร ?  ต่อคำถามนี้  จะมีอะไรดีกว่าการถามราษฎรทั้งหลายก่อนว่าพวกเขามาอยู่รวมกันเป็นรัฐเพื่ออะไร ถ้ามิใช่เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดี  และต้องเป็นที่แน่นอนว่าชีวิตที่ดีและอุดมสมบูรณ์พูนสุขนั้นจะต้องไม่ตกเป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหมู่คณะใดหมู่คณะหนึ่งโดยอาศัยความทุกข์ยากตรากตรำของราษฎรส่วนใหญ่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในความอุดมสมบูรณ์พูนสุขของบุคคลเหล่านั้น    เช่น  ผู้ที่ปลูกข้าวทำนาพวกเขาก็ย่อมมีสิทธิในข้าวนานั้นยิ่งกว่าผู้ที่มิได้ออกแรงไถหว่าน  หลักการนี้ก็เป็นหลักการของความยุติธรรมนี่เอง  เพราะผู้ที่มิได้ออกแรงหว่านไถ ไฉนเลยเล่าจะมีสิทธิในนาข้าวที่ผู้อื่นปลูกได้   โดยนัยนี้เองความเสมอภาคจึงเป็นฐานรากและเสาหลักแห่งความยุติธรรมทั้งปวงในหมู่ราษฎร  หรืออาจกล่าวได้ว่าความเสมอภาคมิได้หมายถึงการที่ราษฎรทุกคนมีสิทธิเท่ากัน  แต่หมายถึงราษฎรทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคนี้ยังเป็นองค์ประกอบแห่งความสมบูรณ์ของหลักประการอื่นๆทั้งก่อนนี้และที่จะกล่าวถึงหลังจากนี้ 
 
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะความปลอดภัยที่มีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับ ในขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลางความเสี่ยงและอาชญากรรม  ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าความปลอดภัย
 
ความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจที่มีเพียงคนบางกลุ่มได้ประโยชน์  ในขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่ล้วนอดอยากโดยเฉพาะเมื่อมันเกิดจากการทำนาบนหลังคน ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าความสุขสมบูรณ์
 
และเป็นที่แน่นอนว่าเสรีภาพที่มีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่มีสิทธิใช้ได้  ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นเสรีภาพ
 
ดังนั้นเราคณะราษฎรที่ ๒ จักขอเรียกร้องให้รัฐไทยส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคให้สมดังเจตนารมณ์ของคณะราษฎรผู้ทำการอภิวัฒน์ในกาลก่อน  โดยมีข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือ
 
๑. ราษฎรทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมเสมอกันต่อหน้ากฎหมาย  การบังคับใช้กฎหมายในข้อเท็จจริงที่มีสาระสำคัญเหมือนกัน  ต้องได้รับคำสั่งและคำพิพากษาเป็นอย่างเดียวกัน  
๒. รัฐต้องส่งเสริมและพัฒนากระบวนการที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการใช้อำนาจต่างๆของรัฐเพื่อจักการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้นว่า ประชาชนจักต้องได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน อาทิ สิทธิประกัน ประชาชนไม่ว่ายากดี มีจนจักต้องได้รับการส่งเสริมที่เท่าเทียมกัน มิใช่ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และรัฐจักต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เข้าถึงง่าย ราคาถูก และรวดเร็ว และนอกจากนี้ในบริการอื่นๆของรัฐที่สำคัญ รัฐต้องคำนึงถึงการเข้าถึงอย่างเสมอภาคของประชาชน ด้วย นอกเหนือจากคุณภาพ
๓. รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรชายขอบของรัฐได้เข้าถึงอำนาจรัฐได้อย่างเท่าเทียม เพื่อให้เขามีความเสมอภาคที่แท้จริงทางการเมือง เป็นต้นว่า รัฐจักต้องให้สิทธิพลเมืองกล่าวคือ สัญชาติไทยแก่คนชายขอบของรัฐอย่างเสมอภาค เช่น ชาวกระเหรี่ยง โรฮิงยา เป็นต้น หรือ รัฐจักต้องบรรจุภาษามลายูเป็นภาษาราชการที่สอง ในจังหวัดที่มีประชากรมุสลิมที่ใช้ภาษามลายู จำนวนมาก
 
 
 
หลักประการที่ ๕ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเสรีภาพ
จะต้องให้ราษฎรมีความเป็นอิสระ  เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
มนุษย์เกิดมาเสรี  มีเพียงเจตจำนงของเขาเท่านั้นที่จะกักขังเขาไว้ในพันธนาการแห่งความเป็นทาส  แต่นั่นย่อมหมายความว่าเมื่อเขาได้พยายามกอบกู้เจตจำนงแห่งอิสระกลับคืนมา  เขาย่อมมีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังใคร นอกจากตัวเขาเองเท่านั้น   สิทธิที่จะมีเสรีภาพนี้เป็นสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นคุณค่าอันสูงสุดอันมิอาจจะล่วงละเมิด การใช้กำลังบังคับและคำหลอกลวงโป้ปดของผู้ปกครองให้เชื่อฟังต่อให้มีมากสักเพียงใด  ก็ไม่เคยเพียงพอที่จะพรากเสรีภาพไปจากเขาได้
 
หนึ่งในสิ่งที่คณะราษฎรผู้ก่อการอภิวัฒน์เมื่อ ๒๔๗๕ ได้มอบไว้แก่ราษฎรชาวไทย คืออำนาจอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ราษฎรทั้งหลาย ตื่นขึ้นมาจากความฝันเฟี่องแลโป้ปดในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ผู้ปกครองล้วนบังอาจสถาปนาตนเป็นเจ้าชีวิตของราษฎรทั้งหลาย สามารถชี้เป็นตายได้เพียงอาศัยความพึงพอใจของตน  ให้ราษฎรทั้งหลายกลายเป็นผู้ทรงสิทธิอำนาจที่จะลุกขึ้นมากำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้  โดยมิตกอยู่ภายใต้อาณัติครอบงำอย่างเก่าก่อน  อำนาจนี้เรียกว่า เสรีภาพ   
 
เสรีภาพ เป็นอำนาจที่เกิดจากจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์  เสรีภาพจึงมีคุณค่าอันสูงสุด มิอาจถูกจำกัดได้โดยอำนาจใด  มีเพียงกฎหมายที่มาจากผู้แทนปวงชนเท่านั้นที่จะจำกัดอำนาจแห่งเสรีภาพนี้ได้  ในปัจจุบันเสรีภาพของราษฎรชาวไทยถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมาก  ทว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ เสรีภาพในการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นซึ่งควรจะเป็นเหมือนลมหายใจของระบอบประชาธิปไตยกำลังถูกลิดรอนและทำให้ตกอยู่ภายใต้อาณัติครอบงำแห่งความหวาดกลัวโดยการใช้อำนาจรัฐ  ดังนั้นเพื่อกอบกู้เจตนารมณ์แห่งการอภิวัฒน์เมื่อ ๒๔๗๕ กลับคืนมา คณะราษฎรที่ ๒ จึงมีข้อเรียกร้องตามหลักเสรีภาพและอิสรภาพ ดังนี้
 
๑.       ทุกฝ่ายไม่ว่ารัฐหรือราษฎรจักต้องหยุดการใช้บังคับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง
๒.      การตีความกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒  ไม่ว่าจะโดยพนักงานอัยการหรือศาลต้องวางอยู่บนพื้นฐานของหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้  และต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยมิใช่อุดมการณ์ราชาธิปไตย
๓.      รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหลายให้ได้รับอิสรภาพ
 
หลักประการที่ ๖ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักการศึกษา
 
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อรัฐมนตรีคนนี้ได้ดำรงตำแหน่งต่อจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนก่อนนั้น ในชั้นต้น ราษฎรบางคนได้หวังกันว่า การศึกษาไทยจะดีขึ้น แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่ รัฐมนตรีคนใหม่กลับสนับสนุนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ ปล่อยให้มีการเก็บค่าเทอมเหมาจ่าย ข้าราชการและสภามหาวิทยาลัยใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต เกิดเผด็จการในมหาวิทยาลัย ยกพวกราษฎรร่ำรวยขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎรอื่น กดขี่ข่มเหงราษฎรที่ยากจน เปิดโครงการพิเศษที่มีค่าเทอมแสนแพงขึ้นมากกมาย ปล่อยให้การศึกษาเป็นไปตามยถากรรม ดั่งที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางวิชาการและความฝืดเคืองในการหางานทำ ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้
 
การที่แก้ไขไม่ได้ ก็เพราะม.นอกระบบและค่าเทอมเหมาจ่ายมิได้เพื่อราษฎร มหาวิทยาลัยได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่ บ้าง ข้า บ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ค่าเทอมที่บีบคั้นเอามาจากราษฎรนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือค่าเทอม ถ้าไม่มีเงิน มหาวิทยาลัยก็ไม่ให้ลงทะเบียนเรียนหรือไม่ให้จบการศึกษา
 
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการศึกษาอย่างโน้นอย่างนี้ หอพักใหม่จะเสร็จตอนนั้นตอนนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำ กล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียค่าเทอมให้มหาวิทยาลัยว่า ราษฎรยังไม่มีค่าเทอมก็ให้ไปกู้ยืมมาจ่าย คำพูดของมหาวิทยาลัยเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงนั้น ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่มีค่าเทอมราคาแพง ไม่ได้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ใครทำนาบนหลังคน
 
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า มหาวิทยาลัยนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของอธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัยตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้มหาวิทยาลัยมีอิสรภาพพ้นมือจากเผด็จการทหาร พวกผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยมีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากค่าเทอมของราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนเรียนเสร็จแล้วและทหารปลดกองหนุนแล้วไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
 
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของมหาวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรที่ ๒ ขึ้น และได้ยึดอำนาจของสภามหาวิทยาลัยไว้ได้แล้ว คณะราษฎรที่๒เห็นว่า การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีพรบ.มหาวิทยาลัยที่มาจากประชาชน จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นรัฐมนตรีของกระทรวงศึกษาธิการนั้น คณะราษฎรที่๒ไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงตำแหน่ง ฉะนั้น จึ่งได้ขอให้รัฐมนตรีคนนี้ดำรงตำแหน่งต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายมหาวิทยาลัยฉบับประชาชน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและประชาชน
 
คณะราษฎรที่๒ได้แจ้งความประสงค์นี้ให้รัฐมนตรีทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ารัฐมนตรีตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่มหาวิทยาลัยจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ พรบ.มหาวิทยาลัยต้องมาจากประชาชน ตามวิธีนี้ ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ คนจะมีที่เรียน เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้ว-ตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินเดือนที่พวกผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยรวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงมหาวิทยาลัยขึ้นแล้ว การศึกษาจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การพัฒนาการศึกษาซึ่งคณะราษฎรที่๒จะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการ อาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เป็นหลักใหญ่ ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า
 
๑.   จะต้องรักษาเสรีภาพทั้งหลาย เช่น เสรีภาพในทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยไว้ให้มั่นคง
๒.   จะต้องรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย ให้การประทุษร้ายต่อราษฎรต่างมหาวิทยาลัยกันลดน้อยลงให้มาก
๓.   จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางสวัสดิการ โดยมหาวิทยาลัยจะจัดหาหอพัก ห้องสมุด รถรับส่ง และโรงอาหารให้เพียงพอ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔.   จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ราษฎรร่ำรวยมีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรยากจนเช่นที่เป็นอยู่)
๕.   จะต้องให้อาจารย์ได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖.   จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรที่๒ ให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรที่๒ ขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยพึงตั้งตนอยู่ในความสงบ และตั้งหน้าเรียนหนังสือ อย่าทำการใด ๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรที่๒ การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรที่๒นี้ เท่ากับราษฎรช่วยการศึกษาชาติ และช่วยตัวราษฎร บุตรหลานเหลนของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้การศึกษาที่ดี ทุกคนจะต้องมีที่เรียน ไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน หมดสมัยที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ ซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
 

 

ภาพบรรยากาศกิจกรรม:

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน:"100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475"[1]

$
0
0

เสวนาว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยเมื่อ100ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นหลากปัจจัยที่ส่อให้เห็นถึงความผุกร่อนของระบอบการเมืองการปกครองไทยในสมัยนั้น ซึ่งแม้ว่าจะล้มเหลวแต่ก่อให้เกิดหน่ออ่อนแห่งการ เปลี่ยนแปลง 24มิถุนายน 2475 ในอีก20ปีต่อมา

 
อภิปราย “100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130” ดำเนินรายการโดย ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ.เพ็ญพิสุทธิ์ ทองมี นักวิชาการอิสระ และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ  อักษรศาสตร์ จุฬาฯ 
 
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%
 
 
เพ็ญพิสุทธิ์ ทองมี: นักวิชาการอิสระ
การเคลื่อนไหวของสามัญชนในปี 2455 หรือ ร.ศ.130 เป็นการเคลื่อนไหวของสามัญชนเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่เนื่องจากไม่สำเร็จจึงกลายเป็นกบฏ โดยการเคลื่อนไหวนี้มีสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจและความล้าหลังของบ้านเมือง โดยสมาชิกของคณะ ร.ศ.130 ส่วนใหญ่เป็นนายทหารหนุ่มชั้นสัญญบัตร เป็นผลผลิตของระบบราชการใหม่ที่เปิดให้สามัญชนมีส่วนร่วม จึงเห็นว่าบ้านเมืองเกิดปัญหามากมาย แต่รัฐบาลสมัย ร.6 ไม่ได้เข้าไปแก้ปัญหาความเดือดร้อนและเศรษฐกิจ ส่งผลให้กองทัพไม่ได้รับงบประมาณนานถึง 5 ปี ขณะที่งบพระคลังข้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี
 
นอกจากนี้ ยังมีความไม่พอใจ กรณีเฆี่ยนหลังทหาร จากความขัดแย้งระหว่างมหาดเล็กของ ร.6 ซึ่งขณะนั้นยังเป็นมกุฎราชกุมารกับทหารบก โดย ร.6 ยืนยันให้ ร.5 ลงโทษด้วยการเฆี่ยนซึ่งทหารบกมองว่า เป็นการทำโทษที่ล้าหลัง แม้ว่า ยังมีโทษนี้ตามกฎหมายอยู่ สอง การตั้งกรมทหารรักษาวัง ซึ่งขึ้นกับกระทรวงวัง ไม่ขึ้นกับกองทัพบก 
 
สาม ทหารและประชาชนบางส่วนมองว่า รัชกาลที่ 6 มีจริยวัตรที่คนไทยยังไม่คุ้นเคย เช่น โขน ละคร เอาแต่เล่นสนุกสนานในพระราชวัง ไม่คบหาสมาคมกับเสนาบดี โปรดข้าราชสำนักเป็นพิเศษ เลื่อนยศให้ตามพระราชอัธยาศัย ต่างกับทหารที่เมื่อขอเลื่อนยศบ้าง พระองค์บอกว่าไม่ว่าง ทำไม่ได้ จึงมองว่า พระองค์ลำเอียง สี่ การตั้งกองเสือป่า เหมือนเป็นการตั้งหน่วยงานแข่งกับทหาร แม้ ร.6 จะบอกว่าตั้งขึ้นฝึกอาวุธให้คนธรรมดาเผื่อในยามสงคราม แต่พระองค์ให้ความสำคัญกับกองเสือป่ามากกว่า เสด็จกองเสือป่าทุกวัน มีการนำเสบียง-อุปกรณ์ของทหารไปใช้ โดยทหารมองว่ากองเสือป่าไม่ได้รบจริง เหมือนหน่วยงานกองกำลังส่วนพระองค์มากกว่าเพื่อช่วยราชการ และไม่ได้ช่วยปัญหาบ้านเมืองจริง 
 
เมื่อพวกเขาได้รับการศึกษารูปแบบใหม่ เห็นรูปแบบการปกครองอื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเท่านั้น ทำให้มองว่าหากทหารได้มีส่วนร่วมจะช่วยพัฒนาชาติได้ และถ้าทหารที่มีอาวุธและความรู้ในมือไม่ทำแล้วใครจะทำ โดยมีการศึกษารูปแบบการปกครองในระบอบใหม่ 2 แบบคือ limited monarchy ซึ่งกษัตริย์เป็นประมุขที่มีอำนาจจำกัดกับสาธารณรัฐ โดยต้นแบบคือ จีน ที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วสำเร็จเมื่อ 10 ต.ค. 2454 
 
อย่างไรก็ตาม หลังการประชุมของกลุ่ม ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าร่วมด้วย และนำไปรายงานว่ามีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้แกนนำถูกจับกุมในเวลาต่อมา โดยจากการค้นบ้านสมาชิก พบการรวบรวมรายงานข่าวจาก นสพ.เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวและความสำเร็จของการปฏิวัติในจีน เอกสารกฎข้อบังคับของสมาคมและบันทึกว่าด้วยความเจริญและความเสื่อมทรามของประเทศ ที่อภิปรายถึงข้อเสียของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช และข้อดีของการปกครองแบบ limited monarchy และสาธารณรัฐ 
 
หลังถูกจับกุม มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้ประหารชีวิต 3 ผู้ก่อการและจำคุก ต่อมามีการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิตและลดโทษจำคุก โดยหลังเปลี่ยนการปกครอง 2475 พวกเขาทั้งหมดพ้นโทษ หลังมีการนิรโทษกรรมในปี 2476 
 
สามัญชนได้รับการศึกษาแบบใหม่ เห็นภัยปัญหาของบ้านเมือง จึงวางแผนแต่รั่วไหลเสียก่อน ทำให้ถูกจับกุม แต่ไม่ได้ทำให้ความคิดทางการเมืองหยุดชะงัก โดยแม้จะมีการควบคุมสื่อ แต่ยิ่งคุมมาก ความคิดของคนคิดต่างก็มีมากขึ้น และเกิดการวิจารณ์อย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวนี้จึงจุดชนวนความคิดให้คนคิดถึงการเมืองรูปแบบใหม่ ที่คนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น ผนวกกับการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ได้จุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ขึ้น
 
 
 
อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : ข้อสังเกตกรณี ร.ศ. 130
 
บริบท
 
เรามักจะไม่ค่อยรู้สึกกัน เหมือนกับว่ารัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นบริหารประเทศไม่ค่อยมีปัญหา ราบรื่น แต่จริงๆ การบริหารประเทศในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็เหมือนรัฐบาลปัจจุบัน มีปัญหามากมาย เราอาจจะไม่ค่อยทราบว่าในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีปัญหาใหญ่คือปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากภัยธรรมชาติ โรคพืช ชาวนาเดือดร้อนอย่างหนักแต่รัฐบาลขาดแคลนเงิน แก้ปัญหาโดยการขึ้นภาษี อากรค่าน่าเพิ่มถึง 4 เท่า เพราะฉะนั้นชาวนาก็เดือดร้อนยิ่งกว่าเดิม
 
เมื่อชาวนาเกิดปัญหา วิกฤต รายได้ตกต่ำ ปัญหาอดอยากยากจนภัยแล้ง สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นยังไม่มีสิ่งที่เรียกว่านโยบายการเกษตร เรื่องนโยบายเป็นเรื่องเกิดหลัง 2475
 
เมื่อเกิดปัญหาก็แก้ด้วยการแจกข้าว ทำทำนบกั้นน้ำ หรือพิธีกรรม การแก้ปัญหาแบบนี้ส่วนหนึ่เงป็นไปตามแนวคิดแบบเดิม ว่ารัฐบาลพระมหากษัตริย์นั้นพระองค์ต้องประกอบพิธีบุญ เมื่อประชาชนมีภัยแล้ว พระมหากษัตริย์ก็ทำบุญหวังว่าจะช่วยปัดเป่าปัญหาบ้านเมือง ต้องเข้าใจว่าวิธีคิดในการแก้ปัญหานั้นมีความแตกต่างกัน
 
นอกจากนี้ บริบทอื่นๆ คือ พ.ศ. 2450 รัชกาลที่ 5 ประชวรหนักเสด็จไปรักษาตัวยังยุโรป พ.ศ. 2451 มีพิธีรัชมังคลาภิเษก และเรี่ยไรเงินสร้างพระบรมรูปทรงม้า เป็นประเด็นทีน่าสนใจว่า เป็นพระพุทธเจ้าหลวงโดยไม่ได้บวช ไม่ได้นิพพาน หรือตรัสรู้
 
เดือนมีนาคม 2541 เสียดินแดน 4 รัฐมลายูให้กับอังกฤษ ซึ่งจริงๆ เป็นการยกดินแดนสี่รัฐให้กับอังกฤษ โดยรัชกาลที่ 5 ทรงอธิบายว่าถ้าขืนเอาไว้ก็รักษาไว้ไม่ได้ ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้กู้เงินอังกฤษมาสี่ล้านบาท แต่ได้ตัดงบกระทรวงกลาโหม เพิ่มงบกระทรวงวัง และในปีสุดท้ายในรัชกาลของพระองค์ปี 2453 เกิดการประท้วงใหญ่ของชาวจีน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์เพราะเรื่องเลิกเงินผูกปี้ และส่งผลโดยตรงต่อนโยบายต่อต้านคนจีนจากรัชกาลที่ 6
 
เกิดเรื่องใหญ่คดีพระยาระกา คือเจ้านายสองพระองค์เกิดมีปัญหาขัดแย้งกันเรื่องนางรำ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์น้อยพระทัยลาออกจากกระทรวงยุติธรรม เสนาบยดีลาออกตามอีก 28 คน
 
เหตุการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการคิดว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์บริหารงานราบรื่นนั้นไม่จริง
 
จากนั้นเมื่อสวรรคตแล้ว ขึ้นรัชกาลใหม่ ก็ขึ้นมาด้วยความคาดหวังว่าอย่างน้อยที่สุดรัฐบาลใหม่น่าจะแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง แต่ปรากฏว่าไม่เป็นเช่นนั้น แม้ทรงมีการศึกษาสูงมากจบจากอังกฤษ คนทั่วไปก็คาดหวังว่าจะเป็นคนหัวใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการปฏิวัติในประเทศต่างๆ แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ทรงมีปัญหาในด้านพระจริยวัตร แม้ทรงครองราชย์เมื่อพระชนมายุสามสิบกว่าพรรษาแล้ว แต่ก็ทรงเป็นมหาราชย์โดยที่ไม่สนพระทัยความงามของสตรี เมื่อไม่สนพระทัยความงามของสตรีก็เป็นเรื่องใหญ่ สังคมก็นินทาไปทั่ว
 
การที่ไม่โปรดนั้นเกี่ยวข้องกับการที่มีพระราชบริพารเป็นมหาดเล็กจำนวนมาก และคนสำคัญคือนายจ่ายง หรือเฟื้อ พึ่งบุญ อายุ 21 ปี เมื่อทรงเริ่มครองราชย์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศอย่างรวดเร็วภายใน 10 ปี จากนายจ่ายง เป็นจมื่น และจากนั้นเป็นพระยาประสิทธิศุภการ และดำรงตำแหน่งเจ้าพระยารามราฆพ ได้เป็นพลเอกเมื่ออายุ 31 ปี ความสนิทสนมที่ทรงมอบแก่นายจ่ายงนั้นเป็นที่นินทา เมื่อเล่นโขนเล่นละครมักให้นายจ่ายงเป็นพระเอก
 
และบริบทสำคัญอีกประการคือกรณีการสั่งเฆี่ยนหลังทหาร ในพ.ศ. 2452 เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างทหารและมหาดเล็ก
 
โดยสรุป เมื่อรัชกาลที่หกขึ้นครองราชย์ความคาดหวังถึงความเป็นคนสมัยใหม่นั้นหมดไป เพราะมีปัญหาพระจริยวัตรหลายประการ แต่ต้องเข้าใจว่าถ้าเป็นสมัยปัจจุบัน เวลารัฐบาลบริหารไม่ถูกก็คาดหวังได้ว่า อีกสี่ปีข้างหน้าจะเลือกได้ไหม แต่ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เช่นนั้นไม่มี ฉะนั้นจึงทำให้คนหนุ่มรุ่นใหม่เห็นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ เปลี่ยนระบอบการปกครอง
 
ร.ศ. 130 นั้นจึงเกิดจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และคนที่คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ได้มีคณะเดียว หรือพูดใหม่คือมีคนคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองเยอะ แต่เป็นสมาคมลับ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก สมัยนั้นมีอั้งยี่ หรือสโมสรจีนกรุงเทพฯ ซึ่งป็นสมาคมพันธมิตรของซุนยัดเซ็น และยังมีสมาคมลับอีกอย่างน้อย 1 สมาคม คือสมาคมลับ กศร. กุหลาบ มีสมาชิกราว 40 คน เหล่านี้คือสมาคมลับที่คิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 
การหาคนเข้าร่วม สมาคมลับ รศ. 130 นั้นง่ายมาก แสดงถึงกระแสความไม่พอใจของรัฐบาลรัชกาลที่ 6 และ ร.ต. เนตร ก็คิดมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 5 แล้ว
 
 
อิทธิพลจากญี่ปุ่น 


ญี่ปุ่นมีอิทธิพลมากต่อความรับรู้ของคนรุ่นใหม่มาก คือ ญี่ปุ่นชนะสงครามรัสเซีย และเมื่อเผชิญกับตะวันตกนั้น สยามในรัชกาลที่ 5 เลือกรักษาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ญี่ปุ่นเลือกให้มีรัฐธรรมนูญ ใน ร.ศ. 130 จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นก้าวหน้ากว่าสยามมากด้วยระบบที่มีรัฐธรรมนูญ
 
ทั้งนี้แนวคิดของ ของ ร.ท. จรูญ ณ บางช้าง  อธิบายถึงแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่า
“การที่ให้กษัตริย์เป็นผู้กครองโดยมีอำนาจอยู่เหนือกฎหมายนั้น เอื้อให้กษัตริย์ทำการชั่วร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดก็ทำได้”  “เราชอบพูดว่า ร.ศ. 130 เป็นกบฏทหารซึ่งไม่เชิงว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะมีนายแพทย์เข้าร่วม มีนายทหารที่จบวิชากฎหมายเป็นนายทหารพระธรรมนูญ มีองค์ประกอบที่หลากหลาย”
 
การถูกจับกุม  
กบฏ ร.ศ. 130 จบลงโดยไม่ประสบความสำเร็จเพราะ ขุนยุทธกาจกำจาย หรือ รต. แต้ม คงอยู่ มาเข้าประชุมและเสนอรายงานต่อกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทำให้คณะทั้งหมดถูกกำจัด จากนั้นรต. แต้ม คงอยู่ ได้รางวัลไปเรียนวิชาทหารที่เยอรมัน กลับมารับราชการจนเลื่อนยศเป็นกระยากำแพงรามภักดี แต่ถูกปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากนั้นได้เข้าร่วมกับกบฎบวรเดช ถูกจับกุมแล้วผูกคอตายในส้วมภายในห้องขังโดยเขียนข้อความก่อนตายว่า “You shall live, I shall die but people will recall and cry”
 
คณะผู้ก่อนการ ร.ศ. 130 ถูกจับดำเนินคดี 91 คน ถูกถอดยศและจำคุก 23 คน และจำที่คุกมหันตโทษ
 
ประเด็นสุดท้ายคือ มีลักษณะอะไรบางอย่างที่น่าสนใจว่า เสนาบดีต่างประเทศของสยามได้แถลงถึงกรณี ร.ศ. 130 ว่า สาเหตุที่รัฐบาลจับกุมกลุ่มทหารไม่ใช่เพราะความคิดที่เรียกร้อง คอนสติติวชั่นเพราะรัชกาลที่ 6 มีน้ำพระทัยกว้าง และเข้าพระทัยเรื่องเดโมเครซี แต่ที่จับกุมเพราะทหารจะใช้วิธีรุนแรงและทำร้ายพระมหากษัตริย์
 
“การแถลงแบบนี้ทำให้เห็นว่าการใส่ร้ายป้ายสีมีมาแต่สมยนั้น” ผศ. สุธาชัยกล่าว และตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า  คือกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถบอกว่ารัชกาลที่ 6 นิยมระบบเดโมเครซี แต่สยามไม่พร้อม สรุปว่าเมื่อร.ศ. 130 ชนชั้นนำ ก็บอกว่าสยามไม่พร้อม ซึ่งก็ใช้เป็นข้ออ้างว่าประชาชนไม่พร้อมมาตลอด แต่แต่ 2475เป็นต้นมาเป็นหนึ่งในคำอธิบายที่ยืนยงคงคู่ประวัติศาสตร์ 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  
 
 
 
ทำไมยังกลับไปพูดเรื่องเดิม

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มธ.
กล่าวว่า หลายประเทศเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเหตุการณ์นั้นก็จะจบไป มีเส้นแบ่งชัดเจน เช่น อินโดนีเซีย พม่า จีน สหรัฐฯ หลังปฏิวัติและตั้งรัฐบาลใหม่ จะไม่มีการกลับไปถามว่า ทำไมก่อนหน้านั้นจึงทำอย่างนั้น วิจารณ์ว่าไม่ได้เรื่อง หรือจะนำขึ้นศาล เพราะมันจบไปแล้ว มีเพียงประเทศไทยซึ่งอัศจรรย์มากที่โยงความคิดหลักโยงกลับไปต้นรัตนโกสินทร์ได้
 
ความได้เปรียบของผู้นำสยาม
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่สมัย ร.3 ที่สยามเปิดประเทศแล้ว มีการค้า มีประเด็นเรื่องอาณาเขต แต่สิ่งหนึ่งที่เข้ามาด้วยคือความคิดและเทคโนโลยีแบบใหม่ รวมๆ เรียกว่าภูมิปัญญาแบบใหม่ เข้ามาแล้ว และสังสรรค์กับความคิดเก่า ทั้งนี้ ถ้าเราชอบนิทานที่ว่า สยามไม่เคยเป็นอาณานิคม การไม่เป็นอาณานิคมนั้นก็ทำให้ภูมิปัญญา โลกทัศน์สยามเก่ากับความคิดสมัยใหม่ แลกเปลี่ยนถ่ายทอดกัน เปิดโอกาสให้ชนชั้นนำของสยามเลือกที่จะเชื่อได้ 
 
ธเนศ กล่าวว่า การรับแนวความคิดใหม่ไม่ใช่เรื่องที่ผู้นำสยามปฏิเสธ โดยเมื่อหมอบรัดเลย์เข้ามาขอเผยแพร่ศาสนาในวัดนั้น ร.4 ไม่ได้ขับไล่หรือกีดกัน แต่ได้ขอว่าหลังพูดเรื่องไบเบิลแล้วให้สอนภาษาอังกฤษให้พระด้วย ทั้งนี้ ด้วยอิทธิพลจากโลกภายนอกนี้เอง ทำให้กลุ่มเจ้านาย ในปี ร.ศ.103 เสนอให้เปลี่ยนระบอบการปกครอง โดยหากไม่เปลี่ยนรูปแบบการปกครอง สยามอาจกลายเป็นอาณานิคมได้ 
 
ขณะนั้น ชนชั้นนำก็ได้ปรับตัวและสร้างคำอธิบายใหม่เพื่อรองรับการปกครองของตัวเอง ขณะที่สามัญชนเสียเปรียบ เพราะไม่ได้ศึกษาจากตำรา เช่น เทียนวรรณ ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง และถูกเบรคว่าไม่มีความรู้พอ โดยสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ชนชั้นนำเห็นการเปลี่ยนแปลงที่อำนาจทางโลกกลายเป็นอำนาจนำแทนธรรมะ จึงมีการอธิบายการปกครองเป็นสิทธิขาดของกษัตริย์ ไม่ใช่เรื่องบารมี เป็นเรื่องหน้าที่และความเหมาะสม จนเมื่อรัชกาลที่ 6 มีการเน้นเรื่องชาติสมมติ
 
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายของฝ่ายเจ้าที่ทำให้กษัตริย์มีอำนาจมากขึ้น จนนำสู่ทางตัน ทำให้การเปลี่ยนการปกครองโดยสันติเป็นไปได้ยาก ทั้งที่หากอยู่ในสภาพสังคมเปิด แลกเปลี่ยนทางความคิด โอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงจากภายในหรือรองรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกจะทำได้ จึงเกิดคณะ ร.ศ.130 และคณะราษฎรขึ้น
 
ธเนศ ตั้งข้อสังเกตว่า หลังถูกจับกุม คณะร.ศ.130 ถูกเรียกว่าผู้ก่อการกำเริบ ไม่ใช่กบฏ โดยเหตุผลที่ฝ่ายเจ้าไม่เรียกว่าเป็นกบฏ เพราะไม่ต้องการยกฐานะให้มีบทบาทเทียบกับชนชั้นนำ นั่นคือยังเอาคติเก่ามาใช้ว่าการเปลี่ยนแปลงการเมืองเป็นของกษัตริย์ ราษฎรเป็นเพียงสิ่งที่แสดงถึงฐานะความชอบธรรมของกษัตริย์เท่านั้น และเมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยิ่งทำให้ปมเงื่อนไม่คลี่คลายมากขึ้น ทำให้ต่อมาเกิดคณะราษฎรขึ้น 
 
ธเนศ สรุปว่า ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ หนีไม่พ้นต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุดมการณ์ความคิด ซึ่งโลกทัศน์ของการเมืองแบบเก่าไม่มีความคิดของราษฎรของประชาชน เมื่อพูดไม่ได้ ก็ต่อรองไม่ได้ และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทางออกของคนที่เริ่มตื่นตัวทางการเมืองจึงต้องกบฏทั้งนั้น
 
 
หมายเหตุ
1.รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนา 
อภิปราย “100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130” ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ-สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ- ณัฐพล ใจจริง-เพ็ญพิสุทธิ์ อินทรภิรมย์-ฉลอง สุนทราวาณิชย์ จัดโดยหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงกาตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม 
2.ณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำ ราชภัฏสวนสุนันทา พูดเรื่องแนวคิดของคณะร.ศ.130 สามารถติดตามเนื้อหาการอภิปรายได้ที่ ณัฐพล ใจจริง: แนวคิดและอุดมการณ์ของขบวนการ ร.ศ.130
3.ภาพโดย เสกสรร โรจนเมธากุล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หลากทัศนะ ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2555 เวลาย่ำรุ่ง ครบรอบ 80 ปีแห่งการอภิวัฒน์

$
0
0

หลายทัศนะหลากมุมมองจากองค์กรร่วม รำลึก 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ 

5.00 น. วันนี้(24 มิ.ย.2555) ณ บริเวณหมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า มีประชาชนจากกลุ่มต่างๆเดินทางมาร่วมรำลึก 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

นอกจากคณะราษฎร ที่ 2 (ดู ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ 2 ) แล้วยังมีอีกหลายกลุ่มที่รวมกิจกรรมรำลึก เช่น กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)  กลุ่มประกายไฟการละคร กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล  กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน ( CCP ), กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพาและกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย เป็นต้น พร้อมทั้งได้มีการกล่าวรำลึกดังนี้

000 

 

ภรณ์ทิพย์ มั่นคง กลุ่มประกายไฟการละคร“

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยแล้ว นอกจากคณะราษฎรแล้ว ก็คือกบฏ ร.ศ.130 เพราะว่าไม่มีกระบวนการใด หรือว่าขบวนการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะเกิดขึ้นได้หากไม่มีจุดเริ่มต้นและก็การจัดตั้งที่ต่อเนื่องแล้วก็ยาวนานจนถึงมีการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะต้องคิดในวันนี้ก็คือ เราจะทำอย่างไรให้กระบวนการการเปลี่ยนแปลงนั้นยังอยู่ต่อไป เพราะว่าวันนี้เราอาจจะไม่ได้เป็นผู้เปลี่ยนแปลงมันด้วยตัวเราเอง แต่ว่าลูกหลานของเราในอนาคตอาจจะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราคิดว่ามันควรจะเปลี่ยนแปลงได้” ภรณ์ทิพย์ มั่นคง กลุ่มประกายไฟการละคร กล่าว 

 

พรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

“80 ปีก็ผ่านไป เราคลายๆกับว่าเหตุการณ์วันนั้นถึงวันนี้มันยังไม่ได้โตเหมือนที่คนที่ต้องการให้มันเติบโตเต็มที่ วันนี้เรายังต่อสู้กับกลุ่มอำนาจเดิมๆ วันนี้เรายังกลับมาที่จุดเริ่มต้น คลายๆกับว่าเรายังเดินไปไม่ถึงไหน วันนั้นอาจจะมีทหารจากหลายภาคส่วนมีประชาชนจากหลายกลุ่มมาร่วมกันอภิวัฒน์สยามดังอารยะประเทศ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ดังหลัก 6 ประการที่คณะราษฎรกล่าวไว้ เพื่อเป็นเจตนารมณ์ย้ำว่า เหตุการณ์วันนั้นจะนำพาสยามประเทศ ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง แต่วันนี้เรากลับพบว่า เราทุกคนที่มาร่วมงาน ที่เป็นลูกหลานของคณะราษฎร และร่วมต่อสุ้ในสิ่งที่คระราษฎรเคยต่อสู้กันมาก็คือประชาธิปไตย

วันนี้อำนาจของประชาชนก็ยังไม่ได้อยู่ที่ประชาชน วันนี้สิทธิเสรีภาพก็ยังไม่ได้อยู่ที่ประชาชน วันนี้ความเสมอภาคก็ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน วันนี้หลักนิติรัฐก็ไม่ได้อยู่ และเสียงข้างมากก็ไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่เป็นแค่การโยงใยของเหล่าอำมาตย์ เป็นแค่การโยงใยของกลุ่มผู้มีอำนาจ ผู้ไม่เคยเชื่อมั่นว่าประชาชนจะมีอำนาจการตัดสินใจได้ ผู้ไม่เคยเชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย แต่เป็นผู้ที่เชื่อมั่นในหลักความดี วันนี้ผมก็ยังไม่รู้เลยว่าความดีที่เขาหมายถึงคือดีอย่างไร หรือการเอาพวกพ้องตนเองมาปกครองประเทศหรือปล่าว”

พรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ยังกล่าวอีกว่า“สถานที่นี้ หมุดคณะราษฎรนี้ล้อมรอบไปด้วยสิ่งที่แทบจะเรียกได้ว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเลย ซึ่งเราก็จะพบว่าหมุดคณะราษฎรเองก็ตามก็ถูกรถเหยียบย่ำไปทุกวัน แต่เราก็หวังว่า 80 ปี ซึงอาจเปรียบเทียบกับอายุคนหนึ่งก็ได้ว่าจะสูงมาก ดังนั้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาธิปไตยคงเกิดขึ้นในสังคมไทยในไม่ช้านี้ด้วยน้ำมือของประชาชนเท่านั้น” 

 

