Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58332 articles
Browse latest View live

ร่อนจดหมาย 712 รายชื่อ ค้านวัดพนัญเชิงไล่รื้อสุสานจีน

$
0
0

นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ ประชาชน ลงชื่อค้านกรณี วักพนัญเชิงไล่รื้อสุสานจีนเพื่อใช้พื้นที่ทำประโยชน์ทางธุรกิจว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ และดูหมิ่นความเชื่อวัฒนธรรมชาวจีน  ชี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมเสนอพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

๐๐๐๐

 

จดหมายเปิดผนึก (ฉบับที่2)


ถึงวัดพนัญเชิง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและสื่อมวลชน
กรณีสุสานจีน พระนครศรีอยุธยา
โดย
นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
ร่วมกับพี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยา

ตามที่มีข้อมูลข่าวสารแพร่หลาย  กรณีที่วัดพนัญเชิงมีนโยบายที่จะรื้อสุสานจีนหน้าวัด  เพื่อนำที่ดินไปสร้างลานจอดรถบริการนักท่องเที่ยว  ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 และอื่นๆ  โดยวัดได้มีกำหนดให้ญาติมาดำเนินการขุดศพบรรพชนออกจากสถานที่ภายในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2557 นี้นั้น 

เราผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายฉบับนี้มีความเห็นว่า  กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องกระทบจิตใจและลบหลู่ดูหมิ่นในวิถีความเชื่อและวัฒนธรรมของพี่น้องชาวจีนทั้งในและนอกพระนครศรีอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง  ถึงแม้วัดจะอ้างมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวนี้ถูกต้องชอบตามกฎหมายอย่างไร  แต่ในทางประวัติศาสตร์โบราณคดี วัฒนธรรมวิถีชีวิต และสิทธิชุมชน  ที่เราผู้มีรายชื่อนี้ล้วนมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องเราขอยืนยันว่าพี่น้องชาวจีนมีสิทธิที่จะฝังร่างบรรพชนและดูแลที่ดินผืนดังกล่าวนี้  ด้วยเป็นพื้นที่เก่าแก่ดั้งเดิมของคนจีนมาแต่ครั้งยุคก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา 

การเข้ามามีอำนาจบริหารผลประโยชน์ในที่ดินและทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ ถือว่าไม่ใช่กิจที่พระสงฆ์ควรยุ่งเกี่ยวแต่อย่างใด  สุสานดังกล่าวก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็น “สุสานสาธารณะกุศล” มาตั้งแต่ต้น  จนถือได้ว่าเป็น “สุสานสาธารณะประจำเมืองพระนครศรีอยุธยา”และเป็น “มรดกทางวัฒนธรรม” หนึ่งของสังคมไทยสยาม  ที่ตั้งอยู่ในเมืองประวัติศาสตร์มรดกโลกอย่างพระนครศรีอยุธยา  หาใช่สมบัติพัสถานของวัดหรือมูลนิธิใดเพียงหนึ่งเดียวไม่ ซึ่งก็นับเป็นเจตนารมณ์ที่ดีควรค่าแก่การยกย่องสรรเสริญของท่านเจ้าคุณ พระโบราณคณิสสร อดีตเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิง ที่เราควรเคารพและสานต่อในเจตนารมณ์นี้ของท่านสืบไป  อีกทั้งการคงสุสานจีนเอาไว้ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจะถือเป็นเกียรติประวัติแก่วัดพนัญเชิงในฐานะวัดเก่าแก่ที่มีที่ตั้งอยู่คู่ชุมชนชาวพระนครศรีอยุธยา  สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองประวัติศาสตร์ มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา  จรรโลงความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างวัดกับชุมชนให้คงอยู่ร่วมกันต่อไปในอนาคต 

ดังนั้น ทางเราจึงขอให้ทางวัดและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด  ได้โปรดพิจารณายกเลิกแผนงานโครงการที่จะนำเอาที่ดินสุสาน อันเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ ไปแปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด, สำนักงานพระพุทธศาสนา, กรมศิลปากร, เทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา, วัดพนัญเชิง, มูลนิธิวัดพนัญเชิง (เซียงเต็กตึ๊ง), กลุ่มลูกหลานจีนอยุธยา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หันหน้าเข้าหากันประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาและหาทางออกร่วมกันให้ได้เวลาอันใกล้นี้ 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและดำเนินการ   

(ลงชื่อ-สกุล)      (สังกัด/หน่วยงาน)  


1. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์  เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. รองศาสตราจารย์ฉลอง  สุนทราวาณิชย์  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. นายสมานศิริพฤกษ์พงษ์นายกสมาคมไทยจีนเจ้าพ่อจุ๊ย
4. นายสมเด็จ  อัศวธรรมรัตน์ กลุ่มรักอยุธยา พระนครศรีอยุธยา
5. อาจารย์จารุพัฒน์  ผลไพรกลุ่มลูกหลานจีนอยุธยา
6. สุจิตต์  วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติ และคอลัมนิสต์นสพ.มติชน
7. อาจารย์พิพัฒน์  สุยะ หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิมล  รุ่งเจริญ  หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. รองศาสตราจารย์ ดร.สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี  อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. ชำนาญ  จันทร์เรือง อาจารย์และนักวิชาการทางด้านนิติศาสตร์
13. นิธินันท์  ยอแสงรัตน์สื่อมวลชน
14. ภัทรพล  ภูริดำรงกุล
15. อชิรวิชญ์อันธพันธ์
16. สุพลธัช  เตชะบูรณะ
17. ธีระวัฒน์  แสนคำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาราชวิทยาลัย
18. ไผท  ภูธา อาชีพนักเขียน
19. เมธากร  เมตตา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
20. จรรยา  ยิ้มประเสริฐ
21. ธนพงศ์  จิตต์สง่า
22. ธิกานต์  ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
23. กำพล  จำปาพันธ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
24. ดร.เพ็ญสุภา  สุขคตะ ใจอินทร์
25. นายมิตร  ใจอินทร์
26. ปุษยปัญชลี  ใจอินทร์
27. วรพงษ์  เกตุดิษฐ์
28. สุรพศ  ทวีศักดิ์
29. กาย  อินทรโสภา
30. องค์  บรรจุน
31. ประกิต  กอบกิจวัฒนา
32. ดรณ์ทิพนันท์
33. นนทพร  อยู่มั่งมี...ลูกหลานบรรพชนชาวจีน
34. พุฒิพงษ์  เทวกุล
35. ญาดากุล  วงศ์ปิ่นแก้ว
36. อัมรา  ผางน้ำคำ  สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  กระทรวงวัฒนธรรม
37. ชนิดา  ชิตบัณฑิตย์  คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. ศิริวรรณ  ลาภสมบูรนานนท์
39. ศุภรา  มณีรัตน์
40. ปิยนุช  ยอแสงรัตน์ เกตุจรูญ
41. ธนวัฒน์  กนกโกเศศ
42. ศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ
43. รวิพรรณ  จารุทวี
44. บุญชนิต  วังมะนาว
45. เจดีย์  ดวงมาลัย
46. นิติพงศ์  สำราญคง
47. ชุมาพร  แต่งเกลี้ยง
48. PipobUdomittipong
49. YosSantasombat, Ph.D. Professor of Anthropology, Chair of Ph.D. Program in Social Sciences, Chiang mai University. And Senior Research Scholar, Thailand Research Fund.
50. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
51. ณฐิญาณ์ งามขำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
52. ปิยชาติ สึงตีนักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
53. ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
54. อนุสรณ์ ติปยานนท์
55. ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล
56. ดำนาย ประทานัง
57. มนทกานติ รังสิพราหมณกุล
58. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
59. มูฮัมหมัดฮาริส กาเหย็ม
60. ดาราณีทองศิริ
61. การะเกตุ ศรีปริญญาศิลป์
62. กนิษฐ์ วิเศษสิงห์
63. ศรีนิติ สุวรรณศักดิ์
64. อภิรดี จูฑะศรบรรณาธิการ นสพ.พับลิกโพสต์
65. คมลักษณ์  ไชยยะ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
66. ดร.เอนก  รักเงิน สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
67. นฤมล  อนุสนธิ์พัฒน์สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
68. สุกัลยา  คงประดิษฐ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
69. เด่นเดือน  เลิศทยากุล สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
70. ปราโมทย์  ระวิน สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
71. รัตนชัย  ปรีชาพงศ์กิจ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
72. ชัยนรินทร์  กุหลาบอ่ำ นักกิจกรรมทางสังคม
73. ฤทธิพงษ์  มหาเพชร นักกิจกรรมทางสังคม
74. เขียน ตะวัน กวีและนักเขียน
75. ปฐม  ตาคะนานันท์
76. วิญญูจักรา  คำนิล
77. ไตรศักดิ์  โพชลาด
78. ภูมินทร์  ไทยานันท์
79. ศิริพจน์  เหล่ามานะเจริญนักวิชาการอิสระ
80. ดร.รุ่งโรจน์  ภิรมย์อนุกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
81. พิพัฒน์  กระแจะจันทร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82. สิทธารถ  ศรีโคตร  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
83. สิทธิเทพ  เอกสิทธิพงษ์  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
84. ธาตรี  มหันตรัตน์  สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
85. ตราดุลย์นรนิติผดุงการ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
86. ปกาศิต  เจิมรอด สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
87. ดร.กรพนัส ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
88. ฉัตรชัย  นิยะบุญ  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
89. กาญจณา  สุขาบูรณ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
90. พุฒิพงศ์  พุฒิตาลศรี 
91. วริศรา  ตั้งค้าวาณิชย์
92. สายป่าน  ปุริวรรณชนะ  นักวิชาการอิสระ 
93. บังอร  คำหลอม  สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
94. พรรณสุวัชร  รุ่งโรจน์วุฒิกุล สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
95. นพดล ปรางค์ทอง กลุ่มวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 
96. สุเจน  กรรพฤทธิ์ สื่อมวลชน
97. มรกตวงศ์  ภูมิพลับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
98. กฤช เหลือลมัย กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ
99. ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์  เพชรเลิศอนันต์ 
100. ผศ.ดร.วศิน  ปัญญาวุธตระกูล
101. ภัควดี  วีระภาสพงษ์
102. พนัส  ทัศนียานนท์
103. งามวัลย์  ทัศนียานนท์
104. วรานนท์  ปัจจัยโค  สื่อมวลชน
105. อพิสิทธิ์  ธีระจารุวรรณ
106. ภมรี  สุรเกียรติ
107. อาทิตย์  ทองอินทร์
108. สงวน  คุ้มรุ่งโรจน์
109. จุฑา  เทพหัสดินฯ
110. ศิริภาส  ยมจินดา
111. พัชรพล  เถาธรรมพิทักษ์  สาขาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
112. ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ บรรณาธิการนิตยสารวิภาษา
113. วิมลสุดา  ศรีวะโลสกุล
114. อนุสรณ์  อุณโณคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115. ชาญณรงค์  บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
116. คมกฤช  อุ่ยเต๊กเค่งคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
117. รศ.ดร.โสรัจจ์หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
118. วินัย  ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
119. หทัยวรรณ  ช่างประดิษฐ์
120. ฐิติมา  อังกุรวัชรพันธุ์
121. วิปัศยา  อยู่พูล
122. ธนภัทร  ลิ้มหัสนัยกุล
123. อนรรฆ พิทักษ์ธานิน
124. พลวัตร  อารมณ์
125. อนันต์  กรุดเพ็ชร์
126. เพ็ญพิมล  เรืองกมลศักดิ์
127. สุธิดา  วิมุตติโกศล
128. ธัชชัย  ยอดพิชัย 
129. กิติพล  เอี่ยมกมล
130. พัฑร์  แตงพันธ์
131. อ.ปิยะ  มีอนันต์  สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
132. สายรุ้ง กล่ำเพชร
133. บรรจง สุทธิจินดา
134. ปัทพงษ์  ชื่นบุญ
135. สาธิยา  ลายพิกุน
136. ทวีศักดิ์  เผือกสม  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
137. ดารารัตน์  เมตตาริกานนท์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
138. ศิววงศ์  สุขทวี  นักศึกษาปริญญาโท คณะมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
139. นายอภิชาต ทองนุ่ม หมวดสังคมศึกษา โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา
140. กัลยา  สุภัทรวณิชย์
141. นางวิภาวี  ฝ้ายเทศ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
142. อรรถสิทธิ์  สิทธิดำรงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
143. สุรัช  คมพจน์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
144. ว่าที่ร้อยตรีอิสระพงษ์  ผางสระน้อย กลุ่มวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
145. ดร.บุญล้ำ สุนทร สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
146. อ.สุทัศน์  อู่ทอง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
147. วิภา  ดาวมณี  นักวิชาการอิสระ อดีตอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
148. สิทธิรักษ์  แสงกล้า บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามโพลล์
149. วัฒนชัย แจ้งไพร มัคคุเทศก์อิสระและนักเขียน
150. ศุภสุตา  ปรีเปรมใจ
151. ทาริกา สุขสมชีพ
152. ชานนท์ ไชยทองดี
153. อรดี อินทร์คง
154. ปองพล วิชาดี
155. วัฒนา สุขวัจน์
156. บัณฑิต เทียนรัตน์
157. สมชาย แซ่จิว
158. กุณฑิกา นุตจรัส
159. ทิวาพร ใจก้อน
160. คมกฤช แซ่เจียง
161. ภู  กระดาษ นักเขียนและเกษตรกร
162. นิษฐนาถ  นิลดี 
163. สุรพล  รอดพึ่งครุฑ www.samarjarn 1980.com
164. วิชญา  มาแก้ว นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
165. ทิพย์สุดา  จินดาปลูก  นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
166. ทศพร  เทียนศรี
167. อุดร  แก้วกาวิน
168. ผศ.ศรันย์สมันตรัฐ สาขาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
169. อัญชลี  มณีโรจน์ 
170. สุนนท์ ไชยนิน
171. สิริกุล  กาญจนภี
172. เอ็ม  เสาไห้ 
173. ลัดดา  สงกระสินธ์
174. นางบุญยง  จำปาพันธ์
175. นายสุพัน  จำปาพันธ์
176. กฤษฎา  จำปาพันธ์
177. นายพงศ์สูรย์ พรหมหิรัญกุล
178. นายเชษฐศักดิ์ เผด็จสุวันนุกูล
179. นางสมใจ เผด็จสุวันนุกูล
180. นายธนพล เผด็จสุวันนุกูล
181. นางสาวบุญธนานิตย์ เผด็จสุวันนุกูล
182. นายฐิติวัฒน์ เผด็จสุวันนุกูล
183. นางลออ กันตถาวร
184. นายวีระยุทธ พัฒนตั้งสกุล
185. นางสาวธนพร แก้วศรีนนท์
186. นายพัชรพล ชมพูชาติ
187. นางสมศรี  อัศวธรรมรัตน์
188. นางสาวครองขวัญ ชมพูชาติ
189. นางกิมเฮี๊ยะ แซ่เบ๊
190. นายจำลอง เหลืองมงคลกุล
191. นายพรหมวิบูลย์ กังวานธนโชติ
192. นางสาวสุมนา แซ่เตีย
193. นายภิญโญ แตรตุลาการ
194. กนกวรรณ หอบสังข์
195. นายธนวิทย์ พฤกษอาภรณ์
196. นายธนาทิป พฤกษอาภรณ์
197. อรวรรณ โหละบุตร
198. นางสาวปภาวรินท์แซ่เจี่ย
199. นางสาวสุวรรณา ประสิทธิเจนิช
200. นางจิรสุดา มรุปัณฑ์ธร
201. นางสาวสรกมล เลาหไพบูลย์
202. นายศรีรัตน์ คุ้มอิ่ม
203. ธนาภา คุ้มอิ่ม
204. จิรพชร์ คุ้มอิ่ม
205. นางจารุพรรณ คุ้มอิ่ม
206. นางจินตนา แก้วศรีนนท์
207. นางสาวณัฐกมล แสงขุตตะ
208. นางสาวอภิชญา แก้วศรีนนท์
209. นางสาวนภัสวรรณแก้วศรีนนท์
210. นายวสันต์แก้วศรีนนท์
211. นางสาวรารัตน์ อิ่มสรวล
212. นางสาววาสิฎฐี ตั้งชัยวรรณา
213. นายรัฐพล ตั้งชัยวรรณา
214. นางรุ่งนภา ชมพูชาติ
215. นายวรวิทย์ แก้วศรีนนท์
216. นายสุริยา ตั้งชัยวรรณา
217. นางชม้อย คุ้มอิ่ม
218. นายอำนาจ สุขเกษม
219. นางรุ่งรัศมี สุขเกษม
220. ธันย์ชนกสุขเกษม
221. ธนวัฒน์ สุขเกษม
222. นางพรทิพย์ คุ้มอิ่ม
223. นายเรืองศักดิ์ ทวีผล
224. นางสุวรรณา แก้วศรีนนท์
225. นางสาวจิรารัตน์ กิตติคุณาดุลย์
226. นายอเนก กิตติคุณาดุล
227. นายภาคภูมิ ไทยพิพัฒน์วงศ์
228. วันเพ็ญ  เหลือมงคลกุล
229. นางสาวรุ่งรัตน์ แต่งวงศ์วาฬ
230. นายวิจารณ์ น้อยอุทัย
231. นางอรอุมา รักพวกกลาง
232. นางอรุณ การสมบัติ
233. นายบัญชา สิริมาลัยวรวงค์
234. นายอเนก ตั้งสุนทรขัณฑ์
235. นายบุญมิ่ง แต่งวงศ์วาฬ
236. นายมนต์ชัย วานิชกมลนันทน์
237. นายเกริก ดำรงสุกิจ
238. นางเอื้อมพร ลิ่มสลักเพชร
239. นางศรีสุริย์ สุนทยานนท์
240. นางสาวดวงพร อัศวราชันย์
241. นางสาวจันทิมา อัศวราชันย์
242. นายเรืองศักดิ์ อัศวราชันย์
243. นายฤทธิชัย อัศวราชันย์
244. นางสาวจิราวรรณหล่อเจริญผล
245. นางสาววลี วณิชย์วรนันท์
246. นายวิมนศ์ ลาภสอาดพร
247. นายพัลลภ วิจิตรทัญนุกูล
248. นางสาวศิริรัตน์ ชัยสุวรรณรัตน์
249. ปะยงค์  สุขการ
250. นายสุทธิวัฒน์ ชัยสุวรรณรัตน์
251. แสนสุข  อติภัทรกุล
252. วิมล  ตรัยวิทยา
253. นายสหรัญ สิริมาลัยวรวงค์
254. นางภิรมย์รัช เปาริก
255. นายปฐมพงศ์ วงศ์รัชตะเสวี
256. ประทินพร สุทัศน์ ณ อยุธยา
257. อดิศัย  สุทัศน์ ณ อยุธยา
258. นายสมยศ กัณฐัศวะ
259. เมธี  คคนางค์
260. ศิริรัตน์  บุญศิริ
261. ธงชัย  มานิจธรรมพงษ์
262. พนมวัฒน์ ต่อไพบูลย์
263. กรรณิการ์ ศรีแสวงทรัพย์
264. ธาริณี  อรัญญวนานนท์
265. นายเกริกศักดิ์ กิจไพบูลย์รัตน์
266. นางปารณีย์ กิจไพบูลย์รัตน์
267. ชูชาติ  กุลนิพัทธสรรค์
268. นางสาวณัฐฐินันน์ บุญศิริ
269. นางสาวฐิติมา ฐิติธรรมเสถียร
270. สุกัญญา เอกรัตนกุล
271. ณัฐฐา  พรหมชนก
272. ม่วยเตียง แซ่อึ้ง
273. กิตติ  อรัญวนานนท์
274. ประสิทธิ์ ฐิติธรรมเสถียร
275. สลิล  ตุลธร
276. ปรีชา  ลัญฉญะกูล
277. มณีรัตน์  พรกุลวัฒน์
278. พิพัฒน์  อิสระโยธิน
279. พรเพ็ญ  มีชนสม
280. นางศิริพร นิทัศกาญจนานนท์
281. นางสาวนิตยา นิทัศกาญจนานนท์
282. นางนวลจันทร์ ศรีสุวรรณ
283. นายยิ่งวิทย์ เจริญสุวรรณกิจ
284. นางสาวพรปวีณ์ วัฒนปรีชานนท์
285. นายศิษย์ วัฒนปรีชานนท์
286. พรศิริ  กิตติวรพงษ์กิจ
287. เพียรวุฒิ ล้อรัตนไชยยงค์
288. โสภณ  วิจิตรทัญนุกูล
289. นางธีทัต ผรณวรรณ
290. นางสาวสุเมรา ทองเสริมสุข
291. นางสาวอธิชา ทองเสริมสุข
292. นายเสนีย์ พบพาน
293. นางกนกอร อู่ทรัพย์
294. นางสาวสุภัทรา แซ่เต็ง
295. บังอร  ว่องไวตรีคูณ
296. ศรีรัตน์  อนุสนธิ์พัฒน์
297. จารุณี  วิจิตรทัญนุกูล
298. นายวิศิษฎ์ วัฒนปรีชาพงษ์
299. มาลี  สุวรรณเพราเพริศ
300. นายสุรชัย ถาวรเจริญรักษ์
301. ปรีชา  ดำรงสุกิจ
302. วิศณุ  ดำรงสุกิจ
303. โสภณ  ดำรงสุกิจ
304. ณวัชญ์  ดำรงสุกิจ
305. ลมัยพร  โลหิตจันทน์
306. นรินทร์  จุฒิสุขสันติ์
307. ศักดิ์ชัย  ยี่สุ่นศรี
308. สยาม  เตชะวัฒนวรรณา
309. นายเอกสิทธิ์ วัฒนปรีชานนท์
310. ว่าที่ ร.ต.ธวัชชัย วัฒนปรีชานนท์
311. นางอุบลรัตน์ ปัญญาวัฒนานุกูล
312. นายประดิษฐ์ ว่องไวตรีคูณ
313. ยุพาภรณ์ เอมระดี
314. ศุภดา ว่องไวตรีคูณ
315. ปราณี  กุลสิทธิวาณิชย์
316. นิตยา  ว่องไวตรีคูณ
317. จินดา  แซ่ลี้
318. พิสุทธิ์  วัฒนปรีชานนท์
319. วิมลรัตน์ พรมจันทร์
320. นายไพรัช ชตะเสวี
321. หรรษา  แต่งวงศ์งวาฬ
322. นางศิริวัฒนา มุนินทร์พิพัตต์
323. สุทธิศักดิ์ อัศวสงคราม
324. บรรยง  เจริญสุวรรณกิจ
325. สุวนิชญ์  กังวาฬไกรไพศาล
326. พรนภา  กังวาฬไกรไพศาล
327. นายโกศล โฆษิตรุรังคกุล
328. สุขสวัสดิ์ โลหะรังสี
329. ชาญชัย  เจริญวงศ์สวัสดิ
330. วนิดา  โพธิวรรรณ์
331. ฮวง  อธิกมาสกุล
332. สมเจตน์ ศิริพฤกษ์พงษ์
333. นายนิยม พิญญพงศ์
334. ชุมพล  ต่อไพบูลย์
335. ลัดดา  หล่อเจริญผล
336. นิตยา  ภมรจันทรวิมูล
337. ธีระชัย  ภมรจันทรมัส
338. เปียสุข  กิ่งแก้วก้านทอง
339. สมพงศ์  พรมจันทร์
340. เอี่ยมคุง  แซ่อึ๊ง
341. นางไพรวัลร สันติกุล
342. นางนันทพรรดิ์ นิตยพงศ์ชัย
343. นางบงกช เนติวรานนท์
344. นางจุฬาวรรณ เนติวรานนท์
345. นางสาวตุลยา เนติวรานนท์
346. นายสุดใจ ขันธิโชติ
347. ผศ.สมบูรณ์ ขันธิโชติ
348. นางสมศรี โดดดี
349. นางรัชนี  เผ่าพหล
350. สุรชัย  ไพจิตรหทัย
351. นายทนง ดุษสกุล
352. นายอภิชาต เตียวตระกูลวัฒน์
353. นางสาวจิราภรณ์อนังคณกุล
354. นางสมจิตย์ เครือนาค
355. นางนันท์ภัคค์ อำพันธ์มณี
356. อุไร  แซ่โง้ว
357. นางสาวอนิมา จันทร
358. นางณัฐธิชา นาคคล้าย
359. นางสาวนิโลบล ก้าวหน้าชัยมงคล
360. นางธนพร ศิริพฤกษ์พงษ์
361. นายสมนึก ศิริพฤกษ์พงษ์
362. นางเกศิณี ส่งศิริ
363. นางสุนีย์ ขันธิสิทธิ์
364. นางรรณา ศิริมาลีวัฒนา
365. นายณรงค์ ศิริมาลีวัฒนา
366. นายสรวิศ ศิริมาลีววัฒนา
367. นายสุชาติ อัศวนารา
368. นายจิระศักดิ์ ภวัครคุณ
369. หทัยรัตน์ เตชะวัฒนวรรณา
370. นายธรรมรัตน์ วรรณวิมลสุข
371. เต็ก  วงษ์มาลีวัฒนา
372. นางสาวสิริรัตน์ ขันธิสิทธิ์
373. นายอมฤต ไพเราะ
374. นางสาวอุไรวรรณ์ดารักษ์
375. นางทิพย์วัลย์ คล้ายประยูร
376. นายศุภกร ศิริมาลีวัฒนา
377. นางวารี  ก้าวหน้าชัยมงคล
378. นางจริยา ไชยรัตน์
379. นายอุทัย นิมิตจินดาวงศ์
380. นางสาวบุญรารักษ์ พวงเพียงงาม
381. นายพงษ์พันธ์ ศิริอาระพันธ์
382. นายฮ่ก  แซ่โค้ว
383. นางอมร  พ่วงแพร
384. นางแก้วตา ประพิศพงศ์วานิช
385. นายมานพ ศิริพฤกษ์พงษ์
386. นางสาวบุญมี ประพิศพงศ์วานิช
387. อัจฉรา  ประพิศพงศ์วานิช
388. ปัทมาพร อัครทรงสิน
389. นายมานิต ชมเพ็ญ
390. ประพัฒน์ การุญ
391. นายยงยุทธ ชัยกูลรม
392. นายสุรเชษฐ์ เอี่ยมอนันต์
393. วัฒนา  อัศวดารา
394. อนุวัฒน์  โพคณารักษ์
395. อารีญา  เจริญรักษ์
396. ธีรพงษ์  ไวยชิตา
397. มนัส  ถ่องกานดา
398. อนุชา  ธารีสืบ
399. วริษฐา สัญญานุวัฒน์
400. นางอัมพร โชคกิจ
401. ศิริพร  ไวยชิตา
402. ศิริวรรณ ไวยชิตา
403. พรรณี  ไวยภาคา
404. หยู่  แซ่แต้
405. วิทยา  กิ่งแก้วก้านทอง
406. อรณี  วงศาโรจน์
407. พินทุอร  ขอพึ่ง
408. นางปัทมา ขอพึ่ง
409. ธนินท์โชติ เลิศพงศ์กิจจา
410. สุธินี  ศรีวาณิชยากร
411.         หนูเล็ก  คำแก้ว
412. ชัยรัตน์  ดุพัสกูล
413. มณฑกาญจน์ ดุพัสกูล
414. สธาวุธ  ชุติมาทิพากร
415. กุลชณิกา ชุติมาทิพากร
416. สุธรรม  ชุติมาทิพากร
417. นางวิมล แก้วจุมพฏ
418. นายชัยเรศ ขันธิโชติ
419. นายประวิทย์ ขันธิโชติ
420. นางทัศนีย์ ศรพรหมมาศ
421. นางนิตย์ วงษ์ธนสุภรณ์
422. ไตรภพ  ศิษฏ์สุเมธ
423. อภิรดี  ศิษฏ์สุเมธ
424. นพรัตน์  ศิษฏ์สุเมธ
425. นางณัชชารีย์ สุขทรัพย์ศรี
426. โสภณ  อุดมพิพัฒน์
427. สุภาวดี  อุดมพิพัฒน์
428. นางลักคณา ชุติมาทิพากร
429. ธีระพล  ชุติมาทิพากร
430. ปรีชา  ชุติมาทิพากร
431. ณรงค์  พิทักษ์พงษ์สุธี
432. นายเอกชัย วงษ์ทวีวัฒนา
433. ปัทมาพร อัครทรงสิน
434. วัจนา  นิมจันทร
435. มานพ  ชมเพ็ญ
436. อุไรรัตน์  วงษ์มาลีวัฒนา
437. สันติ  ตั้งสุนทรขัณฑ์
438. อานนท์  วงษ์มาลีวัฒนา
439. นายโชติ  เจียมเจิด
440. วันชัย  แซ่อื้อ
441. จันดี  เอื้อวิจิตรศิริ
442. กนกวรรณ เอี่ยมอนันต์
443. นายสุรัชชัย อังกูรสุชัย
444. สุชาดา  แตรตุลาการ
445. สุมาลี  แตรตุลาการ
446. สายสมร แตรตุลาการ
447. สุนัย  แตรตุลาการ
448. นพคุณ  แตรตุลาการ
449. จิดาภา  แตรตุลาการ
450. รินรดา  เนตรขำ
451. อินธรรม  เองประสาทพร
452. สุมนา  รุวิชาญสิริ
453. สมศักดิ์  รุวิชาญสิริ
454. พาโชค  บูรณะประภา
455. ศิริศา  บูรณะประภา
456. สมศักดิ์  โป้น้อย
457. นางวาสนา สิทธิวรรณวิทย์
458. นายสง่า  กิจวรรณจักร์
459. นางยุพิน กิจวรรณจักร์
460. สุดา  ดารากิติกุล
461. ประสิทธิ์ ทางประทีปรัตน์
462. เขมชาติ  อุดมกิตติ
463. ชาญชัย  ชุติมาทิพากร
464. สุรชัย  ชุติมาทิพากร
465. นายชูชีพ ณ นคร
466. ณิยนาถ  สุขสอาด
467. วรพจน์  สุขสอาด
468. สุชาติ  สุขสอาด
469. สมเกียรติ ลาภเอกอุดม
470. นายกัณฑ์พศุตม์ วัชราธรสุข
471. รัศมี  ดุพัสกูล
472. นิวัฒน์  เถี่ยนมิตรภาพ
473. วิภานันท์ กุงแก้ว
474. เอื้อยพันธ์ รักถิ่นเกิด
475. ทศพล  ไทยปิ่นณรงค์
476. พรชัย  ศุภวิไล
477. ชะลอ  อุปริกชาติพงษ์
478. วิชาญ  ลาภเอกอุดม
479. นางจำปี รุ่งอรุณ
480. สันติ  โชติศิษย์ชัย
481. กิมฮง  แซ่เบ๊
482. วัลย์ลิกา กัลป์ยานันฑปรีชา
483. อนุชิน  พาเจริญ
484. เจนจิรา  พาเจริญ
485. นายทรงศักดิ์ ทัศนาเสถียรกิจ
486. นายพงษ์รุ่ง ทัศนาเสถียรกิจ
487. อัญชัญ  เถี่ยนมิตรภาพ
488. นายสง่า  กิจวรรณจักร์
489. นางยุพิน กิจวรรณจักร์
490. วิรัช  อารักษ์บุญสุขี
491. กรแก้ว  คองทิพย์
492. ดวงรัตน์  อุดมกิตติ
493. ปวีณา  สุขสอาด
494. กชพรรณ อุปริกชาติพงษ์
495. สุวรรณี  ลาภเอกอุดม
496. ศุภรางค์  คงสาคร
497. ณรงค์เดช ชาญศิลปากร
498. นางอัมพร โชคกิจ
499. นายวันชัย วณิชย์วรนันต์
500. นายสมชาย ฉันทโสภณ
501. นางสาวน้ำเพชร ราตรีโชคทรัพย์
502. นางสาวปรภาว์มาศ ราตรีโชตทรัพย์
503. นางชิวฮุง แซ่เจ็ง
504. นายพงษ์ชัย ราตรีโชคทรัพย์
505. นายปัณณพงษ์ สุขทรัพย์ศรี
506. เอง แซ่เจ็ง
507. จักรรินทร์ ราตรีโชคทรัพย์
508. นางสาวสมสนิท เมืองจันทร์
509. นางทองจันทร์ มงคล
510. กิมฮง  แซ่เบ๊
511. ประสิทธิ์ ว่องไวตรีคูณ
512. บุญชนะ ชุติมาทิพากร
513. นางสาวสุมาลี ชุติมาทิพากร
514. นางลัดดา ฤทธิญาณ
515. บุญมา  ชุติมาทิพากร
516. ปัญญาพล ศรีนุกูล
517. ธน  จารุมาลัย
518. สุภาภรณ์ บุญบวรรัตนกุล
519. สิริมา  บุฐบวรรัตนกุล
520. ปุณยภา  อุปริกชาติพงษ์
521. ไพศาล  วิสุทธิศาลวงศ์
522. นพ.วีระพล ธีระพันธ์เจริญ
523. ประวิท  อภิเลปน์
524. อัตนา  พงษ์เมตตาสันติ
525. สมชาย  พิทักษ์กิ่งทอง
526. สุภา  กังวานธนโชติ
527. อติพัฒน์ เหลืองมงคลภา
528. นที  ชุติมาทิพากร
529. บรรจง  ชุติมาทิพากร
530. เพียงใจ  เจียวฮะ
531. นางสาวอรวรรณ วณิชย์สุวรรณ์
532. อรรถพร ชุติมาทิพากร
533. นายสุวัฒน์ ฉลองกุลวัฒน์
534. นางสาวเพ็ญพักตร์ลมสูงเนิน
535. นายสิริวัฒน์ เพ็งผ่น
536. นายวิสุทธิ์ คคนางค์
537. นายชินโชติ เจียมเจิด
538. นางสาววันดี หวังไพบูลย์
539. วรรณา  หวังไพบูลย์
540. นางวันดี สร้อยสุวรรณ
541. นางสาวฐิติพร อุดมกิตติ
542. นางภัทรานิษฐ์ ดลมินทร์จิรวุฒิ
543. พ.จ.อ.วัฒนิน ดลมินทร์จิรวุฒิ
544. นางสาววิภาดา พาเจริญ
545. นางพรทนา พาเจริญ
546. นายสันติสุข สี
547. นายชัยวัฒน์ โดดดี
548. นายรักชาติ คชเถื่อน
549. นายนันธวัช กุลศิริไชย
550. นายอนันต์ ตั้งสุนทรขัณฑ์
551. นายประมวล จิตตั้งมั่น
552. นายสมบุญ จิตตั้งมั่น
553. นายศิริโชค ทางธนกูล
554. กานดา  รื่นเรืองคุณ
555. มหศักดิ์  อุดมกิตติ
556. คมศักดิ์  บูรโชควิวัฒน์
557. ชนิสรา  อุดมกิตติ
558. นางจุฬาวรรณ อุดมกิตติ
559. สมมาตร ภิญโญมิตร
560. ศกรวรรณ สร้อยสุวรรณ
561. ดุสิต  พิภูษณะนาคทนต์
562. ดำรง  แก้วพรสรรค์
563. ธนวัฒน์  พิทักษ์กิ่งทอง
564. สมพล  สุทธิพินทะวงศ์
565. ธนพงษ์  อัจฉริยปราการ
566. สุธีร์  ภัทรพรศักดิ์
567. ฉัตรชัย  สุขสอาด
568. นำโชค  หวังไพบูลย์
569. กิมเฮี๊ยะ  เอี่ยมศรีดี
570. มนทชา  ปุญญาภินิหาร
571. รุ่งทิพย์  เพ็งผ่อง
572. นายบุญเลิศ สิริมาลัยวรวงศ์
573. นายวีระพันธ์ พิทักษ์กิ่งทอง
574. นายสมชัย สุวรรณสุวิมล
575. ปริษา  ปุญญาภินิหาร
576. ทวีพงษ์  กว้างศิริพร
577. ณัฐวัฒน์ กว้างศิริพร
578. บุญยืน  ศุภกรรม
579. ธงชัย  สุขทวีทรัพย์
580. นายสิทธิพงษ์ โรจน์กัญญาพร
581. เสาวลักษณ์ วัชราธรสุข
582. กัลยกร  วัชราธรสุข
583. นางชไมพร สิริมาลัยวรวงศ์
584. วิไลพร  จรูญพัฒนพงศ์
585. พุฒิเมธ  เหลืองสิริวงศ์
586. นางสาวมัลลิกา แซ่แต้
587. วุฒิพงษ์  พจนาพิมล
588. นิรมล  เสถียรวิทย์
589. ปราณี  แจ้งปุย
590. สุณีพร  มานะประเสริฐศักดิ์
591. วิจิตรา  สันตรี
592. สมพงษ์  สันตรี
593. นายวิชชุ เถี่ยนมิตรภาพ
594. อัจฉรา  กิ่งแก้วก้านทอง
595. นวลจันทร์ กิ่งแก้วก้านทอง
596. รศ.ดร.พรทิพย์ ศุภวิไล
597. พนิดา  ศุภมิตร
598. พิมพ์วสัญช์ แตงอ่อน
599. วิไล  แตงอ่อน
600. ชาญศักดิ์ เพ็ญศิรินภา
601. สมชาย  เตชะพันธ์งาม
602. ทวี  อิทธิกสุมาลย์
603. ทศพร  ตุลาธรรมกิจ
604. วรวรรณ  กิ่งแก้วก้านทอง
605. วทัญญู  วัฒนปรีชานนท์
606. ขวัญวรี  พรมจันทร์
607. ชุติมา  วัฒนปรีชานนท์
608. นางสาวธนจิต กีรติโรจน์วณิชย์
609. ปิยวรรณ สิรินพคุณ
610. นายพีระ วัฒนปรีชานนท์
611. นายเจษฎา วัฒนปรีชานนท์
612. นายสิทธิชัย วัฒนปรีชานนท์
613. ธีระชัย  แก้วรัตนปัทมา
614. ธีระ  ต่อพงศ์พัฒนะ
615. ผาสุก  วงษ์เสวก
616. มงคล  วงษ์เสวก
617. นิภา  โลหะรังสี
618. นันท์ชนก วัฒนปรีชานนท์
619. นางทองม้วน โลหะรังสี
620. พรพิชชา พรมจันทร์
621. ละมูล  ล้อมสิน
622. รัตนา  ฉิ่งแสง
623. สุภาพร  แซ่จิว
624. สมชาติ  ฉิ่งแสง
625. ประภาพร แซ่จิว
626. สุธิดา  ชาติวุฒินันท์
627. นันทกา  เจ้าแสงพึ่ง
628. เนาวรัตน์ ลิ้มเจริญชัยกุล
629. นายสิทธิโชค หาญวณิชย์เวช
630. จีรวรรณ  ดุพัสกูล
631. นางสาวอาภรณ์ พรหมหิรัญกุล
632. นางสาวประภาพรรณ พรหมหิรัญกุล
633. นายประมวล วิชาชู
634. นายชัชวาล วานิชกมลนันท์
635. นายเสริมชาติ ธรรมะวิธีกุล
636. นายสุวิทย์ โตวิศิษฐ์ชัย
637. นางสาวกมลวรรณ สถิตวิบูรณ์
638. นางสาวโชติกา ลิ้มเจริญชัยกุล
639. นายปรวีย์ สุขกลิ่น
640. นางสาวนิสิตา ประพิศพงศ์วานิช
641. นางสาวชานิณี ประพิศพงศ์วานิช
642. นางสาวปฐมาภรณ์ประพิศพงศ์วานิช
643. นางสาวขนิษฐา เลิศวงศ์วิศาล
644. นายสมเกียรติ แก้วศรีนนท์
645. นายสหพล แก้วศรีนนท์
646. นายนนทพล แก้วศรีนนท์
647. นางหัทยา แก้วศรีนนท์
648. นายนรินทร์ชัย แก้วศรีนนท์
649. นางสมใจ นิกรยานนท์
650. นายรัว  ไหเซียง
651. นางสมพร เรืองศรี
652. เด่นพงศ์  ไหเซียง
653. นพรัตน์  ไหเซียง
654. สมบัติ  ล้วนจำเริญ
655. วรารัตน์  ธีระวัฒนวงศ์
656. สุรชัย  ธีระวัฒนวงศ์
657. สุกัญญา แพร่ภิญโญ
658. วิมล  มาท้วม
659. เกศินี  กิ่งแก้วก้านทอง
660. นายสุเทพ ล้อไพบูลย์ทรัพย์
661. นางสาวนภาพร อุดมกิตติกุล
662. นายสุพจน์ สันติตรานนท์
663. นายวินัย ศิริพฤกษ์พงษ์
664. นางเย็นจิต ศิริพฤกษ์พงษ์
665. นายพงษ์พรหม ธีระพันธ์เจริญ
666. นายสุนทร ศุภวิไล
667. นายณัฐวุฒิ ศิริพฤกษ์พงษ์
668. นายวีระพงษ์ ประภัสสรพิทยา
669. นายจิระชัย พรหมชนก
670. นายท้วง ชัยสุวรรณรัตน์
671. นายประเสริฐ ชุติมาทิพากร
672. นายนพดล วงศ์วรรธนะโชติ
673. นายสุจิน วรรณวิจิตร
674. นายมานะชัย อัญมณีเจริญ
675. นางกันยา แก้วจุมพฏ
676. นายประทีป ธนาเพทาย
677. นายธนกฤต ไชยสงวนสุข
678. นายวีรพันธุ์ ธาราประภา
679. นางสมศรี ธีระวัฒนวงศ์
680. อภัยชนม์  สัจจะพัฒนกุล  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
681. จุฑามาศ  วิรุณรัตน์  คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
682. อภัสสดา  จันทนะศิริ  สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
683. สุภาวรรณ  กองแก้ว  สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
684. วัชราพร  พ้นภัย  สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย
685. ชาญณรงค์  พุฒิบานเย็น  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
686. นายอรรถพล  ใคร่ครวญ  โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
687. นางประเสริฐ  วงคำ  โรงเรียนตะพานหิน
688. นางสาวพรจิตร  ยศปัญญา  โรงเรียนบ้านไร่เหนือ สพป. พช. เขต 3
689. นายบุณยาริชฐ์  ทองจันชวัลกุล  โรงเรียนบ้านหนองผักหลอด สพป. ชย. เขต 2
690. ไพจง  ไพลสกุล  บริษัทมัลติมีเดียเมคเกอร์ส
691. นพพร  โรจน์วัฒน์กาญจน  บจก.Sinolink(Thailand)
692. พรพรรณ  โรจน์วัฒน์กาญจน  บจก.Sinolink(Thailand)
693. สมยศ  ดวงประทีป  บจก. Pearl Shipping Services Co. Ltd.
694. ฐิติมา  กล้าหาญ  บจก. Pearl Shipping Services Co. Ltd.
695. วาริท  วสยางกูร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
696. อัญชลี  รัตนะ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
697. อธิชญาภาณิ์  ศรีชุติศาสตริน  โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
698. รพีกร  สุริยธรรม  โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
699. พันธุ์ทิพย์  ดีประเสริฐดำรง  โรงเรียนราชินี
700. ปรัชญา  พิริยุตะมา  โรงเรียนราชินี
701. ไพโรจน์  เอื้อวงศ์วิไล  www.edamobize.com
702. สสิณัฐ  จินดาเงิน  โรงเรียนสิชลคุณาธารวิทยา 
703. ณัฏฐพงษ์  สกุลเลี่ยว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
704. เนื้ออ่อน  ขรัวทองเขียว มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
705. นายสิทธิชัย  ทรัพย์ประเสริฐ
706. นายวันเฉลิม อุลิต
707. นางสาวปัญจวัลย์  ชาวดง
708. สมควร  ศรีภัทราพันธุ์
709. ปริญลดา  ศรีภัทราพันธุ์
710. สิริมา  บุตรสุทธิวงศ์
711. นายนริส  มะลิซ้อน
712. นางลำเพย  มะลิซ้อน ครูชำนาญการพิเศษ สพป.อย.2

