Quantcast
Channel: ประชาไท
Viewing all 58377 articles
Browse latest View live

เผยที่ประชุมอาเซียนพร้อมสนับสนุนกระบวนการส่งผู้ลี้ภัยกลับรัฐยะไข่ให้เร็วที่สุด

$
0
0

รมว.ต่างประเทศเผยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพร้อมสนับสนุนกระบวนการส่งผู้ลี้ภัยกลับรัฐยะไข่ให้เร็วที่สุด 'ประยุทธ์' หารือ 'ออง ซาน ซูจี' ย้ำไทยและอาเซียนพร้อมให้ความสนับสนุนแก่เมียนมาถึงสถานการณ์รัฐยะไข่ โดยยึดพื้นฐานความปลอดภัยของภูมิภา / ไทยชื่นชมอินโดฯ ผลักดันการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย / 'ไทย-เวียดนาม' หวังผลักดันการพัฒนาเส้นทางหมายเลข R12 / ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องผลักดันสร้างความยั่งยืน-ลดพึ่งพาภูมิภาคอื่น / อาเซียนแนะทุกฝ่ายเตรียมรับมือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ ที่มาภาพ: สำนักข่าวไทย

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2562 นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนว่าที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้หารือถึงกรณีการส่งตัวผู้ลี้ภัยจากรัฐยะไข่ออกนอกประเทศ และหารือประเด็นที่เกี่ยวเนื่องในหลายด้าน ว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิของเมียนมาและบังกลาเทศในการตกลงเรื่องนี้ร่วมกันอย่างชัดเจน  ทั้งในเรื่องการคัดกรอง การส่งกลับ การกำหนดเวลา (ไทม์ไลน์) และจำนวนผู้ลี้ภัยที่จะส่งกลับให้ชัดเจน

นายดอน กล่าวว่าทั้งนี้อาเซียนได้ส่งหน่วยงานด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management หรือ AHA Center) ลงสำรวจพื้นที่ ซึ่งพบว่าเมียนมามีความพร้อมมากขึ้น ทั้งในเรื่องความปลอดภัยที่ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับมาแล้วจะไม่มีปัญหา การยอมรับสถานะในสังคม โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับทราบจากเมียนมาว่า ขณะนี้เมียนมาเตรียมจะออกเอกสารแสดงตัวตน (คล้ายกับกรีนการ์ดของสหรัฐ) ให้กับผู้ลี้ภัยชาวรัฐยะไข่ รวมทั้งทางเมียนมาได้ยืนยันความปลอดภัยในพื้นที่ เมื่อผู้ลี้ภัยในรัฐยะไข่เดินทางจากบังกลาเทศกลับมาคืนถิ่นยังรัฐยะไข่

นายดอน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ยังทราบถึงข้อติดขัดของการส่งกลับผู้ลี้ภัยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสองประเทศยังไม่สามารถระบุจำนวนผู้ส่งกลับได้อย่างชัดเจน และยังพบว่ามีนัยบางอย่างที่เข้ามาแทรกที่ทำให้ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการคัดกรองแล้วไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยในการส่งตัวกลับไปยังรัฐยะไข่

“กระบวนการเจรจาหารือส่งผู้ลี้ภัยกลับ จะเกิดขึ้นในปีนี้ และทำให้การส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับ จะทำให้เร็วที่สุด จากประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถูกจับตาของนานาชาติอยู่ และเป็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเมียนมา อย่างไรก็ตาม อาเซียนจะพยายามช่วยกันดูแลส่งเสริมให้กระบวนการส่งผู้ลี้ภัยกลับยังรัฐยะไข่เมียนมาได้จริง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

ไทยพร้อมร่วมมือเมียนมากรณีรัฐยะไข่

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยไทยยืนยันเจตนารมณ์ในการขยายความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์โดยธรรมชาติเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในกรอบทวิภาคี อาเซียน และเวทีระหว่างประเทศ และขอบคุณเมียนมาที่เชื่อมั่นและให้ความร่วมมือกับไทยในฐานะประธานอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดเกี่ยวกับสถานการณ์รัฐยะไข่ ซึ่งไทยและอาเซียนพร้อมจะให้ความสนับสนุนแก่เมียนมา โดยยืนยันที่จะดำเนินการด้านต่าง ๆ บนพื้นฐานความปลอดภัยของภูมิภาค

พล.ท.วีรชน กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ไทยพร้อมสนับสนุนการพัฒนาในสาขาที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเมียนมาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาชุมชน การเกษตรและประมง เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ชี้การส่งตัวผู้ลี้ภัยรัฐยะไข่ ต้องคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม

น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ที่ศูนย์สื่อมวลชน โรงแรม แกรนด์ เซ็นเตอร์พอยด์ ถึงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อช่วงเช้า ว่า ที่ประชุมฯ ได้หารือกรณีการส่งตัวผู้ลี้ภัยรัฐยะไข่ เรื่องเอกสารเกี่ยวกับอินโด-แปซิฟิก ซึ่งในการหารือ ก็ไม่มีปัญหาใด ๆ และเอกสารจะนำเสนอต่อผู้นำอาเซียนต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงสถานการณ์ในภูมิภาคและการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ข้อกังวลต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวกับความท้าทายรูปแบบใหม่ การรองรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ว่าในยุคดิจิทัล อาเซียนจะก้าวไปในทิศทางไหน ซึ่งต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติ การบริหารจัดการชายแดน

น.ส.บุษฎี กล่าวอีกว่า ขณะที่ในเรื่องเศรษฐกิจ มีการพูดคุยเรื่องความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาคอาเซียน หรือ ARCEP ซึ่งคาดหวังว่าจะมีผลลัพธ์ที่ดีในปลายปีนี้ เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เล็งเห็นความสำคัญ  นอกจากนี้ยังหารือถึงปัญหาสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีและทะเลจีนใต้ ความท้าทายสภาวะทางการเมืองเศรษฐกิจโลก

น.ส.บุษฎี กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้จะมีเอกสารที่ผู้นำจะให้การรับรอง 17 ฉบับ อาทิ วิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยเรื่องการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ที่สอดคล้องกับแนวคิดหลัก ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน เอกสารฉบับนี้จะมองเรื่องการส่งเสริมความยั่งยืนในทุกมิติ รวมถึงการรับรองร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเล โดยเน้นการส่งเริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน กรอบนโยบายเกี่ยวกับอินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นข้อเสนอของอาเซียนในแนวคิดการสร้างเสริมในอินโด-แปซิฟิก และเอกสารแถลงการณ์ว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน ที่ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคด้วยวัฒนธรรม

ส่วนกรณีการส่งตัวผู้ลี้ภัยจากรัฐยะไข่ น.ส.บุษฎี กล่าวว่า จะการรายงานให้ผู้นำอาเซียนได้รับทราบว่าสำนักเลขาธิการอาเซียนและทีมผู้เชี่ยวชาญได้เดินทางไปในพื้นที่เพื่อสำรวจและประเมินสถานการณ์ความพร้อม จากนี้เป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องการส่งตัวกลับ ซึ่งต้องดูการเจรจาระหว่างเมียนมากับบังกลาเทศ และสิ่งสำคัญ คือ มาตรการระยะสั้นและระยะยาว ที่ต้องดูเรื่องความปลอดภัย ที่พักอาศัยและการดำรงชีพต่าง ๆ ให้มีความกินดีอยู่ดี ส่วนในระยะยาวต้องคำนึงถึงการดูแลด้านมนุษยธรรม และการมีชุมชนเพื่อความเข้มแข็งต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ไทยได้เคยนำเสนอมาตั้งแต่ต้นปี และถือเป็นบทบาทนำของอาเซียนที่ให้มีการขับเคลื่อนต่อไป ทั้งนี้ที่ประชุมฯ ไม่มีการหารือเรื่องการอพยพของชาวโรฮิงญาแต่อย่างใด

ชื่นชมอินโดฯ ผลักดันการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับ นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ซึ่งบรรยากาศการหารือเป็นไปด้วยมิตรภาพ และความใกล้ชิดระหว่างกัน โดยไทยกับอินโดนีเซียจะครบรอบ 70 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2563 ทั้งสองประเทศจึงหวังที่จะใช้โอกาสนี้กระชับความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดมากขึ้นในทุกมิติ โดยไทยพร้อมส่งเสริมความร่วมมือในทุกด้าน

พล.ท.วีรชน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เสนอให้ไทย-อินโดนีเซียร่วมกันแก้ไขปัญหาและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคด้านการลงทุนอย่างจริงจัง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนต้องการให้อาเซียนเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ โดยเฉพาะความมั่นคงทางไซเบอร์ ทั้งนี้ไทยชื่นชมบทบาทในการผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU ของอินโดนีเซีย โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นว่าไทยพร้อมร่วมมือในการแก้ไขปัญหาประมงอย่างรอบด้านกับอินโดนีเซีย

'ไทย-เวียดนาม' หวังผลักดันการพัฒนาเส้นทางหมายเลข R12

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับ นายเหวียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ โดยไทยพร้อมร่วมมือกับเวียดนามในการกระชับความสัมพันธ์ของสองประเทศ รวมถึงการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ไทยพร้อมเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ซึ่งเวียดนามมีกำหนดเป็นเจ้าภาพ เพื่อผลักดันประเด็นความร่วมมือระหว่างกันให้ก้าวหน้า

พล.ท.วีรชน กล่าวว่า ไทยยินดีแบ่งปันประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU กับเวียดนาม โดยย้ำว่า เจ้าหน้าที่ไทยปฏิบัติงานตามหลักมนุษยธรรมและมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปลดใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ซึ่งส่งผลให้มาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไทยสูงขึ้น ทั้งนี้ ไทยหวังที่จะผลักดันให้มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทย- เวียดนาม-ลาว ในการพัฒนาเส้นทางหมายเลข R12 ในลาว รวมทั้งผลักดันให้ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้งสองฝ่ายเสนอข้อริเริ่มใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวตลอดเส้นทางดังกล่าว

ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องผลักดันสร้างความยั่งยืน-ลดพึ่งพาภูมิภาคอื่น

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในการประชุมสุดยอดอาเซียนแบบเต็มคณะ ที่ประชุมมีบรรยากาศเป็นกันเอง ผู้นำประเทศส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย แสดงความยินดีต่อกันและกัน โดยทุกประเทศสนับสนุนความร่วมมือร่วมใจเ และมุ่งเน้นความยั่งยืน โดยทางไทยยืนยันนโยบายประชาคมอาเซียน ไปสู่อนาคต เพราะภูมิภาคอาเซียนกำลังเผชิญความท้าทายหลายเรื่อง เน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ การสร้างภูมิต้านทาน เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เน้นสร้างความเข้มแข็งที่จะช่วยเหลือกันมากขึ้น ไม่พึ่งพาภูมิภาคอื่นเกินความจำเป็น และต้องมีความร่วมมือ ปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้าสู่การปฎิวัตอุสาหกรรม 4.0 การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ,เทคโนโลยี ทั้งนี้ ทางเลขาธิการอาเซียน ยังกล่าวในที่ประชุมว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์มวลรวมของภูมิภาค หรือ จีดีพี และการลงทุนของภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นและมูลค่าเชิงบวกดีขึ้นในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ผู้นำอาเซียนยังเห็นพ้องการสร้างความยั่งยืน เพื่อการพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และนโยบายของสหประชาชาติ โดยไม่มีประเด็นใดที่ผู้นำมีความกังวล แต่ตั้งมั่นร่วมกันจะสร้างความเข้มแข็งและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง นอกจากนี้ทุกประเทศยังเน้นย้ำเรื่องการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ หรือ RcEP ให้เป็นไปตามเป้าหมายความสำเร็จภายในปีนี้ ซึ่งมองว่าการเจรจาวันนี้มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ เช่นเดียวกันกับการเห็นพ้องสนับสนุนในข้อเสนอของประเทศไทยเรื่องการต่อต้านขยะทะเล บรรจุให้เป็นวาระระดับภูมิภาค ทั้งนี้ผู้นำได้ลงนามรับรองเอกสารทั้ง 17 ฉบับด้วย

อาเซียนแนะทุกฝ่ายเตรียมรับมือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้นำอาเซียน พบหารือกับผู้แทนสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) โดยนายกรัฐมนตรีเสนอแนะให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ที่จะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในหลายรูปแบบ อาเซียนจึงควรมีแนวทางที่ช่วยให้ทุกภาคส่วน สามารถปรับตัวและได้รับประโยชน์ได้โดยเร็ว ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อเชื่อมโยงในอาเซียนทั้งทางกายภาพและทางดิจิทัล รวมทั้งผลักดันทุกระดับเพื่อสรุปผลการเจรจา RCEP ให้บรรลุโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับอาเซียน และเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลกได้อย่างมาก พร้อมกันนี้ ได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ที่มาข่าวเรียบเรียงจากสำนักข่าวไทย [1][2][3][4][5][6][7]

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ยูเอ็นเผยรายงานแคนาดาจัดการตั้งถิ่นฐานใหม่ให้ผู้ลี้ภัยมากที่สุดในปี 2561

$
0
0

สำนักงานผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่า 'แคนาดา' เป็นประเทศที่จัดการตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับผู้ลี้ภัยมากที่สุดในโลกในปี 2561 คือราว 28,100 ราย ขณะที่สหรัฐฯ เป็นอันดับสองคือราว 22,900 ราย


ที่มาภาพประกอบ: sarahcstanley(CC BY 2.0)

23 มิ.ย. 2562 จากรายงานกระแสโลกรายปีของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่ามีประชากร 70 ล้านคนถูกบีบให้ต้องหนีออกจากบ้านตัวเองเนื่องจากความรุนแรงหรือการถูกข่มเหงปราบปราม โดยในปี 2561 มีผู้ลี้ภัย 92,400 ราย ที่ได้รับการจัดการตั้งถิ่นฐานใหม่ใน 25 ประเทศ

รายงานขององค์กรผู้ลี้ภัยยูเอ็นอ้างอิงจากสถิติของรัฐบาลระบุว่าในปี 2561 แคนาดาที่มีประชากรทั้งหมด 37 ล้านคนทำการตั้งถิ่นฐานใหม่ให้กับผู้ลี้ภัยราว 28,200 ราย หรือราวร้อยละ 35 ของท้้ังหมด ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นๆ ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งมีประชากรราว 329 ล้านคนตั้งถิ่นฐานใหม่ให้ผู้ลี้ภัยมากเป็นอันดับ 2 คือราว 22,900 ราย 

โดยตัวเลขผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่ได้รับการแปลงสัญชาติในปี 2561 อยู่ที่ 62,600 ราย ซึ่งในกรณีนี้มีผู้ได้รับการแปลงสัญชาติมากที่สุดในตุรกีอยู่ที่ 29,000 ราย ขณะที่แคนาดาเป็นอันดับสองคือ 18,300 ราย โดยมีการแปลงสัญชาติให้กับผู้ลี้ภัยจาก 162 ประเทศ ทั้งนี้แคนาดายังเป็นประเทศที่มีผู้ลงทะเบียนขอลี้ภัยมากที่สุดเป็นอันดับที่ 9 ในปี 2561 อยู่ที่ 55,400 ราย

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีผู้ลงทะเบียนขอลี้ภัยมากที่สุดในปี 2561 อยู่ที่ 254,300 ราย อันดับที่สองคือเปรูอยู่ที่ 192,500 ราย โดยที่เปรูนั้นมีจำนวนผู้ลี้ภัยก้าวกระโดดจาก 37,800 รายในปี 2560 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้ขอลี้ภัยในเปรูส่วนใหญ่มาจากเวเนซุเอลา ส่วนเยอรมนีมีจำนวนผู้ขอลี้ภัยลดลง โดยมีตัวเลขเป็นอันดับที่ 3 คือ 161,900 ราย

สื่อ CNN ระบุว่ารัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่มความเข้มงวดในด้านการตั้งรกรากให้ผู้ลี้ภัยมากขึ้น โดยทรัมป์เคยอ้างว่าโครงการผู้ลี้ภัยของสหรัฐฯ เป็น "การหลอกลวง" เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา และนับตั้งแต่ที่ทรัมป์อยู่ในตำแหน่งสหรัฐฯ ก็ทำการลดจำนวนการตั้งถิ่นฐานของผู้ลี้ภัยลง โดยตัวเลขจากปี 2560 แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯ ลดจำนวนการตั้งถิ่นฐานผู้ลี้ภัยลงร้อยละ 65 จากปีก่อนหน้านี้ 

ต่างจากรัฐบาลจัสติน ทรูโด ของแคนาดาซึ่งเปิดรับผู้ลี้ภัยมากกว่า ทรูโดเคยกล่าวไว้เมื่อปี 2559 ว่า "จากเท็จจริงที่ว่าชาวแคนาดาเข้าใจเรื่องผู้อพยพ รู้ว่าผู้คนหนีเพื่อเอาชีวิตรอด รู้ว่าผู้คนต้องการสร้างชีวิตที่ดีกว่าสำหรับตัวเองและลูกหลานของพวกเขา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ก่อร่างสร้างแคนาดาขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่ก่อร่างสร้างอเมริกาเหนือขึ้นมา"

รายงานของยูเอ็นระบุอีกว่าจนถึงช่วงปลายปี 2561 มีประชากรผู้ลี้ภัยทั่วโลกอยู่ที่ 25.9 ล้านคน นับเป็นจำนวนตัวเลขสูงสุดเท่าที่เคยได้บันทึกไว้ พวกเขาระบุอีกว่าตำวเลขผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากซีเรียอยู่ที่ 6.7 ล้านคน ซึ่งมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 6.4 ล้านคน

เรียบเรียงจาก
Canada resettled the highest number of refugees in the world last year: UN, Daily Hive, 19-06-2019
https://dailyhive.com/vancouver/canada-refugee-resettlement

Canada resettled more refugees than US in 2018, UN says, CNN, 20-06-2019
https://edition.cnn.com/2019/06/19/americas/canada-us-refugee-resettlement-hnk-intl/index.html

Global Trends Forced Displacement in 2018
https://www.unhcr.org/statistics/unhcrstats/5d08d7ee7/unhcr-global-trends-2018.html

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

กทม.จับมือ สปสช.เขต 13 ชวนผู้สูงอายุตรวจสุขภาพฟรี 11 รายการ

$
0
0

กทม.จับมือ สปสช.เขต 13 ตั้งคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร เชิญชวนผู้สูงอายุตรวจคัดกรองสุขภาพฟรี 11 รายการ ชี้หากปล่อยให้เกิดโรคจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมาก ดังนั้นป้องกันไว้ตั้งแต่ต้นดีกว่า ตั้งเป้าปีนี้ตรวจคัดกรองได้ 10,000 ราย และปีต่อไปขยายคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรเพิ่มเป็น 40 โรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขครบทั้ง 68 แห่งทั่ว กทม.