บอย  กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล

“24 มิถุนา 2475 สังคมไทยถูกทำให้มันลืมเลือน มีการบิดเบือนในหลายๆเรื่อง ตอนนี้ผมเชื่อแล้วว่าพี่น้องทุกคนที่มาตรงนี้ตาสว่างกันแล้วใช่ไหมครับ จากที่ร่วมกิจกรรมกลุ่ม 24 มิถุนา เป็นกลุ่มหนึ่งที่จัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องในเรื่องการรำลึกวันชาติไทย สืบเนื่องมาจากพี่สมยศ พฤกษาเกษมสุข แต่ว่าเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ว่าขณะนี้พี่เขาก็ยังถูกคุมขังในฐานะที่เป็นนักโทษทางการเมืองนักโทษทางความคิด ซึ่งตามหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือหลักอะไรต่างๆก็ตาม พี่เขาไม่ได้มีความผิดเลย เป็นข้อบ่งชี้และยืนยันว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยการต่อสู้ของคณะราษฎรนั้นปัจจุบันยังมิได้เกิดขึ้นเลย ประเทศไทยเราอาจจะกล่าวได้ว่ายังไม่ได้รับประชาธิปไตยที่แท้จริง ระบบอำนาจต่างๆของประเทศนอกจากการเลือกตั้งแล้วไม่มีอะไรยึดโยงกับประชาชนเลย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจศาลตุลาการ แม้ปัจจุบันเรามีพรรคการเมืองที่ว่าเป็นของเรา แต่ว่าอย่างที่พี้น้องทุกคนทราบกันดีว่านักทาการเมืองของเราก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว” บอย  กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล กล่าว 

 

ทรงชัย วิมลภัตรานนท์ ประธานกลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตย

“วันที่ 24 มิถุนา 2475 นั้นคือคุณูปการและการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย และเรามีรัฐธรรมนูญฉบับแรกในวันที่ 27 มิถุนา 2475มาตราที่ 1 ความว่าอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย และในวันนั้นหลังจากพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ยืนอ่านแถลงการณ์คณะราษฎรฉบับที่ 1 แล้วก็ยังเชิญคณะ ร.ศ.130 มาเพื่อขอบคุณและยังได้กล่าวว่าหากไม่มีคณะท่านก็ไม่มีคณะเรา ซึ่งในวันนั้นมี ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ และคณะ ร.ศ.130 อีกหลายท่านมาร่วมแสดงความยินดีในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนี้ด้วย” ทรงชัย วิมลภัตรานนท์ ประธานกลุ่ม24มิถุนาประชาธิปไตย กล่าว 

 

สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล

“วันที่เราเรียกว่าเป็นวันชาติดิฉันก็อยากจะให้เราช่วยกันเน้นด้วยเพราะถือว่าเป็นวันที่ตามประวัติศาสตร์นั้นการเป็นชาติที่ทำให้มีเอกราชสมบูรณ์นั้นก็คือการที่ประชาชนมาช่วยกันร่วมสร้าง แล้วก็การทำให้สัญญาต่างๆที่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิสภาพนอกอาณาเขาที่เกี่ยวกับเรื่องของศาลได้กลับมาเป็นของประชาชนก็ด้วยผลงานของประชาชนอย่างแท้จริง ที่คณะราษฎรทำให้เราได้มีเอกราชสมบูรณ์ แต่วันนี้วันที่เราน่าจะเดินหน้าไปสู่ความยุติธรรมในระดับสากลมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้กระบวนการยุติธรรมไทยก็มีแต่ถดถอยไปยิ่งเลวร้าย ตราบใดที่อำนาจตุลาการยังไม่เป็นของประชาชนตราบนั้นก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ก็ขอให้มาร่วมสร้างกันคะ” สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล กล่าว

 

กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน ( CCP )

 

“ถ้ามีการปฏิวัติหรือว่าเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งหน้ามันคงมีแค่ 2 อุดมการณ์ให้เลือกถ้าไม่ถอยหลังเข้าสู้สมบูรณาญาสิทธิราชก็คือเดินหน้าเข้าสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ 2 ทางที่จะให้เราต้องเลือก ซึ่งพวกเราก็คงยืนหยัดซึ่งทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเราจะเลือกอะไร ฉะนั้นอยากให้พ่อแม่พี่น้องสบายใจได้ว่าในช่วงอายุของเราเราจะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จแล้วก็สืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎรเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของเราให้สมบูรณ์อย่างที่เขาต้องการมาก่อน” ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน ( CCP )กล่าว

“การที่คณะราษฎรเลือกพื้นที่ตรงนี้ในการอ่านประกาศคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครองมันมีนัยสำคัญบางประการที่หน้าสนใจมาก ก็คือว่าการที่อยู่บนลานพระบรมรูปทรงม้านี่รอบข้างจะแวดล้อมไปด้วยบรรยากาศที่อนุรักษ์นิยม แล้วก็แวดล้อมไปด้วยตึกรามด้วยอนุสาวรีย์ที่มีบรรยากาศเป็นราชาธิปไตยอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นนี่เป็นพื้นที่เล็กๆที่ประกาศเจตนารมณ์ประชาธิปไตยที่แรกของประเทศไทย ทั้งๆที่แวดล้อมไปด้วยบรรยากาศที่เป็นอนุรักษ์นิยมแบบนี้” ดิน บัวแดง กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน ( CCP )กล่าว

ดิน บัวแดง ตั้งข้อสังเกตว่า “80 ปีที่ผ่านมานี่หลังจากพื้นที่ตรงนี้ถูกละเลยเป็นเวลานานตอนนี้ก็ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง แล้วผมก็เห็นว่าก็มีคนมารำลึกเพิ่มขึ้นๆทุกปี ในส่วนของประวัติศาสตร์ก็มีการรื้อฟื้นมีการพุดถึงมากขึ้นทุกปีและผมก็หวังว่าในที่สุดแล้วประชาธิปไตยก็จะเบ่งบาน แล้วประชาธิปไตยก็จะกลืนกินพื้นที่ที่เป็นอนุรักษ์นิยมตรงนี้ให้เป็นพื้นที่ของประชาธิปไตยได้”  

 

กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา 

“ไม่อยากจะคิดเลยว่าวันหนึ่งเราต้องกลับมารำลึกวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเดิมที่ไม่สำเร็จลุล่วง ผมรู้สึกยินดีที่อย่างน้อยยังมีความอุ่นหนาฝาคั้งและก็ยังมีอุดมการณ์ที่พาพวกเรามายืนอยู่ตรงจุดนี้ร่วมกันอีกครั้ง แต่มันนานเกินไปแล้วกับเวลา 80 ปีที่ต้องก้าวลงมายังจุดเดิม ซึ่งจากจุดนี้ของให้เราในนามกลุ่มลูกชาวบ้านแล้วก็ประชาชนด้วยกันขอให้วันนี้เป็นวันที่จะเริ่มก้าวอีกครั้งหนึ่งไปสู่อนาคตที่จะไม่ต้องวนกลับมาในปีต่อๆไป ไม่ต้องวนกลับมาภายใต้อุ้งเท้าของระบอบเผด็จการ ระบอบอำมาตย์และระบอบศักดินา ขอให้ก้าวต่อไปหลังจากนี้ของพวกเราทุกคน ปีที่ 81, 82 อาจะมีการรำลึกต่อไปเรื่อยๆแต่ผมหวังว่าทางในช่วงระยะเวลาที่เราจะได้กลับมาพบกันเราจะกลับมาในฐานะของผู้ชนะ” ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา กล่าว

“วันนี้เราไม่ได้มารำลึกประชาธิปไตยครับ เพราะว่าประชาธิปไตยมันยังไม่มี อำนาจสูงสุดยังไม่ได้เป็นของราษฎรทั้งหลาย วันนี้เรามารำลึกการกระทำการอภิวัฒน์ของคณะราษฎรเมื่อปี 2475 วันนี้เราไม่ได้เอาดอกไม่มาบูชาคนขี่ม้าอีกต่อไปครับ วันนี้เราในนามคนที่หาหญ้าให้ม้าในนามของคนที่เลี้ยงม้าเรามาประกาศว่า วันนี้คนเลี้ยงม้าคนหาหญ้าให้ม้าจะเป็นใหญ่ในแผ่นดินครับ” ปกรณ์ อารีกุล กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพา กล่าว


กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย“

วันนี้ 24 มิถุนา ครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรานักศึกษาก็พุดกันว่าเรามาถึงจุดแตกหักที่ไม่อาจประณีประนอมได้อีกแล้ว ในยุคสมัยนี้นักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่งก็เรียกร้องถวายคืนพระราชอำนาจ ในขณะเดียวกันเมื่อ 2-3 ปีก่อนประชาชนก็บอกว่ายุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชน ปัจจุบันเวลาเราถกเถียงกันว่าประเทศชาติเป้นของใครนักแสดงคนหนึ่งก็บอกว่าแผ่นดินนี้เป็นของพ่อ ส่วนนักคิดนักเขียนบางคนก็บอกว่าประเทศนี้เป็นของประชาชน ต่างฝ่ายไม่สามารถประนีประนอมได้ ปัจจุบันมันก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นถ้าหากไม่มีก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงก็คือผลงานของคณะราษฎรเมื่อ 80 ปีที่แล้ว” ปราบ เลาหะโรจนพันธ์  กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย กล่าว

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรผู้บริโภคชวนบอยคอต 'แกรมมี่' ประท้วง 'จอดำ'

$
0
0

ผู้บริโภคประกาศหยุดซื้อ หยุดฟัง หยุดชม หยุดมีส่วนร่วมทุกสินค้าและธุรกิจของบริษัทแกรมมี่ พร้อมเชิญชวนผู้บริโภคร่วมเป็นผู้ฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อขอคุ้มครองก่อนฟ้องแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิพื้นฐานผู้บริโภค (จอดำ)

องค์กรผู้บริโภค สมาชิกผู้บริโภค อาสาสมัครขององค์กรผู้บริโภคทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประกาศหยุดซื้อ หยุดฟัง หยุดชม หยุดมีส่วนร่วมทุกสินค้าและธุรกิจของบริษัทแกรมมี่ นอกจากนี้พร้อมเชิญชวนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายไม่สามารถดูฟรีทีวีช่อง ๓,๕ และ ๙ ร่วมกันฟ้องต่อศาลแพ่งวันจันทร์ที่ ๒๕ ณ.ศาลแพ่งถนนรัชดาภิเษกเวลา ๑๑.๐๐ น. พร้อมชี้แจ้ง ๕ เหตุผลที่ต้องหยุดใช้สินค้าของแกรมมี่

๑.     แกรมมี่เป็นผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่ไปทำสัญญาการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโรแล้วทำให้ประชาชนครึ่งประเทศเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะในการแพร่ภาพและกระจายเสียง(ดูฟรีทีวี)ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภค
๒.    แกรมมี่ใช้เล่ห์เหลี่ยมทางธุรกิจกีดกันกันเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในการรับฟรีทีวีเพื่อให้ได้มาซึ่งการขยายฐานลูกค้าและช่องทางการจำหน่ายสินค้าของตนเอง(กล่อง)เป็นธุรกิจที่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเอง
๓.     แกรมมี่สมคบกับช่อง ๓, ๕ และ ๙ ทำธุรกิจเอาเปรียบผู้บริโภค
๔.    ทำให้ผู้บริโภคเสียหายต้องจ่ายเงินโดยไม่มีความจำเป็นมากถึง ๒,๐๐๐ ล้านบาท
๕.    เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างกับเอกชนที่ต้องการจะไปทำสัญญาการค้าในอนาคต

อาจารย์แก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการและนักกฎหมายอิสระกล่าวว่า กรณีดังกล่าว ถือว่าหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลอย่าง กสทช.ทำหน้าที่ล้มเหลวเพราะการที่ผู้ประกอบการแสดงพฤติกรรมเช่นนี้เป็นการจำกัดสิทธิการเข้าถึงสื่ออย่างทั่วถึงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๗  ทั้งในส่วนของแกรมมี่ ช่อง ๓,๕,๙ เพราะหน้าที่ของทีวีช่องหลัก หรือฟรีทีวีต้องถ่ายทอดและปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองโดยไม่ยึดตามสัญญาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นแนวทางการแก้ไขเรื่องนี้คือต้องใช้กระบวนการยุติธรรมเท่านั้น เพราะตอนนี้ความผิดได้สำเร็จแล้ว เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเช่น ฟุตบอลโลกที่กำลังจะมีขึ้น

นางสาวสารี  อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้บริโภคจำนวน ๑๑ ล้านครัวเรือนถูกละเมิดสิทธิการดูฟรีทีวี ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานแล้วหน่วยงานที่กำกับดูแลก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ ล้มเหลว ไม่มีน้ำยา ผู้บริโภคจึงต้องลุกขึ้นมาปกป้องตัวเอง องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศจึงมีมติร่วมกัน ๒ ประเด็นคือ หนึ่งหยุดสนับสนุนธุรกิจของบริษัทแกรมมี่ทุกประเภท และสองดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อขอคุ้มครองก่อนมีคำพิพากษา ให้สามารถคุ้มครองการละเมิดสิทธิผู้บริโภคครั้งสำคัญครั้งนี้ได้

ด้าน นส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าวเชิญชวนผู้บริโภคมาใช้สิทธิตอบโต้ธุรกิจที่ขาดธรรมาภิบาล จงใจสมคบกันละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยการหยุดซื้อหยุดฟังหยุดชมหยุดสนับสนุนสินค้าและบริการในเครือข่ายของแกรมมี่ทุกชนิดเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างกับธุรกิจรายอื่นๆมิให้กระทำการละเมิดสิทธิผู้บริโภคในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานเฉกเช่นที่แกรมมี่กระทำอยู่       

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รากฐานประชาธิปไตยและพื้นที่ทางการเมืองของประชาชน: ผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

$
0
0

 

 

  (เนื่องใน ‘วันชาติ’/2555)

 

 

1

เนื่องในวัน ‘ชาติ’ ‘วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง’ (24 มิถุนายน) ที่ทำให้ ‘ไพร่’ กลายเป็น ‘ประชาชน’ ที่มีโอกาสกำหนดชีวิตตนเองได้ และท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคนานัปการ เราได้สร้าง ‘โลก’ ของเราที่อาจไม่ราบเรียบ ง่ายดาย แต่ก็มีเกิดสิทธิและเสรีภาพ มากกว่าที่เราอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

และ ‘โลก’ ที่เรา ‘เท่าเทียม’ และ ‘เล่นได้’ คือ ‘โลกที่เรากำหนดเอง’ ในที่นี้ผู้เขียนจะพูดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ที่เป็น ‘พื้นที่ทางการเมืองของประชาชน’ ในฐานะประชาธิปไตยรากฐานที่ประชาชนในท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด ‘เล่น’ ในหลากหลายมิติ โดยจะให้ความสำคัญกับการเข้าไปจัดการ และเล่นผ่านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ที่เป็นปัญหาร่วมของประชาชน

โดยการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยแม้ว่าจะมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ได้ทดลองจัดตั้งสุขาภิบาล ในปี พ.ศ.2440 หน่วยการปกครองแบบใหม่ในระดับท้องถิ่น เรียกว่า ‘สุขาภิบาลกรุงเทพฯ’และในปี พ.ศ. 2448 ได้จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม ที่เป็นสุขาภิบาลในหัวเมือง รักษาความสะอาดในท้องที่ มีหน้าที่ป้องกันและรักษาความเจ็บไข้ในท้องที่บำรุงรักษาทางไปมาในท้องที่การศึกษาชั้นต้นของราษฎร และแบ่งสุขาภิบาลออกเป็นสุขาภิบาลเมืองมีกรรมการ 11 คน ส่วนสุขาภิบาลตำบลมีกรรมการ 5 คน คณะกรรมการทั้งหมดล้วนเป็นข้าราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง นายอำเภอ ครู และกำนันผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการสุขาภิบาลทำหน้าที่ทั้งด้านนิติบัญญัติและบริหาร [2]

ในเวลาต่อมารัฐบาลของคณะราษฎรมีนโยบายที่จะกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ใน พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้ผ่าน พ.ร.บ. จัดระเบียบเทศบาล ให้มีเทศบาล 3 แบบคือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล เริ่มต้นที่ยกฐานะสุขาภิบาล 35 แห่งที่มีอยู่ขึ้นเป็นเทศบาล

ในการจัดตั้งเทศบาล รัฐบาลของคณะราษฎรมุ่งหมายที่จะพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงรูปแบบเดียวคือ เทศบาล และขณะนั้นมีตำบลทั่วประเทศรวม 4,800 ตำบล รัฐบาลต้องการที่จะยกฐานะทุกตำบลให้เป็นเทศบาลเทศบาลตามกฎหมายในปี พ.ศ. 2476 แบ่งออกเป็น 2 องค์กร คือ สภาเทศบาลและคณะเทศมนตรี สภาเทศบาลทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ สมาชิกสภาเทศบาล (สท.) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนั้น เทศบาลนครมีสมาชิก 24 คน เทศบาลเมืองมีสมาชิก 18 คน และเทศบาลตำบลมีสมาชิก 12 คนนอกจากนี้ เทศบาลมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นองค์การที่มีงบประมาณทรัพย์สิน มีเจ้าหน้าที่ของตนเอง และมีอำนาจอิสระในการปฏิบัติงานในเขตท้องถิ่นนั้นตามกฎหมายรัฐบาลได้พยายามแก้ไขอุปสรรคต่าง เพื่อให้เทศบาลเจริญขึ้น โดยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายถึง 4 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2481 พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2486 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ชูวงศ์ ฉายะบุตร2539: 93) ขึ้นบังคับใช้ ซึ่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน (นันทวัฒน์บรมานันท์ 2552 : 32)

อย่างไรก็ตามตลอดเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลก็ไม่สามารถที่จะเปิดเทศบาลได้เกินกว่า 117 แห่ง เหตุผลที่สำคัญคือเทศบาลมีบทบาทจำกัดและขยายตัวช้า มีงบประมาณที่จำกัด อำนาจที่จำกัด และการปกครองท้องถิ่นระบบเทศบาลไม่เหมาะสมกับสังคมที่ประชาชนขาดความรู้และความสนใจในเรื่องการปกครองท้องถิ่น(ธเนศวร์เจริญเมือง 2550 ,2539: 92-93)รัฐบาลจึงได้กลับมากระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นในแบบสุขาภิบาลอีกครั้ง แต่การเปิดสุขาภิบาลทำได้เฉพาะในตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ส่วนตำบลที่ห่างออกไป การปกครองแบบสุขาภิบาลไม่สะดวก รัฐบาลจึงได้เพิ่มวิธีการต่อไปอีก 2 แบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้พิจารณาเห็นว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยมีอยู่เพียงในเขตเมืองและกึ่งเมือง (เทศบาลและสุขาภิบาล) การที่ “ประชาชนอยู่กันกระจัดกระจาย (ในเขตชนบท) รายได้มีน้อยไม่เป็นการเพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาลหรือสุขาภิบาล ส่วนท้องถิ่นที่อยู่นอกเขตการปกครองท้องถิ่นรูปเทศบาล สุขาภิบาล ทางราชการก็มิได้ทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลย หากแต่จัดให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การปกครองท้องถิ่น รูปองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกห่างจากจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค” (ธเนศวร์ เจริญเมือง 2550 : 94) เพื่อเป็นเป็นตัวเร่งให้ท้องถิ่นพัฒนาขึ้นเพื่อยกฐานะท้องถิ่นที่เจริญให้เป็นเทศบาลให้มากขึ้น จึงมีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495

ตาม พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 หลักเกณฑ์ของท้องถิ่นจะเป็นสุขาภิบาลมีดังนี้ (1) ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลได้เลย (2) ชุมชนที่มีการค้าอย่างน้อย 100 ห้อง มีราษฎรอย่างน้อย 1500 คน และพื้นที่ของเขตสุขาภิบาลมีขนาด 1-4 ตารางกิโลเมตร

ส่วนกรรมการบริหารสุขาภิบาลประกอบด้วยบุคคลถึง 3 ประเภท คือ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการโดยการแต่งตั้ง และกรรมการที่ประชาชนเลือกตั้ง ให้นายอำเภอในท้องที่นั้นเป็นประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล และให้ปลัดอำเภอคนหนึ่งเป็นปลัดสุขาภิบาล

ในปี พ.ศ. 2498 จึงได้ออก พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด จัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในท้องที่ที่มีความเจริญรองลงไปจากท้องที่ที่เป็นเทศบาลหรือสุขาภิบาลจัดให้อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การปกครองท้องถิ่นในรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากจังหวัดมีหน้าที่ที่กฎหมายเรียกว่า ‘กิจการส่วนจังหวัด’ ที่จะต้องรับผิดชอบปฏิบัติ (ชูวงศ์ฉายะบุตร 2539: 96)

ในปี พ.ศ. 2499 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2499 ขึ้นใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดเพิ่มการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นอีกรูปแบบหนึ่ง  เกิดการปกครองในรูปแบบ ‘สภาตำบล’ โดยมีแนวคิดมาจากการที่การปกครองท้องที่ตำบล หมู่บ้าน ยังไม่มีลักษณะเป็นชุมชนที่มีความเจริญพอจะยกระดับขึ้นเป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลหรือสุขาภิบาลได้ (นันทวัฒน์บรมานันท์2552 : 56)  สภาตำบลจึงเปรียบเสมือนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีโอกาสร่วมฝึกปฏิบัติการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น

อบต. แบ่งองค์ออกเป็น 2 ส่วนคือ สภาตำบล ประกอบด้วยกำนันและผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง มีสมาชิกที่ราษฎรแต่ละหมู่บ้านเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน สภาตำบลทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ คณะกรรมการ ให้กำนันในตำบลนั้นเป็นประธานโดยตำแหน่ง แพทย์ประจำตำบลและผู้ใหญ่บ้านเป็นกรรมการ ครูและผู้ทรงคุณวุฒิที่นายอำเภอแต่งตั้งไม่เกิน 5 คน ทั้งหมดนี้อยู่ในวาระ 5 ปี (ชูวงศ์ 2539: 95)

ใน พ.ศ.2537 รัฐบาลภายใต้การนำของ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก. ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538  โดยเหตุผลหลักในการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้เนื่องมาจากสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 326 ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่สามารถบริหารและดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฉบับปี 2537 มีสาระสำคัญคือ มีการแบ่งตำบลออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกคือสภาตำบลที่มีอยู่ในทุกตำบลประกอบด้วยสมาชิกคือกำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน ส่วนเลขานุการได้แก่ข้าราชการที่ทำงานในตำบลนั้นแต่งตั้งโดยนายอำเภอ ส่วนประเภทที่สองคือ สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน 3 ปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1.5 แสนบาท ให้ตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ในประเภทที่สองนี้มีการแบ่งงานเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายนิติบัญญัติเรียกว่าสภาองค์การบริหารส่วนตำบล (สภาองค์การฯ) กรรมการได้แก่กำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งหมู่บ้านละ 2 คน ส่วนฝ่ายบริหารเรียกว่าคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คน และสมาชิกสภาองค์การฯ 4 คน ซึ่ง 6 คนนี้มาจากการเลือกตั้งของสภาองค์การฯ (ธเนศวร์เจริญเมือง 2550 : 96-98)

แต่อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าการปกครองท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นมีลักษณะการดำเนินการที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เป็นองค์กรที่ข้าราชการคิดและจัดตั้ง ข้าราชการจึงเป็นผู้ควบคุมเทศบาลนั้น 2. ประชาชนเป็นผู้รับเอา จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจไม่สำคัญ เพราะข้าราชการเป็นผู้หยิบยื่นให้ (Devolution) โดยหวังที่จะเห็นประชาธิปไตยมีขึ้นในบ้านเมือง  การควบคุมโดยประชาชนก็เกือบจะไม่ปรากฏร่างขึ้น คงมีแต่การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลเป็นครั้งคราว นอกจากนั้นก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเทศบาล คือนายกเทศมนตรีและคณะรัฐมนตรีกับสมาชิก โดยมีพนักงานเป็นผู้รับนโยบายไปดำเนินการ (ประหยัด  หงส์ทองคำ, 2520 : 29)หรือพูดได้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นเป็นแต่เพียงการขยายอำนาจของราชการส่วนกลางเพราะว่าองค์กรที่ตั้งมานั้นข้าราชการส่วนภูมิภาคเป็นคณะกรรมการและผู้บริหาร หรือมีอำนาจทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งสิ้นหรือพูดได้ว่า “ท้องถิ่นเป็นแขนขา หรือกิ่ง แขนงของรัฐส่วนกลาง” มิได้มีเจตนาในการให้มีการกระจายอำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมีมาอย่างต่อเนื่องก่อนทศวรรษที่  2540  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจที่ผู้คนพึ่งพาระบบเศรษฐกิจนอกภาคการเกษตรมากขึ้น  เราเห็นได้จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม  ภาคการส่งออกที่ผลิตผลทางการเกษตรมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่าภาคอุตสาหกรรมเกิดคนชั้นกลางทั้งในเมืองและชนบทอย่างกว้างขวาง  ระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่สามารถสนองตอบความเปลี่ยนแปลงได้  ไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง  ทำให้มีการเรียกร้อง ‘การปกครองตนเอง’ เช่น เสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

นอกจากนี้การขับเคลื่อนของภาคประชาชน เช่น สมัชชาคนจน  สมาพันธ์เกษตรกรรายย่อยภาคเหนือ  กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชนิดต่างๆ  เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในการสะท้อนปัญหา  และหาหนทางในการแก้ไขปัญหา ทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง และมีสำนึกของความเป็นพลเมืองมากขึ้น(ประภาสปิ่นตบแต่ง :  2541 และ เสกสรรค์ประเสริฐกุล : 2552)  มีความต้องการปกครองตนเอง  จัดการแก้ไขปัญหาของตนเองในระดับท้องถิ่น  เพื่อให้คนในท้องถิ่นที่เข้าใจปัญหาเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและกำหนดทิศทางของท้องถิ่น

ทำให้ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2535 มีพรรคการเมืองถึง 5 พรรคเสนอนโยบายหาเสียงว่าจะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และมี 4 พรรคการเมืองที่เสนอนโยบายเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด สังคมไทยเกิดการตื่นตัวในนโยบายการปรับปรุงการปกครองท้องถิ่นอย่างไม่เคยมีมาก่อนแม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ แต่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่ได้ทำตามนโยบายดังกล่าว  โดยอ้างว่าประชาชนในท้องถิ่นยังไม่มีความพร้อม ขาดความรู้ความเข้าใจในการปกครองท้องถิ่นอยู่  และเพื่อเป็นการลดกระแสการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุง อบจ. ด้วยการให้นายก อบจ. มาจาก สจ. ไม่ให้ผู้ว่าฯเป็นนายก อบจ. อีกต่อไป  และเสนอร่าง พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ผ่านสภาฯในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2538

นอกจากนี้การที่ “รัฐสภาได้พิจารณาผ่านกฎหมายท้องถิ่นแก้ไขเพิ่มเติม 3 ฉบับ ได้แก่พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ฉบับที่ 3 พ.ศ.2546, พระราชบัญญัติเทศบาลฉบับที่ 12 พ.ศ. 2546,  และพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546  ทั้งสามฉบับมีผลบังคับใช้ในปลายปี พ.ศ. 2546  สาระสำคัญของกฎหมายข้างต้นคือการกำหนดให้ฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในท้องถิ่น  ทำให้ทุกตำแหน่งขององค์กรปกครองระดับท้องถิ่นในทุกระดับมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 [3]

ก่อนปี พ.ศ. 2546 การแบ่งแยกอำนาจของอบต.มีลักษณะที่เป็นระบบรัฐสภาเช่นเดียวกับโครงสร้างในระดับชาติ กล่าวคือฝ่ายบริหารมาจากการแต่งตั้งของสมาชิกสภาอบต. และสภาอบต.มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจ ฝ่ายบริหาร ในขณะที่ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจยุบสภาอบต.ได้  โครงสร้างเช่นนี้ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพของฝ่ายบริหาร ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง  ปัญหาเช่นนี้จึงทำไปสู่การเคลื่อนไหว [4]

เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างของอบต. (รวมทั้งอบจ.) ให้มีรูปแบบประธานาธิบดีในปัจจุบัน ที่มีสาระหลักแตกต่างจากระบบรัฐสภาคือ ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงไม่มีอำนาจยุบสภา และฝ่ายสภาก็ไม่มีอำนาจลงมติไว้วางใจนายกอบต.”(อภิชาตสถิตนิรามัย : 2554 ) ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการผลักดันการแก้ไขกฎหมายเทศบาลให้เทศบาลมีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เหตุผลที่ใช้ในการเคลื่อนไหวคือ หนึ่ง. โครงสร้างที่นายกเทศมนตรีมาจากมติของสภาเทศบาลทำให้นายกเทศมนตรีต้องพึ่งพาหรือต้องหาเสียงสนับสนุนข้างมากจากสภาเทศบาลฉะนั้นหากนายกเทศมนตรีไม่สามารถควบคุม-เสียงข้างมากในสภาเทศบาลได้ฝ่ายสภาเทศบาลก็สามารถโค่นนายกเทศมนตรีออกจากตำแหน่งได้ส่งผลให้ในสมัยหนึ่ง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารท้องถิ่นบ่อยครั้ง สองการเปลี่ยนแปลงนายกเทศมนตรีบ่อยครั้งก่อให้เกิดผลเสียต่อการบริหารงานในเทศบาลเพราะทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง และยากที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆเป็นรูปธรรมได้ สามโครงสร้างที่นายกเทศมนตรีมาจากมติของสภาเทศบาลเป็นโครงสร้างที่นายกเทศมนตรีต้องเอาใจสมาชิกสภาโดยให้ผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างกันในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรักษาเสียงข้างมากเอาไว้ทำให้นายกเทศมนตรีต้องคอยเอาใจสมาชิกสภาเทศบาลมากกว่าเอาใจประชาชนในส่วนของอบต.และอบจ. ก็มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการแก้กฎหมายให้ฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรง(อภิชาต สถิตนิรามัย : 2554)ทำให้การปฏิบัติงานของ อปท. ต่อเนื่องและเป็นองค์กรของประชาชนในสาระมากขึ้น  เพราะทั้งสมาชิกและผู้บริหาร อปท. ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง  ซึ่งเป็นความก้าวหน้าของ อปท. อีกขั้นหนึ่ง

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2550 ได้กระจายอำนาจให้ อปท.เพิ่มมากขึ้นโดยกำหนดให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอปท. ต้องจัดให้มีวิธีการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและในกรณีที่การกระทำของอปท. จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นในสาระสำคัญ  อปท. ต้องแจ้งข้อมูลรายละเอียดให้ประชาชนทราบก่อนกระทำการเป็นเวลาพอสมควร และในกรณีที่เห็นสมควร หรือได้รับการร้องขอจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในอปท. ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นก่อนการกระทำนั้น หรืออาจจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อตัดสินใจก็ได้  พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานในรอบปีให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อประชาชนจะได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 287) (อภิชาต สถิตนิรามัย 2554:  7-8) เป็นต้น

แม้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยจะล้มลุกคลุกคลานมาหลายครั้ง ความเปลี่ยนแปลงของสังคม  และการปรับโครงสร้างของ อปท. ในระดับต่างๆ ทำให้ อปท. เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดประชาชน  และผลการกระทำของ อปท. ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม  และทำให้ประชาชนเข้าต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับ อปท. ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง  ในที่นี้ประชาชนจึงเข้าไปกำหนดทิศทางของ อปท. ได้มากขึ้นเป็นลำดับ

2

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ. 2540  ได้ให้ความสำคัญแก่การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  (อปท.) ได้บัญญัติเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในหมวดที่ 9 ถึง 10 มาตรา  ได้ทำให้เกิดกฎหมายสำคัญหลายฉบับ เช่น  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มีการเริ่มใช้แผนในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2545ตามลำดับ โดยปัจจุบันใช้แผนฯฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551  และรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 ได้รักษาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมถึงเพิ่มบทบัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น มีการบัญญัติเรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในหมวด 14 ในมาตรา  281-290 โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินนโยบาย การบริหาร การจัดการบริหารสาธารณะ  การบริหารบุคคล  การเงินและการคลังได้

และเป็นที่มาของการออก พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 4  และฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ได้ระบุถึงบทบาทหน้าที่ขององค์บริหารส่วนตำบล (อบต.) ในมาตรา 16 พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542  ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดการบริการสาธารณะโดย อปท. มีหน้าที่ถึง 31 ด้าน  เพื่อบริการแก่ประชาชน อย่างเช่น  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง,  การจัดให้มี  และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ  และทางระบายน้ำ  คุ้มครอง ดูแล  และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม,  การส่งเสริมการท่องเที่ยว,  การกำจัดขยะมูลฝอย  สิ่งปฏิกูล  และน้ำเสีย,  การจัดการ  การบำรุงรักษา  และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้  ที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม, การดูแลรักษาที่สาธารณะ เป็นต้นจะเห็นว่า อปท. มีบทบาท  และหน้าที่อย่างกว้างขวาง  เช่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ   ดิน น้ำ  ป่า ขยะ  การท่องเที่ยว  รวมถึงสวัสดิการผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้พิการ  และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ  ซึ่งถือว่าเป็นถือว่าเป็นภาระหน้าที่ที่กว้างขวางภายใต้ข้อจำกัดในด้านงบประมาณ  และบุคคลากร 

การที่ อปท. เป็นองค์กรที่ถูกกฎหมาย  และมีอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจนทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่ชาวบ้านที่มีปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น ไม่มีที่ทำกิน  ถูกคุกคามจากคนภายนอกชุมชนเข้ามาทำลายทรัพยากรในท้องถิ่น เช่น ป่าไม้  แม่น้ำ เป็นต้น   ได้เข้ามามีบทบาทใน อปท. และใช้ อปท. เป็นเครื่องมือในการต่อรอง และปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่น  รวมถึง อปท. เป็นองค์กรที่มีงบประมาณ บุคลากร  ซึ่งในอดีตมีการใช้งบประมาณในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ประปา ท่อระบายน้ำฯลฯ แต่ปัจจุบัน อปท. ที่ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนในการบริหารได้เปลี่ยนแปลงการใช้งบนั้นอย่างสำคัญ เช่น เน้นการสร้างคุณภาพของคน  วัฒนธรรม  สวัสดิการชุมชน  การรับเรื่องราวร้องทุกข์  การสร้างอาชีพ  การเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งเป็นการขยายบทบาทหน้าที่ของ อปท. ให้กว้างและลึกมากกว่าการบริการสาธารณะ รวมถึงการให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการทำหน้าที่ของผู้บริหาร สมาชิก อปท. และคนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆสร้างตำแหน่งแห่งที่ของตนภายใต้พื้นที่ทางการเมืองใหม่นี้  ในการต่อรองขับเคลื่อนและเล่นการเมืองของชาวบ้านในหลายมิติ  เช่น เป็นตัวกลางระหว่างชาวบ้านกับรัฐสนับสนุนงบประมาณ เป็นเวทีในการขับเคลื่อนปัญหาต่างๆ ฯลฯ

ถึงแม้ว่า อปท. จะมีหน้าที่ให้บริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน  แต่ด้วย อปท. เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดประชาชน  รวมถึงผู้บริหาร และสมาชิก อปท. เป็นคนในพื้นที่  ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่ายกว่าข้าราชการส่วนกลาง  อปท. ในหลายๆพื้นที่จึงขยายขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนอย่างกว้างขวางกว่าที่กฎหมายกำหนด  ชาวบ้านจึงมี ‘ความรู้สึก’ ว่าเป็นเจ้าของ อปท.