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Urban Green Corridors: แนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง

$
0
0

 

การพัฒนาทางสาธารณะในพื้นที่ชุมชนเมืองหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้ประชาชนมีช่องทางในการสัญจรในหลากหลายวิธีมากขึ้น ทางสาธารณะที่ดีนั้น นอกจากจะถูกออกแบบมาให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของประชาชนโดยทั่วไป (ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาทุกเพศทุกวัย ผู้พิการ เด็ก และคนชรา) ที่สัญจรด้วยการเดินทางเท้า การใช้จักรยาน การใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ และการสัญจรโดยขนส่งสาธารณะอื่นๆ ทางสาธารณะที่ดียังต้องถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนเมืองอย่างยั่งยืนอีกด้วย

ดังนั้น การปลูกต้นไม้คู่ขนานไปกับแนวทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นถนน ทางจักรยานและทางเท้าในพื้นที่ชุมชนเมืองย่อมทำให้เกิดแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง (Green Corridors)ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไปที่ต้องอาศัยทางสาธารณะประเภทต่างๆ ในการสัญจรและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชนเมืองหลายประการ

ภาพที่ 1:แนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง (urban green corridors) ย่อมสร้างทำให้เกิดบรรยากาศที่ร่มเย็นและสร้างความร่มรื่นให้กับถนน ทางจักรยานและทางเดินในพื้นที่ชุมชนเมือง                                                                                                                                                                                                                                      อ้างอิง: Augusta Sustainable Development Implementation Program, http://asdip.files.wordpress.com/2013/06/augusta-sustainable-development-implementation-program-draft-062013.pdf

ประการแรกแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองสามารถลดผลกระทบเกี่ยวกับมลภาวะทางแสงอากาศที่สามารถสร้างผลร้ายต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวได้ ทั้งประชาชนอาจใช้แนวทางสีเขียวเป็นเส้นทางออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ เช่น วิ่ง เดินและปั่นจักรยาน หลังจากที่ตนเองมีช่วงเวลาว่างจากการประกอบกิจวัตรประจำวัน อันถือเป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง ประการที่สองแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองย่อมมีส่วนช่วยสร้างสมดุลทางธรรมชาติ เพราะแม้ว่าการพัฒนาถนนหรือเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ชุมชนเมือง จะเน้นการพัฒนาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างหรือการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่เอื้อต่อการคมนาคมในชุมชนเมือง ที่อาจรุกล้ำที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตดั่งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองมาแต่เดิม จนทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองมาแต่ดังเดิมลดทอนจำนวนลงไป แต่การปลูกต้นไม้ตามแนวทางสัญจรประเภทต่างๆ ย่อมอาจทำให้สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถอยู่อาศัยในบริเวณพื้นที่หรือแนวทางสีเขียวในชุมชนเมืองได้ ประการต่อมาแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองที่งดงาม ย่อมเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาเยี่ยมชมหรือพักผ่อนตามบริเวณแนวทางสีเขียวที่งดงาม ซึ่งนอกจากจะทำให้นักท่องเที่ยวได้ผ่อนคลายจากการสัญจรจามแนวทางสีเขียวนั้นๆแล้ว ร้านค้าที่ตั้งอยู่บริเวณแนวทางสีเขียวก็อาจได้รับความร่มรื่นจากร่มไม้ของแนวทางสีเขียวดังกล่าว ทำให้เพิ่มภูมิทัศน์หรือทัศนียภาพแก่บริเวณที่ตั้งร้านค้าตามแนวทางสีเขียว อันเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง ประการสุดท้าย แนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง ย่อมช่วยลดอุณหภูมิตามเส้นทางสัญจรได้ เพราะร่มไม้จากต้นไม้ตามแนวทางสีเขียว ย่อมให้ร่มเงาและความร่มรื่นแก่ผู้สัญจรบนเส้นทางดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นถนน ทางเดินและทางจักรยาน

ในท้องถิ่นของของหลายมลรัฐในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดเกณฑ์อนุรักษ์ต้นไม้และพุ่มไม้ในชุมชนเมือง (Tree And Shrub Requirements) รัฐบาลท้องถิ่นของสหรัฐอเมริกาหลายท้องถิ่นได้ตราเทศบัญญัติที่กำหนดมาตรการทางผังเมืองและสิ่งแวดล้อม โดยอนุบัญญัติของท้องถิ่นให้อำนาจแก่หน่วยงานด้านผังเมืองและสิ่งแวดล้อมในการควบคุมการพัฒนาเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกต้นไม้ตามแนวทางสัญจรในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมือง ตัวอย่างเช่นเทศบาลเมืองฮิวสตัน มลรัฐเท็กซัส ได้ตราเทศบัญญัติอนุรักษ์ต้นไม้ (City of Houston’s Tree Protection Ordinance)ขึ้น เทศบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญหลายประการ อันเป็นการส่งเสริมให้ท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป อนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวทางสัญจร (thoroughfares) ประเภทต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมือง โดยเกณฑ์ดังกล่าวที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับกิจการผังเมืองจำต้องปฏิบัติตามเพื่อรักษาและอนุรักษ์แนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง เช่น ประเภทของต้นไม้ที่อนุญาตให้ปลูกตามแนวทางในพื้นที่ชุมชนเมือง เกณฑ์ขั้นต่ำของขนาดของต้นไม้ที่จะนำมาปลูก เกณฑ์ระยะทางของแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองและกรอบทางการคลังท้องถิ่นสำหรับบริหารโครงการพัฒนาแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมือง เป็นต้น (โปรดดู City of Houston, How to Designate a Green Corridor, http://www.houstontx.gov/planning/DevelopRegs/docs_pdfs/GreenCorridor.pdf)

นอกจากนี้ เทศบัญญัติฉบับนี้ยังได้กำหนดมาตรการทางอาญาเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์แนวทางสีเขียวในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมือง โดยหากบุคคลใดถอนหรือทำลายต้นไม้ที่ปลูกตามแนวทางสีเขียวโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นหรือปราศจากเหตุอันควรที่กฎหมายได้กำหนดไว้ บุคคลดังกล่าวอาจถูกปรับเป็นจำนวนเงิน500 ดอลล่า (16145.65 บาท)

