Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58332 articles
Browse latest View live

ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก 3 ปี 4 เดือน ‘เอกชัย’ คนขายซีดี ABC จำเลยคดี 112

$
0
0

 

8 พ.ค.2557  ศาลอุทธรณ์ อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลยดำ อ.2072/2554 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายเอกชัย  (สงวนนามสกุล) เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาและตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551  จากกรณีที่เขาขายซีดีสารคดีการเมืองของสำนักข่าว ABC ของประเทศออสเตรเลีย และเอกสารวิกิลีกส์ฉบับแปลไทยในที่ชุมนุมของกลุ่มแดงสยาม เมื่อเดือนมีนาคม 2554 โดยพิพากษาแก้ไขมาตราของพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ที่ศาลชั้นต้นใช้ลงโทษ จากมาตรา มาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 82 เป็นมาตรา มาตรา38 วรรคหนึ่ง, 79 ส่วนโทษปรับนั้นให้คงตามศาลชั้นต้นพิพากษาคือ 66,666 บาท สำหรับโทษจำคุกตามมาตรา 112 นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้จำคุก 5 ปี และปรับลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 3 ปี 4 เดือน เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ในการพิจารณาคดี

อานนท์ นำภา ทนายความจำเลยกล่าวว่า เอกชัยซึ่งถูกจำคุกมาตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นตัดสิน (28 มี.ค.56) ยังคงยืนยันที่จะต่อสู้คดีในชั้นศาลฏีกา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะโทษจำคุกต่ำกว่าห้าปี จึงต้องทำหนังสือขออนุญาตฎีกาคดีกับองค์คณะที่พิจารณาคดีก่อนจึงจะฎีกาได้

ทั้งนี้ เอกชัย วัย 38 ปี เดิมมีอาชีพขายหวยบนดิน หลังการรัฐประหารในปี 2549 เอกชัยเริ่มสนใจการเมือง และชื่นชอบแนวทางของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ เมื่อไปชุมนุมในเดือนมีนาคม 2554 เขาได้นำซีดีสารคดีการเมืองไทยของสำนักข่าว ABC และเอกสารวิกิลีกส์ทำสำเนาไปขายชุดละ 20 บาทในที่ชุมนุม จนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบล่อซื้อและจับกุม จากนั้นราว 2 เดือนถัดมา คดีก็เข้าสู่การพิจารณาของศาล โดยเอกชัยเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาไม่กี่คนที่สามารถประกันตัวได้ตั้งแต่ชั้นสอบสวน โดยถูกคุมขังอยู่เพียงสัปดาห์กว่าๆ

ภายหลังการจับกุมเขาเคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงมูลเหตุจูงใจในการขายซีดีและเอกสารดังกล่าวว่าต้องการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมุมมองจากสื่อต่างประเทศนั้นเป็นสิ่งน่าสนใจและอาจดีกว่าสื่อไทยซึ่งต่างเลือกข้างกันหมด

ในระหว่างต่อสู้คดี ทนายจำเลยได้ร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานสำคัญ 2 ปากคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และพล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา แต่หลังจากผู้พิพากษาหารือกับทนายจำเลยก็ยอมที่จะไม่เรียกพยานทั้ง 2 ปากดังกล่าว (อ่านรายละเอียด) จากนั้นวันที่ 28 มี.ค.2556 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 5 ปีแต่ลดโทษให้เหลือ 3 ปี 4 เดือนเนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี (อ่านรายละเอียด)



ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดยไอลอว์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กอ.รมน.ภ.4 เตรียมดำเนินคดี ‘มูลนิธิผสานวัฒนธรรม’ ใส่ร้าย จนท.ซ้อมผู้ต้องสงสัย

$
0
0
โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงชี้แจงกรณีข้อมูลบิดเบือนใส่ร้าย จนท.ซ้อมทรมาน ‘อาดีล สาแม’ ผู้ต้องสงสัยเหตุระเบิดยะลา เตรียมประสานดำเนินคดีตามกฎหมายต่อ ‘มูลนิธิผสานวัฒนธรรม’
      
8 พ.ค. 2557 ที่อาคารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า พร้อมด้วย พล.ต.ต.งามศักดิ์ เกื้อจรูญ ผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.อ.พิเชษฐ์ ชุติเดโช ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 41 และ พ.ต.อ.กรณ์ณพัชญ์ กิตติพิบูลย์ รองผู้บังคับการงานสืบสวนสอบสวนตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ร่วมกันชี้แจงข้อเท็จจริง
 
สืบเนื่องจาก กรณี น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนแขนงต่างๆ และทำหนังสือเปิดผนึกถึงแม่ทัพภาคที่ 4 โดยกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ได้ทำการซ้อมทรมาน นายอาดีล สาแม ในขณะเข้าติดตามจับกุม เมื่อ 26 เม.ย. 2557 เวลา 12.30 น. เป็นเหตุให้ นายอาดีล สาแม ได้รับบาดเจ็บสาหัส และสลบ ก่อนที่ญาติจะนำส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา พร้อมกับได้อ้างว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้ออกใบรับรองแพทย์ว่าถูกทำร้ายร่างกายจริง ตามที่ได้ปรากฏเป็นข่าวไปแล้วนั้น
 
พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าขอชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเข้าใจว่า ท่านแม่ทัพภาคที่ 4 ได้สั่งการให้สำนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และนิติวิทยาศาสตร์ กองอำนวยการรักษาความมันคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชุดสืบสวนคดีสำคัญศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 และนายแพทย์รุสกี เจ๊ะแอ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย นายอาดีล สาแม มาชี้แจง
 
ข้อมูลที่ได้พบว่า การจัดกำลังเข้าติดตามจับกุม จำนวน 4 ชุดปฏิบัติการ ประกอบด้วย กรมทหารพรานที่ 41 จำนวน 2 ชุด ชุดสืบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา และชุดสืบสวนคดีสำคัญศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยละ 1 ชุด พร้อมด้วยหมู่ทหารพรานหญิง ปฏิบัติตามขั้นตอนในการติดตามจับกุม โดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก เป็นไปตามพันธกรณีตามมาตรฐานองค์การสหประชาชาติ เรื่องกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะ เรื่องปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลให้พ้นจาการถูกกระทำทรมาน และหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลัง และอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทุกประการ
 
พ.อ.ปราโมทย์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ปฏิบัติด้วยความละมุนละม่อมภายใต้หลักกฎหมาย และหลักสิทธิมนุษยชน ไม่มีการทำร้ายร่างกายตามคำกล่าวอ้าง ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกคำให้การของ นายอาดีล สาแม ที่กล่าวว่า ไม่ได้ถูกซ้อมแต่เกิดจากความเครียดที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับการก่อเหตุระเบิดในเขตเทศบาลนครยะลา เมื่อวันที่ 6-7 เม.ย. 2557 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดอาการชักเกร็ง โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้เรียกรถมูลนิธินำไปส่งโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
 
“ผลการตรวจร่างกายของนายแพทย์รุสกี เจ๊ะแอ แพทย์เวรประจำห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ยะลา เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2557 ซึ่งระบุในใบรับรองแพทย์ว่า กล้ามเนื้อบริเวณลิ้นปี่อักเสบ โดยนายแพทย์รุสกี เจ๊ะแอ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ผลการตรวจร่างกายโดยทั่วไปปกติ ไม่มีอาการแสดงปวด บวม แดง ร้อน หรือเลือดออก รอยจ้ำหรือร้อยช้ำใดๆ รวมทั้งได้ทำการตรวจทางรังสีวิทยา (X-ray) บริเวณหน้าอก ผลการตรวจไม่พบการแตกหักของกระดูกช่องอก ไม่พบอันตรายของเนื้อเยื่อของปอด และไม่พบลม หรือน้ำในช่องปอด จึงลงความเห็นว่า กล้ามเนื้อบริเวณลิ้นปี่อักเสบ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานมากเกินปกติ โดยอาจเป็นผลมาจากการชักเกร็งในภาวะเครียดด้านจิตใจ มิใช่เกิดจากการกระแทก (ผลการ X-ray ) ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจร่างกายของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ซึ่งยืนยันว่า ไม่พบบาดแผลถลอก บาดแผลฉีกขาด หรือแผลฟกช้ำในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้น จึงไม่เป็นไปตามข้อร้องเรียนที่อ้างว่า ถูกเจ้าหน้าที่ซ้อมจนสลบ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ออกใบรับรองแพทย์ว่าถูกทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด” พ.อ.ปราโมทย์ กล่าว
 
โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยังกล่าวอีกว่า สำหรับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร เป็นหนึ่งในหลายๆ องค์กร ที่เข้ามาเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้พยายามนำประเด็นความผิดพลาดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและเสนอรายงานสู่องค์กรระหว่างประเทศ โดยขาดการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ทั้งๆ ที่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งกรณี นายอาดีล สาแม ซึ่งได้แสดงเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริง ที่สร้างความเสียหายแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายด้วยความทุ่มเท เสียสละ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ และทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศในเวทีสากล
 
จึงขอเรียกร้องให้มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ทำหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ตรงไปตรงมาและตรวจสอบได้ และแสดงความรับผิดชอบต่อเจตนาบิดเบือนข้อเท็จจริง และนำเสนอเรื่องราวอันเป็นเท็จไปสู่การรับรู้สาธารณะ ดังเช่นเหตุการณ์ครั้งนี้ และที่ผ่านๆ มาเพื่อไม่ให้สังคมเคลือบแคลงสงสัยในพฤติกรรม และเจตนาที่แท้จริงไปมากกว่านี้
 
โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จะยังคงให้ความสำคัญต่อการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม ให้การเคารพในหลักสิทธิมนุษยชน และไม่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนการทำงานขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และองค์กรเครือข่ายต่างๆ ที่มีเจตนาบริสุทธิ์ ในการเข้ามาตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ในทุกกรณี
 
ทั้งนี้ ในการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนดังกล่าวของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ก็อาจจะมีการดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อให้ทางมูลนิธิฯ รับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว
 
ด้าน พล.ต.ต.งามศักดิ์ เกื้อจรูญ ผู้บังคับการงานสืบสวนสอบสวนตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ในเรื่องของการซ้อมทรมาน การทำร้ายซึ่งกฎบัตรอนุสัญญาภาคีก็ได้กำหนดให้ประเทศไทยเป็นอนุสัญญาภาคีด้วย ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ท่านผู้บัญชาการทหารบก ท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ท่านแม่ทัพภาค 4 ตลอดจนท่านผู้บัญชาการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เน้นย้ำกำชับแก่ผู้ปฎิบัติการระดับล่างทุกนาย ว่า การกระทำดังกล่าวมีความผิดทางอาญา โทษถึงจำคุก และให้ออกจากราชการ และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ซึ่งขอยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายไม่มีการดำเนินการซ้อมทรมานต่อผู้ต้องสงสัยทุกรายอย่างแน่นอน รวมทั้งการควบคุมตัวก็เป็นไปตามหลักสากลที่ใช้ปฏิบัติกัน
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คาดสอบ 'เลขาศาล ปค.' ปม จม.น้อยฝาก ตร. สัปดาห์หน้า

$
0
0

รองเลขาฯ ศาลปกครอง คาดเริ่มสอบเลขาฯ สำนักงานศาลปกครอง ปม จม.น้อยฝากตำรวจ สัปดาห์หน้า ด้าน 70 ตุลาการฯ เข้าชื่อจี้สอบประธานศาลปกครองสูงสุด

8 พ.ค. 2557 เดลินิวส์ออนไลน์รายงานว่า นายอติโชค ผลดี รองเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าตุลาการศาลปกครองชั้นต้นจากศาลปกครองทั่วประเทศกว่า 70 คน ได้ลงชื่อในหนังสือถึงกรรมการข้าราชการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ที่มีประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน เพื่อให้นัดประชุม ก.ศป. เป็นการด่วนเพื่อพิจารณาตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ว่ามีส่วนรู้เห็นและเห็นชอบในการกระทำของนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ในการทำหนังสือไปยังนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เพื่อสนับสนุน พ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รองผกก.ป. สน.หัวหมาก เป็นผู้กำกับการ (ผกก.) ว่า ยังไม่แน่ใจว่ามีคณะตุลาการ หรือผู้บริหารคนใดร่วมลงชื่อเพื่อให้ดำเนินการดังกล่าวแต่ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกับนายดิเรกฤทธิ์ เพราะถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นผลกระทบต่อศาลปกครอง ซึ่งต้องมีการดำเนินการสอบสวนว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร

นายอติโชค กล่าวว่า อย่างไรก็ตามในขณะนี้ นายดิเรกฤทธิ์ อยู่ระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศ จึงคาดว่ากระบวนการสอบสวนจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า เมื่อนายดิเรกฤทธิ์ เดินทางกลับมา อีกทั้งเชื่อว่าน่าจะมีการสอบสวนไปถึงนายหัสวุฒิ เพราะไม่ว่าใครที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวก็น่าจะมีการสอบสวนทั้งหมด และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงสอบส่วนเรื่องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว คงมีการส่งเรื่องไปยัง ก.ศป. ต่อไป เพราะถือก.ศป.เป็นคณะกรรมการใหญ่ ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง หากเปรียบเทียบกับบริษัทก็ถือเป็นบอร์ดบริหาร

ด้านสำนักข่าวอิศรารายงานว่า ตรวจสอบพบว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตุลาการศาลปกครองชั้นต้นจากศาลปกครองทั่วประเทศ รวมทั้งศาลปกครองกลางกว่า 70 คน ได้ลงชื่อในหนังสือถึงกรรมการข้าราชการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ซึ่งมีประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานเพื่อให้นัดประชุม ก.ศป.เป็นการด่วน เพื่อพิจารณาตั้งคณะกรรมการขึ้นมา สอบสวนนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ว่ามีส่วนรู้เห็นและเห็นชอบในการกระทำของนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง ในการทำหนังสือจำนวน 2 ฉบับ ไปถึงพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร. และพล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. เพื่อสนับสนุนพ.ต.ท.ชูธเรศ ยิ่งยงดำรงกุล รองผกก.ป. สน.หัวหมาก เป็นผู้กำกับการ (ผกก.) เนื้อหามีดังนี้

"เรียน คณะกรรมการ ก.ศป.