นอกจากนี้ อปท.ยังมีจุดเด่นที่เหนือกว่าองค์กรที่เป็นทางการอื่นๆ คือ เป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดชาวบ้าน   ทำให้มีส่วนอย่างสำคัญที่ อปท. จะขับเคลื่อน และสนองตอบความต้องการของประชาชน และในหลายปีผ่านมานี้ตัวแทนที่เข้าไปมีบทบาทใน อปท. ซึ่งมีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การเลือกใช้คนของชาวบ้านและควบคุมตัวแทนเข้าไปทำงานของชาวบ้าน  มีความสลับซับซ้อนอยู่ภายใต้เงื่อนไขความสัมพันธ์ในหลายๆมิติ เช่น ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ  พวกพ้องเพื่อนฝูง  ลูกน้อง-นาย เป็นต้น การเลือกตัวแทนของชาวบ้านสามารถกำหนด และควบคุมคนเหล่านั้นได้ในระดับหนึ่ง การเข้าใจการเมืองของชาวบ้านจะเป็นการทำลายมายาคติ ที่ว่า “ชาวบ้านถูกซื้อ หรือ โง่ จน เจ็บ เลือกคนไม่เป็น” ซึ่งการเมืองของชาวบ้านในที่นี้จะเป็นเครื่องชี้วัดว่า อปท. จะสามารถพัฒนาเป็นที่พึ่งของประชาชนได้หรือไม่ในอนาคตต่อไปข้างหน้า

ความเปลี่ยนแปลงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาการเมืองในระดับประเทศเกิดวิกฤตครั้งใหญ่หลายครั้ง  และทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานของรัฐบาลส่วนกลางไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า อปท. เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น  รวมถึงสามารถสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง  ซึ่งน่าเชื่อว่า อปท. จะเป็นหน่วยงานที่สำคัญต่อไปในอนาคต  ในการขับเคลื่อนสังคมไทย  น่าสนใจว่า ประชาชนในท้องถิ่น และ อปท. จะเปลี่ยนแปลงสายใยแห่งอำนาจ และสร้างสัมพันธภาพเชิงอำนาจจากศูนย์กลางเป็นผู้กำหนดนโยบายมาเป็น ‘ท้องถิ่นเคลื่อนสังคม’

3

การปกครองส่วนท้องถิ่นมีวิวัฒนาการที่ยาวนาน  และในช่วงเวลาต่างๆก็มีความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน โดยการปกครองส่วนท้องถิ่นในเบื้องแรกเป็นการขยายอำนาจของรัฐส่วนกลางเพื่อควบคุมท้องถิ่น  ให้ท้องถิ่นบริการด้านสาธารณสุข  ความสะอาด  การเก็บขยะมูลฝอยและส่งข้าราชการมาเป็นผู้บริหาร  ต่อมาภายหลังรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติหลายฉบับเพื่อให้อำนาจท้องถิ่นมากขึ้น  กอปรกับบริบทของสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปในหลายๆด้าน  เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น  ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น  เศรษฐกิจเติบโตขยายตัวมากขึ้น  ประชาชนมีสำนึกความเป็นพลเมืองมากขึ้น ฯลฯ  นอกจากนี้จากขยายตัวของแนวคิดการเมืองภาคพลเมืองก็มีผลอย่างสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น

ซึ่งการปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองที่รัฐกลางได้กระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสิทธิตามกฎหมาย มีพื้นที่และประชากรเป็นของตนเอง ประการสำคัญองค์กรดังกล่าวจะต้องมีอิสระ (Autonomy) ในการปฏิบัติอย่างเหมาะสม  การมอบอำนาจจากส่วนกลางมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา ตัดสินใจ การตรวจสอบการทำงานและร่วมรับบริการสาธารณะต่างๆ  แม้ว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอิสระในการดำเนินงาน แต่ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลกลาง

เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ในการฝึกฝน ให้การศึกษาเกี่ยวกับการเมืองแก่ประชาชน โดยทำให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เกิดสำนึกและเห็นความสำคัญ คุ้นเคยกับการใช้สิทธิทางการเมือง หน้าที่พลเมือง อันจะนำไปสู่ความศรัทธาและความเลื่อมใสในระบอบประชาธิปไตย ดูได้จาการที่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นจะมีประชาชนมาใช้สิทธิจำนวนมาก อยู่ระหว่าง 50 – 80%เพราะว่าการดำเนินงานของท้องถิ่นส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนในหลากหลายด้าน รวมถึงการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการเมืองที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เป็นตัวแทนของประชาชน จึงสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้ดี รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งในอนาคตบทบาทของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องเปลี่ยนจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ดูเพิ่ม,วุฒิสาร ตันไชย 2547: 2)

แต่อย่างไรก็ตามการปกครองส่วนท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นเป็นการขยายอำนาจของรัฐส่วนกลาง  โดยท้องถิ่นเป็นแต่เพียง ‘ส่วนย่อย’ ‘ส่วนย่อ’ ของการบริหารส่วนภูมิภาค โดยมีการส่งข้าราชการ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอ  ปลัดอำเภอ ปลัดจังหวัด เข้ามาเป็นผู้บริหาร  เป็นการกระชับอำนาจของส่วนกลางโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมน้อยมาก

การปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น เศรษฐกิจของประเทศเติบโต  ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น  เกิดคนหลากหลายกลุ่มในสังคม  และการขยายตัวของระบบราชการจนไม่อาจสนองต่อความหลากหลายของท้องถิ่นต่างๆ นำมาสู่การแก้ไขกฎหมายของ อปท. เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง โดยจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่ร่างโดยประชาชน  ได้เพิ่มสิทธิ เสรีภาพของประชาชนให้กว้างขวางอย่างไม่เคยมีมา และได้กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น  ทำให้เกิดความตื่นตัวของประชาชนในการปกครองตนเอง

จะเห็นว่า อปท. ได้กลายเป็นพื้นที่ทางการเมืองที่ประชาชนเข้าไปช่วงใช้ และกำหนดทิศทางได้มากกว่าองค์กรอื่น ที่ผมคิดได้มีเหตุผลด้วยกัน 5 - 6 ข้อ[5] คือ

(1) อปท. สามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของคนในท้องถิ่นได้ เราจะเห็นว่า การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นของ อปท. จะสอดคล้องตามความต้องการของคนในพื้นที่ เช่น การออกข้อบัญญัติป่าชุมชน ที่กำหนดพื้นที่ การขอใช้ประโยชน์ และการลงโทษ ซึ่งจะเห็นว่าข้อบัญญัติป่าชุมชนของ อบต.แม่ทา และ อบต.ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ สามารถรักษาพื้นที่ป่า และเอื้อประโยชน์ต่อชาวบ้านในการใช้ประโยชน์จากป่า หรือพูดอีกอย่างว่า ‘ให้ชาวบ้านเป็นเจ้าของป่า’ ซึ่งไม่อาจหาได้จากกฎหมายของรัฐฉบับไหน แม้ ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ก็แท้งอย่างไม่เป็นท่า

(2) สมาชิก ผู้บริหารของ อปท.ล้วนเป็นคนในพื้นที่ หรือไม่ก็มีความผูกพันกับคนในพื้นที่อย่างแน่นแฟ้น ทำให้การทำงานต้องรับผิดชอบต่อคนในพื้นที่ทั้งวิถีชีวิต และกฎหมายก็กำหนดให้สมาชิก และผู้บริหารต้องมาจากการเลือกตั้ง ถ้าผู้บริหาร หรือสมาชิก อปท. ไม่ตอบสนองต่อปัญหา หรือความต้องการของประชาชน ในสมัยต่อไปก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา ซึ่งจากการทำวิจัยของผมใน 4 พื้นที่ มีการเลือกตั้งใหม่ 3 แห่ง(เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา) มีนายก อปท. ที่ถูกเลือกกลับเข้ามาเพียง 1 พื้นที่ 2 พื้นที่นายกฯ ไม่สามารถชนะเลือกตั้งกลับเข้ามา ส่วนสมาชิก อปท. เก่า(คนเดิม)ได้รับเลือกกลับเข้ามาเฉลี่ยแค่ 50 % ที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชนสามารถกำหนดตัว ‘ผู้เล่น’ การเมืองได้

(3) การเล่นการเมืองของชาวบ้าน ที่สามารถกำหนดผู้บริหาร และสมาชิก อปท. ผ่านการเลือกตั้ง ที่คำนึงถึงการเลือกผ่านระบบเครือญาติ  ระบบหัวคะแนน ระบบพรรคพวก(พวกพ้อง) ระบบกลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งคนๆหนึ่งอาจสังกัด ‘ระบบ’(กลุ่ม)หลายกลุ่ม ท้ายที่สุดเขา หรือเธอก็จะเลือกกลุ่ม หรือคนที่สามารถตอบสนองผลประโยชน์เฉพาะหน้า และระยะยาวของตนได้มากที่สุด ซึ่งอำมาตย์ หรือไพร่ที่กลายเป็นอำมาตย์ที่บอกว่า “ประชาชนโง่ จน เจ็บ” ขอให้มาเล่นการเมืองท้องถิ่นจะได้รู้ว่าการเมืองของชาวบ้านเป็นอย่างไร ต่อให้เป็นนายทุนที่มีเงินหลายล้านบาทคิดว่าประชาชนซื้อได้มาเล่นการเมืองท้องถิ่นก็หมดตัวไปหลายรายแล้ว 

(4) การเมืองระดับชาติไม่อาจกำหนดทิศทางการเมืองท้องถิ่นได้ เพราะการเลือกตัวแทนในระดับท้องถิ่นจะเป็นการเลือกที่สะท้อนปัญหาเฉพาะหน้า หรือประโยชน์ระยะยาวของท้องถิ่นนั้นๆ ไม่ใช่การเลือกในปัญหาเชิงโครงสร้าง หรือในเชิงอุดมการณ์ที่จะแสดงออก(เล่น)ผ่านการเมืองระดับชาติ การเลือกตั้งในสองแบบนี้จึงมีความแตกต่างทั้งในรูปแบบและเนื้อหา เช่น ที่พรรคการเมืองใหญ่ที่ส่งตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งพ่ายแพ้ในหลายสนามการเมืองท้องถิ่น เช่น การเลือกตั้งนายก อบจ.ปทุมธานี สุรินทร์ นครพนม อุบลราชธานี เทศบาลเมืองแพร่ เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลนครอุดรธานี ฯลฯ

(5) อปท. เป็นองค์กรทางการที่กึ่งทางการ คือ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย มีอำนาจตามกำหมาย แต่คนที่ ‘เล่น’ หรือกำหนดทิศทางขององค์กร คือ คนในท้องถิ่น(ชาวบ้าน) ไม่ว่ารูปแบบใด ผมยกตัวอย่างเช่น เทศบาลตำบลศรีเตี้ย ที่ผู้บริหาร สมาชิกเทศบาล มีสถานะหลายสถานะ เช่น ผู้บริหาร สมาชิกเทศบาล คือ กลุ่มผู้ยึดที่ดิน ผู้ต้องหา(555) แกนนำเกษตรกร หรือกลุ่มอื่นๆ ที่เห็นว่าการต่อสู้โดยไม่มีองค์กรของรัฐอื่นๆหนุนหลังไม่สามารถทำได้จึง ‘ยึด’ เทศบาลเพื่อเป็นองค์กรขับเคลื่อน สะท้อนปัญหา  ต่อรองกับรัฐ และแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ  ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควรในการขับเคลื่อนประเด็นปัญหา

(6) เป็น ‘พื้นที่ใหม่’ ให้ประชาชนในท้องถิ่นในการสร้างตำแหน่งแห่งที่ และกำหนดทิศทางท้องถิ่นตามที่คนในท้องถิ่นนั้นๆต้องการให้เป็น โดยเชื่อมโยงกับข้อ (2)(4) ที่มีคนกลุ่มใหม่เข้ามา ‘เล่น’ การเมืองท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งผูกขาด

เราพบว่าคนที่มาเล่นการเมืองท้องถิ่นมีความหลากหลาย ทั้งผู้นำตามประเพณี นายทุนน้อย กลุ่มอาชีพอิสระ ข้าราชการเกษียณ ฯลฯ ซึ่งแต่ละคนต้องรักษา ‘พันธะสัญญา’กับประชาชนในท้องถิ่นที่เลือกตนเข้ามาทำงาน เพื่อที่จะได้กลับเข้ามาในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งคนกลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นว่าชนบทไทยไม่ได้มีแต่เกษตรกรอย่างที่ใครๆ เข้าใจ แต่มีคนหลากหลายกลุ่มผ่านนักการเมืองท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลาย

นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงใน อปท. ยังสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงของชนบทไทยที่ไม่เหมือนในอดีตภายใต้มายาคติ ‘โง่ จน เจ็บ’ ได้อีกแล้ว ‘ชนบทไทย’ เปลี่ยนไปอย่างมากมายทั้งการประกอบอาชีพ วัฒนธรรม สำนึก ความทรงจำ ฯลฯ ประชาชนในท้องถิ่น ‘เล่นการเมือง’ เป็นมากกว่าคนในเมืองที่ตามกระแส แต่ชาวบ้าน  ‘เลือก’ ‘เล่น’ คนที่สนองประโยชน์ของตนทั้งเฉพาะหน้าและระยะยาว และหลากหลายภายใต้ความสัมพันธ์หลายหลายระบบ หรือพูดได้ว่าการเมืองผ่าน อปท. เป็น ‘การเมืองที่ยืดหยุ่น’

4

ความเปลี่ยนแปลงของชนบทไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  โดยสังคมไทยไม่ได้เป็นสังคมเกษตรกรรมอีกต่อไปแล้ว เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยรายได้หลักจากการเกษตรอย่างเดียว   แต่อาศัยรายได้จากภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น อยู่ในภาคบริการ  อุตสาหกรรม พาณิชย์ เป็นต้น 

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาภายใต้ ‘วาทกรรมการพัฒนา’  ได้ทำให้เกิดช่องว่างของชนบทกับเมืองมากขึ้น ซึ่งเมืองกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในทุกๆด้าน  ส่วนชนบทเป็นแหล่งรองรับการพัฒนาของเมือ  มีการ ‘ดูด’ ทรัพยากร เช่น ดิน น้ำ ป่า คน ฯลฯ จากชนบทสู่เมือง  ทำให้ชนบทหลุดลอยจากการพัฒนา  ที่สำคัญของการกระจายของทรัพยากรที่เมืองได้มากกว่าเมืองชายขอบหรือชนบท  รวมถึงเมืองมีแรงดึงดูดด้านแรงงานทำให้มีการอพยพผู้คนจากชนบทเข้าสู่เมืองเป็นจำนวนมาก  

ทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของการทำเกษตรกรรม และส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมามีการแย่งชิงทรัพยากรข้างต้นจากรัฐ  และกลุ่มทุน  ได้ทำให้ทรัพยากรจำนวนมากหลุดลอยจากชาวบ้าน  ชาวบ้านกลายเป็นชาวนาไร่ที่ดิน หรือมีน้อยจนไม่สามารถทำกินให้คุ้มทุนได้  รวมถึงทรัพยากร ‘ส่วนร่วม’(Common property) เช่น ป่าไม้ ได้ถูกรัฐยึดครอง และสงวนหวงห้ามไม่ให้ประชาชนได้เข้าไปเป็นเจ้าของ(ดูเพิ่มใน, อานันท์ และมิ่งสรรพ์: 2538) และเกิดปัญหาคนกับป่าเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันและมีแนวโน้มการแย่งชิงทรัพยากรในปัจจุบันยิ่งมีความรุ่นแรงเพิ่มขึ้น  เนื่องจากการขยายตัวของทุน รัฐ และประชากร 

อปท. ในหลายพื้นที่เข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการปัญหาเหล่านั้นซึ่งนำมาสู่ความเข้มแข็งของ อปท. เพราะการที่ชาวบ้านมีปัญหาร่วมกันในการเข้าถึงทรัพยากร ทำให้ อปท. กลายเป็นองค์กรกลางในการขับเคลื่อน  เคลื่อนไหวในการเรียกร้อง แก้ไขปัญหาให้แก่ชาวบ้าน  และทำให้ อปท. เข้มแข็งตามไปด้วย เพราะปัญหาทรัพยากรเป็น ‘ปัญหาร่วม’ ของชาวบ้านในพื้นที่  ทำให้ อปท. และชาวบ้านเป็นเนื้อเดียวกันและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนได้อย่างกว้างขวาง

ยกตัวอย่าง เช่น เทศบาลตำบลศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ที่สมาชิก และผู้บริหารมาจากกลุ่มประชาชนที่มีปัญหาที่ดิน ได้เข้ามาบริหารเทศบาล และใช้สถานะความเป็นผู้บริหาร สมาชิกเทศบาล ในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาที่ดินของชาวบ้านในหลากหลายรูปแบบ เช่น การทำหนังสือถึงนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด  เพื่อให้แก้ไขปัญหาการได้มาของโฉนดโดยมิชอบของนายทุน หรือการชุมนุมเรียกร้องร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน การประสานงานกับภาควิชาการเพื่อสะท้อนปัญหา และเสนอให้มีการจัดทำโฉนดชุมชนในพื้นที่ ซึ่งการเคลื่อนไหวของสมาชิก และผู้บริหารเทศบาลอาศัยทั้งหมวกที่อยู่ในภาคที่เป็นทางการ(สมาชิก ผู้บริหารเทศบาล) และรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ(การชุมนุมร่วมกับเครือข่าย) ซึ่งเราจะเห็นปรากฎการณ์ที่ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่องทรัพยากร และ ฯลฯ เข้าไป ‘ยึด’ อปท. เพื่อขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหา เพราะว่าการเคลื่อนไหวในภาคประชาชน หรือในภาคที่ไม่เป็นทางการ บางครั้งไม่สนองตอบจากทางราชการหน่วยอื่นๆ และสร้างผลกระเทือนได้ไม่มากนัก การที่ ‘ยึด’ อปท.ไม่ว่ารูปแบบใดได้ และใช้ทั้งการเมืองที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในหลายพื้นที่  ซึ่งในปัจจุบันก็มีไม่น้อยที่ประชาชนเข้า ‘ยึด’ อปท. เช่น ที่ อบต.เปร็ดใน จ.ตราด อบต.แม่ทา จ.เชียงใหม่ อบต.หนามแท่ง จ.อุบลราชธานี อบต.บ่อหิน จ.ตรัง เป็นต้น

แม้ว่าท้องถิ่นในเวลานี้จะเข้มแข็งขึ้น  และก้าวหน้าอย่างไม่เคยเป็นมาแม้จะมีอุปสรรคและปัญหาในหลายด้านก็ตาม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ของอปท.  ก็พบว่ามีรูปแบบที่หลากหลายแล้วแต่บริบทของพื้นที่ โดยสามารถพบได้2 รูปแบบใหญ่ๆ  คือ

1. การจัดการโดยอาศัยอำนาจหน้าที่  บุคลากร  และงบประมาณของ อปท.  ซึ่งการจัดการในรูปแบบนี้พบว่า อปท. แก้ปัญหาได้ไม่มากนัก  ส่วนใหญ่อยู่ในฐานะตัวกลาง  คือ ผู้ไกล่เกลี่ย  หรือไม่ก็ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา  ทำให้การจัดการไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก  แต่การจัดการโดย อปท.  ที่พบว่ามีประสิทธิภาพพอสมควร  คือ  การเก็บภาษีที่ดินในท้องที่  พบว่า อปท.  สามารถจัดการภารกิจนี้ได้ดีพอสมควร

2. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชาวบ้าน  หรือภาคประชาชน  โดย อปท. มีบทบาทในฐานะผู้ให้การสนับสนุน  การจัดการในลักษณะนี้พบว่าประสบความสำเร็จมากไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรดิน  น้ำ  ป่า  ชาวบ้าน หรือภาคประชาชนจัดการได้เป็นอย่างดี ไม่ว่ากรณีป่าทุ่งยาว  ป่าศิลาแลง  กลุ่มฮักเมือน่าน เป็นต้น  แม้ว่าการจัดการโดยประชาชนในที่นี้ อปท. ก็มีบทมากขึ้นเรื่อยๆ  แม้ว่าจะอาศัยความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการก็ตามที

อย่างไรก็ตามเราจะพบว่าการเข้าไปจัดการแก้ไขทรัพยากรธรรมชาติของ อปท.  ปัจจุบันพบว่ามีน้อย อปท. ที่เข้าไปมีส่วน แต่พบว่าการที่ อปท. เข้าไปแก้ไขปัญหาสามารถแก้ไขปัญหา และสร้างผลกระเทือนต่อปัญหานั้นๆ มาก เพราะ อปท. เป็นองค์กรที่เป็นทางการ ที่ขับเคลื่อนโดย ‘คนที่ไม่เป็นทางการ’ คือ ชาวบ้านในพื้นที่ที่เข้าไปเป็นสมาชิก และผู้บริหาร ที่อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงปัญหาของท้องถิ่น และที่สำคัญ ‘เขา’ และ ‘เธอ’ เหล่านั้นต้องคำนึงถึงฐานเสียง เพื่อพ้อง เครือญาติในพื้นที่ที่เลือก’เขา’ และ ‘เธอ’ เข้า และที่สำคัญถ้าไม่ต้องสนอง หรือไม่เป็นที่พอใจชาวบ้านในพื้นที่ก็พร้อมที่จะเปลี่ยน ‘ตัวผู้เล่น’ ได้ในอีก 4 ปีข้างหน้า

ในอนาคตอันใกล้นี้  อปท. ในฐานะผู้มีอำนาจโดยตรง  รวมถึงความพร้อมของงบประมาณ  บุคลากร  อปท. จะต้องเข้าไปมีส่วนอย่างสำคัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และต้องศึกษาต่อไปว่ารูปแบบการจัดการอย่างไร  จะเป็นการจัดการที่สมดุลระหว่าง อปท. รัฐ(ส่วนกลาง)  และประชาชน  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

5

จากรูปแบบข้างต้นเราจะพบว่าความสามารถในการจัดการและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ  อปท. ยังจำกัด และน้อย(จำนวน)อยู่ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการ  คือ

1. ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ  อปท.  ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยังต่ำอยู่  อปท. ไม่ค่อยให้ความสนใจในบทบาทหน้าที่นี้  ดังจะพบว่า อปท. จัดอันดับความสำคัญของภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมไว้ในอันดับท้ายสุดของภารกิจทั้งหมด  รวมถึงไม่จัดสรรงบประมาณในการจัดการด้านนี้  ถึงจะมีแต่ก็น้อยมากรวมถึงคอยแต่อาศัยหน่วยงานอื่น ทำให้ภารกิจด้านนี้ของ อปท. มีประสิทธิภาพต่ำ

2. อปท. ได้รับโอนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมาจากส่วนกลาง  ซึ่งเป็นภารกิจที่ใหญ่มาก  แต่ไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะให้ อปท.  ดำเนินการในเรื่องนี้  ทำให้ อปท. ส่วนใหญ่ไม่กล้าดำเนินการ  รวมถึงไม่แน่ใจในอำนาจหน้าที่ของตน  รวมถึงพื้นที่ที่ อปท. ต้องเข้าไปจัดการ  อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น เช่น  ป่า อยู่ในอำนาจของกรมป่าไม้  กรมอุทยานฯ  ที่ดินอยู่ในการดูแลของกรมที่ดิน กรมศาสนา  กรมธนารักษ์  การรถไฟ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่มีกฎหมายเฉพาะของแต่ละหน่วยงาน  ทำให้ความไม่ชัดเจน ความไม่แน่นอน  และไม่มีกฎหมายเฉพาะทำให้ อปท. ไม่สามารถจัดการทรัพยากรข้างต้นได้(ดูรายละเอียดในการวิจัยของมิ่งสรรพ์  ขาวสะอาด และคณะ : 2555 และ กอบกุล รายะนาคร : 2555 ที่ชี้ให้เห็นอุปสรรคและปัญหาของ อปท. อย่างมหาศาล แต่ อปท. ก็มีนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายในการจัดการแก้ไขปัญหา ชี้ให้เห็นว่าการกระจายอำนาจสามารถสร้าง ‘สุข’ ‘พื้นที่’ ‘การมีส่วนร่วมของประชาชน’ ได้อย่างมาก)

3. อปท.ขาดงบประมาณ  หรือมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดการภารกิจนี้  การถ่ายโอนภารกิจให้ อปท.  หลายด้านแต่ไม่ถ่ายโอนงบประมาณมาให้  งบประมาณส่วนใหญ่ยังอยู่ในหน่วยงานส่วนกลาง  ทำให้การแก้ปัญหาล่าช้า หรือไม่มีศักยภาพในการจัดการ (ดู, ดิเรกปัทมสิริวัฒน์: 2553) เช่น  การจัดการย้าย หรือปรับภูมิทัศน์ชุมชนแออัด  ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่  ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากและอาศัยความร่วมมือของหลายหน่วยงาน  ทำให้ปัญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณะไม่สามารถดำเนินการได้เป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน

4. บุคลากรของ อปท. มีจำนวนน้อย  และยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในภารกิจ  อปท. ส่วนใหญ่ยกเว้นเทศบาลเมือง  และเทศบาลนครเท่านั้นที่มีผู้ที่จบมาด้านสิ่งแวดล้อม หรือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  แต่หน่วยงานในระดับ อบต. หรือเทศบาลตำบล  ไม่มีผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยตรง แม้แต่เจ้าหน้าที่เกษตรที่มีความจำเป็นในพื้นที่ อปท. ที่ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรอยู่ก็ไม่มี ทำให้การจัดการไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  รวมถึงสมาชิก อบต. สมาชิกสภาเทศบาล  หรือผู้บริหารหน่วยงาน อปท. ระดับต่างๆ ให้ความสนใจน้อยทำให้ภารกิจด้านนี้ยังถูกละเลยในหลายพื้นที่

5. ประชาชนในพื้นที่ไม่เข้าใจบทบาท  หน้าที่  และอำนาจของ อปท. ในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทำให้ประชาชนในบางท้องที่ไม่ให้ความร่วมมือ   หรือบางครั้งเกิดจากทัศนคติที่ว่า อปท. ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสีย  การบุกรุกป่า  การรุกที่สาธารณะได้อย่างแท้จริง   ทำให้ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ  เป็นต้น

6. การที่ผู้บริหารของ อปท. มาจากการเลือกตั้งต้องคำนึงถึงฐานคะแนนเสียงที่เลือกเข้ามา  หรือการสมัครรับเลือกตั้งในครั้งต่อไป  ทำให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีผู้ได้ประโยชน์  และผู้เสียประโยชน์  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้ง  ทำให้ผู้บริหารและสมาชิก อปท. ไม่ดำเนินการจัดการหรือแก้ปัญหาด้านนี้อย่างจริงจังและมีปัญหาความทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวมและผลประโยชน์ส่วนตน

7. ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายของผู้บริหาร อปท. แต่ละชุด  บางชุดความสนใจในปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  บางชุดขาดความสนใจ (โชติมา เพชรเอม, 2550 : 67) ทำให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ต่อเนื่อง  ท้ายสุดทำให้การแก้ปัญหาไม่เป็นไปอย่างยั่งยืน

จากปัญหาข้างต้นจึงทำให้  อปท. ยังไม่สามารถจัดการดูแลรักษา  อนุรักษ์ และแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิภาพได้เต็มที่  ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขต่อไปเพื่อให้เกิดผลสำเร็จสูงสุด เพราะ อปท. แต่ละพื้นที่อยู่ใกล้ปัญหา  และเป็นที่คาดหวังของประชาชนในท้องถิ่นรวมถึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย(แม้ในขณะนี้จะยังไม่ชัดเจนต้องมีการปรับปรุงต่อไป)  งบประมาณ  และบุคลากร  ที่มีความพร้อมมากกว่าภาคประชาชน  ถ้าสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างชาวบ้านและ อปท. ได้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็น่าจะเป็นภารกิจหนึ่งที่ อปท. สามารถทำได้ดีในอนาคตอันใกล้นี้  แนวทางที่สามารถทำให้ อปท. เกิดความเข้มแข็ง  และเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  คือ

1. ต้องมีการแก้กฎหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานของ อปท.  รวมถึงการออกกฎหมายเฉพาะที่ระบุอำนาจหน้าที่ของ อปท. เพื่อให้การดำเนินการของ อปท. ชอบด้วยกฎหมาย  นอกจากนี้ต้องมีการแก้กฎหมายของกระทรวง  ทบวง กรมต่างๆ  ที่ซ้อนทับกันอยู่ว่าหน่วยงานใดรับผิดชอบด้านไหน  อปท. อยู่ในสถานะอะไรตามกฎหมายนั้นๆ ซึ่งจะทำให้ อปท. เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน  และดำเนินการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ(ดูรายละเอียดในการวิจัยของมิ่งสรรพ์  ขาวสะอาด และคณะ : 2555 และ กอบกุล รายะนาคร : 2555) กฎหมายที่เป็นอุปสรรค เช่น พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติพ.ศ. 2504 พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475  พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 ฯลฯซึ่งกฎหมายเฉพาะเหล่านี้ส่วนใหญ่ อปท. ไม่ได้ระบุอำนาจหน้าที่ของ อปท. ไว้ ซึ่งก็หมายความว่าไม่ระบุก็ทำไม่ได้

2. หน่วยงานของรัฐส่วนกลางจะต้องถ่ายโอนงบประมาณด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาให้ อปท. มิใช่ถ่ายโอนแต่ภารกิจแต่ไม่ให้งบประมาณ  การถ่ายโอนงบประมาณมาสู่ อปท. จะทำให้ อปท. เกิดความคล่องตัวในการจัดการมากขึ้น

3. ใน อปท. แต่ละแห่งต้องบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่สามารถทำได้อย่างน้อยขอให้มีบุคลากรด้านการเกษตร เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องตามหลักวิชาการ  และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

4. อปท. ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มากกว่านี้  มิใช่ถือว่าเป็นภารกิจสุดท้ายเช่นปัจจุบัน  เพราะปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากในอนาคต

5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ อปท. ต้องแสวงหาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ  และที่สำคัญ คือ ภาคประชาชน  เพื่อให้การจัดการด้านนี้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  รวมถึงเรียนรู้การจัดการภาคประชาชนในการอนุรักษ์ดิน  น้ำป่า  ที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

6. อปท. ต้องจัดการรณรงค์ประชาสัมพันธ์  และให้ความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนในท้องถิ่นเกิดความตระหนัก  และรู้คุณค่า ร่วมกันอนุรักษ์  และรักษาให้ยั่งยืนต่อไป

การจัดการและแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ อปท. ยังมีข้อจำกัดจากเงื่อนไขข้างต้น แม้ว่าจะมีอำนาจหน้าที่โดยตรง  แต่ด้วยความไม่ชัดเจนของกฎหมาย  ขาดงบประมาณ  บุคลากรน้อย  และประชาชนไม่เข้าใจ เป็นต้น แต่ก็มี อปท. หลายแห่งที่ทลายกรอบคิด และสร้างนวัตกรรมในการจัดการแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน น้ำป่า เช่น ที่ อบต.แม่ทา และ อบต.ทาเหนือ ที่ออกข้อบัญญัติป่าชุมชน ทำให้สามารถรักษาพื้นที่ป่า และกำหนดเขตที่ทำกิน เขตอนุรักษ์ ทำให้ไม่มีการรุกป่าเพิ่ม และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ หรือ อบต.บ่อหิน จังหวัดตรัง ก็ออกข้อปัญญัติในการรักษาทรัพยากรชายฝั่ง ทำให้พื้นที่เกิดความอุดมสมบูรณ์ ส่วนเทศบาลศรีเตี้ย ที่มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของประชาชน  นำมาสู่ยุทธศาสตร์การต่อสู้ของประชาชนในการใช้เทศบาลเป็นเครื่องมือ(พื้นที่)ในเคลื่อนไหว  ส่วนเทศบาลม่วงน้อยค่อนข้างอยู่ในเขตเมืองจึงมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน  และการสร้างสวัสดิการชุมชน

แต่อย่างไรก็ตามยังมี อปท. บางแห่งที่ประสบผลสำเร็จ หรือเข้าไปมีส่วนในการจัดการแก้ไขปัญหา ต้องพยายามเพิ่มบทบาทในส่วนนี้ต่อไป  และต้องเรียนรู้การจัดการจากภาคประชาชนที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว  เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการของ อปท.  เพราะปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะเป็นปัญหาสำคัญอย่างมากในอนาคต  ที่ อปท. ต้องเข้าไปมีส่วนในการจัดการ  แก้ปัญหา

แม้ว่าจะมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจะมีอุปสรรคปัญหาอยู่  แต่ด้วยเวลาเพียง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นการต่อสู้ดิ้นรนของท้องถิ่นเพื่อสร้าง ‘ตำแหน่งแห่งที่’ ของ อปท. ในการเป็นพื้นที่ทางการเมืองของประชาชนในหลากหลายรูปแบบ  ภายใต้เงื่อนไขและบริบทที่ต่างกันเพื่อสร้างพื้นที่ทางการเมืองของตน

ในที่นี้อาจสรุปได้ว่า ‘องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น’ ในรูปแบบต่างๆ เป็นประชาธิปไตยในระดับรากฐานของสังคมไทยและสมเจตนาของคณะราฎรที่ต้องการให้ประชาชนปกครองตนเอง และกระจายอำนาจให้มากที่สุด และในอนาคตอันใกล้นี้ ‘องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น’ จะเป็นพื้นที่ทางการที่ประชาชนที่สามารถ ‘เล่น’ เลือก ‘คนเล่น’ ‘เปลี่ยนคนเล่น’ และ ‘กำหนดประเด็นที่จะเล่น’ ได้ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และทำลายมายาคติที่ว่า ‘คนชนบทซื้อได้ โง่ จน เจ็บ’ เพราะคนชนบทเล่นการเมืองเป็น และสร้างพื้นที่ทางการเมืองที่ตอบสนองผลประโยชน์ทั้งระสั้นและระยะยาวของ ‘เขา’ และ ‘เธอ’ ผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้อย่างที่ ‘คนในเมือง’ ที่ตามกระแสไม่อาจเข้าใจได้ครับ

 

เอกสารอ้างอิง
กอบกุล  รายะนาคร. องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น : สถานภาพ และช่องว่างการศึกษา. เชียงใหม่ : สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ, 2554.

______. โครงการปฏิรูปกฎหมายเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและนวัตกรรมของการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.

จามะรี เชียงทอง และคณะ. ชนบทไทย : เกษตรกรระดับกลางและแรงงานไร้ที่ดิน. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

ชัยพงษ์  สำเนียง. โครงการวิจัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภาคประชาชน  และการขยายพื้นที่ทาง

การเมืองของประชาชน (รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.). 2555.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

ดิเรก   ปัทมสิริวัฒน์.  นโยบายการคลังสาธารณะ.  เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ภายใต้แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี(นสธ.)  สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2553.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2540.กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2545, พิมพ์ครั้งที่ 4.

นครินทร์เมฆไตรรัตน์. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2549.

______. รายงานผลการศึกษาความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2540)  พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549.

______.การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : วิญญูชน. พิมพ์ครั้งที่ 5, 2552.

นิธิ  เอียวศรีวงศ์. วัฒนธรรมความจน. กรุงเทพฯ : แพรว, 2541.

______. เชิงอรรถสังคมไทยในสายตานักวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2532.

______. บนหนทางสู่อนาคต : รายงานประกอบการประชุม. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536.

ประหยัด หงส์ทองคำ.การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2520.

มิ่งสรรพ์  ขาวสะอาด และคณะ. โครงการสำรวจและการศึกษาระดับพื้นที่เกี่ยวกับข้อจำกัดของการบริหารจัดการที่ดีของ อปท.. เชียงใหม่ : สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ, 2555.

อภิชาติ  สถิตนิรามัย. รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2554.

อานันท์  กาญจนพันธุ์  และมิ่งสรรพ์  ขาวสอาด. วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า : กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน.  กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย,2538



[1] ในที่นี้ผมขอขอบคุณ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล ครูผู้กรุณาในทุกวาระทุกโอกาส ศ.ดร.มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด รศ.ดร.กอบกุล รายะนาคร ที่ให้โอกาสในการทำงาน ขอบคุณชัยนุวัฒน์ ปูนคำปีน เกรียงไกร จินะโกฏิ ตรีสกุล กิตนวตระกูล ผู้ช่วยวิจัย ที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ ขอบคุณที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานในสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่ ที่ให้เวลา และโอกาสในการคิดการเขียนของผู้เขียน ที่อาจทำให้ผู้อื่นยุ่งยากอยู่บ้าง

[2] ชัยพงษ์ สำเนียง. ร่างรายงานความก้าวหน้า โครงการวิจัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภาคประชาชน แลการขยายพื้นที่ทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.). 2555.