ภาพที่ 2:แนวทางสีเขียวเลียบทางจักรยานบริเวณพื้นที่ชุมชนเมือง ย่อมช่วยลดอุณหภูมิตามเส้นทางจักรยานได้ เพราะร่มไม้จากต้นไม้ตามแนวทางสีเขียว                                ย่อมให้ร่มเงาและความร่มรื่นแก่ทางจักรยาน

อ้างอิง: Blight to Beauty: “Red Fields to Green Fields” Plans Revealed for Detroit, Houston, Los Angeles, Phoenix and Hilton Head Island, http://www.gtresearchnews.gatech.edu/red-fields-to-green-fields/

การศึกษาเกณฑ์การพัฒนาแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองของสหรัฐอเมริกา อาจเป็นประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาเมืองในท้องถิ่นประเทศไทย ทั้งในท้องถิ่นรูปแบบทั่วไปและท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เพราะการพัฒนาแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองย่อมเอื้อประโยชน์ทั้งในด้านการลดมลภาวะทางอากาศ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ การท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเมือง อนึ่ง แม้ว่าปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกายภาพของผังเมืองไม่ว่าจะเป็นจำนวนประชากร ภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อม ของท้องถิ่นของรูปแบบต่างๆของประเทศไทยกับท้องถิ่นรูปแบบต่างๆของสหรัฐอเมริกาจะแตกต่างกันก็ตาม แต่การพัฒนาแนวทางสีเขียวในพื้นที่ชุมชนเมืองก็อาจให้ประโยชน์หรือผลลัพท์ที่คล้ายคลึงกันในบางประเด็น เช่น ทางจักรยานที่ร่มรื่นและคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอบโลกแรงงานเมษายน 2014

$
0
0
สิงคโปร์-จับกุมนายจ้างหลังไม่จ่ายเงินเดือนลูกจ้าง
 
2 เม.ย. 2014 - รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มบังคับใช้กฏหมายใหม่ว่าด้วยการจ้างงานเมื่อวานนี้โดยให้อำนาจกับกระทรวงแรงงานมีอำนาจในการจับกุมนายจ้างที่เบี้ยวจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานได้แบบคาบริษัท และกำหนดโทษปรับสูงกว่าเดิมถึง 5 เท่าคือจาก 25,000 บาทเป็น 125,000 บาท โดยขณะนี้ทางกระทรวงแรงงานสิงคโปร์กำลังฝึกฝนเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดทักษะในการจับกุมเช่นฝึกความชำนาญในการใส่กุญแจมือหรือการใช้ตะบองแบบตำรวจรวมถึงการควบคุมผู้ต้องหา
 
กฏหมายใหม่นี้นับเป็นการเพิ่มบทบาทให้กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานมากยิ่งขึ้นโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวานนี้เพื่อให้การจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด
 
ปัจจุบันสิงคโปร์ได้ปรับเพดานเงินเดือนของพนักงานทั่วไปจาก 5 หมื่นบาท เป็น 62,500 บาท ส่วนระดับผู้บริหารซึ่งมีเงินเดือนไม่เกิน 112,500 บาท ก็จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกให้ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม นอกจากนั้นยังกำหนดให้จ่ายค่าโอทีให้กับแรงงานที่ได้ค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 62,500 บาท จากเดิมไม่เกิน 56,250 บาท
 
“ซีเมนส์” ใจป้ำมอบหุ้นให้พนักงาน 7.5 หมื่นคน รวม 41 ล้านยูโร
 
4 เม.ย. 2014 - “ซีเมนส์” ใจป้ำแจกหุ้นให้พนักงานของบริษัทที่อยู่ทั่วโลกราว 75,000 คน  มูลค่ารวม 440 ล้านหุ้น หรือ 41 ล้านยูโร เพื่อสร้างแรงแรงจูงใจ และทำให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของบริษัท และเพื่อแผนการออมเงินในช่วงเกษียณอายุที่มั่นคง
       
รายงานข่าวแจ้งว่า  พนักงานสามารถมีโอกาสในการเป็นหุ้นส่วน บริษัท ซีเมนส์ เพิ่มมากขึ้น โดยการเข้าร่วมโครงการ “การจัดสรรหุ้นสำหรับพนักงาน” (Employee Share Programs) ที่เรียกว่า Share Matching Plan และ Base Share Plan โดยในปีนี้บริษัทได้มีการโอนหุ้นให้แก่พนักงานเป็นจำนวน 440,000 หุ้นโดยมีมูลค่าถึง 41 ล้านยูโร ซึ่งเพิ่มมากขี้นถึงร้อยละ 25 จากปีก่อนที่มีจำนวนหุ้นเพียง 350,000 หุ้น
       
นายโจ เคเซอร์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ เอจี กล่าวว่า การที่พนักงานเข้ามามีบทบาทในการเป็นเจ้าของบริษัทเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์หลายด้าน นอกจากจะเป็นการสร้างแรงจูงใจ และทำให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะเจ้าของบริษัทแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสำหรับแผนการออมเงินในช่วงเกษียณอายุที่มั่นคงอีกด้วย
       
ด้านนายแอนโทนี่ เชย์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหาร บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ประเทศไทย (พม่า และกัมพูชา) กล่าวเสริมว่า โครงการนี้ทำให้พนักงานเข้าถึงบทบาทในการเป็นเจ้าของบริษัทได้เป็นอย่างดี ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับบริษัท ทำให้เกิดแรงจูงใจ และความรับผิดชอบในการที่จะพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนต่อไป
       
สำหรับโครงการ Share Matching plan ของบริษัท ทำให้พนักงานสามารถลงทุนในหุ้นของซีเมนส์ และยังได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการที่จะพัฒนาบริษัท ทุกๆ 3 หุ้นที่พนักงานซื้อ ทางบริษัทจะสมทบให้อีกหนึ่งหุ้นโดยไม่คิดมูลค่าหลังจากที่ได้พนักงานได้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว
       
ปัจจุบัน มีพนักงานราว 75,000 คน ใน 60 ประเทศ ได้รับหุ้นภายใต้โครงการดังกล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้จำนวนพนักงานซีเมนส์ที่ถือหุ้นของบริษัทในปัจจุบันมีจำนวน 140,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึงร้อยละ 50 ขณะนี้ พนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานของซีเมนส์ได้มีการถือหุ้นร่วมกันเป็นจำนวนร้อยละ 5 ของหุ้นซีเมนส์ทั้งหมด ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง
 
คนงานโรงงานสิ่งทอในกัมพูชาเป็นลมหมู่อีก 102 คน
 
4 เม.ย. 2014 - สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างนายตำรวจในกรุงพนมเปญของกัมพูชาว่า คนงานโรงงานสิ่งทอ 2 แห่งในกรุงพนมเปญเป็นลมหมู่อีกอย่างน้อย 102 คน เมื่อเช้าวันนี้ หลังจากคนงาน 118 คน ที่โรงงานสิ่งทออีก 2 แห่ง ล้มป่วยเมื่อวานนี้
 
ตำรวจรายงานว่า มีคนงานราว 52 คน เป็นลมที่โรงงานนิวไวด์ และอีก 50 คน รู้สึกไม่สบายที่โรงงานไอ.ซี. ทั้งหมดถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที ไม่มีผู้เสียชีวิต บางคนฟื้นและกลับบ้านได้แล้ว ตำรวจคาดว่ายาฆ่าแมลงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนงานในโรงงานนิวไวด์เป็นลมหมู่ 3 วันติดต่อกันนับตั้งแต่วันพุธ ส่วนเหตุการณ์ที่โรงงานไอ.ซี. คาดว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมในโรงงานไม่ดี ประกอบกับอากาศร้อน
 
เมื่อวานนี้คนงาน 118 คน ที่โรงงานสิ่งทอ 2 แห่งก็เป็นลมหมู่เช่นกัน เนื่องจากรับประทานอาหารปนเปื้อน สภาพที่ทำงานไม่ดี และอากาศร้อน เหตุการณ์คนงานเป็นลมหมู่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในโรงงานสิ่งทอของกัมพูชา รายงานของกระทรวงแรงงานกัมพูชาระบุว่า เมื่อปีที่แล้วมีคนงานล้มป่วย 823 คน ในโรงงาน 15 แห่ง เนื่องจากการทำงานหนักเกินไป สุขภาพไม่ดี ได้รับสารเคมีและโรคทางจิตเวชในกลุ่มอาการวิตกกังวล
 
'คูเวตแอร์เวย์ส' เตรียมปลด พนง.1000 ตำแหน่ง
 
7 เม.ย. 2014 - นางราสฮา อัล รูมี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของคูเวต แอร์เวย์สเผยผ่าน “อาระเบียน บิสเนสส์” สื่อดังแห่งแวดวงธุรกิจของโลกอาหรับในวันอาทิตย์ (6) โดยระบุ มีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สายการบินแห่งชาติของคูเวตซึ่งก่อตั้งกิจการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 กลับมามีผลกำไรอีกครั้ง หลังประสบภาวะขาดทุนสะสมต่อเนื่องมานานหลายปี
 
ซีอีโอหญิงของคูเวต แอร์เวย์สซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนธันวาคม เผยว่า พนักงานทั้ง 1,000 คนที่จะถูกปลดออกในครั้งนี้ จะเป็นพนักงาน “ชาวต่างชาติ” และมิได้เป็นพนักงานระดับอาวุโส โดยทางสายการบินจะทยอยแจ้งพนักงานที่จะถูกเลิกจ้างทั้งหมด ภายในระยะเวลา 3-4 เดือนจากนี้
 
"ในปีนี้เราจะปลดพนักงานออก 1,000 คน แต่ข้าพเจ้าตั้งเป้าจะปลดพนักงานออกให้ได้ราว 4,500 คน เพื่อลดค่าใช้จ่ายภายใน และปรับโครงสร้างขององค์กร ให้เรากลับสู่เส้นทางแห่งการทำกำไรได้อีกครั้ง" นางราสฮา อัล รูมี กล่าว
 
อย่างไรก็ตาม ซีอีโอหญิงรายนี้ ยอมรับว่า อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี กว่าที่สายการบินคูเวต แอร์เวย์สซึ่งมีพนักงานในสังกัดมากกว่า 6,000 คน จะกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง แม้รัฐบาลคูเวตจะเพิ่ง “ล้างหนี้สิน” จำนวน 1,550 ล้านดอลลาร์ (ราว 50,300 ล้านบาท) ให้กับคูเวต แอร์เวย์ส เมื่อปีที่แล้ว โดยหนี้สินจำนวนนี้ เป็นหนี้ที่พอกพูนสะสมมาตั้งแต่ปี 2004
 
รายงานข่าวระบุว่า คูเวต แอร์เวย์สได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ “แอร์บัส” ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากฝรั่งเศส ในการขอ “เช่า” เครื่องบินจำนวน 12 ลำภายในสิ้นปีนี้ เพื่อนำมาใช้ทดแทนเครื่องบินเดิม ที่มีอายุใช้งานมานานเกินกว่า 20 ปี และเตรียม “สั่งซื้อ” เครื่องบินใหม่เพิ่มอีก 25 ลำซึ่งจะทยอยส่งมอบนับจากปี 2019 เป็นต้นไป
 
ศาลยูเออีพิพากษายืนจำคุก 15 ปีหญิงที่ให้สาวใช้ดื่มยาฆ่าแมลง
 
7 เม.ย. 2014 - ศาลนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้จำคุก 15 ปี หญิงชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ทรมานสาวใช้ชาวเอธิโอเปียจนเสียชีวิตด้วยการบังคับให้ดื่มยาฆ่าแมลง
 
หนังสือพิมพ์กัลฟ์นิวส์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายงานว่า หญิงชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ วัย 46 ปี ทรมานสาวใช้ชาวเอธิโอเปียด้วยการปล่อยให้อดอาหารและบังคับให้ดื่มยาฆ่าแมลง ทั้งยังไม่ยอมพาไปรักษา หลังจากที่สาวใช้คนดังกล่าวมีอาการปอดอักเสบจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนสามีของเธอซึ่งเป็นชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เช่นกันได้กักขังสาวใช้ชาวเอธิโอเปียผู้นี้ในห้องและปิดผนึกหน้าต่างในห้องดังกล่าวทั้งหมด เขาถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปี ฐานให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมการกระทำความผิดดังกล่าว
 
หญิงชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายนี้ยังถูกกล่าวหาว่า ทรมานสาวใช้ชาวฟิลิปปินส์และทำร้ายร่างกายสาวใช้ไม่ทราบสัญชาติอีกคน สาวใช้ชาวฟิลิปปินส์ให้การต่อศาลระหว่างการไต่สวนเมื่อวานนี้ว่า นายจ้างรายนี้ทำร้ายร่างกายพวกเธอด้วยการใช้ไม้ตี จับศีรษะโขกกับกำแพงจนเลือดออก และบังคับให้ดื่มน้ำยาซักผ้าเนื่องจากไม่พอใจวิธีที่สาวใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ ทั้งยังบังคับให้สาวใช้ถอดเสื้อผ้า ถ่ายภาพพวกเธอขณะเปลือยกายแล้วบังคับให้ส่งภาพเหล่านั้นให้กับเพื่อนๆ สาวใช้ชาวฟิลิปปินส์ยังให้การว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์สาวใช้ชาวเอธิโอเปียเสียชีวิตนายจ้างได้ให้เงินก้อนใหญ่กับเธอเพื่อให้ปิดเรื่องนี้เป็นความลับ อย่างไรก็ตาม สามีภรรยาคู่นี้ต่างปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดและมีเวลา 30 วันในการยื่นอุทธรณ์คำตัดสินต่อศาลสูงสุด
 
สหภาพแรงงานกัมพูชาชวนคนงานผละงานประท้วงหลังหยุดยาวปีใหม่
 
10 เม.ย. 2014 - นักเคลื่อนไหวหลายสิบคนแจกใบปลิวให้แก่บรรดาแรงงานที่บริเวณหน้านิคมอุตสาหกรรมคานาเดีย ชานกรุงพนมเปญ เมื่อวันพุธ (9) ระหว่างช่วงพักกลางวัน โดยข้อความในใบปลิวระบุว่า การผละงานประท้วงมีวัตถุประสงค์ที่จะเรียกร้องการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ 160 ดอลลาร์ต่อเดือน และเรียกร้องการปล่อยตัวแรงงาน 21 คน ที่ถูกจับกุมตัวระหว่างการประท้วงรุนแรงในช่วงต้นเดือน ม.ค.
       
ประธานสมาพันธ์พนักงานด้านบริการและอาหารกัมพูชา เผยกับผู้สื่อข่าวว่า สหภาพแรงงาน และสมาคม 18 แห่ง ได้เรียกร้องให้แรงงานผละงานประท้วงหลังวันหยุดเทศกาลปีใหม่ช่วงวันที่ 14-16 เม.ย.
       
ขณะที่ประธานสหภาพเคลื่อนไหวแรงงาน กล่าวว่า สหภาพแรงงานแนวร่วมฝ่ายค้านเป็นตัวแทนของแรงงาน 100,000 คน จากแรงงานทั้งหมด 600,000 คน ในโรงงานผลิตรองเท้า และตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปกว่า 900 แห่งทั่วประเทศ
       
แรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปอายุ 23 ปี จากนิคมอุตสาหกรรมคานาเดีย เผยกับผู้สื่อข่าวว่า อาจไม่ร่วมผละงานประท้วงเพราะเกรงว่าจะตกงาน
       
“แน่นอนว่าเราต้องการค่าแรงสูงขึ้น แต่งานที่มั่นคงนั้นสำคัญกว่ามาก หากผมไม่มีงาน ผมก็ไม่มีเงินเลี้ยงดูครอบครัว” แรงงานชายคนหนึ่ง กล่าว
       
ค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปัจจุบันอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อเดือน ขยับเพิ่มขึ้นจาก 80 ดอลลาร์ต่อเดือนเมื่อปีก่อน
       
อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ถือเป็นแหล่งรายได้จากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา และในปี 2556 ที่ผ่านมา ภาคส่วนนี้ทำรายได้ให้กับประเทศถึง 5,500 ล้านดอลลาร์
       
นายกรัฐมนตรีฮุนเซน กล่าวว่า ค่าแรงที่เรียกร้องให้ปรับเพิ่มขึ้นนั้นสูงเกินกว่าจะจ่ายได้ และเตือนว่า สหภาพแรงงานที่ยั่วยุปลุกปั่นให้แรงงานผละงานประท้วงเพื่อเรียกค่าแรงสูงขึ้นต้องรับผิดชอบหากมีโรงงานปิดตัวลง พร้อมย้ำว่า ค่าแรงในปัจจุบันของแรงงานชาวกัมพูชานั้น สูงกว่าค่าแรงของแรงงานในลาว บังกลาเทศ อินเดีย เนปาล และพม่า
 
เกาหลีใต้เข้มงวดระเบียบการแต่งงานกับคนต่างชาติ
 
10 เม.ย. 2014 - เกาหลีใต้ออกระเบียบใหม่เข้มงวดการแต่งงานกับคนต่างชาติ ขณะที่มีเสียงติงว่าทางการควรหาทางสนับสนุนให้คู่สมรสชาวต่างชาติสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมเกาหลีใต้มากกว่า
 
ทางการเกาหลีใต้ออกกฎหมายใหม่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน กำหนดให้ผู้ขอวีซ่าผู้อาศัยจากการสมรสจะต้องผ่านการทดสอบความรู้ด้านภาษา ส่วนว่าที่คู่สมรสชาวเกาหลีใต้จะต้องแสดงหลักฐานว่ามีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 14.8 ล้านวอน (ราว 455,000 บาท) บริษัทจัดหาคู่ติงว่า กฎหมายนี้จะทำให้ชาวเกาหลีใต้ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการหาคู่เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 50 จากค่าธรรมเนียมเฉลี่ยปัจจุบันที่ 10 ล้านวอน (ราว 325,000 บาท) ขณะที่นักสังคมสงเคราะห์ชี้ว่า กฎหมายใหม่อาจยิ่งเพิ่มความตึงเครียดให้แก่ชีวิตสมรสที่มีปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวอยู่แล้ว
 
เจ้าสาวต่างชาติเริ่มหลั่งไหลเข้าเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2543 ตัวเลขสูงสุดในปี 2548 เมื่อสตรีต่างชาติได้รับวีซ่าผู้อาศัยจากการสมรสกว่า 30,000 คน สาเหตุเกิดจากสตรีเกาหลีใต้พากันทิ้งชีวิตชนบทไปาหาชีวิตใหม่ในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ ทำให้ผู้ชายในชนบทหาคู่ยากขึ้น สำนักงานสถิติเกาหลีใต้เผยว่า ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงขณะนี้ มีสตรีต่างชาติเข้ามาตั้งถิ่นฐานผ่านการสมรสแล้ว 236,000 คน ให้กำเนิดบุตรธิดา 190,000 คน ส่วนใหญ่เป็นสตรีจากจีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ไทยและมองโกเลียที่ผ่านการจัดการของบริษัทจัดหาคู่
 
เดิมทางการเกาหลีใต้ไม่เห็นว่าเจ้าสาวต่างชาติเป็นปัญหาเพราะถือว่าช่วยชดเชยอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนแรงงานในชนบทที่ลดลง จนกระทั่งปี 2553 เริ่มมีสตรีต่างชาติอายุน้อยถูกทำร้ายมากขึ้น บางรายถึงขั้นถูกสามีฆาตกรรม ทางการจึงได้ออกกฎหมายลงโทษจำคุก 2 ปี บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่เปิดเผยข้อมูลว่าที่คู่สมรส หรือจัดหาคู่ซ้อนให้แก่ผู้ชายคนเดียว ส่งผลให้ตัวเลขบริษัทจัดหาคู่ลดลงจาก 1,697 รายเมื่อปี 2554 เหลือเพียง 512 รายเมื่อสิ้นปีก่อน
 
เจ้าของโรงงานถล่มตายกว่าพันคนในบังกลาเทศจะถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม
 
15 เม.ย. 2014 - ตำรวจบังกลาเทศเผยว่า เจ้าของอาคาร 9 ชั้นที่พังถล่มทำให้คนงานสิ่งทอเสียชีวิตมากถึง 1,135 คนเมื่อเดือนเมษายนปีก่อนจะถูกตั้งข้อหาฆาตกรรม
 
ตำรวจแผนกสอบสวนคดีอาญากล่าวว่า เตรียมตั้งข้อหาฆาตกรรมกับนายโซเฮล รานา เจ้าของอาคารรานาพลาซา ชานกรุงธากา และผู้ต้องหาบางส่วนจากทั้งหมด 40 คนที่เกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมดังกล่าว หากถูกตัดสินว่ามีความผิดนายรานามีโทษสูงสุดคือประหารชีวิต
 
นับเป็นครั้งแรกที่ตำรวจบังกลาเทศระบุชัดเจนว่า จะตั้งข้อหาฆาตกรรมกับนายรานาซึ่งถูกจับกุมขณะพยายามหนีออกนอกประเทศข้ามไปยังอินเดีย หลังเกิดเหตุอาคารถล่มเมื่อวันที่ 24 เมษายนปีก่อน นับเป็นเหตุร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสิ่งทอบังกลาเทศ เขากลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของประเทศเมื่อผู้รอดชีวิตเล่าว่า คนงานหลายพันคนถูกบังคับให้เข้าไปทำงานในอาคารดังกล่าวทั้งที่มีคนร้องเรียนว่าเห็นรอยร้าวที่ผนังอาคาร
 
คนงานร่วมแสนของโรงงานผลิตรองเท้าชื่อดัง ชุมนุมเดือดเรียกร้องสวัสดิการฯ
 
17 เม.ย. 2014 - คนงานราว 40,000 คน ของโรงงานผลิตรองเท้าอี้ว์หยวนทั้ง 7 แห่ง ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของเครือบริษัทอี้ว์หยวน (裕元集团, Yue Yuan Industrial) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และผลิตรองเท้าให้กับแบรนด์ดัง อาทิ ไนกี้ อาดิดาส และทิมเบอร์แลนด์ เป็นต้น ได้เดินขบวนไปตามท้องถนนของเมือง
       
บรรดาคนงานที่เริ่มเกาะกลุ่มกันตั้งแต่วันจันทร์ (14 เม.ย.) ที่ผ่านมา ต่างตำหนิระบบสวัสดิการสังคมของบริษัทฯ โดยเฉพาะการแจกจ่ายเงินบำนาญ การประกันสุขภาพ ที่พักอาศัย และการจ่ายค่าชดเชยจากการบาดเจ็บระหว่างทำงาน
       
“มีตำรวจอย่างน้อย 500 นาย ตรึงกำลังอยู่บนท้องถนน จนกระทั่งราวบ่ายสามโมง รถตำรวจจำนวนมากก็เริ่มกระจายเข้าคุมพื้นที่” ลูกจ้างภัตตาคารรายหนึ่งซึ่งเห็นเหตุการณ์กล่าว
       
ด้านโฆษกของบริษัทฯ ระบุว่า บริษัทเห็นด้วยที่จะยกระดับผลประโยชน์ตามที่คนงานได้เสนอมา
       
“หลังจากมีการวิเคราะห์และคิดคำนวณทุกๆ ปัจจัยอย่างละเอียดถี่ถ้วน เราตกลงจะพัฒนาระบบสวัสดิการอันเป็นประโยชน์ต่อคนงานทั้งหมด” โฆษกกล่าว
       
ทางด้าน หลิน ตง ตัวแทนจากชุนเฟิง เลเบอร์ ดิสพิว เซอร์วิส (Chunfeng Labour Dispute Servive) กลุ่มเอ็นจีโอที่รณรงค์เพื่อสิทธิแรงงานในนครเซินเจิ้น กล่าวว่า เขาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวออกไปในคืนวันอาทิตย์ (13 เม.ย.) เมื่อเดินทางถึงเขตตงกวนของก่วงตง โดยเสริมว่า เจ้าหน้าที่ได้ซักถามก่อนปล่อยตัวตอน 04.00 น.ของเช้าวันถัดมา แต่ก็ผลักดันเขาให้ออกจากเมือง
 
“เราต้องการให้คำแนะนำทางกฎหมายแก่กลุ่มคนงานเพื่อช่วยปกป้องสิทธิ แต่ความพยายามของเราก็ถูกกีดกันโดยเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่น” หลินกล่าว
       
ขณะที่คนงานรายหนึ่งเผยว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมคนงานไปราว 20 คน ในวันจันทร์ และพบผู้ชุมนุมบางส่วนที่ชูป้ายประท้วงถูกรุมทำร้ายร่างกาย
       
“พวกเราค้นพบว่านายจ้างจ่ายเงินประกันสังคมขาดไปจากที่ควรอย่างน้อย 200 หยวน (ราว 1,000 บาท) ทุกเดือน ซึ่งนับย้อนกลับไปได้เกือบ 20 ปี” คนงานวัย 40 ปี รายหนึ่งกล่าว
       