23 มิ.ย. 2562 นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กทม.ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 จัดทำโครงการคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อขยายการคัดกรอง และส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ กทม.ให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงขอเชิญชวนผู้สูงอายุและญาติที่มีผู้สูงอายุในครอบครัว ไปรับบริการในหน่วยบริการที่มีการจัดตั้งคลินิกดังกล่าวได้ฟรีทุกสิทธิ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

นพ.สุขสันต์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ ซึ่งเปิดดำเนินการอยู่ใน 9 โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กทม. อย่างไรก็ดี ด้วยความที่ กทม.มีประชากรหนาแน่น คาดว่ามีทั้งประชากรตามทะเบียนราษฏรและประชากรแฝงในพื้นที่กว่า 10-12 ล้านคน และจากการสำรวจสำมะโนประชากรผู้สูงอายุพบว่ามีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีประมาณ 17% หรือ 1 ล้านคน ด้วยเหตุนี้เพื่อให้การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุครอบคลุมมากขึ้น ทาง กทม.จึงได้หารือกับ สปสช.เขต 13 เพื่อขยายการดำเนินการคลินิกผู้สูงอายุและงบประมาณในการดำเนินการ ภายใต้ชื่อโครงการคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร

ทั้งนี้ เดิมที สปสช.เขต 13 กทม.มีงบประมาณส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับตรวจคัดกรองผู้สูงอายุอยู่แล้ว 8 รายการ คือ 1.การตรวจสุขภาพ 2.เจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจวัดระดับเม็ดเลือด ระดับไขมัน 3.วัดภาวะความซึมเศร้า 4.วัดภาวะสมองเสื่อม 5.ดูเรื่องโภชนาการ 6.ประเมินการใช้ชีวิตประจำวันหรือ ADL 7.ประเมินเรื่องการใช้ยา และ 8.ประเมินภาวะกระดูกพรุน

ขณะที่ กทม.เห็นว่ายังมีรายการตรวจคัดกรองที่สำคัญอีก 2-3 รายการ ดังนั้นคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรจะมีรายการตรวจเพิ่มขึ้นมาอีก 3 รายการ คือ 1.การคัดกรองภาวะการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ 2.การวัดภาวะพลัดตกหกล้ม และ 3.ให้คำแนะนำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพโดยสหสาขาวิชาชีพไม่น้อยกว่า 3 สาขา เช่น เป็นโรคควรทำอย่างไร ไม่เป็นโรคควรทำอย่างไร โดยคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรนี้จะให้บริการตรวจคัดกรองทั้ง 11 รายการแบบ One Stop Service จุดเดียวเบ็ดเสร็จ และ 3 รายการที่เพิ่มขึ้นมานี้ทางหน่วยบริการสามารถเบิกงบ On top จาก 8 รายการเดิมได้ ซึ่งเชื่อว่าการมีงบประมาณสนับสนุนจาก สปสช. จะเป็นแรงขับดันอย่างหนึ่งที่ทำให้หน่วยบริการสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น

นพ.สุขสันต์ กล่าวว่า ในปีนี้มีหน่วยบริการเข้าร่วมโครงการแล้วประกอบด้วยโรงพยาบาล 24 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุขของสำนักอนามัย กทม.อีก 30 แห่ง ตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะสามารถตรวจคัดกรองผู้สูงอายุได้ 10,000 ราย โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ของ สปสช. เขต 13 และจะนำรายชื่อขึ้นอัพเดทในเว็บไซต์ของสำนักการแพทย์ต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้ารับบริการสามารถความจำนงค์ได้ที่โรงพยาบาลหรือศูนย์บริการสาธารณสุข ทางหน่วยบริการจะทำบัตรและให้เข้ารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุครบวงจรโดยคัดกรองตามรายการทั้ง 11 รายการ หากต้องมีการรักษาพยาบาลเกิดขึ้นก็จะเข้าสู่กระบวนการเบิกจ่ายตามสิทธิ หรือกรณีที่ต้องส่งต่อและโรงพยาบาลตามสิทธิไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแล ก็สามารถส่งต่อไปอีกเครือข่ายหนึ่งของกทม. ที่มีชื่อว่าโครงการกทม.ใส่ใจผู้สูงวัยหัวใจแกร่ง ซึ่งมี 14 โรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการ ทำให้ง่ายต่อการส่งต่อ แทนที่จะส่งต่อในระบบของ สปสช.เท่านั้น ก็สามารถส่งในโซนนิ่งทั้ง 14 โรงพยาบาลนี้ได้ด้วย

นพ.สุขสันต์ กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินงานในปีต่อไป จะขยายใน 2 ประเด็น คือ 1.ขยายฐานการคัดกรองผู้สูงอายุโดยจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุครบวงจรให้มากขึ้น ปัจจุบันในพื้นที่ กทม.มีโรงพยาบาล 156 แห่งและศูนย์บริการสาธารณสุขอีก 68 แห่ง ปีต่อไปตั้งเป้าเพิ่มโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเป็น 40 แห่งและจัดตั้งให้ครบทั้ง 68 ศูนย์บริการสาธารณสุข ตลอดจนขยายไปในคลินิกชุมชนอบอุ่นของ สปสช. เขต 13 ซึ่งปัจจุบันมี 200 กว่าคลินิก

2.การขยายในเรื่องการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ตั้งแต่ อสส. พยาบาล Care Giver รวมทั้งแพทย์และพยาบาลใน 5 เรื่องหลักๆ คือการป้องกันภาวะสมองเสื่อม เรื่องการใช้ยา ภาวะทุพโภชนาการ การพลัดตกหกล้ม และข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ขณะที่สำนักการแพทย์เองก็จะจัดตั้ง Excellence Center ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อให้ความรู้และรับส่งต่อกรณีเคสยากๆ ต่อไป

"ขอเชิญพี่น้องผู้สูงอายุในพื้นที่ กทม.มารับบริการตรวจคัดกรองในคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร เพราะถ้าเราทราบตั้งแต่ต้นก็จะทำให้สามารถป้องกันโรคที่จะเกิดในอนาคต หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีความเสี่ยงแล้ว หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีโรค รวมทั้งที่พบบ่อยคือภาวะสมองเสื่อมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ โรค การมารับบริการตรวจคัดกรองสุขภาพจะทำให้ทราบว่าตัวเองมีคุณภาพชีวิตอย่างไร มีความเสี่ยงอย่างไร ทางแพทย์และพยาบาลก็จะให้คำแนะนำในการป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงลุกลาม และถ้าพบโรคก็จะส่งไปรักษาตั้นแต่ต้นไม่ให้โรคลุกลามขึ้น" นพ.สุขสันต์ กล่าว

นพ.สุขสันต์ ย้ำว่าถ้าร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยลดภาระต่างๆ ได้มาก แต่ถ้ารอเป็นโรค ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายและที่สำคัญคือต้องหาคนมาดูแล ถ้าไม่มีคนก็ต้องจ้างซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก หรือต้องไปนอนโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายเยอะแยะเช่นกัน ความเครียดก็ตามมาเต็มไปหมด ดังนั้นมาคัดกรองและป้องกันไว้ตั้งแต่ต้นดีกว่า

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ขสมก.เผยจะไม่หยุดให้บริการ 'รถเมล์สาย 515' วิ่งบนทางด่วน

$
0
0

รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. ยืนยันจะไม่หยุดให้บริการรถเมล์สาย 515 บนทางด่วน เนื่องจากได้หารือกับกรมขนส่งทางบกแล้วไม่ได้สั่งให้หยุดเดินรถแต่ขอให้ยื่นเงื่อนไขปรับปรุงการเดินรถมาให้ถูกต้องตามกฎหมายเพราะการเปิดทดลองวิ่งให้บริการไม่มีกฎหมายรองรับ 25 มิ.ย. 2562 นี้จะทำหนังสือไปยังกรมขนส่งทางบกอีกครั้งว่าจะเดินรถเส้นทางนี้ต่อไป เพราะหลังเปิดทดลองให้บริการแล้วมีประชาชนใช้บริการอย่างมาก 


ที่มาภาพประกอบ: รถเมล์ไทยแฟนคลับ Rotmaethai.com

23 มิ.ย. 2562 สืบเนื่องจากกรณีที่ผู้โดยสารรถเมล์ปรับอากาศสาย 515 (ทางด่วน) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค Damrongsak Sattabutระบุว่าขณะกลับจากทำงาน พบเห็นความผิดปกติ เมื่อมีพนักงานสวมเครื่องแบบประมาณ 6-7 คน ยืนถือกระดาษตีตารางเป็นช่องๆ เมื่อผู้โดยสารเต็มรถ ก็แจ้งว่า "วันที่ 3 ก.ค. 2562 กรมขนส่งทางบกจะยกเลิกสัมปทานในการเดินรถประจำทาง ปรับอากาศสาย 515 (ทางด่วน) ถ้าหากผู้โดยสารต้องการจะให้รถของเราสามารถทำการในเส้นทางพิเศษนี้ต่อไป รบกวนช่วยลงชื่อเห็นชอบ ให้รถทางด่วนนี้มีต่อ" เนื่องจาก พนักงานอ้างว่า กรมขนส่งทางบก เพิ่งส่งหนังสือแจ้งมาว่า มีคนร้องเรียนเรื่องรถโดยสารวิ่งบนทางด่วน ทำให้รถยนต์ปกติ ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง

ซึ่งโดยปกติ รถประจำทางสาย 515 จะวิ่งจากศาลายา ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเส้นทางนี้จะมีรถติดหนักมากๆ แถวแยกการเรือน และหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รถเมล์สายนี้เล็งเห็นปัญหารถติด จึงเพิ่มเส้นทางเดินรถพิเศษมา เพื่อเลี่ยงบริเวณดังกล่าว โดยไปขึ้นทางด่วนพระราม 6 แทน ซึ่งคิดค่าโดยสารเพิ่มจากปกติเพียง 2 บาท

ทั้งนี้ตนในฐานะผู้ใช้รถโดยสารสาธารณะ 515 มายาวนาน เห็นว่าเส้นทางเดินรถด่วนดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมาก ช่วยลดเวลาเดินทางได้ 30 นาที ถึง 1 ชม.กว่า จึงอยากขอให้กรมขนส่งทางบกพิจารณาและหาทางออกที่ดีแก่ผู้ที่ต้องใช้ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะด้วย

ต่อมากรมการขนส่งทางบกได้ชี้แจงว่าก่อนหน้านี้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้มีหนังสือขอทดลองเดินรถสายที่ 515 จากสถานีรถไฟฟ้าพญาไท – หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา โดยขอเพิ่มช่วงสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยใช้ทางด่วน ซึ่งจะเริ่มจัดการเดินรถตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2562 เป็นต้นไป ซึ่งกรมการขนส่งทางบก โดยสำนักการขนส่งผู้โดยสาร ได้ตรวจสอบรายละเอียดเส้นทางเดินรถแล้ว พบว่าเส้นทางดังกล่าวยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จึงมีหนังสือด่วนแจ้งให้ ขสมก. ทราบว่าไม่อาจพิจารณาอนุญาตให้ ขสมก. ทดลองเดินรถโดยสารตามที่ขอมาได้  และขอให้ ขสมก. ต้องยื่นขอปรับปรุงเส้นทาง และเงื่อนไขการเดินรถ ให้เรียบร้อยก่อนนำรถมาวิ่งในเส้นทางนี้  

ด้าน นายวีระพงศ์ วงแหวน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ขสมก. เปิดเผยว่า หลังเกิดกรณีนี้ ทางสหภาพฯ จึงไปสอบถามความเห็นประชาชน และให้ร่วมลงชื่อคัดค้านการยกเลิกรถเมล์สาย 515 โดยมีประชาชนลงชื่อแล้วกว่า 3,000  คน เนื่องจากรถสาย 515  ที่นำมาทดลองวิ่งนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงในช่วงการจราจรติดขัดบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกตึกชัย และสะพานซังฮี้ จึงมองว่าเมื่อประชาชนเรียกร้องมามากขนาดนี้ก็ไม่ควรยกเลิกเส้นทาง โดยในวันที่ 26 มิ.ย. 2562 นี้ สหภาพฯ ขสมก. จะขอเข้าพบอธิบดีกรมกรมการขนส่งทางบก เพื่อขอความชัดเจนเรื่องนี้ด้วย

ล่าสุดเว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่านายประยูร ช่วยแก้ว รักษาการผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ยืนยันว่า ขสมก.จะไม่หยุดให้บริการรถเมล์สาย 515 บนทางด่วน เนื่องจากได้หารือกับกรมขนส่งทางบกแล้ว โดยชี้แจงว่าเป็นความต้องการของประชาชน ซึ่งทางกรมขนส่งทางบกก็ไม่ได้ข้ดข้องและไม่ได้สั่งให้หยุดเดินรถ แต่ขอให้ยื่นเงื่อนไขปรับปรุงการเดินรถมาให้ถูกต้องตามกฎหมายเพราะการเปิดทดลองวิ่งให้บริการไม่มีกฎหมายรองรับ และในวันที่ 25 มิ.ย. 2562 นี้ ก็จะทำหนังสือไปยังกรมขนส่งทางบกอีกครั้งว่าจะเดินรถเส้นทางนี้ต่อไป เพราะหลังเปิดทดลองให้บริการแล้วมีประชาชนใช้บริการอย่างมาก ได้รับการตอบรับดีถึง 600-700 คนต่อวัน เพราะประหยัดเวลาการเดินทางจากศาลายาไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งปกติต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง ก็เหลือเพียง 1 ชั่วโมง เท่านั้น  

นายประยูร ยังชี้แจงว่าที่ต้องขอทดลองเดินรถก่อนนั้นเพราะที่ผ่านมารถแต่ละสาย ไม่มีการทดลองวิ่งมาก่อน เมื่อเปิดให้บริการจริงก็ประสบปัญหาขาดทุน แต่หลังจากมีการทดลองกับสาย 515 แล้วพบว่าได้รับการตอบรับที่ดี ขสมก.ก็เห็นว่าควรเปิดให้บริการต่อไป ส่วนประเด็นเรื่องความผิดการนำรถไปวิ่งบนทางด่วนก่อนได้รับอนุญาตนั้น จากการหารือกับกรมการขนส่งทางบกก็ไม่ได้ติดใจอะไร และเข้าใจดีว่าเป็นเจตนาที่ ขสมก.ต้องการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและเป็นประโยชน์ต่อภาพรวม 

ที่มาเรียบเรียงจาก ไทยรัฐออนไลน์, เว็บไซต์ข่าวสด

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

นิด้าโพลชี้คนมอง 3 เดือนหลังเลือกตั้ง ส.ส.มัวแต่แย่งเก้าอี้

$
0
0

ผลสำรวจ 'นิด้าโพล' พบประชาชนมีความเห็นต่อบทบาทของ ส.ส. ในช่วงที่ผ่านมา 3 เดือนหลังการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.44 ระบุว่า ส.ส. ส่วนใหญ่มัวแต่ต่อสู้กันเพื่อแย่งตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีรองลงมา ร้อยละ 35.79 ระบุว่าหลังการเลือกตั้ง ส.ส. หายหน้าไปเลย ร้อยละ 34.30 ระบุว่า ส.ส.ส่วนใหญ่แสดงบทบาททางการเมืองแบบเดิม ๆ เช่น ด่ากันไปมา และชอบอ้างประชาชน ร้อยละ 31.95 ระบุว่า ส.ส.จากพรรคที่จะเป็นรัฐบาล เอาแต่จับกลุ่มต่อรองตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 16.29 ระบุว่า ส.ส.จากพรรคที่จะเป็นฝ่ายค้าน ใช้เป็นแต่วาทกรรมเพื่อล้มรัฐบาล

23 มิ.ย. 2562 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง '3 เดือนหลังการเลือกตั้งทั่วไป' ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20-21 มิ.ย. 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น จำนวน 1,277 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทบาทของ ส.ส. ในช่วงที่ผ่านมา 3 เดือน หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของ ส.ส. ในช่วงที่ผ่านมา 3 เดือนหลังการเลือกตั้งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.44 ระบุว่า ส.ส. ส่วนใหญ่มัวแต่ต่อสู้กันเพื่อแย่งตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีรองลงมา ร้อยละ 35.79 ระบุว่าหลังการเลือกตั้ง ส.ส. หายหน้าไปเลย ร้อยละ 34.30 ระบุว่า ส.ส.ส่วนใหญ่แสดงบทบาททางการเมืองแบบเดิม ๆ เช่น ด่ากันไปมา และชอบอ้างประชาชน ร้อยละ 31.95 ระบุว่า ส.ส.จากพรรคที่จะเป็นรัฐบาล เอาแต่จับกลุ่มต่อรองตำแหน่งทางการเมือง ร้อยละ 16.29 ระบุว่า ส.ส.จากพรรคที่จะเป็นฝ่ายค้าน ใช้เป็นแต่วาทกรรมเพื่อล้มรัฐบาล ร้อยละ 9.16 ระบุว่า ส.ส.ที่เลือกไปขยันลงพื้นที่พบประชาชนร้อยละ 8.69 ระบุว่า ส.ส. ส่วนใหญ่ในสภามีความกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อประชาชน ร้อยละ 8.30 ระบุว่า ส.ส.ส่วนใหญ่แสดงบทบาทใหม่ในการเป็นมืออาชีพในการทำงานเพื่อประชาชน และร้อยละ 5.48 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อ ส.ส. ที่ไม่มีตำแหน่งในรัฐบาลว่าจะสามารถผลักดันนโยบายและทำงานเพื่อประชาชนได้พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.70 ระบุว่าได้เพราะจะสามารถทำงานตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน และเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน รองลงมา ร้อยละ 35.00 ระบุว่า ไม่ได้ เพราะ จะไม่สามารถทำตามนโนบายที่สัญญาไว้กับประชาชน และในขณะที่ ส.ส. บางคนไม่มีความรู้ความสามารถในการผลักดันนโยบาย และร้อยละ 12.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกผู้สมัคร ส.ส. หรือ พรรคการเมืองเดิมหากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.04 ระบุว่า ลงคะแนนให้กับผู้สมัคร ส.ส.หรือพรรคการเมืองเดิมที่เคยเลือก รองลงมา ร้อยละ 21.22 ระบุว่า ลงคะแนนให้กับผู้สมัคร ส.ส. หรือพรรคการเมืองอื่นร้อยละ 5.01 ระบุว่า ไปเลือก แต่ไม่ลงคะแนนให้ใคร (Vote No) ร้อยละ 2.74 ระบุว่า ไม่ไปลงคะแนน ร้อยละ 2.51 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ขอดูนโยบายของพรรคก่อน ดูว่า ส.ส.ที่จะเลือกอยู่พรรคไหน และร้อยละ 9.48 ระบุว่าไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

อ่านผลสำรวจฉบับเต็ม: NIDA_Poll_3_months_after_the_general_election 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

400 นศ. ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำอาเซียน ระบุรัฐบาลไทยชุดนี้มาจากกระบวนการที่ไม่ชอบธรรม

$
0
0

23 มิ.ย. 2562 มีการเผยแพร่ 'จดหมายเปิดผนึกจากนักศึกษาชาวไทยจำนวน 400 คน ถึงผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน' ผ่านเฟสบุ๊ค ธนวัฒน์ วงค์ไชย - Tanawat Wongchaiโดยเนื้อหาของจดหมายเปิดผนึกนี้ระบุว่า เรียน ท่านผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน เรา นักศึกษาชาวไทยจำนวน 400 คน จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ขอต้อนรับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทุกท่านในการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน พ.ศ.2562 ด้วยความยินดียิ่ง

เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้รับโอกาสเป็นประธานอาเซียนและเจ้าภาพในการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้ แต่บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในวันนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม การเลือกตั้งทั่วไปของประเทศไทยในวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา เต็มไปด้วยคำถามถึงความบริสุทธิ์และยุติธรรมของการเลือกตั้ง มีการใช้รัฐและกลไกของรัฐในการแทรกแซงการเลือกตั้ง มีการบิดเบือนเจตจำนงของประชาชน ทั้งยังมีการแต่งตั้ง ส.ว. อีก 250 คน ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและล้วนแล้วแต่เป็นพวกพ้องของคณะรัฐประหารเสียทั้งสิ้น เข้ามาโหวตเลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

เสียงของพรรคการเมืองที่ประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ในช่วงการเลือกตั้ง มีเพียง 8 ล้านกว่าเสียงเท่านั้น ในขณะที่พรรคการเมืองที่ประกาศไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ในช่วงการเลือก มีมากถึง 20 ล้านเสียง ดังนั้น เสียงของประชาชนที่เลือกพรรคการเมืองที่ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ กลับมาเป็นนายก จึงมีมากกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ พล.อ.ประยุทธ์ กลับสามารถหวนคืนมาเป็นนายกได้อีกครั้ง ด้วยกติกาอันบิดเบี้ยวและองค์กรอิสระที่คอยค้ำชูการสืบทอดอำนาจให้ระบอบเผด็จการกลายมาเป็นระบอบเผด็จการแปลงกาย

เรายินดีต้อนรับทุกท่าน แต่เราต้องการบอกกับทุกท่านว่ารัฐบาลชุดนี้ได้มาจากกระบวนการที่ไม่ชอบธรรม ได้มาจากการเลือกตั้งที่ไม่เสรีและเป็นธรรม และไม่ได้สะท้อนซึ่งเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนชาวไทยแต่ประการใด

ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง,

ธนวัฒน์ วงค์ไชย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิรินทร์ มุ่งเจริญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาริศา เจริญผล มหาวิทยาลัยพายัพ
เมธา น้อมภักดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ธนิสร ลุณพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ราเชนทร์ ภุชชงค์ ธรรมศาสตร์
เหมราช เหมตาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
นางสาวศุภาวรรณ์ คุ้มระบาย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
เฉลิมชัย นิยมธรรม ราชภัฏจันเกษม
สุทธิดา คำปัน มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
Anas Yusoh Thaksin University 
Jidamas Chaweekaewdee KU
ยุพาภรณ์ ชัยศรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาวินี งามบุญช่วย หอการค้าไทย
นายจตุพล คำมี เชียงใหม่
ธนวัฒน์ สมใจ มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
วัชรพล ชุ่มใจ ธรรมศาสตร์
ฐานิดา ผลพฤกษา เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รสิก ได้ผลธัญญา เกษตรศาสตร์
สรวิศ กองศรีมา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปรัชญา บูรณศิริศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นายญานพล ประทุมมณี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
เจษฎาพร โจมฤทธิ์ วลัยลักษณ์
อัครภูมิ พิศาลวานิช มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ร่มไทร เปี่ยมมงคล ราชมงคลธัญบุรี
นางสาวซีตีมารีญัม บินอาแว ม.อ.ปัตตานี
สุรพงษ์ คงไพริน รัตนบัณฑิต
นางสาวแสงรุ่ง ชูศรีทอง ราชภัฏพระนคร
พรประภา ขุนเสร่ มหาวิทยาลัยทักษิณ 
นพฤทธิ์ พุทธลัดดา บูรพา
พร้อมสิน บุญจันทร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นายบริรักษ์ ทีจันทึก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ศรชัย ก้อนทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ
ซัลมา องสารา มหาวิทยาลัยทักษิณ
อินทิรา วุฒิชัยรังสรรค์ ขอนแก่น
วิรศักดิ์ สมพันธ์ มหาลัยรังสิต
ศิรินทิพย์ สมหมาย มหาวิทยาลัยทักษิณ
นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ สิทธิสร รามคำแหง
จิดาภา ตรีบวรรัตนะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นูรีฮัน เจ๊ะแต มหาวิทยาลัยทักษิณ
อติวิชญ์ โตสุทธิศักดิ์ เชียงใหม่
ชมเพชร พลอยนุช University of California Los Angeles (UCLA)
ณัฐวัตร ก้อนทองดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธัญเทพ เกษแก้ว ราชมงคลเทคนิคกรุงเทพ
ชนัญชิดา พนาศิลปกุล ธรรมศาสตร์
ฝารีด๊ะ เจ๊ะสนิ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ธมลวรรณ พันธ์ประเสริฐ รามคำแหง
อาดีละห์ ประดู่ มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตสงขลา)
เจ๊ะรุสณี รัตนศรีสุข มหาวิทยาลัยทักษิณ
นาย ธวัชชัย เมณฑ์กูล มหาวิทยาลัยนเรศวร
Kollawach Doklumjiak Ramkhamhaeng University
นิรชา สุทธิรักษา ขอนแก่น
วรรณรัตน์ สาสุวรรณ์ รามคำแหง
นายตะวัน ขจร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
นางสาว นุสรา ชูแก้ว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ธนูทอง มงคลแก้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิเดช ยอดขันธ์ ธรรมศาสตร์
Kaecha Sai-ed Mae Fah Luang University
นางสาว เจตนันท์ จำนงค์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
กฤตพร จันดา มศว.
ชานนท์ โพธิ์ยิ้ม มหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ
Mr.Wachirawit Tessrimuang Khonkaen University
นภัสสร ท้าวสูงเนิน ธรรมศาสตร์
Komkrit Phornsomboon Thammasat
Alongkot Phujeenaphan University of Phayao
กมนัช แย้มแสง 名古屋大学
เพชราพรรณ พุ่มชะเอม มหาวิทยาลัยนเรศวร
ธวัชชัย ไกรการ วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง
นาย ภัทรกร ยอดพันปา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
นายกิตติศักดิ์ ภูผา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
สหรัถ นุ้ยอยู่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Saksri phansuk มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นางสาวกัญญารัตน์ นวลมะโน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
นส.พรสวรรค์ วุฒิสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
นางสาวรัชนีฉาย สังข์ทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร
วณิชชา ชลายนเดชะ เกษตรศาสตร์
ไตรภพ อินทจักร โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
กฤตนู เอกวัฒนากุล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
นายฤทธิชัย ภัสสร มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
ภูภัชร พัฒนธารธาดา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางสาวศศิประภา ทองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ภัทร อัศวจำรูญ thammasat university
จิระวัฒน์ พูลสมบัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กัญญารัตน์ บุญวิจิตร มหาวิทยาลัยอุบราชธานี
รัฐศาสตร์ เปลี่ยนวงศ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
กมลวรรณ สนิทผล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นางสาวจิณห์นิภา ยางม่วง ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
สาวิตรี ทินบุตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ปาริชาติ เมืองสูน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สุธิดา เพ็ชรพันธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นางสาวธนัญญา เกิดเกียรติกุล ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
ณัฐริกา อุปถัมภ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานขก
นางสาวกัณฑิมา ศรีเหรา ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
นางสาวอมรวรรณ แซ่เจียว แม่ฟ้าหลวง
ณัฐฐาพร เพชรวงศ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
ณัฐวุติ มะปราง เทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
นางสาวสุนันฑา จำภูพาน ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
นางสาวธัญจิรา ภักดีรักษ์ ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
กรณัฐ นิปกานนท์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นาย ธนภัทร ประจำวงษ์ ราชภัฏวไลยลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์
นายปพน เงินศรี ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
มาริสา สีสังชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
นายปฏิภาณ ปาลวงษ์ ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
นายชัยณรงค์ฤทธิ์ ใจทน ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
นายนฤทธิ์ ภูมิคอนสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
นางสาวกนกวรรณ รอดจรูญ ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
นัตพร แซ่ซื้อ มหาวิทยาลัยบูรพา
อรพินท์ นิ่มอนงค์ ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
อภิวิชญ์ พรหมอารักษ์ ธรรมศาสตร์
ปภัสสร ขาวสอาด ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
หทัยรัตน์ ผลจันทร์ บูรพา
กมลวรรณ โกศลกสิกิจ ราชมงคลสุวรรณภูมิศูนย์สุพรรณบุรี
ปัญทิพย์ แก้วเหล็ก ธรรมศาสตร์
หัสยา ขำทวี ศิลปากร
นางสาว สิริวิมล แสงศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ปิยนาถ คงทัพ มหาวิทบูรพา
สโรชา สว่างศรี ราชภัฏสวนสุนันทา
สรัญญา สังข์ศรีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จัดรีรัช
ธนาวุฒิ เล่าลือธรรม ปัญญาภิวัฒน์ PIM
ธงชัย แก้วเขียว แม่โจ้
นฤเบศร์ เอี่ยมไอ Shinshu University Japan
สุวรรณ ทองเหลือ เกษตรศาสตร์
ศิริวุฒิ เอียดเอื้อ นเรศวร
นายภาสกร ศรีอินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ณัฏฐา พันธะสาร มหาวิทยาลียเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ธีรพัฒน์ สอนา วิทยาลัยเทคนิคจะนะ
วิลาสินี พรมจินดา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
พิสิษฐ์ ไทยรัตนานนท์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สิริวิมล สรรพ์สมบัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
น.ส.รัชฎาภรณ์ เพียรดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
นางสาวสุทธิตา กล่ำมา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มุนินทร์ ขันโท เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา
นายอัษฎาพร อินทร์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ปพิชญา ภูมิโคกรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
อิทธิชัย ช้างทิม วิทลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ
ภัคจิรา นวมภักดี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เก้ากล้า เกิดทวี ธรรมศาสตร์
ธิดาวัน ศรีพรม เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ฐิติพงศ์ ราชวงศ์ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปรัชญ์ มาประโพธิ์ เกษตรศาสตร์
ณัฐนนท์ เเซ่ลี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการสัตหีบ
วันสิทธิ์ พินิจจันทร์ (Wansit Phinijjun) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ (Nakhon sawan Rajabhat University)
Tidarat Jerdprawat Saint Louis College
ธัญชนก เขียวแป้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกวลิน หวังใจ เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
สันติภาพ วันนะราช สวนดุสิต
แดเนียล โอเวน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ปิติยาพร อดทน มหาลัยสวนดุสิต
พิพัฒน์ มหามาตย์ ราชภัฏชัยภูมิ
อภิสิทธิ์ ศรีไสย อีสเทิร์นเอเชีย
Thanakorn inthanee Kmutnb
นางสาวพนิตอนงค์ มิตรรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
Noraset Deeduangpan Kasetsart university
อารักขา ลำทา มหาวิทยาลัยพะเยา
ณัฐธยาธ์ ลาวัณย์วิสุทธิ์ ณัฐธยาธ์ ลาวัณย์วิสุทธิ์
Sittar Jansakorn สิทธาร์ จันทร์สาคร Chiangmai University มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นางสาวมุทิตา ขาวผิว รชภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ธวัชชัย เคามั่น มหาวิทยาลัยรังสิต
ธันธิรา ยะคะเสม ธรรมศาสตร์
ภัทรจาริน ตันจำรัส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิรวิทย์ เจริญสุขอนันต์ ม.บูรพา
Kittithus hankla bangkok university
กฤตพจน์ แก้วเสมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
นายพัชรพล เสริมสุขรุ่งสกุล มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
อักษราภัค ชัยปะละ มหาวิทยาลัยพะเยา
ปฐมพงศ์ แสนสุข มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาณกร ทองบาง เกษตรศาสตร์
เกรียงไกร เพ็งพล รามคําแหง
จิรายุ มารุ่งเรือง พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ธนากร กลอส อมรนิติโชคสกุล พะเยา
นางสาวจุฑาทิพย์ ศรีเมือง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สรวิทญ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ณัฐนันท์ เพ็ชรพิจิตร มหาวิทยาลัยพะเยา
ชลธิชา เดชขุนทด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
สุรภัฎ กอบเเก้ว มหาวิทยาลัยพะเยา
กาญจนรัตน์ โพธิสัตย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ประไพพร ศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภัคพล ชิดรัมย์ ราชภัฏบุรีรัมย์
ฐิติรัตน์ จำนงค์ จุฬาลงกรณ์
วรกร อภิงามสินสกุล เชียงใหม่
เอกรินทร์ อินใจ ราชภัฎสวนสุนันทา
Tas Surasaranwong Kasetsart University
จิราพร พุดเหียง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่ รุ่น10 (สมทบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
นายชินภัทร วงค์คม มหาวิทยาลัยพะเยา
พงศ์ภาวี พีระธัญวงศ์ เกษตรศาสตร์
นฤพนธ์ วงศ์วิลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สัณหนัฐ สิทธิวุฒิวรพันธุ์ แม่ฟ้าหลวง
นายพชรดนัย ดิษสุวรรณ ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
พัณณ์ชิตา เรืองกุลสุรัชต์ เกษตรศาสตร์
ณัฐภูมิ เสาเคหา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นางสาวมธุมิส สมานทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วรกิตติ์ เต่าทอง มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
นาย คณุตม์ อุ่นใจ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขต สุราษฎร์ธานี
วิศรุต เหล็มหมาด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
นางสาววรรณพร พุทธบุญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
นางสาวปิยาพัชร นนทะสี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ธีระพงษ์ สกุลกลาง รามคำแหง
พิชยพรรณ ช่วงประยูร (Pichayapan Chuangprayoon) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปริญญา โฆษิตตารักษ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
กิ่งกมล เจริญก่อบุญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เชษฐพงษ์ จันทร์เจริญ เกษตรศาสตร์
นายณัฐวัฒน์ เพียงจันทา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Nichaya Langkapin Chulalongkorn University 
นายสุทธาวาส ศรีภูมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
นายวรปรัชญ์ รัตนะ สงขลานครินทร์
นิพิฐพนธ์ บุญคง บูรพา
นางสาวชนิดาภา มาตายะศรี รามคำแหง
กษิเดช แสงศรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชูเกียรติ์ ก้อนบุญไสย กศน.
ณภัทร เมฆสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายอรรถกร แว่นไธสง มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Krisada Suphantamart Khonkaen university 
วินัย สัมฤทธิ์ผล มหาวิทยาลัยพะเยา
นิธิ พุทธจักร์ อุบลราชธานี
อดิศร อินทรสืบวงค์ ธรรมศาสตร์
อภิชญา บุญโสภา ศรีนครินทรวิโรฒ
สุวัจน์ พุทธจักร์ วิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
นางสาวปุญยณัฏฐ์ เกษแก้วกาญจน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เอกทอง บุญโสภา รังสิต
อัจฉราพร สั่งดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นายพฤกษณชน พรมวอน ธรรมศาสตร์
ศิริโรจณ์ เมืองมูล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พีรสรรพ์ บุญเกิด มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศิราณี เครือแวงมนต์ เวสเทิร์น 
โชตะ ฟูจิตะ เชียงใหม่
นาย ณัฐพล ประทุมทอง รังสิต
สุภาภรณ์ ด้วงคำสี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นส.สิริรัตร์ บุญต้อ วิทลัยเทคนิคนครนายก
นายกรภัทร์ แสนอาสา มหาวิทยาลัยพะเยา
น.ส.ชลธิชา บัวลอย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
สุพิชญา เชือกทอง ไม่ได้เรียนแล้วแต่อยากมีส่วนร่วมค่ะ
กันตพงศ์ เรียวสงวนวงศ์ เชียงใหม่
Patcharapon sansena suranaree university of technology
พชร ศรีเพ็ง เชียงใหม่
กฤษดา สัมมาสูงเนิน แม่ฟ้าหลวง
กฤตพร ไชยปัญญา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นุจนารถ เยรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
นาย กิตติพงษ์ เค้าสงค์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นิภาวรรณ ขำวงษ์ รามคำแหง
ปริญญา แซ่ย่าง กรุงเทพ
บุคอรีย์ สนูวงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ณัฐกานต์ เสมจิตร์ ราชภัฏนครปฐม
ปวันรัตน์ แสนประเสริฐ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางสาวกมลพร กาวิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
น.ส.ทรงพร สุวัฒิกะ ธรรมศาสตร์
อภิวัฒน์ มณีผล เทคนิคราชบุรี
ณพงศ์ ปิยไพร รามคำแหง
ปรินทร จันทร์เมธากุล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
นายศุภชัย วัฒนากังชัย มหาวิทยาลัยบูรพา
โสภิดา อ่อนน้อมดี เกษมบัณฑิต
จักรกฤษณ์ สุทธิสา มหาวิทยาลัยนครพนม
จิตตรา เบร็นเนอร์ มหาวิทยาพะเยา
นาย อัครเดช ชูประยูร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุวิทย โพธิ์เย็น วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
กรวิชญ์ รักคน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
กัญจนา กาฬภักดี มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางสาววราภรณ์ เสาร์ชัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นายกรินทร์ ชื่นอารมณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
พรพิมล ศรีสังเวช มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พิชญา ภู่ทอง วลัยลักษณ์
PIYA POMIN KHON KAEN UNIVERSITY 
ณัฐนันท์ อานันท์ภิวัฒน์ รามคำแหง 
นายชลชาติ โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
โซเฟีย ลือแม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
น.ส. นันทนา สะราคำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
แพรไหม พันธวงษ์ เชียงใหม่
สุกัญญา จำรูญศิริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เสกสรรค์. ระวังนาม แม่ฟ้าหลวง
ชญานี ธรรมวุฒิ ศิลปากร 
อาทิตยา เรณูหอม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Nattakid Suggumpapan Chulalongkorn University
Mr.Suprapat Khuenjai Chiang Mai University
คุณานนต์-จำมี แม่โจ้
นางสาวสูรายา แวกือจิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภานุวัฒน์ เปลี่ยนสนิท กรุงเทพ
เชษฐ์ธนา ศรีประทุมวงค์ ศิลปากร
นางสาวเยาวลักษณ์ จูมโสดา ศรีปทุม
พศวีร์ พุ่มพุดซา รังสิต
จัญจรี คุณมาศ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กนกรัตน์ กุเวฬไตร รามคำแหง
ประสิทธิ์ ตูบไธสง กรุงเทพธนบุรี
วิพล หงษาครประเสริฐ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ณัฏฐพงศ์ วงษ์สุวรรณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นางสาวกนกวรรณ รอบคอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
รักชาติ พวงพันธ์ สยาม
ธีรรัตน์ เทพภักดี มหิดล
น.ส.ประภาพร สุวรรณ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
จีรวัฒน์ อินก่ำ นครพนม
Mr.Natthawut Promsritham มหาวิทยาลัยนครพนม
ทิพอัปสร แก้วมณี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วริศรา มากวิเศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ภัทรพลเขตมี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ธีรวัฒน์ อุปเสน สถาบันการอาชีวศึกษาภาควันออกเฉียงเหนือ 1
คุณาภัส พานิล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ปิยะนันท์ วงศ์พรประดิษฐ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุลักขณา ฝากาผึด เกษตรศาสตร์
น.ส.ปริยฉัตร ประกายมั่นตระกูล มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชลธิศ โชติสวัสดิ์ ธรรมศาสตร์
TERDSAK NIEMCHAROEN มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Weerathat Pakkaranitinun Mae fah Luang University 
วิภาพร ม่วงขาว วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
Woradorn Saksomboon Chulalongkorn University
นายเมธี ทาคำใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
Sarun Thongaram Thammasat University
สุรชานนท์ พิรญาน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
โยธิน อนุรักษ์ ราชภัฏจันทรเกษม
นูรฮายาตี สะมะแอ สงขลานครินทร์
นางสาวนฤชนก คตวงค์ เกษตรศาสตร์
สถาพร ใจกล้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณพัฒน์ พุทธาวงษ์ เทคโนโลยีสุรนารี
น.ส.ภัสสร เปรมัษเฐียร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
ณภัทร ชวนรำลึก ธรรมศาสตร์
นางณัฐชลัยย์ โชติสิริกร มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนครลำปาง
Tantip piwngam Mae fah luang university 
กรพัชร อุดมโชคสกุล ธรรมศาสตร์
ธารญา โชติประยูร University of Southampton
นนทชัย ภิรมย์ขาว มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
นาย สิรภพ ชะโลวัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นางสาววราพัชร ดุมดก แม่ฟ้าหลวง
Wasu Samothai Srinakharinwirot University
นางสาวศิริกมล พุทธรัตน์ พะเยา
นายกฤตยชญ์ ตอโคกสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สิตานัน สุระเรืองโรจน์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
วรกานต์ คีรีก้องสกล ศิลปากร
ณัฐกัลย์ วาริยันต์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Pansa Sirichottaweesuk Ramkamheang University
ฐิติมา สุนทรโอวาท แม่โจ้
นางสาวนริศรา โพธิ์วัฒนะชัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมติมา ประวิทย์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (ม.ชีวิต)
อนิวัตติ์ พาลิพัง ศิลปากร
ร่มไม้ ขอจิตต์เมตต์ เกษตรศาสตร์
อัคริมา สงแป้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นาย ปิยพัทธ์ สกุลลิ่มสุวรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ฐกฤต อาจกูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
สุรัตน์ สกุลคู ธรรมศาสตร์
พิชชาพร มงคลวงศ์โรจน์ ขอนแก่น
กษิดิ์เดช สาคร สุโขทัยธรรมาธิราช
วิรัญชนา ไชยยาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
กรรณิการ์ ทองหล่อ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
นางสาวดวงอมร ภาสนวัฒน์ ธรรมศาสตร์
ณัฐวัฒน์ ชัยมัชฉิม แม่ฟ้าหลวง
นพพล เศรษฐิศักดิ์โก มหาวิทยาลัยบูรพา
ภูมิภัทร ธารทองไพบูลย์ อัสสัมชัญ
ภารดี ดวงดารา รามคำแหง
ขวัญฤดี มีเมืองเก่า รามคำแหง
พาทิศ จันทร มหาวิทยาลัยรังสิต
นาย ธนวัฒน์ เลาะวิถี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรอยุธยา
นายอภิสิทธิ์ ทองคำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
MISS SOOA THUTSANTI Henan University (China)
นายปฏิมากร พร้อมเกียรติกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
น.ส.พรณิภัค จั่นจารุป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโร
นายประกิจชัย ฉิมจารย์ ราชภัฎนครราชสีมา
สัณห์ฐิตา สินอิ่ม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี
กัญตพัฒน์ ห้อยฟัก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี
ณฐพงศ์. พิลา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช
สุพัตรา เชษฐ์ชุติธร รังสิต
นางสาวกนกพร. เสนานนท์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นาย วสุ อ้อยปก สงขลานครินทร์
นายมูฮัมหมัดนัสรูณ เหลาะเหม วิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร
Sitthichot netnee Nongkhai technical collegne
ชนนิกานต์ รังเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก
วรุฒ ปัญญาที มหาสารคาม
ยุวรินทร์ วงค์อามาตย์ รามคำแหง
ดนิตา วงศ์จิตต์ซื่อ วลัยลักษณ์
สุระเกียรติ์ อาจหนองหว้า มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
กันยา ยิ้มแขฉาย มหาวิทยาลัยบูรพา
พรพิมล จันต๊ะก๋อง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นายวรวุฒิ เอี่ยมสอาด รามคำแหง
นัฏฐา เอื้อพงศธร เกษตรศาสตร์
อริสรา งามมีศรี มหาวิทยาลัยรังสิต
น.ส.ปรียานุช มิ่งโมรา ราชภัฏสวนสุนันทา
ขวัญจิรา ฝ่ายจำปา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
วรธน แซ่ฟุ้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
นายศุภชัย แพงพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
สุชานันท์ ฤทธิ์เดช มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ไอริณ ถาวร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
นัทชา เบญจรัตน์ดำรง บูรพา
หฤทธิ์ เรืองรุจิระ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร - มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ธิติมา งามตรง มหิดล
น.ส. แพรวา สัตนาโค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
แพรพลอย จำเรือน สวนดุสิต
ธีรกานต์ เนตรถาวร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Suraiya Waha Shinawatra University
อรปรียา แวงวรรณ ขอนแก่น
บูรณา ยามาซากิ ธรรมศาสตร์
เจษฎา บัวบาล Universitas Muhammadiya Makassar
กานต์รวี รัฐวิชญ์กุล ศรีปทุม
นายเกียรติภูมิ กุลวงษ์ รามคำแหง
จิตราภรณ์ เสนาพันธ์ ศรีปทุม
น้ำทิพย์ ภูมิเขตร มหาสารคาม
ศุภสิน ช่างประเสริฐ เกษตรศาสตร์
นางสาว กิติยาพร ที่รัก บูรพา บางแสน
วรรษมน หว่างเจริญศักดิ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ปวีณ์กร บุตรวงษ์ ธรรมศาสตร์
นุษไลลา ดะโอล่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

การจ้างงานสาธารณสุขไทยในอนาคต: คนทำงานชี้หากมีระบบจ้างงานใหม่ ต้องไม่ด้อยกว่า ‘ข้าราชการ’

$
0
0

จากงานศึกษาของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พบการ ‘จ้างงานบุคลากรสาธารณสุข’ ในไทย 'ไม่เป็นธรรม-เหลื่อมล้ำ' ทั้งภายในและระหว่างวิชาชีพ 'ผู้กำหนดนโยบาย' เห็นว่าการจ้างแบบข้าราชการมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องระเบียบข้อบังคับและความยืดหยุ่น ส่วนในมุมมองของ 'บุคลากร' เห็นว่าจ้างงานแบบข้าราชการยังสำคัญที่ทำให้คนอยู่ในภาครัฐเพราะมีความมั่นคงและมีสวัสดิการที่ดี แต่หากปรับเปลี่ยนวิธีการจ้างก็ไม่ควรมีหลายรูปแบบเกินไป และควรมีการเพิ่มอัตราเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ไม่ด้อยกว่าข้าราชการ


ที่มาภาพประกอบ: parliament.go.th

23 มิ.ย. 2562 ในงานศึกษาเรื่อง 'การศึกษารูปแบบการจ้างงาน แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล ในภาครัฐของประเทศไทยในระยะ 15 ปีข้างหน้า'โดย กฤษดา แสวงดี; นารีรัตน์ ผุดผ่อง; ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์; กัญจนา ติษยาธิคม; นิธิวัชร์ แสงเรือง; พัชรี เพชรทองหยก; สตพร จุลชู; พิกุลแก้ว ศรีนาม; กานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์ และปิติยา สันทัด มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เผยแพร่เมื่อเดือน ก.ย. 2561

งานศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการจ้างงานบุคลากรสุขภาพในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 40 คน ประกอบด้วยผู้กำหนดนโยบาย หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกำลังคนด้านสุขภาพจำนวน 10 คน จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ผู้ใช้บุคลากรสุขภาพ ได้แก่ นายแพทย์สาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 12 คน จาก 4 จังหวัดในแต่ละภาค (เหนือ กลาง ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ) และบุคลากรสุขภาพ รวมจำนวน 18 คน (1-2 คน/วิชาชีพ รวมได้ 3-4 ราย/จังหวัด)

ข้อค้นพบที่น่าสนใจของงานศึกษาชิ้นนี้มีดังต่อไปนี้

การจ้างงานบุคลากรสุขภาพในระบบประเทศไทย 'ไม่เป็นธรรม-เหลื่อมล้ำ' ทั้งภายในและระหว่างวิชาชีพ