[3] ดูรายละเอียดประวัติความเป็นมาคร่าวๆ ของอบต.ได้ใน “กำเนิดและพัฒนาการองค์การบริหารส่วนตำบล” ที่ http://thaipoliticsgovernment.org/wiki/กำเนิดและพัฒนาการองค์การบริหารส่วนตำบล

[4] (เพิ่งอ้าง)

 [5] ดูรายละเอียดเพิ่มในงานผู้เขียน, ชัยพงษ์ สำเนียง. ร่างรายงานความก้าวหน้า โครงการวิจัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภาคประชาชน แลการขยายพื้นที่ทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.). 2555.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ใบต้องแห้ง' Voice TV: 2475 ของแดง 2490 ของเหลือง

$
0
0

ถ้ามีใครไปบอก “พี่เนาว์” เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ว่า “พี่กลายเป็นพวกหนับหนุนรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ไปแล้ว รู้ตัวหรือเปล่า” พี่เนาว์คงโกรธแบบไม่เผาผี ไม่คบหากันชั่วชีวิตนี้

ทำนองเดียวกับพี่พิภพ ธงไชย, สุริยะใส กตะศิลา, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สมศักดิ์ โกศัยสุข, รสนา โตสิตระกูล, สันติสุข โสภณศิริ, หมอพลเดช ปิ่นประทีป ฯลฯ พวกที่เคยอยู่ใน “ภาคประชาสังคม” มาก่อน พวกที่เคยทำมูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่ายหมอประเวศ เครือข่าย ส.ศิวรักษ์ (ซึ่งมักทับซ้อนกัน) หรือผู้นำยุค 14 ตุลา อย่างธีรยุทธ บุญมี, จีรนันท์ พิตรปรีชา (ไม่อยากนับสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์)

คนเหล่านี้ล้วนเคยยกย่องเชิดชู อ.ปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎร และการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาทั้งสิ้น

แต่ผ่านความขัดแย้งทางการเมืองมา 6 ปี ตั้งแต่เรียกร้อง ม.7 มาจนสนับสนุนรัฐประหาร ยืนอยู่ข้างพวกที่ใช้วาทกรรม “พระราชอำนาจ” และ “ผังล้มเจ้า” ปราบปรามผู้มีความเห็นต่าง (ท่านทั้งหลายอาจไม่ได้พูดเอง แต่ยืนข้างๆ และไม่คัดค้านผู้ที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้) กระทั่งต่อต้านการแก้ไขมาตรา 112

จะทันรู้ตัวหรือไม่รู้ พวกท่านก็กลายเป็นทายาททางอุดมการณ์ของคณะรัฐประหาร 2490 ผู้ล้มล้าง อ.ปรีดีไปเสียแล้ว

ขณะที่เสื้อแดงแย่งยึดเอา 24 มิถุนายน 2475 ไปครอบครอง โดยพวกท่านไม่สามารถร้องแรกแหกปากได้ เพราะพูดอะไรออกมา ก็ไม่ตรงกับอุดมการณ์ของคณะราษฎร เช่น สนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญให้เข้ามาก้าวก่ายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือหาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบบนี้ ดวงวิญญาณ อ.ปรีดีถ้ามีจริงคงส่ายหน้าด้วยความเศร้าใจ (ส่วนเปรตบรรพบุรุษของนักการเมืองที่ให้ร้าย อ.ปรีดี ก็ร้องกรี๊ดสะใจในโรงหนัง)

มีรายเดียว ที่บังเอิ๊ญ เป็นทายาทรัฐประหารทางสายเลือดมาแต่ต้น อุตส่าห์หนีไปเป็นฝ่ายซ้ายหลายสิบปียังหนีไม่พ้น ต้องวนกลับมาย่ำรอยบรรพบุรุษตัวเอง คืออาจารย์โต้ง (ฮาไม่ออก)

ทางแยกที่เด่นชัด
24 มิถุนายน ก็ไม่ต่างจาก 6 ตุลา 2519 ที่กลายเป็นของเสื้อแดงไปแล้ว แต่ 14 ตุลา อาจจะยังก้ำกึ่งให้เสื้อเหลืองมีส่วนร่วม เพราะตอนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ธีรยุทธ บุญมี กับเพื่อนพ้องก็ยังอ้างพระราชหัตถเลขาสละราชย์ของรัชกาลที่ 7 ที่ว่า

“ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่สละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยฉะเพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”

ซึ่งต่อมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ชี้ให้เห็นว่าเป็นความมั่วนิ่มครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะพระราชหัตถเลขา ร.7 มีขึ้นในตอนที่ทรงสละราชสมบัติ ภายหลังขัดแย้งกับคณะราษฎร ซึ่ง “ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตยแต่อย่างใด แต่คือการที่ทรงพยายามต่อรองขอเพิ่มพระราชอำนาจของพระองค์เองในระดับที่คณะราษฎรไม่อาจยอมรับได้ เดิมทีเดียว ร.7 เพียงแต่ใช้การขู่สละราชย์เป็น “อาวุธ” ต่อรองเท่านั้น แต่เมื่อขู่มากๆเข้าแล้วอีกฝ่ายไม่ยอมทำตาม จึงต้องทรงสละราชย์จริงๆ อย่างไรก็ตาม ในการที่ทรงนิพนธ์พระราชหัตถเลขาสละราชย์นั้น ร.7 ทรงหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงข้อเรียกร้องรูปธรรมของพระองค์ แต่ทรงหันเข้าหาหลักการประชาธิปไตยอันสูงส่งแทน”

พระราชหัตถเลขาจึงกลายเป็น “เอกสารสำหรับใช้โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล” แต่ต่อมากลับกลายเป็น “วรรคทอง” ที่เอาไปใช้สร้างความซาบซึ้งตื้นตันเวลาจะด่าเผด็จการหรือนักการเมือง กระทั่งเอาไปสลักไว้ที่ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์หน้ารัฐสภา

จากนั้น เราก็มั่วนิ่มทำซึ้งกันมาตลอด ทั้งที่ ร.7 ไม่ได้ “เต็มใจสละอำนาจ” ซักหน่อย ท่านถูกคณะราษฎรยึดอำนาจต่างหาก

ที่พูดนี่ไม่ใช่จะประณามว่าธีรยุทธกับเพื่อนพ้องผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญเป็นพวกกษัตริย์นิยมมาแต่ต้น เพราะโดยบริบทของสังคมในปี 2516 คงไม่ค่อยจะได้แยกแยะกันซักเท่าไหร่ อะไรที่ฉวยมาต่อต้านเผด็จการได้ก็คงเอา

คือถ้าเราเอามาใช้โดยไม่รู้ปูมหลังแต่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยอันสูงส่งก็ไม่เป็นไร ซึ่งปรากฏว่าได้ใช้กันอย่างมั่วนิ่มมาตลอด เช่นที่สมศักดิ์เล่าว่าในเดือนพฤษภาคม 2543 ระหว่างงานฉลอง 100 ปีปรีดี พนมยงค์ ที่ธรรมศาสตร์ พี่เนาว์อ่านบทกวีสดุดีปรีดี โดยมีสไลด์ประกอบ หนึ่งในภาพสไลด์ก็คือข้อความ “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิม….” ที่เขียนขึ้นเพื่อต่อต้านปรีดีและคณะราษฎรนั่นเอง

มานึกย้อนดู สมัยที่ผมอยู่ในขบวนการนักศึกษาหลัง 14 ตุลา ก็เป็นพวกที่ไม่ค่อยศึกษาทฤษฎี ไม่ค่อยศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวอะไรกับเขาหรอก สมัยนั้นยังมองชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นพวกก้าวหน้าอยู่เลย ไม่ยักรู้ว่าชัยอนันต์เป็นพวกนิยมเจ้าแอนตี้คณะราษฎร อ้างว่า ร.7 พยายามสถาปนาประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่คณะราษฎรชิงลงมือทำ “รัฐประหาร” ก่อน และว่า 2475 เป็นการกระทำของ “ชนชั้นนำ” โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม

สรุปว่าชัยอนันต์ ซึ่งเขียนเรื่อง “ราชประชาสมาสัย” ไว้ตั้งแต่ 40 ปีก่อน เป็นคนที่ไม่ได้เปลี่ยนจุดยืน น่านับถือ น่านับถือ

ผมมาลำดับประวัติศาสตร์ที่ตัวเองมีส่วนร่วม ดูย้อนหลังแล้วก็ทั้งแปลกใจและไม่แปลกใจ ที่พบว่าอุดมการณ์กษัตริย์นิยมเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการเรียกร้องประชาธิปไตย 14 ตุลา และพฤษภา 35 คือเราอยู่ในส่วนของเรา ยึดมั่นอุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่ได้สนใจอุดมการณ์กษัตริย์นิยม โดยเฉพาะเมื่ออุดมการณ์นี้ ถูกใช้เป็นเครื่องมือเข่นฆ่าปราบปรามผมและเพื่อนๆ เมื่อ 6 ตุลา 2519

แต่เมื่อฟังธงชัย วินิจจะกูล วิเคราะห์ย้อนหลังว่า “ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์” เกิดขึ้นพร้อม 14 ตุลา ก็ไม่แปลกใจและเห็นด้วย การเรียกร้องประชาธิปไตยได้ทำลายอำนาจเผด็จการของกองทัพ ที่ปกครองประเทศมายาวนาน แม้กองทัพ โดยเฉพาะยุคสฤษดิ์ จะเชิดชูอุดมการณ์กษัตริย์นิยม แต่ก็ยังมีอำนาจนำในการเมืองการปกครอง จนกระทั่งกองทัพถูกโค่นไปเมื่อ 14 ตุลา 2516 แม้อุดมการณ์กษัตริย์นิยมจะถูกฝ่ายขวาจัดนำมาใช้ปราบปรามเข่นฆ่าในเหตุการณ์ 6 ตุลา พร้อมกับสถาปนาระบอบเผด็จการ "รัฐบาลหอย" แต่เมื่อเห็นว่าความสุดขั้วไปไม่รอด พวกอุดมการณ์กษัตริย์นิยมสายกลาง ก็ทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลหอย นำไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ 8 ปีของพลเอกเปรม

ซึ่งกล่าวได้ว่า 8 ปีนั้นเป็นการวางรากฐานของระบอบที่ก้ำกึ่งระหว่างประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง กับอำนาจที่แท้จริงของอำมาตย์ ซึ่งชูอุดมการณ์กษัตริย์นิยม

จากทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา อุดมการณ์กษัตริย์นิยมเติบโตเข้มแข็ง ด้านหนึ่งก็เป็นผลจากการเพิ่มโทษมาตรา 112 ของคณะปฏิรูป 6 ตุลา 2519 เรื่องน่าประหลาดใจคือ ในเวลาต่อมา แม้ความจริงเรื่อง 6 ตุลา 2519 จะได้รับการตีแผ่ แต่ก็ไม่กระทบอุดมการณ์กษัตริย์นิยมแม้แต่น้อย และแม้ในช่วงทศวรรษ 2520 นี้เองที่แวดวงวิชาการเริ่มกลับมายกย่องเชิดชู อ.ปรีดีและคณะราษฎร แต่ก็ไม่กระทบอุดมการณ์กษัตริย์นิยมเช่นกัน

เราจึงไม่ต้องแปลกใจที่เห็นคนรุ่นอายุ 40-45 (ซึ่งเริ่มเรียนหนังสือสมัยที่เรื่องราวของ 6 ตุลาถูกลบไปเรียบร้อยแล้ว มิพักต้องพูดถึงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคณะราษฎร) เติบโตมาเป็นอย่างคุณหมอตุลย์ มีส่วนน้อยคือพวกทำกิจกรรม พวกที่อยู่ในวงวิชาการ ภาคประชาสังคม ที่ชื่นชม อ.ปรีดี (เน้นว่า อ.ปรีดี ไม่ใช่คณะราษฎรทั้งหมด) แต่คนที่พูดอย่างจริงจังถึงการที่ อ.ปรีดีถูกโค่นล้มโดยอุดมการณ์กษัตริย์นิยม ก็มีจำนวนน้อยนิด

จนกระทั่งมาถึงทางแยกของอุดมการณ์ ในการขับไล่ทักษิณ ซึ่งคนในภาคประชาสังคมแห่เข้าไปร่วมกับพวกจารีตนิยม พอจนปัญญาที่จะโค่นล้มทักษิณ ผู้มาจากการเลือกตั้ง ก็หันไปอ้างอุดมการณ์กษัตริย์นิม อุดมการณ์ราชาชาตินิยม ปลุกมวลชนให้คลั่งชาติ คลั่งเจ้า ตั้งแต่ขอ ม.7 นายกพระราชทาน สนับสนุนรัฐประหาร บิดเบือนเรื่องปราสาทพระวิหาร จนกระทั่ง “ผังล้มเจ้า” ที่ใช้ประกอบการฆาตกรรมมวลชนเสื้อแดง

ถึงวันนี้ จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว พวกเขาก็กลายเป็น “ฝ่ายขวา” ไปเรียบร้อยแล้ว (โดยไม่ต้องมาเขียนบทกวีด่าฝ่ายซ้าย)

อุดมการณ์ 2475
อุดมการณ์ของคณะราษฎร เขียนไว้ชัดเจนในคำประกาศ และรัฐธรรมนูญ 2475 ฉบับแรก ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475”

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ชัดเจนตั้งแต่คำปรารภว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้”

ชัดเจนนะครับ คณะราษฎรไม่ได้ล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มี 2 สถานะคือ หนึ่ง เป็นองค์พระประมุข และสอง เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ให้เหลือแต่สถานะความเป็นองค์ประมุขแต่อย่างเดียว ไม่ต้องมีอำนาจสั่งการบริหารราชการแผ่นดินอีก ไม่ต้องใช้อำนาจที่ทำให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ ถูกวิจารณ์ ถูกต่อต้าน ถูกติฉินนินทา และลงมาอยู่ “ใต้รัฐธรรมนูญ” เช่นเดียวกับประเทศที่เป็นราชอาณาจักรที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทั้งหลายในโลก

ประเด็นนี้ที่คนรุ่นหมอตุลย์ไม่เข้าใจ เพราะการศึกษาตามหลักสูตรไม่เคยสอนให้รู้ว่า ก่อน 2475 รัชกาลที่ 7 และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เข้ามามีอำนาจบริหารราชการ ถูกวิจารณ์ถูกต่อต้านเพียงไร โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ แล้วรัฐบาลแก้ไขปัญหาไม่ได้ เพราะความเทอะทะ ไร้ประสิทธิภาพ และเหลื่อมล้ำในระบบ

คณะราษฎรอาจจะชิงสุกก่อนห่าม แต่ไม่ทราบเหมือนกันว่าถ้าปล่อยให้สุก แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

มองอีกมุมหนึ่ง คณะราษฎรต่างหากที่เทิดพระมหากษัตริย์ให้พ้นไปจากความรับผิดชอบ ให้เป็นที่เคารพยกย่องเพียงอย่างเดียว

รัฐธรรมนูญ 2475 ประกาศอุดมการณ์ประชาธิปไตย ตั้งแต่มาตรา 1 ว่า“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มาไม่เคยใช้ถ้อยคำอย่างนี้อีก

ขณะเดียวกัน มาตรา 3 ก็บัญญัติชัดเจนว่าเราจะมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข “กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่นๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์”

โดยมีมาตรา 7 กำกับไว้ว่า “การกระทำใดๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”

ก็คือนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ตามมติคณะรัฐมนตรีนั่นแหละครับ เช่นเดียวกับระบอบประชาธิปไตยแบบอังกฤษ แต่มาตรานี้ต่อมาก็หายสาบสูญไปเช่นกัน

รัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 มีการ “ปรองดอง” ระหว่าง ร.7 กับคณะราษฎร โดยเทิดพระเกียรติเป็นการ “พระราชทานรัฐธรรมนูญ” (เฉพาะคำปรารภก็เป็นถ้อยคำสดุดียาวเหยียด 4-5 ย่อหน้า) คำว่า “อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ” หายไป คำว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” หายไป มีมาตรา 3 “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” รวมถึงใช้คำว่า “พระราชอำนาจ” ในที่ต่างๆ (และเปลี่ยนจากคำว่า “กษัตริย์” เป็น “พระมหากษัตริย์”)

แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่านั่นคือการยกย่องเชิงสัญลักษณ์ เพราะคณะราษฎรก็ต้องการ “ปรองดอง” แต่สุดท้าย ฝ่ายกษัตริย์นิยมไม่ยอมปรองดองด้วย พระยามโนฯ ทำรัฐประหารเงียบ งดใช้รัฐธรรมนูญ พระยาพหลฯ ต้องทำรัฐประหารเพื่อเอารัฐธรรมนูญกลับมา แล้วก็เกิดกบฎบวรเดช พาทหารต่างจังหวัดมาตายอย่างน่าสงสาร พวกหัวโจกกบฎถูกประหารบ้าง ถูกจับเข้าคุก ส่งไปอยู่เกาะตะรุเตา แล้วก็โอดครวญว่าพวกที่ต่อต้านคณะราษฎฏรถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพ ทั้งที่พวกตัวก่อกบฎเพื่อล้มระบอบประชาธิปไตย

แต่สมัย 14 ตุลาที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน เรื่องพวกนี้ก็มั่วกันหมดนะครับ ตอนนั้นหนังสือ “เมืองนิมิตร” ของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน ก็ตีพิมพ์ใหม่เผยแพร่กันกว้างขวาง ที่จริงความคิดของท่านก็เป็นเชิงอุดมคติ แบบว่าประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุดเสมอไป พูดอีกก็ถูกอีก ในเชิงปรัชญา ในเชิงแสวงหา ไม่ผิดหรอกครับ แต่ตอนนั้นมันคือการต่อสู้ระหว่างจะเป็นประชาธิปไตยหรือกลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จะเลือกอะไรที่ก้าวหน้ากว่า

เข้าใจว่าพี่เนาว์แกคงอ่านเมืองนิมิตรและได้รับอิทธิพลความคิดเพ้อฝันอยู่เหมือนกัน

อุดมการณ์ 2490
รัฐธรรมนูญฉบับแรก 2475 สะท้อนอุดมการณ์คณะราษฎรชัดเจน เพราะร่างไว้ตั้งแต่ก่อนก่อการ ชัดเจนว่าไม่ต้องการ “ล้มเจ้า” แต่ต้องการให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เป็นประมุขสูงสุด ไม่ต้องมีอำนาจและไม่ต้องรับผิดชอบ

แต่พวกนิยมเจ้าตอนนั้นไม่พอใจ เพราะ 2475 ล้างบางอำนาจของพระบรมวงศานุวงศ์ จึงก่อกบฎบวรเดช จนถูกปราบปรามราบคาบ

หลัง ร.7 สละราชสมบัติ ก็ยิ่งชัดเจนว่าคณะราษฎรยังต้องการให้มีพระมหากษัตริย์ จึงอัญเชิญในหลวงรัชกาลที่ 8 กลับมาครองราชย์ ทั้งที่ตอนนั้น คณะราษฎรจะเปลี่ยนแปลงประเทศเป็นสาธารณรัฐก็ทำได้ เพราะปราบพวกเชื้อพระวงศ์ราบคาบไปแล้ว

แต่ความขัดแย้งระหว่าง อ.ปรีดีกับจอมพล ป.ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ อ.ปรีดีก่อตั้งเสรีไทย หันไปร่วมมือกับพวกกษัตริย์นิยม โดยให้คำมั่นว่าจะปลดปล่อยพวกที่ถูกจำคุกอยู่ออกจากคุก ซึ่งก็มาปล่อยในสมัยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ที่ อ.ปรีดีหนุนหลังในปี 2488

อ.ปรีดีไม่คาดคิดว่าพวกเขาจะแว้งกลับมาเล่นงาน เมื่อเกิดกรณีสวรรคต ที่ท่านถูกตะโกนกล่าวหาในโรงหนัง (ยิ่งกว่าผังล้มเจ้า) พวกกษัตริย์นิยม พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมมือกับทหาร นำโดยปู่และพ่ออาจารย์โต้ง ทำรัฐประหาร 2490 ฉีกรัฐธรรมนูญ 2489 ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่สุด แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับใต้ตุ่ม 2490

ซึ่งเป็นครั้งแรกที่กลับมามี “อภิรัฐมนตรี” เป็นผู้ถวายคำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญฉบับนั้นให้พระมหากษัตริย์ “เลือกตั้ง” วุฒิสมาชิก (ใช้คำแปลกดี) และให้ประธานคณะอภิรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

นี่คือการดึงพระมหากษัตริย์กลับเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ซึ่งยังคงอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2492 ฉบับถาวร เพียงเปลี่ยนจากคำว่าอภิรัฐมนตรีมาเป็นองคมนตรี โดยพระมหากษัตริย์ยังทรงแต่งตั้งวุฒิสมาชิก โดยประธานองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา (พูดให้ชัดหน่อยนะครับว่า ตอนนั้นในหลวงยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินคือ กรมขุนชัยนาทนเรนทร รังสิต ซึ่งตอนกบฎบวรเดชโดนจับติดคุกอยู่สิบกว่าปี)

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก่อปัญหาให้กับอำนาจบริหาร รัฐบาลจอมพล ป.ถูกวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรที่มีพรรคประชาธิปัตย์อยู่ครึ่งหนึ่ง ขัดแข้งขัดขาจนทำงานไม่ได้ จอมพล ป.จึงทำรัฐประหารตัวเองเมื่อปี 2494 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2495 ซี่งเอา 2475 มาผสมกับ 2492 แม้ยังมีองคมนตรี แต่ก็ตัดพระราชอำนาจแต่งตั้งวุฒิสมาชิกออกไป

กระนั้นรัฐธรรมนูญ 2492 ก็กลายเป็นแม่แบบให้รัฐธรรมนูญฉบับหลังๆ คือยังมีองคมนตรี และสร้างความคลุมเครือในการอ้าง “พระราชอำนาจ”

รัฐธรรมนูญ 2492 ยังเป็นฉบับแรกที่มีมาตรา 2 ว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ซึ่งก็ใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ จนปี 2534 จึงกำเนิดคำว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ถามว่ารัฐธรรมนูญก่อนหน้านั้นของคณะราษฎร ไม่เอาพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือ ก็ไม่ใช่นะครับ เพราะอย่างที่ยกให้เห็นแล้ว มาตรา 3 ของ 2475 ฉบับแรก “กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ” หรือ 2475 ฉบับ 10 ธันวาคม ก็บัญญัติตั้งแต่มาตรา 1 “สยามประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” มาตรา 2 “อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

แค่ 2 มาตรานี้ก็ชัดเจนแล้ว เป็นราชอาณาจักร มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้น คำว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” จึงเป็นมาตราฟุ่มเฟือยไม่จำเป็น แล้วรัฐธรรมนูญ 2534 ก็มาประดิษฐ์คำใหม่จากคำที่ไม่จำเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

ซึ่งต่อมาก็มีคนเอาไปตีความพิลึกพิกล ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เหมือนใครในโลก และกลายเป็นชื่ออันไพเราะของคณะรัฐประหาร “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

คุณเลือกข้างแล้ว
เรื่องหนึ่งที่พวกกษัตริย์นิยมชอบนำมาบิดเบือนคือ ร.7 เตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่คณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม

ความจริงคือรัฐธรรมนูญของ ร.7 เป็นเพียงการออกแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ อำนาจสูงสุดยังเป็นของพระมหากษัตริย์ แต่จะทรงตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นบริหารประเทศแทน

ตลกนะครับ 80 ปีผ่านไป ยังมีคนกลับไปเรียกร้อง “นายกพระราชทาน”

ถ้าเราดูแกนความคิดของพวกพันธมิตร ผ่านชัยอนันต์ สมุทวณิช กับปราโมทย์ นาครทรรพ จะเห็นได้ชัดเจนจากหนังสือ “ราชประชาสมาสัย” ของปราโมทย์ ที่ชัยอนันต์เขียนตอนหนึ่งว่า “อาจารย์ปราโมทย์เป็นผู้ซึ่งมีความเข้าใจการเมืองไทยอย่างลึกซึ้ง และเสนอความคิดเห็นในการปฏิรูปการเมืองโดยคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของสังคมไทย อาจารย์เห็นว่าการมีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะต้องให้ประชาชนกับพระมหากษัตริย์มีส่วนร่วมกันสร้างประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของพระมหากษัตริย์ในชีวิตการเมืองของประเทศเป็นสิ่งที่เหมาะสม โดยใช้พระราชอำนาจต่างๆ อย่างเป็นระบบตามลัทธิรัฐธรรมนูญ”

นี่คือความพยายามจะดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างชัดเจน และเป็นอุดมการณ์ 2 แนวทางที่ต่อสู้กันอยู่ขณะนี้ ระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ยึดแนวทางคณะราษฎร เทิดพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะ พ้นไปจากการต่อสู้ทางการเมือง หรือการกำหนดแนวบริหาร การพัฒนาประเทศ ทั้งปวง กับอุดมการณ์ที่เห็นว่านักการเมืองเลว ประชาชนยังโง่อยู่ ต้องดึงพระมหากษัตริย์มา “มีส่วนร่วม”

80 ปียังต่อสู้กันไม่จบ แต่ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าใครเลือกข้างไหน ไม่ว่าในอดีตจะเป็นพวกที่เคยยกย่องเชิดชู อ.ปรีดีและคณะราษฎรมาอย่างไร เมื่อถึงทางแยก พวกท่านก็เลือกแล้ว

จะปากแข็งไม่ยอมรับกันอย่างไรก็ได้ จะด่าว่านักการเมือง แกนนำ นปช.ว่าใช้คณะราษฎรเป็นเครื่องมือ ก็ตามสบาย แต่ที่แน่ๆ คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ทำให้มวลชนเสื้อแดงจำนวนมากได้รู้จักและกลับมายกย่องคณะราษฎร ขณะที่มวลชนเสื้อเหลืองของพิภพ สุริยะใส เที่ยวด่าคณะราษฎรกันอึงมี่ ว่ากำเริบเสิบสาน ชิงสุกก่อนห่าม ประชาชนไม่พร้อม ประเทศชาติเลยลำบาก เพราะนักการเมืองโกง ซื้อเสียง ฯลฯ

แน่จริงลองจัดงานชุมนุมเสื้อเหลืองและสลิ่มรำลึกคณะราษฎรดูสิครับ พวกเขาจะมายกย่องหรือมาด่า

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475": ประชาธิปไตยของประเทศนี้ยังมีปัญหา

$
0
0

นักวิชาการถก ประชาธิปไตยไทยชิงสุกก่อนห่าม หรือเป็นไปตามบริบทสังคมโลก ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ชี้การทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นป็นมรดกที่สำคัญที่สุดของคณะราษฎร ขณะปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์วิพากษ์เครือข่ายกษัตริย์ที่ปลุกเร้าความจงรักภักดีจะเป็นปัญหาต่อสถาบันเสียเอง

การอภิปราย "80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์-สุดสงวน สุธีสร-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-อภิชาต สถิตนิรามัย-มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475

จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

 

 

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ : แม้แต่ชื่อเรียกวันรัฐธรรมนูญยังมี 2 แบบ แสดงว่าประเทศนี้ยังมีปัญหา

 

 

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ระบุว่า เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เขานำเสนองานมีคนฟังอยู่สิบกว่าคน แต่ก็ไม่รู้ว่าเหตุอะไรวันนี้จึงกลายเป็นเรื่องร้อนแรง

ชิงสุกก่อนห่ามจริงหรือกระแสความเปลี่ยนแปลงสะพัดทั่วโลก

ส่วนคำถามว่าการฏิวัติ 2475 เป็นการชิงสุกก่อนห่ามหรือเปล่า จึงทำให้ทุกวันนี้ประชาธิปไตยของไทยจึงไม่สมบูรณ์ ธำรงศักดิ์ตั้งคำถามกลับว่า ประชาธิปไตยสมบูรณ์คืออะไร และอะไรคือการชิงสุกก่อนห่าม หรือจริงๆ แล้วมันเป็นความสุกอย่างเต็มที่เพียงแต่คณะราษฎรเอาไม้แยงก็หล่นลงมา

ถ้าท่านอธิบายว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม ท่านก็ต้องเริ่มต้นว่ามีความพยายามที่จะวางแผนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัย ร.5 ร.6 และร.7 มีการร่างอะไรสักอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญ มีความพยายามในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่จะสร้างแนวทางพัฒนาประชาธิปไตย

แต่อีกแนวทาง คำอธิบายจะเริ่มต้นว่าระบอบการปกครองของสยามหรือประเทศไทยขณะนั้นได้รับกระแสอิทธิพลของโลกตะวันตก ซึ่งแม้แต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็มีที่มาจากตะวันตก ผู้ปกครองของโลกตะวันตกมีการกระชับอำนาจเข้าสู่ตนเอง และสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมา ไม่ใช่ระบอบไทยๆ แต่เป็นนวัตกรรมของราชวงศ์ของโลกตะวันตก สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการหยิบเอาวิธีการโลกตะวันตก กระชับเข้าสู่ศูนย์กล่างคือ Monarch

ในขณะที่กระแสประชาธิปไตย ประชาราษฎร เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง มีสภาผู้แทนราษฎร มีผู้แทนฝ่ายบริหาร ดังกรณีเทียนวรรณ กบฏยังเติร์ก เกิดขึ้นเป็นลำดับมา การอภิวัฒน์ 2475 มันไม่ได้ลอยจากฟ้า แต่มีพัฒนาการ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการปฏิวัติ2475 ไม่ได้ลอยมาจากฟากฟ้า

แต่คำถามคือทำไมเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ไม่เติบโตมาสู่ประชาธิปไตย ถ้ากล่าวว่าเพราะคณะราษฎร ชิงอำนาจมาเพื่อสถาปนาอำนาจของตัวเอง คำกล่าวแบบนี้ ต้องถามว่าเรากล่าวโทษอดีต และการกระทำในอดีตภายใต้บริบทอดีตได้เชียวหรือ เราไม่คิดหรือว่า เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยนั้นเป็นสากล มันแพร่กระจายอยู่ในอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ระบอบการปกครองของโลกใบนี้มันพัฒนามาจากระบอบศักดินา ระบอบกษัตริย์ แล้วเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยมันได้พัดระบอบเหล่านี้ล้มระเนระนาดมาก่อนการปฏิวัติ 2475 เช่น กรณี ญี่ปุ่น เลือกที่จะมีรัฐธรรมนูญ สภา การเลือกตั้ง ในสมัยราชวงศ์เมจิ ใน จีน ซุนยัดเซ็น ล้มราชวงศ์ชิง ในสเปน ล้มราชวงศ์ลงเพื่อเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้นกระแสประชาธิปไตยมันมา ยังไงมันก็ต้องมา ไม่ช้าก็เร็วมันต้องมาถึงแผ่นดินนี้

มีคำกล่าวว่ารัฐกาลที่ 7 เตรียมการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยแล้ว คำถามคือใครมีอำนาจในบ้าน ตัวท่านหรือเมียท่าน ท่านต้องดูว่าใครเป็นผู้บัญชาการใช้เงิน ใครถือเงินไว้ ใช้เงินและลงโทษ ถ้าท่านรู้แล้วลองกลับบ้านไปบอกกับภรรยาดูว่าขอยึดอำนาจคืน ท่านก็จะรู้ได้เองว่าใครบ้างยอมสละอำนาจที่ตัวเองมี ตรรกะนั้นคือ ไม่มีใครยอมมอบอำนาจของตัวเองให้คนอื่นหรอก เว้นแต่ปรับเชิงภาพลักษณ์

ร. 7 พยายามอธิบายว่าคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม โดยอ้างว่ามีการปรึกษาหารือกับฝรั่งคนหนึ่งทำร่างเค้าโครงเบื้องต้น และทำเป็นภาษาอังกฤษ ประเด็นคือแผ่นดินนี้ใช้ภาษาไทย การใช้ภาษาอังกฤษหมายความไม่ต้องการสื่อสารกับใครแน่ๆ

จากนั้นอีกสี่ห้าปี ก็มีร่างการเปลี่ยนรูปแบบรัฐบาล เป็นภาษาอังกฤษอีก เพราะในบริบท 2475 นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ องค์ประมุข หรือกษัตริย์นั้นเป็น Head of ของทุกสิ่ง อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะดำเนินนโยบายอะไร มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ชื่นชมและไม่ชื่นชม ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวคิดว่าหากมีคนหนึ่งมารับหน้าที่แทนจะดีไหม เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการวิพากษ์วิจารณ์แทนด้วย นี่คือการคิดที่จะมี prime minister ที่รับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ต่อ parliament และเมื่อคิดถึงสภาผู้แทนราษฎร สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่มีทางคิดเรื่องสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุนี้ คณะราษฎรได้มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงอำนาจ

ดังนั้นรัฐธรรมนูญภายใต้แนวคิดของ ร. 7 นั้น กรณีมาตรา 1 ระบุว่าอำนาจสูงสุดของแผ่นดินนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ ในขณะที่มาตรา 1 รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย

เวลาที่มีคนถามว่าอะไรคือมรดกของคณะราษฎร ผมก็ตอบว่า คือการบอกว่า แผ่นดินเป็นของราษฎรทั้งหลายก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือ

การเปลี่ยนแปลงของคนกลุ่มเล็กๆ กับการตอบโต้พวกไม่มีหัวนอนปลายตีน

ส่วนคำกล่าวหาว่า เป็นการทำโดยคนกลุ่มเล็กๆ ไม่มีประชาชนเข้าร่วม คำถามคือ ถ้าเป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไป จะถูกจับไหม และการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้เป็นการต่อสู้โดยพลังประชาชนที่ยืดเยื้อยาวนาน คณะราษฎรเลือกที่จะสู้เปลี่ยนแปลงโดยใช้กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่ทำการเปลี่ยนแปลง

ธำรงศักดิ์ตั้งคำถามต่อไปว่าในวันที่มีการยึดอำนาจ อะไรที่ทำให้ร. 7 เสด็จกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ทำไมไม่สู้ทั้งๆ ที่คณะทหารและขุนนางชั้นสูงแนะนำ และหารือกันว่า ให้สู้กับพวกไม่มีหัวนอนปลายตีน โดยเขาเห็นว่าพระองค์ก็ตระหนักว่า ภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ก็ไม่ได้มีอำนาจ แต่ที่ต้องตระหนักคือพระองค์นั้นป็นเจ้าเหนือหัวของประเทศ และต้องระมัดระวังหากตัดสินใจที่ผิดพลาด โดยธำรงศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าบนทางเลือกของการเปลี่ยนแปลงขณะนั้น อาจจะมี 2 แนวทางคือ กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ กับอีกทางเลือกคือสาธารณรัฐ

ธำรงศักดิ์กล่าวต่อไปว่า แม้จะมีการพูดว่าการปฏิวัติ 2475 ไร้การนองเลือด แต่เราดูเฉพะสามสี่วันนั้นไม่ได้ ต้องดูความต่อเนื่องยาวกว่านั้น เพียงอีกไม่กี่เดือนก่อนจะครบรอบ 1 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น เกิดการปฏิวัติรัฐประหารซ้อนกัน 2 ครั้ง ครั้งแรก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยนายปรีดี พนมยงค์ ทำยึดอำนาจรัฐบาลตนเองโดยการออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา ยึดอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่นักกฎหมายเขาทำกันมาตั้งแต่อดีต คณะทหารและขุนนางชั้นสูงแนะนำ

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภา และระบุว่าให้เปิดประชุมสภาเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการยุบสภา และให้รัฐบาลมที่อยู่มาก่อนนั้นล้มลง แปลว่ายุบคณะรัฐมนตรี และระบุว่าให้พระยามโนปกรณ์ เป็นนายก และให้นายกออกกฎหมายได้ด้วยตัวเอง เป็นการรวบรัดตัดตอนเป็น monocracy

จากนั้น 81 วันต่อมาคณะราษฎรยึดอำนาจกลับในวันที่ 21 มิ.ย 2476 เป็นการต่อสู้ภายใต้ระบอบใหม่ อีกสามเดือนแผนการที่เคยวางไว้ที่หัวหินให้ปฏิบัติการโต้ตอบคณะราษฎร ก็ถูกใช้จริงโดยคณะกบฏบวรเดช คาดหัวตัวเองว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง” แต่หลวงพิบูลย์สงครามไม่ยอม ในที่สุดคณะกู้บ้านกู้เมืองแพ้ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ ข้อเรียกร้องของคณะบวรเดชทั้งหมดอยู่ตรงที่การปรับรูปแบบราชาธิปไตยภายใต้เสื้อคลุมของการมีรัฐธรรมนูญและมีสภา โดยข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าแต่งตั้งสมาชิกสภาครึ่งหนึ่ง นี่คือการต่อสู้ที่เป็นจริงว่าใครเป็นผู้นำในระบอบใหม่ และการต่อสู้ยังยืนยาวถึงปัจจุบัน

จากนั้น พ.ศ. 2482 มีการสถาปนาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้นมา เลือกสถาปนาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ต่อมา 2500 คณะราษฎรแพ้ราบเป็นหน้ากลอง วันที่ 24 มิ.ย. จึงถูกยกเลิกจากการเป็นวันชาติ จากที่เคยมีวันหยุดสามวัน 23 -25 มิ.ย. ก็ยกเลิกไป นี่แสดงให้เห็นว่า วันชาติของประเทศนี้เกิดได้ก็ตายได้

อีกตัวอย่างที่รวบรัดคือวันที่ 10 ธ.ค. กลายเป็นวันหยุดที่ประชาชนไม่รู้จะไปทำอะไร แถมยังมีชื่อที่เรียกกันสองแบบ ถ้าไปซื้อปฏิทินจีนแบบฉีกที่เยาวราช ซึ่งใช้แท่นพิมพ์เก่าไม่เคยเปลี่ยนเลยตั้งแต่ 80 ปีที่ผ่านมาจะระบุว่า วันรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นปฏิทินสมัยใหม่ จะเขียนว่าวันพระราชทานรัฐธรรมนุญ แม้แต่วันหยุดยังมีชื่อเรียกสองอย่าง แสดงว่าประเทศนี้ยังคงมีปัญหา

 

สุดสงวน สุธีสร : 2475 คือการตอกเสาเข็มให้กับประชาธิปไตย เรียกร้องสื่อเคียงข้างประชาชน

สุดสงวน สุธีสร อภิปรายว่าการเปลี่ยนแปลง 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นการตอกเสาเข็มให้กับประชาธิปไตย เป็นหลักของประเทศ แต่หลังจากนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะสื่อที่ทำให้บิดเบี้ยวไปอีกอย่าง

สมัยนั้น คนไทยมีการศึกษาน้อยมาก ถูกกีดกันไม่ให้มีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และบางครั้งก็เรียนมาจากต่างประเทศเมื่อปรับมาใช้ในไทยก็ใช้กันอย่างสับสน

ในปี 2477 อาจารย์ปรีดีเห็นว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เข้าใจในแก่นแท้ของประชาธิปไตย เพียงแต่บังคับให้เชื่อ ก็พยายามสร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นมาใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อปลูกฝังให้คนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่ใช่แค่ฟังชนชั้นปกครองบอกมาแล้วเชื่อ แต่ต้องรู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม แต่ทุกวันนี้ประชาธิปไตยกลับไปงอกงามอยู่นอกธรรมศาสตร์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไป ไม่มองเจตนาของอ.ปรีดี และอ.ป๋วย ไปยืนอยู่ตรงข้ามกับประชาชน

ทั้งนี้ สุดสงวนกล่าวว่า ประชาธิปไตยคือสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ คนที่จะเป็นผู้นำประชาธิปไตยต้องมีความกล้าหาญออกมายืนหยัดปกป้องประชาชนทุกคน ประชาชนอยากจะนอนหลับฝันดี ทำงานหนักรู้ว่าโอกาสก้าวหน้าของชีวิตเรามี ไม่ต้องไปคอร์รัปชั่น เลียเจ้านาย ตื่นมาโดยที่คนทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยต้องกินได้ ไม่ใช่กินไม่ได้ แม้จะมีการกล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นแค่หลักการ แต่ต้องยึดมั่นสิทธิมนุษยชน คือการคุ้มครองประชาชนทุกคน สิทธิมนุษยชนสำคัญที่สุด

สุดสงวนกล่าวว่าขณะนี้ประชาธิปไตยของเราไม่ได้เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่เธอมองว่าประชาธิปไตยไทยนั้นเหมือนเป็นภาพลวงตา ยิ่งถ้าดูรัฐธรรมนูญ 50 จะเห็นภาพคนที่กุมอำนาจอยู่ มีการล็อกมีห่วงโซ่ แม้แต่การจะขอแก้รัฐธรรมนูญ กฎหมายกำหนดรองรับไว้แต่ก็มีคนไปจัดเวทีต่างๆ นานา เป็นกังวลว่าขณะนี้ประชาชนคนตาดำๆ อย่างพวกเราทั้งหลาย เรากำลังถูกการเมืองทำอะไรเราหรือเปล่า เมื่อไหร่นักการเมืองจะเข้าใจและเห็นประโยชน์ของประชาชน ก้าวออกมายืนเคียงข้างประชาชน คุ้มครองประโยชน์สุขของประชาชน ไม่ใช่ว่าฉันมีอำนาจ มีอาวุธ จัดการได้ทุกอย่าง

บทบาทของสื่อมวลชนก็มีบทบาทอย่างยิ่งในการควบคุมสังคมเพราะสื่อมวลชนก็ควบคุมแนวคิดต่างๆ เมื่อไหร่สื่อมวลชนจะมีจริยธรรม จรรยาบรรณที่ถูกต้อง เอาประโยชน์หาความจริงบมาบอกกับประชาชน เพื่อให้เรามีประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ไปปกปิดสิ่งที่บางฝ่ายไปทำไม่ดีไว้

ขณะนี้คนเสื้อแดงน่าเห็นใจเพราะถูกมองเป็นโจรของแผ่นดิน (ขออนุญาตอาจารย์ชาญวิทย์ เพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้พูดในเวทีอื่น) จริงๆ แล้วสื่อควรจะถึงเวลาทำข่าวเสียทีว่าคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย และคนที่ทำหน้าที่ภารกิจใหญ่ของคณะราษฎรคือคนเสื้อแดง ทุกคนมาด้วยใจจริงๆ ทุกชนชั้น

ประชาธิปไตยของเราแปดสิบปีที่ผ่านมายังมีกลุ่มอำมาตย์ทื่คิดว่าฉลาดกว่าคนอื่น อยากจะบอกว่าคนสมัยนี้เขาเรียนหนังสือกันมาแล้ว เขาเรียนเมืองนอกกันด้วยนะ เขาอ่านภาษาอังกฤษออก เขาเรียนรู้หลักสากลของต่างชาติมาทั้งนั้น เราไม่ได้อยู่ในยุค 2475 แล้วที่คิดว่าจะอ่านภาษาอังกฤษออกฝ่ายเดียว

สรุปง่ายๆ แปดสิบปีของประชาธิปไตยขอเรียกร้องสื่อ ถ้าสื่อร่วมมือกับประชาชน ประชาธิปไตยต้องกลับคืนสู่สังคมแน่นอน

 

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: มรดกของราชาธิปไตยอยู่ได้อย่างไร

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ร่วมอภิปรายในหัวข้อ 80 ปีปฏิวัติประชาธิปไตยไทย พ.ศ. 2475 ชี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครองผ่านมา 80 ปีแต่มีอะไรหลายอย่างที่ตกค้างจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเขาขอตั้งชื่อว่า Die Hard Absolute Monarchy และเรายังเพ้อฝันว่าเรายังมีประชาธิปไตยอยู่