“โรงงานเล่นไม่ซื่อกับพวกเรามานานนับสิบๆ ปี” คนงานหญิงอีกรายกล่าว
       
ทั้งนี้ กระแสความไม่พอใจปะทุขึ้นมาในเดือน มี.ค. หลังจากสมาชิกโรงงานผู้หนึ่ง ซึ่งทำงานมานานกว่า 18 ปี อ้างว่าเธอไม่ได้รับเงินบำนาญเต็มจำนวนอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้กลุ่มคนงานต่างสงสัยจนนำไปสู่การลุกขึ้นเรียกร้องดังกล่าว โดยส่วนใหญ่ยืนยันว่าจะประท้วงต่อไปจนกว่าจะมีการปรับปรุงระบบสวัสดิการฯ อย่างแท้จริง
 
คาดบริษัทญี่ปุ่นจะจ้างงาน “บัณฑิตจบใหม่” มากกว่า 1.1 แสนคนในปีหน้า หลัง ศก.เริ่มฟื้นตัว
 
20 เม.ย. 2014 - ผลสำรวจล่าสุดในญี่ปุ่นที่จัดทำโดยสื่อสิ่งพิมพ์ชื่อดังด้านธุรกิจอย่าง “นิกเกอิ” ระบุว่า บริษัทแดนปลาดิบจะจ้าง “บัณฑิตจบใหม่” เข้าทำงานในปีหน้าถึง 111,505 คน และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีที่ตัวเลขการจ้างงานแก่ผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาในญี่ปุ่นทะลุหลัก 100,000 ตำแหน่ง
       
ผลสำรวจที่มีการเผยแพร่ในวันเสาร์ (19) ซึ่งรวบรวมความเห็นของผู้บริหารบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นจำนวน 2,724 แห่งระบุว่าในปี 2015 จะมีการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่เข้าทำงานสูงถึง 111,505 คน หรือเพิ่มขึ้นราว 16.6 เปอร์เซ็นต์จากปีนี้โดยบริษัทที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะจ้างผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาในปีหน้าราว 18.5 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัว และคำสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภายในและต่างประเทศ
       
ขณะที่ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เผย พวกเขาจะจ้างบัณฑิตใหม่เข้าทำงานเพิ่มขึ้น 21.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในภาคการก่อสร้าง พบว่าจะมีการจ้างบัณฑิตใหม่เข้าทำงานสูงถึง 29.2 เปอร์เซ็นต์
       
ผลสำรวจยังพบว่า นิสสัน มอเตอร์ และฮอนด้า สองผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น จะมีการจ้างบัณฑิตจบใหม่เข้าทำงานในปี 2015 ราว 23.5 เปอร์เซ็นต์ และ 11.7 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
       
อย่างไรก็ดี ผลสำรวจกลับพบว่า พื้นที่ประสบภัยทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี 2011 ยังคงเป็นพื้นที่ที่จะมีการจ้างแรงงานใหม่ในระดับ “ต่ำที่สุด” เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนอื่นๆของญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน บัณฑิตจบใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัยทั่วแดนปลาดิบ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่เดินทางไปสมัครงานกับองค์กรธุรกิจที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประสบภัยเช่นกัน และอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ดังกล่าว
 
คนงานโรงงานรองเท้าในจีนผละงานประท้วงเข้าสัปดาห์ที่ 2
 
21 เม.ย. 2014 - การผละงานประท้วงของคนงานในโรงงานผลิตรองเท้า ซึ่งเป็นหนึ่งในการผละงานประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในจีนยืดเยื้อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ในวันนี้ และขยายจากโรงงานผลิตขนาดใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีนไปยังโรงงานของบริษัทเดียวกันในมณฑลเจียงซีที่อยู่ใกล้เคียง
 
กลุ่มไชนาเลเบอร์วอทช์ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐรายงานว่า คนงานที่โรงงานของบริษัทเย่หยวนอินดัสเทรียลโฮลดิงส์ในเมืองตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ตอกบัตรเข้างานเมื่อเช้าวันนี้ แต่ยังคงผละงานเนื่องจากไม่พอใจที่บริษัทไม่ยอมจ่ายประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้มาเป็นเวลาหลายปี ขณะที่คนงานกว่า 2,000 คนที่โรงงานของโรงงานเย่หยวนในเมืองเกาปู้ มณฑลเจียงซี ซึ่งผลิตรองเท้าให้บริษัทอาดิดาส เอจีเป็นหลัก ได้เข้าร่วมการผละงานประท้วงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาและมีแผนจะผละงานประท้วงในวันนี้เช่นกัน
 
การผละงานประท้วงครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากบริษัทเย่หยวนไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องของคนงานได้ตามกำหนด ทั้งนี้บริษัทเย่หยวนประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่าจะเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ของลูกจ้างเพื่อพยายามให้คนงานสงบลงและยุติการผละงาน แต่คนงานปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว
 
คนงานหลายคนในเมืองเกาปู้กล่าวว่า คนงานทั้งหมดซึ่งบริษัทเย่หยวนระบุว่ามีอยู่ราว 40,000 คน ได้เข้าร่วมการผละงานประท้วงครั้งนี้ นักเคลื่อนไหวด้านแรงงานกล่าวว่า การผละงานประท้วงครั้งนี้นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ ด้านบรรดาผู้นำในท้องถิ่นต่างขอให้บริษัทเย่หยวนหาทางออกให้กับข้อเรียกร้องของคนงานตามกฎหมายและกฎระเบียบ
 
นักเคลื่อนไหวจีนที่ช่วยคนงานโรงงานรองเท้าประท้วงใหญ่หายตัวลึกลับ
 
23 เม.ย. 2014 - นักเคลื่อนไหวชาวจีนที่ช่วยเหลือคนงานโรงงานรองเท้าประท้วงใหญ่หายตัวลึกลับนานกว่า 24 ชั่วโมงแล้ว ภรรยาคาดว่าเขาอาจถูกเจ้าหน้าที่ข่าวกรองควบคุมตัวไว้
 
นายจาง จื่อหรูและกลุ่มนักเคลื่อนไหวรวมทั้งทนายความติดตามการประท้วงของคนงานโรงงานรองเท้าเย่หยวน 40,000 คน ที่ผละงานมาตั้งแต่วันที่ 14 เมษายนและพยายามช่วยพวกเขาผลักดันข้อเรียกร้องเรื่องการจ่ายเงินประกันสังคม ภรรยาของเขาเผยว่า  ได้คุยกับสามีครั้งหลังสุดขณะคุยโทรศัพท์กันช่วงเที่ยงวันอังคารเขาออกจากบ้านที่เมืองเซินเจิ้นไปตั้งแต่เช้าวันอังคารโดยบอกว่า ถูกเรียกให้เข้าพบเจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองของจีน เป็นเจ้าหน้าที่จากเมืองตงก่วน เมืองอุตสาหกรรมทางตอนใต้และที่ตั้งของโรงงานรองเท้าเย่หยวน แต่จนถึงขณะนี้เขาก็ยังไม่กลับบ้าน ทุกคนพยายามโทรศัพท์หาแต่ไม่สามารถติดต่อได้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ดูเหมือนโทรศัพท์ของนายจางถูกปิดเครื่องในวันนี้ขณะที่รอยเตอร์พยายามโทรติดต่อ
 
นายจางเผยกับรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์ที่แล้วว่า ช่วงต้นสัปดาห์ได้พยายามเดินทางไปหาคนงานโรงงานรองเท้าที่ผละงานแต่ถูกตำรวจกักตัวและส่งกลับบ้าน ด้านนักวิจัยแรงงานคนหนึ่งเผยว่า นายจางและทนายความด้านแรงงานดั้นด้นเดินทางไปหารือกับคนงานได้ในที่สุดเมื่อวันจันทร์ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาถูกควบคุมตัวไว้
 
บาร์เคลย์ส ธนาคารใหญ่อันดับ 2 ในอังกฤษ เตรียมปลดพนักงาน 7,500 คน
 
24 เม.ย. 2014 - ธนาคารบาร์เคลย์ส ซึ่งเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ในอังกฤษ เปิดเผยว่า เตรียมปลดพนักงานสายงานวาณิชธนกิจจำนวน 7,500 คน หรือคิดเป็น 25-30% ของการจ้างงานทั้งหมด โดยคาดว่า การตัดลดพนักงานในสายงานดังกล่าวจะสร้างผลตอบแทนคืนให้กับหน่วยธุรกิจหลักทรัพย์ในอนาคตได้
 
องค์การนิรโทษกรรมสากลอัดกาตาร์ ไม่คุ้มครองแรงงาน
 
24 เม.ย. 2014 -สำนักข่าวเอพีรายงานว่า องค์การนิรโทษกรรมสากล เปิดเผยรายงานเมื่อวันที่ 23 เมษายนว่า แรงงานต่างด้าวที่ทำงานในบ้าน รวมถึงแรงงานในภาคก่อสร้างในประเทศกาตาร์ ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม บางรายต้องทำงานมากกว่า 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยไม่มีวันหยุด ขณะที่บางรายถูกคุกคามด้วยคำพูด ถูกทำร้ายร่างกายและถูกคุกคามทางเพศ รายงานระบุว่าปัญหาดังกล่าวเป็นผลมาจากระบบผู้สนับสนุนแรงงานซึ่งมักจะเป็นนายจ้างที่จะดูแลเรื่องวีซ่า รวมถึงสถานะทางกฎหมายต่างๆของแรงงาน ส่งผลให้แรงงานไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ง่าย และหากหลบหนีก็จะถูกจับกุมและถูกส่งตัวกลับประเทศ นับเป็นแรงกดดันล่าสุดจากองค์กรนานาชาติ ขณะที่กาตาร์กำลังเร่งเตรียมพร้อมเพื่อเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2020
 
'เยอรมนี' จ่อไฟเขียว ลูกจ้างมาทำงานสายได้ช่วงบอลโลก
 
24 เม.ย. 2014 - สหภาพนายจ้างของเยอรมนี เตรียมอนุญาตให้ลูกจ้างสามารถมาทำงานสายได้ เพื่อสนับสนุนลูกจ้างตนเองมีส่วนร่วมเชียร์ทีมบ้านเกิด ทำศึกฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล ระหว่างวันที่ 12 มิ.ย.-13 ก.ค.นี้ 
 
เนื่องจากปัญหาระยะเวลาที่ต่างกันระหว่างทวีปยุโรป และอเมริกาใต้ ทำให้หลายๆ แมตช์การแข่งขันที่ บราซิล จะเริ่มคิกออฟ ในเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นส่วนใหญ่ จึงนำมาสู่การรวมตัวเรียกร้องของพนักงานในครั้งนี้ 
 
หนึ่งในแกนนำสหภาพลูกจ้าง เปิดเผยกับ "บิลด์" หนังสือพิมพ์ชื่อดังเมืองเบียร์ว่า "มันน่าจะเป็นการเคลื่อนไหวที่สง่างาม โดยกลุ่มนายจ้าง ถ้าพวกเขาแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นในการทำงานบ้าง ระหว่างศึกเวิลด์คัพ"
 
"สำหรับเกมทีมชาติเยอรมนี หลัง 4 ทุ่มไปแล้ว ถ้าเป็นไปได้ การทำงานมันก็ควรจะเริ่มงานช้าได้เล็กน้อย นายจ้างและคณะกรรมการด้านการทำงาน ควรจะคุยถึงการปรับตารางการทำงาน เพื่อให้คนของพวกเขาสามารถมีความสุขในการชมเกมฟุตบอลโลก" แกนนำคนเดิมกล่าว
 
ทั้งนี้ หลายๆ หน่วยงานได้ปรับตารางการทำงานให้ลูกจ้าง ซึ่งปกติจะเริ่มงานในเวลา 06.00 น. เป็นที่เรียบร้อย และเมื่อต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ทางการของเยอรมนี ได้อนุญาตให้พื้่นที่สาธารณะยามค่ำคืน ประดับตกแต่งสร้างบรรยากาศระหว่างทัวร์นาเมนต์ได้แล้วเพื่อเพิ่มอรรถรสในการเชียร์
 
สำหรับ เยอรมนี อยู่ในกลุ่มจี ร่วมกับ โปรตุเกส, กานา และสหรัฐอเมริกา โดยโปรแกรมนัดแรก วันที่ 16 มิ.ย. จะพบกับ โปรตุเกส จากนั้นวันที่ 21 มิ.ย. ดวลแข้งกับ กานา ก่อนปิดท้ายรอบแบ่งกลุ่ม วันที่ 26 มิ.ย. กับ สหรัฐฯ ตามลำดับ
 
มัลดีฟส์กวาดล้างแรงงานต่างด้าวไม่มีใบอนุญาต
 
25 เม.ย. 2014 - สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างเจ้าหน้าที่ของมัลดีฟส์ว่า รัฐบาลมัลดีฟส์กำลังกวาดล้างแรงงานที่เข้ามาทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตโดยเฉพาะในกรุงมาเล ทำให้แรงงานหลายพันคนที่ไม่มีใบอนุญาตอาจต้องถูกเนรเทศออกนอกประเทศ
 
สื่อมัลดีฟส์รายงานว่า ปัจจุบันมัลดีฟส์มีแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายราว 110,000 คน และแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตอีกราว 44,000 คน ก่อนหน้านี้ มีแรงงานผิดกฎหมายราว 4,000 คนซึ่งสมัครใจลงทะเบียนกับทางการถูกเนรเทศออกนอกประเทศ แต่ได้รับอนุญาตให้กลับมาทำงานในมัลดีฟส์อย่างถูกกฎหมายภายในเวลา 6 เดือน แต่โครงการปัจจุบัน ทำให้ผู้ที่ถูกเนรเทศ ต้องรอ 5-10 ปีจึงจะกลับมาทำงานที่มัลดีฟส์ได้
 
ล่าสุดนายโมฮาเหม็ด นาซิม รัฐมนตรีกลาโหมและความมั่นคงแห่งชาติมัลดีฟส์ และผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกล่าวว่า กรุงมาเลจะปลอดแรงงานเถื่อนภายใน 3-4 เดือน รัฐบาลมีแผนปฏิบัติการอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตในมัลดีฟส์ เพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชนและเศรษฐกิจ
 
ทั้งนี้ ปฏิบัติการกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมายดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างกองทัพมัลดีฟส์  สำนักงานตำรวจ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและการย้ายถิ่นฐาน และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่ถูกควบคุมตัวในปฏิบัติการครั้งนี้จะถูกเนรเทศโดยใช้เงินที่นายจ้างมัดจำเมื่อสรรหาแรงงานเหล่านี้เข้ามาทำงาน นอกจากนี้ ทางการยังได้เตรียมสถานที่พิเศษเป็นที่ควบคุมตัวแรงงานที่ไม่มีใบอนุญาตที่ถูกจับกุมในปฏิบัติการดังกล่าว ขณะเดียวกันสภาท้องถิ่นจะออกปฏิบัติการกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมายบนเกาะที่อยู่ห่างไกล
 
นิตยสารไทม์ยกย่องสาวใช้อินโดฯ ที่ถูกนายจ้างทารุณเป็นบุคคลทรงอิทธิพลของโลก
 
25 เม.ย. 2014 - นิตยสารไทม์ระบุว่า สาวใช้ชาวอินโดนีเซียที่ถูกนายจ้างชาวฮ่องกงทารุณกรรมเป็น 1 ใน 100 บุคคลทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ซึ่งทำให้ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจการปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติในฮ่องกง
 
ก่อนหน้านี้เออร์เวียนา ซูลิสตยานิงซีห์ วัย 23 ปี ถูกนายจ้างชาวฮ่องกงกระทำทารุณเป็นเวลาหลายเดือน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในเมืองสราเกน บนเกาะชวาของอินโดนีเซียหลังจากเดินทางกลับจากฮ่องกงในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คดีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อสาวใช้ในฮ่องกงและจุดกระแสประท้วงจากผู้ที่ไม่พอใจ ล่าสุดนิตยสารไทม์ยกย่องความกล้าหาญของหญิงสาวชาวอินโดนีเซียผู้นี้ในการออกมาเปิดเผยถึงความโหดร้ายของนายจ้างและผลักดันให้มีกฎหมายคุ้มครองสาวใช้ในฮ่องกง  
 
โฆษกหน่วยประสานงานของสำนักงานผู้อพยพชาวเอเชียกล่าวว่า การที่นิตยสารไทม์ยกย่องให้สาวใช้คนดังกล่าวเป็นบุคคลทรงอิทธิพลทำให้ต่างประเทศหันมาให้ความสนใจการปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานเป็นสาวใช้ในฮ่องกง
 
นอกจากนี้ มาลาลา ยูซาฟไซ เด็กสาวชาวปากีสถานนักรณรงค์เพื่อการศึกษาของเด็กหญิงที่ถูกกลุ่มตอลีบานจ่อยิงศีรษะในปี 2555 แต่รอดชีวิตมาได้ ก็เป็น 1 ใน100 บุคคลทรงอิทธิพลที่สุดในโลกเช่นกัน
 
ศาลกัมพูชาเดินหน้าพิจารณาคดีผู้ชุมนุมร้องเพิ่มค่าแรง ไม่สนต่างชาติขอปล่อยตัว
 
26 เม.ย. 2014 - นักเคลื่อนไหว และแรงงานชาวกัมพูชา 23 คน ที่ถูกจับกุมตัวในช่วงการปราบปรามการผละงานประท้วงของอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมื่อเดือน ม.ค. เข้ารับการพิจารณาคดีเมื่อวันศุกร์ (25) แม้หลายประเทศจะเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาปล่อยตัวคนกลุ่มนี้ก็ตาม
       
คดีดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลอย่างมากต่อกลุ่มสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการปราบปรามการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนที่ถูกมองว่าเป็นการท้าทายการปกครองเกือบ 3 ทศวรรษของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน
       
กลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า หากศาลตัดสินจำเลย 23 คน ที่ส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวนานหลายเดือนโดยไม่ได้รับการประกันตัว ได้กระทำผิดจริง อาจต้องโทษจำคุกนานถึง 5 ปี จากความผิดที่รวมทั้งการเจตนาก่อความรุนแรง
       
ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนรวมตัวกันใกล้กับศาลกรุงพนมเปญเมื่อการพิจารณาคดีเริ่มขึ้น
       
ในเหตุชุมนุมประท้วงเมื่อต้นเดือน ม.ค. มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดฉากยิงใส่กลุ่มแรงงานโรงงานตัดเย็บที่ผลิตเสื้อผ้าให้แก่แบรนด์ดัง เช่น Gap Nike และ H&M ซึ่งกำลังชุมนุมประท้วงเรียกร้องปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ 160 ดอลลาร์ต่อเดือน
       
สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากลได้เริ่มโครงการ “Free the 23” กระตุ้นให้บรรดาแรงงานหาเสียงสนับสนุนจากสถานทูตกัมพูชาทั่วโลก
       
นายกง อาธิท สมาชิกสหภาพของสมาพันธ์สหภาพแรงงานกัมพูชา ได้ประณามสิ่งที่เกิดขึ้นโดยระบุว่าเป็น “ข้อกล่าวหาที่มีแรงจูงใจทางการเมือง”
       
“แรงงานไม่ได้ทำอันตรายต่อบุคคลใด พวกเขาเพียงแค่ประท้วงเรียกร้องค่าแรงเพื่อความอยู่รอด” นายกง อาธิท กล่าว
       
เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชามีคำสั่งห้ามผู้สนับสนุนพรรคฝ่ายค้านจัดการชุมนุมในเมืองหลวง และทางการได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามการชุมนุมประท้วงบนท้องถนน โดยที่หลายครั้งเจ้าหน้าที่ใช้ระเบิดควัน และกระบองไฟฟ้าเข้าสลายผู้ชุมนุม
       
และในเดือน ก.พ. ทางการระบุว่า ได้ยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว แต่กลับพบว่าตำรวจปราบจลาจลได้เข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่ร้องขอใบอนุญาตตั้งสถานีโทรทัศน์อิสระอย่างรุนแรง โดยระบุว่าผู้ชุมนุมเหล่านั้นไม่ได้รับอนุญาตให้จัดการชุมนุม.
 
เจ้าของโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูปกัมพูชาร้องรัฐบาลเร่งจัดการปัญหาผละงานประท้วงผิดกฎหมาย
 
28 เม.ย. 2014 - สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป (GMAC) ในกัมพูชา เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการปัญหาการผละงานประท้วงผิดกฎหมายของแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ในเมืองบาเวต (Bavet) และคาดว่าแรงงานจะผละงานไปจนถึงสัปดาห์หน้า
       
“GMAC รู้สึกผิดหวังที่รัฐบาล และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปล่อยให้การกระทำผิดกฎหมายเช่นนี้เกิดขึ้นและไม่มีการดำเนินมาตรการใดๆ เพื่อป้องกัน GMAC คาดการณ์ว่า การกระทำที่ผิดกฎหมายนี้จะแปรเปลี่ยนไปสู่ความรุนแรงเพราะบรรดาผู้ผละงานประท้วงขว้างปาก้อนหินเข้าใส่โรงงาน ข่มขู่แรงงานคนอื่นๆ ไม่ให้ทำงาน และยังทำลายทรัพย์สินของโรงงาน” คำแถลงของ GMAC ระบุ
       
คำแถลงยังระบุว่า การผละงานประท้วงจะแพร่ลามไปยังนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ หากทางการยังไม่มีมาตรการป้องกัน
       
“เราต้องการเรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินมาตรการที่จะควบคุมการผละงานประท้วงผิดกฎหมายนี้โดยทันที เพื่อรักษาความสงบ และความปลอดภัยของนักลงทุนและแรงงานที่ต้องการทำงาน”
       
คำแถลงยังเรียกร้องให้แรงงานที่ผละงานประท้วงกลับเข้าทำงาน ไม่เช่นนั้นแรงงานจะไม่ได้รับค่าแรงตามจำนวนวันที่ผละงานประท้วง
       
คำแถลงฉบับนี้มีขึ้นหลังแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้าหลายพันคนที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่ง ในเมืองบาเวต จัดชุมนุมผละงานประท้วงตลอดสัปดาห์เพื่อเรียกร้องเงิน 50 ดอลลาร์ ที่พวกเขาอ้างว่า เจ้าของโรงงานสัญญาที่จะมอบให้ หากพวกเขาไม่เข้าร่วมการผละงานประท้วงหลังปีใหม่เขมรที่สหภาพแรงงานแนวร่วมฝ่ายค้านจัดขึ้นเมื่อกลางเดือน เม.ย.
       