ด้วยปรากฎข่าวจากสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับกรณีที่เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองมีหนังสือจำนวน 2 ฉบับ ไปถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้มีการแต่งตั้งเลื่อนยศนายตำรวจนายหนึ่งเป็นผู้กำกับ โดยแจ้งว่า เป็นความประสงค์ของประธานศาลปกครองสูงสุด และต่อมาเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนยอมรับว่ามีหนังสือสองฉบับถึงบุคคลดังกล่าวจริง โดยก่อนดำเนินการได้เรียนให้ประธานศาลปกครองสูงสุดรับทราบแล้วด้วย อีกทั้งในหนังสือยังระบุพาดพิงว่านายตำรวจผู้นั้นเป็นเพื่อนสนิทกับหลานชายของประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งจากข่าวดังกล่าวก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคมอย่างกว้างขวางทำให้เกิดความเสียหายกับตุลาการศาลปกครองและสถาบันศาลปกครองโดยรวม ดังนั้น จึงสมควรทำเรื่องนี้ให้กระจ่างชัดเจนขึ้นโดยนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ก.ศป.ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้และควรเป็นวาระพิเศษเร่งด่วน

ตุลาการที่ลงชื่อท้ายบันทึกนี้ จึงให้ ก.ศป. ทุกท่านได้โปรดกรุณานำเรื่องนี้มาพิจารณาโดยด่วน เพื่อมิให้ศาลปกครองเกิดความเสื่อมเสียและเสียหายไปมากกว่านี้"  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อัยการยื่นฟ้องสกลธี-สนธิญาณ ม.113 ฐานกบฏ จ่อฟ้อง กปปส. รวม 58 ราย

$
0
0

อัยการฟ้อง 'สกลธี-สนธิญาณ' ผิดฐานกบฎ-มั่วสุม-ขวางเลือกตั้ง ขณะที่เตรียมฟ้องแกนนำ กปปส.-กปท.-คปท. ร่วม 58 รายในข้อหากบฎและข้อหาอื่นๆ 8 ข้อหา โดยมี "พุทธะอิสระ-ถวิล เปลี่ยนศรี" พ่วงด้วย และจะพิจารณาฟ้องนักวิชาการ 5 รายในความผิดฐานสนับสนุนกบฎ

วันนี้ (8 พ.ค. 57) พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และนายสกลธี ภัททิยกุล อายุ 37 ปี เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หรือวิธีอื่นใดที่ไม่ใช่การกระทำในความมุ่งหมายตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือความไม่สงบในราชอาณาจักรฯ, อั้งยี่, ซ่องโจร, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ โดยเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการ, เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกการกระทำนั้นแต่ไม่เลิก, ยุยงให้ร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงาน งดจ้างเพื่อบังคับรัฐบาล, ร่วมกันบุกรุก, ร่วมกันขัดขวางเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง, ร่วมกันขัดขวางการปฏิบัติงานของ กกต.

ทั้งนี้เป็นการฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 113, 116, 117, 209, 210, 215, 362, 364, 365 และ พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. 2550 มาตรา 76, 152 โดยศาลรับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ อ.1191/2557 และนัดสอบคำให้จำเลยทั้งสองในวันที่ 12 พ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.

อนึ่ง มติชนออนไลน์รายงานว่า นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยด้วยว่า การยื่นฟ้องนายสนธิญาณ และนายสกลธีเป็น 2 ใน 58 คน ที่พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องในข้อหาร่วมกันเป็นกบฎ และข้อหาอื่นๆ รวม 8 ข้อหา

ส่วนผู้ต้องหารายอื่นๆ อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. กับพวกรวม 43 คน พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหาร่วมกันเป็นกบฎ และข้อหาอื่นๆ รวม 8 ข้อหา เช่นกัน แต่ยังไม่ได้รับตัวไว้สอบสวน พร้อมแจ้งให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอ นำตัวมาส่งฟ้องต่อไป ขณะที่ผู้ต้องหาอีก 5 คน ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ขึ้นปราศรัยบนเวที อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหาสนับสนุนการกระทำอันเป็นการกบฎ และข้อหาอื่นๆ ซึ่งผู้ต้องหาส่วนนี้ก็ยังไม่ได้รับตัวไว้สอบสวน ซึ่งอัยการจะแจ้งให้พนักงานสอบสวนนำตัวมาส่งฟ้องเช่นกัน

นายนันทศักดิ์กล่าวว่านอกจากนี้มีผู้ต้องหาชาย 1 คน ซึ่งเป็นนักวิชาการ อัยการสั่งไม่ฟ้อง ซึ่งจะต้องเสนออธิบดีดีเอสไอ พิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง และหากมีความเห็นแย้งอัยการจะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาด อัยการเตรียมจัดทำบัญชีพยานซึ่งเป็นพยานบุคคลกว่า 500 ปาก ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล สันติบาล และฝ่ายความมั่นคงที่หาข่าวในพื้นที่ชุมนุม พร้อมพยานหลักฐานเอกสารต่างๆ ซึ่งอัยการไม่ได้คัดค้านการประกันตัวอยู่ที่ดุลยพินิจของศาล

มติชนออนไลน์ระบุว่า สำหรับผู้ต้องหา 5 คนซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการ ที่อัยการมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ฐานสนับสนุนนายสุเทพ เลขาธิการกปปส. เป็นกบฏ นั้นประกอบด้วย 1. นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตวุฒิสภา  2. นายกิตติศักดิ์ ปรกติ  อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 3.นายไพบูลย์ นิติตะวัน  อดีตสมาชิกวุฒิสภา 4. นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 5. นายถวิล เปลี่ยนศรี  เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.  ส่วนผู้ต้องหาที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง 1 คน คือนายพิจารณ์ สุขภารังสี

อนึ่ง สำหรับรายชื่อแกนนำ กปปส. 58 ราย ที่ถูกกล่าวหาก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย  1. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย 3. นายชุมพล จุลใส 4. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ 5. นายอิสสระ สมชัย 6. นายวิทยา แก้วภราดัย 7. นายถาวร เสนเนียม 8. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 9. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ 10. นางอัญชะลี ไพรีรัก 11. นายนิติธร ล้ำเหลือ 12. นายอุทัย ยอดมณี 13. เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ 14. พลเอกปรีชา เอี่ยมสุพรรณ 15. นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 16. นายยศศักดิ์ โกไศยกานนท์ 17. นายสุภวัฒน์ สุปิยะพาณิชย์ 18. นายสมบูรณ์ ทองบุราญ 19. นางสาวจิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี หรือ กฤดากร 20. นายสาธิต ปิตุเตชะ 21. นายสกลธี ภัททิยกุล 22. นายทศพล เพ็งส้ม 23. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ 24. นายแก้วสรร อติโพธิ 25. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 26. นายเสรี วงษ์มณฑา 27. นายกิตติศักดิ์ ปรกติ 28. นายถนอม อ่อนเกตุพล 29. นายชาญวิทย์ วิภูศิริ

30. นายไพบูลย์ นิติตะวัน 31. พลเอกปฐมพงษ์ เกษรศุกร์  32. นายสุริยะใส กตะศิลา 33. นายพิภพ ธงไชย 34. นายบุญยอด สุขถิ่นไทย 35. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ 36. นายพิจารณ์ สุขภารังษี 37. นายอมร อมรรัตนานนท์ หรือ รัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี 38. นายพิชิต ไชยมงคล   39. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 40.พระสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ พุทธะอิสระ 41. นายสาวิทย์ แก้วหวาน 42.นายสาธิต เซกัล 43.นายกิตติชัย ใสสะอาด 44. นายคมสัน ทองศิริ 45. นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม 46. นายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ 47. นายมั่นแม่น กะการดี 48. นายประกอบกิจ อินทร์ทอง 49. นายนัสเซอร์  ยีหมะ 50. นายพานสุวรรณ ณ แก้ว 51. นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด 52. นายสำราญ รอดเพชร  53. นางนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ หรือแดงบุหงา 54. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี 55. นางทยา ทีปสุวรรณ 56. พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี 57. พลเรือเอกชัย  สุวรรณภาพ  และ 58.นายถวิล  เปลี่ยนศรี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนรัก ปชต.แต่งดำค้านคำวินิจฉัย ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ หน้าศาลเชียงใหม่

$
0
0
กลุ่มผู้รักประชาธิปไตยเชียงใหม่นัดแต่งดำเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ ค้านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยิ่งลักษณ์-คณะรัฐมนตรีบางส่วนพ้นตำแหน่ง เชื่อนำสังคมไทยสู่ความวุ่นวาย
 
 
8 พ.ค. 2557 ประชาธรรมรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. ที่บริเวณหน้าศาลปกครอง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเยาวชนไทยปกป้องประชาธิปไตย กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตย และประชาชนชาวเชียงใหม่ผู้รักประชาธิปไตยและคัดค้านการใช้อำนาจนอกระบบ กว่า 20 คน ได้รวมตัวกันแต่งกายชุดสีดำ เพื่อเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์คัดค้านการใช้อำนาจตุลาการและองค์กรอิสระเพื่อบิดเบือนประชาธิปไตย ภายหลังจากตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้สถานภาพความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงจากการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 นั้น
 
นายอรรถพล พรหมจันทร์ ประธานกลุ่มเยาวชนไทยปกป้องประชาธิปไตย กล่าวว่า การรวมตัวครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังทราบผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรม โดยนัดหมายผ่านทางเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เพราะตนและเพื่อนอีกหลายกลุ่มเห็นว่านี่คือการใช้อำนาจที่ไม่ชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน และจะทำให้สังคมไทยเข้าสู่ความวุ่นวายอย่างไม่มีที่จบสิ้น
 
"เราจึงรวมตัวกันในครั้งนี้เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เป็นการอนารยะขัดขืนไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" นายอรรถพลกล่าว
 
 
จากนั้น ประธานกลุ่มเยาวชนไทยปกป้องประชาธิปไตย จึงนำผู้เข้าร่วมทั้งหมด ร่วมกันอ่านบทกลอน "ศาลเจ้า" ของ ปิยะพันธุ์ จัมปาสุต และสลายตัวกันอย่างสงบ
 
สำหรับบทกลอน ศาลเจ้า มีเนื้อหาดังนี้
 
กราบเรียนศาลเจ้าที่เคารพ
เมื่อท่านจบซึ่งคำพิพากษา
จุดจบความยุติธรรมก็ตามมา
พร้อมกับความศรัทธาก็เสื่อมคลาย
 
การคุ้มครองคนที่กระทำผิด
นั่นคือการละเมิดสิทธิ์คนทั้งหลาย
นิติธรรมนิติศาสตร์ขาดกระจาย
ขัดแย้งหลักกฎหมายทุกตำรา
 
ประวัติศาสตร์ยุติธรรมจะจำจด
ความอัปยศให้อับอายและขายหน้า
ไม่มีวันเลือนลับกับเวลา
จะตรึงตราติดตนไปจนตาย
 
การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์
ท่านอาจรักหรือโกรธกับบางฝ่าย
แต่หลักความยุติธรรมอย่าทำลาย
ยึดตัวบทกฎหมายโดยเคร่งครัด
 
อำนาจแห่งอธิปไตยทั้งสามฐาน
บริหาร ตุลาการ นิติบัญญัติ
กำหนดหน้าที่แบ่งอย่างแจ้งชัด
อย่าก้าวก่ายอำนาจรัฐขัดหลักการ
 
โปรดทราบว่าที่พึ่งที่สุดท้าย
ซึ่งทุกฝ่ายหวังพึ่งก็คือศาล
หากตาชั่งเอียงเอนเหมือนเป็นพาล
จะใหัคลานไปกราบเท้าขอพึ่งใคร?
 
หากบ้านนี้เมืองนี้กลียุค
จนไฟลุกลามเผาศาลเจ้าไหม้
ก็จงอย่าได้โกรธโทษผู้ใด
ที่เกิดไฟไหม้ศาลเจ้า..เพราะเผาเอง!
 
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
 
ที่มา: ประชาธรรม
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สาระ+ภาพ : 4 ทศวรรษ นายกฯ ไทย หลุดจากเก้าอี้อย่างไร

$
0
0

 

คลิ๊กดูภาพใหญ่
 

เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกฯ รักษาการ จากกรณีออกคำสั่งย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ นี่นับเป็นอีกครั้งหนึ่งในการออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยโดยองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ประชาไทชวนย้อนกลับไปดูการออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีไทยใน 4 ทศวรรษที่ผ่านมา มีวิธีออกจากตำแหน่งที่ไม่ปกติบ่อยครั้ง การรัฐประหารปรากฏอยู่ในทุกทศวรรษ ที่สำคัญคือ ทศวรรษหลังนี้มีนายกฯ ไทยออกจากตำแหน่งโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายต่อหลายครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.ชวน สธ.-ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมประชาพิจารณ์ปฏิรูปหลักประกันสุขภาพ ปี 57

$
0
0
รับฟังความเห็นระดับชาติ 14 พ.ค.นี้ เน้นส่วนร่วมผู้ให้บริการ แพทย์ พยาบาล เพื่อปรับปรุงบริการ 30 บาท หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลังเปิดเวทีรับฟังความเห็นครบ 13 เขตทั่วประเทศ
 
8 พ.ค. 2557 นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า สปสช. ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในระบบหลักประกันสุขภาพ ตามมาตรา 18(13) ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นประจำทุกปี ซึ่งปี 2557 ได้ขยายพื้นที่การรับฟังความเห็นครบทั้ง 13 เขตทั่วประเทศ เน้นกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญและใกล้ชิดกับผู้รับบริการมากที่สุด โดยผลสรุปที่ได้จากการรับฟังความเห็นจะนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด สปสช. เพื่อปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
เริ่มรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค. ที่เขต 11 สุราษฎร์ธานี จากนั้นได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปทั่วประเทศ ก่อนจะเปิดรับฟังความเห็นในระดับประเทศในวันที่ 14 พ.ค.นี้ ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
 
นพ.จรัล กล่าวว่า กลุ่มเป้าหมายในการรับฟังความเห็นต่อระบบหลักประกันสุขภาพได้แก่ 1.ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข ได้แก่ ผู้แทนหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ ทั้งที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งผู้แทนองค์กรวิชาชีพต่างๆ 2.ผู้รับบริการ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป ทั้งที่มีและไม่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 3.ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง
 
“การรับฟังความเห็นในแต่ละปีเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพเป็นอย่างมาก ปี 57 เน้นการรับฟังความคิดเห็นจากทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ให้บริการ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขถือเป็นหน่วยงานหลักในการดูและหน่วยบริการทั่วประเทศ ซึ่งเป้าหมายของ สธ. และ สปสช. ตรงกันคือการพัฒนาระบบให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น การรับฟังความคิดเห็นจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด จึงขอเชิญชวนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรวมทั้งผู้ให้บริการ เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน” นพ.จรัลกล่าว
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยุทธศาสตร์ล้มล้างประชาธิปไตยกับความหวังที่แสนริบหรี่

$
0
0

 

 

กล่าวได้ว่าเมืองไทยวันนี้ก้าวเข้าไปสู่ภาวะวิกฤติอย่างแท้จริง ลองย้อนดู Timeline ของภาวะสุญญากาศทางการเมืองไทยในพ.ศ.2557 นี้ว่ามีที่มาอย่างไร แล้วเกิดวิกฤติอย่างไร โดยเหตุการณ์ลำดับเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเป็นการแช่แข็งให้รัฐบาลและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกาฯ ให้มี วันเลือกตั้งใหม่ได้เพราะ จะทำให้มี พ.ร.ฎ. ซ้อนกัน 2 ฉบับ และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา108 และมีคนไปฟ้องให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะและร้องให้ ยุบพรรคเพื่อไทยได้

ดังนั้นคำถามที่น่าสนใจคือ ใครเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ ถ้าลองมองย้อนไปยังปี 2549 หลังศาลรัฐธรรมนูญยุคนั้นวินิจฉัยว่าการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะต่อมาได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่และประกาศพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2549 แล้วก็เริ่มใหม่ทั้งกระบวนการ โดยให้ กกต.มีอำนาจในการจัดการเลือกตั้งอีกครั้ง ดังนั้นทางออกเกี่ยวกับปัญหาการเลือกตั้งดูจะมีความเป็นไปได้ในแนวทางนี้มากที่สุด