งานศึกษาชิ้นนี้ระบุว่าปัจจุบันการจ้างงานบุคลากรสุขภาพภาครัฐในแต่ละสังกัดมีรูปแบบแตกต่างกัน เฉพาะกระทรวงสาธารณสุขเอง มีการจ้างงานบุคลากรสุขภาพในหลายรูปแบบ เช่น ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข โดยสองรูปแบบหลังเป็นการจ้างด้วยเงินบำรุงหรือรายได้ของหน่วยบริการสุขภาพ

ที่ผ่านมาพบว่าปัญหาที่สำคัญประเด็นหนึ่งของการจ้างงาน คือ เรื่องความไม่เป็นธรรม หรือความเหลื่อมล้ำทั้งภายใน และระหว่างวิชาชีพ ที่แม้จะอยู่ในตำแหน่งงานเดียวกันแต่เมื่อได้รับการจ้างงานแตกต่างกันก็ได้รับเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้มีการสูญเสียบุคลากรสุขภาพ และเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับบุคลากรสุขภาพ มีการชุมนุมเรียกร้องของบุคลากรสุขภาพอยู่เนืองๆ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ของแต่ละรูปแบบการจ้างงาน สามารถแบ่งได้เป็น 5 ด้านหลัก ได้แก่ (1) เงินเดือนและค่าจ้าง (2) สวัสดิการที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน (3) ความก้าวหน้าในวิชาชีพ (4) สิทธิในการลา และ (5) สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เงินเดือนและค่าจ้าง พนักงานราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ได้ถูกกำหนดเบื้องต้นให้มีเงินเดือนที่สูงกว่ากลุ่มข้าราชการ ประมาณ 1.2 เท่า สำหรับสายงานแพทย์และทันตแพทย์ เกือบทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการจ้างในรูปแบบข้าราชการเท่านั้น ส่วนสายงานเภสัชกรและพยาบาลวิชาชีพ มีบุคลากรบางส่วนที่ถูกจ้างในรูปแบบพนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและ/หรือ ลูกจ้างชั่วคราว ในส่วนของพยาบาลที่เข้าทำงานใหม่ ปัจจุบันส่วนใหญ่จ้างในรูปแบบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข และ/หรือ ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งโดยหลักการ อัตราเงินเดือนลูกจ้างชั่วคราวต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ซึ่งก็ยังน้อยกว่าอัตราเงินเดือนข้าราชการเมื่อแรกบรรจุ ในเรื่องการเลื่อนเงินเดือน ข้าราชการได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน 2 ครั้ง/ปี ในขณะที่พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว ได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน 1 ครั้ง/ปี

2. สวัสดิการที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ได้แก่ สิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน และบำเหน็จ/บำนาญ ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น ข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลางโดยตรงสำหรับตนเองและครอบครัว ในขณะที่ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราวใช้สิทธิประกันสังคมได้เฉพาะตน ในเรื่องบำเหน็จ/บำนาญ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราวมีเงื่อนไขที่ต้องร่วมสมทบเงินในกองทุนประกันสังคมทุกเดือน นอกจากนี้พนักงานกระทรวงสาธารณสุขยังต้องสมทบเงินสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องค่าเช่าบ้าน ข้าราชการได้รับสิทธิค่าเช่าบ้าน ในขณะที่พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว ไม่ได้รับสิทธิค่าเช่าบ้าน

3. ความก้าวหน้าในวิชาชีพ การเลื่อนระดับและการบังคับบัญชา ทุกกลุ่มต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบ/หลักเกณฑ์ของกลุ่มตนเอง เช่น ข้าราชการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน และพนักงานกระทรวงสาธารณสุขปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนั้นข้าราชการมีการเลื่อนระดับในตำแหน่งที่สูงขึ้น หรือเลื่อนเป็นระดับหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา ในขณะที่พนักงานราชการพนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว ไม่มีรูปแบบการเลื่อนระดับดังกล่าว

4. สิทธิในการลา เช่น ลาป่วย ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน รวมถึงการลาบางอย่างที่ยังคงได้รับเงินเดือน เช่น ลาคลอดบุตร ลาศึกษา ฝึกอบรม และลาอุปสมบท แต่ละการจ้างงานมีจำนวนวันที่สามารถลาได้แตกต่าง นอกจากนั้นมีเพียงบางกลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องการลาเฉพาะ นั่นคือ มีเพียงข้าราชการ และพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรและสามารถลาศึกษาต่อได้

5. สิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น การช่วยเหลือบุตร/สงเคราะห์บุตร ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ค่าเบี้ยประชุม เงินประจำตำแหน่ง และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีความต่างกันระหว่างรูปแบบการจ้างงาน เช่น ข้าราชการ และพนักงานราชการ มีสิทธิได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ในภาพรวม พอที่จะสรุปได้ว่าข้าราชการได้รับสิทธิประโยชน์มากที่สุด เมื่อเทียบกับการจ้างงานรูปแบบอื่นๆ ยกเว้นในเรื่องอัตราเงินเดือน (ยกเว้นลูกจ้างชั่วคราว) ที่ได้น้อยกว่าการจ้างงานแบบอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 20 ขณะที่ลูกจ้างชั่วคราวได้รับสิทธิประโยชน์น้อยที่สุด นอกจากนั้น ข้าราชการเป็นการจ้างงานแบบตลอดชีพ แต่รูปแบบอื่น ๆ ได้รับการจ้างงานเป็นระยะเวลาที่จำกัดตามสัญญาจ้าง

นอกจากนี้ยังพบว่าแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร เกือบทั้งหมดยังได้รับการจ้างงานเป็นข้าราชการ ขณะที่พยาบาล แม้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสถานะข้าราชการ แต่พยาบาลรุ่นใหม่ๆ เกือบทั้งหมดได้รับการจ้างงานในฐานะพนักงานกระทรวงสาธารณสุขและลูกจ้างชั่วคราว

ทิศทางการจ้างงานบุคลากรสาธารณสุขในอนาคต

ประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ และมีมาตรการจำกัดขนาดกำลังคนภาครัฐ ทำให้หลายหน่วยงาน มีการถ่ายโอนภาระงานที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของรัฐสู่ภาคเอกชน ด้วยการจ้างเหมาบริการหรือซื้อบริการ และถ่ายโอนอัตรากำลังคนจากส่วนกลางไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการจำกัดอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และยุบอัตราข้าราชการที่ว่างจากการเกษียณอายุ ทำให้หลายหน่วยงานที่ขาดแคลนกำลังคนมีการเพิ่มการจ้างบุคลากรสุขภาพในรูปแบบอื่น นอกจากการเป็นข้าราชการ เช่น พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และลูกจ้างชั่วคราว ยิ่งกว่านั้นตั้งแต่ปี 2557 คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การวางแผนบริหารกำลังคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และประหยัดค่าใช้จ่ายภาครัฐ และมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2560 เห็นชอบให้มีมาตรการทดแทนอัตราว่างจากผลเกษียณอายุของข้าราชการด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น

ทั้งนี้การจ้างงานบุคลากรสุขภาพต้องบูรณาการกับการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพทั้งหมด โดยคำนึงถึงทั้งปริมาณ คุณภาพ และการกระจายบุคลากร ให้เหมาะสมกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เคยมีงานศึกษาเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันกำลังคนด้านสุขภาพในวิชาชีพต่างๆ มีมากขึ้นกว่าในอดีตพอสมควร จนอาจเกินความต้องการ เช่น แพทย์และทันตแพทย์ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีจะมากกว่าความต้องการของประเทศ ซึ่งคาดประมาณจำนวนแพทย์ที่ต้องการในปี 2569 เท่ากับ 38,263-46,946 คน ในขณะที่จะมีแพทย์ในปี 2569 เท่ากับ 63,065 คน ส่วนความต้องการทันตแพทย์ ในปี 2569 เท่ากับ 16,457-20,546 คน ในขณะที่จะมีทันตแพทย์ในปี 2569 เท่ากับ 17,415-18,675 คน

นอกจากนี้ในงานศึกษาชิ้นนี้ ยังระบุว่ากองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์บุคลากรสุขภาพและรูปแบบการจ้างงานในอนาคต พบว่าการจ้างงานบุคลากรสุขภาพในรูปแบบของข้าราชการนั้นไม่ตอบโจทย์กับการจ้างงานในอนาคต เนื่องจากไม่ยืดหยุ่น และขาดความมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ดังนั้นระบบการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพของภาครัฐในอนาคต ควรสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เน้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เน้นการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น และสนับสนุนปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งเสริมและเอื้อต่อการคงอยู่ของบุคลากรสุขภาพในภาครัฐ เช่น การมีระบบพี่เลี้ยงช่วยดูแลให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงาน (coaching) มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่งาน (career path) มีการให้รางวัลหรือการเชิดชูเกียรติทางสังคม (social recognition) ได้ทำงานที่ชอบหรือถนัดอย่างเต็มศักยภาพ และมีส่วนในการตัดสินใจเลือกวิธีการจ้างงานหรือสิทธิประโยชน์บางอย่างที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตนเอง

'การจ้างงานแบบข้าราชการ' มุมมองที่สวนทางกันของ 'ผู้กำหนดนโยบาย vs บุคคลากรปฏิบัติงาน'

สำหรับประเด็นการจ้างงานแบบ 'ข้าราชการ' นั้น ในงานศึกษาชิ้นนี้ได้ระบุถึงมุมมองจากฝ่าย 'ผู้กำหนดนโยบายและผู้ใช้บุคลากร' เห็นว่าการจ้างแบบข้าราชการมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องระเบียบข้อบังคับและเรื่องความยืดหยุ่นในการจัดสรรคนให้เหมาะกับงาน แต่การจ้างแบบข้าราชการก็ยังมีความจำเป็นในบางสายงาน เช่น งานที่เกี่ยวกับกับการใช้กฎหมายและงานด้านบังคับบัญชา

ส่วนมุมมองจาก 'บุคคลากรปฏิบัติงาน' เห็นว่าการจ้างงานแบบข้าราชการเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คงอยู่ในภาครัฐ เพราะเป็นงานที่มีความมั่นคงและมีสวัสดิการที่ดี โดยเฉพาะเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและครอบครัว ถ้ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการจ้างงาน ก็ไม่ควรมีหลายรูปแบบเกินไป ถ้ามีการจ้างงานแบบใหม่ที่ไม่ใช่ข้าราชการ ก็ควรมีการเพิ่มอัตราเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ที่ไม่ด้อยกว่าการเป็นข้าราชการ

ส่วนข้อเสนอแนะต่อการจ้างงานบุคลกรสาธารณสุขในอนาคตนั้น ทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันว่าในอนาคตการจ้างงานแบบข้าราชการอาจจะไม่มีความจำเป็นมากต่อภาครัฐในอนาคต อย่างไรก็ตามไม่ควรเลิกจ้างข้าราชการแบบฉับพลัน และอาจคงตำแหน่งข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขให้มีตามจำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ไปก่อนสักระยะหนึ่งแล้วค่อย ๆ ลดจำนวนลง โดยมีการทดแทนด้วยรูปแบบการจ้างงานแบบอื่น ๆ เช่น การจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุขรูปแบบใหม่ ที่ได้ค่าตอบแทนมากกว่าข้าราชการ และสามารถจ้างด้วยงบประมาณแผ่นดิน เพิ่มสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เข้ามาทดแทน เช่น การมีโอกาสได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และการมีสิทธิรักษาพยาบาลให้กับตนเองและครอบครัวในโรงพยาบาลที่ทำงานอยู่

อาจใช้รูปแบบการจ้างแบบผสม มีทั้งคนที่เป็นข้าราชการและไม่เป็นข้าราชการ กล่าวคืองานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหรือกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น พนักงานการเงิน อาจมีความจำเป็นต้องเป็นข้าราชการส่วนการจ้างงานบุคลากรสายวิชาชีพ อาจจะจ้างในแบบรูปแบบพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู่นี้ไปก่อนได้ นอกจากนี้ผู้ให้สัมภาษณ์ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การจ้างงานในลักษณะลูกจ้างชั่วคราวนั้น อาจไม่เหมาะกับบุคลากรสุขภาพที่เป็นสายวิชาชีพ, อาจเพิ่มการจ้างเหมาบริการจากหน่วยงานภายนอก (outsource) หรือจ้างงานแบบ part timeในช่วงเวลาที่บุคลากรสุขภาพไม่เพียงพอ และอาจมีพัฒนาการใช้หุ่นยนต์ให้ทำงานบางอย่างแทนคน อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการพัฒนาและต้องมีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ร่วมด้วย

ควรมีการให้อำนาจ หรือความยืดหยุ่นกับหน่วยบริการสุขภาพในการแก้ไขกฎระเบียบบางอย่าง เพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสุขภาพที่เหมาะสมตามบริบทของตนเอง การกำหนด ‘ตำแหน่ง’ การจะต้องจ้างบุคลากรสุขภาพ เป็น ข้าราชการ พนักงานของรัฐ พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ลูกจ้างชั่วคราว หรือรูปแบบใด ๆ อาจไม่มีความสำคัญเท่ากับ การให้อำนาจหรือความยืดหยุ่นของหน่วยบริการ ให้สามารถบริหารจัดการบุคลากรสุขภาพได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจหมายถึงการปรับบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข จากการเป็นผู้ให้บริการโดยตรง มาเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ติดตาม และทำงานเชิงวิชาการ

รวมทั้งอาจมีการจ้างงานรูปแบบใหม่ในบางพื้นที่ โดยมีการบริหารจัดการให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น การมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการผ่าตัดที่ซับซ้อนในศูนย์ใดศูนย์หนึ่งของภูมิภาค หากมีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดที่ซับซ้อนนั้น ก็จะสามารถใช้ทีมแพทย์นั้นทำการผ่าตัดในภูมิภาคนั้นได้อย่างทันท่วงที โดยจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน หรือจ่ายค่าจ้างตามบริการที่ตกลงกันโดยไม่ต้องจ้างเป็นเงินเดือน การทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ป่วย ซึ่งรูปแบบการบริหารจัดการลักษณะนี้ อาจจะเป็นรัฐกับรัฐ หรือรัฐกับเอกชนก็ได้

นอกจากนี้ควรสนับสนุนปัจจัยเอื้ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการธำรงรักษาบุคลากรสุขภาพในภาครัฐ เช่น การมีระบบพี่เลี้ยงที่ดูแลให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงาน การได้รับรางวัลหรือการเชิดชูเกียรติทางสังคม และการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกวิธีการจ้างงานหรือสิทธิประโยชน์บางอย่างที่เหมาะสม

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ประยุทธ์แถลงคืบหน้าอาเซียนมีรูปธรรม ชี้ ชาติสมาชิกยินดีตนได้รับเลือกตั้ง

$
0
0

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นแถลงในงานแถลงข่าวการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แถลง ประเทศเห็นพ้องลงนามข้อตกลงแก้ปัญหาขยะทะเล จัดคลังเก็บของทางไกลในอาเซียนเพื่อรับมือเหตุภัยพิบัติ ยกระดับแพทย์ทหารอาเซียนเป็นองค์กรภูมิภาค ตั้งศูนย์ปฏิบัติการที่ไทย ระบุ ชาติสมาชิกมาแสดงความยินดีที่ได้รับเลือกตั้ง ไม่มีใครติดใจเรื่องการคืนสู่ประชาธิปไตย

ประยุทธ์บนเวทีแถลงข่าว

23 มิ.ย. 2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขึ้นกล่าวในแถลงข่าวการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 จัดที่โรงแรมดิแอทธินี กรุงเทพฯ

ประยุทธ์กล่าวว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเห็นพ้องว่าขยะทะเลเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อคน สัตว์น้ำและทรัพยากรทางทะเล จึงมีการรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ เพื่อต่อต้านและแก้ไขปัญหาขยะทะเลในอาเซียน ร่วมสร้างนวัตกรรรม แนวคิด งานวิจัยและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ

ในส่วนของการรับมือกับเหตุไม่คาดฝันหรือภัยพิบัติในต่างประเทศ มีการตกลงสร้างคลังเก็บสิ่งของทางไกลของอาเซียน ภายใต้โครงการจัดตั้งระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินสำหรับใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติของอาเซียน (ศูนย์เดลซ่า - DELSA) ยกระดับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนเป็นองค์กรระดับภูมิภาคอาเซียนอย่างเป็นทางการ และทั้งสององค์กรข้างต้นจะมีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย

ผู้นำอาเซียนได้รับรองแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน 2562 และจะมีการดำเนินการกิจกรรมตลอดทั้งปี รวมถึงการจัดตั้งเครือข่ายสมาคมอาเซียนในประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นข้อริเริ่มของไทย อาเซียนให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งสมัชชารัฐสภาอาเซียน เยาวชน และภาคธุรกิจ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและย้ำความสำคัญของประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ที่ประชุมเห็นพ้องกับไทยเรื่องการส่งเสริมบทบาทนำของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยได้จัดทำเอกสารมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนในเรื่องนี้ นอกจากนั้นยังมุ่งผลักดันเจรจา RCEP ให้แล้วเสร็จในปีนี้

ประยุทธ์ยังกล่าวด้วยว่า ผู้นำทั้งหลายได้สนับสนุนให้อาเซียนร่วมมือกันเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก  หรือฟีฟ่าเวิลด์คัพในปี 2034 (พ.ศ. 2577) จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนอาเซียนทุกคนสนับสนุนสมาคมฟุตบอลในแต่ละประเทศสมาชิกด้วย

ประยุทธ์ยังกล่าวอีกว่า เหล่าประเทศผู้นำต่างแสดงความยินดีกับโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย และยังแสดงความยินดีกับตนด้วยเช่นกัน เพราะจะได้มีการสืบสานการทำงานต่อจากห้าปีที่ผ่านมา ส่วนการเป็นประธานอาเซียนนั้นเป็นไปโดยวาระ เป็นไปตามหน้าที่ ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนเรื่องการคืนสู่ประชาธิปไตย ประเทศสมาชิกก็มีสอบถามมาบ้าง ซึ่งก็ตอบไปว่าไม่เกินเดือนหน้า ทุกอย่างก็เรียบร้อย ซึ่งไม่ได้มีใครติดใจสงสัยอะไร

'ฟอร์ด เส้นทางสีแดง'-คณะ ร้องผู้นำอาเซียนกรณีไทยโกงเลือกตั้ง นักกิจกรรมถูกทำร้าย

อาเซียนซัมมิท 2562: 'ประชาชนเป็นศูนย์กลาง' ฝันที่ผู้นำเป็นเจ้าของและเลือกใช้

ประยุทธ์ยังกล่าวว่า หลายประเทศก็พูดว่าค่อนข้างเป็นปัญหาในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า จะเข้าใจอย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงมันคงไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้ ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

สนง.สลากฯ เตรียมเสนอ 'หวยบนดิน' ให้รัฐบาลใหม่

$
0
0

ประธานกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เผยนัดประชุมบอร์ด 24 มิ.ย. 2562 นี้ จะเสนอแผนการออกสลากออนไลน์ทั้งหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว และสลากลอตโตให้บอร์ดพิจารณาก่อนเสนอรัฐบาลใหม่เห็นชอบ คาดมีความเป็นไปได้มากที่สุดคือหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว เนื่องจากเคยดำเนินการมาแล้ว ทั้งนี้ต้องอยู่ในรูปแบบกินแบ่ง 60% เป็นการจ่ายเงินรางวัล 23% เป็นรายได้รัฐ และ 17% เป็นค่าบริหารจัดการ ต่างจากโมเดลในอดีตที่ผ่านมา


ที่มาภาพประกอบ: โพสต์ทูเดย์

23 มิ.ย. 2562 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะประธานกรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการสลากฯ ในวันที่ 24 มิ.ย.2562 ฝ่ายบริหารจะเสนอแผนการออกสลากออนไลน์ ทั้ง หวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว และ สลากลอตโต ให้คณะกรรมการพิจารณา เพื่อเสนอให้รัฐบาลใหม่เห็นชอบ โดยมีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการมากที่สุด คือ หวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว เนื่องจาก กองสลากฯ เคยดำเนินการมาแล้ว สามารถทำได้เลย หากรัฐบาลเห็นชอบก็ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ต่างจากลอตโต ที่ต้องใช้เวลาดำเนินการใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ดี การขายหวยบนดิน จะต้องอยู่ในรูปแบบกินแบ่ง คือ ร้อยละ 60 เป็นการจ่ายเงินรางวัล ร้อยละ 23 เป็นรายได้รัฐ และอีกร้อยละ 17 เป็นค่าบริหารจัดการ ต่างจากในอดีตที่ผ่านมา

สำหรับการจ่ายเงินรางวัลหวยบนดิน อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งจะมีการจ่ายเงินรางวัลแจ็คพอตหรือไม่ ก็ต้องดูความเหมาะสมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ถ้าจะกันเงินรางวัลร้อยละ 10 ของสัดส่วนจ่ายเงินรางวัลร้อยละ 60 ก็สามารถทำได้ ซึ่งถ้ายอดขายเกินกว่า 2,000 ล้านบาท เงินรางวัลแจ็คพอตก็จะไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เป็นต้น

ทั้งนี้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำเป็นต้องมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ประเภทของสลากที่จำหน่าย มีความหลากหลาย จากปัจจุบันที่จำหน่ายแค่สลากกินแบ่งรัฐบาล (ลอตเตอรี่) ทำให้การแก้ไขปัญหาขายสลากเกินราคา ทำได้ยาก นอกจากนี้การจำหน่ายสลากออนไลน์ หวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว และสลากลอตโต จะเป็นการลดขั้นตอนการขายผ่านผู้ค้า มาเป็นการจำหน่ายผ่านเครื่อง หรือ ผ่านแอพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ ทำให้ทุกคนสามารถซื้อได้ ในราคาต้นทุนจากกองสลากโดยตรง

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เครือข่ายแท็กซี่เตรียมยื่น 4 เงื่อนไข แลกนโยบาย Grab ถูกกฎหมาย