ด้าน GMAC ออกมาปฏิเสธว่าโรงงานไม่ได้ให้คำสัญญาดังกล่าว และอ้างว่า สหภาพแรงงานแนวร่วมฝ่ายค้านกุข้อมูลดังกล่าวขึ้นหลังไม่สามารถดึงแรงงานเข้าร่วมการผละงานเรียกร้องค่าแรงได้
       
ประธานสหภาพเคลื่อนไหวแรงงาน หนึ่งในสหภาพที่เป็นแนวร่วมฝ่ายค้านระบุว่า แรงงานในเขตเศรษฐกิจจะผละงานประท้วงต่อไปหากข้อเรียกร้องยังไม่ได้รับการตอบสนอง
       
ข้อขัดแย้งเรื่องค่าแรงในภาคตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชายังคงร้อนแรง เมื่อสหภาพแรงงานสนับสนุนฝ่ายค้านที่เป็นตัวแทนของแรงงานประมาณ 19% ของแรงงานทั้งหมด ยังคงเรียกร้องให้รัฐบาล และ GMAC ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้เป็น 160 ดอลลาร์ต่อเดือน ขณะที่รัฐบาลระบุว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวสูงเกินกว่าจะตอบสนองได้ ปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อเดือน
 
ชาวลอนดอน “เรือนล้าน” เปลี่ยนแผนเดินทาง หลัง พนง.รถไฟนัด “ผละงานประท้วง” 2 วันติด
 
28 เม.ย. 2014 - โดยสารหลายล้านคนกำลังเตรียมใจเผชิญกับความสับสนอลหม่านขณะเดินทางในช่วงเย็นของวันนี้ (28 เม.ย.) ในเวลาที่ลูกจ้างเครือข่ายการรถไฟใต้ดินของกรุงลอนดอนวางแผนผละงานประท้วง 2 วัน เพื่อต่อต้านแผนปลดคนงาน และแผนปิดสำนักงานจำหน่ายตั๋วรถไฟ
       
โฆษกของ TfL ระบุว่า การเจรจาอันยืดเยื้อยาวนานระหว่างองค์การขนส่งมวลชนลอนดอน (TfL) กับสหภาพแรงงานการรถไฟ การเดินเรือ และการขนส่ง (RMT) จะมีขึ้นวันนี้ (28) เพื่อมุ่งหมายไม่ให้ลูกจ้างนัดหยุดงานประท้วงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง ซึ่งมีกำหนดจะเริ่มต้นขึ้นในเวลา 20.00 น.ตามเวลาโลก (ตรงกับ 03.00 น.ของวันพรุ่งนี้ (29) ในเมืองไทย)
 
การประท้วงในลักษณะคล้ายคลึงกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ทำให้เครือข่ายการคมนาคมซึ่งมีผู้ใช้บริการถึงราว 3 ล้านคนแทบทุกวันถึงกับเป็นอัมพาต ขณะที่แผนนัดผละงานระลอกสองถูกขัดขวาง เพื่อเปิดทางให้การเจรจาเดินหน้าต่อไป ทว่าในที่สุดการพูดคุยกันก็ล้มเหลวเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
       
บรรดาผู้สันทัดกรณีด้านสหภาพแรงงานระบุว่า การประท้วงครั้งนี้มีขึ้นหลัง บ็อบ โครว์ ประธานสหภาพแรงงาน RMT เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 มีนาคม หลังจากสามารถชนะสัมปทานจากบรรดานายจ้าง ภายหลังนั่งโต๊ะเจรจากันอย่างลำบากยากเข็ญ และนัดหยุดงานประท้วงจนภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ และในที่สุดกลายเป็นแม่แบบของบรรดาผู้ที่หวังก้าวขึ้นมานั่งเก้าอี้ประธานต่อจากเขา
       
นอกจากนี้ยังจะมีการนัดหยุดงานอีก 3 วัน โดยจะเริ่มต้นในวันที่ 5 พฤษภาคมนี้
       
ขณะอ้างเหตุผลว่า ปัจจุบันมีผู้โดยสารน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้บริการเครือข่ายรถไฟใต้ดินอันเก่าแก่ถึง 151 ปี ซึ่งยังใช้บริการสำนักงานจำหน่ายตั๋วรถไฟ TfL กล่าวว่า จะยังเปิดสำนักงานจำหน่ายตั๋วไว้ให้บริการในบางเส้นทาง ขณะที่จะหันมาให้บริการรถบัส และเรือข้ามฟากเพิ่มเติม
       
TfL กล่าวว่า แผนพัฒนาให้ทันสมัยซึ่งรวมถึงการลดจำนวนลูกจ้างในสถานีรถไฟลง 953 อัตรา สามารถประสบความสำเร็จได้โดยที่ไม่ต้องมีการบังคับปลดคนงาน หรือปรับลดค่าแรง ทั้งยังให้สัญญาว่าจะยังมีจ้างพนักงานไว้ประจำตามสถานีรถไฟตลอดเวลา
       
สหภาพแรงงานโต้แย้งว่า การปลดพนักงานจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการคมนาคม และทำให้การบริการมีคุณภาพต่ำลง ทั้งยังกล่าวว่า การที่การเจรจานาน 8 สัปดาห์ประสบความล้มเหลว เป็นเพราะการบริหารจัดการรถไฟ นอกจากนี้สหภาพระบุว่า คาดหวังว่าประท้วงครั้งนี้จะช่วยให้พวกเขาได้มีโอกาสพูดคุยหารือกันอย่าง “จริงจังและมีความหมาย”
       
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน แห่งอังกฤษกล่าวว่า การประท้วงครั้งนี้มีลักษณะ “ไม่ชอบธรรม และไม่เป็นที่ยอมรับ” พร้อมระบุว่า จะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวนับล้าน ตลอดจนทำให้เกิดความสับสนอลหม่านขึ้นในภาคธุรกิจ
       
ทางด้าน กลุ่มล็อบบี้ชี้ว่า การประท้วงของพนักงานรถไฟเมื่อก่อนหน้านี้ได้ทำให้เศรษฐกิจของลอนดอนเสียหายคิดเป็นมูลค่าถึง 50 ล้านปอนด์ต่อวัน (ราว 2.7 พันล้านบาท)
 
นายจ้างชาวฮ่องกงที่ทรมานแม่บ้านอินโดฯ ถูกตั้งข้อหาเพิ่ม
 
28 เม.ย. 2014 - สตรีชาวฮ่องกงผู้ต้องหาทรมานแม่บ้านชาวอินโดนีเซียจนกลายเป็นกระแสตื่นตัวทั่วโลก ถูกตั้งข้อหาเพิ่มเรื่องไม่จ่ายเงินเดือนและไม่ให้แม่บ้านลางานตามกฎหมายกำหนด
 
ผู้พิพากษาศาลแขวงในฮ่องกงอ่านข้อหาใหม่ 25 ข้อหา ระหว่างการไต่สวนนางหลอ หวันต่ง มารดาลูกสองวัย 44 ปี ที่ถูกจับกุมเมื่อเดือนมกราคมกรณีทำร้ายร่างกาย น.ส.เออร์เวียนา ซูลิสตยานิงซีห์ วัย 23 ปี อย่างสาหัสเป็นเวลาหลายเดือน จนจุดกระแสกังวลเรื่องชาวฮ่องกงปฏิบัติไม่ดีต่อแม่บ้านต่างชาติขึ้นมาอีกครั้ง ข้อหาใหม่ครอบคลุมหลายช่วงเวลาที่นางหลอไม่ให้ น.ส.ซูลิสตยานิงซีห์ ลางานรวมทั้งหมด 16 วัน และไม่จ่ายเงินเดือนรวม 28,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (กว่า 112,000 บาท) ผู้พิพากษาเห็นด้วยกับอัยการว่า ควรส่งฟ้องต่อศาลระดับสูงกว่านี้ และได้เลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันที่ 20 พฤษภาคม ขณะที่นางหลอนิ่งเงียบตลอดการไต่สวน เพียงแต่ตอบผู้พิพากษาว่าเข้าใจข้อหาที่ถูกตั้งเพิ่ม
 
ก่อนหน้านี้นายจ้างชาวฮ่องกงรายนี้ถูกตั้งข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายทางร่างกาย ข้อหาทำร้ายร่างกายไม่สาหัส และข้อหาข่มขู่ทางอาญาอีก 4 กระทง เป็นการกระทำกับ น.ส.ซูลิสตยานิงซีห์ และแม่บ้านชาวอินโดนีเซีย 2 คนก่อนหน้านี้
 
ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก:ครอบครัวข่าว, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, สำนักข่าวไทย, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐออนไลน์, เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประมวลภาพหลังเหตุแผ่นดินไหวเชียงราย: 6 พ.ค. 2557

$
0
0

7 พ.ค. 2557 - ประมวลภาพจาก จ.เชียงรายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อเวลา 18.08 น. ของวันที่ 5 พ.ค. 2557 วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริกเตอร์ ทั้งนี้ข้อมูลเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงรายรายงานว่ามี 5 อำเภอที่มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างได้รับผลกระทบอย่างหนักได้แก่ อ.พาน อ.แม่ลาว อ.แม่สรวย อ.เมือง และ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าเกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้วอย่างน้อย 70 ครั้ง (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

อาคารภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย ถ.พหลโยธิน ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

วัดอุดมวารี ถ.พหลโยธิน ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ในภาพส่วนเศียรของพระพุทธอุดมมงคล หรือ หลวงพ่อขาว ได้รับความเสียหาย ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

วัดทรายขาว ถ.พหลโยธิน ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ทั้งนี้ส่วนยอดของเจดีย์หลายองค์มีสภาพชำรุดเสียหาย ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว ตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ลาว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2557 (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย กม.151-152 ช่วงปากทางเข้าบ้านห้วยส้านยาว อยู่ระหว่างการซ่อมแซมโดยศูนย์สร้างทางลำปาง กรมทางหลวง เพื่อให้รถสามารถใช้งานได้ชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีทางหลวงหมายเลข 118 ช่วง กม. 141 บ้านโป่งฟูเฟือง ที่ได้รับความเสียหายและอยู่ระหว่างการซ่อมแซมโดยแขวงการทางเชียงรายที่ 1 กรมทางหลวง (ที่มา: ธีระวัฒน์ ปาระมี)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาล รธน.มติเอกฉันท์นายกฯพ้นตำแหน่ง ครม.รักษาการต่อ เว้น รมว.เอี่ยวย้าย ‘ถวิล’

$
0
0

ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว กรณีโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี เลขา สมช. ให้ ครม. รักษาการต่อ เว้น รมว.ที่เอี่ยวประชุมวันที่ 6 ก.ย.54 

7 พ.ค. 2557 เวลา 12.30 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ จากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ

โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาใน 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.หลังยุบสภาความเป็นรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ์ พ้นไปหรือไม่ 2.การโยกย้าย นายถวิล ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้ยิ่งลักษณ์ให้พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือไม่ 3.คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.พ้นตำแหน่งไปด้วยหรือไม่ 

ประเด็นแรก ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่า มีอำนาจในการรับคำร้องนี้ไว้พิจารณาและวินิจฉัยได้ โดยเห็นว่า นายกฯ และ ครม.ยังไม่พ้นตำแหน่งจากการยุบสภาตามคำร้อง โดยเห็นว่าความเป็นรัฐมนตรียังอยู่ แม้ยุบสภาไปแล้ว ซึ่งต่างจากการสิ้นสุดผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองอื่น ดังนั้นศาลมีอำนาจรับฟ้องคดีนี้


ประเด็นต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าผู้ถูกร้องใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมืองในเรื่องการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือนหรือการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง จึงต้องด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 266 (2) และ (3) และถือเป็นการกระทำตาม รธน. มาตรา 268 อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7)

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 181 (1) บัญญัติว่าคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ส่วนมาตรา 182 วรรค 1 บัญญัติว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (7) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 267, 268 หรือ 269 จากข้อความที่ปรากฏในบทบัญญัติทั้ง 2 มาตรา แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 181 ได้บัญญัติให้เฉพาะกรณีที่คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 (1) เท่านั้น ที่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ไม่ได้หมายความรวมถึงกรณีความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามมาตรา 182 ด้วย

ดังนั้นคดีนี้เมื่อผู้ถูกร้องกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 วรรค 1 (2) และ (3) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182(1) แล้ว ผู้ถูกร้องจึงไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ได้อีกต่อไป

ประเด็นต่อมา มาตรา 180 วรรค 1 (1) บัญญัติว่า รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ตามมาตรา 182 และ มาตรา 181 บัญญัติว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ จึงเป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 ยังคงต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่

ในคดีนี้เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7) เป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ย่อมทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ที่ไม่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามของความเป็นรัฐมนตรี อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 ได้

อย่างไรก็ตามหากรัฐมนตรีคนใดได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 1 (1) ถึง (8) ย่อมมีผลให้รัฐมนตรีคนนั้นไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตาม รธน. มาตรา 181 ได้เช่นกัน

ในกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำระดับสูงจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ดังนั้นในคดีนี้หากรัฐมนตรีคนใดมีส่วนร่วมในการลงมติอันเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงข้าราชการประจำโดยการโอนย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ซึ่งเป็นการกระทำอันต้องห้ามตาม รธน. มาตรา 268 ด้วยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมย่อมเป็นเห็นให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีผู้นั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตาม รธน. มาตรา 182 วรรค 1 (7) ตามไปด้วย และไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่ามีการนำเรื่องการโยกย้ายนายถวิล และการให้นายถวิล พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช. เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติอย่างเร่งรีบ รวบรัด ในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามปกติ เป็นวาระเพื่อทราบจรในวันที่ 6 ก.ย. 54 และคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเอกฉันท์อนุมัติให้กระทำการโยกย้ายและให้ข้าราชการประจำพ้นจากตำแหน่งโดยไม่ชอบด้วยกฏหมายไปในวันเดียวกันนั้นเอง รัฐมนตรีทุกคนที่ร่วมประชุมและลงมติในวันนั้นจึงมีส่วนร่วมโดยทางอ้อมในการก้าวก่ายและแทรกแซงข้าราชการประจำอันเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) และ (3) เป็นเห็นให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีเหล่านั้นต้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7) ไปด้วย

สำหรับประเด็นตามคำขอของผู้ร้อง ที่ขอให้ศาลวินิจฉัยให้ดำเนินการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 และ 173 โดยรวมนั้นไม่อยู่ในขอบเขตการเสนอคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในคดีนี้ ศาลไม่รับพิจารณาวินิจฉัยจึงให้ยกคำขอในส่วนนี้

ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์จึงวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองและของผู้อื่น ในเรื่องการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายโอนหรือการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมือง จึงต้องด้วยรัฐธรรนูญมาตรา 266(2) และ(3) และถือเป็นการกระทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7) และรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ก.ย.54 จึงมีส่วนร่วมในการก้าวก่ายและแทรกแซงข้าราชการประจำ อันเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบ มาตรา 266(2) และ(3) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีเหล่านั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1 (7) ไปด้วย

ทั้งนี้ นายกฯ และรัฐมนตรีที่ต้องพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 10 คน ประกอบด้วย

1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
3.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ
4.นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ
5.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
6.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7.พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหม
8.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
9.น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที
10.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นิค นอสติทซ์' หวิดโดนการ์ด กปปส.รวบ หน้าศาล รธน.

$
0
0

นิค นอสติทซ์ โดนอีก ถูก 3 การ์ด กปปส.พยายามเข้าล็อคตัว "ไปหาหลวงปู่" เจ้าตัว-เพื่อน ร้องเรียก ตร.ช่วย ล่าสุดอยู่ในที่ปลอดภัย

<--break- />

7 พ.ค. 2557 นิค นอสติทซ์ ช่างภาพอิสระชาวเยอรมัน ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า เมื่อเวลาประมาณ 14.30 น.ที่ผ่านมา ขณะที่เขานั่งสูบบุหรี่อยู่กับ โจนาธาน เฮด เพื่อนผู้สื่อข่าวต่างประเทศ บริเวณหน้าประตูศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อรอทำข่าวศาลวินิจฉัยคดีโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี มีชาย 3 คน ซึ่งเข้าใจว่าเป็นการ์ด กปปส. เนื่องจากมีสัญลักษณ์ กปปส. เดินตรงมาหาตนเอง และพูดด้วยสำเนียงใต้ว่า "ไปนิค ไปหาหลวงปู่" พร้อมเข้ามานั่งขนาบข้าง พยายามล็อคตัวเขา

"เขาบอก 'เราเชิญไปหาหลวงปู่' ผมก็บอกว่า ผมไม่ไป ผมรู้คุณพยายามทำร้ายผม" นิคเล่าและว่า พอเขาลุกขึ้นยืน การ์ดทั้งสามยังพยายามเข้ามาดันเขา โจนาธาน เฮด จึงตะโกนขอความช่วยเหลือจากตำรวจทหาร 7-8 นายซึ่งอยู่บริเวณนั้น ห่างไปราวสิบกว่าเมตร

นิค บอกว่า ขณะนี้ เขาอยู่ในสถานที่ปลอดภัยแล้ว และยืนยันจะแจ้งความต่อไป ทั้งนี้ ทราบจากคนที่ยังอยู่ในบริเวณนั้นว่าหลังจากเขาออกมาแล้วก็ยังมีคนเข้าไปตามหาเขาในบริเวณศาล

นิค กล่าวว่า เนื่องจากเขาเคยถูกทำร้ายร่างกายก่อนหน้านี้ เขาทราบดีว่าไม่ควรเข้าใกล้หรือเข้าไปในเขตของผู้ชุมนุม  วันนี้เขาก็อยู่ในบริเวณศาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการ ยังคิดว่าน่าจะไม่เป็นไร แต่ก็เกิดเรื่องขึ้น

ด้าน โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวบีบีซี ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ แสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ว่า ที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในบริเวณศาลสูงสุดของประเทศ ซึ่งคาดหวังว่าผู้สื่อข่าวควรจะได้ทำข่าวโดยปราศจากความกลัว

ก่อนหน้านี้ (25 พ.ย.56) นิคเคยถูกการ์ดผู้ชุมนุมทำร้ายที่แยก พล.1 ระหว่างปฏิบัติการดาวกระจายของ กปปส. หลัง ชุมพล จุลใส แกนนำ กปปส. และ อดีต ส.ส. ปชป. ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ไล่เขาออกจากจุดถ่ายภาพ 
 
สำหรับ นิค นอสติทซ์ (Nick Nostitz) เป็นช่างภาพชาวเยอรมันที่ทำงานในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2536 ผลงานหนังสือภาพถ่ายที่สำคัญของเขาเช่น "Patpong: Bangkok's Twilight Zone" ตีพิมพ์เมื่อปี 2544 อธิบายถึงอุตสาหกรรมทางเพศในประเทศไทย นอกจากนี้ผลงานภาพถ่ายของเขายังปรากฏในนิตยสาร Stern และ Der Spiegel หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เขามีผลงานหนังสือภาพถ่าย Red vs Yellow Volume 1: Thailand's Crisis of Identity พิมพ์ในปี 2552 และ Red vs Yellow Volume 2: Thailand's Political Awakening พิมพ์ในปี 2554 และเขียนบล็อกในเว็บนวมณฑล (New Mandala) เว็บไซต์อภิปรายเรื่องสังคม การเมือง วัฒนธรรมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล

$
0
0

"สรุปว่า ยังมี "อากาศ" เหลืออยู่อีกนิดหน่อยนะครับ ไม่ถึงกับเป็น "สูญญากาศ" เสียทีเดียว.."

7 พ.ค. 57 กล่าวหลังศาล รธน.มีคำวินิจฉัยปม 'ถวิล'

ให้ ‘นิวัฒน์ธำรง’ นำแทนยิ่งลักษณ์ ดันเลือกตั้ง – พท.ออกแถลงการณ์ค้านคำวินิจฉัย

$
0
0

7 พ.ค.2557  นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกันแถลงภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมรัฐมนตรีที่มีมติเห็นชอบให้ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. พ้นจากตำแหน่ง ว่า รัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งจำนวน 10 คนนั้นมีบางส่วนพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ทางรัฐบาลเกิดประเด็นสงสัยทางกฎหมายว่าการดำรงตำแหน่งของรัฐมนตรีที่เปลี่ยนไปจากคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 นั้น จะมีการพิจารณาอย่างไร ทั้งนี้จะให้คณะกรรมการกฤษฏีกาตีความ และสอบถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มอบหมายให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อหารือ แนวทางต่อจากนี้ นอกจากนี้นายนิวัฒน์ธำรงค์จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีและจะดำเนินการให้เกิดการเลือกตั้งใหม่ โดยคณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่จะทำหน้าที่รักษาการต่อไป ซึ่งจะร่วมกับ กกต.ในการกำหนดรายละเอียดวันเลือกตั้ง และเมื่อมีรัฐมนตรีชุดใหม่ก็จะถือเป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ ทั้งนี้ได้ต้องรอความชัดเจนในการหารือกับ ประธาน กกต. ช่วงบ่ายของวันที่ 9 พ.ค.ต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า นายนิวัฒน์ธำรง เป็นรองนายกรัฐมนตรี อันดับสอง ที่อยู่ในลำดับรองจากนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกูล ที่พ้นตำแหน่งไปพร้อมนางสาวยิ่งลักษณ์ และที่สำคัญนายนิวัฒน์ธำรงเป็นรัฐมนตรีสายตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร   นอกจากนี้ความเสี่ยงทางการเมืองจากคดีทุจริตจำนำข้าว ซึ่งป.ป.ช. จะชี้มูลความผิดในวันพรุ่งนี้ นายนิวัฒน์ธำรง ก็เป็นเพียงพยานในคดีเท่านั้น ไม่อยู่ในฐานะของผู้ถูกร้องเช่นนางสาวยิ่งลักษณ์

ทั้งนี้ รายชื่อรัฐมนตรีผู้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ในการลงมติแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี  ได้แก่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง, .ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง, นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล, นายปลอดประสพ สุรัสวดี, พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก, ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา, นายสันติ พร้อมพัฒน์, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

ส่วน รายชื่อ ครม.ที่ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อ มีดังนี้ 1. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ 2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ 3. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ 4. นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักฯและรมช.เกษตรฯ 5. นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.กระทรวงคมนาคม

 6.  นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี รมว.กระทรวงทรัพยากรฯ 7. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.กระทรวงพลังงาน 8. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย 9. นายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรม 10. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ 11. นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง 12. นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง 13. นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.ท่องเที่ยว 14. นางปวีณา หงสกุล รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 15. พล.อ.พฤณฑ์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม 16. นายพ้อง ชีวานันท์ รมช.คมนาคม 17. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ 18. นายยรรยง พวงราช รมช.พาณิชย์ 19. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ รมช.มหาดไทย

 20. นายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม 21. นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ 22. นายประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข 23. นายสรวงศ์ เทียนทอง รมช.สาธารณสุข 24. นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม

 

วันเดียวกันที่พรรคเพื่อไทย นำโดยนายโภคิน พลกุล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายรัฐมนตรีพ้นสภาพเฉพาะตัว และให้คณะรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมและลงมติโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ ซึ่งล่าสุดทางพรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมถึงผลการตัดสินที่ออกมา และได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการเพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีของพรรคต่อคำวินิจฉัยในครั้งนี้ โดยไม่ยอมรับคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ และให้ กกต. และรัฐบาล เร่งตรา พ.ร.ฏ.เลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

โดยแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทย ระบุ 8 ข้อ ดังนี้ 

1.     พรรคเพื่อไทยได้มีแถลงการณ์ถึงพี่น้องประชาชนและทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องว่า ประเทศจะเดินหน้าไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ และจะแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นอยู่ไม่ให้บานปลายจนเกิดกลียุคได้ ก็ด้วยการเลือกตั้งและการตั้งอยู่บนความเที่ยงธรรม ปราศจากอคติของทุกฝ่าย และทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

2.      พรรคเพื่อไทยได้ย้ำและชี้ให้เห็นมาโดยตลอดว่า มีขบวนการสมคบคิดกันเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ ล้มล้างการเลือกตั้ง มุ่งทำลายล้างฝ่ายประชาธิปไตยมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยความร่วมมือของพรรคการเมืองบางพรรค กปปส.และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร ด้วยการไม่ยอมรับการเลือกตั้ง การเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง การกลั่นแกล้งรัฐบาลที่ยึดหลักประชาธิปไตยตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนมาถึงพรรคเพื่อไทย ด้วยการยุบพรรคและตัดสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรคทุกคนเป็นเวลา 5 ปี จนถึงการใช้ทุกกระบวนการเพื่อทำลายนายกรัฐมนตรีตั้งแต่นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยไม่สุจริต

3.      พรรคเพื่อไทยขอเรียนพี่น้องประชาชนว่า พรรคอาสาเข้ามารับใช้ประชาชนด้วยจิตสำนึกที่เคารพในอำนาจของประชาชน ด้วยการนำเสนอนโยบายต่างๆ ที่จะทำให้ประชาชนมีความผาสุก มุ่งมั่นทำงานทุกอย่างให้เป็นไปตามนโยบาย  แม้จะถูกขัดขวางและใส่ร้ายป้ายสีมาโดยตลอดโดยขบวนการสมคบคิดดังกล่าว พรรคเชื่อมั่นในวิจารณญาณของพี่น้องประชาชนที่ต้องการเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนบนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตย ความเที่ยงธรรมและความเมตตาปรารถนาดีต่อกัน

4.      พรรคเพื่อไทยขอเรียนว่า ตราบใดที่ขบวนการสมคบคิดยังดำเนินต่อไป จะมีการละเมิดหลักการประชาธิปไตยและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างไม่จบสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการรัฐประหารในรูปแบบใหม่เพื่อสร้างระบอบการปกครองใหม่ที่ทำลายความหวังของพี่น้องประชาชนที่จะเห็นประเทศก้าวหน้าไปบนวิถีทางประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม พี่น้องประชาชนจะได้เห็นความพยายามของพรรคประชาธิปัตย์ กปปส.และองค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กร ที่จะไม่ให้เกิดการเลือกตั้งในวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 และให้มีนายกฯ และคณะรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง

5.      พรรคเพื่อไทยเห็นว่าการใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญก็ดี ป.ป.ช.ก็ดีที่กระทำต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ฯ ล้วนเป็นไปด้วยความเร่งรัด เร่งรีบ ผิดปกติ ไม่ให้โอกาสอ้างอิงพยานและรับฟังคำพยานได้เต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น และบ่อยครั้งสอดคล้องกับการแถลงของ กปปส. และฝ่ายที่ต้องการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้และที่ผ่านมาได้วางบรรทัดฐานนอกเหนือจากตัวบทกฎหมายและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง จนทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนได้ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ก็ไม่เป็นไปตามมาตรา 181 ที่บัญญัติว่าคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ตามมาตรา 180 ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ นั่นคือถ้ายังมีสภาผู้แทนราษฎรอยู่ก็ไปเลือกนายกรัฐมนตรีกันใหม่แล้วมีคณะรัฐมนตรี แต่ถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องไปเลือกตั้งจนได้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต่อไป 

6.      พรรคเพื่อไทยขอเรียกร้องให้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความถูกต้องเที่ยงธรรมทั้งหลาย ร่วมกันต่อต้านขบวนการสมคบคิดดังกล่าวโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม การร้องเรียน แจ้งความร้องทุกข์ ดำเนินคดีและการต่อต้านโดยสันติวิธีทุกรูปแบบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 69 เพื่อมิให้การดำเนินการของขบวนการสมคบคิดบรรลุผล