ข้อสรุประหว่างการหารือระหว่างกกต. กับ รัฐบาล ได้กำหนดให้วันที่  20 กรกฎาคม 2557 เป็นวันเลือกตั้งโดย กกต.จะไปยกร่างพ.ร.ฎ. วันเลือกตั้งใหม่แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบจากนั้นนายกฯ จะนำร่างพ.ร.ฎ.ขึ้นทูลเกล้าฯต่อไปด้วยเหตุนี้การขับเคลื่อนการเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีระเบิดเวลาที่รัฐบาลต้องรับมือเพื่อป้องกันภาวะสูญญากาศก่อนที่การเลือกตั้งจะเสร็จสิ้น

แต่ทั้งนี้กกต.ได้ประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่กฤษฎีกายังมีความเห็นแย้ง ทำให้การออกพ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมทำให้การจัดการเลือกตั้งต้องถูกเลื่อนออกไป

ยุทธศาสตร์ล้มล้างประชาธิปไตย

ระเบิดลูกที่แรกการชิงเกมถอดถอนนายกฯ โดยวุฒิสภา และ ศาลรัฐธรรมนูญ กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี หลังจากศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ให้โยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และ 268 กลุ่ม ส.ว.จำนวนหนึ่งจึงยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความผิดของนายกฯ

ในกรณีนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ตำแหน่งนายกฯ รักษาการสิ้นสุดไป ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งไปทั้งคณะรัฐมนตรีหรือไม่และนั่นอาจทำให้เข้าสูตรของภาวะสุญญากาศอีกหนทางหนึ่ง

ซึ่งวันนี้ศาลก็ได้มติเอกฉันท์ ยิ่งลักษณ์ พ้นรักษาการนายกฯ ผิดโยกย้ายขรก.ประจำ และครม. ต้องรักษาการจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่เข้ามาแทนที่ โดยรมต.คนใดมีส่วนร่วมในการลงมติโยกย้าย "ถวิล” ให้สิ้นสุดการทำหน้าที่ด้วยไม่อาจให้กระทำหน้าที่ต่อไปทั้งนี้คำร้องการพิจารณาแต่งตั้งนายกฯคนใหม่ ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาล

ระเบิดลูกที่สองรัฐธรรมนูญ มาตรา 127 กำหนดให้ ภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก และมาตรา 172 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรต้องให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วันนับจากวันเปิดประชุมสภาครั้งแรก ดังนั้นจึงมีประเด็นว่าหากจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ อาจทำให้มีผู้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะในส่วนของการเปิดสภาผู้แทนราษฎรภายใน 30 วัน นับตั้งแต่การเลือกตั้งได้

ประเด็นนี้ ประพันธ์ นัยโกวิท อดีต กกต.และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรนูญฉบับ 2550 ได้ให้ความเห็นไว้ว่า หากหลังครบ 30 วันแล้ว ยังเปิดสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ไม่ได้ รัฐบาลรักษาการจะต้องสิ้นสภาพหรือไม่ก็อยู่ที่การตีความว่ากำหนดนระยะเวลาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127 และมาตรา 172 เป็นระยะเวลาซึ่งมีสภาพบังคับเด็ดขาด ขยายไม่ได้หรือว่าเป็นเพียงระยะเวลาที่เขียนไว้เพื่อเร่งรัดการปฏิบัติหน้าที่

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญเคยตีความในประเด็นระยะเวลาไว้ ในกรณีที่ (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 108 ที่กำหนดว่า ถ้ามีการยุบสภาแล้วต้องกำหนดวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 45 วันและไม่เกิน 60 วัน นั้นเป็นกำหนดเวลาโดยเด็ดขาดหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2557ว่าระยะเวลาที่กำหนดในมาตรา 108 ไม่ได้เป็นระยะเวลาที่กำหนดโดยเด็ดขาด ถ้ามีเหตุจำเป็นเรื่องความมั่นคงเพื่อความเรียบร้อยสามารถขยายได้ เพียงแต่ กกต.กับ นายกรัฐมนตรีต้องพิจารณาร่วมกัน ดังนั้น การกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 127 และมาตรา 172 จึงน่าจะตีความทำนองเดียวกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในกรณีมาตรา 108 เพื่อความเรียบร้อยสามารถขยายได้ ไม่ใช่บทเร่งรัด

ดังนั้นเส้นทางข้างหน้าของวิกฤติการเมืองไทย ได้ผูกโยงเอาไว้กับองค์กรอิสระอย่างศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการวินิจฉัยมาตรา 127 และมาตรา 172 หรือกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี นับว่าเป็นการวางบทอันยอดเยี่ยมให้เกิดภาวะสุญญาการทางการเมือง เพื่อกำจัดรัฐบาลแบบถอนรากถอนโคนในที่สุด

หากระเบิดเวลาลูกใดลูกหนึ่ง ระเบิดขึ้น ภาวะสุญญากาศอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งและความรุนแรง หากมีการดึงดันจะเอานายกฯ คนกลางตามมาตรา 7 หรือการมีนายกฯ ที่ไม่เป็นไปตามครรลองของประชาธิปไตย จะยิ่งทำให้เสียงของคนไทยที่ถูกลิดรอนลุกขึ้นต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหารโดยชนชั้นนำหรือทหาร อาจก่อให้เกิดการสูญเสียอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนก็เป็นได้

อย่างไรก็ตามมีระเบิดอีกหนึ่งลูก หากการเลือกตั้งยังไม่สามารถดำเนินการได้ หรือยังไม่สามารถเปิดสภาได้ก่อนเดือนสิงหาคม ก็มีโอกาสที่จะไม่สามารถออก พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ได้ทัน ซึ่งจะกระทบต่อการบริหารงานแผ่นดินและภาพรวมเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

แม้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 166 จะระบุว่า ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน หากใช้ระบบงบประมาณของปีก่อนไปพลางก็จะมีเงินส่วนที่เป็นรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น ได้แก่ ค่าใช้จ่ายบุคลากร สาธาราณูปโภคพื้นฐาน ค่าเช่าอาคาร/ที่ดิน แต่ในส่วนที่เป็น เงินโอนไปยังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และนโยบายใหม่ก็ต้องหยุดชะงักจึงเป็นประเด็นว่านโยบายใดบ้างที่จะหยุดชะงักลงหากการเลือกตั้งไม่แล้วเสร็จได้ทัน และหากมีปัญหาจำเป็นเร่งด่วน เช่นภัยพิบัติ การแก้ปัญหาในภาวะฉุกเฉินจะทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น

ดังนั้นระเบิดลูกสุดท้ายจึงเป็นประเด็นที่น่ากลัวเป็นที่สุด แม้ว่าประเทศเราจะไม่ได้ถูกชัตดาวน์เหมือนกับเหตุการณ์ "โอบามา แคร์" ของสหรัฐอเมริกา แต่ผลเสียอาจจะใหญ่หลวงก็เป็นได้

มีความน่ากังวลอีกว่า ในกรณีปัจจุบันนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงตำแหน่งรักษาการ และถูกผูกมัดไว้ด้วยเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3) ซึ่งจำกัดอำนาจของคณะรัฐมนตรีรักษาการ ต้องไม่ทำอะไรที่ส่งผลเป็นการผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปดังนั้นหากจะนำพระราชบัญญัติงบประมาณในปีก่อนมาใช้ก็ยังไม่แน่ว่าจะมีอำนาจทำได้หรือไม่และหากคณะรัฐมนตรีรักษาการไม่มีอำนาจอนุมัติงบประมาณใดมาใช้ได้เลย ก็จะทำให้ส่วนราชการต่างๆ ต้องหยุดชะงักไปด้วยและนั่นจะเป็นการชัตดาวน์ของจริง

ความหวังริบหรี่ : ทางออกของภาวะสุญญากาศ

พุฒิพงศ์ พงศ์อเนกกุล เสนอทางออกของวิกฤติว่า หากคณะรัฐมนตรีถูกศาลออกคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรปรับใช้แก่กรณีกรณีจึงต้องอาศัยการเทียบเคียงบทบัญญัติกฎหมายที่ใกล้เคียง อย่างเช่น มาตรา 21 บัญญัติว่า “ในกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี” ดังนั้น กรณีรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งรักษาการทั้งคณะ (เช่น รัฐมนตรีรักษาการเสียชีวิตทั้งคณะ) จึงไม่มีรัฐมนตรีลำดับรองหรือรัฐมนตรีอื่นรักษาการแทนอีกจึงต้องให้องค์กรที่มีอำนาจลำดับรองลงมา คือ ปลัดกระทรวงซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่รักษาการรัฐมนตรีจนกว่ารัฐมนตรีชุดใหม่ซึ่งมีที่มาจากการเลือกตั้งจะเข้ารับหน้าที่โดยเทียบเคียงมาตรา 42 วรรคหนึ่ง กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ก็ให้รัฐมนตรีช่วยฯรักษาการแทน หรือถ้าไม่มีรัฐมนตรีช่วยฯ ก็ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายรัฐมนตรีคนหนึ่งรักษาการแทนประกอบมาตรา 21 โดยอนุโลม

ดังนั้นแม้ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะสิ้นสุดการเป็นนายกฯ หรือ คณะรัฐมนตรีพ้นสภาพไปยกชุดก็ยังไม่ถือว่าประเทศเข้าสู่ภาวะสุญญากาศจนต้องใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 7 เพื่อเสนอชื่อนายกฯคนกลางได้

ส่วนเรื่องงบประมาณ ให้ใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 166 ที่ระบุว่า งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อนนั้น ทั้งนี้เงื่อนไขในการปลดระเบิดลูกนี้ คือ ตามรัฐธรรมนูญในมาตรา 181(2)  จะอนุญาตให้รัฐบาลรักษาการทำหน้าที่เกี่ยวกับการอนุมัติโครงการ หรือการใช้จ่ายงบประมาณได้ โดยต้องผ่าน กกต.นั้นเอง

ดังนั้นทางออกในเวลานี้คือจัดให้การเลือกตั้งให้ไวที่สุด อย่างน้อยก็ก่อนวันที่ 30 สิงหาคม เพื่อที่จะได้เปิดสภาและผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้กลไกการบริหารกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่ความหวังในครั้งนี้คงต้องวางไว้บนมือขององค์กรอิสระอย่าง กกต.ที่จะจัดการเลือกตั้งและดำเนินการให้ พ.ร.ฎ.การเลือกตั้งแก้ไขเพิ่มเติมออกโดยเร็วที่สุดอีกทั้งต้องคอยดูสัญญาณจากศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องการตัดสินตามรัฐธรรมนูญมาตรา 127 และมาตรา 172 ว่าเป็นบทเร่งรัดหรือไม่ และหากจะต้องยืดเวลาออกไป และเปิดสภาเพื่อผ่านงบประมาณไม่ทันก็ต้องให้ กกต.เป็นผู้อนุมัติเรื่องเงินแทนไปพลางก่อน ซึ่งหมายความว่าหวังที่ริบหรี่นี้วางอยู่บนมือขององค์กรอิสระ

คำถามที่น่าสนใจว่าจากนี้ ปวงชนชาวไทยจะก้าวต่อไปอย่างไร หากมีองค์กรหรือกลุ่มบุคคลใดมาขัดขวางการเลือกตั้งที่เป็นสิทธิอันพึงมีเพื่อที่จะกำหนดชะตาชีวิตของเราเองโดยไม่ต้องให้ใครมาตัดสินให้ว่าประเทศนี้ควรเป็นอย่างไร

 

อ้างอิง
1. “สุญญากาศรัฐสภา (หรือ) ต้องจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ ? ”, เว็บไซต์ Thailand Political Database
(เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2557)
2. สัมภาษณ์พิเศษ :: “ประพันธ์ นัยโกวิท” ค้นเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2550 วินิจฉัยทางรอดรัฐบาลรักษาการ,
เว็บไซต์ Thailand Political Database (เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557)
3. Timeline ห้วงเวลาสุญญากาศรัฐสภาไทย, เว็บไซต์ Thailand Political Database (เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557)
4.ไขทัศนะ “ไพบูลย์ นิติตะวัน” ผู้ยื่นศาล รธน.ลงดาบ “ยิ่งลักษณ์” ผ่าทางตันสุญญากาศ และการมีนายกฯ ม.7,
เว็บไซต์ Thailand Political Database (เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557)
5.วังวนเลือกตั้ง ก้าวไม่ข้ามความขัดแย้ง ,เว็บไซต์ Thailand Political Database (เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557)
6.สุญญากาศทางการเมืองจะไม่เกิดขึ้น "ปลัดกระทรวง"รักษาการแทน , เว็บไซต์ มติชนออนไลน์
(เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2557)
7.มติ 'ศาลรธน.' เอกฉันท์ 'นายกฯ-รมต.' ร่วมพิจารณาโยก 'ถวิล' พ้นสภาพ ,เว็บไซต์ thairath (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557)
8.‘เลือกตั้ง’เอวัง กกต.เบรกพรฎ.  ,เว็บไซต์ ไทยโพสต์ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557)
9.ระวังงบปี 2558 ชัตดาวน์! , เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2557)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ฟรีดอมเฮาส์

$
0
0

“ฟรีดอมเฮาส์เรียกร้องให้ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดไว้เป็นวันที่ 20 ก.ค. และให้ฝ่ายค้านลงเลือกตั้งด้วย เพื่อสร้างหลักประกันว่าการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม และชอบธรรมในสายตาของประชาชนชาวไทย”

7 พ.ค. 57 องค์กรรณรงค์เสรีภาพสื่อที่วอชิงตัน ดีซี แถลงกรณีสถานการณ์การเมืองไทย

กลุ่มชาติพันธุ์ร้อง ‘นายกฯ-มหาดไทย’ ร่วมตามหาบิลลี่

$
0
0
เครือข่ายชนเผ่าชาติพันธุ์จังหวัดลำปางรวมตัวยื่นหนังสือถึง ผวจ.ลำปาง ประสานมหาดไทย ร่วมหาตัว ‘บิลลี่’ หลังหายตัวไร้ร่องรอยนาน 22 วัน เร่งรายงานผลโดยด่วน ทั้งให้ความคุ้มครอง ครอบครัว แกนนำ และสมาชิกในชุมชนกะเกรี่ยงโป่งลึก-บางกลอยในช่วงสถานการณ์ล่อแหลม
 
 
8 พ.ค. 2557 ไทยโพสต์รายงานว่า ที่หน้าศาลากลางจังหวัดลำปาง ชาวบ้านใน 3 หมู่บ้านของ ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ประกอบด้วย บ้านกลาง บ้านแม่ส้าน และบ้านจำปุย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง เมี้ยน ม้ง ในนามเครือข่ายชนเผ่าชาติพันธุ์จังหวัดลำปาง จำนวนประมาณ 200 คน นำโดยนายศุกร์ ไทยธนสุกานต์ นายก อบต.บ้านดง และนายสมชาติ หลักแหลม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านดง เดินทางมาชุมนุมพร้อมเขียนป้ายขอให้ทางรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งติดตามหาตัวนายบิลลี่ หรือนายพอละจี รักจงเจริญ สมาชิก อบต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ชาวกะเหรี่ยงที่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา
 