มรดกตกทอดฟังแล้วเหมือนดูดีแต่ การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เริ่มตั้งแต่ปี 2475 มีจุดมุ่งหมายต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีความเป็นอารยะมากขึ้น คนไทยก็มีความภูมิใจอย่างมากที่เรามีความเปลี่ยนแปลง และทุกวันนี้เราก็ยังพูดกันอยู่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราชด้วยเรามีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ แต่เหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญออกมาพูดว่าเราตีความรัฐธรรมนูญตามภาษาอังกฤษ ผมเริ่มไม่แน่ใจ แต่เอาละนี่เป็นพระปรีชาสามารถที่ไทยไม่ต้องตกเป็นอาณานิคม และมีการเลิกทาส และมีการสร้างทางรถไฟ นี่เป็นจุดพีคมากๆ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งมองกลับไปถึงช่วงนั้นจนเคารพนับถือรัชกาลที่5 จนมากล้นจนล้นเกิน ในแง่ที่เป็นจุดดี ก็ทำให้เรามีความเป็นอารยะมากขึ้นในเปลือกนอก ดูเหมือนว่าสถาบันกษัตริย์จะมีความมั่นคงอย่างมากในยุรรัชกาลที่ 5 แต่อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถสร้างหลักประกันให้ความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ หลังจากเสด็จสวรรคตไม่นานเพียง 22 ปี ถัดมาก็เกิดการล่มสลายของระบบสมบูรณาญาสิทธาชย์ และในรัชสมัยต่อมาในร. 6 และ ร.7 ก็ชี้ว่า เป็นความไม่สามารถของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นในการปรับต่อต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ

ปวินกล่าวว่า แปดสิบปีถัดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกแล้ว เป็นจุดที่ critical มากๆ และภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนั้นสถาบันกษัตริย์จะสามารถปรับตัวให้กับการเปลี่ยนในยุคนี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่ ก็จะเป็นแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่เจ็ด

บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในการคลายปมการเมืองปัจจุบัน และสิ่งที่เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่หล่อหลอมการเมืองไทยอยู่ในปัจจุบัน มีผลกระทบครอบงำการเมืองไทยอย่างยิ่งยวด และอาจจะถึงจุดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนปาระชาธิปไตยของไทยและตอกย้ำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองและนำไปสู่ความรุนแรงมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตัวอย่าง การก้าวขึ้นของทักษิณ ชินวัตร ก็ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม จะว่าคอร์รัปชั่นก็แล้วแต่ แต่นักการเมืองคนไหนไม่คอร์รัปชั่นบ้าง ทักษิณกินแล้วยังคายบ้าง แต่บางคนกินแล้วไม่คาย

ทักษิณกลายเป็นภัยของฝ่ายอนุรักษ์นิยม และในการกำจัดทักษิณนั้น หนึ่งในข้อกล่าวหาคือไม่จงรักภักดีและประสบความสำเร็จอย่างดี และปัจจุบันนนี้ ก็ยังใช้กลวิธีเดิมๆ ในการใช้กฎหมายหมิ่นฯ กำจัดคู่แข่งทางการเมือง และจุดนี้เอง อย่าคิดว่าคุณมีอำนาจในการใช้มาก เพราะยิ่งใช้มากยิ่งทำให้สถาบันอ่อนแอ และยิ่งเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกลือกกลั้วกับการเมือง และนักการเมืองและกลุ่มการเมืองที่เป็นตัวเล่นนอกเวทีการเมืองก็ยังใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือ

ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนมาตรา 112 ก็ส่วนหนึ่งในการชี้ว่าสถาบันกษัตริย์พร้อมที่จะปลี่ยนแปลงหรือไม่

แม้ว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบไปแล้ว แต่ยังมีอิทธิพล แฃละฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายราชานิยม ก็ไม่ยอมละทิ้งแต่พยายามสืบสายใช้ให้เข้มแข็งมากขึ้น

ปัจจุบันมีการมองสถาบันฯ สองแบบ ที่ขัดแย้งกันอยู่แบบแรกเป็นมุมมองมาตรฐาน เป็นมุมมองปกติทั่วไป ให้เห็นคุณูปการมากมายของสถาบันกษัตริย์ที่มีต่อประเทศ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเป็นผู้ปกป้องบูรณภาพของแผ่นดิน เป็นมุมมองที่ครอบงำสังคม ปกป้องจารีตประเพณี คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล เป็นต้น เป็นมุมมมองมาตรฐาน เหมือนคนไทยจะต้องกินข้าว จะไปกินมันฝรั่ง ก็ดูไม่ใช่คนไทย

แต่อีกมุมมองหนึ่งก็เห็นว่าพระราชอำนาจที่ทรงพลานุภาพอย่างมากนั้นไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตยในปัจุบัน มีการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเกราะกำบังสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดกระบวนการ หรือทัศนคติที่มีการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์เกิดขึ้น และการใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่อย่างยิ่งยวดเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย มีการสรรเสริญพระราชอำนาจอย่างล้นเกิน เป็น hyper royalist แม้แต่บ.การบินไทยก็มีการฉายพระราชกรณียกิจในเครื่องบิน

กลุ่มราชานิยมได้ร่วมมือจัดตั้งเป็นทีมงาน ร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์ อนุรักษนิยม ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย สื่อที่ทรงอิทธิพลทั้งหลายในการสรางภาพลักษณ์ที่ไม่มีที่ติ ขณะเดียวกันก็สร้างภาพลบที่เลวร้ายอย่างมากต่อการเมืองไทย แปดเปื้อนด้วยนักการเมืองเลวๆ ไร้ศีลธรรมจรรยาอย่างทักษิณ ข้อบกพร่องทั้งหมดเกิดจากนักการเมืองชั่วๆ ไม่ได้เกิดจากการที่ตนเองเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองตลอดเวลา นี่เป็นจุดสำคัญทำให้คนคิดถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรียกร้องคนดีมาปกครองบ้านเมือง ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เป็นคนดีกันไปหมด

เมื่อพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเราไม่ได้พูดถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง นี่คือเครือข่าย คือทั้งองคาพยพที่เกาะเกี่ยวโหนห้อยกัยสถาบันพระมหากษัตริบย รวมถึงราชนิกูลและองคมนตรี

โดยปวินเสนอ “ผังสร้างเจ้า” ที่เป็นตัวแปรนอกระบบรัฐสภา เกาะเกี่ยวกันและมีอิทธิพลทางการเมืองไทยอย่างล้นหลาม เช่น องคมนตรี ราษฎรอาวุโส กงอทัพ นักธุรกิจใหญ่ ข้าราชการ ไฮเปอร์รอยัลลิสม์ แม้แต่ในแต่ละกลุ่มก็มีการเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นองคมนตรีกับนักธุรกิจ กองทัพกับราชการ ทั้งหมดทำงานกันเป็นทีมเวิร์ก

ปวินกล่าวว่า แนวคิดในการมองเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (Nework monarchy) นี้ ดันแคน แมกคาร์โก นักวิชาการชาวอังกฤษคิดเป็นคนแรก ซึ่งดันแคนเสนอว่าถ้าเรามองแบบเครือข่ายเราจะเข้าใจได้อย่างดี และเครือข่ายที่ชัดเจนที่สุดคือเครือข่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ปกคลุมการเมืองทั้หมดตั้งแต่ปี 2480 เป็นต้นมา และคนเหล่านี้ทรงอิทธิพลโดยมีสถาบันกษัตริย์ตั้งอยู่บนยอดของเครือข่ายเหล่านี้

ความรู้ภูมิปัญญา ชุดความคิดทั้งหลายถูกผูกรวมเข้ากับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราหลีกหนีไม่ได้ แม้แต่จะตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาก็ทำเกือบจะไม่ได้ในทุกวันนี้ แม้แต่ในแวดวงนักวิชาการก็อยู่ภายใต้การกดดันอย่างมาก มีไม่กี่ประเทศที่รัฐเข้ามาแทรกแซงแวดวงวิชาการ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเป็นผลจากการปกป้องระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ปวินระบุต่อไปว่า การที่ผูกโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับสถาบันฯ นั้นเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งทำให้สถาบันดูเข้มแข็งแต่ในทางตรงกันข้ามก็ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอลง การสรรเสริญเยินยอส่งผลให้เกิดสายใยความเกี่ยวโยงที่แนบแน่นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสังคม เหมือนเป็นเรือนจำกักขังไม่ให้คนไทยแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา การคิดนอกกรอบอาจนำไปสู่การคุกคามเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ คนที่ละเมิดข้อห้ามดังกล่าวมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

"ประเทศไทยอ้างตัวเองว่าเป็นดินแดนแห่งความเสรี รักความอิสระ ดัดจริตไปถึงขั้นพูดว่าคนไทยทุกคนมีความจงรักภักดีแต่จับกันระเบิดเถิดเทิง" ปวิน กล่าว

การยกยอปอปั้นที่มีอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การต้องเข้าไปดูหนังมีการฉายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และต้องยืนตรงก่อนดูหนัง ทั้งที่ประเทศอื่นเคยมีมาแล้วแต่หมดไปแล้ว ต้องถามว่าของเรายังมีอยู่เพราอะไร ประเพณีการหมอบคลานที่ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า แต่คนไทยก็ยังหมอบคลานอยู่

วิธีที่พวกนี้อธิบายว่าต้องเลือกใช้แนวคิดต่างประเทศให้เข้ากับประเพณีแบบไทยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาตั้งแต่ ร 5 แล้ว ในความเป็นจริงหลักที่มาจากตะวันตกไม่ได้รับการส่งเสริม เป็นเพียงแต่ข้ออ้าง เป็นวาทกรรมของชนชั้นนำปัจจุบัน

หลังยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เรายังเป็นประชาธิปไตยแบบเปลือกนอก เพราะแก่นแท้ยังเป็นอุดมการณ์กษัตริย์นิยม กล่าวคือ แม้จะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตย แต่ฝ่ายราชานิยมยังมีบทบาทสำคัญด้านการเมือง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ถูกเนรมิตเป็นนิทานให้สอดคล้องกับทัศนะของคนกรุงเทพฯเป็นหลัก รวมถึงสร้างประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ทำหน้าที่ผูกโยงความคิดให้ประชาชนยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมากระบวนการยกย่องสรรเสริญกษัตริย์เข้มข้นจนถึงระดับที่น่ากังวลใจ พระมหากษัตริย์กลายมาเป็นเหมือนเพทพเจ้าที่ล่วงละเมิดไม่ได้ ขณะเดียวกันก็มีอีกภาพคือภาพพ่อของแผ่นดิน เป็นภาพต้นรัชสมัย ที่เดินทางไปทุกแห่ง ไม่มีรัฐบาลชุดใดในปัจจุบันที่จะสามารถเทียบทันพระมหากษัตริย์ในการเอาชนะใจปวงชน ประชาชนเห็นว่ากษัตริย์เป็นคำตอบสุดท้ายของทุกวิกฤตการณ์ แต่ภาพลักษณ์ทั้งสองแบบขัดแย้งกัน เพราะแม้จะใกล้ชิดกับประชาชนมากเพียงใด แต่ภาพที่เหมือนเทวราชาเป็นกำแพงปิดกั้นระหว่างสถาบันฯ กับประชาชน

ปวินกล่าวว่า ปัจจุบันมีการยกสถานะสถาบันกษัตริยให้เป็นมากกว่าธรรมราชา แต่เป็นเทวราชา ความแตกต่างนี้สร้างความซับซ้อนเมื่อพิจารณาจากบทบาทในทางการเมือง

พอล แฮนเลย์ ผู้เขียน The King Never Smile ระบุว่าการที่สถาบันกษัตริย์ลงมาเป็นผู้เล่นในทางการเมืองเสียเอง ก่อให้เกิดคำถามว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ เพราะถ้าทรงมีสถานะเป็นตัวแทนทางการเมืองเองก็ทำให้เกิดปัญหา conflict of interest เพราะเมื่อไหร่ที่รัฐบาลเข้มแข็งก็จะถูกกำจัดไปในที่สุด และหนทางท้ายที่สุดก็มีการใช้มาตรา 112 มีการใช้มากขึ้นหลังรัฐประหารมากขึ้น ความพยายามทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของฝ่ายราชานิยม แต่จำนวนใม่น้อยเป็นผลจากพระราชกรณียกิจของพระองค์เองในฐานะเป็นกษัตริย์นักพัฒนา

เกี่ยวกับวัฒนธรรมสาธาณณะ ความนิยมตั้งอยู่บนความเชื่อว่าถสายันกษัตริย์เข้ามายุติปัญหาทางการเมืองนับครั้งไม่ถ้วน และสถานการณ์ในภูมิภาค ในช่วงสงครามเย็น และการต่อต้านกับคอมมิวนิสต์ การเข้ายุติจลาจลปี 2535 เป็นถ้วยรางวัลที่กษัตริยืได้ไปในฐานะผู้นรักษาเสถียรภาพของไทย ทำให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากการเมือง

และที่ย้ำไปเบื้องต้นยังมีอะไรหลายอย่างที่ปลูกฝังลักษณะที่ไปด้วยกันไม่ได้กับประชาธิปไตย เช่น ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของสถาบันกษัตริย์กับอำนาจที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชน

ปวินกล่าวว่า คำว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นเป็นปฏิพจน์กัน เป็นหลุมดำขนาดใหญ่ที่จะดูดกลืนระบบการเมืองเข้าไปในตัวเองทั้งหมด

และสุดท้ายกรณีการสืบสันตติวงศ์ เป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอยากจะตั้งเป็นคำถามว่า บทบาทสำคัญของสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีความผูกพันอยู่กับตัวองค์พระมหากษัตริย์มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์และ

ปวินกล่าวว่า ฝ่ายราชานิยมเริ่มกังวลใจถึงความนิยมในหมู่ประชาชน และขอฝากไว้กับพวกคลั่งเจ้าว่า ยิ่งสรรเสริญเยินยอรัชสมัยนี้ก็จะยิ่งทำให้รัชสมัยต่อไปอยู่ยากขึ้น

 

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์: ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับรากฐานการใช้สื่อของรัฐครอบงำประชาชน

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ร่วมอภิปรายในหัวข้อ “80 ปีปฏิวัติประชาธิปไตยไทย พ.ศ.2475” กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ โดยเริ่มต้นจากคำประกาศคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยหลัก 6 ประการ คือ ความเป็นเอกราช ความปลอดภัย การบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ ราษฎรมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน (ไม่ใช้พวกเจ้ามีสิทธิมากกว่าราษฎร์อย่างที่เป็นอยู่) มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระโดยไม่ขัดต่อหลักข้างต้น และให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร์ โดยหลักการเหล่านี้เป็นการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นคนและเสรีชนของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เรารู้จักในปัจจุบันคือหลักสิทธิมนุษยชนสากล
 
ต่อคำถามเมล็ดพันธุ์ของประชาธิปไตยเติบโตงอกงามหรือไม่นั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลักสิทธิมนุษยชนสากลเป็นที่รับรองกว้างขวางในทางสังคม และได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้สังคมได้รับทราบ เรียนรู้ เข้าถึงและได้อ้างอิงใช้ประโยชน์เรื่อยมา แต่ก็มีปัญหาในการบังคับใช้สำหรับสังคมไทย ทั้งนี้ กติกาในระดับสากลขององค์การสหประชาชาติ อาทิ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ค.ศ.1976) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม (ค.ศ.1976) ประเทศไทยให้การรับรองในปี พ.ศ.2539 และพ.ศ.2542 ตามลำดัง ซึ่งค่อนข้างล่าช้า โดยกติกาทั้ง 2 ฉบับ อยู่ในช่วง 2540 ซึ่งมีเงื่อนไขสังคมค่อนข้างอยู่ในภาวะของรัฐธรรมนูญสีเขียว รัฐบาลจึงเห็นว่าเป็นโอกาสอันควรที่ต้องรับรอง
 
อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาว่า หลัง 2475 ในบริบทการสื่อสาร การสร้างวาทะกรรม การสร้างสัญลักษณ์ประชาธิปไตยและการต่อต้านประชาธิปไตยนั้นมีการต่อสู้กันตลอดเวลา ซึ่งในส่วนของการวางรากฐานระบบวิทยุโทรทัศน์ของรัฐ ในช่วง 25 ปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้นำคือปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป.พิบูลสงครามยังเป็นสมาชิกของคณะผู้ก่อการในคณะราษฎร แม้มีรัฐประหาร 2490 แต่การก่อร่างสร้างระบอบใหม่ที่ต่อต้านประชาธิปไตยได้เริ่มอย่างแข็งขันหลังปี 2500
 
ช่วงต้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การสร้างสัญลักษณ์ซึ่งเป็นรูปธรรมของรัฐธรรมนูญนั้นมีมากมายหลากหลาย รวมทั้งมีการเฉลิมฉลอง โดยสื่อที่ใช้คือวิทยุซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2473 จึงถือเป็นสื่อที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดที่คณะราษฎรและรัฐบาลหลังจากนั้นได้นำมาใช้ จะเห็นได้ว่าสื่อสารมวลชนเป็นเครือมือ กลไกในทางการเมืองที่ทั้งสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย ฝ่ายเผด็จการ และทุกฝ่ายที่เข้ามามีบทบาททางการเมือง รวมทั้งประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยด้วย
 
ในช่วงท้ายของสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกขึ้น คือช่อง 4 บางขุนพรม ซึ่งสร้างความนิยมมากก่อนการเลือกตั้งในปี 2500 จนมาหลังการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกก็ได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เพื่อสู้กับช่อง 4 บางขุนพรม โดยใช้วันกองทัพไทย 25 ม.ค.2501 เป็นวันก่อตั้ง และเมื่อเข้าสู่อำนาจก็ได้ใช้ทั้งช่อง 7 และเข้าควบคุมช่อง 4 ในการช่วงชิงอำนาจ โฆษณาชวนเชื่อ และทำสงครามจิตวิทยากับประชาชน และใช้ต่อมาในการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยมีหลวงวิจิตร วาทการ เป็นคีย์สำคัญที่ทำงานให้ทั้งในจอมพล ป.และจอมพลสฤษดิ์
 
อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาถึงนิยาม “ประชาธิปไตยแบบไทย” ว่านำมาจากงานวิจัยของทักษ์ เฉลิมเตียรณ ซึ่งยกคำพูดมาจากคณะรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ที่บอกว่า คณะปฏิวัติมีความมุ่งหมายที่จะทำประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย จึงได้ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2501 ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยที่นำมาจากต่างประเทศทั้งดุ้น และเสนอว่าจะสร้างระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับลักษณะพิเศษและสภาวการณ์ของไทย ซึ่งทักษ์ เฉลิมเตียรณ เรียกว่า “ระบบข่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ” มีคุณสมบัติสำคัญคือ ปกครองแบบพ่อขุน รักษาความสงบเรียบร้อยในครอบครัว ส่งเสริมสุขภาพและศีลธรรมซึงตกทอดมาถึงปัจจุบันดังกรณีรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยและพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคุมระบบราชการและทหาร และส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนตัวขอเพิ่มเติมว่ามีเรื่องควบคุมเสรีภาพของสื่อมวลชนและปัญญาชนเข้าไปด้วย
 
วิธีการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ คือ การฟื้นฟูโบราณราชประเพณี เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีแห่พระกฐิน เปลี่ยนวันชาติจากวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนา เป็นวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ และส่งเสริมพระมหากษัตริย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกองทัพ โดยนัยยะนี้สถาบันจึงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและศีลธรรม และนัยยะสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบอำนาจนิยมทหารของตนเอง เกิดคำศัพท์ “กองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดยกองทัพเป็นผู้ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
 
ในยุคนี้มีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผู้เป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ไม่จงรักภักดี ทำลายความมั่นคงของชาติ เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาด้วยข้อกล่าวหาเหล่านี้และถูกประหารชีวิต เช่น สส.ในภาคอีสาน โดยมีเครื่องมือคือ มาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร พ.ศ.2502 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการรักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามผู้มาบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาราจักร ราชบัลลัง และเศรษฐกิจของประเทศ
 
อุบลรัตน์ กล่าวด้วยว่า ระบอบ 3 จอมพล คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร มีสิ่งที่ตกทอดมาในส่วนการวางโครงสร้างด้านการสื่อสาร นอกเหนือจากจากการก่อตั้งโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 หรือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ที่สนามเป้าในปัจจุบัน คือการขยายเครือข่ายวิทยุทหารที่สำคัญเช่น กองพลหนึ่งรักษาพระองค์ จเรทหารสื่อสาร วิทยุยานเกราะ กองทัพภาคและวิทยุประจำถิ่นต่างๆ ที่ลงไปในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
 
จากสถิติ จำนวนสถานีวิทยุที่ขณะนั้นถือว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุด ปี 2515 ก่อนที่จอมพลถนอมและจอมพลประภาสจะถูกขับไล่ กองทัพบกมีสถานีวิทยุ 64 สถานี ขณะที่กรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นตัวแทนหน่วยราชการถือเป็นสถานีวิทยุแห่งชาติมี 21 สถานี มาในปี 2525 กองทัพบกมี 90 สถานี ส่วนกรมประชาสัมพันธ์มี 71 สถานี โดยในส่วนของกระทรวงกลาโหมมีทั้งสิ้น 140 สถานี เกินครึ่งของจำนวนสถานีที่มีทั้งหมดในขณะนั้น จนในปี 2535 สถานีวิทยุของกองทัพบกก็ยังขยายจำนวนเป็น 128 สถานี
 
จะเห็นได้ว่าโครงสร้างนี้สถาปนาได้มั่นคง เพราะสามารถขยายไปได้เรื่อยๆ แม้บริบททางการเมืองจะมีการเลือกตั้ง หรือมีเหตุการณ์ 14 ตุลา ในขณะที่กรมประชาสัมพันธ์มี 136 สถานี และหากนับทุกกองทัพในกระทรวงกลาโหมจะพบว่ามีถึง 211 สถานนี้ ตรงนี้เป็นขุมอำนาจทางการเมืองที่สำคัญของฝ่ายกองทัพที่ใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมือง และปัจจุบันยังคงต้องรักษาไว้
 
สำหรับโทรทัศน์ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นสื่อที่สำคัญมากสำหรับประชาชน ก็มีการขยายเครือข่ายสถานีโทรทัศน์โดยวิธีการให้สัมปทาน ช่อง 7 และ ช่อง 3 ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญคือเป็นการสร้างหนี้บุญคุณ ทำให้เกิดความเกรงใจ ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ต้องไม่วิจารณ์เจ้าของสัมปทานคลื่น และตรงนี้กลายวัฒนธรรมการเมืองในสื่อโทรทัศน์ไทยมาจนถึงทุกวันนี้
 
อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาถึงโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพลู) ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยเรื่องเทคนิคในสมัยที่ทรัพยากรจำกัด มีโทรทัศน์เพียง 2 ช่อง เพื่อใช้ในการถ่ายทอดกีฬาซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ เมื่อปี 2509 และ 2510 ต่อมาเมื่อมีสัมปทานโทรทัศน์จึงมีการมาตกลงรวมกัน และมีการสถาปนาเป็นโครงสร้างโดยแกนนำคือกองทัพบกช่อง 5 ทำหน้าที่เป็นประธานมาโดยตลอดไม่มีการหมุนเวียน และงานของทีวีพลูจากเดิมถ่ายทอดกิจกรรมแห่งชาติในเรื่องกีฬา ใน 20 ปีมานี้ได้เปลี่ยนมาเป็นการถ่ายทอดพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ทั้งของทหาร รัฐบาล และพิธีสำคัญทางศาสนา
 
เมื่อระบอบจอมพลสฤษดิ์ได้สถาปนากลไกเครื่องมือหรือโครงสร้างของสถานีวิทยุโทรทัศน์เอาไว้ โดยมีเครื่องมือคือมาตรา 17 การเปลี่ยนแปลงในระบอบการเมืองคลี่คลายสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา รัฐบาลคณะกรรมการปฏิรูปได้ประกาศ ปร.15 และ ปร.17 ซึ่งควบคุมข่าวสารในวิทยุและโทรทัศน์ โดยให้ถ่ายทอดข่าว ซึ่งกลายเป็นมรดกมาจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดข่าวภาค 07.00 น.และ19.00 น.ปัจจุบันขยายมาเป็นข่าวในพระราชสำนักเวลา 18.00 น. และมี ปร.42 ซึ่งในส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ได้มีการเคลื่อนไหวให้ยกเลิกไปในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ส่วน ปร.15-17 มายกเลิกหลังปี 2540
 
จนมาถึงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลัง พ.ศ.2549 ได้มีการปฏิรูปกฎหมาย 6 ฉบับที่สำคัญต่อสิทธิในการสื่อสารของประชาชนแม้จะมีการพูดถึงกันน้อย คือ 1.พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งย้ายการควบคุมสิทธิเสรีภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์มาควบคุมประชาชนที่ใช้อินเตอร์เน็ต 2.พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ที่แก้ไขกฎหมายเก่าที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 3.พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 ที่เหมือจะทันสมัยแต่กลับมีการกำหนดเรตติ้งที่ไม่เป็นสากล เปิดให้มีการแบนภาพยนตร์ได้
 
4.พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 เป็นที่มาของการก่อตั้งทีวีสาธารณะคือไทยพีบีเอส 5.พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แก้ไขมาจากปี 2498 ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อตั้งช่อง 4 บางขุนพรม และ 6.พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 ซึ่งกำหนดให้ตั้งกรรมการกิจการโทรคมและวิทยุโทรทัศน์รวมเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้มองเห็นถึงอำนาจในการควบคุมการสื่อสารของรัฐที่ขยายออกไป
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิชาต สถิตนิรามัย: 80 ปี 2475 คลื่นประชาธิปไตยลูกที่สาม

$
0
0

ชนชั้นนำไทยจะฟังและเก็บรับบทเรียนทางประวัติศาสตร์ 80 ปีนี้หรือไม่ เมื่อขณะนี้คนชั้นกลางรุ่นใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว เขาเรียกร้องต้องการความเสมอภาคทางการเมืองแบบ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ในขณะที่ระบอบการเมืองไทยภายใต้การกำกับของ “มือที่มองไม่เห็น” ในปัจจุบันกลับมองคนกลุ่มนี้เป็นคนต่ำชั้นที่มีลักษณะ “โง่-จน-เจ็บ” 

คำกล่าวโดยอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวทีอภิปราย "80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ซึ่งมีผู้อภิปรายประกอบด้วย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์-สุดสงวน สุธีสร-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-อภิชาต สถิตนิรามัย-มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

000

หากจะเข้าใจมูลเหตุของการปฏิวัติสยาม 2475 เราคงต้องเริ่มต้นที่สนธิสัญญาเบาว์ริงในรัชการที่ 4 และการรวมศูนย์อำนาจรัฐ ผ่านการปฏิรูประบบราชการในรัชกาลที่ 5 เช่นกัน หากจะเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน เราอาจต้องเริ่มอย่างช้าที่สุด ตั้งแต่พลเอกเปรมลงจากอำนาจ ยี่สิบปีเศษที่ผ่านมานั้น สังคมเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไปจนจำเค้าเดิมไม่ได้ ในทศวรรษแรกเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในโลก โครงสร้างการผลิตได้ก้าวข้ามภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและการบริการอย่างเต็มตัว และจบลงด้วยวิกฤต 2540 ในทศวรรษที่ 2 แม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะช้าลงก็ตาม แต่ผลรวมของการขยายตัวและการเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างการผลิตใน 20 กว่าปีนี้ก็ได้ทำหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ของมันอย่างซื่อสัตย์เฉกเช่นเดิม กล่าวคือ การก่อเกิดขึ้นของคนชั้นกลางรุ่นใหม่ หรือชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งกลายเป็นคนส่วนข้างมากของสังคม ซึ่งมีประมาณร้อยละ 40 ของครัวเรือนทั้งประเทศ กระจายตัวอยู่ทั้งในเมืองและชนบท ในขณะที่คนยากจนลดเหลือเพียงเหลือเพียงร้อยละ 8 หรือประมาณ 5 ล้านคนในปี 2553 เท่านั้น ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะโดยรวมแล้วรายได้ครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่าตัว ทำให้คนไทยมีรายได้เฉลี่ย 6 บาทเศษต่อคนต่อเดือนในปี 2552

คนชั้นกลางใหม่ร้อยละ 40 นี้คือใคร ? คงถกเถียงกันได้ในเรื่องคำนิยาม แต่ผมประเมินว่าคือคนที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน อาชีพของคนเหล่านี้ในเศรษฐกิจนอกภาคการเกษตรคือเป็นเสมียน เป็นผู้ที่อยู่ในภาคการค้าและบริการ และคนงานในภาคการผลิต ซึ่งมีประมาณเกือบร้อยละ 35 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2552 ข้อสังเกตคือในชนกลุ่มนี้อาชีพการค้าและบริการเป็นกลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 10 เศษในปี 2529 เป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2552 และยังมีแนวโน้มกระจายตัวออกจากเขตเมืองไปสู่เขตชนบท และกระจายตัวออกจากทม.ไปทุกภูมิภาคอีกด้วย กลุ่มนี้มีรายได้ 5,828 บาทต่อเดือน ใกล้เคียงกับรายได้ของคนงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตและรายได้เฉลี่ยของทั้งประเทศแต่สูงกว่าเกษตรกรทั่วไปเกือบสองเท่า ส่วนภาคเกษตรกรรมในปี 2547 มีเกษตรกรเชิงพาณิชย์จำนวน 1.36 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ19 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดหรือประมาณร้อยละ5 ของครัวเรือนทั้งประเทศ มีรายได้ต่อเดือนถึง 9,311 บาท ซึ่งสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของเกษตรกรทั่วไปร้อยละ 70 ดังนั้น เราจึงอาจจัดเกษตรกรในกลุ่มนี้ได้ว่าเป็น “ชนชั้นกลางใหม่” ในภาคเกษตรกรรม
 
แล้วอะไรคือปัญหาร่วม หรือเป็นผลประโยชน์เฉพาะของชนชั้นใหม่นี้ ? คนกลุ่มนี้คือผู้ที่วิถีชีวิตทั้งด้านการผลิตและการบริโภคผูกพันกับระบบทุนนิยมไทยอย่างแนบแน่น จำนวนมากเป็นผู้ค้าขาย ผู้ประกอบการอิสระเช่นขับรถแท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง สารพัดช่างซ่อม ช่างเสริมสวย ฯลฯ หรือแม้เป็นเกษตรกรก็เป็นเกษตรกรเชิงพาณิชย์ มีเป้าหมายการผลิตเพื่อป้อนตลาด เขาไม่ใช่เกษตรกรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผู้คนเหล่านี้ต่างวาดหวังต้องการไต่เต้า-ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ระบบตลาดสมัยใหม่ ไม่แตกต่างไปจากชนชั้นกลางระดับกลางขึ้นไป (ชั้นกลางเก่า) สิ่งที่แตกต่างคือเขาอาจมีคุณสมบัติ (capabilities) เช่น ระดับการศึกษา ทักษะ ความสามารถ และ/หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โอกาสต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าชนชั้นกลางเก่า สิ่งเหล่านี้ทำให้ชนชั้นกลางใหม่ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่คนจน แต่ก็จนกว่ามากทั้งในด้านรายได้และทรัพย์สิน (69เท่า) เมื่อเปรียบเทียบกับชนชั้นกลางเก่า ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากสถานะทางอาชีพของชนชั้นกลางใหม่มักอยู่นอกภาคการผลิตที่เป็นทางการ (informal sector) จึงทำให้เขาขาดหลักประกันความมั่นคงในชีวิต ในขณะที่อาชีพของเขาผูกพันกับระบบตลาดอย่างแนบแน่นก็ทำให้เขามีรายได้ที่ไม่แน่นอน ผันผวนไปตามวงจรธุรกิจ แต่โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องการคือ 1.หลักประกันความมั่นคงในชีวิต 2.การกระจายรายได้-โอกาส หรือการอุดหนุน-ส่งเสริมจากรัฐ เพื่อยกฐานะทางเศรษฐกิจของเขาให้ใกล้เคียงกับชนชั้นกลางเก่ามากขึ้น
 
ด้วยลักษณะของชนชั้นกลางใหม่เหล่านี้เอง เมื่อรัฐบาลทักษิณ 1 ผลักดันและปฏิบัติตามสัญญาที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2544 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นโยบายประชานิยม” เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพ การพักการชำระหนี้ กองทุนหมู่บ้าน ผลงานนี้จึงทำให้ตัวนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมและความชื่นชมสูง เพราะโครงการเหล่านี้ตอบสนองและสอดรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางใหม่ เนื่องจากโครงการพวกนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ชีวิตชนชั้นกลางใหม่มีความมั่นคงสูงขึ้น เช่นโครงการหลักประกันสุขภาพ หรือไม่ก็ช่วยให้เขามีโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่นกองทุนหมู่บ้านทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น และ/หรือด้วยต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่ OTOP ก็เปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ เป็นต้น
 
โดยสรุปคือ มีคนชั้นกลางระดับล่างจำนวนมาก ซึ่งต่อมามีพัฒนาการทางความคิดกลายเป็น “คนเสื้อแดง” นั้น มีจุดเริ่มต้นจากความชื่นชมนายกทักษิณและรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เพราะเขาได้ประโยชน์โดยตรงจากนโยบายของรัฐบาลนี้
 
แต่การปรากฏตัวขึ้นของชนชั้นใหม่นี้ อย่างมากก็เป็นแค่เงื่อนไขทางภาวะวิสัยที่เอื้อแก่การก่อตัวของพลังทางสังคมชนิดใหม่ หรือผู้เล่นกลุ่มใหม่ในสังคมการเมือง แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่จำเป็นหรือเพียงพอที่จะเปลี่ยนคนกลุ่มใหม่ให้กลายเป็นกลุ่มพลังใหม่ทางสังคม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมาได้ทำให้ บางส่วนของคนกลุ่มใหม่นี้ ซึ่งก็คือคนเสื้อแดงมีจิตสำนึกทางการเมืองแบบใหม่ขึ้น นั้นคือสำนึกว่า ตนไม่ใช่ไพร่ ข้า หรือพสกนิกร ซึ่งไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดความเป็นไปของบ้านเมือง แต่กลับมีสำนึกว่า ตนเป็นพลเมือง หรือเป็นหุ้นส่วนของสังคมการเมืองนี้ ตนจึงมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองเช่นกัน
 
“คนเหล่านี้ต้องการพื้นที่ทางการเมือง เพื่อผลักดันผลประโยชน์ของตนเอง ปัญหาที่เขาเผชิญอยู่เป็นปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่การร้องทุกข์ทางเศรษฐกิจ หรือร้องขอการอุปถัมภ์จากรัฐ” ดังที่ช่างเฟอร์นิเจอร์เสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า “(เมื่อก่อน) พึ่งพานโยบายรัฐน้อย หมดหน้าข้าวก็ต้องปลูกแตง ปลูกอย่างอื่นต่อ วนๆ กันไป ไม่ได้คิดถึงนโยบายของรัฐ คิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองเป็นหลัก เมื่อก่อนยังมีที่ดินทำกินอยู่ แต่พอที่ดินไม่มี เราก็ต้องพึ่งพิงนโยบายรัฐมากขึ้น และรู้สึกว่าการเลือกตั้งสำคัญกับตัวเองมากขึ้น”
 
จึงกล่าวได้ว่าสำนึกความเป็นพลเมืองที่แพร่หลายในหมู่คนเสื้อแดงคือ ความหวงแหนสิทธิการเลือกตั้งของตน กล่าวอีกแบบคือ เขาให้นิยามขั้นต่ำของความเป็นประชาธิปไตยว่าจะต้องมีการเลือกตั้ง ซึ่งทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่าเทียมกันในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ปกครองของตน ดังที่เสื้อแดงผู้หนึ่งนิยามประชาธิปไตยว่า “ต้องมาจากประชาชนโดยตรง ตราบใดที่ต้องให้ (ผู้มีอำนาจ) คอยอนุญาต มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องมีสิทธิในการเลือกผู้นำของเรา ถ้าไม่ดีก็ว่ากันไป ต้องไม่ถูกรัฐประหารไล่คนของเราออก”
 
ดังนั้น การรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมืองในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร หรือตุลาการภิวัตน์โดยผู้มีอำนาจหลังฉาก จึงเป็นการเมืองที่ขาดความชอบธรรมในสายตาของคนกลุ่มนี้ เพราะมันเท่ากับการปฏิเสธความเป็นหุ้นส่วนทางการเมืองของเขา รวมทั้งเป็นการปิดพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในการผลักดันและต่อรองผลประโยชน์ของเขา คำถามคือ สำนึกความเป็นพลเมืองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
 
การลงหลักปักฐานของการเมืองแบบเลือกตั้งระดับชาติ นับแต่ พ.ศ.2521 ภายใต้ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นระบอบการเลือกตั้งที่มีการกำกับจากอำนาจนอกระบบก็ตาม แต่การเลือกตั้งระดับชาติก็เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้คนเห็นว่า การเมืองปกติก็คือการเมืองที่มีการเลือกตั้ง แม้ว่าการเลือกตั้งในช่วงเวลาก่อนปี 2544 ผู้ออกเสียงจะไม่ได้ประโยชน์โดยตรงจากนโยบายในระดับมหภาค เนื่องจากเนื้อหาของนโยบายมหภาคถูกครอบงำจากข้าราชการระดับสูงและเทคโนแครต ทำให้ไม่มีการใช้นโยบายมหภาคที่เป็นรูปธรรมในการหาเสียงเลย อย่าว่าแต่การผลักดันและการปฏิบัติตามนโยบายหลังการเลือกตั้ง ผลประโยชน์โดยตรงที่ผู้ออกเสียงอาจได้รับจึงมีลักษณะไม่ทั่วหน้า เฉพาะที่ เฉพาะถิ่น ส่วนใหญ่ในรูปโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ส.ส.ดึงงบประมาณจากส่วนกลางมาลงในเขตเลือกตั้งของตัวเอง หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เช่นเงินสดที่ได้รับแจกในช่วงหาเสียง หรือความช่วยเหลือส่วนบุคคลที่ผู้ออกเสียงได้รับโดยตรงจาก ส.ส.และเครือข่ายหัวคะแนนของเขาในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงไม่แปลกเมื่อเกิดการรัฐประหารขัดจังหวะวงจรการเลือกตั้งเป็นครั้งคราวเช่นในปี 2534 แล้ว กระแสการต่อต้านจากประชาชนในวงกว้างจึงไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเขาไม่มีผลประโยชน์จากการเลือกตั้งที่จะต้องปกป้อง
 
จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดคือเมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มีผลบังคับใช้ กล่าวได้ว่า 2 ประเด็นหลักที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งใจออกแบบไว้ค่อนข้างประสบความสำเร็จคือ 1.การสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มเข็งเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของรัฐไทย 2.การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
 