7.      พรรคเพื่อไทยขอให้อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกพรรคทุกคน ชี้แจงให้พี่น้องประชาชนเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และความมุ่งหมายของขบวนการสมคบคิดที่ต้องการทำลายระบอบประชาธิปไตย และร่วมมือกับพี่น้องประชาชนเพื่อต่อต้านขบวนการดังกล่าวอย่างถึงที่สุด เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสันติสุขของสังคมต่อไป

8.      พรรคเพื่อไทยขอย้ำอีกครั้งว่า กกต.และรัฐบาลต้องเร่งรัดให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2557  และขอให้ทุกพรรคการเมือง ทุกฝ่ายร่วมมือกับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นโดยสุจริต  เพื่อเป็นทางออกของความขัดแย้ง  ดังที่ปฏิบัติกันในนานาประเทศและประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา

 

ที่มา: มติชนออนไลน์ สปริงนิวส์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ยิ่งลักษณ์’ เปิดใจไม่ว่าอยู่ตำแหน่งไหนขอเดินข้างประชาชนบนทางประชาธิปไตย

$
0
0

‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ เปิดใจหลังมีมติศาล รธน. ขอบคุณข้าราชการและประชาชน ตลอดการทำงาน 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ในการสร้างความเสมอภาคสังคม ระบุขอเดินข้างประชาชนตามเส้นทางของระบอบประชาธิปไตย

7 พ.ค. 2557 ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สิ้นสภาพรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องทันที ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ แถลงว่า “เรียนพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพรักทุกท่าน ตลอดระยะเวลาที่รัฐบาลนี้ได้ปฏบัตหน้าที่และตัวดิฉันได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการที่จะขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา เพื่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจในการสร้างความสมดุลให้กับระบบเศรษฐกิจที่จะเพิ่มความแข็งแรงทั้งเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ ทางด้านสังคมที่รัฐบาลนี้มุ่งสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาของความเหลื่อมล้ำของสังคมและการลดช่องว่าระหว่างผู้ที่มีรายได้น้อยและผู้มีรายได้มาก เพื่อให้พี่น้องประชาชนรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

และเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการที่จะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้ยืนทัดเทียมกัน รวมถึงการพัฒนาให้ประเทศไทยเรานั้นมีบทบาทที่จะยืนอยู่เวทีของอาเซียนเพื่อเป็นศูนย์กลางของการก้าวไปสู่เศรษฐกิจอาเซียน

ดิฉันขอยืนยันว่าตลอดระยะเวลาที่ดิฉันปฏิบัติงานและทำงานมาตลอดรัฐบาลนี้ ดำเนินด้วยความตั้งใจทุ่มเทในการทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน ทุ่มเททำงานตามที่พี่น้องประชาชนให้ความไว้วางใจในการเลือกรัฐบาลนี้ขึ้นมา

เราได้ยึกหลักในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและไม่เคยมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด หรือแม้กระทั่งการเอื้อประโยชน์ในแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฏหมายอย่างที่ได้กล่าวหา

นอกจากนี้ในการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายยังให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องการแก้ปัญหาทุจริตอย่างเสมอมา

ดิฉันขอถือโอกาสนี้ ขอขอบคุณพี่น้องข้าราชการที่ได้ให้การสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลนี้ตลอด 2 ปีกว่าที่ผ่านมา และที่สำคัญดิฉันขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่ให้ความไว้วางใจให้ดิฉันและคณะรัฐมนตรีได้มีโอกาสได้รับใช้พี่น้องประชาชนตลอดมา และกำลังใจที่ให้ตลอดเวลาในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงของความยากลำบากเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นช่วงของความเดือดร้อน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมหรือแม้กระทั่งเหตุการณ์ทางการเมืองใดๆ ก็ได้รับกำลังใจจากพี่น้องประชาชนเสมอมา นั่นคือสิ่งที่ทำให้ดิฉันมีกำลังใจในการทำงานและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความทุ่มเทอย่างเสมอมา

และทุกครั้งที่ดิฉันได้ทำงาน วันนี้ดิฉันก็ได้ทำงานมาทั้งหมดเป็นเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ทุกๆนาที ทุกๆวัน ของ 2 ปี 9 เดือน 2 วันนั้น บนนาทีของความภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งจากพี่น้องประชาชน และก้าวเข้ามาสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยวิถีทางของประชาธิปไตย ดิฉันภูมิใจที่ได้ทำหน้างานอยู่ในหน้าที่นี้ ด้วยความตั้งใจและทุ่มเท

ต่อไปนี้ไม่ว่าดิฉันจะอยู่ในสถานะใด ดิฉันก็จะขอเดินตามเส้นทางของระบอบประชาธิปไตย จะขอยึดมั่นในหลักของนิติรัฐ นิติธรรม จะยึดมั่นในการสร้างความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันของสังคม

และสุดท้าย ดิฉันขอยืนยันว่าไม่ว่าดิฉันจะอยู่ตำแหน่งไหนดิฉันขอยืนเคียงข้างพี่น้องประชาชนคนไทยตลอดไป”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สตง. จี้ นายกฯ หาผู้รับผิดชอบเหตุเลือกตั้ง 2 ก.พ. สูญเปล่า

$
0
0

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินออกหนังสือด่วนที่สุดถึงนายกฯ หาผู้รับผิดชอบเหตุเลือกตั้ง 2 ก.พ. สูญเปล่า เข้าข่ายเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

7 พ.ค. 2557 น.ส.ประพีร์ อังกินันทน์ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะรักษาการแทนผู้ว่าการ สตง.ได้ลงนามออกหนังสือด่วนที่สุด ฉบับที่ ตผ 0012/1686 ถึงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา

โดย สตง.ระบุว่า ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ได้มีหนังสือกราบเรียนนายกฯ เพื่อโปรดพิจารณาให้รัฐบาลเสนอพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ แต่เมื่อยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงวันเลือกตั้งใหม่ กกต. ก็ต้องดำเนินการจัดการเลือกตั้งต่อไป ก่อนที่ กกต.จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และเป็นอำนาจของนายกฯ หรือ กกต. ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า สามารถกระทำได้โดยเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกฯ และประธาน กกต.

แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่า ไม่มีการเลื่อนวันเลือกตั้งทั่วไป และมีการดำเนินการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยในภายหลังว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ครบทุกเขตในวันเดียวกัน

รวมทั้ง สตง. ได้เคยแสดงความกังวลและห่วงใยต่อการใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดเลือกตั้งทั่วไป วงเงิน 3,885 ล้านบาท ว่ามีความเสี่ยงสูงภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในการจัดการเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดความสูญเปล่า ซึ่ง สตง.ได้มีการพิจารณาแล้วว่า การดำเนินงานในกรณีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและก่อให้เกิดความเสียหาย ย่อมเข้าข่ายเป็นการกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะต้องหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ การใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการจัดตั้งศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) ตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในระหว่างการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งภายหลังเป็นศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กกต.) และค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่สนับสนุนงานของ กกต. จำนวน 18 หน่วย เกิดความสูญเปล่า

“การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินวงเงิน 3,885 ล้านบาท มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความสูญเปล่า ไม่ประหยัด ไม่เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่า เนื่องจากการใช้งบประมาณไม่ได้ผลตามเป้าหมายของการเลือกตั้ง เพราะศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัครหรือการเลือกตั้งมาก่อน ถือว่าในวันดังกล่าว ไม่ได้เป็นวันที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ”

นอกจากนี้ สตง. ยังระบุด้วยว่า "ดังนั้น การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ในครั้งต่อไป รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องกำหนดมาตรการ หรือวิธีการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า การเลือกตั้งจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ หากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมหรือกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์ดังเช่นที่ผ่านมา จนส่งผลให้การเลือกตั้งไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้"

 

เรียกเรียงจาก สำนักข่าวอิศรา, เดลินิวส์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เอกนัฏชี้ยิ่งลักษณ์ตายคาสนาม ปชต.สมใจ-สุเทพนัด 9 พ.ค. ทวงอำนาจคืน

$
0
0

สุเทพ เทือกสุบรรณขอนัดเร็วขึ้น-ระดมพล 9 พ.ค. 09.09 น. เรียกคืนอำนาจอธิปไตย ตั้งรัฐบาลประชาชน ฟื้นฟูให้ประเทศเจริญรุ่งเรือง ลั่นจะไม่ยอมให้ใครแอบอ้างเป็นรักษาการรัฐบาลอีกต่อไป พร้อมเชิญคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนเสื้อแดงมาร่วมกับ กปปส. สร้างประเทศไทย

7 พ.ค. 2557 - ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีลงเป็นการเฉพาะตัวนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ต่อมา เพจเวทีราชดำเนินได้โพสต์ข้อความของนายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ โฆษก กปปส. ซึ่งระบุว่า "คุณยิ่งลักษณ์ได้ตายคาสนามประชาธิปไตยสมใจ ระบอบทักษิณสิ้นอำนาจบริหาร เมื่อประเทศไทยไม่มีรัฐบาล มวลมหาประชาชนจะช่วยกัน "ฟื้นฟูชาติ" อย่างไร รอฟังการปราศรัยของลุงกำนันคืนนี้เวลา 19.30 น. ครับ"

สุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยเมื่อคืนวันที่ 7 พ.ค. 2557 ที่เวที กปปส. สวนลุมพินี นัดหมายชุมนุมใหญ่ 9 พ.ค. 2557 เวลา 09.09 น. (ที่มา: Blue Sky Channel)

 

ทั้งนี้ที่เวที กปปส. สวนลุมพินี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้ขึ้นปราศรัยในเวลา 20.40 น. ช้ากว่าที่นัดหมายไว้ โดยเลขาธิการ กปปส. กล่าวปราศรัยว่า "ขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการเชิญชวน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอกำหนดวันเวลานัดหมายเพื่อร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติภารกิจครั้งสุดท้าย จากที่เคยนัดหมาย 14 พ.ค. ขอนัดหมายใหม่เป็นวันที่ 9 พ.ค. เวลา 09.00 น. เราจะเริ่มปฏิบัติภารกิจด้วยความเพียรสูงสุด ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค. เวลา 09.09 น."

"พี่น้องมวลมหาประชาชนที่จะมาร่วมปฏิบัติภารกิจครั้งสำคัญเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินออกเดินทางได้ตั้งแต่คืนนี้ พร้อมแล้วใส่รองเท้าออกจากบ้านได้ หนึ่งมาที่สวนลุมพินีแห่งนี้ และเมื่อเต็มสวนลุมพินีแล้วจะขยายไป ถ.ราชดำริ แยกราชประสงค์ และจะขยายไปแยกปทุมวัน ผ่านหน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ้าคนมากเราก็ชุมนุมต่อบนพื้นที่ ถ.อังรีดูนังต์ ทั้งถนนอีกด้วย เริ่มรวมกำลังพลตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป"

"และวันมะรืนนี้วันที่ 9 พ.ค. เวลา 9.09 น. เป็นฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล เราจะเริ่มปฏิบัติการเรียกคืนอำนาจอธิปไตยกลับมาเป็นของปวงชนชาวไทย พี่น้องประชาชนชาวไทยทุกท่านเราต้องเอาธรรมะกลับคืนมา เราต้องบำเพ็ญเพียรด้วยความมานะอุตสาหะเต็มที่ เราต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพราะครั้งนี้เป็นครั้งเดียวในชีวิตของคนไทยทุกคน ผมขออนุญาตใช้โอกาสนี้กราบเรียนพี่น้องประชาชนชาวไทย ผู้รักชาติรักแผ่นดินทั้งหลาย ไม่ว่าท่านจะมีอาชีพอะไร ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ไหน ถ้าท่านคิดเห็นเช่นเดียวกับมวลมหาประชาชนว่าแผ่นดินนี้จะต้องมีผู้บริหารแผ่นดิน ที่มีธรรมะ และบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติแล้วละก็ ขอเชิญมาร่วมกับพวกเราในวันเวลาที่นัดหมาย จำให้แม่น แล้วมาให้พร้อมกัน"

"เราจะมุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรด้วยความมาะนะอุตสาหะ อย่างแน่วแน่ เพื่อที่จะเอาอำนาจอธิปไตยกลับคืนมาแล้วจัดให้มีรัฐบาลของประชาชน จัดการให้มีสภานิติบัญญัติประชาชน แล้วปฏิรูปประเทศตามเจตนารมณ์ของประชาชน เพื่อฟื้นฟูประเทศไทยโดยทันที"

"ไม่ว่าท่านจะเป็นเกษตรกร พ่อค้า แม่ขาย ข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ท่านมีเวลาตัดสินใจคืนนี้ แล้วท่านตัดสินใจได้ว่านี่คือปฏิบัติการของผู้มีธรรมะในหัวใจเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินแล้วล่ะก็ ให้ออกมาร่วมกับมวลมหาประชาชนโดยพร้อมเพรียงกัน ตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป กลุ่มใด องค์กรใด เครือข่ายใด ที่มีความคิดเห็นเช่นเดียวกับมวลมหาประชาชน โปรดแสดงออกได้ ในวิธีการที่ท่านทำได้ เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนเพื่อชาติ เพื่อแผ่นดินในครั้งนี้"

"และในโอกาสนี้ กระผมขอเป็นตัวแทนมวลมหาประชาชนกราบเรียนไปถึงพี่น้องประชาชนกลุ่มอื่นที่อาจมีความคิดแตกต่างอยู่บ้างกับเรา โดยเฉพาะพี่น้องมวลชนคนเสื้อแดง ผมขออนุญาตกราบเรียนพี่น้องคนเสื้อแดงด้วยความจริงใจของมวลมหาประชาชน ว่าเราพร้อมอ้าแขนรับท่านมาร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยกับพวกเรา มาสามัคคีร่วมใจกันเถิดพี่น้องทั้งหลาย เพราะประเทศไทยเป็นของพวกเราทุกคน ประเทศไทยนี้พวกเราทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ประเทศไทยไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของคนตระกูลชินวัตรหรือระบอบทักษิณ พอกันที จบกันได้แล้ว สำหรับระบอบทักษิณ ที่ทำร้ายประเทศชาติ ทำร้ายประชาชนจนย่อยยับมาถึงวันนี้ พอกันที จบแค่นี้"

"นี่เป็นโอกาสเดียวที่คนไทยทั้งหลายจะได้ลุกขึ้นประกาศความเป็นไทย เป็นเสรีชน เป็นเจ้าของประเทศโดยเท่าเทียมกัน เป็นโอกาสเดียวที่จะเอาธรรมะกลับมาปกครองประเทศครับพี่น้องครับ"

"ผมจึงขอส่งข่าวสารนี้ ถึงพี่น้องมวลชนคนเสื้อแดง ถ้าท่านสามารถมาร่วมกับเราได้ เรายินดีต้อนรับ มาร่วมกันเลยครับพี่น้อง ร่วมกันสร้างชาติ สร้างประเทศไทย ด้วยมือของประชาชนทุกสี เราไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง หรือตระกูลใดตระกูลหนึ่ง หรือพรรคใดพรรคหนึ่ง เราสู้เพื่อประเทศไทยทั้งประเทศ นี่เป็นสัจจะวาจาที่ผมขอประกาศในนามมวลมหาประชาชน อย่าได้กินแหนงแคลงใจกันอีกทั้งสิ้น เพราะเราคนไทยเป็นพี่น้องกันทั้งสิ้นครับพี่น้องครับ"

"ผมพูดด้วยความสัตย์ ด้วยความจริงใจ และเป็นความสัตย์ ความจริงใจของมวลมหาประชาชนที่ร่วมกันต่อสู้ครั้งนี้ เราไม่รังเกียจใครเลย เรารักคนไทยทุกกลุ่ม"

"เราประชาชน พี่น้องเราไม่เป็นศัตรูกับใคร ศัตรูประเทศไทยคือทรราชย์ระบอบทักษิณเท่านั้นครับพี่น้อง พี่น้องทั้งหลาย ระบอบทักษิณได้ทำร้ายประเทศเราอย่างแสนสาหัส ระบอบทักษิณเป็นระบอบที่ปกครองอย่างอธรรม ไม่มีธรรมะ ไม่เคารพประชาชน ไม่ให้ความสำคัญประชาชน เห็นกันชัดเจนแล้วว่ามันโกงทั้งชาติ ทั้งแผ่นดิน โกงประชาชน ไปถามชาวนาได้ครับ เพราะฉะนั้นขอกราบเรียนเชิญมวลชนเสื้อแดง มวลชนเครือข่ายอื่น โปรดเชื่อในความสัตย์ของเรามวลมหาประชาชน เรารักพี่น้องทุกคนทุกฝ่าย ทุกเครือข่าย ไม่รังเกียจเดียดฉันท์เลย ถ้าท่านยังไม่สบายใจ นอนอยู่ที่บ้าน รอดูผลการปฏิบัติการของพวกเรา แล้วท่านจะเข้าใจว่าสิ่งที่กระผมได้พูดจาด้วยความสัตย์เป็นความจริงทั้งสิ้น ในวันสองวันที่จะเห็นต่อไปนี้"

"ผมขออนุญาตใช้โอกาสนี้กราบเรียนนักธุรกิจทั้งหลาย พ่อค้าแม่ขายทั้งประเทศ ไม่มีประโยชน์อะไรอีกแล้วที่จะให้มีคณะบุคคลมาแอบอ้างเป็นรัฐบาลประเทศนี้ โดยไม่มีความชอบธรรม เรามาสร้างคณะรัฐบาลประชาชน ให้การค้าการขายของเราเดินหน้าไปได้โดยไม่หยุดชะงัก"

สุเทพกล่าวถึงข้าราชการด้วยว่า "วันนี้คณะบุคคลที่แอบอ้างว่าเป็นรัฐบาลนั้น ไม่ใช่รัฐบาลของประชาชนอีกต่อไปแล้ว ไม่มีความชอบธรรมใดๆ เลย คนที่อ้างจะมาเป็นรักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ไม่มีคุณสมบัติที่จะทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีได้ แถมเป็นคนประพฤติชั่วพัวพันกับการโกงจำนำข้าวด้วยครับ พอกันทีเถิดพี่น้องข้าราชการที่เคารพ หยุดเลยครับ ไม่ต้องรับใช้ทรราชอีกแล้ว มาร่วมมือกับประชาชนเถิด เมื่อพี่น้องข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหารมาร่วมมือประชาชน นั่นแหละฟ้าสีทองผ่องอำนาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทย"

"วันพรุ่งนี้เราจะเชิญชวนมวลมหาประชาชนเป็นครั้งสุดท้ายว่าถึงเวลาแล้ว ที่ท่านจะต้องตัดสินใจออกมาร่วมการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่กับมวลมหาประชาชน พรุ่งนี้นะครับ เราจะออกจากที่นี่ตอน 9 โมงเช้า ตั้งต้นที่สถานีบีทีเอสอ่อนนุช 9.30 เคลื่อนขบวน ถ้าเห็นด้วยกับมวลมหาประชาชน ใส่รองเท้าผูกเชือกเรียบร้อย ถ้าขบวนเราเดินผ่านออกมาสมทบได้เลยครับ และตั้งแต่คืนวันพรุ่งนี้เราจะรวมพลังกันที่นี่สวนลุมพินี ราชประสงค์ ปทุมวัน และบริเวณนี้"

"เมื่อเราตัดสินใจแล้ว เราจะไม่หยุดการปฏิบัติ ไม่หยุดการบำเพ็ญเพียร ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออก ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เรามวลมหาประชาชนจะเดินหน้าสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของเรา เพื่อชาติ เพื่อแผ่นดินให้สำเร็จให้ได้ ข้อสำคัญ ใครก็ตามที่ตัดสินใจจะออกมายืนต่อสู้เคียงข้างมวลมหาประชาชนครั้งนี้ ต้องทำใจให้แน่วแน่ว่าการต่อสู้ของมวลมหาประชาชนครั้งนี้ สู้อยู่ในกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ สันติ สงบ สู้มือเปล่าไม่มีอาวุธเด็ดขาด เพราะเราสู้แบบอหิงสาจริงๆ ใช้พลังมวลมหาประชาชนนับล้านๆ คนเท่านั้น"

"เพราะฉะนั้นพี่น้องประชาชน ไม่ว่าท่านจะอยู่ต่างจังหวัด เตรียมการต่อสู้ หรือพี่น้องในกรุงเทพฯ ที่พร้อมจะเคียงข้างกับเราทุกท่าน ผมขอกราบเรียนด้วยความเคารพห้ามนำอาวุธติดตัวมาเด็ดขาด นอกจากหัวใจรักชาติรักแผ่นดินเท่านั้น อาวุธอย่างเดียวคือความรักชาติ รักแผ่นดิน ความตั้งใจมั่นที่จะปฏิบัติตามสัตยาธิษฐานที่ทำพิธีต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมมหาราชวัง พระแก้วมรกต พระสยามเทวาธิราช ต่อหน้าศาลหลักเมือง เท่านั้นที่เราจะนำติดตัวมา คือความมุ่งมั่นทำเพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน ต้องไม่มีอาวุธอื่นโดยเด็ดขาด และขอความกรุณามวลมหาประชาชนช่วยกันตรวจสอบคนที่จะมาร่วมกับเราต้องไม่มีใครมีอาวุธมาทั้งสิ้น ถ้าเจอใครมีอาวุธขอร้องให้เขากลับบ้านไม่ต้องมาร่วมกับเรา เพราะเราต้องการรักษาความบริสุทธิ์ของการต่อสู้ครั้งนี้อย่างจริงจัง ให้โลกรับรู้ว่าเป็นการต่อสู้อย่างสันติของประชาชนไทยจริงๆ"

"การต่อสู้คราวนี้จะใช้เวลานานเท่าไหร่ เราไม่รู้ ไม่ต้องถามว่านานเท่าไหร่ แต่สู้คราวนี้ต้องสู้จนชนะ สู้จนชนะ! เพราะฉะนั้นโปรดเตรียมตัวให้พร้อม มีเสื้อมีผ้า มีเสบียงกรัง มีเต็นท์นอนข้างถนนได้ เตรียมมาให้พร้อม ใครเตรียมมาได้จากบ้านเตรียมมาให้พร้อม เพราะคนจะออกมาหลายล้านคน เพราะฉะนั้นเตรียมช่วยตัวเองให้ได้ พี่น้องประชาชนจิตอาสาถ้าท่านจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนอน เต็นท์ ถ้ามีเหลือโปรดเอามาจุนเจือ เผื่อแผ่คนที่ไม่มี นี่เป็นครั้งสำคัญที่เราคนไทยต้องดูแลกันด้วยความรักความสามัคคี มุ่งสู่ชัยชนะมวลมหาประชาชน"

"ผมกราบเรียนพี่น้องครับว่า นี่เป็นโอกาสที่หาไม่ได้อีกแล้วในชีวิตของพวกเราได้เกิดมาเป็นคนไทย ที่เกิดใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร นี่เป็นโอกาสเดียวที่จะอุทิศตนเพื่อชาติเพื่อแผ่นดินร่วมกับพี่น้องร่วมชาติที่เขาจะบำเพ็ญเพียรกับเราครับ"

"ผมขอใช้เวลาสั้นๆ แค่นี้ นัดหมายให้ชัดเจน ขอให้ทุกท่านได้เตรียมตัวตั้งแต่คืนนี้ พี่น้องชาวกรุงเทพฯ รีบสะสางงานการแล้วครับ วันมะรืนนี้ ต้องมาถึงสถานที่ชุมนุมก่อน 09.00 น. เพราะเราถือฤกษ์ 09.09 น. เริ่มต้นปฏิบัติการเรียกคืนอำนาจอธิปไตย พี่น้องต่างจังหวัดเริ่มทยอยมาได้ เตรียมตัวมาค้างคืนที่นี่ และอาจค้างอีกหลายคืน ส่วนเมื่อการปฏิบัติการตามวันเวลาที่กระผมนัดหมายคือวันที่ 9 พ.ค. 09.09 น. ต้องทำอะไรบ้าง ผมจะกราบเรียนให้ทราบ แล้วลงมือกันในวันนั้นครับ ตกลงกันตามนี้นะครับพี่้น้องครับ ที่ร่างทรงพูดแทนนั้นถูกต้องหรือเปล่าครับ เพราะฉะนั้น เราก็จะร่วมกันปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่เพื่อชาติและแผ่นดิน และเราหวังว่าเราน่าจะปฏิบัติได้เสร็จเรียบร้อย แล้ววันที่ 13 พ.ค. ก็จะได้ทำบุญประเทศครั้งใหญ่ เพราะจะไม่มีเสนียดจัญไรเหลือต่อไป เราได้ประกาศชัดว่าเราคนไทยทั้งหลาย จะขจัดระบอบทักษิณให้หมดสิ้นจากแผ่นดินไทย 6 เดือนเศษที่เราต่อสู้มา ด้วยกรรมของพวกเขาเอง รัฐสภาที่ถูกครอบงำด้วยระบอบทักษิณก็หมดสิ้นไปด้วยกรรมของมัน"