$
0
0

เครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ เผยเตรียมยื่น 4 เงื่อนไข แลกนโยบาย Grab ถูกกฎหมาย 24 มิ.ย. 2562 นี้ ระบุหากดำเนินการเเล้วมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพจะต้องมีการเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม ชี้นโยบายนี้จะส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพอย่างรุนแรง กระจายความเดือดร้อนไปถึงรถรับจ้างสาธารณะที่ถูกกฎหมายทั่วประเทศ


ที่มาภาพประกอบ: Jon Russell(CC BY 2.0)

23 มิ.ย. 2562 ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่านายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าจากกรณีที่กรมการขนส่งทางบก และรัฐมนตรีคมนาคมคนใหม่ต้องการเเก้ปัญหาเรื่องรถแท็กซี่แกร็บผิดกฎหมายให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยกลุ่มเครือข่ายผู้ขับขี่แท็กซี่มากกว่า 8 หมื่นคัน ต้องการยื่นเงื่อนไข 4 ข้อ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับนโยบายผลักดันเรื่องดังกล่าวดังนี้

1.หากดำเนินการในเรื่องนี้เเล้วมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ จะต้องมีการเยียวยาอย่างเป็นรูปธรรม

2.จะต้องมีการปราบปรามรถผิดกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ให้เป็นที่ประจักษ์

3.ให้ทบทวนนโยบาย TAXI OK เนื่องจากไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ได้ประกาศไว้ 

4.จะต้องมีการปรับอัตราค่าโดยสารให้เป็นธรรมและสะท้อนต้นทุนที่เเท้จริง

ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการประกอบการเเละการประกอบอาชีพอย่างรุนแรง รวมถึงจะกระจายความเดือดร้อน ไปถึงรถรับจ้างสาธารณะในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ทั้งรถเเท็กซี่และรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ถูกกฎหมาย โดยในวันที่ 24 มิ.ย. เวลา 08.00 น. ได้นัดเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานครเข้าหารือถึงเรื่องดังกล่าว ที่กรมการขนส่งทางบก (จตุจักร)

นอกจากนี้ ในเวลา 11.00 น. ตนและสมาชิกเครือข่ายฯ จะเดินทางไปยังพรรคภูมิใจไทยด้วย เพื่อยื่นแถลงการณ์ของเครือข่าย ภายหลังมีรายชื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่จะมาจากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งได้ออกนโยบายหาเสียงว่าจะผลักดันให้แกร็บถูกกฎหมาย

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

เปิดแถลงการณ์โรฮิงญาต่อผู้นำอาเซียนที่ไม่ได้ยื่น หลังถูก ตร.ห้ามเคลื่อนไหว

$
0
0

เปิดแถลงการณ์ของประชาคมโรฮิงญาในไทย ที่หวังจะยื่นให้กับผู้นำอาเซียน พม่า และไทยในฐานะประธาน แต่ถูกตำรวจห้ามไว้ไม่ให้ออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องให้มีสัญชาติ ได้รับสิทธิพลเมืองเท่าเทียมชาวพม่าอื่นๆ ประกันความปลอดภัยในการเดินทางกลับ เข้าถึงการศึกษา บริการทางการแพทย์ และสถานภาพทางกฎหมายที่ทำให้ใช้ชีวิตและทำงานต่างแดนได้อย่างถูกกฎหมาย

ภาพชาวโรฮิงญา (ที่มา: Amnesty International)

23 มิ.ย. 2562 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่กลุ่มประชาคมโรฮิงญาในไทย ตัดสินใจไม่ยื่นแถลงการณ์ประเด็นชาวโรฮิงญาให้กับผู้นำอาเซียน ณ ที่ประชุมอาเซียนซัมมิทและที่กระทรวงการต่างประเทศเนื่องจากตัวแทนชาวโรฮิงญาในไทยระบุว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกำชับว่าไม่ให้ทำการเคลื่อนไหวใดๆ นั้น ผู้สื่อข่าวได้รับเอกสารแถลงการณ์ดังกล่าว โดยทางกลุ่มประชาคมโรฮิงญาในไทยมุ่งส่งข้อความไปถึงผู้นำชาติสมาชิกอาเซียน รัฐบาลพม่า และรัฐบาลไทย ในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ในประเด็นชาวโรฮิงญา เกี่ยวกับมาตรการการส่งชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยกลับไปยังพม่า ประเด็นสัญชาติและการประกันซึ่งสิทธิที่พึงได้เยี่ยงพลเมืองพม่า ใจความว่า

ถึงประธานรัฐบาลประเทศในอาเซียน

ในวาระที่มีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 34 ในวันที่ 22-23 มิ.ย. ที่ประเทศไทย เหล่าผู้นำประเทศต่างมุ่งไปตามวาระต่างๆ เพื่อประกันให้อาเซียนเป็นการรวมกลุ่มที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและทุ่มเทให้กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้นำประเทศจากชาติสมาชิกจะมาอภิปรายกันในเรื่องวิกฤตการณ์รัฐยะไข่และชะตากรรมของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเกือบล้านคนที่กำลังพำนักอยู่ในบังกลาเทศ

ในประเด็นนี้ พวกเราที่เป็นสมาชิกของประชาคมโรฮิงญาในประเทศไทย ขอเป็นตัวแทนของพี่น้องเราที่ถูกบังคับให้ต้องหนีออกจากพื้นที่รัฐยะไข่ ประเทศพม่า พวกเรามาที่นี่เพื่อแสดงออกซึ่งความกังวล และขอความช่วยเหลือจากเหล่าผู้นำอาเซียน

เราเรียกร้องให้รัฐบาลพม่า

  1. พิสูจน์และให้สัญชาติกับชาวโรฮิงญาพลัดถิ่นทั้งผู้ที่ลี้ภัยออกจากประเทศและผู้ที่ยังอยู่
  2. การันตีความปลอดภัยในการเดินทางกลับพม่าอย่างสมัครใจของชาวโรฮิงญา
  3. การันตีสิทธิพลเมืองให้กับชาวโรฮิงญา รวมถึงสิทธิในชีวิตและทรัพย์สินอย่างเต็มที่เทียบเท่ากับพลเมืองพม่าอื่นๆ
  4. ให้สิทธิการศึกษาแก่ชาวโรฮิงญาในทุกระดับชั้นและทุกวุฒิการศึกษา
  5. ประกันว่าชาวโรฮิงญาสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่เหมาะสมในพม่าได้อย่างเท่าเทียม
  6. การันตีว่าชาวโรฮิงญาจะมีสิทธิในการเข้ารับราชการทั้งในฝ่ายพลเรือน ตำรวจและทหารในรัฐบาลพม่า

เราเรียกร้องให้รัฐบาลชาติสมาชิกอาเซียน

  1. พิสูจน์และให้เอกสารแก่ชาวโรฮิงญาข้ามชาติ เพื่อให้เขาได้รับสถานะที่จะใช้ชีวิตและทำงานในประเทศปลายทางได้อย่างถูกกฎหมาย
  2. ให้พิจารณาการให้สิทธิการอยู่อาศัยถาวรกับชาวโรฮิงญาที่ไม่ต้องการเดินทางกลับประเทศพม่า และอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนมาเป็นเวลานาน

เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ประธานอาเซียนในปีนี้

  1. ให้มีมาตรการผ่อนคลายแก่ชาวโรฮิงญาที่ใบอนุญาตทำงานจะหมดลงในเดือน มี.ค. 2563 แต่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติ
  2. ให้มีการลงทะเบียน พิสูจน์และมีมาตรการในการให้สถานภาพทางกฎหมายที่เหมาะสมแก่ชาวโรฮิงญาข้ามชาติที่มาอาศัยและทำงานในไทยเป็นเวลานาน
  3. หยุดการใช้มาตรการ “ช่วยเหลือให้เดินทางต่อไป” กับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่เข้ามาในไทยในฐานะประเทศทางผ่านไปประเทศที่สาม เนื่องจากนโยบายดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้มีการค้ามนุษย์
  4. ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวโรฮิงญา และให้ข้อมูลพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิที่มี เพื่อป้องกันการค้ามนุษย์

พวกเราไม่ได้เป็นภาระของประเทศใด และเชื่อว่ายังคงมีพื้นที่ให้ชาวโรฮิงญาทำประโยชน์ในการสร้างและพัฒนาอาเซียน เพื่อประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค

ประชาคมโรฮิงญาในไทย

สำหรับความคืบหน้าในประเด็นรัฐยะไข่และชาวโรฮิงญาในการประชุมอาเซียนครั้งนี้ แม้ประเด็นรัฐยะไข่จะไม่ปรากฏอยู่บนวาระแถลงข่าวหลังซัมมิทโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. แต่เมื่อวานนี้ (22 มิ.ย. 2562) ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกล่าวว่า อาเซียนได้มีการส่งหน่วยงานด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance on disaster management หรือ AHA Center) ลงสำรวจพื้นที่ ซึ่งพบว่าพม่ามีความพร้อมมากขึ้น ทั้งในเรื่องความปลอดภัยที่ผู้ลี้ภัยเดินทางกลับมาแล้วจะไม่มีปัญหา การยอมรับสถานะในสังคม โดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับทราบจากพม่าว่า ขณะนี้พม่าเตรียมจะออกเอกสารแสดงตัวตนให้กับผู้ลี้ภัยชาวรัฐยะไข่ รวมทั้งทางพม่าได้ยืนยันความปลอดภัยในพื้นที่ เมื่อผู้ลี้ภัยในรัฐยะไข่เดินทางจากบังกลาเทศกลับมาคืนถิ่นยังรัฐยะไข่

เผยที่ประชุมอาเซียนพร้อมสนับสนุนกระบวนการส่งผู้ลี้ภัยกลับรัฐยะไข่ให้เร็วที่สุด

อาเซียนซัมมิท 2562: 'ประชาชนเป็นศูนย์กลาง' ฝันที่ผู้นำเป็นเจ้าของและเลือกใช้

บังกลาเทศ-UNHCR จดทะเบียนเตรียมส่งโรฮิงญากลับ ด้านพม่าแจกสัญชาติจูงใจ

ดอน กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ยังทราบถึงข้อติดขัดของการส่งกลับผู้ลี้ภัยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสองประเทศยังไม่สามารถระบุจำนวนผู้ส่งกลับได้อย่างชัดเจน และยังพบว่ามีนัยบางอย่างที่เข้ามาแทรกที่ทำให้ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการคัดกรองแล้วไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยในการส่งตัวกลับไปยังรัฐยะไข่

เมื่อเดือน พ.ค. 2562 ทางการบังกลาเทศ ร่วมกับข้าหลวงใหญ่ด้านผู้ลี้ภัยขององค์การสหประชาชาติ (UNHCR) ประกาศว่าได้ทำการลงทะเบียนผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามากกว่า 270,000 แล้ว และยังให้บัตรประจำตัวกับผู้ลี้ภัยเหล่านั้นแล้วด้วย โดยในบัตรมีข้อมูลจำพวกชื่อ วันเกิด รวมถึงสถานที่เกิดซึ่งระบุว่าเป็นพม่า

กระบวนการลงทะเบียนเริ่มขึ้นเมื่อเดือน มิ.ย. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อประกันสิทธิของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเพื่อใช้ในการเดินทางกลับพม่าโดยสมัครใจ ดังแผนที่เคยมีและจะดำเนินไปในอนาคต เมื่อ 17 พ.ค. รัฐบาลบังกลาเทศและ UNHCR จดทะเบียนให้กับชาวโรฮิงญา 270,348 ราย หรือ 59,842 ครอบครัว ในเขตที่พักพิงชั่วคราว อ.คอกซ์ บาซาร์

การเก็บข้อมูลผู้ลี้ภัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำฐานข้อมูลผู้ลี้ภัยที่แม่นยำ เพื่อที่รัฐบาลหรือองค์กรด้านมนุษยธรรมจะนำไปปรับใช้ในการทำความเข้าใจและช่วยเหลือผู้ลี้ภัย การเก็บข้อมูลดังกล่าวทำผ่านระบบการจัดการสถิติทางชีวภาพ มีการเก็บข้อมูลลายนิ้วมือและม่านตาอันเป็นข้อมูลทางชีวภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยผู้ลี้ภัยที่มีอายุมากกว่า 12 ปี จะได้รับบัตรประจำตัวดังกล่าว

ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามากกว่า 900,000 คนลี้ภัยมาอยู่ในคอกซ์ บาซาร์ ในจำนวนนั้นมีถึง 741,000 คนที่ลี้ภัยมาจากปฏิบัติการกวาดล้างชาวโรฮิงญาเมื่อ ส.ค. 2560

แนวโน้มของการดำเนินการส่งตัวชาวโรฮิงญากลับพม่าค่อยๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังพม่าและบังกลาเทศมีข้อตกลงร่วมกันในการนำตัวผู้ลี้ภัยกลับพม่าเมื่อต้นปี 2561 แต่ทางสหประชาชาติเองก็กดดันให้การส่งตัวกลับเป็นไปโดยสมัครใจและต้องประกันความปลอดภัยให้กับผู้ลี้ภัย จนถึงตอนนี้ ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่กลับไปนั้นมีจำนวนน้อย โดยส่วนมากผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการ หนึ่งในสาเหตุที่การเดินทางกลับยังไม่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะข้อกังวลเรื่องความปลอดภัย

กฎหมายสัญชาติพม่าที่บังคับใช้เมื่อปี 2525 ในสมัยรัฐบาลเนวินได้จำแนกสถานะความเป็นพลเมืองเอาไว้สามแบบ ได้แก่ 1. พลเมืองพม่า (บัตรชมพู) 2. พลเมืองผู้อาศัย (บัตรน้ำเงิน) และ 3. พลเมืองแปลงสัญชาติ (บัตรเขียว) โดยผู้ที่จะถือเป็นพลเมืองพม่าจะต้องมีพ่อแม่เป็นพลเมืองพม่า หรือมีชาติพันธุ์ 1 ใน 135 ชาติพันธุ์ที่พม่ารับรอง คุณสมบัติอื่นคือสามารถพิสูจน์ได้ว่าบรรพบุรุษอยู่ในพม่าก่อนปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ.1824) หรือก่อนสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่ 1 ที่ทำให้ราชวงศ์คองบองสูญเสียดินแดนมณีปุระ อาระกัน และตะนาวศรี

ผู้ที่บรรพบุรุษเข้ามาอยู่ในพม่าก่อนวันที่ 4 ม.ค. 2391 ที่พม่าประกาศเอกราชจะมีสิทธิขอสัญชาติหนึ่งในสามสถานะข้างต้น ทั้งนี้ ประชากรกลุ่ม 2. พลเมืองผู้อาศัย และ 3. พลเมืองแปลงสัญชาติ ภายใต้กฎหมายสัญชาติ 1982 พวกเขาจะถูกจำกัดสิทธิหลายประการ ไม่สามารถรับราชการ ไม่สามารถเรียนในวิทยาลัยแพทย์และวิศวกรรมศาสตร์ได้ โดยส่วนมากประชากรพม่าที่บรรพบุรุษมาจากอินเดียและจีนจะถูกจัดให้อยู่ในประชากรกลุ่มนี้

สื่ออิระวดีของพม่ารายงานคำพูดของรองผู้อำนวยการกรมจดทะเบียนและสัญชาติว่าชาวโรฮิงญาส่วนมากได้รับสัญชาติในประเภทที่ 2 และ 3 ส่วนผู้ได้พลเมืองพม่านั้นมีจำนวนน้อยกว่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถสืบสาวเอกสารที่บ่งชี้ถึงบรรพบุรุษได้อย่างสมบูรณ์ไปถึงปี 2391 ทั้งนี้ ในบัตรสัญชาติดังกล่าวไม่ใช้ชื่อชาติพันธุ์ว่าโรฮิงญา แต่ใช้คำว่าเบงกาลีแทน

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'ฟอร์ด​ เส้นทาง​สีแดง' โพสต์ขอยุติบทบาทการทำกิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้ง​

$
0
0

'ฟอร์ด เส้นทางสีแดง' โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุกิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้งเสร็จ​สิ้นสมบู​รณ์แล้ว​ โดยได้ทำกิจกรรมถึง​ 28​ ครั้งตลอดเวลา​ 9​ เดือนเต็ม​ ขอขอบคุณ​เพื่อนร่วมกิจ​กรรม​ที่ให้การสนับสนุน​ และประกาศขอยุติบทบาทการทำกิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้ง​แต่เพียงเท่านี้​

เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2562 นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ หรือ 'ฟอร์ด เส้นทางสีแดง' ได้ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวระบุว่ากิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้งเสร็จ​สิ้นอย่างสมบู​รณ์แล้ว​ โดยได้ทำกิจกรรมถึง​ 28​ ครั้งตลอดเวลา​ 9​ เดือนเต็ม​ นอกจากนี้ยังได้ขอขอบคุณ​ทั้งเพื่อนร่วมกิจ​กรรม​ที่ให้การสนับสนุน​กิจกรรม​ และประกาศขอยุติบทบาทการทำกิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้ง​แต่เพียงเท่านี้​

'ฟอร์ด เส้นทางสีแดง'-คณะ ร้องผู้นำอาเซียนกรณีไทยโกงเลือกตั้ง นักกิจกรรมถูกทำร้าย

โดยรายละเอียดทั้งหมดที่ฟอร์ด เส้นทางสีแดง โพสต์มีดังนี้

รายงานกิจกรรม​ยื่นหนังสือถึงผู้นำอาเซียน : ผมได้เดินทางออกจากบ้านพร้อมกับเจ้าหน้าที่​ตำรวจสันติบาล​ 4 นายที่มารับผมถึงบ้านโดยมีข้อตกลงว่าจะไปส่งผมที่สี่แยกเพลิน​จิตเพื่อให้ผมได้ให้สัมภาษ​ณ์สื่อมวลชน​ จากนั้นผมจะไปยื่นหนังสือถึงผู้นำอาเซียนที่กระทรวงต่างประเทศ​ แต่เมื่อรถออกเดินทาง​ก็มีคำสั่งโทรเข้ามาเป็นระยะให้ตำรวจชักจูงหว่านล้อมไม่ให้ผมไปที่สี่แยกเพลินจิต​ ผมยืนยันเจตนาเดิมทุกครั้งว่าจะต้องไปตามที่ได้นัดกับสื่อมวลชนไว้​ ตำรวจพยายามเตะถ่วง​เวลาจนไกล้ตลอดด้วยการขี่รถช้า​ ตั้งใจติดไฟแดง​ เลี้ยวผิดเส้นทาง​ ขึ้นทางด่วนผิดช่อง​ ขึ้นแล้วลงใหม่​ เป็นเช่นนี้หลายครั้งจน​ใกล้ถึงเวลานัดหมายผมจึงได้แจ้งว่าผมจะลงรถและนั่งมอเตอร์​ไซด์ไปให้ทันเวลา​ แต่เมื่อเปิดประตู​ลงผมก็ถูกตำรวจจับแขนไว้พร้อมกับรับปากว่าจะไปส่งตามสถานที่นัดหมาย​ แต่เมื่อรถผ่านสี่แยกปทุมวันมุ่งหน้าเพลินจิต​ก็มีคำสั่งสุดท้ายให้เลี้ยวเข้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อไปพบผู้​บัญชาการ​ตำรวจสันติบาล

ผมถูกนำตัวไปชั้นสองและระหว่างนั่งรอผมไม่รู้​ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปจึงได้โพสเฟสบุ๊คแจ้งสื่อมวลชนและเพื่อนร่วมกิจ​กรรม​ให้ทราบ​ จากนั้นก็ถูกนำไปพบผู้​บัญชาการ​ตำรวจสันติบาล​ ซึ่งได้อธิบายเหตุผลที่ไม่สามารถอนุญาต​ให้ผมไปให้สัมภาษ​ณ์สื่อมวลชนที่แยกเพลินจิตเนื่องจากเกรงว่่าการรายงานของสื่ออาจกระทบต่อภาพลักษณ์​ของการประชุม​อาเซียน​ จากนั้นได้ซักถามประวัติความเป็นมาของผม​ แรงจูงใจ​ในการทำกิจกรรม​ ซึ่งผมก็ได้ตอบเหมือนกับที่ผมถูกถามทุกครั้งว่าเหตุใดผมต้องออกมาทำกิจกรรม​ รูปแบบการทำกิจกรรม​ตั้งแต่อดีตเป็นนักปั่นเส้นทางสีแดงตระเวน​เยี่ยมครอบครัววีรชน​ การเยี่ยมนักโทษ​การเมืองในเรือนจำ​ จนถึงการรณรงค์​เลือกตั้งที่ร่วมกับเพื่อนๆ รณรงค์​ในนามภาคประชาชนโดยไม่มีพรรคการเมืองใดให้การสนับสนุน​ รวมถึงกิจกรรม​ปั่นจักรยานเพื่อถวายพระพร​ล้นเกล้า ร.9​ ในปี​ 2557​ เพื่อถวายพระพรถึงพระราชวังไกลกังวลที่หัวหิน ฯลฯ​ ท่าน ผบ.สันติบาลได้รับฟังเหตุผล​และมุมมองของนักกิจกรรม​ที่อาจแตกต่างจากบุคคลทั่วไป​ จากนั้นท่านได้ให้ข้อคิดผมในการทำกิจกรรม​ทางการ​เมือง และได้ให้ตำรวจไปส่งผมที่กระทรวงต่างประเทศ​ตามที่รับปาก​