ในเรื่องแรก รัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงกฎ-กติกาทางการเมืองหลายประการเพื่อ ก) กระตุ้นการสร้างพรรคการเมืองขนาดใหญ่และการสร้างนโยบายของพรรคการเมือง โดยการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากแบบหนึ่งเขตมี ส.ส.ได้หลายคนเป็นแบบเขตเดียวคนเดียว และให้มี ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อ ข) เพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคต่อรัฐมนตรีและหัวหน้ามุ้ง เช่นการกำหนดให้ผู้ที่จะสมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ในขณะที่บังคับให้กำหนดวันเลือกตั้งไม่เกิน 60 วันหลังประกาศยุบสภาผู้แทนฯ ฯลฯ กติกาเหล่านี้ตั้งใจออกแบบขึ้นเพื่อสร้างให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพมากขึ้น กล่าวอีกแบบคือ รัฐธรรมนูญ 2540 จงใจออกแบบมาเพื่อสร้างให้รัฐบาลมีสมรรถนะสูงขึ้นในการผลักดันนโยบายใหม่ๆ
 
พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในปี 2544 ได้ประโยชน์และทำตามแรงจูงใจที่กำหนดโดยกติกาใหม่ๆ เหล่านี้อย่างเต็มที่ ผลที่ตามมาคือ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีรัฐบาลซึ่งชนะการเลือกตั้งด้วยการใช้นโยบายระดับมหภาคในการหาเสียง ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำสามารถผลัดดันนโยบายเหล่านั้นจนสำเร็จภายหลังการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว
 
สรุปแล้ว ผลงานของรัฐบาลทักษิณทำให้ผู้ออกเสียงตระหนักว่า บัตรเลือกตั้งของเขานั้น “กินได้” ในรูปของนโยบายระดับมหภาค ในแง่นี้ หากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มิได้เกิดขึ้นจริงแล้ว รัฐบาลทักษิณจะสามารถสร้างผลงานได้ดังที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ
 
ในประเด็นที่สอง รัฐธรรมนูญนี้บังคับให้รัฐต้องถ่ายโอนหน้าที่และงบประมาณสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท) ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่ พ.ศ.2546 เป็นต้นมา อปท.ในทุกระดับ ตั้งแต่ อบต. เทศบาล และอบจ.ทุกแห่ง ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นครั้งแรก และคุมงบประมาณรวมกันเทียบเท่ากับร้อยละ 30 ของรายได้ของรัฐบาลกลาง ในขณะที่ อปท.มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ส่งผลโดยตรงและชัดเจนต่อชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นับตั้งแต่การสร้างถนน แหล่งน้ำ ประปา ศูนย์เลี้ยงเด็ก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญและมีความหมายต่อผู้คนแต่ละท้องถิ่นอย่างมาก
 
สรุปคือ การเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมีความหมายเชิงรูปธรรมต่อชีวิตผู้ออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ดังนั้น คงไม่ผิดนักที่จะอ้างว่า สำนึกทางการเมืองที่หวงแหนสิทธิทางการเมืองได้เพิ่มขึ้นมากในช่วงเวลาสิบปีเศษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่ง “กินได้”
 
ในแง่นี้การรัฐประหาร 2549 จึงเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งใหญ่ การรัฐประหารครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งก่อนหน้านี้ มันเป็นครั้งแรกที่มีการเคลื่อนไหวมวลชนขนานใหญ่ในขอบเขตทั่วประเทศต่อต้านการรัฐประหาร ในอดีตเช่นกรณีกุมภาพันธ์ 2534 การเคลื่อนไหวต่อต้านเกิดขึ้นในวงแคบและกระจุกตัวในหมู่ชนชั้นกลางเก่าจำนวนน้อยในเขตเมืองเท่านั้น เนื่องจากการก่อตัวของชนชั้นกลางใหม่ยังไม่เกิดขึ้น และมวลชนส่วนข้างมากยังไม่มีสำนึกความเป็นพลเมือง พูดอีกแบบคือการรัฐประหาร 2549 ทำให้ชนชั้นกลางใหม่ ตระหนักรู้ว่าการโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ซึ่งเขาเป็นผู้แต่งตั้งและเป็นผู้ทำประโยชน์ให้เขา เป็นการริบคืนสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ได้ผลที่สุดในการต่อรองผลประโยชน์เฉพาะทางชนชั้นของเขา การรัฐประหารจึงเปรียบเสมือนการจุดสายฉนวนระเบิดทางเมือง เปิดทางให้แก่การรวมตัวจัดตั้งและการเคลื่อนไหวทางเมืองของขบวนการคนเสื้อแดงจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและผู้มีอำนาจนอกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชและรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ การตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนโดยฝ่ายตุลาการ รวมทั้งเหตุการณ์ พ.ค.อำมหิต ได้กลายเป็นอาหารสมองชั้นเลิศ ซึ่งหล่อเลี้ยงให้คนเสื้อแดง “ตาสว่าง” จนกระทั่งทักษิณก็ปิดไม่ลงในขณะนี้
 
กล่าวโดยสรุป คนเสื้อแดงคือตัวแทนทางชนชั้นของกลุ่มคนประเภทใหม่ ซึ่งก่อตัวขึ้นทั้งในเมืองและชนบท ทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม ทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คนกลุ่มนี้ได้ก้าวข้ามความยากจนกลายเป็นชนชั้นกลางระดับล่างและเป็นคนส่วนข้างมากของสังคม แม้ว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมาจะยังประโยชน์ ยกระดับฐานะของเขาให้พ้นความยากจน แต่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สินระหว่างชนชั้นใหม่กับกับชนชั้นกลางเก่ายังคงทรงตัวในระดับสูงตลอดมา และเขายังขาดหลักประกันความมั่นคงในชีวิตอีกด้วย ในขณะที่พัฒนาการทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงหลักปักฐานของการเมืองแบบเลือกตั้งทั้งระดับชาติและท้องถิ่นในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้สร้างและกระตุ้นสำนึกความเป็นพลเมืองแก่เขา ทำให้เขาตระหนักว่า ตนเป็นหุ้นส่วนหนึ่งของสังคมการเมือง ดังนั้นตนจึงมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของบ้านเมือง และเนื่องจากเขาเป็นชนส่วนข้างมากของสังคม ในขณะที่เขามีพื้นที่หรือเครื่องมืออื่นในการต่อรองทางการเมืองที่จำกัด การเลือกตั้งจึงเป็นกลายเครื่องมือที่มีประสิทธิผลที่สุดในการผลักดันให้นโยบายของรัฐเป็นประโยชน์แก่เขา การรัฐประหาร 2549 และการแทรกแซงทางการเมืองที่ตามมาของชนชั้นนำ จึงเป็นการทำลายเครื่องมือหลักของชนชั้นนี้ ซึ่งเป็นการปฏิเสธความเป็นพลเมืองของเขาด้วย ในแง่นี้การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงจึงเป็นไปเพื่อปกป้องการเมืองแบบเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสถาบันที่ปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นกลางใหม่ได้ดีที่สุด
 
อ.ธงชัย วินิจจะกุล เคยกล่าวเตือนชนชั้นนำไทยไว้ว่า ขบวนรถไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ออกจากสถานีแล้ว และจะไม่มีวันหวนกลับ พวกเขามองไม่เห็นว่า การปฏิรูปรวมศูนย์อำนาจรัฐโดยการสร้างระบบราชการสมัยใหม่ขึ้นในรัฐกาลที่ 5 ได้สร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นกลุ่มหนึ่งที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ให้พื้นที่ ไม่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยข้อหาว่า คนกลุ่มนี้เป็นเพียงสามัญชน จึงไม่มีสายเลือดที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ปกครอง ถึงจุดหนึ่ง 2475 จึงเกิดขึ้น
 
เช่นเดียวกัน เผด็จการทหารในระบอบสฤษดิ์และถนอม-ประภาสก็มองไม่เห็นว่า การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แผนพัฒนาฉบับต่างๆ ได้ผลิตคนรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งระบอบเผด็จการไม่ให้พื้นที่และการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยข้อหาเช่นว่า เป็นลูกเจ็ก-เป็นจีน ไม่มีความเป็นไทยเพียงพอ หรือกระทั่งเป็นคอมมูนนิสต์ ถึงจุดหนึ่ง 14 ตุลาคม 2516 จึงเกิดขึ้น
 
ผมไม่แน่ใจว่า ชนชั้นนำไทยจะฟังและเก็บรับบทเรียนทางประวัติศาสตร์ 80 ปีนี้หรือไม่ ณ ขณะนี้คนชั้นกลางรุ่นใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว เขาเรียกร้องต้องการความเสมอภาคทางการเมืองแบบ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ในขณะที่ระบอบการเมืองไทยภายใต้การกำกับของ “มือที่มองไม่เห็น” ในปัจจุบันกลับมองคนกลุ่มนี้เป็น คนต่ำชั้นที่มีลักษณะ “โง่-จน-เจ็บ” ถูกจูงจมูกโดยนักการเมืองจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกับชนชั้นสูงในการกำหนดอนาคตของบ้านเมือง ถึงจุดหนึ่ง เหตุการณ์เมษา 52 และพฤษภาอำมหิต 53 ก็เกิดขึ้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังคงออกคำสั่งก้าวล่วงอำนาจรัฐสภาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ผมเชื่อว่า ณ จุดนี้ไม่มีใครแน่ใจว่า เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นอีก และประวัติศาสตร์ในอนาคตจะตั้งชื่อเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ว่าอะไร
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปฤณ เทพนรินทร์

$
0
0

ในวาระของการรำลึกวันชาติในอดีต 24 มิถุนา หากเราต้องการสืบทอดเจตนาของคณะราษฎรแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องช่วงชิงความหมายเหล่านี้คืนมาจากนิทานประชาธิปไตยแบบไทยๆ เพื่อไม่ให้การอภิวัฒน์ของคณะราษฎรต้องสูญเปล่า และที่สำคัญที่สุด เพื่อให้อำนาจสูงสุดของประเทศนี้นั้น ได้เป็นของราษฎรทั้งหลายเสียที

นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถานำร่วมกับเกษียร เตชะพีระ "นิทานประชาธิปไตยไทย", 24 มิ.ย. 55

คำปราศรัยอภิสิทธิ์-สุเทพ "เดินหน้าผ่าความจริงฯ" ที่พิษณุโลก

$
0
0

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ เดินสายปราศรัยที่พิษณุโลก สุเทพชี้ความรุนแรงเกิดจากทักษิณและ "พวกลัทธิแดง"  เพราะทักษิณหนีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี โอดสภาไม่ยอมฟังเสียงฝ่ายค้าน "ยกทั้งมือทั้งตีน แพ้ทุกวัน" ขณะที่อภิสิทธิ์ท้ายิ่งลักษณ์ให้รีบเอาพี่ชายกลับมาจะได้รู้ดีรู้ชั่วกันไปเลย เล็งตั้งเวทีปราศรัยทั่วประเทศ 

หมายเหตุ: เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ [1] และ [2] เผยแพร่คำปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปไตย ซึ่งได้ปราศรัยในเวที "เดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง" ที่สวนชมน่าน จ.พิษณุโลก เมื่อ 23 มิถุนายน มีรายละเอียดดังนี้

 

สุเทพ เทือกสุบรรณ

"ผมต้องใช้คำว่าลัทธิแดงเพราะไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร จะเรียกมันว่าคอมมิวนิสต์มันก็ไม่รับ แต่ว่ามันทำเหมือนคอมมิวนิสต์เปี๊ยบเลย มีพรรคการเมือง มีมวลชนจัดตั้ง มีกองกำลังติดอาวุธ เหมือนกับสมัยอดีตที่เราเจอพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย วันนี้เป็นอย่างนั้นครับ แล้วพวกลัทธิแดงนี่ประกาศชัดเจนว่า เขาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย เขาจะสร้างรัฐไทยใหม่ เขาจะมีประธานาธิบดี แล้วเขาแพลม ๆ มาว่าจะให้ทักษิณเป็นประธานาธิบดี"

 

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ มันเป็นเหตุมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกลัทธิแดงทั้งสิ้น ไอ้พวกนี้แหละครับ ตัวก่อการ ตัวก่อเหตุ เพราะว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมติดคุก ถูกศาลพิพากษาลงโทษลงโทษจำคุก 2 ปี หนีเลย

ทักษิณ อยากจะได้ทรัพย์สินที่ถูกศาลพิพากษายึดเข้ามาเป็นสมบัติของแผ่นดิน เพราะว่าโกงเราไป ร่ำรวยด้วยการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 46,373 ล้านบาท ยึดเข้าหลวงไปแล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้หมดแล้ว ถ้ามันจะเอาคืนก็ต้องมาเก็บภาษีพี่น้องทั้งหลายคืนให้กับทักษิณ พี่น้องเต็มใจคืนไม๊ครับ ตอบให้ทักษิณได้ยินถึงดูไบหน่อยสิครับว่า คืนหรือไม่คืน

พี่น้องที่เคารพรักทั้งหลาย คุณทักษิณเขารอเวลาที่จะกลับมาประเทศไทยแบบเท่ ๆ ไม่ต้องติดคุก แล้วกลับมามีอำนาจในประเทศไทยเหมือนเดิม มาใช้ระบอบทักษิณเหมือนเดิม พี่น้องยอมไม๊ครับ

ในขณะเดียวกันพวกลัทธิแดง ผมต้องใช้คำว่าลัทธิแดงเพราะไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร จะเรียกมันว่าคอมมิวนิสต์มันก็ไม่รับ แต่ว่ามันทำเหมือนคอมมิวนิสต์เปี๊ยบเลย มีพรรคการเมือง มีมวลชนจัดตั้ง มีกองกำลังติดอาวุธ เหมือนกับสมัยอดีตที่เราเจอพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย วันนี้เป็นอย่างนั้นครับ แล้วพวกลัทธิแดงนี่ประกาศชัดเจนว่า เขาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย เขาจะสร้างรัฐไทยใหม่ เขาจะมีประธานาธิบดี แล้วเขาแพลม ๆ มาว่าจะให้ทักษิณเป็นประธานาธิบดี

เขามีแผนที่จะรวบอำนาจ ทั้งอำนาจฝ่ายบริหาร ทั้งอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งอำนาจฝ่ายตุลาการไว้ในกำมือของพวกเขาแต่ฝ่ายเดียว เขาประกาศว่าถ้าเขามีรัฐไทยใหม่เขาจะมีพรรคการเมืองของเขาเพียงพรรคเดียวที่ปกครองบริหารประเทศ พวกลัทธิแดงนี้ครับ ได้ปลุกระดมประชาชนมา 5-6 ปีแล้ว แบ่งแยกชนชั้น แบ่งคนไทยออกเป็น 2 ชั้น ชั้น 1 เรียกว่าไพร่ เช่นไอ้ไพร่ณัฐวุฒิ เช่นไอ้ไพร่จตุพร วันนี้ณัฐวุฒิเปลี่ยนตัวเองจากไพร่ไปเป็นอำมาตย์แล้ว เป็นรัฐมนตรีแล้ว ส่วนจตุพรยังเป็นคางคกไพร่เหมือนเดิม

มันบอกว่า พวกไพร่ทั้งหลายนี้ต้องลุกขึ้นพัง ทำสงครามชนชั้น โค่นล้มอำมาตย์ และเครือข่ายอำมาตย์ เดือดร้อนกันหมดทั่วประเทศไทยพี่น้องครับ พี่น้อง คุณป้า คุณพี่ คุณน้าทั้งหลายถามตัวเองสิครับว่า มีห้องแถวกับเขาห้องนึง ค้าขายอยู่เล็ก ๆ น้อย มีที่นาอยู่ 14-15 ไร่ สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์มีนโยบายช่วยดูแลแก้ปัญหาให้ ราคาข้าวดีพอลืมตาอ้าปากได้ แล้ววันนี้เป็นไพร่ หรือเป็นอำมาตย์ครับ ไม่มีใครตอบได้ แต่ว่ามันพยายามแบ่งแยกคน พยายามให้ประเทศไทยเรามันแตกแยกกันในหมู่ประชาชน มอมเมา ปลุกระดม บิดเบือนข้อเท็จจริงตลอดเวลา ตอนที่ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกรัฐมนตรี มันลุกขึ้นอ้างเป็นเหตุว่านายกฯ อภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ โดยไม่ชอบธรรม ทั้ง ๆ ที่ได้มีการแข่งขันกันอย่างเปิดเผยกับคนที่มันส่งลงแข่ง คือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พอมันแพ้ มันไม่ยอมรับ ปลุกระดมลุกขึ้นก่อเหตุร้าย ก่อจลาจล เอาอาวุธสงครามมาเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ มาฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาฆ่าเจ้าหน้าที่ทหารกลางกรุงเทพมหานคร พี่น้องได้เห็นภาพในภาพในทีวี กองกำลังคนชุดดำคลุมหัวเป็นไอ้โม่ง พวกกระบวนการลัทธิแดงทั้งสิ้นที่ทำกับเรา แล้วก็เผาบ้านเผาเมือง เผาทั้งในกรุงเทพฯ เผาทั้งต่างจังหวัด ศาลากลาง 4-5 แห่ง วอดวายไปกับน้ำมือของคนพวกนี้ แล้วต้องเอาเงินภาษีอากรของเราทั้งนั้นครับ ที่ไปสร้างศาลากลางใหม่

พี่น้องที่เคารพ ปี 2552 ปี 2553 คนไทยมีความทุกข์ที่สุด กลุ้มใจที่สุด เพราะพวกลัทธิแดงนี้ลุกขึ้นอาละวาด ข่มขู่ คุกคาม เหมือนกับจับเอาคนไทยเป็นตัวประกัน คนกรุงเทพนั้นน่าสงสารที่สุดครับ เพราะว่าเป็นที่ที่เขาก่อเหตุ เดือดร้อนกันแทบแย่

พวกผมได้แก้ปัญหาด้วยความอดทน ด้วยความกลั้น จนกระทั่งคลี่คลายปัญหาได้ บ้านเมืองคืนกลับสู่ความสงบสุข ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังสามารถที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปจนครบเทอม แต่เห็นว่าเพื่อให้บรรยากาศการเมืองมันผ่อนคลาย พอมีความสงบเรียบร้อย พอประมาณแล้ว ท่านนายกฯ ก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

พี่น้องทั้งหลายครับ คนไทยทุกคนก็คิดว่า ถ้าเลือกตั้งเสร็จแล้ว บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย แล้วเป็นไงครับ เลือกตั้งเสร็จเขาชนะเลือกตั้งแล้ว เขาได้เป็นรัฐบาลแล้ว แต่เขาก็ยังไม่หยุด ยังก่อเหตุอยู่ตลอดเวลา ยังข่มขู่คนไทยอยู่ตลอดเวลา ยังข่มขู่ศาล ยังลุกขึ้นมาประท้วงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ยังยกขบวนไปปิดล้อมสภาผู้แทนราษฎรอยู่ นี่พรุ่งนี้จะมาอีกแล้วครับ เห็นว่าพรุ่งนี้จะซ้อมใหญ่ แล้วก็วันที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไต่สวนเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญที่พวกเขาเสนอเข้าไปนั้น ได้ข่าวว่าเขาจะยกพวกไปล้อมศาลรัฐธรรมนูญ มันอะไรกันครับ ถ้าพวกเขาอยากให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ก็ตั้งหน้าตั้งตาเป็นรัฐบาลดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ของประชาชนไปสิ มาก่อเหตุวุ่นวายกันทำไม

พวกผมเสียอีกครับ เลือกตั้งแพ้ ทำตัวสงบเรียบร้อย เห็นไม๊ครับ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปปักษ์ใต้ ไม่มีมือตบ ตีนตบไปรังควาญเลย แกจะทัวร์ให้สนุกสนานก็เชิญ แกจะเปลี่ยนชุดยังไงผมก็ชอบ เอาไป ไม่ว่า แต่ว่าที่เจ็บใจพี่น้องครับ เมื่อมีเสียงข้างมากในสภา แทนจะระดมสมอง ระดมปัญหาเอาพลังเสียงข้างมากมาช่วยเยียวยาแก้ไขปัญหาประชาชนให้พี่น้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รีบช่วยประชาชนที่เดือดร้อนเพราะของแพง เพราะว่าพืชผลเกษตรราคาต่ำ โน่นครับ พวกที่ปลูกยางพาราสมัยรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ขายยางได้กิโล 170-180 มาสมัยนี้ 80 บาทก็ไม่ถึง ราคาข้าวไม่ต้องพูดถึง เดี๋ยวหมอ (วรงค์ เดชกิจวิกรม) เขาจะมาพูดให้ฟัง เพราะคนนี้ไม่ชำนาญเรื่องแพทย์แล้ว ชำนาญเรื่องข้าว

แทนที่จะทำหน้าที่รัฐบาลที่ดีเหมือนที่ประเทศอื่น ๆ เขาทำกัน มันกลับรีบที่จะมาเขียนกฎหมาย 2 ฉบับ ที่มันจะทำลายชาติอย่างขนานใหญ่ กฎหมายฉบับแรกนี่เขียนขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้ทักษิณไม่ต้องติดคุก เขียนเพื่อให้ทักษิณ ได้เงิน 46,373 ล้านบาทคืน เขียนเพื่อให้บรรดาผู้ก่อการที่ฆ่าตำรวจ ฆ่าทหาร เผาบ้านเผาเมือง ไม่ต้องมีความผิดติดแม้แต่นิดเดียว

พี่น้องทั้งหลายครับ แม้คดีที่ศาลพิพากษาแล้ว เช่นคดียิงวัดพระแก้ว คดีเผาศาลากลางทั้งหลาย ถ้ากฎหมายของพวกนี้ผ่านสภาฯ คราวนี้ คนเหล่านั้นถือว่าไม่มีความผิดหลุดหมดครับ นี่คือเหตุครับพี่น้องครับ ไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกันอย่างนี้ ถามเถอะครับทุกประเทศในโลก ใครฆ่าคนตายผิดกฎหมายทั้งสิ้น ใครวางเพลิงเผาทรัพย์ผิดกฎหมายทั้งสิ้น แต่มีประเทศไทยของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่พี่ชายแกสั่งว่าให้เขียนกฎหมายพิเศษสำหรับประเทศไทยยุคนี้ ฆ่าคนตายไม่ผิด เผาบ้านเผาเมืองไม่ผิด ยิงวัดพระแก้วไม่ผิด เผาศาลากลางไม่ผิด แล้วเมื่อไหรพ่อมึงจะผิดวะ

พี่น้องที่เคารพครับ แล้วเขาจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ตามอำเภอใจเขา ไม่ฟังเสียงประชาชนอย่างพวกเราเลย ไอ้เรื่องรัฐธรรมนูญนี่พี่น้องต้องตามให้ดีครับ หนังมันยาว สิ่งที่เขาจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่ผมได้เห็นแพลม ๆ มาแล้วเนี่ยครับ เขาจะเขียนเพื่อรวบอำนาจทั้งหมดในประเทศไทยให้อยู่ในกำมือเขา ผมเรียนกับพี่น้องครับ ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก เขาจะแบ่งแยกอำนาจครับ ฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภา ฝ่ายตุลาการคือศาล ไม่ขึ้นกันเป็นอิสระ แน่นอนครับ ฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายสภา มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพราะว่าใครได้สส.มาก ก็มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่ากัน แต่ว่าศาลนี่ต้องเป็นอิสระ เป็นเครื่องค้ำประกันความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว ทุกประเทศเขาทำอย่างนี้

แต่วันนี้ไอ้พวกนี้มันโกรธศาลครับ ศาลปกครองเคยตัดสินว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 เป็นโมฆะ ศาลรัฐธรรมนูญเคยยุบพรรคไทยรักไทย เคยมีคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน ศาลฎีกาตัดสินจำคุกทักษิณ ยึดทรัพย์ทักษิณ มันโกรธศาล มันไม่มองว่ามันทำผิด ถ้ามันไม่โกงเลือกตั้งเขาก็ไม่ยุบพรรคมัน แต่นี่มันโกงเลือกตั้ง เขาก็ต้องยุบ นอกจากยุบแล้วพวกที่สมคบกับมันตั้งแต่กรรมการ กกต. เจ้าหน้าที่ รองหัวหน้าพรรคยศพลเอก ติดคุกเรียบหมด แล้วอย่างนี้จะมาโกรธศาลมันจะถูกที่ไหนครับ แต่คนพวกนี้มันลำพอง มันเชื่อว่าพวกมันมาก มันไม่เกรงใจใคร มันบอกว่าถ้ามันเขียนรัฐธรรมนูญใหม่คราวนี้ ศาลต้องอยู่ในกำมือของมัน เพราะมันจะตั้งประธานศาลฎีกาเอง มันจะตั้งทุกตำแหน่งในศาลเอง

พี่น้องครับ ทีนี้พวกมันทำผิดอะไร ไม่มีวันติดคุก ที่เหลือติดคุกก็คือท่านกับผมเท่านั้น แล้วมันเล่ห์เหลี่ยมมากครับพวกนี้ พี่น้องครับ เวลามันเสนอกฎหมายเพื่อที่จะลบล้างความผิดให้กับตัวเองกับทักษิณ มันเขียนหน้าปกซะสวยเลยครับ บอกว่ากฎหมายปรองดองแห่งชาติ แต่พอไปอ่านเนื้อใน ไม่มีเรื่องปรองดองเลยครับ มีเรื่องไม่ให้พวกมันผิดทั้งสิ้น ลบล้างความผิดของมันทั้งสิ้น

พี่น้องครับ พวกผมพรรคประชาธิปัตย์รู้เท่าทัน พยายามที่จะต่อสู้ในสภา มันก็หลอกล่อสารพัดครับ ชื่อกฎหมายน่ะมันบอกว่าปรองดอง แล้วมันมีอ่อยเหยื่อครับ ว่าที่จะลบล้างความผิดให้เนี่ย จะลบล้างให้อภิสิทธิ์ด้วย จะลบล้างให้สุเทพด้วย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ก็พูดเพราะ บอก ไม่ต้องมาลบล้างให้กับพวกผม แต่ถ้าสุเทพพูดจะบอกว่า ไม่ต้องมาลบล้างให้กู ! กูพร้อมที่จะสู้คดี เราเป็นคนไทย เราเคารพกฎหมายไทย เราเคารพศาลไทย เราพร้อมที่จะพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรม เราจะไม่ทำตัวเป็นคนเหนือกฎหมายอย่างทักษิณ และพวกพ้องของทักษิณเป็นเด็ดขาด ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ถึงพูดแล้วว่า ไม่ต้องมาเผื่อแผ่ถึงพวกผม 2 คน เชิญเลย เอาเลยวันนี้มีอำนาจเป็นรัฐบาลจะฟ้องกี่คดี ก็พร้อมทั้งนั้น ถ้าผมพลาดพลั้งก็ไปส่งข้าวห่อบ้างแล้วกันนะครับ

 

"แหมทีไอ้จ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ลุกขึ้นพูดมันให้พูดยาวเหยียดเลย โอ้ มันน่าเกลียดมาก พี่น้องที่เคารพครับ แล้วเวลายกมือไม่ต้องพูดถึงครับ พวกผมในสภา ฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์มี 160 คน ข้างมันมี 300 กว่า ยกทั้งมือทั้งตีน แพ้ทุกวัน"

 

พี่น้องที่เคารพครับ ว่าที่จริงเนี่ย ถ้าสภาฯ มันมีเหตุมีผลพูดกันด้วยเหตุด้วยผล พูดกันด้วยความจริงเนี่ย ไม่ต้องเดือดร้อนพี่น้องเลย แต่พี่น้องดูการถ่ายทอดการประชุมสภาสิครับ มันไม่ฟังเหตุผลข้างเราเลย วันดีคืนดีท่านอภิสิทธิ์กำลังลุกขึ้นอภิปรายประธานสภาฯ ไม่รู้ฟังคำสั่งมาจากดูไบหรือยังไง บอกพอแล้วพูดเยอะแล้ว ท่านหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านพูดมันยังปิดไมค์เลยครับ

แหมทีไอ้จ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ลุกขึ้นพูดมันให้พูดยาวเหยียดเลย โอ้ มันน่าเกลียดมาก พี่น้องที่เคารพครับ แล้วเวลายกมือไม่ต้องพูดถึงครับ พวกผมในสภา ฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์มี 160 คน ข้างมันมี 300 กว่า ยกทั้งมือทั้งตีน แพ้ทุกวัน

พี่น้องที่เคารพ คือถ้าแพ้กฎหมายอื่นผมทนได้ครับ พวกเราทนได้ แต่ว่ากฎหมาย 2 ฉบับนี้ถ้าเกิดเขาชนะ ถ้าเขาเกิดทำสำเร็จ ความหายนะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ต่อไปนี้นานาประเทศไม่มีใครเชื่อระบบนิติบัญญัติของประเทศไทยแล้ว เพราะว่าฝ่ายข้างมากจะเขียนกฎหมายอย่างไรก็ได้ ใครเขาจะมาเชื่อเรา เท่านั้นไม่พอครับ มันจะไม่มีความเป็นธรรมเหลืออยู่ในสังคมประเทศไทย พอพวกเขาชนะได้เสียงมากอะไรที่เคยฉ้อ เคยโกง เคยทุจริต เขียนกฎหมายลบความผิดให้หมด จบ ต่อไปนี้มันก็โกง จนแทะเราเหลือกระดูกเท่านั้นเองพี่น้องครับ ผมเรียนกับพี่น้องกระดูกก็ไม่เหลือคุณป้าบอก ใช่

พี่น้องที่เคารพครับ ฝ่ายค้านอย่างพวกผมยืนยันกับพี่น้องครับว่าในสภาพวกผมจะทำหน้าที่เต็มที่ ไอ้กฎหมายลบล้างความผิดเนี่ย จะสู้กับมันตั้งแต่ชื่อพระราชบัญญัติเลย ชื่อกฎหมายเลย ที่มันเขียนว่ากฎหมายปรองดองนี่ ผมก็จะไปแปรญัตติว่า เป็นกฎหมายช่วยทักษิณและบริวาร แปลมันทุกบรรทัด แต่ว่ายืนยันกับพี่น้องว่า แพ้แน่นอน

อันตรายมากครับ แล้วถ้ามันเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ได้ตามใจมัน รับรองลูกหลานเราหมดสิ้นอิสระภาพ เสรีภาพ วันหนึ่งข้างหน้าลัทธิแดงยึดครองประเทศไทย เปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้านเมืองหมด ลูกหลานเราน้ำตาตกครับ มันเคยมีตัวอย่างมาแล้วพี่น้อง ที่ประเทศเยอรมัน ฮิตเลอร์ชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมาก สส.ในสภาเขียนกฎหมายใหม่ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่มอบอำนาจให้ฮิตเลอร์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในประเทศเยอรมันวันนั้น ประเทศเยอรมันเจ๊งเลย แล้วเจ๊งเฉพาะเยอรมันไม่พอ โลกเจ๊งไปด้วยครับ เพราะว่าเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เราอย่าให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเลยครับพี่น้องครับ สงสารลูกหลานเรา ผมเรียนเลยครับว่าถ้าพวกนี้สามารถยึดประเทศไทยได้ตามเป้าหมายเขา ประเทศเราก็จะเหมือนเกาหลีเหนือ ประเทศเราก็จะเหมือนคิวบา ไม่มีวันที่ลูกหลานเราจะลืมตาอ้าปากได้ ไม่มีวันที่จะมีสิทธิเสรีภาพอย่างที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่เคยมี

พี่น้องครับ นี่คือเหตุผลที่พวกผมจะมาบอกความจริงกับพี่น้องโดยการตั้งเวทีประชาชน ชักชวนพี่น้องว่าอยู่เฉยไม่ได้แล้วครับ พึ่งเฉพาะฝ่ายค้านในสภาไม่พอหรอกครับ วันนี้พี่น้องทั่วประเทศต้องลุกขึ้นมายืนพร้อม ๆ กัน ส่งเสียงพร้อม ๆ กันว่า กูไม่เอา กูไม่เห็นด้วย กูจะสู้กับมึง พี่น้องพร้อมจะสู้กับเขาไม๊ครับ พร้อมที่จะสู้มันไม๊ครับ พวกผมทั้งหลายเหล่านี้ และที่อยู่ในสภาอีกร้อยกว่าชีวิตพร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างกับพี่น้อง เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์เอาไว้ รักษาแผ่นดินนี้ไว้ให้เป็นสมบัติตกทอดถึงลูกถึงหลานให้เขามีโอกาสได้เบ่งบานเป็นเสรีชนที่เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการยุคใหม่ที่พวกนี้กำลังพยายามจะทำ

พี่น้องครับ ผมขอกราบฝากเรื่องนี้ไว้ให้เป็นภาระของพี่น้องทั้งหลาย และเราจะร่วมมือกันต่อสู้ เพื่อต่อต้านกฎหมายที่จะทำลายชาติทั้ง 2 ฉบับนี้ด้วยกัน เราจะเคียงข้างกันตลอดไป ขอบคุณครับพี่น้องครับ สวัสดีครับ

 

000

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พี่น้องที่เคารพรักทุกท่านครับ วันนี้ผมถือว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งนะครับที่พรรคประชาธิปัตย์ได้มาพบปะกับพี่น้องเพื่อเอาความจริงเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเผชิญกับบ้านเมืองของเรา และอนาคตของลูกหลานเรามาบอกเล่าให้แก่พี่น้องประชาชนได้รับรู้ รับทราบ

ที่ผมบอกว่า วันนี้สำคัญก็เพราะว่าแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดเวทีที่คุณสุเทพเรียกว่าโรงเรียนการเมือง หรือการสานเสวนามามากพอสมควรในหลายภูมิภาค แต่การตั้งเวทีผ่าความจริงฯ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับอันตรายของการทำงานของรัฐบาลใน 2 เรื่องหลัก คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำไปสู่การรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ กับการคิดที่จะออกกฎหมายล้างผิด นิรโทษกรรมให้ผ่านสภา และให้พรรคพวกให้คุณทักษิณนั้นพ้นผิด เราได้จัดเวทีแบบนี้มาเพียง 3 ครั้ง ทั้ง 3 ครั้งเริ่มตั้งแต่ลานคนเมือง ไปที่วงเวียนใหญ่ แล้วก็ไปที่มีนบุรีเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว อยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น จนกระทั่งเรามาพูดคุยกันบอกว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเอาความจริงเหล่านี้มาเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาคอื่น ๆ ได้รับรู้ รับทราบ ในที่สุดเราก็ตกลงครับว่า ต่อจากนี้ไปทุกวันเสาร์ เราก็จะสัญจรออกไปในจังหวัดต่าง ๆ ภูมิภาคต่าง ๆ แต่วันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เราออกมานอกกรุงเทพมหานคร มาที่นี่ครับ ที่จังหวัดพิษณุโลก ของพี่น้องที่นี่

อุตส่าห์มาถึงนี่ยังต่อว่าเลยนะ ต่อว่าว่าทำไมไม่เอารังสิมามาด้วย ไม่เอามา กลัวมาแย่งเก้าอี้ผม พี่น้องครับ มาครั้งแรกที่ต่างจังหวัดมาที่นี่ แล้วก็จะเดินสายต่อ แต่ผมทราบว่าวันนี้ที่มาที่นี่ไม่ได้มาจากพี่น้องที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกเท่านั้น หลายจังหวัดใกล้เคียงก็มาใช่ไม๊ครับ สุโขทัยก็มา เมื่อสักครู่ก็มีกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ หลายต่อหลายจังหวัดนะครับที่ใกล้เคียง พิจิตร มากันเยอะแยะไปหมดครับ ส่งเสียงดัง ๆ หน่อยครับ

ส.ส. ก็มาจากหลายจังหวัดนี่ไล่เรียงกันมาเลยนั่น กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย นครศรีธรรมราช อุทัยธานี นครสวรรค์ แต่วันนี้ที่มาไกลที่สุดคือผม เพราะว่าก่อนที่พรรคจะตกลงว่าจะมาจัดเวทีที่นี่ ผมไปรับงานเป็นประธานยกช่อฟ้าที่พัทลุง เพราะฉะนั้นเมื่อเช้าผมตื่นตั้งแต่ตี 4 ขึ้นเครื่องบินรีบไปเลยครับ 6 โมงเช้าเที่ยวแรก ไปหาดใหญ่ นั่งรถไปพัทลุงไปยกช่อฟ้า 1 วัด ไปฉลองอุโบสถอีก 1 วัด ที่พัทลุง แล้วก็รีบกลับมาขึ้นเครื่องที่หาดใหญ่ เพื่อบินมาลงสุวรรณภูมิ แล้วก็เปลี่ยนเครื่องบินจากสุวรรณภูมิไปลงสุโขทัยเพราะไม่มีเครื่องมาพิษณุโลกแล้ว แล้วก็เดินทางมาที่นี่ ที่พูดจะบอกก็คือว่า ไม่รักกันจริง ไม่มานะครับวันนี้

แต่ว่าจำได้ว่า ประชาธิปัตย์มาตั้งเวทีตรงนี้ทุกครั้ง คึกคักทุกครั้งพี่น้องประชาชนมาแล้วก็มาให้กำลังใจ มาให้การสนับสนุน สนอกสนใจในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้บอกกล่าวให้พี่น้องฟัง พอเครื่องลงสุโขทัย เขาก็บอกว่าฝนตกหนัก แต่ผมก็มั่นใจว่าไม่มีใครหนี แล้วพอผมมาถึง ฝนก็หยุด แล้วจะตกหนักอีกทีวันที่เสื้อแดงมาที่นี่ เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วที่มีนบุรี ของเรานั้นซ้อมใหญ่เฉย ๆ ตอนไปปราศรัย ฟ้าซ้อมใหญ่ฝนตกลงมาบ้าง คือไม่ตกไม่ได้เดี๋ยวถูกว่า สองมาตรฐาน แต่ตกมาพอให้เห็นแล้วก็พอวันรุ่งขึ้นเขาไปก็ตกหนัก เสียอย่างเดียว พอฝนตกหนักปรากฎว่านายจตุพรเลยไปอ้างศาลเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จะต้องเป็นจำเลยในคดีที่ผมฟ้องอ้างว่าฝนตกหนักเป็นหวัด ศาลก็ใจดี๊ ใจดีเชื่อมัน ปรากฎว่ายอมเลื่อนคดีให้ เย็นวันนั้นมันไปขึ้นเวทีปราศรัยอีก หวัดมันหายเร็วจังเลยนะ ไม่รู้คนหรือคางคกเป็นหวัดแล้วหายเร็ว

พี่น้องครับ วันนี้ยังต้องมาย้ำหลายสิ่งหลายอย่างคือตอนแรก เขากลัวว่าตั้งเวทีกรุงเทพฯ ตั้งเวทีวงเวียนใหญ่ ที่นั่นที่นี่ คนที่อื่นอาจจะไม่รู้ แต่เดี๋ยวนี้ปรากฎว่าพอมีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ คือบลูสกาย กับทีวีดี ถ่ายทอดแล้วทีนิวส์ ถ่ายทอดการปราศรัยทราบว่าพี่น้องให้ความสนใจติดตามอย่างต่อเนื่อง ผมเลยคงไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำ ๆ ในสิ่งที่พูดมาแล้ว 3 เวที แต่ต้องขยายความบางเรื่อง และต้องมาเล่าให้ฟังว่า การต่อสู้ในเรื่องนี้แม้สภาปิดสมัยประชุมไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แต่เรายังวางใจไม่ได้ และมันมีกระบวนการหลายสิ่งหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ผมกราบเรียนพี่น้องครับ อาทิตย์ที่แล้วตอนที่ไปมีนบุรี การปราศรัยก็ให้ความรู้เรื่องกฎหมาย เรื่องรัฐธรรมนูญ ก็เรียบร้อยดีทุกประการ บังเอิญคนจัดเวทีชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณหงุดหงิด หงุดหงิดเพราะว่าขึ้นปราศรัยเป็นคนสุดท้าย ที่ต้องขึ้นปราศรัยเป็นคนสุดท้ายเพราะว่าผมยื่นคำขาดว่าถ้าให้ผมพูดเป็นคนสุดท้ายอีก ผมไม่ไปแล้ว ยืนหงุดหงิด ๆ 4 ทุ่มยังไม่ได้ขึ้นเวที รู้ว่า 5 ทุ่มคนจะรีบไปดูบอล 4 ทุ่ม 5 นาทียังไม่พูด 4 ทุ่ม 10 นาที ยังไม่ได้พูด พอขึ้นเวทีปั๊บ พิธีกรส่งกระดาษขึ้นมา อย่าพูดนาน คนจะกลับไปดูบอล คุณสุเทพ ก็เลยไม่รู้ว่าจะพูดอะไร ก็เลยเอาให้คุ้มเลยครับ พูดไป 8 นาที แต่เป็นพาดหัวข่าวใหญ่ไปอีก 1 อาทิตย์ เพราะเอาความจริงมาเปิดเผย มาแฉว่า หลายเรื่องที่ทักษิณ ที่แกนนำพรรคเพื่อไทย ที่แกนนำเสื้อแดงพูดเสมือนกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำเป็นเรื่องของความคิด เป็นเรื่องของอุดมการณ์ เป็นเรื่องของประชาธิปไตย แท้ที่จริงไม่ใช่

คุณสุเทพเปิดเผยความจริงเพียงแค่ว่าคุณทักษิณนั้น พยายามทุกวิถีทางเพื่อไปสู่เป้าหมายที่หลายคนบนเวทีนี้พูดไปแล้วก็คือว่า ขอให้ตัวเองไม่ติดคุก แล้วถ้าไม่ติดคุกแล้ว ก็จะได้คิดเอาเงิน 46,000 ล้านไปเป็นของตัวเองอีก และถ้าได้เงินคืนแล้วก็ค่อยคิดถึงเรื่องของการที่จะมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเล่นการเมือง แล้วก็คงมีเป้าหมายเบื้องต้นเป็นนายกรัฐมนตรี

แล้วก็ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ถ้าไปถึงจุดนั้นแล้วจากเดิมที่บอกว่า เคยสำนึกผิดในบางเรื่อง วันนี้ก็หลุดออกมาแล้วเพิ่งไปให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศบอก ถ้ากลับมาเป็นนายกฯ นั้นจะทำทุกอย่างเหมือนเดิม

ทำเหมือนเดิม ก็คุก อีกสิครับ พี่ !