ตัวแทนผู้ชุมนุมระบุว่า นายบิลลี่ถือเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีจิตใจงาม จิตอาสาคอยช่วยเหลือพี่น้องทุกข์ยากเสมอมา จนได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านเลือกให้เข้าไปเป็นสมาชิก อบต.ห้วยแม่เพรียง และได้ทำหน้าด้วยดีมาตลอด โดยเฉพาะการช่วยเหลือชาวบ้าน รวมถึงยังเป็นแกนนำปกปักษ์รักษาฝืนป่าต้นน้ำเพชรในฐานะแผ่นดินเกิด จนต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลที่เข้าไปทำลายผืนป่ามาโดยตลอด แต่บิลลี่ก็ได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็ง และเชื่อว่าเขาคือผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษและเจตนารมณ์ของปู่คออี้ มิมิ ผู้อาวุโสอายุ 107 ปี ในการปกปักษ์รักษาผืนป่าต้นน้ำเพชร ดังนั้นเขาจึงยืนหยัดต่อสู้อย่างกล้าหาญมาโดยตลอด จนกระทั่งมาหายตัวไป และได้เกิดคำถามขึ้นมาอย่างมากมายถึงการหายตัวไปในครั้งนี้ ซึ่งก็ผ่านไปกว่า 22 วัน ยังไร้วี่แวว จนเริ่มวิตกว่าบิลลี่อาจจะไม่ได้กลับมาอีกแล้วก็เป็นได้
 
ดังนั้นกลุ่มชาติพันธุ์จังหวัดลำปางจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กระทรวงมหาดไทย ออกมาร่วมรับผิดชอบและใส่ใจกับการหายตัวไปของบิลลี่ โดยไทยพีบีเอสรายงานข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี และกระทรวงมหาดไทย 5 ข้อ ดังนี้
 
1.ขอให้นายกรัฐมนตรี (รักษาการนายกรัฐมนตรี) มีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งคณะทำงานเฉพาะเร่งด่วนเพื่อค้นหานายบิลลีหรือพอละจี รักจงเจริญทันที โดยให้มีสัดส่วนองค์ประกอบคือ1.ฝ่ายปกครอง ทั้งท้องถิ่นและท้องที่ 2.ฝ่ายองค์กรอิสระเช่นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 3.ตัวแทนจากภาคีประชาสังคมหรือมูลนิธิต่างๆ และตัวแทนองค์กรเครือข่ายชาวกะเหรี่ยง 4.ตัวแทนหน่วยงานราชการที่ที่กำกับดูและในพื้นที่ และตัวแทนองค์การระหว่างประเทศผู้ทำหน้าที่รณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนเป็นต้น
 
2.ให้กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งด่วน ถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัดเพื่อของความร่วมมือและอนุเคราะห์ประสานงานกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เขกปกครองให้ช่วยติดติดตามและค้นหานายบิลลี่ หรือนายพอละจี รักจงเจริญ
 
3.ให้กระทรวงมหาดไทยทำหนังสื่อถึงสื่อต่างๆ เช่นรายการโทรทัศน์ สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์ทั้งในประเทศและนานาชาติช่วยลงขาวประกาศตามหานายบิลลี อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะพบเจอและนำตัวนายบิลลี่กลับคืนสู่ครอบครัวอย่างปลอดภัยโดยเร็วที่สุด
 
4.ขอให้รัฐบาลให้ความคุ้มครอง ครอบครัว แกนนำ และสมาชิกในชุมชนกะเกรี่ยงโป่งลึก-บางกลอยให้มีความปลอดภัยและปราศจากการคุกคามโดยอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ในช่วงสถานการณ์ที่ล่อแหลมและเปราะบางนี้ด้วย
 
และ 5.ให้คณะทำงานและหรือกลไกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการค้นหานายบิลลี่รายงานผลโดยด่วนและต่อเนื่องทุกๆ 5 และ 7 วัน
 
นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังได้ขอให้ทางจังหวัดเร่งติดตามโครงการขยายถนนในพื้นที่ของบ้านกลาง จำปุยและแม่ส้าน และขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ตำบลนาแก อำเภงาว ซึ่งยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงอีกด้วย
 
ด้านนายฤทธิพงษ์ เตชะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ลงมารับเรื่องแทน และบอกกับชาวบ้านว่าจะเร่งส่งเรื่องดังกล่าวให้กับส่วนราชการ เพื่อดำเนินการตามข้อเรียกร้อง โดยเฉพาะการเร่งติดตามหาตัวนายบิลลี่ ส่วนเรื่องโครงสร้างทั้งการขยายถนนและการขยายเขตไฟฟ้า เป็นงบของกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ก็จะได้ทำหนังสือทวงถามและเร่งให้ดำเนินการโดยด่วนต่อไป
 
 
สมาพันธ์กะเหรี่ยงสยามจ่อจัดคอนเสิร์ตช่วยครอบครัวบิลลี่
 
เนชั่นรายงานว่า 8 พ.ค. 2557 นายสรศักดิ์ เสนาะพรไพร เลขาธิการสมาพันธ์ชาวกะเหรี่ยงสยาม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามตัวนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ว่า หลังจากได้มีการส่งหนังสือไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการอำนวยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกระเหรี่ยง กระทรวงวัฒนธรรม นายอำเภอแก่งกระจาน ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งมีการส่งหนังสือไปหานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทางสมาพันธ์ก็จะมีการติดตามการดำเนินการคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นจะให้เวลากับหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินการตามขั้นตอน แต่หากภายใน 1-2 สัปดาห์ยังไม่มีความคืบหน้า ก็จะมีการกำหนดท่าทีเคลื่อนไหวหรือประท้วงอีกครั้งหนึ่ง
 
ทั้งนี้ เรื่องของการระดมทุนเบื้องต้นเพื่อจะช่วยเหลือและให้กำลังใจ ครอบครัวของบิลลี่ ภรรยาและลูกทั้ง 5 คนที่กำลังลำบากอยู่ โดยจะมีการจัดกิจกรรม มินิคอนเสิร์ต ของกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ ที่ไม่ได้มีแต่เพียงพี่น้องสมาพันธ์กะเหรี่ยงเท่านั้น ยังมีพันธมิตรจากชาวอาข่าและชาวม้ง ที่รู้จักและให้ความสำคัญกับการหายตัวไปของนายบิลลี่ ตกลงเข้าร่วมด้วย ระดมทุนช่วยกัน โดยกำลังอยู่ในช่วงการหารือประสานงานจากทั้ง 3 กลุ่มชาติพันธุ์ ว่าจะจัดที่ไหนอย่างไรต่อไป
 
"จะมีการประชุมสัมมนาในเรื่องที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ปัญหาจากตัวแทนพี่น้องชาวกระเหรี่ยงทั้งหมดจากทั่วประเทศ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการกำหนดวันเวลา ภายในระยะเวลาอันใกล้ ส่วนการจัดพิธีกรรมเช่นการจุดเทียนทำพิธีขอพรสิ่งศักดิ์สิทธ์คุ้มครองนายบิลลี่ เหมือนเมื่อ 2 วันก่อนนั้น ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ต้องปรึกษากับผู้อาวุโสให้เป็นไปตามครรลอง ก่อนที่จะมีการจัดพิธีใดๆขึ้น" นายสรศักดิ์ กล่าว
 
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันที่ทางสมาพันธ์ กำลังเร่งดำเนินการ คือ การทำสื่อ โปสเตอร์ โปสการ์ด ประกาศคนหายในสื่อออนไลน์ และมีการไปติดตั้งและแจกจ่ายตามสถานที่คนชุกชุม เช่นสถานีขนส่ง ตามมหาวิทยาลัย และสวนสาธารณะต่างๆ รวมทั้งขอความอนุเคราะห์สื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ในการช่วยประกาศเพิ่มขึ้น ซึ่งในวันพรุ่งนี้ เรื่องของกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นน่าจะชัดเจนมากขึ้นกว่านี้
 
ด้านข่าวสดรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2557 นายธรรมรัตน์ วงศ์โสภา ผอ.ส่วนอุทยานฯ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 3 (บ้านโป่ง) ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนกรณีนายพอละจี หรือ บิลลี่ รักจงเจริญ หายตัวไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กล่าวว่า เบื้องต้นได้สอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ประมาณ 10 รายแล้ว ทั้งภรรยาของนายพอละจี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รวมทั้งนักศึกษาที่นายชัยวัฒน์อ้างว่าอยู่ในเหตุการณ์ด้วย คดีการหายตัวไปของนายพอละจีจะเป็นทิศทางใด คงต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
 
นายธรรมรัตน์กล่าวต่อว่าในส่วนของ อุทยานฯ ได้สอบสวนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ข้าราชการว่า ปฏิบัติงานโดยมิชอบ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ ซึ่งตนจะพยายามเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ ให้ได้มากที่สุด คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะสรุปผลแล้วเสร็จ จากนั้นจะนำไปรายงานต่อนายสมัคร ดอนนาปี ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ
 
 
ที่มา: เรียบเรียงจาก ไทยโพสต์, ข่าวสด, เนชั่น, ไทยพีบีเอส
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กิตติศักดิ์ ปรกติ: ว่าด้วยระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (1)

$
0
0

ในโอกาสวันฉัตรมงคล พ.ศ. 2557 ผู้เขียนขอถือโอกาสเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในมุมมองที่อาจแตกต่างจากที่มีผู้เคยยกขึ้นถกเถียงกันไว้บางประการ และหวังว่าจะเป็นแง่มุมให้เกิดถกเถียงกันกว้างขวางยิ่งขึ้นต่อไป

1.ความขัดแย้งว่าด้วยอำนาจก่อตั้งแผ่นดิน และรูปแบบของรัฐ

เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาในยุคหลัง 14 ตุลา ผู้เขียนยังจำคำอาจารย์สอนได้ว่า รูปแบบของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ตามประมุขของรัฐ คือรัฐของปวงชนที่เป็นสาธารณสมบัติ หรือสาธารณรัฐ (res publica หรือ republic) ซึ่งมีประมุขเป็นคนธรรมดา กับรัฐของกษัตริย์หรือรัฐที่ถือกันว่าเป็นราชสมบัติ หรือที่เป็นราชอาณาจักร (kingdom) และประมุขก็คือผู้สืบสิทธิของกษัตริย์สืบต่อ ๆ กันมา เรียกว่าสืบสันตติวงศ์

อาจารย์ในสมัยนั้น ท่านย้ำว่า ที่รัฐธรรมนูญไทยวางหลักไว้แต่ต้นว่า ประเทศสยามเป็นราชอาณาจักร ไม่เป็นสาธารณรัฐนั้น ก็เพราะยอมรับความจริงตามสามัญสำนึกของคนไทยในเวลานั้น ที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการก่อตั้งบ้านเมือง หรือการก่อตั้งอำนาจปกครองแผ่นดินของเรานั้น ไม่ว่าจะเป็นสุโขทัย อยุธยา หรือรัตนโกสินทร์ ก็ล้วนก่อตั้งขึ้นแบบราชสมบัติ คือด้วยการต่อสู้กับอำนาจที่มีมาก่อน หรือขับไล่อำนาจที่เข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และก่อตั้งอำนาจปกครองแผ่นดินขึ้นโดยกษัตริย์ซึ่งเป็นต้นหัวหน้าเหล่านักรบและนักปกครองเป็นผู้นำ

การที่ประเทศสยามก่อตั้งขึ้นเป็นบ้านเมืองปึกแผ่นแน่นหนาด้วยอำนาจของเหล่าชนชั้นนำที่รวมตัวกันเป็นราชวงศ์และขุนนาง แม่ทัพนายกองที่คุมกันปกครองบ้านเมืองแบบราชสมบัติสืบเนื่องกันมานั้น เป็นเหตุให้เราเป็นราชอาณาจักร

และที่สยามไม่เป็นสาธารณรัฐ ก็เพราะความเชื่อที่ว่า ชุมชนทางการเมืองหรือรัฐที่ตั้งขึ้นและสืบอำนาจมาจนทุกวันนี้ ไม่ได้เกิดจากการที่ประชาชนรวบรวมสมัครพรรคพวกกันก่อตั้งรัฐขึ้นใหม่ โดยล้มล้างอำนาจรัฐราชสมบัติที่ตกทอดมา ดังเช่นกรณีของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่เหล่าประชาชนร่วมกันลุกฮือขึ้นทำการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์บูร์บอง หรือกรณีการประกาศอิสรภาพของอเมริกา ซึ่งสถาปนาอำนาจสาธารณรัฐขึ้นด้วยการต่อต้านอำนาจเจ้าอาณานิคม ยืนยันว่าบ้านเมืองเป็นของประชาชน ไม่ยอมรับฐานะอาณานิคมที่เป็นราชสมบัติของกษัตริย์อังกฤษอีกต่อไป ทั้งหมดนี้อาศัยอำนาจของกองทัพของประชาชนที่นำโดยนายพล วอชิงตัน

แต่อาจารย์รุ่นหนุ่ม ผู้นำนักศึกษารุ่นพี่ และเพื่อนฝูงที่เป็นนักศึกษาตำราทฤษฎีการเมืองและประวัติศาสตร์ ตลอดจนระบบการปกครองเปรียบเทียบในยุคนั้น ก็เสนอแนวคิดว่า สภาพการปกครองแบบ “ราชสมบัติ” นั้นพ้นสมัยไปนานแล้ว โดยได้แปรสภาพจาก “ราชสมบัติ” มาเป็น “ราชการ” มานานแล้ว อย่างน้อยตั้งแต่รัชกาลที่ห้าเป็นต้นมา และบ้านเมืองก็เปลี่ยนแปลงไปจนคนทั่วไปเห็นว่า เป็นสาธารณสมบัติไปแล้ว อย่างน้อยก็ตั้งแต่ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งเมื่อ พ.ศ. 2468 ซึ่งอธิบายเรื่องทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเอาไว้ และต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 คณะราษฎรก็ได้ทำการล้มล้างรัฐแบบราชสมบัติ และเปลี่ยนแปลงรัฐของกษัตริย์มาเป็นรัฐที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎร หรือรัฐที่เป็นของสาธารณะไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนการที่ยังคงรูปแบบของรัฐไว้ในฐานะเป็นราชอาณาจักรนั้น ก็เป็นแต่เพียงการยอมรับความสืบเนื่องในทางประวัติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในทางพิธีการเท่านั้น

คำถามว่ารัฐของเราเป็นราชสมบัติ หรือเป็นสาธารณสมบัตินี้ เป็นคำถามที่นำมาซึ่งคำถามอื่น ๆ อีกหลายคำถาม แต่ก็ดูเหมือนว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ได้เล็งเห็นการณ์ล่วงหน้าไว้แล้ว จึงได้ตราไว้ในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญว่า “สยามประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” และรัฐธรรมนูญทุกฉบับเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันก็คงหลักข้อนี้ไว้เรื่อยมา เมื่ออ่านประกอบกับหลักในมาตรา 2 ที่ว่าอำนาจปกครองสูงสุดมาจากปวงชนแล้ว ก็ทำให้น่าคิดว่า ความคิดที่ซ่อนอยู่ข้างหลังก็คือ "ราชสมบัติ" ที่แปรสภาพเป็น "ราชการ" ได้กลายเป็น "สาธารณสมบัติ" โดยการสังเคราะห์ครั้งนี้แล้ว

 

2. ความขัดแย้งว่าด้วยระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญกับการปกครองแบบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