"วันนี้ตัวรัฐบาล หรือกลุ่มที่อ้างเป็นรัฐบาลนั้น เราไม่ยอมรับกลุ่มนี้มา 6 เดือนแล้ว เราประกาศแล้วว่าไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมาย ทางการเมือง ไม่ได้เป็นรัฐบาลประชาชนมานานแล้ว และวันนี้กรรมมาตามสนองแล้ว วันนี้กลุ่มทรราชเหล่านั้นไม่ใช่รัฐบาลอีกต่อไป หัวมันขาดไปแล้ว เป็นผีหัวขาดแล้ว และเราไม่ยอมให้ผีหัวขาดนี้แอบอ้างเป็นรัฐบาลอีกใช่ไหมครับ ภารกิจของเราเหลือนิดเดียว เพียงแต่เขี่ยศพผีหัวขาดออกไป เราก็ตั้งรัฐบาลประชาชน เราก็มีรัฐบาลธรรมะมาบริหารประเทศ ปฏิรูปประเทศได้ และนำประเทศไปสู่ความเจริญ ขอให้ตั้งสัตยาธิษฐานร่วมแรงร่วมใจกัน บำเพ็ญเพียรทำภารกิจให้สำเร็จเพื่ออนาคตประเทศไทย เพื่อลูกหลานไทยทุกคน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาทที่พระองค์ท่านตรัสไว้ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"" สุเทพกล่าว และสิ้นสุดการปราศรัยในเวลา 21.17 น.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ความเอื้ออาทร จาก “คนเมือง”

$
0
0

 


ภายในกระแส Social Media ภาพการแบ่งคู่ตรงข้ามระหว่าง “คนเมือง” และ “คนชนบท”ถูกเน้นขับออกมาอย่างเห็นได้ชัดการแบ่งคู่ตรงข้ามในลักษณะเช่นนี้มักจะมาพร้อมกับภาพในความคิดของคนผ่านปฏิบัติการทางภาษาว่า เมืองควรมีภาพเป็นเช่นไร ชนบทมีภาพเป็นเช่นไร

แม้ว่าจริงๆ แล้วคำสองคำนี้เป็นคำใหญ่ และก็ดูจะมีปัญหาพอสมควรเหมือนกันหากจะทำการระบุลงไปให้ชัดเจนว่า อะไรคือ “เมือง” และอะไรคือ “ชนบท” หลายครั้งที่เมืองและชนบทถูกแบ่งอย่างหยาบๆด้วย “ความเป็นกรุงเทพฯ” และ “ความไม่เป็นกรุงเทพฯ” แต่การแบ่งเช่นนี้ก็ดูจะมีพลังพอควรในโลกปัจจุบันและผู้เขียนขอใช้เกณฑ์นี้ในการเขียนต่อไป

ด้วยคำต่างๆ และระบบความเชื่อได้สร้างให้คนที่“ไม่ใช่กรุงเทพ” มีลักษณะที่ “เอื้อเฟื้อ”“จริงใจ” “ซื่อๆ” “สมถะ” และ “เป็นผู้รอรับการกระทำ (Passive)” แต่การเกิดขึ้นของกลุ่มของนักการเมืองเช่น ทักษิณ ยิ่งลักษณ์ หรือกลุ่มมวลชน เช่น กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มเชียงใหม่จัดการตัวเอง ทั้งปรากฏการณ์ในลักษณะดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในส่วนของหัวเมืองใหญ่ เช่นเชียงใหม่แต่รวมถึงจังหวัดอื่นๆ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ทำให้คนที่มี “ความเป็นกรุงเทพฯ”จำนวนมากมีความรู้สึกว่า ภาพความเป็นความเป็นต่างจังหวัดในความคิดของพวกเขา/เธอ ถูกท้าทาย

การท้าทายดังกล่าวหลายครั้งนำไปสู่ภาวะหวนกลับไปหาอุดมคติที่พวกเขาเชื่อเกี่ยวกับความเป็น “คนชนบท” ที่เปี่ยมไปด้วย“ความเอื้ออาทร” อยู่อย่างสมถะ และรอรับการจัดการจากส่วนกลางอย่างเชื่องๆ  ขณะเดียวกันก็ชี้ไปยังนักการเมืองว่า “เพราะนักการเมืองเหล่านั้นไงทำให้คนต่างจังหวัดเปลี่ยนไป” “อยากได้รถใหม่”“อยากได้รถไฟความเร็วสูง” อยากได้อะไรที่ในสายตาพวกเขา/เธอ—คนกรุงเทพฯ-- เห็นว่ามันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเอาเสียเลย  พร้อมกันนั้นก็เรียกร้องให้คนที่ “ไม่ใช่กรุงเทพฯ” กลับมาสู่วิถีเดิมเสียเถิด วอนขออยากเห็นความเอื้ออาทรแบบเดิมๆ ผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้ง Social Media และ สื่อสาธารณะ

แต่สิ่งที่เขาหรือเธอเหล่านั้นอาจลืมไปว่า ในฐานะคนที่“ไม่ใช่เป็นกรุงเทพฯ” เราก็อยากมีสาธารณูปโภคพื้นฐานและการขนส่งที่ดี เราอยากมีเงินที่จะส่งลูกหลานของเราเรียนสูงๆ เรียนต่างประเทศแบบที่พวกเขา/เธออยากจะส่ง เราอยากจะมีนักการเมืองที่มีนโยบายที่เหลียวแลเมืองของเรา เราอยากให้เสียงของเราไม่ถูกใครพรากไปเพียงเพราะเราถูกมองว่าไม่มีอำนาจ แม้ว่าผู้เขียนอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนของคนที่ “ที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ” ได้ แต่สิ่งที่อยากจะขอคือ เราขอความ “เอื้ออาทร” จากคนกรุงแก่เรา ให้เราได้เงยหน้าขึ้นมาแล้วบอกได้ว่า “เราต้องการอะไร” บ้างเถอะ เราก็อยากไปก้าวไปข้างหน้าเช่นกัน และความรู้สึกเช่นนี้นักการเมืองไม่เคยสอน หรือบอกให้เราว่าเราต้องอยาก “เจริญ”


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: หลักสากล

$
0
0

 

จะยืนหยัดได้อยู่อีกกี่ครั้ง
จะเชื่อมั่นฝันเพ้อได้กี่หน
ทุกชีวิตสรรพสิ่งทั่วทุกคน
อยู่บนอนิจจาหลักสากล

อยู่ในน้ำตกน้ำก็ตายดับ
ดินกระชับขยับแยกแหลกทุกหน
อยู่บนฟ้าตกมาเละทุกคน
อย่าสับสนอมตะนั้นไม่มี

เลิกทะเลาะหันมาพูดคุย
เลิกถ่มถุยปฏิกูลเลิกสาดสี
หยุดลัทธิความเชื่อเมืองคนดี
เชื่อซีไม่มีใครดีไปกว่ากัน

เดินหน้าสร้างสรรค์สุขสงบ
หยุดรบทุกวิธีสร้างภาพฝัน
เชิดหน้าก้าวเดินไปด้วยกัน
ร่วมฝ่าฟันปันแบ่งแข่งกันดี.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาสังคมเตรียมล่ารายชื่อ ดัน 4 พ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน

$
0
0

7 พ.ค.2557  ณ ห้องประชุม ไพบูลย์วัฒนศิริธรรม สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมาย 4 ฉบับเพื่อการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย และได้แถลงข่าวเพื่อประกาศเจตนารมณ์ของเครือข่ายภาคประชาชน ภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคกลางและปริมณฑล  ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก โดยนายจำนงค์ หนูพันธ์​ ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค เป็นตัวแทนขององค์กรภาคประชาชนตัวแทนเครือข่ายได้อ่านแถลงการณ์ ระบุเนื้อหาดังนี้

1.พวกเราตระหนักดีว่ามนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยการมีที่อยู่อาศัย และการมีที่ดินทำกินซึ่งที่ผ่านมาทรัพยากรที่ดินมีมากเพียงพอที่จะให้พวกเรามีชีวิตได้อย่างมั่นคง ตราบจนกระทั่งที่ดินได้ถูกกระทำให้กลายเป็นสินค้า เกิดการผูกขาดเป็น กำไร ขาดทุน และปล่อยทิ้งร้าง อาจเป็นปัญหาการเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่สำคัญในปัจจุบันส่งผลให้เกษตรกรผู้ยากไร้และคนจน ไม่สามารถเข้าสู่ที่ดินได้ ซึ่งเป็นการผลักดันให้ผู้ยากไร้และคนด้อยโอกาสต้องเข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐและเอกชนอย่างผิดกฎหมายทำให้ถูกจับกุมและดำเนินคดี พวกเราจึงร่วมกันปลดเปลื้องทุกข์ยากนี้ร่วมกัน

2.ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยมีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินมักขาดความต่อเนื่องและที่สำคัญขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนแลภาคประชาสังคม ที่เป็นเจ้าของปัญหา จึงทำให้การแก้ไขปัญหาที่ดินไม่ประสบความสำเร็จ  เราจะร่วมกันแก้ไขปัญหาจุดบกพร่องนี้เพื่อเป็นการผลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 4 ฉบับ ให้เป็นกฎหมายที่ภาคประชาชนมีบทบาทสำคัญในการกระจายการถือครองที่ดินและการจัดการทรัพยากร

3.เรามั่นใจว่ากฎหมายทั้ง 4 ฉบับนี้จะสามารถกระจายการถือครองทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้อย่างเป็นรูปประธรรม กล่าวคือ

พ.ร.บ.ภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าเป็นกฎหมายที่ทำให้เกิดการแบ่งปันและกระจายความมั่งคั่งจากผู้ถือครองที่ดินเป็นจำนวนมากไปสู่คนยากจนและผู้ด้อยโอกาส

พ.ร.บ.ธนาคารที่ดินทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนให้เกษตรกรและคนยากจนได้มีที่ดินทำกินและมีที่อยู่อาศัยโดยให้เกษตรกรหรือคนยากจนกู้ยืมเพื่อซื้อที่ดิน ไถ่ถอนที่ดิน ปรับปรุงพัฒนาที่ดิน รวมถึงสรรหาที่ดินโดยการจัดซื้อ การเวียนคืนที่ดินในสภาพที่เหมาะสมกับเกษตรกรรม

พ.ร.บ.ว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและทรัพยากรเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมและกระจายทรัพยากรที่เคยรวมศูนย์ผูกขาดที่หน่วยงานของรัฐมาสู่ชุมชนท้องถิ่น  ส่งเสริมจิตสำนึกส่วนรวมที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม  เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงขบวนการยุติธรรมและการช่วยเหลือเยียวยาและช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ จำเลยและผู้เสียหาย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าสู่ขบวนการยุติธรรม เช่น ค่าประกันตัว ค่าทนายความ ค่าทำเนียมศาล ค่าเดินทางและอื่นๆเพื่อให้การพิจารณาช่วยเหลือเป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเจตนารมณ์ของเครือข่ายองค์กรประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรภาคีทั้ง 20 องค์กรในการขับเคลื่อนและผลักดันกฎหมายทั้ง 4 ฉบับโดยการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ว่า “ร้อยคนเริ่ม  หมื่นคนสู้ แสนคนรู้  ล้านคนร่วม” ในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พ.ร.บ ปฏิรูปที่ดินทั้ง 4 ฉบับ นี้ ซึ่งได้มีการยกร่างกฎหมายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มเครือข่ายซึ่งเป็นเวทีระดับภาค เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเสนอเข้าสู่เวทีกลางเพื่อพิจารณาปรับปรุงภายใน 60 วัน ก่อนจะให้มีการรณรงค์เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว และวันที่ 24 มิถุนายน จะยื่นหลักการกฎหมายต่อประธานรัฐสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมหลังจากนี้ของคณะทำงานขับเคลื่อนประเด็นที่ดิน คือการผลักดันข้อเสนอของทั้ง 4 เวทีที่จัดขึ้นทั่วทุกภาคในประเทศไทยสู่เวทีปฏิรูปต่างๆ  จัดเวทีสัมมนา 200 เครือข่ายเพื่อยื่นข้อเสนอต่อรัฐสภา และ รณรงค์เพื่อรวบรวมรายชื่อให้ได้ 1 ล้านรายชื่อเพื่อยื่นเสนอต่อรัฐสภาให้มีการยกร่าง กฎหมายทั้ง 4 ฉบับต่อไป

ทั้งนี้ รายชื่อองค์กรร่วมรณรงค์ขับเคลื่อนกฎหมาย 4 ฉบับ และร่วมแถลงข่าว ได้แก่ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคลในพระอุปถัมภ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ มูลนิธิดวงประทีป เครือข่ายสลัม 4 ภาค มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย สหพันธ์องค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ ศูนย์จิตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สภาเครือข่ายองค์กรเกษตรกรแห่งประเทศไทย คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน (อ่าวตัว ก) สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เครือข่ายแรงงานนอกระบบ มูลนิธิชุมชนไท สภาองค์กรชุมชน (เขตคลองเตย) เครือข่ายนักศึกษา โครงการเสริมสร้างภาวะการนำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มติบอร์ด สปสช. เห็นชอบช่วยเหลือ รพ.-รพ.สต.ได้รับกระทบแผ่นดินไหว

$
0
0

7 พ.ค.2557 นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.)เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด สปสช. ในวันนี้มีวาระด่วนคือการพิจารณาให้ความช่วยเหลือหน่วยบริการที่ได้รับความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ซึ่งมีขนาดความแรง 6.3 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางที่จังหวัดเชียงราย และมี After shock ต่อเนื่อง ส่งผลทำให้สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขได้รับความเสียหาย 7 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลแม่ลาว โรงพยาบาลพาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ร่องคาน อ.พาน และ รพ.สต.อีก 1 แห่ง ใน อ.แม่ลาว และที่จังหวัดเชียงใหม่อีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลฝาง

นพ.จรัล กล่าวว่า รายละเอียดความเสียหายของหน่วยบริการนั้น เบื้องต้นได้รับรายงานจากที่ประชุมทราบว่าที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และโรงพยาบาลแม่ลาว โครงสร้างหลักไม่ได้รับการกระทบกระเทือนจากแรงสั่นสะเทือน แต่มีผนังอาคารได้ความเสียหายและปรากฏรอยร้าว  ขณะที่โรงพยาบาลพาน อาคารหลังเก่าพัง โดยทั้งหมดนี้จำเป็นต้องมีดำเนินการซ่อมปรับปรุงเพื่อให้สามารถรองรับการบริการผู้ป่วยได้ดังเดิม

ทั้งนี้ในการช่วยเหลือหน่วยบริการที่ได้รับผลกระทบนั้น สปสช.สามารถดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการในกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคระบาดหรือภัยพิบัติ พ.ศ. 2555” ได้ ซึ่งมีการกันงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการดำเนินการ ปัจจุบันมีจำนวน 870 ล้านบาท จึงได้มีการนำเสนอต่อ บอร์ด สปสช.เป็นวาระด่วน เพื่อให้มีการช่วยเหลือหน่วยบริการ ทั้งกรณีที่มีประชาชนเข้ารับบริการข้ามสิทธิ์ รวมถึงการปรับปรุงและซ่อมแซมอาคารสถานที่โดยเร็ว ซึ่งทางบอร์ด สปสช.ได้เห็นชอบตามที่เสนอ พร้อมให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่องานบริการรักษาพยาบาลประชาชน

“เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ นับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มีความร้ายแรงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และได้สร้างความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะอาคารสถานที่ต่างๆ ที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงหน่วยบริการรักษาพยาบาลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ด้วยเหตุนี้บอร์ด สปสช.จึงได้เห็นชอบให้ทำการช่วยเหลือเป็นการด่วน เพื่อให้หน่วยบริการสามารถกลับมาบริการผู้ป่วยได้ดังเดิม ซึ่งการช่วยเหลือนี้เฉพาะแค่การซ่อมแซมเท่านั้น ไม่รวมถึงการก่อสร้างใหม่” นพ.จรัล กล่าว และว่า จากนี้จะมีการประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือต่อไป

 

มติบอร์ด สปสช.ดีเดย์ 1 ต.ค.57 ยกเลิกสสจ.เป็น สปสช.สาขาจังหวัด

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ในวันนี้ ซึ่งมีนพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน ได้มีการพิจารณา “บทบาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพสาขาจังหวัด” (สปสช.สาขาจังหวัด) เพื่อให้เป็นไปตามหลักการในการแยกผู้ซื้อและผู้ขายบริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพออกจากกัน ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพชาติ พ.ศ. 2545 และเป็นไปตามข้อเสนอของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่เสนอให้ทบทวนการมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทำาหน้าที่เป็น สปสช.สาขาจังหวัด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ของเงินกองทุนที่กฏหมายบัญญัติไว้ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามข้อเสนอของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่เสนอให้ยกเลิกเงินที่จัดสรรผ่านบัญชี6 ของ สสจ. ในฐานะเป็น สปสช.สาขาจังหวัด

เลขาธิการ สปสช.เปิดเผยต่อว่า ที่มาของการมอบให้ สสจ เป็น สปสช.สาขาจังหวัด ตั้งแต่เริ่มมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใหม่ๆ นั้น เป็นไปตามมาตรา 25 วรรค 2 และ 3 พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่กำหนดให้บอร์ด สปสช. มีอำนาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนทำหน้าที่สำนักงานสาขาของ สปสช. ประกอบกับ ในวาระแรกเริ่ม มีภารกิจต้องขึ้นทะเบียนประชาชนให้เข้าถึงสิทธิและประสาน หน่วยบริการในพื้นที่โดยเร่งด่วน แต่เวลานั้น สปสช. ยังไม่มีสาขาในพื้นที่ และเห็นว่า สสจ. เป็นหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขที่มีความเข้าใจระบบสุขภาพอย่างดี  จึงได้มอบหมายหน้าที่ให้เป็นสาขาจังหวัด และกำหนดว่าในอนาคตหาก สปสช. มีสาขาในพื้นที่แล้ว หรือมีหน่วยงานอื่นที่เหมาะสมกว่า ก็ให้สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นไปตามหลักการแยกผู้ซื้อออกจากผู้ให้บริการสาธารณสุขตามที่กฎหมายกำหนดไว้

“เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระบบหลักประกันสุขภาพมีความพร้อมมากขึ้น กลไก สปสช.สาขาเขต และหน่วยบริการในพื้นที่ มีความเข้าใจการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากขึ้น ทำให้ภารกิจบางอย่างของ สปสช.สาขาจังหวัดลดลง ประกอบกับมีข้อแนะนำ ทักท้วงเกิดขึ้นทั้งจาก สตง. และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งนักวิชาการ บอร์ด สปสช. ประชุมเมื่อวันที่ 7 พค.นี้ จึงมีมติให้ยกเลิกประกาศและคำสั่ง ที่ให้ สสจ เป็นสำนักงานสาขาจังหวัดของ สปสช.และยกเลิกบัญชี 6ของ สปสช.สาขาจังหวัดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 รวมทั้งมอบหมายให้ สปสช เตรียมความพร้อม และเพิ่มศักยภาพของ สปสช.สาขาเขตเพื่อรองรับภารกิจเพิ่มเติมและพัฒนารูปแบบการทำงานร่วมกับ สสจ.เพื่อไม่ให้กระทบต่อระบบบริการและประชาชนในพื้นที่” เลขาธิการ สปสช.กล่าว

รายงานข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 30 เมย. ที่ผ่านมา นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ ในฐานะประธานบอร์ด สปสช.ได้ลงนามในคำสั่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ 120/2557 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ของบอร์ด สปสช. ซึ่งมีสาระสำคัญคือแยกบทบาทของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะกำกับดูแลหน่วยบริการในพื้นที่ ออกจากการเป็นประธานอนุกรรมการทุกคณะของ สปสช. ตามหลักการแยกให้บริการออกจากผู้รับบริการสาธารณสุข ทำให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้เป็นประธานอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ (บอร์ดเล็ก) และประธานอนุกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์และระบบบริการ ของ สปสช. อีกต่อไป นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบบริหารหลักประกันสุขภาพในส่วนกลาง ก่อนที่บอร์ด สปสช.จะมีมติยกเลิก สสจ.ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นสาขาจังหวัดของ สปสช.

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ระเบิด 40 มม.ลง SCB สำนักงานใหญ่-สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

$
0
0

7 พ.ค. 2557 - เมื่อเวลา 21.30 น. เกิดเหตุคนร้ายยิงระเบิดขนาด 40 มม. ตกลงที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถ.วิภาวดีรังสิตที่ชั้น 8 และ 9 โดยหลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทุ่งสองห้องและทหารได้ตรวจสอบพื้นที่แล้ว ทั้งนี้ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่อาคารได้รับความเสียหายโดยกระจกแตกหลายแห่ง

ขณะเดียวกันมีผู้ยิงระเบิด 40 มม. ใส่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ถ.รัชดาภิเษก 2 ลูก ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ

 

 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สนนท.ร่อนแถลงไม่รับอำนาจศาลรธน. วอนเปลี่ยนความขัดแย้งผ่านการ ลต.

$
0
0

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาฯ ระบุฝ่ายอนุรักษ์นิยมแทรกแซงประชาธิปไตย เรียกร้องให้ ปชช. นักศึกษา ไม่รับอำนาจนอกระบบทุกรูปแบบ ยุติสงครามกลางเมืองเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งโดยสันติผ่านการเลือกตั้ง ไม่เอานายก ม.7

7 พ.ค. 2557 ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สิ้นสภาพรัฐมนตรี สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ออกแถลงการณ์ “ไม่รับอำนาจเถื่อนองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ”

โดยแถลงการณ์ดังกล่าว ระบุ สถานการณ์การเมืองปัจจุบันฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้าแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตยแล้วมุ่งทำลายล้างคู่ขัดแย้งทางการเมือง เช่น การขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการเคลื่อนไหวเป็นระบบโดยองค์กรอิสระ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. กกต. กสม. สถาบันทหาร เครื่อข่ายนักธุรกิจ คณะกลุ่มองค์มนตรี รวมถึงพรรคประชาธิปปัตย์และกลุ่มกปปส. คปท. ยึดปิดสถานที่ราชการ ละเมิดสิทธิประชาชนที่เห็นต่างทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การสูญเสียสร้างสูญญากาศทางการเมือง อันจะนำไปสู่การอาศัยอำนาจพิเศษการถวายคืนพระราชอำนาจนายกตาม ม.7 ผ่านสถาบันทหารยึดอำนาจโดยการรัฐประหาร

ทั้งนี้ สนนท. ได้เรียกร้องเชิญชวนให้ประชาชนชาวร่วมกันแสดงออกทางการเมืองพิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยโดยไม่รับอำนาจเถื่อนนอกระบบทุกรูปแบบ ยุบยกเลิก องค์กร สถาบัน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ให้ใช้อำนาจแทนประชาชน รวมไปถึงยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา ม.112 และหยุดกระบวนการยุติธรรมและองค์อิสระ 2 มาตรฐาน

โดย สนนท. ระบุด้วยว่าจะนัดรวมพลนิสิตนักศึกษาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยเคลื่อนไหวเพื่อยุติสงครามกลางเมืองเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งโดยสันติผ่านการเลือกตั้ง ไม่เอานายกมาตรา 7 ไม่เอารัฐประหารทุกรูปแบบ ภายใต้คำขวัญ "พิทักษ์สิทธิเสรีภาพเสมอภาคประชาธิปไตยประชาชน"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สโมสรผู้สื่อข่าวตปท.ในไทยประณามกรณีทำร้าย ‘นิค นอสติทซ์’

$
0
0

'FCCT' ประณามกรณีที่นิค นอสติทซ์ ช่างภาพชาวเยอรมัน ถูกทำร้ายในระหว่างการทำข่าวที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ ร้องกลุ่มการเมืองทุกฝ่ายให้คำมั่นสัญญาหยุดคุกตามนักข่าว


7 พ.ค. 2557 สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT ออกแถลงการณ์ประณามต่อกรณีที่นิค นอสติทซ์ ช่างภาพและนักข่าวชาวเยอรมัน ถูกทำร้ายในระหว่างการทำข่าวที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องกลุ่มการเมืองทุกฝ่ายให้คำมั่นสัญญาในการไม่คุกตามการทำงานของนักข่าว ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวจากองค์กรหรือสัญชาติใดๆ 
 
แถลงการณ์ระบุว่า ในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีการทำร้ายร่างกายและใช้ความรุนแรงต่อคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักข่าวนั้น การใช้ความรุนแรงต่อประชาชนคนใดก็ตามเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และการคุกคามสื่อมวลชนก็เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งขัดขวางการรายงานข่าวในสถานการณ์ทางการเมืองที่ซับซ้อน นอกจากนี้อาจยังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องที่สำคัญต่อสาธารณะอย่างแท้จริงๆ 
 
นอกจากนี้ยังระบุว่า ผู้สื่อข่าวในและต่างประเทศ เลือกที่จะไม่รายงานต่อสาธารณะเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตนเองถูกทำร้ายและข่มขู่ เนื่องจากไม่ต้องการให้สื่อมวลชนกลบประเด็นข่าวที่สำคัญ
 
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ทำร้ายนิค นักข่าวเยอรมัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)ทางสมาคมฯ จึงได้เรียกร้องให้กลุ่มการเมืองทุกฝ่าย ยุติการทำร้ายผู้สื่อข่าว โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยมีความเข้มข้นขึ้นทุกที
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ทำความ (ไม่) เข้าใจ คดี ‘ปลดนายก’ เหตุ ‘ย้าย ขรก.’