เพราะประเทศไทยยอมอย่างนั้นไม่ได้ คุณสุเทพก็เลยเปิดเผยให้ทราบว่า ในขณะที่จะยื่นกฎหมาย ในขณะที่มีการปลุกระดมมวลชน ก็ยังมีความพยายามในการหาวิธีการอื่นอีก เช่น ส่งคนมาทาบทามให้ไปเจรจาให้พรรคประชาธิปัตย์ไปเจรจา ผมยืนยันว่า คุณสุเทพไม่พูดเท็จหรอกครับ เพราะถ้าคุณสุเทพพูดเฉพาะที่มีนบุรี เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่ ผมคงต้องสงสัยเหมือนกันว่าอยู่ดี ๆ เอาอะไรมาพูด แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า คุณสุเทพเล่าให้ผมฟังถึงความพยายามในการติดต่อในเรื่องเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญก็คือว่า ไม่ใช่คุณสุเทพคนเดียวครับ มีคนอื่น ๆ ที่อยู่ในพรรค ที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยมารายงานให้ผมทราบถึงแนวคิดที่จะมีการเจรจาแบบเดียวกับที่คุณสุเทพเล่าให้ผมฟัง

ฉะนั้นผมจึงกล้าพูดได้ว่า ไม่ใช่คุณสุเทพหงุดหงิดนึกสนุก กุเรื่องเล่น ๆ ขึ้นมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เพราะคุณสุเทพก็ไม่มีนิสัยอย่างนั้น แต่เป็นเรื่องที่ผมรับรู้รับทราบ มีการรายงาน และเล่าให้ฟังก็ได้ครับ ถึงขั้นที่ว่า ผมเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคมาประชุม เพราะผมเกรงว่าถ้ามีการติดต่ออย่างนี้มาก ๆ เข้า เดี๋ยวคนในพรรคสับสน หวาดระแวงว่าเอ๊ะ ทำไมผู้หลักผู้ใหญ่ของพรรค คนนั้นคนนี้มีการไปพูดคุยกับฝ่ายพรรคเพื่อไทย กับฝ่ายคุณทักษิณ จะไขว้เขวไปหรือไม่ในแนวทางต่าง ๆ แล้วในที่สุดพอประชุมกันก็เป็นเสียงเอกฉันท์ครับว่า ใครจะมาติดต่ออย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันจุดยืนชัดเจนครับว่า ไม่ประสงค์ที่จะเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย แต่พร้อมเป็นฝ่ายค้านต่อสู้เคียงข้างพี่น้องประชาชนเพื่อความถูกต้อง

แล้วที่คุณสุเทพ อ.แก้วสรร คุณสำราญ พูดก่อนหน้านี้ บางทีก็มาเจรจา พูดจาแบบไพเราะอ่อนหวาน มาร่วมกันเถอะ บ้านเมืองจะได้สงบ แต่บางทีก็ใช้วิธีข่มขู่ ข่มขู่ว่าคดีเหตุการณ์ปี 53 กำลังมีการไต่สวนในศาลเดี๋ยวจะเดือดร้อนมาถึงผม เดือดร้อนมาถึงคุณสุเทพ ก็นิรโทษกรรมทุกฝ่ายเลิกแล้วกันไป ผมก็ตอบมาทุกครั้งครับ ทำไปเถอะครับ ตามกระบวนการยุติธรรม พี่น้องสูญเสียชีวิต มีข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่หรือไม่ ไต่สวนตามกระบวนการของกฎหมาย พวกผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจของตัวเอง พร้อมต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมทุกประการ

เพราะฉะนั้นนี่คือแนวทางที่ชัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยหลายคนออกมาโวยวาย โวยวายพวกที่โวยวายบอก ไม่อยากร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ไม่ว่ากันครับ ผมก็ไม่ได้อยากร่วมกับคุณ

แต่ผมไม่ร่วมกับคุณ ผมก็ต่อสู้ตามวิถีทางของสังคมที่เจริญแล้ว ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ปลุกระดม ไม่ไปจลาจล ไม่ไปเผาบ้านเผาเมือง เมื่อคุณไม่อยากร่วมกับผม ผมไม่อยากร่วมกับคุณ เรื่องก็น่าจะจบ แต่มันก็ดิ้นรนกันนักหนานะครับ ให้ข่าวว่าไม่ได้ นายสุเทพต้องเปิดเผยชื่อ เป็นใคร ผมจำไม่ได้ 2 หญิง 1 ชาย เป็นใครต้องบอกมา ไม่บอกแปลว่าโกหก ท้าไปสาบาน ท้าไปสาบาน ผมก็แปลกใจ ผมเห็นจตุพร ณัฐวุฒิ ก่อแก้ว ทักษิณ ใครต่อใคร พูดจาเหลวไหลมาไม่รู้กี่เรื่อง เอ่ยชื่อก็ไม่เอ่ย ว่าเป็นใครมาล้มล้างรัฐบาลบ้าง จะปฏิวัติบ้าง กดขี่พี่น้องประชาชนบ้าง เรียกว่าอำมาตย์บ้าง เรียกว่าบุคคลผู้มีอิทธิพลเหนือ นอกรัฐธรรมนูญบ้าง ไม่เห็นมันเคยเปิดเผยชื่อสักครั้งนึงเลยครับ

แล้วทำไมไม่ไปสาบานบ้างล่ะ ว่าพูดจริงหรือไม่จริง สุดท้ายเขาก็ท้าคุณสุเทพไปสาบาน คุณสุเทพก็ไม่ไปนะ ที่ไม่ไปเนี่ย มาอธิบายกับผม เหตุผลฟังขึ้น คือเดี๋ยวนี้อากาศแปรปรวน กลัวฟ้าไม่แม่น เคยเจอพวกเหลวไหลใจร้อนไปหน่อย ผ่าตู้ม แต่เกิดการคลาดเคลื่อนเล็กน้อยมาโดยฝ่ายเรา ก็เลยไม่ไป ไม่ไปก็ไม่แปลกนะครับ ผมเรียนตรง ๆ ผมจำได้เรื่องสาบานเนี่ย ยุคไหนแต่ไหนแต่ไร ชอบมีอย่างนี้ครับ สาบานกันในสภา อะไรต่าง ๆ แต่ผมก็จำได้เหมือนกันนะครับว่าที่เขาจัดจริงจังเป็นเรื่องเป็นราวเลย ผมจำได้ก็คือเมื่อปี 50 ตอนเลือกตั้ง กกต.เนี่ยเชิญพรรคการเมือง และสส. หรือผู้สมัคร สส. ระบบสัดส่วน และคนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในกทม. ไปสาบานว่าจะไม่ซื้อเสียง ปรากฎว่าพวกผมไปกันครบครับ แต่ฝั่งนู้น บางคนไม่ไป เช่นเอาคนเดียวพอ เฉลิม อยู่บำรุง ไม่ไป

ที่จริง จตุพร ก็ไม่ไป ใครก็ไม่ไปครับ ไอ้อย่างนั้นสิครับ มีการจัดเป็นเรื่องเป็นราวเป็นพิธี ผมไม่ได้ว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ แต่เราแสดงความบริสุทธิ์ใจ แต่นี่ผมไม่รู้สาบานกันเรื่องอะไร แล้วอยู่ดี ๆ ก็เลยมีการไปฝ่ายเดียว ไอ้คนที่ไปก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ไม่รู้จะไปสาบานอะไร เลยมาสาบานแทนนายสุเทพ คือชินกับระบบนอมินี ก็เลยบอกไปแทนนายสุเทพ ผมก็ถาม เอ๊ะ เขาไปทำอะไร เขาบอกไปพูดว่า ถ้านายสุเทพพูดไม่จริงขอให้พรรคเขาเจริญ มันสาบานแบบไหนวะ ถ้าสาบานมันต้องไปพูดเช่นว่า ถ้าพวกผมที่มาสาบานไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรกับเขาเนี่ย ขอให้ฉลาดเท่าเดิมไปทุกชาติ

อย่างนี้แหละครับ ถึงจะเป็นการสาบาน ผมไม่รู้ว่าจะกล้าไม๊ครับ หรือกลัวฉลาดเท่าเดิม ผมจึงบอกพี่น้องว่า วันนี้ต้องชัดเจนว่าเรื่องราวทั้งหมด มันไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ พรุ่งนี้ที่บอกจะซ้อมใหญ่ก็จะอ้างเป็นเรื่องอุดมการณ์ อิงกับว่าวันพรุ่งนี้ 24 มิถุนา ครบรอบเปลี่ยนแปลงการปกครอง 80 ปี จะจัดเวทีใหญ่จัดไป ผมไม่รู้ว่าจะไปปลุกระดมอะไรอีกนะครับ แต่ถ้ามาตรฐานเหมือนกับที่จัดที่ดอนเมืองเมื่อวานนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าว่า 80 ปี ผ่านไปนักการเมืองไทยบางพวก ถอยหลัง แย่กว่าเดิม เพราะไม่มียุคไหนหยาบคาย ไร้สาระแบบนั้นครับ

แต่ว่าถ้าอยากฟังของดี ๆ แหมบังเอิญตั๋วหมดแล้ว ไม่กล้าโฆษณา พรุ่งนี้ท่านนายกฯ ชวน กับผมก็จะไปจัดกิจกรรมที่จะพูดจากับพี่น้องซึ่งกรุณาซื้อตั๋วไปแล้วก็จะเอารายได้ที่หักรายจ่ายแล้วมอบให้กับสภากาชาด ก็จะได้เหลียวหลัง แลหน้าประชาธิปไตยไทย ว่ากันด้วยเหตุผล ว่ากันด้วยหลักการ ว่าด้วยเนื้อหาสาระที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาการเมืองของเรา

แต่วันนี้ที่มาตั้งเวทีตรงนี้ก็ต้องย้ำอีกครั้งครับ 2 เรื่องหลักของเรายังไม่จบ เรื่องแรก เรื่องรัฐธรรมนูญ ปิดสมัยประชุมไปขณะนี้ศาลก็กำลังจะมีการไต่สวน พิจารณาเพราะมีคนไปร้องว่า การพยายามที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญด้วยการยื่นแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 หรือจะเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่น ๆ ในสังคมนั้นเข้าข่ายตามมาตรา 68 หรือไม่ ซึ่งแทนที่เราจะได้ยินพรรคเพื่อไทยผู้เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกมาพยายามอธิบายถึงเหตุ ถึงผลต่าง ๆ เรากลับได้ยินการไปตั้งเวทีขู่ศาลรัฐธรรมนูญ แกนนำเสื้อแดงพยายามจะบอกว่าศาลต้องตัดสินให้ดีนะ ไม่งั้นบ้านเมืองจะมีปัญหา เขาไปตั้งเวทีที่มีนบุรีเขาบอกว่า ถ้าศาลตัดสินไม่ดี ไม่ดีของเขาคือไม่ถูกใจ เขาก็จะมายึดกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง

พี่น้องยอมรับได้ไหมครับ วิธีการแบบนี้ ท่านประธานศาลเมื่อวานถึงกับเอ่ยปากออกมาว่า ด้วยประสบการณ์ของท่านในวงการตุลาการ คดีนี้เป็นคดีที่แปลกมาก จำเลยไม่คิดต่อสู้โจทก์ จำเลยคิดต่อสู้ศาล

เราจะเอาระบบอย่างนี้เหรอครับ ถ้าเราปล่อยระบบอย่างนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่มีทางได้รับความยุติธรรมในสังคม กลายเป็นใครเสียงดัง ใครพวกมาก ใครมีอำนาจก็สามารถข่มขู่คุกคาม ผิดก็เป็นถูก ถูกก็เป็นผิดได้ ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนยอมอย่างนั้นได้ สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี เลือกตั้งมาจากคนทั้งประเทศโดยตรง ยังต้องอยู่ภายใต้ศาลสูงสุด ที่สามารถชี้ได้ว่าการกระทำการออกกฎหมายนั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เขาไม่มาบอกหรอกครับว่ามีเสียงมากี่ล้านเสียง ผู้พิพากษากี่คนจะมาใหญ่กว่า เพราะเขารู้ว่า มันมีการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุล ตรวจสอบ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทุกคนเป็นเจ้าของประเทศจริง ๆ ไม่ใช่ระบบพวกมากลากไป หรือพวกมากทำอะไรก็ได้

 

"ความจริงพวกเรา ส.ส. ในพื้นที่ คุณสุเทพ และแม้กระทั่งอดีตนายกฯ ชวนนะครับ ขึ้นอภิปรายแนะนำในเรื่องกฎหมายการยางซึ่งรัฐบาลที่แล้วจะผ่านสภาอยู่แล้ว ยุบสภา นึกว่ารัฐบาลนี้ใครเข้ามาจะทำต่อ กลับไปเริ่มต้นใหม่ สอนเท่าไหร่แกไม่ฟังครับ แกนึกว่าแกเก่ง เพราะแกมีประสบการณ์เรื่องขนยางมาเผา"

 

พี่น้องที่เคารพครับ ดังนั้นเรื่องรัฐธรรมนูญนี้จึงยังเป็นปมที่พวกเราทุกคนต้องเป็นกำลังใจให้ศาลนั้นดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ท่านจะวินิจฉัยอย่างไร ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เราต้องยอมรับ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหลายเรื่องไม่ถูกใจประชาธิปัตย์มาแล้ว แต่เราก็ยอมรับเพราะเราต้องรักษาระบบ และเห็นว่าระบบสำคัญกว่าตัวเรา ถูกต้องใช่ไหมครับ พี่น้องครับ ถ้าเรารักษาแนวทางอย่างนี้ให้กำลังใจตุลาการ งานต่าง ๆ ของบ้านเมืองมันก็จะเดินได้ ไม่ใช่ตัดสินไม่ถูกใจปั๊บ ก็ปลุกระดม เอาคนมา มาใช้การข่มขู่คุกคามมีความรุนแรง และเดี๋ยวนี้หนักข้อว่า ยังไม่ทันตัดสิน ก็คิดจะไปล้อมไปข่มขู่ ต่อไปถ้าเป็นอย่างนี้นะครับ ไม่ต้องดูกฎหมายกันแล้ว ใครผิดใครถูกก็ทุกคนก็ดูเอาก็แล้วกันว่า กลัวใคร หรือไม่กลัวใคร ผมว่าเป็นอันตรายอย่างมาก เรื่องรัฐธรรมนูญก็ต้องว่ากันต่อไป

อาทิตย์ที่ผ่านมาผมยังโดนพาดพิงจาก คุณจาตุรนต์ ฉายแสง เอ้าเอ่ยชื่อก็ได้ เขาบอกว่านายอภิสิทธิ์นี่ไม่เชื่อมั่นระบบรัฐสภาจริง ถ้าเชื่อมั่นระบบรัฐสภาจริงทำไมไม่สนับสนุนให้สภาสู้กับศาลรัฐธรรมนูญ เขาพยายามยุว่าสภาต้องลงมติไปเลย ไม่ต้องฟังคำสั่งศาล คำสั่งศาลไม่ผูกพันสภา เขาบอกนั่นแหละเป็นการปกป้องสภา รักษาเกียรติยศของสภา

ผมไปออกรายการโทรทัศน์ บังเอิญอาทิตย์ก่อนเขาเชิญคุณจาตุรนต์ ผู้ดำเนินรายการก็เลยถามผมบอกว่า คุณจาตุรนต์ถามผมอย่างนี้ ผมว่าอย่างไร ผมก็บอก ผมและพรรคประชาธิปัตย์รักสภา ปกป้องสภา และหวงแหนอำนาจของสภา แต่แนวคิดของคุณจาตุรนต์ที่บอกรักสถาบันสภา จะให้สภาไปสู้กับศาล ไม่ต่างจากนักเลงอาชีวะ ที่ไปไล่ตีสถาบันอื่นแล้วอ้างว่านั่นคือการปกป้องสถาบันตนเอง

ไม่ใช่ครับ ถ้าเรารักสถาบันของเรา เราต้องรู้ว่าขอบเขตอำนาจของเราอยู่ตรงไหน อะไรควร อะไรไม่ควร การรักษาสภาไม่ให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งผมว่าที่ทำอยู่ตอนนี้ถูกต้อง คือไม่ว่าจะคิดว่าคำสั่งศาล ถูกไม่ถูก ผูกพัน ไม่ผูกพัน จะเป็นอะไรไปล่ะครับ ที่จะรอให้ศาลเขาไต่สวนให้เรียบร้อยวินิจฉัยให้เรียบร้อย ถ้ามั่นใจว่าถูกต้องศาลเขาบอกว่ารัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไปได้ ก็รอไปอีกซักอย่างมากก็เดือน 2 เดือน แล้วก็ลงมติกัน จะเป็นอะไรไปครับ ใครรอไม่ได้ จะรีบไปตายที่ไหนล่ะครับ

ผมจึงบอกว่า ที่เราต้องให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนส่วนหนึ่งนั้น ผมไม่ได้บอกว่าเราบอกว่าใครถูกใครผิด แต่เราต้องการให้สังคมมีการยับยั้งชั่งใจ เมื่อมีระบบการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุลอำนาจ เคารพซึ่งกันและกัน แล้วจะทำให้บ้านเมืองมีความสมดุลแล้วเดินต่อไปได้ นั่นเรื่องรัฐธรรมนูญ

ถัดมาก็เรื่องกฎหมายล้างผิด 4 ฉบับที่ว่า ที่เล่ากันมาหลายครั้งแล้วละครับว่า ตกลงอะไรก็ไม่ผิดทั้งนั้น เผาบ้านเผาเมือง จะศูนย์การค้า ศาลากลาง ไม่ผิด เอาเงินงบประมาณต้องไปซ่อมแซมเยียวยา ไม่รู้กี่พันล้าน ก็จะสูญเปล่าไปไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ มีการฆ่า มีการเอากำลังมา มีการปาระเบิด มีการยิง M79 ยิง RPG ก็ไม่ต้องรับผิด อย่างนี้คือสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายที่เขาเรียกว่าเป็นกฎหมายปรองดอง แล้วก็พ่วงแถมเข้าไปครับ ขาดไม่ได้ตกหล่นไม่ได้ เรื่องของนายใหญ่ นอกจากบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์การชุมนุมขัดแย้งทางการเมือง ขอพ่วงพวกที่ถูกศาลลงโทษในคดีทุจริต ที่เริ่มต้นมาจากการทำงานของ คตส. ก็คนได้ประโยชน์สูงสุดก็ไม่ใช่ใครหรอกครับ ก็ทักษิณ

ใครที่ยังคิดว่าจำเป็นต้องทำอย่างนี้ เพราะทักษิณถูกกลั่นแกล้ง เพราะคตส. ศาลไม่ให้ความยุติธรรม ผมว่าฟังอ.แก้วสรรแล้วต้องเข้าใจ เอาข้อเท็จจริงมาหักล้างสิ่งที่ อ.แก้วสรร พูดสิครับ อย่าไปเพียงพูดลอย ๆ ว่า ตั้งคนมีอคติ สอบสวนแล้วก็กลั่นแกล้งทักษิณ กลั่นแกล้งครอบครัว ต้องคืนความยุติธรรม หลังสุดนี่เลขาของประธานสภาบอก ต้องเยียวยาให้คุณทักษิณเขาน่าสงสารมาก ที่ถูกกระทำแบบนี้

ที่นี่ไม่ค่อย ผมนึกว่าคนที่นี่ใจอ่อนนะ ขอ 46,000 ล้านก็ไม่ให้ ขอไม่ติดคุกก็ไม่ให้ ผมเรียนตรง ๆ ละครับ ตอบแทนพี่น้องมันไม่ใช่เรื่องใจอ่อน ใจแข็ง มันไม่ใช่เรื่องทักษิณ หรือไม่ทักษิณครับ มันเป็นเรื่องหลักการความถูกต้องของบ้านเมือง ใครทำแบบทักษิณก็ต้องรับผลการกระทำตามกฎหมายไทย มาตรฐานเดียวกันทุกคน

พี่น้องก็ยังจำเป็นจะต้องช่วยกันเล่าให้ฟัง บอกกันต่อ ๆ ไปครับ เพราะไม่งั้นกระบวนการของการบิดเบือน ของการสร้างกระแสก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าจะต้องมาลบล้างความผิดเพราะทักษิณถูกกลั่นแกล้ง ผมไม่ย้ำแล้วนะครับเพราะว่า ข้อสังเกตของผมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ขึ้นไปที่ศาลว่า ไม่ใช่ คตส. นะ มีเรื่องอัยการกลั่นกรองแล้ว ทักษิณก็กลับมากราบแผ่นดินเข้าไปต่อสู้คดีในศาลแล้ว อุตส่าห์มีถุงขนม 2 ล้านก็แล้ว แล้วศาลก็อุตส่าห์ยกฟ้องไป 2 ข้อหา ยกฟ้องคุณหญิงพจมานก็แล้ว ครอบครัวคุณทักษิณก็เอาประโยชน์จากคำพิพากษาไม่ต้องเสียภาษีไปเป็นร้อยล้านแล้ว ยังจะมาบอกได้อย่างไรว่าเป็นเรื่องของการกลั่นแกล้ง

แต่ความพยายามตรงนี้ไม่จบครับ ขณะนี้เขารอสภาเปิดมาในวันที่ 1 สิงหาคม ถ้าการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปตามปกติ นั่นหมายความว่าเรื่องแรกที่จะต้องพิจารณากันในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ก็คือกฎหมาย 4 ฉบับนี้ครับ เพราะเขาเลื่อนขึ้นมาจ่อเอาไว้ กลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในการทำงานของรัฐบาล เป็นไปได้ยังไงครับ พี่น้องประชาชนเดือดร้อนทั้งแผ่นดิน ที่วันนี้คุณสุเทพบอกว่าประชาธิปัตย์ไม่ได้มาไล่รัฐบาล ไม่ได้มาไล่คุณยิ่งลักษณ์ ถ้าจะไล่คือไล่ให้ไปทำงานให้ประชาชนสักทีครับ อย่ามัวทำอย่างอื่นอยู่

ผมไปใต้เขาก็บ่นอย่างที่คุณสุเทพเล่าให้ฟัง ตอนประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลพ้นจากตำแหน่งมา ยาง 180 บาท วันนี้ผ่านไป 1 ปี เลข 1 หายไปเฉย ๆ ยางเหลือ 80 บาท แล้วดูสิครับ นายกฯ ก็ทำร้ายจิตใจประชาชนคนใต้เหลือเกิน เอาใครไปรับผิดชอบงานแก้ไขปัญหายางพารา ทราบไหมครับ

กรุณาอย่าเรียกไอ้นะครับ เป็นอำมาตย์แล้ว สรุปสั้น ๆ คือเอาคนใต้ที่คนใต้ไม่เอา ไปแก้ปัญหาให้คนใต้ แล้วก็ไม่รู้เรื่องรู้ราว พรรคประชาธิปัตย์พยายามเสนอว่าต้องแก้ 1-2-3-4-5 ไม่ฟังทั้งนั้น เพราะความจริงพวกเรา ส.ส. ในพื้นที่ คุณสุเทพ และแม้กระทั่งอดีตนายกฯ ชวนนะครับ ขึ้นอภิปรายแนะนำในเรื่องกฎหมายการยางซึ่งรัฐบาลที่แล้วจะผ่านสภาอยู่แล้ว ยุบสภา นึกว่ารัฐบาลนี้ใครเข้ามาจะทำต่อ กลับไปเริ่มต้นใหม่ สอนเท่าไหร่แกไม่ฟังครับ แกนึกว่าแกเก่ง เพราะแกมีประสบการณ์เรื่องขนยางมาเผา

ซึ่งพวกเราไม่เคยทำ เราเลยไม่รู้ แต่วันนี้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาหนักอก หนักใจ เดือดร้อนไป สำหรับพี่น้องที่ปลูกยางพารา ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีเฉพาะภาคใต้ ภาคตะวันออกก็มี ภาคอีสานก็มี ภาคเหนือก็มี ภาคกลางก็มี พิษณุโลกก็มี นี่ยังไม่นับเรื่องข้าว เรื่องมัน ทำกันจนชนิดที่เรียกว่าพวกเราติดตามตรวจสอบ เหนื่อยมากกับเรื่องนี้ ผมก็บังเอิญไปตั้งคุณหมอวรงค์ (เดชกิจวิกรม) อยู่นู้น ๆ บังเอิญไปตั้งเป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงพาณิชย์ เหนื่อยมากครับ ต้องคอยไปติดตาม ลานมัน โรงสี พี่น้องเกษตรกร ถ่ายคลิป ถ่ายวิดีโอ ตั้งกระทู้ถามให้รัฐบาลเข้าใจ ผมจะเตือนว่าต่อไปนี้ใครจะคลอดลูกอย่าไปหาหมอวรงค์ ลืมหมดแล้ว แต่ใครปลูกข้าว ใครปลูกมัน ใครเป็นเกษตรกร เรียกใช้ได้ตลอดเวลา เดี๋ยวนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ

รัฐบาลก็ต้องไปทำเรื่องแบบนี้ ไม่ใช่มามั่วแก้ปัญหาให้กับพี่ชาย ให้กับนายใหญ่ นี่เรื่องแค่เรื่องเดียวนะครับ เรื่องพืชผลทางการเกษตร ซึ่งขณะนี้แก้ไม่เป็นจนกระทั่งโครงการก็ทุจริต คอร์รัปชั่นมาก ปปช. ก็ทำจดหมายเตือน ผู้ส่งออกก็กำลังเตือนว่าทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ข้าวไทยเสียแชมป์ในตลาดโลกแน่ ปัญหานี้ เป็นปัญหาใหญ่

ฝนตกตอนนี้ผมไปที่ไหน เจอพี่น้องประชาชนก็ถามอย่างเดียวว่า ปีนี้น้ำจะท่วมอีกไหม ผมก็บอกว่า ผมฟังไม่ถนัด ตกลงเอาอยู่หรือไม่อยู่ เอ้า ใครเอาอยู่ ใครว่าเอาไม่อยู่ ส่งเสียงหน่อยซิ ใจเย็น ๆ หนู ผมแนะนำว่า อย่าไปร้องเรียนกับรัฐบาลเลย ทำได้อย่างเดียวคือร้องเรียนต่อฟ้ากับฝนครับ ภาวนาว่าอย่าตกหนักมากเหมือนปีที่แล้ว เพราะ 1 ปีผ่านไป ยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเลยว่า จะบริหารจัดการต่างจากปีที่แล้วอย่างไร ใครมาจากบางระกำบ้างเนี่ย จำบางระกำโมเดลได้ไม๊ ผมอธิบายหน่อยนะฮะ เดี๋ยวคนไม่เข้าใจ หรือเข้าใจภาษาอังกฤษดีไป โมเดลที่นี่แปลว่าแบบจำลอง ไม่ได้แปลว่านายแบบนะครับ ที่บอกว่าเป็นบางระกำโมเดล ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ แล้วทัวร์รอบ 2 ก็รู้สึกว่าพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปพื้นที่ที่ยังคงเป็นปัญหา ผมจึงบอกไม่หรอกครับ ไม่มาไล่รัฐบาล แต่จะไล่ให้ไปทำงานแก้ปัญหาเหล่านี้ หยุดสนอกสนใจแต่เรื่องของพวกพ้องของตัวเอง

 

"วันนี้ถึงเวลาต้องพิสูจน์ครับ เพราะถูกกดดันอย่างมากจากพี่ชายนายใหญ่ ที่จะต้องทำเรื่องนั้น จะต้องทำเรื่องนี้ ถูกกดดันมาโดยตลอด ถ้ายอมไปเรื่อย ๆ เอาพี่ชายกลับมาเป็นเลยครับ จะได้รู้ดี รู้ชั่วกันไปเลย ผมกลัวแต่ว่า ผมกลัวแต่ว่ามาเห็นหน้าพวกเราแล้วไม่กล้ากลับมา"

 

เพราะฉะนั้นนะครับ การต่อสู้ของพวกเราจึงต้องเป็นการต่อสู้ที่มีระเบียบวินัย ที่ต้องอดทน เพราะเขาจะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดปัญหาเสมือนกับว่าเป็นเรื่องมวลชน ชนกับมวลชน เป็นเรื่องของความพยายามที่จะล้มล้างเสียงข้างมาก เป็นเรื่องของผู้มีอิทธิพล อำมาตย์ มนุษย์ลึกลับที่ไหนไม่ทราบที่กำลังจะมาล้มล้างเสียงของประชาชน เราต้องใจเย็นหนักแน่น แล้วก็บอกว่าไม่ใช่ เราเพียงแต่ต้องการคัดค้านการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง

ผมเรียนให้ทราบครับ คำว่าปรองดอง ความจริงเป็นคำที่ดี แล้วกระบวนการการปรองดองสมควรจะเกิดขึ้น แต่การจะปรองดองให้ถูกวิธีมันมีคนที่ทำงาน มันมีคนที่ศึกษาเยอะแยะไปหมดครับ ผมเพิ่งไปให้ข้อมูล ให้ความเห็นกับคณะกรรมการอิสระในเรื่องของการปรองดอง ที่มี อ.คณิต เป็นประธานเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้กำลังจะเสนอรายงานฉบับสุดท้ายให้รัฐบาลในเดือนหน้า แต่เขาได้ทำบันทึกมาถึงผม ทำบันทึกไปถึงรัฐบาล ทำบันทึกไปถึงประธานสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการเร่งผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมในขณะนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดบรรยากาศการปรองดอง แต่กำลังทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นในสังคม

ความจริงไม่ใช่เฉพาะ คอป. หรอกครับ หลายชุด นักวิชาการหลายคนก็เตือน และผมว่าใช้สามัญสำนึกพี่น้องประชาชนก็ทราบ เพราะก่อนที่รัฐบาลจะผลักดันกฎหมาย 4 ฉบับ ผลักดันเรื่องรัฐธรรมนูญ บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อยดีทุกอย่าง มีชุมนุมบ้าง ก็มีแต่พวกรัฐบาลเอง คือเสื้อแดง แล้วมีไม่พอใจนายกฯ ไม่พอใจรัฐบาลบ้าง แต่ว่าส่วนใหญ่ทำใจแล้วว่า ก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีใครบอกว่าจะต้องไปล้มล้าง จะไปปลุกระดมให้คนมาขัดแย้งต่อสู้กัน แต่ขณะนี้พอทำเรื่องนี้บ้านเมืองสุ่มเสี่ยง ผมเห็นข่าววันก่อนบอก กฎหมายปรองดองเนี่ยแหละ เหลืองกับแดงคุยกันปรากฏว่าแทงกันตายเรียบร้อย นี่เกิดแล้วนะครับ นี่คุยกันแค่ 1 คน ต่อ 1 คนนะครับ ถ้าวันหนึ่งเกิดมีคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยต่างมาชุมนุมแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ผมจึงบอกว่ากฎหมายปรองดองเป็นเพียงปรองดองแต่ชื่อ ไม่มีสาระของการปรองดอง และถ้ารัฐบาลจริงใจกับการปรองดองต้องหยุด วันนี้เขาไม่ทำอย่างนั้นครับ ข้างหน้าบอกที่บ้านหย่ากันไปเรียบร้อยแล้ว มีอีกไม๊ครับ เดี๋ยวจะได้ขึ้นบัญชีเอาไว้ ผมเรียนว่ารัฐบาลต้องหยุด แต่ขณะนี้ผมทราบว่าเขาไม่หยุด แล้วกำลังทำบางสิ่งบางอย่างครับที่อยากให้พี่น้องช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเราแล้วบอกเรา คือพอปิดสภา เขากำลังจะไปใช้วิธีการหาทางที่จะบอกว่าปิดสภาแล้วมีการไปสำรวจตรวจสอบแล้วประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกฎหมายปรองดอง โดยยังไงครับ คือทุกคนที่อยากปรองดองโดยเฉพาะ คอป. ก็ดี สถาบันพระปกเกล้าฯ ก็ดี กรรมาธิการของสภา ซึ่งพยายามทำเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้ก็ดี เขาบอกว่า ถ้าจะมีการทำกฎหมาย ถ้าจะมีการดำเนินการในเรื่องนี้ สิ่งที่ต้องเริ่มต้นคือ จัดทำสิ่งที่เขาเรียกว่า สานเสวนา ออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

สถาบันพระปกเกล้าฯ เขาก็เสนอตัวครับ เขาบอกเขาเป็นกลางเขาพร้อมที่จะทำงานนี้ให้กับรัฐบาล พอเรื่องไปถึงรัฐบาล คณะรัฐมนตรีก็มีมติบอก ความคิดที่จะไปทำสานเสวนาดี แต่ไม่ให้สถาบันพระปกเกล้าฯ ทำจะให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ เสร็จแล้วหลังจากที่มอบหมายกระทรวงมหาดไทยไปสักพักนึง ปรากฎว่าหน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยบอกว่าไม่มีความชำนาญในการทำเรื่องการสานเสวนา ก็ทำเรื่องไปขอให้สถาบันพระปกเกล้าฯ ช่วยทำคู่มือให้หน่อยว่าจะต้องไปทำยังไง คือเขาอาสาทำให้ไม่ให้เขาทำ พอตัวเองจะทำ ทำไม่เป็นไปขอให้เขาส่งคู่มือมาให้ ปัญหาขณะนี้ครับ ผมกลัวว่าอ่านคู่มือของพระปกเกล้าฯ ก็จะอ่านไม่รู้เรื่อง ผมได้เห็นคู่มือแล้ว มันมีหลักสำคัญ 3 ข้อในการที่จะทำนะครับ

ข้อที่ 1 เขาบอกว่า คนที่จะเป็นคนกลางจัดสานเสวนาเอาคนมาพูดคุยแลกเปลี่ยน เอาข้อมูลแลกเปลี่ยนกัน เพื่อที่จะหาทางออกจะต้องเป็นกลาง ถ้าเอาคนที่มีอคติ มีฝักมีฝ่ายเป็นพวกหนึ่งพวกใดมาทำ แน่นอนครับ มันจะไม่ได้คำตอบที่เหมาะสม

ข้อที่ 2 เขาบอกว่า เวลาไปทำสานเสวนาอะไรต่าง ๆ จะเชิญใครมานั้น มันต้องใช้หลักวิชาว่าจะให้ใครมาบ้าง เช่น ต้องสุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม มีความหลากหลาย หลากหลายเรื่องเพศ ศาสนา ที่อยู่ รายได้ อาชีพ อย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่จัดเวทีแล้วก็ใช้วิธีกะเกณฑ์คนเข้ามา โดยเฉพาะคือกะเกณฑ์เฉพาะพรรคพวกของตัวเองเข้ามาแล้วมาให้ความเห็น

และสำคัญที่สุดที่ 3 ครับ การสร้างความปรองดองนั้น มาพูดคุยกันแล้วต้องหาข้อยุติในลักษณะที่ทุกฝ่ายคิดร่วมกันแล้วเห็นว่าเดินไปอย่างนี้ด้วยกัน นั่นจึงจะเป็นการปรองดอง แต่ขณะนี้ แต่ขณะนี้เขาเตือนมาว่าถ้าไม่ใช้วิธีนี้แต่กลับไปใช้วิธีว่า ยกมือซิ ข้างไหนมากกว่ากันแล้วสรุปอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ใช่ปรองดอง เพราะการปรองดองจะเกิดจากการยัดเยียดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้โดยเด็ดขาดครับพี่น้องครับ