ในตำรายุคหลัง 14 ตุลาใหม่ ๆ มักอธิบายเรื่องระบอบการปกครองเอาไว้อย่างง่าย ๆ ว่า เราอาจแบ่งระบอบการปกครองออกเป็นสองแบบ คือระบอบที่รัฐบาลมีอำนาจไม่จำกัด กับระบอบที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัด

ตัวอย่างของรัฐบาลที่มีอำนาจไม่จำกัด มีกรณีเช่น ระบอบราชาธิปไตยแบบสมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) หรือระบอบเผด็จการ (Totalitarian Regime) ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการทหาร หรือเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ (Dictatorship of Proletariat) หรือแม้แต่เผด็จการของรัฐสภา 

ส่วนรัฐบาลที่มีอำนาจจำกัด ได้แก่ระบอบที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญ มีกรณีเช่นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) หรือระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแบบผู้แทน หรือแบบรัฐสภา (Representative Democracy or Parliamentary Democracy)

ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ กับระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนนั้น แม้จะคล้ายกันที่เป็นระบอบที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัดตามกฎหมายเหมือนกัน แต่ก็ควรสังเกตไว้ว่า มีจุดแตกต่างกันตรงที่การพิจารณาว่าอำนาจการปกครองตามรัฐธรรมนูญนั้น อยู่ที่กษัตริย์หรืออยู่ที่ปวงชนเป็นสำคัญ ถ้าอำนาจการปกครองอยู่ที่กษัตริย์ในฐานะบ่อเกิดแห่งอำนาจโดยยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยการเลือกผู้แทนมาออกกฎหมายและอนุมัติงบประมาณก็เป็นระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าอำนาจการปกครองนั้นเป็นอำนาจของประชาชน โดยมีสภาผู้แทนและรัฐบาลของประขาชนที่กษัตริย์เป็นเพียงสัญญลักษณ์หรือองค์ประกอบทางพิธีการ ก็เป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์พิจารณาความแตกต่างระหว่างระบอบทั้งสองนี้ โดยพิเคราะห์ว่าอำนาจรัฐบาลนั้นค่อนมาในทางที่เป็นของกษัตริย์ หรือค่อนมาในทางที่เป็นของผู้แทนราษฎร ถ้าค่อนมาในทางที่ถือว่าอำนาจปกครองเป็นของกษัตริย์ ก็ถือว่าเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งในระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนั้น ถือว่ากษัตริย์เป็นรัฎฐาธิปัตย์ เป็นผู้ทรงอำนาจรัฐหรืออำนาจปกครองแผ่นดิน เพียงแต่มีอำนาจจำกัด โดยรับรองและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และถือเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้งและเป็นความมุ่งหมายแห่งอำนาจการปกครอง

ปัญหาว่าระบอบการปกครองของไทยเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังที่กล่าวถึงไว้ในธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2475 และในคราวร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 หรือว่าเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถืออำนาจปกครองของปวงชนเป็นใหญ่ เป็นปัญหาที่วนเวียนอยู่ในความคิดของผู้คนจำนวนมากมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และยังคงเปิดทางให้มีผู้เสนอแนวคิดเพื่อตอบปัญหานี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ปัญหานี้ยังไปเกี่ยวข้องกับการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมา ที่ได้ตราไว้ในมาตรา 2 ว่า “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหา­กษัตริย์เป็นประมุข” ทำให้น่าขบคิดต่อไปว่า ระบอบการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนี้คืออะไร ในเมื่อมาตรา 1 ระบุลงไปแล้วว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวในแง่รูปแบบของรัฐแบบราชอาณาจักรอยู่แล้วว่า ราชอาณาจักรย่อมมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ถ้าเป็นเช่นนั้น เหตุใดจึงต้องมาบัญญัติซ้ำไว้ในรัฐธรรมนูญในมาตราถัดมาซ้ำอีกครั้งว่า มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

หรือว่ารัฐธรรมนูญจะมุ่งย้ำถึงฐานะของพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของระบอบการปกครอง ไม่ใช่เพียงในฐานะประมุขของรัฐแบบราชอาณาจักรเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นความมุ่งหมายอย่างหลังก็ย่อมจะเกิดความขัดแย้งขึ้น เพราะถ้าเป็นระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุข เราก็ควรจะเรียกระบอบการปกครองนั้นว่าระบอบราชาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข

การจะทำความเข้าใจปัญหาข้อขัดแย้งเชิงข้อความคิดระหว่างราชาธิปไตยภายใต้หรือตามรัฐธรรมนูญ กับประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขนี้ จำเป็นต้องพิจารณาในแง่ประวัติศาสตร์ของระบอบการปกครองเปรียบเทียบประกอบกันดังที่จะกล่าวต่อไป

3.ราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแบบฝรั่งเศสในยุคหลังสงครามนโปเลียน

แนวคิดเรื่องราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญปรากฏให้เห็นเป็นตัวเป็นตนเป็นครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของฝรั่งเศส ค.ศ. 1814 (The French Constitutional Charter of 1814) ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังสิ้นสุดสงครามนโปเลียนครั้งแรก (สมัยรัชกาลที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์) แล้วต่อมาก็แพร่ไปทั่วยุโรป กล่าวได้ว่าระบอบการปกครองนี้เป็นผลสรุปของความพยายามฟื้นฟูระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ของยุโรป ให้เชื่อมเข้าด้วยกันกับแนวคิดเสรีประชาธิปไตยที่เป็นผลจากการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ก็เน้นความสำคัญอยู่ที่กษัตริย์เป็นศูนย์กลางของอำนาจการปกครอง

กล่าวกันว่ารัฐธรรมนูญฝรั่งเศสฉบับนี้เป็นผลจากการประนีประนอมทางความคิดที่ประสานเอาหลักสองหลักที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันเข้ามาไว้ด้วยกัน คือหลอมรวมเอาหลักประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนซึ่งถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎร กับหลักราชาธิปไตยซึ่งถือว่าอำนาจสูงสุดเป็นของกษัตริย์มาไว้ในระบอบเดียวกัน ดังที่ปรากฏในอารัมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนั้นว่า “อำนาจปกครองสูงสุดควรมอบไว้กับสถาบันที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว ในลักษณะที่สติปัญญาของกษัตริย์จะดำรงอยู่เคียงคู่กับความประสงค์ของประชาชน”

อำนาจปกครองแผ่นดินของกษัตริย์ตามระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้ แสดงออกให้เห็นตรงที่เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจรัฐ กิจการของรัฐและอำนาจบังคับสูงสุดของรัฐต้องทำในนามกษัตริย์ รัฐบาลเป็นรัฐบาลของกษัตริย์ และแม้สภาจะเป็นสภาของราษฎร การประกาศใช้กฎหมายก็ต้องทำในนามกษัตริย์ โดยกษัตริย์มีอำนาจกำกับและถ่วงดุลรัฐบาลและรัฐสภาได้ รวมทั้งกษัตริย์ยังมีอำนาจถ่วงดุลศาลด้วยโดยการมีอำนาจให้อภัยโทษ ทั้งนี้โดยถือเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นความมุ่งหมายสูงสุด แต่ที่สำคัญก็คือ ไม่มีการรับรองว่าอำนาจปกครองสูงสุดเป็นของปวงชน

อย่างไรก็ดี แม้ในระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญจะถือว่ากษัตริย์เป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง การกระทำในทางการปกครองของกษัตริย์ก็ต้องมีผู้สนองพระบรมราชโองการ และผู้สนองพระบรมราชโองการนั้น ๆ ย่อมเป็นผู้ต้องรับผิดชอบในการนั้น ๆ โดยกษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบเอง เพราะกษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ การที่กษัตริย์ยังคงอำนาจปกครองทางอ้อมผ่านทางคณะรัฐมนตรีที่รับสนองพระบรมราชโองการของกษัตริย์นี้เอง จึงถือว่าการปกครองนั้นก็เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่รับรองการมีส่วนร่วมปกครองของประชาชนผ่านทางผู้แทนราษฎร การปกครองแบบนี้เรียกว่า กษัตริย์ทรงปกเกล้าฯ แต่มิได้ปกครอง

4.ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของอังกฤษ

ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้ นอกจากระบอบแบบฝรั่งเศสตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1814 แล้ว ยังมีระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ หรือแบบสหราชอาณาจักรเป็นอีกระบอบหนึ่งซึ่งดูเผิน ๆ ดูเหมือนจะคล้ายกัน และโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นต้นแบบของ Constitutional Monarchy หรือราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่อันที่จริงระบอบการปกครองของอังกฤษมีข้อแตกต่างจากแบบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแบบฝรั่งเศสและยุโรปอย่างสำคัญ

กล่าวคือ ในระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแบบอังกฤษนั้น แม้จะมีกษัตริย์ แต่ก็ยากที่จะถือว่าเป็นราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญได้ เพราะกษัตริย์อังกฤษนั้นแม้จะเป็นประมุขของรัฐและมีพระราชอำนาจพิเศษในบางกรณี แต่ตามหลักรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของอังกฤษนั้น ถือว่าอำนาจปกครองสูงสุดในการปกครองมิได้เป็นของกษัตริย์ แต่เป็นของรัฐสภา (Supremacy of Parliament or Sovereignty of Parliament) หรืออันที่จริงแล้ว ระบอบการปกครองของอังกฤษนั้นในทางวิชาการต้องถือว่า เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสภาผู้แทน (Parliamentary Democracy) ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติในศตวรรษที่ 17 ที่มีการทำสงครามกันระหว่างกองทัพของรัฐสภา กับกองทัพของกษัตริย์ จนฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะ และใช้อำนาจสำเร็จโทษกษัตริย์ และตั้งพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยอำนาจของรัฐสภาในฐานะที่รัฐสภาเป็นผู้ถืออำนาจปกครองสูงสุด และมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญได้เสมอ

อำนาจสูงสุดของรัฐสภาอังกฤษปรากฏให้เห็นได้ในการตรากฎหมายที่มีค่าบังคับระดับรัฐธรรมนูญโดยไม่ถือว่าการตรากฎหมายเช่นนั้นอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ เช่น The Act of Settlement 1701 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ของอังกฤษครั้งใหญ่ โดยตัดบุคคลบางจำพวกออกจากการสืบสายสันตติวงศ์ หรือเช่น The Septennial Act 1716 ซึ่งเปลี่ยนแปลงวาระของสภาโดยฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้งและได้เสียงข้างมากในสภา ได้แก้กฎหมายขยายวาระของรัฐสภาจากสามปีเป็นเจ็ดปี ทำให้ฝ่ายตนมีวาระดำรงตำแหน่งยาวขึ้นและมีผลบังคับเรื่อยมาจนถึง ค.ศ. 1911 จึงมีการแก้ไขให้มีวาระลดลงเหลือห้าปี อย่างไรก็ดี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ก็มีการตรากฎหมายยืดอายุรัฐสภาออกไป โดยไม่มีการเลือกตั้งจนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม

5.ระบอบราชาธิปไตยของปวงชนแบบเบลเยี่ยม

ยังมีระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญอีกระบอบหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างระบอบการปกครองแบบอังกฤษที่ถือว่าอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา กับระบอบการปกครองราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแบบฝรั่งเศส ตามระบอบการปกครองนี่มีการรับรองหลักประชาธิปไตย โดยยืนยันว่าอำนาจอธิปไตยมาจากปวงชน แต่ขณะเดียวกันก็รับรองให้กษัตริย์มีฐานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของระบอบการปกครองพร้อมกันไป โดยถือว่ากษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งการใช้อำนาจอธิปไตย ทั้งในทางบริหาร ทางนิติบัญญัติ และทางตุลาการ โดยราษฎรมีส่วนในการปกครองร่วมกับกษัตริย์และในขณะเดียวกันก็ถ่วงดุลกัน ซึ่งแสดงออกในรูปการตรากฎหมาย และการอนุมัติการใช้ภาษีอากร ในรูปงบประมาณแผ่นดินผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร และการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งแม้จะถือว่าเป็นรัฐบาลของพระมหากษัตริย์ ก็เป็นรัฐบาลที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร

การปกครองในระบอบนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่ กษัตริย์เป็นรัฎฐาธิปัตย์ไม่ใช่เพียงในนามของกษัตริย์เอง แต่เป็นรัฏฐาธิปัตย์ในนามของปวงชน และเป็นผู้แทนปวงชนพร้อมกันไป โดยใช้อำนาจของปวงชนในกรอบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ระบอบการปกครองแบบนี้ได้ปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกในโลกตะวันตก ในรัฐธรรมนูญเบลเยี่ยม ค.ศ. 1831 (สมัยรัชกาลที่ 3) อันนับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ประสานหลักการปกครองโดยกฎหมายเป็นใหญ่ หลักราชาธิปไตย และหลักประชาธิปไตยเข้าด้วยกัน โดยวางหลักไว้เป็นครั้งแรกของโลกว่า อำนาจปกครองสูงสุดมาจากปวงชน การใช้อำนาจนั้นย่อมเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 25) กษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ ใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา (มาตรา 26) พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 29) และทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านศาล (มาตรา 30) โดยทรงแต่งตั้งและปลดรัฐมนตรี (มาตรา 65) พระบรมราชโองการย่อมไม่มีผลบังคับ เว้นแต่จะมีรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และรัฐมนตรีผู้นั้นย่อมเป็นผู้รับผิดชอบในการนั้น (มาตรา 64) และทรงเป็นจอมทัพ (มาตรา 68) ทรงเป็นผู้ให้ความเห็นชอบและประกาศใช้กฎหมาย (มาตรา 69) ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ เว้นแต่โทษของรัฐมนตรี (มาตรา 73) ฯลฯ

การที่รัฐธรรมนูญรับรองว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของหรือมาจากปวงชน เท่ากับปฏิเสธระบอบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช  แต่ขณะเดียวกันก็รับรองให้กษัตริย์เป็นศูนย์รวม หรือเป็นองค์บูรณาการแห่งอำนาจ หรือเป็นผู้แสดงอำนาจอธิปไตยของปวงชนออกมาในฐานะที่เป็นบุคคล (personified state authority) ทำให้กษัตริย์มิได้เป็นแต่เพียงประมุขแห่งรัฐในทางสัญญลักษณ์ แต่เป็นผู้ทรงอำนาจอธิปไตยที่หลอมรวมเอาหลักราชาธิปไตยและหลักประชาธิปไตยเข้าด้วยกัน และแสดงอำนาจอธิปไตยออกมาในนามของกษัตริย์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับปวงชนอย่างแท้จริง

(ยังมีต่อ)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปิดตัว ‘เครือข่ายเพื่อจินตนาการความขัดแย้งใหม่’ หวังก้าวผ่านความขัดแย้งโดยไม่รุนแรง

$
0
0

8 พ.ค. 2557  มีการเปิดตัว “เครือข่ายเพื่อจินตนาการความขัดแย้งใหม่” ที่ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง ชั้น 2 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “จับชีพจรความรุนแรง เราจะก้าวผ่านอย่างสันติได้อย่างไร” เพื่อสำรวจสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทย ต้นทุนที่จะนำพาออกจากความรุนแรงและปัจจัยเสี่ยงในการเกิดความรุนแรง โดยมีวิทยากร คือ  ประทับจิต นีละไพจิตร อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จันจิรา สมบัติพูนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาฯ

ประดับจิต นีละไพจิตร กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นผลสะท้อนของ 2 ปัจจัยหลักๆ ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง ได้แก่ อำนาจทางการเมืองและปรากฏการณ์เรื่องความรู้สึกโกรธ กลัวและไม่ได้รับความยุติธรรม  ความรุนแรงจะถูกโต้กลับจากความอยุติธรรม อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงดังกล่าวไม่ได้ผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านความยุติธรรม แต่จะนำไปสู่การแก้แค้น เอาคืน ซึ่งเป็นปัญหาหลักของสังคม

จันจิรา สมบัติพูนศิริ กล่าวว่า  ความขัดแย้งในสังคมไทยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้วและจะอยู่ไปอีกนาน สังคมไทยมีความขัดแย้งมาเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจในสังคมไทยที่มีการต่อสู้กันระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่  มีพลังทุนนิยม ระบบศักดินา และชนชั้นล่างที่พยายามเปล่งเสียงแสดงถึงพื้นที่ของตน ทำให้สังคมแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว คนในสังคมถูกกระตุ้นให้อยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการแบ่งขั้วอำนาจทางการเมืองบวกกับการใช้อารมณ์ความรู้สึก

ศ.สุริชัย หวันแก้ว กล่าวว่า ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและการเมืองปัจจุบัน การใช้ความรุนแรงบางครั้งส่งผลกับคนอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้ตัดสินใจใช้ความรุนแรง และสังคมไทยปล่อยให้ความรุนแรงดำเนินไปแบบแฝงเร้น สถานการณ์ปัจจุบันถือเป็นสงครามตัวแทนของฝ่ายอนุรักษ์และฝ่ายก้าวหน้า และท่ามกลางความรุนแรง สังคมก็ทำให้พื้นที่แคบลงโดยไม่รู้ตัว ผ่านการแบ่งแยก “พวกเขา” “พวกเรา”

จากนั้น ตัวแทนเครือข่ายเพื่อจินตนาการความขัดแย้งใหม่ อ่านแถลงการณ์ระบุว่า จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งในสังคมไทยทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การติดกับดักทางความคิดว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องใช้ความรุนแรงทุกครั้งไป ซึ่งไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมแต่อย่างใด เราจึงต้องมีจินตนาการใหม่เกิดขึ้นเพื่อนำพาสังคมไปสู่ทางออกที่สร้างสรรค์ร่วมกัน  จึงมีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อจินตนาการความขัดแย้งใหม่ขึ้น

โดยเครือข่ายฯ เกิดจากการรวมตัวของนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ปฏิบัติการภาคสนาม นักกิจกรรมทางสังคม และกลุ่มอิสระ ผู้มีความสนใจและทำงานด้านสันติภาพทั้งในลักษณะสังกัดและไม่สังกัดองค์กร โดยมีความเห็นร่วมกันว่า ท่ามกลางความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ยังมีโอกาสและความหวังในการหันเหทิศทางของสังคมออกจากความรุนแรงอันจำเป็นต้องอาศัยจินตนาการถึงความขัดแย้งในสังคมที่แตกต่างกันออกไปจากที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายดังนี้

1. ทุกฝ่ายร่วมกันสร้างพื้นที่และประกาศความเชื่อว่า เราสามารถก้าวผ่านสถานการณ์ความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันด้วยการไม่ใช้ความรุนแรงได้ ซึ่งจะนำไปสู่การร่วมกันสร้างจินตนาการใหม่ของการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศไทย

2. คู่ขัดแย้งต้องร่วมกันทำข้อตกลงยุติการใช้อาวุธ และสร้างมาตรการร่วมในการดูแลความปลอดภัยให้กับมวลชนแต่ละฝ่าย เพื่อแสดงความจริงใจในการไม่ใช้ความรุนแรงและสร้างความมั่นใจ เช่น การกำหนดจุดชุมนุมที่ห่างไกลกัน การไม่นำมวลชนเคลื่อนเข้าสู่แนวปะทะ การตรวจและรักษาความปลอดภัยร่วมจากหลายฝ่าย เป็นต้น และหากมีการละเมิดข้อตกลงจนนำพาสถานการณ์ไปสู่ความรุนแรงไม่ว่ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถือเป็นความรับผิดชอบของคู่ขัดแย้ง

3.ประชาชนต้องร่วมกันแสดงออกถึงความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างที่คู่ขัดแย้งยังหาข้อตกลงร่วมทางการเมืองไม่ได้  และร่วมแสดงความไม่เห็นด้วยต่อความรุนแรง และถือเป็นหน้าที่ของคู่ขัดแย้งที่จะเคารพสิทธิในเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว

4.เราต้องตระหนักว่าการใช้ความรุนแรงที่กำลังขยายตัวขึ้นนี้จะเอาประชาชนจำนวนมากออกจากพื้นที่ทางการเมืองได้ ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญคือจะมีเหยื่อที่ได้รับผลจากความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นำพาสังคมไปสู่บาดแผลและความขัดแย้งไม่มีสิ้นสุด

ส่วนกิจกรรมของเครือข่ายเพื่อจินตนาการความขัดแย้งใหม่ มีดังต่อไปนี้
1.จัดทำสื่อเผยแพร่ทางออนไลน์  และจัดทำคู่มือการอยู่ร่วมกับความขัดแย้ง การรับมือความรุนแรง
2.จัดทำตลาดนัดเพื่อสันติภาพเพื่อสร้างพื้นที่ เวทีให้ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงเครื่องมือและทักษะในการอยู่ร่วมกันกับความขัดแย้งได้

3.จัดการอบรมเพื่อเพิ่มเติมทักษะการฟัง การสร้างพื้นที่สนทนากับผู้คิดต่าง การปฏิบัติการไร้ความรุนแรงภาคสนาม ฯลฯ ให้กับผู้สนใจทั่วไปและผู้อยู่ในสนามของความขัดแย้งทุกฝ่าย อาทิ กลุ่มมวลชนฝ่ายต่างๆ ที่ไม่ต้องการไม่ใช้ความรุนแรง กลุ่มสื่อสารมวลชนที่ต้องการทำงานสื่อเพื่อสันติภาพ กลุ่มประชาชนทุกฝ่ายทุกสีกลุ่มนิสิตนักศึกษา เป็นต้น

สำหรับเครือข่ายเพื่อจินตนาการความขัดแย้งใหม่ เกิดจากการรวมกันของ ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล, ศูนย์ข่าวสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันสันติประชาธรรม, กลุ่มพอกันที!,เครือข่ายพลเมืองเพื่อความหวัง (Citizen for Hope), กลุ่มเพื่อนรับฟัง
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คปก.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

$
0
0
รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) เผย คปก.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข หวังแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาอย่างเป็นระบบ รวดเร็วและเป็นธรรม พัฒนาระบบความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการบริการสาธารณสุขและสร้างความมั่นใจในการรักษาพยาบาล     

8 พ.ค. 2557 นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เปิดเผยว่า คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย มีมติเห็นชอบและบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะแนวทางการตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พร้อมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... พร้อมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่และพรรคการเมืองต่างๆ ต่อไป

โดยร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ฉบับ คปก. มีสาระสำคัญเพื่อเยียวยาผู้เสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้เสียหาย อีกทั้งให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการบรรเทาโทษหรือไม่ลงโทษผู้ให้บริการสาธารณสุขในกรณีที่ถูกฟ้องร้องคดีอาญาข้อหาการกระทำโดยประมาท

คปก. เห็นว่า กฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เป็นกฎหมายที่มีความเร่งด่วน และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน จึงเสนอให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ศึกษาโดยนำร่างกฎหมายที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกามาเป็นหลักเบื้องต้น  และศึกษาร่างกฎหมายประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอสองฉบับได้แก่ ร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เสนอโดย นางสารี อ๋อง สมหวัง และคณะ และ ร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข เสนอ นางอรพรรณ์ เมธาดิลกกุลและคณะ

ทั้งนี้ เมื่อประกอบการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า กฎหมายเข้าชื่อทั้งสองฉบับมีหลักการที่ต่างกันและมีความขัดแย้งดำรงอยู่ จึงได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ กลุ่มผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขและภาคประชาชน กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขจากสภาวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพ กรรมการประกอบโรคศิลปสาขาต่างๆ และกลุ่มนักวิชาการ หน่วยงานของรัฐ ภาคประชาสังคม รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกับอธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขแล้ว เห็นว่ามีแนวทางเริ่มต้นที่ดีมาแล้วจากมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่กำหนดการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีผู้รับบริการหรือผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลตามสิทธิโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ก็มีข้อจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ใช้สิทธิจากกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น และไม่ครอบคลุมการแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องคดีอาญา

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย สรุปว่า คปก. จึงเห็นชอบการจัดทำแนวทางการตราร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ขึ้นใหม่ มีประเด็นสำคัญ คือจะคุ้มครองผู้เสียหายได้รับเงินชดเชยจากกองทุนตามกฎหมายนี้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด การตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้เสียหายฯ คณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชย ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด กำหนดความคุ้มครองของสถานพยาบาล เริ่มจากกลุ่มประกันสังคม กลุ่มหลักประกันสุขภาพ และข้าราชการก่อน และเปิดโอกาสหลัง 1 ปี ให้สถานพยาบาลเอกชนสมัครใจเข้าร่วม

ส่วนการพิจารณาจ่ายเงินชดเชย ผู้เสียหายอาจยื่นขอรับเงินชดเชยตามกฎหมายภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายแต่ไม่เกินสิบปี และให้มีการพัฒนาระบบความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหาย และหลักบรรเทาโทษ กรณีผู้ให้บริการสาธารณสุขถูกฟ้องร้องเป็นจำเลยในคดีอาญากระทำโดยประมาทเกี่ยวเนื่องกับการให้บริการสาธารณสุข เป็นต้น

โดยรองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ จะช่วยแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข ผู้ได้รับความเสียหายจะได้รับการเยียวยาอย่างเป็นระบบโดยรวดเร็วและเป็นธรรม มีการพัฒนาระบบความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะเกิดจากบริการสาธารณสุขและผู้ให้บริการก็จะมีความมั่นใจในการรักษาพยาบาลยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... สามารถติดตามรายละเอียดทางเว็บไซต์ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย www.lrct.go.th
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เหตุระเบิดกระทรวงกลาโหมเป็นเรื่องวัยรุ่นทะเลาะวิวาท

$
0
0

เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมชี้แจงว่าเหตุระเบิดอาคารศาลาว่าการกลาโหม เป็นการวิวาทของวัยรุ่นตลาดตรอกหม้อ

8 พ.ค. 2557 - เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายงานว่า พล.ต.ณภัทร สุขจิตต์ เลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า กรณีมีการเสนอข่าว มีเหตุระเบิดบริเวณด้านหลังกระทรวงกลาโหม คืนวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา จากการตรวจสอบในขั้นต้นพบว่า ไม่มีเหตุการณ์ระเบิดใด ๆ ทั้งที่อาคารศาลาว่าการกลาโหมและอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ถนนแจ้งวัฒนะ และจากการตรวจสอบของสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ และสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม ทราบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น บริเวณตลาดตรอกหม้อ หลังกระทรวงมหาดไทย โดยได้มีการขว้างประทัดยักษ์ใส่กัน นอกจากนี้ ได้ตรวจสอบระบบกล้องวงจรปิดรอบศาลาว่าการกลาโหมและกองทัพบก ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ไม่พบเหตุดังกล่าวเช่นกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"พุทธะอิสระ" ถูกแก๊สน้ำตา - หลังบุก ศอ.รส.

$
0
0

กปปส.แจ้งวัฒนะเคลื่อนประชิด ศอ.รส. สโมสรตำรวจรื้อลวดหนามบุก ก่อนเจอตำรวจยิงน้ำ-แก๊สน้ำตาสกัดจนต้องปฐมพยาบาล "พุทธะอิสระ" โดยที่ในวันที่ 10 พ.ค. พุทธะอิสระเตรียมพามวลชนไป สน.ทุ่งสองห้องแจ้งความ ศอ.รส. ฐานพยายามฆ่า

9 พ.ค. 2557 - ตามที่ผู้ชุมนุม กปปส. ถือฤกษ์ 09.09 น. เคลื่อนขบวนไปสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, 9 และ 11 ขณะที่กปปส.เวทีแจ้งวัฒนะ นำโดย "พุทธะอิสระ" เคลื่อนขบวนมาที่ทำการ ศอ.รส. หน้าสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต ใกล้กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

พุทธะอิสระได้รับการปฐมพยาบาลหลังถูกแก๊สน้ำตา (ที่มา: เพจสุเทพ เทือกสุบรรณ)

ต่อมาเมื่อเวลา 12.20 น. ผู้ชุมนุม กปปส.เวทีแจ้งวัฒนะ นำโดยพุทธะอิสระ ได้พยายามรื้อขดลวดหนามหน้าสโมสรตำรวจออก จากนั้น "พุทธะอิสระ" ประกาศให้ ศอ.รส. ส่งตัวแทนมาเจรจา อย่างไรก็ตามไม่มีใครมาเจรจา ทำให้พุทธะอิสระพาผู้ชุมนุมเข้าไปภายในสโมสรตำรวจ

ทำให้ตำรวจปราบจลาจลประกาศเตือนว่า การชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้หยุดบุกรุก มิเช่นนั้นจะดำเนินการเพื่อรักษาทรัพย์สินของทางราชการ จากนั้นได้ฉีดน้ำและยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม กปปส. ทำให้ผู้ชุมนุมต้องถอยร่นออกมา และมีการปฐมพยาบาลพุทธะอิสระด้านนอก

ต่อมาพุทธะอิสระได้ให้ผู้ชุมนุมถอยกลับไปที่เวที กปปส.แจ้งวัฒนะ โดยระบุว่าคนเสื้อแดงกลุ่ม กวป. จะมาบุกเวที โดยในวันที่ 10 พ.ค. พุทธะอิสระจะนำผู้ชุมนุมไปแจ้งความดำเนินคดี ศอ.รส. ที่ สน.ทุ่งสองห้อง ในข้อหาพยายามฆ่า

ทั้งนี้ศูนย์เอราวัณสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร สรุปรายงานผู้บาดเจ็บจากเหตุชุมนุมบริเวณหน้าสโมสรตำรวจ เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ของวันที่ 9 พ.ค. ว่า มีผู้บาดเจ็บที่นำส่งโรงพยาบาลวิภาวดี 6 คน เป็นเพศชาย 2 คน เพศหญิง 4 คน แพทย์รักษาและให้กลับบ้าน 4 คน รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 1 คน และส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี 1 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Thai PBO วิเคราะห์ประชานิยม 'รถคันแรก' การคลังไม่รอบคอบ

$
0
0
9 พ.ค. 2557 นโยบายประชานิยมอย่างโครงการจำนำข้าวที่ขาดทุนมหาศาล ส่งผลให้เกิดคำถามตามมาว่าโครงการประชานิยมอื่นๆจะมีผลกระทบหรือลงเอยอย่างโครงการจำนำข้าวหรือไม่ โจทย์คือในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะจัดการกับนโยบายประชานิยมที่มีต้นทุนสูงเหล่านี้กับสังคมได้อย่างไร และหากมีสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา (Thai PBO) เข้ามาช่วยวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง เสริมสร้างวินัยทางการคลังของการพิจารณาในระบบรัฐสภาจะสามารถถ่วงดุลการทำงานโดยเฉพาะด้านการคลังนโยบายประชานิยมได้มากน้อยแค่ไหน
 
ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล นักวิชาการ โครงการส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา หรือ Thai PBO เปิดเผยถึง ตัวอย่างการวิเคราะห์ผลกระทบทางการคลังของนโยบายรถใหม่คันแรก โดยระบุว่า เป็นนโยบายที่ได้รับความนิยมจากคนไทยจำนวนมาก ดูจากยอดผู้ร่วมโครงการสูงถึง 1.25 ล้านคน และจะสร้างผลกระทบต่อรายรับรายจ่ายงบประมาณของรัฐบาลค่อนข้างสูง ซึ่งการวิเคราะห์โครงการลักษณะนี้ถือว่าเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของ Thai PBO ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยในการเพิ่มข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายต่างๆของรัฐบาล
 
ในการวิเคราะห์โครงการดังกล่าว หากมองผลกระทบในเชิงทฤษฎีจะพบว่า ราคารถที่ถูกลงชั่วคราวหรือการลดราคาที่เกิดขึ้นจากการคืนภาษีในโครงการนั้น ทำให้เกิดอุปสงค์ใหม่ต่อรถ หรือก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายอุปสงค์ เช่น ผู้บริโภคเร่งปรับแผนการซื้อเร็วขึ้นเพื่อให้ทันรับสิทธิ์โครงการดังกล่าว ส่งผลให้รายได้ภาษีสรรพสามิตปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาการดำเนินโครงการมากกว่าระดับปกติ แต่ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลไปถึงอนาคตที่จะทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตปรับตัวลดลงไปจากระดับปกติเช่นกัน โดยผลกระทบสุทธิที่ตามมาอาจรวมถึงผลกระทบต่อเนื่องไปยังเงินได้นิติบุคคลของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถ และผลกระทบต่อมูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนในประเทศอีกด้วย
 
ในบทวิเคราะห์ของ Thai PBO ตัวแปรหลักที่นำมาใช้ในการพยากรณ์ คือ ข้อมูลจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ประเภท รย.1 หรือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ซึ่งมีการตอบสนองต่อโครงการรถยนต์คันแรกชัดเจนกว่ารถยนต์ประเภท รย. 3 หรือ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหรือรถกระบะ  วิธีการประเมินของ Thai PBO แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ทำการประเมินโดยใช้ข้อมูลก่อนจะมีโครงการรถคันแรกตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปี 2554 แล้วสร้างสมการเพื่อพยากรณ์ไปในอนาคต ซึ่งค่าพยากรณ์ที่ได้จะถูกกำหนดให้เป็นค่าพยากรณ์จากพฤติกรรมปกติของการซื้อรถในอดีตซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถยนต์คันแรก ขั้นตอนที่สอง เป็นการปรับปรุงค่าพยากรณ์เพื่อให้สอดคล้องกับชุดข้อมูลแวดล้อมต่างๆ โดยข้อมูลแวดล้อมแรกจะเป็นข้อมูลจริงของรถยนต์ใหม่ที่จดทะเบียนประเภท รย.1 ในช่วงปี 2555-2556 ข้อมูลแวดล้อมชุดที่สองเป็นข้อมูลตัวเลขของผู้ใช้สิทธิ์โครงการรถยนต์คันแรก โดยกลุ่มผู้ใช้สิทธิ์ในโครงการรถยนต์คันแรกสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ตั้งใจจะซื้อรถยนต์ใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่แล้ว และได้รับสิทธิ์ไปด้วย 2.กลุ่มที่มีการเลื่อนซื้อรถยนต์มาจากอนาคต เพื่อรับสิทธิ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐบาลในอนาคตมากที่สุด  เนื่องจากเป็นการเลื่อนซื้อรถยนต์ ฉะนั้นพฤติกรรมในอดีตจะถูกหักลบไปจากพฤติกรรรมการเลื่อนซื้อรถของคนกลุ่มนี้ ทำให้ค่าพยากรณ์ช่วงปี 2555-2556 จะมีค่าสูงกว่าปกติ ส่วนปี 2557-2558 จะมีค่าต่ำกว่าปกติ ซึ่งพฤติกรรมการซื้อรถที่ต่ำกว่าปกติก็จะมีผลต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลด้วย  และ 3.กลุ่มผู้ซื้อรถใหม่ที่ยังไม่มีแผนซื้อรถยนต์มาก่อน
 
จากการวิเคราะห์ตั้งแต่เริ่มโครงการปี 2555 จนกระทั่งส่งมอบต่อเนื่องในปี 2556 พบว่า จำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ประเภท รย.1 ปรับสูงขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่ ตัวเลขจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ปีงบประมาณ 2557 รย.1 อยู่ที่ 690,000 คัน ปรับลดลงจากปีงบประมาณ 2556 คิดเป็น 36% ซึ่งหากนำจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ รย.1มาพยากรณ์เปรียบเทียบในเรื่องการการจัดเก็บภาษีสรรสามิตรถยนต์ในปีงบประมาณ 2557 พบว่าจำนวนตัวเลขปรับตัวลดลงราว  7 พันล้านบาท และส่งผลต่อเนื่องไปยังปีงบประมาณ 2558 ที่การจัดเก็บภาษีจะปรับตัวลดลงจากระดับปกติอีกราว 7 พันล้านบาทเช่นเดียวกัน
 
ขณะที่การทดสอบการพยากรณ์การจัดเก็บภาษีในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม กลับไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งผลกระทบของโครงการนี้ต่อการจัดเก็บรายได้สรรพสามิตรถยนต์ของรัฐบาลสร้างความแตกต่างจากตัวเลขประมาณการในเอกสารงบประมาณของรัฐบาลค่อนข้างชัดเจน โดยค่าพยากรณ์ของ Thai PBO มูลค่าการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรวม ในปีงบประมาณ 2557 ปรับเพิ่ม 3.5% เมื่อเทียบกับปี 2556 ในขณะที่ตัวเลขในเอกสารงบประมาณของรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7.2%
 
อย่างไรก็ตาม ดร.ภาวิน ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการคืนภาษีสรรพสามิตรถคันแรก จะขาดทุนสุทธิราว 2.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากกรมสรรพสามิตจะมีรายได้จากการเก็บภาษีรถยนต์เพิ่มขึ้นสุทธิเพียง 5.4 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แต่รัฐบาลยังมีรายจ่ายที่ต้องตั้งงบคืนภาษีประมาณ 8.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจากการประเมินในภาพรวม Thai PBO มองว่าต้นทุนสุทธิของโครงการน่าจะอยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท หรืออาจจะต่ำกว่านั้นหลังจากหักผลกระทบต่อการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการประเมินผลกระทบในเชิงบวกและลบของโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในช่วงปี 2555-2557และการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของประเทศไทยแต่ประการใด
 
นักวิชาการผู้นี้กล่าวด้วยว่า การวิเคราะห์โครงการรถคันแรกเป็นตัวอย่างการทำหน้าที่ของ Thai PBO ในการช่วยวิเคราะห์ ติดตาม และตรวจสอบด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง  และจะทำอย่างนี้กับ โครงการที่มีผลกระทบต่องบประมาณ รายรับ รายจ่าย ของรัฐบาลโครงการอื่น ๆ  และสื่อสารผลการวิเคราะห์ให้ประชาชนได้ทราบด้วย ซึ่งจะช่วยป้องปรามหรือทำให้เกิดการบริหารการเงินการคลังที่สมดุลและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศต่อไป.
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรุงเทพโพลล์เผยคนเชื่อมั่นเนื้อหาทีวีดิจิตอลดีกว่าเดิม

$
0
0
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน พบ 73.8% คาดว่าเนื้อหารายการในทีวีดิจิตอลน่าจะมีคุณภาพดีขึ้นกว่าระบบเดิมโดยอยากให้มีรายการประเภท ข่าว สารคดี บันเทิง มากที่สุด

 
9 พ.ค. 2557 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ และปริมณฑล จำนวน 1,199 คน เรื่อง “คนไทยกับการเข้าสู่ ยุคทีวีดิจิตอล” พบว่า การเตรียมตัวของประชาชน เพื่อรับชมการออกอากาศทีวีระบบดิจิตอล ส่วนใหญ่ร้อยละ 43.6 ระบุว่า ปัจจุบันใช้เคเบิ้ลทีวี/ทีวีดาวเทียม อยู่แล้วทำให้สามารถดูทีวีระบบดิจิตอลได้เลย  รองลงมาร้อยละ 10.2 ใช้วิธีซื้อกล่องแปลงสัญญาณทีวีดิจิตอล (Set Top Box) และร้อยละ 5.2 ใช้วิธีซื้อทีวีใหม่รุ่นที่รับสัญญาณระบบดิจิตอลได้ ขณะที่ประชาชนร้อยละ 41.0 ระบุว่า ยังไม่ได้เตรียมตัวโดยจะดูระบบเดิมไปก่อน
 
ส่วนการรับทราบว่า กสทช. จะมีการแจกคูปองไปพร้อมกับบิลค่าไฟฟ้า เพื่อนำไปซื้อกล่อง Set Top Box หรือใช้เป็นส่วนลดซื้อทีวีดิจิตอลแก่ประชาชนนั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.1 บอกว่า ยังไม่ทราบ ขณะที่ร้อยละ 45.9 บอกว่า ทราบแล้ว 
 
เมื่อถามถึงคูปองมูลค่า 1,000 บาท ที่คาดว่าทาง กสทช.จะแจกให้แก่ประชาชนนั้นเหมาะสมหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 เห็นว่าเป็นมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว ขณะที่ ร้อยละ 40.9 บอกว่าไม่เหมาะสม
 
ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 40.9 มีความมั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถออกอากาศในรูปแบบดิจิตอลได้ครอบคลุมทั้งประเทศอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2560 ขณะที่ร้อยละ 31.8 ไม่มั่นใจ ที่เหลือร้อยละ 27.3 ยังไม่แน่ใจ
 
เมื่อถามว่าเนื้อหารายการต่างๆ โดยรวมของทีวีดิจิตอลที่มีจำนวนช่องมากขึ้น คาดว่าจะมีคุณภาพเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับรายการทีวีแบบเดิมที่มีเพียง 6 ช่อง ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.8 คาดว่าคุณภาพน่าจะดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 19.1 คาดว่าคุณภาพน่าจะเหมือนเดิม และร้อยละ 7.1 คาดว่าคุณภาพน่าจะลดลง
 
สำหรับรายการที่ประชาชนอยากให้มีออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลมากที่สุดเป็นอันดับแรกคือ รายการประเภทข่าว (ร้อยละ 21.1) รองลงมาคือ รายการประเภทสารคดี (ร้อยละ 16.5) และรายการประเภทบันเทิง ละคร (ร้อยละ 16.1)
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์: ยุทธศาสตร์ในการปฏิวัติประชาธิปไตยของไทย (2)

$
0
0
รูปแบบการต่อสู้กันระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตยของไทยตั้งแต่ปี 2549 คือ การปะทะใหญ่สามครั้ง ซึ่งประกอบด้วยการรุกโดยฝ่ายเผด็จการ “ล้อมตีเพื่อทำลาย” ฝ่ายประชาธิปไตย ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยก็ทำการรับด้วยการ “ต่อต้านการล้อมตี” เพื่ออยู่รอด รักษากำลังและขยายตัวเข้มแข็งขึ้น

 
การปะทะใหญ่ครั้งแรกปี 2549 ฝ่ายเผด็จการใช้กลไกศาล ตุลาการ มวลชนเสื้อเหลือง “ล้อมตี” รัฐบาลพรรคไทยรักไทยและ “ชนะชั่วคราว” ด้วยรัฐประหาร 19 กันยายน แม้พลังประชาธิปไตย “แพ้ชั่วคราว” แต่ก็สามารถก่อตัวขึ้นเป็นฐานมวลชนที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายใหญ่ขึ้น จนกลับมาชนะการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลพรรคพลังประชาชนได้สำเร็จในต้นปี 2551 การล้อมตีครั้งแรกของฝ่ายเผด็จการจึงประสบความพ่ายแพ้และ “การต้านการล้อมตี” โดยฝ่ายประชาธิปไตยประสบชัยชนะ มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและสร้างฐานมวลชนจัดตั้งเริ่มแรกได้
 
การปะทะใหญ่ครั้งที่สองประกอบด้วยการโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชนปี 2551 และการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อเมษายน-พฤษภาคม 2553 ในครั้งนี้ ฝ่ายเผด็จการใช้มวลชนเสื้อเหลือง ศาล ตุลาการ และทหาร เข้า “ล้อมตี” และโค่นล้มรัฐบาลพรรคพลังประชาชน สถาปนารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ขึ้น ฝ่ายเผด็จการจึง “ชนะชั่วคราว” เป็นครั้งที่สอง แต่เนื่องจากพวกเขาได้สูญเสียความชอบธรรมจากรัฐประหาร 2549 ไปมากแล้ว จึงไม่สามารถก่อรัฐประหารอย่างเปิดเผยโดยทหารซ้ำได้อีก ทำได้เพียง “รัฐประหารเงียบ จัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร” โดยที่จำต้องรักษาระบบการเมืองแบบเลือกตั้งและเปลือกนอกที่เป็นระบอบรัฐสภาเอาไว้ เปิดช่องให้ฝ่ายประชาธิปไตยทำการถอย รักษากำลัง ฟื้นตัว แล้วพัฒนาขยายตัวกลายเป็น ขบวนประชาธิปไตยเสื้อแดง ที่มีขนาดใหญ่โต
 
แต่เมื่อฝ่ายประชาธิปไตยขยายกำลังเข้มแข็ง กระทั่งสามารถกลับมาเผชิญหน้าโดยตรงกับเผด็จการได้เป็นครั้งแรกด้วยการก่อการชุมนุมใหญ่เรียกร้องให้ยุบสภาในต้นปี 2553 ฝ่ายเผด็จการซึ่งมีรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นหุ่นเชิด จึงใช้โอกาสนี้ยกระดับ “ชัยชนะจากการล้อมตีทางการเมือง” (โค่นรัฐบาลพรรคพลังประชาชน) ไปสู่ “การล้อมปราบทางทหาร” ใช้กำลังอาวุธสงครามเข้าบดขยี้การชุมนุมและสังหารประชาชนโดยตรง ตามมาด้วยการจับกุมคุมขังแกนนำและประชาชนทั่วประเทศอีกจำนวนหลายร้อยคน
 
ในช่วงกลางปี 2553 ฝ่ายเผด็จการจึง “ชนะชั่วคราวทั้งทางการเมืองและทางทหาร” ถึงกระนั้น แม้ฝ่ายประชาธิปไตยจะถูกปราบปรามอย่างหนักและ “แพ้ชั่วคราว” ประสบความเสียหายในระดับหนึ่ง แต่ก็สามารถฟื้นคืนกลับมาเข้มแข็ง ขยายฐานมวลชนและการจัดตั้งให้เติบใหญ่ได้รวดเร็วและกว้างขวางยิ่งกว่าก่อนการชุมนุมใหญ่ปี 2553 เสียอีก สามารถผลักดันให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 จัดตั้งรัฐบาลอย่างชอบธรรมได้อีกครั้ง
 