$
0
0

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) ประกอบมาตรา 268 จากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งมีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ก.ย.54 สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว

ประชาไทกุมขมับไปสัมภาษณ์ รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่ากันตั้งแต่ เนื้อหาคดี ปัญหาว่าด้วยการดำรงตำแหน่งและพ้นตำแหน่ง ความพยายามสร้างสุญญากาศทางการเมือง ไปจนถึงเรื่องการขยายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ (อีกแล้ว)


(แฟ้มภาพ)

0 0 0

อาจารย์เห็นอย่างไรกับคำวินิจฉัยของศาลวันนี้
ศาลวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ยุติการปฏิบัติหน้าที่ และวินิจฉัยให้รัฐมนตรีรักษาการที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดแรกต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่ด้วย กรณีของยิ่งลักษณ์ก็คงต้องพ้นจากตำแหน่งตามที่วินิจฉัย แต่คนอื่นๆ จะเป็นปัญหา เพราะคณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 กับชุดที่ 5 เป็นคนละชุดกัน

รัฐมนตรีในชุดยิ่งลักษณ์ 1 ส่วนใหญ่เขาพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว เพราะมีพระบรมราชโอการแต่งตั้งรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อมาหลายครั้ง บางคนพ้นไปแล้วไปเป็นตำแหน่งอื่น บางคนพ้นไปแล้วไม่มีตำแหน่งอีกเลย ปัญหาคือ อย่างคุณยิ่งลักษณ์เองพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็จริง แต่ปัญหาว่า คุณยิ่งลักษณ์มารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในภายหลัง เป็นตำแหน่งที่รับหลังจากการโยกย้ายคุณถวิล จึงเป็นปัญหาให้ตีความว่า ตอนนี้คุณยิ่งลักษณ์ก็ยังไม่พ้นจากตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีกลาโหมหรือไม่
 

แต่ศาลระบุว่า รัฐมนตรีคนใดที่มีส่วนร่วมในการลงมติให้พ้นตำแหน่งด้วย?
มันมีแต่คณะรัฐมนตรีที่ประชุมกัน ในทางข้อเท็จจริงก็มีปัญหาคือ ในคณะรัฐมนตรีชุดนั้นมีใครบ้างที่เข้าประชุม คนที่ไม่ได้เข้าประชุมจะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยหรือเปล่า

โดยผลของคดีคือ ให้คนที่ดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่ง อย่างเช่นกรณีคุณสมัคร สุนทรเวช คราวนี้พอศาลวินิจฉัยให้ใครพ้นจากตำแหน่งแล้ว มันไม่ได้มีการห้ามไม่ให้เขาคนนั้นดำรงตำแหน่งอีก คดีนี้ไม่ได้มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง มันเป็นการพ้นตำแหน่งอย่างเดียว อย่างเช่น พอคุณสมัครพ้นจากตำแหน่งไป คุณสมัครก็สามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ถ้าหากสภาเลือก เพราะมันไม่มีการห้ามการกลับมาดำรงตำแหน่งอีก

ทีนี้คณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 ก็เหมือนกัน หลายคนได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วในตอนที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีในอดีต แล้วมีการแต่งตั้งเขาเข้ามาสู่ตำแหน่งใหม่ ปัญหาคือ ก็เขาพ้นตำแหน่งนั้นไปแล้ว แล้วเขาจะพ้นอีกได้อย่างไร

ปัญหาคือ คำวินิจฉัยวันนี้ให้พ้นเมื่อไหร่ ถ้าให้พ้นวันนี้มันก็ประหลาด เนื่องจากว่า เมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรี เขาได้พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว

ตอนนี้มีความเข้าใจเป็นสองแบบ คือ หนึ่ง เป็นเรื่องเฉพาะตัวคน คือให้ทุกๆ คนที่เป็นรัฐมนตรีอยู่ตอนนั้นนั้นพ้นไป ถ้านับว่าใครอยู่ในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 และมาอยู่ในยิ่งลักษณ์ 5 ด้วยก็คือจะดำรงตำแหน่งต่อไปไม่ได้ ซึ่งคนทั่วๆ ไปคงเข้าใจแบบนี้ และแม้แต่ศาลรัฐธรรมนูญเองก็อาจจะเข้าใจแบบนี้

สอง ในสายตาของนักกฎหมาย การพ้นตำแหน่งครั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแล้วไม่ได้เป็นเรื่องตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของการให้พ้นจากตำแหน่งในขณะนั้น ถ้าเกิดเขาเคยมีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 แล้ว ต่อมามีพระบรมราชโองการให้เขาพ้นตำแหน่งไปแล้ว แล้วอาจมีการแต่งตั้งกลับมาในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 2, 3, 4, 5  มันเป็นตำแหน่งใหม่แล้ว จะมาตีความว่า ให้พ้นไปตอนนี้ก็ไม่ได้

ถ้าเกิดตีความอย่างหลังก็แปลว่า คุณยิ่งลักษณ์จะพ้นเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นตำแหน่งเดียวที่ต่อเนื่องมาตลอด ไม่เคยมีการแต่งตั้งใหม่เลย คุณยิ่งลักษณ์ไม่เคยพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเลยจนกระทั่งยุบสภา แต่ในตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมนั้นมาทีหลัง คุณยิ่งลักษณ์ในฐานะรัฐมนตรีกลาโหมนั้นไม่ได้ร่วมมีมติตอนที่มีการโยกย้ายคุณถวิล เพราะฉะนั้นคุณยิ่งลักษณ์ก็พ้นไปเฉพาะตำแหน่งรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ยังต้องอยู่รักษาการตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมต่อไป

ถ้าเป็นแบบแรก คือ ถือว่า พ้น จะเป็นการตัดสิทธิทางการเมืองเลยนะ ไม่ใช่เรื่องการให้พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งไม่มีรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการตัดสิทธิทางการเมืองกับบุคคลในกรณีแบบนี้ มาตรา 266 เป็นเรื่องการให้พ้นจากตำแหน่งอย่างเดียว ไม่ใช่การตัดสิทธิทางการเมือง หรือการตัดสิทธิการดำรงตำแหน่ง เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดเอาแบบศาลรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะบอกว่า รัฐมนตรีที่อยู่ในยิ่งลักษณ์ 1 ที่ย้ายคุณถวิล เปลี่ยนศรีให้พ้นจากตำแหน่ง และตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งในรัฐบาลภายหลัง ที่กำลังตีความกันอยู่เป็นแบบนี้ แต่ในทางกฎหมายมันไม่ใช่
 

คำวินิจฉัยนี้หวังผลทางการเมืองมากน้อยแค่ไหน
หวังผลทางการเมืองหรือไม่ ไม่รู้ แต่มีผลทางการเมืองแน่ๆ  แม้ไม่สามารถล้ม ครม.ได้หมดทั้งคณะ แต่ทำให้รัฐมนตรีที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อย ถ้านับแบบให้พ้นเป็นคนก็เหลือสิบกว่าคนมั้ง แต่ถ้านับแบบให้พ้นไปตามตำแหน่ง อาจจะเหลือเยอะกว่านั้น

จากกรณีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้สถาปนาอำนาจตัวเองในเรื่องการวินิจฉัยคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งของบุคคลขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง แม้ว่าคนๆ นั้นจะพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีไปแล้วก็ตาม

ในทางการเมือง ก็อาจจะมองได้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามายุ่งเกี่ยวกับดุลพินิจในเรื่องของการโยกย้ายและสามารถเอา ครม.รักษาการออกจากตำแหน่งได้ แต่อย่างที่บอกว่า ประเด็นอยู่ที่ตัวตำแหน่งกับตัวคน ว่าคุณจะมองอย่างไร ซึ่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่เคลียร์หรอกเรื่องนี้ เราตีความไปเองว่าศาลรัฐธรรมนูญเขียนว่าให้พ้นจากตำแหน่งเฉพาะตัว แต่คำถามคือ พ้นตอนไหน จะพ้นตอนนี้ได้อย่างไร เมื่อการกระทำของเขากระทำอยู่ในอดีตแล้ว และพ้นไปแล้ว

ในความเห็นผม การพ้นตำแหน่งตามคำวินิจฉัยนี้เป็นเรื่องตำแหน่ง ไม่ใช่ตัวบุคคล เพราะฉะนั้นจึงหมายความว่า ยิ่งลักษณ์ยังคงเป็นรักษาการรัฐมนตรีกลาโหม ส่วนเฉลิมยังคงเป็นรักษาการรัฐมนตรีแรงงาน
 

อาจารย์เห็นว่า วินิจฉัยครั้งนี้ชอบธรรมหรือไม่
ผมว่ามันไม่ชอบธรรมทั้งในทางเนื้อหาซึ่งมีประเด็นให้วิจารณ์อีกหลายเรื่อง บางส่วนก็ไปพันกับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งมีความเห็นแย้งด้วย และศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็นฐานในการอ้างด้วย

ประเด็นในศาลปกครองสูงสุดเป็นกรณีของคุณถวิลเป็นหลัก แต่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไปอยู่ที่ประเด็นของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นหลัก ซึ่งมันแตกต่างกัน เพราะกรณีการย้ายคุณถวิล มันไม่ใช่เรื่องที่จะมาอ้างได้ว่าเอื้อประโยชน์  ที่มาอ้างได้ว่า ไปพันกับการย้ายพล.อ.วิเชียร มาแทนที่คุณถวิลเพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มาเป็น ผบ.ตร.  เพราะประเด็นของศาลรัฐธรรมนูญ ไปอยู่ที่ประเด็นของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ การที่คณะรัฐมนตรีไปย้าย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นการเอื้อประโยชน์ไหม? ซึ่งต้องไปดูตรงนั้นว่า มันชอบธรรมในการขึ้นตำแหน่งนั้นไหม?  นายกรัฐมนตรีมีความเกี่ยวพันมากแค่ไหน มันเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ หรือเป็นแค่นายกรัฐมนตรีคนเดียวที่สั่งย้าย รวมถึงนายกรัฐมนตรีจะสั่งย้ายได้ไหม ไม่งั้นต่อไป นายกรัฐมนตรีก็สั่งย้ายใครไม่ได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องของตำแหน่ง มันมองได้หลายมุม มันไม่ใช่แต่งตั้งเพียงญาติพี่น้องที่ไม่มีสิทธิในตำแหน่งนั้นเลยมาดำรงตำแหน่ง แต่เป็นการแต่งตั้งบุคคลซึ่งอาจจะมีความเกี่ยวพันกันนั่นแหละแต่เขามีสิทธิจะขึ้นมาครองตำแหน่ง แล้วจะบอกว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ได้อย่างไร

ถ้าเกิดว่า ตำแหน่งพลตำรวจหรือผู้กำกับ แล้วย้ายข้ามมาเลย อย่างนี้มันชัด แต่อันนี้ต้องดูภูมิหลังว่า เขามีตำแหน่งอะไรมาก่อน หน้าที่ของเขาเป็นอย่างไร ตำแหน่งตอนรัฐประหารถูกใครข้ามมา แป๊กอะไรยังไง แล้วต้องคืนความเป็นธรรมให้เขาไหมเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอันนี้ผมคิดว่า ศาลท่านไม่ได้วินิจฉัยประเด็นนี้ แล้วประเด็นนี้ของศาลรัฐธรรมนูญไม่เหมือนกับศาลปกครอง กรณีศาลปกครองวินิจฉัยเรื่องย้ายคุณถวิล แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดไปดูประเด็นตอนที่ตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์มา เพราะฉะนั้นถ้าเกิดกลับไปดูประเด็นนั้น ต้องดูความเป็นธรรมในคดีนั้นด้วย แล้วที่สำคัญคือต้องเคารพดุลพินิจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการอันเป็นอำนาจของ ครม. ซึ่งศาลไม่ได้คำนึงตรงนี้ อ้างเพียงแต่ว่าเป็นพี่ชายของอดีตภรรยาของอดีตนายกฯทักษิณ และบอกว่าเป็นลุงของหลานอา ซึ่งมันไกลเกินไปในแง่นี้

ในความเห็นของผม ผมจึงมองว่าในทางเนื้อหามันไม่ชอบธรรม เพราะจะมองในแง่ที่ว่า เป็นความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนตัวบุคลากรในระบบราชการก็ได้ และในด้านหนึ่งก็เยียวยาให้เกิดความเป็นธรรมในกรณีของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ก่อนหน้านั้นก็ได้ ซึ่งอันนี้คนไม่ค่อยพูดกัน คืออาจจะต้องไปดูหลังรัฐประหารว่าเป็นอย่างไร คือปัญหานี้จึงต้องมีความเกี่ยวพันกับรัฐประหาร 2549  อยู่นั้นเอง

แต่ก็แน่นอน คดีนี้ก็เป็นอีกคดีหนึ่งที่สะท้อนความขัดแย้งของการต่อสู้ทางการเมืองของชนชั้นนำในสังคมไทยเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ ในส่วนของเนื้อหา ยังมีการนำข้อเท็จจริงบางอย่างมายืนยันในคดีซึ่งอาจไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้สิ้นสงสัยอย่างเช่น ศาลอ้างเรื่องการลงวันที่ในหนังสือราชการไม่ตรงกัน และยังไม่มีการพิสูจน์ว่าใครถูกใครผิด ศาลก็เอามาใช้อ้างในทางที่เป็นผลร้ายกับฝ่ายผู้ถูกร้อง

อีกปัญหาหนึ่งคือ คนที่ฟ้องคดี เขาฟ้องให้คุณยิ่งลักษณ์พ้นตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง แต่ศาลให้คนที่มีชื่ออยู่ในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 พ้นจากตำแหน่ง ปัญหาคือ เราไม่รู้หรอกว่า วันนั้นใครประชุม ใครไม่ประชุม สองคือ คนที่เป็นรัฐมนตรีคนอื่น ถ้าเกิดตีความเป็นชื่อคน เขาไม่มีโอกาสเข้าไปโต้แย้งในคดีเลย เขาไม่ได้เข้าไปชี้แจงเลย แต่ศาลก็ไปตัดสินให้เขาพ้นจากตำแหน่งไปด้วย เพราะเหตุว่า เขามีชื่ออยู่ในคณะรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ 1 เขาเข้าประชุมหรือเปล่าก็ไม่รู้ ถ้าเขาเข้าประชุม เวลาประชุมเขามีความเห็นอย่างไรก็ไม่รู้อีก ไม่มีการใช้สิทธิที่จะได้รับการรับฟังในคดี ซึ่งไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ในฐานะของนักกฎหมาย ก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมายว่ามันเป็นยังไง ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่มีใครเชื่อถือหรอก ไม่ได้พูดถึงว่า มันถูกใจใคร ไม่ถูกใจใคร แต่จะบอกว่ามันประหลาดมากๆ เพราะเป็นการวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่ได้พ้นไปก่อนหน้านั้นแล้วในครั้งเมื่อมีการปรับคณะรัฐมนตรี แม้แต่ตัวคุณยิ่งลักษณ์ก็พ้นจากตำแหน่งแล้ว ด้วยการยุบสภาแล้ว ก็แค่รอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เท่านั้นเองโดยสภาพ เราต้องคิดว่า การพ้นจากตำแหน่งในกรณีธรรมดาเขาสามารถกลับสู่ตำแหน่งนั้นได้เลยโดยทันที เพราะมันไม่ได้มีลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่ง ความจริงตอนคุณสมัครพ้นจากตำแหน่ง นั่นก็ตลกไปทีหนึ่งแล้ว เพราะท่านก็เลิกทำกับข้าวไปแล้ว อันนี้ก็คล้ายๆ กันอีก
 

มีความพยายามอธิบายว่า ตอนนี้การเมืองไทยเป็นสุญญากาศ?
ไม่เป็นหรอกครับ แม้จะตีความแบบชื่อก็ยังมีคนอื่นเหลืออยู่อีกหลายคน และก็ยังสามารถประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีต่อไป ไม่เกิดเป็นสุญญากาศ

ทีนี้ ทางที่ต้องเดินต่อไป คือไปสู่การเลือกตั้ง ในแง่ของการปฏิรูปการเมืองในอนาคตนั้น การปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังที่นิติราษฎร์เคยเสนอประเด็นเรื่องการยุบศาลรัฐธรรมนูญ โดยลักษณะของการวินิจฉัยเช่นนี้ ศาลเข้ามาวินิจฉัยจนถึงขั้นตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรีไปเลย แล้วยังมีการย้อนเวลากลับไปในอดีต เพื่อที่จะทำให้เกิดผลในปัจจุบันดังคำพิพากษาครั้งนี้ 

โดยผลของการตีความ ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายความอำนาจของตนเองออกไปจนกลายเป็นรัฐธรรมนูญเอง ซึ่งเป็นและทำมาหลายครั้งแล้ว มักจะมีคนอ้างคำวินิจฉัยตามมาตรา 256 วรรคห้าว่า ผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร คนจะชอบอ้างแบบนี้ ตัดสินว่ามีภาระผูกพันทุกองค์กร แต่ผมมองว่า มันจะต้องดูด้วยว่า คำวินิจฉัยนั้นจะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายตามมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญด้วยมันถึงจะผูกพันกับองค์กรทุกองค์กร ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยขัดกับรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง มันก็ไม่มีผลผูกผัน เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับองค์กรในทางการเมืองที่จะยอมรับคำวินิจฉัยแค่ไหน

ผมยกตัวอย่าง อย่างวันนี้มีคำวินิจฉัยมาแค่นี้ ในทางการเมืองก็เหมือนจะยอมรับเพราะไม่ถึงขนาดเอาคณะรัฐมนตรีไปทั้งคณะ องค์กรทางการเมืองก็ยอมตาม แต่ผมไม่ได้บอกว่า ฐานคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกต้อง แต่ด้วยเพราะองค์กรทางเมืองไม่อยากมีเรื่อง ก็เลยต้องยอมตาม และถ้าเกิดศาลมีคำวินิจฉัยว่า ให้คณะรัฐมนตรีหมดทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง อาจจะทำให้องค์กรทางการเมืองไม่ยอมรับแน่นอน เพราะคงบอกว่า มันตัดสินไปขัดกับมาตรา 197 เพื่อสร้างให้เกิดสุญญากาศตามความต้องการของคนบางพวก เพราะฉะนั้นเวลาใครที่อ้าง 256 วรรคห้า ต้องเข้าใจคำวินิจฉัยจะผูกพันกับทุกองค์กรได้นั้นจะต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมาย  แล้วถามว่าใครจะเป็นคนบอกว่ามันขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายไหม?  คงไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นคนบอกแน่ ก็ต้องเป็นองค์กรทางการเมืองอื่นเป็นคนบอกว่ามันขัด ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะเห็นว่ามันขัดกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายรุนแรงแค่ไหน  ซึ่งในเรื่องทางการเมืองมันเป็นเรื่องที่มีองค์กรทางการเมืองที่ใช้อำนาจทางการเมืองตอบโต้ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีองค์กรทางการเมืองไหนของไทยทำ ทั้งรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ไม่เคยทำ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทำไม่ได้
 

กปปส. มักอ้างว่า รัฐบาลไม่ยอมรับอำนาจคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐบาลนี้ขาดความชอบธรรม?
ผมไม่เห็นด้วยแบบนั้น ผมเห็นในอีกทางหนึ่งว่า การอ้างแค่นี้ยังไม่พอ คือรัฐบาลเขาไม่ได้อ้างว่า ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ หรืออย่างตัวผมเอง ผมก็ไม่ได้อ้างว่าผมไม่เคารพรัฐธรรมนูญ แต่เพราะเขาเคารพรัฐธรรมนูญ เอารัฐธรรมนูญเป็นหลัก และถ้าเขาเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ เขาก็มีสิทธิที่จะรักษารัฐธรรมนูญไว้โดยการปฏิเสธคำวินิจฉัยดังกล่าว

ความเห็นของ กปปส.  เป็นความเห็นที่ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับรัฐธรรมนูญ ผมเคยบอกแล้วว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่รัฐธรรมนูญ คนหลายคนพยายามบอกว่า ต้องผูกผันกับรัฐธรรมนูญ และพยายามให้คำวินิจฉัยคือรัฐธรรมนูญ

ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลเป็นยังไง แต่ผมพยายามจะบอกว่า รัฐบาลต้องแย้งว่า รัฐบาลนั้นเคารพรัฐธรรมนูญ และถ้ารัฐบาลเห็นศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่เขาเป็นองค์กรทางการเมืองหนึ่งก็ต้องรักษารัฐธรรมนูญไว้เหมือนกันตามมาตรา 197 เมื่อเขาเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาคดีแล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง รัฐบาลย่อมไม่ผูกพันตามคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งไม่เห็นเป็นเรื่องที่ผิดปกติหรือน่ากลัวตรงไหน

ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อไปถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอะไร จะผิดขนาดไหนก็ต้องเคารพหมด  เกิดอยู่ดีๆ ศาลรัฐธรรมนูญบ้าจี้ตัดสินประหารชีวิตคนโดยไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น แล้วมีคนคิดว่า คำวินิจฉัยต้องผูกพันกับทุกองค์กรของรัฐ เราควรเคารพหรือ? ดังนั้น โดยหลักแล้ว เราก็ต้องเคารพศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละ มันอาจจะถูกอาจจะผิดรัฐธรรมนูญไปบ้าง แต่เพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน เราก็ยอมกันบ้าง แต่ถ้าเมื่อไหร่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมันถึงขั้นฝ่าฝืนต่อระบบกฎหมายอย่างรุนแรง เป็นคำวินิจฉัยที่ทำลายรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง เช่น มีคำวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นทั้งคณะเพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และวินิจฉัยให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง แบบนี้ก็เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่มีใครเคารพได้หรอก เพราะถ้าถึงจุดนั้นต้องถือว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลายรัฐธรรมนูญเสียเอง แล้วเราจะต้องไปเคารพศาลรัฐธรรมนูญที่ทำลายรัฐธรรมนูญเองหรือ? ซึ่งกว่าจะถึงจุดๆ นั้น มันเป็นเรื่องการประเมินทางการเมืองขององค์กรที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นกรณีวันนี้ที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า ยังไม่ถึงจุดนั้น เขาก็ทำตาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มือปืนนั่งแท็กซี่ขึ้นสะพานข้ามแยก-ก่อนยิงใส่เวที กปปส.สวนลุมพินี

$
0
0

เกิดเหตุคนร้ายนั่งแท็กซี่ขึ้นข้ามสะพานข้ามแยกศาลาแดงก่อนยิงปืน 2 นัดใส่ผู้ชุมนุมเวที กปปส.สวนลุมพินี ด้านโฆษก กปปส. ระบุชุมนุมใหญ่ 9 พ.ค. จะวางมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด

8 พ.ค. 2557 - เมื่อเวลา 11.40 น. เวที กปปส.สวนลุมพินี มีผู้ยิงปืนไม่ทราบชนิดเข้าใส่พื้นที่ชุมนุมจำนวน 2 นัด ทำให้ผู้ชุมนุมที่อยู่ในพื้นที่ต่างแตกตื่นวิ่งหนีหาที่หลบกันอย่างชุลมุน

ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดเหตุนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ไม่อยู่ในพื้นที่เนื่องจากพาผู้ชุมนุมไปเดินขบวนช่วงสถานีรถไฟฟ้า BTS อ่อนนุช และเคลื่อนมาตาม ถ.สุขุมวิท เชิญชวนประชาชนร่วมการชุมนุมใหญ่ 9 พ.ค. เวลา 09.09 น.

การ์ด กปปส. เวทีสวนลุมพินีระบุว่า คนร้ายนั่งรถแทกซี่ที่ขับผ่านบนสะพานข้ามแยกศาลาแดง แล้วได้ยิงปืนเข้ามาในพื้นที่ชุมนุม โดยขณะนี้การ์ดได้กระจายกำลังตรวจสอบรอบพื้นที่แล้ว และอาจมีการปิดสะพานข้ามแยกศาลาแดงเพื่อป้องกันไม่ให้มีการก่อเหตุอีก

นอกจากนี้ สำนักข่าวไทย รายงานคำให้สัมภาษณ์ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. ระบุว่าเชื่อว่าจะเป็นคนร้ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะวันพรุ่งนี้ (9 พ.ค.) ที่กลุ่ม  กปปส. จะมีการชุมใหญ่

ส่วนจะมีการตั้งเวทีเพิ่มเติมหรือไม่ นายเอกนัฏระบุว่าต้องรอประเมินจำนวนผู้ชุมนุมอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม จะมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยจะมีการ์ดคอยตรวจตราและดูแลความปลอดภัยผู้ชุมนุม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58332 articles
Browse latest View live


<script src="https://jsc.adskeeper.com/r/s/rssing.com.1596347.js" async> </script>