ที่ผมจะเตือนพี่น้องคืออะไรครับ วันนี้มันมีข่าวว่าข้อแรก แทนที่จะหาคนกลางมาจัดเวที เขาจะบอกว่า เขามอบหมาย สส. ข้าราชการ บรรดาบุคคลที่มีตำแหน่งทั้งหลาย ในรัฐบาลบ้าง ในราชการบ้าง เป็นคนไปสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เพราะฉะนั้นพี่น้องต้องดูนะครับ พวก ส.ส. ทั้งหลายพรรคเพื่อไทยที่เวลาน้ำท่วมแล้วไม่โผล่มา แต่วันนี้จะโผล่มาขอความเห็นเนี่ยต้องรู้ทันว่ากำลังจะมาหาความชอบธรรมให้กับกฎหมาย 4 ฉบับ ผิดหลักข้อแรกไปแล้ว ไม่เอาคนกลางมาทำ ข้อที่ 2 เขาจะไปพูดคุยกับคนที่รู้ว่าสนับสนุนฝ่ายเขา คงไม่มาถามแถวนี้แหละ ยิ่งพวกโพกหัวสีฟ้า ๆ แบบนี้เขาไม่มาคุยด้วย

สำคัญที่สุดตอนนี้เริ่มมีเอกสารคล้าย ๆ แบบสอบถาม หรือแบบฟอร์ม ที่กำลังจะไปให้ประชาชนเซ็น แล้วบอกว่า สนับสนุนร่างพรบ. จุดจุดจุด สุดท้ายพอ 1 สิงหา มาเขาก็จะบอกว่าจากการไปประชาพิจารณ์ สานเสวนา พูดคุยกับประชาชนพบว่าประชาชน 90 กว่าเปอร์เซนต์บอกให้ออกกฎหมายปรองดอง

พวกเราจึงต้องเอาความจริงเหล่านี้ไปบอกพี่น้องประชาชนทั้งหลายว่า 1. อย่าเป็นเหยื่อของกระบวนการตรงนี้ และ 2. ช่วยกันเป็นหูเป็นตาครับ ชุมชนไหน ตำบลไหน หมู่บ้านไหน อำเภอไหน มีการกระทำแบบนี้ บอกพวกเราครับ เราจะได้เปิดโปงให้รู้ว่ากำลังมีความพยายามอ้างความชอบธรรมจากประชาชน ไปออกกฎหมายล้างผิดให้กับคนทุจริตโกงชาติ และพวกก่อความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง

เพราะฉะนั้นวันนี้มาฟังแล้ว มีการบ้านติดตัวกลับไป ไปตรวจสอบ สำรวจตรวจสอบ เป็นหูเป็นตาและไปเผยแพร่ความจริงเหล่านี้ให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนของท่าน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอของท่านและพี่น้องทั่วประเทศ มิเช่นนั้นแล้ว วิกฤติใหญ่รออยู่ต้นเดือนสิงหาคม ที่เขาจะพยายามผลักดันเรื่องนี้อ้างมวลชน แล้วก็จะมีการปลุกระดมอย่างเช่นที่กำลังตั้งเวทีของเสื้อแดงมาจะล้อมศาล ล้อมสภา เพื่อที่จะผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้ได้

ผมจึงบอกครับว่า สิ่งสุดท้าย ที่วันนี้ต้องบอกไปยังรัฐบาล ฝากไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ คุณเป็นรัฐบาล คุณเป็นนายกรัฐมนตรี  คุณบอกว่าคุณมีนโยบายให้บ้านเมืองสงบปรองดอง คุณต้องไปไล่ดำเนินคดีกับคนที่กำลังข่มขู่คุกคามตุลาการ ข่มขู่คุกคามประชาชน ถ้าคุณทำ คุณจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่า คุณเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยอย่างแท้จริง แต่ถ้าคุณไม่ทำ เพียงเพราะคนที่ทำผิด คนที่กำลังทำตัวเป็นอันธพาลครองเมือง เป็นพวกคุณ นั่นหมายความว่าคุณเป็นได้ก็เพียงเฉพาะนายกรัฐมนตรีของคนพวกนั้น

วันนี้ถึงเวลาต้องพิสูจน์ครับ เพราะถูกกดดันอย่างมากจากพี่ชายนายใหญ่ ที่จะต้องทำเรื่องนั้น จะต้องทำเรื่องนี้ ถูกกดดันมาโดยตลอด ถ้ายอมไปเรื่อย ๆ เอาพี่ชายกลับมาเป็นเลยครับ จะได้รู้ดี รู้ชั่วกันไปเลย ผมกลัวแต่ว่า ผมกลัวแต่ว่ามาเห็นหน้าพวกเราแล้วไม่กล้ากลับมา วันนี้เราต้องเรียกร้องครับ รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน ต้องเป็นรัฐบาลของประเทศ ต้องเอากฎหมายความถูกต้อง ความสงบเรียบร้อยมาก่อนผลประโยชน์ของพวก ต้องยืนยันอย่างนี้ มิเช่นนั้นประชาธิปไตยของไทยที่ผ่านมา 80 ปี ไม่ได้เดินไปไหน

ผมจึงกราบวิงวอนพีน้องครับ เราจะต้องตั้งเวทีอย่างนี้ไปอีกหลายเวทีทั่วประเทศ พี่น้องก็อาจจะได้มีโอกาสติดตามเมื่อมีการถ่ายทอดบ้าง หรือไม่ได้มีโอกาสติดตาม ก็อาจจะต้องพยายามรับฟังผ่านสื่อสารมวลชนอื่น ๆ บ้าง แต่พี่น้องทิ้งประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ เขายังเคลื่อนไหวเดินหน้าตลอด และนี่เป็นเพียงก้าวแรก เป้าหมายแรกของเขาที่ไปไกลกว่านั้น คุณสุเทพ และอีกหลายต่อหลายคนได้พูดไปแล้ว ผมเชื่อว่าสิ่งที่รออยู่ปลายทางเป็นเป้าหมายของเขาไม่ใช่ประเทศไทยแบบที่พวกเราต้องการ เพราะฉะนั้นพวกเรายังต้องปักหลักสู้กับความไม่ถูกต้องต่อไป และต่อเนื่อง

ต้องถามทุกครั้งครับ สู้ไม่สู้ (ผู้ชุมนุมกล่าวว่า - สู้) อันนี้ได้ยินมาอยู่ในพิษณุโลกอย่างเดียวไม่มีประโยชน์ครับ สู้ไม่สู้ (สู้) ดังขึ้นอีกหน่อย ยังไม่ถึงดูไบ เอาดัง ๆ อีกครั้งแล้วไม่ใช่สู้ครั้งเดียว เมื่อกี้สำราญ บอก 2 ครั้งใช่ไหม งั้นผมขอ 3 สู้ไม่สู้ (สู้ สู้ สู้) ถ้าอย่างนี้พวกผม สู้กับพี่น้องตลอดไปครับ กราบขอบพระคุณครับ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สุริยะใส" แนะ นปช. ศึกษาแถลงการณ์คณะราษฎรและหลัก 6 ประการอย่างถ่องแท้

$
0
0

ชู "คณะราษฎร" ต่อสู้เพื่อคนทั้งชาติไม่ใช่คนๆ เดียว คนเสื้อแดงยกตนเทียบวีรกรรมคณะราษฎรนั้นเป็นสิ่งไม่คู่ควร ด้าน "กรณ์" ชี้ประเทศได้ประชาธิปไตยมาจาก "อำมาตย์" แย่งอำนาจ "อำนาตย์" อีกกลุ่ม ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม

สุริยะใสอัด นปช. ขโมยซีนประวัติศาสตร์คณะราษฎร

เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่าเมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า ตนเห็นว่าการชุมนุมรำลึกครบรอบ 80 ปี เหตุการณ์การปฏิวัติ 2475 ของ นปช. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยใช้ชื่องานนี้ว่า “80 ปี ยังไม่มีประชาธิปไตย” นั้น ถือเป็นการขโมยเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาบิดเบือน และรับใช้ผลประโยชน์และจุดมุ่งหมายทางการเมืองของกลุ่ม นปช.เท่านั้น ถ้าจะสืบทอดเจตนารมณ์คณะราษฎรกันจริงๆ คนเสื้อแดงและแกนนำก็ต้องไปศึกษาแถลงการณ์ของคณะราษฎรฉบับที่ 1 หรือหลัก 6 ประการ ให้ถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นเอกราชทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาค ความอยู่ดีกินดี ซี่งเป็นการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ ไม่ใช่เพื่อคนๆ เดียวฉะนั้น การยกเอาขบวนต่อสู้ของคนเสื้อแดงไปเชื่อมโยงกับวีรกรรมของคณะราษฏรในการอภิวัฒน์สยามประเทศนั้น เป็นสิ่งที่ไมคู่ควร เพราะการต่อสู้ของคนเสื้อแดงแม้อ้างว่าต่อต้านรัฐประหารและเรียกร้องประชาธิปไตย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็ปรากฏชัดเจนว่า ขบวน นปช.ยังเป็นแค่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ยังถูกอิทธิพลและความเป็นความตายของ พ.ต.ท.ทักษิณชี้นำและครอบงำอยู่ตลอดเวลา

“ถ้า นปช.อยากยกระดับการต่อสู้หรือทำให้ขบวนการ นปช.เป็นกลุ่มอุดมการณ์จริงๆ ก็ต้องปลดปล่อยตัวเองการครอบงำของ พ.ต.ท.ทักษิณให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงก็แยกไม่ออกจากผลประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำเท่านั้น ไม่เห็นต้องยก 80 ปี ของเหตุการณ์อภิวัฒน์สยามมาแอบอ้างซึ่งถือเป็นการกระทำชำเราประวัติศาสตร์กันเลย วันนี้คนเสื้อแดงควรใช้โอกาสที่กำลังจะครบรอบ 1 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถามและตั้งโจทย์กันภายในว่าทำไม วันนี้ถึงมีการออกแบบกันนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ออกจากคนเสื้อแดง ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็รู้ว่าคนเสื้อแดงคือหัวคะแนนละมีส่วนสำคัญช่วยให้คุณยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกฯ แต่วันนี้คุณยิ่งลักษณ์ได้รักษาระยะห่างจากการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง” นายสุริยะใสกล่าว

นายสุริยะใสกล่าวต่อว่า ปรากฏการณ์นี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมทั้งพี่ชายก็พร้อมถอยห่างและทิ้งขบวนการคนเสื้อแดงทันทีเมื่อสมประสงค์ในภารกิจของตัวเองแล้ว เหมือนในเหตุการณ์รำลึก 2 ปีที่ราชประสงค์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณวิดีโอลิงก์มาร่ำลาคนเสื้อแดง ก่อนจะหวนกลับมาเมื่อภารกิจส่วนตัวยังไม่บรรลุ

 

"กรณ์" ชี้ 2475 ประเทศได้ประชาธิปไตยจาก "อำมาตย์" แย่งอำนาจ "อำมาตย์"

ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทความ "24 มิถุนายน 2475" เผยแพร่ในเฟซบุค KornChatikavanijDP มีเนื้อหาว่า

"24 มิถุนายน 2475 

วันนี้ก็มีการรำลึกการครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติที่นำมาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 

และวันนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว เป็นวันสุดท้ายที่คุณปู่ผม พระยาอธิกรณ์ประกาศ ในฐานะอธิบดีตำรวจ ได้รับใช้บ้านเมืองในฐานะข้าราชการ คุณปู่ผมท่านเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นต้นตระกูล 'จาติกวณิช' และจึงเป็นคนสุดท้ายในตระกูลที่มีชื่อจีน (โซว เทียน หลุย) แต่ที่ต่างกับชาวจีนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนั้นก็คือคุณปู่ผมเลือกที่จะรับราชการแทนที่จะเป็นพ่อค้า

ในฐานะข้าราชการ ท่านจึงมีหน้าที่โดยตรงที่จะปกป้องสถานะของสถาบันและในช่วง 2475 เจ้านายโดยตรงของคุณปู่คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ในฐานะที่พระองค์ท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสมเด็จฯก็คือท่านปู่ของผู้ว่ากทม.คนปัจจุบันของเรา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และ ส.ส.ประชาธิปัตย์อีกคนหนึ่งคือ ม.ล.อภิมงคล นั่นเอง

ในวันนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว คุณปู่ผมได้รุกไปที่วังบางขุนพรหม เพื่อที่จะปกป้องเจ้านาย และตามประวัติศาสตร์ ได้ควักปืนขึ้นมาจะยิงนายทหารที่ทำการปฏิวัติในวันนั้น แต่เจ้านายได้ทรงสั่งห้ามไม่ให้ใช้ความรุนแรง หนึ่งในนายทหารที่อยู่ในคณะปฏิวัติวันนั้นคือ พลโทประยูร ภมรมนตรี คุณพ่อของคุณแซม อดีต ส.ส.ไทยรักไทย เมื่อก่อนวันเกิดเหตุ เขาเล่ากันว่าคุณปู่ผมได้พยายามจะเตือนเจ้านายถึงการปฏิวัติที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อเจ้านายได้ทรงเห็นรายชื่อผู้ที่คาดว่าอยู่ในคณะปฏิวัติแล้ว ทรงไม่เชื่อ เพราะทุกคนเป็นคนสนิทกันมาทั้งสิ้น ทรงไม่คิดว่าจะหักหลังกันได้

และจากนั้นคุณปู่ผมก็ไม่ยอมกลับมารับราชการอีก ไม่รับคำชวนของคณะราษฎร์ในการรับตำแหน่งใดๆ ลึกๆท่านคิดอย่างไรผมไม่ทราบ เพราะท่านเสียชีวิตไปก่อนผมเกิด แต่คุณป้าผมเคยเล่าให้ผมฟังว่า คุณปู่เคร่งในหน้าที่ และถึงแม้ไม่พอใจต่อความคิดของพวกนักเรียนนอกในยุคนั้น ก็มองเห็นความสำคัญของการศึกษาที่กว้างขวางขึ้นจึงได้ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศทุกคน 

จนถึงวันนี้ก็ยังมีการพูดถึงการปฎิวัติอยู่เสมือนเป็นหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหาการเมือง ว่าไปแล้ว การได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของเรา ก็ได้มาจากการปฏิวัติโดยกลุ่ม 'อำมาตย์' กลุ่มหนึ่งแย่งอำนาจจาก 'อำมาตย์' อีกกลุ่มหนึ่ง ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมมากนัก

วันนี้เราพัฒนามาไกลขึ้นมาก แต่การมีความเป็นตัวของตัวเองในความคิดของประชาชนก็ยังมีไม่พอ และประชาธิปไตยแบบตะวันออกจะเป็นไปได้ตามทฤษฎี ประชาชนต้องไม่อยู่ในระบอบอำนาจนิยม คือทำทุกอย่างตามผู้มีอำนาจในระบอบอุปถัมภ์ อย่างเช่นที่ยังเป็นอยู่อย่างกว้างขวาง

วันนี้ทั้งผม ทั้งหม่อมสุขุมพันธุ์ หม่อมอภิมงคล และคุณแซม ยุรนันทน์ เลือกที่จะเข้ามารับใช้บ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่สมบูรณ์นักของไทย อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หน้าที่เราทุกคนคือทำเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น และเพื่อให้คนไทยเราอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเผยแพร่ประชาธิปไตยในอีสาน หลังการปฏิวัติ 2475 บทบาทปัญญาชน-ส.ส.อีสาน

$
0
0
กันย์ ชโลธรรังษี บอกเล่าประวัติศาสตร์การเผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตยในภาคอีสาน หลังการปฏิวัติ 2475 จาก “ทัศนะกลางๆ” จนถึง “การกอบกู้ชาติ” ที่เป็นประชาธิปไตยโดยบทบาทของปัญญาชนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
 
 
 
กันย์ ชโลธรรังษี นิสิตปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง “การเผยแพร่ประชาธิปไตยในภาคอีสาน หลังการปฏิวัติ 2475” ในการสัมมนา “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” จัดโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.55
 
กันย์ กล่าวถึงผลจากการปฏิวัติ 24 มิถุนา 2475 ที่ส่งผลสะเทือนในภาคอีสานว่า ความเปลี่ยนแปลงจาก “รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาสู่ “รัฐประชาธิปไตย” หรือ “รัฐประชาชาติ” เกิดขึ้นทั้งในเชิงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ส่งผลต่อภาคอีสาน ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.บทบาทและอำนาจทางการเมืองของกลุ่มเจ้านายท้องถิ่นและข้าราชการในระบอบเก่า 2.ความคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในการปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายใต้ระบอบใหม่ และ 3.การเปิดโอกาสการมีส่วนรวมทางการเมืองของคนทุกชนชั้น
 
จากผลพวงของการศึกษาสมัยใหม่จากการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 มีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาในมณฑลภาคอีสาน ทำให้เกิด “ปัญญาชนอีสาน” ประกอบด้วย กลุ่มข้าราชการท้องถิ่น ครู พระสงฆ์ นักกฎหมาย คหบดี ชาวบ้านผู้มีภูมิความรู้ ซึ่งพัฒนาตัวเองผ่านการศึกษาสมัยใหม่ที่เปิดโอกาสให้คนทุกชนชั้นเข้าสู่ระบบการศึกษา และคนกลุ่มนี้เป็นต้นทางการสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตย
 
กันย์ กล่าวด้วยว่า การเผยแพร่ประชาธิปไตยในอีสาน ระยะแรกนั้นบรรยากาศเป็นการประนีประนอมของกระบวนการทางการเมืองระหว่างกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่ เป็นการสร้างสมดุลอำนาจ โดยลักษณะสำคัญที่จะมีการสืบสานแนวคิดประชาธิปไตยนั้นคือการไม่สนองตอบต่อยุคสมัยของระบอบเก่า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาพลักษณ์และสถานะของระบอบใหม่ รวมทั้งมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อระบอบใหม่เองด้วย และมีความพยายามผลักดัน ยกสถานะตนเองของปัญญาชนเข้าสู่วงการเมืองระดับชาติซึ่งก็คือ “ส.ส.อีสาน”
 
 
บางทัศนะจาก “ปัญญาชนอีสาน”  ต่อ “การปฏิวัติ 2475”
 
นิสิตจากภาควิชาประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่าง ทัศนะของปัญญาชนอีสานที่มีต่อการปฏิวัติ 2475 โดยตัวอย่างแรกคือ รองอำมาตย์โทขุนพรมประศาสน์ (วรรณ พรหมกสิกร) ข้าราชการท้องถิ่น ชาว อ.พนา ซึ่งสมัยนั้นขึ้นกับ จ.อุบลราชธานี แต่ปัจจุบันคือ จ.อำนาจเจริญ ซึ่งได้มีงานเขียนหลังเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียง 3 เดือน (ธ.ค.2475) ชื่อ “เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินสยาม” เขียนเป็นคำกลอนภาษาไทยภาคอีสาน โดยมีการพูดถึงสภาพเหตุการณ์ บรรยายถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ และหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งน้ำเสียงและถ้อยคำแสดงออกถึงการประนีประนอมระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่
 
“...แต่ก่อนพุ้นคนบ่คือกัน มันบ่คือสมัยเดียวนี้ แต่ก่อนกี้บ้านข้อนเมืองฮอม แต่ย่อมมีอาณาเขตกว้าง ในหลวงตุ้มปกครองคือลูก... บัดนี้บ้านเมืองข้อนคนดีฮู้มาก ให้ยากยุ่งหลายอย่างนานา ปูปลาอึดขาดเขินวังน้ำ ซ้ำลำบากการค้าขาย บ่สมหมายหากินลำบาก ทุกข์ยากแค้นผิดจากปางหลัง บ่สมหวังรัฐบาลเก่า คือพระเจ้าผู้อยู่เหนือหัว ทรงปิ่นปัวแก้มาหลายทอด บ่ตลอดหนักหน้าตื่มแถม แฮมปีมาไพร่เมืองฮ้อนเดือด เฮาอย่าเคียดว่าพระกษัตริย์ เป็นผู้จัดให้เฮาเดือดร้อน บ้านเมืองข้อนหากเป็นไปเอง...”
 
ปัญญาชนอีกคน หนึ่งที่กันย์กล่าวถึง คือ อ่ำ บุญไทย อดีตข้าราชการครู ที่ผันตัวเองมาเป็นนักการเมือง โดยเสนอตัวเป็น ส.ส.อุบลราชธานี ในการเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ.2476 เขาได้เขียนหนังสือ “กฤดาการบนที่ราบสูง” ซึ่งเป็นเอกสารแนะนำตัวเพื่อสมัครเป็น ส.ส.ที่มีความหลากหลายมาก ประกอบไปด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ ศาสนา เศรษฐกิจ และแม้กระทั่งปรัชญา ซึ่งแสดงถึงคามเป็นผู้รู้กว้างขวางของเขาเอง โดยในแง่การให้ความหมายของการปฏิวัติ 2475 ยึดโยงกับประวัติศาสตร์โลกที่แบ่งเป็น 2 ช่วงคือสมัยอำนาจกษัตริย์กับสมัยอำนาจประชาชน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านระหว่าง 2 ช่วงนี้ คือ ประชาชนจะมาช่วยจัดการบ้านเมืองกับกษัตริย์ โดยเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนเองในการใช้อำนาจนั้นร่วมกับกษัตริย์
 
 
“... (ง) สมัยอำนาจกษัตริย์ ผู้ชกเก่ง ต่อยเก่ง คิดเก่ง รบเก่งได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ใช้หลักของผีหรือพระเจ้าและของศาสนาหรือศาสดาคุมกันเข้ากับแนวความคิดและประเพณีนิยมเป็นหลักกฎหมาย มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองอย่างพ่อใหญ่ดูแลทุกข์สุข มีข้าราชการแบ่งแยกงานไปช่วยทำแทนหูแทนตา...(จ) สมัยอำนาจประชาชน ต่อมาฝูงชนฉลาดขึ้น จึงเข้าช่วยคิดอ่านจัดการบ้านเมืองร่วมมือกับกษัตริย์ตามความต้องการของประชาชน เลือกตั้งผู้แทนเข้าออกเสียงแทนตน เพราะจะไปประชุมทุกคนไม่ได้ด้วยว่าเป็นจำนวนมากไม่มีที่พอ...บัดนี้เราเดินทางมาถึงอำนาจประชาชน และท่านจะใช้เสียงเลือกผู้เป็นปากเสียงแทนท่าน...”
 
การเสนอในลักษณะดังกล่าว สอดคล้องกับระบอบ “Limited monarchy” นั่นคือการพยายามจำกัดอำนาจของกษัตริย์ลง แต่ไม่ได้พยายามทำให้รัฐเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นอกจากนั้นอ่ำยังเสนอต่อมาในหนังสือดังกล่าวว่า ต้องการให้สถาบันกษัตริย์ไทยมีความสำคัญเทียบเท่าสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งการเสนอโมเดลนี้น่าสนใจว่ารัฐธรรมนูญในสมัยนั้นของญี่ปุ่นคือรัฐธรรมนูญเมจิ ยังให้อำนาจกับจักรพรรดิญี่ปุ่นอย่างมาก ทั้งในแง่การควบคุมการทำงานของสภาได้เอท และในแง่การบังคับบัญชากองทัพ ซึ่งหมายความว่าสถาบันกษัตริย์จะยังคงมีอำนาจอยู่อย่างน้อย 2 ทางคือ ทางการทหารและทางการบริหาร
 
“แม้ว่าปัญญาชน 2 ท่านนี้จะได้นำเสนอแนวคิดที่ให้ความหมาย หรือว่าให้คุณค่าต่อการปฏิวัติ 2475 แต่ในระยะแรกเราก็ไม่พบปฏิกิริยาหรือแรงสะท้อนกลับมาจากตัวท้องถิ่นเอง ว่ามีการตอบสนอง หรือสื่อสารกลับมาอย่างไรเกี่ยวกับระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าภูมิอีสานเองจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญหลังการปฏิวัติ 2475 นั่นคือกบฏบวรเดชในปี 2476 ซึ่งมีฐานการก่อการส่วนใหญ่อยู่ที่ภูมิภาคอีสาน ซึ่งเราก็จะเห็นบรรยากาศในช่วงนั้นว่า คนในภาคอีสานก็มีส่วนร่วมในการปราบกบฏ มีความตื่นตัวที่จะช่วยรัฐบาลในการส่งข่าว ส่งกำลังบำรุงต่างๆ ให้รัฐบาลคณะราษฎร แต่เราก็ไม่สามารถประเมินได้ว่าการทำเช่นนั้นเป็นการตอบรับต่อระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อาจเป็นเพียงการตอบสนองต่อรัฐบาลในภาวการณ์สู้รบหรือสงครามเท่านั้น” กันย์กล่าว
 
 
“ส.ส.อีสาน” กับการสื่อสาร “แนวคิดประชาธิปไตย”
 
ส่วนในช่วงที่พบเห็นว่าราษฎรหรือสามัญชนในท้องถิ่นมีการตอบสนองต่อการสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตยจริงๆ คือหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี 2476 และการเกิดขึ้นของกลุ่มคนที่เรียกว่า “ส.ส.อีสาน” โดยการสื่อสารแนวความคิดประชาธิปไตยของคนกลุ่มนี้จะเน้นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้สัมผัสบรรยากาศอันเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งกิจกรรมที่คนกลุ่มนี้ได้กระทำในระบบรัฐสภามีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1.การเน้นสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ โดยในภูมิภาคอีสานจะเน้นอยู่ 2 เรื่อง คือเงินรัชชูปการ และการจัดเก็บอากรค่านา ซึ่งในช่วงสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2476-2480 จะพบว่าปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในภูมิภาคอีสานถูกหยิบยกมาพูดอย่างมากในรัฐสภา มีการแปรญัตติและอภิปรายกันอย่างกว้างขวางโดย ส.ส.อีสานเอง
 
2.มีการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล และเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย เช่นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญบางมาตราที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยมี ส.ส.สานเป็นผู้นำในการอภิปราย
 
สำหรับการวัดผลการตอบสนองของราษฎรต่อกิจกรรมของคนกลุ่มนี้ กันย์ ชี้แจงว่า สามารถประเมินได้จากการเลือกตั้งในครั้งถัดมา ซึ่งการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2476 ไม่ใช่การเลือกตั้งโดนตรงโดยสมบูรณ์ แต่เป็นการเลือกตั้งโดยผู้แทนตำบลที่ประชาชนเลือกมาให้ไปเป็นตัวแทนออกเสียงเลือก ส.ส. ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2480 นั้นเป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยสมบูรณ์ ราษฎรทุกคนมีสิทธิออกเสียงเลือกผู้แทนด้วยตนเอง ซึ่งจะพบว่าเหล่าผู้แทนที่ทำหน้าที่เปิดประเด็นถกเถียง หรือดำเนินกิจกรรมในรัฐสภาเพื่อสะท้อนปัญหาของท้องถิ่นจะได้รับการเลือกตั้งกลับมาทั้งหมด
 
“ความคาดหวังต่อผู้แทนของราษฎรในภาคอีสานนั่นก็คือ ความคาดหวังที่ว่าผู้แทนจะต้องทำหน้าที่สะท้อนปัญหาของท้องถิ่นไปสู่วงการการเมืองระดับชาติ ซึ่งจะได้รับการแก้ไขหรือไม่ก็ตามแต่ แต่ว่าหน้าที่เบื้องต้นของผู้แทนก็คือสะท้อนปัญหาของท้องถิ่นให้ได้” กันย์นำเสนอ
 
 
“กู้ชาติ” แนวคิด “ชาตินิยมประชาธิปไตย” ปลดปล่อยประเทศจากเผด็จการ
 
กันย์กล่าวด้วยว่า ช่วงสำคัญถัดมาซึ่งมีการสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตยที่สำคัญอีกช่วงหนึ่ง คือช่วงที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งมีการเข้ายึดครองประเทศไทยของญี่ปุ่น และเกิดขบวนการเสรีไทยขึ้นซึ่งขบวนการเสรีไทยนี้ประกอบด้วยกลุ่ม ส.ส.อีสาน เป็นกลุ่มดำเนินการกลุ่มหลักแยกออกมาต่างหากอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากและมีงานศึกษาจำนวนมาก
 
การสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตยของเสรีไทยในภาคอีสาน เน้นการสื่อสารแนวคิด “ชาตินิยมประชาธิปไตย” คือการชูธงการปลดปล่อยชาติ กอบกู้เอกราช อธิปไตย เป็นการกู้ชาติที่เป็นประชาธิปไตยจากการยึดครองของอำนาจรัฐที่เป็นเผด็จการของญี่ปุ่น ร่วมไปถึงรัฐเผด็จการของไทยเองคือรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และมีการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นแนวร่วม ซึ่งประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนมากปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้มีความคาดหวังว่าชาตินิยมประชาธิปไตยจะทำให้การกอบกู้ชาติเป็นผลสำเร็จได้ และการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมประชาธิปไตยนี้ก็ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความร่วมมือของปัญญาชนและราษฎรในอีสานอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทของกลุ่มครูในการฝึกอาวุธต่อต้านญี่ปุ่น การสร้างสนามบินลับเพื่อส่งกำลังบำรุงของฝ่ายพันธมิตร
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการสื่อสารแนวคิดทางการเมืองของปัญญาชนอีสานที่มีการแตกขั้วระหว่าง 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่เคยเป็นเสรีไทย และกลุ่มที่ไม่ใช่เสรีไทย ซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่มีการอนุญาตให้ตั้งพรรคการเมือง กลุ่มคนที่แตกออกเป็น 2 ขั้วพรรคการเมืองอย่างชัดเจน โดยกลุ่มที่เป็นเสรีไทยสายอีสานนั้นเป็นหัวแรงในการก่อตั้งพรรคสหชีพ ที่มีแนวทางทางการเมืองแบบเสรีนิยมและมีแนวทางทางเศรษฐกิจค่อนไปทางสังคมนิยม อันเป็นแนวทางเศรษฐกิจที่ดำเนินรอยตามเค้าโครงทางเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
 
ขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช้เสรีไทยได้ไปรวมกลุ่มกับนักการเมืองจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคใต้ ภาคกลาง เพื่อก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีแนวทางการเมืองอิงไปในทางอนุรักษ์นิยมเสรีนิยม โดยเฉพาะการส่งเสริมสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์
 
ส.ส.อีสานคนสำคัญ นับจากซ้ายบนคือ  เลียง ไชยกาล ผู้เป็นหัวแรงก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และถัดมาจากซ้ายไปขวาคือ 4 รัฐมนตรีอีสาน เสรีไทยอีสานและผู้ก่อตั้งพรรคสหชีพ ประกอบด้วย ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี เตียง ศีริขันธ์ ส.ส.สกลนคร ซ้ายล่างคือ ถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด และถัดมา จำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม
 
ทั้งนี้ สามารถแบ่งการเผยแพร่ประชาธิปไตยในภาคอีสานออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ ด้วยกัน หากนับตั้งแต่ พ.ศ.2475 - 2490 นั่นคือ 2-3 ปีแรกมีการให้ความหมายต่อการปฏิวัติ 2475 แบบกลางๆ ต่อมาในระยะที่สองการเผยแพร่ประชาธิปไตยด้วยรูปธรรมของความพยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และการตรวจสอบอำนาจรัฐอย่างเข้มข้น คือการสะท้อนปัญหาของท้องถิ่นไปสู่วงการการเมืองระดับชาติ และระยะที่สามการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมประชาธิปไตย เน้นการกอบกู้ชาติที่เป็นประชาธิปไตยโดยบทบาทของปัญญาชน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

[คลิป] เกษียร เตชะพีระ - ปฤณ เทพนรินทร์ ปาฐกถานำ "นิทานประชาธิปไตยไทย"

$
0
0

เกษียร เตชะพีระ และปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถา "นิทานประชาธิปไตยไทย: ตำนานฐานรากของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" โดยเทียบคติความเชื่อฐานราก 8 ประการของประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับประชาธิปไตยต้นแบบจากตะวันตก

การปาฐกถาดังกล่าว เป็นการปาฐกถานำงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475"(SIAMESE-THAI POLITICS: FROM the 1912 COUP TO the 1932 REVOLUTION) ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 24 มิ.ย.2555 จัดโดยหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลเลือกตั้งปธน. อียิปต์ พรรคของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมคว้าชัย

$
0
0
 
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2012 ได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอียิปต์ โดยที่ โมฮัมเม็ด เมอซี ผู้สมัครจากพรรคฟรีดอมแอนด์จัสติส (FJP) ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะหลังจากที่มีการเลือกตั้งรอบสอง
 
คณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ประกาศว่า โมฮัมเม็ดชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 13,230,131 เสียง จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 26,420,763  คน นับเป็น ร้อยละ 51.73 ซึ่งมากกว่าคะแนนเสียงของคู่แข่งคือ อดีตนายกรัฐมนตรี อาห์เม็ด ชาฟิค ที่ได้รับคะแนนเสียง 12,347,380 เสียง
 
มีบัตรลงคะแนนราว 800,000 ใบที่ถูกนับเป็นบัตรเสีย 
 
ฟารูค สุลตาน หัวหน้ากกต.อียิปต์ ได้ออกมากล่าวคำปราศรับขนาดยาวก่อนที่ประกาศผล ซึ่งสุลตานได้กล่าวปกป้องความซื่อตรงและเป็นอิสระขององค์กรกกต. แม้จะมีความพยายามแทรกแซงจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มก็ตาม
 
สุลตานกล่าวอีกว่า ทางศาลได้รับดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียน 456 คำร้อง เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่เป็นการกล่าวหาเรื่องการปลอมแปลง หรือกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวคริสเตียนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าไปในคูหา โดยขอร้องเรียนส่วนใหญ่ถูกยกฟ้อง
 
"ทางคณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อกฏหมายเมื่อมีการนับคะแนน ไม่มีอะไรที่อยู่สูงกว่ากฏหมาย" สุลตานกล่าว
 
การประกาศผลในครั้งนี้ ทำให้เกิดความปลื้มปิติในหมู่ผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียในกรุงไคโร ที่มีกลุ่มผู้สนับสนุนเมอซีมาร่วมชุมนุม
 
โดยหลายวันก่อนหน้านี้ผู้ชุมนุมได้ร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านการออกกฏข้อบังคับของสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (Scaf) ที่พวกเขาบอกว่าเป็นความพยายามลดทอนอำนาจประธานาธิบดี และฝังรากทางอำนาจให้กับกองทัพ
 
ในวันประกาศผลกลุ่มผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนที่เป้นผู้สนับสนุนเมอซี ก็มาชุมนุมฟังผลการนับคะแนนผ่านจอภาพขนาดยักษ์ รวมถึงกลุ่มซาลาฟิสท์ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมจัดด้วย
 
เกฮัด เอล-ฮัดดัด โฆษกหาเสียงของเมอซี กล่าวให้สัมภาษณ์หลังการประกาศผลว่า เมอซีจะทำงานเพื่อเป็นประธานาธิบดีของชาวอียิปต์ทุกคน โดยประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องเข้ารับพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนหน้า
 
การเมืองยังไม่แน่นอน
สำนักอัลจาซีร่ารายงานว่าชัยชนะของเมอซี ชี้ให้เห็นจุดสำคัญของการเจรจาเบื้องหลังระหว่างกลุ่มภราดรภาพฯ กับสภาทหาร โดยแหล่งข่าวรายงานว่า ไครัท อัล-ชาเตอ ผู้นำทางการเมืองของกลุ่มภราดรภาพฯ ได้เคยเข้าพบผู้นำทหารจากสภาทหารฯ มาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งเพื่อเจรจาต่อรองว่าประธานาธิบดีจะมีอำนาจอะไรบ้าง
 
แม้ว่าเมอซีจะได้รับชัยชนะ แต่ยังมีคำถามอีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องอำนาจของเขาที่ยังไม่ได้รับคำตอบ
 
"นี่ไม่ใช่ตอนจบของเกม แต่เป็นจุดเริ่มต้นของความรับผิดชอบครั้งใหญ่" เอล-ฮัดดัด กล่าว "มันมาพร้อมกับความท้าทายที่มากขึ้น ในการเปลี่ยนจากกลุ่มต่อต้านที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์กลายมาเป็นการเป็นผู้นำพร้อมกับแนวหน้าของประเทศ"
 
 
 
ที่มา
Muslim Brotherhood's Mursi declared Egypt president, BBC, 24-06-2012
 
Morsi wins Egypt's presidential election, Aljazeera, 24-06-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ.มข.แฟลชม็อบ กระตุ้นเพื่อนเรื่อง ม.นอกระบบ

$
0
0

เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบแฟลชม็อบตะโกนในโรงอาหาร กระตุ้นเพื่อนนักศึกษาให้ตื่นตัวเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ย้ำ “การศึกษาไม่ได้มีไว้ขาย”


ภาพจากเฟซบุ๊กดาวดิน Law Kku x

วันนี้ (25 มิ.ย.) เวลา 12.00 น. ที่ศูนย์อาหารและบริการ (คอมเพล็กซ์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ กว่า 10 คน ปฏิบัติการแฟลชม็อบ โดยการแต่งชุดนักศึกษา พร้อมด้วยผ้าปิดปากและป้ายข้อความรณรงค์แขวนคอเดินรอบบริเวณดังกล่าว เช่น ข้อความ “หยุดฆ่านักศึกษา หยุด ม.นอกระบบ” “การศึกษาไม่ได้มีไว้ขาย” เป็นต้น และยืนนิ่งเรียงแถวหน้ากระดานและตะโกนพร้อมกันว่า "การศึกษา เป็นสมบัติของชาติ อย่าเอาไปขาย หยุดม.ขอนแก่นออกนอกระบบ" โดยใช้เวลาดำเนินกิจกรรมประมาณ 30 นาที เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวเกี่ยวกับการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะออกนอกระบบ

วรรณวิศา เกตุใหม่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นการการจุดประเด็นให้นักศึกษาตื่นตัวเกี่ยวกับการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะออกนอกระบบ โดยที่ผ่านมา เครือข่ายได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลมาโดยตลอด และมีการจัดเวทีสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "ม.นอกระบบ นโยบายการเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ของใคร?” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (22 มิ.ย.) คิดว่าการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ต่างๆที่เครือข่ายฯ ได้ทำมาตลอดคงพอทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ทราบข้อมูลพอสมควรเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียและเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเองที่กำลังเตรียมการจะออกนอกระบบ การทำแฟลชม็อบครั้งนี้ก็เพื่อให้กระแสเรื่องนี้ไม่หายไป

“การเอาผ้าปิดปาก แต่งชุดนักศึกษา ใส่ป้ายแขวนคอ ผ้าปิดปากเพื่อแสดงว่า นักศึกษากำลังโดนปิดปาก โดนปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเนื่องจากการจะนำมหาลัยออกนอกระบบส่งผลกระทบต่อนักศึกษาโดนตรง แต่ผู้บริหารก็ละเลยที่จะให้ข้อมูลและสอบถามความเห็นของนักศึกษา” วรรณวิศา อธิบายถึงรูปแบบกิจกรรม
นอกจากนี้ วรรณวิศา ยังได้เปิดเผยอีกว่าในวันที่ 3-4 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ทางเครือข่ายฯ จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในประเด็นนี้ต่อไป
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58386 articles
Browse latest View live
<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>