ผมเดินทางมาถึงกระทรวงต่างประเทศ​ในเวลาเกือบเที่ยงวัน​ มีสื่อมวลชนมารอทำข่าว​ และมีตัวแทนจากกระทรวงต่างประเทศ​และสำนักนายกมารอรับหนังสือ​ ผมได้มีโอกาส​พบเพื่อนร่วมกิจ​กรรม​ที่กระทรวง​ต่างประเทศ​จึงได้หารือกันว่าจะทำกิจกรรม​ก่อนและค่อยยื่นหนังสือภายหลัง​ หลังจากได้นัดหมายแล้วจึงได้ทำกิจกรรม​ด้านหน้าอาคาร​ โดยเพื่อนในกลุ่มได้ยืนชูป้ายประท้วงข้อความ​ Stop​ Harassing​ Activists​ (หยุดทำร้ายนัก​กิจกรรม)​ และ​ Cheating Election (โกงเลือกตั้ง)​ พร้อมกับภาพของนักกิจกรรม​ที่ถูกทำร้าย​ทั้ง​ 3 คน​ ได้แก่ผม​ คุณ​เอกชัย​ และจ่านิว​ พร้อมกับให้สัมภาษ​ณ์สื่อมวลชนถึงเหตุผลในการแสดงออกในวันนี้​ โดยมุ่งเน้นไปที่การโกงเลือกตั้งและการทำร้ายนักกิจกรรม​ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาพร้อมกับเรียกร้องให้รัฐจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ​ ผมได้โพสจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำอาเซียนให้กับสื่อมวลชนได้นำไปเผยแพร่​ หลังจากนั้นได้ไปยื่นหนังสือ​ถึงตัวแทนกระทรวงต่างประเทศ​โดยใช้เวลากระชับที่สุดเพื่อมิให้เป็นการรบกวนเวลาของเจ้าหน้าที่จนเกินไป​ จากนั้น​ได้ยืนให้สัมภาษ​ณ์​สื่อจากญี่ปุ่นเพิ่มเติมอีก​ 10 นาที

หลังจากเสร็จสิ้น​กิจกรรม​เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาลได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหาร​รับรอง​ เมื่อได้มีโอกาสพบเจอและแลกเปลี่ยน​ประสบการณ์​จากเพื่อนร่วมกิจ​กรรม​จึงพบว่าเพื่อนจำนวนมากถูกบล้อก​ ประกบตัว​ ติดตาม​ชักจูง​ หว่านล้อม​ หลอกล่อ​ สารพัดวิธี​เพื่อที่จะขัดขวางไม่ให้เดินทางมาที่แยกเพลินจิต​ นอกจากผมที่เจอมุขถ่วงเวลาขับรถหลงทาง​แล้ว​ บางคนยังเจอมุขรถสตาร์​ทไม่ติด​ มุขชวนคุยถ่วงเวลา​ มุขตำรวจถือศีล​ 5 และอีกสารพัด​มุขที่พวกเราผลัดกันเล่าอย่างสนุกสนาน แต่อย่างไรก็ตาม​ ผมเห็นว่านั่นคือคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา​ที่ตำรวจจะต้องยึดถือปฏิบัติ​ และตำรวจทุกนายต้องทำงานกันอย่างหนักหามรุ่งหามค่ำเพื่อให้ภารกิจลุล่วง​ และตลอดเวลาที่แลกเปลี่ยน​ความคิดเห็นก็แน่ใจว่าตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด​ ในนามตัวแทนของกลุ่มนักกิจกรรม​ของประชาชนผมจึงขอขอบพระคุณ​ทุกท่านมา ณ ที่นี้

กิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้งเสร็จ​สิ้นอย่างสมบู​รณ์แล้ว​ และพวกเราก็ทำหน้าที่อย่างเต็​มความสามารถแล้ว​ พวกเราออกทำกิจกรรม​รณรงค์​กันอย่างหนักถึง​ 28​ ครั้งตลอดเวลา​ 9​ เดือนเต็ม​ สิ่งที่พวกเราทุกคนภูมิใจคือเราเคลื่อนไหว​ด้วยทุนส่วนตัว​ ด้วยความสนับสนุนจากเพื่อนเฟสบุ้ค​ ด้วยความเสียสละ​ ตั้งใจ​จริง​ เพื่ออุดมการณ์​ประชาธิปไต​ย​ ขอขอบคุณ​ทั้งเพื่อนร่วมกิจ​กรรม​ และเพื่อนที่ให้การสนับสนุน​กิจกรรม​ทุกท่าน พวกเราขอยุติบทบาทการทำกิจกรรม​รณรงค์​เลือกตั้ง​แต่เพียงเท่านี้​

ฟอร์ด​ เส้นทาง​สีแดง
22​ มิย.​ 2562​
(19.45 น.)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

'กลุ่ม NGN' เรียกร้อง 'อนาคตใหม่' ทบทวนการยุบกรรมการกลุ่มคนรุ่นใหม่

$
0
0

แกนนำ New Gen Network (NGN) เรียกร้องพรรคอนาคตใหม่ ทบทวนกรณีสั่งปลดกรรมการ NGN เรื่องใช้งบไม่เหมาะสม พร้อมขีดเส้นหากไม่มีการดำเนินการเพื่อขอเจรจาภายใน 30 มิ.ย. 2562 นี้ ทางผู้เสียหายจะเปิดข้อมูลแก่สาธารณะชน แม้จะมีความเสี่ยงนำไปสู่การถูกยุบพรรค

23 มิ.ย. 2562 WorkpointNewsรายงานว่า น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง หนึ่งใน 26 ผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ และเป็นแกนนำเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ (New Gen Network – NGN) ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อพรรคอนาคตใหม่เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2562 ที่ผ่านมา โดยระบุว่าตามที่พรรคอนาคตใหม่ได้ออกประกาศลำดับที่ 5/2561 เรื่อง “ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการเครือข่ายเยาวชน-คนรุ่นใหม่ยุติการปฎิบัติหน้าที่ทั้งคณะ โดยคำสั่งระบุว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติการณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการเครือข่ายเยาวชน-คนรุ่นใหม่ในการใช้จ่ายงบประมาณในทางที่ไม่เหมาะสมต่อคณะกรรมการการบริหารพรรคนั้น บัดนี้ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการบริหารพรรคมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ผู้ตำแหน่งการกรรมการเครือข่ายเยาวชน-คนรุ่นใหม่ ยุติการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวทั้งคณะตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในระหว่างนี้การดำเนินงานของเครือข่ายเยาวชน-คนรุ่นใหม่ ในส่วนภูมิภาค ให้ขึ้นตรงต่อสำนักเลขาธิการพรรค ผ่านคณะกรรมการสาขาพรรคหรือคณะทำงานจังหวัด ตามแต่กรณีเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการบริหารพรรคจะจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการเครือข่ายเยาวชน-คนรุ่นใหม่ ต่อไปภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้สิ้นสุดลง”

ในฐานะผู้ได้รับความเสียหายจากความสะเพร่าในการออกประกาศดังกล่าว จึงขอร้องเรียนแก่พรรคอนาคตใหม่ให้ทบทวนรายละเอียดของประกาศ โดยมีเจตนาดังต่อไปนี้

1.ขอให้ทบทวน “ประกาศ” การยุบกรรมการ NGN ให้เหตุผลตรงกับเจตจำนงค์จริงในที่ประชุม (คือการปรับโครงสร้างเข้าสู่ช่วงเลือกตั้ง และให้ง่ายต่อการสั่งการ) หากพรรคยังติดใจเรื่องการเงิน หรือต้องการเงินคืน ขอให้ทำการตรวจสอบกับผู้ต้องสงสัยและผู้เกี่ยวข้องโดยตรงและทำอย่างถูกต้องตามกระบวนการ

2.หากต้องชี้แจงต่อสมาชิกว่า ณ ตอนนั้นคำว่า “ใช้งบไม่เหมาะสม” มาจากไหน ให้ชี้แจงว่าเป็นความผิดพลาดทางการประชาสัมพันธ์สื่อสาร

ก่อนหน้านี้ คณะผู้เสียหายได้ทำการติดต่อพรรคไปแล้วหลายครั้ง แต่ได้รับการผัดผ่อน รวมไปถึงการปฏิเสธไม่ให้ดูหลักฐาน โดยอ้างว่า ต้องเปิดเผยพร้อมสื่อมวลชนเท่านั้น หรือไม่ก็ยังไม่มีเวลาตรวจสอบเพราะอยู่ในช่วงเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการดำเนินการเพื่อขอเจรจาหรือปรับแก้ไขประกาศ ภายใน 30 มิ.ย. 2562 ทางผู้เสียหายก็มีความจำเป็นต้องให้ข้อมูลแก่สาธารณะชน แม้จะมีความเสี่ยงอย่างสูงว่าหากเผยแพร่แล้วอาจนำไปสู่การยุบพรรค เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายอีก 572 รายการ ก่อนเป็นพรรคที่ต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย

นอกจากนี้ ได้ยื่นข้อทวงถามถึงพรรคอนาคตใหม่ 3 ข้อ เนื่องจากกรณีสั่งปลดกรรมการ NGN เรื่องใช้งบไม่เหมาะสม

1.การใช้จ่ายงบทุกบาททุกสตางค์ใน NGN ต้องผ่านฝ่ายบัญชีของพรรคทั้งสิ้น หากเป็นการยืมเงินทดรองต้องผ่านเหรัญญิกอนุมัติก่อน และเมื่อใช้จ่ายเสร็จก็ต้องผ่านฝ่ายบัญชีตรวจสอบอีกรอบ หากเป็นการที่กรรมการ NGN สำรองจ่ายไปก่อน การเบิกก็ต้องผ่านการพิจารณาของฝ่ายบัญชีทุกครั้ง หากเป็นการใช้จ่ายไม่เหมาะสมจริง เหตุใดเหรัญญิกและฝ่ายบัญชีจึงอนุมัติจ่าย และหากไม่เหมาะสมจริง เหตุใดผู้ถูกปลดจึงมีแต่กรรมการ NGN ทั้งที่มีฝ่ายอื่นเกี่ยวข้องชัดเจน

2.กรณีสัญญาจ้างในฝ่าย NGN ต้องผ่านฝ่ายเหรัญญิกพิจารณา หากเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อก็ผ่าน ผอ.ฝ่ายสื่อ หรือ โฆษกพรรคพิจารณาด้วย และในสัญญาก็มีฝ่ายกฎหมายลงนามเป็นพยาน และมีเลขาธิการพรรคลงนามเป็นผู้ว่าจ้าง หากถือเป็นการใช้จ่ายไม่เหมาะสมจริง เหตุใดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหล่านี้จึงอนุมัติตั้งแต่แรก และหากไม่เหมาะสมจริง เหตุใดผู้ถูกปลดจึงมีแต่กรรมการ NGN ทั้งที่มีหลายฝ่ายเกี่ยวข้องชัดเจน

3.หรือการมีคำสั่งปลดด้วยสาเหตุดังกล่าว เป็นเพียงเครื่องมือในการปลดผู้ที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งในการให้ลบโพสต์ชวนปฏิรูปกองทัพกระชับมิตรของหัวหน้าพรรคใช่หรือไม่

สรุปที่มาและปมปัญหา เหตุการณ์พรรคอนาคตใหม่ (รวบรวมโดย WorkpointNews)

'ปิยบุตร' ระบุพร้อมชี้แจงหลักฐานการใช้งบประมาณไม่เหมาะสม 

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2562 มติชนออนไลน์รายงานว่านายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) กล่าวถึงกรณี น.ส.วิภาพรรณ วงษ์สว่าง อดีตกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งพรรค โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค ตั้งคำถามกรณีที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งรักษาการกรรมการเครือข่ายเยาวชน-คนรุ่นใหม่ (New Gen Network : NGN) เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2561 โดยมติกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้นให้เหตุผลว่าเพราะมีการใช้งบประมาณไม่เหมาะสมแต่เมื่อขอดูหลักฐานทีมกฎหมายของพรรคกลับบ่ายเบี่ยงมาตลอด ว่าอนาคตใหม่เป็นพรรคการเมือง เมื่อกรรมการบริหารพรรคมีมติแล้วก็ต้องเป็นไปตามนั้น ส่วนเรื่องหลักฐานเราเปิดมาตลอดและมีหลายคนเข้ามาดูแล้ว ดังนั้นที่บอกว่าไม่ได้เปิดหลักฐานเป็นการกล่าวเท็จ ทั้งนี้ น.ส.วิภาพรรณ จะมาดูหลักฐานหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเขาแต่ยืนยันว่าเราเตรียมหลักฐานไว้หมดแล้ว

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

หลากความทรงจำต่อ เปรม ติณสูลานนท์ | หมายเหตุประเพทไทย #267

$
0
0

พูดถึงความทรงจำหลายแบบต่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ และอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 16  ที่ถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 98 ปี ทั้งนี้นอกจากบทบาททางการเมืองตลอดช่วงชีวิตแล้ว ในหน้าสื่อและงานวรรณกรรม พล.อ.เปรม ยังมีภาพลักษณ์หลายแบบ เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ที่ความโสดของเขาถูกเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรีก่อนหน้านี้ที่มักเป็นชายสูงอายุที่สมรสแล้ว นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมแนวหญิงสาวแอบชื่นชอบนายพล ซึ่งหมายถึง พล.อ.เปรม อย่าง "ฉันรักนายพล" โดย สิ'รยา หรือคอลัมน์ที่พูดถึงอดีตรักของ พล.อ.เปรม ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ก่อนรวมเล่มในชื่อ "ถึงชาติหน้าก็ไม่มีรัก หากขาดเธอ" ฯลฯ

ในช่วงต้นทศวรรษ 2530 อาจมีข่าว พล.อ.เปรม ให้กำลังใจนักร้องและนักมวย รวมทั้งการโจมตีทางการเมืองต่อ พล.อ.เปรม ด้วยเรื่องเพศในช่วงปลายทศวรรษ 2540 และในช่วงทศวรรษ 2550 ก็มีวรรณกรรมที่สะท้อนภาพลักษณ์ของ พล.อ.เปรม แบบชายชาตรีอย่าง "กูคือ ป๋า ข้าชื่อ เปรม" ของวาสนา นาน่วม  ฯลฯ

นอกจากนี้เมื่อคนๆ หนึ่งเสียชีวิต ควรถูกจดจำเฉพาะเรื่องคุณงามความดี หรือควรถูกมองและวิจารณ์อย่างรอบด้าน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย โดย ชานันท์ ยอดหงษ์ และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
YouTube เพลยลิสต์ หมายเหตุประเพทไทย
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

หมายเหตุประเพทไทยย้อนหลัง

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

5 ตัวแทนพรรคการเมืองแถลงจุดยืนหนุน 'ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งฯ คสช.'

$
0
0


ที่มาภาพ: iLaw TH(CC BY-NC-SA 2.0)

23 มิ.ย. 2562 เว็บไซต์โลกวันนี้ รายงานว่าที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ องค์กรภาคประชาชน 23 องค์กร นำโดย โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) สมัชชาคนจน ตัวแทนคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เครือข่ายสลัมสี่ภาค กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ขบวนการผู้หญิงเพื่อประชาธิปไตย (วีมูฟ) เป็นต้น จัดกิจกรรม “วาระแรกประชาชน ปักหมุด ปลดอาวุธ คสช.” ภายหลังจากนำ 20 รายชื่อ ผู้ริเริ่ม ยื่นต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ใช้สิทธิชักชวนประชาชนเข้าชื่อ เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชน และหลักการประชาธิปไตยรวม 35 ฉบับ

โดยนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอว์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเราเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. 35 ฉบับ ซึ่งปัจจุบัน คสช.ยกเลิกแล้วบางส่วน เหลือ 22 ฉบับ ที่เรายังเสนอให้ยกเลิก โดยที่วันที่ 24 มิ.ย. 2562 ทางเครือข่ายจะนำรายชื่อประชาชน 1 หมื่นรายชื่อ ไปยื่นเสนอให้ยกเลิกต่อรัฐสภา

จากนั้น ตัวแทนพรรคการเมือง ประกอบด้วย พล.ท.พงศกร รอดชมพู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายวิโชติ วัณโณ รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และนายวิรัตน์ วรศสิริน รองหัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ร่วมกันแถลงจุดยืนของแต่ละพรรคต่อร่าง พ.ร.บ.ที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอ

โดย พล.ท.พงศกรกล่าวถึงจุดยืนของพรรคอนาคตใหม่ ว่าเราพยายามหยุดยั้งอำนาจ คสช. ล้มล้างผลพวงรัฐประหาร ซึ่งการจะแก้กฎหมายได้สำเร็จ ภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อที่จะมีข้อสรุปจากทุกฝ่าย ดังนั้น แม้ว่าหลังจากมีรัฐบาลใหม่มาตรา 44 จะหมดไป แต่ 5 ปีที่ผ่านมา คสช. วางกลไกที่จะควบคุมประชาชนไว้ทุกด้าน อาทิ การยึดอำนาจโดย กอ.รมน. ในการควบคุมผู้ว่าราชการจังหวัด การวางกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี เป็นต้น แต่ในความโชคร้ายยังมีความโชคดีที่ตอนนี้ประชาชนตื่นรู้มากขึ้นแล้วจะมาควบคุมสิทธิ เสรีภาพไม่ได้ ประชาชนไม่ยอม เมื่อประชาชนตื่นรู้ สิ่งที่ตามมาเรื่องการแก้กฎหมายจะไม่ใช่เรื่องยาก พรรคอนาคตใหม่จะทำกฎหมายแล้วเดินไปด้วยกันกับประชาชน อย่างไรก็ตาม ก่อนจะเปลี่ยนระบบการเมืองเราต้องปฏิรูปกองทัพ ต้องเลิกให้ทหารไปด้อมๆ มองๆ บ้านเรือนของประชาชน ดังนั้น ต้องยุติหน้าที่เหล่านั้นที่ซ่อนในกฎหมายหลายฉบับ หากเราดูการยึดอำนาจที่ผ่านมาจะเห็นการค่อยๆ พัฒนาของ กอ.รมน. แปลว่าเรื่องนี้มีการวางแผนอยู่ตลอดเวลาที่จะเอาอำนาจจากประชาชนไป

ด้าน พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า หลังการปฏิวัติเป็นระบอบเผด็จการ มีการสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชน แต่รับใช้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชน เราจึงเห็นว่าหลังการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมา พรรคการเมืองที่ประกาศตัวสนับสนุนประชาธิปไตย กลับไปร่วมในกระบวนการสืบทอดอำนาจ ซึ่งปกติมาตรฐานคุณธรรม เกียรติยศ สัจจะ เป็นเรื่องสำคัญ ก่อนการเลือกตั้งพรรคการเมืองบางพรรคบอกจะไม่สืบทอดอำนาจประชาชนก็ไปเลือก และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สุดท้ายพรรคการเมืองกลุ่มนั้นก็ลืมประชาชน

อย่างไรก็ตาม 7 พรรคฝ่ายค้าน มีอุดมการณ์เหมือนกันคือทำให้บ้านเมืองไปสู่ประชาธิปไตย เพราะเราเห็นว่าการแก้ปัญหาโดยเผด็จการจะมีแต่ความเหลื่อมล้ำ แต่หากแก้ปัญหาด้วยประชาธิปไตยจะนำพาประเทศรุ่งเรือง ซึ่งตนเชื่อว่าประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น ส.ส. พรรคการเมือง และประชาชน ต้องร่วมมือกันนำประชาธิปไตยกลับคืนมาซึ่งไม่ใช่การลงถนน

นายวิโชติกล่าวว่า เรามุ่งมั่นสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เชื่อมั่นว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน ดังนั้น อำนาจในการปกครองประเทศจะต้องเป็นของประชาชนทุกคน กฎหมายทุกฉบับต้องเกิดจากประชาชน โดยมีผู้แทนเข้ามามาทำหน้าที่ เพราะเราเชื่อมั่นว่า เมื่อประชาชนออกกฎหมายจะไม่ออกกฎหมายใดเพื่อทำร้ายตัวเอง ตนมีจุดยืนชัดเจนที่จะไม่ยอมรับระบอบเผด็จการ และเห็นว่าคำสั่ง คสช. ประกาศ คสช. ล้วนแต่ออกโดยกลุ่มบุคคล ซึ่งแน่นอนว่าชนชั้นใดออกกฎหมายย่อมเป็นกฎหมายของชนชั้นนั้น โดยไม่ได้เกิดจากรากฐานความต้องการของประชาชน

ทั้งนี้ การที่จะยื่นร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช. เป็นความชอบธรรมทั้งปวง จึงขอสนับสนุนเต็มที่ อย่างไรก็ตาม มีคำกล่าวว่า ระบอบเผด็จการไม่ได้ตายไป เมื่อจอมเผด็จการหลุดจากเวทีแต่ว่าเผด็จการยังฝังอยู่ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 279 ทำให้คำสั่ง คสช.ถูกต้องและเป็นอมตะ ตนจึงเห็นว่าคำสั่งทั้งหมดจะต้องถูกลบล้างไป โดยรัฐสภาและประชาชน

ด้าน พล.ท.ภราดรกล่าวว่า เราเห็นพ้องกับประชาชน คือยุติผลพวงการสืบทอดอำนาจ คสช. เราจะขับเคลื่อนขยายผลว่ากฎหมายใดเป็นผลพวงจากการสืบทอดอำนาจจะต้องยุติทั้งหมด ตราบใดที่รัฐธรรมนูญระบุว่าอำนาจธิปไตยเป็นของปวงชนจะไม่มีทางตันแน่นอน ขอให้ประชาชนมั่นใจ แม้ว่าเราจะเจอสถานการณ์ที่ขลุกขลักไปบ้าง เป็นเพราะเราเจอผู้นำที่ไร้ซึ่งสปิริต และไร้ซึ่งสัจจะ วาจา แต่เมื่อมีรัฐบาลที่สมบูรณ์แบบแล้ว นั่นคือการนับเวลาถอยหลังของพวกเขา ที่ผ่านมา คสช.ใช้อำนาจในการออกคำสั่งต่างๆ ใช้ความฉ้อฉล ความแยบยล โดยใช้คำสั่ง คสช.ไปซ่อนไว้ในกฎหมายปกติ เช่น อำนาจ กอ.รมน. ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ที่นำคำสั่ง คสช.ที่ 51/60 มาแก้ไขให้กอ.รมน.สามารถใช้อำนาจเรียกบุคคลเข้ามาให้ข้อมูลได้ แต่ประชาชนไม่ต้องกังวล เพราะเมื่อเป็น พ.ร.บ.แล้วจะสามารถแก้ไขได้โดยรัฐสภาอีกไม่นานเกินรอ ซึ่งเงื่อนไขที่จะระงับยับยั้งคงลำบาก เพราะมีกระบวนการที่ประชาชนจะดำเนินการได้อยู่ดี