การปะทะใหญ่ครั้งที่สองจึงยุติลง ฝ่ายเผด็จการประสบความพ่ายแพ้เมื่อการล้อมตีทั้งทางการเมืองและทางการทหารเพื่อทำลายขบวนประชาธิปไตยล้มเหลว ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยสามารถเปลี่ยนความพ่ายแพ้ทางการทหารให้เป็นชัยชนะทางการเมือง ชนะเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาล พร้อมด้วยฐานมวลชนสนับสนุนที่เข้มแข็งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
 
การปะทะใหญ่ครั้งที่สามเริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกระทำความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ด้วยการผลักดันพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง เปิดโอกาสให้ฝ่ายเผด็จการก่อการรุก “ล้อมตี” ด้วยมวลชน ศาล ตุลาการ และทหาร อีกครั้ง แต่การปะทะใหญ่ครั้งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากการปะทะใหญ่ในสองครั้งแรกหลายประการ
 
ประการแรก การปะทะกันระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตยครั้งนี้ ได้มีความเกี่ยวพันไปถึงความขัดแย้งและปัญหาการ “ถ่ายโอนสถานะและอำนาจระดับสูง” ภายในหมู่ผู้ปกครองไทยอย่างชัดเจน จริงอยู่ว่า ความเกี่ยวพันระหว่างปัญหาประชาธิปไตยกับปัญหาขัดแย้งในหมู่ผู้ปกครองดังกล่าวก็ได้ดำรงอยู่ในการปะทะใหญ่สองครั้งแรกด้วย แต่ในครั้งนั้น ความขัดแย้งภายในผู้ปกครองยังมีอิทธิพลเป็นเพียง “พื้นภูมิหลัง” ที่ยังไม่ปะทุออกมาอย่างเปิดเผย แต่ในการปะทะกันครั้งนี้ ปัญหาดังว่าได้ปรากฏเด่นชัดขึ้น จนกลายเป็นกระแสความขัดแย้งที่สำคัญควบคู่ไปกับความขัดแย้งระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตย ยิ่งกว่านั้นคือ การแบ่งฝ่ายภายในหมู่ผู้ปกครองและกองทัพในปัญหาดังกล่าวยังแสดงออกอย่างชัดเจนว่า มีการ “เรียงตัว” ที่สอดคล้องกับการแยกเป็นค่ายเผด็จการกับค่ายประชาธิปไตยพอดีอีกด้วย
 
ความขัดแย้งในหมู่ผู้ปกครองดังกล่าวมีนัยสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อผลลัพธ์ของการต่อสู้ระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตยในขั้นตอนปัจจุบัน
 
ประการที่สอง ในการปะทะใหญ่ครั้งนี้ ฝ่ายเผด็จการได้สรุปบทเรียนแล้วว่า การที่พวกเขาประสบความพ่ายแพ้ในการปะทะใหญ่สองครั้งแรกก็เพราะพวกเขายังใช้เปลือกนอกของระบบรัฐสภาและการเมืองแบบเลือกตั้ง ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า เป็นสนามรบที่ฝ่ายประชาธิปไตยเข้มแข็ง แต่พวกเขาอ่อนแอและไม่สามารถเอาชนะได้
 
ในครั้งนี้ จุดมุ่งหมายของพวกเขาจึงเป็น “สงครามครั้งสุดท้าย” มิเพียงแต่ทำลายพรรคเพื่อไทยและขบวนประชาธิปไตยเท่านั้น แต่มุ่งที่จะยกเลิกการเมืองแบบเลือกตั้งและระบบรัฐสภา สถาปนาระบอบเผด็จการอย่างเปิดเผยขึ้นมา พวกเขาใช้ทุ่มกำลังสุดตัว ระดมกลไกและเครือข่ายเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดของตน ทั้งตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ กลุ่มมวลชนและทหาร แม้แต่องค์กรและเครือข่ายที่มิได้แสดงบทบาทในอดีต เช่น ปปช. ศาลยุติธรรม เครือข่ายผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้บริหารโรงเรียนและโรงพยาบาล ตลอดจนเครือข่ายข้าราชการระดับสูง รัฐวิสาหกิจ สื่อมวลชน และวงการบันเทิง ประกอบขึ้นเป็นการล้อมตีที่มีขนาดใหญ่โต น่าประหวั่นพรั่นพรึงยิ่งกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
 
ประการที่สาม แม้ฝ่ายเผด็จการจะระดมกำลังใหญ่ที่สุด ดูเข้มแข็งน่ากลัวที่สุด ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ภายนอกเท่านั้น แต่เนื้อในนั้น ฝ่ายเผด็จการได้อ่อนกำลังลงอย่างมาก จากที่เคยเข้มแข็งที่สุดในการปะทะครั้งแรกปี 2549 ที่สามารถทำรัฐประหารได้สำเร็จโดยง่าย มาสู่การปะทะครั้งที่สองปี 2551-53 ที่พวกเขาไม่สามารถทำรัฐประหารแบบเปิดเผยโดยทหารได้ แต่ยังสามารถบัญชากำลังอาวุธให้สังหารประชาชนได้ จนถึงในการปะทะใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งพวกเขาก็ยังไม่สามารถทำได้ทั้งรัฐประหารที่เปิดเผยหรือรัฐประหารเงียบ แม้แต่รัฐประหารด้วยตุลาการ คือการใช้ศาลรัฐธรรมนูญและปปช.ก็ประสบอุปสรรคและแรงต่อต้านอย่างหนักทั้งจากประชาชนและจากประชาคมนานาชาติ ขณะที่ฐานมวลชนของพวกเขาที่ช่วงแรกดูเหมือนยิ่งใหญ่อลังการ ก็พิสูจน์แล้วว่า ผิวเผินและชั่วคราวเท่านั้น
 
บัดนี้ ดุลกำลังทางการเมืองระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตยจึงได้เข้าสู่สภาวะ “หมากตายทางยุทธศาสตร์” ที่ทั้งสองฝ่ายยันกันและไม่สามารถเอาชนะกันได้โดยทันที การปะทะกันครั้งนี้จะมีผลลัพธ์ในท้ายสุดเป็น “การแพ้หรือชนะชั่วคราว” ของแต่ละฝ่ายอีกครั้ง หรือจะเป็น “ชัยชนะถาวร” ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย่อมขึ้นอยู่กับว่า ขบวนประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ พรรคเพื่อไทย จะดำเนินการต่อสู้ทางยุทธวิธีอย่างถูกต้องเพื่อต้านการล้อมตี แล้วกลับมาเป็นฝ่ายรุกทางยุทธศาสตร์ได้หรือไม่
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมาคมนักข่าวฯ วอน กปปส. หยุดคุกคามแทรกแซงสื่อ

$
0
0

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง ‘ขอให้ยุติการคุกคามและแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน’

9 พ.ค. 2557 เมื่อเวลา 16.30 น. สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์เรื่อง ‘ขอให้ยุติการคุกคามและแทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน’ โดยระบุว่า ตามที่ทางแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ได้เคลื่อนขบวนมวลชนไปตั้งเวทีชุมนุมที่หน้าสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5  ช่อง 7  ช่อง 9  และช่อง 11 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวและคำแถลงของกปปส. และห้ามนำเสนอข่าวจากฝ่ายรัฐบาลนั้น

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย  ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการกระทำที่เข้าข่ายการคุกคามสิทธิ เสรีภาพสื่อมวลชนหรือขัดขวางการทำหน้าที่ในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน  ซึ่งขัดแย้งต่อเจตนารมณ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพสื่อมวลชน

ด้วยเหตุนี้ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีขอเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ขอให้แกนนำของกปปส.และมวลชนผู้ร่วมชุมนุม หยุดกระทำการดังกล่าวทันทีหรือ ทบทวนท่าทีในการปิดล้อมสถานีโทรทัศน์ต่างๆโดยด่วน

2. ต้องไม่ไปกดดันให้กองบรรณาธิการข่าวของสถานีโทรทัศน์ต่างๆนำเสนอข่าวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวและควรเคารพความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการต่างๆในการใช้ดุลพินิจในการนำเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์กับประชาชนต่อไป ที่สำคัญ จะต้องไม่ทำให้ทรัพย์สินของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆได้รับความเสียหายอย่างเด็ดขาด และต้องให้ความปลอดภัยและความสะดวกแก่พนักงานและผู้สื่อข่าวทุกคนของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ

3. ขณะเดียวกัน สถานีโทรทัศน์ในสังกัดหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้มีความอิสระในการเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน และให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อสาธารณะ โดยไม่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาล จะต้องไม่ยอมรับการถูกแทรกแซงหรือสั่งการจากฝ่ายรัฐบาล ให้นำเสนอข่าวสารเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

โดย สมาคมนักข่าวทั้ง 2 สมาคม ขอยืนยันหลักการว่า สื่อมวลชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นของทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม กองบรรณาธิการและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ควรตระหนักถึงการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง ซึ่งต้องนำเสนอข่าวจากทุกฝ่าย อย่างความเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน

ทั้ง 2 สมาคมนักข่าว ระบุว่า มีความห่วงใยในความปลอดภัยของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในภาคสนามทุกคน โดยขอให้ระมัดระวังการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงภัยเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ให้ตระหนักว่าความปลอดภัยของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน มีความสำคัญไม่น้อยกว่าการแสวงหาข้อมูลข่าวสารและข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านมานำเสนอต่อสาธารณะชน

โดยแถลงการณ์ดังกล่าว ระบุตอนท้ายด้วยว่า ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทุกคน ที่นำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านเพื่อประโยชน์ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน และขอให้ทุกฝ่ายเคารพและไม่แทรกแซงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทุกรูปแบบ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเทพเยี่ยมสภา-ขอประธานวุฒิสภาคนใหม่หาทางออกประเทศ

$
0
0

"สุเทพ-สมศักดิ์-เอกนัฏ" เยือนสภายื่นหนังสือเรียกร้องประธานวุฒิสภาคนใหม่ร่วม กปปส. หาทางออกประเทศ - กปปส. ปักหลักช่อง 3 ขอให้เลิกเสนอข่าว ศอ.รส. - เชื่อมสัญญาณถ่ายสดสุเทพ

9 พ.ค. 2557 - ตามที่ผู้ชุมนุม กปปส. ถือฤกษ์ 09.09 น. เคลื่อนขบวนไปสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, 9 และ 11 และสุเทพ เทือกสุบรรณจะไปเยือนทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา ขณะที่กปปส.เวทีแจ้งวัฒนะ นำโดย "พุทธะอิสระ" เคลื่อนขบวนมาที่ทำการ ศอ.รส. หน้าสโมสรตำรวจ ถ.วิภาวดีรังสิต ใกล้กับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ แกนนำ กปปส. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังเจรจากับผู้บริหารช่อง 3 (ที่มา: เฟซบุ๊ค Nataphol Teepsuwan - ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ)

 

กปปส.ปักหลักช่อง 3 เรียกร้องให้เลิกเสนอข่าว ศอ.รส. - ถ่ายสดสุเทพ

ส่วนสถานการณ์ที่อาคารมาลีนนท์ ถ.พระราม 4 ที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 นั้นตั้งแต่เวลา 11.00 น. ผู้ชุมนุม กปปส. นำโดยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ แกนนำ กปปส. ได้เดินทางมาถึง นอกจากนี้นางทยา ทีปสุวรรณ แกนนำ กปปส. ได้มีข้อเรียกร้องต่อผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ได้แก่

หนึ่ง ขอให้นำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางไม่บิดเบือน ไม่รับใช้ระบบนายทุน รวมถึงรัฐบาลที่หมดอำนาจและความชอบธรรม สอง ต่อจากนี้ไปตั้งแต่ช่วงเย็นวันนี้หากมีแถลงการณ์ใดๆ จากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ขอให้ทางสถานีถ่ายทอดสดทุกครั้ง

สาม ขอให้งดการถ่ายทอดสดแถลงการณ์จาก ศอ.รส. และของรัฐบาลเนื่องจากหมดความชอบธรรมแล้ว สี่ ขอให้มีการจัดเจ้าหน้าประสานงาน เพราะผู้ชุมนุมจะมีการชุมนุมปักหลักค้างคืนจนกว่าจะได้รับชัยชนะ ขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องห้องน้ำในอาคารด้วย ทั้งนี้จะมีเจ้าหน้าที่ทหารประมาณ 100 นายมาช่วยดูแลความเรียบร้อย

ทั้งนี้ในเวลา 14.00 น. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ แกนนำ กปปส. ได้โพสต์ทางเฟซบุ๊คว่า "ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนหลังเจรจากับผู้บริหารช่อง3 ซึ่งทางช่องยืนยันว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกกับมวลมหาประชาชนเต็มที่"

 

 

 

 
 

สุเทพเยือนรัฐสภา ยื่นหนังสือล่วงหน้าถึงประธานวุฒิสภาให้ร่วมมือ กปปส. หาทางออกประเทศ

ด้านความเคลื่อนไหวของสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นั้นเมื่อเวลา 14.30 น. ได้เคลื่อนมาถึงอาคารรัฐสภา ทั้งนี้ผู้ชุมนุม กปปส. ได้ปักหลักหน้ารัฐสภา ส่วนภายในรัฐสภามีการตรึงกำลังทหารจากกองทัพบกและกองทัพเรือ 2 กองร้อย

ทั้งนี้เมื่อเลขาธิการ กปปส. มาถึง มีการขอเจรจาว่าจะ กปปส. จะส่งตัวแทนเข้าไปยื่นหนังสือเรียกร้องประธานวุฒิสภาคนใหม่ร่วมหาทางออกประเทศกับ กปปส.

จากนั้น เวลา 14.50 น. เลขาธิการ กปปส. และแกนนำได้แก่ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์, สุริยะใส กตะศิลา, สมศักดิ์ โกศัยสุข เข้าไปยื่นหนังสือต่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 พร้อมกันนั้นมวลชน กปปส.ยังคงปักหลักชุมนุมอยู่ด้านหน้ารัฐสภา

ทั้งนี้หลังยื่นหนังสือให้กับรองประธานวุฒิสภา นายสุเทพได้โพสต์ว่า "ขณะนี้ลุงกำนันอยู่ในอาคารรัฐสภายื่นหนังสือถึงมือกับท่านรองประธานวุฒิสภาคุณ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ไปถึงประธานวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด เพื่อให้ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายนิติบัญญัติของประชาชนที่เหลืออยู่ ร่วมมือกับมวลมหาประชาชนในกาขณะนี้ลุงกำนันอยู่ในอาคารรัฐสภารอยื่นหนังสือให้ประธานวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภาเพื่อให้ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนผู้ใช้อำนาจอธิปไตยฝ่ายนิติบัญญัติของประชาชนที่เหลืออยู่ ร่วมมือกับมวลมหาประชาชนในการอสวงหาทางออกให้กับประเทศไทยโดยการกำหนดให้มีรัฐบาลของประชาชนชั่วคราวเพื่อปฎิรูปก่อนการเลือกตั้งรอสวงหาทางออกให้กับประเทศไทยโดยการกำหนดให้มีรัฐบาลของประชาชนชั่วคราวเพื่อปฎิรูปก่อนการเลือกตั้ง"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 58332 articles
Browse latest View live