พล.ท.ภราดรกล่าวต่อว่า ส่วน พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในฯ ปัจจุบันเราเกิดการผลิตซ้ำทางความคิดของปีกผู้มีอำนาจ ที่พยายามทำความเข้าใจว่าการรักษาความมั่นคงภายในเป็นภารกิจของทหาร แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย การรักษาความมั่นคงภายในเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และพลเรือน แต่ประเทศไทยพยายามเอาภารกิจนี้ไปเป็นของทหาร ทั้งที่ภารกิจหลักของทหาร คือการเตรียมกำลังกับใช้กำลังเพื่อไปรบกับศัตรูนอกประเทศ ส่วนภารกิจรอง คือการบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งมีความพยายามเอาภารกิจรองมาเป็นภารกิจหลักของทหาร โดยนำมาซ่อนไว้ใน พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในฯ

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

2 ปี 2 เดือน การหายไปของหมุดคณะราษฎร

$
0
0

24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”

ข้อความข้างต้นเป็นข้อความที่สลักอยู่บนหมุดคณะราษฎร หมุดหมายการก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งเคยฝังอยู่ในลานพระบรมรูปทรงม้า ก่อนที่จะหายสาบสูญไปอย่างลึกลับในช่วงวันที่ 1 – 8 เมษายน 2560 ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าหายไปอยู่ที่ใด หรือถูกทำลายไปแล้วหรือไม่

หมุดคณะราษฏรเป็นหมุดทรงกลมสีทองเหลือง ฝังอยู่ในพื้นระหว่างฐานของพระบรมรูปทรงม้าและประตูทางเข้าสนามเสือป่า เพื่อเป็นที่ระลึกถึงจุดที่พล.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย และอ่าน “ประกาศคณะราษฏร” ฉบับแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยประกอบพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479

วันที่ 14 เมษายน 2560 มีรายงานว่าหมุดคณะราษฏรถูกรื้อถอนไปจากตำแหน่งที่ตั้ง และถูกแทนที่ด้วย “หมุดหน้าใส” ที่สลักข้อความว่า

ขอให้ประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน

ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดีในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องคำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง”

ข้อความดังกล่าวตรงกับคาถาภาษิตในพระราชลัญจกรประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศในรัชกาลที่ 1  

หลังจากมีการรายงานข่าวเรื่องนี้ หลายฝ่ายได้เข้าร้องเรียนกับทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและกับกรุงเทพมหนาคร แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่าหน่วยงานหรือบุคคลใดเป็นผู้รื้อถอนหมุดออกแล้วนำหมุดใหม่มาแทนที่

เขตดุสิตยืนยันว่า ไม่ได้เป็นผู้เปลี่ยน ส่วนกรมศิลปากรแจ้งว่าหมุดไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมศิลปากร ทางกรมดูแลเฉพาะองค์อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าเท่านั้น อีกทั้งหมุดคณะราษฎรไม่ใช่โบราณวัตถุตามพ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เนื่องจากไม่ถือเป็น “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์ เพราะหมุดดังกล่าวมีลักษณะเป็นเพียงเครื่องหมายระบุตำแหน่งที่เคยมีการประกาศแถลงการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น”

ภาพถ่ายเช้าวันที่ 20 มิถุนายน 2562

ปัจจุบัน พื้นที่ระหว่างฐานของพระบรมรูปทรงม้าและประตูสนามเสือป่ากว่าครึ่งกำลังมีการปรับปรุง โดยมีการขุดพื้นถนนเดิมออก และมีการตั้งรั้วพร้อมด้วยกระถางต้นไม้กั้นพื้นที่ก่อสร้าง จึงยังไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าแม้แต่หมุดใหม่ยังมีอยู่หรือไม่

รวมกรณีคนทวงหมุด และผลที่ได้รับ

ที่ผ่านมานักกิจกรรมที่ออกมาเรียกร้องกรณีหมุดหาย หรือหน่วยงานใดจะจัดกิจกรรมเรื่องนี้ก็มีอันถูกยับยั้งหรือควบคุมตัว เช่น

  • ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยถูกนำตัวไปโดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจหลังจากเดินทางไปยื่นหนังสือต่อศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทำเนียบรัฐบาลขอให้มีการติดตามนำหมุดเก่ากลับมาและให้ดำเนินคดีกับผู้ที่นำหมุดไป
  • บุญสิน หยกทิพย์ ฝ่ายประสานงานชมรมธรรมาธิปไตยแห่งชาติ ถูกเชิญตัวไปปรับทัศนคติที่มทบ. 11 พร้อมกับสันติพงษ์ วินุราช เพื่อนที่ร่วมเดินทางมาด้วยกันหลังเข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่ สน. ดุสิตเพื่อขอลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานและให้ช่วยติดตามหมุดคณะราษฎร
  • เอกชัย หงส์กังวาน ถูกตำรวจจับกุมตัวไปหลังพยายามนำหมุดคณะราษฎรจำลองไปติดตั้งกลับคืนที่จุดเดิม
  • นอกจากนี้ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยหรือ FCCT ยังได้รับหนังสือจากสถานีตำรวจนครบาลลุมพินีขอความร่วมมือให้งดการจัดงานเสวนาในหัวข้อ "ความทรงจำแห่งอภิวัฒน์ 2475 - ปริศนาหมุดคณะราษฎรหาย" (Memories of 1932 - The Mystery of Thailand's Missing Plague) หลังทางตำรวจได้รับการประสานจาก “ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง” ซึ่งเห็นว่างานเสวนานี้อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ บุคคลผู้ไม่หวังดีอาจฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดความวุ่นวาย
  • ส่วนที่น่าฮือฮาที่สุด แต่ก็กลับเงียบเชียบที่สุดคือ หลังสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชื่อดังที่ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศหลังรัฐประหาร 2557 ได้วิเคราะห์เรื่องหมุดคณะราษฎรหาย จากนั้นมีการจับกุมบุคคล 6 คนที่กดแชร์สเตตัสดังกล่าวของสมศักดิ์ หนึ่งในนั้นเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ทั้ง 6 คนถูกจับและควบคุมตัวในค่ายทหารก่อนจะมีการแจ้งข้อหาความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีการฝากขังในเรือนจำจนครบ 7 ผัด (84 วัน) แต่ในท้ายที่สุดก็ได้รับการปล่อยตัวทั้งหมด และอัยการไม่สั่งฟ้องคดี

การหายไปของหมุดคณะราษฎรยังคงคลุมเครือ แม้ว่าเวลาจะผ่านมาถึงสองปีกว่าแล้วก็ตาม ผู้คนจำนวนไม่น้อยเห็นตรงกันว่า การหายไปของหมุดคณะราษฎร อาจเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะขุดรากถอนโคนมรดกของคณะราษฎรและความทรงจำถึงการปฏิวัติ 2475

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐอาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งข้อสังเกตว่าการรื้อถอนหมุดคณะราษฎรเป็นส่วนหนึ่งของการถอยหลังกลับสู่เผด็จการของสังคมไทย บริบททางการเมืองที่มีความพยายามในการสร้างความชอบธรรมของระบอบเผด็จการและทำลายความชอบธรรมของประชาธิปไตยตามแบบสากลได้นำไปสู่การย้อนประวัติศาสตร์ การปฎิเสธความชอบธรรมของคณะราษฎรและความถูกต้องของระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย และความมุ่งหวังที่จะทำลายสัญลักษณ์ของคณะราษฎรเพื่อลบอดีตและเขียนเรื่องราวในประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับแนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบที่สุธาชัยเรียกว่า “ด้อยสติปัญญา”

รัฐประหาร ปลุกคนหันมองหมุดที่นอนนิ่งมานาน

หมุดคณะราษฎรมีบทบาททางการเมืองในฐานะเป็น “สถานที่” จัดกิจกรรมรำลึกถึงคณะราษฎรในตอนเช้าวันที่ 24 มิถุนายนของทุกปี กิจกรรมดังกล่าวแทบไม่เป็นที่สนใจของสังคม จนกระทั่งหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ก็เริ่มถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในการต่อต้านรัฐประหาร

หลังปี 2552 ความหมายของการรำลึก 24 มิถุนาฯ ก็ถูกแย่งชิงมาเป็นของกลุ่มต่อต้านรัฐประหารโดยสมบูรณ์ โดยในปี 2555 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ  80  ปีของการปฏิวัติ  2475 มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงคณะราษฎรจำนวนมาก รวมถึงในพื้นที่บริเวณหมุดคณะราษฎรและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยด้วย

เมื่อพูดถึงกิจกรรมเหล่านี้ กลุ่มหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้คือ “กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย” นำโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข


การจัดกิจกรรมรำลึกในปี 2558

สมยศเล่าว่า  กลุ่ม 24 มิถุนาฯ เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 2549 โดยเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และมีประเด็นเรียกร้องทวงคืนวันชาติ 24 มิถุนายน ในช่วงที่มีรายงานว่าหมุดคณะราษฎรหายไปนั้น ทางกลุ่มก็มีความพยายามเคลื่อนไหว แต่เนื่องจากว่าสมาชิกของกลุ่มส่วนหนึ่งต้องลี้ภัยหรือถูกจำคุกจึงไม่สามารถเคลื่อนไหวอะไรได้มากในสถานการณ์ขณะนั้น แต่ก็ได้มีการทำหมุดจำลองและทำเสื้อออกจำหน่าย

นอกจากนี้ทางกลุ่มยังเคยจัดงานสัมมนาเพื่อรำลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 เมื่อปี 2561 โดยกลุ่มได้ประกาศว่าจะใช้แนวนโยบาย 6 ประการของคณะราษฎรเป็นแนวทางในการตั้งข้อเรียกร้องต่าง ๆ เช่น การปฏิรูปกองทัพ เบี้ยคนชรา ฯลฯ เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎร

เขายังเชื่อว่า การตั้งชื่อกลุ่มเช่นนี้และเคลื่อนไหวผูกโยงกับคณะราษฎรเช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเกิดความสนใจในประวัติศาสตร์คณะราษฎรมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการถกเถียงกันมากขึ้นในเรื่องระบอบอำมาตย์ หรือกระทั่งบทบาทของสถาบันกษัตริย์

ความทรงจำถึงประวัติศาสตร์ 2475 กำลังถูกคุกคาม

ก่อนจะมีปรากฏการณ์หมุดหาย ชาตรี ประกิตนนทการ ได้นำเสนอความขัดแย้งกันกันของประวัติศาสตร์สองฟากฝ่ายไว้ก่อนแล้วในหนังสือเรื่องสถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 (ตีพิมพ์เมื่อปี 2558) ว่า มีสิ่งที่เรียกว่า “กฎบัตรการอนุรักษ์ฉบับวัฒนธรรมไทย” ที่ปะทะสังสรรค์กับการอนุรักษ์สากลอยู่ ถึงแม้ไม่มีการจารึกเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการ แต่ก็ถือเป็น “เพดาน” ที่ควบคุมแนวคิดการอนุรักษ์ในสังคมไทยอยู่เสมอโดยที่เราไม่รู้สึกถึงมัน

หนึ่งในสาระสำคัญของกฎบัตรดังกล่าวก็คือ การเน้นการอนุรักษ์เฉพาะมรดกวัฒนธรรมชั้นสูงภายใต้ระบอบราชาชาตินิยม ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิด “การคัดทิ้ง” มรดกทางวัฒนธรรมยุคคณะราษฎร ซึ่งมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์กับมรดกทางวัฒนธรรมแบบชั้นสูงที่แวดล้อมสถาบันกษัตริย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

มรดกของคณะราษฎรที่เป็นรูปธรรมนั้น เราจะเห็นได้ว่ามีจำนวนหนึ่งที่ถูกทำลายไปก่อนหน้าการหายไปของหมุดคณะราษฎรแล้ว เช่น อาคารที่ทำการศาลฎีกาเดิมที่ถูกรื้อทิ้งเพื่อสร้างอาคารใหม่ และโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยที่ถูกรื้อลงเพราะไปบดบังโลหะปราสาท วัดราชนัดดาที่สร้างโดยพระราชดำริของรัชกาลที่ 3 และนอกจากนั้นก็ยังมีอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดชที่เคยตั้งอยู่ที่วงเวียนหลักสี่ ซึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปเมื่อกลางดึกของวันที่ 27 ธันวาคม 2561 โดยที่ปัจจุบันยังไม่ทราบชะตากรรมเช่นเดียวกับหมุดคณะราษฎร

ชาตรีเสนอว่าการคุกคามมรดกทางวัฒนธรรมของคณะราษฎรทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรื้อถอนทำลายประวัติศาสตร์ความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรของฝ่ายอนุรักษ์นิยม

ความพยายามรักษา-กระจายหมุด

อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะรักษาหมุดคณะราษฎรไว้ก็ยังคงมีอยู่ โดยความพยายามครั้งล่าสุดคือเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เมื่อคณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ทำเรื่องขออนุญาตทำการฝังหมุดคณะราษฎรจำลองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านรัฐศาสตร์ให้แก่นิสิต แต่ทางกองอาคารสถานที่ งานผังแม่บทและออกแบบสิ่งก่อสร้างของทางมหาวิทยาลัยไม่อนุญาต

อลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการดังกล่าว เล่าว่า เขามีโครงการที่จะทำอุทยานการเรียนรู้ไว้ที่คณะ โดยมีรูปปั้นนักคิดจากยุคต่าง ๆ เช่น โสเครตีส มาเคียเวลลี จอห์น ลอค และคาร์ล มาร์กซ์ และอยากให้มีรูปปั้นนักคิดจากประเทศไทยด้วย เช่น 4 รัฐมนตรีอีสาน ครูครอง จันดาวงศ์ แต่เนื่องจากงบประมาณมีไม่เพียงพอ จึงทำเพียงหมุดคณะราษฎรไปก่อน โดยที่ทางคณบดีไม่ได้คัดค้านใดๆ แต่เพราะต้องการนำหมุดคณะราษฎรจำลองฝังลงในพื้นอาคารเพื่อให้เหมือนหมุดจริง ทำให้ต้องขออนุญาตจากทางมหาวิทยาลัย ในตอนแรกกองอาคารสถานที่ได้อนุมัติแล้ว แต่ต่อมากลับมีหนังสือสั่งการจากรองอธิการบดีในขณะนั้นไม่อนุมัติให้ฝัง เนื่องจากเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ไม่ได้อยู่ในวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยในการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงวัฒนธรรม และเกรงว่าจะทำให้เกิดความแตกแยกในมหาวิทยาลัย

อลงกรณ์กล่าวว่ารองอธิการบดีคนดังกล่าว ไม่ได้คัดค้านการมีหมุดคณะราษฎรอยู่ในโครงการอุทยานการเรียนรู้นี้ เพียงแต่ขอให้จัดแสดงด้วยวิธีอื่นแทนการฝังลงในพื้นอาคาร นอกจากนี้ยังไม่มีแรงต้านจากฝ่ายอื่นในมหาวิทยาลัย ส่วนนิสิตก็ให้กำลังใจดีและยังสนับสนุนให้ฝังลงพื้น

อย่างไรก็ตาม อลงกรณ์กล่าวว่า ในขั้นต่อไปคงจะจัดทำหมุดขึ้นมาแล้วใส่ชั้นจัดแสดงแทน

ชาตรีได้เสนอไว้ด้วยว่า คณะราษฎรเป็นกลุ่มบุคคลทางประวัติศาสตร์ที่ถือกำเนิดขึ้น 2 ครั้ง ครั้งแรกจากผลงานในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนความทรงจำเกี่ยวกับคณะราษฎรจะเริ่มถูกทำให้จางหายไปหรือถูกตีความในแง่ลบ และถือกำเนิดใหม่อีกครั้งหลังการรัฐประหารปี 2549 ในฐานะวีรชนและสัญลักษณ์การต่อสู้กับอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ครอบงำสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน

ดังนั้น ถ้าหากมองลักษณะการจดจำคณะราษฏรของสังคมไทยในลักษณะของการเกิด 2 ครั้งตามที่ชาตรีเสนอแล้ว การทำลายมรดกทางวัฒนธรรมของคณะราษฎร เช่นการรื้อถอนหมุดคณะราษฎร และการย้ายอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นการ “ฆ่า” คณะราษฎรเป็นครั้งที่ 2 เช่นกัน ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะสามารถทำได้สำเร็จหรือไม่

สมยศ ตัวแทนกลุ่ม 24 มิถุนาฯ กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของการปฏิวัติ 2475 เป็นประวัติศาสตร์ที่ยังมีความต่อเนื่อง เป็นการต่อสู้กันจากรุ่นสู่รุ่น ถึงแม้ว่าคณะราษฎรจะถูกกวาดล้างไปหมด แต่ก็ยังเหลือมรดกทั้งในรูปของความคิดและวัตถุ และกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ก็ถือเป็นกลุ่มประชาชนที่ตั้งใจว่าจะสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎรต่อไป และพยายามจะฟื้นฟูประวัติศาสตร์ที่ถูกทำลายไปกลับมา

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ศาลทหารเลื่อนฟังคำพิพากษา คดี 112 ‘ลุงบัณฑิต’ เตรียมถุงยังชีพพร้อมหากต้องติดคุก

$
0
0

วันนี้ศาลทหารกรุงเทพ เลื่อนนัดฟังคำพิพากษา คดีบัณฑิต อาร์ณีญาญ์ (อานียา) ถูกฟ้องมาตรา 112 โดยศาลได้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาเป็นวันที่ 5 ส.ค. เวลา 13.00 น. ด้านบัณฑิตมาพร้อม ‘ถุงยังชีพ’ เตรียมพร้อมหากต้องเข้าคุก ในถุงประกอบด้วยข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เสื้อผ้า ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงปัสสาวะ

 

 

24 มิ.ย. 2562 วันนี้ เวลา 9.00 น. ศาลทหารกรุงเทพ เลื่อนนัดฟังคำพิพากษา คดีบัณฑิต อาร์ณีญาญ์ (อานียา) นักเขียนและนักแปล ถูกฟ้องฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือมาตรา 112 จากการแสดงความเห็นในที่ประชุมพรรคนวัตกรรมไทย เมื่อปี 2557 โดยศาลได้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาเป็นวันที่ 5 ส.ค. เวลา 13.00 น.

เวลาประมาณ 9.10 น. บัณฑิตเดินทางมาถึงศาลทหาร มีผู้ติดตามมาให้กำลังใจบัณฑิตประมาณ 6-7 คน รวมทั้งไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์อ่าน

บัณฑิตมาพร้อม ‘ถุงยังชีพ’ ที่เขากล่าวว่าเตรียมมาเผื่อว่าจะถูกตัดสินใจจำคุก โดยในถุงประกอบด้วยข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว เสื้อผ้า ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงปัสสาวะ ซึ่งบัณฑิตต้องใส่ติดตัวตลอดหลังจากที่ก่อนหน้านี้ต้องตัดกระเพาะปัสสาวะออกเนื่องจากเป็นมะเร็ง

 


บัณฑิต อานียา พร้อมถุงยังชีพที่เตรียมเผื่อต้องเข้าคุก


บัณฑิต อานียา นำของในถุงยังชีพออกมาให้ดู

 

อนึ่ง บัณฑิต อาร์ณีญาญ์ ถูกแจ้งข้อหาดำเนินคดีจากการแสดงความคิดเห็น เมื่อวันที่ 26 พ.ย.2557 บัณฑิตได้พยายามแสดงความเห็นเกี่ยวกับระบอบกษัตริย์ แต่ยังไม่ทันพูดจบประโยคก็ถูกห้ามไม่ให้พูดต่อ หลังจากนั้นเขาพยายามตั้งคำถามเกี่ยวกับระบอบกษัตริย์อีกครั้ง แต่ยังไม่ทันจบคำถาม ผู้ร่วมประชุมก็แสดงความไม่พอใจและลุกออกไปจากห้องประชุม นำไปสู่การควบคุมตัวชายวัย 74 ปี ไว้ที่ สน.สุทธิสาร บัณฑิตถูกแจ้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในวันที่ 27 พ.ย. 2557 และถูกนำตัวไปขอขังก่อนการพิจารณาคดีที่ศาลทหารกรุงเทพในวันถัดไป วันนั้นศาลทหารกรุงเทพอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์ 400,000 บาท

รวมแล้วการพิจารณาคดีใช้เวลากว่า 4 ปีนับจากถูกจับกุม กว่าที่ศาลทหารกรุงเทพจะสืบพยานจนเสร็จสิ้น

(อ่านรายละเอียดการสืบพยานได้ที่ คดี 112 ที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์-ฎีกา: การสู้คดีในศาลทหารของสมอลล์ บัณฑิต อาร์ณีญาญ์ กรณีแสดงความเห็นปี 57)

นอกจากนี้บัณฑิตยังถูกฟ้องข้อหามาตรา 112 อีกครั้งวันที่ 15 พ.ย.2559 โดยตำรวจได้เข้าควบคุมตัว บัณฑิต จากห้องพักย่านหนองแขมมายัง สน.ชนะสงคราม เพื่อทำการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวน เหตุจากกรณีการแสดงความคิดเห็นหลังการเสวนาเรื่อง ‘รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช?’ จัดโดยกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2558 โดยเขาเสนอความเห็นให้บัญญัติเรื่องที่เขาเห็นว่าสำคัญ 5 เรื่องไว้ในรัฐธรรมนูญ และข้อหนึ่งในนั้นระบุถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่ามีส่วนที่พาดพิงกับสถาบันพระมหากษัตริย์

โดยบัณฑิตถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษ 1 คืนในวันที่ 16 พ.ย. ต่อมาวันที่ 17 พ.ย. ศาลทหารอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว นายประกันได้วางหลักทรัพย์เป็นเงินสด 400,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ทีมช่วยเหลือคดีนักโทษการเมืองระดมจากการบริจาคและบางส่วนเป็นการหยิบยืมมา อย่างไรก็ตาม ศาลระบุเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวด้วยว่า 1.ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล 2.ห้ามร่วมชุมนุมทางการเมืองอันก่อให้เกิดคามไม่สงบในราชอาณาจักรและห้ามแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใดหรือเป็นหนังสือ เพื่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน

คดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการสืบพยานที่ศาลทหารกรุงเทพ

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

แอมเนสตี้ชวนทั่วโลกส่ง จม.ถึงทางการไทยยุติคดี 17 คนจากเหตุการณ์หน้าสถานีตำรวจปทุมวันเมื่อปี 2558 

$
0
0

แอมเนสตี้ชวนสมาชิกทั่วโลกส่งจดหมายเรียกร้องไทยยุติการดำเนินคดี 17 คน ที่ถูกดำเนินคดีข้อหายุยงปลุกปั่น-ก่อความวุ่นวาย ตาม ม.116 และ 215 จากการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.58 ระบุว่าทั้งหมดถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ

แฟ้มภาพ

24 มิ.ย.2562 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แจ้งว่า สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ออกปฏิบัติการด่วน เชิญชวนสมาชิก นักกิจกกรม และผู้สนับสนุนกว่า 7 ล้านคนทั่วโลกร่วมกันส่งจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกร้องทางการไทยยุติการดำเนินคดีต่อธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ รวมทั้งอดีตนิสิต-นักศึกษากลุ่มดาวดิน จำนวน 7 คน กลุ่มประชาธิปไตยใหม่จำนวน 6 คน และอดีตประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) รวมทั้งหมด 17 คน ซึ่งการรณรงค์นี้จะมีไปถึงวันที่ 5 ส.ค.นี้

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า ทางการไทยได้เริ่มปราบปรามครั้งใหม่ต่อผู้ประท้วงอย่างสงบ โดยการดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคล 17 คนรวมทั้งนักการเมืองพรรคฝ่ายค้าน จากเหตุการณ์ที่เข้าร่วมการประท้วงนอกสถานีตำรวจตำรวจนครบาลปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2558 การชุมนุมของพวกเขาเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลทหารมีคำสั่งห้ามชุมนุม “ทางการเมือง” ของบุคคลห้าคนหรือกว่านั้น การดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านี้หลังผ่านเหตุการณ์ชุมนุมมาเกือบสี่ปี ดูเหมือนเป็นการตัดสินใจที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเพื่อปิดปากฝ่ายที่รัฐบาลเห็นว่าอยู่ฝั่งตรงข้าม และต้องการสร้างบรรยากาศให้เกิดความหวาดกลัวในการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบในประเทศไทย

แอมเนสตี้ยังระบุอีกว่าแม้รัฐบาลไทยจะยกเลิกคำสั่งที่จำกัดสิทธิอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนหลายประการ แต่ทางการยังคงใช้วิธีคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมข่มขู่ผู้วิจารณ์และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และเอาผิดทางอาญากับการใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและเสรีภาพในการแสดงออก

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลจึงเชิญชวนสมาชิก นักกิจกรรม ผู้สนับสนุน ตลอดจนผู้ที่สนใจประเด็นสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เขียนจดหมายเรียกร้องถึงทางการไทยให้ยกเลิกการดำเนินคดีโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อบุคคลเหล่านี้และบุคคลอื่นๆ ซึ่งถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบและเสรีภาพในการแสดงออก  เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

สำหรับผู้สนใจร่วมลงชื่อสามารถเข้าไปลงได้ที่ https://www.amnesty.or.th/get-involved/take-action/4yearslater/

ข้อมูลพื้นฐาน

ในวันที่ 6 เม.ย.2562 ทางการดำเนินคดีกับธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) และผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 ในข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และข้อหาชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือโดยการช่วยผู้นั้นด้วยประการใด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าให้รังสิมันต์ โรม ซึ่งเป็นนักกิจกรรมในเวลานั้น นั่งรถไปด้วยจากโรงพัก หลังการประท้วงในวันที่ 24 มิ.ย. 2558 

ในวันที่ 22 พ.ค. 2562 ทางการยังดำเนินคดีกับอดีตนักศึกษาและนักกิจกรรม 13 คนเพิ่มเติมตามมาตรา 116 และมาตรา 215 โดยเป็นอดีตนักศึกษาในกลุ่มดาวดินเจ็ดคน ได้แก่วสันต์ เสดสิทธิ พายุ บุญโสภณ อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ ศุภชัย ภูคลองพลอย ภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ สุวิชา พิทังกร จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา นอกนั้นอีกหกคนเป็นนักศึกษาในกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ได้แก่พรชัย ยวนยี ชลธิชา แจ้งเร็ว รังสิมันต์ โรม รัฐพล ศุภโสภณ อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์

ในวันที่ 11 มิ.ย. 2562 ได้แจ้งข้อหากับนักกิจกรรมอีกสองคนคือ ปกรณ์ อารีกุล และวรวุฒิ บุตรมาตร รวมถึงสุไฮมี ดูละสะ อดีตประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนเยาวชนปาตานี (PerMAS) ก็ถูกแจ้งข้อหาเดียวกัน ในวันที่ 15 มิ.ย. 2562 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ใบตองแห้ง: ‘ขวาไทย’ อนาคตหมด

$
0
0

ท่ามกลางวิบัติศรัทธาต่อการตั้งรัฐบาล การแก่งแย่งช่วงชิงตำแหน่ง ทั้งในพรรคร่วมและพรรคแกนนำ การสรรหาแต่งตั้งกันเองมาเป็น 250 ส.ว. ก็มีเรื่องน่าขัน ว่าเมื่อพรรคฝ่ายค้านวิจารณ์การแต่งตั้งพวกพ้องญาติพี่น้อง กวาดต้อนนักการเมืองยี้ ฯลฯ สื่อที่เชียร์ลุงสุดลิ่มก็ย้อน ทักษิณทำมาก่อน

ฟังแล้วหัวร่อแทบตาย ไม่อายตัวเองบ้างหรือไร ไม่เหลือตรรกะอะไรให้อ้าง นอกจากทักษิณทำได้ ลุงก็ทำได้ อุตส่าห์ปิดเมืองขัดขวางเลือกตั้ง ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง คลั่งจะเป็นจะตาย สุดท้ายอ้างทักษิณมาปกป้องลุง

ปัดโธ่ ถ้าทักษิณคุมกองทัพได้ ตั้ง ผบ.เหล่าทัพมาโหวตให้ตัวเองได้ ป่านนี้ ก็ไล่ทักษิณไม่สำเร็จหรอก

แล้วไหนล่ะ ธรรมาภิบาล 4 คำถาม 6 คำถาม ทำทุกอย่างเพื่อเอาชนะทักษิณ แล้วคนดีเหลืออะไรบ้าง ความต้องการโค่นล้มทักษิณทำให้เกิดรัฐประหาร ทำลายประชาธิปไตย ความต้องการสืบทอดอำนาจ ทำให้ใช้กติกาที่ไม่ยุติธรรม ช่วงชิงอำนาจโดยไม่ชอบธรรม พร้อมทั้งใช้เนติบริกร ถดแถแบบศรีธนญชัย สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไรเลย แม้แต่ความละอาย หิริโอตตัปปะ คุณจะอ้างตนเป็นคนดีมีศีลธรรมได้อย่างไร ถ้าได้อำนาจมาจากกติกาที่เอาเปรียบคนอื่น

พลังอนุรักษนิยมสุดขั้วสุดโต่งที่หนุนการสืบทอดอำนาจวันนี้ จึงไม่เหลือเหตุผลให้อ้าง นอกจากความพยายามแถไถ ไม่สามารถถกเรื่องหลักการ ความผิดชอบชั่วดีที่เป็นหลักของบ้านเมือง แต่หันไปใช้การปลุกความเกลียดชังให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม ว่าถ้าไม่มีการสืบทอดอำนาจแล้วจะเป็นภัย

กระทั่งเห็นพานไหว้ครูสะท้อนจิตสำนึกใสซื่อของเด็ก ว่า 250 ส.ว.สำคัญกว่าประชาชนหลายล้านคน ไม่เป็นธรรม ก็ยังคลั่งชี้หน้าว่ามีคนอยู่เบื้องหลัง ปลุกเรดการ์ดล้มล้างวัฒนธรรมความเป็นไทย

โดยเฉพาะการปลุกความเกลียดชังพรรคอนาคตใหม่ โดยอ้างความจงรักภักดี แล้วผูกขาดความจงรักภักดีไว้กับพวกตน พวกที่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจเผด็จการเท่านั้น ทั้งที่ภาพเก่าจากปี 2553 ควรให้บทเรียนว่า การอ้างสถาบันสูงสุดมาเอาชนะกันทางการเมือง ส่งผลเสียอย่างไร

มิตรสหายในเฟซท่านหนึ่งกล่าวไว้ การโต้เถียงทางการเมืองในวันนี้ ไม่ใช่เรื่องระหว่างวัย ระหว่างเสรีนิยม อนุรักษนิยม อะไรเลย แต่เป็นเรื่องระหว่างคนที่ยังพอมีใจเป็นธรรมอยู่บ้าง กับคนที่มืดมนเห็นผิดเป็นถูก ลูกหาบสอพลอของระบอบศรีธนญชัย เท่านั้นเอง

หรือถ้าพูดแบบพุทธก็ต้องเรียกว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างสัมมาทิฐิ กับมิจฉาทิฐิ เพราะกระทั่งอนุรักษนิยมที่แท้จริง ก็ต้องเห็นแก่ศีลธรรมความสุจริต ที่กำลังพังทลาย

ว่าตามความจริง ความคิดอนุรักษนิยม ที่ชาวโลกเรียกว่า “ฝ่ายขวา” มีหลายเฉด แต่ในประเทศนี้ พวกที่เสียงดังกลายเป็นพวกสุดขั้วสุดโต่ง ปิดเมืองขัดขวางเลือกตั้งเชียร์รัฐประหาร แล้วก็อ้างชาติ ศาสน์ กษัตริย์

พรรคการเมืองอนุรักษนิยมในประเทศนี้ ไม่เคยชนะเลือกตั้ง คนดีในอุดมคติของฝ่ายอนุรักษนิยม มักพังอย่างน่าอนาถ ถ้าไม่กลายเป็นปลัดประเทศ เชื่องช้า เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ก็ดีแต่พูด แพ้ย่อยยับ

ลองนึกภาพพรรคคอนเซอร์เวทีฟ พรรครีพับลิกัน หรือพรรคขวาใหม่ในยุโรป พวกเคร่งศาสนา ต้านผู้อพยพ ฯลฯ ที่พุ่งขึ้นมาเป็นฟีเวอร์ในระยะหลัง ในเมืองไทยไม่ยักเกิด กลับมาเกิดพรรคอนาคตใหม่

ลองนึกภาพกลับกัน ภาพในฝันของอนุรักษนิยมไทย ถ้ามีคนดีคนซื่อตั้งพรรคยึดมั่นวัฒนธรรมประเพณี ศีลธรรมความเป็นไทย ฯลฯ หาเสียงระบบใหม่ ใช้โซเชี่ยล ไม่ใช้หัวคะแนน ใช้เงินบริจาคเงินยืมแค่ร้อยกว่าล้านบาท จะชนะถล่มทลายได้ 80 กว่าคนอย่างพรรคอนาคตใหม่ไหม

พรรคมหา 5 ขันเคยหาเสียงโดยใช้ฝาเข่ง ชนะถล่มทลาย แต่นั่นก็เพราะต้านเผด็จการ รสช. ไม่ใช่พลังผักสักเท่าไหร่

ความฝันของอนุรักษนิยมไทยไม่เคยเป็นจริง และยิ่งห่างไกลไปทุกวัน ยิ่งมีเลือกตั้งก็มีแต่จะแพ้ "คนดีลิเบอรัล” เพราะอนุรักษนิยมไทยฝังหัวอยู่กับการพึ่งพิงอำนาจปืน อำนาจรัฐ พึ่งกฎหมายภิวัตน์ ทำลายคู่แข่ง กอดวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

แม้กระทั่งความฝันที่จะพึ่งพิงอำนาจทหาร อำนาจรัฐราชการ เอาเข้าจริงก็สิ้นหวัง สฤษดิ์ถนอมลงเอยด้วยการยึดทรัพย์ รสช. คสช. ก็ลงเอยด้วยการตั้งพรรคดูดนักการเมืองที่พวกตนเคยประณาม เพื่อสืบทอดอำนาจ

8.4 ล้านเสียง มีคนนิยมจริงสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็มาจากฐานนักการเมือง แล้วพวกอนุรักษนิยมสุดขั้วสุดโต่ง จริงๆ มีสักเท่าไหร่ ทำเป็นเสียงดัง

การเมืองจะพัฒนา ถ้ามีพรรคอนุรักษนิยมลงเลือกตั้งจริงจัง แข่งกันหาเสียงสร้างศรัทธา ไม่อาศัยการเมืองระบบเก่า แต่อ้าว พรรคกำนันก็ได้ ส.ส. 5 คนเท่านั้นไม่ใช่หรือ แพ้พรรคตู่ จตุพร ด้วยซ้ำ

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: ข่าวสด www.khaosod.co.th/hot-topics/news_2641247

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: ชาวปาเลสไตน์จะมีเสรีภาพได้อย่างไร?

$
0
0

เกือบทุกสัปดาห์เราจะเห็นความโหดร้ายป่าเถื่อนของรัฐบาลอิสราเอล ที่ใช้ความรุนแรงสุดขั้วในการถล่มชาวปาเลสไตน์ที่กาซา คาดว่าระหว่างมีนาคม 2018 ถึง มกราคม 2019 อิสราเอลใช้สไนเปอร์และกระสุนจริงฆ่าชาวปาเลสไตน์ที่ประท้วงโดยไร้อาวุธตรงจุดชายแดน จนมีคนเสียชีวิตถึง 250 คน และมีผู้บาดเจ็บเป็นหมื่น นอกจากนี้มีหลักฐานชัดเจนว่าทหารอิสราเอลตั้งเป้าจงใจฆ่า เด็ก คนพิการ และนักข่าวอีกด้วย ในกรณีหนึ่งเด็กอายุ 11 ถูกยิงตายเพราะแค่ตะโกนเรียกร้องเสรีภาพ

กาซาถูกอิสราเอลปิดล้อมมา 12 ปี โดยที่ประชาชนปาเลสไตน์ 2 ล้านคนถูกขังไว้ในพื้นที่ที่ขาดแคลนเชื้อเพลิง ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในขณะเดียวกันพวก”ไซออนนิสต์”สุดขั้ว ก็ขยายการยึดพื้นที่ของชาวบ้านปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่อง โดยที่รัฐบาลอิสราเอลคอยสนับสนุนตลอดเวลา

ล่าสุดรัฐบาลฝ่ายขวาของอิสราเอลประกาศใช้ “กฏหมายแห่งชาติ” ที่ทำให้คนปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในอิสราเอลกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง และนายกรัฐมนตรี เนทันยาฮู ประกาศว่า “อิสราเอลคือชาติของชาวยิวเท่านั้น”

ทุกอย่างที่อิสราเอลทำ ได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาของดอนัลด์ ทรัมป์ โดยที่ ทรัมป์ ประกาศย้ายสถานทูตสหรัฐไปที่เมืองเยรูซาเลม ในขณะที่สหประชาชาติและชาวโลกมองว่าเยรูซาเลมเป็นเมืองที่ต้องถูกแบ่งเป็นดินแดนของปาเลสไตน์และอิสราเอลคนละครึ่ง การย้ายสถานทูตครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณว่าสหรัฐสนับสนุนการกลืนดินแดนปาเลสไตน์โดยรัฐบาล “ไซออนนิสต์”

สหรัฐและชาติตะวันตกสนับสนุนอิสราเอลเพื่อเป็น “หมาดุเฝ้าพื้นที่ตะวันออกกลาง” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะคอยปกป้องผลประโยชน์จักรวรรดินิยมตะวันตกในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยน้ำมัน หน้าที่ของอิสราเอลในการรับใช้ตะวันตกคือการทำลายขบวนการชาตินิยมของชาวอาหรับอย่างต่อเนื่อง มันไม่ใช่ว่าอิสราเอลหรือชาวยิวมีอำนาจเหนือรัฐบาลตะวันตกแต่อย่างใด

เราต้องเข้าใจว่ารัฐบาลอิสราเอลไม่ใช่ตัวแทนของชาวยิวทั้งหมดในโลก และลัทธิ “ไซออนนิสต์” ซึ่งเป็นลัทธิคลั่งชาติเหยียดเชื้อชาติปาเลสไตน์ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการเป็นยิว มันเพียงแต่เป็นแนวความคิดหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเราไม่ควรประณามคนยิว แต่ควรประณามรัฐบาลอิสราเอลและพวก”ไซออนนิสต์” แทน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิวโดยพวกนาซีในเยอรมัน ซึ่งทำให้ชาวยิวกว่า 6 ล้านคนถูกเข่นฆ่าอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน แนวคิดคลั่งเชื้อชาติแบบ “ไซออนนิสต์” ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในแวดวงชาวยิวนัก กระแสหลักในหมู่คนยิวยุโรปคือแนวสังคมนิยมและแนวมาร์คซิสต์ ส่วนยิวสาย “ไซออนนิสต์” คือพวกฝ่ายขวาชาตินิยมจัด พวกนี้ต่อต้านการต่อสู้ทางชนชั้นของกรรมาชีพ และมองว่ายิวอยู่กับคนอื่นอย่างสันติไม่ได้เพราะเขาเชื่อว่าเชื้อชาติที่ต่างกันย่อมฆ่ากันหรือขัดแย้งกันเสมอ ดังนั้นเขาเสนอว่าวิธีการปกป้องชาวยิวคือต้องสร้างชาติ “บริสุทธิ์” ของตนเองขึ้นมา สิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งคือความพ่ายแพ้ของฝ่ายซ้ายและกรรมาชีพในเยอรมัน นำไปสู่ชัยชนะของนาซีในยุค ฮิตเลอร์ และการสังหารชาวยิวถึง 6 ล้านคน เหตุการณ์นี้มีผลในการหนุนกระแสฝ่ายขวา “ไซออนนิสต์” แทนแนวมาร์คซิสต์ จนมีการก่อตั้งประเทศอิสราเอ็ลหลังสงครามโลก ปัญหาสำคัญคือ รัฐอิสราเอ็ลถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่มีคนอื่นอาศัยอยู่ คือพื้นที่ที่ชาวปาเลสไตน์และชาวยิวเคยอาศัยร่วมกันอย่างสันติมาเป็นพันๆ ปี ดังนั้นรัฐเชื้อชาติเดียวที่ถูกสร้างขึ้นต้องอาศัยการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ 850,000 คนออกจากบ้านเกิดในเหตุการณ์ “นักบา” ในปี 1948


อินติฟาดาห์

เสรีภาพของชาวปาเลสไตน์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีการลุกฮือของคนชั้นล่าง เช่นใน “อินติฟาดาห์” บวกกับการสร้างแนวร่วมการต่อสู้ของคนชั้นล่างและกรรมาชีพในระดับรากหญ้าในพื้นที่ตะวันออกกลาง การปฏิวัติของมวลชนในอียิปต์ใน “อาหรับสปริง” เคยเปิดทางให้มีการช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ในกาซาอย่างจริงจัง ก่อนที่กองทัพอียิปต์จะทำลายการปฏิวัติดังกล่าว ตอนนี้ขบวนการปฏิวัติในซูดานและแอลจีเรีย อาจเป็นความหวังใหม่ในการปลุกกระแสเสรีภาพ

ชาวปาเลสไตน์ต้องร่วมสู้กับกรรมาชีพและคนชั้นล่างในตะวันออกกลาง เพราะกรรมาชีพปาเลสไตน์ไม่มีพลังพอ มีจำนวนน้อยและส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ และคนชั้นล่างในพื้นที่ตะวัยออกกลางมีผลประโยชน์ร่วมกันในการล้มเผด็จการที่กดขี่ตนเองในประเทศต่างๆ


แกนนำ ฟะตะห์ จับมือกับอิสราเอลและสหรัฐ


ฮะมาส

อย่างไรก็ตามแกนนำทางการเมืองในปาเลสไตน์ โดยเฉพาะองค์กร “ฟะตะห์” จะหันหลังให้มวลชนชั้นล่างเสมอ และทำแนวร่วมกับชนชั้นปกครองปฏิกิริยาในตะวันออกกลางแทน และทุกครั้งที่มีวิกฤต ชนชั้นปกครองเผด็จการพวกนี้ก็จะหักหลังชาวปาเลสไตน์และไปจับมือกับสหรัฐหรืออิสราเอล ในที่สุด“ฟะตะห์” ก็ไปทำข้อตกลงยอมจำนนต่ออิสราเอล ส่วนองค์กร “ฮะมาส” ที่ดูเหมือนจะต้องการสู้กับอิสราเอลอย่างจริงจัง ก็ใช้แนวเดียวกับ “ฟะตะห์” คือเน้นคุยกับชนชั้นปกครองรอบข้าง แทนที่จะปลุกระดมการปฏิวัติรากหญ้า

ถ้าจะมีการสร้างสันติภาพและสิทธิเสรีภาพประชาธิปไตยในดินแดนปาเลสไตน์ รัฐอิสราเอลต้องถูกรื้อถอน เพื่อสร้างรัฐใหม่ที่เคารพความหลากหลาย และเปิดโอกาสให้ช่าวปาเลสไตน์กับชาวยิวอาศัยร่วมกันอย่างสงบโดยเป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกัน สภาพเช่นนี้เคยมีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองและการแทรกแซงของจักรวรรดินิยมตะวันตก

แต่ถ้าจะเกิดขึ้นจริง ต้องมีกระแสการเมืองใหม่ในหมู่ชาวปาเลสไตน์ที่เน้นการต่อสู้จากระดับรากหญ้า และการสมานฉันท์กับการปฏิวัติของมวลชนในประเทศรอบข้าง

 

เผยแพร่ครั้งแรกใน: https://turnleftthai.wordpress.com/2019/06/23/

 

 

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai
Viewing all 58377 articles
Browse latest View live